Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการสอนวิชาวัดและประเมินผล

เอกสารประกอบการสอนวิชาวัดและประเมินผล

Published by YAOWATIWA LMS, 2019-06-30 23:02:41

Description: เอกสารประกอบการสอนวิชาวัดและประเมินผล

Search

Read the Text Version

บทที่ 1 ความร้เู บือ้ งตน้ เกี่ยวกบั การวัดและประเมินผล สาระการเรยี นรู้ 1. ความเปน็ มาและความหมายของการวดั การทดสอบและการประเมินผล 2. ความสัมพันธ์ของการทดสอบ การวัด และการประเมนิ ผล 3. ทฤษฏีการทดสอบ ปรชั ญาของการวัดและประเมินผล 4. ความมุ่งหมายของการวดั และประเมินผล 5. หลักการของการวัดและประเมนิ ผลการศกึ ษา 6. ประโยชนข์ องการวัดและประเมินผล 7. คุณธรรมของครูผู้สอนในการวัดและประเมนิ ผล จดุ ประสงค์การเรียนรู้ 1. อธบิ ายความเปน็ มาและบอกความหมายของการวดั และประเมินผล 2. อธบิ ายความสัมพนั ธข์ องการทดสอบ การวดั ผล และการประเมนิ ผลการศึกษาได้ 3. บอกทฤษฏกี ารทดสอบ ปรัชญาของการวัดและประเมนิ ผลได้ 4. อธิบายจดุ มุ่งหมายของการวดั และประเมินผลได้ 5. อธบิ ายหลกั การของการวดั และประเมินผลการศกึ ษาได้ 6. บอกประโยชน์ของการวดั และประเมนิ ผลได้ 7. บอกคณุ ธรรมของครูผู้สอนในการวดั และประเมินผลได้

1. ความเปน็ มาและความหมายของการวัดและการประเมินผล ความเป็นมาของการวดั และการประเมนิ ผล การวัดผลและประเมินผลน้ันมีมานานแล้วต้ังแต่สมัยโบราณ เช่นเมื่อประมาณ 2200 ปี ก่อนคริสตศักราช มีหลักฐานแสดงว่าในประเทศจีนได้มีการสอบข้อเขียนน้ีแล้ว เป็นการทดสอบเพื่อ คัดเลอื กคนเข้ารับราชการ โดยให้ผู้สมคั รสอบแยกกนั อยคู่ นละทแ่ี ล้วใหเ้ ขียนตอบตามหวั ข้อหรอื ปัญญา ท่ีกาหนดให้ ก่อนปี ค.ศ. 1850 การสอบในสหรัฐอเมริกาส่วนมากยังเป็นการสอบปากเปล่า (Oral Test) อยู่การสอบทาโดยการถาม-ตอบ คาถามที่ถามเด็กแต่ละคนเป็นคาถามท่ีแตกต่างกันออกไปไม่ เหมือนกัน การวัดผลก็เป็นการกระทากันแบบทันทีทันใด ไม่ต้องเตรียมการล่วงหน้าและไม่มีแบบแผน ตอ่ มาในระหวา่ งคร่ึงหลังของศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาไดเ้ ร่ิมมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสาหรับการ สอบปากเปลา่ ข้นึ เรยี กวา่ Board of Visitors และนอกจากนย้ี งั มีการสอบแบบข้อเขยี นเพ่มิ ขน้ึ อีก โดย ให้ครูประจาชั้นจัดการทดสอบเอง อย่างไรก็ตามการสอบก็ยังคงเป็นแบบความเรียง (Essay type) กลา่ วคอื ให้ผตู้ อบใชภ้ าษาของตนเองเขียนตอบยาว ๆ ในปี ค.ศ. 1894 ดร. Joseph M. Rice ได้สร้างแบบทดสอบปรนัยวัดเก่ียวกับการสะกดคา ขึ้นเป็นคนแรก แบบทดสอบน้ีมีชื่อว่า “The Futility of the Spelling Grind” จึงจัดได้ว่า Rice เป็น ผสู้ ร้างรากฐานทางการวัดผลแบบปรนัยขน้ึ เปน็ คนแรก ตอ่ มาในปี ค.ศ. 1940 Edward L. Thorndike ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาเป็นเล่มแรกในสหรัฐอเมริกา ผลงานของ Thorndike มี อิทธิพลต่อคนรุ่นหลังเป็นอันแรก และในปีค.ศ. 1910 Thorndike ได้สร้าง Scale สาหรับวัด ความสามารถในการคัดลายมือขึน้ ซึ่งเรียกกันว่า Thorndike’s handwriting ซง่ึ ในระยะตอ่ มาท่ัวโลกก็ ยกยองให้ Thorndike เปน็ บดิ าแหง่ การวดั ผล การพัฒนาการวัดผลทางการศึกษาในระยะหลังจากปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อาจจะแบ่งออกเป็นระยะใหญ่ ๆ ได้ 5 ระยะ ดงั น้ี ระยะแรก (ค.ศ. 1900 – 1915) เป็นระยะบุกเบิกของการวดั ผล มกี ารสารวจและพฒั นาการ วัดผลใหด้ ขี น้ึ ในปี ค.ศ. 1904 นกั จิตวทิ ยาชาวฝรั่งเศสผู้หน่ึงชื่อ Alfred Binet ได้สร้างแบบทดสอบวัด เชาว์ปัญญาข้ึนเป็นคนแรก และต่อมาในปี ค.ศ. 19058 Binet และ Simon ซ่ึงเป็นผู้ช่วยของเขา ได้ ร่วมมือกนสร้างข้อสอบสาหรับวัดความสามารถในการตัดสินใจ ความเข้าใจและเหตุผล ซึ่งในสมัยน้ัน เชื่อกนั ว่าเป็นสง่ิ สาคญั ในเร่ืองเชาว์ปัญญา ระยะที่ 2 (ค.ศ. 1915 – 1930) ในระยะนี้เร่ิมมีการทดสอบกันเป็นหมวดหมู่ข้ึน ทั้งน้ี เน่ืองจากในปี ค.ศ. 1917 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้เผชิญกับปัญญาการคัดเลือกทหารในกองทัพเพ่ือใช้

ในสงครามโลกคร้ังที่ 1 ฉะน้ันคณะกรรมการดาเนินการสงครามจึงมอบหน้าที่ให้สมาคมจิตวิทยาเป็น ผ้จู ัดทาแบบทดสอบข้ึนเพ่ือใช้ในการคัดเลือกทหารเพื่อจดั เขา้ ประจาหน้าท่ีตา่ ง ๆ โดยถือเอาสติปัญญา เป็นเกณฑ์ นอกจากน้ียังได้นาเอาแบบทดสอบของ Authur S. Otis มาใช้ในการคัดเลือกทหารของ กองทพั เปน็ ครง้ั แรก แบบทดสอบน้มี ีอยู่ 2 ชดุ คือ Army Alpha ซ่ึงเป็นแบบทดสอบที่เน้นหนักในด้าน ภาษาอังกฤษและอีกชุดหน่ึงคือ Army Beta เป็นแบบทดสอบซึ่งใช้รูปภาพท้ังหมดเพ่ือใช้ทดสอบกับ คนทอี่ า่ นหนังสอื ไม่ออกโดยเฉพาะพวกนโิ กร ในระยะท่ี 2 นี้ เป็นระยะท่ีมีการสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน (Scholastic Aptitude Test) และแบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะ (Specific Aptitude Test) ขึ้น นอกจากน้ียัง ได้มีการสรา้ งเครื่องมอื สาหรบั วดั ความสนใจ, วดั ทศั นคติ มีการวดั ผลท้ังทางดา้ น Achievement Test, Intellignce Test และ Personality Test นอกจากน้ียังมีการสร้างแบบทดสอบวัดบุคคลิกภาพแบบ หน่ึงคือ “Projective Technique” (การสร้างจินตนาการ) แบบทดสอบท่ีวัดจินตนาการที่รู้จัก แพร่หลายคือ แบบทดสอบของ Rorshach ซึ่งมีชื่อว่า Rorschach Inkblot Test ในปี ค.ศ. 1930 การวัดผลการศกึ ษาไดเ้ จริญเข้าสู่ขีดสมบูรณ์ จานวนแบบทดสอบได้เพ่ิมข้ึน อยา่ งรวดเรว็ และมมี าตรฐาน ไดม้ ีการจดั พิมพ์เผยแพร่ มกี ารจัดบรกิ ารเกย่ี วกับการทดสอบเพื่อควบคุม การใหค้ ะแนนการวดั ความร้ปู ระเภทผลสมั ฤทธิข์ น้ึ ระยะที่ 3 (ค.ศ. 1930 – 1945) ระยะนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นระยะของ “การประเมินผล” มากกว่า “การวัดผล” กล่าวคือมีการทดสอบทางดา้ นบุคคลิกภาพกันมากขึ้น มีเทคนิคใหม่ ๆ ขึ้นใช้ใน การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา ในระยะน้ีเองได้เกิดมีโครงการวิจัยทางการศึกษาขึ้นเป็น โครงการวิจัย 8 ปี หรือทเี่ รียกวา่ Eight-Year Study ซงึ่ ผลของการวิจยั ส่วนหนึ่งท่ไี ด้จากโครงการนี้คือ สามารถให้คาจากัดความของคาว่า “ความมีเหตุผล” น้ันต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ความสามารถในการแยกประเภท (Classification) ความสามารถในการอุปมาอุปไมย (Analogy) และความสามารถในการสรปุ ความ (Inference) ในระยะหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 เป็นต้นมา ผู้เช่ียวชาญทางการวัดผลได้ช่วยกันปรับปรุง ระบบการวัดผลให้เที่ยงตรง แน่นอนและเป็นประโยชนต์ ่อการนาไปใช้ในการปรบั ปรงุ ทฤษฎกี ารวดั ผล ทางการศึกษาและจิตวิทยา ความไหวตวั ไปสหู่ ลักการททางวิทยาศาสตร์ทวีขึ้นอย่างรวดเรว็ และรุนแรง ในราวปี ค.ศ. 1937 – 1940 โดยมีการพัฒนาและประยกุ ต์การวัดผลความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล ระยะที่ 4 (ค.ศ. 1945 – 1960) เปน็ ระยะของการสร้างแบบทดสอบชนิดเปน็ ชดุ และการจดั โปรแกรมการทดสอบ ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสาเหตุหนึ่งท่ีทาให้เกิดแบบทดสอบความถนัด เพื่อใช้ในการศึกษา และเพ่ือเลือกสรรบุคคล เช่น มีแบบทดสอบ C.E.E.B (College Entrance Examination Coard) และแบบทดสอบ P.M.A. (Primary Mental Abilies Test) ขนึ้ อาจกลา่ วไดว้ ่า

ในระยะนี้มีการต่ืนตัวในด้านการดาเนินการสอบมากกว่าทางด้านการสร้างและปรุบป รุงข้อสอบ สาหรบั แบบทดสอบมาตรฐานน้ันในระยะนมี้ ีใชก้ นั แพร่หลายในสหรัฐอเมริกา สาหรบั การวดั ผลในประเทศไทยนัน้ มีมาแต่สมัยโบราณแลว้ ตัง้ แต่สมยั พทุ ธกาลพระพุทธเจ้า ทรงมีญาณวิเศษสามารถวัดว่า เมื่อพระองค์เทศน์จบแล้วมีสาวกองค์ใดสาเร็จมรรคผลขั้นใดบ้าง และ พระองค์ยังทรงใช้วิธีการอีกอย่างหนึ่งคัดเลือกสาวก 80 องค์ เป็นเอตทัคคะ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เด่นเป็น เลศิ ในด้านตา่ ง ๆ อกี ดว้ ย พฤติกรรมของพระองคเ์ ม่ือ 2500 กว่าปีมาแลว้ ยงั คงทันสมัย และสอดคล้อง กบั จดุ มั่งหมายบางประการของการวดั ผล ในสมยั นีท้ ต่ี ้องการวดั เพื่อจะจาแนก (Classification) ว่าใคร มคี วามสามารถในด้านใด กบั เพื่อจดั อันดบั (Placement) วา่ ใครเด่นเปน็ เย่ยี มกวา่ กันน่นั เอง ในยุคต้น ๆ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เรามีการสอบพระภิกษุเป็นเปรียญ โดยสอบไล่เด่ียวแบบ บาลีปากเปล่า (Oral test) ต่อหน้าพระท่ีน่ัง พระบางรูปเก่งสอบทีเดียวได้เปรียญห้า บางรูปตกหมด ไม่ได้เปรียญเลยก็มี ต่อมาในรัชกาลท่ี 5 – 6 เกิดการศกึ ษาแบบสามัญ มวี ิชาใหเ้ ดก็ เรยี นรูม้ ากมายและ จานวนนักเรียนกเ็ พ่มิ ขึ้นเป็นจานวนพนั จานวนหมื่น ครูอาจารยส์ อบไล่เดีย่ วแบบปากเปลา่ ไม่ไหวก็ต้อง เปล่ียนวิธีวัดผลมาเป็นแบบให้เขียนตอบยาว ๆ แต่น้อยข้อลงในกระดาษดังที่เราเรียกว่าข้อสอบแบบ ความเรียงหรอื อัตนยั (Essay or Subjective test) ข้อสอบวัดเชาว์ปัญญาได้เกิดขึ้นในประเทศไทยในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีหลักฐานที่ เช่ือได้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2470 – 2475 พระยาเมธาธิบดีได้สร้างข้อสอบเชาว์ข้ึนใช้ แบบทดสอบ ดงั กลา่ วสร้างขึ้นเปน็ ชดุ ๆ แต่ละชดุ จะมีขอ้ สอบวัดสมรรถภาพตา่ ง ๆ เช่น วัดดา้ นภาษา ตวั เลข เหตผุ ล เป็นต้น ลักษณะของข้อสอบมีท้ังแบบเลือกตอบและแบบเติมคา จากการค้นพบแบบทดสอบชดุ นี้ทาให้ เป็นหลักฐานยนื ยันได้ว่า ข้อสอบวัดเชาวน์ ้ันประเทศประเทศไทยมิได้เพิ่งมีในปัจจุบัน หากแต่มีมานาน หลายสิบปแี ล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลท่ี 7 มาจนถึงปัจจุบัน เป็นยุคท่ีวิทยาการต่าง ๆ เจริญรุดหน้าไปอย่าง รวดเร็วในราวปี พ.ศ. 2497 ได้มีการเคลื่อนไหวในวงการวดั ผลการศึกษาอย่างมาก ข้อสอบแบบปรนัย (Objective Test) ได้เร่ิมมีบทบาทในโรงเรียนต่าง ๆ มากข้ึน แต่อย่างไรก็ตามแบบทดสอบส่วนมาก เป็นแบบวัดผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นเท่าน้ัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์นิ ี้ได้มีการพัฒนาและปรบั ปรงุ ให้ มีคุณภาพดีขึ้นเร่ือย ๆ จนถึงยุคปัจจุบันนอ้ี ันเปน็ ยุคท่ีวทิ ยาการด้านต่าง ๆ เจริญขึ้นมาก นักการศึกษา เร่ิมสนใจการวัดประเภทความถนัด หรือบุคคลิกภาพมากขึ้น ได้มีการสร้างแบบทดสอบความถนัด ทางการเรียนข้ึนใช้ในการสอบคัดเลือก เช่น การสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัย วิชาการศึกษา การสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถาบันของกรมการฝึกหัดครู รวมทั้งการสอบคัดเลือกเข้า เรียนในโรงเรียนมัธยมแบบแระสม นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2513 โครงการสร้างแบบทดสอบมาตรฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยการนาของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชวาล แพรัตกุล ซึ่งเป็นหัวหน้า สานักงานทดสอบวศ. ประสานมิตร ยังได้สร้างแบบทดสอบมาตรฐานวัดทั้งความถนัดและผลสัมฤทธ์ิ

ทางการเรียนในระดับชั้นประถมปีที่ 7 ขึ้นสาเร็จเป็นชุดแรกของเมืองไทยอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า การวดั ผลของประเทศไทยในปจั จบุ นั นี้ก้าวหนา้ มมี าตรฐานทัดเทียมกับตา่ งประเทศ ระยะที่ 5 (ค.ศ. 1961-ปัจจุบัน) ปี ค.ศ. 1992 วูดรัฟ (Woodruff) ประธานกรรมการของ Graduate Record Examination ได้เสนอการทดสอบโดยประยุกต์ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การ สอบมปี ระสิทธิภาพมากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการประเมินเป็นวิธีการหนงึ่ ท่ีจะเพิ่มประสิทธิภาพของการจดั การศกึ ษาซงึ่ ความเป็นวธิ ที ่ีมีประสทิ ธภิ าพ เมือ่ จานวนผู้เข้าสอบมีมากขน้ึ การจัดการสอบต้องมีระบบ มี มาตรฐานจัดการได้ง่าย มีความเปน็ ปรนัย เช่ือถือได้ โดยมคี ่าใช้จ่ายหรอื ราคาทไ่ี มแ่ พง ความหมายของการวดั และการประเมินผล ความหมายของการวัดและการประเมนิ ผลมีนกั วิชาการและหนว่ ยงานทางการศึกษาได้กาหนด ไว้ ผเู้ ขยี นไดท้ าการรวบรวมและสรปุ ไดด้ งั นี้ นิโลบล นิ่งกิ่งรัตน์ (2545) ได้ให้ความหมายของ การวัดผล (Measurement) หมายถึง ขบวนการในการกาหนดสัญญลักษณ์ หรือตัวเลขให้กับส่ิงใดสิ่งหน่ึงเพ่ือแทนคุณภาพหรือปริมาณของ สิ่งน้ันอย่างมีกฏเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ การทดสอบ (Testing) หมายถึง การนาชุดของส่ิงเร้า หรือกลุ่ม ของ ง า น ไป กร ะตุ้ น ให้ บุ คคล แ ส ด ง พฤติ กร ร มออกมา แ ล้ ว กา ห น ด ว่ า ส่ิ ง ท่ีบุ คคล แ ส ด ง ออกน้ั น แ ท น คณุ ลกั ษณะของสิ่งท่ีต้องการจะวัด ซ่งึ สว่ นใหญแ่ ล้วจะกาหนดค่าของคุณลักษณะนั้นออกมาเปน็ ตัวเลข จึงอาจกล่าวได้ว่าการทดสอบเป็นส่วนหนึ่งของการวัด การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง ขบวนการในการตัดสิน พิจารณา ตคี า่ หรอื ลงสรปุ ว่าสิ่งท่พี จิ ารณาอยู่นน้ั มคี ่าเหมาะสมกบั เกณฑ์ทตี่ ั้งไว้ หรือไม่ เพียงใด และลักษณะที่สาคัญการประเมินผล ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ 1) ต้องเป็น ขบวนการท่ีเปน็ ไปอย่างมีระบบเปน็ ระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ในการกระทา มิใชเ่ ป็นเหตุการณ์ท่ี เกิดขึ้นโดยบังเอิญ 2) การประเมินจะต้องให้ทราบตัวคุณภาพหรือปริมาณของส่ิงของท่ีสังเกต หรือ พิจารณาน้นั ว่ามีคณุ ค่าขนาดใดเม่ือเทียบกบั เกณฑ์ทตี่ ้ังไว้ ศิริชัย กาญจนวาสี (2552) ได้ให้ความหมายของ การวัดผล เป็นกระบวนการกาหนดตัวเลข ให้แก่สิ่งต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ การวัดจะเกิดข้ึนได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบท่ีสาคัญ 3 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมายของการวัดต้องชัดเจน 2) เคร่ืองมีอท่ีใช้ วัดต้องมีหน่วยในการวัดและมาตราเปรียบเทียบ ระหว่างหน่วย 3) การแปลผลและนาผลไปใช้ การทดสอบ เป็นกระบวนการใช้แบบสอบสาหรับ กาหนดหรือบรรยายคุณลักษณะหรือ คุณภาพเฉพาะอย่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพ่ือใช้เป็น สารสนเทศสาหรบั การตัดสินใจ การประเมนิ ผล เป็นกระบวนการตัดสนิ คุณค่าของส่ิงตา่ ง ๆ ตามเกณฑ์

มาตรฐาน โดยท่ัวไปการประเมินต้องอาศัยข้อมูลจากการวัดที่เป็นปรนัยแต่บางคร้ังการประเมินต้อง อาศัยการสังเคราะหข์ อ้ มูลจากแหลง่ ต่าง ๆ เพอ่ื ตัดสนิ คุณคา่ ของสิ่งนั้น สรปุ ไดว้ ่า การวัดผลการศึกษา เป็นกระบวนการกาหนดตวั เลขให้แกพ่ ฤติกรรมของบคุ คลท่ีได้ แสดงออกในการทดสอบตามเกณฑ์ที่กาหนด หรือ เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อท่ีจะได้รวบรวมผลทั้งหมดไป พิจารณาตดั สนิ ใจ การทดสอบ เปน็ การกาหนดสถานการณ์ เงอื่ นไข หรือการใชแ้ บบทดสอบ เพือ่ เป็น ส่ิงเร้ากระตุ้นให้บุคคลหรือผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมตามท่ีต้องการออกมา เพ่ือท่ีจะสามารถวัดและ สังเกตพฤติกรรมน้ัน ๆ ได้ การประเมินผล เป็นกระบวนการในการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวัด พฤติกรรมของบุคคลหรือผู้เรยี น เพื่อนาผลมาพิจารณาตัดสนิ หรือประเมนิ ค่า ตามเกณฑท์ ่กี าหนดหรือ เกณฑ์ มาตรฐานแล้วนาเสนอเป็นข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้สอนที่จะสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการ พัฒนา ผู้สอนและผู้เรียน ตลอดจนการพฒั นาการจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนต่อไป โดยความสัมพนั ธ์ ของการทดสอบ การวดั และการประเมนิ ผลสรปุ ไดด้ งั ภาพที่ 1.1 ภาพท่ี 1.1 ความสมั พันธร์ ะหวา่ งการทดสอบการวดั ผลและการประเมินผล 2. ทฤษฏีการทดสอบ ปรัชญาของการวัดและประเมินผล ทฤษฎีการทดสอบ ในการวัดใด ๆ มีทฤษฎีการทดสอบที่นักวิชาการเก่ียวกับการวัดได้นาเสนอไว้เกี่ยวกับ รปู แบบการวดั ข้อตกลงเบ้ืองต้นการพฒั นาเคร่ืองมือการวเิ คราะห์และการนาไปใช้เพ่ือแก้ปัญหาการ วดั และพฒั นาแบบทดสอบให้มีคุณภาพจาแนกออกเป็น 2 แนวทางตามพัฒนาการดังน้ี (ศิริชยั กาญ จนวาสี, 2552: 35-37) 1. ทฤษฎกี ารทดสอบแบบดัง้ เดิม (Classical Test Theory) เป็นทฤษฎีการทดสอบท่ีใข้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนท่ีได้จากคะแนน ที่ แท้จริงและวิเคราะห์คุณภาพโดยส่วนรวมของข้อสอบและแบบทดสอบที่ใข้สาหรับแต่ ละบุคคลใน

สภาพการทดสอบเฉพาะโดยมีข้อตกลงเบื้องต้นที่สาคัญว่าความคลาดเคลื่อนจากการวัดมีแบบแผน คงที่เหมือนกันสาหรับกลุ่มบุคคลที่ทาแบบทดสอบในภาพรวมโดยไม่สนใจพฤติกรรมการตอบเป็นราย ข้อของแต่ละบุคคลและไม่ใชก่ ารสรปุ อ้างองิ ไปยังความสามารถหรือคะแนนจรงิ ทั่วไปของบุคคล 2. ทฤษฎกี ารทดสอบแนวใหม่ (Modern Test Theory) จาแนกเปน็ 2 ทฤษฎีย่อย ๆ ดงั น้ี 2.1 ทฤษฎกี ารสรปุ อ้างองิ ทางการทดสอบ(Generalizability Theory) แนวคดิ วา่ ความ คลาดเคลื่อนจากการวัดจะมีความแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของการวัดเพื่อศึกษาความเชื่อ โดยทั่วไปของแบบทดสอบภายใตเ้ งื่อนไขต่าง ๆ ของการวัด 2.2 ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory) มีแนวคิดว่าความคลาด เคลอื่ นท่เี กดิ จากการวดั มีความแตกต่างกนั ขนึ้ กับระดบั ความสามารถของแต่ละบุคคล และคุณลักษณะ ของข้อสอบแต่ละข้อพร้อมท้ังพยายามวัดคุณลักษณะภายในหรือความสามารถท่ีแท้จริงของแต่ละ บคุ คล ในปัจจบุ นั ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ได้รับการยอมรบั ว่าใหผ้ ลการวดั ทชี่ ดั เจนตรงประเด็น ที่จะสามารถนาไปใชพ้ ัฒนาข้อสอบและแบบทดสอบให้สามารถนาไปใข้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้ สามารถระบุนัยทั่วไปของคะแนนจริงคุณภาพของแบบทดสอบตามเง่ือนไขของการทดสอบรวมทั้ง ประเมินความสามารถท่แี ทจ้ ริงและบรรยายพฤติกรรมการตอบสนองข้อสอบของผสู้ อบได้เป็นอยา่ งดี ปรชั ญาของการวดั และประเมินผล ปรัชญาของการวัดผลและประเมินผลมีดงั น้ี (ซวาล แพรัตกุล, 2518: 34) 1. การวดั ผลและการประเมนิ ผลเป็นสว่ นหนึง่ ของการเรียนการสอน 2. การวัดและประเมินผลควรกาหนดจุดประสงค์ที่มุ่งเน้นที่ศักยภาพ หรือสมรรถนะ ของผูเ้ รียนมากกว่าความจา 3. การวัดและประเมินผลเพอื่ วนิ จิ ฉัยแล้วนาผลไปปรับปรงุ แกไขในการเรยี นการสอน 4. การวัดและประเมินผลเพื่อประเมินค่าในความเหมาะสมในความสามารถของ ครผู ู้สอน หลกั สตู รและการจดั การเรียนการสอน 5. การวัดและประเมินผลเพ่ือค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์ท่ีจาแนก ออกเป็น 2 ขั้นตอนดังน้ี 1) การวัดผลและประเมินผลใช้เพื่อค้นหาหรือตรวจสอบว่าผู้เรียนมี สมรรถภาพ ในระดับใดหรือมีจุดบกพร่องท่ีต้องได้รับการส่งเสริมหรือแก้ไข 2) ครูผู้สอนนาข้อมูล ดังกลา่ วมาวางแผนเพือ่ ท่ีจะพฒั นาผ้เู รียนให้บรรลจุ ุดมงุ่ หมายท่กี าหนดไว้ได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพต่อไป 3. ความมุง่ หมายของการวัดและประเมินผล ในการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งจะมีการกาหนดความมุ่งหมายในการวัดและ ประเมินผลท่ีแตกต่างกันดังนี้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริลุทธ้ื, 2535: 32-34 ; วิรัซ วรรณรัตน์, 2539: 2327) 1. เพื่อการจัดตาแหน่ง (Placement) เป็นการวัดผลเพื่อนาผลมาระบุว่าผู้เรียนมีความรู้ใน

ระดับหรือตาแหน่งใดของกลุ่มได้ถูกต้องชัดเจนหรืออาจจะพิจารณาตัดสินโดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน เพ่อื ที่จะระบวุ ่าผ้เู รยี นรอบรู้-ไมร่ อบรู้ หรือ เกง่ -ปานกลาง-ออ่ น เปน็ ต้น 2. เพ่ือการคัดเลือก (Selection) เป็นการวัดความรู้ทักษะและเจตคติเพื่อนาผลมาใช้ พิจารณา ในการดดั เลอื กเพื่อการดาเนนิ การตามวตั ถุประสงค์ เช่น การคดั เลือกเข้าศกึ ษาต่อ เป็นต้น 3. เพื่อการวินิจฉัย (Diagnostic) เป็นการวัดผลเพ่ือนาผลมาใช้ในการพิจารณาจุดเด่น-จุด ด้อย เก่ง-อ่อนของผู้เรียน ในการหาวิธีการหรือแนวทางการจัดกิจกรรมเพ่ือซ่อมเสริมหรือส่งเสริมได้ ตรงประเด็นและมปี ระสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน 4. เพื่อการเปรียบเทียบพัฒนาการ(Assessment) เป็นการวัดผลเพื่อนาผลมาใช้พิจารณา พัฒนาการท่ีเกิดข้ึนของผู้เรียนคนเดียวกันในชว่ งเวลาท่ีแตกต่างกันหรือได้รับเง่ือนไขท่ีแตกต่างกันตาม จุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้ เช่น การสอบก่อน-หลัง แล้วนาผลการทดสอบมาพิจารณา เปรียบเทยี บกนั เป็นต้น 5. เพื่อการพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดผลเพื่อนาผลมาใช้คาดคะเนความสาเร็จท่ีจะ เกิดข้ึนของผู้เรียน ใช้เพ่ือระบุสิ่งท่ีจะต้องศึกษาต่อแล้วประสบความสาเร็จในอนาคต อาทิ การ ทดสอบ วัดแววความเป็นครู หรือ การทดสอบความถนดั ทางวศิ วกรรมศาสตร์ เปน็ ตน้ 6. เพ่ือการประเมินค่า (Evaluation) เป็นการวัดผลเพ่ือนาผลไปประเมินผลในภาพรวมว่า ผู้เรียนมีความสาเร็จมากหรือน้อยเพียงใด เช่น การทดสอบปลายภาคเรียนหรือการประเมินผล ความสาเร็จในการจัดการศกึ ษาในระดบั ชาติ หรอื จังหวดั เปน็ ต้น 7. เพ่ือจูงใจการเรียน (Motivating Learning) โดยการวัดผลที่ดีจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียน เกิดนิสัยการเรียนรู้ที่ดีและทาให้รู้สถานภาพของตนเองแล้วหาแนวทาง หรือ วิธีการแก้ไขปรับปรุง ตนเอง ตามคาแนะนาของครผู สู้ อน 8. เพ่ือรักษามาตรฐาน (Maintaining standard) เป็นการวัดผลเพ่ือนาผลไปใช้ตรวจสอบ คุณภาพของผเู้ รยี นวา่ มมี าตรฐานตามทีก่ าหนดไวห้ รอื ไม่อย่างไร 4. หลักการของการวัดและประเมินผลการศกึ ษา การวดั ผลและประเมินผลในพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนทเ่ี กิดข้นึ ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ น้ันตอ้ งมีหลกั การทจี่ ะต้องนาไปปฏิบัตดิ ังนี้ (วริ ัช วรรณรัตน์, 2535: 15-16) 1. กาหนดจุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผลให้ชัดเจนในลักษณะของจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมที่ได้ระบุพฤติกรรมของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้นและจะสามารถวัดได้หรือสังเกตได้เม่ือ สน้ิ สุดการเรียนการสอนแล้วท้ังใน ด้านพุทธิพิสยั จิตพสิ ัยหรือทักษะพิสยั 2. เลือกใช้วิธีการวัด เคร่ืองมีอท่ีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับจุดประสงค์นั้น ๆ เพราะจะ ทาให้ผลที่ได้จากการวัดมีความน่าเช่อื ถอื มากยิ่งข้ึน 3. เลือกใช้เคร่ืองมือการวัดผลท่ีมีคุณภาพเนื่องจากผลที่ได้จากการวัดจะต้องนาไปใชใ้ นการ ประเมินเพื่อตัดสินคุณค่าหรือตัดสินใจดังนั้นจาเป็นต้องมีความมั่นใจว่าผลนั้น ๆ เกิดจากเครื่องมีอที่มี

คุณภาพอย่างแท้จรงิ 4. ในการวัดผลแต่ละครั้งครูผู้สอนควรจะเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือวัดผลที่หลากหลาย เพื่อชว่ ยลดความคลาดเคล่ือนที่เกิดจากขอ้ บกพร่องของวธิ กี ารหรอื เครื่องมอื น้ัน ๆ 5. ใชผ้ ลจากการวดั ท่ีมีความคุ้มคา่ กลา่ วคือการวัดผลจะได้รับข้อมูลท่ีแสดงใหเ้ หน็ ว่าผู้เรียน ได้บรรลุจุดประสงค์ที่กาหนดไว้หรือไม่เพ่ือนาข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุง การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนหรือการแนะแนวการศึกษาต่อหรือการพัฒนาระบบการบวิหารการเรียนการสอนใน โรงเรยี น เปน็ ต้น 6. เลอื กใชเ้ ครือ่ งมือท่ีมีความยตุ ิธรรมไม่เปดิ โอกาสใหผ้ ู้สอบไดเ้ ปรียบและเสยี เปรยี บกัน 7. มีวิธีการดาเนินการสอบที่มีคุณภาพ เช่น ไม่แนะคาตอบหรือควบคุมดูแลผู้สอบอย่าง ใกลช้ ดิ ไมใ่ หม้ กี ารคดั ลอกคาตอบซึง่ กันและกัน เป็นตน้ 8. คุณธรรมของครผู สู้ อนในการวดั และประเมินผล

5. ประโยชนข์ องการวดั และประเมินผล ประโยชนใ์ นการวดั และประเมินผลมีอย่างมากมาย ซง่ึ สามารถจาแนกคุณประโยชนข์ องการ วัดและประเมินผลการศึกษาตามผ้ทู ่เี กี่ยวข้องดังนี้ (พิชติ ฤทธ์ิจรญู , 2545: 23-25) 1. ประโยชน์ต่อผเู้ รียน 1.1 ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองในแนวทางที่เหมาะสมโดยจะใช้ผลจากการประเมิน ความสามารถของตนเอง 1.2 ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนเพ่ือท่ีจะรักษามาตรฐานและส่งผลให้ม่ผลการเรียนที่ ดขี น้ึ ตามลาดบั 1.3 ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระเพ่ิมข้ึนเพราะการวัดและประเมินผลใน แตล่ ะคร้งั เน้นให้ผเู้ รยี นจะต้องมีการทบทวนเน้ือหาสาระเพมิ่ เติมเสมอ ๆ 1.4 ก่อให้เกิดการรับทราบจุดประสงค์การเรียนที่ชัดเจนเน่ืองจากจะได้รับการแจ้ง จุดประสงคก์ อ่ นเรียนทกุ ครง้ั สง่ ผลต่อการกาหนดแนวทางในการเรยี นรู้ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ 2. ประโยชน์ต่อครผู ้สู อน 2.1 ได้รับทราบผลการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนว่าเก่ง-อ่อน หรือ ได้-ตก เพ่ือท่ีจะได้ แสวงหาวิธกี ารเพื่อแกไ้ ขท่ถี ูกตอ้ ง 2.2 รับทราบการบรรลุจุดประสงค์ของผู้เรียนว่ามาก-น้อย เพ่ือใช้เป็นดัชนีบ่งช้ีท่ี สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนว่าเป็นอย่างไรอันจ ะ นาไปใช้เปน็ ขอ้ มูลพืน้ ฐานในการแสวงหาและพัฒนาวธิ กี ารและเทคนคิ การสอน 2.3 ได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนท่ีครูผู้สอนอาจใช้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด ความสนใจในการเรียนมากยิง่ ขึน้ 2.4 นาขอ้ มลู มาดาเนนิ การด้วยวิธีการทางสถิตเิ พ่ือหาดชั นีบ่งชี้คุณภาพของเคร่ืองมือวัด การเรียนรู้ว่าเป็นอย่างไรควรมีการปรับปรุงหรือแก้ไขในส่วนใดเพ่ือให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพมาก ยิง่ ขน้ึ 3. ประโยชน์ตอ่ ผู้บรหิ าร 3.1 ได้รับทราบข้อมูลท่ีเป็นดัชนีบ่งขึ้มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนทั้งในส่วนของ ผู้เรยี น และครผู ้สู อน 3.2 ได้รับข้อมูลในการนาไปประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้ผู้ปกครองและผู้ท่ีสนใจในการ ดาเนินงานของโรงเรียนไดร้ ับทราบ 3.3 ได้รับข้อมูลในการนามาพิจารณาประกอบการตัดสินใจแก้ไขปัญหา พัฒนาและ ดาเนนิ งานบรหิ ารโรงเรียนให้มีความเจรญิ ก้าวหนา้ ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ 4. ประโยชน์ตอ่ ผปู้ กครอง 4.1 ได้รบั ทราบข้อมลู เกีย่ วกบั ความรู้ความสามารถสมรรถภาพหรือคุณลักษณะของบุตร หลานของตนเอง

4.2 ได้รบั ทราบขอ้ มูลในการทาความเขา้ ใจหรือแก้ไขพฤติกรรมทีเ่ กิดขึ้นของบตุ รหลาน ไดอ้ ย่างถูกต้องรวดเร็ว 5. ประโยชนต์ ่อครูแนะแนว ผลจากการวัดใช้เป็นข้อมูลพนื้ ฐานให้คาปรึกษาแนะนาผเู้ รยี นในการเลือกเพ่ือศึกษาต่อ หรอื การประกอบอาชพี การความสามารถหรือการแก้ไขปัญหาทเ่ี กิดขึน้ ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ 6. คณุ ธรรมของครผู สู้ อนในการวัดและประเมินผล ในการดาเนินการวดั และประเมนิ ผลการศกึ ษาท่ีถกู ต้องน่าเชอื่ ถอื และมีประสิทธิภาพในการ นาผลที่ไดร้ ับมาใชน้ น้ั ครูผู้สอนที่ทาหน้าที่ในการวัดและประเมินผลจะต้องเปน็ บุคคลท่ีมีคุณธรรม ดังนี้ (สมชาย วรกจิ เกษมสกุล,2556 : 22) 1. ความรับผิดชอบ เป็นความสามารถในการควบคุมตนเองให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ สาเร็จ ไม่ละท้ิงงานในหน้าท่ีให้เป็นภาระแก่ผู้อ่ืนในการปฏิบัติงานมีการวางแผนอย่างรอบคอบและไม่ ปฏิเสธผลลพั ธ์จากการปฏบิ ัติท่ีเกิดจากตนเองหรือเพ่ือนร่วมงาน 2. ความซ่ือสัตย์สุจริต เป็นความสามารถในการควบคุมตนเองที่ไม่นาความสามารถไปใช้ ในทางท่ีทุจริตหรือก่อให้เกิดผลทางด้านลบในการปฏิบัติงานเพื่อเอ้ือประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้ที่ เก่ยี วข้อง 3. ความมีวินัยในตนเอง เป็นความสามารถในการควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติแต่ใน สิ่งท่ีดีงามโดยไม่เปล่ียนแปลงความต้ังใจท่ีจะปฏิบัติดีอย่างง่าย ๆ เม่ือมีผลประโยชน์มาเป็นสิ่งเร้า กระตนุ้ ให้ปฏิบัตใิ นสิ่งท่ไี ม่ถกู ต้อง 4. ความขยันอดทน เป็นความสามารถในการควบคุมตนเองให้เกิดความเพียรพยายามใน การทุ่มเทกาลังกายและกาลังใจในการปฏิบัติงานวัดผลที่เป็นงานที่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนและเง่ือนไข ในการปฏบิ ัติทหี่ ลากหลาย 5. ความยุติธรรม เป็นความสามารถในการควบคุมตนเองในการพิจารณาตัดสิน สมรรถภาพ เชิงเปรียบเทียบหรือการให้คะแนนในพฤติกรรมท่ีเกิดจากการใช้เคร่ืองมีอที่หลากหลาย โดยไมเ่ หน็ แกผ่ ลประโยชน์ท่ตี นเองจะได้รบั หรอื ผลประโยชนข์ องผสู้ อบคนใดคนหนึ่งเปน็ สาคัญ 6. เจตคติทด่ี ตี ่อการวัดผล เป็นความร้สู กึ ทีม่ ีต่อการวัดผลว่าเป็นเคร่ืองมือเชิงบวกท่ชี ว่ ยใน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหรือเป็นการประเมินคุณภาพและมาตรฐานความรู้ของผู้สอบไม่ใช่ เป็นวิธีทใ่ี ช้เพอ่ื จุดประสงคท์ มี่ ผี ลทางดา้ นลบต่อผู้สอบ 7. ความใจกว้าง เป็นพฤตกิ รรมท่ยี อมรบั ในความคิดเห็นของบุคคลอน่ื ที่แสดงความคดิ เห็น ท้ังในเซิงบวกและเซิงลบเพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแก้ไขและปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ เกิดผลที่ดีขึ้นและเป็นผู้ท่ีเผยแพร่ความรู้การวัดผลและประเมินผลของตนเองให้แก่บุคคลอ่ืน เพ่ือ ก่อให้เกิดการพฒั นาในการวัดผลและประเมนิ ผลที่ถูกต้องและชดั เจนอยา่ งแพรห่ ลาย 8. มมี นุษยส์ มั พันธ์ เป็นพฤตกิ รรมที่จะต้องนามาใซ้ในการประสานการทางานรว่ มกับผู้อ่ืน ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของงานวัดผลและประเมินผลที่จาเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือและมีความ

เขา้ ใจเปน็ อยา่ งดีจากผ้ทู เี่ กี่ยวข้อง 9. แสวงหาความรู้และใข้หสักวิชาให้เกิดการพัฒนาในวิชาชีพ เป็นพฤติกรรมท่ีจะต้องใช้ ตลอดเวลาเนื่องจากในการวัดผลและประเมินผลจะมีความรู้และหลักวิชาท่ีเกิดขึ้นใหม่ ๆ อย่าง ต่อเนื่องและหลากหลาย ดังนั้นผู้ท่ีปฏิบัติงานท่ีเก่ียวกับการวัดผลและประเมินผลควรได้ศึกษาทจี่ ะนา ความรแู้ ละหลงั วชิ าเหลา่ นน้ั มาใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชนต์ ่อผสู้ อบและเผยแพร่ใหแ้ กผ่ ทู้ ่ีเกยี่ วขอ้ งได้รับทราบ 10. รักษาความลับ เป็นพฤติกรรมในการรักษาหรือปกปิดข้อมูลในเครื่องมือที่ใช้ในการ วัดผล และผลการประเมินของผู้สอนทกุ คนเพือ่ ป้องกันไมใ่ ห้เกิดผลกระทบต่อบุคคลเหล่าน้ัน 7. สรปุ การวัดและการประเมนิ ผลเป็นกระบวนการซ่ึงประกอบด้วยการวัดซึ่งเปน็ การกาหนดตัวเลข ให้กับข้อมูลใด ๆ โดยการเร้าให้ผู้ถูกทดสอบแสดงพฤติกรรมที่ต้องการวัดเช่น การทดสอบโดยเม่ือได้ ข้อมูลจากการวัดแล้วจึงนาไปสู่การประเมินผลเพื่อตัดสินคุณค่าของข้อมูลน้ัน ๆ ตามเกณฑ์ที่กาหนด หรือเกณฑ์มาตรฐาน แล้วนาเสนอเป็นข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้สอนที่จะสามารถนาไปใชเ้ ป็นแนวทางใน การพฒั นาผสู้ อนและ ผเู้ รียน ตลอดจนการพัฒนาการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนต่อไป 8. แบบฝกึ หัด คาช้ีแจงให้ตอบคาถามจากประเด็นที่กาหนดให้อยา่ งถูกต้องและชดั เจน 1. จงอธบิ ายความหมาย และความสัมพันธร์ ะหว่าง \"การทดสอบ\" \"การวัดผล\"และ \"การ ประเมินผล\" พรอ้ มยกตัวอยา่ งประกอบ มาพอสังเขป 2. จงอธิบายวา่ เพราะเหตุใดในการเรยี นการสอนครผู สู้ อนจึงจาเป็นต้องมี \"การวัดและ ประเมินผล\" 3. จงอธบิ ายถงึ ความทฤษฏกี ารทดสอบและปรชั ญาการวดั และประเมนิ ผลมาพอสงั เขป 4. จงอธิบายถึงความเหมือนละความแตกต่างของการประเมินแบบ Formative กับ Summative พรอ้ มยกตัวอยา่ งประกอบ 5. นกั ศกึ ษาคดิ วา่ คณุ ธรรมของนักวดั และประเมินผลขอ้ ใดสาคญั ทีส่ ดุ เพราะเหตใุ ด 9. Link ทนี่ ักศกึ ษาจะเขา้ ไปทาการศกึ ษาด้วยตนเอง

1. https://www.youtube.com/watch?v=BTI5w9iFDqo&t=61s 10. แหลง่ ค้นคว้าเพิม่ เตมิ ซวาล แพรัตกุล.(2518).เทคนิคการวดั ผล.พิมพ์ครงั้ ท่ี 6.กรงุ เทพฯ : วัฒนาพานิซ. ชูศรี ตันพงศ.์ (2546.) ประเมินพฒั นาการ : มติ ิใหม่แหง่ การพฒั นาศกั ยภาพผู้เรยี น. กรุงเทพฯ: มูลนิธสิ ดศรี-สวัสดิวงศ์. บญุ เชิด ภญิ โญอนันตพงษ.์ (2545). การประเมนิ การเรยี นรู้ท่เี น้นผเู้ รยี นเปน็ สาคัญ : แนวคิดและ วิธีการ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิซ. บญุ ธรรม กิจปรดี าบรสิ ทุ ธไิ (2535). การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน. กรงุ เทพฯ: สามเจริญพานิซ, _____ .(2539) “จุดประสงค์การสอนและการสอบ”ในวารสารวัดผลการศกึ ษา. ปที ี่ 17 ฉบบั ท่ี 51. มกราคม-เมษายน. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวดั และประเมนิ ผลการศกึ ษา. พิมพ์ครง้ั ที่ 2. กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เคอรม์ ีสท์. ภัทรา นิคมานนท์. (2543).การประเมินผลการเรียน. กรงุ เทพฯ: ทิพยวสิ ทุ ธ์ิ. วิรัซ วรรณรัตน์,(2535)“หน่วยท่ี 1 แนวคดิ ของการวดั และการประเมนิ ผลระดบั ประถมศึกษา” ในเอกสารประกอบการสอนชุดวชิ าการวัดและประเมนิ ผลกลุม่ วิชาทกั ษะและสรา้ งเสริม ประสบการณ์ หน่วยที่ 1 - 7 . นนทบุร:ี โรงพิมพ์มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าซ. คิริชยั กาญจนวาสี.(2552) ทฤษฎีการทดสอบดง้ั เดิม. พิมพ์คร้ังท่ี 6.กรุงเทพฯ: โรงพมิ พแ์ ห่ง จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. สมซาย วรกจิ เกษมสกุล.(2556).การวัดและ,ประเมินผลการศึกษา. พิมพ์คร้ังที่ 5. อุดรธานี: โรง พิมพ์ อักษรณ์ศลิ ปี. สมนึก ภัททิยธนี.(2545).การวดั ผลการศกึ ษา.กาฬสินร:ุ ประสานการพมิ พ์. สมหวงั พธิ ยิ าบวุ ัฒน์.(2535) “ความรพู้ ้ืนฐานสาหรบั การประเมินโครงการทางการศึกษา”. กรงุ เทพฯ:สานกั พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . สุวิมล ว่องวาณซิ , (2546).รายงานการวิจยั การประเมนิ : ข้อเสนอแนะเซิงนโยบาย. กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .

บทที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา สาระการเรียนรู้ 1. การจาแนกพฤตกิ รรมทางการศกึ ษา 2. พฤตกิ รรมการศกึ ษาดา้ นพทุ ธพิ สิ ยั 3. พฤติกรรมการศึกษาด้านจิตพิสัย 4. พฤตกิ รรมการศกึ ษาดา้ นทกั ษะพสิ ยั 5. จดุ ม่งุ หมายเชิงพฤตกิ รรม 6. ประโยชนข์ องจุดมงุ่ หมายเชิงพฤติกรรม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความหมายของพฤติกรรมทางการศึกษาได้ 2. อธิบายความสัมพนั ธข์ องพฤติกรรมดา้ นพุทธพิ สิ ัย ด้านจิตพสิ ัยและด้านทักษะพิสยั ได้ 3. อธบิ ายองคป์ ระกอบของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้ 4. บอกประโยชน์ของจุดม่งุ หมายเชิงพฤตกิ รรมได้

1. การจาแนกพฤตกิ รรมทางการศึกษา พฤติกรรมการศึกษา เป็นคุณลักษณะของผู้เรียนท่ีเกิดจากการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมการ เรยี นรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ดงั น้ันผู้สอนหรือบุคลากรท่ที าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จาเปน็ ตอ้ งทราบรายละเอยี ดของจดุ มุ่งหมายทางการศึกษาอย่างชดั เจน เพื่อสรา้ งความเขา้ ใจใหต้ รงกัน ทุกฝ่าย จาก บลูม และคณะ (Benjamin Bloom and other, 1971) ได้จาแนกพฤติกรรมทางการ ศกึ ษาออกเป็น 3 ด้านคือ 1) พฤตกิ รรมด้านพุทธพิ สิ ยั (Cognitive Domain) 2) พฤติกรรมดา้ นจิตพิสัย (Affective Domain) 3) พฤติกรรมดา้ นทักษะพสิ ยั (Psychomotor Domain) การจาแนกพฤตกิ รรมดา้ นพทุ ธพิ ิสัย พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย เกิดจากพลังความสามารถทางสมอง ซึ่งไปมีปฏิสัมพันธ์กับ ส่ิงแวดล้อม หรือสงิ่ เร้าทาใหเ้ กิดการเรียนรขู้ ้นึ ในตวั บุคคล ประสบการณต์ า่ ง ๆ มีมากมายหลากหลายมี ท้ังง่าย ๆ และยุ่งยากซับซ้อน ทาให้ต้องจัดจาแนกระดับความสามารถ ทางสมอง หรือสติปัญญา ออกเป็นระดบั ตา่ งๆ โดยบลมู และคณะ ได้ร่วมกันจัดจาแนกออกเปน็ 6 ระดบั จากนัน้ ในช่วงระหว่างปี 1990 - 1999 เดวิด แครทโวทล์ (David Krathwohl) ซ่ึงเป็นหน่ึงในคณะท่ีได้ร่วมสร้างจุดมุ่งหมาย การศึกษาเติม และโลริน แอนเดอร์สัน (Lorin Anderson) ลูกศิษย์คนหนึ่งของบลูมได้รวบรวม นักจิตวิทยา นักทฤษฎีหลักสูตร นักวิจัย ทางด้านการเรียนการสอน และผู้เช่ียวชาญทางด้านวัดและ ประเมินผล เพ่ือปรับปรุงจุดมุ่งหมาย การศึกษาด้านพุทธิพิสัย ของบลูม โดยมีรายละเอียดของการ จาแนกพฤติกรรมย่อยแต่ละระดับดังนี้ (สุรชยั มีชาญ, 2540 : 37-41) ตาราง 2.1 การเปรียบเทยี บกระบวนการทางปัญญาท่ใี ชค้ าศัพท์เดิมและคาศัพท์ใหม่ คาศัพท์เตมิ คาศพั ท์ใหม่ 1. ความรู้ (Knowledge) 1. จา (Remembering) ความสามารถในการ 1.1 ความร้เู ฉพาะเจาะจง (Specifics) ระลกึ ได้แสดงรายการได้ บอกได้ ระบุ บอกชือ่ 1) ความรู้เกี่ยวกับคาศัพท์และ ได้ ตัวอยา่ งเช่น นักเรยี นสามารถบอก นิยาม (Terminology) ความหมายของทฤษฎีได้ 2) ความรู้เก่ียวกับข้อเท็จจริงเฉพาะ (Specific Facts) 1.2 ความรู้เก่ียวกับวิธีดาเนินการเฉพาะ อย่าง (Way and Means of Dealing with Specifics) 1) ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน (Conventions)

คาศัพท์เติม คาศพั ทใ์ หม่ 2) ความรู้เก่ียวกับลาดับข้ันและ แนวโน้ม (Trend and Sequence) 3) ความรู้เก่ียวกับการจาแนกประเภท แ ล ะ จั ด ก ลุ่ ม (Classification and Categories) 4) ความรู้เกีย่ วกบั เกณฑ์ (Criteria) 5) ค ว า ม รู้ เ ก่ี ย ว กั บ วิ ธี ก า ร (Methodology) 1.3 ความรู้รวบยอดและนามธรรมในแต่ ละเนื้อเร่ือง (Universal and Abstractions in a Field) 1) คว ามรู้ เก่ียว กับหลักวิช าและ ข้ อ ส รุ ป อ้ า ง อิ ง (Principles and Generalizations) 2) ค ว า ม รู้ เ กี่ ย ว กั บ ท ฤ ษ ฎี แ ล ะ โครงสรา้ ง (Theories and Structures) 2. ความเขา้ ใจ (Comprehension) 2. เข้าใจ (Understanding) ความสามารถใน 2.1 การแปลความ (Translation) การแปลความหมาย ยกตัวอย่าง สรุป อ้างอิง 2.2 การตคี วาม (Interpretation) ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถอธิบายแนวคิด 2.3 การขยายความ (Extrapolation) ของทฤษฎีได้ 3. การนาไปใช้ (Application) 3. ประยุกต์ใช้ (Applying) ความสามารถใน เปน็ ความสามารถในการประยุกต์หลักการ การนาไปใช้ ประยุกต์ใช้ แก้ไขปัญ ห า เทคนิค แนวคิด หรือ ทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถใช้ความรู้ใน แกป้ ัญหาในสถานการณท์ ี่แปลกใหม่ การแก้ไขปัญหาได้ 4. การวเิ คราะห์ (Analysis) 4. วิเคราะห์ (Analysing) ความสามารถในการ 4.1 การวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Analysis เปรียบเทียบ อธิบาย ลักษณะ การจัดการ of Elements) ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถบอกความ 4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Analysis แตกต่างระหว่าง 2 ทฤษฎีได้ of Relationships) 4.3 การวิเคราะห์หลักการ (Analysis of

คาศัพทเ์ ติม คาศัพทใ์ หม่ Organizational Principles) 5. การสังเคราะห์ (Synthesis 5. ประเมินค่า (Evaluating) ความสามารถใน 5.1 การสังเคราะห์ข้อความ หรือการ การตรวจสอบ วิจารณ์ ตัดสินตัวอย่างเช่น ถ่ า ย ท อ ด ค ว า ม คิ ด (Production of a นักเรียนสามารถตดั สินคณุ คา่ ของทฤษฎไี ด้ Unique Communications) 5.2 การสังเคราะห์แผนงาน หรือเสนอ โครงการดาเนินงาน (Production of a Plan, or Proposed Set of Operation) 5.3 การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ ของส่ิง ท่ี เ ป็ น น า ม ธ ร ร ม (Derivation of Set of Abstract Relation) 6. การประเมินคา่ (Evaluation) 6. คิดสร้างสรรค์ (Creating) ความสามารถใน 6.1 การตัดสินโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายใน ก า ร อ อ ก แ บ บ (Design) ว า ง แ ผ น ผ ลิ ต เ ห ตุ ก า ร ณ์ (Judgments in Terms of ตัวอย่างเช่น นักเรียนสามารถนาเสนอทฤษฎี Internal Evidence) ใหม่ทีแ่ ตกต่างไปจากทฤษฎเี ดมิ ได้ 6.2 การตัดสินโดยใช้เกณฑ์ภายนอก (Judgments in Terms of External Criteria) การจาแนกพฤตกิ รรมด้านจิตพิสยั พฤติกรรมด้านจิตพิสัยน้ี คือกลุ่มของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาท่ีเกี่ยวกับ ความรู้สึก ซ่ึงเป็น รากฐานที่ก่อเกิดบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยของบุคคล พฤติกรรมด้านน้ี จัดเป็นพฤติกรรมที่แอบ แฝงซ่อนเร้นอยภู่ ายใน ต้องกาหนดสถานการณ์ให้แสดงออกยาก ทาให้ วัดยาก และต้องใช้เวลานาน แต่อย่างไรก็ตามครูสามารถปลูกฝังพฤติกรรมด้านนี้ให้ผู้เรียนได้ โดยต้องใช้เวลาต่อเน่ืองกัน พอสมควร จะหวังผลในช่วงเวลาสนั้ ๆ ไม่ได้ เพราะการเกิดพฤติกรรมด้านน้ี ต้องผ่านกระบวนการไป ตามลาดับ จนเกิดเป็นทัศนคติ และพัฒนาเป็นค่านิยม ต่าง ๆ ในที่สุดค่านิยมท่ีเกี่ยวข้องกันก็จะ จดั ระบบขึ้น และกลายมาเปน็ ตัวท่กี าหนดลักษณะ นิสัยของบุคคลในที่สดุ การจาแนกพฤตกิ รรมด้าน น้ี มีผลงานของ รเท!โฮวล์ (Krathwohl,David R.) ซึ่งจาแนกเป็นลาดับขึ้นของการเกิดพฤติกรรม

สรปุ ได้ 5 ข้ึนดงั น้ี 1. ขึ้นรับรู้ (Receiving) เป็นข้ึนแรก ท่ีเร่ิมจากการท่ีบุคคลรับรู้สิ่งเร้า หรือ ปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ทก่ี ระทบประสาทสมั ผัสตา่ งๆ จนเกดิ ความรสู้ ึกสนใจสงิ่ น้ัน 2. ขึ้นตอบสนอง (Responding) หลังจากที่รับรู้ในขึ้นแรกแล้ว บุคคลจะมี พฤติกรรม ตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะท่ีเต็มใจ หรือไม่เต็มใจ ยินดีพอใจ หรือไม่ยินดีพอใจ ตอบสนอง โดย บางครง้ั เราสามารถสังเกตกริยาอาการหรอื การกระทาได้ 3. ขั้นเห็นคุณค่า หรือ สร้างค่านิยม (Valuing) หลังจากบุคคลมีพฤติกรรม ตอบสนอง ต่อส่ิงเร้าในลักษณะ เต็มใจ ยินดี พอใจ แล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกในคุณค่าของส่ิง น้ัน ซึ่งมักจะต้อง ยึดถือกฎเกณฑ์ของกลุ่ม หรือสังคมมาใช้ในการตัดสินใจให้คุณค่า และ กลายเป็นสิ่งท่ีมีอิทธิพลต่อ การควบคมุ ทิศทางของพฤติกรรม ซ่งึ เรียกวา่ ค่านิยม นั้นเอง 4. ข้ันจัดระบบค่านิยม (Organization) เมื่อบุคคลมีค่านิยมหลายๆ อย่างซึ่งเป็น ค่านิยมย่อยๆ ก็จะเกิดการจัดระบบค่านิยม โดยการจัดลาดับความสาคัญของค่านิยมและ สัมพันธ์ เชื่อมโยงค่านยิ มท่ีเก่ยี วขอ้ งกัน กลายเป็นคติหรอื แนวทางการประพฤตปิ ฏิบด 5. ข้ันสร้างลักษณะนิสัยจากค่านิยม (Characterization) เป็นขั้นสุดท้าย หลังจาก ที่ คา่ นยิ มตา่ งๆ สามารถสมั พนั ธ์กันเป็นระบบแลว้ ก็จะมพี ัฒนาบุคลิกภาพ หรือ สักษณะนสิ ัย ของบุคคล ให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะอยู่ในระดับท่ีปรับสักษณะนิสัยให้สอดคล้องกับความ คาดหวังของ สังคมเพราะเป็นส่ิงที่ช่วยให้คนเป็นคนดีเป็นที่ยอมรับของผู้อ่ืน เช่น การพยายาม ให้ความช่วยเหลือ และมีน้าใจต่อเพ่ือน และในขั้นสมบูรณ์ จะพัฒนาเป็นสักษณะนิสัยถาวรมีการ กระทาแบบอัดโนมีด หรือทาเปน็ กิจนิสัย เชน่ เปน็ คนมีน้าใจตอ่ ผอู้ ่ืนทกุ คนคนอยา่ งจริงใจ จาแนกพฤติกรรมด้านทักษะพสิ ยั พฤติกรรมด้านทักษะพสิ ัยนี้ เป็นความสามารถของบุคคลในการใช้อวัยวะตา่ ง ๆ ของรา่ งกาย ทางานอย่างประสานสมั พันธ์กัน โดยจะมขี น้ั ตอนของการเกิดพฤตกิ รรมไป ตามลาดบั ดังเชน่ ซิมพส์ นั (Simpson, Elizabeth J.) ได้จัดจาแนกไว้ 7 ขนั้ ดงั นี้ 1. การรับรู้ (Perception) เป็นจดุ เริ่มตน้ ของการเกดิ พฤติกรรม ด้านการรับ สัมผัสส่งิ เรา้ ผา่ นทางประสาทสมั ผสั ต่างๆ เชน่ หู ตา จมกู ลิน้ ผวิ กาย 2. การเตรียมความพร้อม (Set) คือการเตรียมตัวกระทา หรือการปรับตัวให้อยู่ ใน สภาพพร้อมทีก่ ระทา ซึ่งมี 3 ด้าน คอื ดา้ นสมองจะเตรยี มความรซู้ ่ึงมีมาก่อน ดา้ นร่างกาย จะเตรยี ม เก่ียวกบั กล้ามเนอื้ และด้านอารมณ์จะเตรียมความรู้สึกในการให้คณุ ค่าตอ่ สง่ิ ท่จี ะปฏบิ ตั ิ 3. การตอบสนองตามแนวช้แี นะ (Guided Response) เปน็ การเริม่ พฒั นาทักษะ โดย การแสดงพฤติกรรมเลยี นแบบตามผู้แนะนาหรือครู ในข้นั น้จี ะเป็นขัน้ ลองผดิ ลองถูก

4. การปฏบิ ตั ิได้ดว้ ยตนเอง (Mechanism) คือการที่บคุ คลสามารถปฏิบัตงิ านได้ ดว้ ย ความเชอื่ มั่นในตนเอง มผี ลสมั ฤทธิ์ทีน่ า่ พอใจ 5. การตอบสนองที่ซับซ้อน (Complex overt Response) เป็นข้ันที่สามารถ กระทา หรือปฏิบตงานท่ีซับซ้อนได้ แม้จะต้องใช้ทักษะขั้นสูงก็สามารถทาได้อย่างชานาญ หรือได้ อย่างอัตโนมัต 6. การดัดแปลง (Adaptation) หลังจากท่ีสามารถปฏิบตั ิได้อย่างชานาญแลว้ เมื่อบุคคล ตอ้ งแกป้ ัญหาบ่อยๆ ก็จะพัฒนาวิธีการเตมิ ใหม้ ีประสทิ ธิภาพยง่ิ ข้ึน เพ่อื ลดขน้ั ตอน ลดเวลา หรือ เพ่มิ คุณภาพผลงาน การริเริ่ม (Origination) เป็นข้ันสูงสุดของการพัฒนาทักษะ ซ่ึงบุคคลสามารถ สร้างสรรค์ผลงานใหม่ ด้วยวิธีการใหมท่ ี่ตนคิดข้นึ มา โดยใชส้ ตปิ ญั ญารว่ มกบั ประสบการณ์ด้านทกั ษะ ความสามารถด้านสมองในการคิด ซึ่ง Bloom ได้แบ่งไว้เป็น 6 ข้ัน ซึ่งเรียงจากพฤติกรรมข้ัน ต่าสดุ ถงึ สงู สดุ และ Tuckman ไดเ้ สนอคาท่ีบง่ การกระทาได้ดังนี้ คอื พฤติกรรม คาท่ีบ่งการกระทา 1. ความรู้ – ความทรงจา (Memory) 1.1 ความรเู้ ก่ยี วกบั ความจรงิ - บอกความหมาย ใหน้ ยิ าม บอกคาจากัดความ 1.11 ความรเู้ กี่ยวกับคาศพั ท์ - บอกลักษณะให้เรียกช่ือ บอกชอื่ บอกวัน 1.12 ความรู้เก่ียวกับความจริงจาเพาะ บอกสถานที่ บอกเหตุการณ์ อย่าง 1.2 ความรูเ้ กีย่ วกับวธิ กี าร 1.21 ความรรู้ ะเบยี บแบบแผน - บอกหลักกการ บอกกฎ บอกลักษณะ บอกสัญญลักษณ์ บอกแบบ บอกแบบรปู 1.22 ความรู้เก่ียวกับลาดับชั้นและ - บอกการกระทา บอกกระบวนการ บอกความ แนวโนม้ เคล่ือนไหว บอกความต่อเนื่อง บอกการพัฒนา บอกความสมั พันธ์ บอกแรงผลักดนั และอทิ ธพิ ล 1.23 ความรูเ้ กย่ี วกบั การจาแนก - บอกชนิด บอกประเภท จาแนก แจกแจง จัด ประเภท 1.24 ความรเู้ กี่ยวกับเกณฑ์ - บอกเกณฑ์ บอกขอ้ กาหนด บอกองค์ประกอบ 1.25 ความรเู้ กีย่ วกับระเบยี บวธิ ี - บอกวิธี บอกเทคนิค บอกวิธีใช้ บอกการใช้ บอกวิธปี ฏิบตั ิ

พฤติกรรม คาที่บง่ การกระทา 1.3 ความรเู้ กีย่ วกับหลักการและทฤษฎี 1.31 ความร้เู กี่ยวกับหลกั การ - บอกหลักการอา้ งสรุป บอกข้อเสนอ และการอ้างสรปุ 1.32 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและ - บอกทฤษฎี บอกกฎเกณฑ์ บอกสูตร บอก โครงสร้าง ลักษณะโครงสร้าง 2. ความเขา้ ใจ (Comprehension) 2.1 ดา้ นการแปลความ - แปลความหมาย แปลคาศัพท์ แปลวลี เปล่ียน รูป ให้ความหมาย (ด้วยคาพูดของตนเอง) เลา่ (ใหม)่ 2.2 ด้านการสรปุ ความ - สรุป ตีความ เรียงลาดับ(ใหม่) บอกทัศนะ บอกความ(ข้อ) แตกต่าง จาแนก เขียนแผนผัง (รูป) จากคาอธบิ าย 2.3 ดา้ นขยายความ - คาดคะเน อ้างสรุป สรุป ทานาย พยากรณ์ ตัดสินขยาย ตอ่ เตมิ เขียนเพิ่ม 3. การนาไปใช้ (Applicatiion) - นาเอา...ไป...ให้สัมพันธ์ เลือกพัฒนา จัดใช้ เปลี่ยน 4. การวิเคราะห์ (Analysis) 4.1 วิเคราะหค์ วามสาคญั - ช้ีบ่งส่วนท่ีสาคัญที่สุด จาแนกหลักสาคัญ วิจารณ์ ความจาเป็นขององคป์ ระกอบ 4.2 วิเคราะหค์ วามสมั พันธ์ - บอกผลท่ีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งท่ี เกี่ยวข้องกัน เปรียบเทียบ บรรยาย(เหตุ) และ ผล อธิบายความสมั พนั ธ์ 4.3 วิเคราะหห์ ลักการ - บอกข้อดีและข้อเสียของจุดประสงค์ บรรยาย หลักการจดั ประเภทตามหลกั การ 5. การสังเคราะห์ (Synthesis) 5.1 สงั เคราะห์ข้อความสอื่ สังเคราะห์ - เขยี นโครงสรา้ ง เขียนแบบ แตง่ เรอื่ งออกแบบ 5.2 สังเคราะห์แผนงาน - วางแผน วางเป้าหมาย กาหนดจุดประสงค์ ผลิตวางแบบ วางหลกั กาหนดวิธี 6. การประเมนิ คา่ (Evaluation) 6.1 ประเมนิ จากเกณฑ์ภายนอก - ตัดสนิ โตแ้ ยง้ พจิ ารณา เปรียบเทยี บ

พฤติกรรม คาทีบ่ ง่ การกระทา 6.2 ประเมินจากเกณฑภ์ ายใน - ตัดสิน พจิ ารณา เปรยี บเทยี บ 2. พฤติกรรมด้านความรู้สึก (Affective Domain) เป็นความสามารถในการรู้สึกต่อสิ่ง ต่าง ๆ ซ่ึงตามแนวของคราทวูล (Krathwoh1, 14964) ได้แบ่งไว้ 5 ขั้น และทัดแมน (Tuckman, 1975) ได้เสนอคาทีบ่ ่งการกระทาไวด้ ังน้ี พฤตกิ รรม คาทบ่ี ง่ การกระทา 2.1 การรับรู้ (Receiving) ถาม, เลือก, บรรยาย, ติดตาม, ให้, ยึดชี้บ่ง, 2.2 การตอบสนอง (Responding) บอก, 2.3 การสรา้ งคุณคา่ (Valuing) ให้ชอ่ื , ตอบ, ใช้, คิดเลือก ฯลฯ ตอบ, ช่วยเหลือ, ทาให้เหมือน, ยอมตามช่วย, 2.4 การจัดระบบ (Organization) อภิปราย, บัญญตั ิ, แสดง, อ่าน, รายงาน, ตอบโต้ 2.5 การสรา้ งลกั ษณะนสิ ัย (Characterization) , คดั เลอื ก, บอก, เขยี นตอบรบั , ฯลฯ สาธิต, บรรยาย, อภิปราย, ช้ีแจ้งแตกต่าง, ติดตาม, เชื้อเชิญ, ให้เหตุผล, อ่าน, เสนอ, รายงาน, คัดเลือก, แบ่ง, เขียน, จัดแบบใหม่, ฯลฯ จัดแจ้ง, สลับ, รวม, เปรียบเทียบ, ป้องกัน, อธิบาย, อ้างถึง, ปรับปรุง, ประสาน, สังเคราะห์, เตรียม, ฯลฯ แสดงท่าทาง, จาแจก, จัดเสนอ, ปรับปรุง, ปฏิบัติ, เล่น, แสดงออกซึ่งความสงสัย, แก้ไข, ตรวจสอบใหเ้ หน็ จริง, ใช้, ฯลฯ 3. พฤติกรรมด้านปฏิบัติหรือการกระทา (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถ ในด้านการปฏบิ ัติ (Doing) อย่างมีประสิทธภิ าพ ตามแนวของซิมลิน (Simpson, 1966) ได้แบ่งออกเป็ ฯ 5 ข้นั ดังน้คี ือ พฤตกิ รรม คาท่บี ง่ การกระทา

3.1 การเลียนแบบ (Imitation) ประกอบ, ก่อ, แต่ง, เปล่ียน, สรา้ ง, 3.2 การทาตามแบบ (Manipulation) ประดษิ ฐ์, ออกแบบ, ฝึก, รา่ ง, ตรงึ , 3.3 การหาความถกู ต้อง (Precision) ผสม, แก้ไข, ซอ่ ม, ฯลฯ. 3.4 การทาอยา่ งต่อเนอ่ื ง (Articulation) 3.5 การทาโดยธรรมชาติ (Natuatization)

2. จดุ มุ่งหมายทางการศึกษา จุดมุ่งหมายทางการศึกษา คือ ลักษณะของผลผลิตทางการเรียนการสอนว่ามุ่งหวังจะให้ ผู้เรียนเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เรียนไปแล้ว จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนท่ีดีจะต้องครอบคลุม พฤติกรรมความรู้ความคิด (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านความรูส้ ึก (Affective Domain) และ พฤติกรรมด้านปฏิบัติ (Psychomotor Domain) จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการสอนน้ันแบ่ง ออกเปน็ 3 ประการ คือ 1.1 จุดมุ่งหมายทั่วไป (General Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายกว้าง ๆ ซ่ึง ครอบคลุมความเชือ่ หรือทฤษฎตี ลอดจนการเสาะแสวงหาความมร้ใู นสาขาวิชาน้นั ๆ 1.2 จุดมุ่งหมายเฉพาะ (Specific Objectives) เป็นจุดมุ่งหมายกว้าง ๆ ที่ กาหนดไว้ในแตล่ ะรายวชิ า เชน่ ให้มีความเขา้ ใจ ให้รคู้ ณุ คา่ ใหม้ คี วามซาบซึง้ ฯลฯ 1.3 จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective) เป็นจุดมุ่งหมายท่ี ต้ังข้ึนเพ่ือแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า หลังจากมีการเรียนการสอนในเร่ืองนั้น ๆ แล้วผู้เรียนสามารถ แสดงพฤตกิ รรมที่วัดได้ สังเกตได้ออกมาอย่างไรบา้ ง จดุ มงุ่ หมายเชงิ พฤติกรรมน้ี สว่ นมากจะไมเ่ ขยี นไว้ ผู้สอนจงึ ต้องวิเคราะห์จากจุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือจุดมงุ่ หมายรายวชิ าใหเ้ ปน็ จุดมุง่ หมายเชิงพฤติกรรม ก่อนซึ่งจะลงมอื สอน การกาหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์เชิงพฤตกรรมมีองค์ประกอบอยู่ 3 สว่ นได้แก่ 1. ส่วนที่เป็น “พฤติกรรมที่คาดหวัง” (Expected Behavior) เป็นข้อความที่บ่งถึง พฤติกรรมที่ครูต้องการให้ผเู้ รียนแสดงออกและสังเกตได้ในระหว่างรยี น หรือเมื่อส้ินสุดการเรียนหน่วย ใดหน่วยหน่ึงแล้ว ดังน้ัน การเขียนข้อความส่วนนี้จะต้องอาศัยคาที่บ่งถึงการกระทา (Action words) เชน่ บอก จาแนก เปรยี บเทยี บ อธิบาย เปน็ ต้น 2. ส่วนท่ีเป็น “สถานการณ์” (conditions) จะเป็นข้อที่บอกถึงเง่ือนไขซ่ึงจะใช้เป็น เคร่อื งกระตนุ้ ให้นกั เรยี นแสดงพฤตกิ รรมทีค่ าดหวังออกมา เชน่ - เมอ่ื กาหนดสมการสองชั้นให้ นกั เรยี นสามารถ................................................. - เมือ่ กาหนดคาต่าง ๆ ในวิชาภาษาไทย 10 คา นักเรียนสามารถ……………............

3. ส่วนท่ีเป็น “เกณฑ์” (criterion) จะเป็นข้อความท่ีอธิบายให้ทราบว่าผู้เรียนจะต้อง แสดงพฤติกรรมที่คาดหวังถึงระดับใด หรือมีปริมาณแค่ไหนจึงจะยอมรับว่าเขามีพฤติกรรมนั้นจริง ๆ หรือสามารถทา ส่ิงน้ันได้จริงมิใช่ทาได้โดยบังเอิญ การกาหนดเกณฑ์จะเป็นการกาหนดข้ันต่าสุดของ พฤตกิ รรมนน้ั (Minimum Requirement) ซึ่งอาจกาหนดโดย 3.1 จากดั เวลาการปฏิบตั ิ เช่นในเวลา............................นาที 3.2 กาหนดปริมาณ เชน่ จานวนขอ้ หรือสดั สว่ น จานวนข้อ 3.3 กาหนดคุณภาพ ได้แก่ การนกาหนดคุณลักษณะสาคัญของการปฏิบัติ เช่น สามารถสรปุ ผลการทดลองภายในขอบเขตการกาหนดใหอ้ ย่างถูกตอ้ ง 3. ประโยชน์ของจุดประสงค์เชงิ พฤติกรรม ในการกาหนดจุดประสงคเ์ ชิงพฤติกรรมของการเรยี นการสอนมีประโยชน์ทีจ่ าแนก ได้ดังน้ี (ปราณี ไวดาบ, 2538: 53) 1. เป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตร โดยที่ผู้สร้างหลกั สูตรจะสร้างจุดประสงค์ ทั่วไปและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่เจาะจงข้ึน ข้ันตอนการสร้างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจะช่วยใน การกาหนดและประเมินจุดประสงค์ท่ัวไป กาหนดเนื้อหา และคัดเลือกจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ เหมาะสมกบั รายวชิ าและผ้เู รียน 2. เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาวัสดุประกอบหลักสูตร อาทิ ตารา แบบเรียน คู่มือครูและแผนการสอนว่าควรมีลักษณะอย่างไร เนื้อหาเท่าไร มีวิธีการนาเสนออย่างไร รวมทั้งเป็นแนวทางในการสร้างวัสดุอุปกรณ์ เอกสารประกอบการสอนอื่น ๆ อาทิ บทเรียนโปรแกรม แบบทดสอบ หรอื แบบผึกหัด เปน็ ต้น 3. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แนวการสอนว่าควรจัด กิจกรรมอย่างไรเพื่อให้บรรลุจดุ ประสงค์ท่ีกาหนดไว้ โดยเฉพาะจะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในการ พัฒนาสมรรถภาพระดับสูงได้ดีข้ึน เพราะการกาหนดจุดประสงค์ท่ีชัดเจนจะช่วยให้เห็นแนวทางใน การจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอน 4. เป็นแนวทางการเรียนของผู้เรียนในการเรียนรู้ใด ๆ ถ้าผู้เรียนได้รับทราบ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมแล้ว จะทาให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงตนเองในทิศทางและระดับความมุ่งม่ันของ หลักสตู รดกี วา่ การไม่รบั ทราบจุดประสงค์ 5. เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียน การกาหนดจุดประสงค์เชิง พฤติกรรมอย่างสมบูรณ์ จะมีการกาหนดสถานการณ์เพื่อการประเมินผลไว้ ช่วยให้การสร้างข้อสอบมี ความครอบคลมุ และตรงตามจุดประสงค์ได้ดีกวา่

6. เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนตลอดเวลา เน่ืองจากผลการ วัดที่ได้ช่วยให้รู้ผลของการเรียนรู้ จะทาให้ผู้สอนได้รับข้อมูลย้อนกลับในการนามาปรับปรุงระบบการ สอนว่าจุดประสงค์ที่กาหนดไว้เหมาะสมหรือยัง และจะต้องมีการปรับปรุงการเรียนการสอนในส่วน ใดบ้าง 5. สรุป การจาแนกพฤติกรรมทางการศึกษาในการวัด และประเมินผลของผู้เรียนเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน พุทธิพิสัยหรือสติปัญญา (Cognitive Domain) ด้านความรู้สึก (Affective Domain) และด้านทักษะ การปฏิบัติ (Psycho-Motors Domain) พฤติกรรมการศึกษาด้านพุทธิพิสัยหรือสติปัญญาจาแนก สตปิ ัญญาของมนุษย์ตามลาดับของความซับซ้อนของกระบวนการเปน็ 6 ระดบั ดังน้ี 1.ความรู้ 2. ความ เข้าใจ 3.การนาไปใช้ 4.การวิเคราะห์ 5. การประเมินค่าและ 6. การสร้างสรรค์ พฤติกรรมการศึกษา ดา้ นจติ พสิ ัยเปน็ การกระทาท่ีเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์ได้ จาแนกระดบั จิตพิสัย 6 ระดบั ดังน้ี ระดับท่ี 1. การรับรู้ 2. การตอบสนอง 3. การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่า 5. การสร้างลักษณะ นิสัย ในการวัดพฤติกรรมการศึกษาด้านทักษะพิสัย มีหลักการดังน้ี 1) กาหนดจุดประสงค์เชิง พฤติกรรมให้ชัดเจนที่สามารถวัดและสังเกตได้ 2) กาหนดงานหรือสถานการณ์ในการปฏิบัติท่ีให้มี ความสอดคล้องกัน 3) กาหนดวิธีการดาเนินการได้เหมาะสมกับลักษณะของงานหรือสถานการณ์ 4) กาหนดวิธีการดาเนินการวัดผลที่มีความยุติธรรม 5) กาหนดเครื่องมือที่จะใช้วัดการปฏิบัติ 6) กาหนดการให้คะแนนท่ีชัดเจนและมีความครอบคลุม 7) กาหนดการประเมินผลจาแนกเป็นแบบอิง กลุ่มแบบอิงเกณฑแ์ บบพัฒนาการ 8) กาหนดจานวนคร้ังในการวดั ทักษะหลาย ๆ คร้ัง 6. แบบฝกึ หดั คาชีแ้ จงให้ตอบคาถามจากประเด็นที่กาหนดให้อยา่ งถูกต้องและชัดเจน 1. การจาแนกพฤตกิ รรมทางการศกึ ษาใหค้ รอบคลุมมีก่ีด้าน อะไรบา้ ง 2. การจาแนกพฤติกรรมย่อยด้านพทุ ธิพิสัย แบง่ ออกเปน็ ก่รี ะดบั อะไรบ้าง 3. จงอธิบายความหมายของคาศัพทต์ ่อไปน้ี คือ ความเข้าใจ การแปลความ การสงั เคราะห์ การ สงั เคราะห์ความสมั พนั ธ์ และการประเมินโดยอาศยั เกณฑภ์ ายนอก 4. จงอธบิ ายความแตกตา่ งของจุดประสงค์ทวั่ ไป และจุดประสงค์เชิงพฤตกิ รรม

7. Link ท่นี ักศึกษาจะเข้าไปทาการศึกษาดว้ ยตนเอง 1. https://www.youtube.com/watch?v=g9LM7gAN1xQ&feature=youtu.be 8. แหลง่ คน้ ควา้ เพ่มิ เตมิ ซวาล แพรัตกุล.(2518).เทคนคิ การวัดผล.พิมพ์ครัง้ ที่ 6.กรงุ เทพฯ: วฒั นาพานชิ . _____ .(มปป.).เทคนคิ การเขยี นขอ้ สอบ.กรุงเทพฯ: พิทักษ์อกั ษร. พิชติ ฤทธืจ้ รญู .(2545).หสักการวดั และประเมนิ ผลการศึกษา.พิมพค์ รงั้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออพิ เคอรม์ ีสท์. ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง.(2546). “การประเมินจติ พสิ ัย” ในการประเมนิ ผลการเรียนรูแ้ นวใหม.่ บรรณาธกิ าร โดย สวุ ิมล ว่องวานิซ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพแ์ ห่งจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั . ปราณี ไวดาบ.(2538).การประเมนิ ผลการเรยี น.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบนั ราซภัฏพระนคร, ภทั รา นคิ มานนท.์ (2543).การประเมนิ ผลการเรยี น. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากดั ทิพยวิสทุ ธิไ เยาวดี วบิ ลู ย์ศร.ี (2540).การวดั ผลและการสรา้ งแบบสอบวัดผลสมั ฤทธ์ิ.พิมพค์ รั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สานกั พมิ พ์จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ.(2539).เทคนิคการวัดผลการเรยี นร้.ู กรงุ เทพฯ: ซมรมเด็ก. สุรี,พร อนุคาสนนนั ท.ิ (2554).การวัดและประเมนิ ในช้ันเรียน.กองบริการการศกึ ษา. สานกั งาน อธกิ ารบดี มหาวทิ ยาลยั บรู พา. ปนี วดี ธนธานี. (2550). เอกสารประกอบการสอนการวัดและประเมนิ ผลการศกั ษา. นครปฐม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั นครปฐม. วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และฉัตรสิริ ปียะพิมลสิทธ้ิ. (2551). การปรับปรุงจุดมุ่งหมายหมาย ทาง การศกั ษาของบลูม. http://www. Watpon.com. สบื ค้นวันท่ี 25 พฤษภาคม 2551. สรุ ชัย มีชาญ. (2540). เอกสารการสอน การวดั ผลและประเมนิ ผลการเรยี นรู้ หน่วยท่ี 2. กรุงเทพฯ : สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย.ี Bloom, Benjamin ร. and other. (1971). Handbook on formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill.,. Bloom,B.ร. and others. (1956) Taxonomy of Ecucational Objectives,Handbook I: Cognitive Domian. New York :Mckay,

Ebel,R.L. and Frisbie,D.A. (1986).Essentials fo Educational Measurement. New Jersey: Printice - Hall Inc. Hopkins, D.Charles and Antes.,c. Richard.(1990).Classroom measurement and Evaluation. Illinois : Publishers,Inc. Nitko,A.J.(2007). Educational Assessment of Students. Englewood Cliffs, N.J : Prentice Hall, Inc.

บทที่ 3 การวิเคราะหม์ าตรฐานและตัวช้วี ัดทางการศึกษา สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของมาตรฐานและตัวชีว้ ดั ทางการศึกษา 2. การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวช้ีวัดทางการศึกษาเพ่ือกาหนดเคร่ืองมือในการวัดและ ประเมนิ ผล 3. ระบุเครอ่ื งมือวดั ผลสอดคล้องกับตวั ชีว้ ดั และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 4. ระบจุ านวนแบบทดสอบได้สอดคล้องเหมาะสมกับวตั ถปุ ระสงคก์ ารเรียนรู้ จุดประสงค์การเรยี นรู้ 1. สามารถอธบิ ายความหมายของมาตรฐานและตัวชีว้ ดั ทางการศึกษาได้ 2. สามารถวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดทางการศึกษาเพ่ือกาหนดเครื่องมือในการวัดและ ประเมินผลได้ 3. สามารถระบเุ ครื่องมือวัดผลสอดคลอ้ งกับตวั ชี้วดั และวัตถปุ ระสงคก์ ารเรยี นรู้ 4. สามารถระบจุ านวนแบบทดสอบไดส้ อดคล้องเหมาะสมกับวตั ถุประสงค์การเรียนรู้

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้ให้ทิศทางในการปฏิรูปการศึกษาด้านการ เรียนรู้ที่ชัดเจนว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒธนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นอย่างมีความสุข ในปีการศึกษา 2560 ได้กาหนดหลักสูตรแกนกลาง ซ่ึงหลักสูตรน้ีเป็นหลักสตู รที่ ใช้แนวคิดหลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standardsbased Curriculum) กล่าวคือ เป็นหลักสูตรที่กาหนด มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมาตรฐานการเรียนรู้ได้ระบุส่ิงท่ี ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้เมื่อสาเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนท่ีเกี่ยวข้องในการจัด การศึกษาได้ยึดเป็นแนวทางในการดาเนินการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้บรรลุคุณภาพตาม มาตรฐานการเรียนรู้ดังกล่าวด้วยการดาเนินการบริหารจัดการอิงมาตรฐาน (Standards-based Instruction) การวดั และประเมินผลท่สี ะทอ้ นมาตรฐาน (Standards-based Assessment) เพอื่ ให้ กระบวนการนาหลักสตู รไปสกู่ ารปฏิบตั เิ ปน็ ไปอย่างมปี ระสิทธิภาพ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนและ ตัดสินว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อันเป็นผลมาจากการเรียน การสอนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในระดับใด สามารถท่ีจะได้รับการเล่ือนช้ันหรือจบ การศึกษาได้หรือไม่สถานศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจะต้องจัดทาระเบียบว่าด้วยการวัด และประเมินผลการเรียนของสถานศกึ ษาใหส้ อดคล้องและเปน็ ไป ตามหลกั เกณฑ์และแนวปฏิบตั ิท่ีเป็น ข้อกาหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานพุทธศักราช 2561 โดยควรมีสาระต่อไปน้ีเป็น อยา่ งนอ้ ย 1. หลกั การดาเนินการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรขู้ องสถานศกึ ษา 2. การตัดสินผลการเรียน 3. การให้ระดับผลการเรียน 4. การรายงานผลการเรยี น 5. เกณฑ์การจบการศกึ ษา 6. เอกสารหลักฐานการศกึ ษา 7. การเทยี บโอนผลการเรียน

1. ความหมายของมาตรฐานการเรยี นรู้และตัวชี้วดั ความหมาย มาตรฐานการเรยี นรู้ หมายถึง เกณฑ์คณุ ภาพสาคัญทีบ่ ง่ ชี้ถงึ ระดบั ความรู้ความสามารถที่ ต้องการใหเ้ กิด แก่ผเู้ รยี น มาตรฐานการเรยี นรู้จะบอกถงึ ส่ิงท่คี าดหวังหรือจุดหมายไว้อย่างชดั เจน ว่า ส่งิ ทีต่ อ้ งการใหน้ ักเรียนทุกคนรู้แลปฏิบตั ไิ ด้” ในระดับการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน เปน็ เปา้ หมายสาคญั ของ การพัฒนาคณุ ภาพผ้เู รยี น จะระบสุ งิ่ ทผี่ ูเ้ รยี นพึงรู้ ปฏิบตั ิได้ ึมีคณุ ธรรมจรยิ ธรรม และค่านิยมท่พี งึ ประสงคเ์ มื่อจบการศึกษาขน้ั พ้นื ฐานมาตรฐานการเรียนร้เู ปน็ กลไกสาคัญในการขบั เคลอื่ นพัฒนา การศึกษาทั้งระบบเพราะจะสะท้อนให้ทราบว่า ตอ้ งการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมท้งั ยงั เป็นเคร่ืองมือในารตรวจสอบเพ่ือประกันคุณภาพการศกึ ษา โดยหลกั สตู รแกนกลางการศึกษา มีการกาหนดมาตรฐานการเรียนรู้ 8 กลมุ่ สาระการเรียนรู้ จานวน 67 มาตรฐาน ตวั ชีว้ ัดทางการศกึ ษา หมายถึง ตวั ระบสุ งิ่ ทนี่ ักเรยี นพึงรแู้ ละปฏบัติได้ มีความเฉพาะเจาะจง เป็นรปู ธรรม นาไปใช้ในการกาหนดเน้ือหา จดั ทาหน่วยการเรยี นรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็น เกณฑ์สาคัญสาหรบั การวดั ประเมินผลเพ่ือตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน 2. องค์ประกอบของการวัดและประเมนิ ผลตามหลกั สตู ร แกนกลาง องคป์ ระกอบของการวัดและประเมินผลตามหลักสตู รประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1. การวดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้ตามกลมุ่ สาระการเรียนรู้ 8 กลุม่ สาระการเรียนรู้ 2. การประเมนิ การอ่านคิดวเิ คราะห์และเขยี น 3. การประเมินคุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ 4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

แผนภาพ คณุ ภาพโดยรวมของผเู้ รียนตามหลักสตู รแกนหลาง (อา้ งองิ จาก http://krukob.com/web/1-67/) 3. การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชว้ี ดั ตามหลกั สตู รแกนกลาง ในการวิเคราะห์มาตรฐานและตวั ช้วี ดั เพ่ือออกแบบเครือ่ งมือวดั และประเมินผล มที ั้งหมด 3 ข้นั ตอนได้แก่ ข้นที่ 1 การวเิ คราะหม์ าตรฐานการเรยี นรู้และตวั ชว้ี ดั ขัน้ ท่ี 2 การวิเคราะหเ์ น้ือหาและกาหนดสัดสว่ นนาหนกั ของแต่ละเนือ้ หา ขน้ั ที่ 3 การออกแบบประเมินตามมาตรฐานและตวั ชว้ี ดั

ขั้นตอนท่ี 1 แบบบบนั ทึกการวเคร กลุ่มสาระการเรียนรู้.................................................................. มาตรฐานการเรียนร้.ู ................................................................. ตัวชีว้ ดั คาสาคญั แนวทางการ 1. ประเมิน 2.

ราะหม์ าตรฐานและตวั ช้ีวดั ทางการศกึ ษา ..................................... ระดับชน้ั ................................................ ................................................................................................... ร การวัดและประเมินผล หลกั ฐานการเรียนรู้ เกณฑ์ วิธีการ เครือ่ งมือ การประเมิน

ขน้ั ตอนท่ี 2 แบบวเิ คราะหเ์ นื้อหาและกาหนดสัดสว่ นนาหนกั ของแต่ละเนื้อหา คาชี้แจง ขอให้วิเคราะห์ตัวชีว้ ัดทีก่ าหนด โดยพิจารณาว่าอยู่ในความสามารถด้านใดบ้าง โดยทาเครือ่ งหมาย  ลงในช่องความสามารถทีต่ รงกับ กลุ่มสาระ............................................................................ระดบั ชน้ั ....................ช่วงช้ัน.................... โรงเรียน.......................................................................................ปกี ารศกึ ษา..................................... หน่วยการ มาตรฐานการเรียนรู้ สดั ส่ว พฤติกรรมท่ีต้องการวดั K เรียนรู้ น คะแน จำ ใจ ใช้ วิ สงั ประ A P น (%)

ขน้ั ตอนที่ 3 การออกแบบประเมินตามมาตรฐานและตัวช้วี ดั การสร้างแบบทดสอบตามพฤติกรรมทีต่ ้องการวดั 1. ความรคู้ วามสามารถด้านที่ต้องการวัด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. ระดบั ชั้นของผเู้ รียน ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. ตวั ช้วี ดั ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ. 2551 (ถ้ามี) ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. โจทย์ ปัญหา สถานการณ์ เงื่อนไข หรอื คาส่งั ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. รูปแบบการตอบ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 6. เฉลยหรือแนวการตอบ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 7. เกณฑก์ ารให้คะแนนหรอื เกณฑก์ ารประเมนิ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. สรุป การวเิ คราะห์มาตรฐานและตัวชีว้ ดั ทางการศกึ ษาเพื่อกาหนดเครอ่ื งมอื วัดและประเมนิ ผล ต้องครอบคลมุ 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) การวัดและประเมินผลการเรียนร้ตู ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลมุ่ สาระการเรียนรู้ 2) การประเมนิ การอา่ นคิดวิเคราะหแ์ ละเขียน 3) การประเมนิ คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ 4) การประเมินกิจกรรมพฒั นาผเู้ รยี น

5. แบบฝกึ หัด 1. จงออกแบบแบบทดสอบเพ่ือประเมนิ ผลการเรียนรูผ้ เู้ รยี น 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) การ วดั และประเมนิ ผลการเรียนรู้ตามกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ 8 กลุม่ สาระการเรยี นรู้ 2) การประเมินการ อา่ นคดิ วเิ คราะหแ์ ละเขยี น 3) การประเมินคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ 4) การประเมนิ กิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน โดยเลือกจาก 1วชิ า 1 สาระการเรียนรู้ 1 มาตรฐานการเรยี นร้แู ละ 1 ตวั ชีว้ ดั โดยใช้แบบ 3 ข้ันตอนขา้ งต้น 6. Link ทีน่ กั ศกึ ษาจะเข้าไปทาการศึกษาด้วยตนเอง 1. - 7. แหลง่ คน้ คว้าเพมิ่ เตมิ บญุ ธรรม กิจปรีดาบริสทุ ธ.์ิ (2542). เทคนคิ การสรา้ งเครอื่ งมอื รวบรวมข้อมูลส าหรบั การวิจัย. พิมพ์ ครัง้ ท่ี5. กรงุ เทพฯ : เจรญิ ดกี ารพมิ พ.์ บญุ ธรรม กิจปรดี าบรสิ ุทธื้.(2535).การวัดและประเมนิ ผลการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานซิ . พรอ้ มพรรณ อุดมสนิ (2547). “การประเมนิ ผลการเรียนรู้คณิตศาสตรด์ ้วยทางเลือกใหม่”ใน ประมวลบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้กล่มุ สาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร.์ บรรณาธิการโดยพร้อมพรรณ อุดมสิน และอมั พร มา้ คนอง. กรุงเทพฯ: บรษิ ัท บพิธการพิมพ์ จากดั . วิเชียร เกตุสงิ ห์.(2530).หสกั การสรา้ งและวิเคราะห์เครือ่ งมือทีใ่ ข้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษทั โรง พิมพ์ไทวฒั นาพานซิ . คิรชิ ัย กาญจนวาสี.(2552) ทฤษฎีการทดสอบด้ังเติม. พมิ พค์ รง้ั ท่ี 6.กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บทที่ 4 เครื่องมือวัดผลทางการศึกษา สาระการเรียนรู้ 5. เครือ่ งมือวดั ผลทางการศกึ ษา a. แบบทดสอบ (Test) b. แบบสงั เกต (Obsermation) c. แบบสมั ภาษณ์ (Interviewing) d. แบบสอบถาม (Questionnaire) 6. ประเภทของเครือ่ งมือวัดแต่ละแบบ 7. ขอ้ ดแี ละข้อเสยี ของเครือ่ งมือแต่ละแบบ จุดประสงค์การเรยี นรู้ 5. บอกความหมายของเครอ่ื งมือวัดผลทางการศึกษาได้ 6. อธิบายการจาแนกประเภทของเครอ่ื งมือวัดผลทางการศกึ ษาได้ 7. ระบุขอ้ ดีและขอ้ เสียของเคร่ืองมือแต่ละแบบได้ 8. สามารถเลอื กใชเ้ ครือ่ งมือวดั ผลทางการศกึ ษาได้อย่างถกู ต้อง เหมาะสม

1. เครือ่ งมือในการวัดผลทางการศกึ ษา เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษาในปัจจุบันน้ี มีหลายหลาย รูปแบบและวิธีการ โดยในการเลือกใชเครื่องมือชนิดใดผู้ใช้ต้องคานงึ ถึงประสิทธภิ าพ (Effectiveness) และประสิทธผิ ล (Efficiency) จากการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละชนิดดงั น้ี ประสิทธิผล (Efficiency)หมายถึง ผลท่ีปรากฏเป็นไปตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ได้ เคร่อื งมอื ทีเ่ หมาะสมกบั ตวั แปร ได้แบบประเมินท่ีเหมาะสมกับตวั ชวี้ ัด เปน็ ตน้ ประสิทธภิ าพ (Effectiveness) หมายถงึ ความประหยดั และรวดเร็ว ผู้ใช้เคร่ืองมือต้องพิจารณาเปรียบเทียบประสิทธิภาพท่ีได้ว่า มีประสิทธิผลหรือไม่ หาก เคร่ืองมือมีประสิทธิภาพแต่ไม่มีประสิทธิผลก็ไม่มีประโยชน์ ดังน้ันอาจกล่าวได้ว่าประสิทธิผลต้องมา ก่อนประสิทธิภาพจึงจะตามมา นอกจากนี้ผู้นาไปใช้จะต้องทราบว่าเคร่ืองชนิดใดมีลักษณะอย่างไร ควรใชใ้ นโอกาสและสถานการณใ์ ดจงึ ถูกต้องเหมาะสม โดยเคร่อื งมอื วดั ผลท่นี ิยมใช้ในปจั จบุ นั มีดงั นี้ 1. แบบทดสอบ (Test) 2. แบบสงั เกต (Obsermation) 3. แบบสัมภาษณ์ (Interviewing) 4. แบบสอบถาม (Questionnaire) 2. แบบทดสอบ ความหมาย บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์ิ(2542: 72) ให้ความหมาย แบบทดสอบ ว่า เป็นวิธีการเชิงระบบ ที่ใช้ในการ เปรียบเทียบพฤติกรรมของบุคคลตง้ั แต่ สองคนข้ึนไป ณ เวลาหน่ึง หรือของบุคคลคนเดียว หรือหลายคนในเวลา ต่างกนั อุทมุ พร(ทองอุไทย) จามรมาน (2545) แบบทดสอบได้แก่ เคร่ืองมือตรวจสอบทางการศึกษา ที่กระตุ้น สมองให้แสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงความสามารถของบุคคลนั้นๆ ประกอบด้วยข้อสอบจ านวนหน่ึง ซ่ึง ข้อสอบได้แก่ ข้อความหรือข้อค าถามที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายในการทดสอบ และ เนอ้ื หาสาระท่ีทดสอบเฉพาะ อยา่ งและเกีย่ วขอ้ งกับบคุ คลท่ถี ูกทดสอบ แบบทดสอบคือ ชุดของคาถามท่ีสร้างขึ้นมาแล้วนาไปเร้าให้เด็กหรือกลุ่มเป้าหมายแสดง พฤตกิ รรมตามที่ตอ้ งการออกมา โดยผู้สอนสามารถสังเกตและวัดได้ ประเภทของแบบทดสอบ

แบบทดสอบทใี่ ชท้ างการศกึ ษานั้นมีหลายประเภท ตามหลักเกณฑ์ทใ่ี ช้ในการจาแนก ดังน้ี 1. จาแนกตามรปู แบบการถามและวธิ กี ารตอบ จาแนกได้ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ 1.1 แบบทดสอบอตั นัย (Subjective test) เปน็ แบบทดสอบให้ผู้ตอบไดแ้ สดงความคิดเห็น อย่างหลากหลายตามภูมิรู้ของแต่ละคนได้อย่างเต็มท่ี จึงเป็นแบบทดสอบท่ีเหมาะสาหรับวัด ความสามารถหลาย ๆ ด้านในแต่ละขอ้ ข้อดี 1. สร้างไดร้ วดเร็ว 2. ประหยัด 3. วดั พฤตกิ รรมการเรียนรู้ได้ทุกระดับ 4. ผตู้ อบสามารถแสดงความรู้และความคิดเห็นหรือแนวคดิ ได้อยา่ งเต็มที่ 5. เดาคาตอบไม่ได้ 6. ฝึกความสามารถในการเขียนได้ดี ข้อจากัด 1. ตรวจยากและใช้เวลานาน 2. การให้คะแนนอาจขาดความยุติธรรม ข้ึนอยู่กับคุณลักษณะของผู้ตรวจและความ ชัดเจนของ Rubrics Score ในการประเมนิ 3. การให้คะแนนอาจขาดความเป็นปรนัยขึ้นอยู่กับความชัดเจนของ Rubrics Score ในการประเมนิ 1.2 แบบทดสอบปรนยั เปน็ แบบทดสอบให้ผ้ตู อบได้เลือกคาตอบจากตัวเลือกท่ีกาหนด ซงึ่ มี 4 รูปแบบที่นยิ มใช้ในปัจจบุ ันดังนี้ 1) แบบถูกผิด ซ่ึงก็คือแบบทดสอบเลือกตอบสองตัวเลือก ซ่ึงผู้ตอบมีโอกาส เลอื กตอบขอ้ ใดขอ้ หนึ่ง อาจ ตอบว่า ผิดหรือถกู ใชห่ รอื ไม่ หลักการสร้างข้อสอบ (1) คาถามควรอยู่ในรูปประโยคคาถามท่ีสมบูรณ์กระชับ ไม่ ยอกย้อน (2 ) หลีกเล่ียงคาถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ (3) หลีกเลี่ยงการคัดลอกข้อความบรรยายจาก หนังสือ (4) จานวนขอ้ ถกู และผดิ ควรมีจานวนใกล้เคยี งกัน ข้อดี คือ ตรวจง่ายรวดเรว็ ประหยดั คา่ ใช้จา่ ย ขอ้ จากัด คือ เดาง่าย มคี า่ ความเชอ่ื มั่นตา่ 2) แบบทดสอบแบบเติมคา เป็นแบบทดสอบท่ีให้ผู้เรียนเขียนคาตอบส้ัน ๆ มักมี ขอบเขตการตอบอยา่ งชดั เจนจากช่องวา่ งทเ่ี วน้ ไว้ ขอ้ แนะนาในการสร้าง หลักการสร้างข้อสอบ (1) เขียนคาสั่งให้ชัดเจน (2 ) หลีกเล่ียงคาถามปฏิเสธซ้อน ปฏิเสธ (3) หลีกเลี่ยงการคัดลอกข้อความบรรยายจากหนงั สือ (4) เว้นช่องว่างให้พอเหมาะสาหรับการ

เขยี นคาตอบและควรอยูท่ า้ ยประโยคและไมค่ วรมีใหเ้ ติมหลายจดุ ในข้อเดยี วกนั ขอ้ ดี คือ สร้างงา่ ยเดาถูกยาก ประหยัดเวลา ขอ้ จากดั คือ ใชเ้ วลาในการตรวจมาก 3) แบบจับคู่เป็นปรนัยประเภทกาหนดคาหรือข้อความเป็นสองแถว คล้ายกับ แบบทดสอบแบบเลอื กตอบ ข้อความแถวหน่งึ ไปใสอ่ ีกแถวหนึ่ง หลักการสร้างข้อสอบ (1) คาถามควรอยู่ในรูปประโยคคาถามที่สมบูรณ์กระชับ ไม่ ยอกย้อน (2 ) หลีกเล่ียงคาถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ (3) หลีกเล่ียงการคัดลอกข้อความบรรยายจาก หนังสอื (4) จานวนข้อถูกและผิดควรมีจานวนใกล้เคยี งกนั ข้อดี สร้างงา่ ยรวดเรว็ ตรวจง่าย หากสรา้ งได้ดเี ดายาก ประหยดั ข้อจากดั เดาง่าย 4) แบบเลือกตอบ มักประกอบดว้ ยคาถามส้ันและคาตอบให้เลอื กเพียงขอ้ เดียว หลักการเขียนข้อสอบ (1) คาถามควรอยู่ในรูปประโยคคาถามที่สมบูรณ์เจาะจง ส้ัน และชัดเจนตรงจุด อาจนาคาตอบท่ีได้มาเชื่อมต่อกับ คาถาม (2 )หลีกเลี่ยงคาถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ หากจาเป็นต้องใช้ควรเน้นหรอื ขดี เส้นให้ชัด (3) ข้อเดยี วควรมี คาตอบเดยี ว (4) ควรมีตัวถูกและตัวลวง ที่มีความเปน็ ไปได้ตามหลกั วชิ า ข้อดี สรา้ งง่ายรวดเรว็ ตรวจง่าย หากสร้างได้ดเี ดายาก ประหยัด ข้อจากัด เดางา่ ย 2. จาแนกตามลกั ษณะของการตอบ จาแนกเป็น 3 ประเภท ดงั นี้ 2.1 แบบทดสอบภาคปฏิบัติ (Performance Test) เป็นแบบทดสอบท่ีกาหนด สถานการณ์หรอื เงื่อนไขใหผ้ เู้ รยี นปฏิบตั ิตาม 2.2 แบบทดสอบเขียนตอบ (Paper- pencil Test) เป็นแบบทดสอบทีก่ าหนดขอ้ คาถาม แลว้ ใหผ้ เู้ รียนเขียนตอบ 2.3 แบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้เรียนได้ตอบ คาถาม แสดงความคิดเห็นโดยการอธบิ าย และโต้ตอบด้วยคาพดู ในประเดน็ ทก่ี าหนดให้ 3. แบบสังเกต ความหมาย บญุ ธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์(ิ 2535: 41) ใหค้ วามหมายว่า เป็นเครอื่ งมือในการเกบ็ รวบรวม ขอ้ มูลโดยใชป้ ระสาทสัมผสั ทัง้ หา้ ของผู้ สงั เกตจากผู้ถูกสังเกต โดยการเฝาื ดพู ฤติกรรมในสภาวะ แวดล้อมต่างๆเพ่ือทาความเข้าใจหรอื ประเมินผลวา่ เปน็ อย่างไร ประเภทของการแบบสังเกต

ในการสังเกตพฤตกิ รรมหรือคุณลักษณะของบุคคลใด ๆ สามารถจาแนกประเภทของการ สังเกต ดงั น้ี 1. จาแนกตามพฤติกรรมของผู้สังเกตจาแนก 1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant) เป็นการสังเกตโดยตรงท่ีผู้สังเกต จะต้องมี ส่วนร่วมในกิจกรรมท่ีต้องการสังเกตกับผู้ถูกสังเกตเพื่อท่ีความใกล้ชิดจะทาให้ได้รับข้อมูลท่ี ถูกต้อง ชดั เจนท่จี าแนกได้ ดังนี้ 1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยสมบูรณ์ (Complete Participant Observation) เปน็ การสังเกตท่ผี ู้สงั เกตเข้าไปเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยผถู้ ูกสงั เกตไมร่ ูต้ ัวและผสู้ งั เกต ไมร่ ะบุสถานภาพ ของตนเอง 2) การสงั เกตแบบมสี ่วนร่วมโดยไมส่ มบรู ณ์ (Incomplete Participant) เป็นการ สงั เกตทผ่ี ้สู งั เกตเขา้ ร่วมหรือไม่เขา้ ร่วมกจิ กรรมตามโอกาสทเ่ี หมาะสมและกลุ่ม ทถ่ี ูกสงั เกตรูต้ ัว และ ระมัดระวังการแสดงพฤตกิ รรม 1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เป็นการ สังเกตโดย ทางอ้อมท่ีผู้ถูกสังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ แต่จะคอยเฝืาดูพฤติกรรมอยู่ ห่าง ๆ ที่ อาจจะมีการใช้อุปกรณ์ในการช่วยเก็บข้อมูลเพ่ือนาไปประกอบการพิจารณาในภายหลัง อาทิ กล้อง ถ่ายรูป หรือกลอ้ งถ่ายวดี ีทัศน์ เป็นตน้ 2. จาแนกตามลกั ษณะของการสงั เกต จาแนกไดด้ ังนี้ 2.1 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) เป็นการสังเกตท่ีได้ มีการ กาหนดประเด็นหรอื รายละเอียดของพฤติกรรมหรือคุณลักษณะไว้ล่วงหนา้ เพ่ือจัดเตรียม เคร่อื งมือที่ใข้ ประกอบการสังเกตไว้ลว่ งหน้า 2.2 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Observation) เป็นการสังเกต ท่ีไม่ได้ กาหนดประเด็น หรือรายละเอียดของพฤติกรรมหรือคุณลักษณะไว้ลว่ งหนา้ แต่จะเป็นการ สังเกตตาม สถานการณท์ เ่ี กิดข้นึ ตามธรรมชาติ และจดบันทกึ ข้อมลู ทง้ั หมดเพ่ือนาไปวเิ คราะห์ หลกั การของการสังเกตท่ีมีประสทิ ธภิ าพ มแี นวการดาเนนิ การดงั นี้ (วิเชียร เกตุสงิ ห์, 2530: 90-91) 1) วางแผนและกาหนดเป้าหมาย ขอบเขต และรายละเอยี ดของการสังเกตอยา่ งชดั เจน 2) มีความต้ังใจในการสังเกต โดยการสังเกตรายละเอียดของพฤติกรรมหรือ คุณลักษณะที่ เกิดขน้ึ ใหม้ ากที่สุด 3) จดบันทกึ พฤตกิ รรมหรือคณุ ลกั ษณะทีส่ งั เกตพบทนั ทีเพอื่ ป้องกันการหลงลืม 4) มปี ระสาทการรับรู้ท่ีสมบรู ณ์ และมสี ุขภาพที่แข็งแรง 5) ต้องไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้ถูกสังเกต

6) มีการฝึกการสังเกตให้ชานาญ มคี วามไวในการรบั รู้ และมคี วามคลอ่ งแคล่วในการจดบันทึก ข้อมลู จากการสังเกต 7) ให้จดบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงไม่ตีความหมาย เพราะอาจจะทาให้เกิดความ คลาดเคล่อื นระหวา่ งการสงั เกตเนือ่ งจากกงั วลกับการตคี วาม 8) สังเกตตามชว่ งเวลาท่แี ตกต่างกนั หรือใชผ้ สู้ ังเกตหลายคนเพ่ือใหเ้ กิดความน่าเชื่อถือของผล จากการสังเกต 9) มเี ครือ่ งมอื ประกอบการสงั เกตตามความเหมาะสมกับพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ต้องการ ข้อดี 1) ไดข้ ้อมูลจากแหลง่ ปฐมภูมทิ ่ีให้รายละเอียดท่ชี ัดเจน 2) ใช้กับผู้ถูกสังเกตที่ไม่สามารถให้ข้อมูลโดยตรงอาทิพูดหรือเขียนไม่ได้หรือมีการต่อต้าน / ละอายในการใหข้ อ้ มูล 3) ใช้เป็นข้อมูลที่ให้พิจารณาประกอบหรือตรวจสอบกับวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่นเพ่ือ เพิม่ ถกู ตอ้ งและชัดเจน ขอ้ จากัด 1) ใชเ้ วลาและคา่ ใช้จ่ายคอ่ นขา้ งสงู เม่อื เปรยี บเทียบกับผลท่ไี ดร้ ับจากการเฝ้าสงั เกต 2) ในกรณีผู้ถกู สังเกตรู้ตัวจะทาให้ได้ขอ้ มูลท่ีไมส่ อดคลอ้ งกับพฤติกรรมตามปกติทเี่ คยเกิดขน้ึ 3) ในขณะทีเ่ ฝ้าสังเกตนั้นอาจจะไม่เกดิ พฤติกรรมทตี่ ้องการกไ็ ด้ 4) ผู้สังเกตต้องมีประสาทการรับรู้ท่ีดี / รวดเร็ว มิฉะน้ันจะไม่ได้ผลท่ีถูกต้องและชัดเจน ตามท่ตี อ้ งการ แบบสัมภาษณ์ ความหมาย บุญธรรม กจิ ปรีดาบรสิ ทุ ธิ(์ 2535: 41) ใหค้ วามหมายว่า เป็นเครอื่ งมือในการเกบ็ รวบรวม ขอ้ มูลโดยใชว้ ธิ กี ารได้มาซึ่งขอ้ มูลโดยใช้การสนทนาโต้ตอบอยา่ งมี จดุ หมายระหวา่ งผสู้ ัมภาษณ์ (Interviewer) และผใู้ ห้สัมภาษณ์ (Interviewees) เพือ่ ให้ไดค้ วามรู้ ความจรงิ เกย่ี วกบั พฤติกรรม คณุ ลักษณะทตี่ ้องการบางประการไม่ไดจ้ ากวิธกี ารอนื่ ๆ ประเภทของการแบบสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณเ์ พ่ือให้ได้ข้อเทจ็ จริงท่ีถูกตอ้ งชัดเจนได้จาแนกการสัมภาษณอ์ อกเปน็ 2 ลกั ษณะ ดงั นี้ 1. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ใช้แบบ

สมั ภาษณ์ที่สรา้ งขน้ึ เพ่ือใช้เป็นกรอบของคาถามในการสัมภาษณ์ทเ่ี หมือนกันกับผูใ้ ห้สัมภาษณ์แต่ละคน กลุ่มหรือเป็นแบบให้เลือกตอบ เป็นวิธีการที่ง่ายสาหรับการนาผลท่ีได้มาวเิ คราะห์ข้อมูลและเหมาะสม กับผู้สัมภาษณ์ทีย่ งั ไม่มปี ระสบการณ์มากเพียงพอ แต่จะตอ้ งระมัดระวงั การมีตัวเลือกท่ีไม่สอดคล้องกับ ตัวเลือกท่ีกาหนดให้ ทาให้จาเป็นต้องตอบตามตัวเลือกที่กาหนดให้ดังนั้นอาจจาเป็นต้องมีการกาหนด ตวั เลอื กแบบปลายเปดิ 2. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ใช้เพียง ประเด็นหัวข้อ เป็นแนวทางในการตั้งคาถามโดยที่ผู้สัมภาษณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ทาให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและลึกมากขึ้นในการนามาพิจารณาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ผู้ สัมภาษณ์จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความเช่ียวชาญมากทั้งในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการ วเิ คราะห์ขอ้ มูล ข้อดี 1) ใช้กบั บุคคลทีไ่ มส่ ามารถให้ข้อมูลโดยการอา่ นเขยี นหนังสือไมไ่ ด้ 2) ไดข้ ้อมลู ที่มีรายละเอยี ดชดั เจน และได้ข้อมลู เก่ียวกับพฤติกรรมของผู้ใหส้ มั ภาษณใ์ น ระหว่างการใหส้ ัมภาษณ์ประกอบการวเิ คราะห์ข้อมลู 3) ผสู้ มั ภาษณแ์ ละผู้ให้สมั ภาษณส์ ามารถซกั ถามประเดน็ ในข้อคาถาม หรือดาตอบท่ีไม่ชดั เจน ระหว่างกนั และกนั ได้ ข้อจากดั 1) ใช้เวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดาเนนิ การคอ่ นข้างสงู 2) ต้องใช้ผู้สัมภาษณ์ที่มีประสบการณ์และมีมนุษยสัมพันธ์สูงจึงจะได้ข้อมูลท่ี ถูกต้อง และ ชดั เจน 3) ในการสัมภาษณ์ใด ๆ กรณีใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างทาให้ได้ข้อมูล ที่ หลากหลายทีย่ งุ่ ยากต่อการวเิ คราะห์เพือ่ สรุปผล

แบบสอบถาม ความหมาย สมชาย รตั นทองคา (2560) ชดุ ของคาถามท่ีเกี่ยวกบั เรื่องใดเรื่องหน่ึง สรา้ งข้ึนเพ่ือตรวจสอบ ข้อเทจ็ จรงิ ความ คิดเหน็ ความรู้สกึ ความเชอ่ื และความสนใจตา่ งๆในทางการศกึ ษามักนยิ มใชว้ ดั และ ประเมินผลด้านจิตพสิ ยั ได้แก่ มาตราสว่ นประมาณคา (rating scale) เปน็ เครื่องมือทใ่ี ซไ่ ดท้ ้งั ให้ผู้ถูกวัด ประเมนิ ตนเอง และผอู้ ื่นประเมิน การตอบ กระทาโดยให้ผู้ตอบหรอื ผู้สงั เกตประเมนิ คาของ คุณลกั ษณะออกมาเป็นระดับต่าง ๆ ประเภทของการแบบสอบถาม ในการสอบถามเพือ่ ให้ได้ขอ้ เท็จจรงิ ท่ีถูกต้องชัดเจนไดจ้ าแนกแบบสอบถามออกเป็น 2 ลักษณะ ดังน้ี 1. แบบสอบถามปลายปดิ (Closed Form) แบบสอบถามรูปแบบนี้ มลี ักษณะ เหมือนข้อสอบ แบบเลือกตอบ คืออจะมีข้อความซ่ึงเป็นคาถาม และมีคาตอบท่ีกาหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ตอบ เลือกตอบข้อใดข้อหนึ่งที่ตรงตามท่ีเป็นจริงเก่ียวกับผู้ตอบ จานวนตัวเลือกที่ให้เลือกตอบมี หลาย ลกั ษณะ อาจเป็นแบบ 2 ตัวเลอื ก แบบสารวจรายการ หรือให้ผูต้ อบจัดอันดบั ความสาคญั ของ คาตอบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า หรือให้ผู้ตอบเลือกตอบได้มากกว่า 1 ตัวเลือกข้ึนไปก็ได้ ดังตัวอย่าง ต่อไปน้ี ตาราง แสดงตัวอยา่ งการกาหนดตัวแปรและการให้ค่ารหสั ตัวแปรจากแบบสอบถาม แบบสอบถามเพอ่ื การวิจัย หมายเลข........... สาหรบั เจ้าหน้าที่ ตอนที่ 1 สถานภาพสว่ นบคุ คล คาชี้แจง กรุณากาเคร่อื งหมาย  ลงในช่อง  ทีต่ รงกับความเป็นจรงิ ของทา่ น 1. เพศ  1.ชาย  2. หญิง 2. อาย.ุ ........................ปี SEX  AGE  3. ประสบการณใ์ นการทางาน........................ ปี EXP  EDU  4. ระดบั การศึกษา Pretest   1. ตา่ กว่าปรญิ ญาตรี  2. ปรญิ ญาตรี  3.ปริญญาโทขน้ึ ไป 5. คะแนนทดสอบกอ่ นเรยี น ……………….คะแนน 6. คะแนนทดสอบหลงั เรียน…………………คะแนน

แบบสอบถามเพื่อการวจิ ยั หมายเลข........... สาหรับเจ้าหน้าที่ Posttest  2. แบบสอบถามปลายเปิด (Opened form) แบบสอบถามรูปแบบน้ีไม่กาหนดคาตอบไว้ แน่นอนแต่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระตามความเห็นของตนเอง นอกจากแบบสอบถามทั้ง 2 รูปแบบน้ีแล้ว ยังมีแบบสอบถามอีกรูปหน่ึง คือ แบบสอบถามแบบรูปภาพ (Pictorial form) เป็น แบบที่ไข้รูปภาพแทนภาษา มีลักษณะด้วย แบบสอบถามปลายปิด แบบสอบถามรูปภาพความสาคัญ อยู่ที่ต้องสร้างภาพให้ซัดเจนเป็นท่ีเข้าใจ ตรงกัน อาจเป็นภาพวาดหรือภาพถ่ายก็ได้ เหมาะสาหรับ ผูต้ อบที่เป็นเดก็ หรอื ผู้ท่มี ีความรู้ทางภาษา เขยี นน้อย ข้อดี 1) ประหยัดเวลา แรงงาน และสามารถรวบรวมขอ้ มลู ได้จานวนมาก 2) ผตู้ อบมีโอกาสหาเวลาตอบดว้ ยตนเองในเวลาท่สี ะดวก และมอี ิสระ ในการตอบ เป็นตัวของ ตัวเองและการตอบก็ไม่ต้องรีบรอ้ นมีเวลาคดิ 3) ได้ข้อมูลทม่ี ีลักษณะเดียวกัน สะดวกในการวเิ คราะห์ ขอ้ จากดั 1) การใช้แบบสอบถามทาให้ขาดการติดต่อระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูล ถ้าคาถามไม่กระจ่าง ผตู้ อบก็ไมม่ โี อกาสซักถามได้ ผตู้ อบกอ็ าจคาดคะเนเอาเอง ทาให้ผลการตอบมโี อกาสคลาดเคล่ือนได้ 2) การขาดการติดต่อของผู้วิจัยกับกลุ่มตัวอย่างทาให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการตอบของผู้ตอบได้ และยงั มผี ลไปถงึ การไมส่ ่งคนื ทาให้ได้รับแบบสอบถามสง่ คนื ไมค่ รบถ้วนตามทต่ี ้องการ แบบฝึกหัด คาชแี้ จงให้ตอบคาถามจากประเดน็ ท่ีกาหนดให้อยา่ งถูกต้องและชัดเจน 1. จากพฤตกิ รรมท่ีตอ้ งการวดั ที่กาหนดให้นี้ ให้เลือกใช้เครื่องมอื ท่ีใช่วดั ผลว่าควรเลือกใช้ เครือ่ งมือวดั ประเภทใด เพราะเหตใุ ด 1.1 ทักษะการคิดวิเคราะห์ 1.2 การนาเสนอรายงานหนา้ ช้นั 1.3 การเขา้ รว่ มกิจกรรมกลมุ่ ในห้องเรียน 1.4 การเข้าร่วมซอ้ มดนตรีเพอ่ื ขึ้นแสดงบนเวที

1.5 การใหบ้ ริการ / จติ สาธารณะ 2. ใหเ้ ปรยี บเทยี บความแตกต่างระหว่าง \"แบบทดสอบ\" กับ \"แบบสอบถาม\" ว่ามีประเดน็ ใดบ้าง 7. Link ทนี่ กั ศกึ ษาจะเขา้ ไปทาการศกึ ษาด้วยตนเอง 1. - 8. แหล่งคน้ ควา้ เพม่ิ เตมิ บญุ ธรรม กจิ ปรีดาบริสุทธ.ิ์ (2542). เทคนคิ การสรา้ งเครอ่ื งมือรวบรวมข้อมลู ส าหรับการวจิ ยั . พมิ พ์ ครงั้ ที่5. กรุงเทพฯ : เจริญดีการพิมพ.์ บญุ ธรรม กิจปรีดาบรสิ ทุ ธ.ื้ (2535).การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน. กรงุ เทพฯ : สามเจรญิ พานิซ. พร้อมพรรณ อุดมสิน (2547). “การประเมนิ ผลการเรียนรู้คณติ ศาสตร์ด้วยทางเลอื กใหม่”ใน ประมวลบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรยี นรู้กลุม่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. บรรณาธิการโดยพร้อมพรรณ อดุ มสนิ และอัมพร มา้ คนอง. กรุงเทพฯ: บริษทั บพิธการพิมพ์ จากัด. วิเชียร เกตุสงิ ห์.(2530).หสกั การสรา้ งและวิเคราะห์เครอ่ื งมอื ที่ใขใ้ นการวจิ ยั . กรงุ เทพฯ: บริษัท โรง พมิ พ์ไทวฒั นาพานซิ . คริ ชิ ยั กาญจนวาสี.(2552) ทฤษฎีการทดสอบด้ังเตมิ . พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั .

บทที่ 4 การสรา้ งและหาคณุ ภาพเคร่อื งมอื สาระการเรียนรู้ 1. คณุ ภาพเครอื่ งมอื วดั ผลทางการศกึ ษา 2. ข้นั ตอนการสร้างเคร่อื งมอื วดั ผลทางการศกึ ษา 3. การวเิ คราะห์คุณภาพเครือ่ งมือวดั ผลทางการศึกษา a. แบบทดสอบ (Test) b. แบบสงั เกต (Obsermation) c. แบบสัมภาษณ์ (Interviewing) d. แบบสอบถาม (Questionnaire) จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ 1. อธิบายความหมายและความสาคัญของคุณภาพเคร่อื งมือวัดผลทางการศึกษาได้ 2. อธบิ ายขน้ั ตอนการสรา้ งเครือ่ งมอื วดั ผลทางการศึกษา 3. สามารถวเิ คราะห์คุณภาพเครอ่ื งมอื วดั ผลทางการศึกษา a. ความเท่ียงตรง (Validity) b. ความเชอ่ื มัน่ (Reliability) c. ความยากง่าย (Difficutly) d. อานาจจาแนก (Discriminant)

1. คุณภาพเคร่ืองมอื วัดผลทางการศกึ ษา การวดั ผลทางการศกึ ษา เปน็ กระบวนการวัดการเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมของผเู้ รียนนิยมวัดผล การเรียนรู้ เป็น 3 ด้านคือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) และทักษะ พิสัย (Psychomotor Domain) ลักษณะการประเมินผลทางการศึกษาท่ีนิยมใช้มี 2 ลักษณะคือ 1) ประเมนิ ผลเพ่อื การพัฒนา (Dormative Evaluation) เปน็ การประเมนิ ผลระหว่างการจัดการเรยี นการ สอน นิยมใช้เพื่อตรวจสอบการเรียนรแู้ ละความก้าวหน้าของผู้เรียนหรือปรบั ปรุงคุณภาพการเรียนการ สอน มักใช้แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ หรือเครื่องมือวัดอ่ืนๆ ท่ีเหมาะสม ระยะเวลามัก ทาเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนเร่ืองหนึ่งๆ 2) การประเมินผลสรุป (Summative Evaluation) เป็น การประเมินผลเม่ือสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ของ ผู้เรียนมักทาปลายภาคการศึกษาและตัดสินผลการเรียน โดยทั่วไปของการวัดส่ิงใดก็ตาม มักจะต้อง กาหนดเป้าหมายหรือส่ิงท่ีจะวัดให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไรและประเมินอย่างไร จากนั้นจึงเลือกใช้ เครื่องมือและเทคนิคที่สอดคล้องกับสิ่งท่ีจะประเมิน หากไม่มีเคร่ืองมือท่ีเป็นมาตรฐาน มักนิยมสร้าง ข้ึนเองอย่างมีหลักการและข้ันตอน สุดท้ายคือการนาวิธีการและเคร่ืองมือไปประเมินอย่างไม่มีอคติ และยุติธรรม ผู้วัดควรตระหนักว่าการวัดผลจะมีความคาดเคล่ือนหรือข้อผิดพลาดเสมอ ดังนั้นการ เลือกใช้เคร่ืองมือในการประเมินผลในการวัดและประเมินผลทางการศึกษาที่ดีจึงเป็นประเด็นสาคัญท่ี จะช่วยลดความคลาดเคล่ือนให้น้อยลงได้ โดยเครื่องมือวัดผลท่ีดีควรมีคุณลักษณะที่สาคัญดังน้ี 1) ความเท่ียงตรงสูง น้ันคือ สามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือสิ่งที่ตัองการวัด 2) มีความเช่ือมั่นดี หมายถึง ผลที่วัด คงท่ีแน่นอนไม่เปล่ียนไปมา วัดซ้าก่ีครั้งกับกลุ่มตัวอย่างเดิมได้ผลเท่าเดิม หรือ ใกล้เคียงกัน สอดคล้องกัน 3) มีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากหรือง่ายเกินไป 4) มีอานาจจาแนก ได้ สามารถแบ่งแยกผู้สอบออกตามระดับ ความสามารถ เก่งและอ่อนได้ โดยคนเกง่ จะตอบข้อสอบได้ ถูกมากกว่าคนอ่อน 5) มีประสิทธิภาพ หมายถึงทาให้ได้ข้อมูลท่ีถูกต้องเชื่อถือได้ลงทุนน้อย 6) มีความ ยุติธรรม ไม่เปิดโอกาสให้ได้เปรียบเสียเปรียบ 7) มีความจาเพาะ เจาะจง 8) ใช้คาถามที่ลึก และ 9) คาถามยว่ั ยุ โดยมรี ายละเอียดดังนี้ 1. ความเท่ียงตรง (validity) ในการสรา้ งแบบทดสอบหรอื เคร่ืองมือวิจยั สาหรับเกบ็ ข้อมูล มกั จะกล่าวถึงความเท่ยี งตรง ซึ่งมักจะมคี วามหมายและรายละเอียดดังน้ี

1.1 ความเที่ยงตรงตามเน้ือหา (content validity) หมายถึง การวัดน้ันสามารถวัดได้ ครอบคลุมเน้ือหา และวัดได้ครบถ้วนตามจุดประสงค์ของการวัด ในทางปฏิบัติมักจะต้องทาตาราง จาแนกเน้ือหา จดุ ประสงค์ ตามทตี่ ้องการกอ่ นจะทาการออกข้อสอบหรือแบบวดั 1.2 ความเท่ียงตรงเชิงสัมพันธ์ (criterion-related validity) แบ่งการออกเป็น 2 ลักษณะ คอื 1) ความเทีย่ งตรงเชิงพยากรณ์ (predictive validity) คอื คา่ คะแนนจากแบบสอบสามารถทานาย ถึงผลการเรียนในวิชานั้นๆ ได้อย่างเที่ยงตรง 2) ความเท่ียงตรงตามสภาพ (concurrent validity) หมายถึง ค่าคะแนนท่ีได้จากแบบสอบสะท้อนผลตรงตามสภาพเปน็ จริง กล่าวคือ เด็กเก่งจะได้คะแนน สอบสูง สว่ นเด็กออ่ นจะไดค้ ะแนนต่า 1.3 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (construct validity) หมายถึงคะแนนจากแบบวัดมีความ สอดคล้องกับลกั ษณะและพฤติรรมจริงของเด็ก เช่น สอดคล้องกบั ความรู้ ความมีเหตุผล ความเปน็ ผู้นา เชาว์ปัญญา เป็นต้น 2. ความเชอ่ื มัน่ (reliability) แบบทดสอบทีด่ ตี ้องมีความเชือ่ มั่นไดว้ า่ ผลจากการวัดคงที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนไปมา การวดั ครงั้ แรกเปน็ อย่างไร เม่ือวดั ซ้าอีกโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิมผ้ถู ูกทดสอบกลุ่มเดมิ จะวัดก่คี รง้ั ก็ตามผล การวดั ควรจะเหมือนเดิม หรือใกล้เคียงเดมิ สอดคล้องกัน แบบทดสอบท่ีเชื่อมั่นไดจ้ ะสามารถให้ คะแนนทคี่ งทแี่ น่นอน ปกตกิ ารสอบแต่ละคร้งั คะแนนที่ไดม้ ักไม่คงท่ี แต่ถา้ อันดบั ของผทู้ ี่ทาขอ้ สอบยัง คงท่เี หมือนเดมิ ก็ยังถอื วา่ แบบทดสอบน้ันมีความเชอ่ื มั่นสงู คา่ ความเช่ือมัน่ คานวณได้จากการหาคา่ สมั ประสิทธิ์สหสัมพนั ธร์ ะหว่างคะแนนทง้ั 2 ชุด จากการสอบ ผู้สอบกลุม่ เดิม 2 ครง้ั โดยใช้ แบบทดสอบเดียวกนั ความเช่ือม่นั มีคา่ อยู่ระหว่าง 0.00 ถงึ 1.00 ความเปน็ ปรนยั (objectivity) 3. ความเป็นปรนยั (objectivity) หมายถึง ความชัดเจน ความถกู ต้อง ความเขา้ ใจตรงกนั โดยยึดถือความถูกต้องทางวชิ าการเปน็ เกณฑ์ การสรา้ งแบบทดสอบใด ๆ จาเปน็ ตอ้ งมีความ ชดั เจนเข้าใจตรงกนั ระหว่างผู้ออกข้อสอบและผทู้ าข้อสอบ คุณสมบตั ิความเป็นปรนยั ของแบบทดสอบ พิจารณาได้เป็น 3 ประการ คือ 1) ผูอ้ า่ นขอ้ สอบทุกคนเข้าใจตรงกนั 2) ผตู้ รวจทุกคนให้คะแนนได้ ตรงกนั 3) แปลความหมายของคะแนนไดต้ รงกนั 4. ความยากง่าย (difficulty) แบบทดสอบที่ดีต้องมีความยากง่ายพอเหมาะ คือไม่ยากเกินไปหรอื ไม่งา่ ยเกินไป ใน แบบทดสอบชดุ หนง่ึ ๆ อาจมีทั้งข้อสอบที่คอ่ นขา้ งยาก ปานกลาง และค่อนข้างงา่ ยปะปนกนั ไป ซ่ึงนิยมแทน ด้วย “p” มีค่าตั้งแต่ 0-1.00 ถ้าค่า P สูงแสดงว่าค่าถามข้อนั้นมีผู้ตอบถูกมาก แสดงว่า ข้อสอบน้ันง่าย ถ้าค่า P ต่า แสดงว่าค่าถามข้อนั้นมีผู้ตอบถูกน้อย แสดงว่าข้อสอบยาก แบบทดสอบที่ ดี ควรมีค่าความยากง่ายพอเหมาะ ค่า P อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 อย่างไรก็ตามการพิจารณาความยาก ง่ายของข้อสอบ อาจแตกต่างกันตามจดุ ประสงค์ของการสอบ เช่น แบบทดสอบสาหรับประเมนิ ผลการ

เรียนการสอนทวั่ ไป อาจใช้แบบสอบทีม่ ีค่าความยากงา่ ย 0.20-0.80 แตแ่ บบทดสอบเพ่ือคัดเลือกเรียน ต่ออาจใชแ้ บบสอบท่ีมีคา่ ความยากงา่ ย 0.15-0.75 เป็นต้น 5. อานาจจาแนก (discrimination) แบบทดสอบท่ดี ตี ้องสามารถจาแนกผ้สู อบที่มีความสามารถเกง่ อ่อนตา่ งกันออกไดโ้ ดยคนเกง่ จะตอบข้อสอบถูกมากกวา่ คน ดงั นนั้ หากข้อใดท่ีมีคนอ่อนตอบถูกมากกว่าเรยี กวา่ “จาแนกกลบั ” สว่ น ข้อใดหากคนเกง่ และคนออ่ นตอบถูก พอๆกนั เรียกวา่ “จาแนกไมไ่ ด้” ดงั นนั้ หากขอ้ สอบใด ค่าอานาจ จาแนก (r) มีค่าบวกแสดงวา่ จาแนกได้ มีค่าลบแสดงว่าจาแนกคนกลบั และเป็นศนู ย์หรือใกลศ้ นู ย์ แสดงวา่ ขอ้ ค่าถามนัน้ ไม่มีอานาจจาแนกคนเก่งและคนอ่อนตอบ ผิดถกู พอ ๆกันควรมกี ารปรับปรุงก่อน นาไปใช้ ค่าที่ใชไ้ ด้คือ ค่าระหว่าง 0.20 -0.80 โดยค่าที่ดที ่ีสุดคอื ค่าปานกลางหรือ 0.50 6. ความมปี ระสิทธภิ าพ (efficiency) เครอื่ งมอื วดั ที่มปิ ระสิทธภิ าพ หมายถึงเคร่ืองมือทท่ี าให้ไดข้ ้อมูลท่ีถูกต้อง เชอื่ ถือไดป้ ระโยชน์ สงู ประหยัดสุด โดยลงทุนนอ้ ยที่สดุ ไมว่ ่าจะเป็นด้านเวลา แรงงาน ความสะดวกสบาย แบบทดสอบท่ีดี ควรพิมพ์ผดิ พลาดตกหลน่ น้อย รูปแบบดงู า่ ย เปน็ ระเบยี บเรียบร้อยอ่านง่าย 7. ความยุติธรรม (fair) แบบทดสอบท่ดี ีต้องไม่เปิดโอกาส'ให้ผู้สอบได้เปรยี บเสยี เปรยี บกนั เชน่ แบบทดสอบบางฉบบั ผสู้ อนออกข้อสอบเนน้ เรอ่ื งใดเร่ืองหนง่ึ ท่ีผูเ้ รยี นบางคนได้เคยคน้ คว้าทารายงานมาก่อน เป็นต้น ดง้ นั้น ผูอ้ อกขอ้ สอบควรคานงึ ถึงข้อไดเ้ ปรียบเสียบเปรียบของผทู้ าแบบทสอบดว้ ย 8. คาถามลึก (searching) แบบทดสอบทส่ี อบถามเฉพาะความรคู้ วามเข้าใจ ผอู้ อกข้อสอบไมค่ วรถามลึกจนกระท่งั ต้อง ใช้ความรรู้ ะดับ วิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา ดังนน้ั ความลึกซงึ้ ของคาถามควรสอดคล้องกับ ลกั ษณะและจดุ ประสงค์ของการวัด 9. คาถามยวยุ (exasperation) คาถามยัว่ ยุมีลักษณะเป็นคาถามทที่ ้าทายให้ผสู้ อบอยากคิดอยากทามลี ลี าการถามทน่ี า่ สนใจ ไมถ่ ามวกวน ซ้าซากนา่ เบือ่ อาจใช้รูปประกอบคาถาม การเรยี งขอ้ คาถามในข้อสอบ ควรเรยี งหลาย แบบคละกนั อาจเรยี งลาดับ เนอื้ หา เรียงลาดับความยากง่าย สลบั กนั เป็นตัน 10. ความจาเพาะเจาะจง (definite) ลกั ษณะคาถามทดี่ ีไม่ควรถามกวา้ งเกินไป ไมถ่ ามคลุมเครือหรือเลน่ สานวณจนผสู้ อบงง ผู้อา่ น อ่านแล้วต้องมีความซัดเจนว่าครูถามอะไร ส่วนจะตอบถูกหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ขึ้นกับความรู้ ความสามารถของผู้ตอบ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook