Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

Published by Meng Krub, 2021-06-08 12:55:39

Description: เล่มที่45นักการเมืองถิ่นปราจีนบุรี

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี โดย รัตนา วงิ วอน ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data รัตนา วิงวอน. นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ปราจนี บรุ -ี - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2558. 246 หน้า. -- (นักการเมืองถิ่น). 1. นักการเมือง - - ปราจีนบุรี. 2. ปราจีนบุรี - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 923.2593 ISBN 978-974-449-829-9 รหสั สง่ิ พิมพข์ องสถาบันพระปกเกลา้ สวพ.58-22-500.100 เลขมาตรฐานสากลประจำหนงั สอื 978-974-449-829-9 ราคา พิมพค์ รงั้ ท่ี 1 กันยายน 2558 จำนวนพมิ พ ์ 500 เล่ม ลิขสทิ ธ์ ิ สถาบันพระปกเกล้า ทปี่ รึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผ้แู ตง่ รัตนา วิงวอน ผู้พิมพผ์ โู้ ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพ์โดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พมิ พ์ท่ี ส เจริญ การพิมพ์ 1510/10 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์ 02-913-2080 โทรสาร 02-913-2081 นางจรินพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

นักการเมืองถิ่น จังหวัดปราจีนบุรี รัตนา วงิ วอน ธาตรี มหันตรัตน์ สถาบันพระปกเกล้า

คำนำ เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี เป็นการศึกษาวิจัย เพื่อทำความเข้าใจและสำรวจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของนักการเมืองจังหวัดปราจีนบุรี อันเป็นการนำเสนอถึง กระบวนการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองซึ่งเป็น ผอู้ าสาเขา้ มาทำงานรบั ใชป้ ระชาชนในพน้ื ทร่ี ะดบั จงั หวดั ซง่ึ การ ศึกษาพฤติกรรมของนักการเมืองและการเลือกตั้งของประชาชน ในพื้นที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสงู สำหรับสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้สนับสนุนทุนการวิจัย และขอขอบพระคุณกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน และขอขอบพระคุณนักการเมืองจังหวัดปราจีนบุรี และผู้ให้ ข้อมลู ทุกท่านอันนำมาสู่ความสำเร็จในการจัดทำการวิจัยชิ้นนี้ ผ้วู ิจัย

บทคัดย่อ โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น จังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลนักการเมืองที่ เคยได้รับเลือกตั้งในจังหวัดปราจีนบุรี เครือข่ายความสัมพันธ์ ของนักการเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี บทบาทของเครือข่ายและ กลุ่มผลประโยชน์ในการสนับสนุนนักการเมืองถิ่นจังหวัด ปราจีนบุรี กลวิธีในการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นจังหวัด ปราจีนบุรี โดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ในพื้นที่ของผู้วิจัย ข้อมูลที่ได้นำมาประมวล วิเคราะห์ แล้วนำเสนอโดยการ พรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี จำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มครู อาจารย์ ข้าราชการ นักกฎหมาย และงานช่วยเหลือสังคม และกลุ่มนักการเมือง ท้องถิ่นและนักธุรกิจ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี เครือข่ายความสัมพันธ์ที่พบ เป็นบิดา-บุตร 2 คู่ คือ นายสมาน ภุมมะกาญจนะ กับนายชยุต ภุมมะกาญจนะ และ นายสุนทร วิลาวัลย์ กับ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม นอกนั้นจะเป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย เครือญาติ กับกลุ่ม ผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ทางสังคม และวัฒนธรรม การสังกัดพรรคการเมืองของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดปราจีนบุรี จะไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เพราะลักษณะการลงคะแนน ของประชาชนทั่วไปจะยึดที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ส่วนวิธีการ หาเสียงโดยทั่วไปจะใช้การลงพื้นที่พบปะประชาชนในพื้นที่ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ การใช้รถขยายเสียง และใช้วิธี การผ่านทางหัวคะแนน ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ เช่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาเทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เป็นต้น VI

Abstract This survey of local politicians in Prajinburi Province was aimed to explore the campaign strategies and political networks of local politicians elected in Prajinburi Province, the roles of the political networks, and the interest groups that support the local politicians. Qualitative methods used were documentary research, in-depth interviews, and observation. The collected data was processed and analyzed using descriptive analysis. The results showed the local politicians in Prajinburi Province could be divided into two major groups: one group was composed of teachers, government officers, lawyers, and public sector workers, and the other group was local politicians and businessmen.

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี The major relationship network was between fathers and children of two families, that is, Mr. Saman and Mr. Chayuk Phummakanjana, and Mr. Sunthorn Wilawan and Mrs. Kanokwan Wilawan Srijunngam. The other type of relationship network was the linkage between relatives and political interest groups at the local level, economic interest groups, and social and cultural interest groups. Political party affiliation was not necessary. This was because the voting style of Prajinburi people primarily focuses on individual candidates. Generally, the campaign methods used were meeting with the local people, using campaign media, using campaign trucks, and engaging election campaigners who were well-known in local areas such as members of the provincial administration, council organizations, village council members, community leaders, etc. VIII

สารบัญ หน้า คำนำ IV บทคดั ย่อ V Abstract VII บทท่ี 1 บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญของการศึกษา 1 วัตถุประสงค์ 3 ขอบเขตของการศึกษา 4 วิธีการศึกษา 4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทท่ี 2 ข้อมลู ทวั่ ไปของจงั หวดั ปราจีนบุร ี 7 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี 7 สัญลักษณ์ประจำจังหวัดปราจีนบุรี 15 ที่ตั้งและสภาพภมู ิศาสตร์ 16 สภาพเศรษฐกิจ 19 สภาพสังคมและวัฒนธรรม 27 การบริหารและการปกครอง 46

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี หน้า บทที่ 3 แนวคดิ ทฤษฎี และงานวจิ ยั ท่ีเก่ยี วขอ้ ง 51 แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่น 52 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 59 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนการหาเสียง 64 แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง 85 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 87 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 90 บทท่ี 4 นักการเมืองถ่นิ จังหวัดปราจีนบุร ี 94 การเลือกตั้งและส.ส.จังหวัดปราจีนบุรี 94 ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) 120 การเมืองและนักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรียุคแรก 129 (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2500) 174 การเมืองและนักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรียุคที่สอง (พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2539) 205 การเมืองและนักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรียุคที่สาม 205 (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2554) 121 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ สรุปผลการวิจัย 233 ภาพรวมข้อมูลทั่วไปของ 235 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปราจีนบุรี 236 การเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรีในปัจจุบัน 236 แนวโน้มการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรีในอนาคต ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเมืองถิ่นในจังหวัด บรรณานกุ รม 237 ภาคผนวก 241 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ 241 ภาคผนวก ข รายชื่อ ส.ส.จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2554 244

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ภาคผนวก ค ภาพนักการเมืองถิ่น หน้า ภาคผนวก ง แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี 250 ประวตั ผิ วู้ ิจยั 259 260 XI

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 19 1 ผลิตภัณฑ์จังหวัด ตามราคาประจำปี จำแนกตามสาขาการผลิต จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2550 2 จำนวนพื้นที่และประชากรของจังหวัดปราจีนบุรี 45 รายอำเภอนอกเขตเทศบาล 3 การแบ่งเขตการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี 47 XII

บ1ทท ่ี บทนำ ท่ีมาและความสำคัญของการศึกษา การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ได้สร้างระบบการเมืองแบบที่ประชาชนเลือก ผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะแทนตน ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ที่ผ่านมาในระดับชาติ ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 20 ครั้ง มีการเลือกตั้งสมาชิก พฤฒิสภาทางอ้อม 1 ครั้ง ใน พ.ศ.2489 และมีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาโดยตรงครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ในขณะที่ในระดับท้องถิ่นก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทน เพื่อทำหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายรูปแบบ พัฒนาขึ้นตามลำดับ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี อย่างไรก็ตาม คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการศึกษาการเมือง การปกครองไทยที่ผ่านมายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็น ส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไปของภาคการเมืองที่ศึกษากันอยู่ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า“การเมืองถิ่น” หรือ “การเมืองท้องถิ่น” ที่เป็น การศึกษาเรื่องราวของการเมืองที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของ ท้องถิ่นที่เป็นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งเป็นปรากฏการณ ์ ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับชาติอีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวทีการเมือง ณ ศูนย์กลางของประเทศกำลัง เข้มข้นด้วยการชิงไหวชิงพริบของนักการเมืองในสภา และ พรรคการเมืองต่างๆ อีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัคร พรรคพวกและผู้สนับสนุนทั้งหลายก็กำลังดำเนินกิจกรรม เพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน และทันทีที่ภารกิจ ที่ส่วนกลางสิ้นสุดลง การลงพื้นที่พบปะประชาชนตามสถานที่ และงานบุญงานประเพณีต่างๆเป็นสิ่งที่นักการเมืองผู้หวัง ชัยชนะในการเลือกตั้งมิอาจขาดตกบกพร่องได้ ภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดได้สะท้อนให้เห็นถึงหลาย สิ่งหลายอย่างของการเมืองไทยที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนาน ในแง่มุมที่จะไม่สามารถพบได้เลยในการเมืองระดับชาติ “การเมืองถิ่น” และ“นักการเมืองถิ่น” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่ การศึกษา เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดหาย และหากนำสิ่ง ที่ได้ค้นพบนี้มาพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็น่าจะทำให้สามารถเข้าใจ การเมืองไทยได้ชัดเจนขึ้นในมุมมองที่แตกต่างจากการมองแบบ เดิมๆ

บทนำ ดังนั้น การสำรวจข้อมูลนักการเมืองถิ่น จังหวัด ปราจีนบุรี จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปรากฎการณ์การเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองถิ่นของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) อันจะนำไปสู่การสร้างงานวิชาการด้าน รัฐศาสตร์ในบริบทของเชิงพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรีให้ ก้าวหน้า และยังจะเป็นการร่วมเติมเต็มองค์ความรู้ความเข้าใจ ของการเมืองไทยให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ในจังหวัดปราจีนบุรี 2. เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี 3. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติฯลฯ ที่มีส่วนในการ สนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด ปราจีนบุรี 4. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี 5. เพื่อทราบถึงวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของ นักการเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ขอบเขตของการศึกษา การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาการเมืองของนักการเมือง ระดับชาติตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก (พ.ศ. 2476) จนถึง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ของจังหวัดปราจีนบุรี โดยให้ความสำคัญกับประวัติ นักการเมืองถิ่นรุ่นเก่าที่เป็นตำนานหรือมีความสำคัญในแต่ละ ช่วงเวลา ศึกษาเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการต่างๆ บทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมือง ภายในจังหวัด ตลอดจนรูปแบบ วิธีการ และกลวิธีต่างๆ ที่ นักการเมืองแต่ละคนของจังหวัดปราจีนบุรีได้ใช้ในการเลือกตั้ง แต่ละครั้ง วิธีการศึกษา อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็น เครื่องมือสำคัญในการศึกษา โดยมีวิธีการในการศึกษา ดังนี้ 1. การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ข่าวการเลือกตั้ง ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี แนวคิดที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและ การเลือกตั้ง แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่น ระบบ การเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมือง ระบบอุปถัมภ์ เป็นต้น

บทนำ 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มี โครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูล โดยสัมภาษณ์บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึง นักการเมืองคนต่างๆ ในพื้นที่ได้ รวมทั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ที่ยังมีชีวิตอยู่ ญาติพี่น้อง และ เครอื ขา่ ยตา่ งๆ ซง่ึ การคดั เลอื กผใู้ หข้ อ้ มลู สำคญั (Key informant) จะใช้วิธีแบบเจาะจง ป ระโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดในจังหวัดปราจีนบุรีได้รับการ เลือกตั้งบ้าง และชัยชนะของนักการเมืองเหล่านี้มี สาเหตุและปัจจัยอะไรสนับสนุน 3. ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ เชน่ ครอบครวั วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีต่อการเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี 4. ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการ เ ล ื อ ก ต ั ้ ง ส ม า ช ิ ก ส ภ า ผู ้ แ ท น ร า ษ ฎ ร ใ น จ ั ง ห ว ั ด ปราจีนบุรี 5. ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้ง

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นกั การเมอื งถน่ิ ” สำหรบั เปน็ องคค์ วามรใู้ นการศกึ ษา วิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป

บ2ทท ่ี ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี 1. ปราจีนบุรีก่อนอยุธยา ปราจีนบุรี หรือ เมืองปราจีนบุรี ในสมัยก่อนอยุธยา เริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลาย แล้วพัฒนามาเป็นกลุ่มบ้านเมืองในสมัย ประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่สมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฎหลักฐาน ทางเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตรงกับสมัยราชวงศ์ ซ้อง จึงเชื่อว่าในสมัยสุโขทัยบริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี ยังคงมีผู้คนบางส่วนอาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา ที่มา : ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี (http://www. prachinburi.go.th)

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 2. ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีปรากฎการตั้งถิ่นฐานของชุมชน สมัยโบราณเมื่อประมาณ 2,000 – 2,500 ปี มาแล้ว ซึ่งตรงกับ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Proto-history) ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว ตำบล กระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง และบ้นดงชัยมัน ตำบลประจันตคาม อำเภอ ประจันตคาม โบราณคดีที่พบ ได้แก่ ลูกปัดแก้วแบบอินโด – แปซิฟิก สีต่าง ๆ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน หินอะเกตและ หินควอตซ์ เครื่องมือเหล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ กับชมุ ชนโบราณใกล้เคียงและอินเดยี โดยเฉพาะทบ่ี า้ นดงชัยมัน ได้พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึกซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรม ดงซอน เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมซึ่งพบทางตอนใต้ของจีน และ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย บริเวณ ที่ตั้งเมืองโบราณศรีมโหสถ ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ สันนิษฐาน ว่าน่าจะเป็นชุมชนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ในชุมชนบริเวณ ดังกล่าวรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มหมู่บ้าน เกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรม ภายนอกแต่ยังไม่มีการสร้างเมืองที่มีคันดิน คูน้ำล้อมรอบชุมชน ในระยะนี้อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรฟูนัน และมีการ แลกเปลี่ยนค้าขายกับนักเดินเรือจากต่างประเทศ หลักฐานที่ พบแสดงอิทธิพลวัฒนธรรมฟูมันและอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย แบบอมราวดี หลักฐานสำคัญที่พบ ได้แก่ ภาพสลักนูนต่ำ และประติมากรรมบางชิ้นที่พบในบริเวณนี้คือภาพมกรหรือ เหราบางตัวที่ขอบโบราณสถานสระแก้วมีลักษณะคล้ายมกรใน

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี ศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ส่วนประติมากรรมบางชิ้น ได้แก่ พระพุทธรูปที่พบในบ่อน้ำหน้าอาคารรอยพระบาทคู่ และจาก การค้นพบเครื่องมือหินขัดทำให้พออนุมานได้ว่าชุมชนดังกล่าว น่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบตามแนว ชายฝั่งทะเลเดิม บริเวณลุ่มน้ำบางปะกงแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มมีถิ่นฐานเมื่อประมาณ 5,000 – 1,400 ปี มาแล้ว สรุปได้ว่าการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เริ่มแรกในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี เป็นสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่มี เทคโนโลยีค่อนข้างสูงในการดำรงชีวิตคือการรู้จักใช้เครื่องมือ เหล็กและการรู้จักใช้วิธีกักเก็บน้ำ ต่อมาสภาพสังคมและ เศรษฐกิจมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 6- 10 ได้รับวัฒนธรรมภายนอกและเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ พัฒนาเป็นชุมชนหรือเมืองที่รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มวัฒนธรรม ทวารวดี มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-19 การเกิดบ้านเมือง ในสมัยประวัติศาสตร์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-19 แบ่งจังหวัด ปราจีนบุรีออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกมีความเจริญรุ่งเรืองและ พัฒนาการเป็นบ้านเมืองร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองทวารวดีใน บริเวณภาคกลางของประเทศมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12- 16 และช่วงที่ 2 เป็นการอยู่สืบเนื่องต่อจากช่วงแรกแต่สภาพ สังคม การเมือง การปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เชื่อว่า ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้รับวัฒนธรรมเขมรโบราณเข้ามา มีการ ผสมผสานกับวัฒนธรรมทวารวดีที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ที่มา : ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี (http://www. prachinburi.go.th)

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 3. ปราจีนบุรีสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาปรากฎชื่อเมืองปราจีนบุรีเป็นครั้งแรก ซึ่งคำว่า “ปราจีนบุรี” เป็นคำสมาสเกิดจากคำว่า “ปราจีน” กับคำว่า “บุรี” คำว่า “ปราจีน” หรือ “ปาจีน” หมายความว่า ทิศตะวันออก ส่วนคำว่า “บุรี” หมายความว่า “เมือง” รวมแล้ว คำว่า “ปราจีนบุรี” หมายถึงเมืองตะวันออก การเขียนชื่อเมือง ปราจีนบุรีแตกต่างกันไป เช่น ปราจินบุรี ปราจิณบุรี และ ปาจีนบุรี แต่ความหมายน่าจะหมายถึงเมืองทางตะวันออกของ ราชอาณาจักรไทย ปราจีนบุรีในฐานะหัวเมืองชั้นใน ต้นทิศ ตะวันออกสันนิษฐานพบว่าในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนการ ปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) เมืองปราจีนมีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ราชธานีคือกรุงศรีอยุธยา โดยทางกรุงศรีอยุธยาจะส่งขุนนาง มาปกครองโดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และหลังจากการปฏิรูป การปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว การ ปกครองหัวเมืองก็เปลี่ยนไปจากเดิมคือสมเด็จพระบรมไตรโลก นาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอนก และหัวเมืองประเทศราชและแบ่งหัวเมือง ออกเป็นชั้น เอก โท ตรี และจัตวา ทรงลดฐานะหัวเมืองชั้นใน คือเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงลงมาเป็นเมืองจัตวา ภายใต้การปกครองของราชธานี โดยทางราชธานีจะส่งขุนนาง มาปกครองและขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และขุนนางที่ปกครอง หัวเมืองชั้นในเรียกว่า “ผู้รั้ง” เขตที่จัดเป็นหัวเมืองชั้นในมีอาณา บริเวณดังนี้ ทิศเหนือจดเมืองชัยนาท ทิศตะวันออกจด เมืองปราจีน ทิศตะวันตกจดสุพรรณบุรี ทิศใต้จดเมืองกุยบุรี 10

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี เมืองปราจีนบุรีหลังการปฏิรูปในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลก นาถ จึงเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นกับราชธานี ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือ ผู้รั้งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ ออกพระอุไทยธานี จากลักษณะทำเลที่ตั้งของเมืองปราจีน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ ใกล้กับประเทศกัมพูชา เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรี ในสมัยอยุธยาจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสงครามระหว่าง สองราชอาณาจักร โดยฝ่ายกัมพูชามักจะเป็นต้นเหตุซึ่งอาจ เนื่องมาจากกัมพูชาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักใหม่ จึงไม่ยอมรับอำนาจมากนัก ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเป็น ปึกแผ่นมั่นคงและขณะเดียวกันราชอาณาจักกัมพูชากลับ เสื่อมโทรมภายในมากขึ้น กัมพูชาจึงยอมรับราชอาณาจักร อยุธยาในฐานเจ้าประเทศราช กษัตริย์ กัมพูชาต้องมาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารหลายครั้ง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อกรุงศรีอยุธยา มีศึกติดพันกับพม่าหรือมีความอ่อนแอภายใน กัมพูชาก็ถือ โอกาสมากวาดต้อนผู้คนตามแนวชายแดนของราชอาณาจักร อยุธยาอย่างเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงยก ทัพไปตีกัมพูชาโดยใช้เส้นทางบก โดยยกทัพหลวงออกจาก กรุงศรีอยุธยามาทางตะวันออก ผ่านพิหานแดง (วิหารแดง) บา้ นนา เมอื งนครนายก ดา่ นกบแจะ (ประจนั ตคาม) ดา่ นหนมุ าน (กบินทร์บุรี) ด่านพระปรง (อ.เมืองสระแก้ว) ช่องตะโก ด่าน พระจารึกหรือพระจฤต (อรัญประเทศ – ตาพระยา) ตำบล ทำนบ อยู่ระหว่างเมืองอรัญประเทศและเมืองพระตะบอง ตำบลเพนียด เมืองประตะบอง เมืองโพธิสัตว์และเมืองละแวก ที่มา : ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี (http://www. prachinburi.go.th) 11

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 4. ปราจีนบุรีสมัยธนบุรี ในสมัยธนบุรีได้กล่าวถึงเมืองปราจีนเพียงว่าเป็นเมือง ที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ยกทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองจันทบุรี กล่าวคือเมื่อ พ.ศ. 2309 ขณะที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งเป็นพระยากำแพงเพชรทรง เล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะเป็นอันตราย จึงรวบรวมทหารไทย จีน ประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยอายุธออกไปตั้ง ณ วัดพิชัย พอฝนตกพระยากำแพงเพชรจึงนำกองทัพฝั่งกองทัพ พม่าออกมาจากวัดพิชัยเดินทัพต่อไป โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมือง จันทบุรี โดยเมืองปราจีนบุรีอยู่ในเส้นทางเดินทัพ ซึ่งตาม พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับจันทนุมาศ (เจิม) ได้กล่าว ไว้ว่า…เมื่อวันพุธขึ้นแปดค่ำ เดือนยี่ ยกกองทัพมาประทับที่ ตำบลหนองไม้ซุงตามทางหลวงนครนายก ประทับรอนแรม 2 วันถึงบ้านนาเริ่ง ออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีน ข้ามด่านกบและหยุดพักพลหุงอาหาร ณ ฟากตะวันออกแล้ว ยกข้ามไปจนถึงบ่าย 5 โมง ที่มา : ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี (http://www. prachinburi.go.th) 5. ปราจีนบุรีสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองปราจีนยังคงเป็นเมือง ผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกับกัมพูชา มีผู้คนอยู่อาศัย มากขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 12

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นหลาย เมือง เช่น เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร เป็นต้น ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองบางขนาก ขึ้นส่งผลให้การติดต่อระหว่างเมืองปราจีนบุรีและเมืองพระนคร สะดวกรวดเร็วขึ้น ต่อมาในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้าง ป้อมเมืองปราจีน แต่ได้ลงมือสร้างและแล้วเสร็จในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปราจีน เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ เพราะมีการค้นพบแหล่ง ทองคำที่เมืองกบินทร์บุรี มีการทำเหมืองทองคำ ต่อมาเมื่อ ปฏิรูปการปกครองจากระบบกินเมืองเป็นระบบเทศาภิบาล ได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการมณฑลปราจีน ส่งผลให้เมือง ปราจีนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคตะวันออก ครั้นเมื่อได้ย้ายที่ว่าการมณฑลปราจีนไปอยู่ที่เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้เมืองปราจีนลดความสำคัญลง ประกอบกับเส้นทาง คมนาคมเปลี่ยนไป คือมีการตัดเส้นทางรถไฟจากรุงเทพฯ ถึงเมืองฉะเชิงเทรามีคนจีนไปสร้างหลักแหล่งในฉะเชิงเทรา มากขึ้น มีโรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรา กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแทนเมืองปราจีนบุรี หลังจาก การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ 2475 ได้มีพระราช บัญญัติว่าด้วยการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2476 ให้มีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแบบผู้ว่าราชการ จังหวัด คณะกรรมการจังหวัด และสภาจังหวัด ส่งผลให้มณฑล เทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไป เมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็น 13

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออก “พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครอง บางจังหวัด พุทธศักราช 2485” ให้ยุบและรวมการปกครองจังหวัด สมุทรปราการ จังหวัดนครนายก จังหวัดสมุทรสาคร และ จังหวัดนนทบุรี ในส่วนของจังหวัดนครนายกนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง กับจังหวัดปราจีนบุรีโดยกำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 4 ให้ยุบจังหวัดนครนายกและให้รวมท้องที่ของ จังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี เว้นแต่ ท้องที่อำเภอบ้านนาให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัด สระบุรี การรวมท้องที่บางส่วนของจังหวัดนครนายกไว้ในเขต การปกครองของจังหวัดปราจีนบุรีส่งผลให้จังหวัดปราจีนบุรีที่ เดิมมีท้องที่กว้างขวางอยู่แล้ว ให้มีท้องที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น เกินกำลังจังหวัดจะรับผิดชอบ ทำให้การติดต่อดูแลทุกข์สุขของ ประชาชนและการปกครองของราษฎรไม่เป็นผลดีเหมือนเมื่อ นครนายกเป็นจังหวัดอยู่ กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอ ร่างหลักการ “พระราชบัญญัติสถาปนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489” โดยได้สอบถามจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี และในที่สุดรัฐบาลได้ออก “พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัด สมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัด นครนายก พ.ศ. 2489” โดยระบุในพระราชบัญญัติว่า มาตรา 6 ให้แยกอำเภอนครนายก อำเภอองครักษ์ และ อำเภอปากพลีออกจากการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี กับ ให้แยกอำเภอบ้านนาออกจากการปกครองของจังหวัดสระบุรี จัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้นเรียกว่าจังหวัดนครนายก ต่อมา พ.ศ. 2536 14

จังห วัดปราจีนบรุ ี กับใหแยกอํา เรียกวาจังหวัดนครนายก ตอ ม ข้อมูลแทั่วยไปกขอพงจื้นังหทวัด่ีอปรําาจเีนภบุรอี บางอําเภอ ไพดื้น้มทีกี่อาำรแเภบอ่งบเขาตงพอื้ำนเทภี่กอาไรปปอกยคู่ใรนอเงขจตังกหาวรัดปปกพรคราระจอรีนงาบขชุรอบที งโัญีม่ จดาังยญหแ:ัตวยปติัดกรัง้ ะจวงั ตั หคิ ววัดาสมรเะปแ สระแก้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536 สัญลกั ษณป ระจาํ จงั หวัดปรา ที่มา : ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี (http://www. prachinburi.go.th) 1. คําขวญั ของจังหวัดปราจนี ส ัญลักษณ์ประจำจังหวัดปราจีนบุรี “ศรีมหาโพธคิ์ บู า น ไ 1. คำขวัญของจังหวัดปราจีนบุรี “ศรมี หาโพธคิ์ บู่ า้ น ไผต่ งหวานคเู่ ม2อื .งตผรลาไปมรล้ ะอื จเําลจอ่ื งังหวดั ปราจนี บ เขตเมืองทวารวดี” เปนรูปตน โ 2. ตราประจำจังหวัดปราจีนบุรี ทางดานพทุ ทีส่ มณฑตู จ เป็นรูปต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ปลูกไว้ที่ ศรีมหาโพธ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ เป็น สัญลักษณ์ทางด้านพุทธศาสนาที่เชิดหน้า บาํ เพ็ญธรร ชูตาของจังหวัดปราจีนบุรี เพราะเชื่อกันบวูช่าาเกปร็นาตบ้นไหโพวธข ิ์ทอีง่ ราษฎรในทอ สมณฑูตจากอินเดีย ซึ่งมาเผยแพร่พระศาสนา เมื่อราว พ.ศ. 5เป00็นตได้น้นโำพพธันิ์ทธี่พุ์พรระะพศุทรีมธหเจา้าโพปธริ์ะมทาับจบากำพเพุท็ญธคธทยร่ีตารมงั้ปจแรนะลสเะทำสศเรภอ็จินาเเพปด็นียภ มู ศิ าสตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิน1.ี้เปพ็น้ืนทที่น่ี ับถือบูชา กราบไหว้ของราษฎรในท้องที่และต่างท้องที่ และมีกจางัรจหัดวงัดาปนราจีนบุรมี พี ้ืน นมัสการเป็นประจำทุกปี 15

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ 1. พ้ืนท่ี จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 4,762.362 ตาราง กิโลเมตร หรือ 2,976,475 ไร่ แยกเป็น 1.1 พื้นที่ป่าไม้ 1,327,718.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.61 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด 1.1.1 เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 7 ป่า จำนวน 386,928.69 ไร่ 1.1.2 ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย 3 ป่า จำนวน 931,720.06ไร่ คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาต ิ ปางสีดา 1.1.3 ป่าไม้ถาวรตามมติ ครม. จำนวน 4 ป่า พื้นที่ 9,070 ไร่ ได้แก่ป่าเขาใหญ่ ป่าทุ่งโพธิ์ ป่าห้วยไคร้ และที่ดินจัดสรรแปลงที่ 1 1.2 พื้นที่ทำการเกษตร 1,124,836 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 37.79 ของพื้นที่ทั้งหมด 2. ที่ต้ัง/อาณาเขต ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 13 องศา 39 ลิปดา ถึงละติจูดที่ 14 องศา 27 ลิปดา เหนือ และเส้นลองติจูดที่ 101 องศา 90 ลิปดา ถึงลองติจูดที่ 102 องศา 07 ลิปดาตะวันออกห่างจากกรุงเทพมหานคร 136 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 33,305 ใช้เวลา 16

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี เดินทางเพียง 1.30 ชั่วโมง เป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมจาก กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ประเทศกัมพูชา ในรัศมี 100 กว่ากิโลเมตร และ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ˝ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดนครราชสีมา ˝ ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสระแก้ว ˝ ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนครนายก ˝ ทิศใต้ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา 3. ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดปราจีนบุรีตอนบนเป็น ที่ราบสูง และป่าทึบสลับซับซ้อนมียอดเขาสูง 1,326 เมตร และ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำหลายสาย มีธรรมชาติที่สวยงาม ทิศเหนือเต็มไปด้วยเทือกเขา และตอนล่างเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง สูงกว่า ระดับน้ำทะเล 5 เมตร แม่น้ำปราจีนบุรี เกิดจากแควหนุมาน และแควพระปรงไหลมาบรรจบกันที่อำเภอกบินทร์บุรี และไหล ลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 4. ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน 4.1 ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดปราจีนบุรีมีภูมิอากาศร้อนชื้นแถว ศูนย์สูตร มีร้อนจัดในฤดูร้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และฤดูหนาวจะมีอากาศค่อนข้าง หนาว เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ในช่วงระหว่างพ.ศ.2545-2550 จะอยู่ในช่วง 21.16 - 37.01 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 16.4 องศาเซลเซียส เมื่อ เดือนมกราคม 2547 และอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 40.4 องศา เซลเซียส เมื่อเดือนเมษายน 2547 สำหรับพ.ศ.2551 อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 17.4 องศาเซลเซียส (เดือนมกราคม) อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 38.8 องศาเซลเซียส(เดือนเมษายน) 4.2 ปริมาณน้ำฝน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2545- 2550 จังหวัด ปราจีนบุรีมีปริมาณน้ำฝน อยู่ในช่วง 1,775.2-1,908.7 ม.ม. มี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,709.7 ม.ม./ปี และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 142.5 ม.ม./เดือน ฝนตกมากที่สุดใน พ.ศ.2550 วัดได้ 1,908.7 ม.ม. และมีจำนวนวันที่มีฝนตกเท่ากับ 129 วัน และปริมาณฝน ตกน้อยที่สุดใน พ.ศ.2547 วัดได้ 1,460.90 ม.ม. จำนวนวันที่มี ฝนตก จำนวน 107 วัน สำหรับ พ.ศ.2551 มีปริมาณน้ำฝน 1,931.7 ม.ม. จำนวนวันที่ฝนตก 130 วัน ที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยา ปราจีนบุรี 18

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี สภาพเศรษฐกิจ 1. สภาพทางด้านเศรษฐกิจ ในปี 2551 ผลิตภัณฑ์จังหวัดปราจีนบุรี (GPP) ราคา ประจำปี 2550 จำแนกตามสาขาการผลติ มมี ลู คา่ 74,333 ลา้ นบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 167,722 บาทต่อคนต่อปี จัดอยู่ใน ลำดับที่ 4 ของภาคตะวันออกและลำดับที่ 11 ของประเทศ เมื่อ เปรียบเทียบสาขาการผลิตต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า สาขาการผลิต ที่มีสัดส่วนสูงเป็นอันดับหนึ่งคือ สาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่า 36,763 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.46 รองลงมาคือ สาขาการ ขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล มีมูลค่า 18,127 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.39 และสาขาการผลิตภาคการเกษตร มีสัดส่วนเป็นอันดับที่ 3 มีมูลค่า 6,075 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.17 (รายละเอียด ดังตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ผลิตภัณฑ์จังหวัด ตามราคาประจำปี จำแนก ตามสาขาการผลติ จงั หวดั ปราจนี บุรี พ.ศ. 2550 สาขาการผลติ 2550*p สดั ส่วน (ล้านบาท) (รอ้ ยละ) ภาคเกษตร เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ 6,075 8.17 การประมง 5,043 6.78 ภาคนอกเกษตร 1,032 1.39 การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 68,258 91.83 191 0.26 19

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี สาขาการผลิต 2550*p สัดสว่ น (ลา้ นบาท) (ร้อยละ) การผลิตอุตสาหกรรม 36,763 49.46 การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา 1,217 1.64 การก่อสร้าง 899 1.21 การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 18,127 24.39 จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน โรงแรมและภัตตาคาร 311 0.42 การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม 1,274 1.71 ตัวกลางทางการเงิน 911 1.23 บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการ 1,144 1.54 ทางธุรกิจ การบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ 3,292 4.43 รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ การศึกษา 2,366 3.18 การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 907 1.22 การใหบ้ รกิ ารชมุ ชน สงั คม และบรกิ ารสว่ นบคุ คลอน่ื ๆ 842 1.13 ลกู จ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 13 0.02 ผลิตภัณฑ์จงั หวัด 74,333 100.00 มลู ค่าผลิตภัณฑ์เฉลยี่ ตอ่ คน (บาท) 167,722 ประชากร (1,000 คน) 443 ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดปราจีนบุรี 20

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 2. การประกอบอาชีพ 2.1 ด้านการเกษตร ในปีการเพาะปลูก 2550/2551 จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้นจำนวน 1,124,836 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 37.79 ของพื้นที่ทั้งหมด กระจายอยู่ในทุกอำเภอ พืชที่ ปลูกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ข้าว รองลงมาได้แก่ มันสำปะ หลัง อ้อยโรงงาน สวนผลไม้ และไม้ยืนต้นที่สำคัญคือไผ่ตง มะม่วง ส้มโอ และกระท้อน 2.1.1 ข้าวนาปี มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 607,528 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 599,993 ไร่ ผลผลิตรวม 257,568 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 429 กิโลกรัม 2.1.2 ข้าวนาปรัง มีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 39,949203 ไร่ ผลผลิตรวม 27,719 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 694 กิโลกรัม 2.1.3 มันสำปะหลัง มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 187,358 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 142,723 ไร่ ผลผลิตรวม 562,570 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 3,942 กิโลกรัม 2.1.4 อ้อยโรงงาน มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 22,016 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 8,536 ไร่ ผลผลิตรวม 84,933 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 9,954 กิโลกรัม 2.1.5 ไผ่ตง มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 46,196 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 44,271 ไร่ ผลผลิตรวม 76,317 ตัน ผลผลิต เฉลี่ยไร่ละ 1,724 กิโลกรัม 21

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี 2.1.6 มะม่วง มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 20,740 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 17,586 ไร่ ผลผลิตรวม 27,231 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,548 กิโลกรัม 2.1.7 ส้มโอ มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 8,415 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 6,060 ไร่ ผลผลิตรวม 8,678 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย ไร่ละ 1,432 กิโลกรัม 2.1.8 กระท้อน มีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 5,591 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 5,068 ไร่ ผลผลิตรวม 11,215 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 2,213 กิโลกรัม 2.2 ด้านประมง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่จังหวัด แยกเป็นสัตว์ น้ำจืดที่เลี้ยงในบ่อ จำนวน 3,905 ราย เนื้อที่ 18,893 ไร่ ผลผลิต 15,257 ตัน มูลค่า 423 ล้านบาท และเลี้ยงในกระชัง จำนวน 226 ราย เนื้อที่ 20.21 ไร่ ผลผลิต 2,871 ตัน มูลค่า 125 ล้านบาท กุ้งทะเล(กุ้งขาว) จำนวน 1,009 ราย เนื้อที่ 10,722 ไร่ ผลผลิต 10,959 ตัน มูลค่าประมาณ 734 ล้านบาท ปริมาณมีปริมาณการจับสัตว์น้ำจืดจากแหล่งธรรมชาติ จำนวน 1,394 ตัน มูลค่าประมาณ 52 ล้านบาท โดยกระจายในทุก อำเภอ ชนิดของสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงและการจับจากแหล่ง น้ำธรรมชาติ ได้แก่ กุ้งขาว ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาดุก ปลาสวายกุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย ปลากดเหลือง ปลาเนื้ออ่อน ฯลฯ 22

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 2.3 ด้านปศุสัตว์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 จังหวัดปราจีนบุรี มีการเลี้ยงสัตว์โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม มีเลี้ยงเป็นอาชีพหลักอยู่บ้างในรายที่เลี้ยงเป็นระบบฟาร์มปิด มีการกระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอ ดังนี้ 2.3.1 ระบบฟาร์มปิด มีทั้งสิ้น 518 ฟาร์ม และที่ เลี้ยงมากที่สุดคือฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อซึ่งมีถึง 299 ฟาร์ม รองลงมา คือฟาร์มเป็ดเนื้อ จำนวน 87 ฟาร์ม และฟาร์มเลี้ยงสุกร จำนวน 79 ฟาร์ม ส่วนที่เลี้ยงน้อยที่สุดคือฟาร์มโคนม อำเภอที่มีการ เลี้ยงสัตว์ในระบบฟาร์มระบบปิดมากที่สุดคืออำเภอกบินทร์บุรี รองลงมาคืออำเภอศรีมหาโพธิ มีจำนวน 188 และ 117 ฟาร์ม ตามลำดับ และอำเภอที่เลี้ยงน้อยที่สุดคือ อำเภอบ้านสร้างที่มี เพียง 6 ฟาร์ม จำนวนสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มมาตรฐาน มีทั้งสิ้น 15,996,750 ตัว ที่เลี้ยงมากที่สุดคือไก่เนื้อ จำนวน 11,025,581 ตัว รองลงมาคือไก่ไข่ จำนวน 2,542,100 ตัว ไก่พันธุ์เนื้อจำนวน 1,220,516 ตัว และน้อยที่สุดคือ โคนม 19 ตัว อำเภอที่เลี้ยงมาก ที่สุดคือ กบินทร์บุรี จำนวน 5,800,096 ตัว รองลงมาคือ อำเภอ ศรีมหาโพธิ จำนวน 1,789,500 ตัว และศรีมโหสถ จำนวน 1,934,575 ตัว อำเภอที่เลี้ยงน้อยที่สุด คืออำเภอบ้านสร้าง ที่มี เพียง 308,000 ตัว 2.3.2 เลี้ยงสัตว์ในเกษตรกรรายย่อย มีผู้นิยม เลี้ยงมากที่สุดคือ ไก่พื้นเมือง จำนวน 11,378 ราย รองลงมาคือ โคเนื้อ 3,356 ราย กระบือ 1,107 ราย และที่น้อยที่สุดจำนวน 24 ราย 23

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรีมีการเลี้ยงโคกระบือมากที่สุด รองลงมาที่อำเภอประจันตคามและอำเภอเมืองปราจีนบุรี นอกจากนั้นเลี้ยงกันไม่มาก ส่วนสุกรในรายย่อยเลี้ยงที่อำเภอ บินทร์บุรีมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอบ้านสร้าง ส่วนอำเภอ อื่น ๆ มีเพียงเล็กน้อย สำหรับไก่พื้นเมืองเลี้ยงกระจายทั่วไป 2.3.3 โรงงานผลิตอาหารสัตว์ มีอยู่ที่อำเภอ กบินทร์บุรี จำนวน 1 แห่ง 2.3.4 ร้านขายอาหารสัตว์ ในจังหวัดปราจีนบุรี มีจำนวน 59 ร้าน กระจายตามอำเภอต่างๆ และที่มากที่สุดคือ อำเภอกบินทร์บุรี และที่น้อยที่สุดคือ อำเภอประจันตคามและ อำเภอศรีมโหสถ 2.3.5 จำนวนโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับใบอนุญาต แยก เป็นโรงฆ่าสุกร จำนวน 7 แห่ง โรงฆ่าโค-กระบือ จำนวน 4 แห่ง และโรงฆ่าสัตว์ปีกที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 7 แห่ง สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดได้ทำการตรวจติดตามคุณภาพมาตรฐานฟาร์ม โรงงานผลิตอาหารสัตว์, ร้านขายอาหารสัตว์และโรงฆา่ สตั ว์ ทกุ 6 เดอื น เพอ่ื รกั ษามาตรฐาน และความปลอดภัยของผู้บริโภค 2.4 ด้านอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จังหวัดปราจีนบุรี ตามราคาประจำปี 2550 จำแนกตามสาขาการผลิต มีมูลค่าเท่ากับ 74,333 ล้านบาท และมูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อคน มีมูลค่าเท่ากับ 167,722 บาท เมื่อเปรียบเทียบสาขาการผลิตต่าง ๆ จะเห็น ได้ว่าสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงเป็นอันดับหนึ่ง 24

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี คิดเป็นร้อยละ 49.46 มีมูลค่า 36,763 ล้านบาท รองลงมา คือ สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 24.39 มีมูลค่า 18,127 ล้านบาท และสาขาการผลิตภาค การเกษตร มีสัดส่วนเป็นอันดับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 8.17 มี มูลค่า 6,075 ล้านบาท ส่วนสาขาการผลิตที่มีสัดส่วนต่ำที่สุดคือ ลกู จ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 0.02 เท่านั้น สาขาการผลิตที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ภาค เกษตร การผลิตอุตสาหกรรม และการขายส่ง ขายปลีก ในช่วง ปี 2546-2550 ภาคเกษตรกรรมมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง แต่มี แนวโน้มสูงขึ้นในปี 2550 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.64 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน มีการขยายตัวในอัตรา ที่ลดลง เนื่องจากภาคเศรษฐกิจตกต่ำตั้งแต่ปี 2544 ที่ประเทศ ไทยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบไปทั่วโลกสำหรับ ปี 2550 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.87 จะมีแต่สาขา การขายส่ง การขายปลีก มีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มลดลงในปี 2550 โดยมีอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 12.03 2.5 ด้านการท่องเที่ยว จังหวัดปราจีนบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมที่ทางจังหวัดร่วมกันจัดขึ้นเป็น ประจำทุกปี ในปี 2548 ด้านการท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้จาก 25

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี การท่องเที่ยวถึง 9,400 ล้านบาทต่อปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมา เที่ยวที่จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน157,820 คน และมีนักท่องเที่ยว เข้าพักในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 30,800 คนต่อปี (ที่มา: ศูนย์ท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการจังหวัดปราจีนบุรี) แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรี มีดังนี้ 2.5.1 ทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน ตั้งแต่ สมยั ทวารวดอี ายกุ วา่ 1,500 ปี ไดแ้ ก่ โบราณสถานเมอื งศรมี โหสถ โบราณสถานสระมรกต พระพุทธรูปทวารวดี ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ โบราณสถานพานหินโบราณสถานหลุมเมือง รอยพระพุทธบาท คู่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด คูเมืองศรีมโหสถ วัดแก้วพิจิตร วัด สง่างาม ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด วัดท้าวอู่ทอง ศาลสมเด็จพระนเรศวร วัดโบสถ์ อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 พิพิธภัณฑ์พระครูอุทัยธรรมบาลี บ่อน้ำ โบราณหัวซา อนุสาวรีย์ลายฝีพระหัตถ์ แหล่งเหมืองทองตำบล บ่อทอง อนุสาวรีย์พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) วัดบางกระเบา พิพิธภัณฑ์วัดบางแตน 2.5.2 ทางธรรมชาติ มีน้ำตกมากมายหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกทับลาน อ่างเก็บน้ำทับลาน น้ำตกห้วยใหญ่ น้ำตก สวนห้อม น้ำตกตะคร้อ น้ำตกสลัดได น้ำตกเหวนรก น้ำตก วังเหว น้ำตกเหวนรก น้ำตกธารทิพย์ น้ำตกส้มป่อย น้ำตกเหวอี่ อ่ำ น้ำตกตาขนดำ น้ำตกเขาอีโต้ จุดชมวิวเขาอีโต้ ชมนกเป็ด น้ำหนองปลาแขยง ชมค้างคาวแม่ไก่วัดบางกระเบา การล่อง แก่งหินเพิง หาดทรายทอง การปีนเขาและโรยตัวจากหน้าผา ทะเลหมอก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน 26

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี อุทยานแห่งชาติปางสีดา เนินพิศวงสวนพันธุ์ไม้ไผ่ปราจีนบุรี ล่องแพแม่น้ำปราจีนบุรี สวนนกวัดสันทรีย์ 2.5.3 งานประจำปี ได้แก่ งานมาฆะปูรมีศรี ปราจีน แห่บั้งไฟ แข่งเรือยาวประเพณี งานวันเกษตรและของดี เมืองปราจีน งานสินค้าอุตสาหกรรมปราจีนบุรี นมัสการหลวง พ่อทวารวดี ปราสาทดอกผึ้ง 2.5.4 แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ สวน นงนุช โครงการสมุนไพรพื้นบ้าน อาหารชุมชน ตำบลกบินทร์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภเู บศร์ 2.5.5 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ เส้นทาง สวนพันธุ์ไผ่ เส้นทางผลไม้ตำบลท่าพระ เส้นทางหมู่บ้าน สมุนไพร เส้นทางการเพาะชำต้นไม้ประดับ โครงการพัฒนา ส่วนพระองค์ ตำบลบางแตน สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม 1. ด้านการศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่มีการจัดการเรียน การสอนหรือมีสถานศึกษาในทุกระดับตั้งแต่ระดับก่อนประถม ศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา มีแหล่งพัฒนาความรู้และทักษะ ในการศึกษาสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน ประชาชนชาวปราจีนบุรีจึงมีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาในระดับ สูงค่อนข้างมาก สถานศึกษาของจังหวัดปราจีนบุรี แบ่งเป็น สังกัด ดังนี้ 27

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 1.1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ข้ันพื้นฐาน การบริหารและการจัดการศึกษาในรูปแบบ ของเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และพระราช บัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ที่มีเจตนารมณ์ให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการ จัดการศึกษาจากส่วนกลางมาให้หน่วยงานที่มีหน้าที่บริหาร และจัดการศึกษาโดยตรง และตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ เรื่องแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้ เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรีมีสถานศึกษาในสังกัด ได้แก่โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (เดิม) และโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดกรมสามัญศึกษา(เดิม) เปิดสอนระดับประถมวัยถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา ออกเป็น 2 เขต ดังนี้ 1.1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 มีสถานศึกษาในสังกัดจำนวน 146 แห่ง 1 สาขา ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ดังนี้ เมือง บ้านสร้าง ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ และศรีมโหสถ 28

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 1.1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 มีสถานศึกษาในสังกัดจำนวน 121 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอต่างๆ ดังนี้ กบินทร์บุรี และนาดี 1.2 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ ปัจจุบัน การจัดการศึกษาเอกชนมีกฎหมาย ควบคุมหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ อีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีมาตรฐาน แต่จะเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาความก้าวหน้าของโรงเรียนในหลาย ๆ ด้าน โรงเรียนเอกชนในส่วนภูมิภาค ซึ่งเดิมมีสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัด/อำเภอเป็นหน่วยงานควบคุมกำกับ หลังจาก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มีผลบังคับใช้ มีการยุบรวมสำนักงานการประถม ศึกษาจังหวัด/อำเภอ และสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด เป็น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนเอกชนในส่วนภูมิภาค จึงอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น “ผู้อนุญาต” ตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งสถาน ศึกษาเอกชนในจังหวัดปราจีนบุรี มีทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ดังนี้ 1.2.1 สถานศึกษาเอกชนในระบบโรงเรียน ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 15(1) ได้แก่โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการหรือหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวง 29

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาธิการและจัดเป็นรูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งมี ทั้งโรงเรียนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา เปิดสอน ระดับปฐมวัยถึงประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยมีโรงเรียน 26 แห่ง 1.2.2 สถานศึกษาเอกชน ตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 15(2) ได้แก่โรงเรียนที่ จัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือ หลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการและจัดเป็น รูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งในจังหวัดมีโรงเรียน เอกชนนอกระบบที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งอย่างถูกต้องตาม กฎหมาย จำนวน 7 แห่ง 1.3 สังกัดสำนักงานการศึกษาท้องถ่ิน จำนวน 14 แห่ง ดังนี้ 1.3.1 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเทศบาล จำนวน 8 แห่ง อยู่ในเขตอำเภอเมืองปราจีนบุรี จำนวน 6 แห่ง อำเภอกบินทร์บุรี จำนวน 2 แห่ง 1.3.2 สถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด จำนวน 6 แห่ง อยู่ในเขตอำเภอเมืองปราจีนบุรี จำนวน 3 แห่ง อำเภอกบินทร์บุรี จำนวน 2 แห่ง และอำเภอ นาดี จำนวน 1 แห่ง 1.4 โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 แห่ง คือโรงเรียนโสตศึกษา จังหวัด เปิดสอนระดับประถมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 30

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 1.5 โ ร ง เ รี ย น สั ง กั ด ศู น ย์ บ ริ ก า ร ก า ร ศึ ก ษ า น อ ก โรงเรียน จำนวน 7 แห่ง คือศูนย์บริการการศึกษานอก โรงเรียนอำเภอทั้ง 7 อำเภอ โดยได้เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถม ศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดได้ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษา อาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอนประเภทอาชีวศึกษา หรือการ ส่งเสริมวิชาชีพ ประกอบด้วย 1.6.1 สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.)และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัย สารพัดช่างปราจีนบุรี วิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี วิทยาลัย เทคนิคบูรพาปราจีนบุรี (เดิมชื่อวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน แห่งที่ 2) 1.6.2 โรงเรียนเอกชน ที่จัดการศึกษาระดับ อาชีวศึกษา มีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนพาณิชยการ ปราจีนบุรี โรงเรียนเทคโนโลยีนครกบินทร์ โรงเรียนเทคนิค พาณิชยการกบินทร์บุรี และโรงเรียนสายมิตรเทคโนโลยี 1.7 สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จังหวัดปราจีนบุรี มีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ในระดับอุดมศึกษา จำนวน 3 แห่ง คอื มหาวิทยาลัยรามคำแหง 31

นักการเมืองถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี วิทยาเขตปราจีนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต วิทยาเขตปราจีนบุรี เปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาโท ในปีการศึกษา 2551 จังหวัดปราจีนบุรี มีสถาน ศึกษารวมทั้งสิ้น 327 แห่ง 1 สาขา โดยมีจำนวนนักเรียน/ นักศึกษา ห้องเรียน และครู/อาจารย์ ดังนี้ * มีนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 97,022 คน * มีห้องเรียน จำนวน 3,975 ห้อง * แยกเป็นระดับการศึกษา ดังนี้ - ระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 14,520 คน - ระดับประถมศึกษา จำนวน 39,929 คน - ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 36,096 คน มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 20,856 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 8,584 คน (สายสามัญ) มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6,656 คน (สายอาชีพ) - ระดับอุดมศึกษา จำนวน 6,477 คน อนุปริญญา จำนวน 3,258 คน ปริญญาตรี จำนวน 2,852 คน ปริญญาโท จำนวน 367 คน * จำนวนครู/อาจารย์ จำนวน 4,943 คน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี) 32

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 2. ด้านศาสนา 1.1 ศาสนาพุทธ ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัด ร้อยละ 98 นับถือศาสนาพุทธ จังหวัดปราจีนบุรีมีวัดเป็นจำนวนมากถึง 376 วัด เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ของจังหวัดที่มีเนื้อที่ 4,762.36 ตารางกิโลเมตร จังหวัดปราจีนบุรีมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมและ บาลีจำนวน 242 แห่ง โดยกระจายในทุกอำเภอ ส่วนโรงเรียน พระปริยัติธรรมสายสามัญมีเพียงแห่งเดียวคือที่วัดแจ้ง อำเภอประจันตคาม ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 1.2 ศาสนาคริสต์ นอกจากศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาหลักของ ชาวจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ยังมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวน 8,641 คน คิดเป็นร้อยละ 1 ของจำนวนประชากร โดยมีผู้นับถือ ศาสนาคริสต์มากที่สุดที่อำเภอเมือง รองลงมาคืออำเภอ กบินทร์บุรี และอำเภอศรีมโหสถ ตามลำดับ โดยแบ่งเป็น 2 นิกาย ดังนี้ 1.2.1 นิกายคาทอลิก มีโบสถ์คาทอลิก จำนวน 5 แห่ง ที่อำเภอเมือง จำนวน 2 แห่ง อำเภอกบินทร์บุรี จำนวน 1 แห่ง อำเภอศรีมโหสถ จำนวน 1 แห่ง และอำเภอบ้านสร้าง จำนวน 1 แห่ง รวมมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก จำนวน 7,879 คน 33

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี 1.2.2 น ิ ก า ย โ ป แ ต ส แ ต น ท ์ ม ี ค ร ิ ส ต จ ั ก ร โปแตสแตนท์ จำนวน 1 แห่ง ที่อำเภอนาดี มีผู้เผยแพร่ศาสนา จำนวน 6 คน และมีผู้นับถือศาสนา จำนวน 762 คน 1.3 ศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นจังหวัดปราจีนบุรียังมีผู้นับถือศาสนา อิสลามจำนวน 1,271 คน มัสยิดจำนวน 2 แห่ง โต๊ะอิหม่าม จำนวน 2 คน คอเต็บจำนวน 2 คน และบิหลั่นจำนวน 2 คน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอศรีมหาโพธิ 3. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี จังหวัดปราจีนบุรีมีส่วนราชการ หน่วยงานและองค์กร ภาคเอกชน ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั งานทางศลิ ปะและวฒั นธรรมจำนวนมาก และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน มากมาย 34

ท่ี งานประเพณ ี สถานที่จัดงาน ชว่ งระยะเวลา รายละเอยี ด และความเปน็ มา 1. ทำบุญ วันขึ้นปีใหม่ ในการจัดงาน 2. สู่ขวัญข้าว 3. ผีปู่ตาบ้าน สนามกีฬาต้านยาเสพติด วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นการทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ข้างศาลพระหลักเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่แบบสากล อ.เมืองฯ จ.ปราจีนบุรี ต.นนทรี วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของ เป็นการเรียกขวัญแม่โพสพและเพื่อเป็น อ.กบินทร์บุรี ทุกปี สิริมงคลของเกษตรกรผู้ปลกู ข้าว จ.ปราจีนบุรี ต.โคกปีบ ประมาณวันที่ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป อ.ศรีมโหสถ 12 พฤศจิกายนของทุกปี แล้ว ดวงวิญญาณยังคงอยู่คอยดูแลปกปัก จ.ปราจีนบุรี รักษาลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข จึงจัดให้มี พิธีการเลี้ยงผีปู่ตาบ้านเพื่อเป็นการแสดง ความกตัญญ ู ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 35

นักการเมืองถ่ินจังหวัดปราจีนบุรี ท ่ี งานประเพณ ีสถานทีจ่ ดั งาน ช่วงระยะเวลา 36 ในการจัดงาน 4. พิธีกรรม การเล่นผีโรง ลานกลางหมู่บ้าน วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 รายละเอยี ด และความเป็นมา แปลงประดู่ หมู่ 2 ของทุกปี ต.หนองโพรง เป็นพิธีกรรมที่มีผลทางด้านจิตใจของชาวไทย อ.ศรีมหาโพธิ เชื้อสายเขมร บูชาครูผีและคณะตามที่ได้ จ.ปราจีนบุรี บนบาน หรือขอให้สมหวังในการงานหรือ หายจากการเจ็บป่วย จึงนำของมาบูชาทุกๆ 5. งานเทศกาลมาฆปูรมี วัดสระมรกต สัปดาห์วันมาฆบชู า ปี ญาติพี่น้องจะมาพร้อมหน้ากันในวันนี้ ศรีปราจีน ต.โคกไทย ประมาณ 10 วัน เหมือนหนึ่งเป็นวันรวมญาติและรับพรจาก อ.ศรีมโหสถ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ครผู ีและคณะ 6. บุญข้าวหลาม จ.ปราจีนบุรี เริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อ วัดที่อยู่ในหมู่บ้านต่างๆ เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและส่งเสริม ใน ต.โคกไทย กิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ อ.ศรีมโหสถ ต.หัวหว้า จังหวัด และต.ดงกระทงยาม เป็นการทำบุญวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของ อ.ศรีมหาโพธิ ประชาชนชาวไทยเชื้อสายพวน

ที่ งานประเพณ ี สถานท่ีจดั งาน ช่วงระยะเวลา รายละเอยี ด และความเป็นมา 7. วันสงกรานต์ ทุกอำเภอ ในการจัดงาน ในจังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่แบบไทย มีความหมาย 8. เลี้ยงผีกลางทุ่ง 13-15 เมษายนของทุกปี ต่อสมาชิกในครอบครัว ร่วมทำบุญตักบาตร หมู่บ้านบริเวณวัดแจ้ง ร ด น ้ ำ ข อ พ ร ผู ้ ใ ห ญ ่ เ พ ื ่ อ เ ป ็ น 9. งานนมัสการ ต.หน้าเมือง อ.เมือง หลังจากการทำบุญ สิริมงคล ต้นโพธิ์ศรี-มหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี วันสงกรานต์ ชาวบ้านมีความเชื่อต่อกันมาว่า การเลี้ยงผี จะทำให้คนในหมู่บ้านปลอดภัยไม่เจ็บป่วย 10. ก่อพระเจดีย์ทราย วัดต้นโพธิ์ หมู่ 6 กลางเดือนเมษายน ไม่มีเคราะห์ร้ายและทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ ของทุกปี มีพิธีสงฆ์มีการเข้าร่างทรง และทำบัด จ.ปราจีนบุรี เดือนเมษายนของทุกปี แพเลี้ยงผี บ้านหนองเอี่ยน หมู่ 1 เป็นการบูชาต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ต.นาแขม อ.กบินทร์บุรี องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นสิริมงคล จ.ปราจีนบุรี เป็นประเพณีดั้งเดิมของหมู่บ้านหนองเอี่ยน เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งน้ำลง ชาวบ้านจะ ประกอบพิธีก่อพระเจดีย์ทรายบริเวณกลาง หาด ริมแม่น้ำแควหนุมาน ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดปราจีนบุรี 37


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook