Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 58นักการเมืองถิ่นภูเก็ต

58นักการเมืองถิ่นภูเก็ต

Published by Meng Krub, 2021-05-11 06:19:52

Description: 58นักการเมืองถิ่นภูเก็ต

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต โดยวันหม่าเรี้ยเป็นธิดาของผู้ครองรัฐไทรบุรีลำดับ 17 ในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่สืบทายาทการเป็นนักปกครองมาถึง ผู้ครองรัฐไทรบุรีลำดับ 18, 19 และ 21 จนถึงผู้ที่ได้เป็นสุลต่าน รัฐเคดาห์, ปะลิส และ สตูล ฯลฯ รวมทั้งตนกูอับดุลราห์มาน นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย (ปัญญา ศรีนาค, 2546, น.49) พระพิไสยสุนทรการ (แปลง ณ ถลาง) จึงนับ ว่า เป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงของขุนนางของระบอบการปกครอง แบบเดิม รวมทั้งมีเครือญาติที่มีหน้าที่การงานทางราชการตาม การปกครองแบบใหม่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ต่อมาอย่างกว้างขวาง ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของ การที่พระพิไสยสุนทรการ (แปลง ณ ถลาง) ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 1 ของจังหวัดภูเก็ต จึงน่าจะมาจาก การที่คนทั่วไปยังคุ้นเคยกับการปกครองในระบอบเก่าที่มี นักปกครองเป็นผู้บริหารจัดการหรือทำหน้าที่ด้านการเมือง การปกครอง (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557 และ ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ไม่ใช่มาจากผู้ที่ มีอาชีพนักธุรกิจ ทนายความ หรืออาชีพอื่นๆ ซึ่งพระพิไสย สุนทรการ (แปลง ณ ถลาง) ก็มีคุณสมบัติ หรือภาพลักษณ์ของ การเป็นนักปกครองตามที่คนทั่วไปคุ้นเคยและคาดหวัง แต่ก็ ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า ท่านจะใช้ประโยชน์ของเครือข่ายความ สัมพันธ์เหล่านี้ในการหาเสียง และในทำงานหลังจากได้รับ เลือกตั้งแล้วอย่างไรบ้าง 86

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 4.3.1.2 ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 ครั้ง โดยไม่สังกัด พรรคใด ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 ถึง 11 กันยายน 2481 4.3.1.2.1 ภูมิหลังของขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตนั ฑวณชิ ) ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ หรือนายชิน ประชา ตันฑวณิช) มีพื้นฐานเป็นผู้มีฐานะดี ท่านเคยเป็น เจ้าของเกาะสิเหร่ทั้งเกาะที่ชาวเลอาศัยอยู่ ท่านเป็นตัวแทน สายการบินไทยแอร์เวย์ (ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ประสบการณ์การทำงานก่อนมาเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) เคยเป็นนายอำเภอเมืองภเู ก็ตในช่วง พ.ศ. 2451-2452 (ปาณิศรา ชูผล, 2556ค) และเป็นเทศมนตรีเมืองภูเก็ตหลายครั้งในช่วง พ.ศ. 2478-2482 (นวลศรี พงศ์ภัทรวัต, 2543, น.255) ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองที่สำคัญ ของขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) ท่านมีจุดเด่นที่เป็น ผู้มีฐานะดี มีเครือข่ายความสัมพันธ์ทางธุรกิจกว้างขวาง ท่าน สืบเชื้อสายมาจากปู่ คือ หลวงจีนบำรุงประเทศ (ตันเนียวยี่) หัวหน้าอั้งยี่ฝ่ายบุนเถ่าก๋งกงสี (นวลศรี พงศ์ภัทรวัต, 2543, น.117) ซึ่งเป็นบิดาของพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง) ต้นตระกูลตันฑวณิช ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) เป็นลูกของพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง) เป็นบิดาของ 87

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต นายประชา ตัณฑวณิช ซึ่งเป็นผู้มีผลงานเด่นด้านอนุรักษ์ วัฒนธรรม บรรพบุรุษของตระกูลตันฑวณิช คือ หลวงจีน บำรุงประเทศ (ตันเนียวยี่) หลวงจีนบำรุงประเทศเคยมีตำแหน่ง เป็นนายอำเภอจีน ท่านมีบุตร 9 คน เป็นเพื่อนสนิทกับหลวง อร่ามสาครเขตร (ตันหงิมจ้าว) บิดาของพระอร่ามสาครเขตร (ตันเพ็กฮวด) ต้นตระกูล ตัณฑัยย์ (นวลศรี พงศ์ภัทรวัต, 2543, น.228) พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง) บิดาของ ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) มีบุตร 11 คน มีความ ใกล้ชิดกับรัชกาลที่ 6 มาก ได้เป็นทหารเสือป่า เป็นกรมการ พิเศษ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ และได้สละทรัพย์สินเพื่อ ส่วนรวมและราชการเสมอ (นวลศรี พงศ์ภัทรวัต, 2543, น.254) พี่น้องของขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) มีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายคน เช่น นายกิตติ ตันฑวณิช (ยู่เก่ง) เป็นนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ต 2 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2496-2497 (ปาณิศรา ชูผล, 2556ข), นาย เกรียงศักดิ์ ตันฑวณิช (ยู่เกียง) เป็นเทศมนตรีเมืองภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ. 2501-2502, นายเอี่ยว ตัณฑวณิช เป็นสมาชิก สภาเทศบาล ใน พ.ศ. 2502 (นวลศรี พงศ์ภัทรวัต, 2543, น.225) เป็นต้น ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) เคยรับมรดกเป็นเจ้าของบ้านพักของพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส (Sino- 88

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต Portuguese Architecture) ที่มีชื่อเสียงของภูเก็ตก่อนจะยกให้ นายประชาบุตรชายครอบครองต่อมา ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรภูเก็ต ครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นปีที่นายชิต เวชประสิทธิ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี่ ตันทวณิช) ได้ลงแข่งขันด้วย (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ปรากฏว่านายชิตเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.3.1.3 นายชิต เวชประสิทธ์ิ นายชิต เวชประสิทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จำนวน 3 ครั้ง โดยไม่สังกัดพรรคใด คือ ครั้งที่ 1 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 ถึง 15 ตุลาคม 2488 ครั้งที่ 2 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 6 มกราคม 2489 ถึง 9 พฤศจิกายน 2490 และครั้งที่ 3 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 ถึง 17 พฤศจิกายน 2514 4.3.1.3.1 ภูมหิ ลงั ของนายชิต เวชประสทิ ธ ์ิ นายชิตเกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2457 ที่บ้าน ท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต บิดาชื่อ นายยาน เวชประสิทธิ์ มีอาชีพแพทย์แผนโบราณ มารดาชื่อ นางสิ้ว เวชประสิทธิ์ มีพี่น้อง 2 คน คือ นายเชื้อ เวชประสิทธิ์ และนายบุญจันทร์ เวชประสิทธิ์ ภรรยาของนายชิตชื่อ นางสมจิต มีบุตร 6 คน และหลาน 8 คน นายชิตถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 2536 89

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ด้านการศึกษาเล่าเรียน นายชิตเรียนจบบัญชี ที่วัดสามพระยา ต่อมาท่านได้เข้าเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วง พ.ศ. 2474-2476 ที่เรียกกันว่า รุ่นแพแตก เนื่องจากอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้ นักศึกษามีความคิดแตกต่างกันมาก เพื่อนร่วมรุ่นที่สำคัญ เช่น นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, นายจำนง รังสิกุล, นายชลอ วนะภูติ, นายชำนาญ ยุวบูรณ์, นายชูสง่า ฤทธิประ- ศาสน์ (ไชยพันธุ์), นายประหยัด ศ. นาคะนาท, นายพ่วง สุวรรณรัฐ, นายเล็ก แนวมาลี และ นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ เป็นต้น (แพแตก, ม.ป.ป.) นอกจากนี้นายชิตยังได้เรียนจบจาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็น มหาวทิ ยาลยั เปดิ อกี ดว้ ย (สกลุ ณ นคร, สมั ภาษณ,์ 16 มกราคม 2557) ประสบการณ์การทำงานของนายชิต ท่าน เคยเป็นเป็นนักเรียนพาณิชยการ เคยแข่งขันชวเลขพิมพ์ดีดได้ ตำแหน่งรองชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นทักษะทีมีความ สำคัญมากในขณะนั้น ที่ยังไม่มีระบบการบันทึกที่รวดเร็ว เช่น เครื่องบันทึกเสียงเหมือนในปัจจุบัน เมื่อได้เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร นายชิตก็ได้ใช้ทักษะเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการ ทำงาน โดยเฉพาะการได้ช่วยงานนายปรีดี พนมยงค์ ขณะเดียวกันนายชิตก็ได้ทำงานที่บริษัท สหวิศวกร ซึ่งเป็น บริษัทที่เกิดจากผู้มีอุดมคติทางการเมืองร่วมกันก่อตั้ง นายชิต เป็นผู้มีความรู้เรื่องคมนาคม เนื่องจากสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) อันทำให้เมื่อเป็น นักการเมืองนายชิตจึงได้เป็นเลขานุการของรัฐมนตรีว่าการ 90

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต กระทรวงคมนาคม และต่อมาก็ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม การเข้าสู่การเมืองของนายชิต ท่านได้สมัคร รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 2481 โดยไม่ได้สังกัดพรรคใด ขณะนั้นนายชิตเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร อยู่แล้ว (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ท่านจึง ได้ลาออกมาสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ ขุนชินสถานพิทักษ์ (ตันยู่อี่ ตันทวณิช) ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน ในที่สุดนายชิตก็รับ การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะที่ยังหนุ่มอายุ เพียง 24 ปีเท่านั้น ในการเลอื กตง้ั ครง้ั ท่ี 7 เมอ่ื วนั ท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ 2495 นายชิตได้สมัครรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีก แต่ได้แพ้แก่คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ สาเหตุ สำคัญเนื่องจากนายชิตไม่มีเวลาเกาะติดพื้นที่เพื่อหาเสียง เพราะต้องเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการเสรีไทยในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เมื่อสงครามสงบลงก็ไม่สามารถจะใช้สถานะความเป็น สมาชิกของขบวนการเสรีไทยไปหาเสียงได้ เนื่องจากต้องปิดลับ และขบวนการเสรีไทยได้ตัดสินใจยุติบทบาทตัวเองลง ทั้งที่ นายชิตเป็นตัวแทนระดับภาคใต้มีความสำคัญในระดับที่ม ี เลขรหัสตัวเดียวของขบวนการเสรีไทยแต่กลับไม่มีใครรู้ และ เรื่องที่นายชิตร่วมเคลื่อนไหวเป็นเรื่องทางการเมืองระดับกว้าง 91

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ที่ไม่เกี่ยวข้องกับชาวบ้านทั่วไปนัก ทั้งที่ทีมงานของนายชิต ยังคงเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นายชิตและทีมงานได้เคลื่อนไหวในนามของขบวนการเสรีไทย จนสามารถรักษาเรือขุดแร่ที่หาดป่าตอง ซึ่งเป็นของชาติ มหาอำนาจที่ต่อมาเป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงคราม การรักษา ทรัพย์สินของมหาอำนาจไว้ได้ทำให้เมื่อสงครามสงบลงไทย ก็สามารถต่อรองจนประเทศมหาอำนาจรับฟัง6 หรือประมาณ พ.ศ. 2490 นายชิตและทีมงาน มีบทบาทในการแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวสารบนเกาะภูเก็ต (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เนื่องจากปกติจะ มีข้าวสารที่ผลิตได้ในภูเก็ตเพียงร้อยละ 15 ของความต้องการ บริโภคเท่านั้น อีกร้อยละ 85 ต้องนำมาจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้ ขณะนั้นเกิดตลาดมืดข้าวสารขึ้น ขณะนั้นการขนส่งข้าวสาร มายังเกาะภูเก็ตจะไม่นำข้าวสารจากจากภาคใต้ฝั่งตะวันออก แถบจังหวัดพัทลุง หรือนครศรีธรรมราช แต่จะขนข้าวสารมา โดยรถไปมาที่สถานีกันตัง จากนั้นก็ขนส่งด้วยเรือจากกันตังมา ที่ท่าเรือนเรศบนเกาะภูเก็ต ใน พ.ศ. 2490 ได้เกิดการขาดแคลน ข้าวสารและเกิดตลาดมืดขึ้น นายสกุล ณ นคร ซึ่งเป็นหนึ่งใน ทีมงานของนายชิตเล่าว่า ท่านต้องรับผิดชอบภารกิจการขนส่ง ข้าวสารโดยเป็นผู้อำนวยการการรับซื้อข้าวสารที่มาจากโรงสีที่ กรุงเทพฯ แล้วขนทางเรือมาทางฝั่งอ่าวไทย มาที่อ่าวบ้านดอน แล้วขนผ่านทางแม่น้ำตาปีไปออกท่าเรือกันตัง มายังท่าเรือ 6 มีเพียงนายพลเจียงไคเช็ค ที่ไม่ยอมรับฟังทำให้นายกำจัด พลางกูร ตัดสินใจนำสารเดินทางไปจีนโดยผ่านทางเมืองคุนหมิงและถูกสังหาร ในที่สุด 92

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต นเรศ โดยดำเนนิ การในชว่ งทข่ี า้ วขาดแคลนอยปู่ ระมาณ 11 เดอื น เพื่อให้ต้นทุนของข้าวลดน้อยที่สุด นายชิตและทีมงานจะต้อง ศึกษาและต่อรองกับคนหลายกลุ่ม เช่น นักเลงที่ควบคุมตาม สถานีรถไฟ ผู้ที่เกี่ยวข้องตามเส้นทางการค้าข้าว ตำรวจ รวมทั้ง ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว เช่น นายชิตมีเพื่อนนักเรียน พาณิชยการรุ่นเดียวกันที่เป็นเจ้าของโรงเลื่อยที่บ้านดอนและมี เรืออยู่ 6-7 ลำ นายชิตก็ใช้ความสัมพันธ์ทั้งเชิงส่วนตัวและการ ร่วมมือในนามของรัฐมนตรี แต่ก็ไม่เป็นทางการให้มาช่วยเหลือ ขนข้าวสารโดยลุงสกุลใช้เอกสารเขียนว่า เป็น “ข้าวสารของ ทางราชการส่งภูเก็ต” ปิดไว้ ทำให้ลดต้นทุนของข้าวสารที่ขาย ในภูเก็ตลงไปได้ ลุงสกุลเล่าว่า “เริ่มทำได้สี่ห้าเดือนก็ถูกตรวจ สอบโดยนายเตียง ศิริขันธ์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีที่ซื่อตรง แม้จะเป็น ฝ่ายเดียวกันก็ต้องตรวจสอบ” ทีมของนายชิตจึงเหมือน เป็นการใช้วิธีการกึ่งนอกระบบเพื่อสู้กับตลาดมืด จนปัญหา ขาดแคลนข้าวสารบนเกาะภเู ก็ตคลี่คลายลง ในการเลอื กตง้ั ครง้ั ท่ี 9 ในวนั ท่ี 26 กมุ ภาพนั ธ์ 2500 นายชิต และคุณหญิงแร่ม พรหโมบล ได้ลงรับสมัคร เลือกตั้งแข่งขันกันอีก (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) แต่ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ นายสตางค์ พุทธรักษา จากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 10 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 นายชิตก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง เพราะ ช่วงนั้นขบวนการนักศึกษาเริ่มมีบทบาทตื่นตัวทางการเมือง (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) แนวคิดแบบ 93

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต สังคมนิยมได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้น นายชิตที่ม ี ภาพลักษณ์ของการเป็นนักการเมืองเก่าที่มีประวัติมือสะอาด ไม่มีทรัพย์สมบัติ เป็นลูกศิษย์นายปรีดี พนมยงค์ เคยเป็น รัฐมนตรีหลายครั้งโดยเฉพาะรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม จึงเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน ตลอดจนนักศึกษาชาวภูเก็ตที่ไป เรียนอยู่กรุงเทพฯ นักศึกษาเหล่านั้นได้กลับมารณรงค์หาเสียง มาปราศรัยช่วยนายชิตที่จังหวัดภูเก็ตจนนายชิตได้รับการ เลือกตั้ง ในการแข่งขันเลือกตั้งใน พ.ศ. 2512 นายชิต เล่าว่า ขณะที่ลงรับสมัครตนเองมีเงินเพียง 3,000 บาท และ รถจี๊ปเก่าๆ 1 คันเท่านั้น จึงได้มีการระดมทุน หรือลงขันช่วย นายชิต จนนายชิตกลับมาชนะแบบพลิกความคาดหมาย (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เนื่องจากครั้งนั้น นายชิตมีคู่แข่งคนสำคัญที่ลงรับสมัครอย่างน้อย 2 คน คือ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ และนายอ้วน สุระกุล สำหรับนายนายอ้วน แม้จะเป็นคนจังหวัดตรังแต่ก็มีความ สัมพันธ์และรับราชการที่จังหวัดภูเก็ตมานาน ตั้งแต่เมื่อที่ นายอ้วนได้มาศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูประจำมณฑลภูเก็ต หรือโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยในช่วง พ.ศ. 2468-2469 ต่อมา นายอ้วนได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ วันที่ 3 มกราคม 2502 รวมเวลาติดต่อกันรวม 9 ปี 10 เดือน ช่วงเวลาดังกล่าวนายอ้วนมีผลงานการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตตาม แนวทางของราชการด้วยความเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง จนถึง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 จึงได้ลาออกจากราชการมาสมัครรับ การเลือกตั้ง แต่สุดท้ายนายชิตก็เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง 94

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ถัดมาในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 11 ในวันที่ 26 มกราคม 2518 หลังการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 แล้ว นายชิต ก็ไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก จน พ.ศ. 2518 นายชิตได้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในนามพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ในช่วงเวลาดังกล่าว การแข่งขัน ทางการเมืองเข้มข้น มีการป้ายสีสร้างภาพให้ฝ่ายก้าวหน้าและ แนวคิดสังคมนิยมว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ในส่วนของชาวบ้านเอง แม้ไม่ได้มีความเห็นสุดขั้วว่า นายชิตเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ก็ กลายเป็นกระแสที่พูดว่า นายชิตเป็นคนเอียงซ้าย ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ก็ใช้วิธีการเดิมๆ มาตั้งแต่สมัยนายควง อภัยวงศ์ คือ การจัดเวทีปราศรัยด้วยสำนวนง่าย ๆ ตลกโปกฮา แต่คมคายในการหาเสียง นายชิตจึงแพ้แก่นายอมรศักดิ์ องค์สรณะคม ซึ่งลงสมัครในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งที ่ นายอมรศักดิ์เป็นนักการเมืองหน้าใหม่ที่ไม่ได้โดดเด่นมากนัก (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) หลังจากนั้นนายชิตเห็นว่า ตนเองจะฟื้น บทบาทได้ยากเพราะสถานการณ์เปลี่ยนไป คนก้าวหน้าเริ่มถูก ระแวงถูกเฝ้ามอง การติดต่อกับฐานเสียงทางภูเก็ตก็ยาก ลำบากไปด้วย ประกอบกับมีอายุมากขึ้น นายชิตจึงไม่ได้ลงรับ สมัครเลือกตั้งอีก 95

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 4.3.1.3.2 ฐานเสียงทางการเมืองของนายชิต เวชประสิทธ ์ิ โดยภาพรวมแล้วฐานเสียงและเครือข่าย ทางการเมืองที่สำคัญของนายชิตคือชาวบ้านทั่วไป ตลอดจน กลุ่มนายทุนน้อย เช่น กลุ่มเสมียนที่เป็นลูกน้องของเถ้าแก่ ซึ่งต่อมาอาจมาทำเหมืองแร่เองเป็นนายทุนน้อย (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) อาจแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ที่มีส่วน ให้การสนับสนุนทางการเมืองของนายชิตได้เป็น 6 กลุ่ม คือ ประชาชนทว่ั ไปในพน้ื ท่ี เครอื ญาติ บคุ คลใกลช้ ดิ กลมุ่ ผลประโยชน์ หัวคะแนน และพรรคการเมืองและแนวคิดทางการเมือง ดังนี้ 1) ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ นายชิตคบหา คนหลายระดับ ทั้งเศรษฐี คนจน นายชิตมีทัศนะมองเห็นคน เป็นคน ใครมาหานายชิตก็ต้อนรับหมด (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ที่บ้านพักของนายชิตมีคนทุก ประเภทมาหาหัวกระไดไม่เคยแห้ง มีทั้งเจ้า ขอทาน จนถึงโจร นายชิตจึงสามารถสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนตัวอย่าง กว้างขวาง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้รับเลือก ภาพลักษณ์ทั่วไปของนายชิตมีส่วนสำคัญ ในการขยายฐานเสียงในหมู่คนทั่วไป ชาวบ้านเห็นว่า นายชิตเป็นคนเรียบง่าย ไม่สะสมเงินทอง แม้นายชิตไปเรียน ไปทำงานอยู่กรุงเทพฯ นานร่วม 30 ปี แต่ไม่มีที่ดินเป็นของตัว เองเลย ผู้ที่ใกล้ชิดเล่าว่า นายชิตไม่ต้องการที่จะมีชื่อตนเอง ในใบโฉนด แม้ที่ดินเดิมที่อยู่บริเวณวัดท่าเรือนายชิตก็ไม่ ต้องการให้มีชื่อเป็นของตนเอง (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 96

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต มกราคม 2557) ชาวบ้านจึงเห็นว่า นายชิตเป็นผู้ที่สมถะ ซื่อสัตย์ สุจริต นายชิตในสายตาของคนทั่วไป ท่านเป็น สามัญชนเหมือนชาวบ้านทั่วไปที่ขวนขวาย เป็นคนใฝ่ดี เมื่อไป อยู่กรุงเทพฯ ก็ไม่มีญาติพี่น้อง แต่ไปอยู่วัด นายชิตเป็นเด็กวัด อยู่หลายวัด วัดท้ายสุดที่นายชิตอยู่ คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ในขณะที่ผู้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนหน้านายชิตเป็นคนระดับสูง หรือคหบดี เช่น พระพิไสยสุนทรการ (แปลง ณ ถลาง) ขุนชิน สถานพิทักษ์ ขณะที่นายชิตถือว่า เป็นคนระดับกลางที่เริ่มเข้า มามีบทบาท แม้จะเคยผ่านการเป็นรัฐมนตรีมาถึง 2 สมัยแล้ว ก็ตาม แต่สุดท้ายนายชิตก็เสนอภาพของตัวเองว่าเป็นคน สามัญธรรมดา โดยมีคำขวัญว่า “ชิตลูกหมอยาน” โดย หมอยานเป็นหมอแผนโบราณที่ชาวบ้านเชื่อถือว่า ไม่หลอกลวง คนไข้ เป็นคนธรรมดา (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) และต่อมาหมอยานได้บวชที่วัดใกล้บ้าน จนมีตำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าเรือ บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอ ถลาง ขณะที่คู่แข่งของนายชิตมียศ มีสายสะพายทำให้นายชิต ได้ใจของชาวบ้านที่เมื่อเปรียบเทียบแล้วเป็นเพียงคนธรรมดา ประกอบกับนายชิตยังมีพรรคพวกในภูเก็ตช่วยหาเสียงด้วย จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านเห็นใจและเลือกนายชิต 2) เครือญาติ นอกจากนายชิตจะเป็น ลูกของหมอยานอดีตเจ้าอาวาสวัดท่าเรือ ผู้เป็นที่ศรัทธาของ ชาวบ้านแล้ว ภรรยาของนายชิต คือ นางสมจิตก็เป็นผู้ที่สืบ 97

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต เชื้อสายมาจากนักปกครอง และเป็นผู้มีฐานะดีในกรุงเทพฯ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ซึ่งมีส่วนในการ ทำให้นายชิตขยายฐานทางการเมืองได้สะดวกขึ้น นางสมจิต (นามสกุลเดิม ประธานธุราการ) เป็นธิดาของผู้ที่เป็นนักปกครอง ผู้เคยไปประจำอยู่ในพื้นที่สำคัญในภาคใต้ เช่น เคยไปประจำที่ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นอำเภอชั้นเอก และได้ไปเปิด โรงเรียนระดับมัธยมที่นั่น เคยไปประจำอยู่ที่อำเภอตะกั่วป่า จงั หวดั พงั งา ซง่ึ เปน็ อำเภอชน้ั เอกทม่ี ศี าล สำนกั งานสาธารณสขุ สำนักงานป่าไม้ตั้งอยู่ ขณะที่พังงายังเล็กกว่า และยังเป็นชั้นโท อยู่ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ตระกูลของ นางสมจิตยังเป็นคหบดีมีที่ดินในกรุงเทพฯ มาก เล่ากันว่า ที่ดินบริเวณถนนสิบสามห้างในกรุงเทพฯ เป็นของคุณทวดของ นางสมจิตทั้งนั้น บ้านหลังแรกของนายชิตที่กรุงเทพฯ อยู่ริม คลองบนถนนสิบสามห้าง รามบุตรี ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่ก็เป็น บ้านที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษตกทอดมาถึงยายทับทิม แล้วสืบทอดมาถึงนางสมจิตภรรยาของนายชิต (ชูแรง เวชประสิทธิ์, สัมภาษณ์, 15 และ 17 มกราคม 2557) นายชิต ได้ใช้บ้านหลังนี้ในการรับนักเรียนจากภูเก็ตมาพักอาศัย โดย นางสมจิตผู้ภรรยาก็หนุนนายชิตโดยได้ทำหน้าที่ดูแลความ เรียบร้อยของผู้ที่มาเยือน หรือกล่าวได้ว่า มีหน้าที่เป็นแม่บ้าน คอยต้อนรับโดยตลอด ต่อมานักเรียนเหล่านั้นก็มีส่วนหนุนช่วย ในการหาเสียง และการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ นายชิต 3) บคุ คลใกล้ชดิ การสร้างฐานทางการเมือง ในภูเก็ตของนายชิตไม่ได้ใช้ฐานทางธุรกิจการเงินเป็นหลัก 98

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต แต่อาศัยการเป็นคนมีเพื่อน หรือมีคนใกล้ชิดมาก ทำให้แม้แต่ ศัตรู หรือคู่แข่งก็ให้การยอมรับ และยังมีความสัมพันธ์เป็น เพื่อนกัน เช่น จอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่เป็นฝ่ายตรงข้าม ก็เป็นรุ่นพี่ที่โรงเรียนวัดสามพระยา (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เป็นต้น ในการหาเสียงช่วงที่ลงสมัครรับการ เลือกตั้งจึงไม่ขุดโคตรมาด่ากันจนไม่มองหน้ากันเหมือน การเมืองในสมัยหลังๆ ชีวิตส่วนตัวของนายชิตก็ไม่ม ี ผลประโยชน์อื่นแอบแฝง นอกจากนี้ยังเป็นบุคลิกส่วนตัวของ ลุงชิตที่เป็นคนประนีประนอมจนทำให้รอดจากการถูกทำร้าย เช่น ในช่วงที่ 4 รัฐมนตรีถูกสังหารนั้น ลุงชิตก็เคยถูกติดตาม เคยโดนตำรวจมาหาที่บ้านเรียกลงจากบ้านมาพบ แต่ก็ไม่โดน ทำร้าย เป็นต้น นายชิตยังได้รับความเชื่อถือจากคนใกล้ชิด ที่เห็นว่า นายชิตเป็นผู้เก็บรักษาความลับได้ดี มีความซื่อตรงกับ ผู้คนที่มาเกี่ยวข้อง เช่น ช่วงที่นายชิตถูกจำคุกในคดีกบฏ สันติภาพ พอถูกปล่อยตัวออกมานายชิตก็ต้องประสบกับสภาพ ทางเศรษฐกิจไม่ดี ในขณะที่ยังต้องเช่าบ้านและมีผู้มาพักอาศัย ที่ต้องดูแล แต่ขณะนั้นพอนายชิตได้ทราบข่าวว่า นายฟัก ณ สงขลา ผู้เป็นทนายความของคณะกบฏสันติภาพได้ถูกถอน ใบอนุญาตการว่าความแล้ว เนื่องจากข้อหาว่า นายฟักขาด มารยาททนายความ นายชิตก็กลับมายังศาลทันทีเพื่อเป็น ทนายความต่อจากนายฟักทั้งที่เพิ่งกลับมาจากคุก (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เป็นต้น ด้วยบุคลิกเช่นนี้ ทำให้คนใกล้ชิดวางใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนนายชิต 99

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต กลุ่มบุคคลใกล้ชิดที่มีส่วนช่วยนายชิตทาง ด้านการเมืองอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเพื่อนของนายชิต ในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มที่เคยพักที่บ้านพูนโภคัย และกลุ่มที่ สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ดังนี้ 3.1) กลุ่มเพื่อนของนายชิตในจังหวัด ภูเก็ต นายชิตมีฐานเสียงจากคนในจังหวัดภูเก็ตจากการเป็น ศิษย์เก่าของโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย นอกจากนี้นายชิตยังมี ความใกล้ชิดใกล้ชิดกับกลุ่มที่มีอุดมคติในจังหวัดภูเก็ต คนกลุ่มนี้ได้รวมตัวกันจัดทำหนังสือพิมพ์ชื่อ “ปักษ์ใต้” โดยมี ทีมงานหลายคน เช่น นายสกุล ณ นคร หนังสือพิมพ์ปักษ์ใต้ เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2495 และดำเนินการอยู่ถึง 37 ปี (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) 3.2) กลุ่มท่ีเคยพักท่ีบ้านพูนโภคัย เดิม คนภูเก็ตที่มีบ้านอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วยมีน้อย ผู้ที่บ้านที่กรุงเทพฯ ด้วยมักเป็นมีฐานะดี จนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวภูเก็ตทั่วไปเริ่มต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ มากขึ้น และ เริ่มพยายามส่งบุตรหลานไปเรียนที่กรุงเทพฯ มากขึ้น ชาวภูเก็ต จึงมักประสบกับปัญหาไม่มีที่พักในกรุงเทพฯ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) นายชิตจึงได้จัดบ้านของตนเอง ให้ลูกหลานชาวภูเก็ตที่ไม่มีบ้านพักในกรุงเทพฯ ได้มาอาศัย เรียนหนังสือ รวมถึงให้ผู้ที่ต้องเดินทางขึ้นมาพักที่กรุงเทพฯ ได้พักอาศัย บ้านหลังดังกล่าวเป็นทรัพย์สมบัติของภรรยา นายชิตที่เป็นมรดกตกทอดมาของตระกูล ตั้งอยู่แถวบางลำพู ถนนสิบสามห้าง ซอยรามบุตรี อยู่ข้างวัดบวรนิเวศ นายชิต 100

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ได้ให้คนมาพักอาศัยมานานก่อน พ.ศ. 2480 แล้ว ผู้ที่เคยไปพัก อยู่ที่บ้านหลังนั้นช่วงนี้ยังไม่มีมากนัก มีเพียง 4-5 คน เช่น น้องภรรยาของนายสกุล ณ นคร, นายระเบียบ, นายชนะ นิลคูหา, นายชาติ สุนทรศิลป์ และ นายมงคล วัลยะเพ็ชร์ เป็นต้น ผู้ที่เคยพักอาศัยอยู่ที่บ้านนายชิตกลุ่มนี้ บางคนต่อมามีตำแหน่งเป็นข้าราชการระดับสูง และเครือข่าย กระจายตัวออกไป เช่น นายมงคล วัลยะเพ็ชร์ต่อมาได้เป็น ประธานศาลฎีกา ขณะที่ญาติพี่น้องของนายมงคล วัลยะเพ็ชร์ ก็เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่สำคัญ บิดาของนายมงคล คือ ขุนสมาหารหิรัญรัฐ ส่วนพี่น้องของนายมงคลก็มีหน้าที่และ บทบาท ทั้งในทางราชการ และในสังคม เช่น นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายมนตรี วัลยะเพ็ชร์ เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิค ดร.มนู วัลยะเพ็ชร์ เปน็ คณบดคี ณะอกั ษรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร นายมาโนช วัลยะเพ็ชร์ เป็นผู้จัดการบริษัท โมเบล็ค จำกัด นายมังกร วัลยะเพ็ชร์ เป็นพนักงานเทศบาลเมืองภูเก็ต นายเสริมชาติ วัลยะเพ็ชร์ เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต (ปาณิศรา ชูผล, 2556จ) เป็นต้น ต่อมานายชิตได้ขายบ้านหลังนั้น แล้วย้ายมา เช่าบ้านที่ตั้งอยู่บนที่ดินของวัดบวรนิเวศวิหาร บ้านหลังที่สองนี้ อยู่ข้างใกล้วัดมกุฎกษัตริยาราม ถนนประชาธิปไตย นายชิต ตั้งชื่อว่า “บ้านพูนโภคัย” บ้านหลังนี้มีคนมาพักจำนวนมาก นายชิตน่าจะเริ่มเข้าไปอยู่ที่บ้านพูนโภคัยประมาณ พ.ศ. 2483 101

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต โดยอนุมานจากคำบอกเล่าของนายสกุล ณ นคร ผู้ที่เคยได้เข้า พักอาศัยเล่าว่า บ้านพูนโภคัยเริ่มต้นขึ้นหลังจากนายชิตได้เป็น ส.ส. ครั้งแรกใน พ.ศ. 2481 โดยสามารถเอาชนะขุนชินสถาน พิทักษ์ (ตันยู่อี๋ ตันฑวณิช) ได้แล้วประมาณ 2 ปี (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์,16 มกราคม 2557) ซึ่งเป็นเวลาก่อนเกิดสงครามโลก ครั้งที่สอง 1 ปี นางสมจิตภรรยาของนายชิตเป็นผู้คอยจัดการ ความเรียบร้อยของบ้านพูนโภคัยอย่างดี ผู้ที่เข้ามาพักอาศัยที่ บ้านพูนโภคัยส่วนใหญ่เป็นชาวภูเก็ตที่มีฐานะยากจนจนถึง ปานกลาง ที่กระตือรือร้นที่จะศึกษาเล่าเรียน (สกุล ณ นคร, 2555, น. 11) ผู้ที่ไปพักบางคนแค่เพียงไปหยุดตั้งหลักก่อนจะไป ที่อื่นต่อ บางคนก็พักอยู่นาน ผู้ที่เข้าอยู่อาศัยต้องย้ายชื่อเข้าไป อยู่ในทะเบียนบ้าน แต่บางคนก็แค่เพียงขอฝากชื่อเข้าไปอยู่ใน ทะเบียนบ้าน รวมผู้ที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้านทั้งสิ้นประมาณ 200 คน บางช่วงบ้านพูนโภคัยยังถูกใช้เพื่อเคลื่อนไหว ทางการเมืองของนายชิต เช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นายชิตได้ร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น บ้านพูนโภคัยได้ถูกปรับยกพื้นบ้านขึ้นประมาณ 3 ฟุต ใช้เป็นที่ ลักลอบเก็บอาวุธ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) และเมื่อสงครามสงบ ขบวนการเสรีไทยที่นายชิตเป็นสมาชิกอยู่ ก็มอบอาวุธให้ทางการ และสลายตัวไป บ้านพูนโภคัยยังมีบทบาทมาจนถึงช่วง 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 จนประมาณ พ.ศ. 2520- 2521 ก็ต้องเลิกไป (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557 102

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต และ ชูแรง เวชประสิทธิ์, สัมภาษณ์, 15 และ 17 มกราคม 2557) เนื่องจากวัดบวรนิเวศวิหารต้องการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ ทางอื่น บ้านพูนโภคัยจึงมีบทบาทอยู่ประมาณเกือบ 40 ปี (พ.ศ. 2483-2520) หลังจากนั้นนายชิตจึงได้ย้ายไปอยู่บ้านที่ตั้ง อยู่ฝั่งธนบุรี ซึ่งบรรดาลูกๆ ของท่านสร้างไว้ให้ โดยนายชิตไม่รู้ มาก่อน นายชิตพูดอยู่เสมอว่า การส่งเสริมให้การศึกษาและ สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็น นายชิตมักจะกล่าว อย่างภูมิใจถึงบรรดาลูกๆ ของท่านที่มองเห็นความดีของพ่อแม่ อันถือว่า เป็นการสืบสายเลือดของลูกๆ ที่เป็นทั้งรูปธรรมและ นามธรรม ท่านไม่ผิดหวังในตัวลูกๆ ทุกคน (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) 3.3) กลุ่มท่ีสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ กลุ่มผู้สนับสนุนที่นายชิต เวชประสิทธิ์ มีความใกล้ชิดที่สุดและ ร่วมดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วงการ การเมืองจนบั้นปลายของชีวิต ได้แก่ กลุ่มที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ทั้งในช่วงที่นายปรีดียังคงครองอำนาจและหมด อำนาจไปแล้ว ความใกล้ชิดกับกลุ่มที่สนับสนุนนายปรีดีสังเกต ได้จากบทบาทของนายชิตที่สอดคล้อง หรือสนับสนุนแนวทาง การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนายปรีดีโดยตลอด เช่น นายชิตเป็นหนึ่งในคณะทนายความของผู้ที่ตกเป็นจำเลยกรณี สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ก่อนรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 นายชิต เวชประสิทธิ์ กับนายลิ่วละล่อง บุนนาค ได้เดินทางไปพบ นายปรีดี พนมยงค์ ที่ขณะนั้นลี้ภัยอยู่ในประเทศจีนเพื่อรับ ทราบข้อเท็จจริงในฐานะทนายความของจำเลยในคดีสวรรคต 103

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งนำสารจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปให้นายปรีดี พนมยงค์ เพื่อเสนอให้กลับมาร่วมมือกันต่อสู้กับกลุ่มนิยมเจ้า โดยจะรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นมาใหม่ (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, 2544, น. 31-35) ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 นายชิตได้เข้า ร่วมกบฏวังหลวงในสายของอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทย เมื่อการก่อการครั้งนั้นล้มเหลว นายชิตได้ถูกจับกุมในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2492 ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยไป ต่างประเทศ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้หลังจากนั้นการรวมตัวของ สมาชิกขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยไม่เกาะกลุ่มกัน เหนียวแน่นเหมือนเดิม (สุมาลี พันธุ์ยุรา, ม.ป.ป.) นายชิตยังได้จัดพิมพ์เอกสารและหนังสือ เกี่ยวกับนายปรีดี พนมยงค์ คือ สำเนาจดหมายของนายปรีดี พนมยงค์ ถึง ฯพณฯ รองนายกฯ กับนายกรัฐมนตรี และรัฐบาล (กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์, 2517) (จดหมายถึงรองนายกฯ ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2516, จดหมายถึงนายกฯ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2516) และ คำตอบของนายปรีดี พนมยงค์ ต่อ สัมภาษณ์ของ คลอเดีย รอสส์ (กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์, 2517) โดย ฉบับภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ใน Bangkok Post, (January 13, 1974) นายชิตเป็นที่ไว้ใจของนายปรีดีอย่างมาก มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากในจดหมายจากฝรั่งเศสที่นาย ปรีดีเขียนถึงนายสุพจน์ ด่านตระกูล ลงวันที่ 15 มกราคม 2516 ว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่งานเขียนของนายสุพจน์เกี่ยวกับกรณี 104

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต สวรรคตจะอ้างอิงหนังสือ The Devil Circus ของ Rayne Kruger โดยนายปรีดีได้แนะนำนายสุพจน์ว่า ถ้า “คุณจะอ้างหนังสือ ครูเกอร์นั้น ต้องปรึกษาคุณอิสสระ และทนายของเรา คือ คุณชิต เวชประสิทธิ์ ช่วยกันวิจารณ์และช่วยคุณอย่างละเอียด เพราะเรื่องล่อแหลมมาก” (ท่านปรีดี พนมยงค์กับจดหมาย แนะนำคุณสุพจน์ ด่านตระกูล ในประเด็นข้อเท็จจริง) พ.ศ. 2523 นายชิต เวชประสิทธิ์ กับคณะอีก 3 คน คือ นายแช่ม พรหมยงค์, นายสุภัทร สุคนธาภิรมณ์ และ นายสุพจน์ ด่านตระกูล ได้เดินทางไปเยี่ยมนายปรีดี พนมยงค์ ที่ประเทศฝรั่งเศส และเป็นการพบกันครั้งสุดท้ายเพราะ หลังจากนั้นอีก 3 ปี นายปรีดีก็ถึงแก่อสัญกรรม 4) กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มคนที่หนุนนายชิต เป็นหลัก คือ คนชั้นกลางระดับล่างๆ คนที่กำลังจะไปเรียน กรุงเทพฯ หรือคนที่กำลังเรียนที่กรุงเทพฯ อยู่แล้ว (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) อย่างไรก็ตาม นายชิต ได้เชื่อมความสัมพันธ์กับคนชั้นสูงและคนชั้นกลางในภูเก็ต เพื่อให้มาหนุนตนเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับทุ่มเทมาก โดยเป็นเพียง การพูดคุยสนทนากันเท่านั้น ทีมงานของนายชิตก็มองว่า คนชั้นสูงและคนชั้นกลางระดับสูงในภูเก็ตมักจะสนใจการมียศ ตำแหน่งเพื่อเอื้อต่อการทำกิจการของตนเป็นหลัก กลุ่มที่เป็นนายทุนในจังหวัดภูเก็ตเป็นตัวตั้ง ตัวตีในการหนุนนายชิตที่สำคัญ คือ ตระกูล วงศ์ชุมพิศ เช่น ผู้ใหญ่ขาว และรุ่นพ่อของผู้ใหญ่ขาว ตระกูลวงศ์ชุมพิศมีฐานะ ขึ้นมารุ่นหลังตระกูลอื่น โดยเติบโตมาจากสามัญชนที่รู้คุณค่า 105

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ของการใช้แรงงานอย่างไม่เอารัดเอาเปรียบ โดยเริ่มจากการปั่น จักรยานมัดเข่งไว้ที่อานมาซื้อปลาที่ชาวประมงชายฝั่งจับได้ แล้วบรรทุกปลาไปขายด้วยจักรยาน ตระกูลวงศ์ชุมพิศ จึงสัมพันธ์กับการค้าขายกุ้ง ปลา ของชาวบ้านมาแต่เดิม จนปัจจุบันก็สามารถสร้างฐานะเป็นผู้มีฐานะดีของภูเก็ต กันหมดแล้ว นอกจากตระกูลวงศ์ชุมพิศแล้ว ผู้มีฐานะ หรือมีทุนในภูเก็ตที่สนับสนุนนายชิต คือ กลุ่มตระกูล นพดารา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีนิสัยแบบนักเลงใหญ่ใจกว้างตรงไปตรงมา กลุ่ม นพดารามีบทบาทอยู่แถวบ้านสามกอง ซึ่งเป็นแหล่งแร่สำคัญ และมีการรวมตัวเป็นกลุ่มอั้งยี่กันที่นี่ 5) หัวคะแนน การหาเสียงของนายชิตไม่ได้ มีการจัดตั้งหัวคะแนนอย่างเป็นระบบนักโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการลงรับสมัคร (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557, วินิจ หงส์อติกุล, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557 และ ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) โดยเป็นเพียง การจดั วางทมี งานอยา่ งหลวมๆ ของผทู้ ส่ี นบั สนนุ นายชติ มากกวา่ ความสัมพันธ์ของนายชิตกับทีมงาน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ หัวคะแนนเหล่านี้นายชิตจะไม่เน้นการชี้นำ แต่จะให้โอกาส ทีมงานแต่ละคนได้ทำตามที่ตนเองถนัด ไม่มีการสั่งการแบบ บนลงลา่ ง ถา้ ทมี งานคนใดออกความเหน็ นายชติ กพ็ รอ้ มจะรบั ฟงั ไม่มีการจัดระบบจัดตั้งที่เข้มข้น แต่จะเน้นการปรึกษาหารือกัน ให้รู้เท่ากัน เดินไปพร้อมกัน และดูลักษณะของแต่ละคนแล้ว วางคนให้ตรงกับงานที่ถนัด แล้ววางตำแหน่งให้กระจายกัน ออกไปหาเสียงตามพื้นที่และกลุ่มคนต่างๆ 106

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต การตั้งทีมงานของนายชิตส่วนมากเป็นการ จัดตั้งแบบเปิดในเมืองตามสายสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะตามสายอาชพี เชน่ กลมุ่ มที มี งานของนายชติ ทท่ี ำงาน คลุกคลีอยู่กับกลุ่มคนขับตุ๊กตุ๊ก (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เป็นต้น การจัดตั้งที่น่าสนใจของนายชิต อีกสายหนึ่ง คือสายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ขณะนั้น ได้มีการตีพิมพ์วารสารกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ในเนื้อหาจะมีรายชื่อ ของบุคคลกลุ่มนี้ มีการรายงานกิจกรรมของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และประเด็นที่กลุ่มนี้สนใจ เช่น กล่าวถึงบุคคลในจังหวัดภูเก็ต ที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือและความคิดก้าวหน้า ซึ่งในขณะนั้น มีไม่มาก เช่น กำนันสะอาด หลาตะลา แห่งตำบลกมลา, ผู้ใหญ่วีนัส ประสิทธิ์ นาดอน ที่เคยเป็นทหารเกณฑ์ เป็นต้น คนกลุ่มนี้จะสนับสนุนการหาเสียงของนายชิต 6) พรรคการเมอื งและแนวคดิ ทางการเมอื ง แม้นายชิตจะเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ช่วงที่นายชิต ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายชิตไม่เคยลงรับ สมัครรับการเลือกตั้งโดยสังกัดพรรคการเมืองเลย โดยนายชิต ได้ลงรับสมัครเข้ารับการเลือกตั้งด้วยการสังกัดพรรคเพียง 1 ครั้ง ในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 ที่กฎหมายกำหนดว่า ผู้สมัครทุกคนต้องสังกัดพรรคการเมือง ครั้งนั้นนายชิตลงสมัครสังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า นายชิต มีความยึดมั่นในแนวคิดสังคมนิยม ซึ่งเริ่มมีผู้ที่เคลื่อนไหวตาม 107

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต แนวคิดนี้จำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงหลังเปลี่ยนแปลง การปกครองใน พ.ศ. 2475 แนวคิดสังคมนิยมถือว่า เป็นแนวคิด ใหม่ที่ก้าวหน้า เป็นประชาธิปไตยมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อ เปรียบเทียบกับรูปแบบการปกครองแบบเดิมที่ถูกโค่นล้มไป อีกทั้งยังมีการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจทางการปกครองระดับ ประเทศ เช่น กลุ่มของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น จึงมีคน เข้ามาร่วมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่กระตือรือร้น อันรวมทั้งนายชิต เวชประสิทธิ์ด้วย แต่แนวคิดและการ เคลื่อนไหวตามแนวคิดสังคมนิยมก็ผันแปรไป นั่นคือ บางช่วง ก็ได้รับความนิยมจากชาวบ้าน บางช่วงก็กลับเป็นภาพลบ ในสายตาของชาวบ้าน ดังนั้น เมื่อนายชิตมีภาพลักษณ์ของ การเป็นนักสังคมนิยมติดตัวอยู่อย่างแนบแน่นจึงส่งผลต่อความ นิยมของชาวบ้านที่ขึ้นลงตามกระแสด้วย จึงจะพบว่า แต่ละ ช่วงเวลาชาวบ้านอาจนิยม หรือลดความนิยมต่อนายชิตลงตาม กระแสความนิยมแนวคิดสังคมนิยมดังกล่าว หลัง พ.ศ. 2475 มีการพยายามตั้งพรรค การเมืองตามแนวทางนี้หลายครั้ง และหลายพรรคที่เป็นพรรค ถูกต้องตามกฎหมาย หรือพรรคบนดิน โดยได้มีการตั้งพรรค การเมืองแนวสังคมนิยมครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม 2488 คือ พรรคสหชีพ นายชิตก็เข้าสังกัดพรรคสหชีพ (ประจวบ อัมพะ- เศวต, 2546, น. 31) แตพ่ รรคสหชพี ไดต้ กเปน็ เปา้ โจมตอี ยา่ งหนกั เช่น การสังหารสมาชิกพรรคอย่างสี่รัฐมนตรีอีสาน การสังหาร นายเตียง ศิริขันธ์ จนหมดบทบาทไปหลังจากนั้นไม่นาน โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์กบฏวังหลวงที่สมาชิกจำนวนมาก ถกู จับ และถูกไล่ล่า 108

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ในช่วงที่นายปรีดี พนมยงค์ และกลุ่มที่มี แนวคิดสังคมนิยมมีบทบาททางการเมืองก็ทำให้นายชิตได้มี ตำแหน่งเปน็ รัฐมนตรี7 2 คร้ัง (คณะรัฐมนตรี, 2556) โดยครง้ั แรก เป็นรัฐมนตรีในช่วงวันที่ 19 กันยายน 2488 ถึง 31 มกราคม 2489 ในรัฐบาลที่มี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกขบวนการเสรีไทยในประเทศมากกว่า ครึ่งของจำนวนทั้งหมด 22 คน ส่วนครั้งที่ 2 นายชิตเป็น รัฐมนตรีระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม 2490 ถึง 8 พฤศจิกายน 2490 ในรัฐบาลที่มีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็น นายกรัฐมนตรี การที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีถึง 2 ครั้ง ทำให้ ชาวบ้านเห็นถึงผลงานทางการเมืองที่เปิดเผย และเป็นรูปธรรม ของนายชิต หลังจาก พ.ศ. 2498 ที่มีการประกาศพระราช บัญญัติพรรคการเมืองแล้ว นายชิตได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดกลุ่ม “สันติชนแนวร่วม สังคมนิยม” มีสมาชิกในกลุ่ม เช่น เปลื้อง วรรณศรี, สุวัฒน์ วรดิลก, อุทธรณ์ พลกุล, สัมผัส พึ่งประดิษฐ์, ลิ่วละล่อง บุนนาค และ เจริญ สืบแสง เป็นต้น (ประจวบ อัมพะเศวต, 2546, น. 61) 7 ขณะนั้นตำแหน่ง รัฐมนตรี หมายถึง “รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำ กระทรวง” คือ เป็นรัฐมนตรีที่ช่วยราชการกระทรวงต่าง ๆ แต่ไม่ได้ระบุชื่อ กระทรวงในชื่อตำแหน่ง ตำแหน่งนี้เริ่มมีตั้งแต่คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ของไทย และเลิกไปตั้งแต่คณะรัฐมนตรี คณะที่ 28 เมื่อ พ.ศ. 2501 109

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต จึงจะเห็นว่า ในความเป็นจริงพรรคการเมือง ในแนวทางสังคมนิยมต่าง ๆ ก็จะมีคนที่ใกล้ชิดและพร้อมที่จะ ให้ความช่วยเหลือนายชิตในการรับสมัครเลือกตั้ง เนื่องจากเป็น เพื่อนร่วมอุดมการณ์ แต่การที่นายชิตมีภาพลักษณ์เป็น นักสังคมนิยมจึงมีผลทำให้ความนิยมของชาวบ้านต่อนายชิต แปรผันไปตามความนิยมของชาวบ้านต่อแนวคิดสังคมนิยม ด้วย ไม่ว่านายชิตจะเป็นสมาชิกพรรคใดหรือไม่เป็นสมาชิก พรรคก็ตาม นั่นคือการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและมีแนวคิด ทางการเมืองแบบสังคมนิยม รวมทั้งบ่อยครั้งที่นายชิตต้องไป ร่วมเคลื่อนไหวผลักดันแนวทางสังคมนิยมในภาพรวม จนไม่สามารถมาเกาะติดพื้นที่เพื่อรักษาฐานเสียงอย่างใกล้ชิด ล้วนส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการได้รับเลือกตั้งของ นายชิตดังที่กล่าวไปแล้ว 4.3.1.3.3 รูปแบบและกลวิธกี ารหาเสียงของนายชติ เวชประสทิ ธ ์ิ ในช่วงแรกของการลงรับสมัครของนายชิต การแข่งขันในการหาเสียงยังไม่เข้มข้น ต่อมาการแข่งขันเริ่ม เอาจริงเอาจังมากขึ้นโดยเฉพาะตั้งแต่การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของนายชิตอาจแบ่ง ได้เป็น 4 วิธี คือ การชูภาพของผู้สมัคร การลงพื้นที่ตามบ้าน การใช้รถขยายเสียง และการปราศรัย ดังนี้ 1) การชูภาพของผู้สมัคร เนื่องจากนายชิต ไม่เคยสมัครโดยสังกัดพรรคการเมือง นอกจากครั้งสุดท้าย ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 โดยสังกัดพรรค 110

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต สังคมนิยมแห่งประเทศไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง นายชิต จึงไม่ได้ชูความเป็นพรรคการเมืองในการหาเสียง โดยได้ชู จุดเด่นของนายชิตแทน เช่น ความเป็นสามัญชน ความเป็น คนซื่อสัตย์ ใจกว้าง การที่เคยเป็นรัฐมนตรี รวมทั้งความเป็นผู้ที่ ใกล้ชิดกับกลุ่มของนายปรีดี พนมยงค์ เคยทำกิจกรรมหนุน ขบวนการเสรีไทย หนุนรัฐบาลในสายที่ใกล้ชิดกัน และการเป็น ผู้มีแนวคิดสังคมนิยม ซึ่งประการหลังๆ นี้บางครั้งนายชิตก็ไม่ สามารถนำมาชใู ห้เด่นเพื่อหาเสียงได้ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) การชูภาพของนายชิตในการหาเสียงเป็นจุด เด่นในการหาเสียงของนายชิตมาโดยตลอด 2) การลงพ้ืนท่ีตามบ้าน วิธีการลงพื้นที่ ตามบ้านของนายชิตได้ใช้เครือข่ายตามความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่มีอยู่ วิธีการนี้เห็นชัดในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของ นายชิตเมื่อ พ.ศ. 2512 ที่กระแสแนวคิดสังคมนิยมกำลังได้รับ ความนิยม ได้มีกลุ่มนักศึกษาปัญญาชน พร้อมทั้งผู้ที่เคยอาศัย อยู่บ้านพูนโภคัย และเครือข่ายรวมตัวกันมาช่วยรณรงค์หาเสียง ช่วยนายชิตด้วยวิธีการต่าง ๆ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เช่น การจัดรถแห่ การปราศรัย รวมทั้งการลง เดินหาเสียงตามพื้นที่และบ้านเรือนด้วย 3) การใช้รถขยายเสียง วิธีการใช้รถขยาย เสียงของนายชิต การรณรงค์หาเสียงของนายชิตได้ใช้ในการ เลือกตั้ง พ.ศ. 2512 จนเป็นที่ประทับใจของคนทั่วไป (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) วิธีการก็คือ จะมีการแห่ ขบวนด้วยรถบรรทุกหกล้อไม่มีหลังคาติดโปสเตอร์ประกาศว่า “ไม่ได้เชียร์เบอร์ไหน แต่ขอให้ท่านไปใช้สิทธิ” คนที่นั่งในรถแห่ 111

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต บางคนก็เป็นผู้จัดการของห้างร้านที่สนับสนุน บางคนก็กำลัง เรียนหนังสือ บางคนก็สำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้ที่พบเห็นก็จะ ซาบซึ้งเนื่องจากได้เห็นตัวบุคคลที่สนับสนุน โดยเห็นว่า เป็นคน บ้านเดียวกันลูกคนนั้นหลานคนนี้ที่จะเป็นความหวังเป็นอนาคต ของคนในท้องถิ่นต่อไป โดยมีคำขวัญในการหาเสียงครั้งนั้นว่า “คนบ้านเรา” 4) การปราศรัย ใน พ.ศ. 2512 การจัดการ ปราศรัยและดำเนินการหาเสียงของนายชิตมีรูปแบบที่ชัดเจน กว่าเดิม ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่เคยไปพักอยู่บ้าน พูนโภคัย ได้เป็นกำลังสำคัญที่มาร่วมมือร่วมใจกันกลับมา เคลื่อนไหวหาเสียงให้นายชิต นอกนั้นก็มีนักศึกษา และกลุ่มคน หัวก้าวหน้าจากกรุงเทพฯ ตลอดจนเพื่อนๆ หรือเครือข่ายคนที่ รจู้ กั กบั นายชติ มาชว่ ยกนั (สกลุ ณ นคร, สมั ภาษณ,์ 16 มกราคม 2557) ทั้งที่ตอนที่ไปสมัครนั้นนายชิตเล่าว่า มีเงินเพียง 3,000 บาทเท่านั้น สำหรับนโยบายของนายชิตในการหาเสียง จะไม่ใช้การวิธีการโจมตีคนอื่น แต่จะปราศรัยด้วยเนื้อหาที่เป็น หลักการจริงๆ ซึ่งเห็นได้จากการหาเสียงในสมัยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 ที่เริ่มเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า แม้จะเริ่มมีความ แข่งขันเข้มข้นขึ้น แต่ผู้สมัครสมัยนั้นก็ไม่โจมตีต่อว่ากันแบบ เสียๆ หายๆ ที่ให้คนอื่นเลวร้ายเพื่อให้ตัวเองเด่นขึ้นมา (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ใน พ.ศ. 2512 จังหวัด ภูเก็ตมีผู้ลงรับสมัคร 7-8 คน ตอนนั้นพรรคประชาธิปัตย ์ ยังไม่เด่น การหาเสียงใน พ.ศ. 2512 ที่นายชิตได้รับเลือกตั้งได้ชู 112

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต คำขวัญ “คนบ้านเรา” อันเป็นคำง่ายๆ มีความหมายไม่ได้เพียง แค่การเล่นคำ แต่ทำให้เกิดความรู้สึกของคนที่เกิดที่นี่ ฝังรกราก อยู่ที่นี่ร่วมกัน มีความใกล้ชิดกับคนในพื้นที่ อันเป็นการสะท้อน ความรู้สึกของคนทั้งจังหวัดออกมาเป็นคำขวัญ วิธีการหาเสียงด้วยการจัดเวทีปราศรัยที่จัด แบบเอาจริงเอาจังมากขึ้นของนายชิตเห็นได้จากการลงรับสมัคร เลือกตั้งใน พ.ศ. 2518 ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้สมัครต้องสังกัด พรรคการเมือง นายชิตจึงสมัครเลือกตั้งในนามพรรคสังคมนิยม แห่งประเทศไทย การหาเสียงของนายชิตครั้งนั้น มีการจัดเวที ปราศรัยอย่างเข้มข้น เวลานายชิตมีเวทีปราศรัยหาเสียง จะมี ตัวแทนจากพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยมาเป็นผู้ที่มาร่วม ปราศรัยช่วยนายชิต ผู้ปราศรัยที่โดดเด่นในช่วงนั้น เช่น นายสุธรรม แสงประทุม, นายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์, นายวิทยา แก้วภราดัย และ นายอาคม สุวรรณพ เป็นต้น (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ทำให้มีคนมาร่วมฟังมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากช่วง พ.ศ. 2518 การต่อสู้ทางการเมือง ดุเดือดมาก แม้แนวคิดสังคมนิยมกำลังได้รับความนิยม แต่ก็ กำลังเริ่มติดลบ นายชิตจึงไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ และ เป็นครั้งสุดท้ายที่นายชิตลงสมัครรับเลือกตั้ง 4.3.1.4 ขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) ขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 ครั้ง โดยไม่สังกัด พรรคใด ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 29 มกราคม 2491 ถึง 29 พฤศจิกายน 2494 113

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 4.3.1.4.1 ภูมิหลังของขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตณั ฑัยย์) ขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) อยู่ใน ตระกูลผู้มีฐานะดีของจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะจากกิจการ เหมืองแร่ ก่อนลงรับสมัครเลือกตั้ง ท่านเคยเดินทางไปดูกิจการ เหมืองแร่ในต่างประเทศ และการท่องเที่ยวรอบโลกกับบิดาใน พ.ศ. 2477 เคยมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อน โดยดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ตหนึ่งสมัย ในชว่ งวนั ท่ี 1 พฤษภาคม 2483 ถงึ 15 กรกฎาคม 2487 (ปาณศิ รา ชผู ล, 2556ข) 4.3.1.4.2 ฐานเสียงและเครอื ข่ายทางการเมือง ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของขุน ประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) เท่าที่ทราบมีอย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ ครอบครัวและเครือญาติ บุคคลใกล้ชิด และกลุ่ม ผลประโยชน์ 1) ครอบครัวและเครือญาติ เนื่องจาก ขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) อยู่ในกลุ่มที่เป็นคหบดี ของจังหวัดภูเก็ต ครอบครัวและเครือญาติของท่านจึงมี ศักยภาพในการสนับสนุนให้ท่านได้รับเลือกตั้ง ท่านเป็นผู้ที่มี ญาติพี่น้องจำนวนมาก โดยท่านเป็นบุตรชายคนโตของ พระอร่ามสาครเขตร (ตันเพ็กฮวด) ต้นตระกูลตัณฑัยย์ และมี พี่น้องจำนวน 16 คน 2) บุคคลใกล้ชิด ขนุ ประเทศจนี นกิ ร (กวนฮก ตัณฑัยย์) อยู่ในแวดวงของผู้มีฐานะดี และมีบทบาทด้าน 114

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต เศรษฐกิจการเมืองในจังหวัดภูเก็ตมานาน ตัวอย่างเช่น ในอดีต บรรพบุรุษของตระกูลตัณฑัยย์ อันได้แก่ หลวงอร่ามสาครเขตร (ตนั หงมิ จา้ ว) เปน็ เพอ่ื นสนทิ กบั หลวงจนี บำรงุ ประเทศ (ตนั เนยี วย)่ี หัวหน้าอั้งยี่ฝ่ายบุนเถ้าก๋งกงสี (นวลศรี พงศ์ภัทรวัต, 2543, น.228) ผู้เคยเป็นนายอำเภอจีน และเป็นบิดาของพระพิทักษ์ ชินประชา (ตันม้าเสียง) ต้นตระกูลตันฑวณิช มาแต่เดิม เป็นต้น กลุ่มคนมีฐานะในจังหวัดภูเก็ตเหล่านี้ในอดีต แม้จะเคยขัดแย้ง กันรุนแรงในช่วงแรกในรูปของอั้งยี่กลุ่มต่างๆ แต่ต่อมา ก็สามารถตกลงประนีประนอมกันได้ และเป็นเครือข่าย ที่สามารถหนุนเสริมกันเพื่อประโยชน์ทางการดำเนินธุรกิจ การลงรับสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของขุนประเทศจีน นิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) จึงได้รับการสนับสนุนจากคนกลุ่มนี้ เพราะถือได้ว่า ท่านเข้าไปเป็นตัวแทนที่จะเข้าไปเป็นปากเป็น เสียงให้กับกลุ่ม (ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) 3) กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ที่ สนับสนุนขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) ที่เห็นได้ชัด คือ กลมุ่ การเมอื งทอ้ งถน่ิ อนั ไดแ้ ก่ เทศบาลเมอื งภเู กต็ ซง่ึ สงั เกตไดว้ า่ กลุ่มคนมีฐานะดีเข้าไปมีบทบาทอยู่ รวมทั้งขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) ทั้งนี้นอกจากขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) จะเคยมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตรงด้วยการเป็นนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ตหนึ่งสมัย ในช่วง วันที่ 1 พฤษภาคม 2483 ถึง 15 กรกฎาคม 2487 แล้ว จะเห็นว่า นายกเทศมนตรเี มอื งภเู กต็ คนถดั มากเ็ ปน็ คนในตระกลู ตณั ฑยั ย์ คือ นายประเทศ น. ตันทัย (ดำรงตำแหน่งใน พ.ศ. 2487-2488) ต่อมา คือ ขุนบำรุงจีนประเทศ (เติม ตัณทัยย์) ดำรงตำแหน่ง 115

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม 2488 ถึง 18 มีนาคม 2489 (ปาณิศรา ชูผล, 2556ข) ซึ่งแสดงถึงการให้ความสำคัญกับการเข้ามามี บทบาทด้านการเมืองในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นของ ตระกูลตัณฑัยย์ และตระกูลผู้มีฐานะดีของจังหวัดภูเก็ต เมื่อมี การพยายามของขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) ซึ่งเป็น คนในกลุ่มเพื่อจะยกระดับไปสู่การเข้าร่วมในการเมืองระดับ ประเทศผ่านการสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็ถือ ได้ว่า สอดคล้องกับฐานทางการเมืองในระดับท้องถิ่น หรือ เทศบาล 4.3.1.4.3 รปู แบบ/กลวธิ กี ารหาเสยี ง การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2491 ในจังหวัดภูเก็ต ไม่มีการแข่งขันกันหาเสียงมากนัก เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นคนเด่นอย่างนายชิต เวชประสิทธิ์ ไม่ได้อยู่เกาะติดฐานเสียงในพื้นที่และไม่ได้ลงแข่งขัน เนื่องจาก นายชิตใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจด้านอื่นร่วมกับกลุ่มทาง การเมืองของท่าน เช่น การร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการเสรีไทย และกลุ่มของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ทำให้การหาเสียงไม่มีการ แข่งขันรุนแรง รูปแบบที่ใช้ในการหาเสียงก็เป็นวิธีการทั่วไป เช่น การปิดป้ายประกาศ เป็นต้น 4.3.1.5 คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ ได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 2 ครั้ง โดยไม่สังกัดพรรคใด ครั้งที่ 1 ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 ถึง 116

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 25 กุมภาพันธ์ 2500 และครั้งที่ 2 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 15 ธันวาคม 2500 ถึง 20 ตุลาคม 2501 4.3.1.5.1 ภูมิหลังของคุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ คุณหญิงแร่มเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2454 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2551 รวมอายุ 97 ปี ภูมิลำเนาของคุณหญิงแร่ม ท่านเกิดที่หลังวังบูรพา กรุงเทพฯ ในด้านการศึกษา คุณหญิงแร่มเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียน เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ย่านถนนสีลม กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโรงเรียน ฝรั่งที่ผู้มีฐานะดีมักจะส่งบุตรสาวไปเรียนเพื่อให้ได้ความรู้ภาษา ต่างประเทศ ขณะที่เรียนคุณหญิงแร่มมีเพื่อนร่วมชั้นเรียน หลายท่าน ที่ต่อมาได้มีบทบาทสำคัญทางสังคม เช่น ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์, คุณหญิงละไม หงส์ยนต์, คุณเจริญ ชูพันธุ์ และหม่อมหลวงต่อ กฤดากร เป็นต้น (นิตยสารสารคดี, ฉ. 269, กรกฎาคม 2550) เมื่อเรียนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 8 คุณหญิงแร่มได้สมัครเข้าเรียนวิชากฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรม จน พ.ศ. 2473 จึงสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต สตรีคนแรกของไทย จากนั้นท่านได้ทำงานกับสำนักงาน ทนายความชาวอังกฤษชื่อ Tilleke and Gibbins เป็นเวลา 9 ปี จึงได้แต่งงานกับนายอุดม บุณยประสพ ซึ่งเคยเป็นเพื่อน นกั เรยี นกฎหมายรนุ่ เดยี วกนั ใน พ.ศ. 2477 (ประยงค์ อนนั ทวงศ,์ ม.ป.ป.) สำหรับนายอุดมผู้เป็นสามีของคุณหญิงแร่ม ได้รับราชการจนได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และต้องย้ายไปอยู่ 117

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต หลายที่ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล (1 เมษายน 2487 ถึง 12 กันยายน 2487), ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (มิถุนายน 2488 ถึง มกราคม 2489), ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (2489-2489), ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง (พ.ศ. 2489 ถึง 2492), ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 2492-2494), ผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ (30 มกราคม 2494 ถึง 30 มิถุนายน 2495)และ ผู้ว่าราชการภาค 9 สงขลา (พ.ศ. 2497 ถึง 2499) (รวมรวมจาก ข้อมลู ออนไลน์ของสำนักงานจังหวัดต่างๆ, 10 ธันวาคม 2556) ด้านประสบการณ์การทำงานของคุณหญิง แร่ม ก่อนที่ท่านจะมาลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร หลังจากแต่งงานแล้วคุณหญิงแร่มได้ลาออกจากงาน เพื่อติดตามสามีระยะหนึ่ง จน พ.ศ. 2483 ท่านจึงเริ่มทำงาน อีกครั้งหนึ่งที่สำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเป็น ข้าราชการสังกัดกระทรวงการคลังในตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย และได้เป็นหัวหน้ากองกฎหมาย และหัวหน้ากองกลาง ขณะเดียวกันก็เป็นทนายความ และที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานทนายความนิติกรณ์ และสำนักงานทนายความแร่ม และเพื่อนไปด้วย ในด้านธุรกิจส่วนตัวคุณหญิงแร่มยังเข้าหุ้น กับเพื่อนๆ เป็นเจ้าของโรงแรมวังใต้ ย่านบางลำพู กรุงเทพฯ โดยเริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2494 ต่อมาเพื่อนๆ ได้ถอนหุ้นหมด คุณหญิงแร่มจึงเป็นเจ้าของโรงแรมวังใต้เพียงคนเดียว การเข้าสู่การเมืองของคุณหญิงแร่ม เกิดขึ้น เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความสนใจการเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2473 คุณหญิงแร่มได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญ 118

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว อันมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ (จิตร ณ สงขลา) เป็นประธานกรรมาธิการ ต่อมาใน พ.ศ. 2489 คุณหญิงแร่มได้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา และเริ่มลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน พ.ศ. 2495 โดยม ี คู่แข่งที่สำคัญ คือ นายชิต เวชประสิทธิ์ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ต่อมาในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 คุณหญิงแร่มได้ลงสมัครรับการเลือกตั้งอีก นายชิต เวชประสิทธิ์ ก็ได้ลงแข่งขันด้วย แต่ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร คือ นายสตางค์ พุทธรักษา จากพรรค ประชาธิปัตย์ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ในการเลือกตงั้ คร้ังต่อมา ในวนั ที่ 15 ธนั วาคม 2500 คุณหญิงแร่มได้ลงสมัครรับการเลือกตั้งอีก พร้อมทั้ง นายชิต เวชประสิทธิ์ ที่ได้ลงแข่งขันด้วยเช่นเคย ผลการเลือกตั้ง คือ คุณหญิงแร่มได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณหญิงแร่ม กับนายชิตได้ลงรับสมัครครั้งต่อมาในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ซึ่งนายชิตเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง หลังจากนั้นคุณหญิงแร่มก็ไม่ ได้ลงสมัครรับการเลือกตั้งอีก แต่ท่านก็ยังได้รับการแต่งตั้ง เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่เสมอ 119

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 4.3.1.5.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ คณุ หญิงแรม่ คุณหญิงแร่มมีฐานเสียงและเครือข่าย ทางการเมืองแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ ประชาชนในพื้นที่ ครอบครัวและเครือญาติ บุคคลใกล้ชิด กลุ่มผลประโยชน์ และ พรรคการเมือง ดังนี้ 1) ประชาชนในพ้ืนท่ี คุณหญิงแร่มเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชาวจังหวัดภูเก็ตให้ความรัก เนื่องจากการวางตัวที่เป็นกันเอง แม้กล่าวได้ว่า โดยพื้นฐาน แล้วท่านเป็นคนชั้นสูง แต่ท่านก็มีความนอบน้อมถ่อมตน มีบุคลิกติดดินเข้ากับคนทุกระดับได้ง่าย โดยเฉพาะคนทั่วไป (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เช่น คุณหญิงแร่ม จะเดินด้วยเท้าไปหาเสียงกับชาวบ้านที่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ใน ทุ่งนา และพูดคุยสนทนากับชาวบ้านอย่างสนิทสนม ทำให้ท่าน เป็นที่รักของชาวบ้าน 2) ครอบครัวและเครือญาติ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ มีนามสกุลเดิมว่า พรหโมบล ท่านสืบ เชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็นผู้ปกครองมาหลายชั่วคน และมี เครือข่ายญาติพี่น้องที่มีบทบาทในสังคมจำนวนมาก คุณหญิง แร่มเป็นธิดาของพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นต้นตระกูล พรหโมบล และนางพร้อม อินธำรงค์ คุณหญิงแร่มมีพี่น้อง 19 คน พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) บิดาของ คุณหญิงแร่มสืบเชื้อสายโดยตรงจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ 120

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต โดยบิดาของท่านชื่อ นายขำ เป็นบุตรของเจ้าหนูจีน ธิดาลำดับ ที่ 18 ในจำนวน 23 คน ของเจ้าอนุวงศ์ นอกจากนี้ยังมีผู้สืบ เชื้อสายเจ้าอนุวงศ์ที่สำคัญอีกหลายคน เช่น เจ้าคลี่ บุตรคนที่ 7 ของเจ้าอนุวงศ์ เป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาดวงคำ ในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และ เจ้าเสือ บุตร คนท่ี 9 ของเจา้ อนวุ งศ์ เปน็ บดิ าของเจา้ พรหมเทวานเุ คราะหว์ งศ์ เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี เป็นต้น (พระยาบุเรศผดุงกิจ, 2556) จนถึงเครือญาติในรุ่นเดียวกับคุณหญิงแร่ม ก็ยังมีหลายคนที่มีบทบาทในสังคมจนถึงปัจจุบัน เช่น น้องสาว คนหนึ่งของคุณหญิงแร่ม ชื่อคุณรัมภา พรหโมบล เป็นมารดา ของนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คุณหญิงแร่มยังเป็นมารดาของคุณอรนุช โอสถานนท์ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยรัฐบาลของพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นต้น 3) บุคคลใกล้ชิด คุณหญิงแร่มยังสร้าง ความสัมพันธ์กับคนที่ใกล้ชิดกับท่านโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ท่านมีความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด เช่น ท่านได้ร่วมเป็น ผู้ก่อตั้งสมาคมโรงแรม เป็นนายกสมาคมโรงแรมไทย ร่วมเป็น ผู้ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็น นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย เป็นกรรมการบริหาร สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ เป็น ประธานกรรมการอำนวยการของกลุ่มสมาชิกสมทบสภาสตรี 121

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต แห่งชาติฯ ในการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม เป็นลูกเสือวูดแบดจ์ เป็นลูกเสือชาวบ้าน และเป็นสมาชิกอาสารักษาดินแดน (ประยงค์ อนันทวงศ์, ม.ป.ป.) เป็นต้น นอกจากนี้เครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคคล ใกล้ชิดของคุณหญิงแร่มอาจเชื่อมโยงผ่านทางสามี คือ นายอุดม บุณยประสพ ผู้เป็นข้าราชการระดับสูง นายอุดม เคยมีบทบาทหนุนช่วยขบวนการเสรีไทย เช่น ในช่วงปลาย สงครามโลกครั้งที่สอง ที่ขบวนการเสรีไทยเตรียมโจมตีญี่ปุ่น เป็นช่วงเดียวกับที่นายอุดมดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงประจำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนั้นนายอุดมได้ร่วมมือกับ เรืออากาศเอก สวัสดิ์ ศรีศุข สมาชิกขบวนการเสรีไทย สายอังกฤษที่ได้กระโดดร่มลงที่หลังเขาหัวหิน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2488 เพื่อปฏิบัติการที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับพันตำรวจตรี อวบ บุญยชลิโต ผู้กำกับการตำรวจภูธร และนาวาโท น้อย ศุกรจันท์ ผู้บังคับกองบินน้อยที่ 5 ภารกิจ ของคนกลุ่มนี้ คือ การเตรียมความพร้อมที่จะปลดอาวุธทหาร ญี่ปุ่น และให้ความคุ้มครองเชลยศึกในท้องที่ได้ทุกขณะ (ฉันทนา, 2498/2544, น. 204)8 จึงอาจเป็นช่องทางให้คุณหญิง แร่มสามารถประสานงานกับอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทย หรือ อย่างน้อยก็ไม่ทำให้เป็นศัตรูทางการเมืองกันเนื่องจากเคยมี ความสัมพันธ์ต่อกันมาก่อน 4) กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ ที่ให้การสนับสนุนคุณหญิงแร่ม คือกลุ่มทุนในภูเก็ตที่มีอยู่หลาย 8 http://www.pridiinstitute.com 122

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต กลุ่ม เช่น กลุ่มตระกูลงานทวี กลุ่มนายเจียร วานิช โดยเฉพาะ ตระกูล หงส์หยก ให้การสนับสนุนท่านอย่างเต็มที่ (นิตยสาร ผู้จัดการ, ธันวาคม 2542) คุณหญิงแร่มใกล้ชิดกับตระกูล หงส์หยกมาก ดังที่บุญศรี หงษ์หยก ภรรยาของนายวิรัช หงษ์หยก อดีตนายกเทศมนตรีเมืองภูเก็ต ระหว่างวันที่ 27 ตลุ าคม 2493 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2496 ซึ่งเป็นช่วงที่คุณหญิงแร่ม ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เคยให้สัมภาษณ์ว่า “ครั้งหนึ่ง พี่แร่ม มาร่วมงานวันเกิดตอนดิฉันอายุ ครบ 72 พี่แร่มกับดิฉันรักกัน ตอนท่านมาเป็นผู้แทนที่นี่ ท่านก็มาที่บ้านนี้บ่อยๆ พวกหัวคะแนนก็มา ท่านบอกว่า ดิฉันมีบุญคุณ แต่ดิฉันบอกว่า ห้ามพูด ในเมื่อเรารักใคร เราก็ต้องการทำให้ ไม่ได้ถือเป็นเรื่องบุญคุณ” (พิชามญชุ์, 2556) คุณหญิงแร่มจึงเป็นผู้ที่มีเครือข่ายความ สัมพันธ์กับคนระดับสูง หรือคหบดีอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก พื้นฐานของคุณหญิงแร่มเป็นบุคคลในแวดวงคนชั้นสูงอยู่แล้ว ประกอบกับท่านเคยทำงานสำคัญให้กับราชการโดยเฉพาะ ในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ท่านยังเป็นผู้ที่มี ความสามารถหลายด้าน คุณหญิงแร่มจึงได้รับการเลือกตั้ง โดยกล่าวกันว่า ท่านเป็นตัวแทนของคนที่มาจากระดับสูง เป็นด้านหลัก ซึ่งอาจสังเกตได้จากการที่ในช่วงที่คุณหญิงแร่ม ไม่ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ท่าน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง โดยตลอด (ประยงค์ อนันทวงศ์, ม.ป.ป.) คือ 123

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ไดร้ ับการแตง่ ตงั้ เป็นสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร ประเภทที่ 2 (แทน) ในช่วง 26 สิงหาคม 2500 ถึง 16 กันยายน 2500 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ชุดที่ 2 และเป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วง 23 ธันวาคม 2516 ถึง 26 มกราคม 2518 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสำนัก นายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาฝ่ายนิติบัญญัติของนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (แทน) ในช่วง 9 เมษายน 2519 ถึง 6 ตุลาคม 2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นายกรัฐมนตรี ในช่วง 15 พฤศจิกายน 2520 ถึง 21 เมษายน 2522 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในช่วง 22 เมษายน 2530 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2534 5) พรรคการเมอื ง แมก้ ารลงสมคั รรบั เลอื กตง้ั คุณหญิงแร่มจะไม่สังกัดพรรคการเมืองใด แต่ข้อมูลบางแหล่ง กล่าวว่า ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2495 พรรค มนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้หนุนคุณหญิงแร่ม 124

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ในการลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต (นิตยสารผู้จัดการ, ธันวาคม 2542) 4.3.1.5.3 รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของ คุณหญงิ แรม่ คุณหญิงแร่มมีรูปแบบและกลวิธีการหาเสียง เด่นๆ แบ่งได้เป็น 4 วิธีการ คือ การทำใบประกาศและแผ่นป้าย โฆษณา การร่วมงานบุญ การชูภาพลักษณ์ของผู้สมัคร และ การลงพื้นที่หาเสียง (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557 และ ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ดังนี้ 1) การทำใบประกาศและแผน่ ปา้ ยโฆษณา การทำใบประกาศและแผ่นป้ายโฆษณาเป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไป ของผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรู้จัก และ ชักชวนให้เลือกตนเอง 2) การร่วมงานบุญ คุณหญิงแร่มสนใจ เข้าร่วมงานบุญของชุมชน รวมทั้งการก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือ บูรณะศาสนสถาน เช่น การก่อสร้างอาคารที่วัดพระนางสร้าง อำเภอถลาง ซึ่งทำให้ชาวบ้านบริเวณนั้นจดจำคุณหญิงแร่ม ที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างดังกล่าวได้ดี 3) การชูภาพลักษณ์ของผู้สมัคร คุณหญิง แร่มไม่ได้ชูนโยบายในการหาเสียงเป็นหลัก แต่ท่านมีข้อเด่น ในเรื่องกิริยามารยาทท่าทีที่อ่อนน้อมต่อชาวบ้านทั่วไปแม้จะมา จากคนชั้นสูง เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วคุณหญิงแร่มเป็น คนชั้นสูง ท่านจึงเน้นการใช้กลวิธีหาเสียงนี้กับชาวบ้านทั่วไป 125

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต โดยการชูภาพของตัวเองเป็นสำคัญ นั่นคือ ภาพลักษณ์ของ ความเป็นคนเรียบง่าย ติดดิน ไม่ถือตัว ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง จนทำให้ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ที่ลงคะแนนเสียงจำนวนมากเกิด ความรักความเอ็นดู ในส่วนของชาวบ้านก็เห็นว่า เป็นความ ภูมิใจของผู้ที่พบเห็นที่มีผู้ที่อยู่ระดับสูงกว่าตนแต่ก็ลงมา คลุกคลีด้วยอย่างเป็นกันเอง และลงคะแนนเสียงให้กับท่าน ในที่สุด 4) การลงพื้นที่หาเสียง การพยายาม ชูภาพลักษณ์ส่วนตัวของคุณหญิงแร่ม ท่านได้ทำผ่านการลง พื้นที่เพื่อพบปะกับชาวบ้าน ชาวบ้านที่เคยพบกับคุณหญิงแร่ม ในช่วงที่ท่านลงพื้นที่เพื่อหาเสียงยังคงจำได้ดีถึงภาพเหล่านั้น โดยเห็นว่า จุดเด่นของคุณหญิงแร่ม คือ คุณหญิงแร่มสามารถ แสดงตัวได้อย่างเหมาะสม สมบทบาท นั่นคือ เป็นภาพลักษณ์ ของผู้ที่เป็นถึงภรรยาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่สามารถ คลุกคลีกับชาวบ้านทั่วไปได้อย่างสนิทสนม เช่น ถ้ามีคนรวม กลุ่มกันช่วยเกี่ยวข้าวกันอยู่กลางทุ่งนา คุณหญิงแร่มจะซื้อ แตงโมแล้วเดินอุ้มแตงโมฝ่าไปให้ตามคันนาจนถึงกลางทุ่ง บางทีท่านก็ซวนเซล้มลุกคลุกคลาน เมื่อชาวบ้านเห็นก็นำไป เล่าลือต่อๆ กันอย่างกว้างขวางและเล่าอยู่นานเป็นปี (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ดังนั้นเวลาที่ท่านไปหา ชาวบ้านที่ไหนก็จะกลายเป็นการก่อกระแสให้ชาวบ้านนำไป เล่าลือ ชาวบ้านเล่าว่า มันเป็นเหมือนนิยายที่มีผู้ดีลงมาจาก สวรรค์ ชาวบ้านทั่วไปก็ถือว่า เป็นมงคลหรือเป็นสิ่งดีที่มี “คุณนาย” มาเยี่ยมถึงบ้าน ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า “คุณนายแร่ม” มาจนถึงปัจจุบันนี้ (พิเชษฐ์ ปานดำ, สัมภาษณ์, 126

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 17 มกราคม 2557 และ รัตนาภรณ์ แจ้งใจดี, สัมภาษณ์, 17 มกราคม 2557) นับเป็นกลวิธีที่เด่นชัดที่สุดของท่านที่ได้ผลดี มากจนทำให้ชาวบ้านยังจดจำได้ดี โดยสรุป บทบาทของคุณหญิงแร่ม แม้ท่าน จะเป็นภาพแทนของกลุ่มผลประโยชน์เดิมเป็นด้านหลัก แต่ท่าน ก็ยังมีส่วนที่สัมพันธ์อยู่กับกลุ่มอำนาจใหม่ที่เกิดขึ้นหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยเช่นกัน จึงพบข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ดังที่เกษียร เตชะพีระ (2556) เสนอว่า “คุณหญิงแร่ม เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มของนายปรีดี พนมยงค์ มาโดยตลอด อาจารย์ปรีดีใช้ให้ทำงานต่างๆ หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว และมีบทบาท ต่อเนื่องในสมัยเสรีไทย จนกระทั่งก่อน 6 ตุลา 2519 คุณหญิงแร่มท่านก็ยังเป็นวุฒิสภาอยู่ด้วย ท่านก็โดน กล่าวหาเหมือนกับคนจำนวนมากในสมัยนั้น ถูกหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง เป็นนักสังคมนิยมบ้าง” คุณหญิงแร่มยังได้เขียนถึงความคิดของ ตัวเองว่า “ถ้าจะถามความรู้สึกว่า เราเดือดร้อนอะไรหรือ ในการที่เราอยู่ในปกครองตามระบอบสมบูรณาญา- สิทธิราชย์ เราจะตอบทันทีว่า เรารักในหลวง เราไม่เคย เดือดร้อนอะไรเลย แต่คำว่า ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมี ราษฎรมีสิทธิออกเสียงด้วยได้นั้นเป็นความรู้สึกที่พูดไม่ถูก 127

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต เรารู้สึกกระหยิ่มยิ้มยิ่งขึ้นมาทันทีว่า เรามีส่วนรับผิดชอบ ในชาติของเรา แต่เรายังรักในหลวงของเราไม่เสื่อมคลาย” (แร่ม พรหโมบล บุณยประสพ, 2527) ดังนั้น แม้คุณหญิงแร่มจะใกล้ชิดกับกลุ่ม ชนชั้นสูงและกลุ่มอำนาจเดิมเป็นหลัก แต่ท่านก็มีสายสัมพันธ์ ทางการเมืองกับกลุ่มคนต่างๆ ได้ทุกฝ่าย ท่านจึงเป็นภาพ ตัวแทนอย่างดีของนักการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง ที่มีความขัดแย้งอยู่ในตัว สอดคล้องกับสภาพทาง การเมืองในภาพรวมที่มีการพยายามแข่งขันทางอำนาจของฝ่าย ต่าง ๆ หลัง พ.ศ. 2475 อย่างน่าสนใจยิ่ง 4.3.1.6 นายสตางค์ พุทธรักษา นายสตางค์ พุทธรักษา ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 1 ครั้ง โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ถึง 16 กันยายน 2500 4.3.1.6.1 ภูมหิ ลังของนายสตางค์ พทุ ธรักษา นายสตางค์เป็นชาวจังหวัดภูเก็ตในครอบครัว ที่มีฐานะปานกลางคนหนึ่ง ท่านเป็นคนขวนขวายที่จะยกระดับ ชีวิตของตนเองคนหนึ่ง ในขณะนั้นชาวภูเก็ตเริ่มตื่นตัวเรื่อง การศึกษาเล่าเรียนกันมากขึ้น การศึกษาที่ได้รับความนิยมมาก อย่างหนึ่งในช่วงนั้น คือ วิชาการบัญชี นายสตางค์ก็ได้พยายาม จนสามารถเรียนจบด้านการบัญชีมาจากปีนัง ระดับการบัญชี เบื้องต้น ซึ่งต้องเรียนด้วยภาษาอังกฤษ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านก็กลับมาเปิดโรงเรียนสอนบัญชี พร้อมกันนั้นนายสตางค์ 128

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ก็ได้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีด้วย (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 นายสตางค์ก็ลงสมัครรับการเลือกตั้งสังกัดพรรคประชา- ธิปัตย์ โดยมีผู้ลงสมัครอื่นที่สำคัญ คือ นายชิต เวชประสิทธิ์ และคุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ ผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรครง้ั นน้ั คอื นายสตางค์ พทุ ธรกั ษา โดยนายสตางค์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงครั้งนี้ครั้งเดียว เท่านั้น 4.3.1.6.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ นายสตางค ์ นายสตางค์มีฐานเสียง และเครือข่ายทาง การเมืองที่สำคัญแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เครือข่ายนักการบัญชี และกลุ่มนายทุน ดังนี้ 1) เครอื ขา่ ยนกั การบญั ชี ในชว่ ง พ.ศ. 2500 ที่กิจการเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ตยังคึกคัก และกิจการค้าธุรกิจ ขยายตัวอย่างมาก ทำให้มีนักการบัญชีจำนวนมาก นักบัญชี เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับนายสตางค์ เนื่องจากเมื่อท่านจบ การศึกษาจากปีนัง นายสตางค์ก็กลับมาเปิดโรงเรียนสอน วิชาการบัญชีขึ้นที่ภูเก็ต ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่เป็นนักการบัญชี จำนวนมาก กลา่ วไดว้ ่า นกั การบญั ชี หรือสมุห์บญั ชี แทบทุกคน ในจังหวัดภูเก็ตเป็นลูกศิษย์ของนายสตางค์ ในขณะนั้น นักการบัญชี หรือสมุห์บัญชีเหล่านี้ จะเป็นผู้มีบทบาทในภูเก็ต อย่างมาก เนื่องจากคนเหล่านี้จะกระจายกันทำงานอยู่ตาม บริษัทต่าง ๆ ในตำแหน่งที่สามารถควบคุมข้อมูลด้านบัญชี 129

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต อันเป็นการกำความลับสำคัญของบริษัทไว้ ทำให้นายเหมือง หรือเจ้าของกิจการมีความเกรงใจนักการบัญชีเหล่านี้ ขณะเดียวกันในแวดวงวิชาชีพของนักการบัญชีก็มีความเคารพ เชื่อถือต่อนายสตางค์ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) นายสตางค์จึงเปรียบเหมือนหัวหน้าของคนกลุ่มนี้ 2) กลุ่มนายทุน การที่นายสตางค์สามารถ เป็นทั้งผู้ทำบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี และยังสามารถสื่อสารด้วย ภาษาอังกฤษได้อย่างดีนับว่าสอดคล้องกับกิจการทำเหมืองแร่ และการขยายตัวของธุรกิจการค้าของนายทุนในจังหวัดภูเก็ตที่ ต้องติดต่อกับต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการริเริ่มใหม่ ๆ ด้านการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ ด้วยการที่ทักษะทางบัญชียังมีความจำเป็นต่อการ ทำธุรกิจทั้งด้านที่ถูกต้องตามกฎหมายและการหลีกเลี่ยง กฎหมายโดยการตบแต่งบัญชีเพื่อประโยชน์ของเจ้าของกิจการ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เช่น การทำบัญชี 2 เล่ม เพื่อเลี่ยงการเสียภาษี เป็นต้น ทำให้นายสตางค์มีความ โดดเด่นเป็นที่เชื่อถือและเกรงใจของบรรดานายทุนเจ้าของธุรกิจ ขึ้นมา ทั้งยังถือได้ว่า นายสตางค์ก็สามารถเป็นตัวแทนของ กลุ่มนายทุนได้เนื่องจากมีประโยชน์ร่วมกัน 4.3.1.6.3 รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของ นายสตางค ์ ขณะนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยังคงมีบทบาท ไม่มากนักโดยเฉพาะในระดับพื้นที่อย่างจังหวัดภูเก็ต การที่ นายสตางค์ได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้มาจากการที่เป็น 130

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นหลัก แต่มาจากข้อเด่นหรือ คุณลักษณะส่วนตัวของนายสตางค์เองที่ทำให้เกิดฐานเสียงหรือ ผู้สนับสนุนดังกล่าว ซึ่งก็นับว่า ยังเป็นฐานที่ไม่กว้างขวางนัก เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างนายชิต เวชประสิทธิ์ หรือ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล อยา่ งไรกต็ าม แตม่ กี ารกลา่ วกนั วา่ เหตสุ ำคญั ที่ทำให้นายสตางค์ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ เนื่องจากกลยุทธ์ ในการหาเสียงเพียงสามวันก่อนเลือกตั้งของทีมงานนายสตางค์ โดยในระยะสามวันสดุ ทา้ ยของการหาเสยี งกอ่ นถึงวนั หยอ่ นบตั ร ได้มีการสร้างข่าวลือโดยการทำเอกสารแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน ในตอนหัวรุ่ง เอกสารดังกล่าวมีเนื้อหาหนึ่งหน้ากระดาษ โดยเปรียบเทียบแนวคิดทางการเมืองเชิงเปรียบออกเป็น 3 แนว พิมพ์ลงใน 3 ช่อง คือ แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดสังคมนิยม และ แนวคิดคอมมิวนิสต์ ซึ่งโดยเนื้อหาแล้วจะส่งผลเสียต่อคู่แข่ง ของนายสตางค์ โดยเฉพาะนายชิต เวชประสิทธิ์ ซึ่งมีแนวคิดไป ทางสังคมนิยมมากที่สุด และเนื่องจากมีเวลาเพียงสามวันหลัง จากมีใบปลิวโจมตีออกไปทำให้คู่แข่งของนายสตางค์ โดยเฉพาะนายชติ ไมส่ ามารถแกไ้ ขไดท้ นั (สกลุ ณ นคร, สมั ภาษณ,์ 16 มกราคม 2557) ชาวบ้านจึงเทคะแนนให้นายสตางค์จนได้รับ การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด นายสตางค์อยู่ในตำแหน่งเพียง 6 เดือน 21 วัน สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ก็สิ้นสุด ลง เนื่องจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการ ปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 หลังจากนั้นก็ไม่มี 131

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต การเลือกตั้งนายถึง 12 ปี และนายสตางค์ก็ไม่ได้ลงสมัครรับ การเลือกตั้งอีก 4.3.1.7 นายอมรศักด์ิ องค์สรณะคม นายอมรศักดิ์ องค์สรณะคม ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 1 ครั้ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 26 มกราคม 2518 ถึง 6 ตุลาคม 2519 4.3.1.7.1 ภมู หิ ลังของนายอมรศกั ดิ์ องค์สรณะคม นายอมรศักดิ์เป็นชาวจังหวัดภูเก็ต ก่อนลง สมัครรับการเลือกตั้งท่านเป็นนักธุรกิจที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย มากนัก และดำเนินชีวิตไปตามวิถีทางแห่งความสัมพันธ์แบบ ชาวภูเก็ตที่ผู้คนมักไม่ได้คำนึงถึงแตกต่างทางฐานะกันนัก ดังที่เห็นได้ตามร้านกาแฟที่จะมีนายหัวกับคนจนมักมานั่งดื่ม กาแฟและสนทนาในร้านเดียวกันเป็นปกติ (ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) นายอมรศักดิ์เป็นคนเข้ากับคน ทั่วไปได้ดี แต่ก็ไม่ได้มีความโดดเด่นทางด้านการเมืองมากนัก 4.3.1.7.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ นายอมรศักดิ์ กลุ่มสำคัญที่สนับสนุนนายอมรศักดิ์ คือ นายทุน โดยท่านได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มตันติวิท (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ในขณะที่กลุ่มตันติวิท โดยเฉพาะนายจินไล่ ตันติวิท สนิทสนมกับหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เช่น เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์เดินทางมาว่าความที่ ภูเก็ตก็มักจะมาพักกับบ้านพักส่วนตัวของนายจินไล่ ซึ่งอยู่ด้าน 132

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต หลังโรงเรียนปลูกปัญญา บ้านพักหลังดังกล่าวนายจินไล่มักใช้ เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงหรือรับรองแขก นายจินไล่มีนิสัย นักเลง ซึ่งมีความยุติธรรมในการตัดสินใจเรื่องสำคัญต่าง ๆ และมองการณ์ไกล เช่น ท่านได้สนับสนุนให้นายบันลือ ตันตวิท ซึ่งเป็นหลานไปเรียนต่างประเทศ ต่อมานายบันลือก็กลับมา และมบี ทบาทสำคญั ทง้ั ในครอบครวั และในสงั คม การทน่ี ายจนิ ไล่ หนุนนายอมรศักดิ์ทำให้ให้นายอมรศักดิ์ได้ลงรับสมัครการ เลือกตั้งในนามของพรรคประชาธิปัตย์ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ และเป็นแรงหนุนอย่างหนึ่งให้นายอมรศักดิ์ได้รับการเลือกตั้ง 4.3.1.7.3 รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของ นายอมรศกั ด ์ิ น า ย อ ม ร ศ ั ก ด ิ ์ เ ข ้ า ก ั บ ค น ท ั ่ ว ไ ป ไ ด ้ ด ี คุณลักษณะของท่านเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้นายอมรศักดิ์ ได้รับคะแนนเสียงมากกว่า จากการที่ท่านสังกัดพรรคประชา- ธิปัตย์ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ได้อยู่ในใจคนภูเก็ต รูปแบบการ หาเสียงของนายอมรศักดิ์ก็ใช้วิธีการทั่วไป (วินิจ หงส์อติกุล, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) เช่น การทำแผ่นปลิว ใบประกาศ ป้ายโฆษณา และการปราศรัย โดยมีนายทุนแห่งตระกูล ตันติวิทให้การสนับสนุน เงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้นาย อมรศักด์ได้รับการเลือกตั้งครั้งนี้ได้แก่ การที่ผู้สมัครที่โดดเด่น คนอื่นแข่งขันกันเอง คือ นายชิต เวชประสิทธิ์ กับนายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์ ซึ่งทั้งคู่มีแนวคิดสังคมนิยมเหมือนกัน และมี ฐานคะแนนซ้อนทับกัน (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 133

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 2557) จึงทำให้คะแนนของทั้งสองท่านถูกแบ่ง หรือเสียงแตก ทำให้แต่ละท่านมีคะแนนเสียงที่ได้รับเลือกน้อยลง เป็นเหตุให้ นายอมรศักดิ์สามารถแทรกเข้ามาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรได้ 4.3.1.8 นายเอี่ยมศักด์ิ หลิมสมบูรณ์ นายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตจำนวน 1 ครั้ง สังกัด พรรคพลังใหม่ ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 4 เมษายน 2519 ถึง 6 ตุลาคม 2519 4.3.1.8.1 ภูมิหลังของนายเอี่ยมศักด์ิ หลมิ สมบูรณ์ นายเอี่ยมศักดิ์เป็นชาวภูเก็ตโดยกำเนิด ครอบครัวมีฐานะปานกลาง ท่านได้ถูกส่งไปเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2510 โดยศึกษาทางด้านนิติศาสตร ์ จนสำเร็จการศึกษา และได้ประกอบอาชีพเป็นทนายความ ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ นายเอี่ยมศักดิ์เป็นนักศึกษาฝ่าย ก้าวหน้าที่มีแนวคิดแบบสังคมนิยม (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ซึ่งในขณะนั้นกำลังได้รับความนิยมในหมู่คน หนุ่มสาวและมีการเคลื่อนไหวผลักดันแนวคิดนี้อย่างกว้างขวาง ทั่วประเทศ แม้ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ นายเอี่ยมศักดิ์จะไม่ ได้พักอยู่ที่บ้านพูนโภคัยของนายชิต เวชประสิทธิ์ แต่ท่านก็มี ความใกล้ชิดกับนายชิตและทีมงาน รวมทั้งได้หนุนช่วยนายชิต ทางด้านการเมืองเนื่องจากมีแนวคิดสังคมนิยมเหมือนกัน ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 นายเอี่ยมศักดิ์ก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้ มาร่วมรณรงค์หาเสียงช่วยนายชิตที่จังหวัดภูเก็ต (สกุล ณ นคร, 134

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) จนนายชิตได้รับการเลือกตั้ง อุปนิสัยของนายเอี่ยมศักดิ์ ท่านเป็นคนจริงใจ เป็นตัวของตัวเองจนถูกวิจารณ์ว่า ค่อนไปทางเป็นวีรชนเอกชน ท่านมีจิตใจชอบช่วยเหลือคนจน ชาวบ้านเห็นว่า ท่านเป็น คนจริง เข้าถึงชาวบ้าน ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองในจังหวัด ภูเก็ตบางคนกล่าวว่า บุคลิกโดยรวมของนายเอี่ยมศักดิ์คล้าย กับนายเรวุฒิ จินดาพล (วินิจ หงส์อติกุล, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) จนตั้งข้อสังเกตกันว่า นายเอี่ยมศักดิ์อาจเป็น ต้นแบบทางการเมืองให้กับนายเรวุฒิในเวลาต่อมา นายเอี่ยมศักดิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 ขณะนั้นกลุ่ม คนที่มีแนวคิดสังคมนิยมได้ประชุมกันและมีมติจะส่งคนนายชิต เวชประสิทธิ์ ลงรับสมัครในสังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศ ไทย แต่นายเอี่ยมศักดิ์ไม่ยอมจึงฉีกมติของกลุ่มไปลงรับสมัคร โดยสังกัดพรรคพลังใหม่ (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) จึงกลายเป็นการแข่งขันกับนายชิตทั้งที่ถือได้ว่า เป็นกลุ่มเดียวกัน และนายเอี่ยมศักดิ์เคยเป็นผู้สนับสนุนนายชิต มาก่อน ฐานเสียงทางการเมืองของทั้งคู่ก็ทับซ้อนกัน โดยฐาน ของนายชิต คือ ชาวบ้านทั่วไป กลุ่มนายทุนน้อย กลุ่มเสมียน ลูกน้องเถ้าแก่ที่ต่อมาอาจมาทำเหมืองเองเป็นนายทุนน้อยตาม ประสบการณ์ดั้งเดิมแบบยุคเก่า (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ส่วนฐานของเอี่ยมศักดิ์ คือ สหภาพแรงงาน ผู้ใช้แรงงาน เสียงที่สนับสนุนนายชิตกับนายเอี่ยมศักดิ์จึงแตก จนไม่ได้รับการเลือกตั้งทั้งคู่ 135


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook