Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 33นักการเมืองถิ่นชุมพร

33นักการเมืองถิ่นชุมพร

Description: เล่มที่33นักการเมืองถิ่นชุมพร

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ประชาชนได้รับเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน นอกจากวิธีการ หาเสียงดังที่กล่าวมาแล้ว สิ่งที่นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้ปฏิบัติ มาอย่างต่อเนื่อง คือ การให้ความสำคัญในในการเข้าร่วมงาน พิธีต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช งานศพ หรือประเพณี ท้องถิ่นต่างๆ ผลงานทีเ่ ปน็ รปู ธรรม เป็นผลงานในการสนับสนุนงบประมาณลงสู่พื้นที่จังหวัด ชุมพร ด้วยงบ ส.ส. เช่น การสนับสนุนงบประมาณในการ ก่อสร้างถนนและซ่อมแซมผิวการจราจร การของบประมาณเพื่อ ขอสร้างอาคารเรียนโรงเรียนสวีวิทยา ซื้อเครื่องมือปฏิบัติการ ทางภาษาให้กับโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกโรงเรียนในจังหวัด ชุมพร แปรญัตติของบประมาณให้สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร จัดซื้อ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลหลังสวน โรงพยาบาล ปะทิว โรงพยาบาลท่าแซะ โรงพยาบาลละแม โรงพยาบาล ทุ่งตะโก จัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อครุภัณฑ์ให้สถานีอนามัย ตำบล จำนวน 51 แห่ง จัดสรรงบประมาณในการซื้อ ยานพาหนะให้แก่โรงเรียน สำนักงานเกษตร สำนักงาน ประชาสงเคราะห์ การสนับสนุนทุนการศึกษา ให้แก่นักเรียนที่มี ผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สนับสนุนทุนให้แก่ โครงการเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดสรรงบประมาณให้ความ ช่วยเหลือคนพิการ คนยากจน และคนมีรายได้น้อย จัดหา แหล่งงบประมาณเพื่อขยายประปาท้องถิ่น 182

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร นกั การเมอื งในอุดมคต ิ ภาพความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความเที่ยงธรรมของ นายชวน หลีกภัย เป็นภาพที่คนในพรรคประชาธิปัตย์ซึมซับ มาโดยตลอด นายชวน ถือเป็นแบบอย่างของนักการเมือง มาอย่างยาวนาน ในยุคที่ นายชวน เป็นหัวหน้าพรรค และเป็น นายกรัฐมนตรี ยิ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นตัวตนของ นายชวน ได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกใจที่พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของนายชวน จะได้รับการยอมรับของคนทั้งประเทศ นายชวน หลีกภัย จึงเป็นนักการเมืองในอุดมคติของ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เข้ามาร่วมงานในพรรค ประชาธิปัตย์จนถึงปัจจุบัน เครือ่ งราชอิสรยิ าภรณ ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) นายจัตุรนต์ คชสีห์ เกิดเมื่อ วันที่ 19 เมษายน 2490 ที่ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จัตุรนต์ เกิดและเติบโตที่ ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน ท ่ า ม ก ล า ง ก า ร ผ ส ม ผ ส า น ร ะ ห ว ่ า ง สายเลือดชาวนากับครูประชาบาล ต่อมาครอบครัวย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ อำเภอละแมได้เริ่มการศึกษาเล่าเรียนที่วัดสุวรรณคีรี อำเภอ 183

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร หลังสวน ขณะที่ยังเป็นเด็กวัดตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ก็ได้เข้าเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี (วัดใหญ่) จนจบ ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 จึงได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวน ศรีวิทยาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยพักอาศัยอยู่กับญาติ 1 ปี หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่วัดด่านประชากร ตั้งอยู่เยื้องๆ กับโรงเรียนสวนศรีวิทยา เรียนที่โรงเรียนสวนศรีวิทยาจนถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จึงย้ายตามพี่ชายเดินทางเข้า กรุงเทพมหานคร โดยเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยอาศัยอยู่ที่วัดมหาธาตุ และได้เข้า ศึกษาต่อในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเทเวศ ศึกษา โดยใช้ชีวิตเด็กวัดจนกระทั่งเรียนจบมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2515 (นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่น 09) ซึ่งมีเพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ได้แก่ นายไพศาล พืชมงคล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายจำลอง ครุฑขุนทด ร.ต.ท.เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย นายประพันธ์ ทรัพย์แสง ประธานแผนกคดี อาญานักการเมือง ในศาลฎีกา ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ณ อยุธยา ปัจจุบันดำรง ตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกาและอดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม อดีตผู้พิพากษาอาวุโส และอดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม นายจัตุรนต์ มีบทบาททางการเมือง อย่างโดดเด่นสมัยเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เปน็ แกนนำคนสำคญั ในการเรยี กรอ้ งประชาธปิ ไตย จากรัฐบาลเผด็จการ ด้วยการเป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มนิสิต นักศึกษาอาสาสมัครแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา 184

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร แห่งประเทศไทย จนนำไปสู่การออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นายจัตุรนต์ คชสีห์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นแกนนำคน เดือนตุลาที่สำคัญคนหนึ่ง ชีวิตเริ่มสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม ทางการเมืองในขณะที่ยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เป็นผู้นำนักศึกษาที่ผลักดันให้ขบวนการนักศึกษา ให้เติบใหญ่ และมีบทบาทในยุคเผด็จการครองเมือง เมื่อจบ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้ประกอบอาชีพ ทนายความ ว่าความให้กับคนยากคนจน คนที่ถูกเอาเปรียบ ทางสังคม ชีวิตของ นายจัตุรนต์ กลับมาพลิกผันอีกครั้งหลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อถูกคุกคามจากรัฐบาล ทำให้ ต้องหลบหนีเข้าไปใช้ชีวิตในป่าเป็นเวลาหลายปี ทีอ่ ยู่ 27 หมู่ 6 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ชื่อบิดา นายเชื่อม คชสีห์ รับราชการเป็นครูประชาบาล ชื่อมารดา นางวอน คชสีห์ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดสุวรรณคีรี อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสวนศรีวิทยา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 185

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศน์ กรุงเทพมหานคร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา กรุงเทพมหานคร ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาชพี ก่อนได้รับการเลอื กต้ัง ทนายความและเกษตรกรรม ตำแหน่งทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ พ.ศ. 2529 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2531 คณะกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎร ดา้ นสังคม พ.ศ. 2511 ร่วมก่อตั้ง และเป็นกรรมการอาสาสมัคร ม.ธ. สังเกตการณ์เลือกตั้งสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2512 ประธานฝ่ายสวัสดิการและประสานงาน การสังเกตการณ์เลือกตั้ง ส.ส. 186

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2514 ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปชุมนุม เยาวชนแห่งเอเชีย และร่วมรายการเดินเรือเพื่อสันทวไมตรี ณ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2516 เข้าร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญและต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กรณี 14 ตุลาคม 2516 พ.ศ. 2518 ร่วมก่อตั้งและสมัครผู้แทนราษฎรพรรคสังคมนิยม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พ.ศ. 2529 เลขานุการคณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร สมัยที่ 2 พ.ศ. 2531 คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2531 เลขานุการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 187

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร แรงจงู ใจท่ที ำให้เข้าส่วู งการเมือง นายจัตุรนต์ คชสีห์ ถือเป็นแกนนำคนสำคัญของคน เดือนตุลา และเป็นนักต่อสู้ทางการเมืองมาอย่างยาวนาน ระหว่างที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน พ.ศ. 2511 ขณะกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพ ขณะนั้นยังไม่ได้รวมจังหวัดธนบุรี เข้ากับกรุงเทพมหานคร ขบวนการนักศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เห็นว่าการปกครองประเทศมีเผด็จการครองเมือง มาอย่างยาวนาน และ พ.ศ. 2512 รัฐบาลเผด็จการก็ได้มีการ เตรียมโกงการเลือกตั้ง เพราะประวัติในการโกงการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 ทางขบวนการนักศึกษา ได้ทำการศึกษาจาก เอกสารเก่าๆ มาเป็นอย่างดี จึงได้หารือในกลุ่มเพื่อนฝูงที่เข้า ร่วมขบวนการนักศึกษาว่า ถ้าเป็นแบบนี้ควรจะผลักดัน ขบวนการนักศึกษาออกไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองกันดีหรือ ไม่ เพื่อที่จะได้เรียนรู้ จะได้เป็นบทเรียนจะได้นำมาถกเถียงกัน ในทางวิชาการ และเพื่อให้สังคมได้รับรู้ เนื่องจากนักศึกษาเป็น พลังแห่งความบริสุทธิ์ ไม่มีประโยชน์ต่อฝ่ายใดทั้งสิ้น ทุกคน ต่างก็เห็นด้วย โดยเฉพาะแกนนำทั้งหมดก็เห็นด้วยที่จะให้มีการ เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ก็จัดตั้งเป็นกลุ่มอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะเดียวกันที่จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย กไ็ ดม้ ีการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครจฬุ าฯ ด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนๆ รุ่นเดียวกัน และรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี ทางกลุ่มอาสาสมัครจุฬาฯ ก็เน้นไปทางด้านวิชาการ กลุ่มอาสา สมัครมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เน้นการเคลื่อนไหวภาคสนาม ก็ได้มีการรวบรวมกลุ่มนักศึกษาไปเฝ้าสังเกตการณ์ที่หน่วย 188

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร เลือกตั้ง โดยขอให้ผู้สมัครแต่งตั้งกลุ่มนักศึกษาอาสาสมัคร เข้าไปเป็นตัวแทน โดยเลือกเอาคนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งบรรลุ นิติภาวะแล้ว ก็ได้เข้าไปประจำตามหน่วยเลือกตั้ง ผลจากการ เลือกตั้งที่ออกมาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเสียงที่ประชาชนเป็น ผู้เลือกเข้ามาจริงๆ โดยมีกลุ่มอาสาสมัครจากนิสิตนักศึกษา อาสาสมัครไปรับรองผลการเลือกตั้งให้ จากนั้นเป็นต้นมา พลัง ของนักศึกษาก็ได้รับการยอมรับ และเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 รัฐบาลจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 9 ทางกลุ่ม นักศึกษาอาสาสมัคร ก็ได้ตัดสินใจทำหน้าที่เฝ้าสังเกตการ เลือกตั้งอีกครั้ง โดยใช้สมาชิกอาสาสมัครกลุ่มเดิม โดยลงไปทำ หน้าที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดธนบุรี แต่ในจังหวัด อื่นถ้ามีกำลังความสามารถพอที่จะทำได้ก็จะทำ ขณะนั้นมี ข้อจำกัดในหลายด้าน โดยเฉพาะการเลือกตั้งในต่างจังหวัด ยังขาดผู้นำนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเข้าร่วม กิจกรรมทางการเมือง ต่อมา กลุ่มนักศึกษาอาสาสมัคร ได้ขยายจากกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็นกลุ่มนิสิต นักศึกษาอาสาสมัครแห่งประเทศไทย รวมกัน 17 สถาบัน และ ได้ส่งสมาชิกอาสาสมัครไปเฝ้าที่หน่วยเลือกตั้งเหมือนกับที่เคย ทำสำเร็จมาแล้วใน พ.ศ. 2511 และได้มีการป้องกันการทุจริต โกงการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับของ สังคมอีกครั้งหนึ่ง ว่าเป็นเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชนจริงๆ ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลานั้น ซึ่งในตอนนั้น ทางกลุ่มมีความคิดจะทำหน้าที่เฝ้าสังเกตการเลือกตั้งในจังหวัด ใหญ่ๆ ทั่วประเทศ โดยตัว นายจัตุรนต์ ได้เดินทางลงไปในพื้นที่ 189

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร จังหวัดสงขลา เพื่อสำรวจดูข้อมูลต่างๆ ปรากฏว่าไม่สามารถ ส่งอาสาสมัครเฝ้าสังเกตการเลือกตั้งลงไปในพื้นที่ได้ เนื่องจาก ไม่มีกำลังอาสาสมัครเพียงพอ ส่วนนักศึกษาในพื้นที่ส่วนใหญ่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อายุยังไม่ถึง 20 ปี คงเป็นเรื่องยากที่จะทำ ก็เลยตัดสินใจกันว่าจะเฝ้าสังเกตการณ์เลือกตั้งเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นพลังของนักศึกษาก็ได้รับการ ยอมรับจากประชาชน และกลุ่มต่างๆ มากขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2514 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดชัยนาท ทางกลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสา สมัครแห่งประเทศไทยก็ได้ไปทำ หน้าที่เฝ้าสังเกตการณ์เลือกตั้งอีก พอเสร็จจากการเลือกตั้งที่ จังหวัดชัยนาท ทางศนู ย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยก็มี เค้าลางที่จะเริ่มก็ตั้งขึ้น ทางนักการเมืองในสมัยนั้น มี จอมพล ประภาส ก็ได้ส่งสายของฝ่ายการเมืองมาร่วมก่อตั้งเพื่อที่จะเอา ไว้เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง กลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสา สมัครแห่งประเทศไทย จึงได้คัดค้านการเข้ามาร่วมของฝ่าย การเมืองภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งทาง กลุ่มนิสิตนักศึกษาอาสาสมัครแห่งประเทศไทยเริ่มรู้ความ เคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองดังกล่าว โดยกลุ่มนิสิตนักศึกษา อาสาสมัครแห่งประเทศไทยได้มีการประชุมกันที่กำแพงแสน และถูกกองกำลังของรัฐบาลไปทำลายสถานที่ประชุมเพื่อไม่ให้ ทางกลุ่มประชุมกันได้ แต่ไม่สำเร็จ ตอนหลังกลุ่มนิสิตนักศึกษา อาสาสมัครแห่งประเทศไทยได้แอบไปประชุมกันที่อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี และได้จัดตั้งศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ ไทยขึ้นมาได้ การจัดตั้งกลุ่มมีการเริ่มมาจากหลากหลายภาค ส่วน เหมือนลำธาร หลายสายไหลมารวมตัวกันเป็นแม่น้ำ 190

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ลำธารหนึ่งมาจากการโกงการเลือกตั้ง หลายส่วนมาจากกลุ่ม ฟื้นฟูโซตัส กลุ่มสภากาแฟ และกลุ่มต่างๆ จากหลายๆ สถาบัน มารวมกัน ทางเชียงใหม่ก็มีกลุ่มผาลาด จนในที่สุดก็มีความ รู้สึกร่วมกันว่าต้องตั้งองค์กรนี้เป็นของนักศึกษา โดยมี เลขาธิการนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยคนแรก คือ นายโกศล โรจนพันธ์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ์ รุ่นเดียวกันกับ นายจัตุรนต์ แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มาก เนื่องจากองค์กรมีขนาดใหญ่ ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทยก็มีเลขาธิการคนที่สอง ชื่อ นายธีรยุทธ บุญมี เปน็ นกั ศกึ ษาจากคณะวศิ วกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั แต่นายธีรยุทธ บุญมี ก็เคยร่วมงานกับกลุ่มของ นายจัตุรนต์ มาก่อน สมัยที่มีกิจกรรมการจัดค่ายอาสาพัฒนาที่ จังหวัด สระบุรี ขณะนั้นนายธีรยุทธ บุญมี ก็ยังไม่ได้เข้าศึกษาที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สอบได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ก็ได้ไปร่วมค่ายอาสาพัฒนากับ นายจัตุรนต์ คชสีห์ ที่หมู่บ้านป่าไผ่ ก็ได้หล่อหลอมสิ่งต่างๆ ร่วมกันมาทั้งหมด และก่อนที่จะรวมตัวกันเป็นศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ทางกลุ่มก็ได้เดินทางไปทำกิจกรรม ค่ายอาสาสมัครทั่วประเทศไทย ไปนอนที่หอพักมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ใช้เวลาร่วม 20 วัน เพื่อผลักดันแลกเปลี่ยนทางความ คิด ไปนอนที่หอพักมหาวิทยาลัยเกษตร ไปนอนที่หอพักคณะ แพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล หอพักในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันทางความคิดร่วมกัน จนกระทั่งเป็นขบวนการ นักศึกษาขึ้นมาในขณะนั้น ในสมัยที่ นายธีรยุทธ บุญมี เป็น เลขาธิการนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้มีการคัดค้านสินค้า 191

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร จากประเทศญี่ปุ่น ขบวนการนักศึกษาก็ออกรณรงค์คัดค้าน สินค้าญี่ปุ่น ในช่วงที่ “เคียวโนกุจิ” นักมวยญี่ปุ่น มาตั้ง โรงยิมเนเซี่ยมในประเทศไทย และได้ขโมยศิลปะมวยไทยไปตั้ง ชื่อใหม่ว่า “คิกบ๊อกซิ่ง” คนไทยก็เริ่มออกมาต่อต้าน หนังสือพิมพ์ก็เริ่มโจมตีกันอย่างหนัก ทางกลุ่มก็ปรึกษากันว่า ตอนนี้เราค้านสินค้าญี่ปุ่นได้เลย หลังจากนั้นการคัดค้านสินค้า ญี่ปุ่นก็เริ่มได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็น ผลงานของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ต่อมา ภายหลังก็ได้มีการรณรงค์เรื่องประชาธิปไตยมากขึ้นๆ จนกระทั่งมีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนเกิดเหตุการณ์เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2514 และเหตุการณ์ก็ซ้อนๆ กันหลายเรื่อง จนถึง พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นปีที่ นายจัตุรนต์ คชสีห์ สำเร็จการศึกษา จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภายหลังจากจบ การศึกษาในปีเดียวกันได้ร่วมกับ นายไขแสง สุกใสจัดตั้ง สำนักงานทนายความ “ธรรมรังสี” โดย นายไขแสง สุกใส มีความสนิทสนมกันเป็นอย่างมากกับกลุ่มนิสิตนักศึกษาแห่ง ประเทศไทย เนื่องจากตอนที่ นายไขแสง ออกจากคุกก็เห็นว่า ทางกลุ่มได้ทำกิจกรรมกันก็เลยเข้ามาทำความรู้จักกับทางกลุ่ม นักศึกษา เจอกันในวงอภิปราย ฟังการอภิปราย ร่วมเสวนา ก็เลยทำให้มีความสนิทสนมกันมากขึ้น นายไขแสง เห็นว่าทาง กลุ่มทำกิจกรรมกันก็เลยวิ่งเต้นหาพรรคพวก หาทุนเข้ามาตั้ง สำนักงานทนายความ “ธรรมรังสี” ก็กลายเป็นที่รวมของผู้นำ นักศึกษา และเป็นที่มาของ 14 ตุลาคม 2516 แต่เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นปลาย พ.ศ. 2514 มีการยึดอำนาจโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ ยึดอำนาจจากจอมพล 192

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ถนอม กิตติขจร ในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยมี พ.อ.ณรงค์ กิตติ ขจร (ลูกชายจอมพลถนอม และลูกเขยของจอมพลประภาส) เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิวัติ ในขณะนั้นผู้นำนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทยถูกคุกคามอย่างหนัก ส่วน นายจัตุรนต์ นอกจากควบคุมการเลือกตั้งแล้ว ยังได้จัดทำกลุ่มนิสิต นักศึกษาอาสาสมัครนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทำ โครงการพัฒนาเยาวชนไทยในระบอบประชาธิปไตยด้วย ซึ่งได้ ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว นอกจากนั้นยังได้จัดทำค่ายเยาวชน พัฒนาระบอบประชาธิปไตยในต่างจังหวัด อีก 7 จังหวัด หลังจาก จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ทำการยึดอำนาจแล้ว พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้เชิญ นายจัตุรนต์ คชสีห์ ไปทานข้าว ร่วมกัน แต่ได้ตอบปฏิเสธไป เนื่องจากรู้ว่าฝ่ายที่ยึดอำนาจ ต้องการอะไร ก็เพียงหวังที่จะใช้พลังนักศึกษาไปหนุนให้ จอมพลถนอม กิตติขจร ก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งทางการเมือง โดยได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และได้เชิญมาเป็นครั้งที่ 2 แต่ ก็ได้ตอบปฏิเสธเหมือนเดิม หลังจากนั้นผู้ยึดอำนาจก็ได้สั่งให้ ยกเลิกโครงการพัฒนาเยาวชนไทยในระบอบประชาธิปไตย ที่นายจัตุรนต์ เป็นผู้รับผิดชอบอยู่ ซึ่งเป็นที่รวมของนิสิต นักศึกษา ถึงแม้ว่า นายจัตุรนต์ จะจบการศึกษาไปแล้ว และไป ประกอบอาชีพทนายความ แต่ก็ยังมีนักศึกษารุ่นน้องที่ยังทำ กิจกรรมกันอยู่ และ นายจัตุรนต์ ก็ยังให้การช่วยเหลือในการทำ กิจกรรมไม่ได้ขาด ต่อมาภายหลังจากการที่ศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้รวมตัวกันเพื่อต้องการเรียกร้อง รัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้นำนักศึกษา 7 คน ได้ออกหนังสือมาเล่มหนึ่ง โดยในเนื้อหาของหนังสือเล่ม 193

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ดังกล่าวได้เขียนล้อเลียน ประชดประชัน ว่า “สภาสัตว์ป่า แห่งทุ่งใหญ่มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 4 ปี เพื่อความมั่นคงของ ชาติบ้านเมือง” จนทำให้รัฐบาลมีความโกรธเคือง จึงสั่งให้ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไล่นักศึกษาทั้ง 7 คนออกจาก มหาวิทยาลัย ต่อมาศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ก็ได้ออกมาต่อสู้เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับนักศึกษาทั้ง 7 คน โดยมีการรวมตัวกันของนักศึกษาเป็นจำนวนมากเพื่อร่วม กันเรียกร้อง การรวมตัวของนักศึกษาในครั้งนั้นสร้างความ หวาดกลัวให้รัฐบาลเป็นอย่างมาก และมีแผนที่จะกำจัดกลุ่ม นักศึกษาดังกล่าวให้หมดสิ้น กลุ่มนักศึกษาจึงสลายตัวกันไป แต่มีจุดยืนและสัญญาร่วมกันว่า อีกประมาณ 6 เดือนให้มา รวมตัวกันใหม่ และเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นที่มาของ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พน้ื ท่ี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน 2523 ก็มีคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ประกาศออกมา จากแนว ความคิด “การเมืองนำการทหาร” ทำให้ นายจัตุรนต์ คชสีห์ ได้ออกจากป่ามาประกอบอาชีพเกษตรกร อยู่ที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ต่อมา นายวีระ มุกสิกพงศ์ ได้ชักจูงให้เข้ามาสู่ เส้นทางทางการเมือง ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการ 194

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 เนื่องจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศ ยุบสภาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 รัฐบาลจัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ ส่งผู้สมัครลงชิงชัยในจังหวัดชุมพร ได้แก่ นายจัตุรนต์ คชสีห์ คู่กับ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ การเลือกตั้งในครั้งนั้นทำให้พรรค ประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะในจังหวัดชุมพรอย่างท่วมท้น โดย นายจัตุรนต์ คชสีห์ ได้รับชัยชนะเหนือ พลเอกชำนาญ นิลวิเศษ ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ส่วนเครือข่ายทางการเมืองในขณะนั้น นายจัตุรนต์ ไม่มี เครือข่ายสนับสนุน มีแต่ประชาชนที่ต้องการอยากทราบว่า นายจัตุรนต์ คชสีห์ ที่เป็นคอมมิวนิสต์มีหน้าตาเป็นอย่างไร จึงทำให้ประชาชนสนใจและให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก ฐานเสียงและกลมุ่ สนับสนนุ การหาเสียงในสมัยนั้น นายจัตุรนต์ กล่าวว่าตนไม่มี ฐานเสียงใดๆ เลย เพราะเพิ่งออกมาจากป่ามาได้ไม่นาน และ ไม่เคยได้ทำกิจกรรมทางการเมืองในจังหวัดชุมพรเลย ในช่วง เวลาที่ออกจากป่ามาประกอบอาชีพเกษตรกรรม ก็ยังต้องระวัง ตัว เนื่องจากไม่มีความมั่นใจในนโยบายของรัฐบาลตามคำสั่ง 66/23 และไม่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมทางการเมือง จึงทำให้ กลุ่มการเมืองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน และกลุ่มที่สนับสนุน นักการเมืองกลุ่มอื่นๆ ไม่มีความคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวกับ นายจัตุรนต์ ฐานเสียงจึงเป็นกลุ่มที่เคยติดตามการเคลื่อนไหว ของนายจัตุรนต์ สมัยที่เคยเรียกร้องประชาธิปไตยที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ได้รู้จักกัน 195

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร จากการแนะนำตัว และไปรับฟังการปราศรัยหาเสียงของ นายจัตุรนต์ เป็นส่วนใหญ่ วธิ กี ารหาเสียง ใช้วิธีการหาเสียงโดยการขึ้นไปยืนโฆษณา และขอรับ บริจาคเงิน พร้อมกับการแนะนำตัว ในสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด โรงเรียน สถานีรถไฟ และการเดินไปหาประชาชนตามบ้านเรือน ในพื้นที่ต่างๆ โดยทั่วไปคนมักจะรู้จัก นายจัตุรนต์ ว่าเป็น คอมมิวนิสต์ จึงอยากออกมาดูหน้าตาว่าคอมมิวนิสต์หน้าตา เป็นอย่างไร ซึ่งก่อนที่ นายจัตุรนต์ จะออกจากป่า หนังสือพิมพ์ ได้ตีพิมพ์ข่าวของ นายจัตุรนต์ อยู่เป็นระยะ จึงเป็นการช่วย ประชาสัมพันธ์ไปในตัว จนทำให้ได้รับการสนับสนุนจาก ชาวบ้านอย่างล้นหลาม รวมถึงให้การสนับสนุนเงินทองเพื่อใช้ ในการหาเสียงในวันสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร นายจัตุรนต์ กล่าวว่าตนเองมีเงินติดตัวเพียง 34 บาท หลังได้รับการเลือกตั้งนายจัตุรนต์ เหลือเงินจากการ หาเสียงเลือกตั้งซึ่งเป็นเงินที่ประชาชนบริจาคประมาณ สองแสนกว่าบาท ผลงานทเี่ ป็นรปู ธรรม พ.ศ. 2530 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี ส่วนช่วยผลักดันการแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ โดยเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้จัดสรร งบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ป้องกันพ่อค้า คนกลางกดขี่ราคาผลผลิตทางการเกษตร 196

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2531 เป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญสภาผู้แทนราษฎร มีส่วน ช่วยผลักดันงบประมาณพัฒนาจังหวัดชุมพร และจัดสรร งบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ตลอดจนผลักดันให้มีการส่งเสริมการปกครอง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2529 เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการการปกครองสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. 2531 เป็นคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร นักการเมอื งในอุดมคต ิ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม เป็นนักการเมืองที่ นายจัตุรนต์ คชสีห์ ได้ยึดถือเป็น แบบอย่างมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน โดยได้ให้ความคิดเห็นว่าท่านเป็น คนไทยผมู้ คี วามสำคญั ยง่ิ ในศตวรรษทผ่ี า่ นมา ทา่ นมบี คุ ลกิ ภาพ เข้มแข็ง มีสายตา อันยาวไกล อุทิศตนเพื่อรับใช้ชาติด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานมากมายเป็นที่ปรากฏ มีคุณธรรม อันประเสริฐเป็นแนวทางแห่งชาติ เช่นเดียวกับ บุคคลสำคัญ อื่นๆ ในประวัติศาสตร์ ความคิดของท่านตั้ง อยู่บนฐานของ คุณธรรมสากลอันยังประโยชน์ได้ เป็นบุคคลสำคัญในการ ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัย สามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศ 197

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ทำให้ท่านเป็นบุคคลที่สังคมไทย ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง เคร่อื งราชอสิ ริยาภรณ ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) นายวีรเทพ สุวรรณสว่าง เกิดเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ที่บ้านหาดทรายรี ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และเป็นลูก ชาวประมงอย่างแท้จริง โดยคุณพ่อของ นายวีรเทพ คือนายเสถียร สุวรรณสว่าง เรียกได้ว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านทางการ ประมงอย่างแท้จริง จึงทำให้ชีวิตในวัย เด็กของ นายวีรเทพ ได้ซึมซับเอาวิถีชาวเลจากผู้เป็นพ่อ ซึ่งเป็น ชาวประมงไปโดยปริยาย แต่ นายวีรเทพ เป็นคนที่สนใจในเรื่อง ของการเรียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้ทิ้งการเรียนแต่อย่างใด ซึ่งได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา จากวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี และได้ศึกษาต่อใน ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในเวลาต่อมา และได้ ประกอบอาชีพรับราชการเป็นครูตั้งแต่ พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2535 จึงลาออกมาสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพร สังกัดพรรคความหวังใหม่ ในปีเดียวกัน และได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพรในป ี 198

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ดังกล่าว หลังจากนั้นได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดชุมพรในสังกัดพรรคความหวังใหม่ อีกสองครั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง เพราะต้องแข่งขันกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่คนภาคใต้ให้การสนับสนุน นายชวน หลีกภัย ซึ่งในขณะนั้น ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกพรรคให้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรค จึงเหมือนกับว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคของคนภาคใต้ ดงั นน้ั คนภาคใตจ้ งึ ตอ้ งเลอื กพรรคประชาธปิ ตั ยก์ อ่ น กลา่ วกนั วา่ แม้พรรคประชาธิปัตย์ส่งเสาไฟฟ้าลงสมัครแข่งขัน คู่ต่อสู้ก็มิ อาจจะชนะการแข่งขันได้ ต่อมา นายวีรเทพ สุวรรณสว่าง ก็ได้ หันไปสมัครสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จังหวัดชุมพร ใน พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และยังทำงานทางการเมืองอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ปัจจุบันหันไปเป็นทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินคุณภาพ การศึกษา ทอี่ ยู่ 69 ถนนปรมินทรมรรคา 24 หมู่ 1 ตำบลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โทร 0-77506-6052 ชื่อบิดา นายเสถียร สุวรรณสว่าง ชื่อมารดา นางล้วน สุวรรณสว่าง การศกึ ษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 โรงเรียนบ้านหาดภารดรภาพ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ระดับประถมศึกษาปีที่ 5-7 โรงเรียนบ้านปากน้ำ (เผดิม จีนนาวาสงเคราะห์) ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 199

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสน จังหวัดชลบุรี ปริญญาโทการศึกษาบัณฑิต (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา จังหวัดสงขลา อาชพี ก่อนไดร้ บั การเลือกตงั้ พ.ศ. 2512-2523 ข้าราชการครู พ.ศ. 2523-2535 ผู้บริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2536-2540 - ช่วยราชการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย - ช่วยราชการ รัฐมนตรีว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี - ช่วยราชการ ประธานรัฐสภา ประสบการณ์ทางการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2535 กรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535 ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2537 เลขานุการคณะที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2540 200

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร คณะทำงานประธานรัฐสภา พ.ศ.2541 คณะอนุกรรมาธิการติดตามศึกษาเชิงนโยบาย และกฎหมายแรงงาน พ.ศ. 2551-2552 แรงจูงใจท่ที ำให้เข้าสูว่ งการเมือง ขณะที่รับราชการเป็นครูประชาบาล ภายหลังเรียนจบ ปก.ส. สงู สอนในโรงเรยี นชนบทและมคี วามกนั ดารเปน็ อยา่ งมาก ก็ได้พบเห็นกับปัญหามากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน คนยาก คนจนมีเป็นจำนวนมาก และยังถูกเอารัดเอาเปรียบ เกิดความ ไม่เป็นธรรมเป็นอย่างมาก จากเจ้าหน้าที่ของรัฐบ้าง หรือคนที่มี โอกาสดีกว่าข่มเหงรังแกคนที่ด้อยโอกาส สมัยที่ยังเป็น นกั ศกึ ษากไ็ ดท้ ำกจิ กรรมทางสงั คมจงึ มพี น้ื ฐานและประสบการณ์ มาบ้าง ภายหลังเมื่อเข้ามาทำงานเป็นครูจึงพยายามหาวิธีการ ช่วยเหลือผู้ที่ถูกเอาเปรียบทางสังคม แต่เนื่องจากเป็น ข้าราชการตัวเล็กๆ จึงช่วยได้ตามกำลังความสามารถ ภายหลัง ได้พัฒนาตัวเองจนเป็นนักกิจกรรมในวงการครู เป็นกรรมการ สมาพันธ์ครูภาคใต้ จนในที่สุดได้รับเลือกจากตัวแทนครูใน องค์กรส่วนบุคคลต่างๆ ทั้งระดับอำเภอจังหวัด และระดับ ประเทศ ใน พ.ศ. 2531 ได้เป็นผู้แทนครูในคณะกรรมการ การศกึ ษาแหง่ ชาติ ซง่ึ ในบอรด์ จะมคี รเู พยี ง 12 คน จากทว่ั ประเทศ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และมีปลัด กระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานประชุมกำหนดนโยบาย ของการประถมศึกษาทั้งหมด อนุมัติงบประมาณทางการศึกษา หลังจากนั้นเกิดวาตะภัยพายุใต้ฝุ่นเกย์ เมื่อ พ.ศ. 2532 มีโรงเรียนในเขตอำเภอปะทิว อำเภอเมือง อำเภอท่าแซะ 201

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ถูกพายุเสียหายอย่างหนัก พายุพัดราบเป็นหน้ากลอง รัฐบาล นายกชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ยังไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ นายวีรเทพ สุวรรณสว่าง ได้นำเพื่อนๆ ครู ในหลายโรงเรียน ทำการประท้วงปิดถนน โดยเรียกร้องให้นายกชาติชาย ช่วยดูแล ครูด้วยเพราะได้รับความเสียหาย และเกิดความเดือดร้อน ไม่ต่างจากประชาชนทั่วไป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลจัดเงินกู้เพื่อ มาซ่อมแซม และสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ และก็มาทำอาชีพเสริม เช่น สวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด รัฐบาลอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือครู เป็นจำนวนเงิน 650 ล้านบาท โดยนำงบประมาณจำนวนดังกล่าวมาเข้าสหกรณ์ครู ออมทรัพย์ชุมพร เพื่อให้ครูได้มีโอกาสกู้เงินที่มีดอกเบี้ยต่ำ โดย ครูก็ได้คนละไม่เกิน 300,000 บาท หลังจากนั้น สมาชิกครู ในจังหวัดชุมพรทั้งหมดได้ประชุมกันโดยสรุปว่าคนในวิชาชีพครู น่าจะมีการรวมพลังกัน โดยหาผู้แทนครูสักหนึ่งคนเข้าไปเป็น ผู้แทนราษฎร ในขณะนั้นพื้นที่การเลือกตั้งให้ถือเขตจังหวัดเป็น เขตเลือกตั้ง โดยมีผู้แทนครูเพียง 2 คน ที่เสนอตัวเข้ารับการ โหวตเสียง คือ นายวีรเทพ สุวรรณสว่าง และนายอนุพงษ์ บรรจงศิริ ใช้วิธีการโหวตว่าจะเลือกใครเข้าไปเป็นผู้แทนครู เพื่อ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลโหวต ปรากฏว่า ครูวีรเทพ สุวรรณสว่าง เป็นผู้ชนะโหวต จึงได ้ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 16 (22 มีนาคม พ.ศ. 2535) นายวีรเทพ ได้รับการเลือกตั้งเป็นม้ามืดเข้ามาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร และคู่แข่งขันทาง การเมืองในสมัยนั้นเป็นผู้แทนจากพรรคประชาธิปัตย์ทั้ง 3 คน 202

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ซึ่งประกอบด้วย นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ และนายสุวโรช พะลัง ส่งผลให้ นายสุวโรช พะลัง สอบตก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรอบนี้ เป็นครั้งแรก ที่จังหวัดชุมพร สามารถมีผู้แทนได้เกิน 2 คน เนื่องจากเป็น การเลือกตั้งทางตรง แบบผสมระหว่างรวมเขตกับแบ่งเขต ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งหนึ่งมีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรไม่เกิน 3 คน และไม่น้อยกว่า 2 คน ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (ฉบับที่ 15) เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พื้นท่ ี นายวรี เทพ สวุ รรณสวา่ ง ในขณะทส่ี งั กดั พรรคความหวงั ใหม่ มีความสนิทกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง นายวีระ มุสิกพงศ์ และ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ เนื่องจากเคยเป็น ครูมาด้วยกัน จึงรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี นายสุชาติเคยเป็น ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชุมพรมานานกว่า 10 ปี และเป็น ผู้ชักจูงให้นายวีรเทพ เข้ามาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และ สมัครเป็นสมาชิกพรรคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สาขาพรรคมีมติ ตอบรับเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งใน พ.ศ. 2535 และหัวหน้าพรรค ก็ตอบรับมาเรียบร้อยแล้ว แต่ในขณะนั้นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร มีนายธีรพันธ์ เพ็ชร์สุวรรณ สังกัด พรรคกิจสังคม ภายหลังย้ายเข้าพรรคเอกภาพ มีนายจัตุรนต์ คชสีห์ สังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นช่วงที่คาบลูกคาบดอก ทง้ั สองทา่ นไดไ้ ปพบนายวรี เทพ สวุ รรณสวา่ ง ซง่ึ เปน็ ผอู้ ำนวยการ โรงเรียนบ้านเขาถล่ม มาทาบทามให้เข้าสังกัดพรรค 203

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ความหวังใหม่ ซึ่งต่อมาได้สละสิทธิจากพรรคประชาธิปัตย์ไป สังกัดพรรคความหวังใหม่ กล่าวโดยสรุป คือ มีความสัมพันธ์ กับนักการเมืองระดับประเทศมากกว่านักการเมืองท้องถิ่น โดยมีเครือข่ายทางการเมืองของนายจัตุรนต์ คชสีห์ มาช่วยใน การหาเสียงบ้าง ฐานเสียงและกลมุ่ สนับสนุน ฐานเสียงของนายวีรเทพ ส่วนใหญ่มาจากสมาชิกครูใน จังหวัดชุมพร และผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนเกือบทุก อำเภอในจังหวัดชุมพร นอกจากนั้นก็ยังมี กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรีก็มีบ้าง แต่ขณะนั้นยังไม่ได้มีการรวมตัว กันอย่างจริงจัง โดยเน้นพื้นที่เป้าหมาย คือ อำเภอเมือง ส่วน ฐานในพื้นที่อำเภออื่นก็ใช้ฐานเสียงจากครู จากการยึดอาชีพ รับราชการเป็นครูมาหลายพื้นที่ในจังหวัดชุมพร ทำให้กลุ่ม เพื่อนที่มีอาชีพรับราชการในตำแหน่งครูให้การยอมรับในตัว นายวีรเทพ อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเห็นว่าน่าจะเป็นความ หวังใหม่ของวิชาชีพครูที่แบกรับภาระหนี้สิน และครูทุกคนเลิก คาดหวังว่าจะได้รับช่วยเหลือจากฝ่ายการเมือง ซึ่งก่อนหน้าครู ทุกคนในจังหวัดชุมพร ได้ฝากความหวังไว้กับนายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ซึ่งเป็นอดีตครูที่เข้ามาเป็นตัวแทนของครูในทางการ เมือง แต่ก็ไม่สามารถสร้างผลงานและความคาดหวังให้กับ วิชาชีพครูได้ วธิ ีการหาเสียง ใช้วิธีการปราศรัย แผ่นพับ ใบปลิว การลงพื้นที่หาเสียง ในขณะนั้นต้องหาเสียงทั่วทั้งจังหวัดชุมพร เป็นเรื่องยากที่จะ 204

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร เข้าไปพบกับฐานเสียงอย่างทั่วถึง จึงต้องอาศัยเพื่อนร่วม วิชาชีพครู และยังต้องอาศัยนักเรียน ผู้ปกครองให้ช่วยกัน หาเสียงสนับสนุนให้ได้คะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกที่ครูทั้ง จังหวัดชุมพรมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง และเมื่อมีผู้แทนที่มา จากวิชาชีพเดียวกันแล้ว ย่อมต้องสนับสนุนเพื่อนครูด้วยกันให้ ไปเป็นผู้แทน ทำให้กระแสของความเป็นครูกลายเป็นตัวแปร สำคัญ ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งขันสังกัดพรรคการเมืองเก่าแก่ อย่างพรรคประชาธิปัตย์ได้ไม่ยากนัก ผลงานทีเ่ ปน็ รูปธรรม การทำงานในหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพร ของนายวีรเทพ สุวรรณสว่าง ไม่ค่อยปรากฏเด่นชัด มากนัก เนื่องจากมีเวลาเข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่นาน ก็มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2535 เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางการเมืองช่วงเดือน พฤษภาคม 2535 ซึ่งเกิดความขัดแย้งทางการเมือง และการไม่ ยอมรับในรัฐบาลและรัฐสภา แต่ก็ได้ทำหน้าที่ยื่นญัตติเป็น คนแรกอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เรื่องปัญหาราคากาแฟ ตกต่ำ จัดทำแผนฟื้นฟูจังหวัดชุมพรภายหลังเหตุการณ์วาตะภัย พายุใต้ฝุ่นเกย์ โดยเสนอแผนไปยังรัฐบาล แต่ขาดผู้ติดตาม จึงถูกละเลย จึงได้ยื่นกระทู้สดต่อสภาผู้แทนราษฎร สอบถาม เรื่องแผนการฟื้นฟูจังหวัดชุมพร มีโครงการจัดทำมหาวิทยาลัย สงฆ์ มหาวิทยาลัยการพยาบาล สนามบินพาณิชย์จังหวัดชุมพร ถนนสี่เลนจากอำเภอท่าแซะไปจังหวัดชุมพร ซึ่งมีแผนฟื้นฟูเป็น จำนวนมาก ซึ่งขณะนั้นมีความคิดจะทำให้เหมือนประเทศ อิสราเอล คือ เป็นโซนนิ่งใน 3 อำเภอ และจัดทำเป็นโมเดล 205

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ต้นแบบในการพัฒนาเกษตร จัดทำโซนนิ่งที่มีระบบเทคโนโลยี ชั้นสงู น่าเสียดายที่ทำไม่สำเร็จ นักการเมอื งในอุดมคต ิ ถ้าเป็นประเทศไทย ยึดถือแนวทางของ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผู้ที่ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อคนในระดับรากหญ้า และเป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และ นักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์ นักปฏิวัติทางความคิดและ วิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตร เป็นนักวิชาการ คนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วย วิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการ ค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน จิตร ยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของ ชนชั้นสงู มาโดยตลอด ถ้าเป็นต่างประเทศ คือ เออร์เนสโต เช กูวารา เนื่องจาก เช กูวารา มีวิญญาณของนักต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม เขาเข้า ร่วมกับองค์กรประชาชนประเทศต่างๆ ต่อสู้กับรัฐบาลที่ ปกครองประเทศอย่างกดขี่ข่มเหงประชาชน เป็นผู้ที่เสียสละ เพื่อคนทุกข์ยาก คนจน คนไม่มีโอกาส ดังนั้น ทั้งเออร์เนสโต เช กูวารา และ จิตร ภูมิศักดิ์ ทั้งสองคนจึงได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของ คนยากไร้ มีความสำคัญ คือ “เป็นตัวแทนของคนที่มีความเป็น มนุษย์เต็มตัว” ไม่ยอมให้อำนาจอันไม่เป็นธรรมของความเป็น มนุษย์ใดๆ เข้ามาครอบงำการดำรงชีวิต 206

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด ชุมพร 6 สมัย เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 เดิมเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี ชีวิต วัยเด็กเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดจันทราวาส จังหวัด เพชรบุรี และเข้าศึกษาต่อในระดับ มัธยมศึกษา ที่โรงเรียน ปริยัติรังสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี ใน พ.ศ. 2515 ได้ตัดสินใจเดินทางเพื่อหางานทำที่จังหวัดชุมพร และได้งานทำที่โรงภาพยนตร์เฉลิมพร ครั้งแรกทำหน้าที่การ จองคิวภาพยนตร์เพื่อมาป้อนให้กับโรงภาพยนตร์ ต่อมา เจ้าของโรงภาพยนตร์เฉลิมพรมองเห็นความสามารถและความ ตง้ั ใจในการทำงาน จงึ เลอ่ื นตำแหนง่ ใหเ้ ปน็ ผจู้ ดั การโรงภาพยนตร์ ซึ่งขณะนั้นอายุประมาณ 23 ปี ต่อมาใน พ.ศ. 2517 แต่งงาน และมีครอบครัวที่จังหวัดชุมพร หลังจากทำงานเป็นผู้จัดการ โรงภาพยนตร์ได้ 2 ปี จึงตัดสินใจหันมาทำธุรกิจหนังกลางแปลง (หนังเร่) รับจัดงานสวนสนุกตามวัดต่างๆ จนประสบความ สำเร็จในอาชีพ ใน พ.ศ. 2515 - 2516 นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย เคยเป็น นักจัดรายการของกรมประชาสัมพันธ์ ที่สถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กรุงเทพมหานคร มาก่อน ระหว่างที่เป็น ผู้จัดการโรงภาพยนตร์ ก็สนใจในเรื่องของจัดรายการวิทยุไป ด้วยพร้อมกัน จนเป็นที่รู้จักของคนทั้งจังหวัดชุมพร ในนาม 207

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร “พรมาลัย” จนถึงปัจจุบันก็ยังจัดรายการวิทยุอยู่ที่สถานีวิทยุ อุตุนิยมวิทยา จังหวัดชุมพร คลื่นความถี่ 94.25 MHz ใน พ.ศ. 2532 จังหวัดชุมพร เกิดพายุใต้ฝุ่นเกย์ เมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ทำให้ประชาชนในจังหวัดชุมพร ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส มีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตายเป็น จำนวนมาก นายศิริศักดิ์ ได้พบกับความทุกข์ยากของพี่น้อง ประชาชนชาวจังหวัดชุมพร ทางเดียวที่ นายศิริศักดิ์ พอจะ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้บ้างก็คือ ลงไปดูสภาพความเป็น จริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ขณะนั้นการติดต่อสื่อสารไม่สามารถใช้สื่อ ชนิดใดๆ ได้ แต่นายศิริศักดิ์ ได้ตัดสินใจกลับไปที่สถานีวิทยุ อุตุนิยมวิทยาจังหวัดชุมพร เพื่อหาวิธีการซ่อมสถานีให้กลับมา ใช้งานได้โดยเร็ว และได้ใช้สถานีวิทยุดังกล่าว เชื่อมโยงกับ สถานีวิทยุเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยาในกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดรายการขอรับความช่วยเหลือ จากประชาชนทั่วประเทศ และคอยรายงานเหตุการณ์ต่างๆ จนประชาชนทั้งประเทศ ส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ มาช่วยเหลือคนในจังหวัดชุมพรได้ทัน ท่วงที แต่ในระหว่างที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุ ใต้ฝุ่นเกย์ ได้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้นำชุมชนกับชาวบ้าน และระบบอุปถัมภ์ในวงราชการที่ต้องช่วยเหลือญาติพี่น้องของ ผู้นำก่อน จึงเป็นเหตุให้ต้องตัดสินใจเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร โดยได้ทำหน้าที่ตามที่ ประชาชนชาวจังหวัดชุมพรคาดหวัง จนปรากฏผลงานเป็นที่ ประจักษ์ และก้าวสู่การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพร ติดต่อกันถึง 6 สมัย 208

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ชื่อบิดา นายศักดิ์สิทธ์ อ่อนละมัย ชื่อมารดา นางกรองแก้ว อ่อนละมัย ทอ่ี ยู่ 172-174 ซอยสหกรณ์ ถนนพิศิษฐพยาบาล ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86000 โทรศัพท์ : 0-77502-240, 0-77503-420-1 โทรสาร : 077502122 การศกึ ษา ระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดจันทราวาส จังหวัดเพชรบุรี ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนปริยัติรังสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาชพี กอ่ นได้รับเลือกตง้ั นักจัดรายการวิทยุ และธุรกิจภาพยนตร์ ประสบการณท์ างการเมือง พ.ศ. 2533 สมาชิกสภาจังหวัดชุมพร เขตอำเภอเมือง พ.ศ. 2535/1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ 209

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2535/2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ประสบการณ์ทางด้านการเมอื ง ดา้ นเศรษฐกจิ พ.ศ. 2540 เป็นกรรมาธิการพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ดา้ นสังคม พ.ศ. 2535 เปน็ โฆษกคณะกรรมาธกิ ารศาสนา ศลิ ปะและวฒั นธรรม สภาผู้แทนราษฎร 210

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2538 เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2538 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2540 รองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการกิจการ เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540 ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร แรงจูงใจท่ีทำใหเ้ ข้าส่วู งการเมือง ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง ได้จัดรายการวิทยุซึ่งเป็น รายการวิเคราะห์ข่าว ควบคู่กับการจัดรายการเพลงลูกทุ่ง และ ได้มีโอกาสไปพบปะชาวบ้าน ไปพบเห็นปัญหาต่าง และ ได้พบเห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้นำชุมชนกับชาวบ้าน และ ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ ทำให้ นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชุมพร (ส.จ.) ซึ่งเป็นวิธีการที่เชื่อว่าจะได้รักษาสิทธิ์และผดุงความ ยุติธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และด้วยแนวคิดที่ว่า ชีวิต นักการเมืองเป็นชีวิตที่ต้องทุ่มเทและเสียสละเพื่อส่วนรวม เพื่อประชาชน และเพื่อประเทศชาติ ทั้งกำลังกาย กำลังใจ 211

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา โดยมองว่านักการเมืองที่ได้รับ ความไว้วางใจจากท้องถิ่น ต้องตระหนักและพึงระลึกอยู่เสมอ ว่า เป็นผู้แบกภาระ สานความหวังให้เป็นจริง ทำหน้าที่ในการ ประสาน ผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนอยู่เคียงข้างประชาชน ยามทุกข์สุข และเป็นปากเสียงของทุกคนที่ได้เลือกให้ นายศิริศักดิ์ ได้เข้าทำหน้าที่เพื่อนำความเจริญมายังชุมชน ต่อมา หลังจากที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้กระทำการยึดอำนาจมาจากรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ใน พ.ศ. 2534 ก็มีพรรคการเมืองหลายพรรค เข้ามาทาบทาม เพื่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ใน พ.ศ. 2535 เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พื้นท ่ี นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย เคยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาจังหวัดชุมพรใน พ.ศ. 2533 จึงมีความสัมพันธ์กับนักการเมือง ในท้องถิ่นเป็นอย่างดี แต่ในส่วนของนักการเมืองระดับประเทศ ยังไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ต่อมา มีพรรคความหวังใหม่ ทาบทามให้เข้าร่วมงานกับพรรค แต่ไม่ได้ตัดสินใจเพราะเห็นว่า ร ะ บ บ พ ร ร ค ไ ม ่ ต ร ง ก ั บ อ ุ ด ม ก า ร ณ ์ ท า ง ก า ร เ ม ื อ ง ข อ ง ต ั ว เ อ ง ต ่ อ ม า ก ร ร ม ก า ร ส า ข า พ ร ร ค ป ร ะ ช า ธ ิ ป ั ต ย ์ จ ั ง ห ว ั ด ช ุ ม พ ร ได้ทาบทามให้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรค แต่ก็ยังต้องผ่าน การพิจาณาจากกรรมการบริหารสาขาพรรคก่อน จนกระทั่ง นายชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้มาดูตัวและ ซักถามประวัติ จึงเริ่มรู้จักและมีความสัมพันธ์กับนักการเมือง ระดับชาติ 212

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ฐานเสียงและกลมุ่ สนบั สนุน ฐานเสียงของ นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย จะเป็นกลุ่มแฟน รายการวิทยุ แฟนหนังกลางแปลง ผู้ที่ชื่นชอบการเป็นพิธีกร รายการวิทยุ และประชาชนทั่วไป นายศิริศักดิ์ กล่าวว่าตนเอง เป็นนักการเมืองที่ไม่เข้าหา กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เพราะมีความ เกรงใจผู้นำเหล่านั้น เกรงว่าผู้ใหญ่/กำนันที่เข้ามาช่วยในการ หาเสียงจะถูกกล่าวหาว่าวางตัวไม่เป็นกลาง และคิดว่า กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ได้สร้างฐานเสียง จาก ผู้ใหญ่/กำนัน ผู้นำชุมชน กลุ่มอาชีพต่างๆ เหมือนกับ นักการเมืองคนอื่นๆ และสมัยนั้นยังไม่มีองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น จึงไม่มีฐานเสียง และผู้ที่สนับสนุนจากกลุ่มการเมือง ท้องถิ่น นายศิริศักดิ์ ได้ใช้วิธีการเข้าหาประชาชนเป็นหลัก วิธีการหาเสียง นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ใช้วิธีการหาเสียงด้วยวิธีการ ต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ใช้วิธีการปราศรัย โดยใช้รถเป็นเวทีปราศรัย หรือใช้ การจัดเวทีใหญ่ปราศรัย ขึ้นอยู่กับสถานที่และเวลา เช่น พรรค จัดให้มีการปราศรัยร่วมกันระหว่างผู้สมัครในทีมของพรรค หรือ ปราศรัยโดยใช้รถในขณะหาเสียงในเขตพื้นที่ (กรณีแบ่งเขต เลือกตั้ง) 2. ใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย โดยกลุ่มแกนนำและ ทีมงานหาเสียง เพื่อสรุปปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อจะนำมา วิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อแก้ไขในวันถัดไป 213

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร 3. ใช้วิธีการพบปะชาวบ้าน ตามชุมชน ตลาดนัด และ ในงานต่างๆ ผลงานท่ีเปน็ รปู ธรรม พ.ศ. 2536 จัดสรรงบประมาณของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เพื่อพัฒนาจังหวัดชุมพร เช่น งบประมาณก่อสร้าง ทางหลวงท้องถิ่น และทางหลวงชนบท งบประมาณปรับปรุง คุณภาพการศึกษาระดับมัธยมศึกษา งบประมาณอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม งบประมาณ ตามแผนพัฒนาชนบท งบประมาณพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน งบประมาณงานวางผังเมือง และบริการพื้นฐาน งบประมาณ จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา งบประมาณตามโครงการ พัฒนาพิเศษ วงเงินงบประมาณกว่า 10,873,460 บาท พ.ศ. 2537 จัดสรรงบประมาณของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เพื่อพัฒนาจังหวัดชุมพร อาทิ งบประมาณในการขยาย โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ งบพัฒนา ท้องถิ่นและงบประมาณตามโครงการพัฒนาพิเศษ วงเงิน 18,513,143 บาท พ.ศ. 2538 จัดสรรงบประมาณของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เพื่อพัฒนาจังหวัดชุมพร อาทิ งบประมาณในการขยาย โครงสร้างพื้นฐาน งบพัฒนาท้องถิ่นและงบประมาณตาม โครงการพัฒนาพิเศษ วงเงิน 14,575,190 บาท พ.ศ. 2539 -2547 จัดสรรงบประมาณของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเพื่อพัฒนาจังหวัดชุมพร อาทิ งบประมาณในการ ขยายโครงสร้างพื้นฐาน งบพัฒนาท้องถิ่น งบประมาณตาม 214

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร โครงการพัฒนาพิเศษ งบประมาณพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน งบประมาณจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา งบประมาณ ช่วยเหลือเกษตรกร งบประมาณอนุรักษ์ส่งเสริมเผยแพร่ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม นกั การเมอื งในอุดมคต ิ นายชวน หลีกภัย ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมืองเคยเป็น นักจัดการวิทยุวิเคราะห์ข่าวการเมืองทำให้ต้องศึกษา นกั การเมอื งมากมาย จงึ ไดเ้ กดิ ความประทบั ใจในตวั นกั การเมอื ง ที่ชื่อว่า นายชวน หลีกภัย ซึ่งสิ่งที่ชอบมากที่สุดคือการปราศรัย และการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ที่มีความแม่นยำใน หลักการ เอกสาร และภาพของการเป็นนักการเมืองที่มือ สะอาด ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในวงการทางการเมือง ก็ยิ่ง ทำให้เป็นแรงบันดาลใจที่จะทำงานการเมือง เครือ่ งราชอสิ รยิ าภรณ ์ พ.ศ. 2535 ตริตาภรณ์ มงกุฎไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2536 ทวีติยาภรณ์ มงกุฎไทย (ท.ม.) พ.ศ. 2538 ทวีติยาภรณ์ ช้างเผือก (ท.ช.) พ.ศ. 2539 ประถมมาภรณ์ มงกุฎไทย (ป.ม.) พ.ศ. 2541 ประถมมาภรณ์ ช้างเผือก (ป.ช.) พ.ศ. 2542 มหาวชิรมงกุฎไทย ขั้นสูงสุด (ม.ว.ม.) พ.ศ. 2545 มหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก ขั้นสงู สุด (ป.ม.ช.) 215

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร นายสุวโรช พะลัง ส ม า ช ิ ก ส ภ า ผู ้ แ ท น ร า ษ ฎ ร จังหวัดชุมพร 5 สมัย เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2497 นายสุวโรช พะลัง พื้นเพเป็นคน อำเภอหลังสวนโดยกำเนิด มีพี่น้องอีก 3 คน คือ 1. นางสาวปานรัชต์ พะลัง ปจั จบุ นั เปน็ เจา้ พนกั งานทนั ตสาธารณสขุ โรงพยาบาลหลังสวน 2.นายฉัตรชัย พะลัง รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดชุมพร 3. นายสืบศักดิ์ พะลังภายหลังจากจบ การศึกษาทางด้านนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย รามคำแหง ใน พ.ศ. 2519 นายสุวโรช มีความมุ่งมั่นที่จะ ประกอบอาชีพทนายความตามที่ตนรัก และตรงตามที่ได้ศึกษา เล่าเรียนมา จึงได้สอบเข้าอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติ บัณฑิตยสภา ได้สำเร็จ และกลับไปประกอบอาชีพทนายความ ที่บ้านเกิด พร้อมกับเปิดสำนักงานทนายความสุวโรช พะลัง ในการเป็นทนายความ นายสุวโรช ได้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้ รับความเดือดร้อนจากการถกู เอารัดเอาเปรียบและไม่รู้กฎหมาย และไม่มีกำลังเงินเพียงพอที่จะว่าจ้างทนายความต่อสู้คดี หลาย คนจึงหันหน้ามาพึ่งพา นายสุวโรช โดยที่ นายสุวโรช ก็รับอาสา ว่าความให้โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ทำให้ชื่อเสียงของ นายสุวโรช พะลัง เริ่มเป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดชุมพรในเวลาต่อมา 216

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร การศึกษา ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดขันเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนสวนศรีวิทยา อ.หลังสวน จ.ชุมพร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ปริญญาตรี มหาวทิ ยาลยั รามคาํ แหง นติ ศิ าสตรบณั ฑติ พ.ศ. 2519 ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2544 ที่อยู่ 266/5 หมู่ 4 ถนนเอเชยี 41 ตำบลวงั ตะกอ อำเภอหลงั สวน จังหวัดชุมพร 86110 โทรสาร : 0 7754 1926 อีเมล์ : [email protected] ชื่อบิดา นายสว่าง พะลัง ชื่อมารดา นางสังวาล พะลัง อาชีพรับราชการครตู ั้งแต่ปี พ.ศ. 2480-2520 อาชีพก่อนไดร้ ับการเลอื กต้ัง ทนายความตั้งแต่ พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน 217

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ประสบการณท์ างการเมือง พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2549 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548 – 2549 กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2535/2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ 218

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2535/1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2529-2531 นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหลังสวน จังหวัดชุมพร พ.ศ. 2524-2531 สมาชิกสภาเทศบาลตำบลหลังสวน จังหวัดชุมพร ประสบการณ์การทำงานทางการเมอื ง ดา้ นเศรษฐกจิ พ.ศ. 2553 รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2553 (สภาผู้แทนราษฎร) พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงาน งบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540–2544 เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รัฐบาลชวน2) พ.ศ. 2542 แก้พระราชบัญญัติโอนที่ดินราชพัสดุเป็น ของเทศบาลตำบลหลังสวน 219

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2540 แก้ไข พระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2535/2 ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คณะทำงานติดตามตรวจสอบทุจริต โครงการรับจำนำลำไยแห้งพรรคประชาธิปัตย์ ดา้ นสงั คม พ.ศ. 2553 ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขปัญหา ที่ดินทำกิน กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและเร่งรัด ออกเอกสารสิทธิแก่ประชาชน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล พ.ศ. 2551 ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา ที่ดินทำกินและการออกเอกสารสิทธิ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2550 กรรมการคัดสรรผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ 220

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร พ.ศ. 2548 – 2549 ผู้ช่วยเลขานุการพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548 – 2549 ประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2547 ประธานคณะทำงานตดิ ตามสถานการณข์ องโรคไขห้ วดั นก พ.ศ. 2544 – 2549 กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย พ.ศ. 2544 – 2549 ผู้ช่วยเลขาธิการพรรค พ.ศ. 2544 – 2548 เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน ประธานกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร แรงจูงใจท่ที ำให้เขา้ สวู่ งการเมอื ง จากการทำงานการเมืองท้องถิ่นมาเป็นระยะเวลา 8 ปี ทำให้พบกับความจริงหลายประการจึงเป็นแรงจงู ใจให้อยากเข้า มาทำงานการเมืองในระดับชาติ นายสุวโรช พะลัง กล่าวว่า ในขณะที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหลังสวน พบว่า มีกฎ ระเบียบ ต่างๆ ที่ไม่มีความเป็นธรรม มีความจำเป็นต้องได้รับ การแก้ไข เช่น ปัญหาที่ดินทำกินและการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ทไ่ี มไ่ ดร้ บั การแกไ้ ข ทำใหเ้ กดิ ความเหลอ่ื มลำ้ ความไมเ่ สมอภาค ในสังคมเป็นอย่างมาก และได้ขยายวงกว้างมาจนถึงปัจจุบัน 221

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร และยังมองว่าการชุมนุมของกลุ่ม (น.ป.ช.) หากสามารถแก้ไข ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ กลุ่มดังกล่าวก็จะสลาย การชุมนุมไปเอง เช่น การแก้ปัญหาที่ดินทำกิน กฎหมาย เกี่ยวกับที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ ประชาชน จึงเป็นแรงจูงใจให้ตนเองต้องหาวิถีทางในการเข้าไป แก้ไขกฎหมายต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และความ ไม่เสมอภาค ซึ่งมองเห็นว่ามีเพียงช่องทางเดียวที่สามารถทำได้ ก็คือการแก้ไขกฎหมายโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง ปัจจุบันก็ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น พระราชบัญญัติโอน กรรมสิทธิ์ที่ดินราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน หรือพระราชบัญญัติกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบล สองพี่น้อง ตำบลสลุย ตำบลหงษ์เจริญ ตำบล รบั รอ่ ตำบลครุ งิ ตำบลทา่ ขา้ ม ตำบลทรพั ยอ์ นนั ต์ ตำบลหนิ แกว้ อำเภอท่าแซะ และตำบลเขาไชยราช ตำบลดอนยาง ตำบล ปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลทะเลทรัพย์ ตำบลบางสน ตำบล สะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2552 เครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองใน พ้ืนท่ ี นายสุวโรช พะลัง ได้เข้ามาสู่วงการเมืองครั้งแรก คือ การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ. 2524-2531 ในขณะ เดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาเทศบาลตำบล หลังสวน ให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 - 2531 ระหว่างการทำหน้าที่สมาชิกสภาเทศบาลตำบลหลังสวน 222

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร และการทำหน้าที่นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหลังสวน ก็ได้ สร้างผลงานไว้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวหลังสวนไว้นานัปการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานการศึกษา การชลประทาน การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นนักประสานระหว่างส่วนราชการกับการพัฒนาพื้นที่ให้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จนได้รับการสนับสนุนจาก ประชาชนในอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร มาโดยตลอด นาย สุวโรช พะลัง ถือเป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ชาวอำเภอหลังสวนมี ภาคภูมิใจ ทำให้เครือข่ายและผู้สนับสนุนมีความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นอย่างสงู ใน พ.ศ. 2535 นายสุวโรช พะลัง เปลี่ยนบทบาทจาก นักการเมืองท้องถิ่นมาเป็นนักการเมืองระดับชาติทำให้ต้องปรับ บริบทของตนเองเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องรับผิดชอบเต็มพื้นที่ จังหวัดชุมพร จากเดิมที่รับผิดชอบเฉพาะในเขตเทศบาลตำบล หลังสวน ทำให้ต้องสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มสมาชิกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร กลุ่มอาชีพหรือชมรมต่างๆ นายสุวโรช กล่าวว่า ในส่วนของนักการเมืองจังหวัดชุมพร จะมี ความสนิทสนมและรู้จักกันเป็นการส่วนตัว ก่อนที่นายสุวโรช จะมาทำงานการเมือง ก็เคยประกอบอาชีพทนายความ และ คอยช่วยเหลือผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมมาโดยตลอด จนทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในจังหวัดชุมพรในนาม “ทนายนก” ดังนั้น ความสัมพันธ์โดยส่วนตัวระหว่าง นายสุวโรช กับนักการในพื้นที่ จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมา โดยตลอด โดยเฉพาะในปัจจุบันนักการเมืองในพื้นที่ทั้งหมด 223

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ก็เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเดียวกัน คือ พรรคประชาธิปัตย์ แต่มาระยะหลังก็มีการกระทบกระทั่งกันบ้าง เนื่องจากพรรค ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดในนามพรรค และคู่แข่งขันก็เป็นสมาชิกพรรค และเคย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย ์ มาหลายสมัย ทำให้ผู้สนับสนุน และสมาชิกพรรครวม ถึงสาขา พรรคมีความสับสนต่อการตัดสินใจของพรรค ทำให้ความ สัมพันธ์ของนักการเมืองในพื้นที่เกิดความห่างเหินต่อกันอย่าง เห็นได้ชัดในระยะหลัง ซึ่งอาจจะมีผลต่อการเลือกตั้งในครั้ง ต่อไป ฐานเสียงและกลุ่มสนบั สนนุ นายสวุ โรช พะลงั ไดเ้ ขา้ มาสวู่ งการเมอื งในระดบั ประเทศ โดยได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ใน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นยุคที่พรรค ประชาธิปัตย์สามารถยึดพื้นที่ในสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในจังหวัดชุมพร ได้ครบถ้วนทุกเขตการเลือกตั้ง ถือเป็น ประวัติศาสตร์ทางการเมืองของจังหวัดชุมพร ที่มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรภายใต้สังกัดพรรคเดียวกัน ภายหลังจากการ เลือกตั้งใน พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพรทั้งสามคน ก็ได้มีความพยายามที่จะพัฒนาสาขา พรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดชุมพรมาโดยตลอด ในระหว่างการ พัฒนาสาขา นายสุวโรช พะลัง ยังมองว่าจะพัฒนาเฉพาะสาขา พรรคเพียงอย่างเดียวคงไม่เป็นผลดีในระยะยาว จึงมีความคิด ที่จะหาสมาชิกเพิ่มเติมโดยการใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเชิญ คณะกรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรค ลงพื้นที่พบปะกับ 224

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร สมาชิกพรรค และพบปะประชาชนผู้สนใจกิจกรรมทางการเมือง เชิญหัวหน้าพรรค นายชวน หลีกภัย ลงพื้นที่ปราศรัยในพื้นที่ อำเภอต่างๆ ในจังหวัดชุมพร ผลตอบรับคือ ได้สมาชิกพรรค เพม่ิ ขน้ึ เปน็ จำนวนมาก ทำใหก้ ารพฒั นาสาขาพรรคประชาธปิ ตั ย์ ในจังหวัดชุมพรเป็นไปแบบก้าวกระโดด บวกกับกระแสหัวหน้า พรรคที่ชื่อ นายชวน หลีกภัย ซึ่งคนใต้เรียกว่า “นายหัวชวน” ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผนวกกับที่พรรค ประชาธิปัตย์ ได้กลายเป็นมรดกของคนภาคใต้ในขณะนั้น ยิ่งทำให้ นายสุวโรช พะลัง มีฐานเสียงที่มีความมั่นคง วธิ กี ารหาเสยี ง วิธีการหาเสียงของ นายสุวโรช พะลัง ในการลงสมัคร รับเลือกตั้งสมัยแรก เป็นแบบรวมเขต วิธีการหาเสียงมักจะมี การหาเสียงกันแบบเป็นทีมร่วมกับอดีต ส.ส.ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย และอดีต ส.ส.สุชาติ แก้วนาโพธิ์ รูปแบบการหาเสียงใช้วิธีการ ปราศรัยในพื้นที่ต่างๆ การใช้รถแห่ประชาสัมพันธ์ การใช้ หัวคะแนน สมัยแรกจะเป็นผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การหาเสียงในยุคปัจจุบันเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องใช้นโยบายที่มีความชัดเจน จับต้องได้ วัดผลได้ มาเป็นทาง เลือกให้กับประชาชน เช่น นโยบายที่ดินทำกินของเกษตรกร นโยบายการประกันราคาสินค้าการเกษตร นโยบายการศึกษา นโยบายทางด้านพลังงานทดแทน นโยบายทางด้านการเมือง การปกครอง และความมั่นคง เช่น แยกตำบลรับร่อ อำเภอ ท่าแซะ เป็นกิ่งอำเภอชายแดนรูปแบบพิเศษ ให้มีส่วนราชการ 225

นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร เหมือนอำเภอทั่วไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งกับ ประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง นโยบายการให้ความรู้ทาง กฎหมายที่ใกล้ชิดประชาชน นโยบายช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และยังคงต้องรักษากระแสของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ จังหวัดชุมพรที่ประชาชนยังคงให้ความไว้วางใจมาอย่าง ต่อเนื่อง ต่อมาผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ของ จังหวัดชุมพรมีปัญหาในการแย่งพื้นที่เลือกตั้ง เช่น นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย กับนายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ แย่งกันลงสมัครรับ เลือกตั้งในเขต 1 แต่การเลือกตั้งในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ได้รับมอบหมายจากพรรคให้ไปลงสมัคร รับเลือกตั้งในเขต 2 ซึ่งทำให้นายสุชาติ เกิดความไม่พอใจเป็น อย่างมาก เนื่องจากฐานเสียงของนายสุชาติอยู่ในพื้นที่อำเภอ เมืองบางส่วน อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ดังนั้นนายสุวโรช พะลัง จึงต้องเร่งสร้างความเป็นเอกภาพให้ เกิดขึ้นกับกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร ต่อมา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นายสุวโรช พะลัง ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ 3 ของจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียง สำคัญ และเป็นพื้นที่บ้านเกิดของนายสุวโรช ประกอบด้วย อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอละแม นายสุวโรช ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนั้น 50,578 คะแนน ต่อมาได้มี การจดั การเลอื กตง้ั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรแบบแบง่ เขต ในวนั ท่ี 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 แต่ครั้งนี้นายสุวโรช พะลัง ได้ย้ายไป ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดชุมพร 226

ประวัตินักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร ประกอบไปด้วยอำเภอเมืองบางส่วน อำเภอท่าแซะ อำเภอ ปะทิว เนื่องจากนายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้ขอย้ายกลับไปลง สมัครรับเลือกตั้งในเขต 1 ซึ่งเป็นฐานเสียงเดิมของนายสุชาติ แต่ผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ไม่อนุมัติ นายสุชาติจึงได้ลาออก จากพรรคประชาธิปัตย์ไปลงสมัครในสังกัดพรรคชาติไทย ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงส่ง นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 3 แทนนายสุวโรช ซึ่งนายสุวโรชเป็น นักการเมืองที่มีความอาวุโส และเป็นที่รู้จักของประชาชนในเขต เลือกตั้งที่ 2 มากกว่านายธีระชาติ และเพื่อเป็นการแก้ปัญหา ที่พรรคประชาธิปัตย์อาจจะต้องเสียที่นั่งในเขตเลือกตั้งที่ 2 การเลือกตั้งในครั้งดังกล่าวนายสุวโรชได้คะแนนเสียง 64,789 คะแนน เป็นผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดของ จังหวัดชุมพร นาย สุวโรชให้สัมภาษณ์ว่าการที่ได้รับคะแนนเสียงมาก ก็เพราะว่ามี โอกาสเข้าไปรับรู้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ด้วยตนเอง เช่น ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน ปัญหาการประกาศเขต ป่าสงวนทับที่ดินทำกินของประชาชน ปัญหาการไร้ที่ดินทำกิน ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางและนายทุน ปัญหาคนไร้สัญชาติ โดยการนำเอาปัญหาไปเสนอต่อที่ประชุม พรรคประชาธิปัตย์ แล้วนำมากำหนดเป็นนโยบายในการ หาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดชีวิตการรับใช้ประชาชน ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำงานอย่างทุ่มเทเต็มกำลัง ความสามารถ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็จะลงพื้นที่พบพี่น้อง ประชาชนโดยตลอดไม่ได้ขาด ตลอดจนการนำเอาข่าวสาร ต่างๆ ที่ตนเองได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร มาถา่ ยทอดใหก้ บั พน่ี อ้ งประชาชนไดร้ บั ทราบ เชน่ ความคบื หนา้ 227

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ของร่างพระราชบัญญัติการยกเลิกการสงวนหวงห้ามที่ดินที่ไม่ ได้ใช้ประโยชน์ของทางราชการ พ.ศ. ...... เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในอนาคต ตารางที่ 3 สรุปผลคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร (นายสุวโรช พะลัง) ผลคะแนนจากการเลอื กตงั้ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จังหวัดชุมพร (นายสวุ โรช พะลัง) สมัยที่ วันที่ ปี พ.ศ. ผลคะแนน 66,811 1 วันที่13 ก.ย. 2535 (ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 149,986 ที่หนึ่งของจังหวัดชุมพร) 158,564 50,578 2 วันที่ 2 ก.ค. 2538 (ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 64,789 หนึ่งของจังหวัดชุมพร) 1,855,827 3 วันที่ 17 พ.ย. 2539 (ได้รับคะแนนเสียงเป็น อันดับที่หนึ่งของจังหวัดชุมพร) 4 วันที่ 6 ม.ค. 2544 (เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเป็น ส.ส. ชุมพร เขต 3) 5 วันที่ 6 ก.พ. 2548 (เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเป็น ส.ส. ชุมพร เขต 2 ได้คะแนนสูงสุดของ จังหวัดชุมพร) 6 วันที่ 23 ธ.ค. 2550 (เลือกตั้งแบบสัดส่วนกลุ่มที่ 7 ) ได้รับคะแนนของจังหวัดชุมพร รวม 228,364 คะแนน 228

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร ผลงานทีเ่ ป็นรปู ธรรม 1. เสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 9 จังหวัด มีรายได้รวมจากสัมปทานรังนกอีแอ่น มีมูลค่ารวม ประมาณ 10, 000 ล้านบาทกระจายไปยังส่วนท้องถิ่นใน 9 จังหวัด โดยมีกฎหมายกำกับดูแล และบริหารจัดการในรูป ของคณะกรรมการฯ ในท้องถิ่นเอง เป็นการลดบทบาทของ รัฐบาลกลางเพิ่มอำนาจ และรายได้สู่ท้องถิ่นอันเป็นหลัก ประชาธิปไตย ในการกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น เป็นต้น แบบ การกระจายทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้ตกเป็นรายได้ของ ท้องถิ่นนั้น 2. ผลักดันแก้ไข พระราชบัญญัติโอนกรรมการสิทธิ ์ ที่ราชพัสดุ ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ใช้เพื่อประโยชน์ ของแผ่นดิน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ใช้เพื่อประโยชน์ ของแผ่นดินบางส่วนของอำเภอหลังสวนแลกเปลี่ยนกับที่ดิน ของเทศบาลตำบลหลังสวน เมื่อ พ.ศ. 2542 โดยใช้เวลาในการ ผลักดันร่วม 7 ปี จึงประสบผลสำเร็จ ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินของรัฐบาลกลางให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าของมีอำนาจใน การบริหารจัดการอันเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการคลังให้รัฐบาล ท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง ลดการพึ่งพางบประมาณจาก ส่วนกลางลงได้เป็นอย่างมาก 229

นักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร นกั การเมอื งในอุดมคติ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย คณะรัฐมนตรีชุดที่ 50 (23 ก.ย. 2535 - 12 ก.ค. 2538) และ คณะรัฐมนตรีชุดที่ 53 (14 พ.ย. 2540 - 17 ก.พ. 2544) นายชวน หลีกภัย ถือเป็นนักการเมืองที่นายสุวโรช พะลัง ยึดถือ แบบอย่างมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ภาพความเป็นนักการเมืองที่ใจซื่อ มือสะอาด จึงเป็น แบบอย่างที่ดีแก่นักการเมือง ตั้งแต่สมัยเริ่มต้นชีวิตการทำงาน โดยการเป็นทนายความของ นายชวน หลีกภัย จนกระทั่ง ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง ในสังกัดพรรค ประชาธิปัตย์ และเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2534 สิ่งที่ นายสุวโรช พะลัง ได้นำแบบอย่างของ นายชวน มาใช้ในการทำงานทางการเมือง คือ การยึดมั่นใน หลักการประชาธิปไตย และยึดถือในเรื่องของหลักการเป็นอย่าง มาก ภาพการเป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr.Clean (นายสะอาด) และการใช้ชีวิตอย่างสมถะ อีกทั้งยัง เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่กล้าประกาศว่ารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม ไม่จำเป็นต้องเป็นทหาร แสดงให้เห็นถึง บุคลิกผู้นำและบริหารปราศจากอำนาจของทหาร เครอ่ื งราชอิสรยิ าภรณ ์ พ.ศ. 2542 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) 230

ประวัตินักการเมืองถ่ินจังหวัดชุมพร นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัด ชุมพร เป็นคนที่มีฐานะทางบ้านดี มีความพร้อมในการทำงานทางด้าน การเมือง ในสมัยเรียนที่โรงเรียน สวีวิทยา ก็เป็นนักดนตรีของโรงเรียน มีความสนใจการเมืองตั้งแต่ยังเป็นเด็ก มีความเป็นนักการเมือง อยู่ในสายเลือด เคยติดตามบิดาไปช่วย นายชวน หลีกภัย หาเสียงให้กับผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พื้นที่อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน ต่อมามีแรงบันดาลใจ จึงมักจะฝึกฝนตนเองในเรื่องการพูด การปราศรัย จนเกิดความ ชำนาญ การทำงานในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชุมพร เป็นสมัยที่ 2 เป็นอีกความหวังหนึ่งของคนชุมพร ประสบการณ์ในการทำงานภาครัฐมาหลายสิบปี เป็นคนหนุ่มที่ มีความรู้ ความสามารถสูง จึงเป็นเรื่องปกติที่ชาวจังหวัดชุมพร คาดหวังเอาไว้ว่า สามารถเป็นผู้แทนและเป็นปากเป็นเสียงของ คนชุมพรได้ และมีความสามารถเพียงพอที่จะช่วยผลักดันให้ จังหวัดชุมพรมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า การศึกษา ระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดชลธีพฤกษาราม อำเภอ ทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร 231