นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี โดย ธาตรี มหนั ตรตั น์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ธาตรี มหนั ตรัตน์. นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั อทุ ยั ธาน-ี - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2558. 246 หน้า. -- (นักการเมืองถิ่น). 1. นักการเมือง - - อุทัยธานี. 2. อุทัยธานี - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 923.2593 ISBN 978-974-449-828-1 รหัสสง่ิ พมิ พข์ องสถาบันพระปกเกล้า สวพ.58-21-500.100 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-828-1 ราคา พมิ พค์ ร้งั ท่ี 1 กันยายน 2558 จำนวนพมิ พ์ 500 เล่ม ลิขสทิ ธ ์ิ สถาบันพระปกเกล้า ท่ีปรึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผูแ้ ต่ง ธาตรี มหันตรัตน์ ผู้พมิ พ์ผูโ้ ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จดั พิมพโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพ์ท่ี ส เจริญ การพิมพ์ 1510/10 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์ 02-913-2080 โทรสาร 02-913-2081 นางจรินพร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ธาตรี มหันตรัตน์ สถาบันพระปกเกล้า
คำนำ เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี เป็นการศึกษาวิจัย เพื่อทำความเข้าใจและสำรวจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของนักการเมืองจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการนำเสนอถึง กระบวนการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองซึ่งเป็น ผอู้ าสาเขา้ มาทำงานรบั ใชป้ ระชาชนในพน้ื ทร่ี ะดบั จงั หวดั ซง่ึ การ ศกึ ษาพฤติกรรมของนักการเมืองและการเลือกตั้งของประชาชน ในพื้นที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้สนับสนุนทุนการวิจัย และขอขอบพระคุณกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน และขอขอบพระคุณนักการเมืองจังหวัดอุทัยธานี และผู้ให้ข้อมูล ทุกท่านอันนำมาสู่ความสำเร็จในการจัดทำการวิจัยชิ้นนี้ ผู้วจิ ยั
บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง “นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัด อุทัยธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด ความสำเร็จ Key success factors ที่ทำให้นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี ที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (มกราคม พ.ศ.2555)จำนวน 20 คน โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ Key informants คือ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผู้วิจัยใช้วิธี การสัมภาษณ์โดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้ง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคคล ที่มีความ ใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งที่เป็นเครือญาติและบุคคลที่เคยทำงาน ร่วมกันที่สามารถให้ข้อมูลของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัด
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี อุทัยธานีได้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายบางท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว บางท่านไม่สามารถติดต่อกับทายาทหรือครอบครัวได้และ บางท่านไม่ให้สัมภาษณ์ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการดำเนินการวิจัย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารแทนการให้ สัมภาษณ์ในบางส่วน ผลการศึกษาพบว่า ด้านภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น ด้านการบริหารคะแนนเสียง ด้านสถานการณ์และวัฒนธรรม ทางการเมือง ด้านความสัมพันธ์กับเครือข่ายต่างๆ เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ ที่ทำให้นักการเมืองถิ่นจังหวัด อุทัยธานีได้รับการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าว เป็น สิ่งที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เมื่อรูปแบบการเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง และวิถีชีวิตของ ประชาชนชาวจังหวัดอุทัยธานีเปลี่ยนแปลงไป VI
Abstract A Study on “The politicians in Uthaithani Province” aimed to investigate the key success factors used by the successful politicians in Uthaithani Province. The population or the key informants consisted of 20 representatives of Uthaithani Province from. the past until January 2012. The data were collected using an interview, aiming at the key informants and relevant persons, including their intimate persons relatives and colleagues who could provide information of the politicians. However, some of them had already been passed away, some could not be connected and some did not want to be interviewed. Due to the limitation previously mentioned, secondary sources were partly employed instead of an interview.
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี The results revealed that the politicians’ background, popularization, situations and political culture, and the relationship between their networks were the key success factors contributing to their success in each election. However, those factors might be changed in the future depending upon the form of election, its procedure, and Uthaithani residents’ way of lives. VIII
สารบัญ หนา้ คำนำ IV บทคัดยอ่ V Abstract VII บทที่ 1 บทนำ 1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา 2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 8 ขอบเขตของการศึกษา 9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 10 บทท่ี 2 แนวคดิ ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเกย่ี วข้อง 13 ข้อมลู ทั่วไปของจังหวัดอุทัยธานี 14 สภาพทางภูมิศาสตร์ 14 สภาพทางเศรษฐกิจ 20 สภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ 21 ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ก่อนสมัยการปกครอง 23 ระบอบประชาธิปไตย
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี หน้า จังหวัดอุทัยธานีสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตย 30 แนวความคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมือง 33 แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 34 แนวความคิดเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 48 แนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง 51 แนวความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 60 แนวความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง 68 แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารคะแนนเสียง 72 แนวความคิดเกี่ยวกับระบบความสัมพันธ์เครือญาติ 77 แนวความคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ 78 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 82 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา 92 นิยามศัพท์ 93 บทท่ี 3 การเลอื กตั้งสมาชิกสภาผ้แู ทนราษฎร 95 ของจังหวดั อทุ ัยธาน ี 97 รัฐสภาชุดที่ 1 98 รัฐสภาชุดที่ 2 99 รัฐสภาชุดที่ 3 101 รัฐสภาชุดที่ 4 103 รัฐสภาชุดที่ 5 105 รัฐสภาชุดที่ 6 107 รัฐสภาชุดที่ 7 108 รัฐสภาชุดที่ 8 110 รัฐสภาชุดที่ 9 111 รัฐสภาชุดที่ 10 113 รัฐสภาชุดที่ 11 114 รัฐสภาชุดที่ 12
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี หน้า รัฐสภาชุดที่ 13 115 รัฐสภาชุดที่ 14 115 รัฐสภาชุดที่ 15 116 รัฐสภาชุดที่ 16 117 รัฐสภาชุดที่ 17 118 รัฐสภาชุดที่ 18 119 รัฐสภาชุดที่ 19 119 รัฐสภาชุดที่ 20 120 รัฐสภาชุดที่ 21 121 รัฐสภาชุดที่ 22 123 รัฐสภาชุดที่ 23 125 รัฐสภาชุดที่ 24 126 รัฐสภาชุดที่ 25 127 รัฐสภาชุดที่ 26 128 รัฐสภาชุดที่ 27 129 รัฐสภาชุดที่ 28 130 รัฐสภาชุดที่ 29 131 รัฐสภาชุดที่ 30 133 รัฐสภาชุดที่ 31 134 รัฐสภาชุดที่ 32 135 รัฐสภาชุดที่ 33 137 บทท่ี 4 นักการเมืองถ่นิ ในจังหวัดอุทัยธาน ี 147 นายเทียบ นันทแพทย์ 148 พระยาวิฑรู ธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) 149 นายพร มากวงศ์ 151 พ.ต.ต.หลวงเจริญตำรวจการ 155 นายทวาย เศรษฐพานิช 158 XI
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี หน้า นายศิลป์ พิลึกฤาเดช 160 นายศิริ ทุ่งทอง 162 นายศิลปชัย เชษฐศิลป์ (นุ้ยปรี) 164 พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ 165 นางสุทิน ก๊กศรี 168 นายตามใจ ขำภโต 170 นายไพโรจน์ ทุ่งทอง 171 นายประเสริฐ มงคลศิริ 173 นายธีระพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ 174 นายนพดล พลเสน 176 นายประแสง มงคลศิริ 178 นายสุภาพ โต๋วสัจจา 181 นายชาดา ไทยเศรษฐ 181 นายอดุลย์ เหลืองบริบรู ณ์ 184 นายกุลเดช พัวพัฒนกุล 187 บทท่ี 5 บทวิเคราะห์ 191 บทท่ี 6 สรปุ อภิปรายผล 205 ภมู ิหลังและประสบการณ์การเมืองของนักการเมืองถิ่น 206 ด้านการบริหารคะแนนเสียง 207 ด้านการสถานการณ์และวัฒนธรรมทางการเมือง 208 ด้านการความสัมพันธ์กับเครือข่าย 208 ข้อเสนอแนะ 209 บรรณานกุ รม 211 ภาคผนวก 217 ภาคผนวก ก 217 ภาคผนวก ข 221 XII
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ภาคผนวก ค ภาคผนวก ง หน้า ประวัติผวู้ จิ ยั 228 229 232 XIII
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี หนา้ 140 สารบัญตาราง 143 ตารางที่ 1. สถิติการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี 2. แสดงรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี XIV
บ1ทท ่ี บทนำ โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นใน พื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจเพื่อ ประมวลข้อมูลของนักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ที่สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดสรรทุน สนับสนุนให้นักวิชาการในพื้นที่ดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิจัย โดยมีฐานความคิดว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้สร้างระบบการเมืองในรูปแบบที่ให้ประชาชนเลือกผู้แทนของ ตนเข้าไปทำหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การศึกษาการเมืองการปกครองของไทย ที่ผ่านมายังคงมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ ขาดหายไปของภาคการเมืองที่ศึกษากันอยู่ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองถิ่น” ที่เป็นการศึกษาเรื่องราวของการเมืองที่เกิดขึ้น
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ในอาณาบริเวณของท้องถิ่นที่เป็นจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับชาติ อีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวทีการเมืองระดับชาติ เข้มข้น ไปด้วยการชิงไหวชิงพริบของนักการเมืองในสภาและ พรรคการเมืองต่าง ๆ การเมืองอีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัครพรรคและผู้สนับสนุนทั้งหลายก็กำลังดำเนิน กิจกรรมเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกัน และทันท ี ที่ภารกิจในส่วนกลางสิ้นสุดลง การลงพื้นที่พบประชาชน ตามสถานที่ต่าง ๆ และการร่วมงานบุญงานประเพณี เป็นสิ่งที่ นักการเมืองผู้หวังชัยชนะในการเลือกตั้งจะต้องปฏิบัติให้ได้ อย่างทั่วถึงมิให้ขาดตกบกพร่อง ภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัด ได้สะท้อนให้เห็นถึง หลายสิ่งหลายอย่างของการเมืองไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลายาวนาน ในแง่มุมที่อาจถูกมองข้ามไป ในการ ศึกษาการเมืองระดับชาติ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมือง ถิ่น” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจทำการศึกษา เพื่อเติมเต็มองค์ความ รู้ที่ขาดหายไป และสิ่งที่ได้ทำการศึกษาค้นพบน่าจะสามารถ ช่วยให้เข้าใจการเมืองไทยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ความเป็นมาและสภาพปัญหา การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นรูปแบบ การปกครองที่มีลักษณะพิเศษ คือ ประชาชนเป็นเจ้าของ ประเทศ เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มีสิทธิ มีอำนาจและมี โอกาสในการที่จะเข้าควบคุมกิจการทางการเมืองของชาติ
บทนำ ประชาชนจึงเป็นผู้มีอำนาจกำหนดทิศทางของการบริหาร ประเทศ โดยกระทำผ่านช่องทางการเลือกตั้งเป็นสำคัญ การเลือกตั้งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญ ที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ประชาชนผู้เป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตยไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนไปทำ หน้าที่แทนตน และถือเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญยิ่งต่อ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะการตัดสินใจเลือก บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด เท่ากับว่าประชาชนได้มอบอำนาจอธิปไตยและให้ความชอบ ธรรมแก่ผู้ที่ตนเลือกในการใช้อำนาจปกครอง การเลือกตั้ง จึงเป็นหลักประกันให้รัฐบาลต้องทำตามเจตจำนงของ ประชาชนในการกระทำหรือละเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ในทางการเมือง ตลอดจนการตัดสินใจในนโยบายสาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งหากไม่ทำหน้าที่ให้เป็นไปตาม นโยบายหรืออุดมการณ์ที่ประกาศตอนหาเสียง การเลือกตั้งจะ เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้เมื่อถึงกำหนด ระยะเวลา การเลือกตั้งจึงเป็นการแสดงออกของประชาชน ที่บ่งชี้ถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในทางการเมือง เป็นทั้ง เครื่องมือของประชาชนในการเลือกผู้แทน และยังเป็นเครื่องมือ ในการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาเป็น ผู้แทนในการบริหารประเทศหรือออกกฎหมาย ประเทศไทยเริ่มมีการเลือกตั้งมาตั้งแต่ก่อนมีการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยกรมหลวงสรรพสิทธิ- ประสงค์ พระอนุชาต่างมารดาซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งข้าหลวง ต่างพระองค์ที่นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2434 และทรง พระราชทานอำนาจมากกว่าข้าหลวงประจำหัวเมืองต่าง ๆ โดย วัตถุประสงค์เพื่อให้ไปปรับปรุงการปกครองหัวเมืองขึ้น หัวเมือง ชั้นนอกและหัวเมืองชั้นในเพื่อป้องกันการแทรกแซงและแผ่ ขยายอิทธิพลของอังกฤษกับฝรั่งเศส กรมหลวงสรรพสิทธิ ประสงค์ได้นำวิธีการปกครองหมู่บ้านของพม่าในบังคับอังกฤษ มาใช้กับหมู่บ้านรอบ ๆ เมืองที่ทรงประจำอยู่ โดยชาวบ้าน รอบ ๆ นครราชสีมาได้รับคำสั่งให้เลือกตั้ง ผู้อาวุโสของหมู่บ้าน คล้าย ๆ กับหัวหน้าหมู่บ้านของพม่า หรือ “ตักยี” บุคคลที่ได้รับ เลือกนี้จะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน การเกิดการตาย การแต่งงาน การหย่าร้าง และการอพยพ ตลอดจนการจับกุมอาชญากรและการระงับข้อพิพาท ภายหลังการทดลองนี้ ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของ การปกครองหมู่บ้าน ในสมัยต่อมา (เตช บุนนาค, 2548, น. 83) กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า วิธีการซึ่งกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ใช้ที่นครราชสีมาน่าจะ เป็นผลดีต่อการปฏิรูปการปกครอง จึงทรงส่งหลวงเทศา- ชิตวิชาญ (เสง วิริยศิริ) ไปจัดระเบียบการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน และกำนันในอำเภอบางปะอิน จังหวัดอยุธยา โดยให้หัวหน้า ครอบครัวซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้กันทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน แ ล ะ ใ ห ้ ผู ้ ใ ห ญ ่ บ ้ า น ท ี ่ ไ ด ้ ร ั บ เ ล ื อ ก ม า เ ล ื อ ก ก ั น เ อ ง เ ป ็ น ก ำ น ั น ถือว่าเป็นการทดลองเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันเป็นครั้งแรก ท่ี บา้ นเกาะบางปะอนิ อำเภอบางปะอนิ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา
บทนำ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ร.ศ.111 (พ.ศ. 2435) กำนันคนแรก ที่ได้รับเลือกจากราษฎร คือ พระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส รัตนกุล) (วารสารกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, 2542, น.5-6) แนวความคิด เกี่ยวกับการเลือกตั้งจึงเริ่มเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ขึ้น ใช้บังคับทั่วประเทศ โดยระบุให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น ทั่วประเทศ (ราชกิจจานุเบกษา, 2440, น.105) แต่การทดลองเลือกตั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลับได้รับการ ต่อต้านจากขุนนางที่ไม่ต้องการให้มีการปฏิรูปการปกครอง เช่น ที่ นครศรีธรรมราช โดยมองว่าอาจทำให้ตนต้องสูญเสียอำนาจ ที่มีอยู่เหนือประชาชน อีกทั้งผลจากการทดลองเลือกตั้งที่ นครราชสีมา ส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลว เนื่องมาจากผู้ที่ได้ รับเลือกตั้งขาดการศึกษา อีกทั้งที่พระนครศรีอยุธยา ประชาชน ก็ไม่สนใจที่จะสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้าน เพราะเห็นว่าค่าตอบแทน น้อย อีกทั้งทำให้ต้องเสียเวลาทำมาหากิน ประชาชนจึงขาด ความกระตือรือร้นในการเลือกตั้งและการสมัครรับเลือก ประชาชนจึงหาทางออกง่าย ๆ โดยการเลือกขุนนางหรือ เจา้ หนา้ ทร่ี ฐั ขน้ึ มาเปน็ กำนนั ผใู้ หญบ่ า้ น เชน่ ทพ่ี ระนครศรอี ยธุ ยา ประชาชนเลือกกรมหมื่นมรุพงศ์ฯ เป็นผู้ใหญ่บ้านอีกหมู่บ้าน หนึ่งก็เลือกพระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส รัตนกุล) ผู้ดูแล พระราชวังบางปะอินเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งต่อมาได้รับเลือก เป็นกำนัน เช่นเดียวกับที่นครศรีธรรมราชที่ประชาชนเลือก ผู้พิพากษาและข้าราชการเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและพอใจที่จะไม่ใช้สิทธิ ของตนในการปกครองตนเอง เห็นว่าการปกครองเป็นเรื่องของ ข้าราชการ จึงไม่มีความสนใจที่จะเป็นผู้สมัคร ดังนั้น การใช้ สิทธิเลือกตั้งจึงเน้นการให้ความสำคัญต่อผู้สมัครในฐานะ บุคคลที่มีคุณงามความดี ดำรงตำแหน่งสำคัญที่เป็นที่รู้จักของ ประชาชนโดยเฉพาะข้าราชการและขุนนาง โดยไม่ได้คำนึงถึง เนื้อหาทางการเมืองว่าบุคคลเหล่านั้นจะเป็นตัวแทนและทำ ประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศชาติได้อย่างไร หลังจากคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นับเป็นจุดเริ่มต้นให้มีการเลือกตั้งขึ้นในระดับ ชาติ โดยเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ทางการเมืองใน ระดับประเทศ ซึ่งเมื่อนับถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2553 รวมระยะเวลา กว่า 78 ปี ที่ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร รวมทั้งสิ้น 23 ครั้ง เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม 1 ครั้ง การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 3 ครั้ง การเลือกตั้ง แบบรวมเขตเลือกตั้ง 5 ครั้ง การเลือกตั้งแบบผสม (แบ่งเขต เลือกตั้ง และ รวมเขตเลือกตั้ง) 10 ครั้ง การเลือกตั้งแบบ แบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ 3 ครั้ง การเลือกตั้งแบบ แบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วน 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใน ยุคสมัยของ 3 รัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 7 จำนวน 1 ครั้ง รัชกาล ที่ 8 จำนวน 3 ครั้ง และรัชกาลที่ 9 จำนวน 19 ครั้ง การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นี้ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่จัด
บทนำ ขึ้นภายใต้วันเวลา ระบบการเมืองและระบบการเลือกตั้ง ที่แตกต่างกันในแต่ละยุคแต่ละสมัย และความสนใจของ ประชาชนที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ของบ้านเมืองและ ความเข้มข้นของการแข่งขันระหว่างนักการเมือง เมื่อพิจารณาจากการศึกษาการเมืองการปกครองของ ไทยที่ผ่านมาจะพบว่าการศึกษาดังกล่าวมักมุ่งเน้นไปที่กิจกรรม การเมืองในระดับชาติ โดยเฉพาะในด้านการทำงานของรัฐบาล หรือการทำงานของรัฐสภาหรือมุ่งไปที่นักการเมืองที่มีตำแหน่ง สำคัญ ๆ โดยไม่ได้ศึกษาหรือติดตามบทบาททางการเมืองใน พื้นที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เช่น การพบปะประชาชน การเขา้ ไปมสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรมตา่ ง ๆ ในพน้ื ท่ี การสรา้ งเครอื ขา่ ย เพื่อคุมฐานคะแนนเสียง และการหาเสียงในพื้นที่เพื่อสร้าง คะแนนนิยมและทำลายคู่แข่งทางการเมือง ทั้งในช่วงก่อนและ หลังการได้รับการเลือกตั้ง เป็นต้น ดังนั้น การศึกษาในเรื่อง “นักการเมืองถิ่น” จะช่วย ทำให้การศึกษาภาพของการเมืองไทยมีความสมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น โดยเป็นการศึกษาในลักษณะที่เป็นคู่ขนานไปกับการเมือง ในระดับชาติ เพราะในขณะที่การเมืองระดับชาติมีความเข้มข้น การเมืองในระดับจังหวัดก็จะมีกิจกรรมที่ควบคู่กันไปใน ลักษณะผู้สนับสนุนเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการ ร่วมพบปะสังสรรค์ การร่วมงานบุญประเพณี การช่วยเหลือใน กิจกรรมต่าง ๆ การดำเนินการในลักษณะนี้จะแตกต่างขึ้นอยู่ กับพื้นที่แต่ละแห่งที่นักการเมืองผู้นั้นมีอิทธิพลอยู่หรือไม่ก็ขึ้น กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพทางสังคม สภาพทางเศรษฐกิจ
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี วัฒนธรรมและภาษา อันเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนด ความสำเร็จ (key success factors) ต่อการได้รับการเลือกตั้ง จังหวัดอุทัยธานี เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมา ยาวนานและมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงในระดับชาติหลายคน มีพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงครองฐานเสียงได้มายาวนาน ยากที่ พรรคการเมืองอื่นจะแทรกเข้ามาได้ สะท้อนให้เห็นถึง ลักษณะพิเศษ ที่มีความน่าสนใจในการศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่า “นักการเมืองถิ่น” มีความผูกพันกันอย่างไรกับพรรคการเมือง ผู้สนับสนุน เครือข่ายและประชาชนรูปแบบความสัมพันธ์ และ วิธีการหาเสียงจนทำให้ได้รับการเลือกตั้ง โดยเน้นศึกษา นกั การเมอื งถน่ิ ทเ่ี ปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรทไ่ี ดร้ บั การเลอื กตง้ั ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน (2555) วัตถุประสงค์ของการศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อ 1. เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งนักการเมืองถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี 3. เพื่อศึกษาถึงการบริหารคะแนนเสียงของนักการเมือง ถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี
บทนำ 4. เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายการ เลือกตั้งกับนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี 5. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ว่า ปัจจัยใดเป็นตัวกำหนดความ สำเร็จ (Key success factors) ที่ทำให้นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ข อบเขตของการศึกษา 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา มุ่งศึกษาประเด็นเนื้อหาเฉพาะที่เกี่ยวกับ ภูมิหลัง พฤติกรรมการเลือกตั้ง การบริหารคะแนนเสียง ความสัมพันธ์ กับเครือข่าย ของนักการเมืองถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็น ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ (Key success factors) ที่ทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเท่านั้น 2. ขอบเขตด้านระยะเวลา โดยกำหนดขอบเขตการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้ง ซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 จนถึงปัจจุบัน (มกราคม พ.ศ.2555) 3. ขอบเขตด้านประชากร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี ที่เคยได้รับการเลือกตั้งตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีทั้งในอดีตและปัจจุบัน
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี หรือ บุคคลที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมทั้งที่เป็นเครือญาติและ บุคคลที่เคยทำงานร่วมกันที่สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึงนักการ เมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานีได้ 4. ขอบเขตด้านพื้นท่ี เป็นการศึกษาถึงบุคคลที่เคยได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น ไม่รวมถึง บุคคลที่เคยได้รับการเลือกตั้งในระดับอื่น ๆ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทำให้ทราบถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี ตั้งแต่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการ เลือกตั้งทั่วไป ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 2. ทำให้ทราบถึงภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นในจังหวัด อุทัยธานี 3. ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งนักการเมืองถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี 4. ทำใหท้ ราบถงึ การบรหิ ารคะแนนเสยี งของนกั การเมอื ง ถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี 5. ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายการ เลือกตั้งกับนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี 6. ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ (Key success factors) ทำให้นักการเมืองถิ่นใน 10
บทนำ จังหวัดอุทัยธานี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง 7. ผลการศึกษาวิจัยจะเป็นประโยชน์ทั้งทางด้าน วิชาการและประโยชน์ต่อกระบวนการเลือกตั้ง สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองของไทยต่อไป 11
บ2ทท ี่ แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัย ท่ีเกี่ยวข้อง ในการศึกษาวิจัยเรื่อง “นักการเมืองถิ่น” ของจังหวัด อุทัยธานีครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำข้อมูลทั่วไปของจังหวัด แนวความ คิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางและ ประโยชน์ในการเทียบเคียงผลการศึกษา ได้แก่ 1. ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุทัยธานี 2. แนวความคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมือง 3. แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 4. แนวความคิดเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 5. แนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง 6. แนวความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 7. แนวความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี 8. แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารคะแนนเสียง 9. แนวความคิดเกี่ยวกับระบบความสัมพันธ์เชิง เครือญาติ 10. แนวความคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ 11. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 12. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา 13. นิยามศัพท์ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นจังหวัดที่อยู่ตอนเหนือสุดของ ภาคกลาง พื้นที่นี้มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมี เรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ โดยเฉพาะ เป็นจังหวัดที่สมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ ในรัชกาลที่ 1 ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุทัยธาน ี ในปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญจังหวัดหนึ่ง 1. สภ าพทางภูมิศาสตร์ 1.1 ท่ีต้ัง จังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่ทั้งสิ้น 6,730.246 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 222 กิโลเมตร พื้นที่ของ จังหวัดตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของภาคกลาง ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 – 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 90 – 100 องศาตะวันออก อยู่บน ฝั่งตะวันตกของลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 – 14
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 10 เมตร กว้างประมาณ 120 – 150 เมตร และไหลลงสู่แม่น้ำ เจ้าพระยาบรรจบกันตรงเขตอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท (กระทรวงมหาดไทย, 2528, น.1-4) 1.2 อาณาเขต ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ เขตจังหวัดนครสวรรค์ ในพื้นที่อำเภอพยุหคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอลาดยาว ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ เขตจังหวัดตาก ใน พื้นที่อำเภออุ้มผาง และจังหวัดกาญจนบุรี ในพื้นที่อำเภอสังข ละและอำเภอศรีสวัสดิ์ ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ ในพื้นที่อำเภอพยุหคีรี และจังหวัดชัยนาท ในพื้นที่อำเภอมโนรมย์ ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดชัยนาท ในพื้นที่ อำเภอวัดสิงห์และอำเภอ หันคาและจังหวัดสุพรรณบุรี ในพื้นที่ อำเภอเดิมบางนางบวช 1.3 การปกครอง จังหวัดอุทัยธานี (Uthai Thani) แบ่งการปกครอง เป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 631 หมู่บ้าน 92,896 หลังคาเรือน เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และองค์การบริหาร ส่วนตำบล 50 แห่ง อำเภอเมืองอุทัยธานี (Mueang Uthai Thani) เป็นอำเภอ ชั้น 1 มีพื้นที่ 250.103 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 2 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยตำบล 14 ตำบล 15
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี 86 หมบู่ า้ น มปี ระชากรแยกเปน็ ชาย 26,371 คน หญงิ 28,343 คน รวม 54,714 คน มีจำนวนบ้าน 17,472 หลังคาเรือน อำเภอเมือง อุทัยเก่าเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอหนองฉาง ซึ่งเรียกกันว่า “อู่ไทย” หมายถึง ที่อยู่ของคนไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองอุทัยธานี เป็นเมืองหน้าด่านและเป็นสมรภูมิที่สำคัญในการสู้รบกับพม่า ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ย้ายเมืองอุทัยธานีมาอยู่ที่ บ้านสะแกกรัง ผู้คนอพยพเข้ามาอยู่กันมากจนกลายเป็นชุมชน ขนาดใหญ่ อำเภอทัพทัน (Thap Than) เป็นอำเภอชั้น 4 มีพื้นที่ 323.633 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 19 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2430 ประกอบด้วยตำบล 10 ตำบล 87 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 19,369 คน หญิง 20,132 คน รวม 39,501 คน มีจำนวนบ้าน 10,413 หลังคาเรือน อำเภอทัพทันแต่ เดิมเป็นหมู่บ้านที่ชื่อปรากฎว่า “ทัพทัน” หมายถึง กองทัพไทย ตามขับไล่กองทัพพม่าจนทันที่บริเวณพื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ อำเภอทัพทันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง อุทัยธานี เป็นอำเภอที่มีตลาดนัด วัว-ควาย ที่ใหญ่ที่สุดของ เมืองอุทัยธานี และมีเขาปฐวีซึ่งมีถ้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โบราณ เพราะได้ค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูกของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อำเภอสว่างอารมณ์ (Sawang Arom) เป็นอำเภอชั้น 3 มพี น้ื ท่ี 341.441 ตารางกโิ ลเมตร อยหู่ า่ งจากจงั หวดั 33 กโิ ลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2506 ประกอบด้วยตำบล 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 15,619 คน หญิง 15,675 คน รวม 16
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 31,294 คน มีจำนวนบ้าน 9,118 หลังคาเรือน อำเภอสว่าง- อารมณ์ แต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อปรากฎว่า “บ้านสว่างแจ้ง สบายใจ” อันหมายถึง เมื่อกองทัพไทยได้ตีทัพพม่าแตกหนี กระเจิงไปได้แล้ว ก็มีความสบายใจและพักอยู่ที่บริเวณพื้นที่ หมู่บ้านแห่งนี้ จึงกลายเป็นชื่อหมู่บ้าน “บ้านสว่างแจ้ง สบายใจ” แต่ในปัจจุบันคือ อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอหนองฉาง (Nong Chang) เป็นอำเภอชั้น 2 มีพื้นที่ 341.181 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 22 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2474 ประกอบด้วยตำบล 10 ตำบล 95 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 23,674 คน หญิง 24,875 คน รวม 48,549 คน มีจำนวนบ้าน 12,244 หลังคาเรือน อำเภอ หนองฉางอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองอุทัยธานี เป็น “บ้าน อุทัยเก่า” ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีแหล่งโบราณสถาน จำนวนมากและมีวัดแจ้งซึ่งเป็นวัดเก่าสร้างในปี พ.ศ. 2081 อำเภอหนองขาหย่าง (Nong Khayang) เป็นอำเภอชั้น 3 มีพื้นที่ 347.776 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 10 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2444 ประกอบด้วยตำบล 9 ตำบล 53 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 8,331 คน หญิง 8,960 คน รวม 17,291 คน มีจำนวนบ้าน 4,559 หลังคาเรือน อำเภอบ้านไร่ (Ban Rai) เป็นอำเภอชั้น 2 มีพื้นที่ 3,621.492 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 80 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2470 ประกอบด้วยตำบล 13 ตำบล 134 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 33,294 คน หญิง 33,083 คน รวม 66,377 คน มีจำนวนบ้าน 18,857 หลังคาเรือน 17
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี อำเภอลานสัก (Lan Sak) เป็นอำเภอชั้น 3 มีพื้นที่ 1,080.445 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 54 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2518 ประกอบด้วยตำบล 6 ตำบล 81 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 31,452 คน หญิง 30,708 คน รวม 62,160 คน มีจำนวนบ้าน 14,882 หลังคาเรือน พื้นที่ของอำเภอ ลานสักส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา มีเขาปลาร้าซึ่งมีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีภาพเขียนสีก่อน ประวัติศาสตร์มากมาย และมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก อำเภอห้วยคต (Huai Khot) เป็นอำเภอชั้น 4 มีพื้นที่ 424.175 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัด 45 กิโลเมตร ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2527 ประกอบด้วยตำบล 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน มีประชากรแยกเป็นชาย 9,761 คน หญิง 9,836 คน รวม 19,597 คน มีจำนวนบ้าน 5,351 หลังคาเรือน จังหวัดอุทัยธานี มีเทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาล เมืองอุทัยธานี และเทศบาลตำบล 9 แห่ง คือ เทศบาลตำบล ทัพทัน เทศบาลตำบลตลุกดู่ เทศบาลตำบลสว่างอารมณ์ เ ท ศ บ า ล ต ำ บ ล ห น อ ง ฉ า ง เ ท ศ บ า ล ต ำ บ ล เ ข า บ า ง แ ก ร ก เทศบาลตำบลหนองขาหย่าง เทศบาลตำบลบ้านไร่ เทศบาล ตำบลเมืองการุ้ง และเทศบาลตำบลลานสัก 1.4 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดอุทัยธานีตั้งอยู่ใกล้ ลุ่มแม่น้ำสะแกกรังจึงมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบและดินปนทราย 18
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าและภูเขาสลับซับซ้อนโดยมีพื้นที่ ลาดเทมาทางทิศตะวันออก ลักษณะดินฟ้าอากาศในระหว่าง ฤดูกาลต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันอยู่มาก คือ ฤดูหนาวจะมี ความหนาวเย็นมาก ในขณะที่ฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด ส่วนใน ฤดูฝนจะมีฝนตกชุกทุกปี ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากลักษณะที่ตั้งอยู่ ใกล้บริเวณเทือกเขาและป่าทึบ โดยเฉพาะในแถบอำเภอบ้านไร่ และอำเภอลานสัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า หว้ ยขาแขง้ ซง่ึ ใน พ.ศ. 2534 องค์การยเู นสโกแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้เป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ จำนวน 5 แห่งในภูมิภาคเอเซีย ดำรงสถานะเป็นมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรห้วยขาแข้ง จึงเป็น แห่งหนึ่งที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกในปัจจุบันนี้ ใ น ด ้ า น ท ร ั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ต ิ ข อ ง จ ั ง ห ว ั ด อ ุ ท ั ย ธ า น ี นอกจากจะเป็นป่าไม้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดแล้ว ก็ยังมีแร่ธาตุสำคัญอีกหลายอย่าง เช่น แร่ดีบุกในเขตอำเภอ บ้านไร่ เขตอำเภอลานสัก ในบริเวณนี้ยังมีแร่เฟลด์สปาร์ แร่เหล็ก แร่วุลแฟรม แมงกานีส ไมกาและหินแกรนิต นอกจากนี้ จังหวัดอุทัยธานีมีแหล่งน้ำที่สำคัญหลายแห่งที่ไหลหล่อเลี้ยง ผู้คนและสิ่งมีชีวิต เช่น ลำห้วยทับเสลา ซึ่งเกิดจากเทือกเขาใน เขตอำเภอบ้านไร่ ไหลผ่านพื้นที่ทางเกษตรกรรมต่าง ๆ ลงสู่ แม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ลำน้ำสำคัญอีกสายหนึ่ง คือ ลำน้ำสะแกกรัง ซึ่งเกิดจากเทือกเขาแม่วงก์ ไหลผ่านพื้นที่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสะแกกรังจึงถือเป็นแม่น้ำสายหลัก ของชาวอุทัยธานี (สมัย สุทธิธรรม, 2542, น.14-17) 19
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 2. สภาพทางเศรษฐกิจ สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุทัยธานี ประชาชน ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 89.79 ประกอบอาชีพกสิกรรมเป็น อาชีพหลัก มีพื้นที่ทำการเกษตร 1,923,500 ไร่ หรือเท่ากับ ร้อยละ 34.74 ของพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี อาชีพทางด้าน การเกษตรโดยเฉพาะการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สุด ของประชากร ส่วนอาชีพรองลงมาคือ การเลี้ยงสัตว์และการ ประมง โดยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมของจังหวัดอุทัยธานี ประมาณร้อยละ 52.8 เป็นผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งได้จากการ ประกอบอาชีพกสิกรรม มีพืชที่ทำการเพาะปลูกทำรายได้สูงสุด ได้แก่ ข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชไร่ที่ทำการเพาะปลูกกันมากที่สุดถึง 826,828 ไร่ รองลงมาเป็น ข้าว อ้อย ถั่วเขียว ฝ้าย ข้าวฟ่างและ ถั่วลิสง ตามลำดับ ส่วนทางด้านการปศุสัตว์ แต่เดิมการเลี้ยง มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงไว้ใช้ งานและเลี้ยงไว้เป็นอาหาร แต่ในระยะหลังเริ่มมีประชาชนให้ ความสนใจและความสำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์และยึดถือเป็น อาชีพมากขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า โดยสัตว์ที่นิยมเลี้ยง กันมากที่สุดได้แก่ สัตว์ปีกเช่น ไก่และเป็ด ทางด้านการประมง ประชาชนทำการประมงน้ำจืดตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และบริเวณแม่น้ำสะแกกรัง มีการเลี้ยงปลา ในกระชังและเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากได้แก่ ปลาสวาย ปลาแรด ปลานิล และปลาตะเพียน โดยเฉพาะ จังหวัดอุทัยธานี เป็นกลุ่มเลี้ยงปลาที่มีการจัดตั้งเป็นสหกรณ ์ ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเป็นแห่งแรกของประเทศไทย 20
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ทางด้านการอุตสาหกรรม ของข้อมูลสำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี ปี 2550 พบว่า โรงงาน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาลและโรงงาน มันเม็ด 3 . สภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานีมีภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสลับซับซ้อน มีพื้นที่ลาดเทมาทางทิศ ตะวันออก ที่อยู่ใกล้แม่น้ำสะแกกรัง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความ อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร นอกจากนี้ยังมี ลำน้ำที่สำคัญหลายสาย เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้การที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ทำให้อุดมไปด้วย ไม้ที่สำคัญเช่น ไม้เต็งรัง ไม้มะค่าโมง ไม้แดงและไม้ตะเคียน และยังมีสัตว์ป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะสัตว์ที่หายาก และ บางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ควายป่า แรด ช้างป่า วัวแดง กระทิง และกวาง เป็นต้น เมื่อย้อนไปในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นบ้านสะแกกรัง (ที่ตั้งของจังหวัด อุทัยธานีในปัจจุบัน) เป็นหมู่บ้านปลายเขตแดนเมืองชัยนาท มีพ่อค้าคนจีนไปตั้งยุ้งฉางเพื่อรับซื้อข้าวและพืชพันธุ์ต่าง ๆ จากชาวเมือง ชาวเมืองจะพากันนำเกวียนบรรทุกข้าวเปลือก นับเป็นร้อยเล่ม เดินทางมาที่บ้านสะแกกรังซึ่งถือได้ว่าเป็น ตลาดใหญ่ที่รับซื้อข้าวเข้ายุ้งฉาง รอส่งลงเรือบรรทุกข้าวไปขาย ยังตลาดต่างเมือง โดยอาศัยแม่น้ำสะแกกรังล่องเรือออกไป 21
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อตกลงซื้อขายข้าวกับพ่อค้าคนจีน ที่บ้านสะแกกรังแล้ว ก็จะพากันพักค้างคืนอยู่ตามบริเวณ ริมแม่น้ำสะแกกรัง ซื้อสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ทำให้บ้าน สะแกกรังกลายเป็นตลาดที่ใหญ่และสำคัญ เพราะเป็นสถานที่ แห่งเดียวที่ชาวเมืองอุทัยธานี ใช้ติดต่อค้าขาย และใช้เป็น เส้นทางในการติดต่อกับเมืองอื่น ๆ นอกจากนี้ บ้านสะแกกรัง ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “บ้านท่า” เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่มีแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านและใช้แม่น้ำนี้ เป็นเส้นทางเดินเรือ นอกจากนี้แม่น้ำสะแกกรังยังถูกใช้เป็นเส้น ทางลำเลียงช้างป่า ล่องแพซุงขนาดใหญ่ ไปยังกรุงศรีอยุธยา ตามใบบอกของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สถานที่นำช้างป่าลงท่าน้ำ เรียกว่า “ท่าช้าง” ซึ่งจะมีการนำช้างป่าออกมาจากเพนียดทุก วัน ส่วนสถานที่ ที่ใช้เป็นที่รวมขอนซุงต่าง ๆ อยู่ไปทางทิศใต้ ประมาณ 8 กิโลเมตร เรียกว่า “บ้านท่าซุง” ความสำคัญในทาง ภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญนอกจากการค้าขายแล้วยังใช้เป็นเส้นทาง เ ด ิ น ท ั พ ข อ ง ก อ ง ท ั พ ห ล ว ง ท ี ่ ย ก ก ำ ล ั ง ม า ท ี ่ เ ม ื อ ง ช ั ย น า ท เพื่อรวบรวมกำลังทั้งทางบกและทางน้ำเพื่อทำศึกสงคราม บ้านสะแกกรังจึงเป็นเส้นทางเข้าออกสำหรับกองทัพ และเป็น เมืองท่าที่ใช้ในการติดต่อการสงคราม โดยมีความสำคัญเป็น เมืองด่านมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่คอย กะเกณฑ์สิ่งของต่าง ๆ ส่งให้กองทัพ เนื่องจากเมืองอุทัยธานี เป็นเมืองด่านที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ข้าว ช้างป่า มูลค้างคาว ไม้ และผลกระวาน สำหรับใช้ในกองทัพและเป็นยุทธปัจจัยที่ สำคัญ และมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพ 22
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เก่ียวข้อง พม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, 2544, น.13-55) หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ ส ม บู ร ณ า ญ า ส ิ ท ธ ิ ร า ช ย ์ ม า เ ป ็ น ก า ร ป ก ค ร อ ง ใ น ร ะ บ อ บ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการแผ่ ขยายอิทธิพลของการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาใน ประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีจึงเป็นเขตอิทธิพลที่ สำคัญของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เพราะประชาชนมักอยู่ อาศัยตามหมู่บ้านในพื้นที่ที่ห่างไกลจากเขตเมืองและมีการ คมนาคมยากลำบาก จึงทำให้มีโอกาสที่จะถูกฝ่ายตรงข้าม เข้ามาขยายอิทธิพลในเขตพื้นที่ได้ง่าย อีกทั้งมีพื้นที่ติดต่อกับ หลายจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัด กาญจนบุรี และจังหวัดตาก จึงแสดงให้เห็นว่า จังหวัดอุทัยธานี มีสภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันเพื่อความ มั่นคงของชาติ 4. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ก่อนสมัย การปกครองระบอบประชาธิปไตย บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นดินดอนรูป สามเหลี่ยม อันเกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนที่แม่น้ำ เจ้าพระยาและแม่น้ำสายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง มีอาณาบริเวณจากจังหวัด นครสวรรค์ ถึงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเชื่อกันว่าสมัยโบราณ สามารถเดินเรือจากอ่าวไทยเข้าไปถึงเมืองสรรค์บุรี จังหวัด ชัยนาทได้ 23
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานีเป็นดินแดนที่อยู่ในอาณาเขต บริเวณดังกล่าว ที่พบหลักฐานทางโบราณคดีว่าเคยเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคโลหะ) ทั้งนี้ จากการขุดค้นสำรวจหาหลักฐานทางโบราณคดีของกรม ศิลปากร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2512 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2512 พบว่าบริเวณเชิงเขานาค ตำบลขี้ฝอย อำเภอทัพทัน เคยเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะ ประมาณ 3,000 ปี – 1,500 ปี มาแลว้ เพราะลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยโบราณ เนื่องจากเป็นเนินดินน้ำท่วมไม่ถึง อยู่ใกล้ลำน้ำ และภูเขา เหมาะแก่การเพาะปลูก ล่าสัตว์ หาอาหาร และสามารถใช้ ลำน้ำเป็นเส้นทางคมนาคม พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับ กำไลสำริด ลูกปัดหินลาย ขาวดำ (Boudid Agate) ลูกปัดหินสีส้ม (Carnalian) และอื่น ๆ อีก เป็นจำนวนมาก สำหรับพื้นที่บริเวณเนินป่าสัก อำเภอบ้านไร่ พบภาพ เขียนสี ก่อนประวัติศาสตร์อยู่บนหน้าผาเทือกเขาปลาร้า พร้อม กับขวานหินขัดและเศษภาชนะดินเผาต่าง ๆ ในถ้ำฆ้องชัย และที่บริเวณเชิงเขาซับฟ้าผ่า ใกล้ลำห้วยน้ำซับ อำเภอบ้านไร่ ซึ่งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พบกลุ่มหินวงกลม ประหลาด 6 วง เป็นหินอัคนี กองเรียงซ้อนกันทำเป็นรูปวงกลม ขนาดกว้าง 2.00-2.50 เมตร ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า น่า จะเป็นที่ฝังศพของชนเผ่าละว้าโบราณ หินวงกลมนี้ชาวบ้าน เรียกกันว่า “สังเวียนไก่” และพบภาพเขียนของมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ตามผนังถ้ำและหน้าผาสูง เพื่อถ่ายทอดความ 24
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คิดเห็น ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เป็นทั้ง ภาพเขียนสีรปู คนและภาพเขียนสีรูปสัตว์ จึงอาจสรุปได้ว่า พื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานีเป็นที่อยู่ อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่โบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อพยพ มาตั้งแต่สมัยหินเก่า จากกาญจนบุรี แล้วอพยพเข้ามาทาง อำเภอบ้านไร่ มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเป็นสมัยโลหะ อยู่รวมกันเป็นชุมชน ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จากการค้นพบเมืองโบราณดังกล่าวทำให้นักโบราณคดี เชื่อว่า บริเวณจังหวัดเชื้อสายสืบทอดมาจากเผ่าพันธุ์ของพวก มอญ-ทวารวดี (เผ่าพันธุ์ที่ผสมระหว่างชาวละว้ากับธิเบต) อุทัยธานีในอดีตเป็นแหล่งชุมชุนเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ที่ มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่มากและมี และรับอิทธิพลทางศิลปะมา จากอินเดีย จนสามารถสร้างรูปปูนปั้น พระพิมพ์ดินเผา พระพุทธรูปสำริด และเครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งการก่อสร้างด้วย อิฐแดงและเผาอิฐ จึงนับได้ว่าดินแดนจังหวัดอุทัยธานีเคยมี ความเจริญรุ่งเรืองในสมัยทวารวดีอย่างมาก “ท้าวมหาพรหม” ซึ่งเป็นผู้ตั้งเมืองอุทัยเก่า ได้ทำการ รวบรวมชนชาติไทยเป็นชุมชนเล็ก ๆ จนในที่สุดก็สร้าง บ้านเมืองเป็นหลักฐานที่บ้านอุทัยเก่า ในท้องที่อำเภอหนองฉาง ซึ่งพบแนวศิลาแลง วางเรียงเป็นแนวยาวประมาณ 2 เมตร และระฆังหิน หมู่บ้านแห่งนี้จึงเรียกทั่วไปว่า “บ้านอู่ไทย” ซึ่ง หมายถึง ที่อยู่ของชนชาติไทย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัด อุทัยธานีเป็นที่อยู่ของชนชาติต่าง ๆ เช่น มอญ ละว้า เป็นต้น เมื่อผู้คนที่เป็นชนชาติไทยไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเป็นกลุ่ม 25
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ก้อนจึงได้ชักชวนคนไทยมาอยู่ด้วยกันเพราะความอุดมสมบูรณ์ หมู่บ้าน “อู่ไทย” จึงเจริญกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ โดยรอบบ้านเมือง ท ี ่ ร ่ ว ม ส ม ั ย เ ด ี ย ว ก ั น ก ั บ เ ม ื อ ง อู ่ ไ ท ย น ั ้ น เ ก ิ ด ข ึ ้ น ห ล า ย แ ห ่ ง ในดินแดนแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำหรับคำว่า “อุทัย” นั้นมาจากคำเดิมว่า “อู่ไทย” เป็น ชื่อชุมชนเก่า คือบ้านอุทัยเก่าหรือ บ้านดอน (บริเวณอำเภอ หนองฉาง) เป็นหมู่บ้านคนไทยที่อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยง และหมู่บ้านมอญ จึงเรียกกันว่าเมือง “อู่ไทย” ตามกลุ่มหรือที่ อยู่ของคนไทย ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสน้ำเปลี่ยนทาง เมืองจึงถูกทิ้งร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวกะเหรี่ยงชื่อ “พะตะเบิด” ได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทย โดยขุดทะเลสาบ ขังน้ำไว้ใกล้เมือง และเป็นผู้ครองเมืองอู่ไทยเก่าคนแรก ชื่อเมือง จึงเพี้ยนเป็นเมือง “อุไทย” ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยง และมี ฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้า มาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือน ทำมาค้าขายที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น (สุทธิชัย ปทุมล่องทอง, 2549, น.493) ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองอุทัยธานี เริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในสมัย ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองอุทัยธานีได้เป็น เมืองหน้าด่านเพื่อที่จะสกัดกองทัพพม่า ซึ่งจะวกเข้ามาทาง ด่านแม่ละเมา เมืองตาก และทางด่านเจดีย์สามองค์ เมือง กาญจนบุรี ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเห็นว่า เมือง อุทัยธานีเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนและเป็นเมืองที่อยู่ระหว่าง 26
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เส้นทางเดินทัพที่พม่าชอบผ่านเข้ามามากที่สุด อุทัยธานีในสมัย นั้น มีอาณาเขตทิศตะวันออกติดกับเมืองแพรก (เมืองสรรคบุรี) และทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับเมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือก็ติดกับเมืองแปป (กำแพงเพชร) และ เมืองฉอด (จังหวัดตาก)(สมัย สุทธิธรรม, 2542, 5-8) รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์แห่ง กรุงศรีอยุธยานั้น บ้านสะแกกรัง (ที่ตั้งของจังหวัดอุทัยธาน ี ในปัจจุบัน) เป็นหมู่บ้านปลายเขตแดนเมืองชัยนาท มีพ่อค้า คนจีนไปตั้งยุ้งฉางเพื่อรับซื้อข้าวและพืชพันธุ์ต่าง ๆ จาก ชาวเมือง ชาวเมืองจะพากันนำเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกนับ เป็นร้อยเล่มเดินทางมาที่บ้านสะแกกรังซึ่งถือได้ว่าเป็นตลาด ใหญ่ที่รับซื้อข้าวเข้ายุ้งฉาง รอส่งลงเรือบรรทุกข้าวไปขาย ยังตลาดต่างเมือง โดยอาศัยแม่น้ำสะแกกรังล่องเรือออกไป บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อตกลงซื้อขายข้าวกับพ่อค้าคนจีนที่ บ้านสะแกกรังแล้ว ก็จะพากันพักค้างคืนอยู่ตามบริเวณริม แม่น้ำสะแกกรัง ซื้อสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ทำให้บ้านสะแกกรัง กลายเป็นตลาดที่ใหญ่และสำคัญ เพราะเป็นสถานที่แห่งเดียวที่ ชาวเมืองอุทัยธานีใช้ติดต่อค้าขายและใช้เป็นเส้นทางในการ ติดต่อกับเมืองอื่น ๆ เหตุที่เรียกว่าบ้านสะแกกรังนี้ มาจาก หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านริมน้ำ สภาพเดิมเต็มไปด้วยป่าสะแกที่ขึ้น รกอยู่ริมฝั่ง ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวง สรศักดิ์) บุตรชายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ชื่อ ขุนทอง ได้เข้ารับราชการมีความดีความชอบจนได้เป็นเจ้าพระยา 27
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี วรวงศาธิราช มีบุตรชื่อนายทองคำ ซึ่งได้ถวายตัวเข้ารับ ราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2245 นายทองคำผู้นี้ ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นจมื่นมหาสนิท เป็นหัวหมื่นมหาดเล็ก ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เพื่อคอยกะเกณฑ์ สิ่งของเนื่องจากเมืองอุทัยธานีเป็นเมืองด่านที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ข้าว ช้างป่า มูลค้างคาว ไม้ และผลกระวาน สำหรับใช้ใน กองทัพและเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในโอกาสเป็น รัชทายาทที่จะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ต่อไปด้วย ขณะที่จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) อยู่ที่บ้านสะแกกรังนั้น ภรรยาได้ให้กำเนิดบุตรชายคนโตคนหนึ่ง ชื่อว่า “ทองดี” มี ความปรากฎในหลักฐานของพระราชหัตถเลขาของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึง เซอร์ จอห์น เบาริง ใน หนังสือ The Kingdom and People ว่า “ผู้ซึ่งเป็นพระมหาชนก แห่งปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี และเป็นพระอัยกาของ พระบิดาแห่งกษัตริย์องค์ปัจจุบัน และกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง ของประเทศสยาม เป็นราชโอรสอันสูงศักดิ์ของราชวงศ์ที่สืบเชื้อ สายมาจากตระกูลขุนนางกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งได้ย้าย ถิ่นฐานมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา และต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ บ้านสะแกกรังอันเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสายใหญ่เชื่อมอาณาเขตติดต่อภาค เหนือและภาคใต้ของประเทศสยาม เล่ากันว่าบุคคลผู้มีความ สำคัญได้ถือกำเนิดที่นี่และกลายเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เป็นพิเศษของราชวงศ์สยามที่มาจากหมู่บ้านสะแกกรังสู่ 28
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เก่ียวข้อง กรุงศรีอยุธยา” บุคคลผู้มีความสำคัญที่ได้ถือกำเนิดที่บ้าน สะแกกรัง (จังหวัดอุทัยธานี) คือ นายทองดี ซึ่งต่อมาคือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” รัชกาลที่ 1 ผู้ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองแผ่นดินสยาม ในยุคสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์และ สถาปนาราชวงศ์จักรี ขึ้น โดยอัญเชิญพระนามแห่งราชวงศ์ มาจาก “จักรี” คือ จักร และ ตรีศูล ศาสตราวุธสำคัญของ พระนารายณ์ และมีเหตุที่สอดคล้องกับชื่อ “เจ้าพระยาจักรี” ที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งมาก่อน (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, 2544,13-55) ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด- ฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเห็นว่าตัวเมืองอุทัยเก่านั้นเป็นที่ ดอน ตั้งอยู่บนพื้นที่ต่อเนื่องกับเชิงเขาบรรทัด เขตติดต่อกับ แดนมอญ ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองใหม่ จึงย้ายตัวเมือง อุทัยธานีเก่าจาก “บ้านดอน” (บริเวณอำเภอหนองฉางใน ปัจจุบัน) มาตั้งที่ “บ้านสะแกกรัง” ที่แขวงเมือง ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ว่า ตัวเมืองอุทัยเก่าตั้งอยู่ที่ตำบล อุทัยเก่า อำเภอหนองฉาง เรียกว่า “เมืองอุทัย” ซึ่งตั้งขึ้นสมัย กรุงศรีอยุธยา สาเหตุที่ย้ายเมืองนั้นสืบเนื่องมาจากเจ้าพระยา ที่มาดำรงตำแหน่งเป็นหัวเมืองอุทัยใหม่ อีกทั้งเมืองอุทัยเก่า ราษฎรเจ็บป่วยมีโรคชุกชุม จึงได้ขอตั้งบ้านเรือนที่หมู่บ้านสะแก กรัง ในตำบลอุทัยใหม่ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเขตของเมืองชัยนาท จนมีราษฎรเข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยประกอบอาชีพ ทำมา หากินมากขึ้น จนในปี พ.ศ. 2445 กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่ง 29
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี เขตตำบลสะแกกรังออกจากจังหวัดชัยนาทให้ไปขึ้นกับจังหวัด อุทัยธานี 5. จังหวัดอุทัยธานีสมัยการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวัด อุทัยธานีมีภูมิประเทศที่ค่อนข้างจะทุรกันดารปราศจากการ คมนาคม นอกจากทางเกวียนที่ต้องบุกผ่านป่า หรืออาศัย เรือล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยา และอาศัยลำน้ำสะแกกรังผ่านเข้า ตัวเมืองทางตำบลคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ภายหลังจึงได้มีการยกเลิกภาคที่ตั้งขึ้นก่อนนั้นโดยจังหวัด อุทัยธานี ซึ่งเดิมขึ้นกับมณฑลนครสวรรค์ ได้เปลี่ยนไปรวมขึ้น อยู่กับมณฑลอยุธยา และในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2468 ได้ โอนกิ่งอำเภอห้วยแห้ง จังหวัดชัยนาท มารวมอยู่กับอำเภอคอก ควาย จังหวัดอุทัยธานี และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอคอกควายมา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า อำเภอบ้านไร่ จังหวัด อุทัยธานี จึงมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ คือ อำเภอนำ้ ซมึ อำเภอหนองขาหยา่ ง อำเภอทพั ทนั อำเภออทุ ยั เกา่ และอำเภอบ้านไร่ จนกระทั่ง พ.ศ. 2470 ได้มีการก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภออุทัยเก่า ที่ตำบลหนองฉาง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหนองฉาง ในรัชกาลที่ 7 ได้ทรงแต่งตั้งให้พระยาประสาทน์ วริยกิจ (เลี่ยม) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ใน พ.ศ. 2470-2474 และพระยาสุรินทรฤาชัย (จันทร์ ตุงคะสวัสดิ์) ใน พ.ศ. 2474- 30
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2475 จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของ ประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ โดยการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นำโดยคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการ ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมขุ จงึ ไดม้ กี ารแตง่ ตง้ั พระยาศรมี หาเกษตร (ชวน สมทุ รานนท)์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการ โดย ประกาศยกเลิกมณฑล ใน พ.ศ. 2476 และจัดให้จังหวัดเป็น หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค พร้อมกับให้มีเทศบาลเป็น หน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เรียกว่า “ข้าหลวงประจำจังหวัด” หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2477 ได้มีการกำหนดเขตตำบลขึ้นใหม่อยู่ในฐานะตำบลในเขต เทศบาลเมืองอุทัยธานี แบ่งเขตตำบลบ้านสะแกกรังและตำบล น้ำซึม รวมเนื้อที่ 2.5 ตารางกิโลเมตร เป็นตำบลอุทัยใหม่ เนื่องจากตำบลอุทัยเก่าเป็นที่ตั้งเมืองอุทัยธานีมาแต่เดิม พร้อม กับได้มีการจัดตั้งเทศบาลเมืองอุทัยธานีขึ้น โดยนายสว่าง โรจนศิริ เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอุทัยธานีคนแรก ภายหลังได้เปลี่ยนชื่ออำเภอน้ำซึม เป็น “อำเภอเมือง อุทัยธานี” ใน พ.ศ. 2482 เนื่องจากพื้นที่ของอำเภอเป็นที่ตั้ง ของศาลากลางจังหวัดอุทัยธานีและเทศบาลเมืองอุทัยธานี หลังจากนั้นในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการโอนตำบล ท่าซุง ตำบลเกาะเทโพ ตำบลหาดทะนง ซึ่งเป็นเขตของอำเภอ มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาขึ้นกับอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 31
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2495 ได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการ ส่วนภูมิภาคให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด รับผิดชอบการบริหารราชการ และได้ตั้งสุขาภิบาลตามอำเภอ ต่าง ๆ และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใน พ.ศ. 2498 วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 พระสุนทรมุนี (พุฒ) เจ้าคณะจังหวัด กับนายพล วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการปฏิสังขรณ์มณฑปที่ถูกไฟป่า ไหม้โดยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ให้เงินช่วยเหลือมา 250,000 บาท เริ่มก่อสร้างมณฑปและ ดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องมาจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2511 ต่อมา พ.ศ. 2514 นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุทัยธานี ได้ริเริ่มโครงการสร้างอนุสาวรีย์ของสมเด็จ พระปฐมบรมมหาชนกแห่งรัชกาลที่ 1 กษัตริย์ปฐมราชวงศ์จักรี ด้วยปรากฏหลักฐานจากการศึกษาว่า สมเด็จพระปฐมบรม มหาชนก กำเนิดที่บ้านสะแกกรัง อันเป็นที่ตั้งของจังหวัด อุทัยธานี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2516 และได้มีการก่อสร้างพลับพลาอนุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก บนยอดเขาสะแกกรัง ในสมัย นายปราโมทย์ หงสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี แล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2522 32
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวความคิดเก่ียวกับความชอบธรรม ทางการเมือง กลไกของการเลือกตั้งจะช่วยทำให้ระบบการเมือง เคลื่อนไหวเพื่อไปสู่เป้าหมายแห่งรัฐ ด้วยเหตุนี้การเลือกตั้ง จึงเป็นเครื่องมือของรัฐที่จำเป็นในการสร้างความชอบธรรม ทางการปกครองของรัฐบาล อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ 1. ความชอบธรรมในทางกฎหมาย ซง่ึ หมายถงึ การท่ี กฎหมายได้กำหนดที่มา การสิ้นสุด และขอบเขตอำนาจหน้าที่ (authority) ของรัฐบาลไว้ ด้วยเหตุนี้อำนาจหน้าที่จึงเป็นที่มา ของความชอบธรรม 2. ความชอบธรรมในทางการเมือง ซึ่งหมายถึง ขอบเขตของความเห็นพ้องและการยอมรับ (consensus) จาก สมาชิกของสังคมซึ่งมอบอำนาจในการตัดสินใจให้กับผู้นำ ทางการเมืองการปกครอง การยอมรับดังกล่าวมิได้หมายถึง เฉพาะการลงคะแนนเสียงที่เป็นทางการเท่านั้น แต่รวมทั้ง การยอมรับด้วยลักษณะการอื่น ๆ เช่น การยอมรับบารมีของ ผู้ปกครอง และความชอบธรรมทางการเมืองในระดับประเทศ เช่นการเลือกตั้งของผู้แทนราษฎร การยอมรับดังกล่าวถือเป็น อำนาจ (power) แต่ถ้าเป็นการอาศัยอำนาจโดยปราศจากการ ยอมรับ เช่น การปฏิวัติ รัฐประหาร แม้จะเป็นอำนาจแต่ก็ไม่ใช่ ความชอบธรรมทางการเมือง (สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, 2545, น. 52-53) 33
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกต้ัง ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ได้รับการ ยอมรับว่าเชื่อในเรื่องอำนาจของประชาชนที่มีต่อระบบและ กระบวนการทางการเมือง เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถ เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการปกครอง แต่เนื่องจากสภาพ โครงสร้างของสังคมในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อน มีประชากร เป็นจำนวนมาก ประชาชนจึงไม่อาจสามารถเข้าไปมีส่วนในการ ปกครองตนเองได้ทั้งหมด จึงเกิดรูปแบบของประชาธิปไตยที่ใช้ อำนาจผ่านผู้แทน (Representative Democracy) และใน กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแทนในการใช้อำนาจทางการ เมืองแทนประชาชนนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า การเลือกตั้ง (Election) เป็นรูปแบบพื้นฐานที่เหมาะสมภายใต้รูปแบบ อันหลากหลายของการให้ได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน การเลือกตั้ง จึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรมทางการเมือง ที่สำคัญสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะ แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้เป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตยในการไปใช้สิทธิเลือกบุคคลหนึ่งบุคคล ใดหรือพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดเป็นตัวแทนไปทำ หน้าที่แทนตน การเลือกตั้งจึงเป็นหลักประกันให้ผู้ที่ได้รับเลือก เป็นตัวแทนต้องทำตามเจตจำนงของประชาชน โดยเฉพาะใน การตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อประชาชน หากไม่ทำหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบายที่ประกาศไว้ในตอน หาเสียง การเลือกตั้ง ก็เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวแทน ได้เมื่อถึงระยะเวลา การเลือกตั้งจึงเป็นวิธีการที่ได้รับการ ยอมรับโดยทั่วไปในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี 34
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. ความหมายของการเลือกต้ัง การเลือกตั้ง (Election) มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ ในลักษณะต่าง ๆ กัน แต่นิยามของการเลือกตั้งที่เข้าใจได้ง่าย เดวิด บัทเล่อร์ และคณะ (Devid Butler and others, 1981, p.216) ให้ความหมาย “การเลือกตั้ง” ว่า เป็นรูปแบบ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นพลเมือง หยุด แสงอุทัย (2512, น.2) ให้ความหมายของ “การ เลือกตั้ง” ว่า หมายความถึง กรณีที่บุคคลได้เลือกบุคคลหนึ่ง จากบุคคลหลาย ๆ คน หรือเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับ เลือกตั้งบัญชีหนึ่งจากบัญชีรายชื่อหลายบัญชี เพื่อให้ไปกระทำ การอันใดอันหนึ่ง ชูสง่า ฤทธิประศาสน์ (2517, น. 2) ให้ความหมาย “การเลือกตั้ง” ว่าเป็นการที่บุคคลที่ได้เลือกบุคคลหนึ่งจาก บุคคลหลาย ๆคน หรือเลือกบุคคลหลาย ๆ คนจากบัญชีรายชื่อ ผู้สมัคร เพื่อให้ไปกระทำการอันใดอันหนึ่งแทนตน วิสุทธิ์ โพธิแท่น (2550, น.51) นิยาม “การเลือกตั้ง” ว่า หมายความรวมถึง กิจกรรมและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการ ให้ได้มาซึ่งตัวแทนของประชาชนที่ประชาชนผู้เลือกตั้ง (voters) ใช้ดุลยพินิจเลือกตัวแทนของตนจากบรรดาผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ หลากหลาย (candidates) เพื่อให้ผู้ได้รับเลือกไปดำรงตำแหน่ง และทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งแทนประชาชน 35
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248