Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore VISUAL ARTS ANALYSIS

VISUAL ARTS ANALYSIS

Published by sriwarinmodel, 2021-12-12 16:03:46

Description: การวิเคราะห์ทัศนศิลป์

Keywords: VISUAL ARTS ANALYSIS

Search

Read the Text Version

ค�ำ นิยม ต �ำ ราวชิ าการวิเคราะห์ทศั นศลิ ป์ ซ่งึ เกดิ จากความอุตสาหะวิรยิ ะในการรวบรวมเรยี บเรยี งจากเอกสารต�ำ ราต่างๆ ท้ังในและตา่ งประเทศ ตลอดจนประสบการณข์ องอาจารย์ ทไ่ี ด้คลกุ คลอี ยูก่ บั แวดวงการเรยี นการสอนศลิ ปะมาหลายปี เดิมที่อาจารยส์ มพร ธุรี เปน็ ศิษยเ์ ก่าของคณะศิลปกรรม สำ�เร็จการศกึ ษาในหลกั สูตรปริญญาตรี ศกึ ษาศาสตร์บณั ฑิต เม่ือ ส�ำ เร็จการศกึ ษาได้สอบบรรจุไปเปน็ อาจารย์ทมี่ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวชิ ยั อยหู่ ลายปี และได้พัฒนาตนเองจน ได้ศกึ ษาตอ่ และสำ�เรจ็ ในระดบั ปรญิ ญาโทจากมหาวิทยาลยั ศิลปากร สาขาประยกุ ตศิลปศึกษา และได้ขอโอนย้ายมาสงั กัด คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ เมอื่ ปี พ.ศ. 2552 แตอ่ าจารยเ์ ปน็ ผู้ที่มคี วามต้ังใจในการพัฒนาวชิ าชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในเชงิ วิชาการ จงึ ไดร้ วบรวมเรยี บเรยี ง แตง่ ตำ�ราทางด้านการวเิ คราะห์ทัศนศิลป์ข้ึน ซึง่ ต�ำ ราวิชาการทางด้านศลิ ปกรรมศาสตร์ ซ่ึงมีไมม่ ากนกั จึงเป็นเสมือนประกายไฟเลก็ ๆ ทเี่ รมิ่ มแี สงสวา่ งในทางวิชาการข้นึ ผมในฐานะเปน็ ครู มีความร้สู ึกยินดี และเตม็ ใจอย่างยงิ่ ทไ่ี ดเ้ ห็นลกู ศษิ ย์ทไี่ มห่ ยดุ นง่ิ ในการแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ทั้งในเชิงวชิ าการและวชิ าชพี ขอ ชมเชยและเป็นก�ำ ลังใจ ต่อการสรา้ งสรรคใ์ นเชิงวิชาการในครงั้ น้ี และหวังเป็นอยา่ งยิง่ ว่าในอนาคตแวดวงการศกึ ษาด้าน ศิลปกรรมศาสตร์ คงจะมีเอกสารตำ�ราในรายวชิ าต่างๆ เพิ่มมากข้ึน เพ่อื เปน็ ประโยชนต์ อ่ ทั้งอาจารย์ผสู้ อน และนักศึกษา วิชาชพี ศิลปกรรมศาสตรส์ ืบตอ่ ไป (ผศ. ธนา เหมวงษา) คณบดีคณะศลิ ปกรรมศาสตร์ 4 พฤศจกิ ายน 2553

ค�ำ นำ� ต �ำ ราการวเิ คราะหท์ ศั นศลิ ป์ เล่มน้ี จดั ท�ำ ขึ้นเพือ่ ใชป้ ระกอบการเรยี นการสอนวิชาการวิเคราะห์ศลิ ปกรรมโดย เนอ้ื หาในหนงั สือม่งุ เนน้ ใหค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจในสาขาทศั นศลิ ปไ์ ดแ้ ก่จิตรกรรม ประตมิ ากรรม ภาพพิมพ์ ส�ำ หรับนกั ศกึ ษา ในสาขาทศั นศลิ ป์ และส�ำ หรบั ผทู้ ่สี นใจในการสร้างสรรค์ และพัฒนาผลงานด้านทัศนศิลป์ เนื้อหาภายในต�ำ รา ประกอบดว้ ย ความหมาย ประเภท ขอบขา่ ยทัศนศิลป์ เนื้อหาสาระ รูปแบบ หลักการจดั องค์ประกอบ ทฤษฎีท่ใี ชใ้ นการสรา้ งสรรคแ์ ละการวิเคราะหผ์ ลงานทศั นศิลป์ คอื จติ รกรรม ประตมิ ากรรม ภาพพิมพ์ ที่ เนน้ รายละเอยี ดของวสั ดุ กรรมวิธี เทคนิค คณุ คา่ มูลเหตุในการสรา้ งสรรคผ์ ลงานเหลา่ นี้ รวมทัง้ การน�ำ ข้อมูลเหล่านีม้ า วเิ คราะหผ์ ลงานเพอ่ื จะนำ�ไปส่กู ารเขา้ ถึง และเขา้ ใจ การเหน็ คุณค่า และทราบถึงจุดบกพรอ่ งและข้อเดน่ ของผลงานทัศน ศิลป์ เปน็ พื้นฐานของความเขา้ ใจ อนั จะนำ�ไปสูก่ ารพฒั นา และการวิเคราะหว์ ิจารณผ์ ลงานเหล่าน้ันได้ชัดเจนมากย่ิงขึน้ ซงึ่ เปน็ ประโยชน์กบั นกั เรียน นักศกึ ษา และประชาชนทั่วไปท่ีมีความสนใจในการเรยี นรแู้ ละพฒั นาผลงานทศั นศิลป์ ขอขอบพระคุณผูช้ ว่ ยศาสตราจารยธ์ นา เหมวงษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อริยา สอุ งั คะวาทิน อาจารย์นิวติ หะนนต ์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยพจน์ หวลมานพ ผู้ชว่ ยศาสตราจารยด์ ร.จำ�รญู พริกบญุ จนั ทร์ ทที่ ุกทา่ นใหค้ �ำ แนะนำ�และให้ ขอ้ คดิ ในการเรียบเรียงเน้อื หาตำ�ราเล่มนี้ ขอขอบพระคณุ มา ณ โอกาสนี้ (นายสมพร ธรุ ี) ตลุ าคม 2553

สารบัญ บทท่ี 1 บทนำ� 1 ค วามหมายของศิลปะ 1 ประเภทของศลิ ปะ 2 ขอบข่ายของทัศนศลิ ป์ 4 ป ระเภทของทศั นศิลป์ 4 ก ารรบั รทู้ างการเหน็ ในทัศนศลิ ป ์ 6 การเหน็ กับการสือ่ ความหมาย 7 บทท่ี 2 จิตรกรรม 11 ค วามหมายของจติ รกรรม 11 ข อบข่ายของงานจิตรกรรม 11 ป ระเภทของงานจติ รกรรม 14 เนอื้ หาสาระในงานจิตรกรรม 21 ก ลวธิ ใี นงานจติ รกรรม 31 ม ูลเหตุในการสรา้ งงานจิตรกรรม 36 ค ณุ คา่ ในงานจิตรกรรม 39 บทท่ี 3 ประติมากรรม 43 ความหมายของประตมิ ากรรม 43 ประเภทของงานประติมากรรม 43 เน้ือหาสาระในงานประตมิ ากรรม 45 ก ลวิธใี นงานประติมากรรม 50 วสั ดทุ ่ีใชใ้ นการสรา้ งงานประติมากรรม 54 มลู เหตใุ นการสร้างงานประตมิ ากรรม 58 คณุ คา่ ในงานประตมิ ากรรม 63 บทที่ 4 สถาปัตยกรรม 65 ค วามหมายของสถาปัตยกรรม 65 ป ระเภทของสถาปัตยกรรม 65 ว สั ดุที่ใช้ในการสร้างงานสถาปตั ยกรรม 69 ก ลวิธใี นการสร้างงานสถาปัตยกรรม 72 ม ลู เหตุในการสร้างานสถาปตั ยกรรม 74 ค ุณคา่ ในงานสถาปตั ยกรรม 77

บทท่ี 5 ภาพพิมพ ์ 78 ค วามหมายของภาพพมิ พ ์ 78 ป ระเภทและกลวิธีของภาพพิมพ ์ 78 เ นอื้ หาสาระในงานภาพพมิ พ์ 82 ม ลู เหตใุ นการสรา้ งงานภาพพมิ พ ์ 86 ค ณุ ค่าในงานภาพพิมพ์ 89 บทที่ 6 รูปแบบในงานทศั นศลิ ป ์ 91 ร ปู แบบศลิ ปะเหมือนจรงิ 92 รูปแบบศลิ ปะกึ่งนามธรรม 96 รปู แบบศิลปะนามธรรม 108 บทท่ี 7 การจัดองคป์ ระกอบทัศนศลิ ป ์ 117 เอกภาพ 117 สดั ส่วน 125 ความสมดลุ 129 จ ังหวะลลี า 138 บทท่ี 8 ทฤษฎกี ารรบั รู้ทางทศั นศลิ ป์ 148 ท ฤษฎกี ารเลียนแบบ 148 ทฤษฎีการเลือก 150 ท ฤษฎปี ระสบการณ์ 152 ท ฤษฎีการแสดงออก 154 ท ฤษฎีการหน ี 156 ท ฤษฎกี ารสร้างรปู ทรงท่ีส่ือความรสู้ ึก 159 บทที่ 9 การวิเคราะหท์ ศั นศิลป์ 169 ห ลักการวเิ คราะห์คุณคา่ ทศั นศลิ ป์ 170 ข น้ั ตอนการวิเคราะห์ผลงานทศั นศิลป์ 173 การวเิ คราะหผ์ ลงานจิตรกรรมของปาโปล ปิกสั โซ 173 การวิเคราะห์ผลงานประตมิ ากรรมของเฮนร่ี มัวร์ 183 บทท่ี 10 บทสรปุ 191 ภ าคผนวก 192 บรรณานกุ รม 199 ป ระวตั แิ ละผลงาน 200

บทที่ 1 : บทนำ� บทนำ� ผทู้ จี่ ะท�ำ การสรา้ งสรรคแ์ ละวเิ คราะหผ์ ลงานทศั นศลิ ป์จะตอ้ งมคี วามรเู้ กยี่ วกบั ศลิ ปะโดยทว่ั ไปเพอ่ื เปน็ พน้ื ฐาน ทางความคิดเสียก่อน การศกึ ษาความหมายของศิลปะ คณุ ค่าของความงามรปู แบบเทคนิคและวิธกี าร ในแตล่ ะ ประเภทรวมทง้ั เขา้ ใจขอบขา่ ยของทศั นศลิ ป์กจ็ ะท�ำ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจและการเขา้ ถงึ การสรา้ งสรรค ์ ส ามารถวเิ คราะห์ ผลงานทศั นศลิ ป์ไดอ้ ย่างชัดเจนครอบคลมุ ทกุ มติ ิ ความหมายของศิลปะ ศลิ ปะคอื ผลแหง่ พลงั ความคดิ สรา้ งสรรคข์ องมนษุ ยท์ แ่ี สดงออกในรปู ลกั ษณต์ า่ งๆ ใ หป้ รากฏซง่ึ สนุ ทรยี ภาพ ความประทับใจ หรอื ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉรยิ ภาพพทุ ธิปญั ญา ประสบการณ์ รสนยิ ม และทักษะของ แตล่ ะคน เพอื่ ความพอใจ ความรืน่ รมย์ ขนบธรรมเนียม จารตี ประเพณี หรอื ความเชื่อในลทิ ธศิ าสนา ศลิ ปะแบ่ง ออกไดเ้ ป็น 2 ประเภทใหญๆ่ คอื วิจิตรศลิ ป์และศิลปะประยุกต์ (ราชบณั ฑติ ยสถาน, 2541:26) นักปราชญ์ในสมัยโบราณได้ใหค้ วามหมายของศลิ ปะ (Art) ไวว้ ่า ศลิ ปะคือ สิ่งที่มนุษย์สร้างข้ึน (Artifact) เปน็ ส่ิงท่ไี มไ่ ดเ้ กิดขน้ึ ตามธรรมชาติ ศิลปะมคี วามหมายกวา้ งมาก ครอบคลุมตงั้ แต่ จิตรกรรม ประตมิ ากรรม เครื่อง เรือน เครอ่ื งจกั รกล บา้ นเรือน ไปจนถึงอาวธุ ทีใ่ ช้ประหตั ประหารกัน มนุษย์ทำ�อะไรข้ึนมาก็เปน็ ศลิ ปะทัง้ สิ้นไม่วา่ จะ ดหี รอื ชว่ั สวยงาม หรอื นา่ เกลียด สร้างสรรค์ หรอื ทำ�ลาย (ชลูด นมิ่ เสมอ,2534:1) ศิลปะจงึ หมายถงึ ทกุ ส่งิ ทกุ อยา่ ง ท่ีมนษุ ยส์ ร้างขน้ึ เทา่ น้ัน จะประกอบไปด้วยความงามและมปี ระโยชนใ์ ช้สอยควบค่กู นั ไปด้วย ค วามหมายของศิลปะตามทัศนะของนักปรัชญา ท ศั นะของเพลโต (Plato) ศิลปะ คอื การเลียนแบบ ทศั นะของอรสิ โตเตลิ (Aristotle) ศลิ ปะ คอื การเป็นตวั แทนของชวี ติ ท ศั นะของอยู ีน เวรอน (Eugene Veron) จอห์น ดิวอ้ี (John Dewey) รดู อร์ฟ อาร์นไฮม์ (Rudolf Arnheim) เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) โรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศิลปะ คือ การแสดงออก ท ศั นะของโรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศลิ ปะ คือ รปู ทรง ท ศั นะของฮอรเ์ บริ ต์ ตรีด (Horbert Treed) ศิลปะ คือ ไมใ่ ชก่ ารเลียนแบบธรรมชาติ ทัศนะของซกิ มันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ศลิ ปะ คอื ความปรารถนา ทศั นะของเบเนเดตโต โครเซ (Benedetto Croce) เฮนร่ี เบริ ์กซอน (Henri Bergson) และจอยซ์ แครี่ (Joyce Cary) ศิลปะ คอื การเหน็ แจง้ ท ัศนะของเฮนร่ี มัว (Henry Moore) ศลิ ปะ คือ ส่ิงทมี่ นุษยส์ รา้ งข้นึ เพ่ือความงาม ความพงึ พอใจ และ เพ่ือประโยชน์ใช้สอย ให้ชวี ิตดำ�รงอยู่อยา่ งมีความสุข ทศั นะของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ศิลปะ คือ ประสบการณ์ ทศั นะของชลดู นิม่ เสมอ ศิลปะ คือ สง่ิ ทีม่ นุษยส์ รา้ งขึ้น เพอ่ื แสดงออกซง่ึ อารมณ์ ความรู้สกึ ความคิด หรอื ความงาม (ชลดู น่ิมเสมอ,2534:5) 1

การวเิ คราะห์ทัศนศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ศิลปะ คือ สิง่ ที่มนษุ ย์สรา้ งขึ้น เพื่อใหเ้ กิดความงาม ความร้สู กึ นกึ คิด เกดิ จากปัญญา เปน็ การแสดงออกที่ มีประโยชน์ทางความรสู้ ึก และมหี น้าทใ่ี ช้สอยตามความเหมาะสมและประยุกต์ใช้ในการดำ�รงชวี ิต ความเป็นอยใู่ น สงั คมเกดิ ความสุขทางกายและทางใจ ประเภทของศิลปะ แบ่งเปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี 1 .วจิ ิตรศิลป์ (Fine Arts) คือ ผลงานท่ีมนุษย์สร้างขนึ้ ถึงข้ันงามบริสทุ ธ์ิ มีการแสดงออกถึงอารมณ์ สะเทือนใจท่ผี ชู้ มรบั รไู้ ด้ เป็นผลงานสรา้ งสรรค์ มคี วามคดิ รเิ ริ่มและแสดงเอกลกั ษณ์ หรอื มลี กั ษณะตน้ แบบ ปรากฏ จดุ ม่งุ หมายในด้านความรู้สกึ และจิตรนาการทางจติ ใจมากกวา่ ผลประโยชนท์ างกาย หรอื มงุ่ แสดงถงึ พทุ ธิปัญญา มากว่าทักษะฝีมอื แรงงาน (ราชบัณฑิตยสถาน,2541:112) ถือว่าเป็นผลงานศลิ ปะท่สี ร้างสรรคข์ นึ้ เพื่อส�ำ หรบั ชน่ื ชมความงาม เปน็ คุณคา่ ท่ีสำ�คัญ กล่าวคอื เปน็ ผลงานศลิ ปะทใี่ หค้ วามรู้สกึ ทางสุนทรียภาพ ใหอ้ ารมณ์สะเทือน ใจ ปลกุ ความเหน็ แจ้ง ให้ประสบการณแ์ ละพทุ ธปญั ญาแก่ผดู้ ผู ลงานศิลปะ งานศลิ ปะหลายประเภทนี้ไดพ้ ฒั นาจน มีคุณค่าในเชิงสร้างสรรคแ์ ละไดผ้ ลงานอนั วิจติ ร ทำ�ให้เรม่ิ มีการยอมรับวา่ ศิลปะภาพพมิ พ์ ศลิ ปะภาพถ่าย ศิลปะ การภาพยนตร์ นาฏศิลป์ ศลิ ปะการละคร ฯลฯ ควรจะนับเขา้ เปน็ วิจิตรศลิ ป์เชน่ กัน ศิลปะประเภทน้ี แบ่งออกเป็น ลกั ษณะใหญๆ่ ท่ีส�ำ คญั คือ ทัศนศลิ ป์ โสตศิลป์ และโสตทศั นศิลป์ หรอื ศลิ ปะการแสดง (ชลูด น่มิ เสมอ,2534:4) ทศั นศิลป์ (Visual Arts) คือ ศลิ ปะท่ีสามารถมองเหน็ ความงามจากรูปลักษณะ จึงมีขอบเขตกว้างขวาง สำ�หรบั ทัศนศลิ ป์ท่เี ป็นวิจติ รศิลป์ ไดแ้ ก่ จติ รกรรม (Painting) ประติมากรรม (Sculpture) สถาปตั ยกรรม (Architecture) และภาพพมิ พ์ (Graphic) โสตศลิ ป์ (Audio Arts) คอื วิจิตรศลิ ป์ ทสี่ ามารถรับรคู้ วามงามหรอื ความสนุ ทรียะได้จากการฟงั หรือ การไดย้ นิ หรอื จากการอา่ นตวั อกั ษรและการรอ้ ง ศิลปะประเภทน้ีไม่มีตวั ตนให้แลเห็น ไดแ้ ก่ ดนตรี (music) และ วรรณคดี (ภาพท่ี 1.1) ภาพที่ 1.1 การเลน่ ดนตรี โ สตทศั นศลิ ป์ (Audio - Visual Arts) หรือ ศิลปะการแสดง (Performing Arts) ไดแ้ ก่ วิจติ รศิลปท์ ี่สามารถ แลเห็นรูปลกั ษณะการเคลือ่ นไหว พรอ้ มกับการได้ยินเสียงจังหวะท�ำ นองไปพรอ้ มๆ กัน ศิลปะในสาขานจี้ ะสมั พันธ์ กบั ความเจริญในดา้ นเทคโนโลยี เช่น การละคร การเต้นรำ�สมัยใหม่ ภาพยนตร์ งานนาฏกรรม และโทรทัศน์ (ภาพ ท่ี 1.2) 2

บทที่ 1 : บทน�ำ ภาพที่ 1.2 การเต้นรำ� 2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) เปน็ ศิลปะทีส่ ร้างขนึ้ เพือ่ ประโยชนอ์ ย่างอน่ื นอกเหนือจากความชน่ื ชมใน คุณคา่ ของศิลปะโดยตรง เช่น ภาพหรอื ลวดลายทใ่ี ช้ตกแตง่ อาคาร หรอื เคร่ืองเรือน รปู ทรง สสี ัน ของผลติ ภณั ฑ์ อตุ สาหกรรมท่ีออกแบบให้เปน็ ท่พี อใจของผู้บริโภค หรอื เครอื่ งใชไ้ ม้สอยท่ที �ำ ขึ้นดว้ ยฝมี อื ประณตี ศิลปะทป่ี ระยุกต์ เขา้ ไปในสิ่งท่ีใชป้ ระโยชนเ์ หล่าน้ี จะให้ความพอใจอันเกิดจากความประณีตสวยงาม ความกลมกลนื แก่ ประสาทสมั ผัสควบคู่ไปกับประโยชน์ใชส้ อย (ชลดู น่ิมเสมอ, 2534:3) ป ระยุกตศ์ ลิ ป์ ประกอบดว้ ยงานศลิ ปะหลายสาขาดังน้ี ออกแบบนิเทศศิลป์ (Communication Art) อตุ สาหกรรมศลิ ป์ (Industrial Art) พาณชิ ยศ์ ิลป์ (Commercial Art) งานตกแต่งภายใน (Interior Design) งาน ออกแบบผลิตภณั ฑ์ (Product Design) มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) ผลงานเหลา่ นี้จะพบท่ัวไปในชวี ิตประจำ� วัน เชน่ อปุ กรณ์ต่างๆ ภายในบา้ น เครื่องเรือน เครือ่ งใช้ไม้สอย เครื่องประดบั ตกแต่งภายในอาคาร บ้านเรือน ฯลฯ เป็นการน�ำ ศิลปะเข้ามาใชเ้ พิ่มความงามให้กบั สถานท่ตี ่างๆเพอ่ื ความสะดวกสบายและดึงดูดความสนใจกบั ผบู้ รโิ ภค ง านประยุกตศ์ ิลป์ ถอื ว่าเปน็ ผลงานท่ีสร้างสรรคข์ น้ึ จากมนษุ ยม์ ุ่งเนน้ ความงามและควบคไู่ ปกบั ประโยชนใ์ ช้ สอยเป็นสำ�คญั จะเปน็ งานชน้ิ เดยี วหรืองานอุตสาหกรรมก็ได้ นำ�มาซง่ึ ความสะดวกสบาย และเป็นส่วนหนึ่งของชีวติ ประจำ�วัน (ภาพท่ี 1.3) ภาพท่ี 1.3 สมพร ธุรี “การออกแบบ เคร่ืองเรือนและผลติ ภัณฑ”์ เทคนิควสั ดุธรรมชาติ 3

การวเิ คราะหท์ ัศนศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ขอบข่ายของทัศนศิลป์ ท ัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะทแี่ สดงออกมาทางสอ่ื ที่ต้องการดู เชน่ จติ รกรรม ประตมิ ากรรม สถาปตั ยกรรม ตา่ งกับศิลปะบางประเภท เชน่ ดนตรี ซง่ึ แสดงออกมาทางสอ่ื ท่ตี ้องการฟงั (ราชบณั ฑิตยสถาน, 2541:228 ) ทศั นศลิ ป์ เปน็ ศิลปะท่ีรบั สัมผสั ด้วยการเหน็ ไดแ้ ก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพมิ พ์ และสถาปตั ยกรรม (ชลดู นมิ่ เสมอ, 2534:4) ทศั นศิลป์ หมายถงึ ศลิ ปะแขนงหน่งึ ทีร่ บั รู้ไดด้ ว้ ยการเห็น บางทเี่ รยี กเปน็ ภาษาไทยว่า ศลิ ปะท่มี องเห็น ไดแ้ ก่ ศลิ ปะตอ่ ไปน้ี ภาพวาดเขยี น (drawing) จติ รกรรม (painting) ประติมากรรม (sculpture) สถาปัตยกรรม (architecture) ภาพพมิ พ์ (printmaking) ศิลปะสอื่ ผสม (mixed media) เหล่านถี้ า้ สรา้ งข้นึ เพ่ือสนองทางใจ เป็น ทศั นศลิ ป์ (ทวีเกยี รติ ไชยยงยศ,2538:24) ท ัศนศลิ ป์ หมายถึง ศิลปะท่มี องเห็นไดแ้ ละเปน็ ผลงานทไ่ี มใ่ ช่ประสบการณ์ทเี่ กดิ ขนึ้ ในชีวติ จริงและโลกแห่ง ความเป็นจริงโดยตรง หากเป็นประสบการณ์ทีค่ ดั กรองแล้ว หลอมรวมขน้ึ ใหม่เป็นงานศลิ ปะผ่านวัสดุ สอื่ เทคนคิ และมติ ติ ่างๆกันไปท้งั 2 มิติ และ 3 มิติ (สุชาติ เถาทอง,2553:1) ส รุปได้วา่ ทศั นศิลป์ คือ ผลงานทีม่ นุษยส์ รา้ งขึน้ มี 2 มติ ิ และ 3 มิติ ที่มรี ปู ร่าง รูปทรง ประกอบผสมผสานกบั ทศั นธาตุ เกดิ เนื้อหา อารมณ์ ความร้สู กึ ในผลงานเหลา่ น้นั จะมงุ่ สร้างขนึ้ เพื่อสนองมนุษยใ์ นทางสนุ ทรียภาพแบ่งการ รบั รขู้ องการเหน็ เปน็ หลกั ใหญ่โดยใชส้ ายตาสมั ผสั รบั รถู้ งึ ความงามไดแ้ ก่งานจติ รกรรมประตมิ ากรรมสถาปตั ยกรรม และภาพพมิ พ์มผี ลตอ่ การรบั รู้สัมผสั ทางตาและสมั ผสั ด้วยมือได ้ ประเภทของทศั นศิลป์ 1. จติ รกรรม (Painting) เป็นศิลปะทแ่ี สดงออกเปน็ รูปภาพ (Picture) มลี ักษณะเปน็ 2 มิติ คอื ความกว้าง และความยาว มิตทิ างความลกึ ตน้ื ใกล้ กลาง ไกล ทปี่ รากฏในผลงาน เกดิ จากการสร้างภาพลวงตาจากเทคนคิ การ วาดเส้น ระบายสี ป้ายสี หยดสี และวิธกี ารอนื่ ๆ ท่ีเป็นวิธีการท�ำ นองเดียวกนั ได้แก่ จติ รกรรมสนี �ำ ้จติ รกรรมสฝี ุ่น จติ รกรรมสีน�ำ ม้ นั จิตรกรรมสอี ะคริลิค จิตรกรรมสือ่ ผสม เปน็ ตน้ ภาพท่ี 1.4 จอร์เจยี โอคฟี (Georgia O’Keeffe) ค.ศ. 1924 “แดง เหลือง และดำ�” (Red, Yellow and Black Streak) สนี ำ�ม้ ันบนผ้าใบ 4

บทท่ี 1 : บทน�ำ 2. ประติมากรรม (Sculpture) เป็นศลิ ปะท่ีแสดงออกมาให้ปรากฏเห็นปรมิ าตร ด้วยวสั ดตุ ่างๆ เชน่ ไม้ ดนิ เหนียว โลหะ ปูนปลาสเตอร์ ไฟเบอรก์ ลาส เปน็ ตน้ มลี ักษณะ 3 มติ ิ กินเน้อื ทีใ่ นอากาศ ศิลปะประเภทนมี้ วี ธิ ีการ สร้างสรรคห์ ลายวธิ ี เช่น การปัน้ แกะสลกั หลอ่ เช่อื ม เคาะหรือดลุ เป็นตน้ แบ่งประเภทดงั น้ี - ประตมิ ากรรมรอ่ งลึก เชน่ การเซาะร่องลกึ บนดินเหนียว ดินน�ำ ม้ ัน โฟม ไม้ ฯลฯ - ประติมากรรมนูนต�ำ่ เช่น เหรยี ญตา่ งๆ รปู ป้นั บคุ คลส�ำ คัญ ฯลฯ - ประติมากรรมนูนสงู เชน่ การป้ันประดับฐานอนุสาวรยี ์ ลวดลายประดบั ปราสาทราชวัง ฯลฯ - ประตมิ ากรรมลอยตัว เชน่ รปู ปั้นบุคคลส�ำ คญั อนสุ าวรีย์ ฯลฯ ภาพที่ 1.5 สหเทพ เทพบรุ ี “อาบนำ�้” เทคนคิ บรอนซ์ 3. ภาพพิมพ์ (Graphic Arts) เปน็ ศิลปะทแี่ สดงออกมาเป็นรูปภาพ มลี ักษณะ 2 มติ ิ คือ ความกว้างและ ความยาว มิติความลึกต้ืน เกิดจากการสรา้ งภาพลวงตาดว้ ยการผสมผสานทัศนธาตุ เชน่ เส้น สี รปู ทรง พน้ื ผวิ ฯลฯ มเี ทคนคิ เฉพาะที่แตกตา่ งจากจิตรกรรม คอื วธิ กี ารสร้างสรรค์ทม่ี กี ฎเกณฑ์ และเหตผุ ลตามวิทยาศาสตร์ เช่น สูตร การผสมน�ำ ้กรด ระยะเวลาการกัดกรด และแมพ่ มิ พอ์ นั เดียวสามารถพมิ พ์ไดห้ ลายชิน้ งาน - ภาพพมิ พ์ผวิ นนู เชน่ ภาพพิมพ์แกะไมแ้ ละภาพพมิ พ์สลักไม้ ภาพพิมพก์ ระเบ้ืองยาง - ภาพพิมพ์รอ่ งลึก เชน่ ภาพพมิ พ์โลหะกดั กรด ภาพพิมพโ์ ลหะแกะสลกั ลาย - ภาพพิมพพ์ น้ื ราบ เช่น ภาพพมิ พ์หิน ภาพพมิ พ์ออฟเซท - ภาพพิมพ์ฉลุ เช่น ภาพพมิ พ์ตะแกรงไหมหรือซลิ ค์สกรีน ภาพท่ี 1.6 อรี ิค เฮคเกล (Erich Heckel) ค.ศ. 1883-1970 “ภาพเหมือนของผชู้ าย” (Portrait of a man) ภาพพิมพ์แกะไม้ 5

การวเิ คราะห์ทศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) 4 .สถาปตั ยกรรม ( Architecture) เ ปน็ แขนงหนงึ่ ของทศั นศลิ ป์โดยมจี ดุ มงุ่ หมายในการสรา้ งสรรคท์ แี่ ตกตา่ ง ไปจากทศั นศลิ ปท์ ง้ั 3สาขาทกี่ ลา่ วไว้คอื สถาปตั ยกรรมค�ำ นงึ ถงึ ประโยชนใ์ ชส้ อยเพอื่ สนองความตอ้ งการทางรา่ งกาย เปน็ อนั ดบั แรก ตอ่ ไปจงึ คำ�นึงถงึ ความงาม เพราะมนษุ ย์จะตอ้ งเขา้ ไปใชป้ ระโยชนจ์ ากเนอ้ื ท่วี า่ งของสถาปตั ยกรรม จะตอ้ งมคี วามมั่นคงแขง็ แรง ทนทาน สามารถคมุ้ ภยั ให้มนุษยไ์ ด้ แบง่ ไดเ้ ป็น 3 ประเภท 1. สถาปัตยกรรมเกยี่ วกบั การออกแบบและสร้างอาคาร ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรยี น โรงพยาบาล โบสถ์ วหิ าร เป็นต้น 2 . ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) เปน็ การออกแบบจดั บรเิ วณอาคารและสวนสาธารณะ 3 . ผังเมือง (City Planning) การออกแบบวางผงั บริเวณของเมอื งใหเ้ ป็นระเบียบและถูกหลกั วชิ าการ เพื่อความสขุ สบายในการอยอู่ าศัย (ภาพท่ี 1.7) การรบั รู้ทางการเห็นในทศั นศลิ ป์ การรบั รู้ (Perception) หมายถงึ การรบั สมั ผสั จากอวยั วะส่วนตา่ งๆท่ีใช้ในการรับร้ตู คี วามออกมาเปน็ สงิ่ ใด สงิ่ หนึง่ ไม่วา่ การรับรู้นน้ั จะเกิดจากประสาทสัมผสั ส่วนใดหรือการรบั ร้นู ้นั จะเกดิ เวลาใด การตีความหมายจากการ สมั ผสั หรอื การรบั รนู้ น้ั มจี ดุ มงุ่ หมายเพอื่ ใหท้ ราบวา่ สง่ิ ทรี่ บั รนู้ นั้ คอื อะไรมคี วามหมายอยา่ งไรและการจะตคี วามหมาย ได้นัน้ ผรู้ ับสัมผสั จะตอ้ งมีประสบการณเ์ กี่ยวกับสิ่งท่ีจะตีความน้นั ๆ มาก่อน (สชุ าติ เถาทอง,2553:16) การรับร้ทู างการเห็น มีบทบาทต่อการวเิ คราะห์ทศั นศลิ ป์ เพราะการรับรู้ทางการเห็นจะเปน็ สือ่ และเป็นตัว แปรความหมายหลกั การพน้ื ฐานในผลงานทศั นศลิ ป์ คอื การเหน็ ไดเ้ ลอื กสรรสิง่ ที่เหน็ มาเปน็ ข้อมูลของการรับรู้แลว้ ป้อนเขา้ สคู่ วามรู้สึกนึกคิดทางสมองและจิตใจเป็นตวั แปรออกมาใหเ้ ป็นความหมาย จากสง่ิ ท่เี หน็ วา่ เปน็ อะไรหรือ หมายถงึ อะไรช่วั ขณะท่ีเห็น (สชุ าติ สุทธิ ,2535) การแปรความหมายจากสง่ิ ทเี่ ห็นของแตล่ ะคนจะไม่เทา่ กันขึ้นอยู่ กับมุมมองและประสบการณ์ของแต่ละคน การรบั ร้ทู างการเหน็ มี 2 ลักษณะ คือ 1 . ลกั ษณะของการรบั รูท้ างการเหน็ ทีเ่ ป็นเจตนาหรอื จ�ำ เปน็ เปน็ การเห็นและรับรโู้ ดยสญั ชาตญาณของ แตล่ ะคน โดยไมต่ อ้ งฝึกฝน จะใช้เพื่อความอยูร่ อดของแต่ละคน 2 . ลักษณะของการรบั รทู้ างการเห็นท่เี กิดขึน้ จากปรากฏการณ์ เป็นสิ่งท่ีอยภู่ ายนอกมาดึงดดู ความสนใจ ใหเ้ กิดความรบั รู้ จะต้องฝึกฝนใหเ้ ป็นประสบการณ์ และจะตอ้ งเรยี นรู้ในกระบวนการเหล่านนั้ ด้วย การรับรู้จากการเหน็ ของคนถงึ แมจ้ ะเหน็ พร้อมกนั แตจ่ ะรบั รู้ไมพ่ รอ้ มกันและแตกต่างกนั ตามประสบการณ์ การได้รับการฝึกฝนมาไมเ่ ทา่ กัน อาจจะแปลความหมายในทศิ ทางท่ีลึกซึ้ง ครอบคลมุ ต่างกัน ซ่ึงจะตอ้ งมกี ารฝกึ ฝน ระบบหลกั การวเิ คราะห์อยา่ งถกู ตอ้ งและสม่�ำ เสมอ อย่างละเอยี ดถ่ีถว้ น ใหเ้ กิดความชำ�นาญเพอื่ จะได้สัมผัสกับ คุณคา่ ความหมาย ความงามทีแ่ ฝงอยใู่ นผลงานทัศนศิลปซ์ ึ่งขึ้นอยู่กบั ระดบั ของการรบั รทู้ างการเห็นดังนี้ 1. การรบั รูต้ ามสายตา (Seeing) เปน็ การรับรแู้ บบพื้นฐานทว่ั ไป จะมองเห็นรปู รา่ งรปู ทรงตามธรรมชาติ ท่ัวไป เช่น ลักษณะขนาดสดั สว่ นสสี ัน และประเมนิ ตัดสินมองเห็นวา่ เปน็ ตน้ ไม้ คน สัตว์ สิง่ ของ และมีสีอยา่ งไร 2. การรบั รูต้ ามความคดิ และความรู้สกึ (Thinking and feeling) เป็นการรับรใู้ นอกี ระดับหนงึ่ ที่มกี าร พัฒนาการมองเห็นใหร้ อบครอบถ่ีถว้ นข้ึนเพ่อื หาหนทางและหาคณุ คา่ ในผลงานทัศนศิลปอ์ ยา่ งครอบคลมุ พร้อมกับ การคน้ หาคณุ ภาพ ( คณุ คา่ ) ภ ายนอกและภายในของผลงานทศั นศลิ ปเ์ พอ่ื ตดั สนิ ผลงานชน้ิ นนั้ ๆ ซ ง่ึ ผวู้ เิ คราะหจ์ ะตอ้ ง ฝึกฝนการมองอย่างละเอยี ดถถี่ ว้ น 6

บทที่ 1 : บทน�ำ 3.การรับรู้ตามความเขา้ ใจ (Understanding) เ ป็นการรับรูง้ านทัศนศลิ ป์ด้วยความเขา้ ใจอยา่ งถ่องแท้การ รับรใู้ นระดบั นจี้ ะตอ้ งมพี ้ืนฐานการศึกษาและประสบการณ์ทางศลิ ปะมากพอ จงึ จะสามารถวเิ คราะหเ์ ขา้ ถงึ รปู ทรง เนอื้ เรอ่ื งความหมายหรอื การแสดงออกทางทศั นศลิ ปอ์ ยา่ งมแี กน่ สารเชน่ ความรทู้ างดา้ นสนุ ทรยี ศาสตร ์ ( Aesthetic) องคป์ ระกอบศลิ ป ์ ( Compositionof A rt) ป ระวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ป ์ ( History o f A rt) แ ละศลิ ปะพน้ื ฐาน ( Art F undamental) เป็นต้น 4 .การรบั ร้ตู ามปัญญาหรอื ปรชั ญา (Intuition) เป็นการรบั รดู้ ้วยความซาบซ้งึ และด้วยความเขา้ ใจแบบ “ทะลปุ รุโปร่ง” สามารถวิเคราะห์ สงั เคราะห์ และประเมนิ คุณคา่ ผลงานทัศนศลิ ป์ไดเ้ ป็นอยา่ งดแี ละมเี หตุผลหรือ การยนื ยนั อยา่ งสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะข้ันตอนสดุ ท้ายของการตัดสนิ จะสามารถกระทำ�ไดด้ ้วยตวั เองอยา่ งม่ันใจ ถือว่าเป็นความเขา้ ใจขั้นสูงสุดในการงานทศั นศลิ ป์ (สชุ าติ เถาทอง,2554 : 17) การรับรู้ในงานทัศนศิลป์ของแต่ละคนจะถึงขั้นสูงสุดได้จะต้องได้รับการฝึกฝนตามระบบขั้นตอนที่ถูกต้อง และมปี ระสบการณ์ดา้ นศลิ ปะไม่ว่าจะเปน็ หลักการจัดองคป์ ระกอบ ทฤษฎีการรับรู้ ประวตั ิศาสตร์ สุนทรียะ เพ่ือ น�ำ ไปวเิ คราะห์วจิ ารณผ์ ลงานทศั นศิลปไ์ ดอ้ ย่างถ่องแท้ลกึ ซึ้งมีเหตมุ ผี ล ซ่งึ เป็นประโยชน์ตอ่ การพฒั นาผล งานการสรา้ งสรรค์ทางทัศนศิลป์ ดงั แผนภมู ิต่อไปนี้ การเหน็ กับการส่ือความหมาย (The Visual and Its Communications) กระบวนการเรียนรู้เชิงวิเคราะห์ได้มาซึ่งความรู้เชิงการคิดและเข้าใจผ่านการเห็นกับการส่ือความหมาย เป็นเคร่ืองมือท่จี ะน�ำ ออกมาใหเ้ ป็นความรู้ โดยตรงจากการเหน็ เปน็ การปูพน้ื ทางการเหน็ ของผ้เู รยี นให้เปน็ ผู้รอบรู้ ทางการเหน็ เปน็ การเตรยี มตนเอง กอ่ นจะท�ำ การเรียนรู้การวิเคราะห์ทศั นศลิ ป์ ซง่ึ ถอื วา่ เป็นชัน้ ตน้ ของผดู้ หู รอื การ รบั รู้ศิลปะ จากผลงานของผสู้ รา้ งสรรค์ศิลปะ แสดงออกมาในการเหน็ คือ การหาค่าความสมั พันธท์ เ่ี กดิ ข้ึนระหวา่ ง มูลฐานทัศนศิลปก์ บั หลักการทศั นศิลป์ และมคี ุณคา่ ทางสนุ ทรยี ภาพทัง้ ความงามและการแสดงออกท่ีสามารถรบั รู้ และเรยี นรไู้ ด้การรบั รทู้ �ำ หนา้ ทแี่ ปรความหมายหรอื สอ่ื ขอ้ มลู จาการเหน็ ใหเ้ ปน็ ความหมายทเ่ี ขา้ ใจการทจี่ ะแปรหรอื วเิ คราะหค์ วามหมายไดม้ ากหรอื นอ้ ยขน้ึ อยกู่ บั ศกั ยภาพของแตล่ ะคนแมจ้ ะเปน็ ผลงานเดยี วกนั ความเขา้ ใจในการรบั รู้ สือ่ ความหมายออกมาก็จะไมเ่ ทา่ กนั ใ นตำ�ราเล่มน้ีจะเนน้ ในการวเิ คราะห์ทศั นศิลป์ เปน็ ต�ำ ราประกอบการสอนวิชาวิเคราะหศ์ ลิ ปกรรม โดยจะ มีเนอ้ื หาความหมาย ประเภท กลวธิ กี ารสร้างสรรค์ คณุ ค่า ทฤษฎี หลักการ และขั้นตอนการวเิ คราะหผ์ ลงานทศั น ศลิ ป์ ซ่งึ จะเจาะจงไปท่ีจิตรกรรมและภาพพิมพ์ ท่มี ีลักษณะใกลเ้ คยี งกัน คอื มีความงาม 2 มติ ิ สรา้ งระยะมติ ลิ ึกต้ืน อารมณค์ วามรูส้ กึ ดว้ ยสีเชน่ เดียวกัน เป็นสาขาหนึง่ ที่จดั การเรียนการสอนในภาคทศั นศลิ ป์ ส่วนประตมิ ากรรมจะ 7

การวเิ คราะห์ทศั นศิลป์ (Visual Arts Analysis) มีความงาม 3 มติ ิ สามารถรับรสู้ มั ผัสรูปทรงไดร้ อบด้านเชน่ เดียวกบั สถาปัตยกรรม จะวิเคราะห์และกล่าวถงึ ใน ต�ำ ราน้ีสว่ นสถาปตั ยกรรมกเ็ ปน็ สาขาหนง่ึ ทศั นศลิ ป์ทส่ี ามารถน�ำ หลกั การของการวเิ คราะหป์ ระตมิ ากรรมไปประยกุ ต์ ใช้กบั สถาปัตยกรรมได้ ซ่ึงมกี ารแสดงออกดา้ นความงาม ความประณตี การสรา้ งสรรคด์ า้ นเทคนคิ วธิ ีการ องค์ ประกอบเนื้อหา ความรู้สึกตา่ งๆทีม่ กี ารแสดงออกถึงพุทธิปัญญาของผู้สรา้ งงานในแต่ละสาขานั้นๆเพื่อเปน็ แนวทาง การวเิ คราะห์วจิ ารณเ์ นือ้ หา องคค์ วามรู้ จากผลงานทัศนศิลปแ์ ละนำ�ไปประยุกตส์ ร้างสรรคแ์ ละพฒั นาผลงานต่อไป ภาพที่ 1.7 พิพิธภัณฑล์ ูฟว์ (LOVVRE MUSEUM) ค.ศ. 1793 กรงุ ปารีส ฝรั่งเศส ภาพท่ี 1.8 กมล ทศั นาญชลี พ.ศ.2542 “นวมินทรมหาราชา” เชือ่ ม อ๊อกโลหะผสม 800 x 800 x 600 ซม. 8

บทที่ 1 : บทน�ำ ภาพท่ี 1.9 ประสงค์ ปัทมานชุ ค.ศ. 1959 “คนรกั ” (The Lovers) เทคนิคสฝี ่นุ ภาพที่ 1.10 มานิตย์ ภอู่ ารีย์ “แย่งอาหาร” ภาพพมิ พแ์ กะไม้ 58 x 75 ซม. ภาพที่ 1.11 ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี “เทพารักษ์” ปนู ปลาสเตอร์ ประตมิ ากรรมนูนต่ำ� 9

การวเิ คราะห์ทัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพที่ 1.12 พระที่นั่งจกั รมี หาปราสาท ศิลปะรัตนโกสินทร์ สมยั รัชกาลที่ 5 ภาพท่ี 1.13 ชลดู นิ่มเสมอ ค.ศ.1995“นางเปลอื ย” สีฝนุ่ บนกระดาษสา 80 X 83 ซม. 10

บทท่ี 2 : จติ รกรรม จติ รกรรม ความหมายของจิตรกรรม จติ รกรรม (Painting) เป็นศลิ ปะสาขาหนง่ึ ในวจิ ติ รศิลป์ (Fine Arts) โดยโครงสรา้ งของกายภาพของตัวมนั เองเปน็ ศิลปะกินระวางเนอ้ื ที ่ (SpaceArts)จดั อยู่ในศลิ ปกรรมประเภททศั นศลิ ป ์ (VisualArts) มลี ักษณะเปน็ 2มิติ คอื ความกว้างและความยาว มิติทางความลึกเปน็ มิตทิ ่จี ติ รกรสร้างสมมติข้นึ จติ รกรรมคอื ภาพท่ีศลิ ปนิ แต่ละบคุ คล สรา้ งขึน้ ด้วยประสบการณท์ างสุนทรียภาพ และความชำ�นาญ โดยสีชนดิ ตา่ งๆ เชน่ สีน�ำ ้ สนี �ำ ้มนั สีฝุน่ ฯลฯ เปน็ สอ่ื กลางในการแสดงออกถงึ เจตนาในการสรา้ งสรรค์การสรา้ งงานจติ รกรรมจะสรา้ งบนพนื้ ราบเปน็ สว่ นใหญ่จติ รกรอาจ เลอื กเขียนภาพบคุ คล พชื สัตว์ ทวิ ทศั น์ เหตกุ ารณ์ เป็นตน้ ในรูปแบบตา่ งๆ เชน่ แบบสจั นยิ ม แบบอุดมคตหิ รือ แบบนามธรรม (ราชบัณฑติ ยสถาน,2541:178) ก ลา่ วโดยสรปุ จติ รกรรม คอื ศลิ ปกรรมประเภทหน่งึ ท่จี ัดอยใู่ นประเภททัศนศลิ ป์ มลี กั ษณะของ การสรา้ งสรรค์ โดยการถา่ ยทอดเรอ่ื งราวทตี่ ามความต้องการของศลิ ปนิ บนพืน้ ระนาบ 2 มติ ิ สร้างภาพลวงตาดว้ ยสี เสน้ นำ�ห้ นกั เกดิ มติ ิที่ 3 โดยใช้วสั ดุประเภทสีต่างๆ เทคนคิ วธิ กี ารทีเ่ หมาะสมกบั วสั ดุรองรับ สร้างความสมั พนั ธ์ กลมกลืนอย่างมีเอกภาพของสิ่งเหล่าน้ีให้เกิดความรู้สึกประทับใจเกิดจินตนาการหรือสะเทือนอารมณ์กับผู้ดู เปน็ ต้น ขอบข่ายของงานจิตรกรรม ใ นอดตี ผลงานจิตรกรรมจะถกู จำ�กดั อยู่เพียงแคก่ ารถ่ายทอดและแสดงออกบนระนาบ2มิติโดยใช้ วัสดปุ ระเภทสีเท่านน้ั แตใ่ นปัจจบุ ันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยที �ำ ให้การสร้างสรรคผ์ ลงานจติ รกรรมมคี วาม หลากหลายด้วยเทคโนโลยีสมยั ใหม่ ทำ�ให้ผลงานจติ รกรรมมลี ักษณะพิเศษทแี่ ตกต่างกันไปตามแตศ่ ลิ ปิน ต้องการแสดงออกตามลกั ษณะเฉพาะตน 1.จติ รกรรมเปน็ การใช้ทัศนธาต ุ ( VisualElement)เช่นเส้นน�ำ ห้ นกั สีพ้ืนผิวรปู ทรงขนาดสัดสว่ นเปน็ ตน้ น�ำ มารวมกนั ผสมผสานใหเ้ กดิ เร่ืองราว ซง่ึ จะตอ้ งมที ักษะตามความเข้าใจในการทีจ่ ะนำ�สง่ิ เหลา่ นน้ั มาประกอบกัน เพ่ือใหเ้ กิดความหมายทางความร้สู ึกท่มี เี อกภาพและกลมกลนื เกิดมติ ิระยะลกึ ต้นื จากตัวอยา่ งภาพ ภาพเหมือนตัว เองกบั หน้ากาก (Self-portrait with mask) ของ เจมส์ เอนเซอร์ (James Ensor) ซง่ึ นำ�ทัศนธาตตุ า่ งๆ มาผสม ผสานกัน ท�ำ ให้ภาพทปี่ รากฏทางความรสู้ ึกของสีและรปู ทรงทีม่ คี วามนา่ สนใจ 11

การวเิ คราะห์ทัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพท่ี 2.1 เจมส์ เอนเซอร์ (James Ensor) ค.ศ. 1860-1949 “ภาพเหมอื นตัวเองกับหน้ากาก” (Self-portrait with Mask) สีนำ�ม้ ันบนผา้ ใบ 117 x 82 ซม. ภ าพผลงานจติ รกรรมของเจมส์ เอนเซอร ์ เต็มไปดว้ ยหนา้ กากหลากสสี ันเปน็ องค์ประกอบทสี่ ำ�คัญทำ�ให้ ภาพเกิดความรู้สึกของผู้คนท่ีใส่หน้ากากในการแสดงละครท่ีแฝงอยู่ข้างในหน้ากากและภาพเหมือนตัวเอง ทร่ี ับอิทธพิ ลจากปีเตอร์ พอล รเู บนส์ สมยั บารอค แต่ไดส้ รา้ งสรรค์การใช้สที ี่มีลักษณะเฉพาะตัวท่ีแฝงเรน้ บนผิวเนื้อ สีชมพู อ่มิ เอิบแตใ่ ห้ความร้สู กึ เหมอื นเนือ้ ดบิ ๆ ดูน่าหวาดกลวั ทแี่ ฝงในแตล่ ะหนา้ กาก รวมทงั้ ตัวศลิ ปนิ ด้วย ซงึ่ มี ลักษณะอาการแตกตา่ งกนั เหมอื นอนั ตรายท่อี ยู่รอบขา้ งทย่ี ิ้มเยอะแฝงเร้นไว้ภายใน ซ่ึงเป็นสงั คมที่ไม่ควรอยรู่ ว่ ม สงั คมดว้ ยและสร้างมติ ริ ะยะดว้ ยน�ำ ้หนกั ของสีและขนาดสดั สว่ น ทมี่ ีความแตกต่างกัน เปน็ การผสมผสานทศั นธาตุ ต่าง ๆ เข้าด้วยกนั เกิดเนือ้ หา บรรยากาศ ให้ความรูส้ กึ และจนิ ตนาการแบบเหนือจรงิ ซ่งึ เก่ยี วข้องกบั ความตาย และ เป็นการอุปมาอุปไมยสบื ตอ่ จากการสรา้ งสรรคผ์ ลงานของบอสช์ (Bosh) และโกย่า (Goya) (ภาพท่ี 2.1 ) 2. สี (Colour) จะมีสว่ นสำ�คัญมากในงานจติ รกรรม จะทำ�หน้าที่ควบคู่กนั กับนำ�ห้ นัก แต่ให้อารมณค์ วาม รู้สึกดว้ ยตัวเองโดยตรง จากภาพ “ดอกทานตะวัน” ศลิ ปินใช้สที ี่ถ่ายทอดจากอารมณ์ความรู้สึกส่วนตวั แสดงออก ของสที ี่ดสู ด หนา ทีแปรงรนุ แรง เคลือ่ นไหว ฉบั พลัน สอดคล้องกบั ลักษณะเฉพาะตัวทำ�ใหภ้ าพปะทะความร้สู ึกคน ดเู กิดจินตนาการตามภาพ ภาพที่ 2.2 วนิ เซนต์ แวนโกะ๊ (Vincent Vangogh) ค.ศ. 1853-1890 “ดอกทานตะวนั ” (Sunflowers) สีนำ�้มนั บนผ้าใบ 91 x 72 ซม. 12

บทที่ 2 : จติ รกรรม แวนโกะ๊ ใช้สีและเส้นแสดงออกใหเ้ ห็นถึงพลงั การเคลอื่ นไหว ความหนาแน่นของบรรยากาศ การใช้สที ม่ี ี ความอสิ ระถกู ตอ้ งตามหลกั ทฤษฎสี จี ะใชส้ คี ปู่ ฏปิ กั ษอ์ ยา่ งมากควบคกู่ บั การใชส้ ที กี่ ลมกลนื ใหม้ กี ารประสานสมั พนั ธก์ นั เปน็ ความโดดเดน่ ในการใชส้ แี สดงอารมณค์ วามรสู้ กึ ออกมาซง่ึ มคี ณุ คา่ ในตวั ของมนั เองซงึ่ พอ้ งกบั ความคดิ ของแวนโกะ๊ ท่ีวา่ “สแี สดงออกด้วยตวั มนั เอง” (ภาพที่ 2.2) 3 . น�ำ ้หนัก ในงานจิตรกรรม เกดิ จากการสรา้ งสรรค์แสงเงา ที่ศิลปินกำ�หนดข้ึน เพ่ือใหภ้ าพ เกดิ มิตคิ วามลึก ต้ืนหรือเพื่อการเน้นให้ภาพเกิดความสมบูรณ์มรี ะยะใกล้กลางไกลตวั อยา่ งเช่นจากภาพนกั ดนตรี3คนศลิ ปนิ ใชร้ ปู ทรงคนและเครื่องดนตรกี ารแสดงออก ในอาการกำ�ลังเลน่ ดนตรี ประกอบทัศนธาตุในรูปทรงท่ีมกี ารลดตัดทอนทมี่ ี จงั หวะของน�ำ ห้ นกั สที ม่ี กี ารเคลอ่ื นไหวสมั พนั ธก์ บั รปู ทรงทน่ี �ำ มาประกอบกนั สรา้ งคา่ น�ำ ห้ นกั ดว้ ยการทบั ซอ้ นรปู ทรง ใหเ้ กิดมิติลดหลน่ั กันของนำ�ห้ นักสแี ละขนาดท่แี ตกต่างกัน การเน้นรปู ทรงและน�ำ หนักของสเี กิดความเป็นเอกภาพ (ภาพท่ี 2.3) ภาพที่ 2.3 ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) ค.ศ. 1881-1973 “นักดนตรสี ามคน” (Three Musicians) สีนำ�ม้ นั บนผา้ ใบ 4. ผลงานจิตรกรรม หมายถงึ งานทีส่ ร้างขึ้นเป็นต้นแบบ (Originally) จะถกู สรา้ งสรรค์ขนึ้ โดยศิลปินโดยใช้ เทคนคิ วิธกี ารทแ่ี ตกตา่ งกันไป จะมเี พียงช้นิ เดียวเท่าน้ัน ถา้ ซ�ำ ก้ ันถือวา่ เป็นงานลอกแบบ (Reproduction) 5. ผลงานจติ รกรรม ตามความหมายเดมิ หมายถึง เฉพาะงานท่ีใชแ้ ปรง พ่กู ัน หรอื เกรียงเปน็ เครื่องมอื ใน การระบายสี แตป่ จั จบุ ันไดพ้ ัฒนาไปไกล อาจจะใชเ้ ครอื่ งมอื อื่นๆ เชน่ เครื่องพ่น การเยบ็ การปัก การใชว้ ัสดุไม้ ปนู เหล็กในการประกอบกบั ของผลงาน หรอื อาจจะมกี ารแสดงคุณคา่ พน้ื ผิวของวสั ดุด้วยการปะตดิ และใช้เคร่อื งมือ อ่นื ๆ เพื่อสรา้ งสรรค์ผลงานใหก้ ้าวหน้าตอ่ ไปไม่มที ีส่ ิ้นสุด ภาพที่ 2.4 อลั เบอรโ์ ต เบอร์รี่ (Alberto Burri) ค.ศ. 1915 “กระสอบ” (Sack C) 59 x 51 นิ้ว 13

การวเิ คราะหท์ ศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) เ บอร์รี่ มวี ธิ ีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการนำ�เศษวสั ดตุ า่ งๆ เชน่ กระสอบ ผ้า พลาสตกิ และแผน่ โลหะ ซง่ึ เป็นวธิ กี ารของกลมุ่ ดาดา แตเ่ ขาน�ำ วัสดุมาสอื่ ความหมายใหม่ ด้วยการเปลยี่ นคณุ คา่ ของวสั ดเุ ดิม ด้วยการผสม ผสานกนั ใหเ้ กิดองค์ประกอบใหม่ ให้ผลทางความรู้สึกทม่ี ีสภาพความยากจน ความทุกขท์ รมาน และร่างกายที่ถกู ท�ำ รา้ ย ด้วยการสร้างงานให้มีรอยมีดกรีด หรอื ถูกแทง ถูกยงิ ซ่ึงเป็นการลดคุณคา่ บางประการของวสั ดุ (กระสอบ) ใชส้ เี พียงเล็กนอ้ ย และดำ�รงอยขู่ องสภาพเดมิ ของวสั ดุ ท�ำ ใหภ้ าพเต็มไปดว้ ยอารมณ์ความสุขมุ มีจังหวะลีลาในการ จดั องค์ประกอบ (ภาพท่ี 2.4) ภาพท่ี 2.5 มาโนโล มลิ ลาเรส (Manolo Millares) ค.ศ. 1962 “คนแคระ” (Homunculus) ผลงานจิตรกรรมของมลิ ลาเรส มคี วามพเิ ศษคือ การใช้ผ้าหยาบ เชน่ กระสอบทฉี่ ีกขาดและพวกวัสดุนานา ชนิดนำ�มาจดั วางให้เกดิ รปู ทรงต่างๆ ดว้ ยวิธีการเยบ็ ปะติดบนแผน่ ภาพ ปล่อยให้มคี วามนูนเดน่ หรือแขวนหอ้ ยออก มานอกภาพจากนั้นระบายส ี แตง่ แต้มตามความรู้สึกทศี่ ิลปินอยากให้เป็นอะไร เกดิ ความรสู้ ึกอย่างไร สีสว่ นใหญจ่ ะ ใชส้ ีขาวและด�ำ ซึง่ มลิ ลาเรสมเี จตนาใหเ้ กดิ ลลี าและรนุ แรง แตกต่างไปจากเบอร์ร่ี แม้ว่าจะใชว้ ัสดุเหมือนกันในการ สรา้ งสรรค์ผลงาน (ภาพที่ 2.5) ก ารสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมท่ีสมบูรณ์เกิดจากจินตนาการให้เกิดความรู้สึกน้ันจะต้องประกอบด้วย ทศั นธาตทุ ง้ั หมดเช่นสีเสน้ รูปทรงพืน้ ผวิ พ้ืนท่วี ่างจังหวะน�ำ ้หนกั ผสมผสานกันให้เกดิ รูปทรงบวกกับแนวความคดิ ให้เกดิ ความเป็นเอกภาพ สะทอ้ นความร้สู ึกออกมาจากผลงานให้ผ้ชู มไดส้ ัมผัสกับความคดิ เหล่าน้นั ทศี่ ิลปนิ ตอ้ งการ ถา่ ยทอดออกมา เชน่ ความรู้สกึ ของความสงบ เหงา เศร้า น่ากลัว อบอุ่น เป็นต้น ประเภทของงานจติ รกรรม ม นุษยส์ รา้ งงานจิตรกรรมโดยใชส้ ีจากดนิ ถา่ น เขมา่ ไฟ ฯลฯ ตั้งแตส่ มยั ก่อนประวัตศิ าสตร์ และไดม้ ีการ เปลยี่ นแปลงการใชว้ ัสดุเรอ่ื ยมาจนถงึ ปัจจบุ ัน มีววิ ฒั นาการกา้ วหนา้ ตามลำ�ดับเปน็ ผลจากความเจรญิ กา้ วหนา้ ทาง เทคโนโลยีทำ�ใหเ้ ทคนิควธิ กี ารท่ีแตกต่างกนั โดยมีลกั ษณะแปลกข้ึนเรอ่ื ยๆ ตามคณุ สมบตั ขิ องวสั ดทุ ใ่ี ช้ในการสรา้ ง งาน แบ่งประเภทของสอื่ วสั ดทุ นี่ ิยมนำ�มาใช้ในงานจิตรกรรม ไดแ้ ก่ 14

บทท่ี 2 : จิตรกรรม 1 . จิตรกรรมสนี ำ�้ (Water Color Painting) เป็นสที เ่ี กิดจากสว่ นผสมของสารสี (Pigment) หรอื วตั ถธุ าตุ เช่น ดินสผี สมกับสารยดึ (Bonding Agent) ทีล่ ะลายนำ�้ได้ เชน่ ยางไม้ (Gum) หรือกาวจากสัตว์ สนี �ำ ้ ส่วนใหญ่ใช้ เขยี นบนกระดาษหรอื วัสดสุ ี เช่น แพร ใบลาน ใชก้ ระดาษที่ทำ�จากอยี ิปต์ (Papytas) ต่อมายคุ กลางนยิ มเขยี นบน แผ่นหนัง (Parchment) ปัจจุบนั สนี ำ�จ้ ะเขียนบนกระดาษวาดเขียน ที่เรยี กวา่ กระดาษสนี �ำ ม้ ี 2 ชนดิ คอื กระดาษสีน�ำ ้ ธรรมดาและกระดาษสีน�ำ ้ส�ำ หรับจิตรกรมืออาชีพ จติ รกรรมสนี �ำ จ้ ะมวี ธิ กี ารสรา้ งสรรคต์ า่ งกบั จติ รกรรมชนดิ อนื่ ค อื การระบายสนี �ำ ต้ อ้ งค�ำ นงึ ถงึ ความขาวกระดาษ ผสมผสานกบั คณุ สมบตั ิของสที ม่ี คี วามโปร่งใสมองทะลเุ ห็นความขาวของกระดาษ ซึ่งเปน็ ลกั ษณะพเิ ศษ ท่ที �ำ ให้เกิด คณุ คา่ ของจิตรกรรมสีน�ำ ้ เ ทคนคิ การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสีนำ�้จะใชว้ ิธกี ารระบายด้วยพู่กันขนาดเล็กๆ ละลายนำ�้ผสมกับสีน�ำ ้ ระบายทับซอ้ นกนั หลายๆครัง้ เพ่อื ใหไ้ ด้รายละเอยี ดของภาพโดยอาศัยความขาวของกระดาษเปน็ ส่วนแสงของภาพ และสามารถเก็บรายละเอยี ดของภาพท่ีมีรายละเอียดไดอ้ กี วิธีการที่ปรากฏในผลงานจิตรกรรมสีนำ�้ คอื การระบาย เรียบ ชุ่ม ซึม ทบั ซ้อน เปน็ คราบ ใหส้ ที �ำ ปฏกิ ิริยาไหลซึมเข้าหากนั ทำ�ใหภ้ าพดูนุ่มนวล มบี รรยากาศของสี ศิลปนิ แสดงออกโดยฉับพลนั อาศยั ความชำ�นาญของทักษะ การระบายสนี ำ�้ จะมีเทคนคิ ทหี่ ลากหลายข้ึนอยู่กบั การนำ�ไป ใช้ เช่น ทาเรยี บ (flat wash) ระบายแห้งบนกระดาษเปยี ก (dry on wet paper) เคลอื บพับ (glazes) เปยี กซ้อน เปยี ก (wet in wet wash) เชด็ ออก (lifting) ฯลฯ (ภาพท่ี 2.6,2.7) วธิ เี กบ็ รกั ษาจติ รกรรมสนี �ำ ใ้ หค้ งทน แ ละคงสภาพของสโี ดยการใสก่ รอบกระจกและไมใ่ หถ้ กู แดดโดยตรง ไม่ควรใช้นำ�ม้ นั เคลือบเงากับงานสีน�ำ ้ จะท�ำ ใหส้ ีหมองหรอื สะทอ้ นแสงเกนิ ไป ภาพท่ี 2.6 สุรพล แสนคำ� “ศรีตรงั ” สีน�ำ ้บนกระดาษ 90 x 120 ซม. 15

การวิเคราะหท์ ศั นศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพท่ี 2.7 สมพร ธุรี “ทวิ ทศั นเ์ ขานอ้ ยสงขลา” สนี �ำ บ้ นกระดาษ 15 x 23 น้วิ 2. จิตรกรรมสฝี ุ่น (Tempera Painting) เป็นสีชนิดแรกที่ใช้งานจิตรกรรม ใช้เขยี นภาพตามจติ รกรรม ฝาผนงั ตงั้ แตย่ คุ กอ่ นประวัติศาสตร์ เชน่ ภาพเขยี นในถ�ำ อ้ ลั ตามริ า ภาคเหนอื ของสเปน ถำ�ล้ าสโกช์ ในประเทศ ฝร่ังเศส ในประเทศไทยพบภาพเขยี นสชี นิดน้ี เช่น เทอื กเขาภูพาน หรอื ผาแตม้ อ�ำ เภอโขงเจยี ม ศ ลิ ปะในสมยั อียปิ ต์ กรีก โรมนั ตลอดจนศลิ ปะไบแซนไทม์ สมยั ฟืน้ ฟูศลิ ปะวิทยา และสมัยบาโรค นิยมใชส้ ี ฝนุ่ เปน็ หลักในการสร้างผลงานจติ รกรรมต่อมาเมอื่ มีการคดิ คน้ ประดษิ ฐ์สนี ำ�้มนั ขึ้น ศลิ ปะในยคุ ต่อมาจงึ หนั มานยิ ม ใช้สนี ำ�้มันแทน ลักษณะเฉพาะสีฝนุ่ คือ เม่อื ยงั ไม่แห้งจะมีสีสดและเปน็ เงาน้อยๆ เม่อื แหง้ แลว้ ความสดจะลดลง และดา้ น แ ตถ่ า้ เคลอื บทบั ดว้ ยน�ำ ม้ นั ชกั เงาจะไดส้ สี ดและเปน็ เงายง่ิ ขนึ้ ศลิ ปนิ บางคนจงึ นยิ มรองพน้ื ภาพดว้ ยสฝี นุ่ กอ่ น แลว้ จึงวาดทบั ด้วยสีน�ำ ม้ นั ทำ�ให้การวาดคลอ่ งตัวสะดวกข้นึ เพราะแหง้ ชา้ และใช้กรรมวธิ พี ลกิ แพลงไดม้ าก ภาพท่ี 2.8 แอนดรวู ์ ไวเอธ็ (Andrew Wyeth) ค.ศ. 1979“นอนหลบั ในยามรัตติกาล” (Night Sleeper) สีฝ่นุ บนกระดาษ 48 x 72 น้วิ 16

บทท่ี 2 : จิตรกรรม สฝี ุน่ ในสมยั กอ่ นจะได้มาจากธรรมชาติ เช่น หนิ สี ดินสี เขม่าไฟ ฯลฯ ปัจจุบนั ได้มาจากการสังเคราะห์ทาง วทิ ยาศาสตร์ หรือกรรมวิธีอื่นๆ ท�ำ ใหไ้ ด้สีใหม่ๆ เกิดขน้ึ มากมาย จะมี 2 ลกั ษณะคือ สีฝนุ่ ซงึ่ มีการบดอยา่ งละเอียด แล้วมีจำ�หนา่ ยทงั้ อยา่ งเป็นผงและชนดิ ผสมน�ำ ้ข้นๆ บรรจุขวด เรียกว่าสโี ปสเตอร์ การผสมสสี ่วนท่ีเป็นผง จำ�เป็น ต้องผสมกาว หรือสารทเ่ี ป็นตัวยึด เช่น ผสมไขแ่ ดง (egg-yolk tempera) ผสมเมอื กไข่ (egg-oil tempera) ผสมข้ี ผึ้ง (wax tempera) ผสมนำ�้มนั (oil emulsion tempera) ผสมยางไม้ (gam tempera) เป็นตน้ การเขียนสฝี ุน่ ของไทย ไม่วา่ จะเป็นสมัยกรงุ สโุ ขทัย อยธุ ยา หรอื รตั นโกสินทร์ มกั ใช้ยางไมเ้ ปน็ ตัวผสม เชน่ ยางมะขวิด หรือน�ำ อ้ อ้ ย ซึ่งจัดอยู่ในประเภทยางไม้ ยางไม้ธรรมชาติจะคงทนมาก ช่างเขียนบางคนใช้กาวหนงั สตั ว์ ปัจจบุ นั ใช้กาวลาเทก็ ซ์กับกาวพลาสตกิ ซ่งึ ก็ไดผ้ ลดี มเี ทคนิควิธกี ารเขยี นใกล้เคยี งกบั สนี �ำ ้มนั ใช้สขี าวเปน็ ตวั ผสมให้ สนี �ำ ห้ นกั อ่อนลง เพ่ือช่วยให้สมี ีความเขม้ ข้นจะระบายทบั กนั ได้ ก รรมวิธกี ารเขยี นสฝี ุ่น การเขียนแบบจิตรกรรมไทย โดยการเขียนลงบนผนัง ไมอ้ ัด ผ้าใบ กระดาษหรอื บนกระดาษสาทต่ี ดิ บน ไมอ้ ดั เป็นการเขียนภาพแบบ 2 มติ ิ ไมต่ ้องการแสงเงา และฝีแปรง ระบายสเี รยี บแบนตดั เส้นสนี อ้ ย เชน่ น�ำ ้ตาล แดง ทอง เหลือง ตอ้ งการความประณตี สวยงามของเสน้ ทตี่ ่อเนือ่ งลน่ื ไหล (ภาพท่ี 2.9) ก ารเขียนแบบจติ รกรรมสากล จะเขยี นบนผ้าใบขึงบนกรอบเฟรม หรอื บนผ้าใบติดบนไม้ เป็นการเขียนแบบ 3มติ ิมีนำ�ห้ นักแสงเงาไล่สอี อ่ นแก่หลากหลายสีมกี ารใช้ฝีแปรงเชน่ แบบอิมเพรสชัน่ นสิ ม์ (Impressionism)โฟวสิ ม์ (Fauvism) เป็นต้น (ภาพท่ี 2.10) ภาพท่ี 2.9 จติ รกรรมฝาผนังวัดมัชฌิมาวาสวรวหิ าร จังหวดั สงขลา ศิลปะสมยั รัตนโกสนิ ทร์ รัชกาลท่ี 4 17

การวิเคราะหท์ ศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ภาพท่ี 2.10 ชลูด นมิ่ เสมอ “อาบน�ำ ้” สีฝนุ่ บนกระดาษสา 82 x 85 ซม. 3 . จติ รกรรมสีนำ�้มนั (Oil Painting) เป็นสที ี่เกดิ จากการผสมของเนอ้ื สกี บั นำ�้มันแทนกาว เพอ่ื ให้สยี ดึ ตดิ กบั ระนาบรองรับ การวาดภาพสีนำ�้มัน เปน็ ทนี่ ยิ มกนั ทวั่ โลกมากกวา่ 400 ปี คุณสมบัตพิ ิเศษ คือ ไมแ่ ห้งเร็วแบบ สฝี นุ่ มีเวลาที่จะเกลยี่ สีให้กลืนกนั (Blending Color) ได้ดกี วา่ สอี ื่น ซึง่ มคี วามเหนียวตดิ พน้ื งา่ ย มีความยืดหยุน่ ตัว เมอ่ื สีแหง้ ไม่แข็งกรอบ เขียนไดท้ งั้ สีบางและสีหนา นยิ มระบายบนผ้าใบ (canvas) เทคนคิ การเขยี นสีน�ำ ้มัน สามารถเขียนไดก้ ับวสั ดุรองรบั ต่างๆ ได้ เช่น แผ่นไม้ หนิ โลหะ ผนงั ปนู กระดาษ ผ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น เมือ่ เขียน ลงไปบนวัสดเุ หล่านน้ั จะมคี วามคงทน มสี สี ดใส เมอื่ แหง้ มคี วามยืดหยุ่น ไม่เปราะหักหรอื แตกร้าวง่าย เทคนคิ ท่ี ส�ำ คญั คอื ไม่จำ�เป็นต้องรีบเขยี นเรว็ เพราะสนี ำ�้มันแหง้ ชา้ ใชเ้ วลาประมาณ 24 ชั่วโมง ทำ�ใหผ้ ู้เขียนสามารถเก็บราย ละเอียดไดด้ ี สามารถเขยี นไดท้ ั้งสีบางและสหี นา การเตรียมพน้ื ในการเขียนสนี ำ�้มันจะมเี ทคนิคท่ไี ม่เหมอื นกัน เช่น การเขียนงานของโจซ์ เรโนลด์ ศลิ ปินชาวอังกฤษมกั ใชส้ เี ทา งานของเรมบรานด์ และทเิ ซียนมักใชส้ ีเขม้ หรือสีด�ำ งาน ของฟราโกนาด ศลิ ปินชาวฝรงั่ เศสมักใช้สีขาว เปน็ ต้น (ภาพที่ 2.12) ภาพที่ 2.11 แสดงเทคนิคการใช้สเี ขม้ 18

บทที่ 2 : จติ รกรรม ภาพที่ 2.12 โดเนโร ฟราโกนาร์ด (Donaro Fragonard) “สาวอาบน�ำ ”้ สีน�ำ ้มัน 25 x 31 น้วิ งานเขยี นสนี ำ�ม้ นั ในประเทศไทย จะปรากฏต้ังแตส่ มยั อยธุ ยา ช่วงสมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช อาจเปน็ บรรดาคณะราชทูตฝรงั่ เศสน�ำ เขา้ มา เพราะชว่ งรชั กาลของพระเจา้ หลุยสท์ ี่ 14 เปน็ ยุคแหง่ ความเจริญร่งุ เรืองทาง ด้านศิลปวฒั นธรรมของฝร่ังเศส เ ทคนคิ ท่ศี ิลปนิ เลอื กในการสร้างสรรค์ผลงานสนี ำ�ม้ ัน แบ่งได้ดงั น้ี 1 . ผลงานทใ่ี ชส้ บี างๆ เกล่ียบางๆ มกั จะใชส้ �ำ หรบั การเขียนภาพท่ปี ระณตี ต้องการเกบ็ รายละเอยี ด เช่น ภาพเขียนของเวอร์เมียร์ และรสุ โซ เป็นตน้ 2 . การระบายสหี นาทึบจะใช้กบั ผลงานท่ตี อ้ งการความฉับไว สนกุ สนาน รวดเรว็ เชน่ ผลงานแวนโกะ๊ เปน็ ต้น ซง่ึ เทคนคิ เหลา่ นี้ขึ้นอยกู่ บั ศิลปินจะเลอื กแสดงออกเทคนิคอย่างไรเพ่ือให้สอดคลอ้ งกบั แนวความคดิ เฉพาะตน 4 .จติ รกรรมสอี ะครลิ คิ (Acrylic Painting) เป็นสที เี่ กดิ จากการพฒั นาการสมยั ใหม่ เกิดจากการค้นพบ ตัวประสานสีใหม่ คอื การสังเคราะห์ จากการสลดั นำ�้มันปโิ ตรเลียม ลกั ษณะของตวั ประสานหรอื กาวที่ได้ เปน็ ของ เหลวขน้ ขาว สีคล้ายน�ำ ้นม ค่อนขา้ งเหนยี ว เรยี กว่า โพลิเมอร์ (Polymer) สีอะคริลคิ สามารถเขยี นได้ทง้ั แบบบาง และหนา คล้ายกับสีน�ำ ้มัน แตจ่ ะแห้งเร็วกวา่ และไม่มีกลนิ่ น�ำ ้มนั ลนิ สีด จงึ เหมาะกบั การสรา้ งผลงาน และไดร้ บั ความนยิ มแพร่หลายในปัจจบุ นั เขียนบนพน้ื ไม้ เหลก็ ปูน ผา้ ใบ เนอื้ สมี ีความบริสุทธิ์ ละเอยี ด มคี วามสดใส มีความ เข้มจัด โดยใช้นำ�้เปน็ ตวั ประสาน เม่ือสีแห้งจะติดทนนานคล้ายสนี ำ�ม้ นั กนั นำ�ไ้ ด้ มีความยืดหยุน่ สามารถทับซอ้ น กนั ไดง้ า่ ย เหมาะกับการแสดงออกในรูปแบบไม่วา่ เหมือนจรงิ และนามธรรม (ภาพท่ี 2.13,2.14) ภาพที่ 2.13 บุญเหลือ ยางสวย “Hot Promotion” สอี ะครลิ ิคบนผา้ ใบ 150 x 240 ชม. 19

การวเิ คราะห์ทัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพที่ 2.14 สมพร ธุร ี “พิธกี รรมข้าว” สอี ะครลิ ิคบนผา้ ใบ 100 x 100 ชม. 5 . จิตรกรรมสือ่ ผสม (Mixed Media Painting) เปน็ การผสมผสานกนั หลายเทคนิคสี เช่น สีนำ�้มันผสม กบั สอี ะครลิ ิค สีอะครลิ ิคกบั สีฝนุ่ ขนึ้ อยกู่ ับศิลปินจะเลือกใช้ ผสมผสานกันลงพ้นื ระนาบ เช่น ไม้ ปนู ผา้ ใบ เปน็ ตน้ ซ่ึงไดร้ บั ความนิยมในการสร้างสรรคผ์ ลงานในปัจจบุ ัน อาจจะใช้เทคนิค การบีบ หยด เท ลาด ผสมผสานเข้าดว้ ยกนั ภาพที่ 2.15 ศาสตราจารย์เดชา วราชนุ “ชวี ติ และน�ำ ”้ สือ่ ประสม 125 x 122 ซม. ภาพที่ 2.16 เสาวนติ บญุ รุ่งเรอื ง “ตัวฉนั ความฝนั กบั นิว้ ก้อย”สื่อผสม 150 x 200 ซม. 20

บทที่ 2 : จติ รกรรม เน้อื หาสาระในงานจิตรกรรม เนอ้ื หา ( Content) ค อื ความหมายของงานศลิ ปะทแ่ี สดงออกผา่ นรปู ทรงทางศลิ ปะ ( ArtisticForm) เ นอ้ื หา ของงานศิลปะแบบรูปธรรม เกดิ จากการประสานกนั อยา่ งมีเอกภาพของแนวเร่อื ง และรูปทรง เนือ้ หาของงานแบบ นามธรรมหรอื แบบนอนออบเจคทีฟเกดิ จากการประสานกนั อยา่ งมีเอกภาพของรูปทรงเนื้อหาเปน็ คุณลกั ษณะฝ่าย นามธรรมของงานศิลปะที่มองจากดา้ นการชน่ื ชมหรือจากผูด้ ู (ชลูด นิม่ เสมอ,2534: 22) เ ร่ืองราวหรือสาระในผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะซง่ึ หมายรวมถึงคุณคา่ ทางภมู ิปญั ญาสุนทรยี ภาพอารมณ์ และปจั เจกภาพ ผลงานทางศลิ ปะทกุ ชิ้นอาจจะมีองค์ประกอบสำ�คัญ 2 ส่วน คือ ส่วนเน้อื หาและส่วนรปู แบบ ซง่ึ ศิลปนิ แตล่ ะคนสรา้ งสรรคใ์ ห้ผดู้ ูได้เหน็ ถึงแนวความคิดการนำ�เสนอเทคนคิ วิธกี ารประสบการณข์ องศิลปินแต่ละคน ที่สง่ั สมมาถ่ายทอดเปน็ ผลงานศลิ ปะนัน้ ๆ นอกจากนน้ั ผสู้ นใจทางดา้ นศิลปะสามารถน�ำ แนวความคดิ ทางเทคนคิ วิธีการตา่ งๆ ไปพฒั นาต่อยอดพฒั นาผลงานการสร้างสรรคท์ ่ีมเี อกลักษณเ์ ฉพาะตนตอ่ ไป ป ระเภทของเน้อื หาการสรา้ งสรรคง์ านจิตรกรรม 1 . จติ รกรรมหุน่ นง่ิ (Still-Life Painting) เปน็ การวาดภาพระบายสปี ระเภทของวตั ถุ อาจจะเปน็ สิ่งทีม่ ี การจดั วางก�ำ หนดขึ้นใหเ้ พอื่ เขยี นตามทก่ี �ำ หนดให้ จะมีวตั ถอุ ยา่ งเดียวหรือหลายอย่างก็ได้ จะมุ่งเนน้ การจัดวางองค์ ประกอบโครงสรา้ งของรปู ทรง โครงสี น�ำ ้หนัก พืน้ ผวิ และบรรยากาศของภาพ ตวั อย่างเช่น ภาพสง่ิ ของเคร่อื งใช้ ภาพดอกไม้ ภาพผลไม้ ภาพอาหารและผกั ภาพวัตถุเทคโนโลยี ฯลฯ ภาพท่ี 2.17 พอล เซซานน์ (Paul Cezanne) ค.ศ. 1890-1894 “หนุ่ น่ิงกบั ตะกรา้ กับแอปเปล้ิ ” (Still Life with Basket) สนี ำ�้มนั บนผา้ ใบ 60 x 80 ซม. พ อล เซซานน์ จะเขยี นภาพรปู ทรงวเิ คราะห์ เขาจะวเิ คราะห์รูปร่างต่างๆ ทีเ่ ขาเห็นโดยการตัดทอนรูปร่าง เหล่าน้นั ลงเป็นโครงสรา้ งมลู ฐานของรูปทรงกลม รูปลกู บาศก์และรปู ทรงกระบอก การท�ำ ภาพใหด้ ูเรยี บงา่ ย ให้เปน็ โครงสรา้ งเชิงเรขาคณิตทีส่ มดุลอยา่ งสมบูรณ์แบบ ดังนนั้ จะทำ�ให้เขาสามารถเขียนภาพไปอยา่ งช้าๆ ด้วยการแต้มสี ทลี ะนอ้ ยๆ เริม่ จากสกี ลางแลว้ ค่อยๆ เพ่มิ สีใหส้ ดใสมกี �ำ ลังแข็งแรงขนึ้ เร่ือยๆ นบั ไดว้ ่าเขาเปน็ นักใช้สี ท่ยี อดเย่ียมคน หนึง่ เลยทเี ดยี ว เวลาเซซานน์เขียนภาพหนุ่ น่งิ เขาจะใชเ้ วลาเปน็ ช่วั โมงๆกับการจดั รอยยบั รอยจีบของผกั และผลไม้ เพอื่ ทำ�ใหเ้ กดิ เปน็ องค์ประกอบท่ีสมบรู ณ์แบบนั่นเอง บางทีเขาอาจจะมีชอ่ื เสียงมากท่ีสดุ จากการเขยี นภาพหุน่ นง่ิ ของเขาที่มแี อบเป้ิลจดั วางอยู่หลายรูปก็ได้ ซ่ึงเซซานนไ์ ด้คน้ พบวิธีการท�ำ งานของเขาซึ่งเรยี กว่าการใช้ความสามารถ ในการสร้างความซับซอ้ นได้อย่างลึกซึง้ (Flair Depth) นับว่าเป็นสิ่งมหศั จรรย์ใจอกี อย่างหน่ึงในงานศลิ ปะ ซ่งึ มี เทคนคิ กรรมวธิ ดี ังนี้ 21

การวเิ คราะหท์ ัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ก ารระบายสเี ปน็ แถบซอ้ นกนั เพอ่ื ใหส้ หี นง่ึ ดเู ดน่ ขน้ึ มาจากอกี สหี นง่ึ โดยเลอื กวาดภาพวตั ถตุ า่ งๆ จ ากหลายๆ มุมในเวลาเดยี วกนั การทำ�ให้วตั ถุดลู อยข้นึ มาบนผวิ หน้าของผนื ผ้าใบ กำ�หนดต�ำ แหนง่ หนา้ หลงั โดยใช้สโี ทนรอ้ น (Warm Tone) และโทนเยน็ (Cool Tone) การใช้สีเป็นตวั สร้างรูปทรงให้กบั วัตถุ แทนท่จี ะใชแ้ สงและเงาตามวธิ ี การแบบกิอาโรสคโู ร จิตรกรรมเซซานนน์ นั้ ใหค้ วามส�ำ คญั ตอ่ การจัดการโครงสรา้ งของงานกอ่ นสิง่ อื่นการวเิ คราะหร์ ูปทรงจึงเป็น สิ่งทีต่ ามมา ส่งิ ที่เหน็ ไดช้ ัดและเด่นออกมาในงานเซซานน์ คอื การใชฝ้ ีแปรงซำ�ๆ้ กนั เป็นกลุ่ม และการรวมตัวกนั ของฝีแปรงแต่ละกลุม่ กค็ อ่ นข้างเหมอื นหรอื คล้ายกนั เชน่ มีการระบายสีในทศิ ทาง ความชัดเจนใกล้เคียงกันจนกว่า จะไปเจอกับส่วนที่เขาต้องการให้ดูแตกต่างก็ใช้แถบสีหรือเส้นท่ีแสดงขอบเขตของสิ่งน้ันมาปะทะให้เห็นความแตก ต่างและสิง่ เหลา่ นี้ได้ถกู ใชเ้ พ่อื การกำ�หนดระนาบ (Plane) ตา่ ง ๆ ทีร่ วมกนั แลว้ ท�ำ ใหเ้ กดิ ความมนั่ คง หนกั แน่นของ รปู ทรง วธิ ีการเสรมิ ปรมิ าตร (modeling) เช่นนี้ แสดงใหเ้ หน็ ถึง ความคดิ สร้างสรรคอ์ นั เฉยี บแหลมของเซซานน์ ใน การนำ�กรรมวธิ ีของอมิ เพรสชนั่ นิสม์ มาใชใ้ นการสร้างสรรคผ์ ลงาน (ภาพท่ี 2.17) 2 . จิตรกรรมคน (Figure Painting) เปน็ ลักษณะของการวาดภาพระบายสีภาพคน โดยมงุ่ เนน้ ความงาม ของโครงสรา้ งความถกู ตอ้ ง สดั ส่วนทางกายวิภาค และกิรยิ าท่าทางตา่ งๆ เช่นนั่งหรือยนื อาจจะเป็นคนเต็มตัวหรือ ถกู บดบังบางส่วนก็ได้ จะเป็นภาพคนเดียวหรือกลมุ่ คน เช่น ภาพคนผชู้ าย ภาพคนผหู้ ญงิ ภาพคนแก่ ภาพเดก็ ฯลฯ ภาพท่ี 2.18 ปิแอร์ ออกสุ ต์ เรอนัวร์ (Pieare Augusts Renoir) ค.ศ. 1841-1919“รม่ ” (The Umbrellas) สีน�ำ ม้ นั บนผนื ผ้าใบ ผ ลงานจิตรกรรมของเรอนัวร์ แสดงถงึ ส่งิ ตา่ งๆ เปน็ การเปดิ เผยทรรศนะของเขาท่ีมีตอ่ ชวี ติ โดยแสดงออก ในสีบรสิ ทุ ธ์ิ สะอาด และสอดใสอ่ ารมณ์สนกุ สนานของศิลปนิ ไว้ในผลงาน เรอนัวรม์ ีวิธีการจดั ภาพโดยสร้างใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ เสมอื นผู้ชม มองจากที่สงู ลงไปเห็นเหตกุ ารณเ์ หลา่ นี้ ภาพคนจะมเี นื้อเรอ่ื งสนุกสนานมคี วามละเอียดอ่อน จ�ำ กดั รอยแปรงมแี สงทีด่ ยู ุ่งเหยิง ด�ำ รงลักษณะเรอ่ื งรูปทรง แสง และการประสานกลมกลืนของการจดั องค์ประกอบ สีสะอาด บรสิ ุทธ์ิ สดใส อารมณ์สนกุ สนาน เป็นงานแบบคลาสสคิ เนน้ รายละเอยี ดของผลงานและอารมณ์ความ รูส้ ึกของกลมุ่ คนและความถกู ต้องของสดั สว่ นโครงสร้างของภาพคนตามความเป็นจริง ใช้ในวิธกี ารเขียนภาพพิมพ์ ญีป่ ุ่น คือ การมองแบบ แวนเทจ พ้อยท์เพอสเพคทีฟ (Vantage Point Perspective) คอื การเขียนทัศนยี วิทยา มองจากเบือ้ งบนสูเ่ บื้องลา่ ง ซ่งึ ลักษณะการมองแบบนี้สง่ ผลต่อศิลปนิ ลทั ธิอิมเพรสชั่นนสิ ม์ (ภาพท่ี 2.18) 22

บทที่ 2 : จติ รกรรม ภาพที่ 2.19 ลีโอนารโ์ ด ดาวนิ ซี (Leonardo da Vinci) ค.ศ. 1503-1505 “โมนาลซิ ่า” (Mona Lisa) สนี �ำ ้มันบนผ้าใบ 30.25 x 21 น้วิ จ ติ รกรรมคนเหมือน ( Portrait Painting) ลโี อนารโ์ ด ดาวนิ ซี สรา้ งผลงานภาพคนเหมอื น เนน้ โครงสร้าง สัดส่วนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตามหลักกายวิภาค น�ำ ้หนกั ของสี มีความเปน็ จรงิ ตามธรรมชาติ แสดงโครงสรา้ ง ล�ำ ตวั บดิ เบย้ี วเลก็ น้อย มอื ขวากุมมือซ้าย ดลู ะมนุ ละไม ใบหน้าหญงิ สาวงดงามมีลักษณะหลากอารมณร์ วมอยู่ มที ั้ง เศร้าซมึ สงบเสงีย่ ม ทา้ ทาย ร้อนแรง ยว่ั ยวน ดูมคี วามหลัง สะเทอื นใจซอ่ นเรน้ อยู่ภายใน มรี อยย้มิ อนั อมตะ เบ้อื ง หลงั ของโมนาลซิ า่ เป็นทิวทศั นด์ สู งบเงยี บมีจินตนาการเหมือนมหี มอกควัน ระยะลึกไกล ซ่งึ ลีโอนาร์โดเปน็ ผู้คิดค้น ขน้ึ มชี อื่ เรียกว่า “สฟมู าโต” (Sfumato) เป็นการแสดงออกอันก้าวหนา้ กว่าการวาดภาพแบบเดมิ ช่วยแกป้ ญั หาเร่ือง มิติใกล้ไกล สร้างบรรยากาศใกลเ้ คียงกับธรรมชาติ สร้างอารมณ์ชวนฝันใหก้ บั คนดู (ภาพที่ 2.19) 3 . จิตรกรรมทิวทศั น์ (Scenery Painting) แบง่ เปน็ 3 ประเภท ดงั นี้ ท วิ ทศั นบ์ ก (Landscape Painting) เป็นลกั ษณะภาพเขยี นทแี่ สดงทิวทัศน์ธรรมชาตหิ รือทัศนาบรเิ วณ ลกั ษณะภมู ิประเทศ อาจจะเปน็ ทอ้ งฟา้ พ้ืนดิน ตน้ ไม้ แมน้ �ำ ้ ล�ำ คลอง หรอื ทิวทัศน์ ป่าเขา สวน สวนสาธารณะ ฯลฯ มุ่งเนน้ แสดงถงึ สภาพบรรยากาศ กาลเวลา ฤดูกาล เวลา สี แสง เปน็ สง่ิ ทีแ่ สดงถึงอารมณข์ องภาพอาจจะมี สว่ นประกอบเป็นอาคารสงิ่ กอ่ สรา้ งบา้ ง แต่ไมไ่ ด้มงุ่ เนน้ สง่ิ เหลา่ น้ี การแสดงออกคำ�นึงถงึ สัดส่วนของธรรมชาตทิ ่มี ี ความเป็นจรงิ ตามธรรมชาติ ภาพท่ี 2.20 จาคอป แวน รูชเดล (Jacob Van Ruisdael) ค.ศ. 1628-1682“ทวิ ทศั น์บกกับกงั หนั ลม” (Landscape with Windmills) สีนำ�้มันบนผา้ ใบ 4 x 6 ฟตุ 23

การวเิ คราะหท์ ศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) จ าคอป แวน รูชเดล เปน็ ผซู้ งึ่ ใชฝ้ ีแปรงในการสร้างงานอยา่ งเป็นอิสระ เปน็ การสรา้ งผลงานจติ รกรรมจาก ความเป็นจริงในธรรมชาติ โดยใช้วิธีธรรมชาตเิ ปน็ ครเู ขยี นทกุ อย่างท่ปี รากฏในภาพตามแบบเหมอื นจริง คือ แสง บรรยากาศ มุมมองตามลักษณะการมองเห็น รวมทง้ั เร่ืองราวทเี่ กิดข้ึนจริงตามธรรมชาติ จะเกบ็ รายละเอยี ดทกุ ส่วน ของภาพผลงาน เป็นการบันทึกความสวยงามตามธรรมชาติ จะเก็บรายละเอยี ดทุกสว่ นของภาพผลงาน เป็นการ บนั ทกึ ความสวยงามตามธรรมชาติ ณ ชว่ งเวลานน้ั ๆ ตามชว่ งเวลาท่วี าดภาพในขณะนั้น ซง่ึ จะเนน้ อารมณ์ความ รสู้ ึกต่อสงิ่ น้นั เป็นส�ำ คัญโดยยดึ ถือเอาธรรมชาติ ต้นไม้ สงิ่ กอ่ สร้าง เนนิ ดนิ ลำ�ธาร เป็นส่งิ ท่ีมีความงาม บริสทุ ธ์ิ เขา จะไปบันทกึ ตามสถานที่ ทีต่ อ้ งการนำ�เสนอ จะไม่น่ังจนิ ตนาการอยู่ในห้องเหมือนอย่างแต่กอ่ น ซงึ่ จะยกยอ่ งให้ เกียรติวา่ ภาพจินตนาการจากประวตั ศิ าสตรม์ ีคุณค่าทางศลิ ปะ เหนือกวา่ ภาพทิวทัศนห์ ุ่นนิง่ (ภาพที่ 2.20) ท ิวทัศน์ทะเล (Seascape Painting) เป็นลกั ษณะภาพที่แสดงภมู ปิ ระเทศบรเิ วณท่ีเป็นทะเล ตลอดจน ส่วนประกอบอน่ื ๆ ทีป่ ระกอบกนั เป็นบรรยากาศของทะเล เช่น หาดทราย โขดหนิ คลืน่ น�ำ ้ทะเล เรอื หมบู่ ้าน ชาว ประมงตลอดจนบรรยากาศทบ่ี อกเวลา ฤดูกาลต่างๆ ภาพที่ 2.21 ออกสุ ต์ เรอนวั ร์ (Auguste Renoir) ค.ศ.1911-1919 “คลื่น” (The wave) สนี ำ�ม้ ันบนผา้ ใบ 64 x 99 ซม. ผ ลงานจติ รกรรมของออกสุ ต์เรอนัวร์เปน็ ภาพทิวทศั นท์ ะเลคลา้ ยกับจิตรกรรมทิวทศั น์ของโมเนต์ลลี าการ ใช้แปรงบางเบามกี ารเคลอื่ นไหวลื่นไหลตามจงั หวะของคลื่นทะเลดว้ ยการใช้สที บ่ี ริสุทธ์ิ (Pure Color) แต้มระบาย ลงไปโดยไมผ่ า่ นการผสมสบี นจานสีสรา้ งสภาวะของแสงสเปกตรมั บนทอ้ งฟา้ และเกลยี วคลน่ื ทมี่ คี วามสมั พนั ธก์ นั ดว้ ยสี และการเคลอื่ นไหวไปด้วยกันทั้งภาพ ผา่ นสภาวะรูปธรรมสู่นามธรรม เปน็ ศิลปินทถี่ า่ ยทอดภาพจิตรกรรมทวิ ทัศน์ ท่ดี มู ีชีวติ ชวี า ไดอ้ ารมณ์ ความร้สู ึกของคลนื่ ทะเลไมแ่ พศ้ ิลปนิ ร่วมสมัยเดียวกนั อยา่ งโมเนต์ เปน็ แรงบันดาลใจให้ กับศิลปนิ ต่อมา หลายทา่ นที่น�ำ ภาพทวิ ทศั นท์ ะเล มาแสดงความรสู้ ึกทห่ี ลากหลาย เช่น อ้างวา้ ง ว้าเหว่ เปน็ ต้น (ภาพที่ 2.21) ภ าพทวิ ทัศน์ของเทอรเ์ นอร์ มลี กั ษณะการสร้างสรรคผ์ ลงานทเ่ี น้นอารมณ์ความรสู้ กึ เป็นการแสดงออกให้ เหน็ ถงึ อ�ำ นาจความยง่ิ ใหญข่ องธรรมชาติซง่ึ ผลงานจติ รกรรมของเทอรเ์ นอรเ์ ปน็ ศลิ ปนิ ทส่ี รา้ งสรรคผ์ ลงานทใ่ี ชส้ ี เ พอื่ สอ่ื แสดงออกทางจติ วทิ ยาทำ�ให้ภาพทิวทศั น์ของเขาเปน็ จิตรกรรมที่เตม็ ไปดว้ ยอารมณ์ สรา้ งองค์ประกอบของสที ีม่ ี ลกั ษณะแบบนามธรรม ถือว่าเปน็ ศลิ ปินนามธรรมคนแรก (ภาพท่ี 2.22) 24

บทท่ี 2 : จิตรกรรม ท วิ ทัศนส์ ถาปตั ยกรรม (Architecture Painting) เปน็ ลกั ษณะภาพทีม่ ่งุ เน้นเน้ือหาการแสดงออกของ รปู ทรงสิ่งก่อสรา้ ง ทางอาคารบ้านเรอื นเปน็ การแสดงออกถึงโครงสร้าง ความแข็งแรง มั่นคง มีพลงั ประกอบด้วย การวางสัดสว่ น ทวี่ า่ ง ทศั นยี วิทยา ตลอดจนนำ�ห้ นัก และสีของบรรยากาศและความรูส้ ึกของสที ่ีถา่ ยทอดออกมา เปน็ ผลงานจิตรกรรม เป็นสง่ิ ที่ส�ำ คัญพอจะแยกประเภทได้ เช่น ภาพสลัมหรอื บ้านชนบท ภาพเรือ ภาพทวิ ทัศน์ เมือง ภาพทวิ ทัศนห์ ้อง วัด โบสถ์วิหาร ฯลฯ ภาพท่ี 2.22 โจเซฟ แมลลอร์ด วิลเลยี่ ม เทอรเ์ นอร์ ค.ศ. 1840 “Rocket and Blue Lights to Wam Steamboats of Shoal Water” สีน�ำ ม้ ันบนผ้าใบ 35 x 68 น้ิว ภาพท่ี 2.23 จีโอวานนา อนั โทเนยี คานาเลทโต (Giovanna Antonio Canaletto) ค.ศ. 1697-1768 (The Grand Canal Venice Looking East from the Campo di Sanvio) สนี ำ�้มันบนผา้ ใบ จ โี อวานนาอนั โทเนยี คานาเลทโตถา่ ยทอดภาพจติ รกรรมสถาปตั ยกรรมทเี่ ปน็ เสน้ โครงสรา้ งดว้ ยเสน้ ทศั นยี วิทยา (Perspective) 2 จุด ทำ�ใหภ้ าพเกิดระยะมติ ิของส่งิ กอ่ สร้าง แสงเงา น�ำ ้หนกั ตามความจรงิ ทศี่ ลิ ปินมองเห็น คนและเรือเป็นสว่ นประกอบของภาพใหภ้ าพมีความสมบรู ณข์ องวิถชี ีวิต ของทวิ ทศั น์สถาปัตยกรรม บรรยากาศของ สีใหค้ วามรสู้ ึกถงึ อาคารท่ีมีความเก่าแก่ดูสงบราบเรียบในชวี ติ ประจ�ำ วนั ของชาวตะวนั ตกซึ่งศิลปินบันทึกภาพ เหตุการณ์ในอดีตไวไ้ ดเ้ ป็นอยา่ งดี (ภาพที่ 2.23) 4 .จิตรกรรมสตั ว์ (Animal Painting) เป็นลกั ษณะการวาดภาพสัตว์ทกุ ชนดิ โดยมุง่ เนน้ รปู รา่ ง สดั สว่ น โครงสรา้ งทางกายวิภาคของสัตว์ต่างๆ ตง้ั แต่สตั วใ์ หญ่ เชน่ ช้าง ม้า ววั ควาย ไปจนถงึ สตั ว์เลก็ เช่น แมลงต่างๆ ประกอบดว้ ยทา่ ทางการยืน น่ัง นอน เอี้ยวตวั หมอบ เปน็ ต้น 25

การวิเคราะห์ทัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพที่ 2.24 ฟรานซ์ มาร์ค (Franz Marc) ค.ศ. 1880-1916 มา้ สนี �ำ ้เงนิ (The Large Blue Horses) สนี �ำ ้มันบนผา้ ใบ 40 x 63 น้วิ ฟ รานซ์ มารค์ เป็นจิตรกรทีผ่ เู้ ปน็ หน่งึ ในการก่อตัง้ กล่มุ “คนข่ีมา้ สนี �ำ ้เงนิ ” ร่วมกับแคนดินสก้ี เขาชอบวาด ภาพสตั วม์ าก โดยเฉพาะทางภาพสีน�ำ ้เงนิ มารค์ จะใชส้ รี ุนแรง เชน่ สแี สด สนี �ำ เ้ งนิ และสเี ขียว ผลงานระยะหลงั จะ ท้ิงเรอ่ื งราวของรูปทรงดเู กือบเปน็ นามธรรม หลังจากที่มาร์คเสียชวี ติ แนวความคิดมอี ทิ ธิพลต่อศิลปะนามธรรม เป็นอย่างมาก จะเป็นการสรา้ งระยะของภาพด้วยนำ�ห้ นักของสีในสว่ นหนา้ ให้เข้มข้นของเน้อื สี โดยเกลีย่ ใหเ้ กดิ คา่ น�ำ ห้ นักออ่ นแก่ และโดยการทับซ้อนของรูปทรงม้าท�ำ ให้ภาพเกิดระยะมิติ ในส่วนดา้ นหลงั ของภาพจะลดค่าของ สีโดยการผสมสีบรรยากาศให้เกิดคา่ น�ำ ห้ นกั ออ่ นลง ทำ�ใหภ้ าพเกิดระยะทไ่ี กลออกไป และเกดิ ความกลมกลนื ในผล งานทำ�ให้เกิดเอกภาพของสี รูปทรง และนำ�ห้ นักดูมคี วามสมั พันธ์กลมกลนื กัน (ภาพที่ 2.24) 5. จิตรกรรมชุมชน (Community Painting) เปน็ ลกั ษณะภาพทแ่ี สดงออกถึงวิถีชวี ิต ขนบธรรมเนียม ความเชือ่ วัฒนธรรม ศาสนา พิธกี รรมต่างๆ ประเพณกี ารละเล่นตา่ งๆ ท่เี กดิ ข้นึ กับชุมชนใดชมุ ชนหน่งึ รวมถึง อาคารสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสรา้ ง เคร่อื งใชส้ อยในชมุ ชน และสง่ิ มีชีวิตตา่ งๆ ทเี่ กดิ ขึ้นตามสภาพแวดลอ้ ม อาจจะเปน็ เหตุการณ์ใด เหตกุ ารณห์ นง่ึ หรือหลายเหตุการณท์ ่ีเกิดข้นึ ในชมุ ชนซงึ่ พอจะแยกออกเปน็ ชุมชนเมอื ง ชุมชนชนบท และจติ รกรรมศาสนา ชุมชนเมอื ง (Community city Painting) ประกอบดว้ ยภาพท่ีแสดงออกถงึ ความเจริญด้วยอาคารสมัย ใหม่ มสี ิ่งอำ�นวยความสะดวกอย่างครบครัน มคี วามสวยงามในการจัดอาคาร สถานที่ ส่วนผลเสีย ท่เี กิดขน้ึ ในชมุ ชน เมอื ง มีความแออัดของอาคารบ้านเรอื นมีความเส่ือมโทรม มีมลพิษทางน�ำ แ้ ละทางอากาศ สิ่งเหลา่ นี้ เปน็ ทมี่ าและ แรงบันดาลใจใหเ้ หลา่ ศิลปนิ สร้างสรรคผ์ ลงานออกมาในแงม่ มุ ที่แตกตา่ งกนั ภาพท่ี 2.25 ปาโบล ปกิ ัสโซ (Pablo Picasso) ค.ศ. 1881-1973“เกอรน์ ิกา้ ” (Guernica) สนี �ำ ม้ นั บนผ้าใบ 11 x 25 ฟตุ 26

บทท่ี 2 : จติ รกรรม ปิกสั โซ ไดร้ ับอทิ ธพิ ลจากแอฟรกิ า แสดงออกภาพเหลยี่ มมุม ใชส้ ีในการส่ือสญั ลักษณ์ โดยใชส้ ีขาวตัดกับด�ำ ประกอบดว้ ยเสน้ ตดั ใหเ้ หน็ ความซับซ้อนของด้านตา่ งๆ ภาพจะถกู ลดตัดทอนด้วยเสน้ หนักเบา เพือ่ ต้องการส่อื ถึง ความสยดสยองของเหตกุ ารณท์ ี่เกดิ ขน้ึ ในชมุ ชนเมือง ช่วงสงครามโลก ประกอบด้วยภาพศพของนกั รบภาพม้าก�ำ ลงั ตาย ววั กำ�ลงั รอ้ ง จากสภาพบา้ นเมอื งท่ีถูกกระทำ� สขี าวเทาด�ำ ทำ�ใหเ้ หตกุ ารณเ์ กิดอารมณค์ วามรูส้ ึกหดหู่ สนิ้ หวัง ความเจบ็ ปวดสญู เสีย ซึง่ ปกิ สั โซได้บันทึกจากเหตุการณ์ที่เกดิ ขึ้นผา่ นผลงานจิตรกรรม ไดอ้ ยา่ งสวยงามและมีคุณคา่ ย่งิ นกั (ภาพที่ 2.25) ช มุ ชนชนบท (Communitycountry P ainting) จะมลี ักษณะของภาพทีแ่ สดงออกถึงวถิ ีชวี ติ ท่เี รียบงา่ ย พ่ึงพาอาศยั ซ่งึ กนั และกัน อบอนุ่ อากาศดี ไมแ่ ออดั ของอาคารบ้านเรือน กนิ อย่อู ยา่ งพอเพียง พง่ึ ตนเอง ภาพที่ 2.26 ฟรานซิส มลิ เลท็ (Francis Millet) ค.ศ. 1814-1875 “ชาวนายากจนเก็บข้าวตกหลงั จากเกบ็ เกีย่ ว” (The Gleaner) สีน�ำ ม้ นั บนผา้ ใบ 35 x 44 นวิ้ ฟ รานซิส มลิ เลท็ เปน็ จิตรกรคนสำ�คัญ ของกลุ่มเหมอื นจรงิ สร้างสรรค์ผลงานจติ รกรรมในชนบทแสดงออก ถงึ ความเรียบงา่ ย วถิ ชี วี ติ ของชาวนายากจนกำ�ลงั เก็บขา้ วตกหลังจากเกบ็ เกย่ี ว แสดงถงึ การต่อสกู้ ับความยากจน ซง่ึ ศลิ ปนิ ได้สรา้ งสรรคผ์ ลงานจากสภาพความเป็นจรงิ ตามชนบท ซ่ึงออกไปวาดภาพภายนอกหอ้ งทำ�งาน ไปสมั ผัส บรรยากาศชีวิตจรงิ ของชนบท ซง่ึ ศิลปินมคี วามเชือ่ วา่ ว่าความงามอย่ทู ุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะอยทู่ ่หี รูหรา หรือสกปรก หรอื สภาพชวี ติ คนจะไรค้ า่ จนถงึ บคุ คลส�ำ คญั ทกุ เรอ่ื งยอ่ มมคี ณุ คา่ ถา้ เปน็ เรอ่ื งจรงิ มคี ณุ คา่ ตอ่ การสรา้ งงานของศลิ ปนิ จงึ แสดงถงึ อารมณ์ความรูส้ กึ ตามความเป็นจรงิ ดูเรยี บง่ายอบอุ่น บรรยากาศของสีดูนมุ่ นวลท้ังระยะใกลก้ ลางไกล ทแี ปรงของพกู่ ันดูเรียบง่ายตามสภาพจริงทศี่ ลิ ปนิ มองเหน็ (ภาพท่ี 2.26) จ ติ รกรรมศาสนา ( ReligionPainting) เ ปน็ ลกั ษณะภาพทแ่ี สดงออกถงึ ความเชอ่ื ความศรทั ธาตอ่ พระพทุ ธ ศาสนา โดยอาจจะแสดงออกถึงสัญลกั ษณ์หรือตัวแทนผนู้ ำ�ศาสนา เชน่ พระพุทธรปู ธรรมจกั ร ดอกบวั ไม้กางเขน โบสถ์เจดีย์มัสยิดหรือลวดลายทางจติ รกรรมไทยและสิง่ ของเคร่ืองใชใ้ นการประกอบพธิ ีกรรมต่างๆในแต่ละศาสนา บรรยากาศของสี แสงเงา มสี ่วนท�ำ ให้ภาพเกดิ ความรสู้ ึก สงบ น่ากลัว ศรัทธา เปน็ ต้น 27

การวิเคราะห์ทัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพท่ี 2.27 วีเฟรโด แลม (Wifredo Lam) ค.ศ. 1902-1982 “การวิวาห”์ (The Wedding) สีน�ำ ้มันบนผา้ ใบ 215 x 197 ซ.ม. ว ีเฟรโด แลม เปน็ ศิลปนิ ที่สร้างสรรคผ์ ลงานแนวเหนือความเปน็ จรงิ ทฝี่ ักใฝเ่ ร่อื งเหนือธรรมชาติ เวทมนต์ และสงิ่ ทไ่ี ร้เหตุผลคือพธิ ีกรรมของฤดูและต�ำ นานของศาสนาคริสต์ลัทธิบชู าธรรมชาตเิ ป็นการผสมผสานวัฒนธรรม ทหี่ ลากหลาย ซ่งึ น�ำ เสนอ เป็นภาพขนาดใหญ่มลี กั ษณะแบบควิ บิสม์ ประกอบด้วยรปู ทรงท่เี ป็นเหลย่ี มมมุ เสน้ หยัก และรปู ทรงกลมมีตวั ละครสามตัวบนเทวอี นั นา่ พิศวง ก�ำ ลงั เข้าพธิ สี มรสของหญิงชายมภี ตู ผีปรากฏกายอยูต่ รงกลาง ภาพ ชอ่ งท้องมีหวั เล็กๆ ของเอเลกาทม่ี ีเขาสองเขา และมีหัวแบบเดียวกันเรยี งต่อกนั ทีช่ ายกระโปรงร่างภตู ผกี �ำ ลัง ทรงตัวอยู่บนลอ้ ยนื่ อาวุธให้กับชายดา้ นซา้ ย ด้านขวายื่นเชิงเทียนให้กบั ผู้หญิง เปน็ การคลี่คลายรูปทรงใหม้ ีขนาด ใหญ่ กลาง เลก็ น�ำ ้หนักสี ออ่ นเทาเขม้ ฉากหลังสีแดงเจอื สีนำ�เ้ งิน และเส้นโครงสรา้ งของสีน�ำ ้ตาลแดง ภาพโดยรวม ใหค้ วามรสู้ ึกเหมือนภาพสลักนูนเหมอื นภาพสลักนนู ตำ่�เปน็ สถานทศ่ี ักด์ิสิทธ์ทิ ่ใี ช้ประกอบพธิ ีกรรมลึกลบั ลกั ษณะ เหมือนอยูใ่ นฝัน ท�ำ ใหเ้ กดิ การปลกู เร้าความรูส้ กึ ถงึ เรอ่ื งเวทมนตรซ์ งึ่ สามารถเช่ือมกบั เนอื้ หาท่ีบง่ บอกเป็นนัย ผ่านรูปทรงอนั เปน็ ตน้ กำ�เนิดของสรรพสงิ่ ซ่ึงสามารถท�ำ ความเขา้ ใจไดท้ นั ทีทจี่ นิ ตนาการออกมา (ภาพที่ 2.27) 6.จิตรกรรมสัญลกั ษณ์ ( Symbol P ainting) เ ปน็ ลกั ษณะผลงานที่แสดงออกความรู้สึกของศิลปนิ นำ�เร่ือง ราวตา่ งๆ ท่ตี ้องการนำ�เสนอแบบนามธรรมโดยการประสานกนั ของรปู ทรงให้เกดิ เอกภาพ ไมน่ ำ�เสนอเรอ่ื งราวต่าง ๆ เปน็ แบบเหมอื นจริง แตจ่ ะใช้ความรูส้ กึ ของรูปทรง สี บรรยากาศ แสง เงา ให้เกิดความรู้สึกตามแตศ่ ลิ ปินจะกำ�หนด เช่น เวลาโกรธ ดีใจ เสยี ใจ ลกั ษณะทา่ ทางการแสดงออกกจ็ ะต่างกนั ไป การนำ�เสนอรูปทรงทางความร้สู กึ ทใี่ ห้ผดู้ ู รู้สกึ ตามดว้ ย เชน่ รปู สามเหลีย่ ม แสดงถึงความสง่า คงทน มกี ำ�ลงั ศรทั ธา ภาพดวงตะวันกำ�ลังทจ่ี ะพ้นขอบฟ้า แสดงออกถงึ ความหวงั บรรยากาศมดื แสดงถงึ ความนา่ กลัว ฯลฯ ซ่ึงจะมที ั้งสญั ลักษณ์ทแ่ี สดงออกเปน็ นามธรรม (Abstract) และรปู ธรรม (Concrete) เชน่ วงกลมใชเ้ ปน็ เครือ่ งหมายที่แสดงถงึ ความอุดมสมบรู ณ์ รูปสามเหลย่ี ม หมายถึงความหนักแนน่ มนั่ คง เป็นสญั ลักษณ์แบบนามธรรม สว่ นรองเท้าสตรี หมายถงึ อารมณท์ างเพศ ไฟเป็น สัญลักษณ์ของชีวิต เปน็ ตน้ 28

บทที่ 2 : จติ รกรรม ภาพที่ 2.28 ฟรดี า้ คาหโ์ ล (Freda Kahlo) ค.ศ. 1940 “ภาพเหมอื นตวั เอง สวมมงกฎุ หนาม” (Self-portrait with Than Necklace) สีน�ำ ้มันบนผ้าใบ ฟ รดี า้ คาหโ์ ล สร้างสรรค์ผลงานโดยนำ�เอาสัญลักษณม์ าใช้เพอื่ อธิบายความรู้สึกนึกคิดของจติ รกร เป็นภาพ จินตนาการจากความเป็นจรงิ ของศลิ ปนิ ทีป่ ว่ ยเป็นโปลิโอ และจากการประสบอบุ ัตเิ หตุ ทำ�ให้เธอได้รับความเจบ็ ปวดตอ้ งพักรักษาตัวหลายเดือน เพ่ือให้ลมื ความเจ็บปวด ศิลปินจงึ ได้หัดวาดภาพและถา่ ยทอดความรู้สกึ โดยใช้ตวั เองเปน็ แบบ สอื่ สญั ลักษณอ์ อกมาถงึ ความทกุ ขข์ องเธอสะท้อนผา่ นใบหนา้ ท่ีดูเศรา้ นำ�ภาพรปู แมวและลงิ นกสดี ำ� เปน็ สัญลกั ษณ์ของการฝันรา้ ย สงิ่ ท่เี กิดขน้ึ กับตวั เขาเหมอื นลวดหนามรดั คอ เป็นสญั ลักษณ์ของความเจ็บปวด โหด ร้าย และมงกฎุ หนาม สื่อสญั ลักษณ์ถงึ ความเจ็บปวดท่ีอยู่ในความคดิ ความรสู้ กึ เร่อื ยมา ทำ�ใหเ้ ขาวาดภาพเพอื่ ใหล้ ืม ความเจ็บปวดท้ังภายนอกและภายใน เปน็ ศิลปินทม่ี ชี ีวประวตั ิท่ีนา่ สนใจท�ำ ใหฮ้ อลลีวดู๊ นำ�ไปสร้างภาพยนตร์ (ภาพ ที่ 2.28) 7 . จิตรกรรมนามธรรม (Abstract Painting) จ ิตรกรรมแสดงออกทางอารมณ์ความรูส้ กึ (Emotion – Feeling Painting) เป็นภาพทแ่ี สดงออกถึง ความรสู้ กึ ภายในและภายนอกตามประสบการณข์ องศลิ ปินแตล่ ะคนท่ีไดร้ ับรู้ สัมผสั เช่น ประสบการณท์ างสังคม สภาพแวดล้อม ประสบการณส์ ตปิ ญั ญาประสบการณ์ทางสุนทรยี ภาพ เกดิ ความประทบั ใจ สะเทือนใจ ทำ�ให้ศิลปิน ถา่ ยทอดอารมณ์ความรูส้ ึกเหล่าน้ันออกมาผ่านทัศนธาตุ ซึ่งไดแ้ ก่ เสน้ สี รูปทรง น�ำ ห้ นัก และลกั ษณะผวิ เกิดเป็น ผลงานจิตรกรรมที่มีความพเิ ศษและเกดิ ความเปน็ เอกลกั ษณ์เฉพาะตวั ทม่ี ีรูปแบบนามธรรม 29

การวเิ คราะหท์ ศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ภาพท่ี 2.29 แจค็ สนั พอลลอ็ ค (Jackson Pollock) ค.ศ. 1950“ลีลาแห่งฤดใู บไม้รว่ ง หมายเลข 30” (Autumn Rhythm No.30) สนี ำ�ม้ ันบนผา้ ใบ 105 x 207 นว้ิ แ จค็ สนั พอลลอ็ ค เปน็ ศิลปนิ สรา้ งสรรคผ์ ลงานจิตรกรรมจากประสบการณท์ ไ่ี ด้สัมผสั พบเห็นของฤดใู บไม้ รว่ งซึง่ มีลลี าพลิว้ ไหว แสดงออกอารมณค์ วามรสู้ ึกส่วนตัวผ่านเส้นสี น�ำ ้หนัก ทว่ี ่าง พ้นื หลัง ทท่ี ำ�งานร่วมกนั เกิดการ ประสานกลมกลนื เปน็ เอกภาพ มีลกั ษณะเฉพาะตัว ซึ่งเปน็ ผลงานท่ีสามารถสร้างสมดุลระหว่างความบังเอิญและ การควบคมุ โดยใช้เทคนิคเทหยดสลดั ผสมผสานความร้สู กึ สว่ นตวั ทอ่ี ยูภ่ ายในเกิดจติ รกรรมเกย่ี วกบั ธรรมชาติเป็น ภาพผลงานจติ รกรรมนามธรรม (ภาพท่ี 2.29) แจ็คสันพอลลอ็ คจะมคี �ำ กลา่ วในการสร้างงานคอื “จิตรกรรมของขา้ พเจา้ คอื การแสดงออกโดยตรงวิถีแหง่ การท�ำ งานจติ รกรรมเปน็ เพยี งการเตบิ โตขนึ้ จากความตอ้ งการภายในกรรมวธิ เี ปน็ เพยี งสง่ิ ทนี่ �ำ ไปสกู่ ารบรรลเุ ปา้ หมาย เมอ่ื ขา้ พเจา้ ท�ำ งาน ข้าพเจ้ามเี พยี งความคิดทว่ั ๆ ไป เปน็ หลกั สามารถควบคมุ ความเปน็ ไปโดยไม่มีความบงั เอิญ เชน่ เดียวกับทีไ่ มม่ จี ดุ จบ จติ รกรรมนีม้ ชี วี ติ มีวิญญาณในตวั เอง ข้าพเจ้าเพียงแตพ่ ยายามปลดปล่อยมนั ออกมาเทา่ นั้น” (จิระพฒั น์ พิตรปรีชา,2545:283) ศิลปนิ สร้างสรรค์ผลงานด้วยการแสดงออกประสบการณภ์ ายในตัวศลิ ปนิ ท่ี ไดส้ มั ผสั ปลดปลอ่ ยความรู้สึกออกมา สรุป เนื้อหาสาระในผลงานจิตรกรรมมสี ว่ นส�ำ คญั มากในการทีจ่ ะบง่ บอกถงึ เรอ่ื ง แนวเรอ่ื ง การแสดงออก ของศลิ ปนิ ท่มี ีประสบการณ์ การสัมผัสรับรู้ ความรู้สกึ ความชอบ ความถนดั ของแต่ละคนทสี่ ร้างงานใหเ้ กดิ ความ สมั พนั ธร์ ะหว่างรูปทรงกบั เนอื้ หา ให้เกิดเอกภาพของเน้ือหา รปู ทรง สนุ ทรยี ภาพ ทศั นธาตตุ า่ งๆ ทป่ี ระสานสมั พันธ์ กัน เกิดเอกลกั ษณเ์ ฉพาะตวั ทีศ่ ิลปนิ ต้องการถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมหรือผู้ดู ไดร้ ับรู้ และเข้าใจถึงวิถีชีวิต ลกั ษณะ นสิ ยั ตวั ตนของแตล่ ะคนและความงามที่ปรากฏในผลงานจติ รกรรมในแต่ละประเภท ไม่วา่ จะน�ำ เสนอในรปู แบบ ของรปู ธรรมทีเ่ กดิ จากการผสมผสานของเรือ่ ง แนวเรอื่ ง และรปู ทรง อยา่ งเปน็ เอกภาพ หรือเนื้อหาในรปู แบบ นามธรรมทเ่ี กดิ จากการประสานกันของรูปทรง และเนอ้ื หาได้อย่างมีเอกภาพ ซ่งึ แต่ละคนก็จะมวี ิธีการ เทคนิคการ น�ำ เสนอท่ีแตกตา่ งกันไป ตามแตเ่ ป้าหมายเพ่ือให้เกิดความงามและคุณคา่ ในผลงาน เพ่อื ใหผ้ ูช้ มไดร้ บั รถู้ ึงพฒั นาการ การสร้างสรรค์ของแตล่ ะคน 30

บทท่ี 2 : จติ รกรรม กลวิธใี นงานจิตรกรรม ก ลวธิ ใี นการสรา้ งงานจติ รกรรมจะมหี ลากหลายรปู แบบศลิ ปนิ สามารถเลอื กเทคนคิ ทเี่ หมาะสมกบั แนวความ คดิ เนอ้ื หา รูปทรง ที่ต้องการแสดงออกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 1 .เทคนิคการจดุ ผลงานในสมัยตน้ ครสิ ต์ศตวรรษใชก้ ระเบ้ืองสีเลก็ ๆ มาติดเรยี งกนั เปน็ รปู แบบ รปู ทรง เนื้อหาต่างๆ ทางครสิ ต์ศาสนา เรียกว่า โมเสส (Mosaic) วธิ ีการแบบนี้ ศิลปนิ ในกลมุ่ นีโออิมเพรสชนั่ นสิ ม์ (Neo Impressionism) น�ำ มาใชใ้ นการสรา้ งงานโดยใช้สีสดจุดลงบนพ้ืนภาพ เชน่ เซอราต์ บอนนาร์ด โมเนต์ พอลคลี เปน็ ต้น ศลิ ปินไทยก็นำ�มาใช้ เชน่ จรูญ บญุ สวน บญุ นำ� สาสดุ เปน็ ต้น (ภาพที่ 2.30) ภาพท่ี 2.30 บุญน�ำ สาสดุ “ล�ำ นำ�แห่งทอ้ งทุ่ง” สีน�ำ ม้ ันบนผา้ ใบ 130 x 195 ซม. 2 .เทคนคิ การใช้เกรยี งหรือมดี การใช้เทคนิคการใช้เกรียงปาดป้าย โดยใช้สหี นาบนผ้าใบหรอื บนแผน่ ไม้ก็ ได้ ส่วนใหญจ่ ะใชก้ บั สีนำ�ม้ นั จะได้ภาพทเ่ี ปน็ รูปเหลีย่ มมุม ตอ้ งการความฉบั ไว แสดงออกอารมณ์ ความรูส้ กึ ในงาน ถอื วา่ เปน็ ต้นก�ำ เนิดของศลิ ปะแบบควิ บสิ ม์ เช่น ผลงานอาจารย์เฟ้อื หริพิทักษ์ และเซซานน์ เป็นต้น (ภาพที่ 2.31) ภาพท่ี 2.31 เฟ้ือ หรพิ ิทกั ษ์ พ.ศ. 2499 “นางแบบ” สนี �ำ ้มนั บนผ้าใบ 89 x 66 ซม. 31

การวเิ คราะห์ทศั นศิลป์ (Visual Arts Analysis) 3 .เทคนิคการใช้รอยฝแี ปรง และลีลา เทคนิคการสร้างรอยฝีแปรง และลลี าของฝีแปรงให้เกิดขึ้นบนภาพ ผลงานเปน็ การแสดงออกอยา่ งฉบั พลัน ซ่ึงไม่แสดงรายละเอียดของภาพใหส้ ีและรอยทีแปรงแสดงออกผสมผสาน ร่วมกนั ทางความรู้สกึ ทีด่ ูเลื่อนไหลทั่วทัง้ ภาพท�ำ ให้ภาพผลงานนน้ั มีความน่าสนใจเทคนิคนส้ี ามารถเขียนได้ทัง้ สีบาง และหนาเป็นบอ่ เกิดของการเขยี นภาพแบบนามธรรมซึง่ จะลดตัดทอนความละเอียดและลดความสำ�คัญของรปู ทรง ให้เหลือแตบ่ รรยากาศของสี เชน่ ผลงานของฟรานซ์ ไคลน์และแวนโกะ๊ เป็นตน้ (ภาพท่ี 2.32) ภาพที่ 2.32 วินเซนต์ แวนโกะ๊ (Vincent Vangogh) ค.ศ. 1889 “The Starry night” สนี �ำ ม้ นั บนผ้าใบ 73.7 x 9.21 ซม. 4 . เทคนิคขูด เชด็ หรอื ซับออก จะนยิ มใช้เทคนิคน้กี บั สีน�ำ ้ สนี ำ�ม้ นั และสอี ะครลิ ิค บนพ้นื กระดาษหรือผา้ ใบ โดยการลงพนื้ สีออ่ นเชน่ สีเหลือง ขาวไวก้ ่อน เม่อื สีแห้งแลว้ ระบายสเี ข้มลงไปในขณะทสี่ ยี งั ไมแ่ ห้งก็ใชเ้ ทคนิคขดู เช็ด หรือซบั ออก จะท�ำ ใหผ้ ลงานมคี วามพิเศษไปจากการเขียนภาพธรรมดา ทำ�ใหภ้ าพผลงานมคี วามร้สู ึกใกล้เคียงกับ ความเป็นจรงิ (ภาพท่ี 2.33) ภาพท่ี 2.33 ไพโรจน์ วังบอน “ลลี าชีวติ ” สนี ำ�้มันบนผา้ ใบ 150 x 200 ซม. 32

บทท่ี 2 : จิตรกรรม ภาพที่ 2.34 สมพร ธรุ ี “จนิ ตภาพความอุดมสมบรู ณ”์ สีอะครลิ ิค 90 x 130 ซม. 5 .เทคนคิ การลงสพี นื้ ดว้ ยสหี นกั เ ปน็ เทคนคิ ทศ่ี ลิ ปนิ น�ำ มาใชส้ รา้ งสรรคผ์ ลงานจติ รกรรมตงั้ แตอ่ ดตี ในปจั จบุ นั ยงั ได้รับความนิยมอย่างตอ่ เน่อื ง เช่น ลงสนี �ำ ต้ าลเขม้ สเี ทา สีน�ำ เ้ งนิ เขม้ หรือสีส่วนรวม ขนึ้ อย่กู บั ความเหมาะสม ของแนวความคิด เนอ้ื หาในการแสดงออก จะสะดวกในการเขยี นภาพลงไปทำ�ให้การสร้างมติ ิ บรรยากาศงา่ ยข้นึ จะ ใชก้ ับสนี �ำ ม้ นั และสอี ะคริลิค คลา้ ยกบั การเขยี นสีชอลค์ (ภาพที่ 2.34) 6 .เทคนคิ การท�ำ ผิวภาพเขียน การสร้างผลงานจิตรกรรมในสมัยปัจจุบัน ศลิ ปนิ จะหาเทคนคิ ใหม่ๆ ในการ แสดงออกกันอย่างแพรห่ ลาย ทำ�ให้ผลงานได้อารมณค์ วามรูส้ ึก มคี วามพเิ ศษ น่าสนใจ น่าต่ืนเตน้ กบั ผลงานทท่ี ำ�พ้ืน ผิวขรุขระ นูน อาจจะระบายสีทับหรอื ระบายในส่วนร่องลึกของพ้นื ผิว อาจจะใช้เกรียงหรือเหลก็ ขูดขีดลงไป เชน่ ทำ� พ้นื ผวิ จากสีปอนด์ หรือดินสอพอง เปน็ ต้น (ภาพที่ 2.35) ภาพที่ 2.35 บุญทัน เชษฐสุราษฎร์ “ยม้ิ สยาม” ส่อื ผสม 80 x 120 ซม. 7 .เทคนคิ เกล่ียปัด เปน็ เทคนคิ ทีแ่ สดงออกเพ่อื ใหเ้ กิดความรู้สึกนมุ่ นวล ความอ่อนหวาน อ่อนไหว การ ประสานกลมกลนื ของสี รปู ทรง นำ�้หนัก ต่อเนื่อง ลื่นไหล สบายตาโดยใช้พู่กนั เกลี่ยสีเปน็ เทคนคิ ทใี่ ชไ้ ดก้ บั ประเภท ของสี เช่น สนี ำ�้มนั สีอะครลิ คิ ข้นึ อยู่กบั ความถนดั ของแตล่ ะคน บางคนอาจใชพ้ ูก่ นั ลมชว่ ย (Air Brush) (ภาพท่ี 2.36) 33

การวเิ คราะหท์ ศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ภาพที่ 2.36 สทิ ธวิ ัฒน์ มวี นั ค�ำ “TUK TUK No.2” สีน�ำ ม้ นั บนผา้ ใบ 130 x 150 ซม. 8 .เทคนิคการไหล หยด เป็นเทคนิคทแ่ี สดงออกของสีทีม่ ีความเคลื่อนไหว นมุ่ นวล ทับซอ้ นกนั ของคราบสี โดยทศิ ทางการไหลของสี ทำ�ใหเ้ กดิ อารมณค์ วามรู้สึกเหลา่ นั้น ตามแนวความคดิ ของศิลปนิ เชน่ แพท็ สเตยี ร์ และ ปกรณภ์ ัทร จนั ทะไข่สร (ภาพท่ี 2.37,2.38) ภาพที่ 2.37 ปกรณภ์ ัทร จันทะไข่สร “มถิ ุนา ปรารถนา 2546/1” สอี ะคริลิคบนผ้าใบ 90 x 70 ซม. ภาพที่ 2.38 แพ็ท สเตียร์ (Pat Steir) ค.ศ. 1940 “จิตรกรรมชุดนำ�ต้ ก” (Water fall) เทคนคิ ผสม 7 x 7 น้วิ 34

บทที่ 2 : จิตรกรรม 9 .เทคนคิ การปะตดิ เทคนิคนส้ี ามารถนำ�วัสดุ เชน่ กระดาษสี ผา้ สี และผ้าลวดลายต่างๆ รวมทง้ั แผน่ โลหะ หรือวสั ดอุ ่นื ๆ ท่ีนำ�มาปะติดลงไปบนแผ่นระนาบ เชน่ ไม้ ผา้ ใบ และระบายสีทับลงไปบนระนาบสร้างความกลมกลืน ของวสั ดุและสีทีร่ ะบายลงไปทำ�ใหภ้ าพดูนา่ สนใจเกิดเนื้อหาเรื่องราวอารมณค์ วามรูส้ ึกตามแนวความคดิ ของศลิ ปนิ (ภาพที่ 2.39) ภาพท่ี 2.39 สมพร ธุรี “วิถชี ีวติ ชนบท” เทคนิคผสม 80 x 100 ซม. 1 0.เทคนคิ การท�ำ ขอบคม เ ปน็ เทคนคิ ทใ่ี ชก้ บั รปู ทรงทดี่ เู รยี บงา่ ยโดยถกู ตดั ทอนคลคี่ ลายจากรปู ทรงทม่ี คี วาม เปน็ จริงตามธรรมชาติ โดยใช้เทปกาวปิดกน้ั ขอบเขตรปู ร่างและรปู ทรงไวแ้ ล้วระบายสีทับ เม่อื สีแหง้ ก็จะแกะ เทปกาวออก ก็จะได้ภาพขอบคมตามตอ้ งการใหเ้ กดิ สัญลกั ษณต์ ามแนวความคดิ ของศลิ ปนิ ใช้ไดก้ บั สีนำ�้ สอี ะคริลิค และสนี ำ�ม้ ัน (ภาพที่ 2.40,2.41) ภาพที่ 2.40 ปริญญา ตันติสุข (Pharinya Tantisuk) “ชวี ติ ใหม”่ สอี ะคริลิคบนผา้ ใบ 40 x 30 ซม. ภาพท่ี 2.41 ยีน ดีวาสนี (Jean Dewasne) ค.ศ. 1953 “ปารสี ปารสี ” (Paris Paris) สีนำ�ม้ ันบน ผ้าใบ 130 x 195 ซม. 35

การวเิ คราะห์ทศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) มูลเหตใุ นการสรา้ งงานจติ รกรรม ผลงานจติ รกรรมมีการสร้างสรรค์ข้นึ มาตั้งแตส่ มยั กอ่ นประวัตศิ าสตรเ์ ช่นผาแต้มจังหวัดอุบลราชธานีและมี ปรากฏมาจนถงึ ปจั จุบันจะมีวิวัฒนาการของการสร้างสรรคด์ า้ นรูปทรง เทคนคิ วิธกี ารใช้สี การจดั องค์ประกอบ การ สรา้ งมิติในผลงาน จะมพี ัฒนาการมาอยา่ งตอ่ เนื่อง ซ่ึงเริ่มต้ังแตอ่ ยูใ่ นถำ�้ ใช้สีธรรมชาตทิ ห่ี าไดใ้ นสภาพแวดล้อม เชน่ หนิ สี ดอกไมส้ ีตา่ งๆ พัฒนาต่อมา โดยเขียนภาพภายในวิหาร อโุ บสถ เปน็ ต้น 1.เพ่อื บนั ทกึ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ผลงานจติ รกรรมถือว่ามีความส�ำ คัญตอ่ ประวัติศาสตร์ของตะวัน ตกและตะวนั ออก ซง่ึ จะถกู วาดข้นึ ดว้ ยวสั ดุทเ่ี รียบง่าย เช่น ดินแดง เขม่าไฟ ดินขาว เปน็ ต้น จะปรากฏบนภาพฝาผนัง ถ�ำ ้ และจิตรกรรมฝาผนังจะบอกเร่อื งราว วิถชี ีวติ ความเปน็ อยู่ เคร่ืองมือเครื่องใช้ ทอ่ี ยอู่ าศัยของผูค้ นในสมยั อดีตท่ี ผา่ นมาถอื วา่ เปน็ หลักฐานส�ำ คญั ทางประวตั ศิ าสตร์ ไมว่ า่ จะเปน็ เทคนิคการวาดภาพสีท่ีใช้ทกั ษะจะมคี วามแตกตา่ ง กบั สมยั ใหมท่ ี่รับอทิ ธิพลของทางตะวนั ตกมากขึ้นโดยเฉพาะศิลปะไทย ภาพที่ 2.42 จิตรกรรมบนภาชนะเครือ่ งปน้ั ดินเผา บ้านเชียง จงั หวัดอุดรธานี ภาพท่ี 2.43 จิตรกรรมฝาผนังวดั มชั ฌมิ าวาสวรวหิ าร จังหวดั สงขลา ศิลปะสมัยรตั นโกสินทร์ รชั กาลท่ี 4 36

บทท่ี 2 : จิตรกรรม 2 .เพ่อื ความศรทั ธาและความเชอื่ ในศาสนา ผลงานจิตรกรรมจะเกิดจากความเช่อื ความศรัทธาในแต่ละ ศาสนาเปน็ สาเหตใุ นการสรา้ งผลงานจติ รกรรม มาตัง้ แตอ่ ดีตจนถึงปัจจบุ ัน มนุษย์กย็ งั มีความเช่อื และความศรทั ธา ตอ่ ศาสนา ทำ�ให้มผี ลงานมกี ารพฒั นาอยา่ งตอ่ เนื่อง โดยมกี ารผันแปรความหมายให้เกิดเป็นสญั ลักษณเ์ ชิงนามธรรม เปน็ รปู แบบอุดมคติ เชน่ นำ�หลกั ธรรม คำ�สอนปรศิ นาธรรมมาสรา้ งสรรคผ์ ลงาน ท�ำ ให้ผลงานมคี วามหลากหลาย โดยเฉพาะการน�ำ สัญลกั ษณ์ต่างๆ มาสอ่ื แทนความเชอ่ื และความศรัทธา เช่น ธรรมจักร รอยพระพทุ ธบาท ตน้ ศรีมหาโพธิ์ พระพทุ ธรูป พระเยซู ไม้กางเขน เทพเจา้ เป็นต้น เพือ่ เตือนสติ และสรา้ งจิตสำ�นึกรวมทง้ั การเนน้ ยำ�้ ประชาชนให้ละเวน้ กรรมชัว่ หันมาประกอบกรรมดี (ภาพท่ี 2.44,2.45) ภาพที่ 2.44 จติ รกรรมฝาผนงั วดั สุวรรณครี ี จังหวดั สงขลา ศลิ ปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี 3 ภาพท่ี 2.45 สมพร ธุรี “นรกภมู ”ิ สีอะครลิ คิ บนผ้าใบ 70 x 70 ซม. 37

การวิเคราะห์ทัศนศิลป์ (Visual Arts Analysis) ภาพท่ี 2.46 ภาพลวดลายไกฟ่ า้ บนเพดานประกอบ สถาปตั ยกรรมวัดยางงามจงั หวัดพทั ลงุ ศิลปะสมยั รัตนโกสินทร์ 3.เพอ่ื ประดับตกแต่งในงานสถาปตั ยกรรม งานสถาปตั ยกรรมจะมีความสวยงามที่ไดร้ บั การออกแบบให้มี ประโยชน์ใชส้ อยอยู่แลว้ ผลงานจิตรกรรมก็จะเปน็ ส่วนหนงึ่ ทที่ �ำ ใหง้ านสถาปัตยกรรมภายในมคี วามงามมากขึ้น มี บรรยากาศ เรอ่ื งราวทสี่ อดคล้องสง่ เสรมิ กับอาคาร ทำ�ให้เกดิ ความนา่ สนใจมากข้ึน ซึ่งจะเขียนภาพบนเพดาน และ ผนงั มีท้งั เปน็ ลวดลายและเรือ่ งราวต่างๆ ตามความศรทั ธาและตามแรงบนั ดาลใจของศิลปิน ทนี่ ิยมตกแต่งมาตัง้ แต่ สมัยอดตี เชน่ มหาวหิ ารเซนตป์ ีเตอร์ของอติ าลี จนถงึ ปจั จบุ ันก็ยงั ได้รบั ความนิยม จะมีใหเ้ หน็ ทั้งทีน่ �ำ ภาพจิตรกรรม ไปตกแต่งท้ังภายในและภายนอกอาคารสถาปตั ยกรรม (ภาพท่ี 2.46) 4 . เพอ่ื เปน็ ภาพอนุสรณแ์ ห่งความรำ�ลึก เป็นภาพวาดเหตกุ ารณ์สำ�คัญท่ีเกิดข้นึ กบั สงั คม ประเทศ ศิลปิน จะบนั ทึกเรอ่ื งราว เหตกุ ารณ์ บรรยากาศ ในชว่ งเวลานนั้ ทีม่ ีความประทับใจ หรือสลดใจ และภาพบคุ คลสำ�คัญที่ ท�ำ ประโยชนใ์ หก้ บั บ้านเมอื ง หรอื ประเทศนน้ั ๆ จะวาดทั้งภาพครงึ่ ตัวและเตม็ ตวั ท้งั รูปแบบเหมอื นจริง และรูปแบบ กงึ่ นามธรรม หรอื บางทีอาจจะวาดภาพสัตวต์ า่ งๆ ท่มี คี วามสำ�คัญดว้ ย เพือ่ ติดตัง้ ไว้ ด้วยความเคารพนับถือ หรือ ดว้ ยความรัก ความผกู พนั ทั้งท่ีมีชวี ิตอยู่และลว่ งลบั ไปแล้ว (ภาพท่ี 2.47,2.48) ภาพท่ี 2.47 สวุ ัฒน์ แสนขตั ิยรตั น์ “สัญลักษณแ์ ห่งรัชกาลท่ี 9 หมายเลข 1” สอี ะคริลคิ บนผ้าใบ 90 x 130 ซม. 38

บทที่ 2 : จิตรกรรม ภาพที่ 2.48 ลอี อน โกลับ (Leon Golub) ค.ศ. 1980 “ผ้ใู ห้ความเมตตา” (Mercenaries) สอี ะครลิ คิ บนผ้าใบ 120 x 130 น้ิว 5 .เพื่อสนองความต้องการอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวผลงานจติ รกรรมประเภทนอ้ี าจจะไมต่ อ้ งการตกแต่ง หรอื เพ่อื ร�ำ ลกึ ถงึ ใครจะสร้างสรรค์ผลงานท่ีเกิดจากความรูส้ ึกภายในของตนเองท่มี ีต่อสภาพแวดลอ้ มทั้งภายในและ ภายนอก ศลิ ปินกจ็ ะถ่ายทอดออกมา โดยไม่จำ�เป็นวา่ จะตอ้ งเหมอื นอะไร บางท่านอาจจะน�ำ ศลิ ปะไปบำ�บัดโรคร้าย หรือเพื่อสร้างสมาธิใหเ้ กดิ ขึ้นกบั ตนเอง หรือเพือ่ จรรโลงใจกับผสู้ รา้ งสรรค์ ท�ำ แล้วมคี วามสุข ไม่หวังผลอะไรกบั ผลงานจติ รกรรมถือว่าเปน็ กลุ่มผลงานท่ีมีคุณค่าเหมือนกบั กลุม่ อน่ื ๆ (ภาพที่ 2.49) ภาพที่ 2.49 วนิ เซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent Vangogh) ค.ศ. 1889 “ภายในหอ้ งนอน” (Bedroom in Arles) สนี ำ�้มันบนผา้ ใบ 73 x 92 ซม. คุณคา่ ในงานจติ รกรรม ผลงานในประเภททศั นศลิ ปท์ กุ แขนงลว้ นมคี ณุ คา่ เปน็ แบบเฉพาะตามหนา้ ทอี่ ยแู่ ลว้ จะมคี ณุ คา่ ในตวั เองและ ต่อสงั คมมนษุ ย์เสมอมาตัง้ แต่อดตี จนถงึ ปจั จุบนั ผลงานจติ รกรรมเป็นผลงานทแ่ี สดงออกของอารมณค์ วามรู้สกึ ของ ศลิ ปนิ ผู้สรา้ งทม่ี ีต่อสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ตา่ งๆ ทัง้ แง่บวกและแง่ลบ รวมทัง้ ปญั ญา และทัศนคติ ทักษะความ ช�ำ นชิ �ำ นาญของศิลปนิ ผสมผสานกับความคดิ สรา้ งสรรค์ แสดงออกมาเป็นภาพผลงาน 2 มติ ิ และมปี ระโยชนต์ ่อ มนษุ ยแ์ ละสงั คมดังน้ี 39

การวเิ คราะหท์ ัศนศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) 1.คุณค่าทางความเชื่อ ไมว่ า่ แนวความคิดในการสร้างงานศลิ ปกรรมของตะวันตกและตะวันออก จะแสดง ออกในเรอ่ื งราวของความเชอ่ื เรอ่ื งผีศาสนาเทวดากฎแหง่ กรรมท�ำ ใหเ้ กดิ แรงบนั ดาลใจในการสรา้ งผลงานจติ รกรรม จะแสดงออกมาในเรอื่ งของพธิ ีกรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณี และผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ เชน่ ประติมา กรรม สถาปัตยกรรม ภาพพมิ พ์ งานหัตถศิลปต์ ่างๆ สืบทอดกนั มาตลอด จะใหป้ ระโยชน์กบั ชมุ ชนและตนเอง เกดิ ผลดี มคี วามเชอ่ื มนั่ ในการดำ�รงชีวิต ชว่ ยกระตนุ้ เตอื น เนน้ ยำ�ใ้ หเ้ กิดความรักในชาติ ศาสนา พระมหากษตั ริย์ ประพฤติตนอย่ใู นกรอบประเพณี พระธรรมคำ�สง่ั สอน เช่น ภาพเก่ียวกับ สวรรค์ นรก เป็นต้น 2 .คุณคา่ ทางความงามหรอื สนุ ทรียะ ถอื วา่ เปน็ คณุ ค่าทเ่ี ปน็ พน้ื ฐานในการสรา้ งงานจติ รกรรม ซ่งึ การทจ่ี ะ สรา้ งงานข้ึนมานั้น จะตอ้ งมแี รงบันดาลใจจากเร่อื งความงาม ความเชื่อ ความประทับใจ ความรูส้ ึกทดี่ ี ชื่นชอบ พงึ พอใจ กับส่งิ ท่ีจะน�ำ มาสร้างงาน ไม่ใช่เปน็ เรอื่ งผิวเผนิ ซ่งึ ศิลปนิ จะต้องมองเห็นความพเิ ศษท่แี ฝงเร้นภายในส่งิ เหล่า นนั้ มากกว่าคนปกติทว่ั ไป เช่น ลักษณะของสีสันทีป่ รากฏตามธรรมชาติ นำ�มาถา่ ยทอดให้เกิดความงามท่ีมอี ารมณ์ ความรสู้ ึกความอารมณ์ผสมผสานในผลงาน ลักษณะความงามของพน้ื ผิวทีม่ คี วามแตกต่างกันในผลงานท�ำ ใหภ้ าพ เกิดความนา่ สนใจ ลักษณะความงามของน�ำ ้หนกั แสงเงา เป็นการสร้างมติ ลิ กึ ตื้นของผลงานและลักษณะความงาม ของการจดั องคป์ ระกอบของรูปทรงกบั เนื้อหาได้อย่างลงตัวอยา่ งมีเอกภาพกลมกลืนสมดุล ตามเจตจำ�นงของศลิ ปิน 3 .คณุ ค่าทางด้านประโยชน์ใชส้ อย เป็นเรือ่ งสำ�คญั ในการสร้างงานศิลปกรรมทกุ แขนง ซง่ึ นอกจากผลงาน จะมคี วามงามแลว้ ยังจะตอ้ งค�ำ นงึ ถึงประโยชน์ใช้สอย ท่ีมตี อ่ มนุษยแ์ ละสงั คมดว้ ย ซึง่ ผลงานแต่ละแขนงจะเน้นนำ�้ หนักแตกต่างกัน เชน่ สถาปัตยกรรม เนน้ ประโยชน์ใชส้ อยเปน็ หลกั ผลงานจิตรกรรมเน้นความงามเปน็ หลักหรอื บางอยา่ งจะเนน้ ควบคกู่ ันไป ข้นึ อยู่กบั ศิลปนิ จะก�ำ หนดหรอื อาจจะให้ผลทางความรู้สกึ สรา้ งจติ สำ�นึก เนน้ ยำ�้เตือน สติ กถ็ อื ว่าผลงานน้นั มีคณุ คา่ ต่อสังคม เชน่ ภาพเขยี นพุทธประวัติ ในโบสถว์ หิ าร 4 .คุณคา่ ทางความรู้สกึ ผ ลงานศิลปกรรมทกุ แขนงจะเกยี่ วข้องกับความงามและความร้สู ึกตา่ งๆของผู้สรา้ ง งาน จะมีความรสู้ ึกมากมาย เชน่ อบอนุ่ ศรัทธา เหงา เสยี ใจ ดใี จ ตลก ตื่นเต้น ฯลฯ แรงบันดาลใจเหล่านี้ศลิ ปนิ ก็จะ เลือกนำ�มาสรา้ งสรรคผ์ ลงานตามความร้สู กึ เหลา่ นน้ั ปรากฏออกมาเป็นผลงานจิตรกรรมรปู แบบตา่ งๆ เชน่ ศลิ ปิน วาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง จะร้สู ึกกบั พระเวสสันดรท่ีมีความเมตตากรุณา จิตใจงดงาม ผ้วู าดก็จะวาดให้สวยงาม ลงตัวทั้งการใช้สีรปู ทรง สัดส่วน งดงาม แตค่ วามร้สู ึกกบั ชูชกในด้านความมตี ัณหาราคะ ทรมานกันหาชาลี ผูว้ าดก็ จะวาดใหด้ ูน่าเกลียดน่ากลวั เป็นต้น และภาพจติ รกรรมของชาวตะวันตกกจ็ ะวาดผคู้ นดแู ข็งแรงบกึ บนึ สัดสว่ นถกู ตอ้ งตามหลักกายวภิ าค เพราะแนวความคดิ ในสมัยนั้น ผู้คนทมี่ คี วามกลา้ หาญ แขง็ แกร่ง จะเปน็ ผู้น�ำ และมอี �ำ นาจ ยิ่งใหญ่เหนอื คนอน่ื ๆ 5 .คณุ ค่าทางประจ�ำ ชาติ ผลงานจิตรกรรมจะมคี ุณค่าทางประจ�ำ ชาติทั้งทางตะวนั ออกและตะวนั ตก จะมี เอกลกั ษณเ์ ฉพาะของแตล่ ะชาตนิ ้นั ๆ จะมีรูปแบบท่สี ร้างมาในอดตี เชน่ จติ รกรรมไทย ภาพเขยี นของชาวจนี ภาพ ตกแต่งวิหารของชาวตะวนั ตก จ ะมเี ทคนคิ วิธกี ารน�ำ เสนอเรอ่ื งราว ก ารเขยี นสที ่มี คี วามเปน็ ศิลปะประจำ�ชาตขิ องแต่ ละประเทศ ตอ่ มาก็จะมีการผสมผสานระหวา่ งแบบด้งั เดมิ กับสมัยใหม่ แตก่ ย็ ังแฝงไวซ้ งึ่ เอกลกั ษณ์ของเฉพาะ ชาตนิ น้ั ไว้ ซึง่ เป็นเรือ่ งราววิถชี ีวิต ประวตั ิศาสตร์ ของประจำ�ชาตินัน้ ไว้เช่น 1 . บ่งบอกความเป็นชาตนิ ยิ ม โดยการส่งเสริมเทคนคิ วธิ ีการ ความเชอื่ เนื้อหาทม่ี เี อกลักษณใ์ หส้ ืบทอดต่อ กนั มาจนถงึ ปจั จบุ ัน ให้อยู่คบู่ า้ นเมืองน้นั เช่น ญปี่ ุ่น เกาหลี เปน็ ต้น 2 . บ่งบอกเอกลกั ษณข์ องชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี คตคิ วามเชื่อ การปกครองของประเทศนัน้ ๆ 3 . มีความภาคภมู ใิ จ ปติ ิยนิ ดกี ับความเป็นศลิ ปะประจำ�ชาติตนเอง 40

บทที่ 2 : จติ รกรรม 4 . การน�ำ เทคนิควิธกี าร กรรมวิธแี บบดั้งเดิมน�ำ มาสร้างงานจติ รกรรมร่วมสมัย เพือ่ แสดงให้ชาตอิ ืน่ ๆ เห็น ถึงความงามทีม่ ีเอกลักษณข์ องชาติน้นั 5 . จติ รกรรมท่ปี รากฏในโบสถ์วหิ าร ถ�ำ ้ เปรยี บเสมอื นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ 6. ดา้ นท่องเทีย่ วเพ่อื ทำ�ใหเ้ ศรษฐกจิ ชนชาตนิ ้ันดขี นึ้ 7. เป็นการบันทกึ เร่อื งราวความงามสุนทรยี ะทป่ี รากฏในภาพจิตรกรรม ทำ�ให้ประชาชนเหน็ คณุ ค่าและช่วย กนั อนุรักษห์ วงแหน เพอ่ื เป็นมรดกของชาติต่อไป 8.เพอื่ เปน็ องคค์ วามรทู้ เ่ี กดิ จากชา่ งโบราณและในอดตี เพอื่ น�ำ มาพฒั นาตอ่ ยอดใหเ้ ปน็ ผลติ ผลของศลิ ปกรรม ประจ�ำ ชาติต่อไป ภาพที่ 2.50 โคลด์ เลอ ลอร์เรน (Claude le Lorrain) ค.ศ. 1600-1682 “ท่าเรอื ” (The Embarkation of st. Ursula) สีน�ำ ้มันบนผ้าใบ ภาพท่ี 2.51 จิตรกรรมฝาผนงั วัดสุนทราวาส จังหวดั พทั ลงุ ศลิ ปะสมัยรตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ 3 41

การวเิ คราะห์ทศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ภาพที่ 2.52 ถวลั ย ์ ดชั นี (Untitled) สนี �ำ ม้ ันบนผ้าใบ 200 x 150 ซม. ภาพท่ี 2.53 ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ค.ศ. 1904-1989 “ลดี า แอตโตมกิ า” (Leda Atomica) สีนำ�้มันบนผ้าใบ ภาพท่ี 2.54 มานติ ย์ ภูอ่ ารยี ์ ค.ศ. 1959 “ให้นม” เกรยองบนกระดาษ 74 x 48.5 ซม. 42

บทที่ 3 : ประติมากรรม ประติมากรรม ความหมายของประตมิ ากรรม ป ระติมากรรม (Sculpture) คือ งานศลิ ปกรรมทสี่ รา้ งเป็นรปู ทรง 3 มิติ โดยวิธกี ารแกะสลกั การปนั้ หรือ การผสมผเส (ราชบัณฑิตยสถาน,2541:204 ) ประติมากรรม (Sculpture) เป็นผลงานทางทัศนศิลป์ท่มี ีลักษณะ 3 มติ ิ แสดงออกมาใหป้ รากฏเหน็ ปริมาตร น�ำ ้หนกั มิติสัมผัสได้ดว้ ยวสั ดตุ า่ งๆ เช่น ไม้ ดนิ เหนียว โลหะ ปนู ปลาสเตอร์ ไฟเบอร์กลาส เปน็ ตน้ มีลักษณะ 3 มติ ิ กินเนอ้ื ที่ในอากาศ โดยใชว้ ัสดุต่างๆ วธิ กี ารสร้างสรรค์ทหี่ ลากหลายวิธขี องประตมิ ากรรม ทำ�ให้เกิดความงามที่แตก ต่างกันตามวัสดุ เชน่ การปั้น แกะสลกั หลอ่ เช่ือม เคาะหรือดลุ ท�ำ ใหม้ มี ิติ แสงเงาเนื้อหา เรื่องราวทมี่ เี อกลักษณ์ พิเศษกวา่ สาขาอ่ืนๆ ในกลมุ่ ทัศนศลิ ป์ ประเภทของงานประตมิ ากรรม 1.ประตมิ ากรรมรูปเวา้ (Incisedrelief) เ ป็นงานประตมิ ากรรมท่ตี อ้ งการใหส้ มั ผัสเพยี งด้านเดยี วลวดลาย ทเี่ กดิ ขน้ึ มาจากการแกะสลกั เซาะใหเ้ ปน็ รอ่ งลกึ สว่ นทถ่ี กู แกะหรอื เซาะออกจะมคี วามแตกตา่ งแสดงความลกึ มติ ขิ องผวิ ระนาบ เช่น การแกะเซาะร่องลึกบนดินนำ�ม้ ัน ดินเหนยี ว ขีผ้ ้งึ ไม้ ปนู ปลาสเตอร์ โฟม เป็นตน้ (ภาพที่ 3.1) ภาพท ่ี 3.1 แสดงประติมากรรมรปู เวา้ ภาพที่ 3.2 ศาสตราจารย์ศิลป์ พรี ะศรี พ.ศ. 2499 “พระพนั วัสสาอัยยกิ าเจ้า” ประตมิ ากรรมนูนต�ำ่ ปูนปลาสเตอร์ 43

การวิเคราะห์ทศั นศลิ ป์ (Visual Arts Analysis) ์ ภาพท่ี 3.3 ต้นแบบเหรยี ญพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบนั ประตมิ ากรรมนูนตำ�่ ปูนปลาสเตอร์ 2.ประติมากรรมนูนตำ่� (Bas - relief) หรือรปู นูนต่�ำ ผลงานประเภทน้จี ะมีความนูนยน่ื ออกมาจากฐาน เลก็ นอ้ ย แตม่ ีรายละเอยี ดลดหลัน่ กันตามแสงเงาท่ีปรากฏดา้ นข้าง ด้านหลังจะเปน็ สว่ นฐานไมม่ รี ายละเอยี ด เชน่ เหรยี ญต่างๆ รปู ปั้นบคุ คลสำ�คัญ ฯลฯ ผลงานประติมากรรมนนู ต�ำ่ ทีศ่ ิลปนิ ปัน้ บุคคลสำ�คัญเป็นรปู แบบเหมือนจริง สดั สว่ นโครงสรา้ งถกู ตอ้ งตามหลกั กายวภิ าครายละเอยี ดสวยงามลดหลนั่ เลก็ นอ้ ยตามลกั ษณะคลา้ ยกบั การลงแสงเงา ในการวาดเส้น แตจ่ ะพิเศษกวา่ ทีส่ ามารถมองเหน็ ด้านขา้ งมีความหนาขนึ้ มาพอเหน็ เลก็ น้อยซงึ่ สามารถถา่ ยทอดคน ครง่ึ ตวั หรือเตม็ ตัวและกล่มุ คนก็ได้ (ภาพที่ 3.2,3.3) 3 .ประตมิ ากรรมนูนสงู (High relief) หรอื รปู นนู สงู เป็นผลงานประตมิ ากรรมทีส่ รา้ งสรรค์ขึ้นเพ่อื ใหน้ ูน กว่านูนต�ำ่ จะมีรายละเอียดสดั ส่วนเหมอื นกบั ประตมิ ากรรมลอยตวั แตร่ ูปทรงรายละเอยี ดจะตดิ กับฐาน เมื่อมอง ดา้ นหลงั จะไมม่ รี ายละเอยี ดจะสามารถมองเหน็ จากดา้ นขา้ งและดา้ นหนา้ เชน่ การปน้ั ประดบั ฐานอนสุ าวรยี ์ลวดลาย ประดับตกแต่งปราสาท เป็นตน้ พระพทุ ธรปู ปางลลี าเปน็ ภาพปนู ปน้ั นนู สงู ทงี่ ดงามทส่ี ดุ ประดษิ ฐานอยมู่ ณฑปวดั ตระพงั ทองหลางมลี กั ษณะ คลา้ ยกบั ภาพจติ รกรรมฝาผนังทว่ี หิ ารเหนอื เมืองโปลนนารวุ ะ เกาะลงั กา ซึง่ เป็นการได้รับอิทธพิ ลจากศลิ ปะลงั กา หรือศิลปะพม่า กลายเป็นต้นกำ�เนดิ ของพระพุทธรปู ปางลีลาของสโุ ขทยั ท่ีมอี าการเคลื่อนไหวอันนุ่มนวล (ภาพ ที่ 3.4) ภาพท่ี 3.4 พระพทุ ธรูปปางลลี าเสด็จลงมาจากดาวดึงส ์ ประตมิ ากรรมปูนป้นั นูนสูง วัดตะพังทองหลาง สมยั สโุ ขทยั 44

บทท่ี 3 : ประตมิ ากรรม 4 .ประติมากรรมแบบลอยตัว (Round relief) หรอื รปู ลอยตวั เป็นผลงานประตมิ ากรรมที่ต้องการใหผ้ ดู้ ู ไดส้ มั ผัสทกุ มุมของผลงาน มีมติ ิ ปริมาตร คล้ายความเปน็ จรงิ มากท่สี ุด มีความสูง หนา กว้าง ยาว กินเนอื้ ท่ใี นอากาศ เกดิ สุนทรยี ภาพทางการมองเหน็ ดจุ ของจริงตามธรรมชาติ เช่น รปู ปน้ั บุคคลสำ�คัญ อนุสาวรีย์ ผลงานการสร้างสรรค์ ท่ีดดั แปลงจากความเป็นจริง ฯลฯ ผลงานประตมิ ากรรมลอยตวั ท่ีศิลปินสรา้ งข้ึนเพ่ือเปน็ อนุสาวรยี ์แสดงถึงความ ศรทั ธาต่อคณุ ความดีของพระนารายณ์มหาราช จะแสดงสัดสว่ นโครงสร้างถกู ตอ้ งตามหลักกายวิภาค ท�ำ ให้รูปปนั้ ดู ราวกับความเปน็ จริงมชี ีวติ (ภาพท่ี 3.5) ภาพท่ี 3.5 ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พรี ะศร“ี อนสุ าวรยี ์สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช” ออกแบบและปั้นพระเศียร และป้ันพระวรกาย โดยอาจารยส์ น่ัน ศลิ ากรณห์ ล่อดว้ ยโลหะรมด�ำ ภาพที่ 3.6 กัสตอน ลาชาเซ (Gaston Lachaise) ค.ศ. 1932 “ผู้หญิงยืน” (Standing Woman) เทคนคิ บรอนซ์ 7.4 x 3.5 x 1.7 น้ิว ผ ลงานประติมากรรมของลาชาเซ แสดงออกถึงการสรา้ งสรรค์ผลงาน 3 มิติ สามารถมองเหน็ รอบด้าน ซงึ่ ศลิ ปนิ ไดม้ กี ารตดั ทอนรายละเอยี ดของรปู ทรงเสมอื นกง่ึ นามธรรมเพอ่ื ใหร้ ปู ทรงมปี รมิ าตรสดั สว่ นทด่ี แู ขง็ แรงแขง็ แกรง่ แสดงออกของรูปทรงผูห้ ญิงที่กำ�ลังยืนอยู่ ทำ�ใหเ้ กดิ อารมณ์ความร้สู กึ เหลา่ นัน้ กบั ผ้ดู ู (ภาพท่ี 3.6) เนอ้ื หาสาระในงานประตมิ ากรรม เนื้อหา (Content) คอื ความหมายของงานศิลปะท่ีแสดงออกผา่ นรปู ทรงทางศิลปะ (Artistic Form) เนือ้ หา ของศลิ ปะแบบรูปธรรม เกิดจากการประสานกันอยา่ งมีเอกภาพของเรอื่ งและแนวเรอื่ ง และรปู ทรงเน้อื หาของงาน แบบนามธรรมดา หรอื แบบนอนออฟเจคตีฟ เกิดจากการประสานกันอย่างมีเอกภาพของรปู ทรง เน้ือหาสาระเปน็ คุณลกั ษณะฝา่ ยนามธรรมของงานศิลปะ ที่มองจากดา้ นการชนื่ ชมหรอื จากผู้ดู (ชลูด นมิ่ เสมอ,2534:22) 45


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook