นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ชาวบ้านเชื่อถือว่า เป็นผู้มีผลงานซึ่งมีทั้งในระดับพื้นที่และ ระดับชาติ ผลงานเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการผลักดันงบประมาณ มาพัฒนาจังหวัดภูเก็ตในหลาย ๆ โครงการ ที่เป็นโครงการ ขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ตพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เช่น โครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงนิทรรศการนานาชาติ ภเู กต็ ทต่ี ำบลไมข้ าว อำเภอถลาง ดว้ ยงบประมาณ 2,600 ลา้ นบาท โรงยิมเนเซียม 4,000 ที่นั่ง การขยายสนามบินนานาชาติภูเก็ต ที่เกิดขึ้นในสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และอีกหลาย ๆ โครงการ นางอัญชลีเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ คือ - 13 กันยายน 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 1 (ยุบ สภา 19 พฤษภาคม 2538) - 5 ตุลาคม 2535 ผู้ช่วยเลขานุการนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ - 2 กรกฎาคม 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 2 (ยุบสภา 27 กันยายน 2539) - 15 สิงหาคม 2538 กรรมาธิการการคมนาคม - 15 สิงหาคม 2538 เลขานุการคณะกรรมาธิการ กิจการเยาวชน สตรีและผู้สงู อายุ 186
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต - 17 พฤศจิกายน 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภเู ก็ต พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 3 - 19 ธันวาคม 2539 กรรมาธิการการคมนาคม - 16 ธันวาคม 2540 กรรมาธิการการยุติธรรมและ สิทธิมนุษยชน (ลาออก) - 9 กุมภาพันธ์ 2542 กรรมาธิการการท่องเที่ยว - 9 กมุ ภาพนั ธ์ 2542 กรรมาธกิ ารการตา่ งประเทศ - 6 มกราคม 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ - 12 มถิ นุ ายน 2544 รองประธานคณะกรรมาธกิ าร การท่องเที่ยว - 14 มีนาคม 2547 ถึง 1 มีนาคม 2551 นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดภเู ก็ต - 5 มีนาคม 2548 กรรมการบริหารพรรคประชา- ธิปัตย์ - 15 กรกฎาคม 2551 เหรัญญิกพรรคประชา- ธิปัตย์ - 13 มกราคม 2552 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ) - 17 มีนาคม 2552 ผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรี และรัฐสภา (ปคร.) 187
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต - 12 มกราคม 2553 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝา่ ยการเมอื ง (แทนนายสธุ รรม ลม้ิ สวุ รรณเกษม) - 4 พฤษภาคม 2553 รองประธานกรรมการ ช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับ ผลกระทบจากการชุมนุม - 3 กรกฎาคม 2554 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภูเก็ต เขต 1 อำเภอเมืองภูเก็ต (ยกเว้นเทศบาล ตำบลรัษฎา และตำบลเกาะแก้ว) - พ.ศ. 2554 นายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ - พ.ศ. 2554 เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นางอัญชลีเคยถูกโจมตีอย่างหนักใน พ.ศ. 2537 ในสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐบาล ขณะนั้นนางอัญชลีเป็น เลขานุการของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากคดี ส.ป.ก. 4-01 โดยถูกกล่าว หาว่า ใช้อำนาจออกเอกสารสิทธิ์ให้กับพรรคพวกโดยมิชอบ รวมทั้งมอบให้แก่นายทศพร วานิช สามีของนางอัญชลี ส่งผล ให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจจนต้องยุบสภา (ดูรายละเอียดในส่วนของนายทศพร วานิช) 4.3.3.2 นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 2 ครั้ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย ์ ครั้งที่ 1 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 6 มกราคม 2544 ถึง 5 มกราคม 2548) และครั้งที่ 2 ดำรง ตำแหนง่ ในชว่ งวนั ท่ี 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2548 ถงึ 24 กมุ ภาพนั ธ์ 2549) 188
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 4.3.3.2.1 ภูมิหลังของนายสุวทิ ย์ เสง่ยี มกลุ นายสุวิทย์เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2501 ท่านเป็นชาวภูเก็ตโดยกำเนิด โดยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ ตำบล ตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ทางด้านการศึกษา นายสุวิทย์จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ใน พ.ศ. 2523 ต่อมาสำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโท สาขานโยบายสาธารณะและการ บริหารโครงการ (รัฐประศาสนศาสตร์) จากสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ ใน พ.ศ. 2538 ก่อนดำรงตำแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร นายสุวิทย์ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มาก่อน โดยตระกูลเสงี่ยมกุลเป็นตระกูลที่มีฐานะดีบนเกาะ ภูเก็ต มีกิจการที่เป็นทรัพย์สินรวม หรือกงสีของตระกูล คือ บรษิ ัท ก่หี นิ้ นอกจากนี้ ยงั มีธรุ กจิ ในเครอื ญาติ เช่น สวัสดลี ากนู โรงแรมบ้านรายา รีสอร์ต ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า นายสุวิทย์เริ่มเข้าสู่วงการเมืองท้องถิ่น โดยการสนับสนุนของร้อยโท ภูมิศักดิ์ หงส์หยก หัวหน้ากลุ่ม คนหนุ่มที่เป็นนายกเทศมนตรีนครภูเก็ตมายาวนาน นายสุวิทย์ เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองภูเก็ต 2 สมัยใน พ.ศ. 2538- 2543 และ พ.ศ. 2543-2544 สำหรับสมัยแรก คือ ช่วง พ.ศ. 2538-2543 นายสุวิทย์ได้เป็นประธานสภาเทศบาลเมืองภูเก็ต ด้วย ต่อมา นายสุวิทย์ขัดแย้งกับร้อยโท ภูมิศักดิ์ จึงแยกมาตั้งทีมกลุ่มสร้างสรรค์แข่งขันในการเลือกตั้งเทศบาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ สมาชิกไม่ได้รับการเลือกแทบยกทีม 189
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต (ฝนุ่ ตลบการเมอื งภเู กต็ จบั ตาการเมอื งพลกิ ขว้ั , 2556) เปน็ เหตใุ ห้ นายสุวิทย์หันมาร่วมมือกับนางอัญชลี วานิช เทพบุตร ลงสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต 1 ในนามพรรคประชาธิปัตย ์ คู่กับนางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ที่ลงสมัครเขตที่ 2 ในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 6 มกราคม 2544 จนได้ รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตครั้งแรก ของทั้งสองคน ในขณะที่นางอัญชลีได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ การเลือกตั้งในสมัยต่อมา ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 นายสุวิทย์กับนางสาวเฉลิมลักษณ์ก็ได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคู่กันอีกเป็นครั้งที่ 2 ในเขตเลือกตั้ง เดิม ขณะที่นางอัญชลีเปลี่ยนไปเล่นการเมืองระดับท้องถิ่น ในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.3.3.2.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ นายสุวทิ ย ์ นายสุวิทย์มีฐานเสียงและเครือข่ายทาง การเมืองที่สำคัญแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ครอบครัวและ เครือญาติ และพรรคการเมือง ดังนี้ 1) ครอบครัวและเครือญาติ บิดาของ นายสุวิทย์ ชื่อนายกี้หิ้น มารดา ชื่อนางตันสิวหั้ว หลังจากที่ นายสุวิทย์ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2549 แล้ว ญาติที่ให้การ สนับสนุนหลักเห็นว่า การลงเล่นการเมืองที่ผ่านมาทำให้ขัดแย้ง กับผู้อื่นได้ง่าย ทำให้ส่งผลลบต่อการทำธุรกิจ จึงต้องการให้ นายสุวิทย์วางมือทางการเมืองทั้งหมด เพื่อกลับไปดูแลกิจการ 190
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ขายเครื่องไฟฟ้าและรีสอร์ท (ฝุ่นตลบการเมืองภูเก็ต จับตา การเมืองพลิกขั้ว, 2556) ดังนั้น นายสุวิทย์จึงไม่ได้ลงรับสมัคร เลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 และหลังจากนั้น แต่ก็ยังมีเครือข่ายหัวคะแนนและฐานเสียง ในเขต 1 ที่สามารถหนุนช่วยผู้อื่นได้ 2) พรรคการเมือง แม้นายสุวิทย์จะเคยเป็น นักการเมืองท้องถิ่น คือ เป็นประธานสภาเทศบาลเมืองภูเก็ต แต่ท่านไม่มีฐานของชาวบ้านผู้สนับสนุนนัก ดังจะเห็นว่า เมื่อนายสุวิทย์รวมทีมลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งนายก- เทศมนตรีก็ไม่ได้รับเลือกแทบยกทีม แต่เมื่อนายสุวิทย์มาลง สมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชา- ธิปัตย์ ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนมาร่วมทีมกับนางอัญชลี โดยยอมรับ การนำของนางอัญชลีจึงทำให้นายสุวิทย์ได้รับเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง อันแสดงให้เห็นว่า การมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และยอมรับ การนำกลุ่มของนางอัญชลีจึงทำให้นายสุวิทย์ได้รับเลือกตั้ง แต่เนื่องจากนายสุวิทย์ไม่มีฐานการสนับสนุนจากชาวบ้าน จงึ ทำใหไ้ มม่ บี ทบาทตอ่ รองไดน้ กั ประกอบกบั ในชว่ งทน่ี ายสวุ ทิ ย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น พรรคประชาธิปัตย์เป็น ฝ่ายค้านตลอด ภายในพรรคก็มีการแบ่งกลุ่ม มีคลื่นใต้น้ำ มีแรงกดดันภายในมากมาย จนนายสุวิทย์แทบไม่มีตำแหน่ง หรือบทบาททางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ (ฝุ่นตลบการเมืองภเู ก็ต จับตาการเมืองพลิกขั้ว, 2556) 191
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 4.3.3.2.3 รปู แบบและกลวธิ กี ารหาเสยี งของนายสวุ ทิ ย ์ เมื่อนายสุวิทย์มาสังกัดกลุ่มของนางอัญชลี การหาเสียงของนายสุวิทย์ได้ทำร่วมกับการหาเสียงของ นางอัญชลีแทบทุกประการ ได้แก่ การใช้วิธีการหาเสียงทั่วไป การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การสร้างเครือข่ายชาวบ้าน ผู้สนับสนุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) การใช้วิธีการหาเสียงทั่วไป นายสุวิทย์ ซึ่งสังกัดอยู่ทีมผู้สมัครของนางอัญชลี มีการใช้วิธีการหาเสียง ทั่วไป เช่น การใช้แผ่นปลิว โปสเตอร์ การใช้ขบวนรถแห่ การเดินหาเสียงตามบ้านเรือน การร่วมงานบุญ งานศพ เป็นต้น 2) การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การจัดเวที ปราศรัยหาเสียงเป็นวิธีการสำคัญในการหาเสียงของนายสุวิทย์ ซึ่งเป็นการจัดเวทีเดียวกับทีมนางอัญชลี โดยจะมีบุคคลสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวภูเก็ต และมี ฝีปากในการปราศรัยอย่างคมคายจำนวนมากมาร่วมปราศรัย โดยการประกาศล่วงหน้าหลายวัน อาจจัดเวทีปราศรัยย่อย หลายครั้ง และมักจัดเวทีใหญ่ในวันที่ใกล้จะถึงวันเลือกตั้ง มักจะมีการกำหนดเนื้อหาหลักของการปราศรัยเน้นไปในทาง เดียวกัน มีการระดมผู้ฟังมาร่วมฟังคำปราศรัยจำนวนมาก เป็นการสร้างความตื่นตัวให้คนสนใจ และหันมาเลือกผู้สมัคร จากพรรคประชาธิปัตย์ 3) การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุน นายสุวิทย์ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้สมัครของนางอัญชลี ทำกิจกรรม การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุนร่วมกัน 192
