Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ฟิลิปปินส์-philippines

ฟิลิปปินส์-philippines

Published by E-book Library กศน.ตำบลสำโรง, 2019-04-25 01:11:30

Description: ฟิลิปปินส์-philippines

Search

Read the Text Version

ระบบบริหารราชการของ สาธารณรัฐ ฟิลิปปนิ ส์

ระบบบริหารราชการของ สาธารณรฐั ฟลิ ิปปนิ ส์ จัดทำ�โดย : ส�ำ นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 47/111 ถนนตวิ านนท์ ตำ�บลตลาดขวญั อ�ำ เภอเมอื ง นนทบุรี 11000 โทรศพั ท์ 0 2547 1000,  โทรสาร 0 2547 1108 หวั หน้าโครงการ : รศ.ดร.จิรประภา อคั รบวร ท่ปี รึกษาโครงการ : นายสุรพงษ์ ชัยนาม ผูเ้ ชีย่ วชาญดา้ นระบบราชการใน ASEAN บรรณาธิการ : ดร.ประยูร อัครบวร นกั วจิ ยั : นางสาวมนฑกานต ์ วรนิติกุล นายชญานิน ประวชิ ไพบลู ย์ ผูป้ ระสานงานและตรวจทานคำ�ผดิ : นางสาวเยาวนชุ สมุ น เลขมาตรฐานประจ�ำ หนังสือ : 978-616-548-151-9 จ�ำ นวนพิมพ์ : 5,400 เล่ม จำ�นวนหนา้ : 200 หนา้ พมิ พท์ ่ี : กรกนกการพิมพ์ 2

คำ�น�ำ สำ�นักงาน ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ภาครัฐ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบตามแผนงานการจัดต้ังประชาคม สงั คมและวฒั นธรรมอาเซยี น ในการเพมิ่ ขดี ความสามารถของทรพั ยากรบคุ คล ในระบบราชการ จากการด�ำ เนนิ การทผี่ า่ นมาแมว้ า่ ส�ำ นกั งาน ก.พ. ไดด้ �ำ เนนิ การจดั อบรม หลกั สตู รความรเู้ กย่ี วกบั อาเซยี นใหแ้ กข่ า้ ราชการหลายครงั้ แตก่ ย็ งั ไมค่ รอบคลมุ บุคลากรภาครัฐซึ่งมีจำ�นวนมากกว่า 2 ล้านคน สำ�นักงาน ก.พ. จึงเห็นควร พัฒนาชุดส่ือการเรียนรู้ “อาเซียน กูรู” เพ่ือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกยี่ วกบั ระบบราชการ ซงึ่ มคี วามหลากหลายของประเทศสมาชกิ อาเซยี นทงั้ 10 ประเทศ ใหแ้ กบ่ คุ ลากรภาครฐั ซง่ึ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การปฏบิ ตั งิ านของ บุคลากรภาครฐั ท้ังน้ีทางสำ�นักงาน ก.พ. จึงทำ�ความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดทำ�หนังสือเร่ือง “ระบบบริหารราชการของ ประเทศอาเซียน” เพ่ือเสริมทักษะความรู้เก่ียวกับการบริหารราชการให้แก่ บุคลากรภาครัฐทุกระดับ หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับความรู้และเพลิดเพลิน ไปกบั หนังสอื ชดุ น้ี สำ�นักงาน ก.พ. ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟลิ ปิ ปนิ ส์ 3

ข้อคิดจากบรรณาธิการ หนังสือเร่ือง “ระบบบริหารราชการของประเทศอาเซียน” เป็นหนังสือ ที่จัดทำ�ข้ึนเพ่ือเสริมทักษะความรู้แก่ข้าราชการไทย เพ่ือเรียนรู้และเข้าใจ ระบบการบรหิ ารงานภาครฐั ของประเทศตา่ งๆ ในอาเซยี น อนั จะเปน็ ประโยชน์ ในการตดิ ตอ่ ประสานงานกับขา้ ราชการของประเทศเหลา่ น้ีในอนาคต โดยรูปแบบของหนังสือไดป้ คู วามร้ใู หผ้ ู้อา่ นตงั้ แตป่ ระวตั ิ ข้อมลู เกย่ี วกบั ประเทศ วิสัยทัศน์ รวมถึงความเป็นมาของระบบราชการ นโยบายการเข้าสู่ ประชาคมอาเซยี น และทนี่ า่ จะเปน็ ประโยชนใ์ นการเรยี นรรู้ ะบบราชการของ ประเทศเหลา่ นคี้ อื เนอ้ื หาในสว่ นของยทุ ธศาสตรแ์ ละภารกจิ ของแตล่ ะกระทรวง ระบบการพฒั นาขา้ ราชการ ทา้ ยเลม่ ผเู้ ขยี นไดร้ วบรวมกฎหมายส�ำ คญั ทค่ี วรรู้ และลักษณะเดน่ ของระบบราชการทนี่ ่าเรยี นรู้ไว้ได้อยา่ งน่าสนใจ หนงั สือระบบบริหารราชการของประเทศในอาเซียนทง้ั   10  น ี้ อาจมี เนอ้ื หาแตกตา่ งกนั ไปบา้ ง เนอ่ื งจากผวู้ จิ ยั ไมส่ ามารถเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ของบางประเทศ ไดด้ ว้ ยขอ้ จ�ำ กดั ดา้ นภาษาและบางประเทศยงั ไมม่ กี ารจดั ท�ำ ยทุ ธศาสตรข์ อง รายกระทรวง ทางคณะผู้จัดทำ�หนังสือหวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือเล่มน้ีจะมี ส่วนในการตดิ อาวุธองคค์ วามรู้ภาครฐั ใหก้ บั ข้าราชการไทยไมม่ ากกน็ ้อย สุดท้ายต้องขอขอบคุณเจ้าของรูปภาพและเว็บไซต์ที่เผยแพร่ให้เข้าใจ อาเซยี นเป็นหนึ่งเดียวรว่ มกนั ดร.ประยูร อคั รบวร บรรณาธกิ าร 4

สารบัญ บทท ่ี หน้า 1. ประวัตแิ ละขอ้ มลู ประเทศและรัฐบาล 11 1.1 ประวตั ิและขอ้ มลู ประเทศโดยย่อ 12 1.1.1 ขอ้ มูลทั่วไป 12 1.1.2 ลักษณะทางภูมศิ าสตร ์ 15 1.1.3 ประวตั ศิ าสตร ์ 18 1.1.4 ลกั ษณะประชากร 23 1.1.5 ข้อมูลเศรษฐกจิ 24 1.1.6 ขอ้ มูลการเมืองการปกครอง 28 1.1.7 ลักษณะทางสงั คมและวัฒนธรรม 31 1.1.8 โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณปู โภค 32 1.1.9 ระบบสาธารณสุข 36 1.1.10 ระบบการศึกษา 38 1.1.11 ระบบกฎหมาย 39 1.1.12 ความสัมพันธร์ ะหว่างไทยกับสาธารณรฐั ฟิลิปปนิ ส์ 41 1.2 ประวตั แิ ละขอ้ มลู รฐั บาลโดยย่อ 42   47 2. วสิ ัยทศั น์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ 50 2.1 วิสยั ทัศน ์ 50 2.2 เป้าหมาย 51 2.3 ยทุ ธศาสตร ์ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟิลิปปนิ ส์ 5

หน้า 3. ประวัตคิ วามเปน็ มาของระบบราชการ 53 3.1 ฟลิ ิปปินสภ์ ายใต้การปกครองของสเปน (พ.ศ.2106-2441) 54 (Precolonial PH-Spanish Colonization) 3.2 ฟิลปิ ปินสภ์ ายใตก้ ารปกครองของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2441-2489) 55 (Malolos Republic-American Colonization) 3.3 ยคุ อสิ รภาพ และประชาธปิ ไตย 58 (Independence and Democratization) 4. ภาพรวมของระบบราชการ 61 4.1 รัฐบาล นโยบายรัฐบาล และนโยบายการเข้าสู่ 62 ประชาคมอาเซยี น 62 4.1.1 ด้านการศกึ ษา 65 4.1.2 ด้านเศรษฐกิจ 67 4.2 จ�ำ นวน และรายชอื่ กระทรวงพร้อมท่ตี ดิ ต่อ 73 4.3 จำ�นวนขา้ ราชการทัว่ ประเทศพรอ้ มคณุ ลกั ษณะหลกั 73 74 หรือคุณลกั ษณะหลกั ในการเขา้ ส่ปู ระชาคมอาเซยี น 76 4.3.1 จ�ำ นวนข้าราชการทวั่ ประเทศ 4.3.2 คณุ ลักษณะหลกั ของขา้ ราชการ 4.3.3 คณุ ลักษณะหลักของขา้ ราชการ ในการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซยี น 5. ยุทธศาสตร์ และภารกิจของแต่ละกระทรวงและ 77 หน่วยงานหลักทรี่ บั ผดิ ชอบงานที่เก่ียวกบั ASEAN 78 5.1 ยุทธศาสตร์ และภารกจิ ของแตล่ ะกระทรวง 117  5.2 หน่วยงานหลักท่ีรบั ผิดชอบงานทเี่ ก่ียวกบั ASEAN 6

หนา้ 6. ระบบการพัฒนาขา้ ราชการ 119 6.1 ภาพรวมของการพฒั นาข้าราชการ 121 6.2 กลยทุ ธก์ ารพัฒนาข้าราชการ 122 6.3 หนว่ ยงานทรี่ ับผิดชอบด้านการพฒั นาข้าราชการ 122 6.4 การสรรหาและคดั เลอื ก 124 6.5 คา่ ตอบแทนและการจำ�แนกตำ�แหนง่ งาน 125 6.6 การประเมนิ ผลปฏิบัตงิ าน 130 131 7. กฎหมายสำ�คัญที่ควรรู ้ 132 7.1 กฎระเบียบขา้ ราชการ 132 7.1.1 ต�ำ แหนง่ ในระบบขา้ ราชการพลเรอื น 134 ของสาธารณรฐั ฟิลปิ ปินส์ 135 7.1.2 สทิ ธิของข้าราชการพลเรอื น 136 7.1.3 การลงโทษข้าราชการพลเรอื น 166 7.1.4 กฎการใชจ้ รรยาบรรณและมาตรฐานทาง 167 จรยิ ธรรมของข้าราชการและลูกจ้าง 173 7.2 กฎหมายแรงงาน 175 7.2.1 ขอ้ ตกลงและเง่ือนไขของการจ้างงาน 177 7.2.2 ประเภทการจา้ งงาน 178 7.2.3 การเลิกจา้ งงาน 178 7.2.4 ประกนั สังคม 179 7.3 กฎหมายเขา้ เมือง 7.3.1 การขอวซี ่า 7.3.2 ศลุ กากร และของตอ้ งหา้ มในการน�ำ เข้า ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ 7

หนา้ 7.4 กฎหมายอ่นื ๆ ทีค่ วรร ู้ 180 7.4.1 กฎระเบยี บดา้ นการลงทุนในประเทศ 180 8. ลักษณะเด่นของระบบราชการท่ีน่าเรียนรู้ 187 8.1 ระบบอุปถมั ภ ์ 188 8.2 ความเท่าเทยี ม และความเสมอภาคทางเพศ 189 บรรณานกุ รม 191 ภาคผนวก 197 สารบัญภาพ หนา้ ภาพท่ี 1 แผนที่ฟิลปิ ปินสแ์ ละอาณาเขตใกลเ้ คยี ง 17 ภาพที่ 2 แผนท่กี ารปกครอง 29 ภาพท่ี 3 โครงสรา้ งการปกครองของสาธารณรัฐฟลิ ิปปินส ์ 46 ภาพที่ 4 วิสัยทศั น์ เปา้ หมาย และกลยุทธ์ 49 ภาพที่ 5 คณะกรรมการฟลิ ปิ ปินสช์ ุดท่ีสอง 56 ภาพท่ี 6 จำ�นวนขา้ ราชการทั่วประเทศของสาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ 73 ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2553 ภาพท่ี 7 CSC Strategy Map 75 ภาพท่ี 8 โลโกค้ ณะกรรมการบรหิ ารงานบคุ คล 123 8

สารบญั ตาราง หนา้ 67 74 ตารางท่ี 1 รายชอื่ กระทรวง และจ�ำ นวน พร้อมทต่ี ดิ ตอ่ 78 121 ตารางที่ 2 จ�ำ นวนบคุ ลากรในภาครฐั 127 ตารางท่ี 3 ยุทธศาสตร์ และภารกจิ ของแตล่ ะกระทรวง 128 ตารางท่ี 4 ระดบั ขา้ ราชการ ตารางท่ี 5 ขัน้ เงนิ เดอื นของพนกั งานรัฐทส่ี �ำ คัญ ตารางที่ 6 อตั ราเงินเดือน ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ 9

10

1 ประวัติและข้อมลู ประเทศ และรฐั บาลโดยยอ่ ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟลิ ิปปนิ ส์ 11

1.1 ประวัตแิ ละขอ้ มูลประเทศโดยยอ่ สาธารณรฐั ฟลิ ปิ ปนิ ส์ หรอื ประเทศฟลิ ปิ ปนิ สถ์ อื เปน็ อกี หนงึ่ ประเทศ ทเี่ ขา้ รว่ มเปน็ สมาชกิ อาเซยี น หรอื สมาคมประชาชาตแิ หง่ เอเชยี ตะวนั ออก เฉยี งใต้ ซง่ึ กลา่ วไดว้ า่ เปน็ อกี ประเทศทมี่ คี วามเปน็ มายาวนานและนา่ สนใจ โดยจะได้อธบิ ายประวตั แิ ละขอ้ มลู ของประเทศโดยย่อ ดังน้ี 1.1.1 ข้อมูลทว่ั ไป ช่ือประเทศอยา่ งเปน็ ทางการ สาธารณรฐั ฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) หรือฟลิ ปิ ปินส์ (The Philippines) เมืองหลวง มะนลิ า (Manila) พื้นที่ 300,000 ตารางกิโลเมตร[8] ประกอบดว้ ยเกาะนอ้ ยใหญ่ เขตแดน ด้านเหนอื และด้านตะวันตกตดิ กับ ทะเลจีนใต้ ด้านใตแ้ ละดา้ นตะวนั ออก ติดกบั มหาสมทุ รแปซฟิ คิ ประชากร 98.73 ล้านคน [18] วันชาติ 12 มิถุนายน ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาพูดใช้ภาษา ฟลิ ิปปโี น 12

ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธปิ ไตยแบบสาธารณรฐั มปี ระธานาธิบดีเปน็ ประมขุ และผู้น�ำ ฝ่ายบริหารอยู่ในวาระ 6 ปเี พยี งวาระ เดียว ธงชาติ เปน็ ธงสเ่ี หลยี่ มผนื ผา้ แบง่ ตามยาว ครง่ึ บน สีนำ้� เงนิ  หมายถึง สนั ตภิ าพ สัจจะ และ ความยตุ ิธรรม ครึง่ ล่างสแี ดง  หมายถึง ความรกั ชาติ และความกลา้ หาญ ทด่ี า้ นคันธงเป็นรปู สามเหลย่ี ม สขี าว หมายถงึ  ความเสมอภาค และภราดรภาพ ภายในมรี ปู ดวงอาทิตย์ท่ีมีความหมาย ถึงความเป็นเอกภาพ อสิ รภาพ อ�ำนาจ อธปิ ไตยเปน็ ของประชาชน  และมรี ศั มี 8 แฉกหมายถึง  8 จงั หวัดแรกท่ีตอ่ สู้ เพอ่ื เอกราช ลอ้ มดว้ ยดาวหา้ แฉกสที อง 3 ดวงหมายถึง  เกาะใหญ่ 3 เกาะ ตราแผน่ ดนิ ตราแผ่นดนิ ของฟลิ ิปปนิ ส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีดาวทอง 3 ดวงดา้ นบนพน้ื ขาว หมายถงึ เกาะ ลซู อน เกาะมนิ ดาเนา และเกาะวสิ ายาส์ มีพระอาทติ ย์รัศมีแปดแฉก หมายถงึ 8 จังหวัดแรกทต่ี อ่ สู้เพ่ือเอกราช ในพนื้ ขาวรปู วงรที ด่ี า้ นหนง่ึ เปน็ สนี ำ�้ เงนิ ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั ฟิลิปปนิ ส์ 13

อกี ด้านหนึง่ เป็นสแี ดง ด้านล่างเขียนวา่ สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ ดอกไม้ประจ�ำชาติ ดอกพดุ แกว้ (Sampaguita Jasmine) มีกลีบดอกรปู ดาวสขี าวจะแย้มดอกใน ตอนกลางคนื และสง่ กลน่ิ หอมประมาณ หนงึ่ วัน ดอกบานตลอดทัง้ ปี อกี ทง้ั เปน็ สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความ เรยี บงา่ ย ความออ่ นน้อมถ่อมตน และ ความเข้มแขง็ เข้าเป็นสมาชิกอาเซยี น 8 สิงหาคม 2553 เงนิ ตรา เปโซ (PHP) อตั ราแลกเปลีย่ น 1 เปโซ ≈ 0.70 บาท (2556) ผลติ ภณั ฑม์ วลรวม 250.3 พนั ล้านดอลลาร์สหรฐั (2555) ในประเทศ (GDP) รายได้ประชาชาตติ ่อหวั 4,096 ดอลลารส์ หรฐั (2555) (GDP per Capita) การขยายตวั ทางเศรษฐกจิ รอ้ ยละ 6.6 (2555) 14

1.1.2 ลักษณะทางภมู ิศาสตร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นประเทศท่ีประกอบด้วยเกาะ 7,107 เกาะ[29] แตม่ เี พยี ง 11 เกาะเทา่ นนั้ ทมี่ คี วามเจรญิ อยา่ งรวดเรว็ และมผี คู้ น อาศยั อยู่มาก หากดจู ากแผนทีโ่ ลกจะเห็นไดว้ ่า ฟิลิปปนิ ส์ตง้ั อยู่ทางทิศ ตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ของมหาสมทุ รแปซฟิ กิ ดา้ นตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของ เกาะบอร์เนียว และทางใต้ของเกาะใตห้ วนั อยูห่ า่ งจากแผน่ ดินใหญข่ อง ทวปี เอเชยี ประมาณ 970 กโิ ลเมตร หมเู่ กาะฟลิ ปิ ปนิ สม์ คี วามยาวจากทศิ เหนือจรดทิศใต้ประมาณ 1,850 กิโลเมตร และทิศตะวันออกจรดทิศ ตะวนั ตกประมาณ 1,100 กโิ ลเมตร โดยหมเู่ กาะทงั้ หมดสามารถแบง่ เปน็ 3 หม่เู กาะใหญ่ คอื หมูเ่ กาะเหนอื หมู่เกาะกลาง และหมู่เกาะใต้ ลักษณะภมู ปิ ระเทศ ฟลิ ปิ ปนิ สจ์ ะประกอบดว้ ยหมเู่ กาะนอ้ ยใหญ่ แตเ่ ปน็ เกาะทม่ี ปี ระชากร อาศัยอยู่จริงเพียงประมาณ 2,000 เกาะเท่านั้น[29] นอกนั้นเป็นเกาะ ภูเขาไฟและเกาะขนาดเล็ก ซึ่งบางแห่งจะจมอยู่ใต้ทะเลขณะที่น�้ำขึ้น สูงสุด นอกจากน้ี ยังมีเกาะที่ยังไม่ได้ส�ำรวจ และไม่มีชื่อเรียกอีกกว่า 2,500 เกาะ ภมู ปิ ระเทศสว่ นใหญเ่ ปน็ ภเู ขา มพี น้ื ทรี่ าบแคบๆ ตามชายฝง่ั ทะเล การเดนิ ทางระหวา่ งเกาะจึงใช้เคร่ืองบินเป็นหลัก ดว้ ยสภาพทาง ธรณวี ทิ ยาท�ำใหฟ้ ลิ ปิ ปนิ สม์ กั ประสบปญั หาแผน่ ดนิ ไหวและภเู ขาไฟปะทุ อยเู่ นอื งๆ สง่ ผลใหเ้ กดิ การเปลยี่ นแปลงโครงสรา้ งทางภมู ศิ าสตรบ์ อ่ ยครงั้ ปัจจุบันมีภูเขาไฟอย่างน้อย 22 ลูกยังคุกรุ่นพร้อมปะทุตลอดเวลา ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั ฟิลปิ ปินส์ 15

ภูเขาไฟส�ำคัญ ได้แก่ มายอน (Mayon) ใกล้เมืองลีกาสปี (Legaspi) ตาอัล (Taal) อยทู่ างใต้ของกรุงมะนิลา ปินาตูโบ (Pinatubo) ซ่งึ ระเบิด ไปเมื่อปี พ.ศ. 2534 และกลายเปน็ แหล่งท่องเทย่ี วส�ำคญั ในเวลาต่อมา และ อาโป (Apo) ซึง่ เปน็ ยอดเขาทสี่ งู ที่สุดในฟิลิปปินส์ โดยมคี วามสูง กว่า 2,954 เมตร อยู่บนเกาะมินดาเนา ภูมิประเทศของฟิลิปปนิ ส์แบง่ ออกเปน็ 3 หมเู่ กาะหลัก แบ่งเป็นเขต การปกครองตามเกาะไดเ้ ป็น 17 เขต (Regions) ดงั นี้ 1) หมเู่ กาะลซู อน (Luzon) อยทู่ างตอนเหนอื ของประเทศ เปน็ ทตี่ ง้ั ของเมอื งหลวง คอื กรุงมะนิลา มี 8 เขตการปกครอง 2) หมู่เกาะมินดาเนา (Mindanao) อยู่ทางตอนใต้ มี 6 เขตการ ปกครอง 3) หมู่เกาะวิสายาส์ (Visayas) อยูท่ างตอนกลางของประเทศ มี 3 เขตการปกครอง ลักษณะภูมิอากาศ สาธารณรฐั ฟลิ ปิ ปนิ สต์ งั้ อยเู่ หนอื เสน้ ศนู ยส์ ตู ร จงึ มลี กั ษณะภมู อิ ากาศ เป็นแบบก่ึงร้อนช้ืน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 24-29 องศา เซลเซยี ส ประกอบด้วย 3 ฤดูกาล คอื 1) ฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ร้อนที่สุดในช่วงกลางเดือน พฤษภาคม อณุ หภมู เิ ฉลยี่ ประมาณ 35 องศาเซลเซยี ส ขณะทกี่ รงุ มะนลิ า จะร้อนและมฝี ุ่นละอองมากท่สี ุด อุณหภูมิอาจสงู ถึง 40 องศาเซลเซยี ส 2) ฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) ปกติปริมาณน�้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 5,000 มลิ ลเิ มตร แตบ่ างครงั้ จะมลี มมรสมุ ตะวนั ตกเฉยี งใตพ้ ดั ผา่ น ท�ำให้ 16

มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน รวมถึงในช่วงกรกฎาคมถึงตุลาคมมักมี ลมพายหุ ลายลกู กอ่ ตัวข้นึ ทางทศิ ตะวนั ออกของเกาะลูซอน ปโิ คน และ ทิศตะวันออกของหมู่เกาะวิสายาส์ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาของฟิลิปปินส์ แบ่งความแรงของพายุเป็น 4 ระดับ และหากพายุมีความแรงถึงระดับ สองขึ้นไป โรงเรยี น สถานท่ีราชการ และห้างรา้ นตา่ งๆ จะหยดุ ท�ำการ ชวั่ คราว 3) ฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) อุณหภูมิเฉลี่ยกลางวัน ประมาณ 28 องศาเซลเซียส และกลางคืน 17 องศาเซลเซยี ส โดยหนาว ทสี่ ดุ ในชว่ งเดือนธันวาคม อน่งึ การทฟ่ี ลิ ปิ ปนิ สอ์ ยใู่ นเขตมรสุม ท�ำให้มีสภาพอากาศแปรปรวน และฝนตกหนักอันเน่อื งจากพายแุ ละไต้ฝนุ่ โดยเฉลี่ยปีละ 18 ครั้ง ภาพที่ 1 แผนทฟ่ี ิลิปปินสแ์ ละอาณาเขตใกลเ้ คยี ง ท่ีมา: http://www.lonelyplanet.com/worldguide/Philippines ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั ฟิลปิ ปนิ ส์ 17

1.1.3 ประวตั ศิ าสตร์ การพบซากฟอสซลิ มนษุ ยอ์ าย ุ50,000 ป ีทเ่ี กาะปาลาวนั  เปน็ หลกั ฐาน ส�ำคญั ทางประวตั ศิ าสตรว์ า่ คนกลมุ่ แรกทม่ี าอยบู่ นเกาะนมี้ าจากแผน่ ดนิ ใหญ่ ของเอเซยี และบอรเ์ นยี ว ซงึ่ ท�ำใหน้ กั ประวตั ศิ าสตรส์ นั นษิ ฐานวา่ เดมิ หมเู่ กาะ ฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ปน็ แผน่ ดนิ เดยี วกบั แผน่ ดนิ ใหญข่ องทวปี เอเชยี ในปจั จบุ นั เมอ่ื เกดิ การเปลย่ี นแปลงทางกายภาพของผวิ โลก ท�ำใหแ้ ผน่ ดนิ บางสว่ น หลุดแยกออกมาจากแผ่นดินใหญ่ กลายเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่ใน มหาสมทุ ร หมู่เกาะเหล่านี้เป็นท่ีรู้จักมากข้ึน เมื่อมีชาวจีนเข้ามาท�ำการค้าขาย ในหมเู่ กาะเหลา่ นใี้ นศตวรรษที่ 10 และศตวรรษท่ี 13 ชาวอาหรบั น�ำโดย ผนู้ �ำชอื่ มกั ดมั (Makdam) ไดเ้ ขา้ มาอยบู่ นหมเู่ กาะซลู ู และตงั้ อาณาจกั ร ของศาสนามสุ ลิมขึ้นท่นี น่ั ในปี พ.ศ. 2018 (ค.ศ. 1475) ผ้นู �ำชาวมุสลิม จากเมอื งยะโฮร์ คือ ชารีฟ มูฮัมหมัด คาบงุ ชาวัน (Sharif Mohammed Kabungsuwan) มาแตง่ งานกบั เจา้ หญงิ  ลกู สาวของหวั หนา้ เผา่ ชนพน้ื เมอื ง ในมนิ ดาเนา และไดส้ ถาปนาตนเองเปน็ สลุ ต่านคนแรกของมนิ ดาเนา หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรฟ์ ลิ ปิ ปนิ สเ์ รม่ิ ขนึ้ เมอ่ื นกั เดนิ เรอื ชาวสเปน ชอื่ เฟอร์ดนิ านด์ แมก็ เจลแลน (Ferdinand Magellan) เดินทางมาถงึ หมู่เกาะฟิลิปปินสใ์ นปี พ.ศ. 2064 และประกาศยดึ ครองหมเู่ กาะน้ีเปน็ อาณานิคมของราชอาณาจักรสเปน แต่ต่อมาไม่นานนัก เฟอร์ดินานด์ แมก็ เจลแลน ก็ถกู ชาวเกาะท่ีไมย่ อมอยู่ใตอ้ �ำนาจของสเปนฆา่ ตาย ในปี พ.ศ. 2086 รุย โลเปซ เดอ บิยาโลโบส์ (Ruy Lopez de Villalobos) มาถงึ และได้ตงั้ ชอ่ื เกาะนี้วา่ Filipinas ตามพระนามของพระเจา้ ฟลิ ปิ ป์ 18

ที่ 2 ของสเปน สเปนรุกคืบเข้าครอบครองอธิปไตยเหนือหมู่เกาะทีละ สว่ น จนกระทง่ั ปี พ.ศ. 2114 กม็ ีอ�ำนาจเหนือหมู่เกาะฟลิ ิปปินส์ทั้งหมด ยกเว้นหมเู่ กาะซลู ทู ่ปี ระชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ชาวฟลิ ปิ ปนิ สพ์ ยายามตอ่ สกู้ บั สเปนเพอื่ เอกราชตลอดเวลา แตไ่ มเ่ ปน็ ผลส�ำเรจ็ จนถงึ ศตวรรษท่ี 19 เกดิ สงครามระหวา่ งสหรฐั อเมรกิ ากบั สเปน ฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดเ้ ขา้ รว่ มรบกบั ฝา่ ยสหรฐั อเมรกิ าจนไดช้ ยั ชนะ นายพลอากนี ลั โด (General Aguinaldo) ถอื โอกาสนัน้ ประกาศอิสรภาพใหฟ้ ิลิปปนิ ส์เป็น ประเทศเอกราช แต่ความจริงอ�ำนาจอยู่ในมือของผู้ชนะสงคราม สหรัฐอเมริกาชนะสงครามสเปนทั้งในคิวบาและฟิลิปปินส์ แต่ติดที่ กฎหมายของสหรัฐอเมริกาเองที่ห้ามการสร้างอาณานิคมท่ีได้จากการ รกุ รานทางทหาร สหรฐั อเมรกิ าจงึ ตอ้ งจา่ ยเงนิ ซอ้ื ฟลิ ปิ ปนิ สม์ าจากสเปน ดว้ ยเงนิ   20  ลา้ นเหรยี ญสหรฐั   และแมว้ า่ อเมรกิ าจะไดช้ อ่ื วา่ เปน็ ผปู้ กครองใหมข่ องฟลิ ปิ ปนิ ส์ แตส่ หรฐั อเมรกิ ากต็ ระหนกั ดวี า่ ชาวฟลิ ปิ ปนิ ส์ ตอ้ งการเปน็ ประเทศเอกราช จงึ ผอ่ นปรนใหฟ้ ลิ ปิ ปนิ สม์ กี ารปกครองของ ตนเอง โดยสหรฐั อเมรกิ ายงั มอี �ำนาจอธปิ ไตยเหนอื หมเู่ กาะอยู่ ในปี พ.ศ. 2478 มานูเอล กีซอน (Manuel Quizon) ได้เป็นประธานาธบิ ดคี นแรก ของเครอื รฐั ฟิลปิ ปนิ ส์ (The Philippines Commonwealth) ซ่ึงเปน็ ประเทศในอาณตั ปิ กครองของสหรฐั อเมรกิ า  นบั วา่ เปน็ กา้ วแรกของ การปลดปลอ่ ยฟิลปิ ปนิ ส์ใหเ้ ป็นอสิ ระด้วยการปกครองตนเอง เมอื่ เกดิ สงครามโลกครงั้ ที่ 2 ฟลิ ปิ ปนิ สถ์ กู กองทพั ญป่ี นุ่ บกุ เขา้ ยดึ ครอง ฟิลิปปินส์ต้องกลายเป็นสมรภูมิรบระหว่างกองทัพพันธมิตรกับกองทัพ ญปี่ นุ่ ครนั้ สงครามโลกครงั้ ท่ี 2 ยตุ ลิ งสหรฐั อเมรกิ ากก็ ลบั เขา้ มามอี ทิ ธพิ ล ในฟิลิปปนิ ส์อีกคร้งั จนกระท่ังปี พ.ศ. 2489 ฟิลิปปินส์จึงได้รบั เอกราช ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 19

อย่างแทจ้ ริง และมปี ระธานาธิบดีอกี หลายคนทีเ่ ดน่ ๆ ทงั้ ด้านดีและไมด่ ี เชน่ ประธานาธบิ ดรี ามอน แมกไซไซ เปน็ ผนู้ �ำทใ่ี จซอื่ มอื สะอาด กลา้ หาญ เข้าถงึ ประชาชน ถงึ แก่อสัญกรรมจากเคร่อื งบินตก มีประชาชนเข้ารว่ ม งานศพของประธานาธิบดรี ามอน แมกไซไซ ถงึ 2 ล้านคน และเพ่ือเปน็ เกียรติแก่ท่าน จึงมีการต้ัง “รางวัลแมกไซไซ” ที่มอบให้ผู้ท�ำความดีใน แถบเอเซีย และอีกหน่ึงประธานาธิบดีท่ีต้องกล่าวถึงคือ ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Margos) เป็นผู้น�ำที่ปกครอง ฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 จนสนิ้ สุดในปี พ.ศ. 2529 โดยในชว่ ง 4 ปแี รกของการปกครองประธานาธบิ ดมี ากอส น�ำความเจรญิ มาสปู่ ระเทศ เปน็ อยา่ งมาก  แตก่ ารเลอื กตง้ั ครงั้ ท ่ี 2  พบวา่   ประธานาธบิ ดมี ากอส ใช้เงินซื้อเสียงจ�ำนวนมาก[37] ทั้งในช่วงดังกล่าวมีภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ ประชาชนเดนิ ขบวนประทว้ งรายวนั ประธานาธบิ ดมี ารก์ อสจงึ ฉวยโอกาส ประกาศกฎอยั การศกึ ในป ี พ.ศ. 2515 เพอ่ื ปกครองฟลิ ปิ ปนิ ส์ และตอ่ มา 20

ได้แกไ้ ขรฐั ธรรมนญู ทกี่ �ำหนดใหป้ ระธานาธิบดดี �ำรงต�ำแหน่งไดเ้ พียง 2 สมัย จากการประกาศกฎอัยการศกึ ท�ำให้มีการจบั กุมตวั นกั การเมอื ง ฝา่ ยตรงข้ามเขา้ คุก และมกี ารสั่งปดิ สอ่ื อิสระ แม้ว่าตอ่ มาประธานาธิบดี มาร์กอสมีการจัดตั้งรัฐสภา แต่อ�ำนาจยังคงอยู่ในมือของประธานาธิบดี มาร์กอส สมาชิกในครอบครัว และพวกพ้อง จนปี พ.ศ. 2526 เกิด เหตุการณ์สังหารนายเบนนิโย (นินอย) อาคีโน (Benigno “Ninoy” Aquino) ผู้น�ำการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่สนามบินนานาชาติในกรุง มะนลิ า รวมทง้ั มกี ารกลา่ วหาวา่ ประธานาธบิ ดมี ารก์ อสทจุ รติ คอรปั ชน่ั และ โกงการเลือกตั้ง จากเหตุการณ์น้ีเองท�ำให้ประชาชนออกมาเดินขบวน ประทว้ งและขบั ไลใ่ หอ้ อกจากต�ำแหนง่ จนประธานาธบิ ดมี ารก์ อสถกู โคน่ ลม้ อ�ำนาจตอ้ งพาครอบครวั หนไี ปฮาวาย และตอ่ มารฐั บาลฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดแ้ ตง่ ตงั้ “คณะกรรมการธรรมาภบิ าล” ตดิ ตามทรพั ยส์ นิ ทม่ี ารก์ อสโกงประเทศไป ซ่ึงจากการแถลงข่าวของนายแอนแดรส โบตสิ ตา ประธานกรรมาธกิ าร ธรรมาภิบาลว่าสามารถติดตามยึดเงินของประธานาธิบดีมาร์กอสท่ีฝาก ไว้ทปี่ ระเทศสวสิ เซอรแ์ ลนดไ์ ดอ้ ีก 870 ล้านบาท และเจ้าหนา้ ที่สบื สวน สามารถน�ำเงินคืนมาจากมาร์กอสได้แล้ว 120,000,000,000 บาท ประธานาธบิ ดีคอราซอน อาคีโน (พ.ศ. 2529-2535) ภรรยาหม้าย ของนายอาคโี นทถี่ กู ลอบสงั หารชนะการเลอื กตงั้ พยายามน�ำพาประเทศ เขา้ สรู่ ะบอบการปกครองแบบประชาธปิ ไตย แตต่ ดิ ปญั หาดา้ นเศรษฐกจิ ทเ่ี รื้อรังมานาน รัฐบาลของประธานาธิบดอี าคีโนถูกปฏวิ ัตถิ งึ 7 คร้งั ใน ชว่ งเวลา 6 ปีท่ีเป็นผู้น�ำประเทศ และนายพลฟิเดล รามอสในฐานะรอง ประธานาธิบดีชว่ ยให้รอดวิกฤตได้ทกุ ครงั้ ประธานาธิบดีฟิเดล รามอส (พ.ศ. 2535-2541) มีนโยบายในการ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั ฟลิ ปิ ปนิ ส์ 21

พัฒนาด้านเศรษฐกิจให้ม่ันคงจากการพัฒนาคนท่ีเรียกว่า นโยบาย “วิสัยทศั น์ ปี 2543 หรือ Vission 2000” ซึ่งประกอบด้วยแนวนโยบาย ดงั น้ี 1) การมอบอ�ำนาจใหป้ ระชาชนในการพฒั นาชมุ ชนของตนเอง โดย น�ำขอ้ สรุปของชุมชนเสนอใหร้ ฐั เขา้ ไปให้ความช่วยเหลือ 2) การทตู เพ่ือการพัฒนา เน้นการเจรจาเพอ่ื ดึงดดู การลงทนุ 3) ส่งเสรมิ ให้เกิดการลงทนุ ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอ่ ม 4) การเปิดฐานทัพเรือทอี่ า่ วซูริกเปน็ เขตการส่งออก จากนโยบายต่างๆ ท�ำให้ฟิลปิ ปินสใ์ นสมัยของประธานาธบิ ดรี ามอส สามารถผ่านพ้นวกิ ฤตเศรษฐกจิ ในช่วงปีพ.ศ. 2540 มาได้ ประธานาธบิ ดโี จเซฟ เอสตราดา (พ.ศ. 2541-2543) จากดาราภาพยนตร์ ทค่ี นชน่ื ชอบ มาพรอ้ มกบั นโยบายเพอื่ คนจนหรอื ประชานยิ ม ท�ำใหช้ นะ การเลือกตัง้ แบบท่วมท้น แตด่ �ำรงต�ำแหน่งไดเ้ พียง 2 ปี กต็ อ้ งตกมา้ ตาย ด้วยข้อหาทุจริตคอร์รัปช่ัน และถูกศาลตัดสินลงโทษจ�ำคุก จึงเป็นการ เสริมส่งให้รองประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย เข้าด�ำรง ต�ำแหนง่ แทน ประธานาธบิ ดี กลอเรยี มาคาปากลั อารโ์ รโย (พ.ศ. 2544-2547 และ พ.ศ.2547-2553) สร้างนโยบายพฒั นาทางเศรษฐกิจ เพม่ิ ภาษี ลดการ ก่ออาชญากรรมและต่อต้านการก่อการร้าย จนถึงการเลือกตั้ง ประธานาธบิ ดขี องตนเอง แมช้ นะการเลอื กตง้ั  แตก่ ม็ เี สยี งครหาวา่ ไมโ่ ปรง่ ใส ท�ำให้ความนิยมต่อประธานาธิบดีอาร์โรโยลดลง ก่อให้เกิดการประท้วง ของประชาชน  จนมกี ารประกาศใชก้ ฎอยั การศกึ   โดยมกี ารจบั กมุ ผนู้ �ำ ฝา่ นคา้ นไว้ อยา่ งไรกต็ ามในปจั จบุ นั ประธานาธบิ ดอี ารโ์ รโย ถกู ด�ำเนนิ คดี 22

ในข้อหาทุจริตคอรร์ ปั ช่ัน โกงการเลือกตั้ง สงั หารหม่ปู ระชาชน ประธานาธบิ ดปี จั จบุ นั  นายเบนกิ โน เอส. อากโี น ท ่ี 3 (พ.ศ. 2553-2559) จากพรรคลเิ บอรลั  (Liberal Party of the Philippines: LP) ไดร้ บั เลอื กตง้ั เปน็ ประธานาธบิ ดคี นท ี่ 15 ของประเทศ  พรอ้ มกบั นายเจโจมาร ์ บไิ นย์ (Jejomar Binay) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมากาตี ได้รับเลอื กตั้งเป็น รองประธานาธิบดี โดยท้งั สองไดร้ บั การเลือกตั้งเมอื่ วันท่ี 10 พฤษภาคม 2553 โดยรัฐบาลภายใต้การบริหารของนายเบนิกโนมุ่งให้ความส�ำคัญกับ การปฏิรูประบบบริหารประเทศ การปราบปรามคอร์รัปช่ัน และแก้ไข ปัญหาความยากจน  ท�ำให้รัฐบาลชุดนี้ได้รับความนิยมจากประชาชน คอ่ นขา้ งมาก  นอกจากน ้ี รฐั บาลยงั มนี โยบายสง่ เสรมิ การลงทนุ จาก ต่างประเทศ การสร้างกฎระเบียบด้านงบประมาณและการปรับปรุง ระบบการศกึ ษาด้วย 1.1.4 ลักษณะประชากร ฟิลิปปินส์ประกอบด้วยประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ อาทิ มองโกเลีย อินโดนเี ซีย มาเลย์ เปน็ ตน้ จึงอาจกลา่ วได้ว่าประชากรของ ฟิลิปปินส์มีการผสมผสานจากหลากหลายชาติพันธุ์[29] ประกอบด้วย ตากาลอ็ ก (Tagalog) รอ้ ยละ 28.1 เซบอู าโน (Cebuano) รอ้ ยละ 13.1 อิโลคาโน (Ilocano) ร้อยละ 9 บิซายาหรือบินิซายา ร้อยละ 7.6 ฮลิ ไิ กนอนหรอื อิลองโก (Hiligaynon or Ilonggo) รอ้ ยละ 7.5 บิกอน (Bicol) รอ้ ยละ 6 วาไล (Waray) ร้อยละ 3.4 และอ่ืนๆ รอ้ ยละ 25.3 ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั ฟิลปิ ปนิ ส์ 23

ส่วนด้านภาษามีภาษาฟิลิปีโน (Filipino) และอังกฤษเป็นภาษา ราชการ โดยมภี าษาถิน่ ที่ใชก้ นั มากอกี 8 ภาษา ได้แก่ ตากาลอ็ ก (Taga- log) เซบูอาโน (Cebuano) อิโลคาโน (Ilocano) ฮิลไิ กนอน หรอื อลิ องโก (Hiligaynon or Ilonggo) บิกอน (Bicol) วาไล (Waray) ปัมปงั กัน (Pampangan) ปงั กาซนิ ัน (Pangasinan) 1.1.5 ข้อมลู เศรษฐกจิ การเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ ของฟิลปิ ปนิ สใ์ นช่วงปีพ.ศ. 2553 ถงึ ปจั จบุ นั อยใู่ นระดบั ดี โดยผลเฉลยี่ อตั ราการเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ อยู่ ท่ีประมาณร้อยละ 4-5 โดยเกิดจากปัจจัยหนุนหลายประการ ท้ังการ ขยายตัวของภาคการสง่ ออก การเพิ่มข้นึ ของการบริโภคภายในประเทศ และการเจริญเติบโตของภาคบริการ จากการเผยแพร่ของนิตยสารการ เงนิ การธนาคาร ฉบับเดอื นกมุ ภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2556 พบว่า การเจริญ เติบโตของเศรษฐกิจมีความได้เปรียบประเทศในแถบอาเซียน  ในเรื่อง ของภาษา  ท�ำใหฟ้ ลิ ปิ ปนิ สโ์ ดดเดน่ ในกจิ การรบั จา้ งบรหิ ารระบบธรุ กจิ (Business Process Outsourcing-BPO) โดยเฉพาะธรุ กจิ ศนู ยบ์ รกิ ารขอ้ มลู และตอบค�ำถาม  (Call  Center)  ทเี่ ปน็ ธรุ กจิ ภาคบรกิ ารทม่ี กี ารเจรญิ เตบิ โตสงู ท�ำรายได้เพิ่มขน้ึ ร้อยละ 15 ตอ่ ปี และจากจุดแขง็ ของแรงงาน ฟิลิปปินส์ท่ีมีความสามารถด้านภาษา แล้วยังเป็นแรงงานที่มีราคาถูก หรอื คดิ เปน็   1  ใน  6  ของคา่ จา้ งพนกั งานศนู ยบ์ รกิ ารขอ้ มลู และตอบ ค�ำถาม  (Call  Center)  ในสหรฐั อเมรกิ า  ท�ำให้บริษทั ใหญๆ่   ทัง้ ใน สหรฐั อเมรกิ า องั กฤษ และออสเตรเลยี หนั มาจา้ งศนู ยบ์ รกิ ารขอ้ มลู และ 24

ตอบค�ำถามจากภายนอก (Outsource Call Center) หรอื จากฟลิ ปิ ปนิ ส์ เพอ่ื ลดคา่ ใช้จา่ ยด้านแรงงาน จากความสามารถทางดา้ นภาษาอังกฤษท�ำให้แรงงานฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ป็น ทต่ี อ้ งการของตลาด จงึ มกี ารเคลอ่ื นยา้ ยแรงงานไปท�ำงานในตา่ งประเทศ จ�ำนวนมาก ซง่ึ ในปจั จบุ นั ฟลิ ปิ ปนิ สม์ แี รงงานทที่ �ำงานในตา่ งประเทศราว 10 ลา้ นคน หรอื คดิ เปน็ รอ้ ยละ 25 ของก�ำลงั แรงงานรวมในประเทศ และ สามารถสง่ เงินกลบั มาเกือบ 2 หมืน่ ลา้ นดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2556 โดยแรงงานที่มีการส่งออกจากฟิลิปปินส์ท่ีส�ำคัญ คือ การผลิต พยาบาลสง่ ออกไปท�ำงานยงั ตา่ งประเทศ ซงึ่ ฟลิ ปิ ปนิ สม์ โี รงเรยี นเปดิ สอน หลกั สตู รพยาบาลวชิ าชพี กวา่  300 แหง่ โดยในป ี พ.ศ. 2555 มกี ารจา้ งงาน พยาบาลฟลิ ปิ ปนิ สใ์ นตา่ งประเทศเกอื บ  2  หมน่ื อตั รา  เพมิ่ ขน้ึ กวา่ ร้อยละ 40 จากปีก่อนหน้า ซ่ึงเกิดข้ึนตามเง่ือนไขของสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ท่ตี อ้ งการพยาบาล รวมท้ังรายได้ทีจ่ งู ใจ เช่น พยาบาล ฟลิ ิปปนิ ส์ในสหรฐั อเมริกาไดค้ า่ จา้ งสูงกวา่ ในฟิลิปปนิ ส์ถงึ 13 เทา่ แรงงานอีกกลุ่มที่มีการส่งออกมาก  คือ  กลุ่มครูสอนภาษาอังกฤษ ซง่ึ เปน็ ทตี่ อ้ งการของตลาด  เชน่   ในประเทศไทย  ครฟู ลิ ปิ ปนิ สม์ สี ดั สว่ น รอ้ ยละ 25 ของครตู า่ งชาตทิ ้งั หมด เพราะนอกจากส�ำเนยี งจะใกล้เคียง ชาวอเมริกันแล้ว  อัตราค่าจ้างยังถูกกว่าครูเจ้าของภาษาชาวตะวันตก ถงึ  2 เท่า สว่ นอาชพี แมบ่ า้ น คนเลยี้ งดูเด็ก ก็มีความต้องการมากข้ึนใน ประเทศที่มรี ายได้สูง ปจั จบุ นั มีแมบ่ า้ นฟลิ ิปปนิ ส์กวา่ 1 ล้านคนท�ำงาน ในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซง่ึ รฐั บาลฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดก้ �ำหนดใหน้ ายจา้ งจะตอ้ งจา่ ยเงนิ เดอื นขนั้ ตำ�่ ของ แมบ่ า้ นท่ี 400 ดอลลารส์ หรฐั ตอ่ เดอื น ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั ฟลิ ิปปินส์ 25

26

นอกจากน ้ี ธรุ กจิ ภายในประเทศทสี่ �ำคญั คอื ธรุ กจิ เหมอื งแร่ เนอ่ื งจาก ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ยังมีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติอยู่มาก โดย ถอื เป็นประเทศท่อี ุดมไปดว้ ยทรัพยากรธรรมชาตมิ ากเป็นอันดับ 5 ของ โลก ซึ่งฟิลิปปนิ ส์ถือได้ว่าเปน็ 1 ใน 10 ของผ้ผู ลติ ทองค�ำรายใหญข่ อง โลก และเปน็ ผผู้ ลติ ทองแดงรายใหญท่ ส่ี ดุ ในเอเชยี ตะวันออก รวมถึงยงั มแี หลง่ น�ำ้ มนั และกา๊ ซธรรมชาติ ทง้ั น้ี ฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ตรยี มพฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐานภายใตโ้ ครงการ “PPP เพอ่ื เพมิ่ ศกั ยภาพการแขง่ ขนั ” โดยรายงาน Global Competitiveness ในปีพ.ศ. 2555-2556 (ค.ศ. 2012-2013) โดย World Economic Forum ไดจ้ ดั อนั ดบั ความสามารถในการแขง่ ขนั ของฟลิ ปิ ปนิ สไ์ วท้ อ่ี นั ดบั 65 จาก 144 ประเทศ (ไทยอยู่ที่อันดับ 38) ซึ่งปัญหาที่ส�ำคัญของ ฟลิ ปิ ปนิ ส์ คอื โครงสรา้ งพนื้ ฐานทย่ี งั มไี มเ่ พยี งพอ และไมไ่ ดร้ บั การพฒั นา เทา่ ทค่ี วร  โดยรายจา่ ยการลงทนุ ในโครงสรา้ งพนื้ ฐานของฟลิ ปิ ปนิ สน์ นั้ เฉลีย่ อยู่ท่รี ะดับร้อยละ 1.8 ของ GDP เทา่ น้นั ต่ำ� กว่าคา่ เฉลย่ี ในภูมิภาค ทีร่ ะดับรอ้ ยละ 5 จากจุดออ่ นดงั กล่าวท�ำใหร้ ัฐบาลจัดต้งั โครงการลงทนุ ภาครัฐร่วมกับเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ในแผน พฒั นาปี พ.ศ. 2554-2559 (ค.ศ. 2011-2016) เพ่ือเรง่ พฒั นาโครงสรา้ ง พนื้ ฐานใหท้ ดั เทยี มกบั ประเทศในอาเซยี น และเพอื่ การเตบิ โตอยา่ งยงั่ ยนื ปัจจบุ ันโครงการ PPP ท่อี ยู่ในแผนมจี �ำนวน 22 โครงการ ซึ่งจะมุ่งเน้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเป็นหลัก ในปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลได้จัดงบประมาณลงทุนด้านโครงสร้างพ้ืนฐานไว้ท่ี 4.5 พันล้าน ดอลลารส์ หรัฐ หรอื ร้อยละ 10 ของงบประมาณท้งั หมด และจะเพ่ิมเป็น 1 หมน่ื ลา้ นดอลลารส์ หรัฐในปี พ.ศ. 2557 ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟลิ ิปปนิ ส์ 27

สินคา้ ส่งออกท่สี �ำคญั ผลติ ภณั ฑอ์ เิ ลก็ ทรอนกิ ส ์ และอปุ กรณก์ งึ่ ตวั น�ำ เครอ่ื งจกั รกล เครอื่ งมอื เครอื่ งใช้ในการขนสง่ เส้ือผ้า ผลิตภณั ฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์ปโิ ตรเลียม นำ้� มนั มะพร้าว และผลไม้ สินคา้ น�ำเข้าทส่ี �ำคญั น้�ำมันเชื้อเพลิง ช้ินส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลและเคร่ืองมือ เครอ่ื งใชใ้ นการขนสง่ เหลก็ และเหลก็ กลา้ เสน้ ใยสงิ่ ทอ ธญั พชื เคมภี ณั ฑ์ และผลิตภัณฑพ์ ลาสติก 1.1.6 ขอ้ มลู การเมืองการปกครอง ฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดร้ บั เอกราชโดยสมบรู ณเ์ มอื่ วนั ท ่ี 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 แตก่ �ำหนดวนั ชาตฟิ ลิ ปิ ปนิ สเ์ ปน็ วนั ท ่ี 12 มถิ นุ ายน เพอื่ ร�ำลกึ ถงึ การประกาศ เอกราชจากสเปนในวนั ท่ี 12 มถิ นุ ายน พ.ศ. 2441 ปจั จบุ นั ฟิลปิ ปินส์ ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด และมกี ารเลอื กตัง้ ผู้ปกครองในทุกระดับช้ัน ต้งั แต่ประธานาธบิ ด ี จนถึง ผู้ปกครองท้องถิ่นในระดับบารังไก (Barangay) ซึ่งเป็นหน่วยปกครอง เล็กที่สุด รัฐบาลท้องถ่ินในแต่ละจังหวัดมีอิสระในการปกครองตนเอง ภายใต้การก�ำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยและการปกครองท้องถิ่น จากสภาพท่ีเปน็ เกาะทั้งประเทศ จึงแบง่ เขตการปกครองออกเป็น[11] 31 เขต (Region) เชน่ เขตอโี ลกอส (Ilocos Region, Region I) เขต นครหลวง (National Capital Region, NCR) (หรอื Metro Manila: เมโทรมะนิลา) เขตคารากา (Caraga, Region XIII) ฯลฯ 28

80 จังหวัด (Province) เช่น จังหวัดเซบู (Cebu) จังหวัดริซาล (Rizal) จงั หวดั คากายนั (Cagayan) จงั หวดั ปาลาวนั (Palawan) จงั หวดั เกซอน (Quezon) ฯลฯ 120 เมือง (Cities) เช่น เมืองมะนลิ า (Manila) เมอื งวแี กน้ (Vigan) เมอื งบาเกยี ว (Baguio) เมอื งดาเวา (Davao) ฯลฯ ดงั แผนทกี่ ารปกครอง ในภาพที่ 2 ภาพที่ 2 แผนทกี่ ารปกครอง ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Philippines ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ 29

จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญข้อย่อยท่ี 10 ส่วนที่ 4 ให้อ�ำนาจ ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลท้องถ่ิน และ รัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศ ซ่ึงมีหลายระดับและเรียกช่ือหัวหน้าระดับ องค์กรไดด้ งั น้ี (1) ผวู้ ่าราชการเป็นผบู้ ริหารจงั หวัด (Provinces = Governors) (2) นายกเทศมนตรนี ครเปน็ ผูบ้ ริหารเมือง (Cities = Mayor) (3) นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเปน็ ผู้บริหารเทศบาล (Municipalities = Mayor) (4) กปั ตนั เปน็ ผบู้ รหิ ารหมบู่ า้ น (Barangay = Barangay Captains) ในสว่ นการปกครองทอ้ งถน่ิ โดยเฉพาะกฎแหง่ สาธารณรฐั เลขท่ี 7160 ซง่ึ เปน็ ทร่ี จู้ กั กนั ในชอ่ื  “มาตรฐานเทศบาลทอ้ งถน่ิ ป ี พ.ศ. 2534” ระบวุ า่ เทศบาลท้องถิ่นสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องข้ึนกับรัฐบาล สว่ นกลาง  ผนู้ �ำของแตล่ ะเทศบาลทอ้ งถน่ิ มอี �ำนาจในการอนมุ ตั  ิ หรอื การคัดค้านกฎหมายท้องถิ่นท่ีออกโดยส่วนงานนิติบัญญัติท้องถิ่นและ ผนู้ �ำเทศบาลทอ้ งถนิ่ และสามารถด�ำรงวาระไดน้ าน 3 ปี เมอ่ื สน้ิ สดุ วาระ จะไม่สามารถลงเลือกตั้งใหม่ได้ นอกจากต้องเว้นวรรคไปหนึ่งสมัยแล้ว จงึ จะสามารถกลับมาลงสมัครเขา้ รบั เลือกตั้งใหมไ่ ด้ 30

1.1.7 ลกั ษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ประเทศฟิลิปปินส์ท่ีประกอบไปด้วยเกาะต่างๆ และมีชนเผ่าด้ังเดิม หลายชนเผ่า หลายชาติพันธ์ รวมทั้งกลุ่มท่ีเข้ามาใหม่ไม่ว่ากลุ่มชาว ครสิ เตียนจากตะวันตก ชาวจีนท่เี ข้ามาท�ำการคา้ ต้งั แตส่ มัยสเปนเขา้ มา ครอบครอง ซงึ่ ลว้ นแลว้ แตม่ วี ฒั นธรรมเปน็ ของตนเอง จงึ ไมแ่ ปลกทที่ �ำให้ มภี าษาและวฒั นธรรมในฟลิ ปิ ปนิ สม์ คี วามหลากหลายไปดว้ ย รวมทง้ั การ พฒั นาของสงั คมดงั้ เดมิ ไปสกู่ ารเปน็ เมอื งขน้ึ ภายใตก้ ารปกครองของสเปน และสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ชาวฟิลิปปินส์มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม ของ วัฒนธรรมพ้นื เมือง วัฒนธรรมมุสลิม วฒั นธรรมสเปนและอเมรกิ า น่ันคือ มีลักษณะครอบครวั ทีใ่ กลช้ ดิ แบบสเปน แต่มีความทันสมัยแบบ อเมริกา โดยเฉพาะในสงั คมเมือง จากการที่สเปนเข้ามาครอบครอง จึงได้น�ำศาสนาคริสต์นิกาย โรมนั คาทอลกิ เขา้ มาเผยแผ่ เพอื่ เปน็ เคร่ืองมือในการปกครอง ซง่ึ ท�ำให้ ฟิลิปปินส์ในปัจจุบันเป็นประเทศท่ีมีคนนับถือศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลกิ เปน็ อนั ดับ 4 ของโลก คิดเป็นประมาณรอ้ ยละ 83 ของ ชาวฟิลิปปินส์ วิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เกี่ยวพันกับศาสนาต้ังแต่เกิด จนตาย การคุมก�ำเนิดเป็นเร่ืองขัดกับหลักของศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิก จึงท�ำให้มีบุตรมาก เป็นครอบครัวใหญ่ ทั้งรับอิทธิพล ระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบอุปถัมภ์จากสเปน และค่านิยมทาง ครอบครัวทีเ่ ป็นแบบประเพณีนยิ ม  อบรมให้เคารพและเชอื่ ฟังผ้อู าวุโส เดก็ จะถกู อบรมสงั่ สอนใหย้ อมรบั อ�ำนาจของผอู้ าวโุ สกวา่  จงึ ท�ำใหเ้ กดิ เปน็ พฤตกิ รรมที่ยอมรับอ�ำนาจนิยม ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟิลิปปนิ ส์ 31

วัฒนธรรมในการด�ำเนินชีวิตของชาวฟิลิปปินส์ เป็นวัฒนธรรมแบบ ผสมผสานของเอเชีย ยโุ รปและสหรัฐอเมรกิ า โดยเฉพาะอเมริกาไดป้ ลกู ฝงั ความเชอ่ื มั่นในตนเองให้กับชาวฟลิ ิปปินส์ ท�ำให้กล้าแสดงออกในความ คิดเหน็ ของตนเอง กลา้ วิพากษว์ จิ ารณ์ไมว่ า่ เรือ่ งน้ันจะรนุ แรงแค่ไหน 1.1.8 โครงสรา้ งพื้นฐานและระบบสาธารณปู โภค นายแอนดรูว์ ติตัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์โกลด์แมน แซกส์[25] เปิดเผยถึงรายงานเก่ียวกับโครงสร้างพื้นฐานของ 4  ประเทศอาเซียน โดยระบุว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศท่ีมีอัตรารายได้ต่อหัวต�่ำท่ีสุด หาก เทยี บกบั ไทย มาเลเซยี และอนิ โดนเี ซยี ทงั้ ยงั ตดิ อนั ดบั ประเทศทม่ี รี ะบบ โครงสรา้ งพนื้ ฐานทย่ี งั ตอ้ งปรบั ปรงุ ทง้ั นี้ โดยอา้ งองิ ถงึ การจดั อนั ดบั ของ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ที่ระบุว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศท่ีมีโครงสร้าง พน้ื ฐานยงั ดอ้ ยกวา่ ในบรรดา 4 ประเทศ โดยฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดค้ ะแนน 3.2 ขณะที่ มาเลเซยี ไทย และอนิ โดนีเซยี ได้ 5.1, 4.6 และ 3.8 คะแนน ตามล�ำดับ โดยสามารถจ�ำแนกสาธารณูปโภคตามลักษณะการคมนาคมได้ ดังน[้ี 19] การคมนาคมทางนำ้� เปน็ ความจ�ำเปน็ เนอ่ื งจากภมู ปิ ระเทศเปน็ เกาะ ถงึ 7,107 เกาะ การคมนาคมขนสง่ ทางนำ้� จงึ เปน็ ระบบทสี่ �ำคญั ทส่ี ดุ โดย มีเรือรบั สง่ ผโู้ ดยสารและขนสง่ ทั้งสนิ คา้ ไวบ้ ริการท่มี รี ะวางต้งั แต่ 1,000 GRT [29a]  (Gross Registered Tonnage) ขน้ึ ไป จ�ำนวน 403 ล�ำ ( GRT คอื ปรมิ าตรในสว่ นผนึกน้ำ� ทงั้ หมดของเรือ  โดย 1 หน่วยของ  GRT  มี ปริมาตรประมาณ 100 ลูกบาศกฟ์ ตุ  หรอื  2.83 m3) 32

การเดินทางเรอื ใช้เวลานานมาก เชน่ ไปเมืองเซบู เมืองส�ำคัญอนั ดับ 2 ใช้เวลา  24 ช่ัวโมง  ในขณะท่ี เดินทางโดยเครื่องบินใช้เวลา 1 ชั่วโมง เนอ่ื งจากสภาพทางภมู ศิ าสตรท์ เ่ี ปน็ หมเู่ กาะ  ท�ำใหก้ ารคมนาคมทางนำ้� เป็นวิธีหนึ่งที่ค่อนข้างสะดวก โดยใช้ท่าเรือที่ส�ำคัญในเมืองต่างๆดังน้ี South Habour, Manila International Container Port (MICP), Cebu,  Batangas,  Davao,  Subic,  Cagayan de Oro,  General Santos และ Zamboanga นอกจากนยี้ งั มเี รอื ส�ำราญใหบ้ รกิ ารเทยี บทา่ ณ อา่ วมะนิลา โดยเส้นทางหลักอยูร่ ะหวา่ งมะนิลาและเซบู การคมนาคมทางบก ซง่ึ แบ่งเป็นสองสว่ นคือ การเดนิ ทางโดยถนน ทมี่ รี ถยนต์เป็นพาหนะในการขนส่งและเป็น ระบบการคมนาคมขนสง่ ท่สี �ำคญั รองลงมาจากทางเรือ แตย่ ังไม่สะดวก เท่าที่ควร เนอ่ื งจากมีทางซปุ เปอรไ์ ฮเวย์เพยี ง 2 สาย คอื North Luzon Express Way และ South Luzon Express Way ซง่ึ คา่ ผา่ นทางสงู มาก นอกจากน้ี ถนนทแี่ ยกจากซปุ เปอรไ์ ฮเวย์ ซงึ่ เรยี กวา่ ถนนไฮเวยเ์ ปน็ ถนน 2 เลน  และมีชุมชนอยู่ขา้ งทางเกอื บตลอดทาง  ท�ำใหเ้ สียเวลาในการ ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั ฟิลิปปินส์ 33

เดนิ ทางมากกวา่ ทค่ี วรเปน็ อยา่ งมาก ฟลิ ปิ ปนิ สม์ ถี นนระยะทาง 200,037 กิโลเมตร แต่ลาดยางแล้วเพยี ง 19,804 กโิ ลเมตรเทา่ น้ัน สว่ นใหญอ่ ยู่ บริเวณโดยรอบกรุงมะนิลา ท�ำให้การคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควร การเดินทางระหวา่ งเมอื งคอ่ นขา้ งล�ำบาก นอกจากนี้  มะนิลายงั ประสบ ปญั หาการจราจรคบั คง่ั เพอื่ ลดปญั หานร้ี ฐั บาลฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดอ้ อกกฎหมาย การขับขี่ยานพาหนะ โดยใช้ตัวเลขหลักสุดท้ายของเลขทะเบียนรถเป็น ตัวก�ำหนดวันและเวลาที่รถแต่ละคันสามารถน�ำมาขับบนท้องถนนได้ ลา่ สดุ รฐั บาลฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดส้ รา้ งถนนสายหลกั เชอ่ื มตอ่ ระหวา่ ง 4 เมอื ง ใน ชายฝั่งตะวันตกของเกาะเซบู คือ Toledo-Pinamungalan-Aloguin- san-Mantalongon โดยใชเ้ งนิ ลงทนุ ประมาณ 45-47 ลา้ นเปโซ โครงการ นี้เร่ิมกอ่ สร้างมาตัง้ แต่วันที่ 4 ตลุ าคม 2550 แล้วเสร็จในเดือนธนั วาคม 2551 ซง่ึ ถนนสายนไ้ี ดช้ ว่ ยพฒั นาเศรษฐกจิ และการทอ่ งเทย่ี วดา้ นชายฝง่ั ตะวนั ตกของเซบู 34

การเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์มีระบบรถไฟที่ใช้ไอน้�ำ หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคล่ือนและรถไฟฟ้า โดยมีเส้นทาง รถไฟเพียง 897  กโิ ลเมตร  เปน็ เส้นทางรถไฟสายเดียวของกรงุ มะนลิ า ทใ่ี หบ้ รกิ ารจากสถาน ี Tutuban ไปยงั สถาน ี Tondo ทางใตข้ องเลกสั ปซี ติ ้ี การเดินทางโดยรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าของฟิลิปปินส์มี 2 สายหลัก[40] ได้แก่ • สาย Light Rail Transit (LRT) แยกออกเป็นสองเสน้ ทาง ไดแ้ ก่ LRT 1 (สายสีเหลือง) ให้บริการในเส้นทางถนนเทฟต์และรีวัลอะเวนิว และ LRT 2 (สายสีมว่ ง) ใหบ้ ริการในทศิ ตะวันออก-ตะวนั ตก จากสถานี เรคโตถึงสถานปี ลายทางเอ็ม เอ โรฮาล • สาย Metropolitan Rail Transit (MRT) ให้บรกิ ารในเส้นทางคู่ ขนานกบั ถนน EDSA จากถนนนอร์ท อะเวนวิ ใน เกซอนซิต้ี ผ่านสถานี ท่ี 12 ในยา่ นธุรกจิ มากาตีและออร์ตีกัส จนสุดสายและพบกับสาย LRT 1 ที่ถนนแทฟต์อะเวนิว ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรฐั ฟิลปิ ปินส์ 35

การคมนาคมทางอากาศ ฟิลิปปินส์มีสนามบนิ ตามเกาะตา่ งๆ จ�ำนวน 256 แหง่ แตส่ นามบิน ที่ทางวิง่ ปลู าดแลว้ มเี พียง 83 แหง่ กระจายอยูต่ ามเกาะต่างๆ สนามบนิ นานาชาตทิ สี่ �ำคญั ไดแ้ ก่ Ninoy Aquino International Airport (NAIA), Clark, Subic, Cebu, Davao ฯลฯ โดยมเี ทีย่ วบินระหวา่ งประเทศกว่า 500 เท่ยี ว สนามบนิ NAIA อยูห่ า่ งจากใจกลางกรงุ มะนิลา 7 กิโลเมตร และยังมีเที่ยวบินจากต่างประเทศบินตรงสู่สนามบินนานาชาติในเมือง ส�ำคัญอ่นื ๆ อาทิ เซบู ดาเวา เลาอัก และอ่าวซูรกิ อีกด้วย ส่วนสนามบนิ ภายในประเทศทส่ี �ำคัญ เช่น Bacolod, Loakan ฯลฯ 1.1.9 ระบบสาธารณสขุ การให้บริการสาธารณสุขของฟิลิปปินส์มีพื้นฐานมาจากระบบ การแพทย์ของตะวันตก โดยเป็นการผสมผสานระหว่างการแพทย์ สมัยใหม่ของตะวนั ตกกบั การแพทยแ์ บบโบราณ คือ การใชย้ าสมุนไพร และความเชอ่ื ทางศาสนาทมี่ มี าแต่โบราณ  โดยมีการปรบั ปรงุ อยอู่ ย่าง ตอ่ เนอ่ื ง อยา่ งไรกต็ าม 5 อนั ดบั แรกของสาเหตกุ ารเสยี ชวี ติ ในฟลิ ปิ ปนิ ส์ คอื โรคหัวใจ โรคอุดตันของหลอดเลือดในสมอง เน้ืองอก ปอดบวม และ วัณโรค และ 5 อันดบั แรกของสาเหตกุ ารปว่ ย ประกอบด้วย การติดเช้ือ เฉยี บพลนั ทางระบบหายใจ ปอดบวม หลอดลมอกั เสบ ความดนั โลหติ สงู และอจุ จาระร่วงเฉียบพลนั [17] รัฐบาลของฟิลิปปินส์มีการปฏิรูปสาธารณสุข  โดยตั้งเป้าหมาย สุขภาพแหง่ ชาตปิ ี พ.ศ. 2555-2559 (The National Objectives for Health 2011-2016) เป้าหมายโดยรวม คอื การประสบความส�ำเร็จ 36

ตามเปา้ หมายของระบบสขุ ภาพในการปอ้ งกนั ความเสยี่ งทางการเงนิ มีผลลัพธด์ า้ นสขุ ภาพ มกี ารตอบสนองท่ีดีข้นึ และมกี ลยทุ ธ์ 3 ขอ้ ดังนี้ 1) การปอ้ งกนั ความเสย่ี งทางการเงนิ ตามการขยายตวั ของโปรแกรม การประกนั สขุ ภาพแหง่ ชาติ การลงทะเบยี น และการสง่ มอบผลประโยชน์ 2) การปรบั ปรงุ การเขา้ ถงึ โรงพยาบาลทม่ี คี ณุ ภาพ และอ�ำนวยความ สะดวกในการดูแลรักษาพยาบาล 3) ความส�ำเรจ็ ของการดแู ลดา้ นสาธารณสขุ สมั พนั ธก์ บั เปา้ หมายการ พฒั นาแหง่ สหวรรษ (The Millennium Development Goals-MDGs) ส�ำหรับข้าราชการฟิลิปปินส์ยังมีระบบประกันสังคมของข้าราชการ เรียกว่า GSIS (Government Service Insurance System) ซึง่ กอ่ ตัง้ ขน้ึ ในปี พ.ศ. 2480 ขา้ ราชการจะไดร้ บั ความคมุ้ ครองตอ่ เมอื่ ไดส้ มคั รเขา้ เปน็ สมาชกิ ข้าราชการทีเ่ ป็นสมาชกิ จะออกเงนิ ส่วนหนึ่งและหน่วยงาน ออกให้อีกส่วนหน่ึง ในส่วนของพนักงานเอกชนก็มีการประกันสังคมให้ เชน่ กนั คอื SSS (Social Security System) ซงึ่ จดั ตงั้ ขนึ้ ในปี พ.ศ. 2491 ปัจจุบันการประกันสงั คมดา้ นสุขภาพของ GSIS และ SSS ได้รวมเข้ามา อยู่กับบรรษัทการประกันสุขภาพของฟิลิปปินส์ (Philippine Health Insurance Corporation-Phil Health) เพ่ือให้การบริการที่ดียิ่งข้ึน ส�ำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับของการประกันท้ังของพนักงานรัฐและ พนกั งานเอกชนนน้ั ขนึ้ อยกู่ บั ระดบั เงนิ เดอื น ซงึ่ อยรู่ ะหวา่ งเงนิ เดอื นตงั้ แต่ 1,000 เปโซ จนถงึ 12,000 เปโซขึ้นไป นายจ้างตอ้ งจา่ ยค่าประกนั ให้ ตง้ั แตร่ อ้ ยละ 50-70 หรอื ประมาณ 608 เปโซตอ่ เดอื น สว่ นพนกั งานจา่ ย เงินค่าประกันตั้งแต่ร้อยละ 30-50 หรือประมาณ 400 เปโซต่อเดือน ค่าชดเชยข้ึนอยู่กับประเภทของการประกัน ซึ่งมีต้ังแต่การประกันการ ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟลิ ปิ ปินส์ 37

คลอดบุตร การเสียชีวิตธรรมดา การเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ พิการ การตกงาน การหย่าร้าง การเจ็บป่วย การเกษียณอายุ การประกัน สขุ ภาพ การประกนั ภยั ตา่ งๆ เปน็ ตน้ 1.1.10 ระบบการศกึ ษา ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์เป็นการศึกษาที่รับมรดกมา จากสเปนและสหรัฐอเมริกาที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคม การจัดแบ่งการ ศกึ ษาและระบบการศกึ ษาเปน็ แบบสหรฐั อเมรกิ า ซงึ่ แบง่ การศกึ ษาออก เป็น 6 ระดบั ประกอบด้วย 1) ระดับอนุบาล เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กเล็กให้มีความพร้อม ส�ำหรบั การศึกษาเลา่ เรยี นในระดบั หลกั สูตรตัง้ แต่ 1 ปีไปจนถงึ 3 ปี 2) ระดบั ประถมศึกษา เปน็ การศึกษาภาคบังคบั มีหลกั สูตร 6-7 ปี 3) ระดับมัธยมศกึ ษา มหี ลกั สตู ร 4 ปี 4) ระดบั อดุ มศกึ ษา  หลกั สตู รและสาขาวชิ าทเี่ ปดิ สอนคลา้ ยคลงึ กบั สาขาวิชาทเี่ ปดิ สอนในสหรฐั อเมริกาหรือในประเทศไทย ในระดบั นเ้ี ป็น ระดับท่ีอนุญาตให้ชาวต่างชาติศึกษาได้ตามระยะเวลาของการศึกษา ปรญิ ญาตรี 4 ปี ไดแ้ ก่ สาขาวชิ า วิทยาศาสตรธ์ รรมชาติ สงั คมศาสตร์ ด้านมนษุ ยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ปริญญาตรี 5 ปี มี 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิศวกรรมศาสตร ์ และสาขาวิชาสถาปตั ยกรรมศาสตร์ ปรญิ ญาตรี 6 ปี ม ี3 สาขาวชิ า คอื สาขาวชิ าทนั ตแพทยศาสตร์ สาขาวชิ าสตั วแพทยศาสตร์ และสาขาวชิ าจักษุวิทยา ปรญิ ญาตรี 8 ปี เฉพาะสาขาวชิ าแพทยศาสตร์ ซงึ่ แบง่ ออกเปน็  2 ระยะ  คอื เตรยี มแพทยศาสตร์ (Medicine) มหี ลกั สตู ร การศึกษา 4 ปี ต่อจากมัธยมศึกษา 38

5) ปริญญาโท มีหลักสูตรประมาณ 2 ปี ต่อจากหลักสูตรระดับ ปรญิ ญาตร ี สาขาวิชาต่างๆ ลักษณะของหลักสตู รม ี 3  ประเภท  คือ ท�ำวทิ ยานพิ นธ ์ (With thesis)  ไมท่ �ำวทิ ยานพิ นธ ์ (Non-thesis)  และ การวจิ ยั (Research) 6) ปริญญาเอก มรี ะยะเวลาการศึกษาประมาณ 3 ปี ตอ่ จากปรญิ ญา โท มีสาขาวิชาตา่ งๆ มากมายทีเ่ ปิดสอน 1.1.11 ระบบกฎหมาย ระบบกฎหมายในฟิลิปปินส์ จากการศึกษาของส�ำนักงานปลัด กระทรวงยตุ ธิ รรมประเทศไทยพบวา่ ระบบกฎหมายของฟลิ ปิ ปนิ สไ์ ดร้ บั อทิ ธิพลมาจากศาสนาอิสลาม ซึ่งเปน็ ศาสนาดง้ั เดมิ ในประเทศ รวมเข้า กบั ระบบกฎหมายของสเปนและสหรฐั อเมรกิ าทเ่ี ขา้ มาปกครอง จนท�ำให้ ระบบกฎหมายของฟลิ ปิ ปนิ สม์ ลี กั ษณะเปน็ การรวมกนั ของกฎหมายแอง โกลอเมรกิ นั กฎหมายโรมนั กฎหมายสเปน และกฎจากคมั ภรี อ์ ลั กรุ อาน ซง่ึ โดยสว่ นใหญห่ ลกั ของกฎในศาสนาอสิ ลามจะปรากฏในกฎหมายเกย่ี วกบั ความสัมพันธ์ในครอบครัวของชาวมุสลิมตอนใต้  ส่วนระบบกฎหมาย ของอเมริกาจะมีอทิ ธพิ ลตอ่ พระราชบัญญตั ิ กฎหมายพาณชิ ย์ กฎหมาย การปกครอง และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ส�ำหรับกฎหมายของสเปนถือ เป็นพ้ืนฐานท่ีส�ำคัญของประมวลกฎหมายแพ่ง โดยเฉพาะกฎหมายว่า ด้วยความสมั พันธ์ระหวา่ งบคุ คล โดยมรี ฐั ธรรมนูญปี 2530 (ค.ศ. 1987) เป็นกฎหมายพ้นื ฐานของประเทศ ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ 39

40

1.1.12 ความสัมพนั ธ์ระหว่างไทยกบั สาธารณรัฐฟิลิปปนิ ส์ ไทยสถาปนาความสมั พนั ธท์ างการทตู กบั ฟลิ ปิ ปนิ สม์ าตงั้ แตว่ นั ที่ 14 มถิ นุ ายน 2492 และมคี วามสมั พนั ธท์ วภิ าคไี ทยกบั ฟลิ ปิ ปนิ สอ์ ยา่ งใกลช้ ดิ มายาวนาน เป็นประเทศร่วมก่อต้ังองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization- SEATO) และอาเซยี น เป็นแนวรว่ มในอาเซียนและเวทรี ะหวา่ งประเทศ ในระหวา่ งป ี 2545-2554 ดา้ นเศรษฐกจิ ของฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ตบิ โตคอ่ นขา้ ง ดสี มำ่� เสมอ และปี 2555 ฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ปน็ คคู่ า้ ล�ำดบั ท่ี 5 ของไทยในอาเซยี น มมี ลู คา่ การค้ารวม 235,340 ล้านบาท (7,585.37 ลา้ นดอลลารส์ หรัฐ) ไทยสง่ ออกไปฟลิ ปิ ปนิ ส์ 150,141.86 ลา้ นบาท (4,861.17 ลา้ นดอลลาร์ สหรฐั ) ไทยน�ำเข้าจากฟลิ ปิ ปนิ ส์ 85,199.13 ล้านบาท (2,724.2 ลา้ น ดอลลาร์สหรัฐ) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 64,942.73 ล้านบาท (2,136.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าล�ำดับที่ 2 ของ ฟิลิปปนิ สใ์ นอาเซยี นรองจากสิงคโปร์ ในดา้ นการลงทุนในปี พ.ศ. 2554 ไทยลงทนุ ในฟิลปิ ปนิ ส์เปน็ อนั ดับ ท่ี 18 ภาคเอกชนไทยทลี่ งทนุ ในฟลิ ิปปนิ ส์ ได้แก่ เครอื โรงแรมดุสติ ธานี โรงพยาบาลบ�ำรงุ ราษฎร์ บริษทั ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) เครืออิตลั ไทย เครือซิเมนต์ไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ และธนาคารกรุงเทพ ในขณะที่ ฟิลิปปินสล์ งทุนในไทยเป็นล�ำดับที่ 5 ของอาเซียน และในปี 2552 ได้รับ อนุมัติโครงการจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จ�ำนวน 2 โครงการ ภาคเอกชนฟิลิปปินส์ที่ลงทุนในไทยส่วนใหญ่เป็นสาขา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ บริษัท Universal Robina ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั ฟลิ ิปปนิ ส์ 41

(ขนมขบเค้ียว) San Miguel (เบียร์) และบริษทั Thai Liwayway Food Industries (ขนมขบเคยี้ วยห่ี อ้ รนิ บแี้ ละเครอ่ื งดมื่ ) ในปี 2553 มโี ครงการ จากฟิลิปปินส์ได้รับใบประกาศอนุมัติส่งเสริมการลงทุน (Promotion Certificate Issue) จากส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ คอื กิจการโรงงานผลิตปยุ๋ ชวี ภาพ ในดา้ นการท่องเที่ยวในปี 2554 มนี ักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปนิ ส์มาไทย จ�ำนวน 271,903 คน และนักท่องเท่ียวไทยไปฟิลิปปินส์ ประมาณ 20,000 คน รัฐบาลไทยและรฐั บาลฟลิ ิปปินสร์ ว่ มมือดา้ นการทอ่ งเท่ียว โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูง การจับคู่ทาง ธรุ กจิ   และการแลกเปลยี่ นประสบการณด์ า้ นการทอ่ งเทยี่ ว  โดยเฉพาะ ในสาขาที่ไทยมศี กั ยภาพ อาทิ การทอ่ งเทีย่ วแบบยงั่ ยืนท่ีสนบั สนนุ การ อนรุ กั ษส์ ง่ิ แวดลอ้ มและการมสี ว่ นรว่ มของประชาชนในทอ้ งถนิ่ และการ จดั ท�ำโครงการจดุ หมายปลายทางรว่ มดา้ นการทอ่ งเทยี่ วระหวา่ งไทยกบั ฟลิ ปิ ปนิ ส์ (Thailand-Philippines Tourist Package) เนอ่ื งจากทง้ั สอง ประเทศมีสถานท่ีท่องเที่ยวหลายแห่งที่สวยงามและเป็นท่ีนิยมของชาว ต่างชาติ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการท่องเท่ียวของ อาเซียนในภาพรวมอีกดว้ ย 1.2 ประวัติและขอ้ มูลรัฐบาลโดยย่อ ประเทศฟลิ ปิ ปนิ ส์เป็นประเทศท่ีไดร้ ับอทิ ธพิ ลจากตะวันตกยาวนาน ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศที่ได้รับเอกราชจาก ชาติตะวันตกหลังสงครามโลกคร้ังที่สองจะรับวัฒนธรรมทางการเมือง 42

มาด้วย ประเทศฟิลิปปินส์ก็รับอิทธิพลมาจากสหรัฐอเมริกา ระบบการ ปกครองจงึ เปน็ ระบบประธานาธิบดี แตก่ ย็ ังคงหลกั การคานอ�ำนาจและ การกระจายอ�ำนาจ ประเทศฟลิ ปิ ปนิ สแ์ บง่ อ�ำนาจการปกครองเปน็ 3 ฝา่ ย คอื ฝา่ ยบรหิ าร ฝา่ ยนติ บิ ญั ญัติ และฝ่ายตุลาการ ซง่ึ มรี ายละอยี ดดงั นี้ 1) ฝ่ายบรหิ าร ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์มาจากการเลือกต้ังโดยตรงจาก ประชาชน มวี าระในการด�ำรงต�ำแหน่ง 6 ปี และจ�ำกัดให้ด�ำรงต�ำแหนง่ ได้เพียงวาระเดียวเท่าน้ัน ผู้ท่ีจะลงสมัครรับเลือกต้ังเป็นประธานาธิบดี ตอ้ งมสี ญั ชาตฟิ ลิ ปิ ปนิ สต์ ง้ั แตเ่ กดิ มาเปน็ ทารก สามารถอา่ นออกเขยี นได้ อาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์มาแล้วไม่ต่�ำกว่า 10 ปี อายุไม่ต่�ำกว่า 40 ปี ณ วนั เลอื กตัง้ และไมม่ ีรายชื่ออยู่ในคณะผู้บริหารขององค์กรทที่ �ำธุรกิจ เกยี่ วขอ้ งกบั นโยบายของรฐั บาล ประธานาธบิ ดดี �ำรงต�ำแหนง่ ประมขุ ของ ประเทศและเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล บริหารราชการแผ่นดินโดยคณะ รัฐมนตรี (Secretaries) ซ่ึงคัดเลือกโดยคณะกรรมการท่ีได้รับการ แตง่ ต้งั (Commission of Appointments) ประกอบด้วย วุฒสิ มาชกิ 12 คน และสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรทมี่ าจากทง้ั ฝา่ ยคา้ นและฝา่ ยรฐั บาล อกี 12 คน ท้งั นี้ ประธานาธิบดไี ม่มอี �ำนาจในการยุบสภา 2) ฝ่ายนติ บิ ัญญัติ • วุฒสิ ภา มี 24 คน มาจากการเลือกตง้ั โดยผูจ้ ะเป็นวฒุ ิสมาชิก ต้องเกดิ ในฟลิ ปิ ปินส์ และอายไุ มต่ ่�ำกว่า 35 ปี มีวาระ 6 ปี และสามารถ ด�ำรงต�ำแหน่งได้ 2 วาระตดิ ต่อกัน • สภาผู้แทนราษฎร มี 250 คน มาจากการเลือกต้ังโดยตรง ประมาณ 200 คน ทีเ่ หลือเป็นสมาชกิ ระบบบญั ชีรายชื่อ (Party List) ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ 43

ของกลมุ่ ผลประโยชนต์ า่ งๆ ผสู้ มคั รเขา้ รบั เลอื กตงั้ เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทน ราษฎรตอ้ งเกดิ ในฟลิ ปิ ปินส์ และอายไุ มต่ ่�ำกว่า 20 ปี มวี าระ 3 ปี และ ด�ำรงต�ำแหนง่ ไดไ้ ม่เกิน 3 วาระตดิ ตอ่ กนั ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีหน้าท่ีพิจารณากฎหมายและ ขอ้ ตกลงตา่ งๆ ท่เี กย่ี วขอ้ งกบั ผลประโยชนข์ องประเทศ เช่น สนธิสัญญา ระหวา่ งประเทศ ขอ้ โตแ้ ยง้ ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั ประธานาธบิ ดี รวมถงึ การปลด ประธานาธบิ ดอี อกจากต�ำแหนง่  โดยรฐั สภามอี �ำนาจในการรเิ รม่ิ ขบวนการ ถอดถอน  และวฒุ ิสมาชกิ มีอ�ำนาจสูงสุดด้วยมติ 2 ใน 3  ในการตัดสิน คดีความ 3) ฝา่ ยตลุ าการ มีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายผ่านทางศาล ศาลของฟิลิปปินส์ แบง่ เปน็ 4 ระดบั ไดแ้ ก่ (1) ศาลระดบั ท้องถน่ิ เปน็ ศาลเทศบาล ศาลในเมืองขนาดใหญ่ และศาลเคลือ่ นท่ี (Municipal Circuit Trial Court) ซ่งึ จะเวียนกันไป พิจารณาคดีในท้องทตี่ า่ งๆ โดยรบั พจิ ารณาเฉพาะคดที ี่ไมร่ ้ายแรงนกั (2) ศาลระดับภูมิภาค  มีหน้าท่ีพิจารณาคดีที่ร้ายแรงกว่าศาล ทอ้ งถ่นิ และคดีอุทธรณ์ โดยศาลระดับภูมภิ าคมี 13 แห่ง ประจ�ำใน 13 ภูมภิ าคเทา่ นั้น (3) ศาลระดับชาติ เปน็ ศาลอทุ ธรณ์และศาลมุสลมิ สว่ นมากจะ รบั พจิ ารณาคดอี ทุ ธรณด์ า้ นภาษ ี คดขี า้ ราชการ และคดฉี อ้ ราษฎรบ์ งั หลวง รวมถึงคดีที่ต้องพิจารณาจากกฎหมายมุสลมิ (4) ศาลสูงสุด หรือเรียกว่า “ศาลสูง” ประกอบด้วย ประธาน และคณะผพู้ พิ ากษา จ�ำนวน 14 คน รบั พจิ ารณาคดกี ารเมอื ง คดอี ทุ ธรณ์ 44

คดีฎีกา รวมถึงคดีท่ีมีความส�ำคัญระดับประเทศ เช่น การส่ังปลด ประธานาธิบดี หรือระงับการประกาศใช้กฎอัยการศึก เป็นต้น  แต่ในขณะ เดียวกันผู้ท่ีจะเป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุด จะถูกคัดเลือกและเสนอชื่อโดย ประธานาธบิ ด ี โดยผา่ นการลงมตขิ องรฐั สภา จงึ เหน็ ไดว้ า่ โครงสรา้ งรฐั บาล กบั การปกครองมพี รมแดนหรอื เขตพน้ื ทเี่ หลอ่ื มลำ้� กนั หรอื เชอื่ มตอ่ กนั เปน็ เร่ืองปกติ   ระบบบริหารราชการของสาธารณรฐั ฟิลิปปนิ ส์ 45

ฝ่ายนิตบิ ญั ญตั ิ Senate House of Representatives ฝา่ ยบรหิ าร President Cabinet MajoarnCdoOmffmiciesssions * รองประธานาธิบดไี ม่จ�ำเป็นต้องสังกัดพรรคเดยี วกับประธานาธบิ ดี ฝา่ ยตลุ าการ Supreme Court Sendiganbayan Court of Tax Appeals Intermediate Appellate Court Regional Trial Court ภาพท่ี 3 โครงสรา้ งการปกครองของฟิลปิ ปินส์ 46

2 วสิ ยั ทัศน์ เปา้ หมาย และยุทธศาสตร์ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟลิ ิปปนิ ส์ 47

48

แผนพฒั นาฟลิ ิปปนิ สป์ ี พ.ศ. 2554-2559 (ค.ศ. 2011-2016)[4] ได้ ก�ำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และกลยทุ ธ์ ดังปรากฏในภาพ ดังนี้ ภาพที่ 4 วสิ ัยทัศน์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ ระบบบรหิ ารราชการของสาธารณรัฐฟลิ ิปปินส์ 49


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook