4) การมีกัลยาณมิตรเป็นเครือข่ายท�ำงาน ความโดดเด่นในการท�ำงานของมูลนิธิบ้านครูน้�ำในระยะหลังมาน้ี คือ การพยายามดึงกัลยาณมิตรที่มีเป้าหมายการท�ำงานงานร่วมกันมาเพื่อผนึก ก�ำลงั การท�ำงานผลกั ดนั นโยบายและหนุนเสริมซงึ่ กนั และกัน เชน่ การรวมกลุ่ม เครือข่ายบ้านพักเด็ก คนท�ำงานด้านเด็กและเยาวชน พัฒนาสังคมจังหวัด ใน จังหวัดเชียงราย โดยให้ความส�ำคัญการดูแลสุขภาวะของคนท�ำงานร่วมด้วย ท�ำงานร่วมกับเครือข่ายแบบเพื่อน ไม่ใช่คู่แข่ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่ีท�ำให้ งานของแต่ละองค์กร นอกจากนี้ยังเร่ิมสร้างเครือข่ายเชิงพ้ืนที่จังหวัดเชียงราย เช่น กลุ่มคุณค่าเชียงแสนในประเด็นวัฒนธรรม กลุ่มการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอธั ยาศยั (กศน.) เปน็ ตน้ 5) การปรับตัวและเรียนรู้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การท�ำงานของท้ังมูลนิธิบ้านครูน�้ำและศูนย์ดร็อปอินที่อยู่บริเวณหน้า ดา่ นแม่สาย จ�ำเปน็ ต้องประเมินสถานการณข์ องสงั คม โดยเฉพาะด้านนโยบาย หรือกฎหมายที่มผี ลกระทบกบั เดก็ ไร้สัญชาติ หรือ เดก็ เรร่ อ่ น เช่น กระแสเกยี่ ว กับการประกาศให้จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นท่ีเขตเศรษฐกิจพิเศษ สถานการณ์ ทางการเมืองการปกครองของประเทศเมียนมา เป็นต้น มูลนิธิบ้านครูน�้ำเป็น องค์กรที่เรียนรู้และปรับตัวได้ เมื่อท�ำงานแล้วมีการประเมินผลกลุ่มเป้าหมาย และปรับงานหรือกิจกรรมให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย เช่น ศูนย์ดร็อปอิน ที่ เลือกบุคลากรท่ีเป็นชาติพันธุ์หรือเติบโตมาจากมูลนิธิฯ เข้าร่วมเป็นทีมครูข้าง ถนน เพราะสื่อสารกับเด็กๆ ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ได้เข้าใจกันและท�ำให้เด็กไว้ วางใจ นอกจากนี้ยังเป็นครูสอนภาษาไทยพื้นฐานให้กับแรงงานชาติพันธุ์ที่เข้า มาท�ำงานในประเทศไทยในศนู ย์ กศน. รว่ มด้วย มูลนธิ ิบา้ นครนู ำ้� บนกา้ วต่อไป 101
อยา่ งไรกต็ าม หากองคก์ รจะก้าวไปขา้ งหนา้ ไดอ้ ย่างย่ังยนื มากขึ้น อาจ ต้องท�ำงานแบบมงุ่ เป้ามากขึน้ เพื่อให้สามารถบรหิ ารจดั การเวลาที่เหลอื ใหเ้ กดิ ประโยชน์มากขึ้น โดยการพยายามตัดกิจกรรมหรือโครงการท่ีไม่จ�ำเป็นออก เพอื่ ใหเ้ หลอื เวลาและพนื้ ทส่ี �ำหรบั คดิ กจิ กรรมทจ่ี �ำเปน็ มากขนึ้ และอาจตอ้ งสรา้ ง สมดุลระหว่างการริเร่ิมความคิดใหม่ๆ กับ โครงสร้างการท�ำงานเดิมท่ีมองว่ามี ประสทิ ธิภาพอยแู่ ลว้ 6) การน�ำร่วม ดว้ ยเนอ้ื งานทมี่ ลู นธิ บิ า้ นครนู ำ้� และศนู ยด์ รอ็ ปอนิ อ�ำเภอแมส่ าย ท�ำงาน อยู่น้ันส่วนใหญ่เป็นงานร้อน เร่งด่วน เก่ียวกับชีวิตความเป็นตายของเด็ก การ ท�ำงานในหลายๆ ครงั้ ครนู ำ้� ใหอ้ �ำนาจตดั สนิ ใจแกท่ มี งานอยา่ งเตม็ ที่ นอกจากทมี งานภายในแลว้ ยงั มเี ครอื ขา่ ยภายนอกทตี่ า่ งรบั ฟงั ความคดิ เหน็ กนั และครนู ำ�้ เอง เคยวางแผนจะหาคนทม่ี าสานงานตอ่ จากตนเอง อยา่ งไรกต็ าม การวางแผนและ การเตรียมส่งไม้ต่อให้กับคนรุ่นถัดไปของมูลนิธิฯ อาจยังขาดแผนงานท่ีชัดเจน ร่วมกับค่านิยมในระดับสังคมของคนรุ่นใหม่ที่มองการท�ำงานภาคประชาชนว่า ยงั ไม่ค�ำตอบของการประกอบอาชีพในชวี ติ พวกเขา 102 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม
ความท้าทาย ทุนมนุษย์: คนรุ่นใหม่กับการส่งไม้ต่อ “หลายๆ คนตดิ นะ คนเกง่ คนร้ขู ้อมลู อะไรเยอะ จะมปี ญั หากบั คนทเ่ี รมิ่ คบ คนทเ่ี รมิ่ คบกจ็ ะเหน็ ดเี หน็ งาม แตจ่ ะใหไ้ ปเปน็ อยา่ ง คนนน้ั เลยก็ไม่ไหว คนนั้นเขาท�ำมา 20 ปี ส่วนคนน้เี พ่ิงเร่ิม มนั ก็ จะยง่ิ เกดิ ความขดั แยง้ กนั โดยเฉพาะกบั คนรนุ่ ใหมเ่ ลย เขาจะไม่ เอาอะไรทโ่ี หดหรอื ทรมาน เขาอาจจะชน่ื ชมเราแค่ 2-3 เดอื น แต่ หลงั จากนนั้ เขากไ็ มไ่ หว แลว้ กไ็ ป ซงึ่ มนั กจ็ ะไมม่ คี นมาทำ� งานตอ่ แตถ่ า้ เราเปดิ ดว้ ยเรอ่ื งสนกุ ทา้ ทายไมม่ ากจนเกนิ ไป เดก็ รนุ่ ใหมเ่ ขา กจ็ ะอยากมาท�ำ เชน่ ตอนน้ันทำ� บ้านดินกนั คอื มันไมง่ า่ ยนะ แต่ กไ็ มย่ ากเกนิ ไปสำ� หรบั พวกเขา แลว้ พอทำ� เสรจ็ เขากถ็ า่ ยรปู อวด เพื่อนฝูง ซ่ึงมันท�ำให้เขาเร่ิมต้นด้วยความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และอยากมาทำ� อะไรทม่ี นั ลึกซ้ึง จริงจังมากขึน้ ” (นุชนารถ บญุ คง. สมั ภาษณ,์ 23 มีนาคม 2560) เทคนิคการท�ำงานกับคนรุ่นใหม่จากประสบการณ์ของครูน้�ำ มุ่ง ท�ำความเข้าใจความต้องการและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่อยากท�ำงานอะไรเพื่อ เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม โดยกิจกรรมเหล่านั้นต้องอยู่บนฐานของความ ทา้ ทายทส่ี นกุ ตวั อยา่ งทย่ี กมาเปน็ เพยี งหนงึ่ ในกจิ กรรมซงึ่ มนั จบในตวั ของมนั เอง คือ การท�ำบา้ นดนิ ซงึ่ ผทู้ �ำเห็นผลลพั ธเ์ ป็นรูปธรรมอยา่ งชัดเจน ไมต่ อ้ งตดิ ตาม ผลตอ่ เนอื่ งมากนกั เมอื่ งานจบ ความร้สู กึ ภาคภมู ิใจกเ็ กดิ ข้นึ ทว่า ในความเป็นจริงงานภาคสังคมมากมายล้วนเป็นงานท่ีท�ำงานกับ คน โดยเฉพาะงานของมลู นิธบิ า้ นครูนำ�้ ทเี่ ปน็ การพัฒนาทนุ มนษุ ยข์ องคน เปน็ งานท่ีไม่จบเป็นชิ้นๆ หรือเห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น อีกท้ัง อุปสรรคมากมายระหว่างการท�ำงาน ท่ีไม่ใช่จากปัจจัยแค่ความเหนื่อย ล้าของตนเอง แตม่ เี รอ่ื งอ่นื ๆ เช่น นโยบาย การขัดผลประโยชน์ การท�ำงานกบั มลู นธิ ิบ้านครูน�ำ้ บนก้าวตอ่ ไป 103
ทศั นคตขิ องสงั คมรอบขา้ ง และทส่ี �ำคญั คอื ความไมม่ น่ั คงทางรายได้ หากตอ้ งยดึ เป็นอาชพี ประจ�ำ ดงั ท่มี ลู นธิ ิฯ ประสบปญั หาขาดคนรุ่นใหมท่ ี่จะมาสานตอ่ งาน ตอ่ จากครูนำ้� การท�ำงานกับเด็กท่ีจ�ำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน และใช้หัวใจเป็น ตวั น�ำ คนรนุ่ ใหม่ท่จี ะมาท�ำงานต่อในประเด็นนี้ จึงถกู คาดหวงั ให้ต้องทมุ่ เทพลัง กาย ใจ และเวลา เพือ่ ให้เด็กได้มีทย่ี นื ทางสงั คมบนสภาพปญั หาทต่ี อ้ งเผชิญอยู่ ตลอดเวลา ในขณะทีค่ นร่นุ ใหม่มวี ิถชี ีวิตและค่านยิ มการสรา้ งสมดุลชีวิต (work life balance) ทีม่ งุ่ รักษาสมดลุ ระหวา่ งชีวติ การท�ำงานและชวี ิตส่วนตวั ความ ทา้ ทายจงึ อยทู่ จี่ ะท�ำอยา่ งไรเพอื่ ปรบั ภาพของการท�ำงานภาคสงั คม การประกอบ การสงั คมใหด้ นู า่ สนใจ และ สอดคลอ้ งกบั ความเปน็ จรงิ ในการใชช้ วี ติ ของคนรนุ่ ใหม่ ทุนทรัพย์: เงินส�ำหรับบริหารจัดการองค์กร ใน ปี 2556 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ได้เลอ่ื นการจดั อันดบั การพฒั นามนษุ ย์ ของประเทศไทยด้วยดชั นีการพัฒนามนษุ ย์ (Human Development Index: HDI)15 จากเดมิ เปน็ ประเทศมกี ารพฒั นามนษุ ยร์ ะดบั ปานกลาง ขนึ้ เปน็ ประเทศ มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงเป็นคร้ังแรกในระยะเวลาหลายสิบปี ซ่ึงเป็นผลจาก ตวั เลขดัชนีช้วี ดั ท่ีครอบคลุมมติ ิด้านสุขภาพ การศกึ ษา ความเสมอภาคทางเพศ และเศรษฐกิจ โดยมีแนวโนม้ ที่เพม่ิ สูงขน้ึ เรือ่ ยๆ 15 ดัชนีการพฒั นามนษุ ย์ (Human Development Index: HDI) คอื ดัชนที างสถติ แิ บบองค์รวมทจี่ ดั กลมุ่ ประเทศตามระดบั ของการพฒั นามนษุ ย์ โดยวดั จากอายุคาดเฉลีย่ เมือ่ แรกเกิดของประชากร การรูห้ นงั สือ การเขา้ เรยี นในระดบั ประถม มธั ยม และอดุ มศกึ ษา และ รายไดเ้ ฉลย่ี ตอ่ หวั ของประชากร ซงึ่ แบง่ ล�ำดบั การ พฒั นามนษุ ยใ์ นแตล่ ะประเทศเปน็ 4 กลมุ่ ไดแ้ ก่ ประเทศทมี่ กี ารพฒั นามนษุ ยส์ งู มาก ประเทศทม่ี กี ารพฒั นา มนษุ ย์สูง ประเทศทม่ี กี ารพัฒนามนุษย์ปานกลาง และ ประเทศที่มีการพฒั นามนุษย์ต�่ำ (UNDP, 2014) 104 จดุ นัดพบบนเส้นขนาน: ผูค้ น ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
นอกจากตัวช้ีวัดนี้แล้วในภาพรวมของประเทศไทยเองที่ดูเหมือนจะ พฒั นาขน้ึ ตามล�ำดบั มผี ลกระทบตอ่ แนวปฏบิ ตั ขิ ององคก์ รระหวา่ งประเทศตา่ งๆ ท่ีเป็นแหล่งทุนหลักผู้คอยสนับสนุนด้านทุนทรัพย์และเงินบริจาคแก่มูลนิธิหรือ องค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไรต่างๆ ในประเทศไทย มีแนวโน้มจะลดการให้ความ ชว่ ยเหลือลง เพราะเหน็ ว่าประเทศไทยมศี ักยภาพเพิ่มมากข้ึน จากสถานการณ์ข้างต้น ย่อมมีผลกระทบต่อความเสี่ยงทางการเงิน ส�ำหรับบริหารจัดการมูลนิธิบ้านครูน้�ำ ซ่ึงแหล่งทุนหลักมาจากองค์กรในต่าง ประเทศ แม้อุดมการณ์และความเชื่อว่าการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ต้องด�ำเนิน การด้วยหัวใจ ไม่จ�ำเป็นต้องแสวงหาก�ำไร อย่างไรก็ตาม หากมลู นธิ ิบ้านครนู �ำ้ ท่มี งุ่ แก้ไขปัญหาสงั คม เป็นทีพ่ งึ่ พงิ ให้เด็กไร้สัญชาติไม่สามารถด�ำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอาศัยแหล่ง ทุนจากตา่ งประเทศ เงนิ บริจาคหรอื เงินใหเ้ ปล่าเมือ่ เขียนขอโครงการเปน็ ครั้งๆ ซงึ่ ไมส่ ามารถคาดการณไ์ ดแ้ นน่ อน หากมลู นธิ ฯิ ขาดทนุ นนั่ หมายถงึ ผลลพั ธท์ าง สงั คม (social impact) กจ็ ะท�ำได้ไมต่ ่อเนอ่ื ง ดังนั้นวิธีคิดและเครื่องมือต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพในการหารายได้และ การบริหารกิจการจากภาคธุรกิจ จึงอาจเป็นอีกช่องทางหน่ึงเพื่อให้บรรลุเป้า หมายในการสรา้ งพืน้ ทีย่ ืนทางสังคมใหแ้ ก่เดก็ ในมูลนิธิบา้ นครนู ำ�้ อยา่ งไรกต็ าม ส�ำหรบั มลู นธิ บิ า้ นครนู ำ้� ยอ่ มเผชญิ ความทา้ ทายมากกวา่ ในหลายๆ องคก์ รภาคสงั คมอนื่ ๆ เนอ่ื งดว้ ยการท�ำงานบนวถิ พี นื้ ทสี่ เี ทา กลา่ วคอื แมส้ งิ่ ทคี่ รนู ำ�้ และทมี งานก�ำลงั ท�ำอยเู่ ปน็ สง่ิ ทช่ี ว่ ยเหลอื สงั คม ทวา่ กลมุ่ เปา้ หมาย ทค่ี รนู ำ้� ก�ำลงั ชว่ ยเหลอื อยไู่ มไ่ ดถ้ กู รบั รองดว้ ยกฎหมาย จงึ ตอ้ งแกป้ ญั หาในหลาย ระดับท้ังปัญหาหน้างาน ที่ต้องช่วยเหลือเด็กให้มีชีวิตรอดปลอดภัยและเข้าสู่ คุณภาพชวี ติ ที่ดขี น้ึ ปัญหาด้านทัศนคติของสังคมรอบข้างทไ่ี มไ่ ด้เหน็ คุณคา่ ของ เดก็ กลมุ่ นี้ และปญั หาระดบั โครงสรา้ ง นโยบาย และตวั กฎหมาย ทมี่ ผี ลกระทบตอ่ ปัญหาตา่ งๆ ที่เด็กไร้สญั ชาตติ อ้ งเผชญิ มูลนิธิบ้านครูนำ�้ บนก้าวตอ่ ไป 105
องค์ประกอบของการท�ำงานร่วมกันระหว่าง ภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ จากการถอดบทเรียนกระบวนการท�ำงานร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจใน บทบาทของ Intrapreneur และภาคประชาสังคมในมติ ิของมลู นิธิ ผู้วจิ ยั พบวา่ องค์ประกอบท่ีเอ้ือใหก้ ารท�ำงานร่วมกนั ของท้งั สองฝา่ ยด�ำเนนิ การไปได้ มดี ังน้ี 1) ความยืดหยุ่น ความยดื หยนุ่ คอื การแสดงออกถงึ ความสามารถในการปรับตัว หรือ พร้อมเรยี นรู้ตลอดเวลา ในหลายคร้ังมีการวางแผนการท�ำงานไว้ลว่ งหนา้ แตใ่ น สถานการณจ์ รงิ อาจมีหลายเหตกุ ารณท์ ไี่ ม่สามารถควบคมุ ได้ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ เมอื่ ภาคธรุ กจิ เขา้ ไปท�ำงานรว่ มกบั ภาคประชาสงั คม ที่ก�ำลังท�ำงานกับประเด็นร้อน มีหน้างานค่อนข้างมาก งานส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง กบั ชีวิตความเปน็ ความตาย และม่งุ ท�ำงานดา้ นความสัมพันธข์ องมนษุ ย์ ในขณะ ทภี่ าคธรุ กิจซงึ่ ให้ความส�ำคญั กบั ความคุ้มค่า โดยเฉพาะเรื่องเวลา ดังนนั้ หากยดึ ตดิ วธิ กี ารหรอื ผลลพั ธท์ เี่ ปน็ รปู ธรรมเกนิ ไป อาจท�ำใหค้ วามมงุ่ มน่ั ตงั้ ใจอยากชว่ ย เหลือกลายเป็นการบีบบังคับด้วยความไม่เข้าใจ เพราะปัญหาทางสังคมหลาย อย่างมีความซับซ้อน จึงจ�ำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการแก้ปัญหาต่างๆ การมคี วามยดื หยนุ่ จะชว่ ยใหส้ ามารถลดอคตทิ ม่ี ลี งไปได้ โดยการรบั ฟงั ความคดิ เห็นทแี่ ตกตา่ งของผู้อน่ื 106 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม
2) การเชื่อมร้อยความฝันคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า ดว้ ยพน้ื ทว่ี จิ ยั ครง้ั นเี้ ปน็ การพบกนั ของคนสองคนทนี่ อกจากมวี ธิ คี ดิ และ มมุ มองในการมองสงั คมตา่ งกนั ในมติ ขิ องการชว่ ยเหลอื สงั คมและความยง่ั ยนื แต่ ทง้ั สองคนยงั เปน็ ภาพสะทอ้ นของคนรนุ่ ใหมเ่ พง่ิ เรยี นจบทมี่ ไี ฟอยากท�ำสง่ิ ดๆี ให้ สังคม และมีเคร่ืองมือความรู้ใหม่ๆ เป็นความรู้เชิงหลักการวิชาการ (explicit knowledge) อยากน�ำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ แตอ่ าจขาดประสบการณ์การ ท�ำงานขับเคล่อื นสังคม ส่วนอีกกลุ่มคือคนรุ่นเก่าท่ีมีความมุ่งมั่นทุ่มเทพลังในการท�ำงานเพ่ือ สงั คม และเปย่ี มดว้ ยประสบการณใ์ นการท�ำงานภาคสงั คมมากลน้ จนหลอ่ หลอม ขนึ้ เปน็ ความรเู้ ฉพาะตวั (tacit knowledge) ทหี่ าไดย้ ากจากหอ้ งเรยี นหรอื ต�ำรา ทั่วไป แตอ่ าจขาดมุมมองหรือวิธคี ิดจากความรใู้ หมๆ่ อย่างไรก็ตาม ท้ังสองต่าง มีเปา้ หมายร่วมกันคอื อยากเห็นสังคมดีขึน้ ดังนั้นจงึ มคี วามพยายามน�ำจดุ เด่น ของแตล่ ะฝ่ายออกมาเพื่อเกอื้ หนนุ กัน ซ่ึงกอ่ ใหเ้ กิดมติ ขิ องการท�ำงานเพือ่ สังคม ในมุมใหมๆ่ เพม่ิ ข้นึ 3) เรียนรู้ ละวางสิ่งที่เคยรู้มา และ เรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุม มองหรือวิธีการใหม่ๆ (learn – unlearn - relearn) Alvin Toffler นกั เขยี นทใ่ี หค้ วามสนใจกบั กระแสการเปลย่ี นแปลงของ สงั คมเคยเขียนหนังสอื ชอื่ “Future Shock” เม่อื ค.ศ. 1970 มเี น้ือความตอน หน่ึงเก่ียวกับการเรียนรู้ของคนยุคใหม่ว่าจ�ำเป็นต้องมีคุณสมบัติมากกว่าแค่การ เรียนรเู้ น้อื หาหลกั การเท่านน้ั แต่ตอ้ งพรอ้ มท่ีจะละความรู้เดิมเพอ่ื เรียนร้อู ีกคร้งั (Toffler, 1970) ท้ังน้ี เนื้อความดังกล่าวถูกหยิบมาพัฒนาเป็นข้อความที่นิยม มูลนธิ บิ ้านครูนำ�้ บนก้าวต่อไป 107
ในสังคมออนไลน์ น่ันคือ “The illiterate of the 21st century will not be those who cannot read and write, but those who cannot learn, unlearn, and relearn.” หรอื แปลความวา่ การไมร่ หู้ นงั สอื ของคนในศตวรรษที่ 21 อาจไม่ได้หมายถึงการอ่านไม่ออกหรือเขยี นไมไ่ ด้ แตห่ มายถึงผู้ทไี่ ม่สามารถ เรียนรู้ ไม่สามารถละวางสิ่งที่เคยรู้มา และ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งท่ีเคยรู้ด้วย มุมมองหรือวิธกี ารใหมๆ่ การท�ำงานร่วมกันระหว่างผู้มีความแตกต่างหลากหลายทางด้าน ประสบการณ์ วธิ คี ดิ วถิ ปี ฏบิ ตั กิ เ็ ชน่ กนั โดยเฉพาะเมอ่ื ผทู้ ที่ �ำงานภาคประชาสงั คม มายาวนานบนฐานคิดมงุ่ ท�ำเพอ่ื ผอู้ น่ื เป็นแรงผลักดนั ใช้ฐานใจในการท�ำงานกบั ผู้คน จนอาจละเลยมติ ิอืน่ ๆ ในขณะท่คี นรุ่นใหมท่ เี่ ติบโตมาบนฐานคดิ โลกธุรกจิ ท่ีมักใช้ฐานหัวในการคิด ตัดสินใจ มุ่งผลลัพธ์เป็นหลัก เน้นการกระท�ำท่ีคุ้มค่า และมีความย่ังยืน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดติดกับตัวองค์ความรู้ท่ีตนเองเช่ือเป็น หลกั โดยไม่เปดิ ใจยอมรบั ชุดความรจู้ ากอกี ฝ่งั อาจไมเ่ หน็ การแลกเปล่ียนเรยี น รู้ระหว่างภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ หรืออาจถึงข้ันขัดแย้งกันจนเกิดเป็น อคติ ต่างฝา่ ยต่างมองกนั เปน็ ขว้ั ตรงข้าม ดังทเี่ คยเกิดขน้ึ ในอดตี การเรยี นรนู้ น้ั ไมใ่ ชเ่ พยี งแคก่ ารใสข่ อ้ มลู ความรเู้ ขา้ ไปแคอ่ ยา่ งเดยี ว หาก แตก่ ารเรียนรทู้ ถ่ี กู ควรประกอบดว้ ย การเรียนร้สู ง่ิ ใหม่ๆ เปดิ รบั โลกท่ตี นเองไม่ คุ้นเคย พร้อมละวางสิ่งท่เี คยเรียนโดยไมย่ ึดติดกบั สิง่ ทเี่ คยเรียนรู้มา ผู้เขียนมองว่างานวิจัยคร้ังนี้ มิได้ท�ำขึ้นเพื่อประเมินความส�ำเร็จของ โครงการในแง่ตวั ชวี้ ดั ตา่ งๆ เพราะชมุ ชน หรอื กลุม่ คนที่ท�ำงานเปน็ สงั คมระบบ เปิด ทไี่ มส่ ามารถควบคมุ ตัวแปรต่างๆ ได้ แม้โครงการจะตอบโจทยต์ ัวชว้ี ดั ทุก ขอ้ ก็ไมไ่ ดห้ มายความว่าความส�ำเร็จนั้นเกิดจากโครงการทงั้ หมด เชน่ เดยี วกนั หากผลการด�ำเนนิ โครงการไมต่ อบโจทยต์ วั ชวี้ ดั สกั ขอ้ ยอ่ ม มิไดห้ มายความวา่ มนั เกดิ จากการด�ำเนนิ โครงการทัง้ หมด แต่สิ่งส�ำคัญมากกว่า แคม่ องผลลัพธป์ ลายทาง คือ การยอ้ นมองตลอดระยะทางวา่ กลุ่มคนท�ำงานได้ 108 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม
สะทอ้ นการเปลยี่ นแปลงทเี่ กดิ ขนึ้ ทงั้ ในระดบั ปจั เจกชน และระดบั กลมุ่ คน ความ สมั พนั ธท์ เ่ี กดิ ขน้ึ ระหวา่ งทาง อปุ สรรค และการกา้ วขา้ มตา่ งๆ ไวอ้ ยา่ งไรบา้ ง และ ถอดบทเรยี นการท�ำงานทผ่ี า่ นมาของตนเองได้ลกึ ซ้ึงเพียงใด ผู้เขยี นนบั ถอื หวั ใจของคนท�ำงาน ครนู �ำ้ ทีมงาน และเครือขา่ ย ท่กี �ำลงั ท�ำงานแทนหนว่ ยงานภาครฐั หลายหนว่ ยงาน และเหนือไปกว่าน้นั คือการรับใช้ คุณค่าความเป็นมนุษย์ของกลุ่มคนชายขอบของสังคมซ่ึงไร้ท่ีพ่ึง แต่คนท�ำงาน เหล่านก้ี ลับแทบไมไ่ ด้รบั การมองเห็นหรอื การสนบั สนุนจากภาคสว่ นต่างๆ และ หวังว่าโครงการผู้น�ำแหง่ อนาคตในปีน้ี ทรี่ ิเร่มิ น�ำวิธีคิด เคร่ืองมือทางภาคธรุ กิจ และสอื่ สรา้ งสรรค์ เขา้ ไปชว่ ยหนนุ เสรมิ การท�ำงานของภาคประชาสงั คม จะเปน็ จดุ เร่มิ ตน้ การผสานวิธคี ิดและแนวปฏบิ ัตจิ ากประสบการณ์อันเปน็ ทนุ ที่เข้มแข็ง ของภาคประชาสังคมร่วมกับวิธีคิดและเครื่องมือท่ีเป็นสมัยใหม่จากภาคธุรกิจ เพ่ือให้คนท�ำงานภาคสังคมกลุ่มเล็กๆ ได้มีกัลยาณมิตรร่วมเดินทางไปถึงฝันที่ อยากเหน็ สงั คมดีข้นึ ตอ่ ไป มลู นิธบิ ้านครูน�้ำบนก้าวตอ่ ไป 109
เอกสารอ้างอิง Crutchfield, R. & McLeod-Grant, H. (2012). Local forces for good. Retrieved from http://www.nj.gov/state/programs/pdf/faith-based-social-local-forces- for-good.pdf Pelham, B. W. & Swann, W B. (1989). From self-conceptions to self-worth: On the sources and structure of global self-esteem. Journal of Per sonality and Social Psychology, 57(4). 672-680. United Nations Development Programme. (2014). Human Development Report 2014 Sustaining Human Progress: Reducing Vulnerabilities and Building Resilience. Retrieved from http://hdr.undp.org/sites/ default/files/hdr14-report-en-1. กฎกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงื่อนไขในการขอรบั ใบอนญุ าตจดั ตั้งสถานแรก รับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวสั ดภิ าพ และสถานพัฒนาและฟ้ืนฟู พ.ศ. 2549. สบื ค้นจาก http://www.nakhonphanom.m-society.go.th/?wp fb_dl=89 กฤตยา อาชวนจิ กลุ . (2554). การจดั ระบบคนไรร้ ฐั ในบริบทประเทศไทย. ใน สรุ ียพ์ ร พนั พ่ึง และมาลี สันภูวรรณ์ (บรรณาธกิ าร). ประชากรและสังคม 2554 (หนา้ 103-126). นครปฐม: สถาบันวจิ ยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหดิ ล. กิตติ คงตกุ , ชลดิ า เหล่าจมุ พล, วาสนา ศรีปรัชญาอนันต์, และ ฐติ กิ าญจน์ อศั ตรกุล. (2560). ใจคน ชมุ ชน การเปลยี่ นแปลง: บทเรยี นการนำ� รว่ มจากผขู้ บั เคลอ่ื นสงั คม. นครปฐม: โครงการผนู้ �ำแห่งอนาคต คณะวทิ ยาการเรยี นรแู้ ละศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร.์ 110 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผ้คู น ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
คณะกรรมการกลมุ่ ความรว่ มมือทางวิชาการเพือ่ พฒั นามาตรฐานการเรียนการสอนและ การวิจัยดา้ นบรหิ ารธรุ กจิ แหง่ ประเทศไทย. (2555). แนวทางความรบั ผิดชอบต่อ สังคมของกิจการ. กรงุ เทพฯ: สถาบนั ธุรกจิ เพอื่ สงั คม ตลาดหลกั ทรัพย์แห่ง ประเทศไทย. บอรน์ สตนี , เดวดิ . (2551). ผปู้ ระกอบการสงั คม: พลงั ความคดิ ใหมเ่ พอ่ื การเปลย่ี นแปลงโลก (เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร และ วิไล ตระกลู สนิ , ผู้แปล). กรงุ เทพฯ: สวนเงินมีมา. (ตน้ ฉบับพมิ พป์ ี 2005). มานติ ย์ ไชยกิติ และคณะ. (2560). การสรา้ งคณุ ค่าวัฒนธรรม และภูมิปญั ญาท้องถ่ินผา่ น กระบวนการจดั การท่องเท่ยี วโดยชุมชนสคู่ วามเข้มแขง็ ของชมุ ชนในเขตเวยี ง เชยี งแสน อำ� เภอเชยี งแสน จงั หวดั เชยี งราย. กรงุ เทพฯ: ส�ำนกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวิจัย. มลู นธิ เิ พอื่ การพฒั นาเด็ก. (2560). นิยามและความหมายของแรงงานเดก็ . สืบค้นจาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q= cache:bKSS2aUWoW0J:www.ia mchild.org/site/index.php% 3Foption%3Dcom_phocadownload%26view%3Dcateg ory%26down load%3D3%26id%3D3%26Itemid%3D+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th มูลนธิ โิ ครงการหลวง. (2555). ย่�ำขาง. สบื คน้ จาก http://www.royalprojectthailand. com/node/1583 วรี บูรณ์ วิสารทสกลุ . (2553). อะไรคอื การประกอบการทางสงั คม? สืบค้นจาก https://wwisartsakul.files.wordpress.com/2010/05/e0b881e0b8b2e 0b8a3e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8ade0b89ae0b881e0b8b2e 0b8a3e0b897e0b8b2e0b887e0b8aae0b8b1e0b887e0b884e มูลนธิ ิบ้านครนู �้ำบนก้าวตอ่ ไป 111
112 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
การเรียนรรู้ ่วมกันและ การปะทะสังสนั ทน์ทางความคิด บนพื้นทขี่ อนแก่นนิวสปิรติ กานน คมุ พ์ประพนั ธ์ 113
การเรียนรู้ร่วมกันและ การปะทะสังสันทน์ทางความคิด บนพื้นที่ขอนแก่นนิวสปิริต กานน คมุ พป์ ระพนั ธ์ “นี่กูมา volunteer แลว้ ยังตอ้ งเส่ยี งท่ีจะเสือ่ มเสยี ชอื่ เสยี งอกี ไหมเนย่ี เอาประโยคน้ีขน้ึ ตน้ รายงานเลยนะกก” คณุ ธนนั รตั นโชติ (พีน่ ก) ผู้ประกอบการทางสงั คม (social entrepre- neur) และอาสาสมัครจากภาคธุรกิจ (intrapreneur) ประจ�ำพื้นท่ีขอนแก่น นิวสปิรติ บอกกบั ผูเ้ ขยี นเมอ่ื เราคยุ กันถึงเนอ้ื หาของงานวิจยั ช้ินน้ี แม้ว่าจะเปน็ ประโยคทห่ี ยอกลอ้ กนั ตามประสาคนรจู้ กั แตป่ ระโยคนเ้ี ปน็ สง่ิ สะทอ้ นความกงั วล ของพีน่ กตอ่ การเขียนงานวจิ ัยชิ้นน้ีได้เปน็ อยา่ งดี ส�ำหรบั ผเู้ ขยี น งานวจิ ยั ชนิ้ นเี้ ปน็ งานวจิ ยั ทที่ า้ ทายอยา่ งยง่ิ ประการแรก บุคคลท่ีผู้เขียนจะต้องเขียนถึงและถอดบทเรียนการเรียนรู้เป็นบุคคลท่ีมี อายุ ความสามารถ ประสบการณ์ สถานะทางสังคมสูงกว่าผู้เขียนในทุกด้าน อย่าง คุณวรรณา จารุสมบูรณ์ (พ่ีสุ้ย) ผู้ริเร่ิมขอนแก่นนิวสปิริต ท่ีในวงการองค์กร พัฒนาเอกชน (NGOs) ยอมว่าเป็นคนท�ำงานเก่ง ท�ำงานจริง งานที่ท�ำล้วน ประสบความส�ำเรจ็ อยา่ งเชน่ ในช่วง 5-6 ปที ่ีผ่านมา พ่สี ้ยุ และทมี งาน ผลกั ดัน ให้ประเดน็ เรื่อง “การเตรยี มตวั ตาย” จากประเดน็ อ่อนไหวไม่สามารถพดู ถงึ ได้ ในทส่ี าธารณะ กลายเป็นประเด็นท่ีถกู พดู ถึงในวงกว้าง จน “ความตาย” กลาย 114 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม
เป็นแบรนด์ ประจ�ำตวั ของพีส่ ุย้ ไปเสยี แล้ว ส่วนพ่ีนกเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneur) ท่ี ประสบความส�ำเรจ็ อย่างมาก เป็นผกู้ ่อต้งั องค์กร PLANT – D ธุรกจิ เพอื่ สังคม (Social Enterprise: SE) ทขี่ ายผกั ออรแ์ กนคิ ดว้ ยกระบวนการทท่ี �ำใหผ้ สู้ งู อายทุ ี่ ไมม่ งี านท�ำมรี ายได้ มกี จิ กรรมทางสงั คม และท�ำใหค้ นเมอื งไดก้ นิ ผกั ออรแ์ กนคิ สด ปลอดภยั ไปพรอ้ มๆ กนั นอกจากนนั้ พนี่ กยงั มปี ระสบการณท์ �ำงานดา้ นการตลาด และเปน็ ที่ปรกึ ษาแก่หนว่ ยงานต่างๆ มายาวนาน แม้ว่าจุดยืนในการเขียนงานวิจัยโครงการน้ีจะไม่ใช่การประเมินผล แต่เป็นการเก็บเก่ียวเร่ืองราวการเรียนรู้และบทเรียนที่เกิดขึ้นของการปะทะ สงั สนั ทนก์ นั ระหวา่ งผนู้ �ำภาคประชาสงั คมในแตล่ ะพนื้ ทกี่ บั แนวคดิ ผปู้ ระกอบการ สงั คม (social entrepreneur) แตก่ ระบวนการเกบ็ เกยี่ วและสงั เคราะหบ์ ทเรยี น นน้ั ยอ่ มมกี ารใชค้ วามคดิ มมุ มอง คณุ คา่ ทผ่ี เู้ ขยี นยดึ ถอื ในการตคี วามวา่ อะไรคอื บทเรยี นหรอื การเรยี นรทู้ เี่ กดิ ขนึ้ จากโครงการนไ้ี มม่ ากกน็ อ้ ย ซงึ่ เปน็ ไปไดว้ า่ การ ตีความและวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นของผู้เขียนจะแตกต่างจากความคิดและการ ตีความของพ่ีสุ้ยกับพี่นก ซึ่งในความคิดเห็นของผู้เขียน ทั้งสองคนมีมาตรฐาน ในการตัดสินสงิ่ ต่างๆ ทส่ี งู มาก ตามปกติแล้วในการเขียนวิจัย ไม่ว่างานวิจัยน้ันจะมีกระบวนการเก็บ วิเคราะห์และเขียนข้อมูลอย่างมีส่วนร่วมกับแหล่งข้อมูลมากแค่ไหน อย่างเช่น บางฉบบั เลอื กใหผ้ เู้ กยี่ วขอ้ งมสี ว่ นรว่ มในทกุ กระบวนการวจิ ยั บางฉบบั เลอื กทจี่ ะ ใหพ้ น้ื ทแ่ี กค่ วามคดิ ความรสู้ กึ ของบคุ คลทต่ี นไปศกึ ษาหรอื เลา่ เรอื่ งดว้ ยเสยี งของ ผูค้ นเหลา่ นนั้ แตท่ า้ ยท่สี ุดผู้เขียนงานวิจยั คือผทู้ ่ีมีอ�ำนาจในการเลอื กสรร ตัดต่อ และเรียบเรียงข้อมูลที่ถูกน�ำเสนอไปในทิศทางและกรอบความคิดที่ผู้เขียนงาน วจิ ยั เปน็ ผู้ก�ำหนด (Mahoney, 2007: 583) อยา่ งไรก็ตามส�ำหรับรายงานวิจัย ฉบบั น้ี ดว้ ยความมสี ถานะทางสงั คมทแี่ ตกตา่ งจากเจา้ ของเรอื่ งราวทผี่ เู้ ขยี นเขยี น ถึงอย่างมาก ผูเ้ ขยี นไม่แนใ่ จว่าตนเองมอี �ำนาจเหนอื งานท่ตี นเองมากเพียงใด การเรียนรูร้ ่วมกันและการปะทะสงั สันทนท์ างความคิดบนพ้นื ท่ีขอนแก่นนิวสปริ ติ 115
ผู้เขียนตระหนักว่าการตีความและมุมต่างๆ ท่ีผู้เขียนเลือกน�ำเสนอใน งานวจิ ยั ชน้ิ นอ้ี าจเปน็ การเลอื กทแี่ ตกตา่ งไปจากกลมุ่ คนทผ่ี เู้ ขยี นศกึ ษา ดว้ ยความ แตกต่างของประสบการณ์ ความเชีย่ วชาญ วยั วุฒิ และคณุ วุฒิ เชน่ การเลอื ก เขียนงานวิจัยนี้โดยใช้มุมมองบุคคลท่ีหน่ึง และไม่มีจ�ำนวนเชิงปริมาณที่ช้ีวัดได้ เป็นข้อมูลประกอบ อาจจะไม่ใช่การถอดบทเรียนตามนิยามของพี่นก เป็นต้น อีกท้ังเป็นไปได้ว่าส่ิงท่ีผู้เขียนเขียนอาจแตกต่างไปจากเร่ืองราวที่พี่สุ้ยและพ่ีนก เลอื กน�ำเสนอถา้ พวกเขาเขยี นเรอื่ งราวในรายงานฉบบั นด้ี ว้ ยตนเอง นอกจากนน้ั แลว้ ในบางครงั้ คราวทงั้ สองคนมกี ารแสดงออกถงึ ความกงั วลตอ่ ชดุ ขอ้ มลู ทผี่ เู้ ขยี น เลอื กน�ำเสนอ เชน่ ในประโยคเปดิ บทความท่ีพี่นกกลา่ วกับผเู้ ขียน ในการเขยี นรายงานฉบบั นผี้ เู้ ขยี นจงึ ยำ�้ เตอื นตนเองใหพ้ ยายามแยกแยะ ความจรงิ ในมมุ ของผเู้ ขยี นมมุ ของพน้ื ท่ี และมมุ ของอาสาสมคั รภาคธรุ กจิ (พนี่ ก) จาก School of Changemakers (SoC) ใหช้ ดั เจนเสมอ ด้วยเหตุน้ีผู้เขียนจึงเลือกใช้วิธีการเขียนงานวิจัยแบบด้วยมุมมองแบบ บุคคลที่หนึ่ง ผ่านการเขียนเชิงเรื่องเล่า มากกว่าการน�ำเสนอข้อมูลในฐานะผล การศึกษา เน่ืองจากในงานเขียนเชิงเร่ืองเล่า ผู้เขียนสามารถน�ำเสนอได้อย่าง ชดั เจนวา่ เนอื้ หาสว่ นไหนเปน็ เสียง การตีความและการสร้าง “ความจรงิ ” ของ ผเู้ ขียน และสว่ นไหนเปน็ เสียงและ “ความจริง” ในมุมมองของกล่มุ คนทีผ่ ู้เขียน ศึกษา (Bryman, 2012: 582) โดยมีความพยายามให้พ้ืนทแ่ี ก่เสียงของคนอื่นๆ ท่เี ก่ยี วข้องในกระบวนการถอดบทเรียนอย่างเท่าเทียมกัน และเพ่ือป้องกันไม่ให้ข้อมูลท่ีพ่ีสุ้ยและพี่นกมองว่าละเอียดอ่อนถูกเผย แพร่โดยไม่ตั้งใจ ก่อนจะเก็บข้อมูลทุกครั้งผู้เขียนได้แจ้งแหล่งข้อมูลของผู้เขียน ทุกท่านว่าหากมีข้อมูลส่วนไหนท่ีไม่ต้องการให้เผยแพร่ให้แหล่งข้อมูลแจ้งกับ ผ้เู ขียนได้เสมอ และก่อนที่บทความน้จี ะได้รับการเผยแพร่ ผ้เู ขยี นได้ส่งงานวิจัย ฉบับน้ีให้พี่สุ้ยและพ่ีนกตรวจสอบว่า มีข้อมูลส่วนใดท่ีมีความละเอียดอ่อนและ ควรปรบั แก้ออกหรอื ไม่ 116 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผ้คู น ชุมชน การประกอบการสังคม
ในการเก็บข้อมูลโครงการน้ี ส�ำหรับการศึกษาความเปล่ียนแปลง ที่โครงการขอนแก่นนิวสปิริตได้สร้างให้แก่พื้นที่และเครือข่าย เดิมผู้เขียนมี ความตั้งใจจะใช้การสังเกตการณ์ เน่ืองจากเป็นวิธีการหาข้อมูลท่ีสามารถท�ำให้ ผู้เขียนได้ทราบข้อมูลท่ีไม่ถูกบอกกล่าวออกมาในการสัมภาษณ์ และสามารถ เห็นบริบทและความเปลี่ยนแปลงของพ้ืนท่ีจริงท่ีขอนแก่นนิวสปิริตท�ำงานด้วย ตนเอง แต่บริบทการท�ำงานของขอนแกน่ นิวสปริ ิต ท�ำใหก้ ารเก็บข้อมูลด้วยวิธี น้ีมีความท้าทายสูง เนื่องจากกิจกรรมของขอนแก่นนิวสปิริตในส่วนท่ีได้รับทุน จากโครงการผู้น�ำแห่งอนาคตทั้งหมดในช่วงเจ็ดเดือนนี้ เป็นกิจกรรมฝึกอบรม ใหเ้ ครอื ขา่ ยดว้ ยการน�ำเอาแนวคดิ แบบผปู้ ระกอบการทางสงั คม (social entre- preneurship) มาปรบั ใชเ้ พอื่ เสรมิ ศกั ยภาพการท�ำงานทดี่ ขี น้ึ ใหแ้ กแ่ ตล่ ะองคก์ ร ท�ำใหห้ ากผเู้ ขยี นตอ้ งการศกึ ษาความเปลยี่ นทข่ี อนแกน่ นวิ สปริ ติ และแนวคดิ แบบ ผปู้ ระกอบการทางสงั คมสรา้ งใหก้ บั เครอื ขา่ ย ผเู้ ขยี นจะตอ้ งไดร้ บั ความไวใ้ จจาก องคก์ รในเครอื ขา่ ยใหเ้ ขา้ ไปสงั เกตกระบวนการท�ำงานอยา่ งละเอยี ดทง้ั ชว่ งเวลา ก่อนและหลังจากองค์กรเหล่าน้ีได้มาเข้าร่วมโครงการกับขอนแก่นนิวสปิริต รวมถึงการเข้าไปวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ท่ีขอนแก่นนิวสปิริตช่วยให้เกิดความ เปล่ยี นแปลงแกแ่ ตล่ ะองค์กร ซึง่ เปน็ ขอ้ มูลทค่ี อ่ นข้างละเอยี ดออ่ น อาจจะท�ำให้ องคก์ รเหลา่ นน้ั ไมส่ บายใจทจี่ ะใหผ้ เู้ ขยี นเขา้ ไปสงั เกตการณ์ โดยเฉพาะกบั องคก์ ร ทเ่ี พงิ่ จะเปน็ เครอื ขา่ ยกนั และมกี ารรวมตวั กนั อยา่ งหลวมๆ แบบ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ ท�ำให้ท้ายท่ีสุดในการเก็บข้อมูลประเด็นนี้ผู้เขียนต้องพึ่งพาการสัมภาษณ์เชิงลึก ในฐานะวิธีการเกบ็ ข้อมลู เปน็ หลัก อย่างไรก็ตามส�ำหรับการศึกษาบทเรียนและการเรียนรู้ระหว่างผู้น�ำ ในพื้นท่ี (พี่สุ้ย) อาสาสมัครจากภาคธุรกิจ (พ่ีนก) และกิจกรรมของโครงการ ผู้น�ำแห่งอนาคต ซ่ึงเป็นหัวใจและเป้าหมายหลักของโครงการวิจัยโครงการน้ี ผู้เขียนใช้ท้ังกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกท่ีท�ำให้ผู้เขียนได้เห็น “ความจริง” ใน มุมมองของพนี่ กและพส่ี ยุ้ ในขณะเดยี วกนั ผเู้ ขยี นไดใ้ ชก้ ระบวนการสงั เกตการณ์ การเรยี นรรู้ ่วมกนั และการปะทะสังสนั ทนท์ างความคิดบนพ้นื ทีข่ อนแกน่ นวิ สปริ ิต 117
อยา่ งมสี ว่ นรว่ มในแทบทกุ กระบวนการทพ่ี นี่ ก พสี่ ยุ้ มปี ฏสิ มั พนั ธก์ นั ท�ำใหผ้ เู้ ขยี น ไดข้ อ้ มลู และสามารถสรา้ ง “ความจรงิ ” ในมมุ มองของผเู้ ขยี นมาอธบิ ายเรอ่ื งราว ตา่ งๆ ทเ่ี กดิ ข้ึนเช่นเดยี วกัน ระหวา่ งการเกบ็ ขอ้ มลู ส�ำหรบั งานวจิ ยั ฉบบั น้ี ผเู้ ขยี นและทมี วจิ ยั ไดห้ ารอื ถึงบทบาทของพวกเราในการท�ำงานกับพื้นที่ ระหว่างการเป็นผู้สังเกตการณ์ ภายนอกที่คอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่เข้าไปแทรกแซง แม้ว่าเราอาจจะเห็น ปญั หาทจ่ี �ำเปน็ ตอ้ งแกไ้ ขหรอื มบี ทบาทสามารถชว่ ยปรบั ปรงุ กจิ กรรมในโครงการ ได้ กบั การเปน็ นักวจิ ัยทีเ่ ปน็ เหมือนสมาชิกของพน้ื ท่ี มวี ิธีคิดมุมมองเหมอื นเปน็ คนในชมุ ชนของพน้ื ทที่ เี่ ราเขา้ ไปศกึ ษา รวมถงึ เขา้ ไปชว่ ยผลกั ดนั ใหก้ จิ กรรมตา่ งๆ ของพน้ื ทส่ี �ำเรจ็ ตามเปา้ หมายทต่ี ง้ั ไว้ ทง้ั สองบทบาทลว้ นมขี อ้ ไดเ้ ปรยี บเสยี เปรยี บ ทแี่ ตกต่างกนั ในการท�ำงานกับกลุ่มขอนแก่นนิวสปิริตผู้เขียนเลือกที่จะมีบทบาท กง่ึ กลางระหวา่ งท้ังสองแบบ กลา่ วคอื ผู้เขียนระวงั ไม่ใหต้ นเองกลายเป็นคนใน เพอื่ ทพี่ ยายามรักษามุมมองแบบนกั วิจยั เอาไว้ (Bryman, 2012: 445 - 446) แตผ่ เู้ ขยี นพยายามไมใ่ หค้ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งผเู้ ขยี นและกลมุ่ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ เป็นแค่ผู้เกบ็ ข้อมูลและผใู้ ห้ขอ้ มลู เช่นกัน ผู้เขียนเชื่อว่ากระบวนการวิจัยท่ีผู้เขียนเลือกใช้ อย่างเช่นการให้ความ ส�ำคญั กบั เสยี งของผมู้ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งกบั การถอดบทเรยี นครง้ั น้ี การมกี ระบวนการ สนทนาแลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ เกยี่ วกบั ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ กบั พส่ี ยุ้ รวมถงึ พนี่ ก ไปจนถึงการขอค�ำปรึกษาพี่สุ้ยเร่ืองแนวทางการเก็บข้อมูลที่เหมาะสมจากพ้ืนท่ี อยเู่ สมอ เปน็ กระบวนการทสี่ รา้ งพนื้ ทท่ี นี่ า่ จะท�ำใหเ้ กดิ การเรยี นรใู้ หมๆ่ ไมม่ าก ก็น้อย แมว้ ่าจะไมไ่ ดเ้ ขา้ ไปมีสว่ นร่วมผลกั ดนั งานของขอนแก่นนวิ สปริ ติ โดยตรง (Given, 2008) แม้กระนั้นส�ำหรับความเป็นคนใน/คนนอก ผู้เขียนคิดว่าในบางแง่มุม ตัวผู้เขียนเองมีความเป็นคนในส�ำหรับพี่สุ้ย เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของ 118 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผ้คู น ชุมชน การประกอบการสังคม
ผู้เขียนบางคนรู้จักและเคยท�ำงานกับพี่สุ้ย รวมถึงผู้เขียนเองเติบโตมาในแวดวง NGOs ท�ำให้ผู้เขียนเข้าใจบริบทการท�ำงาน และความคิดของพี่สุ้ยพอสมควร ท�ำใหม้ ักมีความเหน็ ไปในทางเดียวกันกบั พี่สุ้ย ในขณะเดยี วกันส�ำหรบั พ่นี กและ กลุ่มผู้ประกอบการทางสังคม ถือได้ว่าผู้เขียนเป็นคนนอกอย่างแท้จริง แนวคิด และวธิ ีการท�ำงานแบบธรุ กิจ (ไมว่ า่ จะเปน็ ธรุ กิจจริงๆ หรอื ธรุ กจิ เพือ่ สังคม ซงึ่ เป็นฐานการท�ำงานของพี่นก) เป็นสิ่งท่ีแปลกใหม่ส�ำหรับผู้เขียน และต้องปรับ ความคิดระดับหนึ่งจึงเกิดความเข้าใจในแนวคิด ความเช่ือ และคุณค่าที่พ่ีนก ยึดถอื อีกประเด็นหน่ึงท่ีผู้เขียนขบคิดกับตนเองคือในการน�ำเสนองานวิจัย ฉบบั นี้ ผเู้ ขยี นควรจะหยบิ ประเดน็ ทสี่ �ำคญั แลว้ วเิ คราะหล์ งรายละเอยี ดในแตล่ ะ ประเดน็ อันเปน็ วธิ กี ารวเิ คราะหแ์ บบ “thematic analysis” ตามกระบวนการ วจิ ยั คณุ ภาพท่วั ไป หรือผู้เขยี นควรจะน�ำเอากระบวนการเขยี นงานวิจัยเปน็ เรอ่ื ง เลา่ ทม่ี ลี �ำดบั เวลาและเหตกุ ารณ์ ซงึ่ ภาษาองั กฤษเรยี กวา่ กระบวนการ “restory” มาปรบั ใช้ กระบวนการ restory เปน็ กระบวนการทม่ี กั ถกู ใชใ้ นงานวจิ ยั ประเภท การวิเคราะห์เรื่องเล่า (narrative analysis) โดยนักวิจัยน�ำเร่ืองเล่าจากกลุ่ม ตวั อยา่ งทม่ี กั ไมเ่ ปน็ ระเบยี บและมคี วามยงุ่ เหยงิ มาเรยี บเรยี งเปน็ เรอื่ งราวเดยี วกนั มลี �ำดบั เหตกุ ารณแ์ ละเวลาทเ่ี ปน็ เหตเุ ปน็ ผล (Ollerenshaw & Creswell, 2002) ท้ายท่ีสุดผู้เขียนตัดสินใจใช้กระบวนการ restory เป็นกระบวนการ หลักส�ำหรับน�ำเสนอข้อมูลในรายงานฉบับน้ีเพ่ือเขียนถึงกิจกรรมและพลวัตที่ เกิดขึ้น โดยมองวา่ ตนเองมบี ทบาทเป็น “ผู้เลา่ เร่ือง” ให้ขอ้ มูลเหตุการณท์ ี่เกดิ ข้ึนตามล�ำดับและข้อมูลบริบท มากกว่าเป็นนักวิเคราะห์ท่ีขมวดเร่ืองราวที่เกิด ขึ้นออกมาเป็นประเด็น การท่ีผู้เขียนเลือกเล่าเร่ืองตามเหตุการณ์โดยเฉพาะใน ส่วนกิจกรรมท่ีเกิดข้ึนในพื้นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อท�ำให้ผู้อ่านสามารถเห็นพลวัต และความเปล่ียนแปลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงท้ังของพี่สยุ้ พีน่ ก และพืน้ ท่ี ทเ่ี กิด ขนึ้ จากกจิ กรรมในโครงการนอี้ ยา่ งเปน็ ล�ำดบั ขนั้ ตอนแมอ้ าจจะเปน็ เรอ่ื งเลา่ ทส่ี นั้ การเรยี นรรู้ ว่ มกันและการปะทะสังสันทนท์ างความคดิ บนพ้ืนท่ขี อนแก่นนวิ สปริ ิต 119
กระชบั ไปเสยี หนอ่ ยจากเนือ้ ทท่ี กี่ �ำจดั ทสี่ �ำคัญเนอื่ งจากผู้เขียนมองวา่ เปา้ หมาย ของงานวิจัยฉบับน้ีเป็นการเก็บเกี่ยวการเรียนรู้ที่เกิดข้ึนมากกว่าการประเมิน โครงการ การเลือกเขียนงานในลักษณะนี้จึงเป็นการเปิดพื้นท่ีและให้อ�ำนาจแก่ ผู้อ่านในการตีความบทเรียนและสร้างบทเรียนของตนเองจากตัวบทที่ผู้เขียน สรา้ ง โดยผเู้ ขยี นไมไ่ ดเ้ ปน็ ผกู้ �ำหนดวา่ สง่ิ ใดคอื บทเรยี น สงิ่ ใดคอื ความส�ำเรจ็ และ ความลม้ เหลวเหมอื นงานประเมินโครงการทวั่ ไป พี่สุ้ย และขอนแก่นนิวสปิริต ผู้เขียนรู้จักพ่ีสุ้ยมานานต้ังแต่สมัยผู้เขียนยังเด็ก ด้วยความที่สมาชิกใน ครอบครัวของผู้เขียนหลายคนท�ำงานอยู่ในแวดวง NGOs ผู้เขียนได้ยินมานาน ว่าพส่ี ้ยุ เป็นคนท�ำงานเกง่ จริงจงั และท�ำงานแบบมืออาชพี พ่ีสุย้ นิยามว่าตนเอง เป็น “กระทิง”1 ท่ีให้ความส�ำคัญกับความมุ่งม่ันท�ำตามเป้าหมายให้ส�ำเร็จ ซึ่ง คอ่ นขา้ งแตกตา่ งไปจากบคุ ลกิ ภายนอกของพส่ี ยุ้ ทคี่ นสว่ นใหญร่ จู้ กั ทพี่ ดู จาดว้ ย เสยี งออ่ นหวานใชค้ �ำศพั ทแ์ บบจติ ปญั ญาศกึ ษา ใหค้ วามรสู้ กึ ปลอดภยั เยน็ สบาย เทยี บกบั เทปบรรยายการนง่ั สมาธิ และเป็นคนทที่ �ำงานกระบวนการเรยี นรู้ดา้ น จิตวิญญาณมานานและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ พ่ีสุ้ยเคยบอกผู้เขียนว่าคนท่ีเพิ่ง รู้จกั พีส่ ยุ้ มักคดิ ว่าพี่สุย้ เป็นคนน่มุ นวล ตามใจคน แตค่ วามจริงไม่ไดเ้ ปน็ เชน่ น้ัน พสี่ ยุ้ บอกวา่ ความจรงิ แลว้ ตนเองมคี วามแขง็ และมนั่ ใจในความเชอ่ื ของตนเองอยู่ ไมน่ ้อย ซง่ึ เป็นส่ิงทไ่ี มน่ า่ แปลกใจเม่ือเราได้เรียนรู้จากประวตั กิ ารต่อสูข้ องพสี่ ยุ้ 1 กระทิง หมี หนู อินทรี เป็นเคร่อื งมือที่ใช้จ�ำแนกบคุ ลิกภาพของมนุษย์ โดยกระทงิ เป็นกล่มุ คนที่ จริงจัง เป็นนักปฏิบตั ิ นักตอ่ สู้ มักมีบุคลิกเสยี งดงั โผงผาง ใจร้อน ตรงไปตรงมา ชอบท�ำมากกว่าคดิ มักพบเหน็ ได้ในกลมุ่ NGOs สายนกั ประทว้ ง 120 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
พส่ี ยุ้ เลา่ วา่ ตนเองเกดิ ในครอบครวั คนจนี อพยพทไ่ี มไ่ ดม้ ฐี านะรำ�่ รวย พอ่ แม่ต้องท�ำงานหนักเพ่ือหาเงินมาสนับสนุนครอบครัว โดยเฉพาะเพ่ือการศึกษา ของลูก พี่สุ้ยจึงต้องพยายามต่อสู้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวมาตั้งแต่ยังเล็ก แต่ ความล�ำบากนี่เองท�ำให้พ่ีสุ้ยได้เรียนรู้ส่ิงท่ีเป็นพื้นฐานความเชื่อในการท�ำงาน ของตนเองมาถงึ ทกุ วนั นี้ ตวั อยา่ งเชน่ การทพ่ี อ่ แมต่ อ้ งหยบิ ยมื หรอื ขอความชว่ ย เหลอื จากผู้อืน่ ท�ำให้พส่ี ุย้ ตระหนกั ว่า “ถา้ เราสามารถชว่ ยเหลอื พงึ่ พาอาศยั กนั หรอื ดแู ลกนั มนั จะเปน็ พืน้ ทีท่ ีเ่ ราจะไดม้ ีเพ่อื น เกิดมิตรภาพ มติ รภาพมันตอ้ งสรา้ ง” (วรรณา จารสุ มบูรณ.์ สัมภาษณ์, 16 ตุลาคม 2560) วธิ ีหน่งึ ทพ่ี ่สี ้ยุ ใช้สร้างมิตรภาพคือการท�ำดีชว่ ยเหลือผู้อ่นื และการเปน็ เดก็ ดอี ยเู่ สมอ เช่น การไปช่วยเพอื่ นท�ำเวรแม้วา่ จะไม่ใชเ่ วรของตวั เอง หรอื การ ชว่ ยครยู กของเตรยี มอปุ กรณก์ ารสอน จนไดร้ บั การยอมรบั และถกู ยกเปน็ บคุ คล ต้นแบบจากทั้งเพือ่ นและอาจารย์ ท�ำให้พ่ีสยุ้ ภูมิใจอย่างมากในสมัยนัน้ อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นต้นแบบอย่างพี่สุ้ยต้องเผชิญกับความผิดหวัง ครง้ั ใหญ่เมื่อตนเองไมส่ ามารถสอบเขา้ มหาวทิ ยาลัยได้ ในขณะท่ีเพ่อื นรว่ มหอ้ ง ทเี่ รยี นไมเ่ กง่ เทา่ พส่ี ยุ้ สามารถสอบเขา้ มหาวทิ ยาลยั ไดเ้ กอื บทงั้ หมด แตค่ วามผดิ หวังในครง้ั นี้เองกลบั กลายเป็นจุดเปลีย่ นท่ีส�ำคัญของพส่ี ยุ้ การเรียนร้รู ว่ มกันและการปะทะสังสันทน์ทางความคดิ บนพื้นทขี่ อนแก่นนิวสปริ ิต 121
“เฟลมาก ไปซ้ือใบสมัครรามเรียบร้อย ในขณะท่ีเพื่อนติดกับ เกือบยกห้อง เรารู้สึกว่าท�ำให้พ่อแม่ผิดหวัง ผิดหวังตัวเอง แต่ ปรากฏว่าปีนั้นเป็นปีท่ีคนสอบเทียบเยอะ ท�ำให้มีคนรายงาน ตัวไม่ครบ มีประกาศรอบสอง พ่ีก็เลยมาติดรอบสอง เหมือน กับคนท่ตี กไปในนำ้� แลว้ มีคนดงึ ขึน้ มา รูส้ กึ ไดว้ ่าเหมอื นโลกมอง เห็นช้ัน และใหโ้ อกาสชัน้ ทไ่ี ด้เรยี นมหาวทิ ยาลัย ชนั้ จะใช้โอกาส น้ีอย่างไร...ช้ันอยากใช้โอกาสน้ีไปเพ่ือช่วยคนอ่ืน เจอค�ำสมเด็จ พระราชบดิ า2 วา่ ให้เราชว่ ยเหลือเพื่อนมนุษย์เปน็ กจิ ท่หี นง่ึ พอ เราเรียนจบมาจะไปรับใช้ประชาชน ดูแลสุขภาพของคนที่ด้อย โอกาส” (วรรณา จารสุ มบรู ณ์. สมั ภาษณ,์ 6 ธนั วาคม 2560) หลังจากน้ันพ่ีสุ้ยจึงได้ท�ำงานเพ่ือช่วยเหลือผู้อื่นเรื่อยมาทั้งในประเด็น ด้านสุขภาพ การศึกษา กับองค์กรเอกชนและมหาวิทยาลัย จนท้ายท่ีสุดได้มา ท�ำงานในประเด็น “ความตาย” ทป่ี ระสบความส�ำเร็จอยา่ งมาก จากการสงั เกตของผเู้ ขยี น ในชว่ งทพี่ สี่ ยุ้ ท�ำงานในประเดน็ เรอ่ื งความตาย พส่ี ุ้ยได้ท�ำงานหลายอย่างท่ีผเู้ ขียนเห็นว่า NGOs ส่วนใหญม่ กั อยากจะท�ำแตไ่ ม่ สามารถท�ำไดส้ �ำเร็จ ประการทีห่ นง่ึ พ่สี ุ้ยและทีมงานเผชิญความตายอยา่ งสงบ สามารถผลกั ดันให้ภาครฐั / ภาคสว่ นอน่ื ๆ รับประเด็นไปขบั เคลื่อนตอ่ โดยไม่ จ�ำเป็นต้องให้เงินสนับสนุนจากโครงการฯ มีหลายโรงพยาบาลที่รับเอารูปแบบ การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่พ่ีสุ้ยผลักดันไปใช้ต่อ รวมถึงร่วม เคลื่อนไหวจนกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกโรงพยาบาลมี ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในระยะท้าย ประการท่ีสอง คอร์สอบรม เผชิญความตายอย่างสงบ เปน็ คอร์สที่เรยี กได้ว่ายอดฮติ ตดิ ตลาด แม้ว่าจะต้อง 2 สมเด็จพระมหติ ลาธิเบศร อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก 122 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสงั คม
เสียค่าใช้จ่าย ผู้เขียนเองเคยสนใจที่จะไปอบรมแต่ถอดใจเสียก่อนเพราะต้อง จองควิ เปน็ เวลานาน ประการทสี่ ามในแงข่ องการประชาสมั พนั ธถ์ อื วา่ โครงการน้ี ประสบความส�ำเรจ็ อยา่ งมากเมอ่ื เทยี บกบั NGOs ดว้ ยกนั หนา้ เฟซบกุ๊ “Happy Deathday” ของโครงการมคี นมากดไลคถ์ งึ 300,000 กวา่ ไลค์ มีคลปิ วดิ ิโอหนึง่ ทีม่ คี นดถู งึ 1 ล้านคร้งั 3 และไดเ้ คยจัดงาน expo โดยมผี ้สู นับสนนุ มากมาย ซ่งึ เปน็ งานขนาดใหญท่ โ่ี ครงการพฒั นาเลก็ ๆ ไมม่ ที างทจ่ี ะจดั ไดโ้ ดยไมม่ ผี สู้ นบั สนนุ ผู้เขียนเคยสงสัยและเคยถามพี่สุ้ยว่าท�ำไมพ่ีสุ้ยถึงไม่เลือกเอางานด้าน ความตายมาท�ำงานรว่ มกบั School of Changemakers ในระยะเวลาเจด็ เดอื น น้ี แตก่ ลบั เรม่ิ เอางานทพี่ ง่ึ เกดิ ขนึ้ ใหมอ่ ยา่ งขอนแกน่ นวิ สปริ ติ มาท�ำแทน ทงั้ ทงี่ าน ด้านความตายที่พ่ีสุ้ยท�ำดูมีศักยภาพสูงมากในการประยุกต์กับแนวคิดแบบ SE พ่ีสุ้ยตอบว่า งานเร่ืองความตายนั้นมีผู้มีส่วนเก่ียวข้องจ�ำนวนมาก ซ่ึงหลายคน อาจไม่เห็นด้วยกับแนวคิดแบบ SE เนื่องจากมีความเป็นธุรกิจมาเก่ียวข้อง ใน ขณะทพ่ี ส่ี ยุ้ เชอ่ื วา่ ในปจั จบุ นั คนท�ำงานพฒั นาสงั คมไมส่ ามารถท�ำงาน ในรปู แบบ เดมิ ทเ่ี คยท�ำมาไดอ้ กี แลว้ ท�ำใหห้ ากเลอื กน�ำเอางานเรอื่ งความตายมาท�ำงานแบบ SE อาจจะผลกั ดนั ไดย้ าก ในขณะทกี่ ลมุ่ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ เปน็ การเรมิ่ ตน้ ใหมโ่ ดย มพี ี่สุ้ยเป็นผู้วางกลยทุ ธใ์ นชว่ งแรกเริม่ ส�ำหรบั ผเู้ ขยี น บรบิ ททพ่ี ส่ี ยุ้ กลา่ วถงึ สะทอ้ นความเชอื่ ในการท�ำงานของ NGOs หลายแหง่ ในไทย ในแวดวง NGOs หลายๆ ทมี่ กั เหน็ ภาครฐั และภาคธรุ กจิ เป็นศัตรู เนอื่ งจากหลายครงั้ มีความขดั แย้งกันในวาระทแี่ ต่ละฝา่ ยต้องการผลัก ดนั ท�ำให้ NGOs หลายสว่ นไมไ่ วใ้ จและไมอ่ ยากรว่ มมอื กบั ภาครฐั และภาคธรุ กจิ เหน็ วา่ การท�ำเชน่ นนั้ เปน็ การยอ้ นแยง้ ตอ่ อดุ มการณแ์ ละประเดน็ ทตี่ นขบั เคลอ่ื น หลายคนถงึ กบั มองวา่ กลมุ่ คนทที่ �ำงานในภาคธรุ กจิ คอื สว่ นหนง่ึ ของระบบทนุ นยิ ม สามานย์ท่ตี อ้ งถูกถอนรากถอนโคนไปจากสงั คมไทย 3 ดูไดท้ ่ี https://www.facebook.com/happydeathdayproject/videos/2057726877572381/ การเรยี นร้รู ่วมกนั และการปะทะสงั สันทนท์ างความคดิ บนพ้ืนทข่ี อนแกน่ นิวสปิรติ 123
ผู้เขียนเห็นว่าความส�ำเร็จในระดับหนึ่งจากการท�ำงานประเด็นความ ตายด้วยรูปแบบใหม่ๆ และการเลือกร่วมมือท�ำงานกับภาคธุรกิจในบางแง่มุม เปน็ ตวั สะทอ้ นถึงวิธีคิดและรปู แบบการท�ำงานทแี่ ตกตา่ งไปจาก NGOs หลายๆ คนทผี่ เู้ ขยี นรจู้ กั ผเู้ ขยี นและทมี วจิ ยั เคยคยุ กนั วา่ สว่ นหนง่ึ ของความแตกตา่ งนน้ี า่ จะเปน็ เพราะพนื้ ฐานการเตบิ โตในสายอาชพี ของพส่ี ยุ้ ทม่ี พี น้ื ฐานการท�ำงานดา้ น วชิ าการไมใ่ ชแ่ คง่ าน NGOs เพยี งอยา่ งเดยี ว นอกจากนนั้ พสี่ ยุ้ ท�ำงานในประเดน็ ท่ี ไมเ่ กย่ี วขอ้ งกบั การตอ่ สกู้ บั โครงสรา้ งเศรษฐกจิ การเมอื งภาพใหญ่ เนน้ สรา้ งการ เรยี นรเู้ พอื่ ความเปลยี่ นแปลงและประเดน็ ดา้ นสขุ ภาวะ ท�ำใหพ้ สี่ ยุ้ ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ ง พง่ึ พาการระดมพลเคลอ่ื นไหวทางการเมอื ง หรอื ใชก้ ารเผชญิ หนา้ กบั กลมุ่ องคก์ ร ธุรกจิ และภาครัฐในการท�ำงานมากนกั รวมถึงการทพ่ี ส่ี ้ยุ เตบิ โตมาในวฒั นธรรม ของชนชั้นกลางและปัญญาชนในเมือง ปัจจัยเหล่านี้น่าจะมีผลให้พี่สุ้ยมีทักษะ และวธิ ีคิดที่โดดเด่นออกมาจาก NGOs ที่ท�ำงานเชิงพืน้ ทส่ี ว่ นใหญ่ ขณะที่ NGOs หลายคนเปน็ นกั ท�ำมากกวา่ นกั คดิ เนน้ ท�ำกจิ กรรมทเี่ กดิ ประโยชนก์ บั กลมุ่ เปา้ หมายโดยตรง แตไ่ มถ่ นดั ในการท�ำงานเอกสาร งานวชิ าการ หรอื การวางแผนเชงิ กลยทุ ธ์ พส่ี ยุ้ ไมเ่ ปน็ เชน่ นนั้ รายงานทพี่ สี่ ยุ้ เขยี นมรี ะบบ เปน็ ขนั้ เปน็ ตอน มกี ารแยกแยะประเดน็ อยา่ งชดั เจน เชน่ เดยี วกบั เวลาทพ่ี สี่ ยุ้ พดู มคี วาม ฉะฉาน ตรงประเดน็ ไมย่ ดื เยอื้ ผฟู้ งั เขา้ ใจไดว้ า่ พส่ี ยุ้ ตอ้ งการสอ่ื อะไร ขณะเดยี วกนั แมว้ า่ พสี่ ยุ้ จะไมพ่ อใจ เทา่ ทผี่ เู้ ขยี นไดส้ มั ผสั พส่ี ยุ้ ไมเ่ ลอื กใชว้ ธิ เี ผชญิ หนา้ ดว้ ยการ “ฉะ” อนั เปน็ ภาพเหมารวมทค่ี นภายนอกมกั มอง NGOs แตใ่ ชว้ ธิ กี ารเจรจาทไี่ ม่ แขง็ กรา้ ว โดยรวมแลว้ ถอื วา่ พสี่ ยุ้ เปน็ คนทม่ี ลี กั ษณะทแี่ ตกตา่ งจากภาพลกั ษณข์ อง NGOs สายบสู๊ ายลยุ ซงึ่ นา่ จะเปน็ ภาพลกั ษณท์ ค่ี นทว่ั ไปรบั รเู้ กยี่ วกบั NGOs อย่างไรก็ตามนอกเหนือไปจากบุคลิกลักษณะแล้ว การจะเข้าใจความ แตกตา่ งของแกน่ วธิ ใี นการท�ำงานของพี่สุ้ย (รวมถงึ ความแตกต่างของขอนแก่น นิวสปิริตท่ีจะกล่าวถึงภายหลัง) กับ NGOs องค์กรอื่นๆ จ�ำเป็นจะต้องเข้าใจ บรบิ ทวฒั นธรรมการท�ำงานของ NGOs ในไทยเสยี กอ่ น กลมุ่ คนทบ่ี กุ เบกิ และวาง 124 จดุ นดั พบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสังคม
รากฐานการท�ำงานภาคประชาสังคมในไทยส่วนใหญ่คือกลุ่มเจเนอเรช่ัน baby boomers ท่ีเติบโตมากับขบวนการนักศึกษาและขบวนการฝ่ายซ้าย (ผาสุก พงษไ์ พจิตร และ ครสิ เบเคอร์, 2546) จากการท�ำงานกับขบวนการนกั ศึกษา และมบี ทบาทการเคลือ่ นไหวทางการเมอื งมาต้ังแตย่ ังหนมุ่ สาว คนกลุ่มน้จี ึงเช่อื ในการท�ำงานด้วยอดุ มการณ์ และการอทุ ิศตัวต่อประเดน็ ทีต่ นเองผลักดันอยา่ ง แรงกล้า (เปน็ สว่ นหนง่ึ ท่ที �ำใหเ้ กดิ ความไมไ่ วใ้ จภาคธุรกจิ ) แม้ว่าจะตอ้ งแลกกับ ความสะดวกสบายในชวี ติ และการไม่มี work-life balance รวมถึงมคี วามเช่อื และการตีความปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยวิธีคิดแบบหน่ึงอย่างเข้มแข็ง อย่าง เช่นความเช่ือว่างานของตนเป็นงานที่ท�ำด้วยอุดมการณ์ ไม่เกี่ยงแม้จะได้ค่า ตอบแทนท่ีน้อยนิด ท�ำให้องค์กร NGOs บางองค์กรมีวัฒนธรรมที่ไม่ไว้ใจและ ไมต่ อ้ งการท�ำงานรว่ มกบั กลมุ่ คนภาครฐั และภาคธรุ กจิ ใชว้ ธิ กี ารท�ำงานดว้ ยการ เผชญิ หนา้ และตอ่ สเู้ ปน็ หลกั เมอ่ื มคี นรนุ่ ใหมเ่ ขา้ มาท�ำงานในองคก์ รกจ็ ะถกู คาด หวงั ใหม้ แี นวทางการท�ำงานและอดุ มการณแ์ บบเดยี วกนั กบั คนรนุ่ น้ี เชน่ ถกู คาด หวงั ให้ท�ำงานหนัก ทมุ่ เทกบั งาน อุทิศตน แม้ว่าจะไดเ้ งินเดอื นนอ้ ยนดิ หรอื ไม่มี วนั หยดุ ก็ตาม ท�ำใหบ้ างองคก์ รประสบปัญหาบุคคลากรลาออกบอ่ ย จนไมม่ ีผู้ท่ี สบื ทอดงานและองคก์ รให้ยั่งยนื ในอนาคต ครัง้ หน่งึ ผเู้ ขียนเคยถามผ้นู �ำองคก์ ร NGOs องค์กรหนึง่ ท่เี ลา่ ว่าองค์กร เขาต้องเสียเวลาในการฝึกพนักงานใหม่หลายครั้ง เนื่องจากมีอัตราการลาออก ของพนักงานสูง (ส่วนใหญ่มักลาออกภายในสามเดือน) ว่ามีการถอดบทเรียน หรือไม่ว่าท�ำไมจึงมีพนักงานลาออกจ�ำนวนมาก ผู้บริหารองค์กรคนนั้นมีท่าที ท่ีแข็งกร้าวข้ึนในทันที และกล่าวกับผู้เขียนอย่างมีอารมณ์ว่าองค์กรของเขามี นโยบายเชญิ ทกุ คนทเ่ี รยี กรอ้ งวนั หยดุ พกั ผอ่ น หรอื ไมอ่ ยากท�ำงานวนั เสารอ์ าทติ ย์ ให้ออก เพราะงานท่ีท�ำกับชาวบ้านไม่สามารถก�ำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ท�ำให้ ผู้เขียนซึ่งเป็นคนอีกรุ่นหนึ่งเข้าใจได้ทันทีว่าท�ำไมคนที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกันกับ ผเู้ ขียนจึงไม่สามารถท�ำงานในองค์กรแบบนี้ได้ การเรยี นรู้ร่วมกันและการปะทะสังสันทนท์ างความคิดบนพ้นื ทขี่ อนแกน่ นวิ สปิรติ 125
แตพ่ ส่ี ยุ้ ไมเ่ หน็ ดว้ ยกบั แนวคดิ เชน่ น้ี แมว้ า่ พส่ี ยุ้ จะท�ำงานดว้ ยอดุ มการณ์ ความเช่ือท่ีเข้มแข็ง และเป็นคนท่ีจริงจังกับการท�ำงานมาก แต่มีความเชื่อใน แนวทางการท�ำงานและการบริหารองค์กรที่แตกต่างออกไป พี่สุ้ยมีความเชื่อ อยา่ งแรงกลา้ วา่ คนท�ำงานในภาคประชาสงั คมควรไดร้ บั คา่ ตอบแทนทเ่ี หมาะสม ใหอ้ ยไู่ ดโ้ ดยมคี ณุ ภาพชวี ติ ทดี่ ี และควรไดค้ า่ วชิ าชพี ตามประสบการณ์ พสี่ ยุ้ มอง เหน็ ปญั หาของการใหท้ นุ ท�ำงานแก่ NGOs ในทอ้ งทซี่ ง่ึ ผใู้ หท้ นุ มกั ตง้ั คา่ ตอบแทน ตำ�่ และมกี ฎค�ำนวนอตั ราคา่ ตอบแทนผรู้ บั ทนุ ทแี่ ขง็ ตวั ท�ำใหพ้ นกั งานในองคก์ ร NGOs โดยเฉพาะองค์กรเล็กๆ ที่ไม่มีเครือข่ายหรือคอนเนคช่ัน มีเงินเดือนต่�ำ กว่าเกณฑ์มาตรฐาน อย่างเช่น NGOs รนุ่ ใหมค่ นหนง่ึ ทีผ่ เู้ ขียนร้จู กั มวี ุฒปิ รญิ ญา ตรีจากมหาวิทยาลัยภาครัฐท่มี ีชอื่ เสยี ง ท�ำงานบรหิ ารจัดการให้โครงการพฒั นา สองโครงการ และมีประสบการณท์ �ำงานเกนิ 5 ปี แตเ่ ธอได้รบั เงนิ เดือนเพยี งแค่ 9,000 บาทตอ่ เดอื นเทา่ นน้ั พสี่ ยุ้ มองวา่ แมอ้ งคก์ ร NGOs หลายองคก์ รจะเหน็ วา่ อตั ราคา่ จา้ งนเ้ี ปน็ อตั ราทตี่ ำ่� เกนิ ไป แตด่ ว้ ยความทม่ี อี ดุ มการณ์ เหน็ ความจ�ำเปน็ ของงานทต่ี นเองท�ำ และการไมม่ คี วามรใู้ นการการหาทนุ มาสนบั สนนุ การท�ำงาน ด้วยวธิ กี ารอื่นๆ ท�ำใหห้ ลายองค์กรยนิ ยอมรบั เงื่อนไขเหลา่ น้ีโดยไมค่ ดั คา้ น การ ได้รับค่าตัวต่�ำเกินกว่าแรงงานในตลาดจึงกลายเป็นมาตรฐานของคนท�ำงานใน วงการ NGOs ไปโดยปรยิ าย พส่ี ยุ้ เลา่ วา่ เคยคยุ กบั แหลง่ ทนุ แหง่ หนงึ่ ซง่ึ ในตอนแรกใหท้ นุ ท�ำงานแกพ่ ี่ สยุ้ โดยมเี งอ่ื นไขใหพ้ ส่ี ยุ้ ตดั คา่ ตวั บคุ ลากรออกใหเ้ ปน็ ไปตามกฎการคดิ อตั ราสว่ น ค่าตัวขององค์กรผู้ให้ทุน ซึ่งเมื่อค�ำนวณออกมาแล้วบุคลากรจะได้เงินเดือน น้อยกว่าอัตราตลาดมาก พี่สุ้ยจึงยืนยันกับผู้ให้ทุนรายนั้นว่าอัตราค่าบุคลากรท่ี พี่สุ้ยเสนอเป็นอัตราท่ีต�่ำที่สุดเท่าท่ีจะสามารถท�ำงานให้ได้ (เทียบเท่ากับอัตรา นักศึกษาจบใหม่ตามวุฒิ ไม่คิดค่าประสบการณ์) และถ้าผู้ให้ทุนไม่สามารถให้ คา่ บคุ ลากรตามทเ่ี สนอไป พ่สี ้ยุ จะขอไมร่ ับท�ำงาน แตกต่างกบั NGOs หลายๆ องค์กรท่ีให้ความส�ำคัญกับโอกาสที่จะได้ท�ำงานก่อน ท�ำให้ต้องหาโครงการ หลายๆ โครงการมาท�ำพรอ้ มกนั เพอื่ ใหอ้ งคก์ รอยไู่ ด้ พสี่ ยุ้ วเิ คราะหว์ า่ วฒั นธรรม 126 จดุ นัดพบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
การรบั ทนุ เชน่ นยี้ งั ท�ำใหอ้ งคก์ ร NGOs หลายองคก์ รไมม่ โี อกาสไดร้ บั งบประมาณ ท่ีอาจช่วยต่อยอดหรือยกระดับการท�ำงานให้ดีข้ึนด้วย เช่นงบการวิจัย หรืองบ การพัฒนาบุคคลากร ซ่ึงมักเป็นงบประมาณส่วนแรกๆ ที่ถูกตัดออกเมื่อมีการ พิจารณางบประมาณเสมอ นอกจากนน้ั แลว้ พส่ี ยุ้ เชอื่ วา่ ในปจั จบุ นั คนท�ำงานภาคประชาสงั คมตอ้ ง ปรับวิธีคดิ และปรับตัว จากวิธีการท�ำงานของ NGOs ร่นุ บุกเบกิ จึงจะสามารถ อยรู่ อดและท�ำงานด้วยประสิทธภิ าพในบริบทของโลกปจั จบุ นั “พอ่ี ยากเหน็ ทางเลอื กใหมๆ่ ในการทำ� งานและการเปลยี่ นแปลง สังคม พี่คิดว่าสังคมมันมาถึงจุดที่คุณท�ำแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป แล้ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มันรวดเร็วมาก และปัญหา ท่ีมาทุกทิศทุกทาง ไม่เหมือนเมื่อก่อน คุณท�ำแบบเดิมไม่ได้อีก ตอ่ ไป” (วรรณา จารสุ มบูรณ.์ สมั ภาษณ์, 5 ตุลาคม 2560) พี่สุ้ยยกตัวอย่างวิธีคิดการท�ำงานของ NGOs ท่ีพี่สุ้ยเห็นว่าควรต้อง เปลย่ี นแปลง เช่น “แตก่ อ่ นองคก์ ร NGOs ชอบประหยดั ทำ� เองทกุ อยา่ ง แลว้ บางที งานหลกั ไม่ไดท้ �ำ มัวแตท่ ำ� งานเอกสารอยู่ บางทมี ันประหยัดแต่ มนั เหนอ่ื ยเรา มนั ไปกนิ แรงคนทำ� งาน ตอ้ งมานง่ั ปน่ั งาน แลว้ พอ มันเครยี ดความสมั พันธ์ก็ไม่ดี ต้องมาน่งั ทำ� เองหมดไง บางอยา่ ง ถ้าจ้างเอา ไม่ต้องมาให้คนท�ำงานมาน่ังลงแรงมันเสียเวลา วิธี คิดแบบนี้กับบางคนเขาก็อาจจะรับไม่ได้ อาจบอกว่าฟุ่มเฟือย ต้องประหยัด คนรุ่นเก่าเขาจะคิดอีกแบบนึง ซ่ึงอาจจะไม่ใช่วิธี คิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องมาลงแรงกัน หลายคนหน้างานที่มีก็ท�ำ ไมเ่ สรจ็ แต่กต็ อ้ งมาช่วยกนั ทำ� ท�ำให้เราเสยี โอกาสครเี อตงานไป แลว้ พอไมท่ ำ� กด็ ไู ม่ contribute (สนบั สนนุ , ชว่ ยเหลอื ) ใหอ้ งคก์ ร ออกมาเป็นภาพแบบนั้น” (วรรณา จารสุ มบรู ณ.์ สมั ภาษณ,์ 5 ตุลาคม 2560) การเรียนรู้รว่ มกันและการปะทะสงั สนั ทนท์ างความคิดบนพ้นื ทขี่ อนแกน่ นวิ สปิรติ 127
พ่ีสุ้ยวิเคราะห์ว่าสาเหตุของวัตรปฏิบัติเช่นนี้ ไม่น่าจะเกิดจากการไม่ ตระหนักรู้ถึงวิธีการท�ำงานแบบใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเพียงอย่าง เดยี ว แตเ่ ป็นเพราะ “พ่ีคิดว่าวิธีคิดแบบนี่เป็นเพราะคุณรุ่นเก่าไม่ค่อยเปิดโอกาส ให้ตัวเองถูกท้าทายว่าจริงๆ วิธีคิดแบบน้ีมันเวิร์กป่าวอยู่ในโลก ปจั จบุ ัน” (วรรณา จารสุ มบรู ณ์. สัมภาษณ์, 5 ตลุ าคม 2560) ดว้ ยเหตนุ พี้ สี่ ยุ้ จงึ พยายามสรา้ งกลมุ่ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ ขนึ้ โดยในความ ต้ังใจแรกชองพส่ี ุ้ยมเี ปา้ หมายหลักอยู่สองสามประการ ได้แก่ พ่สี ุ้ยต้องการสรา้ ง พนื้ ทใี่ หค้ นท�ำงานภาคสงั คมในขอนแกน่ ซงึ่ พส่ี ยุ้ เคยบอกวา่ อยอู่ ยา่ งโดดเดยี่ ว ให้ ได้มเี ครอื ขา่ ย มีเพอื่ น รู้ว่าใครท�ำงานอะไรอยู่ตรงไหน และมีอะไรท่สี ามารถร่วม มอื กนั ไดบ้ า้ ง หรอื ถา้ พดู อยา่ งเปน็ ทางการกค็ อื พสี่ ยุ้ ตอ้ งการสรา้ งพน้ื ทสี่ �ำหรบั การ สรา้ งเครอื ขา่ ยคนท�ำงานภาคประชาสงั คมในขอนแกน่ โดยมเี ปา้ หมายระยะยาว ท่ีลึกไปกว่าแค่การสร้างเครือข่าย แต่ต้องการให้คนท�ำงานในพ้ืนท่ีสามารถมอง เหน็ ปญั หาเชงิ โครงสรา้ งทนี่ อกเหนอื ไปจากหนา้ งานของตนเอง และรวมพลงั กนั แกป้ ัญหา อนั เป็นเหตุให้พี่สยุ้ พยายามยกประเดน็ ของการพฒั นาเมอื งขอนแกน่ ให้นา่ อยู่มาเป็นประเด็นการขบั เคลอื่ นเครอื ข่ายบ่อยคร้งั รวมถงึ มกี ารออกแบบ กจิ กรรมทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การใหอ้ งคก์ รตา่ งๆ ไดท้ �ำความรจู้ กั เมอื งขอนแกน่ มากขน้ึ ประการทส่ี อง พสี่ ยุ้ อยากสรา้ งพน้ื ทส่ี �ำหรบั คนทต่ี อ้ งการแกป้ ญั หาสงั คม โดยเฉพาะกลมุ่ คนรนุ่ ใหมท่ ม่ี ฝี นั มคี วามคดิ ทอ่ี ยากจะท�ำอะไรบางอยา่ ง แตไ่ มร่ วู้ า่ จะท�ำอยา่ งไร ไมม่ พี นื้ ทที่ เี่ ปดิ รบั ความคดิ (เชน่ องคก์ รทท่ี �ำงานอยอู่ าจจะมรี ะบบ การท�ำงานท่ชี ัดเจนอย่แู ล้ว หรอื ไมพ่ ร้อมลองใชว้ ธิ กี ารท�ำงานแบบใหม่) หรือยัง ไม่สามารถจินตนาการได้ว่ามีวิธีการใหม่ๆ อะไรบ้างท่ีใช้แก้ปัญหาสังคม ให้ได้ ลองท�ำตามความต้ังใจของตนเองด้วยทางเลอื กใหม่ 128 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสงั คม
“พคี่ ดิ วา่ ทำ� ยงั ไงใหค้ นรนุ่ ใหมเ่ ขามที างเลอื ก เขารวู้ า่ ตนเองกำ� ลงั เผชิญกับอะไร แล้วเขามีทางเลือกอะไรบ้างท่ีจะท�ำให้สิ่งน้ีเป็น ไปได้ คนรุ่นใหมไ่ มอ่ ยากท�ำงาน NGOs แลว้ เพราะ NGOs เอง ก็มีความแข็งตัว ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ได้อยากไปเป็นแบบนัก วชิ าการ เขากำ� ลงั มองหาอยวู่ า่ มนั จะมที ไ่ี หนทเี่ ขาจะทำ� อะไรเพอ่ื สงั คมไดบ้ ้าง ท่ไี มใ่ ชแ่ บบเดิม” พ่ีสุ้ยบอก (วรรณา จารุสมบรู ณ์. สัมภาษณ์, 10 พฤศจกิ ายน 2560) บรบิ ทหนงึ่ ทผ่ี ลกั ดนั ใหพ้ ส่ี ยุ้ เหน็ ความจ�ำเปน็ ของวธิ กี ารท�ำงานใหมๆ่ คอื การท่ีทุนการท�ำงานภาคประชาสังคมเริ่มมีจ�ำกัดมากขึ้นเร่ือยๆ และคนท�ำงาน ภาคประชาสงั คมอาจจะตอ้ งหาแหลง่ ทนุ ใหมๆ่ ทมี่ คี วามคาดหวงั ในกระบวนการ ท�ำงานท่ีแตกต่างไปจากแหลง่ ทุนแบบเดิม ประการทส่ี าม สง่ิ ทพ่ี ส่ี ยุ้ เนน้ ยำ�้ และเปน็ ประโยคทถ่ี กู น�ำไปใชใ้ นเวทขี อง ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ บอ่ ยครง้ั จนเปน็ สโลแกนหนงึ่ ของขอนแกน่ นวิ สปริ ติ คอื “เราจะ ไมท่ ง้ิ ใครไวข้ า้ งหลงั ” เปน็ ความตงั้ ใจของพสี่ ยุ้ ใหก้ ลมุ่ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ เปน็ พนื้ ท่ี ท่ีปลอดภัยและส่งเสริมมิติด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซ่ึงน่าจะรวมไปถึง การเปน็ พน้ื ทเี่ ปดิ กวา้ งใหก้ บั ทกุ คนโดยไมม่ กี ารกดี กนั จากอายหุ รอื ประสบการณ์ ท�ำงาน ค�ำวา่ “พ้ืนที่สบายใจ” เป็นค�ำพสี่ ุย้ ให้ความส�ำคัญอย่างมาก พ่ีสุ้ยกล่าวว่าหลักการท�ำงานหนึ่งของพี่สุ้ยคือการเชื่อมโยงคนเข้าด้วย กันในระดับเน้ือแท้ (essence) เพราะประสบการณ์การท�ำงานสอนพ่ีสุ้ยว่าถ้า บุคคลเกิดความเช่ือมโยงในระดับเน้ือแท้แล้ว จะท�ำให้เกิดความเป็นชุมชนและ ความมสี ่วนร่วมตอ่ ชุมชนอย่างแท้จริง การเรยี นรรู้ ว่ มกันและการปะทะสงั สันทน์ทางความคิดบนพน้ื ทขี่ อนแกน่ นวิ สปริ ติ 129
แม้พี่ส้ยุ จะไม่ไดน้ ยิ ามตวั เองในฐานะนัก “จติ ตปญั ญา”4 แตว่ ธิ คี ดิ เรื่อง การท�ำงานเชิงเครือข่ายของพ่ีสุ้ยได้รับอิทธิพลจากวิธีคิดแบบจิตปัญญาศึกษา มาไม่น้อย ในการจัดกิจกรรมแก่เครือข่ายขอนแก่นนิวสปิริตมีการสอดแทรก กจิ กรรมเชงิ ความสมั พนั ธเ์ พอ่ื สรา้ งความเขอื่ มโยงระหวา่ งบคุ คลไวต้ ง้ั แตค่ รง้ั แรก (เวทซี มุ่ หวั กา้ วหนา้ ผนู้ �ำรนุ่ ใหมเ่ พอ่ื เมอื งขอนแกน่ ทดี่ ตี อ่ ใจทกุ ผทู้ กุ คน, วนั ที่ 6-7 พฤษภาคม 2560) โดยจัดขึน้ ก่อนจะมีโครงการวิจัยโครงการนี้ และก่อนทพี่ ี่นก จะมาเปน็ อาสาสมคั รแกพ่ น้ื ที่ ในเวทนี มี้ กี ารจดั กจิ กรรมแลกเปลย่ี นพดู คยุ กนั ผา่ น กระบวนการทใ่ี หเ้ สยี งแกท่ กุ คน และสรา้ งบรรยากาศปลอดภยั ส�ำหรบั แสดงความ คดิ เหน็ และการสรา้ งความสมั พนั ธร์ ะดบั บคุ คลทท่ี �ำใหค้ นทเี่ ขา้ รว่ มกจิ กรรมรจู้ กั พน้ื ทที่ �ำงานของกนั และกนั และสรา้ งความสมั พนั ธก์ นั อยา่ งรวดเรว็ เชน่ การตงั้ วง สนุ ทรยี สนทนา (dialogue) ท่ที กุ คนได้พดู ความคิดเห็นของตนเอง การแนะน�ำ ตัวด้วยภาพถ่ายและเร่ืองราวแทนการแนะน�ำด้วยช่ือ และต�ำแหน่งหน้าท่ีการ งาน หรือการให้คนจากต่างองค์กรท่ีไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแบ่งกลุ่มไปถ่ายรูป เมืองขอนแก่นเพ่ือเก็บวิถีชีวิตที่มุมท่ีน่าสนใจแต่ไม่ถูกมองเห็น ซ่ึงประสบความ ส�ำเรจ็ อย่างมาก ผู้เขา้ รว่ มทกุ คนชื่นชอบให้ผลตอบรับเปน็ บวก และท�ำให้ความ เป็นพ้ืนท่ีปลอดภัยสบายใจส�ำหรับการแลกเปล่ียนเรียนรู้เป็นคุณลักษณะหน่ึงที่ หลายๆ คนนึกถึงพร้อมๆ กบั ชอื่ ขอนแกน่ นิวสปริ ิต โดยรวมแลว้ ขอนแกน่ นิวสปิรติ จึงมีภารกจิ หลกั ๆ สองประการทท่ี �ำไป ควบคู่กันไป ประการแรกคือการสร้างชุมชนเครือข่ายของคนที่ต้องการท�ำงาน เชิงสังคมในขอนแก่น และประการท่ีสอง การเสริมศักยภาพการท�ำงานด้วยวิธี คิดและนวตั กรรมใหมๆ่ ใหก้ ับคนในชมุ ชน ซึ่งพี่สุ้ยมีความหวงั วา่ แนวคิดแบบ SE จะเป็นเครื่องมือหนึ่งท่ีจะช่วยเสริมศักยภาพคนในเครือข่ายจนสามารถ 4 จติ ปัญญาศกึ ษาคอื กระบวนการศกึ ษาเพ่ือท�ำความเขา้ ใจภาวะจติ ใจภายในของตนเอง เปน็ เทรนหนงึ่ ที่ องค์กรพฒั นาทางเลือก หรือองคก์ รเชิงจิตวญิ ญาณน�ำมาปรบั ใช้กบั งานของตนเองอย่างกว้างขวาง 130 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชุมชน การประกอบการสงั คม
ขบั เคลือ่ นสังคมในมติ ิทลี่ กึ ซงึ้ มากยง่ิ ขึ้น จากการพูดคุยกับพี่สุ้ยและสัมภาษณ์คนท�ำงานภาคสังคมในขอนแก่น ในกลุ่มที่มาเข้าร่วมเครือข่ายขอนแก่นนิวสปิริตรวมถึงคนท�ำงานภาคประชา สังคมท่ีไม่อยู่ในเครือข่ายเพิ่มเติม ผู้เขียนพบว่าที่ผ่านมาคนท�ำงานเพ่ือสังคมใน ขอนแก่นมีการท�ำงานเชิงเครือขา่ ยคอ่ นขา้ งนอ้ ย โดยมากเปน็ การท�ำงานเฉพาะ กลุ่มของ NGOs หรอื คนท�ำงานภาคประชาสังคมที่มป่ี ระเดน็ ทีต่ ้องการผลักดนั รว่ มกนั แทบไม่มเี ครือข่ายระหว่าง NGOs ท่ที �ำงานในประเด็นที่ไมเ่ กย่ี วข้องกัน ไมต่ อ้ งพูดถงึ การมีเครือข่ายกบั กลมุ่ คนที่ไม่ใช่ NGOs แตส่ นใจท�ำงานแก้ปัญหา สงั คม เชน่ คนท่เี คยท�ำงานในภาคธุรกิจ ซง่ึ สว่ นหน่ึงเกิดจากการที่ NGOs บาง กลุ่มอาจมีประสบการณท์ ไ่ี ม่ดีกบั ภาคธรุ กจิ ท�ำใหไ้ มม่ ีความเชอ่ื ใจต่อกนั นอกจากน้ันเครือข่ายที่มีอยู่มักเป็นการท�ำงานระหว่างองค์กรกับ องค์กรโดยไม่ได้มีพ้ืนที่ส�ำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นเครือ ข่ายท่ีมีงานเป็นส่ิงเรียงร้อยทุกคนเข้าด้วยกัน ในบางครั้งยังพบปัญหาการไม่มี พ้ืนท่ีแก่ความคิดของคนรุ่นใหม่ หรือวิธีคิดวิธีการท�ำงานแบบใหม่ ผู้เข้าร่วม เครอื ขา่ ยขอนแกน่ นิวสปริ ติ คนหน่งึ ท่ีท�ำงาน NGOs บอกกบั ผูเ้ ขยี นวา่ ก่อนมา รว่ มเครอื ขา่ ยขอนแกน่ นวิ สปริ ติ เขารสู้ กึ หมดไฟในการท�ำงาน เหน็ วา่ งานทต่ี วั เอง ท�ำวนเวียนอยู่ในวงจรเดิม ไม่สามารถแกป้ ญั หา แตก่ ารมาร่วมกจิ กรรมกับเครอื ข่ายขอนแก่นนิวสปิริต ได้แลกเปลี่ยนกับคนที่ท�ำงานในแวดวงและคนท่ีท�ำงาน ด้วยวิธีการอื่นๆ ท�ำให้เขาเร่ิมมีไฟและอยากลองใช้วิธีการใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จัก มากอ่ นมาท�ำงาน ในขณะทีผ่ ู้ให้สัมภาษณอ์ ีกคนหนง่ึ กล่าววา่ เครือขา่ ยท่ีมอี ยใู่ น ขอนแก่นหลายเครือข่ายไม่มีพื้นที่ให้กับความคิดของคนรุ่นใหม่มากเท่าไหร่ ขอนแก่นนวิ สปริ ติ จึงเปน็ การเติมเตม็ สง่ิ ทไี่ ม่มอี ยใู่ นพืน้ ที่ ดังท่ีผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วว่าก่อนงานในโครงการวิจัยน้ีจะเร่ิมขึ้น ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ ไดร้ บั ทุนจากโครงการผนู้ �ำแห่งอนาคตเพ่ือจดั กจิ กรรม ไดแ้ ก่ การเข้าไปคุยกับเครอื ข่ายคนท�ำงานภาคสังคมในภาคส่วนต่างๆ เพอ่ื ชกั ชวนคน การเรยี นรูร้ ่วมกันและการปะทะสงั สนั ทนท์ างความคดิ บนพ้ืนทีข่ อนแก่นนิวสปริ ิต 131
ท�ำงานภาคประชาสังคมในขอนแก่นมาเข้าร่วมกิจกรรมกับขอนแก่นนิวสปิริต และมีการจัดเวที 1 ครง้ั เพอื่ ท�ำใหเ้ ครือขา่ ยไดร้ ู้จกั กัน ซึ่งประสบผลส�ำเรจ็ อยา่ ง มาก ท�ำให้ผู้เข้าร่วมหลายคนที่ไม่เคยเจอกันมาก่อนสนิทสนมกันและเร่ิมมี ความสมั พนั ธข์ นึ้ ระหวา่ งองคก์ รตา่ งๆ เปน็ ฐานความสมั พนั ธข์ องชมุ ชนขอนแกน่ นิวสปิริตมาจนปจั จบุ ัน อยา่ งไรกต็ าม เมอ่ื เปรยี บเทยี บกบั พน้ื ทอี่ นื่ ๆ ในโครงการวจิ ยั นี้ ถอื ไดว้ า่ ขอนแก่นนิวสปริตเป็นพ้ืนที่เกิดข้ึนใหม่อย่างแท้จริง และแทบไม่มีรากฐานการ ท�ำงานใดๆ มาก่อน ดังนั้นบริบทของงานวิจัยฉบับน้ีจึงเป็นการใช้แนวคิดแบบ ผู้ประกอบการและการท�ำงานอย่างย่ังยืนมาปรับใช้ในช่วงท่ีเร่ิมก่อต้ังและวาง ทิศทางการด�ำเนินงานขององค์กร มากกว่าการสร้างความย่ังยืนหรือยกระดับ การท�ำงานใหแ้ ก่องคก์ รที่ท�ำงานมานานอยา่ งในกรณีศกึ ษาพื้นทีอ่ ื่นๆ พี่นก พี่นุ้ย และแนวคิดแบบผู้ประกอบการสังคม “เพราะเขาคดิ ตน้ ทนุ ไมเ่ ปน็ แลว้ เขากไ็ มร่ ู้ ถา้ เขาเหน็ ตวั เลข man-hour (คา่ แรงเฉลยี่ ตอ่ ชวั่ โมง – ผเู้ ขยี น) แลว้ เขากจ็ ะเขา้ ใจ” คณุ พรจรรย์ ไกรวตั นสุ สรณ์ (พ่ีน้ยุ ) ผู้ก่อตงั้ School of Changemakers บอกผูเ้ ขยี นและพสี่ ุ้ย เมอ่ื ได้รบั ฟงั ว่า NGOs หลายองค์กรเลือกให้พนักงานท�ำงานทุกประการด้วยตนเองโดยไม่ จ้างแรงงานเอาท์ซอร์ซ (outsource) เพ่ือประหยัดตน้ ทนุ แมว้ ่างานจะเปน็ งาน จกุ จิกเช่น การส่งจดหมาย ทม่ี าเบียดบงั เวลาการท�ำงานหลักกต็ าม ค�ำพดู ของพี่ นยุ้ หมายความวา่ การท่ี NGOs พยายามประหยดั แบบนี้ เมอื่ เทยี บกบั ตน้ ทนุ ทใ่ี ช้ แล้ว ไม่ค้มุ คา่ ตอ่ อตั ราค่าจา้ งพนกั งานรายชว่ั โมง และจะคมุ้ คา่ กวา่ มากเม่ือจา้ ง คนนอก ถา้ กลา่ ววา่ พนี่ ยุ้ เปน็ มนษุ ยท์ รี่ กั ประสทิ ธภิ าพเหนอื สง่ิ อนื่ ใดคงไมผ่ ดิ ความ จริงนกั ผเู้ ขยี นเห็นพ่นี ้ยุ ให้ความส�ำคญั กับการใชเ้ วลาและทรพั ยากรอยา่ งคมุ้ ค่า 132 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผคู้ น ชุมชน การประกอบการสงั คม
สูงสดุ เวลาใครไปพูดเล่นกบั พนี่ ้ยุ อยา่ งไร้สาระ พีน่ ยุ้ มกั จะตอบ (แบบหยอกล้อ) วา่ “แกร้ไู หมยะวา่ man-hour ช้นั เทา่ ไหร”่ ครงั้ หน่งึ ผเู้ ขยี นและพ่ีนุ้ยเดนิ ทาง ไปภาคสนามทเี่ ดยี วกนั โดยเชา่ รถแยกกนั ไป พนี่ ยุ้ บอกผเู้ ขยี นวา่ “แกแกบอกเขา ให้กลบั ไปเถอะ เด๋ยี วแกกลบั รถพ่ี พ่ที นเหน็ คนมานง่ั รอคร่งึ วนั โดยไม่ท�ำอะไรไม่ ไดจ้ รงิ ๆ” เมอื่ พนี่ ยุ้ ฟงั ผเู้ ขยี นเลา่ ถงึ วฒั นธรรมของบางองคก์ รทใี่ หค้ วามส�ำคญั กบั การเข้ามาท�ำงานท่ีส�ำนักงานและใช้เวลาอยู่ในส�ำนักงานเปน็ เวลานาน เชน่ การ ท�ำงานหนักจนตอ้ งคา้ งคนื ทส่ี �ำนกั งานพ่นี ุ้ยพูดวา่ “ถา้ เราเปน็ ผบู้ รหิ ารแลว้ เราตอ้ งบรหิ ารเงนิ ทงั้ องคก์ รมนั คอื cost (ตน้ ทนุ ) ทงั้ นน้ั รเู้ ลยวา่ ประหยดั ตรงนไ้ี ดเ้ ราเอาเงนิ ไปทำ� อยา่ งอนื่ ได้ มันไมเ่ มคเซ้นสน์ ะ” (พรจรรย์ ไกรวัตนสุ สรณ์. สมั ภาษณ์, 5 ตลุ าคม 2560) ดูเหมือนว่าพ่ีนุ้ยจะเชื่อว่าความเข้าใจต่อประสิทธิภาพและความ คมุ้ คา่ เปน็ สามญั ส�ำนกึ ขน้ั พนื้ ฐานของมนษุ ย์ เชน่ การทพี่ น่ี ยุ้ เชอ่ื วา่ ถา้ ผนู้ �ำองคก์ ร NGOs เห็นความไมค่ ้มุ ค่าจากการใช้ man-hour ของตนเองอยา่ งเปน็ รูปธรรม อย่างตวั เลขในเชงิ ตน้ ทุนจะพร้อมปรบั เปลี่ยนระบบการท�ำงาน เพราะตวั เลขจะ ท�ำให้พวกเขาตระหนักถึงความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่คุ้มค่าของระบบ การท�ำงานในองค์กรตนเอง ซึ่งอาจจะแตกต่างกับพี่สุ้ยท่ีมองพฤติกรรมผู้น�ำ กล่มุ นี้ดว้ ยมติ ิเชิงจติ วิทยามากกวา่ การตระหนักเชงิ ตรรกะเพยี งอยา่ งเดียว เชน่ พ่ีสุ้ยมองว่าหลายคร้ังแม้จะมีวิธีการท�ำงานหรือจัดการที่ดีกว่าแต่คนรุ่นเก่าใน องค์กรกย็ ังไม่ยอมรบั อยู่ดี เพราะมีวธิ ีคดิ คนละแบบ ดังที่กล่าวไปในข้างตน้ แม้ว่าในการท�ำงานร่วมกับขอนแก่นนิวสปิริต พ่ีนุ้ยมีบทบาทเสนอ แนะและชแ้ี นะแนวทางใหพ้ ส่ี ยุ้ เพอื่ เขยี นขอ้ เสนอโครงการในเวลาเจด็ เดอื นนแ้ี ก่ โครงการผูน้ �ำแห่งอนาคต และเป็นผู้ออกแบบกระบวนการอบรมเสรมิ ศักยภาพ ทางผู้ประกอบการทางสังคมที่พ่ีสุ้ยไปเข้าร่วมเท่านั้น แต่พี่นุ้ยเป็นผู้จัดสรรให้ การเรยี นรู้ร่วมกนั และการปะทะสงั สนั ทนท์ างความคดิ บนพื้นท่ขี อนแกน่ นิวสปริ ิต 133
“พ่ีนก” ตัวละครที่จะมีบทบาทร่วมในขอนแก่นนิวสปิริตตลอดระยะเวลาการ ด�ำเนนิ โครงการเจด็ เดอื นมาเปน็ อาสาสมคั รจากภาคธรุ กจิ ประจ�ำพนื้ ทข่ี อนแกน่ นิวสปิรติ ในบรรดาอาสาสมคั รจากภาคธรุ กจิ ในโครงการนี้ พน่ี กเปน็ คนทม่ี วี ยั วฒุ ิ และประสบการณม์ ากทส่ี ดุ และนา่ จะเปน็ คนเดยี วทดี่ �ำเนนิ กจิ การเพอ่ื สงั คมของ ตนเอง จงึ มีความรู้ วธิ ีคิด และการนิยามกรอบก�ำหนดความเปน็ SE ทเ่ี ขม้ แขง็ เปน็ การยากทผ่ี เู้ ขยี นจะสามารถอธบิ ายคณุ ลกั ษณะของพนี่ กออกมาเปน็ ตวั หนงั สอื ไมใ่ ชเ่ พยี งเพราะผเู้ ขยี นไมค่ นุ้ เคยกบั วธิ คี ดิ แบบผปู้ ระกอบการ (หรอื ท่ี พน่ี กเรยี กวา่ วธิ คี ดิ ทเี่ ปน็ ระบบและมมี าตรฐานสากล) แตพ่ น่ี กเปน็ บคุ คลทม่ี คี วาม เอกลักษณเ์ ฉพาะตวั ท่ีโดดเดน่ ทสี่ ดุ คนหนึ่งเทา่ ที่ผู้เขยี นเจอมา ผู้เขียนเห็นว่าพ่ีนกเป็นคนที่มีความฉะฉาน และมีความสามารถใน การใช้ภาษาท่ีส่ือความหมายชัดเจนแบบหาตัวจับยาก คร้ังหน่ึงทีมงานและ พน่ี กไปกนิ หมกู ระทะดว้ ยกนั แลว้ เนอื้ ทที่ างรา้ นน�ำมาเสริ ฟ์ เหนยี วจนเคย้ี วไมล่ ง พน่ี กไดว้ จิ ารณค์ ณุ ภาพของเนอ้ื วา่ “นา่ จะเปน็ เนอ้ื สว่ นทเี่ ขาเอาไวใ้ ชท้ �ำรองเทา้ ” พ่ีนกพูดตรงเปิดเผย ยืนหยัดมั่นคงในความคิดของตนเองอย่างไม่ลดราวาศอก แตใ่ นขณะเดยี วกนั เวลาส่อื สารกบั คนอื่นกม็ ที า่ ทีทสี่ ุภาพ พ่ีนกเป็นคนมีอารมณ์ขันเฉพาะตัวอย่างท่ีผู้เขียนไม่เคยพบมาก่อน ผเู้ ขยี นสงั เกตวา่ พนี่ กชอบใหค้ วามรแู้ กค่ นอน่ื ระหวา่ งการเกบ็ ขอ้ มลู ในโครงการนี้ ผเู้ ขยี นเหน็ คนขอค�ำปรึกษาจากพี่นกจ�ำนวนมาก ทั้งในด้านแนวคิดการท�ำธรุ กิจ และการพัฒนาองค์กร ซึ่งพน่ี กใส่ใจกบั การใหข้ ้อมลู แก่ทุกคนอยา่ งละเอยี ด ไมม่ ี การตดั บทหรือแสดงอาการร�ำคาญใดๆ หรือแม้แต่การเก็บข้อมูลงานวิจัยของผู้เขียนพ่ีนกก็ยินดีตอบอย่าง ละเอียดทุกครั้ง (ยกเว้นในกรณีท่ีพ่ีนกต้องเดินทางออกมาพบผู้เขียน เพราะ พี่นกเห็นว่าการเสียเวลากับการเดินทางไม่คุ้มค่าต่อค่าตัวรายชั่วโมง [man hours] ของพ่ีนก) แม้ผู้เขียนคิดว่าลึกๆ แล้วพี่นกอาจจะเห็นว่าการเขียนงาน 134 จดุ นดั พบบนเสน้ ขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสงั คม
วจิ ยั แบบทผี่ เู้ ขยี นก�ำลงั เขยี นอยเู่ ปน็ สง่ิ ทไี่ มม่ ปี ระโยชนใ์ นแงข่ องความคมุ้ คา่ และ ไม่คุม้ คา่ ตอ่ การเสยี เวลาของพนี่ กก็ตาม (พีน่ กเคยวจิ ารณง์ านเขียนในลักษณะที่ คลา้ ยๆ กบั ทผ่ี เู้ ขยี นเขยี นอยวู่ า่ เปน็ งานทไี่ มร่ จู้ ะท�ำและเผยแพรเ่ พอื่ ใครและเพอ่ื อะไร) แต่ท้ายที่สุดแล้วผู้เขียนเห็นว่าความรู้สึกของการอยากช่วยเหลือและให้ ความรู้แก่ผู้อนื่ ของพีน่ กก็ไดร้ บั การใหค้ า่ มากกวา่ ความคดิ เร่อื งความค้มุ ค่า การ มาเปน็ mentor ใหก้ บั ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ ถอื วา่ เปน็ การแสดงความตอ้ งการแบง่ ปันของพนี่ กเช่นเดียวกนั เพราะถอื เป็นงานอาสาสมัครที่พนี่ กท�ำใหก้ ับสังคม “คนทเ่ี คยลำ� บากอยา่ งเราจะจำ� ไดว้ า่ มนั ลำ� บาก ไมว่ า่ จะเกดิ จาก อะไรมนั มคี วามรสู้ กึ ในใจจากความทกุ ขข์ องการทเี่ กดิ ปญั หาแลว้ ยังแก้ไม่ได้ น่าจะมีความคล้ายคลึงกันในความรู้สึกร่วมแบบนั้น เวลามคี วามลำ� บากเกดิ ขนึ้ เราจะประเมนิ วา่ มนั เปน็ อยา่ งไร เวลา เราเห็นความลำ� บากแล้วถา้ เราว่าเราช่วยไดเ้ น้ีย การเดินออกไป จากมัน sad กวา่ การพยายามไมร่ บั รูว้ ่ามันมอี ยู่” (ธนันต์ รัตนโชต.ิ สมั ภาษณ์, 13 ธนั วาคม 2560) พ่ีนกบอกผู้เขียนเม่ือถูกถามว่าท�ำไมถึงมีจิตใจท่ีอยากช่วยเหลือคน อื่นท้ังๆ ที่เจ้าของกิจการอย่างพี่นกน่าจะใช้เวลาว่างไปพักผ่อน หรือขยาย กิจการของตนเองเพื่อเพ่ิมก�ำไรมากกว่า พ่ีนกเคยเอ่ยว่าสมัยวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 พี่นกล�ำบากมาก โดย ไม่ได้เล่ารายละเอียดเพิ่มเติม แต่ความล�ำบากที่พี่นกเผชิญได้ท�ำให้พี่นกเกิด ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจซ่ึงถูกแสดงออกผ่านการช่วยเหลือให้ค�ำแนะน�ำแก่ ผู้อ่ืนเสมอๆ การเรยี นรรู้ ว่ มกนั และการปะทะสงั สนั ทนท์ างความคดิ บนพ้นื ทีข่ อนแก่นนิวสปิริต 135
“เรา empathy (เหน็ อกเห็นใจ) วา่ ความทกุ ขค์ อื อะไรในสมัยที่ เรายากล�ำบาก แลว้ อันทสี่ อง คือเราสามารถคดิ solution (วธิ ี การแก้ปัญหา) บางอย่างไปแก้ปัญหานั้นได้แล้วมันกระทบกับ ผลในวงกว้าง เรารู้ได้เลยว่าคนที่หายจากความทุกข์แล้วทวีคูณ ด้วยจ�ำนวนคนท่ีสามารถท�ำงานได้จาก solution น้ีมันเป็นยัง ไง เราก็รู้สึกได้ว่าตอนหายทุกข์มันรู้สึกยังไง….ความล�ำบากคือ สมบตั ทิ ล่ี ำ้� คา่ เพราะเรารวู้ า่ ความทกุ ขย์ ากมนั เลวรา้ ยขนาดไหน การทำ� สง่ิ เหลา่ นมี้ นั ไดผ้ ลตอบแทนทางใจวา่ เราคมุ้ ทจี่ ะมชี วี ติ ตอ่ อยอู่ ีกวนั หนึง่ ” (ธนนั ต์ รตั นโชติ. สัมภาษณ์, 13 ธนั วาคม พ.ศ. 2560) ผู้เขียนเห็นว่าการที่พี่นกผูกโยงการแก้ปัญหาไว้ในฐานะเหตุปัจจัยของ การแก้ไขความทุกข์ หรือทางดับทุกข์เช่นน้ี เป็นสิ่งที่สะท้อนวิธีคิดและระบบ คุณค่าของพ่ีนกได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจท่ีพ่ีนกจะให้คุณค่าและความ ส�ำคญั กบั กระบวนการคน้ หาวธิ กี ารแกไ้ ขปญั หาอยา่ งเปน็ รปู ธรรม และพสิ จู นไ์ ด้ ด้วยตัวช้วี ดั ท่ีเห็นไดช้ ดั เจนอยา่ งมาก พี่นกมีเร่ืองเล่าประจ�ำตัวเรื่องหนึ่ง ที่มักใช้เป็นตัวอย่างทุกครั้งเมื่อ พูดถึงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน มีเน้ือหาโดยสรุปว่าประเทศโซมาเลียเกิด สงครามกลางเมืองท�ำให้ชาวประมงชายฝั่งจ�ำนวนมากผันตัวเป็นโจรสลัดออก ไปปล้นเรือสินค้า และมีอัตราการปล้นท่ีถ่ีข้ึนทุกทีจนเรือสินค้าท่ีเดินทางผ่าน โซมาเลยี ตอ้ งจา้ งผู้ค้มุ กนั ภัยมาอยบู่ นเรือด้วย รัฐบาลในประเทศต่างๆ พยายาม ใช้มาตรการปราบปรามอย่างหนักหน่วงแต่ก็ไม่ท�ำให้จ�ำนวนการปล้นเรือลดลง เทา่ ใด จนกระทั่งเจ้าของแฟรนไชส์ร้านซูซิในประเทศญี่ปุ่นคนหน่ึงรับรู้ เรื่องนี้ เขาพบว่าสาเหตุที่ท�ำให้ชาวโซมาเลียหันมาเป็นโจรสลัดเป็นเพราะเกิด 136 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสังคม
สงครามกลางเมอื งจนท�ำใหค้ นทเ่ี คยท�ำอาชพี ประมงไมส่ ามารถท�ำการประมงเพอ่ื เลยี้ งชพี ได้ และคนเหลา่ นไี้ มม่ ที นุ และทกั ษะทจี่ ะท�ำงานอยา่ งอน่ื เขาจงึ ลงทนุ ซอื้ เรอื และสอนทกั ษะการจบั ปลาทนู ่าใหก้ ับคนท่เี คยเปน็ โจรสลัด เมอ่ื เลา่ ถงึ จดุ นพ้ี นี่ กจะจบเรอ่ื งโดยแสดงแผนภมู ทิ างสถติ วิ า่ ตงั้ แตเ่ จา้ ของ ร้านซูชิเขาไปในโซมาเลีย อัตราการโจมตีเรือก็ลดลงอย่างต่อเน่ืองอย่างมีนัยยะ ส�ำคัญ พรอ้ มสรุปวา่ นี่คือตัวอยา่ งโมเดลการแก้ปัญหาอย่างย่ังยนื ท่ีพสิ ูจนไ์ ด้ ถึงแมเ้ ม่อื ฟงั เรอ่ื งน้ีแล้วผูเ้ ขยี นจะอดนกึ ไมไ่ ดว้ ่า เรอ่ื งราวท่พี ี่นกเล่าเปน็ ตวั อยา่ งของการแกป้ ญั หาปญั หาเดยี วแบบแยกสว่ นจากปญั หาอน่ื โดยไมไ่ ดค้ �ำนงึ ถงึ บริบทอนื่ ท่เี กยี่ วขอ้ ง หรอื จะค�ำนงึ วา่ วธิ กี ารแก้ปญั หาเป็นการเพ่มิ เติมปัญหา อ่นื ๆ ในระยะยาวหรือไม่ เชน่ ความตอ้ งการบรโิ ภคทูนา่ ของโลกท่สี ูงขึน้ เรอื่ ยๆ จนอาจจะท�ำใหท้ นู า่ สญู พนั ธ์ แตส่ �ำหรบั พน่ี กตวั อยา่ งนเี้ ปน็ ตวั อยา่ งทชี่ ดั เจนของ การแกป้ ัญหาที่เปน็ จรงิ และยง่ั ยนื ตรงกันข้ามกับการแก้ปัญหาท่ีพี่นกเรียกว่าปัญหาแบบ “แจกผ้าห่ม” หมายถึงการแก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า โดยไม่ได้แก้ที่สาเหตุของปัญหาอย่าง แทจ้ ริง ซึ่งเปน็ วิธกี ารแกป้ ญั หาที่พนี่ กเห็นวา่ หลายองคก์ รน�ำมาใช้ “การแจกผ้าห่มท่ีแจกทุกปีต้ังแต่ตอนพ่ีเด็กจนตอนน้ี ยังมีคน ไทยทยี่ ังได้ไม่ครบกนั อกี หรอ เราเลยรู้สกึ วา่ การท�ำลกั ษณะนใี้ น ภาคขององค์กรมันดีกว่าไม่ท�ำเลย แต่มันไม่ดีตรงท่ีเราไม่ได้แก้ ปัญหาอะไรคือทุกปีก็ยังมีคนหนาวตาย…ประเทศเราแก้ปัญหา ไม่ถูกคือมันฉาบฉวย...แต่แจกผ้าห่มมันก็จ�ำเป็นนะเพราะถ้าไม่ แจกเด็กมนั อาจจะตายกไ็ ด้ แต่ถ้าไม่ทำ� อะไรปีหนา้ กม็ าแจกใหม่ มันเปน็ เร่อื ง first aids (การปฐมพยาบาล) กบั เรือ่ งรกั ษาอาการ โรคจรงิ ๆ” (ธนนั ต์ รตั นโชติ. สมั ภาษณ,์ 13 ธนั วาคม 2560) การเรียนรู้รว่ มกันและการปะทะสงั สันทนท์ างความคดิ บนพ้ืนทีข่ อนแกน่ นวิ สปริ ติ 137
พ่ีนกเช่ือว่าวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ หรือ เคร่ืองมือที่ช่วยให้มีวิธีคิด อย่างเป็นระบบท่ี School of Changemakers ใช้ในการฝึกฝนผู้ประกอบ การทางสังคม (ซึ่งพี่นกนิยามว่าเป็นเครื่องมือ/กระบวนการคิดมีมาตรฐาน สากล) จะช่วยท�ำให้องค์กรต่างๆ หลุดพ้นจากกรอบการท�ำงานแบบแจก ผ้าห่มได้ เมื่อผู้น�ำภาคประชาสังคม เรียนรู้ความคิด แบบผู้ประกอบการ ความหวังที่แตกต่าง “ฝากเปน็ การบา้ นใหต้ ดั สนิ ใจนะพ่ี วา่ พจี่ ะเปน็ อะไรระหวา่ ง incubator5 หรอื communities6” พีน่ ุย้ บอกกับพ่ีสุ้ย วนั นนั้ เปน็ วนั แรกทผ่ี เู้ ขยี นและพส่ี ยุ้ ไดพ้ บกบั พน่ี ยุ้ เนอื่ งจากพน่ี ยุ้ ตอ้ งการ รู้ข้อมลู ของพ่ีสุ้ย เพ่ือช่วยให้พี่สุ้ยเขียนข้อเสนอโครงการ (proposal) ที่เหมาะ สมกับการท�ำงานรว่ มกบั School of Changemakers เป็นเวลา 7 เดือน (การ ประชุมเพ่อื พัฒนาข้อเสนอโครงการ, 5 ตุลาคม 2560) พวกเราสามคนนั่งอยู่ในร้านกาแฟอันพลุกพล่าน พ่ีนุ้ยเปิดบทสนทนา 5 ผู้ฟูมฟัก (incubator) ในที่นี้หมายถึงขอนแก่นนิวสปริตจะเป็นผู้สร้างคนท�ำงานเชิงสังคมด้วยวิธีการ ใหม่ๆ ให้เกิดข้นึ 6 หมายถงึ ขอนแกน่ นิวสปรติ รไมต่ อ้ งคาดหวังผลส�ำเรจ็ ว่าจะเกดิ คนท�ำงานเชิงสงั คมด้วยวธิ กี ารใหม่ๆ 138 จดุ นัดพบบนเส้นขนาน: ผคู้ น ชุมชน การประกอบการสงั คม
ดว้ ยค�ำถามวา่ “สามปีจากน้ไี ปพี่สุ้ยอยากให้เกดิ อะไรข้ึนคะ” เพ่ือส�ำรวจวา่ สงิ่ ที่ พสี่ ้ยุ ท�ำอยู่ มีเป้าหมายคืออะไร ภาพทเ่ี ห็นคอื อะไร “สามปีนี้หวงั ว่าจะมโี ครงการสามอนั ที่ส�ำเร็จ และมี stories (เรอ่ื งเล่า) ทบี่ อกทมี่ าที่ไปได้” พสี่ ยุ้ ตอบ หมายถึงขอนแกน่ นิวสปริ ติ จะชว่ ยให้คนทที่ �ำงาน ดว้ ยวธิ กี ารแบบใหมท่ อี่ ยากลองท�ำแตไ่ มม่ พี น้ื ที่ ไดน้ �ำเอาความคดิ ไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ โดยประสบความส�ำเรจ็ อยา่ งนอ้ ยสามพนื้ ท่ี พน่ี ยุ้ จงึ ใหพ้ สี่ ยุ้ ลองยอ้ นมองดวู า่ หาก จะท�ำเปา้ หมายสามปที พี่ ส่ี ยุ้ ก�ำหนดใหเ้ ปน็ จรงิ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ จะตอ้ งท�ำอะไรบา้ ง และเจ็ดเดือนท่ีท�ำงานกับโครงการผู้น�ำแห่งอนาคตควรมีแผนงานอย่างไรเพ่ือ ตอบเป้าหมายสามปที ่ตี ง้ั ไว้ พส่ี ยุ้ ตอบวา่ ในเจด็ เดอื นนพี้ ส่ี ยุ้ วางแผนจะท�ำเวทกี ารอบรมสองครงั้ ครง้ั แรกเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย คร้ังท่ีสองเพ่ือค้นหาคนท่ีสนใจ มาร่วมโครงการอย่างจริงจัง และเริ่มเข้าไปช่วยท�ำให้ความคิดในการแก้ปัญหา สังคมเหล่าน้ันเกิดข้ึนจริงได้ โดยทางขอนแก่นนิวสปิริตอาจจะให้ทุนสนับสนุน การท�ำกิจกรรมบางส่วน พ่ีสุ้ยมองว่าถ้าส�ำเร็จจะท�ำให้ขอนแก่นนิวสปิริตเป็นที่ รู้จกั มคี นอยากเข้าร่วมมากข้นึ และชว่ ยสร้างความมั่นใจให้กับเครอื ขา่ ย “งานพคี่ ล้ายหนูมากเลย” พ่นี ยุ้ พดู อยา่ งตืน่ เต้น และบอกว่างานของพ่ี สุ้ยคลา้ ยกบั งานของ School of Changemakers ทชี่ ว่ ยฟมู ฟกั ให้คนท่ตี ้องการ สร้างความเปล่ียนแปลงทางสงั คมเปล่ียนความคดิ ของตนเองใหเ้ ป็นจรงิ 7 แมว้ า่ จะมคี ลา้ ยคลงึ กนั ในแงข่ องการเสรมิ ศกั ยภาพคนท�ำงานเชงิ สงั คม ผู้เขียนมาทราบทีหลังว่าการนิยามความส�ำเร็จและการวัดผลความส�ำเร็จในการ ท�ำงานกับพ้ืนท่ีของพ่ีนุ้ยและพ่ีสุ้ยไม่เหมือนกันเลย ส�ำหรับพ่ีนุ้ยความส�ำเร็จคือ การทีข่ อนแกน่ นิวสปริ ติ สามารถผลติ ช้นิ งานอย่างเป็นรปู ธรรม เช่น แบบจ�ำลอง ที่น�ำไปใช้ต่อได้ หรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหา เป็นความส�ำเร็จบนฐานการ 7 พ่นี ุ้ยเรยี กบทบาทหนา้ ท่ีแบบนีว้ ่า Incubator การเรยี นรู้ร่วมกนั และการปะทะสังสันทนท์ างความคดิ บนพื้นทข่ี อนแก่นนิวสปริ ิต 139
มผี ลสมั ฤทธิ์ ส�ำหรบั พส่ี ยุ้ ความส�ำเรจ็ ของขอนแกน่ นวิ สปริ ติ นา่ จะมฐี านอยทู่ ก่ี าร เรยี นร้แู ละเปลยี่ นแปลงของเครือขา่ ย เชน่ การตระหนกั ถงึ วงจรการท�ำงานของ ตนเอง ความกลา้ กา้ วข้ามกรอบเดมิ ๆ สวู่ ิธีคิดใหม่ๆ กลบั มามไี ฟอีกครั้งหลงั จาก หมดไฟ รวมถงึ การทเี่ ครอื ขา่ ยมองเหน็ ความจ�ำเปน็ ของการขบั เคลอื่ นสงั คมนอก เหนือจากหนา้ งานทตี่ นเองมีอยู่ เปน็ ตน้ เน่ืองจากความส�ำเร็จส�ำหรับพี่นุ้ยคือผลงานที่เป็นรูปธรรม พ่ีนุ้ยจึงให้ ความส�ำคัญอย่างมากที่องค์กรจะต้องนิยามอย่างชัดเจนว่าตนเองจะเป็นอะไร เพราะการนยิ ามจะก�ำหนดวา่ ผลส�ำเรจ็ ทค่ี าดหวงั คอื อะไร ท�ำใหเ้ ปา้ หมาย ตวั ชวี้ ดั ความส�ำเรจ็ และกิจกรรมที่ท�ำเปลย่ี นแปลงตามไปดว้ ย ตัวอย่างเช่น ในกรณีของพ่ีสุ้ย พ่ีนุ้ยถามพี่สุ้ยว่า สรุปแล้วขอนแก่น นิวสปริตจะเลือกกลยุทธ์การท�ำงานแบบไหนระหว่างการสร้างชุมชน (com- munities) ซง่ึ ตามนยิ ามของพน่ี ยุ้ หมายถงึ การจดั พน้ื ที่ ใหค้ นไดเ้ จอกนั เชอ่ื มโยง กัน เรียนรู้ด้วยกัน จดั พื้นท่สี �ำหรบั การเรียนรูเ้ ครอ่ื งมอื และองคค์ วามรู้ใหมๆ่ ไป เร่ือยๆ แต่ไม่ต้องพยายามไปผลักดันให้เกิดการรวมตัวเป็นชุมชนหรือท�ำให้เกิด การท�ำงานดว้ ยนวตั กรรมใหมๆ่ รอใหพ้ น้ื ทสี่ รา้ งชมุ ชนขน้ึ มาเองถา้ มคี วามพรอ้ ม หรอื เลอื กทจี่ ะเปน็ ผฟู้ มู ฟกั (incubator) ทต่ี อ้ งพยายามผลกั ดนั ใหเ้ กดิ คนทส่ี รา้ ง ความเปล่ียนแปลงได้จริงให้ได้ ต้องหาคนที่มีศักยภาพ และใส่กระบวนการน�ำ ความคิดของคนกลุ่มนี้ไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลส�ำเร็จ ซ่ึงพ่ีนุ้ยยืนยันว่าพ่ีสุ้ยจะ ตอ้ งนิยามตนเองออกมาอย่างใดอยา่ งหนึ่ง การนิยามตนเองท่ีต่างกันจะน�ำไปสู่การก�ำหนดตัวชี้วัดที่ต่างกันด้วย เชน่ หากพส่ี ยุ้ เลอื กเปน็ ชมุ ชนตวั ชว้ี ดั อาจจะเปน็ การพจิ ารณาวา่ ชมุ ชนทเ่ี ราสรา้ ง เตบิ โตหรอื มสี มาชกิ มาเขา้ รว่ มเพมิ่ เตมิ มากขน้ึ เทา่ ไร แตถ่ า้ เลอื กเปน็ incubator กจ็ ะตอ้ งพจิ ารณาวา่ ขอนแกน่ นวิ สปริ ติ สรา้ งนกั เปลย่ี นแปลงทางสงั คมทส่ี ามารถ สร้างการเปลี่ยนแปลงไดจ้ รงิ ได้รวมแล้วกค่ี น พนี่ ยุ้ บอกวา่ การนยิ ามตนเองอยา่ งชดั เจนนย้ี งั มปี ระโยชนใ์ นการสอื่ สาร 140 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม
เพือ่ หาทุน เพราะจะท�ำให้คนใหท้ นุ รูว้ ่าเราเป็นใคร ท�ำอะไร และส่งิ ท่เี ราท�ำจะ สรา้ งการเปล่ยี นแปลงได้อยา่ งไรอยา่ งชัดเจน ความชัดเจนของยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืนเป็นอีกส่ิงหน่ึงท่ีพ่ีนุ้ย คุยกับพ่ีสุ้ย ส�ำหรับพี่นุ้ยความย่ังยืนคือการมีเงินทุนท�ำงาน พ่ีนุ้ยพยายามช่วย พีส่ ุย้ คิดว่าจะมกี ลยทุ ธในการหาทรัพยากรอยา่ งไร และชว่ ยวินจิ ฉัยวา่ มีช่องทาง ใดที่พ่ีสุ้ยจะเข้าไปหาแหล่งทุนได้บ้าง ซ่ึงลักษณะของการสร้างความย่ังยืนน้ัน พ่ีนุ้ยกล่าวว่าข้ึนอยู่กับการนิยามตนเองของพ่ีสุ้ยอีกเช่นกัน เช่น หากเป้าหมาย ของพี่สยุ้ คอื การสรา้ งความยง่ั ยนื พส่ี ยุ้ จะตอ้ งใชเ้ วลาสามปนี ส้ี รา้ งตวั เองใหก้ ลาย เปน็ คนทถี่ า้ ใครคดิ ถงึ นวตั กรรม และการแกป้ ญั หาสงั คมดว้ ยวธิ กี ารใหมๆ่ จะตอ้ ง เขา้ ไปหา แต่ถ้าจะท�ำเช่นน้ีพ่ีนุ้ยแนะน�ำว่า ขอนแก่นนิวสปิริตจะต้องใช้รูปแบบ การปฏิบัติการแบบ “connector” หมายถึงพ่ีสุ้ยจะต้องรู้จักทุกคน เข้าใจผู้มี บทบาทในเมอื งขอนแกน่ ทกุ คน รวมคนได้ สรา้ งเครอื ข่ายกวา้ ง เพอ่ื หาทุนจาก เครอื ขา่ ยเหล่านัน้ ไมใ่ ช่รปู แบบปฏิบัตกิ ารเสรมิ ศักยภาพอย่างทพ่ี สี่ ยุ้ เสนอไปใน ตอนแรก “พี่สุ้ยต้องลองดูว่าขอนแก่นก�ำลังจะมีเทรนด์อะไรท่ีก�ำลังเป็นที่สนใจ ภาคธุรกจิ หรอื แหลง่ ทนุ สนใจประเด็นไหน ก�ำลังเล่นเรื่องอะไร และโครงการทพี่ ี่ ส้ยุ ท�ำจะไปดึงความสนใจของคนเหล่าน้ียงั ไง พสี่ ุ้ยตอ้ งเจอคน และไปขายไอเดีย และภาพฝนั สดุ ทา้ ยคะ่ อยา่ ท�ำงานโดยไมเ่ ลา่ เรอื่ งเดด็ ขาด” พน่ี ยุ้ กลา่ วอยา่ งมงุ่ มน่ั “ต้องไปขายเลยเหรอ พ่ีไม่ค่อยถนัดนะ” พ่ีสุ้ยที่ดูเหมือนจะรับฟังพี่ นุ้ยด้วยดีมาตลอดตอบด้วยน�้ำเสียงเจือปนความลังเล หลังจากฟังรายการส่ิงท่ี ตนเองควรต้องท�ำเพ่ือหาทุน และให้เหตุผลว่าการท�ำตามรูปแบบท่ีพี่นุ้ยเสนอ จะเปน็ การจบั งานเกนิ ก�ำลังเมอื่ เทียบกับเวลาและทรพั ยากรทพ่ี ีส่ ้ยุ มีอยู่ และยัง ไม่แน่ใจว่าจังหวะของของการท�ำงานขอนแก่นนิวสปิริตควรจะไปช้าไปเร็วมาก แคไ่ หนเพราะยังอย่ใู นชว่ งการก่อตง้ั งานและเรยี นรพู้ ้ืนที่ ผู้เขยี นจ�ำไมไ่ ด้วา่ พีน่ ุ้ย การเรียนรรู้ ่วมกนั และการปะทะสังสนั ทนท์ างความคดิ บนพืน้ ทข่ี อนแกน่ นวิ สปิริต 141
ตอบพสี่ ยุ้ วา่ อยา่ งไร แตห่ ลงั จากนน้ั พนี่ ยุ้ พน่ี ก และ School of Changemakers ไมเ่ คยพดู ถึงการชว่ ยหาเงินแก่ขอนแกน่ นวิ สปริ ิตอีกเลย เม่ือผู้เขียนได้สัมภาษณ์พ่ีสุ้ยในภายหลัง ผู้เขียนตระหนักว่าความลังเล ที่เกิดขึ้นน้ีเกิดจากความคาดหวังของพ่ีสุ้ยต่อพี่นุ้ยอาจจะไม่ตรงกับบทบาทท่ี พี่นุ้ยมองว่าตัวพี่นุ้ยเองควรจะท�ำ พ่ีสุ้ยมองว่าการท�ำงานร่วมกับ School of Changemakers เป็นโอกาสของการเรียนรู้เครื่องมือหรือวิธีการท�ำงานใหม่ๆ ทนี่ า่ จะน�ำเอามาใช้ท�ำงานกบั คนภาคประชาสังคมได้ เชน่ เครื่องมอื ส�ำหรบั มอง และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และช่วยส�ำรวจว่าจากทรัพยากรท่ีมีอยู่เราจะ สามารถเป็นฟนั เฟืองในการแกป้ ัญหาได้อย่างไร แต่ส�ำหรบั พน่ี ุ้ยมองวา่ บทบาท ของตนเองคือการน�ำกระบวนทัศน์แบบผู้ประกอบการมาใช้กับการท�ำงานของ องค์กรภาคสังคมทุกขั้นตอน พ่ีนุ้ยจึงให้ความส�ำคัญอย่างมากกับสิ่งที่พ่ีนุ้ยคิด ว่าพ่ีสุ้ยควรท�ำเพ่ือก่อร่างองค์กร และใช้เวลาเจ็ดเดือนนี้ให้คุ้มค่าท่ีสุดเพื่อท�ำ เป้าหมายสามปีทีพ่ สี่ ุย้ วางไว้เป็นจริง “มคี วามฝนั ในอนาคตกอ็ ยากจะท�ำเปน็ SE แตไ่ มไ่ ดห้ มายถงึ เจด็ เดอื นน้ี นะ ตอนนน้ั คดิ แคว่ า่ ไอเดยี SE นา่ เรยี นรู้แลว้ กเ็ อามาปรบั ใชก้ บั คนท�ำงาน” พสี่ ยุ้ บอก ผู้เขียนเคยถามพี่นุ้ยว่าในเม่ือเป้าหมายของโครงการนี้ไม่ได้หวังความ ส�ำเร็จ แต่หวังศกึ ษาการเรียนรทู้ ี่เกิดขึ้นจากการที่ผูน้ �ำ NGOs เอาแนวคิดแบบ ผู้ประกอบการไปปรับใช้กับงานของตนเท่านั้น ท�ำไมพี่นุ้ยจึงให้ความส�ำคัญ กับการสร้างผลส�ำเร็จอะไรสักอย่างในเจ็ดเดือนนี้ให้ได้ สิ่งที่พ่ีนุ้ยตอบผู้เขียนมี เน้ือความโดยสรุปว่า การคาดหวังแค่การเรียนรู้โดยไม่เห็นความส�ำเร็จที่ เป็นรูปแบบจากการลงทุนลงแรงตลอดระยะเวลาโครงการ เป็นความคาดหวัง ทปี่ ระเมนิ ศกั ยภาพของ NGOs ซง่ึ มปี ระสบการณท์ �ำงานมานานหลายปนี อ้ ยเกนิ ไป ดว้ ยความคาดหวงั ทต่ี า่ งกนั เชน่ นี้ ผเู้ ขยี นจงึ ไมแ่ ปลกใจทพี่ สี่ ยุ้ จะลงั เลตอ่ สงิ่ ทพ่ี นี่ ยุ้ พยายามใหพ้ ส่ี ยุ้ ตดั สนิ ใจหรอื ค�ำแนะน�ำตา่ งๆ ของพนี่ ยุ้ กระบวนการทพี่ ี่ นยุ้ ใช้ เชน่ โจทยค์ �ำถามตา่ งๆ ทใี่ หผ้ สู้ ยุ้ คดิ และตดั สนิ ใจ แมด้ เู หมอื นจะเปน็ ค�ำถาม 142 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชุมชน การประกอบการสังคม
ที่ไม่ได้ซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นค�ำถามท่ีท้าทายความคิดอย่างมาก ตัวพ่ีนุ้ยเองยังบอกแบบติดตลกเสมอว่ากระบวนการที่พ่ีนุ้ยใช้น้ันโหดร้าย เป็น ไปไดย้ ากทใ่ี ครจะสามารถตดั สนิ ใจในโจทยต์ า่ งๆ ทพี่ น่ี ยุ้ แจกแจงไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ ภายในเวลาการประชุมกันสามช่วั โมง โดยเฉพาะในบรบิ ทขององค์กรทเ่ี กิดใหม่ อย่างขอนแก่นนิวสปริ ิต อีกทงั้ วิธคี ดิ และกระบวนการแบบผู้ประกอบการอยา่ ง ทพ่ี น่ี ยุ้ ใชย้ ังเปน็ เรอื่ งใหมม่ ากและเปน็ สงิ่ ทเ่ี กนิ กวา่ ความคาดหมายของพสี่ ยุ้ ทไ่ี ม่ ไดค้ าดมากอ่ นวา่ เครอ่ื งมอื ของวธิ คี ดิ แบบผปู้ ระกอบการจะถกู ใชอ้ ยา่ งครอบคลมุ การท�ำงานในทุกแง่มมุ เช่นน้ี นอกจากความคาดหวงั ทต่ี ่างกนั ผู้เขยี นสังเกตวา่ ฐานคดิ ในการท�ำงาน บางประการของพ่ีนุ้ยและพ่ีสุ้ยยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างความชัดเจน ของเกณฑ์และกรอบการท�ำงาน ประเด็นหน่ึงที่พ่ีนุ้ยพยายามให้พี่สุ้ยตัดสินใจ คือก�ำหนดคุณสมบัติของคนที่มีเข้าร่วมขอนแก่นนิวสปิริตให้ชัดเจนท่ีสุดว่าคน ท่ีจะเข้าร่วมขอนแก่นนิวสปิริต ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างจึงจะเข้าร่วมได้ เช่น มีอายุต�่ำกวา่ 35 ปีเทา่ น้นั ในขณะทพี่ ีส่ ุย้ แม้จะมีคุณสมบตั ิของคนที่ตอ้ งการอยู่ ครา่ วๆ เชน่ เป็นคนพร้อมเปดิ ใจเรยี นรสู้ ่งิ ใหมๆ่ แต่พสี่ ุย้ ไม่ไดก้ �ำหนดคุณสมบตั ิ ของผเู้ ขา้ รว่ มเครอื ขา่ ยอยา่ งตายตวั พสี่ ยุ้ เลอื กใชก้ ารประเมนิ จากบรบิ ทในหลายๆ ดา้ นจากความเปน็ คนในพนื้ ท่ี และถา้ พส่ี ยุ้ เหน็ วา่ ใครมศี กั ยภาพนา่ สนบั สนนุ ใหม้ ี พนื้ ทไี่ ดท้ ดลองท�ำงาน กจ็ ะชวนมาร่วมทางสร้างเครือขา่ ย เมื่อผู้เขียนถามว่าในเม่ือไม่ได้มีเกณฑ์ที่ชัดเจนพ่ีสุ้ยมีวิธีการเลือกคนมา การเรยี นรรู้ ว่ มกนั และการปะทะสังสนั ทนท์ างความคิดบนพืน้ ทข่ี อนแก่นนวิ สปริ ิต 143
“มันเป็นเซ็นส์เลย เอ่อ...แต่ก็ไม่ใช่เซ็นส์ทีเดียว คือมันเราไป ทำ� ความรจู้ กั เขานะ่ แลว้ มนั สมั ผสั บางอยา่ งได้ มนั ไดจ้ ากการทเี่ รา ไปทำ� ความรจู้ กั เขา แลว้ เราสมั ผสั ไดว้ า่ เขามเี จตจำ� นงบางอยา่ งที่ อยากจะมา สรา้ งความเปลีย่ นแปลงให้กบั สังคม มันคือ essence (แก่นแท)้ ของกลมุ่ คน (หมายถงึ คนทพ่ี สี่ ้ยุ ชวน เข้ามาร่วมเครอื ข่ายขอนแกน่ นวิ สปริ ติ – ผเู้ ขยี น) ท่ีเราสมั ผัสได้ นะ คือมันก็คือเราด้วย เราก็มี essence แบบน้ัน แต่ในขณะ เดียวกันเราก็สัมผัส essence บางอย่างจากประสบการณ์เดิม ดว้ ยเนาะ การสรา้ ง platform แบบนเี้ นย่ี มนั ทำ� ใหส้ ง่ิ เหลา่ นเ้ี ปดิ เผยมาได้แล้วมันท�ำให้เกิดการท�ำงานขับเคลื่อนอะไรบางอย่าง ทมี่ ีคุณภาพ อนั น้คี ือประสบการณ์ทเ่ี ราตกผลึกมาและเราคิดวา่ นา่ ลองกบั คนกล่มุ น้ี” (วรรณา จารสุ มบูรณ์. สัมภาษณ,์ 16 ตุลาคม 2560) เขา้ รว่ มเครอื ขา่ ยอย่างไร พ่ีส้ยุ ตอบวา่ แน่นอนว่าตรรกะเช่นนี้เป็นตรรกะคนละแบบกันกับแนวคิดแบบผู้ ประกอบการ ความต่างนี้ยงั ท�ำใหเ้ ห็นการให้ความส�ำคญั ในส่งิ ท่ีแตกตา่ งกันของ ทงั้ สองฝ่ัง พ่ีนยุ้ ใหค้ วามส�ำคญั กบั การอยู่รอดของขอนแกน่ นิวสปิรติ จงึ แนะน�ำ แนวทางที่จะท�ำให้ขอนแก่นนิวสปิริตสามารถเกิดขึ้นและอยู่ได้ เช่น การหา พารท์ เนอร์ หรอื หากลมุ่ คนทพ่ี น่ี ยุ้ เหน็ วา่ มที รพั ยากรทจ่ี ะชว่ ยขอนแกน่ นวิ สปริ ติ ไดเ้ ขา้ มารว่ มเครอื ขา่ ย แตพ่ ส่ี ยุ้ ในเวลานน้ั ใหค้ วามส�ำคญั กบั กระบวนการและหลกั การท�ำงานที่ตนเองเช่ือ ซ่ึงพ่ีสุ้ยบอกว่าเป็นองค์ความรู้ที่กล่ันจากประสบการณ์ ท�ำงานและได้รับการพิสูจนว์ า่ ใช้ไดผ้ ล อย่างความเชอ่ื ใน essence ของคนทต่ี น สมั ผสั ท�ำใหพ้ ส่ี ยุ้ เลอื กสรา้ งเครอื ขา่ ยกบั กลมุ่ คนทพี่ ส่ี ยุ้ เชอื่ มน่ั มากกวา่ กลมุ่ คนที่ มที รัพยากรทีจ่ ะชว่ ยจนุ เจือเครือขา่ ยใหอ้ ยตู่ อ่ ไปได้ แมว้ ่ายังไมม่ คี วามชัดเจนว่า 144 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
คนกล่มุ นี้จะสรา้ งเสรมิ ขอนแกน่ นิวสปริ ิตได้อยา่ งไร แตพ่ สี่ ยุ้ เชื่อว่าถา้ สรา้ งพ้ืนที่ และกระบวนการท่ีเหมาะสมให้คนกลุ่มน้ีได้ จะท�ำให้เกิดความเปล่ียนแปลงต่อ การท�ำงานภาคสงั คมในขอนแกน่ อยา่ งมคี ณุ คา่ และถา้ ท�ำไดต้ ามทค่ี ดิ ไวข้ อนแกน่ นวิ สปิริตกจ็ ะตดิ ตลาดและมคี นยนิ ดีสนับสนนุ เอง เนื่องจากพี่สุ้ยค่อนข้างเช่ือม่ันในกระบวนการและจังหวะการปฏิบัติ งานของตนเอง ส่ิงท่ีพ่ีสุ้ยต้องการจากการท�ำงานกับโค้ชผู้ประกอบการอย่าง พีน่ ุ้ย หรอื พน่ี ก อาจจะไมใ่ ชก่ ารแนะน�ำว่าพ่สี ุ้ยตอ้ งท�ำอะไร แต่นา่ จะเป็นการให้ ค�ำแนะน�ำว่าพ่ีสุ้ยจะสามารถน�ำเครื่องมือและวิธีคิดแบบผู้ประกอบการมาเสริม กระบวนการท�ำงานแบบท่ีตนเองเช่ือได้อย่างไร หรือให้ข้อมูลที่พี่สุ้ยสามารถ น�ำไปประกอบการตัดสินใจหรือท�ำงานของตัวเองเสียมากกว่า พี่สุ้ยบอกกับ ผู้เขียนหลังจากท่แี ยกกับพีน่ ุย้ มาแล้วว่า “สงิ่ ทอ่ี ยากเรยี นรกู้ บั นยุ้ เพม่ิ เตมิ กค็ อื วธิ ที ใ่ี นการเขา้ ถงึ ทรพั ยากร แตไ่ มไ่ ดต้ อ้ งการใหน้ ยุ้ เปน็ คนไปหา เชน่ นกั ธรุ กจิ เนย่ี เขาตอ้ งการ อะไร จุดจี้ จุดท่ีเราควรขายกับเขาเน่ียควรขายแบบไหน อะไร อย่างนี้ ไม่ใช่ไปขายฝนั เฉยๆ มันจะต้องปรับเปลยี่ นบางอยา่ งท่ี จะให้มันตอบโจทย์ในมุมนักธุรกิจด้วยไหม นี่คือสิ่งที่เราไม่ถนัด ไง เวลาคุณขาย product มนั ขายไดก้ ่ีวิธี ขายตวั product หรือ ขายตวั ภาพลกั ษณ์ หรอื ขายตวั ผปู้ ระกอบการ หรอื ขายอะไร เนย่ี คือสิ่งที่อยากเรียนรู้กับนุ้ยเพ่ิมเติม ไม่ได้คาดหวังให้นุ้ยหาตังค์ เอาจริงๆ คดิ อย่างงั้นเลย” (วรรณา จารสุ มบูรณ์. สัมภาษณ,์ 16 ตุลาคม 2560) การเรยี นร้รู ว่ มกันและการปะทะสงั สนั ทนท์ างความคิดบนพื้นที่ขอนแก่นนิวสปริ ติ 145
ในโลกนี้มีวิธีคิดมีหลายแบบ “หัวมากเลยเนอะ” พี่สุ้ยกับผู้เขียนพูดกันบนโต๊ะอาหารหลังจากเสร็จ สนิ้ วนั แรกของการอบรม (เวทพี ฒั นาศกั ยภาพครง้ั ที่ 1 วนั ท่ี 10 -12 พฤศจกิ ายน 2560)เก่ียวกับเครื่องมือ Impact Value Chain (IVC : ทฤษฎีสร้างความ เปลยี่ นแปลง) และ Theory of Change (ToC : หว่ งโซผ่ ลลพั ธ)์ 8 ซง่ึ เปน็ วนั แรกท่ี เราทงั้ สองคนไดเ้ จอกบั พน่ี ก และพน่ี กไดใ้ ชเ้ ครอื่ งมอื ดงั กลา่ วมาถา่ ยทอดแกพ่ ส่ี ยุ้ และคุณวรนชุ จนั ทะบรู ณ์ (ฝา้ ย) เจา้ หน้าทข่ี อนแกน่ นิวสปริ ิตอีกคนหนึง่ โดยใช้ กระบวนการเรยี นรผู้ า่ นกจิ กรรมการนงั่ อยทู่ โี่ ตะ๊ ประชมุ และระดมสมองตลอดทงั้ วนั หากกระบวนการสามชัว่ โมงที่พน่ี ุ้ยท�ำเพือ่ ช่วยพ่สี ุ้ยเขยี น proposal มคี วาม หนกั หนว่ งแลว้ การประสบกระบวนการแบบเดยี วกนั เปน็ เวลาทง้ั วนั นา่ จะท�ำให้ สมองลา้ ไดเ้ ลยทเี ดยี ว ค�ำวา่ “หวั ” ของผเู้ ขยี นและพสี่ ยุ้ เปน็ ค�ำยอ่ ของ “กระบวนการฐานหวั ” คนทท่ี �ำงานในแวดวง NGOs อย่างเราๆ มักจะแยกกระบวนการเรียนรู้ออกเป็น สามประเภท “ฐานหัว” คือกิจกรรมท่ีใช้ความคิด “ฐานกาย” คือกิจกรรมที่ ต้องใช้การขยบั เขย้อื นหรือการลงมือท�ำ และ “ฐานใจ” คือกจิ กรรมทีเ่ กี่ยวขอ้ ง กบั อารมณ์ความรสู้ ึก NGOs หลายคน โดยเฉพาะคนทท่ี �ำงานด้านกระบวนการ เรียนรู้มักมีความเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ท่ัวไปท่ีเน้นแต่ฐานการใช้ความคิด อย่างเดียวไม่ใช่กระบวนการเรียนรู้ท่ีสมบูรณ์หากแต่ต้องมีทั้งสามฐานประกอบ กัน และในหลายกรณีอย่างเช่นการจัดการความขัดแย้ง หรือการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าการใช้ การเรียนรู้ฐานหัวหรือตรรกะเหตุผลแต่ เพยี งอยา่ งเดยี วไมส่ ามารถท�ำใหบ้ รรลผุ ลได้ หลายคนถงึ กบั มองวา่ การใชฐ้ านหวั 8 ดขู อ้ มูลเพ่มิ เตมิ ในบทน�ำ 146 จุดนดั พบบนเสน้ ขนาน: ผคู้ น ชมุ ชน การประกอบการสังคม
อย่างเดยี วในการเรยี นรเู้ ปน็ วธิ กี ารเรยี นร้ทู โี่ บราณไปเสยี หนอ่ ย แต่น่ันดูเหมือน จะไมใ่ ช่สิ่งทพ่ี ี่นกคิด ตัง้ แต่วนั แรกของกระบวนการอบรม (เวทพี ัฒนาศกั ยภาพครงั้ ที่ 1 วนั ที่ 10 -12 พฤศจิกายน 2560) พน่ี กตง้ั ถาม และให้โจทย์พ่ีส้ยุ คิดเกยี่ วกบั งานของ ขอนแก่นนิวสปิริตอย่างละเอียด ตั้งแต่ให้พ่ีสุ้ยรวบรวมค�ำท่ีอธิบายว่า ขอนแก่นนิวสปิริตต้ังใจท�ำอะไรและอยากเห็นอะไรเป็นผลเกิดขึ้น แล้วเอาค�ำ เหล่านั้นมาประกอบเป็นประโยค เพ่ือที่จะท�ำให้ได้ประโยคที่แสดงความเช่ือ พื้นฐานที่แสดงการท�ำงานของเครือข่ายน้ีว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องการแก้ไข ขอนแก่นนวิ สปริ ติ จะท�ำอะไร และสง่ิ ทท่ี �ำจะแกป้ ญั หาไดอ้ ยา่ งไร (พน่ี ยุ้ เรยี กสงิ่ นี้ วา่ Theory of Change) หลงั จากนนั้ กต็ งั้ ค�ำถามอยา่ งลงรายละเอยี ดกบั ค�ำทพี่ สี่ ยุ้ เลอื กวา่ แตล่ ะค�ำมขี อบเขตแคไ่ หนอยา่ งไร เชน่ “อยากเหน็ ชมุ ชนทเ่ี รยี นรแู้ ละมี ความสขุ ” พส่ี ยุ้ บอก “มนั กวา้ งไปครบั พ”่ี พน่ี กตอบทนั ควนั “ท�ำอยา่ งมคี วามสขุ มันแปลว่าอะไรครับพี่สยุ้ ” พี่นกถามพ่ีสุ้ย หรือค�ำวา่ ความสุขตอ้ งครอบคลุมมติ ิ อะไร หมายถงึ การท่ี NGOs ไมม่ เี งินใช้พอหรอื ไม่ หรอื เปน็ ความทุกขท์ เี่ กิดจาก การหมดไฟเพราะงานทีล่ งแรงไปไมเ่ ปน็ ผล จนพ่ีส้ยุ ตอ้ งคดิ หลายตลบเพือ่ จะหา ค�ำหรอื ประโยคที่เปน็ ตัวแทนของขอนแก่นนวิ สปิริตแบบท่พี ่ีสุ้ยต้งั ใจไว้ คล้ายคลึงกันกับพี่นุ้ย ที่พี่นกต้องท�ำให้ทุกอย่างชัดเจน เพราะความ ชดั เจนของ Theory of Change จะท�ำให้ พีส่ ยุ้ ชัดเจนว่ากจิ กรรมอะไรบ้างที่ จ�ำเป็นต้องท�ำเพ่อื ให้บรรลตุ าม Theory of Change ทีพ่ ี่ส้ยุ ตงั้ ไว้ เช่น ถ้านยิ าม วา่ ผลจากการมโี ครงการคอื การมคี วามสขุ มากขน้ึ กจ็ ะตอ้ งอธบิ ายใหไ้ ดว้ า่ ความ สขุ ทนี่ ยิ ามมลี กั ษณะอยา่ งไร และกจิ กรรมทที่ �ำจะน�ำไปสคู่ วามสขุ ในนยิ ามนนั้ ได้ อยา่ งไร มคี วามเชอ่ื มโยงกนั อยา่ งไรบา้ ง จะพสิ จู นไ์ ดอ้ ยา่ งไรวา่ กจิ กรรมทท่ี �ำสรา้ ง ผลผลติ ท่ตี อ้ งการจริง อีกทงั้ แตล่ ะคนกม็ ีการตคี วามค�ำแตล่ ะค�ำไมเ่ หมือนกนั จึง จ�ำเป็นต้องท�ำใหค้ �ำทุกค�ำมรี ายละเอยี ดท่ชี ดั เจนเจาะจงท่สี ุด การเรยี นรรู้ ว่ มกนั และการปะทะสังสันทน์ทางความคดิ บนพื้นท่ขี อนแกน่ นวิ สปิริต 147
“ค�ำว่า entrepreneurship ไมไ่ ด้แปลว่าพตี่ ้องเป็น SE นะแต่ entre- preneurship คือวธิ กี ารคดิ ว่าเราใส่อะไรเขา้ ไปบ้าง และผลมนั ไดอ้ ะไรบา้ ง และ ท�ำไงให้มันได้ productivity สงู ” พ่ีนกอธิบาย แต่แน่นอนวา่ กระบวนการบี้ ค้ัน บดเพื่อท�ำให้ความชัดเจนนั้น แม้ว่าพ่ีนกจะใช้กระบวนการนี้อย่างสุภาพ และ พยายามหาวิธีช่วยพี่สุ้ยคิด ย่อมท�ำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการต้องใช้ความคิดไม่ นอ้ ย รวมถงึ อาจจะรสู้ กึ วา่ ตนเองโดนสอบสวน เมอ่ื ถกู ถามแบบนมี้ ากๆ เขา้ ท�ำให้ พ่ีสุ้ยเรมิ่ มอี าการกอดอกขมวดควิ้ เลยทเี ดียว จนบางคร้ังผู้เขยี นรู้สึกวา่ พีน่ กเป็น theory of change และ impact value chain ทีม่ ชี วี ิตและสามารถสอ่ื สาร กับมนษุ ยไ์ ด้ แตส่ ง่ิ ทน่ี า่ จะท�ำใหพ้ ส่ี ยุ้ ปวดหวั มากทสี่ ดุ คอื กระบวนการวดั ผลกจิ กรรม ท่ีเกิดขึ้น อย่างการก�ำหนดตัวช้ีวัดความส�ำเร็จ (indicators) ของขอนแก่น นิวสปิริต “ถ้ามันเกิดเครือข่ายแล้ว มีศักยภาพแล้ว มันแก้ปัญหาได้จริงแล้ว (ทั้งสามส่ิงน้ีเป็นส่ิงท่ีพี่สุ้ยระบุในฐานะเป้าหมายของขอนแก่นนิวสปริตในวันที่ เราท�ำ workshop กัน - ผู้เขียน) อยา่ งนอ้ ยต้องมตี วั ช้ีวัด (indicator) ของสาม สงิ่ น้ี อะไรทวี่ ดั วา่ เกดิ เครอื ขา่ ย ศกั ยภาพ การแกป้ ญั หาไดจ้ รงิ ในแบบทขี่ อนแกน่ นวิ สปริตถือว่าใช่” พนี่ กให้โจทย์แกพ่ ่สี ุ้ย โจทย์น้ีท�ำให้พ่ีสุ้ย ฝ้าย รวมถึงผู้เขียนต้องมาขบคิดกันอย่างหนัก แม้ บางอย่างจะสามารถตีคุณค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น คนในเครือข่ายร่วมมือ กันท�ำงานก่ีครั้ง แต่การตีค่าวิธีคิดบางอย่างที่เป็นนามธรรมและมีลักษณะเชิง คุณภาพเป็นส่งิ ที่ทา้ ทายมาก เช่น การเปน็ เครอื ขา่ ยทมี่ คี วามสมั พันธ์แบบไมท่ ้งิ ใครไวข้ า้ งหลงั การเชอื่ มโยงกนั ในระดบั แกน่ แท้ จะมตี วั ชว้ี ดั เชงิ ปรมิ าณตวั ไหนที่ พสิ จู น์ว่าขอนแก่นนวิ สปริ ิตได้สร้างเครอื ข่ายที่มคี ุณภาพในแบบทต่ี อ้ งการจรงิ ๆ ทส่ี �ำคญั ส�ำหรบั พสี่ ยุ้ การวดั เชงิ ปรมิ าณกไ็ มล่ ะเอยี ดออ่ นพอทจี่ ะสะทอ้ น คณุ สมบตั ทิ ขี่ อนแกน่ นวิ สปริ ติ ควรจะเปน็ อยดู่ ี เพราะพสี่ ยุ้ ไมไ่ ดใ้ หค้ วามส�ำคญั แค่ การสรา้ งเครอื ขา่ ยใหเ้ กดิ ขนึ้ และอยรู่ อดอนั สามารถประเมนิ ผลในเชงิ ปรมิ าณได้ 148 จุดนดั พบบนเส้นขนาน: ผู้คน ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
แต่ต้องเป็นเครอื ขา่ ยที่มีคณุ ภาพและลักษณะเฉพาะบางอยา่ งด้วย มบี างงานทพี่ ส่ี ยุ้ บอกวา่ เปน็ งานทสี่ �ำคญั แตพ่ น่ี กไมเ่ หน็ ดว้ ยกบั ขอบเขต งานทพ่ี ส่ี ยุ้ ตอ้ งการ หรอื ตวั ชว้ี ดั ทพ่ี สี่ ยุ้ ก�ำหนด อยา่ งเชน่ พสี่ ยุ้ ตอ้ งการชวน NGOs ให้ขบคิดเก่ียวกับคุณภาพชีวิตของตนเองโดยก�ำหนดขอบเขตหน้าที่ของตนเอง ไว้เฉพาะการจดั พน้ื ที่ให้เกิดกระบวนการเรียนรขู้ ้ึน แตเ่ ชอ่ื ว่าตนเองไม่ควรไปตงั้ มาตรฐานว่าสงิ่ ทคี่ นในเครือข่ายตอ้ งเป็นหรือเปล่ยี นแปลงคืออะไรเหมือนคนใน เครอื ขา่ ยเปน็ พนกั งานในบรษิ ทั ส�ำหรบั พสี่ ยุ้ ผลทพ่ี สี่ ยุ้ คาดหวงั และตวั ชวี้ ดั ทค่ี วร ใช้คือการท�ำให้เครือข่ายเกิดความตระหนักหรือมีวิธีคิดใหม่ท่ีจะนึกถึงคุณภาพ ชีวิตและสิทธิของตนเองโดยไม่รู้สึกผิด แต่พ่ีนกให้ความเห็นว่าการที่พี่สุ้ยต้ังตัว ชวี้ ดั ของกจิ กรรมนไ้ี วท้ คี่ วามตระหนกั รนู้ น้ั ไมไ่ ดแ้ สดงถงึ ความเปลย่ี นแปลงอะไร พนี่ กยกตวั อยา่ งวา่ ถา้ ไปถามผบู้ รหิ ารองคก์ รวา่ อยากใหพ้ นกั งานไดเ้ งนิ เดอื นเพมิ่ ขน้ึ ไหม แลว้ ผบู้ รหิ ารตอบวา่ อยากใหพ้ นกั งานมเี งนิ เดอื นมากยง่ิ ขนึ้ เพยี งแตไ่ มม่ ี เงินเพยี งพอทจี่ า้ งได้ ก็ถอื ไดว้ า่ ผ้บู รหิ ารตระหนกั รู้แล้วและเป้าหมายท่พี ่สี ุ้ยตงั้ ก็ บรรลแุ ลว้ หรือไม่ แต่ถ้าตอ้ งการเห็นความเปลย่ี นแปลงจรงิ ๆ พ่นี กคดิ ว่าภารกิจ ของขอนแก่นนิวสปิริตคือการค้นหาว่าจะมีวิธีการอย่างไรท่ีท�ำให้องค์กรเหล่า นี้จ่ายผลตอบแทนและสวัสดิการท่ีดีขึ้นแก่เจ้าหน้าที่องค์กร ซึ่งจะเป็นงานที่มี ขอบเขตเกนิ กว่าความตัง้ ใจของพ่ีส้ยุ พน่ี กและพสี่ ยุ้ ถกเถยี งแลกเปลย่ี นในประเดน็ นไี้ ปอกี ระยะหนงึ่ โดยพสี่ ยุ้ ยืนยันว่าสิ่งที่เหมาะสมส�ำหรับเครือข่ายในขณะนี้คือการท�ำกิจกรรมที่คาดหวัง ผลในระดบั การสร้างความตระหนกั รู้ ในขณะท่ีพี่นกยืนยันวา่ เป้าหมายของงาน ไมค่ วรจะจบที่การสร้างความตระหนักรู้ แต่ตอ้ งท�ำใหเ้ ห็นผลการเปลยี่ นแปลงท่ี สามารถวดั ไดจ้ รงิ และถา้ ไม่สามารถท่ีจะวัดผลกระทบจริงๆ กค็ วรเอางานส่วน นอ้ี อกจากเปา้ หมายของขอนแกน่ นวิ สปรติ จนถงึ จดุ หนงึ่ พน่ี กพดู วา่ “เหมอื นพที่ �ำแคมเปญอยดู่ กี นิ ดแี ลว้ จบ พถี่ อื วา่ พ่ี complete แลว้ พีก่ ไ็ ม่เดอื ดร้อนแลว้ เพราะพไ่ี ด้ท�ำไปแล้ว เจ้าของรับรู้ละวา่ การเรียนรู้ร่วมกันและการปะทะสังสันทน์ทางความคิดบนพ้นื ทข่ี อนแก่นนวิ สปิริต 149
อยากท�ำแต่ไม่รู้ว่าจะท�ำยังไง สถานการณ์แบบนี้เกิดข้ึนต่อไปเรื่อยๆ ถ้าพี่โอเค แบบนี้กใ็ ส่แบบนน้ั ” “อมื ” พีส่ ยุ้ ตอบพี่นกด้วยค�ำสนั้ ๆ ค�ำเดยี ว จะเห็นได้ว่าพี่สุ้ยกับพ่ีนกให้ความส�ำคัญกับสิ่งท่ีแตกต่างกัน พี่นกให้ ความส�ำคัญกับผลกระทบ พ่ีนกคาดหวังว่าทุกๆ อย่างที่องค์กรเลือกท�ำจะต้อง ถกู คดิ ใหค้ รบกระบวนจนเหน็ ผลลพั ธ์ พนี่ กยกตวั อยา่ งวา่ ในการสอื่ สารการตลาด ผลลพั ธท์ ถ่ี กู วดั จะไมใ่ ชแ่ คก่ ารทค่ี นรจู้ กั สนิ คา้ มากขน้ึ แตห่ มายถงึ สนิ คา้ มสี ว่ นแบง่ ตลาดเพิม่ มากขึ้น และถ้าไมส่ ามารถสร้างผลกระทบออกมาอย่างแนช่ ดั ได้ พนี่ ก มองว่าสิ่งๆ นั้นอาจจะไม่ใช่พันธกิจขององค์กรและควรถูกน�ำเอาจากวิสัยทัศน์ ขององค์กร ในขณะท่ีพี่สุ้ยเช่ือถือชุดกระบวนการท�ำงานที่ตนเองเชื่อมากกว่า การผลิตผลลัพธ์ท่ีคาดคะเนได้ ท�ำให้ส�ำหรับพ่ีสุ้ยสิ่งที่เลือกท�ำไม่ได้จ�ำเป็นต้อง ประสบความส�ำเร็จในระดบั เดยี วกัน บางอย่างอาจจะมผี ลเปน็ จ�ำนวนอย่างเปน็ รปู ธรรมไดท้ นั ที แตบ่ างอยา่ งอาจจะเปน็ กระบวนการเรยี นรทู้ ยี่ งั ไมแ่ นว่ า่ จะเหน็ ผลอยา่ งไรแตก่ น็ า่ สนใจทจี่ ะทดลองท�ำ พส่ี ยุ้ เหน็ วา่ กจิ กรรมทงั้ สองระดบั นด้ี �ำเนนิ ไปพรอ้ มๆ กนั ได้ บางกจิ กรรมยงั ไมต่ อ้ งเหน็ ภาพทชี่ ดั เจนทะลปุ รโุ ปรง่ แตส่ ามารถ ใช้กระบวนการท�ำงานแบบท�ำไปเรียนรู้ไปได้ บริบทเช่นน้ีเองท่ีน่าจะเป็นฐาน ท�ำใหเ้ กดิ การถกเถยี งระหว่างพ่สี ุ้ยและพีน่ กในเวลาต่อมา “วิธีคิดท่ีท�ำงานบนโลกนี้มันมีมากกว่าหนึ่ง อันนี้เป็นแค่วิธีคิดหนึ่ง พี่ ก�ำลงั จะบอกอย่างนั้น อนั น้ีเปน็ วิธคี ดิ หน่ึงซ่ึงพ่เี คยลองใช้มาเกอื บ 30 40 ปีแล้ว ล่ะ แล้วพ่ีก็รู้สึกเบ่ือวิธีคิดอันน้ีแล้ว พี่รู้สึกอยากจะออกจากแค่วิธีคิดอันน้ีแล้ว นะ” พี่สุ้ยบอกพี่นกถึงความคิดของตัวเองต่อกระบวนการการชี้วัดผลท่ีต้องตี ค่าทุกอย่างออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งเป็นวิธีคิดที่พ่ีสุ้ยคุ้นเคยเน่ืองจากพี่สุ้ยท�ำงาน ในแวดวงวิชาการมา พ่ีสุ้ยเห็นท้ังประโยชน์และจุดอ่อนของวิธีคิดแบบน้ี โดย เฉพาะการใชว้ ธิ ีคดิ แบบน้ีกับการท�ำงานในพนื้ ท่ที ม่ี ีความซับซอ้ น ไมส่ ามารถน�ำ เอาตัวชี้วัดที่ท�ำให้ทุกอย่างเป็นดัชนีมาใช้แต่เพียงอย่างเดียว พ่ีสุ้ยต้องท�ำงาน 150 จุดนัดพบบนเส้นขนาน: ผ้คู น ชมุ ชน การประกอบการสงั คม
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392