Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

Description: แนวคิด หลักการ ทฤษฎีทางจิตวิทยาพื้นฐาน ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคลการจำ การลืม การคิด เชาวน์ปัญญา การสร้างแรงจูงใจ บุคลิกภาพและการปรับตัว ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแนะแนวและการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

Keywords: จิตวิทยาการศึกษา การแนะแนว

Search

Read the Text Version

อ่านตัวเองให้ออก บอกตนเองได้ ใช้ตนเองเป็น จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว EDUCATIONAL PSYCHOLOGY AND GUIDANCE โดย ทิพย์ ขันแก้ว

มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University หลกั สูตรครุศาสตรบัณฑิต เอกสารประกอบการสอนรายวชิ า รหัสวิชา ๒๐๐ ๒๐๕ หมวดวชิ าชีพ จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว Educational Psychology and Guidance ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ ขนั แก้ว วิทยาลยั สงฆ์บรุ ีรมั ย์ วัดพระพทุ ธบาทเขากระโดง ตาบลเสมด็ อาเภอเมอื ง จังหวัดบุรรี ัมย์

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว Educational Psychology and Guidance นายทิพย์ ขนั แกว้ : ป.ธ.๙., กศ.ม.(การบริหารการศกึ ษา), พธ.ด.(พทุ ธจิตวทิ ยา) ทปี่ รกึ ษา พระราชปริยตั ิกวี ผู้ทรงคุณวฒุ ิประจำวิยาลัยสงฆบ์ รุ รี ัมย์ พระสุนทรธรรมเมธี ผู้ทรงคณุ วุฒิประจำวิยาลัยสงฆบ์ รุ รี ัมย์ พระศรีปริยตั ิธาดา ผ้อู ำนวยการวทิ ยาลัยสงฆ์บรุ ีรมั ย์ พระมหาบญุ ถน่ิ ปุญฺญสริ ิ รองผอู้ ำนวยการฝ่ายบริหาร พระครศู รีปญั ญาวิกรม,ผศ.ดร. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ผทู้ รงคุณวฒุ ิตรวจทางต้นฉบบั ผศ.ดร.สรเชต วรคามวิชยั รศ.ดร.ทววีศกั ด์ิ ทองทพิ ย์ บรรณาธิการ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ ขนั แก้ว กองบรรณาธกิ าร พระครศู รปี ญั ญาวิกรม, ผศ.ดร. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประจำหลกั สตู ร ดร.รงุ่ สรุ ิยา หอมวัน ปที ี่พมิ พ์ ๒๕๖๒ จำนวนพมิ พ์ ๑๐๐ เลม่ จดั พมิ พโ์ ดย วิทยาลยั สงฆบ์ ุรีรมย์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย SBN ……………………………………………………………….

คำปรารภ จิตวิทยา หรือ Psychology มาจากรากศพั ทภ์ าษากรกี ๒ คำ คอื Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับ (Logos) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษา (Study) ดังนั้น หากให้ความหมายตามนิยาม ด้ังเดิม จิตวิทยาจึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study of soul ) ต่อมามีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น โดยมุ่งศึกษาเก่ียวกับ พฤติกรรมการกระทำหรอื กระบวนการคดิ พรอ้ มๆ กบั การศกึ ษาเรอ่ื งสติปัญญา ความคิด ความเขา้ ใจ การใช้เหตุผล รวมท้ังเร่ืองของตน (Self) และเรื่องราวของบุคคลท่ีแสดงพฤติกรรมท่ีมุ่งเน้น เร่ืองการปรับตัวของบุคคล โดยนำการสังเกตและการทดลองมาเก่ียวข้องเพ่ือรวบรวมความรู้มาใช้ ในการศึกษาอย่างเป็นระบบ เป็นการศึกษาทีเ่ นน้ เฉพาะพฤตกิ รรมท่ีเกย่ี วขอ้ งกับประสบการณเ์ ทา่ นัน้ หนังสือจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวเล่มน้ี มีเนื้อหาสาระ ๙ บท ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ ทฤษฎีทางจิตวิทยาพ้ืนฐาน ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่าง บุคคลการจำ การลืม การคิด เชาวน์ปัญญา การสร้างแรงจูงใจ บุคลิกภาพและการปรับตัว ความรู้ เบอื้ งต้นเกยี่ วกบั การแนะแนวและการให้คำปรึกษาเบื้องตน้ ขออนุโมทนาขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์ ขันแก้ว อาจารย์ประจำรายวิชา ที่ได้เสียสละเวลาพัฒนาเนื้อหารายวิชาเล่มน้ีให้เกิดข้ึน อันจะเป็นประโยชน์คุณสมบัติของวิทยาลัย สงฆ์บรุ รี มั ย์สบื ไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านพุทธศาสตร์ และครศุ าสตร์ แก่คณาจารย์ นิสิต นกั ศกึ ษาและประชาชนผสู้ นใจทั่วไป (พระศรีปริยัตธิ าดา) ผอู้ ำนวยวทิ ยาลัยสงฆบ์ ุรีรมั ย์

คำนำ เอกสารประกอบ “จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว” (Educational Psychology and Guidance) รหัส ๒๐๐ ๒๐๕ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว เกิดจากแรงบันดาลใจในฐานะผู้เขียน เป็นผู้รับผิดชอบในการบรรยายถวายความรู้ เห็นว่ายังขาด หนังสือและตำราเกี่ยวกับด้านนี้ สร้างความยุ่งยากและเกิดความไม่สะดวกในการศึกษาค้นคว้า ของผู้เรียน จึงมีความคิดอยากเขียนหนังสือด้านนี้และเห็นว่ามีความสำคัญต่อนิสิตท่ีเรียน สาขาวิชา จิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์เป็นอย่างย่ิง จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากตำรา งานวิจัย วารสารวิชาการและเว็ปไซต์ต่างๆ เพื่อให้นิสิต นักศึกษาและผู้ที่สนใจได้ศึกษาประกอบ การเรียนการสอนในรายวิชาที่เรียน โดยได้นำแนวสังเขปรายวิชามาศึกษาค้นคว้าและจัดรวบรวม เนื้อหาสาระให้สอดคล้อง โดยนำแนวสังเขปรายวิชามาเป็นแม่บทในการจัดทำเอกสารประกอบการ สอนครั้งนี้ โดยศึกษาแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางจิตวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล การคิด เชาวน์ปัญญา ความถนัด การสร้างแรงจูงใจ บุคลิกภาพ และการปรับตัว การแนะแนวในสถานศึกษา ฝึกการใช้กระบวนการทางจิตวิทยาและการแนะแนว เพ่ือสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ การให้คำปรึกษาเพ่ือช่วยเหลือผู้เรียนให้รู้จัก และเขา้ ใจตนเองและมีคุณภาพชีวติ ท่ีดีข้ึน กราบขอขอบคุณพระเดชพระคุณพระศรีปริยัติธาดา ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ที่เมตตาเปิดโอกาสในการศึกษาจัดทำเนื้อหารายวิชาน้ี เพื่อเป็นประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษาและผู้ที่ สนใจ ศึกษาคน้ ควา้ ใชเ้ ปน็ ตำราประกอบการเรยี นการสอน มิได้หวงั ผลกำไรทางการค้าแต่อย่างไร หวงั เป็นเป็นอย่างยิ่งวา่ หนงั สอื ประกอบการเรียนรู้ “จิตวิทยาการศกึ ษาและการแนะแนว” เล่มน้ีจะอำนวยประโยชน์แก่นิสิต นักศึกษา ผู้ที่สนใจและคณาจารย์ หากท่านผู้อ่านพบเห็น ข้อบกพร่อง หรือมีคำช้ีแนะเพ่ือการปรับปรุงให้สมบูรณ์มากยิ่งข้ึน ขอน้อมยินดีรับฟังความคิดเห็น และจะนำไปปรบั ปรงุ แก้ไขพัฒนาเอกสารเล่มนใ้ี ห้มีความสมบรู ณ์ และมคี ุณค่าทางการศกึ ษาต่อไป ทิพย์ ขันแก้ว ๑๙ มถิ นุ ายน ๒๕๖๒

บท สารบญั หนา้ คำปรารภ ก คำนำ ข สารบัญ ค แผนบริหารการสอนประจำบท ๑ บทท่ี ๑ ความร้เู บ้ืองต้นเก่ยี วกบั จติ วิทยา ๔ ๑.๑ ความนำ ๔ ๑.๒ ความเป็นมาของจิตวทิ ยา ๔ ๑.๓ ความหมายของจติ วิทยา ๖ ๑.๔ พฤติกรรม ๘ ๑.๕ สาขาจติ วทิ ยาท่ีสมั พนั ธ์กบั วิชาชีพครู ๑๒ ๑.๖ วธิ กี ารศึกษาทางจติ วทิ ยา ๑๓ ๑.๗ กลุ่มแนวคดิ ทางจิตวทิ ยา ๑๖ ๑.๘ ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา ๒๗ สรปุ ท้ายบท ๒๗ ใบกจิ กรรมท่ี ๑ ๒๘ คำถามท้ายบท ๒๙ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๓๐ แผนบริหารการสอนประจำบทที่ ๒ ๓๑ บทท่ี ๒ แนวคดิ หลกั การ ทฤษฎีทางจติ วทิ ยาการศกึ ษา ๓๔ ๒.๑ ความนำ ๒.๒ ความเปน็ มาของจิตวิทยาการศึกษา ๓๔ ๒.๓ ความหมายของจติ วิทยาการศึกษา ๓๕ ๒.๔ คณุ ลักษณะของจิตวทิ ยาการศึกษา ๓๗ ๒.๕ ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา ๓๘ ๒.๖ บทบาทของจติ วทิ ยาการศึกษา ๓๙ ๒.๗ ประโยชนข์ องจิตวิทยาการศกึ ษา ๓๙ ๒.๘ ครูกับจติ วทิ ยาการศึกษา ๔๐ ๒.๙ ความแตกต่างระหวา่ งบุคคล ๔๑ ๒.๑๐ การสร้างบรรยากาศในช้ันเรยี น ๔๓ สรปุ ทา้ ยบท ๕๔ ใบกจิ กรรมที่ ๒.๑ ๕๙ ๖๐

สารบัญ (ตอ่ ) หนา้ บทที่ ๖๐ ใบกจิ กรรมท่ี ๒.๒ ๖๑ คำถามท้ายบท ๖๒ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๖๓ แผนบริหารการสอนประจำบทท่ี ๓ ๖๖ บทท่ี ๓ ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ๖๖ ๓.๑ ความนำ ๖๖ ๓.๒ ความหมายของพัฒนาการ ๖๘ ๓.๓ หลักทัว่ ไปของพัฒนาการ ๖๙ ๓.๔ วธิ ศี กึ ษาพัฒนาการของมนุษย์ ๗๐ ๓.๕ ปัจจัยทม่ี อี ทิ ธพิ ลต่อพัฒนาการของมนุษย์ ๗๒ ๓.๗ ทฤษฎีเกยี่ วกบั พฒั นาการของมนุษย์ ๘๒ ๓.๘ คุณลกั ษณะของผเู้ รยี นวยั ตา่ งๆ ๙๒ สรุปท้ายบท ๙๓ ใบกิจกรรมท่ี ๓.๑ ๙๔ ใบกิจกรรมท่ี ๓.๒ ๙๕ คำถามท้ายบท ๙๖ เอกสารอ้างองิ ประจำบท ๙๗ แผนบรหิ ารการสอนประจำบทที่ ๔ ๑๐๐ บทท่ี ๔ การจำ การลืม และการคดิ ๑๐๐ ๔.๑ ความนำ ๑๐๐ ๔.๒ ความหมายของความจำ ๑๐๑ ๔.๓ กระบวนการของความจำ ๑๐๑ ๔.๔ ประเภทของความจำ ๑๐๔ ๔.๕ การวัดความจำ ๑๐๕ ๔.๖ การลมื ๑๐๗ ๔.๗ เทคนิคในการช่วยพฒั นาความจำ ๑๐๘ ๔.๘ การคดิ ๑๑๔ สรปุ ทา้ ยบท ๑๑๕ ใบกจิ กรรมท่ี ๔ ๑๑๖ คำถามท้ายบท

บทที่ สารบญั (ตอ่ ) หน้า เอกสารอ้างอิงประจำบท ๑๑๗ แผนบริการการสอนประจำบทที่ ๕ ๑๑๘ บทที่ ๕ เชาว์ปัญญา ๑๒๑ ๕.๑ ความนำ ๑๒๑ ๕.๒ ความหมายของเชาวป์ ญั ญา ๑๒๑ ๕.๓ แบบทดสอบทางเชาวป์ ัญญา ๑๒๒ ๕.๔ ระดบั สติปญั ญาของบคุ คล ๑๒๖ ๕.๕ องค์ประกอบของเชาว์ปัญญา ๑๒๗ ๕.๖ ทฤษฎีทางเชาวป์ ัญญา ๑๒๙ สรุปท้ายบท ๑๓๘ ใบกจิ กรรมที่ ๕ ๑๓๙ คำถามทา้ ยบท ๑๔๐ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๑๔๑ แผนบริหารการสอนประจำบทท่ี ๖ ๑๔๒ บทที่ ๖ การสร้างแรงจงู ใจ ๑๔๔ ๖.๑ ความนำ ๑๔๔ ๖.๒ ความหมาย ๑๔๔ ๖.๓ เทคนคิ การจูงใจ ๑๔๗ ๖.๔ ทฤษฎีแรงจงู ใจ ๑๔๙ ๖.๕ แรงจงู ในการทำงาน ๑๕๐ ๖.๖ ทฤษฎีเสรมิ แรงจงู ใจ ๑๕๑ สรุปทา้ ยบท ๑๕๓ ๑๕๕ ใบกจิ กรรม ๖ ๑๕๖ ๑๕๗ คำถามท้ายบท เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๑๕๘ ๑๖๑ แผนบรหิ ารการสอนประจำบทที่ ๗ บทที่ ๗ การพัฒนาบุคลิกภาพ ๑๖๒ ๑๖๒ ๗.๑ ความนำ ๑๖๕ ๗.๒ ความหมายของบุคลิกภาพ ๑๖๗ ๗.๓ ปจั จยั ท่มี อี ิทธติ อ่ บุคลกิ ภาพ ๗.๔ ความสำคัญของบุคลิกภาพ

สารบญั (ตอ่ ) บทที่ หน้า ๗.๕ ทฤษฎบี ุคลิกภาพ ๑๖๗ สรปุ ท้ายบท ๑๗๔ ใบกิจกรรมที่ ๗ ๑๗๕ คำถามทา้ ยบท ๑๗๖ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๑๗๗ แผนบรหิ ารการสอนประจำบทที่ ๘ ๑๗๘ บทที่ ๘ ความรเู้ บอ้ื งต้นเก่ยี วกบั การแนะแนว ๑๘๑ ๘.๑ ความนำ ๑๘๑ ๘.๒ ความหมายของการแนะแนว ๑๘๑ ๘.๓ จดุ มงุ่ หมายของการแนะแนว ๑๘๓ ๘.๔ ความแตกต่างระหว่างการแนะแนวกบั การแนะนำ ๑๘๔ ๘.๕ หลกั การแนะแนว ๑๘๘ ๘.๖ ปรัชญาการแนะแนว ๑๙๑ สรุปท้ายบท ๒๐๕ ใบกิจกรรม ๘.๑ ๒๐๖ ใบกิจกรรม ๘.๒ ๒๐๗ คำถามท้ายบท ๒๐๘ เอกสารอา้ งอิงประจำบท ๒๐๙ แผนบริหารการสอนประจำบทที่ ๙ ๒๑๐ บทที่ ๙ การใหค้ ำปรึกษาเบื้องต้น ๒๑๓ ๙.๑ ความนำ ๒๑๓ ๙.๒ ความหมายของการให้คำปรึกษา ๒๑๓ ๙.๓ หลักการของการให้คำปรึกษา ๒๑๕ สรปุ ท้ายบท ๒๓๑ ใบกิจกรรมท่ี ๙.๑ ๒๓๒ ใบกจิ กรรมที่ ๙.๒ ๒๓๒ คำถามท้ายบท ๒๓๓ เอกสารอา้ งองิ ประจำบท ๒๓๔ บรรณานกุ รม ๒๓๕

แผนบริหารการสอนประจำบทท่ี ๑ แนวคิด หลกั การ ทฤษฎีทางจิตวทิ ยาพ้นื ฐาน จุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม หลังจากไดศ้ ึกษาบทเรียนนี้แล้ว นสิ ิตสามารถ ๑. อธิบายความหมายของจิตวิทยาได้ ๒. อธิบายความเปน็ มาของจิตวทิ ยา ๓. อธบิ ายความหมายของพฤติกรรมได้ ๔. อธิบายวิธีการศึกษาพฤติกรรมได้ ๕. อธิบายแนวคิดทฤษฎีทางจิตวทิ ยากลุ่มต่างๆ ได้ ๖. บอกประโยชน์ของการศึกษาจติ วิทยาได้ เนอ้ื หาสาระ เน้ือหาสาระในบทน้ีประกอบด้วย ๑.ความเป็นมาของจิตวทิ ยา ๒.ความหมายของจิตวทิ ยา ๓.พฤตกิ รรม ๔.สาขาจติ วทิ ยาทีส่ มั พันธ์กับวชิ าชีพครู ๕.วธิ ีการศกึ ษาทางจิตวทิ ยา ๖.กล่มุ แนวคิดทางจิตวทิ ยา ๗.ประโยชนข์ องการศึกษาจติ วิทยา กิจกรรมการเรยี นการสอน สปั ดาหท์ ่ี ๑ ๑. ปฐมนเิ ทศการเรียนรายวชิ า ด้วยการอธบิ ายแผนบริหารการสอนและสร้างข้อตกลงใน การศกึ ษาในรายวิชาน้ีตลอดท้ังภาคเรียน ๒. อธบิ ายเนือ้ หา และสรปุ เน้ือหาสาระท่ีสำคญั ดว้ ย Microsoft Power-point ๓. อภปิ ราย แลกเปลย่ี นความคิดเห็น และซักถาม ๔. มอบหมายให้นสิ ิตค้นคว้าเกี่ยวกบั กลุ่มแนวคิดทางจิตวทิ ยา สปั ดาหท์ ่ี ๒ ๑.ทบทวนความรูเ้ ดิมท่ีเรียนในสปั ดาห์ที่ ๑ โดยการซกั ถามและใหอ้ ธิบายและแสดงความคดิ เหน็ ๒. อธบิ ายเนื้อหาและสรปุ เนื้อหาสาระทส่ี ำคญั ดว้ ย Microsoft Power-point ๓. อภปิ ราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และซกั ถาม ๔. ให้นสิ ติ แบ่งกลุ่มแล้วศึกษาหวั ข้อ “แนวคิดของกลมุ่ แนวคิดทางด้านจิตวทิ ยา” ท้งั ๖ กลมุ่ ตามท่มี อบหมาย โดยใช้กิจกรรม Home Group ในการแลกเปล่ียนกับกลุ่มอน่ื แล้วนำเสนอหนา้ ช้นั ๕. แบ่งกลุม่ นิสติ เปน็ กลุ่ม มอบหมายงานใหแ้ ตล่ ะกลมุ่ ศกึ ษาค้นคว้าเกี่ยวกบั พฒั นาการ ของผู้เรียนในระดับตา่ งๆ ๖. ให้ตอบคำถามทา้ ยบทที่ ๑ และนำสง่ ในสปั ดาห์หน้า

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒ ส่อื การเรยี นการสอน ๑. เอกสารประกอบการเรยี นการสอน “ความรู้เบือ้ งตน้ เกีย่ วกบั จติ วทิ ยา” ๒. การนำเสนอด้วย Microsoft Power-point และวีดทิ ศั น์ / คลิปวดี โี อ ๓. ตำราหรอื หนังสือเกย่ี วกบั จิตวทิ ยา ได้แก่ กฤตวรรณ คำสม, จติ วิทยาสำหรบั ครู, อดุ รธานี : คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏ อดุ รธานี, ๒๕๕๗. จิราภรณ์ ตัง้ กติ ติภาภรณ์, จิตวทิ ยาท่ัวไป, พมิ พ์ครัง้ ที่ ๒, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย, ๒๕๕๗. ณัฐภร อนิ ทุยศ, จติ วทิ ยาทัว่ ไป, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พิมพ์แห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั ,๒๕๕๖. มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , จิตวิทยา, ขอนแกน่ :ภาควชิ าจติ วิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๕๐. ศรวี รรณ จันทรวงศ์, พฤติกรรมมนุษยก์ บั การพัฒนาตน, อดุ รธานี : สยามการพมิ พ์, ๒๕๔๗. อชั รา เอบิ สุขสิริ, จิตวิทยาสำหรับครู, พมิ พค์ รั้งที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : สำนักพมิ พ์แหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๙. ๔. ใบกจิ กรรมกลุ่ม หัวข้อ “แนวคดิ ของกลุ่มแนวคดิ ทางด้านจติ วทิ ยา” แหลง่ การเรยี นรู้ ๑. หอ้ งสมุดวิทยาลยั สงฆ์บุรรี ัมย์ มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั ๒. ห้องสมุดคณะครุศาสตร์ สาขาวชิ าการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวทิ ยาการแนะแนว ๓. แหลง่ การเรียนรูท้ างอินเตอร์เน็ตเก่ยี วกบั จิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหวา่ งบุคคลและการสรา้ ง บรรยากาศในชัน้ เรยี น นิสติ สามารถสบื คน้ ข้อมูลทีต่ อ้ งการผา่ นเวบ็ ไซต์ตา่ งๆ การวัดและการประเมนิ ผล จุดประสงค์ เครื่องมือ/วิธีการ ผลท่ีคาดหวัง ๑. อธิบายความหมาย ๑. ซกั ถาม ๑. นสิ ิตสามารถอธิบายความหมายของ ของจติ วทิ ยาได้ ๒. แบบฝึกหดั ท้ายบท จิตวทิ ยาไดช้ ดั เจนและครบถว้ น ๒. นิสิตมีคะแนนการทำแบบฝึกหดั ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ๒. อธิบายความเปน็ มา ๑. ซกั ถาม ๑. นสิ ิตสามารถอธบิ ายความเป็นมาของ ของจติ วทิ ยา ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท จติ วิทยาได้ ๒. นิสติ มคี ะแนนการทำแบบฝึกหัดถกู ต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๓. อธบิ ายความหมาย ๑. ซกั ถาม ๑. นิสติ สามารถอธิบายความหมายของ ของพฤติกรรมได้ ๒. แบบฝกึ หดั ทา้ ยบท พฤติกรรมได้ชดั เจนและครบถ้วน ๒. นสิ ิตมีคะแนนการทำแบบฝกึ หัดถกู ต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๔. อธิบายวิธกี ารศึกษา ๑. ซกั ถาม ๑. นิสิตสามารถอธบิ ายวิธกี ารศึกษา พฤติกรรมได้ ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท พฤติกรรมได้

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๓ ๕. อธิบายแนวคิดทฤษฎี ๑. สังเกตพฤติกรรมการ ๒. นสิ ิตมีคะแนนการทำแบบฝึกหดั ถูกต้อง ทางจิตวทิ ยากลุ่มตา่ งๆได้ ร่วมกิจกรรม รอ้ ยละ ๘๐ ๑. นสิ ิตมีคะแนนการทำงานกลมุ่ และการ ๒. สังเกตการณน์ ำเสนอ นำเสนอหนา้ ชั้น รอ้ ยละ ๘๐ หนา้ ชัน้ เรยี น ๒. นิสิตให้ความร่วมมอื ในการทำกิจกรรม ๓. แบบสังเกตพฤตกิ รรม กลมุ่ ร้อยละ ๑๐๐ การทำงานกลุ่ม ๓. นิสติ มคี ะแนนการทำแบบฝึกหดั ถูกต้อง ๔. ผลงานกล่มุ ร้อยละ ๘๐ ๕. แบบฝึกหดั ท้ายบท ๑. นิสติ สามารถบอกประโยชนข์ องการศึกษา ๖. บอกประโยชนข์ อง ๑. ซักถาม จติ วทิ ยาได้ การศกึ ษาจิตวิทยาได้ ๒. แบบฝึกหดั ท้ายบท ๒. นสิ ิตมคี ะแนนการทำแบบฝึกหดั ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔ บทท่ี ๑ แนวคดิ หลักการ ทฤษฎที างจิตวทิ ยาพ้นื ฐาน ๑.๑ ความนำ ในสังคมการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของมนุษย์ อาจจะมีหลายๆ อย่างที่มนุษย์สงสัยและพยายามศึกษา หาข้อเท็จจริง ทั้งสิ่งท่ีเป็นธรรมชาติ และสิ่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เองผลจากการศึกษามีท้ัง ได้คำตอบ ท่ีชัดเจน บางอย่างก็ได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน บางอย่างก็ยังไม่ได้คำตอบ การกระทำหลายๆ อย่างของมนุษย์ที่เกิดข้ึน ในสังคม ไม่ว่าเป็นยุคสมัยใด มีบางคร้ังท่ีผู้กระทำไม่สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน เพราะแม้ แต่ตนเองก็ยังไม่สามารถเข้าใจถ่องแท้ มนุษย์จึงพยายามที่จะค้นหาคำอธิบายเรื่องต่างๆ ของมนุษย์ด้วยกันเอง โดยเฉพาะการกระทำ ในสมัยโบราณเช่ือว่า การกระทำของมนุษย์เกิดจากส่ิงที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ต่อมา มีนักปราชญ์หลายท่าน ช่วยกันค้นหาคำตอบ และสรุปเป็นหลักการ แต่ผลของคำตอบส่วนใหญ่มาจาก การเทียบเคียงความคิดและเหตุผลของตนเองของนักปราชญ์ ซึ่งจะหาคำตอบที่ชัดเจนได้ยาก เพราะแต่ละคน จะมีเหตุผลตามประสบการณ์ของตนเอง ระยะต่อมาสังคมเป็นสังคมท่ีต้องการพิสูจน์ และหาหลักฐานยืนยัน ทีแ่ นน่ อน จงึ นำมาสู่การยึดเปน็ แนวทางปฏิบัติ ซง่ึ ถือเป็นยคุ ของวิทยาศาสตร์ การศึกษาการกระทำของมนุษย์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตามความก้าวหน้าของการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ฉะนั้น การศึกษาหาคำตอบในการกระทำของมนุษย์ในระยะต่อมาจึงเป็นในรูปแบบ ทางวิทยาศาสตร์ การกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ก็ใช้คำว่า“พฤติกรรม” แทนแนวคิดของจิตวิทยาในระยะเร่ิมแรก เป็นเรื่องท่ีเกี่ยวข้องกับวิญญาณ (Soul)โดยแทรกอยู่ในวิชาปรัชญา ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๘๗๙ เม่ือ วิลเฮล์ม วุนด์ ได้ต้ังห้องทดลองทางจิตวิทยาข้ึนเป็นแห่งแรกของโลกท่ีประเทศเยอรมนี จิตวิทยาก็ได้มีฐานะเป็นจิตวิทยา เชิงวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นศาสตร์ค่อนข้างใหม่ แต่ก็มีพัฒนาการท่ีรวดเร็วมาก เป็นที่ยอมรับ และนำไปประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางจิตวิทยามากมาย จนเกิดเป็น จติ วิทยาสาขาใหมๆ่ ขน้ึ อยา่ งต่อเน่ือง ๑.๒ ความเป็นมาของจิตวิทยา จิตวิทยาเป็นวิชาท่ีมีกำเนิดมานานแล้วต้ังแต่สมัยของอลิสโตเติล (Aristotle) แต่ในระยะเริ่มแรกนั้น ยงั เปน็ ส่วนหน่ึงของวิชาปรัชญาอยู่ เป็นวชิ าท่ีศึกษาเกย่ี วกบั จติ วิญญาณ ตามความหมายของคำวา่ “Psychology” ซ่ึงมีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีก คือ Psyche หมายถึง วิญญาณ (Soul)และLogos หมายถึง การศึกษา (Study) เนื่องจากในสมัยโบราณมนุษย์มีความเช่ือว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ มีอำนาจหรือส่ิงลึกลับ บางอย่างมาบังคับให้เกิดขึ้น และคอยควบคุมปรากฏการณ์น้ันๆ ภายในตัวมนุษย์เองก็มีส่ิงลึกลับแอบแฝงอยู่ ในร่างกาย ส่ิงน้ัน คือวิญญาณ น่ันเอง วิญญาณจะคอยกระตุ้นและควบคุมกิริยาอาการต่างๆ ของร่างกาย จากความเช่ือดังกลา่ วทำใหน้ ักปรัชญาเกดิ ความสนใจและพยายามคิดหาคำตอบเกย่ี วกับเรอ่ื งของวิญญาณ แตก่ ็ไม่ มีคำตอบของใครเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป วิญญาณคืออะไร อยู่ที่ไหน มีตัวตนหรือลักษณะอย่างไร ก็ยังไม่มี คำตอบท่ีแน่นอน เนื่องจากวิญญาณเป็นสิ่งท่ีอยู่นอกเหนือการรบั รู้ทางอวัยวะการรบั รู้ทางความรู้สึกไม่สามารถจับ ต้องมองเห็นและพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ ดังน้ัน การศึกษาทางจิตวิทยาในเร่ืองของวิญญาณจึงค่อยๆเส่ือมลงในเวลา ตอ่ มา

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๕ เม่อื วิทยาศาสตรม์ คี วามเจริญก้าวหนา้ มากขึ้น ความสำเร็จของวิธีการทดลองในวิชาฟิสิกส์และเคมี รวมท้ัง ความรู้ทางสรีระวิทยาและอิทธิพลของทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้กระตุ้นให้นัก ปรัชญาบางคนคิดว่า จิตและพฤติกรรมของมนุษย์ควรจะศึกษาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วยเช่นกัน และลักษณะเน้ือหาวิชาของจิตวิทยาก็ควรจะแปรรูปไปเป็นแบบกายภาพให้มากขึ้น จากการศึกษาเก่ียวกับ วิญญาณ นักจิตวทิ ยาไดห้ ันมาสนใจศกึ ษาเรื่องของจิตสำนึกหรือความร้ตู ัว (Conscious) แทน ทั้งน้ีเพราะเปน็ เรื่อง ทีส่ ามารถพสิ จู น์ทดลองไดด้ ีกว่าวิญญาณ John Lock๑ นักปรัชญาชาวอังกฤษกล่าวว่า จิตสำนึกก็คือความรู้ตัวของมนุษย์นั้นเอง เป็นการท่ีเรารู้ตัว ว่าเราเปน็ ใคร กำลังคดิ อะไร รสู้ ึกอย่างไร และ กำลังทำอะไรอยู่ จิตสำนึกเกดิ จากการเกบ็ สะสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ ล็อคเช่ือว่าในวัยเด็ก จิตจะว่างเปล่า เมื่อโตข้ึน จิตสำนึกก็ย่ิงจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม มากขน้ึ ดังนน้ั ส่ิงแวดลอ้ มจึงมอี ทิ ธพิ ลตอ่ จติ สำนึกหรือความรตู้ วั ของมนุษย์มาก ในปี ค.ศ. 1879 วิชาจิตวิทยาเร่ิมก้าวมาสู่ยุคใหม่ และมีฐานะเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เมื่อวิลเฮล์ม วุ้นด์ ได้จัดต้ังห้องปฏิบัติการทางจิตวิทยาข้ึนเป็นแห่งแรกของโลกท่ีมหาวิทยาลัยไลป์ ซิก ประเทศเยอรมัน เพ่ือทำการศึกษาเกี่ยวจิตสำนึก (Sensation) ซ่ึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางกายภาพ และประสบการณ์ ทางการรู้สึกของบุคคลที่เกิดขึ้น จากเหตุการณ์น้ัน ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า จิตวิทยาพึ่งจะแยกตัว ออกมาจากวิชาปรัชญาเมื่อร้อยกว่าปีท่ีผ่านามาน้ีเอง ต่อมาในปี ค.ศ.1883 มหาวิทยาลัยจอห์น ฮิปก้ินส์ ก็ได้ต้ัง ห้องปฏิบัติการทางจิตวิทยาอย่างเป็นทางการข้ึนนับเป็นแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากน้ันไม่ก่ีปี มหาวิทยาลยั หลายแห่งกไ็ ด้จัดต้ังภาควิชาจิตวิทยาและห้องปฏิบัติการทางจติ วิทยาขึ้น เชน่ กัน ในช่วงเวลาน้ัน นอกจากการศึกษาจิตในระดับจิตสำนึกแล้ว ยังมีนักจิตวิทยาอีกกลุ่มหน่ึง ซึ่งสนใจศึกษา จิตในระดับจิตไร้ สำนึก (Unconscious) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีจิตแพทย์ชาวออสเตรียช่ือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856-1938) เป็นผู้นำกลุ่ม ฟรอยด์กล่าวว่าบุคคลนั้น มีทั้งความรู้ตัวและความไม่รู้ตัว ความรู้ตัวเป็นจิตสำนึก ส่วนความไม่รู้ตัวเป็นจิตในระดับจิตไร้สำนึก สิ่งท่ีอยู่ในจิตไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ของมนุษย์มาก ทั้งน้ี เพราะส่ิงเหล่านั้น จะเป็นแรงผลักดันกระตุ้นทำให้มนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากน้ัน ความผดิ ปกติทางจติ หลายอย่าง มกั จะมสี าเหตมุ าจากจติ ไร้สำนึก ในปี ค.ศ. 1913 จอห์น วัตสัน (John Watson, 1879-1938) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เรียกร้อง ให้นักจิตวิทยาหันมาศึกษาพฤติกรรมแทนการศึกษาในเร่ืองของความรู้ตัวและจิตวิญญาณ ทั้งนี้เพราะเรื่องเหล่าน้ี เป็นส่ิงที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง แม้จะอนุมานจากส่ิงที่มองเห็น ก็ยังไม่ได้ ส่วนพฤติกรรมนั้นเป็นส่ิงท่ีทำ การสังเกตโดยบุคคลได้ และวิทยาศาสตร์ก็ตั้งอยู่บนรากฐานของสิ่งท่ีสังเกตได้ ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรม จึงปฏิบัติในเชิงวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาข้อเสนอของวตั สันได้พัฒนาเป็นกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยา เรียกว่า กล่มุ พฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ซ่งึ กลุม่ แนวคิดน้ีไดม้ ีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการศกึ ษาทางจิตวทิ ยาในยคุ ต่อๆ มาเป็นอยา่ งมาก นักจิตวิทยาเป็นจำนวนมากมีความเห็นตรงกันว่า จิตวิทยาควรศึกษาพฤติกรรม แม้แต่นักจิทยาในกลุ่ม ท่ีต้องการให้จิตวิทยาศึกษาปรากฏการณ์ทางจิต (Mental Events) ที่เกิดข้ึน ภายในตัวบุคคล ก็ยังมีความเห็นว่า จะตอ้ งเริ่มการศกึ ษาท่ีพฤตกิ รรมก่อนสังคมในปจั จุบันมีความเจริญกา้ วหนา้ และซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้มนุษยต์ ้อง ปรับตัวตามเพ่ือให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข คนมุ่งม่ันศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมากข้ึน ต่อมาจึงมีการใช้คำว่า “จิตวิทยา” อย่างกว้างขวาง จิตวทิ ยาจึงเขา้ มามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกดา้ น ๑ John Lock, 1932-1704

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖ ๑.๓ ความหมายของจติ วิทยา มนุษย์พยายามท่ีจะหาคำตอบกับการกระทำของมนุษย์ด้วยกันเอง โดยการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบต่างๆ แต่คำตอบท่ีได้กลับไม่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ เม่ือมีการศึกษาแต่ละครั้งคำตอบ ก็เปลี่ยนแปลงไป เพราะการศึกษาค้นคว้าน้ัน มาจากความคิดและเหตุผลของผู้ศึกษาเองซ่ึงแต่ละท่านมีประสบการณ์ต่างกัน ในปี ค.ศ. ๑๕๖๐ เมลาธอน (Melanchthon) นักปรัชญาชาวเยอรมัน พยายามศึกษาหาคำตอบจากกระทำ ของมนุษย์ และได้นำคำว่า “Psychology”หรือจิตวิทยา มาใช้จิตวิทยา มาจากภาษาอังกฤษว่า Psychology โดยมีรากศพั ท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ คือ Psyche กับ Logos คำว่า “Psyche” มีความหมายว่า จิตหรือวิญ ญ าณ ส่วนคำว่า “Logos” มีความหมายว่า ศาสตร์หรือการศึกษา รวมเป็น Psychology หรือ จิตวิทยา ดังน้ัน ตามรากศัพท์จึงหมายถึง คือ ศาสตร์ท่ีศึกษา เกี่ยวกับวิญญาณหรือจิต ซ่ึงสัญลักษณ์ของจิตวิทยาก็มาจากตัวอักษรตัวหน่ึงของภาษากรีก คือ “ᴪ” โดยจิตวิทยากำเนิดมาจากวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์ได้เข้าใจในมนุษย์ด้วยกันเอง ซ่ึงเดิมที่อยู่ในกรอบ ของวิชาปรัชญา เพราะใช้หลักคิดในการไตร่ตรอง วิธีพิจารณาความจริงและการหาเหตุผลส่วนตัวของนักปรัชญา ถึงแม้จะมีผู้สนใจศึกษาด้านจิตวทิ ยามากข้ึน แต่ก็ยังสรุปใหช้ ัดเจนไม่ได้ว่า “จิต” คืออะไร นักจิตวทิ ยาในแต่ละยุค ก็พยายามศึกษาวิถีชีวิตและการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ โดยทำการศึกษาอย่างต่อเน่ือง และมีการทดลองด้วย จากการศึกษาการกระทำของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นและเข้าใจในความเป็นมนุษย์ชัดเจนข้ึ น และนักจิตวทิ ยา ได้ใช้คำว่า “พฤตกิ รรม” (Behavior) แทนลักษณะการกระทำของมนุษย์ เม่ือจิตวิทยาพัฒนาข้ึน มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเปล่ียนแปลงทางด้านสังคม ซ่ึงให้ความสำคัญกับเรื่องที่พิสูจน์ได้ หรือวิทยาศาสตร์ จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าในเชิงวิชาการมากข้ึนและจิตวิทยาได้เร่ิมศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อ วิลเฮล์ม แมกซ์ วุ้นด์ (Wilhem Max Wundt) นักสรีรวิทยาและปรัชญาชาวเยอรมันได้เปิดห้องปฏิบัติการ ทางจิตวิทยาอย่างเป็นทางการห้องแรกของโลกที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) ในประเทศเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ.๑๘๗๙ และ วนุ้ ด์ ไดร้ บั ยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจติ วิทยาการทดลอง ดงั แสดงในภาพท่ี ๑.๑ ภาพท่ี ๑.๑ : วนุ้ ด์และลูกศษิ ย์ กำลงั ศึกษาคน้ คว้าทางดา้ นจิตวทิ ยาในห้องปฏบิ ตั ิการทางจติ วิทยา ทม่ี า: www.nici.ru.nl

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๗ คำว่า จิตวิทยา (Psychology) มีนักการศึกษาให้ความหมายไว้หลายท่านในที่น้ีจะยกตัวอย่างบางท่าน เพอ่ื ให้เขา้ ใจความหมายของจติ วทิ ยาเปน็ เบือ้ งตน้ ดงั น้ี บารอน (Baron)๒ ได้สรุปไว้ว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์แห่งพฤติกรรม (behavior) และกระบวนการ ทางปญั ญา (cognitive process) เป็นการศกึ ษาเกี่ยวกับสิ่งที่เราคดิ รู้สึก หรือกระทำ ด้วยวธิ กี ารทางวทิ ยาศาสตร์ จอห์นสตัน (Johnston)๓ ให้ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์ของธรรมชาติมนุษย์ ซึ่งศึกษาเก่ียวกับสภาวะจิตใจและพฤติกรรม เพื่อสามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมผู้คนถึงคิด และกระทำในสิ่งที่ทำ รวมถึงการสือ่ สารซ่ึงกนั และกนั การแกป้ ญั หา และการเรยี นรสู้ ่งิ ใหม่ๆ ตำนานเล่าว่า ไซคี (Psyche) มีลักษณะเป็นอาวุธประจากายของเทพโพไซดอน(Poseidon) นักจิตวิทยา ไดค้ วามหมายของ “จิตวิทยา” (Psychology) ไว้มากมายแตใ่ นท่ีนี้ขอยกตวั อยา่ งพอเป็นสงั เขป คอื ฮิลการ์ด๔ อธิบายว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ท่ีศึกษาในเรื่องท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ อนื่ ๆ (Psychology is the science that studies the behaviors of man and other animals.) มอร์แกน๕ กล่าวว่า จิตวิทยา เป็นศาสตร์ท่ีว่าด้วยพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์ (Psychology is a science of human and animal behaviour, it includes the applications of the science to the human problems.) ไซเดอร์ และคณะ๖ ให้คำนิยามว่า จิตวิทยา เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมและกระบวนการของจิตด้วย ร ะ เบี ย บ วิ ธี ก า ร ท า ง วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ (Psychology is the scientific study of behavior and mental processes.) เฟลดแมน๗ ให้คำนิยาม จิตวิทยา ว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตด้วย ร ะ เบี ย บ วิ ธี ก า ร ท า ง วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ (Psychology is the scientific study of behavior and mental processes.) แมทลิน๘ ให้นยิ าม จิตวทิ ยาวา่ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตด้วยระเบียบ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Psychology can be defined on the the scientific study of behavior and mental processes.) เดโช สวานนท์๙สรุปความหมายของจติ วิทยาวา่ จิตวิทยาเปน็ ศาสตรท์ ีศ่ ึกษาอากัปกริยาและการแสดงออก ต่างๆ ท่มี นุษย์ได้กระทำหรือแสดงออก เช่น ชีวติ เกิดมาได้อย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นแรงผลักดันให้ มนุษย์ดน้ิ รน ฯลฯ ๒ บารอน Baron, Robert A, Psychology : The Essential Science, Boston : Allyn and acon,1983, p. 6. ๓ จอหน์ สตัน Johnston, Joni E, The complete Idiot’s Guide to Psychology, Indianapolis : Mac millon U.SA., Inc., 2000, p.4. ๔ ฮลิ การด์ (Hilgard), Introduction to Psychology, New York: Harcourt, Brace and World Inc, 1962, p. 2. ๕ Krejcie,R.V. and Morgan,D.W. “Determining sample size for research activities”,Educational and Measurement, 1974, p. 4. ๖ Smith, C. A. et al. Organizational citizenship behavior: Its nature and antecedents, Journal of Applied Psychology, 68 (4), (1983, August). pp. 653 - 663. ๗ Feldman, R.S. Essentials of Understand Psychology, New York: McGraw-Hill, 1994, p.2. ๘ Matlin, M.W. Psychology. 2 nd ed. Fort Worth : Harcourt Brace, 1995, p. 2. ๙ เดโช สวานนท,์ จติ วทิ ยาสำหรับครแู ละผู้ปกครอง, (กรงุ เทพมหานคร : โอเดียนสโตร,์ ๒๕๒๘), หนา้ ๑.

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๘ นิตย์ บุหงามงคล๑๐ ได้ให้ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นการศึกษาเรื่องราวของพฤติกรรม พฤติกรรมที่ศึกษานั้น อาจเป็นได้ทั้งพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์ คำว่าพฤติกรรมมีความหมายรวมทั้งพฤติกรรม ภายนอกทสี่ งั เกตได้ วัดได้ดว้ ยตาเปล่า และพฤติกรรมภายในที่จะต้องเคร่อื งมือช่วยในการวดั อุบลรัตน์ เพ็งสถิติ๑๑ ได้ให้ความหมายไว้ว่า จิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเก่ียวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมีการศึกษาพฤติกรรมหรือการกระทำของสัตว์ เพ่ือนำผลท่ีได้จากการศึกษาดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ และเปรยี บเทียบกบั ลกั ษณะการกระทำของมนษุ ย์ต่อไป ดังนั้น พอสรุป จากความหมายดังกล่าวข้างต้นได้ว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์ท่ีศึกษาเก่ียวกับพฤติกรรม ของมนุษย์และสัตว์ กระบวนการทางจิต และกระบวนการทางปัญ ญ าของมนุษย์ ด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์“จิตวิทยา” (Psychology) เป็นศาสตร์ท่ีศึกษาค้นคว้า เพื่อนำความรู้ และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จาก แนวคดิ ทฤษฎี และการทดลองมา นำเสนอเพื่ออธิบาย ทำนาย และควบคุมพฤติกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤตกิ รรม ของมนุษย์ ๑.๔ พฤตกิ รรม เมื่อจิตวิทยาเป็นศาสตร์ท่ีศึกษาเก่ียวกับพฤติกรรมมนุษย์ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ก็จะทำให้เกิด ความเข้าใจมนุษย์ดีข้ึน ดังท่ี จอห์น บี. วัตสัน (John B. Watson)๑๒ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกลุ่มพฤติกรรมนิยม กล่าวว่า “การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ จะต้องดูจากพฤติกรรมท่ีปรากฏออกมาให้เห็น” และเขายังเน้น ต่อไปว่าจิตวิทยาคือหมวดหมู่หน่ึงของศาสตร์ธรรมชาติซ่ึงศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์เป็นสาระสำคัญ ฉะน้ัน สาระความรู้ทางจิตวิทยา จึงพยายามทำความเข้าใจคนโดยมุ่งไปที่พฤติกรรมและศึกษาคนในแง่มุมทางพฤติกรรม แต่ในช่วงระยะท่ีจิตวิทยามีการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่เชิงปรัชญาจนถึงยุควิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยาท่ีทำการศึกษา ข้อเท็จจริงในการกระทำของมนุษย์ จะอธิบายในแง่ของสัญชาตญาณ ซึ่งก็มีนักจิตวิทยาหลายท่านไม่เห็นด้วย หนึง่ ในผู้ไมเ่ หน็ ดว้ ย คอื วัตสัน (John B. Watson) อธิบายวา่ พฤตกิ รรมของมนษุ ย์ได้มาจากการเรยี นรู้ การฝึกฝน โดยเขาทำการทดลองจากความเช่ือของนักจิตวิทยาที่กล่าวว่า แมวมีสัญชาตญาณในการจับหนู วัตสันจึงทดลอง เล้ียงลูกแมวตัวเล็กๆ ไว้รวมกับหนู โดยไม่ให้ลูกแมวมีโอกาสเห็นแมวตัวอื่นจับหนู เมื่อลูกแมวโตและยังอยู่กับหนู ที่โตมาด้วยกัน แมวก็ยังหยอกล้อ เล่นกับหนู โดยไม่ทำอันตรายหนูเลย วัตสันจึงมั่นใจว่า แมวจับหนูไม่ใช่ เป็นเพราะสัญชาตญาณ และเขาเช่ือว่าพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดข้ึนต้องเคยเห็น เคยรู้ เคยฝึกฝน ฯลฯ ซ่ึงวัตสัน ก็สรปุ ว่า พฤตกิ รรมเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ๑.๔.๑ ความเข้าใจเบ้ืองต้นเกี่ยวกับพฤตกิ รรม การศึกษาค้นคว้าของวัตสัน กระตุ้นให้นักจิตวิทยาหลาย ๆ ท่านพยายามศึกษาคน้ คว้าหาข้อสรุป ของพฤติกรรม ผลของการศึกษาคน้ ควา้ ก็พอสรุปพอสังเขปดังน้ี๑๓ ๑.พฤตกิ รรมบางอยา่ งทเี่ คยเช่ือว่าเปน็ เรอ่ื งของสญั ชาตญาณนั้น แท้ท่ีจริงเป็นเร่ืองของการเรียนรู้ นกั จิตวทิ ยาได้พยายามสังเกตถึงเร่ืองการท่แี มวจับหนูตอ่ ไปอีก และพบว่า การที่แมวจับหนูเป็นเพราะไดร้ ับการส่ัง สอนจากแม่แมว กล่าวคือในข้ันแรกนั้น แม่จะจับหนูมาตัวหน่ึง แต่ยังไม่ฆ่าให้ตาย เพียงแต่ทำให้บาดเจ็บมากๆ ๑๐ นิตย์ บหุ งามงคล, จติ วทิ ยาเบ้ืองต้น, (ขอนแก่น : มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, ๒๕๓๗), หน้า ๑. ๑๑ อบุ ลรัตน์ เพง็ สถติ ,ิ จติ วิทยาพฒั นาการ, (กรุงเทพมหานคร : มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๘), หนา้ ๖. ๑๒ John B. Watson, อา้ งจาก R.L Alkinson., R.C Alkinson and Hilgaed, 1983, p 14. ๑๓ กนั ยา สุวรรณแสง, จิตวทิ ยาท่วั ไป, (กรงุ เทพมหานคร : บรษิ ทั บำรงุ สาส์น, ๒๕๓๒), หนา้ ๙๐-๙๑.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๙ จนเกือบจะวิ่งหนีไม่ไหว แล้วนำมาวางไว้ตรงหน้าลูกแมว ครั้งแรกๆ ลูกแมวจะทำอะไรไม่ถูก นอกจากใช้เท้าเขี่ย เป็นของเล่น หนูก็จะหนี แต่ก็ไปได้ช้าๆ แม่แมวก็จะตะครุบให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วนำมาวางไว้ตรงหน้าลูกแมวอีก เหตุการณ์เช่นน้ีจะเกิดขึ้นซ้ำๆ กัน จนลูกแมวหัดตะครุบตามที่แม่แมวทำให้ดู แต่ก็ยังไม่คล่อง ต่อมาแม่แมว ก็จะไปจบั หนตู ัวใหม่ให้ลูกแมวใชเ้ ปน็ แบบฝกึ หัด ต่อๆมาเม่ือลูกแมวตะครุบหนูได้ดีข้ึน หนูตัวหลังๆ ทีแ่ ม่แมวจบั มา ให้ลูกแมว ทำแบบฝึกหัด ก็จะทำให้บาดเจ็บน้อยลง เพียงทำให้อ่อนเพลียเล็กน้อย หนูก็จะหนีได้เร็วข้ึน ลูกแมว จึงมีโอกาสได้ทำแบบฝึกหัดท่ียากขึ้นไปเร่ือย จนถึงข้ึนสุดท้าย แม่แมวจะจับหนู โดยไม่ให้มีบาดแผลเลยมาให้ลูก แมวหัด จนกระทงั่ ลกู แมวสามารถจับหนูไดเ้ อง จากผลของการสังเกตนี้ สรปุ ได้วา่ การทีแ่ มวจับหนูเปน็ เพราะไดร้ ับ การฝึกฝนมากอ่ นไม่ใชเ่ ป็นเพราะสัญชาตญาณ ๒.พฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิตซ่ึงเคยเช่ือกันว่า เป็นพฤติกรรมอันเน่ืองมาจากสัญชาตญาณ นัน้ จากผลการศกึ ษาค้นคว้าแสดงให้เหน็ ว่า เปน็ พฤติกรรมทีเ่ กิดจากวุฒิภาวะ ดังเชน่ การยา้ ยถิ่นของปลาเซลมอน (Salmon) ซึ่งเคยเชื่อว่าเป็นเพราะสัญชาตญาณน่ันแท้จริง เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากวุฒิภาวะ กล่าวคือ ปลาชนิดนี้มีเซลล์ที่ไวต่อแสงเป็นอย่างมากอยู่ที่ผิวหนัง เรียกว่า Light-Sensitive Cells เม่ือโตขึ้น เซลล์ ก็ทำงานได้ดีขึ้น จึงต้องร่นลงมา ในที่น้ำลึกเร่ือยๆ เพ่ือให้พ้นจากการรบกวนของแสง จนท้ายท่ีสุดก็ลงไปอยู่ ในทะเล เม่อื อายุประมาณ ๒-๓ ปี ปลาชนิดน้ี ก็เจริญเติบโตถงึ ระยะท่วี างไข่ การเปล่ียนแปลงในร่างกายทำให้ปลา ต้องการอากาศท่ีมีออกซิเจนมากข้ึน จึงต้องย้ายขึ้นมาในท่ีน้ำต้ืนเร่ือยๆ ไปจนในที่สุดก็ถึงต้นน้ำ ซ่ึงได้เวลาวางไข่ พอดี เมอ่ื ไข่กลายเป็นลูกปลาและลูกปลาเหลา่ นี้โตข้ึน ก็รน่ ไปหาน้ำลกึ เร่ือยไป จนถึงระยะยาววางไข่ก็จะย้อนกลับ ไปยงั ตน้ น้ำอกี เป็นเชน่ น้ีเรอื่ ยไป ดงั แสดงในภาพที่ ๑.๒ หมีขาวตวั ใหญ่กำลังจบั กินปลาเซลมอนทีว่ ่ายน้ำไปยงั แหลง่ สบื พันธ์และวางไข่ ทม่ี า:www. cherokee.exteen.com ๓.พฤติกรรมบางอย่างของส่ิงมีชีวิตก็ยังถือว่า เป็นพฤติกรรม อันเน่ืองมาจากสัญชาตญาณอยู่ เพราะไม่สามารถหาข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ได้ว่า เป็นผลมาจากส่ิงอื่น ดังเช่น การสร้างรังของนก Oriole รังของนก ชนิดน้ีมีลักษณะผิดจากรังนกชนิดอื่น คือ ห้อยลงมาจากกิ่งไม้หรือพุ่มไม้ นักจิตวิทยาได้ทดลองนำไข่นก Oriole มาฟักและเล้ียงไว้ในห้องทดลองโดยไม่ให้นกเหล่าน้ีมีโอกาสเห็นนกชนิดใดๆ ทำรังเลยแม้แต่น้อย แต่เมื่อถึงเวลา ที่จะวางไข่นกท่ีเลี้ยงในห้องทดลองเหล่าน้ี จะสร้างรังได้เอง ลักษณะของรังที่สร้างขึ้นน้ัน ก็มีลักษณะตามเผ่าพันธ์ุ ของตนอกี ด้วย ดงั แสดงในภาพที่ ๑.๓ ภาพที่ ๑.๓ การสรา้ งรังของนก Oriole ทมี่ า:www.lifestyle.hunsa.com

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๐ จากผลการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวข้างต้น นักจิตวิทยาจึงสรุปข้อคิดเห็นไว้กว้างๆ ว่าพฤติกรรมของสัตว์ ช้ันต่ำมักจะเน่ืองจากสัญชาตญาณ พฤติกรรมของสัตว์ชั้นสูงข้ึน มาน้ันก็จะเป็นเรื่องของสัญชาตญาณน้อยลง กลายเป็นเร่ืองของวุฒิภาวะและการเรียนรู้มากขึ้นย่ิงในสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาอีก พฤติกรรมอันเน่ืองจากสัญชาตญาณ ก็จะย่ิงน้อยลงกลายเป็นเร่ืองของวุฒิภาวะและการเรียนรู้มากย่ิงขึ้น ส่วนพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเชื่อว่าเป็นเรื่อง ของวุฒิภาวะและการจูงใจทง้ั ส้ินไมม่ เี รือ่ งของสัญชาตญาณเขา้ มาเกี่ยวข้องด้วยเลย ๑.๔.๒ ความหมายของพฤติกรรม มผี ใู้ หค้ วามหมายของพฤตกิ รรมไว้ ดังน้ี ปรีชา วิคหโต๑๔ ได้ให้ความหมายไว้ว่า พฤติกรรม หมายถึง การกระทำทุกอย่างของมนุษย์ ไม่ว่าการกระทำนั้น ผู้กระทำจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ไม่ว่าคนอื่นจะสังเกตเห็นการกระทำนั้นได้หรือไม่ได้ก็ตาม และไมว่ ่าการกระทำนน้ั จะพงึ ประสงคห์ รือไม่พงึ ประสงค์ก็ตาม ศรีวรรณ จันทรวงศ์๑๕ ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมไว้ว่า กิจกรรม หรือปฏิกิริยาต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจจะรู้ได้โดยการสังเกตหรือการใช้เคร่ืองมือช่วยวัดพฤติกรรม รวมถึงการตอบสนองทาง กล้ามเน้ือ และการทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกาย พฤติกรรม (behavior) หมายถึง กิจกรรม ปฏิกิริยาต่างๆ การแสดงออกของสิ่งมีชีวิต ท้ังที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว อาจจะรู้ได้โดยการสังเกตด้วยประสาทสัมผัส หรือใช้เคร่ืองมือ ทางวิทยาศาสตรช์ ว่ ยวัดพฤติกรรมและการตอบสนองทางกล้ามเน้ือรวมถึงการทำงานของต่อมต่างๆในรา่ งกาย ๑.๔.๓ ธรรมชาติของพฤติกรรมของมนุษย์ เพอ่ื ใหเ้ ข้าใจตัวพฤติกรรมมากขึ้น จึงขอกล่าวถึงธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์ ดงั นี้ ๑. พฤตกิ รรมมนุษย์มีความสลับซับซอ้ น ถ้าดจู ากตัวพฤติกรรมเองอาจจะไม่ซับซ้อน แต่ถา้ สงั เกต จากกระบวนการเกิดของพฤติกรรมจะเห็นถึงความซับซ้อน พฤติกรรมหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยกลไกต่างๆ ประกอบด้วย ๑.๑ สงิ่ เร้า (Stimulus) หรอื ตวั กระตุ้น ๑.๒ หนว่ ยรบั ความรู้สกึ (Recepter) หรอื ประสาทสัมผัส ๑.๓ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nerverous systen) ๑.๔ หนว่ ยปฏิบตั ิงาน (Effector) ๑.๕ พฤติกรรม(Behavior) ๑๔ ปรีชา วคิ หโต, จิตวิทยากบั พฤตกิ รรมวยั รุน่ , เอกสารการสอนชุดวชิ าพฤติกรรมวัยรนุ่ , (นนทบรุ ี: มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช, ๒๕๔๔), หนา้ ๕. ๑๕ ศรวี รรณ จันทรวงศ,์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน, (อุดรธานี : สยามการพมิ พ์, ๒๕๔๙), หนา้ ๒.

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๑ ดงั แสดงในภาพที่ ๑.๔ ภาพท่ี : กระบวนการเกิดพฤตกิ รรม ท่มี า: www.sahavicha.com ๒. พฤติกรรมมนุษย์สามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจาก ประสบการณ์และการเรียนรู้ เช่น การเขียนหนังสือ การเล่นกีฬา การใช้เทคโนโลยีเป็นต้น อาจจะพู ดได้ว่า การดำเนินชีวติ ของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ทั้งนั้น ดังน้ัน มนุษย์มีศักยภาพท่ีจะพัฒนาหรือปรบั เปล่ียนพฤติกรรม ใหด้ ีขน้ึ ได้ ๓. พฤติกรรมมนุษย์เกิดขึ้น โดยมสี าเหตุ พฤตกิ รรมของมนษุ ยแ์ ต่ละอยา่ ง ลว้ นแตม่ เี หตุปจั จยั ๔.พฤติกรรมมนุษย์มีการผสานสัมพันธ์กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด ในพฤติกรรมอย่างหนึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ความรู้สึก ความคิดและการกระทำ ท้ั งสามอย่างนี้ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เรารู้สึกชอบเพ่ือนคนหนึ่ง เราก็จะคิดว่าเพ่ือนคนน้ีน่ารัก เป็นคนดี มีน้ำใจ และเราก็จะยม้ิ ให้ ทกั ทาย ชว่ ยเหลอื กัน เป็นต้น ๕. พฤติกรรมมนุษย์เปล่ียนแปลงไปตามช่วงอายุ เมื่อมนุษย์อายุมากขึ้ น พฤติกรรม ก็จะเปลี่ยนไปตามวัย เน่ืองจากมนุษย์มีการเรียนรู้ว่าควรหรือไม่ควรทำส่ิงใดในวัยใดวัยหนึ่ง เช่น ตอนเป็นเด็ก เอาแตใ่ จ พอโตเป็นผูใ้ หญ่กร็ ูจ้ กั เอาใจเขามาใชใ่ จเราและมีเหตมุ ีผลมากข้ึน ๑.๔.๔ ประเภทของพฤติกรรม การจัดประเภทของพฤติกรรมของมนุษย์ข้ึนอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จัด ในแต่ละสาขาวิชาก็มีเกณฑ์ที่ต่างกัน ในท่ีแบ่งประเภทของพฤติกรรมออกหลักการ ๓ เกณฑ์ คือ หลักการสังเกตหลักการรู้ตัว และหลักการยอมรับ ทางสงั คม ดังน้ี ๑. ใช้หลักการในการสงั เกต แบ่งพฤติกรรมเปน็ ๒ ประเภท ดังน้ี ๑.๑ พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) เป็นพฤติกรรมท่ีผูอ้ ่ืนสังเกตได้โดยประสาท สมั ผสั ของเขาเองหรอื ใชเ้ ครือ่ งมอื พฤตกิ รรมประเภทน้ี แบง่ ตามวิธีการสงั เกตได้ ๒ลักษณะ ดงั น้ี ๑) พฤตกิ รรมโมลาร์ (Molar Behavior) ไดแ้ กพ่ ฤติกรรมทค่ี นอื่น สามารถสังเกตได้โดยตรงด้วยประสาทสัมผัสท้ัง ๕ ไม่ต้องอาศัยเคร่ืองมือช่วยวัด เช่น การไหว้ การยกมือ การยิ้ม การหวั เราะ การร้องไห้ การเดิน การวิง่ การนอน เปน็ ต้น ๒) พฤติกรรมโมเลกุล (Molecular Behavior) ได้แก่ พฤติกรรม ท่ีสังเกตด้วย ประสาทสัมผัสไม่ได้ ต้องอาศัยเคร่ืองมือหรือการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการสังเกต เช่น ความดันโลหิต กระแสประสาท คลน่ื สมอง การเปล่ียนแปลงปรมิ าณน้ำตาลในโลหติ เปน็ ต้น ๑.๒ พฤติกรรมภายใน(Covert Behavior) เป็นพฤติกรรมท่ีผู้อื่นสังเกตไม่ได้ มีแตเ่ จา้ ตัว เท่านนั้ ท่รี ู้ คนอนื่ จะรไู้ ด้เมือ่ เจา้ ตวั บอก หรือแสดงออกด้วยการกระทำ มีดงั น้ี ๑)ความรู้สึกจากการสัมผัส (Sensation) เช่น การเห็น การได้ยินการได้กล่ิน การรู้รส การรสู้ ัมผัส ๒) การเข้าใจ ตีความ หรือการสรุปความ (Interpreting) เช่น เราไดย้ ินเสยี งเรา ก็ทราบความหมาย แต่ถ้าพูดภาษาท่เี ราไมร่ เู้ ร่อื งไดย้ นิ เสยี งกเ็ ปน็ พฤติกรรมในข้อท่ี ๑ ๒. ความจำ (Remembering) หรือสัญญา ความจำได้หมายรเู้ ป็นการจำสิ่งต่างๆ ท่ีผ่าน เข้ามาในชีวติ หรอื เป็นประสบการณ์ชีวิต ถา้ ขาดข้อนี้เรากจ็ ะไม่มีวิวัฒนาการมาถงึ ปจั จบุ ัน ๓. การคิด (Thinking) และการตดั สินใจ (Decision Making) อาจจะเปน็ จินตนาการคิด หาเหตุผล คิดฟ้งุ ซ่าน ฯลฯ

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๒ ๔. ใชห้ ลักการในการรูต้ ัว แบ่งพฤติกรรมเปน็ ๒ ประเภท ดังนี้ ๑) พฤติกรรมที่รู้ตัว เป็นพฤติกรรมผู้กระทำรู้ตัว หรือจงใจทำพฤติกรรมน้ัน เช่น การยมิ้ การพูดคยุ นักจิตวิทยากล่มุ จติ วิเคราะหเ์ รยี กพฤติกรรมประเภทนี้วา่ พฤตกิ รรมจิตสำนึก (Concious) ๒) พฤติกรรมท่ีไม่รตู้ ัว เป็นพฤติกรรมท่ีผู้กระทำไม่รู้ตัว หรือไม่ได้ตั้งใจ เช่น ความ ฝนั นกั จิตวทิ ยากลุ่มจติ วิเคราะห์เรียกพฤตกิ รรมประเภทน้ีวา่ พฤติกรรมจิตใต้สำนึก (Unconcious) ๕. ใช้หลักการยอมรับทางสังคม แบ่งพฤตกิ รรมเป็น ๒ ประเภท ดงั น้ี ๑) พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ (Desirable Behavior) เป็นพฤติกรรมท่ีสังคมยกย่อง ว่า ดี ถกู เหมาะสม และควรกระทำ เช่น การทำตามหนา้ ท่ี ทำตามจารตี ประเพณี เคารพกฎหมาย เปน็ ตน้ ๒) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (Undesirable Behavior) เป็นพฤติกรรมที่สังคม ประณามว่า เลว ผิด ไม่เหมาะสม และไม่ควรกระทำ เช่น การทำร้ายกัน การฆ่ามนุษย์ การกระทำผิดกฎหมาย บา้ นเมอื ง เปน็ ต้น ๑.๕ สาขาจติ วิทยาท่สี มั พันธ์กับวิชาชีพครู สาขาจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผู้จะเป็นครู ควรจะเป็นจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับการศึกษาพอสรุปได้ดังต่อไปน้ี คือ ๑.๕.๑ จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมท่ัวๆ ไป ของมนุษย์รวมถึง หลกั การและกฎเกณฑ์เบอ้ื งต้นทว่ั ไป เชน่ ระบบสรีระ การรบั รู้ การเรียนรู้ อารมณ์ เชาวน์ปญั ญา บุคลิกภาพ ฯลฯ ๑.๕.๒ จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning) เป็นศาสตรท์ ่ีศึกษาด้านพฤติกรรม ท่ีสัมพนั ธ์กับ การเรียนรู้ของบุคคล ซึ่งก็คือ การนำเอาความรู้ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่าง เหมาะสม ๑.๕.๓ จิตวิทยาการศึกษา (Education Psychology) เป็นการศึกษาธรรมชาติของผู้เรียนทฤษฎี การเรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจ แล้วการนำเอาความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ในการศึกษา การพัฒนาและส่งเสริม หลักสูตร การบริหารและจัดการศึกษา การปฏิบัติการสอนในห้องเรียนพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมท่ีเก่ียวขอ้ งกับการจดั การเรียนรู้ เพ่ือใหผ้ เู้ รยี นเรียนรอู้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ ๑.๕.๔ จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์ ตั้งแตเ่ ริ่มปฏสิ นธิจนถึงวยั ชรา รวมทั้ง อิทธิพลของพนั ธุกรรมและสิง่ แวดลอ้ มทีม่ ีอทิ ธพิ ล ต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการ ความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซ่ึงอาจแบ่งเป็นจิตวิทยาเด็ก จติ จติ วทิ ยาวัยรนุ่ และจติ วิทยาวยั ผูใ้ หญ่ ๑.๕.๕ จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนง ต่างๆ มาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น นำไปใช้ ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาในวงการอุตสาหกรรมการควบคุมผ้ปู ระพฤติผดิ เปน็ ตน้ ๑.๕.๖ จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัว ของบุคคลท่ีเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ท่ีทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทงั้ ในด้านแนวคิด ทศั นคติ การปรบั ตัว ตลอดจนแก้ปญั หาด้วย ๑.๕.๗ จิตวิทยาแนะแนว (Guidance Psychology) เปน็ สาขาท่ีศกึ ษาเกี่ยวกับการช่วยให้บคุ คล สามารถ เข้าใจตนเอง เขา้ ใจผูอ้ นื่ และสามารถปรับตวั ในสงั คมอยา่ งมคี วามสุข

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๓ ๑.๕.๘ จิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) เป็นสาขาท่ีศึกษาทฤษฎีหลักการ และวิธีการในการช่วยเหลือบุคคลที่ประสบอุปสรรคปัญหา ให้สามารถเข้าใจปัญหาและวางแผนในการจัดการกับ ปญั หาของตนไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ ๑.๖ วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา วิธกี ารต่างๆ ทใี่ ช้ในการศกึ ษาพฤติกรรมในจติ วทิ ยา อาจแบ่งไดเ้ ปน็ ๒ วธิ ี๑๖ ดงั น้ี ๑.๖.๑ วิธีการที่ใชใ้ นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ๑.การสังเกต (Observation) เป็นวิธีรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิด ในสถานการณ์จริงตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การสังเกตพฤติกรรมของทารกในช่วงอายุต่างๆ การสังเกต พฤติกรรมของนักศึกษาในขณะที่ดูการแข่งขันกีฬา เป็นต้น การสังเกตพฤติกรรม เพื่อการศึกษาวิจัยน้ันต่างจาก การสังเกตในชีวิตประจำวัน เพราะต้องเป็นระบบ มีเหตุผลมีระเบียบแบบแผนและหลักการสังเกตท่ีแน่นอน ผู้สังเกตจะต้องได้รับการฝึกฝนในเรื่องของการใช้ความสังเกต การบันทึกพฤติกรรม ตลอดจนการตีความหมาย ของข้อมูล ซ่ึงจะต้องไม่ลำเอียงหรือนำความคดิ เห็นส่วนตัวเข้ามาเก่ียวข้อง และเพื่อให้ได้ข้อมูลท่ีตรงกับความเป็น จริงมากท่ีสุด ควรจะมีการป้องกันการรู้ตัวของผู้ถูกสังเกตด้วย เฉพาะถ้าผู้ถูกสังเกตทราบว่าตนกำลังถูกสังเกต เขาอาจเสแสร้งหรือแกลง้ ทำ ทำให้การแสดงพฤตกิ รรมไม่เป็นไปตามธรรมชาติ การป้องกันการรตู้ ัวของผู้ถกู สังเกต อาจทำได้โดยการแอบสังเกตไม่ให้รู้ตัว ด้วยการใช้กระจกมองทางเดียว (Oneway Mirror) หรือการทำตนให้เป็น เหมือนสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม แล้วเข้าไปอยู่ในกลุ่มและประพฤติปฏิบัติตนเช่นเดียวกับกลุ่มตามสภาพการณ์ ที่เป็นธรรมชาติ เพื่อทำการสังเกตพฤติกรรมต่อไป ในบางกรณี การสังเกตจะได้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือมากย่ิงขึ้ น ถา้ นำเอาเคร่ืองมือต่างๆ เขา้ มาช่วยในการเก็บข้อมูล เช่น เคร่ืองบันทึกเสียงหรือเคร่ืองบันทึกภาพ เป็นต้น วิธีการ สังเกตอย่างเป็นระบบทำให้ทราบว่าบุคคลแสดงพฤติกรรมอะไร และมีความแตกต่างของพฤติกรรมอย่างไรบ้าง ภายหลังจากทำการสังเกตหลายๆ คร้ัง นักจิตวิทยาจะใช้หลักเกณฑ์ทางตรรกศาสตร์สรุปอ้างอิงไปถึงส่ิงท่ี อาจจะเป็นสาเหตุของพฤตกิ รรมน้ันๆ ได้ ๒. การสำรวจ (Survey) เป็นวิธีรวบรวมข้อมูลโดยการให้บุคคลได้ตอบคำถามที่เตรียมไว้แล้ว จำนวนหน่ึง โดยมีเป้าหมายเพือ่ สรุปความคดิ เห็น ทศั นคติ หรือความรู้สึกทมี่ ตี ่อส่งิ ใดส่ิงหนึ่งโดยเฉพาะ วิธีน้ีเหมาะ กับการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลจำนวนมากๆ ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือในช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง พฤติกรรม บางอย่างเป็นสิ่งที่ยากต่อการสังเกต ดังน้ัน ในบางครั้งนักจิตวิทยาจึงต้องรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ ซึ่งอาจจะสำรวจโดยการสัมภาษณ์(Interview) หรือโดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ก็ได้ ตัวอย่าง เช่น การสำรวจความคิดเหน็ ของประชาชนที่มีตอ่ การเลือกตั้งสมาชกิ สภาผู้แทนราษฎรทว่ั ไป เปน็ ต้น ๓. การสมั ภาษณ์(Interview) โดยท่วั ไปแล้ว การสัมภาษณด์ ีกว่าการใช้แบบสอบถาม เพราะใช้ได้ กับบุคคลทุกๆ ระดับการศึกษา และมีความยืดหยุ่นได้มากกว่า นอกจากนั้น ยังได้สังเกตพฤติกรรมของผู้ถูก สัมภาษณ์อีกด้วยส่วนข้อจำกัดของการสัมภาษณ์ ก็คือต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก และผู้สัมภาษณ์จะต้องได้รับ การฝึกฝนวิธีและเทคนิคในการสัมภาษณ์มาก่อน จึงจะทำให้การสัมภาษณ์ได้ผลดี ในกรณีที่ข้อคำถามเป็นเร่ือง ส่วนตัวมากเกินไป หรือผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกว่า หากตอบไปแล้วจะเป็นอันตรายต่อตนเอง เช่น การสำรวจปัญหา ยาเสพติด หรือการศึกษาปัญหาเพศสัมพันธ์ การสำรวจหรือการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเร่ืองเหล่าน้ี ควรใช้การตอบ ๑๖ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ , จติ วทิ ยา, (ขอนแกน่ : ภาควิชาจิตวทิ ยาการศกึ ษา คณะศกึ ษาศาสตร,์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๕๐), หน้า ๑๐-๑๔”

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔ แบบสอบถาม โดยไมต่ ้องระบุช่ือผู้ตอบ จะได้ผลดีกว่าการสัมภาษณ์ แต่การใช้แบบสอบถามก็มีข้อจำกัด คอื ใช้ได้ เฉพาะกบั บุคคลทม่ี กี ารศึกษาเทา่ นั้น อยา่ งไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ คำถามจะตอ้ งชัดเจนและเป็นที่ เข้าใจตรงกัน และตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา นอกจากน้ัน จะต้องแน่ใจว่า กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการศึกษา มีความเป็นตัวแทนของประชากรท่ีแท้จริง ส่วนข้อมูลที่ได้จะถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใดน้ั น ก็ยังขนึ้ อยู่กับความรว่ มมอื และความเข้าใจของผถู้ ูกสัมภาษณ์ หรอื ผตู้ อบแบบสอบถามอีกด้วย ๔. การศึกษารายกรณี (Case Study) เป็นวิธีศึกษาเพื่อสืบหาสาเหตุของพฤติกรรมในปัจจุบัน โดยอาศัยข้อมูลต้ังแต่ในอดีตจนกระท่ังถึงปัจจุบัน ท้ังนี้เพ่ือให้ทราบภูมิหลังของครอบครัวสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนสุขภาพทางกาย อารมณ์และการปรับตัวทางสังคมของบุคคลวิธีการศึกษาแบบน้ี ส่วนมากจะใช้ศึกษา บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต หรือใช้ในการสืบประวัติของบุคคลเป็นการศึกษาท่ีใช้วิธีการในการรวบรวมข้อมูล หลายๆ วิธี เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ ผู้ที่ถูกศึกษาโดยตรง การสอบถามจากญาติพ่ีน้องท่ีใกล้ชิด รวมทั้ง การรวบรวมข้อมูลจากหลักฐาน ท่ีเป็นเอกสารหรือบันทึกต่างๆ หรืออาจจะเป็นคะแนนจากการทำแบบทดสอบ ทางจิตวิทยากไ็ ด้ ในกรณีท่ีเรื่องที่ต้องการจะศึกษาเป็นเรื่องลึกซ้ึง มีรายละเอียดและต้องการความต่อเนื่อง ควรใช้ วิธีการศึกษาแบบระยะยาว (Longitudinal Study) ซ่ึงเป็นการติดตามศึกษาพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เปน็ ระยะเวลายาวนานติดต่อกัน และจะต้องใชก้ ล่มุ ตวั อยา่ งเดิมเสมอ วธิ ีนี้เหมาะกับการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ เพราะต้องติดตามการศึกษาพฤติกรรมใด พฤติกรรมหน่ึงเป็นเวลานาน เชน่ ต้ังแต่เด็กจนโต การศึกษาแบบระยะยาวมีขอ้ จำกดั คอื ต้องใช้เวลาและค่าใช้จา่ ย มาก นอกจากนั้น ยังมปี ัญหาเก่ียวกบั การถอนตวั ของผู้ถกู ศึกษาหรือผวู้ ิจัยกลางคนั อกี ดว้ ย เพ่ือขจัดปัญหาดังกล่าว นักจิตวิทยาอาจจะเปล่ียนมาใช้ วิธีศึกษาที่เรียกว่าการศึกษาภาคตัดขวาง (Crossectional Study) ก็ได้ วิธีนี้เป็น การศึกษาหลายๆ คนที่มีอายตุ า่ งๆกันตามช่วงอายุทต่ี ้องการ แล้วเปรียบเทยี บพฤติกรรมทีต่ ้องการศึกษาไปพร้อมๆ กัน และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงผู้ศึกษาจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างวัย และความแตกต่าง ของกลุ่มบุคคลท่ีนำมาศกึ ษาดว้ ย ๕. การหาสหสัมพันธ์ (Correlation) เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่าง ตัวแปร (Variable) ที่ต้องการศึกษา ตัวแปรในที่นี้ หมายถึง คุณลักษณะต่างๆ ของส่ิงของเหตุการณ์ บุคคล หรืออะไรก็ได้ ท่ีสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรท่ีต้องการศึกษาแสดงได้ด้วยค่าดรรชนีท่ีเรียกว่า “สมั ประสิทธิ์สหสัมพันธ์” (Correlation of Coefficient) ค่า r นี้จะมีค่าอยู่ระหว่าง -๑ และ +๑ เม่ือสัมประสิทธ์ิ มีค่าเป็นบวก หมายความว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันทางบวก กล่าวคือ ถ้าตัวแปรตัวหน่ึงมีค่าเพิ่มขึ้น อีกตัวหน่ึงจะมีค่าเพิ่มตามไปด้วย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนชั่วโมงที่ดูหนังสือกับปริมาณของความจำท่ีค่า เป็นบวก ในบางกรณีค่า r เป็นลบ ก็หมายความว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ เม่ือตัว แปรตวั หน่ึงมีคา่ เพิ่มข้ึน ตวั แปรอีกตัวหนง่ึ จะมีค่าลดลง เช่น จำนวนชั่วโมงท่ีดูหนงั สอื กบั จำนวนช่ัวโมงท่ดี ูโทรทศั น์ ถ้าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ ๐ (ศูนย์) ก็หมายความว่าตัวแปรท้ังสองไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เช่น ความสูงของนักศึกษากับเกรดเฉล่ียที่ได้ เป็นตน้ ในการศึกษาด้วยวิธีการหาสหสัมพันธน์ ้ีเราจะทราบแต่เพียงว่า ตัวแปรที่ศึกษามีความสัมพันธ์กัน หรือไม่ มีมากหรือน้อยเพียงใด แต่ไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่าตัวแปรท้ังสองเป็นเหตุเป็นผลซ่ึงกันและกัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับการเป็นมะเร็งปอด สรุปได้ว่า ก ารสูบบุหรี่ มีความสมั พนั ธ์กับการเป็นมะเรง็ ทป่ี อด แตย่ ังไม่สามารถสรุปไดว้ า่ การสบู บุหร่เี ป็นสาเหตุของการเป็นมะเร็งท่ปี อด ๖.วิธีการทดลอง (Experimental Method) เป็นวิธีศึกษาพฤติกรรมท่ีผู้ศึกษาทำหน้าท่ีควบคุม สภาวะเง่ือนไข หรือสร้างสถานการณ์ต่างๆ ข้นึ มา เพื่อให้เหมาะสมกบั วตั ถปุ ระสงค์ของการทดลอง แล้วติดตามผล

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕ ของการเปลี่ยนสภาพการณ์ว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรวิธีนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Variable) ไดช้ ดั เจนกวา่ การหาสหสมั พนั ธ์ สามารถพิสูจน์ใหเ้ หน็ จรงิ และสรปุ เป็นเหตุเป็นผลซงึ่ กันและกนั ได้ ในวิธีการทดลองนั้น ตัวแปร หมายถึง ส่ิงท่ีเปล่ียนแปลงค่าได้ ตัวแปรที่ผู้ทดลองทำการ เปล่ียนแปลงค่า เรียกว่า ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ส่วนตัวแปรที่เป็นผลตามมาจากการ เปลีย่ นแปลงน้ัน เรยี กวา่ ตวั แปรตาม (Dependent Variable) เนื่องจากตัวแปรตาม จะมคี า่ แปรผันตามค่าของตัว แปรอิสระ ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเป็นเหตุเป็นผลกัน โดยที่ตัวแปรอิสระเป็นเหตุ และตัวแปรตามเป็นผล ดังน้ันจะเห็นได้ว่า การศึกษาพฤติกรรมโดยการทกลอง ก็คือ การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามน่ันเองตัวอย่าง เช่น ถ้าผู้ทดลองต้องการจะศึกษาว่า วิธีสอนโดยใช้บทเรียน แบบโปรแกรมจะช่วยใหน้ กั เรยี นเกิดการเรียนรู้ได้ดีข้ึนหรือไม่ ในการศึกษาคร้ังนี้ “วธิ สี อน” ถือวา่ เปน็ ตัวแปรอิสระ สว่ น “ผลการเรียน” หรือ “คะแนนจากการสอบ” เปน็ ตัวแปรตาม ในการทดลองทางจติ วิทยามกั จะมีกลมุ่ ตวั อย่าง อย่างน้อย ๒ กลุ่ม เพื่อนำผลที่ได้มาเปรยี บเทยี บกัน กลุ่มแรกเรียกว่า กลุ่มทดลอง(Experiment Group) หมายถึง กล่มุ ทม่ี ีการเปล่ียนแปลงสภาพการณไ์ ปจากการสอนด้วยวิธีปกติ คอื สอนโดยใชบ้ ทเรยี นแบบโปรแกรม กลุ่มทสี่ อง เรียกว่า กลุ่มควบคุม (Control Group) เป็นกลุ่มท่ีไม่มีการเปล่ียนแปลงใดๆ สอนโดยใช้วิธีการสอนตามปกติ หลังจากที่การเรียนการสอนตามเงื่อนไขของการทดลองเสร็จส้ินแล้ว ก็นำผลการเรียนของทั้งสองกลุ่มมา เปรยี บเทยี บกนั ถ้าผลการเรียนของกลุ่มทดลองดีกว่า ก็แสดงว่า บทเรียนแบบโปรแกรมช่วยให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดีกว่าวิธีสอนตามธรรมดาทั่วๆ ไปสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในวิธีการทดลองก็คือ การควบคุม สถานการณ์หรือตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่เกยี่ วข้องกับสิ่งท่ีต้องการศึกษา โดยจะตอ้ งป้องกันมิให้ความแตกต่างระหว่างผล การเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีสาเหตุมาจากตัวแปรแทรกซ้อน(Intervening Variable) เหล่าน้ี ในการศึกษาผลของการใช้แบบเรียนโปรแกรมท่ีได้กล่าวไปแล้วนั้นมีตัวแปรแทรกซ้อนที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิธีสอน และต้องควบคุมให้ดี คือ สภาพห้องเรียน ระดับสติปัญญา ความสามารถของผู้เรียนเนื้อหาวิชาทีส่ อน และครูที่ทำ การสอน สิ่งเหล่านี้ต้องควบคุมให้มีความเท่าเทียมกันให้มากท่ีสุด ท้ังในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพื่อให้ผล การทดลองเปน็ ที่นา่ เชื่อถอื ๑.๖.๒ วิธีการที่ใช้ในการศึกษาทางจิตวิทยาโดยเฉพาะวิธีการศึกษาพฤติกรรมที่ใช้กันในเฉพาะการศึกษา ทางจติ วทิ ยาแบง่ ไดเ้ ปน็ ๒ ประเภท ดงั นี้ ๑. การใช้เคร่ืองมือทางจิตวิทยา (Psychological Instrument) เครื่องมือทางจิตวิทยามีหลาย ประเภท เช่น เคร่ืองมือวัดความแม่นยำเท่ียงตรงในการใช้มือ (Groove Type Steadiness Tests) เครื่องมือวัด การเปลย่ี นแปลงทางรา่ งกาย (Psychogalvanometer) และเคร่อื งชว่ ยสอน (Teaching Machine) ๒. การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Test) การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา เป็นวิธีศึกษาพฤติกรรมโดยดูผลจากการทดสอบ แบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ใช้มีหลายประเภท เช่น แบบทดสอบ เชาวน์ปัญญา แบบทดสอบความถนัด แบบทดสอบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและแบบทดสอบบุคลิกภาพ เป็นต้น ผลของการทดสอยจะเชอื่ ถอื ได้มากนอ้ ยเพียงใดขนึ้ อย่กู บั ความเทยี่ งและความตรงของแบบทดสอบน้ัน เป็นสำคัญ ในบางกรณีนักจิตวิทยาอาจใช้วิธีให้เด็กเล่นของเล่นต่างๆ เพ่ือให้เด็กได้แสดงความรู้สึก หรือทัศนคติท่ีมีต่อส่ิงต่างๆ ออกมาเป็นพฤติกรรมท่ีสามารถสังเกตได้โดยง่าย วิธีนี้เรียกว่า การบำบัดโดยวิธีเล่น (Play Therapy) และใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) กับผู้ใหญ่โดยให้แสดงละครเป็นตัวเอง หรือแสดงเป็นคนอน่ื เพอื่ เปดิ โอกาสให้บคุ คลน้ันแสดงความรู้สกึ นกึ คิดต่างๆ ออกมาเช่นกนั วิธีท่ีใช้ในการศึกษาทางจิตวิทยาที่กล่าวมาแล้วน้ัน ไม่สามารถกล่าวได้ว่าวิธีใดดีที่สุด วิธีใด จะเหมาะสมหรือไม่นั้นข้ึนอยู่กับเร่ืองที่ต้องการศึกษาเป็นสำคัญแต่โดยทั่วไปแล้ว ถ้าต้องการให้ผลการศึกษา

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖ ถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุด ควรจะใช้หลายๆ วิธีประกอบกัน ในปัจจุบันนักจิตวิทยาได้ใช้วิธีการทดลองกันมากขึ้ น ในการศกึ ษาทฤษฎที างจิตวทิ ยา เพราะการทดลองเปน็ วิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ สามารถพสิ ูจน์ไดแ้ ละเปน็ ท่ียอมรับ ๑.๗ กลมุ่ แนวคิดของทางจติ วิทยา นับตั้งแต่จิตวิทยาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นวิทยาศาสตร์ ก็ได้มีการศึกษาค้นคว้ากัน อย่างกว้างขวาง และจิตวิทยาก็ได้ถูกนำไปใช้กันหลายวงการอาชีพ ทำให้แนวความคิดทางการศึกษาแตกแยกกันออกไปเป็นหลาย กลุ่ม เพราะแต่ละกลุ่มต่างศึกษาคน้ คว้าไปในแนวของตน สรา้ งเป็นแนวคิดเป็นกฎเกณฑ์ เป็นความเชื่อหรอื ทฤษฎี ข้ึนมา อย่างไรก็ตาม พวกที่มีแนวความคิดคล้ายคลึงกัน ก็รวมกลุ่มเรียกว่า กลุ่มจิตวิทยา (School of Psychology) กลมุ่ จติ วทิ ยาทส่ี ำคัญๆพอสรุปได้ดังนี้ ๑.๗.๑ กลุม่ โครงสร้างจิต (Structuralism) แนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มน้ีก่อต้ัง ข้ึนในประเทศเยอรมันนี โดยนักสรีรวิทยาและนักปรัชญาชื่อ วิลเฮ็ลม แมกซ์ วุ้นด์ (Wilhem max wundt) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ มีความเช่ือว่า มนุษย์ ประกอบด้วยร่างกาย และจิต ซ่ึงตา่ งกเ็ ป็นอสิ ระแก่กันและกัน แต่ทำงานสัมพันธก์ นั พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการทำงานของร่างกาย ทเ่ี ปน็ ไปตามการส่ังการของจติ ดังนั้น นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงสนใจศึกษาจิตในระดับที่เรียกว่า จิตสำนึก แนวคิดน้ีได้รับอิทธิพล จากแนวคดิ ของนกั ปรชั ญาหลายคน เชน่ ๑. พลาโต (Plato) เช่ือว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์ เพราะมนุษย์ประกอบด้วยจิตซ่ึงทำหน้าท่ี ในการสรา้ งแนวคิด ๒. อริสโตเตลิ (Aristotle) เชอื่ ในเร่ืองชวี ติ จติ ใจ (Mental life) ๓. โสคราติส (Socrates) เชื่อว่า ความรู้ คือ การรู้จกั มโนภาพ ซึ่งเกิดจากการทำงานของร่างกาย สำหรบั ร่างกายกท็ ำงานตามจินตภาพทเี่ กิดข้ึน ตามสภาวะจิตใจ ภาพที่ ๑.๕ Wilhelm Max Wundt ทีม่ า: www.britannica.com จากแนวคิดที่เช่ือมโยงสัมพันธ์กันทั้ง ๓ คน วุ้นด์ จึงสรุปเป็นแนวคิดของเขาไว้ว่า จิต (Mind) มอี งค์ประกอบอิสระต่างๆ รวมกันเป็นโครงสรา้ งแหง่ จิต โดยเปรียบเทยี บจิตของคนเหมือนธาตุในวิชาเคมี เรียกว่า จิตธาตุ (Mental Element) ประกอบดว้ ย ธาตุ ๒ ชนดิ คือ ความรู้สึก(Feeling) บวกกบั การสัมผสั (Sensation) อย่างไรก็ตามจากแนวความคิดของวุ้นด์น้ี ได้มีการพัฒนาเพ่ิมข้ึน โดยเอ็ดวาร์ด ทิเชอร์เนอร์ (Edward B.Tichener, 1967-1927) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ซ่ึงศึกษาจิตวิทยาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยไลป์ ซิกกับวุ้นด์ ทิเชอร์เนอร์ได้ต้ังกลุ่มโครงสร้างจิตขึ้นที่มหาวิทยาลัยคอร์แนว(Cornell University) ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ได้พัฒนาแนวคิดต่อจากวุ้นด์ โดยเพิ่มเติมจินตภาพ (Image) เข้าไปด้วย จิตธาตุทั้ง ๓ เมื่อสัมพันธ์กันภายใต้

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗ สถานการณ์แวดล้อม ก็จะก่อให้เกิดรูปจิต ผสมข้ึน เช่น ความคิด (Thinking) อารมณ์ (Emotion) ความจำ (Memory) การหาเหตุผลหรือสาเหตุ (Reasoning) ฯลฯ โดยนัยเดียวกันกับทางเคมีที่ไฮโดรเจน เม่ือรวมตัวเม่ือ รวมตัวกบั ออกซเิ จนภายใต้สดั สว่ นทีเ่ หมาะสมและความกดดันท่ีพอดจี ะไดเ้ ป็นน้ำ จากแนวคิดท่ีเกิดขึ้นน้ี จึงเกิดเป็นจิตวิทยาโครงสร้างจิต ซ่ึงใช้วิธีพินิจภายในหรือการตรวจสอบตนเอง (Introspection) เป็นเคร่ืองมือในการศึกษาค้นคว้า วิธีพินิจภายในคือ การพิจารณาความรู้สึก ความคิดของตน ด้วยตนเอง ทิเชอร์เนอร์ อธิบายว่า ถ้าให้บุคคลสัมผัสหนังสือเล่มหนึ่ง บางคนก็รู้สึกสัมผัสเห็นสีสันของหนังสือ บางคนอาจจะรู้สึกถึงกลิ่นของหนังสือหรืออีกหลายความรู้สึกที่บุคคลจะมีจากประสบการณ์ของคนๆน้ัน ซึ่งได้รับ การวิพากษ์วิจารณ์และถูกโจมตีอย่างหนึ่งอย่างหนักว่ายากท่ีจะหาความชัดเจนในเชิงวิทยาศาสตร์ เพราะยึดตัว บุคคลท้ังความคิด ความรู้สึกของตัวบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันอิทธิพลหรือบทบาทสำคัญ ของจติ วิทยากลุ่ม โครงสร้างจิตทีม่ ีตอ่ การดำเนินชีวิตของคน ดังน้ี ๑. ความเชื่อในเร่ืององค์ประกอบของบุคคล ยอมรับว่า บุคคลประกอบด้วย ร่างกายและจิตใจ จิตใจยงั แบง่ ย่อยได้ เช่น สว่ นเก่ียวกบั การคิด ความจำ ความรักสวยรักงาม ฯลฯ ๒. การยอมรับเอาระเบียบวิธีท่ีว่าด้วยการแยกจิตออกฝึกเป็นส่วนๆ (Method of Mental of Formal Discipline) มาใช้ในการจัดการศึกษา นักการศึกษาเชื่อว่าบุคคลมีลักษณะอย่างเดียวกับวัตถุ (Material) หรือเครื่องจักร หากต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องฝึกฝนเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เช่น ด้านความจำ ต้องให้ท่องจำ ด้านการคิดต้องให้เรียนวิชาที่ส่งเสริมการคิด ทั้งนี้เพราะความเช่ือท่ีว่าจิตของคนเราแยกออก เปน็ สว่ นๆ ดงั น้ี ถา้ ต้องการใหส้ ว่ นไหนมีความสามารถ มีทกั ษะทางใดกต็ อ้ งมุง่ ฝึก ส่วนนั้นมากเป็นพเิ ศษ กล่มุ โครงสร้างจติ คอ่ ยๆ หายไปจากกลมุ่ จิตวิทยาหลงั จากการเสียชีวติ ของชิเทอรเ์ นอร์ ในปี ๑๙๒๗ ๑.๗.๒ กลุม่ หน้าทขี่ องจิต (Functionalism) เกิดข้ึนในสหรัฐอเมริกาเม่ือ ค.ศ.1900 ผู้ให้กำเนิดหรือผู้นำกลุ่มคือ จอห์น ดิวอี้(John Dewey 1859 - 1952) คณบดีคณะวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยชิคาโก วิลเลี่ยม เจมส์ (William James 1842 -1910) ศาสตราจารย์วชิ าจิตวทิ ยา มหาวิทยาลัยฮาร์วารด์ ผูเ้ ขียนตำราจิตวิทยาชือ่ Principles of Psychology และเจมส์ แองเจลิ (James Angell, 1869 -1949) ภาพท่ี ๑.๖ John Dewey ทมี่ า: http://campus.dokeos.com ภาพที่ ๑.๗ William James ท่มี า: http://alchetron.com/William-James-1173864-W

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๘ จิตวิทยากลุ่มหน้าที่ของจิตได้แนวความคิดจากทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน ซ่ึงเขียนไว้ในหนังสือ Origin of Species เมอื่ ค.ศ.1859 โดยมจี ุดเน้นทวี่ ่าสตั วท์ ่ีดำรงพนั ธ์อยไู่ ด้จะต้องต่อสู้และปรบั ตัวเองให้สอดคลอ้ ง กับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น ความเห็นของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า การจะเข้าใจถึงการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตน้ัน ต้องศึกษาถึงหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัว อีกทั้งควรสนใจว่าจิตทำหน้าท่ีอะไร ทำอย่างไร รวมถึงอากัปกิริยา ท่ีแสดงออกให้เห็น กล่าวคือการศึกษาพฤติกรรมน้ันจะสนใจศึกษาท้ังกิริยาที่แสดงออกภายนอกและความรู้สึก ภายใน กลุ่มหนา้ ที่จติ เชอื่ วา่ จิตมีหน้าท่คี วบคมุ การกระทำกจิ กรรมของรา่ งกาย ให้สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับ สิง่ แวดล้อม ฉะนั้น การศึกษาจิตในรูปของการกระทำกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม รวมทงั้ การเรียนรู้ก็จะช่วยให้คนปรบั ตวั ดีขึ้น สรปุ แนวคิดของกล่มุ หน้าทจ่ี ิต คือ ๑. การกระทำทั้งหมด (The total activities) หรือการแสดงออกของคน เป็นการแสดงออก ของจิต เพ่ือปรับตัวให้เข้ากับส่ิงแวดล้อม ดังน้ัน ในการศึกษาจิตใจคนก็ต้องศึกษาการแสดงออกของเขาในสถานการณ์ ต่างๆ ๒. การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดข้ึนอยู่หรือเก่ียวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละคน (The experience of individual) เสมอ พฤติกรรมของคนจึงแตกต่างกันนักจิตวิทยากลุ่มน้ีจึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้ การจูงใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนความจำของคน เพื่อหาทางให้ปรับตัวเข้ากับส่ิงแวดล้อมได้แนวคิดของกลุ่ม หน้าที่จิต มีอิทธิพลมากต่อวงการศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากความมุ่งหมายของการศึกษาประการหนึ่งก็คือ เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยความผาสุก การปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเร่ืองต้องศึกษา ทง้ั การปรบั ตัวให้เข้ากบั สงั คมและการปรบั ตัวให้เขา้ กบั ธรรมชาติ เป็นปรัชญาการศึกษาซ่ึงได้กลายเป็นจุดม่งุ หมาย ของการศกึ ษาท่สี ำคัญในปจั จบุ นั “การศึกษา คือ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” วิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ มากท่ีสุดเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาของกลุ่มหน้าที่จิต คือ การสังเกตและการทดลอง และเช่นเดียวกับกลุ่ม โครงสร้างจิต กลุ่มหน้าท่ีจิตก็มีแนวคิดเดียวกันเก่ียวกับบุคคล คือ การแสดงออกของบุคคลจะเก่ียวข้องกับ ประสบการณข์ องเขาเสมอ ๑.๗.๓ กลมุ่ พฤตกิ รรมนยิ ม (Behaviorism) กลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นแนวคิดที่เกดิ ข้ึนในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ.1912 จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson 1878-1958) เป็นผู้ให้กำเนิดโดยอาศัยแนว ความคิดของนักจิตวิทยารัสเซียช่ือ พาฟลอฟ (Pavlov) ผซู้ ึ่งได้ให้คำอธบิ ายเรือ่ งการเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง เพราะการวางเงอื่ นไข(Conditioned Response) กบั เบชทีเร (Bechterey) ศิษย์คนสำคัญคนหนงึ่ ของ Ivan P.Pavlov (1846 -1936) เปน็ พนื้ ฐานขน้ั ตน้ แนวความคิดทางจิตวิทยาของนักจิตวิทยารัสเซียท้ังสองท่านนี้ เป็นท่ีรู้จักกันในชื่อท่ีเรียกว่า คำอธิบายเกี่ยวกับการสร้างปฏิกิริยาสะท้อน วัตสัน ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาของพาฟลอฟทำให้เห็นว่า พฤติกรรมของอินทรีย์น้ัน เกดิ ข้ึนจากปฏิกริ ิยาสนองท่ถี ูกวางเงื่อนไข (Conditioned reflex) ต่อสิ่งเร้า อี แวน พา ฟลอฟ (Ivan P. Pavlov) ได้ทดลองให้เห็นว่า สุนัขสามารถเรียนรู้ การสร้างสัมพันธ์ต่อเน่ือง โดยการวางเงื่อนไข เมื่อสุนัขเกิดความรู้สกึ หิว ให้นำอาหารพร้อมการสั่นกระด่ิงมาพร้อมกัน เมื่อทำบ่อยครั้ง สุนัขเกิดการเรยี นรู้ เมื่อมี เสียงกระดิ่ง อาหารจะมา มันจะน้ำลายไหล ขณะน้ันเมื่อสุนัขสร้างสัมพันธ์ต่อเน่ืองแล้ว ได้ยินเสียงกระด่ิง มันก็จะน้ำไหล

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๙ ภาพท่ี ๑.๘ John B. Watson ทมี่ า:www.kucity.kasetsart.org จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson) เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย John Hopkinsระหว่าง ค.ศ. 1908-1920 กล่าวค้าน ไม่เห็นด้วยกับวิธีพินิจภายในหรือวิธีการตรวจสอบตนเอง(Introspection) เห็นว่าเป็นวิธี ที่แคบมากไม่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์เช่ือถือได้ยาก ไม่น่าเช่ือข้ึนอยู่กับความจำหรือความเอนเอียงส่วนตัว ของผู้ให้ข้อมูล เขาเชื่อว่าการจะศึกษาการกระทำหรือพฤติกรรมจะถูกต้องกว่า เพราะจิตเป็นส่ิงท่ีพิสูจน์ไม่ได้ ไม่สามารถสังเกตเห็นไดโ้ ดยตรง แต่พฤติกรรมสามารถสงั เกตโดยตรงดว้ ยประสาทสัมผสั ทั้ง ๕ หรืออาจใชเ้ ครื่องมือ วัดช่วยในการสังเกตการศึกษาพฤติกรรมจึงถือว่าเป็นการศึกษาท่ีเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถนำ เสนอข้อมูล ตา่ งๆ ของพฤติกรรมจากคนท่ีเฝ้าดอู ยู่ได้ หรอื จากเครอ่ื งมอื วดั ท่ีใชก้ ็ได้ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง บี.เอฟ สกินเนอร์ เชื่อว่าในเรื่องสิ่งเร้ากับการตอบสนองและเขามี ความเห็นวา่ พฤติกรรมมี ๒ ชนิด ดงั นี้ ๑. พฤติกรรมที่อยภู่ ายใต้การควบคุมของส่ิงเรา้ โดยตรง เช่น สตั ว์น้ำลายไหล เมื่อได้ลิ้มรสอาหาร หรือได้กลนิ่ อาหาร ๒. พฤติกรรมท่ีต้องกระทำอย่างใดอย่างหน่ึงเสียก่อน จึงจะเกิดพฤติกรรมท่ีต้องการ เช่น ต้อง เสยี บไฟเปิดเคร่อื งโทรทศั น์ ก่อนถงึ จะเห็นภาพในจอ แนวคิดที่สำคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยมมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างส่ิงเร้ากับการตอบสนอง โดยมี ความเชอื่ ว่าพฤติกรรมของมนษุ ย์เกดิ จากการแสดงอาการตอบสนองต่อส่ิงเร้าและการตอบสนองตดิ ต่อกันไปเร่ือยๆ จะกอ่ ให้เกิดการเรียนรู้ สรปุ สาระสำคญั ของแนวทัศนะกลุม่ พฤติกรรมนิยม ๑. การวางเงือ่ นไข (Conditioning) เป็นสาเหตสุ ำคญั ทท่ี ำใหเ้ กดิ และเปลยี่ นแปลงพฤตกิ รรม ๒. พฤตกิ รรมของคนทีป่ รากฏขึ้น ส่วนมากเกิดจากการเรียนรมู้ ากกวา่ จะเป็นไปเองตามธรรมชาติ ๓. การเรียนรู้ของคนสามารถศึกษาไดจ้ ากการศึกษาพฤตกิ รรมของสัตว์ ๔. เครอื่ งมือท่ีใช้ในการศึกษาของกลมุ่ พฤตกิ รรมนิยม คือ การสงั เกตและการทดลอง ๑.๗.๔ กลมุ่ จิตวเิ คราะห์ (Psychoanalysis) กลุ่มจิตวิเคราะห์เป็นแนวคิดเกิดข้ึน ในประเทศออสเตรีย ค.ศ.1900 ผู้ให้กำเนิดหรือ ผู้นำกลุ่ม คอื จิตแพทย์ยิว ชาวเวียนนา ซิกมันต์ ฟรอยด์ (1956-1939) ซึ่งเป็นท่ียอมรับของวงการแพทย์มาก เร่มิ แพร่หลาย เม่ือแสตนเลย์ ฮอลล์ (Stanley Hall) เชิญ ฟรอยด์ไปปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยคลาร์ก เม่ือ ค.ศ.1909 และพัฒนา เป็นรากฐานวิชาจิตวทิ ยาคลินิก เม่ือ ค.ศ.1938 ๑. พนื้ ฐานแนวความคิด พนื้ ฐานแนวความคิดของกลุม่ จติ วิเคราะห์มาจาก ๓ แนวคิด ดังนี้ ๑.๑. จิตแพทย์ (Psychiatry) ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาพฤติกรรมของบุคคล ด้วยการแยก จิตออกวิเคราะห์ซึ่งเรียกว่า ระเบียบวิธีของจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ วิธีการศึกษา เช่นการสะกดจิตการสังเกต

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๐ พฤติกรรมจากภายในคลินิก และการสืบประวัติโดยการปล่อยให้บุคคลน้ันเป็นผู้เล่าเร่ืองราวต่างๆ อย่างอิสระ หรือด้วยความรู้สึกสบายใจ ทฤษฎีของ ฟรอยด์ ส่วนใหญ่ได้มาจากการศึกษาของคนอปกติ เน่ืองจากเขา เปน็ จิตแพทย์จึงม่งุ ศึกษาสาเหตุความวิปริตทางจิตเพ่ือจะหาทางแกไ้ ขใหค้ ืนดี ๑.๒. วิชาฟิสิกส์ จากทฤษฎีการคงรูปของพลังงาน ที่ว่าพลังงานย่อมไม่สูญหายไป แต่ย่อมเปล่ียนแปลงไปในลักษณะอ่ืนได้ ทำให้ฟรอยด์กำหนดให้จิตมีสภาวะเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง พลังงานท่ีเกิด จากจติ ไร้สำนึก มบี ทบาทสำคัญตอ่ การแสดงพฤตกิ รรมของบุคคลมากท่ีสดุ ๑.๓. จิตวิทยากลุ่มทเ่ี นน้ ความสำคัญของความมุ่งหมาย (Purposive Psychology) ทวี่ ่า การแสดงพฤตกิ รรมของบุคคลเป็นการกระทำท่มี ุ่งไปสูจ่ ุดมุ่งหมายและบรรลุจุดมุ่งหมาย ภาพท่ี ๑.๙ Sigmund Freud ทม่ี า:www.impoppap.blogspot.com ๒. ลกั ษณะของจติ ฟรอยด์มีความเชื่อว่า มนุษย์เรามจี ติ ๓ ลกั ษณะ ดังนี้ ๒.๑. จิตสำนึก (Conscious Mind) คือ สภาพท่ีมีสติ รู้ตัว รู้ว่าตัวกำลังทำอะไรอยู่ หรือกำลังจะทำอะไร รู้จักตัวเองว่าเป็นใคร ต้องการอะไร ทำอะไร อยู่ที่ไหน กำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใดการแสดง อะไรออกไปก็แสดงไปตามหลักเหตุผล แสดงตามแรงผลักดันจากภายนอกสอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง (Principle of Reality) ๒.๒. จิตก่ึงสำนึก (Subconscious Mind) คือ สภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิก เทา้ ผวิ ปาก ฮมั เพลง โดยไมร่ ้ตู วั พูดอะไรออกมาโดยไม่ไดต้ ั้งใจ และถอื วา่ ประสบการณ์ ตา่ งๆ ท่ีเก็บไว้ในรปู ของความทรงจำก็เป็นส่วนของจติ ใต้สำนกึ ด้วย เช่น ความขมขื่น ความประทับใจในอดีต ถา้ ไม่ นึกถงึ ก็ไม่ร้สู กึ อะไร แต่ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทีไรกท็ ำให้เกิดเศร้าทุกข์ หรอื ปลื้มใจทุกที ๒.๓. จิตใต้สำนึก (Unconscious Mind) เป็นส่วนของพฤติกรรมภายในที่เจ้าตัว ไม่รู้สึกตัวเลย อาจเนื่องมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดเอาไว้ เช่น อิจฉาน้อง เกลียดครู อยากท ำร้ายชาวต่างชาติ ฯลฯ เปน็ ส่งิ ท่เี ก็บกดเอาไว้ หรือพยายามทีจ่ ะลมื แลว้ ในท่ีสุดกล็ มื ๆ ไป ดูเหมอื น ลืมไปจริงๆ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในตัวในลักษณะจิตใต้สำนึก และจะแสดงออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ การพลั้งปากพูดออกมา พฤติกรรมผิดปกติต่างๆ ความสามารถด้านจินตนาการในศิลปวรรณคดี นอกจากน้ียังเป็นเร่ืองของ Id ซ่ึงมีอยู่ในตัวเราเป็นพลังที่ผลักดันให้เราแสดงออกซึ่งพฤติกรรมตามหลักแห่ง ความพอใจ แต่สิ่งน้ันถูกกดหรือขม่ ไว้จนถอยรน่ ไปอยูใ่ นสภาพท่เี ราไม่รูต้ วั กลุ่มน้ีเน้นความสำคัญในเร่ืองจิตใต้สำนึกและขบวนการปฏิบัติงานของจิตใต้สำนึก โดยถือว่าเป็นแก่นสำคัญของสกุลนี้ พยายามค้นให้พบถึงสภาพจิตใต้สำนึก ซ่ึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความ ผิดปกติทางจติ หรือระบบประสาท ฟรอยด์ได้ศกึ ษาค้นพบว่าจติ ใต้สำนึกมีอทิ ธิพลตอ่ พฤติกรรมของคนโดยทางอ้อม เช่ืออย่างมากว่าจิตใต้สำนึกเป็นเหตุจูงใจให้บุคคล มีพฤติกรรมแทบทุกอย่าง จิตรู้สำนึกเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ถา้ เปรียบเปน็ ก้อนน้ำแขง็ ที่ลอยอยใู่ นน้ำ จิตรู้สำนึกก็เปน็ เสมือนสว่ นทีโ่ ผล่พน้ น้ำและจิตใต้สำนกึ มีจำนวนมากซ่ึงถูก

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๑ เก็บกดเอาไว้เปรียบเสมือนน้ำ แข็งใต้น้ำ การท่ีจะเข้าใจบุคคลจึงจำเป็นต้องศึกษาจิตใต้สำนึกของเขาให้มากที่สุด โดยศึกษาจากความฝันคำพูดที่พลั้งเผลอพูดขณะเมา หรือการที่แสดงออกโดยไม่รู้ตัว และยังมีความเช่ือว่า พฤติกรรมทั้งหลาย หรือแรงจูงใจมีสาเหตุมาจากพลังผลักดันทางเพศ ความเช่ือน้ีมีผู้ต่อต้านมากในระยะแรกๆ แต่แนวคิดของกลุ่มนี้เป็นที่ยอมรบั ในวงการแพทย์ สำหรบั การบำบดั รักษาอาการผิดปกติทางจิต ปัญหาทางอารมณ์ ปัญหาทางบคุ ลิกภาพ ความคิดหลักของฟรอยด์ ก็มีอยู่ว่าจิตมีลักษณะเป็นพลังงาน เรียกว่าพลังจิตพลังงานจิตน้ี เป็นผู้ควบคุมการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของรา่ งกายท้ังหมด เมอื่ พูดถึงพลังงานจิตเป็นคำรวมๆ ก็จะตอ้ งหมายถึงว่า มีสภาพเป็นทั้ง ท่ีใต้สำนึกและที่รู้สำนึก ขอให้หลับตาเห็นเป็นคล้ายเส้นกั้นขวางอยู่ พลังงานจิตใต้สำนึก ก็จะพยายามดันท่ีจะข้ึนเลยเหนือเส้นกั้น เข้าไปอยู่ในภาวะรู้สึก แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะมีแรงกดผลักดนั เอาไว้ ฝ่ายไหนมีกำลังเหนอื กวา่ ฝา่ ยนั้นก็ชนะไป ดงั แสดงในภาพที่ ๑.๑๐ แรงกด จติ รู้สำนึก เส้นแบง่ ระดบั จิตใต้สำนึก แรงดนั ภาพที่ ๑.๑๐ แสดงแรงกดของจติ สำนึก และแรงดันของจติ ใต้สำนกึ ฟรอยด์เชื่อว่า ความทะเยอทะยานในกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากจิตใต้ สำนึกมากที่สุด โดยปกติไม่ว่ามนุษย์จะแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมา ย่อมอยู่ใต้การบังคับของจิตสำนึก การแสดงออกของจิตใต้สำนึกหารู้สึกตัวไม่ ไม่สามารถควบคุมได้ พวกวิกลจริตเป็นเพราะจิตใต้สำนึกนี้ บันดาล ให้มีพฤติกรรมแปลกๆ กลายเป็นผู้มีบุคลิกภาพผิดจากคนธรรมดา (Personality Defect) หรือจิตผิดปกติ (Mental Disorder) จติ ใต้สำนึกเกิดจากความต้องการที่ไมไ่ ด้รับการตอบสนองของมนุษย์ แล้วถูกเก็บไว้และมักจะ แสดงออกในรูปของความฝันการละเมอ และพลั้งปาก ความปรารถนา กล่าวคือ ความปรารถนาท่ีสังคมไม่ยอมรับ โดยถูกห้ามปราม หรือลงโทษทำให้เด็กเกิดความรู้สึกจะทำอย่างไร เกิดความอึดอัด วุ่นวายใจ ท่ีกลายมาเป็นส่วน ของจิตใต้สำนึก ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของความฝัน คำพูดท่ีหลุดปาก หรือการกระทำที่แสดงออกมาโดย ไม่รู้สกึ ตัว ความปรารถนาที่เป็นจิตใต้สำนึกส่วนใหญเ่ ป็นความปรารถนาทางด้านเพศ มูลเหตุจูงใจของคน มีตน้ เหตุ มาจากความปรารถนาทางเพศ แต่ฟรอยด์ให้ความหมายของคำว่าเพศ ของเขาไว้อย่างกว้างขวาง ได้ชี้ให้เห็นว่า การแสดงพฤติกรรมของบุคคลน้ัน ย่อมดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมาย เพ่ือให้สอดคล้องกับหลักแห่งความพึงพอใจ หรือเพื่อความสบายใจเป็นสำคัญ ซ่ึงส่วนมากเป็นการแสดงพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากสัญชาตญาณของการดำรง พันธ์ุ แต่การแสดงพฤติกรรมต่างๆ ต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยเฉพาะสิ่งแวดลอ้ มทางวัฒนธรรม ด้วยเหตุน้ีเอง พฤติกรรมหลายอย่างที่แสดงออกมา เช่น พฤติกรรมท่ีเกิดจากสัญชาตญาณของการดำรงพันธ์ุ ซ่งึ เกิดข้ึนต้ังแต่วยั เด็ก พอโตข้ึน พบกับหลกั แห่งความเป็นจริงก็ตอ้ งสะกดกลั้นไว้ ในบางครั้งก็เกิดการขัดแย้งอย่าง รุนแรง ระหว่างความต้องการท่ีแสดงพฤติกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่งความพึงพอใจกับแรงกดดัน จากความจริงภายนอก ผลท่ีเกิดข้ึนคือพลังของจิตใต้สำนึกส่วนหน่ึงของพฤติกรรมที่มนุษย์ได้รับแรงผลักดัน จากแรงจูงใจจากจิตใต้สำนึกและเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้น ในระยะ ๕ ปี แรกของชีวิต ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ ฟรอยด์เช่อื ว่าบคุ ลิกภาพของมนษุ ยป์ ระกอบด้วยการทำงานของระบบ ๓ ระบบ ดังน้ี

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๒ ๓. ระบบ Id เป็นส่วนประกอบทางกาย (biological component) เป็นระบบด้ังเดิม ของบุคลิกภาพประกอบด้วยทุกอย่างท่ีสืบทอดมาแต่เกิด รวมทั้งสัญชาตญาณซึ่งเป็นแรงขับให้มนุษย์แสดง พฤตกิ รรมต่างๆ ๓.๑ สัญชาตญาณ ฟรอยด์ ได้แบ่งสญั ชาตญาณแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังน้ี ๑) สัญชาตญาณของการดำรงชีวิต (life instinct) เป็นญชาตญาณที่ตอบสนอง ความต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป โดยเฉพาะสัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) ซ่ึงฟรอยด์ให้ช่ือว่า “Libido” เปน็ แกนสำคัญของการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ๒) สัญชาตญาณของการตายหรือความก้าวร้าว เป็นสัญชาตญาณ ท่ีฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่ามีอยู่ในตัวคนทุกคน การนินทาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวของคนอย่างหน่ึง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็น อนั ตราย ในการดำรงชวี ิตซึง่ กเ็ ปน็ สิง่ นำไปสคู่ วามตาย Id เปน็ พน้ื ฐานการก่อเกดิ บุคลิกภาพ คนตอบสนอง เรียนรู้ สิง่ แวดลอ้ มภายนอก ความต้องการ รับสถานการณ์ต่างๆ เบื้องต้น (ID) เผชิญตอ่ ความจรงิ ๓.๒ หนา้ ทีข่ อง Id ๑) สร้างแรงขับสัญชาตญาณ (instinctive force) ออกมาเพื่อให้บุคคลแสดง พฤตกิ รรมและสัญชาตญาณ (Instinct) ๒) กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่ง ความพึงพอใจ (principle of pleasure) ดังน้ัน พฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลที่แสดงออกมาภายใต้อิทธิพลของ Id จึงมีพฤตกิ รรมทป่ี า่ เถ่อื น หยาบคาย แขง็ กรา้ ว เห็นแก่ตัว โหดรา้ ย ฯลฯ ๓) เปน็ แกนกลางของบุคลิกภาพของบคุ คล ๔. ระบบ Ego คือ พลังจิตส่วนท่ีควบคุมการแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสม หมายถึง ส่ิงต่างๆ ท่ีบุคคลได้รับมาจากการเรียนรู้ เป็นพลังส่วนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาแล้ว ฉะน้ันพฤติกรรมท่ีบุคคลแสดง ออกมาเพราะพลังของ Ego จึงมีลักษณะเป็นพฤติกรรมที่ผ่านการฝึกหัดอบรมมาแล้ว (learned or trained behaviors) Ego หมายถึง การดิ้นรนของร่างกาย เพ่ือสนองความต้องการท่ีเกิดข้ึน Ego หมายถึง พลังท่ีควบคุม ไม่ให้แสดงพฤติกรรมที่สังคมไม่ปรารถนาออกมาและปรับตัวไม่ให้เกิดทุกข์ทรมานเมื่อความต้องการถูกกดไว้ (repression) หาทางให้ความเกิดจาก Id ได้รับการตอบสนองแต่ไม่ขัดกับคุณธรรม กล่าวคือ พยายามยับยั้ง การสนองความต้องการท่ีเกิดจาก Id ให้เหมาะสม Ego เป็นพลังท่ีคอยห้ามมนุษย์ไม่ให้แสดงพฤติกรรมสนอง ตามที่ Id ต้องการให้ขัดกับคุณธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมและพยายามปรับปรุงตน ให้บรรลุวุฒิภาวะให้สูงสุดเท่าท่ีจะทำได้เพื่อให้เป็นท่ียอมรับของสังคม Ego เป็นพลังส่วนท่ีควบคุมการแสดงออก ซง่ึ พฤติกรรมของคนใหด้ ำเนินไปอยา่ งเหมาะสมภายใต้อิทธิพลของจติ และ Super ego พยายามแก้ไขข้อขดั แย้ง ตา่ งๆ ของ Id และ Super ego ซ่ึงบางกรณีถา้ ความขัดแยง้ มมี ากจะเกิดความวติ กกังวล กระวนกระวายจนเปน็ โรค จติ โรคประสาทได้ วธิ ีหนึง่ ท่เี ป็นทางออกของ Ego กลไกการปอ้ งกนั ตวั หรอื ใชก้ ลวธิ าน (defense mechanism) ๔.๑ หนา้ ท่ขี อง Ego ๑) ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของบุคคลให้สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็น จริง (Principle of Reality) คือ ควบคุมความอยากอันไมเ่ ป็นท่ีพึงปรารถนาของสังคมมิใหป้ รากฏออกมาภายนอก

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๓ ได้ ใช้หลักความเป็นจริง (Principle of Reality) มาคอยควบคุมหลักแห่งความพอใจ (Principle of Pleasure) ควบคุมมิให้ความตอ้ งการที่เกิดจากพลังของ Id ในสิง่ ทไี่ มป่ ระสงค์ของสงั คมปรากฏออกมา ๒) ผ่อนคลายความทุกข์เน่ืองจากการเก็บกด ระงับความขัดแย้งระหว่าง ความต้องการเพ่ือสนองความพอใจของตน (Id) กบั ความรูส้ ึกผิดชอบชวั่ ดี ซง่ึ ทำให้คนเราเกิดความทุกขร์ ้อนกระวน กระวาย อาจรุนแรงถึงเป็นโรคจิตโรคประสาทก็ได้ ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของบุคคลให้ดำเนินไป อย่างเหมาะสมภายใต้อิทธพิ ลของ Id และ Superego คือพยายามแก้ไข ข้อขัดแย้งต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นจากความอยาก เพราะข้อขัดแย้งต่างๆ น้ีเองเป็นที่มาของความทุกข์ร้อน พยายามมิให้เกิดความทุกข์โดยการเก็บความอยาก เหล่าน้ัน Egoทำหน้าที่ใช้กลวิธานหรือวิธีป้องกันตัว (defense mechanisms) ไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ กลไกในการแก้ไขหรือคลายความทกุ ข์อาจแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาโดยไม่รสู้ ึกตัว เช่น การกา้ วรา้ ว เก็บกดทน แทนหรือหลีกเลย่ี ง ๓) ทำให้บุคคลเป็นผู้มีวุฒิภาวะ (Maturity) คือสะสมวามสามารถ รู้จักตน พึง่ ตนเองไดเ้ ม่อื เผชิญกับแรงดนั จากความเป็นจริงภายนอก ๕. ระบบ Superegoเป็นส่วนประกอบทางสังคม (Social Component) เป็นระบบมโนธรรม ซ่ึงมนุษย์ได้รับการขัดเกลาจากสังคมให้รู้สิ่งดีและส่ิงเลวร้าย เป็นตัวแทนของคุณธรรมหรือค่านิยมตามประเพณี อุดมคติของสังคม ซึ่งพ่อแม่แปลความหมายและบังคับให้เด็กปฏิบัติโดยอาศัยระบบการให้รางวัลและการลงโทษ เป็นเคร่อื งควบคุมพฤติกรรมบงั คับให้บคุ คลกา้ วสูม่ าตรฐานอันไรข้ ้อบกพร่องมากกวา่ ให้มีความสขุ ๕.๑ หนา้ ทขี่ อง SUPEREGO ๑) หักห้ามอารมณ์ท่ีพลุ่งข้ึนมาอย่างรุนแรงของ ID โดยเฉพาะเร่ืองเพศ และความกา้ วร้าวรุนแรง ๒) ชกั จูงให้ไปส่เู ป้าหมายทางศลี ธรรมแทนทีเ่ ป้าหมายตามความเปน็ จริง ๓) พยายามควบคุมพฤติกรรมใหเ้ ข้าสู่มาตรฐาน ๖. สรปุ สาระสำคัญของแนวคิดกลุ่มจติ วิเคราะห์ ประกอบด้วย ๖.๑ การเข้าใจถึงส่วนลึกของจิตใจและพลังท่ีอยู่ภายใต้ของมนุษย์แต่ละคนอีกทั้ง ความสามารถที่จะนำไปประยุกตใ์ ช้ เพื่อใหค้ วามทกุ ข์ใจของมนุษย์แต่ละคนบรรเทาลง ๖.๒ การเขา้ ใจพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทแ่ี สดงออกน้ันส่วนใหญ่ จะถูกควบคุมโดยจิต ใต้สำนกึ (unconscious) ๖.๓ พัฒนาการในช่วงวัยเด็กตอนต้นมีอิทธิพลสำคัญ ซ่ึงสามารถส่งผลถึงพฤติกรรมวัย ผใู้ หญ่ได้ ๖.๔ การเข้าใจถึงวิถีทางของมนษุ ยท์ ีพ่ ยายามลดความวิตกกังวล ดว้ ยการสรา้ งกลไกทาง จติ ๖.๕ วิธกี ารท่ีจิตวิเคราะห์ใช้ไดแ้ ก่ การระบายความในใจ (free association)การระบาย อารมณ์ (transference)การวิเคราะห์ความฝัน(dream analysis)การต่อต้าน (resistance) การแปลความหมาย (interpretation) หลักสำคัญของกลุ่มจิตวิเคราะห์ สามารถทำความเข้าใจเป็นภาพรวม คือ การที่จะเข้าใจถึงส่วน ลึกของจิตใจและพลังที่มีอยู่ภายในตัวคน เพ่ือให้เข้าใจถึงพฤติกรรมต่างๆ ฟรอยด์ (Freud) เน้นว่าควรทำความ เข้าใจกับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก และอุปมาจติ ของมนุษย์เปรยี บเสมือนก้อนน้ำแข็งท่ีกำลงั ลอยอยูใ่ นน้ำ จติ สำนึก (conscious) เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็งท่ีลอยอยู่เหนือ ผิวน้ำ ส่วนท่ีอยู่ใต้ผิวน้ำน้ีคือ จิตใต้สำนึก (unconscious) ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่ามีถึงเก้าในสิบ (๙/๑๐) ส่วนของก้อนน้ำแข็ง ซึ่งจติ ใต้สำนึกนี้เป็นที่สะสมของประสบการณ์

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๔ ความทรงจำและส่ิงต่างๆ ท่ีมนุษย์พยายามเก็บกดไว้ รวมถึงแรงจูงใจและความต้องการต่างๆ ท่ีไม่สามารถ แสดงออกได้ ในภาวะปกติ ผลจากการศึกษาค้นคว้าเก่ียวกับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก เป็นผลงานที่สร้างช่ือเสียงให้กับฟรอยด์ (Freud) มาก เพราะเป็นส่ิงสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์เข้าใจถึงพฤติกรรมและปัญหาท่ีเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถศึกษาจิตใต้สำนึกได้โดยทางตรง แต่จิตใต้สำนึกก็จะแสดงให้เห็นในรูปของพฤติกรรม ตามลกั ษณะทแ่ี ตกต่างกันไป ดงั น้ี ๑. ข้อมูลท่ีได้ภายหลังการสะกดจิต โดยเฉพาะข้อมูลการใช้เทคนิคการระบายความในใจ (Free Association) ๒. การพูดพล้ังปาก (Slips of the tongue) เช่น ขณะที่เรากำลังพูดสนทนากับบุคคลหนึ่ง แต่ใจไปนึกถึงอกี บคุ คลหนงึ่ จึงเรยี กช่ือบุคคลทเี่ ราสนทนาดว้ ยผดิ ไป ๓. ความฝัน (Dream) ฟรอยด์ถือว่า ความฝันเป็นสัญลักษณ์ที่แทนความต้องการหรือ ความขดั แยง้ ทซ่ี อ่ นอย่ใู นส่วนลกึ ๑.๗.๕ กล่มุ จติ วทิ ยาเกสตอลท์ (Gestalt Psychology) กลุ่มจิตวิทยาเกสตอลท์เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้น ในประเทศเยอรมัน เมื่อ ค.ศ.1913 ผู้นำกลุ่ม คือ แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer, 1880) โคห์เลอร์ (Kohler, 1877) และ เคริท คอฟกา (Kurt Koffka, 1886) นักจิตวิทยาเหล่านี้เป็นชาวยิว อยู่ในประเทศเยอรมันเมื่อถูกฮิตเลอร์ ขับไล่ จึงหนีไปต้ังถิ่นฐาน อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานของเขาต่อไปจนเป็นท่ีรู้จักแพร่หลายทั่วไป หลังจากทฤษฎีท่ีซบเซาไป เน่ืองจากสงครามโลกคร้ังท่ี ๒ และเร่ิมมาแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาเมื่อหลังสงคราม ซ่ึงต่อมา เคริท เลวิน (Kurt Lewin, 1890 - 1947) นำทฤษฎีเกสตอลท์มาปรับปรุงดัดแปลง ทฤษฎีน้ีมีช่ือใหม่ในระยะหลังว่า Field Theory (ทฤษฎีสนาม) จิตวิทยาเกสตอลท์ ได้รับความสนใจจาก โคห์เลอร์ ได้รับเชิญเป็นนายกสมาคมจิตวิทยา แห่งสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1959 คำว่า “Gestalt” เป็นคำในภาษาเยอรมัน หมายความว่า Totality หรือ A whole configuration หรือ see as a whole หรือกระสวน โครงร่าง รูปร่าง (pattern) สนาม (field) การรวม หน่วยย่อย (configuretion) หรือโครงรูปแห่งการรวมหน่วย (การรวมเป็นรูปร่าง) หรือโครงสร้างของการรวม หน่วย (โครงสร้างของส่วนรวม) (form configuration หรือ organization) ส่วนรวมท้ังหมด หรือโครงสร้าง ทง้ั หมดจิตวิทยากลุ่มเกสตอลทน์ ยิ มจงึ หมายถงึ จิตวทิ ยาท่ยี ดึ ถอื เอาส่วนรวมท้ังหมดเป็นสำคญั นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่า การศึกษาจิตวิทยาน้ัน ต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวม จะแยก ศึกษาทลี ะสว่ นไม่ได้ เขามคี วามเช่ือมนั่ ในการรวมหน่วยตา่ งๆ อย่างแน่นแฟ้น กลุ่มเกสตอลท์เห็นว่า วิธีการของพฤติกรรมนิยมท่ีพยายามแยกพฤติกรรมออกมาเป็นหน่วยย่อย เช่น สิ่งเร้าและการตอบสนองน้ัน เป็นวิธีการที่ไม่ใช่เรื่องของจิตวิทยา น่าจะเป็นเร่ืองของเคมีหรือศาสตร์บริสุทธ์ิแขนง อื่นๆ ฉะนั้น กลุ่มเกสตอลท์จึงไม่พยายามแยกพฤติกรรมออกเป็นส่วนๆ แล้วศึกษารายละเอียดของแต่ละส่วน เหมือนกลุ่มอื่นๆ แต่ใช้วิธีตรงกันข้ามกล่าว คือ พิจารณา พฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ทุกๆ อย่าง เป็นส่วนรวม เน้นในเรื่องส่วนรวม (whole) มากกว่าส่วนย่อย เพ่งเล็งถึงส่วนท้ังหมด ในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน มีความคิดว่าคร้ังแรกท่ีเรามองวัตถุเราจะมองท้ังหมดก่อนแล้วจึงจะแยกดูเป็นส่วนย่อยเป็นส่วนๆ ไป เช่น ดูสี ดูขนาด ทำนองเดียวกัน ถ้าเรามองบ้านคร้ังแรก เรามองบ้านทังหลังก่อนแล้วจึงดูส่วนประกอบ เช่น หลังคา หน้าต่าง เสา การที่เรามองเห็นส่ิงต่างๆ น้ัน เราจะรับรู้ลักษณะทั้งหมดเป็นส่วนรวม รายละเอียดจะถูก มองข้ามไปไม่ได้รับการเอาใจใส่ นอกจากจะพิจารณาในแง่ท่ีเก่ียวพันกับส่วนรวมเท่าน้ัน เช่น เรามองดูภาพ โดยรวมๆ เราทราบว่าเป็นภาพอะไรทั้ง ๆ ท่ีไม่ได้พิจารณาส่วนย่อยอย่างละเอียด การรับรู้ของคนเราจะรับรู้เป็น ส่วนรวมก่อนการพิจารณารายละเอียดส่วนย่อย กลุ่มเกสตอลท์มีแนวคิดว่า “ส่วนรวมมีความสำคัญมากกว่า สว่ นยอ่ ยที่มารวมกัน”

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๕ ภาพที่ ๑.๑๑ Max Wertheimer ท่ีมา: http://quandocabecanaotemjuizo.blogspot.com กลุ่มเกสตอลท์อธิบายหลักการว่า ส่วนประกอบของหน่วยเมื่อรวมกันเข้าแล้วจะไม่เท่ากับหน่วยท่ีรวมกัน เป็นโครงสร้างแล้วเปรียบได้กับว่า กองไม้ อิฐ ซีเมนต์ เหล็ก ฯลฯ ถ้าแยกเป็นกองๆ จะมีค่าต่ำกว่าบ้าน เพราะเป็น หน่วยรวมซ่ึงมีโครงสร้างให้เห็นชัดเจน บ้านสองหลังสร้างด้วยวัสดุเหล่าน้ีจำนวนเท่ากัน อาจสร้างไม่เหมือนกัน ค่าของบ้านอาจจะมีราคาไม่เท่ากัน หลังหน่ึงอาจจะสวยกว่าอีกหลังก็ได้ ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับเทคนิควิธีการใช้วัสดุมา ผสมผสานกันให้เหมาะสม ทำนองเดียวกัน ในรูปของพฤติกรรมก็เช่นกัน การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อ ส่ิงแวดล้อม การท่ีจะแสดงออกมาในรูปใดมักเนื่องมาจากคุณสมบัติโดยส่วนรวมของบุคคลนั้นๆ เช่น การประสม ประสานกันระหว่างความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะหรือความสามารถในการกระทำ ไม่ได้เกิดเพราะส่ิงใดส่ิง หนึ่งเพียงสิ่งเดียวและถึงแม้ว่าส่ิงเร้าส่ิงเดียวกัน ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลนั้น ก็อาจจะ แตกต่างกันตาม กาลเวลา ท้ังน้ีเน่ืองจากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้นทำให้ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ทักษะ ความสามารถ ฯลฯ เปลีย่ นไปจากเดมิ นักจติ วทิ ยา กลุ่มน้ี จึงไม่แยกศึกษาส่วนต่างๆ แต่จะมุ่งศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวม ในการเรียนรู้ใดๆก็ตาม บุคคลจะเรียนรู้จากส่วนรวมก่อนแล้วจึงแยกเป็นส่วนย่อย จึงขัดกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ซึ่งเน้น ส่วนย่อยมากกว่า ส่วนรวม กลุ่มเกสตอลท์เน้นว่า ส่วนรวมมีค่าและมีความหมายมากกว่าผลรวมของส่วนย่อยๆ ความคดิ นี้ขัดแย้งกบั แนวความคดิ ของกลุ่มพฤตกิ รรมนยิ ม ซึ่งพยายามแยกศึกษาส่วนย่อยต่างๆ ทีละสว่ นจนเข้าใจ แล้วจึงรวมเป็นส่วนทั้งหมดในภายหลัง กลุ่มเกสตอลท์เน้นว่าการเรียนรู้ไม่ใช่แต่เพียงผลรวมของความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองน้ัน แต่เปน็ การรบั รแู้ ละแปล ความหมายของสถานการณ์ทั้งหมดเปน็ ส่วนรวม ๑.๗.๕.๑ แนวคิดท่ีสำคญั ของจติ วทิ ยาเกสตอลท์ แนวคิดที่สำคัญของจิตวิทยาเกสตอลทม์ ี ๒ ประการ ดังน้ี ๑. การรับรู้ (Perception) การท่ีคนเราจะรับรู้สถานการณ์ได้เข้าใจทั้งหมดน้ัน จะต้องรับรู้ส่วนรวมท้ังหมด แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยเป็นส่วนๆ ภายหลัง จึงจะสามารถทราบ ถึงความสัมพันธ์ ของส่วนต่างๆ ทำใหเ้ ข้าใจสถานการณ์ทเี่ ป็นสิ่งเร้าได้อยา่ งถูกต้องแน่นแฟ้น ๒. การหย่ังเห็น (Insight) กลุ่มเกสตอลท์เช่ือว่าการแก้ปัญหาเป็นวิธีการเรียนรู้ของคน และสัตว์ช้ันสูง ความคิดที่เกิดข้ึน เมื่อมีการแก้ปัญหาทำให้ลุล่วงไปได้ เรียกว่า หย่ังเห็น(Insight) วิธีสอนแบบ แก้ปัญหา (problem solving method) จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในโรงเรียนความสามารถในการแก้ปัญหา ของคนเราข้ึนอยู่กับความสามารถในการหย่ังเห็น ถ้าเกิดการหยั่งเห็นขึ้น เมื่อใดก็คือการแก้ปัญหาได้เม่ือนั้น และเมอ่ื แก้ปญั หาได้ก็หมายถงึ เกิดการรบั รู้ขึ้น แลว้ น่นั เอง ๑.๗.๖ กล่มุ จติ วิทยามนษุ ยนยิ ม (Humanistic Psychology) กลุ่มมนุษยนิยมเป็นกลุ่มแนวคิดที่เกิดข้ึน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ.1950 ผู้นำกลุ่มนี้ ได้แก่ อบั ราฮัม มาสโลว์ (Abraham H. Maslow, 1908 – 1970) และคารล์ โรเจอรส์ (Carl Rogers, 1902 – 1987)

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๖ ภาพท่ี ๑.๑๒ Abraham H. Maslow ทม่ี า: http://veerasit-dba๐๔.blogspot.com ภาพท่ี ๑.๑๓ Carl Rogers ท่มี า: http://pairsasiwimon.exteen.com กลุ่มน้ีไม่เห็นด้วยกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมท่ีมองมนุษย์เป็นเครื่องจักรมากเกินไป ทำให้ดูเหมือนว่า มนุษย์นั้นไม่สามารถควบคุมวิถีชีวิตของตนเองได้ แสดงพฤติกรรมอยู่ภายใต้อิทธิพลของส่ิงแวดล้อม แนวคิดกลุ่ม มนุษย์นิยมเนน้ คุณคา่ และความสำคัญของความเป็นมนุษย์ โดยมีความเชื่อวา่ มนุษย์นั้น มีลกั ษณะท่ีเป็นเอกลักษณ์ (Unique) เฉพาะตัวแตกต่างไปจากบุคคลอ่ืน มีความปรารถนาท่ีเป็นอิสระ รู้จักคิดตัดสินใจและเลือกกระทำส่ิง ต่างๆ ได้ด้วยตนเองนอกจากนั้น ยังมีแรงจูงใจท่ีจะพัฒนาตนเองไปสู่ระดับท่ีสมบูรณ์ข้ึนอีกด้วย การแสดง พฤติกรรมจะขึ้น อยู่กับตัวของเขาเองว่าเขารับรู้และตีความหมายเหตุการณ์น้ัน อย่างไร ดังน้ัน กลุ่มมนุษยนิยม จึงสนใจศึกษาการรับรู้ของบุคคลที่เก่ียวกับตนเอง บุคคลอ่ืน และโลกที่เขาอาศัยอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพล ตอ่ การแสดงพฤตกิ รรม ของบุคคลมาก การท่ีมนษุ ย์สามารถที่จะตัดสนิ ใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของเขา โดยแนวคิดของนักจิตวิทยากลมุ่ น้ีเช่ือว่า มนุษย์ ตามธรรมชาติมคี วามโน้มเอยี งท่ีจะมกี ารพัฒนาไปในสิ่งทด่ี ีข้ึน ถ้าไมถ่ ูกขัดขวางหรือมีอปุ สรรคเกิดขึ้น และพวกเขา เช่อื ตอ่ ไปวา่ ลกั ษณะของชีวติ ของมนุษย์ไม่สามารถศกึ ษาในเชงิ วิทยาศาสตร์ เช่น ความรกั ความเกลยี ด ความกลัว ความสุข ความรับผิดชอบ รวมถึงความหมายของชีวิตเพราะลักษณะเหล่าน้ีไม่สามารถให้คำจำกัดความเฉพาะ หรือถูกจัดกระทำได้ พวกเขาจึงศึกษาเกี่ยวกับความหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างมนุษย์ โดยใช้วิธีการต่างๆ ศึกษา เช่น วธิ กี ารปรนัย การศกึ ษาประวัติรายบคุ คล ปัจจุบัน กลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาในระยะเริ่มแรก ได้แก่ กลุม่ โครงสร้างทางจิตและกลมุ่ หน้าที่จิตไดเ้ ส่ือม ความนิยมลงไปบ้างแล้ว แตอ่ ย่างไรกต็ าม ข้อค้นพบท่ีสำคัญของกลุ่มแนวคิดเหล่านี้ ก็ยังถูกรวบรวมไวเ้ ป็นความรู้ พ้ืนฐานของวิชาจิตวิทยา สำหรับกลุ่มพฤติกรรมนิยมและกลุ่มจิตวิเคราะห์ยังเป็นท่ีนิยมอยู่ แต่ว่าได้ถูกปรับปรุง เปล่ียนแปลงไปบ้างตามแนวคิดของนักจิตวิทยา ในปัจจุบัน จิตวิทยาเกสตอลท์ ได้พัฒนามาเป็นจิตวิทยาความรู้ ความเข้าใจ ส่วนกลุ่มมนุษยนิยมเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาท่ีเกิดขึ้นใหม่เม่ือประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมานี้เอง ผลของการเกิดกลุม่ แนวคิดทางจิตวิทยาใหม่ๆ ทำให้นกั จติ วทิ ยามที างเลือกมากข้ึน ในการนำแนวคิดเหลา่ น้ันมาใช้ อธิบายและทำความเขา้ ใจพฤตกิ รรมที่ต้องการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๗ ๑.๘ ประโยชนข์ องการศกึ ษาจติ วทิ ยา จิตวิทยามีประโยชน์แก่บุคคลทุกประเภท โดยเฉพาะครูผู้สอน ผู้บริหารการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ บิดามารดา ผู้ปกครอง ซ่ึงจะช่วยให้สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กได้อย่างราบร่ืนและเป็นสุข ประโยชน์ของจิตวิทยา การศกึ ษามดี ังต่อไปน๑้ี ๗ ๑.ชว่ ยให้ครูสามารถเข้าใจตนเอง รู้จักพิจารณาตนเอง ตรวจสอบตนเองทั้งด้านดีและข้อบกพร่อง รวมท้ัง ความสนใจ ความตอ้ งการ ความสามารถ ซ่ึงจะทำให้ครูสามารถคิด และตัดสนิ ใจกระทำส่ิงต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ท่สี ดุ ๒.ชว่ ยให้ครเู ข้าใจทฤษฎีวิธีการใหมๆ่ และสามารถนำความรู้เหลา่ น้ันมาจดั การเรียนการสอน ตลอดจนนำ เทคนิคมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์แก่เด็กอย่างย่ิง เช่น ในการเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมครูจำเป็นต้อง ใช้วสั ดอุ ุปกรณ์เพื่อประกอบการเรยี นการสอนใหเ้ ดก็ เข้าใจง่ายย่ิงข้ึน เป็นตน้ ๓.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจรญิ เติบโตของเด็ก และสามารถนำความรู้มาจัดการเรียนการสอนให้ เหมาะสมและสอดคล้องกบั ธรรมชาติ ความตอ้ งการ ความสนใจของเด็กแตล่ ะวัย ๔.ช่วยให้ครูเข้าใจและสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรม ตลอดจนวิธีการวัดผลประเมินผล การศึกษาให้สอดคลอ้ งกับความเจรญิ เติบโตของผเู้ รยี นและถูกต้องตามหลักการ ๕.ชว่ ยใหค้ รูรจู้ กั วิธีการศึกษาเปน็ รายบุคคล เพ่อื หาทางชว่ ยเหลอื แก้ปัญหาของเดก็ และส่งเสริมพฒั นาการ ของเดก็ ใหเ้ ป็นไปอย่างดีที่สุด ๖.ชว่ ยให้ครมู ีสัมพันธภาพท่ดี ีกับเด็ก มคี วามเขา้ ใจเดก็ และสามารถทำงานกับเด็กได้อย่างราบรน่ื ๗.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบ ริหาร การศึกษาได้อยา่ งถกู ตอ้ ง ๘.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี การที่เรารู้จักจิตใจคนอื่น รู้ความต้องการ ความสนใจ และปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ ก็ทำให้เราสามารถเข้ากับคนอ่ืนในสังคมได้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้ อย่างปกตสิ ขุ สรุปทา้ ยบท การศึกษาจิตวิทยา เป็นเรื่องสำคัญต่อวงการศึกษามาก เพราะเป็นแนวคิดท่ีมีวิวฒั นาการมาต้ังแต่ยุคสมัย กรีกโบราณ ผ่านกระบวนการคิดของนักปราชญ์จากยุคหน่ึงสู่ยุคหน่ึง โดยใช้หลักการคิดเชิงเหตุผล การสังเกต และการทดลอง จนแนวคิดทางจิตวิทยาเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับในยุควิทยาศาสตร์ เนื่องจากมกี ระบวนการ ศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ น่ันคือ การทดลอง ถึงแม้ในช่วงระยะแรกจิตวิทยาจะเน้นด้านจิตใจหรือวิญญาณ แต่ในปัจจุบันจิตวิทยาได้ให้ความสำคัญกับส่ิง ที่สามารถพิสูจน์ได้จับได้มากข้ึน นั่นคือ “พฤติกรรม” อาจกล่าวได้ ว่าการศึกษา “จิตวิทยา” นำไปสู่การเข้าใจ “พฤติกรรม” โดยเฉพาะพฤติกรรมมนุษย์ เน่ืองจากจิตวิทยานับว่า เป็นเครื่องมือหนึ่ง ท่ีจะช่วยกระตุ้นให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์และคุณค่าของการปรับตัว เพอื่ ความสขุ สมบูรณ์ของการอยู่รว่ มกันในสังคม จะเห็นได้จากแนวคิดทฤษฎีของกลมุ่ แนวคดิ ทางดา้ นจติ วิทยากลุ่ม ต่างๆ ฉะนั้น ครจู ึงต้องทำความเข้าใจในจิตวิทยาพฤติกรรม วิธกี ารศึกษาพฤติกรรมและกลุม่ แนวคิดทางจติ วทิ ยา ๑๗กฤตวรรณ คำสม, เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับคร,ู (อุดรธานี : คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั อดุ รธานี, ๒๕๕๗), หนา้ ๑๘-๑๙.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๘ ใบกิจกรรมที่ ๑.๑ ให้นกั ศึกษาแต่ละกลุ่ม ศึกษาแนวคิดจิตวทิ ยาของกลุ่มแนวคดิ ที่ได้รับมอบหมาย แลว้ สรปุ ประเดน็ ตา่ งๆ ดงั นี้ กลุม่ แนวคิด........................................................... ได้รับอทิ ธิพลจาก ผ้นู ำกลมุ่ แนวคดิ สำคญั การนำไปใช้ หลังจากที่สมาชิกในกลุ่มศึกษา ทำความเข้าใจกลุ่มท่ีได้รับมอบหมายแล้ว ให้สมาชิก ๑ คน ประจำอยู่ใน กลุม่ สว่ นสมาชกิ ท่ีเหลือให้แยกไปเข้ากลมุ่ อื่น กลุ่มละ ๑ คน เมื่อได้กลุ่มใหมแ่ ล้วให้แต่ละคนพูดเรื่องทตี่ นเองได้ทำ ความเข้าใจมา เม่ือพูดหมดทุกคนแล้วให้กลับกลุ่มเดิม แล้วสรุปสิ่ง ที่ได้จากการแลกเปล่ียนให้สมาชิกทุกคนได้ รับทราบ ต่อจากน้ันให้แต่ละกลุ่มสรุปเป็นองค์ความคิดรวบยอด โดยทำเป็น Mind Mapping แล้วนำเสนอ หน้าชั้นเรียน

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๒๙ คำถามทา้ ยบท ๑. คำว่า “จติ วิทยา” มีความหมายอย่างไรและมงุ่ ศึกษาเกี่ยวกับอะไรฯ ๒. คำวา่ “พฤตกิ รรม” มคี วามหมายอยา่ งไร แบ่งออกเป็นกป่ี ระเภท อะไรบ้างฯ ๓. คำว่า “พฤตกิ รรมภายนอกกบั พฤติกรรมภายใน”แตกต่างกันอย่างไร ให้อธิบายพร้อมนำเสนอตัวอยา่ งฯ ๔. จติ วิทยามีความเกีย่ วข้องกับวิชาชีพครูอย่างไรฯ ๕. วิธกี ารศึกษาจิตวิทยามีวิธอี ะไรบ้างฯ ๖. ให้นกั ศึกษาอธบิ ายแนวคดิ ทางดา้ นจติ วิทยา ท้ัง ๖ กล่มุ ดงั น้ี ๖.๑ กลุ่มโครงสร้างจติ ๖.๒ กลุ่มหน้าทีจ่ ิต ๖.๓ กลุ่มพฤตกิ รรมนยิ ม ๖.๔ กลมุ่ จติ วเิ คราะห์ ๖.๕ กลุม่ เกสตอลท์ ๖.๖ กลมุ่ มนุษยนยิ ม โดยการอธิบายต้องประกอบด้วยประเด็นเหลา่ น้ี คือ - ผู้นำกลุ่ม - แนวคดิ ที่สำคัญ - การนำแนวคิดไปใชป้ ระโยชน์ ๗. การศึกษาจิตวทิ ยามีประโยชนส์ ำหรับครหู รอื บคุ ลากรทางการศึกษาอย่างไรฯ ๘. นักศึกษาจะประยุกตจ์ ิตวทิ ยาในชวี ิตประจำวันได้อยา่ งไรฯ

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๐ เอกสารอา้ งอิงประจำบท กฤตวรรณ คำสม,เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวทิ ยาสำหรบั ครู, อดุ รธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏอุดรธานี,๒๕๕๗. กนั ยา สวุ รรณแสง, จติ วิทยาท่ัวไป, กรุงเทพมหานคร : บริษทั บำรงุ สาส์น, ๒๕๓๒. จรรยา สวุ รรณทตั , ความรเู้ บอื้ งต้นเกยี่ วกบั จิตวิทยา, เอกสารการสอนชุดวชิ าจิตวทิ ยาทั่วไป, นนทบรุ ี : มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช, ๒๕๓๔. ชวนพิศ ทองทวี, จติ วิทยาการศกึ ษา, มหาสารคาม : วิทยาลยั ครมู หาสารคาม, ๒๕๒๒. เดโช สวนานนท์, จติ วทิ ยาสำหรบั ครูและผปู้ กครอง, กรงุ เทพมหานคร : โอเดียนสโตร์,๒๕๒๘. นิตย์ บุหงามงคล, จติ วทิ ยาเบื้องต้น, ขอนแกน่ : มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๓๗. ปราณี รามสูตร, พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน, กรุงเทพมหานคร : ธนะการพิมพ์, ๒๕๔๕. ปรีชา วิคหโต, จิตวทิ ยากับพฤติกรรมวัยรนุ่ , เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมวยั รุ่น, นนทบรุ :ี มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช, ๒๕๔๔. มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ,จติ วิทยา, ขอนแกน่ : ภาควิชาจติ วทิ ยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลยั ขอนแก่น, ๒๕๕๐. วริ ุฬห์ บุญสมบตั ิ, การศึกษาธรรมชาตวิ ิทยา : ธรรมชาติวิทยา, กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑. ศรวี รรณ จนั ทรวงศ์, พฤตกิ รรมมนษุ ยก์ ับการพัฒนาตน, อดุ รธานี : สยามการพิมพ์, ๒๕๔๙. สชุ า จนั ทนเ์ อม, สรุ างค์ จนั ทน์เอม, จิตวทิ ยาในห้องเรยี น, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๑. อบุ ลรตั น์ เพ็งสถิต, จิตวทิ ยาพฒั นาการ, กรุงเทพมหานคร : มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๘. Atkinson, R.L, Athinson, R.C and Hilgard E. R. Introduction to Psychology, New York : Harcourt Brace Javanovick, ๑๙๘๗. Baron, Robert A, Psychology : The Essential Science, Boston : Allyn and acon,๑๙๘๓. __________,Psychology, Boston : Allyn and Bacon, ๑๙๙๒. Cronbach, Lee J, Essentials of Psychological Testing, ๕th ed. New York : Harper &Row,๑๙๙๐. Johnston, Joni E, The complete Idiot’s Guide to Psychology, Indianapolis : Mac millon U.SA., Inc., ๒๐๐๐.

แผนบริหารการสอนประจำบทท่ี ๒ แนวคดิ หลกั การ ทฤษฎีทางจติ วิทยาการศึกษา จุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม หลงั จากไดศ้ ึกษาบทเรียนนแ้ี ลว้ นิสติ สามารถ ๑. อธิบายความเปน็ มาความหมาย คุณลักษณะ ขอบขา่ ย และบทบาทของจติ วิทยาการศึกษาได้ ๒. บอกประโยชน์ของจติ วทิ ยาการศึกษาได้ ๓. อธิบายความแตกต่างระหว่างบคุ คลได้ วางบุคคลได้ ๕. อธิบายการสร้างบรรยากาศในช้นั เรยี น องคป์ ระกอบของการสรา้ งบรรยากาศในชัน้ เรียนได้ และบทบาทของครใู นการสรา้ งบรรยากาศในช้นั เรยี นได้ ๖. อธบิ ายใช้เทคนิคในการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนได้ ๗. บอกความแตกต่างระหว่างบุคคล และการแสดงทศั นคติท่ีดตี อ่ ผเู้ รียน เนื้อหาสาระ เน้ือหาสาระในบทนี้ประกอบด้วย ๑.ความเป็นมาและความหมายของจติ วิทยาการศึกษา ๒.คุณลักษณะจติ วทิ ยาการศึกษา ๓.ขอบขา่ ยจติ วทิ ยาการศึกษา ๔.บทบาทจติ วิทยาการศึกษา ๕.ประโยชน์ของจติ วทิ ยาการศกึ ษา ๖.ความแตกตา่ งระหว่างบุคคล ๗.การสร้างบรรยากาศในชนั้ เรียน กจิ กรรมการเรยี นการสอน ๑. ทบทวนความรูเ้ ดมิ ในบทท่ี ๑ โดยการซกั ถามและใหน้ สิ ิตอธบิ ายและแสดงความคิดเห็น ๒. อธิบายเนอ้ื หา และสรปุ เน้ือหาสาระทส่ี ำคญั ดว้ ย Microsoft Power-point ๓. อภิปราย แลกเปลีย่ นความคิดเห็น และซักถาม ๔. แบ่งกลุ่มนิสติ ออกเป็น ๕ กลุม่ ใหน้ สิ ิตระดมความคดิ เห็นในหัวขอ้ “ความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล” และเขยี นสรุปประเด็นต่างๆ แลว้ ใหแ้ ต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหนา้ ช้ันเรียน ๕. แบ่งกลุม่ นิสิตเปน็ ๕ กลมุ่ มอบหมายงานใหแ้ ต่ละกล่มุ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเทคนิคการสร้าง บรรยากาศในชนั้ เรียน และทดลองใช้ในสัปดาหห์ นา้ ๖. ให้นสิ ติ ตอบคำถามทา้ ยบทที่ ๒ และนำสง่ ในสปั ดาหห์ นา้ ส่ือการเรียนการสอน ๑. เอกสารประกอบการเรียนการสอน “จิตวทิ ยาการศึกษา” ๒. การนำเสนอด้วย Microsoft Power-point และวีดทิ ัศน์ / คลิปวดี โี อ ๓. ตำราหรอื หนงั เสือเก่ียวกบั จติ วทิ ยา ได้แก่ กฤตวรรณ คำสม, เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวทิ ยาสำหรับครู, อดุ รธาน:ี คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏอดุ รธาน,ี ๒๕๕๗. กันยา สุวรรณแสง, จติ วิทยาทวั่ ไป, กรุงเทพมหานคร : บรษิ ทั บำรุงสาสน,์ ๒๕๔๐.

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๒ น้อมฤดี จงพยุหะ และคณะ, คู่มอื การศกึ ษาวิชาจติ วทิ ยาการศึกษา, กรงุ เทพมหานคร : มิตรสยาม, ๒๕๑๖. นชุ ลี อุปภยั , จิตวิทยาการศกึ ษา, พมิ พค์ ร้งั ที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : สำนักพมิ พ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๕๖. ศรีวรรณ จนั ทรวงศ,์ จติ วิทยาเพอ่ื การเรียนร้,ู เอกสารประกอบการสอน, อดุ รธานี : สยามการพิมพ์, ๒๕๔๙. สรุ างค์ โค้วตระกูล, จิตวิทยาการศกึ ษา, พิมพ์คร้ัง ที่ ๙, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พมิ พ์แหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๓. แสงเดือน ทวสี ิน, จิตวทิ ยาการศกึ ษา, พิมพ์ครง้ั ท่ี ๒, กรงุ เทพมหานคร : ไทยเส็ง, ๒๕๔๕. อารี พนั ธม์ ณ,ี จติ วิทยาสรา้ งสรรคก์ ารเรยี นการสอน, กรุงเทพมหานคร : ใยไหม ครเี อทีฟ กรุ๊ป, ๒๕๔๖. ๔. ใบกจิ กรรม ๒ กิจกรรม ดังนี้ ๔.๑ กิจกรรมความแตกต่างระหว่างบคุ คล ๔.๒ กจิ กรรมเทคนคิ การสร้างบรรยากาศในชนั้ เรียน ๕. แบบสอบถามการยอมรับและทัศนคติตอ่ นักเรยี นที่มคี วามแตกต่างกนั แหลง่ การเรียนรู้ ๑. หอ้ งสมุดวิทยาลัยสงฆบ์ รุ รี ัมย์ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒. หอ้ งสมดุ คณะครศุ าสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจติ วทิ ยาการแนะแนว ๓. แหล่งการเรยี นรูท้ างอนิ เตอร์เนต็ เกีย่ วกบั จิตวทิ ยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการสร้างบรรยากาศในชัน้ เรียน นิสิตสามารถสืบคน้ ข้อมูลทีต่ ้องการผ่านเวบ็ ไซตต์ ่างๆ การวดั และการประเมนิ ผล จดุ ประสงค์ เครื่องมอื /วธิ ีการ ผลที่คาดหวัง ๑. มคี ะแนนการทำแบบฝึกหัด ๑. อธิบายความเป็นมา ๑. ซกั ถาม ถกู ต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ความหมาย คุณลักษณะ ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท ๑. นสิ ติ มีคะแนนการทำ แบบฝึกหัดถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ ขอบข่าย และบทบาทของ จติ วิทยาการศึกษาได้ ๒. บอกประโยชนข์ องจติ วทิ ยา ๑. ซกั ถาม การศกึ ษาได้ ๒. แบบฝึกหัดท้ายบท ๓. อธิบายความแตกตา่ ง ๑. ซักถาม ๑. นสิ ติ มคี ะแนนการทำงานกลมุ่ ระหว่างบุคคลได้ ๒. แบบฝึกหัดท้ายบท และการนำเสนอร้อยละ ๘๐ ๒. นิสติ มคี ะแนนการทำ ๔. บอกปจั จยั ท่ีมีอิทธพิ ลต่อ ๑. ซักถาม แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ ความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ๒. แบบฝกึ หัดทา้ ยบท ๑. นิสติ มีคะแนนการทำงานกลุ่ม และการนำเสนอรอ้ ยละ ๘๐ ๒. นิสติ มีคะแนนการทำ แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๓ ๕. อธิบายการสร้างบรรยากาศ ๑. สงั เกตพฤติกรรมการรว่ ม ๑.นสิ ิตมคี ะแนนการ ทำงานกลุ่มและการนำเสนอ ในช้นั เรียน องค์ประกอบของ กิจกรรม หน้าชน้ั เรยี น ร้อยละ ๘๐ ๒. นสิ ิตให้ความร่วมมอื ใน การสรา้ งบรรยากาศในชั้นเรยี น ๒.สังเกตการณน์ ำเสนอหนา้ ชั้นเรียน การทำกิจกรรมกล่มุ รอ้ ยละ ๑๐๐ ๓. นิสติ มีคะแนนการทำ ได้ และบทบาทของครใู นการ ๓. แบบสงั เกตพฤติกรรม แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ สร้างบรรยากาศในช้ันเรยี นได้ การทำงานกลมุ่ ๑. นิสติ มคี ะแนนการทำงานกลุ่ม และการนำเสนอรอ้ ยละ ๘๐ ๔. ผลงานกลมุ่ ๒. นสิ ิตมีคะแนนการทำ แบบฝึกหัดถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ ๕. แบบฝกึ หดั ท้ายบท ๑. นสิ ติ มีการยอมรับและ ๖. ใชเ้ ทคนคิ ในการสร้าง ๑. ซกั ถาม ทัศนคตติ ่อนกั เรยี นทม่ี ีความ แตกต่างกันในระดบั ดี บรรยากาศในชั้นเรียนได้ ๒. แบบฝึกหดั ทา้ ยบท ๓. นำเสนอเทคนิคการสรา้ ง บรรยากาศในชั้นเรียน ๗. ยอมรับในความแตกต่าง ๑.แบบสอบถามการยอมรับ ระหว่างบุคคล และมีทัศนคติที่ และทศั นคติต่อนักเรยี นที่มี ดตี ่อผเู้ รียน ความแตกต่างกัน

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๔ บทท่ี ๒ แนวคิด หลักการ ทฤษฎีทางจติ วิทยาการศึกษา ๒.๑ ความนำ จติ วิทยาการศึกษาไม่ใช่ศาสตร์เดยี่ วๆ ท่จี ะสามารถสรปุ ขอบขา่ ยสาระได้ ในตัวเอง แต่เป็นเร่อื งท่เี ก่ียวข้อง กบั ศาสตร์ใหญ่ๆ ทีส่ ำคัญ ๒ ศาสตร์ คือ จิตวทิ ยาและการศึกษา ซ่ึงทั้งสองศาสตร์มปี รชั ญาที่มาและลักษณะหลาย อย่างที่แตกต่างกนั โดยสิ้นเชิงจิตวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เพ่ือหาหลักและกฎเกณฑ์ในการอธิบาย พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการศึกษาหาความรู้ทางทฤษฎีในห้องปฏิบัติการ และตลอดระยะเวลา ของการศึกษาทางจิตวิทยาท่ีผ่านมาได้มีการคิดค้นทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายและคาดคะเนเหตุผล ในการแสดงกรรมต่างๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพยายามคิดค้นหาวิธีที่จะควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ดังกล่าวซ่ึงต้องอาศัย ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า ในขณะเดียวกันก็เป็นการยากมากท่ีจะสรุปออกมาเป็นทฤษฎี ท่ีสามารถอธิบาย พฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการเข้ามาเก่ียวข้องกับการแสดงพฤติกรรม และปจั จยั ตา่ งๆ ดังกลา่ วกไ็ ม่สามารถกำหนดขอบเขตได้อยา่ งชดั เจน ในขณะท่ี “การศึกษา” ซ่ึงในท่ีนี้ หมายถึง การให้การศึกษาแก่บุคคล อันเป็นวิชาชีพหนึ่งท่ีมีปรัชญา จุดมุ่งหมาย ความเป็นมา และวิธีดำเนินการท่ีแตกต่างจากศาสตร์ทางจิตวิทยา โดยการให้การศึกษา ส่วนใหญ่ จะเน้นไปท่ีการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพเพ่ือการดำรงอยู่ของตนเองและสังคมอย่างมี ความสุข จึงเห็นได้ว่าการให้การศึกษา เป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลในลักษณะของการดำเนินการที่ต้องมี การปฏิบัติในสถานการณ์จริง มิใช่ลักษณะของการศึกษาหาแนวคิดหรือทฤษฎี ท่ีพยายามอธิบายพฤติกรรม ของมนุษย์ จากการค้นควา้ ทดลองในห้องปฏิบัติการ ดังเช่นวิธีการศึกษาทางจติ วิทยา จะเห็นได้ว่า จิตวิทยาในการศึกษานั้น มีลกั ษณะธรรมชาติของสองวัฒนธรรมท่ีแตกต่างกัน คือวัฒนธรรม หน่ึงเป็นนักทฤษฎี อีกวัฒนธรรมหน่ึงเป็นนักปฏิบัติ ซ่ึง Sprinthall๑ กล่าวว่า “จิตวิทยาการศึกษาเป็นความ พยายามเช่ือมต่อสองวัฒนธรรมที่แตกต่างเข้าด้วยกัน” โดยอาศัยซ่ึงกันและกันในการศึกษาหาความรู้ เนื่องจาก การปฏิบัติการหรือการดำเนินการใดท่ีปราศจากทฤษฎีเป็นพ้ืนฐานแนวคิดนี้อาจทำให้เกิดหลักเกณฑ์ท่ีชัดเจน ในการปฏิบัติ หรือไม่สามารถให้คำอธิบายท่ีมีความหมายชัดเจน ต่อการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต และในทางตรงกันข้าม การค้นหาความรู้ทางทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ก็อาจไม่สามารถนำมาอธิบายหรือนำมาใช้ อย่างเป็นรูปธรรมได้จริงในทางปฏิบัติหรือแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีน้ันๆ อาจเป็นคนละกรณีกับสถานการณ์ ทีเ่ กิดข้ึน จรงิ ก็เป็นได้ ดังนนั้ จิตวทิ ยาการศึกษาจึงขาดไมไ่ ด้ ทีจ่ ะต้องมีทั้งแนวคดิ ทฤษฎีทางจติ วิทยาเพื่อเปน็ หลัก และพ้ืนฐานความคิดในการศึกษาหาความรู้และแก้ปัญหาการจัดการศึกษาท่ีกำลังปรากฏอยู่ในสภาพการณ์ ของความเป็นจรงิ น่นั เอง ๑ Sprinthall และ Sprinthall, ., Educational psychology, 5th ed. New York:McGraw-Hill. 1990 p, 4.

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๕ Thorndike๒ นักจิตวิทยาผู้ซึ่งเขียนบทความเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาข้ึนเป็นคร้ังแรก ได้เปรียบ นักจิตวิทยาการศึกษาว่า \"เสมือนคนกลางท่ีเป็นสื่อประสานระหว่างศาสตร์ทางจิตวิทยาและศิลปะในการสอน เขา้ ดว้ ยกัน\" ดงั นั้น จึงอาจสรุปสาระสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาได้ว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นการศึกษาหาความรู้ เพ่ือที่จะนำมาใช้ในการจัดดำเนินการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา มาเป็นพนื้ ฐานในการสร้างสรรคศ์ ิลปะการสอนให้เกดิ คุณค่าและเกดิ ประโยชน์สูงสดุ แก่ผู้เรียน ๒.๒ ความเป็นมาของจิตวทิ ยาการศึกษา มีนักปรัชญานักการศึกษาและนักจิตวิทยามากมายที่มีส่วนในการสร้างกรอบแนวคิดให้กับจิตวิทยา การศกึ ษาแต่ในทน่ี จี้ ะขอกล่าวถงึ บุคคล ๔ คน ดังน้ี๓ ๑. William James : ผูจ้ ดุ ประกายจติ วิทยาการศกึ ษา ครั้งแรกที่ก่อกำเนิดขึ้นจิตวิทยามิได้ถูกจัดเป็นวิชาด้านวิทยาศาสต ร์แต่ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ปรัชญาในขณะนั้น (ราวปี ๑๘๙๐) William James ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยHarvard ได้พยายาม ดำเนินการอย่างเป็นระบบเพ่ือเรียกร้องให้จิตวิทยาแยกตัวเป็นศาสตร์อิสระ รวมท้ังพยายามอย่างยิ่งยวดท่ีจะนำ ความรู้ทางจติ วทิ ยามาประยกุ ตใ์ ช้ในชีวิตจรงิ เพ่ือมีให้เป็นเพียงศาสตร์ท่ศี กึ ษาหาความรู้อยแู่ ตเ่ ฉพาะในหอ้ งทดลอง William James ทุ่มเทความพยายามให้กับการศึกษาและการทำความเข้าใจกระบวนการเรียนการสอน ในช้ันเรียนเป็นอย่างมาก การบรรยายที่สำคัญยิ่งของเค้าที่มีผลต่อวงการจิตวิทยาการศึกษา คือการบรรยา ย ในหัวข้อ “คุยกับครูเก่ียวกับจิตวิทยา” (Talks to teachers on psychology) ที่เน้นว่าทุกส่วนและทุกข้ันตอน ของการศึกษาขึ้น อย่กู ับการตัดสนิ ใจของครูผปู้ ฏิบตั ิการสอนในช้ันเรียน ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์ของครูในฐานะ ทเ่ี ป็นสือ่ กลาง ของการนำความร้ไู ปสู่ผูเ้ รียน จงึ มคี วามสำคญั ยงิ่ ตอ่ ความสำเรจ็ ในการจดั การเรยี นการสอน James (อ้างถึงใน Sprinthall & Sprinthall,) มีแนวความคิดว่า จิตวิทยาการศึกษาควรเป็นการศึกษา และการทำความเข้าใจกับกระบวนการเรียนการสอนในช้ันเรียน ที่ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมตามสภาพจริง และที่สำคัญต้องเข้าใจความคิดตลอดจนความรู้สึกของผู้เรียน จนสามารถดึงความคิดและความสนใจของผู้เรียน หรือให้มาอยูก่ ับเนื้อหาสาระทคี่ รูสอน James ไม่สนับสนุน ให้นักการศึกษาและครูพึ่งพิงหรือรอคอยคำตอบจากทฤษฎีทางจิตวิทยาและไม่ ตอ้ งการให้นักจติ วิทยานำแนวคิดทฤษฎที ี่ศึกษามาอธิบายพฤติกรรมในชัน้ เรยี น ท่ีมีความซับซ้อนเกินกว่าทฤษฎีใด ทฤษฎีหน่ึงจะอธิบายได้ เขายืนยันว่าการศึกษาหาความรู้ ทางจิตวิทยาการศึกษาจะต้องดำเนินการในชั้นเรียน เพื่อจะได้ทราบปัญหาท่ีเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในสภาพท่ีเป็นจริง รวมท้ังต้องอาศัยข้อมูลท่ีเป็นอัตนัย และปรนัยประกอบ อย่างไรก็ตามการศึกษาในลักษณะน้ีถูกวิจารณ์ ว่าทำได้ยากยิ่งเน่ืองจากมีตัวแปรมากมายเข้า มาเกี่ยวข้อง และคำตอบท่ีได้จากการศึกษาดังกล่าว ก็ขาดความเช่ือถือได้ ในทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ยคุ นั้น ยงั คงศกึ ษาคน้ คว้าเกยี่ วกบั จติ วิทยาการศึกษาในห้องทดลองปฏิบตั ิการ ๒. Stanley Hall : ผูบ้ ูรณาการจติ วทิ ยาสู่การศึกษา Stanley Hall ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ท่ีริเร่ิมดำเนินการจัดการให้จิตวิทยาเป็นศาสตร์และวิชาชีพอย่าง จริงจังในสหรัฐอเมริกา เขาเป็นบุคคลแรกท่ีเริ่มศึกษาค้นคว้าธรรมชาติของมนุษยใ์ นช่วงวัยเดก็ และวยั รุ่น จนได้รับ ๒ Thorndike (อา้ งใน Anderson, Educational psychology, [Online]. Sources : http://facultyweb.conrtland.edu/andersmd/whatis.html.(Accessed 9th march,2004),1998 p,1. ๓ นุชลี อปุ ภยั , จิตวทิ ยาการศกึ ษา,พิมพค์ รั้ง ท่ี ๓, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย, ๒๕๕๖ หน้า ๓-๘.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๖ การยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกให้เกิดการเคล่ือนไหวทางการศึกษาบุคคลในวัยเด็ก นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลแรกที่นำ แบบสอบถามมาใช้ในการศึกษาเด็กและวัยรุ่นและระหว่างที่เป็นอธิการบดีอยู่ที่มหาวิทยาลัย clark เขาเป็นผู้ริเร่ิม จัดทำวารสารทางจิตวิทยาข้ึนเป็นคร้ังแรกในสหรัฐอเมริกา และยังได้จัดให้มีการประชุมสัมมนา โดยเชิญ นักจิตวิทยาที่มีช่ือเสียงท้ังจากยุโรปและอเมริกาเข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก เช่น Sigmund Freud และ Carl Jung เป็นตน้ นอกจากนี้ Hall ยังจัดสร้างห้องทดลองปฏิบัติการทางจิตวิทยาข้ึน เพ่ือให้นักศึกษาท่ีเรียนจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิจัยในระหว่างการศึกษาเล่าเรียน จากการริเร่ิมดำเนินการหลายๆ อย่างดังกล่าวทำให้ Hall ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำของการปฏิรูปการศึกษา ในเวลาต่อมาแนวคิดเกี่ยวกับการประยุกต์จิตวิทยา เข้ากับการศึกษาเกิดข้ึน ขณะที่ Hall ศึกษาและท่องเที่ยวอยู่ในยโุ รปในระยะเวลาหน่ึง และเม่อื กลับสหรัฐอเมริกา เขาพยายามบูรณาการจิตวิทยาและการศึกษาเข้าด้วยกัน โดยเชื่อว่าการศึกษาเป็นจิตวิทยาประยุกต์อย่างหน่ึง๔ ขณะที่เป็นอาจารย์อยู่ท่ีมหาวิทยาลัย Johns Hopkins และระหว่างท่ีเป็นอธิการบดีท่ีมหาวิทยาลัย Clark เขาจัดทำหลักสูตรรายวิชา จัดสัมมนาจัดพิมพ์เอกสารและบทความท่ีเกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอน การศึกษาธรรมชาติทางจิตวิทยาของเด็ก และจิตวิทยาการศึกษามากมาย ร่วมกับลูกศิษย์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น นักจิตวิทยาและนักการศึกษาที่สำคัญหลายคน อาทิ James McKeen Cattell, John Dewey และ L.M. Terman โดยเฉพาะ Terman ได้กล่าวถึง Hall ว่าเปน็ อาจารย์ผู้ยงิ่ ใหญ่ของวงการจติ วทิ ยาอเมริกนั ๕ ๓. John Dewey : จิตวทิ ยาและทฤษฎที างการศึกษา John Dewey เป็นท้ังนักปราชญ์และนักจิตวิทยา เขาเป็นต้นกำเนิดของแนวคิดทางจิตวิทยากลุ่มหน้าท่ี แห่งจิต (Functionalist) และกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) ที่เช่ือว่าความสำคัญของส่ิงแวดล้อมมีผล ตอ่ พฤติกรรมมนุษย์ และเช่ือว่าการศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคม ในอันท่ีจะเตรียมบุคคลเพอ่ื ให้สามารถใช้ชวี ิต สร้างสรรคค์ ุณค่าและประโยชนแ์ กส่ ังคมตอ่ ไป๖ อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับความเก่ียวพันของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (person-In environmental) ของ John Dewey กลับได้รับความสำคัญน้อยกว่าแนวคิดของเขา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียน เป็ น สำคัญ (Child-Centered Curriculum) ซ่ึง Dewey เน้ น ว่าจะต้องจัดป ระสบ การณ์ ให้ แก่ผู้เรียน ตามความสามารถและความสนใจของผู้เรียนและถึงแม้จะมีการนำความคิดน้ีไปจัดเป็นการเรียนการสอนที่ให้ ผ้เู รียนทำทุกอยา่ งได้ตามใจตนเองกต็ ามแต่ปรัชญาพื้นฐานของการจัดการเรยี นการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวความคิดของ Dewey ก็ยังคงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาหลักสูตการจัดกิจกรรมและการใช้สื่อ ประกอบการเรยี นการสอนมาจนถงึ ปจั จบุ นั Dewey เห็นว่า ผู้เรียนมีใช้ภาชนะว่างเปล่าที่คอยการเติมความรู้เข้าไปเสมือนเป็นผู้รองรับทุกอย่าง ท่ผี ู้สอนป้อนให้ เขาเน้นวา่ การทำความเข้าใจพัฒนาการและการเจริญเติบโตในดา้ นต่างๆ ของผเู้ รียนเป็นสิ่งจำเป็น ท่ีผู้สอนจะต้องศกึ ษาหาความรู้ เขาเชื่อว่าหน้าที่หลักของสถานศึกษา คือ จะตอ้ งสอนใหผ้ ู้เรียนเป็นนักคิด โดยช่วย ให้ผ้เู รยี นเรยี นรวู้ ธิ ีการคิด มใิ ช่ใหผ้ เู้ รยี น เรียนรู้ข้อมลู และความรู้มากมายจากบทเรียน๗ และจะตอ้ งใหผ้ ู้เรียนเข้ามา ๔ Goodchild L.F., “G. Stanley Hall and the study of higher education”, Review of Higher Education 20,no. 1: 1996, pp. 69-99, ๕ (Watson , Sr. R.I., Granville Stanley Hall.[Online].Sources:http://educ. southern.edu/tour/who/pioneers/hall.htm.(Accessed 6th March,2004), 2000, p,5. ๖ Shook, J., John Dewey, [Online].Sources:http://psychclassics.yorku.ca/ Thorndike/education.htm.(Accessed 6th March,2004), 1998. P.2. ๗ Campbell, J. Understanding John Dewey:Nature and Cooperative intelligence, Peru, IL:Open Count Publishing Co., 1995.pp.215-216.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๗ มีส่วนในกระบวนการเรียนการสอนเช่นเดียวกับครูผู้สอน เนื่องจากการมีส่วนร่วมจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิด ความกระตือรือร้นในการเรียน (Active Learning) ที่สำคัญการให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงในส่ิงที่เรียน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีท่ีสุด นอกจากนี้Dewey ยังมีมุมมองท่ีกว้างไกล โดยเห็นว่าโรงเรียนจะต้อง เป็นสถานที่ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้วิธีการใช้ชีวิต และการทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ วิถีทางของประชาธิปไตย การแกป้ ัญหา คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมไปในเวลาเดยี วกัน จะเห็นได้ว่าแนวคิดในการจัดการศึกษาของ John Dewey ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลอย่างย่ิงต่อการจัด การศึกษาในปัจจุบันท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพ่ือกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดและวิเคราะห์มากกว่าการหาหนทางให้ ผเู้ รยี นจดจำเน้ือหาในบทเรยี นทผ่ี ู้สอนเสนอ ๔. Edward Thorndike : บิดาแห่งจิตวทิ ยาการศึกษา Edward Thorndike เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาที่สร้างสรรค์ผลงานมากมายอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบความสามารถในการเรียนรู้ แบบวัดเชาว์ปัญญา และความถนัดของเด็ก เทคนิคการสอนผู้เรียนวัยผู้ใหญ่โดยใช้กระบวนการกลุ่มวีดีทัศน์ และภาพยนตร์ช่วยสอน การจัดทัศนศึกษา การสอนโดยการสวมบทบาทและการศึกษาเป็นรายกรณี เป็นต้น นอกจากน้ี Thorndike ยงั เขียนตำรา ซงึ่ นับว่าเป็นตำราจติ วิทยาการศกึ ษาเลม่ แรกของโลกในปี ๑๙๐๓ Thorndike เน้นการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการเพ่ือหาคำตอบให้กับปัญหาท่ีเกิดขึ้นกับกระบวนการ เรียนการสอนในชั้นเรียน โดยเชื่อว่าคำตอบท่ีได้จากการศึกษาจะมีความชัดเจนและเช่ือถือได้ เน่ืองจากใช้วิธีการ ท างวิท ยาศาส ต ร์ท่ี มี ระบ บ ระเบี ยบ มิใช่ เป็ น เพี ย งการสั งเกต พ ฤ ติก รรมข อ งผู้ เรียน ใน ชั้ น เรียน แล ะส รุป ผ ล ตามความเข้าใจส่วนบุคคลสำหรับการศึกษาทดลองที่มีช่ือเสียงของ Thorndike และ มีผลต่อการจัดการเรียนการ สอนในเวลาต่อมา คือการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของแมวท่ีต้องอาศัยกระบวนการลองผิดลองถูก และสถานการณ์ท่ีทำให้เกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดจนการฝึกฝน ฝึกหัดซึ่งทั้งหมดน้ี นำไปสู่ทฤษฎีที่ได้ ประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการถ่ายโอนการเรียนรู้ ในเวลาต่อมาจากการทดลอง ในห้องปฏิบัติการแล้ว Thorndike ยังได้คิดเครื่องมือวัดมากมายท่ีมีประโยชน์ต่อวงการศึกษาอาทิ แบบวัดผลการ เรยี นรแู้ บบวดั ความถนดั ซึง่ ช่วยให้ได้ข้อมูลที่เปน็ ประโยชน์อย่างมากต่อผู้สอนในการทำความเข้าใจผเู้ รียน อยา่ งไร ก็ตามวิธีการศึกษาในห้องปฏิบัติการทดลองและความจำกัดของเคร่ืองมือวัดทำให้วิธีการดังกล่าวของ Thorndike ถูกวิจารณ์ว่า เป็นการให้ความรู้เก่ียวกับปัญหาของกระบวนการเรียนการสอนในขอบเขตท่ีจำกัด ซ่ึงการศึกษา หาความรู้ในทางจิตวิทยาการศึกษา ควรจะต้องมีการศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนในสภาพแวดล้อมจริงท่ีเกิดขึ้น ในช้ันเรยี นจงึ จะทำใหไ้ ด้ขอ้ มูลความร้ทู คี่ รอบคลมุ ปัญหาทุกด้านทเ่ี ก่ียวขอ้ ง จะเห็นได้ว่าเส้นทางของจิตวิทยาการศึกษามาจากการนำศาสตร์ทางจิตวิทยามาก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อการจัดการศึกษาโดยนักจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อวงการศึกษาทุกคนได้พยายามประยุกต์ความรู้และวิธีการศึกษา ทางจิตวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในสภาพจริงเพ่ือใ ห้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่าง เต็มท่ี โดยมเี ป้าหมายสูงสุดคือเพือ่ ใหม้ นุษยส์ ามารถศกึ ษาสังคมให้ม่ันคงต่อไป ๒.๓ ความหมายของจติ วทิ ยาการศกึ ษา สุรางค์ โค้วตระกูล๘ ได้กล่าวถึงจิตวิทยาการศึกษาไว้ว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเรียนรู้ และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียน การสอนหรือในชั้นเรียนเพื่อค้นคิดทฤษฎี และหลกั การที่จะนำมาชว่ ยในการแกป้ ญั หาทางการศกึ ษาและส่งเสรมิ การเรียนการสอนให้มปี ระสทิ ธภิ าพ ๘ สรุ างค์ โค้วตระกลู ,จิตวทิ ยาการศกึ ษา, พมิ พ์ครง้ั ที่ ๙, กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พมิ พแ์ ห่งจฬุ าลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั ,๒๕๕๓ หนา้ ๑.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๘ นุชลี อุปภัย๙ ได้กล่าวไว้ว่า จิตวิทยาการศึกษาเก่ียวข้องกับการเพ่ิมประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยนำหลักการ ความรู้ ทฤษฎี และวิธีการศึกษาทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้เพ่ือค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหา ท่ีเกิดขึ้นในสภาพการเรียนการสอนจริง จึงทำให้จิตวิทยาการศึกษาต้องเกี่ยวพันกับเรื่องราวต่างๆ มากมายหลาย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านพฤติกรรมผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอนของครู การบริหารจัดการศึกษา รวมท้ัง บริบท ทเ่ี กย่ี วข้องอ่นื ๆ กฤตวรรณ คำสม๑๐ ได้ความหมายไว้ว่า จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง การนำหลักการ แนวคิดทฤษฎี และเทคนิคต่างๆ ทางจิตวิทยามาใช้ในกระบวนการทางการศึกษา ท้ังน้ีเพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเรีย นรู้อย่างเต็ม ศกั ยภาพ จากข้อมูลน้ีสามารถสรุปความหมายของจิตวิทยาการศึกษาได้ว่า จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง สาขา จิตวิทยาแขนงหน่ึง ที่นำเอาความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา การพัฒนาการของมนุษย์วิธีการเรียนรู้สภาพปัญหา การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ท่ีมีผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนและผู้สอน มาประยุกต์ในการจัดกระบวนการ ศกึ ษาการแกไ้ ขปัญหาของผ้เู รียนและสง่ เสรมิ การเรยี นรู้ ๒.๔ คณุ ลกั ษณะของจติ วิทยาการศึกษา ครอนบาช (Cronbach, Lee)๑๑ ได้ให้แนวคิดคณุ ลักษณะของจิตวทิ ยาการศึกษาไว้ ๔ อย่าง ดงั นี้ ๑. จิตวทิ ยาการศึกษาต้องสัมพันธ์กบั ปัญหาของสถานศึกษา ถ้าจิตวิทยาการศึกษาเน้นแต่ทางด้านวิชาการ โดยไม่นำเอาหลักการทางจิตวิทยามาสัมพันธ์กับ การปฏบิ ัตงิ านในห้องเรียน ผูเ้ รียนจะเกิดอุปสรรคในการปรับตวั สำหรับการดำเนินชีวติ ดังนั่นจิตวิทยาการศึกษาจึง เปน็ ไปในทางที่จะนำเอาทฤษฎีทางจติ วทิ ยามาใช้เกย่ี วกับการศึกษา ๒. จิตวทิ ยาการศกึ ษาตอ้ งมีการศกึ ษาวิจยั มาเป็นองคป์ ระกอบ การศึกษาวิจัยจะทำให้ผู้เรียนรู้ข้อเท็จจริง และแนวทางที่จะส่งเสริม พัฒนาและวางแนวทาง แก้ปัญหาของสิ่งท่ีศึกษา ฉะนั้น การให้ผเู้ รียนทราบถึงข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานจากการศึกษาวจิ ัยทดลองก็จะช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง แทนการเช่ือความคิดท่ีถูกใจ ฉะน้ัน จิตวิทยาการศึกษาท่ีมีการศึกษาวิจัย เปน็ องคป์ ระกอบกจ็ ะชว่ ยให้มหี ลักฐานสนบั สนนุ ให้เกดิ การเรยี นร้ทู ี่มปี ระสิทธภิ าพ ๓. จติ วิทยาการศกึ ษาตอ้ งมคี วามเข้าใจองค์ประกอบของพฤติกรรม การศึกษาจิตวิทยาเบ้ืองต้น เราอาจเข้าใจการสรุปกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเช่น “ผู้เรียน ที่ได้รับคำชมเชย จะตั้งใจเรียนมากกว่าผู้เรียนที่ถูกตำหนิ” แต่เม่ือเรียนสาขาของจิตวิทยามากขึ้น ก็จะเข้าใจได้ว่า พฤติกรรมที่กล่าวไปแล้วเป็นส่วนหนึ่งของเร่ืองแรงจูงใจและการเรียนรู้ของมนุษย์ ฉะนั้น จิตวิทยาการศึกษา จะตอ้ งพจิ ารณาองคป์ ระกอบอนื่ ๆ อีกหลายอยา่ งของพฤตกิ รรม ๔. จติ วทิ ยาการศึกษาต้องมีความชดั เจน จิตวิทยาการศึกษาเก่ียวข้องโดยตรงกับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครู ฉะนั้น ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจ สาระของจิตวิทยาการศึกษาอย่างถ่องแท้ อีกทั้งแสวงหาตัวอย่างและวิธีการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินชวี ติ ไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ ๙ นุชลี อุปภัย, จิตวิทยาการศึกษา,พิมพ์ครงั้ ที่ ๓, กรงุ เทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๕๖ หน้า ๘. ๑๐ กฤตวรรณ คำสม, เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าจติ วิทยาสำหรับครู, อุดรธานี : คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั อุดรธาน,ี ๒๕๕๗ หน้า ๒๖. ๑๑ Cronbach, L.J., Essentials of Psychological Testing, 5th ed.New York: Harper&Row, 1990.P.42.

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๓๙ ๒.๕ ขอบขา่ ยของจติ วทิ ยาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาเก่ียวข้องกับการเพ่ิมประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยนำหลักการความรู้ทฤษฎี และวิธีการศึกษาทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้เพ่ือค้นคว้าหาความรู้ และแก้ปัญหาท่ีเกิดขึ้นในสภาพการเรียน การสอนจริง จึงทำให้จิตวิทยาการศึกษาต้องเกี่ยวพันกับเร่ืองราวต่างๆ มากมายหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้าน พฤติกรรมผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอนของครู การบริหารจัดการศึกษา รวมทั้ง บริบทท่ี เกี่ยวข้องอ่ืนๆ กล่าวถงึ ขอบข่ายเนอ้ื หาสาระต่างๆ ทน่ี ักจติ วิทยาการศึกษาควรทราบ๑๒ ดังน้ี ๑. นักจิตวิทยาการศึกษาต้องทราบถึงวิธีการศึกษาธรรมชาติความเข้าใจมนุษย์รวมทั้ง ต้องมีความรู้ เบ้ืองต้นเกี่ยวกับแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Humanistic Orientation) พฤติกรรมนิยม (Behavioral Orientation) ปัญญานิยม (Cognitive Orientation) และจิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) เพอื่ ทจ่ี ะชว่ ยให้สามารถ เขา้ ใจผ้เู รียนไดอ้ ยา่ งลกึ ซึง้ ๒. นักจิตวิทยาการศึกษาต้องรู้เร่ืองราวของทฤษฎีและงานวิจัยท่ีได้มาจากจิตวิทยาสาขาต่างๆ ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ นักจิตวิทยาการศึกษาจะต้องทำความเข้าใจทฤษฎีพัฒนาการของนักจิตวิทยาหลายท่าน เช่น Piaget, Erikson, Kohlberg , Freud เป็นต้น พัฒนาการทางภาษา นักจิตวิทยาการศึกษาต้องศึกษาผลงาน ของนักวิชาการ เช่น Vygotsky , Chomsky เป็นต้น การจูงใจ นักจิตวิทยาการศึกษาต้องศึกษาทฤษฎี ของนักจิตวิทยา เช่น Hull, Lewin,Maslow , McClelland เป็นต้น การคิดและกระบวนการจัดการกับความคิด ของผู้เรียน(Metacognitive) การทดสอบและการแปลผล ซ่ึงนักจิตวิทยาการศึกษาต้องทราบเร่ืองราวเก่ียวกับ แบบทดสอบต่างๆ เช่น แบบทดสอบเชาวป์ ัญญา แบบทดสอบบุคลิกภาพ เปน็ ตน้ ๓. นักจิตวิทยาการศกึ ษาตอ้ งติดตามพฒั นาการของการจัดการชั้น เรียนและการออกแบบการสอนการวัด และตรวจสอบรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Styles) ตลอดจนวิธีการนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ ประโยชน์ รวมถึงความก้าวหนา้ ในการใชเ้ ทคโนโลยเี พ่ือการสอนและการศึกษาทางไกล นอกจากขอบข่ายเน้ือหาดังกล่าวแล้ว นักจิตวิทยาการศึกษาจะต้องสามารถประยุกต์งานวิจัยท่ีได้จากทุก แขนงความรู้มาปรับใช้ในช้ัน เรียนเพือ่ เสริมสรา้ งความรู้ให้แก่ผเู้ รียน และเพ่ือเตรยี มผเู้ รียนให้พรอ้ มสำหรับอนาคต ทไี่ มอ่ าจจะคาดเดาได้ ด้วยการสง่ เสริมให้ผู้เรียนเกิดการศึกษาตลอดชีวติ Anderson ได้สรปุ ขอบขา่ ยของจิตวทิ ยา การศึกษาไว้ในรปู ของไดอะแกรมตอ่ ไปนี้ การเรียนวิชาจิตวิทยาการศึกษา ผู้ศึกษาจะต้องมีความรอบรู้ในหลากหลายสาขา ท้ังด้านจิตวิทยา ดา้ นการศึกษา ด้านการวดั ผล ด้านสถานการณ์ปัจจุบันของสงั คม และแนวโน้มที่อาจจะเป็นไปในอนาคตเพ่ือจะได้ นำความรู้ทั้ง หมดมาประมวลและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในสภาพการณ์ปัจจุบัน ทำใหเ้ กดิ ประโยชนแ์ ก่ผเู้ รยี นใหไ้ ด้มากท่สี ดุ เท่าทจี่ ะทำได้ ๒.๖ บทบาทของจิตวทิ ยาการศกึ ษา Wittrock๑๓ ได้กล่าวถึงสาระของจิตวิทยาการศึกษาว่า \"จิตวิทยาการศึกษาเป็นการศึกษาสภาพปัญหา ทางการศึกษา จนทำให้ได้หลักการ รูปแบบ ทฤษฎี กระบวนการสอนวิธีการสอน การวิจัย การวิเคราะห์ทางสถิติ ๑๒ Anderson , M., Educational psychology, [Online]. Sources : http://facultyweb.conrtland.edu/andersmd/whatis.html.(Accessed 9th march, 1998 p,1-2. ๑๓ Wittrock M.C., “An empowering conception of educational psychology”,Educational Psychology, 27, 1992 p.129-142.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๐ การประเมินผล และเทคนคิ วธิ ีการดำเนินการวดั ผลท่เี หมาะสมกบั กระบวนการทางความคิดและอารมณ์ของผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการที่ซับซ้อนทางสังคมและวัฒนธรรมของโรงเรียน\" จากสาระดังกล่าวเป็นการเน้นให้เห็นว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นศาสตร์ที่มีบทบาทหน้าที่เฉพาะตัว คือ การค้นหาแนวทางและวิธีการท่ีจะทำให้สามารถจัด การศกึ ษาได้สมกับลกั ษณะของผู้เรียนและบริบททงั้ หมดทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกบั การจัดการศึกษา อย่างไรก็ตาม การท่ีนักจิตวิทยาการศึกษาจะได้มาซึ่งแนวทางและวิธีการท่ีเหมาะสมดังกล่าวต้องอาศัย ความรู้และวิธีการทางจิตวิทยาเข้ามาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง รวมท้ังจะต้องมีความรอบรู้ในหลากหลาย สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหลักและวิธีการสอน การวิจัยและสถิติ การวัดและการประเมินผล สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา เป็นต้น จึงจะทำให้สามารถค้นหาแนวทางหรือวิธีการท่ีเหมาะสมในการแก้ปัญหาและปรับปรุง พัฒนาผเู้ รยี นไดต้ ามศกั ยภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนสอดคล้องกับบรบิ ทที่เกี่ยวขอ้ งได้อย่างลงตัว จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ท่ีสำคัญของจิตวิทยาการศึกษา คือ การหาหนทางและวิธีการที่เหมาะสม เพ่ือนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน นักจิตวิทยาการศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อหาหนทาง และวิธีการที่เหมาะสมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม วิธีการศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาการศึกษาต้องมีขั้นตอนและวิธี การศึกษาท่ีน่าเชื่อถือ เพื่อจะได้สามารถสรุป เป็นหลักการและทฤษฎีท่ีเหมาะสมในการนำไปใช้แก้ปัญหาท่ีเกิดข้ึน ในช้ันเรียน สำหรับกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่จะทำให้ได้คำตอบหรือทำให้สามารถสรุปเป็นทฤษฎีท่ีน่าเชื่อถือได้ ก็คือการวิจัย Woolfolk๑๔ กล่าวว่าหน้าท่ีหลักของจิตวิทยาการศึกษามี ๒ ประการคือ ๑) ดำเนินการวิจัยเพ่ือหา คำตอบที่เปน็ ไปไดใ้ นการแกป้ ัญหาและพัฒนาผเู้ รียน ๒) รวบรวมผลการศึกษาต่างๆเขา้ ด้วยกันเป็นทฤษฎีทอ่ี ธิบาย แนวคิดเกี่ยวกบั การเรียนการสอนและการพัฒนาผเู้ รยี น เน่ืองจากบทบาทสำคัญของนักจิตวิทยาการศึกษาคือ การดำเนินการศึกษาวิจัย ดังน้ันในที่น้ีจะกล่าวถึง แนวคิดและวิธีการดำเนินการวิจัยแบบต่างๆ ท่ีนักจิตวิทยาการศึกษาใช้ในการค้นคว้าหาความรู้ หรือแก้ปัญหา ท่ีเก่ยี วกบั การใหก้ ารศึกษาแกผ่ เู้ รยี น อันได้แก่ การวิจยั เชิงบรรยายและการวจิ ยั เชิงทดลอง นอกจากบทบาทในการวิจัยเพื่อหาคำตอบให้กับปัญหาท่ีพบในการเรียนการสอนแล้วนักจิตวิทยา การศึกษายังต้องพยายามสรา้ งองค์ความรู้ให้กับสาขาของตน โดยการนำข้อมลู เกยี่ วขอ้ งทงั้ หมดท่ีไดจ้ ากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย มาประมวลและสร้างเป็นหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่จะช่วยให้สามารถอธิ บายและทำนาย พฤตกิ รรมทีเ่ ก่ยี วข้องกบั กระบวนการจดั การเรียนการสอนของตนเองได้ จะเห็นได้ว่าทุกบทบาทของจิตวิทยาการศึกษาช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของครูผู้สอนอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการช่วยให้ครูผู้สอนเกิดความเข้าใจในตัวผู้เรียน ช่วยแก้ปัญหาในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการ เรียนการสอน ช่วยให้สามารถค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมปัญหาของผู้เรียนจนได้แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข พฤติกรรมปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม เกิดการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพย่ิงข้ึน โดยอัตโนมัติ ๒.๗ ประโยชน์ของจติ วทิ ยาการศึกษา ในยุคแรกท่ีจิตวิทยาการศึกษาเร่ิมก่อตั้งข้ึน แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการศึกษาของจิตวิทยา การศึกษายังคงผูกติดอยู่กับศาสตร์ทางจิตวิทยา ในลักษณะของการนำความรู้และทฤษฎีทางจิตวิทยามาใช้ให้เกิด ประโยชนต์ ่อการเรยี นการสอนและการวัดพฤติกรรมผู้เรยี น ๑๔ Woolfolk, A.E., Educational psychology, 9th ed. Boston: pearson Education, Inc., 2004 p.11.

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๑ ดังท่ี Thorndike๑๕ เขียนไว้ในบทความช่ือว่า The Contribution of Psychology to Education ที่ตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาการศึกษาเล่มแรก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีแนวโน้มท่ีจิตวิทยาการศึกษาจะแยกตัว เป็นศาสตร์อิสระที่มีแนวคิด ทฤษฎีและการศึกษาวิจัยในสภาพการเรียนการสอนโดยเฉพาะ Berliner๑๖ กล่าวว่า ผู้ที่สนใจศึกษาจิตวิทยาการศึกษาไม่ควรคิดว่าส่ิงท่ีตนเองศึกษาเป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยาหรือเป็นจิตวิทยา ประยุกต์ แต่ควรปฏิบัติตนในฐานะของนักจิตวิทยาการศึกษาอย่างเต็มภาคภูมิ มิใช่นักจิตวิทยาท่ีสนใจ ด้านการศึกษา และท่ีสำคญั จะต้องพยายามทำให้การศกึ ษาวิจัยที่เก่ียวข้องกับการเรยี นการสอนมีคณุ ค่า น่าเชอื่ ถือ เป็นท่ยี อมรบั และไดร้ ับการนำไปใชป้ ระโยชนใ์ นการแก้ปัญหาและการจดั การศกึ ษาอยา่ งแท้จริง จากบทบาทของจิตวิทยาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย และการประมวลข้อมูลเพื่อหาหลักการ และทฤษฎีน้ีเอง ทำให้จิตวทิ ยาการศึกษาสร้างสรรคผ์ ลงาน (Output) ทีเ่ ปน็ ประโยชนม์ ากมายทงั้ ประโยชน์ทีไ่ ด้รับ โดยตรง อันได้แก่ การแก้ปัญหาท่ีเกิดข้ึนกับผู้เรียนในสภาพการณ์จริง และการได้มา ซ่ึงทฤษฎีหรือองค์ความรู้ ที่จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับการจัดการศึกษา ซ่ึงทฤษฎีหรือองค์ความรู้นี้สามารถก่อให้เกิด ประโยชน์เกี่ยวเนื่อง (Outcome) ตามมามากมาย เช่น การแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนในการจัดการเรียนการสอน การคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในกระบวนการเรียนการสอน รวมทั้งการให้ข้อเสนอแนะ ท่ีเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการศึกษาเป็นต้น ซ่ึงผลประโยชน์ท่ีเก่ียวเนื่องดังกล่าวก็จะย้อนกลับมาทำให้เกิด ประโยชน์แก่ผู้เรียนในที่สุด สำหรับประโยชน์โดยตรงและประโยชน์เก่ียวเนื่องที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย ทางจติ วิทยาการศึกษาสามารถเขียนเป็นไดอะแกรมได้ดงั น้ี จะเห็นได้ว่าจิตวิทยาการศึกษามีทฤษฎีและองค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนการสอน รวมทั้ง มีผลการวิจัยสนับสนุนที่จะช่วยให้ผู้สอนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในสภาพการณ์จริง ในชน้ั เรยี นได้ ตลอดจนสามารถนำไปใชใ้ นการแกป้ ัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ขดั ขวางการเรียนรู้ของผู้เรยี นได้อย่าง มีหลักมีเกณ ฑ์ และมีแนวคิดท่ีสดีสนับสนุน ซึ่งจะทำให้ผู้สอนสามารถแก้ปัญ หาได้อย่างมีคุณ ภาพ และมีประสิทธิภาพกว่าการดำเนินการหรือการแก้ปัญหาตามสามัญสำนึกท่ีขาดทั้ง ความเที่ยงตรงและความ นา่ เชอ่ื ถอื ๒.๘ ครกู บั จิตวทิ ยาการศึกษา มีหลายคนที่เป็นครูโดยไม่ได้ผ่านการเรียนรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษามาก่อน จึงอาจมีข้อสงสัยบางประการ เกิดข้ึน เช่น “ทำไมคนท่ีเรียนครูต้องเรียนจิตวิทยาการศึกษา” และ “ถ้าไม่มีความรู้เก่ียวกับจิตวิทยาการศึกษา จะเป็นครูได้หรอื ไม่” ซ่ึงจากประโยชน์ของจิตวิทยาการศกึ ษาข้างต้นก็พอจะทำให้สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์ต่อวิชาชีพครูเพียงไร ครูท่ีไม่มีความรู้ด้านจิตวิทยาการศึกษา แต่มีความมุ่งม่ัน ท่ีจะเป็นครูที่ดี อาจสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของตนเองได้ โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา และการลองผิดลองถูกจนค้นพบกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการสอน อย่างไรก็ตาม การได้ศึกษาเนื้อหาสาระ ของจิตวิทยาการศึกษากอ่ นประกอบวิชาชพี ครู จะช่วยเตรยี มครูผ้สู อน ใหส้ ามารถจัดกระบวนการเรยี นการสอนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และมองเห็นลู่ทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาสาระ ๑๕ Thorndike (1910) อ้างถึงใน Green, C.D., Classics in the history of psychology, [Online]. Sources: http://pragmatism.org/genealogy/dewey.htm.(Accessed 15th Suptember,2003). 1996 pp,3-7. ๑๖ Berliner,C.D. “Telling the stories of education psychology” Education Psychologist, 27(2),143-161,Lawrence Darlbaum Assoviates, Inc. .1992 pp,143-144.