Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

Published by Meng Krub, 2021-06-08 12:55:39

Description: เล่มที่45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ที่ งานประเพณ ีสถานท่ีจดั งาน ชว่ งระยะเวลา 38 ในการจดั งาน รายละเอยี ด และความเปน็ มา 11. งานเทศกาล วันวิสาขบูชา วัดบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพระพุทธ จ.ปราจีนบุรี ประมาณ 1-2 วัน ศาสนา ของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า 12. งานวันเกษตรของดี ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นการจัดงานเพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำ เมืองปราจีนบุรี รัชกาลที่ 5 ของทุกปี ผลิตผลทางการเกษตรมาจัดร้านจำหน่าย หน้าศาลากลาง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของ (หลังเก่า) จ.ปราจีนบุรี จังหวัด 13. งานบุญบั้งไฟ หมู่ 6 ต.โคกปีบ กลางเดือน 6 ของทุกปี เป็นประเพณีความเชื่อเรื่องลี้ลับเกี่ยวกับการ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี ขอฝน 14. งานสัปดาห์ หน่วยพิทักษ์อุทยาน เดือนกรกฎาคม ของทุกปี เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สนุกสนาน ล่องแก่งหินเพิง แห่งชาติ เขาใหญ่ที่ 9 ตื่นเต้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี จังหวัดให้ดีขึ้น 15. วันอาสาฬหบชู าและวัน ทุกพื้นทีในจังหวัด ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 และ เป็นการทำบุญเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้า เข้าพรรษา ปราจีนบุรี แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก มีการ ถวายเทียนจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนแด่ พระภิกษุ

ที ่ งานประเพณ ี สถานทจี่ ัดงาน ช่วงระยะเวลา รายละเอยี ด และความเปน็ มา 16. แห่พระทางน้ำ ในการจดั งาน 17. แห่ปราสาทดอกผึ้ง 18. งานถวายผ้าพระกฐิน ต.บางแตน อ.บ้านสร้าง กลางเดือน 11 หรือวันขึ้น 1 เป็นการดัดแปลงประเพณีอุ้มพระดำน้ำของ จ.ปราจีนบุรี ค่ำเดือน 11 ศาสนาพราหมณ์ให้เข้ากับพระพุทธศาสนา พระราชทาน อำเภอกบินทร์บุรี ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นประเพณีที่มุ่งกระทำเพื่อเป็นพุทธบูชา จ.ปราจีนบุรี (ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน) และเป็นสิริมงคล วัดบางกระเบา วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 วัดบางกระเบา จะได้รับผ้าพระกฐิน (พระอารามหลวง) วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 พระราชทานโดยมีหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ต.บางกระเบา อ.บ้านสร้าง ของทุกปี เป็นเจ้าภาพมาทอดถวายเป็นประจำทุกปี จ.ปราจีนบุรี เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวอำเภอบ้านสร้างและ ชาวปราจีนบุรี ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 39

ท่ี งานประเพณ ี นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี สถานทจี่ ัดงาน ช่วงระยะเวลา รายละเอียด และความเปน็ มา 40 ในการจัดงาน 19. ประเพณีการแข่งเรือยาว 1. แม่น้ำปราจีนบุรี ประมาณสัปดาห์ที่ 2 1. เพื่อเป็นการสืบทอดการแข่งขันกีฬา หน้าที่ว่าการ อ.เมือง ของเดือนกันยายน – พื้นบ้าน เพื่อสร้างความสามัคคีและส่งเสริม ปราจีนบุรี กลางเดือนตุลาคม การท่องเที่ยวของจังหวัด 2. บริเวณหน้าวัดบางแตน ของทุกปี 2. เพื่อรักษาสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ต.บางแตน อ.บ้านสร้าง วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่ และ จ.ปราจีนบุรี ปลุกจิตสำนึกความภาคภูมิใจในสถานที่ ซึ่งครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาประทับ ณ ภูมิภาคแห่งนี้ 20. กวนข้าวทิพย์ วัดทับช้าง วัดแจ้งและวัด ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน - เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีบรรพบุรุษ ศรีมงคล อ.ประจันตคาม ทุกๆ ปี (วันขึ้น 15 ค่ำ ดั้งเดิมอยู่ในภาคอีสาน ได้เดินทางมาตั้ง จ.ปราจีนบุรี เดือน 11) หลักแหล่งในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี - “ข้าวทิพย์” เป็นอาหารที่ดีวิเศษ หรือเป็น อาหารของเทวดา ได้ผ่านขั้นตอนการปรุงแต่ง เป็นอย่างดี ในตอนหนึ่งของพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวยข้าวทิพย์หรือข้าวมธุ ปายาส ซึ่งนางสุชาดานำมาถวาย และได้ทรง ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ

ท่ี งานประเพณี สถานที่จดั งาน ช่วงระยะเวลา รายละเอยี ด และความเปน็ มา ในการจัดงาน 21. ตักบาตรเทโวโรหนะ วัดเขาวงษ์ หมู่ 9 วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นความเชื่อในเรื่องของพระพุทธเจ้าเสด็จ อ.กบินทร์บุรี ต.ย่านรี ของทุกปี ลงมาจากเทวโลก จึงได้มีการจัดพิธีทำบุญ จ.ปราจีนบุรี ทุกพื้นที่ในจังหวัด ตักบาตรขึ้น ปราจีนบุรี 22. ลอยกระทง วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นการขอขมาแด่แม่พระคงคาและบูชา ของทุกปี องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยนางนพมาศ เป็นผู้ริเริ่มทำกระทงขึ้นเป็นครั้งแรก 23. งานนมัสการหลวงพ่อ หน้าที่ว่าการอำเภอศรี ระหว่างเทศกาล หลวงพ่อทวารวดีเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ทวารวดี มโหสถ หมู่ 3 ต.โคกปีบ งานลอยกระทง สมัยทวารวดี เพื่อความเป็นสิริมงคล จึงได้ อ.ศรีมโหสถ วันขึ้น 15 ค่ำ จัดให้มีการทำบุญตักบาตร ปิดทองนมัสการ เดือน 12 ของทุกปี เพื่อขอพรเป็นประจำทุกปี จ.ปราจีนบุรี ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 41 ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 4. ด้านสาธารณสุข 4.1 สภาวะสุขภาพ 4.1.1 อัตราเกิด อัตราตาย ใน พ.ศ. 2550 จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี มีทารกเกิดจำนวน 6,006 คน เป็นชาย 3,045 คน เป็นหญิง 2,961 คน คิดเป็นอัตราเกิด เท่ากับ 13.20 ต่อประชากรพันคน และมีผู้เสียชีวิต จำนวน 2,931 คน เป็นชาย 1,674 คน เป็นหญิง 1,257 คน คิดเป็น อัตราตายเท่ากับ 6.44 ต่อประชากรพันคน อัตราเพิ่มตาม ธรรมชาติ ร้อยละ 0.68 (ประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เท่ากับ 454,988 คน) มีจำนวนทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ตายทั้งสิ้น 39 คน เป็นชาย 25 คน หญิง 14 คน คิดเป็นอัตราทารกตาย 6.49 ต่อการเกิดมีชีพพันคน และไม่มีมารดาตายจากการตั้ง ครรภ์และการคลอด (ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข) 4.2 สถานบริการและบุคลากรสาธารณสุข ปัจจุบันในพ.ศ. 2551 จังหวัดปราจีนบุรี มีสถาน บริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้ 4.2.1 โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง เป็น ขนาด 505 เตียง คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ โรงพยาบาลชุมชน 6 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลขนาด 120 เตียง 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลกบินทร์บุรี ขนาด 60 เตียง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ และโรงพยาบาลนาดี และ 42

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี ขนาด 30 เตียง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านสร้าง โรงพยาบาลศรีมโหสถ และโรงพยาบาลประจันตคาม 4.2.2 โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 1 แห่ง ขนาด 180 เตียง คือ โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ 4.2.3 สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 2 แห่ง ขนาด 10 เตียง 1 แห่ง คือ สถานพยาบาลอิมพีเรียล และขนาด 31 เตียง จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลโสธราเวช 304 จำนวน เตียงผู้ป่วย รวมทั้งสิ้น 1,130 เตียง และมีอัตราส่วนเตียง ผู้ป่วยต่อประชากรเท่ากับ 1:403 อัตราส่วนบุคลากรสาธารณสุข ประเภทที่สำคัญ ได้แก่ แพทย์ 88 คน คิดเป็นอัตราส่วนต่อ- ประชากร เท่ากับ 1:5,170 ทันตแพทย์ 28 คน เท่ากับ 1:16,250 เภสัชกร 49 คน เท่ากับ 1:9,285 พยาบาลวิชาชีพ 725 คน เท่ากับ 1:628 4.2.4 สถานีอนามัย จำนวน 93 แห่ง และสถาน บริการสาธารณสุขชุมชน ที่ยังไม่ยกฐานะเป็นสถานีอนามัย 1 แห่ง 4.2.5 คลินิกประเภทต่างๆ ได้แก่ คลินิกแพทย์ สาขาเวชกรรมทั่วไป จำนวน 38 แห่ง สาขาเวชกรรมเฉพาะทาง จำนวน 24 แห่ง กระจายตั้งอยู่ทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอนาดี คลินิกทันตกรรม จำนวน 18 แห่งตั้งอยู่ในอำเภอเมือง ศรีมหาโพธิ ประจันตคาม และกบินทร์บุรี ยกเว้นอำเภอ บ้านสร้าง ศรีมโหสถ และนาดี 4.2.6 สถานพยาบาลสาขาการพยาบาลและ ผดุงครรภ์ จำนวน 26 แห่ง กระจายอยู่ทุกอำเภอ 43

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 4.2.7 สถานพยาบาลสาขาแผนไทย 1 แห่ง อยู่ที่อำเภอศรีมหาโพธิ 4.2.8 ร้านขายยา ไดแ้ ก่ ร้านขายยาแผนปจั จบุ นั จำนวน 66 แห่ง ตั้งอยู่ในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอนาดี ร้าน ขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่มิใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุม พิเศษ 16 แห่ง ตั้งอยู่ในทุกอำเภอยกเว้นอำเภอศรีมโหสถ ร้านขายยาแผนโบราณ 10 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง บ้านสร้าง และประจันตคามและร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุ เสร็จเฉพาะยาสัตว์ จำนวน 1 แห่ง อยู่ที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี 5. ประชากร ณ ตุลาคม 2551 จังหวัดปราจีนบุรี มีประชากรทั้งสิ้น 458,814 คน เป็นชาย 227,886 คน เป็นหญิง 230,928 คน เมื่อ พิจารณาจากการกระจายตัวของกิจกรรม พบว่าการที่จังหวัดมี โรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากในเขตอำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมือง และอำเภอศรีมหาโพธิทำให้มีประชากรมาอาศัย อยู่รวมกันในพื้นที่ดังกล่าวจำนวนมากกว่าในบริเวณอื่น ๆ ของ จังหวัด บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด คือ อำเภอ กบินทร์บุรี มีจำนวน 138,263 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ของ ประชากรทั้งจังหวัด รองลงมาคือ อำเภอเมือง มีจำนวน 107,424 คน และอำเภอศรี มหาโพธิ จำนวน 61,568 คน ส่วน บริเวณที่มีประชากรอยู่อาศัยน้อยที่สุดคือ อำเภอศรีมโหสถ มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 18,223 คน คิดเป็นร้อยละ 3.98 ของ ประชากรทั้งจังหวัด 44

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่อำเภอนอกเขตเทศบาล มีความหนาแน่นของ ประชากรเฉลี่ย 96.52 คนต่อตารางกิโลเมตร อำเภอที่มี ประชากรรวมกันหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอเมือง คิดเป็น 196.07 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมา ได้แก่ อำเภอ ศรีมหาโพธิ์ คิดเป็น 139.82 คนต่อตารางกิโลเมตร และอำเภอ กบินทร์บุรี คิดเป็น 98.14 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนอำเภอที่มี ความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดคืออำเภอนาดี คิดเป็น 35.56 คนต่อตารางกิโลเมตร ตารางที่ 2 จำนวนพื้นท่ีและประชากรของจังหวัด ปราจีนบรุ ี รายอำเภอนอกเขตเทศบาล อำเภอ จำนวน จำนวนประชากร (คน) ความหนาแน่นของ อ.เมือง พน้ื ท่ี ประชากร (คน/.กม.) (ตร.กม.) ชาย หญงิ รวม 426.76 43,250 40,432 83,682 196.07 อ.กบินทร์บุรี 1290.55 62,792 63,866 126,658 98.14 อ.นาดี 1176.09 20,855 20,968 41,823 35.56 อ.ประจันตคาม 902.05 23,618 24,649 48,267 53.51 อ.ศรีมหาโพธิ 392.99 26,994 27,955 54,949 139.82 อ.ศรีมโหสถ 125.48 5,943 6,236 12,179 97.06 อ.บ้านสร้าง 345.22 13,785 14,085 27,870 80.73 รวมท้งั สนิ้ 4,753.42 197,237 198,191 395,428 96.52 ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดปราจีนบุรี (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2551) 45

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี การบริหารและการปกครอง 1. รูปแบบการปกครอง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง และส่วน ท้องถิ่นในจังหวัดปราจีนบุรี แยกได้ดังนี้ 1.1 การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีทั้งสิ้น 29 หน่วยงาน แยกเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 6 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรม อื่นๆ รวมทั้งสิ้นจำนวน 23 หน่วยงาน 1.2 การบรหิ ารราชการสว่ นกลาง มที ง้ั สน้ิ 49 หนว่ ยงาน เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 4 หน่วยงาน และสังกัดกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จำนวน 45 หน่วยงาน 1.3 การบริหารราชการส่วนท้องถ่ิน มีทั้งสิ้น 70 แห่ง แยกเป็น * องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง * เทศบาล 13 แห่ง * องค์การบริหารส่วนตำบล 56 แห่ง 2. การแบ่งเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 64 ตำบล 708 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 13 เทศบาล 56 องค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.) และ 144,564 ครัวเรือน 46

ตาราง 3 การแบ่งเขตการปกครองของจงั หวัดปราจนี บุรี อำเภอ ตำบล หมู่บา้ น ครวั เรอื น อบจ. เทศบาล อบต. เมืองปราจีนบุรี 12 144 37,244 1 3 11 กบินทร์บุรี 14 193 46,594 - 3 14 ประจันตคาม 9 106 15,315 - 2 8 ศรีมหาโพธิ 10 90 28,283 - 2 7 บ้านสร้าง 9 88 9,013 - 1 7 นาดี 6 63 15,665 - 1 6 ศรีมโหสถ 4 24 5,418 - 1 3 รวม 64 708 157,532 1 13 56 ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 47 ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดปราจีนบุรี (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2551)

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ข้อมูลเขตการเลือกตั้งของจังหวัดปราจีนบุรี การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ แบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดปราจีนบุรี แบ่งออกเป็น 3 เขต ดังนี้ (ข้อมูลการแบ่งเขตเลือกตั้งตามการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554) เขตเลือกตั้งท่ี 1 ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี, อำเภอบ้านสร้าง และ อำเภอศรีมโหสถ ดังมีรายละเอียดดังนี้ อำเภอเมือง มี 13 ตำบล คือ ตำบลหน้าเมือง ตำบล รอบเมือง ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลบางเดชะ ตำบลท่างาม ตำบล บางบริบูรณ์ตำบลดงพระราม ตำบลบ้านพระ ตำบลโคกไม้ลาย ตำบลไม้เค็ด ตำบลดงขี้เหล็ก ตำบลเนินหอม ตำบลโนนห้อม อำเภอบ้านสร้าง มี 9 ตำบล คือ ตำบลบ้านสร้าง ตำบล บางกระเบา ตำบลบางเตย ตำบลบางยาง ตำบลบางแตน ตำบลบางพลวง ตำบลบางปลาร้า ตำบลบางขาม ตำบล กระทุ่มแพ้ว อำเภอศรีมโหสถ มี 4 ตำบล คือ ตำบลโคกปีบ ตำบล โคกไทย ตำบลคู้ลำพัน ตำบลไผ่ชะเลือด เขตเลือกต้ังท่ี 2 ได้แก่ อำเภอศรีมหาโพธิ, อำเภอประจันตคาม และ อำเภอกบินทร์บุรี (เทศบาลตำบลสระบัว ตำบลลาดตะเคียน ตำบลหาดนางแก้ว ตำบลวังดาล ตำบลนนทรีและตำบล นาแขม) ดังมีรายละเอียดดังนี้ 48

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอศรีมหาโพธิ มี 10 ตำบล คือ ตำบลศรีมหาโพธิ ตำบลสัมพันธ์ ตำบลบ้านทาม ตำบลท่าตูม ตำบลบางกุ้ง ตำบลดงกระทงยาม ตำบลหนองโพรง ตำบลหัวหว้า ตำบล หาดยาง ตำบลกรอกสมบูรณ์ อำเภอประจันตคาม มี 9 ตำบล คือ ตำบลประจันตคาม ตำบลเกาะลอย ตำบลบ้านหอย ตำบลหนองแสง ตำบลดงบัง ตำบลคำโตนด ตำบลบุฝ้าย ตำบลหนองแก้ว ตำบลโพธิ์งาม อำเภอกบินทร์บุรี เฉพาะพื้นที่เทศบาลตำบลสระบัว ตำบลลาดตะเคียน ตำบลหาดนางแก้ว ตำบลวังดาล ตำบล นนทรีและตำบลนาแขม เขตเลือกตั้งท่ี 3 ได้แก่ อำเภอนาดี, อำเภอกบินทร์บุรี (เทศบาลตำบล เมืองเก่า เทศบาลตำบลกบินทร์ ตำบลหนองกี่ ตำบลเมืองเก่า ตำบลกบินทร์ ตำบลย่านรี ตำบลวังตะเคียน ตำบลเขาไม้แก้ว ตำบลวังท่าช้าง ตำบลบ้านนา และตำบลบ่อทอง) ดังมี รายละเอียดดังนี้ อำเภอนาดี มี 6 ตำบล คือ ตำบลนาดี ตำบลสำพันตา ตำบลสะพานหิน ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลแก่งดินสอ ตำบล บุพราหมณ์ อำเภอกบินทร์บุรี เฉพาะพื้นที่เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลกบินทร์ ตำบลหนองกี่ ตำบลเมืองเก่า ตำบล กบินทร์ ตำบลย่านรี ตำบลวังตะเคียน ตำบลเขาไม้แก้ว ตำบล วังท่าช้าง ตำบล บ้านนา และตำบลบ่อทอง 49



บ3ทท ่ี แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ผู้วิจัย ได้รวบรวม แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาเป็น แนวทางในการศึกษา ดังนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่น 2. แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3. แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนการหาเสียง 4. แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง 5. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี แนวคิดเก่ียวกับโครงสร้างอำนาจท้องถ่ิน การศึกษาวรรณกรรมเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจมี รากฐานอยู่บนแนวความคิด เรื่องของการแบ่งชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) อันเป็นแนวคิดทางสังคมวิทยา โดยให้ อธิบายลักษณะของสังคมมนุษย์ว่า เป็นสังคมที่มีลักษณะความ ไม่เสมอภาคในลักษณะต่างๆกัน และลักษณะของโครงสร้าง ของแต่ละสังคมก็มีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ (พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, 2533, น.4) สำหรับแนวความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นที่ ผู้วิจัยสำรวจวรรณกรรมสามารถนำเสนอแนวคิดได้ดังนี้ 1. แนวความคิดโครงสร้างอำนาจแบบระบบเครือญาติ (Kingship System Power Structure) ความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติภายในสังคมท้องถิ่น ไทย เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับ ถูกอ้างอิงและใช้เป็นกรอบ ในการศึกษาอยู่เสมอ ระบบเครือญาติเป็นความสัมพันธ์ตาม แนวนอนที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นในชีวิตคนชนบทในอดีต มีข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมที่ทำให้บุคคลต้องมาร่วมมือกัน และระบบเครือญาติจะมีส่วนช่วยเหลือและให้หลักประกันชีวิต อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากข้อเท็จจริง ดังกล่าว ทำให้จิตสำนึกที่ให้ความสำคัญกับระบบเครือญาติ มีรากเหง้าที่ลึกซึ้ง (กาญจนา แก้วเทพ, 2527) 52

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับระบบเครือญาตินี้ ไพฑูรย์ เครือแก้ว (2515) ได้อธิบายสังคมท้องถิ่นไทยว่า ชุมชนท้องถิ่น ไทยเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่อย่างกันเองมีความสนิทสนมกัน มาเสมอ มีความสัมพันธ์แบบซึ่งหน้าเป็นชุมชนที่มีกลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) แต่ละกลุ่มรวมกันอยู่ในเขตท้องที่ต่างๆ ผู้คนใน ท้องถิ่นมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องทัศนคติ และพฤติกรรม ต่างๆ คนในท้องถิ่นชนบทจะรู้จักกันทุกคนมีความสนิทสนม ติดต่อกันและกันโดยตรง มีความสัมพันธ์ และฐานะบุคคลเกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ มีการควบคุมทางสังคมแบบเป็นกันเอง สงั คมทอ้ งถน่ิ มกี ารเคลอ่ื นไหวนอ้ ย การโยกยา้ ยการเปลย่ี นแปลง ฐานะไม่ค่อยมี คนในท้องถิ่นมีโลกทัศน์เป็นคนหัวโบราณ ยึด มั่นอยู่ในประเพณีเก่า ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงและมักจะต่อต้าน ของใหม่ คนในท้องถิ่นจะมีลักษณะความสัมพันธ์กันในชุมชน กันอย่าง แน่นแฟ้นเป็นแบบพวกเรา มีความสัมพันธ์กันตาม ประเพณีไม่มีเหตุผล ชาวบ้านจะรู้จักหัวบ้านท้ายบ้าน รักใคร่ กันดีในหมู่บ้าน เกลียดใครก็ซุบซิบนินทาประณามคนคนนั้นทั้ง หมู่บ้าน จะเห็นได้ว่าการอธิบายของไพฑูรย์ เครือแก้ว จะมีแต่ ภาพสวยงาม ท้องถิ่นเป็นสังคมที่สงบสุข ซึ่งความจริงแล้วอาจ จะเป็นเพียงด้านเดียวของสังคมท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนความจริงที่ ดำรงอยู่ในแบบความสัมพันธ์อื่นๆ ถกู มองข้าม อย่างไรก็ตามแนวความคิดระบบเครือญาติ ก็ได้รับ การยอมรับและอธิบายเพิ่มเติมจากนักวิชาการท่านอื่น เช่น นายสุเทพ สุนทรเภสัช ได้เสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ความ สัมพันธ์ทางครอบครัวและเครือญาติ เป็นความสำคัญอันจะก่อ ให้เกิดความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศาสนา 53

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี วัฒนธรรม โดยระดับที่ต้องการความร่วมมือของคนในท้องถิ่น โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางครอบครัวและระบบเครือญาติ เป็นพื้นฐาน โดยแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้ากลุ่มที่มาจากอาวุโส มีคุณธรรม และหัวหน้ากลุ่มของระบบเครือญาติจะรวมตัวเป็น ผู้ปกครอง หมู่บ้าน เลือกหัวหน้าหมู่บ้านขึ้นมา และเมื่อหัวหน้า หมู่บ้านต้องการการสั่งงาน หรือติดต่อกับลูกบ้านก็ประสาน ผา่ นหวั หนา้ กลมุ่ เครอื ญาติ และการปกครองโดยระบบเครอื ญาติ เปน็ พน้ื ฐานนเ้ี อง ทำใหบ้ า้ นทถ่ี กู เขา้ มารวมกลมุ่ ทางการปกครอง ไม่รู้สึกว่าเป็นคนแปลกหน้า หรือรู้สึกว่าเป็นคนอื่น ในส่วนของ การแลกเปลี่ยนของคนในท้องถิ่นมีลักษณะการช่วยเหลือและ การพึ่งพาอาศัยกันเป็นหลัก การตอบแทนในการแลกเปลี่ยน จึงเป็นเรื่องของการบริการหรือให้ของกำนัลที่เป็นสัญลักษณ์ มากกว่าที่จะเป็นเงิน นอกจากนี้ชาวบ้านยังถือคุณธรรมที่จะ สนับสนุนให้เกิดความเป็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่ม ข้อเสนอของนายสุเทพ สุนทรเภสัช ชี้ให้เห็นโครงสร้างอำนาจ ระบบเรือญาติได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งมีลักษณะทางอำนาจกระจาย ออกไปตามกลุ่มเครือญาติและกระจายออกไปในแนวนอน โดยแหล่งที่มาของอำนาจที่สำคัญคือความอาวุโสและความ ยุติธรรม 2. แนวคิดโครงสร้างอำนาจแบบอุปถัมภ์ (Patron- Client System Power Structure) ของสังคมแบบเจ้าขุนมูลนาย และไพร่ อคิน ระพีพัฒน์ (2557) ได้อธิบายความสัมพันธ์ของโครงสร้างอำนาจแบบ อุปถัมภ์ว่า เป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดในการจัดระเบียบ 54

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง สังคมไทยความสัมพันธ์ ดังกล่าวมีลักษณะเป็นลูกพี่-ลูกน้อง ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานความไม่เสมอภาค ในการแลกเปลี่ยน ผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นรากฐานของการจัดกลุ่มที่เรียกว่า กลุ่มอุปถัมภ์ กลุ่มอุปถัมภ์เป็นกลุ่มที่มีสมาชิก เป็นรากฐานของการ จัดกลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่มอุปถัมภ์” กลุ่มอุปถัมภ์เป็นกลุ่มที่มี สมาชิกของกลุ่มเป็นลำดับขั้น ตามปกติจะมีผู้นำหนึ่งคนและ มีลูกน้องจำนวนหนึ่ง ผู้นำสามารถผูกพันความจงรักภักดีของ ลูกน้องไว้โดยการจัดสรรผลประโยชน์ให้แก่ลูกน้องอย่างเป็น พอใจ สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำกลุ่มอุปถัมภ์จะต้องเป็นบุคคลที่มี อำนาจและทรัพย์สิน กาญจนา แก้วเทพ (2527) ได้สรุปเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ วา่ เปน็ ความสมั พนั ธท์ างสงั คมทแ่ี ลกเปลย่ี นกนั อยา่ งไมเ่ ทา่ เทยี ม กันระหว่างสองกลุ่ม และเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เอื้ออำนวยผล ต่อกัน กล่าวคือสิ่งที่เจ้านายมอบให้เป็นการคุ้มครองมีลักษณะ ประทานด้วยความกรุณาแต่สิ่งที่ลูกน้องเสนอให้มีลักษณะ เป็นการตอบแทนบุญคุณ ในการดำรงอยู่ของระบบนี้มีการสร้าง อุดมการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติและบางส่วนได้กลายเป็น ค่านิยมประจำของผู้น้อยไป ความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ เป็นความสัมพันธ์ที่มี ลักษณะสองด้านที่ขัดแย้งกันเองด้านหนึ่งดูเหมือนจะมีความ สัมพันธ์ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนสองกลุ่มคือ ผู้อุปถัมภ์ จะให้การคุ้มครอง หรือช่วยเหลือเมื่อยามผู้ใต้อุปถัมภ์ของตน 55

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี เดือดร้อน และคอยแจกจ่ายผลประโยชน์ให้อย่างเป็นธรรม ในขณะที่ผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ต้องใช้ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี และการรับใช้แก่เจ้านายของตนเอง แต่อีกด้านหนึ่งของระบบ ผู้อุปถัมภ์แสดงให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบของเจ้านายต่อ ลูกน้อง ลักษณะสองด้านที่ขัดแย้งกันของระบบอุปถัมภ์ทีมี โครงสร้างอำนาจแบบแนวดิ่งมีลำดับชั้นที่ แน่นอนในเรื่อง ตำแหน่งและอำนาจ และมีลักษณะเป็นปิรามิดของอำนาจ สำหรับผู้เป็นเจ้านาย หรือลูกพี่ ในกลุ่มอุปถัมภ์นั้นมักจะมี ตำแหน่งทรัพย์สิน และอำนาจ ยิ่งมีทรัพยากรเหล่านี้มากเท่าไร ก็ทำให้กลุ่มอุปถัมภ์นั้นมีความเข้มแข็งมาก 3. แนวคิดโครงสร้างอำนาจแบบชนชั้น (Class Power Structure) เป็นแนวคิดที่นิยมใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ใน ชุมชนท้องถิ่นมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมเป็นตัวที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชนชั้น ชัดเจน ดังนั้นการมองภาพของความเหมือนๆ กันของคน ในท้องถิ่นอย่างในอดีต จึงเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับภาวะวิสัย ที่เปลี่ยนแปลงไป (พิชาย รัตนดิลก ณ ภเู ก็ต, 2533, น. 14) การศึกษาลักษณะความเป็นชนชั้นในสังคมท้องถิ่นไทย ของ เจนฮัน (Jenhan 1967) อ้างถึงใน พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, 2533) กลับมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป เจนฮัน ได้อธิบาย ว่าโดยทั่วๆไป จะไม่มีการแบ่งชนชั้นมากนักในหมู่บ้านชนบท ในท้องถิ่น บุคคลที่จะได้รับความเคารพและมีสถานะภาพสูง โดยอาศัยความมั่งมี อายุ การศึกษา ความศรัทธาในศาสนา 56

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง อย่างแรงกล้าและอาชีพ ระบบจัดลำดับแบบดั้งเดิมไม่มี ปรากฏการณ์สร้างความแตกต่างกันในสถานภายในหมู่บ้าน และแม้ว่าในปัจจุบันจะมีปรากฎการณ์ที่คนชั้นสูงอาศัยความ มั่งมีเป็นพื้นฐาน เข้าควบคุมอำนาจรัฐในระดับต่างๆ แต่อย่างไร สภาพของชุมชนท้องถิ่นยังต้องจัดว่าอยู่ในลักษณะที่มีความ เท่าเทียมกัน 4. แนวคิดเร่ืองกลุ่มการเมืองแบบฝักใฝ่ในท้องถิ่น กลุ่มการเมือง หมายถึง กลุ่มที่มีลักษณะการขัดแย้ง ทางการเมือง มีลักษณะไม่ถาวร และไม่จัดระเบียบเป็นทางการ กลุ่มจะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งและการเอาการเอางานเมื่อได้รับ การกระตุ้นหรือเกิดกรณีพิพาทกันในการควบคุมทรัพยากร สำหรับการรับคนเข้าเป็นสมาชิกนั้นรับด้วยหลักการนานาชนิด ที่แตกต่างกันหลายประการ หลักการเหล่านี้อาจขึ้นอยู่กับ ความผูกผันทางเครือญาติ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับ ผู้ใต้อุปถัมภ์ ความผูกผันทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา การเมือง หรืออันหนึ่งอันใดผสมกันในสมาชิกกลุ่มเหล่านี้เคลื่อนไหวและ มีปฏิกิริยาในรูปแบบ โครงสร้างอำนาจตามฐานะของหัวหน้า กับลูกน้องซึ่งมีบทบาทของแต่ละคนมิได้กำหนดชัดเจน และ ผลตอบแทนในหลายกรณีขึ้นอยู่กับการพินิจพิเคราะห์ของผู้นำ ในการศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านไทยของ อคิน ระพีพัฒน์ (2527) พบว่าการแบ่งกลุ่มในชนบทในหมู่บ้านหรือตำบลมีกลุ่ม อุปถัมภ์อยู่หลายกลุ่มเหล่านี้มีความฝักใฝ่ที่มีคามขัดแย้งกัน และกันในการศึกษาของ พอทเตอร์ (Potter, 1970 อ้างถึงใน พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ,2533, น. 33-34) การแบ่งฝักใฝ่ใน 57

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี หมู่บ้านชนบทไทยมักประกอบด้วยผู้นำสองคนหรือมากกว่านั้น พร้อมด้วยสมาชิกในกลุ่มอุปถัมภ์ของตน และพื้นฐานของการ เกิดกลุ่มฝักใฝ่ฝ่ายนั้น เกิดจากสาเหตุ 6 ประการ คือ 1. ความเป็นพันธมิตรระหว่างผู้นำในหมู่บ้านที่มี วัฒนธรรมและการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในชุมชน ท้องถิ่น 2. เขตหมู่บ้านตามการปกครองที่เป็นธรรมชาติ 3. ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ที่อาศัยใน ท้องถิ่นเดียวกัน 4. ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มพื้นเพที่อาศัยดั้งเดิมแตกต่าง กัน 5. ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มในชุมชนท้องถิ่นซึ่งสังกัด เป็นสมาชิกพรรคของผู้อุปถัมภ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่นอก ชุมชน 6. ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆ จะเห็นได้ว่าการศึกษาของ พอทเตอร์ พบว่า รากฐาน ของการเกิดกลุ่มฝักใฝ่ในชุมชนท้องถิ่น นั้นมีอยู่หลายประการ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละอย่างอาจเกิดขึ้นในสังคมท้องถิ่นใดท้องถิ่น หนึ่งได้เสมอ หรือภายในท้องถิ่นเดียวกัน ก็สามารถมีความ ขดั แยง้ ของกลมุ่ ฝกั ใฝห่ ลายแบบกไ็ ด้ ซง่ึ ความขดั แยง้ แตล่ ะอยา่ ง ก็มีผลต่อการกำหนดโครงสร้างอำนาจภายในท้องถิ่นได้ทั้งสิ้น 58

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง สรุป การศึกษาเกี่ยวกับนักการเมืองถิ่นนั้น จำเป็นต้องมี การเรียนรู้ถึงโครงสร้างอำนาจของแต่ละท้องถิ่น ว่ามีรูปแบบ โครงสร้างอำนาจแบบใด ระหว่างโครงสร้างอำนาจแบบระบบ เครือญาติ โครงสร้างอำนาจแบบอุปถัมภ์ โครงสร้างอำนาจ แบบชนชั้น และกลุ่มการเมืองแบบฝักใฝ่ในท้องถิ่น เพราะ สามารถเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมือง บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็น ทางการต่างๆ การเข้าสู่เส้นทางการเมืองของนักการเมือง ตลอดจนรูปแบบ วิธีการ และกลวิธีต่างๆ ที่นักการเมืองใช้ใน การเลือกตั้งได้ แ นวคิดเก่ียวกับการเลือกต้ัง ความหมายของการเลือกตั้ง นักวิชาการได้ให้ความหมายของ “การเลือกตั้ง” ไว้ดังนี้ การเลือกตั้ง คือการที่บุคคลได้เลือกบุคคลได้เลือก บุคคลหนึ่งหรือบุคคลจำนวนหนึ่งจากหลายๆ คน หรือเลือกจาก บัญชีรายชื่อผู้เข้ารับสมัครรับเลือกตั้งบัญชีหนึ่งหรือบัญชี จำนวนหนึ่งจากบัญชีหลายๆบัญชี เพื่อให้ไปกระทำการอันหนึ่ง อันใดแทนตน (วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น, 2524, น.63) การเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนผู้เป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตยได้มีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) อันเป็นกลไกที่แสดงออกซึ่งเจตจำนงของ ประชาชนที่เรียกร้องหรือสนับสนุนให้มีการกระทำหรือละเว้น อย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมืองหรือการตัดสินใจในนโยบาย 59

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี สาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน โดยประชาชนทั่วไป เลือกผู้แทนหรือพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์มีนโยบายและ วิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับตน ด้วยความคาดหวังว่าผู้แทนหรือ พรรคการเมืองที่ตนเลือกให้ไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนนั้น จะนำอุดมการณ์และนโยบายในการบริหารประเทศและ ทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของตน การเลือกตั้งจึงเป็น กระบวนการแสวงหาทางเลือกในทางการเมืองทางปกครองของ ประชาชนนั่นเอง (วัชรา ไชยสาร, 2541, น. 8) หลักเกณฑ์เก่ียวกับการเลือกต้ัง การเลือกตั้งจะมีคุณค่าสมควรแก่การยกย่องว่าได้ ดำเนินการตามครรลองของระบบประชาธิปไตย และถือว่าเป็น ฐานที่มาของความชอบธรรมในอำนาจของรัฐบาลและ ผู้ปกครองจะต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับ เป็นสากล ดังนี้ (หยุด แสงอุทัย, 2531, น. 10-16) 1. หลักความเป็นอิสระแห่งการเลือกตั้ง หมายถึงการ เลือกตั้งต้องกระทำโดยเสรีไม่มีการบังคับกดขี่ จ้างวานหรือใช้ อิทธิพลใด ๆ ซึ่งหมายความหมายว่า เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะคอย เฝ้าดูและดำเนินการให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรี ปราศจาก การบีบบังคับข่มขู่ด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าการใช้อามิสสินจ้าง หรือใช้อิทธิพลบีบบังคับ รัฐเองก็ต้องไม่กดขี่ จ้างวาน หรือใช้ อิทธิพลบังคับให้ราษฎรไปเลือกตั้ง การเลือกตั้งที่ปราศจาก อิสระ ผู้ปกครองจะอ้างว่าตนมีอำนาจโดยชอบธรรม 2. หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา (Periodic Election) หมายความว่า เมื่อเลือกตั้งไปแล้วก็ต้องเลือกใหม่อีก โดย 60

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง กำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี เพื่อให้ประชาชน มีโอกาสตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทนราษฎรว่าปฏิบัติ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาส เปลี่ยนแปลงตัวผู้แทนราษฎรคนเดิม หรือเลือกผู้สมัครรับ เลือกตั้งคนใหม่และเพื่อให้ประชาชนสามารถควบคุมผู้แทนของ ตนได้ 3. หลักการเลือกตั้งอย่างแท้จริง (Genuine Election) หมายถึง การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ปราศจากครอบงำและเล่ห์กลทางการเมือง ปราศจากการใช้ อิทธิพลทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และสถานภาพทางสังคม วิธีที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งอย่างแท้จริงดังนี้ 3.1 จัดให้ราษฎรจัดการเลือกตั้งของตนเองให้มาก ที่สุด โดยการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง เช่น เป็น กรรมการตรวจนับคะแนน เป็นต้น 3.2 จัดให้มีการคัดค้านการเลือกตั้ง 4. หลักการออกเสียงทั่วไป (Universal Suffrage) หมายถึง การให้สิทธิเลือกตั้งแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่มีการกีดกัน หรือจำกัดสิทธิบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นพิเศษ เนื่องจากเพศ ผิว สถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ตราบใดประชาชนนั้นไม่ขาด คุณสมบัติ การมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มักจะคำนึงถึง คุณสมบัติที่สำคัญ 7 ประการ ดังนี้ 4.1 อายุ ประเทศต่างๆ มักจะกำหนดอายุขั้นต่ำของ การมีสิทธิเลือกตั้งไว้18 ปีหรือ 20 ปีเป็นต้น 61

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 4.2 ความเป็นพลเมือง หมายถึง การเป็นสมาชิก รัฐหนึ่ง ๆ และการเป็นสมาชิกนั้นนำมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ ทางการเมือง 4.3 การมีถิ่นที่อยู่ หมายถึง การกำหนดระยะเวลา ขั้นต่ำในการมีถิ่นที่อยู่ภายในเขตเลือกตั้ง 4.4 การรู้หนังสือ เงื่อนไขนี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป 4.5 คุณสมบัติเกี่ยวกับความประพฤติ หมายถึง การจำกัดสิทธิบุคคลบางประเภทที่มี่ความประพฤติเสื่อมเสีย อย่างร้ายแรงจนถูกศาลตัดสินลงโทษ หรือตัดสิทธิในการ เลือกตั้ง 4.6 คุณสมบัติเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของจิตใจ ประเทศต่าง ๆ มักจะไม่ให้สิทธิเลือกตั้งแก่บุคคลที่มีความ เจบ็ ปว่ ยทางดา้ นจติ ใจ เชน่ คนวกิ ลจรติ มาสมประกอบ เปน็ ตน้ 4.7 คุณสมบัติเกี่ยวกับสถานภาพทางสังคมบาง ประการ เช่น นักพรต นักบวช สังคมถือว่าไม่ควรมีส่วนร่วม ทางการเมือง เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อสถานภาพของตัวเขาเอง 5. หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค (Equal Suffrage) หมายถึง การมีสิทธิในการเลือกตั้งของประชาชนมีความสำคัญ และได้รับการยอมรับโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าผู้เลือกตั้งจะมี สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร หลักการที่ใช้เป็น มาตรการในการให้ความเสมอภาค คือ การให้ผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งคนหนึ่ง ๆ มีคะแนนเสียงเพียงหนึ่งคะแนน และคะแนน เสียงทุกคะแนนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน 62

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 6. หลักการลงคะแนนเสียงลับ (Secret Vote) หมายถึง การออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนเป็นเอกสิทธิ์ของผู้เลือกตั้ง โดยเด็ดขาด เอกสิทธิ์นี้จะได้รับการพิทักษ์ปกป้องโดยการออก เสียงลับ โดยผู้ออกเสียงไม่จำเป็นต้องบอกผู้อื่นว่าตนเลือกใคร ซึ่งจะกระทำโดยวิธีให้เอาบัตรลงคะแนนผนึกในซองแล้วมอบให้ กรรมการตรวจคะแนน หรือใส่หีบเลือกตั้ง 7. หลักการวิธีการลงคะแนนเสียงอิสระอย่างอื่น (Free Voting Procedure) หมายถึง การที่จะไม่ใช่วิธีการลงคะแนน เสียงโดยลับ ดังกล่าวแล้วก็ต้องใช้วิธีการลงคะแนนอย่างอิสระ อย่างอื่นๆ สรุป จากแนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ได้กล่าวมาแล้ว ในข้างตน ผู้วิจัยพอสรุปได้ว่าการเลือกตั้ง คือ กิจกรรม ในกระบวนการสรรหา เลือกสรร บุคคลใด คณะบุคคลใด ที่สมควรจะได้รับการยอมรับ การไว้วางใจให้เป็นตัวแทนโดย ชอบธรรม ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ก็คือ กิจกรรมที่ประชาชน มีส่วนร่วมทางการเมือง ร่วมเลือกสรรบุคคล กลุ่มบุคคล เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามารถกระทำการใดๆ ในนามประชาชนได้อย่างเต็มที่และมีสิทธิใช้อำนาจอธิปไตย แทนได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอข้อเรียกร้อง การสนับสนุนหรือการ ละเว้นการกระทำการตัดสินใจในนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อ ประชาชนซึ่งโดยทั่วไปประชาชนจะคาดหวังว่าผู้ที่ทำหน้าที่แทน ตนที่ได้เลือกให้ไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนนั้นจะนำแนว นโยบาย แนวคิดที่เป็นประโยชน์ไปบริหารจัดการและทำหน้าที่ ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนได้ ดังนั้น การเลือกตั้งจึงเป็น 63

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี กระบวนการแสวงหาทางเลือกในทางการเมืองการปกครองของ ประชาชนนั่นเอง แ นวคดิ เก่ยี วกบั กระบวนการขน้ั ตอนการหาเสียง การศึกษาการเลือกตั้งจากกระบวนการ ขั้นตอนหาเสียง นั้น จะให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การเตรียมตัวรณรงค์หาเสียง นักการเมืองที่มีประสบการณ์และความชำนาญทาง การเมือง จะต้องเตรียมการวางแผนหาเสียงล่วงหน้าอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลา โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นช่วงที่มีการยุบสภา หรือสภาหมดวาระแล้วหรือไม่ การเตรียมการเพื่อรณรงค ์ หาเสียงประกอบด้วย (สมบัติ จันทรวงศ์, 2530, น. 14-26) 1.1 การวางแผนการหาเสียงระยะยาว ผู้ที่ต้องการจะได้ รับเลือกตั้งจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลาการหาเสียงอย่างเป็น ทางการเป็นเพียงการหาเสียงพิเศษเพิ่มเติม จากที่ต้องกระทำ อยู่เป็นประจำและตลอดเวลา 1.2 กำหนดเขตเลือกตั้งที่จะลงสมัครและจัดทีมผู้สมัคร รับเลือกตั้ง 1.3 การวางแผนยุทธศาสตร์ในการหาเสียง 2. การวางแผนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 64

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 2.1 การจัดองค์กรเพื่อการเลือกตั้ง ในสมัยก่อนผู้สมัคร เลือกตั้ง มักจะใช้วิธีการหาเสียงโดยเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก มิให้ความสำคัญต่อการจัดองค์กรเพื่อการเลือกตั้งแต่อย่างใด ตรงขา้ มกบั อาศยั ความสมั พนั ธส์ ว่ นตวั ระหวา่ งผสู้ มคั รกบั เพอ่ื นฝงู ญาติมิตร ช่วยกันรณรงค์หาเสียง โดยใช้บ้านหรือที่ทำงานเป็น ศูนย์กลาง ไม่มีการจัดแบ่งหน้าที่กันเป็นระบบ ปัจจุบัน มีการจัดองค์การเพื่อการเลือกตั้งในลักษณะที่ต้องว่าจ้าง เจ้าหน้าที่มาทำงานโดยตรงมากขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะของ ศูนย์เลือกตั้งในช่วงนี้มักจะใช้บ้าน หรือที่ทำงานของผู้สมัครเป็น ศูนย์กลางสำหรับรณรงค์หาเสียงเช่นกัน แต่จะมีคนทำงาน ประจำมากขึ้นกว่าเวลาปกติที่อาจใช้เป็นเพียงสถานที่สำหรับ รับเรื่องราวของประชาชน และปัจจุบันหลังปี พ.ศ. 2526 ผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะมีการวางแผน การเลือกตั้งเป็นอย่างดี มีการจัดตั้งศูนย์การเลือกตั้ง (campaign center) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ตลอดจนพรรคการเมืองที่ส่ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนใหญ่จะจัดตั้งศูนย์รณรงค์หาเสียงตาม ภาคต่าง ๆ โดยศูนย์ของแต่ละภาคจะมีสมาชิกซึ่งเป็นกรรมการ พรรคไปประจำ และรับผิดชอบในการรณรงค์หาเสียงให้กับ สมาชิกที่พรรคส่งสมัครและจะมีศูนย์บัญชาการหาเสียง (campaign headquarters) ขึ้นที่กรุงเทพมหานครศูนย์นี้ทำหน้าที่ วางแผนทั่วไปทั้งประเทศ สำหรับช่วยเหลือสมาชิกพรรคที่ลง สมัครรับเลือกตั้ง สำหรับตัวผู้สมัครเลือกตั้งที่ประสบความ สำเร็จ ส่วนมากจะจัดตั้งศูนย์รณรงค์ของตัวเอง หรือผู้สมัครใน พรรคเดียวกัน โดยจัดประธานศูนย์หรือผู้จัดการศูนย์ (campaign manager) ขึ้นด้วย 65

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี โดยทั่วไปงานภายในศูนย์เลือกตั้ง ประกอบด้วย (สมบัติ จันทรวงศ์, 2530, น. 14-16) 2.1.1 ฝ่ายงานแผน ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน การวางเป้าหมายนโยบาย และขั้นตอนการหาเสียงทั้งหมด ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การหาเสียง การสำรวจข้อมูล เกี่ยวกับความต้องการของประชาชนภายในเขตเลือกตั้ง กำหนดคะแนน เป้าหมาย วิธีการจัดตั้งระบบหัวคะแนน ทั้งใน ระดบั อำเภอ ตำบล และหมบู่ า้ น เพอ่ื ใหไ้ ดค้ ะแนนตามเปา้ หมาย ไปจนถึงการปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการทำงาน วิธีติดตามและ ควบคุมกำกับการลงคะแนนเสียงในวันเลือกตั้ง การประเมินผล การหาเสียง ดารติดตามประเมินผลการเลือกตั้ง ฝ่ายว่างกำลัง จะมีงานหลักที่จะต้องดำเนินการ คือ งานสถิติ งานสำรวจและ ประเมินผล งานวางแผนหาเสียงเลือกตั้ง 2.1.2 ฝ่ายปฏิบัติการ จะทำหน้าที่ในการดำเนิน การตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้โดยจะลงไปทำการหาเสียงอย่าง จริงจังในรายละเอียด เช่น การกำหนดแนวทางในการปราศรัย หาเสียงในแต่ละจุดให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและปัญหาของ พื้นที่ โดยจะต้องประสานงานกังหัวคะแนนหรือแกนนำที่ได้ จัดตั้งไว้ในหมู่บ้าน การออกปราศรัยหาเสียงร่วมกัน หรือเป็น ตวั แทนผสู้ มคั ร การจดั หาตวั แทนในการสงั เกตการณก์ ารเลอื กตง้ั งานรักษาความปลอดภัยให้กับผู้สมัคร เป็นต้น 2.1.3 ฝ่ายข่าวและการประเมิน จะทำหน้าที่ใน ด้านการข่าว ซึ่งจะรวมถึงการหาข่าวการกรองข่าว การสร้าง หรือปล่อยข่าว การแก้ข่าว การแถลงข่าว รวมทั้งการติดตาม 66

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข่าว เพื่อใช้ในการวางแผนและปรับปรุงแผนให้ ทันสมัย 2.1.4 ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จะทำ หน้าที่ในด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ความเหมาะสมและ ความดี ความสามารถของผู้สมัครในทุกรูปแบบ เพื่อดึงดูด คะแนนเสียงของประชาชน โดยจะรับผิดชอบงานด้านจัดทำ แผ่นป้ายโฆษณา โปสเตอร์ เอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการจัดเตรียม รถโฆษณา โดยจะต้องทำงานประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนงานหรือปฏิทินงานที่ฝ่ายวางแผนกำหนด 2.1.5 ฝ่ายการเงินและธุรการ จะทำหน้าที่ในการ จัดหาทุนเพื่อใช้ในการรณรงค์หาเสียง การกำหนดวิธีการรับ จ่ายเงิน และการพิจารณาค่าใช้จ่ายทุกรายการในการหาเสียง การบริหารการเงินที่ดีมีความสำคัญอย่างมากต่อการหาเสียง โดยเฉพาะในช่วงวันใกล้วันเลือกตั้ง 2.1.6 ฝ่ายเสบียงและการต้องรับ จะทำหน้าที่ จัดหาและดูแลเกี่ยวกับอาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ สำหรับ บุคคลที่ช่วยในการหาเสียง รวมทั้งการเลี้ยงหัวคะแนนและ ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ถือเป็นธรรมเนียมไว้บริการผู้แทนของ ตนในช่วงการหาเสียงนี้ด้วย 2.2 การจัดระบบหัวคะแนน หัวคะแนนมีความสำคัญต่อ การหาเสียงเป็นอย่างมากสำหรับสังคมการเมืองไทยในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งแห่งความสำเร็จของผู้สมัครรับเลือกตั้งมากจากการมี หัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ สามารถหาคะแนนให้กับผู้สมัครได้ เป็นจำนวนมาก แม้ว่าความคิดเห็นของคนทั่วไปที่มีต่อ 67

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี หัวคะแนนจะเป็นไปในแง่ลบที่ว่า “หัวคะแนน” คือ บุคคลที่ ช่วยหาเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยใช้เล่ห์เหลี่ยม คนโกง หรืออามิสสินจ้างกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อชักจูงให้เลือกผู้สมัครที่ เขาสนับสนุนจนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยที่หัวคะแนน มักจะหวังสินจ้างรางวัลจากผู้สมัครเป็นการตอบแทน หรือ ยักยอกสิ่งของเงินทองที่ผู้สมัครให้ไว้ติดสินบนชาวบ้านบางส่วน มาเป็นของตน ส่วนคนที่ช่วยผู้สมัครหาเสียงอย่างเต็มที่โดยที่ไม่ หวังผลตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสินจ้างรางวัลโดยตรง มักจะ นยิ มเรยี กกนั วา่ “ผสู้ นบั สนนุ ” อยา่ งไรกต็ ามหวั คะแนนสว่ นใหญ่ นิยมเรียกตัวเองว่า “ผู้สนับสนุน” มากกว่า “หัวคะแนน” ดังนั้น “ผู้สนับสนุน” หรือ “หัวคะแนน” ก็คือ บุคคลที่สามารถหา คะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่คำนึงถึงว่าจะใช้วิธี การอย่างใดมาแสวงหาความสนับสนุนให้กับผู้สมัครของตน หัวคะแนนจึงเป็นกลไกที่สำคัญภายในกระบวนการหาเสียงของ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเสมือนแขนหาที่สำคัญในการประสาน งานติดต่อเร่งเร้ากระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ ผู้สมัครที่สนับสนุน ในเขตเลือกตั้งที่กว้างใหญ่ที่มีพื้นที่มาก หรือในพื้นที่ ที่ทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวกพื้นที่เป็นเทือกเขาที่สลับ ซับซ้อน ประชาชนกระจายกันอยู่ห่างไกล ทำให้การหาเสียงเป็น ไปอย่างยากลำบากหรือในพื้นที่ที่ประชาชนขาดความรู้และ ความสนใจในกิจกรรมทางการเมืองเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้สมัคร จำเป็นต้องอาศัยหัวคะแนนเป็นผู้จัดการคอยกระตุ้นเร่งเร้า เพื่อ ให้ประชาชนเป็นความสำคัญและดึงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ เลือกตั้งที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายนั้นมาลงคะแนนสนับสนุน 68

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ตนให้ได้ ดังนั้น หัวคะแนนจึงเป็นเสมือนตัวกลางระหว่าง ชาวบ้านผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกับผู้สมัครเลือกตั้ง บางครั้งหัวคะแนนจะต้องเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลใน ท้องถิ่น เป็นผู้ที่มีญาติ พี่น้องเพื่อนฝูงมาก เป็นที่นับถือของ ประชาชน ผู้สมัครให้การยอมรับหัวคะแนนก็เพราะหัวคะแนน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวอย่างใกล้ชิด หรือเป็นผู้นำของ ชุมชนที่ชาวบ้านมาลงคะแนนให้กับผู้สมัครมักจะใช้ความ สัมพันธ์และการยอมรับที่ชาวบ้านมีให้กับเขาเป็นเครื่องมือ สำคัญในการโน้มน้าวใจให้ชาวบ้านคล้อยตาม ในบางกรณี หัวคะแนนอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงกลไกประระหว่าง “การซื้อ-ขายคะแนนเสียง” ของผู้สมัครกับชาวบ้านเท่านั้นก็มี 2.2.1 ประเภทของหัวคะแนน ได้แบ่งประเภท ของหัวคะแนนไว้ดังนี้ 2.2.1.1 ในการแบ่งประเภทของหัวคะแนน โดยยึดหลักความสัมพันธ์กับผู้สมัคร สามารถแบ่งออกเป็นสาม ประเภทได้แก่ ประเภทท่ี 1 กลมุ่ หวั คะแนนทเ่ี ปน็ เครอื ญาติ ของผู้สมัคร เป้นกลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกับผู้สมัครมากที่สุด และมีส่วนช่วยเหลือผู้สมัครในการหาเสียงทุกรปู แบบมากที่สุด ประเภทที่ 2 กลุ่มหัวคะแนนที่เป็นเพื่อน หรือเป็นกลุ่มคนที่รู้จักกับผู้สมัครโดยตรง บุคคลเหล่านี้จะช่วย เหลือผู้สมัครในการหาเสียงมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความ สัมพันธ์ที่ผู้สมัครมีต่อเขาเป็นสำคัญ 69

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ประเภทที่ 3 กลุ่มหัวคะแนนที่ได้รับการ แนะนำมาหัวคะแนนประเภทนี้ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ผู้สมัคร แต่ได้รับคำแนะนำมาจากกลุ่มหัวคะแนนประเภทแรก และประเภทที่สอง 2.2.1.2 การแบ่งประเภทหัวคะแนนตาม สาขาอาชีพ แบ่งออกเป็นกลุ่มข้าราชการหรืออดีตข้าราชการ เป็นกลุ่มที่มีอำนาจ อิทธิพลสูง มีคนเคารพนับถือมากในท้องถิ่น นั้น ๆ และเป็นตัวเชื่อมไปถึงหัวคะแนนอื่น ๆ ด้วย ข้าราชการ พวกนี้นอกจากมีส่วนสนับสนุนด้านการหาเสียงให้ผู้สมัครแล้ว ยังอาจให้ความช่วยเหลือในด้านกลวิธีในการหาคะแนนเสียง อย่างไม่ชอบมาพากลอีกด้วย ข้าราชการบางกลุ่มโดยเฉพาะที่มี สายการบังคับบัญชาเด็ดขาด มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน สามารถสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัคร ที่ตนให้ความสนับสนุนได้ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ทางราชการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านสารวัตรกำนัน แพทย์ ประจำตำบล กรรมการสภา ตำบล กรรมการหมู่บ้าน ฯลฯ ผู้นำ เหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีเครือญาติมาก มีอิทธิพลต่อท้องถิ่นสูง ก่อนที่จะมาเป็นผู้นำชุมชน ก็ต้องมีฐานคะแนนเสียงของตนใน หมู่บ้านเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้น ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง จึงเป็นเป้าหมายที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงพยายามแสวงหามา เป็นหัวคะแนนให้แก่ตนเอง เพราะนั้นเกือบจะประกันชัยชนะใน ท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างแน่นอน แต่การเลือกตั้งช่วงหลังๆ หัวคะแนนกลุ่มนี้มีข้อจำกัดมากขึ้น เพราะในการเข้าสู่ตำแหน่ง 70

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องผ่านการแข่งขันต้องผ่านการแข่งขันผู้นำท้องถิ่นอื่น ๆ จึง ทำให้ฐานคะแนนถูกแบ่งแยก และไม่ได้รับคะแนนเสียงมาก เช่นแต่ก่อน กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา จังหวัด (ส.จ.) สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) นายกเทศมนตรี เทศมนตรี ฯลฯ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ในเขตเลือกตั้งของการบริหารส่วนท้องถิ่นหัวคะแนนในกลุ่มนี้ ยังมีความชำนาญในการเลือกตั้ง มีฐานคะแนนกว้างกว่าผู้นำ ท้องถิ่นข้างต้น ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นเหล่านี้ กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทางด้านคะแนนเสียง และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ลักษณะนี้ ทำให้นักการเมืองท้องถิ่นเป็นหัวคะแนนที่สำคัญยิ่งของ ผู้สมัคร กลุ่มนักธุรกิจ พ่อค้า คหบดีท้องถิ่น ที่มี ฐานะร่ำรวยและเป็นที่เคารพยำเกรงของบรรดาพ่อค้าด้วยกัน และเป็นผู้ที่มีความกว้างขวางในเชิงธุรกิจ มีความสัมพันธ์กับ ประชาชนทั่วไปในท้องถิ่น หัวคะแนนกลุ่มนี้ มีบทบาทและ อิทธิพลต่อการหาคะแนนเสียงโดยนำวิธีการให้ประโยชน์ทาง วัตถุเข้าแลกเปลี่ยนหรือความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ ฐานะเป็น พ่อค้า-ลูกค้า หรือเจ้าหนี้-ลูกหนี้มาใช้หัวคะแนนประเภทนี้ได้รับ การยอมรับในปัจจุบัน พระสงฆ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับ เจ้าอาวาสหรือพระอาจารย์ต่าง ๆ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางจิตใจ ต่อชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง หากผู้สมัครสามารถโน้มน้าวให ้ 71

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี พระช่วยหาคะแนนให้ได้แล้วโอกาสที่จะได้รับคะแนนเสียงใน เขตเลือกตั้งในจำนวนมาก ๆ ก็ย่อมเป็นไปได้สงู มาก กลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เป็นเจ้าพ่อ นายบ่อน นักเลง อันธพาล หัวคะแนนประเภทนี้โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ ประกอบอาชีพไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือผิดกฎหมาย ซึ่งมักมีความ สัมพันธ์อันดีกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แม้จะมีอาชีพที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่อกัน รวมทั้งยังมีความ สัมพันธ์กับประชาชนจำนวนมากด้วยธุรกิจที่ไม่เปิดเผยอีกด้วย 2.2.1.3 การแบ่งประเภทหัวคะแนนตาม ลักษณะการจัดตั้งแบ่งออกเป็นการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งใน สมัยหลัง ๆ นี้ ผู้สมัครพยายามที่จะจัดตั้งหัวคะแนนระดับต่างๆ เพอ่ื ใหค้ รอบคลมุ พน้ื ทม่ี ากทส่ี ดุ เพอ่ื ทจ่ี ะอาศยั หวั คะแนนอยา่ งน้ี ชักนำของหัวคะแนนของผู้สมัคร หัวคะแนนที่ไม่มีการจัดตั้ง ไม่มีความ สัมพันธ์โดยตรงกับผู้สมัครที่เป็นหัวคะแนนที่เกิดขึ้นเองโดยมิได้ มีการชักชวนจากผู้สมัครโดยตรงแต่เป็นผู้ที่รณรงค์หาเสียงให้ กับผู้สมัครด้วยความสนใจ มิได้หวังผลตอบแทนหัวคะแนนใน ลักษณะนี้เกิดขึ้นในสภาพการพิเศษหรือผู้สมัครมีคุณสมบัติโดด เด่นต่างไปจากคุณสมบัติของผู้สมัครคนอื่น ๆ เช่น เป็นผู้ที่มี ความซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตนในศีลธรรมอย่างเคร่งครัด อาจ เป็นการชักนำให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ออกทำการช่วยเหลือ หาเสียงให้โดยมิได้สัมพันธ์รู้จักหรือได้รับการติดต่อจากผู้สมัคร เป็นการส่วนตัวพลังของกลุ่มคนเหล่านี้จะมีลักษณะ กระจัดกระจายและสร้างผลสะท้อนทางการเมืองในวงกว้าง 72

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 2.2.1.4 การแบ่งประเภทหัวคะแนนตาม ความชำนาญแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1) หัวคะแนนมีความชำนาญ ได้แก่ หัวคะแนนที่มีความชำนาญในการหาเสียงในพื้นที่นั้น ๆ มาทุก สมัย ผู้สมัครที่มีหัวคะแนนในลักษณะนี้ช่วยในการหาเสียง ย่อมมีหลักประกันในการได้รับคะแนนเสียง 2) หัวคะแนนที่ยังไม่เคยเป็น หัวคะแนนมาก่อน หัวคะแนนประเภทนี้ไม่ค่อยมีความชำนาญ ในการหาเสียง ยังคาดคะเนคะแนนเสียงที่แท้จริงได้ยาก 3 ) ห ั ว ค ะ แ น น จ อ ม ป ล อ ม ห ร ื อ หัวคะแนนหลอกลวง ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้เป็น หัวคะแนนจริง แต่ใช้วิธีการต่าง ๆ หลอกลวงผู้สมัครว่าตนเป็น หัวคะแนนเพื่อหวังเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้สมัครหน้าใหม่ หรือยังไม่มีประสบการณ์ในพื้นที่ 2.2.1.5 การแบ่งประเภทหัวคะแนนตาม ระดับและโครงสร้างของหัวคะแนน แบ่งออกเป็น 1) หัวคะแนนระดับจังหวัด ได้แก่ หัวคะแนนที่มีฐานคะแนนเสียงในขอบเขตจังหวัด จะเป็น หัวคะแนนที่มีฐานะสูงสุด เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการหาเสียง เลือกตั้งมาก่อน หัวคะแนนระดับนี้อาจจะมีเครือข่ายคะแนน เสียงเป็นช่วงชั้นลงมาจนถึงฐานคะแนนเสียงต่ำที่สุดได้ 2) หัวคะแนนระดับอำเภอ ได้แก่ หัวคะแนนเสียงในของเขตอำเภอมีฐานะรองจากหัวคะแนน 73

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ระดับจังหวัด ทำหน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัคร หรือผู้อำนวยการเลือกตั้งกับหัวคะแนนระดับต่ำกว่า ในบาง กรณีหัวคะแนนระดับอำเภอจะมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับ หัวคะแนนระดับตำบล และหมู่บ้านโดยตรง 3) หัวคะแนนระดับตำบล ได้แก่ หัวคะแนนที่ควบคลุมฐานคะแนนเสียงในขอบเขตตำบล เป็น หัวคะแนนที่ทำหน้าที่ในการประสานกับหัวคะแนนระดับ หมู่บ้าน และระดับอำเภอ เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพ 4) หัวคะแนนระดับหมู่บ้าน ได้แก่ หัวคะแนนที่ควบคลุมฐานคะแนนเสียงในขอบเขตหมู่บ้าน เป็นหัวคะแนนที่มีความใกล้ชิดกับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด เป็นตัวกลางระหว่างคะแนนระดับตำบลกับชาวบ้านผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง 5) หัวคะแนนระดับคุ้มหรือกลุ่ม ในบางหมู่บ้านจะมีการก่อตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม ๆ ตามความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ หรือพื้นเพเดิม ในกรณีที่หัวคะแนนระดับ หมู่บ้านไม่สามารถทำงานได้ครอบคลุมทั่วทั้งหมู่บ้าน ผู้สมัคร จำเป็นต้องหาหัวคะแนนอีกระดับหนึ่งได้แก่ หัวคะแนนระดับคุ้ม หรือกลุ่ม เพื่อทำให้คะแนนเสียงของผู้สมัครมีความมั่นคงยิ่งขึ้น อยา่ งไรกต็ ามโครงระดบั ตา่ ง ๆ ของหวั คะแนน ในความเป็นจริงมิได้มีสภาพเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเป็นช่วงชั้น เสมอไป บางครั้งมีลักษณะของความสัมพันธ์เชื่อมโยงประสาน โดยตรงกับผู้สมัคร ผู้อำนาจการเลือกตั้งหรืออาสาสมัคร การที่ จะกลา่ วหาหวั คะแนนจดั อยใู่ นระดบั ใดขน้ึ อยกู่ บั ฐานคะแนนเสยี ง 74

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ที่มีอยู่เป็นสำคัญ 2.2.2 หน้าที่ของหัวคะแนน ได้แบ่งหน้าที่ของ หัวคะแนน ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนการเลือกตั้ง ขั้นตอนวันเลือกตั้ง และขั้นตอนภายหลังการเลือกตั้ง (เพิ่มพงษ์ เชาวลิต และศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี,2531, น. 27-34) 2.2.2.1 ขน้ั ตอนกอ่ นวนั เลอื กตง้ั หวั คะแนน มีหน้าที่ดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์ในทางหลัง การประชาสัมพันธ์ของหัวคะแนนในระยะนี้คือ การโฆษณาให ้ ผู้เลือกตั้งทราบถึงประวัติชีวิต การศึกษา การทำงาน ประสบการณ์ และนโยบายของผู้สมัคร เพื่อให้ผู้เลือกตั้งเกิด ความนับถือ ศรัทธา พร้อมที่จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัคร ส่วนวิธีการในการประชาสัมพันธ์จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับ เงื่อนไขของผู้สมัคร 2) การสำรวจหาข้อมูลพื้นฐานของ ท้องถิ่นที่จะมีผลต่อการเลือกตั้ง เช่น สภาพท้องถิ่น ความนิยม ทัศนคติ ความต้องการของชุมชน จำนวนรายชื่อผู้มีสิทธิออก เสียงเลือกตั้ง พร้อมเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของบุคคล เหล่านั้น เป็นต้น 3) งานการขา่ ว ซง่ึ หมายถงึ กจิ กรรม ในการหาข่าว สร้างข่าว ปล่อยข่าว ลวงข่าว ตอบโต้ข่าว โดยมี จุดประสงค์หลักที่จะสืบทราบความเคลื่อนไหวของฝ่ายตน รวมทั้งล่อลวงให้ผู้แข่งขันเข้าใจสภาพของฝ่ายตนผิดพลาดไป 75

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ประเด็นสำคัญของการหาข่าวของ ผู้สมัครแต่ละคน โดยผ่านหัวคะแนนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การหาข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามกับ การหาข่าวสถานการณ์อันเกิดจากความเคลื่อนไหวของฝ่ายตน ในประเด็นแรกมีข่าวสารสำคัญ จำต้องสืบหา ได้แก่ คะแนนนิยมของผู้เข้าแข่งขันในแต่ละพื้นที่ ความเคลื่อนไหวของผู้แข่ง ในระดับท้องถิ่นใครเป็นหัวคะแนน ให้คู่แข่งขันในแต่ละพื้นที่ ความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง ในระดับ ท้องถิ่นใครเป็นหัวคะแนนให้คู่แข่งคนใด ผลการเคลื่อนไหว ของคู่แข่งขันส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงของท้องถิ่นหรือไม่ ประเมินผลความเคลื่อนไหวของประชาชนในพื้นที่ ตอบโต้ข่าว ปล่อยข่าว เป็นกระบอกเสียงให้ผู้สมัครเพื่อจุดมุ่งหมายในการ ดำเนินสงครามจิตวิทยา ฯลฯ นอกจากนั้นหัวคะแนนต้องถือเป็น หน้าที่ที่จะต้องทราบถึงงาน ประเพณีสำคัญๆ ของประชาชนใน ท้องถิ่น เช่น งานบวช งานแต่ง งานศพ ฯลฯ และประสานงาน กับผู้สมัครให้มาปรากฏตัวในงาน เหล่านี้ถ้าผู้สมัครไม่สามารถ มาได้ หัวคะแนนจะต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้สมัครเสียเอง 4) การรักษาฐานคะแนนเสียงของ ผู้สมัคร การรณรงค์หาเสียงทุกรูปแบบของทั้งฝ่ายผู้สมัครและ หัวคะแนนล้วนเป็นไปเพื่อการรักษาฐานคะแนนเสียงทั้งสิ้น ในระดับพื้นฐานหัวคะแนนมีส่วนสำคัญในการรักษาฐาน คะแนนเสียง การแย่งชิงฐานระดับล่างและระหว่างฝ่ายต่างๆ 76

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง เป็นไปในแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีผู้สมัครมาก กว่าหนึ่งฝ่าย และมีฐานทางการเงินใกล้เคียงกัน ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้สมัครแต่ละคนกับหัวคะแนนจะเป็นปัจจัยชี้ว่าฐาน คะแนนเสียงนั้นๆ จะมีความมั่นคงหรือไม่ การรักษาฐาน คะแนนเสียงของหัวคะแนนดำรงอยู่นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับชาวบ้านเป็นสำคัญ ความ สัมพันธ์นี้อยู่ได้ด้วยสายใยแห่งระบบอุปถัมภ์ หรือระบบอาวุโส 2.2.2.2 ขั้นตอนในวันเลือกตั้ง 1) การเตรียมการเพื่อนำคนไปลง คะแนน 2) การจัดหน่วยเพื่อเก็บตกคะแนน เสียงที่ยังเหลืออยู่ 3) การสงั เกตการณใ์ นหนว่ ยเลอื กตง้ั 2.2.2.3 ขั้นตอนภายหลังการเลือกตั้ง หัวคะแนนจะต้องทำหน้าที่ขอบคุณประชาชนแทนผู้สมัคร ไม่ว่า ผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรก็ตาม วิธีการที่ใช้อาจเป็นการจัด เลี้ยงหรือสังสรรค์อย่างไม่เป็นทางการก็ได้ 2.3 รูปแบบในการหาเสียง แยกออกเป็น 2.3.1 รูปแบบการหาเสียงที่เปิดเผยหรือเป็น ทางการ (สมบัติ จันทรวงศ์, 2536, น. 30-36) ได้จำแนกรูปแบบ ในการหาเสียงที่เปิดเผยหรือเป็นทางการไว้ ดังนี้ 77

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 2.3.1.1 การใช้สิ่งพิมพ์และการประชา- สัมพันธ์ เป็นการรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นทางการ เพื่อ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งได้รู้จักผู้สมัคร โดยอาจจะทำเป็นป้ายคัทเอาท์ขนาดใหญ่ บอกชื่อ สังกัดพรรค พร้อมคำขวัญและรูปภาพของผู้สมัคร นอกจากนั้นก็จะมี โปสเตอร์หรือใบปลิว หรือการ์ดขนาดเล็ก ๆ สำหรับแนะนำตัว ผู้สมัคร ซึ่งอาจจะออกมาเป็นระยะๆ ในช่วงระหว่างที่ทำการหา เสียงหรืออาจออกมาแก้ข่าวที่ถูกโจมตี นอกจากนี้ก็มีการใช้รถที่ มีโปสเตอร์หรือแผ่นป้ายโฆษณาชื่อ รูป หมายเลขประจำตัว ผู้สมัครให้วิ่งกระจายเสียงไปตามชุมชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชน ทราบข่าวสารของผู้สมัคร ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ได้ออกไปสัมผัส ประชาชนโดยตรง 2.3.1.2 การปราศรัยหาเสียงมีหลายแบบ คือ อาจจะเป็นการปราศรัยที่ทำไปอย่างมีพิธีการ มีการจัดเวลา ปราศรัยที่มีการนัดหมายหรือประชาสัมพันธ์ไว้ล่วงหน้า หรือ อาจเป็นแบบที่ผู้สมัครได้รับเชิญให้ขึ้นเวทีปรากฏตัวและกล่าว คำปราศรัยในงานพิธีต่าง ๆ ที่หัวคะแนนอ้างโอกาสจัดขึ้น เช่น งานบวชนาค งานศพ งานวันเกิด ฯลฯ หรืออาจจะเป็นในแบบที่ มีองค์กรอะไรสักอย่างในเขตจังหวัดที่มีลักษณะภายนอกเป็น องค์กรที่เป็นกลางทางการเมือง เช่น หอการค้าจังหวัด จัดการ อภิปรายขึ้นโดยเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่เป็นหัวหน้าทีมของทุก ทีมมีโอกาสแถลงนโยบาย หรือให้ประชาชนผู้เข้ามาฟังได้ซัก ถามข้อข้องใจได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการปราศรัย เพื่อการหา เสียงโดยตรงอาจจะเป็นวิธีหลักในบางจังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง แต่ในบางพื้นที่อาจ 78

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง เป็นเพียงผลพลอยได้ของการประชาสัมพันธ์ตัวผู้สมัครให้เป็นที่ รู้จักเท่านั้น 2.2.1.3 การเข้าถึงตัวผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้ง เป็นการหาเสียงแบบที่นิยมเรียกกันว่า “การเคาะประตู บ้าน” เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้สมัครหน้าใหม่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่ชุมชนที่มีคนหนาแน่น เพราะนอกจากจะได้ภาพพจน์ ว่าเป็นผู้สมัครที่เข้าถึงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างความรู้สึกใกล้ชิด สนิทสนมกับชาวบ้านได้ในเวลาอันสั้น 2.3.1.4 การใช้สื่อมวลชนเพื่อการหาเสียง สื่อมวลชนทุกประเภท โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญ ในการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการการหาเสียงของพรรคการเมือง ต่างๆ ในระดับชาติ นักการเมืองที่เจนเวทีจะพยายามอาศัย คอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ระดับชาติมีความสำคัญมากขึ้น นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ระดับชาติแล้ว หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นใน บางจังหวัดยังเป็นเครื่องมือในการหาเสียงที่มีประสิทธิภาพโดย เฉพาะในเขตเมืองหรือเขตเทศบาล แต่เนื่องจากหนังสือพิมพ์ ท้องถิ่นมีจำนวนพิมพ์ที่จำกัดและมีผู้อ่านจำกัดอยู่เฉพาะในเขต เมืองแต่เนื่องจากส่วนใหญ่การหาเสียงโดยหนังสือพิมพ์ประเภท นี้จึงมีเป้าหมายที่ค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ก็ยังมีวิทยุและ โทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อในการหาเสียงที่ยังมีการใช้กันน้อย การหาเสียง การหาเสียงเป็นเรื่องเดียวกันกับการเลือกตั้งหรือเป็น ของคู่กันแต่การหาเสียงจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ไม่ว่าในเรื่องของการใช้เงิน การติดป้ายโฆษณาต่างๆ การใช้สื่อ 79

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ของรัฐและเอกชน การใช้ยานพาหนะโฆษณา การดำเนินงาน ใดๆเพื่อให้ประชาชนสนใจในตัวผู้สมัครโดยไม่ผิดกฎหมาย ประเทศที่มีความเจริญทางประชาธิปไตยแล้วจะมีความ แตกต่างกับประเทศที่กำลังพัฒนาในเรื่องของการไม่ฝืนระเบียบ หรือกติกาที่วางไว้ในการเลือกตั้ง พร้อมทั้งมีการควบคุมดูแล อย่างใกล้ชิดจากผู้ที่รับผิดชอบในการเลือกตั้งและประชาชน ในการเลือกตั้งของไทยที่ผ่านมานับจากพ.ศ.2500 เป็นต้นมา จะพบว่าข่าวโกงการเลือกตั้งในสื่อมวลชนทุกครั้ง มากบ้างน้อย บ้าง ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยเสียหายไปทั่วโลก และที่ สำคัญก็คือผู้รับผิดชอบในการเลือกตั้งไม่ยอมแก้ไขปัญหา ปล่อยให้ปัญหาในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการ เลือกตั้ง นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยได้ ทำการวิจัย ค้นคว้า ศึกษาเรื่องของการหาเสียงไว้มากมายพบ ว่าพฤติกรรมในการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งมีหลายแบบ หลายวิธี ทั้งถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรมทางการเมือง และไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไร้จริยธรรมทางการเมือง รูปแบบและวิธีการที่ไม่ถูกกฎหมายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพแวดล้อมและสังคม ที่ใช้ได้ผลที่สุดคือการซื้อเสียง (แจกเงินให้ไปเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง) นักการเมืองที่ได้รับการ เลือกตั้งได้ยอมรับในเรื่องนี้ต่อสื่อมวลชนว่าเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา กลายเป็นความถูกต้องโดยปริยายถ้าไม่ถูกตำรวจจับ การซื้อเสียงและได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ ประเทศ ประชาชนและระบอบประชาธิปไตยเพราะคนเหล่านี้ จะเข้ามาถอนทุนด้วยการประพฤติมิชอบด้วยวิธีการต่างๆ โดย 80

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ใช้อำนาจที่มีอยู่หลีกเลี่ยงบิดเบือนเพื่อไม่ให้กฎหมายเอาผิดกับ ตนได้ โดยปกติวิธีการหาเสียงที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและนิยม ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การตะเวนพบปะเยี่ยมเยียน ประชาชนถึงบ้าน การปราศรัยในที่ชุมชน การทำแผ่นป้าย โปสเตอร์ แผ่นปลิวใช้ยานพาหนะ และจัดตั้งหัวคะแนนช่วย หาเสียง ซึ่งในวิธีที่กล่าวมานี้ ผู้สมัครส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีการพบ ประชาชนหรือที่เรียกว่า “การเคาะประตูบ้าน” เป็นวิธีที่ได้ผล ที่สุด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 113 กำหนดให้รัฐสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 49 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประชุมหารือ ระหว่างหัวหน้าพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้ง เพื่อ พิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดให้มีการจัดสถานที่ปิดประกาศและติด แผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งในบริเวณสาธารณสถานซึ่งเป็น ของรัฐให้พอเพียงและเท่าเทียม ในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ของผู้สมัครทุกคนและพรรคการเมืองทุกพรรค 2. การพิมพ์ และจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งไปให้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 81

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 3. การกำหนดให้มีสถานที่สำหรับผู้สมัคร และพรรค การเมืองใช้ในการโฆษณาหาเสียงได้อย่างเท่าเทียมกันในการนี้ รัฐอาจจัดการแสดงหรือการดำเนินการอื่นใดเพื่อจูงใจให้ผู้มี สิทธิเลือกตั้งมาฟังโฆษณาเสียงด้วยก็ได้แต่ต้องมิใช่เป็นการจัด ให้เพื่อการสนับสนุนผู้สมัครหรือพรรคการเมืองได้แต่ต้องมิใช่ เป็นการจัดให้เพื่อการสนับสนุนผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด โดยเฉพาะ 4. การกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาให้พรรค การเมืองโฆษณาหาเสียงตั้งทางวิทยุการกระจายเสียงและ โทรทัศน์ ซึ่งจะให้ทุกพรรคการเมืองมีโอกาสเท่าเทียมกัน 5. การสนับสนุนของรัฐในกิจการอื่นที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งประกาศกำหนดบทต้องห้ามในการออกเสียง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 – 48 กำหนดบทต้อง ห้ามในการหาเสียง ดังนี้ 5.1 ห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่าง ใดด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียง เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือ พรรคการเมืองใดหรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือ พรรคการเมืองใดด้วยวิธีการดังนี้ (มาตรา 44) 5.1.1 จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้หรือ จัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจ คำนวณเป็นเงินให้แก่ผู้ใด 82

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 5.1.2 ให้เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด 5.1.3 ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มี มหรสพหรือการรื่นเริงต่างๆ 5.1.4 เลี้ยงกับรับการจัดเลี้ยงผู้ใด 5.1.5 หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ให้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของ ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด 5.2 ห้ามมิให้ผู้ใดจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไปยังที่เลือกตั้งเพื่อการเลือกตั้งหรือนำกลับจากที่เลือกตั้งหรือ จัดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังที่เลือกตั้งเพื่อการเลือกตั้งหรือกลับ จากที่เลือกตั้งโดยไม่ต้องเสียค่าโดยสารยานพาหนะหรือค่าจ้าง ซึ่งต้องเสียตามปกติเพื่อจูงใจหรือควบคุมให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด (มาตรา 45) 5.3 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยเข้ามีส่วน ช่วยเหลือในการหาเสียงเลือกตั้งหรือกระทำการใดๆ เพื่อ ประโยชน์แห่งการเลือกตั้งโดยประการที่เป็นคุณหรือเป็นโทษ แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ทั้งนี้เว้นแต่การกระทำนั้น เป็นการช่วยราชการหรือการประกอบอาชีพตามปกติโดยสุจริต ของผู้นั้น (มาตรา 46) 83

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 5.4 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งที่โดยมิชอบ ด้วยกฎหมายกระทำการใดๆ เพื่อเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง (มาตรา 47) 5.5 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง โดยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครหรือ พรรคการเมืองใดนับตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อน วันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง (มาตรา 48) (พระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนญู , 2542, น. 62 – 68) สรุป ปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ภายในระบบการและ ขน้ั ตอนการหาเสยี งของผรู้ บั สมคั รเลอื กตง้ั เหลา่ น้ี เปน็ ทน่ี า่ สนใจ เนื่องจากมีผลอย่างสำคัญต่อชัยชนะในการเลือกตั้งของผู้สมัคร บางคน ในขณะที่อีกหลายๆคนกับพ่ายแพ้ไป และจากที่กล่าว มาเห็นได้ว่าในขั้นตอนของการหาเสียงแล้ว ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และหัวคะแนนจะมีความสำคัญต่อกันอย่างสลับซับซ้อน และแยกกันค่อนข้างยาก ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ว่าประชาชนพิจารณาสิ่งใด เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี การใช้กลวิธี รูปแบบในการหาเสียงแบบใด จึงส่งผลให้ประสบ ความสำเร็จในการเลือกตั้ง ตลอดจนจะได้เรียนรู้ว่ากระบวนการ ห า เ ส ี ย ง รู ป แ บ บ ใ ด ท ี ่ ไ ด ้ ร ั บ ค ว า ม น ิ ย ม จ า ก ส ม า ช ิ ก ส ภ า ผู้แทนราษฎร ในการนำไปใช้ในการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง จึงนำ แนวคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการศึกษาครั้งนี้ นอกจากหัวคะแนนและตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว พรรคการเมืองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของ 84

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ประชาชน ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับ พรรคการเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาครั้งนี้ต่อไป แ น วคิดเก่ียวกับพรรคการเมือง ความหมายของพรรคการเมือง ในความหมายเบื้องต้น ในแง่ของรากศัพท์ภาษาอังกฤษ คือ คำว่า “party” จะพบว่ามีความหมายมาจากภาษาลาติน คือคำว่า “partire” ซึ่งหมายถึง “การแบ่งออกเป็นส่วนๆ” (devide) ชาร์โตริ จิโอวานนี (Sartori Giovanni,1976, p.4 อ้างถึง ใน นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2543, น.45) จากความหมาย ดังกล่าวนี้ ได้มีผู้ตีความว่า พรรคการเมือง หมายถึง “ส่วนของ ประชาชน” ซึ่งก็คือการที่ประชาชนมีความเป็นอิสระที่จะได้รับ การแบ่งออกเป็น “ส่วน” (part) ตามความคิดเห็นอันอิสระของ เขาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม พรรคการเมือง (Political Party) หมายถึง ที่รวมของกลุ่ม บุคคลที่มีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ คล้ายคลึงกันรวมกันเพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งบุคคลเข้าสมัครรับ เลือกตั้งให้ได้เป็นเสียงข้างมากในสภา เพื่อให้มีโอกาสจัดตั้ง รัฐบาลและบริหารประเทศตามนโยบายและอุดมการณ์ของกลุ่ม (วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ และ สุขุม นวลสกุล, 2543, น.71) สรุป พรรคการเมืองคือองค์การของปัจเจกบุคคล ซง่ึ แสวงหาอำนาจทางการเมอื ง โดยกระบวนการทม่ี กี ารเลอื กตง้ั และไม่มีการเลือกตั้ง เพื่อส่งตัวแทนของตนไปใช้อำนาจ ดังกล่าว 85

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี หน้าท่ีของพรรคการเมอื ง (the Function of Parties) โมริช ดูแวร์แยร์ นักรัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งศึกษา พรรคการเมืองในเชิงเปรียบเทียบ โดยเน้นลักษณะโครงสร้าง พรรคเป็นสำคัญ ในการศึกษาได้เสนอว่า หน้าที่ที่สำคัญของ พรรคการเมืองมีอยู่ 3 ประการ คือ (Maurice Duverger,1969, pp.352– 421 อ้างถึงใน พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต,2541,น. 77) 1. หน้าที่ในการคัดเลือกผู้ปกครอง โดยการเสนอชื่อ บุคคลที่มีความเหมาะสมเข้าสู่ระบบการเมือง 2. หน้าที่ในการเป็นตัวแทนมติมหาชน โดยการรับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชนแล้วนำมากำหนดเป็นนโยบาย เพื่อ ให้เกิดการนำไปปฏิบัติต่อไปเมื่อเข้าไปมีอำนาจทางการเมือง 3. หน้าที่ในโครงสร้างการปกครอง (โดยหลักการ แบ่งแยกอำนาจ) สรุป พรรคการเมืองมีความสำคัญต่อการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย และจากความสำคัญดังกล่าวทำให้ ประชาชนผู้ซึ่งเป็นผู้มีความสำคัญในการตัดสินใจเลือกสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ต้องคำนึงถึงพรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดด้วยเช่นกัน การศึกษา เกี่ยวกับพรรคการเมืองจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเชื่อมโยงไปสู่ เส้นทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนว่ามี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองเป็น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ มากน้อย เพียงใด การสนับสนุนจากพรรคการเมือง ความสำคัญของ 86

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอด จนบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมือง แ น ว คิ ด เ ก่ี ย ว กั บ พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร ไ ป ใ ช้ สิ ท ธิ เลือกต้ัง พฤติกรรมทางการเมือง (Political Behavior) หมายถึง การแสดงกริยาอาการและความรู้สึก นึกคิดทางการเมือง ของมนุษย์ การแสดงกริยาอาการและความนึกคิดดังกล่าว เป็นปฎิกิริยาตอบสนองกระบวนการทางการเมืองการปกครอง ที่มีอยู่ในแต่ละระบบการเมือง ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมือง จึงหมายถึง ลักษณะรูปแบบของกริยาอาการและความนึกคิด ทางการเมืองการปกครองเป็นต้นว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วม ทางการเมืองแบบต่างๆ เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การปฏิบัติ ตามกฎหมาย ความสนใจทางการเมือง ความเบื่อหน่าย ทางการเมือง และความเชื่อมั่นทางการเมืองเป็นต้น แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมการลงคะแนนสียง เลือกตั้งในทางรัฐศาสตร์นั้นพัฒนาขึ้นมาจากการสนใจของ นักวิชาการสองสาขาคือ นักสังคมวิทยาและนักรัฐศาสตร์ กลุ่ม พฤติกรรมนิยม นักวิชาการเหล่านี้ได้ให้ความสนใจอิทธิพลของ สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการลงคะแนน เสียงเลือกตั้งของบุคคลเป็นเรื่องแรก สถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมดังกล่าว บ่งชี้จากการศึกษาอาชีพกลุ่มชาติพันธุ์ หรือกลุ่ม วัฒนธรรมและชนกลุ่มน้อยต่าง รวมทั้งแบบแผนการเข้ามามี ส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีด้วย ต่อมาได้ให้ความสนใจ 87


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook