ภาคใต้มรดกวฒั นธรรม
ค�ำน�ำ ภาคใตเ้ ปน็ ดนิ แดนสำ� คญั ของไทยครอบคลมุ พนื้ ท่ี ๑๔ จงั หวดั มปี ระวตั ศิ าสตรแ์ ละความเปน็ มายาวนานนบั พนั ปี ดงั ปรากฏมรดกวฒั นธรรม หลากหลายประเภท อันสะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในอดีตสืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมทางภาคใต้เป็นภูมิปัญญา ทอ้ งถ่ินของชาวภาคใต้ อันเปน็ มรดกวฒั นธรรมท่เี กดิ จากการพฒั นา การปรบั ตวั ปรับวิถีชวี ิตของคนในภาคใตท้ ป่ี ระกอบด้วยคนไทยและอกี หลาย ชาติพนั ธ์ุที่อยรู่ ่วมกันในคาบสมุทร มีคนมาเลย์ คนจนี และคนท่ีมาจากอนิ เดยี ใต้ แต่กลมุ่ ชนท่ีมจี ำ� นวนมากทีส่ ดุ คอื ไทยสยาม โดยสภาพภูมิศาสตร์ ที่เป็นแหลมทอง มีทะเลกว้างใหญ่ขนาบอยู่ท้ังสองข้าง มีทรัพยากรธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์ ทั้งในทะเล และบนแผ่นดิน อันล้วนเป็นเขตมรสุม ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีผู้คนหลายชาติ หลายภาษา หลายวัฒนธรรมเดินทางมาทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อมาต้ังหลักแหล่ง แสวงหาโภคทรัพย์และ ท�ำมาค้าขายเป็นเวลาติดต่อกันยาวนานกว่าพันปี มีการต้ังถ่ินฐานท�ำมาหากินกันหลายลักษณะ ท้ังบริเวณชายทะเล ที่ราบระหว่างชายทะเล กับเทือกเขา หลังเขา และตามสายน้�ำน้อยใหญ่จ�ำนวนมากท่ีไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเลท้ังสองด้าน ภูมิปัญญาของภาคใต้จึงมีความหลากหลาย ทัง้ ทีไ่ ด้พัฒนาการจากการปรับตวั ใหเ้ ขา้ กบั สิง่ แวดลอ้ มธรรมชาติ หรือคนตา่ งถิ่นที่นำ� มาจากแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ จนหลอมรวมกันจนก่อเกดิ เปน็ ภมู ปิ ัญญาประจ�ำถิน่ และมรดกวฒั นธรรมของชาวใตใ้ นปจั จบุ ัน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานท่ีมีหน้าที่ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถ่ินและระดับชาติ เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการรวบรวมองค์ความรู้ด้านมรดกวัฒนธรรมทางภาคใต้ ซึ่งถือเป็นมรดกอันล�้ำค่าท่ีมีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จนถึงปัจจุบัน จึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “มรดกวัฒนธรรมภาคใต้” เล่มนี้ข้ึน โดยมีเนื้อหาว่าด้วยภาพรวมของภาคใต้ นับต้ังแต่สภาพภูมิศาสตร์ บ้านเมืองและผูค้ น และมรดกวฒั นธรรมของภาคใต้ในภาพรวม เพอ่ื สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาคใต้และมรดกวัฒนธรรม ให้แกป่ ระชาชน นกั เรยี น นกั ศกึ ษา ในวงกวา้ ง ตลอดจนชว่ ยสรา้ งความรกั ความภาคภมู ใิ จในทอ้ งถนิ่ ซง่ึ เปน็ พนื้ ฐานสำ� คญั ในการสบื สานและถา่ ยทอดมรดกภมู ปิ ญั ญา อันจะนำ� ไปสกู่ ารตอ่ ยอดวัฒนธรรมทางภาคใต้ตอ่ ไป กรมส่งเสริมวฒั นธรรม
สารบัญ ๓. มรดกวฒั นธรรมภาคใต ้ ๖๗ โบราณสถาน แหลง่ โบราณคดี และโบราณวตั ถุ ๖๘ บทนำ� เขาเขียน ๖๘ ๑. ทต่ี ั้งและสภาพภมู ศิ าสตร์ ถ�ำ้ ผหี ัวโต หรอื ถำ้� กะโหลก ๗๖ แหลง่ โบราณคดีเขาสามแก้ว ๘๐ อาณาเขต เขาคูหา (ถำ�้ คูหาสวรรค์) ๘๒ ลักษณะภูมปิ ระเทศ เมอื งโบราณไชยา ๘๖ สภาพภูมอิ ากาศ เมืองโบราณยะรัง ๙๒ พืชพรรณธรรมชาต ิ ๗ เมืองโบราณพระเวยี ง ๙๖ ๒. ผู้คน สังคม และบา้ นเมือง ๘ พระบรมธาตุไชยา ๙๘ วดั หลง ๑๐๒ ภาคใตฝ้ ง่ั ตะวันออก ๘ วดั แกว้ ๑๐๔ ภาคใต้ฝง่ั ตะวันตก ๑๐ พระบรมธาตุนครศรธี รรมราช ๑๐๘ “ศรีวชิ ัย” ในประวตั ิศาสตรภ์ าคใต ้ ๑๖ มสั ยิดกรอื เซะ ๑๑๔ ๑๗ วัดมชั ฌิมาวาส ๑๑๘ วดั เทพนมิ ติ ๑๒๔ ๑๙ วัดปิบผลิวัน ๑๒๘ ๒๑ วดั หงสาราม ๑๓๒ ๒๒ วัดชลธาราสิงเห ๑๓๔ ๒๔ โบราณวตั ถุ ๑๓๘
สถาปัตยกรรม ๑๔๘ ๔. บทสง่ ท้าย ๒๐๑ เรอื นพืน้ ถนิ่ ภาคใต ้ ๑๔๘ วงั เจา้ เมอื งพทั ลงุ ๑๕๑ บรรณานกุ รม ๒๐๒ ศิลปหัตถกรรม ๑๕๔ คณะผจู้ ดั ทำ� ๒๐๔ เครอ่ื งถม ๑๕๔ เคร่ืองจกั สานย่านลเิ ภา ๑๕๘ ผ้า ๑๖๐ เรอื กอและ ๑๗๐ ศลิ ปะการแสดง ๑๗๓ หนงั ตะลงุ ๑๗๓ โนรา หรอื มโนราห์ ๑๘๑ กาหลอ ๑๘๓ เพลงบอก ๑๘๔ รองเงง็ ๑๘๕ อาหารพื้นบา้ น ๑๘๖ วัฒนธรรมประเพณ ี ๑๙๒ ประเพณสี ารทเดือน ๑๐ ๑๙๒ ประเพณีชกั พระ ๑๙๕ งานฮารีรายอ ๑๙๖ งานเทศกาลกินเจ ๑๙๖ งานเฉลมิ ฉลองเจา้ แมล่ มิ้ กอเหนย่ี ว จงั หวดั ปตั ตาน ี ๑๙๙
หาดทรายรี จังหวดั ชมุ พร
บทน�ำ ภาคใต้เป็นดินแดนส�ำคัญของไทยครอบคลุมพ้ืนท่ี ๑๔ จังหวัด มีประวัติศาสตร์และ ความเป็นมายาวนานนับพันปี ดังปรากฏมรดกวัฒนธรรมหลากหลายประเภทอันสะท้อนถึง ความเจรญิ รงุ่ เรอื งของบ้านเมืองสืบต่อเนื่องมาตง้ั แต่อดีตจนถึงปจั จบุ นั มรดกวัฒนธรรมเป็นสิ่งท่ีเกิดข้ึนจากการสร้างสรรค์ทางภูมิปัญญาของบรรพชนและ ได้รับการสืบทอดกันมาถึงปัจจุบันท้ังในรูปธรรมและนามธรรม มรดกวัฒนธรรมอันเป็นรูปธรรม ท่เี ห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวตั ถุ งานศลิ ปหตั ถกรรม สว่ นมรดกวัฒนธรรม ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ท่ีสืบทอดมาจาก บรรพบรุ ษุ หลายชัว่ คน สิ่งส�ำคญั ทจี่ ะทำ� ให้เขา้ ใจถึงมรดกวฒั นธรรมของภาคใต้ คอื ต้องเข้าใจถึงประวัตศิ าสตร์ ความเป็นมาของผู้คนและบ้านเมืองอันสัมพันธ์เกี่ยวเน่ืองกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และลักษณะ ภมู ิประเทศของภาคใตท้ ่ีมเี อกลกั ษณเ์ ฉพาะ กลา่ วคอื ผืนแผ่นดนิ ภาคใต้ตั้งอย่บู นเสน้ ทางการคา้ ระหวา่ งตะวนั ออกกับตะวันตก มีชายฝ่งั ขนาบทั้งสองขา้ งมีเทือกเขาสงู อยู่ตรงกลาง มีท่ีราบแนว แคบ ๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝง่ั ล�ำน�ำ้ คนต้ังถ่ินฐานอยบู่ รเิ วณชายฝั่งทะเลทง้ั ด้านตะวันออก และตะวนั ตก จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคใต้ดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ผู้คนต่างภาษาต่าง วัฒนธรรมเดินทางเข้ามายังดินแดนภาคใต้อย่างไม่ขาดสายเป็นเวลายาวนานหลายระลอก ทั้งชาวพทุ ธ ชาวมสุ ลิมและตา่ งเชอื้ ชาตกิ นั เช่น คนไทย คนจีน และผ้ทู ม่ี ีเชื้อสายมาเลย์ รวมทัง้ ชาวพน้ื เมือง เช่น ชาวเล วัฒนธรรมภาคใต้จงึ มรี ูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ท่ีแตกตา่ งกันในแตล่ ะ พื้นที่ ดังน้ันภาคใต้นอกจากจะมีภูมิประเทศและสถานที่ท่องเท่ียวทางธรรมชาติอันงดงามแล้ว ภาคใต้ยังเป็นดินแดนทม่ี ีวัฒนธรรมหลากหลายเปน็ เอกลักษณอ์ กี ดว้ ย หนงั สอื เรอ่ื ง มรดกวฒั นธรรมภาคใต้ จงึ ไดร้ วบรวมเรอื่ งราวและขอ้ มลู ทางประวตั ศิ าสตร์ โบราณคดี และมรดกวัฒนธรรมภาคใต้อันเป็นความรู้ส�ำคัญที่จะท�ำให้เข้าใจถึงผู้คน สังคมและ บา้ นเมืองของชาวใตใ้ นปจั จุบนั ได้อยา่ งถอ่ งแท้ 7
๑ ที่ตั้งและสภาพภมู ิศาสตร์ “ภาคใต้ ” หรอื “ปกั ษใ์ ต”้ เปน็ ชอ่ื ทเี่ รยี กดนิ แดนทางตอนใตข้ องประเทศไทย ตงั้ อยตู่ อนเหนอื ของคาบสมทุ รมลายู มลี กั ษณะเปน็ แผน่ ดนิ แคบคอด และยน่ื ยาวเหมอื น แหลมขนาบด้วยอ่าวไทย หรือทะเลจีนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย มีเนื้อท่ีรวม ๗๐,๗๑๕.๒ ตารางกิโลเมตร คิดเปน็ รอ้ ยละ ๑๓.๗๘ ของเนอื้ ที่ประเทศ ความยาวจากเหนอื จรด ใต้ประมาณ ๗๕๐ กโิ ลเมตร ภาคใต้ประกอบด้วยจังหวัด ๑๔ คือ ชมุ พร สรุ าษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภเู ก็ต กระบ่ี นครศรีธรรมราช ตรงั พัทลงุ สงขลา สตลู ยะลา ปตั ตานี และนราธิวาส ทุกจังหวัดของภาคมีพ้ืนที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและ จังหวดั พทั ลุง ภาคใต้เปน็ ดินแดนท่อี ดุ มสมบรู ณด์ ว้ ยทรพั ยากรธรรมชาติ มีทรี่ าบชายทะเล และทวิ เขาอนั เปน็ ตน้ นำ�้ ลำ� ธารหลายสาย พน้ื ทสี่ นั ทรายทอดยาวไปตามแนวเหนอื - ใต้ เหมาะสมกับการตั้งถ่ินฐานของมนุษย์จนก่อเกิดเป็นชุมชนและพัฒนาเป็นแหล่ง อารยธรรมท่ีมีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาตั้งแต่โบราณ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา รวมทั้งสภาพภูมิศาสตรย์ ังมผี ลตอ่ การสร้างสรรค์มรดกวฒั นธรรมอกี ดว้ ย อาณาเขต ทิศเหนอื ติดต่อกับจงั หวดั ประจวบครี ีขันธ์ ดนิ แดนท่อี ยทู่ างเหนอื สดุ ของภาค คอื อ�ำเภอปะทวิ จงั หวดั ชมุ พร ทิศตะวนั ออก ติดตอ่ กบั อ่าวไทย ดนิ แดนบนแผน่ ดินใหญท่ อี่ ย่ทู างตะวนั ออกสดุ ของภาค คอื อำ� เภอตากใบ จังหวดั นราธิวาส ทิศใต้ ตดิ กับประเทศมาเลเซีย ดนิ แดนทอี่ ยู่ใตส้ ุดของภาค และของประเทศไทย คือ อำ� เภอเบตง จงั หวดั ยะลา ทศิ ตะวันตก ตดิ ต่อกับทะเลอนั ดามนั ดินแดนบนแผน่ ดนิ ใหญท่ อ่ี ยทู่ างตะวนั ตกสดุ ของภาค คอื อำ� เภอทา้ ยเหมือง จงั หวัดพงั งา 8
แผนท่ีภาคใต้ 9
อ�ำเภอเบตง จังหวัดยะลา ลกั ษณะภูมิประเทศ ภาคใตม้ ลี กั ษณะภมู ปิ ระเทศแบง่ ออกไดเ้ ปน็ ๓ สว่ น คอื บรเิ วณทวิ เขา ทร่ี าบชายฝง่ั อา่ วไทย และทร่ี าบชายฝง่ั ทะเลอนั ดามนั ซงึ่ ทร่ี าบสำ� คญั ของภาคใต้ ได้แก่ ที่ราบสุราษฎร์ธานี เป็นที่ราบผืนใหญ่ท่ีสุดของภาคใต้ อยู่ระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราชกับเทือกเขาภูเก็ต ที่ราบพัทลุง เปน็ ท่รี าบชายฝัง่ ทะเลทางตะวันออกของเทอื กเขานครศรีธรรมราชและชายฝั่งทะเลสาบสงขลา และทีร่ าบปตั ตานี เป็นทร่ี าบตอนใตส้ ุด อยรู่ ะหวา่ ง เทอื กเขาสนั กาลาครี กี บั ฝง่ั ทะเล นอกจากนี้ ในภาคใตย้ งั มที ะเลหลวง และทะเลนอ้ ย ซงึ่ ทะเลหลวงเปน็ ตวั ทะเลสาบสงขลาทแี่ ทจ้ รงิ โดยแบง่ ทะเลหลวง ออกเปน็ ๒ สว่ น คอื ทะเลสงขลา และทะเลหลวงพัทลงุ สว่ นทะเลนอ้ ย มีขนาดเลก็ กวา่ ทะเลหลวง อยู่ทางด้านเหนือของทะเลหลวง จากทะเลนอ้ ย มคี ลองควน คลองท่าเสมด็ และคลองปากพนัง ต่อขนึ้ ไปทางเหนือ ออกสู่อ่าวไทยในเขตอำ� เภอปากพนัง จงั หวัดนครศรีธรรมราช ทวิ เขา ภมู ปิ ระเทศของภาคใตเ้ ตม็ ไปขนุ เขานอ้ ยใหญ่ โดยมที วิ เขา ๓ ทวิ เรยี งตามลำ� ดบั จากเหนอื ไปใต้ คอื ทวิ เขาภเู กต็ ทวิ เขานครศรธี รรมราช และทิวเขาสนั กาลาครี ี ซ่ึงเป็นพรมแดนกน้ั ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทวิ เขาในภาคใตม้ ีความยาวทัง้ ส้ิน ๑,๐๐๐ กโิ ลเมตร โดยเฉพาะ บริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ โดยมจี ดุ สงู สดุ ของภาคใตอ้ ยทู่ ี่ ยอดเขาหลวง ๑,๘๓๕ เมตร เหนอื ระดบั นำ�้ ทะเลปานกลาง ตง้ั อยใู่ นอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขาหลวง จงั หวดั นครศรธี รรมราช 10
ทะเลน้อย จงั หวัดพัทลงุ 11
เทือกเขาสันกาลาครี ี เทือกเขาภูเก็ต ประกอบด้วยหินชุดแก่งกระจาน หินชุด ราชบุรี และหินแกรนิตยุคครีเตเชียส ซ่ึงหินแกรนิตยุคนี้ มีแร่ดีบุก แม่น�้ำตาปี ตกผลึกอยเู่ ป็นจำ� นวนมากในพืน้ ทจ่ี ังหวัดระนอง จังหวดั พังงา และ จงั หวัดภูเกต็ 12 เทือกเขานครศรีธรรมราช มีหินชุดภูกระดึงสลับกับหินชุด ราชบุรีและชุดทุ่งสง ส่วนบริเวณเขาหลวง ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุด ในภาคใต้ เป็นหินแกรนิตยุคเดียวกับหินแกรนิตในเทือกเขาภูเก็ต ส่วนบริเวณรอบ ๆ เขาหลวง มีหนิ ชุดตะรเุ ตายุคแคมเบรียน ซ่ึงเป็น หนิ ท่มี ีอายเุ กา่ แกช่ นดิ หนึ่งทพ่ี บในประเทศไทย เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นเทือกเขาท่ีต่อเนื่องกับเทือกเขา นครศรธี รรมราช เปน็ เทือกเขาหินแกรนิต ท่ีราบชายฝั่งอ่าวไทย เป็นที่ราบขนาดค่อนข้างใหญ่เม่ือ เปรียบเทียบกับชายฝั่งทะเลอันดามัน นับจากบริเวณชายฝั่งจาก จังหวัดชุมพรลงไปทางใต้ถึงจังหวัดนราธิวาสมีท่ีราบต่อเนื่องไปโดย ตลอด เป็นลักษณะของชายฝั่งทะเลแบบยกตัว บริเวณท่ีเคยเป็น ทะเลตื้นริมฝั่งได้เปล่ียนสภาพเป็นพื้นดิน มีการทับถมของโคลน ตะกอนท่ีแม่น�้ำและกระแสน้�ำในทะเลพัดพามา จนเกิดเป็นท่ีราบ กวา้ งใหญ่ขึ้น แม่น�้ำที่ไหลผ่านท่ีราบด้านอ่าวไทย มีแม่น�้ำตาปีเป็นสาย ยาวท่ีสดุ มีต้นน�ำ้ อยใู่ นอ�ำเภอทุ่งใหญ่ จงั หวดั นครศรีธรรมราช และ ไหลลงทะเลทอี่ ำ� เภอเมอื งสรุ าษฎรธ์ านี จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี แมน่ ำ�้ ตาปนี ้ี มลี มุ่ นำ�้ กวา้ งขวางอยใู่ นพนื้ ทรี่ าบระหวา่ งเทอื กเขาภเู กต็ กบั เทอื กเขา นครศรธี รรมราช ล�ำน้�ำตาปยี าวประมาณ ๓๘๐ กิโลเมตร มีแม่น�้ำ สาขาสำ� คญั คอื แมน่ ำ�้ ครี รี ฐั หรอื แมน่ ำ้� พมุ ดวง นอกจากน้ี ยงั มแี มน่ ำ�้ สายสั้น ๆ ได้แก่ แม่น้�ำชุมพร และคลองหลังสวน จังหวัดชุมพร คลองไชยา และคลองท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้�ำปากพนัง จงั หวดั นครศรธี รรมราช และคลองรตั ภมู ิ จงั หวดั สงขลา แมน่ ำ�้ ปตั ตานี และแม่น้�ำสายบุรี จังหวัดปัตตานี และแม่น�้ำโกลก ซึ่งเป็นเส้นกั้น เขตแดนไทย - มาเลเซยี ที่จังหวดั นราธิวาส
ลมุ่ นำ้� ปากพนัง จงั หวัดนครศรธี รรมราช 13
กระบ่ี 14
แมน่ ้�ำกระบุรี ทร่ี าบชายฝง่ั ทะเลอนั ดามนั มลี กั ษณะแคบ บางแหง่ มภี เู ขาจรดชายฝง่ั ทำ� ใหเ้ กดิ เปน็ หนา้ ผาชนั ตามแนวชายฝง่ั ทะเล ชายฝง่ั ทะเลมลี กั ษณะ เว้าแหว่งมาก มีอ่าวใหญ่น้อยและเกาะต่าง ๆ จ�ำนวนมาก นอกชายฝั่งออกไปพ้ืนท่ีลาดลึกลงอย่างรวดเร็ว อันเป็นลักษณะของชายฝั่งแบบยุบตัว บริเวณปากแมน่ �ำ้ สายตา่ ง ๆ จึงมลี ักษณะเปน็ “ชะวากทะเล” ทีม่ ีความกวา้ งมากกว่าปกติ เช่น ปากแม่น�้ำกระบรุ ี จงั หวดั ระนอง มคี วามกวา้ งถงึ ๔๕ กโิ ลเมตร จนมีลักษณะคลา้ ยกับอา่ วมากกว่าปากนำ้� สว่ นแมน่ ้�ำสายอ่นื ๆ ถึงแมว้ ่าเป็นแม่นำ้� สายสน้ั ๆ แตป่ ากแมน่ �้ำกค็ อ่ นขา้ งกวา้ งเชน่ กัน การยุบตัวลงของบรเิ วณชายฝั่งดา้ นน้ี ทำ� ใหน้ �้ำทะเลไหลท่วมเขา้ มายงั พนื้ ทบ่ี างแห่งกลายเปน็ พน้ื ที่มีนำ้� ต้ืน เช่น อ่าวพังงา ซ่ึงอยู่ทางตอนใต้ ของอ่าวพังงา ภายในอ่าวมีน�้ำต้ืน และมีเกาะขนาดเล็กตั้งเรียงรายอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งความจริงแล้วก็คือส่วนยอดของภูเขาหินปูนท่ีโผล่พ้นน้�ำ ข้ึนมานัน่ เอง แสดงวา่ เดิมพื้นทบ่ี ริเวณอ่าวพังงาเปน็ แผน่ ดินท่มี ีภูเขาหนิ ปูนตง้ั อยู่ เมอื่ น้ำ� ทะเลไหลเขา้ มา บริเวณท่ตี ำ�่ จงึ กลายเป็นทะเล ส่วนบริเวณ ท่เี ป็นท่ีสูงกลายเป็นเกาะ ภายหลังเม่ือเกิดการกดั เซาะของนำ้� ทะเล รวมท้ังการผุพงั จากลมฟา้ อากาศ และกระท�ำของน้ำ� ใต้ดนิ ทำ� ใหเ้ กาะตา่ ง ๆ มี รปู รา่ งดังทป่ี รากฏในปัจจุบนั นอกจากน้ี ตามชายฝั่งทะเลอันดามนั ยังมีเกาะใหญ่น้อยอีกเปน็ เป็นจ�ำนวนมาก ต้ังแตจ่ งั หวัดกระบ่ีไปจนถึงจงั หวดั สตูล บางเกาะมขี นาด ใหญแ่ ละมที ่ีราบ ผู้คนเข้าไปตัง้ ถน่ิ ฐานได้ เชน่ เกาะภเู กต็ ซ่ึงเป็นเกาะขนาดใหญ่ทส่ี ุดของประเทศ เกาะตรเุ ตา จังหวดั สตูล แต่บางแห่งเปน็ เพยี ง โขดหิน หรือเป็นเกาะทม่ี ภี เู ขาสูงชนั ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ บางเกาะมพี ืดปะการังเกดิ ขนึ้ ตามชายฝ่งั 15
สภาพภมู ิอากาศ ภาคใต้มีภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และเนื่องจากภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร เหมือนแหลมยื่นยาวลงไปในทะเล ขนาบด้วยพื้นน้�ำอยู่ท้ังทางด้านตะวันตก และด้านตะวันออก จึงท�ำให้มี ลมมรสุมตลอดปที ้ังขาขึ้นและขาลอ่ ง คอื ต้ังแตเ่ ดอื นพฤษภาคม ถงึ ตลุ าคม ชายฝัง่ ทะเลด้านตะวนั ตก จะได้รับลม มรสมุ ตะวนั ตกเฉยี งใตอ้ ยา่ งเตม็ ท่ี และตงั้ แตเ่ ดอื นตลุ าคม ถงึ กมุ ภาพนั ธ์ ชายฝง่ั ทะเลดา้ นตะวนั ออกจะไดร้ บั ลมมรสมุ ตะวนั ออกเฉียงเหนอื ภาคใตจ้ ึงมีฝนตกตลอดทั้งปีและเป็นภูมภิ าคทีม่ ฝี นตกมากทส่ี ดุ จนได้ช่ือว่าเปน็ ดินแดนแห่ง “ฝนแปดแดดสี่” เหมาะแก่การปลูกพืชเมอื งรอ้ นท่ตี อ้ งการความชน้ื สงู เช่น ยางพารา ปาลม์ เป็นตน้ สว่ นอณุ หภมู ิ เคยสงู สดุ ท่ีจงั หวดั ตรงั ๓๙.๗ องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำ� สุดทีจ่ งั หวัดชมุ พร ๑๒.๑๒ องศาเซลเซยี ส แผนทแ่ี สดงลมมรสมุ ทม่ี า : บณุ ยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ, ๒๕๕๐, หนา้ ๑๗๗. 16
ปา่ โกงกางฝงั่ อันดามัน สวนยางพารา พืชพรรณธรรมชาติ ตน้ ปาลม์ พืชพรรณธรรมชาติในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ แบ่งได้เป็น ๔ ชนิด ได้แก่ ปา่ ดบิ ชื้น ป่าชายเลน ป่าพรุ และปา่ ชายหาด ป่าดิบช้ืน คือ ป่าไม้ท่ีมีต้นไม้ซ่ึงมีเรือนยอดสูงต่�ำต่างกันและใต้หมู่ไม้ช้ันบนจะมีไม้เล็ก เช่น ไม้จำ� พวกปาล์ม เฟิร์น เตย หวาย และเถาวลั ยช์ นดิ ต่าง ๆ ป่าชายเลน ปา่ ประเภทนพี้ บทง้ั ทางดา้ นตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้ โดยเฉพาะ บรเิ วณใกลป้ ากแมน่ ำ�้ และบรเิ วณทเ่ี ปน็ แอง่ ทะเลสาบทนี่ ำ้� ทะเลขนึ้ ทว่ มถงึ พรรณไมเ้ ปน็ ตน้ ไมโ้ ตเรว็ จึงมีคา่ ทางเศรษฐกิจมาก เชน่ ไม้โกงกาง แสม ลำ� พู ล�ำแพน จาก เปน็ ตน้ ป่าพรุ เป็นป่าไม้ท่ีไม่มีค่าทางเศรษฐกิจและมีพื้นท่ีไม่มากนัก แบ่งเป็นประเภทได้เป็น ปา่ พรนุ ำ�้ เคม็ พบอยใู่ นเขตพน้ื ทลี่ มุ่ ทเี่ ปน็ ดนิ โคลนและมนี ำ�้ จดื แชข่ งั อยู่ จะมไี มก้ นั เกรา อนิ ทนลิ นำ้� จิกชนิดต่าง ๆ เป็นต้น และป่าพรุน�้ำกร่อย พบอยู่ในเขตที่ลุ่มน�้ำขังที่มีดินปนทรายใกล้ทะเล จะมีไม้เสม็ด ป่าชายหาด พบอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล ป่าชายหาดมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีไม้พุ่ม ผักบุ้งทะเล หญ้า มีท้ังไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบ พรรณไม้บริเวณป่าชายหาด ได้แก่ สนทะเล กระทงิ ไมห้ ยนี �้ำ จิกทะเล ปอทะเล เปน็ ต้น จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุด คือ สุราษฎร์ธานี รองลงมาคือ นครศรีธรรมราช จังหวัดท่ีมี ป่าไม้น้อยท่ีสุด คือ ภูเก็ต จังหวัดที่มีป่าไม้หนาแน่นมากท่ีสุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีป่าไม้ เบาบางท่สี ดุ คอื ปัตตานี 17
18
๒ ผ้คู น สงั คม และบา้ นเมอื ง ประวตั ศิ าสตรค์ วามเปน็ มาของผคู้ น สงั คม และบา้ นเมอื งของภาคใต้ สมั พนั ธก์ บั ทำ� เลทตี่ งั้ ซ่ึงอยู่บนเส้นทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกมายาวนานต้ังแต่สมัยประวัติศาสตร์ ตอนต้นสืบเนื่องมา โดยมีผู้คนต้ังถ่ินฐานพัฒนาเป็นบ้านเมือง เช่น “ศรีวิชัย” “อาณาจักร ตามพรลงิ ค์” หรือนครศรีธรรมราช เปน็ ตน้ ในบริเวณพ้ืนที่ภาคใต้จึงพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจ�ำนวนมาก หลักฐานต่างๆ ที่พบมีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสนิ ทร์ ซ่งึ ปัจจัยสำ� คญั ในการที่มนุษยจ์ ะเลอื กทีใ่ ดทห่ี นงึ่ ส�ำหรับอยู่อาศัยหรือตั้งหลกั แหลง่ นนั้ กค็ อื ลกั ษณะทางภมู ศิ าสตร์ โดยในสมยั กอ่ นมนษุ ยต์ อ้ งพงึ่ พาธรรมชาตใิ นการดำ� รงชวี ติ จงึ ตอ้ ง ดชู ัยภูมกิ ารอยู่อาศยั ให้ดที ่ีสดุ ซง่ึ ภาคใตม้ พี ืน้ ที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยหลายแห่งด้วยกัน อย่างไรก็ดี ด้วยท�ำเลของภาคใต้จึงมีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ แตกตา่ งไปจากภมู ภิ าคอน่ื ๆ ของประเทศ และแมแ้ ตใ่ นภาคใตเ้ องกม็ คี วามซบั ซอ้ นทางวฒั นธรรม อนั เนอ่ื งมาจากสภาพภมู ศิ าสตร์ และประวตั ศิ าสตรค์ วามเปน็ มาของผคู้ นและบา้ นเมอื ง สงิ่ สำ� คญั ประการหนึ่งซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรมประเพณีของชาวใต้คือ ศาสนาและความเชื่อ ได้แก่ ศาสนาพทุ ธ ศาสนาอิสลาม และความเช่ือพ้ืนถิ่นที่เก่ยี วขอ้ งกับไสยศาสตร์ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาส�ำคัญของชาวภาคใต้ วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อของ ชาวใต้จึงเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา มีงานบุญเป็นประเพณีที่สำ� คัญมากที่สุด คือ ประเพณีท�ำบุญ เดือนสิบ และศาสนาส�ำคัญอีกศาสนาหน่ึงของชาวภาคใต้คือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งมีชุมชนชาว ไทยมุสลิมตั้งถิ่นฐานอาศัยรวมอยู่กับชาวไทยพุทธอย่างสงบสุข โดยเฉพาะในสี่จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จงั หวดั ปตั ตานี จังหวัดยะลา จงั หวดั นราธิวาส และสตลู มีประชากรส่วนใหญเ่ ป็นเชอ้ื สาย มาเลยแ์ ละนบั ถอื ศาสนาอิสลาม บ้านเมอื งเหลา่ น้ีในอดีตมีความสมั พันธ์กับมาเลเซยี อยา่ งใกลช้ ิด ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ จงึ เปน็ เอกลกั ษณข์ องตนเอง ผู้คน สังคม และบ้านเมืองของภาคใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นภาคใต้ฝั่งตะวันออก หรือฝ่งั อา่ วไทย กับภาคใต้ฝ่ังตะวนั ตก หรอื ฝ่งั อนั ดามนั 19
ปากน้ำ� อ่าวสชิ ล และแผน่ ดนิ ฝ่งั ทะเลตะวันออกของคาบสมทุ รไทย อ�ำเภอสิชล จงั หวดั นครศรธี รรมราช 20
ภาคใตฝ้ ัง่ ตะวนั ออก ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยเป็นแหล่งที่เกิดเป็นบ้านเมืองหนาแน่นและสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ บา้ นเมอื งในภาคกลาง ประเทศมาเลเซยี และประเทศอนิ โดนเี ซยี ในปจั จบุ นั ในภาคใตฝ้ ง่ั ตะวนั ออกน้ี มแี มน่ ำ้� สายสน้ั ๆ และมลี มมรสมุ ตะวนั ตกเฉยี งใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคม - มกราคม) พัดผ่าน ท�ำให้มีฝนตกมาก แม่น้�ำสายสั้น ๆ นี้ ไหลลงสู่แม่น้�ำใหญ่ท�ำให้เกิดสันทราย ซ่ึงเป็น บริเวณท่ีเหมาะสมในการตั้งถ่ินฐานของผู้คนและการเพาะปลูก จึงมีการตั้งชุมชนอยู่บริเวณเชิงภูเขา และบริเวณที่ราบริมฝั่งทะเล ดังได้พบแหล่ง โบราณคดีส�ำคัญ เช่น เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร เขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แหลมโพธ์ิ ต�ำบลพมุ เรยี ง อำ� เภอไชยา จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี เมอื งไชยา จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี เมอื งนครศรธี รรมราช นอกจากนี้ บริเวณสันทราย ยังมีร่องรอยการตั้งถ่ินฐานของชุมชนโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองพระเวยี ง ชุมชนโบราณทา่ ศาลา - สิชล ชมุ ชนโบราณทา่ เรือ ชมุ ชนโบราณบรเิ วณสทิงพระ จงั หวดั สงขลา เมอื งโบราณยะรงั จงั หวดั ปัตตานี ซ่ึงเป็นชมุ ชนเกา่ แก่ขนาดใหญ่ เป็นตน้ เน่ืองจากทางชายทะเลฝั่งตะวันออก เป็นชุมชนที่มีพัฒนาการของบ้านเมืองมาอย่างยาวนานและสืบเน่ืองมาจนถึงปัจจุบัน จึงมีทั้งชุมชน ที่มคี วามสืบเนอื่ งทางวัฒนธรรมจนเกดิ เป็นทอ้ งถน่ิ ต่าง ๆ และชมุ ชนซึ่งเปน็ ศูนยก์ ลางความเจริญแห่งใหม่ และได้กลายเปน็ ท้องถิน่ ส�ำคญั ในภาคใต้ ในปัจจบุ นั เช่น เมืองนครศรีธรรมราช เมอื งสุราษฎรธ์ านี เมอื งสงขลา เมืองหาดใหญ่ เมืองพัทลงุ เปน็ ตน้ ซึง่ เมอื งตา่ งๆ เหลา่ นี้ เปน็ ศูนยก์ ลางสำ� คัญ ของภาคใตใ้ นปจั จบุ นั จงึ สง่ ผลใหเ้ มอื งตา่ ง ๆ ดงั กลา่ วขา้ งตน้ นี้ เปน็ ตวั แทนของทอ้ งถนิ่ ภาคใตอ้ นั มเี อกลกั ษณใ์ นปจั จบุ นั อยา่ งไรกด็ ี บางเมอื งในอดตี ทเี่ คยเปน็ ศูนย์กลางและชมุ ชนขนาดใหญ่ แตใ่ นปัจจบุ นั เปน็ เพยี งชมุ ชนขนาดเลก็ ลงมาในระดับอ�ำเภอเท่าน้นั เชน่ เมอื งไชยา เมืองพุนพนิ เป็นต้น โบราณสถานวดั โมคลาน อำ� เภอท่าศาลา จังหวดั นครศรธี รรมราช เมืองโบราณยะรัง อำ� เภอยะรงั จงั หวัดปัตตานี 21
ภาคใตฝ้ ั่งตะวนั ตก ชายฝั่งตะวันตก หรือฝั่งอันดามัน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ท่ีแตกต่างจากฝั่งตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลบริเวณน้ี เกิดจากการยุบตัวท�ำให้เกิดอ่าวเว้า ๆ แหว่ง ๆ หาดทราย คอ่ นข้างชนั และแคบ พน้ื ทส่ี ว่ นใหญ่เป็นภเู ขา อีกทง้ั ยังมีคล่ืนลมแรง ทำ� ให้ชมุ ชนขยายตัวไดย้ าก เน่ืองจากมีพื้นท่ีจ�ำกัด จึงเป็นท่ีต้ังของชุมชนขนาดเล็ก ถึงแม้จะมีการต้ังถ่ินฐานมาต้ังแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์แต่ไม่เหมาะแก่การสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ และเน่ืองจากบริเวณดังกล่าว อยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น จึงได้พบหลักฐานทางโบราณคดีว่า ได้เกิดเมืองท่าพาณิชย์นานาชาติท่ีมีชาวต่างประเทศเข้ามา ตดิ ตอ่ ค้าขายเป็นจำ� นวนมาก ดงั ตัวอย่างแหลง่ โบราณคดีสำ� คญั เชน่ เมอื งตะกั่วปา่ จงั หวดั พังงา บ้านทงุ่ ตกึ (เหมืองทอง) ตำ� บลเกาะคอ จังหวัดพังงา คลองทอ่ ม จังหวัดกระบ่ี ภเู ขาทอง จังหวดั ระนอง 22
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้จะพบหลักฐานโบราณคดีที่มีอายุตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น แต่ไม่เหมาะแก่การสร้างอาณาจักร ขนาดใหญเ่ หมอื นฝง่ั ตะวนั ออก การตงั้ หลกั แหลง่ ของชมุ ชนในปจั จบุ นั เพงิ่ มาพฒั นาขน้ึ ในสมยั หลงั โดยเฉพาะในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อันเนื่องมาจากการท�ำเหมืองแร่ดีบุกท่ีเกิดข้ึนในแหลมมลายู ท�ำใหช้ าวจนี ไดเ้ ขา้ มาทำ� เหมอื งแร่ และท�ำสวนยาง จึงท�ำให้เกิดเมอื งต่าง ๆ ขน้ึ หลายเมือง เชน่ เมืองระนอง เมืองตะกวั่ ป่า เมอื งพงั งา และเมอื งกระบี่ ส่งผลใหว้ ัฒนธรรมท้องถ่ินของชาวภาคใต้ ฝั่งอันดามันมีลักษณะท่ีเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ ท้ังจีน ไทย มาเลย์ และ กลมุ่ พืน้ เมืองเดิม เชน่ ชาวเล เป็นต้น 23
“ศรวี ชิ ัย” ในประวตั ศิ าสตร์ภาคใต้ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นดิน ต่อเนื่องมาจากดินแดนภาคพ้ืนทวีปที่ย่ืนออกไปในทะเล จึงเป็นภูมิศาสตร์ส�ำคัญท่ีท�ำให้พื้นที่ บรเิ วณนี้พบหลกั ฐานการตดิ ต่อคา้ ขายของมนุษยใ์ นยุคสมยั ตา่ ง ๆ ตงั้ แต่สมยั กอ่ นประวัติศาสตร์ จนกระท่ังเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ได้ปรากฏศิลปวัฒนธรรมที่มีรูปแบบเฉพาะของตนเอง ทเี่ รยี กกนั วา่ “ศรวี ชิ ยั ” ซง่ึ เปน็ ยคุ สมยั หนง่ึ ในการจดั แบง่ ประวตั ศิ าสตรแ์ ละโบราณคดใี นประเทศไทย รวมทงั้ มคี วามสัมพันธ์กับดนิ แดนข้างเคยี งในเขตหมเู่ กาะทะเลใตอ้ กี ดว้ ย บรเิ วณดา้ นหน้าถ้ำ� พญานาค อำ� เภอเมอื งกระบ่ี จงั หวดั กระบ่ี 24
ภาพเขียนสี ภาพเรือคลา้ ยสำ� เภาจนี (ซ้าย) และภาพเรือใบ (ขวา) แหลง่ ภาพเขียนสี ถ้ำ� พญานาค อำ� เภอเมอื งกระบี่ จังหวดั กระบ่ี จากหลักฐานทางโบราณคดีอาจกลา่ วได้วา่ เม่อื ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว กลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนคาบสมุทรภาคใต้จะอาศัยอยู่บริเวณถ�้ำของภูเขาหินปูน ซง่ึ กระจายอย่ทู ัว่ ไป เชน่ ในเขตจังหวัดชมุ พร จงั หวดั กระบ่ี จงั หวัดนครศรีธรรมราช และจงั หวดั สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ดังพบหลักฐานว่า ผู้คนในสมัยนี้ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ เคร่ืองมือหินขัด รู้จักการท�ำภาชนะดินเผา และการท�ำผ้าจากเส้นใยของเปลือกไม้ ตลอดจนรู้จักการขัดแต่งหิน และเปลือกหอยเพื่อใชเ้ ปน็ เครือ่ งประดบั นอกจากน้ี ยงั ไดพ้ บภาพเขยี นสใี นถำ�้ ตา่ ง ๆ เชน่ ทถ่ี ำ้� ผหี วั โต อำ� เภออา่ วลกึ จงั หวดั กระบ่ี ท่ีเขาเขยี น อ�ำเภอเมอื งพงั งา จงั หวัดพังงา และทเี่ กาะทะลุ อ�ำเภอตะก่ัวทุ่ง จังหวัดพงั งา เป็นตน้ กลมุ่ ชนสมยั กอ่ นประวตั ศิ าสตรน์ ้ี ยงั ดำ� รงชวี ติ แบบดงั้ เดมิ สบื เนอื่ งมาจนถงึ เมอ่ื ประมาณ ๓,๐๐๐ ปี มาแลว้ หรอื ๕๐๐ ปี ก่อนพทุ ธกาล จึงเคลอ่ื นย้ายลงมาต้งั ถิ่นฐานบนพื้นท่รี าบและหมเู่ กาะตา่ ง ๆ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ บรเิ วณทร่ี าบลมุ่ เหมาะแกก่ ารเพาะปลกู ของชายฝง่ั ทะเลดา้ นตะวนั ออก ลกั ษณะ ของสังคมพัฒนาไปเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพ้ืนฐานส�ำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองเข้าสู่ สมัยประวัติศาสตร์ 25
เส้นทางในการเดินเรอื ทางทะเล ศรสิ ต์ศตวรรษที่ ๑ ท่ีมา : บณุ ยฤทธ์ิ ฉายสุวรรณ ,๒๕๕๐ ,หนา้ ๑๒๖. 26
ภาพเขยี นสี ภาพเรือคล้ายเรอื ก�ำปั่นยโุ รป แหล่งภาพเขยี นสี ถำ้� พญานาค อ�ำเภอกระบ่ี จังหวัดกระบี่ จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ กลองมโหระทึกส�ำริดและโบราณวัตถุในวัฒนธรรม ดองซอน แสดงว่าเมื่อราวพุทธศตวรรษท่ี ๕ ผู้คนในดินแดนภาคใต้ได้มีการติดต่อกับชุมชน วัฒนธรรมโลหะในดินแดนข้างเคียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มชน สมัยนี้ มคี วามสามารถในการเดนิ ทางทางทะเลและรจู้ กั การใช้ประโยชน์จากลมมรสุม จนกระทง่ั ราวพุทธศตวรรษท่ี ๘ - ๑๒ ได้พบหลักฐานการติดต่อคา้ ขายอย่างกว้างขวางในคาบสมุทรภาคใต้ ดังพบโบราณวัตถุจากต่างชาติหลากหลายวัฒนธรรม เชน่ กรกี โรมัน อาหรับ อินเดยี และจีน เนื่องด้วยคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยตั้งอยู่ในต�ำแหน่งเกือบก่ึงกลางของเส้นทาง เดินเรือระหว่างจีนกับอินเดีย ดังนั้นการเดินทางติดต่อค้าขายโดยทางเรือจึงจ�ำเป็นต้องผ่านและ แวะพักตามเมืองท่า และชุมชนต่าง ๆ เป็นระยะไปตามรายทาง ส่งผลให้เมืองท่าและชุมชน บนคาบสมทุ รภาคใตม้ โี อกาสตดิ ตอ่ และรบั อารยธรรมจากชนชาตติ า่ ง ๆ ทเี่ ขา้ มาตดิ ตอ่ คา้ ขายดว้ ย ในชว่ งระยะเวลานเ้ี กดิ เมอื งทา่ สำ� คญั ชายฝง่ั ทะเล และเมอื งตอนในคาบสมทุ รตามเสน้ ทางขนถา่ ย สนิ ค้าหลายแหง่ เมืองท่าสำ� คัญทางชายฝ่งั ทะเลตะวนั ตก ไดแ้ ก่ เมืองตักโกลา 27
ลกู ปดั สตี า่ ง ๆ พอ่ คา้ วาณิชในเรือเดนิ ทะเล จิตรกรรมฝาผนังทวี่ ัดมัชฌิมาราม วดั ไทยในอำ� เภอตุมปตั รฐั เกอลันตนั มาเลเซยี 28 ส่วนทางตะวันออก ปรากฏชื่ออยู่หลายเมือง เช่น ดันซุน ลังเจียซู พันพัน ฉีตู มลายู โหลิง โฟชิ (ชิลิโฟชิ) ตันมาหลิง เป็นต้น ชุมชนเหล่านี้เจริญข้ึนจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย ทางทะเลกับต่างชาติ เรือที่เข้ามาค้าขายจะจอดพักเพ่ือขนถ่ายสินค้า และหลบคล่ืนลม รวมทั้ง หาเสบียง และแลกเปลี่ยนค้าขาย เป็นเสมือนตลาดกลางท่ีจะหาซ้ือสินค้าต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งน้ี เปน็ ผลมาจากความผนั ผวนทางการเมอื งในเสน้ ทางการค้าสายแพรไหมทางบก บา้ นเมืองตา่ ง ๆ จึงหันมาใช้เสน้ ทางการค้าทางทะเล หลกั ฐานทางโบราณคดตี า่ งวฒั นธรรมทเี่ กา่ แกท่ สี่ ดุ มอี ายรุ าวพทุ ธศตวรรษที่ ๑ - ๓ ไดแ้ ก่ ลูกปัดแกว้ มตี าของโรมนั พบในแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด อำ� เภอคลองทอ่ ม จงั หวัดกระบ่ี และ คนั ฉ่องส�ำรดิ จนี สมยั ราชวงศฮ์ ่ัน พ.ศ. ๓๓๗ - ๗๖๓ พบท่ีอ�ำเภอพปิ ูน จังหวดั นครศรีธรรมราช สินค้าทีเ่ ปน็ ทต่ี อ้ งการของพอ่ คา้ ชาวตะวนั ตกที่เขา้ มาติดตอ่ ค้าขายได้แก่ ผ้าไหม เครอื่ งถว้ ยชาม และของป่าพ้ืนเมือง เช่น เคร่ืองเทศ ส่วนสินค้าที่พ่อค้าจีนต้องการส่วนใหญ่เป็นของมีค่า เช่น ไขม่ ุก นอแรด อญั มณี และเครอื่ งเทศต่าง ๆ
ทมี่ า : บณุ ยฤทธิ์ ฉายสวุ รรณ ,๒๕๕๐ ,หนา้ ๑๓๘. 29
ลูกปดั แก้ว เขยี นลายรปู นก อายุประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑ พบท่ี ควนลกู ปัด อำ� เภอคลองทอ่ ม จังหวดั กระบ่ี 30
ลกู ปดั ทินคาร์เนเลียน รูปสงิ ห์และเต่า อายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๖ - ๑๑ พบท่ี ควนลูกปัด อำ� เภอคลองท่อม จังหวดั กระบ่ี 31
ชว่ งระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๐ เขาสามแก้ว จงั หวัดชมุ พร เปน็ แหลง่ ลูกปดั แกว้ และหินมีคา่ ทสี่ ำ� คัญ เช่น คาร์นีเลยี น ท�ำเปน็ ลายเสน้ ฝังลงไปบนเนื้อหนิ และโอนิกซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยงั พบหลักฐานท่ีแสดงถงึ การติดตอ่ กบั อนิ เดีย คอื จารึกอกั ษรพราหมี การตดิ ตอ่ กับเวียดนาม คอื กลองมโหระทกึ ทเี่ กาะคอเขา จงั หวดั พงั งา ลกั ษณะเปน็ เกาะอยใู่ กลป้ ากนำ�้ ตะกวั่ ปา่ ชมุ ชนทเี่ กาะคอเขานี้ มกี ารตดิ ตอ่ สมั พนั ธก์ บั ชมุ ชนทแ่ี หลมโพธิ ์ อ�ำเภอไชยา จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี ซ่งึ อยอู่ ีกฝั่งหนึ่งของคอคอดกระ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ ชุมชนในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้มีการเปล่ียนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว อันเกิดจากการส่ังสมความรู้ จากภายในประกอบกับการติดตอ่ กบั ชาวตา่ งชาติ ท�ำใหช้ ุมชน หรือสถานีการค้าตา่ ง ๆ ได้พฒั นาขน้ึ เปน็ บา้ นเมอื ง มีผู้ปกครองหรือเจ้าเมือง และ มักรับรปู แบบวฒั นธรรมจากอนิ เดยี มาใชเ้ กอื บท้งั ส้นิ แผนที่แหลง่ โบราณคดที ่ีมคี วามสัมพันธต์ ามเส้นทางลำ� นำ�้ เสน้ ทางข้ามคาบสมุทรตะกว่ั ปา่ - อ่าวบา้ นดอน ทม่ี า : บุณยฤทธ์ิ ฉายสวุ รรณ ,๒๕๕๐ ,หน้า ๑๕๘. 32
ภาชนะดนิ เผามีปุ่มยืน่ ท่ฐี าน อายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๕ - ๖ พบท่ี แหลง่ โบราณคดถี ้�ำเสอื อ�ำเภอละอ่นุ จังหวัดระนอง จห้ี ้อยคอรูปสัตว์ ๒ หวั พบที่ แหล่งเขาเสก อ�ำเภอหลงั สวน จังหวดั ชุมพร พทุ ธศตวรรษที่ ๕ - ๖ 33
แผนที่แสดงต�ำแหนง่ แหลง่ โบราณคดแี ละโบราณวตั ถสุ ำ� คัญบรเิ วณตอนกลางคาบสมทุ รมลายู ที่มา : บณุ ยฤทธ์ิ ฉายสวุ รรณ ,๒๕๕๐ ,หนา้ ๑๒๔. 34
เหรียญส�ำรดิ ดา้ นหนึ่งเป็นรปู วัว สว่ นอกี ดา้ นหนงึ่ เป็นรปู เรอื อายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๖ - ๑๑ พบท่ี ควนลกู ปดั อำ� เภอคลองทอ่ ม จงั หวดั กระบี่ เหรยี ญส�ำรดิ เลียนแบบเหรียญโรมนั อายุประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑ พบท่ี ควนลกู ปดั อ�ำเภอคลองทอ่ ม จงั หวดั กระบี่ 35
ตราประทบั หนิ สีน้ำ� ตาล ตวั อกั ษรปลั ลวะ ภาษาและอายุไมส่ ามารถระบไุ ด้ พบที่ ควนลูกปัด อำ� เภอคลองทอ่ ม จงั หวัดกระบี่ ตราประทบั อกั ษรพราหมี พบท่ี ควนลูกปัด อำ� เภอคลองทอ่ ม จังหวดั กระบ่ี 36
ตราประทบั หนิ คารเ์ นเลยี น อกั ษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ พบท่ี ควนลูกปัด อำ� เภอคลองทอ่ ม จงั หวดั กระบี่ หนิ คาร์เนเลยี นจ�ำหลกั รปู ไก่คู่หันหนา้ เขา้ หากัน อายปุ ระมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑ พบที่ ควนลูกปดั อ�ำเภอคลองท่อม จังหวดั กระบี่ 37
ค�ำว่า “ศรีวิชัย” นี้ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (George Cædès) ผเู้ ชยี่ วชาญการอา่ นจารกึ และประวตั ศิ าสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวฝร่ังเศส บัญญัติศัพท์ขึ้น เม่ือ พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยน�ำเสนอบทความเร่อื ง ราชอาณาจักร ศรีวิชัย ตีพิมพ์ในวารสารส�ำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ ชาวโลกจงึ ไดร้ จู้ กั อาณาจกั รทย่ี งิ่ ใหญค่ รอบคลมุ พน้ื ทคี่ าบสมทุ ร และหมเู่ กาะทะเลใต้ อกี ทงั้ ไดร้ ะบวุ า่ ศนู ยก์ ลางของอาณาจกั ร อยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา โดยได้ รวบรวมคำ� ตา่ งๆประกอบการสนั นษิ ฐานเชน่ ชอ่ื ลโี่ ฝซี่ ในบนั ทกึ ของหลวงจีนอ้ีจิง พุทธศตวรรษที่ ๑๓ จารึกภาษาสันสกฤต “ศรีวิชัย” พบท่ีปาเล็มบัง จารึกหลักที่ ๒๓ วัดเสมาเมือง นครศรธี รรมราช บนั ทกึ อาหรับ “ศรีบูซา” และ “ซาบคั ” ความจรงิ แล้ว กอ่ นหน้านไ้ี ดม้ ีผศู้ ึกษาประวตั ศิ าสตร์ ของอาณาจักรน้ีอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่ได้เรียกว่า “ศรีวิชัย” ดังเช่นใน พ.ศ. ๒๒๖๑ บาทหลวงเรอโนโดต์ (Renaudot) ตพี มิ พค์ ำ� แปลจดหมายเหตกุ ารเดนิ ทางของชาวอาหรบั ๒ คน ซ่ึงเดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ พ.ศ. ๑๓๙๔ และ พ.ศ. ๑๔๘๖ ได้กล่าวถึงรัฐท่ีมีความส�ำคัญทางการค้า ตง้ั อยรู่ ะหวา่ งอนิ เดยี และจนี มนี ามวา่ “เซอรเ์ บซา” (Serbeza) หรือ “ศรีบูซา” (Sribusa) จารกึ วัดเสมาเมอื ง พบที่ วัดเสมาเมือง อำ� เภอเมืองนครศรีธรรมราช จงั หวดั นครศรีธรรมราช พุทธศักราช ๑๓๑๘ ศิลาจารกึ วดั เสมาเมอื ง ด้านท่ี ๒ กล่าวถึง มหาราชแห่งไศเลนฺทรวงฺศ พบทว่ี ดั เสมาเมอื ง อำ� เภอเมอื งนครศรธี รรมราช จงั หวัดนครศรธี รรมราช พุทธศตวรรษท่ี ๑๔ 38
สว่ นประกอบสถาปตั ยกรรม อทิ ธพิ ลศลิ ปะโจฬะ พบทซี่ ากโบราณสถานวดั โพธร์ิ า้ ง เมอื งโบราณพระเวยี ง อำ� เภอเมอื งนครศรธี รรมราช จงั หวดั นครศรธี รรมราช พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๖ - ๑๘ พ.ศ. ๒๔๓๙ ตากากสุ ุ (Takakusu) ชาวญปี่ นุ่ ไดแ้ ปลจดหมายเหตกุ ารเดนิ ทางไปสบื ทอด ศาสนาของพระภกิ ษจุ นี ชอ่ื อจ้ี งิ (I Ching) เรอ่ื งบนั ทกึ การปฏบิ ตั ธิ รรมในอนิ เดยี และหมเู่ กาะมลายู สง่ จากทะเลใตก้ ลับบา้ น (A Record of The Buddhist Religion as Practiced in India and The Malay Archipelago Sent Home From The Southern Sea) ตากากุสุ เรยี กชือ่ เมอื งว่า โภคะหรือศรโี ภคะ (Bhoga/Sri Bhoga) ซง่ึ ภายหลงั เซเดส์ เรียกว่า “ศรีวิชยั ” ศิลาจารึกวัดมเหยงค์ พบท่ี วดั มเหยงค์ (ร้าง) อ�ำเภอท่าศาลา จังหวดั นครศรีธรรมราช พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ จารึกดว้ ยอกั ษรปลั ลวะ ภาษาสนั สกฤต กล่าวถงึ การถวายอาหารแด่พระสงฆ์และนกั บวช รวมทั้งพราหมณอ์ คสั ติ หรือ อคสั ตยะ หรือพราหมณ์ชั้นสูง และอาจมกี ารบูชา (ปรัชญา) ปารมติ าด้วย 39
ศลิ าจารกึ วัดเสมาเมอื ง ดา้ นที่ ๒ พบทว่ี ดั เสมาเมอื ง อ�ำเภอเมอื งนครศรธี รรมราช จังหวดั นครศรีธรรมราช พทุ ธศตวรรษที่ ๑๔ พรรณนาความเกย่ี วกับ “ศรมี หาราช” ผอู้ ยู่ใน “ไศเลนฺทรวงศฺ ” ในเอกสารต่างชาติท่ีมีอายุอยู่ในช่วงเวลาต่างๆ ยังพบช่ือเมืองต่าง ๆ อีกจ�ำนวนมากท่ีอาจมีความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรโบราณที่เรียกว่า “ศรีวชิ ัย” ได้แก่ จดหมายเหตุปโตเลมี จดหมายเหตุราชวงศ์ถงั พทุ ธศตวรรษที่ ๙ จดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง พ.ศ. ๑๐๕๘ บนั ทึกของมา้ ตวนลิน บันทกึ ของหลวงจีนอ้จี ิง จดหมายเหตุราชวงศ์ซ่ง พ.ศ. ๑๕๐๓ - ๑๘๒๓ หนังสอื จฟู านฉี บันทึกสุไลมาน นอกจากนี้ ในภาคใต้ยังพบจารึกท่ีร่วมสมัยกับศรีวิชัยทั้งหมด ๗ หลัก ได้แก่ จารึกหลักท่ี ๒๓ วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกหลกั ท่ี ๒๔ วดั หัวเวยี ง อ�ำเภอไชยา จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี จารกึ หลกั ท่ี ๒๕ จารึกฐานพระพทุ ธรปู นาคปรก วดั หัวเวยี ง อ�ำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี จารึกหลักท่ี ๒๖ จารึกเขาพระนารายณ์ อ�ำเภอตะก่ัวป่า จังหวัดพังงา จารึกหลักท่ี ๒๗ จารึกวัดมเหยงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกหลักท่ี ๒๘ จารกึ วดั มหาธาตุ นครศรีธรรมราช ซ่ึงไดม้ าจากวัดเสมาชยั จารกึ หลกั ที่ ๒๙ วัดมหาธาตุ จังหวดั นครศรีธรรมราช อีกทั้งยงั มจี ารกึ ที่พบในประเทศอินเดียและอินโดนีเซียอีกจ�ำนวนหนึ่ง ได้แก่ จารึกเมืองตันชอร์ ประเทศอินเดีย จารึกเกดุกัน บูกิต เมืองปาเล็มบัง สุมาตรา อินโดนเี ซยี จารกึ ตาลงั ตูโว ภาษามลายโู บราณ จารึกโกตา กาปูร์ ภาษามลายโู บราณ และจารึกเตลากา บาตู พบท่ีปาเล็มบงั อีกด้วย อย่างไรก็ตาม “ศรีวชิ ยั ” ต้งั อยทู่ ่ไี หน ยังเปน็ ประเดน็ ถกเถยี งกนั อยู่ในปจั จุบัน มขี ้อโต้แยง้ ของนกั วิชาการมากมายและบอ่ ยครง้ั ทีถ่ กู เจอื ปน ดว้ ยความคิดชาตินิยม เดมิ เชอื่ วา่ อาณาจักรศรีวชิ ัย เป็น “รฐั รวมศูนย”์ ท่มี ีศนู ย์กลางอยู่ที่เมืองปาเลม็ บัง ทางตอนใตบ้ นเกาะสุมาตรา มีกษตั รยิ ์ ราชวงศ์ไศเลนทร์ มอี �ำนาจปกครองและนับถือพทุ ธศาสนามหายานในลัทธติ นั ตระท่ีเรียกว่า “วชั รยาน” เป็นศาสนาส�ำคญั ในอดตี นกั วชิ าการสว่ นหนง่ึ เชอ่ื วา่ ศรวี ชิ ยั มศี นู ยก์ ลางอยทู่ ปี่ าเลม็ บงั ในตอนใตข้ องเกาะสมุ าตรา และนกั วชิ าการอกี สว่ นหนง่ึ เชอื่ วา่ อยทู่ เ่ี มอื ง ไชยา จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี 40
กลุม่ เทวาลยั ปรัมบานนั หรอื จนั ดีราราจงกรัง เทวาลัยฮินดูที่ใหญโ่ ตทสี่ ดุ บนเกาะชวา ตงั้ อยู่ทดี่ าเออราฮ์ อซี ตเิ มอวะ นครยกยากัรตา ชวาภาคกลาง อินโดนเี ซีย พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๔ จันดเี มนิ ดตุ พุทธสถานฝา่ ยมหายาน พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เมอื งมาเกอลัง ชวาภาคกลาง เกาะชวา อนิ โดนีเซีย 41
ปัจจุบันนักวิชาการเชื่อว่า ศรีวิชัยไม่ใช่ช่ืออาณาจักรท่ีมีศูนย์กลางของอ�ำนาจ ในการควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ท่ีเมืองใดเมืองหนึ่ง ศรีวิชัยจึงไม่มีศูนย์กลางแน่นอน และถาวร แต่จะเปล่ียนแปลงไปตามความเข้มแข็งของผู้น�ำแต่ละท้องถิ่นที่สามารถควบคุม ทางการเมอื งและการคา้ ดงั นน้ั ศนู ยก์ ลางของศรวี ชิ ยั อาจจอยทู่ ง้ั บรเิ วณหมเู่ กาะ หรอื บนคาบสมทุ ร มาเลย์ “ศรวี ชิ ยั ” จงึ ไมใ่ ชช่ อื่ อาณาจกั รทมี่ ศี นู ยก์ ลางอำ� นาจในการควบคมุ เศรษฐกจิ และการเมอื ง อยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียว แต่ “ศรีวิชัย” เป็นช่ือกว้าง ๆ ทางศิลปะและวัฒนธรรม กับกลุ่มบ้านเมืองใหญ่น้อยท่ีมีวัฒนธรรมบางประการร่วมกัน เช่น นับถือพุทธศาสนามหายาน ท่ีแสดงออกด้วยรูปแบบทางศลิ ปกรรมท่เี รยี กกนั ว่า “ศลิ ปกรรมศรีวิชัย” พระนางจุนที หรือจุนทา พทุ ธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ ไมท่ ราบทม่ี า พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวพระราชทาน 42
พระนางตารา สำ� รดิ ดา้ นหลงั ประภาวลมี ีอักขระจารึก อายพุ ุทธศตวรรษท่ี ๑๔ พระโพธสิ ตั ว์ ส�ำริด ศลิ ปะศรวี ชิ ัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ พบที่ อำ� เภอสทิงพระ จงั หวดั สงขลา พบท่ี อำ� เภอพุนพิน จงั หวดั สุราษฎรธ์ านี ถ้าหากกลุ่มบ้านเมืองน้อยใหญ่ที่มีรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกันในช่ือ “ศรีวิชัย” นี้จะมีความเก่ียวข้องกันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแลว้ กลุ่มบา้ นเมืองเหล่านั้นไม่ว่าจะต้ังบนคาบสมทุ ร หรอื บนหมูเ่ กาะแห่งใดแหง่ หน่ึงก็ตาม ต่างจะมคี วามสัมพนั ธ์เกย่ี วขอ้ งกันในลักษณะ ซึ่งมศี ูนยก์ ลางของอำ� นาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ การเมืองแต่ละยุคแตล่ ะสมยั ซึง่ ศนู ยก์ ลางอำ� นาจสามารถเปล่ยี นแปลงได้ ในแต่ละยุคสมัยไม่มีอ�ำนาจที่แท้จริงในการปกครอง บ้านเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ห่างออกไปจึงมีอิสระในการปกครองตนเองค่อนข้างสมบูรณ์ แต่จะมี การยอมรับเพอื่ เขา้ รว่ มอยูก่ นั ด้วยผลประโยชน์ทางการคา้ และมีความเลือ่ มใสศรัทธาในสิง่ เดยี วกนั 43
พระนางปรชั ญาปารมติ า ส�ำริด อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ พบที่ ตำ� บลท่าเรือ อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวดั นครศรีธรรมราช 44
อาจกล่าวไดว้ า่ “ศรวี ชิ ยั ” เป็นสหพันธ์หมเู่ กาะของพวกทีอ่ าศยั อยู่ในทะเล ชุมชนตาม ชายฝั่งทะเล ควบคุมการค้าแถบช่องแคบมะละกา และเป็นคนกลางในการติดต่อค้าขายกับจีน ขณะเดยี วกนั ยงั มบี ทบาทสำ� คญั ในการขยายเสน้ ทางการคา้ เครอื่ งเทศสหู่ มเู่ กาะและกลมุ่ เกาะยอ่ ย ทางดา้ นตะวนั ออกอยา่ งเปน็ รปู ธรรม ดงั นนั้ ศรวี ชิ ยั เปน็ ชมุ ชนของชาวนำ�้ ซง่ึ มวี ถิ ชี วี ติ และพฒั นา ทักษะการเดินเรือและการค้าท่ีสัมพันธ์กับน่านทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการใช้ชีวิต การเดนิ เรอื ของชมุ ชนชาวนำ�้ ขน้ึ อยกู่ บั ระบบลมมรสมุ ในมหาสมทุ รอนิ เดยี ซงึ่ เปน็ ตวั กำ� หนดเวลา เดนิ เรือ ระยะทาง รวมทง้ั เสน้ ทางในการเดนิ เรอื ชุมชนชาวน�้ำน้ี มักอยู่กระจายอยู่ตามริมฝั่งทะเลมหาสมุทรในอาณาบริเวณตามชายฝั่ง หรอื ทม่ี ที างนำ�้ ตดิ ตอ่ ทะเลไดไ้ มห่ า่ งฝง่ั มากนกั บางชมุ ชนลอยเรอื อยเู่ ปน็ สงั คมเดยี วกม็ ี พบบรเิ วณ นา่ นนำ้� เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ และทางตะวนั ออกของมหาสมทุ รอนิ เดยี ดงั ทไี่ ทยเรยี กวา่ ชาวเล และทางกลมุ่ ชนเรยี กตวั เองว่า โอลงั ราอุต หรอื อรุ คั ลาโวย้ พระวษิ ณุ หรอื พระนารายณ์ หนิ อายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๑๐ พบที่ จังหวัดนครศรธี รรมราช 45
ศาสนาความเช่ือในศรีวิชัย ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ปรากฏหลักฐานการเผยแผ่ พทุ ธศาสนาจากอนิ เดยี ไปยงั เกาะสมุ าตราและชวา โดยพระภกิ ษคุ ณุ วรมนั จากแคชเมยี รไ์ ดเ้ ดนิ ทาง มาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมูลสรวาสติวาท ซึ่งเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทท่ีใช้ภาษาสันสกฤต เม่ือ พ.ศ. ๙๖๖ สอดคล้องกับบันทึกของหลวงจีนอี้จิงท่ีว่าพุทธศาสนาในประเทศแห่งทะเลใต้ แทบทง้ั สน้ิ เปน็ แบบเถรวาท ในปลายพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ พระธรรมปาละ ซงึ่ เคยไปศกึ ษาพระธรรม ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาได้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาท่ีเกาะสุมาตราและชวา ต่อมาราวกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๓ พระภิกษุจากอินเดียใต้ คือพระวัชรโพธิ ได้เดินทางมาเผยแผ่ลัทธิตันตระ ทเ่ี กาะชวาและสุมาตรา ส่วนบนคาบสมุทรมลายูได้พบหลักฐานพุทธศาสนาที่มีอายุเก่าแก่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ เชน่ กนั โดยใชเ้ สน้ ทางการเผยแผพ่ ทุ ธศาสนาขา้ มคาบสมทุ รหลายเสน้ ทาง เชน่ เสน้ ทาง สายตะก่ัวป่าและคลองท่อมไปออกอ่าวบ้านดอน ซึ่งมีศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ส�ำคัญคือ เมืองไชยา ดังได้พบหลักฐานเป็นจ�ำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบคุปตะพบท่ี เมืองไชยา และเมอื งเวียงสระ รปู แบบทางศลิ ปกรรมของโบราณสถาน โบราณวตั ถทุ ่พี บในดินแดนคาบสมทุ ร เรยี กกัน ในช่ือ “ศิลปะศรีวิชัย” ซ่ึงมีอายุต้ังแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ศิลปะชวาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ นับเป็นหลักฐานส�ำคัญแสดงว่า พุทธศาสนาของศรีวิชัยเป็น พุทธศาสนามหายาน ต่อมาในต้นพุทธศตวรรษท่ี ๑๔ ปรากฏเด่นชัดมากข้ึนเน่ืองจากกษัตริย์ ในราชวงศ์ไศเลนทร์ที่ปกครองศรีวิชัยและชวาเป็นองค์อุปถัมภ์ของพุทธศาสนาสกุลวัชรยาน ซ่ึงมีศูนย์กลางอยู่ในอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชวงศ์ปาละ พระพุทธศาสนาได้ แพรห่ ลายมาจากมหาวิทยาลยั นาลนั ทา ในรฐั พหิ าร นกิ ายนเี้ ปน็ แรงบนั ดาลใจสำ� คัญในการสรา้ ง ศาสนสถานบนคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะ นอกจากนี้ ท่ีมหาวิทยาลัยนาลันทาได้พบจารึก พ.ศ. ๑๔๐๓ กล่าวว่า พระเจา้ พลบตุ รเทวะ กษตั รยิ ์แห่งศรีวิชัย เชอ้ื สายราชวงศ์ไศเลนทร์ เปน็ ผู้สร้างวัดไว้ส�ำหรับผู้แสวงบุญชาวศรีวิชัยท่ีไปศึกษาพระธรรมท่ีนั่น และพระเจ้าเทวปาละ ได้มอบรายได้จากหมู่บ้านจ�ำนวนหน่ึงเป็นค่าดูแลรักษา หลักฐานดังกล่าวแสดงถึงความสัมพันธ์ ทางศาสนาระหว่างศรวี ิชยั และปาละได้เป็นอยา่ งดี 46
พระวษิ ณุ พบท่ี บ้านพงั ก�ำ ต�ำบลฉลอง อ�ำเภอสชิ ล จังหวัดนครศรีธรรมราช พทุ ธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ 47
พระโพธิสตั วอ์ วโลกเิ ตศวร (ปทั มปาณี) สำ� ริด อายุประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๒ พบท่ี อำ� เภอไชยา จงั หวดั สรุ าษฎร์ธานี 48
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208