Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการสอนวิชาวัดและประเมินผล

เอกสารประกอบการสอนวิชาวัดและประเมินผล

Published by YAOWATIWA LMS, 2019-06-30 23:02:41

Description: เอกสารประกอบการสอนวิชาวัดและประเมินผล

Search

Read the Text Version

ข้นั ท่ี 2 คลกิ Analyze > Scale > Reliability Analysis จากน้นั จะปรากฏเมนู ใหผ้ ู้วจิ ัยเลือกตวั แปรทตี่ ้องการใหว้ ิเคราะห์ความเชอ่ื ม่ัน โดยคลิกเลอื ก ตัวแปรท้ังหมดแล้วคลิกที่ปุ่ม และเม่ือต้องการยกเลิกตัวแปรท่ีเลือกให้คลิกที่ตัวแปร แล้วคลิกท่ีปุ่ม ดังภาพท่ี 5.10 1. เลอื กคาส่งั Correlate 2. เลอื กตวั แปรท่ตี อ้ งการวเิ คราะห์ 3. เลอื กวธิ ีวิเคราะห์เป็นแบบ Spearman (ข้อมูลเป็นแบบเรียงอนั ดับ)

140 ภาพ 5.10 แสดงการเลือกตัวแปรในการวเิ คราะหส์ หสัมพันธ์เพอ่ื ดคู วามเชือ่ ม่ันระหว่างผู้ประเมิน ข้ันท่ี 3 ส่ังให้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยคลิกที่ปุ่ม จะปรากฏผลการวิเคราะห์ ใน หนา้ ตา่ ง Output ดังภาพ 5.8 ภาพ 5.11 แสดงตัวอยา่ งผลการวเิ คราะห์ข้อมูลด้วยคาสัง่ Reliability Analysis ขั้นที่ 4 การนาเสนอผลการวิเคราะหข์ อ้ มูลในรูปแบบตาราง ดงั ตาราง 5.11 และแปลผลข้อมลู นักศึกษาสามารถทาการ Copy Output ไปไว้ใน MS word ได้โดยมักนิยมนาเสนอไว้ในภาคผนวก ของรายงานการศกึ ษาและมีการนาค่า Reliability ไปนาเสนอไว้ในบทที่ 3 วธิ ีดาเนนิ การวจิ ัยดังตวั อย่าง ภาคผนวก ค. ผลการวิเคราะหค์ ุณภาพเครอื่ งมอื Correlations Spearman's rho s1 Correlation Coefficient s1 s2 s2 Sig. (2-tailed) 1.000 .872 N . .054 Correlation Coefficient 5 5 Sig. (2-tailed) .872 N .054 1.000 5 . 5

5. สรุป การเลือกใชเ้ ครอ่ื งมือประเมนิ ดา้ นทกั ษะพิสัย มีแนวดาเนินการท่ีสาคัญ ๆ ประกอบด้วย (1) วิเคราะห์ ทบทวนจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงคข์ องการวัดและประเมิน (2) วเิ คราะห์ทบทวนรายการตัวแปร ตัวบ่งชี้ หรือ ประเดน็ ท่มี ุ่งศึกษา (3) พจิ ารณาแหล่งข้อมลู / ผูใ้ ห้ข้อมลู ในการประเมนิ (4) พิจารณาเง่ือนไขข้อ จากัด ในการ วัด หรอื สภาพแวดลอ้ มของการเก็บรวบรวมข้อมูล (5) พิจารณาทางเลือกในการเก็บรวบรวมข้อมลู ทเ่ี ป็นไปได้ และตัดสินใจเลือกเคร่ืองมือเก็บรวบรวมขอ้ มูลท่เี หน็ ว่าเหมาะสมและมปี ระสิทธภิ าพสูงสุด แล้วดาเนนิ การพฒั นา เคร่อื งมอื ให้มคี ณุ ภาพ โดยกระบวนการพฒั นาเคร่ืองมือมีลักษณะคลา้ ยคลงึ กบั เครอื่ งมอื วัดด้านจติ พิสยั 6. แบบฝึกหดั 1. จงระบปุ ระเภทของเครือ่ งมอื วดั ด้านจติ พสิ ัยจาแนกตามเกณฑก์ ารใชง้ านของเครื่องมือวัด 2. จงสร้างแบบประเมินผลงานผเู้ รียน (รายงานการสบื ค้น) แบบมาตรประมาณคา่ และกาหนดรบู ริคในการ ประเมนิ ผลงานใหช้ ัดเจน 3. จงระบุประเด็นตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือวัดด้านทักษะที่สาคัญท่ีที่สุดมา 3 ประเด็นพร้อมทั้งให้ เหตุผลประกอบ 4. กาหนดให้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลงานนักเรียน (แบบเรียงอันดับ) ของผู้ประเมิน 2 คน เป็นดงั น้ี Correlations Spearman's rho s1 Correlation Coefficient s1 s2 s2 Sig. (2-tailed) 1.000 .132 N . .833 Correlation Coefficient 5 5 Sig. (2-tailed) .132 N .833 1.000 5 . 5 จงสรปุ คุณภาพของแบบประเมินผลงานด้านความเชอื่ ม่นั

142 7. Link ทนี่ ักศกึ ษาจะเข้าไปทาการศกึ ษาด้วยตนเอง 1. https://www.youtube.com/watch?v=g9LM7gAN1xQ&feature=youtu.be 8. แหล่งคน้ ควา้ เพ่มิ เตมิ กองวจิ ยั ทางการศกึ ษา. (2545). การวจิ ัยเพ่ือพัฒนาการเรียนร้ตู ามหลักสตู รการศึกษาขัน้ พ้นื ฐาน. กรงุ เทพฯ : กองวจิ ัยทางการศึกษากรมวชิ าการ กระทรวงศึกษาธิการ. โกวทิ ประวาลพฤกษแ์ ละสมศักดิ์ สินธรุ ะเวชญ์. (2527). การประเมนิ ในช้ันเรียน. กรุงเทพฯ : วฒั นาพานชิ . บญุ ธรรม กจิ ปรีดาบริสุทธ.์ิ (2542). เทคนิคการสรา้ งเคร่อื งมอื รวบรวมข้อมูลสาหรบั การวิจัย. พิมพ์ครง้ั ที่5. กรุงเทพฯ : เจริญดีการพิมพ์. บุญเชดิ ภญิ โญอนนั ตพงษ.์ (2546). คณุ ภาพเคร่อื งมือวัด ในมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช. การพัฒนาเคร่อื งมือสาหรบั การประเมินการศึกษา. พิมพ์ครั้งท่ี 2. นนทบรี : โครงการสวสั ดกิ าร วชิ าการสถาบนั พระบรมราชชนก. บุญชม ศรีสะอาด. (2562). การวเิ คราะห์ขอ้ สอบแบบอนื่ นอกเหนอื จากแบบเลือกตอบ. [ออนไลน์]. เขา้ ถึงได้ จาก: http://watpon.in.th/thai/mod/page/view.php?id=5 (วันที่สบื ค้นข้อมูล : 1 กรกฏาคม 2563) ปราณี หลาเบ็ญสะ. (2559). การหาคณุ ภาพของเครื่องมือวดั และประเมนิ ผล. ยะลา : สาขาการวัดและ ประเมินผลคณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั ยะลา. ฉัตรศริ ิ ปิยะพมิ ลสทิ ธ์ิ. (2562). การวเิ คราะหข์ ้อสอบด้วยโปรแกรม EVANA. [ออนไลน์]. เข้าถึงไดจ้ าก : http://www.watpon.in.th/journal/evana.pdf (วันท่ีสบื คน้ ขอ้ มูล : 2 กรกฏาคม 2562). มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช. (2554). การพฒั นาเคร่ืองมอื วัดดา้ นเจตพสิ ยั และทักษะพสิ ัย. เอกสาร ประกอบการสอนชดุ วิชามหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช. (2554). การพัฒนาเครือ่ งมอื วดั ด้านพทุ ธิพิสัย. เอกสารประกอบการสอนชุด วชิ ามหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช. สานักพิมพม์ หาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช. สาเริง บญุ เรอื งรัตน์. (2527). ทฤษฏกี ารวดั และประเมนิ ผลการศึกษา. สานกั ทดสอบการศกึ ษาและจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมติ ร.

พวงรตั น์ ทวรี ัตน.์ (2543). วธิ ีการวจิ ัยทางพฤติกรรมศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์. พิมพค์ ร้ังที่ 8. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลัยศรนี ครทิ รวโิ รฒ ประสานมติ ร. พเยาว์ เนตรประชา. การวิเคราะห์หาคณุ ภาพของแบบทดสอบ. [ออนไลน์]. เขา้ ถึงไดจ้ าก : http://www.ipesp.ac.th/learning/websatiti/chapter9/unit9_3_1.html. (วันที่สบื คน้ ข้อมูล : 25 ธันวาคม 2561). มลวิ ลั ย์ ผิวคราม. การสร้างข้อสอบอัตนัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงไดจ้ าก : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit6/level6-3.html. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 25 ธันวาคม 2561). ยืนยง ราชวงษ.์ (2557). การสร้างแบบทดสอบอัตนยั ที่มคี ุณภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถงึ ได้จาก : http//www.gotoknow.org. (วนั ท่ีสืบค้นขอ้ มลู : 25 ธันวาคม 2561). วริ ชั วรรณรัตน.์ (2558). หลักและวธิ ีการสอบวัด. นนทบุรี : คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชพฤกษ์ . วิรัช วรรณรัตน.์ (2539). การวดั และประเมินผลการศกึ ษา. กรงุ เทพฯ : สานักทดสอบทางการศึกษาและ จิตวิทยามหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ. สุชรี า ภัทรายตุ วรรตน์. (2545). คู่มือการวดั ทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : เมดคิ ัล มีเดีย. สุมาลี จนั ทรช์ ลอ. (2542). การวัดและประเมนิ ผล. กรุงเทพฯ : ศนู ยส์ ง่ เสรมิ กรุงเทพ. อนนั ต์ ศรโี สภา. (2520). การวัดและการประเมนิ ผลการศึกษา. มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ ประสานมิตร. บรษิ ทั สานักพมิ พ์ ไทยวฒั นาพานชิ จากดั . อานวย เลศิ ชยันตี. (2533). การทดสอบและการวดั ผลทางการศึกษา. วิทยาลัยครูจนั ทรเกษม. อานวยการ พิมพ์ กรงุ เทพมหานคร ฯ. William A. Mehrens. (1975). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. Second edition.Holt, Rinehart and Winston, Inc. Bloom, Benjamin and other. (1971). Handbook on formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill.

144 บทที่ 7 การประเมินตามสภาพจรงิ สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง 2. แนวคดิ เบอ้ื งต้นของการประเมนิ ตามสภาพจรงิ 3. เทคนิควิธกี ารและเครือ่ งมือในการประเมินสภาพจริง 4. ข้อดแี ละข้อจากดั ของการประเมินตามสภาพจริง จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธบิ ายความหมายของการประเมนิ ตามสภาพจรงิ ได้ 2. อธิบายแนวคดิ เบอื้ งต้นของการประเมนิ ตามสภาพจริงได้ 3. ระบเุ ทคนิควิธีการและเครอื่ งมือในการประเมินสภาพจรงิ ได้ 4. ระบุข้อดแี ละข้อจากดั ของการประเมินตามสภาพจริงได้

พระราชบญั ญตั ิการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ในมาตรา 26 ได้กาหนดให้ “สถานศึกษาจัดการประเมิน ผู้เรียนโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม และ การทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตาม ความเหมาะสมของแต่ระดับและรูปแบบการจัด การศึกษา” แต่การประเมินผเู้ รยี นก็ยงั ไม่สอดคลอ้ งกับ ข้อกาหนดข้างต้นนัก ปัญหาประการหนึ่งของการจัดการ เรียนรู้ในปัจจุบันคือ ผู้สอนมักแยก การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลออกจากกัน ซึ่งแท้ท่ีจริงแล้ว การเรียน การสอนและการวัดและประเมินผลควร ดาเนินการไปด้วยกันและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มี ความสมั พันธ์ซ่ึงกันและกนั และเกิดข้ึนในเวลาเดียวกัน รวมทงั้ ปัญหาที่ผู้สอนมักใช้แบบทดสอบแบบปรนัย วัดผลเป็นส่วนใหญ่ ซ่ึงเป็นท่ียอมรับกันว่าแบบทดสอบมีข้อจากัดหลายประการในการใช้ประเมินผู้เรียน เน่ืองจากแบบทดสอบท่ีสร้างข้ึนมักเป็นแบบทดสอบปรนัยวัดเพียงความรู้ความจาเป็นส่วนใหญ่ที่ไม่ครอบคลุม พฤติกรรมทุกด้านของผู้เรียน และยังไม่สามารถวัดกระบวนการคิดที่ซับซ้อนหรือการคิดระดับสูง การแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้ ทักษะต่างๆ เช่น การพูด การเขียน การปฏิบัติ การสร้างสรรค์ และทักษะทางสังคมของ ผู้เรียนได้ ผลการประเมินผู้เรียนจึงไม่สามารถให้ภาพท่ี ครอบคลุมความสามารถทุกด้านได้อย่างชัดเจน (สมนึก นนธิจนั ทร์, 2544: 73) การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นการประเมินท่ีเน้นการสะท้อนพฤติกรรม และทกั ษะของผู้เรียนในชีวติ จริงท่เี ปน็ การแสดงในการปฏบิ ัติ (Performance) ที่เน้นทัง้ กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ที่ใหโ้ อกาสแกผ่ เู้ รียนไดม้ ีสว่ นร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้และประเมินตนเอง ทาให้ ผู้เรียนได้บรรลุในความต้องการและศักยภาพแต่ละบุคคล ดังนั้นการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง(Authentic assessment) จึงเป็นการประเมินผู้เรียนท่ีมีความเที่ยงตรง และมีความน่าเช่ือถือซึ่งผลสัมฤทธ์ิที่ประเมินจะ สอดคล้องกบั ความสามารถทแี่ ท้จรงิ ของผเู้ รยี นมากท่สี ดุ 1. ความหมายของการประเมินตามสภาพจรงิ การประเมินตามสภาพจริง มีท้ังหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการศึกษาและนักการศึกษาได้ให้ ความหมายไวด้ ังน้ี สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540: 4-5) ให้ความหมายการประเมินตามสภาพ จริงว่า เป็นการวัดและประเมินผลที่แท้จริงของผู้เรียนท่ีอยู่บนพื้นฐานของเหตุการณ์จริงในชีวิตจริง โดยยึดการ ปฏบิ ัติเป็นสาคัญ มคี วามสัมพนั ธก์ ับการเรยี นการสอน เนน้ พัฒนาการทปี่ รากฏใหเ้ ห็นทั้งในและนอกห้องเรยี น มี ผเู้ ก่ียวข้องในการประเมินหลายฝา่ ย และเกิดขนึ้ ไดใ้ นทกุ บรบิ ทเท่าที่จะเป็นไปได้ และเปน็ การ ประเมินท่ีมีลักษณะแบบไม่เปน็ ทางการ ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์(2539: 50) ให้ความหมายการประเมินตามสภาพจริงว่า เป็นการวัดโดยเน้น ให้ผู้เรียนได้นาความรู้ แนวคดิ ในวชิ าต่างๆ ทีเ่ รียนเพ่อื นามาแก้ปัญหาโดยใช้ทักษะการคดิ ท่ีซับซ้อน (Complex

146 Thinking) มากกว่าที่จะถามความสามารถข้ันต้นหรือความสามารถย่อยๆ เป็นการวัดผู้เรียน โดยรวม ท้ังด้าน ความคดิ เจตคตแิ ละการกระทาไปพร้อมๆ กนั จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่าการประเมินตามสภาพจริง เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ท่ีใช้วิธีการท่ีหลากหลาย เน้นการประเมินทักษะการคิดท่ีซับซ้อน ทักษะการทางาน ความสามารถ ในการ แก้ปัญหาและการแสดงออกท่ีเกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริง อยู่บนพื้นฐานของเหตุการณ์จริงในชีวิตจริง เน้น พัฒนาการที่ปรากฏให้เห็นทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมีผู้เกี่ยวซ้องในการประเมินหลายฝ่าย และเกิดขึ้นได้โน ทกุ บรบิ ทเทา่ ทจี่ ะเปน็ ไปได้ รวมท้งั เปน็ การประเมนิ ทีม่ ีลักษณะแบบไม่เป็นทางการ 2. แนวคิดเบือ้ งต้นของการประเมินตามสภาพจรงิ กระทรวงศึกษาธิการ (2546) ได้นาเสนอหลักการประเมินผลการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Learner-centered assessment) ซึ่งนามาใช้เป็นแนวคิดเบอ้ื งตน้ ของการประเมนิ ตามสภาพจริงไวด้ ังน้ี 1. จดุ หมายเบอื้ งตน้ ของการประเมินผู้เรียนคอื เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผเู้ รยี น 2. การประเมินควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถที่แท้จริงออกมา และสะท้อนให้เห็นถึง แรงจูงใจและความต้ังใจในการเรียนรู้ พร้อมท้ังส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักกากับ ดูแล และประเมินการเรียนรู้ด้วย ตนเอง 3. การประเมินผลควรอาศัยข้อมูลจากการปฏิบัติภาระงานท่ีมีความหมาย สอดคล้องกับสภาพจริง (Authentic tasks) และสอดคลอ้ งกบั หลกั สูตรและการเรียนการสอนในช้ันเรยี น 4. การประเมนิ และตัดสินผลการเรยี นไม่ควรใช้ข้อมลู จากผลการสอบด้วยแบบทดสอบเพียงอยา่ งเดียว เพราะไม่เป็นธรรมกับผู้เรียนทีค่ วามหลากหลายดา้ นความสามารถและผลสัมฤทธ์ิ 5. การประเมินในชั้นเรียนควรกระทาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลระยะยาวในการใช้เป็นหลักฐาน การพฒั นาและความกา้ วหนา้ ของผ้เู รียน 6. การประเมินผลควรรวมถงึ การวัดแรงจงู ใจ เจตคติ และปฏกิ ิริยาทางจติ พสิ ัย (Affective reaction) ของผู้เรียนต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน นอกเหนือไปจากการวัดด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา และ ยทุ ธศาสตร์การคดิ 7. การประเมินผลควรครอบคลุมถึงตัวอย่างผลงาน(Exhibits) แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) และการ

ปฏิบัติจรงิ นอกเหนือไปจากการทดสอบแบบ Paper-and-pencil 8. ผลการประเมนิ ควรใหข้ อ้ มลู ปอ้ นกลับทีช่ ดั เจน เข้าใจงา่ ย และเปน็ ปจั จุบันแก่ผู้เกีย่ วข้องในระดับ ต่าง ๆ 9. การประเมินไม่ควรถือความถูก-ผิด ของคาตอบอย่างเคร่งครัดและคับแคบ แต่ควรพิจารณาถึง คาตอบทเ่ี ปน็ ไปไดแ้ ละสมเหตุสมผล และเปดิ โอกาสใท้ผูเ้ รียนเกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาด 10. การประเมินควรเปิดโอกาสใท้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้และความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ และ ไมค่ วรจากดั เพยี งแค่โจทย์ปญั หาและคาตอบทไี่ ด้เตรียมไวล้ ่วงหน้า สรุปได้ว่าในการประเมินตามสภาพจริง ผสู้ อนต้องอาศยั ข้อมูลการประเมนิ จากการปฏิบตั ิภาระงานที่มี ความหมายและสอดคล้องกับสภาพจริง (Authentic tasks) ผู้สอนต้องมีความยืดหยุ่นในการประเมินสูง โดย การให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างหลากหลายและเต็มท่ีเสียก่อน แล้วจึงประเมิน ผู้เรียนให้ครอบคลุมทุกด้านท้ังแรงจูงใจ เจตคติ และปฏิกิริยาทางจิตพิสัย ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาจากตัวอย่าง ผลงาน(Exhibits) แฟม้ สะสมงาน (Portfolios) และการปฏบิ ตั ิจริง ลักษณะของการประเมนิ ตามสภาพจรงิ ลักษณะของการตามสภาพจริง สรุปไดด้ งั น้ี (สมศกั ด์ิ ภ่วู ิภาดาวรรธน์, 2545) 1. เป็นวิธีการประเมินที่ออกแบบมาเพื่อสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมและทักษะที่จาเป็นของนักเรียนใน สถานการณ์ที่เป็นจรงิ แหง่ โลกปัจจุบัน (Real World Situations) 2. เป็นวิธีการประเมินท่ีเน้นงานท่ีนักเรียนแสดงออกในภาคปฏิบัติ (Performance) เน้นกระบวนการ เรียนรู้ (Process) ผลผลิต (Products) และแฟม้ สะสมงาน (Portfolio) 3. เป็นการประเมินการปฏิบัติงานในสภาพจริง เช่น นักเรียนเรียนการเขียน ก็ต้องเขียนให้ผู้อ่านจริง เป็นผู้อ่าน มิใช่เรียนการเขียนแล้ววัดผู้เรียนด้วยการใช้แบบทดสอบวัดการสะกดคาหรือตอบคาถามเก่ียวกับ หลักการเขียน หรือถ้าให้นักเรียนเรียนวิทยาศาสตรก์ ็ต้องให้นักเรียนทาการทดลองทางวทิ ยาศาสตร์ ทางานวิจัย

148 หรือทาโครงงาน 4. การท่ีจะทาให้ผู้เรียนบรรลุถึงความต้องการของแต่ละบุคคลน้ัน วิธีการประเมินตามสภาพจริงจะ เปิด โอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลและมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของตนเองด้วย การให้ผู้เรียนมสี ่วนร่วมในการประเมินผล ทาให้เขารู้จักการวางแผนการเรียนรตู้ ามความต้องการของตนเอง ซ่ึง นาไปสู่การกาหนดจุดประสงค์การเรยี น วิธกี ารเรียน และวางเกณฑ์การประเมนิ 5. การประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริง ต้องคานึงถึงเสมอวา่ หลักสูตร (Curriculum) การ เรียนการสอน (Instruction) และการประเมินผล (Assessment) จะต้องไปด้วยกันโดยไม่แยกการประเมิน ออกไปตา่ งหาก 6. เป็นการประเมินที่ใช้เทคนิคการประเมินอย่างหลากหลายวิธี ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อจะ ตรวจสอบคุณภาพงานของนกั เรียน ดังนั้นการประเมินจึงต้องอาศัยหลกั การท่ีวา่ นักเรียนต้องมีการลงมือกระทา หรือปฏิบัติหรือแสดงออกเพ่ือแสดงถึงความเข้าใจและแสดงออกถึงทักษะจากการเรียนรู้ ตลอดจนการแสดงถึง กระบวนการหรือวิธีการที่นักเรียนใช้ ซึ่งการประเมินตามสภาพจริงจึงครอบคลุมถึงการนาเสนอปากเปล่า การ โต้วาที การจัดแสดงนิทรรศการ รวมถึงการรวบรวมผลงานของนักเรียน แถบบันทึกภาพแสดงการปฏิบัติ และ การแสดงกิจกรรมในโอกาสต่างๆ งานสร้างและงานประดิษฐ์โครงหุ่น การแก้ปัญหา การทดลอง หรือผลงานที่ แสดงการสืบค้นหรือใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังรวมถึงการสังเกตของครู และแบบสารวจ การปฏิบตั ิงานและพฤตกิ รรมของนักเรยี น รวมตลอดถงึ การปฏิบตั ิงานกล่มุ (Cooperative Group Work) 7. การประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริงจะใช้เครื่องมือหลากหลายในการวัดการปฏิบัติวัน ต่อวัน ของการเรียนวิชาต่างๆ ในโรงเรียนแทนการใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือวัดอย่างเดียว เทคนิคการ ประเมินมักนิยมทาโดยการรวบรวมงานภาคปฏิบัติท่ีได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริงท่ีสัมพันธ์กับ ชีวิตประจาวัน เน้นพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ตามสภาพจริง พฤติกรรมท่ีแสดงออกนั้นต้องทาใน บริบทของความจริงในชีวิตประจาวัน (real-life context) ซ่ึงเป็นพฤติกรรมจากกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง

ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน 8. การประเมนิ ผลการเรียนการสอนตามสภาพจรงิ ไม่เนน้ ประเมินผลเฉพาะทักษะพน้ื ฐานแต่ให้ผเู้ รยี น ผลติ สร้าง หรอื ทาบางอย่างทเี่ นน้ ทกั ษะการคดิ ทซี่ บั ซ้อน การพิจารณาไตรต่ รอง การทางานและการแก้ปัญหา 9. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมนิ ตอ้ งเป็นเกณฑ์ประเมิน “แก่นแท้” (essentials) ของการปฏิบัตมิ ากกว่า เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่สร้างข้ึนจากผู้หน่ึงผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นเกณฑ์ที่เปิดเผยและรับรู้กันอยู่ในโลกของความจริง ของท้ังตัวผู้เรียนเองและผู้อ่ืน การให้นักเรียนรู้ว่าตนเองต้องทาภารกิจอะไรและมีเกณฑ์อย่างไร การเปิดเผย เกณฑ์การประเมนิ ไม่ใชเ่ ป็นการ “คดโกง” ถา้ ภารกจิ นนั้ เป็นเร่ืองเกย่ี วกับการปฏิบตั ิจริง 10. การประเมินตนเอง (Self-Assessment) การประเมินตนเองมีความสาคัญมากต่อการปฏิบัติ ภารกิจจริง (Authentic Task) เพ่ือให้ผ้เู รียนได้พฒั นาความสามารถในการทางานของตนโดยเทยี บกบั มาตรฐาน ท่ัวไป เพื่อวัดความก้าวหน้าของตนเอง ปรับปรุง หรือเปล่ียนทิศทางการทางาน เป็นการทางานท่ี ตนเองเป็นผู้ ขน้ึ นาตนเอง ปรับปรุงจากแรงจูงใจของตนเอง การนาเสนอผลงานเป็นคุณลักษณะประการหน่ึงของการประเมินผล การเรียนการสอนตามสภาพ จริง โดยให้นักเรยี นไดเ้ สนอผลงานตอ่ สาธารณชน การนาเสนอด้วยปากเปล่า ซึง่ เป็นกิจกรรมท่ีทาให้เกิดการเรียนรู้ที่ หย่ังรากลึก เน่ืองจากนักเรียนได้สะท้อนความร้สู ึกของตนว่ารู้อะไรและนาเสนอเพอื่ ใท้ผู้อื่นสามารถ เข้าใจได้ ซ่ึง เปน็ ส่ิงทีท่ าให้แนใ่ จวา่ นักเรยี นได้เรยี นรู้ในหวั ข้อนนั้ ๆ อยา่ งแท้จริง 3. เทคนคิ วธิ กี ารและเคร่ืองมือในการประเมินสภาพจริง การประเมนิ ตามสภาพจริงมีวธิ กี ารประเมนิ ท่หี ลากหลายและตัวอย่างเครอ่ื งมอื ในการประเมนิ ดังน้ี (ชัยวฒั น์ สทุ ธริ ัตน์, 2553) 1. การสังเกต เปน็ วิธีการทกี่ ระทาได้ในทุกสถานการณ์และทุกสถานที่ ผู้สอนอาจกาหนดเคร่ืองมือและ เกณฑ์ในการสังเกตหรอื อาจไม่มีเคร่ืองมือในการสังเกตกไ็ ด้ ทั้งน้ีขึ้นอยู่กบั ประเด็นท่ีตอ้ งการประเมินผเู้ รยี นว่า มี ความจาเป็นต้องใช้เครื่องมือในการสังเกตระดับความสามารถหรือพฤติกรรมท่ีแสดงออกมากน้อยเพียงใด และ วิธีการสังเกตสามารถใช้ประเมินผลการเรียนรู้ท้ังในด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะกระบวนการ ด้าน

150 คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมท่ีพึงประสงค์ของผู้เรียน เช่น สังเกตในสถานท่ีที่นักเรียนได้ลงไปศึกษาสภาพ แหล่งน้าในชมุ ชนหรือ สถานการณ์จาลองต่างๆ ตวั อยา่ งเคร่ืองมือแบบสงั เกต แบบสงั เกตการสารวจสภาพแหลง่ น้าในชุมชน ชือ่ ผูเ้ รยี น ................................................................................................................................. ผู้สงั เกต ............................................วัน / เดือน / ปี ทส่ี งั เกต ................ เวลา .................... สถานท่ี ............................................. กิจกรรมทป่ี ฏิบ้ติ .......................................................... ข้อ รายการ ระดับพฤตกิ รรม ที่ ดี ดี พอใช้ ปรบั มาก ปรุง 1 การวางแผนการศกึ ษา 2 การเก็บรวบรวมข้อมลู 3 การวิเคราะห์ขอ้ มูล 4 การสรุปผลการศกึ ษา 5 ผลการศึกษา 6 การนาเสนอผลการศกึ ษา บนั ทกึ ข้อมูลเพ่ิมเตมิ ลงชอื่ .......................................... ผสู้ ังเกต (……………………. .................. )

2. การสัมภาษณ์ เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างอาจสังเกตได็ใม่ชัดเจน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง ผู้สอนจึงอาจใช้การสัมภาษณ์ช่วยเก็บข้อมูลเพ่ิมเติม การสัมภาษณ์น้ีเป็นวิธีการประเมินโดยตั้งคาถามอย่าง งา่ ยๆ ไม่ซับช้อนเกินไป สามารถสัมภาษณ์ผู้เรียนแต่ละคนได้ท้งั รูปแบบท่ี เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ นิยม ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ความเข้าใจในระดับที่สูงกว่าความรู้ความจา และด้านความรู้สึกนึกคิดที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมที่ผู้เรียนยึดถือต่อส่ิงใดส่ิงหนึ่ง รวมทั้งการเห็นคุณค่าในเรื่องต่างๆ เช่น ครูให้นักเรียนลงไปศึกษาการเลือกซื้อสินค้าของประชาชนเป็นกลุ่ม หลังจากที่ศึกษาแล้วครูจึงสัมภาษณ์ นักเรียนเป็นกลุ่มท้ังในด้านความรู้ ความคิด เจตคติของผู้เรียนต่อการศึกษาและทักษะกระบวนการ ใน การศึกษา ตัวอยา่ งเคร่ืองมือแบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณก์ ารเลอื กซ้อื สินคา้ ผใู้ หก้ ารสมั ภาษณ์......................................... ผู้สัมภาษณ์............................................... สถานที่สัมภาษณ์.............................. วนั / เดอื น / ปี...................... เวลา .................... คาซืแ้ จง ให้สมั ภาษณ์ผเู้ รยี นเกยี่ วกบั การไปเกบ็ ข้อมลู บุคคลที่ซอื้ สนิ ค้าในร้านคา้ ต่างๆ ในประเดน็ ต่อไปน้ี 1. นักเรยี นมกี ารวางแผนลงไปศกึ ษาอยา่ งไร 2. นกั เรยี นมวี ิธีการเก็บรวบรวมขอ้ มูลและวเิ คราะหข์ ้อมูลอยา่ งไร 3. ผลการศกึ ษาเป็นอยา่ งไร ไดแ้ ง่คิดอะไร 4. จะนาเสนอผลการศึกษาอย่างไรให้นา่ สนใจ

ห น้ า | 152 3. แบบสอบถาม เป็นการวัดผลที่ใช้แบบสอบถามเป็นเคร่ืองมือสอบถาม ซ่ึงทาให้ประหยัดเวลาใน การซักถาม โดยคาตอบที่ได้รับควรอยู่ในขอบเขตของเร่ืองท่ีผู้เรียนศึกษา เช่น การให้ผู้เรียนลงไปศึกษาระบบ นิเวศในโรงเรียน ตวั อยา่ งเครื่องมือแบบสอบถาม แบบสอบถามการศกึ ษาระบบนเิ วศในโรงเรยี น คาชแี้ จง ให้นกั เรยี นตอบคาถามจากการศึกษาระบบนิเวศในโรงเรยี นในประเด็นต่อไปนี้ 1. แหลง่ เรยี นรทู้ ี่ลงไปศกึ ษามอี ะไร ท่ใี ดบ้าง 2. นกั เรียนมวี ิธกี ารเก็บรวบรวมข้อมลู อยา่ งไรบา้ ง 3. นกั เรียนได้ความรูอ้ ะไรบ้าง 4. นักเรียนจะนาเสนอส่ิงที่ไดเ้ รียนรตู้ ่อผู้อื่น ใหน้ ่าสนใจอย่างไร 5. นกั เรยี นจะนาความรู้ที่ไดใ็ ปใฃ้ในชีวิตประจาวันอย่างไร 4. บันทึกจากผู้เก่ียวข้อง เปน็ วิธีการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเก่ียวกับตวั ผู้เรียนท้ังในด้านความรู้ ความคิด ความสามารถพิเศษ ความถนัด ความสนใจ และการแสดงออกของพฤติกรรมลักษณะต่างๆ ทั้งท่ีพึง ประสงค์และไม่พงึ ประสงค์ ซึ่งเปน็ ประโยชนต์ ่อการวางแผนการเรยี นรู้ และแนวทางพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เช่น ให้นักเรียนลงไปศึกษาวัฒนธรรมไทยในชุมชนแล้วให้นักเรียนหรือครูสังเกต


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook