Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 38นักการเมืองถิ่นนครนายก

38นักการเมืองถิ่นนครนายก

Published by Meng Krub, 2021-06-09 13:02:11

Description: เล่มที่38นักการเมืองถิ่นนครนายก

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ต่อมาได้ริเริ่มตั้งโรงพยาบาลสงเคราะห์หญิงมีครรภ์และ บุตร บริบาลทารกสงเคราะห์เพื่อให้ได้พลเมืองแข็งแรง มีคุณภาพดีเป็นกำลังของชาติ โดยเฉพาะการตั้งโรงพยาบาล หญิงเมื่อ พ.ศ.2493 จนขยายไปถึงโรงพยาบาลเด็กรวมเรียกกัน ในปัจจุบันว่า “โรงพยาบาลราชวิถี” แล้วเริ่มระบบงานอาสา สมัครช่วยทำงานในโรงพยาบาลดังกล่าวแพร่ไปถึงโรงพยาบาล อื่นๆ สืบต่อไปจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นท่านผู้หญิงยังสงเคราะห์ให้หญิงชายที่ร่วม ชีวิตกันได้ก่อสร้างตัวเป็นครอบครัวที่ดี เพื่อรักษาประเพณี อันดีงามของไทย โดยการตั้งองค์การส่งเสริมการสมรสเป็น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2486 จัดพิธีสมรสหมู่ ณ ทำเนียบรัฐบาล แล้วจัดพร้อมกันทั่วทุกจังหวัดในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2478 ทั้งนี้พิธีดังกล่าวได้ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีสโมสรสำนักวัฒนธรรม หญิงเป็นผู้จัดทุกปี พ.ศ.2496 ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามได้ประสาน งานเกี่ยวกับการจัดงานวันแม่ต่อจากกระทรวงสาธารณสุข ที่ริเริ่มไว้ตั้งแต่พ.ศ.2486 โดยมีวัตถุประสงค์ให้ลูกได้ระลึกถึง พระคุณแม่ แสดงความรักกตัญญูกตเวทีบูชาพระคุณแม่ ให้แม่ ได้ตระหนักในหน้าที่ของแม่เพื่ออบรมลูกให้เป็นพลเมืองดี ท่านผู้หญิงได้แต่งกลอนยกให้ดอกมะลีเป็นดอกไม้บูชา ปัจจุบัน สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยได้ดำเนินการจัดงาน วันแม่ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม 134

ภาพรวมของ”การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถ่ิน” ราชินีนาถ คือวันที่ 12 สิงหาคม โดยกำหนดให้ดอกมะล ิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ต่อมาท่านผู้หญิงยังจัดตั้งสหพันธ์กรรมกรหญิงเพื่อ ช่วยเหลือกรรมกร อาทิ ช่วยเหลือสมาชิกเมื่อเจ็บป่วย มีครรภ์ หรือถึงแก่กรรม สมาชิกเสียค่าบำรุงเพียงเดือนละ 1 บาท และพ.ศ. 2494 เปิดโรงเรียนส่งเสริมอาชีพ เช่น สอนตัดเสื้อ ทำอาหาร ตัดผม ฯลฯ ส่งเสริมอาชีพพิเศษเพื่อช่วยเหลือ ครอบครัวโดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมประชาสงเคราะห์ และกรมอาชีวศึกษา และได้ก่อตั้งโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ถนนดินแดง เพื่อให้ลูกกรรมกรได้ศึกษาเล่าเรียนโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย โรงเรียนดังกล่าวยังดำเนินงานต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นท่านผู้หญิงละเอียดยังส่งเสริมสถานภาพ ของสตรีไทยในด้านการเมือง เช่น เสนอให้เลิกกฎ ก.พ. บางอย่างที่จำกัดความก้าวหน้าของสตรีผู้มีความรู้สูง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายเรื่องครอบครัว สนับสนุนให้ก่อตั้งศาลคดีเด็ก และเยาวชนกลาง เป็นต้น ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามเป็นสตรีไทยคนหนึ่ง ที่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภา เป็นวุฒิสมาชิกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2492 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการเปิดเผยรายงานการประชุมลับระหว่าง พ.ศ.2492- 2494 135

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ภาพที่ 4-1 จานทแี่ จกในสมัยทีท่ ่านผ้หู ญงิ ละเอียด พิบลู สงครามสมัครรบั เลือกตัง้ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามได้สมัครเลือกตั้ง เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก โดยได้รับเลือกเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 แม้มีระยะเวลาเพียง 7 เดือน เศษ พระครูวิริยานุโยค เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลอง ได้กรุณาให้ สัมภาษณ์เล่าเหตุการณ์บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้ง ในยุคนั้นว่า “ท่านผู้หญิงละเอียดไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัด นครนายก แต่ที่ท่านได้รับการเลือกตั้งในสมัยนั้นเพราะเป็น ภรรยาท่านผู้นำฯ วิธีการหาเสียงตอนนั้นก็ใช้การแจกสิ่งของ ยังมีหลักฐานเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดฝั่งคลองนี้ คือ จานที่มี ลายเซ็นจอมพล ป.พิบูลสงครามแจกให้ประชาชน” (พระคร ู วิริยานุโยค, สัมภาษณ์, 1 ตุลาคม 2554) ในฐานะผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก ท่านตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา 136

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จึงให้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนในโรงเรียนรัฐบาล 3 แห่ง คือ โรงเรียนสตรีนครนายก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนครนายกวิทยาคม) สร้างอาคารเรียนตึก 2 ชั้นพร้อมหอประชุมซึ่งยังใช้ประโยชน์ จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนสาลิกาเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สร้าง อาคารเรียนตึก 2 ชั้น และโรงเรียนองครักษ์สร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้วเนื่องจากผุพัง ส่วนโรงเรียน เอกชน เช่น โรงเรียนนายกวัฒนากร วัดอุดมธานี สร้างเป็น อาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 2 หลัง พร้อมบ้านพักครู 1 หลัง โรงเรียนนายกวัฒนากรวัดทองย้อย สร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 2 หลัง แต่ปัจจุบันเหลืออาคารเพียง 1 หลัง เนื่องจาก ชำรุดทรุดโทรมมากจึงรื้อถอนไป 1 หลัง ส่วนด้านต่างประเทศนั้นท่านผู้หญิงได้เผยแพร่ความ สามารถของสตรีไทยทั้งได้รับเลือกเป็นผู้ก่อตั้งสมาคม สหประชาชาติแห่งประเทศไทย เป็นประธานคนแรกใน คณะกรรมการบริหารและใน พ.ศ.2479 ได้รับเลือกเป็นประธาน สหพันธ์สมาคมสหประชาชาติแห่งโลกอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น ท่านผู้หญิงและคณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปเยี่ยมสมาคม สหประชาชาติเยอรมันตะวันตกตามคำเชิญของสมาคม ซึ่งท่านผู้หญิงได้ปฏิบัติหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ประเทศไทย ให้ชาวโลกรู้จักอย่างแท้จริง ในบั้นปลายชีวิตของท่านผู้หญิงนั้นได้รับพระมหา กรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้าฯ ฝ่ายในอันมีเกียรติสูงยิ่ง ด้วยได้ประกอบ คุณงามความดีบำเพ็ญกุศลทั้งทางพระพุทธศาสนา และ 137

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม อาทิ ก่อตั้งมูลนิธิจอมพล ป. พิบูลสงคราม สนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยทั่วไป และบริจาคสิ่งของส่วนตัวของสามีซึ่งมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ เช่น หนังสือสั่งการเครื่องราชอิสริยาภรณ ์ ต่างประเทศ คทาจอมพลของที่ระลึกต่างๆ ที่ได้รับจากประมุข ต่างประเทศ ฯลฯ มอบให้แก่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดเป็นห้องพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาต่อไป ทา่ นผหู้ ญงิ ละเอยี ดถงึ แกอ่ นจิ กรรมเมอ่ื วนั ท่ี 3 พฤษภาคม พ.ศ.2527 ทั้งนี้ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่กุลสตรีครบถ้วน และเป็น สตรีผู้นำที่ประกอบคุณงามความดีเพื่อส่วนรวม ผลงานของ ท่านย่อมเป็นเครื่องเตือนใจและเป็นบทเรียนที่ดีแก่ผู้สืบสกุล ตลอดจนเยาวชนรุ่นหลังได้ยึดเป็นแบบฉบับในการบำเพ็ญกิจ เพื่อประโยชน์ตนและประเทศชาติสืบไป (ศาสตราจารย์พันตรี หญิงคุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ, 2540, 578-587.) นายดุสิต บุญธรรม เดิมชื่อ “สำเภา” เกิดเมื่อพ.ศ.2457 ณ บ้านตลาดโพธิ์ บริเวณสันคูเมืองเดิมหรือข้างห้องสมุดประชาชนจังหวัด นครนายกในปัจจุบัน เป็นบุตรของขุนวังกระโจมเจษฎ์ (เผือน บุญธรรม) ซึ่งเป็นกำนันตำบลวังกระโจม อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก และนางลาก บุญธรรม (สกุลเดิมรังสิกุล) มีพี่สาว 4 คน (ใช้นามสกุลสามี คือ สกุลบุญฑาทิพย์ เรืองวุฒิ และจิตศิริ) พ.ศ.2501 สมรสกับนางสาวสุธา ตัณฑสวัสดิ์ มีธิดา 1 คน คือ นางสาวสุชาดา บุญธรรม 138

ภาพรวมของ”การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถ่ิน” สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนประจำจังหวัดนครนายก “นาครส่ำสงเคราะห์” เมื่อ พ.ศ. 2473 และ พ.ศ. 2475 สำเร็จ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร และ พ.ศ.2476-2479 สอบชิงทุนเล่า เรียนหลวงไปศึกษาที่ประเทศฟิลิปปินส์ จนสำเร็จปริญญาตรี ด้านเกษตรกรรม (B.S.C. Agriculture) มีความรู้ภาษาอังกฤษ ดีมาก ส่วนการทำงานนั้นเป็นข้าราชการประจำกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ. 2480-2487 และ พ.ศ.2488-2490 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี (เนื่องจาก ขณะนั้นจังหวัดนครนายกถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและ สระบุรีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2486 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2489) และดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวง พาณิชย์ เป็นผู้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 เป็นที่พอใจแก่ชาวนครนายก อย่างยิ่งที่ได้กลับเป็นจังหวัดนครนายกดังเดิม นอกจากนั้น ยังเสนอพระราชบัญญัติยกเลิกภาษีล้อเกวียน แห อวน เป็นที่ พอใจแก่เกษตรกรทั่วประเทศ พ.ศ. 2491-2494 รับราชการในกระทรวงพาณิชย์ และ ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกอีกครั้งเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2500 วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2500 ได้สนับสนุนช่วยเหลือในการ ตั้งโรงเรียนมัธยมอำเภอปากพลี จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 139

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก นครนายก และการของบประมาณสร้างอาคารเรียนตึก 3 ชั้นให้ แก่โรงเรียนนาครส่ำสงเคราะห์เป็นผลสำเร็จ เมื่อ พ.ศ.2502-2505 เป็นข้าราชการต่างประเทศพิเศษ ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ได้เขียนหนังสือมหาสังเวชนียสถานตามประสบการณ์ที่ได้พบ ทั้งเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าขาออก พ.ศ.2506 เป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2508 ได้รับ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิกเมื่อพ.ศ.2510 เป็นกรรมการ บริษัทไทยแคน จำกัด เมื่อพ.ศ.2512 เป็นกรรมการปุ๋ยเคม ี แห่งชาติ พ.ศ.2513 จนเกษียณราชการเมื่อ พ.ศ.2518 แล้ว ได้เขียนและแปลหนังสือหลายเรื่อง ผลงานที่ปรากฏส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับจังหวัดนครนายก เช่น นำเสนอพระราชบัญญัติ ในการจัดตั้งจังหวัดนครนายกให้คงสภาพจังหวัดดังเดิม เมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่า “นาครส่ำสงเคราะห์” เป็นคนแรก เป็นผู้ก่อตั้ง “สมาคม ชาวนครนายก” และช่วยเหลือสนับสนุนจัดตั้งโรงเรียนมัธยม อำเภอปากพลีเมื่อพ.ศ.2501 ช่วยเหลือในการจัดตั้งสหกรณ ์ ออมทรัพย์ครูจังหวัดนครนายก ช่วยเหลือของบประมาณสร้าง อาคารเรียนตึก 3 ชั้นให้แก่โรงเรียนนาครส่ำสงเคราะห์ (โรงเรียน นครนายกวิทยาคม) ปัจจุบันอาคารได้รื้อถอนไปแล้วและสรรหา งบประมาณใหน้ ายพสิ ฐิ เจรญิ วงศ์ ซ่ึงเปน็ อาจารยม์ หาวิทยาลยั ศิลปากรนำนักศึกษาไปขุดค้นที่ “ดงละคร” อำเภอเมือง นครนายก จังหวัดนครนายกเป็นทางการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2515 อันเป็นการจุดประกายด้านโบราณคดีที่เมืองดงละคร 140

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” นายดุสิต บุญธรรมเป็นชาวนครนายกที่ทำคุณประโยชน์ ให้แก่จังหวัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการศึกษา การเกษตร เป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ในการหาผลประโยชน์ใส่ตน แต่เป็นผู้ให้แก่สังคมจวบจนวาระ สุดท้ายของชีวิตยังได้อุทิศร่างให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎ กรุงเทพมหานคร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 พันตำรวจโทบุญเลิศ เลิศปรีชา พันตำรวจโทบุญเลิศ เลิศปรีชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดนครนายก ห้าสมัย ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 9 (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) ครั้งที่ 10 (26 มกราคม พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 11 (4 เมษายน พ.ศ.2519) ครั้งที่13 (18 เมษายน พ.ศ. 2526) และ ครั้งที่ 15 (24 กรกฎาคม พ.ศ.2531) สำหรับ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา หรือ เปาะเลิศ เรียก ได้ว่าเป็น “เจ้าถิ่น” และเป็น “แชมป์” อยู่ด้วย เขาผู้นี้เคยเป็น ผู้แทนนครนายกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหภูมิ ครั้งที่สองปี พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม ของเจ้าบุญทุ่ม นายทวิช กลิ่นประทุม ครั้งที่สามในปี 2519 ในนามพรรค กิจสังคม ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2526 อยู่พรรคกิจสังคม ซึ่งมี ตำแหน่งเป็นถึงรองหัวหน้าพรรคกิจสังคม และเคยเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมชเปน็ นายกรัฐมนตรี มาครั้งนี้ลงสมัครในนามพรรคสหประชาธิปไตย เพราะเป็นผู้หนึ่งในบรรดา ส.ส.พรรคกิจสังคมที่ล้มพระราช กำหนดที่เสนอโดยรัฐบาล เป็นเหตุให้มีการยุบสภาเมื่อเดือน 141

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก พฤษภาคม พ.ศ.2529 ผู้นำที่ทำการล้มพระราชกำหนดคือ นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ.ต.ท.บุญเลิศเคยกล่าวว่า “ลำพัง บุญเท่งคนเดียวไม่สำเร็จต้อง “สองบุญ” จึงจะสำเร็จ” หลังจาก ก่อตั้งพรรคสหประชาธิปไตย พ.ต.ท.บุญเลิศก็ได้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคด้วย ถึงแม้พ.ต.ท.บุญเลิศจะครองพื้นที่ ทางการเมืองของนครนายกมาถึง 4 สมัยก็ตามที แต่ก็เคย พ่ายแพ้ในสนามนี้มาแล้วเช่นกัน เมื่อการเลือกตั้งปี พ.ศ.2522 ครั้งนั้นเขาแพ้นายวานิช พานิชเกรียงไกร ผู้สมัครหน้าใหม่สังกัด พรรคเสรีธรรม เสี่ยหนุ่มผู้กว้างขวางแห่งนครนายก ด้วยคะแนน เพียง 591 คะแนน พ.ต.ท.บุญเลิศได้ 10,267 คะแนน นายวานิช ได้ 10,858 คะแนน ฐานเสียงของ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา คือ กลุ่ม ฟ้าใหม่ โดยมีแกนนำกลุ่มที่สำคัญคือนายระพี ชิระกุล อดีต นายกเทศมนตรีสมัยที่แล้ว ปี พ.ศ. 2523-2528 นายจำรัส ธีระชัยชยุติ นายประดิษฐ์ คังคายะ และนายพงษ์เดช วิบูลย์ธนสาร การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2528 นั้น กลุ่มนี้ได้รับเลือกเข้ามา 8 คน นายระพี ชิระกุลนั้นเป็นเจ้าของโรงแรมกอบเกื้อพาเลซ ตัวแทน จำหน่ายเหล้าแม่โขง และเป็นเจ้าของสวนสีดา ส่วน นายประดิษฐ์ คังคายะ อดีตประธานสภาจังหวัดที่นายระพ ี ได้ชวนมาลงสมัครร่วมทีมในสนามระดับเทศบาล ส่วน นายพงษ์เดช วิบูลย์ธนสารเคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลที่หนุ่ม ที่สุด เมื่อได้รับเลือกแล้วก็ไม่ยอมรับเงินเดือน ยกให้เป็นทุน การศึกษาแก่นักเรียน และสนิทสนมกับพ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชาเป็นอย่างดี กลุ่มนี้มีศักดิ์ศรีเป็นแชมป์เก่า มีสาย 142

ภาพรวมของ”การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถ่ิน” สัมพันธ์กับนักการเมืองชื่อดังของนครนายก คือ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา อย่างแน่นแฟ้น นับว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์ในทาง ธุรกิจที่สำคัญของที่นี่ นายวาณิช พานิชเกรียงไกร นายวาณิช พานิชเกรียงไกร (ไซ) เกิดวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายอิทธิ และนางสุนทร โง้วเจริญสุข มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน สำเร็จการศึกษาช่างยนต์ จากโรงเรียนการช่างฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ.2498 ประกอบธุรกิจ ส่วนตัว ร้านกสิกรพานิช ค้าอุปกรณ์การเกษตร,ปุ๋ย ยาปราบ ศัตรูพืช อาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืช เครื่องกระสุน อาวุธปืน ฯลฯ ปัจจุบันอาศัยอยู่เลขที่ 2016/ 15 ถนนเสนาพินิจ ตำบล นครนายก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โทรศัพท์ 037-311055 สมรสกับคุณอารีย์ แซ่แต้ มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน คือ นายวสันต์ พานิชเกรียงไกร นายศุภชัย พานิชเกรียงไกร นางวริศรา ไพรสานฑ์กุล และร้อยเอก กฤตพล พานิชเกรียงไกร อ ด ี ต ส ม า ช ิ ก ส ภ า ผู ้ แ ท น ร า ษ ฎ ร จ ั ง ห ว ั ด น ค ร น า ย ก สองสมัย ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 (22 เมษายน พ.ศ.2522) และ ครั้งที่ 14 (27 กรกฎาคม พ.ศ.2529) นายวานิชนั้น ชื่อเสียง ของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัด เนื่องจากเขามีธุรกิจที่เป็น หัวใจสำคัญต่ออนาคตทางการเมืองของตนเอง นั่นคือ ธุรกิจ การเกษตร เริ่มบทบาททางการเมืองในตำแหน่งสมาชิกสภา จังหวัดนครนายก (ส.จ.) เมื่อปี พ.ศ. 2519 จากนั้นจึงได้ลงสมัคร รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมัยแรกเมื่อปี 143

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2522 โดยอาศัยความสัมพันธ์ที่มีกับชาวบ้านโดยตรง กลยุทธ์ที่ใช้ในการหาเสียงในครั้งนั้นมีการนำเสนอโปสเตอร์ “เฮียไซ” จึงเน้นว่าตนไม่ใช่คนอื่นไกล เป็นต้นว่า “เลือกคนไกล ไหนจะสู้คนใกล้ เลือกไซดีกว่าเรียกใช้ได้” ฐานเสียงในเขตเมือง ของนายวานิชนั้นโยงใยอยู่กับกลุ่มพลังหนุ่ม แกนนำกลุ่มคือ นายอภิชาต เทพวุฒิสถาพร หรือ “เสี่ยเม้ง” เจ้าของกิจการ โรงสี โรงน้ำแข็ง ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของซิงเกอร์และ ตัวแทนจำหน่ายสุราหงษ์ทอง นอกจากนี้เขายังมีโครงการสร้าง ศูนย์การค้าบนพื้นที่ 46 ไร่ ติดกับศาลากลางจังหวัดใช ้ งบประมาณ 60 ล้าน กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์อยู่กับนายวานิช พานิชเกรียงไกร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2522 ผู้ที่สามารถให้ พ.ต.ท.บุญเลิศ ได้เรียนรู้ต่อความพ่ายแพ้มาแล้ว จากคำสัมภาษณ์นายศุภชัย พานิชเกรียงไกร บุตรชาย นายวานิช เล่าว่า “คุณพ่อเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเขต อำเภอเมือง เนื่องจากธุรกิจการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้าน บางคนให้คุณพ่อช่วยฝากลูกเข้าโรงเรียน หรือบางครั้งก็ให้ช่วย ประกันตัวเองออกมา คุณพ่อก็ไม่เคยปฏิเสธ ยินดีให้ความช่วย เหลือทุกคนที่มีความเดือดร้อนและเข้ามาหาท่าน ท่านจึงเป็น ที่รักของชาวนครนายก ทั้งที่พวกเราเองก็เป็นเพียงพ่อค้า การ เข้าวงการเมืองก็เพราะท่านเป็นที่รู้จัก จึงถูกชักชวนจากผู้ใหญ่ โดยจะสนับสนุนคุณพ่อทุกอย่าง คุณพ่อจึงตัดสินใจเล่น การเมือง ลงสมัครส.ส.เพียงสมัยแรกก็สามารถชนะคู่แข่งขัน ได้ หลายคนแทบไม่อยากเชื่อ” (ศุภชัย พานิชเกรียงไกร, สัมภาษณ์, 15 มีนาคม 2555) 144

ภาพรวมของ”การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถิ่น” การเลือกตั้งสมัยต่อมาถูกร่นระยะเวลาจากปี พ.ศ. 2530 มาเป็นปี พ.ศ. 2529 ซึ่งพ.ต.ท.บุญเลิศ ก็มีส่วนในการกระทำ ที่ให้มีการยุบสภาในฐานะเป็นหนึ่งใน “กบฎพรรคกิจสังคม” ในคราวนี้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 13 คนจาก 13 พรรค การเมือง โดยสามารถมีส.ส.ได้เพียงคนเดียว ในบรรดาผู้สมัคร เหล่านี้ผู้ที่ได้รับความสนใจได้แก่ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา “เปาะเลศิ ” จากพรรคสหประชาธปิ ไตย นายวานชิ พานชิ เกรยี งไกร “เฮียไซ” จากพรรครวมไทย นายเสนอ มนต์กันภัย จากพรรค ประชาธิปัตย์ และร.ต.บุญยงค์ วัฒนพงศ์ อดีตส.ส. 3 สมัยจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ ย้ายมาลงที่นี่โดยสังกัดพรรคชาติไทย นายเดช บุญ-หลง ศาสตราจารยพ์ เิ ศษเดช บญุ -หลง เกดิ เมอ่ื วนั ท่ี 8 มกราคม พ.ศ. 2473 เป็นบุตรของขุนเจริญราษฎร์บริบาล อดีตนายอำเภอ บางใหญ่ และนางเปรี้ยว บุญ-หลง ได้สมรสกับนางมาลินี บุญ-หลง ท่านเป็นคนบ้านบาตรโดยกำเนิด มีบ้านเดิมอยู่แถว วรจักร ปัจจุบันคือเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของนายเดช ทำให้ ท่านเริ่มเข้ามามีบทบาทด้านการเมืองในฝ่ายบริหารเป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2518 โดยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในสมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2528) และอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ.2531) 145

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ในสมัยรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2535) นายเดชได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาลนายกชวน หลีกภัย เป็น นายกรัฐมนตรี ท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ.2537) ในสมัย รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2538) และได้รับการแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายปัญจะ เกสรทอง ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (พ.ศ.2540) ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายเดชได้กำกับ ดูแลงานของคณะกรรมการหลายชุด ซึ่งมีทั้งงานด้าน สิ่งแวดล้อม งานด้านวัฒนธรรม งานด้านการพัฒนาพลังงาน งานด้านสวัสดิการสังคมและการป้องกันอุบัติภัย รวมถึง งานด้านวิชาการและการวิจัย ทั้งยังเป็นประธานกรรมการ การพิจารณาแบบการก่อสร้างหอประชุมกองทัพเรือฯ การสร้าง ศูนย์วิจัยปรมาณูที่องครักษ์ จังหวัดนครนายก และประธาน โครงการลดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ บทบาททางการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัตินั้น นายเดช ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2532 ในสมัยที่พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และภายหลังได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคชาติไทย ได้รับความ ไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดนครนายกให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครนายก 146

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถ่ิน” รวม 3 สมัย (2535/1, 2535/2 และ 2538) ท่านยังได้รับเลือกให้ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรค ชาติไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งตามระบบใหม่ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นายเดชก็ได้รับ เลือกตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครนายก ด้วยคะแนน เสียง 32,375 คะแนน แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจที่ประชาชน ชาวจังหวัดนครนายกมีต่อนายเดช บุญ-หลง ได้เป็นอย่างดี จากคำสัมภาษณ์จ.อ.สุทธิพงศ์ บุญ-หลง หลานชาย เล่าว่า “ท่านเป็นคนที่ประชาชนรู้จักอย่างดี เพราะท่านได้อุทิศ ตนช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด เวลาที่มีการเลือกตั้ง ชาวบ้าน จึงไปช่วยกันลงคะแนนให้ท่าน บรรยากาศในตอนนั้นคึกคักมาก คะแนนที่ท่านได้รับก็มักจะชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย” (สุทธิพงศ์ บุญ-หลง,สัมภาษณ์, 16 มีนาคม 2555) นอกจากนั้น นายเดชยังได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคม และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในสมัย รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นการดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองครบวาระ 4 ปี ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากในระบบการเมือง ของประเทศไทย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนั้น นายเดชได้บริหารงาน ให้เป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย โดยจะเน้นรูปแบบการ ทำงานแบบกระชับ เรียบง่าย มีคณะทำงานหน้าห้องจำนวน น้อย และด้วยความที่มีวัยวุฒิและประสบการณ์สูง ท่านมักจะ ให้คำสั่งสอนและชี้แนะรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 147

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก โดยนำประสบการณ์ของท่านมาบอกเล่าและถ่ายทอดต่อ ผู้ปฏิบัติงาน มีสุภาษิตอยู่บทหนึ่งที่ท่านมักจะนำมาพูดให้คนที่ ใกล้ชิดได้รับฟังอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ คำว่า “มดลอดได้แต่อย่าให้ ช้างข้าม” หมายถึง ในการทำงานนั้นอาจต้องยอมให้สูญเสีย สิ่งเล็กน้อยไปบ้าง แต่จะปล่อยให้สูญเสียสิ่งใหญ่หรือปล่อยให้ สิ่งสำคัญเสียหายไม่ได้ แสดงถึงความละเอียดรอบคอบใน ฐานะที่ท่านเป็นนักบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบ และทำงานเกี่ยวกับ การเงินในภาคธุรกิจมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าคุณเดชจะดำรง ตำแหน่งรัฐมนตรีในขณะที่มีอายุมากแล้ว คือ ในช่วงอายุ 71 – 73 ปี แต่ท่านก็มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และให้ความสำคัญ กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ท่านสามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ไม่แตกต่างจากรัฐมนตรีท่านอื่นๆ เลย นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2496 ประกอบอาชีพ นักธุรกิจ สำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรีและปริญญาโท ในสาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด นครนายก 5 สมัย และเคยดำรงตำแหน่งรองประธาน กรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ของสภาผู้แทนราษฎร สนใจการเมืองตั้งแต่ปี 2538 โดยสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ เริ่มจากการเป็นประธานหอการค้าจังหวัด นครนายก มีพื้นฐานมาจากการที่มีความผูกพันกับจังหวัด นครนายก เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดนครนายก และเป็น บุคคลที่มีจิตสาธารณะ ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเล่นการเมือง แต่ได้รับการผลักดันจากเพื่อน และผู้ใหญ่ก็ให้การสนับสนุน 148

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถ่ิน” ขณะนั้นเป็นปีที่จังหวัดนครนายกมี ส.ส. ได้ 2 คน ก็ได้รับความ ไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เริ่มดำรง ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพัฒนาเมือง นครนายกให้เป็นเมืองท่องเที่ยว แต่เป็นการท่องเที่ยงเชิง อนุรักษ์ ประกอบด้วย ป่า เขา ลำเนาไพร ในท้องถิ่นมีน้ำตก ประมาณ 21 แห่ง และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไทย ญวณ เขมร และเป็นเมืองเกษตร เพราะจังหวัดนครนายกเป็น จังหวัดที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ และต่อมาได้มีการพัฒนาตาม โครงการพระราชดำริ ด่านขุนทด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ครัวเรือนละ 500 บาทต่อวัน โดยมีต้นแบบการตลาดมาจาก ญี่ปุ่น เพราะในเรื่องการปลูก ประเทศไทยดีอยู่แล้ว และในเรื่อง สาธารณปู โภคพื้นฐานก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง “การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อในปี พ.ศ.2548 ทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีพื้นที่ทำงาน ดูได้ แต่ภาพรวมเท่านั้นก็เลยกลับมาดูแลพื้นที่ มาเป็น ส.ส.แบบ แบ่งเขต การเป็นส.ส.แบบเขตนั้นขึ้นตรงกับประชาชนคือ ชอบไม่ชอบก็ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง การเป็นสมาชิก ผู้แทนราษฎรไม่ได้เป็นเพียงแค่ชื่อ ชื่อก็บ่งบอกว่าเป็นผู้แทนของ ราษฎรไม่มีอะไรเป็นการเลือกตั้งที่ตรงเท่ากับการใช้คำว่าผู้แทน ราษฎร เวลาที่ลงพื้นที่ทุกครั้งไม่เคยใช้คำว่า ส.ส. แต่จะใช้คำว่า “ผู้แทน” เพราะมีความหมายและมีความสำคัญมาก จิตสำนึก การเป็นผู้แทนราษฎรที่จะทำงานร่วมกัน และมีเป้าหมายคือ การทำให้ประชาชนอยู่ดี มีสุขและอะไรคือปัญหาและอุปสรรค นี้คือเป้าหมายที่ชัดเจน ประชาชนฟังและเข้าใจถึงปัญหา ผู้แทนคิดแต่ประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง ประชาชนก็เป็น 149

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ผู้รับกรรมที่มีผู้แทนแบบนี้ เรื่องเหล่านี้ก็จะทำให้การพัฒนาเกิด ปัญหา…สำหรับผมแล้วผมมีหน้าที่มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ประชาชน เพราะประชาชนเลือกผมเข้าด้วยความไว้วางใจ ผมไม่อยาก ทำให้ประชาชนผิดหวัง” (ชาญชัย อิสระเสนารักษ์, สัมภาษณ์, 18 มีนาคม 2555) คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นตำแหน่งหนึ่งใน 35 คณะความหมายก็คือสภาเป็นผู้เลือก จากที่จากแต่ละพรรคส่งตัวแทน ส่วนใหญ่คณะนี้เป็นคณะนี้ เป็นคณะที่ต้องหาความจริง ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ ตรวจสอบทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่มีเรื่องทุจริตหรือหน่วยงาน ราชการหรือการที่ใช้เงินภาษีประชาชน แม้กระทั่งการใช้อำนาจ ในทางมิชอบ เช่น พรรคพวกก็ให้ ไม่ใช่พรรคพวกก็ไม่ให้ ใช้เงินภาษีประชาชนเอื้อประโยชน์เข้ากับพวกพ้องตนเองหรือ กีดกันไม่ให้เกิดความเป็นธรรม นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2495 เป็นบุตรของนายกิมไฮ้ และนางซิ้วคี้ กิตติธเนศวร ประกอบธุรกิจส่วนตัว การศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขา นิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย รามคำแหงเช่นเดียวกัน ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิศิษฎ์ชัย หลังจบการศึกษาได้ช่วยทางบ้าน ประกอบธุรกิจส่วนตัวและพัฒนามาจนยึดอาชีพค้าส่งข้าว จนได้รับเลือกเป็นประธานหอการค้าจังหวัดนครนายก 2 สมัย 150

ภาพรวมของ”การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถ่ิน” และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก ปี 2539 สังกัดพรรคชาติไทย, ในปี พ.ศ.2544 และ พ.ศ. 2548 ลงสมัคร ในสังกัดพรรคไทยรักไทย นายสิทธิชัย หรือ “เสี่ยแหมะ” เริ่มบทบาททางการเมือง เมื่อครั้งที่มีการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 โดยนายเดช บุญ-หลง จากพรรคชาติไทย ชักชวนให้ลงสมัคร รับเลือกตั้ง ส.ส.นครนายก แต่ปรากฏว่าสอบตก จากนั้น ลงเลือกตั้งอีกครั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 ในนาม พรรคชาติไทยเช่นเดิม แต่ต้องกลายเป็น ส.ส.สอบตก เพราะแพ้ ต่อนายวัฒนชัย อิสระเสนารักษ์ แต่เนื่องจาก กกต. ประกาศให้ มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะเขต 1 นครนายก เป็นการชนะเลือกตั้ง ซ่อมในรอบที่สาม เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2544 จึงพลิกกลับมา ชนะได้เป็น ส.ส. ลำดับที่ 500 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ.2550 นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร หมดสิทธิ์ในการลงสมัครเพราะพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค เนื่องจากนายสิทธิชัยเป็นกรรมการบริหารพรรคและพรรค ไทยรักไทยได้เปลี่ยนมาเป็นพรรคพลังประชาชน ปัจจุบัน เป็นนายสิทธิชัยเป็นหนึ่งในบรรดากลุ่มผู้ถูกตัดสิทธิทาง การเมืองที่เรียกกันว่า ‘กลุ่มบ้านเลขที่ 111’ เป็นคำศัพท์ทาง การเมืองไทยที่ใช้เรียกอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จำนวน 111 คนที่ถูกตัดสิทธิเว้นว่างทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และจะพ้นโทษวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นี้ ซึ่งนักวิชาการและนักวิเคราะห์ ทางการเมืองเชื่อไปในทิศทางเดียวกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 151

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก เกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร นั้นขอเสนอ ตัวลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป นายสิทธิชัยได้ให้ความเห็นสำหรับทิศทางการเมือง ในอนาคตของจังหวัดนครนายกว่า “สำหรับนโยบายพรรคผม ยังเห็นว่ามีความสำคัญ ผมอยากให้นายเกรียงไกรได้ทำงานรับ ใช้ประชาชน เขาเป็นคนหนุ่มไฟแรง มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการ ทำงาน ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ความใกล้ชิดกับประชาชน เขาก็เป็นที่รู้จักของชาวนครนายก คิดว่าเขาสามารถพัฒนาจังหวัดนครนายกให้ดีขึ้นได้อย่าง แน่นอน” ด้านคู่แข่งขันในสมัยหน้าหากเป็นนายวุฒิชัย นายสิทธิชัยมีความเห็นว่า “ถึงอย่างไรเขาก็อา-หลานกัน ใครได้ ผมก็ดีใจทั้งนั้น เพราะตระกูลเราก็ตั้งใจรับใช้ประชาชนอยู่แล้ว” ”(สิทธิชัย กิตติธเนศวร,สัมภาษณ์, 18 มีนาคม 2555) นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2497 เป็นบุตรของนายกิมไฮ้ และนางซิ้วคี้ กิตติธเนศวร ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประเภท บริการรับเหมาก่อสร้าง การศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สมรสกับนางกอบแก้ว ชิระกุล มีบุตร 2 คน คือนายปิยวัฒน์ กิตติธเนศวร และนางสาวรวิภา กิตติธเนศวร ปัจจุบัน นายวุฒิชัยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด นครนายก เขต 1 (1 สิงหาคม พ.ศ.2554-ปัจจุบัน) 152

ภาพรวมของ”การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถ่ิน” นายวุฒิชัย หรือ “เสี่ยอ๋า น้องชายของนายสิทธิชัย เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัท กอบชัยคอนกรีต จำกัด และ มีประสบการณ์ทางการเมืองโดยเริ่มต้นงานการเมืองโดยการ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นจากประธานสภาจังหวัดนครนายก (ส.จ.)จนกระทั่งได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครนายก (อบจ.นครนายก) ก่อนผันตัวไปเล่นการเมือง ในระดับชาติ ด้วยแรงผลักดันจาก “เสี่ยแหมะ” นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร พี่ชายร่วมสายโลหิต และอดีต ส.ส. นครนายก ทำให้นายวุฒิชัยได้เป็น ส.ส. นครนายกสมัยแรกในสังกัดของ พรรคชาติไทยเมื่อปี2544 เขต 2 และในปี 2548 เป็น ส.ส. ในสังกัดพรรคไทยรักไทย และปีพ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรค พลังประชาชน เมื่อพรรคพลังประชาชนโดนยุบ ก็ย้ายตาม มาอยู่กับพรรคเพื่อไทย ก่อนจะย้ายอีกครั้งมาสังกัดพรรค ภูมิใจไทย เพื่อลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยมีฐานคะแนนจากกำนันผู้ใหญ่บ้านบางส่วน โดยเฉพาะในอำเภอบ้านนาและอำเภอองครักษ์ ซึ่งมีความ สัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับ “สัญญา บุญ-หลง” นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครนายกคนปัจจุบัน จากคำสัมภาษณ์ นายวุฒิชัย ส.ส.จังหวัดนครนายก คนปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) เมื่อถามถึงกลยุทธ์ที่สามารถชนะคู่ต่อสู้ อย่างนายเกรียงไกร หลานชายแท้ๆ ที่มีเสียงสนับสนุนจาก พรรคเพื่อไทย และคู่แข่งเก่าอย่างนายชาญชัย เขากล่าวว่า “ประชาชนเป็นผู้เลือก ผมให้ความสำคัญกับประชาชนเสมอ จึงแน่ใจว่าชัยชนะในครั้งนี้เพราะความใกล้ชิดกับประชาชน ไม่ทิ้งพื้นที่ ทั้งตอนที่มีการหาเสียงหรือไม่มีการหาเสียง 153

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ผมทำตัวเสมอต้นเสมอปลาย” ตอบคำถามที่ว่าพื้นที่จังหวัด นครนายกเป็นพื้นที่คนเสื้อแดง ไม่กลัวเสียคะแนนให้กับ หลานชายหรือ นายวุฒิชัยผู้มีฐานเสียงในอำเภอเมืองและ อำเภอองครักษ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า “อยู่ที่ผลงานของเราที่ ผ่านมามากกว่า ประชาชนรู้ดีว่าเราทำอะไรบ้าง ดังนั้นเราจึงได้ รับเลือกจากประชาชน” (วุฒิชัย กิตติธเนศวร, สัมภาษณ์, 20 มีนาคม 2555) 3. พัฒนาการทางการเมืองจังหวัดนครนายก จากอดีตถึงปัจจุบัน นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายกอาศัยการแบ่งยุค ตามการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครนายกของห้องสมุด กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าที่ได้รวบรวมและจัดลำดับเหตุการณ์ในอดีต เกี่ยวกับจังหวัดนครนายก ร่วมกับการศึกษาวิจัยประวัติ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายกตามที่ได้ศึกษามาเพื่อนำมาใช้ พิจารณาแบ่งยุคการเมือง ออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ยุคสมัยในยุค แรก (พ.ศ.2475-2500) ยุคที่สอง (พ.ศ.2500-2539) ยุคที่สาม (พ.ศ.2540-2549) และ ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2550-2554) ยุคแรก หรือ ยุคการเมืองเก่า (พ.ศ.2476-2500) ภาพการเมืองของจังหวัดนครนายกภายหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นช่วงแห่งความตื่นตัวทางการเมืองอย่างสูงของ ประชาชนในจังหวัดนครนายก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภา 154

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม คือ ประชาชน เลือกตัวแทนของตนไปทำหน้าที่เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง ผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง คือ พันเอกพระยาวิเศษสิงหนาท (สาหร่าย รัตกสิกร) เป็นพระยาคนแรกของจังหวัดนครนายกในรอบ ร้อยปีนี้ที่มาจากลูกชาวนา จากพลทหารมาเป็นนายพันเอก การบริหารบ้านเมืองในยุคแรกนั้น ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเก่า ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงเป็น ที่รู้จักและมีความสัมพันธ์อันดีกับการทหารในสมัยนั้น ได้แก่ พันเอกพระยาวิเศษสิงหนาท (สาหร่าย รัตกสิกร) พระยาสัจจา ภิรมย์อุดมราชภักดี (สรวง ศรีเพ็ญ) นายเย็น ศิริมหา นายชิตร โปษยานนท์ นายทองพูน ทิมฉิม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่สำหรับนายเย็น ศิริมหา และนายทองพูน ทิมฉิมจากการสืบค้นไม่ปรากฏหลักฐานประวัติส่วนตัว ยุคท่ีสอง หรือ ยุคอำนาจนิยม (พ.ศ.2500-2539) ภาพการเมืองของจังหวัดนครนายกยุคนี้เริ่มต้นด้วย บริบทกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ เลือกตั้งไม่สุจริต มีการโกงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ ไม่สุจริต มีการทุจริตหลายรูปแบบ จนเรียกกันว่า “การเลือกตั้ง สกปรก” เช่น มีการแอบอ้างชื่อไปลงคะแนนแทน การลง คะแนนซ้ำ การถูกตัดรายชื่อออกจากผู้มีสิทธิลงคะแนน ฯลฯ จนเกิดการรวมตัวประท้วงของนักศึกษาและประชาชนในคืนวัน เลือกตั้งขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเลือกตั้งจะจบ 155

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ด้วยชัยชนะของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลอย่างพรรคเสรีม- นังคศิลา ทำให้รัฐบาลสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 จากการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นักการเมืองถิ่น ที่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. นครนายกภายหลังจากการ รัฐประหารครั้งนี้ คือ นายดุสิต บุญธรรม ซึ่งขณะนั้นดำรง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และเป็นผู้เสนอ พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 เป็นที่พอใจแก่ชาวนครนายกอย่างยิ่งที่ได้กลับไป จังหวัดนครนายกดังเดิม นอกจากนั้นยังเสนอพระราชบัญญัติ ยกเลิกภาษีล้อเกวียน แห อวน เป็นที่พอใจแก่เกษตรกรทั่วไป นับตั้งแต่ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกจนถึงปี พ.ศ. 2532 จังหวัดนครนายกมีผู้แทนราษฎร จำนวน 1 คนมาโดยตลอด เป็นเหตุให้ได้ผู้แทนฯ หน้าเดิม เสียเป็นส่วนใหญ่ บรรยากาศของการเลือกตั้งจึงไม่ค่อยคึกคัก เข้มข้นเร้าใจประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเท่าที่ควร หลายคน ต่างคิดไปว่าถึงจะไปเลือกหรือไม่ไปเลือกตั้ง คนนั้นคนนี้เขาก็ได้ อยู่ดี จนเกิดมีแรงจูงใจภายนอกเกิดขึ้น เริ่มจากการซื้อเสียง จึงอุบัติขึ้นมาจากจุดนี้เอง และวันที่ประชาชนชาวนครนายก ต้องการได้ ส.ส. จำนวน 2 คน ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อสิ้นเดือน กันยายน 2532 จำนวนประชากรทั้งหมดมีถึง 226,000 คนเศษ เพราะจำนวนประชากร 150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ถ้าเกินเศษของครึ่งหนึ่งคือเกิน 75,000 คนขึ้นไปก็ให้มี ส.ส. เพิ่มขึ้นอีก 1 คน จึงเป็นอันว่าจังหวัดนครนายกมีจำนวนผู้แทน ราษฎรที่จะเลือกตั้งกันในสมัยหน้า จำนวน 2 คนแน่นอนแล้ว ผลจากการเพิ่มประชากรนครนายกสำเร็จได้ทันก็เพราะมี 156

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถ่ิน” ทุกฝ่ายร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้าราชการทหาร ตำรวจ ครู ข้าราชการอื่นๆ ให้ความร่วมมือย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ใน นครนายก นอกจากนี้กลุ่มประชาชนมีการอพยพกลับถิ่นของ ตนเองมากขน้ึ เนอ่ื งจากจงั หวดั นครนายกมกี ารพฒั นาเศรษฐกจิ ขึ้นเป็นลำดับ “เป็นที่น่ายินดีและความภาคภูมิใจกับพี่น้องชาว นครนายกทุกคนที่การเลือกตั้งต่อไปนี้ไม่ว่าจะเกิดจากการยุบ สภาฯ หรือรัฐบาลอยู่ครบตามวาระก็ตาม จังหวัดนครนายก ก็มีจำนวน ส.ส. ได้ 2 คนอย่างไม่มีปัญหา ปัญหามันอยู่ตรงที่ ว่าประชาชนอย่าเพิ่งมีการย้ายออกก่อนสิ้นธันวาคมนี้ก็แล้วกัน เพราะการคิดจำนวนประชากรทางมหาดไทยเขาจะคิดจากยอด ประชากรของปีที่ผ่านมา ซึ่งทางจังหวัดโดยเฉพาะพ่อเมือง คนใหม่ คือ รต.พูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์ ท่านคงต้องหามาตรการ ป้องกันไว้อย่างแน่นอน ส่วนนักการเมืองหน้าใหม่หรือเก่าเมื่อ ทราบข้อมูลเรื่องนี้คิดว่าต้องเริ่มหาเสียงเก็บคะแนนกันได้แล้ว และเชื่อว่าสนามการเลือกตั้งของนครนายกจะต้องตื่นเต้น คึกคัก เข้มข้นขึ้น และผลดีประการต่อมา เมื่อมี ส.ส. 2 คน งบประมาณของ ส.ส. ที่ทางรัฐบาลจัดสรรเป็นงบพัฒนา คนละ 4 ล้านบาท ก็จะได้งบประมาณเพิ่มอีกเท่าตัว ทำให้มีการ พัฒนาท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึง” (ที่มา: หนังสือพิมพ์เสียงสาริกา, ปีที่ 10 ฉบับที่ 221 ประจำวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2533, หน้า 3) การแข่งขันทางการเมืองที่โดดเด่นของนักการเมืองระดับ ชาติในยุคนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา และนายวานิช พานิชเกรียงไกร สามารถจำลองภาพการแข่งขัน 157

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ที่เป็น “ระบบพรรคพวก” ของจังหวัดนี้ได้ดี ด้วยการสนับสนุน ของกลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟ้าใหม่ และ กลุ่มพลังหนุ่ม การเลือกตั้งถูกร่นระยะเวลาจากปี 2530 มาเป็น ปี 2529 ซึ่งพ.ต.ท.บุญเลิศ ก็มีส่วนในการกระทำที่ให้มีการยุบ สภาในฐานะเป็นหนึ่งใน “กบฎพรรคกิจสังคม” ในคราวนี้มี ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 13 คนจาก 13 พรรคการเมือง โดย สามารถมี ส.ส.ได้เพียงคนเดียว ในบรรดาผู้สมัครเหล่านี้ผู้ที่ได้ รับความสนใจได้แก่ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา “เปาะเลิศ” จากพรรคสหประชาธิปไตย นายวานิช พานิชเกรียงไกร “เฮีย ไซ” จากพรรครวมไทย นายเสนอ มนต์กันภัย จากพรรค ประชาธิปัตย์ และร.ต.บุญยงค์ วัฒนพงศ์ อดีตส.ส. 3 สมัยจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ ย้ายมาลงที่นี่โดยสังกัดพรรคชาติไทย บรรยากาศในวันสมัครนั้นดูครึกครื้นและเป็นกันเอง เพราะ ส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี “เปาะเลิศ” หยอกล้อกับ “เฮียไซ” อย่าง น่าดูชม นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ จากพรรคราษฎรยกมือไหว ้ พี่ๆ ทั้งสี่คนและที่สำคัญคือพ.ต.ท.บุญเลิศและร.ต.บุญยงค์นั้น เป็นคนระดับรัฐมนตรีมาก่อน สำหรับ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชานั้น เรียกได้ว่าเป็น “เจ้าถิ่น” และเป็น “แชมป์” อยู่ด้วย เขาผู้นี้เคยเป็นผู้แทน นครนายกครั้งแรกในปี 2512 สังกัดพรรคสหภูมิ ครั้งที่สองปี 2518 สังกัดพรรคธรรมสังคม ของเจ้าบุญทุ่ม นายทวิช กลิ่นประทุม ครั้งที่สามในปี 2519 ในนามพรรคกิจสังคม ครั้งที่สี่ เมื่อปี 2526 อยู่พรรคกิจสังคม ซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงรองหัวหน้า พรรคกิจสังคม และเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทย สมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นนายกรัฐมนตรี และ 158

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ในปี 2529 ลงสมัครในนามพรรคสหประชาธิปไตย เพราะเป็น ผู้หนึ่งในบรรดา ส.ส.พรรคกิจสังคมที่ล้มพระราชกำหนดที่เสนอ โดยรัฐบาล เป็นเหตุให้มีการยุบสภาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2529 ผู้นำที่ทำการล้มพระราชกำหนดคือนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ.ต.ท.บุญเลิศเคยกล่าวว่า “ลำพังบุญเท่งคนเดียวไม่สำเร็จตอ้ ง ‘สองบุญ’ จึงจะสำเร็จ” หลังจากก่อตั้งพรรคสหประชาธิปไตย พ.ต.ท.บุญเลิศก็ได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคด้วย ถึงแม้ พ.ต.ท.บุญเลิศจะครองพื้นที่ทางการเมืองของนครนายก มาถึง 4 สมัยก็ตามที แต่ก็เคยพ่ายแพ้ในสนามนี้มาแล้วเช่นกัน เมอ่ื การเลอื กตง้ั ปี 2522 ครง้ั นน้ั เขาแพน้ ายวานชิ พานชิ เกรยี งไกร ผู้สมัครหน้าใหม่สังกัดพรรคเสรีธรรม เสี่ยหนุ่มผู้กว้างขวางแห่ง นครนายก ด้วยคะแนนเพียง 591 คะแนน พ.ต.ท.บุญเลิศ ได้ 10,267 คะแนน นายวานิชได้ 10,858 คะแนน “เปาะเลิศ” นั้นใคร ๆ ก็รู้ว่า “กระเป๋าหนัก” การลงสมัครในครั้งต่อมา จึงไม่ต้องห่วงเรื่อง “กระสุน” เท่าใดนัก และยังได้รับการ สนับสนุนจากกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในระดับสภาเทศบาล ซึ่งก็คือกลุ่มฟ้าใหม่ที่ต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้งในสนามเทศบาล ให้แก่กลุ่มพลังหนุ่มที่มีความสัมพันธ์กับนายวานิช ดังนั้น ชัยชนะของ “เปาะเลิศ” ก็คงจะเป็นชัยชนะของกลุ่มด้วย ส่วนทางด้านสมาชิกสภาจังหวัดนั้น “เปาะเลิศ” อาศัยความ เจนบนเวทีและอยู่ที่นี่มานาน โดยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น อยู่กับนายมารุต โรจนาปิยวงศ์ ส.จ.เขตอำเภอเมืองผู้มีกิจการ รับเหมาก่อสร้าง และเคยเป็นอดีตประธานสภาจังหวัด นายทวีเกียรติ ดุษฎีธรรม ส.จ.เขตอำเภอบ้านนา กำนันฤทธิ์ อรุณจรัสฉาย ส.จ.เขตอำเภอองครักษ์และนายประยุทธ 159

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก จุลทรัพย์ ส.จ. เขตอำเภอปากพลี ดังนั้น “พันธมิตรระดับบน” ของพ.ต.ท.บุญเลิศจึงจัดว่าอยู่ในระดับดีครอบคลุมพื้นที่ทั้ง จังหวัดและหวังต่อชัยชนะได้เป็นอย่างดี ทางด้านนายวานิชนั้น ชื่อเสียงของเขาก็เป็นที่รู้จักกันดี ในจังหวัด เนื่องจากเขามีธุรกิจที่เป็นหัวใจสำคัญต่ออนาคต ทางการเมืองของตนเอง นั่นคือ ธุรกิจการเกษตร เช่น การค้าปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ ทำให้เป็นที่ รู้จักของชาวบ้านอย่างกว้างขวาง เพราะฐานการผลิตหลักของ นครนายก หัวใจคือการทำนา การขายของจ่ายเป็นเงินสดบ้าง และตกเขียวกับชาวบ้านบ้าง ทำให้ได้รับคะแนนเสียงกลับคืน เมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้ง กอรปกับเป็นคนอัธยาศัยดี มีเพื่อนฝูง มากในทุกกลุ่ม ทั้งข้าราชการและพ่อค้า ความสัมพันธ์กับ ชาวบ้านโดยตรงย่อมมีสูง โปสเตอร์ “เฮียไซ” จึงเน้นว่าตนไม่ใช่ คนอื่นไกล เป็นต้นว่า “เลือกคนไกล ไหนจะสู้คนใกล้ เลือกไซ ดีกว่าเรียกใช้ได้” เหมือนกับพยายามจะ “กระแซะ” เปาะเลิศ ในเรื่องความห่างเหินกับชาวบ้าน ฐานเสียงในเขตเมืองของนายวานิชนั้นโยงใยอยู่กับกลุ่ม พลังหนุ่ม ฉะนั้นคะแนนเสียงในเขตเมืองจึงคู่คี่กับเปาะเลิศ ในการเลือกตั้งปี 2526 นายวานิชทำความประหลาดใจให้กับ คนนครนายกเป็นอย่างมาก เพราะไม่ยอมลงสมัครทั้งที่เป็น แชมป์เก่าอยู่ และคว่ำ พ.ต.ท.บุญเลิศ ได้อย่างเชือดเฉือนมา แล้ว หลายคนกล่าวว่าเป็นการไม่ลงสมัครอย่างไม่สู้เต็มใจนัก บ้างก็ว่านายวานิชประสบกับปัญหาด้านการเงิน ดังนั้นความ ตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมของเปาะเลิศ ในอันที่จะได้รับเลือกเป็น 160

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ส.ส. อีกครั้งเมื่อปี 2526 จึงประสบผลสำเร็จอย่างง่ายดาย ซึ่ง สามารถทำคะแนนห่างจากผู้สมัครคนอื่นๆ ถึง 16,000 คะแนน ฐานเสียงของนายวานิชนั้นแน่นหนาในเขตอำเภอองครักษ์ และ อำเภอปากพลี สำหรับนายเสนอ มนต์กันภัยจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการ นายวีระ มุสิกพงศ์ เขามีเสียงดีในกลุ่มครู สมัครมาตั้งแต่ปี 2522 แต่ก็มักจะได้ คะแนนเป็นลำดับที่ 3 มาตลอด และคะแนนก็จัดว่าอยู่ในระดับ ที่ดี ดังนั้นจึงสู้อีกครั้ง เสียงดีในเขตอำเภอบ้านนามีคะแนนนำ เปาะเลิศ และเสี่ยไช ที่อำเภอนี้ได้ตามความคาดหมายในช่วง การหาเสียง นายวีระ ก็มาช่วยปราศรัยหาเสียงให้แก่นายเสนอ อีกแรงหนึ่งด้วย ส่วนอดีตรัฐมนตรีช่วยบุญยงค์ วัฒนพงศ์ แห่งพรรคชาติไทยนั้น หลังจากต้องประสบความพ่ายแพ้ที่ สนามจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องย้ายมาลง สมัครรับเลือกตั้งที่นครนายก อาจเป็นเพราะว่านครนายกนั้น เป็นสนามที่เล็กกว่าสนามอุตรดิตถ์และตนเองก็มีความสนิท สนมกับผู้ว่าฯ นายปัญญา ฤกษ์อุไรเป็นอย่างดี ในช่วงหาเสียงระยะแรกๆ นั้น เปาะเลิศเป็นต่อเสี่ยไซ เล็กน้อย ส่วนนายเสนอ มนต์กันภัยเป็นเพียงตัวแปรเท่านั้น และอดีตรมช.บุญยงค์ วัฒนพงศ์ก็ต้องมาพบกับความยาก ลำบากเสียแล้ว คหบดี 8 ตระกูลที่อยู่ในขบวนแถวของ ส.ท.สังกัดกลุ่มฟ้าใหม่โหมโรงหนุนเปาะเลิศเต็มที่ ในขณะ เดียวกันกลุ่มพลังหนุ่มก็หนุนนายวานิชแบบแพ้ไม่ได้เช่นกัน เพราะถึงแม้กลุ่มพลังหนุ่มจะได้ชัยชนะในสนามเทศบาล แต่ก็ 161

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก พ่ายแพ้ในสนามสภาจังหวัดให้แก่กลุ่มที่สนับสนุนเปาะเลิศ โดยเฉพาะหลานชายของนายวานิชเองก็สอบตก ฉะนั้น การแข่งขันจึงเรียกได้ว่า “เท่าไหร่เท่ากัน” เปาะเลิศนั้นพยายาม จะดึงคะแนนจากส่วนที่สนับสนุนนายเสนอ มนต์กันภัย ดังนั้น รถกระจายเสียงของเปาะเลิศก็เที่ยวตระเวนเปิดเทปปราศรัย ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งโจมตีประชาธิปัตย์แบบไม่เลี้ยง จากการประเมินของเปาะเลิศในคราวนี้อย่างกว้างขวางพบว่า คะแนนนิยมตกลงไปมากพอสมควร อาจเป็นเพราะการที่ต้อง ออกจากพรรคกิจสังคมมาสร้างพรรคใหม่ กับ “สหบุญเท่ง” ก็เป็นได้ และมีเสียงสะท้อนว่า ความใกล้ชิดของชาวบ้านกับ เปาะเลิศน้อยลงไปกว่าเดิมเป็นอย่างมากทางประชาธิปัตย์นั้น อาศัยการสร้างคะแนนสงสารตลอดจนความเจนจัดในด้านการ ประชาสัมพันธ์เห็นได้จากมีขบวนกลองยาวของชาวบ้านอำเภอ บ้านนา ซึ่งเป็นถิ่นของนายเสนอ แห่มาให้กำลังใจ ส่วน นายวานิชนั้นใช้วิธี “เจาะลึก” ตลอด ส่วนใหญ่หัวคะแนนเสียง ของเฮียไซนั้นเป็นผู้นำตามธรรมชาติของหมู่บ้าน ส่วนเปาะเลิศ นั้นได้แรงสนับสนุนจากกำนันผู้ใหญ่บ้านมิใช่น้อย ความตื่นตัว ในช่วงเลือกตั้งที่จังหวัดนี้มีพอสมควร คนระดับหัวหน้าพรรค เช่นนายพิชัย รัตตกุล นายอุทัย พิมพ์ใจชน ต่างก็มาช่วย หาเสียงให้ลูกทีมของตน แม้กระทั่งสาวิณี ปะการะนัง อดีต นางสาวไทยก็อุตส่าห์มาช่วยพรรคก้าวหน้าในสนามนี้ด้วย ผลคะแนนในเขตอำเภอเมืองเปาะเลิศ เฉือนนายวานิช ตามมาด้วยนายเสนอ ตามลำดับดังนี้ 8,627 คะแนน 8,396 คะแนน และ 5,585 คะแนน ที่อำเภอปากพลี ซึ่งเป็นฐานเสียง ของนายวานิชก็ชนะเปาะเลิศไปตามความคาดหมาย คือ 3,420 162

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” คะแนน กับ 2,125 คะแนน ส่วนนายเสนอ ได้ที่สาม 1,878 คะแนน อำเภอบ้านนาถิ่นของนายเสนอก็ชนะไปด้วยคะแนน 6,077 คะแนน ตามมาด้วยนายวานิชและเปาะเลิศซึ่งได้ 4,042 คะแนน 3,615 คะแนน ตามลำดับ ส่วนอำเภอองครักษ์ ถิ่นของ นายวานิชก็ชนะไปด้วยคะแนน 4,181 คะแนน เปาะเลิศแพ ้ นายเสนอด้วยคะแนน 3,889 คะแนนต่อ 3,462 คะแนน คะแนน รวมทั้งจังหวัดนั้น นายวานิชได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 20,039 คะแนน ตามมาด้วยพ.ต.ท.บุญเลิศได้ 17,829 คะแนน โดย นายเสนอมีคะแนนแพ้พ.ต.ท.บุญเลิศอยู่เพียง 380 คะแนน อันดับ 4 เป็นนายชำนาญ ตามมาด้วย ร.ต.บุญยงค์ได้คะแนน ในระดับ 6 พันและ 5 พันกว่าคะแนนตามลำดับ ส่วนผู้สมัคร คนอื่นๆ มีคะแนนระดับ 1 พันกว่าคะแนนลงมา จากการเลือกตั้งครั้งนี้จะเห็นภาพ “ความเป็นกลุ่ม” ของ การเมืองที่นี่ได้เป็นอย่างดี การพ่ายแพ้ของเปาะเลิศมิได้แพ้แต่ ลำพังเพียงผู้เดียว แต่กลุ่มที่สนับสนุนอยู่ก็อยู่ในฐานะเดียวกัน ซึ่งเป็นเช่นเดียวกันกับชัยชนะของนายวานิชและกลุ่มสนับสนุน การเมืองของนครนายกจึงเปรียบเสมือนการเมืองระหว่าง สองสำนัก นักดาบพเนจรไม่มีวันที่จะมายืนตระหง่านที่นี่ได้เลย คนระดับรัฐมนตรีบุญยงค์ วัฒนพงศ์ ถึงแม้จะได้บารมีจาก ผู้ยิ่งใหญ่ของจังหวัด ก็ต้องเจ็บปวดเพราะความจริงอันนี้ และ ที่สำคัญแต่ละสำนักนั้น “กระเป๋าไม่ใช่เล็กๆ” คงจะแข่งบารมี ไปได้กันอีกนาน เว้นแต่กระเป๋าจะฉีก หรือสำนักแตกนั้นแหละ การเปลี่ยนแปลงในนครนายกจึงอาจจะมีขึ้นมาได้ 163

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก สำหรับการเลือกตั้งถัดมาผู้ที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 ได้แก่ นายเดช บุญ-หลง โดยมีผู้สมัคร ทั้งหมด 5 คน คือ นายสนิท รุจิณรงค์ ผู้สมัครหมายเลข 1 พรรคประชาธิปัตย์ พ.จ.อ.ประยูร วงศ์นครสว่าง ผู้สมัคร หมายเลข 2 พรรคความหวังใหม่ นายเสนอ มนต์กันภัย ผู้สมัคร หมายเลข 3 พรรคพลังธรรม นายประมวล พูลศรี ผู้สมัคร หมายเลข 4 พรรคเสรีธรรม และนายเดช-บุญหลง ผู้สมัคร หมายเลข 5 พรรคชาติพัฒนา นายประกิต เทพชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า “ขณะนี้ทางกระทรวง มหาดไทยได้ส่งหน่วยกำลังคอมมานโดเข้ามาจังหวัดเพื่อ ช่วยเหลือจังหวัดในการปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่ชอบข่มขู่ชาว บ้านและบรรดามือปืนรับจ้างที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดนครนายก ซึ่งการที่กระทรวงมหาดไทยส่งกำลังคอมมานโดเข้ามาครั้งนี้ ก็เพื่อช่วยให้การเลือกตั้งในจังหวัดนครนายกและการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและยุติธรรม” (ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ 43 ฉบับที่ 12653 วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2535, หน้า 11) การแข่งขันทางการเมืองที่โดดเด่นของนักการเมืองระดับ ชาติในยุคนี้เป็นการแข่งขันระหว่างพ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา และนายวานิช พานิชเกรียงไกร สามารถจำลองภาพการแข่งขัน ที่เป็น “ระบบพรรคพวก” ของจังหวัดนี้ได้ดี ด้วยการสนับสนุน ของกลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟ้าใหม่ และ กลุ่มพลังหนุ่ม และส่งท้ายยุคที่สองนี้ด้วยการก้าวเข้ามาเล่น 164

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถ่ิน” การเมืองของ ส.ส. หน้าใหม่ คือ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ และนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร ตามคำชักชวนของ ส.ส.รุ่นพี่ อย่างนายเดช-บุญหลง ซึ่งทั้งคู่จะมีบทบาทการแข่งขันทาง การเมืองอย่างดุเดือดในยุคต่อมา ยุคที่สาม หรือ ยุคปฏิรูปการเมือง (พ.ศ.2540-2549) รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2540 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ของการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการวางรากฐาน ธรรมาภิบาลของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกจัดทำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางการเมืองการปกครองแบบ รวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รวมถึงขานรับแนวคิดเรื่อง “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) อันเนื่องมาจากกระแส ภายนอกประเทศที่เชื่อว่า วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 หรือที่เรียกว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากบริหาร จัดการที่ไม่ดี โดยสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญมีเป้าหมายสำคัญ ที่จะวางรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง ด้วยการเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น สร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุล การใช้อำนาจของรัฐ โดยจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ วางโครงสร้าง ทางการเมืองของไทยให้เข้มแข็ง โดยให้การจัดตั้งรัฐบาล มีเสถียรภาพ พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง ไปจนถึงการวาง รากฐานธรรมาภิบาลการบริหารจัดการประเทศ ด้วยการปรับ โครงสร้างระบบราชการให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น และการกระจายอำนาจไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดบริการสาธารณะให้ประชาชนในท้องถิ่น (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2542:17-18) 165

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ภาพการเมืองของจังหวัดนครนายกในห้วง 1 ทศวรรษนี้ (2540-2549) เป็นยุคสมัยที่อยู่ในช่วงที่พรรคไทยรักไทย ได้ส.ส.จำนวนมากที่สุดเป็นแกนนำจัดตั้งคณะรัฐบาล ภายใต้ การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและเป็นคณะรัฐบาลชุดแรก ของประเทศที่อยู่จนครบวาระ สำหรับสนามการแข่งขันใน จังหวัดนครนายกจึงเป็นการต่อสู้กันระหว่าง “ศึกสองตระกูล” คือตระกูลกิตติธเนศวร และ ตระกูลอิสระเสนารักษ์ นอกจากนี้ ยังเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคไทยรักไทยและพรรค ประชาธิปัตย์ จึงเป็นสนามที่น่าจับตามองสำหรับยุคปัจจุบัน ที่มา หนังสือพิมพ์เสียงชาวบ้าน วันที่ 30 มิ.ย. 2544 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)จัดเลือกตั้งซ่อม ส.ส.7 เขตเลือกตั้ง ใน 6 จังหวัด ประกอบด้วยกาญจนบุรี เขต 5 ขอนแก่น เขต 10 นครนายก เขต 2 บุรีรัมย์ เขต 5 สุรินทร์ เขต 4 อุบลราชธานี เขต 1 และ เขต 10 ผลปรากฏว่าที่เขต 2 นครนายก กกต.กลางประกาศจัด เลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่ 7 ต.ศีรษะกระบือ อ.องครักษ์ เนื่องจากมีบัตรเลือกตั้งเกิน 1 ใบ นายอรรคพล สรสุชาติ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในทีมงานรณรงค ์ 166

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” หาเสียงเลือกตั้งซ่อมจ.นครนายก ให้ความเห็นว่า “ภาพรวม การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรครัฐบาลหลีกทางให้กัน โอนคะแนนและ หัวคะแนนให้กัน พรรคประชาธิปัตย์จึงเสมือนถูกรุม ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ บอกว่าพรรคร่วมรัฐบาลประสบ ความสำเร็จ เพราะผลงาน 4 เดือนที่ได้ทำตามนโยบายที่เสนอ ไว้ ส่วนเรื่องการฮั้วกันนั้นไม่เป็นความจริงเพราะบางจังหวัด เช่นสุรินทร์ก็เป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล” (สยามรัฐ 010744, กรุงเทพธุรกิจ 01, 040744, มติชน 01, 02, 04, 07, 080744) นอกจากนี้ พรรคชาติไทยยังถูกนายชาญชัย อิสระ เสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ นำเทป คำพูดที่มีการระบุว่าเป็นเสียงของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคชาติไทย และรองหัวหน้าพรรคชาติไทยเกี่ยวกับการซื้อเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส นครนายกออกมาเผยแพร่ทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งวันที่ 3 ก.ค.2544 ทางพรรคชาติไทยได้ดำเนินการขอเทปดังกล่าวจาก สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ซึ่งหากได้มาก็จะ สามารถตรวจสอบได้เร็วขึ้น นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรค ชาติไทย อนุกรรมการตรวจสอบเรื่องเทปลับ บอกว่าพรรคชาติ ไทยอาจฟ้องร้องนายชาญชัย ฐานทำให้พรรคเสียหาย ขณะที่ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าพรรค ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน ต่อมาได้ทราบจากข่าววิทยุ และได้ฟังเสียง จากการเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และบอกปัดว่าไม่ใช่ เกมการเมือง 167

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก วันที่ 9 ก.ค.2544 ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ เลขาธิการ กกต.ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เทปลับเกี่ยวกับการซื้อเสียงที่จังหวัดนครนายก บอกว่าจะมีการ จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่กลับจากการสำรวจข้อมูลที่นครนายก รวมทั้งจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบถามด้วย ซึ่งกรณีที่ นายชาญชัย นำเทปบันทึกเสียงดังกล่าวเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน มีนายสมศักดิ์เป็นเป้าหมายนั้น ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็น การแก้แค้นเพราะในอดีตนายชาญชัย เคยถูกพรรคชาติไทย เสนอเรื่องวุฒิการศึกษาของตนจนถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า จบแค่ชั้นประถมปีที่ 7 ทำให้พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพ การเป็น ส.ส.สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 268 เพราะขาดคุณสมบัติเรื่อง วุฒิการศึกษา เนื่องจากกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่ใช้บังคับตอนที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.ทั้ง 2 ครั้ง (ในปี 2538 และ 2539) อยู่นั้น เป็นกฎหมายการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 19 และอนาคตทางการเมืองไป แต่ นายชาญชัยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นการแก้แค้นส่วนตัว อย่างไร ก็ตาม นายสมศักดิ์ ยืนยันว่าเสียงที่ปรากฏในเทปไม่ใช่เสียงตน ช่วงเวลาดังกล่าวตนอยู่ที่จ.อ่างทอง และคนใกล้ชิดจะรู้ว่าเสียง คลา้ ยเทา่ นน้ั เพราะลกั ษณะคำพดู คำสรอ้ ยเสยี ง คำลงทา้ ยเสยี ง ไม่ใช่ ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบฯได้ใช้วิธีให้นายสมศักดิ์ พดู ประโยคยาวๆ เพื่อไปเปรียบเทียบกับเสียงในเทป ท้ายที่สุด ร.ต.วิจิตร ได้แถลงผลการตรวจสอบของ คณะกรรมการทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่าเสียงที่ปรากฏ 168

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ในเทปเป็นเสียงที่เหมือนกับเสียงของนายสมศักดิ์ และข้อความ ในเทปที่มีเนื้อหาจูงใจให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เขต 2 นครนายก เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2544 นั้น คณะกรรมการฯ ได้ตรวจสอบพยานบุคคลและส่งไปยังกองพิสูจน์หลักฐานแล้ว ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้เนื่องจากมีการบันทึก ในสภาวะที่ต่างกัน เสียงในต้นฉบับเทปยาวและมีคำซ้ำ น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่เจ้าหน้าที่จะยืนยันผลได้ คณะกรรม การฯจึงเห็นว่าคำร้องเรียนของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ที่จะดำเนินคดีอาญากับผู้ใดได้ เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่า เป็นการพูดกันที่ไหน เพียงแต่รู้ว่ามีการจูงใจให้มีการซื้อเสียง ในการเลือกตั้งที่ อ.บ้านนา นครนายก ปรากฏว่านายชาญชัย ไม่ยุติเพียงแค่นั้นแต่ได้เข้ายื่นหนังสือพร้อมม้วนเทปบันทึกเสียง ที่ระบุว่าเป็นของนายสมศักดิ์ และเทปที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ กกต.บางคนในพื้นที่ จ.นครนายกทุจริตในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ต่อพล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการ ตรวจสอบต่อไป (สยามรัฐ 01, 05, 07, 09, 11, 13, 16, 17, 20, 210744, กรุงเทพธุรกิจ 01, 04, 12, 170744, มติชน 01, 02, 04, 07, 08, 200744, อาทิตย์วิเคราะห์รายวัน 080744) นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่นายสง่า วันฎเอนทรีย์ รองประธานกรรมการอิสลามจังหวัดนครนายก และกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ตนได้ถูกนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ฟ้องต่อศาลนครนายกในข้อหาหมิ่นประมาท เรื่องที่ตนทำหนังสือแจ้งกกต.จังหวัดนครนายกให้ไปตรวจสอบ การบริจาคเต้นท์และเก้าอี้ของนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์และ 169

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก นายวิกิจ อิสระเสนารักษ์ที่ได้แจกให้แก่มัสยิดต่างๆ ในเขต 2 อำเภอบ้านนา-องครักษ์ โดยศาลจังหวัดนครนายกได้นัดไต่สวน มูลฟ้องในวันที่ 12 ต.ค. 44 เวลา 09.00 น. ซึ่งข้อเท็จจริงนั้น นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ก็ได้แจกเต้นท์และเก้าอี้จริง ในช่วง ปลายปี 2543 คาบเกี่ยวถึงต้นปี 2544 ว่าจะเป็นการกระทำ ที่น่าจะผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่ ตนก็ทำหน้าที่เป็นพลเมือง ที่ดีของสังคม ทำหนังสือยื่นให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคือ กกต.จังหวัด นครนายก ให้ดำเนินการตรวจสอบเท่านั้น ถ้าลำพังมีชื่อเฉพาะ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เขียนติดผนังเต้นท์และเก้าอี้ คนเดียวก็ไม่มีใครเขาสงสัยกันหรอก “นี่แถมไปมีชื่อนายวิกิจ อิสระเสนารักษ์ ติดคู่อยู่ด้วยที่ผนังเต้นท์และเก้าอี้ ซึ่งเป็นชื่อที่ ลงสมัคร ส.ส.ในเขต 2 อาจจะทำให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบ กันในการเลือกตั้ง เพราะเต้นท์และเก้าอี้ได้ถูกนำไปใช้จัดงาน ตามบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า แม้กระทั่งหน่วยเลือกตั้ง บางหน่วยยังนำไปใช้เลย” นายสง่ากล่าว (ที่มา: หนังสือพิมพ์ เสียงชาวบ้าน,ปีที่ 1 ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2544, หน้า 11) และได้มีการร้องเรียนต่อ กกต.จังหวัด นครนายกอย่างมากมาย นำไปสู่การประท้วงผลเลือกตั้ง โดยมี ผู้นำการประท้วงคือ นายชูชาติ สีคร้าม อดีตผู้บริหารโรงเรียน อดีตผู้แทนข้าราชการครูในคณะกรรมการการประถมศึกษา แหง่ ชาติ (กป) สาเหตใุ นการประทว้ ง คอื “เจา้ หนา้ ทท่ี น่ี บั คะแนน ไม่สุจริตและไม่โปร่งใส” (ชูชาติ สีคร้าม, 21 มีนาคม 2555) ใน เขตเลือกตั้งที่ 1 นับคะแนนรวมตามกฎหมายการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 ณ สนามกีฬา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และเขตเลือกตั้งที่2 นับคะแนนรวม ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัย 170

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ (มศว. องครักษ์) เป็นเหตุ ให้กกต.ส่วนกลางจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่จนกว่าจะยุติและ กกต.ประกาศผลอย่างเป็นทางการ จากกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในยุคการปฏิรูป การเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ในเรื่องที่ว่ามีผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ตามบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง (ส.ส.11) ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งนั้น เคยเกิดขึ้นใน การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเมื่อหลายสิบปีก่อนในจังหวัดที่ผู้สมัคร มอี ทิ ธพิ ล และนครนายกกไ็ มเ่ คยมใี ครเลา่ ขานวา่ เคยมแี ตอ่ ยา่ งใด และในการเลือกตั้ง ส.ส.ของจังหวัดนครนายกตั้งแต่ต้นปี 2544 จนมาจบที่เลือกตั้งเขต 2 ครั้งที่ 4 เกิดมีบัตรที่จ่ายออกไปให้คน ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งตามบัญชี ส.ส.11 มากกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ เลือกตั้ง 2 ราย หน่วยเลือกตั้งที่มีปัญหานี้ก็คือหน่วยเลือกตั้ง ที่ 8 วัดศรีสุวรรณ ต.บ้านพริก อ.บ้านนา ผู้ที่ชูประเด็นมาร้อง คัดค้านก็คือ นายวิกิจ อิสระเสนารักษ์ ผู้สมัคร ส.ส.ที่พ่ายแพ้ การเลือกตั้งในรอบที่ 4 นั่นเอง โดยอ้างว่าได้หลักฐานแน่นหนา ว่ามีการกระทำการทุจริตการเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่ 8 ต.บ้านพริกอย่างแน่นอน และหลักฐานที่สำคัญที่นำมาเผยแพร่ ทางหนังสือพิมพ์เสียงสาริกาก็คือ ต้นขั้วบัตรที่เป็นเจ้าปัญหา 2 ใบ คือบัตรเลขที่ 0073198 ที่ระบุชื่อคนใช้สิทธิ์คือชื่อทองเสียม ศิริสงวน และบัตรเลขที่ 0073406 ที่ระบุชื่อคนใช้สิทธิ์ชื่อสมัย ทองเที่ยง ซึ่งเป็นบัตรเกิน 2 ราย แถมในต้นขั้วบัตรจะมีลายเซ็น ชื่อกรรมการผู้จ่ายบัตร ระบุว่าชื่อนางศรีสุดา จรุงจิตจรรยา จากการเกิดบัตรเกินดังกล่าวนี้ นายวิกิจ อิสระเสนารักษ์ ได้ไป ฟ้องศาลให้ดำเนินคดีกับ กกต. จังหวัด 5 คน ผอ. กกต. จังหวัด 171

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก และนางศรีสุดา จรุงจิตจรรยา กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่ 8 ต.บ้านพริก ที่มารับเคราะห์กรรมทางสังคมและอาญา จากการให้สัมภาษณ์ของนายอรรถนนท์ เทียนทอง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งจังหวัดนครนายกที่นักข่าวเสียงชาว บ้านถามว่า “การที่นสพ.เสียงสาริกา นำต้นขั้วบัตรที่จ่ายให้แก่ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยอ้างว่าไม่มีตัวตน เขาเอาบัตรดังกล่าวมาได้ อย่างไร และเป็นจริงหรือไม่” ท่านผอ.อรรถนนท์ให้ความเห็นว่า “ไม่ทราบว่าเขาเอามาได้อย่างไร” และยอมรับว่าเป็นบัตรที่มีชื่อ ที่ระบุเป็นชื่อสมัย ทองเที่ยง และทองเสียม ศิริสงวน จริง ส่วน บัตรที่ 2 ที่ปรากฏในเสียงสาริกา ตอบไม่ได้ว่าเป็นของจริงหรือ ไม่ ตอนแรกยังหาไม่พบว่าที่เกินมา 2ใบนั้นเป็นชื่อใครบ้าง เพิ่งมาทราบตอนหลังที่นายวิกิจ เขาร้องมา เราก็ไปตรวจสอบ ตามที่เขาร้อง ก็พบจริงๆ ตามร้อง ต้องขอชมคุณวิกิจ ที่เก่งมาก สามารถทราบก่อนกรรมการไปตรวจสอบต่อข้อถามที่ว่า กรรมการประจำหน่วยที่ระบุว่าเป็นลายมือชื่อคุณศรีสุดา จรุงจิตจรรยา ที่ปรากฏในบัตรทั้ง 2 ทาง กกต. ดำเนินการ อย่างไร ผอ.กกต.นย. ตอบว่า ทางกกต.จังหวัดได้สอบสวนเสร็จ เรียบร้อยไปแล้ว พร้อมทั้งรายงานให้กกต. ส่วนกลางพิจารณา หากตัดสินมาอย่างไรก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย และ ข้อซักถามที่ว่าเสียงสาริกาลงคำให้สัมภาษณ์ของท่าน ยอมรับ ไหมว่าเป็นไปตามนั้น ท่านผอ.อรรถนนท์ตอบสวนอย่างมี อารมณ์ว่า ผมพูดนิดเดียวเขาไปเขียนเพิ่มเติมมากเกินไป ท่านต่อมาเป็นนักการเมืองเต็มตัว เพราะตอนนี้เป็น ส.ส. เขต 1 นครนายกคือ นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.เขต 1 172

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” นครนายก ให้ความเห็นกรณีเรื่องบัตรเกินที่หน่วยที่ 8 ต.บ้านพริกไว้ว่า “ผมไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นที่นครนายก คนที่ คิดทำย่อมแสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมวางแผนไว้เป็นอย่างดี เพราะข้อสงสัยประเด็นอยู่ที่ทำไมหนังสือพิมพ์เสียงสาริกานำมา ได้อย่างไร เพราะเมื่อเลือกตั้งเสร็จที่หน่วยกรรมการประจำ หน่วยจะต้องรวบรวมเอกสารรีบส่งพร้อมทั้งหีบบัตรไปยังสถาน ที่นับคะแนนคือที่ ม.ศ.ว.องครักษ์ ที่อ้างว่ามีคนส่งไปให้นั้น ก็เป็นคำพูดที่ชาวบ้านเขาได้ยินมาจนชินชาเสียแล้ว” คุณสิทธิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก เขต 1 ยังได้ให้ความ เห็นเรื่องการเมืองนครนายกในช่วงหลังเลือกตั้งว่า “ตอนนี้ถือว่า ทุกอย่างได้จบสิ้นแล้ว ไม่มีขั้วไม่มีฝ่าย ผมถือว่าเป็นผู้แทน ราษฎรของคนนครนายกทั้งจังหวัดรวมทั้งของประชาชน ทั้งประเทศด้วย ประชาชนคนไหนมีปัญหาอะไรก็สามารถ ไปพบปะ ส.ส.ของตนเองได้ ตอนนี้ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตน ให้ดีที่สุด อย่าไปหลงเชื่อพวกปลุกกระแสมาชักชวนไปโน่นไปนี่ นี่ล่าสุดได้ข่าวมาว่ามีหัวคะแนนที่อยู่พรรคตรงข้ามได้ชักชวน ชาวบ้านแถวตำบลบ้านนา โดยหลอกว่าจะพาไปอบรมเรื่อง เห็ดหลินจือที่กรุงเทพฯ ที่ไหนได้กลายเป็นหน้าทำเนียบรัฐบาล ก็ขอฝากถึงชาวบ้านด้วย อย่าไปหลงเชื่อกันง่ายๆ อยู่บ้าน ทำมาหากินจะดีกว่า” นักการเมืองอีกท่านหนึ่งที่สัมผัสโดยตรง เพราะเป็น ผู้สมัครในเขต 2 และได้รับเลือกตั้งชนะคู่แข่ง 3 ใน 4 ครั้ง ตอนนี้ได้เป็นผู้แทนราษฎรเต็มตัว คือคุณวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.เขต 2 นครนายก ได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีที่เกิดขึ้นที่หน่วย เลือกตั้งที่ 8 ต.บ้านพริก ถึงเรื่องมีบัตรเกินในหน่วยนี้ 2 ใบ 173

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ซึ่งคุณวุฒิชัย ได้กล่าวว่า “ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้น และคนที่ร้อง ก็ขออย่าได้มากล่าวพาดพิงฝ่ายตนเลย เพราะวิธีสกปรกทำผิด ชัดเจนแบบนี้มันไม่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเมืองของไทยเรา เลย ตอนแรกนึกว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 20 ปี 30 ปีก่อน โน้นเสียอีก ผมก็คิดว่าเรื่องที่เกิดขึ้น ดูๆ แล้วน่าจะเป็นการ เตรียมการไว้ล่วงหน้าที่แยบยลมาก ขนาด กกต.ก็ยังงงเลยว่า บัตรเกินนั้นออกมาเผยแพร่ทางสื่อได้อย่างไร ผมหวังว่า กกต. คงจะตรวจสอบและสอบสวนผู้กระทำผิดได้ไม่ยาก” ท่านสุดท้ายเป็นนักเลือกตั้งมาหลายระดับ มีความ เข้าใจในกฎหมายเลือกตั้งค่อนข้างชัดเจน ได้ให้ทรรศนะถึงเรื่อง จำนวนบัตรที่เกินในหน่วยเลือกตั้งที่ 8 ต.บ้านพริกว่า “ยังสงสัย อยู่ว่าการกระทำความผิดตามมาตรา 58 จะมีใครกล้าหาญ ชาญชัยไปทำ เพราะมาตรา 58 ของ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก วุฒิสภา พ.ศ.2541 ระบุไว้ชัดโดยสรุปความว่า ห้ามไม่ให้ผู้ใด ซึ่งรู้อยู่ก่อนแล้ว ว่าไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง หาก ฝ่าฝืนไปลงคะแนนก็จะมีความผิดตามมาตรา 101 ในมาตรานี้ เขากล่าวบทลงโทษผู้กระทำผิดหลายมาตรา เช่น มาตรา 17 มาตรา 44 มาตรา 47 มาตรา 58 มาตรา 71 หรือมาตรา 91 ในมาตรา 101 ใครไปฝ่าฝืนตามมาตราดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถือสิบปี และปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ฉะนั้นผมฟันธงได้เลยว่าผู้กระทำต้อง เป็นฝ่ายที่วางแผนไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าตนเองชนะก็จะเลยตามเลย แต่ถ้าเกิดแพ้ต้องใช้แผนนี้ออกมาใช้ และ กกต.จะต้องสอบสวน 174

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ให้หนักในหน่วยเลือกตั้งนั้น โดยเฉพาะกรรมการที่จ่ายบัตร เลือกตั้ง แต่น่าวิเคราะห์ตรงที่ โดยปรกติกรรมการมักจะ ลงลายมือชื่อในบัตรไว้ก่อนล่วงหน้าเป็นการประหยัดเวลา ถ้ากรรมการผู้จ่ายบัตรที่เซ็นชื่อไว้ในบัตรล่วงหน้าเกิดลุกออกไป ท่านข้าวกลางวันหรือทำธุระส่วนตัว ตรงนี้อาจเป็นไปได้ที่จะมี ผู้ไม่หวังดีแอบไปลักบัตรมาใช้ทำการชั่วก็ได้ แต่ถ้าถามประเด็น สืบเนื่องว่าภายในบริเวณเลือกตั้งผู้ไม่มีสิทธิ์เกี่ยวข้องห้ามเข้า ยกเว้นกรรมการประจำหน่วยและผู้มีสิทธิ์ตามบัญชี ส.ส.11 เท่านั้น ประเด็นตรงที่มีการเปลี่ยนกันทำหน้าที่จ่ายบัตร ก็ต้อง สอบกรรมการประจำหน่วยให้ละเอียด รวมทั้งสอบหนังสือพิมพ์ เสียงสาริกาที่อ้างว่า มีคนส่งต้นขั้วบัตรไปให้ กกต. ก็ต้องสอบ ให้หมดไม่ต้องไว้หน้า คนที่ร้องก็ต้องสอบสวนให้ละเอียด คนที่ ได้ถ้าพาดพิงก็ต้องสอบ เชื่อว่าจะต้องหาคนทำผิดได้ ส่วนเรื่อง ที่กล่าวว่าบัตรที่เกิน 2 ใบนี้จะนำไปใช้เวียนเทียนนั้นก็ให้ความ เห็นว่า กรณีนำไปเวียนเทียนเพื่อหวังผลทางคะแนนเสียงนั้น เป็นไปแทบไม่ได้เลย เป็นไปได้เฉพาะที่เกินในหน่วย เลือกตั้งเท่านั้น จะนำไปใช้หน่วยอื่นตอบว่ายากมาก ยกเว้น บัตรที่ขาดไปจากบัญชี ส.ส.11 เพราะจะนำไปเวียนที่หน่วยนั้น ที่แอบเอามา และขยายผลไปใช้ในหน่วยอื่นก็เป็นไปได้แต่ไม่ มากนัก การกล่าวว่าจะนำไปเวียนเทียน คนที่พูดก็แสดงว่าเคย มีประสบการณ์มากกว่า” (ที่มา: หนังสือพิมพ์เสียงชาวบ้าน ปีที่ 1 ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 16 ตุลาคม 2544 หน้า 8) กล่าวโดยสรุปภาพรวมของการเลือกตั้งจังหวัด นครนายกในปี 2544 มีเหตุการณ์น่าสนใจคือเรื่องการเลือกตั้ง หลายรอบในคราวเดียวรวมทั้ง 2 เขต 7 ครั้ง กฎหมายเลือกตั้ง 175

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ก็มีช่องโหว่ให้ฝ่ายแพ้ร้องคัดค้านได้สะดวก เพียงใช้คำว่า “สันนิษฐานอันเชื่อได้ว่าคนนั้นคนนี้ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง” จังหวัดนครนายกจึงเป็นแชมป์การเลือกตั้งหลายรอบไปโดย ปริยาย และเหตุการณ์ที่ดังสุดขีดก็เรื่องการนำเทปลับที่แอบไป ดักฟังคนอื่น ที่นายชาญชัยไปยื่นให้ กกต. ทำให้นายชาญชัย คนทั่วประเทศรู้จักไปโดยไม่ต้องจ้างโฆษณา (ที่มา : หนังสือพิมพ์เสียงชาวบ้าน ปีที่ 1 ฉบับที่ 14 ประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2544) สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2549 ตระกลู กิตติธเนศวร คือ นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร และนายวุฒิชัย กิตติธเนศวรได้รับเลือกทั้งคู่ ยุคท่ีสี่ หรือ ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2550-2554) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ ส.ส. จำนวน 480 คน โดยเป็น ส.ส.ซึ่งมาจาก การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และ ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้ง ครั้งที่ 24 ตามความในพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ซึ่งให้มีการยุบสภาผู้แทน ราษฎรตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย 2550 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เลือกตั้ง จำนวน 375 คน และ ส.ส.ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน จะเห็นว่า ส.ส.แบบแบ่งเขต 176

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ลดลงจำนวน 25 คน และมาเพิ่มใน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (Party List) จำนวน 45 คน รวมเป็น ส.ส. แบบัญชีรายชื่อ 125 คน ภาพการเมืองของจังหวัดนครนายกในยุคที่สี่หรือ ยุคปัจจุบันยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่างสองตระกูลดังคือ ตระกูลกิตติธเนศวร และ ตระกูลอิสระเสนารักษ์ โดยได้รับเลือก จากประชาชนสลับกันแพ้-ชนะ ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบ แบ่งเขตเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 ในส่วนของจังหวัด นครนายก มีการเลือกตั้งทั้งหมด 1 เขตเลือกตั้ง ผู้ที่ได้รับ เลือกตั้งเป็น ส.ส. คือ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ 51,072 คะแนน มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 142,277 คน คิดเป็น 79.58% แต่ในภายหลัง กกต. มีมติให้ใบเหลืองแก่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ กกต.มีมติให้จัดการ เลอื กตง้ั ซอ่ มในวนั ท่ี 20 มกราคม พ.ศ.2551 ปรากฏวา่ นายชาญชยั อิสระเสนารักษ์ หมายเลข 9 พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนน 36,283 คะแนน ขณะที่ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ผลการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขต มีผู้มาใช้ สิทธิ 151, 691 คน คิดเป็น 79.12% ปรากฏว่าระบบบัญชี รายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนสูงสุด คือ 53,466 คะแนน รองลงมา คือ พรรคเพื่อไทย 53,031 คะแนน ตามมาด้วย พรรคภูมิใจไทย 15,697 คะแนน สำหรับระบบแบ่งเขต ผู้ได้รับ เลือกตั้งเป็นส.ส.คือ นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ผู้สมัครหมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทยได้รับคะแนน 46,122 คะแนน ห่างจาก 177

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ เพียง 226 คะแนน 4 . แทลิศะทนาักงกแานรวเโมนือ้มงทถา่ินงจกังาหรวเมัดือนงค รนายก แนวโน้มทางการเมืองและนักการเมืองถิ่นจังหวัด นครนายกในอนาคต คือ สังคมไทยจะตระหนักในการปกครอง แบบประชาธิปไตย ทั้งนี้เนื่องจากความเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ถูกกระจายไปในสังคมอย่างรวดเร็ว ประชาชน ได้รับข่าวสารต่างๆ ประกอบกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ของประเทศไทยที่ส่งผลให้ประชาชนตื่นตัวในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ เป็นอย่างมาก รูปแบบการหาเสียงในอนาคตจะเปลี่ยนไป แม้ว่าการเดินทางลงพื้นที่เพื่อพบปะประชาชนเพื่อสื่อสารพูดคุย แบบหน้าต่อหน้า (face to face communication) ก็ยังคงมีความ สำคัญอยู่ แต่จะมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาทำให้การ หาเสียงมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะช่วยให้ประหยัดเวลา ประหยัดทุนทรัพย์ และกระจายข้อความได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายทอดการปราศรัยนโยบายพรรคผ่านอินเทอร์เน็ตหรือ การส่งสัญญาณดาวเทียมได้ทั่วประเทศในคราวเดียว และ สามารถตอบโต้พูดคุยกันได้เพราะสามารถใช้ระบบการประชุม ทางไกล (teleconference) เข้ามาช่วย เป็นต้น ผู้สมัคร ส.ส. จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้นเพื่อนำเสนอ นโยบาย หาเสียง ตอบปัญหาประชาชน มากกว่าการลงทุน 178

ภาพรวมของ”การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ผ่านแผ่นพับหรือลงโฆษณาทางโทรทัศน์ รูปแบบการหาเสียง กับประชาชนในชนบท จะเป็นการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อ การสื่อสารภายในหมู่บ้าน เพื่อให้คนในหมู่บ้านที่มีความล้าหลัง ทางเทคโนโลยีสามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวและแสดง ความคิดเห็นทางการเมือง ภาพการเมืองของจังหวัดนครนายกในอนาคต สิ่งที่ ไม่อาจมองข้ามคือทายาทนักการเมืองคนสำคัญ ได้แก่ นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร ซึ่งนับวันจะมีประสบการณ์ทาง การเมืองเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีดีกรีปริญญาโท วิศวกรรม โยธา จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย มีประสบการณ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เป็นครั้งที่สอง นายเกรียงไกร มีฐานคะแนนเสียงจากกลุ่มเสื้อแดงนครนายก และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เคยเป็นลูกน้องเก่าของนายสิทธิชัย เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม จากคำให้สัมภาษณ์ของประชาชน ชาวนครนายกถึงแนวโน้มทางการเมืองและนักการเมืองถิ่น ในอนาคตจะเป็นเช่นไร ปรากฏว่าส่วนใหญ่มีความเห็นว่าทั้ง สองตระกูลจะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อไป แต่ก็มีบางกระแส ที่กล่าวว่าสุดท้ายแล้วการแข่งขันจะเหลือเพียงตระกูลเดียว ที่ต้องแข่งขันกันเอง นั่นคือ ตระกูลกิตติธเนศวร 179

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก 5. สรุป ภาพรวมของ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จังหวัดนครนายก เนื้อหาสาระภายในบทนี้ผู้เขียนได้นำเสนอ ข้อมูลจากการเลือกตั้งในระดับชาติสู่ระดับท้องถิ่น ประวัติ นักการเมืองถิ่นของจังหวัดนครนายก เพื่อให้ผู้อ่านได้สัมผัสถึง คุณสมบัติของผู้ที่ประสบความสำเร็จ ของบุคคลที่เรียกได้ว่า เป็นตำนานของจังหวัดที่มีความสำคัญในแต่ละช่วงเวลา เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติของบุคคลสำคัญที่ได้เสียสละ และ อุทิศแรงกายแรงใจเพื่อประชาชนในท้องถิ่นและเพื่อประเทศ ชาติโดยรวม นอกจากนี้ยังได้นำเสนอพัฒนาการทางการเมือง จังหวัดนครนายกจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้อ่านได้เสมือน อยู่ในเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้น ส่งท้ายด้วยการทำนายทิศทาง แนวโน้มทางการเมืองและนักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนนายก ในอนาคต 180

บ5ทท ่ี สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศึกษาวิจัย “การเมืองถิ่นและนักการเมืองถ่ิน จังหวัดนครนายก” จากการทบทวนประวัติและเส้นทาง ทางการเมืองของนักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ตั้งแต ่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2576 จนถึง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร อันประกอบ ด้วย เอกสารข้อมูลเบื้องต้น งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และหนังสือ อื่นๆ เช่น หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และ การสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังได้มา จากการสังเกตการณ์ของผู้เขียนในสนามเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาสามารถสรุปและอภิปรายผล การศึกษาได้ดังนี้

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก 1. บทสรุปภาพรวมการเมืองถิ่น และนักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก จังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดขนาดเล็กมี 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และ อำเภอองครักษ์ ในยุคการเมืองช่วงปี พ.ศ.2475-2535 เรียกว่า ยุคการเมืองเก่า มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 1 คน ยุคการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2538-2549 เป็นยุคการเมืองพัฒนา โดยจะมีประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมานี้เป็นผลจาก การย้ายโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจากถนนราชดำเนิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร มายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ จังหวัด นครนายก เมื่อปี พ.ศ. 2530 ทำให้จังหวัดนครนายกมีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเพิ่มอีก 1 คน รวมเป็น 2 คน โดยคิด อัตราส่วนของประชากร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร (ส.ส.) 1 คน เกินครึ่งของ 150,000 คนทำให้มีสมาชิก สภาผแู้ ทนราษฎร (ส.ส.) ไดอ้ กี 1 คน ตามทก่ี ฎหมายรฐั ธรรมนญู บัญญัติไว้ ยุคการเมืองใหม่ช่วงปี พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเหลือ 375 คนทั้งประเทศ ทำให้จังหวัดนครนายกเหลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เพียง 1 คนเท่านั้น การที่จังหวัดนครนายกมีพื้นที่ไม่ใหญ่โตนัก ทำให้ นักการเมืองถิ่นสามารถออกไปพบปะประชาชนได้ทั่วถึง นักการเมืองถิ่นที่มีฐานะเศรษฐกิจดี ย่อมสร้างเครือข่าย หัวคะแนนครอบคลุมได้เต็มพื้นที่ จึงทำให้นักการเมืองถิ่น เหล่านี้สามารถเดินก้าวสู่สภาได้โดยสะดวก จากข้อเด่นทาง 182

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อนักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายกนั้น จะพบ ว่าผลการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในระหว่างปี พ.ศ.2476-2535 ประชาชนจะเลือกผู้แทนราษฎรตามกระแสของผู้นำท้องถิ่น และอำนาจรัฐที่สั่งมาจากส่วนกลางผ่านจังหวัด อำเภอ ถึงผู้นำ ท้องถิ่น ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในยุคนั้นมักเป็นผู้แทนโดยเฉลี่ยไม่เกิน 2 สมัย การเมือง ในยุคนี้จะยังไม่เข้มข้น เพราะมีอำนาจรัฐเข้ามายุ่งเกี่ยว เช่น กรณีท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาจอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี และ พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชาที่ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรค สหประชาไทย พรรคฝ่ายรัฐบาลที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค ยุคนั้นใครก็ไม่กล้ามา ต่อกรแข่งขันมากนัก เป็นต้น สำหรับการเมืองถิ่นช่วงปี พ.ศ.2535-2554 การเมืองถิ่น จังหวัดนครนายก เริ่มมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง มีกลุ่ม การเมืองสายพ่อค้านักธุรกิจและสายอดีตข้าราชการผู้ใหญ่ลงสู่ สนามเลือกตั้ง และการหาเสียงเริ่มมีความเข้มข้นรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ในกรณีการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2535 องค์กรกลางเลือกตั้ง ส่วนกลาง ได้จัดส่งตำรวจชุดคอมมานโดลงพื้นที่จังหวัด นครนายก เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยให้แก่เจ้าหน้าที่องค์กร กลางการเลือกตั้งจังหวัดนครนายก และผู้ลงสมัครสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรที่เป็นคู่แข่งตัวเต็งทั้งคู่ เป็นการปราบอำนาจ อิทธิพลได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนผล การเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรมนำไปสู่การประท้วง หน้าศาลากลางจังหวัดนครนายกถึง 2 ครั้ง และที่สำนักงาน 183


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook