Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore History and Style of Thai art

History and Style of Thai art

Published by sriwarinmodel, 2021-08-23 16:38:10

Description: History and Style of Thai art

Keywords: History,Style of Thai art,Thai art

Search

Read the Text Version

คำ�นำ� ต ำ�ราเรยี นประวัตแิ ละแบบอยา่ งศิลปะไทย จัดท�ำ ขนึ้ เพอ่ื ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวตั ิและแบบอยา่ ง ศลิ ปะไทย ในหลกั สตู รระดับปริญญาตรี เพอ่ื ให้มีความร้คู วามเขา้ ใจด้านประวัติความเป็นมา การแสดงออก รปู แบบการรับ ส่งอทิ ธิพล การพัฒนา การเปลยี่ นแปลงรูปแบบ วธิ คี ดิ เชงิ ชา่ งของศิลปะในประเทศไทย ต้งั แต่โบราณกาลทม่ี ตี ้นกำ�เนิดทาง ศาสนาพทุ ธควบค่กู บั การพัฒนารปู แบบของศลิ ปกรรมตา่ งๆ เช่น จติ รกรรม ประตมิ ากรรม สถาปัตยกรรม งานประณตี ศลิ ป์ เครอ่ื งปัน้ ดนิ เผา รวมทง้ั สงั คม เศรษฐกิจ การปกครอง พระมหากษัตรยิ ์ ความเช่ือตามนิกายต่างๆ ของพระพทุ ธ ศาสนา ทำ�ให้รูปแบบของผลงานศิลปกรรมมีเอกลักษณ์ของชาตไิ ทยท่เี ด่นชดั ทมี่ รี ากฐานจากศลิ ปกรรมในอดตี และ สามารถนำ�ความรู้ ประสบการณ์ คุณคา่ ความงามท่ปี รากฏในผลงานศิลปกรรมไทยในอดีต น�ำ ไปเป็นข้อมูลพ้ืนฐานในการ พฒั นาความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนวิชาอ่นื ๆ และเพอ่ื เปน็ แนวทางในการพัฒนาผลงานทางดา้ นศิลปกรรมตอ่ ไป ข อขอบพระคณุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนา เหมวงษา ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์อริยา สอุ งั คะวาทนิ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ไกรสร ประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารยบ์ ณั ฑิต อนิ ทรค์ ง ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ดร.ไชยพจน์ หวลมานพ อาจารย์อรรคพล เชดิ ชู ศลิ ป์ อาจารยส์ รยุทธ ดวงใจและอาจารยไ์ พศาล แสงจันทร์ ท่ีใหก้ ารสนับสนนุ และชว่ ยปรับปรุงแก้ไขเพิม่ เตมิ เพอื่ ให้ ขอ้ มูลเนอ้ื หาภายในตำ�ราประกอบการเรียนการสอนวิชาประวตั แิ ละแบบอย่างศิลปะไทยเล่มนี้ มคี วามสมบูรณเ์ พิ่มมากข้นึ เพ่ือเป็นประโยชนก์ บั นกั ศึกษาและผทู้ ีส่ นใจด้านศลิ ปะไทย ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ (นายสมพร ธรุ ี) พฤษภาคม ๒๕๕๕



สารบัญ ๒ บทที่ ๑ บทน�ำ ๒ ๒ ค วามหมายของศลิ ปะ ๓ องค์ประกอบในงานศลิ ปะ ๖ ประเภทของศลิ ปะ ๗ ทำ�ไมเราจึงตอ้ งเรยี นรศู้ ลิ ปะไทย ๙ ส าเหตทุ ่ีทำ�ใหเ้ กิดเอกลกั ษณไ์ ทย คุณค่าในงานศลิ ปะไทย ๑๑ บทที่ ๒ สมัยกอ่ นประวัตศิ าสตรใ์ นประเทศไทย ๑๑ ๑๑ ยคุ หนิ ๑๒ ยคุ ส�ำ ริด ๑๓ ยุคเหลก็ จิตรกรรมฝาผนงั ถ้ำ�สมัยก่อนประวัตศิ าสตร ์ ๑๕ บทท่ี ๓ อทิ ธิพลทางพุทธศลิ ป์จากดินแดนพุทธภูม ิ ๑๕ ๑๕ สกลุ ชา่ งอินเดียเหนือ ๑๗ สกลุ ชา่ งคันธาระ ๑๘ สกลุ ช่างมถรุ า ๒๑ ส กุลช่างคปุ ตะ ๒๓ สกุลชา่ งปาละ- เสนะ ๒๓ สกลุ ช่างอนิ เดียใต ้ ๒๕ สกุลชา่ งอมราวดี ๒๕ สกลุ ชา่ งปลั ลวะ ๒๖ สกลุ ช่างโจฬะ ๒๖ สกลุ ช่างลังกา ๒๗ ส กุลช่างอนรุ าชปุระ สกลุ ชา่ งโปลนนารวุ ะ ๒๙ บทท่ี ๔ ศลิ ปะในประเทศไทย ๒๙ ๓๐ ศิลปะสมยั ก่อนไทย ๓๐ ศลิ ปะสุวรรณภูม ิ ๓๓ ศิลปะหลังสุวรรณภูมิ ๕๔ ศิลปะทวารวด ี ๗๔ ศิลปะศรีวิชัย ๘๙ ศิลปะลพบรุ ี ศลิ ปะหรภิ ุญไชย

บทที่ ๕ สมยั ประวตั ิศาสตร์ไทย ๙๘ ศิลปะเชยี งแสนหรอื ลา้ นนา ๙๘ ศิลปะสโุ ขทัย ๑๒๒ ศิลปะอู่ทอง ๑๔๙ ศิลปะอยธุ ยา ๑๖๐ ศิลปะรตั นโกสินทร์ ๑๙๕ ภาคผนวก ๒๒๗ คำ�อธบิ ายศัพท ์ ๒๒๗ ค�ำ ราชาศพั ท ์ ๒๓๓ บ รรณานกุ รม ๒๓๕ ป ระวตั ิและผลงาน ๒๓๖

บทท่ี ๑ : บทน�ำ ประวตั แิ ละแบบอย่างศลิ ปะไทย History and Style of Thai Art จดุ มงุ่ หมาย เ พ่อื ใหน้ ักศกึ ษามคี วามรู้ ความเขา้ ใจและทกั ษะของประวัติ ววิ ฒั นาการ รูปแบบ การแสดงออกทาง ดา้ นวจิ ติ รศลิ ป์ ประยกุ ต์ศิลป์ สมยั ทวารวดี ศรวี ิชัย ลพบุรี ลา้ นนา สุโขทยั อยธุ ยารตั นโกสนิ ทร์ ขอบเขตของการศึกษา ๑.เป็นวิชาท่ีเก่ียวกับประวัติแบบอย่างของศิลปกรรมในอดีตที่มีความเป็นมาควบคู่กับการ ววิ ัฒนาการของมนุษยชาติ ๒ . เนอื้ หาจะกล่าวถึงผลงานท่มี นษุ ย์สรา้ งสรรค์ขนึ้ ด้วยก�ำ ลังกาย สตปิ ญั ญา และจินตนาการ ๓ . สะท้อนภาวะสงั คมต้ังแตโ่ บราณถงึ ปัจจุบนั ๑

ประวตั ิและแบบอย่างศิลปะไทย บทท่ี ๑ บทน�ำ ความหมายของศลิ ปะ ศิลปะ (สนิ ละปะ) หมายถึง ฝีมือทางการชา่ ง การแสดงออกมา ใหป้ รากฏข้นึ ไดอ้ ย่างนา่ พึงชม และเกิดอารมณ์สะเทอื นใจ (ราชบณั ฑติ ยสถาน,๒๔๙๓) ศลิ ปะ (Art) คือ ผลแหง่ พลงั ความคิดสร้างสรรคข์ องมนษุ ยท์ แ่ี สดงออกในรปู ลกั ษณะตา่ งๆ ให้ ปรากฏซงึ่ สนุ ทรยี ภาพ ความประทับใจ หรอื ความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ พทุ ธปิ ัญญา ประสบการณ์ รสนยิ ม และทกั ษะของแต่ละคน เพ่อื ความพอใจ ความรนื่ รมย์ ขนบธรรมเนียม จารตี ประเพณี หรอื ความเชือ่ ในลัทธิศาสนา (ราชบัณฑิตยสถาน,๒๕๔๑: ๒๖) ศลิ ปะ (Art) หมายถึง การงานอันเป็นความพากเพยี รของมนุษย์ ซง่ึ ต้องใชค้ วามพยายามดว้ ย มือและความคดิ เห็น เชน่ ตัดเส้อื สรา้ งเคร่อื งเรอื น ปลกู ตน้ ไม้ เปน็ ตน้ (ศิลป์ พรี ะศรี.๒๕๔๖: ๑๙) ศ ิลปะ (Art) หมายถงึ ส่งิ ทเ่ี ร้าอารมณ์ เราสามารถจะรบั เข้าสอู่ ารมณค์ วามรูส้ ึกทางประสาท สัมผัสตา่ งๆ เช่น ตาและหู ทางหู คือ เสยี งดนตรี การอา่ นกวีนพิ นธ์ การขบั รอ้ ง เป็นตน้ ทางตา คอื สัมผสั ได้ จากจติ รกรรม ประตมิ ากรรม สถาปตั ยกรรม การรา่ ยร�ำ ซ่งึ เรยี กว่า ทศั นศิลป์ (Visual Arts) (น.ณปากนำ้�, ๒๕๔๓:๑o) ศ ิลปะ (Art) คอื ทุกสง่ิ ทุกอยา่ งที่มนษุ ยส์ รา้ งสรรค์ขน้ึ ด้วยฝมี อื และจนิ ตนาการ ซ่งึ สง่ิ ท่ีสร้างขนึ้ มี สุนทรยี ภาพ มีความประทับใจ สามารถรบั รไู้ ด้ทางตาและหู มอี ารมณ์ความรู้สึก องค์ประกอบในงานศลิ ปะ มี ๔ อย่าง คอื ๑. ส่ือ (Media) คอื ส่ิงที่ศิลปินน�ำ มาใช้ในการถ่ายทอดความรู้สกึ นกึ คิดของคน ตามวธิ กี าร ของศิลปะ โดยใช้ส่อื วสั ดุตามความจำ�เป็นของการสร้างสรรค์ศิลปะ เชน่ สแี ละผ้าใบในงานจติ รกรรม ไม้ หิน ปนู ในงานประตมิ ากรรม และค�ำ พดู ในบทกวนี พิ นธ์ เปน็ ตน้ ๒. เนอ้ื หา (Content) ได้แก่เน้อื หาสาระทีศ่ ิลปนิ สรา้ งขึ้นเพือ่ บอกกล่าวถงึ ความรสู้ ึกนกึ คดิ ตามความประสงค์ของศลิ ปินและชา่ งฝีมอื เชน่ เร่ืองราวในวรรณกรรม รปู ลกั ษณ์ในงานจิตรกรรม รูปลกั ษณ์ ในงานประติมากรรม ๓ . สุนทรียธาตุ (Aesthetical element) หมายถึง ความงามของวตั ถสุ ามอย่าง คอื ความงาม (Beauty) ความแปลกหแู ปลกตา (Picture queness) และความนา่ ทึ่ง (Sublimity) ผลงานศลิ ปะ อาจจะมที งั้ ความงามเพียงอยา่ งเดียวหรือหลายอยา่ งก็ได้ เชน่ พระพทุ ธรูปอาจจะมีความงามและความน่าทง่ึ ปะปนกนั อยู่ มนุษยส์ ามารถเขา้ ถึงไดจ้ ะตอ้ งศกึ ษาและฝกึ ฝนเพ่ือใหเ้ กิดความร้คู า่ (Appreciation) อาจจะ ท�ำ โดยการอ่าน การฟัง และการดูในสิ่งที่ดีงาม ซง่ึ จะชว่ ยใหเ้ กิดอารมณส์ ะเทอื นใจ ไม่เสอื่ มคลายอยู่ในความ ทรงจำ� เปน็ งานศิลปะชัน้ สงู สามารถนำ�ไปพฒั นาความรสู้ กึ ทางสุนทรียภาพได้ ๔. ธาตศุ ลิ ปนิ (Artistic element) เป็นความรสู้ ึกนึกคิดของศิลปนิ ที่แฝงอยใู่ นงานศิลปะ ๒

บทที่ ๑ : บทนำ� ทส่ี ร้างขน้ึ ธาตศุ ลิ ปนิ จะช่วยให้งานศลิ ปะมีพลัง มีความร้สู ึกท่ีมีคุณค่า เพราะส่งิ ท่แี สดงให้เหน็ ถงึ ความศรทั ธา และชีวิตจิตใจของศิลปินท่ีทุ่มเทไว้ในงานศิลปะถ้าศิลปินขาดธาตุศิลปินอาจจะทำ�ให้งานนั้นเป็นเพียงงาน ฝีมอื ธรรมดา องค์ประกอบเหลา่ นเี้ ป็นแนวคดิ ของปรัชญาชาวตะวนั ตกน�ำ มาปรบั ใช้ให้เขา้ กบั ศิลปะไทยเพราะ ศลิ ปะไทยมสี งิ่ เหลา่ นเี้ ตม็ เปย่ี มจะเหน็ ไดใ้ นงานจติ รกรรมงานประตมิ ากรรมงานเครอ่ื งปนั้ ดนิ เผางานหตั ถศลิ ป์ และงานสถาปตั ยกรรมเมอื่ ไดท้ ราบขอ้ มลู หรอื เรอื่ งราวคา่ นยิ มของศลิ ปะจะชว่ ยใหเ้ ราเขา้ ใจในศลิ ปะและจ�ำ แนก ไดว้ า่ สงิ่ ใดเปน็ ศลิ ปะหรอื ไม่ซงึ่ ศลิ ปะเปน็ สง่ิ จ�ำ เปน็ ส�ำ หรบั มนษุ ย์เพราะศลิ ปะสะทอ้ นออกมาจากจติ ใจของมนษุ ย์ ออกมาเปน็ รปู ทรง (Form) เป็นสีสัน เป็นเสยี งและบทกวี ดงั นนั้ ศิลปะจึงจ�ำ เป็นในชีวติ มนุษยท์ ข่ี าดไม่ได้ และ ศลิ ปะก็จะไม่เกิดข้ึนถา้ ขาดชวี ิตมนษุ ย์ แบบอยา่ ง (Style) โดยท่ัวไป หมายถงึ ลักษณะท่เี ด่นเฉพาะของรูปแบบและกลวิธใี นการสร้างสรรค์ งานศิลปนิ หรอื หมายถงึ วิธกี ารแสดงออกท่ศี ิลปินแตล่ ะคนหรือแตล่ ะกล่มุ ใช้ในการสร้างสรรคง์ าน อนั เปน็ ลกั ษณะเฉพาะทสี่ งั เกตเหน็ ไดช้ ัด (ราชบัณฑิตยสถาน,๒๕๔๑:๒๑๓) แบบอยา่ งของผลงานศลิ ปกรรมตง้ั แตอ่ ดตี มพี ฒั นาการทตี่ อ่ เนอื่ งในการรบั อทิ ธพิ ลและสง่ อทิ ธพิ ลทป่ี รากฏ ในปัจจบุ ันจะมกี ารเปล่ยี นแปลงด้านความงาม ความคดิ องค์ประกอบ การสรา้ งสรรค์มากขึน้ ตามลำ�ดบั ประเภทของศลิ ปะ ศลิ ปะแบง่ ตามจดุ มุ่งหมายของการสรา้ งได้เปน็ ๒ ประเภท ดังน้ี ๑. วจิ ิตรศิลป์ (Fine Arts) หมายถึง งานอันเป็นความพากเพียรของมนษุ ย์ นอกจากต้องใช้ ความพยายามดว้ ยฝีมือ ด้วยความคิดแลว้ ตอ้ งมกี ารพวยพ่งุ แห่งพทุ ธปิ ัญญา และจติ ออกมาด้วย กลา่ วตาม อย่างภาษาสามญั คือ ตอ้ งมีใจจดจ่ออยู่กับส่งิ ท่ที �ำ เพ่อื ใหเ้ กิดปญั ญาความคดิ และความรสู้ ึกทางใจ ใหพ้ วยพุ่ง ออกมาและแทรกซมึ เข้าไปในส่งิ นน้ั เรยี กเป็นค�ำ เฉพาะของศัพท์ทางศิลปะวา่ (Emanation) คอื การพวยพ่งุ ออกมา ๒ . ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) เปน็ ศิลปะทไี่ ด้น�ำ ศิลปะบริสุทธิม์ าใช้ หรอื คดิ ดดั แปลงให้ใช้ได้ กบั จงั หวะและโอกาส เปน็ ศลิ ปะท่ีประยกุ ต์เอามาใช้งานตา่ งๆ เช่น การออกแบบตกแตง่ การอตุ สาหกรรม ศิลปะการคา้ ศิลปะบนลายผ้า ซงึ่ จะมีความงามและประโยชนใ์ ช้สอยควบคู่กนั ประสานกลมกลนื ได้อย่าง ลงตัว และเป็นส่งิ อ�ำ นวยความสะดวกให้อยู่อยา่ งสุขสบาย สรปุ วิจิตรศลิ ปแ์ ละประยุกต์ศลิ ปเ์ ป็นงานท่เี กิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ท่จี ะตอ้ งเกี่ยวข้อง กบั ความรสู้ กึ นกึ คดิ และจติ ใจและฝมี อื มนษุ ยท์ สี่ รา้ งสรรคข์ น้ึ มที งั้ ความงามและประโยชนใ์ ชส้ อยควบคกู่ นั โดย มอี งค์ประกอบสำ�คญั ๔ อย่างจึงจะทำ�ใหผ้ ลงานทั้ง ๒ ประเภท มคี วามสมบูรณส์ วยงามในตัวของมันเอง ศลิ ปะในกล่มุ วจิ ิตรศลิ ป์ มี ๕ ประเภท ๑. จติ รกรรม (Painting) เปน็ ศิลปะที่แสดงออกดว้ ยการใช้สี แสงเงา มลี กั ษณะเปน็ แผน่ ภาพที่ แบนราบ เป็น ๒ มติ ิ สรา้ งภาพลวงตาดว้ ยนำ�ห้ นกั รูปทรง สี พื้นผิว โดยใช้วสั ดตุ า่ งๆ เชน่ พกู่ นั แปรง เกรยี ง มดี มาระบาย ปาด ปา้ ยลงบนระนาบให้เกิดมิติลึกตื้น ใกล้ ไกล ทำ�ให้ภาพเหลา่ นนั้ มคี วามงามดว้ ย แนวคิด วธิ กี าร แสดงออกความเปน็ เอกภาพของวสั ดใุ นการน�ำ มาผสมผสานกนั ให้เกดิ อารมณ์ความรู้สกึ ทีแ่ ฝงอยูใ่ นผลงาน ๓

ประวัติและแบบอยา่ งศิลปะไทย ๒. ประติมากรรม (Sculpture) เป็นศิลปะทแ่ี สดงออกด้วยการใช้วสั ดุและปริมาตรของรปู ทรง ให้เหน็ น�ำ ้ หนกั และแสงเงา มีรปู ทรงท่ีแตกตา่ งกัน มีทั้งขนาดใหญ่ เล็ก โดยกรรมวธิ ีการปัน้ หรือแกะสลกั เช่น พระพิมพ์ พระพุทธรปู อนุสาวรยี ต์ า่ งๆ เป็นต้น ๓ .สถาปตั ยกรรม(Architecture)เปน็ ศลิ ปะทแ่ี สดงออกดว้ ยการใชว้ สั ดโุ ครงสรา้ งและปรมิ าตร ของท่วี ่างกบั รปู ทรง ถอื ว่าเป็นงานออกแบบในการก่อสร้างที่ความสวยงาม สง่า บางแหง่ ออกแบบตกแต่งไว้ อยา่ งโอ่โถง บางแหง่ ดูน่าเกรงขาม ล้วนเป็นงานศลิ ปะทสี่ ำ�แดงอารมณเ์ ขา้ ครอบงำ�ผชู้ มหรอื ผผู้ า่ นเข้าไป ซงึ่ สิ่งเหลา่ นีม้ อี ิทธพิ ลตอ่ ดา้ นจิตใจของผ้ชู ม ๔. ดนตรแี ละนาฏกรรม (Music and Drama) เป็นศิลปะท่ีแสดงออกด้วยการใช้เสียงหรอื ภาษา และการเคล่ือนไหวของรา่ งกาย การร่ายร�ำ และกจิ กรรมบนั เทิงท่ีมดี นตรปี ระกอบ ดนตรียอ่ มให้อารมณน์ อ้ ม นำ�ทางจิตใจอยา่ งดีเลศิ เช่น ความไพเราะ ความสนกุ สนาน ความเศร้า ความต่ืนเตน้ น่ากลวั เปน็ ต้น ๕. วรรณกรรม (Literature) เป็นศิลปะทีแ่ สดงออกด้วยการใชภ้ าษา เช่น บทกวีนิพนธ์ การ ประพันธ์เป็นที่รู้จักและเข้าใจกันดีด้วยผลงานเหล่าน้ีสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้คนตกอยู่ในอิทธิพลได้ง่าย การประพันธ์สามารถสอดแทรกความคิด อุดมคติ ทำ�ให้ผู้คนเอาอย่าง และเกิดความซาบซ้ึงเลอ่ื มใสของผคู้ น ในสิง่ เหล่านั้นได้งา่ ย เป็นการกระตุ้นได้ดี ภาพที่ ๑.๑ แสดงผลงานจิตรกรรม ภาพท่ี ๑.๒ แสดงผลงานประติมากรรม ภาพท่ี ๑.๓ แสดงผลงานสถาปัตยกรรม ภาพท่ี ๑.๔ แสดงการเล่นดนตรไี ทย ๔

บทท่ี ๑ : บทนำ� ภาพที่ ๑.๕ แสดงการเล่นดนตรีสากล ภาพที่ ๑.๖ แสดงวรรณกรรมบทประพันธ์ ประยุกตศ์ ิลป์ (Applied Arts) เปน็ ศิลปะทไี่ ด้น�ำ ศลิ ปะบริสทุ ธม์ิ าใช้ หรือดัดแปลงน�ำ ไปใชใ้ นแตล่ ะ จังหวะและโอกาสตา่ งๆ ตามความเหมาะสม ก ารประยกุ ต์ใชใ้ นเพลงคลาสสคิ จากเพลงท่มี จี ังหวะทีเ่ รียบๆงา่ ยๆเม่ือน�ำ มาใชใ้ นการเตน้ ร�ำ หรืองาน รนื่ เรงิ สมยั ใหม่กจ็ ะตอ้ งเพม่ิ จงั หวะจะโคนใหค้ วามสนกุ สนานรนุ แรงรอ้ นแรงมากขน้ึ ดว้ ยการเพม่ิ เครอื่ งดนตรี เพ่มิ สสี ันของดนตรี เพ่ือให้เขา้ กบั ยคุ สมัยใหม่ แตย่ ังคงกลิน่ ไอ ความรสู้ ึกของเพลงเกา่ เอาไว้ เพือ่ ใหบ้ รรยากาศ ของเพลงครกึ คร้ืนและทนั สมยั ขน้ึ ด้านการค้าศลิ ปะอุตสาหกรรม (Industrial Art) จะต้องมีการออกแบบใหเ้ ตะตา ถูกกับรสนยิ มใน สมยั ใหม่ ซ่งึ จะประกอบด้วยความงามแปลกตา นา่ ทง่ึ เพ่ือจะแข่งขนั กับบริษทั อน่ื ๆ ได้ ซ่งึ จะตอ้ งออกแบบ ใหม้ ีการเคล่ือนไหวอยูเ่ สมอ เชน่ การออกแบบรถยนต์ และผลติ ภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ง านหัตถศลิ ป์หรืองานประณตี ศิลป์ เป็นผลงานท่ีต้องใช้ความประณตี ทีท่ ง้ั ความงามเปน็ หลกั ส�ำ คญั และมีประโยชนใ์ ชส้ อยควบค่กู ันดว้ ย มีพฒั นาการอยา่ งต่อเนื่องตง้ั แตอ่ ดตี จนถงึ ปจั จบุ นั ช่วงในสมัยก่อนจะ สร้างขน้ึ เพอื่ ประกอบในพิธกี รรมตา่ งๆ และใชส้ อยในครัวเรือน และเพือ่ ตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ ภาพที่ ๑.๗ แสดงผลงานหัตถศิลป์ เครือ่ งสูงพระทน่ี ัง่ จ�ำ ลอง พานพระศรี สมยั อยุธยา ศ ลิ ปะไทย(ThaiArt)คือผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะที่สืบทอดกนั มาในสายวฒั นธรรมไทยจนกลาย เป็นสิง่ ที่แสดงเอกลักษณ์อยา่ งหนงึ่ ของชาตไิ ทย เช่นเดียวภาษา วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ซ่งึ เป็นสง่ิ บ่งบอกความเปน็ ไทย (อภัย นาคคง,๒๕๔๓: ๗) สงิ่ ท่ชี า่ งโบราณสรา้ งผลงานศิลปกรรมทม่ี ีเอกลกั ษณ์ ๕

ประวตั ิและแบบอยา่ งศิลปะไทย เฉพาะตนของไทยอยา่ งตอ่ เนื่อง และยาวนานตัง้ อดีตจนถึงปัจจุบนั นัน้ บรรพบุรุษได้เลือกเอารูปแบบเน้ือหา อุดมคติ วสั ดแุ ละวธิ ีการท่เี หมาะสมกับรสนยิ มในแตล่ ะสมัย รวมท้งั ให้เข้ากบั วถิ ีชีวิตของชาติไทยในแต่ละช่วง เวลาได้เปน็ อย่างดี ศ ลิ ปะไทยจะแสดงออกทางความงามท่สี ืบทอดกันมายาวนาน ซงึ่ เปน็ สงิ่ ท่ีมนษุ ย์สรา้ งขึน้ โดยความ รสู้ กึ นึกคดิ ในวทิ ยาการแขนงตา่ งๆ ท่ีผูกพันกบั คนไทย สถาบนั ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริยอ์ ยา่ งตอ่ เนือ่ งมาโดยตลอด ศิลปะไทยเหล่าน้ี จงึ เป็นมรดกทางวฒั นธรรมทบี่ ง่ บอกถึงความเป็นชาติไทยท่ีมคี วามดี งามปรากฏภายในศิลปกรรมเหลา่ นี้ ทำ�ไมเราจึงตอ้ งเรยี นร้ศู ลิ ปะไทย ศ ลิ ปะไทยถอื วา่ เปน็ มรดกทางวฒั นธรรมของไทยทบ่ี ง่ บอกถงึ รปู แบบขนบธรรมเนยี มประเพณีววิ ฒั นา การของวิทยาการของช่างที่มีการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองและยาวนานที่มีพลังศรัทธาของช่างที่มีต่อพุทธ ศาสนา ซ่ึงเป็นการรักษา สบื ทอด ระลกึ ถึงพุทธศาสนา และเป็นการอนรุ กั ษ์ ความดงี ามเหลา่ น้ใี ห้คงอยูต่ ลอด ไปกบั บรรพชนรนุ่ ใหม่ ไดเ้ ห็นวธิ ีคิดในการสร้างงานศิลปกรรมของช่างโบราณ ซ่ึงคนรนุ่ ใหม่จะตอ้ งทำ�ความ เขา้ ใจสิง่ เหลา่ นน้ั เพอื่ เปน็ พนื้ ฐานในการเรียนวชิ าอ่ืนๆ โดยเฉพาะด้านศลิ ปกรรมจะเป็นพ้นื ฐานในการพฒั นา ตอ่ ยอดการสรา้ งสรรคแ์ ละออกแบบผลงานตอ่ ไป และเปน็ ส่วนหน่ึงในการรกั ษา อนรุ ักษว์ ฒั นธรรมของ ชาติเอาไว้ ซึง่ จะตอ้ งศกึ ษาศิลปะไทยให้มคี วามลึกซ้ึงในเรื่องคุณคา่ รูปแบบต่างๆ เหตุผลในการสร้างประวัติ ความเปน็ มาและการเชอ่ื มโยงกบั ศลิ ปะไทยอน่ื ๆสงิ่ ตา่ งๆเหลา่ นจ้ี ะเปน็ พนื้ ฐานในการสรา้ งสรรคง์ านตอ่ ไปโดย น�ำ ไปประยุกตใ์ ห้เขา้ กบั ยคุ สมัยในปัจจบุ ัน ท่ีมกี ารเปล่ยี นแปลงและเจริญกา้ วหน้าอย่างรวดเรว็ ล กั ษณะของศิลปะไทย มลี ักษณะท่ปี รากฏท้งั จติ รกรรม ประติมากรรม สถาปตั ยกรรม งานหตั ถศิลป์ สามารถอธบิ ายภาพรวม ดงั น้ี ๑. ลักษณะทางความคดิ ศลิ ปะไทยมีลักษณะแนวคิดแบบอดุ มคติ ซึ่งช่างโบราณมรี ูปแบบใน การสร้างงานศลิ ปะไทยทม่ี กี ารประดษิ ฐ์คิดคน้ พฒั นาการอย่างต่อเนอื่ งท่มี ีลกั ษณะที่แปลกแตกตา่ งจากความ เปน็ จริงตามธรรมชาติ ทม่ี กี ารลดตัดทอนรปู ทรงตามจินตนาการของช่างและแนวคิดทีม่ ีความศรัทธาตอ่ พุทธ ศาสนา ๒. ลักษณะทางความรู ้ ศลิ ปะไทยทุกแขนงทีส่ รา้ งขึ้นมายาวนานมาจากการทดลอง ส่ังสมความ รู้ วิทยาการการใช้วัสดุจากทรพั ยากรธรรมชาตผิ สมผสานกบั วิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสม จึงเกิดผลงานศิลปะ ไทยตา่ งๆ ทีม่ คี ณุ ค่า คงทนถาวร มีอายุยาวนานจนถงึ ปจั จุบัน มคี วามใหญโ่ ต แขง็ แรง ๓ .ลกั ษณะทางความสามารถ ศลิ ปะไทยเปน็ ผลงานทแี่ สดงความสามารถของชา่ งโบราณทอ่ี าศยั ความศรทั ธาอนั แรงกล้าตอ่ พทุ ธศาสนาท่ีผู้สรา้ งมคี วามปรารถนาบญุ กุศลและปรารถนาความดงี ามใหเ้ กดิ ข้ึน กบั ผสู้ ร้างงานศลิ ปะไทย ๔ . ลกั ษณะทางการแสดงออก ศลิ ปะไทยแตล่ ะแขนงมีการแสดงออก ท่ีแสดงถึงความศรทั ธาอนั แรงกล้าต่อพุทธศาสนา ทผ่ี สู้ ร้างมคี วามปรารถนาบญุ กศุ ล และปรารถนาความดงี ามใหเ้ กดิ ขน้ึ กับผ้สู รา้ งงาน ศลิ ปะไทย ๖

บทท่ี ๑ : บทนำ� รูปแบบ มกี ารแสดงออกลกั ษณะอดุ มคติ (Idealistic) ท่มี ีการพัฒนาการอย่างต่อเน่อื ง จนมรี ปู แบบทางความงามท่ีเปน็ เอกลกั ษณเ์ ฉพาะตน เช่น รปู ทรงพระพทุ ธรูปที่มีความสวยงามและเป็นความส�ำ เรจ็ ในการสรา้ งในสมยั สุโขทยั มลี กั ษณะพเิ ศษ เชน่ รปู รา่ งอ้อนแอน้ อรชร มีผิวพรรณเกลีย้ งเกลา กลมกลึง มีรปู หน้าเป็นรปู ไข่ มไี หล่โคง้ อกดงั ราชสหี ์ แขนอ่อนดงั งวงชา้ ง น้วิ เสมอกนั ดงั เล่มเทยี น ควิ้ โก่งดังคันศร ตางาม ดังตากวาง จมูกดังขอ ปากดังกระจบั คางดังผลจันทร์ เป็นต้น ซงึ่ เปน็ แบบอุดมคตทิ ีช่ า่ งจินตนาการข้ึนให้มี ความงดงามกว่ารปู รา่ งคนธรรมดาทัว่ ไปและรปู ลกั ษณะของสถาปตั ยกรรม และงานหตั ถศิลปต์ ่างๆรวมท้งั ลวดลายต่างๆ ช่างก็ประดษิ ฐค์ ดิ ค้นและแสวงหารูปแบบรูปทรงทม่ี ีความเปน็ อุดมคติ และรสนยิ มของคนไทย ที่มีเหตผุ ลและท่มี าต่างๆ กนั สาเหตทุ ี่ท�ำ ใหเ้ กดิ เอกลักษณ์ไทย อันเน่ืองมาจากสภาพแวดลอ้ มและวถิ ชี ีวติ ในแต่ละยุคสมัย การปกครองเศรษฐกิจของบา้ นเมอื ง ความเช่ือ ความศรทั ธาของประชาชนและกษตั รยิ ์ปกครองกอ่ ให้เกิดเอกลักษณ์ ลักษณะของศิลปะไทยมกี าร พัฒนาและการรับส่งอิทธิพลของศิลปะไทยให้เกิดความมีเอกลักษณ์ในแต่ละยุคสมัยท่ีมีความงามน่าสนใจ และมคี วามหมายแตกตา่ งกัน ซ่ึงมปี จั จยั ท่ีส�ำ คัญดังนี้ ๑. ความอุดมสมบรู ณ์และความปลอดภัยในสภาพภมู ิศาสตร์ เ น่อื งจากพืน้ แผ่นดินไทย มคี วามอดุ มสมบรู ณ์ดว้ ยพชื พันธธ์ ัญญาหารที่ดี ไมร่ อ้ นไมห่ นาวจนเกิน ไป ไม่มภี ัยรา้ ยแรงทางธรรมชาติ เช่น ภเู ขาไฟระเบดิ แผน่ ดินไหว นำ�้ทว่ ม จงึ ทำ�ให้ผูค้ นในสังคมไทยอยเู่ ย็น เปน็ สุข และแสวงหาความรน่ื รมย์ให้กบั ชีวิต ผูค้ นจึงมีเวลาท่ีจะคดิ สรา้ งสรรค์ผลงานศิลปกรรมไทยอยา่ งตอ่ เนื่อง ลกั ษณะพเิ ศษของศิลปกรรมจงึ แสดงออกถงึ ความงาม ความอดุ มสมบรู ณ์ ความปลอดภัยในสภาพ ภมู ิศาสตร์ ๒. ความเป็นอิสระเสรีในทางประวัตศิ าสตร์ ชาติไทยเปน็ ประเทศท่ีมอี ิสรเสรที างการเมอื งการปกครองยาวนานจงึ มีคำ�กล่าวว่า“ทำ�อะไรกไ็ ด้ ตามใจคอื ไทยแท”้ เปน็ การสรา้ งสรรคส์ งิ่ ตา่ งๆในศลิ ปกรรมไทยจงึ มอี สิ ระทางความคดิ ไดท้ ดลองคดิ คน้ หาแนวทาง รปู แบบตา่ งๆ ตามความคิดเหน็ จินตนาการช่างโบราณจงึ มรี ูปแบบท่ีแปลกพิสดารตามแบบอดุ มคติ จะเหน็ ได้ ชดั จากการพฒั นาลวดลายต่างๆ และสตั ว์หมิ พานต์ ภาพท่ี ๑.๘ แสดงพระพุทธรูปปางมารวชิ ัย พทุ ธศลิ ป์สมัยสโุ ขทยั ๗

ประวตั ิและแบบอย่างศลิ ปะไทย ๓. ลกั ษณะการมคี วามศรทั ธามน่ั คงในพระพทุ ธศาสนา ช นชาตไิ ทยมศี าสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำ�ชาติมายาวนาน ท�ำ ใหป้ ระชาชนมีความเชอ่ื ศรทั ธาตอ่ พระ พุทธเจ้า และคำ�สอนของพระพุทธศาสนาทำ�ใหเ้ กิดวฒั นธรรม ประเพณตี ่างๆ ภาษา ขนบธรรมเนยี มกจิ กรรม ทางสังคม และศิลปกรรมตา่ งๆ ที่ถอื ว่าเปน็ ศิลปะไทย เช่น จติ รกรรม สถาปตั ยกรรม ประติมากรรม งาน ประณีตศิลป์ ล้วนแล้วสรา้ งขนึ้ จากความปรารถนาดี คณุ งามความดี และบญุ กศุ ลเปน็ สำ�คัญ และแรงบนั ดาล ใจหลกั ในการสรา้ งสรรค์ผลงานเหลา่ น้ัน (ภาพท่ี ๑.๘) ๔ . ความจงรกั ภกั ดใี นพระมหากษตั รยิ ์ พ ระมหากษตั รยิ ์ในแตล่ ะยุค แต่ละสมัย มคี วามสำ�คัญมากต่อชาติบา้ นเมอื งในการกอบกู้เอกราช รว่ มรบกบั ประชาชน และสามารถรักษาชาตบิ ้านเมืองไว้หลายครง้ั เช่น พระเจ้าตากสินกอบกเู้ อกราชครั้ง เสียกรงุ ศรอี ยธุ ยาครงั้ ที่ ๒ ท�ำ ใหม้ ชี าตไิ ทยจนถึงทุกวันนี้ การสรา้ งผลงานศิลปกรรมทีม่ เี อกลักษณ์พเิ ศษของ ความเปน็ ไทยจึงมรี ูปแบบในการจงรกั ภักดีต่อสถาบนั พระมหากษัตรยิ โ์ ดยจะมีความประณีต งดงาม เชน่ เดียวกับศิลปะในพระพุทธศาสนา ๕ . ความฉลาดในการรับแบบอย่างจากชาติอน่ื ๆ ช าตไิ ทยอยู่ท่ามกลางนานาประเทศที่อย่รู อบๆ เช่น มาเลเซยี อนิ โดนเี ซีย พม่า เขมร รวมทัง้ ชาติ ตะวันตก ซ่ึงชาวไทยได้ตดิ ต่อค้าขายมีความสัมพันธก์ ับประเทศเพื่อนบ้านมายาวนาน และไดต้ กเปน็ เมอื ง ขน้ึ ของเขมร ทำ�ใหก้ ารไหลบ่าทางวฒั นธรรมทางดา้ นรูปแบบ แนวคิด ทกั ษะเชิงชา่ ง ทำ�ให้มอี ิทธพิ ลตอ่ การ สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม แตช่ ่างไทยกม็ คี วามฉลาดในการเลือกรบั เอาแบบอยา่ งทีด่ ีงามน�ำ มาปรับปรงุ เพมิ่ เติมใหม้ เี อกลกั ษณ์ของชา่ ง และแนวคดิ ของไทยได้อยา่ งแยบยนและสวยงาม จนมีเอกลกั ษณพ์ ิเศษของ ศลิ ปะไทย (ภาพท่ี ๑.๙) ภาพที่ ๑.๙ แสดงการรับอิทธพิ ลระหว่างรูปแบบ ศลิ ปะขอมกบั ศลิ ปะไทยสมัยอทู่ อง ศิลปะสมัยอยุธยาตอนตน้ ๖. ความม่ันคงในทรพั ยากรธรรมชาติ เ นื่องจากผนื แผน่ ดินไทยเป็นแหลง่ อุดมไปดว้ ยทรพั ยากรธรรมชาตินานาชนิด ทีน่ ำ�มาเป็นวสั ดุใน การน�ำ มา สรา้ งงานศิลปกรรมมากมาย เชน่ ดินที่เหมาะสมในการท�ำ เคร่ืองปั้นดนิ เผาไดท้ ุกภมู ิภาค หนิ ท่ี เหมาะสมนำ�มากอ่ สร้าง และแกะสลักทุกประเภท มีไม้และไมไ้ ผ่หลากหลายชนดิ ในการเป็นวัสดสุ ร้างงาน มี แรโ่ ลหะตา่ งๆ มาหล่อหลอม ทั้งทองคำ� อัญมณีท่ีเหมาะสมในงานหัตถศิลป์ นำ�้ยางรัก หอยมุก ทองคำ�เปลว สง่ิ เหลา่ นที้ ำ�ใหผ้ ลงานศิลปกรรมต่างๆ มเี อกลักษณพ์ เิ ศษเหนือกวา่ ชาติอน่ื ๆ ทั้งในเอเชยี และตะวันตก ๘

บทที่ ๑ : บทนำ� เราจะศึกษาศลิ ปะไทยจากด้านตา่ งๆ ดังนี้ ก ารทจี่ ะศกึ ษาศลิ ปะไทยใหเ้ ขา้ ใจลกึ ซงึ้ ในแตล่ ะแขนงทป่ี รากฏมาตง้ั แตอ่ ดตี จนถงึ ปจั จบุ นั เพอื่ เปน็ พ้ืนฐานในการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปกรรมในอนาคตต่อไปรวมท้ังเป็นการก่อให้เกิดผลทางการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปะไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้ชว่ั ลกู ช่ัวหลาน จะต้องศกึ ษา และท�ำ ความเขา้ ใจใน หลกั การท่เี ป็นสากล ดงั น้ี ๑.ศกึ ษารูปแบบไดแ้ ก่รูปร่างลักษณะตา่ งๆคอื รูปรา่ งรูปทรงทรวดทรงเส้นสีพน้ื ผวิ และลวดลาย ท่มี รี สนิยม ความงาม จินตนาการทส่ี ืบเน่ืองกนั มาในสายเลอื ดของคนไทยมายาวนานวา่ มีลักษณะอย่างไรใน แตล่ ะแขนงทม่ี ีการพฒั นาในชว่ งเดยี วกนั และในแต่ละช่วงมรี ปู แบบในการรับส่งอิทธิพลอยา่ งไร รวมท้ังแนว ความคิด ความเช่อื หน้าที่ใชส้ อย ท่ีแฝงอยใู่ นรูปแบบศลิ ปกรรมเหล่านนั้ ๒ . ศึกษาเหตผุ ล ในผลงานศลิ ปกรรมท่มี แี นวความคิด ความเชื่อตอ่ พุทธศาสนาอย่างไร มีเหตุผล อย่างไรในการเลือกใช้วัสดุ การสร้างสรรค์จินตนาการรปู ทรงใหม้ คี วามสวยงาม ความประณตี อย่างไร ล้วน แล้วเกิดขนึ้ จากการแก้ปญั หาทดลองในการคดิ จินตนาการขน้ึ เพอ่ื ให้มนุษยก์ ับสงิ่ แวดล้อมไดอ้ ยู่ร่วมกันพึ่งพา อาศัยซึง่ กนั และกนั ได้อย่างกลมกลืน ๓. ศึกษาความเปน็ มา เป็นการศึกษาใหเ้ ข้าใจต้นก�ำ เนิดของแนวความคิดในการสร้างสรรคแ์ ละ มวี วิ ัฒนาการต่อเน่ืองกันอยา่ งไร พัฒนาการใหเ้ กดิ ผลงานใหมอ่ ยา่ งไร จะต้องทำ�ความเขา้ ใจของการสืบเนอ่ื ง ทางศลิ ปะไทยที่ตกทอดมาจนถึงปัจจบุ นั เพ่ือความรอบรู้ เช่อื มโยงความสัมพันธ์ต่างๆ ของศิลปกรรมในอดีต และอนาคตได้ดี ๔. ศึกษาวธิ ีการ จะตอ้ งศกึ ษาถึงกรรมวิธีการสรา้ งผลงานศิลปกรรมในแตล่ ะประเภทให้เหน็ ถงึ กระบวนการสร้างสรรค์ ต้ังแตต่ น้ จนถึงขนั้ ตอนสดุ ทา้ ยว่าในแต่ละขัน้ ตอนมเี ครอ่ื งมือ ส่วนประกอบ และ มี วิธีการอย่างไร ที่จะท�ำ ใหเ้ กิดทกั ษะและพัฒนาการอยา่ งไร เพ่ือนำ�มาประยุกต์ให้เข้ากบั ยคุ สมยั ปจั จุบนั ๕. ศกึ ษาความเกีย่ วเน่อื งกบั สิ่งอน่ื ศลิ ปกรรมไทยในแต่ละแขนงลว้ นแล้วมกี ารเช่อื มโยงตอ่ เน่อื ง กบั ชนชาติอนื่ ๆ ลทั ธิ ความเชอ่ื กับศาสนาอน่ื เช่น พราหมณ์ ฮินดู อินเดยี พม่า ลัทธิความเช่อื ต่างๆ จะต้อง ศกึ ษาความเกีย่ วเน่อื งกับส่งิ เหล่าน้ี ท่มี ีความเกีย่ วโยง รวมทัง้ ลทั ธคิ วามเชื่อรปู แบบของตะวนั ตก ท่ที �ำ ให้การ สร้างงานศลิ ปกรรมไทยมีลกั ษณะพเิ ศษ ซ่ึงเปน็ ส่วนสำ�คัญท่ีจะท�ำ ใหเ้ ราเขา้ ใจศลิ ปะไทยไดอ้ ยา่ งลึกซึง้ มากย่ิง ขน้ึ คุณคา่ ในงานศิลปะไทย ผลงานศิลปกรรมไทยมีคุณค่าต่อความเป็นชาติไทยอันเป็นเอกลักษณ์ท่ีสำ�คัญของคนไทยและ ประเทศไทย ดงั น้ี ๑ .คุณคา่ ทางความคดิ ศิลปะไทยแสดงให้เหน็ ความรำ่�รวยทางปญั ญาของคนไทยที่สามารถ แสดงความคดิ สร้างสรรค์ จนเกิดเป็นศิลปะท่ีมลี ักษณะอุดมคตแิ ปลกกว่าธรรมชาติ งดงามเหนอื ความเป็นจริง ๒. คณุ ค่าทางความรู้ แสดงใหเ้ ห็นการศกึ ษาคน้ คว้า เรอื่ งการใช้วสั ดุและการใชว้ ชิ าการที่เหมาะ สม ความสมั ฤทธิ์ของผลงานในทางวชิ าการ กค็ อื ผลงานศิลปะไทยมคี วามใหญ่โต แขง็ แรง ทนทานถาวร เทยี บ กนั กบั ผลงานศลิ ปะของชาติอื่นๆ ๙

ประวัติและแบบอย่างศิลปะไทย ๓. คณุ คา่ ทางความสามารถ แสดงให้เห็นพลังทางการสรา้ งสรรค์ มีการใชก้ �ำ ลงั กายความคดิ ทกั ษะฝมี อื และก�ำ ลังงาน มวี ิธีการจดั การเกย่ี วกับคนและวสั ดไุ ดอ้ ยา่ งถกู ต้อง ผลงานศิลปะไทยเป็นส่ิงยืนยัน ความวิริยะอุตสาหะ และการเอาชนะความยากไดท้ ุกสาขา ๔. คุณคา่ ทางรสนิยม แสดงให้เหน็ การศึกษาอบรมการปลกู ฝงั สุนทรียรสแกม่ วลชน ท้งั มีการสบื ตอ่ ความรู้ ความคดิ ความเชื่อทางความงามตลอดมาทุกยคุ สมยั เพราะผลงานศลิ ปะไทยแมว้ ่าจะมรี ปู แบบ แตกต่างกนั บ้างตามยคุ สมัยต่างๆ แตม่ คี ณุ ค่าคงทีค่ ือ มีความงามเสมอกนั ตลอดจนทกุ ยคุ ทกุ สมยั ๕. คุณค่าทางการแสดงออก แสดงใหเ้ หน็ ความเลื่อมใสศรทั ธาในพระพุทธศาสนา และความ จงรกั ภักดีในพระมหากษตั ริย์ ศิลปวัตถทุ ่ีสรา้ งสรรคส์ บื ทอดกนั มาลว้ นท�ำ ขน้ึ เพอ่ื เชดิ ชูคุณธรรม ศาสนธรรม ปรารถนาบญุ กศุ ลและคณุ งามความดเี ปน็ ทีต่ ้ัง ศลิ ปะไทยจึงเปน็ การแสดงออกทางความดีงามอย่างแทจ้ ริง ศ ลิ ปะไทยถอื ว่าเปน็ สมบตั ขิ องชาติไทยและเป็นของคนไทยทกุ คนทจ่ี ะต้องช่วยกันรกั ษา อนุรักษ์ ใหค้ งอยูต่ ลอดช่ัวลูกหลานได้ศกึ ษาหาความรู้เขา้ ใจถงึ พฒั นาการการรับอิทธพิ ลของศิลปกรรมไทยภูมปิ ัญญา องค์ความรู้ของชา่ งโบราณท่ีส่งั สมสบื ทอดมายาวนาน ซึง่ สร้างสรรค์ขึ้นเพ่อื แสดงออกทางความดงี าม ต่อพระ พทุ ธศาสนาอนั แรงกลา้ และเปน็ การสืบทอดพระพทุ ธศาสนาให้เจรญิ ร่งุ เรืองสืบตอ่ ไป ๑๐

บทท่ี ๒ : สมัยก่อนประวตั ิศาสตรใ์ นประเทศไทย บทที่ ๒ สมยั ก่อนประวัติศาสตรใ์ นประเทศไทย ใ นการศึกษาประวัติและแบบอย่างศิลปะไทยให้เข้าใจนั้นจะต้องเรียนรู้เร่ืองราวย้อนหลังของมนุษย์ ต้งั แตก่ อ่ นประวตั ศิ าสตร์ เพ่อื จะไดท้ ราบถงึ วัฒนธรรม วิถีชีวติ ความเชือ่ ทา่ มกลางส่งิ แวดลอ้ มท่แี ตกต่างกัน ในแตล่ ะยคุ สมยั เพอ่ื ความเขา้ ใจในการเปรยี บเทยี บกบั วฒั นธรรมแบบอยา่ งในระหวา่ งสมยั กอ่ นประวตั ศิ าสตร์ กบั สมยั ประวตั ศิ าสตรข์ องศลิ ปะไทยไดด้ ยี ง่ิ ขนึ้ การขดุ คน้ พบทางโบราณคดี สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทย การขดุ คน้ พบทางโบราณคดี เพอ่ื การศึกษาคน้ ควา้ เรื่องราว วัฒนธรรม วถิ ชี วี ิตของมนุษยก์ ่อนประวัติ ศาสตร์เรมิ่ จรงิ จงั ตามหลกั วชิ าการหลงั พ.ศ.๒๕ooเปน็ ตน้ มาเปน็ ความรว่ มมอื ของกรมศลิ ปากรกบั นกั โบราณ คดชี าวต่างชาติ เช่น ชาวอเมรกิ ัน ชาวเดนมาร์ก ชาวอังกฤษ ชาวนวิ ซีแลนด์ และชาวฝรง่ั เศส ทำ�ให้ทราบความ เจรญิ ก้าวหน้าของประวัตศิ าสตรศ์ ิลปะไทย แบง่ เปน็ ๓ ยคุ คือ ๑. ยุคหิน เปน็ ชว่ งทว่ี ฒั นธรรมของมนษุ ย์นำ�เอาหินมาใชท้ ำ�เครอ่ื งมือ ซึ่งพบแหลง่ ของมนุษยย์ ุคนใี้ น ประเทศไทยหลายจงั หวัด สามารถแบ่งยอ่ ยออกเปน็ ๓ สมัย ดงั นี้ ๑.๑ สมยั หนิ เกา่ อายุประมาณ ๕oo,ooo-๑o,ooo ปี เครอื่ งมอื ทม่ี นุษยส์ รา้ งขึน้ ในสมัยนี้ นำ�เอา หินกรวดทพี่ อเหมาะมอื ของตนเองมากะเทาะให้เกดิ คมส�ำ หรับใช้งานสับตัดหรือขดู ส่วนมากมักกะเทาะดา้ น เดยี ว เครื่องมือเหล่านเ้ี รียกรวมกนั ว่า “เครอื่ งมือหินกะเทาะ” พบในจงั หวัดกาญจนบุรแี ละจงั หวัดเชยี งราย มกั มีลักษณะคลา้ ยกบั เคร่อื งมอื หนิ เก่าทีพ่ บในประเทศจีน ๑.๒ สมยั หินกลาง อายุประมาณ ๑o,ooo-๕,ooo ปี เป็นช่วงทมี่ นษุ ย์เอาวฒั นธรรมท่ีไดส้ ่งั สม มาปรับปรงุ สภาพความเป็นอยใู่ ห้ดขี ึ้น ยังคงทำ�ดว้ ยหินกรวด มกี ารกะเทาะท่ีดีข้นึ มีหลายรปู แบบ มกี าร กะเทาะกอ้ นหนิ ทัง้ ๒ ข้าง มีการฝนใหค้ ม มีทั้งขวาน เคร่ืองมอื สบั ตัดและขดู พบทจี่ งั หวดั กาญจนบรุ ี สระบรุ ี ราชบรุ ี เชียงราย ลพบรุ ี เชียงใหม่ และแมฮ่ อ่ งสอน ๑.๓ สมัยหินใหม่ อายปุ ระมาณ ๕,ooo-๒,๗oo ปี เปน็ ช่วงสดุ ทา้ ยที่มนุษยเ์ อาหนิ มาประดษิ ฐ์ เปน็ เครือ่ งมอื โดยท�ำ ให้หนิ เลก็ ลงและขัดเรียบ สร้างเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมกับการใช้งานต่างๆ เชน่ ขวานหนิ ขัด แบบไม่มบี ่า ขวานหนิ ขัดแบบมีบา่ มีด หวั ลกู ศร หินบด ก�ำ ไร ลกู ปดั หนิ ลับเครอ่ื งมอื มีการสรา้ งเคร่อื งมือท�ำ ดว้ ยกระดูก เช่น เบ็ด ฉมวก ปน่ิ ปักผม ลกู ปัด ใบมดี ทำ�ดว้ ยเปลือกหอย เป็นต้น และพบการวาดภาพในผนัง ถำ�้ สังคมมนษุ ย์เร่มิ ออกมากลางแจง้ มกี ารเพาะปลูก เลย้ี งสตั ว์ ท�ำ เครื่องปนั้ ดินเผา ทำ�เคร่ืองประดับ เครอื่ ง น่งุ หม่ ทอผา้ อยูก่ ันเป็นชมุ ชนขนาดใหญ่ มีการฝงั สงิ่ ของเคร่อื งใชก้ บั ศพ จะพบทกุ ภาคของไทย นบั วา่ เปน็ ระบบสงั คมกสกิ รรมท่กี า้ วหน้าเปน็ อันมาก และพบร่องรอยการปลูกขา้ ว ท่จี งั หวัดชลบุรี ๒.ยคุ สำ�ริด เปน็ ยคุ ท่มี นุษยร์ ู้จกั น�ำ โลหะมาประดษิ ฐ์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้แทนหนิ และน�ำ มาใชง้ าน ท�ำ ใหก้ ารผลติ ไดร้ วดเรว็ และจ�ำ นวนมากท�ำ เปน็ รปู แบบตา่ งๆไดง้ า่ ยท�ำ เปน็ อาวธุ โดยแผน่ บางและคมท�ำ ใหเ้ กดิ การ พัฒนาการใชโ้ ลหะ อายุราว ๒,๗oo ปีลงมา และส้นิ สดุ ลงราว พ.ศ. ๑ooo ๑๑

ประวัตแิ ละแบบอยา่ งศิลปะไทย เคร่ืองมอื ในยุคสำ�รดิ ทำ�ด้วยโลหะผสมทองแดงและดบี กุ เปน็ ขวาน หอก มดี พรา้ กลองมโหระทึก ขนั หม้อ กำ�ไล ชอ้ น ทัพพี เป็นต้น มกี ารเพาะปลกู เลี้ยงสตั ว์ รจู้ ักการทอผ้า ท�ำ ภาชนะเขยี นสีลวดลายตา่ งๆ และกำ�ไลมีหลายรปู แบบ มีระบบความเชอื่ หลกั ฐานการขุดพบบรเิ วณท่ีฝงั ศพ ยุคส�ำ ริดท่สี �ำ คัญ เชน่ แหลง่ บ้านเชยี ง อำ�เภอหนองหาน จังหวดั อุดรธานี แหล่งบ้านนาดี อำ�เภอภูเวยี ง จังหวดั ขอนแก่น แหลง่ บ้านดอน ตาเพชร อำ�เภอพนมทวน จงั หวัดกาญจนบุรี ๓ . ยุคเหลก็ เปน็ ช่วงทมี่ นุษยร์ ้จู ักน�ำ เอาเหล็กมาใช้ทำ�เคร่อื งมือ ซึ่งมคี วามคงทนเหนียว กวา่ ท่เี คยทำ� มาจึงไดร้ บั ความนยิ ม จะมรี ูปรา่ งต่างๆ ลักษณะการใชง้ าน เชน่ มีด ขวาน พร้า หอก หัวลกู ศร เปน็ ตน้ ถือวา่ เป็นยคุ ส�ำ ริดและยคุ เหลก็ ของเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ นา่ จะเกิดพรอ้ มกัน เพราะจะพบกระจัดกระจายอยทู่ ่ัว ทุกภาคของไทย โดยเฉพาะดินแดนในล่มุ แมน่ �ำ ้ชี และลุ่มแม่น�ำ ม้ ลู ทางภาคอสี านตอนบนและตอนล่าง เป็น แหลง่ ทีอ่ ยู่อาศยั ของชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวตั ิศาสตร์ ภาพที่ ๒.๑ เคร่ืองปนั้ ดนิ เผา ก่อนประวตั ศิ าสตร์ ภาพท่ี ๒.๒ เคร่อื งประดบั ก่อนประวตั ิศาสตร์ ๑๒

บทที่ ๒ : สมัยก่อนประวตั ศิ าสตรใ์ นประเทศไทย ภาพที่ ๒.๓ เคร่อื งป้นั ดินเผาและเครื่องมอื เครื่องใช้ ก่อนประวัติศาสตร์ ยคุ เหลก็ จติ รกรรมฝาผนังถ�ำ ้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนตามผนงั ถำ�้ และตามเพิงผา มมี าตัง้ แต่สมัยกอ่ นประวัตศิ าสตร์เก่าแกใ่ นสมยั โลหะ ภาพที่ ปรากฏจะไดร้ บั ความบันดาลใจจากสงิ่ แวดล้อมของสังคม และเปน็ การบันทกึ เรอื่ งราวในชวี ิตประจำ�วนั เช่น การเล้ียงสตั ว์ การล่าสตั ว์ การตอ่ สู้ เพอื่ ความอยู่รอด การประกอบพธิ ีกรรมและอนื่ ๆ พบภาพเขยี นคร้ังแรกที่ จงั หวัดกระบ่ีและพงั งา โดยชาวตา่ งชาติ คือ ลาจอง กิแยร์ (Lajong Giere) นักส�ำ รวจชาวฝรงั่ เศส จ ติ รกรรมตามผนงั ถ�ำ ้ พบมากในภาคอสี าน เช่น กาฬสนิ ธุ์ อดุ รธานี เลย มุกดาหาร อุบลราชธานี นครพนม และกระจายอยู่ท่วั ไป ภาพเขียนสว่ นใหญ่จะเขยี นดว้ ยสีดินแดง มาจากอ๊อกไซด์ของแรเ่ หลก็ ลักษณะของภาพเขียนสมี ลี วดลายแบบเรขาคณติ รปู มอื รูปคน และรูปสตั วต์ ่างๆ สว่ นมากการระบายสแี บบ เงาทึบ บางทีมลี ักษณะเป็นลายเสน้ ส่วนมากจะ แสดงใหเ้ ห็นด้านข้างเสมอ และเขยี นเส้นรอบนอกอยา่ งหยาบๆ ส�ำ หรับการเขยี นภาพมอื จะปรากฏหลาย แหง่ จะมีวธิ ีการเอามือจุม่ สแี ดงแลว้ กดทาบลงบนผนัง และวางมอื ทาบบนผนังแลว้ เปา่ พน่ สีแดงไปรอบๆ มอื ประกอบดว้ ยทง้ั มอื ซ้ายและมอื ขวา เปน็ การส่ือแสดงความเป็นเจ้าของบริเวณถำ�้ คือท่อี ยอู่ าศัย ภาพที่ ๒.๔ ภาพเขยี น “ผาแตม้ ” อำ�เภอโขงเจียม จงั หวดั อุบลราชธานี ผาแตม้ เป็นภาพเขียนบนหน้าผาหินทราย มีรปู สัตว์ตา่ งๆ เชน่ ชา้ ง กวาง ปลา เตา่ รูปคนและ ลวดลายต่างๆ ซึง่ เปน็ แหลง่ งานจติ รกรรมทใ่ี หญ่ทสี่ ดุ ทางภาคอสี าน โดยมีเทคนิคการเขยี นหลายอยา่ ง เช่น การฝน การขูดขีด การวาดดว้ ยสีแห้ง การระบาย การพน่ การสลดั สี แสดงถงึ วถิ ีชีวิตความเปน็ อยู่ บันทกึ เหตุการณ์และวสั ดอุ ปุ กรณใ์ นการจับสตั ว์ ซงึ่ มคี วามอุดมสมบูรณ์ในบริเวณแหง่ น้ี (ภาพที่ ๒.๔) ๑๓

ประวัตแิ ละแบบอยา่ งศลิ ปะไทย ภาพท่ี ๒.๕ ศลิ ปะโบราณวัตถุ วฒั นธรรมบ้านเชียง มกี ารขดุ พบเศษภาชนะดินเผาลวดลายเขียนสี และเครื่องมือ เคร่อื งใช้ เครอ่ื งประดบั ที่ทำ�ด้วยสำ�ริด และเหลก็ รวมทงั้ โครงกระดูกของมนุษย์ ถือว่าเป็นแหล่งชมุ ชนโบราณท่มี ผี คู้ นอาศยั ตอ่ เนือ่ งมาหลายยคุ สมัย ต้ังแต่ยุคส�ำ ริด จนถึงตน้ สมัยประวตั ศิ าสตร์ (ภาพที่ ๒.๕) ภาพที่ ๒.๖ เครอ่ื งปั้นดินเผา ลวดลาย เขียนสี และเครื่องมอื เคร่ืองใช้ บ้านเชยี ง ศ ลิ ปกรรมบ้านเชยี ง จังหวดั อุดรธานี ถือวา่ เป็นแหล่งโบราณคดกี อ่ นประวตั ศิ าสตร์ ทีเ่ ป็นมรดกทาง วฒั นธรรมอนั ล�ำ ค้ า่ ของไทยทมี่ พี ฒั นาการทางเทคโนโลยแี ละวทิ ยาการสงั คมแบบเกษตรกรรมรจู้ กั การเพาะปลกู เลยี้ งสัตว์ มคี วามรูค้ วามสามารถในการหลอ่ หลอมโลหะทงั้ ส�ำ รดิ และเหล็ก ทำ�เครอ่ื งปัน้ ดินเผาต่างๆ รู้จักการ ทอผ้า และมีความเช่อื ตามแบบแผนประเพณีรว่ มกนั เชน่ ประเพณกี ารฝงั ศพ คือ กอ่ นนำ�ศพไปฝังจะแต่งตวั ให้กับผู้ตายและใส่เคร่ืองประดับ และฝงั สง่ิ ของเครื่องใช้ อาวธุ ลงในหลมุ ด้วย เพอื่ อทุ ศิ ให้ผูต้ าย โดยเฉพาะ เครอื่ งปนั้ ดินเผา และเครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น ๑๔

บทท่ี ๓ : อทิ ธพิ ลทางพุทธศลิ ปจ์ ากดินแดนพุทธภูมิ บทที่ ๓ อิทธิพลทางพทุ ธศิลปจ์ ากดินแดนพุทธภมู ิ การศกึ ษาประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปะของเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ พทุ ธศลิ ปใ์ นประเทศไทย ผศู้ กึ ษาจะตอ้ งมคี วามรเู้ กยี่ วกบั พทุ ธศลิ ปใ์ นอนิ เดยี และลงั กาเพอ่ื เปน็ พนื้ ฐานซง่ึ จะท�ำ ใหท้ ราบถงึ ความสมั พนั ธ์ เชือ่ มโยงกนั ของสกุลชา่ งอินเดียและสกุลช่างอื่นๆ ในแต่ละภูมภิ าค และต้องศึกษาเรือ่ งเทพปกรณัมและเรอ่ื ง จกั รวาล ประกอบดว้ ย ส กุลชา่ งศิลปะของอินเดยี ทนี่ า่ สนใจคอื สกลุ ช่างจากอนิ เดียเหนือและอนิ เดยี ใต้ สร้างงานศาสนศิลป์ ทงั้ ในลทั ธิ “ไศวนิกาย” (นับถอื พระศวิ ะ) และ “ไวษณพนกิ าย” (นับถอื พระนารายณ)์ ตามศาสนาฮินดู สว่ น พระพุทธศาสนามที ง้ั ลัทธหิ ินยานหรือเถรวาท (นบั ถือพระพุทธเจ้า) และมหายานหรอื อาจาริยวาท (นับถือ พระโพธสิ ตั ว)์ และสกุลช่างทสี่ �ำ คญั อีกสกุลหนง่ึ คือ “สกุลช่างลังกา” ซง่ึ มีอิทธิพลตอ่ ศาสนาและพุทธศลิ ปใ์ น สมยั สุโขทยั เปน็ พเิ ศษ สกุลชา่ งอนิ เดียเหนอื ประกอบดว้ ยสกุลชา่ งตา่ งๆ ดงั น้ี ๑. สกุลช่างคนั ธาระ (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑o) เ ร่มิ ขน้ึ ในแควน้ คนั ธาราฐ ทางทิศตะวนั ตกเฉยี งเหนือของอนิ เดีย (ปจั จุบนั อยใู่ นประเทศปากีสถาน) นับว่าเป็นสกุลช่างแรกทส่ี ร้างรูปบูชาในพระพทุ ธศาสนา (Buddhist icons) ตามขนบนิยมของชาวกรกี สมยั หลัง โดยฝมี อื ชาวกรีกทน่ี ับถอื พระพุทธศาสนาของชาวอนิ เดยี จึงเกดิ รูปแบบผสมระหวา่ งกรีก-อินเดยี ในสมยั พระเจ้าอโศกมหาราช ซงึ่ เปน็ พระพุทธรปู ที่ได้แรงบันดาลใจจากรูปแบบพระพกั ตร์ของเทพเจา้ “อพอลโล” (Apollonian facial type) เปน็ สรุ ิยเทพและเทพแห่งความงามของกรกี ดังนน้ั ลักษณะพระพักตรจ์ ึงมีเคา้ ของชาวกรกี พระเกศาเป็นลอนสลวยดุจผมสตรี พระนลาตมีอรุ ณะ (อุนาโลม) รอยร้ิวจีวรหนาและหนักแบบ ธรรมชาติ ประทับนง่ั ขดั สมาธิเพชร (วัชรปรยังกะ) แบบโยคะมพี ระพาหากวา้ งและมี “ประภามณฑล” หรอื ศริ จักรรูปวงกลมแบบเรยี บๆ ไมม่ ลี วดลายประดบั ภาพที่ ๓.๑ พระพทุ ธรปู ศิลปะคันธาราฐ แสดงถึง อทิ ธพิ ลการห่มผา้ ชาวกรกี -โรมนั ๑๕

ประวตั ิและแบบอย่างศิลปะไทย เน่ืองจากดนิ แดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอนิ เดยี เคยเป็นดินแดนทช่ี นชาตกิ รกี ครอบครองใน สมยั พระเจ้าอเลก็ ซานเดอรม์ หาราช ยกทัพรุกรานแถบแม่นำ�ส้ ินธุใน พ.ศ. ๒๑๗-๒๑๘ ต่อมาชาวโรมนั ไดม้ า ค้าขายทเ่ี มอื งคันธาราฐ เวลาจะสร้างพระพุทธรูปใช้ศลิ ปนิ กรีก-โรมนั จงึ ท�ำ ใหศ้ ลิ ปะคนั ธาราฐมีความพเิ ศษ ดังนี้ ๑. มีหนา้ ตาเป็นฝรัง่ ท้งั ส้นิ คือ พระพักตรง์ ามแบบฝร่ัง มีพระนาสิกโด่ง พระโอษฐเ์ ลก็ พระขนง วาดเป็นวงโคง้ มาบรรจบกนั เหนอื ดัง้ พระนาสกิ จวี รครองเป็นผา้ หนา หม่ คลุมทง้ั สองบ่า ร้วิ เป็นร้ิวใหญ่ตาม ธรรมชาติ คล้ายกับการห่มผ้าพวกโรมัน ๒ . ท�ำ ตามคัมภีร์มหาบรุ ษุ ลกั ษณะ เช่น ใบหยู าน (อนั เกดิ จากการทชี่ าวอนิ เดยี แต่โบราณนยิ มใส่ ตุม้ หหู นกั เมือ่ ใสน่ านๆ เขา้ จึงหูยานลงมา ใบหยู านจึงกลายเปน็ ลกั ษณะอยา่ งหน่งึ ของมหาบุรษุ ) มอี ุรณาหรอื อุณาโลมอยู่กลางหนา้ ผากะหว่างค้วิ หรอื ลายธรรมจักรบนฝา่ มือ เปน็ ตน้ ๓. เปน็ ความคดิ อยา่ งชาญฉลาดของชา่ ง ที่ท�ำ ให้ร้วู า่ เปน็ รูปพระพุทธองค์ เมอ่ื สรา้ งรปู นข้ี นึ้ เป็น คร้งั แรก พระพุทธองคป์ รินพิ พานไปแลว้ รว่ ม ๖oo กว่าปี จะสรา้ งให้หนา้ เหมือนพระพุทธองค์เป็นไปไมไ่ ด้ เนอ่ื งจากพระองค์ทรงผนวชจงึ ตอ้ งปลงผม แต่ช่างมีความชาญฉลาด สามารถแก้ไขให้รู้วา่ พระพุทธองค์จะ ตอ้ งมคี วามพิเศษกวา่ องคส์ าวกอืน่ ๆ โดยปล่อยใหพ้ ระพทุ ธรูปมีพระเกศายาว เป็นมวยไว้เหนือพระเศยี ร ใน สมยั คันธาราฐเป็นเสน้ มวยผมธรรมดา โดยท�ำ พระเกศาเวยี นขวา ลกั ษณะเช่นนชี้ าวอนิ เดยี เรียกวา่ “อษุ ณี ษะ” แตไ่ ทยเรียกว่า “เกตุมาลาหรือเมาล”ี ภาพที่ ๓.๒ เคร่ืองแตง่ กายหลกั ของชาวกรีก-โรมัน การครองจวี รของพระพทุ ธรูปสมยั คนั ธาราฐ แบง่ ออกเปน็ ๒ แบบ ดงั นี้ ๑. แบบประทับยืน จะครองจีวรแบบหม่ คลุม ประกอบดว้ ยผา้ ๓ ผืน คือ ส บงหรืออันตรวาสกคอื ผา้ ส�ำ หรับน่งุ ชน้ั ล่างพันรอบบ้นั เอวลงไปถึงขอ้ เทา้ รดั ประคดหรือเข็มขดั คาด จวี รหรืออุตราสงค์ คอื ผ้าส�ำ หรบั ห่มท่อนบน ครองได้ท้ังห่มคลมุ หรือห่มเฉยี ง และครองดว้ ยวธิ ีตา่ งๆ กนั สงั ฆาฏิคอื เปน็ ผา้ อกี ผนื หนง่ึ ส�ำ หรบั หม่ ทบั เหนอื จวี รแตผ่ า้ สงั ฆาฏบิ างครง้ั กใ็ ช้บางครง้ั กไ็ มใ่ ช ้ ( ศลิ ปวฒั นธรรม. ฉบบั ท่ี ๑ ประจำ�เดือนพฤศจกิ ายน,๒๕๔๖: ๑๔๗) การครองจวี รพระพุทธรูปคันธาราฐทปี่ ระทับยนื จะครอง สงั ฆาฏซิ งึ่ มขี อบเบอ้ื งลา่ งวาดเปน็ วงโคง้ ทางดา้ นขวาแตต่ กลงมาเปน็ เสน้ ตรงทางดา้ นซา้ ยเราจะเหน็ วา่ ลกั ษณะ เช่นน้ีจะคงอยตู่ ่อมา สำ�หรบั การครองจวี รของพระพุทธรปู อนิ เดีย ๑๖

บทที่ ๓ : อิทธิพลทางพทุ ธศลิ ปจ์ ากดินแดนพุทธภูมิ ๒ . แบบประทับน่ัง พระพุทธรูปคันธาราฐประทับนั่งขัดสมาธเิ พชร เท่านนั้ คือ พระซงฆไ์ ขวก้ ัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระพักตร์มีลกั ษณะเชน่ เดยี วกับพระพุทธรปู ยืน การครองจวี รบางครั้งก็หม่ เฉยี งและหม่ คลุม (ภาพที่ ๓.๓) พระพุทธรปู คนั ธาราฐ ได้แผอ่ ทิ ธพิ ลขน้ึ ไปทางเหนอื สู่เอเชยี กลาง และจีน และ แผก่ ระจายทวั่ ไปตามเมืองชลาลาบัด ฮดั ดา บาบิยาน (อฟั กานิสถาน) เมอื งตักศลิ า เมืองเปบวาร์ (บุรษุ ปรุ ะ) ตลอดจนเมอื งในลุ่มแมน่ ำ�ส้ วาต ภาพที่ ๓.๓ พระพทุ ธรปู ศิลปะคนั ธาราฐอิทธพิ ล การห่มผ้าแบบกรกี -โรมนั วัสดุทใี่ ช้สร้างพระพุทธรูป ไดแ้ ก่ งานปนู ปนั้ บางชน้ิ มีการระบายสีหลายสี และงานดินเผา สว่ นงาน แกะสลกั หิน ใชห้ ินสีเทาอมเขียว หรอื หนิ ชนวนสเี ทา ท่มี ีอยใู่ นท้องถิน่ ๒. สกุลช่างมถุรา (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๒) เป็นสกุลชา่ งอินเดยี อยู่ในเมืองมถรุ า ในลุม่ น�ำ ย้ มุนา รว่ มสมัยกับศลิ ปะคันธาราฐ เพราะมีฐานะ เป็นเมอื งหลวงทางตอนใต้ ซง่ึ ได้รับอิทธพิ ลในการสร้างพระพทุ ธรปู และพระโพธสิ ัตว์จากศลิ ปะคนั ธาราฐ แ บบอย่างของพระพุทธรูปได้คลี่คลายพัฒนาจากแบบกรีกสมัยหลังเป็นการแสดงออกในลักษณะ ทางเชื้อชาติของอินเดีย ตามคมั ภรี ์มหาปรุ สิ ลักษณะ พระเกศาได้เปลย่ี นจากลักษณะหยกั เป็นลอนแบบธรรม ชาติ เป็นลักษณะขมวดมว้ นเป็นวงกน้ หอย พระนลาฏปราศจากอุรณะ พระกรรณยาวกว่าแบบคันธาราฐ พระ โพธสิ ตั ว์ไมม่ ีพระมัสสุ พระเนตรมองลงสู่เบือ้ งต่�ำ เปิดพระเนตรเพียงครึง่ เดียว มลี กั ษณะทีส่ ำ�รวม การครอง จวี รจะหม่ คลมุ จดั กลีบบางๆ เท่ากันอย่างมรี ะเบียบ แนบพระมงั สา ฐานรองรับไม่นิยมทำ�รปู กลีบบวั แตเ่ ปน็ แบบฐานสิงห์ ช่างมถุรา นยิ มการแกะสลกั ดว้ ยหนิ สคี ่อนขา้ งแดง หรือหนิ ทรายสีแดง จะมลี วดลายเป็นจดุ ๆ (ภาพที่ ๓.๔) ๑๗

ประวัติและแบบอย่างศลิ ปะไทย ภาพที่ ๓.๔ พระพุทธรปู ศลิ าปางประทานพร จากเมืองกัตระ ศลิ ปะสมัยมถรุ า ๓. สกลุ ชา่ งคปุ ตะ (พทุ ธศตวรรษที่ ๙-๑๒) เ ริ่มในสมัยราชวงศ์คปุ ตะ เป็นใหญ่ในลุ่มแม่นำ�ค้ งคา มีศนู ยก์ ลางที่เมอื งปาฏลีบุตร จะพัฒนาจาก ศลิ ปะสกุลช่างมถรุ า และกา้ วหนา้ ถงึ ระดบั สูงสุด เรยี กว่า “สมัยคลาสสิค” หรือสมยั ทอง เปน็ ยุคฟื้นฟศู าสนา วรรณกรรม ภาษาสันสกฤต มรี ปู แบบท่สี มบรู ณง์ ดงาม บริสทุ ธิ์ ตามอดุ มคติของอนิ เดีย การสร้างพระพทุ ธรปู มีท้งั แกะสลักดว้ ยศิลา การหล่อโลหะ และการปนั้ ปูน การครองจวี รท้งั หม่ คลมุ และหม่ เฉียงบ่าท่ีงดงาม ไดแ้ ก่ พระพทุ ธรปู “ปางปฐมเทศนา” แก่เหล่าเบญจวคั คีย์ นงั่ ขัดสมาธเิ พชร พระกรทัง้ สองขา้ งยกขน้ึ เสมอพระอรุ ะ พระหตั ถข์ วาอยู่ในทา่ แสดงธรรม พุทธลักษณะอ่ิมเอบิ กายวภิ าคได้ สัดส่วน ปรมิ าตรสมบูรณ์ ลกั ษณะจีวรห่มคลุมบางแนบพระมังสา ไม่มีรอ่ งรอยของร้ิวจวี ร เบ้ืองพระปฤษฎางค์ มปี ระภามณฑลเป็นรปู วงกลมขนาดใหญ่แกะสลกั ลวดลายเครอื เถาเป็นวงรอบมเี ทวดาเหาะอยู่ท่ีขอบประภา มณฑลตอนบนขา้ งลายเครอื เถาเปน็ วงรอบมเี ทวดาเหาะอยทู่ ขี่ อบประภามณฑลตอนบนขา้ งละองค์พระพกั ตร์ สรา้ งตามอดุ มคตมิ ีลักษณะเรน้ ลับและเครง่ ขรมึ ภาพท่ี ๓.๕ พระพทุ ธรปู ศิลปะคปุ ตะ พฒั นาการ หม่ จีวรแบบศิลปะคนั ธาราฐ มีลกั ษณะ เนน้ ความงามมากกวา่ ความเป็นจรงิ ๑๘

บทที่ ๓ : อทิ ธพิ ลทางพทุ ธศลิ ปจ์ ากดนิ แดนพุทธภูมิ ในราวพุทธศตวรรษท่ี ๑o รูปแบบการสรา้ งพระพุทธรปู ศิลปะคปุ ตะ ริ้วจีวรหายไป จีวรแนบคลมุ กับพระองค์ ปล่อยให้เห็นทรวดทรงอนั เปลือยเปลา่ อ่อนหวาน และสงบ เป็นการสรา้ งพระพทุ ธรูปที่เปน็ มนษุ ยม์ ีความสงา่ เตม็ ไปด้วย อ�ำ นาจและความสงบ (ภาพที่ ๓.๕) ภาพท่ี ๓.๖ พระพทุ ธรูปปางประทานอภัย ศิลา ศิลปะอินเดยี สมัยคปุ ตะ ภาพท่ี ๓.๗ พทุ ธรปู ปางประทานปฐมเทศนา ศิลปะอินเดยี สมัยคุปตะ การสรา้ งสถปู - เจดยี ์ ในสมัยคปุ ตะ ไดร้ ับอทิ ธิพลจากสกุลชา่ งคนั ธาราฐ มีรปู ทรงยืดสูงขนึ้ เปน็ รปู ทรงกระบอก ตัวองคส์ ถูปมรี ูปครงึ่ วงกลม เชน่ ธรรมเมฆสถปู หรอื ธาเมฆสถปู ท่เี มืองสารนาถ ฐานกลมก่อ ด้วยหิน องคเ์ จดยี ก์ อ่ ด้วยอิฐ มีบลั ลงั กแ์ ละฉตั รวลี (ร่ม) อนั หมายถงึ อำ�นาจแห่งธรรมหรอื ความย่งิ ใหญข่ อง กษัตรยิ ์ องคส์ ถูปมซี ้มุ พระพุทธรูปทัง้ 4 ทิศ บรเิ วณใตซ้ ุม้ มีแถบสลกั ลวดลายดว้ ยเรขาคณิตและลายเครอื เถา (ภาพท่ี ๓.๘) ๑๙

ประวตั แิ ละแบบอยา่ งศลิ ปะไทย ภาพท่ี ๓.๘ สถปู ศิลปะอินเดีย สมัยคปุ ตะ ภาพที่ ๓.๙ ลายสลักบนพระธรรมเมฆสถปู สารนาถ ศลิ ปะอนิ เดยี สมยั หลังคุปตะ ภาพที่ ๓.๑o พระโพธิสตั วป์ ัทมปาณภี าพวาดบนผนังถำ�ท้ ่ี ๑ อชนั ตา ศิลปะอนิ เดีย สมัยคปุ ตะตอนปลายและหลงั คปุ ตะตอนตน้ ๒๐

บทที่ ๓ : อทิ ธพิ ลทางพทุ ธศิลปจ์ ากดนิ แดนพุทธภูมิ ภ าพจติ รกรรมฝาผนังในสมัยคุปตะ นยิ มวาดตามผนงั ของวดั ถำ�แ้ ละเทวาลยั ที่มชี อ่ื เสียงอยทู่ ่อี ชันตา (Ajanta) เขยี นข้ึนสมัยที่ ๓ (คุปตะ) บางส่วนเขยี นเรอ่ื งราวเก่ยี วกบั พระพทุ ธศาสนา อนั ประกอบไปด้วย พระ พุทธรูป พระโพธิสัตว์ และเสรมิ ด้วย คนธรรพ์ กนิ นร อัปสร สตั ว์และพันธ์พุ ฤกษา ส่วนผนังน้ีเขยี นเป็นภาพ พระโพธิสตั ว์แสดงตรภิ ังค์ ( ยนื เอยี งสะโพก ) พระเนตรมองลงต�ำ่ – พระหตั ถถ์ อื ดอกบัว ดูสงบและมที ่าทีเขนิ อาย (ภาพท่ี ๓.๑o) ๔. สกุลชา่ งปาละ-เสนะ (พุทธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๗) เรม่ิ ในสมยั ราชวงศป์ าละ มีอำ�นาจในแควน้ เบงกอล และแควน้ พิหาร ทางทิศตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของอนิ เดยี เป็นชว่ งทพ่ี ระพุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรงุ่ เรือง เช่น วชั รยาน สหชั ยาน และมนตยาน มี ศูนยก์ ลางการศึกษาพระพุทธศาสนามหายานทส่ี �ำ คญั มีอยู่หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลยั สงฆ์ “นาลนั ทา” (Nalando) วกิ รมศิลา (Vikramasila) วลภี (Valabhi) โสมปรุ ะ (Somapura) และอนื่ ๆ งานประตมิ ากรรมระยะแรก ได้รบั อิทธพิ ลจากศิลปะสมัยคุปตะ ระยะหลังไดม้ าคลค่ี ลายตกแตง่ มาก ย่ิงข้ึน การสรา้ งรปู บูชา มพี ระพุทธรูปพระโพธสิ ัตวอ์ วโลกเิ ตศวร ภาพท่ี ๓.๑๑ พระพุทธรูปศิลา ๘ ปาง ปางมารวชิ ัย ศิลปะอินเดยี สมยั ปาละตอนปลาย พ ระพทุ ธรปู อยูร่ ะหว่างกลางพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๕ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นิยมสลักพระพุทธรปู ทรง เครื่องหรือภาพพระโพธสิ ัตว์เปน็ ประตมิ ากรรมตรงสว่ นกลาง แผน่ หลงั เริ่มมีปลายแหลม (ภาพท่ี ๓.๑๑) ๒๑

ประวตั แิ ละแบบอย่างศลิ ปะไทย ภาพที่ ๓.๑๒ พระพทุ ธรปู ปางประทานพร ทองแดง พระพุทธรูปอินเดีย สมยั ปาละ ศิลปกรรมท่ีส�ำ คญั ของสกลุ ชา่ งอินเดียเหนือ สถาปัตยกรรมท่สี ำ�คญั ไดแ้ ก่ มหาสถปู ทีม่ หาวทิ ยาลยั สงฆน์ าลนั ทา พระพมิ พด์ นิ เผา แบบ “ซ้มุ พุทธ คยา” มีความงดงามสง่ อิทธพิ ลต่อพุกามในพม่า ทวารวดใี นลุม่ แม่นำ�เ้ จา้ พระยา และหริภุญไชย ทีเ่ มอื งลำ�พนู ศิลปะปาละไดแ้ ผ่อิทธิพลขน้ึ ไปทางเหนือส่เู นปาล ทเิ บต จีน และเอเชียกลาง ทางตะวนั ออกสกู่ รงุ พกุ ามของ พมา่ ทางเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ส่อู าณาจกั รศรวี ิชยั ทวารวดี และขอม สุมาตรา และชวา ราชวงศเ์ สนะ พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๖-๑๗ อันเป็นราชวงศ์สุดทา้ ยของอนิ เดยี เหนอื พระพุทธศาสนาได้ เสอื่ มคลายลง จงึ ไมม่ บี ทบาทในพทุ ธศลิ ป์ เหมอื นราชวงศป์ าละ และเป็นช่วงทอี่ ินเดยี ใต้เล่อื มใสในศาสนา ฮินดู ท�ำ ให้งานพุทธศิลปจ์ ากมหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำ�ลายยอ่ ยยับ เพราะศาสนาฮนิ ดูไม่นยิ มสรา้ งรูปบชู า ภาพท่ี ๓.๑๓ พระนารายณศ์ ิลา ศิลปะอินเดีย สมยั เสนะ ๒๒

บทท่ี ๓ : อิทธพิ ลทางพทุ ธศิลปจ์ ากดินแดนพทุ ธภมู ิ ป ระติมากรรมมีรูปร่างเหมือนแต่ก่อน แตม่ ีลักษณะจืดซีดจางลง และผิดธรรมชาติ แผน่ เบอื้ งหลังมี ปลายแหลมคลา้ ยรปู ใบไม้ พืน้ ทเ่ี บ้ืองหลงั มลี วดลายประดับมากขน้ึ สกลุ ชา่ งอินเดยี ใต้ มีสกลุ ชา่ งท่สี �ำ คัญ ดังน้ี ๑. สกุลชา่ งอมราวดี (พทุ ธศตวรรษที่ ๔-๙) ได้สร้างงานพทุ ธศลิ ปข์ ึน้ ที่เมอื งอมราวดีและเมอื งนาคารชุนะโกณฑะ อยรู่ ะหว่างลมุ่ แมน่ ำ�ก้ ฤษณะ และลุ่มแม่น�ำ โ้ คฑวารี (Kirsna and Godavari) ในระหว่างท่รี าชวงศ์อันธรา มอี �ำ นาจอยใู่ นแคว้นอันธราทาง บริเวณตอนเหนอื ของอินเดียใต้นับถอื ศาสนาพุทธลทั ธหิ นิ ยานและมหายานจึงมชี า่ งฝมี ือสงู ผลิตงานสถาปตั ย กรรมและประติมากรรมอยา่ งแพร่หลาย งานประตมิ ากรรมมีท้ังการสรา้ งพระพุทธรปู และรูปพระโพธสิ ัตว์ทั้งเร่อื งราวจากพุทธประวัติ และ นิทานชาดก ทงั้ แบบภาพนูนและลอยตวั พุทธลกั ษณะงาม การครองจวี รแบบเฉียงบ่า เปดิ พระองั สาขวา มี ลกั ษณะโดยรวมคลา้ ยกบั แบบอย่างพระพทุ ธรูปจากเมอื ง “อนุราธปุระ”ในศรลี ังกา จงึ เช่ือวา่ ลังกาไดร้ บั อิทธิ พลจากอมราวดี ภาพที่ ๓.๑๔ เศียรพระพุทธรปู ศลิ า ส ศลิ ปะอินเดยี สมัยอมราวดี ภาพท่ี ๓.๑๕ องค์พระพทุ ธรปู ศลิ า ศลิ ปะอินเดยี สมัยอมราวดี ๒๓

ประวัติและแบบอยา่ งศลิ ปะไทย พระพักตร์ของพระพทุ ธรปู สมัยอมราวดีคอ่ นข้างยาว ทรงรูปไข่ มีลักษณะของชนชาติทมิฬ พระเกตุ มาลาหรอื อษุ ณษี ะปรากฏอยอู่ ยา่ งชดั เจนบนพระเศยี รและทงั้ หมดกม็ ขี มวดพระเกศาเวยี นขวาเปน็ ขมวดแบนเลก็ ๆ คลมุ อยู่พระขนงเหมอื นคนธรรมดาระหวา่ งพระขนงมอี รุ ณะ ( อณุ าโลม) พ ระเนตรเบกิ เหมอื นคนทวั่ ไปพระนาสกิ และพระโอษฐเ์ หมอื นธรรมชาตเิ มด็ พระศกวงกน้ หอยขนาดใหญ่พระกรรณยงั ไมย่ าวนกั อยรู่ ะดบั เดยี วกบั พระ โอษฐม์ ลี กั ษณะเหมอื นจรงิ มากกวา่ แบบอดุ มคติพระพทุ ธรปู ครองจวี รหนาแบบมถรุ าและมกั หม่ เฉยี งจวี รแบง่ เปน็ ร้วิ เทา่ ๆ กนั มดี า้ นหน้าและดา้ นหลงั ร้ิวเหลา่ น้ีตกลงมาจากพระอังสาซ้าย และมว้ นย้อนขนึ้ ทางดา้ นขวา พระหตั ถ์ขวาแสดงพระประทานอภัย โดยยกขนึ้ เสมอพระอังสาและหนั ผ่าพระหตั ถ์ออกขา้ งนอก (ภาพที่ ๓.๑๔,๓.๑๕) พระพุทธรูปสกุลชา่ งอมราวดีทพ่ี บในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายองค์ เชน่ “พทุ ธทีปงั กร” (พระพทุ ธผมู้ แี สงสว่างเสมอ) เชน่ พบทจ่ี ังหวดั นครราชสีมา ความสูง ๒๙.๕ ซ.ม. สถาปัตยกรรม มกี ารสรา้ งสถูปเจดีย์ขนาดมหมึ า และการประดับประดาอนั งดงามดว้ ยประติมากรรม ลกั ษณะรปู ทรงเป็นแบบ “ทรงฟองนำ�้” แบบสถูปสาญจี สมยั พระเจา้ อโศกมหาราช มีรัว้ รอบ พรอ้ มด้วยประตู ๔ ทศิ (ภาพที่ ๓.๑๖) ภาพที่ ๓.๑๖ สถปู สาญจี ภาพท่ี ๓.๑๗ ภาพจ�ำ หลัก สถูปศิลา ศิลปะอินเดยี สมยั อมราวดี ๒๔

บทท่ี ๓ : อทิ ธพิ ลทางพทุ ธศลิ ป์จากดินแดนพทุ ธภูมิ ๒. สกุลช่างปัลลวะ (พุทธศตวรรษท่ี ๑o-๑๔) เ ปน็ สกลุ ชา่ งทสี่ �ำ คญั ทสี่ ดุ ของอนิ เดยี ใต้เรมิ่ เมอ่ื ราชวงศป์ ลั ลวะมอี �ำ นาจสบื ตอ่ จากราชวงศอ์ นั ธรา มีศนู ยก์ ลางทีเ่ มือง “กาญจปี รุ มั ” มีความเจรญิ ร่งุ เรอื งทางศาสนา ศลิ ปะและการค้าขายทางทะเลเปน็ อนั มาก งานประตมิ ากรรมของช่างปัลลวะจึงมีฝีมอื สงู มกี ารแกะสลักหินทง้ั รปู คนและรปู สัตว์ โดยเฉพาะรูปคนมีกาย วิภาคงดงาม ทง้ั ชายและหญงิ มรี ูปร่างสงู โปรง่ การจัดทา่ ทางเคลือ่ นไหวแบบธรรมชาตกิ ารจดั ท่ายืนทีอ่ ่อน โค้งแบบ “ตรภิ งั ค”์ ประติมากรรมที่พบในประเทศไทย ทีน่ า่ สนใจหลายชิน้ มรี ูปศิลาในลทั ธวิ ิษณเุ วท เช่น รูปพระนารายณ์ ทรงหมวกทรงกระบอกหรอื ทเ่ี รียกว่า “กริ ีฏมกุ ฎุ ” จากเมืองศรเี ทพ จังหวดั เพชรบรู ณ ์ รูปพระนารายณ์ ทรงหมวกแขก จากดงศรีมหาโพธ์ิ จงั หวดั ปราจนี บุรี รูปพระนารายณ์ จากเขา ศรวี ชิ ัย จังหวดั สุราษฎร์ธานี รวมท้ังรูปพระโพธสิ ัตว์สำ�ริดอีกหลายองค์ ซ่งึ มรี ปู “พระอมิตาภะ” ประทับอยู่ ด้านหนา้ มุน่ พระเกศาดว้ ย เช่น อวโลกเิ ตศวร พบทอ่ี ำ�เภอพนุ พิน จงั หวดั สุราษฎรธ์ านี สถาปตั ยกรรม เปน็ ลักษณะเจดยี ์หลายยอด จึงเขา้ ใจวา่ เปน็ งานต้นแบบทีเ่ กิดจากพฒั นาการ เจดียห์ ลายยอดในชวาภาคกลาง และทางใต้ของไทย เชน่ เมืองไชยา จังหวดั นครศรธี รรมราช (อาณาจกั ร ตามพรลงิ ค์) ในศิลปะศรวี ิชยั และหริภญุ ไชย ทจ่ี งั หวัดล�ำ พนู ชัน้ หลังคาของสถาปัตยกรรมแบบปัลลวะจะมี ซมุ้ บนั แถลงหรือกุทุ (Kudu) ภายในซ้มุ มหี ัวคนอย่ดู ว้ ย มกั สลบั เรียงรายกับสถูปหรอื ยอดเจดยี ์เลก็ ๆ ทกุ ชัน้ ๓. สกุลช่างโจฬะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕-๒o) เ ป็นสกุลช่างท่มี ีชื่อเสียงท่สี ุดในการป้ันและหลอ่ รูปบชู าโดยเฉพาะเทวรปู ในศาสนาฮนิ ดูซง่ึ ได้รบั การยกย่องวา่ มคี วามเปน็ เลิศ มศี นู ย์กลางอยูท่ ่ีเมืองตนั จอร์ งานป้ันและหล่อสำ�รดิ มที ั้งศาสนาฮินดแู ละพระพุทธศาสนา ศาสนาฮนิ ดมู รี ปู พระศิวะปารวตี นางทรุ คา เจา้ แม่กาลี พระวษิ ณุ พระลกั ษมี อรรถนารศี วร พระคเณศวร พระกฤษณะและพระราม เป็นตน้ ภาพท่ี ๓.๑๘ พระศวิ ะปางนาฏราชสำ�ริด ศลิ ปะอินเดีย สมยั โจฬะ ๒๕

ประวัตแิ ละแบบอยา่ งศิลปะไทย พระศวิ ะปางนาฏราช แสดงความเคล่ือนไหวอยา่ งมจี งั หวะและรนุ แรงเป็นพเิ ศษในนาฏลีลาที่ นา่ ชม และมคี วามหมาย (ภาพท่ี ๓.๑๘) ศ ิลปกรรมท่ีสำ�คัญสกลุ ชา่ งโจฬะ พระพุทธรปู ประทับน่ังขดั สมาธิราบ เปน็ ลัทธมิ หายานแบบ อนิ เดียใตห้ รือลงั กา และมพี ระโพธิสัตวพ์ ระศรอี าริยเมตไตรย และอวโลกเิ ตศวร ๔ กร คลา้ ยเทวรูปในศาสนา ฮินดู สว่ นสถาปตั ยกรรม มีลักษณะเด่นชดั ไดแ้ ก่ การสร้างซุ้มประตหู รอื โคปรุ ะ อนั สูงใหญ่สง่างามทัง้ ๔ ดา้ น มคี วามใหญโ่ ตกว่าเทวสถานประธานเสยี อกี สกลุชา่ งโจฬะ ไดใ้ ห้อิทธิพลแกล่ ังกา เพราะเคยครอบ ครองลังกาหลายคร้ัง เคยมีพุทธสมั พันธ์กบั อาณาจกั รศรวี ิชัย โดยกษัตรยิ ์ศรวี ชิ ัยมพี ระราชศรัทธาสรา้ งวิหาร ท่เี มอื งเนคะปฏั ฏมั และเคยยกทัพเรอื ขา้ มมหาสมทุ รอินเดยี มาโจมตีศรีวิชยั ในแหลมมลายใู นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จงึ มอี ิทธิพลของวฒั นธรรมกับดินแดนแถบนี้ สกุลชา่ งลังกา ลงั กาได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากอินเดยี ตงั้ แต่สมยั พระเจา้ อโศกมหาราช ในราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๓ และเจรญิ งอกงามสบื มา มีการฟืน้ ฟพู ระพุทธศาสนาให้บรสิ ทุ ธ์ิกอ่ ให้ เกิดววิ ฒั นาการตลอดมา พรอ้ มท้ังท�ำ สังคายนาพระไตรปฎิ กใหถ้ ูกตอ้ ง พระพทุ ธโฆษาจารย์ ภกิ ษุชาวพมา่ ประทบั เรอื ส�ำ เภาจากแควน้ อนั ธราไปยงั ลังกาทวปี เมือ่ พุทธศตวรรษที่ ๙ เพ่อื ท�ำ การแปลพระไตรปฎิ กเปน็ ภาษาบาลี เช่น ปรากฏอย่ใู นจติ รกรรมฝาผนังต�ำ หนกั พระพทุ ธโฆษาจารย์ ในสมยั อยุธยาตอนปลาย ดงั นั้น ลงั กาจึงกลายเปน็ ศนู ยก์ ลางของการศกึ ษาพระพทุ ธศาสนาลัทธิหินยาน พระภกิ ษุสงฆจ์ ากเมืองมอญ พม่า ไทย เขมร และลาว ตา่ งมุ่งหนา้ ไปศกึ ษาท่ี “ลังกาวงศ”์ ดว้ ยความเลือ่ มใสศรทั ธา สกุลช่างลังกา ท่สี �ำ คญั มี ๒ สกุล ดังน้ี ๑. สกุลช่างอนรุ าธปรุ ะ (พุทธศตวรรษท่ี ๓-๑๓) ม ีศนู ยก์ ลางอยใู่ นเมืองอนุราธปรุ ะ นครหลวงแห่งแรกของลังกา ตัง้ แต่พระมหนิ ทเถระ ราชโอรส ของพระเจา้ อโศกมหาราชทรงเป็นสมณทตู นำ�พระพุทธศาสนามาสู่ลงั กาทวปี ในรชั สมยั พระเจา้ เทวนมั ปิยะ ตสิ สะเปน็ ตน้ มา มีการสรา้ งสถปู ตามรูปแบบสถาปตั ยกรรมของ “สกุลช่างโมรยิ ะ” แห่งแควน้ มคธ คอื สถปู แบบฟองน�ำ ้ จะมฐี านซอ้ นกัน ๓ ชั้น แบบมาลัยเถา เป็นสัญลกั ษณข์ องพระรตั นตรัย ต้งั อยบู่ นฐานเขยี ง สีเ่ หลยี่ ม แต่มฉี ัตรวลี (ปลอ้ งไฉน) สงู ยาวมากกวา่ หลายชัน้ อนั หมายถึง สวรรค์หรือภมู ติ า่ งๆ สถูปทใ่ี หญ่ ทีส่ ุด ไดแ้ ก่ สถูป “รุวันเวล”ิ ท่เี มอื งอนรุ าธปุระ สถาปัตยกรรมทม่ี ีชื่อเสยี ง ไดแ้ ก่ “โลหะปราสาท” (Brazen Palace) สร้างในรชั สมัยพระเจา้ ทุฏฐคามณี ยอดโดมคลุมด้วยแผ่นส�ำ ริดปดิ ทอง เปน็ อาคารไม้สงู ถงึ ๙ ชนั้ ถกู ไฟไหมใ้ นพทุ ธศตวรรษที่ ๙ ต่อมาได้มีการสร้างใหม่เปน็ ปราสาท ๕ ชน้ั ปจั จบุ ันเหลือแตฐ่ าน และเสาหนิ ๑,๖oo ต้น สูง ๑๒ ฟุต ในเน้อื ที่ ๒๕o ตารางฟตุ ส่งิ ทน่ี า่ สนใจอกี อยา่ งหนงึ่ ไดแ้ ก่ “Moonstone” หรอื แผน่ หินครง่ึ วงกลมหน้าบนั ไดพทุ ธสถาน มีภาพสลักสตั ว์ทงั้ ๔ ของพระพุทธเจ้า เชน่ รูปช้าง ม้า วัว สิงโต และ รปู หงส์ สญั ลกั ษณ์ของพระพุทธศาสนา ตรงกลางเปน็ รปู ดอกบัวบาน ตอ่ มาสกลุ ช่างอนรุ าธปุระได้รับอทิ ธิพล จากสกลุ ชา่ งต่างๆ ของอนิ เดยี เช่น สกุลชา่ งอมราวดี คปุ ตะ และปัลลวะ ในพุทธศตวรรษท่ี ๑๓ ลังกาตอ้ ง ละทิ้งอนรุ าธปุระให้แกพ่ วกโจฬะไปส่เู มืองหลวงแห่งใหม่ ๒๖

บทท่ี ๓ : อทิ ธพิ ลทางพุทธศิลปจ์ ากดนิ แดนพทุ ธภูมิ ๒. สกุลช่างโปลนนารวุ ะ (พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๙) เ ปน็ สกลุ ช่างใหม่ในเมอื งโปลนนารวุ ะ นครหลวงแหง่ ใหม่ พวกโจฬะไดต้ ามมารุกรานอกี มายดึ ครองลังกาชัว่ ระยะหนง่ึ จึงมอี ทิ ธพิ ลโจฬะอย่พู อสมควร เช่น พบเทวรูปของโจฬะมากมายทีเ่ มืองโปลนนารวุ ะ เทวาลยั พระศิวะ ถือวา่ เป็นเทวาลยั ของโจฬะที่สวยงามของเทวสถานฮินดใู นลงั กา หลังจากท่ปี ระสบชยั ชนะ ตอ่ มาโจฬะได้ฟนื้ ฟพู ระพทุ ธศาสนาและปฏิสงั ขรณ์คร้ังใหญ่ ทำ�ให้พทุ ธศลิ ป์รงุ่ เรืองมากข้นึ สถาปัตยกรรม ทส่ี �ำ คญั ได้แก่ เจดียท์ รงสเ่ี หลีย่ มซอ้ นลดหล่นั กนั ๗ ชน้ั หรอื ที่เรียกวา่ “สตั ตมหาปราสาท” แตล่ ะช้นั มซี ้มุ พระพุทธรปู จตุรทิศ มีลักษณะคลา้ ยกบั เจดีย์กกู่ ุด สมัยหริภญุ ไชยทลี่ �ำ พูน มอี ายุร่วมสมยั กนั แต่เจดียก์ กู่ ุด มี ๕ ชั้น มซี ุม้ พระพุทธรูปมากถึง ๖o ซมุ้ และพระพทุ ธรูปศลิ าประทบั นง่ั (ปรินิพพาน) ศลิ า มคี วามยาว กว่า ๔๖ ฟตุ จัดร้ิวจวี รเปน็ แบบเส้นขนาน สกุลชา่ งลังกามคี ตินยิ มสร้างแตพ่ ระพทุ ธรูป “ปางสมาธ”ิ เปน็ หลกั ยึดหลักความหลดุ พน้ จากกเิ ลสดว้ ยอ�ำ นาจของสมาธหิ รือความหลดุ พ้นเพราะสมาธิ (เจโตวมิ ุตต)ิ จึงไม่ สรา้ ง “ปางมารวชิ ยั ” ผิดกบั สมยั สโุ ขทยั นยิ มสรา้ ง “ปางมารวิชยั ” เปน็ หลักอนั แสดงถงึ การบ�ำ เพ็ญเพยี รจน เอาชนะมารท้ังปวง และตรัสรูอ้ นุตรสัมมาสัมโพธญิ าณ สว่ นปางสมาธิมีนอ้ ย ซง่ึ ยึดพุทธปรัชญากนั คนละแนว ในการสร้างรูปบูชา เพอ่ื ระลึกถึงพระพทุ ธเจ้า ศิลปะจากดินแดนพทุ ธิภมู ิโดยทัว่ ไป มีรากฐานจากศาสนา ไดแ้ ก่ ศาสนาพราหมณ์ หรอื ฮนิ ดู พทุ ธ ศาสนา ศาสนาเซนและศาสนาอิสลาม ที่มีอทิ ธพิ ลต่อการเปลย่ี นแปลงรปู แบบการพฒั นาและเผยแพรม่ าก ที่สุด คือ ศิลปะศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา ที่ปรากฏในสถาปตั ยกรรม ประตมิ ากรรม จิตรกรรม ซ่ึง มีความเหมอื นและแตกตา่ งกันตามแตล่ ะสกลุ ช่างที่มีคตคิ วามเช่อื ทต่ี ่างกนั ทำ�ใหผ้ ลงานเหล่านม้ี กี ารเปลย่ี น แปลงพัฒนารปู แบบของผลงานท่ีมีคณุ ค่า สุนทรภี าพ ประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกนั และไดใ้ หอ้ ิทธพิ ลสูภ่ ูมภิ าค เอเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้ซ่งึ เกดิ ขึ้นมาพรอ้ มกบั การเผยแพรศ่ าสนาโดยเฉพาะประเทศไทยทไี่ ดร้ ับอทิ ธพิ ลและ เป็นต้นกำ�เนิดของศิลปกรรมทป่ี รากฏในยคุ ต่างๆ ที่เหน็ ไดช้ ัด นอกจากนี้กย็ งั ไดอ้ ิทธิพลกับประเทศรอบนอก ด้วย เชน่ เวียดนาม ปากสี ถาน ทเิ บต เนปาล ศรีลงั กา ลาว เป็นตน้ ภาพท่ี ๓.๑๙ ปราสาททชั มาฮาล เมืองอครา ศลิ ปะอนิ เดีย สมัยโมกุล สถาปตั ยกรรมขนาดใหญ่ เปน็ ทฝี่ ังศพของพระมเหสีผู้ส้นิ พระชนมใ์ น การประสตู ิพระโอรส เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๔ ๒๗

ประวตั แิ ละแบบอย่างศลิ ปะไทย ภาพท่ี ๓.๒๐ จติ รกรรมสกลุ ชา่ งโมกลุ ภาพท่ี ๓.๒๑ สถูปพระธาตุ หลวงเวยี งจันทร์ ลาว ๒๘

บทท่ี ๔ : ศิลปะในประเทศไทย บทท่ี ๔ ศิลปะในประเทศไทย จากหลกั ฐานทค่ี ้นพบในปจั จบุ ัน ทำ�ให้เช่ือกนั วา่ ดินแดนทเี่ ป็นประเทศไทย ปัจจุบนั เคยเป็นดินแดนท่ี มมี นษุ ย์อาศยั อยู่ และมีอารยธรรมรงุ่ เรืองมาไม่นอ้ ยกวา่ ๖,ooo ปี แตย่ งั ไม่สามารถพิสจู นไ์ ด้ว่าแหลง่ โบราณ คดี ก่อนประวัตศิ าสตรบ์ ้านเชียง จงั หวดั อุดรธานี หรอื แหลง่ โบราณคดกี ่อนประวัติศาสตร์บ้านเก่า จงั หวัด กาญจนบุรี วา่ เปน็ ของคนไทย หรอื คนเผ่าเดียวกนั ในปัจจบุ ันหรือไม่ จึงกล่าววา่ ศิลปะโบราณวตั ถเุ หลา่ นั้น เป็นศิลปะไทย หรืออาจเปน็ ศิลปะโบราณวตั ถุในประเทศไทย ภาพที่ ๔.๑ เคร่อื งปัน้ ดนิ เผา และเครื่องมอื เครือ่ งใช้กอ่ นประวตั ศิ าสตร์ บ้านเชียง จงั หวัดอดุ รธานี ความเปน็ มาของงานศลิ ปกรรมไทยในประเทศไทยคอื ศลิ ปะทกุ ยคุ ทกุ สมยั ทม่ี กี ารพฒั นาเปลยี่ นแปลง รับอิทธิพล สง่ อิทธิพลตามสภาพแวดล้อมและศาสนา ซงึ่ เปน็ บ่อเกดิ ศิลปะ เช่น อิทธพิ ลจากอินเดยี เหนอื และ อนิ เดยี ใต้ หรือจากลังกาทวปี หรือจากพุกาม เป็นศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ลทั ธหิ นิ ยานหรือมหายาน รวมท้งั ลัทธเิ ถรวาท สิง่ เหล่าน้นั มีผลตอ่ รูปแบบ ความเชอื่ ความศรทั ธา ในการสร้างงานศิลปกรรม และการอปุ ถัมภ์ คำ�้ชูของกษตั ริยแ์ ต่ละพระองคก์ ็มผี ลในการสรา้ งสรรค์ เปลย่ี นแปลงและพฒั นาผลงานศลิ ปกรรมดว้ ย การแบ่งยคุ สมยั ของศลิ ปะไทยในเชิงประวัติศาสตรศ์ ิลปะ ส่วนมากใช้หลกั ฐานทีเ่ ปน็ ศิลปะโบราณวตั ถทุ างพระพทุ ธศาสนา ซ่งึ มปี รากฏอยเู่ ป็นหลกั ฐาน แบง่ เปน็ ๒ สมยั ดงั น้ี ๑ . ศิลปะสมัยก่อนไทย (พทุ ธศตวรรษที่ ๓-๑๘) แบ่งเปน็ ๖ สมัย คือ สมัยสวุ รรณภูมิ สมัยหลงั สุวรรณภูมิ สมัยทวารวดี สมยั ศรีวชิ ยั สมัยลพบุรี และสมัยหรภิ ญุ ไชย ๒. ศิลปะสมัยชนชาตไิ ทย (พุทธศตวรรษท่ี ๑๘-ปจั จบุ ัน) แบ่งเปน็ ๕ สมัย คอื สมัยเชยี งแสน สมัย สโุ ขทัย สมยั อทู่ อง สมยั อยุธยา และสมัยรตั นโกสนิ ทร์ ศลิ ปะสมัยกอ่ นไทย (พุทธศตวรรษที่ ๓-๑๘) เ ปน็ ชว่ งระยะเวลายาวนานทช่ี นชาตไิ ทยมอี �ำ นาจปกครองตนเองอยา่ งเปน็ อสิ ระตงั้ แตส่ มยั สวุ รรณภมู ิ ถงึ สมยั ลพบรุ ี มกี ารปกครองแบบเครอื ญาติ และบางสมยั ก็มกี ารรกุ รานชิงอ�ำ นาจซึง่ กันและกนั ซง่ึ ศลิ ปกรรม ส่วนใหญไ่ ด้รับอทิ ธพิ ลจากอนิ เดียเปน็ หลัก เชน่ ฟนู นั เจิน้ ลา (ขอม) ทวารวดี ศรวี ชิ ัย จ�ำ ปา สวุ รรณภูมิ ๒๙

ประวตั ิและแบบอยา่ งศิลปะไทย ดินแดนเหลา่ นเี้ ปรียบเสมอื นเป็นเบ้าหลอมทางวฒั นธรรมทสี่ �ำ คญั ในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้โดยมีวัฒนธรรม อินเดียเป็นพืน้ ฐาน ผสมผสานวฒั นธรรมทอ้ งถิน่ ๑. ศลิ ปะสุวรรณภูมิ (ประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๓-๖) ศ ิลปวัฒนธรรมสมัยสุวรรณภมู ิ เรมิ่ ตงั้ แตก่ ารเดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาของสมณทตู อินเดีย ๒ ท่าน คอื พระอุตตระเถระ และพระโสณเถระ ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลงั ที่ พระองคท์ รงจัดให้มกี ารสังคายนาพระไตรปฎิ กครงั้ ท่ี ๓ ณ อ โศกรามราวพ.ศ.๒๓๔ ส ุวรรณภมู ิมอี าณาเขต กวา้ งใหญไ่ พศาล นบั ต้ังแต่พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และแหลมมลายู ศนู ย์กลางอยทู่ ี่สวุ รรณภมู ิ และในสมยั นี้ ยงั ไม่มีการสรา้ งพระพทุ ธรูปเคารพบูชา แทนองคพ์ ระพุทธเจ้า มีการสรา้ ง “พุทธสญั ลกั ษณ”์ (Buddhist Symbols) ขึน้ บูชาแทน มีดังนี้ - รปู ดอกบัวตูม เปน็ สญั ลกั ษณ์ การประสูติ - รปู มา้ มีอานว่างเปล่ามีกลดก้นั เปน็ สญั ลักษณ์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ - รปู พุทธสาสนใ์ ตร้ ่มโพธพิ์ ฤกษ์ เป็นสญั ลักษณ์การตรสั รู้ - รปู ธรรมจักรกับกวางหมอบ เป็นสัญลกั ษณก์ ารปฐมเทศนา - รูปสถปู -เจดีย์ เปน็ สัญลกั ษณ์ การปรินพิ พาน - รูปตรีศลู เป็นสัญลักษณ์ พระรัตนตรยั ๒. ศลิ ปะหลังสุวรรณภูมิ (ประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๗-๑o) ชว่ งแรกยงั ไม่มกี ารสรา้ งพระพุทธรูปไวบ้ ูชา ถงึ แมว้ า่ จะรว่ มสมัยกับสมัยคนั ธาราฐ ในระยะตอ่ มาพบ พระพทุ ธรปู ส�ำ ริดจากอนิ เดยี ตอนใต้ เปน็ พระพทุ ธรูปจากเมอื งอมราวดี มอี ายุในศตวรรษที่ ๗-๘ ภาพท่ี ๔.๒ พระพทุ ธรูปปางทรงแสดงธรรม ส�ำ ริด สูง๒๙.๕ ซ.ม. พบทีจ่ ังหวัดนครราชสมี า ศิลปะอินเดีย สมัยทวารวดหี รอื ลงั กา สมัยอนุราธปรุ ะตอนตน้ ๓๐

บทท่ี ๔ : ศิลปะในประเทศไทย พระพทุ ธรูปปางทรงแสดงธรรม เป็นพระพทุ ธรูปยืน ครองจวี ร ห่มเฉยี ง เปดิ พระองั สาด้านขวา จดั จวี รร้ิวจีบอยา่ งมีระเบยี บ ขอบจวี รด้านลา่ งขึ้นมาพาดขอ้ พระหัตถ์ซ้าย และหอ้ ยตกลงมาเบือ้ งลา่ ง พระหตั ถ์ ขวาทรงแสดงธรรม หรอื ทเี่ รยี กว่า “วติ รรก มทุ รา” หรอื เรียกวา่ “ปางประทานอภยั ” (ภาพที่ ๔.๒) ภาพที่ ๔.๓ พระพุทธรปู ยืน สำ�ริด สงู ๒o.๕ ซ.ม. พบทต่ี �ำ บลพงตึก จงั หวดั กาญจนบรุ ี ศิลปะอินเดีย สมัยหลงั คปุ ตะ พระพุทธรูปยืน เป็นพระพุทธรูปแบบคปุ ตะ ครองจวี รเปน็ รว้ิ ตกลงมาจากข้อพระหัตถ์ซ้ายเปน็ เส้น ตรง เม่ือชายจีวรพาดผ่านพระอังสาซา้ ย แล้วน�ำ กลบั มาพนั รอบพระกรซา้ ยอกี ไม่ได้ จึงท�ำ ใหต้ กลงไปถึงข้อ พระบาท (ภาพท่ี ๔.๓) ป าง (มทุ รา) คอื การสอ่ื ความหมายหรือเรอ่ื งราวดว้ ยมอื แต่ในทนี่ พี้ ระพทุ ธรปู แปดปาง หมายถงึ สังเวชนียสถานในพทุ ธประวตั ิ ๔ แหง่ คือ สถานท่ปี ระสตู ิ (ลมุ พนิ ี) ตรสั รู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (สารนารท) ปรนิ ิพพาน (กสุ นิ ารา) และปูชนียสถาน อกี ๔ แห่ง คือ ทรงทรมานชา้ งนาฬาคีรที เ่ี มืองราชคฤหท์ รงรับภัตตา หารจากพญาวานรท่เี มืองเวสาลี ทรงแสดงยมกปาฏหิ ารยิ ์ทีเ่ มืองสาวัตถแี ละเสด็จจากสวรรค์ชนั้ ดาวดงึ ส์ ภาพที่ ๔.๔ พระพุทธรูป ๘ ปาง ศลิ าปิดทอง สูง ๑๕.๕ ซ.ม. พบในกลมุ่ พระปรางคว์ ดั ราชบูรณะ จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา ศลิ ปะอินเดีย สมัยปาละ พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๔-๑๕ พิพิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร ๓๑

ประวัติและแบบอยา่ งศลิ ปะไทย พระพทุ ธองค์ตรสั รูท้ ี่เมอื งพุทธคยาเปน็ ประธานอย่กู ลางอริ ิยาบถประทับน่งั พระหัตถ์แสดงปางมาร วิชยั ทรงครองจีวรเฉยี ง ริว้ จวี รและชายจวี รสน้ั เหนือพระอุระบ่งชีว้ ่า คือ แบบอยา่ งศลิ ปะปาละ เชน่ เดยี ว กับลกั ษณะของพระพกั ตร์ เชอ่ื วา่ เป็นของเกา่ แกม่ ผี ้นู ำ�เขา้ มาและนำ�มาบรรจุไว้ในกรปุ รางค์ประธานในคราว สรา้ งวัดราชบรู ณะ (สนั ติ เล็กสุขุม, ๒๕๕๔:๒๔) (ภาพท่ี ๔.๔) ภาพท่ี ๔.๕ พระสงฆ์อมุ้ บาตร ดินเผา สงู ๑๖.๕๖ ซ.ม. พบทีอ่ ำ�เภออู่ทอง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี อยทู่ ีพ่ พิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติอทู่ อง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี ศิลปะฟนู นั ประตมิ ากรรมดินเผารปู พระภิกษสุ าวก ๓ รปู กว้าง ๒o เซนติเมตร สูง ๑๖ เซนตเิ มตร ครองจวี ร ถอื บาตร เปน็ ลักษณะอาการบิณฑบาต หม่ จีวรแบบศลิ ปะอมราวดี ชายจีวรเป็นริ้ว อายรุ าวศตวรรษที่ ๗-๙ พ.ศ. ๖oo แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธท์ างพระพทุ ธศาสนาของเมอื งโบราณทางอนิ เดยี สมยั อมราวดี วา่ พระสงฆใ์ นอู่ทองเวลานัน้ จะห่มจีวรในลักษณะเดยี วกนั (ศิลปวัฒนธรรม.ฉบบั ท่ี ๑ พฤศจิกายน, ๒๕๔๖:๑๕o) (ภาพท่ี ๔.๕) ศ าสตราจารยจ์ นี บอสเซอลีเย่ร ์ ( JeanBoisselier) น ักโบราณคดชี าวฝร่งั เศสตั้งทฤษฎเี กย่ี วกบั ดนิ แดน ภาคกลางของไทย ณ บรเิ วณอำ�เภออ่ทู องของสุพรรณบุรี คน้ พบภาพสลกั นนู ตำ�่ ดนิ เผาและปูนปัน้ ข้ึนบางช้ิน สันนษิ ฐานวา่ รบั อิทธิพลมาศลิ ปะอมราวดีทศิ ตะวนั ออกเฉียงใต้ของอินเดยี (ประตมิ ากรรม)และสนั นษิ ฐานว่า ภาคกลางของไทยเคยเป็นท่ตี งั้ อาณาจักรฟนู ันเป็นอาณาจกั รเกา่ ในภาคพน้ื เอเชยี อาคเนย์ อายุราวศตวรรษท่ี ๖-๑๑ ร่วมสมยั กบั อาณาจักรอมราวดี เมือ่ อาณาจักรฟนู นั ล่มสลายอมราวดี จงึ รุ่งเรอื งขึน้ ภาพที่ ๔.๖ พระพทุ ธรูปสลกั ดว้ ยศลิ าทรายสแี ดงประทับยืน ดว้ ยอาการตริภังค์ (เอยี งตน) สงู ๑๖.๕ ซ.ม. ปางประทานพร พบทีต่ �ำ บลเวยี งสระ อำ�เภอนาสาร จังหวดั สรุ าษฏรธ์ านี ศิลปะอินเดยี สมัยคุปตะ พทุ ธศตวรรษที่ ๙-๑๑ พิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๓๒

บทท่ี ๔ : ศิลปะในประเทศไทย พระอริ ยิ าบถยนื ตรภิ งั ค์ ค อื ยนื เอยี งสามสว่ นไดแ้ ก่พระเศยี รพระองั ศาและพระโสณีเปน็ สนุ ทรยี ภาพ ในศลิ ปะอนิ เดยี แบบคปุ ตะเทยี บเคยี งไดก้ บั พระพทุ ธรปู ฝมี อื ของสกลุ ชา่ งสารนารถในศลิ ปะอนิ เดยี แบบคปุ ตะ เทยี บเคียงไดก้ บั พระพุทธรูปฝีมอื ของสกุลชา่ งสารนารถประเทศอินเดียเปน็ ต้นว่าพระวรกายซงึ่ ทรงห่มคลุม ด้วยจวี รคล้ายผา้ บางเปียกน�ำ ้(สนั ติเล็กสุขุม,๒๕๕๔:๒๓)ศลิ ปกรรมทงั้ หมดที่เกิดข้ึนในประเทศไทยลว้ นแลว้ มาจากการไดร้ บั อทิ ธพิ ลในการสรา้ งรปู แบบกรรมวธิ ขี องอนิ เดยี โดยเฉพาะในสมยั สโุ ขทยั รวมทงั้ ในแถบเอเชยี อาคเนยด์ ้วย (ภาพที่ ๔.๖) ๓. ศลิ ปะทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ช ่อื ของอาณาจกั ร “ทวารวด”ี เปน็ ช่ือที่นกั ปราชญ์ชาวฝร่ังเศส คอื ศาสตราจารย์ยอรจ์ เซเดส์ ไดต้ ้งั ขน้ึ จากบนั ทกึ ของนักพรตจีนชื่อหลวงจนี เสียนจวง(เฮ๋ียนจง)เดนิ ทางมาศกึ ษาพระพทุ ธศาสนาในประเทศอินเดีย เมอ่ื ประมาณปลายพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ อาณาจักรนม้ี ชี อื่ เปน็ ภาษาจีนวา่ “โถโลโปต”ี ตั้งอยู่ระหวา่ งเมอื งศรี เกษตร (พม่า) และเมอื งอีสานปรุ ะ (เจิ้นลา) ม กี ารค้นพบจารึกทปี่ รากฏอยูบ่ นเหรยี ญเงนิ ด้วยอกั ษรปลั ลวะเป็นภาษาสนั สกฤต ความวา่ “ศรีทวารวตศี วรปญุ ยะ” หมายความวา่ บญุ กศุ ลของพระราชาแหง่ (ศร)ี ทวารดี ปัจจุบนั เชอ่ื วา่ อาณาจกั ร ทวารวดีอย่ทู ีจ่ งั หวดั นครปฐมคือเมอื งโบราณทมี่ ีพระประโทนเปน็ จดุ ศูนย์กลางเปน็ เมอื งใหญ่และในปจั จุบัน เขา้ ใจว่า อาณาจักรทวารวดีนา่ จะอยูศ่ นู ยก์ ลางทีเ่ มอื งลพบรุ ี เนอ่ื งจากพบเงินเหรียญมจี ารึกวา่ “ลวปุระ” อนั เปน็ ชื่อเก่าของเมืองลพบุรี ในสมยั ทวารวดี จำ�นวน ๕ เหรียญ จากเมืองโบราณคดตี ามแหลง่ ตา่ งๆ เชน่ พบท่ี เมืองนครปฐม (จังหวัดนครปฐม) ๒ เหรียญ พบที่เมอื งอทู่ อง (จังหวัดสพุ รรณบรุ ี) ๒ เหรยี ญ และพบทเี่ มือง อินทร์บรุ ี (จังหวดั สิงหบ์ รุ ี) ๑ เหรียญ ภาพท่ี ๔.๗ เหรยี ญเงิน สมยั ทวารวด ี โบราณวตั ถุในสมัยทวารวดี พบจารกึ บนแผน่ ทองแดง ณ เมืองอู่ทอง อายรุ าวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ โดย ศาสตราจารย์จีน บอสเซอลีเยร่ ์ (Jean Boisselier) สันนิษฐานวา่ เมืองอูท่ องเคยเป็นราชธานีของอาณาจักร ทวารวดี มากอ่ นเมืองนครปฐม สนั นษิ ฐานว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นเชือ้ ชาติมอญหรือใช้ภาษามอญ เพราะ ได้พบจารกึ ภาษามอญโบราณหลายแห่ง ภายในเมืองสมยั ทวารวดี ประชาชนอยู่กระจายทั่วไปตามลุ่มแม่นำ�้ ต่างๆ เชน่ แมน่ �ำ ้แมก่ ลอง ลุ่มน�ำ ้ทา่ จีน ลุ่มน�ำ ้เจา้ พระยา และลุ่มนำ�้บางปะกง ทางภาคกลาง และลมุ่ นำ�้ชี ทางภาคอีสาน ตลอดจนลุ่มแม่น�ำ ป้ ่าสกั แผนผังของตวั เมอื ง เม่ือดจู ากภาพถา่ ยทางอากาศ แลว้ พบว่า มที ั้ง ลกั ษณะรูปวงกลม รปู วงรี และสีเ่ หล่ยี มมมุ บน มคี ูน�ำ ้คน่ั ดินขนาดใหญล่ ้อมรอบ ๓๓

ประวัติและแบบอย่างศิลปะไทย ภาพที่ ๔.๘ แผนทตี่ ำ�แหนง่ อาณาจกั รทวารวดี พระพุทธรปู สมยั ทวารวดี แบง่ ไดเ้ ปน็ ๓ แบบ คอื ๑ . แบบแรก ราวพทุ ธศตวรรษที่ ๑๒ ลกั ษณะของอิทธพิ ลศิลปะอนิ เดียแบบคปุ ตะ และหลงั คปุ ตะ รวมทัง้ อทิ ธิพลของศิลปะอินเดยี แบบอมราวดี ซง่ึ เข้ามาก่อนคปุ ตะและหลังคุปตะ พระพทุ ธรปู แบบทวารวดีไดร้ บั อทิ ธพิ ลอยา่ งเหน็ ไดช้ ดั จากพระพทุ ธรปู แบบคปุ ตะและหลงั คปุ ตะ แพร่หลายอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันตกของอินเดีย ระหว่างพทุ ธศตวรรษที่ ๙-๑๓ และมอี ิทธพิ ลศลิ ปะ อนิ เดยี สมัยอมราวดี เน่ืองจากอาณาจกั รมีความเจริญอยู่เปน็ เวลานานมาก จงึ ได้รับอิทธพิ ลจากศลิ ปะรนุ่ ต่อมา ของอนิ เดียอกี คอื ศลิ ปะแบบปาละ เป็นศิลปะทางพระพุทธศาสนา ซ่ึงเจริญขน้ึ ทางภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของประเทศอนิ เดีย ระหว่างพทุ ธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ พระพทุ ธรปู แบบทวารวดสี ่วนใหญ่นิยมสรา้ งด้วยการ สลกั ศลิ า ทหี่ ล่อดว้ ยสำ�ริดก็มบี า้ ง แต่มีขนาดเล็ก ภาพท่ี ๔.๙ พระพทุ ธรปู ปางสมาธิ ส�ำ รดิ สงู ๑o.๕ ซ.ม. พบท่ีแมน่ �ำ ม้ ูล ตำ�บลวงั ปลัด จังหวดั บุรรี มั ย์ ศิลปะทวารวดี ๓๔

บทท่ี ๔ : ศลิ ปะในประเทศไทย ภาพท่ี ๔.๑o พระพุทธรปู ปางเสดจ็ ลงจากดาวดึงส์ (ประทานธรรมท้งั สองพระหัตถ์) แสดงปางเทศนาสำ�รดิ สงู ๑.o๙ เมตรพบทีเ่ มืองฝา้ ย อำ�เภอล�ำ ปลายมาศ จงั หวัดบรุ ีรัมย์ ศิลปะทวารวดี พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร ถอื ว่าเป็นพระพทุ ธรปู ท่ใี หญท่ สี่ ุด พระพักตรม์ ลี ักษณะคลา้ ยกบั ศิลปะอินเดยี อย่มู าก หลอ่ ขนึ้ ใน พุทธศตวรรษที่ ๑๓ (สภุ ัทรดสิ ดศิ กุล, ๒๕๓๘:๕) (ภาพท่ี ๔.๑o) ภาพท่ี ๔.๑๑ พระพุทธรูปปางประทานพร ศลิ าสูง ๑.๔๗ เมตร พบท่ีวดั รอ จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา ศลิ ปะทวารวดี ตน้ พทุ ธศตวรรษที่ ๑๓ พพิ ิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร พ ระอิรยิ าบถยืนตรภิ ังค์ (ยืนเอียงพระโสณ-ี สะโพก) คือ สุนทรยี ภาพใกล้ชิดกบั ศลิ ปะอย่างอินเดยี พระองคท์ รงหม่ จวี รคลมุ พระองั สาทง้ั สองชายจวี รทบหนา้ หอ้ ยจากพระกรทง้ั สองมาพาดผา่ นพระชงฆ์พระกร ซา้ ยท่เี หลืออยมู่ ีรู ซงึ่ เจาะไวส้ �ำ หรบั เสียบพระกรท่อนปลายที่สลักไว้ต่างหาก สว่ นพระกรขวาห้อยลงแนบพระ วรกายหงายฝ่าพระหัตถ์ คอื ปางประทานพร (สนั ติ เล็กสขุ มุ , ๒๕๕๔: ๒๙) (ภาพที่ ๔.๑๑) ๓๕

ประวตั ิและแบบอยา่ งศลิ ปะไทย ภาพท่ี ๔.๑๒ พระพุทธรูปปางเสด็จลงมาจากดาวดงึ ส์ ศิลาสงู ๘๑ ซ.ม. พบทวี่ ัดเขาสมอคอน จงั หวดั ลพบรุ ี ศิลปะทวารวดี พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๕ พพิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร พ ระองคค์ ลา้ ยศลิ ปะอนิ เดยี แบบคปุ ตะและหลงั คปุ ตะพระพกั ตรเ์ ปน็ แบบพนื้ เมอื งอายรุ าวตน้ ศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ พระองค์ตง้ั ตรง ทรงแสดงปางวิตรรกะ (ประทานธรรม) ทง้ั สองพระหัตถ์ แสดงการไดส้ ดั สว่ นอยา่ ง แทจ้ รงิ เปน็ สนุ ทรยี ภาพอยา่ งหนงึ่ ของพระพทุ ธรปู ทสี่ รา้ งขนึ้ ในดนิ แดนไทยแตกตา่ งจากอริ ยิ าบถยนื เอยี งพระโสณ ท่ใี กล้ชดิ กับต้นแบบในศลิ ปะอนิ เดยี มากกว่า นว้ิ ของพระหัตถท์ ง้ั สองแสดงปางเทศนาส่งั สอน สลักใหแ้ นบอยู่ กบั องุ้ พระหตั ถ์คอื กรรมวธิ ที างชา่ งเพอื่ ปอ้ งกนั นวิ้ หกั ช�ำ รดุ การเนน้ ความสมดลุ สอดคลอ้ งกบั ชายจวี รทช่ี า่ งสลกั ใหห้ ้อยจากพระกรทัง้ สองลงมาตามแนวนอนพาดผา่ นพระชงฆ์ (สันติ เลก็ สุขุม,๒๕๕๔: ๓o) (ภาพที่ ๔.๑๒) ๒.แบบทสี่ องอทิ ธพิ ลพนื้ เมอื งมมี ากยงิ่ ขนึ้ เชน่ ลกั ษณะพระพกั ตรม์ ขี มวดพระเกศาใหญ่บางครง้ั มรี ศั มี เปน็ รูปดอกบวั ตมู หรือลูกแกว้ อยเู่ หนอื พระเกตมุ าลา พระพกั ตร์แบน พระขนงสลกั เป็นเส้นนูนโค้งตดิ ตอ่ กัน ดงั รูปปกี กา พระเนตรโปน พระนาสกิ แบน พระโอษฐ์หนา ยงั คงนั่งสมาธหิ ลวมๆ แสดงให้เห็นถึงอิทธพิ ลจาก ศลิ ปะอนิ เดียแบบปาละ (ภาพท่ี ๔.๑๓) ภาพท่ี ๔.๑๓ พระพทุ ธรูปปางนาคปรก ศิลาสูง ๗๕ ซ.ม. พบท่ีดงศรีมหาโพธ์ิ จังหวดั ปราจีนบรุ ี ศลิ ปะทวารวดี พุทธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๔ พิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ ๓๖

บทที่ ๔ : ศลิ ปะในประเทศไทย พระพักตรค์ อ่ นขา้ งเหลีย่ ม เมด็ พระศกใหญ่ พระขนงตอ่ เปน็ รปู ปกี กา พระเนตรโปน รมิ พระโอษฐ์ หนา พระองคน์ ง่ั ประทับใตพ้ งั พานพญานาค การท่ีไม่มขี นดนาครองรับพระพทุ ธองค์นับว่าพเิ ศษคงเกิดจาก ทศั นของช่างท้องถ่นิ รูปเจดีย์สลกั อย่างคร่าวๆ อยทู่ างซา้ ยและขวา (สนั ติ เล็กสุขมุ ,๒๕๕๔: ๓๒) ๓. แบบท่ีสาม เปน็ พระพุทธรูปรุ่นสดุ ทา้ ยของอาณาจักรทวารวดี มีอิทธิพลของศลิ ปะขอมสมยั ลพบุรี ตอนตน้ เขา้ มาปะปนดว้ ย ภาพท่ี ๔.๑๔ พระพุทธรูปปางมารวชิ ัย ศลิ าสงู ๑.๓๙ เมตร พบทีว่ ดั พระศรีรตั นมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี พพิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ศลิ ปะทวารวดตี อนปลาย พระพักตร์เป็นรูปสเ่ี หล่ยี ม มีรอ่ ง (รักยิม้ ) แบง่ กลางระหวา่ งพระหนุ (คาง) ชายจีวรยาวลงมาถงึ พระ นาภปี ลายตัดเปน็ เสน้ ตรง ประทบั นงั่ ขัดสมาธิราบอยา่ งเต็มที่ และฐานบวั คว่ำ�บวั หงายจะสลักข้นึ อยา่ งคร่าวๆ (ภาพที่ ๔.๑๔) ภาพท่ี ๔.๑๕ พระพุทธรปู ประทับน่งั เหนือพนสั บดี ศลิ าสงู ๖๗ ซ.ม. ย้ายมาจากพพิ ธิ ภัณฑสถานจังหวดั พษิ ณุโลก ศลิ ปะทวารวดี ๓๗

ประวตั แิ ละแบบอยา่ งศิลปะไทย พ ทุ ธประวตั ิตอนพระพทุ ธเจา้ ประทบั เหนอื พนสั บดีซง่ึ นกั วชิ าการบางทา่ นเขา้ ใจวา่ บางชนิ้ คงหมายถงึ พทุ ธประวัติตอนพระพุทธองคเ์ สดจ็ ลงจากดาวดึงส์ หลงั จากเทศนา โปรดพทุ ธมารดาบนสวรรค์ (สันติ เลก็ สขุ มุ ,๒๕๕๔: ๒๗) สตั ว์ทเ่ี รยี กวา่ พนสั บดี ถ้าสังเกตดูจะเหน็ ปากเปน็ ครุฑ มหี ูและมีเขาเปน็ โค มีปีกอย่างหงส์ สนั นษิ ฐานว่าเปน็ ครฑุ คอื พาหนะของพระนารายณ์ โคเป็นพาหนะของพระอิศวร หงส์เปน็ พาหนะของพระ พรหม เหตุท่ีสลกั พระพุทธรูปขึ้นประดษิ ฐานเหนอื หลังสตั วพ์ นสั บดี อาจเปน็ ความคดิ ของพุทธศาสนิกชน แสดงวา่ พระพุทธศาสนามีอำ�นาจยิง่ ใหญ่กวา่ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู (ภาพที่ ๔.๑๕) ภาพที่ ๔.๑๖ ภาพสลักบนศิลา พระพุทธรปู สงู ประมาณ ๑.๒o เมตร พบท่ถี �ำ โ้ พธิสัตว์ ต�ำ บลทบั กวาง อำ�เภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ศิลปะทวารวดี จำ�หลกั ภาพพระพทุ ธเจา้ ประทับน่ังห้อยพระบาท มฐี านบวั รองรับ ก�ำ ลงั ทรงแสดงธรรมแกเ่ ทวดาใน ศาสนาพราหมณ์ โดยมีพระศวิ ะหรืออาจเป็นพระพรหมและพระวิษณุ รวมทัง้ เหลา่ เทวดานางฟ้า นางอัปสร และคนธรรพ์มาฟงั ธรรมทพ่ี ระองคแ์ สดงเชอ่ื วา่ เปน็ การแสดงถงึ ความยง่ิ ใหญข่ องพระพทุ ธศาสนามอี �ำ นาจยง่ิ กวา่ ศาสนาอนื่ ๆ คงอธบิ ายเพม่ิ เติมไดว้ า่ การสลักเช่นนสี้ ะทอ้ นการแข่งขันระหวา่ งพทุ ธศาสนากบั ศาสนาฮินดู (ภาพท่ี ๔.๑๖) ภาพท่ี ๔.๑๗ ธรรมจักรและกวางหมอบ ศลิ า เสน้ ผ่านศูนย์กลางธรรมจักรกว้าง ๒.๒๑ เมตร พบท่ีพระปฐมเจดีย์ จงั หวดั นครปฐม ศิลปะทวารวดี ๓๘

บทที่ ๔ : ศลิ ปะในประเทศไทย พระพุทธรปู ปางปฐมเทศนา ณ ป่าอสิ ปิ ตนมฤคทายวนั แขวงพาราณสี โดยไมต่ ้องสงสยั วา่ คติแบบนี้มี อย่ใู นอินเดียโบราณ (พทุ ธศตวรรษที่ ๓-๖) มคี ตกิ ารสร้างวัตถไุ ว้เคารพบชู า ทแ่ี สดงสอื่ สัญลักษณแ์ ทนองคพ์ ระ พทุ ธเจา้ สมัยตน้ พทุ ธกาล ไมม่ ีใครท�ำ พระพทุ ธรปู ขึ้น ลวดลายประดับบนธรรมจกั รเก่าแก่ มลี กั ษณะเหมือน ลวดลายศลิ ปะแบบคปุ ตะ ในสมยั นจ้ี ึงสรา้ งข้ึนเป็นเครอื่ งหมายแสดงพระราชอ�ำ นาจของกษัตริย์ ธรรมจกั ร (บางแหง่ คน้ พบร่วมกับรูปกวางหมอบ) เปน็ สัญลกั ษณข์ องการประกาศพุทธศาสนาครง้ั แรก คอื ปฐมเทศนา สัญลักษณ์ดงั กล่าวมมี าก่อนในสมัยอนิ เดียโบราณ ตง้ั แตร่ ชั กาลพระเจา้ อโศก แตเ่ กา่ กว่าสมยั ทวารวดไี ม่มาก นัก ธรรมจกั รสลกั จากศลิ าพบมากในศิลปะทวารวดที างภาคกลาง ส่วนภาคอสี านและภาคใตก้ พ็ บแตม่ นี ้อย (สนั ติ เลก็ สุขุม,๒๕๕๔: ๒๗) (ภาพที่ ๔.๑๗) ใ นสมยั ทพี่ ระพทุ ธศาสนาเขา้ มาเผยแพรใ่ นแถบน้ีตง้ั แตส่ มยั พระเจา้ อโศกมหาราชครองราชยใ์ นอนิ เดยี ไดท้ รงสง่ สมณทูต๙สายออกเผยแพร่พทุ ธศาสนาและสายท่ี๔คือพระอุตตระเถระและพระโสณะเถระทีเ่ ข้า มาเผยแพรพ่ ทุ ธศาสนาในดนิ แดนสวุ รรณภมู ิปรากฏหลกั ฐานการสรา้ งพระปฐมเจดยี อ์ งคเ์ ดมิ เปน็ พยานในการ เขา้ มาเผยแพร่พระพทุ ธศาสนา ภาพที่ ๔.๑๘ เศยี รพระพทุ ธรูป ดนิ เผาสูง ๒o ซ.ม. พบที่วัดพระงาม จงั หวดั นครปฐม ศิลปะทวารวดี ภาพที่ ๔.๑๙ พระโพธิสัตว์ ดนิ เผาสงู ๘๕ ซ.ม.พบที่ตำ�บลคูบวั จังหวัดราชบรุ ี ศิลปะทวารวดี พทุ ธศตวรรษที่ ๑๒ พพิ ธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ พระนคร ๓๙

ประวตั ิและแบบอยา่ งศิลปะไทย พระโพธิสัตว์วัชรปาณี ผ้ถู ือสายฟ้าหรือเปน็ เทพแห่งฝน มหี น้าที่คอยปกป้องพญานาค ซึง่ เปน็ ผคู้ วบ คมุ ฟ้าฝนเปน็ พระโพธสิ ัตวอ์ กี พระองคห์ น่ึงทรงห่มหนังกวางพระหตั ถ์ทรงถือหม้อน�ำ ้มนต์(องคข์ าวพระกรหกั ท้งั สองข้าง) โดยปกติศริ าภรณท์ ่เี กล้าสงู มกั มีพระพุทธรปู ขนาดเล็กประทบั นัง่ ขัดสมาธิ พระหัตถแ์ สดงปาง สมาธิ ซึง่ หมายถึง พระพทุ ธเจ้าอมติ ภะทรงเปน็ หนึ่งในหา้ พระชยานพิ ุทธเจา้ ท่ายนื เฉยี งพระโสณขี องพระ โพธสิ ัตว์อวโลกเิ ตศวร แสดงสนุ ทรียภาพทยี่ ังใกล้ชิดกบั ต้นแบบศิลปะอนิ เดยี คุปตะอย่บู ้าง (สนั ติ เลก็ สุขมุ , ๒๕๕๔: ๓๑) ท่ไี ดร้ บั การยกย่องนบั ถือมากในพระพุทธศาสนานิกายมหายานหรือเทยี บเทา่ พระอนิ ทร์ (ทา้ ว สักกะ) ในศาสนาพราหมณ์- ฮินดู แสดงให้เห็นว่า ช่างทวารวดีสมยั แรก นยิ มใช้ดินเผาเปน็ เครือ่ งตกแต่ง อาคาร ในสมัยตอ่ มานยิ มใช้ปูนปัน้ ในการตกแต่ง (ภาพท่ี ๔.๑๙) ภาพที่ ๔.๒o ประตมิ ากรรมดนิ เผารปู คนจูงลงิ อ�ำ เภออนิ ทร์บรุ ี จังหวัดสิงหบ์ ุรี โบราณวตั ถสุ มยั ทวารวดีเปน็ รปู บคุ คลแสดงอาการเปลอื ยทอ่ นบนไวท้ รงผมเลยี นแบบทรงผมทป่ี รากฏ ในรูปเคารพของศิลปะคุปตะในอินเดยี ถือเชอื กจูงลงิ ซึง่ น่ังอยูท่ างดา้ นหนา้ รปู คนจงู ลงิ ทพ่ี บส่วนมากช�ำ รุด ศีรษะมกั หกั หายไปจงึ ท�ำ ให้ค�ำ สนั นษิ ฐานเกยี่ วกบั หน้าทใ่ี ชส้ อยรูปคนจูงลงิ แตกต่างกันไป แตน่ า่ เชือ่ ว่ารปู ดงั กลา่ วถกู ทำ�ขน้ึ เพอื่ เปน็ ตวั แทนในพธิ กี รรมบางอยา่ งทตี่ อ้ งอาศยั ความมสี มาธสิ งู รปู คนจงู ลงิ พบเฉพาะในศลิ ปะ ทวารวดเี ทา่ น้นั (ภาพที่ ๔.๒o) ภาพที่ ๔.๒๑ ภาพปนู ป้ันประดับฐานเจดยี ์ จุลประโทน อำ�เภอเมือง จงั หวัดนครปฐม ๔๐

บทที่ ๔ : ศิลปะในประเทศไทย แ สดงภาพพระโพธิสตั ว์ เสวยพระชาตเิ ปน็ สปุ ารคะ นายเรือเปน็ ผ้มู ีชื่อเสยี งตามคัมภีรช์ าดกมาลาของ อารยสูรที่มชี ื่อวา่ “โพธสิ ตั ว์อวทาน”ในภาพสปุ ารคะคงจะเป็นบคุ คลทน่ี ่ังอยหู่ ัวเรือส่วนบุคคลทนี่ ั่งอยู่ท้ายเรือ สีหน้าและท่าทางดทู อ้ แทส้ น้ิ หวัง (ภาพท่ี ๔.๒๑) ภาพท่ี ๔.๒๒ ใบสมี า ศลิ าสงู ๑.o๙ เมตร สลักนนู ต่ำ� พบที่เมืองแดดสงยาง อำ�เภอกมลาสัยกาฬสินธ์ุ ศลิ ปะทวารวดี พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๕ พพิ ธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติพระนคร เ นอื้ ทถ่ี ดั ไปทางขวาของพระพทุ ธองคเ์ คยมรี ปู เทวดายนื อกี องคห์ นงึ่ แตห่ กั ชำ�รดุ รปู เทวดาองคท์ ย่ี งั ดอี ยู่ เหลอื อย่ทู างซ้าย หากองค์ใดหมายถงึ พระอนิ ทร์ องค์ท่ีอย่ดู ้านตรงข้ามกค็ ือพระพรหม ดังบง่ ไว้ในพทุ ธประวัติ ตอนส�ำ คญั ของประตมิ ากรรมนนู ต�ำ่ ชน้ิ น้ีคงเปน็ ใบสมี าอนง่ึ ใบสมี าสลกั รปู บางตอนในพทุ ธประวตั หิ รอื เรอื่ งนทิ าน ชาดกทชี่ ่างเลือกนำ�มาสลกั ไดพ้ บในเขตจังหวดั กาฬสินธุ์ (ภาพท่ี ๔.๒๒) ภาพท่ี ๔.๒๓ ภาพมหานิบาตชาดก บนใบเสมาหินทเ่ี มืองฟ้า แดดสงยางจังหวัดกาฬสินธ์ุ ศลิ ปะทวารวดี พุทธศตวรรษท่ี ๑๔-๑๕ ภาพที่ ๔.๒๔ ใบเสมาสลักรปู เตมยี ์ใบ้ เมืองฟ้าแดดสงยาง จงั หวัดกาฬสนิ ธ์ุ ศิลปะทวารวดี พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๔-๑๕ ๔๑

ประวัติและแบบอย่างศลิ ปะไทย การสลกั ใบเสมาดว้ ยเรอ่ื งราวในชาดกพบท่วั ไปในภาคอีสาน คงจะใชเ้ ปน็ หลกั เขตศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ในพิธที างพุทธศาสนา และยังเป็นการเผยแพรเ่ รอื่ งราวในชาดกใหร้ จู้ ักแพร่หลายในหมปู่ ระชาชนไปพร้อมกัน (ภาพที่ ๔.๒๓ และ ๔.๒๔) ก ารสร้างใบเสมา จะมแี นวคิดในการสรา้ งตา่ งกัน เชน่ ใบเสมาทม่ี กี ารจ�ำ หลกั รูปพุทธประวัติหรือเร่อื ง ชาดก (ใชห้ นิ ทราย) คงเป็นผลงานท่ีสร้างเพอื่ อุทิศถวายแกพ่ ระพุทธศาสนาโดยตรง คอื สร้างเปน็ พุทธานุสรณ์ สว่ นใบเสมาทไ่ี มม่ ภี าพ (ใชศ้ ลิ าแลง) น า่ จะเปน็ งานทอี่ นสุ รณห์ รอื เครอื่ งหมายในการฝงั อฐิ เพราะมกี ารพบหลกั ฐานวา่ ไดพ้ บหม้อไหบรรจอุ ฐั อยใู่ ต้ เช่น ใบเสมาอ�ำ เภอม่วงสามสบิ จงั หวัดอุบลราชธานี สร้างเป็นบุคลานุสรณ์ และเสาหนิ ไมม่ หี ลกั อาจตง้ั ลอ้ มเปน็ วงรอบสถานที่ซง่ึ เปน็ สง่ิ ศกั ดสิ์ ทิ ธขิ์ องชมุ ชนในแตล่ ะทอ้ งถน่ิ เชน่ ท่ี“ดอนแกว้ ” อ�ำ เภอกมุ ภวาปี จงั หวัดอุดรธานี พระพมิ พ์ ในสมยั กอ่ นเปน็ เพยี งของทรี่ ะลกึ จะแสดงถงึ การไดบ้ ชู าสงั เวชนยี สถานทางพทุ ธศาสนาของ พทุ ธศาสนิกชนในประเทศอินเดยี ใน ๔ แหง่ คอื ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรนิ ิพพาน และต่อมาเป็นวัตถุ ซง่ึ พทุ ธศาสนกิ ชนผยู้ ากจนสรา้ งขน้ึ ไว้เปน็ ท่ีเคารพบชู า ชาวประเทศในแถบน้ีมกั ประสงคส์ รา้ งข้ึน เพื่อใหพ้ ระ พุทธรปู และพระธรรม อนั เปน็ หวั ใจของศาสนาให้ปรากฏอยู่ แม้สมยั ท่ปี ัญจอันตธานมาถงึ คอื ตามความเชอื่ ของคัมภีร์ลงั กา เมอ่ื ถงึ พ.ศ. ๕ooo พระพุทธศาสนาจะเสอื่ ม ไม่มีพระสงฆ์ ไม่มพี ระธรรมวนิ ัย จะพบพระพมิ พ์ ที่จารึกอกั ษรย่อๆ อนั เป็นหัวใจของพระพทุ ธศาสนา คอื คาถาเย ธมั มา ฯลฯ จะท�ำ ใหร้ วู้ า่ พระพทุ ธเจา้ เป็นศาสดา ของศาสนาพทุ ธด้วยเหตนุ ี้คนโบราณจึงนิยมสรา้ งพระพมิ พเ์ ป็นจ�ำ นวนมากแลว้ น�ำ ไปบรรจใุ นเจดียสถานเป็น การสบื ทอดพระพุทธศาสนา ในสมยั ทวารวดีนิยมสร้างดว้ ยดนิ เผา แสดงอทิ ธิพลของศลิ ปะคุปตะของอินเดีย ส่วนพระพมิ พ์ท่แี สดงอิทธพิ ลของศลิ ปะปาละพบในวดั พระศรสี รรเพชญ จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา ภาพท่ี ๔.๒๕ พระพิมพ์ท่ีบา้ นหวี ต�ำ บลลาดหญ้า อำ�เภอเมือง จังหวดั กาญจนบุรี พระพมิ พ์แบบทวารวดี ไดร้ ับอทิ ธพิ ลของศลิ ปะคุปตะ ในอินเดีย การค้นพบพระพิมพ์ทีน่ ีแ่ สดงความ สัมพนั ธก์ บั ชาวบา้ นซ่ึงเลา่ วา่ เคยมีโบราณสถานขนาดใหญต่ ั้งอยู่ ปจั จบุ นั ถกู ทำ�ลาย ถอื ว่าเปน็ ชมุ ชนเก่าของ ทวารวดีและศิลปะทวารวดีแพร่หลายอยใู่ นภาคกลางของประเทศไทย ทจ่ี ังหวัดนครปฐม ท่ีอำ�เภออทู่ อง จังหวดั สพุ รรณบรุ ี จังหวดั สงิ ห์บุรี จงั หวดั ลพบุรี และจงั หวัดราชบุรี ขนึ้ ไปทางภาคตะวันออกเฉยี งเหนือของ ประเทศไทย เช่น ทีเ่ มืองฟา้ แดดสงยาง ในเขตจงั หวดั กาฬสนิ ธุ์ และทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ส่วน ทางภาคใต้ก็มีบา้ ง ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๓ ชาวเมืองละโว้โยกยา้ ยขน้ึ ไปต้ังอาณาจักรอกี แห่งหน่งึ ทางภาค เหนือมีราชธานอี ยูท่ ่ีเมอื งหรภิ ุญไชย (ล�ำ พนู ) ศิลปะทวารวดีก็ไดเ้ ขา้ ไปแพร่หลายทอี่ าณาจักรแหง่ น้นั ด้วย สถาปตั ยกรรม ส ถูป- เจดยี ์ ในสมยั นี้ มรี ูปทรงมะนาวตดั หรอื รปู ทรงฟองน�ำ ้ แตม่ กี ารตกแตง่ ลวดลายหรอื ภาพปูน ๔๒

บทท่ี ๔ : ศิลปะในประเทศไทย ป้นั และดินเผามากขน้ึ กวา่ สมัยแรก ช่วงหลังสุวรรณภมู ิ เปน็ ช่วงอาณาจกั รฟนู ัน มอี �ำ นาจอยา่ งกว้างในลุม่ แม่ นำ�โ้ ขงตอนใต้ ในคาบสมุทรมลายู และอทิ ธิพลในลมุ่ แมน่ �ำ ้เจ้าพระยา ตามความคดิ เหน็ ของศาสตราจารยจ์ นี บอสเซอลเี ยร่ ์ (Jean Boisselier) นกั โบราณคดชี าวฝร่ังเศส วดั พระเมรแุ ละเจดยี จ์ ลุ ประโทนจงั หวดั นครปฐมจะเหน็ วา่ เปน็ ซากอาคารใหญก่ อ่ ดว้ ยอฐิ ใชส้ อดนิ บาง ครง้ั ก็ยอ่ มมุ และมบี นั ไดลงไปข้างลา่ งเจดยี จ์ ลุ ประโทนฐานสรา้ งซอ้ นกนั ๓ช้ันครง้ั แรกใช้ประตมิ ากรรมดินเผา ประดบั รอบฐาน ครัง้ ที่ ๒ เปล่ยี นเปน็ ประตมิ ากรรมปูนปั้น ภาพปูนปัน้ เหลา่ นี้ปจั จบุ นั พบหลายภาพ เชน่ พบ ทเ่ี มอื งอทู่ องจงั หวดั สพุ รรณบรุ ีเมอื งคบู วั จงั หวดั ราชบรุ ีเมอื งฟา้ แดดสงยางจงั หวดั กาฬสนิ ธุ์และดงศรมี หาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบรุ ี เปน็ ต้น ภาพท่ี ๔.๒๖ รูปจำ�ลองพระปฐมเจดีย์องค์เดมิ อยดู่ ้านใตพ้ ระปฐมเจดยี อ์ งค์ปจั จุบนั จังหวัดนครปฐม ภาพที่ ๔.๒๗ เจดยี ์วดั ก่กู ฎุ หรือจามเทวี จงั หวดั ลำ�พนู ศิลปะทวารวดี ตอนปลาย เจดีย์วดั กกู่ ุฎหรอื จามเทวี อายขุ องสถาปัตยกรรมแหง่ นจี้ ะยงั ไมแ่ น่นอน เพราะบูรณะข้ึนในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ลกั ษณะการประดบั ซมุ้ พระทฐี่ านเจดยี ์คลา้ ยกับเจดยี จ์ ุลประโทน จังหวดั นครปฐม จดั เป็นศิลปะทวารวดีตอนปลาย มี ลักษณะคล้ายกบั สตั ตมหาปราสาท เมอื งโปลนนารุวะในเกาะลงั กา (ภาพที่ ๔.๒๗) ๔๓

ประวัติและแบบอยา่ งศิลปะไทย ภาพที่ ๔.๒๘ เจดีย์ ศลิ าสูง ๔๘ ซ.ม. พบทว่ี ดั จันทราราม อำ�เภอชยั บาดาล จงั หวัดลพบรุ ี และเจดีย์ ศลิ าสงู ๓.๙o เมตร พบทีบ่ ริเวณ พระปฐมเจดยี ์ จังหวดั นครปฐม ศลิ ปะทวารวดี พิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร แบบอย่างเจดีย์ในสมยั ทวารวดีคอื ฐ านเปน็ รปู ส่เี หลี่ยมมีองคร์ ะฆังเปน็ รูปโอคว�ำ่ และมยี อดแหลมอยู่ ข้างบนได้รบั อทิ ธิพลจากศิลปะอินเดยี สมยั ปาละอกี แบบคอื มีฐานรูปส่เี หล่ยี มเช่นเดยี วกนั แตม่ อี งค์ระฆงั เปน็ รปู เหมือนบาตรคว่ำ� ตรงคอเป็นสว่ นที่มจี ารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลีคอื คาถาเยธมั มาฯ คือ หลกั ฐานช่วย ก�ำ หนดอายุไว้ในพทุ ธศตวรรษที่ ๑๒ (จารกึ ในประเทศไทย ๑/๒๕๒๙: ๗๙) และมยี อดเป็นแผน่ กลมๆ วางซอ้ น กนั ไปขา้ งบน ถงึ ยอดอยู่ในทรงกรวย คือ ลกั ษณะท่ีคล่คี ลายมาในระยะแรกจากฉตั รของเจดีย์แบบดง้ั เดิม เช่น มหาสถูปที่สาญจี ประเทศอินเดยี มาถงึ ปจั จบุ นั เปลยี่ นลักษณะโดยทำ�เป็นปลอ้ งเรยี กกนั ว่า ปลอ้ งไฉน (สันติ เลก็ สุขมุ , ๒๕๕๔: ๔๕) บนยอดสดุ มีลูกแก้ว แบบหลงั เป็นแบบพุทธศาสนานิกายมหายาน เปน็ สถปู จ�ำ ลอง สร้างขึ้นเพ่อื ถวายให้แกว่ ัด เนื่องในกจิ กรรมทางพทุ ธศาสนา สถูปในศิลปะทวารวดมี อี ยู่ ๒ แบบ คอื แบบท่ี ๑ ฐานเปน็ รูปสีเ่ หลี่ยมจตั ุรสั องคร์ ะฆังเปน็ ทรงคว่ำ� ส่วนยอดเหนือรตั นบังลังค์ มีลักษณะยาว เรียวอนั เป็นรูปแบบท่ีไดร้ ับอิทธพิ ลมาจากศิลปะอนิ เดียสมัยปาละ แ บบที่ ๒ ฐานทำ�เป็นรูปสีเ่ หล่ยี มจตั รุ ัสเช่นกัน แต่องคร์ ะฆังมลี ักษณะคลา้ ยบาตรคว่�ำ ปลอ้ งไฉนคล้าย ฉตั ร คอื ประกอบดว้ ยแผน่ กลมแบนวางซอ้ นกนั จากวงใหญ่ไปจนถึงวงเลก็ หลายชน้ั สว่ นปลยี อดมีรปู ทรง คล้ายดอกบัวตมู ภาพท่ี ๔.๒๙ สถูปดนิ เผาแบบคุปตะทรงกลม พบที่ เมอื งโบราณยะรัง จงั หวัดปตั ตานี ศิลปะทวารวดี ๔๔

บทที่ ๔ : ศลิ ปะในประเทศไทย สถูปดนิ เผาแบบคุปตะทรงกลม เป็นสถปู ท่ีเก่าแกท่ ่ีสุดทีพ่ บในเอเชียอาคเนยเ์ หมือนกับสถูปคปุ ตะท่ี กุสนิ ารา และท่ีสารนาถ (ภาพที่ ๔.๒๙) ศาสนสถาน มรี ูปแบบเช่นเดยี วกับศาสนสถานของอนิ เดียสมยั คปุ ตะท้ังในศาสนาพุทธ และศาสนา ฮนิ ดูคอื มแี ปลนเปน็ รปู สเี่ หลย่ี มจตั รุ สั บางครง้ั มกี ารยอ่ มมุ ฐานยกสงู ขน้ึ จากพนื้ ดนิ ตรงกลางเปน็ สถปู ใหญ่รอบ สถปู ทำ�เป็นมขุ ยื่นออกไปมที ปี่ ระดษิ ฐานพระพทุ ธรปู ขนาดใหญ่ ๔ องค์ รวม ๔ ทศิ และมบี ันไดทอดลงมาทงั้ ๔ ดา้ น ภาพที่ ๔.๓o วิหารโบราณสถานหมายเลข ๑๘ ก่อดว้ ยอิฐ วัดโขลงสวุ รรณครี ี ตำ�บลคูบวั อ�ำ เภอเมืองราชบุรี ศิลปะทวารวดี พทุ ธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ซ ากอาคารกอ่ ดว้ ยอิฐอยู่ในแผนผังสเ่ี หลี่ยมผืนผา้ โดยท่วั ไปเปน็ แผนผงั ของอาคาร เชน่ วิหาร อาคาร ประเภทนี้ของสมัยทวารวดีเกือบไม่เหลือตัวอย่างอีกแล้วสำ�หรับซากโบราณสถานแห่งนี้ความเป็นศิลปะ ทวารวดบี ง่ อยูท่ ีก่ ารยกเก็จไปตามความยาวของดา้ น และมมุ ทง้ั สี่ การยกเกจ็ เปน็ เสาประดบั ผนงั ทีเ่ รยี งเป็น ระยะตามด้าน คือเสาของจระนำ� ซง่ึ เขา้ ใจวา่ เคยเป็นจระน�ำ ทปี่ ระดิษฐานพระพุทธรปู (สนั ติ เล็กสุขุม,๒๕๕๔: ๔๔) (ภาพท่ี ๔.๓o) ภาพที่ ๔.๓๑ ลายสลักบนผนงั อิฐและพระธาตพุ นม จงั หวดั นครพนม ศลิ ปะทวารวดี ๔๕


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook