นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดชุมพร มีพระยาพหล พลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมี หลวง ศรีสุพรรณดิฐ ให้การสนับสนุน พ.ต.หลวงอภิบาลภวู นารถ (สังข์ นาคะวัจนะ) โดยเป็นฐานเสียงสำคัญในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว แต่เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทน ครั้งที่ 3 เนื่องจากมีพระราชบัญญัติยุบสภาผู้แทน ภายหลังจากรัฐบาลแพ้การลงมติของการพิจารณาวิธีการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ซึ่งผลทำให้ พระยา พหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตัดสินใจยุบ สภาผู้แทนในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ทำให้สภาผู้แทน สิ้นสุดลง และได้กำหนดให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ขึ้นใหม่ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทางตรง แบบแบ่งเขตการเลือก ตั้งในครั้งนั้น จังหวัดชุมพรมี นายเผียน ชุมวรฐายี (หลวง ศรีสุพรรณดิฐ) ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดชุมพร มีพลเอกหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีสมัยแรก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481-15 กรกฎาคม 2488 ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่าหลวงศรีสุพรรณดิฐ เป็น ผู้ที่สนใจการเมืองมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุน ให้ พ.ต.หลวงอภิบาลภูวนารถ ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลวงศรีสุพรรณดิฐ ถึงแก่ อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ศิริอายุ ได้ 74 ปี 132
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร นายประมวล กุลมาตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร 5 สมัย เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ตรงกับวัน พฤหัสบดี แรม 15 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ณ ตำบลพ้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร บิดาชื่อ นายวิวัฒน์ (ฮก) ป ร ะ ก อ บ อ า ช ี พ ร ั บ ร า ช ก า ร เ ป ็ น สรรพสามิตจังหวัดหลังสวน (ปัจจุบัน คือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร) มารดาชื่อ นางชาว กลมาตย์ นายประมวล กุลมาตย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน ได้แก่ 1. นายมานพ กุลมาตย์ 2.นายประมวล กุลมาตย์ 3. นายฒณัฏฐ์ กุลมาตย์ 4. นายสาคร กุลมาตย์ 5. นางกัญหา ศรีสาคร 6. นางเสาวลักษณ์ เย็นบุตร 7. นางมาลี จันทรทรัพย์ นายประมวล กุลมาตย์ สมรสกับ นางศรีรัตน์ ไชยาคำ อดีตพนักงานพระภูษาพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือนางประไพ กุลมาตย์ (ชื่นสมบุญ) ซึ่ง เป็นบุตรบุญธรรม และรองศาสตราจารย์ วิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ อาจารยม์ หาวทิ ยาลยั รามคำแหง และนายประพศั รพ์ งษ์ กลุ มาตย ์ การศกึ ษา นายประมวล กลุ มาตย์ จบการศกึ ษาระดบั ประถมศกึ ษา จากโรงเรียนวัดดอนยาง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอุดมวิทยา 133
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร วัดโตนด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จากนั้นได้ประกอบ อาชีพครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน และโรงเรียนศรียาภัย อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ต่อจากนั้นได้ ศึกษาด้วยตนเองจนสอบได้วิชาชีพครู จึงย้ายไปเป็นครูที่ กรุงเทพมหานคร สอนหนังสือที่โรงเรียนพุฒพัฒน์วิทยา ระหว่างนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง จนสำเร็จอนุปริญญาทางนิติศาสตร์ และศึกษา ต่อที่โรงเรียนราชการพลเรือนฝ่ายปกครองหลักสูตร 1 ปีโดยมี เพื่อนร่วมรุ่น คือ นายวิเชียร เวชสวรรค์ อดีตรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงมหาดไทย นายคล้าย จิตพิทักษ์ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง ดร. ชุบ กาญจนประการ นาย ประเสริฐ ชินะจิตร และศึกษาต่อเพิ่มเติมจากโรงเรียนสืบสวน กรมตำรวจรุ่นที่ 11 และโรงเรียนนายอำเภอตามลำดับ อาชีพ นายประมวล กุลมาตย์ ประกอบอาชีพรับราชการเป็น ครูที่โรงเรียนศรียาภัย อำเภอเมืองชุมพร และโรงเรียนสวนศรี วิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร หลังจากนั้นได้ลาออกมา เปิดโรงเรียนประมวลวิทยา ขึ้นดำเนินการเอง รับนักเรียนใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – ม. 3) และได้รับบรรจุ เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งปลัดอำเภอ ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2489 ขณะอายุได้ 29 ปี ได้ลาออกจากราชการ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร เป็นสมัยแรก โดยสังกัดพรรคสหชีพ ซึ่งมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าพรรค และได้ดำรง ตำแหน่งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 134
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร การทำหนา้ ท่ีสมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎรสมยั แรก เปน็ นกั อภิปราย คนหนึ่งของสภาจนได้รับสมญานามว่าดาวกระทู้แห่งสภา จากนั้นมีการยุบสภาเมื่อ พุทธศักราช 2490 จึงได้สมัครเข้ารับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรอีกสมัย ปรากฏว่าพ่ายแพ้แก่ พลตรีหลวงสุนาวิน สุนาวินวิวัฒ ซึ่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัยนั้น จึงหันมาประกอบ อาชีพทนายความอยู่ 4 ปี จึงทำเรื่องกลับเข้ารับราชการใหม่ โดยสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้รับการบรรจุ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอสันทราย จังหวัด เชียงใหม่ ขณะที่เป็นปลัดอยู่ที่อำเภอสันทราย ก็ได้ทำงานอย่าง สุดกำลังความสามารถ ในสมัยนั้นเจ้าหน้าที่ของอำเภอ มีอำนาจสอบสวนเช่นเดียวกับตำรวจ และประสบความสำเร็จ ในการจับกุมเล่าพันสือ ราชาฝิ่นใหญ่ สมญานาม “ยอดขุนพล ดอยป่าคา” พร้อมบริวารจำนวนกว่า 500 คน เข้ามามอบตัว โดยไม่ต้องสูญเสียกำลังและเลือดเนื้อของเจ้าหน้าที่ ในการ ปราบปรามแต่อย่างใด จนอธิบดีกรมตำรวจสมัยนั้น คือ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้มอบแหวนอัศวินให้เป็น คนแรกของกรมการปกครอง ซึ่งโดยปกติแล้วแหวนอัศวิน จะมอบให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น จากนั้นย้ายไปเป็น ปลัดอำเภอเมืองกาญจนบุรี และเป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ บางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี แล้วย้ายไปเป็นปลัดอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นปลัดอำเภอ อยู่ปีเศษก็ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานีระยะเวลาหนึ่ง และ มีความก้าวหน้าในชีวิตราชการมาโดยลำดับ เป็นนายอำเภอ 135
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร หลายอำเภอ แล้วได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่จังหวัดนครพนม ได้มีบทบาทในการแก้ปัญหาความแตกแยกระหว่างชาวญวน อพยพ และคนท้องถิ่นได้ โดยใช้วิธีเจรจาส่งชาวญวนอพยพส่ง กลับภูมิลำเนาเดิมได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้รับคำสั่ง ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้ย้ายจากอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปรับ ตำแหน่งนายอำเภอเมืองชุมพร อยู่ 3 ปี จึงลาออกจากราชการ ใน พ.ศ. 2512 สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดชุมพร เป็นสมัยที่ 2 ซึ่งคู่แข่งขันทางการเมืองที่ สำคัญในเวลานั้น ก็คือ พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน (หลวงสุนาวิน วิวัฒ) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร นายประมวล จะได้รับการ ไว้วางใจจากชาวชุมพรให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพรมาโดยตลอด ประสบการณท์ างการเมือง พ.ศ. 2489 สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรจงั หวดั ชมุ พร สงั กดั พรรคสหชพี พ.ศ. 2489 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย 136
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2512 คณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2513 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคธรรมสังคม พ.ศ. 2518 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคธรรมสังคม พ.ศ. 2519 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ไม่สังกัดพรรคการเมือง พ.ศ. 2522 - 2523 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผลงานทีส่ ำคญั 1. เป็นผู้ริเริ่มร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย รามคำแหง 137
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร 2. เป็นผู้ริเริ่มร่างพระราชบัญญัติยกฐานะวิทยาลัย เกษตรกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นสถาบัน เทคโนโลยีทางการเกษตร (แม่โจ้) 3. เป็นผู้เสนอให้จัดตั้งวิทยาเขตสถาบันเทคโนโลยี ทางการเกษตร (แม่โจ้) ที่จังหวัดชุมพร 4. เป็นผู้ริเริ่มสร้างอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปก- เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 บริเวณหน้ารัฐสภา 5. เป็นผู้ร่างเสนอกฎหมายยกฐานะการสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ 6. เป็นผู้เสนอจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร 7. เป็นผู้เสนอให้มีโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ และ เปดิ สอนถงึ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ไดท้ กุ อำเภอ 8. ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา นิติบัญญัติ 2 สมัยและสมาชิกสภาปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดิน 1 สมัย 9. ได้รับแต่งตั้งจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ ฝ่ายการเมืองสังกัดรัฐสภาตำแหน่งที่ปรึกษาประจำ รัฐสภาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 – อนิจกรรม เกยี รตยิ ศทไ่ี ดร้ บั พ.ศ. 2520 ได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตร์ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง 138
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2522 ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัย รามคำแหง กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 สมัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร แม่โจ้ 3 สมัย นายประมวล กุลมาตย์นอกจากจะได้รับความไว้วางใจ จากชาวชุมพร ให้เป็นผู้แทนราษฎรแล้ว ยังได้ดำรงตำแหน่ง สำคัญๆ มีผลงานที่ก่อประโยชน์แก่ชาวชุมพร และประเทศชาติ มากมาย อาทิ เมื่อครั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพร สมัยแรก ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ริเริ่มร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นตลาดวิชา เป็นผู้ริเริ่มร่างพระราช บัญญัติยกฐานะวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถาบันเทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นผู้ริเริ่มการสร้าง อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณ รัฐสภา เป็นผู้เสนอจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชุมพร เป็น ผู้เสนอให้มีโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ และเปิดสอนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายได้ครบทุกอำเภอ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติสองสมัย สมาชิกสภา ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินหนึ่งสมัย ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรง ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2518 - 2519) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2522 - 2523) ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 สมัยติดต่อกัน ดำรงตำแหน่ง 139
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเทคโนโลยี การเกษตรแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัยติดต่อกัน และได้รับ การแต่งตั้งจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำรัฐสภา ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา จากผลงานที่สร้างคุณประโยชน์แก่ชาวชุมพร และ ประเทศชาติ นายประมวล กุลมาตย์ ได้รับการยกย่อง เกียรติคุณ ได้รับรางวัลบำเหน็จความดีความชอบหลายครั้ง อาทิได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2520 ได้รับ พระราชทานปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้รับเหรียญอัศวิน จากพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ในฐานะที่นำตัวเล่าพันสือ จอมโจรแห่งดอยป่าคา พร้อมสมุน 500 คน มามอบให้แก่ทางราชการได้สำเร็จ ได้รับพระราชทาน เหรียญพิทักษ์เสรีชน เหรียญกาชาดสรรเสริญในฐานะเจรจานำ ชาวเวียดนามอพยพกลับภูมิลำเนาเดิมได้สำเร็จเป็นผลดีแก่ทาง ราชการ นายประมวล กุลมาตย์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ณ โรงพยาบาล มงกุฎเกล้าฯ กรุงเทพมหานคร รวมสิริอายุ 85 ปี เครื่องราชอสิ รยิ าภรณ ์ มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.) 140
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน (หลวงสุนาวินวิวัฒ) นามเดิม นายเหลียง สุนาวิน ปีเกิด มะเมีย พ.ศ. 2437 เป็นคน กรุงเทพมหานคร หลังเรียนจบจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ต่อมาเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียน นายเรือใน พ.ศ. 2453 ซึ่งเป็นนักเรียน นายเรือรุ่นเดียวกันกับ พลเรือโทหลวง เจริญราชนาวา อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกหลวง ชลธารพฤฒิไกร อดีตรองผู้บัญชาการทหารเรือ เข้ารับราชการ ในกองทัพเรือตั้งแต่ พ.ศ. 2459 ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ โรงเรียนนายเรือ เคยเป็นนายธงของพลเรือเอกกรมหลวงชุมพร เขต อุดมศักดิ์ พระองค์ทรงโปรดและทรงพระเมตตาเอ็นดูเป็น อย่างยิ่ง จึงรับเป็นศิษย์คนหนึ่ง ตำแหน่งสุดท้ายในการรับ ราชการทหารของ พลเรือโทหลวงสุนาวินวิวัฒ คือ เป็นผู้ช่วย เลขานุการรัฐมนตรีฝ่ายทหารเรือ ใน พ.ศ. 2477 ได้โอนย้ายไป เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็น ข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2478 จนถึง พ.ศ. 2481 หลังจากนั้นมีคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ใน พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2484 ต่อมาได้มีคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครธนบุรี ใน พ.ศ. 2484 ต่อมาถูกสั่งพักราชการในข้อหา รับราชการมานานทำให้ต้องลาออกจากราชการ หลังจากนั้น ได้มาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรใน พ.ศ. 2491 ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง 141
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ต่อมาใน พ.ศ. 2495 มีการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 6 ทำให้หลวงสุนาวินวิวัฒ ได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรเป็นสมัยที่สองติดต่อ กัน ในปีเดียวกันได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2496 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร จึงดำรงตำแหน่งนายกสภา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยตำแหน่ง ใน พ.ศ. 2496 ได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นับเป็นเกียรติประวัติของชาวชุมพรที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากจังหวัดชุมพร ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงใหญ่ถึง 3 กระทรวง และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พลเรือโทหลวงสุนาวินวิวัฒ เป็นคนที่มีนิสัยเรียบร้อย สุขุม ไม่ดื่มสุรายาเมา และไม่สูบบุหรี่ เป็นคนขยันทำงาน ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยในการรับราชการ มีความเป็นครอู ยู่ในตัว และมีลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี ลูกศิษย์ ผู้ใต้บังคับบัญชา และมิตรสหายให้ความเคารพ รักใคร่ ในครั้งที่ยังรับราชการ ทหารได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ และ เมื่อมาเป็นรัฐมนตรีก็มีผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความเคารพ การปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาใช้แนวทางพี่ปกครองน้องสร้าง ความคุ้นเคย ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาในทุก กระทรวงที่รับผิดชอบ 142
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร การศึกษา พ.ศ. 2452 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย พ.ศ. 2459 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ สมรส พลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒ สมรสกับ คุณหญิงสุนาวิน วิวัฒ (อารีพันธุ์ เลาหเกียรติ) โดยมีพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงเป็นเจ้าภาพฝ่ายชาย และมีพระองค์เจ้าคำรบ ทรงเป็นเจ้าภาพฝ่ายหญิง เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2463 อาชีพก่อนได้รับการเลือกตัง้ พ.ศ. 2459 เข้ารับราชการในกองทัพเรือ พ.ศ. 2459 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือ พ.ศ. 2477 เลขานุการพันเอกหลวงพิบลู สงคราม พ.ศ. 2477 ตำแหนง่ สดุ ทา้ ยคอื ผชู้ ว่ ยเลขานกุ ารรฐั มนตรฝี า่ ยทหารเรอื พ.ศ. 2478 ได้ย้ายราชการฝ่ายพลเรือน สังกัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2478 ข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพร 143
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2481 ข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2485 ข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครธนบุรี ตำแหนง่ ทางการเมอื ง พ.ศ. 2476 เลขานุการฝ่ายทหารเรือของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2478 รักษาราชการแทนเลขานุการฝ่ายทหารเรือของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2493 - 2495 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2495 - 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พ.ศ. 2496 - 2498 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดา้ นสงั คม พ.ศ. 2495 เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน (หลวงสุนาวินวิวัฒ) ได้รับการ โอนย้ายมาเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน สังกัดกระทรวง มหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2478 และรับราชการตำแหน่งสุดท้ายใน 144
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ราชการทหาร คือ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรี ฝ่ายทหารเรือ พ.ศ. 2477 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในสมัยนั้น คือ พลเรือโทพระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) อดีต เคยรับราชการในกองทัพเรือมาก่อนเช่นเดียวกันกับ พลเรือตรี พิศาล สุนาวิน (หลวงสุนาวินวิวัฒ) ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดีต่อกัน เปน็ อยา่ งมาก เมอ่ื ครง้ั ยงั รบั ราชการทหารเปน็ เลขานกุ ารรฐั มนตรี กลาโหม ฝ่ายทหารเรือผู้ติดตาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ เคยเป็นผู้ที่ช่วยเหลือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อครั้งถูกลอบ ยิงที่ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2477 หลวงสุนาวินวิวัฒ เป็น ผทู้ ต่ี อ่ สกู้ บั ผรู้ า้ ย และจบั ผรู้ า้ ยสง่ ตำรวจในเหตกุ ารณล์ อบสงั หาร ผู้นำประเทศในครั้งนั้น จึงมีความใกล้ชิดเสมือนญาติของ จอมพล ป. พิบลู สงคราม ใน พ.ศ. 2477 หลวงสุนาวินวิวัฒ ได้รับคำสั่งให้ไป ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพร ซึ่งจังหวัดชุมพร มีความหมายต่อ หลวงสุนาวินวิวัฒ เป็นอย่างมาก เป็นจังหวัด ที่ตรงกับพระนามเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เป็นพระนามที่ หลวงสุนาวินวิวัฒ เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความยินดี ที่ได้มาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดแรก หลวงสุนาวินวิวัฒ กล่าวในระหว่างที่เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด ชุมพร ว่าจังหวัดชุมพรประชาชนเป็นผู้รักความสงบ ทำมา หากินตามปกติ การปกครองจึงปกครองกันอย่างฉันมิตร รักสามัคคีกันอย่างญาติ ข้าราชการก็สามัคคีกันทุกฝ่าย ระยะ เวลากว่า 4 ปี ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 – 2481 ของหลวงสุนาวินวิวัฒ เป็นที่รู้จัก ของข้าราชการในทุกอำเภอของจังหวัดชุมพรอย่างกว้างขวาง 145
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ในส่วนของผู้นำท้องถิ่นก็มีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจาก หลวง สุนาวินวิวัฒ เป็นผู้บังคับบัญชา ผู้นำท้องถิ่นต้องรับคำสั่งไป ปฏิบัติตาม เช่น การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชน การเดิน ทางลงไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ต่างๆ ในทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร ก็เป็นอีกด้านหนึ่งในการปฏิบัติเป็นหน้าที่หลัก ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนักการเมืองและ รัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีในยุคที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วย เลขานุการ รัฐมนตรีฝ่ายทหารเรือ เมื่อสมัครสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดชุมพร จึงได้แรงสนับสนุนจากทั้งสายทหาร และ สายการปกครอง ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นเหตุผล ที่ทำให้ หลวงสุนาวินวิวัฒ ได้รับตำแหน่งทางการเมือง โดย เฉพาะตำแหน่งในกระทรวงสำคัญๆ ซึ่งเป็นกระทรวงใหญ่ๆ ถึง 3 กระทรวง คือ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย ฐานเสียงและกล่มุ สนบั สนุน ภายหลังที่ จอมพลผิน ชุณหะวัณ กระทำรัฐประหาร เงียบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีข่าว แพร่ออกไปว่าจะมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรกันอีก มีผู้ใหญ่ใน บ้านเมือง และมิตรสหายมาขอให้ หลวงสุนาวินวิวัฒ ไปสมัคร ผู้แทน แต่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจ ต่อมามีราษฎรจากจังหวัด ชุมพร และจังหวัดปัตตานี มีจดหมายมาร้องขอให้ หลวงสุนา วินวิวัฒ ไปสมัครผู้แทนของจังหวัดให้ได้ และมีราษฎร ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน จากจังหวัดชุมพร เดินทางมาพบ 146
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ที่บ้านพักในกรุงเทพฯ ทำให้ หลวงสุนาวินวิวัฒ ต้องคิดหนัก โดยได้พูดกับคนใกล้ชิดว่ามีความซาบซึ้งใจชาวชุมพรเป็นยิ่งนัก นี่ขนาดจากจังหวัดชุมพรไปร่วม 20 ปียังมีคนระลึกถึงเรา จึงนำ เรื่องดังกล่าวปรึกษากับภรรยา โดยที่ภรรยาก็ไม่เห็นด้วยที่จะไป ทำงานการเมืองเนื่องจากถูกการเมืองเล่นงานมาตลอด จนต้อง ออกจากราชการ แต่ หลวงสุนาวินวิวัฒ ก็ได้อธิบายว่าชาว ชุมพรยังมีน้ำใจต่อเราอยู่มาก จนคุณหญิง สุนาวินวิวัฒ ต้อง ยอมจำนนให้ไปสมัครผู้แทนฯ หลวงสุนาวินวิวัฒ จึงเดินทางไป ที่จังหวัดชุมพรเพื่อพบกับราษฎร ข้าราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ให้การสนับสนุน โดยใช้เวลาไม่ถึง 3 เดือน ก็ถึงวันเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ด้วยคะแนนที่น่าพอใจ วิธีการหาเสยี ง พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน ได้หาเสียงในพื้นที่ต่างๆ ของ จังหวัดชุมพร เช่น ในพื้นที่อำเภอหลังสวน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการ แข่งขันกันสูง และคนอำเภอหลังสวนมีลักษณะเด่นที่สนับสนุน คนในพื้นที่ด้วยกันเอง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเอาชนะการแข่งขัน ในพื้นที่ดังกล่าวได้ จึงหันไปใช้ฐานเสียงจากวัด และโรงเรียน ให้การสนับสนุนอีกช่องทางหนึ่ง วิธีการหาเสียงที่เป็น เอกลักษณ์ของหลวงสุนาวิน คือ การหาเสียงกับผู้ที่โดยสารบน รถไฟ เช่น เดินทางจากสถานีรถไฟชุมพรไปยังสถานีรถไฟ หลังสวน หรือจากสถานีรถไฟชุมพรไปยังสถานีรถไฟปะทิว ระหว่างที่อยู่บนรถไฟก็แนะนำตัวให้ผู้โดยสารรู้จัก พร้อมกับ ขอรับการสนับสนุนจากผู้โดยสารเลือกตนเองเข้าไปเป็นผู้แทน ในสภา 147
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ผลงานทเี่ ปน็ รปู ธรรม พ.ศ. 2493 - 2495 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นระยะเวลา กว่า 3 ปีที่ได้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ผลักดันงบพัฒนากองทัพ และให้นโยบายในการพัฒนา เหล่าทัพให้ทัดเทียมนานาประเทศ การผลักดันงบประมาณ เพื่อจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพไทย และยังมีส่วนผลัก ดันให้มีการจัดตั้งโรงเรียนช่างกลปทุมวันหรือสถาบันเทคโน โลยีปทุมวันในปัจจุบัน และเป็นผู้ที่สั่งการแทนรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เพอ่ื ปราบกบฏแมนฮตั ตน้ั จนตอ้ งยอมปลอ่ ยตวั จอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2495 - 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร พ.ศ. 2496 - 2498 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จับกุมมือปืนที่ ลอบสังหาร จอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. 2496 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการข้าวระหว่าง ประเทศขององค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2496 เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยไปประชุมสมัชชา องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 7 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี 148
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร พ.ศ.2496 เป็นผู้ผลักดันให้ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา มนตรีแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2497 เปน็ ประธานสงั เกตการณ์ การปฏบิ ตั ติ ามพระราชบญั ญตั ิ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 พ.ศ.2499 เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา และร่างประมวลกฎหมาย อาญา พ.ศ. 2499 เครือ่ งราชอิสรยิ าภรณ ์ พ.ศ. 2454 เหรียญบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2462 เหรียญราชรุจิทอง พ.ศ. 2462 เบญจมาภรณ์ มงกุฎ พ.ศ. 2468 เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2474 เบญจมาภรณ์ ช้างเผือก พ.ศ. 2474 จักรมาลา พ.ศ. 2474 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 4 พ.ศ. 2475 เหรียญฉลองพระนคร พ.ศ. 2477 เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนญู พ.ศ. 2492 ทวีติยาภรณ์ มงกุฎไทย พ.ศ. 2495 ปถมาภรณ์ มงกุฎไทย พ.ศ. 2495 ปถมาภรณ์ ช้างเผือก พ.ศ. 2496 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ 2 149
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2496 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ พ.ศ. 2496 มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. 2497 มหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก พ.ศ. 2498 เหรียญราชการชายแดน พ.ศ. 2515 เหรียญชัยสมรภูมิ กรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ พระครูบุญญาภิวัฒน์ อดีต เจ้าคณะอำเภอเมืองชุมพร ปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสวัดบางลึก ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และเป็น เพื่อนสนิทกับ นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ได้เล่าให้ฟังว่า ศิรินทร์ เป็นชาวตำบล หาดพันไกร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เดิม นายศิรินทร์ มีนามสกุล “รักสีม่วง” ภายหลังได้บวชเป็น พระและเปลี่ยนมาเป็นนามสกุล รักศรีวงศ์ นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ได้บวชเรียนมาทางพระ เนื่องจากเป็นคนฉลาด ท่าน บวชที่วัดเขาแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในระหว่างที่บวช อยู่นั้น ช่วงค่ำของทุกวันก็จะเรียนบทสวนมนต์ พอพระรูปอื่น หลับกันหมด ท่านก็ไปหยิบเอาหนังสือนักธรรมของพระรูปอื่น มาอ่านจนสอบได้นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ภายในระยะ เวลา 3 ปี หลังจากนั้นเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว เห็นว่าท่านเป็นพระที่สนใจเรียนเป็นอย่างมาก จึงได้ส่งให้ไป เรียนภาษาบาลีที่กรุงเทพฯ ที่วัดปทุมคงคา จนสอบได้เปรียญ 6 150
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ระหว่างที่เรียนอยู่ที่วัดปทุมคงคา ท่านก็ได้เรียนวิชากฎหมายที่ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองควบคู่ไปด้วย จนจบ สาขานติ ศิ าสตร์ จากมหาวทิ ยาลยั วชิ าธรรมศาสตรแ์ ละการเมอื ง ด้วยเช่นกัน หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง และสอบได้เปรียญ 6 แล้ว จึงตัดสินใจออกธุดงค์ ไปประเทศอินเดีย ไปจำพรรษาที่เนปาล และเมืองซิลอน ประเทศอินเดีย หลังจากเดินทางกลับจากประเทศอินเดีย ก็ได้ สึกออกมา แล้วไปเป็นครูสอนที่โรงเรียนอัชสัมชัญ กรุงเทพฯ สาเหตุที่ท่านต้องสึกจากพระเพราะว่า โรงเรียนอัชสัมชัญเป็น โรงเรียนคริสต์ จึงไม่อนุญาตให้นักบวชที่มาจากศาสนาอื่น เข้าไปสอน หลังจากเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอัชสัมชัญ มาได้ระยะหนึ่ง จึงไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยที่ นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค และได้สมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร และเป็น คู่แข่งขันของ พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน (หลวงสุนาวินวิวัฒ) และนายประมวล กุลมาตย์ การลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ไม่สามารถสู้ หลวงสุนาวินวิวัฒได้ เนื่องจาก หลวงสุนาวินวิวัฒ มีข้อได้เปรียบหลายด้าน มีผู้สนับสนุนและฐานเสียงที่เป็นข้าราชการภายในจังหวัดชุมพร ข้าราชการฝ่ายปกครอง รวมถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพราะอดีต พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร มาก่อน ดังนั้น ข้าราชการของจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นหัวคะแนนให้ หลวงสุนาวินวิวัฒ เกือบทั้งจังหวัด และเมื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดชุมพรเป็นครั้งต่อมา ก็ต้องมาเจอกับคู่แข่ง 151
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร คนสำคัญอีกคนหนึ่งคือ นายประมวล กุลมาตย์ เป็นชาวอำเภอ หลังสวนเป็นที่ทราบกันทั้งจังหวัดชุมพรว่าการแข่งขันในการ สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดชุมพร ทุกครั้ง หากมีคนจากอำเภอหลังสวนลงแข่งขันด้วยเมื่อไหร่ ผู้สมัครจากอำเภออื่นมักจะหมดโอกาสในการแข่งขัน เนื่องจาก ชาวหลังสวนมีความเป็นชาตินิยมที่สูงมาก ถึงคราวแข่งขันกัน เมื่อใดชาวหลังสวนจะสนับสนุนคนในอำเภอหลังสวนให้ได้รับ ชัยชนะทุกครั้ง การศกึ ษา นักธรรมตรีวัดปทุมคงคา นักธรรมโทวัดปทุมคงคา นักธรรมเอกเปรียญ 6 วัดปทุมคงคา ปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ตำแหนง่ ทางการเมือง พ.ศ. 2500 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2501 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ แรงจงู ใจท่ีทำใหเ้ ขา้ สวู่ งการเมือง ในระหว่างการเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนอัชสัมชัญ นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินบน 152
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ถนนการเมือง และพร้อมที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ระหว่างที่ได้ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้มีโอกาสศึกษาทางด้าน การเมืองการปกครองไปด้วย ระหว่างที่บวชเรียนอยู่ก็ได้ติดตาม ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศ ไปพร้อมกับการ ศึกษาธรรมะ ขณะเดียวกัน ในการเมืองระดับประเทศก็มีรุ่นพี่ และเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคน อีกทั้งยังได้รับการทาบทาม จากพรรคประชาธิปัตย์ให้เข้ามาช่วยทำงานทางด้านการเมือง สมัย นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค จึงเป็นแรงจูงใจที่ ทำให้เข้าสู่วงการเมือง ฐานเสยี งและกลุ่มสนับสนนุ นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ได้กลุ่มผู้สนับสนุนจากฐานเสียง เดิมของ หลวงศรีสุพรรณดิฐ ภายหลังจาก หลวงศรีสุพรรณดิฐ วางมือทางการเมืองไปแล้วแต่กลุ่มฐานเสียงเดิมก็ยังทำงาน ทางการเมืองอยู่บ้าง จึงให้การสนับสนุน นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ รวมถึงคนในตระกูล ชุมวรฐายีบางส่วนก็ให้การสนับสนุนด้วย เช่นกัน นอกจากฐานเสียงของ หลวงศรีสุพรรณดิฐ ที่ให้การ สนับสนุน นายศิรินทร์ แล้ว ก็ยังมีภรรยา บุตร หลานของหลวง ศรีสุพรรณดิฐ ก็ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ในช่วงที่ นายศิรินทร์ หาเสียงเลือกตั้งก็ได้ภรรยา บุตรหลานของหลวง ศรีสุพรรณดิฐมาช่วยสนับสนุนเป็นครั้งคราวไป ฐานเสียงที่ สำคัญนอกเหนือจากที่กล่าวมา คือ ญาติโยมที่ศรัทธาในตัว ของนายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ซึ่งในอดีตเคยบวชเป็นพระ และได้ จำพรรษาตามวัดต่างๆ ในจังหวัดชุมพร นอกจากนั้น ก็มีกลุ่ม 153
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ประชาชนทั่วไป ญาติ พี่น้อง เพื่อนๆ ช่วยหาเสียงให้ โดยใช้ รปู แบบการกระจายเพอ่ื น 1 คน ใหเ้ ดนิ ทางเขา้ หาเพอ่ื นอกี 10 คน เพื่อแนะนำให้ได้รู้จักกับ นายศิรินทร์ มากขึ้น เช่น กลุ่มเพื่อน ในตำบลหาดพันไกร จำนวน 10 คน ก็จะไปแนะนำกลุ่มเพื่อน ในตำบลอื่นๆ ต่อไปอีก โดยให้มีการแนะนำทำความรู้จักข้ามไป ยังอำเภออื่นๆ ด้วย จึงทำให้ฐานเสียงของ นายศิรินทร์ ขยาย ฐานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้ในที่สุด ส่วนการสมัครรับเลือกตั้งสมัยที่สองของนายศิรินทร์ ก็ยังคงได้ รับการสนับสนุนจากฐานเสียงและกลุ่มผู้สนับสนุนจากกลุ่มเดิม แต่ระหว่างการทำหน้าที่เป็นผู้แทนของจังหวัดชุมพรในสมัยแรก นายศิรินทร์ ได้ลงพื้นที่พบปะประชาชนอยู่ตลอด จนทำให้ได้รับ การยอมรับจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น และมีกลุ่มผู้สนับสนุน และฐานเสียงในพื้นที่อำเภออื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน วธิ กี ารหาเสียง นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ใช้วิธีการหาเสียงโดยการตั้งเวที ปราศรัยเป็นส่วนใหญ่ และหาเสียงในพื้นที่วัดเป็นหลักเพราะ เคยบวชเป็นพระมาเป็นเวลานาน จึงมีความคุ้นเคยกับญาติโยม ที่มาทำบุญเป็นอย่างดี อีกประการหนึ่งที่ช่วยในการหาเสียงได้ เป็นอย่างดี คือ เครือข่ายพระสงฆ์ในจังหวัดชุมพร ซึ่งมีวัด กระจายอยู่ทุกพื้นที่ในจังหวัดชุมพร โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอ เมืองชุมพร ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของ นายศิรินทร์ จึงเป็น วิธีการหนึ่งที่ถูกนำไปใช้ในการหาเสียงที่ได้รับความสำเร็จมาก พอสมควร เพราะสมัยที่ นายศิรินทร์ หาเสียงเลือกตั้งนั้น คนกับ วดั มคี วามสมั พนั ธท์ แ่ี นบแนน่ นายศริ นิ ทร์ รกั ศรวี งศ์ ตอ้ งตอ่ สกู้ บั พลเรือตรีพิศาล สุนาวิน แต่ได้ใช้วิธีการหาเสียงด้วยการ 154
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ชูประเด็นคนชุมพร ต้องเลือกผู้แทนที่เป็นคนชุมพรมาตั้งแต่ กำเนิด ซึ่งพลเรือตรีพิศาล สุนาวิน พื้นเพไม่ใช่คนชุมพรโดย กำเนิด ทำให้ นายศิรินทร์ สามารถเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ ไปได้ และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 2 สมัย ติดต่อกัน นกั การเมอื งในอดุ มคต ิ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนักการเมืองที่นายศิรินทร์ รักศรีวงศ์ ยึดถือเป็นนักการเมืองในอุดมคติ เป็นผู้ชักชวนให้ นายศิรินทร์ เข้ามาทำงานทางการเมืองในสังกัดพรรค ประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยให้การสนับสนุนในการ สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร จนทำให้ได้รับ การเลือกตั้งในเวลาต่อมา นายณรงค์ บุษยวิทย์ การศกึ ษา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคชาติไทย ในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน สมรสและมีบุตร 5 คน ซึ่งบุตรคนที่สองคือ พ.ต.อ.นรินทร์ บุษยวิทย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธร 155
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร นายณรงค์ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำสวน และ ธุรกิจประมงในตลาดปากน้ำชุมพร จนเป็นที่รู้จักมักคุ้นกับ คนในจังหวัดชุมพรเป็นอย่างดี คนในพื้นที่ปากน้ำชุมพรจะให้ ความเคารพต่อนายณรงค์ โดยส่วนตัวมักชอบช่วยเหลือผู้อื่นที่ ตกทุกข์ได้ยาก หรือมีความเดือดเนื้อร้อนใจก็สามารถขอความ ช่วยเหลือได้ นายณรงค์ถือเป็นบุคคลตัวอย่างทางด้านของ ความขยันหมั่นเพียรจนประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งในด้าน ครอบครัว และหน้าที่การงาน อุปนิสัยของนายณรงค์เป็นคน ใจกว้างใจนักเลง และมีเพื่อนคบหามากมาย ทางด้านการเมือง ก่อนที่จะสนใจลงสมัครรับเลือกตั้ง นายณรงค์ได้ให้การ สนับสนุนช่วยเหลือ นักการเมืองรุ่นพี่มาหลายราย โดยนาย ประมวล กุลมาตย์ ก็เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่มีความสนิท คุ้นเคยกัน ในเวลาต่อมานายประมวลก็ผลักดันให้ลงสมัครรับ เลอื กตง้ั เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรจงั หวดั ชมุ พร เมอ่ื พ.ศ. 2512 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และในช่วง พ.ศ. 2514 - 2517 พลโท ถนอม กิตติขจร ทำการปฏิวัติตนเอง ได้ประกาศยึดอำนาจการ ปกครองแผ่นดินทำให้ไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเวลาดังกล่าว ในช่วงนั้นได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน ต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว จึงเกิด เหตุการณ์เดินขบวนเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญ เหตุการณ์ได้ทวี ความรุนแรงและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ เหตุการณ์ได้ยุติลง และมกี ารดำเนนิ การรา่ งรฐั ธรรมนญู ฉบบั ใหมข่ น้ึ เปน็ รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ซึ่งจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 และนายณรงค์ บุษยวิทย์ ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด 156
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ชุมพร และดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพรในระยะเวลาไม่นานนัก โดยมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ทำให้สมาชิก ภาพความเป็น สส.ของนายณรงค์ต้องหมดลงตามไปด้วย ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน สมัยต่อมานายณรงค์ก็ต้องมาเสียชีวิตลงเสียก่อนด้วยโรค ประจำตัว แรงจงู ใจทท่ี ำให้เข้าสู่วงการเมอื ง การตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางการเมืองของนายณรงค์ บุษยวิทย์มีความสนใจทางด้านการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง และ ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือนักการเมืองรุ่นพี่มาทุกครั้งที่มีการ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ ทางด้านการเมืองโดยเฉพาะการเมืองระดับประเทศ การ สนับสนุนอดีตนักการเมืองรุ่นพี่หลายๆ รายทำให้นายณรงค์ เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการเมืองระดับประเทศ และเป็นบุคคล ที่พรรคการเมืองหลายๆ พรรคให้ความสนใจชักชวนให้เข้า ร่วมงานทางด้านการเมือง โดยเฉพาะพรรคชาติไทย และ ในที่สุดก็ตัดสินใจลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนาม พรรคชาติไทย เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พน้ื ท่ ี นายณรงค์ บุษยวิทย์ เป็นผู้กว้างขวางและทรงอิทธิพล คนหนึ่งในจังหวัดชุมพร ในช่วงที่มีการเลือกตั้งในสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแทบทุกครั้ง มักจะพบเห็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง 157
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร เดินทางเข้าพบนายณรงค์ที่บ้านพักเพื่อขอให้ช่วยสนับสนุน และช่วยในการหาเสียง นายณรงค์เป็นคนที่มีเพื่อนฝูงมาก และ ยังเป็นคนที่รับผิดชอบในการช่วยเหลือราชการ และสังคม บริจาคทรัพย์สินส่วนตัวให้กับทางราชการ จึงทำให้ข้าราชการ และประชาชนในจังหวัดชุมพรมีความศรัทธาในตัวนายณรงค์ เป็นอย่างมาก และในขณะเดียวกันนักการเมืองในจังหวัด ชุมพร ก็มีความศรัทธาด้วยเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าตลอดเวลาที่ ผ่านมานายณรงค์มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมือง และ ข้าราชการในทุกระดับมาโดยตลอด ฐานเสยี งและกลมุ่ สนบั สนุน กลุ่มที่สนับสนุนนายณรงค์จะมีความหลากหลายมาก เช่น กลุ่มข้าราชการในทุกอำเภอ โดยเฉพาะตำรวจ และฝ่าย ปกครอง กลุ่มธุรกิจประมง โดยเฉพาะผู้ประกอบการแพปลา ในตลาดปากน้ำชุมพร ปากน้ำหลังสวน และยังมีเจ้าของธุรกิจ โรงเลอ่ื ย อตู่ อ่ เรอื และอาชพี เกษตรกรรม เปน็ ผทู้ ใ่ี หก้ ารสนบั สนนุ และยังมีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสุขาภิบาล นายแพทย์พินัย รุโจปการ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 นายแพทย์พินัย รุโจปการ เป็น คนที่มีพื้นฐานทาง ครอบครัวอยู่ใน ฐานะค่อนข้างดี มีพี่น้องด้วยกัน 158
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ทั้งหมด 5 คน ได้แก่ 1. น.ส.ปราณี รุโจปการ 2. นายแพทย์ พินิจ รุโจปการ 3. นายแพทย์พนัส รุโจปการ 4. นายพจนา รุโจปการ 5. นายแพทย์พินัย รุโจปการ นางยุพิน รุโจปการ ภรรยาของนายแพทย์พินัย รุโจปการ ให้สัมภาษณ์ว่า คุณหมอ เป็นคนอำเภอเมืองจังหวัดชุมพร อุปนิสัยส่วนตัวของนายแพทย์ พินัย เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีกับทุกๆ คน คบหาสมาคมกับ ผู้อื่นโดยไม่เลือกปฏิบัติ สมัยที่ยังเรียนหนังสือ คุณหมอเป็นคน ที่มีเพื่อนฝูงมากมาย เมื่อเรียนจบแพทย์ศาสตรบัณฑิต ที่คณะ แพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ก็เข้า รับราชการเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ต่อมาได้ย้ายกลับ ภูมิลำเนาเดิม มารับราชการที่โรงพยาบาลชุมพร จึงเป็นที่รู้จัก ของผู้คนทั่วไป คุณหมอเป็นคนที่ใส่ใจในตัวผู้ป่วยโดยไม่เลือก ปฏิบัติ ไม่ว่าจะมีฐานะรวย หรือฐานะยากจน ก็จะให้ความ เท่าเทียมเหมือนกันทั้งหมด การปฏิบัติหน้าที่ราชการก็จะรับ ผิดชอบงานในหน้าที่อย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าผู้ป่วยจะเข้า รักษาตัวในเวลาใดก็ตามสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา นอกจาก รับราชการที่โรงพยาบาลชุมพร คุณหมอยังได้เปิดคลินิกใน ตัวเมืองชุมพร เพื่อให้บริการทางการแพทย์อีกด้วย คุณหมอเป็น คนที่มีจิตใจดี มีความเมตตาเอื้ออารีย์ เมื่อผู้ป่วยไม่มีค่ารักษา พยาบาลคุณหมอก็ไม่คิดค่าใช้จ่าย จนได้ชื่อว่า “เป็นหมอ คนจน” ต่อมาใน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีเพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชามาชักชวนให้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ซึ่งรัฐบาลจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 คุณหมอได้ตัดสินใจสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด 159
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ชุมพร ในปีเดียวกัน ต่อมามีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ครั้งที่ 13 จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 คุณหมอได้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพร เป็นสมัยที่ 2 การศกึ ษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ศิริราช กรุงเทพมหานคร สมรส นายแพทยพ์ นิ ยั รโุ จปการ ไดส้ มรสกบั นางยพุ นิ รโุ จปการ เมื่อ พ.ศ. 2511 ขณะนั้นอายุได้ 32 ปี โดยมีบุตรธิดารวม 2 คน คือ 1. น.ส. พรพรรณ รุโจปการ 2. น.ส.สกุณารัตน์ รุโจปการ ที่อยู่ 25/2 หมู่ 7 ถนนชุมพร- ปากน้ำ ตำบลนาทุ่ง อำเภอ เมอื ง จังหวัดชุมพร ชื่อบิดา ขุนโกศลวิทย์ รุโจปการ ชื่อมารดา นางเรณู รุโจปการ 160
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ตำแหน่งทางการเมอื ง นายแพทย์พินัย รุโจปการ ก่อนที่จะเข้าสู่แวดวง การเมือง มีอาชีพรับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล ชุมพร มาก่อน และเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยในอำเภอเมืองชุมพร ทำให้ผู้คนทั้งจังหวัดชุมพร รู้จัก นายแพทย์พินัย เป็นอย่างดี โดยแนวทางในการให้บริการทางการแพทย์ของนายแพทย์ พินัย นั้น มักจะไม่เอาเปรียบผู้ที่เข้ามาใช้บริการมากนัก ถึงขั้น บางรายที่ฐานะยากจนก็จะรักษาให้ฟรีๆ จนคลินิกของ นายแพทย์พินัยได้ชื่อว่าคลินิกรักษาฟรี ส่งผลให้ นายแพทย์ พินัย ได้รับคำชมจากผู้ที่เข้ารับการรักษามาเป็นเวลานาน ผู้ป่วยหลายรายถึงกับพูดว่าเป็นหนี้บุญคุณกับนายแพทย์ผู้นี้ เป็นอย่างมาก นอกจากไม่มีเงินค่ารักษาแล้วยังให้นอนรักษาตัว โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เลย แรงจูงใจท่ีทำใหเ้ ข้าสูว่ งการเมือง ด้วยอุปนิสัยส่วนตัว นายแพทย์พินัย รุโจปการ เป็นคนที่ ชอบศึกษาด้านการเมืองมาตั้งแต่สมัยเรียน เคยทำกิจกรรม ทางการเมืองในสมัยเรียนตั้งชั้นมัธยม จนถึงระดับมหาวิทยาลัย ในขณะที่รับราชการเป็นนายแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาลชุมพร คณุ หมอไดส้ มั ผสั กบั การเมอื ง ทง้ั ระดบั ทอ้ งถน่ิ และระดบั ประเทศ เคยให้การสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งสมาชิกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาหลายราย ต่อมาภายหลังมีเพื่อนๆ ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและ ประชาชนที่คุณหมอเคยรักษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่มี ความสนิทสนมกับคุณหมอ ได้สนับสนุนผลักดันให้คุณหมอ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2519 161
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พื้นที่ นายแพทยพ์ นิ ัย รุโจปการ เปน็ ผทู้ ชี่ อบใหค้ วามชว่ ยเหลอื สังคม กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใหญ่หรือเล็ก คุณหมอจะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกให้ บริการผู้ป่วยตามที่ชนบทกันดาร การสนับสนุนกิจกรรมของ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) ในทุก พื้นที่ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น จึงมักจะจัดควบคู่ไปกับการ ลงพื้นที่ของนักการเมือง เพื่อที่จะได้นับเป็นผลงานตนเอง จึงไม่ แปลกใจที่คุณหมอมีความใกล้ชิดและรู้จักกับนักการเมืองของ จังหวัดชุมพร ฐานเสียงและกลมุ่ สนับสนุน ฐานเสียงที่สำคัญๆ ของนายแพทย์พินัย รุโจปการ โดยทั่วไปจะเป็นผู้ที่ทำงานทางด้านการแพทย์และพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) ซึ่งกระจายอยู่ในทุกๆ พื้นที่ของจังหวัดชุมพร ส่วนฐานเสียงใน อำเภอเมืองและอำเภอต่างๆ นั้น ก็จะเป็นฐานเสียงจาก โรงพยาบาลประจำอำเภอ และสถานีอนามัยประจำตำบล และ ยังมีกลุ่มเพื่อนๆ ญาติ พี่น้อง ผู้ใหญ่บ้าน / กำนัน ก็มีบ้างแต่ไม่ มากนัก นายแพทย์พินัย จึงอาศัยสถานีอนามัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต่างๆ ของทุกอำเภอ และโรงพยาบาลประจำอำเภอ เป็นฐาน เสียงสำคัญในการออกหาเสียงสนับสนุน จนได้รับชัยชนะใน การเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง 162
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร วธิ ีการหาเสยี ง วีธีการหาเสียง ใช้วิธีการลงไปสัมผัสกับประชาชน โดยแท้จริง เพื่อรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชน โดยทั่วไปเน้นไปทางด้านการลงพื้นที่พบปะประชาชน และใช้ เวทีปราศรัยบ้างตามโอกาสจะอำนวย การลงพื้นที่พบปะกับ ประชาชนด้วยการนัดผ่านหัวหน้ากลุ่มอาสาสมัครสาธารณะสุข ประจำหมู่บ้าน (อ.ส.ม.) ในแต่ละพื้นที่และเป็นกลุ่มอาสาสมัคร ที่ไม่มีผลประโยชน์จากการอาสาเข้ามาทำงาน จึงได้รับการ ยอมรับจากประชาชน ว่าเป็นผู้ที่ทำงานให้ความช่วยเหลือยาม ที่ประชาชนพบกับความทุกข์ และได้เป็นแรงช่วยที่สำคัญที่สุด ของ นายแพทย์พินัย รุโจปการ จนได้รับการเลือกตั้งถึงสองสมัย เคร่อื งราชอสิ ริยาภรณ ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2488 เป็นคนอำเภอหลังสวนจังหวัด ชุมพร ชีวิตในวัยเด็กเป็นคนมีนิสัยชอบเรียน หนังสือ ทางบ้านจึงสนับสนุนให้เรียน หนังสือจนจบในระดับปริญญาตรี นายธีรพันธ์ มีพี่ชายอีกคนหนึ่งชื่อ นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ เป็นคนที่ให้ ความสำคัญในการเรียนหนังสือเป็นอย่างมากจนได้รับทุนไป เรียนจบในระดับปริญญาเอก ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ 163
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร จากต่างประเทศ ต่อมาได้ก้าวขึ้นไปเป็นอธิการบดีสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุใต้ฝุ่น เกย์ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2532 โดยจัดหา ข้าวของ เครื่องใช้ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น เครื่องอุปโภค บริโภค นำลงไปช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยก่อนที่รัฐบาลจะ ส่งหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัย สิ่งที่ยัง หลงเหลือจากการช่วยเหลือของ นายธีรพันธ์ ในปัจจุบันก็ยังมี ให้เห็นอยู่บ้าง เช่น หลังคาสังกะสี หลังคากระเบื้อง จากการ ช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงทีในครั้งนั้น ทำให้ประชาชนยัง ระลึกถึงคุณงามความดีของ นายธีรพันธ์ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ จนทุกวันนี้ก็ยังมีคนกล่าวถึง การศึกษา ชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดขันเงิน ตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร และเรียนจบในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จากนั้นได้เดินทางเข้าไปศึกษาต่อในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนอำนวยศิลป์ จังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมปลาย แล้ว ได้สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเมื่อสำเร็จการศึกษาก็หันมา ประกอบอาชีพทนายความ 164
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ทอี่ ย ู่ 139 ถนนหลังสวน ตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 65/2 ถนนหลังสวน ตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร บริษัทสำนักงานกฎหมายฟาร์อีสประเทศไทย จำกัด 121/74 - 75 ชน้ั 24 อาคารอารเ์ อสทาวเวอร์ ถนนรชั ดาภเิ ษก เขตดินแดง แขวงดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ชื่อบิดา นายขันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ชื่อมารดา นางเนื่อม เพ็ชร์สุวรรณ ตำแหนง่ ทางการเมอื ง ด้านเศรษฐกจิ - กรรมาธิการงบประมาณ - ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในด้านเศรษฐกิจ นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ได้มีส่วน ช่วยเหลือราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น การให้ข่าวผ่านสื่อ หนังสือพิมพ์ ว่าขณะนั้นจังหวัดชุมพร ได้เกิดภาวะลิงตกงานซึ่ง เป็นผลจากมะพร้าวมีราคาตกต่ำ และผลักดันให้มีการรักษา ระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรมาโดยตลอด สมัยที่เป็น ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็ได้มีโอกาส ในการผลัดดันไม่ให้นำเข้าน้ำมันพืชจากต่างประเทศเพื่อรักษา ระดับราคาพืชผลทางการเกษตรจำพวกมะพร้าว เป็นต้น 165
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร นโยบายทางด้านการท่องเที่ยว มุ่งผลักดันให้พื้นที่ อำเภอปะทิว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งสำคัญของจังหวัด ชุมพร เพราะอำเภอปะทิว มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชายหาดที่สวยงามอยู่ หลายที่ และยังมีพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ตำบลทะเลทรัพย์ ซึ่งเป็นสวนเกษตรครบวงจรที่มีชื่อเสียงมายาวนาน อีกทั้งยังมี สนามบินพาณิชย์เข้ามารองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว จึงมองว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้อำเภอปะทิวเป็น อำเภอต้นแบบทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพร แต่ก็ไม่ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือจังหวัด เท่าที่ควร จึงไม่ ประสบความสำเร็จทั้งที่มีนายทุนระดับประเทศเข้าไปลงทุนซื้อ ที่ดินเพื่อสร้างโรงแรมรองรับการท่องเที่ยว ด้านสงั คม นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนแรกที่เริ่มต้นเสนอร่างกฎหมายที่ให้สิทธิของสตรีและบุรุษมี ความเท่าเทียมกัน คือการแก้กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งเดิมเขียนว่า การสมัคร กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ต้องเป็นชายไทย โดยแก้เป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งตอนแก้คิดว่ากรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยอาจจะประมาทและไม่ได้ดูรายละเอียด ต่างๆ แต่ในที่สุดก็ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้หญิงก็สามารถสมัครเข้ามาเป็นกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ได้ แต่เนื่องจากว่าขณะนั้น นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ ริเริ่มในเรื่องดังกล่าว และเริ่มต้นมาจากพรรคกิจสังคม มีความ คิดว่าเรื่องดังกล่าวควรมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสุภาพ สตรีเป็นผู้เสนอน่าจะเหมาะสมกว่า ซึ่งนับได้ว่าเป็นผลงานของ 166
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พรรคกิจสังคมในเวลานั้น นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ก็มีความพยายามที่จะแก้ กฎหมายที่เกี่ยวกับการขอลดโทษผู้ที่เสพใบกระท่อม เพราะเล็ง เห็นว่าผู้ที่เสพใบกระท่อมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จึงมองเห็นว่า ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือเรื่องอื่นๆ มากนัก แต่ก็ได้รับ การคัดค้านจากกระทรวงสาธารณสุข และบุคคลากรทางการ แพทย์ แต่ก็ได้เสนอสภาผู้แทนราษฎรผ่านวาระแรกไป พอไปถึง วาระสองก็ถูกคัดค้านจากวุฒิสมาชิก โดยผ่านไปได้เป็นบาง ส่วนแต่ไม่ได้ออกมาเป็นกฎหมาย ในระหว่างที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายธีรพันธ์ เพช็ รส์ วุ รรณ กไ็ ดเ้ สนอใหม้ กี ารจดั ตง้ั ศาลปกครอง แตก่ ไ็ มป่ ระสบ ความสำเร็จ นอกจากนั้นก็ยังผลักดันและช่วยประสานงานเพื่อ เสนอเป็นกฎหมายให้แยกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ซึ่งขณะนั้นประกอบไปด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งขณะนั้น ผูกขากันเป็นมหาวิทยาลัยเดียว โดยได้เสนอให้แยกออกเป็น 3 สถาบัน แต่ก็ถูกคัดค้านจากวุฒิสภา สายวิชาการที่ได้รับการ แต่งตั้งมาจากขั้วอำนาจทางทหารหรือสายปฏิวัติ โดยมีการ คัดค้านไม่ให้แยกเป็น 3 สถาบัน แต่ในที่สุดก็สามารถแก้ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าได้สำเร็จ เป็น พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พุทธศักราช 2528 167
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร นอกจากนั้น นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ได้ประสานงาน กับทางจังหวัดชุมพร ในการหาพื้นที่เพื่อขยายโอกาสทาง การศึกษา ซึ่งในขณะนั้นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ต้องการขยายวิทยาเขตไปยังภูมิภาค เพื่อเปิดโอกาสให้คนในชนบทได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่ม มากขึ้น และต้องการลดความหนาแน่นของประชากรในวัยเรียน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงได้ที่ดินป่าสงวนชุมโค – หนองไซ ซึ่งเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ตลอดจนการขอใช้ที่ดิน จำนวน 5,000 ไร่ ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ได้ขอใช้พื้นที่ป่าสงวน ชุมโค – หนองไซ จาก กรมป่าไม้เพื่อเป็นที่สร้างสนามบินพาณิชย์จังหวัดชุมพร จนสามารถใช้เปิดเส้นทางบินระหว่าง กรุงเทพ-ชุมพร ได้ใน ภายหลัง นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ กล่าวว่า ตนเองยังมีส่วน ช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องที่ดินทำกินของชาวบ้าน ในการต่อต้าน การนำที่ดินของรัฐในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จำนวนหลายหมื่นไร่ ไปให้เอกชน/นายทุน ผู้มีอิทธิพลเช่าปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งที่ดิน เหล่านั้นมีราษฎรครอบครอง และทำกินมาก่อน และมีการใช้ อิทธิพลข่มขู่ให้ราษฎรเหล่านั้นออกจากพื้นที่ ในที่สุดราษฎรก็ ทิ้งที่ทำกิน นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ก็ได้เสนอปัญหาดังกล่าว เข้ากรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็ไม่สามารถต่อสู้กับ อิทธิพลของนายทุนนักการเมืองระดับประเทศได้ นอกจากเรื่อง ที่ดินทำกินของราษฎรแล้วยังได้ของบประมาณสนับสนุนการ ศึกษาการสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นที่ปากแม่น้ำหลังสวน แทนการ ที่จะต้องใช้เรือขุดตลอดเวลา หลังจากการศึกษาเสร็จก็มี 168
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร นักการเมืองรุ่นหลังได้นำเอาผลจากการศึกษาดังกล่าวไปขอ สนับสนุนงบประมาณในการสร้างเขื่อนต่อมาในภายหลัง และ ยังได้จัดทำแผนการขยายถนนจากสี่แยกปฐมพรให้เป็นถนน 4 เลน มาถงึ ตวั เมอื งชมุ พร พรอ้ มกบั สรา้ งสะพานขา้ มแยกปฐมพร แรงจูงใจทที่ ำให้เข้าสู่วงการเมือง นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ เดิมทีมีอาชีพเป็นทนายความ อยู่กับพระทวีป ธุระปราสาท ซึ่งได้เปิดสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพ ทนายความสมัยนั้นหลายคนเคยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรกันทุกคน แต่ไม่เคยมีทนายความคนใดได้รับ เลือกตั้งเข้ามา ก็ต้องหันมาประกอบอาชีพทนายความต่อ แต่ ในขณะที่สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ผู้สมัคร ต้องสร้างทีมหาเสียง และหัวคะแนน เพื่อช่วยเหลือในการ หาเสียง ภายหลังเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละครั้ง ความผูกพันระหว่างผู้สมัครและผู้สนับสนุนก็ยังคงมีอยู่ เมื่อ ผู้สนับสนุนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ จึงมักจะขอความ ช่วยเหลือไปยังทนายความที่เคยสมัครรับเลือกตั้งในครั้งที่ ผ่านมา ในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องที่ดินทำกิน เรื่องพืชผลทาง การเกษตร เรื่องสาธารณูปโภค แต่เนื่องจากทนายความ และ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคน ไม่สามารถเดิน ทางลงพื้นที่จังหวัดชุมพรได้อย่างสม่ำเสมอ จึงได้ขอให้ นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ ซึ่งต้องเดินทางกลับบ้านที่อำเภอ หลังสวน อยู่แล้ว เป็นผู้ช่วยเหลือแทน ในขณะที่ได้ช่วยเหลือ ผู้สนับสนุน และหัวคะแนน แทนเพื่อนทนายความที่เคยสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด จึงมีความคิดว่าตนเอง ควรลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียเอง น่าจะ 169
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร มีโอกาสได้ช่วยเหลือประชาชนได้ดีกว่า เนื่องจากมีโอกาสใน การเข้าไปร่างกฎหมายต่างๆ หรือแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เป็น อุปสรรคต่อความเป็นอยู่ของประชาชนได้มากกว่าเป็น ทนายความ เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พ้นื ที ่ นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ กล่าวว่า ก่อนที่ตนเองจะมา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็เคยเป็นสมาชิก สภาจังหวัดชุมพร (สจ.) มาก่อน 1 สมัย ทำให้รู้จักสมาชิกสภา จังหวัดชุมพร (สจ.) ทั้งจังหวัด รวมถึงมีความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสมาชิกเทศบาล 2 แห่ง คือเทศบาลเมืองชุมพร กับ เทศบาลเมืองหลังสวน ในสมัยนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล สภาตำบล ยังไม่มี มีเฉพาะกำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ปกครองท้องที่ จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ น ั ก ก า ร เ ม ื อ ง ท ้ อ ง ถ ิ ่ น ม า ก ก ว ่ า น ั ก ก า ร เ ม ื อ ง ร ะ ด ั บ ป ร ะ เ ท ศ เนื่องจากตนเองให้ความสำคัญกับกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดชุมพร มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นงานศพ งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ ก็จะได้รับเชิญจากเจ้าภาพมาโดยตลอด ทำให้ได้รู้จักและ คุ้นเคยกับผู้นำท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ฐานเสียงและกลุ่มสนบั สนนุ เนื่องจาก นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ เคยเป็นสมาชิก สภาจังหวัดชุมพร (สจ.) และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมือง ท้องถิ่น ทั้งกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน สมาชิกสภาเทศบาล ต่างๆ ก็เลยได้กลุ่มบุคคลเหล่านั้นเข้ามามีส่วนในการช่วย 170
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร สนับสนุนในการหาเสียงเลือกตั้งและเป็นฐานเสียงให้กับตนเอง มาทุกสมัยที่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้ รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกคือ นโยบาย ของพรรคกิจสังคม ซึ่งยอมรับว่าพรรคมีส่วนเป็นอย่างมากที่ ทำให้ตนเองได้รับการเลือกตั้งเข้า สมัยนั้นเป็นนโยบายเงินผัน ประกันราคาพืชผล ส่งเสริมพัฒนาตำบล คนจนรักษาฟรี ซึ่ง เป็นนโยบายหลักของหัวหน้าพรรคคือท่าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ทำให้กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน สมาชิกสภา จังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ในจังหวัดชุมพรให้ความสนใจ อย่างแพร่หลาย และให้การสนับสนุนนโยบายเงินผันของพรรค กิจสังคม ทำให้ผู้สนับสนุน นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ เกิด ความศรัทธาระบบเงินผันของพรรคและหัวหน้าพรรคเป็นอย่าง มาก จึงทำให้ตนเองได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงและกลุ่ม ผู้สนับสนุนดังกล่าวมาอย่างเหนียวแน่น วธิ ีการหาเสยี ง นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกคนหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็น ส.ส.งานบวช ซึ่งเป็นที่รับรู้ของชาว จังหวัดชุมพร เมื่อมีงานต่างๆ ในจังหวัดชุมพร ไม่ว่าจะเป็นงาน ศพ งานแต่ง งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ กฐิน ผ้าป่า หรืองานอื่น มักจะพบเห็น นายธีรพันธ์ มาเป็นแขกของงานอยู่เสมอ และมัก จะหาโอกาสเดินทางมาพบปะเยี่ยมเยือนประชาชนในจังหวัด ชุมพรอย่างสม่ำเสมอ ในการหาเสียงของ นายธีรพันธ์ มักใช้ วิธีการเดินทางไปพบกับเจ้าของบ้าน เคาะประตูบ้าน ทำความ คุ้นเคยสนิทสนมกับชาวบ้าน โดยการแนะนำของผู้นำชุมชน / ผู้นำท้องถิ่น วิธีการหาเสียงของ นายธีรพันธ์ อีกรูปแบบหนึ่ง 171
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ก็คือ การเข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชุมพร เพื่อรับเอาประเด็นปัญหาและความต้องการของชาวชุมพร ไป เสนอต่อคณะกรรมการพรรคเพื่อให้ผลักดันงบประมาณ และ หาวิธีการช่วยเหลือ เช่น การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ซึ่งขณะนั้นมะพร้าวมีราคาตกต่ำ ทำให้พรรคมีนโยบาย สนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอย่างอื่นทดแทน เช่น การ ปลกู ยางพารา การปลูกปาล์มน้ำมัน ผลงานท่เี ป็นรปู ธรรม - ผลักดันให้มีการขยายโอกาสทางการศึกษา ทำให้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ขยายวิทยาเขตไปยังอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร - ผลักดันให้จังหวัดชุมพรมีสนามบินพาณิชย์ - ของบประมาณสนับสนุนการสร้างถนนเลียบชายฝั่ง จังหวัดชุมพร - จัดทำแผนงานโครงการสร้างถนนสี่เลนจากสี่แยก ปฐมพรเข้าสู่ตัวเมืองชุมพร - จัดทำแผนงานโครงการศึกษาการสร้างเขื่อน ปากแม่น้ำหลังสวน นกั การเมอื งในอุดมคต ิ ม.ร.ว. คกึ ฤทธ์ิ ปราโมช โดยเหน็ วา่ ทา่ นเปน็ ปชู นยี บคุ คล ที่สำคัญทางการเมืองในประเทศไทย การบริหารกิจการ บ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ก็ยังถือว่า เปน็ บคุ คลสำคญั ทเ่ี คยมบี ทบาทอยา่ งสงู ในฐานะ “นกั การเมอื ง” 172
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร โดยเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย ชื่อ “พรรคก้าวหน้า” ในช่วง พ.ศ. 2488 - 2489 ต่อมาได้ร่วมในคณะ ผู้ก่อตั้ง “พรรคประชาธิปัตย์” และเป็นเลขาธิการพรรค ประชาธปิ ตั ยค์ นแรก จน พ.ศ. 2517 ไดร้ เิ รม่ิ จดั ตง้ั “พรรคกจิ สงั คม” ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังได้ชื่อว่าเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ คนสำคัญของประเทศและได้รับความนิยม จากผู้อ่านอย่างกว้างขวางทั้งสิ้น นวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน กับ ไผ่แดง ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หลายชีวิต แปลเป็น ภาษาญี่ปุ่น จนได้รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรมประจำปี พ.ศ.2528 สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงเป็นนักการเมืองที่ นายธีรพันธ์ ได้ยึดถือเป็นแบบอย่างตลอดชีวิตการเป็น นักการเมือง เครอื่ งราชอสิ ริยาภรณ ์ มหาวชิรมงกุฎไทย ขั้นสงู สุด (ม.ว.ม.) มหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก ขั้นสูงสุด (ป.ม.ช.) นายสุชาติ แก้วนาโพธ์ิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร 6 สมัย เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ครอบครัวมีฐานะยากจน จึงให้ความสนใจเรื่องการเรียนเป็น อย่างมาก โดยมีผลการเรียนที่ดีมา 173
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร อย่างต่อเนื่อง จนได้รับทุนการศึกษาเรียนฟรี ภายหลังจบ การศึกษาได้สอบเป็นครูที่บ้านเกิดเพียงระยะเวลาการทำงาน ไม่กี่ปี ก็ได้เลื่อนเป็นครใู หญ่ ต่อมาได้รับการสนับสนุนเป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ ครูชุมพร เป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี จึงทำให้เป็นที่รู้จักของ สมาชิกครูทั้งจังหวัดชุมพร ทำให้พรรคการเมืองหลายพรรค ทาบทามให้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร แต่ในที่สุดได้เลือกสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ใน พ.ศ. 2529 จึงเป็นจุดเริ่มต้นทางการเมืองของ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนจังหวัด ชุมพร จนได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันถึง 6 สมัย ระหว่างการทำ หน้าที่ผู้แทนราษฎร มีโอกาสรับใช้ประชาชนเป็นเวลานานถึง 16 ปี สร้างผลงานไว้ให้กับชาวจังหวัดชุมพรเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนตัวของนายสุชาติ ขาดการประชาสัมพันธ์ผลงานทั้งจาก ตัวนายสุชาติ และพรรคประชาธิปัตย์ ในการทำงานให้กับพรรค ประชาธิปัตย์ ได้ทุ่มเทเสียสละแรงกาย แรงใจ ให้กับพรรค จนสุดความสามารถ ได้แก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้แทนใน จังหวัดชุมพรที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกัน ในการแย่งชิง พื้นที่การเลือกตั้ง และเสียสละมาลงเลือกตั้งในเขต 2 แต่ภาย หลังเงื่อนไขข้อตกลงที่มีกับพรรคไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และไปสมัคร รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย และไม่สามารถฝ่าด่าน ประชาธิปัตย์ได้ จึงยุติบทบาททางการเมืองไว้เพียงนั้น 174
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร การศกึ ษา ปริญญาตรี สถาบันราชภัฎสุราษฎร์ธานี ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่อยู่ 4/4 หมู่ 7 บ้านวังไผ่ ถนนชุมพร-ระนอง ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86000 โทรศัพท์ : 0-77576-572 โทรสาร: 0-77531-085 ชื่อบิดา นายปาน แก้วนาโพธิ์ ชื่อมารดา นางหีด แก้วนาโพธิ์ ประสบการทำงาน พ.ศ. 2507 รับราชการครู โรงเรียนวัดถ้ำเขาล้าน อ.สวี จ.ชุมพร พ.ศ. 2509 - 2529 ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองปลา อ.สวี จ.ชุมพร ประสบการณ์ทางการเมอื ง พ.ศ. 2529 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2535/1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2535/2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ 175
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 ด้านเศรษฐกจิ พ.ศ. 2529 - 2544 ขอสนับสนุนงบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อ พัฒนาจังหวัดชุมพร สนับสนุนงบประมาณผ่านกลุ่มอาชีพ กลุ่มสตรี สหกรณ์ นิคมท่าแซะ จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างถนนและซ่อม ผิวจราจร จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคาร ซื้อครุภัณฑ์ และเวช ภัณฑ์ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการขุดลอกทำนบ/เขื่อน ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน จัดสรรงบประมาณในการขยายไฟฟ้า โทรศัพท์ สนับสนุนงบประมาณให้โครงการเยาวชนรักษ์สิ่ง แวดล้อมและการท่องเที่ยวน้อย 176
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างประปาท้องถิ่น ดา้ นสังคม พ.ศ. 2529 กรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุข แรงจงู ใจทท่ี ำใหเ้ ขา้ ส่วู งการเมอื ง แรงจูงใจเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนเพราะตั้งแต่ ชั้นประถมปีที่ 1-4 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าชั้น เพราะว่า สมัยที่เป็นนักเรียนเป็นคนที่เรียนหนังสือเก่ง และได้เข้าร่วม กิจกรรมของโรงเรียนเป็นผู้นำในการไหว้ครู รวมถึงเป็นผู้นำใน การทำกิจกรรมทุกอย่างของโรงเรียน พอได้เข้าศึกษาในระดับ ชั้นมัธยมปีที่ 1 - 6 ก็ยังมีผลการเรียนที่ดีมาโดยตลอด แต่กิจกรรมการเป็นหัวหน้าชั้นเรียนบางปีก็ได้รับการคัดเลือก แต่บางปีก็ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น จนกระทั่งเรียนจบใน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ก็ได้มีการสอบเข้าเรียนต่อ ซึ่งสมัย นั้นมักจะมีความนิยมเรียนทางครู ในการสอบครั้งนั้นมีทุนเรียน หลวงที่เรียกว่า “นักเรียนทุน” ในจังหวัดชุมพร มีทั้งหมด 3 ทุน นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้เข้าสอบใน พ.ศ. 2505 และสอบได้ เป็นหนึ่งในสาม และได้มีโอกาสเรียนฟรีเป็นระยะเวลา 2 ปีที่ เป็นนักเรียนทุน และมีผลการเรียนที่ดี หลังจากสำเร็จการศึกษา ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ปก.ศ.) ก็มา เป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนวัดถ้ำเข้าล้าน อำเภอสวี จังหวัด ชุมพร เป็นระยะเวลา 2 ปี แล้วสอบได้เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียน 177
นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร หนองปลาที่อำเภอสวี การบริหารโรงเรียนขณะนั้น จัดเป็นกลุ่ม โรงเรียนและมีหัวหน้าของกลุ่มที่เรียกว่าประธานกลุ่ม และนาย สุชาติ ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่ม จนกระทั่งมีการ คัดเลือกประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดชุมพร นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ก็ได้สมัครรับเลือกตั้งและก็ได้รับการคัดเลือกเข้ามา เป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดชุมพร วาระการดำรง ตำแหน่งคราวละ 1 ปี แล้วให้มีการเลือกตั้งกันใหม่ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ สามารถดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 11 ปี ติดต่อกัน จนทำให้เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดชุมพรอย่าง กว้างขวาง ภายหลังก็มีสมาพันธ์ครูจังหวัดชุมพร ซึ่งมีชมรมครู ในอำเภอต่างๆ เข้ามาเป็นสมาชิก โดย นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมครูอำเภอสวี โดยเข้าไปดูแลใน เรื่องความเดือดร้อนของสมาชิกครู ใครเดือดร้อนเรื่องใดก็ตาม นายสุชาติ ก็อาสาที่จะหาทางแก้ไขให้ได้ ต่อมามีการสมัคร ตัวแทนครูประจำจังหวัดที่มีชื่อเรียกว่า คณะกรรมการการปฐม ศึกษาจังหวัด (กปจ.) นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ก็ได้รับการ คัดเลือกเข้ามาทำงานอีก และดำรงตำแหน่งมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2529 ก็มีพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้ส่ง นายสมยศ มีแสง และนายเพลิน บรรยงคิด ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค ประชาธิปัตย์ประจำจังหวัดชุมพร เป็นผู้ทาบทามให้นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัด ชุมพร แต่ก็ยังแบ่งรับแบ่งสู้ เนื่องจากส่วนหนึ่งคือต้นทุนส่วนตัว นั้น นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้สร้างเอาไว้อย่างกว้างขวาง แต่ที่ ยังกังวลอยู่ก็คือจะเอาฐานทางการเมืองที่ไหนไปแข่งขันกับ ผู้สมัครจากพรรคอื่น เพราะการเป็นผู้แทนราษฎรนอกจาก 178
ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ความรู้ความสามารถส่วนตัวแล้วจะต้องมีปัจจัยหลักคือเงิน แต่ ผู้ที่มาทาบทามบอกว่าการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในนามพรรคประชาธิปัตย์ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน เพียงแต่จัดโปสเตอร์หาเสียง และพรรคให้เงินสนับสนุนเป็น จำนวนเงิน 50,000 บาท ในสมัยนั้นจังหวัดชุมพรมีผู้แทน ได้ไม่เกิน 2 คน และการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางตรง แบบ แบ่งเขตกับรวมเขต ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ในแต่ละเขต เลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 3 คน และไม่น้อย กว่า 2 คน ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อผู้แทน ราษฎรหนึ่งคน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร ที่มาจากการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา จำนวน 2 คน คือ นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ สังกัดพรรคกิจสังคม และนายแพทย์ พินัย รุโจปการ สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้สอบถามไปยังพรรคประชาธิปัตย์ว่าหาก นายสุชาติ ตัดสินใจลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ จะต้อง ลงสมัครคู่กับใคร ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ตอบกลับมาว่าให้ ลงสมัครคู่กับ นายจัตุรนต์ คชสีห์ ซึ่งขณะนั้นเพิ่งออกมาจากป่า และมีฐานการเมืองพอสมควร นายสุชาติ จึงตัดสินใจลงสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรค ประชาธิปัตย์ ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ใน พ.ศ. 2529 ก็มีผู้สมัครกันหลายคน เช่น พลเอก ชำนาญ นิลวิเศษ นายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ และนายแพทย์ พินัย รุโจปการ ซึ่ง 2 รายหลังเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ และนายจัตุรนต์ คชสีห์ ก็ได้รับการ 179
นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร เลือกตั้งเข้าสภาในนามพรรคประชาธิปัตย์ นั่นคือแรงจูงใจ และ ที่มาจากการถูกทาบทามจากคณะกรรมการบริหารพรรค ประชาธิปัตย์ประจำจังหวัดชุมพร เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พ้นื ท ่ี ในการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน พ.ศ. 2529 นั้น ในการเมืองระดับชาติ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ยอมรับว่ายังไม่ได้รู้จักนักการเมืองคนใดมากมายนัก รู้จัก เฉพาะนักการเมืองที่ตนเองได้เคยติดตามเท่านั้น เช่น นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งต่อมาก็ได้มาช่วยนายสุชาติ หาเสียง ส่วนในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีเพียง นายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ที่มีความสัมพันธ์สนิทสนม มากที่สุด ก็คือ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นครศรีธรรมราชเพียงคนเดียวที่รู้จัก เพราะเป็นนักเรียนคร ู รุ่นน้องที่สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช ส่วนของการเมือง ท้องถิ่นชื่อของนายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ เป็นที่รู้จักของนักการเมือง ท้องถิ่นทั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิก เทศบาล สมาชิกสภาตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจาก นายสุชาติ มักจะได้รับเชิญให้ไปเป็นพิธีกรในงานต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานประเพณีใดก็ตาม หรือแม้แต่การจัดเวที ปราศรัยหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่น ก็ยังต้องมีการเชิญ นายสุชาติ ไปช่วยเป็นพิธีกรดำเนินรายการให้ ทำให้ นายสุชาติ มีความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมืองท้องถิ่น มาอย่างยาวนาน 180
ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ฐานเสยี งและกลมุ่ สนับสนนุ ฐานเสียงส่วนใหญ่เป็นครูจากทุกโรงเรียนในจังหวัด ชุมพร ซึ่งวิธีการหาเสียง นายสุชาติ ใช้คำว่าครูมาโดยตลอดตั้ง แต่แรกเริ่มการหาเสียง จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังใช้คำว่าคร ู รองลงมาเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนักการเมือง ท้องถิ่น เช่น สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิก เทศบาล สมาชิกสภาตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มสตรี นอกจากกลุ่มดังกล่าวข้างต้นแล้ว นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ยังได้ กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนช่วยในการหาเสียงมาทุกสมัย ส่วนฐาน เสียงสำคัญ ๆ จะอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอสวี และอำเภอ ทุ่งตะโก ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญ ที่ได้ลงพื้นที่ และมีกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง วิธีการหาเสียง ใช้วิธีการปราศรัยเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีวิธีการ อย่างอื่นร่วมด้วย ทุกจุดจะต้องมีการจัดเวทีเพื่อปราศรัย ใช้เวที เป็นหลัก และใช้นโยบายส่วนตัวนำเสนอในการหาเสียง เช่น จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดที่ล้าหลัง จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก่อน เช่น พัฒนาระบบถนนไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และอีกส่วนหนึ่งคือนโยบายเรื่องที่ดินทำกิน มีประชาชนจำนวนมากที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ บางราย ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย แล้วต่อ มาถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมข้อหาบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่ง ประเด็นเหล่านี้ล้วนแล้วแต่รอการช่วยเหลือจากผู้แทนราษฎร อย่างจริงจัง จึงได้กำหนดเป็นนโยบายในการหาเสียง และเมื่อ ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ในสภาก็ได้ผลักดันจน 181
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301