Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือเรียน is1

หนังสือเรียน is1

Published by pepsilovelovelove, 2020-07-16 23:24:06

Description: หนังสือเรียน is1

Search

Read the Text Version

51 ท่ชี ดั เจน คาตอบที่ไดจ้ ากการวจิ ยั จะตอ้ งชดั เจนเป็นผลจากส่ิงทีศ่ ึกษาจรงิ ๆ หรือมีความตรงภายใน โดยปราศจากการรบกวนจากอิทธพิ ลของสงิ่ นั้น ๆ ที่ไม่ได้ศึกษา ประการทสี่ อง เพื่อให้มีประโยชน์ คุ้มคา่ ผลการวจิ ัยนอกจากจะมีความชัดเจนแลว้ ควรจะใช้ประโยชน์ได้ในวงกวา้ งในสภาพปกติ หรือสภาพที่คลา้ ยคลงึ กนั หรือสภาพที่ตา่ งกนั บ้างให้ได้มากที่สดุ หรือมคี วามแตกต่างภายนอก โดยมขี ้อจากดั ในการนาไปใช้ใหน้ ้อยทสี่ ุด และประการทีส่ าม เพ่ือจดั การความแปรปรวนทเ่ี กิดขึน้ ในการวิจยั กลา่ วคอื การจัดการความแปรปรวนมหี ลัก 3 ประการไดแ้ ก่ 1) ทาให้ความแปรปรวนของ ตัวแปรท่ศี ึกษามีคา่ สงู สดุ 2) ลดความคลาดเคล่ือนใหเ้ หลือนอ้ ยท่ีสุด และ 3) ควบคุมตัวแปรเกนิ จุดมงุ่ หมายของการออกแบบการวิจัยดังกลา่ วข้างตน้ สามารถสรุปได้ว่า การออกแบบ การวิจยั มีจดุ มงุ่ หมาย เพอ่ื ให้การดาเนนิ การวจิ ยั เปน็ ระบบได้คาตอบของปัญหาการวจิ ัยทีถ่ ูกต้อง และเปน็ การควบคมุ ความแปรปรวนของตวั แปรการวจิ ยั ที่ศึกษา รวมทั้งเพื่อความประหยัด รวดเรว็ และทาให้การดาเนนิ การวจิ ยั สามารถดาเนนิ การไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนน้ั จุดมงุ่ หมายที่สาคญั ของ การออกแบบการวิจัยมี 2 ประการ คือ 4.2.1 เพอื่ ให้ไดค้ าตอบในปัญหาการวิจยั อย่างถูกต้องแม่นยา ปรนยั และประหยัด ในกรณีนี้การกาหนดแบบการวิจัยจึงเปน็ การสร้างกรอบในการศึกษาความสัมพนั ธร์ ะหว่างตัวแปรตา่ งๆ แบบการวิจัยจะช้แี นะแนวทางในการจัดเกบ็ ข้อมูล และสถิตทิ ใี่ ชว้ ิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนข้อสรุป ทเี่ ป็นไปไดจ้ ากการวเิ คราะห์ 4.2.2 เพอ่ื ควบคุมความแปรปรวนของตวั แปรในการวิจยั วิธีควบคมุ ความแปรปรวน มหี ลกั 3 ประการคือ การศึกษาให้ครอบคลมุ ขอบข่ายของปัญหาการวิจยั ใหม้ ากท่ีสดุ การครอบคลุม อิทธิพลของสง่ิ ต่าง ๆ ท่ีไมอ่ ยู่ในขอบข่ายของการวิจัยแต่ส่งผลต่อการวิจยั ใหไ้ ด้มากทสี่ ุด และการลด ความผดิ พลาดคลาดเคลื่อนใหไ้ ด้มากท่ีสดุ เท่าท่จี ะทาได้ 4.3 ประโยชน์ของการออกแบบการวิจัย การออกแบบการวจิ ัยจะเป็นประโยชนอยา่ งย่ิงต่อผ้วู จิ ัยและผ้เู กยี่ วข้องในการพจิ ารณา วางแผนอย่างเหมาะสมทส่ี ุดเพอ่ื ให้การดาเนินงานวิจยั เกดิ ประสทิ ธภิ าพมากท่สี ุด การออกแบบ การวจิ ัยจงึ มปี ระโยชนห์ ลายประการดังนี้ (วาโร เพ็งสวสั ดิ์. 2551 : 124) 4.3.1 ช่วยใหส้ ามารถวางแผนควบคมุ ตวั แปรเกินหรอื ตวั แปรแทรกซ้อนทีส่ ่งผลรบกวน การทดลอง ซง่ึ ทาใหผ้ ลการวัดค่าตัวแปรตามมีความคลาดเคล่ือน ผลการควบคุมทาให้สามารถสรปุ ไดว้ า่ ตัวแปรตามเกดิ จากตัวแปรอิสระจริงหรือไม่ 4.3.2 ช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกวิธวี ิจัยไดถ้ กู ต้อง 4.3.3 ช่วยในการกาหนดและสรา้ งเครื่องมอื เก็บรวบรวมขอ้ มูล 4.3.4 ชว่ ยในการแนะแนวทางเก่ยี วกับการเลือกใช้สถติ ิในการวเิ คราะหข์ ้อมลู ตลอดจนแปลผลขอ้ มลู ได้ถูกต้อง 4.3.5 ชว่ ยให้ทราบรายละเอียดเกย่ี วกบั งบประมาณ แรงงานและระยะเวลาในการ ทาวิจยั 4.3.6 ช่วยในการประเมินผลการวิจัยไดว้ า่ มีความถกู ตอ้ ง เช่อื ถอื ไดม้ ากน้อยเพียงใด

52 ประโยชนข์ องการออกแบบการวิจยั ดังกลา่ วขา้ งตน้ สามารถสรุปไดว้ ่า การออกแบบ การวจิ ัยท่ีดีจะทาให้ได้ผลการวิจยั ท่มี คี วามเทีย่ งตรง มคี วามถกู ต้อง มคี วามเปน็ ปรนยั และมี ประสิทธิภาพ ผลการวิจยั ทไ่ี ดก้ ็สามารถนาไปใช้ประโยชนไ์ ด้ ใชอ้ ้างองิ ไปยังกล่มุ ประชากร ไดอ้ ยา่ งมั่นใจ 4.4 องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย การออกแบบการวจิ ยั มีความสาคญั มากตอ่ การวิจยั ท่ใี ช้วธิ ีการสารวจเชิงวิเคราะห์ และการวจิ ยั เชิงทดลองจะมอี งค์ประกอบที่สาคัญ 4 ประการคือ (กาสัก เต๊ะขนั หมาก. 2553 : 42 - 43) 4.4.1 การออกแบบระเบียบวิธีการวิจยั (Methodological Design) เปน็ การวางแผน และกาหนดระเบยี บวิธีการวจิ ัยใหถ้ กู ต้องและเหมาะสมทีจ่ ะหาคาตอบสาหรับปัญหาการวิจยั ได้ โดยต้องศึกษาลักษณะและระเบียบวิธกี ารการวจิ ัยในแต่ละประเภท 4.4.2 การออกแบบการวัดตัวแปร (Measurement Design) เป็นการวางแผนและ กาหนดวิธกี ารวัดตวั แปร ดังน้ี 4.4.2.1 กาหนดวตั ถุประสงค์ของการวัดให้ชัดเจน 4.4.2.2 ให้นยิ ามตวั แปรทต่ี อ้ งการวดั ให้ชัดเจน 4.4.2.3 กาหนดมาตรวัดและสร้างเครอ่ื งมือให้สอดคล้องกับวตั ถปุ ระสงค์ของการวดั 4.4.2.4 ทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อม่ันของเครอ่ื งมือวดั 4.4.2.5 กาหนดรปู แบบและวธิ ีวดั คา่ หรอื ควบคุมตัวแปรเกนิ 4.4.3 การออกแบบการสมุ่ ตัวอยา่ ง (Sampling Design) เป็นการวางแผนและ กาหนดวธิ กี ารสมุ่ ตวั อยา่ งและขนาดกลมุ่ ตวั อยา่ งทเี่ หมาะสม แบ่งกิจกรรมได้ 2 ประการคอื 4.4.3.1 การกาหนดรูปแบบการสมุ่ ตัวอย่าง การท่จี ะทาใหไ้ ดต้ วั อย่างทเ่ี ปน็ ตัวแทนท่ดี ขี องประชากร โดยปกติกจ็ ะเป็นการสุ่มตัวอย่างโดยใชห้ ลกั ความนา่ จะเป็นทเ่ี ปิดโอกาส ใหท้ กุ ๆ หน่วยของประชากรไดร้ ับการคดั เลือกเปน็ กลุ่มตวั อยา่ งเทา่ ๆ กนั แต่ในบางกรณนี ักวิจยั อาจจะใช้การสมุ่ ตัวอยา่ งแบบไมใ่ ช่หลกั ความน่าจะเปน็ ซง่ึ เป็นกลุม่ ตวั อยา่ งโดยไม่คานึงถึงโอกาส ของประชากรท่จี ะได้รับการเลือกเท่า ๆ กัน ก็ได้ 4.4.3.2 การกาหนดขนาดตัวอยา่ งทเี่ หมาะสม โดยใช้หลักหรือกฎเกณฑต์ ่าง ๆ ซ่ึงอาจจะพิจารณาจากสตู รคานวณขนาดกลุ่มตวั อย่างที่เหมาะสมหรือเป็นท่ยี อมรบั ได้ และหลกั ใน ทางปฏบิ ัติ ซึง่ อาจพจิ ารณาจากทรพั ยากรที่มอี ยู่ เช่น เวลา งบประมาณ และกาลงั คน เป็นต้น สาหรบั รายละเอียดของการสุ่มตวั อย่างและขนาดตวั อย่างดังกล่าว 4.4.4 การออกแบบการใช้สถิติในการวเิ คราะหข์ ้อมลู (Statistical Design) เป็นการวางแผนเก่ยี วกับการใช้สถิติในการวเิ คราะห์ข้อมลู ซ่งึ เปน็ การใชส้ ถิติท่เี หมาะสมกบั ระดบั ของตวั แปร ซง่ึ มี 4 ระดบั คือ ตวั แปรนามบญั ญตั ิ (Nominal Variable) ตัวแปรจดั อันดับ (Ordinal Variable) ตวั แปรอนั ตรภาค (Interval Variable) และตวั แปรอัตราสว่ น (Ratio

53 Variable) สถติ ิที่จะใชใ้ นการวิเคราะหต์ วั แปรดงั กลา่ วก็ประกอบดว้ ย สถิตบิ รรยาย (Descriptive Statistics) และสถิตอิ า้ งองิ (Inferential Statistics) หรอื สถิติที่ใชใ้ นการทดสอบสมมตฐิ าน องค์ประกอบของการออกแบบการวิจยั ดงั กล่าวขา้ งต้น สามารถสรปุ ได้ว่า การออกแบบ การวิจยั ท่มี ีประสิทธิผลมุง่ ทจ่ี ะใหไ้ ด้ผลการวจิ ยั ตามวตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ัยอยา่ งเทยี่ งตรงและ นา่ เชอ่ื ถือ มีองคป์ ระกอบทส่ี าคญั ได้แก่ 1) การออกแบบระเบียบวิธีการวิจัย เปน็ การวางแผน และกาหนดระเบียบวธิ กี ารวิจัยให้ถกู ต้องและเหมาะสม ท่ีจะหาคาตอบสาหรับปัญหาการวจิ ัย 2) การออกแบบการวัดตวั แปร เปน็ การวางแผนกาหนดวิธีการวัดหรือพฒั นาเครื่องมือวัดตวั แปร 3) การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง เป็นการกาหนดรปู แบบและวธิ กี ารสมุ่ ตวั อยา่ ง และการกาหนด ขนาดของกลมุ่ ตัวอย่างทเ่ี หมาะสม และ 4) การออกแบบการวิเคราะห์ขอ้ มลู เปน็ การวางแผน เก่ยี วกบั การเลือกใชส้ ถิติในการวเิ คราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 4.5 หลักการออกแบบการวิจัย เนื่องดว้ ยวตั ถุประสงคท์ สี่ าคัญของการออกแบบการวจิ ยั คือ การควบคุมหรอื ขจดั อิทธิพล ของตวั แปรที่ไม่ต้องการศึกษาใหห้ มดไป เพื่อใหผ้ ลการวัดค่าตัวแปรตามนนั้ มาจากการกระทาของ ตวั แปรอสิ ระท่ีศกึ ษาแตเ่ พยี งอย่างเดยี ว อันจะไปสู่การได้คาตอบต่อปัญหาการวจิ ัยทถ่ี ูกตอ้ งแมน่ ยา ทีส่ ดุ ดังนัน้ หลกั ของการออกแบบการวจิ ยั จึงเป็นเรอ่ื งของการคานึงถงึ การควบคุมความแปรปรวน ของตัวแปรนนั่ เอง กาสัก เต๊ะขันหมาก (2553 : 83) กลา่ วไว้วา่ การควบคุมความแปรปรวน ของตวั แปรควรยดึ หลกั การท่ีเรยี กว่า “The Max Min Con Principle” มีองคป์ ระกอบทีส่ าคัญ 3 ประการ ดังน้ี 4.5.1 การทาใหต้ ัวแปรในการศกึ ษามคี วามแปรปรวนมากทส่ี ุด (Maximization : Max) ในการศึกษาความสมั พันธร์ ะหว่างตวั แปร ความสมั พันธ์ดังกลา่ วจะเกิดข้นึ ไม่ได้ ถา้ ปราศจากความแตกต่างระหวา่ งตวั แปรอสิ ระ เชน่ ในการศึกษาว่าการมีความรคู้ วามเข้าใจ อย่างลึกซึ้งในเรอื่ งปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงจะมคี วามสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดาเนนิ ชีวิตตามปรชั ญา เศรษฐกจิ พอเพยี งหรือไม่ ถ้าศึกษาในกล่มุ คนที่มีความรคู้ วามเขา้ ใจอย่างลึกซง้ึ ในเร่ืองปรัชญา เศรษฐกจิ พอเพียงใกลเ้ คยี งกันกอ็ าจจะไมเ่ หน็ ผลความสมั พนั ธก์ บั พฤติกรรมการดาเนนิ ชวี ติ ตามปรัชญา เศรษฐกจิ พอเพยี ง แตใ่ นทางตรงข้ามถ้าสามารถทดสอบได้วา่ กลุม่ คนที่ศกึ ษานน้ั มีความรู้ความเข้าใจ อยา่ งลกึ ซึ้งในเรื่องปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงมากจะมีพฤติกรรมการดาเนนิ ชวี ิตตามปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงสูงกวา่ คนที่มีความรู้ความเขา้ ใจอย่างลึกซ้งึ ในเร่ืองปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งน้อยกว่ากจ็ ะ สามารถสรุปไดว้ ่า มีความรคู้ วามเข้าใจอยา่ งลึกซึ้งในเร่ืองปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งมีความสมั พันธ์ กบั พฤตกิ รรมการดาเนนิ ชีวติ ตามปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ซงึ่ ความแตกต่างดงั กลา่ วเรียกวา่ ความแปรปรวน (Variance) ดงั น้นั ในการออกแบบการวิจยั ผู้วจิ ัยจะต้องออกแบบการวจิ ัยใหค้ วามแปรปรวน ของตวั แปรตาม อนั เน่ืองมากจากตวั แปรอสิ ระทศ่ี ึกษามีค่าสูงสุด (Maximization of Systematic Variance) อธบิ ายไดว้ ่า ในการวิจยั ผวู้ จิ ัยจะต้องพยายามจัดตัวแปรอสิ ระให้มีความแตกตา่ งกนั มาก ท่ีสดุ เพ่ือใหเ้ ห็นผลของการเปรียบเทียบท่ีวัดจากตัวแปรตามชดั เจนที่สดุ

54 4.5.2 การทาใหต้ วั แปรอน่ื ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้มคี วามผันแปรต่าสดุ (Minimization : Min) เปน็ การทาให้ความแปรปรวนอันเนอื่ งมาจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ ท่ีไม่ สามารถควบคุมได้ให้มีค่าตา่ สดุ (Minimization of Error Variance) ความคลาดเคล่ือนต่าง ๆ ในที่นี้ทีส่ าคญั ได้แก่ ความคลาดเคลอ่ื นอันเกิดจากความแตกตา่ งระหว่างบุคคลและความคลาดเคลอ่ื น อนั เกดิ จากการวดั เชน่ การเดาคาตอบ อารมณใ์ นขณะตอบแบบสอบถาม เปน็ ต้น วิธกี ารทาให้ ความแปรปรวนอันเน่ืองมาจากความคลาดเคลื่อนมีคา่ ต่าสดุ กค็ ือ 4.5.2.1 ลดความคลาดเคล่ือนท่ีเกดิ จากการวัดให้มากท่สี ดุ โดยการลดความ คลาดเคลอื่ นของเคร่ืองมือในการวดั ซึง่ สามารถทาได้โดยผวู้ ิจยั จะต้องสร้างเคร่ืองมือที่ใชใ้ นการวดั ให้เปน็ เคร่อื งมอื ทม่ี ีความเท่ียงตรง มีความเชื่อมั่น หรอื ใช้วัดในสงิ่ ทีต่ อ้ งการวัดจริง ๆ ดังตัวอย่าง ในเร่อื งของการวัดรายได้ ผ้วู จิ ัยจะต้องหาวิธีการในการวดั ให้แนน่ อนวา่ คาตอบท่ีได้มาเป็นรายได้ ท่ีแทจ้ ริงมิใชส่ ะท้อนการปิดบังอาพรางของผู้ตอบ หากผ้วู ิจัยไมแ่ นใ่ จกจ็ ะต้องพยายามหาตวั แปรอ่ืน ทใ่ี กลเ้ คียงกัน หรือท่ีคดิ ว่าจะทดแทนได้มาแทนตัวแปรดังกล่าว นอกจากนั้นจะต้องลดความ คลาดเคลื่อนของผใู้ ช้เครือ่ งมือ คือ ผู้วจิ ยั หรือผู้ช่วยเกบ็ ข้อมลู จะต้องศึกษาวิธีการใชเ้ ครื่องมือใหเ้ ข้าใจ ถกู ต้อง และปฏิบตั ิตามวธิ ีการใชเ้ ครอ่ื งมือน้ันโดยเครง่ ครดั 4.5.2.2 ลดความคลาดเคลอ่ื นทเ่ี กดิ จากความไม่เท่าเทยี มกนั ของโอกาสอนั เกิดขึ้น ของตวั แปรเกนิ ซึ่งตัวแปรเกินมักจะเกิดขนึ้ จากลกั ษณะของกลมุ่ ตัวอยา่ ง เชน่ เพศ อายุ อารมณ์ เจตคติ วุฒิภาวะ เปน็ ต้น หรืออาจเป็นตัวแปรเกนิ อนื่ ๆ ทีเ่ กดิ ข้นึ ในระหว่างการศึกษาวิจัยกไ็ ด้ 4.5.3 การควบคุมความแปรปรวนอนั เกิดจากตัวแปรภายนอกอ่ืน ๆ (Control : Con) ในการวิจยั มกั จะพบปญั หาอยู่เสมอว่า เราจะทราบได้อย่างไรวา่ ตวั แปร ก. เท่านัน้ ท่เี ปน็ สาเหตุ ที่ทาใหเ้ กดิ ตวั แปร ข. ดังนนั้ ในการขจดั ปัญหาดังกลา่ วในการออกแบบการวจิ ัย ผวู้ จิ ยั จะต้อง คานึงถงึ ตัวแปรภายนอกท่ีจะมผี ลการศึกษาด้วย นนั่ กค็ ือ จะตอ้ งควบคุมความแปรปรวนอนั เกิดจาก ตัวแปรแทรกซ้อนท่สี ่งผลอย่างมรี ะบบ (Control Extraneous Systematic Variance) เป็นการ พยายามทาให้ตวั แปรตามเกดิ การกระทาโดยตรงอยา่ งสมบูรณข์ องตัวแปรอิสระเทา่ นน้ั การควบคุม ตัวแปรแทรกซ้อนมีวิธดี ังต่อไปนี้ 4.5.3.1 การส่มุ (Randomization) หมายถึง การทาให้คณุ สมบัติต่าง ๆ ของ สมาชิกในกลุ่มตัวอยา่ งมีพอ ๆ กนั เชน่ การเลอื กส่มุ ตัวอย่างมาเปน็ ตวั แทนในการศึกษาก็เลือก โดยใช้วิธกี ารสุ่มและเม่อื จะแบง่ กลมุ่ ตัวอยา่ งออกเปน็ 2 กลมุ่ เพื่อเป็นกลุ่มทดลองกับกล่มุ ควบคุม ก็ใชว้ ธิ ีการสมุ่ สมาชิกเขา้ กลมุ่ เป็นตน้ ดังน้ันตัวแปรแทรกซ้อนอันไดแ้ ก่ สติปัญญาและตวั แปรอนื่ ๆ กจ็ ะเท่าเทยี มกนั ท้งั สองกลุ่มการสุ่มเปน็ วธิ กี ารควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนทดี่ ีทสี่ ุด 4.5.3.2 การกาจดั ตวั แปรออก (Elimination) หมายถงึ การทาให้กล่มุ ตวั อย่าง มีลกั ษณะตัวแปรนั้น ๆ เหมือนกัน เชน่ ถา้ คิดวา่ สตปิ ัญญาเกยี่ วข้องกบั การทดลองก็เลือก กลุม่ ตัวอย่างทม่ี สี ติปัญญาเทา่ กนั มาศึกษา คือ เลือกเอาพวกทมี่ ี IQ อยรู่ ะหว่าง 90-110 มาศึกษา เท่านัน้ เพราะถือว่าอยู่ในระดับเดียวกนั ดงั นน้ั ตัวแปรแทรกซ้อนคอื สติปัญญากจ็ ะถูกกาจดั ออกไป ไมม่ ีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม เป็นต้น 4.5.3.3 การเพ่มิ ตวั แปร (Built into the Design) หมายถึง การนาตวั แปรแทรกซ้อน เชน่ เพศ หรอื อายเุ พม่ิ เขา้ ไปเปน็ ตวั แปรอิสระอีกตวั ในแบบการวิจัย

55 4.5.3.4 การจับคู่ (Match Group) ซ่ึงมี 2 ลกั ษณะ คือ 1) จบั คูเ่ ปน็ รายกล่มุ (Match Group) เป็นการทาให้ท้ัง 2 กลมุ่ มคี วามเทา่ กัน โดยส่วนรวม ซึง่ อาจทาได้โดยการกาหนดใหส้ มาชกิ เขา้ อยู่กลุ่มใดกลุ่มหน่ึง โดยการสุม่ แลว้ ใหท้ ดสอบ คร้งั แรก นาผลวดั ท่ีได้ เชน่ คา่ เฉลย่ี หรือความแปรปรวนมาทดสอบความแตกตา่ งเชิงสถติ ิ เพือ่ ดูว่า แตกตา่ งกนั อย่างมีนัยสาคัญทางสถติ ิหรอื ไม่ ถา้ พบวา่ แตกตา่ งกันอย่างไมม่ ีนัยสาคัญทางสถติ ิ การแบง่ เป็น 2 กลุม่ นัน้ กใ็ ช้ไมไ่ ดต้ ้องจดั กลุ่มใหม่ 2) จับคู่เป็นรายบุคคล (Match Subject) เปน็ การนาเอาบุคคลที่มีความเหมือนกนั หรือเทา่ เทียมกันในคุณลักษณะต่าง ๆ ประดุจฝาแฝดมาเรียงกันเป็นคู่ ๆ แล้วแยกแต่ละคนของแตล่ ะคู่ ไปอยู่คนละกลุ่ม เมื่อได้กลุ่มตามที่ต้องการแล้วก็นาทั้งสองหรือหลาย ๆ กลมุ่ มาทดสอบความแตกต่าง เชิงสถิติ โดยทดสอบจากค่าเฉลีย่ และความแปรปรวน ถ้าพบว่าแตกต่างกันอย่างไมม่ ีนยั สาคัญทางสถิติ กใ็ ช้ได้กับการจับคู่เป็นรายบุคคล เชน่ การจับคู่คะแนนผลการเรยี น คะแนนสตปิ ัญญา (IQ) เป็นต้น 4.5.3.5 การใช้เทคนคิ ทางสถิติควบคมุ (Statistical Control) การนาเทคนิค หรือวิธีการทางสถติ ิมาควบคุม เช่น การวิเคราะหค์ วามแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) ซ่งึ เปน็ เทคนิคทางสถิตทิ สี่ ามารถปรับ (Adjust) คุณสมบัติที่ตา่ งกันบางประการของกลุม่ ตัวอยา่ ง ไดท้ าใหผ้ ลการวดั ท่ีได้มาจากตัวแปรทดลองเทา่ น้นั เชน่ ตัวแปรแทรกซ้อนอนั เน่ืองมาจากการ สอบก่อนทดลอง (Pre-test) เป็นตน้ 4.5.3.6 การใชว้ ธิ ีการทางกายภาพควบคมุ (Mechanical or Physical Control) การควบคมุ โดยวิธนี ส้ี ว่ นใหญใ่ ช้สาหรบั การควบคุมตวั แปรแทรกซ้อนอันเน่ืองจากสภาพแวดลอ้ ม ขณะดาเนินการทดลอง เชน่ แสง เสียง อณุ หภมู ิ เป็นต้น ให้มีลกั ษณะคงท่ีหรือเหมือนกนั ทั้ง กลมุ่ ทดลองและกล่มุ ควบคมุ หลักการออกแบบการวจิ ัยดงั กลา่ วขา้ งตน้ สามารถสรุปได้ว่า วตั ถปุ ระสงค์หลกั ของ การออกแบบการวิจยั เพ่ือควบคมุ ความแปรปรวน ไดแ้ ก่ 1) การทาให้ตวั แปรในการศึกษามีความ แปรปรวนมากทส่ี ุด เปน็ การจดั กระทาใหต้ ัวแปรทีเ่ ลือกมาศึกษาแสดงความแปรปรวนในกลุ่มตวั อยา่ ง หรอื ประชากรทีต่ ้องการศกึ ษาให้มากท่ีสดุ 2) การลดความคลาดเคล่ือนหรือความแปรปรวนแบบสุ่ม ท่ีเกิดจากการวัดตวั แปรให้มคี ่าตา่ สดุ เป็นความพยายามลดความคลาดเคลื่อนในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใหไ้ ดม้ ากทส่ี ุดเท่าทจ่ี ะทาได้ โดยความคลาดเคลื่อนนอ้ี าจเกิดจากเคร่ืองมือทีใ่ ชห้ รอื ผู้เก็บขอ้ มลู เอง หรอื กลมุ่ ตวั อย่างกเ็ ป็นได้ และ 3) การควบคุมความแปรปรวนอันเกิดจากตวั แปรภายนอกอน่ื ๆ เชน่ ตัวแปรเกนิ และตวั แปรแทรกซ้อน ลักษณะของตวั แปรทั้ง 2 ชนิดจะพบได้จากลักษณะของ กลุ่มตัวอย่างหรือประชากรที่ศึกษา ในขณะเดียวกนั ก็สามารถพบไดจ้ ากตัวแปรภายนอกอืน่ ๆ ที่ไม่ได้เลอื กศึกษา หากในขนั้ ตอนของการออกแบบการวิจัยมกี ารพจิ ารณาในประเดน็ นี้ ยอ่ มทาให้ ผูว้ จิ ยั มโี อกาสที่จะควบคมุ การส่งผลตอ่ ตวั แปรท่ีต้องการศึกษาได้มากยิ่งขน้ึ 4.6 เทคนิควิธีการออกแบบการวิจัย การวจิ ัยถือเป็นข้นั ตอนและกระบวนการ จะต้องมีการกาหนดรูปแบบการวจิ ัย ซ่งึ ในการ ออกแบบการวิจัยแตล่ ะคร้ัง ผูว้ จิ ยั จะต้องมีความรคู้ วามเช่ียวชาญในเรือ่ งทว่ี จิ ัย และต้องมคี วามเข้าใจ เกีย่ วกบั รูปแบบของการวิจยั ว่า การวจิ ยั แต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพ่ืออะไร

56 มขี ้อจากดั อะไรในการวิจยั ปัญหาอุปสรรคในการวิจัยมีอะไร ซง่ึ สิ่งต่าง ๆ เหลา่ นีผ้ ู้วิจยั สามารถ ออกแบบการวิจัยใหเ้ หมาะสมกบั ปัญหาทีจ่ ะทาการวจิ ัย (กาสกั เต๊ะขนั หมาก. 2553 : 86 - 87) สาหรับการออกแบบการวจิ ยั โดยทัว่ ไปอาจแบง่ ออกได้เปน็ 3 ลักษณะ คือ การออกแบบการวจิ ยั แบบทดลอง (Experimental Design) การออกแบบการวจิ ัยแบบกงึ่ ทดลอง (Quasi-Experimental Design) และการออกแบบการวจิ ยั แบบไม่ใช่การทดลอง (Non-Experimental Design) ซึ่งในการ วจิ ยั ทางสังคมศาสตรม์ ักจะใช้เฉพาะการออกแบบการวิจยั ไม่ใช่การทดลอง และการออกแบบการวจิ ัย แบบกงึ่ ทดลอง ดังน้ี 4.6.1 การออกแบบการวิจัยไมใ่ ช่การทดลอง ซึ่งมหี ลายวิธีการ กล่าวคือ 4.6.1.1 การออกแบบการวิจัยแบบตดั ขวาง (Cross-Sectional Design) เปน็ การ ออกแบบการวจิ ัยทีท่ าการเก็บขอ้ มูลเพยี งครั้งเดยี วแลว้ นาขอ้ มูลนนั้ มาวเิ คราะห์ความแตกต่างระหวา่ ง ประชากรในเร่ืองใดเรื่องหนึ่ง หรอื หาความสัมพันธร์ ะหว่างตวั แปรตา่ ง ๆ ตามท่เี ก็บข้อมูลมา การออกแบบการวจิ ัยแบบนีแ้ บ่งออกไดเ้ ปน็ 2 ประเภท คือ 1) การออกแบบการวจิ ยั ตดั ขวางแบบงา่ ย (Simple Cross-Sectional Design) เป็นการออกแบบการวิจยั สาหรับเกบ็ ข้อมลู เพยี งครง้ั เดียว แลว้ นาขอ้ มลู มาศกึ ษาหาความแตกต่างของ ประชากร ว่าความแตกตา่ งในแต่ละเรื่องมีผลอย่างไรต่อตัวแปรอกี ตัว การวิจยั แบบนสี้ ามารถทาได้ ในระยะเวลาที่จากัด และไม่ต้องอาศัยความชานาญในการออกแบบการวจิ ยั มากนัก 2) การออกแบบการวิจยั ตัดขวางแบบทงิ้ ชว่ ง (Cross-Sectional Design With Time Lags) เป็นการออกแบบการวจิ ยั สาหรบั การเกบ็ ข้อมลู เพียงคร้ังเดยี วเช่นกนั แต่ข้อมลู หรือ ตัวแปรที่มีมิติทางดา้ นเวลาเข้ามาเก่ียวข้อง ตวั แปรอสิ ระและตัวแปรตามจะมีการจดั ระเบียบ โดยอาศยั เวลาเป็นหลกั และตามหลกั ตวั แปรอิสระจะเกิดก่อนตวั แปรตามเสมอ 4.6.1.2 การออกแบบการวจิ ัยแบบระยะยาว (Longitudinal Design) เป็นการ ออกแบบการวจิ ัยทม่ี กี ารเก็บข้อมูลมากกวา่ หน่งึ คร้ัง แล้วนาขอ้ มูลท่ีเก็บได้แต่ละครง้ั มาศกึ ษา เปรียบเทียบซงึ่ อาจทาได้ดังนี้ คอื 1) ทาการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละครัง้ แบบตัดขวาง แลว้ นาผลมาเปรยี บเทียบกนั ดกู ารเปลี่ยนแปลง 2) ทาการวเิ คราะหข์ ้อมลู การเปลยี่ นแปลง แลว้ นาขอ้ มลู น้นั มาศึกษา หาความสมั พนั ธ์ระหวา่ งการเปลยี่ นแปลงของตัวแปรต่าง ๆ 4.6.1.3 การออกแบบการวิจยั แบบจับคู่ (Matched Prospective Design) เป็นการออกแบบการวิจัยท่ีผู้วิจยั ทาการคดั เลือกประชากรออกเปน็ 2 กลุ่ม ท่มี ีความแตกตา่ งกัน ในดา้ นตัวแปรอิสระแล้วจบั คู่โดยดูลกั ษณะอน่ื ๆ ท่ีเหมือนกัน เกบ็ ข้อมูลเปน็ ระยะ ๆ เพื่อศึกษา ดคู วามเปลยี่ นแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขน้ึ ในดา้ นตัวแปรตามเปรียบเทยี บการเปลย่ี นแปลงท่ีเกดิ ขนึ้ ในกลุ่ม หนง่ึ แตไ่ มเ่ กดิ ขนึ้ ในอีกกลุ่มหน่ึงว่ามผี ลต่อตวั แปรตามอย่างไรบา้ ง ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลขนึ้ อยกู่ บั กาลงั คน เวลา และทุนทรพั ยข์ องผูว้ ิจยั

57 4.6.2 การออกแบบการวิจัยแบบก่ึงทดลอง (Quasi-Experimental Design) การออกแบบการวจิ ัยแบบนผี้ ู้วิจยั ไมส่ ามารถควบคมุ การศึกษาได้ครบถ้วนเหมือนกบั การศึกษาหรอื การทดลองทางวทิ ยาศาสตร์ แตเ่ ปน็ การออกแบบการวิจยั ท่ีผู้วิจยั พยายามศกึ ษา กจิ กรรมต่าง ๆ ทผ่ี วู้ จิ ยั ได้กาหนดไวว้ ่ากิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวมผี ลเชน่ ไร เปน็ ไปตามวตั ถปุ ระสงค์ หรือสมมตฐิ านท่ีกาหนดไวห้ รือไม่ เชน่ ศกึ ษาหารปู แบบวิธกี ารรณรงคใ์ ห้ประชาชนชว่ ยกนั ดูแล แม่นา้ ชี ซ่งึ อาจทาได้หลายลักษณะ เชน่ การพบปะเปน็ รายบุคคลหรือรายครอบครวั การจดั ตัง้ กลุ่มรกั ษ์แมน่ า้ การปิดปา้ ยชกั ชวนในที่ชมุ ชน ซ่ึงผวู้ จิ ัยอาจจะจดั ประชากรหรือชุมชนออกเปน็ กลมุ่ ตา่ ง ๆ แล้วเก็บข้อมูลในรอบแรกเพ่ือวดั ความแตกตา่ งท่จี ะเกิดขึ้น จากน้นั กร็ ณรงค์โดยใช้วิธีการในแต่ ละกลุ่มแตกต่างกนั เสรจ็ แลว้ เกบ็ ข้อมูลอีกคร้ังหนึ่งแลว้ นามาเปรยี บเทยี บดูวา่ วิธกี ารใดที่กอ่ ใหเ้ กิดผล ในการดแู ลแม่น้าชีไดม้ ากกวา่ กัน การออกแบบการวจิ ัยดังกลา่ วยงั ไม่ใชก่ ารทดลองจริง ๆ เพราะผวู้ จิ ยั ไมส่ ามารถ ควบคมุ ประชากรได้โดยตลอด เชน่ บางคนท่ีไดพ้ บปะเป็นรายบคุ คลแล้วอาจจะอยู่ในครอบครวั ที่ไปพบอีกหรอื ได้อ่านป้ายประกาศ หรอื อยู่ในกลุม่ รักษแ์ ม่นา้ ก็ได้ จึงไม่สามารถแยกได้ว่าเปน็ ผล จากการรณรงค์วธิ ใี ด ดังนนั้ จึงเป็นไดเ้ พยี งการออกแบบการวจิ ัยกง่ึ ทดลอง 4.7 ความเทย่ี งตรงของการออกแบบการวจิ ยั ความเที่ยงตรงของการออกแบบการวิจัย (Validity of Research Design) จาแนกเป็น 2 ลกั ษณะ (พวงรตั น์ ทวรี ัตน์ 2538 : 57-58) คอื 4.7.1 ความเท่ยี งตรงภายใน (Internal Validity) หมายถงึ ความเท่ยี งตรงที่เกดิ จาก การดาเนินการศึกษาโดยตรง โดยเน้นความเที่ยงตรงท่ีครอบคลมุ คณุ สมบัติ 3 ประการ คอื 4.7.1.1 การทดสอบสมมตฐิ าน 4.7.1.2 การควบคมุ ตวั แปรที่ไม่ต้องการศกึ ษา 4.7.1.3 ความเท่ียงตรงและความเชือ่ ถือได้ของขอ้ มูลทใ่ี ชใ้ นการศกึ ษา กลา่ วโดยสรุปได้วา่ การวิจัยทมี่ คี วามเท่ยี งตรงภายใน คือ การวจิ ยั ทที่ าให้ ผลการวิจยั ทไี่ ดห้ รอื ตวั แปรตามเกดิ จากการกระทาของตัวแปรอิสระท่ีศกึ ษาโดยตรงแต่ประการเดียว ไม่มีตวั แปรหรือเหตุการณอ์ ่ืนเขา้ มาเกย่ี วขอ้ ง 4.7.2 ความเท่ยี งตรงภายนอก (External Validity) หมายถงึ ความเทย่ี งตรง ของแบบการวิจัยที่ผลสรปุ จากการวิจัยมคี วามเชอื่ ถือ สามารถอ้างองิ (Generalization) ไปสู่ ประชากรตามเปา้ หมาย (Target population) ซงึ่ องค์ประกอบทีจ่ ะมีผลตอ่ ความเที่ยงตรง ภายนอกมี 2 ประการ ดังน้ี 4.7.2.1 ปฏิกริ ิยาร่วมระหว่างการคดั เลือกกล่มุ ตวั อย่างกับตัวแปรทดลอง (Interaction Effects of Selection Bias and Experimental Variable – SX) ลักษณะเชน่ น้ี หมายความว่า กลมุ่ ตัวอย่างทเี่ ลือกมาเปน็ ตัวแทนในการศึกษาไม่เปน็ ตัวแทนท่ดี ีของประชากร และตวั แปรทดลอง (Treatment) ทน่ี ามาศกึ ษากบั กลุ่มตัวอยา่ งท่ีเลอื กมานั้นไมเ่ หมาะสมกนั เปน็ ผลทาใหผ้ ลวิจยั ท่ีไดเ้ ช่ือถือไม่ได้ อ้างอิงไปสปู่ ระชากรทั้งหมดไม่ได้

58 4.7.2.2 ปฏกิ ิรยิ าร่วมระหว่างการสอบคร้งั แรกกบั ตัวแปรทดลอง (Reactive Effect of Testing – TX) ลักษณะเช่นน้ีหมายความว่า การสอบครัง้ แรกจะมผี ลทาให้กลมุ่ ตวั อยา่ ง เกิดความจา ข้อคาถามได้ เม่ือนาไปทดลองแลว้ สอบวดั ใหม่ ผลการวัดท่ีไดค้ รัง้ หลงั มคี วาม คลาดเคลื่อนได้ เช่น อาจวดั ครงั้ หลังจึงไม่ไดม้ าจากตวั แปรทดลองอยา่ งเดียว การสรุปอา้ งอิง จึงคลาดเลอื่ นได้ ความเทีย่ งตรงของการออกแบบการวจิ ยั ดงั กลา่ วข้างตน้ สามารถสรปุ ไดว้ า่ การออกแบบ การวิจัยเปน็ การควบคุมให้ค่าตวั แปรตามมาจากการกระทาของตวั แปรอสิ ระที่ศกึ ษา อันจะไปสูก่ าร ได้คาตอบต่อปญั หาการวจิ ัยที่ถกู ต้องแมน่ ยาท่ีสดุ โดยยดึ หลกั “The Max Min Con Principle” ความเทย่ี งตรงของแบบการวิจัยพิจารณาจากความเทยี่ งตรงภายในและความเทยี่ งตรงภายนอก บทสรุป การออกแบบการวจิ ยั เป็นการวางแผนดาเนินการวจิ ยั โดยกาหนดกรอบการวจิ ยั เกี่ยวกับ โครงสรา้ ง รูปแบบการวจิ ยั ขอบเขตของการวิจยั และแนวดาเนนิ งานวิจัย โดยมจี ดุ มงุ่ หมายเพ่ือให้ ไดค้ าตอบปญั หาวิจัยที่ถกู ต้อง เทยี่ งตรง เชือ่ ถอื ได้ ประหยัดทสี่ ุด และเพ่ือการควบคุมความ แปรปรวนของตัวแปรในการวิจยั การออกแบบการวิจัย มอี งคป์ ระกอบทสี่ าคญั 4 ประการคือ การออกแบบระเบียบวิธกี ารวิจัย การออกแบบการวัดตัวแปร การออกแบบการสุ่มตวั อยา่ ง และ การออกแบบการใชส้ ถติ ิในการวเิ คราะห์ข้อมลู ในการออกแบบการวิจยั มีหลักการทส่ี าคัญ 3 ประการคอื 1) การทาให้ตัวแปรในการศึกษามคี วามแปรปรวนมากท่ีสุด 2) การทาใหต้ ัวแปรอน่ื ๆ ทไี่ ม่สามารถควบคมุ ได้มคี วามผันแปรต่าสดุ และ 3) การควบคมุ ความผนั แปรอันเกิดจากตัวแปร ภายนอกอนื่ ๆ สาหรับเทคนิควิธกี ารออกแบบการวิจยั ควรเลอื กให้สอดคลอ้ งกบั ลกั ษณะธรรมชาติ และประเภทของการวิจัย ซงึ่ มปี ระเภทการวิจัยทางสังคมศาสตร์หลกั ๆ 2 ประเภท คือ การออกแบบ การวจิ ัยท่ีไม่ใช่การทดลอง และการออกแบบการวิจัยแบบกงึ่ ทดลอง โดยมขี ัน้ ตอนการออกแบบที่ ประกอบด้วย การกาหนดรูปแบบการวิจัย การกาหนดขอบเขตของการวจิ ัย และการกาหนด แนวทางการวิจยั

59 กิจกรรมท้ายบทที่ 4 1. จงให้ความหมายของการออกแบบการวิจยั 2. ความเท่ยี งตรงภายในและความเท่ียงตรงภายนอกของการวิจัยหมายถงึ อะไร 3. จงอธิบายหลกั การ “Max Min Con Principle” สาหรับการออกแบบการวจิ ยั 4. เมือ่ ทา่ นอ่านผลการวจิ ัยด้านลา่ งน้แี ล้ว จงตอบคาถามตอ่ ไปน้ี การวจิ ยั ครั้งน้ี เพ่ือศึกษาพฤตกิ รรมการทาผดิ ของนกั เรยี นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศกึ ษา ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาตอนตน้ สังกัดสานักงานเขตพื้นท่ีการศกึ ษาเขต 1 ตามทัศนะของครูผู้สอน เพื่อศกึ ษาเปรยี บเทยี บปัญหาพฤติกรรมการทาผดิ วนิ ยั และศึกษาข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงพฤติกรรม การทาผิดวนิ ยั ของนกั เรยี นด้านการแต่งกายและด้านความประพฤตขิ องนกั เรียน ส่วนประชากรและ กล่มุ ตวั อยา่ งไดแ้ ก่ ครู โรงเรยี นขยายโอกาสทางการศกึ ษา สงั กัดสานักงานเขตพ้นื ที่การศึกษาเขต 1 จานวน 355 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการส่มุ ตวั อย่างแบบแบง่ ชนั้ โดยใช้เกณฑส์ ดั สว่ นของเครจซี่ และมอรแ์ กน ได้กลุ่มตวั อย่างจานวน 183 คน ส่วนเครือ่ งมือท่ีใชใ้ นการเกบ็ รวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามมาตราสว่ นประมาณค่า 5 ระดบั ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเก่ียวกับสถานภาพ ของข้อมลู ทว่ั ไปของผตู้ อบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามเกีย่ วกบั พฤติกรรมทาผิดวินยั ของนักเรยี น ตามทัศนะของครูผู้สอน แบ่งออกเป็น 2 ดา้ น คอื ดา้ นการแต่งกายจานวน 19 ขอ้ และดา้ น ความประพฤติ จานวน 26 ขอ้ และเม่ือหาอานาจจาแนกของแบบสอบถามรายข้ออยูร่ ะหวา่ ง .29 - .89 และมีค่าความเช่ือมัน่ รวมทั้งฉบบั เทา่ กับ .97 สาหรบั สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คา่ เฉลีย่ สว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน และสถติ ิการวเิ คราะหค์ วามแปรปรวนทางเดียว โดยมีผลการวิจัย ดังน้ี 1. พฤติกรรมการทาผิดของนักเรยี นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาระดับช้นั มัธยมศกึ ษาตอนตน้ สังกดั สานกั งานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาเขต 1 ตามทศั นะของครผู สู้ อนโดยรวมอยู่ใน ระดบั นอ้ ย และพิจารณารายดา้ นพบวา่ อยู่ในระดบั น้อยท้ังในด้านการแต่งกายและด้านความประพฤติ 1.1 ด้านการแตง่ กาย โดยรวมอยู่ในระดบั นอ้ ย และเม่ือพจิ ารณารายข้อพบว่า ข้อท่ีมคี ่าเฉลย่ี สงู สดุ เรยี งจากมากไปหาน้อย 3 อนั ดับแรก ไดแ้ ก่ การใชเ้ ครอื่ งประดบั ของนักเรยี น หญิงจาพวกแหวน ตา่ งหู กาไลข้อมือ เพื่อตกแตง่ การใชเ้ ครือ่ งสาอางของนักเรียนหญิง และนกั เรยี น ใส่รองเท้าเหยยี บส้นรองเท้า 1.2 ด้านความประพฤติ โดยรวมอย่ใู นระดับนอ้ ย และเม่ือพจิ ารณารายข้อพบว่า ข้อท่ีมคี ่าเฉลี่ยสงู สุดเรยี งจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นกั เรียนท้ิงขยะไม่เป็นระเบยี บ นักเรียนสูบบุหรีใ่ นโรงเรียน และนักเรยี นเลน่ การพนัน 2. เปรยี บเทียบพฤติกรรมการทาผิดวนิ ัยของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศกึ ษา ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาตอนตน้ สงั กัดสานักงานเขตพืน้ ท่กี ารศกึ ษาเขต 1 ตามทัศนะของครผู สู้ อน จาแนกตามทต่ี ง้ั ของโรงเรยี น ด้านการแตง่ กายและดา้ นความประพฤติโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมนี ยั สาคัญทางสถติ ทิ ่รี ะดับ .05

60 3. ขอ้ เสนอแนะต่อการปรับปรงุ พฤติกรรมทาผิดวนิ ยั ด้านการแต่งกายและดา้ นความ ประพฤติของนกั เรียน สรปุ ไดด้ งั น้ี 3.1 ดา้ นการแต่งกาย อันดบั แรกได้แก่ ครูในโรงเรียนรว่ มกนั ตกั เตือนทุกครั้ง เมอ่ื พบเหน็ นกั เรยี นกระทาผดิ ในดา้ นการแต่งกาย อันดบั รองลงมาไดแ้ ก่ ตรวจติดตามพฤติกรรม นักเรียนสมา่ เสมอและใกลช้ ิด เม่อื พบนักเรียนทาผดิ ใหน้ ักเรียนแก้ไขทันทีทกุ ครั้งที่พบเห็น อนั ดับทีส่ ามได้แก่ การยกตวั อย่างกลุ่มนักเรยี นท่ีแต่งกายสขุ ภาพเรียบร้อย ถูกระเบยี บ 3.1 ด้านความประพฤติ อันดับแรกได้แก่ ว่ากล่าวตกั เตอื นทนั ทีเ่ มื่อพบการทา ผิดวนิ ัย อบรมมารยาท การประพฤติตนให้เหมาะสมกับบุคคล สถานทใ่ี ห้กบั นักเรียนเพ่อื ปรบั เปล่ยี น พฤติกรรม อันดบั รองลงมาได้แก่ แจง้ ผูป้ กครองใหท้ ราบ สาหรบั ความผิดทีร่ ้ายแรง เชิญผู้ปกครอง มาพบ อันดับที่สามไดแ้ ก่ การส่งเสริมกจิ กรรมท่ที าให้นักเรียนได้แสดงออกในดา้ นที่ดงี ามอย่เู สมอ 4.1 การวจิ ัยนเี้ ป็นการวิจัยแบบใด 4.2 จงเขยี นจดุ มุง่ หมายของการวิจยั จานวน 3 ขอ้ 4.3 จงวิจารณ์ผลการวจิ ยั ว่าสามารถตอบจดุ มุ่งหมายการวิจัยได้หรือไม่อยา่ งไร และทา่ นคดิ ว่า การวจิ ัยครง้ั น้ีมีความเที่ยงตรงภายในหรือไม่ อยา่ งไร 4.4 การวิจยั คร้ังน้ีผวู้ จิ ัยได้มีการออกแบบการวิจยั ตามหลักการและคานงึ ถงึ องคป์ ระกอบของ การออกแบบการวจิ ัยหรือไม่อย่างไร 4.5 การวิจัยดังกลา่ ว ผู้วิจยั ไดป้ ระโยชน์จากการออกแบบการวจิ ยั อย่างไร 5. ทา่ นมวี ิธกี ารควบคุมความแปรปรวนทเี่ กดิ ขึ้นจากตวั แปรเกนิ หรอื ตวั แปรแทรกซ้อนได้อยา่ งไร

61 บทท่ี 5 ประชากรและกลุ่มตวั อยา่ ง การวจิ ยั เป็นการศึกษาตวั แปรของประชากร แตใ่ นกรณที ี่ไมส่ ามารถศึกษาจากประชากรได้ ก็จาเป็นตอ้ งศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วจงึ สรุปผลอา้ งองิ ไปสู่ประชากร ดังนน้ั การเลือกกลมุ่ ตัวอยา่ ง ในการวิจยั จึงนบั เปน็ ข้นั ตอนท่ีมีความสาคัญเพราะเปน็ การเลอื กตวั แทนของประชากรมาศกึ ษา โดยเม่ือศึกษาได้ผลเช่นใดแล้วกจ็ ะสรปุ อ้างอิงไปยังประชากร ความสาคัญจงึ อยู่ท่ีทาอยา่ งไรจงึ จะได้ กลุ่มตัวอย่างที่เปน็ ตวั แทนท่ดี ีท่ีสุดของประชากร ในบทนจ้ี ะไดก้ ลา่ วถึงหลักและวธิ ีการต่าง ๆ ท่สี าคัญ ดงั นี้ - ประชากร - กล่มุ ตัวอยา่ ง - การเลอื กกลุ่มตวั อยา่ ง 5.1 ประชากร การกาหนดกล่มุ ตวั อยา่ งมีความจาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนีเ้ นื่องจากการเก็บข้อมูลกับประชากร ทุกหน่วยอาจทาใหเ้ สียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก บางครั้งเป็นเร่อื งท่ีตอ้ งตดั สินใจภายในเวลาจากัด การเลอื กศึกษาเฉพาะบางส่วนของประชากรจึงเป็นเร่ืองท่ีมีความจาเป็น เพ่ือให้มีความเข้าใจในการ เลือกตวั อยา่ ง จะขอนาเสนอความหมายของประชากรและประเภทของประชากร ดงั น้ี 5.1.1 ความหมายของประชากร ในการวจิ ัยประชากร (Population) มีความสาคัญอย่างยง่ิ จึงมีความจาเปน็ ทีจ่ ะต้องทาความเข้าใจใหช้ ัดเจนและลกึ ซ้ึง นักการศึกษาไดเ้ สนอแนวคิดเกี่ยวกบั ความหมายของ ประชากรไว้หลายแง่มมุ ดังน้ี สชุ าติ ประสทิ ธริ์ ฐั สินธ์ุ (2538 : 81) กลา่ วว่า ประชากรในการวิจัย หมายถึง หน่วยต่าง ๆ ท่ีผู้วิจยั จะใช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล ซง่ึ อาจเป็นคุณสมบัติของบคุ คล สถานบรกิ าร เอกสารส่ิงพมิ พ์ ทอ้ งที่ หรือวัตถุส่ิงของ ทั้งน้ีสุดแลว้ แตจ่ ุดประสงค์ของการวิจยั ซึง่ แต่ละเรือ่ งอาจมี กลมุ่ เดยี วหรอื หลายกลมุ่ ก็ได้ ฤทธชิ ัย แกมนาค (2554 : 218) ได้ไห้ความหมายของประชากร หมายถึง ชดุ หรือกลุม่ ทีต่ ้องการศึกษาอาจหมายถงึ กลมุ่ บุคคล สัตว์ ส่ิงมชี วี ติ หรือส่ิงไม่มชี วี ิต ข้อสาคัญคือ สมาชิกในแต่ละกลมุ่ ประชากรจะตอ้ งมคี ุณลกั ษณะหรือคุณสมบัตบิ างอย่างร่วมกนั เชน่ ประชากร นักศกึ ษามหาวิทยาลยั ประชากรหญงิ ในประเทศไทย ประชากรตน้ ไม้ทุกตน้ ในภาคเหนือ เป็นตน้ วลั ลภ รัฐฉัตรานนท์ (2554 : 79) กล่าววา่ การวิจัยทางสงั คมศาสตร์ ส่วนใหญจ่ ะทาการศึกษาปรากฏการณห์ รือสิง่ แวดล้อมต่าง ๆ ที่เก่ยี วข้องกบั คน ดังนัน้ ประชากร สาหรบั การวจิ ัยจึงอาจจะเป็นคน สตั ว์ สิง่ ของ สงิ่ กอ่ สรา้ ง ฯลฯ ทีจ่ ะทาการศกึ ษาค้นคว้า ทัง้ น้ีขน้ึ อยู่กบั วตั ถุประสงค์ของการวิจัย นอกจากน้กี ารวิจยั บางเร่ืองอาจมีประชากรเป้าหมาย หลายกลมุ่ กไ็ ด้

62 จากความหมายของประชากรดังกล่าวข้างตน้ สามารถสรปุ ได้ว่า ประชากร ในการวิจยั หมายถึง หนว่ ยท่ีเราจะศึกษาข้อมลู ทั้งหมด ซึง่ อาจเปน็ กล่มุ ของคน สิ่งของ หน่วยงาน องค์กรหรือสิ่งตา่ ง ๆ ที่ผวู้ ิจยั สนใจ ในทางสงั คมศาสตรเ์ ราจะเน้นไปทต่ี วั บุคคล เช่น จานวน นักศึกษา จานวนอาจารย์ จานวนบุคลากรของวิทยาลัย ดังน้นั การกาหนดประชากรจงึ ข้ึนอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการวิจยั เชน่ ตอ้ งการศึกษาเก่ียวกบั พฤตกิ รรมทางการเมืองของนักศึกษา วทิ ยาลัยชุมชนในปกี ารศึกษา 2554 ประชากรในเร่ืองนกี้ ็คือ นกั ศึกษาวิทยาลยั ชุมชนยโสธร ปีการศึกษา 2554 ทุกคน นอกจากนผ้ี วู้ จิ ยั จะตอ้ งระบุคุณสมบตั ิต่าง ๆ ของประชากรให้ เฉพาะเจาะจงและชดั เจน ซ่งึ นอกจากจะเป็นประโยชนใ์ นการเกบ็ ข้อมูลแล้ว ยงั ทาให้ทราบถงึ ขอบเขตการวจิ ยั วา่ กวา้ งขวางและครอบคลมุ กลมุ่ ใดบา้ ง จะเก็บข้อมูลจากประชากรท้ังหมดหรือจาก กลมุ่ ตวั อยา่ ง ซ่ึงจะมผี ลต่อการสร้างกรอบของการสุม่ ตัวอย่าง (Sampling Frame) 5.1.2 ประเภทของประชากร ประชากรเป็นองค์ประกอบหลกั ทส่ี าคญั ของงานวจิ ัย ซงึ่ หากปราศจากประชากร แล้วเรากไ็ มส่ ามารถที่ดาเนนิ การวิจัยได้ เพราะประชากรเป็นหน่วยทใี่ ห้ขอ้ มูลเพื่อนาไปวเิ คราะห์ และแปลผลการวจิ ยั ตามวตั ถุประสงค์ สาหรบั การวจิ ัยทางสังคมศาสตรแ์ บ่งประเภทของประชากร ออกเป็น 2 ประเภท คอื (ชไมพร กาญจนกจิ สกุล. 2555 : 66) 5.1.2.1 ประชากรท่มี จี านวนจากดั (Finite Population) คือ ประชากรท่ีมี ปริมาณซง่ึ สามารถนับออกมาเปน็ ตวั เลขได้ครบถว้ น เช่น นกั ศึกษาวทิ ยาลัยชมุ ชนยโสธร ปีการศกึ ษา 2554 ประชากรทีม่ ีสทิ ธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกต้ังนายกองค์การบรหิ ารสว่ นตาบลสาราญ อาเภอเมือง จังหวัดยโสธร ในปี 2554 เป็นตน้ 5.1.2.2 ประชากรท่ีมจี านวนไมจ่ ากดั (Infinite Population) คอื ประชากรทม่ี ี ปรมิ าณซ่ึงไมส่ ามารถนบั ออกมาเปน็ ตวั เลขได้ครบถว้ น หรือไม่ทราบจานวนแน่นอน อันเนือ่ งมาจาก มีปริมาณมากจนไม่อาจนบั จานวนได้ เชน่ เมล็ดทรายท่ีบริเวณชายทะเล จานวนตน้ ขา้ วในทอ้ งนา เปน็ ตน้ 5.2 กลุ่มตวั อย่าง ในการวิจัยทางสังคมศาสตรจ์ ะพบอยูเ่ สมอว่าประชากรมีขนาดใหญม่ ากและเกินกาลังผวู้ ิจัย ท่จี ะทาการศึกษาได้ ทาให้จาเปน็ ตอ้ งศึกษาเพียงส่วนหนงึ่ ของประชากร สว่ นหนง่ึ ของประชากร ท่ศี กึ ษาจะต้องมีคณุ สมบัติเป็นตัวแทนท่ดี ี จงึ จาเป็นต้องศึกษาในเรื่องดงั ตอ่ ไปนี้ 5.2.1 ความหมายของกลุ่มตัวอย่าง คาวา่ ความเปน็ ตัวแทนท่ีดขี องประชากร หมายถงึ การมีคณุ สมบัตติ ่าง ๆ ครบถว้ นเทา่ เทียมกนั กับประชากร กลา่ วคือ ถ้าประชากรมีคณุ สมบตั ิใด ๆ กลุม่ ตัวอย่างก็ตอ้ งมี คณุ สมบตั ิอยา่ งน้นั ดว้ ย กลุ่มตัวอย่างทีเ่ ป็นตวั แทนทด่ี ี หมายถงึ กล่มุ ตัวอย่างที่มคี ่าสถิติ (Statistic) ทค่ี านวณไดใ้ กล้เคียงหรอื เกอื บเทา่ คา่ พารามเิ ตอร์ (Parameter) ของประชากร ซึ่งการที่จะได้ กล่มุ ตวั อยา่ งท่ีเปน็ ตวั แทนท่ีดีของประชากรต้องคานึงถึงหลักสาคัญ 2 ประการ คือ จานวนที่เหมาะสม และวิธีการเลอื กท่ตี ้องให้ได้กลุ่มตัวอยา่ งทเ่ี ป็นตัวแทนของประชากรจริง ๆ นักการศึกษาได้เสนอ แนวคิดเกย่ี วกบั ความหมายของกลุ่มตวั อยา่ งไวห้ ลายแงม่ ุม ดงั นี้

63 ลดั ดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอจั ฉรา ชานปิ ระศาสน์ (2547 : 96) กลา่ ววา่ กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง บางส่วนของกล่มุ หรือบางหน่วยของส่ิงทตี่ ้องการศึกษา กลุ่มตัวอยา่ งเปน็ สว่ นหน่ึงของประชากร ดังน้ันกลมุ่ ตัวอยา่ งจึงมีขนาดเลก็ กว่าประชากร คือเปน็ สว่ นหน่ึงของ ประชากร การไดม้ าซึ่งกลุม่ ตัวอยา่ งอาจไดม้ าจากการส่มุ (Sampling) หรือการเลอื กโดยเจาะจง ธรี วุฒิ เอกะกุล (2552 : 120) กล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มของส่งิ ตา่ ง ๆ ทีเ่ ปน็ ส่วนหนงึ่ ของประชากรที่ผู้วจิ ัยสนใจ เพือ่ ทจ่ี ะนาข้อสรุปไปอา้ งองิ กบั ประชากรท้งั หมด ในแผนการวิจยั ได้กาหนดให้เกบ็ ข้อมูลจากประชากรจานวนมาก และอยูก่ ระจัดกระจายทาให้ ไม่สะดวกที่จะศึกษาสว่ นทั้งหมดหรือองคป์ ระกอบทั้งหมดของประชากร กลมุ่ ตวั อย่างจะให้ คุณลักษณะหรือสะท้อนภาพของประชากรทั้งหมดได้ วัลลภ รฐั ฉตั รานนท์ (2554 : 79) กล่าวว่า เป็นส่วนหน่ึงของประชากร ทีท่ าการศกึ ษาเพ่ือท่ีจะนาข้อสรุปไปอนมุ านกบั ประชากรทั้งหมด หรือกลา่ วอีกนยั หน่งึ ว่า เราเลอื ก กล่มุ ตวั อยา่ งเม่อื แผนการวจิ ัยกาหนดให้เกบ็ ขอ้ มูลจากประชากรจานวนมากและอยู่กนั กระจัดกระจาย ทาให้ไมส่ ะดวกทจ่ี ะศึกษาประชากรทัง้ หมดหรือองค์ประกอบทง้ั หมดของประชากรได้ กลุ่มตัวอยา่ ง จะใหค้ ุณลกั ษณะหรือสะท้อนภาพของประชากรท้งั หมดให้เราเห็นประชากรบางสว่ นท่เี รานามาศึกษา คอื ตัวอย่างหรือตวั แทน โดยปกติจะเลือกมาสว่ นหนง่ึ หรือกลมุ่ หน่งึ เพ่ือทาการศึกษา เรยี กว่า “กลุ่มตวั อยา่ ง” ผลการวิจยั เกย่ี วกับประชากรทง้ั หมดจะดีหรือไมด่ ีนนั้ ขึ้นอย่กู บั การเลือก กลมุ่ ตัวอยา่ งหรือตวั แทน ชไมพร กาญจนกิจสกุล (2555 : 66) กล่าววา่ กลมุ่ ตวั อย่าง (Sample) หมายถึง สมาชิกส่วนย่อยของประชากรทเี่ ลือกขนึ้ มาเพ่ือใชเ้ ปน็ ตัวแทนในการศึกษาคณุ ลกั ษณะ บางประการของประชากร ซงึ่ จะเหน็ ไดว้ ่ากลุ่มตัวอยา่ งก็คือส่วนหน่ึงของประชากรและมีขนาดเล็ก กวา่ ประชากร เพ่ือนาผลการศึกษาทไี่ ดจ้ ากกลุ่มตวั อย่างอา้ งองิ ไปยงั กลุ่มประชากร ดงั น้ัน ความเป็นตัวแทนท่ีดี (Representativeness) ของประชากรจึงเป็นคุณลักษณะท่ผี ูว้ จิ ัยควร ให้ความสาคญั เปน็ อยา่ งย่ิง ความหมายของกลมุ่ ตัวอยา่ งดงั กลา่ วข้างต้น สามารถสรปุ ได้ว่า กลมุ่ ตวั อย่าง หมายถึง ตัวแทนของประชากรทีผ่ ู้วิจัยคดั เลือกมาทาการศึกษา ถ้าจานวนประชากรมากผู้วจิ ยั จาเป็นจะตอ้ งคัดเลือกเพยี งส่วนหนึง่ มาศึกษาเพ่ือประหยดั เวลา เงิน และกาลังคน ดงั นน้ั กลุม่ ตัวอย่างจงึ ตอ้ งเป็นส่วนหน่ึงของประชากรแต่ในกรณที ี่ประชากรนอ้ ย ผู้วิจยั สามารถจะศึกษา ไดห้ มดทุกหนว่ ยของประชากร กลมุ่ ตัวอย่างก็คือประชากรท้ังหมด 5.2.2 ลกั ษณะของกลุ่มตัวอยา่ งท่ดี ี กลุ่มตวั อย่างทดี่ จี ะตอ้ งเป็นลักษณะตวั แทนที่ดีของประชากร กลุ่มตวั อยา่ งทจี่ ะเป็น ตัวแทนที่ดขี องประชากรไดน้ ้ัน (กาสัก เต๊ะขนั หมาก. 2553 : 91) มีลกั ษณะดังน้ี 1) มลี กั ษณะ ตรงกับจดุ ม่งุ หมายและข้อตกลงบางอย่างของการวิจยั นั้น 2) มขี นาดพอเหมาะ กล่าวคือ มีจานวน หนว่ ยตวั อย่างไม่มากเกนิ ไป ซึ่งทาให้ส้ินเปลอื งทั้งในด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ทงั้ นต้ี ้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเคร่ืองมอื วดั และลักษณะของการเก็บรวบรวม ขอ้ มูลดว้ ย อย่างไรก็ตามจานวนหนว่ ยตัวอยา่ งกไ็ ม่ควรน้อยจนเกนิ ไป จนทาใหไ้ มส่ ามารถนาค่าสถิติ ที่ได้ไปอา้ งองิ ถึงประชากรได้ 3) ได้มาจากการสุ่มทป่ี ราศจากความลาเอียง น่นั คือ หนว่ ยตัวอยา่ ง

64 ทุกหน่วยในประชากรมีโอกาสทจี่ ะถูกเลือกเปน็ กลุ่มตัวอย่างเท่า ๆ กนั ดังนั้น การสุ่มตัวอยา่ งจึงควร ใชแ้ บบใหโ้ อกาสเท่ากัน (Probability Sampling) ซึ่งจะสามารถนาคา่ สถติ ิจากกลมุ่ ตัวอยา่ งไปอา้ งอิง (Infer) ถึงประชากรทง้ั หมดได้ แตท่ ้ังนต้ี ้องคานงึ ถึงความเหมาะสมกบั ลักษณะของประชากร และเรือ่ งท่ีวิจัยดว้ ย สอดคล้องกับพชิ ิต ฤทธจ์ิ รูญ (2551 : 103) ทีก่ ล่าวว่า กลมุ่ ตวั อยา่ งที่ดี จะตอ้ งมีลักษณะ 3 ประการ คอื 1) มคี วามเป็นตัวแทน (Representativeness) กล่าวคอื เปน็ ตวั อย่างที่มีคุณลักษณะต่าง ๆ ที่สาคญั ของประชากรครบถ้วน หรอื มโี ครงสร้างตา่ ง ๆ เหมอื นกบั ประชากรและถูกสุ่มโดยปราศจากความลาเอยี ง 2) มขี นาดเหมาะสมหรือใหญ่พอ (Adequate Size or Large Sample) จานวนกล่มุ ตวั อยา่ งที่ใชต้ ้องมีขนาดพอเหมาะไมน่ ้อยเกนิ ไป ควรมี ขนาดใหญ่พอที่จะทาใหเ้ กิดความเชื่อมนั่ ทางสถิติทีจ่ ะอา้ งอิงไปยังประชากรได้ หรอื เกดิ ความ คลาดเคลอ่ื นในขนาดที่ยอมรับได้ และ 3) มีความเชอื่ ถือได้ (Reliable) ขอ้ มลู ทไี่ ด้จากกลมุ่ ตวั อย่าง จะเปน็ ข้อมูลท่ีถกู ต้องเชือ่ ถือได้ ผวู้ จิ ัยจะตอ้ งมกี ระบวนการตดิ ตามเกบ็ ข้อมลู อยา่ งเข้มงวด เพอ่ื ไม่ให้ มขี ้อมูลท่ีไม่ชัดเจนหรอื ไม่สมบูรณจ์ ากกลุ่มตัวอยา่ ง สรปุ ไดว้ ่า กลมุ่ ตัวอย่างทดี่ ีควรมีลักษณะเปน็ ตวั แทนของประชากร กลา่ วคือ กลมุ่ ตัวอยา่ งจะต้องมลี ักษณะต่าง ๆ เหมอื นกับลกั ษณะของประชากร ถา้ ย่งิ เหมือนกนั มากจานวน ตัวอย่างที่ใชใ้ นการวิจยั ก็ไม่จาเปน็ ตอ้ งมีจานวนมาก แต่ถา้ เหมือนกันน้อยจานวนตัวอยา่ งที่ใช้ ในการวจิ ัยก็จาเป็นต้องมจี านวนมาก ซ่งึ กลมุ่ ตัวอย่างควรไดม้ าโดยใช้วิธีการอาศัยความน่าจะเปน็ (Probability Procedure) เพอ่ื ให้สอดคล้องกับเงือ่ นไขของสถิตทิ น่ี ามาใช้วเิ คราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะสถิติท่ีใชใ้ นการสรุปอ้างอิงไปยังประชากร จะมีเงื่อนไขของการใชส้ ถิตวิ ่ากลุ่มตวั อย่าง จะต้องไดม้ าจากการส่มุ และจะตอ้ งมขี นาดพอเหมาะ เพียงพอทจ่ี ะสามารถทดสอบทางสถิตไิ ด้ เพ่ือทวี่ ่าผลการวจิ ัยท่ไี ดจ้ ะสามารถสรุปอ้างอิงไปสปู่ ระชากรอยา่ งเชือ่ ถือได้ 5.3 การเลือกกลมุ่ ตัวอย่าง การเลอื กกลุ่มตวั อยา่ งเปน็ ข้นั ตอนท่สี าคัญขัน้ ตอนหนึ่งของการวจิ ยั เพราะการเลอื กกลุ่ม ตัวอยา่ งหรอื ตวั แทนที่ดมี าศึกษาจะทาใหส้ รปุ อา้ งอิงไปสูป่ ระชากรท่ีไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง จึงควรทาความ เขา้ ใจในเรื่องดงั ต่อไปน้ี 5.3.1 ความหมายของการเลอื กกลุ่มตัวอยา่ ง การเลือกกล่มุ ตัวอยา่ ง (Sampling) หมายถึง กระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากประชากรเป้าหมายอย่างเป็นระบบ โดยการเลือกเอาส่วนประกอบของประชากรจานวนหนึง่ เพอื่ ใหก้ ลุ่มตวั อย่างนี้ทาหนา้ ทีเ่ ปน็ ตัวแทนของประชากรในการใหข้ ้อมลู ทัง้ น้ี เพื่อให้ข้อมูลทไี่ ดร้ ับ จากกลุ่มตวั อย่างสามารถใช้แทนข้อมลู ของประชากรได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ กล่าวคอื (วัลลภ รัตฉัตรานนท์. 2554 : 80) ผลการศึกษาสรปุ ได้เป็นอย่างไรถือวา่ เปน็ ข้อสรุปจากประชากรทัง้ หมด ซง่ึ การทีจ่ ะได้กลมุ่ ตวั อย่างทเ่ี ปน็ ตวั แทนทด่ี ตี ้องคานึงถึง 2 เร่อื ง คอื 1) ขนาดของกลุ่มตวั อยา่ ง ย่ิงมขี นาดกลุ่มตวั อย่างใกล้เคียงกับกลมุ่ ประชากรมากเพียงใด กใ็ ช้โอกาสเป็นตวั แทนที่ดีมากขนึ้ เพยี งน้นั และ 2) วธิ ีเลือกตัวอย่างทเี่ หมาะสมจะทาให้กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะความเป็นตัวแทนของ ประชากรได้ โดยท่ีขนาดของกลุ่มตัวอยา่ งไม่จาเป็นต้องใหญม่ ากกไ็ ด้

65 5.3.2 ประโยชน์ของการเลือกกลุ่มตวั อยา่ ง ในการวจิ ัยทางสังคมศาสตร์มักมีจดุ มุ่งหมายเพื่ออธบิ ายหรือหาข้อสรุปคณุ ลักษณะของ ประชากรที่ต้องการศึกษา ซ่ึงโดยหลักการผูว้ ิจยั ควรศึกษาจากประชากรทั้งหมด แต่อาจจะด้วยเหตุผล ด้านเวลา ค่าใชจ้ า่ ย หรือการบรหิ ารจัดการ ผวู้ จิ ัยจงึ มกั ใช้กลุ่มตัวอย่างแทนประชากร การเลอื กใช้ กลมุ่ ตัวอย่างจึงเป็นประโยชน์ตอ่ การวจิ ยั หลายประการ (กาสัก เตะ๊ ขนั หมาก. 2553 : 90) คือ 1) ลดคา่ ใชจ้ า่ ย เพราะการศึกษาจากกล่มุ ตวั อย่างจานวนน้อยย่อมทาให้ประหยัดค่าใชจ้ ่ายได้ เช่น ค่าใชจ้ า่ ยในการเดนิ ทางไปเก็บรวบรวมข้อมูล คา่ ใช้จา่ ยในการพมิ พแ์ บบสอบถาม ค่าใช้จ่ายในการ วเิ คราะห์ข้อมลู เปน็ ต้น 2) มีความรวดเร็วมากขน้ึ เพราะการศึกษาจากกลุ่มตวั อย่างจานวนนอ้ ย ทาให้การวจิ ัยได้เรว็ ขน้ึ ทงั้ ในด้านการเกบ็ รวบรวมข้อมูล และการวเิ คราะห์ข้อมลู 3) สามารถขยาย ขอบเขตในการเกบ็ ข้อมลู ไดม้ ากชนิดขึน้ เพราะในการวิจยั บางเรือ่ งนักวจิ ยั ไม่สามารถเก็บรวบรวม ข้อมลู จากประชากรได้ โดยเฉพาะประชากรที่มจี านวนไมจ่ ากัด และ 4) มคี วามถูกต้องแมน่ ยา มากขน้ึ เพราะการศึกษากับกลมุ่ ตวั อย่างจานวนน้อย จะทาใหส้ ามารถเก็บรวบรวมขอ้ มูลได้ถูกตอ้ ง สมบูรณ์และโอกาสท่จี ะผดิ พลาด เนื่องจากการวิเคราะหข์ ้อมูลจะลดนอ้ ยลง นอกจากนย้ี ังทาให้ สามารถตรวจสอบความถกู ต้องในดา้ นการรวบรวมข้อมลู และการคานวณได้งา่ ย นอกจากน้ี พิชติ ฤทธ์จิ รญู (2551 : 102) เสนอว่า การเลือกกลุ่มตัวอยา่ งมปี ระโยชนด์ ังนี้ 1) ประหยดั เวลา แรงงาน และงบประมาณในการดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมลู เนอ่ื งจากการเกบ็ รวบรวมข้อมูลจาก กลมุ่ ตัวอยา่ งจะเก็บข้อมูลจากสมาชิกที่มีจานวนน้อยกว่าเก็บจากประชากรจึงทาให้ใชเ้ วลาน้อยกว่า เจ้าหนา้ ท่ที ี่ใช้เกบ็ ข้อมูลกน็ ้อยกว่า และสิ้นเปลอื งคา่ ใช้จ่ายน้อยกว่าการเกบ็ จากสมาชกิ ทุกหนว่ ยใน ประชากร 2) ได้ขอ้ มูลที่ทันสมัย เน่ืองจากการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู บางอย่างกับประชากรทมี่ ีขนาด ใหญ่ ทาใหต้ อ้ งใช้เวลาในการเกบ็ และการวิเคราะหข์ ้อมลู เป็นเวลานาน อาจทาใหผ้ ลท่ไี ด้ลา้ สมัย 3) ทาให้การรายงานผลการวิจยั ทาได้รวดเรว็ เนอื่ งจากเก็บรวบรวมขอ้ มูลจากกลมุ่ ตวั อยา่ งมีจานวน น้อยกวา่ เก็บจากประชากร ระยะเวลาในการเก็บขอ้ มลู จึงไม่นาน สามารถจดั ทารายงานการวิจัยได้ รวดเรว็ และผลการวิจยั ก็สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ทันความต้องการ 4) ข้อมูลที่เก็บไดม้ ีความ ถูกต้องเชื่อถอื ได้มากกวา่ เน่ืองจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจานวนนอ้ ยทาใหม้ เี วลาในการตรวจสอบ ความถูกตอ้ งของข้อมลู และแก้ไขขอ้ ผดิ พลาดตา่ ง ๆ 5) ลดปญั หาดา้ นการบริหารงานวิจยั เนอ่ื งจาก ถา้ ใชป้ ระชากรมากต้องใชเ้ จ้าหน้าที่ วัสดุ และค่าใช้จา่ ยมากตามไปด้วย ย่อมมปี ญั หาในการบริหาร งานวิจัยตามมา ซง่ึ หากใชก้ ลุ่มตวั อย่างปญั หาในการบริหารงานวิจัยจะน้อยลง ประหยัดกวา่ และสามารถขยายขอบเขตการศกึ ษาได้กว้างกว่าการเก็บข้อมลู จานวนเท่ากนั จากประชากร และ 6) การศึกษาบางเร่ืองไมจ่ าเป็นตอ้ งศึกษากบั ประชากร ข้อมูลบางอยา่ งศึกษากับประชากร หรอื กล่มุ ตัวอย่างกเ็ กิดประโยชน์ไมแ่ ตกต่างกัน และข้อมลู บางอย่างไมส่ ามารถศึกษาจากประชากรได้ ประโยชนข์ องการเลือกกลมุ่ ตัวอยา่ งดงั กล่าวข้างต้น สามารถสรปุ ได้วา่ การเลือกใช้ กลมุ่ ตวั อย่างแทนประชากรเป้าหมายมปี ระโยชนต์ ่อผู้วิจัยในด้านต่าง ๆ คือ 1) ประหยดั คา่ ใช้จา่ ย เวลาและแรงงานในการศึกษาวจิ ัย การใช้กลุ่มตวั อย่างทาให้เสียงบประมาณหรอื เงนิ น้อยลงเพราะ จานวนคนที่ศกึ ษามีน้อยกว่าประชากรทงั้ หมด รวมทั้งการใช้กลุ่มตวั อยา่ งน้อยจะชว่ ยประหยัดเวลา และแรงงานในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการประมวลผลและวเิ คราะหข์ ้อมลู 2) ชว่ ยให้การ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู สะดวกและรวดเร็ว การศึกษากบั ประชากรทั้งหมดจะทาให้เกิดความยุ่งยากในแง่

66 ของการบริหารงาน 3) การใช้กลมุ่ ตวั อยา่ งน้อยทาให้มเี วลาพอทจ่ี ะตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ไดง้ ่าย ซึ่งจะทาให้ผลการวิจยั ถูกต้อง แมน่ ยา และเชอื่ ถอื ได้สูงกว่า และ 4) สามารถศึกษาข้อมลู ได้ กว้างและลกึ ซงึ้ กวา่ อยา่ งไรกต็ ามการวิจยั ทีใ่ ช้กล่มุ ตัวอย่างกม็ ีข้อจากัด การที่จะให้กลุ่มตัวอยา่ ง เป็นตัวแทนท่ีดขี องประชากรนน้ั ตอ้ งมีการพิจารณาและวางแผนในการสมุ่ อยา่ งถูกต้อง และตอ้ ง ดาเนนิ ไปตามแผนทวี่ างเอาไว้ 5.3.3 ลาดับขัน้ ในการเลอื กกลุม่ ตวั อย่าง การศกึ ษาข้อมูลโดยใช้กล่มุ ตวั อยา่ งแทนประชากรนั้นไม่ได้ทาเพยี งเพอื่ ใหเ้ กบ็ ข้อมลู สะดวก เกบ็ ข้อมลู จากตัวแทนประชากรท่มี จี านวนน้อยลง และช่วยให้การเก็บข้อมลู งา่ ยขนึ้ เทา่ นน้ั แตจ่ ะต้องตระหนกั ถึงความเป็นตัวแทนของประชากรทง้ั หมด (สนิ พันธ์ุพนิ ิจ. 2551 : 117) การท่ผี ู้วิจัยจะคัดเลือกตัวแทนของประชากรได้ดีท่ีสดุ มีลาดับขน้ั ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างคอื 1) การนยิ ามประชากร ผวู้ จิ ัยต้องกาหนดขอบเขตและให้คาจากัดความของประชากรที่จะศกึ ษาให้ ชดั เจนวา่ ประชากรหมายถงึ ใคร หรอื หมายถงึ อะไร มหี น่วยการวัดอยา่ งไร โดยกาหนดใหส้ อดคล้อง กับวัตถปุ ระสงค์และระเบียบวิธีการวิจัยท่อี อกแบบไว้เพ่ือจะทาใหก้ ารเลือกตวั อยา่ งงา่ ยและไดต้ ัว แทนที่ดี 2) การจัดทาบัญชรี ายชือ่ ประชากร หลงั จากผ้วู ิจัยไดน้ ยิ ามประชากรแลว้ ข้นั ตอ่ มาต้อง จัดทาบญั ชีประชากรท่มี ีอยู่ในปัจจบุ ันเปน็ กรอบของการเลือกตวั อย่าง เพราะสมาชิกของประชากร บางคนหรือบางอย่างอาจไม่อยู่ บางคนอาจย้ายออกไป หรอื พน้ จากบัญชปี ระชากรไปนานแลว้ นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบว่าบญั ชรี ายชอ่ื สมาชกิ ประชากรได้มาอย่างไร มอี คตหิ รือไม่ เชน่ ถา้ จะศึกษาเกษตรกรที่ทาการเกษตรทฤษฎใี หม่ ควรขอบญั ชรี ายชอื่ เกษตรกรจากสานักงานเกษตร อาเภอ สานกั งานเกษตรจังหวัด หรือสานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวดั จากนน้ั จึงจัดทาบัญชี รายชือ่ ประชากรใหเ้ ป็นปัจจบุ ันไวเ้ พ่ือดาเนนิ การเลือกตัวอย่างตอ่ ไป 3) การกาหนดขนาดของกลมุ่ ตวั อย่าง ตอ้ งกาหนดขนาดกลุม่ ตวั อย่างเปน็ สดั ส่วนกบั จานวนประชากรในอัตราที่เหมาะสมจึงจะได้ ตวั แทนทใี่ ห้ข้อมูลท่ีดี การจะกาหนดขนาดของกลมุ่ ตัวอยา่ งว่าต้องมีขนาดใหญ่เพียงใดต้องพจิ ารณา จากธรรมชาติของประชากร วิธีการเลอื กตัวอย่าง และระดบั ความถูกต้อง เพราะบางคนกลา่ ววา่ กลุ่มตวั อย่างขนาดเล็กอาจไม่เปน็ ตัวแทนที่ดี และ 4) การคดั เลือกตวั อยา่ ง หลังจากผู้วิจัย ดาเนนิ การตามขั้นตอนท่ี 1 - 3 เรียบร้อยแล้ว กล็ งมือคดั เลือกตวั อยา่ งตามท่ีต้องการให้ได้ตัวอย่าง หรอื ตัวแทนที่ไมม่ ีอคติและลดความคลาดเคล่ือนอย่างเปน็ ระบบ การคัดเลือกตัวอย่างใช้วิธกี าร 2 วธิ คี อื การเลอื กตัวอยา่ งแบบความน่าจะเป็นและการเลือกตัวอย่างแบบไม่มีความนา่ จะเปน็ นอกจากนน้ั บญุ ชม ศรีสะอาด (2543 : 35-36) และกาจดั เกตุสวุ รรณ (2537 : 118 - 119) ไดเ้ สนอข้ันตอนในการเลือกกล่มุ ตัวอยา่ งไวส้ อดคลอ้ งกนั ว่า ผ้วู จิ ัยอาจวางแผนดาเนินการเปน็ ลาดบั ดงั นี้ 1) พิจารณาจุดมงุ่ หมายของการวิจยั เพราะจุดมงุ่ หมายของการวจิ ัยเป็นตัวบ่งช้ีให้ทราบวา่ ประชากรคืออะไร และตวั แปรท่ีจะศึกษานนั้ มีอะไรบา้ ง หรือจะต้องแยกประชากรเป็นกลุ่มหรอื ไม่ อยา่ งไร 2) ให้คาจากัดความของประชากร เป็นการกาหนดวา่ ประชากรทีใ่ ชใ้ นการวิจยั หมายถงึ อะไร ท่ไี หน และเมื่อไร โดยกาหนดให้สอดคล้องกับจดุ ม่งุ หมายของการวจิ ยั 3) กาหนดตัวแปร หรอื ข้อมลู โดยพจิ ารณาจากจุดมงุ่ หมาย เชน่ ระดบั ช้ัน ทงั้ นี้เพอ่ื ใชใ้ นการแยกกล่มุ ตัวอย่าง

67 4) ศึกษาลกั ษณะของประชากร เพ่ือเปน็ แนวทางในการกาหนดตัวอย่าง 5) กาหนดขอบขา่ ยของ ประชากร เปน็ การรวบรวมรายชอ่ื ของหนว่ ยตวั อย่างท้ังหมดทีเ่ ป็นประชากร เพ่ือนามาใช้ในการเลอื ก กลมุ่ ตวั อยา่ ง 6) กาหนดวธิ ีในการเลือกกลุ่มตวั อย่าง เป็นการกาหนดว่าจะเลือกกลมุ่ ตวั อย่าง ดว้ ยวิธีใด ซึง่ จะใชว้ ธิ ีใดย่อมขึ้นอยู่กบั ความเหมาะสมกับลักษณะประชากร ลกั ษณะของหัวขอ้ ปญั หา การวิจยั และจดุ มุง่ หมายของการวจิ ัย 7) กาหนดจานวนตัวอยา่ ง หรือขนาดของกลุ่มตัวอยา่ ง โดยพจิ ารณาวา่ ควรจะใช้กลมุ่ ตัวอย่างขนาดใด จงึ จะเป็นตวั แทนท่ีดีของประชากร และ 8) ทาการ เลอื กกลุ่มตัวอยา่ ง เปน็ การเลือกตวั อย่างจากประชากรทงั้ หมดตามวิธีการท่ีกาหนดไวแ้ ลว้ ลาดับข้ันในการเลือกกลมุ่ ตัวอยา่ งดังกลา่ วข้างต้น สามารถสรุปได้วา่ กลุม่ ตัวอย่าง ที่ดี เปน็ กล่มุ ตัวอยา่ งท่ีมลี ักษณะตา่ ง ๆ ท่สี าคัญครบถว้ นเหมอื นกับประชากรท่ใี ช้ในการวจิ ยั และเป็นตวั แทนท่ีดีของประชากรได้ รวมทัง้ ยงั ชว่ ยประหยัดงบประมาณและเวลา เนอื่ งจากผ้วู ิจยั สามารถท่จี ะสรุปขอ้ มลู ต่าง ๆ ของประชากรได้อย่างถกู ต้องใกล้เคียงความเปน็ จริง ลาดับขัน้ ในการ เลอื กกลุ่มตัวอย่างมขี ั้นตอนท่ีสาคญั ได้แก่ 5.3.3.1 พิจารณาวัตถปุ ระสงค์ของการวิจยั วัตถปุ ระสงค์ของการวจิ ัยจะเปน็ ตวั บง่ ช้ีว่าประชากรทจ่ี ะใชใ้ นการศกึ ษาวิจัยเรื่องนนั้ ๆ คืออะไร ตัวแปรที่จะศกึ ษามีอะไรบ้าง ในการ วจิ ยั ผ้วู ิจัยจะต้องแยกประชากรเปน็ กลุม่ หรอื ไม่ ตวั แปรจะแบ่งออกเปน็ กลุม่ ย่อยได้อย่างไร 5.3.3.2 ใหค้ าจากดั ความของประชากร เปน็ การระบุขอบเขตและลักษณะ ของประชาการทีจ่ ะศึกษา เพื่อใหท้ ราบวา่ ประชากรทต่ี ้องการศกึ ษานั้นมขี อบเขตกว้างขวางแค่ไหน และคณุ ลักษณะของประชากรคอื อะไรบ้าง 5.3.3.3 กาหนดประชากรเป้าหมาย ก่อนท่จี ะลงมือส่มุ ตวั อย่าง ผ้วู ิจัยจะตอ้ ง กาหนดประชากรเป้าหมายให้ชัดเจนวา่ เปน็ ใคร ประกอบด้วยอะไรบ้าง จะช่วยให้ผวู้ จิ ัยกาหนดไดว้ ่า หน่วยในการส่มุ คืออะไร หน่วยในการสมุ่ ไม่จาเปน็ ต้องเป็นคนเสมอไป อาจจะเป็นห้องเรียน โรงเรยี น หมู่บ้าน ฯลฯ ก็ได้ ขึ้นอยกู่ ับการกาหนดประชากรเป้าหมายของผูว้ ิจัย 5.3.3.4 บันทกึ รวบรวมรายชอื่ สมาชกิ ท้ังหมดในประชากร หลงั จากผู้วจิ ยั ไดก้ าหนดประชากรเปา้ หมายอย่างชดั เจนแลว้ ผู้วจิ ยั ควรจะบนั ทกึ รวบรวมรายช่ือสมาชดิ ทงั้ หมด ในประชากร ซ่ึงรายชื่อเหลา่ นี้ควรจะเป็นรายชือ่ ท่ีมอี ยู่ในปจั จบุ ันท่ีทนั สมัยท่สี ุด สาหรับขอ้ บกพร่อง ทจ่ี ะเกิดข้ึนในขน้ั ตอนน้ีคือ 1) รายชือ่ สมาชิกซ้าซ้อนกัน 2) รายชอ่ื สมาชิกบางหนว่ ยยังปรากฏอยู่ ในข้อมลู ทั้ง ๆ ทีไ่ มม่ ีแล้วในปัจจบุ นั 3) รายชื่อทมี่ ีไม่ครอบคลมุ สมาชิกทั้งหมดในประชากเปา้ หมาย 5.3.3.5 การประมาณขนาดของกลุม่ ตัวอย่าง ขึน้ อยกู่ ับองคป์ ระกอบหลายดา้ น เชน่ เงอ่ื นไขและความจากดั ในเร่อื งเวลา แรงงาน งบประมาณของผวู้ จิ ยั 5.3.3.6 กาหนดวิธกี ารสมุ่ ตัวอย่าง ผูว้ จิ ัยส่มุ ตวั อยา่ งโดยใชเ้ ทคนิคการสุ่ม ตัวอยา่ งท่ีเหมาะสมกับวัตถุประสงคข์ องการวจิ ัย และสภาพการณน์ ั้น ๆ 5.3.3.7 การใช้กลุม่ ตวั อย่างทมี่ ีขนาดเหมาะสม ถ้าหากประชากรเป้าหมาย มลี กั ษณะทเี่ ปน็ เอกลักษณ์คือ มคี วามคลา้ ยคลงึ กนั เหมือน ๆ กัน กลุม่ ตวั อย่างไมจ่ าเป็นต้องมีขนาด ใหญม่ ากนัก แตถ่ า้ ประชากรมีลกั ษณะที่มคี วามแตกตา่ งกันมาก กลมุ่ ตัวอยา่ งควรจะมีขนาดใหญ่ แต่อยา่ งไรก็ตาม การเพ่มิ ขนาดของกล่มุ ตวั อยา่ งเพียงอยา่ งเดยี วไม่ไดเ้ ป็นการรับรองวา่ จะได้ กลุ่มตวั อยา่ งทีเ่ ปน็ ตวั แทนทดี่ ีของประชากร ถา้ ผ้วู ิจยั ไม่ไดใ้ ชเ้ ทคนคิ การสุ่มตวั อย่างท่ีเหมาะสม

68 5.3.4 ขนาดของกลุม่ ตัวอย่าง ในการวจิ ยั ท่จี ะศึกษาจากกลุ่มตัวอยา่ งน้ัน ผลการวจิ ยั จะเชื่อถอื ไดห้ รอื ไม่มากน้อย เพยี งใดย่อมขึ้นอยู่กับกลุม่ ตวั อยา่ ง กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างน้ันมลี กั ษณะเปน็ ตวั แทนที่ดีของประชากร หรอื ไม่ ซง่ึ การที่กลุ่มตัวอยา่ งจะเปน็ ตัวแทนท่ีดขี องประชากรได้นั้นกย็ อ่ มขึน้ อยกู่ บั ขนาดของ กลุ่มตวั อยา่ งและวิธกี ารสุ่ม ดังนั้น ขนาดของกลุ่มตวั อยา่ งจึงมคี วามสาคัญตอ่ การนาผลที่ได้จาก การวิเคราะห์ขอ้ มลู ไปอา้ งอิงประชากร โดยจะตอ้ งคานงึ ถึงเรอ่ื งดงั ต่อไปนี้ 5.3.4.1 ปัจจยั ในการพิจารณาขนาดของตวั อย่าง ในการกาหนดขนาดของกลมุ่ ตัวอยา่ งนั้น มักเป็นปญั หาสาหรับผู้วจิ ยั เสมอ กล่าวคอื ไมท่ ราบว่าจะใชก้ ลุ่มตัวอยา่ งขนาดใดจงึ เหมาะสม สชุ าติ ประสิทธ์รฐั สนิ ธุ์ (2538 : 107) กล่าววา่ ไม่มีขนาดของกลุ่มตัวอยา่ งทีเ่ หมาะสมท่สี ุด เพราะขนาดของตัวอย่างท่ีเหมาะสมท่จี ะใช้ จรงิ ๆ ในการวจิ ัยทางสงั คมศาสตร์นนั้ ขึน้ อยู่กับปจั จัยต่าง ๆ ท่ีสาคัญ คือ 1) ความแปรปรวนของประชากรท่จี ะสุ่ม หรือความแตกต่างของ กลุม่ ประชากรทจี่ ะศกึ ษา หากไม่มีความแตกตา่ งกนั เลย (Homogeneity) ตวั อย่างในการศกึ ษาจะใช้ เพียงรายเดียวก็ไดแ้ ต่ในความเปน็ จรงิ แล้วคนเรายอ่ มจะแตกตา่ งกันอยา่ งมากมาย (Heterogeneity) ไม่วา่ จะเป็นเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ทัศนคติ และอน่ื ๆ ซึง่ จะมผี ลทาให้เกดิ ความแตกต่างกัน ในเร่อื งอ่ืน ๆ ดว้ ย ดงั นั้น หากประชากรทีจ่ ะศึกษาย่ิงมีความแตกต่างกันในเร่ืองตา่ ง ๆ มากเทา่ ไร จานวนตัวอยา่ งก็จะมมี ากเทา่ น้ัน 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย พิจารณาจากจานวนประเด็นทจี่ ะศึกษา และตัวแปรต่าง ๆ หากมีประเด็น หรอื ตัวแปรท่ีต้องการศึกษามาก จานวนตวั อย่างก็จะมากตามไป ด้วย 3) เทคนิคท่ีใชใ้ นการสมุ่ ตัวอย่าง ซงึ่ การส่มุ ตัวอย่างแต่ละวิธมี ีผลทาให้ จานวนตวั อยา่ งไม่เท่ากัน เชน่ ถ้าการวจิ ยั น้ันใชก้ ารส่มุ ตวั อย่างแบบแบง่ ชัน้ จานวนตัวอยา่ งทจ่ี ะใช้ ก็จะน้อยกวา่ การวจิ ัยท่ีใช้การสุ่มตวั อยา่ งแบบบังเอิญ ซ่ึงถือว่าเปน็ การสุม่ ตัวอยา่ งทต่ี ้องใช้จานวน ตัวแทนมากทีส่ ุดในบรรดาเทคนคิ การสุ่มตัวอย่างทง้ั หมด เป็นตน้ 4) ระยะเวลา บุคลากร หรืองบประมาณในการทาวจิ ยั คือ ถ้ามเี วลา ไม่มาก บุคลากรและงบประมาณจากดั จานวนตัวอย่างทจ่ี ะศึกษากย็ ่อมน้อยลงตามไปด้วย แตใ่ นทาง ตรงกนั ข้าม ถา้ มีเวลามาก บุคลากรพร้อม ตลอดจนงบประมาณมมี ากจานวนตัวอย่างก็อาจจะ มากข้ึนได้ 5.3.4.2 กาหนดขนาดของกลุ่มตัวอยา่ ง การกาหนดกล่มุ ตัวอย่างที่เหมาะสมมีหลายวธิ ี ถา้ เปน็ การเลือกกลุ่มตวั อย่าง แบบใหโ้ อกาสเทา่ กัน (Probability Sampling) ก็อาจใช้สตู รในการคานวณขนาดของกลมุ่ ตวั อยา่ งได้ แต่ตอ้ งคานงึ ถึงลกั ษณะของข้อมูลและวธิ กี ารเลือกกลุ่มตัวอยา่ งดว้ ย จึงทาใหต้ ้องใช้สูตรในการคานวณ ขนาดของกลุ่มตวั อยา่ งต่างกนั นอกจากน้ีในการคานวณยงั ต้องประมาณค่าพารามเิ ตอรบ์ างตวั เสยี กอ่ น ซ่งึ การวิจัยโดยทัว่ ไปมักไม่ทราบคา่ พารามิเตอร์ ดังนั้น การคานวณขนาดของกลุ่มตวั อย่างโดยใชส้ ตู ร ทางสถติ ิจึงค่อนข้างยาก นักวจิ ัยจึงมกั หลีกเล่ยี งการคานวณ แล้วหนั ไปใช้วธิ ีการดงั น้ี

69 1) วธิ ีประมาณจากจานวนประชากรตามความเหมาะสม บญุ ชม ศรสี ะอาด (2543 : 38) ได้เสนอวธิ ีกาหนดกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของประชากร ดังนี้ จานวนประชากรท้งั หมดเป็นหลักร้อย ใชก้ ลุ่มตัวอยา่ ง 15 – 30 % จานวนประชากรท้ังหมดเปน็ หลักพนั ใช้กลุ่มตวั อยา่ ง 10 – 15 % จานวนประชากรท้ังหมดเป็นหลักหมนื่ ใชก้ ล่มุ ตวั อย่าง 5 - 10 % 2) วธิ ีประมาณกลุ่มตัวอย่างตามสูตรหรอื จากตารางที่มผี ู้ทาไว้แลว้ โดยผวู้ จิ ัยจะตอ้ งพิจารณาว่าเรอื่ งที่วจิ ัยนน้ั ตอ้ งการความถูกตอ้ งแมน่ ยาในการสมุ่ หรือยอมให้เกิด ความคลาดเคล่ือนในการสุม่ เทา่ ใด หรอื ในระดบั ความม่ันใจในการสมุ่ เทา่ ใด เช่น ยอมใหเ้ กิด ความคลาดเคลื่อนในการสมุ่ ได้ 5% หมายความว่า คา่ ท่ีศกึ ษาได้จากกลมุ่ ตวั อยา่ งจะคลาดเคล่ือน ไปจากค่าของประชากรอยรู่ ะหวา่ ง -5% ถึง +5% และค่าความคลาดเคลอ่ื นท่เี ปน็ เช่นนี้ จะเชือ่ มัน่ ได้ 95% เป็นตน้ ดงั น้ี (วลั ลภ รัฐฉัตรานนท.์ 2554 : 80 - 84) 2.1) ใชส้ ตู รในการคานวณตัวอยา่ ง โดยใช้จานวนตวั แปรอิสระและ ตวั แปรตามเป็นสาคัญ คือ จานวนตวั อยา่ ง = rn  20 เม่อื n = จานวนตัวแปรอิสระ r = จานวนตวั แปรตาม ตวั อย่างเชน่ ต้องการศึกษาธรรมาภิบาลในการบริหารงานของ นายกองค์การบริหารส่วนตาบล โดยแบง่ ออกเปน็ 3 ระดับ คอื สูง ปานกลาง และต่า นัน่ คือ จานวนตวั แปรตาม (r) = 3 และถ้าจะศึกษาโดยแบ่งนายกองคก์ ารบริหารส่วนตาบลตาม วุฒกิ ารศกึ ษา อายุ และจานวนวาระในการดารงตาแหนง่ ดังนัน้ ตวั แปรอสิ ระ (n) = 3 ดังนน้ั จานวนตวั อยา่ ง = 33 x 20 = 540 คน 2.2) ใชส้ ูตรในการคานวณตัวอยา่ งโดยใช้จานวนประชากร และความ คลาดเคลอ่ื นทย่ี อมให้มีไดเ้ ปน็ สาคัญซ่งึ เปน็ สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) คือ จานวนตวั อยา่ ง (n) = Ν 1 + Νe2 เมื่อ N = จานวนประชากร e = ความคลาดเคลื่อนที่ยอมใหเ้ กิดข้นึ ได้ ตวั อยา่ ง ถ้าจานวนประชากร 4,850 คน ยอมใหม้ ีความคลาดเคลื่อน ในการเลือกตัวอยา่ งได้ร้อยละ 5 จะต้องใช้ขนาดตัวอย่าง จานวนตวั อยา่ ง = 4,850 1 4,850(.05)2 = 4,850 1  12.125 = 369.52

70 ฉะน้ัน ขนาดตัวอยา่ ง = 370 คน สาหรบั ตารางกาหนดขนาดกลุม่ ตัวอยา่ งของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ทรี่ ะดับความเช่ือมน่ั 95% และ 99% ปรากฏตามตาราง 5.1 และ 5.2 ตาราง 5.1 ตารางกาหนดขนาดกล่มุ ตวั อยา่ งของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ท่รี ะดับ ความเช่อื ม่ัน 95% จานวน จานวนตวั อย่าง (n) ทรี่ ะดบั ความคลาดเคลือ่ น (e) ประชากร (N) 1% 2% 3% 4% 5% 10% 500 * * * * 222 83 91 1,000 * * * 385 286 94 95 1,500 * * 638 441 316 96 2,000 * * 714 476 333 97 97 2,500 * 1,250 769 500 345 98 98 3,000 * 1,364 811 517 353 98 3,500 * 1,458 843 530 359 4,000 * 1,538 870 541 364 98 4,500 * 1,307 891 549 367 99 5,000 * 1,667 909 556 370 99 99 6,000 * 1,765 938 566 375 99 7,000 * 1,842 959 574 378 8,000 * 1,905 976 580 381 9,000 * 1,957 989 584 383 10,000 5,000 2,000 1,000 588 385 15,000 6,000 2,143 1,034 600 390 99 20,000 6,667 2,222 1,053 606 392 100 25,000 7,143 2,273 1,064 610 394 100 50,000 8,333 2,381 1,087 617 397 100 100,000 9,091 2,439 1,099 621 398 100  10,000 2,500 1,111 625 400 100 ทมี่ า : Yamane, Taro. (1976 : 1088) หมายเหตุ ตรงท่มี ีเคร่อื งหมาย * เป็นกรณที ี่ขอ้ ตกลงเบือ้ งต้นเกย่ี วกับการกระจายแบบโค้งปกติ ไมส่ ามารถนามาใชไ้ ด้

71 ตาราง 5.2 ตารางกาหนดขนาดกลุ่มตัวอยา่ งของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ทีร่ ะดบั ความเช่ือมั่น 99% จานวน จานวนตัวอยา่ ง (n) ท่รี ะดับความคลาดเคล่อื น (e) ประชากร (N) 1% 2% 3% 4% 5% 500 * * * b b 1,000 * * * b 474 1,500 * * * 726 563 2,000 * * * 826 621 2,500 * * * 900 662 3,000 * * 1,364 958 692 3,500 * 4,000 * * 1,458 1,003 761 4,500 * 5,000 * * 1,539 1,041 735 * 1,607 1,071 750 * 1,667 1,098 763 6,000 * 2,903 1,765 1,139 783 7,000 * 3,119 1,842 1,171 798 8,000 * 3,303 1,905 1,196 809 9,000 * 3,462 1,957 1,216 818 10,000 * 3,600 2,000 1,283 826 15,000 * 4,091 2,143 1,286 849 20,000 * 4,390 2,222 1,314 861 25,000 11,842 4,592 2,273 1,331 869 50,000 15,517 5,056 2,381 1,368 884 100,000 18,367 5,325 2,439 1,387 892  22,500 5,625 2,500 1,406 900 ที่มา : Yamane, Taro. (1976 : 1089) หมายเหตุ ตรงท่ีมเี คร่อื งหมาย * เป็นกรณีท่ีข้อตกลงเบือ้ งต้นเกยี่ วกับการกระจายแบบโคง้ ปกติ ไม่สามารถนามาใชไ้ ด้

72 2.3) ใชส้ ูตรในการคานวณตวั อย่างของเคร็ซซีแ่ ละมอรแ์ กน (Krejcie and Morgan) คือ S=  21  d 2  1  21  เม่อื S = ขนาดของกลมุ่ ตวั อย่าง 2 = คา่ ไคสแควรท์ ่ี 1 Degree of Freedom (3.841) N = ขนาดประชากร P = สัดสว่ นของประชากร (กาหนดท่ี .50) d = ความถกู ต้องทย่ี อมรบั ได้ (กาหนดที่ .05) ตวั อย่าง ถา้ จานวนประชากร 4,850 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เปน็ ดงั น้ี คือ S= (3.841)(4,850)(.5)(1 0.5) (.05)2 (4,850 1)  (3.841)(.5)(1 0.5) = 355.98 ฉะน้ัน ขนาดตวั อย่าง = 356 สาหรับตารางกาหนดขนาดของตวั อย่างของเคร็ซซแ่ี ละมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ปรากฏในตาราง 5.3

73 ตาราง 5.3 ตารางกาหนดขนาดกลุ่มตวั อย่างของเครซ็ ซ่ีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน จานวน ประชากร กลุ่มตวั อย่าง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ประชากร กลุ่มตวั อย่าง 10 10 220 140 1200 291 15 14 230 144 1300 297 20 19 240 148 1400 302 25 24 250 152 1500 306 30 28 260 155 1600 310 35 32 270 159 1700 313 40 36 280 162 1800 317 45 40 290 165 1900 320 50 44 300 169 2000 322 55 48 320 175 2200 327 60 52 340 171 2400 331 65 56 360 186 2600 335 70 59 380 191 2800 338 75 63 400 196 3000 341 80 66 420 201 3500 346 85 70 440 105 4000 351 90 73 460 210 4500 354 95 76 480 214 5000 357 100 80 500 217 6000 361 110 86 550 226 7000 364 120 92 600 234 8000 367 130 97 650 242 9000 368 140 103 700 248 10000 370 150 108 750 254 15000 375 160 113 800 260 20000 377 170 118 850 265 30000 379 180 123 900 269 40000 380 190 127 950 274 50000 381 200 132 1000 278 75000 382 210 136 1100 285 100000 384 ท่มี า : Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970 : 608)

74 3) การกาหนดขนาดของกลุ่มตวั อยา่ งท่ีกาหนดตามวิธดี งั กล่าวแลว้ ยังไม่ใช่ขนาดทแี่ นน่ อนตายตัว การจะใช้กลมุ่ ตวั อย่างเท่าใดนัน้ ยอ่ มขน้ึ อยู่กบั ดลุ ยพนิ จิ ของผู้วิจัยเอง ซึ่งจะต้องคานึงถึงสง่ิ ต่าง ๆ ประกอบการพิจารณา ดังน้ี 3.1 จดุ ม่งุ หมายของการเลอื กกลุม่ ตวั อย่าง ว่าจะยอมใหเ้ กิดความ คลาดเคล่ือนจากการส่มุ ไดเ้ ท่าไร ถ้าปญั หาใดมีความสาคัญมากก็จะต้องพยายามให้เกิดความ คลาดเคล่อื นน้อยทสี่ ดุ แต่ถา้ ปญั หาใดมคี วามสาคัญน้อยกว่าก็อาจจะยอมใหเ้ กดิ ความคลาดเคลอ่ื น ได้มากกวา่ ซึง่ โดยทัว่ ไปแลว้ มักยอมใหเ้ กิดความคลาดเคลอ่ื นได้ 1 – 5% 3.2 คา่ ใช้จ่าย แรงงาน เวลา และเคร่ืองมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมลู จากกลมุ่ ตวั อยา่ งน้นั ๆ วา่ จะทาให้ได้หรือไม่ และคมุ้ คา่ เพียงใด เชน่ ถา้ เปน็ การสังเกต หรือการสัมภาษณ์ ก็อาจใชก้ ลุ่มตวั อย่างท่ีมีขนาดเล็ก เป็นตน้ 3.3 ขนาดของประชากรว่า ประชากรมีขนาดใหญห่ รือเล็กเพียงใด ถ้าเป็นประชากรทม่ี ีขนาดใหญก่ ็อาจต้องสุ่มมามากกว่าประชากรทมี่ ีขนาดเล็ก 3.4 ลักษณะของปญั หาว่าเป็นการศกึ ษาตัวแปรก่ีชนดิ กลา่ วคอื จะต้องแบ่งกลุ่มตวั อย่างออกเป็นก่กี ลุ่ม ถา้ แบง่ เป็นหลายกลุ่มเม่อื นาจานวนตวั อย่างของแต่ละกลุม่ มารวมกนั เขา้ กจ็ ะกลายเป็นกลุ่มตัวอยา่ งที่มีขนาดใหญ่ 5.3.4.3 ขนาดของกล่มุ ตวั อย่างท่ีมีความเหมาะสม พิจารณาจากแนวคิดของ เกย์ (Gay, L. R. 1992 : 142) ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับขนาดของกลมุ่ ตัวอย่างไวด้ ังน้ี 1) กลุ่มตวั อย่างควรมจี านวนมากเทา่ ท่สี ามารถจะทาได้ เพราะยิง่ กลมุ่ ตวั อยา่ งมีจานวนมากขึ้นกย็ ่ิงจะเปน็ ตวั แทนของประชากรได้มากขึน้ และสามารถอ้างองิ ผลของ การวจิ ยั ได้มากขนึ้ ดว้ ย 2) ขนาดของกลมุ่ ตวั อย่างจานวนนอ้ ยที่สดุ ท่ีสามารถยอมรับไดข้ นึ้ อยู่กบั ชนิดของการวจิ ัย เช่น การวิจัยเชิงบรรยายควรใชก้ ล่มุ ตวั อยา่ งเทา่ กับ 10 % ของประชากร การวจิ ยั แบบสหสมั พันธใ์ ช้กลุ่มตัวอย่าง 30 เท่าของตัวแปร การวิจยั แบบเปรยี บเทยี บสงิ่ ที่เกีย่ วข้อง ใช้กลุ่มตัวอย่าง 30 ตวั อย่างต่อกลมุ่ และการวจิ ัยเชงิ ทดลองใชก้ ล่มุ ตวั อย่าง 15 ตัวอยา่ งตอ่ กลุ่ม 3) แม้ขนาดของกลุม่ ตัวอย่างมจี านวนมากแล้ว ก็สามารถนาไปสู่การสรุปผล ทค่ี ลาดเคล่ือนได้ ถา้ หากการเลือกกลุ่มตวั อย่างไม่ดีพอ 5.3.5 วธิ ีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเลือกกลุ่มตวั อยา่ งใชแ้ ทนประชากรในงานวิจัยก่อใหเ้ กิดประโยชนอ์ ยา่ งมากใน ด้านความถูกต้อง รวดเรว็ และประหยดั การเลือกกลมุ่ ตัวอย่างจะต้องคานึงถึงหลักสาคญั ดงั น้ี (กาสัก เต๊ะขันหมาก. 2553 : 99 - 108) 5.3.5.1 หลกั ในการเลือกกลุ่มตวั อยา่ ง ในการเลือกตัวอย่างมหี ลกั ที่จะตอ้ ง คานงึ อยู่ 3 ประการ คอื 1) ตวั แทน (Representative) กล่าวคือ ผทู้ จี่ ะถูกเลอื กมาเป็นตวั อย่าง ในการศึกษานน้ั จะต้องมลี กั ษณะเปน็ ตัวแทนของประชากรจริง ดังน้นั ในการเลือกเพ่ือให้ไดต้ ัวอยา่ ง ทเ่ี ปน็ ตัวแทนทด่ี ีทสี่ ดุ ผ้วู ิจยั ควรจดั ให้ทกุ ประชากรทที่ าการศกึ ษามโี อกาสที่จะเข้ามาเป็นผู้แทน

75 โดยเทา่ เทียมกัน 2) ขนาดตัวแทน (Size) ขนาดหรือจานวนตัวแทนจะมากน้อยเพียงใด ขน้ึ อยู่กับ ลกั ษณะของเรอ่ื งทีว่ จิ ยั ถ้าเร่ืองใดต้องการความสมบูรณ์ถูกต้องมากก็ควรใช้จานวนตัวแทนใหม้ าก แตถ่ ้าต้องสารวจผลเพียงครา่ ว ๆ ถึงขอ้ มลู จะผดิ พลาดไปบ้างก็ไมก่ ระทบกระเทอื นการปฏิบตั ิ หรอื ตัดสนิ ใจมากนัก ก็อาจใช้จานวนตัวแทนน้อยลงได้ และ 3) ความน่าเชอื่ ถอื (Reliable) ขอ้ มูลท่ีไดจ้ ากกลุ่มตัวอย่างจะตอ้ งเป็นข้อมูลท่เี ชอ่ื ถือได้ ซงึ่ ขน้ึ อยู่กับการเอาใจใส่และการติดตาม การรวบรวมขอ้ มลู จากกลุ่มตัวอย่างอยา่ งจรงิ จงั เพือ่ ให้ขอ้ มูลมีความสมบูรณ์ทีส่ ุด 5.3.5.2 ประเภทของการเลอื กกล่มุ ตัวอย่าง การเลอื กกลุม่ ตวั อย่างอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) การเลือกแบบไมใ่ ห้โอกาสเทา่ กนั (Non-Probability) หมายถงึ การเลือกโดยไม่มีการคานวณความน่าจะเป็น (Probability) ของแต่ละตวั อยา่ งได้ นัน่ คือ การเลือก กลมุ่ ตัวอยา่ งไม่เป็นแบบส่มุ ทาใหแ้ ต่ละหนว่ ยในประชากรมีโอกาสท่ีจะถูกเลือกเปน็ ตัวอย่างไม่เทา่ กนั ทุกหนว่ ย ขอ้ เสียของวิธนี ี้คือ ไม่สามารถคานวณคา่ ความคลาดเคลอ่ื นทเ่ี กดิ ขนึ้ ในการเลือก กลมุ่ ตวั อย่างได้ 1.1) การเลือกกลุม่ ตัวอย่างแบบไม่ใหโ้ อกาสเทา่ กนั นี้ อาจแบง่ เปน็ วธิ กี ารย่อยได้ ดังน้ี 1.1.1) การเลือกแบบบงั เอิญ (Accidental Sampling) บ่อยครั้ง ในการวิจยั ทางสงั คมศาสตร์ ผู้วจิ ยั ต้องตกอยู่ในภาวะที่ไมส่ ามารถจะเลือกตวั อย่างโดยวธิ ีการท่ผี ู้วิจัย พอใจได้ ต้องเกบ็ ข้อมูลภายใต้เงื่อนไขชีวิตความเปน็ อยู่ของประชากรและเท่าทจี่ ะได้รับความร่วมมือ ตัวอยา่ งท่ีได้จงึ เปน็ ตัวอย่างจากผู้ทีย่ ินดีใหค้ วามรว่ มมอื หรือบงั เอิญอยู่ในสถานทท่ี ผี่ วู้ ิจัยกาลัง เก็บข้อมลู จงึ เรียกการเก็บขอ้ มูลแบบนว้ี ่าการเก็บแบบบังเอิญ ซึ่งเป็นการเลือกที่ไม่มีหลกั เกณฑ์ ใด ๆ ทงั้ สนิ้ หน่วยตัวอยา่ งจะเปน็ ใครก็ไดท้ ส่ี ามารถให้ขอ้ มูลตามที่ตอ้ งการ การรวบรวมขอ้ มูล จงึ เปน็ การเก็บจากหนว่ ยตัวอยา่ งทพี่ บคือ เทา่ ที่หาได้จนครบตามจานวนท่ตี ้องการ เช่น เปน็ 100 ตัวอย่างแรกทม่ี าใชบ้ ริการของโรงพยาบาลยโสธร เปน็ ตน้ 1.1.2) การเลือกแบบกาหนดโควตา (Quota Sampling) ขอ้ บกพร่องของการสมุ่ แบบบังเอญิ คือ จะไดต้ วั อยา่ งของประชากรที่ไมแ่ น่ใจวา่ จะสามารถเปน็ ตวั แทน ของประชากรไดแ้ ลว้ เพราะตวั อย่างท่สี มุ่ ได้อาจมีองคป์ ระกอบท่แี ตกต่างจากประชากร หรืออาจได้ จานวนกรณขี องประชากรทมี่ ีคุณสมบัตบิ างประการไม่เพียงพอ วิธกี ารส่มุ ตวั อย่างที่แก้ไขข้อบกพร่อง ดงั กลา่ วได้ คือการกาหนดสัดส่วนและจานวนตวั อย่างของประชากรทม่ี ีคุณสมบตั บิ างประการ ทตี่ ้องการจะเก็บข้อมลู แล้วเก็บรวบรวมข้อมลู จากตวั อย่างตามจานวนทีก่ าหนดไวใ้ นแตล่ ะกลมุ่ จงึ เรียกว่าการเก็บข้อมูลแบบการกาหนดโควตา ซง่ึ เป็นการเลอื กกลุ่มตวั อยา่ ง โดยแบ่งกล่มุ ตัวอย่าง ออกเป็นกลมุ่ ย่อย ๆ ตามลักษณะของตวั แปรที่กาหนดไว้ในจดุ มุ่งหมาย แลว้ กาหนดขนาดของ กลมุ่ ยอ่ ย นัน้ คือ กาหนดว่าจะใช้กลมุ่ ตวั อย่างละเทา่ ไร เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคามมี 200 คน สงั กดั มนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ 70 คน คณะวทิ ยาศาสตร์ 60 คน คณะวทิ ยาการ จัดการ 40 คน และคณะศึกษาศาสตร์ 30 คน และเราต้องการกลุม่ ตวั อย่าง 50 คน ก็จะได้ กลุ่มตัวอยา่ งท่เี ปน็ อาจารย์สงั กัดมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 18 คน คณะวิทยาศาสตร์ 15 คน คณะวทิ ยาการจัดการ 10 คน และคณะศึกษาศาสตร์ 8 คน เป็นต้น การแบ่งกลมุ่ ย่อยดงั กลา่ ว

76 ขา้ งต้นน้นั เปน็ การแบ่งกลุ่มตัวอย่างแล้วกาหนดขนาดของกลุ่มย่อย ดงั นัน้ ในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู จึงใช้วิธีการเลือกแบบบังเอญิ ซงึ่ จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากใครกไ็ ด้จนครบตามจานวนทก่ี าหนดไว้ ทกุ กลุ่ม กลา่ วคอื เมอื่ พบตัวอยา่ งใดมลี ักษณะตรงกลุ่มย่อยทตี่ ้องการก็เกบ็ รวบรวมข้อมลู ไว้ 1.1.3) การเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการ เลือกกลุ่มตัวอยา่ งทผ่ี ้วู ิจัยมกั จะใชว้ ัตถปุ ระสงคบ์ างประการของการวจิ ยั เปน็ เกณฑ์ตดั สนิ ใจในการ เลือกตวั อยา่ งตามเหตุผล และวิจารณญาณของผู้วจิ ัยพิจารณาเลอื กกล่มุ ตวั อย่างเอง โดยกาหนด กฎเกณฑใ์ นการคัดเลือกให้เหมาะสมกบั ชนิดของงานวิจยั โดยเลือกตวั อย่างท่ีคดิ วา่ สามารถเป็น ตัวแทนของประชากรได้ แมว้ า่ การเลือกตวั อยา่ งแบบน้ีไมด่ ีเทา่ การเลือกประเภทใช้โอกาสทางสถติ ิ แต่โอกาสทจ่ี ะใชก้ ็มีมาก โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ในการศกึ ษาวิจัยประเภทเจาะลึกท่ีใชต้ ัวอย่างเพยี งไม่ ก่รี าย เชน่ เลือกเฉพาะหมู่บา้ นท่ยี ากจนซ้าซาก หรือเลือกสัมภาษณเ์ ฉพาะกรรมการกองทุนหม่บู า้ น เปน็ ตน้ 1.1.4) การเลือกแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตวั อยา่ งท่ีผู้วจิ ยั เป็นผกู้ าหนดเอง โดยคานึงถึงความสะดวกในการ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู เชน่ การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลเฉพาะหม่บู ้านทีส่ ามารถเดินทางไปไดส้ ะดวก 1.2) การเลือกกลุ่มตัวอยา่ งโดยไม่ใช้ทฤษฎคี วามน่าจะเปน็ วิธตี า่ ง ๆ ดังกลา่ วขา้ งต้นมขี ้อดี ทาใหเ้ กดิ ความสะดวก สบาย ประหยัด ปลอดภัยในการเกบ็ ข้อมลู และไมต่ ้อง เสียเวลาในการทาบญั ชีชอื่ หน่วยประชากร และข้อเสยี โดยท่วั ไปจะมีความลาเอียงในการเลอื ก กลุ่มตวั อย่าง ซง่ึ ขอ้ มลู หรอื ความจริงได้จากการเลอื กกลุ่มตามวธิ กี ารนี้ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถนาไป อา้ งองิ สรปุ ยงั ประชากรได้ เพราะไมส่ ามารถประมาณคา่ ความคลาดเคลื่อนในการใช้ตวั อยา่ งได้ 2) การเลือกกลมุ่ ตวั อย่างแบบให้โอกาสเท่ากัน (Probability Sampling) หมายถงึ การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลกั ความนา่ จะเปน็ (Probability) น่นั คอื หนว่ ยตัวอย่าง ในประชากรมโี อกาสท่จี ะถูกเลอื กมาเปน็ กลมุ่ ตวั อย่างเทา่ ๆ กัน เปน็ กลุม่ ตัวอย่างที่ได้มาในลกั ษณะ เปน็ การสมุ่ (Random) สามารถจะคานวณได้วา่ โอกาสทจ่ี ะถูกเลือกของแตล่ ะตวั อย่างเป็นเท่าใด สาหรบั การเลอื กกลมุ่ ตัวอย่างแบบให้โอกาสเท่ากนั หรือการส่มุ ตัวอย่างแบ่งเป็นวิธีการยอ่ ย ๆ ดังนี้ 2.1) การสมุ่ อย่างงา่ ย (Simple Random Sampling) เป็นการ สมุ่ ตัวอยา่ ง ซ่งึ ตัวอยา่ งในประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่า ๆ กัน วิธีใช้ได้เหมาะสมกับประชากรที่มี จานวนไม่มากนกั และผ้วู ิจัยมีความร้เู กยี่ วกบั ประชากรน้อย การสุ่มอยา่ งง่ายโดยใชว้ ธิ ีสมุ่ ตวั อย่างทีละ หนว่ ยจากประชากรท้ังหมด โดยมไิ ด้แบ่งประชากรเปน็ กลุ่มย่อย ๆ แตอ่ ย่างใด ซึ่งการสุ่มอาจทาได้ 2 วิธี คอื 1) ใช้การจบั สลาก (Lottery) วธิ นี ี้เหมาะกบั ประชากรทม่ี ีขนาดไม่ใหญ่นักทาได้โดยเขียน ชอ่ื แต่ละหนว่ ยของประชากรลงในสลาก ใส่ลงในภาชนะโดยทาใหห้ นว่ ยตา่ ง ๆ ของประชากรผสมปนเป กันเปน็ อย่างดี แลว้ ทาการจับสลากขึน้ มาทีละอัน เม่อื จับอันหนึง่ ขึน้ มาได้ก็จดชื่อหนว่ ยประชากรไว้ แล้วก็ใส่กลับลงไปในทีเ่ ดมิ ผสมกนั ใหด้ แี ล้วจบั ครงั้ ต่อไป หากจับสลากท่ีเคยสุ่มได้มาแล้วก็ไมน่ บั ทาการจับสลากเช่นน้ีจนกวา่ จะได้ครบขนาดของกลุ่มตัวอย่างท่ีต้องการ และ 2) ใชต้ ารางเลขสุ่ม (Table of Random Number) วิธีน้ีเหมาะกับประชากรขนาดใหญ่ ทาไดโ้ ดยผวู้ จิ ัยตอ้ งกาหนด ตัวเลขแทนตวั อยา่ งของประชากรก่อน จากน้นั นาตารางตวั เลขสุ่มมากาหนดในใจวา่ จะตั้งตน้ อย่างไร เชน่ อ่านตวั เลขจากซ้ายไปขวา จากบนไปล่าง เปน็ ต้น จากนั้นเริม่ ทาการสมุ่ โดยสุม่ หาจุดต้ังต้น

77 ซึ่งอาจทาได้โดยหลบั ตาแล้วใชด้ ินสอจ้มิ ไปที่ตัวเลขในตารางสมุ่ เมื่อได้จุดเริ่มต้นแล้วก็ดาเนินการเลือก หน่วยตัวอย่าง ตามทิศทางท่ีกาหนดไว้จนไดก้ ลุ่มตวั อยา่ ง เช่นประชากร 9,000 คน เราตอ้ งการ กลมุ่ ตวั อย่าง 900 คน เราก็เขียนรายชื่อคนแรกแทนดว้ ยเลข 0001 และคนสุดท้ายแทนด้วย 9,000 จากน้ันกน็ าตารางเลขสมุ่ มาสุม่ หาจดุ เร่ิมตน้ แลว้ อา่ นเลขเพียง 4 หลัก และไมเ่ กิน 9,000 ในกรณเี ลขซา้ ผา่ นไปสมมตุ วิ ่าตัวเลขตัวแรกทอี่ า่ นได้เปน็ 22109 แตจ่ ะพิจารณาแค่ 4 หลกั แรก ดังนน้ั ตวั อยา่ ง คนแรก คือ ตวั อย่างหมายเลข 2210 ถา้ กาหนดไวว้ ่าอ่านตัวเลขจากซา้ ยไปขวา ตัวเลขถัดไปก็คือ 40558 ตวั อย่างคนทีส่ อง คือ คนท่ีหมายเลข 4055 ทาเชน่ นไ้ี ปเรอ่ื ย ๆ จนได้ตวั อยา่ งครบ 900 คน ตามทตี่ ้องการ สาหรบั ขอ้ ดีของการสุ่มตวั อย่างง่าย คอื มหี ลักประกนั ทางสถิติ ทเ่ี ช่ือถือไดว้ ่าหนว่ ยของประชากรแตล่ ะหน่วยจะไดร้ บั โอกาสในการเลอื กเท่า ๆ กัน กลมุ่ ตัวอยา่ ง มีโอกาสเป็นตวั อย่างของประชากรได้ดี ถา้ ขนาดของกลมุ่ ตัวอยา่ งพอเพียงและมีลักษณะคลา้ ยคลึงกัน และผทู้ าการสุ่มไม่จาเปน็ ต้องมคี วามรใู้ นเรื่องคุณลักษณะของเลขท่สี ามารถทจี่ ะทาการเลอื ก กลมุ่ ตวั อยา่ งได้ ส่วนขอ้ เสยี ของการสุ่มอยา่ งง่าย ไดแ้ ก่ 1) จะตอ้ งส้นิ เปลืองเวลาในการทาสลาก และการจบั สลากให้ครบตามจานวนประชากรท้งั หมด 2) ถ้าไม่มตี ารางสุ่มจะทาให้เกดิ ความไม่ สะดวก และ 3) สิ่งทสี่ าคัญท่สี ดุ คือ จาเปน็ ท่จี ะต้องมีขอบขา่ ยของประชากร (Frame) หรอื บัญชี รายช่ือหน่วยของประชากรที่ครบถ้วนสมบรู ณ์ทาให้เสยี เวลาจัดหาหรือจดั ทา และในบางกรณีก็ไม่ สามารถจดั หาหรือจัดทาไดเ้ ลย 2.2) การส่มุ อย่างมรี ะบบ (Systematic Random Sampling) เปน็ วิธกี ารสุ่มตวั อย่างที่ใช้ไดเ้ หมาะกับประชากร ทมี่ ีการเรียงลาดับหน่วยตัวอยา่ งไว้แล้วอย่างเปน็ ระเบยี บ เช่น การเรียงเลขท่ีบ้าน รายชอ่ื คนเรียงลาดบั ตามตัวอกั ษร เป็นตน้ การสมุ่ ตวั อย่างดว้ ยวธิ นี ี้ ผวู้ ิจัยจะต้องรูร้ ายชอ่ื ตัวอย่างของประชากรท้ังหมด แลว้ เลอื กตวั อย่างโดยกาหนดเป็นชว่ ง ๆ เชน่ อาจจะนับไปทล่ี ะ 7 หน่วย นน่ั คือใช้ทุก ๆ หน่วยที่ 7 เป็นกลมุ่ ตวั อยา่ งของผวู้ ิจยั และจะต้องเริ่มต้น นบั จากหน่วยแรกท่ีได้มาด้วยการสมุ่ ซง่ึ การกาหนดชว่ งของการเลือกหนว่ ยตวั อย่าง (Sampling Interval) อาจใชว้ ธิ คี านวณหาสดั สว่ นขนาดของกลุ่มประชากรกบั ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กล่าวคอื ใช้ค่าทไี่ ดจ้ ากการนาจานวนหนว่ ยในประชากรหารด้วยจานวนหนว่ ยในกลุ่มตัวอย่าง มาเปน็ ชว่ งของ การเลอื กหนว่ ยตัวอย่าง เชน่ จะสุ่มผู้มีสิทธล์ิ งคะแนนเสยี งเลอื กตงั้ 50 คน จากผู้มสี ทิ ธ์ิลงคะแนนเสียง เลอื กตง้ั ทัง้ หมด 350 คน โดยสมุ่ ตามเลขท่ีในทะเบียนผมู้ ีสิทธล์ิ งคะแนนเสยี งเลือกต้งั ผลลัพธท์ ่ีได้ จากการนาเอาผู้มสี ิทธ์ลิ งคะแนนเสียงเลอื กต้งั ท่ตี อ้ งการ คือ 7 ดังน้ันถ้าใช้ 7 เปน็ ชว่ งของการนบั กล่าวคือ นบั ไปทีละ 7 คน หรอื ใช้ทกุ 7 เลขที่ เปน็ กลมุ่ ตัวอย่างน่ังเอง สาหรบั หน่วยตัวอยา่ งที่ใช้ เป็นจุดเร่ิมตน้ นับจะต้องไดม้ าด้วยการสมุ่ ซึ่งจะต้องเป็นตัวเลขท่ีไม่น้อยกว่า 1 และไมเ่ กินช่วงการนับ หน่วยตวั อยา่ ง ทง้ั นี้ ก็เพอ่ื ให้สามารถสุ่มตวั อยา่ งได้ครบตามจานวนท่กี าหนดไว้ เช่น เลขท่เี รมิ่ ตน้ ไดเ้ ป็น 3 ดังน้นั กลุ่มตัวอยา่ งก็จะมีเลขท่ีในทะเบียน เปน็ 3, 10, 17, 24, ... จนครบ 50 คน สาหรบั ขอ้ ดีของการสมุ่ อย่างมีระบบ คอื สะดวกและประหยัดเวลา มากโดยเฉพาะกรณีทมี่ ขี อบข่ายของประชากร หรือมีรายช่ือของหนว่ ยประชากรอยแู่ ลว้ ซง่ึ โดยทวั่ ไป การเลือกกลุม่ ตัวอยา่ งแบบน้ีกใ็ หผ้ ลดเี ช่นเดียวกบั การสุ่มอย่างง่าย สว่ นขอ้ เสยี ของการสมุ่ อยา่ งมีระบบ ไดแ้ ก่ 1) บางคร้งั เกดิ ความยุ่งยากในการหาคา่ ตวั เลขเพื่อนามากาหนดชว่ งระยะความห่างกัน

78 ของแตล่ ะหน่วยตัวอย่าง เชน่ ประชากร เริ่มจาก 1 ถึง 38 รวม 38 หน่วย และตอ้ งการกลุ่มตัวอย่าง เพียง 6 จะได้ชว่ งระยะ = 6.33 เมอ่ื ส่มุ แบบธรรมดาของช่วงแรกได้แล้ว การเลือกตวั อยา่ งหนว่ ยตอ่ ไป อาจจะเกิดปญั หา 2) อาจจะได้กลุม่ ตัวอย่างทีล่ าเอียงไดง้ า่ ย ถา้ หากการเรยี งลาดบั ของขอบข่าย หรอื บัญชีรายชื่อของหน่วยประชากร เปน็ การเรียงอยา่ งมรี ะบบท่มี ีผลต่อคุณลักษณะของกลุ่มตวั อย่าง เชน่ บญั ชรี ายช่อื ของนกั เรียนหลาย ๆ โรงเรียนเอามาเรยี งต่อ ๆ กนั โรงเรยี นละเท่า ๆ กัน ประมาณโรงเรยี นละ 40 คน โดยทคี่ นแรก ๆ ของแต่ละโรงเรยี นเปน็ เด็กเก่ง ถา้ บังเอญิ เรากาหนดชว่ ง ได้ 40 พอดที ี่สุ่มแบบธรรมดาของชว่ งแรกได้เลข 1 หรอื 2 กลมุ่ ตัวอย่างจะได้หมายเลข 41 หรอื 42, 81 หรอื 82, 121 หรอื 122, ... ฯลฯ ซง่ึ จะทาใหเ้ ราได้กลุ่มท่ีเป็นเด็กเก่งหลายคนจงึ เป็นกลุ่มตวั อย่าง ท่มี คี วามลาเอียง เป็นต้น และ 3) การเลอื กกลุ่มตัวอยา่ งแบบน้ี จะทาไดใ้ นกรณีมีขอบขา่ ยของ ประชากรหรอื บัญชรี ายช่ือของประชากรท่ีแน่นอนครบถว้ น ทาใหเ้ สยี เวลาในการจัดหาหรอื จัดทา ในบางกรณีก็ไม่อาจจัดหาหรือจดั ทาได้เลย 2.3) การสุม่ แบบแบ่งช้นั (Stratified Random Sampling) ในการศึกษาเกย่ี วกบั ลกั ษณะต่าง ๆ ของประชากรทมี่ ีความแตกต่างระหวา่ งหน่วยมาก เชน่ รายได้ ของครัวเรอื นในภมู ภิ าคต่าง ๆ การเลอื กตวั อยา่ งโดยการสุ่มจากทุกหนว่ ยประชากรโดยตรงอาจทาให้ คา่ ประมาณของลักษณะต่าง ๆ ของประชากรที่ตอ้ งการศึกษาคลาดเคลื่อนไปจากค่าทีค่ วรเป็นจริง ไดม้ าก การพยายามทาให้ความแตกตา่ งระหว่างหนว่ ยประชากรทมี่ ีอยู่มากให้ลดลง โดยการแบง่ ประชากรออกเปน็ กลมุ่ ย่อย ๆ เรียกวา่ ระดบั ชนั้ หรือชน้ั ภูมิ (Strata) แล้วสุม่ ตวั อย่างจากทุกระดับช้นั ซง่ึ ลกั ษณะของระดับชั้นนน้ั จะตอ้ งมีความเปน็ เอกลักษณ์ (Homogeneity) ในระดับช้ันเดียวกนั หน่วยตัวอยา่ งในระดบั ช้ันหน่ึง ๆ จะตอ้ งมลี ักษณะเหมือนกันหมด และขณะเดยี วกนั ก็จะมีลกั ษณะ แตกต่างกับระดับชัน้ อื่น (Heterogeneity) เชน่ ระดบั ช้ันท่ี 1 เป็นอาชีพค้าขายท้ังหมด ระดับชน้ั ท่ี 2 เป็นอาชพี รับจ้างทัง้ หมด และระดับชัน้ ท่ี 3 เปน็ อาชพี เกษตรกรรมท้ังหมด เปน็ ต้น

79 ประชากร (Population) Stratum ACCB CCCC ACBC CCCC ACBC CBC B A จานวนประชากCรB ในแต่ละ Stratum A A BB B BBB จานวนตวั อยา่ งจาก แต่ละ Stratum A BB CC C ACBCB กลมุ่ ตวั อยา่ งA(Samples) แผนภาพ 5.1 แสดงการสุ่มตวั อยา่ งแบบแบ่งชัน้ (Stratified Random Sampling) สาหรับข้อดีของการสมุ่ แบบแบง่ ชั้น ไดแ้ ก่ 1) การจดั แบง่ กล่มุ ยอ่ ย ๆ น้ัน แสดงวา่ ผวู้ จิ ัยมีความรเู้ กีย่ วกับประชากรจริง สามารถแบ่งกล่มุ ย่อย ๆ ได้ เช่น รูอ้ าชพี รู้ระดบั การศกึ ษา รอู้ ายุ เป็นต้น ซง่ึ ผลจากการท่ีมีความร้เู กี่ยวกบั ประชากรจะทาให้ผวู้ จิ ยั สามารถ เลอื กกลุ่มตัวอย่างได้ดี 2) การแบ่งประชากรเปน็ ระดับชั้น จะทาใหผ้ วู้ จิ ัยสามารถเลือกกลุม่ ตัวอย่าง จากแตล่ ะระดบั ชั้นแตกต่างกันไปแล้วแตค่ วามเหมาะสม 3) ลักษณะความเป็นเอกพนั ธ์ของแต่ละ กลุ่มย่อยจะทาให้เกดิ ความคลาดเคลอื่ นในการส่มุ น้อยลง ซ่ึงจะทาให้ค่าสถิติทีค่ านวณได้จาก กลมุ่ ตัวอยา่ งประมาณคา่ พารามเิ ตอร์ของประชากรได้เทีย่ งตรง และแม่นยามากขนึ้ และ 4) สามารถ ประมาณคา่ ประชากรรวมได้ และสามารถประมาณคา่ ประชากรกลุ่มยอ่ ยในแต่ละระดับช้ันไดด้ ้วย

80 ส่วนขอ้ เสียของการสมุ่ ตามระดับช้นั คือ มวี ธิ กี ารท่ียุ่งยากอยูบ่ ้าง และผูว้ ิจัยจะตอ้ งหาความรู้เก่ยี วกับ ประชากร เพื่อนามาแบง่ ระดับช้นั ของประชากรก่อนท่จี ะสุ่ม ทาใหเ้ สียเวลาในการหาความรหู้ รอื ข้อมูลเพ่ิมเติม การสุ่มแบบแบ่งชัน้ อาจดาเนินการตามลาดบั ข้ันดงั นี้ 1) ใหค้ า จากัดความของประชากร 2) ศกึ ษาลกั ษณะบางอย่างของประชากร เพ่ือนามาเป็นแนวทางในการ แบง่ กลุ่มย่อย 3) แบง่ กลมุ่ ประชากรเป็นระดบั ชั้นใหส้ อดคลอ้ งกบั จุดม่งุ หมายของการวิจัย 4) กาหนดวิธีการสมุ่ ตัวอยา่ งที่จะสมุ่ จากระดับช้นั 5) กาหนดจานวนหนว่ ยตวั อยา่ งที่จะสุ่มจากแต่ ละระดบั ชน้ั 6) ทาการสุม่ ตัวอย่างจากแตล่ ะระดับช้ัน และ 7) นาตวั อยา่ งทีส่ ุ่มได้จากแตล่ ะ ระดบั ชั้นมารวมกัน จะได้จานวนตัวอย่างทง้ั หมดทต่ี อ้ งการศึกษา การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชัน้ อาจแบ่งได้ 2 ชนดิ คือ 1) การสุ่มตาม ระดบั ชั้นอย่างมสี ดั ส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เปน็ การสมุ่ ที่จะต้อง กาหนดจานวนตวั อย่างท่จี ะสุ่มจากแตล่ ะระดับชนั้ ให้ได้สดั สว่ นตามจานวนประชากรของแต่ละระดับชัน้ เชน่ แบง่ นกั ศึกษาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตรอ์ อกเป็น 3 กลมุ่ คือ นักศึกษากล่มุ วิชาภาษา กลุ่มศิลปะและกลุ่มสงั คมศาสตร์ ซึ่งมีจานวนประชากรในแต่ละกล่มุ เป็น 100 คน 60 คน และ 40 คน ตามลาดับ ในการน้ีตอ้ งการสุ่มนกั ศึกษามา 50 คน จากนักศกึ ษาทกุ กลุ่มวิชา ซึ่งมี 200 คน ดังนนั้ เม่อื คิดเป็นสัดสว่ นจะได้ดังนี้ สดั สว่ นจานวนนกั ศกึ ษาทเ่ี ปน็ ประชากรในแตล่ ะกลุ่ม (กลุม่ วิชาภาษา : กล่มุ ศิลปะ : กล่มุ สังคมศาสตร์ = 100 : 60 : 40) และสดั ส่วนจานวนนักศึกษาท่ีเป็นกลุ่มตวั อยา่ ง ในแตล่ ะกลุม่ (กลุ่มวชิ าภาษา : กลมุ่ ศลิ ปะ : กลุ่มสังคมศาสตร์ =25 : 15 : 10) และ 2) การสมุ่ ตาม ระดับชั้นอยา่ งไมเ่ ป็นสัดส่วน (Non-Proportional Stratified Random Sampling) เปน็ การสุ่มท่ี มไิ ด้สัดสว่ นของประชากรในแตล่ ะระดับชั้น กลา่ วคือ ผวู้ ิจัยเป็นผกู้ าหนดอตั ราสว่ นของการสมุ่ ระดบั ชน้ั โดยมิได้คานวณตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละระดับช้ัน 2.4) การสุม่ ตามกลมุ่ หรอื พน้ื ที่ (Cluster or Area Sampling) ในกรณีทป่ี ระชากรอยู่กระจัดกระจายกัน การสมุ่ ตวั อย่างจากประชากรมักประสบปญั หาท่ีอาจทา ไมไ่ ดใ้ นทางปฏิบัติหรอื ทาไดแ้ ต่ส้นิ เปลืองมาก อาจสมุ่ ตัวอย่างโดยแบง่ ประชากรออกเปน็ กลุ่มย่อย ๆ เรียกว่า Cluster ก่อน เชน่ แบง่ ประชากรเปน็ หมบู่ า้ น เปน็ ตน้ หลักการท่ีสาคัญคือ ให้สมาชิกภายใน กลุ่มย่อยมีคุณลักษณะแตกตา่ งกนั มากท่ีสุดหรือมีความแปรปรวนภายในกลุ่มมาก (Heterogeneity Within Group) แตใ่ นขณะเดียวกันก็ใหม้ ีความแปรปรวน หรือความแตกตา่ งระหว่างกลุ่มน้อยท่ีสดุ (Homogeneity Between Group) ซง่ึ การทาใหเ้ กดิ ความแตกตา่ งหรอื ความแปรปรวนภายใน กล่มุ มาก ทาได้โดยจดั ให้หนว่ ยตวั อยา่ งภายในกลมุ่ มลี กั ษณะต่าง ๆ ปะปนกัน เช่น ถ้าเป็นการศึกษา เรื่องอาชีพในกลุ่มหนงึ่ ๆ กต็ ้องมที ุกอาชีพปะปนกนั สว่ นการทาใหเ้ กดิ ความแตกตา่ งหรือความ แปรปรวนระหว่างกลุ่มน้อยท่ีสดุ ทาไดโ้ ดยจัดให้ทุกกล่มุ มขี นาดเทา่ กันหรือพอ ๆ กนั และมลี กั ษณะ ใกล้เคยี งกนั มากท่ีสุด เช่น ทกุ กลมุ่ มีจานวนคนพอ ๆ กนั มีทุกอาชีพปะปนกันเช่นเดียวกันหมด และเมื่อผูว้ จิ ยั สามารถแบง่ ประชากรออกเป็นกลมุ่ ย่อยตามลกั ษณะดังกลา่ วแล้ว ก็ทาให้การส่มุ กล่มุ ย่อยโดยใช้วิธกี ารสุม่ อยา่ งง่าย (Simple Random Sampling) แลว้ ใชท้ ุกหนว่ ยในกลมุ่ ย่อย น้ันเป็นกลุ่มตวั อยา่ ง ดังน้นั ก่อนจะทาการสุ่มกลุม่ ย่อย ผู้วิจยั จะตอ้ งกาหนดขนาดของกลุ่มตวั อย่าง แล้วคานวณวา่ จะต้องใชก้ ลุ่มยอ่ ยกี่กล่มุ

81 ประชากร (Population) BBAC BABCC CCABB Cluster CCCC CBC ACB C B C จานวนประชากร C ในแตล่ ะ Cluster C C AB AC B BAC C CB สุม่ Cluster BAC BC C กลุ่มตัวอย่าง (Sample) แผนภาพ 5.2 แสดงการสุ่มตัวอยา่ งตามกล่มุ หรือพื้นท่ี (Cluster or Area Sampling) สาหรับข้อดีและข้อเสียของการสมุ่ ตามกลุม่ หรือพ้นื ที่ พบว่า ขอ้ ดี ประหยดั ค่าใชจ้ ่ายในการเก็บข้อมลู เพราะกลุม่ ตัวอย่างอยู่ในพ้นื ที่เดียวกัน และไม่ตอ้ งจดั ทา ขอบข่ายประชากรหรือบัญชีรายชื่อของแต่ละหน่วยประชากร ส่วนข้อเสยี คือ เสียค่าใชจ้ า่ ย เวลา แรงงานในการวเิ คราะห์ข้อมูลสงู เพราะกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มหรอื พนื้ ทจ่ี ะนามาศึกษาท้ังหมด และข้อมลู อาจไมเ่ ทยี่ งตรงแม่นยาเท่ากบั การสมุ่ ตามระดับช้ันเพราะไม่ทราบคา่ ประชากรของกลุ่ม ที่ไม่ได้รับเลอื กเปน็ กลุ่มตัวอย่าง 2.5) การส่มุ หลายขั้นตอน ( Multi-Stage Sampling) ถ้าประชากร ทศี่ กึ ษาประกอบด้วยกล่มุ ย่อย ๆ โดยทกี่ ลมุ่ ย่อยประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ซ่ึงมีขนาดของลักษณะ ทน่ี า่ สนใจศกึ ษาเหมือน ๆ กัน การเลือกตัวอยา่ งจากประชากรไม่จาเป็นตอ้ งเลือกตวั อยา่ งมาจาก ทุกกลมุ่ เหมอื นการเลือกตัวอยา่ งโดยการแบง่ เปน็ ช้ัน เพราะหน่วยทีอ่ ยใู่ นแตล่ ะกลุม่ ประกอบดว้ ย คา่ ขนาดต่าง ๆ เหมอื นกนั อยู่แลว้ ดงั น้ันอาจส่มุ เพียงบางกลุ่มมาศกึ ษา โดยวิธกี ารสุ่มทม่ี ีการส่มุ มากกว่า 1 ครั้ง เชน่ ในโครงการใหญ่ ๆ ระดบั ชาติ เราแบ่งประชากรออกเป็น 4 ภาค แล้วสมุ่ มา

82 เพียง 2 ภาค (สุ่มแบบตามกลมุ่ หรือพื้นท่)ี จากนั้นสุม่ จังหวัดมาจากภาค ๆ ละ 3 จังหวัด (สุม่ แบบ ตามกลุม่ หรือพืน้ ทอี่ ีกครง้ั ) การสมุ่ รวมทัง้ 2 ครัง้ นีเ้ รียกวา่ การส่มุ ตามกลมุ่ หรือพื้นท่ีหลายขัน้ ตอน (Multi-Stage Cluster Sampling) ถ้าทาการสุ่มต่อไปโดยจากจงั หวัดแบ่งเปน็ เทศบาลกับองค์การ บริหารส่วนตาบล (อบต.) แลว้ ส่มุ มาเป็นหม่บู า้ นตามสดั ส่วนของหมู่บา้ นในเมืองและนอกเมอื ง กจ็ ะได้ กลุม่ ตัวอยา่ งตามต้องการ การสุม่ ในขน้ั ตอนต่อจากจังหวัดจนไดก้ ล่มุ ตวั อยา่ งประชากรน้ี ใชก้ ารสุ่ม ตามระดับชน้ั หรือชน้ั ภูมิ (Stratified Random Sampling) การส่มุ หลายข้ันตอนอาจเป็นการสมุ่ ตามกลุม่ หลายขั้นตอน หรือการส่มุ ตามระดับชัน้ หลายขน้ั ตอน หรือการสุ่มแบบผสมระหวา่ งการส่มุ ตามกลุ่มหรือการสุ่มตามระดับชัน้ กไ็ ด้ วิธีการเลอื กกล่มุ ตัวอยา่ งดังกล่าวข้างต้น สามารถสรปุ ไดว้ ่า ในการสุ่มตวั อยา่ ง โดยทวั่ ไป ควรจะใช้วิธกี ารสุ่มตวั อยา่ งแบบให้โอกาสเท่ากัน (Probability Sampling) ทั้งน้ี เพือ่ ให้ สามารถใช้สถติ ิอา้ งอิง (Inferential Statistics) ในการวเิ คราะห์ข้อมูลได้ สว่ นจะเป็นวธิ ใี ดน้ันไม่มี หลกั กาหนดแน่นอน ซึ่งส่วนมากนกั วจิ ัยมักใชห้ ลาย ๆ วิธรี วมกนั ตามความเหมาะสมโดยไมจ่ าเป็นตอ้ ง เป็นวิธใี ดวธิ หี นง่ึ เท่านน้ั ซึ่งเรียกว่าการสมุ่ ตัวอย่างประเภทผสม บทสรุป ประชากรในการวจิ ัย เปน็ หนว่ ยต่าง ๆ ทผ่ี วู้ จิ ัยจะใช้ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล ซึ่งอาจเป็น คุณสมบตั ิของบุคคล สถานบรกิ าร เอกสารสง่ิ พิมพ์ ท้องที่ หรอื วตั ถุสง่ิ ของ ทงั้ น้ีสุดแล้วแต่ วตั ถปุ ระสงค์ของการวิจยั ซ่งึ แตล่ ะเรือ่ งอาจมีกลมุ่ เดียวหรือหลายกลุม่ ก็ได้ กลมุ่ ตัวอย่างเป็นตัวแทน สว่ นหนงึ่ ของประชากรที่นักวิจัยนามาใช้ในการศึกษาค้นคว้าแทนประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ดจี ะต้อง มีลกั ษณะทีด่ ีของประชากร คือมีลกั ษณะตรงกับจุดมงุ่ หมายของการวจิ ัยน้นั มขี นาดพอเหมาะ และได้มาจากการสุ่มท่ปี ราศจากความลาเอียง ซง่ึ การเลือกกลมุ่ ตวั อย่างอาจแบ่งเป็นการเลือกแบบ ไม่ใหโ้ อกาสเท่ากนั และแบบให้โอกาสเทา่ กัน ดังนน้ั ในการวิจัยแต่ละเรื่อง นักวจิ ยั อาจกาหนดขนาดของกลมุ่ ตวั อย่างแตกต่างกนั ไปตาม ความเหมาะสมเพ่ือให้มคี วามคลาดเคลอ่ื นน้อยทีส่ ุดและมีความเช่ือถอื ได้สูงทีส่ ุด โดยพิจารณาจาก เกณฑ์การกาหนดขนาดของกลุม่ ตัวอยา่ ง เช่น การพิจารณาจากลักษณะของประชากร ขนาดของ ประชากร ประเภทของการวิจยั ความเที่ยงตรง ทรพั ยากร และเครอื่ งมอื การวิจยั นอกจากน้ี จะต้องตระหนักถงึ ความเป็นอาสาสมคั รของกลุ่มตวั อยา่ งซึ่งมีผลตอ่ การตอบแบบสารวจ รวมทง้ั ขอ้ ผดิ พลาดในการเลือกตวั อย่าง อาทิ การเลือกตวั อย่างด้วยความมักง่าย ไมไ้ ด้ใช้วิธกี ารเลือก ตวั อยา่ งเพ่ือให้ไดต้ ัวอย่างที่มีความเปน็ ตวั แทนท่ีดขี องประชากร และใช้วธิ ีการเลือกตัวอย่างท่ีไม่ ถูกต้อง เป็นตน้

83 กจิ กรรมทา้ ยบทที่ 5 1. จงให้ความหมายของคาว่าประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง 2. จงยกตัวอย่างประชากรท่ีสามารถนับจานวนได้และประชากรที่ไม่สามารถนับจานวนได้ อย่างละ 5 ข้อ 3. กล่มุ ตัวอยา่ งให้ประโยชนต์ ่อการวิจัยอย่างไรบ้าง จงอธิบาย 4. ต้องการสมุ่ ตวั อย่างจากนักธุรกิจค้าปลีกจานวน 5,000 คน โดยยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน ไม่เกนิ 5% จะได้กลุ่มตัวอยา่ งมีขนาดเท่าใด 5. ประชากรจานวน 800 , 1,350 , 1,820 , 10,000 และ 25,000 คน ถ้าใชต้ ารางของ Krejcie และ Morgan จะไดก้ ลุม่ ตัวอยา่ งขนาดเท่าใด 6. ประชากรท่ใี ช้ในการวจิ ยั เรื่องหน่งึ มจี านวน 1,000 คน จาแนกตามคณะวชิ าพบว่าคณะบัญชี มจี านวน 500 คน คณะวทิ ยาศาสตรม์ ีจานวน 200 คน คณะการจดั การมีจานวน 200 คน และคณะครุศาสตร์มจี านวน 100 คน 6.1 การวิจัยเร่ืองนีจ้ ะใชก้ ลมุ่ ตวั อยา่ งก่ีคน 6.2 จะเลือกกลุ่มตวั อย่างโดยวธิ ใี ด จงอธิบายวธิ ีการเลือกตัวอยา่ ง พร้อมทัง้ ระบุเหตผุ ล ทเ่ี ลือกกลุม่ ตัวอยา่ งวธิ นี ้นั 7. จงเปรียบเทียบขอ้ ดีข้อเสียของการเลือกกลุ่มตัวอยา่ งแบบไมใ่ ห้โอกาสเท่ากันกบั การเลือก กลุ่มตวั อยา่ งแบบใหโ้ อกาสเทา่ กนั แตกต่างกันอยา่ งไร

84 บทท่ี 6 วิธกี ารและเครือ่ งมือท่ใี ช้ในการวิจัย การวจิ ัยทางสังคมศาสตร์เปน็ ความพยายามในการวดั คุณลักษณะต่าง ๆ ซ่งึ เป็นตัวแปร ในการวจิ ยั การเก็บรวบรวมข้อมลู เป็นขน้ั ตอนสาคัญทีม่ ีผลตอ่ ความถูกต้องแมน่ ยาของผลการวจิ ัย ดงั นัน้ การเลอื กวิธีการและเคร่ืองมือที่ใชใ้ นการเก็บรวบรวมขอ้ มูลจงึ เปน็ สง่ิ ทีต่ ้องเลอื กให้ถกู ต้อง และเหมาะสม และเปน็ เคร่ืองมอื ท่ีได้รับการตรวจสอบแลว้ วา่ มคี ุณภาพสูง ในบทนจี้ ะได้กลา่ วถึง หลักและวิธีการในการเลือกวิธีการและเคร่ืองมือท่ีใชใ้ นการวิจัยทีส่ าคัญ ดงั น้ี - การวัด - ขอ้ มลู และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวจิ ัย - วิธีการและเครือ่ งมือทใ่ี ช้ในการวิจยั - การตรวจสอบคุณภาพของเคร่อื งมือที่ใชใ้ นการวจิ ยั 6.1 การวัด การวดั เป็นการกาหนดคา่ ให้กับสิ่งหนงึ่ อย่างมหี ลักเกณฑแ์ ละเป็นท่ียอมรบั โดยค่าที่ได้ มที ั้งทเ่ี ปน็ ตัวเลขและไม่เปน็ ตัวเลข และนักวิจัยจะต้องเข้าใจมาตรวัดตวั แปรกอ่ นท่ีจะสร้างเครอื่ งมอื ในการวจิ ัยใหเ้ ปน็ ไปตามมาตราวดั ทคี่ วรจะเป็น จงึ ตอ้ งศกึ ษาในเร่อื งตอ่ ไปน้ี 6.1.1 หลกั สาคญั ของการวัด ประโยชน์ท่ีไดจ้ ากการวดั ย่อมขน้ึ อยู่กับกระบวนการท้งั หมดที่ใชใ้ นการวัดอย่างถูกต้อง ตามหลักการ สชุ าติ ประสิทธ์ิรฐั สินธุ์ (2538 : 136-137) เสนอหลกั การทส่ี าคญั ท่ีมผี ลตอ่ คณุ ภาพ ของการวดั ได้แก่ 1) ความถูกต้องของการวัด (Validity) ซึ่งเป็นสงิ่ ทสี่ าคัญท่ีสุด การวัดจะถูกตอ้ ง กต็ อ่ เมือ่ วดั ได้ในส่ิงท่ตี ้องการวัด หรือวัดไดต้ รงตามประเดน็ ทตี่ ้องการ 2) ความเชื่อถือได้ของการวัด (Reliability) ซ่ึงหมายความว่าเมอื่ ได้ทาการวัดแล้ว ผลท่ีไดจ้ ากการวัดเหมือนกนั ทุกคร้ัง 3) ความ วอ่ งไวของการวดั (Sensitivity) หมายถงึ ความสามารถของเครื่องมือที่ใชใ้ นการวดั ในการจาแนก ความแตกตา่ งระหว่างหนว่ ยต่าง ๆ ทต่ี อ้ งการศึกษา และ 4) ความหมายของการวดั (Meaning- Fullness) บ่อยครง้ั ในการวิจยั ทางสังคมศาสตร์วิธกี ารวดั แมว้ ่ามีความถกู ต้อง มีความเชือ่ ถอื ได้ และวอ่ งไวตอ่ การวัด แตผ่ ลทวี่ ดั ไมม่ ีความหมาย ดังน้นั จาเป็นอยา่ งยิง่ ท่กี ารวัดจะต้องวัดอยา่ งมี ความหมาย และใชป้ ระโยชนใ์ นเชิงปฏบิ ัติไดด้ ้วย 6.1.2 ระดับของการวดั ข้อมูลในการวจิ ยั จานวนมากได้มาจากการวัด (Measurement) คอื การจดั ระเบียบ การจาแนกความแตกต่าง และการวางกฎเกณฑ์การให้ตวั เลขกับข้อมลู ต่าง ๆ ท่ีไดจ้ ากการสารวจให้ อยู่ในสภาพทจ่ี ะนาไปวิเคราะห์ได้ (ชไมพร กาญจนกิจสกุล. 2555 : 48 - 50) ได้เสนอแนวคดิ เกี่ยวกบั ระดบั ของการวัดแบ่งออกเป็น 4 ระดบั ดังน้ี 6.1.2.1 มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) เปน็ ระดบั ของการวดั ท่ีง่ายทสี่ ุด ตวั เลขทีใ่ ชส้ ามารถบอกความแตกต่างของกลุม่ ตา่ ง ๆ ของตัวแปรได้ แตไ่ ม่ไดบ้ ่งบอกถงึ ความแตกตา่ ง ในแง่ของคุณค่าหรือคุณภาพแตอ่ ย่างใด ซง่ึ ตัวแปรทมี่ ีระดับการวดั แบบนามบัญญัตินมี้ ักเป็นตวั แปร

85 ท่มี ีข้อมูลเชงิ ลักษณะเป็นสว่ นใหญ่ เช่น เพศ เช้อื ชาติ ศาสนา อาชพี และภมู ิลาเนา สาหรบั ตวั เลขทีใ่ ช้ ในการวดั แบบนามบญั ญตั เิ ป็นเพยี งตวั ท่แี สดงรหัสในการจาแนกกล่มุ ออกเป็นพวก ๆ ตามคณุ ลักษณะ ไม่สามารถนามาคานวณทางเลขคณิตได้ และไมส่ ามารถบ่งชคี้ ุณลกั ษณะทมี่ ากกว่าหรอื นอ้ ยกว่าได้ เช่น เพศชายให้รหสั ตัวเลข 1 เพศหญงิ ให้รหสั ตัวเลข 2 ดังน้ันหมายเลข 1 และ 2 เปน็ เพียงการ บอกความแตกตา่ งระหวา่ งกลุ่มวา่ อยูก่ นั คนละกลมุ่ หรอื คนละพวกเท่านั้น 6.1.2.2 มาตราจัดอันดับ (Ordinal Scale) เป็นการวดั ทม่ี รี ะดับสูงกว่าการวัด ระดบั นามบญั ญตั เิ ล็กน้อย กล่าวคอื สามารถแสดงความแตกตา่ งในลักษณะท่บี อกได้วา่ กล่มุ ใด มากกว่า สูงกว่า ดีกวา่ แต่การวดั ตัวแปรในระดับน้ยี งั ไมส่ ามารถบอกรายละเอียดไดว้ ่าความแตกต่าง ในลกั ษณะมากกวา่ สงู กว่า ดกี วา่ น้นั มีความหมายแตกต่างกันอยู่เทา่ ใด เพียงแต่บอกไดว้ า่ มีความ แตกตา่ งในเชงิ อนั ดับเท่านน้ั เชน่ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือฐานะทางสังคม 6.1.2.3 มาตราอันตรภาค (Interval Scale) เปน็ การวดั ของตวั แปรทส่ี งู ขนึ้ กว่า การวัดแบบนามบัญญตั แิ ละการวดั แบบจัดอนั ดับ กลา่ วคือ สามารถวัดรายละเอยี ดของคุณลกั ษณะ ทีแ่ ตกตา่ งกนั ของตัวแปรออกมาไดเ้ ปน็ ค่าตัวเลข ซ่งึ ตวั เลขน้นั สามารถนามาคานวณทางเลขคณติ ได้ และสามารถระบุความแตกต่างไดว้ ่ามีมากกว่าหรือนอ้ ยกว่าน้นั เปน็ เทา่ ไร แต่อยา่ งไรกต็ ามการวัด แบบน้ีมีลกั ษณะเฉพาะตวั คือ ไม่มจี ดุ เร่ิมต้นทีแ่ ท้จรงิ จดุ เร่ิมตน้ ทมี่ ีอยู่มใิ ชเ่ ป็นจุดเริม่ ตน้ ท่ีศนู ยส์ มั บูรณ์ แตเ่ ป็นจดุ เริ่มตน้ สมมตหิ รือจุดเริม่ ต้นศูนยส์ มั พัทธ์ เชน่ อุณหภมู ิเป็น 0 0C มไิ ดห้ มายความวา่ มีศูนยอ์ ยู่จริง เลขศูนย์ถูกสมมติให้มขี ึน้ โดยเปรียบเทยี บกบั น้าซง่ึ เปลย่ี นสถานะจากของเหลว กลายเป็นของแข็ง 6.1.2.4 มาตราอตั ราส่วน (Ratio Scale) เป็นการวัดทส่ี งู ที่สุด มคี ุณสมบัติ ครอบคลุมระดับการวดั ใน 3 ระดับที่กล่าวมาแล้ว สามารถวดั ออกมาได้เปน็ คา่ ตัวเลข ซึง่ มี คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ทกุ ประการ คือ คานวณทางเลขคณิตได้ แสดงค่ามากกว่า น้อยกว่าได้ นอกจากน้ี คา่ ของเลขศนู ยใ์ นระดบั การวัดแบบอัตราส่วนเปน็ คา่ ศูนยส์ มั บูรณ์หรอื ศนู ย์ที่แทจ้ รงิ ซึง่ หมายความวา่ ไม่มีซ่ึงส่ิงนน้ั เลย เช่น น้าหนกั เปน็ ศนู ยจ์ ะหมายความว่าไม่มนี ้าหนกั เลย หรือระยะทางเป็นศูนย์จะหมายความว่าไม่มรี ะยะทางเลย จากระดบั การวัดทงั้ 4 ระดบั ที่ได้กลา่ วมา สามารถสรปุ คุณสมบตั ขิ องระดับการวัดแตล่ ะ มาตราได้ดังตาราง 6.1 ตาราง 6.1 แสดงคุณสมบตั ิของระดับการวดั ต่าง ๆ ของตัวแปร ระดบั การวดั บอกความ บอกความ บอกระยะหา่ ง มีศูนย์สัมบูรณ์ แตกตา่ งของ มาก-น้อย ในความมาก- หรอื ศูนยแ์ ท้ มาตรานามบัญญตั ิ ของกลุ่ม นอ้ ยของกล่มุ มาตราจัดอันดับ กลมุ่ - มาตราอัตราภาค  - - - มาตราอัตราสว่ น  - -        

86 ระดบั การวัดดังกล่าวข้างต้นสามารถสรปุ ไดว้ ่า ข้อมลู ทจ่ี ะนามาใช้วเิ คราะห์ดว้ ยวธิ ีการ เชิงสถิติ ไม่ว่าจะเปน็ สถิติบรรยายหรือสถิติอ้างอิง ส่วนใหญ่ได้มาจากการวดั ลักษณะท่สี นใจหรอื นับจานวนซ่ึงมลี กั ษณะทีผ่ ้วู จิ ยั สนใจเกือบทัง้ สิน้ การวดั ลักษณะทส่ี นใจทางสังคมศาสตร์ค่อนข้าง ทาไดย้ าก เนือ่ งจากลักษณะทส่ี นใจจานวนมากมีลักษณะเปน็ นามธรรม และมีการเปลี่ยนแปลง ตามเวลาและสภาพแวดล้อมอยเู่ สมอ การวัดคา่ ของข้อมูลที่นยิ มใช้กันท่ัว ๆ ไปมี 4 ระดบั เมื่อเรยี งตามลาดับการวดั จากระดบั ง่ายค่อนข้างหยาบไปจนถึงการวัดระดับยากแคค่ ่อนข้างละเอียด คอื การวัดระดบั มาตรานามบญั ญัติ การวดั ระดบั มาตราจัดอนั ดบั การวดั ระดบั มาตราอตั ราภาค และการวดั ระดบั มาตราอตั ราส่วน 6.2 ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจยั ถ้าเรามองภาพบริหารเชิงระบบแล้วจะเหน็ ว่าข้อมูลเป็นปจั จัยเชิงระบบ (Input) ของ กระบวนการวิจยั ทสี่ าคัญยง่ิ หากปราศจากข้อมลู แลว้ ผลการวจิ ยั ย่อมจะไม่เกิดขนึ้ นกั วิจัยจึงตอ้ ง ดาเนินการเก็บขอ้ มลู ทดี่ ี มีความถูกต้อง ความเชื่อถือไดส้ ูง และครอบคลุมสงิ่ ท่ตี ้องการศกึ ษา เพอื่ ตอบคาถามของวตั ถุประสงคก์ ารวิจยั ดงั น้นั การเก็บรวบรวมขอ้ มูลเปน็ ขนั้ ตอนสาคญั ข้ันตอน หน่งึ ของการวิจัยเพื่อให้ไดม้ าซงึ่ ขอ้ มลู เปน็ กจิ กรรมหนึ่งท่ีจัดกระทาภายหลงั จากท่ีได้เคร่อื งมือ เสร็จเรยี บรอ้ ยแล้ว ซง่ึ ผู้วิจัยอาจเกบ็ รวบรวมข้อมลู ดว้ ยตนเองหรอื มีผู้ชว่ ยนกั วิจยั ช่วยเก็บรวบรวม ขอ้ มูลกไ็ ด้ 6.2.1 ขอ้ มลู ในการวจิ ัย ขอ้ มูลหรือสารสนเทศท่ีเป็นข้อเทจ็ จรงิ ของสิ่งท่ีเราศึกษา สาหรบั ใช้ในการคน้ หาคาตอบ และการอภิปรายผลการวิจยั ขอ้ มูลอาจประกอบดว้ ยขา่ วสารหรอื ตวั เลขทเี่ ราสามารถสงั เกต และ เก็บรวบรวมมาคานวณ หรอื วิเคราะหเ์ พ่ือใช้เปน็ พ้นื ฐาน หรอื เปน็ หลกั ฐานในการทดสอบ หรือการ พสิ จู น์ข้อเท็จจรงิ ในส่ิงที่ต้องการทราบ การได้มาซ่งึ ข้อมูลที่มีคุณภาพยอ่ มมาจากการเก็บรวบรวม ขอ้ มูลที่ดี (ชไมพร กาญจนกิจสกลุ . 2555 : 129 - 130) สาหรบั ขอ้ มูลในการวจิ ยั หมายถึง หลักฐานขอ้ เทจ็ จริงตา่ ง ๆ ที่เปน็ ตัวเลขหรือไม่เป็นตวั เลขที่เกี่ยวกบั ตัวแปรทน่ี ามาใชใ้ นการอธิบาย ประเด็นต่าง ๆ ท่เี กีย่ วข้องกับการวิจยั ถา้ แบ่งตามแหล่งท่มี าของข้อมูลจะแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1) แบ่งตามแหล่งท่มี าของข้อมลู แบง่ ไดเ้ ป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คอื ข้อมูลหรอื ขา่ วสารทเี่ ก็บรวบรวมมาเป็นคร้งั แรก ซึง่ อาจจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลดว้ ยตัวเอง หรอื บุคคลอื่น แล้วนาข้อมูลเหลา่ น้ีมาใช้เปน็ หลักฐานอ้างอิงต่อไป ขอ้ มูลประเภทนี้ได้มาจากการสงั เกต การสารวจ การสัมภาษณ์ และการสง่ แบบสอบถาม และข้อมลู ทุตยิ ภมู ิ (Secondary Data) คือ ขอ้ มูลหรือข่าวสารท่ีผ้ใู ดผหู้ นึ่งได้ทาการรวบรวมหรอื เรียบเรียงไว้เรียบรอ้ ยแลว้ ผู้วจิ ัยนาขอ้ มลู น้นั มา ประกอบอา้ งองิ ในการเขียนรายงาน (ธรี วฒุ ิ เอกะกลุ . 2552 : 193) เมื่อพจิ ารณาข้อมูลทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวจะเหน็ วา่ ข้อมลู ปฐมภูมไิ ดม้ าจากแหลง่ ข้อมลู โดยตรง ซึ่งยอ่ มจะให้ความถูกต้องและ ทันสมยั กว่าข้อมลู ทตุ ยิ ภมู ิ ดว้ ยเหตุนี้ในการวจิ ยั ทางสังคมศาสตรจ์ ึงมกั จะอาศัยข้อมูลปฐมภูมิเป็นหลกั เพราะทนั สมัยต่อเหตุการณ์และได้มาจากแหล่งขอ้ มลู โดยตรง อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยกม็ ีความ จาเป็นท่ีจะต้องอาศยั ข้อมลู ท้ัง 2 ประเภทประกอบกนั เพ่ือให้งานวิจัยสมบรู ณ์ท่สี ดุ และ 2) แบ่งตาม ลักษณะของข้อมลู สามารถแบง่ ไดเ้ ป็น 2 ประเภท คือ (ชลธิชา จิรภคั พงศ์. 2554 : 18)

87 ขอ้ มลู เชงิ ปริมาณ (Quantitative Data) คอื ข้อมลู ท่บี อกเปน็ ตวั เลขและเปน็ ปรมิ าณของตัวแปร แต่ละตวั เช่น จานวนประชาชนในหมู่บ้าน อายุ รายได้ และข้อมูลเชิงคณุ ภาพ (Qualitative Data) คอื ข้อมลู ที่ไม่สามารถบอกเป็นตวั เลขได้ แตจ่ ะบอกเปน็ ข้อความการบรรยายแสดงคุณลักษณะ เชน่ เพศ อาชพี ศาสนา สถานสมรส 6.2.2 การเกบ็ รวบรวมข้อมูลในการวจิ ยั การเก็บรวบรวมข้อมลู เป็นกระบวนการที่จะทาให้ได้ข้อมูลมาใช้เพ่ือการศกึ ษาและ ตอบสนองตามวตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัย ซึง่ การเก็บรวบรวมข้อมลู ในการวจิ ัยทางสงั คมศาสตร์ อาจแบ่ง ออกได้เป็น 2 ลักษณะดังน้ี (ธีรวฒุ ิ เอกะกลุ . 2552 : 196 - 197) 6.2.3.1 การรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แลว้ เปน็ การรวบรวมข้อมูลทเี่ ปน็ เอกสารหรอื ที่ ปรากฏในสิง่ พมิ พต์ ่าง ๆ โดยมหี ลักในการพจิ ารณาก่อนทจี่ ะนาข้อมลู มาใช้ ดังนี้ 1) ดูความเกีย่ วข้อง (Relevance) ข้อมูลทจี่ ะรวบรวมน้ันจะตอ้ งมีความ เก่ียวข้องกับหัวข้อการวจิ ยั โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งจะตอ้ งตรงกับวตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัย 2) มคี วามเช่อื ถือได้ (Reliability) ข้อมลู นั้นตอ้ งมแี หล่งที่มาทเ่ี ชอื่ ถือได้ 3) มีความทนั สมัยหรอื ทันเหตกุ ารณ์ (Up to Date) เปน็ ขอ้ มลู ทส่ี ามารถ เสรมิ หรอื ใหค้ วามรู้ใหม่ ๆ ตลอดจนทนั ต่อเหตุการณ์ จึงจะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การวิจัย 6.2.3.2 การรวบรวมขอ้ มลู สนาม เป็นการไปรวบรวมข้อมูลทีผ่ วู้ จิ ัยจะต้องไป รวบรวมมาจากตัวอยา่ งหรือประชากรทศี่ ึกษา เชน่ ข้อมูลเกี่ยวกับความคดิ เห็น ความพงึ พอใจ สถานภาพทางเศรษฐกจิ การมสี ่วนร่วมทางการเมือง โดยมกี ารปฏิบตั ิเป็นข้ันตอนดงั น้ี 1) การกาหนดแหลง่ ข้อมลู ที่ต้องการ ผู้วิจยั จะตอ้ งกาหนดให้ชดั เจนวา่ ข้อมลู ท่ีตอ้ งการในการวจิ ัยครั้งนม้ี อี ะไรบ้าง จะไดร้ วบรวมได้ถูกต้อง โดยพิจารณาดจู ากวัตถปุ ระสงค์ หรอื ปัญหาการวจิ ยั 2) การกาหนดแหล่งท่ีจะใหข้ ้อมูล ซ่งึ ผู้วิจยั จะต้องทราบวา่ ข้อมลู ทต่ี ้องการ นัน้ อยูท่ ี่ไหน หรือใครจะเปน็ ผู้ใหข้ ้อมลู เหลา่ น้นั น่นั คือจะตอ้ งกาหนดใหแ้ นน่ อนว่าจะใชป้ ระชากร กลมุ่ ใด ใช้ตัวแทนหรอื กล่มุ ตัวอยา่ งอย่างไร 3) การเลือกวธิ แี ละสรา้ งเคร่ืองมือในการรวบรวมขอ้ มูล ก่อนท่ีจะสรา้ งเครื่องมือ ตอ้ งเลือกวธิ ีการเกบ็ ข้อมลู ก่อนว่าจะใช้วิธใี ด เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ หรือส่งแบบสอบถาม ให้กรอกเอง ซึ่งเม่ือเลอื กวิธไี ดแ้ ล้ว จงึ ลงมือสร้างเครื่องมือซึ่งสว่ นใหญ่ก็มกั เปน็ แบบสอบถาม 4) การทดสอบเคร่ืองมือในการเกบ็ ข้อมลู เมอื่ สรา้ งเครื่องมอื เก็บข้อมูลแล้ว ควรจะนาเคร่ืองมือดังกลา่ วไปทดลองใชห้ รอื ทดสอบดกู ่อนว่าใช้ไดจ้ รงิ หรือไม่ ได้ถามในสิ่งทีต่ ้องการ คาตอบหรือไม่ มขี ้อบกพรอ่ งอะไรกท็ าการแก้ไขก่อน เพ่ือท่ีจะทาให้เคร่ืองมือดังกล่าวถูกต้องและ เชอื่ ถอื ได้ 5) การออกรวบรวมข้อมูล เมื่อได้แก้ไขข้อบกพร่องตา่ ง ๆ จากการทดสอบ เครื่องมือทจ่ี ะใช้ในการรวบรวมข้อมูลแลว้ กม็ าถงึ ขัน้ ตอนออกรวบรวมข้อมูลดว้ ยตนเองหรอื อาจจะ ใชพ้ นักงานสมั ภาษณ์หรือสง่ แบบสอบถามไปทางไปรษณยี ์ก็ได้ ไปยังแหลง่ ขอ้ มลู ทตี่ ้องการ ซงึ่ ขน้ึ อยู่ กบั ความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ในการทาวิจัย

88 ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจยั ดงั กล่าวข้างต้น สรปุ ไดว้ ่า วธิ ีการเก็บ รวบรวมข้อมูลแบ่งไวห้ ลายประเภท แตล่ ะประเภทมลี กั ษณะข้อมลู ทแ่ี ตกต่างกนั ทง้ั ข้อมูลปฐมภูมิ ขอ้ มลู ทุตยิ ภูมิ ขอ้ มูลเชิงปรมิ าณและข้อมลู เชิงคณุ ภาพ รวมทัง้ ผู้วจิ ยั จะต้องเข้าใจสภาพของข้อมลู ที่ตอ้ งการเก็บรวบรวม ซ่งึ การเก็บรวบรวมขอ้ มูลในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คอื การรวบรวมข้อมูลทม่ี ีอยู่แล้ว และการรวบรวมข้อมลู สนาม 6.3 วธิ ีการและเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวจิ ัย เคร่ืองมือวดั เป็นสิ่งสาคัญของการวิจัย ท่ีผ้วู จิ ัยจาเป็นตอ้ งใช้ในการรวบรวมข้อมลู เพ่อื นามา ตอบปัญหาการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีหลายชนิด ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ จุดมงุ่ หมายทตี่ อ้ งการ เครอื่ งมอื แต่ละชนดิ มคี ุณลกั ษณะเฉพาะแตกตา่ งกนั และมีความเหมาะสม ในการเก็บข้อมลู แต่ละชนดิ ไม่เหมอื นกัน นักวิจัยจึงมีความจาเป็นตอ้ งมีความค้นุ เคย และเขา้ ใจ อยา่ งเพียงพอเกย่ี วกับเครื่องมือท่จี ะนามาใชใ้ นการวิจยั ซึ่งผูว้ ิจัยอาจจะเลือกจากเครือ่ งมือทผี่ ู้สรา้ งขึ้น มาก่อนแลว้ หรือสรา้ งขน้ึ มาใช้เองใหม่ก็ได้ ดังนน้ั จงึ เป็นหน้าท่ีโดยตรงของผวู้ จิ ัยท่ีจะต้องศกึ ษา หาความรเู้ กยี่ วกบั เครอ่ื งมือท่ีใช้ในการวจิ ยั ซึ่งในท่ีนจี้ ะได้กลา่ วถงึ เฉพาะเครอื่ งมือทน่ี ยิ มใชใ้ นการวิจัย ทางสงั คมศาสตร์เทา่ นั้น 6.3.1 การสัมภาษณ์ การสมั ภาษณ์เปน็ อีกเทคนิควิธกี ารหน่ึงในการเก็บรวบรวมขอ้ มูลท่ีใช้ในการสนทนา แบบมจี ุดมงุ หมายแนน่ อน ระหวา่ งผทู้ ีต่ ้องการทราบเร่ืองราวเรียกวา่ ผสู้ ัมภาษณ์กับผูใ้ ห้เรื่องราว ผใู้ ห้สมั ภาษณห์ รือผู้ถูกสมั ภาษณ์ เครือ่ งมือทส่ี าคัญของการสมั ภาษณ์คือการสนทนาโต้ตอบระหวา่ ง บคุ คล 2 ฝา่ ย ด้วยวิธีการพบปะโดยตรง 6.3.1.1 ความหมายของการสัมภาษณ์ การสมั ภาษณ์เปน็ เทคนิคในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลอย่างหนึ่งทน่ี ยิ มใชใ้ นการวิจัย การเกบ็ ข้อมลู ชนดิ น้ีเป็นวธิ กี ารที่ผถู้ ามและผ้ตู อบต้องเผชิญหน้ากนั พูดคยุ ซักถามหรอื สนทนากนั โดยมีจดุ มุ่งหมายไว้ลว่ งหนา้ นกั การศึกษาหลายทา่ นได้ให้แนวคิดเก่ยี วกับความหมายของการ สมั ภาษณ์ไวห้ ลายแง่มมุ ดงั นี้ พิชิต ฤทธ์จิ รูญ (2551 : 232) กล่าวว่า การสัมภาษณเ์ ป็นการสนทนา อย่างมีจุดม่งุ หมายทีแ่ น่นอนทั้ง 2 ฝา่ ย คือ ผูส้ มั ภาษณ์และผใู้ ห้สมั ภาษณ์ ผ้สู มั ภาษณ์จะต้องมีการ วางแผนและเตรยี มการให้พร้อม รวมท้งั ดาเนินการตามข้ันตอนท่จี ะชว่ ยให้ไดค้ วามจรงิ จากผใู้ ห้ สมั ภาษณ์ จุดประสงค์ทว่ั ไปของการสมั ภาษณ์คือ เพอื่ ให้ไดข้ ้อมูลสาหรบั ศึกษาเร่ืองใดเรอ่ื งหนึ่ง โดยใช้แบบสัมภาษณเ์ ป็นเคร่ืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอยี ดของเร่ืองท่ีผ้วู จิ ยั สนใจศกึ ษา วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2551 : 222) กลา่ วว่า การสมั ภาษณ์เปน็ การ เก็บรวบรวมข้อมลู โดยการสอบถาม หรือการโตต้ อบทางวาจาเปน็ หลกั โดยเรยี กผูส้ อบถาม หรอื เกบ็ ข้อมูลว่าผู้สมั ภาษณ์ และเรียกฝา่ ยตอบหรือฝา่ ยให้ข้อมลู ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ การสัมภาษณน์ ี้ ใชไ้ ด้ดสี าหรบั เก็บขอ้ มูลเกี่ยวกบั ความร้สู ึก ความสนใจ ความคิดเหน็ หรอื ทัศนคตเิ ร่ืองตา่ ง ๆ ธรี วฒุ ิ เอกะกุล (2552 : 172 - 173) กล่าววา่ การสัมภาษณ์เป็นอีก เทคนคิ วิธีการหนงึ่ ในการเก็บรวบรวมขอ้ มูล ทใ่ี ชก้ ารสนทนาแบบมจี ดุ ม่งุ หมายแน่นอน ระหวา่ งผ้ทู ี่

89 ต้องการทราบเร่ืองราวเรียกว่า “ผสู้ ัมภาษณ”์ กับผู้ที่ใหเ้ ร่ืองราวซึ่งเรยี กวา่ “ผใู้ หส้ มั ภาษณ์หรอื ผู้ถกู สมั ภาษณ์” เครอ่ื งมือที่สาคัญของการสัมภาษณ์คือการสนทนาโตต้ อบระหว่างบุคคล 2 ฝา่ ย ดว้ ยวิธกี ารพบปะโดยตรง ซ่ึงอาจจกระทาโดยใช้คาพูด ทา่ ทาง เครอ่ื งหมาย และความรสู้ ึก ท่แี สดงออกทางสีหนา้ และอนื่ ๆ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการไดข้ ้อมลู ทน่ี ่าเชื่อถอื และเจาะลกึ ขอ้ มลู ได้ดีกวา่ การใช้แบสอบถาม ชไมพร กาญจนกิจสกลุ (2555 : 138 - 139) กลา่ วว่า การสมั ภาษณ์ เป็นการสนทนาอย่างมจี ุดมุ่งหมายระหวา่ งผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ โดยมีวตั ถปุ ระสงค์เพ่ือให้ ไดม้ าซ่ึงข้อมูลท่ถี ูกต้องเทยี่ งตรง ผู้สมั ภาษณ์ทีด่ ีต้องฟังมากกว่าพดู ไมห่ เู บา ต้องยึดแนวตาม วตั ถปุ ระสงค์ทจ่ี ะวดั และบนั ทึกไวไ้ ด้อย่างถกู ต้อง เคร่ืองมือในการสัมภาษณก์ ค็ ือแบบสัมภาษณ์ และบุคคลที่ทาการสัมภาษณ์ซงึ่ ใชป้ ากและหูเปน็ เคร่ืองมือสาคญั ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล จะต้อง เขา้ ใจในวตั ถปุ ระสงค์ของการวิจัยอย่างถ่องแท้ และจาเป็นจะตอ้ งมีแนวทางในการถามและจาใหไ้ ด้ ว่าจะต้องเกบ็ ข้อมลู อะไรบ้าง ทง้ั นี้ เม่อื ถามเสรจ็ ก็ควรทาการบนั ทกึ คาตอบดว้ ยการเขียนเพอ่ื กัน การตกหลน่ ของข้อมลู ที่สาคญั ระหว่างสนทนา จากแนวคดิ ของนักการศกึ ษาสามารถสรปุ ได้ว่า การสมั ภาษณ์ หมายถึง การสนทนาหรอื การซักถาม โดยมีจดุ มุ่งหมายทแ่ี นน่ อนระหวา่ งบุคคล 2 ฝ่าย คอื ผู้สัมภาษณ์ และผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการรวบรวมขอ้ มลู แบบหน่งึ ทใี่ ช้กันมากในการวิจัยทาง สงั คมศาสตร์ ซง่ึ เปน็ การคน้ คว้าเกย่ี วกบั พฤติกรรมของมนุษยเ์ ป็นวิธีท่ีให้รายละเอยี ดลึกซึ้งกว่า การสังเกตเพยี งอยา่ งเดียว ทาใหม้ องปัญหาได้กวา้ งขวางข้ึน 6.3.1.2 ประเภทของการสัมภาษณ์ การสมั ภาษณ์เปน็ วิธกี ารทนี่ ิยมใช้ในการวจิ ัยทางสงั คมศาสตร์ แบง่ ออกไดเ้ ป็น หลายประเภทขนึ้ อยูก่ ับเกณฑ์ท่ใี ช้ในการแบ่ง ในทนี่ ี้จะเสนอการแบ่งประเภทของการสมั ภาษณ์ดงั นี้ (พิชติ ฤทธิจ์ รูญ. 2551 : 236) 1) แบง่ ตามโครงสรา้ งการสมั ภาษณ์ 1.1) การสัมภาษณ์แบบมโี ครงสรา้ ง (Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์โดยใชแ้ บบสอบถามซง่ึ มีการเตรยี มชุดคาถามไว้ล่วงหนา้ อย่างเรียบร้อยแล้ว โดยถามไปตามลาดบั และสมั ภาษณท์ ุกคนเหมือนกนั พอหมดชดุ คาถามก็เปน็ อนั จบการสัมภาษณ์ วิธีการสมั ภาษณ์แบบนี้เป็นวิธีที่เลย่ี งขอ้ บกพร่องของวธิ กี ารสอบถามนน่ั เอง (พชิ ิต ฤทธ์ิจรูญ. 2551 : 232) ซึง่ การสัมภาษณ์แบบน้ีมีลักษณะไม่ค่อนยดื หย่นุ ผู้สมั ภาษณ์ไมอ่ าจตั้งคาถามหรือดดั แปลง คาถามตามใจชอบได้ แต่มขี ้อดีคือ จดั หมวดหมูไ่ ด้ง่ายและสะดวกในการวิเคราะห์ การสมั ภาษณ์ แบบนใ้ี ช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคลหรอื กลุม่ ย่อย ๆ กไ็ ด้ เหมาะสมหรบั ผสู้ มั ภาษณ์ทมี่ คี วาม ชานาญในการสัมภาษณ์นอ้ ย

90 ตัวอยา่ ง แบบสมั ภาษณ์เพอื่ การวิจัย เรอื่ ง “ปัจจัยท่สี ัมพันธก์ ับพฤตกิ รรมการดาเนินชีวติ ตามปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงของครวั เรอื นในจังหวัดยโสธร” ตอนท่ี 1 ข้อมูลการดาเนนิ การสัมภาษณ์ 1. บ้านเลขที่...............หม.ู่ ......ตาบล.....................................อาเภอ......................จงั หวดั ยโสธร 2. ผใู้ ห้สมั ภาษณ์ชื่อ............................................................. ให้สัมภาษณ์ในฐานะ  1. หัวหนา้ ครอบครวั  2. ผ้แู ทนครอบครัว โดยเป็น............... 3. ใหส้ ัมภาษณ์เม่ือวนั ท่ี............................................................ เริม่ ให้สมุ ภาษณ์เวลา................น. เสรจ็ ส้ินการให้สมั ภาษณเ์ วลา...............น. 4. ผู้สัมภาษณ์ชอื่ ................................................................ ตอนท่ี 2 ข้อมูลครวั เรอื น 1. หวั หน้าครวั เรอื นของทา่ นอาย.ุ ..............ปี (นบั อายเุ ต็ม) 2. ระดบั การศึกษาสงู สดุ ของหัวหนา้ ครวั เรอื น  1. ประถมศึกษา  2. มธั ยมศึกษาตอนตน้  3. มัธยมศึกษาตอนปลาย  4. อนปุ รญิ ญา/ปวส.  5. ปรญิ ญาตรี  6. สูงกว่าปริญญาตรี 3. หวั หนา้ ครวั เรือนของท่านดารงตาแหนง่ ในชมุ ชนต่อไปนีห้ รอื ไม่ (ตอบไดห้ ลายข้อ)  1. กานัน/ผ้ใู หญบ่ า้ น/ผ้ชู ่วยผใู้ หญ่บ้าน/สารวตั รกานนั  2. นายก อบต./รองนายก อบต./สมาชิกสภา อบต./ที่ปรกึ ษานายก อบต.  3. ประธาน/กรรมการกองทนุ หมู่บา้ น  4. อาสาสมัครตา่ ง ๆ เช่น อสม./อพช./อปพร. เปน็ ตน้  5. อน่ื ๆ (โปรดระบุ.....................................................) ตอนท่ี 3 การเรยี นรู้ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง 1. ท่านและสมาชกิ ในครวั เรือนของทา่ นไดร้ ับข้อมูลข่าวสารเก่ียวกับปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงจาก แหลง่ ใดบ้าง (เลือกตอบไดม้ ากกวา่ 1 ขอ้ )  1. โทรทัศน์  2. วทิ ยุ  3. หนังสือพิมพ์  4. นติ ยสาร/วารสาร  5. อินเทอรเ์ นต็  6. บคุ คลในครอบครวั พูดให้ฟัง  7. อ่ืน ๆ ระบ.ุ ........................... 2. ทา่ นและสมาชกิ ในครัวเรือนของทา่ นได้เรยี นรู้ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ดว้ ยวธิ ีการตา่ ง ๆ ต่อไปน้ี หรือไม่ 2.1 ในรอบปีท่ีผ่านมา ท่านและสมาชิกในครัวเรือนของท่านได้รับฟังข้อมูล/ข่าวสาร เก่ียวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากสื่อต่าง ๆ หรือไม่ และถ้าได้รับฟังข้อมูล/ข่าวสารฯ ได้รับฟัง บ่อยครง้ั หรอื ไม่............................................................................................................. ..........................

91 2.2 ในรอบปีทผ่ี า่ นมา ท่านและสมาชิกในครวั เรือนของท่านเขา้ รบั การฝกึ อบรม/การ อบรมเชิงปฏิบัตกิ ารเก่ียวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ และถ้าไดเ้ ข้ารบั การฝึกอบรมส่วนใหญ่ เข้ารับการฝกึ อบรมจากที่ใด................................................................................................................... 1.2) การสมั ภาษณ์แบบไม่มโี ครงสร้าง (Unstructured Interview) การสมั ภาษณ์แบบน้ีใช้กันมากในการวจิ ยั เชงิ คุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ทีไ่ ม่มีการกาหนดหรือเตรียม ชดุ คาถามไว้มีความยืดหยุน่ (Flexible) ไม่กาหนดข้อคาถามตายตวั โดยเป็นเพียงเค้าโครง (Outline) หรือหัวข้อการสนทนาและประเดน็ ย่อย ๆ ท่จี ะต้องถามภายใตห้ ัวข้อน้นั ซึ่งจะตอ้ งครอบคลมุ เน้อื หา ทีต่ ้องการศึกษาได้ทง้ั หมด มเี พียงการกาหนดแนวคาถามเพ่ือใชเ้ ป็นเครื่องช่วยในการเกบ็ รวบรวม ขอ้ มลู ซ่งึ แนวคาถามดังกล่าวจะมีลกั ษณะเป็นเพยี งเคา้ โครงหรอื หัวขอ้ การสนทนาและประเด็นยอ่ ย ๆ ที่จะต้องถามภายใตห้ วั ข้อน้นั และจะต้องครอบคลุมเนื้อหาที่ตอ้ งการศึกษาทง้ั หมด (พิชิต ฤทธจ์ิ รญู . 2551 : 233) นอกจากนี้ แนวคาถามจะตอ้ งมคี วามยืดหยนุ่ ได้ ท้ังน้เี พราะไม่ว่าจะเป็นการ สมั ภาษณแ์ บบเจาะลกึ (In-Depth Interview) หรือการสัมภาษณแ์ บบสนทนากลมุ่ (Focus Group Discussion) ผสู้ ัมภาษณ์มอี ิสระในการถามและผูต้ อบกม็ ีอสิ รภาพตอบอย่างเต็มท่ีเช่นเดยี วกัน ซ่งึ ผ้สู ัมภาษณ์อาจแทรกคาถามทีเ่ กย่ี วข้องแต่ไม่ได้ปรากฏอย่ใู นแนวคาถามก็ได้ ตัวอยา่ ง แบบสมั ภาษณ์เพอ่ื การวจิ ยั เรื่อง “ปจั จัยที่สัมพันธ์กับพฤตกิ รรมการดาเนินชีวิต ตามปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงของครวั เรอื นในจังหวัดยโสธร” 1. ทา่ นและสมาชิกในครัวเรือนของทา่ นได้รับข้อมูลข่าวสารเก่ียวกับปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงจาก แหลง่ ใดบ้าง....................................................................................................................................... 2. ทา่ นและสมาชิกในครัวเรอื นของท่านได้รบั ฟังข้อมูล/ข่าวสารเกย่ี วกับปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง จากสอ่ื ต่าง ๆ หรือไม่ และถ้าได้รับฟังข้อมูล/ขา่ วสารฯ ได้รับฟงั บอ่ ยครัง้ หรือไม.่ ............................. ............................................................................................................................. ................................ 3. ทา่ นและสมาชกิ ในครวั เรือนของทา่ นเข้ารบั การฝกึ อบรม/การอบรมเชิงปฏิบตั ิการเกย่ี วกบั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งหรือไม่ และถ้าได้เข้ารบั การฝึกอบรมส่วนใหญ่เขา้ รับการฝึกอบรมจากทใี่ ด ............................................................................................................................. ................................. 4. ทา่ นและสมาชิกในครวั เรือนของท่านศึกษาดูงานเก่ยี วกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี งหรือไม่ และ ถ้าได้ไปศึกษาดูงานส่วนใหญไ่ ปศึกษาดงู านท่ีใด..................................................................................... 5. ในรอบปีทผ่ี ่านมา ทา่ นและสมาชกิ ในครัวเรือนของท่านร่วมแลกเปล่ียนเรียนรู้เก่ยี วกับปรชั ญา เศรษฐกจิ พอเพยี งหรือไม่ และถา้ มีการแลกเปล่ยี นเรยี นรสู้ ่วนใหญม่ าจากท่.ี ........................................ .............................................................................................. ..................................................................

92 2) แบ่งตามลักษณะการสมั ภาษณ์ 2.1) การสมั ภาษณ์แบบเจาะลกึ (In-Depth Interview) เปน็ การ สัมภาษณ์แบบหยัง่ ลึกรายบุคคล เป็นการซกั ถามพดู คยุ กันระหวา่ งผู้สมั ภาษณ์กับผ้ใู ห้สัมภาษณ์ เปน็ การถามเจาะลึกเพื่อให้ได้คาตอบอย่างละเอยี ดครบถ้วนตามหัวข้อเรื่องและประเดน็ ท่ีผ้วู ิจัยสนใจ ศึกษา ซง่ึ มกั ใชเ้ วลานานกว่าการสมั ภาษณโ์ ดยใชแ้ บบสอบถาม เพราะจะมกี ารเจาะลึกลงไป ในประเด็นที่ผวู้ ิจัยต้องการข้อมูลในรายละเอยี ด กลา่ วคือ (ธีรวุฒิ เอกะกลุ . 2552 : 174) ในการถามจะให้มีการอธิบายถึงเหตแุ ละผลของส่งิ ทตี่ อบมา ไม่วา่ จะเปน็ การถามในลักษณะทาไม และอยา่ งไร การสมั ภาษณ์แบบน้ีเหมาะสาหรับการวิจัยในเร่อื งทเ่ี ก่ยี วกับพฤติกรรมของบคุ คล เจตคติ ความต้องการ ความเชือ่ ค่านิยมและบคุ ลิกภาพ 2.2) การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นการจดั ให้กลุ่มเจาะจงซง่ึ เป็นกล่มุ ตรงตามคุณสมบตั ทิ ีผ่ ู้วจิ ัยกาหนด ได้มาสนทนาแลกเปลีย่ น ทศั นะกนั อย่างมจี ดุ มงุ่ หมายในเรอ่ื งที่ยกมาเปน็ ประเดน็ สนทนา ท้ังน้ี พลวตั กล่มุ หรือการเคล่ือนไหว ภายในกลุ่มถือเปน็ หัวใจสาคัญของการดาเนนิ การสนทนา ทาให้ขอ้ มูลท่ไี ดม้ ชี ีวติ ชีวา เป็นการสนทนา กลมุ่ ที่มุ่งหาความคดิ เหน็ และประสบการณ์ของผู้ร่วมสนทนา เพือ่ หาข้อมลู ที่ถกู ตอ้ งตรงประเดน็ สาหรับการตอบคาถามการวิจัยเรื่องใดเร่ืองหนงึ่ โดยเฉพาะ การสมั ภาษณแ์ บบนเ้ี หมาะสาหรบั การวจิ ัยทตี่ ้องการหารูปแบบโครงสรา้ งแนวคดิ ใหม่ ๆ และสชุ าติ ประสทิ ธิร์ ัฐสินธ์ุ (2538 : 225 - 234) ได้เสนอแนวคดิ เก่ียวกับการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) วา่ เป็นเทคนิควธิ ี ของการวจิ ัยเชงิ คณุ ภาพและเปน็ วธิ ีการหนง่ึ ในการเก็บรวบรวมข้อมลู ของการวิจยั เชงิ ปฏบิ ตั ิการ แบบมสี ว่ นรว่ ม เป็นการเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลที่มีสมาชิกทุกคนในกลุม่ เปน็ ศูนย์กลางของการสอื่ สาร ภายในกล่มุ โดยหลกั การของการสนทนาแล้วนั้นผเู้ กบ็ ข้อมูลเปน็ ผูโ้ ยนประเด็นคาถามให้กลมุ่ เปน็ ผทู้ าหนา้ ทใี่ ห้กลมุ่ มีปฏสิ ัมพันธ์ต่อกนั ในระหวา่ งการโยนประเด็นคาถาม วา่ กลุ่มมคี วามเหน็ ด้วย (Pro.) หรอื เหน็ ขัดแยง้ (Con.) อยา่ งไร ซ่งึ ผูร้ ่วมสนทนากลุ่มจะไดม้ าจากหลักเกณฑ์ท่ีผวู้ ิจยั กาหนดวา่ จะเปน็ ผู้ทีส่ ามารถให้คาตอบตรงประเด็นและสามารถตอบวัตถุประสงคท์ ่ีสนใจศึกษา ได้มากที่สดุ ในขณะเดียวกันสมาชกิ ทเ่ี ขา้ รว่ มสนทนากลุม่ จะต้องมีลกั ษณะตา่ ง ๆ ใกล้เคียงกนั มากที่สุด (Homogeneous) ซง่ึ ทวีศักดิ์ นพเกษร (2548) กล่าวว่า จานวนผูเ้ ข้ารว่ มสนทนากลุ่ม ทเ่ี หมาะสมคือ 8 คน เพราะถา้ กลุ่มใหญก่ ว่าน้ี วงสนทนาอาจแบง่ เป็นกลุ่มย่อยสมาชกิ หันหน้า เขา้ สนทนากนั เอง ซ่งึ จะยากตอ่ การสรุปประเด็นปัญหาหรือวิเคราะห์ข้อมูล แต่ต้องไม่น้อยกวา่ 4 คน เพราะการสนทนากลุม่ ไม่ได้ใช้กลุ่มทเี่ กดิ ขึ้นจากธรรมชาติ แตเ่ กิดจากการรวมกลุ่มใหเ้ กดิ ขน้ึ แล้วทาบรรยากาศในวงสนทนาให้เป็นธรรมชาติ และสร้างสรรค์ใหเ้ กดิ การสนทนากนั ในลกั ษณะ ทเี่ ป็นการพูดคยุ กนั แสดงความคดิ เห็นที่สอดคล้องและการโต้แย้ง ดังนั้นถา้ ผู้ร่วมสนทนาน้อยกวา่ 4 คน ก็จะไมเ่ กิดการโตแ้ ยง้ หรอื การแสดงความคิดเหน็ เท่าท่คี วรเพราะกล่มุ เล็กเกินไป ทน่ี ัง่ สาหรบั การสนทนากลมุ่ ตอ้ งจัดเป็นวงกลมเสมอ ผดู้ าเนนิ การสนทนา (Moderator) จะต้องอยู่ในวงเดยี ว กับสมาชิกทีเ่ ขา้ รว่ มสนทนากล่มุ เพื่อไม่ใหม้ คี วามแตกต่าง การจัดวงสนทนาควรเป็นดงั แผนภาพ 6.1

93 ผู้บนั ทกึ การสนทนากลมุ่ ผชู้ ่วย/ผู้อานวยการ ผนู้ าการสนทนา 13 24 56 78 แผนภาพ 6.1 การจดั วงสนทนากลุม่ การสนทนากล่มุ จาเปน็ อย่างยิ่งทีผ่ ู้เกบ็ ข้อมลู จะต้องใหท้ ุกคนท่อี ยูใ่ นกล่มุ ไดม้ ีโอกาสแสดงความคิดเห็นและไมใ่ ห้มผี ใู้ ดมคี วามสาคญั เหนือผู้อนื่ ผูเ้ กบ็ ข้อมูลต้องไม่ปอ้ นคาถาม นาหรอื แสดงท่าทีชี้แนะให้กลุ่มหรือสมาชกิ ของกลุม่ แสดงความคดิ เห็นไปในทางหนง่ึ ทีผ่ เู้ กบ็ ข้อมลู ต้องการในการสนทนา ในการสนทนากลุม่ ควรเร่ิมเมือ่ ทกุ คนได้มาครบพร้อมกนั และควรให้เสรจ็ ภายในครั้งเดียว จงึ จาเปน็ อย่างยง่ิ ทผ่ี ู้เกบ็ ขอ้ มลู ต้องเตรียมประเดน็ ต่าง ๆ ท่คี วรถามไวล้ ่วงหน้า และเกบ็ ตามประเดน็ ใหค้ รบถ้วน 6.3.1.3 ขน้ั ตอนในการสมั ภาษณ์ การสัมภาษณ์ทีด่ นี ัน้ มีหลักการทีค่ วรยึดถือหลาย ๆ ประการทจี่ ะชว่ ยใหก้ าร ดาเนินการสมั ภาษณ์ประสบผลความสาเร็จด้วยดี หลกั การตา่ ง ๆ เหล่านี้สามารถอธิบายให้ทราบได้ ในข้นั ตอนกระบวนการของการสัมภาษณ์ ดังนี้ (ชไมพร กาญจนกิจสกุล. 2555 : 142 - 143) 1) การเตรียมการสัมภาษณ์ ผวู้ จิ ยั จะตอ้ งศึกษาจุดม่งุ หมายของการวิจยั ชนิดของข้อมลู ท่ตี ้องการ และเตรียมสร้างแบบสัมภาษณ์หรอื คมู่ ือในการสัมภาษณ์ ประมาณเวลา ทีใ่ ช้ในการสัมภาษณใ์ ห้เหมาะสม และฝึกทดลองในการสัมภาษณก์ ่อน มากไปกว่านัน้ ผ้วู จิ ยั จะต้อง กาหนดขอบเขตว่าจะสัมภาษณ์ใคร รวมถงึ เตรยี มการตดิ ต่อและนัดหมาย พร้อมนแ้ี จงจุดมุง่ หมาย ของการสัมภาษณ์ใหผ้ ถู้ กู สัมภาษณท์ ราบ ตลอดจนจดั เตรยี มสถานทีใ่ ห้พรอ้ มสาหรบั การสัมภาษณ์ 2) การเปิดการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะตอ้ งสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศ ของความคนุ้ เคย ทาให้ผ้ถู ูกสมั ภาษณ์เกิดความไว้ใจ รักษาบรรยากาศของการสนทนาให้เป็นไป อย่างเป็นธรรมชาติ ทั้งนี้ ผู้สัมภาษณ์จะตอ้ งพยายามต้งั ใจฟงั อย่างสนใจ ไวตอ่ ความร้สู ึกของ ผถู้ กู สมั ภาษณ์ มองเหตุการณอ์ ย่างยตุ ิธรรมและไมค่ วรแนะนาข้อแนะนาใด ๆ แก่ผูถ้ ูกสัมภาษณ์

94 3) ระหวา่ งการสมั ภาษณ์ ผูส้ มั ภาษณจ์ ะต้องระลกึ อยู่เสมอวา่ แมก้ าร สัมภาษณ์จะไม่ใช่การสนทนา แตจ่ ะต้องสร้างบรรยากาศให้เป็นการสนทนา โดยจะต้องเป็นผู้ฟงั ท่ีดี และทาให้ผู้ถกู สัมภาษณ์ร้สู กึ ว่าการสนทนาของตนนา่ สนใจ ทั้งน้ีจะต้องแน่ใจว่าผู้ถูกสมั ภาษณ์ มีความเข้าใจในประเด็นคาถาม โดยผู้สัมภาษณค์ วรหลีกเลยี่ งการเอาอารมณเ์ ข้าไปเกยี่ วข้องกบั การสมั ภาษณ์ รวมถงึ ส่งิ ทจ่ี ะกระทบกระเทอื นต่อความรู้สกึ ของผถู้ กู สมั ภาษณ์ นอกจากนี้ ผสู้ ัมภาษณจ์ ะต้องเข้าใจว่าการสัมภาษณน์ ้นั ไม่ใชก่ ารแลกเปลีย่ นความคิดเหน็ หากแต่เปน็ การ รวบรวมข้อเท็จจรงิ โดยจะต้องไมส่ อนผสู้ มั ภาษณ์อย่างเดด็ ขาด และถ้าผู้ถกู สมั ภาษณ์ตอบไมต่ รง ประเด็นหรอื ตอบนอกประเด็น ผ้วู จิ ัยก็ควรหาทางตะลอ่ มใหต้ อบเข้าประเดน็ ท้ังน้ี หากจะมี การบันทกึ เสียงกค็ วรไดร้ ับการอนุญาตจากผู้ถูกสมั ภาษณ์ก่อน 4) การปิดการสมั ภาษณ์ ในการปิดการสมั ภาษณ์ผ้สู มั ภาษณ์ไมค่ วรแสดง อาการรีบร้อนแม้วา่ จะหมดเวลาสาหรับการสัมภาษณ์ก็ตาม โดยการปิดการสมั ภาษณ์ควรทาให้ ผ้ถู กู สมั ภาษณ์รูส้ ึกเป็นกนั เอง รวมถึงควรแสดงให้ผู้ถกู สัมภาษณเ์ ห็นว่าในการสมั ภาษณ์มีสาระสาคัญ ท่เี ปน็ ประโยชน์อย่างย่ิง ขนั้ ตอนในการสมั ภาษณ์ดงั กลา่ วข้างต้นสามารถสรปุ ไดว้ า่ การสัมภาษณเ์ ปน็ การ ส่ือสารแบบสองทาง ซงึ่ จะช่วยใหผ้ สู้ มั ภาษณแ์ ละผู้ถูกสมั ภาษณม์ โี อกาสไดพ้ ดู คยุ กนั อยา่ งใกล้ชดิ มีผลทาให้ผสู้ ัมภาษณ์สามารถเจาะประเด็นตา่ ง ๆ ทยี่ ุ่งยากซับซ้อนได้อยา่ งลกึ ซึ้งยิ่งขึน้ และหากมี ข้อสงสัยหรอื ไมเ่ ขา้ ใจในขอ้ คาถามบางประการผู้ถูกสัมภาษณก์ ย็ ังสามารถซักถามประเด็นตา่ ง ๆ ทีย่ งั ไมช่ ัดเจนได้ โดยผู้สมั ภาษณ์จะบันทึกคาตอบในข้อมลู ที่ต้องการจากผูถ้ ูกสัมภาษณ์ นอกจากน้ี การสัมภาษณย์ ังเป็นวธิ ีการที่สามารถใช้เกบ็ รวบรวมข้อมูลได้จากกลมุ่ บคุ คลทกุ เพศ ทุกวัย ตลอดจน กลุ่มบคุ คลท่อี า่ นหนังสือไม่ได้ อย่างไรก็ตามการเกบ็ รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธกี ารสมั ภาษณม์ กั สิ้นเปลือง คา่ ใช้จ่าย เวลา และแรงงานมาก ยง่ิ ไปกว่าน้ันยังอาจพบปัญหาความยุง่ ยากเกยี่ วกบั การขจัด ความลาเอยี งของผสู้ มั ภาษณ์ทใ่ี ชใ้ นการสื่อสาร และการได้ขอ้ มูลที่ต้องการไมค่ รบถ้วนเพราะหลงลืม ถามบางประเด็นคาถามไป 6.3.1.4 ลกั ษณะของการสมั ภาษณท์ ี่ดี การเกบ็ ขอ้ มูลโดยใชก้ ารสัมภาษณ์ นิยมใช้กันมากทางการวจิ ัยทางสงั คมศาสตร์ และท่ีพบบอ่ ย ๆ คือการวิจยั ท่ีเรยี กวา่ “KAP-Survey” คือการวิจยั เกย่ี วกบั ความรู้ (Knowledge) เจตคติ (Altitude) และการปฏิบตั ิ (Practice) ดังนน้ั การสัมภาษณ์ทด่ี คี วรมลี กั ษณะที่สาคัญ ดงั นี้ (กาสกั เตะ๊ ขันหมาก. 2553 : 121) 1) การสัมภาษณจ์ ะต้องยั่วยุ หรอื กระตนุ้ เตือนให้ผู้ใหส้ มั ภาษณอ์ ยากตอบ อยากแสดงความรสู้ กึ หรือความคดิ เหน็ 2) คาถามท่ถี ามต้องพยายามให้ได้คาตอบที่ตรงประเด็นทีต่ ้องการเก็บข้อมูล 3) ผ้สู ัมภาษณ์จะต้องฟังมากกว่าพดู และไมห่ ูเบา 4) การสัมภาษณ์ควรมีแบบบันทึก หรอื คู่มือวา่ จะถามในประเดน็ ใดบา้ ง

95 6.3.2 การสังเกต การสงั เกตเปน็ วธิ ที ี่นยิ มใชก้ นั มากในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ผวู้ จิ ยั จะใชก้ ารสงั เกต ในการศึกษาเก่ยี วกบั พฤติกรรมของมนษุ ยเ์ ปน็ วธิ กี ารทเี่ ปดิ โอกาสให้ผูร้ วบรวมข้อมูลหรือที่เรยี กวา่ “ผ้สู งั เกต” ได้สัมผัสกับส่งิ ที่ตอ้ งการรวบรวมขอ้ มูลด้วยตนเอง ทาให้มโี อกาสได้ข้อมลู ท่ีตรงตาม สภาพความเปน็ จริงสูง โดยท่ัวไปนยิ มใชใ้ นการวิจยั เชิงคุณภาพ เชน่ การสงั เกตพฤติกรรมการ ทางานของพนกั งาน การสังเกตสามารถทาในคราวเดยี วหรือทาเปน็ ระยะ ๆ ติดต่อกนั ไป เพอ่ื ดู การเปลี่ยนแปลงทีเ่ กิดขึน้ 6.3.2.1 ความหมายของการสังเกต การสังเกตเปน็ วธิ กี ารท่ีนยิ มใช้กันมาก โดยเฉพาะบุนกั วิจัยและบุคคลทท่ี าหน้าท่ี ในการวัดผลการศึกษา การสังเกตเปน็ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ประสาทสมั ผัสทั้ง 5 ขอ้ มลู ที่ได้ จะถูกต้องเพยี งใดขึน้ อยกู่ ับสงิ่ ทส่ี ังเกต โดยใช้แบบสังเกตเป็นเครือ่ งมอื ในการเก็บรวบรวมขอ้ มลู นักการศึกษาได้ให้แนวคดิ เกีย่ วกบั ความหมายของการสมั ภาษณไ์ วห้ ลายแง่มมุ ดังน้ี วาโร เพ็งสวสั ดิ์ (2551 : 219) กล่าวว่า การสงั เกต หมายถงึ การศึกษาเพ่ือทาความเข้าใจเกย่ี วกบั บุคคลโดยใช้ประสาทสมั ผัสของผู้สังเกตเฝา้ ดพู ฤติกรรมตา่ ง ๆ ท่บี ุคคลนนั้ แสดงออกมาในลักษณะทีเ่ ป็นจริงตามธรรมชาติ โดยมวี ตั ถุประสงคท์ ่ีแน่นอนในการดู และไม่มีการควบคมุ สถานการณ์ทที่ าการศึกษา ธีรวุฒิ เอกะกลุ (2552 : 170) กล่าววา่ การสงั เกตเป็นเทคนิค วธิ ีการหนึ่งในการเกบ็ รวบรวมข้อมูล ซงึ่ ต้องใช้ตวั บุคคลมาทาหนา้ ที่สังเกตพฤติกรรมของกล่มุ ท่ีทาการศึกษาวิจยั หรือสงั เกตในส่ิงท่ที าการศึกษาวจิ ัย ด้วยการใชต้ าและหเู ปน็ เครอื่ งมือสาคัญ ในการเฝา้ ติดตามพฤตกิ รรมของบุคคลหรอื กลุ่มคนที่ใชใ้ นการศกึ ษาวจิ ัย เม่ือได้พฤติกรรมทีส่ งั เกตได้ แล้วจงึ ใชว้ ธิ จี ดบนั ทึกข้อมลู ต่อไป กาสกั เต๊ะขนั หมาก (2553 : 122) กลา่ วว่า การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผสั ได้แก่ ตา หู จมูก ล้ิน และกาย ศกึ ษาพฤติกรรมและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกดิ ขน้ึ เพื่อหาข้อสรุปหรือข้อเทจ็ จริงตามที่ต้องการทราบ การเกบ็ ข้อมูลโดยการสังเกตเพอื่ ใช้ ในการวิจัยทางสังคมศาสตรน์ ั้น มุ่งท่ีจะได้ทราบถึงพฤติกรรมหรอื ความสัมพนั ธข์ องบุคคลในสงั คม ที่อย่รู ว่ มกันเป็นกล่มุ จากแนวคดิ ของนักการศกึ ษาสามารถสรปุ ไดว้ า่ การสงั เกต หมายถงึ วธิ กี าร พ้ืนฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกยี่ วกบั ปรากฏการณ์รอบ ๆ ตัว อย่างมีจดุ มุง่ หมาย เป็นวิธีการ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ที่ตอ้ งอาศัยตัวบคุ คลเป็นผูส้ งั เกตโดยการใช้ประสาทสมั ผัสทงั้ ห้า อนั ได้แก่ ตา หู จมูก ลนิ้ และกาย เป็นเครื่องมือสาคัญในการค้นหาความชดั เจนของข้อมูลทสี่ นใจศึกษาและทาการ จดบนั ทึกข้อมลู เหลา่ น้นั ไว้ เพื่อนามาวเิ คราะหห์ รือหาความสัมพนั ธ์ของส่งิ ที่เกดิ ข้ึน ซ่ึงวิธกี ารสงั เกตน้ี ใช้กันอย่างกวา้ งขวางในการวิจัยทางสงั คมศาสตร์ โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงการดาเนนิ การเก็บข้อมูลใน เรือ่ งราวบางอย่างท่ีอาจไมไ่ ด้รบั ความรว่ มมือเท่าท่ีควรจากผู้ให้ขอ้ มลู

96 6.3.2.2 ประเภทของการสังเกต การสังเกตแบง่ ออกไดเ้ ปน็ หลายประเภทซึง่ ขน้ึ อยู่กบั เกณฑ์ท่ีใชใ้ นการแบ่ง ไดแ้ ก่ (กาสกั เต๊ะขันหมาก. 2553 : 123) 1) แบง่ ตามการมสี ว่ นรว่ มของผ้สู ังเกต แบง่ ออกเป็น 2 ลักษณะ ๆ ดังนี้ 1.1) การสงั เกตโดยเขา้ ไปมสี ่วนร่วม (Participatory Observation) เป็นวธิ ีการสังเกตที่ผู้สงั เกตเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในหมู่ หรอื กลมุ่ บุคคลทจี่ ะสงั เกต เปน็ สมาชิกหนึง่ ของ กลุ่มและทากจิ กรรมร่วมกัน เช่น ผู้สังเกตความตอ้ งการความสมั พนั ธใ์ นชมุ ชนก็อาจเข้าไปอาศยั อยู่ ในชุมชนในฐานะสมาชิกคนหนง่ึ ของชุมชนน้ัน เป็นต้น 1.2) การสังเกตโดยไมเ่ ข้าไปมีส่วนร่วม (Non- Participatory Observation) เป็นวธิ ีการสังเกตทีผ่ ู้สังเกตอยนู่ อกวงกลุ่มผู้ถูกสังเกต กระทาตนเป็นบุคคลภายนอก โดยไมเ่ ข้ารว่ มในกจิ กรรมของกล่มุ ที่กาลงั มกี ิจกรรมอยซู่ ง่ึ อาจทาไดโ้ ดยผู้สงั เกตอยใู่ นทซี่ ่ึงผถู้ ูกสงั เกต มองไมเ่ หน็ เช่น มกี ระจกมองเห็นด้านเดยี ว เป็นตน้ 2) แบ่งตามโครงสร้างการสังเกต อาจแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 2.1) การสังเกตแบบไม่มโี ครงสรา้ ง (Unstructured Observation) เปน็ การสังเกตทผ่ี สู้ งั เกตไม่ได้กาหนดเรื่องไวเ้ ปน็ การเฉพาะให้แน่นอนลงไปว่าจะสังเกตอะไรบ้าง โดยอาจใช้การสังเกตแบบไม่มีเค้าโครงแน่นอนไปสักระยะหนง่ึ เม่อื ไดค้ วามรู้ท่ัว ๆ ไปแลว้ จึงจากัด ขอบเขตของปัญหาทจ่ี ะสงั เกตโดยมเี คา้ โครงแน่นอนต่อไป 2.2) การสงั เกตแบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) เป็นการ สังเกตท่ีกาหนดเรอื่ งทจี่ ะสงั เกตได้ล่วงหนา้ และจะไมส่ ังเกตสิ่งอน่ื ใดท่ีนอกเหนอื ไปจากสิง่ ท่กี าหนดไว้ การสงั เกตประเภทนจี้ ะทาได้กต็ อ่ เมื่อรู้แนน่ อนแลว้ วา่ พฤติกรรมท่ตี ้องการสงั เกตจะเกดิ ข้นึ อย่างแนน่ อนในระยะเวลาท่ีคาดหมายไว้ เช่น การสังเกตพฤติกรรมและความสมั พนั ธข์ องชาวบ้าน ในชุมชนใดชุมชนหน่งึ ผูส้ งั เกตอาจออกแบบรายการข้อความทต่ี ้องการทราบลว่ งหนา้ ให้บุคคลอ่ืน ช่วยสงั เกตในระยะเวลาตา่ ง ๆ กนั แลว้ รวบรวมข้อมูลสุดท้ายจากหลาย ๆ คน สรปุ เปน็ ขอ้ เทจ็ จริง ในเรอ่ื งนนั้ จงึ นับวา่ เป็นท่สี ะดวกและแน่นอน 6.3.2.3 ข้นั ตอนในการสังเกต การสังเกตควรมีลาดับขั้นตอนในการดาเนินงานดงั น้ี (ชไมพร กาญจนกิจสกลุ . 2555 : 142 – 143) 1) วางแผนการสงั เกต เพอ่ื ใหไ้ ด้ผลการสังเกตตรงตามจุดมงุ่ หมายท่ตี ้องการ มากทีส่ ดุ โดยดาเนนิ การดงั น้ี 1.1) กาหนดจดุ มุง่ หมายของการสังเกตใหช้ ัดเจนว่าจะสงั เกตพฤติกรรม อะไร ผูถ้ ูกสงั เกตคือใคร มจี านวนเท่าไร 1.2) กาหนดคาจากัดความของพฤตกิ รรมท่ีต้องการสงั เกตใหช้ ัดเจนว่า หมายถงึ อะไร มีพฤติกรรมย่อย ๆ ที่เปน็ ตัวบ่งชคี้ ุณลักษณะของพฤติกรรมทจ่ี ะทาการสังเกต อะไรบ้าง 1.3) กาหนดวนั เวลา สถานที่ และจานวนครัง้ ทจ่ี ะทาการสงั เกต

97 2) เลอื กเครอื่ งมอื ที่จะใช้บันทกึ ผลการสงั เกต โดยพิจารณาให้เหมาะสมว่า จะใชเ้ คร่ืองมืออะไร เช่น แบบสารวจรายการ มาตรประมาณคา่ และแบบบนั ทึก 3) ทาการสังเกตพฤติกรรมตามท่ีได้วางแผนไว้ โดยใชเ้ คร่อื งมือบันทึกสิง่ ท่ี สงั เกตได้โดยเร็วที่สุดเท่าท่ีจะทาได้ตามความเป็นจริง 6.3.2.4 ลักษณะของการสังเกตทด่ี ี การสงั เกตท่ดี ี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ (กาสัก เต๊ะขนั หหมาก. 2553 : 123 - 124) 1) จะต้องมจี ดุ มุ่งหมายในการสงั เกตที่แนน่ อนวา่ จะต้องสงั เกตอะไร สงั เกตใคร ท่ไี หน เวลาใด 2) จะตอ้ งมกี ารวางแผน การสังเกตทกุ ครงั้ ควรมีการวางแผนลว่ งหน้า อย่างเปน็ ระเบยี บและมีขัน้ ตอน 3) การสังเกตควรนึกถึงหลักของการสุม่ เวลา (Time Sampling) และการสมุ่ เหตกุ ารณ์ (Event Sampling) โดยสังเกตบ่อย ๆ หลาย ๆ เวลาและหลาย ๆ สถานการณ์หรอื เหตุการณ์ 4) ข้อมลู ควรเปน็ เชงิ ปรมิ าณหรือจานวน หมายถึง พยายามให้ข้อมลู ออกมา เป็นตวั เลขหรอื จานวนเท่าที่จะได้ เพราะง่ายต่อการวเิ คราะห์ 5) จะตอ้ งมีการจดบนั ทึก เม่ือทาการสังเกตแล้วรีบบันทกึ ทนั ที ถา้ ปลอ่ ยไว้นาน จะทาให้ขอ้ มูลไมช่ ัดเจน 6) ผ้สู ังเกตเชี่ยวชาญหรอื มีพื้นความรู้เก่ียวกับสง่ิ หรือปรากฏการณท์ จ่ี ะสงั เกต 7) ข้อมลู ท่ีสังเกตควรตรวจสอบ เม่ือได้ขอ้ มลู จากการสงั เกตแล้ว ควรมีการ ตรวจสอบหรือเปรยี บเทยี บกับผลของผู้สังเกตคนอื่น ๆ ว่าได้ข้อมลู ตรงกนั มากน้อยเพียงใด นอกจากหลักเกณฑห์ รือลกั ษณะของการสังเกตทดี่ ีดงั กล่าวแลว้ ควรมี เคร่อื งมืออ่นื ๆ ประกอบในการสังเกตดว้ ย เช่น มาตราประมาณค่า (Rating Scale) แบบตรวจสอบ รายการ (Check List) แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสังคมมติ ิ (Stoichiometry) การบนั ทกึ พฤติกรรม (Anecdotal Record) ลกั ษณะของการสงั เกตท่ีดีดงั กล่าวขา้ งต้น สามารถสรปุ ได้ว่า การสังเกตเปน็ การศกึ ษาทาความเข้าใจเกย่ี วกบั บคุ คล โดยใชป้ ระสาทสัมผสั ของผสู้ งั เกตเฝา้ ดูพฤติกรรมตา่ ง ๆ ทบี่ คุ คลนน้ั แสดงออกมาในลักษณะทีเ่ ปน็ จรงิ ตามธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงคท์ ี่แนน่ อนในการดู และไม่มกี ารควบคมุ สถานการณ์ที่ทาการศึกษา ในการสังเกตจะตอ้ งระมัดระวงั และใช้วิจารณญาณ ในการพนิ ิจพเิ คราะห์ท้ังพฤติกรรมดแี ละไม่ดี ต้องมีความยตุ ิธรรม สาหรบั ประเภทของการสังเกต แบง่ ได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ทใ่ี ช้ในการแบง่ ได้แก่ แบ่งตามการมสี ่วนรว่ มของผูส้ ังเกต และแบ่งตามโครงสรา้ งของการสังเกต 6.3.3 การสอบถาม การสอบถามเปน็ วธิ กี ารเก็บรวบรวมข้อมลู จากกล่มุ ประชากรหรอื กลมุ่ ตัวอยา่ ง โดยการใชเ้ ครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเปน็ แบบสอบถามท่ีถูกสรา้ งขน้ึ อย่างมรี ะบบและ กฎเกณฑ์ เหมาะสาหรบั การวิจยั เชิงสารวจ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในกรณผี ู้วิจัยมีงบประมาณ แรงงาน และเวลาในการวิจยั ค่อนข้างจากัด

98 6.3.3.1 ความหมายของการสอบถาม การสอบถาม (Questionnaire Method) เป็นวธิ ีการเก็บรวบรวมขอ้ มูล ทนี่ ิยมใช้ในการสารวจหรือการวิจัยเชงิ ปรมิ าณ โดยมเี ครื่องมอื สาคัญในการเกบ็ ข้อมลู คือ แบบสอบถาม ซ่งึ เป็นชดุ ข้อคาถามทเี่ รียงไว้ มคี าชีแ้ จงท่ีชัดเจนเก่ยี วกับวัตถุประสงค์ของการ เกบ็ ข้อมลู และคาแนะนาเพือ่ ใหผ้ ู้ตอบเองไดโ้ ดยสะดวก 6.3.3.2 เคร่ืองมือทใี่ ชใ้ นการการสอบถาม 1) ความหมายของแบบสอบถาม แบบสอบถาม (Questionnaire) เปน็ ชุดของคาถามท่สี รา้ งข้นึ เพ่ือ รวบรวมข้อมลู จากกล่มุ ของประชากรจานวนมาก ข้อมลู ในด้านต่าง ๆ เชน่ ความคิดเหน็ ความรู้สึก ท่าที เจตคติ การปฏบิ ตั ิ เป็นตน้ โดยให้บคุ คลนัน้ ๆ ตอบลงในแบบทีส่ ร้างขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการ กรอกขอ้ ความรปู ภาพหรือสญั ลักษณ์ก็ได้ แล้วนาคาตอบท่ีไดม้ าวิเคราะห์ (ธีรวฒุ ิ เอกะกุล. 2552 : 147) แบบสอบถามเปน็ เครื่องมอื ทีน่ ิยมใชก้ ันอยา่ งแพร่หลาย ในหมู่นกั วจิ ยั ทางสงั คมศาสตร์เพราะ เป็นเครื่องมอื ทท่ี าไดง้ า่ ย ใชส้ ะดวก ประหยดั เวลา แรงงาน และคา่ ใชจ้ า่ ย เมื่อเทยี บกับการสมั ภาษณ์ (สนิ พันธุพ์ ินจิ . 2551 : 161) นอกจากน้ยี ังสามารถรวบรวมข้อมูลได้จานวนมากกวา่ วธิ อี ่ืน ซง่ึ แบบสอบถามตา่ งจากแบบสมั ภาษณ์ตรงท่ผี ูใ้ ห้ขอ้ มูลเปน็ ผกู้ รอกแบบสอบถามเอง ส่วนแบบ สมั ภาษณผ์ สู้ มั ภาษณเ์ ปน็ ผู้กรอก 2) ประเภทของแบบสอบถาม เชดิ ศกั ด์ิ โฆวาสิทธ์ิ (2522 : 66) ได้เสนอว่า แบบสอบถามทน่ี ิยมใช้กนั ทว่ั ไปมี 2 แบบ คอื 2.1) แบบปลายเปดิ (Opened-End Form) เป็นแบบสอบถามที่ไม่กาหนดคาตอบตายตัว ผูต้ อบสามารถตอบ โดยอิสระเสรตี ามความรสู้ กึ หรือความคิดสว่ นตวั โดยมกั ถามเก่ียวกับขอ้ มูลส่วนตัว ความคดิ เหน็ เจตคติ หรือแรงจูงใจที่อยู่เบ้ืองหลังการตัดสนิ ใจซ่งึ จะทาใหไ้ ดข้ ้อมูลทก่ี ระจายมาก ทาให้ลาบาก ในการวเิ คราะห์ คาถามแบบปลายเปดิ ต้องการคาตอบเป็นตัวเลข ซึง่ ตอ้ งการช่องวา่ งเพยี ง เลก็ นอ้ ย โดยมเี ส้นประ จุด หรือขีดเสน้ ตรงในช่องวา่ งทเี่ ว้นไว้ เพื่อแสดงใหผ้ ูต้ อบทราบวา่ จะเขยี น คาตอบตรงไหน เช่น 1. อายขุ องท่านนบั ถงึ ปจั จุบนั ............. ปี ....................เดอื น ส่วนคาถามปลายเปิดท่ีต้องการคาตอบเปน็ ลายลักษณ์อักษรหรือประโยค คาตอบ อาจต้องใช้เนือ้ ทีส่ าหรบั ตอบมากกว่า อาจจะเป็นหนึ่ง สอง สามบรรทัด หรอื มากกวา่ นั้น เชน่ 2. ท่านมขี อ้ เสนอแนะเกย่ี วกับการมสี ่วนรว่ มทางการเมืองอยา่ งไรบ้าง 1)...................................................................................................... 2)...................................................................................................... 2.2) แบบปลายปดิ (Closed-End Form) . เปน็ แบบสอบถามที่มีคาตอบใหเ้ ลือกหรือใหเ้ ตมิ ส้ัน ๆ และบางครง้ั อาจจะ สอบถามโดยมีเหตุผลให้และให้ผตู้ อบเรียงอนั ดบั ความสาคัญของเหตผุ ลนน้ั ๆ ดว้ ย โดยแบ่งเป็น ลกั ษณะย่อย ๆ ดงั น้ี

99 2.2.1) แบบเลอื กหลายคาตอบ (Multiple Choices) เป็นแบบสอบถาม ทีป่ ระกอบด้วยคาถามหลายคาถาม และแตล่ ะคาถามมีหลายคาตอบ ให้ผตู้ อบเลอื กเพยี งคาตอบเดียว ในแตล่ ะข้อ 2.2.2) แบบตรวจสอบรายการ (Check List) เปน็ แบบสอบถาม ท่ีประกอบดว้ ยบัญชีรายการของเรอ่ื งราวต่าง ๆ ทแ่ี สดงข้นั ตอนการปฏบิ ตั ิงาน กิจกรรมต่าง ๆ พฤติกรรมการปรับตัว หรอื บุคลิกภาพของผตู้ อบ โดยใหผ้ ้ตู อบกาเคร่ืองหมายลงในแบบท่คี ดิ ข้นึ ในลกั ษณะ ม-ี ไมม่ ี, ชอบ-ไม่ชอบ หรือ ใช่-ไม่ใช่ อยา่ งใดอย่างหนงึ่ มักใช้ควบคู่กับการสงั เกต ซง่ึ แบบตรวจสอบรายการนี้จะชว่ ยให้ผ้สู ังเกตทราบวา่ การกระทาหรือพฤติกรรมตา่ ง ๆ เกดิ ขึน้ ตาม รายการที่กาหนดไว้ หรือไม่เท่านนั้ ไม่ได้ช่วยในการพิจารณาคณุ ภาพหรือจานวนครั้งของการกระทา ท่เี กดิ ข้ึน ถ้าหากต้องการประเมินคุณภาพหรอื วัดจานวนครั้งของการกระทาทเ่ี กดิ ขึน้ ก็ไมค่ วรใช้ ตรวจสอบรายการ ควรใช้เคร่ืองมืออย่างอ่ืนแทน สาหรับคุณคา่ หรือประโยชนข์ องแบบตรวจสอบ รายการ คือ ใช้เก็บข้อมลู เก่ียวกบั ขบวนการหรอื วธิ กี ารปฏิบัตงิ านต่าง ๆ โดยใชค้ วบคู่กบั การสงั เกต ทาให้ผสู้ ังเกตมุ่งความสนใจไปตามรายการที่ระบุไว้เท่านัน้ และเป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรมตา่ ง ๆ ของประชากรทนี่ ักวจิ ัยสงั เกต ผสู้ ังเกตแตล่ ะคนอาจจะตรวจสอบ (Check) รายการทชี่ าวบ้านมี พฤติกรรมแตกตา่ งกัน แบบตรวจสอบรายการเปน็ วธิ ีการง่าย ๆ ที่บนั ทึกข้อสงั เกตต่าง ๆ จากประชากร 3) องคป์ ระกอบและโครงสร้างของแบบสอบถาม ตามปกตอิ งคป์ ระกอบ และโครงสร้างของแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ (กาสกั เต๊ะขันหมาก. 2553 : 127 - 128) 3.1) จุดประสงค์ของแบบสอบถาม เป็นตอนแรกของแบบสอบถามท่ีจะ กลา่ วถึงจดุ มงุ่ หมายของการวิจยั ตลอดจนคาแนะนาต่าง ๆ ในการตอบ 3.2) ขอ้ มูลเกี่ยวกบั ประวตั ิของผ้ตู อบ เป็นตอนที่ถามเกยี่ วกบั ผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ วุฒิการศกึ ษา สภาพสมรส และอ่ืน ๆ ซ่ึงจะให้ตอบมากน้อยข้ึนอยู่กบั จดุ มุ่งหมายทว่ี างไว้ สาหรับชื่อของผู้ตอบแบบสอบถามนั้น แบบสอบถามสว่ นใหญ่จะไมถ่ ามเพราะจะทาให้ผตู้ อบไม่ให้ ความร่วมมือเพราะจะพดู ความจรงิ ไม่ได้ เช่น การวจิ ารณ์หน่วยงานท่ตี นทาอยวู่ า่ เปน็ อย่างไร 3.3) ข้อมลู เกี่ยวกับเรื่องที่ถาม เป็นข้อมูลทเ่ี ปน็ หัวใจของแบบสอบถาม อาจมขี ้อมูลทว่ั ๆ ไปท่ีเกยี่ วข้อง เชน่ คาถามที่สรา้ งความสบายใจ และความเป็นกนั เองกบั ผูต้ อบ 3.4) ข้อสรปุ ของท้ังหมดและขอ้ เสนอแนะ อาจจะใช้คาถามเพ่ือทดสอบ ความเข้าใจทง้ั หมดหรือเป็นการตรวจทานอีกทีวา่ ผู้ตอบมีความเข้าใจในเรื่องทั้งหมดอยา่ งไร

100 ตัวอย่าง แบบสอบถามเพ่ือการวิจยั เรือ่ ง “ปจั จัยที่สมั พนั ธก์ บั พฤติกรรมการดาเนินชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือนในจงั หวัดยโสธร” คาช้แี จง : 1. แบบสอบถามฉบบั น้เี ปน็ แบบสอบถามเพ่ือการวจิ ัย เรือ่ ง “ปจั จัยท่ีสัมพันธ์กับพฤติกรรม การดาเนินชีวิตตามปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงของครัวเรือนในจังหวัดยโสธร” 2. แบบสอบถาม ประกอบด้วย 6 ตอนได้แก่ ตอนท่ี 1 ข้อมูลครัวเรือน ตอนที่ 2 การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ 3 การสนับสนุนทางสังคม ตอนที่ 4 ความรู้เร่ืองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ตอนที่ 5 เจตคติตอ่ ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง ตอนท่ี 6 พฤตกิ รรมการดาเนินชวี ิตตามปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง 3. คาตอบของท่านจะเปน็ ประโยชน์อย่างย่ิงต่อการวจิ ยั ในคร้งั นี้ จงึ ขอความกรุณาจาก ทา่ นไดโ้ ปรดตอบแบบสอบถามนี้ให้ครบทุกข้อตามความจริง 4. ข้อมูลทท่ี ่านตอบแบบสอบถามฉบับน้จี ะถือเป็นความลบั โดยผู้วจิ ัยจะนาเสนอ ผลการวจิ ยั ในภาพรวม โดยไม่มผี ลกระทบต่อท่านแต่อย่างใดทัง้ ทางตรงและทางออ้ ม ขอขอบคุณทา่ นท่ีให้ความรว่ มมอื ในการตอบแบบสอบถามครง้ั นี้ดว้ ยความต้ังใจจริง มา ณ โอกาสนี้ นางสาวปยิ ดา ปญั ญาศรี ผู้วิจยั


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook