Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 41นักการเมืองถิ่นนครสวรรค์

41นักการเมืองถิ่นนครสวรรค์

Published by Meng Krub, 2021-06-08 13:07:00

Description: เล่มที่41นักการเมืองถิ่นนครสวรรค์

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ โดย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยส์ มชัย วงษส์ วุ รรณ ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สมชยั วงษส์ ุวรรณ. นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั นครสวรรค-์ - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2558. 240 หน้า. 1. นักการเมือง - - นครสวรรค์. 2. นครสวรรค์ - - การเมืองการปกครอง. l. ชื่อเรื่อง. 324.2092 ISBN 978-974-449-801-4 รหสั สิง่ พิมพ์ของสถาบนั พระปกเกล้า สวพ.58-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนงั สือ 978-974-449-801-4 ราคา พิมพ์ครง้ั ที่ 1 2558 จำนวนพมิ พ์ 500 เล่ม ลิขสทิ ธ ์ิ สถาบันพระปกเกล้า ทีป่ รึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชัย วงษ์สุวรรณ ผพู้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จดั พมิ พโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพ์ที่ บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถ่ิน จังหวัดนครสวรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชัย วงษ์สุวรรณ สถาบันพระปกเกล้า อภินันทนาการ

คำนำ หนังสือ “นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์” เป็น ผลผลติ ชน้ิ หนง่ึ ของโครงการดงั กลา่ ว ซง่ึ ทางสถาบนั พระปกเกลา้ ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าได้ดำเนินการศึกษาวิจัย จนได้ข้อมูล ที่สมบูรณ์ของการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ จึงหวังเป็นอย่าง ยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วนในการช่วยเพิ่มเติมเต็มในเรื่องราว ทางการเมืองในส่วนที่ยังขาดอยู่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยทําความเข้าใจปรากฏการณ์ ทางการเมืองไทยในระดับจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้ง จะเป็นแรงกระตุ้นให้มีการศึกษาวิจัยการเมืองการปกครองไทย เพิ่มเติมต่อไป ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สมชยั วงษส์ วุ รรณ ผู้วิจัย

บทคัดย่อ การสํารวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้ รับการเลือกตั้งในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเพื่อ ให้ได้ทราบถึงเครือข่ายและกลวิธีการหาเสียงของนักการเมือง วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ จากการ ศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ สามารถจําแนก พื้นฐานที่มาของนักการเมืองออกได้ดังนี้คือ อดีตข้าราชการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษา นักธุรกิจ บุคลที่มีตําแหน่งในสมาคม/ชมรม อดีตข้าราชการในองค์การ บริหารราชการส่วนภูมิภาค นักกฎหมาย และบุคลากรด้าน สื่อสารมวลชน สำหรับผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดนครสวรรค์นั้นเป็นนักการเมืองชาย 41 คน มีนักการเมืองหญิงเพียง 1 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ การเลือกตั้งมากครั้งที่สุดอยู่ในตําแหน่ง 12 สมัย คือ นายสวสั ด์ิ คำประกอบ รองลงมาคอื 7 สมยั ไดแ้ ก่ นายประเทอื ง คำประกอบ รองลงมาเปน็ จำนวน 6 สมยั คอื นายใหญ่ ศวติ ชาติ และนายวสันต์ อินทรสูตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับการ เลือกตั้งที่มีอันดับรองลงมาเป็นจำนวน 5 สมัย มีทั้งสิ้น 2 ท่าน คือ นายวีระกร คำประกอบ และนายบุญชู โรจนเสถียร ความนยิ มพรรคการเมอื งของประชาชนจงั หวดั นครสวรรค์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 จนถึงปี พ.ศ.2539 พรรคการเมืองที่ได้รับ ความนยิ มจากประชาชน และไดท้ น่ี ง่ั ส.ส. จากจงั หวดั นครสวรรค์ ค่อนข้างสม่ำเสมอ มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปในแต่ละ ยุคสมัย ได้แก่ พรรคประชาธิปไตย พรรคกิจสังคม พรรค สามัคคีธรรม และพรรคชาติไทย ยกเว้นในการเลือกตั้งครั้งที่ 21 (6 ม.ค. 2544 – 5 ม.ค. 2548) ครั้งที่ 22 (6 ก.พ. 2548 – 19 พ.ค. 2549) และครั้งที่ 24 (3 ก.ค. 2554) ชุดปัจจุบัน ซึ่งกระแสความ นิยมของพรรคไทยรักไทย และพรรคเพื่อไทยในจังหวัด นครสวรรค์มีสูงมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ วิธีการและกลวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของ นักการเมืองถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์มีหลายรูปแบบ ได้แก่การ ใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่โดดเด่น การหาเสียงแบบเข้าถึง ชาวบ้าน การแจกใบปลิว และการใช้เครือข่าย ส่วนบทบาทและ ความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ พบว่า ครอบครัว วงศาคณาญาติ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์ ลูกค้า รวมทั้งภูมิลําเนาเดิม ล้วนเป็นปัจจัยสําคัญที่มีส่วนสนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ให้ได้รับ การเลือกตั้ง VI

Abstract The purpose of this study was to collect data about Nakhon Sawan politicians who have been elected to parliament. The study examined politicians’ personal histories, relationships and campaigners. Data were collected through a review of relevant documents and interviews. Data were analyzed qualitatively and organized into thematic patterns. The study found that Nakhon Sawan politicians could be categorized into seven types: retired officials in local government sector, educationist, businessmen, member of association, retired officials in provincial sector, lawyers and journalists. Most of Nakhon Sawan politicians were male. There was one female politician. Mr.Sawasdi Kamprakob was elected twelve consecutive times. Mr.Prathueng Kamprakob were elected seven times, and Mr.Yai Switchati and Mr.Wasan Intharasoot were elected six times.

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ During 1957–1996. the most popular political parties in Nakhon Sawan were Democrat Party, Social Action Party, Justice Unity Party and Chart Thai Party. In the 21st election (6 January 2001 - 5 January 2005), the 22nd election (6 February 2005 - 19 May 2006) and the 24th election (3 July 2011) however, Thairakthai party and Phuethai party became the most popular political parties. There were several strategies politicians in Nakhon Sawan used in their political campaign, for example, highlighting their own outstanding abilities to the public, creating personal contact and connection, distributing election flyers, and campaigning through their existing personal network. In regards to the role of benefit group and informal group, this study found that family, relatives, friends, disciples, clients, and neighbors in their hometown played an important role in supporting candidates to win their elections. VIII

สารบัญ หน้า คำนำ IV บทคัดยอ่ V Abstract VII บทที่ 1 บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญของการศึกษา 1 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ขอบเขตในการศึกษา 4 วิธีการศึกษา 5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทที่ 2 ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครสวรรค ์ 7 ที่ตั้งและสภาพภมู ิศาสตร์ 7 สภาพเศรษฐกิจ 14 สภาพสังคมและวัฒนธรรม 15 การบริหารและการปกครอง 16 จำนวนประชากรและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ หนา้ บทท่ี 3 แนวคดิ ทฤษฎี และงานวิจยั ทเ่ี ก่ียวข้อง 21 แนวความคิดประชาธิปไตย 22 แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มผลประโยชน์ 24 แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองและการหาเสียงทางการเมือง 26 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 29 กรอบในการวิเคราะห์ 45 บทที่ 4 นักการเมืองถิ่นจงั หวดั นครสวรรค ์ 49 ลำดับเหตุการณ์การเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ 49 74 สรุปภาพรวมเชิงสถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 82 ประวัติความเป็นมานักการเมืองถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ บทท่ี 5 สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ 127 สรุปผลการวิจัย 128 ข้อเสนอแนะ 165 บรรณานุกรม 170 ภาคผนวก 173 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ 173 ภาคผนวก ข แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ 175 ภาคผนวก ค ภาพนักการเมืองถิ่น 177 ภาคผนวก ง แบบสัมภาษณ์ 193 ประวตั ผิ ูว้ จิ ัย 227

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ สารบัญตาราง หนา้ ตารางที่ 19 1 การแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดนครสวรรค์ 2 สรุปการจำแนกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 78 ตามปีพุทธศักราชที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ 129 พ.ศ. 2476 – 2554 XI

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 ต้นแม่น้ำเจ้าพระยาหรือปากน้ำโพ 9 2 แผนที่แสดงการอาณาเขตจังหวัดที่ติดต่อเขตกับ 11 จังหวัดนครสวรรค์ 3 แผนที่จังหวัดแสดงการแบ่งเขตการปกครองระดับอำเภอ 16 4 แผนที่แสดงการแบ่งเขตเลือกตั้ง ใน จ.นครสวรรค์ 18 5 แผนภมู ิแสดงลักษณะสำคัญของทฤษฎีผู้นำ 34 6 รปู แบบของการจัดองค์การอย่างไม่เป็นทางการ 43 ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง 7 รูปแบบของการจัดองค์การอย่างเป็นทางการ 44 ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง 8 รูปแบบการผสมผสานระหว่างการจัดองค์กร 45 ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ หรือเป็นระบบ XII

บ1ทท ี่ บทนำ การศึกษา “การเมืองถ่ิน” และ “นักการเมืองถิ่น” จังหวัดนครสวรรค์ ที่มาและความสำคัญของการศึกษา การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้สร้าง การเมืองที่ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่กำหนด นโยบายสาธารณะแทนตนทั้งในระดับชาติ และในระดับท้องถิ่น ในระดับชาติประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม รวม 24 ครั้ง มีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาโดยตรงครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ขณะที่ในระดับท้องถิ่นได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อ ทำหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายรูปแบบซึ่งมี การพัฒนาตามลำดับ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ อย่างไรก็ตาม คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการศึกษาการเมือง การปกครองไทยที่ผ่านมายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาต ิ เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไปของภาคการเมืองที่ศึกษากันอยู่ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองถิ่น” ที่เป็นการศึกษาเรื่องราวของ การเมืองที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของท้องถิ่นที่เป็นจังหวัด ต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ที่เป็นภาพคู่ขนานไป กับการเมืองในระดับชาติอีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวที การเมือง ณ ศูนย์กลางของประเทศกำลังเข้มข้นด้วยการชิงไหว ชิงพริบของนักการเมืองในสภาและพรรคการเมืองต่างๆ อีกด้าน หนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัครพรรคพวก และผู้สนับสนุน ทั้งหลายก็กำลังดำเนินกิจกรรมเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที ่ ด้วยเช่นกัน และทันทีที่ภารกิจที่ส่วนกลางสิ้นสุดลง การลงพื้นที่ พบปะประชาชนตามสถานที่ต่างๆ เป็นสิ่งที่นักการเมืองหวัง ชัยชนะในการเลือกตั้งมิอาจขาดตกบกพร่องได้ ภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึง หลายสิ่งหลายอย่างของการเมืองไทย ที่ดำเนินมาต่อเนื่อง ยาวนาน ในแง่มุมที่อาจถูกมองข้ามไปในการศึกษาการเมือง ระดับชาติ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จึงเป็นเรื่องที่ น่าสนใจทำการศึกษามิใช่น้อยเพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยัง ขาดหาย และหากนำสิ่งที่ได้ค้นพบนี้มาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็น่าจะทำให้สามารถเข้าใจการเมืองไทยได้ชัดเจนขึ้นในมุมมอง ที่แตกต่างกันจากการมองแบบเดิมต่อไป การศึกษา “นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์” จึงได้จัด ทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักการเมือง

บทนำ ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด นครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะได้ทำการรู้จัก นักการเมืองถิ่นที่เคยได้รับเลือกตั้ง ในการที่จะได้ทราบถึง เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง และความสัมพันธ์ ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มต่างๆ ที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ตลอดจนผู้สนับสนุน ฯลฯ ที่มีส่วน ให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง รวมถึงความ สัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ ตลอดจนเพื่อทราบถึงวิธีการที่ใช้ในการหาเสียงในการเลือกตั้ง ของนักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัด นครสวรรค์ ตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดบ้างที่ได้รับเลือกตั้ง และชัยชนะของ นักการเมืองเหล่านั้นมีสาเหตุมาจากอะไร และมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ให้การสนับสนุน รวมถึงได้ทราบถึงความสําคัญของกลุ่ม ผลประโยชน์ ทั้งกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่มี อิทธิพลต่อการเมืองในท้องถิ่น ที่ทําการศึกษา และทราบถึง ความสําคัญ ของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครสวรรค์ ได้ทราบรูปแบบ วิธีการ และ กลวิธีต่างๆ ที่นักการเมืองใช้ในการเลือกตั้ง ได้รับทราบข้อมูล เกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” สําหรับเป็น องค์ความรู้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของ ประเทศไทยต่อไป

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้รู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อสำรวจถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาถึงบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชนแ์ ละกลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ เชน่ ครอบครวั วงศาคณาญาติ ที่มีส่วนในการสนับสนุนทาง การเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ 4. เพื่อศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ 5. เพื่อศึกษาถึงกลวิธีที่ใช้ในการหาเสียงในการเลือกตั้ง ของนักการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตของการศึกษา อาศัยการเมืองของนักการเมืองระดับชาติตั้งแต่การ เลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรครั้งล่าสุดในจังหวัดนครสวรรค์ โดยให้ความสําคัญกับ เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง บทบาทของกลุ่ม ผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการต่างๆ บทบาท และ ความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองภายในจังหวัด นครสวรรค์ ตลอดจนรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง

บทนำ วิธีการศึกษา อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสําคัญในการ ศึกษา ได้แก่ 1. การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ 2. การสัมภาษณ์บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึง นักการเมืองคนต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ที่ยังมีชีวิตอยู่ ญาติพี่น้องและเครือข่ายต่างๆ ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดในจังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการ เลือกตั้งบ้าง และชัยชนะของนักการเมืองเหล่านี้ มีสาเหตุและปัจจัยอะไรสนับสนุน 3. ได้ทราบถึงความสําคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ เชน่ ครอบครวั วงศาคณาญาติ ที่มีต่อการเมืองในท้องถิ่น 4. ได้ทราบถึงความสําคัญของพรรคการเมืองในการ เลอื กตง้ั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรในจงั หวดั นครสวรรค ์

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ 5. ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้ง 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นกั การเมอื งถน่ิ ” สาํ หรบั เปน็ องคค์ วามรใู้ นการศกึ ษา วิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป

บ2ทท ี่ ข้อมูลทั่วไปของ จังหวัดนครสวรรค์ 1. ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ 1.1 ประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์ มีชื่อปรากฏ มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจาลึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการ ทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึง กรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤษี) จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็น แนวปรากฏอยู่ เมอื งพระบาง ภายหลงั เรยี กชอ่ื วา่ เมอื งชอนตะวนั เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และ หันหน้าเมืองไปทางแม่น้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกทำให ้

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยน เป็นเมืองนครสวรรค์ ในที่สุด ถือว่าเป็นศุภนิมิตอันดี แต่ ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า นครสวรรคเ์ คยเปน็ เมอื งเกษตรกรรมมาตง้ั แตย่ คุ ตน้ ประวตั ศิ าสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีน ที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ นครสวรรค์ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า ปากน้ำโพ โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพ มาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กองทัพ เรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ปากน้ำโพ แต่ต้าน ทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไป ที่มาของคำว่า ปากน้ำโพ โดยที่มาของเมืองปากน้ำโพ มีผู้กล่าวเล่าว่าที่เรียกว่า “ปากน้ำโพ” สันนิษฐานได้ 2 ประการ คือ อาจมาจากคำว่า “ปากน้ำโผล่” ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า “ปากน้ำโผล่” และเพี้ยนกลายมาเป็น “ปากน้ำโพ” เพราะเป็นที่ปากน้ำปิง ยม และน่าน มาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา

5 ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครสวรรค์ ภแาผพนภทมู ่ี ทิ1่ี ต1 น้ แผแนมภนู่มิต้ำน เแจม้าน พา้ํ เรจาะพยราะยหารหอืรือปปาากกนน้ําโ้ำพโพ ภาพบรเิ วณทเี่ ปภนปาาพกบแมรนิเวํา้ ณขอทงแี่เมปน ็นํา้ โปพากแม่น้ำของแม่น้ำโพ ทม่ี า (http://www.panyathai.oทr.ี่มthา/w(ihkti/tipn:d//ewxw.pwhp.p) anyathai.or.th/wiki/index.php) คเแรมือียนกม้าํกีตปนั นง วสโจาวพงึน แปหปธเอรมาิ์ขรายีีกกนือ่กนกตนาวอน้ํำาา้ํดารโนีกใ้ำพาหปสก่าปโธาญ่พวลิ์นกรกอานนใะอ็วยดาํ้นาอวกูตโจังาปพรีกาเเงปเัรจชตปดปนหจ่งันนาำไเกดนุปบชรนปานาึั่นงํ้ากากใป)นคนกาลํ้าทบกือขย่าี่ไยรอมหิเมวมงวแลวณปีตปม่มาาวน้นากัดาํ้ากชเโโบโปมพพชพรธ็นปมธร์ิ(าคปิ์จขกปือบนาซลแาดั่ึงกกามเกนปดแนับลล้ํานใ้แำนะัดทหปมขาี่ตาญนอ่นแั้งกใศงลน้นำ่อาแ้าํปปะลยอจมปเิงื่นู่ตจจ่นาาุบจๆรพกัน้ำงึงอ)นปโหเกรพทร้ำาวียือ่ีไนอกหก(ออคื่นลนวกีูใมนือป้ๆ่ำาาปร บ ะจรกจราุบจรันบหกนจับึ่ึงง บใรนิเวณบปราิเกวนณ้าํ โวพัดมโีสพภาธพิ์ เซปนึ่งชเุมปท็นางทกีา่ตรัค้งาศเาปลนแเจหล้างพชุม่อนกุมวเรนือคอาูใขนาวปทัจ่ีใหจญุบทันี่สุด รองลงมา จากกรงุ เทพจึงฯเไรมียซกุงกสักันจวา่ากภปาาคกเหนน้ำือโนพับธหิ์มกื่น็อนาับจแเสปน็นทอไดน้ จะถูกลองลงมาตามลําน้ําท่ีเปนสาขาของ แมอมยาชูนทมุ้ําาเนงจฝมุ า งกพตันรชะะทวุมยี่ปันานาตกมุมกนาขรเํ้าบรวอโพมืองรแกเิเคพวมนั ้า่ือนณทเข้ําปี่ลปป้าาือกงวกานซทกเาํ้ ื้อปนีโ่ใสพนห้ำินศกญโคูนพอ ายน่ทศกมที่สูนลี่จีสายุดะงภกแรกยลาอาากรพงงสคกลเงาปาไงรรปะ็นมคหยาชาังวขทุมจาองี่ตาทงนานกาคงคกงรๆรสกรสวุงบาวรเรรรรทรรคคคดพก้ามาับฯพีอเหยอปไัวูคม3็นเามจ้ซแแือาหุหงงกงทสลกคาัรก่งืองุงเเหตทลนพาือดฯเยชจานวะ กําแพงเพชจร าตกากภแาลคะเเชหียนงใือหนมเับปหน ตมน ื่นชนาวับนแคสรสนวทรร่อคนเ รยี จกะคนถไูกทลยท่อางงลเหงนมอื าวาตลาามว ลจึงำเนรีย้ำก ตลาดนี้วา ตลาดลาว ชทาวี่เปเห็นนือสจาะขนาําสขนิ อคงาแปรมะ่นเภ้ำทเไจม้าสกัพรและะยขาองมปาารเชวนมหกวันาทย ี่ปชันากนนํ้าม้ำันโยพางกส่อีเสนียทดี่ เปลือกไม นํ้าผงึ้ ฯลฯ จมะาขแายยกขสาก่งลไบัปกย็จังะซทื้อี่ตข่าาวงแๆละบเกรลรือดกาลพับ่อไปคต้าลจาาดกสกะพราุงนเทดําพอฯยูทจาะงมฝางตชะุมวันนตุมกของแมน้ํา เจาพระยา กเปันนทศูนี่ปยกาลกานงก้ำารโคพาเรพะหื่อวาเงลอือํากเภซอตื้อาสง ินๆ คขอ้างนศคูนรสยว์รกรลคาเชงนกอาํารเภคอ้าโกขรอกงพระ อําเภอ พยุหครี ี อําเภอบรรพตพิสัย สินคาท่ีนํามาขายมีขาว สัตวปา และของปา ตลาดทาชุด อยูริมคลองบาง

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ นครสวรรค์มีอยู่ 3 แห่งคือ ตลาดยาว อยู่ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำปิง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างนครสวรรค์กับหัวเมือง ทางเหนือ เช่น กำแพงเพชร ตาก และเชียงใหม่ เป็นต้น ชาวนครสวรรค์เรียกคนไทยทางเหนือว่าลาว จึงเรียกตลาดนี้ว่า ตลาดลาว ชาวเหนือจะนำสินค้าประเภทไม้สัก และของป่า เช่น หวาย ชัน น้ำมันยาง สีเสียด เปลือกไม้ น้ำผึ้ง ฯลฯ มาขาย ขากลับก็จะซื้อข้าวและเกลือกลับไป ตลาดสะพานดำ อยู่ทาง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่าง อำเภอตา่ งๆ ของนครสวรรค์ เชน่ อำเภอโกรกพระ อำเภอพยหุ ครี ี อำเภอบรรพตพิสัย สินค้าที่นำมาขายมีข้าว สัตว์ป่า และของป่า ตลาดท่าชุด อยู่ริมคลองบางประมุง ตำบลท่าชุด เป็นศนู ย์กลาง การค้าข้าวของนครสวรรค์กับจังหวัดที่อยู่โดยรอบ เช่น พิจิตร กำแพงเพชร ตาก พ่อค้าชาวจีนจะมารับซื้อข้าว ณ ที่นี้ แล้วนำสินค้าล่องลงกรุงเทพ ฯ ทางแม่น้ำเจ้าพระยาโดยใช้เรือ กระแซงใหญ่ ขากลับ (ขาขึ้น) จะบรรทุกเกลือ มะพร้าว และ น้ำตาลปีบมาขายที่นครสวรรค์ 1.2 ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ ไทย ในเขตภาคเหนือตอนล่าง หรือภาคกลางตอนบน ตั้งอยู่ ระหว่างละติจูดที่ 15 องศา 40 ลิปดาเหนือ กับละติจูด 16 องศา 10 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 99 องศา 5 ลิปดา- ตะวันออก กับลองจิจูด 100 องศา 50 ลิปดาตะวันออก อยู่บริเวณตอนกลางของประเทศไทยเหนือเส้นศูนย์สูตร ค่อนไป ซีกโลกด้านตะวนั ออก โครงสร้างทางธรณวี ทิ ยาทำให้นครสวรรค์ 10

ประมุง ตําบลทาชุด เปนศูนยกลางการคาขาวของนครสวรรคกับจังหวัดท่ีอยูโดยรอบ เชน พิจิตร กําแพงเพชร ตาก พอคาชาวจีนจะมารับซ้ือขาว ณ ที่นี้ แลวนําส้ินคาลองลงกรุงเทพ ฯ ทางแมนํ้า เจาพระยาโดยใชเรือกระแซงใหญ ขากลับ (ขาขึ้น) จะบรรทุกเกลือ มะพราว และนํ้าตาลปบมาขายที่ ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครสวรรค์ นครสวรรค 1.ม2 ีทลตี่ ัก้งั แษละณอาะณภาเขูมติประเทศคล้ายแอ่งกระทะ พื้นที่ตอนกลางของ รกะลหางวตางอลนจ2อจบ2ังงังนจหหเิจวตมูดวัดัง้ นอตัด9คย9รรรูเอสะปหแงวศร็วนลราาคงแะ5ลต อะคัง้ลตอิป่งอ่จิยดูดตูบยาทรต่ำๆิเี่ ว1ะมณว5ลันตอีนอางออศ้ำนดกากทสล4กา0่วับงูงลลมขขปิออน้ึถงดงจปาทึงิจเรหูดะานเสท1งอื ศ0ูงทก0ไจทับศิอยลางตะศกใตนาะจิ รเูด5วขะ0ตนั1ดภล6อาิปัอบคดองเาศหนกตาน้ะำแอื1วต0ทันลอลอะนะิปอลเทดกาลางศิอเหปยหตนูบรรือือระะภิเแววามลณคนัะาตณก ตอนกลาโงดขอยงปทระี่ทเทาศไงททยเิศหนตอื เะสนวศันนู ยตส กูตรใคนอนเขไปตซีกอโลำกเดภานอตแะวมนั อ่วอกงคโค์รพงสรื้นา งททาี่มงธีรรณะวีดิทับยาสทาํ ูงถึง สทใหงูานจงาทคกริศรสตะ1อวดะร,วับีกร7ันคนจ8ต้าํ มท0กังีลใะหกันเเลษเมวปขณัดรตตะะอภมหรําาูมเนณภปินอรึ่ง2ับะแข2เมทเวเอศปมงคตงค็นลรปาพจแยื้นรลแังทะะอหคี่มงเอกีรทวยระะัดดศๆทับทไะสลทาูงพี่มดถย้ืนสีคึงทงู 1่ตีวข ,อึ้น7านท8ม0กาลงสทาเมงิศำขตตคอระงวัญนจันังับหอเใปอวนดักนเแจทปลังนาะหทแวงอิศัดปงตทตะี่มรํ่าวีคะมันวีนวตา้ํากมัตทสโวิศําดมคยาถัญทึงสี่ ตร์ ในทางปรภะวาตั ิศพาสทตร่ี อีก2จงั หแวผัดหนนงึ่ ทขอี่แงปสระเดทศงไกทยารอาณาเขตจังหวัดที่ติดต่อเขต แกผับนภจูมงัิทห่ี 2วแผดั นนที่แคสดรงกสารวอรนารเขคต ์จังหวัดท่ีคิดตอเขตกบั จงั หวัดนครสวรรค ที่มา http://www.nsru.ac.th/main/manage25521.asp 11

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง หรือ ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย คาบเกี่ยวระหว่างภาคเหนือ กับภาคกลาง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือโดยทาง รถยนต์เป็นระยะทาง 237 กิโลเมตร ทางรถไฟเป็นระยะทาง 250 กิโลเมตร อาณาเขตติดต่อของจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ ติดต่อกับจังหวัดต่างๆ 8 จังหวัดดังนี้ คือ ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดเพชรบรู ณ์และลพบุรี ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดตาก ชัยนาท และอุทัยธานี ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี 1.3 ขนาดและรูปร่าง จงั หวดั นครสวรรค์ มพี น้ื ทป่ี ระมาณ 9,597 ตารางกโิ ลเมตร หรือ 5,998,548 ไร่ เปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย นครสวรรค์เป็นจังหวัดขนาดกลาง รูปร่างของจังหวัดนครสวรรค์ มีลักษณะเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกกับทิศตะวันออก มีรปู ร่างคล้ายๆ ผีเสื้อกางปีกบิน 1.4 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดน ของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นการไหลบรรจบของแม่น้ำ สี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และ แม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีก 12

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครสวรรค์ อย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อม กระจัดกระจายในอำเภอต่างๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม จึงเป็นที่รองรับ ลำน้ำหลายสายให้ไหลมารวมกัน ทำให้เกิดแม่น้ำเจ้าพระยา ซง่ึ เปน็ แมน่ ำ้ สายสำคญั ทส่ี ดุ ของประเทศไทย และมบี งึ บอระเพด็ ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีลำคลองและหนองน้ำอยู่อีกเป็นจำนวนมาก จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในธรณีโครงสร้างของแม่น้ำ เจ้าพระยาหรืออยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “กราเบน” (Graben) อายุ ทางธรณีของพื้นที่เหล่านี้มีตั้งแต่เก่าแก่ที่สุด จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดคล้ายแอ่งกระทะ โดยพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดเป็นแอ่งที่ต่ำของที่ราบน้ำ ท่วมถึงสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 22 เมตร แต่บริเวณทิศ ตะวันออกและทิศตะวันตกจะมีระดับค่อยๆ สูงขึ้นๆ 1.5 ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดนครสวรรค์ มีลักษณะภูมิอากาศประเภททุ่งหญ้า เมืองร้อน (Aw) คือ ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปี 28.7 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.4 องศาเซลเซียส และอุณหภมู ิต่ำสุดเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์มีสามฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว โดยที่ฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนมาก และ ในทางตรงกันข้ามในฤดูหนาวก็จะมีอากาศหนาวเช่นกัน แต่ 13

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ เป็นช่วงในระยะสั้นๆ ไม่เป็นช่วงที่ยาวมากนัก สำหรับในฤดูฝน ก็จะมีฝนตกชุก เพียงพอต่อการทำการเกษตรและกสิกรรม ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดทั้งสัตว์น้ำสัตว์บก 2. สภาพเศรษฐกิจ จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขต พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็น ชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน รถไฟ หรือ ทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรง ซึ่งเป็น ตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่เจริญ เป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทย สำนักงานคลังจังหวัด นครสวรรค์ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ในปีนี้ ว่า “ในปี 2554 เศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากปี 2553 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.6 (โดยมี ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.6 – 4.1) ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตรา ที่เร่งตัวขึ้น ตามอุปทานภายในจังหวัดที่มีแนวโน้มขยายตัว สงู ขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2553 ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม พืชเศรษฐกิจหลัก พืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครสวรรค์ คือ ข้าวโพด ขา้ วฟา่ ง ถว่ั เขยี ว ถว่ั เหลอื ง ถว่ั ลสิ ง ออ้ ย ฝา้ ย งา และมนั สำปะหลงั โดยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ เป็นแหล่งปลูก ข้าวโพดที่ใหญ่เป็นที่สองของภาคเหนือรองจากจังหวัด เพชรบูรณ์ และเป็นแหล่งปลูกอ้อยมากในภาคเหนือรองจาก จังหวัดกำแพงเพชร 14

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครสวรรค์ การประมง แหล่งประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด คือ บึงบอระเพ็ด มีเนื้อที่ ประมาณ 132,737 ไร่ และยังมีแม่น้ำสองสายที่สำคัญ คือ แม่น้ำปิง (เป็นพื้นที่ที่ทำการประมงน้ำจืด ประมาณ 209,867 ไร่) และแม่น้ำน่าน (แม่น้ำน่านรวมกับแม่น้ำยม) ไหลมารวมที่ บริเวณปากน้ำโพ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา การประกอบอาชพี เพาะเลย้ี งสตั วน์ ำ้ ในจงั หวดั นครสวรรค์ เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีแนวโน้มที่จะเลี้ยง เพิ่มขึ้น การอุตสาหกรรม จังหวัดนครสวรรค์ มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 1,293 โรงงาน ลักษณะของอุตสาหกรรมที่มีอยู่ ส่วนใหญ่เป็น อตุ สาหกรรมที่สอดคลอ้ งกบั อาชพี หลักของจงั หวัด อุตสาหกรรม ที่มีมากที่สุด คือ โรงสีข้าว จำนวน 364 โรง จากจำนวนโรงงาน ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 28.16 อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่รองจาก โรงสีข้าว คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยเฉพาะ การซ่อมเครื่องมือ อุปกรณ์การเกษตร 3. สภ าพสังคมและวัฒนธรรม สภาพของสังคมของจังหวัดนครสวรรค์นับได้ว่าจังหวัด นครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่มีสภาพสังคม ที่หลากหลาย แต่ก็มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน มีวัฒนธรรมประเพณีที่ งดงามได้ปฏิบัติกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายชั่วคน 15

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ สภาพสังคมเป็นสังคมที่มีชนชาติที่เป็นทั้งชาวจีน ชาวลาว ชาวมอญ และชาวไทย ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืนไม่ก่อให้ เกิดปัญหาในการอยู่ร่วมกันตลอดมา 4. การบริหารและการปกครอง การปกครองแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1,32810 หมู่บ้าน ภระาดพับทอแ่ี ำผ3เนภภแมู อผิท ี่ น3 ทแผี่จนทังีจ่ หังหววัดัดแสแดงสกาดรแงชงกเขาตกราแรปบกค่งรอเงขระตดบั กอําาเภรอปกครอง ภาพ แผนท่ีแสดงที่ต้ังของอําเภอตา งๆ ใน จ.นครสทวรี่มรคา http://th.wikipedia.org/wiki ที่มา1. h ttอp:ำ//tเhภ.wอikiเpมedือia.งoนrg/คwiรkiสวรรค์ 2. อำเภอโกรกพระ 1. อําเภ3อ.เ ม ือองำนคเภรสอวรชรคุม แสง 2. อาํ เภอ4โ.ก ร กอพำรเะภอหนองบัว 3. อาํ เภอชุมแสง 16 4. อําเภอหนองบวั 5. อาํ เภอบรรพตพิสัย

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครสวรรค์ 5. อำเภอบรรพตพิสัย 6. อำเภอเก้าเลี้ยว 7. อำเภอตาคลี 8. อำเภอท่าตะโก 9. อำเภอไพศาลี 10. อำเภอพยุหะคีรี 11. อำเภอลาดยาว 12. อำเภอตากฟ้า 13. อำเภอแม่วงก์ 14. อำเภอแม่เปิน 15. อำเภอชุมตาบง 5. จำนวนประชากรและผู้มีสิทธิเลือกต้ัง จำนวนครัวเรือนในจังหวัดนครสวรรค์ตามรายงานสถิติ จำนวนประชากรและบ้านรายจังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ เดือน กันยายน พ.ศ. 2554 มีครัวเรือนจำนวน 366,848 ครัวเรือน มีจำนวนประชากร 1,070,550 คน เป็นชายจำนวน 524,438 คน เป็นหญิงจำนวน 546,112 คน โดยเป็นประชากรที่มีสิทธิ ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 806,553 คน (ศูนย์ปฏิบัติการ จังหวัดนครสวรรค์ Provincial Operation Center ศูนย์ข้อมูล ข่าวสารจังหวัดนครสวรรค์ สำนักยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง 2) 17

จํานวนครัวเรอื นในจังหวดั นครสวรรคต ามรายงานสถิติจาํ นวนประชากรและบานรายจังหวดั จงั หวัดนครสวรรค เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 มีครวั เรือนจํานวน 366,848 ครัวเรอื น มีจํานวนประชากร 1,07น0ัก,5ก5า0รคเมนือเงปถน ิ่นชจาังยหจวําันดวนนคร5ส2ว4,ร4ร3ค8์ คน เปน หญงิ จํานวน 546,112 คน โดยเปนประชากรที่มีสิทธิ ลงคะแนนเสยี งเลอื กต้ังจาํ นวน 806,553 คน (ศนู ยป ฏิบัตกิ ารจังหวดั นครสวรรค Provincial Operation Cenภterาศนูพยข ทอ มี่ ูล4ขาวสแารผจงั หนวดั ทนค่ี แรสวสรรดค สงํานกกั ยาทุ ธรศาแสตบร ก่ งลมุ เจังขหวตดั ภเาลคเืหอนือกตอตนลั้ างงใ2)น แผนจภ.มูนิทค่ี 4รแสผนวทร่ีแรสดคงแ ์ ผนที่การแบง เขตเลือกตงั้ ใน จ.นครสวรรค ภาพ แทผนี่มทาแี่ ส ดhงtแtผpน:/ท/wก่ี าwรแwบง 2เข.eตcเลt.ือgกoต.้ังthใ/นhoจm.นคeร.pสวhรpร?คP rovince=nakhonsawan ทมี่ า http://www 2.ect.go.th/home.php?Province=nakhonsawan เขตเลือกต้ังจังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้งในจังหวัดนครสวรรค์ แบ่งออกเป็น 6 เขต ในแต่ละเขตมีพื้นที่ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ 18

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดนครสวรรค์ ตารางที่ 1 การแบ่งเขตเลอื กต้ังในจงั หวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้งท่ี 1 อำเภอเมืองนครสวรรค์ (เฉพาะ ต.ปากน้ำโพ) ต.นครสวรรค์ตก (ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์) ต.นครสวรรค์ออก (ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์) ต.วัดไทร ต.แควใหญ่ (ในเขตเทศบาลนคร นครสวรรค์) ต.บ้านแก่ง ต.บ้านมะเกลือ ต.หนองกรด ต.หนองกระโดน ต.บางม่วง ต.บึงเสนาท เขตเลอื กต้งั ท่ี 2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ (เฉพาะ ต.นครสวรรค์ตก (นอกเขตเทศบาลนครนครสวรรค์) ต.นครสวรรค์ออก (นอกเขตเทศบาลนครนครสวรรค์) ต.แควใหญ่ (นอก เขตเทศบาลนครนครสวรรค์) ต.ตะเคียนเลื่อน ต.บาง พระหลวง ต.เกรียงไกร ต.พระนอน ต.หนองปลิง ต.กลางแดด) อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ เขตเลือกตั้งท่ี 3 อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอชุมแสง อำเภอเก้าเลี้ยว เขตเลือกตัง้ ที่ 4 อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว อำเภอท่าตะโก (เฉพาะ ต.ทำนบ ต.ดอนคา ต.พนมรอก ต.พนมเศษ ต.สายลำโพง ต.วังใหญ่) เขตเลอื กต้ังท่ี 5 อำเภอตาคลี อำเภอตากฟ้า อำเภอท่าตะโก (เฉพาะ ต.หนองหลวง ต.หัวถนน ต.วังมหากร ต.ท่าตะโก) เขตเลือกตง้ั ท่ี 6 อำเภอลาดยาว อำเภอแม่วงก์ อำเภอแม่เปิน อำเภอชุมตาบง ที่มา http://www2.ect.go.th/about.php?Province=nakhonsawan& SiteMenuID=1480 19



บ3ทท ่ี แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง การศึกษา “นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์” ในการ ศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมเอกสารด้านหลักการแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย 1. แนวความคิดประชาธิปไตย 2. แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มผลประโยชน์ 3. แนวคดิ เกย่ี วกบั การเมอื งและการหาเสยี งทางการเมอื ง 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5. กรอบในการวิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องข้างต้น ปรากฏ รายละเอียดดังนี้

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ 1. แนวความคิดประชาธิปไตย ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นคำที่สำคัญที่สุดคำหนึ่ง มีความหมายกว้างขวางมาก ก่อให้เกิดการถกเถียงและเกิด ความสับสนอยู่เสมอ อย่างไรก็ดีในการศึกษาประชาธิปไตยอาจ แยกประเด็นของการศึกษาออกได้ดังต่อไปนี้ ประชาธิปไตย ในความหมายที่เกี่ยวกับแนวความคิดที่เป็นอุดมคติอย่างหนึ่ง ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบการเมืองอย่างหนึ่ง และ ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่ง (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2520) พ้ืนฐานแนวความคิดประชาธิปไตย แนวความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยเกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรีก (รากศัพท์ที่มาของคำว่าประชาธิปไตย นั้นมาจาก ภาษากรีก demo แปลว่า ประชาชน กับ kratein ซึ่งแปลว่า การปกครอง ประชาธิปไตยในความหมายของนักปราชญ์สมัย กรีกโบราณอย่างเช่น อริสโตเติล (Aristotle) ได้ให้ความหมาย ประชาธิปไตยว่า เป็นรูปแบบการปกครองแบบหนึ่งที่ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองโดยตรง ด้วยการ ประชุมกันพิจารณาตัดสินปัญหาร่วมกันในที่ประชุมใหญ่ โดยตรง (เสน่ห์ จามริก, 2522) อริสโตเติลได้เสนอรูปแบบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญ ของการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน (กนก วงษ์ตระหง่าน, 2528) 22

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง สำหรับพื้นฐานของแนวความคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 ความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลง ไปมาก พื้นฐานสำคัญของแนวความคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2520) 1. ความเชื่อในความเป็นอิสระและเสรีภาพของมนุษย์ 2. การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์ ในสติ ปัญญา การรู้จักเหตุผลของมนุษย์ 3. การยอมรับในความเท่าเทียมของคน คือ ทุกคนมี ความเสมอภาคกันในทางกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน และทุกคน มีความเสมอภาคกันในทางการเมือง ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ ทางการเมืองที่จะใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี การแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ผิวพรรณ 4. อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ อำนาจ อันชอบธรรมการปกครองของรัฐบาลเกิดจากความยินยอมของ ประชาชน 5. สิทธิในการคัดค้านและล้มล้างรัฐบาล เนื่องจาก รัฐบาลเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนในสังคมได้บรรลุถึงความสุข สมบูรณ์ และรัฐบาลอยู่ได้ก็โดยวัตถุประสงค์ในการคุ้มครอง ชีวิต ทรัพย์สิน และช่วยให้คนสามารถแสวงหาความสุขได้ ดังนั้น ประชาชนจึงมีสิทธิเต็มที่ในการต่อต้านรัฐบาลที่ไม่ปฏิบัติ ตามจุดมุ่งหมายดังกล่าว เม่อื พจิ ารณาพื้นฐานของแนวความคดิ ของประชาธปิ ไตย ดังได้กล่าวมาแล้ว ประชาธิปไตยจึงหมายถึง กระบวนการ 23

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ ทางการเมืองที่ประชาชนมีอำนาจในการควบคุมผู้นำของเขา มากกว่าจะถกู ผู้นำควบคุม (Robert A. Dahl, 1963) 2. แนวคิดเก่ียวกับกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ หรือ Interest Groups เป็นกลุ่มในการ ป้องกันผลประโยชน์ของกลุ่ม ซึ่งแบ่งแยกตามสาขาของสังคม ผลประโยชน์นั้นอาจหมายถึง ผลประโยชน์เฉพาะของกลุ่มหรือ ผลประโยชน์นอกกลุ่ม คือผลประโยชน์ทั่วไปที่เป็นสาธารณะ รวมถึงจุดหมายสุดท้ายคือ การมีอิทธิพลเหนือนโยบาย สาธารณะ กลุ่มผลประโยชน์ในความหมายตามพจนานุกรมศัพท์ สังคมวิทยา (2524:196-197) อธิบายว่า Group interest คือ ผลประโยชน์ของกลุ่ม หมายถึง “ภาวะความรู้สึกตื่นตัวที่เกิดขึ้น ในบุคคลที่ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม” Graham Wotton (1970:1-2) กล่าวว่า กลุ่มผลประโยชน์ คือ กลุ่มทุกกลุ่ม หรือองค์การทุกองค์การที่แสวงหาอิทธิพล เหนือนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ตามวิถีทางที่กำหนด ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบโดยตรงที่จะปกครอง ประเทศ กลุ่มผลประโยชน์เป็นของผู้ร่วมทัศนะที่ได้ทำการ เรียกร้องต่อกลุ่มอื่นๆ ในสังคม และเมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์นี้ กระทำการเรียกร้องข้อเสนอของตน โดยผ่านสถาบันใดๆ ของ รัฐบาลก็ตาม กลุ่มผลประโยชน์นี้จะกลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์ ทางการเมือง (Political Interest Groups) 24

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สุรพล ราชภัณฑารักษ์ (2520 : 187) ได้อธิบายและ ให้ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์ ดังนี้ กลุ่มผลประโยชน์ ได้ก่อตั้งขึ้นมาและจัดองค์กรของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่ากลุ่มนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก กลุ่มผลประโยชน์ก็จะมี อำนาจมีพลังบีบบังคับในทางการเมือง ซึ่งมักเรียกว่าเป็น กลุ่มอิทธิพล ซึ่งแตกต่างจากคำนิยามของ สังข์ พัฒโนทัย (อ้างใน ธีรพล อินทรลิป, 2541: 9) ซึ่งได้ให้คำนิยามว่า “กลุ่ม ผลประโยชน์ หมายถึงกลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ซึ่งมิได้สังกัดพรรค การเมืองใดๆ และใช้อิทธิพลนั้นดำเนินการโฆษณาชักจูง หรือ ดำเนินการอย่างอื่นเพื่อให้การเมืองหันเหไปเป็นประโยชน์ แก่กลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ จึงเป็นการที่คนรวมกลุ่มกันและ จัดองค์กรขึ้นด้วยแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือ มีพื้นฐานทางอาชีพอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกัน การมารวม กลุ่มกันก็เพื่อรวมพลังกันให้เข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองสูง และ กลุ่มผลประโยชน์ไม่ได้เพียงแต่แสวงหาอำนาจมาให้กลุ่มตนเอง เท่านั้น แต่บางครั้งก็จะพยายามโน้มน้าวหรือกดดันให้ผู้มี อำนาจรัฐจัดทำนโยบาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มของ ตนเอง ผศู้ กึ ษาเหน็ วา่ กลมุ่ ผลประโยชนม์ คี วามสำคญั เปน็ อยา่ งยง่ิ ในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ นั้น จะมีการเรียกร้องความต้องการของกลุ่มตนต่อระบบ การเมือง เพื่อให้เกิดการกำหนดนโยบายเพื่อกลุ่มตน ซึ่ง บางกลุ่มผลประโยชน์ก็ไม่ต้องการมีอำนาจทางการเมือง แต่ใช้ พลังของกลุ่ม เพื่อให้เกิดนโยบายเพื่อกลุ่มของตน (นุชนาฏ สุขเอม, 2550) 25

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ 3. แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองและการหาเสียง ทางการเมือง การเมอื งเปน็ เรอ่ื งทม่ี คี วามสมั พนั ธก์ บั คำวา่ “สาธารณะ” อันหมายรวมถึงพื้นที่สาธารณะ (Public Space) ที่โยงใยกับ องค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ นโยบาย กฎหมาย พลเมือง รัฐบุรุษ และกลุ่มทางการเมือง เป็นต้น นอกจากนี้เป้าหมายที่สำคัญ ของการเมือง คือ ประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ที่ผู้แทน ทางการเมืองทั้งหลายต่างต้องผลิตออกมาเพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ที่ตนเองเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นลักษณะของการเมืองภายใต้รูปแบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยทางอ้อมที่ประชาชนเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ ปกครองประเทศแทนตน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้าน ต่างๆ การเมืองสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับการตอบสนอง ความต้องการของประชาชน ที่อยู่ในสถานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งมีความชอบธรรมในการได้รับผลประโยชน์สาธารณะที่รัฐ จัดสรรให้ ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่ดีมีสุข (Well being) อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม อันเป็นฐานรากของการพัฒนารัฐชาติ ดังที่ Orion F. White, Jr. and Cynthia J. Mcswain (1990, p.34) ได้เสนอไว้ว่า การเมืองและการบริหารงานภาครัฐควรจะเปลี่ยนแปลงจาก ระบบที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนไปสู่ระบบชุมชนประชาธิปไตย อย่างแท้จริง จะนำไปสู่ความเสมอภาคและเสรีภาพ โดยที่ภาค รัฐควรกระจายอำนาจและความรับผิดชอบจากจุดศูนย์กลางไป สู่ส่วนปฏิบัติ และการให้สาธารณชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น 26

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ดังนั้นในการบริหารภาครัฐ ควรฟังเสียงประชาชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ และ สร้างรูปแบบความต้องการเหล่านั้น เพื่อตอบสนองความ ต้องการของประชาชน และเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน ดังนั้น การเมืองจึงมิใช่กรอบแนวคิดที่มุ่งแย่งชิง ผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ตลอดจนการรักษา ผลประโยชน์ของตนไว้ จากการแสดงพฤติกรรมทุกรูปแบบเพื่อ ให้ตนเองเข้าสู่อำนาจ และอยู่ในอำนาจได้นานที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ จึงเป็นการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ มุ่งทำลายฝ่ายตรงข้าม หรือฝ่ายที่ไม่ใช่พรรคพวกของตนเองทุกรูปแบบ จึงส่งผลให้การ บริหารและการตัดสินใจทางการเมืองเป็นไปเพื่อคนกลุ่มน้อยที่ ยึดโยงกับอำนาจรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ประเทศชาติโดยรวม (Machiavelli, 1950) ภาพกระบวนทัศน์ทางการเมืองที่มีความขัดแย้งกัน ระหว่างกรอบแนวคิดดั้งเดิมและกรอบแนวคิดใหม่ส่งผลต่อ ความแตกต่างของรูปแบบการเมือง อันเกิดจากพฤติกรรมของ นักการเมือง ได้แก่ การหาเสียงทางการเมือง การปฏิบัติงานใน ฐานะตัวแทนของประชาชน รวมถึงการตัดสินใจทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาสังคมวิทยาการเมือง (Political Sociology) ที่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง การรวมกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจกับการตัดสินใจทางการเมือง อุดมการณ์ของขบวนการทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ รวมถึงพรรคการเมืองและปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีต่อพฤติกรรม ทางการเมือง (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2551) 27

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ ลูเซียน พาย (Lucian W. Pye อ้างใน สิทธิพันธ์, 2551) ได้ศึกษาการเมืองของสังคมที่อยู่ในระยะเปลี่ยนแปลงพบว่า สภาพการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏอยู่ในสังคมที่กำลัง เปลี่ยนแปลงมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก ดังนี้ สังคมที่อยู่ในระยะของการเปลี่ยนแปลงนักการเมือง หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกบทบาททางการเมืองกับ บทบาททางสังคมออกจากกันได้ กล่าวคือนักการเมืองต้องทำ หน้าที่ออกกฎกติกามาบังคับใช้บนพื้นฐานความเสมอภาคของ ทุกคนในสังคม แต่สิ่งที่พบเสมอในสังคมแบบนี้คือผลประโยชน์ ต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นฐานในการหาเสียงให้กับนักการเมือง ในพรรคของตนเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้การตั้งพรรคการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้นำ และพรรคพวกเป็นสำคัญ การยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักมากกว่าการยึดหลักการใน การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยจะเห็นได้จากนโยบาย พรรคที่ขึ้นอยู่กับการชี้นำของผู้นำและสมาชิกพรรค ซึ่งจะต้อง ยอมรับและภักดีต่อพรรคตราบเท่าที่นโยบายของผู้นำนั้น ไม่ทำให้สมาชิกเสียประโยชน์ ผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองส่วนใหญ่ขาด เอกภาพ และมักถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐ ตลอดจนพรรค ที่ตนเองสังกัดอยู่ รวมถึงการกีดกัน หรือการจำกัดของเขต ทางการเมือง โดยอาศัยกฎเกณฑ์มาเอื้อต่อการดำรงอยู่ของ สถานภาพผู้นำของตนเอง จึงเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ไม่ ผ่านสื่อกลางทางการเมือง กล่าวคือ เมื่อประชาชนมีเรื่อง 28

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง เดือดร้อนและต้องการให้รัฐเข้ามาช่วยเยียวยาปัญหาจะไม่เรียก ร้องผ่านองค์กรที่ทำหน้าทีเป็นสื่อกลาง แต่จะรวมตัวกันแล้ว มุ่งตรงไปที่ศูนย์กลางอำนาจคือ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเสนอ ปัญหาให้รัฐบาลรับรู้รับทราบ บทบาทของนักการเมืองจะเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมา ตลอดเวลา ขาดหลักการและอุดมการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่ม ผลประโยชน์ที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะหน้าทำให้ขาดความจริงจัง และ ส่วนใหญ่จัดตั้งเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง หรือเรียกร้องให้ รัฐบาลให้ผลประโยชน์ตนเองมากขึ้นกว่าเดิม ผู้นำทางการเมืองที่ต้องการได้รับคะแนนนิยมจะต้อง เข้าหาคนทุกกลุ่มในพื้นที่ของตนหรือทั่วประเทศ เพื่อให้เกิด การยอมรับของประชาชนที่เป็นฐานเสียง และนิยมใช้การต่อสู้ ทางการเมืองผ่านรูปแบบสัญลักษณ์และศักดิ์ศรี เพื่อให้เกิด ลักษณะของผู้นำบารมี กล่าวคือการมีบุคลิก หรือลักษณะ พิเศษที่ปรากฏอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างศรัทธา ให้ประชาชนรู้สึกเชื่อมั่นว่าผู้นำสามารถนำพาไปได้ 4. งานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับนักการเมืองถิ่นในด้านของพฤติกรรมการเลือกตั้ง พฤติกรรม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการเข้ามามีส่วนร่วมทาง การเมือง โดยมีการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีความ สัมพันธ์ หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมดังกล่าว 29

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ รักฎา เมธีโภคพงษ์ และวีระ เลิศสมพร (2550 : 7) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่โดยส่วนใหญ่ล้วนมีเครือข่าย และความสัมพันธ์ที่กว้างขวางในพื้นที่ มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการได้ รับเลือกตั้งและการดํารงตําแหน่งในสมัยต่อๆ ไป จากข้อมูล ที่ศึกษาพบว่า ภูมิหลังก่อนการลงสมัครรับเลือกตั้งของ นักการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่โดยเฉพาะภูมิหลังด้านอาชีพ การงาน ถือเป็นปัจจัยหนุนเสริมต่อความเป็นเครือข่ายและ ความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ โดยจําแนกออกได้ดังนี้ 1. เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัด เชียงใหม่ 1) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านศาลและ ทนายความ 2) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านราชการส่วน ภมู ิภาค 3) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 4) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านสื่อมวลชน 5) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านการศึกษา 6) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจ การ ประกอบการ และพนักงานในองค์กรต่างๆ 7) เครือข่ายและความสัมพันธ์ทางชมรม สมาคมต่างๆ 30

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 2. บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่ม ที่ไม่เป็นทางการ บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์ลูกหา ลูกค้า ฯลฯ ถือเป็นปัจจัยสําคัญปัจจัยหนึ่งที่มี ส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้รับการเลือกตั้งรวมทั้งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนมากกว่า 1 สมัย จากข้อมูลที่ศึกษาสามารถวิเคราะห์สรุปได้คือ สมาชิก สภาผู้แทนที่มีส่วนได้รับเลือกตั้งด้วยเพราะบทบาทและ ความสัมพันธ์ของวงศ์ตระกูลที่ดีมีชื่อเสียง ครอบครัว และ วงศาคณาญาติในระดับหนึ่ง พรชัย เทพปัญญา (2549: 5 - 8) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ทฤษฎีว่าด้วย ชนชั้นนำ (Elitist Theory) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ซึ่งมี รายละเอียดที่สำคัญในการวิเคราะห์ ดังนี้ ทฤษฎีว่าด้วยชนชั้นนำ (Elitist Theory) คำว่า Elitist ได้เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศสเมื่อ ศตวรรษที่ 17 ในการพรรณนาถึงสินค้าที่มีลักษณะพิเศษที่ดี เลิศ และต่อมาความหมายนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปโดยหมายถึง กลุ่มสังคมที่มีอำนาจ เช่น กลุ่มทหาร หรือกลุ่มขุนนางชั้นสูง (Bottomor T.B., 1976) ในทัศนะของ Lasswell ชนชั้นนำก็คือ ผู้ทรงอิทธิพลในการที่จะหาประโยชน์ หรือคุณค่าจากสังคมให้ ได้มากที่สุด โดยเขาได้จำแนกลักษณะของคุณค่าออกเป็น ตำแหน่ง (deference) รายได้ (income) และสวัสดิภาพ (safety) 31

นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ (Lasswell D.H., 1968) นอกจากนี้ยังได้กล่าวว่าต่อไปอีกว่า มันเป็นสิ่งที่ทุกสังคมย่อมมีการแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ (elite) และมวลชน (mass) ผู้อยู่ใต้การปกครองของชนชั้นนำ (Lasswell D.H., 1959) Mosca นักรัฐศาสตร์ชาวอิตาลีได้เสริมความคิดของ Lasswell ไว้ว่าในทุกสังคมที่ด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาไปสู่ ความศิวไิ ลซ์จนถึงสงั คมที่กา้ วหน้าและพัฒนาแลว้ จะมีการแบง่ ชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้น กล่าวคือ ชนชั้นผู้นำ (ชนชั้นผู้ปกครอง) และชนชั้นผู้ใต้ปกครอง (มวลชน) ชนชั้นผู้นำจะเป็นกลุ่มบุคคล ผู้มีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชาชนภายใน สังคม แต่คนส่วนน้อยเหล่านี้จะเป็นผู้ทรงอำนาจ และผูกขาด การใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนเองทั้งสิ้น สำหรับชนชั้นผู้อยู่ ใต้ปกครอง ถึงแม้จะมีจำนวนมากในสังคม แต่ถูกควบคุมโดย คนจำนวนน้อย เพราะคนจำนวนน้อยเหล่านั้น สามารถที่จะจัด องค์กรได้อย่างเข้มแข็งมีประสิทธิภาพและมีจุดมุ่งหมายที่ แน่นอน Pareto ได้อธิบายถึงความหมายของชนชั้นนำไว ้ สองความหมายด้วยกัน กล่าวคือ ในความหมายแรก เขาได้ เน้นถึงใครก็ตามที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเกี่ยวกับหน้าที่การ งานอย่างสูง ในความหมายที่สอง เขาได้เน้นถึงการปกครอง บุคคลภายในสังคมออกเป็นสองระดับด้วยกัน คือ ในระดับต่ำ ได้แก่พวกที่ไม่ได้เป็นชนชั้นนำ (non-elite) กับชนชั้นนำผู้ซึ่งไม่มี บทบาทในการปกครอง (non-governing elite) 32

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง สรุปจากคำอธิบายของหลายสำนักจะเห็นได้ว่า ชนชั้น ผู้นำก็คือ ผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง ในการที่จะชี้ชะตาบุคคล ที่อยู่ภายใต้การปกครองให้เป็นไปตามครรลองที่พวกเขา ต้องการ เครื่องมือที่สำคัญในการช่วยสร้างฐานอำนาจให ้ เข้มแข็ง ได้แก่สถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และความสามารถ ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งกำหนดอื่นๆ อีก ที่ทำให้ชนชั้นนำมีอำนาจเหนือบุคคลอื่นๆ ภายในสังคม ได้แก่ สภาวะผู้นำ การศึกษา ฯลฯ ดังนั้น เมื่อเรามองโครงสร้างของสังคม ในแนวความคิด ของทฤษฎีชนชั้นนำจะเห็นได้ว่า ลักษณะโครงสร้างของสังคม จะมีรูปร่างเป็นปิรามิด โดยมีชนชั้นนำซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่บน ยอดของปิรามิด ข้าราชการจะเป็นผู้ที่รับใช้ชนชั้นผู้นำเหล่านั้น และมีมวลชนเป็นฐานของปิรามิด ซึ่งไม่มีบทบาทมากมายอะไร นักในสังคม ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎีผู้นำก็คือ นโยบายถือ เป็นความรับผิดชอบของผู้นำที่ปกครองประเทศ กล่าวอีก นัยหนึ่งก็คือ ผู้นำเป็นผู้ที่กำหนดนโยบายนั่นเอง ทั้งนี้เพราะ ประชาชนโดยทั่วไปขาดความสนใจและความรู้ในเรื่องนโยบาย ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้นำ (Thomas R. Dye, 2008) 33

ดังนั้น เม่ือเรามองโครงสรางของสังคม ในแนวความคิดของทฤษฎีชนช้ันนําจะเห็นไดวา ลักษณะโครงสรางของสังคมในแนวความคิดของทฤษฎีชนช้ันนํา จะเห็นไดวาลักษณะโครงสรางของ สงั คมจะมีรปู รางเปนปรามดิ โดยมีชนช้นั นําซึ่งมีจาํ นวนนอ ย อยบู นยอดของปรามิด ขาราชการจะเปนผู นักกทลาัก่ีรรบัษเใณมชือะชทงนีส่ถชํา้ัน่ินคผจัญูนังขําหอเหวงัทดลาฤนนษคนั้ ฎรผีแสลูนวะาํรกมรค็ คมี อื ว์ ลนชโนยบเปานยฐถาอื นเปขนองคปวราามมริดบั ผซิดึ่งชไมอบมบีขอทงบผาูนทํามทา่ีกปมกาคยรออะงไปรรนะกั เใทนศสังกคลมาว อีกนยั หนึ่งกค็ อื ผนู ําเปน ผทู ีก่ ําหนดนโยบายน่ันเอง ทง้ั นีเ้ พราะประชาชนโดยท่ัวไปขาดความสนใจและ ภาคพวาทมรูใี่ น5เร่ือแงนผโยนบาภย ซมู ึง่ ติแรงสกนัดขงา มลกับักผนูษําณ(ThะomสasำRค. Dัญyeข, 2อ00ง8)ทฤษฎีผู้นำ แผนภูมทิ ่ี 5 ลักษณะสาํ คญั ของทฤษฎีผูน าํ ชนชน้ั นํา Elite Policy Direction ขาราชการ และ ผบู ริหาร Official and Administrators Policy Execution มวลชน Mass ที่มา : Thomas R. Dye, 2008. จากรูปภาพตามทฤษฎีชนชั้นผู้นำ ได้แบ่งคนในสังคม หรือในประเทศ ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ชนชั้นนำ (Elite) ข้าราชการประจำ หรือ ผู้บริหาร (Official / Administrators) และ ประชาชน (Mass) โดยหน้าที่หลักของคนทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีความ แตกต่างกันออกไปเนื่องจากระดับหรือฐานะของคนในแต่ละ ระดับดังกล่าวนั้น จะมีแตกต่างกันตามระดับหรือฐานะ กล่าว คือ กลุ่มของชนชั้นนำ (Elite) ซึ่งมีจำนวนน้อยที่สุดมีอำนาจ หน้าที่ในการกำหนดนโยบายหรือการตัดสินปัญหานโยบาย ของชาติ (Policy Decisions) เนื่องจากเป็นผู้นำที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการนโยบาย 34

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในกลุ่มของข้าราชการประจำ หรือผู้บริหารจะมีหน้าที่ ที่สำคัญก็คือ การนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ (Policy Execution) ในส่วนของ ประชาชนที่เป็นกลุ่มของคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้น จะมี บทบาทในการใช้อำนาจในการเลือกผู้แทนให้เป็นตัวแทนในการ เข้าไปกำหนดนโยบายเพื่อตอบสนองความต้องการที่คาดหวัง เอาไว้นั่นเอง โดยมีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่นำ นโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ให้บรรลุผลอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้วยเหตุผลและแนวคิดของทฤษฎีผู้นำดังกล่าวในยุค ปัจจุบันนี้ จะพบว่า ประชาชน (Mass) ที่เป็นส่วนใหญ่ของ ประเทศนั้น นับวันจะมีบทบาทมากขึ้นมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา นั่นคือ การที่ได้เข้าไปมีอำนาจในการเลือกสรรผู้แทนของตนเอง ให้ไปทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ผ่านทางกระบวนการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย (Dye, 1984 : 28-29) สำหรับการนำเอาทฤษฎีผู้นำ (Elite Theory) มาใช้ในการ วิเคราะห์การเลือกตั้งนักการเมืองถิ่นในยุคปัจจุบันนี้ มีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจนก็คือ จะเห็นได้ว่าเมื่อ ประชาชนส่วนใหญ่ (Mass) ของประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มชั้นล่างสุด ได้มีการศึกษามากขึ้น มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และ ความรับผิดชอบในหน้าที่ของประชาชนที่ถูกต้องแล้ว ทำให้ ประชาชนในกลุ่มนี้มีอำนาจในการมีส่วนร่วมในการบริหาร ประเทศมากขึ้น นั่นก็คือการที่ประชาชนสามารถที่จะใช้อำนาจ 35

นักการเมืองถ่ินจังหวัดนครสวรรค์ ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยในการคัดเลือกตัวแทน หรือการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรที่ตนเองต้องการให้ได้ เข้าไปตัวแทน โดยพิจารณาถึงตัวแทนที่มาจากพรรคการเมือง ที่มีนโยบายที่ตรงกันกับความต้องการของตนเองมากที่สุด เพื่อ ให้ได้พรรคการเมืองที่มีนโยบายดังกล่าว ได้นำนโยบายของ พรรคการเมืองนั้นไปใช้ในการบริหารประเทศได้ตามความ ต้องการ ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่ (Mass) จึงเป็นผู้ที่มีอำนาจใน การคัดเลือกตัวแทนของตนเอง คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ พรรคการเมืองที่ต้องการได้เข้าไปบริหารประเทศตามที่ ตนเองหรือประชาชนต้องการได้อย่างแท้จริงในยุคปัจจุบัน นั่นหมายถึงว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นสามารถที่จะ คัดเลือกผู้นำ (Elite) ที่สามารถกำหนดนโยบาย (Policy Decision) เพื่อนำไปใช้ในการบริหารประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้า มากขน้ึ และสามารถทจ่ี ะทำการควบคมุ ตรวจสอบผทู้ น่ี ำนโยบาย ไปปฏิบัติ (Policy Implementation) คือ ข้าราชการประจำและ ผู้บริหาร (Official/Administrators) ให้สามารถที่จะนำนโยบาย ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลสำเร็จตามต้องการในที่สุด แนวความคิดของทฤษฎีชนช้ันนำ 1. ยอมรบั การแบง่ สงั คมออกเปน็ สองชนชน้ั ผทู้ ป่ี กครอง และผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง 2. ผู้ปกครองจะเป็นผู้ที่ครอบครองเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ภายในสังคม 36

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 3. ทฤษฎีชนชั้นนำยอมรับแนวความคิดที่ให้โอกาส มวลชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเมือง ในสถานะของผู้ปกครองเช่นกัน แต่เงื่อนไขอันเกิดจากสภาวะ จำยอมของผู้ปกครองเองกลัวที่จะเกิดการปฏิวัติโดยมวลชน แต่อย่างไรก็ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพวกมวลชนที่จะ เข้าไปสู่ศูนย์กลางอำนาจนั้น จะเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็น ค่อยไปมากกว่าการเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิวัติ (Pareto V., อ้างถึงใน Bottmor, 1967) ได้พูดถึงการหมุนเวียนของชนชั้น ผู้นำ (the circulation of elite) ไว้ 3 ประการด้วยกัน ในประการ แรก เป็นการหมุนเวียนในเฉพาะกลุ่มของพวกชนชั้นนำด้วยกัน ในแต่ละประเภท สำหรับการจำแนกประเภทของกลุ่มชนชั้น ผู้นำที่สำคัญนั้นนักสังคมวิทยา Mill C. Wright ได้จำแนกออก เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ราชการ (Government bureaucracies) ผู้บัญชาการทหาร (Military commanders) และกลุ่มเศรษฐกิจ (Economic elite) (Mill C. Wright, 1956) ได้แก่ กลุ่มปัญญาชน (Intellectuals) กลุ่มผู้จัดการของอุตสาหกรรม (Manager of industry) และกลุ่มข้าราชการชั้นสูง (High Government officials) ในประการที่ 2 เป็นการหมุนเวียนในประการนี้ สามารถเกิดขึ้น 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ ในลักษณะแรกมวลชนได้เปลี่ยน สถานะตัวเองไปเป็นชนชั้นนำ หรือในลักษณะที่ 2 มวลชน ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อที่จะตั้งกลุ่มชนชั้นนำใหม่ขึ้น เพื่อต่อสู้กับ ชนชั้นผู้นำที่มีอำนาจ ในประการสุดท้ายการหมุนเวียนของ ชนชั้นผู้นำนั้นเป็นการหมุนเวียนระหว่างผลประโยชน์เดิมกำลัง หมดลงไปกับผลประโยชน์ใหม่ที่เข้ามาแทนที่ (Pareto V. อ้างใน Bottomor, 1976) 37


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook