Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย

สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย

Published by Guset User, 2023-06-30 18:20:38

Description: สัญลักษณ์พุทธฯ

Search

Read the Text Version

๒๓๔ ตราและธงประจาจังหวดั เชยี งใหม่ ๒. หวั ใจพระพทุ ธศาสนา ทุกข์ สมุทัย นโิ รธ มรรค วเิ คราะหด์ ังน้ี ซมุ้ เสมา หรือเรือนแก้วรูปเสมามีพฒั นาการมาจากสมี า เดิมเป็นสัญลกั ษณ์บอกเขตสังฆ กรรมของพระสงฆ์ กาหนดรู้ด้วยนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งโดยรอบอุโบสถท้ัง ๘ ทิศ อย่างก็ตาม ใน สังคมไทยมักใช้ก้อนหินเป็นนิมิต และนิยมฝังไว้ จึงเกิดคติยมการสร้างสัญลักษณ์ซ้อนข้ึนมาเพ่ือบอก ตาแหน่งนิมิตเดิมโดยทาเป็นซุ้มเสมา หรือเรือนแก้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ภายในก็ทาเครื่องหมายเพ่ิม เรียกว่า ใบสีมา หรือใบเสมา รูปลักษณท์ ี่เห็นโดยมาก มักทาเปน็ ธรรมจักร จึงเรียกว่า เสมาธรรมจักร ตอ่ มากม็ ีการสร้างซุ้มเสรมิ กลายเป็นซุ้มธรรมจักร และนาไปประดิษฐานบนแท่น หรอื ซุ้มเรือนแก้วอีก ชั้นหนึ่งเพื่อความโดดเด่น และสวยงาม ตารางที่ ๕.๑๑ กลุ่มสญั ลกั ษณ์ทไ่ี ดร้ บั อทิ ธิพลจากพระพุทธศาสนา สัญลักษณ์ในสังคมไทย รปู สญั ญะส่อื ความหมายสัญญะ พระพทุ ธศาสนา ตราสัญลักษณ์ประจาจังหวัด ๑. พระเจดยี ์บรรจพุ ระเกษา อุดมคติเร่ืองการบาเพ็ญบารมี ลาปาง ๒. ไก่ขาวขันปลกุ พระโพธิสัตว์ ของพระโพธิสตั ว์ บาเพญ็ บารมี วเิ คราะหด์ ังนี้ คตินิยมเร่ืองพระโพธิสัตว์บาเพ็ญบารมีเพ่ือบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ มีปรากฏอยู่ทั่วไป ในอรรถกถาขุททกนิกายชาดก อย่างไรก็ตามคติความเช่ือเรื่องไก่ขันปลุกพระโพธิสัตว์บาเพ็ญบารมี อันเป็นตานานพ้นื บ้านเลา่ ประวตั คิ วามเปน็ มาของจังหวัดลาปาง การผูกเรอื่ งน่าจะได้เค้าโครงมาจากอ กาลราวชิ าดก๓๗ อย่างไรก็ตาม ตานานท่ีมาของเมืองลาปางก็เล่าแตกต่างกัน บ้างก็ว่าสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมายังเมืองลาปางเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ในบริเวณดินแดนแห่งน้ี พระอินทร์ทราบ ข่าวจึงแปลงกายมาเป็นไก่คอยปลุกให้ทรงบาเพ็ญพุทธกิจ บ้างก็ว่าเม่ือครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ได้มา บาเพ็ญเพียรอยูบ่ ริเวณแห่งนี้ มีพระอินทร์แปลงกายเป็นไก่ขาวคอยขนั ปลุกใหท้ รงลุกขึ้นบาเพ็ญเพียร เพ่ือท่ีจะได้ตรัสรู้๓๘ ตานานในลักษณะน้ี สะท้อนอิทธพิ ลของพระพุทธศาสนา เพราะผู้สร้างตานานมุ่ง ปลกู ศรัทธาในเจดียส์ ถานท่สี รา้ งข้ึน ๓๗ขุ.ชา.อ. (ไทย) ๓/๒/๔๕๒. ๓๘ดู สงวน โชติสขุ รัตน์, ตานานเมืองเหนือ, (นนทบรุ ี: สานักพมิ พศ์ รปี ัญญา, ๒๕๕๒), หนา้ ๑๒๔.

๒๓๕ ตารางท่ี ๕.๑๒ กลุม่ สัญลกั ษณท์ ี่ได้รับอทิ ธิพลจากพระพุทธศาสนา สญั ลักษณ์ในสงั คมไทย รปู สัญญะส่อื พระพทุ ธศาสนา ความหมายสญั ญะ (๙) ตราสัญลักษณ์ประจา มณฑปทีป่ ระดิษฐานรอยพระ พระพทุ ธศาสนา จังหวัดสระบรุ ี พุทธบาท วเิ คราะหด์ งั น้ี คตินิยมเรื่องการสร้างรอยพระพุทธบาทขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ น้ัน จุดมุ่งหมายเพื่อเป็น เครื่องหมายของการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในดินแดนแห่งน้ัน๓๙ ต่อมาก็มีการสร้างตานานเพื่อ ปลูกศรัทธาให้คนเกิดความปรารถนาท่ีจะได้สักการะบูชา๔๐ อีกประการหนึ่งคตินิยมว่า รอยพระพุทธ บาทน้ันเป็นพุทธเจดีย์ เป็นเครือ่ งระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นสิริมงคลแกผ่ ู้ที่ได้ เคารพ กราบไว้ จึงนิยมสร้างพระพุทธบาทจาลองทั่วทุกภาคของประเทศไทยเป็นจานวนถึง ๔๙๑ แห่ง๔๑ นอกจากน้ี เม่ือยังไม่มีคตินิยมการสร้างรูปเคารพ พระพุทธบาทถือเป็นสัญลักษณ์แทน พระพทุ ธเจา้ ก่อนการตรัสรู้ หลังตรัสร้แู ล้ว นยิ มสร้างบรรลงั ก์กับตน้ โพธ์เิ ปน็ สญั ลกั ษณ์แทน๔๒ ในส่วนรอยพระพุทธบาทท่ีจังหวดั สระบุรี นบั เป็นอีกแหง่ หน่ึงทม่ี ีการสรา้ งตานานข้ึนมา ตงั้ แต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม บวกกับศรัทธาความเชื่อท่ีได้รับการปลูกฝังกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทาให้รอยพระพุทธบาทแห่งนมี้ ีความสาคัญ กระทั่งมีการสร้างมณฑปครอบเพื่อประดิษฐานถวายเป็น พุทธบูชา และกลายเป็นสญั ลกั ษณป์ ระจาจงั หวัดสระบรุ ตี ราบเทา่ ถงึ ปัจจบุ ัน ๕.๒ อทิ ธพิ ลทีม่ ตี อ่ สถาบนั ศาสนา คาว่าสถาบันศาสนาในที่น้ี ผู้วิจัยใช้ในความหมายอย่างหลวม โดยให้หมายรวมไปถึง องค์กรท่ีเก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนา และเม่ือกล่าวโดยภาพรวม สถาบันศาสนาถือว่าได้รับอิทธิพล โดยตรง กลุ่มสัญลักษณ์ที่เนื่องด้วยสถาบันศาสนาและส่ือความหมายถึงพระพุทธศาสนาจาก กลุ่มตัวอย่างท่ีได้ศึกษา จานวน ๘ ตัวอย่าง จาแนกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ ธรรมจักร, ดอกบัว, สี เหลอื ง, ฉพั พรรณรังสี, และบทพระบาลี ดงั รายละเอยี ดตอ่ ไปน้ี ๓๙เช่น คติความเช่ือว่า ใครได้ไปไหว้รอยพระพทุ ธบาทที่จังหวัดสระบุรี ๗ คร้ัง จะไมต่ กนรก เป็นต้น ดู พระปรัยัตโิ มลี (ฟ้ืน ปาสาทโิ ก), รอยพระพุทธบาท, (พระนคร: โรงพิมพ์ ร.ส.พ., ๒๔๙๖), หน้า ค. ๔๐พระปรัยัตโิ มลี (ฟนื้ ปาสาทโิ ก), รอยพระพุทธบาท, หน้า ๓๒, ๖๑. ๔๑ ร อ ย พ ร ะ พุ ท ธ บ า ท ทั่ ว ส ก ล ช ม พู ท วี ป , [อ อ น ไ ล น์ ]. แ ห ล่ ง ท่ี ม า : http://www.jidsai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539114221&Ntype=8 [๒๘ มีนาคม ๒๕๕๗]. ๔๒ สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี, (กรุงเทพฯ: ไทยควอลิต้ีบุคส์ (๒๐๐๖), ๒๕๕๖), หนา้ ๑๒๘.

๒๓๖ ตารางท่ี ๕.๑๓ กลุ่มสญั ลกั ษณส์ ถาบันศาสนา กลุม่ ที่ กลมุ่ รูปสัญญะ ตัวสัญญะบง่ ถงึ พระพทุ ธศาสนา ๑ ตราราชการคณะสงฆไ์ ทย ๒ ตราสนามหลวงแผนกธรรม ธรรมจักร ๓ ตราสนามหลวงแผนกบาลี ๔ ตราสานักงานพระพทุ ธศาสนาแห่งชาติ ธรรมจักร ธรรมจกั ร ๕ ตราพุทธสมาคมแหง่ ประเทศไทย ๖ ตราองคก์ ารพทุ ธศาสนิกสัมพนั ธแ์ ห่งโลก ๑. ธรรมจักร ๗ ตรายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ๒. ดอกบวั ๘ ตราเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ๓. ซ่ธี รรมจกั ร ๔. บทบาลีจากธรรมจกั รกปั ปวัตนสูตร ธรรมจักร ฉพั พรรณรังสี ธรรมจกั ร ๑. สเี หลือง ๒. ดอกบวั ๓ ดอก เมื่อนากลุ่มสัญลักษณ์จากตัวอย่าง ๘ ตัวอย่างเหล่าน้ันมาเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ใน คัมภีร์ พบว่า มสี ัญลักษณท์ ไ่ี ดร้ บั อิทธพิ ลจากคัมภรี ์โดยตรงดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๕.๒.๑ กลมุ่ สญั ลกั ษณท์ ่ไี ด้รับอทิ ธพิ ลจากคัมภรี ์ กลุ่มสัญลักษณ์ท่ีได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ จากหลักฐานการใช้สัญลักษณ์ทาง พระพุทธศาสนาในสังคมไทย จานวน ๘ ตัวอย่าง ในจานวนน้ี ทไี่ ดร้ บั อทิ ธิพลจากคมั ภรี ม์ เี พยี งประการ เดียวคือ การใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยได้ทาตารางเปรียบเทียบ ความหมายเดิมในคัมภีร์ กับความหมายที่ถูกเพ่ิมข้ึนใหม่ เพ่ือง่ายต่อการศึกษา ดังรายละเอียดใน ตารางท่ี ๕.๑๔ ตารางที่ ๕.๑๔ เปรยี บเทยี บความหมายเดมิ -ใหม่ สัญลกั ษณ์ใน ความหมาย สญั ลักษณใ์ น ความหมายสัญญะเดิมใน คมั ภรี ์ คมั ภีร์ สงั คมไทย สญั ญะในสงั คมไทย ผ้ากาสาวพตั ร ธงชัยพระอรหันต์,สละโลก, สเี หลือง พระพทุ ธศาสนา ศาสนารุ่งเรอื ง อน่ึงรายละเอียดการวิเคราะห์การใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ส่ือถึงพระพุทธศาสนา ได้ เคยวิเคราะห์แล้วในตอนที่ว่าด้วยอิทธิพลของสัญลักษณ์ที่มีต่อสถาบันชาติ ในส่วนที่มีอิทธิพลต่อ สถาบันศาสนาก็ยังคงใชห้ ลักการเดยี วกนั จึงไม่กลา่ วซา้ อีก

๒๓๗ ๕.๒.๒ กลุ่มสัญลกั ษณ์ท่ีได้รับอิทธพิ ลจากพระพุทธศาสนา หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ ท่ีไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ แต่สามารถสื่อความหมาย หรือให้มีความหมายถึงพระพุทธศาสนาในมิติใด มิตหิ นึ่ง แสดงเป็นตาราง และวเิ คราะหต์ ามลาดับดังต่อไปนี้ ตารางที่ ๕.๑๕ เปรยี บเทียบสญั ลกั ษณใ์ นสงั คมไทยท่ไี ดร้ บั อทิ ธพิ ลจากพระพุทธศาสนา สญั ลักษณ์ในสังคมไทย สญั ญะทสี่ อื่ ถึง ความหมายสัญญะ พระพุทธศาสนา ตราราชการคณะสงฆ์ไทย ๑. ธรรมจกั ร ๑.พระพุทธศาสนา/พระรัตนตรัย ตรากองบาลสี นามหลวง ๒.หลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนา ตรากองธรรมสนามหลวง ๒.๑ อรยิ สัจ ๔ ตราสานักงานพระพุทธศาสนา ๒. ซ่ี ก า ข อ ง พ ร ะ ๒.๒ อริยมรรคมีองค์ ๘ แห่งชาติ ธรรมจักร ๒.๓ ปฏจิ จสมุปบาท ๑๒ ตราพทุ ธสมาคมแหง่ ประเทศไทย ๓. ก ลี บ ด อ ก บั ว ใ น ๒.๔ ปฏิจจสมุบาทสมุทยวารและ ตรายวุ พุทธิกสมาคมแห่งประเทศ ธรรมจักร นิโรธวาร ๒๔ ไทย ๔. วงกรมของธรรมจักร ๒.๕ ภูมิ ๓๑ ช้ัน ๕. ดอกบวั ๓. พระนิพพาน ๖. บทบาลี ธมฺมจกฺก ๔. ความสมบูรณข์ องหลักธรรม ปวตตฺ ยิ อปฺปฏวิ ตตฺ ิย ๕. พระพุทธเจ้า/พระอรยิ สงฆ์ ๖. การหมุนวงลอ้ แห่งธรรม วเิ คราะหด์ ังนี้ หลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงธรรมจักรแต่ในรูปของ ตัวอกั ษร สือ่ ความหมายถงึ ธรรมเทศนาทท่ี รงแสดงบ้าง เชน่ ประโยคว่า “เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาว กาสี ประกาศธรรมจักร”๔๓หมายถึงปฐมเทศนาบ้าง เช่น ประโยคว่า “พระผู้มีพระภาคประกาศพระ ธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว”๔๔ส่วนตัวรูปธรรมจักรสร้างขึ้นในชั้นหลัง กาหนดอายุเก่าแก่ท่ีสุดท่ีค้นพบ นักปราชญ์ทั้งหลายเห็นตรงกันคือในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก ปลายพุทธศตวรรษที่ ๓๔๕ ตัวซ่ี ธรรมจกั รนบั ได้ ๒๔ ซี่ ขณะทธ่ี รรมจักรทก่ี าแพงมหาสถูปสาญจี นับได้ ๑๖ ซี่ แสดงให้เหน็ ว่า ซ่ีกาของ ธรรมจกั รยังไมม่ ีขอ้ กาหนดท่ีตายตัว แสดงว่าในชนั้ ตน้ การสร้างไมไ่ ดก้ าหนดหวั ขอ้ ธรรมเป็นเกณฑ์ ธรรมจกั รทคี่ บ้ ในท่ีตา่ ง ๆ ของประเทศไทย กท็ านองเดียวกัน มีตัง้ แต่ ๑๔ ซ,่ี ๑๕ ซ่ี, ๑๗ ซี่, ๑๘ ซ,่ี ๒๑ ซี่, ๒๒ ซ,ี่ ๒๔ ซี่, ๒๖ ซ่ี, ๓๒ ซี่, ๓๕ ซ,ี่ และ ๓๖ ซี่ แตล่ ะซี่กาดา้ นจานวนไม่เท่ากันกม็ ี หากจะเพียรพยายามหาหลักธรรมมาอธิบายให้ครบทั้งหมด ก็พอจะหาได้ แต่ก็จะเลอะเทอะ และ ๔๓ว.ิ ม. (ไทย) ๔/๑๑/๑๗. ๔๔วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๖/๒๔. ๔๕ธนิต อยโู่ พธ,์ิ ธรรมจกั ร,อ้างแล้ว,หนา้ ๑๒.

๒๓๘ เลื่อนลอยไม่เป็นเกณฑ์ที่จะยึดถือได้๔๖ แสดงว่า ความหมายเดิมนั้นมุ่งแต่เพียงสื่อสัญลักษณ์ลักษณ์ถึง พระพุทธศาสนาเทา่ น้นั ส่วนสร้าง หรือใช้สัญลักษณ์ธรรมจักรในสังคมไทยปัจจุบัน ดูจะมีข้อกาหนดชัดเจนใน เรื่องของซ่ีกาเพื่อให้สอดคล้องกับสัญลักษณ์ท่ีต้องการสื่ออันได้แก่หัวข้อธรรมต่าง ๆ เช่น ตรา สัญลักษณ์ที่ใช้ในราชการของคณะสงฆ์, ตราแม่กองบาลีสนามหลวง, สานักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ ใช้ ๑๒ ซ่ี หมายถึง อาการ ๑๒ ท่ีปรากฏในธรรมจักรกับปวัตตนสูตร, ตราแม่กองธรรม สนามหลวง, พุทธสมาคมแหง่ ประเทศไทย ใช้ ๘ ซี่ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ นอกจากน้ียังมีการกาหนดรายละเอียดอ่ืน ๆ ในธรรมจักรอีก เช่น กลีบบัว ๗ กลีบ หมายถึง โพชฌงค์ ๗, ดุมท่ีเป็นแกนกลาง หมายถึงพระนิพพาน, วงกลมของธรรม หมายถึง ความ สมบูรณ์ของหลักธรรม, บทบาลีท่ีอยู่ในตราสัญลักษณ์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วงล้อแห่ง ธรรมทพี่ ระพุทธทรงให้เป็นไป ปัจจุบัน (ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕-ปัจจุบัน) ตัวธรรมจักรยังมีการนามาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ รางวัลเพ่ือมอบให้แก่ผู้ทาคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ จานวน ๑๐ ประเภท ได้แก่๔๗ ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา, ประเภทส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์, ประเภทส่งเสริม การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม, ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์, ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา, ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริม พระพุทธศาสนา, ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริม พระพทุ ธศาสนา, ประเภทผูป้ ระกอบอาชีพทม่ี ีคณุ ธรรมและสง่ เสริมพระพทุ ธศาสนา ตารางที่ ๕.๑๖ สญั ลกั ษณใ์ นสังคมไทยได้รับอทิ ธพิ ลจากพระพุทธศาสนา สัญลกั ษณ์ในสังคมไทย สัญญะทสี่ อื่ ถึง ความหมายสญั ญะ พระรัศมีกายของพระพุทธเจ้า พระพทุ ธศาสนา ตราองค์การพทุ ธศาสนกิ สัมพันธ์ ฉพั พรรณรงั สี แหง่ โลก วิเคราะหด์ งั น้ี ฉัพพัณณรังสี เป็นพระรัศมีกายของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยสี ๖ ชนิด ได้แก่ สีนีละ- เขียว,ปีตะ-เหลือง,โรหิตะ-แดง,โอทาตะ-ขาว,มัญเชฏฐะ-แสด, ประภัสสร-สีเหล่ือมพรายเหมือนแก้ว ผลึก๔๘ รัศมีกายนี้จะพวยพุ่งออกเฉพาะเวลาท่ีมีพระประสงค์เท่านั้น เช่นในคราวเจ้าศากยะ และโกลิ ยวงศ์ทะเลาะกันเพราะแย่งน้า ก็ทรงเหาะขึ้นไปบนอากาศแล้วเปล่งฉัพพัณณรังสีเพ่ือแสดงพระองค์ ๔๖อยโู่ พธิ์, ธรรมจกั ร,อ้างแลว้ , หนา้ ๑๙. ๔๗ร า ง วั ล พ ร ะ ร า ช ท า น เ ส า เ ส ม า ธ ร ร ม จั ก ร ๒ ๕ ๕ ๒ , [อ อ น ไ ล น์ ]. แ ห ล่ ง ท่ี ม า : http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet4520090520112726.pdf/ [๒๘ สงิ หาคม ๒๕๕๗]. ๔๘ขุ.ปฏิ. (ไทย) ๓๑/๑๑๖/๑๗๘.

๒๓๙ ให้ปรากฏแก่พระญาติเหล่านน้ั ๔๙ ในคราวเสดจ็ ต้อนรับพระเจ้ากัปปินะ ก็ทรงประทับน่งั ใตร้ ่มไทรใหญ่ เปล่งรศั มแี สดงใหพ้ ระเจา้ กัปปินะทราบว่าเป็นพระพุทธองค์๕๐ เปน็ ต้น จะเห็นว่า การใช้ฉัพพัณณรังสีเป็นสัญลักษณ์ ในคัมภีร์มักเป็นเร่ืองเฉพาะพระองค์ อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทย มีการนารัศมีท้ัง ๖ ชนิดมากาหนดเป็นสัญลักษณ์องค์กร ได้แก่ องค์การ พุทธศาสนิกสัมพันธแ์ ห่งโลก โดยผู้ออกแบบธงได้ดัดแปลงเป็นผืนธง โดยมีลักษณะเป็นธงสเี่ หล่ียมผืน ผ้า แบ่งเปน็ แถบเรียงเปน็ แนวต้ังความกว้างเท่ากนั ๖ แถบ เรยี งลาดบั แถบสีจากด้านซ้าย (ซึ่งเป็นดา้ น ต้นของธง) ไปทางขวาดังนี้ แถบแรกสีน้าเงิน แถบที่ ๒ สีเหลือง แถบที่ ๓ สีแดง แถบที่ ๔ สีขาว แถบ ที่ ๕ สีแสด ส่วนแถบสุดท้ายหรือแถบสีประภัสสร เป็นแถบสีท่ีเกิดจากการนาแถบสีทั้ง ๕ สีแรกใน ตอนตน้ มาเรยี กลาดับใหม่ในแนวนอน แต่ละสกี าหนดความหมายเชงิ สัญลักษณด์ งั นี้๕๑ ๑. สเี ขยี ว หมายถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าทแี่ ผ่ไปทั่วสกลจกั รวาล ๒. สเี หลอื ง หมายถงึ มัชฌิมาปฏิปทา ๓. สีแดง หมายถึง การอานวยพรให้ประสบความสาเร็จ สมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณงามความดี ความเป็นผ้มู โี ชค และเกยี รติยศทง้ั ปวง ๔. สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิแ์ หง่ ธรรม ซึ่งเปน็ อกาลกิ ธรรม นาสตั วโ์ ลกใหพ้ ้นทุกข์ ๕. สีแสด หมายถึง พระปญั ญาคุณของพระพุทธเจา้ ๖. สีประภสั สร หมายถึง ความจรงิ ทั้งหมดในพระธรรมคาสอนของพระพทุ ธเจ้า อน่ึง ธงฉัพพัณณรังสีน้ี บางประเทศมีการออกแบบแตกต่างกันออกไปบ้างในเร่ืองของ การกาหนดตาแหน่งของแถบสี ความเข้มข้นของสีแต่ละสี๕๒ อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงลักษณะสีทั้ง ๖ ชนดิ น้ไี ว้ไม่เปลีย่ นแปลง ๕.๓ อิทธพิ ลท่มี ตี ่อสถาบันพระมหากษตั รย์ บุรพมหากษัตริย์ไทยนับตั้งแต่อดีตตราบเท่าถึงปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ในฐานะทรงเป็นท้ังพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัคร ศาสนปู ถัมภก กลุ่มสัญลักษณ์ที่เน่ืองด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ และส่ือความหมายถึง พระพุทธศาสนาจากกลุ่มตัวอย่างจานวน ๑๑ ชนิด แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มตราพระราช ลญั จกร, ๒) กลุม่ เครอ่ื งราชอสิ ริยาภรณ์, และ ๓) กล่มุ พระแท่นราชอาสน์ ดงั มีรายละเอยี ดต่อไป กลุ่มตัวอย่างสัญลักษณ์นี้ หากพิจารณาเปรียบเทียบสัญลักษณ์ที่พบในคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนาสามารถกล่าวได้ว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ในคัมภรี ์แต่อย่างใด ผู้วิจัยจึงตัด ประเด็นรายละเอียดอทิ ธิพลดา้ นคัมภรี ์ออกไป คงกล่าวเฉพาะสว่ นทีไ่ ด้รับอทิ ธิพลจากพระพุทธศาสนา เทา่ นนั้ ๔๙ส.ส.อ. (ไทย) ๑/๑/๒๐๔. ๕๐อ.เอก.อ. (ไทย) ๑/๑/๔๘๗. ๕๑ธงศาสนาพุทธ,[ออนไลน์]. แหลง่ ทมี่ า: http://th.wikipedia.org/wiki/ [๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๗]. ๕๒ดู ร า ย ล ะ เ อี ย ด รู ป แ บ บ ธ ง ใ น ธ ง ศ า ส น า พุ ท ธ , [อ อ น ไ ล น์ ]. แ ห ล่ ง ที่ ม า : http://th.wikipedia.org/wiki/ [๒๘ กันยายน ๒๕๕๗].

๒๔๐ ตารางที่ ๕.๑๗ สญั ลักษณท์ ่ีได้รับอทิ ธิพลจากพระพทุ ธศาสนา กลุม่ ที่ กลุม่ รูปสัญญะ ตัวสญั ญะบ่งถึงพระพทุ ธศาสนา ๑ ตราพระราชลญั จกร ๑. ดอกบัว ๒. บัลลังกด์ อกบวั ๓. พระโพธสิ ตั ว์ วเิ คราะหด์ งั น้ี ตราพระราชลัญจกรเป็นตราสาหรับใช้ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแทนการเซ็นชื่อ ๕๓ แม้จะเป็นสัญลักษณ์ประจาพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเร่ืองส่วนพระองค์ ไม่น่าจะมีส่วนท่ี เก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่จากการสารวจตราพระราชลัญจกรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑-รัชกาล ปัจจุบัน พบว่า มีความพยายามท่ีจะเช่ือมโยงพระพุทธศาสนาให้เข้ามามีส่วนในการกาหนดตราพระ ราชลัญจกรอย่างน้อย ๒ รัชกาล คือตราพระราชลัญจกรประจารัชกาลท่ี ๑ และ ๘ สัญลักษณ์ที่ใช้ ระบถุ ึงไดแ้ ก่ ดอกบัว, บลั ลังกด์ อกบัว, และรูปพระโพธสิ ตั ว์ สัญลักษณ์ท้ัง ๓ ประการดังกล่าว ได้รับการอธิบายว่า ดอกบัวหมายถึงพฤกษชาติใน พระพุทธศาสนา๕๔ ขณะที่พระโพธิสตั ว์ประทับนั่งบนบัลลังก์ดอกบัว ดูเหมือนเป็นความพยายามท่ีจะ เช่อื มโยงคตพิ ระมหากษัตรยิ ์ในฐานะเปน็ พระโพธิสตั ว์ หรือหนอ่ เนื้อพุทธางกูรลงมาบาเพญ็ บารมี สญั ลักษณ์อีกประการหนง่ึ ท่ีมปี รากฏอยู่ในพระราชลัญจกรประจารัชกาลท่ี ๑ คือ อุณา โลม ซึ่งมีคาอธิบาย ๒ ลักษณ์ กล่าวคือ เดิมทีเดียวเป็นสัญลักษณ์เช่ือมโยงถึง “ตาท่ีสาม” ของพระ อิศวร ซึ่งเป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีมาแต่เดิม ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพล มากขึ้น จึงมีความพยายามจะแปลง อุณาโลม เป็น มหาอุณาโลม โดยให้ความหมายใหม่เป็นขน ระหวา่ งควิ้ ของพระพทุ ธเจ้า๕๕ อนึ่ง หากพิจารณาพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย มีก็มีความพยายามใช้สัญลกั ษณ์ที่ ส่ือให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา เช่น พระนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอ่ นหนง่ึ ว่า “....พุทธาทิไตรรตั นสรณารักษ วโรดมบรมนารถชาติอาชาวไศรย์....”๕๖ ขณะที่พระนาม ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีความคล้ายกนั คือ “...พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิอรรคนเรศาธิบดี...”๕๗แม้พระนามในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลท่ี ๑ และ ๒ ก็มี ๕๓พระยาอนุมานราชธน, พระราชลัญจกรและตราประจาตัวประจาตาแหน่ง, พิมพ์ในงาน พระราชทานในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓, หน้า ๑. ๕๔หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคาแห่ง,“พระราชลัญจกรประจารัชกาล”, [ออนไลน์]: http://www.lib.ru.ac.th/journal/kingseal-office.html [๖ กันยายน ๒๕๕๖] ๕๕พระยาอนมุ านราชธน, พระราชลัญจกรและตราประจาตวั ประจาตาแหนง่ , หนา้ ๕,๒๑. ๕๖ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศิลปกรรม, (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์, ๒๕), หน้า ๒๓๒. ๕๗จารกึ เรือ่ งสรา้ งวัดนเิ วศนธ์ รรมประวัติแผน่ ที่ ๑, หน้า ๒

๒๔๑ บันทึกไว้ว่า๕๘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระมหาปฏิมาฉลองพระองค์ทั้ง สอง โดยได้ขนานนามพระพุทธปฏิมาองค์หน่ึงว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อีกองค์หนึ่งว่า พระพุทธ เลิศหลา้ นภาลัย ครนั้ มีการถวายพระนามรชั กาลท่ี ๑ และ ๒ ใหม่ กเ็ พ่ิมคาว่า “พระบาทสมเดจ็ ” หนา้ พระนามพุทธปฏมิ าฉลองพระองค์ เหมอื นเป็น “บาท” ของพระพทุ ธรูปฉลองพระองค์ ในการประกาศสถาปนาพระมหากษัตริย์ พิจารณาจากคาประกาศ ก็ทาให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี เช่น การตั้งพิธีปราบดาภิเศก สมัยรัชกาลท่ี ๑ มีการนิมนต์พระมาสวดพระปริตรเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน สร้อยพระนามตอนหนึ่ง ก็มี ขอ้ ความแสดงความเกีย่ วเนอื่ งกับพระพุทธศาสนา น่ันคือความเป็นหน่อเนื้อพทุ ธางกูล๕๙สมัยรชั กาลที่ ๕ คาประกาศมีความตอนหนึ่งว่า “ทรงพระสติปัญญา พระเมตตา มหาปรกมอันประเสริฐ สามารถ เปน็ บรมศาสนปู ถัมภกพระพุทธศาสนา สมควรทจ่ี ะดารงราชสมบัติปกปอ้ งพระมหานคร...”๖๐ ตัวอย่างดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ และก็มีส่วนสาคัญในการกาหนดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง นับตั้งแต่อดีต ตราบ เท่าถึงปัจจบุ นั ตารางท่ี ๕.๑๘ เคร่ืองราชอสิ ริยาภรณไ์ ด้รบั อิทธพิ ลจากพระพุทธศาสนา กลุ่มที่ กลมุ่ รปู สัญญะ ตัวสัญญะบ่งถึงพระพุทธศาสนา ๒ กลุ่มเคร่อื งราชอสิ ริยาภรณ์ ๑. ติรตเนสกรฏฺเฐ จ สมฺพเส จ มมายน สกราเชชุ จติ ฺตญฺจสกรฏฐฺ าภวิ ฑฒฺ น ๒. ขอ้ กาหนดในการพระราชทาน ๓. นตถฺ ิ สนตฺ ิ ปร สขุ ๔. พุทธ๎ สาสนุปัต๎ถัมโ๎ ภ ๕. พระกร่ิงชยั วฒั น์ วเิ คราะห์ดังน้ี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ จดั ทาข้ึนเพื่อเปน็ การยกย่อง เชิดชูเกียรติ แก่ผ้ทู ่มี ีความดีความชอบ เปน็ การตอบแทนในคุณงามความ ดีของเหล่าข้าราชบริพารท่ีทางานสนองประเทศชาติบ้านเมือง๖๑ ปัจจุบันมีจานวน ๑๐๔ ชนิด๖๒ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑) เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ มีทั้งหมด ๓๖ ช้ัน, ๒) เหรียญราชอิสริยาภรณ์ มี ๕๘หอพระสมุดวชิรญาณ, ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาคปฏิณณกะ ส่วนท่ี ๑, (พระนคร: โรง พิมพ์บารุงนกุ ลู กิจ, ๒๔๖๗), หนา้ ๓-๕. ๕๙ พระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๑ , (กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๓), หนา้ ๑๓-๑๔. ๖๐ สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ , (พิมพ์ใน การฌาปนกจิ ศพ นางชมุ พร เวชชาชวี ะ, ๖ มกราคม ๒๔๙๔), หน้า ๓๓. ๖๑กรมพระยาดารงราชานุภาพ, ตานานเคร่ืองราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, (พระนคร: โรงพิมพ์ พิพรรธนากร, ๒๔๖๗), หน้า ๖. ๖๒ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลาดับเกียรติยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย, ราชกิจจา นุเบกษา เลม่ ท่ี ๑๑๐ ตอนที่ ๒๙ ลงวนั ที่ ๑๒ มนี าคม ๒๕๓๖.

๒๔๒ จานวน ๔ ประเภท รวม ๖๘ เหรียญ โดยแบ่งเป็นเหรียญบาเหน็จกล้าหาญ ๑๒ เหรียญ, เหรียญ บาเหน็จราชการ ๑๘ เหรียญ, เหรียญบาเหน็จราชการในพระองค์พระมหากษัตริย์ ๑๐ ชนิด, และ เหรียญทร่ี ะลึก ๒๘ ชนิด ในบรรดาเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ๑๐๔ ชนิดเหล่านี้ ที่มี สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา มีปรากฏอยู่ ๖ ชนิด แบ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๒ ชนิด, เหรียญ ราชอิสริยาภรณ์จานวน ๔ ชนดิ สัญลักษณ์ทป่ี รากฏมี ๓ ลักษณะ ได้แก่ ข้อกาหนด, ข้อความ, และ รปู สัญลักษณ์ ๑) ข้อกาหนด ในการพระราชทานแสดงถึงความเกี่ยวเน่ืองกับพระพุทธศาสนา กล่าวคือ จะพระราชทานให้เฉพาะผู้ท่ีนับถือพระพุทธศาสนาเทา่ นั้น ได้แก่ เครื่องราชอสิ ริยาภรณ์นพ รตั นราชวราภรณ,์ และเหรียญชัยวฒั น์ ๒) ข้อความ แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หรือพระรัตนตรัย ได้แก่ ๑) ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ มีข้อความบาลี ถอดความเป็นภาษาไทยไดว้ ่า “ความรกั ใคร่ในพระรัตนตรัย และรัฐของตน และวงศ์ของตน อนึ่งจิตซื่อตรงในพระราชาของตน เป็นเครื่องเจริญยิ่งแห่งรัฐของ ตน”๖๓ ๒) เหรียญศาสนติมาลา มีข้อความว่าบาลีและอักษรโรมันว่า นตฺถิ สนฺติ ปร สุข ๖๔ มี ความหมายว่า สุขอื่นย่ิงกว่าความสงบไม่มี ๓) เหรียญราชนิยมและเหรียญบรมราชาภิเศก มีข้อความ ว่า พุท๎ธสาสนุปตั ๎ถมั ๎โภ๖๕ ๓) รูปสัญลักษณ์ของเหรียญมเี ครื่องหมายของพระพุทธศาสนาอยู่ด้วย ได้แก่กลุ่มเสมา และเข็มพระราชทาน คือ เสมาพระชัยวัฒน์๖๖ มีพระชัยวัฒน์ (พระพุทธรูป) เป็นสัญลักษณ์สื่อถึง พระพุทธศาสนา นอกจากน้ันเกณฑ์ในการพระราชทาน ก็ทรงยึดหลัก ๓ ประการ๖๗ คือ ๑) เป็นผู้มี ความเลอื่ มใสศรัทธาในพระพทุ ธศาสนาอยา่ งม่ันคง ๒) เป็นผมู้ ีความรกั ใคร่ในบ้านเมือง และวงศ์สกุล ของตน และ ๓) เปน็ ผมู้ ีความซ่ือสตั ย์จงรักภกั ดตี ่อใต้พระมหากษัตรยิ ์ ตารางท่ี ๕.๑๙ พระแท่นราชอาสนส์ ื่อสญั ลักษณพ์ ระพทุ ธศาสนา กลุม่ ที่ กล่มุ รูปสัญญะ ตัวสัญญะบ่งถึงพระพุทธศาสนา ๓ พระแท่นราชอาสน์ ใชป้ ระดษิ ฐานพระพทุ ธรูป วิเคราะหด์ งั นี้ พระแท่นราชอาสน์เปน็ เคร่ืองแสดงเกยี รตภิ ูมิ อานาจ และอิสรยิ ยศของพระมหากษตั ริย์ ปัจจุบันมีอยู่หลายองค์ เช่น พระท่นี ั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน, พระแท่นมหาเศวตฉัตร, พระ ๖๓สมเดจ็ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, ตานานเครอื่ งราชอศิ รยิ าภรณ์สยาม, หน้า ๓๘. ๖๔มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕, ราชกิจจานุเบกษา, เลม่ ท่ี ๑๑๙ ตอนท่ี ๙๙ ก, ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕, หน้า ๑๔. ๖๕สมเดจ็ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, อ้างแลว้ , หน้า ๑๘๖. ๖๖เสมาและเข็มจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ เสมาพระชัยวัฒน,์ เสมาพระบรมรูป, เข็มอักษร พระบรมนามาภไิ ธยยอ่ , เขม็ เสดจ็ ประภาสยุโรป, และเข็มพระชนมายุสมมงคล ๖๗สมเดจ็ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, อา้ งแล้ว, หน้า ๑๙๔.

๒๔๓ แท่นราชบัลลังก์ประดับมุก, พระท่ีน่ังพุดตานถม, พระท่ีน่ังพุดตานกาญจสิงหาสน์, พระที่นั่งอิฐทิศ อทุ ุมพรราชอาสน์ เปน็ ตน้ พระแท่นราชอาสน์เหล่าน้ี แม้จะได้รับการสร้างขึ้นเ พ่ือเป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามพระแท่นราชอาสน์บางองค์ ได้ถูกนามาใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป เช่น พระท่ีน่ังบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน นับตั้งแต่รัชกาลท่ี ๓ เป็นต้นมา ไม่ได้มีการเสด็จออกอีก เลย จึงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๖ จึงโปรดให้เชญิ พระแท่นมหาเศวตฉัตรมา ต้ังไว้เบื้องหนา้ กระท่ังถึงรัชกาลปัจจุบัน๖๘พระแท่นราชบัลลังก์ประดับมกุ ซ่ึงประดิษฐานอยู่ ณ พระท่ี นั่งดุสิตมหาปราสาท เม่ือมีพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระท่ีน่ังแห่งน้ีก็จะถูกนาใช้เป็นท่ีประดิษฐาน พระพุทธรูป๖๙ ๕.๔ อิทธพิ ลทม่ี ีต่องานศลิ ปะ งานศิลปะที่ได้สืบค้น และศึกษาในบริบทของสังคมไทย จาแนกออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) งานจิตรกรรม มีจานวนท้ังส้ิน ๒๒ ตัวอย่าง ๒) งานประติมากรรม มีจานวนทั้งสิ้น ๘๓ ตัวอย่าง และ ๓) งานสถาปัตยกรรม มีจานวนทั้งส้ิน ตัวอย่าง วิเคราะห์รายละเอียดอิทธิพลของ พระพทุ ธศาสนาทม่ี ตี อ่ งานศิลปะ อนึ่ง กลุ่มสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยที่ปรากฏในงานศิลปะ เป็น สัญลักษณ์ท่ีกาหนดข้ึนใหม่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ท่ีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภร์ อรรถกถา แสดงให้เห็นว่า กลุ่มสัญลักษณ์เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จากคัมภีร์ โดยตรง ผ้วู จิ ัยแสดงเปน็ ตาราง และวิเคราะห์รายละเอยี ดแตล่ ะกลุ่ม ดงั นี้ ตารางท่ี ๕.๒๐ กลุ่มสญั ลักษณ์จติ รกรรม กลุม่ ท่ี กล่มุ รูปสัญญะ ตวั สญั ญะบง่ ถึงพระพทุ ธศาสนา ๑ กลุ่มจติ รกรรม ๒๒ ตวั อย่าง ๑. ธรรมจกั ร ๒. พุทธประวัติ ๓. พระพทุ ธเจ้าในอดตี ๔. พระพุทธรปู ๕. ชาดก ๖. เร่อื งไตรภูมิ ๗. จกั รวาลวิทยาพระพทุ ธศาสนา ๘. เร่ืองเลา่ เก่ียวกบั พระพทุ ธศาสนา ๖๘วิทย์ พิณคนั เงิน, เครอื่ งราชภณั ฑ์,อา้ งแล้ว, หนา้ ๘๔. ๖๙เรอื่ งเดยี วกนั , หนา้ ๘๔.

๒๔๔ วิเคราะห์ดงั นี้ จิตกรรม คือ งานเขียนภาพ๗๐ จิตรกรรมไทยส่วนมากมักเป็นงานเขียนที่เขียนตามผนัง โบสถ์ วิหาร หรือระเบียงรอบโบสถ์ และมักเป็นเรื่องพุทธประวัติ ชาดก คติความเช่ือทางศาสนา ตลอดประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ท่ีเป็นวิถีชีวิตชุมชนส่วนหน่ึงนอกจากจะเพ่ือประดับตกแต่งให้เกิด ความสวยงามแล้ว จุดมุ่งหมายหลักก็เพ่ือถวายเป็นพุทธบูชา อีกส่วนเป็นการเผยแผ่หรือเป็นสื่อ สาหรับประกาศพระศาสนา ปลูกศรัทธาความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา อีกท้ังยังเป็นการ เพ่ิมความศักดิสิทธิ์ ความสงบเยือกเย็นภายในจิตใจของผู้ที่เข้ามาสักการะบูชา อย่างท่ีศิลป์ พีระศรี เรียกวา่ “เป็นศิลปะเพอ่ื รบั ใชพ้ ระพุทธศาสนา”๗๑ จากการสารวจงานจติ รกรรมเก่าของไทยนับตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี รัตนโกสินทร์ รวม ๒๒ ตัวอย่าง พบว่า ภาพท่ีนิยมนามาเขียนตามผนังอาคารศาสนสถาน มากที่สุดได้แก่ภาพพุทธประวัติ,ชาดก (เฉพาะอย่างยิ่งคือทศชาติ), ไตรภูมิ, จักรวาลวิทยา พระพุทธศาสนา, พระพุทธรูป, พระพุทธเจ้าในอดีต, ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถ่ิน โดยมักเลือก ภาพเหตุการณ์ หรือตอนท่ีสาคัญ ๆ มาวาด ซ่ึงจิตรกรจะต้องมีการบริหารพื้นท่ีมีอยู่จากัดให้ลงตัวให้ มากท่ีสุดจะเห็นได้จากภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้า บางแห่งมีจานวน ๒๔ ภาพ๗๒ บางแห่งมี ๒๘๗๓ บางแห่งก็มี ๒๗ ภาพ๗๔ ความหมายของภาพไม่ได้สิ้นสุดอยู่ท่ีภาพนาเสนอ หากแต่ตัวภาพยังส่ือต่อไปถึง เรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระเจดีย์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา๗๕ เป็นผู้หญิงนอนบนเตียงแล้วปรากฏช้างเผือก งวงชูดอกบัวขาวย่ืนให้ใน รูปของความฝัน ก็เปน็ สญั ลกั ษณ์สอ่ื ถงึ เหตกุ ารณ์พุทธประวตั ิตอนท่ีพระโพธิสตั วจ์ ุตลิ งสู่พระครรภข์ อง พระนางสิริมหามายา, ภาพสลักลายเส้นบนหินชนวนในอุโมงค์วัดศรีชุม จานวน ๕๕ ภาพ (ปัจจุบัน เหลือ ๔๐ ภาพ) ศิลปินผู้วาดภาพจะจับเป็นตอน ไม่ได้เล่าเรื่องต้ังแต่ต้นจนจบ ศิลปินได้สร้างภาพ ของคน สัตว์ องค์ประกอบอื่น ๆ แสดงให้เห็นและเข้าใจทันทีว่าเป็นตอนใดตอนหน่ึงในเร่ืองเท่าน้ัน เช่น กัณฑินชาดก ในภาพตอนบนเป็นรูปรุกขเทวดา (พระโพธิสัตว์) มือถือตาลปัตร สถิตอยู่บนต้นไม้ กบั เทวดาอีกองค์หนงึ่ ตอนล่างเป็นรูปนายพรานเกง่ ธนยู งิ เน้ือตัวผ้ตู ัวเมียคหู่ นงึ่ ๗๖ ความหมายสัญลักษณ์เหล่านี้ จะไม่สามารถพรรณนาได้เลย ถ้าไม่เคยได้ศึกษา พระพุทธศาสนา อาจจะงุนงงต่อเร่ืองราวต่าง ๆ ท่ีปรากฎอยู่ในงานจิตรกรรมฝาผนัง เช่น ภาพวาด ๗๐น ณ ปากนา้ , พจนานุกรมศลิ ปะ, พิมพ์คร้ังท่ี ๓, (กรงุ เทพฯ:มปท., ๒๕๒๙), หน้า ๕๕. ๗๑ศิลป์ พีระศรี, คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง, (พระนคร: กรมศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๐๒), หน้า ๒๘. ๗๒เชน่ กรุปรางคว์ ัดราชบรู ณะ จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา ๗๓เชน่ เจดียร์ ายวดั ราชบูรณะ ๗๔เช่น วิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวนาราม กรุงเทพมหานคร, วัดบวรสถานสุทธาวาส ถนนราชินี เชิง สะพานพระป่นิ เกลา้ กรงุ เทพมหานคร ๗๕สันติ เลก็ สขุ ุม, “วัดราชบรู ณะ: จิตรกรรมเก่าแก่กบั รอ่ งรอยที่ถูกทาลาย”, [ออนไลน์]. แหล่งทม่ี า: http://www.icomosthai.org/m_news/rajaburana.htm [๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๖]. ๗๖วมิ ล จิโรจน์พนั ธุ์ และคณะ, มรดกทางวัฒนธรรมภาคเหนอื ,หนา้ ๑๖๐.

๒๔๕ อดีตพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๗ พระองค์ ผู้ไม่มีความรู้เรื่องอดีตพระพุทธเจ้า จะไม่สามารถบอกได้เลยว่า ที่ ปรากฏในภาพคือพระพุทธเจ้าองค์ใดเพราะแต่ละภาพมิไดร้ ะบุพระนามไว้แต่อย่างใด เหตุน้ัน ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้า) จึงกล่าวไว้ว่า การศึกษาศิลปะไทยจาเป็นต้องศึกษาพระพุทธศาสนาพร้อม กันไปด้วย เปน็ ของควบค่กู นั เหมือนลิ้นกับฟัน๗๗ อน่ึง ความท่ีพระพุทธศาสนาสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นระยะเวลายาวทาให้ นอกจากพระพุทธศาสนาจะมีอิทธิพลต่อจิตรกรรมแล้ว ยังก่อให้เกิดแนวคิด และวิธีการในการสร้าง งานจิตรกรรมจนกลายเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของยุคสมัยอีกทอดหน่ึงด้วย เช่น ภาพจิตรกรรมสมัย อยุธยาไม่นิยมใช้สีเข้ม ขณะท่ีสมัยรัตนโกสินทร์ชอบใช้สีเข้ม สมัยอยุธยานิยมปิดทองเฉพาะเคร่ือง ประดิษฐ์สาคัญ ขณะที่สมัยรัตนโกสินทร์จะปิดทองท่ัวไป๗๘ จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ได้รับ อิทธิพลจากลพบุรี สุโขทัย และลังกาปนกัน ทาให้บางภาพมีลักษณะแข็งและหนัก สีที่ใช้มีอยู่เพียงสี ขาว ดา แดง และปดิ ทองบนภาพเล็กนอ้ ย ตวั อย่างของภาพยคุ น้ีคอื ภาพเขียนบนผนงั กรุปรางคว์ ัดราช บูรณะ๗๙ จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง นิยมเขียนภาพจากวรรณคดี และลักษณะภาพมักเป็นแบบ อุดมคติ๘๐อยธุ ยาตอนปลายนิยมใช้สีมากขึ้น พื้นของภาพระบายโครงสีน้าตาลอื่น เรม่ิ นาเอาสีเขียว สี มว่ ง และสฟี ้ามาใช้๘๑ ภาพจิตรกรรมบางอย่างถือเป็นเอกลักษณ์ร่วมของยุคสมัย๘๒ เช่น ความนิยมเขียนเร่ือง มารผจญด้านผนังด้านหน้า และเขียนเรื่องยมกปาฏิหาริย์ ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ หรือภาพสวรรค์ ดา้ นหลังพระประธาน ความนิยมดังกล่าวนี้ ประยูร อุลุชาฎะ ให้เหตุผลว่า๘๓ เป็นเพราะท้ังสองเร่ืองนี้ เป็นเหตุการณ์สาคัญที่สุดในชีวิตของพระพุทธเจ้าประการหน่ึง ประการต่อมาจิตรกรคงจะจัดหาภาพ ได้ง่าย เหมาะที่จะช่วยให้องค์ประกอบพระประธานเด่นชัดข้ึน ไม่รกรุงรังสายตา ประการต่อมาอีก ภาพมารที่กาลงั ด้นิ รนกระเสือกกระสนเอาตัวรอด เป็นการจัดภาพท่ีต้องการความเป็นเอกเทศ ไม่ต้อง ไปมุ่งประกอบพระประธาน จึงสะดวกที่จะทาให้จิตรกรสามารถวาดลายแสดงอารมณ์ได้เต็มที่ และ ประการสุดท้าย ผนังด้านหน้านับว่าอยู่ในที่ลับ เพราะอยู่ด้านหลังผู้กราบไหว้ จึงเปิดโอกาสอันดีที่ ศลิ ปินจะไม่ตอ้ งระมดั ระวงั ให้อยู่ในกรอบกฎเกณฑใ์ ห้มากนกั ความสงบถือเป็นหลกั สาคัญในจติ รกรรมทกุ ชนิดของไทย ซง่ึ มีความหมายว่า บรรพบุรุษ ของเราดารงชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุข และเพื่อให้ตรงตามความมุ่งหมายของหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิดท่ีสุด ผู้ท่ีเข้าไปยังศาสนสถานย่อมได้รับบรรยากาศแห่งความสงบ เยือก ๗๗น. ณ ปากนา้ , ความงามในศลิ ปะไทย, (กรงุ เทพฯ: สานักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๕๐), หน้า ๖๔. ๗๘เรอื่ งเดียวกนั , หนา้ ๒๓. ๗๙ระพีพรรณ ใจภักดี, คู่มือชมศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย พระนครศรีอยุธยา, (กรุงเทพฯ: สานกั พมิ พ์แสงแดดเพอ่ื เดก็ , ๒๕๔๘), หนา้ ๒๓. ๘๐เร่ืองเดียวกัน, หน้า ๒๔. (ภาพอุดมคติ เช่น ภาพอดีตพระพุทธเจ้า สะท้อนอุดมคติเรื่องความ อุตสาหะของพระพทุ ธเจ้า). ๘๑เรือ่ งเดียวกัน, หน้า ๒๕. ๘๒คตินยิ มเชน่ นม้ี ีมาต้ังแต่สมัยพระเจ้าอยู่บรมโกศ กระทงั่ ถงึ สมัยรตั นโกสินทร์ ๘๓น. ณ ปากนา้ , ความงามในศลิ ปะไทย, หน้า ๓๗-๔๑.

๒๔๖ เย็น ขณะเดียวกันก็มีความศักด์ิ โน้มน้าวจิตให้เกิดความสารวม ระมัดระวัง เหมือนเดินเข้าสู่ดินแดน อกี โลกหนึ่ง ศิลป์ พีรศรี ได้กล่าวถึงลักษณะของภาพจิตรกรรมฝาผนัง ความตอนหนึ่งว่า๘๔เพื่อที่จะ ใช้ภาพเหล่านี้บรรยายเร่ืองราวให้ได้มากท่ีสุดเท่าที่จะทาได้ ฝาผนังโบสถ์วิหารจึงเต็มไปด้วย องค์ประกอบมากมายแสดงเร่ืองราวต่าง ๆ ภาพเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ได้แยกออกจากกันเป็นสัดเป็นสัด เปน็ ส่วน แตจ่ ะสร้างองค์ประกอบขนาดใหญ่อนั เดยี วกันท้ังหลงั ตารางท่ี ๕.๒๑ กลมุ่ สญั ลกั ษณ์ในประติมากรรม กลมุ่ ท่ี กลมุ่ รูปสัญญะ ตวั สญั ญะบง่ ถึงพระพุทธศาสนา ๒ กลุ่มประติกรรม ๘๓ ตวั อย่าง ๑. พุทธประวัติ ๒. พระพทุ ธรูปประจาพระชนมวาร/วันเกดิ ๓. พระคู่บา้ นค่เู มอื ง ๔. ตานานชุมชน/ประวัติศาสตร์ชุมชน ๕. ศนู ยร์ วมจติ ใจ ๖. ความอดุ มสมบูรณ์ ๗. อนสุ รณเ์ หตุการณ์ ๘. พระศกั ด์ิสทิ ธิ์ ๙. การปกป้อง คุ้มครอง ๑๐. หา้ มฝน ๑๑. ความมั่นคง ย่งั ยนื ๑๒. รกั ษาโรคภัยไข้เจบ็ ๑๓. ประสิทธผิ ล นาความสาเร็จ ๑๔. ความชมุ่ เย็น ๑๕. คติสอนธรรม ๑๖. เมตตามหานยิ ม วเิ คราะหด์ งั นี้ ประตมิ ากรรมทง้ั ๓ ประเภท ได้แก่ ประตมิ ากรรมรปู เคารพ ประติมากรรมตกแต่ง และ ปริมากรรมเพ่ือประโยชน์ใช้สอย ที่ปรากฏในสังคมไทยส่วนใหญ่แล้วก็ยังได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก พระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันคติความเชื่อในสังคมก็มีส่วนสาคัญในการกาหนดให้สัญลักษณ์ทาง พระพทุ ธศาสนาเพ่ือใหร้ บั ใช้ชุมชน จากงานประติมากรรม ๘๓ ตัวอย่าง พบการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาใน วัตถุประสงค์ท่ีแตกต่างกันออกไป บางส่วนเกี่ยวเน่ืองด้วยพระพุทธศาสนา เช่น สัญลักษณ์เหตุการณ์ ๘๔ศิลป์ พีระศรี, คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง, (พระนคร: กรมศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๐๒), หน้า ๑๙.

๒๔๗ ต่าง ๆ สาคัญนับต้ังแต่ประสูติ ตรัสรู้ กระท่ังถึงปรินิพพาน, บางส่วนเป็นการใช้สัญลักษณ์ พระพุทธศาสนาเพื่อตอบสนองความประสงค์ของตน หรือชุมชนในลักษณะต่าง ๆ เช่น พระประจา พระชนมวาร, พระประจาวันเกิด, พระคู่บ้านคู่เมือง, ความอุดมสมบูรณ์, การปกป้องคุ้มครองรักษา, ความอุดมสมบูรณ์, ป้องกันภัยธรรมชาติ ภัยจากโรคภัยไขเจ็บ, เมตตามหานิยม ขณะท่ีบางส่วนมุ่ง เตือนสติ หรอื สอนธรรมแกผ่ ู้ที่มากราบไหว้บูชา นอกจากนี้สังคมไทยยงั สัญลักษณท์ างพระพทุ ธศาสนา ในฐานะเปน็ ตานานชุมชน ตานานส่ิงศกั ดปิ์ ระจาชุมชนอกี ด้วย พิจารณาประเดน็ สัญลกั ษณท์ เ่ี นือ่ งด้วยพระพทุ ธศาสนากอ่ น นับตั้งแต่เกิดคตินิยมการสร้างพระพุทธรูปข้ึนในหมู่คนท่ีนับถือพระพุทธศาสนา๘๕ ก็ ก่อให้เกิดพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประเทศทั้งหลายที่รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกเปน็ ตน้ มา ก็ได้แบบอยา่ งการสรา้ งพระพุทธรูปข้ึน๘๖ โดยมีการแก้ไข ดัดแปลง รูปลักษณะตามความเห็นของตน ๆ ของแต่ละประเทศน้ัน เช่น พระพุทธรูปแบบกรีก ทาพระศกเส้น แบบคนสามัญ คนอินเดียเห็นว่าไม่สวยหรือไม่ถูกก็แก้ไขเป็นแบบก้นหอย, จีวรเคยทาเป็นร้ิว ก็ตัดริ้ว ออก, พระพักตร์เคยทาแบบเทวรปู กรีก กเ็ ปลีย่ นให้เป็นหนา้ แบบคนอนิ เดยี เป็นต้น แม้สังคมไทย ก็มีการเปล่ียนแปลง แก้ไขรายละเอยี ดของพระพทุ ธรปู แตกตา่ งกนั ไปตาม ยุคสมัย ทาให้เกิดพุทธศิลปะท่ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสมยั นับตัง้ แต่ทวาราวด,ี ศรีวชิ ัย, ลพบุรี,เชยี งแสน , สุโขทัย, อยุธยา, และรตั นโกสินทร์ ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี (พ.ศ.๑๐๐๐-๑๒๐๐) พระเกตุมาลาเป็น ต่อมส้ัน ขมวดพระเกตุโตและป้าน ไม่มีไรศก พระนลาตคตเค้ียว หลังพระเนตรนูนจนเกือบได้ระดับ พระนลาตะ พระโขนงยาวเยียด พระพัตรแบนกว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน จีวรบางแนบติด พระองค์ สังฆาฏิมีอย่างส้ันเพียงพระถัน และยาวจนจรดพระนาภี พระหัตถและพระบาทใหญ่ บัวรอง ฐานกลีบใหญ่๘๗พบมีประมาณ ๘ ปาง ได้แก่ ปางปฐมเทศนา, ปางสมาธิ, ปางมารวิชัย, ปางเสด็จลง จากดาวดงึ ส์, ปางมหาปาฏิหารยิ ์, ปางประทานอภัย, ปางประทานพร, และปางโปรดสตั ว์๘๘ ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย (พ.ศ.๑๒๐๐-๑๗๐๐) พระเกตุมาลาเป็น ตอ่ มส้ันคล้ายสมยั ทวาราวดี แต่ขมวดพระเกตุเล็กและละเอียดกว่า โดยมากมีไรศก ถ้าไม่มีไรศกจะมี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนง มีใบโพธิ์ติดที่พระเกตุมาลา พระนลาตะเรียบ พระโขนงโก่ง พระ พักตร์แบนเหมือนทวาราวดี แต่พระหนุไม่ป้าน พระโอษฐ์ไม่แบะ พระหัตถ์และพระบาทมักทาได้ ๘๕ประมาณระหวา่ ง พ.ศ. ๓๖๓-๓๘๓ ดูรายละเอยี ดใน หลวงบรบิ าลบรุ ภี ณั ฑ์, ลกั ษณะพระพทุ ธรูป สมัยตา่ ง ๆ, (พระนคร: กรมศิลปากร จดั พมิ พ,์ ๒๔๘๐), หนา้ ๑. ๘๖พระพุทธรูปท่ีเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเป็นพระพุทธรูปท่ีสร้างขึ้นในประเทศอินเดีย พบทั้ง พระพุทธรูปสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษท่ี ๗-๙) และสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษท่ี ๙-๑๑) ดูรายละเอียดใน ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย, (กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ สมาพันธ,์ ๒๕๕๖), หนา้ ๔. ๘๗ หลวงบรบิ าลบรุ ีภัณฑ์, ลักษณะพระพทุ ธรปู สมยั ต่าง ๆ, หน้า ๔. ๘๘เรอื่ งเดียวกนั , หนา้ ๕-๖.

๒๔๘ สัดส่วนกับพระองค์๘๙ พบมีประมาณ ๖ ปาง ได้แก่ ปางมารวชิ ัย, ปางลีลา, ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์, ปางโปรดสัตว์, ปางประทานอภยั , และปางนาคปรก ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรปู สมัยลพบุรี (พ.ศ.๑๕๐๐-๑๘๐๐) เป็นแบบฝีมือช่างขอม พระเกตุมาลาเปลี่ยนรูปร่างหลายอย่าง คือ เป็นแบบก้นหอยบ้าง ฝาชีครอบบ้าง อย่างมงกุฏเทวรู ปบ้าง เป็นอย่างดอกบัวตูมมองเหน็ เป็นกลีบบ้าง มีไรศกใหญ่กว่าสมัยศรีวิชัย เส้นศกทาเหมือนคนทา ธรรมดาบ้าง เป็นขมวดละเอียดบ้าง หยาบบ้าง พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระยืน มักห่มคลุม พระน่ังมีทั้งห่มคลุมและห่มดอง๙๐ พระพุทธรูปสมัยน้ีที่พบแล้วมี ๗ ปาง ได้แก่ ปางเสด็จ ลงจากดาวดึงส์, ปางประทานอภัย, ปางประทานพร,ปางโปรดสัตว์, ปางนาคปรก, ปางมารวิชัย, และ ปางสมาธิ ขดั สมาธริ าบ ต่างจากทวาราวดแี ละศรีวชิ ัยทข่ี ดั สมาธเิ พช็ ร ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (พ.ศ.๑๖๐๐-๒๐๘๙) แบ่งออกเป็น ๒ รุ่น รุ่นแรกเป็นมี ๒ แบบ คือ แบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย คือพระองค์อวบอ้วน เกตุมาลาเป็นต่อม กลม น่ังสมาธิเพ็ชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน สังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน พระพักตรกลมสั้น พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลมหรือเป็นก้น หอย ไม่มีไรศก, อีกแบบหน่ึงเป็นสกุลเมืองนครศรีธรรมราช ลักษณะเหมือนรุ่นแรก ต่างกันเล็กน้อย ตรงพระพักตร์แบนและกว้างกว่า พระโอษฐ์กว้างกว่า ปลายสังฆาฏิใหญ่และมีหลายแฉก, ส่วนเชียง แสนรุ่นหลังเป็นแบบล้านนาและล้านช้าง ทาตามอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย คือทาพระเกตุเป็น เปลว ขดั สมาธริ าบ สังฆาฏิยาว เสน้ พระศกละเอยี ด มไี รพระศก๙๑ ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย (พ.ศ.๑๘๐๐-๑๘๙๓) ช่วงนี้เป็นช่วงที่ พระพทุ ธศาสนาในประเทศศรีลังรุ่งเรือง จึงเป็นเหตุให้หลายประเทศ รวมทั้งไทยดว้ ย ต่างก็ส่งพระไป ศกึ ษา พรอ้ มกันน้กี ็ได้แบบพระพุทธรปู จากลงั กา เห็นไดช้ ัดเจนส่วนทเี่ ป็นพระเกตุมาลา ก่อหนา้ น้นั ไม่ มีพระเกตมุ าลายาว เพง่ิ มใี นสมยั นเ้ี ป็นคร้งั แรก๙๒ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มี ๓ ยุค ยุคแรกมักทาวงพระพักตร์ตามแบบลังกา เช่น พระ อัฏฐารส ในพระวิหารวัดสระเกศ, ยุคกลาง ทาวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงท่ีพระ ปฐมเจดีย์, ยุคสุดท้าย เริ่มในช่วงพระมหาธรรมราชาลิไทย ท่ีพยายามสร้างเอกลักษณ์ ตรวจสอบ คัมภีร์ถึงพระลักษณะต่าง ๆ จากนั้นจึงได้เสาะแสวงหาช่างฝีมือดีมา จึงทาให้เกิดพระพุทธรูปแบบ สุโขทัยขึ้น เช่น พระพุทธชินราช, พระพุทธชินสีห์ วงพระพักตร์เป็นรูปไข่ แก้ไขปลายพระหัตถ์ยาว เป็นเสมอกนั ทงั้ ๔ นิ้ว๙๓ ลกั ษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยอยุธยา (พ.ศ.๑๘๙๓-๒๓๒๕) ยุคแรกวงพระพักตร์ ทาแบบขอม ยุคน้ีเรียกว่าฝีมือช่างสมัยอู่ทอง ลักษณะพระเกตุมาลายาว เส้นไรพระศกละเอียด มีไร พระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระหนุป้านเป็นรูปคางคน สังฆาฏิยาว ชายอันตรวาสกข้างบน เป็นสัน ขดั สมาธิราบ, ยุคหลังนับต้ังแตแ่ ผน่ สมเด็จพระรามาธบิ ดที ี่ ๒ เป็นต้นมา ทาวงพระพักตรแ์ ละ ๘๙หลวงบริบาลบุรีภณั ฑ์, ลกั ษณะพระพทุ ธรปู สมยั ต่าง ๆ, หน้า ๗. ๙๐เรอ่ื งเดยี วกนั , หนา้ ๙. ๙๑เร่ืองเดยี วกนั , หน้า ๑๓-๑๔. ๙๒เรอ่ื งเดียวกัน, หนา้ ๑๖. ๙๓เรอ่ื งเดียวกัน, หนา้ ๑๗.

๒๔๙ พระเกตุมาลาตามแบบอย่างสุโขทัย ต่างแต่โดยมากมีไรศก สังฆาฏิใหญ่ พระเกตุมาลาทาเป็นก้นหอย หลาย ๆ ชนั้ ๙๔ ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕-ลงมา) สมัยนแี้ บบอย่าง ผสมผสานระหว่างสโุ ขทัยกับอยุธยา ตา่ งแตพ่ ระเกตุมาลาสูงกวา่ และเส้นพระศกละเอยี ดกว่า๙๕ ลักษณะปางต่าง ๆ ของพระพุทธรูปในประเทศไทย นักปราชญ์ท้ังหลายก็ถอดมาจาก พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้านับต้ังแต่ประสูติ กระทั่งถึงวันปรินิพพาน โดยจาลองเฉพาะจาก เหตุการณ์สาคัญ ๆ ตาราแต่ละเล่มที่เขียนขึ้นในแต่ละสมัยก็กาหนดจานวนปางแตกต่างกันออกไป เช่น มีการกาหนดปางของพระพุทธรูปเปน็ ๔๐ ปาง, พระพุทธรูปปางต่าง ๆ แต่งโดยหลวงบริบาลบุรี ภัณฑ์ มีจานวน ๕๕ ปาง, ตานานพระพุทธรปู ปางต่าง ๆ แตง่ โดยพระพิมลธรรม มจี านวน ๖๖ ปาง,๙๖ ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ เป็นประติมากรรมนูนสูง มีจานวน ๙๐ ปาง, ประวัติพระพุทธรูปปาง ตา่ ง ๆ ฉบับของกรมการศาสนา แต่งโดยพทิ รู มลิวัลย์ มจี านวน ๗๒ ปาง๙๗ ประเด็นสุดท้าย จะได้พิจารณาถึงการประยุกต์พุทธสัญลักษณ์เพ่ือสนองความประสงค์ ของบุคคล หรือชุมชน การใช้พระพุทธรูปในเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ มีปรากฎอยู่ท่ัวไปทุกภูมิภาค ทุก ระดบั ของสังคมไทย และต้องถอื ว่า เปน็ เอกลกั ษณข์ องสังคมไทย กลุ่มประติมากรรมท่ีเป็นสัญลักษณ์สนองความประสงค์ส่วนบุคคล เช่น พระพุทธรูป ประจาพระชนมวาร, พระพุทธรูปประจาวันเกิด, พระพุทธรูปอนุสรณ์เหตุการณ์, สัญลักษณ์ของความ อุมสมบูรณ์, ความศักดิ์สิทธิ์, การปกป้องคุ้มครอง ป้องกัน รักษา, สัญลักษณ์ของความสาเร็จ ประติมากรรมที่เป็นสัญลักษณ์สนองความต้องการของชุมชน หรือสังคม เช่น สัญลักษณ์พระ ค่บู า้ นคเู่ มอื ง, สัญลักษณ์ของการห้ามฝน, สัญลกั ษณ์ของตานาน หรือประวัติศาสตร์ชมุ ชน, สญั ลักษณ์ ของศูนยร์ วมจติ ใจ เป็นตน้ การกาหนดพระพุทธรูปเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ประจาพระชนมวาร, พระพุทธรูป ประจาวันเกิด น่าจะมีสาเหตุมาจากความเช่ือในพุทธานุภาพต้องการให้ชีวิตมีความใกล้ชิดกับพระ ศาสนามากย่ิงขึ้น และต้องการให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต ตลอดถึงวิถีชีวิตท่ีมีความเกี่ยวเน่ืองกับ พระพุทธศาสนามาเปน็ ระยะเวลานาน คนไทยคิดสร้างเป็นอบุ ายเพ่ือยดึ เหนยี่ วจิตใจ คตินิยมน้ีน่าจะมีมานานแล้ว แต่จะมีปรากฏคร้ังแรกในสมัยใด ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัด แต่หากจะสืบสาวหาร่องรอยหลักฐาน ก็พอมีร่องรอยให้เห็นตามแต่ละยุคสมัย เช่น ตานานมูล ศาสนา๙๘ มเี นอ้ื หาบางตอนเล่าถึงพระนางจามเทวีได้ให้นายช่างจัดสร้างพระพุทธรปู ขนาดเท่ากับพระ ๙๔หลวงบรบิ าลบุรีภัณฑ์, ลักษณะพระพุทธรูปสมยั ต่าง ๆ, หน้า ๑๘. ๙๕เร่อื งเดียวกัน, หน้า ๑๙. ๙๖ใน ๖๖ ปาง จาแนกเปน็ ตามพระกรณยี กิจท่ที รงบาเพ็ญ ในส่วนอัตตจริยา ๑๗ ปาง, ญาตัตถจริยา ๔ ปาง,โลกัตถจริยา ๔๓ ปาง และพุทธจริยา ๒ ปาง, พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี), ตานานพระพุทธรูปต่าง ๆ, [ออนไลน์]. แหล่งทมี่ า: http://www.dhammajak.net/ [๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗]. ๙๗ศักด์ิชัย สายสิงห์, ไพฑูรย์ พงศะบุตร,“พระพุทธรูป”, สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน เล่ม ๘, หนา้ ๒๑. ๙๘พระพุทธพุกาม และพระพุทธญาณ, ตานานมูลศาสนา, (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทาน เพลิงศพพระธรรมราชานวุ ตั ร, ๑๑ ตลุ าคม ๒๕๓๐),หน้า ๒๐๗.

๒๕๐ นาง แล้วบรรจุพระธาตุซ่ึงได้มาจากเมืองละโว้ จากนั้นก็สถาปนาเป็นพระพุทธรูปประจาพระองค์ แม้ ตานานเกีย่ วกับพระสกุ พระเสริม พระใสก็มเี รื่องเล่าทานองเดียวกนั ๙๙ คตนิ ิยมการสรา้ งพระพทุ ธรูปประจาพระชนมวารน้มี ใี ห้เหน็ กระทง่ั ถงึ สมัยรัตนโกสนิ ทร์ การใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอีกลักษณะหนึ่งที่พบเห็นโดยมากในสังคมไทยก็ คือ สัญลักษณ์ของความศักด์ิสิทธิ์ สามารถประทานอิทธิผลที่พึงปรารถนา ท้ังในลักษณะป้องกันส่ิง อัปมงคล และกอ่ ให้เกิดสิง่ มงคลสาหรบั ชีวิตในลักษณะต่าง ๆ เช่น ปอ้ งกนั ภัย อันตราย โรคภยั นามา ซึ่งความร่มเย็น มั่นคงโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น ท้ังน้ีเพราะว่า ชาวพุทธโดยทั่วไปมีศรัทธา ในพระรตั นตรัย เชือ่ ม่ันในพุทธานภุ าพ ธรรมานุภาพ และสงั ฆานุภาพเป็นทุนเดมิ อยู่แลว้ ปจั จุบัน ไม่เฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้น แม้พระสงฆ์สาวก ตลอดจนถึงพระสงฆ์ท่ีปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ กม็ ักจะได้รบั การยกยอ่ ง และถือเป็นสัญลักษณ์ในลกั ษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น พระ สีวลี เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ ถึงกับมีการแต่งคาถากากับประจาวันเกิด และให้แต่ละคนได้สวด ตามกาลังวัน๑๐๐ พระสังกัจจายน์ ก็นับเป็น ๑ ในไตรภาคีท่ีได้ชื่อว่า ใครบูชาแล้วร่ารวยอุดมสมบูรณ์ ทั้งโภคทรัพย์ และโชลาภ๑๐๑บางครั้งก็มีการสร้างสัญลักษณ์มงคลจากช่ือพระสงฆ์ที่ตน หรือสังคมให้ ความเคารพนับถืออย่างแพร่หลาย เช่น ชอบ เงิน สด, มั่ง มี เงิน ทอง, มั่ง มี ศรี สุข เป็นต้น ทาให้ เกิดสัญลักษณ์เฉพาะท้องถ่ินตามคติความเช่ือเก่ียวกับคุณลักษณะเฉพาะ หรือพิเศษสาหรับ พระพุทธรปู และพระสงฆ์น้นั ๆ ซึ่งมอี ยู่ทุกทอ้ งท่ีของประเทศไทย ตารางท่ี ๕.๒๒ กลุ่มสัญลกั ษณ์ในสถาปตั ยกรรมไทย กลมุ่ ท่ี กล่มุ รปู สัญญะ ตวั สัญญะบง่ ถงึ พระพทุ ธศาสนา ๓ กลมุ่ สถาปัตยกรรม ๑. การกาหนดเขตพุทธาวาส-สังฆาวาส ๒. จักรวาลวทิ ยาพระพทุ ธศาสนา ๓. อทิ ธิพลท้องถ่ิน ๔. การจาลองป่าหิมพานต์ ๕. ฐานันดรศักด์ิ ๖. แกนโลก ๗. ขอบจกั รวาล และจดุ กาเนิดสรรพสง่ิ ๘. พระพุทธเจ้า ๙. จาลองแนวคิดเหตุการณ์พุทธประวัติ ๑๐. การเวยี นประทกั ษิณ ๙๙พระพุทธรูปสาคัญของไทย, “ประวัติพระเสริมวัดปทุมวนาราม”, [ออนไลน์]. แหล่งท่ีมา: http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538710315&Ntype=42 [๕ มกราคม ๒๕๕๗]. ๑๐๐ดูรายละเอียดคาถาใน แก้ว สุพรรโณ, พระสีวลี: อรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ, (กรุงเทพฯ: สานกั พมิ พ์ไพลิน, ๒๕๔๕), หน้า ๗๖-๘๓. ๑๐๑พ. สุวรรณ, พระสังกัจจายน์ พระอรหันต์ผู้สมบูรณ์ลาภผล, (กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นต้ิง, ๒๕๔๙), คานา.

๒๕๑ ๑๑. ธรรมจักรหมุนรอบ ๑๒. พระนพิ พาน วเิ คราะห์ดังนี้ กลุ่มสถาปัตยกรรม นับเป็นศิลปะอีกประเภทหน่ึงใช้สัญลักษณ์ทางศิลปกรรมเพ่ือ สะท้อนเรื่องราวต่าง ๆ ทงั้ จากคัมภีร์ทางพระพทุ ธศาสนา ตลอดจนถึงคติความเช่ือด้ังเดิมในท้องถ่ินที่ มีผลต่อการกาหนดสัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยมีการจดั วางรูปแบบ และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเพื่อ รับใชพ้ ระพทุ ธศาสนา ส่วนท่ีสะท้อนแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เช่น การกาหนดผังอาคาร ตัวอาคาร หรือ องค์ประกอบของอาคารท่ีสะทอ้ นแนวคิดเร่ืองจักรวาลวิทยา, การจาลองป่าหิมพานต์ซงึ่ เป็นส่วนหนึ่ง ของจักรวาลวทิ ยา, การจาลองแนวคดิ เหตกุ ารณ์พุทธประวัต,ิ การใช้สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเพ่ือ ส่ือถึงพระพุทธเจ้า ฐานันดรศักด์ิของพระพุทธเจ้า การหมุนวงล้อแห่งธรรมจักร พระนิพพาน นอกจากนนั้ ยังมีการใชค้ ติความเชือ่ ทอ้ งถ่ิน กาหนดแผนผังของสถาปัตยกรรม จะพิจารณาส่วนองค์ประกอบแผนผังทางสถาปัตยกรรมก่อน จากนั้นจะพิจารณา องค์ประกอบอาคารสถาปตั ยกรรม ประเดน็ แรก เป็นเร่ืองของการจัด หรอื กาหนดพื้นท่ี จากกลุ่มตัวอย่างสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาท่ีใช้สาหรับการศึกษาพบว่า มีการ จัด หรือกาหนดพื้นที่ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ลักษณะแรกเป็นการกาหนดขอบเขตเฉพาะภายในศาสน สถานนัน้ ๆ ส่วนลักษณะที่ ๒ คือการกาหนดขอบเขตกวา้ งออกไปนอกเหนือจากเขตศาสนสถาน กลุ่มแรก ระดับเล็กสุดอาจใช้บริเวณเฉพาะท่ีที่เป็นที่ตั้งของอาคารสถาปัตยกรรมนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ กลุ่มถัดมาคอื การใชบ้ ริเวณวัดทั้งหมด ตวั อย่างสาหรับกรณีแรกเช่น แผนผังสถาปัตยกรรม อุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร กาหนดให้อุโบสถเป็นศูนย์กลางของอาคาร สถาปัตยกรรม มีองค์ประกอบคือวิหาร ๔ หลัง ประจาทิศท้ัง ๔ แวดล้อมตัวอุโบสถ ตัวอย่างสาหรับ กรณีที่ ๒ เช่น ผังวัดพระธาตุลาปางหลวง ตลอดผังวัดต่าง ๆ ทเ่ี คยมีการศึกษาแล้ว เช่นงานวิจัยเร่ือง “การวางผังบริเวณพุทธสถาน บริเวณเมืองเก่าสุโขทยั ” กลุ่มตัวอย่างที่ใชศ้ ึกษาจานวน ๑๐๔ แห่ง๑๐๒ พบว่า ศาสนสถานเหล่าน้ีมีการกาหนดให้เจดีย์เป็นประธาน หรือเป็นศูนย์กลางของวัด ซ่ึงสะท้อน แนวคิดเรอ่ื งจักรวาลวทิ ยาพระพุทธศาสนาผ่านแผนผงั ทางสถาปตั ยกรรม กลุ่มที่ ๒ คือกลุ่มที่กาหนดเขตกว้างออกไปนอกเหนือจากเขตศาสนสถาน เท่าท่ีพบ ส่วนมากนิยมใช้เขตเมือง เขตชุมชนด้ังเดิม เช่น พระบรมธาตุเจดีย์๑๐๓ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตัว พระเจดีย์ต้ังอยู่จุดศูนย์กลางหาดทรายแก้ว ซึ่งถือเป็นชุมชนเมืองโบราณของนครศรีธรรมราช, วัด สุทัศน์เทพวนาราม ถูกวางผังให้วัดเป็นศูนย์กลางของเกาะรัตนโกสินทร์ ทานองเดียวกันกับวัดบวร ๑๐๒จากกลุ่มตัวอย่างโบราณสถานบริเวณเมืองเก่าสุโขทัยจานวน ๑๐๔ แห่ง ส่วนหนึ่งสะท้อนแนวคิด ดังกล่าว เช่น วัดมหาธาต,ุ วัดสระศร,ี วดั ตระพังเงนิ , วดั ชนะสงคราม เป็นตน้ ดูรายละเอยี ดใน สันทนา ภิรมย์เกยี รติ , “การวางผังบริเวณพุทธสถาน บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย”, วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา ประวัตศิ าสตรส์ ถาปัตยกรรม, (บณั ฑติ วิทยาลัย: มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, ๒๕๔๕), บทที่ ๓. ๑๐๓ดรู ายละเอียดแผนผงั ทางสถาปัตยกรรมพร้อมคาอธบิ ายใน ประภสั สร์ ชูวิเชยี ร, พระบรมธาตเุ จดยี ์ นครศรีธรรมราช มหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้, (กรุงเทพฯ: สานกั พิมพเ์ มอื งโบราณ,๒๕๕๓), หน้า ๑๐-๒๓.

๒๕๒ สถานสุทธาวาส ที่ถูกวางผังให้เป็นศูนย์กลางของศาสนจักรบนพ้ืนท่ีภายในพระราชวังหน้า๑๐๔ ผังวัด เจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกาหนดให้วัดเป็นศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่ มีวัดบริเวณซึ่งตั้งอยู่ตาม ทิศต่าง ๆ เป็นบริวารรอบเมืองเชียงใหม่ จานวน ๘ วัด ซึ่งท้ังหมดนี้สะท้อนหลักการเดียวกันคือ แนวคดิ ทางดา้ นจักรวาลวทิ ยาพระพทุ ธศาสนา แนวความคิดทางจักรวาลวิทยาจะสะท้อนออกมาในรูปของการกาหนดอาคารประธาน ของศาสนสถานแต่ละแหง่ ซ่งึ มหี ลายลักษณะ เชน่ ผังแบบมีวหิ ารต้งั อย่หู น้าเจดีย,์ ผงั แบบมวี ิหารเป็น ประธานของวัด, ผังแบบมีเจดีย์เป็นประธานของวัด เป็นต้น ประเด็นท่ีสอง องค์ประกอบอาคารสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องของรายละเอียดของตัว อาคาร องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในท่ีน้ีนับต้ังแต่ซุ้มประตู ตัวอาคารประธาน อาคาร ประกอบ รายละเอียดการประดับตกแต่งทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น โครงสร้างอาคาร, ผนังอาคาร, รูปทรงหลังคา, ฐานอาคาร, สัดส่วนของอาคาร, บันได, หน้าบัน เป็น ต้น ท้ังน้ีรวมถึงแผนผังโดยภาพรวมท้ังหมด ซ่ึงเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว สามารถมองเห็น แนวความคิดเชิงสัญลักษณ์ที่ผู้ออกแบบต้องการส่ือให้เห็น พบมากท่ีสดุ ได้แก่เร่ืองจักรวาลวิทยา และ แนวคิดเรื่องไตรภูมิ สอดคล้องกับข้อสังเกตของคาร์ล เดอริงก์ สถาปนิก และวิศวกรชาวเยอรมันซึ่ง เข้ามาสนองงานในรชั สมัยรชั กาลที่ ๕ ทีว่ า่ “ศาสนาในสยามไม่ใช่เป็นเพียงคาพูดท่ีไร้ความหมาย แต่เป็นเสมือนพลังผลักดันให้ มีการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมใหญ่โต งานอันที่รวมแห่งศรัทธาทางศาสนาท่ีรวม จินตนาการเจิดจ้าทางศิลป์ และคุณลักษณะที่รู้ซ้ึงถึงความงามอันประณีตบรรจง วัดทุก วัดของสยามอาจกล่าวได้ว่า คือหุ่นจาลองพิภพ และพระพุทธรูปใหญ่หรือองค์พระ ประธานคอื จดุ ศูนย์กลาง เฉพาะศิลปนิ ทมี่ ีจิตใจเลื่อมใส ประจักษ์แจง้ ในพระพทุ ธศาสนา เทา่ นัน้ ทีส่ ามารถสรา้ งวดั เช่นนไี้ ด้”๑๐๕ อนึ่ง ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมที่มีคติสัญลักษณ์เรื่องจักรวาลวิทยาในลักษณะ เช่นน้ี พบเห็นอยู่โดยทั่วไป มีงานวิจัยในระดับบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากรศึกษาไว้ หลายเรื่อง เช่น การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (๒๕๓๔), การศึกษาประตูโขงแบบล้านนาในจังหวัดลาปาง (๒๕๔๐), การศึกษาการออกแบบและคติ สัญลักษณ์ในกรณีงานสถาปัตยกรรมวัดสุทัศน์เทพวนาราม (๒๕๔๑),การศึกษาคติภูมิจักรวาลใน งานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว: กรณีศึกษาพระอารามหลวง ในกรุงเทพมหานคร (๒๕๔๓), การวางผังบริเวณพุทธสถานสมัยสุโขทัย บริเวณเมืองเก่าสุโขทัย (๒๕๔๕),คตแิ ละสัญลกั ษณก์ ารออกแบบสถาปตั ยกรรมของพระปฐมเจดีย์ (๒๕๔๗) เปน็ ตน้ ๑๐๔ดรู ายละเอียดคาอธิบายใน เสมอชัย พูนสุวรรณ, สญั ลกั ษณใ์ นงานจติ กรรมระหว่างพุทธศตวรรษ ท่ี ๑๙-๒๔, (กรงุ เทพ ฯ: มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร,์ ๒๕), หนา้ ๑๓, ๒๗, ๕๐ ๑๐๕อ้างใน วัชรี วัชรสินธุ์, “การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม”, วิทยานพิ นธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑติ , (บณั ฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศลิ ปากร, ๒๕๓๔), หนา้ ๑๐๙.

๒๕๓ ๕.๕ อิทธพิ ลทีม่ ีตอ่ ประเพณี และพธิ กี รรม วัฒนธรรมไทย ประเพณี และพิธกี รรมมหี ลากหลายตามท้องที่ ผู้วิจัยจึงกาหนดขอบข่าย ไว้ ๓ ส่วน คือ ประเพณีท่ัวไป, ประเพณีที่เป็นราชพิธี และประเพณีท้องถ่ิน โดยจะคัดเลือกมาเพียง เพ่ือเปน็ ตัวอยา่ งแต่เพียงสังเขปเท่านั้น เบ้ืองตน้ พจิ ารณาเลือกประเพณี และพิธีกรรมทว่ั ไปจานวน ๕ ตวั อยา่ ง ๑๑ รูปสัญญะ, ที่ เป็นราชพิธี จานวน ๕ ตัวอย่าง ๕ รูปสัญญะ, และที่เป็นประเพณีท้องถิ่น จานวน ๑๐ ตัวอย่าง ๑๓ รูปสัญญะ ดงั รายละเอียดตอ่ ไปน้ี ตารางท่ี ๕.๒๓ สญั ลกั ษณ์ในประเพณี และพธิ กี รรม กลุม่ ท่ี กลมุ่ รปู สัญญะ ตัวสัญญะบง่ ถงึ พระพุทธศาสนา ๑ ประเพณที ่ัวไป - การก่อเจดยี ์ทราย พระเจดยี ์-การบูชา - สรงน้าพระ การขอขมา/ความเปน็ สริ ิมงคลแกช่ วี ิต - ตักบาตรเทโวโรหณะ การเสดจ็ ลงจากสวรรคช์ ้ันดาวดงึ ส์ของ พระพุทธเจ้า - มัดตราสงั เครอ่ื งผูกพนั ท้ัง ๓ ประการ ไดแ้ กล่ กู ทรัพย์ ภรรยา - หวผี มศพ การสะสางวิถชี วี ติ ใหเ้ ปน็ ไปตามระเบียบสังคม - ชักฟนื ออก ๓ ดนุ้ นาราคะ โทสะ และโมหะออกจากชวี ติ - บังสกุลเป็น/ตาย การตายและการเกิดใหม่ - จดุ เทยี นหนา้ ธรรมาสน์ นมิ นต์ขึน้ ธรรมาสน์แสดงธรรม - ธูป ๓ ดอก พระพทุ ธคุณ ๓ ประการ - เทียน ๒ เล่ม พระธรรมและพระวินัย - ดอกไม้ พระสงฆ์ ๒ พระราชพิธี - การลอยพระประทปี พระพุทธรปู - พระราชกุศลกาลานุกาล พระพทุ ธรูปประจาพระชนมวาร - พระราชพธิ ีไลเ่ รือ พระพทุ ธรูปปางหา้ มสมุทร - พธิ พี ิรุณศาสตร์ พระพุทธรูปปางคันธารราฐ - พระราชพธิ ีพืชมงคลจรดพระ พระพุทธรปู ปางคันธารราฐ นงั คัลแรกนาขวัญ บชู าพระพุทธเจา้ ,รอยพระพทุ ธบาท/บรจิ าคทาน ๓ ประเพณที ้องถิ่น ,ต้อนรบั พระเวสันดร,บูชาพระเกศแกว้ จฬุ ามณี ความกตญั ญตู ่อบรรพบุรุษ - ประเพณียเี่ ปง - ประเพณตี านขันขา้ ว

๒๕๔ - ประเพณีอุ้มพระดาน้า พระพทุ ธรปู ,ความเป็นสริ มิ งคลแกช่ วี ิต - ประเพณีตงุ บูชา,ให้รวู้ า่ มีงานบญุ ,นาผ้ตู ายสูส่ วงสวรรค์ - ประเพณีตักบาตรดอกไม้ บูชา,การชาระจติ ใจให้สะอาด - ประเพณีแหผ่ ีตาโขน สง่ พระเวสสนั ดรกลบั เข้าเมือง - พระเพณแี ห่ผ้าข้นึ ธาตุ บูชา, การได้ใกล้ชดิ พระศาสนา - ประเพณชี กั พระ คตกิ ารเสดจ็ ลงจากดาวดึงส์,พระพุทธรูป - ประเพณีสารทเดือน ๑๐ การอุทิศบุญให้บรรพบรุ ุษ,การขา้ มห้วงมหรรณพ เคร่ืองบชู า ๑,๐๐๐ อยา่ ง, จาลองเหตุการณ์,การ - ประเพณีเทศน์มหาชาติ เสยี สละ จากรายละเอียดตารางที่ ๕.๒๓ วิเคราะหไ์ ดด้ ังนี้ ประเพณีต่าง ๆ ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นประเพณีท้องถ่ิน ประเพณีท่ีเป็นราชพิธี และ ประเพณีท่ัวไป สามารถจาแนกได้ ๒ กลุ่ม คือ ๑) กลุ่มที่ไดร้ ับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา ๒) กลุ่มท่ี ได้รับอิทธิพลจากคตคิ วามเชอื่ ท้องถ่นิ ๑. กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา ได้แก่ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ, ประเพณีเทศน์มหาชาติ,ประเพณีสารทเดือน ๑๐,ประเพณี๒ อย่างแรก ถือว่าได้รับอิทธิพลโดยตรง สว่ นประเพณหี ลังมอี ทิ ธิพลทอ้ งถิน่ เข้าไปผสมผสานด้วย ประเพณีแรกถือคตินิยมมาจากเหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนว่าด้วยการเสด็จลงจาก สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากการข้ึนไปโปรดพุทธมารดาเป็นระยะเวลา ๓ เดือน เมื่อถึงวันมหา ปวารณาจึงเสด็จลงมา โดยมีพุทธบริษัทเฝ้ารอรับการเสด็จกลับมา๑๐๖ขณะท่ีประเพณีเทศน์มหาชาติ ถือคตินิยมจากการเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสด์ุเป็นคร้ังแรก นับแต่วันท่ีพระองค์ได้ ตรัสรู้ โดยในคร้ังน้ัน ได้ทรงแสดงเวสสนั ดรชาดกทา่ มกลางพระประยรู ญาติ๑๐๗ ส่วนประเพณีสารทเดือน ๑๐ น่าจะได้คตินิยมมาจากอรรถกถาติโรกุฑฑสูตร ซ่ึง พรรณนาถึงการทาบุญอุทิศส่วนกศุ ลให้เปตชนที่ล่วงลับไปแล้วของพระเจ้าพิมพิสาร๑๐๘ ขณะเดียวกัน ก็ผสมผสานกับคติของพราหมณ์-ฮินดู๑๐๙ ส่วนเง่ือนไขระยะเวลาท่ีต้องทากันเดือน ๑๐ น่าจะผสม สานกับคติความเชื่อทอ้ งถ่ินท่ีถอื กันว่า ผญี าติและไม่ใชญ่ าติทั้งหลายจะมารอคอยรับอาหาร๑๑๐ ดังน้ัน ใครไม่ทาบุญสารท ก็จะถอื ว่าขาดความกตญั ญตู อ่ บิดามารดา และญาตพิ ี่น้องทล่ี ว่ งลบั ไปแลว้ ๑๐๖ ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒/๓/๓๑๖-๓๑๗. ๑๐๗ ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๑/๒/๓/๒๓๒-๒๓๕. ๑๐๘ ขุ.ข.อ. (ไทย) ๑/๑/๒๗๘-๓๐๑. ๑๐๙ ดูคาอธิบายเพ่ิมเติมใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, (พมิ พใ์ นงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนจนั ทบุรีสุรนาถ ๗ มถิ ุนายน ๒๔๙๖), หนา้ ๕๙๗ เปน็ ตน้ ไป. ๑๑๐ แปลก สนธิรกั ษ,์ พธิ กี รรมและประเพณี, (กรุงเทพฯ: โรงพมิ พก์ ารศาสนา,มปป.), หนา้ ๗๓.

๒๕๕ อนึ่ง ประเพณีกลมุ่ นีแ้ มจ้ ะไดร้ ับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา แตส่ ่วนหน่ึงของสัญลักษณ์ ที่ใช้ในพิธกี รรม ก็หาไดผ้ ูกมัดไว้เฉพาะพระพุทธศาสนาไม่ บางคร้ังก็มกี ารสร้างสัญลกั ษณ์ขึ้นโดยอิสระ เช่น การจัดหมฺรับมีขนมชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วย ขนมพอง สัญลักษณ์เรือแพนาข้ามห้วงมหรรณพ และสาหรับอุทิศให้เปตชน ในประเพณีสารทเดือน ๑๐, การจัดสิ่งของอย่างละพัน ๆ เช่น ธง ๑,๐๐๐ อัน, ธูป ๑,๐๐๐ ดอก, เทียน ๑,๐๐๐ เล่ม, ข้าวก้อน ๑,๐๐๐ ก้อน เป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระ คาถาพัน เปน็ ตน้ นอกจากสิ่งของดังกลา่ วแล้ว บางทอ้ งถน่ิ ยังมีมากกวา่ นั้น เช่น หมากพนั คา เม่ียงพันคา ดอกบัวหลวงพันดอก, ดอกก้านของพันดอก, ดอกผักตบพันดอก, ดอกนิลุบลพันดอก มีการสร้างหอ อุปคุต ในหออุปคุตมีบาตร ร่ม กระโถน กาน้า จีวร ไม้เท้าเหล็ก๑๑๑ ซ่ึงสัญลักษณ์เหล่านี้ มีทั้งที่ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แต่บางอย่างก็ไม่ได้มีความเก่ียวข้องโดยตรง เพียงแตน่ ามาใช้เป็นสัญลักษณ์ ทางพธิ ีกรรม และใหค้ วามหมายให้สอดคล้อง หรือเขา้ กนั ไดก้ ับพระพทุ ธศาสนา ๒. กลุ่มท่ีได้รับอิทธิพลจากท้องถ่ินกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกคือใช้ สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอธิบายคติความเช่ือของตน หรือท้องถิ่น ลักษณะท่ี ๒ คือ ใช้ สัญลักษณ์อ่ืนที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่อธิบายให้มีความหมายสัมพันธ์ หรือเช่ือมโยงกับ พระพทุ ธศาสนาลักษณะใดลกั ษณะหนึ่ง กรณีตัวอย่างกลุ่มท่ีใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอธิบายคติความเช่ือของตน หรือ ท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีก่อเจดีย์ทราย, ประเพณีสงกรานต์, การลอยพระประทีป, พระราชกุศล กาลานุกาล, พระราชพิธีไล่เรือ, พิธีพิรุณศาสตร์, พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, ประเพณอี มุ้ พระดานา้ , และประเพณชี ักพระ การก่อเจดีย์ทราย เหตุท่ีเรียกอย่างน้ีน่าจะเป็นเพราะว่า แต่เดิมมานิยมก่อเป็นรูป พระเจดี ย์ เชน่ มตี านานเล่าถึงครงั้ แผน่ ดินสมเด็จพระพทุ ธเจา้ หลวงในพระบรมโกศนั้น เม่อื วันข้นึ ปีใหม่ จะทรงให้เจ้าพนักงานก่อพระทรายหน้าพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นรูปเจดีย์มีขนาดต่าง ๆ จัดเป็นหมวดหมู่ เช่น ตารวจ ๔ เหล่า รวมกันทาพระมหาธาตุ ๑ องค์ สูง ๘ ศอก มียอดนพศูล, พระทรายสูง ๒ ศอก ๘๐ องค์ รอบ ๆ พระมหาธาตุน้ัน พร้อมกันน้ีก็มีประดับประดาด้วยราชวัติฉัตร ธง๑๑๒ กรณีตัวอย่างกลุ่มท่ีใช้สัญลักษณ์ท่ีไม่เก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่อธิบายให้มี ความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา ได้แก่ ประเพณีเน่ืองด้วยงานศพ, พิธีแสดงพระธรรมเทศนา, การ จัดโต๊ะหมู่บูชาในพิธีต่าง ๆ, ประเพณีย่ีเปง, ประเพณีตานขันข้าว, ประเพณีตุง, ประเพณีตักบาตร ดอกไม้, ประเพณีแหผ่ ตี าโขน, และประเพณีแหผ่ ้าข้ึนธาตุ ประเพณีท่ีใช้สัญลักษณ์ซึ่งไม่เก่ียวกับพระพุทธศาสนา แต่พยายามอธิบายให้เข้ากับ พระพุทธศาสนา และถือเป็นส่วนหน่ึงของสัญลักษณ์ประเพณี หรือพิธีกรรมน้ัน ๆ ในสังคมไทย นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังพบในโดยท่ัวไปในประเพณี หรือพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น ธงตะขาบ ธงจระเข้ เป็นสัญลักษณ์ธงที่ใชใ้ นงานกฐิน ก็มีการสรา้ งตานานเล่าว่า อุบาสกคนหน่ึงแห่กฐินไปทางเรือ จระเข้ เห็นอยากไดบ้ ุญก็ว่ายนา้ ตามไป แต่หมดกาลงั ก่อน จงึ ได้ขอร้องให้ให้อุบาสกน้ันจ้างคนเขยี นรูปตนเอง ๑๑๑ หอสมุดแห่งชาติ, ลทั ธิธรรมเนียมต่าง ๆ, (พระนคร: สานักพิมพค์ ลังวิทยา, ๒๕๐๖),หน้า ๔๔๙. ๑๑๒ เรอื่ งเดยี วกัน, หน้า ๙๔.

๒๕๖ ติดกับธงด้วย อุบาสกนั้นก็รับคา ตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎธงจระเข้ตามวัด ต่าง ๆ ท่ีมีการทอดกฐิน๑๑๓ ในการบวชนาค ประเพณีโบราณมีการเส่ียงทายกรณีนาคที่จะทาการบวช เข้าไปในโบสถจ์ ะบูชาพระ รัตนตรัย เมื่อจะปักเทียน ถ้าปักตรง แสดงว่าจะบวชอยู่ได้นาน แต่ถ้าปักเอน ย่ิงเอนมากเท่าไร ก็ยิ่ง เป็นนยั ว่าจะบวชอยไู่ ด้ไมน่ านเท่าน้ัน๑๑๔ ๕.๖ สรปุ ทา้ ยบท พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลายด้าน หลายมิติ กล่าวโดยภาพรวมก็คือ ต่อ ความเป็นชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นับต้ังแต่อดีตอันยาวนานมากระทั่งถึงปัจจุบัน ซ่ึงมี ความสัมพนั ธ์อย่างแนน่ แฟ้น ไม่สามารถแยกออกจากกนั ได้ ในแง่ของความเป็นชาติ สังคมไทยได้ใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหน่ึงของ สัญลกั ษณ์ของชาติหลายภาคส่วน นับต้ังแตต่ ราแผ่นดิน ธงไตรรงค์ ธงประจากระทรวง ทบวง กรม ธง ประจาจงั หวัด ทั้งน้ยี ังไมน่ ับรวมถึงหน่วยงานท่เี ปน็ รฐั วิสาหกิจ เอกชนต่าง ๆ ที่มีบทบาทสาคญั ในการ ตดิ ต่อสื่อสารระหวา่ งประเทศ ในแง่ของสถาบันกษัตริย์ พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีต ตราบเท่าถึงปัจจุบัน ทรงอยู่ใน ฐานเปน็ พทุ ธมามกะ และเป็นเอกอคั รศาสนูปถัมภ์ มคี วามสัมพันธ์กันอยา่ งแน่นแฟน้ พระพุทธศาสนา จึงเข้าไปมีบทบาทสาคัญส่งผลให้มีการนาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปใช้พระราชกิจต่าง ๆ นับต้ังแต่พระราชลัญจกร, เครื่องราชอิสริยาภรณ์, พระพทุ ธรูปประจาพระชนมวาร, วัดประจารัชกาล, รวมไปถึงพระราชพิธตี ่าง ๆ ทเี่ ป็นโบราชประเพณีถือปฏิบตั ิสบื ทอดมาถึงปัจจุบัน ล้วนสะท้อนใหเ้ ห็น ถึงอทิ ธิพลของพระพทุ ธศาสนาได้เปน็ อย่างดี ในส่วนของสถาบันพระศาสนา ซึ่งมีทั้งองค์กรสงฆ์ หน่วยงานที่เป็นภาครัฐ และเอกชนที่ รับผิดชอบ หรือมีส่วนเก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนา ล้วนได้รับอิทธิพลจากแนวคิด คาสอน ศิลปะ วัฒนธรรมอันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา อิทธิพลของพระพุทธศาสนา ทาให้มีการคิด ประดิษฐ์ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงความเก่ียวเก่ียวเนื่อง หรือเก่ียวข้องทั้งโดยตรง และโดยอ้อม และ ปรากฏอย่างแพร่หลายในสงั คมไทย ในแง่ของศิลปะ ศิลปกรรมของไทย ไม่ว่าจะในแง่ของงานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมท่ีสาคัญ ๆ ท้ังในอดีต กระทั่งถึงปัจจุบัน ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันเกี่ยวเนื่อง กับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้รวมไปถึงประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ล้วนมีพระพุทธศาสนา เข้าไปมีส่วน หรือบทบาทสาคญั ในการกาหนดสญั ลกั ษณ์ไมโ่ ดยตรงก็โดยอ้อม ๑๑๓ แปลก สนธริ กั ษ,์ พธิ ีกรรมและประเพณี, อา้ งแลว้ , หน้า ๑๑๒. ๑๑๔ หอสมุดแห่งชาต,ิ ลทั ธิธรรมเนียมตา่ ง ๆ, อ้างแล้ว, หนา้ ๖๘๗.

๒๕๗ บทท่ี ๖ สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ ๖.๑ สรุป จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย โดยเริ่มจาก แนวคิดและทฤษฎีสัญลักษณ์ จากน้ันผู้วิจัยได้สืบค้นสัญลักษณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา อาศัยข้อมูล พ้นื ฐานจากพระไตรปิฎก และอรรถกถาเป็นหลัก ต่อมาจึงสืบค้นสัญลกั ษณ์ในสังคมไทยนับตั้งแต่อดีต กระท่งั ถงึ ปัจจุบนั สดุ ทา้ ยวเิ คราะหอ์ ทิ ธพิ ลของสญั ลกั ษณท์ ีม่ ีต่อสงั คมไทย ได้ขอ้ สรุปดังต่อไปนี้ ๖.๑.๑ แนวคิดและทฤษฎสี ัญลกั ษณ์ สญั ลักษณ์ คือ ส่ิงท่ีถูกกาหนดขึ้นมาเพ่ือส่ือความถึงสิ่งอ่ืนนอกจากตัวมันเอง อาจเป็นได้ ท้ังวัตถุ คาพูด การกระทา และความคิด รวมถึงรูปแบบทางภาษาซึ่งมีความหมายแฝงอย่างใดอย่าง หนึ่ง มนุษย์ใช้สัญลักษณ์ครอบคลุมหลายมิติ เช่น โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญา และ ศาสนา เป็นต้น สัญลักษณ์หนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยส่วนประกอบสาคัญ ๒ ประการ คือ รูปสัญญะ และ ความหมายสัญญะ รูปสัญญะ คือส่ือท่ีถูกกาหนดขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความหมาย ส่วนความหมายสัญญะ ก็ คือมโนภาพท่ีถูกถ่ายทอดออกมาผ่านรูปสัญญะ ซึ่งอาจมีความหมายเดียว หรือหลายความหมายก็ได้ ท้ังนข้ี น้ึ อย่กู ับการยอมรับ และความเขา้ ใจรว่ มกัน ปัจจุบนั มนุษยใ์ ช้รูปสัญลักษณ์ในการส่ือสารหลายอย่าง แต่สรุปแล้ว มี ๕ กลุม่ ได้แก่ รูป เหมือน (Icon), รูปบ่งชี้ (Index), รูปเครื่องหมาย (sign), รูปรหัส (code), และรูปสัญลักษณ์ (symbol) มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กันบนพื้นฐานของสัญลักษณ์ สัญลักษณ์จึงไม่ใช่สัญชาติญาณ หากแต่ เป็นส่ิงท่ีมนุษย์สร้างขึ้นมาเพ่ือส่ือสารกันในกลุ่ม มนุษย์ใช้สัญลักษณ์ และตีความหมายสัญลักษณ์ ร่วมกัน สามารถสือ่ สารกนั ทาใหช้ ีวติ ในสังคมสามารถดาเนินไปได้ ๖.๑.๒ สัญลกั ษณ์ในคมั ภีรพ์ ระพทุ ธศาสนา สัญลักษณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่คัมภีร์พระไตรปิฏก โดยเฉพาะในส่วนของ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และคัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และอรรถกถา พระอภิธรรมปฎิ ก พบมกี ารใช้สัญลกั ษณ์อย่ทู ว่ั ไปทกุ คัมภีร์ ยกเวน้ คัมภีร์พระอภธิ รรมปฎิ ก ในส่วนพระวินัยปิฎก เมื่อตัดส่วนที่ซ้ากันออกแล้ว พบการใช้สัญลักษณ์ ๑๘ ชนิด เป็น กรยิ าอาการ ๑๒ ชนิด, สัญลกั ษณ์ทางวตั ถุ ๔ ชนดิ , และสัญลักษณ์ท่ีเป็นปรากฏการณ์ ๒ ชนดิ โดยใน จานวนน้ี เป็นสัญลักษณ์ท่ีมีมาก่อนพระพุทธศาสนาจานวน ๗ ชนิด, เป็นสัญลักษณ์ที่มีในช่วงสมัย พุทธกาลจานวน ๑๑ ชนิด

๒๕๘ อนึ่ง เมื่อวิเคราะห์สัญลักษณ์ตามวิถีหน้าที่ พบว่า ในจานวน ๑๘ ชนิดน้ี เป็นรูปบ่งช้ี มี จานวน ๗ ชนิด, เป็นรูปรหัส จานวน ๕ ชนิด และเป็นรูปสัญลักษณ์ จานวน ๖ ชนิด ท้ังน้ีไม่พบ สญั ลักษณ์แบบรูปเหมอื นและรปู เครือ่ งหมาย ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก พบการใช้สัญลักษณ์ ๓๑ ชนิด เป็นกลุ่มสัญลักษณ์ทางการ กระทา, กิริยาอาการ จานวน ๑๖ชนิด, สัญลักษณ์เก่ียวกับบุคคล และสัตว์ ๓ ชนิด, สัญลักษณ์ เก่ียวกับวัตถุสิ่งของ ๙ ชนิด, สัญลักษณ์ที่เป็นข้อกาหนด, และสัญลักษณ์ที่เป็นหลักธรรม อย่างละ ๑ ชนิด โดยในจานวนนี้ เปน็ สัญลกั ษณ์ทม่ี ีมาก่อนพระพุทธศาสนาจานวน ๑๓ ชนิด, เป็นสัญลกั ษณ์ที่มี ในชว่ งสมยั พทุ ธกาลจานวน ๑๘ ชนดิ ท้งั นี้ไม่พบสัญลักษณ์ที่เกดิ หลงั พุทธกาล เมื่อวิเคราะห์สัญลักษณ์ตามวิถีหน้าท่ีพบว่า เป็นรูปตัวบ่งช้ี จานวน ๘ ชนิด เป็นรูป รหัส จานวน ๕ ชนิด และเปน็ รปู สญั ลักษณ์ จานวน ๑๘ ชนดิ ทั้งนี้ในส่วนของพระสุตตันตปิฎก ไม่ พบสัญลกั ษณแ์ บบรูเหมอื น และรปู เคร่อื งหมายเช่นเดยี วกบั พระวนิ ยั ปิฎก สัญลักษณ์ในคัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก พบจานวนทั้งสิ้น ๒๒ ชนิด จาแนกตาม ลักษณะเป็นพฤติกรรม ๙ ชนิด, บุคคล ๑ ชนิด, วัตถุ สิ่งของ ๖ ชนิด, และอาคาร สถานท่ี ๖ ชนิด โดยในจานวนน้ี เป็นสัญลักษณ์ที่มีมาก่อนพุทธกาล จานวน ๕ ชนิด, สมัยพุทธกาล จานวน ๑๒ ชนิด และเกิดหลังพุทธกาลจานวน ๕ ชิด เมื่อวิเคราะห์ตามวิถีหน้าที่พบว่า เป็นรูปเหมือน จานวน ๑ ชนิด, รูปตัวบ่งช้ี จานวน ๒ ชนิด, รูปรหัส (code) จานวน ๗ ชนิด , และรูปสัญลักษณ์ จานวน ๑๒ ชนิด ท้ังนี้ ไม่พบรูปแบบ สญั ลักษณ์ทเ่ี ปน็ เคร่อื งหมาย สัญลักษณ์ในคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก จานวน ๔๒ ชนิด จาแนกเป็น สัญลักษณ์ ทางพฤตกิ รรม จานวน ๑๗ ชนิด, สัญลักษณ์แสดงสภาวะ ๗ ชนดิ , สญั ลักษณ์เก่ียวกับสัตว์หรือบุคคล ๑ ชนิด, สัญลักษณ์เกี่ยวกบั วตั ถุ สถานท่ี จานวน ๑๔ ชนดิ , และสัญลักษณเ์ กีย่ วกับตัวเลข ๑ ชนดิ เม่ือพิจารณาถึงท่ีมาของสัญลักษณ์เหล่าน้ีพบว่า เป็นสัญลักษณ์ท่ีมีมาก่อนสมัยพุทธกาล จานวน ๑๘ ชนิด, เป็นสัญลักษณ์ท่มี ีในสมัยพุทธกาล จานวน ๒๐ ชนดิ , และมีข้นึ หลังพทุ ธกาลไปแล้ว จานวน ๒ ชนิด และเม่ือวิเคราะห์ตามวิถีหน้าที่พบว่า เป็นรูปเหมือน จานวน ๒ ชนิด, รูปตัวบ่งชี้ จานวน ๑๑ ชนิด, รูปแบบรหัส (code) จานวน ๘ ชนิด, รูปแบบสัญลักษณ์ (symbol) จานวน ๒๑ ชนิด สัญลักษณ์ในคัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก จานวน ๓ ชนิด จาแนกเป็นเป็น ปรากฏการณ์ ๒ ชนิด, เป็นการกระทา ๑ และในจานวนสัญลักษณ์ ๓ เร่ืองนี้ พบว่า บุพนิมิต ๕ ประการ และการผูกใบตาลบนยอดไม้นั้น เป็นสัญลักษณ์ทีไ่ ม่เก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่มีอยู่ใน คัมภีร์พระพุทธศาสนา, เทวทูต ๔ เป็นสัญลักษณ์ท่ีมีมาก่อนพุทธกาล และแม้ในสมัยพุทธกาล เจ้าชายสิทธธิ ตั ถะก็อาศัยสัญลกั ษณด์ ังกลา่ ว จงึ ทาให้ตัดสนิ ใจออกผนวช อน่ึง รูปแบบสญั ลักษณ์ ๓ ประเภทในอรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก เป็นรูปสัญลกั ษณ์แบบ บ่งชี้ ๑ ชนิด, เปน็ รูปรหสั ๑ ชนดิ , และเป็นรูปสญั ลกั ษณ์ ๑ ชนิด เม่ือวิเคราะห์สัญลักษณ์ในคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีร์อรรถกถา พบว่า สัญลักษณ์ ท้ังหลายเหล่านั้นได้ทาหน้าท่ีสาคัญ ๔ ประการ ในการส่ือสาร ได้แก่ ๑) เป็นเคร่ืองมือถ่ายทอด ความรู้สึก ๒) เป็นเคร่ืองมือสาหรับส่ือสาร ๓) เป็นเครื่องมือสาหรับความรู้ และ ๔) เป็นเคร่ืองมือ สาหรับควบคุม หรือกาหนดใหป้ ฏิบตั ิ หรอื ไมป่ ฏิบัติอยา่ งใดอย่างหนง่ึ

๒๕๙ ๖.๑.๓ สญั ลกั ษณใ์ นสังคมไทย ในส่วนสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคม ได้กาหนดบริบทจากสถาบันหลักของ สังคมไทย ประกอบด้วย ตราสญั ลักษณ์ของรัฐและเอกชน,สัญลักษณ์ในจติ รกรรมและประติมากรรม, สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม, และสัญลักษณ์ในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ในปรากฏในสังคมไทย จากนน้ั ไดว้ ิเคราะห์สญั ลกั ษณ์ และความหมายสญั ลักษณ์ตา่ ง ๆ เหลา่ น้ัน สรปุ ไดด้ งั น้ี กลุ่มสัญลักษณ์ของรัฐและเอกชน พบสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในพระราชลัญจกร ๒ องค์, ตราแผ่นดิน ๑ องค์, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๖ องค์, และพระแท่นราชอาสน์ ๒ องค์ ส่วนท่ี ไมพ่ บไดแ้ ก่กลุ่มธงพระอสิ รยิ ยศ รปู แบบสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาท่ีพบมีท้ังสัญลักษณ์โดยตรง ได้แก่ ดอกบัว, พระ โพธิสัตว์, บัลลงั กด์ อกบัว, ข้อความระบุถึงพระรัตนตรัย, ข้อความแสดงหลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา , ข้อความแสดงถึงความเป็นองค์พุทธสาสนูปถัมภ์, และการใช้พระราชอาสน์เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป และสัญลักษณ์โดยอ้อม ได้แก่ พระมหาสังวาลย์นพรัตนราชวราภรณ์ ซึ่งถูกอธิบายส่ือถึง พระพุทธศาสนา, ข้อกาหนดในการพระราชทานเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ท่ีระบุว่า เฉพาะผู้นับถือ พระพุทธศาสนา สญั ลักษณ์เนื่องด้วยสถาบันชาติพบในธงชาติไทย, ธงชัยเฉลิมพลของท้ัง ๓ เหล่าทัพ, ธง พิทักษ์สันติราษฎร์, ธงกองอาสารักษาดินแดน, ธงคณะลูกเสือแห่งชาติ, ตราประจาทรวง ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอ้ ม, ตรากระทรวงพลังงาน, และตรากระทรวงศกึ ษาธกิ าร รูปสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่พบมีท้ังโดยตรงและโดยอ้อม โดยตรงได้แก่ พระพุทธรูป, ธรรมจักร, ต้นพระศรีมหาโพธิ์, และพระเกตุมาลา โดยออ้ ม ได้แก่ สขี าว ในธงชาติ และ ธงอ่ืน ๆ ท่ีใช้สัญลักษณ์ของธงชาติเป็นส่วนประกอบสาคัญ, ตราแผ่นดินซ่ึงมีพระมหาสังวาลนพรัตน์ รตั นราชวราภรณ์ ซ่งึ ทงั้ หมดไดร้ ับการอธิบายวา่ เปน็ สอื่ สัญลกั ษณ์แทนพระพทุ ธศาสนาในภายหลัง สัญลักษณ์เนื่องด้วยสถาบัน หรือองค์กรทางศาสนา ส่วนใหญ่แล้วพบสัญลักษณ์ทาง พระพทุ ธศาสนาอยู่โดยทั่วไปลกั ษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยเฉพาะธรรมจักร ถือเป็นสัญลักษณ์ท่ีพบมาก ทสี่ ดุ ลกั ษณะทพี่ บมที ง้ั เป็นทง้ั หมด หรอื เปน็ องคป์ ระกอบหลกั และเป็นส่วนหนงึ่ ของสัญลกั ษณ์นั้น ๆ เป็นองค์ประกอบหลัก เช่น ตราราชการคณะสงฆ์, กองบาลีสนามหลวง, กองธรรม สนามหลวง, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ส่วนที่เป็น ส่วนหน่ึงของสัญลักษณ์น้ัน ๆ เช่น ตราสัญลักษณ์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ตราสัญลักษณ์ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, ตราสัญลกั ษณเ์ ปรยี ญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย เปน็ ต้น สัญลักษณป์ ระจาจังหวัด ประกอบไปด้วยตราประจาจังหวัด และธงประจาจังหวัด พบมี การใชส้ ัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาเป็นส่วนหน่ึงของสญั ลักษณ์ประจาจงั หวดั นั้น ๆ สัญลักษณ์ท่ี พบมีท้ังพระธาตุ, เจดีย์, สถูป, โบสถ์, วิหาร, พระพุทธรูป โดยในส่วนของตราประจาจังหวัด พบ ๒๖ จังหวัด จาก ๗๗ จังหวัด ที่ใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหน่ึงของตราสัญลักษณ์ ขณะท่ี ธงประจาจังหวัดพบจานวน ๒๔ จังหวัด ท่ีมีสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาปรากฏกอยู่ท้ังโดยตรง และโดยอ้อม สญั ลักษณท์ ีพ่ บในธงประจาจงั หวดั มักมีความสัมพันธก์ บั ตราประจาจงั หวดั ในสว่ นของงานศิลปกรรม ซ่ึงประกอบไปด้วยงานจิตรกรรม และงานประติมากรรมท่ีพบ ในสงั คมไทยส่วนใหญ่ มักมีสัญลกั ษณ์ทางพระพุทธศาสนาเขา้ ไปเกย่ี วข้องทั้งโดยตรง และโดยออ้ ม

๒๖๐ จากจานวนงานจิตรกรรมนับต้ังแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา กระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ งานจิตรกรรมไทยส่วนใหญ่มักถูกนามาเพ่ือรับใช้พระพุทธศาสนาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะงาน จิตรกรรมที่อยู่ในศาสนสถานต่าง ๆ ซง่ึ มีอยู่ท่ัวประเทศ และจากการสุ่มตัวอย่างงานจิตรกรรมต่าง ๆ จานวน ๒๒ แห่ง โดยจิตรกรรมเหล่านี้ มักส่ือถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่พุทธ ประวัติ, ชาดก, ไตรภูมิ, จักราวาลวิทยาพระพุทธศาสนา, แ ละคตินิยมต่าง ๆ ท่ีเนื่องด้วย พระพทุ ธศาสนา ในส่วนของงานประติมากรรมก็มีหลักการคล้าย ๆ กับงานจิตรกรรม คือ เพ่ือรับใช้ พระพุทธศาสนา มีงานทางด้านประติมากรรมเน่ืองด้วยพระพุทธศาสนา , การจาลองแนวคิดต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาเพ่อื การกาหนดรูปแบบ และองคป์ ระกอบของสถาปัตยกรรม อน่ึง ในส่วนของงานประติมากรรม พบว่า นอกจากจะสื่อสัญลักษณ์ถึงพระพุทธศาสนา แล้ว ยงั พบว่า มีการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาสนองความต้องการทั้งในส่วนของสังคม และ ปจั เจกชนในลกั ษณะต่าง ๆ เช่น การใช้พระพุทธรปู เป็นสญั ลกั ษณป์ ระจาวนั เกิด, ประจาพระชนมวาร, การใชพ้ ระพุทธรูปเป็นสญั ลักษณ์สาคัญคู่บ้านคู่เมือง, เป็นสัญลักษณ์ของการประสิทธิประสาทพร ให้ โชคลาภ รวมถงึ การขจัดปัดเปา่ ภัย อนั ตรายต่าง ๆ ประการสุดท้าย ในส่วนสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในประเพณีและพิธีกรรม พบว่า ประเพณีและพิธีกรรมของสังคมไทย มีการสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่เพื่อส่ือความหมายถีง พระพุทธศาสนาในหลายมิติ เช่น ดอกเข้าพรรษา เป็นดอกไม้ชนิดหน่ึง มีสีเหลือง และมักจะบาน ในช่วงเข้าพรรษา ชาวพุทธจึงใช้ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสื่อในการบูชาวันเข้าพรรษา, การใช้วัตถุต่าง ๆ อย่างละ ๑,๐๐๐ เพ่อื บูชาพระคาถาพันในประเพณเี ทศน์มหาชาติ เปน็ ต้น กล่าวโดยสรุป ประเพณีไทย มีสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาปรากฏอยู่ ท้ังในฐานะเป็น ส่วนหนึ่งของประเพณี หรือทั้งหมดของประเพณี แม้ประเพณีท้องถ่ินเดิมซึ่งไม่เก่ียวข้องกับ พระพุทธศาสนา แต่มาภายหลัง ก็มีการนาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเข้าไปเป็นส่วนประกอบ สาคัญของประเพณี สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อประเพณีไทย และประเพณี ทอ้ งถิน่ ได้เปน็ อยา่ งดี ๖.๑.๔ อทิ ธิพลของสัญลักษณ์ท่มี ตี ่อสงั คมไทย จากการศึกษาสรุปไดว้ า่ สังคมไทยใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในมิติต่าง ๆ นับต้ังแต่ตราสัญลักษณ์ของรัฐ และเอกชน,สัญลักษณ์ในจิตรกรรมและประติมากรรม, สัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม, และสัญลักษณ์ ในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ในปรากฏในสังคมไทย ทาให้เห็นว่า สังคมไทยได้รับอิทธิพลสัญทาง พระพุทธศาสนา และมีการนาหลักการไปประโยชน์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์อย่างกว้างขวาง ท้ังโดยตรง และโดยออ้ ม โดยตรง ได้แก่การนาไปใช้เพื่อส่ือเรื่องราวต่าง ๆ ท่ีเก่ียวของกับพระพุทธศาสนาด้านใด ดา้ นหน่ึง เช่น เก่ียวข้องกบั พระพุทธเจา้ , พระธรรม, พระสงฆ์, แนวคดิ ทางพระพุทธศาสนา, คติความ เช่ือทางพระพทุ ธศาสนา โดยอ้อม ได้แก่การนาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ กล่าวมา เช่น เป็นสัญลักษณ์ของการปกป้อง คุ้มครอง รักษา, เป็นสัญลักษณ์คู่บ้านคู่เมือง, เป็น สัญลกั ษณป์ ระจาวนั เกดิ เป็นต้น

๒๖๑ คติความเช่ือของสังคมไทยท่ีมีมาแต่เดิม ก็มีอิทธิพลในการกาหนดสัญลักษณ์ทาง พระพุทธศาสนา เช่น การกาหนดผังทางสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างภายในศาสนสถาน, การใช้รูป สัญลักษณ์ที่มีอยู่ในชุมชน สะท้อนคติความเช่ือทางพระพุทธศาสนา เช่น การใช้ขนมพองเป็น สัญลักษณ์แทนเรือแพข้ามห้วงมหรรณพ, การใช้ดอกเข้าพรรษาเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาเน่ืองใน เขา้ พรรษา, การใช้เครื่องบูชาอยา่ งละ ๑,๐๐๐ พัน เพอื่ บชู าพระคาถาพัน ตามประเพณีเทศนม์ หาชาติ เป็นตน้ กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย สะท้อนให้เห็น ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า มีความเก่ียวพันกับพระพุทธศาสนามาเป็นระยะเวลานาน ทาให้เห็นร่องรอยเชิงสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา ในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ขณะเดยี วกนั ก็ได้เห็นอทิ ธพิ ลทอ้ งถิน่ ที่มีต่อการกาหนดสัญลกั ษณท์ างพระพุทธศาสนาดว้ ย ๖.๒ อภิปรายผล จากการศึกษาวิเคราะห์เชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย โดยเบื้องต้น พิจารณาขอ้ มูลการใช้สัญลักษณ์ท่ีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีรอ์ รรถกถา จากนั้นได้ศึกษา การใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย นับตั้งแต่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ รวมไปถึงงานทางด้านจิตรกรรม ประตมิ ากรรม ประเพณแี ละพิธีกรรมต่าง ๆ ทาให้เหน็ วา่ การใช้สัญลักษณ์ทางพระพทุ ธศาสนาในสงั คมไทย ไมไ่ ด้ยดึ ถือคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาเป็น เกณฑ์ เพราะเมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วกลับพบว่า สัญลักษณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ในสังคมไทย เปน็ สง่ิ ที่สรา้ งข้ึนมาใหม่ แม้จะมสี ่วนหนึง่ ทอ่ี าศยั แนวจากคัมภีร์ แตก่ เ็ ป็นสว่ นนอ้ ย แสดงให้เห็นว่า การใช้สัญลกั ษณ์ก็เป็นเรือ่ งท่ีกลุ่มหรือสังคมสรา้ งข้ึนมาเพือ่ เป็นเคร่ืองมือ สาหรับการสื่อสารตามยุคสมัย ดังจะเห็นได้จากผลงานแปลของพรหมา พิทักษ์ “เร่ืองนัยแห่ง สัญลักษณ์” ท่ีประมวลสัญลักษณ์กลุ่มคนต่าง ๆ นับตั้งแต่สัญลักษณ์ของชาวกรีก-โรมัน, สัญลักษณ์ ในศาสนาคริสต์, สัญลักษณ์ของชาวเคลต์, สัญลักษณ์ของชาวพุทธ, สัญลักษณ์ของชาวยุโรปเหนือ, สัญลักษณ์ของชาวไอยคุปต์, และสัญลักษณ์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สอดคล้องกับทฤษฎี ปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์ที่ถือว่า ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์เป็นทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ ใช้อธิบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือ บุคคลจะมีการสรา้ งสัญลกั ษณ์ แปลความ และ ให้ความหมายเก่ียวกับพฤติกรรมท่ีคนอ่ืนแสดงออก และมีพฤติกรรมตอบสนองต่อความหมายท่ีตน สรา้ งขนึ้ นน้ั ๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จะพบเห็นการใช้สัญลักษณ์อยู่ทั่วไป แต่สัญลักษณ์บางอย่างก็ เป็นเร่ืองเฉพาะกลุ่ม ใช้กันในวงจากัด เช่น การที่พระพุทธเจ้าปิดประตูในช่วงเช้าเวลาบิณฑบาต ก็ เป็นอันทราบกันในหมู่ภิกษุว่า วันนี้ พระองค์มีพระประสงค์จะเสด็จโปรดไวเนยสัตว์เป็นการเฉพาะ และพระองค์ ไม่ประสงค์ให้ผู้ใดตามเสด็จ, การใช้ผ้าพาดประตูแสดงใหภ้ ิกษุรูปอื่นทราบว่า ในห้องน้า มีภิกษุรูปอ่ืนอยู่, การกระทานิมิตกรรมต่าง ๆ เช่น เราจักขยิบตา แกว่งไกวมือ ปรบมือ ดีดนิ้วมือ เอียงคอลงไอ และกระแอม เปน็ ตน้ การใช้สัญลักษณ์ในวงจากัดเช่นนี้ ไม่ได้ถือเป็นหลักการใหญ่ที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา หากแต่เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เฉพาะเวลา เฉพาะสถานที่ ขณะเดียวกันรูปแบบสัญลักษณ์ก็จะ เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ และไม่ส่งผลกระทบในลักษณะที่เป็นอิทธิพลต่อเน่ือง พิจารณาได้

๒๖๒ จากการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย จะไม่ปรากฏสัญลักษณ์ประเภทดังกล่าวน้ี ต่างจากสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นหลักการร่วม หรือเน่ืองด้วยพระพุทธศาสนา ประเภทหลังนี้จะส่ง อิทธิพลต่อเนื่อง แม้จะมีการรูปสัญญะเปล่ียนแปลงไปบ้างตามสถานการณ์ แต่การส่ือความหมายก็ ยังคงเน่ือง หรือเก่ียวขอ้ งกบั พระพทุ ธศาสนา เชน่ พระธรรมจักร, และพระพุทธรปู พระธรรมจักร เรม่ิ ต้นจากแนวคิดเร่ืองการหมุนวงลอ้ มแห่งธรรมให้เป็นไป ซึ่งปรากฏอยใู่ น ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจวัคคยี ์ ณ ป่าอสิ ิปตนมคฤทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันถือเป็นจัดเริม่ ตน้ ของการประกาศศาสนา ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาก็จับจุด ดังกล่าวน้ีสร้างเป็นสัญลักษณ์พระธรรมจักรขึ้นมาเพื่อสื่อความหมายดังกล่าว ต่อมาก็เกิดการพัฒนา รายละเอียดรูปสัญญะของพระธรรมจักรแตกต่างกันออกไป เช่น ซี่กาของพระธรรมจักรมีจานวนไม่ เท่ากัน มี ๔, มี ๘, มี ๑๒, มี ๒๔, มี ๓๑, มี ๓๗ เปน็ ต้น ทั้งนีเ้ พราะมีความพยายามในการเช่ือมโยงไป หาหลกั คาสอนท่ีเปน็ สาระสาคัญของพระพทุ ธศาสนาดว้ ย พระพุทธรูปก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหน่ึงส่ือความหมายถึงองค์พระศาสดา แต่เดิมใช้ สัญลักษณ์อย่างอ่ืน เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์, รอยพระพุทธบาท, พุทธอาสน์ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีคติ นิยมการรูปเหมือน จึงเกิดพระพุทธรูปขึ้น จากน้ันก็มีพัฒนาการเกี่ยวกับพระพุทธรูปที่มีลักษณะ แตกตา่ งกันออกไปตามยคุ สมยั กลายเป็นเอกลกั ษณะเฉพาะในแต่ละยคุ สมัย นอกจากน้ี คตคิ วามเชื่อ ของบุคคล สังคม ก็มีส่วนสาคัญท่ีทาให้เกิดคติความเช่ือ และการปฏิบัติต่อพระพุทธรูปแตกต่างกัน ออกไป เช่น พระพุทธรูปนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ส่ือถึงพระพุทธเจ้า เป็นอนุสสติแล้ว สังคมไทยยัง ใช้พระพุทธรูปในสนองตอบความประสงค์ต่าง ๆ ในชีวิต เช่น โชคลาภ ความร่มเย็นเป็นสุข ความ ปลอดภัย ความเจรญิ รุ่งเรอื ง เปน็ ต้น หลักการดังกล่าว สอดคล้องกับงานวิจัยของบารุง อิศรกุล เรื่อง “ศึกษาอิทธิพลทาง วัฒนธรรมที่มีต่อการออกแบบตราสัญลักษณ์” ซึ่งได้กล่าวสรุปถึงสัญลักษณ์ ความตอนหน่ึงว่า ศาสนามีอทิ ธิพลต่อการออกแบบสัญลักษณ์เป็นอย่างมาก และสัญลักษณ์ก็มีความสัมพันธ์กับการการ ดาเนินชีวิตของมนุษย์ เราสามารถพบเห็นสัญลักษณ์ที่เก่ียวข้องกับการดาเนินชีวิตตลอดเวลา สัญลักษณ์จึงมีอยมู่ ากมาย ซง่ึ อาจจดั กลุ่มได้ เช่น สญั ลักษณ์ท่เี กิดจากการลอกเลียนแบบ สัญลกั ษณ์ท่ี มีลักษณะเป็นนามธรรม สัญลักษณ์ที่ถูกสร้างข้ึนเพ่ือวัตถุประสงค์ใด วัตถุประสงค์หน่ึงโดยเฉพาะ นอกจากนผ้ี ู้วิจัยยงั ได้ชีใ้ ห้เห็นถงึ อิทธิพลทางพระพทุ ธศาสนาที่มีต่อตราสญั ลักษณต์ ่าง ๆ นอกจากนั้น ยงั มีงานวิจัยอกี หลายเรื่อง ทีส่ ะท้อนหลักการดงั กลา่ ว เช่น งานวจิ ยั ของ พี ระพัฒน์ สาราญ เร่ือง “คติและสัญลักษณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระปฐมเจดีย”, งานวิจัยของพระมหาสุขสันต์ สุขวฑฺฒโน (แก้วมณี) เร่ือง “อิทธิพของพระพุทธศาสนาเถรวาทต่อ ศิลปวัฒนธรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา”, งานวิจัยของ จิรศักด์ิ แต่งเจนกิจ เรื่อง “การศึกษาการออกแบบและคติสัญลักษณ์ในกรณีงานสถาปัตยกรรมวัด สุทัศ นเทพวนาราม” เป็นตน้

๒๖๓ ๖.๓ ขอ้ เสนอแนะ จาการศึกษาวิเคราะห์เชิงสัญลักษณ์พระพุทธศาสนาในสังคมไทย ทาให้พบข้อมูลท่ี น่าสนใจเก่ยี วกับสญั ลกั ษณห์ ลากหลาย และกวา้ งขวาง ยังไม่สามารถประมวลมาศึกษาได้ทกุ มติ ิอยา่ ง ละเอียดเชิงลึกได้ ไม่วา่ จะในส่วนของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึงงานจิตรกรรม ประ ติมากกรรม ย่ิงเม่ือพิจารณาในส่วนของประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ในสังคมไทยแล้ว ยิ่งพบความ หลากหลาย สามารถศึกษาแยกประเภทสัญลักษณ์ในแต่ละพิธีกรรม ท้ังยังสามารถกระทาในเชิง เปรยี บเทียบในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้เห็นถึงพฒั นาการ การประยกุ ต์ใชส้ ัญลักษณต์ า่ ง ๆ ในสงั คมไทย จากพน้ื ฐานความคิด และขอ้ มลู ทค่ี น้ พบ สามารถตงั้ หัวข้อ หรือประเดน็ วิจัยได้ ดงั น้ี ๑. การศกึ ษาเชิงวเิ คราะห์สญั ลักษณพ์ ิธกี รรมในสงั คมไทย ๒. การศกึ ษาเชิงวเิ คราะหส์ ญั ลกั ษณ์สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาในสงั คมไทย ๓. การศกึ ษาเชงิ วิเคราะห์การประยุกตใ์ ช้สญั ลกั ษณ์พระพุทธรูปในสังคมไทย ๔. การศึกษาเชิงวิเคราะห์อิทธิพลท้องถิ่นที่มีต่อการกาห นดสัญ ลักษณ์ ทาง พระพุทธศาสนาในสังคมไทย เปน็ ตน้

ประวตั ิผูว้ จิ ัย ชือ่ พระครูศรปี ัญญาวิกรม (บุญเรอื ง ปญญฺ าวชิโร/เจนทร) บรรพชา ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ณ วดั บ้านหนองใหญ่ อาเภอสตกึ จงั หวัดบุรีรมั ย์ อุปสมบท ๒๔ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๓๔ ณ วดั นาคกลางวรวิหาร กรุงเทพมหานคร การศกึ ษา นักธรรมช้นั เอกสานกั เรียนวดั หลวงปรีชากลู จงั หวดั ปราจนี บุรี, ป.ธ.๖ สานกั เรียน วดั นาคกลางวรวหิ าร กรุงเทพมหานคร, มธั ยมศึกษาตอนปลาย จากบาลเี ตรยี มอดุ ม ศึกษา, ปริญญาตรี และโททางดา้ นปรัชญา จากมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั กรุงเทพฯ ผลงานตีพมิ พ์/งานวจิ ัย หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา ช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี ๑ (สานกั พมิ พ์ประสานมิตร) หนังสือเรยี นพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปที ่ี ๒ (สานักพิมพ์ประสานมติ ร) หนงั สือเรียนพระพุทธศาสนา ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี ๓ (สานกั พมิ พ์ประสานมิตร) หนังสือเรยี นพระพทุ ธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปที ่ี ๔ (สานกั พมิ พป์ ระสานมติ ร) หนงั สือเรยี นพระพุทธศาสนา ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี ๕ (สานักพมิ พ์ประสานมิตร) หนงั สือเรียนพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปที ี่ ๖ (สานกั พิมพ์ประสานมิตร) ตน้ ไมแ้ หง่ พทุ ธธรรม (โรงพมิ พ์มหาจุฬา ฯ จานวน ๕๐๐ เลม่ ) เกรด็ ธรรมนาชีวติ (โรงพมิ พม์ หาจุฬา ฯ) จานวน ๕๐๐ เล่ม) ปรชั ญาธรรมนาชีวติ (โรงพมิ พม์ หาจฬุ า ฯ จานวน ๑,๐๐๐ เลม่ ) ปริทรรศนแ์ ห่งธรรม (โรงพิมพส์ หธรรมกิ จานวน ๑,๐๐๐ เล่ม) มนุษยนิยมในปรชั ญาขงจือ๊ (มหาจฬุ า ฯ จัดพมิ พ์ จานวน ๑,๐๐๐ เล่ม) การศึกษาเชงิ วิเคราะหค์ าวา่ “ธรรม” ในคัมภรี ์ธรรมบท (สารนพิ นธ์ ป.เอก) การศึกษาเชงิ วเิ คราะหอ์ ุปมาหลักธรรมในคมั ภรี พ์ ระพทุ ธศาสนา (สารนิพนธ์ ป.เอก) การศึกษาวเิ คราะหค์ าอนุโมทนาในพระพุทธศาสนา (สารนพิ นธ์ ป.เอก) งานสอน เป็นผบู้ รรยายในรายวชิ าปรัชญาเบื้องตน้ , ปรชั ญาอนิ เดีย, พุทธปรัชญาเถรวาท ปรัชญาไทย,ปรชั ญานิพนธ,์ พุทธปรชั ญาการศกึ ษา,ปรชั ญาจนี ญี่ปุน่ เกาหลี ปรัชญากรกี โบราณ, ปรัชญาหลงั นวยคุ ,วิสทุ ธมิ รรคศึกษา,พระพทุ ธศาสนากบั ปรัชญา, ปัจจบุ นั หัวหนา้ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วทิ ยาลยั สงฆบ์ รุ ีรัมย์ เลขานกุ ารคณะกรรมการประจาวทิ ยาลยั สงฆ์บุรรี ัมย์ คณะกรรมการบริหารวชิ าการประจาวทิ ยาลัยสงฆบ์ ุรีรมั ย์ คณะอนกุ รรมการการเงินและทรัพย์สนิ ประจาวทิ ยาลัยสงฆบ์ รุ รี ัมย์ คณะอนกุ รรมการบรหิ ารงานบุคคลประจาวิทยาลัยสงฆ์บรุ ีรัมย์

๒๖๔ บรรณานกุ รม ๑.เอกสารปฐมภูมิ ๑.๑ คมั ภรี ท์ างพระพุทธศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาหาจุฬาเตปฏิ กํ.(๔๕ เล่ม)มหาจฬุ าลงฺกรณราชวทิ ยฺ าลเยน ปกาสติ า, อนสุ ฺสรณียํ พุทฺธวสฺเส ๒๕๐๐. มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย.พระไตรปฎิ กแปลฉบบั ภาษาไทย ๔๕ เลม่ . กรงุ เทพมหานคร : มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. มหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย. พระไตรปฎิ กและอรรถกถาแปล ๙๑ เล่ม. กรงุ เทพมหานคร: มหามกุฏราช วิทยาลัย จัดพมิ พ,์ ๒๕๔๓. ๑.๒ เอกสารสําคญั ของไทย ดํารงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๕. พิมพ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพ นางชุมพร เวชชาชวี ะ ๖ มกราคม ๒๔๙๔. _____________. ประชุมพงศาวดารภาคท่ี ๒๕ เรื่องสถานท่แี ลวัดถซุ ่งึ สร้างในรัชกาลที่ ๔. ฉาย เซ้ยี ง กรรณสตู ร พิมพใ์ นงานปลงศพสนองคณุ บิดา ๒๔๖๕. พันจันทนุมาศ (เจิม).พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยธุ ยา. นนทบุรี: สาํ นักพมิ พ์ศรีปญั ญา, ๒๕๕๓. พระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั กรมราชบัณฑิต. พมิ พ์ในงานพระราชทานเพลงิ ศพ มหาเสวกเอก เจ้าพระยาศรพี ิพฒั น์รตั นราชโกษาธบิ ดี (ม.ร.ว.มูล ดารากร) ๒๐ สิงหาคม ๒๕๐๑. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค ๑. พิมพใ์ นงานพระศพพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรม หลวงวรเสฐสดุ า, ๒๔๕๕. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค ๒. พิมพ์ในงานพระศพพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรม หลวงวรเสฐสดุ า, ๒๔๕๕. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหตั ถเลขา ภาค ๓.พิมพ์ในงานพระศพพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรม หลวงวรเสฐสดุ า, ๒๔๕๕. พระราชหตั ถเลขทรงส่ังการในรชั กาลที่ ๕ และ ๖ กบั เรื่องประกอบ. ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้า ฯ ใหพ้ ิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลงิ ศพจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ๑๗ มนี าคม ๒๕๐๗. พระราชนพิ นธร์ ชั กาลทห่ี า้ เทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว. พิมพ์ เปน็ ที่ระลึกในงานประดิษฐาน พระบรมรปู พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าบนพระนครคีรี จงั หวัดเพชรบรุ ี พ.ศ. ๒๕๐๕. พระยาประกิจกรจักร์ (แชม่ บุนนาค). พงศาวดารโยนก. พิมพใ์ นงานพระราชทานเพลงิ ศพเจา้ พระยา สุธรรมมนตรี (ปลม้ื สุจรติ กลุ ) ๒ มถิ นุ ายน ๒๔๗๘. พระยาทิพากรวงค์. พงศาวดารรชั กาลที่ ๑. พระนคร: องค์การค้าของครสุ ภา จัดพิมพ์, ๒๕๐๓.

๒๖๕ ๒.เอกสารทุตยิ ภูมิ ๒.๑ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา พระรตั นปญั ญาเถระ.ชินกาลมาลปี กรณ.์ ศ.,ร.ต.ท.แสง มนวิฑูร แปล. กรุงเทพมหานคร: มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๔๐. พระสารบี ตุ รมหาเถระ.สารัตถทปี นี ฎีกาพระวนิ ัย ภาค ๓. สริ ิ เพช็ รไชย, ผแู้ ปล. กรงุ เทพมหานคร: หจก. ทพิ ยวสิ ุทธ,์ิ ๒๕๔๒. พระโพธิรังษ.ี จามเทววี งศ์.พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลกั ษมณ์) แปล.พิมพ์แจกในการพระ กศุ ลสมโภชพระอฐั พิ ระวิมาดาเธอ กรมพระสทุ ธาสินนี าฏ ๒๔ มถิ นุ ายน ๒๔๗๓. พระสิรมิ งั คลาจารย.์ มังคลัตถทปี นี แปล เล่ม ๑. กรงุ เทพมหานคร: มหามกฎุ ราชวิทยาลยั , ๒๕๔๖. ____________.มงั คลัตถทีปนี แปล เล่ม ๒.กรงุ เทพมหานคร: มหามกฎุ ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖. ____________.มงั คลัตถทีปนี แปล เลม่ ๓.กรงุ เทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖. ____________.มงั คลตั ถทีปนี แปล เลม่ ๔.กรงุ เทพมหานคร: มหามกฎุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๔๖. ____________.มังคลัตถทีปนี แปล เลม่ ๕.กรงุ เทพมหานคร: มหามกุฏราชวทิ ยาลัย, ๒๕๔๘. ____________. จกั รวาฬทีปนี. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากรจัดพิมพ,์ ๒๕๔๘. ๒.๒ ตาํ รา เอกสารวชิ าทัว่ ไป กรมพระปรมานชุ ิตชิโนรส,สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า.พระปฐมสมโพธกิ ถา. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก,๒๕๓๗. กรมวชิรญาณวโรรส. หนงั สือเทศนาวิศาขบชู าในฉฏั ฐรชั ชกาล.พระนคร: โรงพิมพโ์ สภณพพิ รรฒ ธนากร, ๒๔๖๓. กรมหลวงนรนิ ทรเทว,ี พระเจา้ ไปยกิ าเธอ. พระราชวิจารณใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้า เจา้ อยหู่ ัว เรือ่ ง จดหมายความทรงจาํ . กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พิมพแ์ สงดาว, ๒๕๕๒. กรมหมืน่ พทิ ยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ. พระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกทรงฟน้ื ฟู วฒั นธรรม. พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจันทร์, ๒๕๐๐. กรมศลิ ปากร.วรรณกรรมสุโขทยั . กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๒๘. กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตรีเทวปกรณ์. กรงุ เทพมหานคร: สร้างสรรคบ์ ุคส,์ ๒๕๔๒. กาํ จร สุนพงษ์ศรี. ประวัตศิ าสตร์ศิลปะอนิ เดยี . กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พิมพจ์ ฬุ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๓. เกรยี งไกร เกิดศิริ. ทรรศนะอุษาคเนย์. กรงุ เทพมหานคร: สํานกั พมิ พ์อุษาคเนย์, ๒๕๕๓. เขียน ยิ้มศริ ิ. พทุ ธานุสรณ.์ พระนคร: โรงพมิ พไ์ ทยสัมพันธ์, ๒๕๑๒. คณะกรรมการจดั งานพระบรมราชานสุ รณ์. เฉลมิ พระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลา้ .พิมพ์ ในศภวาระครบรอบ ๒๑๐ ปี วนั พระบรมราชสมภพ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑. จังหวัดนครศรธี รรมราช. ตํานานพระบรมธาตุและไหวพ้ ระไตรลักษณ์.นครศรธี รรมราช: มปท. ,๒๔๙๐. เจ้าฟา้ ธรรมธเิ บศ. พระมาลัยคาํ หลวง.พมิ พ์ในงานฌาปนกิจศพนางเจยี น ผดงุ เกยี รติ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙.

๒๖๖ จอห์นสนั เลน. ความงามข้ามกาลเวลา. สดใส ขันติวรพงศ์ แปล. กรงุ เทพมหานคร: แปลนพริ้นต้ิง, ๒๕๕๐. เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระพทุ ธรูปอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๕๔. ท.กล้วยไม้ ณ อยุธยา. รวมสาระบทความ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ต้นอ้อ จํากดั , ๒๕๓๖. ทศพล จังพานิชย์กลุ . พระอรหันตธาต.ุ กรงุ เทพมหานคร: คอมมา่ แอนดด์ ีไซนพ์ ร้นิ ท์ จาํ กัด, ๒๕๕๓. ทีมผลิตรายการจดหมายเหตุกรงุ ศรี. ทอง ความรุ่งโรจนเ์ รอื งรองของกรุงศรอี ยุธยา กรงุ เทพมหานคร:สํานักพิมพ์อมรนิ ทร,์ ๒๕๕๓. ณัฐกานต์ ลมิ่ สถาพร. กลลวงแหง่ ศาสตร.์ กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์อุดมปัญญา, ๒๕๕๓. เดเดรยี น สนอตกราส. สญั ลักษณแ์ ห่งพระสถูป. ภทั รพร ศิริกาญจน บรรณาธิการแปล. กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร,์ ๒๕๓๗. ดาํ รงราชานภุ าพ, สมเด็จกรมพระยา. นิทานโบราณคด.ี พระนคร: เขษมบรรณกจิ , ๒๕๐๓. ______________. นริ าศนครวดั . พระนคร: สํานักพมิ พ์บรรณคาร, ๒๕๑๕. _____________. อธิบายเบด็ เตล็ดในเร่ืองพงศาวดารสยาม. พระนคร: โรงพิมพพ์ พิ รรฒธนากร, ๒๔๖๙. _____________. ตาํ ราแบบธรรมเนียมในราชสาํ นกั คร้ังกรงุ ศรีอยธุ ยา. พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจนั ทร์ ๒๔๙๓. _____________. ตํานานพทุ ธเจดยี .์ พระนคร: ไทยพทิ ยา, ๒๔๙๐. _____________. ตํานานธงไทยในสมัยต่าง ๆ. พมิ พแ์ จกในงานฌาปนกจิ ศพนางสาวอร่าม สนุ ทรวร ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๗๕. _____________. ตํานานคณะสงฆ์. พระนคร: โรงพิมพพ์ พิ รรฒธนากร, ๒๔๖๖. เติม วิภาคย์พจนกจิ . ประวตั ิศาสตร์อีสาน.กรงุ เทพมหานคร: สํานกั พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,์ ๒๕๔๖. ถนอม พนู วงศ.์ ประวตั ศิ าสตรเ์ มืองนครศรธี รรมราช. กรุงเทพมหานคร: สํานกั พมิ พโ์ อเดยี นสโตร,์ ๒๕๕๐. ธิดา สาระยา. รฐั โบราณในภาคพน้ื เอเชียตะวันออกเฉียงใต้:กําเนิดและพฒั นาการ. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นักพมิ พ์เมอื งโบราณ, ๒๕๓๗. ธีรยุทธ บุญมี. การปฏวิ ตั ิสัญศาสตรข์ องโซซูร์ เส้นทางสโู่ พสตโ์ มเดอร์นิสม์. กรงุ เทพมหานคร: สํานักพมิ พ์วภิ าษา,๒๕๕๑. นิโกลาส์ แชรแ์ วส. ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติและการเมอื งแหง่ ราชอาณาจกั รสยาม. กรงุ เทพมหานคร:สาํ นกั พมิ พศ์ รปี ญั ญา, ๒๕๕๐. นธิ ิ เอียวศรวี งศ.์ พ้นื เมืองเชียงแสน. กรงุ เทพมหานค:อมั รนิ ทร์, ๒๕๔๖ นดิ ดา หงษ์ววิ ฒั น์, บรรณาธกิ าร. พระพุทธรูปและเทวรปู : ศลิ ปะล้านนา สโุ ขทัย อยุธยา และ รัตนโกสนิ ทร.์ กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์คติ,๒๕๕๕. ___________. เครอื่ งทองรัตนโกสินทร์. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พมิ พค์ ติ, ๒๕๕๕. น. ณ ปากน้ํา.พจนานกุ รมศลิ ป์.กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓๐. ______________. ศลิ ปะโบราณในสยาม. กรุงเทพมหานคร: สํานกั พมิ พเ์ มืองโบราณ,๒๕๓๗.

๒๖๗ ______________. ความงามในศลิ ปะไทย. กรงุ เทพมหานคร: สํานกั พมิ พเ์ มืองโบราณ, ๒๕๕๐. ______________. แบบแผนบา้ นเรอื นในสยาม. กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพมิ พเ์ มืองโบราณ, ๒๕๔๘. นายหนหวย. หมอปลัดเลกับกรุงสยามและอเมรกิ ันหนแรก. พมิ พ์อนสุ รณ์ในงานฌานปกจิ ศพนาย แจม่ ชมะนนั ทน์ ๒๘ ธนั วาคม ๒๕๑๐. โบราณบรุ านรุ กั ษ,์ พระยา. ตาํ นานกรุงเกา่ . พระนคร: โรงพมิ พ์อักษรนติ ,ิ์ ร.ศ.๑๒๖. ประภัสสร์ ชูวิเชียร. พระบรมธาตเุ จดยี ์ นครศรีธรรมราชมหาสถูปแหง่ คาบสมทุ รภาคใต.้ กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พิมพเ์ มอื งโบราณ, ๒๕๕๓. ประทุม ชมุ่ เพ็งพนั ธ์.ุ ศลิ ปวฒั นธรรมภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: สุวรี ริยาสาส์น, ๒๕๔๘. พิทยาลงกรณ,์ กรมหม่นื . ประชมุ ปาฐกถา. พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพจอมมารดาเลี่ยม กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙. พูนพิศมัย ดิศกลุ , หม่อมเจา้ หญิง. ไปลงั กาทวีป. พระนคร: โรงพิมพน์ ิพนธ์, ๒๔๙๔. พลาดศิ ัย สิทธิธัญกจิ . ตามรอยอารยธรรมขอม. กรงุ เทพมหานคร: สยามความรู้, ๒๕๕๕. ______________. สืบตาํ นานงานพระเมรุ. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์บันทึกสยาม,๒๕๕๑. พลูหลวง (นามแฝง).คตสิ ยาม.กรงุ เทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ,์ ๒๕๔๐. ______________. หยนิ -หยาง ภมู พิ ยากรณ์ และฮวงจยุ้ .กรุงเทพมหานคร: สํานักพมิ พ์ข้าวฟ่าง, ๒๕๔๖. ______________. รหัสวทิ ยา พลังเร้นลับ. กรงุ เทพมหานคร: เยลโลก่ ารพิมพ์ ๒๕๔๙. พระรตั นปัญญา. ชนิ กาลมาลนิ .ี พระยาพจนาพมิ ล แปล. กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พิมพศ์ รปี ัญญา, ๒๕๕๔. พระโพธวิ งศาจารย์, (อ้วน ติสฺโส). ลทั ธิธรรมเนียมตา่ ง ๆ ภาคท่ี ๑๘.พมิ พใ์ นการพระศพ พระเจา้ พีน่ างเธอ พระองค์เจา้ วรลกั ษณาวดี ครบสปั ตมวาร ๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๙. พระธรรมปฎิ ก, (ป.อ.ปยตุ โฺ ต). จารึกบุญ จารึกธรรม. กรุงเทพมหานคร: มลู นิธิพทุ ธธรรม จัดพิมพ,์ ๒๕๔๗. พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว.พระราชพธิ เี ดอื นสิบสอง.กรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พ์รุ่ง พฒั นา, ๒๕๑๖. พระยาประชากิจกรจกั ร, (แชม่ บุนนาค). ประวัตศิ าสนา. พระนคร: สาํ นกั พิมพจ์ ําลองศลิ ป,์ ๒๔๙๓. พรหมา พิทักษ์,บรรณาธิการแปล.นยั แห่งสัญลกั ษณ์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพมิ พ์ตน้ ธรรม, ๒๕๕๐. ภาสกร วงศ์ตาวัน. เรื่องเลา่ ครั้งกรงุ เกา่ อาณาจักรทสี่ าบสูญ ยุคสมัยสรา้ งบา้ นแปงเมอื งใน พงศาวดาร.กรุงเทพมหานค: สํานกั พมิ พส์ ยามบันทึก, ๒๕๕๐. รณี เลศิ เลื่อมใส. จักรวาลทศั น์ ฟ้า ขวัญ เมอื ง คัมภีรโ์ บราณไทอาหม. กรุงเทพมหานคร: อมรนิ ทร์ พริ้นติง้ แอนดพ์ ับลชิ ชิ่ง จํากัด, ๒๕๔๔. ระพีพรรณ ใจภักดี. คมู่ ือชมศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยพระนครศรีอยุธยา. กรงุ เทพมหานคร: สํานกั พมิ พแ์ สงแดดเพื่อนเด็ก, ๒๕๔๘. ราชบัณฑติ ยสถาน. พจนานกุ รมศิลปะ. กรงุ เทพมหานคร: ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๕๐.

๒๖๘ ลวิ อิส เค. โคเซอร.์ แนวความคดิ ทฤษฎีสังคมวทิ ยา ตอน เกออรก์ ซมิ เมล.จามะรี พิทักษ์วงศ์ และ คณะ, แปล. กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร,์ ๒๕๓๗. ____________. แนวความคิดทฤษฎสี ังคมวทิ ยา ตอน เอมิล เดอร์ไคม์. นฤจร อทิ ธจิ ีรจรัส ผแู้ ปล, กรงุ เทพมหานคร: สํานักพมิ พ์มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, ๒๕๓๕. ____________. แนวความคดิ ทฤษฎีสงั คมวิทยา ตอน ชารล์ ส์ ฮอร์ตัน คูล่ีย์ และยอร์จ เฮอร์เบิรต์ มด้ี .วารณุ ี ภูรสิ นิ สทิ ธิ์ ผ้แู ปล. กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พมิ พ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,์ ๒๕๓๕. ____________. แนวความคดิ ทฤษฎีสงั คมวทิ ยา ตอน ออกัสต์ กองต์. จามะรี พทิ ักษว์ งศ์ ผู้แปล, กรงุ เทพมหานคร: สาํ นักพมิ พ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๕. ____________. แนวความคิดทฤษฎีสงั คมวิทยา ตอน แมกซ์ เวเบอร์. องั กาบ กอศรพี ร ผแู้ ปล. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นักพมิ พ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๕. ____________. แนวความคิดทฤษฎีสังคมวิทยา ตอน เฮอร์เบริ ์ต สเปนเซอร์.นฤจร อิทธจิ ีรจรสั , แปล.กรงุ เทพมหานคร: สํานักพมิ พ์มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, ๒๕๓๕. ลําจนุ ฮวบเจริญ. ประวัตศิ าสตรแ์ ละพงศาวดารสยาม.กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพบั ลิชชิง่ ,๒๕๕๔. ____________. เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา. เชียงใหม่: สํานักพิมพ์ The Knowledge Center, ๒๕๔๙. ____________. เกรด็ พงศาวดารลา้ นนา. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพับลิชช่งิ , ๒๕๕๓. วชิรญาณวงศ,์ สมเดจ็ พระ. (ม.ร.ว.ช่ืน นพวงศ). บรุ พทศิ านมสั ธรรม.พิมพ์ทูลเกลา้ ฯ ถวายเปน็ ของ พระราชทานแจกในงานทําบุญ ๕๐ วนั พระศพ พระเจ้าพน่ี างเธอ พระองค์เจ้าจธุ ารตั น ราชกมุ ารี ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๗๓. วรรณไวทยากร. ประวัติศาสตรแ์ ละวัฒนธรรม.พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔. วิจิตรวาทการ, หลวง. ตํานานพระพทุ ธสหิ ิงค์.พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจนั ทร์, ๒๔๗๘. วบิ ูลย์ ลสี้ ุวรรณ. ๕ นาทกี บั ศลิ ปะไทย. กรุงเทพมหานคร: นานม,ี ๒๕๔๙. วิมล จโิ รจพันธ์ และคณะ. มรดกทางวัฒนธรรม “ภาคใต้”. กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพแ์ สงดาว, ๒๕๕๑. ___________. ศลิ ปะและวัฒนธรรมไทย. กรงุ เทพมหานคร: สํานักพมิ พแ์ สงดาว, ๒๕๔๘. วินยั ผูน้ ําพล. วัฒนธรรมในศลิ ปกรรมสยาม. กรงุ เทพมหานคร: ร่งุ ศลิ ป์การพิมพ์, ๒๕๕๒. วิรุณ ตั้งเจริญ. ศิลปะและสงั คม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์อแี อนด์ไอคิว, ๒๕๔๘. วทิ ย์ พณิ คนั เงนิ . เคร่อื งราชภัณฑ.์ กรงุ เทพมหานคร: สํานักพิมพ์อมรินทร,์ ๒๕๕๑. สงวน โชติสุขรัตน์. ตาํ นานเมอื งเหนอื . กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพศ์ รีปัญญา, ๒๕๕๒. _____________. มรดกทางวัฒนธรรม “ภาคเหนอื ”. กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพ์แสดงดาว ,๒๕๕๑. สงวน โชตสิ ุขรัตน.์ ประเพณีไทยภาคเหนอื . กรุงเทพมหานคร: สํานกั พมิ พ์ศรีปญั ญา, ๒๕๕๓. สนั ติ เลก็ สุขุม. พฒั นากรของกลายไทย: กระหนกกับเอกลักษณไ์ ทย. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์ เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. __________. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบบั ยอ่ ). กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพ์เมืองโบราณ

๒๖๙ ,๒๕๕๒. __________. ศลิ ปะสุโขทยั . กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพเ์ มืองโบราณ, ๒๕๔๙. __________. ข้อมูลกบั มมุ มอง: ศลิ ปะรัตนโกสนิ ทร.์ กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพ์ เมืองโบราณ, ๒๕๔๘. __________. ศิลปะภาคเหนือ: หรภิ ญุ ไชย-ล้านนา. กรงุ เทพมหานคร: สํานักพิมพเ์ มอื งโบราณ, ๒๕๔๙. สิรวิ ัฒน์ คําวนั สา. อทิ ธิพลวฒั นธรรมอินเดียในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร: อกั ษรเจริญทศั น,์ ๒๕๒๒. สุเมธ เมธาวิทยกุล. สงั กปั พิธีกรรม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร,์ ๒๕๓๒. สุเทพ สนุ ทรเภชสชั . มานุษยวิทยากับประวัตศิ าสตร์. กรงุ เทพมหานคร: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๔๘. _____________. ทฤษฎมี านุษยวิทยา พฒั นาการมโนทศั น์พ้ืนฐานและทฤษฎที างสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพับลิชชิง่ , ๒๕๕๒. สภุ ัทรดศิ ดศิ กุล,หมอ่ เจ้า. ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะประเทศใกลเ้ คียง. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์ มตชิ น, ๒๕๔๕. _____________. ประวัติศาสตร์ศลิ ปะประเทศใกลเ้ คียง อินเดยี ลังกา ชวา จาม ขอม พม่า ลาว. กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พมิ พ์มตชิ น, ๒๕๕๓. สภุ างค์ จันทวานชิ . ทฤษฎที างสังคมวิทยา. กรงุ เทพมหานคร: จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๔. สรุ ยิ า รัตนกุล,คุณหญงิ . อารยธรรมไทย.กรุงเทพมหานคร: เพชรรงุ่ การพิมพ์ จาํ กัด, ๒๕๕๓. สวนโมกขพลาราม. ๕๐ ปี ภาพจิตรกรรมโรงมหรสพทางวิญญาณ. กรงุ เทพมหานคร: ธรรมสภา จัดพิมพ์,มปป. สาํ ลี รกั สุทธี.สบื สานตาํ นานงานบุญประเพณีอสี าน.กรุงเทพมหานคร: รงุ่ เรืองสาสน์ การพิมพ์, ๒๕๔๔. เสถียร โพธนิ ันทะ. พระพทุ ธศาสนาในราชอาณาจักรสยาม. กรงุ เทพมหานคร: มหามกุฏราช วิทยาลยั ,๒๕๔๓. เสฐียร พันธรังษี.ศาสนาโบราณ. กรุงเทพมหานคร: มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๔. ___________. ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๔. ___________. พทุ ธสถานในชมพทู วีป. กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพ์ศยาม, ๒๕๕๓. เสฐยี รโกเศศ. ประเพณเี กี่ยวกับชวี ิต. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นกั พิมพ์ศยาม, ๒๕๕๓. ศกั ดิศ์ รี แย้มนัดดา. ศักด์ิศรีนพิ นธ.์ กรงุ เทพมหานคร: สุนทรกิจการพิมพ์, ๒๕๑๗. ศิลป์ พีระศรี และศิษย์. ศลิ ปวชิ าการ ๒ศลิ ปะคอื อะไร.กรุงเทพมหานคร:มลู นิธิศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรอี นุสรณ์, ๒๕๔๙. ศรศี ักร วลั ลิโภดม. เมืองโบราณ : การสืบสานอารยธรรมสยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สํานกั พิมพเ์ มืองโบราณ, ๒๕๔๒. ศรศี ักร วลั ลิโภดม. เมืองโบราณในอาณาจกั รสโุ ขทัย. กรงุ เทพมหานคร: สาํ นักพมิ พ์เมืองโบราณ, ๒๕๕๒.

๒๗๐ ศรีนลิ นอ้ ยบุญแนว. พระราชพงศาวดารกรงุ ธนบุรี ฉบับหมอบรดั เล. กรงุ เทพมหานคร: สํานักพมิ พ์ โฆษติ ,๒๕๕๔. ศุภสนิ สารพันธ์. ศิลปะไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานกั พิมพ์โอเดยี นสโตร์, ๒๕๔๕. หลวงบรบิ าลบุรภี ณั ฑ์. โบราณวัตถุสถานในสยาม. พระนคร: พมิ พ์แจกในงานกฐนิ พระราชทาน ณ วดั หิรญั รจู ี ๒๔๗๗. เอนก นาวกิ มูล. หลัก-ฐาน-บ้าน-เมอื ง. กรุงเทพมหานคร: สาํ นกั พมิ พ์แสงดาว, ๒๕๕๒. __________. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขํา บนุ นาค) เสนาบดนี ักปราชญ. กรุงเทพมหานคร: สาํ นักพิมพแ์ สงดาว, ๒๕๕๐. อรุณศักดิ์ ก่ิงมณ.ี ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพเ์ มืองโบราณ, ๒๕๕๕. อทิ ธิเทพสรรค์ กฤดากร, หม่อมเจ้า. เรือ่ งเกยี่ วกบั สถาปตั ยกรรม. พระนคร: โรงพมิ พไ์ ทยเกษม, ๒๔๙๕. องคก์ ารศกึ ษา. ศาสนพิธเี ล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร: มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๐๕. ๒.๓ งานวจิ ยั จิรศักดิ์ แตง่ เจนกจิ . “การศกึ ษาการออกแบบและคตสิ ัญลักษณใ์ นกรณีของงานสถาปัตยกรรมวัด สทุ ศั นเ์ ทพวนาราม”. วทิ ยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑติ วิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๑. จันทณา บานแย้ม. “การศกึ ษาแนวทางการออกแบบสญั ลักษณ์ภายใต้เง่ือนไขของศาสตร์ฮวงจ้ยุ ”. วิทยานพิ นธศ์ ิลปศาสตรมหาบณั ฑติ . บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, ๒๕๔๗. บาํ รงุ อิศรกุล. “ศึกษาอทิ ธิพลทางวัฒนธรรมท่มี ตี อ่ การออกแบบตราสญั ลักษณ์”.วิทยานพิ นธ์ศลิ ป ศาสตรมหาบัณฑติ .บัณฑติ วทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕. ธิญาดา ยอดแก้ว. “การศึกษาสญั ลกั ษณท์ างวัฒนธรรมของประเทศกล่มุ อาเซียน”.วิทยานพิ นธศ์ ลิ ป ศาสตรมหาบณั ฑติ . บณั ฑิตวิทยาลยั : มหาวิทยาลยั ศิลปากร, ๒๕๔๗. ภคพงศ์ อัครเศรณ.ี “การออกแบบสถาปัตยกรรมสื่อความหมายโดยประยุกตใ์ ช้หลกั วชิ าสัญศาสตร์” วิทยานพิ นธ์สถาปัตยกรรมศาสตรบณั ฑติ .บณั ฑติ วทิ ยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๘. ฐติ ิมา องั กรุ วชั รพนั ธ์ุ. “ภาพสัญลักษณ์มงคลฮก ลก ซิว่ : คตคิ วามเชอื่ แบบจนี ในงานศลิ ปกรรมสมัย รัชกาลท่ี ๓”. วทิ ยานิพนธศ์ ิลปศาสตรมหาบณั ฑิต. บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, ๒๕๔๙. ธิดารตั น์ ดวงสินธ์ุ. “พุทธปรัชญา: การศึกษาพุทธปฏิมาเพื่อสบื สานพระพุทธศาสนาในสงั คมอีสาน”. วิทยานิพนธป์ รัชญาดุษฎบี ัณฑิต.บณั ฑิตวิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๕๓. พพิ ฒั น์ วถิ .ี “สญั ลกั ษณใ์ นพธิ ีกรรมงานบวชของกลุ่มชาติพนั ธไ์ุ ทย-เขมร: กรณีศกึ ษาตําบลเมอื งที อําเภอเมอื งสรุ ินทร์ จงั หวดั สุรินทร์”. วิทยานิพนธศ์ ิลปศาสตรมหาบณั ฑิต. บณั ฑติ วทิ ยาลยั : มหาวทิ ยลยั ราชภัฏสุรินทร์, ๒๕๔๔. พีระนันท์ นนั ทขว้าง. “การศึกษารปู แบบโบสถ์ และวิหาร ล้านนาในเขตภาคเหนือตอนบน ยุคฟืน้ ฟู อาณาจกั รล้านนา ถึง ยคุ ครบู าศรวี ิชยั ”. วทิ ยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ .

๒๗๑ บณั ฑิตวทิ ยาลัย: มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, ๒๕๔๔. พีระพัฒน์ สาํ ราญ. “คติ และสัญลกั ษณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระปฐมเจดีย์”. วิทยานพิ นธศ์ ิลปศาสตรมหาบัณฑติ . บัณฑิตวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร, ๒๕๔๗. ไพโรจน์ ธีรประภา. “การออกแบบสญั ลักษณ์ตวั แทนประจําจังหวดั ภาคเหนือของประเทศไทย”. วทิ ยานพิ นธศ์ ลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ . บัณฑิตวทิ ยาลยั : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. นภสมน นิจรันดร์. “โนรา: สญั ลกั ษณ์ พธิ กี รรม ตวั ตนคนใตร้ อบลมุ่ ทะเลสาบสงขลายุคโลกาภิวัฒน์”. วิทยานพิ นธ์สงั คมวิทยามหาบัณฑติ . บัณฑติ วทิ ยาลยั : จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย, ๒๕๕๐. ร่งุ โรจน์ ธรรมรงุ่ เรอื ง. “พระพทุ ธรปู และพระพิมพท์ วารวดีภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ”. ปรชั ญาดษุ ฎี บณั ฑติ . บณั ฑิตวิทยาลยั : มหาวิทยาลยั ศิลปากร,๒๕๕๒. สกาวรตั น์ หาญกาญจนสวุ ฒั น์. “วรรณกรรมของศักดส์ิ ิริ มสี มสบื : กลวิธีทางวรรณศิลป์กับการ ตคี วาม”.วทิ ยานิพนธอ์ ักษรศาสตรมหาบัณฑิต.คณะอักษรศาสตร์: จฬุ าลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๔๔. สันทนา ภิรมยเ์ กียรติ. “การวางผังบริเวณพุทธสถานสมยั สโุ ขทยั บรเิ วณเมอื งเก่าสุโขทยั ”. วิทยานิพธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บณั ฑติ วิทยาลยั : มหาวิทยาลัยศลิ ปากร, ๒๕๔๕. สภุ าพร พรดําเนินสวสั ด์ิ. “การนับถือพุทธศาสนาสมยั ทวาราวดีทจ่ี งั หวัดนครปฐม”. วิทยานพิ นธศ์ ิลป ศาสตรบัณฑติ . บัณฑิตวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร, ๒๕๓๑. สุรพล ดําริหก์ ลุ . เจดยี ช์ ้างลอ้ มกบั ประวัติศาสตร์บา้ นเมืองและพระพทุ ธศาสนาลงั กาวงศใ์ น ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพจ์ ฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, ๒๕๕๔. สบื ศริ ิ แซ่ล.ี้ “การออกแบบสัญลกั ษณ์ตัวแทนประจาํ จงั หวัดของภาคอีสานตอนเหนือ”. วทิ ยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑติ วทิ ยาลัย: มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร, ๒๕๔๖. ศภุ ชัย อารีรุง่ เรือง. “การศกึ ษาการออกแบบพระอุโบสถสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้า เจ้าอยหู่ วั ”.วทิ ยานพิ นธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑติ .บณั ฑติ วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศลิ ปากร, ๒๕๔๔. อดุลยศ์ กั ดิ์ เทมิ แพงพันธ์. “พุทธยานาวาวดั ยานาวา: การศกึ ษาสญั ลกั ษณ์ในความเชื่อ พระพุทธศาสนา”.วทิ ยานพิ นธศ์ ิลปศาสตรมหาบัณฑติ . บณั ฑิตวทิ ยาลัย: มหาวิทยาลัย ศลิ ปากร,๒๕๔๐. ๒.๔ วารสาร,นิตยสาร พิเศษ เจียจนั ทร์พงษ.์ “พระมีหนวด”, ศิลปวัฒนธรรม. ปที ี่ ๑๖ ฉบับที่ ๗ (พฤษภาคม ๒๕๓๘): ๑๑๒-๑๑๕. วัลภา ขวัญยืน. “ลทั ธบิ ชู าสมเดจ็ โตวัดระฆงั ”, ศิปลวัฒนธรรม. ปที ี่ ๑๕ ฉบับท่ี ๔ (กุมภาพนั ธ์ ๒๕๓๗):๑๖๐-๑๖๕. สุจิตต์ วงษ์เทศ. “นครศรีธรรมราช”, ศลิ ปวฒั นธรรม. ปที ่ี ๑๖ ฉบับท่ี ๗ (พฤษภาคม ๒๕๓๘): ๑๔๘-๑๕๑. สรนาถ สินอไุ รพันธ์. “สัญลักษณ์: กระบวนการสื่อสารของแบบทางสถาปัตยกรรม”, วารสารวิชาการ คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ .ปีที่ ๔ ฉบบั ที่ ๑ (ประจําปี ๒๕๔๘) : ๔๓-๕๐.

๒๗๒ ๒.๕ อนิ เตอร์เนต คณะกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. “วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปญั ญา”. (ออนไลน์). แหลง่ ท่มี า: http://www.m-culture.go. Th /knowledge-province.php?sub_id=529.(วนั ท่ี ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕) ปรชี า นนุ่ สขุ .“หลักฐานโบราณคดที ี่เกย่ี วกบั สญั ลกั ษณ์”.ใน http://tdc.thailis.or.th (เข้าถึงเม่อื วนั ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕) _________. “การขดุ ค้นทางโบราณคดีบรเิ วณเมืองโบราณนครศรธี รรมราช”. อ้างใน http://dcms.thailis.or.th/tdc/download.php. (เขา้ ถงึ เมือ่ วันท่ี ๒๐ กนั ยายน ๒๕๕๕) _________. “ยอ้ นอดีตหมนื่ ปีทีแ่ หลง่ โบราณคดีโคกพลับ” อ้างใน http://tdc.thailis.or.th (เขา้ ถึงเมื่อวันที่ ๑๘ กนั ยายน ๒๕๕๕) ฤทัย จงใจรัก. “สถาปัตยกรรมไทยกับพระพุทธศาสนา”. อา้ งใน http://dcms.thailis.or.th/tdc/ download.php(เข้าถึงเม่ือวันท่ี ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕) วรรณภา ศรธี ญั รตั น.์ “ทฤษฎีปฏสิ ัมพันธ์สญั ลักษณ์: การประยกุ ต์ใช้”, วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ [๒๐, (๓-๔), ๒๕๔๐] อา้ งใน http://tdc.thailis.or.th(เขา้ ถงึ เม่ือวนั ท่ี ๑๔ กนั ยายน ๒๕๕๕) สมเกยี รติ ตง้ั นะโม. “สญั ศาสตร์ การศึกษาเร่อื งเครือ่ งหมาย”. อ้างใน (http://61.47.2.69/~ midnight/midarticle/newpage12.html)(เข้าถงึ เมอ่ื วนั ท่ี ๑๘ กนั ยายน ๒๕๕๕) หนังสอื เก่าชาวสยาม.วชริ ญาณวเิ สศ.http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/ wachirayan/ (เขา้ ถงึ เม่ือวันท่ี ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๕) D. Alexander. “Buddhism and the Arts” อ้างใน http://www.faithandthearts.com (เขา้ ถงึ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕) Daniel Chandler. “Semiotics for Beginners”. Cf. (http://www.dominicpetrillo.com/ ed/Semiotics_for_Beginners.pdf)(เข้าถงึ เมื่อวันท่ี ๒๒ กนั ยายน ๒๕๕๕) ๒.๖ ภาษาอังกฤษ Bathes, Roland. Elements of Semiology. New York: Hill and Wang, 1986. _____________. Mythologies. New York: Noonday Press, 1991. Blount, Godfrey. TheScience of Symbols. London: University of Michigan,1905. Chase, J. Munsell. The Great Pyramid of Gizeh: A Symbol of Universal Truth. San Francisco: Chase@ Rae Press, 1916. Frazer, J.G.. Totemism.Edinburgh: Adam & Charles Black, 1931. Greertz, Clifford. The Interpretation of Culture. New York: Basic Book, Inc., Publishers, 1973. Geddie, William. Chambers’ Twentieth Century Dictionary. New Delhi: Allied Publishers, 1970.

๒๗๓ Lang, Andrew. The Secret of the Totem. London: Longmans Green and Co., 1905. Reoder, Adolph. Symbol-Psychology. New York: Harper & Brothers Publishers, 1903. Singer, Milton B. Man’s Glassy Essence: Explorations in Semiotic Anthropology. Bloomington: Indiana University Press, 1984. Townsend, W.T.. The Great Symbols. London: Charles H. Kelly, 1901. Womack, Mari. Symbols and meaning: A Concise Introduction. Oxford: Rowman & Littlefield Publishers Inc., 2005.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook