Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 38นักการเมืองถิ่นนครนายก

38นักการเมืองถิ่นนครนายก

Published by Meng Krub, 2021-06-09 13:02:11

Description: เล่มที่38นักการเมืองถิ่นนครนายก

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก โดย ดร.วรอนงค์ โกวทิ เสถยี รชยั ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย. นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั นครนายก- - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2556. 248 หน้า. -- (นักการเมืองถิ่น). 1. นักการเมือง 2. นักการเมือง--นครนายก. 3. ไทย--การเมืองและการปกครอง. l. ชื่อเรื่อง. 324.2092 ISBN : 978-974-449-772-7 รหัสสิง่ พมิ พข์ องสถาบนั พระปกเกล้า สวพ.57-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-772-7 ราคา XXX บาท พิมพ์ครงั้ ที่ 1 มิถุนายน 2557 จำนวนพิมพ ์ 500 เล่ม ลขิ สทิ ธ์ ิ สถาบันพระปกเกล้า ทป่ี รกึ ษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผ้แู ต่ง ดร.วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพมิ พโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพ์ที่ บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถ่ิน จังหวัดนครนายก วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย สถาบันพระปกเกล้า อภินันทนาการ

คำนำ เรียงร้อยถ้อยคำเล่าขานประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญ ในฐานะนักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ด้วยความอนุเคราะห์ พื้นที่จากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นองค์กรอิสระทางวิชาการ ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับงานด้านวิชาการ ครอบคลุมถึงเรื่องของ การวิจัย การจัดการศึกษา อบรม และเผยแพร่ให้ความรู้ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยและการเมือง การปกครอง รวมทั้งให้บริการคำแนะนำปรึกษาด้านการบริหาร การปกครองบ้านเมืองที่ดีอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดนครนายกนี้ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก สถาบันพระปกเกล้ามาโดยตลอด ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ให้ความกรุณาอนุเคราะห์ข้อมูล เวลา และ สถานที่ในความร่วมมือด้านต่างๆ เพื่ออำนวยผลให้งานวิจัย ชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอบคุณ คุณณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก และคุณวิศิษฎ ชัชวาลทิพากร ผู้ประสานงานให้เกิดความ ราบรื่นและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีที่สุด ขอบคุณเจ้าหน้าที่ ห้องสมุดรัฐสภาทุกท่าน ขอบคุณกัลยาณมิตรที่ดี อาจารย์ธาตรี มหันตรัตน์ ที่ได้แนะนำให้รู้จักกับสถาบันพระปกเกล้าแห่งนี้ ขอบพระคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาต้นสังกัด ของข้าพเจ้า และเหนือสิ่งอื่นใดลูกขอกราบขอบพระคุณ คุณแม่รวยพร โกวิทเสถียรชัย และคุณพ่อศุภกร โกวิทเสถียรชัย ที่ได้ให้กำลังใจลูกเสมอมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานวิจัยชิ้นนี้จักได้สร้างสรรค์ ประโยชน์ และจุดประกายความคิดให้กับผู้ที่สนใจทุกท่าน สมดังเจตนารมณ์ของโครงการทุกประการ วรอนงค์ โกวิทเสถียรชยั

บทคัดย่อ โครงการสำรวจเพอ่ื ประมวลขอ้ มลู นกั การเมอื งถน่ิ ในพน้ื ท่ี จังหวดั นครนายก มีวัตถปุ ระสงค์เพอ่ื ศึกษาประวตั นิ ักการเมืองท่ี เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นครนายกตง้ั แตป่ ี พ.ศ.2476 จนถงึ ปจั จบุ นั (พ.ศ.2554) การศกึ ษา ในครง้ั นเ้ี ปน็ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ (Qualitative Research) ใชว้ ธิ กี าร เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) และ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยมีระยะ เวลาทำการศึกษา 8 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 ถึง วนั ท่ี 31 ตลุ าคม 2554 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของ นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดนครนายก ตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ ์ ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่ นักการเมืองในจังหวัดนครนายก 3) เพื่อทราบบทบาทและความ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก สัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดนครนายก 4) เพื่อทราบถึงกลยุทธ์ในการหาเสียงและการรักษาฐานเสียง ในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดนครนายก และ 5) เพอ่ื ศกึ ษาแนวโนม้ ทศิ ทางทางการเมอื งในจงั หวดั นครนายก ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยได้รับเลือกเป็น ส.ส.จังหวัด นครนายกตง้ั แต่ พ.ศ.2476 - พ.ศ.2554 มจี ำนวน 13 คน โดยแบง่ ยุคการเมืองออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคแรกหรือยุคการเมืองเก่า (พ.ศ.2476 - พ.ศ.2500) ยุคที่สองหรือยุคอำนาจนิยม (พ.ศ.2500- พ.ศ.2539) ยุคที่สามหรือยุคปฏิรูปการเมือง (พ.ศ.2540 - พ.ศ.2549) และยุคที่สี่หรือยุคปัจจุบัน (พ.ศ..2550 - พ.ศ.2554) ภาพการเมอื งจงั หวดั นครนายกทป่ี ระสบชยั ชนะในการเลอื กตง้ั นน้ั ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการครองชัยชนะในพื้นที่อาศัยความ ใกลช้ ดิ กบั ประชาชนโดยการเขา้ รว่ มกจิ กรรมตา่ งๆ เชน่ การพบปะ เยี่ยมเยียน, การกล่าวปราศรัย และให้การอุปถัมภ์ โดยรักษา ความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผลประโยชน์หลากหลายกลุ่ม ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในยุคปัจจุบันจะเป็น การแข่งขันทางการเมืองระหว่าง สองตระกูลใหญ่ คือ ตระกูล “กิตติธเนศวร” และ ตระกูล “อิสระเสนารักษ์” ผู้ได้รับชัยชนะ ในการเลือกตั้งอาศัยฐานเสียงจากเครือญาติและการสนับสนุน ของเจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ผลการ ศกึ ษายงั พบวา่ แนวโนม้ บางกระแสกลา่ ววา่ ทศิ ทางทางการเมอื ง ของจังหวัดนครนายก สุดท้ายแล้วการแข่งขันจะเหลือเพียง ตระกูลเดียวที่ต้องแข่งขันกันเอง นั่นคือ “ตระกูลกิตติธเนศวร” ทง้ั นเ้ี พอ่ื สง่ ตอ่ ทายาททางการเมอื งของตนใหส้ านงานตอ่ ในฐานะ ตวั แทนของตระกลู ในลกั ษณะการผกู ขาดทางการเมอื ง VII