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต นอกจากวิธีการหาเสียงทั้ง 3 วิธีของ นายสุวิทย์ ซึ่งเป็นไปตามกิจกรรมร่วมของกลุ่มนางอัญชลีแล้ว ยังมีกิจกรรมที่นางอัญชลีได้ทำแต่นายสุวิทย์ไม่ได้ทำ หรือทำได้ น้อยเมื่อเทียบกับบทบาทของนางอัญชลีอีก 2 วิธี คือ การสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระดับพื้นที่กับระดับชาติ และ การสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง ระดับพื้นที่กับระดับชาติ นายสุวิทย์มีฐานเสียงมาจากที่เคยเป็น นักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลเมืองภูเก็ตมาก่อน เป็นผู้ที่ม ี หัวคะแนนสนับสนุนเข้มแข็งมากพอสมควร แต่ถือว่า ยังเป็น ฐานที่ไม่กว้างนัก และเมื่อนายสุวิทย์มาสมัครเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรก็มีกลุ่มอื่นเข้าไปมีบทบาทในเทศบาลเมืองภูเก็ต แทน นายสุวิทย์จึงไม่สามารถเชื่อมระหว่างระดับพื้นที่กับ การเมืองระดับชาติได้มากนัก ส่วนการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่าง เด่นชัดนั้น ดังที่กล่าวแล้วว่า ช่วงที่นายสุวิทย์เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรนั้น พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน และมี การเมืองในพรรคหลายกลุ่ม ทำให้นายสุวิทย์ไม่มีตำแหน่ง สำคัญ ซึ่งมีผลให้มีผลงานไม่เด่นชัดไปด้วย ดังนั้นกล่าวได้ว่า โดยรวมแล้ว ผู้ที่ได้รับผลดี มากที่สุดจากกิจกรรมของทีมนางอัญชลี คือ นางอัญชลี ซึ่งเป็น หัวหน้ากลุ่มและลงสมัครอย่างต่อเนื่อง 193
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 4.3.3.3 นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 2 ครั้ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งที่ 1 ดำรงตำแหน่ง ในช่วงวันที่ 6 มกราคม 2544 ถึง 5 มกราคม 2548 และครั้งที่ 2 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2549) นอกจากนี้ นางสาวเฉลิมลักษณ์ยังได้รับการเลือกตั้ง ด้วยระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ด้วย 4.3.3.3.1 ภมู หิ ลงั ของนางสาวเฉลมิ ลกั ษณ์ เกบ็ ทรพั ย ์ นางสาวเฉลิมลักษณ์เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 ท่านเป็นชาวภูเก็ตโดยกำเนิด โดยมีภูมิลำเนา อยู่ที่ตำบลป่าตอง ด้านการศึกษา นางสาวเฉลิมลักษณ์สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท รัฐศาสตร- มหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาธิราช ก่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นางสาว เฉลิมลักษณ์เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลป่าตอง และ เทศมนตรีเทศบาลตำบลป่าตอง ต่อมาได้เริ่มสมัครสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในเขต 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการ เลือกตั้งในวันที่ 6 มกราคม 2544 พร้อมกับนายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล ที่สมัครในเขต 1 ขณะที่นางอัญชลีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 194
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ตามระบบบัญชีรายชื่อ กล่าวกันว่า นางสาวเฉลิมลักษณ ์ เป็นนักการเมืองสายนายบัญญัติ บรรทัดฐาน การเลือกตั้ง ครั้งต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 นางสาวเฉลิมลักษณ์กับ นายสุวิทย์ได้สมัครในเขตเลือกตั้งเดิม และได้เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรคู่กันอีกเป็นครั้งที่ 2 ขณะที่นางอัญชลีเปลี่ยนไป เล่นการเมืองระดับท้องถิ่นในตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด การเลือกตั้งครั้งต่อมา ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 จังหวัดภูเก็ตมีเขตเลือกตั้งเดียว มีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรได้ 2 คน นายสุวิทย์ได้ถอนตัวไม่ลงรับสมัคร ขณะที่ นางอัญชลียังดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พรรคประชาธิปัตย์ได้ปรับผู้เลือกตั้งในจังหวัดภูเก็ต โดยมี ผู้สมัครใหม่เข้ามา 2 คน คือ นายทศพร เทพบุตร สามีของ นางอัญชลี และนายเรวัต อารีรอบ แล้วดันนางสาวเฉลิมลักษณ์ ขึ้นสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งทั้ง สามคนได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด จนถึงการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 จังหวัดภูเก็ตได้แบ่งการเลือกตั้งเป็น 2 เขตอีกครั้งหนึ่ง นายทศพรได้ถอนตัวจากการเลือกตั้ง เดิมได้มีการวางตัวโดยจะ ให้นางอัญชลีสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชี รายชื่อ ให้นายบุญศุภภะ ตัณฑัยย์ ซึ่งเป็นญาติฝ่ายมารดาของ นางอัญชลีลงรับสมัครในเขต 1 และให้นายเรวัตสมัครในเขต 2 ต่อมานายเรวัต ซึ่งมีฐานคะแนนเสียงในเขต 1 เดิมไม่มั่นใจ ในฐานเสียงที่เขตราไวย์ กะรน ซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญ 195
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ของตนไม่ถูกแบ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่สองตามคาดหมาย จึงต้องการให้นางสาวเฉลิมลักษณ์ลงสมัครแทน (ปัญญา ไกรทัศน์, 2554) แต่กล่าวกันว่า ในช่วงที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อในครั้งที่ผ่านมา นางสาวเฉลิม ลักษณ์ห่างหายจากการลงพื้นที่เพื่อรักษาฐานคะแนนในเขต 2 ทำให้ไม่มั่นใจในฐานเสียงเช่นกัน จึงต้องการลงรับสมัครแบบ บัญชีรายชื่อ ประกอบกับเมื่อนายบุญศุภภะไม่ลงสมัคร จึงมี การปรับอีกครั้งหนึ่ง โดยนางอัญชลีลงสมัครในเขต 1 นายเรวัต ลงสมัครในเขต 2 ซึ่งก็ได้รับการเลือกตั้งทั้งสองคน ส่วนนางสาวเฉลิมลักษณ์ไม่ได้ลงรับสมัคร (ฝุ่นตลบการเมือง ภูเก็ต จับตาการเมืองพลิกขั้ว, 2556) ล่าสุดนางสาวเฉลิมลักษณ์ได้ลงสมัครรับ เลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองป่าตองในการเลือกตั้ง เมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2557 และสามารถเอาชนะคู่แข่ง คือ นายเปี้ยน กี่สิ้น ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน (หนังสือพิมพ์ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจ, พฤษภาคม 2557) ปัจจุบัน (สิงหาคม 2557) นางสาวเฉลิมลักษณ์จึงดำรงตำแหน่งนายก เทศมนตรีเมืองป่าตอง 4.3.3.3.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ นางสาวเฉลิมลักษณ์ นางสาวเฉลิมลักษณ์มีฐานเสียงและ เครือข่ายทางการเมืองที่สำคัญแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ประชาชนในพื้นที่ ครอบครัวและเครือญาติ กลุ่มผลประโยชน์ และพรรคการเมือง ดังนี้ 196
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 1) ประชาชนในพ้ืนท่ี ฐานเสียงของ นางสาวเฉลิมลักษณ์อยู่ในเขต 2 โดยเฉพาะคะแนนเสียงจาก กลุ่มแม่บ้าน แต่ช่วงหลังเสียงสนับสนุนนางสาวเฉลิมลักษณ์ เริ่มลดลง เพราะการห่างหายจากการเกาะติดพื้นที่ (ฝุ่นตลบ การเมืองภูเก็ต จับตาการเมืองพลิกขั้ว, 2556) 2) ครอบครัวและเครือญาติ นางสาว เฉลิมลักษณ์เกิดในครอบครัวและมีเครือญาติที่มีบทบาท และ เป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้านในเขต 2 โดยเฉพาะในตำบล ป่าตอง ซึ่งเป็นบ้านเกิด ท่านถือว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง มีที่ดินมาก (พิเชษฐ์ ปานดำ และ รัตนาภรณ์ แจ้งใจดี, สัมภาษณ์, 17 มกราคม 2557) 3) กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ ที่หนุนนางสาวเฉลิมลักษณ์ส่วนมากอยู่ในเขต 2 ซึ่งเป็น หัวคะแนน และนักการเมืองท้องถิ่นที่มาหนุนในการหาเสียง ให้กับนางสาวเฉลิมลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังก็เกิดความ ขัดแย้งในการเลือกตั้งท้องถิ่น อันส่งผลต่อการหนุนนางสาว เฉลิมลักษณ์ เช่น จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง ที่พี่ชายของนางเฉลิมลักษณ์สมัคร แข่งขันกับนายเปี่ยน กี่สิ้น ผู้เคยหนุนนางสาวเฉลิมลักษณ์ มาก่อน ฐานเสียงนางสาวเฉลิมลักษณ์ส่วนมากจึงย้ายไปหนุน คนอื่น เช่น กลุ่มของนายจิรายุส ทรงยศ (ฝุ่นตลบการเมือง ภเู ก็ต จับตาการเมืองพลิกขั้ว, 2556) เป็นต้น 4) พรรคการเมือง ฐานเสียงทางการเมือง ของนางสาวเฉลิมลักษณ์อยู่ที่เขต 2 ซึ่งยังถือว่าไม่กว้างนัก 197
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นการที่มาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และสังกัดกลุ่มของ นางอัญชลีก็ส่งผลให้นางสาวเฉลิมลักษณ์ได้รับการเลือกตั้ง โดยต้องยอมรับการนำทีมของนางอัญชลี 4.3.3.3.3 รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของ นางสาวเฉลมิ ลักษณ์ รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของนางสาว เฉลิมลักษณ์ คล้ายคลึงกับผู้ที่เป็นลูกทีมของนางอัญชลี คือ ได้ทำร่วมกับการหาเสียงของนางอัญชลีแทบทุกประการ ได้แก่ การใช้วิธีการหาเสียงทั่วไป การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) การใช้วิธีการหาเสียงท่ัวไป นางสาว เฉลิมลักษณ์ ซึ่งสังกัดอยู่ทีมผู้สมัครของนางอัญชลีมีการใช ้ วิธีการหาเสียงทั่วไป เช่น การใช้แผ่นปลิว โปสเตอร์ การใช้ ขบวนรถแห่ การเดินหาเสียงตามบ้านเรือน การร่วมงานบุญ งานศพ เป็นต้น 2) การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การจัดเวที ปราศรัยหาเสียงเป็นวิธีการสำคัญในการหาเสียงของนางสาว เฉลิมลักษณ์ ซึ่งเป็นการจัดเวทีเดียวกับทีมนางอัญชลี โดยจะมี บุคคลสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของ ชาวภูเก็ต และมีฝีปากในการปราศรัยอย่างคมคายจำนวนมาก มาร่วมปราศรัย โดยการประกาศล่วงหน้าหลายวัน อาจจัดเวที ปราศรัยย่อยหลายครั้ง และมักจัดเวทีใหญ่ในวันที่ใกล้จะถึง วันเลือกตั้ง มักจะมีการกำหนดเนื้อหาหลักของการปราศรัย เน้นไปในทางเดียวกัน มีการระดมผู้ฟังมาร่วมฟังคำปราศรัย 198
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต จำนวนมาก เป็นการสร้างความตื่นตัวให้คนสนใจ และหันมา เลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 3) การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุน นางสาวเฉลิมลักษณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้สมัครของนางอัญชลี ทำกิจกรรมการสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุนร่วมกัน โดย นางสาวเฉลิมลักษณ์มีฐานเสียงของตัวเองอย่างหนาแน่นใน พื้นที่เขต 2 นอกจากวิธีการหาเสียงทั้ง 3 วิธีของนางสาว เฉลิมลักษณ์ ซึ่งเป็นไปตามกิจกรรมร่วมของกลุ่มนางอัญชลี แล้ว ยังมีกิจกรรมที่นางอัญชลีได้ทำแต่นางสาวเฉลิมลักษณ ์ ไม่ได้ทำ หรือทำได้น้อยอีก 2 วิธี คือ การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างการเมืองระดับพื้นที่กับระดับชาติ และการสร้างผลงาน ให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง ระดับพื้นที่กับระดับชาติ แม้ว่า นางสาวเฉลิมลักษณ์จะมีความ สัมพันธ์กับระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่เขต 2 แต่ก็ถือว่า ยงั แคบในการนำไปเชอ่ื มกบั การเมอื งระดบั ชาติ เมอ่ื เปรยี บเทยี บ กับการที่นางอัญชลีพยายามนำ อบจ. หรือเทศบาลเมืองภูเก็ต ให้ไปเชื่อมต่อกับฐานเสียง ส่วนการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่าง เด่นชัดของนางสาวเฉลิมลักษณ์ในช่วงที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร นางสาวเฉลิมลักษณ์เคยดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ กรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ กรรมาธิการการแรงงาน และกรรมาธิการการท่องเที่ยว แต่ก็ยัง 199
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ไม่เห็นผลงานอื่นอย่างเด่นชัด เนื่องจากผลงานต่าง ๆ จะเป็น ของทีมโดยรวม ดังนั้นกล่าวได้ว่า โดยรวมแล้ว ผู้ที่ได้รับผลดี มากที่สุดจากกิจกรรมของทีมนางอัญชลี คือ นางอัญชลี ซึ่งเป็น หัวหน้ากลุ่ม และลงสมัครอย่างต่อเนื่อง 4.3.3.4 นายทศพร เทพบุตร นายทศพร เทพบุตร ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 1 ครั้ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ถึง 10 พฤษภาคม 2554 4.3.3.4.1 ภูมิหลังของนายทศพร เทพบุตร นายทศพรเกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2505 เป็นชาวภูเก็ตโดยกำเนิด ด้านการศึกษา นายทศพรเรียนจบ มัธยมศึกษาตอนปลาย (มศ.5) จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จากนั้นศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยเวสตัน แคนตั๊กกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนดุสิต ด้านการประกอบอาชีพ นายทศพร เทพบุตร เคยเป็นเจ้าของโรงแรมกะรนวิลล่า โรงแรม กะรน รอยัลวิล แต่ปัจจุบันได้ขายให้นายทุนชาวอาหรับไปแล้ว ก่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายทศพร เคยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2533 เมื่อนางอัญชลีเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายทศพรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒินายก 200
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจากการเลือกตั้ง ในวันที่ 23 ตุลาคม 2550 4.3.3.4.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ นายทศพร นายทศพรมีฐานเสียงและเครือข่ายทาง การเมืองที่สำคัญ 4 กลุ่ม คือ ประชาชนในพื้นที่ ครอบครัวและ เครือญาติ กลุ่มผลประโยชน์ และพรรคการเมือง ดังต่อไปนี้ 1) ประชาชนในพื้นท่ี ชาวบ้านที่สนับสนุน นายทศพรเป็นฐานเสียงเดียวกับของนางอัญชลีผู้เป็นภรรยา และลงเล่นการเมืองมาก่อน 2) ครอบครัวและเครือญาติ ต้นตระกูล เทพบุตร เคยเป็นเสมียนทำงานในบริษัทของหลวงชนาทรนิเทศ (ตันเฉ่งห้อ ทองตัน) หรือหลวงเสือ ในฐานะเสมียนบริษัท (ปัญญา ไกรทัศน์, 2554) นายทศพรเป็นคนที่มีฐานะดีคนหนึ่ง จากคำพิพากษาในคดี สปก. 4-01 ระบุว่า นายทศพรมีที่ดินอยู่ ที่ในตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง 3 แปลง อยู่ในตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต อีก 22 แปลง และมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท เป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมา นายทศพรได้สมรสกับนางอัญชลี วานิช เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2534 3) กลุ่มผลประโยชน์ ฐานเสียงที่สำคัญของ นายทศพร มีทั้งชาวบ้านทั่วไป และกลุ่มผลประโยชน์ เช่น นักการเมืองท้องถิ่น หัวคะแนน กลุ่มเหล่านี้ส่วนมากมาจาก 201
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ฐานเสียงของนางอัญชลีผู้เป็นภรรยา ที่มีบทบาททางการเมือง มายาวนานจนนายทศพรได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แต่ หลังจากนั้น นายทศพรก็ห่างหายจากการลงพื้นที่ และ การประชุมในพรรคประชาธิปัตย์ เพราะคาดว่านางอัญชลีจะมา ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 (ฝุ่นตลบการเมืองภูเก็ต จับตา การเมืองพลิกขั้ว, 2556) หลังจากผันไปดำรงตำแหน่งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 นายทศพร ได้ประกาศว่า จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เพื่อใช้เวลาในการเตรียมตัวสำหรับลงสมัครรับเลือกตั้ง ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตแทน แต่ในการ เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในเดือนเมษายน 2551 นางอัญชลีก็ยังเป็นผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งต่อมา ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 นายทศพรก็ถอนตัวไม่ลง รับสมัครโดยอ้างว่า ต้องการกลับไปทำสวนยาง ซึ่งเป็นธุรกิจ ของครอบครัว 4) พรรคการเมือง ในช่วงที่นายทศพร ลงสมัครรับเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์มีความโดดเด่น และ เป็นปัจจัยหนุนให้ชาวภเู ก็ตลงคะแนนสนับสนุนให้กับผู้สมัคร 4.3.3.4.3 รูปแบบและกลวิธีการหาเสียงของ นายทศพร นายทศพรลงสมัครโดยสังกัดกลุ่มของ 202
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต นางอัญชลี การหาเสียงของนายทศพรคล้ายคลึงกับผู้ที่เป็น ลูกทีมของนางอัญชลีคนอื่น ๆ คือ ได้ทำร่วมกับการหาเสียงของ นางอัญชลีแทบทุกประการ ได้แก่ การใช้วิธีการหาเสียงทั่วไป การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การสร้างเครือข่ายชาวบ้าน ผู้สนับสนุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) การใช้วิธีการหาเสียงท่ัวไป นายทศพร ซึ่งสังกัดอยู่ทีมผู้สมัครของนางอัญชลีมีการใช้วิธีการหาเสียง ทั่วไป เช่น การใช้แผ่นปลิว โปสเตอร์ การใช้ขบวนรถแห่ การ เดินหาเสียงตามบ้านเรือน การร่วมงานบุญ งานศพ เป็นต้น 2) การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การจัดเวที ปราศรัยหาเสียงเป็นวิธีการสำคัญในการหาเสียงของนายทศพร ซึ่งเป็นการจัดเวทีเดียวกับทีมนางอัญชลี โดยจะมีบุคคลสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวภูเก็ต และมี ฝีปากในการปราศรัยอย่างคมคายจำนวนมากมาร่วมปราศรัย โดยการประกาศล่วงหน้าหลายวัน อาจจัดเวทีปราศรัยย่อย หลายครั้ง และมักจัดเวทีใหญ่ในวันที่ใกล้จะถึงวันเลือกตั้ง มักจะมีการกำหนดเนื้อหาหลักของการปราศรัยเน้นไปในทาง เดียวกัน มีการระดมผู้ฟังมาร่วมฟังคำปราศรัยจำนวนมาก เป็นการสร้างความตื่นตัวให้คนสนใจ และหันมาเลือกผู้สมัคร จากพรรคประชาธิปัตย์ 3) การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุน นายทศพร ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้สมัครของนางอัญชลีทำกิจกรรม การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุนร่วมกัน 203
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต นอกจากวิธีการหาเสียงทั้ง 3 วิธีของ นายทศพร ซึ่งเป็นไปตามกิจกรรมร่วมของกลุ่มนางอัญชลีแล้ว ยังมีกิจกรรมที่นางอัญชลีได้ทำ แต่นายทศพรไม่ได้ทำ หรือ ทำได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับนางอัญชลีอีก 2 วิธี คือ การสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระดับพื้นที่กับระดับชาติ และ การสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเด่นชัด การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง ระดับพื้นที่กับระดับชาติ นายทศพรได้มีส่วนช่วยกิจกรรม ทางการเมืองของนางอัญชลีในงานส่วนนี้ โดยเฉพาะใน อบจ. ส่วนการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่าง เด่นชัด นายทศพรมีผลงาน เช่น นายกสมาคมกีฬาจังหวัด ภูเก็ต แต่โดยภาพรวมแล้วยังไม่เห็นผลงานอย่างเด่นชัดนัก เมื่อเปรียบเทียบกับนางอัญชลี ดังนั้นกล่าวได้ว่า โดยรวมแล้ว ผู้ที่ได้รับผลดี มากที่สุดจากกิจกรรมของทีมนางอัญชลี คือ นางอัญชลีซึ่งเป็น หัวหน้ากลุ่ม และลงสมัครอย่างต่อเนื่อง นายทศพร เคยเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และต้องยุบสภาใน พ.ศ. 2538 ในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่าคดี ส.ป.ก. 401 ซึ่งอยู่ในสมัยที่ นายชวน หลีกภัย เป็นรัฐบาล ขณะนั้น นางอัญชลี วานิช ภรรยาของนายทศพรเปน็ เลขานกุ ารของนายสเุ ทพ เทอื กสบุ รรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการกล่าวหา ว่า นายสุเทพเร่งดำเนินการนโยบายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อมอบให้เกษตรกร แต่กลับใช้อำนาจและช่องโหว่ของ 204
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต กฎหมายแปรรูปที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ที่จะต้องแจกเอกสารสิทธิ์ให้ กับเกษตรกรเอาไปให้กับคนที่มีความสนิทสนมและให้การ สนับสนุน ซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนายทศพร เทพบุตร สามีของนางอัญชลี จำนวน 98 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา ซึ่งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ต่อมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ตรวจสอบแล้วสั่งถอนสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ก. ของตระกูลผู้มีฐานะ ของภูเก็ตหลายรายและให้ออกจากที่ดิน รวมทั้งรายนายทศพร ด้วย แต่ไม่มีใครยอมออก ส.ป.ก. จึงได้ฟ้องขับไล่รวมทั้งสิ้น 12 คดี ประกอบด้วย 1) นายบันลือ ตันติวิท 2) นายบุ่นเก้ง ศรีแสนสุชาติ 3) นายเจริญ ถาวรว่องวงศ์ 4) นายทศพร เทพบุตร 5) นายณรงค์ นพดารา 6) นายหัตถ์ อัญชลีกุล 7) นายธเนศ เอกวานชิ 8) นายสมนกึ ไกรทศั น์ 9) นางวภิ าพรรณ ชูทรัพย์ 10) นายโสภณ เอกวานิช 11) นายวานิช เอกวานิช และ 12) นายเปี่ยน กี่สิ้น ในการต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น ปรากฏว่า ศาลจังหวัดภูเก็ตสั่งยกฟ้องแทบทุกคดี ซึ่งกล่าวกันมากว่า เนื่องจากมีการทำสำนวนฟ้องอ่อน ต่อมาได้มีสื่อมวลชนเปิด ประเด็นจนเป็นข่าวทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างกว้างขวาง ทาง ราชการโดยมีทั้งในส่วนของกระทรวงยุติธรรม และสำนักอัยการ สูงสุดได้ตั้งทีมงานจากส่วนกลางไปศึกษาข้อมูลและแนวทาง ต่อสู้คดี ทำให้ ส.ป.ก. ได้เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ทั้งหมด ต่อมาการชี้ขาดในชั้นศาลฎีกาก็ได้พิพากษายืนตามศาล อุทธรณ์ทำให้นายทศพรแพ้คดี เนื่องจากไม่ถือเป็นเกษตรกร ตามความหมายของ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 205
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2518 เพราะไม่ใช่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และไม่ใช่ผู้ที่ไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง จึงให้ออก ไป จากทด่ี นิ ส.ป.ก. 4-01 แปลงดงั กลา่ ว (ฐานเศรษฐกจิ , ฉ. 2225, 10 มิถุนายน 2550) 4.3.3.5 นายเรวัต อารีรอบ นายเรวัต อารีรอบ ได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 2 ครั้ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งที่ 1 ดำรงตำแหน่งในช่วงวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ถึง 10 พฤษภาคม 2554 และครั้งที่ 2 ดำรง ตำแหน่งในช่วงวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) 4.3.3.5.1 ภมู ิหลงั ของนายเรวัต อารีรอบ นายเรวัตเกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2509 ท่านเป็นชาวภูเก็ตโดยกำเนิด ด้านการศึกษา นายเรวัตสำเร็จ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อสายอาชีวศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต จนจบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และได้เข้าศึกษา ที่สถาบันการบินพลเรือน กรมการบินพาณิชย์ กระทรวง คมนาคม จากนั้นได้ศึกษาต่อโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ต่อมาได้ศึกษาปริญญาโท หลกั สตู รบรหิ ารธรุ กจิ มหาบณั ฑติ (สาขาการตลาด) ทม่ี หาวทิ ยาลยั ราชภัฏสวนดุสิต และสำเร็จหลักสูตรการเมืองการปกครองฯ สำหรับนักการเมืองระดับสูง (รุ่น ปปร. 14) จากสถาบัน พระปกเกล้า ก่อนดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายเรวัตประกอบอาชีพธุรกิจ โดยในช่วง พ.ศ. 2530 ถึง 2547 206
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต นายเรวัตประกอบอาชีพเกี่ยวกับการทำโรงเพาะฟักลูกกุ้ง กุลาดำ ชื่อเรวัตฟาร์ม เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2537 ถึง 2552 ได้ทำศูนย์รวมสินค้าพื้นเมืองทั่วประเทศในนาม ของบริษัท กินรีเฮ้าส์ จำกัด และตั้งแต่ พ.ศ. 2545 จนถึง ปัจจุบัน ได้ทำโครงการอันดามันเพลส จุดเริ่มต้นในการเข้าสู่การเมืองของนายเรวัต เริ่มตั้งแต่นายเรวัตได้เป็นรองประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดภูเก็ต ใน พ.ศ. 2536 ถึง 2538 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิองค์การ บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ใน พ.ศ. 2548 ถึง 2550 ในช่วงที่ นางอัญชลีเป็นนายก อบจ. นายเรวตั ไดเ้ รม่ิ เขา้ สกู่ ารเมอื งดว้ ยการเลอื กตง้ั สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ คู่กับนายทศพร เทพบุตร และได้รับเลือกตั้ง เป็นสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้ง เป็นสมัยที่สอง 4.3.3.5.2 ฐานเสียงและเครือข่ายทางการเมืองของ นายเรวตั นายเรวตั มฐี านเสยี งและเครอื ขา่ ยทางการเมอื ง แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ประชาชนในพื้นที่ บุคคลใกล้ชิด กลุ่ม ประโยชน์ และพรรคการเมือง ดังนี้ 1) ประชาชนในพื้นท่ี ประชาชนที่สนับสนุน หรือฐานเสียงหลักของตัวนายเรวัตเองอยู่ในพื้นที่เขต 1 โดยเฉพาะที่ฉลอง กะรน และราไวย์ อำเภอเมืองภเู ก็ต 207
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 2) บุคคลใกล้ชิด นายเรวัตเป็นผู้ที่มีบทบาท ทางสังคมมาตั้งแต่เป็นเยาวชน โดยเป็นเยาวชนดีเด่นจังหวัด ภูเก็ต ใน พ.ศ. 2523 เป็นสมาชิกก่อตั้งโรตารีทุ่งคา ใน พ.ศ. 2536 เป็นนักบินมูลนิธิส่งเสริมงานอนุรักษ์ และกู้ภัยทาง ทะเลใน พ.ศ. 2538 ถงึ 2540 เปน็ สมาชกิ กอ่ ตง้ั ชมรมเรารกั ราไวย์ ใน พ.ศ. 2543 เป็นสมาชิกก่อตั้งสโมสรโรตารี่อันดามัน ใน พ.ศ. 2543 3) กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ ในที่นี้ คือ ผู้ที่เป็นหัวคะแนนให้กับผู้สมัคร ดังที่กล่าวแล้วว่า ฐานเสียงหลักของตัวนายเรวัตเองอยู่ในพื้นที่เขต 1 โดยเฉพาะ ที่ตำบลฉลอง ตำบลกะรน และตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต แต่ก็มีชาวบ้านในเขตอื่นให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ซึ่งแสดง ถึงการระบบการหนุนช่วย หรือหัวคะแนนของกลุ่มนางอัญชล ี ไดด้ ี ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากการเลอื กตง้ั ในแตล่ ะครง้ั คอื ในการเลอื กตง้ั วันที่ 23 ธันวาคม 2550 จังหวัดภูเก็ตมีการแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง เดียว นายเรวัตได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ค่กู บั นายทศพร เทพบตุ ร ขณะท่ีนางสาวเฉลมิ ลกั ษณ์ เกบ็ ทรัพย์ ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ส่วน นางอัญชลีดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ทุกคนสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (ฝุ่นตลบการเมืองภูเก็ต จับตา การเมืองพลิกขั้ว, 2556) ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา นายเรวัตต้อง เปลี่ยนไปลงรับสมัครในเขตที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ฐานเสียงหลักของตน ในขณะที่นางอัญชลีลงรับสมัครในเขตที่ 1 และทั้งคู่ซึ่งสังกัด 208
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความ เหนียวแน่นของฐานเสียง 4) พรรคการเมือง ในช่วงที่นายทศพร ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง พรรคประชาธิปัตย์มีความ โดดเด่น และเป็นปัจจัยหนุนให้ชาวภูเก็ตลงคะแนนสนับสนุนให้ กับผู้สมัคร 4.3.3.5.3 รปู แบบและกลวธิ กี ารหาเสยี งของนายเรวตั นายเรวัตลงสมัครโดยสังกัดกลุ่มของ นางอัญชลี การหาเสียงของนายเรวัตคล้ายคลึงกับผู้ที่เป็น ลูกทีมของนางอัญชลีคนอื่น ๆ คือ ได้ทำร่วมกับการหาเสียงของ นางอัญชลีแทบทุกประการ ได้แก่ การใช้วิธีการหาเสียงทั่วไป การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การสร้างเครือข่ายชาวบ้าน ผู้สนับสนุน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) การใช้วิธีการหาเสียงท่ัวไป นายเรวัต ซึ่งสังกัดอยู่ทีมผู้สมัครของนางอัญชลีมีการใช้วิธีการหาเสียง ทั่วไป เช่น การใช้แผ่นปลิว โปสเตอร์ การใช้ขบวนรถแห่ การเดินหาเสียงตามบ้านเรือน การร่วมงานบุญ งานศพ เป็นต้น 2) การจัดเวทีปราศรัยหาเสียง การจัดเวที ปราศรัยหาเสียงเป็นวิธีการสำคัญในการหาเสียงของนายเรวัต ซึ่งเป็นการจัดเวทีเดียวกับทีมนางอัญชลี โดยจะมีบุคคลสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวภูเก็ต และ มีฝีปากในการปราศรัยอย่างคมคายจำนวนมากมาร่วมปราศรัย โดยการประกาศล่วงหน้าหลายวัน อาจจัดเวทีปราศรัยย่อย 209
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต หลายครั้ง และมักจัดเวทีใหญ่ในวันที่ใกล้จะถึงวันเลือกตั้ง มักจะมีการกำหนดเนื้อหาหลักของการปราศรัยเน้นไปในทาง เดียวกัน มีการระดมผู้ฟังมาร่วมฟังคำปราศรัยจำนวนมาก เป็นการสร้างความตื่นตัวให้คนสนใจ และหันมาเลือกผู้สมัคร จากพรรคประชาธิปัตย์ 3) การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุน นายเรวัต ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้สมัครของนางอัญชลีทำกิจกรรม การสร้างเครือข่ายชาวบ้านผู้สนับสนุนร่วมกัน 4) การสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ ในช่วงที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายเรวัตได้ทำหน้าที่ หลายอย่าง คือ 2550 ถึง 2554 สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดภเู ก็ต พรรคประชาธิปัตย์ 2551 ถึง 2554 รองประธานกรรมาธิการ แรงงาน สภาผู้แทนราษฎร 2552 ถึง 2554 ประธานอนุกรรมาธิการ ติดตามประเมินสถานการณ์และแก้ไข ปัญหาแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร 2554 คณะกรรมาธิการวิสามัญพจิ ารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2555 สภาผู้แทน ราษฎร 210
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 2554 ถึงปัจจุบัน สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร จังหวัดภูเก็ต เขต 2 พรรคประชา ธิปัตย์ 2554 ถึงปัจจุบัน กรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร 2 5 5 4 ถ ึ ง ป ั จ จ ุ บ ั น ป ร ะ ธ า น อ น ุ กรรมาธิการพิจารณาศึกษาเชิงนโยบาย และกฎหมายแรงงาน 2554 ถึงปัจจุบัน กรรมาธิการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤต ิ มิชอบ สภาผู้แทนราษฎร 2554 ถึงปัจจุบัน คณะกรรมการ ประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน นอกจากวิธีการหาเสียงทั้ง 4 วิธีของนายเรวัต ซึ่งเป็นไปตามกิจกรรมร่วมของกลุ่มนางอัญชลีแล้ว ยังมี กิจกรรมที่นางอัญชลีได้ทำ แต่นายนายเรวัตไม่ได้ทำ หรือทำได้ น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับนางอัญชลี คือ การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างการเมืองระดับพื้นที่กับระดับชาติ ดังนั้นกล่าวได้ว่า โดยรวมแล้ว ผู้ที่ได้รับผลดี มากที่สุดจากกิจกรรมของทีมนางอัญชลี คือ นางอัญชลี ซึ่งเป็น หัวหน้ากลุ่ม และลงสมัครอย่างต่อเนื่อง 211
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 4.3.3.6 สรุปภาพรวมการเมืองจังหวัดภูเก็ตในยุคที่ 3 นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ตยุคที่สาม ที่เป็นช่วงของ การกุมอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) นั้น มีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร เป็นแกนนำหลักของพรรคประชาธิปัตย์ โดยมี พลพรรคของพรรคประชาธิปัตย์จากที่อื่นมาหนุนด้วย อย่างไร ก็ตาม การที่มีการเคลื่อนไหวของการเมืองระดับท้องถิ่น ที่เข้มข้น ก็ไม่ได้ทำให้การรักษาฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ มีความมั่นคง เนื่องจากมีผู้ที่เข้ามามีบทบาททางการเมือง หลายกลุ่มมากขึ้น และในบริบทที่มีผลประโยชน์บนเกาะภูเก็ต เพิ่มขึ้น มีนายทุนจากภายนอกเข้ามามาก จึงทำให้พรรค ประชาธิปัตย์ โดยกลุ่มของนางอัญชลีต้องมีการปรับ โดยต้อง พยายามลงมาควบคุมถึงการเมืองท้องถิ่นให้เข้มข้นขึ้น และ ต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเพื่อให้สามารถรักษาเก้าอี้ ไว้ได้ ซึ่งจะทำให้การแข่งขันมีมากขึ้น ลักษณะทางการเมือง บนเกาะภูเก็ตจึงซับซ้อนและมีแนวโน้มจะเข้มข้นขึ้นกว่าที่เคย เป็นมา 212
บ5ทท ่ี สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ในบทนจ้ี ะกลา่ วถงึ การสรปุ ผลการศกึ ษา การอภปิ รายผล และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการเมืองถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ตามลำดับต่อไปนี้ 5.1 สรุปผลการศึกษา การสรุปผลการศึกษาในที่นี้จะแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ส่วน คือ การสรุปภาพรวมการเมืองในจังหวัดภูเก็ต และการสรุป ประเด็นตามวัตถุประสงค์การวิจัย
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 5.1.1 สรุปภาพรวมการเมืองในจังหวัดภูเก็ต ในที่นี้จะกล่าวถึงภาพรวมการเมืองในจังหวัดภูเก็ตใน 2 ด้าน คือ ภาพรวมเชิงสถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และภาพรวม ของการเมืองและนักการเมืองถิ่นในจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน ดังนี้ 5.1.1.1 ภาพรวมเชิงสถิติเกี่ยวกับการเลือกต้ังในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 จนถึงการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง สำหรับจังหวัดภูเก็ตมีการเลือกตั้ง 23 ครั้ง เนื่องจากการ เลือกตั้ง ครั้งที่ 6 ในวันที่ 5 มิถุนายน 2492 ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง เพิ่มเติมในบางจังหวัดนั้น จังหวัดภูเก็ตไม่มีการเลือกตั้งเพิ่มเติม จังหวัดภูเก็ตมีนักการเมืองถิ่นที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งสิ้น 15 คน เป็นเพศชาย 12 คน เพศหญิง 3 คน สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดภูเก็ตส่วนมากมีภูมิลำเนาโดยการ เกิดในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 14 คน มีเพียง 1 คน ที่มีภูมิลำเนา โดยการเกิดจากที่อื่น คือ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ ซึ่งดำรงตำแหน่งทางการเมืองในช่วง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2500 และช่วงวันที่ 15 ธันวาคม 2500 ถึง 20 ธันวาคม 2501 ก่อนเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ จำนวน 8 คน รองลงมา ได้แก่ อาชีพรับราชการ จำนวน 4 คน อาชีพทนายความจำนวน 2 คน และอาชีพ ผู้ตรวจการบัญชี จำนวน 1 คน 214
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนมากได้รับเลือกตั้ง 1 สมัย จำนวน 7 คน รองลงมาได้รับการเลือกตั้ง 2 สมัย จำนวน 5 คน ได้รับการเลือกตั้ง 3 สมัย จำนวน 2 คน และได้รับการเลือกตั้ง 4 สมัย จำนวน 1 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ใน ตำแหน่งนานที่สุด คือ นางอัญชลี วานิช เทพบุตร จำนวน 4 สมัย ระยะเวลา 12 ปี 7 เดือน 1 วัน รองลงมา ได้แก่ นายชิต เวชประสิทธิ์ จำนวน 3 สมัย ระยะเวลา 11 ปี 6 เดือน 13 วัน นายจรูญ เสรีถวัลย์ จำนวน 2 สมัย ระยะเวลา 6 ปี 11 เดือน 12 วัน ในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สั้นที่สุด คือ นายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์ จำนวน 1 สมัย ระยะ เวลา 6 เดือน 2 วัน รองลงมา คือ นายสตางค์ พุทธรักษา จำนวน 1 สมัย ระยะเวลา 6 เดือน 21 วัน นายอมรศักดิ์ องค์สรณะคม จำนวน 1 สมัย ระยะเวลา 11 เดือน 16 วัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดภเู ก็ตส่วนมากจะไม่ ย้ายพรรค มีเพียง 2 รายเท่านั้นที่ย้ายพรรค คือ นายเรวุฒิ จินดาพล ที่เคยสังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการสมัครรับ เลือกตั้ง 3 พรรคการเมือง และนางอัญชลีที่เคยสังกัด พรรคการเมืองต่าง ๆ ในการสมัครรับเลือกตั้ง 2 พรรคการเมือง 5.1.1.2 ภาพรวมของการเมืองและนักการเมืองถ่ินในจังหวัด ภูเก็ต ถ้าอาศัยลักษณะทางเศรษฐกิจการเมืองเพื่อนำมาแบ่ง ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเกาะภูเก็ต โดยพิจารณา ผ่านการขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มต่าง ๆ ในแต่ละยุคในช่วงหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเป็นช่วงของการศึกษานักการเมือง 215
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ถิ่นครั้งนี้ ก็จะสามารถแบ่งพัฒนาการของการเมืองและ นักการเมืองถิ่นในจังหวัดภูเก็ตได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 การประลองกำลังหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 ถึง 2521) ยุคที่ 2 การค้นหาแนวทางหลังยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522 ถึง 2534) และยุคที่ 3 การกุมอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน 2557) การเมืองในภูเก็ตยุคที่ 1 การประลองกำลังหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 ถึง 2521) นักการเมือง ภูเก็ตช่วงแรกก่อนสมัยนายชิต เวชประสิทธิ์ ผู้ที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรมาจากกลุ่มขุนนางเก่า และนายเหมือง ที่มาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อสืบต่ออำนาจ และรักษา ผลประโยชน์เดิมเอาไว้ ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปยังมีระบบคิด แบบไพร่-นาย คิดว่าการได้รู้จักกับเจ้านายจากส่วนกลางถือว่า เป็นมงคล จึงได้เลือกตั้งผู้สมัครที่เป็นตระกูลขุนนาง ผู้ปกครอง หรือนายทุนที่ใกล้ชิดกับราชการมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร ช่วงถัดมาก็เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผู้สมัครสาย ปรีดี พนมยงค์ หรือขบวนการเสรีไทย และมีความเข้มข้นชัดเจน ขึ้นของแนวคิดสังคมนิยมได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ นายชิต เวชประสิทธิ์ โดยนายชิตมีจุดเด่นในการหาเสียง คือ การเป็น ลูกชาวบ้าน เป็นผู้ที่มีแนวคิดใหม่ เป็นสายอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ สายขบวนการเสรีไทย ที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มนี้มีภาพของความเป็นวีรบุรุษอยู่ ซึ่งแสดงว่า ในขณะนั้น ชาวบ้านมีใจเปิดกว้างที่จะยอมรับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมมาก การเข้ามาของนายชิตก็เหมือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มา 216
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากตัวแทนชนชั้นล่าง และได้รับการสนับสนุนอย่างมาก จนแม้แต่กลุ่มทุนก็ไม่อยากมาแข่งขันด้วย ขณะที่บทบาทของ กลุ่มขุนนางเก่าค่อยๆ หมดไปแล้ว อย่างไรก็ตามก็จะเห็นว่า มีตัวแทนของกลุ่มความคิด และกลุ่มผลประโยชน์อื่นพยายามเข้ามาแข่งขัน โดยเฉพาะ กลุ่มที่สนับสนุนความคิดแบบเดิม จึงมีผู้ที่เข้ามาแข่งขันและ ได้รับเลือกตั้งที่มาจากฐานของกลุ่มผลประโยชน์เดิมและ ประสบความสำเร็จเป็นระยะ เช่น ขุนประเทศจีนนิกร (กวนฮก ตัณฑัยย์) ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นตัวแทนของ กลุ่มทุน หลังจากนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มทุนไม่ได้ส่งคนใน กลุ่มทุนลงเล่นการเมืองด้วยตัวเอง แต่จะสนับสนุนตัวแทนไป แข่งขันแทน เนื่องมาจากตนเองมีทุนเองอยู่แล้ว และผู้ที่จะเข้า มาเป็นผู้แทนก็ทำหน้าที่ในกลุ่มทุนได้หลากหลายบทบาท เช่น เป็นตัวแทนของกลุ่มราชการ หรือขุนนางเดิม หรือมีฐานด้าน ราชการ และสามารถหนุนกลุ่มทุนได้หลายกลุ่ม กลุ่มทุน ทั้งหลายสามารถที่จะติดต่อก็ต้องผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ตนเองสนับสนุนได้ทั้งหมด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับ เลือกตั้ง และมีความโดดเด่น คือ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ อันเป็นตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่ คุณหญิงแร่มมีสามี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตัวแทนกลุ่มขุนนาง หรือราชการ กลุ่มนายทุนที่เป็นผู้สนับสนุนให้คุณแร่มเข้าไปเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เพราะเป็นคนเดียวที่กล่าวกันว่า “พอฟัด พอเหวี่ยง” กับนายชิตได้เนื่องจาก “มีครุย” หรือเรียนจบ ปริญญาตรี จบเนติบัณฑิตเหมือนกัน และเป็นทนายความ เหมือนกัน กลุ่มทุนจึงหนุนคุณหญิงแร่มเข้ามาลงรับสมัครทั้งที่ 217
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่การแข่งขันของตัวแทนแนวคิดและผลประโยชน์แบบ เดิมกับแบบใหม่ก็ไม่ได้แพ้ชนะกันอย่างเด็ดขาด จึงจะเห็นการ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างเข้มข้น ดังในการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2512 ที่นอกจากจะเป็นการแข่งขันของนายชิต เวชประสิทธิ์ กับ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ แล้ว ยังมีผู้ลงแข่งขัน ที่สำคัญ คือ นายอ้วน สุรกุล แม้นายอ้วนจะไม่ชนะแต่ก็เป็น คู่แข่งขันที่เด่นเพราะถือว่าเป็นคนในพื้นที่ เคยเป็นข้าราชการ ระดับสูง คือ เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เคยมีผลงาน มากมาย และถ้าพิจารณาจากแนวคิดแล้วก็โน้มไปทางกลุ่มเก่า แต่กล่าวกันว่า ที่นายอ้วนไม่ได้รับการเลือกตั้งเพราะแม้ว่า ท่าน จะมีผลงานอยู่มากแต่ชาวบ้านเห็นว่า ผลงานของนายอ้วนเป็น ของราชการ เป็นเงินของหลวงไม่ใช่ความดี หรือความสามารถ ส่วนตัวของนายอ้วนเอง ทั้งที่นายอ้วนเป็นผู้ที่กล้าตัดสินใจ ทำงานแต่บางทีข้าราชการผู้น้อยก็กลับไปหาประโยชน์จากผู้รับ เหมา หรือเจ้าของธุรกิจ ทำให้คนเหล่านั้นไม่พอใจมาถึง นายอ้วนซึ่งเป็นหัวหน้าด้วย นอกจากนี้นายอ้วนยังเป็นคน พูดจาโผงผาง ไม่ไพเราะ ชอบพูดสบถ ขี้โมโห ทำให้เสียคะนน เสียง (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) โดยนายชิต เวชประสิทธิ์ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง หลังจากนั้นคุณหญิงแร่มก็ไม่ ได้ลงสมัครอีก แต่ได้มีบทบาททางการเมืองอย่างต่อเนื่องจาก การแต่งตั้ง โดยเฉพาะหลังจากการยึดอำนาจแต่ละครั้ง อันแสดงถึงการขยายตัวของแนวคิดแนวสังคมนิยมที่กำลัง โดดเด่นในสังคมขณะนั้น พร้อมกับได้เบียดขับแนวทางเดิมให้ ลดบทบาทลงไปได้ 218
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จึงกล่าวได้ว่า ในยุคที่ 1 การเมืองที่ปรากฏจากการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะตั้งแต่ พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา นักการเมืองที่เด่นในยุค นี้ เช่น นายชิต คุณหญิงแร่ม รวมถึงนายสตางค์ พุทธรักษา ความเข้มข้นของการแข่งขันมากจากเงื่อนไขภายในของจังหวัด ภูเก็ตเป็นหลัก คือ ผู้แข่งขันต้องพยายามให้คนภูเก็ตยอมรับ ตนเอง ไม่ใช่เลือกเพราะกระแสภายนอก ในที่สุดผู้สมัครใน สายสังคมนิยมก็มีชัยชนะเป็นหลักตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา การแข่งขันก็ลดความเข้มข้นลง เริ่มแข่งขันโดยการโหนกระแส ภายนอกจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น เช่น กระแสสังคม กระแสพรรค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นแม้กระแสพรรคโดยเฉพาะ พรรคประชาธิปัตย์จะเริ่มมีบทบาทในวงกว้างมากขึ้นแล้วตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2500 โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แต่ก็ไม่สามารถวางฐานการเมืองในพื้นที่เท่าในยุคหลัง ๆ สมาชิกเด่นของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นก็เป็นคนละกลุ่ม คนละสายกับปัจจุบัน และมักจะมีความโดดเด่นจากการเป็น ดาวไฮด์ปาร์ค (Hyde ParK) เป็นส่วนใหญ่ เช่น นายควง อภัยวงศ์, นายสมบุญ ศศิธร, นายชวน หลีกภัย, นายสมัคร สุนทรเวช เป็นต้น (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557, ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ในท้ายๆ ของ ช่วงนี้ จึงยังมีการผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะของตัวแทนกลุ่มต่างๆ เชน่ นายอมรศกั ด์ิ องคส์ รณะคม จากพรรคประชาธปิ ตั ย์ ซง่ึ ไมไ่ ด้ มีบทบาทมากนักเพราะเป็นระยะสั้นๆ 8-9 เดือน นายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์ จากพรรคพลังใหม่ ซึ่งอยู่ในสายปฏิรูป ในช่วงที่กระแสสังคมนิยมกำลังตื่นตัวสูง 219
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ต่อมาการเมืองในภูเก็ตยุคที่ 2 การค้นหาแนวทางหลัง ยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522 ถึง 2534) ในช่วงนี้เศรษฐกิจสำคัญของ ภูเก็ต คือ การทำเหมืองแร่เริ่มชะลอตัว แต่ยังไม่มีสิ่งใหม่เข้า มาแทน จึงเกิดการปรับตัวของกลุ่มทุนต่าง ๆ เพื่อให้อยู่รอด และสามารถดำเนินการต่อไปได้หลายแนวทาง จึงไม่มีการ เคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนเหมือนก่อนหน้านี้ ในส่วน ของนักการเมืองหรือผู้ลงสมัครเลือกตั้ง และเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรก็ไม่มีแนวคิดทางการเมืองที่แจ่มชัดเหมือน ยุคก่อน จึงมีความโดดเด่นไปในการพยายามเอาชนะและ การรักษาคะแนนเสียงเอาไว้ ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิคมากกว่า นักการเมืองในยุคนี้มี 2 ท่าน คือ นายจรูญ เสรีถวัลย์ ท่านเข้าสู่การเลือกตั้งเนื่องจากเคยทำงานร่วมกับนายอมรศักดิ์ องค์สรณะคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน แต่ต่อมา ก็ขัดแย้งกัน พอนายอมรศักดิ์ได้เป็น ส.ส. ก็จึงไม่ได้เกาะติด พื้นที่ นายจรูญจึงลงหาเสียงในพื้นที่จนทำให้ได้เป็น ส.ส. ถึง 2 สมัย ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์เผาโรงงานแทนทาลั่ม ทำให้เกิด นักการเมืองที่เด่นของยุคนี้ คือ นายเรวุฒิ จินดาพล นายเรวุฒิ ไม่ได้มีแนวคิดทางการเมืองชัดเจน แต่เด่นในด้านการรณรงค์ หาเสียง และการรักษาฐานเสียงด้วยวิธีการต่างๆ จนเป็น แม่แบบให้กับนักการเมืองรุ่นต่อมาหลายเรื่อง ในยุคนี้แม้จะมี การแข่งขันเข้มข้นบ้าง แต่มักเป็นการแข่งขันในด้านเทคนิค การเอาชนะ ไม่ใช่แข่งขันในด้านแนวคิด (สกุล ณ นคร, วินิจ หงส์อติกุล และ ชวลิต ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ในด้านการรักษาฐานผลประโยชน์ของนายทุนในท้องถิ่นก็ยังไม่ เข้มข้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงด้านฐานเศรษฐกิจที่การทำ 220
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เหมืองแร่ต้องชะลอตัวและเลิกไป โดยยังไม่มีฐานเศรษฐกิจอื่น มาแทนอย่างชัดเจนดังกล่าว ต่อมาการเมืองในภูเก็ตยุคที่ 3 การกุมอำนาจของพรรค ประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน 2557) ในยุคนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ฐานเศรษฐกิจของภูเก็ต คือ การท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งทำให้มีการเคลื่อนย้ายทุนจาก ทั่วโลกเข้ามาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภูเก็ต โดยมีทั้งเชื่อมผ่านกลุ่ม ทุนเดิมในท้องถิ่น แล้วข้ามกลุ่มทุนท้องถิ่นเข้ามาโดยตรง โดยรวมแล้วกลุ่มทุนท้องถิ่นมักจะสู้กลุ่มทุนจากภายนอกที่มี ขนาดใหญ่ไม่ได้ จึงมักถูกควบรวม หรือต้องเป็นตัวแทน นายหน้าให้กับกลุ่มทุนภายนอก ขณะเดียวกันก็พยายามตั้ง หลักเพื่อหาทางเลือกอื่นที่จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ เช่น การหัน ไปลงทุนด้านอื่น ในพื้นที่อื่น เป็นต้น อันทำให้เกิดการปรับ ตัวอย่างขนานใหญ่หลายทิศทางของกลุ่มทุนท้องถิ่นที่มีความ ซับซ้อนกว่าก่อนหน้านี้อย่างมาก สำหรับด้านการเมืองในยุคที่ 3 ของจังหวัดภูเก็ต ในยุคนี้ พรรคประชาธิปัตย์สามารถครอบครองคะแนนเสียงในภาคใต ้ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ จนก่อเป็นกระแสศรัทธาพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นที่เชื่อถือของชาวบ้าน และของผู้ที่ต้องการลงสมัคร เลือกตั้ง ขณะเดียวกันก็มีตัวแทนจากกลุ่มทุนท้องถิ่นลงสมัคร ด้วยตัวเอง คือ นางอัญชลี วานิช เทพบุตร จนกล่าวกันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทำอะไรก็ได้ โดยอาศัยกระแสพรรคเป็น หลักจนบางทีชาวบ้านลืมไปแล้วว่า ใครเป็นผู้ที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร รู้เพียงว่าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ 221
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ป ร ะ ก อ บ ก ั บ ก ร ะ แ ส ศ ร ั ท ธ า ใ น พ ร ร ค ป ร ะ ช า ธ ิ ป ั ต ย ์ ท ำ ใ ห ้ นางอัญชลีมีบทบาทในการกำหนดตัวผู้ที่จะลงสมัครอย่างสูงตั้ง แต่ พ.ศ. 2535 โดยเฉพาะหลังจาก พ.ศ. 2544 ที่พรรค ประชาธิปัตย์ครองพื้นที่ภาคใต้อย่างเบ็ดเสร็จ ก็ยิ่งทำให้ บทบาทของนางอัญชลีในการกำหนดนักการเมืองถิ่นสายพรรค ประชาธิปัตย์มีสงู มาตลอดจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย ์ ในจังหวัดภูเก็ตก็มีคู่แข่งท้าทายที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จน นางอัญชลีต้องขยายบทบาทไปยังวุฒิสมาชิก จนมาลงสมัคร เลือกตั้งในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อหวังจะควบคุม การเมืองในแวดวงที่กว้างขึ้นให้ได้ แต่ด้านคู่แข่งก็เริ่มเอาชนะได้ จนทีมพรรคประชาธิปัตย์ต้องอาศัยกระแส และบุคคลเด่นจาก ภายนอกมาหนุนช่วยมากขึ้น ในปัจจุบัน การเมืองในจังหวัดภูเก็ตจึงไม่ได้แข่งขันกัน ในด้านแนวคิดทางการเมืองเป็นหลักเหมือนยุคแรก แต่แข่งขัน ทางด้านเทคนิคการหาเสียง และการรักษาฐานเสียงมากขึ้น แ ล ะ ม ี ล ั ก ษ ณ ะ เ ป ็ น ก า ร ต ่ อ สู ้ เ พ ื ่ อ ร ั ก ษ า ฐ า น ข อ ง พ ร ร ค ประชาธิปัตย์ในภาพรวมอย่างชัดเจน ในขณะที่การต่อสู้เพื่อ ผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มทุนในท้องถิ่นก็ไม่มีไม่ ชัดเจนนัก เนื่องจากกลุ่มทุนท้องถิ่นปัจจุบันมีลักษณะ แตกกระจายไปตามความสัมพันธ์กับทุนระดับโลกมากขึ้น และ ทุนหลายกลุ่มก็ติดต่อข้ามจากท้องถิ่นลงไปยังพื้นที่โดยตรง ขณะที่บทบาทของผู้สมัครอาจส่งผลเสียต่อกลุ่มทุนท้องถิ่น บางกลุ่มต่างกัน จึงอาจเพิ่มความขัดแย้งภายในจังหวัดให้มาก 222
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ขึ้นอีก จึงกล่าวได้ว่า ในปัจจุบันนักการเมืองถิ่นของจังหวัด ภูเก็ตกำลังค้นหาอีกครั้งหนึ่งว่า จะมีบทบาทในฐานะตัวแทนกับ กลุ่มต่างๆ อย่างไร และมีกลุ่มอะไรบ้าง 5.1.2 สรุปประเด็นตามวัตถุประสงค์การศึกษา วัตถุประสงค์การศึกษานี้มี 5 ประการ ในที่นี้จะกล่าวถึง ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ทั้ง 5 ประการ ดังนี้ 5.1.2.1 นักการเมืองท่ีโดดเด่นในจังหวัดภูเก็ต จากการแบ่งพัฒนาการทางการเมืองของจังหวัดภูเก็ต ออกเป็น 3 ยุค พบว่า แต่ละยุคมีนักการเมืองที่โดดเด่นรวม 3 คน คือ นายชิต เวชประสิทธิ์, นายเรวุฒิ จินดาพล และ นางอัญชลี วานิช เทพบุตร 5.1.2.1.1 นายชิต เวชประสิทธิ์ นายชิตเป็นนักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ที่โดดเด่นในยุคที่ 1 อันเป็นช่วงของการประลองกำลังหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 ถึง 2521) พื้นเพของท่าน เปน็ คนภเู กต็ เชอ้ื สายจนี บดิ าเปน็ หมอพน้ื บา้ นทม่ี ฐี านะปานกลาง ท่านได้มีโอกาสศึกษาต่อจนยกระดับตนเองขึ้นมา นายชิตม ี สายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายปรีดี พนมยงค์ เป็นสมาชิก ขบวนการเสรีไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนได้เป็น รัฐมนตรี ท่านมีแนวคิดสังคมนิยมในขณะที่คู่แข่งทางการเมือง ของท่านที่มีสายสัมพันธ์กับระบบราชการ หรือกลุ่มอำนาจเก่า ที่มีทั้งกลุ่มทุนท้องถิ่นและฝ่ายราชการ จึงมีการแข่งขันทางด้าน 223
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต แนวคิดทางการเมืองอย่างเข้มข้นภายหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 นายชิตมีฐานเสียงสำคัญที่ชาวบ้านทั่วไป และกลุ่มทุนขนาดเล็กซึ่งมักเกิดขึ้นใหม่ๆ โดยท่านชูความเป็น สามัญชน ความเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันในการหาเสียง อย่างไร ก็ตาม ในช่วงที่กลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ หรือขบวนการเสรีไทย มีภารกิจอื่น นายชิตก็มักไปหนุนช่วยจนไม่มีเวลาหาเสียง จนทำให้ท่านไม่ได้รับการเลือกตั้งหลายครั้ง แต่ขณะนั้น การหาเสียงไม่มีการโจมตีกันอย่างรุนแรงเหมือนสมัยหลังๆ ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกของท่านที่เป็นคนใจกว้าง รับฟังความ คิดเห็น และพยายามหลีกเลี่ยงไม่เป็นศัตรูกับใคร โดยที่ท่านยัง คงสามารถยึดมั่นกับการผลักดันความคิดทางการเมืองที่ท่าน เชื่อมั่นอันได้แก่แนวคิดสังคมนิยมไว้ได้อย่างมั่นคง จนท่านเลิก ลงสมัครเลือกตั้งในปลายทศวรรษที่ 2510 5.1.2.1.2 นายเรวุฒิ จนิ ดาพล นายเรวุฒิเป็นนักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ที่โดดเด่นในยุคที่ 2 อันเป็นช่วงของการค้นหาแนวทางหลัง ยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522 ถึง 2534) นายเรวุฒิเกิดในครอบครัว ของนักการเมืองท้องถิ่นที่ร่ำรวย มีเครือญาติที่เป็นคหบดีใน ภูเก็ตหลายตระกูล จึงทำให้ท่านสามารถลดความขัดแย้งอย่าง รุนแรงกับคนหลายกลุ่มลงได้ แม้พื้นฐานของนายเรวุฒิจะมี ฐานะดี แต่ท่านก็มีฐานเสียงที่เป็นชาวบ้านอย่างกว้างขวาง ซึ่งมาจากนายเรวุฒิมีระดับการศึกษาเพียงประกาศนียบัตร วิชาชีพ(ปวช.) ประกอบกับเป็นคนมีนิสัยเป็นตัวของตัวเองสูง 224
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ชอบเอาชนะความท้าทาย ถึงลูกถึงคน ทำให้นายเรวุฒิเข้าถึง ชาวบ้านได้มากกว่ากลุ่มนายทุน ด้านแนวคิดทางการเมืองของนายเรวุฒิ ท่านไม่ได้มีความคิดใดที่ชัดเจนจึงจะเห็นว่า นายเรวุฒิเริ่มต้น จากการเป็นสมาชิกพรรคพลังใหม่ซึ่งเป็นพรรคแนวสังคมนิยม แต่ต่อมาก็เปลี่ยนพรรคที่สังกัดถึง 3 พรรค โดยคิดว่า การที่จะ เป็นสมาชิกพรรคใดนั้นต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถไต่เต้า ทางการเมืองได้ และสามารถช่วยเหลือสมาชิกได้ นายเรวุฒ ิ จึงให้ความสำคัญกับเทคนิคการหาเสียง และการรักษาฐาน เสียงไว้เป็นสำคัญ ทำให้ท่านคิดค้นรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมา หลายอย่าง เช่น การทำงานกับกลุ่มแม่บ้าน การให้ความสำคัญ กับช่วงการหาเสียง ซึ่งนายเรวุฒิมีความโดดเด่นในด้านนี้ตั้งแต่ ครั้งแรกที่ลงรับสมัครเลือกตั้งใน พ.ศ. 2529 ที่ท่านแทบไม่มี ความเป็นไปได้ที่ได้รับเลือกตั้งเลย แต่ก็กลับใช้สถานการณ์ ชว่ งเกดิ การเผาโรงงานแทนทาลม่ั จนสรา้ งศรทั ธาจากชาวบา้ นได้ รวมทั้งรูปแบบการหาเสียงที่ประทับใจผู้พบเห็น เช่น ขบวนแห่ การแต่งเพลง เป็นต้น ความโดดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ นายเรวุฒิ คือ การให้ความสำคัญกับทีมงานผู้สนับสนุน ทีมงานของนายเรวุฒิจะคิดค้นวางแนวทางทั้งระยะสั้นและ ระยะยาวในการหาเสียงและรักษาฐานเสียงไว้ โดยนายเรวุฒิ ก็จะปฏิบัติตามแนวทางที่ทีมงานได้วางไว้ ไม่ได้กระทำการใดๆ โดยอาศัยเพียงความโดดเด่น และการตัดสินใจของผู้สมัคร เป็นหลัก ทีมงานสนับสนุนจึงมีบทบาทในการที่จะได้รับเลือกตั้ง 225
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต หรือไม่ และสามารถรักษาฐานเสียงไว้ได้นานหรือไม่อย่างมาก ซึ่งนักการเมืองหลังจากนั้นก็มักใช้แนวทางนี้มาปฏิบัติเช่นกัน นายเรวุฒิจึงสามารถครองใจชาวบ้านทั่วไปจนได้รับเลือกตั้ง ทุกครั้ง ทั้งที่นายเรวุฒิไม่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทุน จนสุดท้ายนายเรวุฒิต้องพ่ายแพ้ เนื่องจากการผลตัดสินของ ศาลที่ทำให้ท่านไม่สามารถลงรับสมัครเลือกตั้งได้ 5.1.2.1.3 นางอัญชลี วานชิ เทพบุตร นางอัญชลีเป็นนักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ที่โดดเด่นในยุคที่ 3 อันเป็นช่วงของการกุมอำนาจของพรรค ประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน 2557) นางอัญชลีมีพื้นเพเกิดในครอบครัวคหบดีที่มีสายสัมพันธ์ ทางการเมืองกับผู้มีบทบาทในการเมืองท้องถิ่นจนถึงระดับ ประเทศมาตั้งแต่รุ่นปู่ คือ นายเจียร วานิช ต่อมาเมื่อถึงรุ่น นายเอกพจน์ วานิช บิดาของนางอัญชลี นายเอกพจน์ก็เป็น ผู้ที่มีความสัมพันธ์กว้างขวางเช่นกัน นายเอกพจน์เป็นคน ใจกว้าง จึงเป็นผู้ให้การสนับสนุนนักการเมืองแทบทุกคน ทุกฝ่าย จนเป็นที่เชื่อถือของนักการเมืองทุกกลุ่ม นายเอกพจน์ เคยเป็นวุฒิสมาชิก และมีความสัมพันธ์อันดีกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาเมื่อนายวีระ มุสิกพงษ์ ขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์และแยกตัวมาตั้งพรรคประชาชน นายเอกพจน์ซึ่งใกล้ชิดกับนายวีระก็หนุนให้นางอัญชลีลงสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคประชาชนถึง 2 ครั้ง และไม่ได้รับเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง เนื่องจากพ่ายแพ้แก่นายเรวุฒิ จินดาพล ที่กำลังโดดเด่น ต่อมาเมื่อพรรคประชาชนเริ่มหมด 226
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ บทบาทลงนางอัญชลีก็ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ. 2535 และได้รับการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่ลง สมัครมาจนปัจจุบัน ช่วงที่นางอัญชลีได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรนั้น พรรคประชาธิปัตย์กำลังได้รับความนิยมจากคน ภาคใต้มากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับนางอัญชลีเป็นผู้สนับสนุน สำคัญด้านเงินทุนแก่พรรคประชาธิปัตย์ด้วย จึงทำให้ นางอัญชลีมีบทบาทในการกำหนดทิศทางทางการเมืองของ พรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดภูเก็ตมาก เช่น การกำหนดตัว ผู้ที่จะลงรับสมัคร การขยายฐานเสียงไปยังวุฒิสมาชิก องค์การ บริหารส่วนจังหวัด จนนางอัญชลีเคยลงรับสมัครและได้รับ เลือกตั้งในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และ ฐานเสียงอื่น ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น โดยอาศัยการทำงานร่วมกับกลไกปกติของราชการด้วย นอกจากนี้นางอัญชลียังสามารถใช้กลไกของพรรคประชาธิปัตย์ ในการหาเสียงและรักษาฐานเสียง เช่น ระบบสมาชิกพรรค การดึงนักการเมืองเด่นของพรรคให้ลงมาหนุนในพื้นที่ การที่ ท่านได้รับตำแหน่งสำคัญในพรรคและในระดับชาติ เป็นต้น ดังนั้น แม้ว่า ขณะนี้นางอัญชลีและพรรค ประชาธิปัตย์ในจังหวัดภูเก็ตจะมีคู่แข่งมากขึ้น จนทำให้ พลาดพลั้งในการแข่งขันหลายครั้ง เช่น การไม่ได้รับเลือกเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการลงรับสมัครครั้งที่ 2 การที่ผู้สมัครวุฒิสมาชิกที่ให้การสนับสนุนไม่ได้รับเลือกตั้ง 227
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น แต่กล่าวได้ว่า ปัจจุบันนางอัญชลีก็ยังเป็นนักการเมือง ที่โดดเด่นที่สุดของจังหวัดภูเก็ต 5.1.2.2 เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัด ภูเก็ต ลักษณะของเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง ในจังหวัดภูเก็ตมีความแตกต่างกันออกไปในช่วงเวลาต่างๆ โดยแบ่งได้เป็น 3 ยุค ตามพัฒนาการทางการเมือง คือ ลักษณะของเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง ในจังหวัดภูเก็ตยุคที่ 1 อันเป็นช่วงของการประลองกำลังหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 ถึง 2521) นักการเมืองถิ่น จะแข่งขันกันในเชิงแนวคิดทางการเมืองระหว่างระบบเดิมกับ ระบบสังคมนิยม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีที่มาของความขัดแย้ง ที่เด่นชัด แต่นักการเมืองก็ไม่มีท่าทีของความขัดแย้งที่ก้าวร้าว หรือโจมตีต่อกัน มีเพียงการแยกกันหาเสียงตามแนวทางของตน โดยมีกลุ่มที่สนับสนุนที่แบ่งแยกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เปน็ เพราะวา่ แมจ้ ะมนี กั การเมอื งถน่ิ ทเ่ี ดน่ ในแนวทางสงั คมนยิ ม อย่างนายชิต เวชประสิทธิ์ มีบทบาทอย่างสูง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้ กลุ่มผลประโยชน์ในภูเก็ต โดยเฉพาะนายทุนในท้องถิ่นที่เคยมี ผลประโยชน์มาแต่เดิมต้องเสียประโยชน์ไปแต่อย่างใด จนถึง ช่วงปลาย ๆ ของยุคนี้ที่นักการเมืองถิ่นสายสังคมนิยมเริ่มลงไป จัดตั้งสหภาพแรงงาน และพยายามตรวจสอบการออกเอกสาร สิทธิ์ในที่ดินของนายทุน จึงเริ่มส่งผลกระทบต่อนายทุนมากขึ้น จนทำให้นายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์ นักการเมืองถิ่น สายสังคมนิยมถูกลอบสังหาร แต่ก็เป็นความขัดแย้งระหว่าง 228
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ นักการเมืองกับนายทุนมากกว่าการขัดแย้งกับนักการเมือง ด้วยกัน ต่อมาลักษณะของเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ตยุคที่ 2 อันเป็นช่วงของการค้นหา แนวทางหลังยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522 ถึง 2534) ในช่วงนี้ก็ยัง ไม่มีความขัดแย้งของนักการเมืองรุนแรงนัก แต่เริ่มมีการ พยายามหาทางชนะคู่ต่อสู้ และรักษาฐานเสียงของตัวเองไว้ อย่างเข้มข้นขึ้น จึงจะเห็นถึงการใช้กลยุทธ์เพื่อเอาชนะในการ เลือกตั้งที่เอาจริงเอาจัง เช่น ในเหตุการณ์เผาโรงงานแทนทาลั่ม ที่มีนักการเมืองหลายกลุ่มพยายามเข้าใจมีส่วนร่วมใน เหตุการณ์โดยหวังว่า จะเป็นประโยชน์กับการหาเสียงของตน แต่ก็ไม่มีความขัดแย้งรุนแรงโดยตรงระหว่างนักการเมือง ด้วยกัน จนกระทั่งถึงลักษณะของเครือข่ายและความสัมพันธ์ ของนักการเมืองในจังหวัดภูเก็ตยุคที่ 3 อันเป็นช่วงของการกุม อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน 2557) ในยุคนี้มีการแข่งขันระหว่าง นักการเมืองรุนแรงขึ้น มีการพยายามแย่งฐานเสียง การกีดกัน ระหว่างนักการเมืองคนละกลุ่มอย่างชัดเจน โดยมีการจัดกลไก การหนุนเสริมและแข่งขันอย่างเป็นระบบ มีทีมสนับสนุนคอย กำหนดแนวคิดทิศทางการเคลื่อนไหวของแต่ละทีมอย่างชัดเจน การแข่งขันรุนแรงจนถึงระดับจังหวัด (อบจ.) ลงสู่ระดับพื้นที่ เช่น อบต. และกลุ่มฐานเสียงอื่นๆ ส่วนในกลุ่มการเมือง เดียวกันก็พบว่า ภายในพรรคประชาธิปัตย์ก็มีการพยายาม 229
นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต เข้ามาต่อรองของผู้สมัครกับแกนนำหลักอันได้แก่นางอัญชลี จนมีการปรับผู้สมัครให้เปลี่ยนพื้นที่เขตเลือกตั้ง หรือการขยับไป ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ เป็นต้น ต่อมาบางคนก็ถอนตัว ออกไป ปัจจุบันความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นภูเก็ตจึงมี หลายกลุ่มที่มีท่าทีขัดแย้งกันโดยเฉพาะในการหาเสียงแต่ละ ครั้ง ภายในกลุ่มเดียวกันก็มีการต่อรองกัน แต่การต่อรองใน กลุ่มเดียวกันจะไม่เกิดความขัดแย้งมากเท่ากับความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มที่มีแนวโน้มจะแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น 5.1.2.3 บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่ นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต กล่าวได้ว่า นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ตได้รับการ สนับสนุนทางการเมืองจากกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็น ทางการมาโดยตลอด โดยกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็น ทางการเหล่านี้มีบทบาทและความสัมพันธ์กับนักการเมืองถิ่น แบ่งได้เป็น 3 ยุค ตามพัฒนาการทางการเมืองในจังหวัดภูเก็ต คือ ในยุคที่ 1 อันเป็นช่วงของการประลองกำลังหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 ถึง 2521) บทบาทและ ความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด ภูเก็ต ในช่วงนี้มีทั้งที่เป็นครอบครัว เครือญาติของผู้ลงสมัคร นอกจากนี้ยังมีการสร้างกลุ่มที่ไม่เป็นทางการขึ้นมาหนุน 230
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นฐานเสียงให้กับผู้ลงสมัคร เช่น การสร้างฐานเสียงของ นายชิต ขณะนั้นผู้ที่จบปริญญาตรีมีคนเดียว คือ นายชิตซึ่งมี แนวคิดสังคมนิยม นายชิตพยายามสนับสนุนคนหนุ่มจาก จังหวัดภูเก็ตที่ไม่มีสถานที่พักให้ได้เรียนหนังสือที่กรุงเทพ จนกลายเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนของนายชิต ส่วนผู้สมัครที่มีกลุ่ม ทุนสนับสนุนก็จะพบว่า มีการสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้มีฐานะดี ในจังหวัดภูเก็ตผ่านสถานที่ศึกษาเช่นกัน โดยก่อนหน้านั้น ลูกของคนมีฐานะมักจะไปเรียนที่ปีนัง ประเทศมาเลเซียทั้งหมด สถานศึกษาที่นิยมเรียนกันมาก คือ โรงเรียนเซนต์เซเวียร์ ที่มีแนวอนุรักษ์นิยม โดยมีคู่แข่ง คือ โรงเรียนจงเหล็ง ที่มีแนว เอียงซ้ายและเน้นหนักการเรียนภาษาจีน ผู้ที่เรียนที่โรงเรียน จงเหล็งจะเป็นคนชั้นกลาง ส่วนผู้ที่เรียนโรงเรียนเซนต์เซเวียร์ มักจะเป็นผู้มีฐานะที่ต้องการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ จากการเรียนที่โรงเรียนเดียวกัน เนื่องจากการติดต่อค้าขาย ขณะนน้ั ตอ้ งใชค้ วามเชอ่ื ถอื ระหวา่ งกนั เปน็ หลกั เชน่ การโอนเงนิ ระหว่างปีนังกับภูเก็ต ที่ถ้าเจ้าของกิจการรู้จักคุ้นเคยกันก็อาจ ออกใบเบิกเงินที่ปีนังให้ผู้ถือมาเบิกที่เจ้าของกิจการที่คุ้นเคยกัน ที่ภูเก็ตก็ได้ อันจะทำให้การดำเนินกิจการง่ายขึ้น (สกุล ณ นคร, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ผู้ที่จบการศึกษามาจากสถาน ศึกษาเหล่านี้จึงมีเครือข่ายสัมพันธ์กัน และพร้อมที่จะหนุน นกั การเมอื งทเ่ี ปน็ ประโยชนก์ บั กลมุ่ ตน โดยสว่ นมากนกั การเมอื ง มักจะแสดงบทบาทเอื้อประโยชน์ หรือเป็นตัวแทนของกลุ่มทุน แทบทั้งสิ้น เช่น นายสตางค์ พุทธรักษา ส่วนคุณหญิงแร่ม เป็นกลุ่มทุนกับกลุ่มนายทุน และกลุ่มข้าราชการ ในขณะที ่ นายชิตเป็นตัวแทนของกลุ่มชาวบ้าน และนายทุนขนาดเล็ก 231
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ต่อมาในยุคที่ 2 อันเป็นช่วงของการค้นหาแนวทางหลัง ยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522 ถึง 2534) บทบาทและความสัมพันธ์ ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนในการ สนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ตในยุคนี้ ก็เริ่มเห็นถึงการพยายามวางระบบความสัมพันธ์กับกลุ่มต่าง ๆ ที่จะมีการหนุนผู้ลงสมัครอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกรณี ของนายเรวุฒิ จินดาพล ที่ทำให้เกิดกลุ่มที่หนุนตนเองอย่างเป็น รูปธรรม โดยมีทีมปฏิบัติงานเพื่อการนี้โดยตรง แต่เนื่องจาก ในยุคนี้ฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตเริ่มเปลี่ยนจากการที่ การทำเหมืองแร่ชะลอตัวลง ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ไม่เข้ามา ผลักดันผู้สมัครมากเท่าช่วงก่อนและหลังจากนี้ ดังนั้นแม้ นายเรวุฒิจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทุนหรือคนมี ฐานะได้มาก แต่ก็สามารถชนะการเลือกตั้งได้ถึง 3 ครั้ง ส่วนในยุคที่ 3 อันเป็นช่วงของการกุมอำนาจของพรรค ประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน 2557) พบว่า บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมือง แก่นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ตเริ่มชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก เศรษฐกิจของภูเก็ตเริ่มลงตัวว่า มาเน้นที่การท่องเทียวและ บริการ จึงมีนายทุนจากกิจการเหล่านี้มาสนับสนุนนักการเมือง ถิ่น เช่น นายทุนท้องถิ่นที่มีที่ดินมาก และมีบทบาทแต่ละที่ อาจจะหนุนนักการเมืองคนละกลุ่มกัน ในขณะที่กลุ่มพรรค ประชาธิปัตย์ที่นางอัญชลี วานิช เทพบุตร มีบทบาทมากนั้น นางอัญชลีก็พยายามสร้างกลุ่มสนับสนุนเพื่อเป็นฐานเสียงให้ ชัดเจนขึ้นหลายกลุ่ม ส่วนผู้ลงสมัครที่จะมาร่วมทีมกับพรรค 232
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ประชาธิปัตย์ก็มักมีฐานเสียงสนับสนุนมาด้วยแล้ว เช่น นางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์, นายสุวิทย์ เสงี่ยมกุล เป็นต้น มีข้อน่าสังเกตว่า ปัจจุบันไม่พบว่า มีผู้ลงสมัครคนใด ที่แสดงตนและพยายามอย่างแท้จริงว่า เป็นตัวแทนชาวบ้าน ชนชั้นล่างเหมือนสมัยที่นายชิต เวชประสิทธิ์ พยายามแสดงตัว ปัจจุบันแม้จะมีการหาเสียงว่า แต่ละคนเป็นตัวแทนชาวบ้าน อย่างชัดเจน แต่ก็ทำได้จริงน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่า ผู้ได้รับการ เลือกตั้งจะเป็นตัวแทนของประชาชนโดยรวมทุกกลุ่ม ซึ่งใน ความเป็นจริงบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักจะ เอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุนมากกว่าโดยปริยาย มองอีกด้านหนึ่ง การที่จะกล่าวว่า นางอัญชลีเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนจึงอาจไม่ ถูกต้อง เพราะไม่ปรากฏว่า มีผู้ลงสมัครที่เป็นตัวแทนของ ชาวบ้าน หรือกลุ่มอื่นใดมาเปรียบเทียบ ดังจะเห็นว่า ผู้ที่ สามารถชนะนางอัญชลีในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดภูเก็ต คือ นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ โดยนายไพบูลย์ เป็นญาติกับนายเรวุฒิ จินดาพล ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับ นางอัญชลี เมื่อนายเรวุฒิเสียชีวิตทีมงานที่เคยหนุนนายเรวุฒิ ก็มาหนุนนายไพบูลย์ ดังนั้นแม้นายไพบูลย์จะต้องมาแข่งขัน กับนางอัญชลี แต่ทั้งสองก็ล้วนเป็นกลุ่มนายทุนเช่นกัน จึงไม่ใช่ การแข่งขันของ 2 ขั้วความคิดดังแต่ก่อน การพยายามสร้างฐานคะแนนจากลุ่มไม่เป็นทางการ บ่อยครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้สนับสนุน เช่น ในช่วงแรก นางอัญชลีมีฐานเสียงจากระดับท้องถิ่นมาหนุนมาก จนถือได้ว่า นางอัญชลีสามารถคุมเสียงในท้องถิ่น หรือทำให้มีฐานของ 233
นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ท้องถิ่นมาหนุนได้ แต่ต่อมาก็มีคนระดับท้องถิ่นจำนวนมากเริ่ม ไม่สนับสนุน จนนางอัญชลีต้องมาสมัครชิงตำแหน่งนายก อบจ. แต่การพยายามขยายบทบาทลงมาของนางอัญชลีก็ทำให้ หลายคนเสียโอกาส หรือเสียประโยชน์จนขัดแย้งกันได้ เช่น กรณีนายแพทย์ประสิทธิ์ โกยศิริพงศ์ อดีตนายก อบจ. ที่ช่วงแรกก็เป็นพวกเดียวกัน เป็นผู้มีจุดยืนกลาง ๆ และ สนับสนุนนางอัญชลี แต่ต่อมาก็ขัดแย้งกันกับกลุ่มนางอัญชลี จนแยกไปคนละทาง (วินิจ หงส์อติกุล, สัมภาษณ์, 16 มกราคม 2557) ซึ่งกล่าวกันว่า มาจากการที่กลุ่มผลประโยชน์ในท้องถิ่น มีหลายกลุ่ม การที่นางอัญชลีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็ทำให้ กลุ่มอื่นเสียโอกาสเนื่องจากกลุ่มอื่นก็อยากมีบทบาทเหมือนกัน 5.1.2.4 บทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับ นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต การเมืองในอดีตของจังหวัดภูเก็ตในยุคที่ 1 อันเป็นช่วง ของการประลองกำลังหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475 ถึง 2521) และยุคที่ 2 อันเป็นช่วงของการค้นหาแนวทางหลัง ยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522 ถึง 2534) บทบาทของระบบพรรค การเมืองยังไม่มีความชัดเจนนัก แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็น พรรคซึ่งมีเป้าหมายทางการเมืองชัดเจน และมีความต่อเนื่อง ยาวนานก็ไม่มีบทบาทในการหนุนช่วยผู้ลงสมัครสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในจังหวัดภูเก็ตมากนัก ระบบภายในของพรรค ประชาธิปัตย์ก็ไม่มีการบริหารที่ชัดเจนมากพอ อาจกล่าวได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ในช่วงแรกยังเน้นการเมืองในส่วนกลาง เป็นหลัก ผู้ลงรับสมัครจึงต้องอาศัยความโดดเด่น และความ สามารถของตัวเองในการรณรงค์ให้ได้รับการเลือกตั้ง เมื่อได้ 234
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะกลับเป็นการหนุนพรรค ประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมาหนุนผู้ลงสมัคร นักการเมืองที่ลงรับสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ จึงได้รับการเลือกตั้งเพียงสมัยเดียวเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก นายจรูญ เสรีถวัลย์ ที่ได้รับการเลือกครั้งต่อเนื่องกันสองสมัย ซึ่งเป็นช่วงปลาย ๆ ที่เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ของการเมือง ในภเู ก็ตเพื่อค้นหาแนวทางใหม่หลังหมดยุคเหมืองแร่ อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า การเมืองในภูเก็ตยุคที่ 1 และยุคที่ 2 นั้นได้มีการจัดระบบการรวมตัวของผู้สนับสนุน อย่างชัดเจนบ้างแล้ว โดยกลุ่มที่เชื่อมั่นในแนวทางสังคมนิยม คนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับระบบการจัดตั้งอย่างมาก ตามแนวทางที่ได้ปรับเอาทฤษฎีมาร์กซ์-เลนินมาใช้ นักการเมือง ในจังหวัดภูเก็ตที่โดดเด่นในยุคนี้ คือ นายชิต เวชประสิทธิ์ ซึ่งแม้ท่านจะไม่ได้ลงรับสมัครโดยสังกัดพรรคใด แต่ที่ก็ศรัทธา ในแนวคิดสังคมนิยมมาใช้และสังเกตได้ว่า ท่านได้พยายามนำ ระบบการจัดตั้งมารองรับการหาเสียง และรักษาฐานเสียงเอาไว้ และเกิดผลสำเร็จ คือ ทำให้นายชิตได้รับการเลือกตั้ง คนต่อมา คือ นายเอี่ยมศักดิ์ หลิมสมบูรณ์ ผู้สมัครสังกัดพรรคพลังใหม่ ซึ่งมีแนวคิดสังคมนิยมเช่นกัน ก็เข้าร่วมจัดตั้งกับกลุ่ม สหภาพแรงงาน และได้รับการเลือกตั้งเช่นกัน โดยภาพรวมแล้วในยุคที่ 1 และยุคที่ 2 พรรคการเมือง ยังไม่มีการจัดระบบที่มาเอื้อ หรือหนุนช่วยผู้ลงสมัคร ผู้ลงสมัคร ต้องหาทางเอาชนะด้วยตัวเองเป็นหลัก แม้จะมีพรรคแนว สังคมนิยมที่มีแนวทางการจัดตั้งที่ชัดเจน แต่ผู้ลงสมัครก็ต้อง ช่วยเหลือตัวเองเป็นหลักเช่นกัน ดังที่นายเรวุฒิ จินดาพล 235
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293