Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

Published by Meng Krub, 2021-06-08 12:55:39

Description: เล่มที่45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี รุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติคือ การเล่นการเมืองด้วยความเอื้ออารี มีสัจจะ เล่นการเมืองด้วยความใสสะอาด ไม่เอาความรุนแรง เข้ามาสู่เวทีการเมือง ซึ่งนายบุญส่งเชื่อว่าการต่อสู้ทาง การเมืองนั้นไม่จำเป็นจะต้องห้ำหั่น แข่งขันกันเอาเป็นเอาตาย ด้วยความเชื่อและการมีวัตรปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้นายบุญส่ง สามารถเดินไปสถานที่ต่างๆ ทั้งในจังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ อื่นๆ ได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องหวาดระแวงว่าใครจะมาลอบ ทำร้ายเพื่อหวังเอาชีวิต โดยนายบุญส่งได้พูดคุยกับผู้ใกล้ชิดอยู่ เสมอ ๆ ว่าอยากให้คงวิถีการเมืองที่ไม่ต้องต่อสู้กันรุนแรงชนิด ที่ต้องแตกหัก มุ่งหวังให้ฝ่ายตรงข้ามต้องมอดม้วย ไว้คู่กับ เมืองปราจีนบุรีตราบนานเท่านาน นายบุญส่ง ยอมรับว่าเหตุผล แรกๆ ที่ตัดสินใจเข้าสู่เวทีการเมืองก็เพราะอยากได้สายสะพาย หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แค่สายสะพายสายแรกเพื่อเป็น เกียรติยศของวงศ์ตระกูลก็พอแล้ว แต่ผลจากการประกอบ คุณงามความดีและทุ่มเทให้กับภารกิจที่รับอาสาเข้ามาทำ หน้าที่ผู้แทนประชาชนอย่างจริงจังและยาวนาน โดยไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรค ทำให้นาย บุญส่ง สมใจ ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่อเนื่องจนถึงชั้นสูงสุดคือ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก(ม.ป.ช.) ถือว่าบรรลุผล เกินกว่าที่คาดหวังไว้ ผลงานที่สำคัญในการพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี คือ ในช่วงที่เป็นนายกเทศมนตรีเมืองปราจีนบุรีและสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีนั้น นายบุญส่ง สมใจ ได้มี ผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนในจังหวัดหลายอย่าง เช่น การสร้างศาลหลักเมืองปราจีนบุรี การจัดตั้งนิคมสหกรณ์ที่ 138

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี บ้านหนองงูเหลือม อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี การสร้างสะพานณรงค์ดำริห์ การสร้างถนนสายปราจีนตคาม และถนนในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี เป็นต้น (หนังสืองาน พระราชทานเพลิงศพ นายบุญส่ง สมใจ,2552) การดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดระยะเวลาที่นายบุญส่ง สมใจ เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญหลาย ตำแหน่ง อาทิเช่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายทวิช กลิ่นประทุม) กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ สภาผู้แทนราษฎร เลขานุการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายทวิช กลิ่นประทุม) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขานุการนายกรัฐมนตรี (พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายก รัฐมนตรีคนที่ 15 ของประเทศไทย) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย (พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร) พ.ศ. 2531 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบรรหาร ศิลปอาชา) พ.ศ.2538 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข (นายเสนาะ เทียนทอง) พ.ศ. 2538 ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ (ในรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 139

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี (หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญส่ง สมใจ, 2552) ฐานเสยี งและเครอื ข่ายทางการเมือง กลุ่มแกนนำที่ทำให้นายบุญส่ง สมใจ ประสบความ สำเร็จ คือ กลุ่มเครือข่ายทางธุรกิจ เนื่องจากนายบุญส่ง สมใจ ทำธุรกิจหลายอย่าง อาทิเช่น โรงแรมสุขสมใจ โรงแรมสมใจ พาเลซ ภัตตาคารมิตร คาเฟ่ บริษัทสมใจพัฒนา จำกัด บริษัท สมใจซัพพลาย จำกัด บริษัทสวนเกษตรบางบริบูรณ์ จำกัด และบริษัทแกรนด์การ์เดน ริเวอร์ปาร์ค อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง หอการค้าจังหวัดปราจีนบุรี ในปีพ.ศ.2528 และดำรงตำแหน่ง เป็นประธานหอการค้าจังหวัดปราจีนบุรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จึงส่งผลให้มีกลุ่มเพื่อนธุรกิจ และกลุ่มธุรกิจทั้งในจังหวัด ปราจีนบุรีและจังหวัดใกล้เคียงที่เป็นฐานเสียงและสนับสนุน ทางการเมือง เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีของนักการเมืองใน จังหวัด(สมัยที่จังหวัดสระแก้วยังเป็นพื้นที่หนึ่งของจังหวัด ปราจีนบุรี) บุคคลที่คอยให้การช่วยเหลือทางการเมืองแก ่ นายบุญส่ง จนได้รับเลือกตั้งคนสำคัญก็คือ นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชในขณะนี้ ทั้งนี้นายบุญส่งนั้น ให้ความนับถือและเกรงใจนายเสนาะ เทียนทอง เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนายเสนาะ เทียนทอง ก็เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักในระดับประเทศจึงมีเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ให้การ สนับสนุนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำให้นายบุญส่ง สมใจ ได้รับ ฐานเสียงจากเครือข่ายของนายเสนาะ เทียนทอง ด้วย (หนังสือ งานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญส่ง สมใจ, 2552) 140

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเนื่องจากนายบุญส่ง สมใจ เป็นผู้ก่อตั้งตลาดกลางการเกษตร จังหวัดปราจีนบุรี และก่อตั้งสถานที่ทำการขนส่งจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร ประชาชน และความสะดวกสบาย ของประชาชนโดยส่วนรวม จึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่คอยสนับสนุน ทางการเมือง เครือข่ายจากกลุ่มประชาชนในชุมชนที่เห็นได้ถึงความ จริงใจในการที่จะเข้ามาทำงานเพื่อสังคม (เขมา สมใจ, สัมภาษณ์, 2554) รูปแบบ/กลวิธกี ารหาเสียง นายบุญส่ง สมใจ เน้นการลงพื้นที่พบปะประชาชน ไปพูดคุยรับฟังปัญหาความเดือดร้อน ชนิดเดินเคาะประตูบ้าน แม้จะเหน็ดเหนื่อยมีเวลาพักผ่อนเพียงวันละไม่กี่ชั่วโมง เวลา ส่วนใหญ่อยู่ที่การเดินออกไปพบประชาชน รถยนต์คือบ้าน คือ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องอาหาร การปราศรัยมีบ้างแต่ไม่บ่อยมากนัก โดยบางครั้งมีการ จัดฉายภาพยนตร์ตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชน แล้วเมื่อจัดฉาย ไปได้สักระยะหนึ่งก็จะคั่นด้วยการปราศรัยเพื่อแนะนำตัวกับ ประชาชนให้ประชาชนได้รู้จัก พร้อมทั้งชี้แจงนโยบายในการ พัฒนาจังหวัดและประเทศให้ประชาชนได้รับทราบ หรือบางครั้ง ก็ให้เจ้าของภาพยนตร์นั้นๆ ช่วยพูดประชาสัมพันธ์ให้อีกทาง หนึ่งด้วย 141

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี การแจกสิ่งของก็มีบ้างในรูปแบบของการจัดภาพยนตร์ มาฉายให้ประชาชนชมพร้อมทั้งประกาศนโยบาย แล้วก็มีแจก ยาทันใจ ยาประสาทนอแรด ถ่านไฟฉายตรากบ เป็นต้น การใช้ผู้สนับสนุน แกนนำในการหาเสียง(หัวคะแนน) เน้นเป็นกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยหัวคะแนนดังกล่าวจะต้อง เป็นคนดี ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนและเป็นที่ยอมรับ ในพื้นที่ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบแผ่นพับ รถขยาย เสียงเพื่อแนะนำตัวให้ประชาชนรู้จัก ใบปลิว ป้ายไม้อัด ซึ่ง สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ นั้นจะมีสโลแกนคือ “รักอันมั่นคง บุญส่ง สมใจ” โดยในการหาเสียงก็จะเน้นการลงพื้นที่พบปะกับ ประชาชน ทั้งการร่วมงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ซึ่งหากท่านมีเวลาว่างก็จะไปร่วมงานต่างๆ ของประชาชนอยู่ ตลอด พร้อมทั้งมีการเปิดบ้านเป็นสำนักงานสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เพื่อให้ประชาชนได้ไปติดต่อพบปะและรับเรื่องปัญหา ความเดือดร้อนต่างๆ ของประชาชน (เขมา สมใจ, สัมภาษณ์, 2554) ปจั จัยทีท่ ำให้ได้รับเลือกต้งั ปัจจัยที่ส่งผลให้นายบุญส่ง สมใจ ประสบความสำเร็จ ทางการเมือง สามารถสรุปได้ดังนี้ ประการแรก คือ แนวทางการเล่นการเมืองที่นายบุญส่ง ยึดถือปฏิบัติคือ การเล่นการเมืองด้วยความเอื้ออารี มีสัจจะ เล่นการเมืองด้วยความใสสะอาด ไม่เอาความรุนแรงเข้ามาสู่ เวทีการเมือง ซึ่งนายบุญส่งเชื่อว่าการต่อสู้ทางการเมืองนั้น 142

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ไมจ่ ำเปน็ จะตอ้ งหำ้ หน่ั แขง่ ขนั กนั เอาเปน็ เอาตาย ทำใหป้ ระชาชน เห็นถึงความจริงใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม ประการที่สอง คือ นายบุญส่ง สมใจ ได้มีการบริจาค ทรัพย์สินส่วนตัวทั้งในรูปของเงินทอง วัตถุสิ่งของ อสังหาริมทรัพย์เพื่อส่วนรวม เช่น การบริจาคที่ดินสำหรับ การก่อสร้างที่ทำการเทศบาลเมืองปราจีนบุรี บริจาคที่ดิน ร่วมก่อสร้างสถานีอนามัย บริจาคหินจากธุรกิจโรงโม่หินของ ครอบครัวให้กับชุมชน โรงเรียน ในการก่อสร้าง และบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัด บริจาคอุปกรณ์เครื่องเขียน อุปกรณ์กีฬาแก่ นักเรียนและเยาวชนในหมู่บ้านต่างๆ การเสียสละทรัพย์สินส่วน ตัวเพื่อสาธารณประโยชน์ของส่วนรวมนั้นก็นับเป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ทำให้ประชาชนเห็นถึงความตั้งใจจริงในการทำเพื่อ ส่วนรวมและช่วยเหลือประชาชน ประการที่สาม คือ การลงพื้นที่พบปะประชาชน ไปพูด คุยรับฟังปัญหาความเดือดร้อน แบบเดินเคาะประตูบ้านนั้น ทำให้ประชาชนเห็นถึงความจริงใจ ไม่ทอดทิ้งประชาชน ประการที่สี่ คือ บุคลิกภาพ โอบอ้อมอารี จริงใจและ มีความน่าเชื่อถือ ประการที่ห้า คือ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ในจังหวัดหลายอย่าง เช่น การสร้างศาลหลักเมืองปราจีนบุรี การจัดตั้งนิคมสหกรณ์ที่บ้านหนองงูเหลือม อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี การสร้างสะพานณรงค์ดำริห์ การสร้างถนน สายปราจีนตคาม และถนนในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี เป็นต้น (เขมา สมใจ, สัมภาษณ์, 2554) 143

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 2. นางสงวน สีมันตร นางสงวน สีมันตร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี 1 สมัย เลือกตั้งวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 โดยสังกัดพรรคสหประชาไทย นางสงวน สีมันตร เกิดวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 ทอ่ี ยู่ 31 ซ.เจรญิ พร ต.สามเสนใน พญาไท พระนคร จบการศกึ ษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 นางสงวน สีมันตร เป็นแม่บ้านช่วยงานสังคมสงเคราะห์, นายกเหล่ากาชาด, นายกสมาคมวัฒนธรรมหญิง, กรรมการ ลกู เสือจังหวัด 3. นายโปร่ง เจริญรัตน์ นายโปร่ง เจริญรัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีจำนวน 4 สมัย แต่เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนบุรีเพียงสมัยเดียวคือ จากการเลือกตั้งวันที่ 26 มกราคม 2518 ในนามพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นการลงสมัครสมัยที่สอง โดยลงสมัครสมัยแรกวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด สมัยที่สามวันที่ 4 เมษายน 2519 ในนามพรรคกิจสังคมและสมัยที่สี่วันที่ 22 เมษายน 2522 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งจึงยุติบทบาททางการเมือง นายโปร่ง เจริญรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2464 สมรสกับคุณอรุณ เจริญรัตน์ อาชีพธุรกิจส่วนตัวคือทำธุรกิจปั๊ม น้ำมัน ใน อ.เมือง อ.กบินทร์บุรี และ อ.อรัญประเทศ มีบุตรธิดา รวม 5 คน คือ นายปิยะรัตน์ เจริญรัตน์ นางมะลิวัลย์ สายเพชร 144

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี นางปรางทพิ ย์ เตชะวพิ ากษ์ นางเนอ้ื ทพิ ย์ รกั ชาติ และนายนพดล เจริญรัตน์ นายโปร่ง เจริญรัตน์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนปราจีนราษฎร์ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้วก็สอบบรรจุรับราชการในสังกัดของกรมป่าไม้ และรับ ราชการในสังกัดกรมป่าไม้มาตลอด ตำแหน่งราชการที่ผ่านมา ได้แก่ ป่าไม้อำเภอศรีมหาโพธิ์ และตำแหน่งสุดท้ายคือ ป่าไม้ จังหวัดปราจีนบุรี การเข้าสู่การเมือง นายโปร่ง เจริญรัตน์ รับราชการในสังกัดของกรมป่าไม้ มาตลอดตั้งแต่สำเร็จการศึกษา ซึ่งตำแหน่งสุดท้ายคือ ป่าไม้ จังหวัดปราจีนบุรี จากนั้นได้ลาออกจากราชการมาลงสมัครรับ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี “ท่าน สส. ลาออกจากราชการมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีคนในจังหวัดสนับสนุนค่อนข้างมาก มีเสียงเชียร์เยอะว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสม สมควรที่จะลง สมัคร ท่านจึงตัดสินใจลงสมัครครั้งแรกวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 ในนามอิสระไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ซึ่งการสมัครครั้ง แรกนั้นท่านไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาได้รับการเลือกตั้งเมื่อลง สมัครเป็นครั้งที่สอง วันที่ 26 มกราคม 2518 ในนามพรรค กิจสังคม และได้เป็น สส.เพียงสมัยเดียว ต่อมาได้ลงสมัครอีก สองครั้ง คือ วันที่ 4 เมษายน 2519 ในนามพรรคกิจสังคมและ วันที่ 22 เมษายน 2522 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งจึงยุติบทบาท 145

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ทางการเมือง” (สุธิพงศ์ รักชาติ, สัมภาษณ์, 2554) ฐานเสยี งและเครือข่ายทางการเมือง กลุ่มแกนนำที่ทำให้นายโปร่ง เจริญรัตน์ ประสบความ สำเร็จ คือ กลุ่มเครือข่ายชาวบ้านประชาชนในชุมชนที่เห็นได้ถึง ความจริงใจในการที่จะเข้ามาทำงานเพื่อสังคม ตลอดจน เครือข่ายญาติพี่น้องที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือในการหาเสียง เลือกตั้ง รูปแบบ/กลวิธีการหาเสียง การหาเสียงของนายโปร่ง เจริญรัตน์ “วิธีการหาเสียงใช้ วิธีการปราศรัยโดยมีการประชาสัมพันธ์กับประชาชนว่าจะมี การจัดฉายภาพยนตร์ ลิเก มาแสดงตามโรงเรียน วัด หรือ สถานที่ต่างๆในชุมชน แล้วก่อนที่จะฉายภาพยนตร์หรือลิเกนั้น ก็จะมีการปราศรัยหาเสียงซึ่งท่าน สส. จะเน้นนโยบายของ พรรคกิจสังคม และแนวทางการทำงานเพื่อส่วนรวมของตนเอง ประกอบกัน ในช่วงการเลือกตั้งประชาชนก็มีมาขอสิ่งของ ต่าง ๆ บ้าง ท่าน สส.จะเน้นการให้สิ่งของเพื่อเป็นประโยชน์กับ สาธารณชนไม่ใช่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น การบริจาคสิ่งของ เพื่อซ่อมแซมวัด/โรงเรียน การบริจาคดิน/ลูกรัง ไปถมถนน เป็นต้น การใช้ผู้สนับสนุน แกนนำในการหาเสียง(หัวคะแนน) เน้นเป็นกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือชาวบ้านที่มีความใกล้ชิด กับวัด เพื่อช่วยในการหาเสียง ดูว่าผู้สมัครคนอื่นทำอะไรบ้าง จะได้คำนวณว่าเราควรทำอะไรในช่วงไหน อย่างไรบ้าง มีการ ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบแผ่นพับขนาดเล็ก และรถขยาย เสียงเพื่อแนะนำตัวให้ประชาชนรู้จัก ซึ่งรถขยายเสียงจะมี 146

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ประโยคติดหูคือ เลือกกิจสังคม เราทำได้ ซึ่งเป็นสโลแกนของ พรรคกิจสังคม โดยในการหาเสียงก็จะเน้นการลงพื้นที่พบปะกับ ประชาชน ทั้งการร่วมงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ซึ่งหากท่านมีเวลาว่างก็จะไปร่วมงานต่างๆ ของประชาชนอยู่ ตลอด” (สุธิพงศ์ รักชาติ, สัมภาษณ์, 2554) ปจั จยั ท่ีทำใหไ้ ดร้ ับเลอื กตง้ั สิ่งสำคัญที่ทำให้นายโปร่ง เจริญรัตน์ ได้รับการเลือกตั้ง คือ “ท่าน สส. เป็นบุคคลที่มีความจริงใจกับประชาชน เป็นผู้ที่ มีความน่าเชื่อถือ มีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน สมัยแรกที่ลงสมัครจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ท่านก็ยังคงทำงาน ช่วยเหลือประชาชนและสังคมมาโดยตลอด จึงทำให้ได้รับความ ไว้ใจจากประชาชนในการลงเลือกตั้งในสมัยที่สอง ตลอดจน ชื่อเสียงของพรรคกิจสังคมและชื่อเสียงของ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคก็เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้ได้รับการ เลือกตั้ง” (สุธิพงศ์ รักชาติ, สัมภาษณ์, 2554) 4. พันตรีทองดำ เสมะกนิษฐ์ พันตรีทองดำ เสมะกนิษฐ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีเพียงสมัยเดียว คือ จากการเลือกตั้งวันที่ 26 มกราคม 2518 – 12 มกราคม 2519 โดยสังกัดพรรค สังคมชาตินิยม พันตรีทองดำ เสมะกนิษฐ์ ก่อนที่จะมาเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนบุรีนั้น ท่านรับราชการทหาร ที่ค่ายจักรพงษ์มาก่อน และเป็นเจ้าของสวน “ทองดำ” ทำให้ 147

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ท่านมีฐานเสียงทั้งจากกลุ่มข้าราชการทหารและกลุ่มเกษตร ทส่ี นบั สนนุ ใหท้ า่ นไดร้ บั การเลอื กตง้ั เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร ของจังหวัดปราจีนบุรี 5. นายเฉลิมพล หริตวร นายเฉลิมพล หริตวรเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ จังหวัดปราจีนบุรีเพียงสมัยเดียวจากการเลือกตั้งวันที่ 4 เมษายน 2519 ในนามพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็นการลงสมัคร สมัยแรก เป็นได้ 6 เดือน 2 วัน ก็เกิดการปฎิวัติทางการเมือง ท่านเป็นอดีตสมาชิกผู้แทนเขต 1 ซึ่งมีอำเภอบ้านสร้าง, อำเภอ โคกปีบ, อำเภอศรีมหาโพธิ, อำเภอประจันตคาม, อำเภอนาดี, อำเภอกบินทร์บุรี นายเฉลิมพล หริตวร อายุ 68 สมรสกับนางมะลิวัลย์ หริตวร อาชีพธุรกิจส่วนตัวคือทำธุรกิจโรงงานอัดมันเม็ด มีบุตร ธิดารวม 3 คนคือ โชติมา หริตวร นายเฉลิมศักดิ์ หริตวร และ นายชาติศักดิ์ หริตวร นายเฉลิมพล หริตวร สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 แล้วก็ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่เยอรมัน ด้านเครื่องยนต์ ช่วยธุรกิจของครอบครัว บริษัทหริตวร เป็น โรงสีข้าว 148

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี การเขา้ ส่กู ารเมอื ง นายเฉลิมพล หริตวร เข้ามาด้วยตนเอง เทศบาลตำบล กบินทร์มีปัญหา ทางจังหวัดให้อำเภอมาสรรหา ท่านก็เลยเป็น หนึ่งในนั้น ท่านได้เป็นนายกเทศมนตรีกบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี 2 สมัย จากนั้นได้ผันตัวมาลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ท่านสส.มาลงสมัคร รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีคนในจังหวัด สนับสนุนค่อนข้างมากมีเสียงเชียร์เยอะว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะ สม สมควรที่จะลงสมัคร ซึ่งการสมัครครั้งแรกนั้นท่านก็ได้รับ การเลือกตั้งเลย จากการเลือกตั้งวันที่ 4 เมษายน 2519 ในนาม พรรคกิจสังคม และได้เป็น สส.ไม่ถึงสมัย ซึ่งท่านไม่คิดจะกลับ ไปเล่นการเมืองระดับชาติอีก ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลเมืองเก่า จ.ปราจีนบุรี และมีความสุขกับ การเล่นการเมืองท้องถิ่น ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อความ เจริญของท้องถิ่น ฐานเสียงและเครอื ขา่ ยทางการเมอื ง กลุ่มแกนนำที่ทำให้นายเฉลิมพล หริตวร ประสบความ สำเร็จ คือ คนที่ชาวบ้านให้ความนับถือเป็นคนดี กลุ่มเครือข่าย ชาวบ้านประชาชนในชุมชนที่เห็นได้ถึงความจริงใจในการที่จะ เข้ามาทำงานเพื่อสังคม ตลอดจนเครือข่ายญาติพี่น้องที่คอย สนับสนุนช่วยเหลือในการหาเสียงเลือกตั้ง 149

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี รูปแบบ/กลวิธกี ารหาเสียง การหาเสียงของนายเฉลิมพล หริตวร “วิธีการหาเสียงใช้ วิธีการทำแผ่นโฆษณา ขนาด A4 มีรูปและนโยบายของ พรรคกิจสังคม มีการใช้รถขยายเสียงวิ่งไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อ หาเสียงและจะเน้นการเข้าถึงประชาชน และทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่วนรวม ในช่วงการเลือกตั้งมีการแจก หอม กระเทียม ผ้าขาวม้าให้กับประชาชน ท่าน สส.จะเน้นการให้สิ่งของเพื่อ เป็นประโยชน์ โดยหาเสียงไปแล้วก็แจกของไปด้วย แกนนำ ในการหาเสียงเน้นคนที่ชาวบ้านนับถือเพื่อช่วยในการหาเสียง มีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบแผ่นพับขนาดเล็ก และ รถขยายเสียงเพื่อแนะนำตัวให้ประชาชนรู้จัก ซึ่งรถขยายเสียง จะมีประโยคติดหูคือ เลือกกิจสังคม เราทำได้ ซึ่งเป็นสโลแกน ของพรรคกิจสังคม โดยในการหาเสียงก็จะเน้นการลงพื้นที่ พบปะกับประชาชน ทั้งการร่วมงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ซึ่งหากท่านมีเวลาว่างก็จะไปร่วมงานต่างๆ ของ ประชาชนอยู่ตลอด ถ้างานไหนไม่เชิญท่านก็ไป เพื่อไปพูด นโยบายพรรคให้ประชาชนฟัง บางงานก็ส่งลูกชายไปแทน” (เฉลิมพล หริตวร, สัมภาษณ์, 2554) ปจั จยั ทที่ ำใหไ้ ด้รบั เลือกตัง้ สิ่งสำคัญที่ทำให้นายเฉลิมพล หริตวร ได้รับการเลือกตั้ง คือ เปน็ คนทีม่ บี ุคลกิ ทด่ี ี เปน็ บคุ คลท่มี คี วามจริงใจกบั ประชาชน เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ มีการเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกที่ลงสมัครก็ได้รับเลือกตั้งเลย ตลอดจนชื่อเสียงของ พรรคกิจสังคมและนโยบายของพรรค ผลงานในช่วงเลือกตั้ง 150

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี จะไม่ค่อยมี เพราะช่วงระยะเวลาที่ได้เป็นสั้น (เฉลิมพล หริตวร, สัมภาษณ์, 2554) 6. นายเสนาะ เทียนทอง นายเสนาะ เทียนทอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี โดยสังกัดพรรคชาติไทย ตลอดทั้ง 7 สมัย คือ สมัยแรกวันที่ 4 เมษายน 2519 สมัยที่สองวันที่ 22 เมษายน 2522 สมัยที่สามวันที่ 18 เมษายน 2526 สมัยที่สี่วันที่ 27 กรกฎาคม 2529 สมัยที่ห้าวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 สมัยที่หก วันที่ 22 มีนาคม 2535 และสมัยที่เจ็ดวันที่ 13 กันยายน 2535 และในวันที่1 ธันวาคม 2536 ให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี เขต 2 เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด สระแก้ว นายเสนาะ เทียนทอง เกิดวันที่ 1 เมษายน 2477 เป็น บุตรของนายแสวง เทียนทอง และนางทองอยู่ เทียนทอง เป็น บุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 1 คน คือ นายเอื้อ เทียนทอง นางสนุ่น สุขกุล นายเสนาะ เทียนทอง นายวิทยา เทียนทอง และนายพิเชษฐ เทียนทอง นายเสนาะ เทียนทอง สมรสกับภรรยาคนแรกชื่อ จิตรา โตศักดิ์สิทธิ์ มีบุตรชาย 3 คน คือ นายสุรศักดิ์ เทียนทอง นายสุรเกียรติ เทียนทอง และนายสุรชาติ เทียนทอง ต่อมา ได้สมรสกับนางอุไรวรรณ เทียนทอง มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ นายสรวงศ์ เทียนทอง และน.ส.สิริวัลย์ เทียนทอง นายเสนาะ เทียนทอง สำเร็จการศึกษาระดับประถม ศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนศรีวัฒนาวิทยา อำเภอวัฒนานคร 151

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัด ปราจีนบุรี (ยังไม่แยกออกเป็นจังหวัดสระแก้ว) ต่อมาสำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม ได้รับมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อ การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ และได้รับ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ นายเสนาะ เทียนทอง ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับเหล้าและบุหรี่ ได้มีบริษัทเป็นของตัวเองชื่อว่า บริษัท ส.เทียนทอง ต่อมาได้ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ใน พ.ศ. 2519 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรค ชาติไทย สมัยที่ 1 ใน พ.ศ.2519 เป็นสมาชิกสภาปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2520-2522 เป็นสมาชิกสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 22 เมษายน 2522 เป็นสมาชิสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคชาติไทย สมัยที่ 2 ใน พ.ศ. 2523 เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ในวันที่ 18 เมษายน 2526 เป็นสมาชิสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี พรรคชาติไทย สมัยที่ 3 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 เป็นสมาชิสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต 1 พรรคชาติไทย สมัยที่ 4 (ยุบสภา 29 เม.ย. 2531) ในวันที่ 11 สิงหาคม 2529 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 เป็นสมาชิสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต 2 พรรคชาติไทย สมัยที่ 5 ในวันที่ 9 สิงหาคม 2531 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 152

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี มหาดไทย ในวันที่ 26 สิงหาคม 2533 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2533 เป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 14 ธันวาคม 2533 เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต 1 พรรคชาติไทย สมัยที่ 6 ในวันที่ 17 เมษายน 2535 เป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 รักษาการแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 13 กันยายน 2535 เป็นสมาชิสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ปราจีนบุรี เขต 2 พรรคชาติไทย สมัยที่ 7 ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทวงสาธารณสุข ในวันที่ 24 กันยายน 2538 เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มีนาคม 2544 เป็น ประธานกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร การเข้าสู่การเมือง นายเสนาะ เทียนทอง เริ่มงานการเมืองครั้งแรกกับ พรรคชาติไทย เมื่อ พ.ศ. 2518 โดยคำชวนของพลโทยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ซึ่งมีความสนิทสนม กับนายเสนาะเป็นอย่างมาก เนื่องจากในสมัยนั้นพลโทยศ มีหน้าที่ในการป้องกันชายแดนไทยจากภัยสงครามของกัมพูชา ซึ่งกองทัพนิยมใช้งานรับเหมาก่อสร้างของนายเสนาะ และ 153

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี นายเสนาะก็ตอบแทนด้วยการช่วยเหลือการศึกแก่ฝ่ายทหาร เช่น การสนับสนุนรถแทรกเตอร์มาทำบังเกอร์ และพลโทยศ ก็มี ความสนิทสนมกับ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรค ชาติไทยในสมัยนั้น พลโทยศจึงได้ชักชวนนายเสนาะเข้ามาลง รับสมัครเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2519 ซึ่งนายเสนาะก็ได้รับ เลือกตั้งเป็น ส.ส. ของจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสมัยแรก (นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์, 2554, น.65 -66) และต่อจากนั้นนายเสนาะ ก็ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ปราจีนบุรี และสระแก้วเรื่อยมา (เมื่อ สระแก้วแยกออกมาเป็นจังหวัดใหม่) ต่อมานายเสนาะเริ่มมี บทบาทในพรรคมากขึ้น ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ชาติไทย และต่อมานายบรรหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2538 นายเสนาะ ได้ลาออกจากพรรคชาติไทย ใน พ.ศ. 2539 หลังจากนายบรรหาร ศิลปอาชา ประกาศยุบสภา และเข้าร่วม พรรคความหวังใหม่ นายเสนาะจึงได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการเลือกตั้งครั้งต่อมานายเสนาะ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้รับตำแหน่งประธานที่ ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และไม่รับตำแหน่งทางการเมือง โดย ให้นางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยา รับตำแหน่งรัฐมนตรีใน รัฐบาลในโควตากลุ่มวังน้ำเย็น ในระยะหลัง นายเสนาะถูกลด บทบาทความสำคัญในพรรค จากนั้นนายเสนาะได้ก่อตั้ง พรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ ชื่อว่าพรรคประชาราช โดยนายเสนาะ เป็นหัวหน้าพรรค 154

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี รปู แบบ/กลวธิ กี ารหาเสียง นายเสนาะ เทียนทอง มีกลยุทธ์ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยการเปิดเวทีปราศรัยแถลงนโยบายของพรรคและตัวผู้สมัคร รณรงค์หาเสียงพบปะชาวบ้านไปตามหมู่บ้านต่างๆ และ เปิดบ้านรับเรื่องร้องทุกข์ (นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์, 2554, น.67-68,86) ปัจจัยที่ทำให้ไดร้ ับเลือกตงั้ ส่งิ สำคญั ท่ีทำให้นายเสนาะ เทยี นทอง ไดร้ ับการเลอื กต้ัง คือ ทุนทางเศรษฐกิจและสังคมของตระกูลเทียนทอง ที่มีบิดา คือกำนันแสวง เทียนทอง ที่เป็นที่รักใคร่ชื่นชอบของชาว สระแก้วอยู่เป็นทุนเดิม ฐานทางเศรษฐกิจคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เทียนทองที่ประกอบธุรกิจหลายประเภท ทั้งรับเหมาก่อสร้าง โรงโม่หิน ปูนซีเมนต์ โรงไม้ โรงสีข้าว ลานมัน และธุรกิจ พัฒนาที่ดิน ซึ่งจากลักษณะของธุรกิจทำให้ได้ติดต่อประมูลงาน กับทางราชการหลายหน่วยงาน จนทำให้ ส.เทียนทองเป็นที่รู้จัก เป็นอย่างดีกับหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งชื่อเสียงของนายเสนาะ และนโยบายในการหาเสียงที่ชัดเจนในการพัฒนาจังหวัด ส่งผล ให้นายเสนาะ เทียนทอง ประสบความสำเร็จทางการเมือง (นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์, 2554,น. 149-151) 7. นายนิพนธ์ เตียเจริญ นายนิพนธ์ เตียเจริญ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีเพียงสมัยเดียว คือ จากการเลือกตั้งวันที่ 4 เมษายน 2519– 6 ตุลาคม 2519 โดยสังกัดพรรคสังคม ชาตินิยม 155

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี นายนิพนธ์ เตียเจริญ ก่อนที่จะมาเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนบุรีนั้น ท่านทำธุรกิจโรงสีข้าว และธุรกิจค้าพืชไร่ มาก่อน ทำให้ท่านมีฐานเสียงจากกลุ่มธุรกิจ ในจังหวัดที่สนับสนุนให้ท่านได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนบุรี 8. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ นายสมาน ภมุ มะกาญจนะ เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี 7 สมัย คือ จากการเลือกตั้งสมัยแรกวันที่ 22 เมษายน 2522 การเลือกสมัยที่สองวันที่ 18 เมษายน 2526 การเลือกตั้งสมัยที่สามวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 การเลือกตั้ง สมัยที่สี่วันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยสี่สมัยแรกสังกัดพรรค ชาติไทย การเลือกตั้งสมัยที่ห้าวันที่ 13 กันยายน 2535 การ เลือกตั้งสมัยที่หกวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 และการเลือกตั้ง สมัยที่เจ็ดวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 โดยสมัยที่สี่ถึงสมัยที่เจ็ด ในนามพรรคชาติพัฒนา นายสมาน ภุมมะกาญจนะ เกิดวันที่ 1 มกราคม 2479 อยู่ที่ 599/25-27 ซ.สังขะวัฒนะ 1 ถ.ราชฎรดำริ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี จบการศึกษามัธยมปลายจากโรงเรียน พิบลู วิทยาลัย มีอาชีพนักการเมือง นายสมาน ภมุ มะกาญจนะ เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีใน พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535 (จากการเลือกตั้งวันที่ 22 มีนาคม 2535 และวันที่ 13 กันยายน 2535) 2538 และ พ.ศ. 2539 เลขานุการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2523 ได้รับเครื่องราช- อสิ รยิ าภรณ์ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 156

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 9. นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีสมัยเดียวคือ จากการเลือกตั้งวันที่ 22 เมษายน 2522 และได้ยุติบทบาทการเมืองระดับประเทศลงและ ไปเริ่มบทบาททางการเมืองท้องถิ่นแทน โดย พ.ศ. 2537 ได้รับ การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลอรัญประเทศ และได้ รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลให้ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาเทศบาลตำบลอรัญประเทศ นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2468 เป็นบุตรของนายวุฒิ และนางทองจันทร์ มหิทธิบุรินทร์ นายสำรวลได้สมรสกับนางสาววิภา อรัญญานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2491 มีบุตรชาย 3 คน หญิง 5 คน รวม 8 คน ต่อมา พ.ศ. 2533 ภรรยาไดเ้ สยี ชวี ติ ลง และไดส้ มรสใหมก่ บั นางจนั ทรเ์ พญ็ ไชยราช นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ สำเร็จการศึกษาระดับประถม ศึกษา จากโรงเรียนผดุงดรุณศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันคือโรงเรียน ปราจิณราษฎรอำรุง) เข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จบชั้นปีที่ 3 และ สอบได้วุฒิประกาศนียบัตรพิเศษครูมัธยม (พ.ม.) เข้าศึกษาต่อ หลักสูตรการศึกษาระยะสั้นจากวิทยาลัยครูประสานมิตร และ จบหลักสูตรการนิเทศการศึกษาของกรมสามัญศึกษา 157

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี การเขา้ สกู่ ารเมือง นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ หลังจากสำเร็จการศึกษา ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนศรีอรัญโญทัย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2522 ได้ลาออกจาก ราชการมาสมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้รับการทาบทามจากท่านเทพ สมใจ (เป็นอาจารย์ของท่าน ส.ส. สำรวล) เนื่องจากต้องการหาคนที่ มีชื่อเสียงในจังหวัดมาลงสมัคร ส.ส. รวมทั้งท่านสำรวลก็เป็น คนดี มีชื่อเสียงระดับหนึ่งจึงตัดสินใจลงสมัคร และก็ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีในปีนั้น เพียงสมัยเดียว ต่อมาท่านได้ยุติบทบาทการเมืองระดับประเทศ ลงและไปเริ่มบทบาทการเมืองท้องถิ่นแทน โดย พ.ศ. 2537 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลอรัญประเทศ และได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลให้ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาเทศบาลตำบลอรัญประเทศ (ธัชชัย ธรรมวงษา, สัมภาษณ์, 2554) ประวัติการทำงาน นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ มีประวัติการทำงานดังนี้คือ เป็นประธานมูลนิธิชายแดน ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ อรัญประเทศ ประธานชมรมครูบำนาญปราจีนบุรี สระแก้ว และนครนายกและผู้อำนวยการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านของ จังหวัดสระแก้ว (ธัชชัย ธรรมวงษา,สัมภาษณ์,2554) 158

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ฐานเสยี งและเครอื ข่ายทางการเมือง กลุ่มฐานเสียงของนายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ มาจากการ มีกลุ่มแกนนำซึ่งเป็นลูกศิษย์ ครู จากการที่เป็นครูและผู้บริหาร โรงเรียนศรีอรัญโญทัยมาก่อน กลุ่มเครือข่ายครู และลูกศิษย์ จึงเป็นฐานเสียงที่สำคัญ กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน จากการที่ท่านเป็นวิทยากร ฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านทั้งในจังหวัดปราจีนบุรีและในระดับ ประเทศ เครือข่ายกลุ่มลูกเสือชาวบ้านที่มีจำนวนค่อนข้างมาก กระจายอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดปราจีนบุรีจึงเป็นฐานเสียง สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งที่ส่งผลให้นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ ชนะ การเลือกตั้ง เครือข่ายเพื่อนบ้าน คนในชุมชน ที่ให้การ สนับสนุน (ธัชชัย ธรรมวงษา, สัมภาษณ์, 2554) รปู แบบ/กลวิธกี ารหาเสยี ง การหาเสียงของนายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ วิธีการ หาเสียงนั้นจะไม่ใช้วิธีการปราศรัย แต่จะมาจากการหาเสียง ตามงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ตลอดจน งานต่างๆ ที่มีการรวมคนอยู่แล้ว มีการเรียกลูกศิษย์มาร่วมเป็น หัวคะแนนในการหาเสียงด้วย(ในสมัยนั้น) และมีการใช้ สื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งการติดป้ายประกาศ A4 โฆษณาตาม เสาไฟฟ้า ต้นไม้ต่างๆ รวมทั้งการแจกแผ่นพับขนาดเล็ก เพื่อ เป็นการแนะนำให้ชาวบ้านได้รู้จักมากยิ่งขึ้น (ธัชชัย ธรรมวงษา, สัมภาษณ์, 2554) 159

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจยั ที่ทำให้ได้รบั เลือกตั้ง สิ่งที่ทำให้ นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ ได้รับการเลือกตั้ง คือ ท่านเป็นคนดี มีความเสียสละเพื่อสังคม มีลูกศิษย์จำนวน มาก มีความจริงใจต่อชาวบ้าน และท่านเป็นวิทยากรลูกเสือ ชาวบ้านระดับประเทศ ซึ่งทำให้เป็นที่รักและเคารพมากของคน มากมาย (ธัชชัย ธรรมวงษา, สัมภาษณ์, 2554) 10. นายวิทยา เทียนทอง นายวิทยา เทียนทอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 5 สมัย จากการเลือกตั้งสมัยแรกใน วันที่ 18 เมษายน 2526 สมัยที่สองจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2529 สมัยที่สามจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 สมัยที่สี่จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2535 และสมัยที่ห้าจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 นายวิทยา เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของ นายแสวง เทียนทอง และนางทองอยู่ เทียนทอง เป็นบุตรคนที่ 4 จำนวนพี่น้อง 5 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 1 คน คือ นายเอื้อ เทียนทอง (เสียชีวิต ก.ค. 2552) สมรสกับ สมพงษ์ วิทยกิจ นางสนุ่น สุขกุล สมรสกับ นายกวี สุขกุล นายเสนาะ เทียนทอง สมรสกับ อุไรวรรณ เทศะแพทย์ และนายพิเชษฐ เทียนทอง สมรสกับขวัญเรือน ยุวถาวร (เสียชีวิตอายุ 60 ปี เมื่อ 17 ส.ค. 2547) นายวิทยา เทียนทอง สมรสกับนางวารี ลิ้มเลิศสินชัย นายวิทยา เทยี นทอง พ.ศ. 2529 ไดเ้ ปน็ ผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2538 ได้เป็นเลขานุการ 160

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ พ.ศ. 2539-2540 ได้เป็น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 11. นายสลับ นาคะเสถียร นายสลับ นาคะเสถียร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีสมัยเดียว คือจากการเลือกตั้งวันที่ 18 เมษายน 2516 ในนามพรรคประชากรไทย นายสลับ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2466 ภรรยาชื่อนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร มีบุตร 3 คน ชื่อ สืบ นาคะเสถียร กอบกิจ นาคะเสถียร และ กัลยา รักษาสิริกุล จบการศึกษา ประกาศนียบัตรนักปกครองระดับสูง เคยรับ ราชการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย นายอำเภอเมืองสระแก้วและผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี โดยในสมัยนั้นจังหวัดสระแก้วยังไม่แยกออกจากจังหวัด ปราจีนบุรี ตำแหน่งราชการตำแหน่งสุดท้ายคือผู้ตรวจราชการ กระทรวงมหาดไทย การเข้าสกู่ ารเมอื ง นายสลับ นาคะเสถียร ไม่มีเครือญาติที่เป็นนักการเมือง ทั้ง นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่มีฐานจากการ เป็นข้าราชการในจังหวัดมาเป็นเวลานาน ทั้งตำแหน่งนาย อำเภอเมืองสระแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ทำให้เกิด ความสนใจในการเข้าสู่วิถีการเมืองโดยลาออกจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และสมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชากรไทย ซึ่งในสมัยนั้นมีนายสมัคร สุนทรเวช 161

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี เป็นหัวหน้าพรรค เมื่อลงสมัคร ส.ส. ก็ได้รับเลือกตั้งในสมัย แรกเลย อีกทั้งยังได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ ช้างเผือกอีกด้วย (วิฑรู ย์ นาคะเสถียร, สัมภาษณ์, 2554) ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมอื ง ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของนายสลับ นาคะเสถียร คือ ญาติพี่น้อง ซึ่งเป็นทหารหลายคน ทำให้ได้รับ คะแนนเสียงในการเลือกตั้งจากทหารค่อนข้างมาก เครือข่ายทางราชการเนื่องจากนายสลับ นาคะเสถียร รับราชการมาเป็นเวลานาน โดยดำรงตำแหน่งสำคัญหลาย ตำแหน่ง ได้แก่ นายอำเภอเมืองสระแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี โดยในสมัยนั้นจังหวัดสระแก้วยังไม่แยกออกจาก จังหวัดปราจีนบุรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ทำให้มีเครือข่ายจากข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นฐาน เสียงให้ (วิฑูรย์ นาคะเสถียร, สัมภาษณ์, 2554) รปู แบบ/กลวิธีการหาเสียง นายสลับ นาคะเสถียร เป็นคนจังหวัดปราจีนบุรี โดยกำเนิด ประกอบกับผลงานที่ท่านได้ทำไว้ตอนเป็น ข้าราชการ ซึ่งให้การสนับสนุนกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะ หนว่ ยงานทหาร เพราะทา่ นมญี าตพิ น่ี อ้ งทเ่ี ปน็ ทหารอยหู่ ลายคน และให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี ทำให้ ในการหาเสียงจึงไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากนัก เมื่อประชาชน ชาวบ้านรู้ว่าท่านลงสมัคร จึงพร้อมใจกันลงคะแนนให้ ท่านสลับ ไม่มีแม้แต่งานเลี้ยงเปิดตัวในโอกาสใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ 162

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ท่านก็ได้คะแนนจากประชาชน ชาวบ้านจังหวัดปราจีนบุรีไป อย่างล้นหลาม สำหรับกรณีที่มีการหาเสียง วิธีในการหาเสียงของท่าน เป็นการหาเสียงตามสายข้าราชการ คือ กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน โดยเน้นกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นหลักอาจจะมีการนัดให้ลูกบ้าน มาประชุม แล้วจึงเชิญท่านสลับไปเข้าร่วม เพื่อขอคะแนนเสียง จากชาวบ้าน และมีการจัดทำสื่อในการประชาสัมพันธ์หาเสียง คือ แผ่นพับขนาดเล็กแนะนำตัวผู้สมัคร ป้ายโปสเตอร์ (เป็นรูป ท่านสลับคนเดียว ไม่มีรูปหัวหน้าพรรค) และรถขยายเสียง (แต่ ไม่มากเท่าไหร่) และได้มีการเข้าร่วมงานบุญ งานกุศลต่างๆ ที่ ได้รับเชิญ (วิฑรู ย์ นาคะเสถียร, สัมภาษณ์, 2554) ปจั จยั ที่ทำให้ไดร้ ับเลือกตัง้ นายสลับ นาคะเสถียร ถือได้ว่าเป็นข้าราชการที่ดี มี ความซื่อสัตย์ สุจริต มีผลงานที่เด่นชัด เป็นที่เคารพรักของ ประชาชนทั่วไป การได้มาซึ่งคะแนนในการหาเสียง เกิดจากชื่อ เสียงของตนเป็นหลัก ไม่ได้มาจากชื่อเสียงของพรรคที่สังกัด อยู่แต่อย่างใด (วิฑูรย์ นาคะเสถียร, สัมภาษณ์, 2554) 12. นายสุนทร วิลาวัลย์ นายสุนทร วิลาวัลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีจำนวน 9 สมัย เป็นสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี 9 สมัยติดต่อกัน ลงสมัคร เลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ในนามพรรค ชาติไทย ครั้งที่สอง วันที่ 27 กรกฎาคม 2529 ในนามพรรค 163

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ราษฎร ครั้งที่สาม วันที่ 24 กรกฎาคม 2531 ในนามพรรค ชาติไทย ครั้งที่สี่ วันที่ 22 มีนาคม 2535 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่ห้า วันที่ 13 กันยายน 2535 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่หก วันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่เจ็ด วันที่ 17 เมษายน 2539 ในนามพรรคความหวังใหม่ ครั้งที่แปด วันที่ 20 มกราคม 2544 ในนามพรรคไทยรักไทย ครั้งที่เก้า วันที่ 22 ธันวาคม 2550 ในนามพรรคภูมิใจไทย นายสุนทร วิลาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2486 รับการศึกษาจากโรงเรียนจักพงศ์ แต่ศึกษาได้เพียงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 และได้ศึกษาต่ออีกครั้งที่โรงเรียนสอนภาษา จีน ชื่อโรงเรียนจงหมิน ต่อมาได้ประกอบอาชีพเป็นช่างตัด เสื้อผ้า จากนั้นได้ช่วยกิจการของครอบครัวคือเป็นผู้คุมงาน ก่อสร้างได้ระยะ 2-3 ปี ได้ชักชวนเพื่อนไปประกอบอาชีพ ช่างนาฬิกาที่กวางตุ้งประมาณ 2 ปี จึงกลับมาประเทศไทย จึงไปเรียนทำนาฬิกาต่อ และได้ไปสอนซ่อมนาฬิกาที่ SBC ทำ อาชีพนี้จนอายุครบเกณฑ์ทหารจึงต้องกลับจังหวัดปราจีนเพื่อ ไปไล่ทหาร แต่จับได้ใบดำจึงไม่ได้เป็นทหาร หลังจากนั้น ได้ลาออกจากร้านซ่อมนาฬิกาที่กรุงเทพมาเปิดกิจการร้าน ขายนาฬิกาที่จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมี 2 ร้านแต่ได้ยกกิจการ ให้พี่สาวและหลานสาว การเขา้ ส่กู ารเมอื ง นายสุนทร วิลาวัลย์ หลังจบการศึกษาในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนจักพงศ์ จากนักธุรกิจเจ้าของ กิจการร้านนาฬิกา สู่เส้นทางการเมืองท้องถิ่น หลังจากที่ 164

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี นายสุนทร วิลาวัลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านนาฬิกาได้ประมาณ 2-3 ปี ได้มีพรรคพวกชวนให้ลงเล่นการเมืองท้องถิ่น คือ นายบุญส่ง สมใจ โดยเริ่มจากการเป็นสมาชิกสภาเทศบาล เมืองปราจีนบุรี จากสมาชิกเป็นรองประธานสภาเทศบาลเมือง ปราจีนบุรี ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมือง ปราจีนบุรีและได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองปราจีนบุรี ต่อมาได้มีเหตุการณ์การยุบสภาเทศบาลเมืองปราจีนบุรีเกิดขึ้น จึงทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ นายสุนทร วิลาวัลย์ก็ได้เป็น นายกเทศมนตรีอีกและอยู่จนครบวาระ และได้ลงสมัครรับ เลือกตั้งในสมัยต่อมา ซึ่งก็ได้ชนะการเลือกตั้ง หลังจากเล่น การเมืองท้องถิ่นได้สักระยะ ดร.สุรพล และดร.ประยูร ชวนเล่น การเมืองระดับประเทศ ซึ่งในขณะนั้นพลเอกเปรม ติณสูลา นนท์ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรครักเมืองไทยพอดี นายสุนทร วิลาวัลย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกและได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี หลังจากนั้น นายสุนทร วิลาวัลย์ก็ลงเล่นการเมืองระดับประเทศอย่าง ต่อเนื่องโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี 9 สมัย ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัด ปราจีนบุรี และดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคมัชฌิมาธิปไตย ตามลำดับ (สุนทร วิลาวัลย์, สัมภาษณ์, 2554) 165

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ผลงานที่ผ่านมา นายสุนทร วิลาวัลย์ ทำงานทางการเมืองหลายสมัย ติดต่อกัน ได้สร้างผลงานไว้อย่างมากมาย อาทิ สมาชิกสภา เทศบาลเมืองปราจีนบุรี จากสมาชิกเป็นรองประธานสภา เทศบาลเมืองปราจีนบุรี และจากรองประธานสภาเป็น นายกเทศมนตรีเมืองปราจีนบุรี จนกระทั่งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ถึง 9 สมัยคือลงสมัครเลือกตั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่ สอง วันที่ 27 กรกฎาคม 2529 ในนามพรรคราษฎร ครั้งที่สาม วันที่ 24 กรกฎาคม 2531 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่สี่ วันที่ 22 มีนาคม 2535 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่ห้า วันที่ 13 กันยายน 2535 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่หก วันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ในนามพรรคชาติไทย ครั้งที่เจ็ด วันที่ 17 เมษายน 2539 ในนามพรรคความหวังใหม่ ครั้งที่แปด วันที่ 20 มกราคม 2544 ในนามพรรคไทยรักไทย ครั้งที่เก้า วันที่ 22 ธันวาคม 2550 ในนามพรรคภูมิใจไทย ระหว่างที่เป็น ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี ได้ดำรงตำแหน่งในกระทรวง ต่างๆ อาทิ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำรง ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปราจีนบุรี และดำรงตำแหน่ง รองประธานพรรค มัชฌิมาธิปไตย ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2539-2540 ได้มีการสนับสนุนการดำเนินงานของแพทย์แผนไทยโบราณ ทั่วประเทศ มีการผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง สถาบันแพทย์ 166

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี แผนไทยขึ้นในกรมการแพทย์ ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็น กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ในปัจจุบัน ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมอื ง นายสุนทร วิลาวัลย์ เมื่อครั้งลงสมัครครั้งแรกยังไม่มี ฐานเสียง ใช้วิธีหาเสียงเอง มีน้องสาว คือ บังอร วิลาวัลย์ เป็น นายก อบจ. สมัยที่ 3 ติดกัน ในครอบครัวลูกสาวเล่นการเมือง หลานลูกพี่ชายคุณอำนาจ วิลาวัลย์ เป็นฐานเสียงจาก เครือญาติและครอบครัว ชาวบ้านที่นับถือกัน พ่อค้าที่มา ช่วยเหลือ ช่วยเป็นสิ่งของ เงินทอง และฐานเสียงทางการเมือง กลุ่มสนับสนุนหรือเครือข่าย อาทิ กลุ่มเพื่อนกลุ่มญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ชุมชน มวลชน กลุ่มพันธมิตรทางการทำธุรกิจ กลุ่มทางการเมือง (สุนทร วิลาวัลย์, สัมภาษณ์, 2554) รูปแบบ/กลวิธีการหาเสยี ง นายสุนทร วิลาวัลย์ มีกลวิธีหาเสียงโดยใช้วิธีการ ปราศรัยเล็ก ๆ ไม่เกิน 100 คน หรือประมาณ 50-60 คน ใช้วิธีการพูดคุยได้ใกล้ชิดมากกว่า จะไม่ใช้การปราศรัยใหญ่ นอกจากเวทีกลางจัดให้เท่านั้นเพราะถือว่าได้พูดคุยได้มากกว่า เมื่อครั้งลงสมัครครั้งแรกยังไม่มีฐาน ใช้วิธีต้องหาเสียงเอง มีการใช้รถโฆษณา แต่นายสุนทร วิลาวัลย์ ไม่เคยขึ้นพูดบน รถหาเสียงจะเน้นการใช้วิธีการเข้าพบประชาชนตามงานต่างๆ ใช้วิธีการจริงใจมากกว่า รูปแบบป้ายหาเสียง คือ โปสเตอร์ ถ่ายรูปคนเดียว กับหัวหน้าพรรค ส่วนใหญ่นายสุนทร วิลาวัลย์ จะไม่ใช้รูปหัวหน้าพรรค เพราะคิดว่าถ้าประชาชนเลือกต้อง 167

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี เลือกที่ตัวเรามากกว่าไม่ใช่หัวหน้าพรรค เมื่อก่อนมีการให้ของ กับประชาชน แต่ในปัจจุบันถือว่าเป็นการซื้อเสียง ผิดกฎหมาย จึงได้ยกเลิกวิธีการนี้ไป หัวคะแนนหรือเครือข่ายที่ใช้ส่วนใหญ่ เป็นคนที่ชาวบ้านนับถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเป็นคนที่ ชาวบ้านนับถือไม่เน้นว่าต้องมีตำแหน่งเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ได้ ต้องเป็นคนที่ประชาชนเชื่อถือ ส่วนใหญ่ปัจจัยที่ได้มาซึ่ง ฐานเสียงส่วนหนึ่งเพราะความเกรงใจ ความนิยม ความไว้ วางใจที่ประชาชนมีให้ นายสุนทร วิลาวัลย์ ไม่ค่อยเน้นการพูด ถึงนโยบายพรรคมากนักเพราะบางข้อก็ไม่สามารถทำได้ เลยเน้นการปราศรัยในลักษณะที่ว่าท่านจะทำอะไรให้กับ จังหวัดบ้าง ใช้ความเชื่อใจ สนิท ความใกล้ชิด ความเชื่อถือ ที่ประชาชนมีให้ ดูแลประชาชนตลอด เข้าถึงประชาชน การ เข้าถึงประชาชน ใช้วิธีการเคาะประตูบ้าน เดินในตลาด สถานที่ ชุมชน เน้นการเข้าถึงประชาชนกลุ่มย่อย (สุนทร วิลาวัลย์, สัมภาษณ์, 2554) ปัจจัยที่ทำใหไ้ ดร้ ับเลอื กต้งั ปัจจัยที่ทำให้นายสุนทร วิลาวัลย์ ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่บุคลิกภาพ ความน่าเชื่อถือ ความจริงใจ การเข้าถึง ประชาชน ฐานการเมืองที่ดี ชื่อเสียงของพรรคการเมือง ชื่อเสียงของตระกูล ชื่อเสียงของพรรคและชื่อเสียงของตระกูล อาจเป็นส่วนหนึ่งในการได้รับเลือกตั้ง แต่ตัวบุคคลมากกว่าที่ เป็นสิ่งสำคัญในการได้รับความไว้วางใจและได้รับการเลือกตั้ง (สุนทร วิลาวัลย์, สัมภาษณ์, 2554) 168

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 13. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ นายบุรินทร์ หิรัญบรูณะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีจำนวน 4 สมัย จากการเลือกตั้งสมัยแรก ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 การเลือกตั้งสมัยที่สอง ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 การเลือกตั้งสมัยที่สาม ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 การเลือกตั้งสมัยที่สี่ ในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในนาม พรรคชาติไทย นายบุรินทร์ หิรัญบรูณะ เกิดวันที่ 17 มกราคม 2469 ที่อยู่ 436 ถนนสุขุมวิท 71 กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ หลวงปริดตดิพิรัชร และนางเหรียญ จบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว ก่อนการเลือกตั้งเป็นผู้จัดการ บริษัทข้าวไทยจำกัด นายบุรินทร์ หิรัญบรูณะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จงั หวดั ปราจนี บรุ ี พ.ศ. 2529, 2531, พ.ศ. 2535 (จากการเลอื กตง้ั วันที่ 22 มีนาคม 2535 และวันที่ 13 กันยายน 2535), 2538 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2514 รอง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2519 เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม 2533 และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์   ม.ป.ช. ปัจจยั ทีท่ ำใหไ้ ด้รบั เลอื กตัง้ นายบุรินทร์ หิรัญบรูณะ ก่อนที่จะมาเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนบุรีนั้น ท่านเป็นนักธุรกิจมาก่อน โดยเป็นผู้จัดการบริษัทข้าวไทยจำกัด และเป็นผู้อำนวยการ 169

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี องค์การส่งเสริมตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.) มาก่อน อีกทั้งลง สมัครในกลุ่มท่านเสนาะ เทียนทอง ทำให้ท่านมีฐานเสียง ทั้งจากกลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่มประชาชน นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการ ที่เป็นฐานเสียงของตระกูลเทียนทองสนับสนุนให้ ท่านได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด ปราจีนบุรี (นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์, 2554,น. 73 -74) 14. นายวัฒนา เมืองสุข นายวัฒนา เมืองสุข เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีจำนวน 1 สมัย จากการเลือกตั้ง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ในนามพรรคชาติพัฒนา และเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ จากการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554 นายวัฒนา เมืองสุข เกิดวันที่ 28 พฤษภาคม 2500 เป็น คนกรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากสวนกุหลาบวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2519 จบปริญญาตรีจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ และจบปริญญาโท จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสาขากฎหมายเศรษฐกิจ นายวัฒนา เมืองสุข เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ปราจีนบุรี ในช่วง 24 พ.ย. 2539 - 27 มิ.ย. 2543 เป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในช่วง 3 ต.ค. 2545 - 8 พ.ย. 2546 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในช่วง 8 พ.ย. 2546 - 9 มี.ค. 2548 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วง 11 มี.ค. 2548 - 2 ส.ค. 2548 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในช่วง 2 ส.ค. 170

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 2548 - 19 ก.ย. 2549 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ จากการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554 และได้รับเครื่องราช- อิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ส รุ ป ก า ร เ ม ื อ ง ย ุ ค ท ี ่ ส อ ง ข อ ง จ ั ง ห ว ั ด ป ร า จ ี น บ ุ ร ี การเลือกตั้งวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 – การเลือกตั้งวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 มีการจัดการเลือกตั้งทั้งหมด 11 ครั้ง สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งมีทั้งหมด 14 คน คือ นายบุญส่ง สมใจ สังกัดพรรคสหประชาไทย พรรคธรรมสังคม พรรคชาติประชาธิไตย และพรรคชาติไทย นายสมบูรณ์ เดชสุภา สังกัดพรรคสหประชาไทย นางสงวน มันตร สังกัด พรรคสหประชาไทย นายโปร่ง เจริญรัตน์ สังกัดพรรคกิจสังคม พ.ต.ทองดำ เสมะกนิษฐ์ สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม นายเฉลิมพล หริตวร สังกัดพรรคกิจสังคม นายเสนาะ เทียนทอง สังกัดพรรคชาติไทย นายนิพนธ์ เตียเจริญ สังกัด พรรคสังคมชาตินิยม นายสมาน ภุมมะกาญจนะ สังกัดพรรค ชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา นายสำรวล มหิทธิบุรินทร์ ไม่สังกัดพรรค/พรรคชาติประชาธิปไตย นายวิทยา เทียนทอง สังกัดพรรคชาติไทย นายสลับ นาคะเสถียร สังกัดพรรค ประชากรไทย นายสุนทร วิลาวัลย์ สังกัดพรรคชาติไทย พรรคราษฎรและพรรคความหวังใหม่ นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ สังกัดพรรคชาติไทย และนายวัฒนา เมืองสุข สังกัดพรรค ชาติพัฒนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้ง มากที่สุด คือ นายบุญส่ง สมใจ จำนวน 9 สมัย พรรคการเมือง ที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด คือ พรรคชาติไทย จำนวน 29 ครั้ง 171

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี การเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรีในช่วงนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการแข่ง ขันกันระหว่างกลุ่มทางการเมือง 1 กลุ่ม และบุคคลสำคัญ ทางการเมืองของจังหวัด 3 ท่าน (3 ส) ด้วยกันคือ 1. กลุ่มตระกูลเทียนทอง ซึ่งมีนายเสนาะ เทียนทอง เป็นผู้บุกเบิกและให้การสนับสนุนผู้สมัครให้ได้รับชัยชนะในการ เลือกตั้ง 2. นายบุญส่ง สมใจ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และอดีตนักการเมืองท้องถิ่น ที่ผันตัวเองเข้าสู่เวทีการเมือง ระดับชาติ 3. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ นักธุรกิจที่ประสบความ สำเร็จและอดีตนักการเมืองท้องถิ่น ที่ผันตัวเองเข้าสู่เวที การเมืองระดับชาติ 4. นายสุนทร วิลาวัลย์ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และอดีตนักการเมืองท้องถิ่น ที่ผันตัวเองเข้าสู่เวทีการเมือง ระดับชาติ การเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดยังคงให้ความ สำคัญที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรยังคงเป็นบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดมาก่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนหนึ่งยังคงเป็นกลุ่มที่รับราชการ แต่ในช่วงนี้เริ่มมีนักธุรกิจที่ ประสบความสำเร็จอีกทั้งเคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น เช่น สจ. สท. สอบต. มาก่อนแล้วจึงผันตัวเองเข้าสู่เวทีการเมืองระดับ ชาติ ซึ่งกลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มใหญ่มากที่สุดในช่วงนี้ ได้แก่ 172

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี นายบุญส่ง สมใจ นายสมาน ภุมมะกาญจนะ นายสุนทร วิลาวัลย์ และกลุ่มตระกูลเทียนทองที่นำโดยนายเสนาะ เทียนทอง ในส่วนของพรรคการเมือง นักการเมืองในช่วงนี ้ โดยส่วนใหญ่สังกัดพรรคการเมือง เพราะกฎหมายได้มีการ กำหนดให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัด พรรคการเมือง แต่การสังกัดพรรค หรือการที่จะนำนโยบาย พรรคมาช่วยในการหาเสียงนั้นมีส่วนสำคัญน้อยมากในการที่จะ ทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง สำหรับวิธีการหาเสียงของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยส่วนใหญ่จะใช้ระบบของ หัวคะแนน โดยเฉพาะกลุ่มของนักการเมืองท้องถิ่น เช่น สมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือโดยเฉพาะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มเครือญาติ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่การ ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง หรือการได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มทางการเมือง เป็นต้น ตลอดจนการลงพื้นที่พบปะ ประชาชน การเดินเคาะประตูบ้าน หรือการไปร่วมงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ เป็นต้น แต่เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2536 (ตามมติของคณะรัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย) รัฐบาล ได้มีมติให้ สส.ปราจีนบุรี เขต 2 ของการเลือกตั้งวันที่ 13 ก.ย. 2535 ซึ่งได้แก่ นายเสนาะ เทียนทอง นายวิทยา เทียนทอง และนายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระแก้ว เนื่องจากคณะรัฐบาลได้มีมติให้อำเภอสระแก้ว และอำเภอวังน้ำเย็น ของจังหวัดปราจีนบุรี แยกออกไปเป็น จังหวัดสระแก้ว ทำให้จังหวัดปราจีนบุรีในปัจจุบันมี 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอนาดี 173

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอศรีมโหสถ ส่งผลให้การเมืองถิ่นของจังหวัด ปราจีนบุรี หลังจากวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ไม่มีกลุ่มทางการ เมืองที่สำคัญคือ กลุ่มตระกูลเทียนทอง คงเหลือแต่บุคคล สำคัญทางการเมืองของจังหวัด 3 ท่าน (3 ส) คือ นายบุญส่ง สมใจ นายสมาน ภุมมะกาญจนะ และนายสุนทร วิลาวัลย์ การเมืองและนักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ยุคท่ีสาม (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2554) การเลือกต้ังวันที่ 6 มกราคม 2544 – ปัจจุบัน วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 การเมืองในช่วงนี้เป็นช่วงยุคที่เปิดโอกาสให้ประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุดมีกระบวนการ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน มีการตั้งองค์กรอิสระ เข้ามาทำหน้าที่ดูแลเพื่อให้เกิดความสุจริต โปร่งใส ตลอดจน ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น เป็น ยุคของการปฏิรูปการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น สำหรับจังหวัดปราจีนบุรีการเมืองในยุคที่สามนี ้ มีการจัดการเลือกตั้งทั้งหมด 4 ครั้ง (การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20- 23) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 20 วันที่ 6 มกราคม 2544 ผู้ที่ได้รับ การเลือกตั้งมี 3 คน คือ นายสุนทร วิลาวัลย์ เขต 1 สังกัด พรรคไทยรักไทย นายคงกฤช หงษ์วิไล เขต 2 สังกัดพรรค ความหวังใหม่ นายชยุต(วรวุฒิ) ภุมมะกาญจนะ เขต 3 สังกัด พรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งครั้งที่ 21 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 174

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งมี 3 คน คือ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม เขต 1 สังกัดพรรคไทยรักไทย นายคงกฤช หงษว์ ไิ ล เขต 2 สงั กดั พรรคไทยรกั ไทย นายชยตุ ภมุ มะกาญจนะ เขต 3 สังกัดพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งครั้งที่ 22 วันที่ 23 ธันวาคม 2550 แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 1 เขต คือเขต 1 ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งมี 3 คน คือ นายคงกฤช หงษ์วิไล สังกัด พรรคเพื่อแผ่นดิน นายชยุต ภุมมะกาญจนะ สังกัดพรรค กิจสังคม และนายสุนทร วิลาวัลย์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ต่อมา นายสุนทร วิลาวัลย์ โดนใบแดงพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จึงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 27 มกราคม 2551 และผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งคือ นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ สังกัดพรรคมัชฌิมา ต่อมา นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 มกราคม 2553 และผู้ที่ได้ รับการเลือกตั้ง คือ นายอำนาจ วิลาวัลย์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย การเลือกตั้งครั้งที่ 23 วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ผู้ที่ได้รับ การเลือกตั้งมี 3 คน คือ นายอำนาจ วิลาวัลย์ เขต 1 สังกัด พรรคภูมิใจไทยนายชยุต ภุมมะกาญจนะ เขต 2 สังกัด พรรคชาติไทยพัฒนา นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ เขต 3 สังกัด พรรคภูมิใจไทย สำหรับนักการเมืองถิ่นในยุคที่สาม ได้แก่ นายสุนทร วิลาวัลย์ นายคงกฤช หงษ์วิไล นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม นายชยุต ภุมมะกาญจนะ นายเกียรติกร พากเพียร นายอำนาจ วิลาวัลย์ และนางเพชรินทร์ เสียงเจริญ ซึ่งแต่ละท่านมีประวัติที่น่าสนใจ ดังนี้คือ 175

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 1. นายคงกฤช หงษ์วิไล นายคงกฤช หงษ์วิไล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรีจำนวน 3 สมัย จากการเลือกตั้งสมัยแรก ในวันที่ 6 มกราคม 2544 ในนามพรรคความหวังใหม่ ก่อนจะ รวมเป็นพรรคไทยรักไทย สมัยที่สอง จากการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย และสมัยที่สาม จากการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ในนามพรรคเพื่อ แผ่นดิน และปัจจุบันสังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน นายคงกฤช หงษ์วิไล เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของ ดร.สถิต หงษ์วิไล กับ นางเกษร หงษ์วิไล โดยนายคงกฤช เป็นบุตรชายคนโต มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน น้องสาวคือ นางสาวกุมารี หงษ์วิไล และน้องชาย คือ นายลิขิต หงษ์วิไล และนายนิมิตร หงษ์วิไล นายคงกฤช หงษ์วิไล สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถม ศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนบ้านโคกกระท้อน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย จากโรงเรียนวัดหาดสูง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยความที่อยากอยู่กรุงเทพฯ เลยตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย ได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และศึกษาต่อในระดับปริญญาโท 176

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) การเข้าสกู่ ารเมอื ง นายคงกฤช หงษ์วิไล หลังจากการสำเร็จการศึกษา ในระดับปริญญาตรีก็กลับมาอยู่บ้านเกิดใน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยความหลังในวัยเด็กที่โดนดูถูกจาก เพื่อนสมัยเรียน และการที่ตัวเองคิดว่าบิดาถูกโกงการนับ คะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่งผลให้นายคงกฤช หงษ์วิไล ตัดสินใจ ลงเล่นการเมือง แต่ด้วยความที่ชีวิตในวัยเด็กได้เรียนโรงเรียน ในจังหวัดปราจีนบุรีแค่ในระดับประถมศึกษาเท่านั้น จึงทำให้ ไม่มีเครือข่ายเพื่อนนักเรียนและฐานเสียงในจังหวัดมากพอ จึงเริ่มต้นสร้างฐานเสียงทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกอาสา สมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อำเภอกบินทร์บุรี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายให้ตนเอง หลังจากนั้นก็ลงสมัครเป็น สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (ส.จ.) ดำรง ตำแหน่ง 2 สมัย และเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปราจีนบุรี หลังจากนั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี “ผมตัดสินใจมาลงสมัครรับ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยความฝันที่อยากเป็น นักการเมือง จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้านเห็นความตั้งใจ จริงที่จะทำงานทางการเมือง ในที่สุดก็มีเครือข่ายและประชาชน ในพื้นที่ให้การสนับสนุน โดยได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 3 สมัย จากการเลือกตั้งสมัยแรกใน วันที่ 6 มกราคม 2544 ในนามพรรคความหวังใหม่ ภายหลัง 177

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี รวมเป็นพรรคไทยรักไทย สมัยที่สอง จากการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย และสมัยที่สาม จากการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ในนามพรรค เพื่อแผ่นดิน” (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) และปัจจุบัน ถึงแม้ท่านคงกฤช หงษ์วิไล จะไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนบุรี แต่ท่านก็ยังมีความ สนใจทางการเมืองและถ้าประชาชนให้โอกาส ท่านก็พร้อม ที่จะกลับมาทำงานรับใช้ประชาชนเสมอ (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) ประวตั กิ ารอบรม/การทำงาน นายคงกฤช หงษ์วิไล ทำงานทางการเมืองรับใช้ ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีประวัติการอบรม/การทำงาน อย่างมากมาย อาทิเช่น อบรมหลักสูตรสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัด การฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือชาวบ้านชั้นต้น อาสาสมัครคุมประพฤติ สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พลเรือน (อปพร.) คณะกรรมการบริหารอาสาสมัครป้องกันฝ่าย พลเรือนภาคตะวันออก สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปราจีนบุรี กรรมการพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ปราจีนบุรี พ.ศ.2544– 2554 กรรมาธิการพิจารณาร่างพระราช บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2545 และพ.ศ.2549 ผชู้ ว่ ยเลขานกุ ารคณะกรรมาธกิ ารการยตุ ธิ รรมและสทิ ธมิ นษุ ยชน กรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เลขานุการ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ประธานและรอง ประธานกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม 178

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ประถมาภรณ์มงกุฎไทย(ป.ม.) และทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมือง กลุ่มฐานเสียงของนายคงกฤช หงษ์วิไล ที่ทำให้ประสบ ผลสำเร็จมาจากการเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ที่มี สมาชิกทั้งในอำเภอกบินทร์บุรี และอำเภออื่นๆ ทั้งจังหวัด ปราจีนบุรี จึงเป็นเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนทางการเมือง ที่สำคัญ อีกทั้งนายคงกฤช เน้นการทำงานเพื่อสังคมเป็น ส่วนใหญ่ จึงทำให้ชาวบ้านได้รู้จักและเกิดกลุ่มเครือข่าย และ ท่านคงกฤชยังเน้นความจริงใจใกล้ชิดชาวบ้านจนกลายเป็นที่ ยอมรับ ตลอดจนยังมีเครือญาติที่คอยสนับสนุน เครือข่ายเดิม เมื่อสมัยที่ท่านเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งใน พื้นที่อำเภอกบินทร์บุรีและนอกพื้นที่ ตลอดจนเครือข่ายจาก นายนิมิตร หงษ์วิไล น้องชายที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจงั หวดั ปราจีนบุรี ที่เป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) รูปแบบ/กลวธิ ีการหาเสยี ง การหาเสียงของนายคงกฤช หงษ์วิไล “วิธีการหาเสียง นั้นจะไม่เน้นการปราศรัย แต่การปราศรัยจะใช้ในสมัยแรก เท่านั้น ในการปราศรัยนั้นก็จะเน้นในพื้นที่ชุมชน ตลาด ศูนย์การค้าสุขผล ซึ่งเป็นที่ที่รวมตัวของชาวบ้าน แต่การได้มา ของคนเข้าร่วมการปราศรัยนั้นก็จะใช้วิธีเกณฑ์คนมาฟัง ในการ 179

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ปราศรัยจะพูดถึงนโยบายของพรรคที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน โดยประชาชนจะมีมาติดต่อขอรับการช่วยเหลือในรูปแบบ ต่างๆ ตลอดทั้งปี เช่น ขอบริจาคสิ่งของ เช่น เสื้อพรรค ทั้งที่เป็น เสื้อแจ็กเก็ต และเสื้อยืดที่มีโลโก้พรรค แต่ไม่ได้แจกในช่วง การเลือกตั้ง เป็นการช่วยเหลือประชาชนตลอดทั้งปี การใช้ ผู้สนับสนุน แกนนำในการหาเสียง(หัวคะแนน) ในช่วงแรกของ การลงสมัครเลือกตั้งไม่มีหัวคะแนน แต่จะเน้นชาวบ้านเป็นฐาน ใหญ่ ต่อมาภายหลังก็ได้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้ที่คนนับถือ เข้ามาช่วยในการหาเสียง หัวคะแนนเหล่านี้ก็จะเป็นทั้ง ผู้ประสานงาน และช่วยในการหาเสียง โดยมีการใช้สื่อ ประชาสัมพันธ์ ทั้งป้ายโฆษณา รถขยายเสียง แผ่นพับ เพื่อ เป็นการแนะนำให้ชาวบ้านได้รู้จักมากยิ่งขึ้น และมีสโลแกน หรือประโยคติดหูว่า “สัมผัสใกล้ชิด คงกฤช หงษ์วิไล” ในการ หาเสียงนั้นท่านส.ส. จะให้ความสำคัญต่อชาวบ้าน คือให้ความ ใกล้ชิดชาวบ้าน โดยการไปร่วมงานบุญ งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ตลอดจนมีสำนักงาน ส.ส. เพื่อให้การช่วยเหลือ ประชาชนทุก ๆ ด้าน” (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) ปัจจยั ท่ที ำใหไ้ ด้รบั เลือกตั้ง สิ่งที่ทำให้นายนายคงกฤช หงษ์วิไล ได้รับการเลือกตั้ง คือ “ท่านเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ ให้ความจริงใจต่อ ชาวบ้าน มีการใกล้ชิดชาวบ้านอย่างทั่วถึงทำให้เป็นที่ยอมรับ ท่านยังให้ความช่วยเหลือชาวบ้านอย่างดีตลอดมา รวมทั้ง นโยบายพรรคที่ส่งผลดีต่อชาวบ้าน และชื่อเสียงของพรรคที่ช่วย สนับสนุนให้ได้เป็น ส.ส. แต่ทั้งสองประการหลังเป็นเพียงแค่ องค์ประกอบเท่านั้น” (คงกฤช หงษ์วิไล, สัมภาษณ์, 2554) 180

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 2. นายชยุต ภุมมะกาญจนะ (วรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ) นายชยตุ ภมุ มะกาญจนะ เดมิ ชอ่ื นายวรวฒุ ิ ภมุ มะกาญจนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีจำนวนสี่สมัย จากการเลือกตั้งสมัยแรกในวันที่ 6 มกราคม 2544 ในนามพรรค ไทยรักไทย สมัยที่สองจากการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย สมัยที่สามจากการเลือกตั้งใน วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ในนามพรรคกิจสังคม และสมัยที่สี่ จากการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในนามพรรคชาติ ไทยพัฒนา นายชยุต ภุมมะกาญจนะ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ประกอบอาชีพนักการเมือง นายชยุต ภุมมะกาญจนะ สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง การเขา้ สูก่ ารเมือง นายชยุต ภุมมะกาญจนะ เข้าสู่การเมืองด้วยความที่ อยากเป็นนักการเมือง โดยเป็นนักการเมืองท้องถิ่นมาก่อนคือ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี เป็น ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี หลังจากนั้น จึงเข้าสู่การเมืองระดับชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีจำนวนสี่สมัย จากการ เลือกตั้งสมัยแรกในวันที่ 6 มกราคม 2544 ในนามพรรค ไทยรักไทย สมัยที่สองจากการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย สมัยที่สามจากการเลือกตั้งใน 181

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ในนามพรรคกิจสังคม และสมัยที่สี่ จากการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในนามพรรคชาติ ไทยพัฒนา การทำงานพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรีนั้น นายชยุต ภุมมะกาญจนะ มีเป้าหมายคือ ต้องการให้ประชาชนมีรายได้ มากขึ้น มีสวัสดิการที่ดีขึ้น โดยเน้นการพัฒนาด้าน อุตสาหกรรมในจังหวัดให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างงาน สรา้ งรายไดใ้ หก้ บั ประชาชนในจงั หวดั (นายชยตุ ภมุ มะกาญจนะ, สัมภาษณ์, 2554) ผลงานทีผ่ ่านมา นายชยุต ภุมมะกาญจนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี เลขานุการ รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ วิปรัฐบาล โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ฐานเสียงและเครอื ขา่ ยทางการเมือง กลุ่มฐานเสียงของนายชยุต ภุมมะกาญจนะ ที่ทำให้ ประสบผลสำเร็จมาจากฐานเสียงเดิมสมัยที่เป็นสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ก็คือกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น กลุ่มฐานเสียงเดิมของนายสมาน ภุมมะกาญจนะ ผู้เป็น บิดาซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี หลายสมัย 182

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี รปู แบบ/กลวธิ ีการหาเสียง การหาเสยี งของนายชยตุ ภมุ มะกาญจนะ มกี ารปราศรยั เวทีย่อยในพื้นที่ โดยชูนโยบายพรรคให้ประชาชนได้รับรู้ถึง นโยบายที่เป็นประโยชน์ โดยประชาชนจะมีมาติดต่อขอรับ การช่วยเหลือตลอดทั้งปี เช่นขอบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง อุปกรณ์กีฬา ถ้วยรางวัล เสื้อพรรค แต่ไม่ได้แจกในช่วงการ เลือกตั้งเป็นการช่วยเหลือประชาชนตลอดทั้งปี แกนนำในการ หาเสียง(หัวคะแนน) คือคนที่ชาวบ้านนับถือ โดยมีการใช้ สื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบของแผ่นพับ ป้ายโฆษณา รถขยายเสียง (นายชยุต ภุมมะกาญจนะ, สัมภาษณ์, 2554) ปจั จยั ทท่ี ำให้ได้รบั เลอื กต้งั สิ่งที่ทำให้นายชยุต ภุมมะกาญจนะ ได้รับการเลือกตั้ง คือ บุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ มีความจริงใจ ต่อประชาชน มีการ เข้าถึงประชาชน อีกทั้งชื่อเสียงของตระกูลภุมมะกาญจนะ และ ชื่อเสียงของบิดาคือนายสมาน ภุมมะกาญจนะ ที่เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดปราจีนหลายสมัย ทำให้มีผลงาน เป็นที่ประจักษ์ จึงส่งผลต่อการได้มาซึ่งฐานเสียงของนายชยุต ตลอดจนชื่อเสียงของพรรคการเมืองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผล ต่อการได้มาซึ่งความนิยมจากประชาชน 3. นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม เป็นสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎรจงั หวดั ปราจนี บรุ เี พยี งสมยั เดยี ว ดำรงตำแหนง่ 1 ปี คือ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2549 สังกัด 183

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี พรรคไทยรักไทย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรรมาธิการ กิจการเด็ก เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการชมรมรัฐสภาสตรีไทย รองโฆษกกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม เกิดวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2509 สมรสกับนายปกรณ์ ศรีจันทร์งาม อาชีพ รับราชการ เป็นผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี มบี ตุ ร – ธดิ า 3 คน คอื นายปวรรณ ศรจี นั ทรง์ าม เดก็ หญงิ ปวรา ศรีจันทร์งาม และเด็กหญิงปรินทร ศรีจันทร์งาม นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม สำเร็จการศึกษา ในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนปราจีนกัลยาณี ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียน ปราจิณราษฎรอำรุง ศึกษาหลักสูตรภาษา อังกฤษเพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย ณ TAFE COLLEGE BRISBANE AUSTRALIA ศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจระยะสั้น วิทยาลัยลอเรท์นมาร์ติน เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ทางสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง การเข้าส่กู ารเมอื ง นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม เกิดและเติบโต อยู่ในครอบครัวนักการเมือง โดยบิดาคือ นายสุนทร วิลาวัลย์ 184

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ทำให้นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม ได้เห็นรูปแบบ การทำงานของบิดามาโดยตลอดและยังได้ลงพื้นที่ในการ ทำงานกับบิดาอีกด้วย จึงได้รับทราบและเห็นวิธีการในการ แก้ปัญหาของบิดา ประกอบกับ คุณอา คือ นางบังอร วิลาวัลย์ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ทำให้เมื่อมีโอกาสจึงได้ลงสมัครสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี และเป็นสตรี คนแรกที่ได้รับตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (สจ.) 1 สมัย พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2547 จึงทำให้เกิดแนวความคิดที่ว่าต้องเพิ่มและสนับสนุนให้สตร ี เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง การบริหาร ในทุกระดับเพื่อ เป็นการเพิ่มมุมมองความแตกต่างในการบริหารงานและ เป็นการบูรณาการในสิ่งที่ผู้ชายมองข้ามหรือมองไม่ถึง ต่อมา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปราจีนบุรี เมื่อเป็นที่รู้จักของประชาชนในจังหวัดปราจีนบุรี ก็เริ่มเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติ ใน พ.ศ. 2548 ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต 1 ดำรงตำแหน่ง 1 ปี คือ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2549 สังกัดพรรคไทยรักไทย นอกจากนี้ยังเป็น ผู้ช่วยเลขานุการกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรีและ ผู้สูงอายุสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการชมรมรัฐสภาสตรีไทย รองโฆษกกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย (กนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม, สัมภาษณ์, 2554) 185

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ฐานเสียงและเครอื ขา่ ยทางการเมอื ง ก ล ุ ่ ม ฐ า น เ ส ี ย ง แ ล ะ เ ค ร ื อ ข ่ า ย ท า ง ก า ร เ ม ื อ ง ข อ ง นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม ส่วนใหญ่เป็นผู้นำ ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู นักการเมืองถิ่น เช่น สจ. อบต. สท. เป็นต้น เพราะบิดา คือนายสุนทร วิลาวัลย์ และคุณอา นางบังอร วิลาวัลย์ ได้สร้างผลงานไว้ดี และเป็นที่ประจักษ์แก่ ชาวปราจีนบุรีผลงานต่าง ๆ ออกมาเป็นรูปธรรม เครือข่ายที่เกิดจากการดำเนินงานของนางกนกวรรณ ที่สนองความต้องการของประชาชนในจังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ ประชาชนไว้วางใจในการทำงานและเป็นแกนนำฐานเสียงให้ เครือข่ายครู อาจารย์ เนื่องจากนางกนกวรรณ เป็นผู้มี ความรู้ความสามารถ เป็นคณะกรรมการการศึกษาของสถาบัน การศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี ทำให้มีเครือข่ายครู อาจารย์ เป็นฐานเสียงที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งด้วย รูปแบบ/กลวธิ กี ารหาเสียง รูปแบบ/วิธีการหาเสียงของ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม เน้นรูปแบบการถึงตัวประชาชนโดยการจัดเวที ปราศรัยที่มีลักษณะเป็นการทำประชาคม มีการนำเสนอ นโยบายให้กับประชาชนในแต่ละพื้นที่ ประชาชนได้มีส่วน ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการแสดงความ คิดเห็นต่อนโยบายดังกล่าวอีกด้วย และปัจจุบันอยู่ระหว่าง การดำเนินการจัดให้มีสื่อสังคมออนไลน์ หรือเฟสบุ๊ค เพื่อเน้น กลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ และ ปัญหาจากทุกคน 186

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี และเพอ่ื เปน็ การปอ้ งกนั การถกู กลา่ วหาวา่ ทำผดิ กฎหมาย การเลือกตั้ง ในการแจกของให้ชาวบ้าน นางกนกวรรณ จึงไม่ แจกของ แต่เป็นลักษณะการให้ความช่วยเหลือหากมีประชาชน หรือชาวบ้านประสานงานเข้ามาเพื่อขอรับการสนับสนุน หรือ ช่วยเหลือต่างๆ ก็จะพิจารณาดูถึงความจำเป็นที่ขอ รูปแบบ การขอสนับสนุนก็มีทั้งการทำหนังสือเข้ามาขอรับการสนับสนุน ช่วยเหลือ และการเข้ามาติดต่อเองโดยตรง รูปแบบในการหาเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ การมีฐานเสียง หรือหัวคะแนนที่ดี นางกนกวรรณ เน้นผู้ที่ทำงานกับตนด้วยใจ ที่รักตน เพราะหากผู้ที่มาทำงานด้วยไม่มีใจรักตนก็สามารถ เปลี่ยนแปลงใจได้เสมอ กลุ่มคนเหล่านี้ จะมาจากนักการเมือง ท้องถิ่น อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สจ. สท. เป็นต้น ในการใช้ หัวคะแนนหาเสียงก็จะดูจากความสามารถของแต่ละคน และ ความสนิทสนมระหว่างชาวบ้านกับแกนนำคนนั้น แกนนำต้อง เป็นผู้มีความสามารถ แต่ถึงกระนั้นนางกนกวรรณ ก็มิได ้ คัดเลือกแกนนำหรือฐานเสียงของตนจากเพียงเรื่องวุฒิ การศึกษาเท่านั้น แต่ดูที่ความสามารถและความหลากหลาย ในการทำงานด้วย สำหรับสื่อที่ใช้ในการหาเสียงนั้น จะเน้น ใบปลิว แผ่นพับ ป้ายโฆษณา รถขยายเสียง การออกให้ สัมภาษณ์ทางเคเบิลทีวีบ้าง รวมถึงการร้องเพลงประกอบ การหาเสียงที่นางกนกวรรณ เป็นผู้ร้องด้วยตนเอง (กนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม, สัมภาษณ์, 2554) 187


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook