Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เรื่องเล่าตามบ้านเรา...ตามรอยเท้าพ่อ

เรื่องเล่าตามบ้านเรา...ตามรอยเท้าพ่อ

Description: เรื่องเล่าตามบ้านเรา...ตามรอยเท้าพ่อ.

Search

Read the Text Version

สารบญั ค�ำนำ� ๖ จาก “รายอ ซแี ย” ถึง “รายอ กตี อ” ๑๐ จาก “พระราชาแห่งสยาม” ถงึ “พระราชาของเรา” ระดบั ประถมศกึ ษา ๑๕ รางวลั ชนะเลศิ วิชยตุ ม์ สกลุ วศิ ลั ย ์ ๑๗ “หอ่ หมก พอเพยี งตามรอยพอ่ ” ชลิดา พลพงษ ์ ๒๑ รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดบั ๑ ๒๓ “ทหารผู้วางปืนไปปลกู ปา่ ” ซามีรา อมู า ๒๖ รางวลั รองชนะเลิศอันดับ ๒ ๒๙ ๓๒ “พระผูท้ รงท�ำทุกอยา่ ง” อามณี าย์ ดาโอะ ๓๕ มิสบะห์ แลแมแล ๓๙ รางวัลชมเชย มฮู ำ� หมัดอฟั นันท์ การยิ า ๔๑ ฟาตฮี ะห์ เจะกะบาซอ ๔๖ “เทย่ี วไปในวันหยดุ ” “เรอื่ งเลา่ จากบา้ นเรา...ตามรอยเท้าพอ่ ” รุสมยี ์ หะมะ “ในหลวงในดวงใจ” ฮานฟี บอื ราเฮง “ในหลวงผู้ไม่ยอ่ ทอ้ ต่ออปุ สรรค” มาซวนิ วฒุ ศิ าสตร์ “พ่อผ้มู ีบุญคณุ อันใหญ่หลวง” “ในหลวงผ้ทู รงเมตตา” รอยมี เลาะแม ๔๘ “ตามรอยเท้าพอ่ ๓๘๑ โครงการบน อนิ ฟามี ดาเอะ๊ ๕๑ ปลายด้ามขวาน” อฟั นาน กะลแู ป ๕๔ “เก็บน�ำ้ สร้างดินทีป่ ลายด้ามขวาน” “กา้ วยา่ ง ตามทางของพอ่ หลวง” “เรื่องเลา่ จากบ้านเรา...ตามรอยเทา้ พ่อ”

ระดบั มัธยมศกึ ษา ๕๗ รางวัลชนะเลศิ อติรจุ ดอื เระ ๕๘ “เร่ืองเล่าแหง่ แรงบันดาลใจ” สุธาวณี กลุ สันตติ ๖๓ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ฮาซานา หะยดี อเล๊าะ ๖๙ “ความทรงจ�ำของฟูฟู” อุสมาน วาเต๊ะ ๗๓ โซฟียะห์ หะยีมะเด็ง ๗๙ รางวลั รองชนะเลิศอนั ดบั ๒ ๘๕ ปวรศิ า ใจใหญ่ ๙๐ “เหตุผลของหยดน้ำ� ” กมลชนก ศรีสรุ างค ์ ๙๘ ๑๐๕ รางวลั ชมเชย นูรีดา เจ๊ะอุมา ๑๑๐ ธดิ ารัตน์ สียา ๑๑๕ “เหตุเกิด ณ พ้นื ทส่ี แี ดง” ซูไฮลา เซะมิง ๑๒๕ “กินดี อยดู่ ี ด้วยความพอมีพอกิน” อคิราภ์ เหมทานนท์ ๑๓๑ “เหตุผลทท่ี �ำเพือ่ ส่วนรวม” รอมฎอน เบญ็ โกบ “ม”ี ณัฐพร สุจิตะพันธ์ “การใหท้ ี่ไมห่ วงั ...ผลตอบแทน” “ฮีโรผ่ ้ไู รพ้ ลังวิเศษ” ๑๓๙ “เสียงเรียกจากปลายดา้ มขวาน” “รอ้ ยเรื่องราว กา้ วตามรอยเท้าพอ่ ” ๑๔๐ “รอยเทา้ พอ่ ...ถักทอฝนั ” ๑๔๗ “สานฝันตามรอยพอ่ สานต่อท่ีพอ่ ท�ำ” การียา ยโู ซ๊ะ ๑๕๗ ระดับอุดมศกึ ษาและประชาชนท่ัวไป รางวัลชนะเลิศ อนสุ รณ์ ศรคี ำ� ขวญั “พระเจ้าตายแลว้ ” รางวลั รองชนะเลิศอันดบั ๑ จรรยา สวุ รรณ์ “ชีวติ ที่เกิดใหม่” รางวัลรองชนะเลิศอนั ดับ ๒ “สวนหลงั บา้ นของอาลมี ะ”

รางวัลชมเชย ๑๗๐ ๑๗๙ “เรียงความของลูก” อับดลุ เลาะ หวันมามะ ๑๘๗ “สายน้ำ� ...” ดารารัตน์ เอย่ี วสานุรกั ษ์ ๑๙๗ “ในรอยจ�ำ” ๒๑๔ “ดาวของพอ่ ” วินยั เพชรอไุ ร ๒๒๐ “สองเทา้ ที่กา้ วเดนิ ” จรัสศรี รงุ่ วชิ านวิ ัฒน์ ๒๒๕ “ทหารของพระราชา A few The proud” ๒๓๘ “พระราชากบั ชายชราแหง่ ปะเสยะวอ” ซเู ฟยี น มณีหิยา “วสธุ าสปั ระยทุ ธ”์ แซนด์ สว้ มซึม มานพ แกว้ สนิท รติธรณ ใจห้าว กวนี ิพนธ์ ๒๔๕ รางวลั ชนะเลิศ นพฤทธิ์ ขวัญสรุ ตั น ์ ๒๔๗ “ราชนั ผบู้ ันดาล” ศักดา ไชยภาณุรักษ ์ ๒๔๙ รางวัลรองชนะเลิศอันดบั ๑ ๒๕๑ “ของขวญั จากก้านไม”้ ธนนั ทร์ แดงดษิ คีรี รางวัลรองชนะเลิศอันดบั ๒ ชมพู พรรลาย ๒๕๓ “เหตแุ ห่งรกั ของชาวสายบรุ ี” ซเู ฟียน มณีหยิ า ๒๕๕ ฉัตรปกรณ์ กำ� เหนิดผล ๒๕๗ รางวลั ชมเชย จรรยา สุวรรณ ์ ๒๖๐ “ใต้หยาดละอองฝน” ๒๖๓ ทัศนบุรนิ ทร์ ๒๖๕ “ศาสตร”์ น�ำชีวติ จา่ เอกอดิศร จันทรวัฒน์ ๒๖๗ น�ำ้ พระทัยไหลสู่ “คลองอา่ งแตก” ๒๖๙ “เราตา่ งแตกกิ่งกา้ นจากสง่ิ ท่ีพ่อสอน” ชาปไี หน ๒๗๑ “ด้วยรกั ...ภักดี...พระบารมนี ิรนั ดรก์ าล” ทวศี กั ดิ์ วงศก์ รี ติเมธาว ี ๒๗๓ “ใตร้ ่มพระบารมี ชบุ ชวี ีชายแดนใต”้ “เมอ่ื เวลาผ่าน” อษั ราพงค์ ฉิมมณี “ตามรอยเท้าพอ่ ...รู้พอเพยี ง” กันตภณ รกั คำ� มี “ดนิ ของพอ่ ” “แสงหน่ึงในทรงจ�ำของผู้เฒ่า”

เรอ่ื งเล่าจากบ้านเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๕๔๓-๕๓๙-๐ ท่ีปรกึ ษา วิมลลกั ษณ์ ชูชาติ ผอู้ �ำนวยการส�ำนกั งานศิลปวัฒนธรรมรว่ มสมัย ศิรพิ รรณ ทองเจิม รองผอู้ �ำนวยการส�ำนักงานศิลปวฒั นธรรมร่วมสมัย นาถนศิ า สขุ จิตต์ ที่ปรึกษาด้านส่งเสรมิ ศลิ ปะร่วมสมยั สุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อ�ำนวยการศูนยเ์ ครือข่ายสมั พนั ธแ์ ละแหลง่ ทนุ ศศิพร ปาณิ กบตุ ร ผอู้ ำ� นวยการกองติดตามและประเมินผล สำ� นักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ (กปร.) บรรณาธิการ ผชู้ ว่ ยบรรณาธิการ ขจรฤทธ์ิ รกั ษา กองบรรณาธิการ วีระศักดิ์ จันทรส์ ง่ แสง แสงทิวา นราพิชญ์ ณัฏฐกิ า ณ ระนอง ปณุ รดา แสงสมบูรณ์ วจั ณยี ์ สุขสนั ทดั อัมรินทร์ เจะอาลี ภาพปก ณายบิ อาแวบือซา ออกแบบ ฐริ วรรณ ชอู ารยะประทีป ขอขอบคณุ ภาพประกอบ สมมาตร เทพพรหม ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ นิอามัน นเิ ดร์หะ บือราเฮง เจะโวะ มูฮัมหมัดสอบรี แวสุหลง มกุ ฎา ชูชว่ ยคำ� ตนั ติกร ผู้เจริญทรัพย์ นครินทร์ ชนิ วรโกมล พงศธร ชฤศิษฐ์ ณายบิ อาแวบอื ซา วีระศกั ดิ์ จันทรส์ ่งแสง จำ� นวนพมิ พ์ ๕,๐๐๐ เล่ม ปีที่พมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ จดั ท�ำโดย สำ� นกั งานศลิ ปวัฒนธรรมรว่ มสมัย กระทรวงวฒั นธรรม เลขท่ี ๑๐ ถนนเทยี มร่วมมิตร แขวงหว้ ยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ www.ocac.go.th โทร. ๐๒-๒๐๙-๓๗๕๓

๖ “เรือ่ งเล่าจากบ้านเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” ค�ำ นำ� สำ� นกั งานศลิ ปวฒั นธรรมร่วมสมยั กระทรวงวฒั นธรรม ไดด้ ำ� เนนิ การ จดั ประกวดงานเขยี นในพน้ื ทช่ี ายแดนใต้ ซงึ่ ดำ� เนนิ การอย่างต่อเนอ่ื ง มาเป็นปที ่ี ๔ ภายใต้แนวคิดเพื่อเสริมสรา้ งความรู้ ความเข้าใจ ในวถิ ชี วี ติ วฒั นธรรมของพน้ื ที่ ๕ จงั หวดั ชายแดนใต้ ผ่านกระบวนการ สร้างสรรค์ทางวรรณศลิ ป์ รวมทัง้ สร้างเครอื ขา่ ยการมีส่วนรว่ มของ เยาวชน และประชาชนในพน้ื ทใ่ี นฐานะนกั เขยี นหน้าใหม่ในการสะทอ้ น เร่ืองราว ชีวิต ชมุ ชนของตนให้สังคมภายนอกได้รบั รูแ้ ละเข้าใจ การประกวดงานเขยี นในปีน้ี ได้กำ� หนดหวั ขอ้ เรอ่ื งเล่าจากบ้านเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ เพอื่ รำ� ลกึ ถงึ พระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร ในพน้ื ทช่ี ายแดนใต้ จำ� แนกรปู แบบการประกวดเปน็ ๓ ประเภท ได้แก่ เรยี งความสำ� หรบั เยาวชนในระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษา เรอ่ื งสน้ั สำ� หรบั เยาวชน ในระดบั อดุ มศกึ ษาและประชาชนทว่ั ไป และเปน็ ครง้ั แรกทจี่ ดั ใหม้ กี าร ประกวดกวนี พิ นธ์ ทง้ั ฉนั ทลกั ษณ์ และไรฉ้ นั ทลกั ษณ์ โดยไม่จำ� กดั อายุ เพือ่ ส่งเสรมิ ใหเ้ กิดงานเขียนในรปู แบบทีห่ ลากหลาย มีผู้สง่ ผลงาน เขา้ ประกวดรวมทง้ั สน้ิ ๑๘๙ ผลงาน แบง่ เป็น ระดับประถมศกึ ษา ๓๑ ผลงาน ระดบั มธั ยมศึกษา ๕๓ ผลงาน ระดับอดุ มศกึ ษาและ ประชาทัว่ ไป ๕๗ ผลงาน และกวนี พิ นธ์ (ไมจ่ ำ� กดั อายุ) ๔๘ ผลงาน กระบวนการคดั สรรผลงานเพอื่ รบั รางวลั นนั้ เบอ้ื งต้นจะมคี ณะกรรมการ คัดสรรซ่ึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณศิลป์ในพื้นที่คัดสรรผลงาน เพื่อเขา้ รอบ และคณะกรรมการตัดสินซึ่งเปน็ ผูท้ รงคุณวุฒิทงั้ จาก พืน้ ทแ่ี ละในสว่ นกลาง รวมถงึ ศลิ ปนิ แห่งชาติ และศิลปนิ ศลิ ปาธร

“เรื่องเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๗ สาขาวรรณศิลป์ ร่วมกันพิจารณาผลงาน ทั้งน้ี กรอบแนวคิดการ ประกวดในปีน้ีคอ่ นข้างยาก อย่างไรก็ตาม เม่ือพิจารณาผลงานท่ี ชนะการประกวดในปนี ้ี แล้วได้รับการวพิ ากษจ์ ากคณะกรรมการวา่ มคี ณุ ภาพ การน�ำเสนอเน้ือหามมี ุมมองใหม่ เปน็ ภาพสะทอ้ นถึงวถิ ี วฒั นธรรม อัตลักษณ์ทอ้ งถ่นิ ของพื้นท่ี ๔ จงั หวดั ชายแดนใตอ้ ย่าง ชัดเจน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์อันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ท่ีทรงพระราชทานแก่พสกนิกรในพ้ืนท่ี ผลงานครั้งนี้น่าจะเปน็ การ จุดประกายกระบวนการและความคิดสรา้ งสรรค์ทางวรรณศิลปใ์ ห้ พัฒนาไปอยา่ งตอ่ เนื่อง ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ขอขอบคุณส�ำนักงาน วฒั นธรรมจงั หวดั สงขลา ยะลา ปตั ตานี และนราธวิ าส ในการประสาน งานการด�ำเนินโครงการให้ประสบความส�ำเร็จ รวมท้ังส�ำนักงาน คณะกรรมการพเิ ศษเพอ่ื ประสานงานโครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ (กปร.) ศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และ คณะกรรมการขับเคลื่อนการแกไ้ ขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ท่ชี ว่ ยเสนอแนะขอ้ คิดเหน็ ทีเ่ ป็นประโยชน์ และขอขอบคณุ ชา่ งภาพอาสาสมคั รท่ีร่วมโครงการ ตลอดจนคณะกรรมการคดั สรร และคณะกรรมการตัดสิน ท่ีไดร้ ่วมกันพิจารณาผลงานในโครงการ อย่างเข้มแขง็ จนสามารถคดั เลอื กผ้ชู นะเพอื่ รบั รางวลั ได้ สำ� นกั งานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือรว่ มใจในการด�ำเนินโครงการคร้ังน้ี จะน�ำไปสู่การรวมพลังสร้างสรรคส์ ่ิงท่ีดีงามแกช่ ุมชน สังคมและ ประเทศชาติตอ่ ไป (นางสาววิมลลกั ษณ์ ชชู าติ) ผอู้ ำ�นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมรว่ มสมัย





๑๐ “เร่ืองเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพ่อ” จาก “รายอ ซแี ย” ถึง “รายอ กีตอ” จาก “พระราชาแหง่ สยาม” ถงึ “พระราชาของเรา” โดย สถาพร ศรีสจั จงั ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาวรรณศลิ ป์ (๒๕๔๘) ในคำ� น�ำหนังสอื “เยน็ ลมใต”้ ซึง่ เป็นหนงั สอื รวมความเรียงและเรอื่ งสน้ั ท่ไี ดร้ บั รางวลั จากโครงการประกวดงานเขยี น “เรอ่ื งดีๆ ท่บี า้ นเรา” (“บา้ นเรา” ในท่นี ห้ี มายถงึ พ้นื ท่ี ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้) ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ของส�ำนักงานศิลปวฒั นธรรมร่วมสมัย กระทรวงวฒั นธรรม ผมเขยี นขอ้ ความไวย้ อ่ หนา้ หนงึ่ วา่ “...คณะกรรมการพจิ ารณาคดั เลอื ก เรอื่ งเพอ่ื ให้ไดร้ บั รางวลั รอบตดั สนิ เหน็ พ้องร่วมกนั ว่า...งานเขยี นทส่ี ่งเขา้ ประกวดมคี วาม หลากหลายและมคี ณุ ภาพในการเขยี นสงู ขนึ้ มากอย่างน่าพอใจ ทส่ี ำ� คญั กค็ อื เยาวชนและ นกั เขยี นในพน้ื ท่ีซงึ่ ปกติใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ ๒ ในชวี ิตประจำ� วนั สง่ งานเขา้ ประกวด มากขน้ึ เขยี นงานสร้างสรรคไ์ ด้อยา่ งยอดเยยี่ มขน้ึ ทง้ั ด้านรปู แบบและเนอื้ หา จนหลายคน ถงึ กับชนะนกั เขยี นระดับมืออาชพี ในท้องทซี่ ่งึ ส่งเรือ่ งเขา้ ร่วมประกวดด้วย...” ใน พ.ศ. ๒๕๖๑ นี้ ส�ำนกั งานศลิ ปวัฒนธรรมร่วมสมยั ได้จัดทำ� โครงการจัดประกวดการ เขียนเชิงสร้างสรรค์ข้นึ อกี เหมือนตอ้ งการสบื สานต่อยอดจากโครงการดังกลา่ ว โดยการ ลดพื้นท่ีลงเหลือเพียง ๔ จงั หวดั โดยเปล่ียนหัวขอ้ เปน็ “เร่ืองเลา่ จากบ้านเรา...ตามรอย เทา้ พ่อ” และเพมิ่ การประกวดประเภทกวนี พิ นธ์เขา้ ไปอกี หน่งึ ประเภท ท้ังนี้ คงเพ่ือเปดิ

“เรือ่ งเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๑๑ โอกาสใหเ้ ด็กๆ นักเรียนและกวี-นักเขียนในพ้ืนที่ตังกลา่ วได้มีโอกาส “เล่า” ถึงเรื่อง หลากข้อมลู และหลากความร้สู กึ ถงึ พระเจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๙ ผ้เู ปยี่ มพระคณุ ของพวกเขา. แล้วผลงานของเดก็ ๆ กส็ ำ� แดงคณุ ภาพให้เหน็ ดงั ตวั อย่างทย่ี กมาเพยี งเลก็ น้อยต่อไปนี้ : เดก็ หญิงซามีรา อมู า นักเรียนระดับประถม จากโรงเรยี นเทศบาล ๔ (บา้ นทรายทอง) จังหวัดนราธวิ าส เร่มิ ตน้ เร่ืองเลา่ ของเธอว่า “...ครอบครวั ฉนั อย่ทู ตี่ ำ� บลมโู นะ อำ� เภอสไุ หงโก-ลก จงั หวดั นราธวิ าส ทน่ี เี่ ปน็ อกี ทหี่ นง่ึ ท่ี พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั เสดจ็ มาเยย่ี มราษฎร ตงั้ แต่พระองค์เสดจ็ มา ณ ทแ่ี ห่งน้ี มโู นะ บ้านของฉันก็เปลีย่ นจากหนา้ มือเปน็ หลงั มือ...” นางสาวนรู ดี า เจะ้ อุมา นกั เรียนระดับมัธยมจากโรงเรยี นเตรียมศกึ ษาวิทยา (ปอเนาะ) จงั หวดั ปตั ตานี เลา่ “ความรสู้ ึก” ในเรียงความของเธอไวต้ อนหน่งึ วา่ “...พระบารมีปกเกลา้ ฯของในหลวงรัชกาลท่ี ๙ เปรียบเสมือนแสงประทีปแห่งปวง พสกนิกรในพนื้ ท่สี ามจงั หวัดชายแดนภาคใต้ ทกุ ครัง้ ทพี่ ระองคเ์ สดจ็ แปรพระราชฐานมา ประทบั แรม ณ พระตำ� หนกั ทกั ษณิ ราชนเิ วศน์ ได้เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ เยย่ี มเยยี นพสกนกิ ร เกอื บทกุ ตำ� บล ทรงพระปรชี าสามารถและทรงหยงั่ ลกึ ทราบถงึ สภาพพนื้ ทใ่ี นชนบทอยา่ ง ถอ่ งแท้ พระองค์ทรงมพี ระมหากรณุ าธิคุณพระราชทานแนวพระราชด�ำรเิ พือ่ พฒั นาและ แก้ไขปัญหาสำ� คญั ๆ ให้แกพ่ นื้ ทส่ี ามจงั หวดั ชายแดนภาคใต้มากมาย สง่ ผลใหร้ าษฎรของ พระองค์ทา่ นมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น จากแนวพระราชด�ำริและพระวิริยะ อตุ สาหะในการบำ� เพญ็ พระราชกรณยี กจิ ของพระองค์ ได้ก่อให้เกดิ ‘พลงั แหง่ ความศรทั ธา’ ซงึ่ เป็นเสมือนจุดเช่อื มให้ทุกฝา่ ย...ได้ร่วมกนั ปฏบิ ัติงานสนองพระราชปณิ ธาน...” ทั้งผลงานระดบั ประประถมท่ีได้รบั คดั เลือกให้ไดร้ บั รางวลั รองชนะเลศิ อันดบั ๒ และ ผลงานระดบั มธั ยมทไี่ ด้รบั รางวลั ชมเชย ทย่ี กมาใหเ้ หน็ บางช่วงตอน สะท้อนตอบอะไรบ้าง? นอกจากจะแสดงให้เหน็ ว่า ณ เวลาปัจจุบนั เยาวชนในพ้นื ทจ่ี ังหวัดชายแดนภาคใตท้ ี่ไม่ ได้ใชภ้ าษาไทยเปน็ ภาษาในชวี ติ ประจำ� วนั ทบี่ ้านเหล่านน้ั มคี วามสนั ทดั จดั เจนและเข้มข้น ในการใช้ภาษาไทยมากข้ึน สามารถใช้ภาษาเขียนไดอ้ ย่างรัดกุมแจม่ ชัดถูกตอ้ งอยา่ งนา่ ชมเชยยิ่งนักแล้ว เน้ือหาท่ีน�ำมาบอกมาเลา่ ก็สะทอ้ นอารมณค์ วามรูส้ ึกท่ีเป่ียมดว้ ยรัก

๑๒ “เรอ่ื งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” และศรัทธาตอ่ พระเมตตาและคุณปู การของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั รัชกาลที่ ๙ ที่ ทรงมตี อ่ ราษฎรในพนื้ ที่จงั หวัดชายแดนภาคใตอ้ ย่างลกึ ซึ้งกินใจย่ิง. นค่ี อื ความสำ� เรจ็ ทสี่ ำ� คญั ในการตอบคำ� ถามถงึ ความจำ� เปน็ ทคี่ วรจะมกี ารจดั ทำ� โครงการ เชน่ นี้อย่างตอ่ เน่อื ง และกวา้ งขวาง ท้งั ควรจะขยายรูปแบบกิจกรรมหรอื เน้นความเข้มข้น ในการจัดการเชิงคุณภาพของโครงการข้นึ อกี . ในระดบั ทโ่ี ตขนึ้ จนอาจเรยี กได้วา่ จะเข้าสรู่ ะดบั “มอื อาชพี ” ดา้ นงานเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์ ท้ังในส่วนท่ีเปน็ เรื่องส้ันและบทกวีท่ีผ่านรอบคัดเลือกมาจนถึงรอบตัดสิน ก็มีคุณภาพที่ ถือว่าน่าพอใจ เม่ือยอ้ นไปเปรยี บเทยี บกับปรากฏการณท์ ว่ั ไปในอดีตสำ� หรับพ้ืนท่จี ังหวัด ชายแดนภาคใต้ ขอใหล้ องพิจารณาดูตัวอย่างบางสว่ นจากช้ินงานที่ไดร้ ับคัดเลือกใหไ้ ด้ รบั รางวลั ในครั้งน้ี : อนุสรณ์ ศรคี �ำขวัญ เขยี นแทรกเรือ่ งราวเก่ียวกับในหลวงรชั กาลท่ี ๙ ไวใ้ นตอนท้าย เร่อื งส้ันอา่ นสนกุ ของเขาเรื่อง “ชีวติ ท่เี กิดใหม”่ วา่ : “...ในอดตี ชาวบ้านตำ� บลเกาะสะท้อนแทบไมม่ อี นาคต เพราะประสบปัญหาทง้ั ดนิ เปรยี้ ว ดนิ เค็ม ท�ำใหม้ ีการย้ายถิ่นอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง วิกฤติหนกั สดุ คอื น้ำ� ทว่ มใหญ่ พ.ศ. ๒๕๑๐... กระทัง่ ความทุกข์รอ้ นน้ถี ึงพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช รชั กาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๑๒ พระองคเ์ สดจ็ มาทางเรอื เพอื่ ทอดพระเนตรและรบั ฟงั ปัญหาความเดอื ดร้อน ของชาวบ้าน... ...จากนน้ั ความเจริญต่างๆ ก็หลง่ั ไหลเข้ามาในตำ� บล...” ในแงบ่ ทกวี-นพฤทธ์ิ ขวัญสุรัตน์ จากปตั ตานี ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้แสดง ’ความแม่น’ ในลลี ากลอนบางตอนของเขาให้เหน็ ดงั นี้ : “เปน็ ประชาชายแดนตามแผนท่ี ตา่ งวิถสี �ำเนียงเสยี งปราศรยั แตส่ มญาทายาทชนชาติไทย

“เร่อื งเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” ๑๓ แม้นหา่ งไกล‘บิดา’ยงั มาเยอื น มาเข้าถึงซึง่ ในใจพสก มาหยบิ ยกศาสตรใ์ หมห่ าใดเหมือน ให้พอเพยี งเที่ยงแทไ้ มแ่ ชเชือน ทรงยำ้� เตอื นนิยาม‘ความพอดี’...” และ ธนนั ทร์ แดงดิษคีรี จากปตั ตานีเชน่ กนั ได้เนน้ ย�้ำบางประเดน็ ส�ำคญั ยิ่งเกยี่ วกบั การทรงงานหนักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลท่ี ๙ จนพระบารมีแหง่ พระเมตตาธรรมของพระองคป์ ระทับแน่นอยู่ใน “หทัยราษฎร”์ ชาวจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ ทำ� ใหเ้ ปลยี่ นการเรยี กขานพระนามของพระองค์ จาก “รายอ ซีแย” (พระราชาแหง่ สยาม) มาเปน็ “รายอ กีตอ” (พระราชาของเรา) กัน ถ้วนทว่ั ไว้อย่างมีนัยยะสำ� คัญยิ่ง จนท�ำให้ได้รบั รางวลั รองชนะเลศิ อันดบั ๒ ดงั น้ี : “ท�ำไมป้ะจงึ รักใจภกั ด์ิแด่- องค”์ รายอ ซีแย”แหง่ สยาม แค่มองรูปประกายรักยังวาววาม ผมเคยถามคำ� ตอบยังไมจ่ างคลาย ‘เพราะพระองค์ทรงชุบอาชพี งาน ให้ชาวบ้านชาวถิ่นแหง่ เมืองสาย- -บุรนี ี้ใหส้ ขุ ทกุ ข์มลาย พ้นวิกฤตพิษรา้ ยแต่น้นั มา...’ ........................................ ...ไม่แปลกใจท�ำไมปะ้ ภกั ดีต่อ องค์’รายอ กีตอ’ มหาศาล คำ� ตอบป้ะยงั ตราตรึงซึ้งกงั วาน ดจุ โครงการ ธ ยงั คงธ�ำรงชน!” ทน่ี ่าสนใจก็คอื ท้งั สองรายช่ือ คือ นพฤทธิ์ ขวญั สุรตั น์ ผไู้ ดร้ บั รางวลั ชนะเลิศ และ ธนันทร์ แดงดิษครี ี ท่ไี ด้รับรางวลั รองชนะเลศิ อนั ดับ ๒ ลว้ นยังไมป่ รากฏชือ่ เปน็ ระดบั

๑๔ “เร่อื งเล่าจากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” “มอื อาชพี ” ในวงการนกั กลอนหรอื วงการกวนี พิ นธใ์ นยคุ ปจั จบุ นั อย่างกว้างขวางนกั (อาจ มผี ลงานในระดบั ท้องถนิ่ ?) การสามารถสรา้ งสรรคผ์ ลงานได้ระดบั น้ีจึงนับวา่ เปน็ ปรากฏ การทน่ี ่าสนใจและเปน็ “คุณ” แก่วงการวรรณกรรมรว่ มสมัยยิ่งนกั ! ความส่งทา้ ยส�ำหรับการกลา่ วถึงเหตุและผลของโครงการท�ำนอง ”ส่งเสริมนักอ่าน สรรค์สร้างนกั เขยี น” เกย่ี วกบั “เรอื่ งเลา่ จากจงั หวดั ชายแดนภาคใต”้ ครง้ั น้ี กค็ งเป็นเช่นเดมิ คอื ไม่มอี ะไรมากไปกว่าการขอเนน้ ย�้ำว่า นีแ่ หละคือการมาถูกทางในการสรา้ งสมานฉันท์ และแก้ปัญหาจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ตามแนวพระราชดำ� รขิ องพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั รัชกาลที่ ๙ น่ันคอื จะตอ้ ง”เข้าใจ เข้าถึง และพฒั นา”! ทงั้ ขอคัดถอ้ ยความที่เขยี นไวใ้ นคำ� น�ำเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ มายำ�้ ท้งิ ท้ายไว้อีกคร้ังว่า : “...การสามารถใช้พ้ืนท่ขี องโครงการฯสร้าง ‘นกั เขียน’ ซง่ึ เป็นผู้สร้างงาน ‘วรรณศิลป์’ อันเป็นงานศิลปะสาขาส�ำคัญสาขาหนึ่งของสังคมไทยที่สืบทอดกันมาแตโ่ บราณไดเ้ ชน่ นี้ จะไมถ่ อื เปน็ การสรา้ งสรรคข์ องชาติอีกหรือ? น่แี หละ คอื แนวทางการแก้ปญั หาความมั่นคงของชาติอย่างแทจ้ รงิ ! ”. สถาพร ศรีสจั จงั ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาวรรณศลิ ป์. ‘ทับผ่านทาง’-สตูล, กรกฎฯ ๒๕๖๑.

เรียงความ ระดบั ประถมศึกษา

๑๖ “เรอ่ื งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรือ่ งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๑๗ ห่อหมก พอเพียงตามรอยพ่อ วิชยุตม์ สกลุ วิศลั ย์ รางวัลชนะเลศิ โรงเรียนเกษมทรพั ย์ จ.นราธวิ าส เช้าวันหนึ่ง ผมได้ต่ืนขึ้นมาในสภาพงัวเงีย เพราะแสงแดดที่สาดส่อง ลอดชอ่ งหนา้ ตา่ งเข้ามา ท�ำให้รวู้ ่าเช้าน้ผี มต่ืนสายมากแลว้ จึงเดินไปเปดิ หนา้ ตา่ ง เหน็ พอ่ กำ� ลงั ตากใบตองอยู่ท่ีราวยางข้างบา้ น ผมจึงตะโกนถาม พ่อว่า “พ่อครบั ตากใบตองท�ำอะไรหรือครับพอ่ ” พ่อจงึ ตอบมาวา่ “วนั นี้ แม่จะทำ� หอ่ หมกนะ่ ” ด้วยความงว่ งจึงเดินไปที่เตียงเพื่อจะหลับตอ่ แตไ่ ด้ยินเสียงแมเ่ รียกให้ ไปรับประทานอาหารเช้า ผมจงึ เดนิ ไปล้างหนา้ แปรงฟันแล้วเดนิ ไปท่ีโต๊ะ อาหาร เมนวู นั นค้ี อื “ข้าวตม้ ก๊ยุ ” (คอื ข้าวต้มทตี่ ้มกบั นำ้� เปล่าจดื ๆ บางครง้ั แมก่ จ็ ะหน่ั ฟักทอง หรอื เผอื กเปน็ สเ่ี หลย่ี มลกู เต๋าเลก็ ๆ ลงไปตม้ กบั ขา้ วดว้ ย แลว้ รับประทานกับไข่เคม็ ปลาเค็มตวั เล็กๆ หรือปลาเล็กปลานอ้ ย ผดั ผกั และอน่ื ๆ ตามชอบ) ฝีมอื แมอ่ ร่อยไมเ่ คยเปลยี่ นไปเลย แม่ไม่เคยใชผ้ งชูรส แต่รสชาตอิ าหารทกุ เมนขู องแมก่ ลมกลอ่ มถกู ปากผมมาก เชา้ นเ้ี ลยเพมิ่ พลงั ดว้ ยข้าวตม้ กยุ๊ ของแมไ่ ปสองถว้ ย อิ่มกำ� ลงั พอดี เมื่ออิ่มแลว้ ขณะท่ีก�ำลังเก็บจานไปลา้ งก็ได้ยินเสียงขูดมะพร้าวดังแวว่ มาจากในครวั ผมจงึ เดนิ เข้าไปเหน็ พอ่ และแม่กำ� ลงั ชว่ ยกนั เตรยี มเครอ่ื งปรงุ หอ่ หมก แม่กำ� ลงั ลา้ งใบโหระพาและยอดยอ ส่วนพ่อขดู มะพร้าว ผมจงึ รบี ล้างจานและอาสาช่วยงานดว้ ย แม่จงึ ใหผ้ มไปตดั ตะไคร้และขดุ ขา่ จากสวน

๑๘ “เรื่องเล่าจากบ้านเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ขา้ งบา้ นมาให้แมท่ ำ� พรกิ แกงผสมในหอ่ หมก ได้มาจากหนองนำ้� แถวบา้ นนะ ใกลๆ้ นเ้ี อง” เมอ่ื ควา้ มดี และเสยี มอนั เลก็ ๆ ไดผ้ มจงึ เดนิ หลงั จากนนั้ ผมจงึ ไปเกบ็ ใบตองและมาชว่ ย ลงไปในสวนซงึ่ หา่ งจากบ้านไมม่ ากนกั ผา่ น แมฉ่ ีก เหลาไม้กลัดและกลัดใบตองเป็น แปลงผกั ของยาย เหน็ ยายกำ� ลงั กม้ ๆ เงยๆ กระทง พอ่ คน้ั กะทิ ตอ่ มาเหน็ แมน่ ำ� ปลาช่อน อยูต่ รงแปลงผักกาดเขียว จึงเข้าไปถามว่า ท่ีหน่ั ไว้เทใส่หมอ้ ตามด้วยกะทิ ไข่ไกแ่ ละ ยายก�ำลังท�ำอะไร ยายตอบวา่ “ก�ำลังจับ พรกิ แกง ปรงุ รสด้วยนำ้� ปลา นำ�้ ตาล คนจนข้น ขโมย” (จบั หอยและหนอนทช่ี อบแอบมากนิ ได้ที่จึงตักใส่กระทงใบตอง ซึ่งรองกน้ ดว้ ย ใบผกั กาดนะ่ ) ผมหวั เราะและหยอกยายไปวา่ ใบโหระพาและยอดใบยอ ราดหวั กะทิ โรยหน้า “ผมก็ก�ำลังจะไปขโมยข่ากับตะไคร้ของ ด้วยพรกิ และใบมะกรดู หน่ั ฝอย แล้วนำ� ไปนง่ึ ยายนะ” ยายย้ิมและเดินตามไปช่วยผม ระหว่างท่ีชว่ ยกันขุดขา่ และตัดตะไคร้ยาย ในระหว่างทชี่ ว่ ยกนั ท�ำงาน แม่พดู ใหผ้ ม เลา่ ให้ผมฟังวา่ เมอื่ ก่อนยายเลยี้ งแม่มาด้วย ฟังว่า “เห็นไหมลูก วัตถุดิบเกือบทุกอยา่ ง ความยากลำ� บาก ฐานะคอ่ นขา้ งยากจน แตย่ าย เราแทบไม่ไดซ้ อ้ื เลย ผกั กเ็ กบ็ เอามาจากรมิ รว้ั รจู้ กั อดออมเก็บเล็กผสมน้อย ยายปลูกผัก จากสวน มะพรา้ วเรากป็ ลกู เอง ปลากไ็ ด้มา และเก็บผักไปขายเปน็ รายไดเ้ สริมจากการ จากหนองนำ้� ใกลบ้ ้าน ไขไ่ กก่ ไ็ ดจ้ ากไกท่ พ่ี ่อ ท�ำสวนยางจนสามารถสง่ ให้แมเ่ รียนจบ เลย้ี งไว้ เมนหู ่อหมกในวนั นเ้ี ราแทบไม่ต้อง ปริญญาตรีได้ ทุกวันนี้ยายก็ยังคงปลูกผัก เสียเงินเลย นั่นเป็นเพราะพอ่ และแม่ยึด โดยเฉพาะผักสวนครัวท่ีพ่อและแมก่ ็มี ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ ส่วนช่วยยายปลูกและดูแล ยายไม่ชอบใช้ เพียงจากในหลวงรชั กาลที่ ๙ และสว่ นหนงึ่ สารเคมี ส่วนปุ๋ยก็คือข้ีไก่ซึ่งได้จากเลา้ ไก่ ก็เกิดจาก ก าร ป ลู ก ฝ งั เ ล้ี ย ง ดู ข อ ง ย าย ของพ่อ ครอบครวั ผมจงึ มผี กั ปลอดสารพษิ ซง่ึ ยายเองกน็ ำ� เอาหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ ไว้รบั ประทานไม่ขาด พอเพยี งของในหลวงรชั กาลที่ ๙ มาใชด้ ว้ ย เชน่ กนั ทำ� ให้พอ่ และแม่ใช้ชวี ติ อย่างพอเพยี ง เม่ือไดข้ า่ กับตะไคร้แล้วก็รีบน�ำกลับไป เรียบง่าย ประหยดั และอดออมเพื่อจะไดม้ ี ให้แม่ เหน็ พอ่ เดินตรงไปยงั โอง่ นำ้� ข้างบา้ น ทนุ สง่ ให้ลกู ชายแมเ่ รยี นแพทย์ไงจะ๊ ” แมท่ งิ้ แล้วจบั ปลาชอ่ นตวั ใหญ่ขน้ึ มาตหี วั ขอดเกลด็ ท้ายด้วยการพูดหยอกผม เพราะผมเคย และแลเ่ นอื้ หน่ั เปน็ ชนิ้ ๆ ผมสงสยั จงึ ถามพ่อ บอกแมต่ ามประสาความคดิ เดก็ ๆ ของผมว่า ว่า “เอาปลาช่อนมาจากไหนหรือครับ” แม่ โตขน้ึ ผมอยากเรียนแพทย์ จะได้ช่วยเหลือ ไดต้ อบแทนพอ่ วา่ “เม่ือวานพ่อไปปกั เบ็ด คนที่เขาเจบ็ ปว่ ย

ระดับประถมศกึ ษา “เรือ่ งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพ่อ” ๑๙ จากการที่พูดคุยกับแม่ ท�ำให้ผมอยากรูเ้ ร่ืองหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ มากกว่านี้ เมอ่ื ช่วยเกบ็ กวาดเสรจ็ แล้ว ผมจงึ เดนิ เขา้ ไปในหอ้ งทำ� งานของพ่อ เปดิ คอมพวิ เตอร์ แล้วคน้ หาข้อมูลเก่ียวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพระราชกรณียกิจของ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็พบวา่ ในหลวงรัชกาลท่ี ๙ ทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่หา่ งไกลท้องถิ่นทุรกันดาร และจากการที่พระองค์เสด็จ พระราชดำ� เนนิ ไปเยยี่ มประชาชนทกุ พนื้ ทข่ี องประเทศไทยกไ็ ด้เหน็ ความทกุ ข์ยาก จงึ ทำ� ให้ เกิดโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริขึ้นมากมายหลายพันโครงการ เพื่อแก้ปัญหา ความทุกขย์ ากของประชาชน สว่ นใหญเ่ ป็นโครงการทเ่ี ข้าไปแก้ปัญหาเร่ืองดิน น้�ำ ป่าไม้ และอนื่ ๆ ซง่ึ เป็นปัจจยั หลกั ในการประกอบอาชพี เกษตรกรรมทเ่ี ป็นอาชพี หลกั ของคนไทย จังหวัดนราธิวาสบ้านผมก็มีโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริหลายโครงการ เช่น โครงการแกลง้ ดนิ ทแ่ี กป้ ัญหาดนิ เปรย้ี ว ปรบั ปรงุ ดนิ ให้ใช้ในการเพาะปลกู ได้ โครงการ อา่ งเกบ็ นำ�้ เพอ่ื เกบ็ กกั นำ�้ ไว้ใช้ โครงการศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาพกิ ลุ ทอง ซง่ึ เปน็ โครงการที่ ศกึ ษาและทดลองปรบั ปรงุ ดนิ ในพนื้ ทพี่ รุ รวมทง้ั ให้ความรทู้ างด้านการเพาะปลกู เลย้ี งสตั ว์ และเป็นศูนย์การเรียนรูใ้ นเร่ืองหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเม่ือผมค้นควา้ ก็ พบวา่ “หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งของในหลวงรชั กาลท่ี ๙ คอื การเดนิ อย่ทู าง สายกลางไมน่ อ้ ยเกินไปไม่มากเกินไป อยอู่ ย่างพอดี ไมจ่ �ำเป็นตอ้ งประหยดั มากมายแค่ อย่อู ยา่ งพอดใี ห้มคี วามสขุ กเ็ พยี งพอ” อย่างทค่ี รอบครวั ของผมยดึ ถอื ปฏบิ ตั มิ าโดยตลอด ผมรู้สึกซาบซ้ึงในพระมหากรุณาธิคุณ จึงตั้งปณิ ธานไวว้ ่าจากน้ีเป็นตน้ ไปผมจะยึดเอา แบบอย่าง แนวคิดและหลกั การทรงงานของพระองค์ เช่น การพึ่งตนเอง พออยพู่ อกิน ประหยดั เรียบงา่ ย ซอ่ื สตั ยส์ ุจริต จะยดึ หลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใชใ้ นชีวิต ประจำ� วนั และครอบครวั ของผมในอนาคต รวมทง้ั จะนำ� ความรนู้ ้ี ไปบอกเล่าใหค้ นอื่นรูไ้ ด้ อีกด้วย กลน่ิ หอมออ่ นๆ ของห่อหมกลอยมา พรอ้ มกบั เสยี งเรยี กของพอ่ “ลกู หอ่ หมกเสรจ็ แลว้ มากินเรว็ ” ผมจงึ ออกจากหอ้ งตรงไปยงั โตะ๊ อาหารและรับประทานหอ่ หมกกับครอบครัว อย่างมีความสุข สุขใจในความพอเพียงและสุขใจที่ได้เกิดใตร้ ่มพระบารมีของพระราชา ผพู้ อเพยี ง

๒๐ “เรอ่ื งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศึกษา “เรอ่ื งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๒๑ “ทหารผู้วางปนื ไปปลกู ปา่ ” ชลดิ า พลพงษ์ รางวลั รองชนะเลศิ อันดับ ๑ โรงเรยี นวัดบ่อทรายเจรญิ ธรรม จ.สงขลา พ่อของหนูเป็นทหาร ชื่อว่า จ่าสิบตรีธีรพงศ์ พลพงษ์ ทำ�หน้าที่อยู่ที่ คา่ ยสริ นิ ธร อำ�เภอยะรงั จงั หวดั ปตั ตานี สงั กดั กองอำ�นวยการรกั ษาความมน่ั คง ภายใน ภาค ๔ ส่วนหนา้ เป็นเจ้าหนา้ ทีแ่ ผนกกฎหมาย เวลาพอ่ มาทบ่ี ้าน พ่อกจ็ ะชวนหนคู ยุ เรอื่ งเลา่ ตา่ งๆ จาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชน่ เรือ่ ง ความร้เู กย่ี วกับกฎหมาย เร่อื งสถานท่ีท่องเที่ยวและเร่ืองอน่ื ๆ อกี มากมาย และที่สำ�คญั คอื พ่อชวนหนูคุยเรอ่ื ง “โครงการส่งเสรมิ และพัฒนาพันธ์ุไม้ ปา่ ดิบชืน้ จงั หวัดยะลา” โครงการส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น จังหวัดยะลา ตั้งอยู่ใน จงั หวดั ยะลา อยทู่ ผ่ี นื ปา่ ฮาลา-บาลา เปน็ ปา่ ดบิ ชน้ื ทม่ี คี วามอดุ มสมบรู ณท์ ส่ี ดุ ในประเทศไทย มีเขตพื้นที่อยู่ระหว่างจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ ประเทศมาเลเซีย ซงึ่ ป่าดบิ ช้นื นถ้ี ูกบุกรกุ และทำ�ลายอยา่ งรวดเร็วมาก ทำ�ให้ พื้นที่ในป่าหลายแห่งต้องสูญเสียต้นไม้ไปมากมาย พวกสัตว์ก็ล้มตายกันไป มากทีเดียว เพราะเมื่อไม่มีป่า ไม่มีต้นไม้ต้นน������พวกสัตว์ก็อยู่ไม่ได ้ เมื่อป่า ถกู บกุ รุกไปหลายแหง่ ทำ�ให้ชาวบ้านและสตั ว์เดือดรอ้ นไปดว้ ย เมอ่ื พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช รชั กาลท่ี ๙ ทรงทราบ พระองคก์ ไ็ ดท้ รงจดั ตง้ั โครงการสง่ เสรมิ และพฒั นาพนั ธไ์ุ มป้ า่ ดบิ ชน้ื จงั หวดั ยะลา เพอ่ื ไดอ้ นรุ กั ษแ์ ละรกั ษาพนั ธไ์ุ ม้ การเพม่ิ จำ�นวน การปลกู ปา่ ดบิ ชน้ื ตอ้ งใชต้ น้ ไม้ นานาพันธ์ุ เชน่ ตน้ โศกเหลือง บัวผุด ตน้ ปาลม์ ตน้ พกิ ุล ต้นยางนา ตน้ ไทร

๒๒ “เรือ่ งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” และตน้ อน่ื ๆ อกี มากมาย พอ่ ของหนแู ละทหารอกี หลายๆ คนรว่ มกนั เปดิ พธิ ี และหาตน้ ไม้ ทเ่ี ปน็ ตน้ กลา้ มาปลกู เมอ่ื พอ่ ปลกู พอ่ จะวางปนื ซง่ึ เปน็ อาวธุ ของทหารอยแู่ ลว้ การปลกู ตน้ ไม้ หลายชนดิ นต้ี อ้ งใชค้ วามสามคั คแี ละใชค้ วามรู้ เพอ่ื ใหร้ วู้ า่ เราปลกู ตน้ ไมถ้ กู ตอ้ งตามหลกั การ หรอื เปลา่ การปลกู ตน้ ไมห้ ลายๆ ชนดิ น้ี ตอ้ งใชอ้ ปุ กรณอ์ ยา่ งหนง่ึ เชน่ จอบ เสยี ม ถงุ มอื สอ้ ม และอปุ กรณอ์ ยา่ งหนง่ึ คอื เมลด็ พนั ธไ์ุ มท้ เ่ี ราจะปลกู เวลาปลกู เราตอ้ งปลกู ดว้ ย ใจจรงิ เพอ่ื ใหต้ น้ ไมแ้ ละสตั วต์ า่ งๆ รวู้ า่ เราไมไ่ ดป้ ลกู เลน่ ๆ แตเ่ ราปลกู จากใจจรงิ เพอ่ื ให้ ตน้ ไมท้ ง้ั ปา่ ไดเ้ จรญิ งอกงามตามแบบทว่ี างไว้ การปลกู ปา่ บคุ คลนน้ั จะตอ้ งใจเยน็ และปลกู จากใจจรงิ ปลกู ใหเ้ วน้ ทว่ี า่ งไวส้ กั ประมาณ ๑ ถงึ ๓ เมตร หลงั จากนน้ั กร็ ดน������ และรอใหถ้ งึ วฎั จกั รของธรรมชาตทิ จ่ี ะทำ�ใหต้ น้ ไมท้ ง้ั ปา่ โต และจะมกี ารสง่ ทหารจากพระราชวงั เพอ่ื มา ตรวจสอบดวู า่ ต้นไม้ท้งั ป่าแตล่ ะปีเป็นอยา่ งไรบ้าง นอกจากการปลกู ป่าแล้ว พอ่ ของหนู และทหารทกุ คนกย็ งั ปกั ชำ� และอกี หลายๆ วธิ เี พอ่ื เพม่ิ จำ�นวนตน้ ไมท้ ง้ั ปา่ ถงึ แมจ้ ะใชเ้ วลา นานมากแต่พอ่ หนบู อกเสมอว่าแม้จะนานแต่พอ่ รอได้ เพราะพอ่ ปลูกจากใจจรงิ นอกจาก การปลกู ปา่ แลว้ กจ็ ะมกี ารแจกจา่ ยมอบใหช้ าวบา้ นดว้ ย พอ่ บอกวา่ ดใี จมากทไ่ี ดไ้ ปรว่ มพธิ ี ถงึ แมว้ ่าจะไม่เคยเจอพระองค์ก็ตาม หากไมม่ โี ครงการพระราชดำ�รขิ น้ึ ในวนั นก้ี ค็ งไมม่ ปี า่ ทอ่ี ดุ มสมบรู ณแ์ ละกค็ งไมม่ โี ครงการ อกี หลายโครงการ และนก่ี ค็ อื โครงการหนงึ่ ทีอ่ ยใู่ นโครงการทัง้ หมดทม่ี ีความสำ�คญั มาก ท่ีในหลวงรชั กาลท่ี ๙ ของเราได้ทรงสร้างเอาไว้ พระองค์คอื พ่อของแผน่ ดนิ ทีท่ รงคดิ คน้ โครงการท้งั หมดแม้วา่ เวลาพอ่ หนกู ลับมาท่บี ้านไม่กว่ี นั แตห่ นกู ็ภมู ใิ จท่พี ่อได้รับใชด้ แู ลคน ทั้งประเทศเหมือนพ่อหลวง ถึงพ่อหลวงของเราไม่อยู่แล้วแต่หนูก็เชื่อว่าคนทั้งประเทศ ยังรักและเชิดชูพระองค์อยู่เสมอและนี่ก็คือเรื่องราวที่ว่า “ทหารของพระราชาผู้วางปืน ไปปลูกปา่ ” น่ันเอง

ระดับประถมศกึ ษา “เรือ่ งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” ๒๓ “พระผทู้ รงทำ�ทกุ อยา่ ง” ซามรี า อมู า รางวลั รองชนะเลิศอนั ดบั ๒ โรงเรยี นเทศบาล ๔ (บา้ นทรายทอง) จ.นราธวิ าส ครอบครวั ฉันอยทู่ ่ี ตำ� บลมโู นะ อำ� เภอสไุ หงโกลก จังหวดั นราธิวาส ทนี่ เ่ี ปน็ อีกหน่งึ ท่ี ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู ัวเสดจ็ พระราชดำ� เนินมาเยี่ยมเยอื นราษฎร ต้งั แต่พระองค์ เสดจ็ พระราชด�ำเนนิ มา ณ ท่ีแห่งน้ี มูโนะบา้ นของฉนั เปล่ียนจากหนา้ มอื เปน็ หลงั มือ ในวยั ทฉ่ี นั กำ� ลงั ซนได้เรอ่ื งฉนั ไดด้ กู ารต์ นู เรอื่ งหนงึ่ ทเี่ กยี่ วกบั โจรสลดั ฉนั อยากจะเปน็ เหมอื นเขาบา้ ง เลยวอนขอคณุ พ่อพาฉนั ไปเทย่ี ว “อาบะฮ์(พ่อ) พาหนไู ปหาสมบตั หิ นอ่ ยจ”ิ พอ่ ฉันเหน็ ว่าฉนั อ้อนอย่างสดุ ความสามารถ เลยตอบกลับว่า “บเู ละ(ไดส้ )ิ ” ฉนั ดีใจมาก ท่ีจะไปส�ำรวจหมู่บ้านฉันว่ามีสมบัติให้ฉันรึเปลา่ ระหวา่ งทางฉันเห็นปา้ ยเขียนว่ามูโนะ ฉนั คดิ อยซู่ กั พกั แลว้ ถามพ่อว่า “อาบะฮ์ เรอ่ื งราวการตงั้ ชอ่ื ของมโู นะนมี่ าจากไหน ทำ� ไม เราต้องเรียกหม่บู า้ นเราวา่ มูโนะ” พ่อของฉันเลยตอบกลับไปวา่ “เอะ๊ ๆ เด็กนี้นิถามมากนิ อยากจะรูเ้ หรอ” ฉันเลยท�ำตาแบว๊ ๆ พรอ้ มพยักหน้าตามมา พอ่ ของฉันเลยตอบวา่ “ท่ีเรียกว่ามูโนะก็มาจากต้นไมใ้ หญต่ ้นหน่ึงช่ือวา่ มูโนะที่ล้มกั้นทางน้�ำจนเป็นสะพาน ให้ชาวบ้านข้ึนเรือไปตากใบดว้ ยต้นไมต้ น้ น้ัน (เน่ืองจากในสมัยน้ันไมค่ ่อยมีคนใช้ถนน จงึ เดนิ ทางด้วยเรอื ) จนเป็นเอกลกั ษณ์ของทนี่ ี่ พ่อฉนั เสรมิ อกี ว่า “ในตอนนนั้ มเี รอื อย่สู องลำ� แต่ละล�ำจะมชี ่ือของเจ้าของเรือ เรือลำ� แรกมชี ือ่ ว่าสรวี ีจายา (Srivijaya) เปน็ ของโต๊ะครู มโู นะที่มาจากอาเจะอนิ โดนเี ซยี ลำ� ทส่ี องมชี ่ือว่าอสิ มาแอลมูตู (Ismaailmutu) เมอ่ื มาถงึ ทชี่ ลประทาน พ่อฉันกบ็ อกว่า “นีแ่ หละสมบตั ิแรกท่พี ระองคท์ รงสร้างเพ่อื ประชาชน” ฉนั งงกบั สงิ่ ทีพ่ อ่ พูดเลยถามอีกคร้ังว่า “นี่มนั คอื อะไรอะ่ อาบะฮ”์ พ่อฉันย้ิม แลว้ ตอบกลบั ดว้ ยนำ�้ เสยี งภมู ใิ จว่า “นค่ี อื เขอ่ื นชลประทานทใ่ี นหลวงรชั กาลที่ ๙ ทรงสร้าง ใหพ้ วกเราชาวมโู นะ เพอื่ ไม่ให้เกดิ อทุ กภยั และเพอ่ื ให้สามารถทำ� การเกษตรไดอ้ ยา่ งสะดวก ยิ่งข้ึน ฉันอยากรูว้ ่าเรื่องราวมันเป็นยังไงเลยถามพ่ออีกรอบว่า “เร่ืองราวการท�ำเขื่อน

๒๔ “เรอ่ื งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศกึ ษา “เร่ืองเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๒๕ ชลประทานนีม่ นั ยงั ไง ท�ำไมถงึ ตอ้ งทำ� ” พ่อฉนั จงึ เล่า ต่อวา่ “กลางเดอื นธนั วาคมปี ๒๕๐๙ เกดิ นำ�้ ทว่ มใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว รัชกาลท่ี ๙ เสด็จ พระราชดำ� เนนิ เยย่ี มราษฎรด้วยความเป็นหว่ ง เมอ่ื ถงึ มู โ น ะ พ ร ะ อ ง ค ป์ ร ะ ทั บ ท่ี มั ส ยิ ด ด า รุ ซ า ลั ม ก อ่ น แลว้ ทรงถามชาวบ้านว่าอยากไดอ้ ะไรจากพระองค์ ซ่ึงมีโต๊ะครทู ่านหน่ึงเปน็ ตัวแทนของชาวบ้าน ได้ขอให้ ท�ำอะไรก็ไดท้ ี่ท�ำใหน้ �้ำไม่ทว่ มขัง หลังจากนั้นไม่นาน พระองคก์ ส็ ่งโครงกาสร้างเขอ่ื นระบายนำ้� ให้แก่ประชาชน และในทกุ ๆ ปีจะเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ทอดพระเนตรงาน ทโ่ี ครงการชลประทานมโู นะ จนแลว้ เสร็จ” เมอื่ ฟังจบ ฉนั ถามพอ่ ว่า “แลว้ ตอนทใ่ี นหลวงเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ มาทนี่ พ่ี ่อไดต้ ๊กุ ตาหรอื อะไรจากในหลวงบา้ งมย้ั ” พอ่ ฉนั ตอบกลบั ว่า “ได้ แตไ่ มใ่ ช่ตุ๊กตา แตเ่ ป็นลูกอมสอง สามเม็ด” ฉันรู้สึกอิจฉาที่พอ่ ได้เจอท้ังในหลวงและ พระราชินี แถมยงั ได้ลกู อมอีก เลยตอบกลับไปว่า “พ่อคายลูกอมมาเดี๋ยวนี้” พอ่ ของฉันข�ำในใจแล้ว ตอบวา่ “พอ่ เอาออกตงั้ นานแล้ว ไมม่ อี ยใู่ นปากหรอก” เมอื่ ถึงบา้ นฉันเลยรีบบอกแมท่ นั ทวี า่ “มะมะ หมูบ่ า้ น ของเรามสี มบตั อิ นั ลำ้� ค่าด้วยนะ” แม่ฉนั เลยถามกลบั วา่ “สมบตั ชิ นิ้ นน้ั คอื อะไรเหรอลกู ” ฉนั จงึ ตอบไปว่า “เขอ่ื น ชลประทานทใ่ี นหลวงทรงท�ำให้เราไงแม่” หลังจากมีโครงการน้ี หมูบ่ า้ นของฉันดีขึ้น ผู้คน ไมต่ ้องกงั วลว่าจะเกิดอุทกภัย ไมต่ อ้ งหว่ งวา่ จะไม่มที ี่ ทำ� มาหากนิ ตงั้ แตไ่ ด้รวู้ า่ พระองค์เคยเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ มาทแี่ หง่ น้ี ขา้ พระพทุ ธเจ้ากส็ ำ� นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ อยา่ งหาทสี่ ดุ มไิ ด้

๒๖ “เรื่องเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” “เท่ียวไปในวนั หยดุ ” อามีณาย์ ดาโอะ โรงเรยี นแหลมทองอุปถมั ภ์ จ.ปัตตานี เชา้ วันเสาร์ทแ่ี สนสดใส อากาศดี วนั น้ีเปน็ วนั หยุด แต่ส�ำหรบั ฉนั วันนี้ ไมใ่ ชว่ นั หยุดธรรมดา มันคอื วนั หยุดทแ่ี สนพิเศษ เพราะวนั น้ีคณุ ครูจะพา ฉันและเพื่อนๆ ไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับโครงการอา่ งเก็บน้�ำห้วยกะลาพอ อันเนอ่ื งมาจากพระราชดำ� ริ และโครงการฟาร์มตวั อย่างตามพระราชด�ำริ ในสมเด็จพระนางเจา้ สิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ ที่ ต�ำบลเตราะบอน อำ� เภอสายบรุ ี จงั หวดั ปัตตานี พวกเราออกเดนิ ทางกนั ตง้ั แตเ่ ชา้ ด้วยรถบสั ปรับอากาศ๒ชนั้ ฉันเคลิบเคลม้ิ กบั การดูววิ จนเผลอหลับไป ต่ืนมาอกี ทีก็ ถึงแลว้ เมอื่ เดนิ ทางถงึ ฉนั ตกตะลงึ กบั ความสวยงามของธรรมชาติ เหมอื นโดน มนต์สะกด เพราะฉันได้เหน็ น้�ำในอา่ งเกบ็ น�้ำทใี่ สสะอาด ต้นไมใ้ หญ่พลว้ิ ไปตามลม ทำ� ใหร้ สู้ กึ เย็น เหล่าผีเสอ้ื และแมลงปอบินวอ่ นไปตามสายลม ท่ีน่ีมีศาลาเล็กๆ ท่ีพอให้พวกเราไดน้ ่ังฟังปราชญ์ชาวบ้านบรรยายและ อธิบายถึงโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ อ่างเก็บน�้ำห้วยกะลาพอ ทนั ทที ป่ี ราชญ์ชาวบา้ นเรมิ่ บรรยาย ฉนั กค็ อ่ ยๆ จดบนั ทกึ ทลี ะนดิ ทลี ะหนอ่ ย ไปเรอื่ ยๆ ได้ความว่า ในหลวงรชั กาลที่ ๙ ไดก้ อ่ ตงั้ โครงการในพระราชดำ� ริ อ่างเกบ็ นำ้� ห้วยกะลาพอ ในปพี ทุ ธศกั ราช ๒๕๓๕ โดยมวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ กกั เกบ็ น้�ำไวใ้ ชใ้ นหน้าแล้ง ใชใ้ นการอุปโภค บรโิ ภค และใชท้ �ำการเกษตร และในหน้าแลง้ น�้ำในอ่างเก็บน�้ำก็จะถูกส่งไปในหมู่บ้านอ่ืนๆ ที่ขาดน�้ำ ระหวา่ งท่ีพวกเรานั่งฟงั ปราชญ์ชาวบา้ นได้เล่นตลกกันเพ่ือสรา้ งเสียง หัวเราะ เมอ่ื ฟังการบรรยายเสรจ็ แลว้ พวกเราตา่ งพากันไปถ่ายรปู ริมอา่ ง เกบ็ นำ้� กนั อยา่ งมคี วามสขุ เผลอแปป๊ เดยี วกเ็ ทยี่ งแล้ว พวกเราจงึ พากนั ไป

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรื่องเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๒๗

๒๘ “เร่ืองเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพ่อ” น่ังกินขา้ วกนั ในศาลา อาหารเที่ยงในวนั น้ีคอื ข้าวสวย ผัดเผด็ ลกู ช้นิ และไข่ดาว เมื่อกิน ขา้ วเสรจ็ แลว้ พวกเราก็นั่งฟงั ปราชญ์ชาวบา้ นบรรยายต่อ ช่วงบา่ ยนี้ ปราชญ์ชาวบ้านจะบรรยายถึงโครงการฟาร์มตัวอยา่ งตามพระราชด�ำริ ตำ� บลเตราะบอน ทสี่ มเดจ็ พระบรมราชนิ นี าถในรชั กาลท่ี ๙ ไดท้ รงกอ่ ตงั้ ขน้ึ ในปพี ทุ ธศกั ราช ๒๕๕๔ เพอื่ ใหค้ นในหม่บู า้ นไดเ้ รยี นรู้การปลูกผักสวนครัวไวก้ ินเอง ปลอดสารพษิ และ ไดใ้ ชเ้ วลาในชว่ งบา่ ยใหเ้ ปน็ ประโยชน์ เพราะคนในหม่บู า้ นส่วนใหญ่นยิ ม ประกอบอาชพี ท�ำสวนยาง จะกรีดยางในชว่ งเชา้ ท�ำให้ชว่ งบา่ ยวา่ ง แตว่ ่าในชว่ งบา่ ย ฉันฟังปราชญ์ ชาวบ้านไมค่ ่อยทนั ฉนั จงึ จดบนั ทกึ ดว้ ยการวาดภาพแทน เมอ่ื ฟงั ปราชญช์ าวบา้ นบรรยาย จนจบ พวกเราจงึ พากันเดินไปดใู นสวน ในสวนเตม็ ไปดว้ ยพืชผักสวนครัว ทีป่ ลูกลงใน ภาชนะที่รไี ซเคิล เช่น ขวดน้�ำ ฝาพดั ลม ยางล้อรถยนต์ นอกจากนแี้ ล้วยงั มกี ารเพาะเหด็ การเลย้ี งไก่ และมกี ารท�ำปยุ๋ หมกั จากกากมะพร้าว การท�ำน�ำ้ มนั มะพร้าวสกดั เยน็ และ การปลกู พชื สายใย ในช่วงบ่ายพวกเราถา่ ยรูปสวยๆ ไวเ้ ยอะแยะเลย พวกเราจงึ ใชเ้ วลา ที่น่ังบนรถไปกับการดูรูปภาพที่ถ่ายไดใ้ นวันนี้แลว้ ให้แตล่ ะคนบอกวา่ ชอบรูปไหนท่ีสุด ฉันชอบรูปท่พี วกเราอย่รู ่วมกันในสวน แล้วข้างหลงั เต็มไปด้วยตน้ ไมท้ ปี่ ลูกลงในภาชนะ ทร่ี ไี ซเคลิ นเี่ ป็นการทอ่ งเทย่ี วในวนั หยดุ ทฉ่ี นั ชอบทส่ี ดุ และจะไม่มวี นั ลมื ประสบการณ์ทด่ี ี ในวันนี้ตลอดไป สดุ ท้ายนฉี้ นั ได้รแู้ ล้วล่ะวา่ ทรพั ยากรธรรมชาตติ ่างๆ สำ� คญั กบั ชวี ติ เราขนาดไหน ฉนั จงึ อยากจะให้พวกเราทกุ คนชว่ ยกนั อนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาตเิ หล่านไี้ ว้ใหอ้ ยกู่ บั เรานานๆ โดยท่ีเราเองก็มีสว่ นร่วมไดเ้ หมือนกันและการมีส่วนร่วมเองก็เปน็ หน่ึงในหลักการทรง งานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ พวกเราจะชว่ ยกันรักษาและอนุรักษท์ รัพยากรธรรมชาติ และใช้ชวี ิตตามรอยพอ่ ในหลวงรชั กาลที่ ๙

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรอื่ งเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๒๙ “เรตือ่ างมเรลอา่ จยาเกทบา้ พ้าน่อเร”า... มสิ บะห ์ แลแมแล โรงเรียนบา้ นพงกูแว จ.ยะลา เราคนไทยทกุ คนเกิดมาโชคดีท่มี ใี นหลวงเป็นพระเจา้ แผน่ ดิน ท่านคอื ผ้ใู ห้ เป็นผวู้ าง แนวทางให้พวกเราชาวไทยได้เรียนรู้และปฏิบัติตามในทางที่ถูกต้องและสุจริต เราควร นำ�แนวทางท่ีท่านสอนมาปฏิบัติและรู้จักนำ�มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำ�วันเพื่อให้เกิด ประโยชนส์ งู สดุ ในหลวงคือผู้ให้ในส่งิ ท่ดี กี ับพวกเราชาวไทยทกุ คน ตลอดระยะเวลาท่หี นจู ำ�ความได้ หนูได้คิดตลอดเวลาว่า...ทำ�ไมพระองค์ทรงทำ�งานหนักเพื่อประชาชนชาวไทย ทรงทำ� ทกุ อยา่ งเพอ่ื ประเทศชาติ ไมว่ า่ จะลำ�บากแคไ่ หน จะเปน็ สถานทท่ี ท่ี รุ กนั ดารแคไ่ หน กจ็ ะ เสดจ็ พระราชดำ�เนนิ ไปทรงเยย่ี มประชาชนของพระองค์ ในหลวงทรงทำ�เพอ่ื เรามากมาย โดยไม่หวังผลตอบแทน แต่ต้องการได้เห็นประชาชนอยู่ดีกินดี ให้หลุดพ้นจากสภาพที่ ลำ�บาก พระองคเ์ ปน็ ผใู้ หค้ วามรแู้ ละความเขา้ ใจเกย่ี วกบั การดำ�เนนิ ชวี ติ ทรงคดิ แนวทาง เพอ่ื ชว่ ยเหลอื ประชาชนทท่ี กุ ขย์ ากลำ�บากทกุ แหง่ หนโดยไมค่ ดิ ยอ่ ทอ้ พระองคไ์ ดช้ ว่ ยเหลอื ประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร น������ และเรื่องการดำ�เนินชีวิตตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพยี ง หรอื เรอ่ื งการออมและยงั มโี ครงการอน่ื ๆ อกี มากมายทใ่ี นหลวงของเรา ได้ทำ�เอาไว้เพื่อประชาชนชาวไทยทุกคน เราควรนำ�โครงการที่พระองค์ได้สอนไว้เป็น แนวคิดและนำ�แนวทางไปปฏิบัติแล้วแต่ความเหมาะสมกับสภาพพ้ืนท่ีของแต่ละชุมชน เพ่อื ใหเ้ กิดประโยชนส์ ูงสุด

๓๐ “เรื่องเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรื่องเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพ่อ” ๓๑ อยากเดนิ ตามรอยพอ่ ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งวถิ ชี วี ติ บนความพอดี รจู้ ักเพียงพอจะ เปน็ สว่ นหนง่ึ ทจ่ี ะทำ�ใหเ้ ราใชช้ วี ติ อยา่ งมคี วามสขุ ใช้ชีวิตได้ด้วยการพึ่งพาตัวเอง รู้จักใช้เท่าที่มี ไมใ่ ชจ้ า่ ยเกนิ กำ�ลงั ไมก่ อ่ หนส้ี นิ อยา่ งในหมบู่ า้ น ของหนูมีการจัดทำ�โครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลกู ผักปลอดสารพษิ เลี้ยงปลา เลย้ี งไก่ เพอ่ื นำ�ไปอปุ โภคและบรโิ ภค ถา้ มเี หลอื ใชก้ น็ ำ�ไป ขายเปน็ การกระจายรายไดใ้ นหมบู่ า้ น และคนใน ชมุ ชน การรว่ มแรงรว่ มใจกอ่ ใหเ้ กดิ ความสามคั คี จะทำ�ให้คนในหมบู่ า้ นใช้ชีวิตอยา่ งมคี วามสขุ เพอ่ื เปน็ การตอบแทนพระคณุ ของทา่ น หนจู ะ เดินตามรอยเท้าพ่อ หนูจะเป็นคนดีของสังคม ไม่ใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ไม่สร้างความเดือดร้อน ให้ใครและจะทำ�ตนให้เป็นประโยชน์แด่น้องๆ และเยาวชนรุ่นต่อๆ ไป

๓๒ “เรอ่ื งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” “ในหลวงในดวงใจ” มูฮำ�หมัดอัฟนันท์ การยิ า โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) จ.นราธิวาส ครง้ั หน่ึงผมไปทัศนศกึ ษาที่ชมุ ชนโคกอิฐ-โคกใน ต�ำบลพรอ่ น อ�ำเภอ ตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส เพอ่ื ทจ่ี ะไปศกึ ษาเกย่ี วกบั เรอ่ื งโครงการแกล้งดนิ ท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงได้คิดคน้ เพ่ือแก้ไขเร่ือง ดนิ เปรยี้ ว ครั้งหนึ่งคุณครูไดพ้ านักเรียนไปหาลุงจันทร์ที่เคยเจอพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยหู่ ัวรชั กาลที่ ๙ เป็นครั้งแรก เมื่อไปถงึ ลงุ จนั ทร์ได้เล่าเร่อื งท่ีลุง เจอในหลวง ตอนนน้ั ลงุ กำ� ลงั ดำ� นาอยู่ ระหวา่ งทลี่ งุ ดำ� นาอย่นู น้ั จๆู่ กม็ รี ถ ประมาณ ๒-๓ คนั มาจอดหนา้ ท่งุ นาของลงุ ลุงเลยขน้ึ จากทงุ่ เพ่ือไปดวู ่า ใครมา พอลงุ ขนึ้ จากทงุ่ นาเลยเหน็ ในหลวงเสดจ็ ลงจากรถแลว้ เดนิ มาตรงหน้า ลุงจันทร์ ลงุ จันทรเ์ ลยยกมือไหวใ้ นหลวง หลังจากนั้นลุงจนั ทร์ก็ได้พดู คยุ กบั ในหลวง ในหลวงถามลงุ จันทรว์ า่ โคกอิฐ-โคกในนไ่ี ปทางไหนล่ะ ลงุ จึง ตอบไปวา่ ทางนูน้ แตว่ า่ ไปไมไ่ ด้ แต่ในหลวงบอกว่าไปได้ ลุงกับในหลวงก็ คยุ กนั ไปคุยกนั มา จนไดค้ ำ� ตอบว่าไปได้ เพราะมีสำ� นกั งานหน่งึ มาท�ำทาง ไปโคกอิฐ-โคกใน เมอื่ เวลาผา่ นไปประมาณ ๓ วนั ในหลวงเสดจ็ ฯ มาอกี ครงั้ เพราะร้วู ่า ทนี่ ราธวิ าสมปี ญั หาเกีย่ วกับดินเปรยี้ ว ในหลวงจึงมแี นวคิดที่จะแก้ปญั หา ดินเปรี้ยว ใหด้ ินมีการแปรสภาพเปน็ ดนิ เปรยี้ วจดั เนอื่ งจากดนิ มลี กั ษณะ

ระดับประถมศกึ ษา “เร่ืองเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” ๓๓

๓๔ “เรอ่ื งเล่าจากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” เปน็ เศษอนิ ทรยี วตั ถุ หรอื ซากพชื ปนเน่าเป่อื ยอย่ขู า้ งบน ซง่ึ มสี ารประกอบกำ� มะถนั ออกมา ทเ่ี รยี กว่า สารประกอบไพไรทอ์ ยู่มาก ดงั น้ัน เมือ่ ดินแหง้ สารไพไรทจ์ ะท�ำปฏิกิรยิ ากบั อากาศ ปลดปลอ่ ยกรดกำ� มะถนั ออกมา ทำ� ให้ดนิ แปรสภาพเปน็ ดนิ กรดจดั หรอื เปรย้ี วจดั ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ จึงไดด้ �ำเนินการสนอง พระราชดำ� รโิ ครงการ “แกล้งดนิ ” เพอ่ื ศกึ ษาการเปลยี่ นแปลงความเป็นกรดของดนิ เรมิ่ จาก วธิ ีการ “แกล้งดนิ ให้เปรยี้ ว” คอื ทำ� ใหด้ นิ แหง้ และเปียกสลบั กนั ไป เพอื่ เรง่ ปฏกิ ริ ยิ าทางเคมี ของดนิ ซง่ึ จะไปกระตนุ้ ใหส้ ารไพไรทท์ �ำปฏิกิรยิ ากบั ออกซเิ จนในอากาศ ปลดปล่อยกรด ก�ำมะถนั ออกมา ท�ำใหด้ ินเปน็ กรดจดั จนถงึ ข้นั “แกลง้ ดินให้เปรยี้ วสุดขีด” จนกระทง่ั ถงึ จุดทพ่ี ืชไมส่ ามารถเจริญงอกงามได้ จากน้ันจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถ ปลูกพืชได้ วิธีแก้ปัญหาดนิ เปรย้ี วจัดตามแนวพระราชดำ� ริ คือควบคุมระดับน�ำ้ ใต้ดนิ เพอื่ ปอ้ งกนั การเกิดกรดกำ� มะถัน จึงต้องควบคมุ นำ้� ใต้ดินใหอ้ ยู่เหนือช้นั ดินเลนท่มี ีสาร ไพไรท์อยู่ เพือ่ ไม่ใหส้ ารไพไรทท์ ำ� ปฏกิ ริ ยิ ากบั ออกซเิ จนหรอื ถกู ออกซไิ ดซแ์ ล้วทำ� แบบนไ้ี ป เรอื่ ยๆ ถงึ ๔ สปั ดาห์ต่อคร้งั หลงั จากนน้ั ก่อนทใี่ นหลวงจะเสดจ็ กลบั ไป ในหลวงไดใ้ หค้ ำ� แนะนำ� แก่ลงุ จนั ทร์ ลงุ จนั ทร์ เลยเรม่ิ ทำ� ตามคำ� สอนของในหลวงจนสำ� เรจ็ จากทโ่ี คกอฐิ โคกใน ทท่ี ำ� ปลกู อะไรไม่ได้เลย ก็กลบั กลายเปน็ ชุมชนทแ่ี สนสขุ มที ุ่งนาเขยี วขจี มตี ้นไม้หลากหลายพันธุ์ มผี ลไม้หลาก หลายชนดิ ทชี่ มุ ชนนสี้ มบรู ณอ์ ย่างนก้ี เ็ พราะแนวพระราชดำ� รทิ พ่ี ระราชทานไวเ้ พอื่ ชาวไทย พอลุงจนั ทร์เลา่ เสร็จ นกั เรียนทุกคนก็พากันกลับบ้านไป ระหว่างท่ีผมเดินทางกลับบ้าน ผมคิดวา่ ลุงจันทร์และประชาชนท่ีอยู่ในชุมชนโคกอิฐ โคกใน เขาไม่ไดร้ วย ไม่ไดจ้ นมาก ทเ่ี ขาอยไู่ ดก้ เ็ พราะพวกเขาดำ� รงชวี ติ ตามหลกั เศรษฐกจิ พอเพยี งทใ่ี นหลวงได้สอนไว้ สว่ นผมกจ็ ะสัญญากบั ตนเองว่า ตอ่ ไปนี้ผมจะด�ำรงชีวิตตาม หลกั เศรษฐกิจพอเพยี งเช่นเดยี วกนั และผมสญั ญาว่าจะดแู ลปา่ ไม้ทใ่ี นหลวงพระราชทาน ไว้ให้กบั ชาวไทยในแผ่นดินนี้

ระดับประถมศึกษา “เรอื่ งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพ่อ” ๓๕ ผู้ไมย่ ่อท“ใ้อนตหอ่ลอวปุงสรรค” ฟาตฮี ะห์ เจะกะบาซอ โรงเรียนบ้านแปะ๊ บุญ จ.นราธิวาส ในหลวงรชั กาลที่ ๙ ทา่ นทรงท�ำทุกอยา่ งเพื่อทจ่ี ะใหเ้ ราชาวไทยทกุ คนมคี วามสขุ และ ไม่ทรงย่อทอ้ ต่ออุปสรรคใดๆ ทง้ั นัน้ ในหลวงรชั กาลท่ี ๙ ทรงมพี ระบรมราโชวาทในเรอื่ งเศรษฐกจิ พอเพยี ง ทมี่ แี นวคดิ ทแ่ี บ่ง ทด่ี นิ ออกเป็นส่วนๆ เพือ่ ท�ำกิจกรรมตา่ งๆ คอื แหล่งน้�ำ ๓๐% นาข้าว ๓๐% ที่อยู่อาศยั ๑๐% และพชื สวนพชื ไรอ่ กี ๓๐% แนวคิดน้ี ทรงหวังใหร้ าษฎรสามารถพ่งึ ตนเองได้ และ ด�ำรงชีวิตอยา่ งพอเพยี งพอประมาณ ไม่ฟมุ่ เฟอื ย ไมส่ รุ ยุ่ สุรา่ ย และพระองคท์ รงมีพระ ปรีชาสามารถในด้านตา่ งๆ อีกมากมาย เชน่ ดา้ นการดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม การกฬี าและงานชา่ ง สง่ิ ตา่ งๆ เหลา่ นลี้ ้วนประทบั ใจทง้ั หมด และนอกจากนท้ี รงมสี งิ่ เฉพาะ ของตัวทา่ นเอง นั่นก็คือ ทรงถือแผนท่ีด้วยพระหัตถข์ ้างซ้าย จับปากกาด้วยพระหัตถ์ ข้างขวา และทรงคลอ้ งพระศอดว้ ยกล้องถ่ายรปู ตรสั ถามความเป็นอยูข่ องราษฎรอยา่ ง ไม่ถือพระองค์ บางครง้ั เสดจ็ ฯ ไปในพนื้ ท่ที ุรกนั ดารจนนำ�้ พระเสโทหลงั่ รินทว่ั พระวรกาย ถึงกระนั้นพระองค์ก็หาย่อทอ้ ต่ออุปสรรคท้ังส้ิน ดว้ ยพระองคท์ รงมีพระวิริยะ อุตสาหะ ท่ีหวังให้ราษฎรพบกับความสุขในการด�ำเนินชีวิต ภาพเหลา่ นี้ล้วนประทับใจในดวงจิต ของพสกนกิ รชาวไทยทกุ คน และฉนั ก็เปน็ คนคนหนึ่งที่ประทับใจในหลวง

๓๖ “เรอ่ื งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศกึ ษา “เร่ืองเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๓๗ ในหลวงทรงงานหนักตลอดระยะเวลา เกือบ ๗๐ ปี นบั ต้ังแต่ในหลวงของเราเสดจ็ เถลิงถวัลยร์ าชสมบัติบรมราชาภิเษกเปน็ พระมหากษัตริย์ อาจกล่าวได้ว่า “ทรงเปน็ พระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก” ทรงตรากตร�ำพระวรกายเพื่อประกอบพระ ราชกรณียกิจท้ังหลายทั้งปวงเพื่อพสกนิกร ของพระองค์ ฉนั เคยท่องเทยี่ วไปในทอ้ งทตี่ ่างๆ ได้เหน็ โครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำ� รมิ ากมาย หลายแห่ง ฉนั กเ็ กดิ ความคดิ ขนึ้ วา่ เหตใุ ดหนอ พระองคจ์ ึงทรงสามารถมีพระราชด�ำริใน โครงการตา่ งๆ ไดม้ ากมายถงึ เพยี งนี้ ภายหลงั กไ็ ด้ทราบวา่ กด็ ว้ ยพระปรชี าสามารถอนั ยง่ิ ใหญ่ ของพระองค์น่ันเอง ทีท่ �ำให้เกิดโครงการอัน เน่ืองมาจากพระราชด�ำริข้ึนมาอย่างมากมาย พระปรีชาสามารถที่ย่ิงใหญข่ องพระองค์ก็คือ พระปรีชาสามารถด้านการเกษตร และดา้ น เศรษฐกจิ โครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำ� ริ ตา่ งๆ กส็ บื เนอื่ งจากพระปรชี าสามารถในดา้ นนี้ เกอื บทงั้ ส้นิ ในหลวงไมเ่ คยทอดทิ้งประชาชน ๗๐ ปี ท่ที รงงานหนักเพอ่ื คนไทยทุกๆ คนและฉันจะ เปน็ คนดีของสังคมของบา้ นเมืองและจะเปน็ คนท่พี อเพียงพออยูพ่ อกินตลอดไป

๓๘ “เรอ่ื งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรื่องเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๓๙ “พอ่ ผู้มีบญุ คุณ อันใหญ่หลวง” รุสมยี ์ หะมะ โรงเรียนบ้านแป๊ะบุญ จ.นราธวิ าส โครงการพระราชดำ� รขิ องในหลวงรชั กาลท่ี ๙ ทำ� ให้หนไู ด้เหน็ วา่ ของทกุ สงิ่ ล้วนมคี ่าท้ังนนั้ เพราะไมไ่ ด้มาอยา่ งงา่ ยดาย ทุกคนตอ้ งท�ำงานกันทัง้ นน้ั เพอ่ื ทจ่ี ะได้ของทต่ี ้องการ เมอ่ื เราซอื้ อะไรกต็ ามเรากค็ วรพจิ ารณาเสยี กอ่ นว่า สง่ิ ทเี่ ราซอื้ นนั้ จำ� เปน็ หรอื ไม่ ถ้าไม่จำ� เป็นกไ็ มค่ วรไปซอื้ เพอื่ ทจ่ี ะไดป้ ระหยดั เงนิ มากขนึ้ ตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ความประหยดั เปน็ สงิ่ สงิ่ หนง่ึ ท่ีเราทุกคนต้องมี และน�ำมาปฏิบตั ิเพอ่ื ให้เกิดประโยชน์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงทำ� ทกุ อย่างเพ่อื แกไ้ ขปญั หาความเดือดรอ้ น ของพสกนกิ รชาวไทยทกุ คนไม่ว่าจะเชอื้ ชาตใิ ด ศาสนาใด หรอื อย่หู า่ งไกล สักเพียงใด พระองค์กท็ รงไม่ย่อทอ้ ต่ออุปสรรคใดๆ ทงั้ ส้นิ ทรงชว่ ยเหลอื ราษฎรด้วยความเปย่ี มพระเมตตาเสมอ อกี ทง้ั ชว่ ยในเรอื่ งการฟื้นฟธู รรมชาติ และสงิ่ แวดลอ้ มทงั้ ดนิ นำ�้ ป่าไม้ เพอ่ื ใหอ้ ดุ มสมบรู ณ์ ยงั ชว่ ยในเรอ่ื งระบบ การจดั การนำ้� กรมชลประทานและอน่ื ๆ อกี มากมายทท่ี รงทำ� เพอ่ื ปวงชนชาวไทย ทกุ คนได้อยดู่ กี นิ ดี และหลกั การทรงงานของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว ๒๓ ข้อ มดี งั น้ี

๔๐ “เรอื่ งเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๑. ศึกษาข้อมลู อย่างเปน็ ระบบ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มพี ระราชดำ� ริ ๒. ระเบดิ จากข้างใน ให้มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ๓. แกป้ ญั หาทจี่ ุดเลก็ ข้ึนมาเพ่ือแกไ้ ขปัญหาความเดือดรอ้ นของ ๔. ทำ� ตามลำ� ดับข้ัน ประชาชนในเร่ืองต่างๆ ไมว่ า่ จะเปน็ เรื่อง ๕. ภูมิสงั คม ทางการเกษตร ระบบการจดั การนำ้� ปัญหา ๖. องค์รวม การขาดแคลนนำ้� เรอ่ื งฝนหลวง ดนิ เปรยี้ ว และ ๗. ไม่ติดตำ� รา อน่ื ๆ พระองค์ทรงแกไ้ ขปัญหาทกุ อย่างเพอ่ื ๘. ประหยดั เรยี บงา่ ย ได้ประโยชน์สงู สดุ ให้ประชาชนไดม้ ีชีวิตที่ดีขึ้น ทรงมีบุญคุณ ๙. ทำ� ใหง้ า่ ย กบั พวกเราปวงชนชาวไทยทกุ คน เราทกุ คน ๑๐. การมสี ว่ นร่วม ค ว ร น� ำ ห ลั ก ป รั ช ญ า เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ๑๑. ประโยชน์ส่วนรวม ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาปรบั ใช้ในชีวติ ๑๒. บริการท่จี ดุ เดียว ประจำ� วนั ให้เกดิ ประโยชน์ พระองคไ์ ม่เคย ๑๓. ทรงใช้ธรรมชาตชิ ่วยธรรมชาติ ทอดทงิ้ ประชาชนเลย เราควรดำ� เนนิ การตาม ๑๔. ใช้อธรรมปราบอธรรม แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัว ๑๕. ปลกู ปา่ ในใจคน รชั กาลที่ ๙ เพราะพระองคท์ รงทำ� ทกุ อยา่ ง ๑๖. ขาดทุนคอื ก�ำไร เพ่ือให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี เราจึงควร ๑๗. การพง่ึ ตนเอง สานตอ่ ใหร้ ุ่นหลังไดร้ ู้ว่าพระองค์ทรงมี ๑๘. พออยู่พอกิน บุ ญ คุ ณ กั บ พ ว ก เราทุกคนมากแคไ่ หน ๑๙. เศรษฐกิจพอเพียง เราจงึ ควรทำ� ตามแบบอย่างในหลวง เพอื่ ให้ ๒๐. ความซอ่ื สตั ย์ สจุ ริต จริงใจต่อกัน ไดต้ อบแทนบญุ คณุ ของสังคมหรือในหลวง ๒๑. ท�ำงานอยา่ งมคี วามสุข รชั กาลท่ี ๙ มาปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวันเพอื่ ๒๒. ความเพยี ร ให้เกิดประโยชนแ์ ละน�ำมาสืบสานเรื่อง ๒๓. รรู้ กั สามัคคี การเกษตรต่อไป

ระดบั ประถมศกึ ษา “เร่ืองเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๔๑ “ในหลวงผูท้ รงเมตตา” ฮานฟี บือราเฮง โรงเรยี นเทพประทาน (บ้านเจะ๊ เดง็ ) จ.นราธวิ าส วนั หนงึ่ ฉนั กลบั จากโรงเรยี นเหน็ แม่กำ� ลงั เกบ็ ผกั อย่ฉู นั จงึ ไปถามแมว่ า่ “แมๆ่ ทำ� ไมเรา ไมไ่ ปซื้อผักท่ตี ลาดล่ะ” แม่ตอบวา่ “เราจะต้องท�ำตามแนวพระราชดำ� ริของในหลวงรชั กาลท่ี ๙ ทา่ นไดส้ อน ให้เราอยู่อยา่ งพอเพียง” เมื่อแมพ่ ูดจบฉันก็นำ� กระเป๋าไปเก็บในบา้ น หลังจากน้นั ฉนั ก็ไดไ้ ปถามยา่ ของฉนั ว่า “ยา่ คะ ย่าร้จู กั ในหลวงรชั กาลที่ ๙ ไหมคะ” ย่าตอบว่า “ใครทไ่ี หนที่ไม่รู้จกั พระองค์ พระองค์ เป็นพระเจ้าแผน่ ดินผ้ทู รงเมตตา” ความจรงิ ฉนั เคยดใู นสารคดแี ละทวี ตี ่างๆว่าในหลวงรชั กาลที่ ๙ ทรงทำ� งานหนกั ไม่เคย ท่จี ะพกั ผ่อนและยงั เหน็ดเหนอื่ ย ฉนั คดิ ไปเรอื่ ยๆ ในขณะท่ฉี ันคดิ อย่างเพลดิ เพลินแมก่ ็ ไดเ้ รยี กฉันใหไ้ ปกินข้าว หลังจากกินขา้ วเสร็จฉันกับแม่ก็ได้พูดคุยถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ แมเ่ ล่าให้ฉันฟงั วา่ ในหลวงรชั กาลที่ ๙ มโี ครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� รหิ ลายโครงการแต่ละโครงการก็ ล้วนแล้วแตท่ �ำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งสิ้น พระองคท์ รงเหน็ดเหนื่อยลงพ้นื ท่ี ไปสำ� รวจความทุกข์ยากของประชาชนด้วยพระองคเ์ อง ฉนั ถามแมอ่ กี ว่า “แล้วพระองคเ์ คยเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ มาทจี่ งั หวดั นราธวิ าสของเราไหม คะแม”่ แม่ตอบว่า “เคยมาสิ ไมม่ ที ไ่ี หนในแผน่ ดนิ ไทยทพี่ ระองคไ์ มเ่ คยเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไป พระองค์เสด็จพระราชดำ� เนินไปทกุ ท่ี เพอ่ื ช่วยประชาชนให้รอดพ้นจากความยากลำ� บาก ลูกลองเขา้ ไปศึกษาคน้ คว้าเก่ียวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริในอินเทอรเ์ น็ต ดสู ิจะ๊ ” ฉนั จงึ ขอโทรศพั ทม์ อื ถอื ของพ่อมาค้นควา้ หาขอ้ มลู เกย่ี วกบั ในหลวงรชั กาลท่ี ๙ และ โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริของพระองค์ พบว่ามีมากมายหลายพันโครงการ

๔๒ “เรือ่ งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” สว่ นใหญ่เปน็ โครงการทเี่ ขา้ ไปช่วยแกป้ ญั หาความเดอื ดรอ้ น ของประชาชนในพน้ื ทห่ี า่ งไกลทรุ กนั ดาร เชน่ โครงการ ฝนหลวง ท่ีสร้างฝนเทียมเพื่อแกป้ ัญหาความแหง้ แล้ง โครงการสร้างฝายก้ันน้�ำเพื่อกักเก็บน�้ำไว้ใช้ โครงการ บำ� บดั นำ้� เสยี โดยใช้กงั หนั นำ้� ชยั พฒั นา โครงการเศรษฐกจิ พอเพียงเพ่ือใหป้ ระชาชนมีชีวิตความเป็นอยูท่ ี่ดีขึ้น และยงั มีโครงการอน่ื อกี มากมาย ส�ำหรับจังหวัดนราธิวาสที่ฉันอยู่ ก็มีโครงการใน พระราชดำ� รหิ ลายโครงการ โดยเฉพาะโครงการเศรษฐกจิ พอเพียง ที่ครอบครัวของฉันน�ำมาใช้ มีการปลูกผัก เล้ียงสัตว์ไว้กินเอง แมส่ อนให้ทุกคนในครอบครัวรูจ้ ัก ประหยัดอดออม ครอบครัวของฉันจึงมีความเป็นอยู่ ทดี่ ไี มข่ ดั สนไมล่ ำ� บาก และครงั้ หนงึ่ ฉนั ได้ไปเรยี นร้เู รอ่ื ง เศรษฐกิจพอเพียงท่ีสวนลุงจันทร์ในอ�ำเภอตากใบ ลุงจันทร์เล่าใหฟ้ ังว่าเคยเจอกับพระองค์ ฉันรู้สึกภูมิใจ แทนลงุ จนั ทร์ นอกจากน้ี ในจงั หวดั นราธวิ าสยงั มโี ครงการ อนื่ ๆ อกี เชน่ โครงการแกล้งดนิ ทท่ี ำ� ใหด้ นิ เปรยี้ วกลบั มา ใชใ้ นการเพาะปลูกได้ โครงการศูนยศ์ ึกษาการพัฒนา พกิ ลุ ทองอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ ซงึ่ เป็นแหลง่ ความรู้ ใหช้ าวบ้านและนกั เรยี นนกั ศกึ ษาได้เขา้ ไปเรยี นร้เู กยี่ วกบั การพัฒนาดิน เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเปน็ ศนู ย์กลางการฝึกอาชีพของประชาชนในพืน้ ที่ โครงการ ฝายก้ันน้�ำในท่ีต่างๆ และอนื่ ๆ อกี มากมายซ่งึ ล้วนแลว้ แตม่ ขี ้ึนเพ่อื บรรเทาความทกุ ข์ยากของประชาชน ฉันภูมิใจท่ีได้เกิดมาเปน็ คนไทย ฉันจะนอ้ มน�ำเอา ปรัชญาและหลักการทรงงานในเรื่องพออยู่พอกิน รู้จัก พอเพียง อดทน ของในหลวงรัชกาลท่ี ๙ มาใช้ในชีวิต ประจำ� วนั จะเดนิ ตามรอยเท้าพ่อ ยดึ สง่ิ ดๆี ของพระองค์ มาเปน็ แบบอย่างในการด�ำรงชีวิต ฉันดีใจที่ได้เกิดใน แผน่ ดินนี้ แผน่ ดินของในหลวงผทู้ รงเมตตา

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรื่องเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๔๓

๔๔ “เรอ่ื งเลา่ จากบ้านเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ”

ระดบั ประถมศกึ ษา “เรื่องเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพอ่ ” ๔๕

๔๖ “เรอ่ื งเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเท้าพ่อ” บ“น๓ตป๘าลม๑ารยอโดคยา้รมเทงขกา้ วพาาร่อน” มาซวนิ วุฒิศาสตร์ โรงเรยี นบ้านแว้ง จ.นราธิวาส ๓๘๑ โครงการบนปลายด้ามขวานของผนื แผ่นดนิ ไทย ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั (รชั กาลที่ ๙) ทรงท่มุ เทพระวรกายตรากตรำ� และมุ่งมัน่ ในการปฏบิ ตั พิ ระราชกรณยี กิจ นานัปการใหก้ ับชาวจงั หวดั นราธิวาส พระองค์ทรงดูแลนำ�้ ดแู ลดนิ ดูแลปา่ ซึง่ ส่งิ เหลา่ นี้ เป็นหวั ใจสำ� คญั ในการทจี่ ะหลอ่ เลยี้ งชวี ติ พสกนกิ รของพระองค์ พระองค์ทรงคดิ พระองค์ ทรงทำ� ทกุ อยา่ งเพอ่ื แกไ้ ขปญั หาความเดอื ดร้อนให้แก่พสกนกิ รของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็น เชอ้ื ชาตใิ ด ศาสนาใด หรอื แมจ้ ะอย่หู ่างไกลสกั เพยี งใด พระองคไ์ ม่เคยทอดทง้ิ ทรงม่งุ มนั่ ท่ีจะบ�ำบัดทุกขบ์ �ำรุงสุขใหแ้ ก่พสกนิกรทุกคนไดม้ ีชีวิตความเปน็ อยู่ท่ีดีข้ึน ไมเ่ คยเห็น พระองคท์ รงเหน็ดเหนื่อย ไมเ่ คยเหน็ พระองคท์ รงย่อทอ้ ทุกที่ ทุกทางทีพ่ ระองคเ์ สด็จ พระราชด�ำเนินผา่ น นั้นหมายถึง ความสุข ความเจริญ ท่ีจะเกิดข้ึนแกพ่ สกนิกรของ พระองค์ ซง่ึ ทง้ั หมดนเี้ ป็นทป่ี ระจกั ษ์แกส่ ายตาประชาชนทงั้ ชาวไทย และชาวตา่ งประเทศ มาแล้วอยา่ งมากมาย หนูเคยอา่ นหนังสือ หนูเคยได้ยินผูใ้ หญ่คุยกัน ไดด้ ูภาพข่าวทางโทรทัศน์ ครูสอน ในหอ้ งเรียน และเข้ารับการอบรมงานเขียนและเรียนรูโ้ ครงการตามแนวพระราชด�ำริ ว่าพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั (รชั กาลท่ี ๙) พระองคท์ รงมพี ระอจั ฉรยิ ภาพในดา้ นตา่ งๆ พระองค์ทรงคิดค้นแนวทางแก้ไขปัญหาทุกข์ สุข ของประชาชนอย่างแยบยล ทรงยึด หลักการด�ำเนินงานในลักษณะทางสายกลางท่ีเรียบงา่ ยและสอดคลอ้ งกับสง่ิ ทอี่ ยรู่ อบตวั สามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบในทุกส่ิงทุกอย่าง พระองค์จัดท�ำ โครงการต่างๆ ใหก้ ับชาวจังหวัดนราธิวาส ไดม้ กี ารพัฒนาดนิ ในพ้ืนท่พี รุ ให้สามารถนำ�

ระดบั ประถมศึกษา “เร่ืองเลา่ จากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พ่อ” ๔๗ มาใช้ประโยชนท์ ้งั ในด้านการปลกู พืชและการเลยี้ งสตั ว์ รวมทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม ท่ีเหมาะสมกับแต่ละสภาพพ้ืนท่ีพรุ การฝกึ อบรมการพัฒนาอาชีพ ทั้งด้านการเกษตร และศลิ ปหตั ถกรรมทที่ ำ� จากวสั ดพุ นื้ เมอื ง ให้กบั พสกนกิ รชาวจงั หวดั นราธวิ าส การพฒั นา ในทกุ ๆ ด้านเหลา่ น้ี ทำ� ให้สภาพความเป็นอยทู่ างด้านเศรษฐกจิ และสงั คมดขี น้ึ มอี าชพี และ มรี ายไดเ้ พิ่มขึ้น ทง้ั นเ้ี กิดจากพระปรีชาสามารถและพระอจั ฉรยิ ภาพของพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยหู่ วั (รชั กาลท่ี ๙) พระองค์ทรงดแู ลดนิ โดยมโี ครงการแกลง้ ดนิ เพอื่ แก้ปัญหาดนิ เปรย้ี ว และดนิ พรุ จากเดมิ พน้ื ดนิ ทม่ี ปี ญั หาเหล่านไี้ มส่ ามารถทจี่ ะเพาะปลกู พชื ชนดิ ใดได้เลย พระองคไ์ ดฟ้ ื้นฟผู นื ดนิ เหลา่ นี้ จนพสกนิกรของพระองค์สามารถใช้พ้ืนที่เหลา่ นี้ท�ำการเกษตรสร้างรายไดใ้ ห้กับ ครอบครัวไดเ้ ป็นอย่างดี พระองค์ทรงดูแลน�้ำ โดยมีโครงการจัดหาน้�ำช่วยเหลือราษฎร บา้ นคลอแระ อันเนอ่ื งจากพระราชดำ� ริ ตำ� บลบาเระใต้ อำ� เภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพอื่ ให้ประชาชนสามารถใช้นำ้� อุปโภค-บริโภค และสง่ นำ�้ เพ่อื การประมง การเพาะปลูก ในครัวเรือนใหแ้ กร่ าษฎรในบา้ นคลอแระ บ้านชูโว ต�ำบลบาเระใต้ อ�ำเภอบาเจาะ จงั หวดั นราธวิ าส ไดม้ นี ำ้� จดื ใช้ตลอดปี โครงการนส้ี ามารถควบคมุ รกั ษาระดบั นำ�้ ในคลอง และระดับน้�ำใต้ดินใหอ้ ยู่ในระดับเหมาะสม เปน็ การปอ้ งกันปญั หาการแพร่กระจายของ ดินเปร้ียว และพระองค์ทรงดูแลป่าด้วยโครงการสวนพฤกษศาสตรใ์ นจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ต�ำบลกะลวุ อ อำ� เภอเมือง จังหวดั นราธวิ าส เพอ่ื เปน็ แหล่งศกึ ษาทดสอบและ การปลูกยางพารา การปลกู พืชแซมยาง การอนรุ กั ษพ์ นั ธุกรรมพืช การปลกู เสรมิ พันธ์ุไม้ สวยงามของท้องถ่นิ จำ� พวกหวาย ดาหลา วนลิ า ปาล์มบงั สูรย์ และหมากแดง เป็นต้น เพอื่ การอนุรกั ษพ์ ันธุพ์ ชื การรวบรวมพันธไุ์ ม้พ้นื ถิ่นของจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ ทกุ ๆ โครงการ ลว้ นแลว้ แต่พฒั นาเพอื่ ประโยชน์สขุ ของประชาชนอยา่ งแท้จรงิ เปน็ สงิ่ ที่ มีคุณคา่ และควรยึดเป็นแนวทางในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทและวันน้ีหนู ได้มาเขา้ ค่ายอบรมงานเขียนและเรียนรูโ้ ครงการตามแนวพระราชด�ำริวิทยากรบรรยาย ถงึ โครงการอกี หลายรอ้ ยโครงการ ทำ� ใหห้ นเู รม่ิ รแู้ ละเขา้ ใจอกี ทง้ั ภาคภมู ใิ จยง่ิ นกั โครงการ ต่างๆ ทพี่ ระองค์ทรงคิด และทรงท�ำใหก้ บั ชาวจงั หวัดนราธิวาส พระองค์ทรงพัฒนาปา่ พัฒนาน�้ำ และพัฒนาดิน เพ่ือราษฎรปลายดา้ มขวานของพระองค์ได้อยูด่ ีมีสุข ผืนดิน อดุ มสมบูรณ์ ด่ังคำ� ที่ว่า ในน�ำ้ มีปลา ในนามีข้าว หนเู กิดในจังหวัดนราธวิ าส หนูขอต้ังใจ เรยี นหนงั สอื เพอื่ โตขนึ้ หนจู ะใช้ความรมู้ าพฒั นาบ้านเกิดและขอเปน็ คนดเี พอ่ื ตอบแทนคณุ ของแผน่ ดินและในหลวง (รัชกาลที่ ๙) ของเราต่อไป

๔๘ “เรอื่ งเล่าจากบา้ นเรา... ตามรอยเทา้ พอ่ ” ท“่ีปเกลบ็ายนด�ำ้ สา้ มรขา้ งวดานิน” รอยม ี เลาะแม โรงเรยี นแหลมทองวทิ ยา จ.นราธวิ าส พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั (รชั กาลท่ี ๙ ) ทรงทมุ่ เทพระวรกาย และม่งุ มน่ั เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาชาวไทยทเี่ ดอื ดร้อน ไมว่ า่ ทา่ นจะอย่ไู กลแค่ไหน ท่านก็ไมเ่ คยยอ่ ทอ้ เพอื่ เขา้ ไปช่วยราษฎรหลายๆ ด้าน หนเู ปน็ คนหนง่ึ ท่ี อาศยั อย่ใู นจงั หวดั นราธวิ าส ซง่ึ ในจงั หวดั นราธวิ าสเปน็ จงั หวดั ทม่ี ปี ญั หา ทางดา้ นน้�ำ และดินเปน็ อยา่ งมาก ท่านจึงคิดคน้ วิธีการแก้ปัญหาโดย การใช้โครงการอนั เนื่องมาจากพระราชด�ำรนิ �ำมาแก้ไขปญั หาต่างๆ จงั หวดั นราธวิ าสมโี ครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ ทงั้ หมด ๓๘๑ โครงการ เชน่ โครงการพฒั นาพนื้ ทล่ี มุ่ นำ�้ บางนราอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำ� ริ โครงการแกล้งดนิ เปน็ ต้น ซง่ึ ทง้ั สองโครงการนเ้ี ป็นโครงการทห่ี นเู คยได้ ไปเย่ียมชมมาแล้ว โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มนำ�้ บางนราอันเน่ืองมาจากพระราชดำ� ริหรือ ทใี่ ครๆ เรยี กกนั ว่าเขอ่ื นญป่ี นุ่ ซงึ่ เป็นโครงการทสี่ รา้ งขนึ้ เพอ่ื ปอ้ งกนั นำ้� ทว่ ม และป้องกนั นำ�้ จดื ปะปนกบั นำ้� เคม็ ซง่ึ เปน็ ประโยชนม์ ากมาย เขอื่ นญปี่ ่นุ มีประตูระบายนำ�้ ท้ังหมด ๗ บาน ในบานแรกจะมคี วามพเิ ศษมากกว่า บานอืน่ ๆ คอื สามารถเปิดประตรู ะบายน�้ำไดโ้ ดยการกดลง แตบ่ านอ่ืนๆ จะตอ้ งใช้วิธีการดึงและโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริโครงการ สดุ ทา้ ยทห่ี นเู คยไดไ้ ปเยย่ี มชม คอื โครงการแกล้งดนิ โดยมลี งุ จนั ทร์เปน็ ผูอ้ ธิบายเกี่ยวกับท่ีมาของโครงการแกลง้ ดิน และลุงจันทร์คือบุคคลท่ี