Abstract This research project aims to compile data on local politicians of Nakhon Nayok Province. The politicians who have been elected Members of Parliament for Nakhon Nayok Province from the year B.E. 2476 (1933 A.D.) This qualitative research utilizes documentary study and in-depth interviews as the key data-compilation instruments. The period of this study is 8 months from 1st March 2011 to 31st October 2011. The objectives of this study are 1) To study the background of the elected politicians in Nakhon Nayok Province from B.E. 2476 (1933 A.D.) till present 2) To examine the political network and politician relationship with the interest groups in Nakhon Nayok province 3) To scrutinize the role and relationship between the party and the politicians in Nakhon Nayok province 4) To analyze the vote-gaining

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก technique and the support base for the elections 5) To identify the political trends and the future of Nakhon Nayok’s politicians The finding results of the study show that the local politicians who have been elected Members of Parliament for Nakhon Nayok Province from the year B.E. 2476-2554 total number 13 persons. The key of success is the politicians who would be selected should maintain close relations with people through the activities such as area visit, making speeches and maintaining patronage. The politicians maintain ties with various economic, social and cultural interest groups. At present, the competition between two rival families - “Kittitanesuan” and “Issarasenarak” – was happening in Nakhon Noyak province. The network of their political support which based on kinship and local government officers through the local government in the level of district administrator such as Kamnan, or subdistrict headman, Pooyai Baan or Village headman, member of Subdistrict Administrative Organization (SAO).In addition, In the nutshell, trends and the future election of Nakhon Nayok will change into “Monopoly Politics Model” and it will be the competition within the family “Kittitanesuan” IX

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก

สารบัญ หน้า คำนำผู้แต่ง IV บทคัดย่อ VI Abstract VIII บทท่ี 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2 วัตถุประสงค์ 6 ขอบเขตของการศึกษา 7 พื้นที่การศึกษา 7 วิธีการศึกษา 8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 8 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของจังหวดั นครนายก 11 ประวัติความเป็นมา 12 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด 13 ที่ตั้งและสภาพภมู ิศาสตร์ 15 สภาพเศรษฐกิจ 18 สภาพสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม 21

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก หน้า เขตการปกครอง 27 ภูมิศาสตร์การเลือกตั้งจังหวัดนครนายก 29 บทท่ี 3 การทบทวนเอกสารงานวจิ ัยและแนวคดิ 33 ทฤษฎที ี่เก่ียวข้อง 34 แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ แนวความคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์และระบบเครือญาติ 52 แนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจและอิทธิพล 56 แนวความคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง 59 แนวความคิดเกี่ยวกับการรณรงค์ทางการเมือง 63 แนวความคิดเกี่ยวกับการตลาดการเมือง 71 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 75 บทท่ี 4 ภาพรวมของ”การเมืองถนิ่ ” และ “นักการเมอื งถน่ิ ” 81 จังหวัดนครนายก การเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก 83 ตั้งแต่ พ.ศ.2476 - ปัจจุบัน (พ.ศ.2554) ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก 123 พัฒนาการทางการเมืองจังหวัดนครนายกอดีตถึงปัจจุบัน 155 ทิศทางแนวโน้มทางการเมืองและนักการเมืองถิ่น 178 จังหวัดนครนายก สรุป 180 บทที่ 5 สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 181 บทสรุปภาพรวมการเมืองและนักการเมืองถิ่น 182 จังหวัดนครนายก 198 อภิปรายผล 208 ข้อเสนอแนะ 211 บรรณานุกรม XII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก หนา้ ภาคผนวก 219 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ 219 ภาคผนวก ข ตารางรายชื่อ ส.ส. จังหวัดนครนายก 223 ภาคผนวก ค ภาพนักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก 227 ประวัติผู้วิจัย 230 XIII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 20 2-1 ตารางแสดงรายได้เฉลี่ยประชากรครัวเรือน 25 2-2 ตารางแสดงสถานศึกษาจังหวัดนครนายก 28 2-3 ตารางแสดงจำนวนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดนครนายก 3-1 ตารางเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนญู 39 3-2 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพรรคการเมือง 50 และกลุ่มผลประโยชน์ 4-1 ตารางผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 122 จังหวัดนครนายก 3 ก.ค. 2554 XIV

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 13 2-1 ตราประจำจังหวัดนครนายก 14 2-2 “ดอกสุพรรณิการ์” ดอกไม้ประจำจังหวัด 14 2-3 “ต้นสุพรรณิการ์” ตันไม้ประจำจังหวัด 15 2-4 แผนภูมิแสดงที่ตั้งและอาณาเขต 30 2-5 แผนที่แสดงการแบ่งเขตเลือกตั้ง 31 2-6 แผนภาพแสดงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3-1 บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 42 3-2 แผนภาพกลไกการทำงานของพรรคการเมือง 45 4-1 จานที่แจกในสมัยที่ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม 136 สมัครรับเลือกตั้ง XV



บ1ทท ่ี บทนำ กแลาระศ“ึกนษักากา“รกเามรือเมงืถอง่ินถ”่ินจ”ังห วัดนครนายก โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดนครนายก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจเพื่อ ประมวลข้อมูลของนักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดสรรทุน สนับสนุนให้นักวิชาการในพื้นที่ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิจัยเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของการเมืองถิ่นและ นักการเมืองถิ่นในแต่ละจังหวัด ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนกับนักการเมืองของแต่ละท้องถิ่น ในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่มุ่งให้ความ สำคัญกับภาพของการเมืองในระดับประเทศมากกว่าที่จะ มองภาพของการเมืองในระดับท้องถิ่น ซึ่งในข้อเท็จจริงทาง การเมืองของไทยนั้น การเมืองในระดับประเทศล้วนมีรากฐาน

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ท ี ่ ส ำ ค ั ญ ม า จ า ก ก า ร เ ม ื อ ง ใ น ร ะ ด ั บ ท ้ อ ง ถ ิ ่ น แ ท บ ท ั ้ ง ส ิ ้ น ภาพการเมืองถิ่นในแต่ละท้องที่จึงเป็นเสมือนภาพสะท้อนของ การเมืองในแต่ละจังหวัดประกอบรวมกันเพื่อฉายภาพสะท้อน ของการเมืองในระดับประเทศ ดังนั้นการศึกษาวิจัยการเมืองถิ่นและนักการเมืองถิ่น ของจังหวัดนครนายก สามารถสะท้อนสภาพทางการเมืองในอีก หนึ่งท้องถิ่น คือ จังหวัดนครนายก ที่มีความเหมือนและความ แตกต่างไปจากภาพการเมืองถิ่นของจังหวัดอื่นๆ จากงานวิจัย ที่ผ่านมาและที่กำลังจะเกิดขึ้นของสถาบันพระปกเกล้า ผลจาก การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทำให้มองเห็นภาพการเมืองถิ่น และนักการเมืองถิ่นของจังหวัดนครนายกได้ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้ไปเปรียบเทียบกับภาพการเมือง ของจังหวัดอื่นๆ ต่อไป 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ได้รับการ ยอมรับในปัจจุบันว่าเหมาะสมกับสภาพการเมืองการปกครอง ของประเทศต่างๆ มากที่สุด หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง ข้อเท็จจริงดังกล่าวได้แก่การล่มสลายของระบอบการปกครอง ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบอบการปกครองแบบ เผด็จการทหาร รวมไปถึงการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าระบอบการปกครองที่ประชาชนในหลาย ประเทศให้การยอมรับว่าดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับการ ดำเนนิ ชวี ติ ในยคุ สมยั ปจั จบุ นั นเ้ี รยี กวา่ “ระบอบประชาธปิ ไตย” นั่นเอง

บทนำ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ระยะ เวลาเกือบ 80 ปีที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศ ประชาธิปไตยตามแบบอย่างในหลายประเทศ การเมืองการ ปกครองของไทยถูกเปลี่ยนผ่านให้อำนาจในการปกครองจาก ผู้ปกครองไปสู่ประชาชนโดยส่วนใหญ่ของประเทศ ระบอบ ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่อำนาจในการเมืองการปกครองเป็น ของประชาชนมาจากประชาชนและเพื่อประชาชนหรือที่เรียกว่า “อำนาจในระบอบประชาธปิ ไตยเปน็ ของปวงชน” ประชาชนใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยของตน โดยการเลือกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “ตัวแทนหรือ ผู้แทน” เข้าไปใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยแทนตนเอง กระบวนการหรือวิธีการที่ประชาชนใช้อำนาจในระบอบ ประชาธิปไตยคัดเลือกตัวแทนที่ตนเองยินยอมให้เป็นผู้แทน เพื่อใช้อำนาจนั้นแทนตนเรียกว่า “การเลือกตั้ง” ซึ่งเป็นวิธีการ ได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชนเจ้าของอำนาจในระบอบ ประชาธิปไตย ที่เป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆ ว่าเป็น กระบวนการหรือขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดในระบอบการ ปกครองแบบประชาธิปไตย ผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งหรือที่เรียกว่า “ผู้แทนราษฎร” นั้น เป็นบุคคลที่ประชาชนตัดสินใจเลือก เข้าไปเป็นผู้แทนของตนในการใช้อำนาจในทางการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในรัฐธรรมนูญของไทย

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ฉบับปีพุทธศักราช 2550 กำหนดให้ผู้แทนต้องสังกัดพรรค การเมืองจึงจะมีคุณสมบัติในการลงรับสมัครรับการเลือกตั้ง ให้เป็นผู้แทนของประชาชนได้ ทำให้บทบาทของพรรคการเมือง เข้ามามีอิทธิพลครอบงำผู้แทนของประชาชน ส่งผลให้บุคคล ที่เข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนขาดอิสระและเสรีภาพในการ ดำเนินทางการเมืองให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของ ประชาชนที่ใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยเลือกตั้งผู้แทน ของตน บทบาทของพรรคการเมืองในฐานะองค์กรทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทของผู้แทนประชาชนตาม หลักการในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน รวมไปถึงบทบาท ของประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริงในระบอบประชาธิปไตย เป็นบทบาทที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงที่ไม่สามารถแบ่งแยกออก จากกันได้ เพราะในระบอบการเมืองการปกครองแบบ ประชาธิปไตยของทุกประเทศ ล้วนมีกระบวนการขั้นตอนและ วิธีการเหมือนกันคือ ประชาชนเจ้าของอำนาจในระบอบ ประชาธิปไตยใช้อำนาจนั้นเลือกตั้งบุคคลที่เหมาะสมเข้าไปเป็น ตัวแทนของตนในระบบการเมืองการปกครอง ในขณะเดียวกัน บุคคลที่จะเป็นผู้แทนของประชาชนได้นั้นต้องสังกัดพรรค การเมืองตามที่กฎหมายกำหนด ความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระบอบ ประชาธิปไตยเริ่มมาจากประชาชนไปสู่นักการเมือง จาก นักการเมืองไปสู่พรรคการเมืองและจากพรรคการเมืองไปสู่การ บริหารในระดับประเทศนั้น โดยมีกระบวนการขั้นตอนและ วิธีการที่สลับซับซ้อนแตกต่างกันในแต่ละสภาพพื้นที่ของแต่ละ

บทนำ ท้องถิ่นเหล่านั้น สถาบันพระปกเกล้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของลักษณะความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาคำตอบ ว่าประชาชนในแต่ละท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ตัดสินใจเลือกผู้แทน ของตนอย่างไร บุคคลที่เสนอตัวเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชน ในแต่ละท้องถิ่นมีคุณลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตนอย่างไร รวมไปถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นชื่นชอบ มีนโยบายอย่างไร เป็นต้น การศกึ ษาวจิ ยั ในหวั ขอ้ “การเมอื งถนิ่ และนกั การเมอื ง ถิ่นจังหวัดนครนายก” ของสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบัน พระปกเกล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของ นักการเมืองและพรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชน ในจังหวัดนครนายกนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศ ไทยเป็นต้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์และองค์กรต่างๆ ทั้งใน ภาครัฐและเอกชนในจังหวัดนครนายกกับผู้แทนราษฎรและ พรรคการเมือง รวมไปถึงเพื่อศึกษาแนวโน้มทิศทางการเมืองใน จังหวัดนครนายกในอนาคตอีกด้วย ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัย “การเมืองถ่ินและ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก” ครั้งนี้ จะทำให้ทราบถึง ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครนายก ความเป็นมา ของการเมืองในจังหวัดนครนายกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับนักการเมืองในท้องถิ่นของ จังหวัดนครนายก รวมไปถึงทำให้ทราบแนวโน้มทิศทางทาง การเมืองในอนาคตของจังหวัดนครนายก ประโยชน์ที่เกิดขึ้น จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการนำไปสู่การ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก พัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นอกจาก นี้ยังทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้รับทราบความเป็นมาของ นักการเมืองที่มาจากพรรคการเมืองภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความร่วมมือร่วมใจ กันของทุกคนทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศไทยมีระบอบการเมือง การปกครองที่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริงต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของนักการเมืองที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดนครนายก ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน 2. เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชนแ์ ละกลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ เชน่ ครอบครวั วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีส่วนในการสนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดนครนายก 3. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดนครนายก 4. เพื่อทราบถึงกลยุทธ์ในการหาเสียงและการรักษา ฐานเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัด นครนายก 5. เพื่อศึกษาแนวโน้มทิศทางทางการเมืองในจังหวัด นครนายก

บทนำ 3. ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาเส้นทางทางการเมืองของนักการเมืองในระดับ ชาติ ทั้งการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดจนการ เลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2476 จนกระทั่งถึง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 โดยให้ความสำคัญเฉพาะผู้ที่ผ่านกระบวน และขั้นตอนการเลือกตั้งไม่รวมถึงการแต่งตั้งและให้ความ สำคัญกับเครือข่าย และความสัมพันธ์ของนักการเมือง บทบาท ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มที่เป็นทางการและกลุ่มที่ไม่เป็น ทางการต่างๆ รวมถึงบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองภายในจังหวัดนครนายก ตลอดจน รูปแบบ วิธีการกระบวนการและยุทธวิธีกลวิธีต่างๆ ในการ หาเสียงที่นักการเมืองในพื้นที่ใช้ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งเพื่อให้ ตนเองได้รับการเลือกให้เป็นตัวแทนหรือผู้แทนของประชาชน ในจังหวัดนครนายก 4. พ้ืน ที่การศึกษา พื้นที่จังหวัดนครนายกแบ่งการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอ องครักษ์ และอำเภอปากพลี

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก 5. วิธีการศึกษา วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็น เครื่องมือสำคัญในการศึกษา โดยมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลจาก แหล่งข้อมลู 2 แหล่ง คือ 1. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือ ตำราวิชาการ บทความ วารสาร หนงั สอื พมิ พ์ ราชกจิ จานเุ บกษา อนิ เทอรเ์ นต็ และเอกสารงานวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น 2. การวิจัยภาคสนาม (Field Research) จัดเก็บข้อมูล จากแหล่งข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth Interview) จากบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถให้ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องถึงความสัมพันธ์ของประชาชนกับ นักการเมืองต่างๆ ในพื้นที่ของตนได้เป็นอย่างดี 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ทราบความเป็นมาของนักการเมืองตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ เชน่ ครอบครวั วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีต่อการเมืองในท้องถิ่นที่ทำการศึกษา

บทนำ 3. ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการ เ ล ื อ ก ต ั ้ ง ส ม า ช ิ ก ส ภ า ผู ้ แ ท น ร า ษ ฎ ร ใ น จ ั ง ห ว ั ด นครนายก 4. ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้ง และการรักษาฐานเสียง 5. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป



บ2ทท ่ี ข้อมูลท่ัวไป ของจังหวัดนครนายก ‘นครนายก เมอื งในฝันท่ใี กล้กรงุ ภเู ขางาม นำ้ ตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ”

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก 1. ประวัติความเป็นมา นครนายกเป็นจังหวัดในภาคกลางสันนิษฐานว่าเคยเป็น เมืองสมัยทวาราวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ ตำบลดงละคร แต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่าน ทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองในปี พ.ศ.2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็น มณฑลนครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อ ปี พ.ศ.2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง และให้มี ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน และในช่วง พ.ศ.2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ จังหวัดนครนายกเดิมชื่อ บ้านนา เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายก เป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนาหรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อย ได้ผล มีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนกลายเป็น เมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของ ชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมือง อยู่ที่เดิม ทำให้มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่า เมืองนา-ยก ภายหลังจึงกลาย เป็นนครนายก จนทุกวันนี้ (สำนักงานจังหวัดนครนายก : 2554) 12

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครนายก 2. สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ภาพที่ 2-1 ตราประจำจังหวดั นครนายก ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดนครนายก เป็นรูปช้างช ู รวงข้าว ท่ามกลางฉากหลังรูปกองฟาง ที่สื่อถึงว่า ครั้งหนึ่ง นครนายกเป็นเมืองที่มีช้างมาก โดยปัจจุบันมีสถานที่และชื่อวัด ที่เกี่ยวข้องอยู่หลายแห่ง อาทิ ตำบลท่าช้าง วัดท่าช้าง ในขณะ ที่อำเภอเมืองนครนายกก็เคยเป็นท่าข้ามของโขลงช้างมาก่อน ส่วนรวงข้าวและกองฟางนั้น หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของ พืชพันธุ์ธัญญาหาร รปู วงกลม คือ ความกลมเกลียวและความสามัคคีของคน จังหวัดนครนายก ช้างชรู วงข้าว คือ จังหวัดนครนายกนั้นเป็นจังหวัดที่มีป่าไม้ อุดมสมบรู ณ์มีช้างมาก โดยช้างของจังหวัด นครนายก เป็นช้างที่มีความสำคัญในการคัดเลือกช้างเพื่อ ไปทำศึกสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวงข้าว คือ อาชีพหลักของชาวนครนายกที่ส่วนใหญ่ มีอาชีพการทำนาและได้ข้าวอุดมสมบูรณ์ดี สามารถส่งไปยังเมืองหลวงได้ 13

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ภาพท่ี 2-2 “ดอกสพุ รรณิการ”์ ดอกไม้ประจำจงั หวดั ภาพที่ 2-3 “ต้นสพุ รรณกิ าร์” ต้นไมป้ ระจำจงั หวัด ที่มา : สำนักงานจังหวัดนครนายก 14

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครนายก 3. ท่ีต้ังและสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดนครนายก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ ไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา ตะวันออก มีระยะทางจากกรุงเทพมหานครตามถนนทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 305 เลียบคลอง รังสิตผ่านอำเภอองครักษ์ ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร แต่ถ้ามีการ ก่อสร้างทางคมนาคมสายตรงจากกรุงเทพมหานครจะมีระยะ ทางประมาณ 60 กิโลเมตรมีเนื้อที่จังหวัดประมาณ 2,122 ตร.กม. หรือประมาณ 1,326,250 ไร่ อาณาเขต ภาพที่ 2-4 แผนภูมิแสดงทต่ี ง้ั และอาณาเขต จังหวัดนครนายกมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดข้างเคียง ดังนี้ 15

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ทิศเหนือ ตดิ ตอ่ กบั จงั หวดั สระบรุ ี และจงั หวดั นครราชสมี า ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัด ปราจีนบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัด ปราจีนบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดปทุมธานี ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออก เป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมือง-นครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือ ยอดเขาเขียว มีความสูงจาก ระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็น ที่ราบ อันกว้างใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาที่เรียกว่า “ท่ีราบกรุงเทพ” ลักษณะดินเป็นดินปน ทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การทำนาทำสวนผลไม้ และการ อยู่อาศัย (มุมการจัดการความรู้ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี: 2012) ลกั ษณะภมู ิอากาศ จังหวัดนครนายกไม่มีสถานีอุตุนิยมวิทยาสำหรับ ตรวจวัดอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน จึงได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวของ จังหวัดปราจีนบุรี สำหรับปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิเฉลี่ยของ ปี 2549 (ม.ค.-ส ค.) มีดังนี้ 16

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครนายก - อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 34.39 องศาเซลเซียส - อุณหภมู ิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 23.95 องศาเซลเซียส - ปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือน (ม.ค.-ส.ค.) วัดได้เฉลี่ย ประมาณ 156.08 ม.ม. ที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดปราจีนบุรี การคมนาคม ระบบถนนในจังหวัดนครนายกตั้งอยู่บนเส้นทาง คมนาคมที่เชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศรวมทั้ง อยู่บนเส้นทางไปสู่ชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นประตูเศรษฐกิจ สู่อินโดจีนทางด้านตะวันออกเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญของ จังหวัด ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) แยกจากถนนพหลโยธินที่ตำบลหินกอง จังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอบ้านนา เข้าจังหวัดนครนายก ไปสิ้นสุดที่ชายแดน ไทย-กัมพูชา อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว - ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 305 จากรังสิต-จังหวัดนครนายก - ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 3222 จากอำเภอบ้านนา-อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3049 จากอำเภอ เมืองฯ - น้ำตกสาริกา น้ำตกนางรอง - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3239 สายศรีนาวา - ท่าด่าน จังหวัดนครนายก - ทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 3051 สายบางอ้อ-องครักษ์ จังหวัด นครนายก - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3288 สายท่าแดง - วังม่วง จังหวัดนครนายก - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3076 สายนครนายก-บ้านสร้าง - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3050 17

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก แยกเข้าน้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก การรถไฟแห่งประเทศ ไทยได้ก่อสร้างทางรถไฟ สายแก่งคอย-คลองสิบเก้าเชื่อม ระหว่างภาคเหนือ / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปสู่พื้นที่ชายฝั่ง ทะเลตะวันออกเพื่อรับส่งสินค้า โดยผ่านจังหวัดนครนายก ในเขตอำเภอบ้านนาและอำเภอองครักษ์ (ที่มา: องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนครนายก) 4. สภาพเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดนครนายกในเดือน กรกฎาคม 2554 อยู่ในภาวะชะลอตัวเมื่อเมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีที่แล้ว โดยการพิจารณาดังนี้ (ที่มา: สำนักงาน คลังจังหวัดนครนายก) ด้านอุปทาน อยู่ในภาวะชะลอตัว เป็นผลมาจากภาค การเกษตรในภารวมหดตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวของ มลู ค่าผลผลิตข้าวนาปรังร้อยละ 87.78 เป็นผลมาจากเกษตรกร เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะเกรงว่าน้ำจะท่วมผลผลิตเสียหาย เนื่องจากฝนตกชุก ทำให้มีปริมาณผลผลิตข้าวที่จะออกสู่ตลาด ในเดือนนี้ลดลง ส่วนของมูลค่าผลผลิตด้านประมงมูลค่า ผลผลิตรวมออกสู่ตลาดเป็นเงิน 21.87 ล้านบาท ขายตัวร้อยละ 1.91 เป็นผลมาจากการขยายตัวของมูลค่าผลผลิตกุ้ง ในขณะ เดียวกันภาคนอกเกษตรอยู่ในภาวะชะลอตัวส่งผลให้ใน ภาพรวมของด้านอุปทานชะลอตัว ด้านอุปสงค์ อยู่ในภาวะขยายตัว ซึ่งหากพิจารณา เครื่องชี้ด้านอุปสงค์ จากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน 18

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครนายก ภาคเอกชน พบว่าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว โดยพิจารณา จากเครื่องชี้ที่สำคัญๆ เช่นภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ และการ จดทะเบียนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว ร้อยละ 8.33 และ 35.40 ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนอยู่ใน ภาวะหดตัว ด้านการเงิน อยู่ในภาวะขยายตัว พิจารณาจาก ปริมาณสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวจากปีที่แล้ว ร้อยละ 18.64 ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผู้บริโภค ขยายตัวร้อยละ 4.64 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวด อาหารและเครื่องสูงขึ้น ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตขยายตัวร้อยละ 5.22 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์จาก เหมือง ตามการสูงขึ้นของราคาปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ และหากพิจารณาด้านการจ้างงาน พบว่า จำนวน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 จึง ส่งผลให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดปรับตัวดีขึ้น ดา้ นรายได้ สามารถจดั เกบ็ รายไดท้ ง้ั สน้ิ 46.38 ลา้ นบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 5.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.33 เป็นผลจากการบริโภคภายในจังหวัดปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผล ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่นครนายก จัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น ด้านรายจ่าย มีการการเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 325.06 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 11.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.69 จากการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 19

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก ปีปัจจุบัน 320.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.29 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 10.43 ฐานะการคลัง รายได้นำส่งคลังรวม 30.42 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 4.443 ล้านบาท และมีการ เบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 325.06 ล้านบาท สูงกว่าเดือน เดียวกันของปีที่แล้ว 11.57 ล้านบาทส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณ ขายดุล 294.64 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มขึ้น 7.14 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 2.48 ตารางแสดงรายได้เฉลี่ย ประชากรครัวเรือนที่มีรายได ้ ต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี (การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2550 – 2554 ใช้ฐานรายได้เฉลี่ย 55,583.06 บาท/คน/ปี) และผลการ เทียบเป้าหมาย ระดับอำเภอจากข้อมูล จปฐ. ปี 2553 (ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก) ตารางท่ี 2-1 ตารางแสดงรายได้เฉลี่ยประชากรครัวเรือน อำเภอ ปี 2553 ปากพลี 63,765.33 เมืองนครนายก 55,859.92 บ้านนา 54,243.02 องครักษ์ 53,575.43 รวม 55,593.03 ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก 20

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครนายก 5. สภาพสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม ประชากร จำนวนประชากร ณ เดือน กันยายน 2553 เป็นชาย 125,070 คน หญิง 127,511 คน รวมทั้งสิ้น 252,581 คน และ จำนวนบ้าน 94,287 หลัง และจำนวนบ้าน 94,287 บ้าน แยก เป็นรายอำเภอ ดังนี้ 21

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก 22

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครนายก ศาสนาและอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 92.85 ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 5.61 และนับถือศาสนา คริสต์ประมาณร้อยละ 1.54 ประชากรร้อยละ 75 ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ศาสนสถานในจังหวัดนครนายกมีดังนี้ อำเภอ วัด โบสถค์ ริสต์ มสั ยิด ที่พกั สงฆ ์ เมืองนครนายก 84 3 2 4 ปากพลี 42 - - 1 บ้านนา 50 2 1 6 องครักษ์ 27 2 21 3 รวม 203 7 24 14 การสาธารณสขุ สถิติชีพประชากร จังหวัดนครนายกมีสถิติชีพประชากร ปี 2553 แยกได้ดังนี้ สถติ ิชีพ จำนวน (คน) อตั รา อัตราเกิด อัตราตาย 3,391 13.47 ต่อ 1,000 ประชากร อัตราเพิ่มธรรมชาติ อัตรามารดาตาย 1,990 7.91 ต่อ 1,000 ประชากร อัตราตายเด็ก 0-1 ปี อัตราตายเด็ก 0-5 ปี 1,401 ร้อยละ 0.56 0 0.0 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน 17 5.01 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน 30 1.67 ต่อเด็กอายุ 0-5ปี1,000 คน 23

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก มีสถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 62 แห่ง แยกออกได้ ดังนี้ สถานพยาบาล จำนวน จำนวน จำนวน เตียง เตียงทีใ่ ห้ เตยี งทีใ่ ห้ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ- ทั้งหมด บรกิ าร บริการ รัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ พ.ศ.2552 พ.ศ.2553 โรงพยาบาลนครนายก โรงพยาบาลบ้านนา 500 เตียง 363 เตียง 363 เตียง โรงพยาบาลองครักษ์ โรงพยาบาลปากพลี 360 เตียง 314 เตียง 306 เตียง โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อย 90 เตียง 70 เตียง 70 เตียง พระจุลจอมเกล้า 60 เตียง 40 เตียง 40 เตียง สถานีอนามัย 10 เตียง 10 เตียง 10 เตียง 90 เตียง 60 เตียง 60 เตียง จำนวน 56 แห่ง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานจริง (ตุลาคม 2553) ประเภทบคุ ลากร จำนวน (คน) อตั ราสว่ นประชากรตอ่ บคุ ลากร 1 คน แพทย์ 43 5,853 ทันตแพทย์ 21 11,983 เภสัชกร 23 10,941 พยาบาลวิชาชีพ 476 529 พยาบาลเทคนิค 66 3,813 บุคลากรอื่น ๆ 919 274 รวม 1,548 163 24

การศึกษา ตารางท่ี 2-2 ตารางแสดงจำนวนสถานศกึ ษาจงั หวัดนครนายก สังกัด สพท.นย. นอกสังกัด สพท.นย. ประเภท (1) สถาบัน กรมการ สนง.คณะ เทศบาล สังกัด กศน. รวม อาชีวะ ศาสนา กรรมการ (5) กระทรวง (7) ศึกษาเขต1 (3) อุดมศึกษา กลาโหม 186 (2) (4) (6) 3,190 55,381 โรงเรียน 171 3 1 1 3 2 5 2,042 ครู 2,531 202 9 261 90 97 - ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครนายก 604 25 4,846 80 นักเรียน 42,443 80 3,656 1,969 2,307 ห้องเรียน 1,839 139 3 - 61 - - เด็กพิการ เรียนร่วม 594 8 - 2 - - - ที่มา : สนง.เขตพื้นที่การศึกษานครนายก

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครนายก จำนวนสถานศึกษาในปีการศึกษา 2546 มีการจัดการ ศึกษา จำนวนโรงเรียน ครู นักเรียน ดังนี้ 1. สพท.นย. สังกัดสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษา นครนายก 2. สังกัดสถาบันอาชีวศึกษาเขต 1 รวม 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิทยาลัยการอาชีพ นครนายก และวิทยาลัยการอาชีพองครักษ์ 3. สังกัดกรมการศาสนา รวม 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ 4. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ 5. สังกัดเทศบาล รวม 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 แห่ง (วัดศรีเมือง) โรงเรียนเทศบาล 2 แห่ง (บ้าน ตลาดเก่า) และโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านต่ำบุญศิริ) 6. สังกัดกระทรวงกลาโหม รวม 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และโรงเรียนเตรียมทหาร 7. สังกัดการศึกษานอกโรงเรียน (จัดการศึกษา นอกระบบโรงเรียน) ได้แก่ ศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัด 1 แห่ง และศูนย์บริการศึกษา นอกโรงเรียนอำเภอ รวม 4 แห่ง 26

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครนายก 6. เขตการปกครอง จังหวัดนครนายก แบ่งเขตการปกครอง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ออกเป็น 4 อำเภอ 40 ตำบล 408 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 4 เทศบาลตำบล และ 40 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เทศบาลเมือง ได้แก่ เทศบาลเมืองนครนายก 2. เทศบาลตำบล ประกอบด้วย - เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก - เทศบาลตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี - เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา - เทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ 3. องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 40 แห่ง แยกได้ ดังนี้ อำเภอเมือง มี 13 ตำบล 125 หมู่บ้าน 2 เขตเทศบาล 12 อบต. อำเภอบ้านนา มี 10 ตำบล 115 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล 10 อบต. อำเภอปากพลี มี 7 ตำบล 51 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล 7 อบต. อำเภอองครักษ์ มี 11 ตำบล 116 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล 11 อบต. 27

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก 28 ตารางที่ 2-3 ตารางแสดงจำนวนองคก์ ารบริหารส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดนครนายก อำเภอเมอื ง อำเภอบา้ นนา อำเภอองครักษ์ อำเภอปากพล ี 1. อบต. พรหมณี 1. อบต. บ้านนา 1. อบต. องครักษ์ 1. อบต. ปากพลี 2. อบต. บางปลากด 2. อบต. เกาะหวาย 2. อบต. ท่าช้าง 2. อบต. พิกุลออก 3. อบต. บึงศาล 3. อบต. เกาะโพธิ์ 4. อบต. ทรายมูล 4. อบต. โคกกรวด 3. อบต. ดงละคร 3. อบต.บ้านพร้าว 5. อบต. พระอาจารย์ 5. อบต. หนองแสง 6. อบต. ศรีษะกระบือ 6. อบต. นาหินลาด 4. อบต. เขาพระ 4. อบต. ป่าขะ 7. อบต. โพธิ์แทน 7. อบต. ท่าเรือ 8. อบต. บางลกู เสือ 5. อบต. สาริกา 5. อบต. บ้านพริก 9. อบต. บางสมบูรณ์ 10. อบต. ชุมพล 6. อบต. หินตั้ง 6. อบต. บางอ้อ 11. อบต. คลองใหญ่ 7. อบต. ศรีนาวา 7. อบต. ทองหลาง 8. อบต. ท่าทราย 8. อบต. เขาเพิ่ม 9. อบต. ดอนยอ 9. อบต. ศรีกระอาง 10. อบต. บ้านใหญ่ 10.อบต. อาษา 11. อบต. ศรีจุฬา 12. อบต. วังกระโจม ที่มา:ที่ทำการปกครองจังหวัดนครนายก

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครนายก 7. ภูมิศาสตร์การเลือกตั้งจังหวัดนครนายก ในส่วนของเขตการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้การเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตใช้ระบบ เขตเดียวเบอร์เดียว หรือเขตเล็ก คือ 1 เขตการเลือกตั้งจะมี ส.ส. ได้ 1 คนเท่านั้น ดังนั้นจังหวัด นครนายกจึงมี 2 เขตการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต 2 คน และระบบปาร์ตี้ลิสต์ใช้เขตรวมทั้งประเทศ 100 คน (ราชกิจจานุเบกษา : 19) ซึ่งการแบ่งเขตแบบนี้ได้นำมา ใช้ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ใช้การ เลือกตั้งแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ คือ 1 เขตการเลือกตั้งสามารถ มี ส.ส. ได้มากกว่า 1 คน ซึ่งทำให้นครนายกมี 1 เขตเลือกตั้ง แต่มี ส.ส. 2 คนเท่าเดิม และการเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์หรือ สัดส่วน เปลี่ยนมาเป็นมี 8 กลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดหนึ่ง มี ส.ส.ได้ 10 คน (ราชกิจจานุเบกษา : 30) ใช้ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2554 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของเขต เลือกตั้ง ให้กลับไปใช้เขตเดียวเบอร์เดียวเช่นเดิม และ ลดจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจาก 400 คน เป็น 375 คน ทำให้ ส.ส. แบบแบ่งเขตของนครนายกลดลงเหลือ 1 คน ในส่วนของแบบสัดส่วนหรือปาร์ตี้ลิสต์แก้ไขจาก 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละกลุ่มมี ส.ส. ได้ 10 คน รวม 80 คน มาเป็นเขตรวมทั้ง ประเทศเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญมี พ.ศ. 2540 แต่เพิ่มจาก 100 คน เป็น 125 คน (ราชกิจจานุเบกษา : 1) 29

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก ที่มา : วิกิพีเดีย ภาพที่ 2-5 แผนทแ่ี สดงการแบง่ เขตเลอื กตัง้ ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครนายก 30

การเลอื กตัง้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจงั หวัดนครนายกเม่ือวนั ท่ี 3 กรกฎาคม 2554 ภาพท่ี 2-6 แผนภาพแสดงการเลือกตัง้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก เมื่อวนั ท่ี 3 กรกฎาคม 2554 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครนายก 31

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครนายก 32 ที่มา : เครือข่ายข้อมลู การเมืองไทย

บ3ทท ่ี แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ในการศึกษาวิจัยเรื่อง “โครงการสำรวจเพื่อประมวล ข้อมูลนักการเมืองถิ่น : จังหวัดนครนายก” ผู้วิจัยได้ทำการ ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็น กรอบในการวิเคราะห์และเป็นแนวทางเทียบเคียงผลการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แนวค ิดและทฤษฎี 1. แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมืองและกลุ่ม ผลประโยชน์ 2. แนวความคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์และระบบ เครือญาติ 3. แนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจและอิทธิพล 4. แนวความคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง 5. แนวความคิดเกี่ยวกับการรณรงค์ทางการเมือง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook