Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 2017-06-16-3-17-2455408

2017-06-16-3-17-2455408

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-05 21:43:21

Description: 2017-06-16-3-17-2455408

Search

Read the Text Version

เอกสารความรผู้ ดู้ �ำเนินการสปาเพอ่ื สุขภาพ จัดพิมพ์โดย กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ ทปี่ รึกษา : นายแพทย์วิศิษฎ์ ตง้ั นภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทยธ์ งชยั กรี ติหัตยากร รองอธิบดีกรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์ภานวุ ัฒน์ ปานเกตุ รองอธบิ ดกี รมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ ดร.ทนพ.กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ ผอู้ �ำนวยการกองสถานประกอบการเพอื่ สุขภาพ บรรณาธิการ : กรมสนับสนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข พิมพท์ ี่ : บรษิ ัท เอม็ เอส คอร์ปอเรชัน่ จ�ำกดั พิมพ์คร้ังที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จำ� นวนพมิ พ์ 2000 เล่ม ISBN

ค�ำนยิ มสมาคมไอสปา (International Spa Association: ISPA) เปน็ สมาคมท่ีกอ่ ต้ังเมอื่ ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) มสี มาชิกเปน็ สถานประกอบการสปาทกุ ประเภทกวา่ 70 ประเทศทวั่ โลก มนี โย บายการพัฒนาธุรกิจสปา บุคลากร และการบริการด้วยการสร้างเครือข่าย การแบ่งปันความรู้และ ประสบการณ์จากมืออาชีพ ISPA ให้ความหมาย สปา ว่า ‘เป็นสถานท่ีให้บริการที่ล้วนเสริมสร้าง สขุ ภาพกาย จติ ใจและจติ วญิ ญาณทดี่ ี (Spas are places devoted to overall well-being through a variety of professional services that encourage the renewal of mind, body and spirit) ISPA ให้ความส�าคัญต่อองค์ประกอบหลักในการเป็นสถานประกอบการสปาเพื่อ สขุ ภาพ 10 ประการ ซง่ึ จดั วา่ จา� เปน็ ในการใหบ้ รกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพ และทา� ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารพงึ พอใจ ไดแ้ ก่ 1) น้�า (water) ใช้น้�าให้บริการได้หลายรูปแบบ เช่น การอบไอน�้า การแช่ การอาบ น้�า หรือใช้น้�าเป็นส่วนประกอบในการให้บริการอ่ืน รวมถึงการตกแต่งสถานที่ด้วยน�้าเพื่อสร้าง บรรยากาศ และการดม่ื น�้าสะอาดเพื่อสขุ ภาพ 2) การบ�ารุงสุขภาพร่างกาย (nourishment) บริการอาหารและเคร่ืองดื่มเพื่อสุขภาพ สารอาหารบ�ารงุ สขุ ภาพ เป็นตน้ 3) การเคลอื่ นไหวและการออกก�าลงั กาย (movement and exercise) จัดกิจกรรมการ เคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางต่างๆ ในบริเวณสถานประกอบการ ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการ ท�างานของอวัยวะส�าคัญ สร้างความสดชื่นกระปร้ีกระเปร่าและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการจัด ให้มีหอ้ งออกกา� ลงั กาย (Fitness) แยกเปน็ สดั ส่วน เป็นต้น 4) การสัมผัส (touch) บริการด้วยสื่อสัมผัสท่ีสามารถสื่อสารความรู้สึกท่ีอบอุ่น ผ่อน คลาย และบา� บัดอาการปวดเม่ือย เชน่ การนวดกล้ามเน้ือ การนวดศรี ษะ การนวดเท้า เปน็ ตน้ 5) การบูรณาการ (integration) บูรณาการกิจกรรมเพื่อสุขภาพซึ่งสัมพันธ์และ สอดคลอ้ งกนั ระหว่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ กบั สภาพแวดลอ้ ม เชน่ โยคะ เป็นต้น 6) ศาสตร์ด้านความงาม (aesthetics) บริการบ�ารุงรักษาความงามกับกระบวนการใช้ ผลติ ภณั ฑ ์ พชื พรรณธรรมชาต ิ สมนุ ไพรต่างๆ ท่ีมผี ลตอ่ ความงาม เช่น การดูแลผวิ หน้า เปน็ ต้น 7) สภาพแวดล้อม (environment) สถานประกอบการสปาจ�าเป็นตอ้ งมีสภาพแวดลอ้ ม ที่ดี อุณหภูมิที่เหมาะสม อากาศถ่ายเทได้ดี มีการออกแบบเพ่ือสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึก ผ่อนคลาย 8) การแสดงออกถงึ ศิลปวฒั นธรรม (arts, culture and social) การออกแบบ ตกแต่ง ท้ังภายในและภายนอก และองค์ประกอบ ได้แก่ การก�าหนดสีภายนอกและภายในอาคาร เสียง ดนตร ี กลิ่นหอมธรรมชาติ เครือ่ งแตง่ กายพนักงาน ซ่งึ ออกแบบด้วยศาสตรแ์ ละศลิ ปท์ ่สี รา้ งสนุ ทรยี ์ กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 1ก3

1. ควำมหมำยของสคปำ� นิยม มีหลายทฤษฎีท่ีอธิบายถึงท่ีมาของสปา บางทฤษฎีได้กล่าวว่า สปามีรากศัพท์มาจาก ภาษ าลาตนิ วสา่ ขุ ภ‘Sาaพn\"uเปs ็นpeเรr่อื aงqใuกaล’ ห้ตรัวอืทเ่ี‘Sราaมniกั tมasองpไeมrเ่ aหq็นuaคsว’าแมปสลำ� วคา่ สัญขุ เภหามพอื จนากกบัสาทยี่เนร�้าา มกกัามรบอา�งขบ้าัดม ดว้ ย\"นปา�้ ล (าhยeจaมltูกh\" ขthอrงoตuวั gเรhา เwอaงter ดoังrน hนั้ eกaาliรnหgม tนั่ hใrสoใ่uจgตh่อ wสขุatภeาr)พ กจางึ เรปด็นูแลเรส่ือุขงภทาี่เรพาโตด้อยงกใาหร้คใวชาน้ ม้า� ส จ�ำาคกัญ ความในเชเบ่ือแือ้ ลงตะแ้นนเหวมคอืิดนทที่เก่เี ร่ียาวตขอ้ ้องงขอยานัจสส่อรุปงกครวะาจมกหทมกุ าวยนั กเวพ้าอ่ื งดๆใู บไหดน้วา้่าแ สลปะจาคมือูก ขกอางรเรบา�าวบา่ ัดมดสี ง่ิ้วใยดนผ้�าิดภปากยติ ใตก้ าหรรดือแู ไลมข่เพอ่อืงนทกัีจ่ บะไ�าดบ้รดั บี แกพ้ไทขยได์หท้ รันือผทู้เ่วชงี่ยทวี ชาญ รวมถงึ เปน็ สถานที่พกั ผอ่ นเพื่อให้ได้มาซึ่งสขุ ภาพ องค์ร วมท่ีดี กนาอรกสจง่ เาสกรนมิ ้ียสังขุ มภีทาฤพษกฎเ็ หีทม่ีกอืลน่าวกวา่าร ทSี่เpรaา ตม้อีทงี่มสา่อจงากกรคะ�าจวก่าทอุกีสปวันา เพ(E่อื sตpรaว)จ ใสนอภบาสษขุ าภวาอพลแลลูนะ ซง่ึ ปทัจจ�ำใบุ หัน้สเขุปภน็ าภพาขษอางทเรีใ่ ชา้อแยข่าง็ แงแรพง รห่ในลขายณใะนเหดลยี าวยกพันื้นเมทอื่ ่ีขพอบงสปิง่รผะดิเทปศกเตบิจละเยไดยี ส้ มา มาีครวถารมักหษมาาไยดวท้ ่านั นท�้าว่ พงทุ ี แตเ่ นน่ิ ๆEncyclopedia Britannica, 2008 บันทึกความหมายของ สปา ว่า มาจากช่ือเมือง ‘Spa ’ เมอื งเลกก็ าๆรสท่งาเงสตริมะวดนัูแอลอสกขุ ภขอาพงปในรปะเจั ทจศุบเนับนล้เีเปย็นยี ทม สี่ ซนง่ึ ใมจแีขหองลปง่ นระา้� ชแารชห่ นลอายยา่แงหมง่ าทกม่ีปคีระณุ กสอมบบกตัับบิคา�วบามดั รู้ รักษใานใหเร้สอ่ื ุขงกภาารพดรแู ่าลงสกุขายภดาพีขึ้นก็ม คีหนลจาากกหตล่าางยเมมติือิขงจึ้นึงกนวิยา่ อมดเดตี ินทท่ีผา่างนไมปา ดค้ววยาเชม่ือรูใ้วน่ากกาารรดแชูแล่นส้�าแุขรภ่จาะพรทักท่ีษาาง โรคใกหรห้ มาสยนหับรสอื นดนุขี บึน้ ไรดิก้ า รสขุ ภาพได้รวบรวมในคู่มอื นี้โดยคณาจารย์ในสาขาตา่ งๆ ในการส่งเสรมิ สขุ ภาพ ทง้ั สสน้ิผนม ดใคงัจดินใวนนั้ ่าคก จคาวะา� ราเวดปมา่ ูแ็นห สลทมปสศิาา่งยท เจสแางึ รลงถิมใะกูหทสน้หุขฤา� นภษมว่าาฎพยใีเชงมกเ้ าร่ีายนยีกวกทกกสี่เวับปถ่าทา็นก่ีนมาผปรา้นู มขรำ� ะ่งุอดกเงนา้อคนน้บ�ากสกวาขุา่ารรภ รเาสพักพปอื่ษภสาาา ขุพคภลยร้วาาัฐพบนแ าเลซกละง่ึี่ยเมใเวชอื่อขน้กเ้อกชา�้ เดิงนปกกไน็ ดับาอต้รคงเร�จาคะว็บป์ห่าปรน ะว่ ักก‘ยนแอ�้ลำบ’ะ หลักต้ังแต่อดตี เรอื่ ยมา (de Vierville, 2003; Leavy and Bergel, 2003 cited in Wisnom & Capozio, 2012) รา่ งกาย จติ ใจค �าแวล่าะ จ‘ติ สวปญิ ำญ’ าเปณ็น (ทboี่รูd้จyัก,แ mพiรn่หdล aาnยdแ sลpะiชriัดt)เ จดนว้ ยขวึ้นนธิ ากี วยา่าแรเตพปา่ ็นทงๆบย รวเิชกิศน่าษิ ร กเฎพารื่อตนสั้งวุขนดภเภพาาพอ่ื กสขรขุ อภงาทพ้ัง การใช้น้�าเพ่ือสุขภาพ การน�าส่วนประกอบของพืชธรรมชาอตธิมิบาดเสกี รริมมคสุณนปบั รสะโนยุนชบน์รตกิ่อาร่ารงสกขุ าภยา กพาร บริโภคอาหารและเคร่ืองดื่มเพ่ือสุขภาพ การออกก�าลังกายเพื่อสุขภาพ การฝึกสมาธิ รวมทั้งการ บริการเพื่อสขุ ภาพและความงาม เปน็ ต้น มีผลตอ่ ประสาทสัมผสั ท้ัง 5 ไดแ้ ก่ รูป รส กลน่ิ เสยี งและ สัมผัส จากประโยชน์ที่ได้รับ ท�าให้ภาคธุรกิจรวมตัวกันเพ่ือกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการมาตรฐานการ บรกิ ารทเ่ี อื้อประโยชนต์ อ่ สุขภาพมากขนึ้ การรวมตัวเป็นสมาคม ชมรมเกิดขน้ึ ทั่วไป มี 2 สมาคมใน ภาคพนื้ ยุโรปและอเมริกาท่ีกา� หนดแนวคิด วตั ถุประสงค์ และเผยแพรค่ วามรูอ้ ย่างชัดเจน สมาคมยูโรเป้ียนสปา (European Spas Association: ESPA) เปน็ สมาคมท่ีประกอบ ด้วยสมาชิก 20 ราย จาก 19 ประเทศแถบยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสปาด้วยนิยามความ หมายว่า การบ�าบัดด้วยอุณหภูมิ หรือแร่ธาตุในน้�า ESPA เน้นขอบข่ายการให้บริการว่า เพื่อการ บ�าบัดรกั ษามากกว่าการผอ่ นคลาย 1ข2 เอกสารความรู้ ผ้ดู ำาเนนิ การสปาเพ่ือสุขภาพ

ค�ำน�ำสมาคมไอสปา (International Spa Association: ISPA) เปน็ สมาคมทกี่ อ่ ตง้ั เมอ่ื ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) มีสมาชกิ เปน็ สถานประกอบการสปาทกุ ประเภทกวา่ 70 ประเทศทว่ั โลก มนี โย บายการพัฒนาธุรกิจสปา บุคลากร และการบริการด้วยการสร้างเครือข่าย การแบ่งปันความรู้และ ดไ ดา้ ร้นับกaปสคา ขุรวรvกะภาดaสจิมาrูแบiกนพลeกายิtกสyรามขุา สรยภoณแถ fาจล า์จพpติะนาดrใยกoจป้วอมfแยรมeืลอะsรศะอsกับาจiาoสอจติชnตาบวีพaรกญิ ก l์ผ ศIญาsรู้SลิรeบัาPปrเณบvพA์ iรแทื่อ cกิลใeดี่สหาะs ีุขรค( ้คtSทภณุhวp้ังaาาปaชtมพรs าeห ะวanโมไrยcทeาชo ยยpนuม l์จrแaสีพaาลcปgกัฒeะeาพsชน ชืtdาวhาสวe่ากeมvต าุน‘orา่ เรeไงtปจeพnช็นdาeรา สwกไตtทoถภเิaยพ าlมูo นมิ่ voผปิ ทขefสญั rึ้น่ีใมmaหญผlจi้บlสาn นwารแdมนิก,ลeีอ กาlbะlรบัตั -oวทรคbdฒั าี่ลวeyกา้วนi มnานaธรgเnเรปขส dรt็นยรh มไsาิมrทไpoยสทยiuตรrทยgัวi้าtี่hง) สงู ขึ้นเป็นล�ำดบั และเนื่องจากเปน็ กิจการท่ตี อ้ งเกี่ยวขอ้ งกับการดูแล สง่ เสริมสุขภาพโดยรวมของชาวไทย และชาวตา่ งชาติทI่เีSดPนิ Aท างใเหข้ค้าวมาามทสอ่ �างคเัญทตีย่ ว่อแอลงคะ์ปมราะรกบั อกบาหรดลัแูกลในสขุกภาราเพป็กนรสมถสานนับปสรนะุนกบอรบิกกาารรสสขุ ปภาาเพพ่ือ กมสตเพถ้อาร่อืตาะงสไนรทดนสบขุาปรขุ้ร้�ราภรวบัรภ 2าะงยหใ0าพกสบาพรใอกาอือรห บธ1านะใ้ม0ศากชบญุ คีร าป้นุไแุณา1ณรวร้�า)ลตเว้ะ ภเพสะเก่าปนปากือุ่ขา็น�้าพน็าสร“ รสมผ ุขผ(ซด่วา้ดูwภู้ใงึ่่ืมตนด�ำจาaจนรเปปพึงtดันฐe้�ามรรวินาrสพะะีนา่)นกะสก. จโศอดางใยอา� ชร.าา้คเบบจดปน้น2จ์ าใาเน็5คะ�้านยพก5ใใปวสกผ่อืนห9าฏนาอู้สก้บมบิรมับุขนารรใัตีผรภสญุิกู้หใหิลนาาหา้บทบนพนุรตบ้รักไัง้าก ิกรดคทษแากิา้ับห่เีรละาปรบใละรอชน็ ารผเื่น้ใพรผยกิา่นะ ูด้อ่ืนรารดูปรำ�สวกวแบัเขุันแานมลสภรบทินถะทาาบ่ี กึงกก2พด กาา7ลสเ รราแชอใบกรล่นนบตันแระ สปทิหกลยกถราา�แะาาาะใรยเตรนหปเจนอม่งปผ้ัดน็บสนิ รรพู้กไถไคบัะปา.อาศวกบรตนนา.สอรา�้ามท2ถบกิม ร5่ีาดากพกู้ น5ร้วาคราพ9ปรยะรวเงึรแรนาซพพะาชม้�าึง่่ือชกอ่ สคเสพบอใกาวจขุ บญัาม่ือา ภรไมกาสญดอารใารพนแ้าัตถร้าบกิง่ จากกรมสนับสนุน2บ)ร กิ ารสบขุ�ารภุงาสพุข”ภาพร่างกาย (nourishment) บริการอาหารและเครื่องด่ืมเพื่อสุขภาพ สากรอองาสหถาารบนา�ปรรุงะสกุขอภบากพา รเปเพ็นือ่ ตสน้ ขุ ภาพ กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสุขภาพ จึงรวบรวมความรเู้ บ้อื งต้น จากคณาจารย์ในส3า)ข กาาตรา่ เงคๆลอื่ทนี่เกไห่ียวขแ้อละงมการไวอใ้อนกเกอ�ากลสงั ากราคยว า(mมรo้ผู v้ดู eำ�mเนenนิ tก aาnรdส ปeาxเeพrcอ่ื iสseุข)ภ จาพดั กฉิจบกบั รนร้เีมพก่อื าร ประโยเคชลนื่อส์ น�ำไหหรวบั รผ่าู้ปงรกะากยอดบ้วกยาทร่าทผดู้างำ� ตเน่านิงๆกา รในสบปาริพเวื่สณขุ สภถาาพนแปลระเกออกบสกาารรค วใาหม้เรกนู้ ิด้ยี ปงั รเปะโ็นยแชนนว์ตท่อารงะปบฏบิบกตั าิ ร ส�ำหรทับ�าสงาถนาขบอนั งกอาวรัยศวกึ ะษส�าาคหัญน ว่สยร้างงาคนวภาามคสรดฐั ชแ่ืนลกะรภะาปครเี้กอรกะชเปนรผ่าูด้ แำ� ลเนะผิน่อกนาครสลปายากเพลอ่ื้ามสขุเนภื้อา พรใวหม้เถขึ้างกใจาใรนจัด หลักกใาหร้มแีหลอ้ ะงนอ�ำอไกปกบา� รู ลณังกาากยา ร(Fวiาtnงแesผsน) กแายรกสเอปน็นตสาดั มสก่วรนอ เบปอน็ งตค้นค์ วามรู้ เพือ่ ผลิตบุคลากรทม่ี คี ุณสมบัติ ตรงตามความต้อง4ก)า รกขาอรงสสัมถผาัสน ป(tรoะuกcอhบ) กบารริกเพาื่อรดส้วุขยภสา่ือพสตัมอ่ ผไปัสที่สามารถส่ือสารความรู้สึกท่ีอบอุ่น ผ่อน คลาย และบ�าบัดอาการปวดเมื่อย เช่น การนวดกล้ามเนื้อ การนวดศรี ษะ การนวดเทา้ เปน็ ตน้ 5) การบูรณาการ (integration) บูรณาการกิจกรรมเพื่อสุขภาพซ่ึงสัมพันธ์และ สอดคล้องกนั ระหวา่ งกาย จติ ใจ จติ วญิ ญาณ กับสภาพแวดลอ้ ม เชน่ โยคะ เปน็ ตน้ ผลติ ภัณฑ ์ พ6ืช) พศรารสณตธรร์ดร้ามนชคาวตาิ มสงมาุนมไ พผ(aร้อู eต�ำsา่ นtงhๆวeยt iทกcี่มsา)ีผร ลกบตอร่อิกงกคสาติ วรถตบาามิพ�านรงงปุงาษรมรัก ์ะเเษชกกา่นอิดค บฤกวกาทามราธดงร์ิ าแูเมพลกผอื่ ับวิสหกุขนรภะ้าาบ เพวปน น็ กตา้นรใช้ ที่ดี อุณหภูม7ิท) ่ีเสหภมาาพะแสวมด ลอ้อามกา (ศeถnv่าiยrเoทnไmดe้ดnี tม) ีกสาถราอนอปกรแพะบกฤบอศเบจพกกิ ่ือาาสรยรสน้าปงาบ2จ5ร�าร5เปย9า็นกตาอ้ ศงใมหีส้เภกาิดพคแววาดมลรู้ส้อึมก ผอ่ นคลาย 8) การแสดงออกถงึ ศลิ ปวัฒนธรรม (arts, culture and social) การออกแบบ ตกแต่ง ท้ังภายในและภายนอก และองค์ประกอบ ได้แก่ การก�าหนดสีภายนอกและภายในอาคาร เสียง ดนตร ี กลน่ิ หอมธรรมชาต ิ เคร่ืองแต่งกายพนักงาน ซึง่ ออกแบบด้วยศาสตร์และศิลป์ทีส่ ร้างสนุ ทรยี ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 1ค3



สารบญั เรอ่ื ง หนา้ คำ� นิยม ก ค�ำนำ� ค หมวดที่ 1 ความรทู้ ว่ั ไปเก่ียวกับสปาเพื่อสุขภาพ 1 1. ความหมายของสปา 4 2. ประวตั ิและวิวฒั นาการของสปา 7 3. ประเภทของสปาเพ่อื สุขภาพ 20 4. เอกลักษณส์ ปาไทย 22 5. สปากับการดแู ลสขุ ภาพองค์รวม 40 หมวดท่ี 2 การบริหารจัดการในสถานประกอบการสปาเพ่ือสุขภาพ 47 1. สถานการณ์การด�ำเนินธุรกจิ สปาเพื่อสุขภาพในประเทศไทย 50 2. การด�ำเนนิ การและบรหิ ารจัดการสปาเพื่อสขุ ภาพ 51 3. การบริหารจัดการดา้ นบคุ ลากรในธุรกจิ สปา 53 4. การบรหิ ารจดั การด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์ ในธุรกิจสปาเพอื่ สุขภาพ 67 5. การประเมนิ ผลการดำ� เนินงานในธุรกจิ สปา 72 6. การบริหารจดั การด้านการบรกิ าร ความพร้อมของพนกั งานผ้ใู ห้บรกิ ารสปา 73 หมวดที่ 3 การบรกิ ารในสปาเพอื่ สุขภาพ 77 1. การนวดเพอ่ื สุขภาพ 80 2. การใช้นำ�้ เพ่อื สุขภาพ 96 3. การบรกิ ารอืน่ ๆ อีกอย่างนอ้ ย 3 อย่างท่กี ำ� หนดไวใ้ นสถานประกอบการสปาเพอื่ สขุ ภาพ 114 3.1. การบรกิ ารทใี่ ชค้ วามรอ้ น 114 3.2. การบริการทใ่ี ช้ความเย็น 131 3.3. การบริการผิวกาย 131 3.4. การบริการผิวหนา้ 150

3.5. การบริการดว้ ยศาสตรแ์ ละศลิ ป์ท่ีท�ำให้เกดิ การผอ่ นคลาย 171 3.6. การออกกำ� ลงั กายเพ่ือสขุ ภาพ 172 3.7. โยคะ 177 3.8. ฤๅษีดดั ตน 181 3.9. การทำ� สมาธ ิ 191 3.10. โภชนาการเพือ่ สขุ ภาพ 205 3.11. สุคนธบำ� บัด 219 หมวดที่ 4 จรรยาบรรณวชิ าชพี 243 1. ความหมายของจรรยาบรรณวชิ าชพี 247 2. หลักสำ� คญั ของจรรยาบรรณวชิ าชีพ 249 3. การปฏบิ ัติตนใหอ้ ยใู่ นจรรยาบรรณวชิ าชพี 250 บรรณานุกรม 253 ภาคผนวก 263 พระราชบัญญตั คิ วบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 265 พระราชบัญญัตเิ ครอื่ งสำ� อาง พ.ศ.2558 308 พระราชบัญญัตสิ ถานประกอบการเพ่อื สุขภาพ พ.ศ.2559 330

1 ความรู้ทั่วไปสปาเพื่อสุขภาพ สปา (Spa) เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มีการ ใช้น้�ำและเทคนิคการนวดเพ่ือผ่อนคลายร่างกายและจิตใจเป็นองค์ประกอบหลัก ปัจจุบันสปา ได้รบั ความนิยมอยา่ งมากทัง้ ในประเทศทางตะวันตกและตะวันออก รวมถึงประเทศไทย สปาเปน็ ธรุ กจิ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การดแู ลสขุ ภาพทม่ี กี ารเจรญิ เตบิ โตและพฒั นาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ในการเรยี บเรยี ง เน้ือหาของหมวดความรู้ทั่วไปน้ี จะครอบคลุม ความหมายของสปา ประวัติและวิวัฒนาการของ สปาเพอื่ สขุ ภาพ ประเภทของสปาเพอ่ื สุขภาพ เอกลักษณ์ สปาไทย และสปากบั การดูแลสขุ ภาพ องค์รวม กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 3

1. ความหมายของสปา มีหลายทฤษฎีท่ีอธิบายถึงท่ีมาของสปา บางทฤษฎีได้กล่าวว่า สปามีรากศัพท์มาจาก ภาษาลาตินวา่ ‘Sanus per aqua’ หรอื ‘Sanitas per aquas’ แปลวา่ สขุ ภาพจากสายน้ำ� การบ�ำบดั ดว้ ยน้ำ� (health through water or healing through water) การดแู ลสุขภาพโดยการใชน้ ้ำ� จาก ความเช่ือและแนวคดิ ท่เี ก่ยี วข้องอาจสรปุ ความหมายกวา้ งๆ ได้วา่ สปาคอื การบำ� บดั ดว้ ยนำ้� ภายใต้ การดูแลของนักบ�ำบัด แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเป็นสถานท่ีพักผ่อนเพ่ือให้ได้มาซ่ึงสุขภาพ องค์รวมที่ดี นอกจากน้ียังมีทฤษฎีที่กล่าวว่า Spa มีท่ีมาจากค�ำว่าอีสปา (Espa) ในภาษาวอลลูน ซง่ึ ปจั จบุ นั เปน็ ภาษาท่ใี ช้อย่างแพร่หลายในหลายพืน้ ทขี่ องประเทศเบลเยยี ม มีความหมายวา่ น้ำ� พุ Encyclopedia Britannica, 2008 บันทึกความหมายของ สปา ว่า มาจากชื่อเมือง ‘Spa’ เมอื งเลก็ ๆทางตะวนั ออกของประเทศเบลเยยี ม ซง่ึ มแี หลง่ นำ้� แรห่ ลายแหง่ ทม่ี คี ณุ สมบตั บิ ำ� บดั รักษาให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น คนจากต่างเมืองจึงนิยมเดินทางไป ด้วยเชื่อว่าการแช่น้�ำแร่จะรักษา โรคให้หายหรอื ดขี ึ้นได ้ ความหมายและทฤษฎีเก่ียวกับที่มาของค�ำว่า สปา ล้วนเก่ียวข้องกับค�ำว่า ‘น้�ำ’ ทง้ั สน้ิ ดงั นนั้ คำ� วา่ สปา จงึ ถกู นำ� มาใชเ้ รยี กสถานประกอบการเพอ่ื สขุ ภาพ ซง่ึ ใชน้ ำ้� เปน็ องคป์ ระกอบ หลกั ต้งั แต่อดีตเรอ่ื ยมา (de Vierville, 2003; Leavy and Bergel, 2003 cited in Wisnom & Capozio, 2012) ค�ำว่า ‘สปา’ เป็นที่รู้จักแพร่หลายและชัดเจนขึ้น ว่าเป็นบริการเพ่ือสุขภาพของทั้ง รา่ งกาย จติ ใจ และจติ วญิ ญาณ (body, mind and spirit) ดว้ ยวธิ กี ารตา่ งๆ เชน่ การนวดเพอื่ สขุ ภาพ การใช้น�้ำเพื่อสุขภาพ การน�ำส่วนประกอบของพืชธรรมชาติมาเสริมคุณประโยชน์ต่อร่างกาย การ บริโภคอาหารและเคร่ืองดื่มเพื่อสุขภาพ การออกก�ำลังกายเพ่ือสุขภาพ การฝึกสมาธิ รวมทั้งการ บริการเพื่อสขุ ภาพและความงาม เปน็ ต้น มผี ลตอ่ ประสาทสมั ผัสทง้ั 5 ได้แก่ รปู รส กล่นิ เสียงและ สัมผัส จากประโยชน์ที่ได้รับ ท�ำให้ภาคธุรกิจรวมตัวกันเพื่อกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการมาตรฐานการ บริการทเ่ี ออ้ื ประโยชน์ตอ่ สุขภาพมากข้ึน การรวมตัวเป็นสมาคม ชมรมเกิดขน้ึ ท่วั ไป มี 2 สมาคมใน ภาคพื้นยุโรปและอเมริกาท่กี ำ� หนดแนวคดิ วัตถุประสงค์ และเผยแพร่ความรอู้ ยา่ งชัดเจน สมาคมยูโรเปีย้ นสปา (European Spas Association: ESPA) เป็นสมาคมที่ประกอบ ด้วยสมาชิก 20 ราย จาก 19 ประเทศแถบยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสปาด้วยนิยามความ หมายว่า การบ�ำบัดด้วยอุณหภูมิ หรือแร่ธาตุในน้�ำ ESPA เน้นขอบข่ายการให้บริการว่า เพื่อการ บำ� บดั รกั ษามากกวา่ การผ่อนคลาย 4 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนินการสปาเพื่อสุขภาพ

สมาคมไอสปา (International Spa Association: ISPA) เป็นสมาคมท่ีก่อตั้งเม่ือ ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) มีสมาชิกเป็นสถานประกอบการสปาทุกประเภทกว่า 70 ประเทศท่ัวโลก มนี โยบายการพฒั นาธรุ กจิ สปา บคุ ลากร และการบรกิ ารดว้ ยการสรา้ งเครอื ขา่ ย การแบง่ ปนั ความรแู้ ละ ประสบการณ์จากมืออาชีพ ISPA ให้ความหมาย สปา ว่า ‘เป็นสถานท่ีให้บริการที่ล้วนเสริมสร้าง สขุ ภาพกาย จติ ใจและจติ วญิ ญาณทดี่ ี (Spas are places devoted to overall well-being through a variety of professional services that encourage the renewal of mind, body and spirit) ISPA ให้ความส�ำคัญต่อองค์ประกอบหลักในการเป็นสถานประกอบการสปาเพ่ือ สขุ ภาพ 10 ประการ ซง่ึ จดั วา่ จำ� เปน็ ในการใหบ้ รกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพ และทำ� ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารพงึ พอใจ ไดแ้ ก่ 1) น�ำ้ (water) ใช้นำ�้ ให้บรกิ ารได้หลายรูปแบบ เช่น การอบไอนำ้� การแช่ การอาบน้ำ� หรือใช้น้�ำเป็นส่วนประกอบในการให้บริการอ่ืน รวมถึงการตกแต่งสถานท่ีด้วยน้�ำเพ่ือสร้าง บรรยากาศ และการด่มื น�้ำสะอาดเพ่ือสุขภาพ 2) การบ�ำรุงสุขภาพร่างกาย (nourishment) บริการอาหารและเครื่องด่ืมเพ่ือสุขภาพ สารอาหารบำ� รุงสุขภาพ เปน็ ต้น 3) การเคลอ่ื นไหวและการออกก�ำลังกาย (movement and exercise) จดั กิจกรรมการ เคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางต่างๆ ในบริเวณสถานประกอบการ ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการ ท�ำงานของอวัยวะส�ำคัญ สร้างความสดช่ืนกระปร้ีกระเปร่าและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการจัด ให้มีห้องออกก�ำลงั กาย (Fitness) แยกเปน็ สดั ส่วน เปน็ ตน้ 4) การสมั ผสั (touch) บรกิ ารดว้ ยสอ่ื สมั ผสั ทส่ี ามารถสอ่ื สารความรสู้ กึ ทอ่ี บอนุ่ ผอ่ นคลาย และบำ� บัดอาการปวดเมื่อย เชน่ การนวดกล้ามเนอ้ื การนวดศรี ษะ การนวดเทา้ เป็นต้น 5) การบูรณาการ (integration) บูรณาการกิจกรรมเพื่อสุขภาพซ่ึงสัมพันธ์และ สอดคลอ้ งกนั ระหว่างกาย จติ ใจ จิตวญิ ญาณ กับสภาพแวดล้อม เช่น โยคะ เปน็ ตน้ 6) ศาสตร์ด้านความงาม (aesthetics) บริการบ�ำรุงรักษาความงามกับกระบวนการใช้ ผลิตภัณฑ์ พืชพรรณธรรมชาติ สมุนไพรต่างๆ ทีม่ ีผลตอ่ ความงาม เชน่ การดูแลผิวหนา้ เปน็ ตน้ 7) สภาพแวดล้อม (environment) สถานประกอบการสปาจำ� เปน็ ตอ้ งมสี ภาพแวดลอ้ ม ท่ีดี อุณหภูมิที่เหมาะสม อากาศถ่ายเทได้ดี มีการออกแบบเพ่ือสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึก ผ่อนคลาย 8) การแสดงออกถงึ ศลิ ปวัฒนธรรม (arts, culture and social) การออกแบบ ตกแต่ง ท้ังภายในและภายนอก และองค์ประกอบ ได้แก่ การก�ำหนดสีภายนอกและภายในอาคาร เสียง ดนตรี กลิน่ หอมธรรมชาติ เคร่อื งแตง่ กายพนักงาน ซึง่ ออกแบบดว้ ยศาสตร์และศลิ ปท์ ีส่ รา้ งสนุ ทรีย์ กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 5

และความประทบั ใจ แสดงออกถงึ ศลิ ปะและวฒั นธรรมในการใหบ้ รกิ าร เพอื่ เสรมิ สรา้ งความพงึ พอใจ แก่ผู้รบั บรกิ าร 9) เวลาและคุณภาพการบริการ (time, space and rhythms) จัดสรรเวลาในการให้ บรกิ าร ดว้ ยบริการท่ีมปี ระสิทธิภาพ ดีตอ่ สขุ ภาพ และสอดคล้องกบั วงจรสขุ ภาพ 10) ระบบการบริหารจดั การท่ีดี (management and operation system) บริหารงาน อยา่ งเปน็ ระบบ มกี ารจดั การทด่ี ี เพอ่ื สรา้ งความพงึ พอใจและใหค้ วามรสู้ กึ ผอ่ นคลายแกผ่ รู้ บั บรกิ าร อนั จะนำ� ไปสู่ความส�ำเร็จ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เร่ืองก�ำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพ่ือเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพ่ือการรองรับให้ เปน็ ไปตามมาตรฐานส�ำหรบั สถานท่เี พือ่ สุขภาพหรือเพ่อื เสรมิ สวย พ.ศ. 2551 ตามพระราชบญั ญตั ิ สถานบริการ พ.ศ. 2509 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2546) ได้ให้ความหมายของ กิจการสปาเพ่ือสุขภาพ คือการประกอบกิจการเพ่ือให้การดูแลและ เสริมสร้างสุขภาพ โดยมีบริการหลัก คือ การนวดเพ่ือสุขภาพ และการใช้น้�ำเพ่ือสุขภาพ และอาจ มีบริการเสริมประเภทต่างๆ อาทิ การอบเพื่อสุขภาพ การท�ำสมาธิและโยคะ การออกก�ำลังกาย เพื่อสุขภาพ โภชนาบ�ำบัด และการควบคุมอาหาร การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทยท์ างเลอื กอนื่ ๆ ซงึ่ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสขุ ขา้ งตน้ ไดก้ ำ� หนดเพมิ่ เตมิ ไวว้ า่ สถานประกอบการต้องมีบริการหลัก และให้มีบริการเสริมอ่ืนอีกอย่างน้อย 3 รายการ อาทิ การพอกโคลน การเสริมสวย โยคะ เปน็ ต้น 6 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนนิ การสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

2. ประวัติและวิวัฒนาการของสปา 2.1 ประวัติสปาเพ่ือสุขภาพ ตามหลักฐานท่ีบันทึกไว้ทางประวัติศาสตร์ ‘น�้ำ’ ถือเป็นส่วนหน่ึงของการบ�ำบัด รักษาทางการแพทย์ รวมท้ังบทบาททางศาสนาและในโลกของไสยศาสตร์ บัลเนโอเทอราพี (Balneotherapy) การอาบแช่ในนำ้� แร่หรือการรักษาด้วยการอาบและลงแช่ในน้�ำ เป็นการรกั ษาวธิ ี หนึ่งทีม่ นษุ ยร์ ูจ้ ักมาเป็นเวลานานและถอื เปน็ ต้นแบบของสปาในปจั จุบนั ตงั้ แตก่ ่อนคริสตกาลจนถึงศตวรรษท่ี 2 มกี ารคน้ พบวธิ ีการบ�ำบัดด้วยนำ้� ในหลายพ้ืนท่ี ทว่ั โลก ดงั น้ี วิวัฒนาการของน�้ำจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ เก่ียวกับความเจริญรุ่งเรืองในวิถีชีวิต ของ ชาวบาบิโลเนียน อยี ิปต ์ กรีก ฮบิ รู เปอร์เซยี น และชาวจนี ล้วนกล่าวถงึ คุณสมบัตขิ องนำ้� ใน การรกั ษาความเจ็บปว่ ย (Crebbin-Bailey J., Harcup J. and Harrington J., 2005) ชาวบาบิโลเนียนเป็นชนชาติแรกท่ีเริ่มมีการอาบน้�ำ โดยการใช้ท้ังน้�ำร้อนและเย็น และ อาบนำ�้ ในแมน่ ำ�้ ถือเปน็ พิธีกรรมทอี่ ทุ ิศให้แกเ่ ทพเจา้ ออี า (Ea) ผเู้ ป็นเทพแห่งสายนำ�้ ทง้ั มวลบนผนื โลก ชาวฮบิ รู พนิ ยั กรรมโบราณของชาวฮบิ รบู นั ทกึ ไวว้ า่ โรคภยั และความเจบ็ ปวดตา่ งๆเกดิ จากปีศาจและการลงทัณฑ์เนอ่ื งจากบาป จึงมพี ธิ กี รรมการล้างบาปโดยใชน้ �ำ้ เปน็ องค์ประกอบหลกั ชาวอนิ เดยี ประเทศอนิ เดียในยุคแรกใช้น้�ำเพือ่ การบ�ำบดั รักษาโรคตา่ งๆ ในสมัยนั้นน�้ำ ถือเป็นตัวแทนของพระวิรุณ (Varuna) เทพเจ้าผูเ้ ป็นที่เคารพนบั ถอื ตามคติศาสนาของชาวอินเดยี ชาวกรกี ในสมัยของเพรคิ ลิส (Pericles) ชว่ งทศวรรษที่ 5 กอ่ นครสิ ตกาล ชาวกรกี เชอ่ื วา่ คณุ สมบตั ทิ างกายภาพของน�้ำเปน็ สงิ่ ท่ที �ำใหน้ �้ำมพี ลังในการรักษา ภาพที่ 1 การอาบน้ำ� เพอื่ สขุ ภาพของชาวอยี ิปต์ โบราณ ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/ Spa#Bathing_in_Greek_and_Roman_times กรมสนบั สนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 7

ภาพท่ี 2 ภาพท่ี 3 การใช้น�้ำเพอ่ื สขุ ภาพตามแนวคดิ ของการอาบน�้ำเพ่อื สขุ ภาพของชาวกรกี พระนางคลีโอพัตรา (Cleopatra Therapy) ปี 340 กอ่ นครสิ ตกาล (Greek water Therapy) ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Spa#Bathing_in_Greek_and_Roman_times ฮิปโปเครติส (Hippocrates) นักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียง แนะน�ำการอาบด้วยน�้ำร้อนและ นำ�้ เยน็ เขาพบวา่ การราดนำ�้ เยน็ ลงบนศรี ษะ ชว่ ยใหน้ อนหลบั ไดง้ า่ ยขนึ้ อกี ทง้ั ยงั ชว่ ยลดความเจบ็ ปวด ในดวงตาและหู เหตุนี้เอง ฮิปโปเครติสจึงเป็นบุคคลแรกท่ีบันทึกกฎแห่งความตรงกันข้าม คือ ใช้ความเย็นเพ่ือนำ� มาซ่ึงความรอ้ น (cold affusions recall the heat) ชาวกรกี และโรมนั รวมถึง ชนอื่นๆ มีความคิดเห็นคล้ายกันในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและความสะอาดของร่างกาย ชาวโรมันยึดหลักความคิดน้ี และได้น�ำไปต่อยอด โดยการสร้างสถานท่ีอาบน�้ำให้อยู่ใจกลางเมือง การอาบนำ�้ จงึ กลายเปน็ ศนู ยก์ ลางการรวมตวั ของชาวโรมนั ตงั้ แตน่ น้ั มา สถานทอ่ี าบนำ�้ ของชาวโรมนั ประกอบดว้ ย Frigidarium คอื สระนำ�้ เยน็ Tepidarium คอื สระนำ�้ ทมี่ อี ณุ หภมู สิ งู ขนึ้ หรอื นำ้� อนุ่ และ Caldarium คือสระน้�ำร้อน โดยจะมกี ารแยกสระน�้ำระหว่างชายและหญิง สถานท่อี าบน�้ำลกั ษณะน้ี จะพบไดใ้ นเมืองบาธ (Bath) ประเทศอังกฤษ ซ่ึงเป็นหน่ึงในแหลง่ ทสี่ ามารถอนรุ กั ษ์สถานที่อาบน�ำ้ ต้นแบบของโรมันได้ดีที่สุด น�้ำที่อยู่ในสระยังคงไหลมาตามท่อที่ช่างชาวโรมันขุดไว้ต้ังแต่ คริสต์ศักราช 110 8 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพ่อื สขุ ภาพ

ภาพที่ 4 บ่อน้�ำแร่โบราณใชอ้ าบเพือ่ สขุ ภาพในสมยั โรมัน ทีม่ า: https://en.wikipedia.org/wiki/Spa#Bathing_in_Greek_and_Roman_times ภาพที่ 5 บ่ออาบน�้ำพุร้อนเพ่อื สขุ ภาพของจกั รพรรดโิ รมนั ในสมยั ศตวรรษที่ 12 ทีม่ า: https://en.wikipedia.org/wiki/Spa#Bathing_in_Greek_and_Roman_times ศตวรรษที่ 3 ในชว่ งศตวรรษท่ี 3 แพทยช์ าวกรีกจ�ำนวนมากเดนิ ทางมายงั โรม และแนะนำ� ให้ใชน้ ำ้� ใน การรกั ษาโรคชนดิ ตา่ งๆ เชน่ เกาต์ โรคผิวหนัง โรคกระเพาะ รวมถงึ โรคเกดิ จากหน้าที่ของไตและ ระบบทางเดนิ ปสั สาวะบกพรอ่ ง และหากพบวา่ สว่ นใดของรา่ งกายมอี าการบวมนำ�้ นายแพทยเ์ ซลซซุ (Celsus) แพทย์ฝึกหัดในกรุงโรม จะแนะน�ำให้แช่ตัวในน้�ำเย็น ให้น้�ำสูงถึงระดับคอ ซึ่งการรักษา ชนดิ นีย้ ังคงพบเหน็ ได้ในเมอื งบาธเช่นกนั กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 9

ภาพท่ี 6 บ่อน�้ำพุร้อนเพื่อสขุ ภาพสมยั โรมัน ทมี่ า: https://en.wikipedia.org/wiki/Spa#Bathing_in_Greek_and_Roman_times ยคุ มดื (The Dark Ages) เมื่ออ�ำนาจการปกครองของชาวโรมันอ่อนแอลง การใช้น้�ำเพ่ือท�ำความสะอาดร่างกาย ดา้ นการแพทย์ รวมถึงเพ่ือเปน็ ศนู ย์กลางของคนในชุมชนจงึ ลดตามไปดว้ ย แตย่ งั คงมีการใชน้ ำ�้ เพ่ือ การบริโภคและรักษาอาการเจบ็ ปว่ ยอยู่บา้ งในบางพ้ืนทีข่ องประเทศองั กฤษ ยุคกลาง (The Middle Ages) ชว่ งยคุ กลาง มีเพียงโรงเรยี นแพทย์ในเมือง ซาเลอโน (Salerno) ประเทศอติ าลเี ทา่ นน้ั ท่ีน�ำเอาหลักการบ�ำบัดรักษาด้วยน�้ำเย็นของฮิปโปเครติสมาใช้ในการเรียนการสอน ในช่วงน้ียังเป็น ยุคท่ีเริ่มมีการค้นพบน�้ำพุร้อนท่ีบริเวณตอนกลางของทวีปยุโรป และเมืองบูดาเปสต์ (Budapest) ประเทศฮังการี แหล่งสปาท่ีมีช่ือเสียงท่ีสุดในยุคนี้คือ เมืองคาร์ลสแบด (Carlsbad) ปัจจุบันทราบกัน ในช่ือเมอื งคาร์โลวี วารี (Karlovy Vary) สาธารณรัฐเชค พระเจา้ ชารล์ สท์ ี่ 4 แห่งสเปน พบเมอื งนี้ ขณะทเ่ี สดจ็ ออกลา่ สัตวใ์ น ปี ค.ศ. 1347 (พ.ศ. 1890) เมอื งนีไ้ ด้รบั ความนิยมอย่างมาก ถงึ กับ ตอ้ งมีการเรยี กเกบ็ ค่าบำ� รุงสถานทใี่ น ปี ค.ศ. 1351 (พ.ศ. 1894) เปน็ ต้นมา บุคคลท่ีเป็นผู้ริเร่ิมวิธีการอาบน�้ำ โดยการปล่อยให้กระแสน้�ำไหลผ่านร่างกายดังเช่น ทกุ วนั นค้ี อื พยี โ์ ต ทสุ สกิ าโน (Pieto Tussignano) ซง่ึ ไดเ้ รมิ่ วธิ กี ารดงั กลา่ วในสระนำ้� ของเมอื งบอรม์ โิ อ (Bormio) ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1336 (พ.ศ. 1879) ซง่ึ ถอื เป็นต้นแบบของการอาบนำ�้ ในปจั จุบนั 10 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพือ่ สขุ ภาพ

ศตวรรษที่ 15 ถงึ 17 แพทย์ชาวยุโรปบางกลุ่มสนับสนุนให้น�ำน�้ำกลับมาใช้ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการบ�ำบัด รกั ษาอีกครง้ั ปี ค.ศ. 1697 (พ.ศ. 2240) เซอร์ จอหน์ ฟลอยเยร์ (Sir John Floyer) ใชก้ ารบ�ำบัด รกั ษาดว้ ยความร้อนและเยน็ จากอุณหภมู นิ �ำ้ ทอ่ี าบ และใน ปี ค.ศ. 1747 (พ.ศ. 2290) จอห์น เวสลยี ์ (John Wesley) ตพี ิมพห์ นังสือเกย่ี วกบั วารีบ�ำบดั ดว้ ยแนวคิดวา่ วารีบำ� บดั เป็นการรกั ษาโรคและ อาการเจบ็ ปว่ ย เซบาสเตยี น นพี พ์ (Sebastian Kniepp) นกั บวชชาวบาวาเรยี น คดิ คน้ ทฤษฎวี า่ ดว้ ย การใช้ความร้อนที่ง่ายและเป็นธรรมชาติท่ีสุดและความเย็นกระตุ้นระบบประสาทและระบบ การไหลเวยี นของร่างกาย ซึ่งเป็นที่ยอมรับแพรห่ ลาย ต่อมา ศาสตราจารย์วินเทอร์วทิ ซ์ (Professor Winterwitz) แห่งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ท�ำการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์และจัด ตั้งมูลนิธิเก่ียวกับวารีบ�ำบัดสมัยใหม่ จึงท�ำให้สปาเร่ิมเป็นท่ีนิยมอีกครั้ง และดึงดูดผู้ท่ีสนใจรักษา อาการป่วยใหเ้ ข้ามาใชบ้ รกิ ารเปน็ จำ� นวนมาก ศตวรรษท่ี 19 การบริการในสปาได้รับการพัฒนาข้ึนมาอย่างพิถีพิถันและประณีตบรรจง ประกอบกับ ผู้ท่ีให้บริการมีความรู้ความสามารถ ให้การบ�ำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ได้มาตรฐาน ระดับมืออาชีพ การบ�ำบัดรักษาอย่างผิดๆไม่อาจตบตาผู้คนได้อีกต่อไป นักบ�ำบัดเร่ิมพิจารณาให้ผู้รับบริการ ได้รับการเยียวยาทั้งวิธีอาบ อบ แช่ รวมถึงการด่ืมกินน�้ำสะอาดหรือน้�ำแร่ตามธรรมชาติ สปาจึง ประสบความส�ำเร็จอย่างงดงามและพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว จนที่สุดมีการขยายประเภทการให้ บริการออกไปยังด้านอ่ืนๆ เชน่ ภัตตาคาร บอ่ นคาสิโน ความบันเทิง เช่น การแสดง วตั ถุประสงค์ ที่แท้จริงของสปาในการเป็นสถานบ�ำบัดเพื่อสุขภาพค่อยๆเลือนหายไป ถูกแทนท่ีด้วยภาพลักษณ์ ของสถานท่ีหย่อนใจเพื่อผ่อนคลายมากข้ึน สปาท่ียังคงรักษาแนวคิดเดิมที่ให้เป็นศูนย์กลาง แห่งสขุ ภาพ จงึ กลายเป็นทีร่ จู้ ักในอีกชือ่ หนึง่ วา่ เฮลท์ ฟาร์ม (Health farm) ศตวรรษท่ี 20 เกิดการเปล่ียนแปลงข้ึนอีกคร้ังในศตวรรษน้ี กระแสนิยมการมีสุขภาพดีมีแนวโน้มเพิ่ม ข้ึนเร่ือยๆ กลุ่มคนที่จุดประกายปรากฏการณ์น้ี คือผู้หญิงในวัยที่เร่ิมวิตกกังวลกับอายุที่มากขึ้น เร่ือยๆ ของตนเองหรือที่เรียกว่า กลุ่ม Baby Boomers จึงหันมาใช้บริการสปาเพื่อความงามและ ดูแลสขุ ภาพใหแ้ ข็งแรง กรมสนับสนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 11

ภาพท่ี 7 ห้องอาบน้ำ� โรมันโบราณ เมอื งบาธ ประเทศองั กฤษ ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Spa#Bathing_in_Greek_and_Roman_times 2.2 วิวัฒนาการของสปาเพอ่ื สขุ ภาพ ดงั กลา่ วมาแลว้ Encyclopedia Britannica, 2008 บนั ทกึ วา่ ในปี ค.ศ. 1362 (พ.ศ. 1905) มีการตั้งช่ือเมืองเล็กๆ ทางตะวันออกของประเทศเบลเยี่ยมว่า ‘สปา’ ซึ่งพบว่ามีแหล่งน�้ำพุร้อน ท่ีตั้งอยู่ในดินแดนท่ีเรียกว่า เทือกเขาแห่งอาร์เดนเนส (Ardennes Mountains) ใช้ในการดูแล สุขภาพ เมืองน้ีได้รับการขนานนามว่า ‘Gem of the Ardennes’ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ยังรวมถึงการท�ำสมาธิ การฝึกลมหายใจ การออกก�ำลังกาย สปาเป็นเมืองท่องเท่ียวที่ชาวยุโรป ชนั้ สูงในยคุ ศตวรรษท่ี 17 นิยมมาพกั ผ่อน อาบน้�ำแร่ และเลน่ คาสโิ นกันมาก การใช้น้ำ� เพอ่ื การบ�ำบัดและผ่อนคลายน้นั มีมาตงั้ แต่สมยั โบราณ ชาวกรกี โบราณนิยม การอาบแช่น�้ำ มีการสร้างอ่างเก็บน้�ำและท่อส่งน�้ำมายังอ่างเก็บน้�ำ ต้ังแต่ 500 ปีก่อนคริสตกาล ในขณะท่ีชาวโรมันนิยมการอาบน�้ำแร่ แช่น�้ำนม เพ่ือผ่อนคลาย รักษาโรคและดูแลผิวพรรณ ต่อมาได้พัฒนาเป็นการอาบน้�ำอุ่น มีการสร้างท่ีอาบน�้ำกระจายอยู่ทั่วไปในอาณาจักรโรมัน หลงั อาณาจักรโรมันลม่ สลาย มเี มืองในยุโรปอกี หลายเมืองทมี่ ีชอ่ื เสียงด้านสปา ได้แก่ เมอื งบาเดน ในเยอรมนี และทเ่ี มอื งบาธ ประเทศองั กฤษ นอกจากนี้ประเทศแถบเอเชีย เช่น ญป่ี ุน่ ก็นยิ มสรา้ ง แหลง่ อาบนำ�้ แร่ทา่ มกลางธรรมชาติมาแต่โบราณ ในประเทศเยอรมนี มีการพัฒนาสปาให้เป็นสถานบ�ำบัดเพ่ือการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ ป่วยโดยมีแพทย์ให้ค�ำแนะน�ำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสปาจะมีความรู้เร่ืองธรรมชาติของมนุษย์และ ส่ิงแวดล้อม เช่น อากาศ แสงแดด และสารจากธรรมชาติ ซ่ึงแต่ละปัจจัยจะช่วยให้สุขภาพร่างกาย กลับคืนปกติเร็วขึ้น เป็นการแพทย์ทางเลือกก่อนที่จะใช้ยารักษา ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน และ 12 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนนิ การสปาเพอ่ื สุขภาพ

สง่ ไปยงั สถานพักฟืน้ ท่ีเหมาะสมนาน 2 - 4 สัปดาห์ มบี ุคลากรทางการแพทยใ์ หค้ �ำแนะน�ำและชว่ ย แก้ปัญหา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มีสปาที่สวยงามและสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป เปิดบริการผู้ป่วยเกือบ 300 แหง่ กระจายทวั่ ประเทศ ท�ำใหค้ ุณภาพชีวติ ของผปู้ ่วยดขี ้ึน แตค่ ่าใช้จา่ ยคอ่ นข้างสงู ปี ค.ศ. 1551 (พ.ศ. 2094) วิลเลียม สลิงบี (William Slingby) ค้นพบแหล่งน�้ำแร่ ในประเทศอังกฤษ และเมื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับน้�ำแร่ที่พบในเมืองสปาของประเทศเบลเยียมแล้ว พบว่าเปน็ นำ�้ แรท่ ่ีมีคณุ สมบตั ิเหมือนกัน จึงตงั้ ชือ่ ให้แหลง่ น�ำ้ แร่ทต่ี นเองพบวา่ ‘English Spa’ สปายุคใหม่ มิได้ใช้น�้ำบ�ำบัดผ่อนคลายแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะผสมผสานศาสตร์ การบ�ำบัดเพ่ือสุขภาพท่ีดีท้ังร่างกายและจิตใจหลายอย่างมารวมกันไว้ เช่น การออกก�ำลังกาย การฝึกโยคะ การฝึกสมาธิ อาหารเพ่ือสุขภาพ การน�ำประโยชน์ของสมุนไพรมาใช้ การนวดด้วย น�้ำมันหอมระเหย การนวดเท้า การกดจุด หรือแม้กระท่ังการฝังเข็ม ตลอดจนถึงกรรมวิธีการเสริม ความงามตา่ งๆ ซึ่งสปาแตล่ ะแห่งใชเ้ ปน็ จุดขาย แม้สปาแต่ละแห่งจะมบี รกิ ารทีต่ ่างกนั บ้าง แตห่ วั ใจ ของสปากค็ อื การสร้างความรู้สกึ ผอ่ นคลายทงั้ รา่ งกายและจติ ใจ เพือ่ ใหเ้ กิดความสมดลุ ทง้ั กายและ จิต โดยเน้นความสุขจากการผอ่ นคลายที่เกดิ จากรปู รส กล่ิน เสียง และสมั ผัส 2.3 ววิ ฒั นาการของการดูแลสขุ ภาพแผนไทย การดูแลสุขภาพแผนไทยเร่ิมต้ังแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงปัจจุบัน โดยพบหลักฐาน ทางประวัตศิ าสตร์ ดังน้ี สมัยกรุงสุโขทยั พบการบ�ำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ โดยเฉพาะการนวดไทยซึ่งมีหลักฐานท่ีปรากฏอยู่ใน ศลิ าจารกึ ของ พ่อขนุ รามค�ำแหงมหาราชที่ขุดพบในป่ามะมว่ ง จังหวดั สุโขทัย สมยั กรงุ ศรีอยธุ ยา ในยุคกรุงศรีอยุธยาพบว่า รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการรวบรวมต�ำรับ ยาต่างๆ ขึ้น เป็นครั้งแรก เรียกว่า ‘ต�ำราพระโอสถพระนารายณ์’ การแพทย์แผนไทยรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะการนวดไทย ในสมยั สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ ไดม้ กี ารแบง่ สว่ นราชการดา้ นการแพทย์ ใหก้ รมหมอนวด ตอ่ มาศาสตรก์ ารนวดไทยบางสว่ นไดส้ ญู หายไปเนือ่ งด้วยภาวะสงคราม กรมสนับสนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 13

สมัยกรงุ รัตนโกสินทร์ สมยั รัตนโกสนิ ทร์ สมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราชทรงปฏสิ ังขรณ์วดั โพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ. 2331 และโปรดให้มี การจารึก ต�ำรายา และฤๅษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้ปั้นรูป ฤๅษีดัดตน 80 ทา่ แล้วหล่อด้วยสงั กะสผี สมดบี กุ เรียกว่า ชิน มโี คลงสส่ี ุภาพอธิบายประกอบ และ จารึกสรรพวิชาการนวดไทยลงบนแผ่นหินอ่อน 60 ภาพ แสดงถึงจุดนวดอย่างละเอียด ประดับ บนผนงั ศาลารายและเสาภายในวดั โพธ์ิ นอกจากนยี้ งั ปรากฏภาพเขยี นในรชั กาลท่ี 4 ทว่ี ดั มชั ฌมิ าวาส จงั หวดั สงขลาจำ� นวน 40 ทา่ และพบการปน้ั ฤๅษดี ดั ตนทวี่ ดั นายโรงอกี 10 กวา่ ทา่ เมอ่ื การนวดแผนไทย แพร่หลายเป็นวงกว้าง ท�ำให้ชาวต่างชาติสนใจที่จะได้รับบริการนวดไทยมากข้ึน ไม่ว่าจะเป็น การนวดแบบราชสำ� นักหรือนวดแบบเชลยศักดิ์ ดว้ ยความโดดเดน่ ของศิลปะการนวดทม่ี ีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และคุณภาพของสมุนไพรที่ถูกน�ำมาใช้อย่างมีคุณภาพ ท�ำให้การนวดไทยและ การดูแลสุขภาพด้วยวิถีไทย เป็นท่ีนิยมในหมู่ชาวต่างชาติ เกิดการผสมผสานการนวดแผนไทย เข้ากับธุรกิจสปา เป็นการจัดรูปแบบการบริการท่ีผสานความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เรียกว่า สปาไทย (Thai Spa) ภาพที่ 8 ฤๅษีดดั ตน ในวัดพระเชตพุ นวมิ ลมังคลาราม (วัดโพธ์)ิ กรงุ เทพฯ 2.4 วิวัฒนาการของสปาในประเทศไทย สมาคมสปาทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา ให้ความหมายของค�ำว่า ‘การดูแลสุขภาพ ในรปู แบบสปา’ หมายถงึ การดแู ลสขุ ภาพดว้ ยวธิ กี าร นวด อบ อาบ ขดั พอกสมนุ ไพร และการแช่ อบ และอาบน้�ำที่มีคุณสมบัติในการดูแลสุขภาพ ส�ำหรับประเทศไทยการบริการลักษณะสปาจึงไม่ใช่ เรอ่ื งใหม่ มีรูปแบบการบรกิ ารด้วยภมู ปิ ัญญาไทยพนื้ บ้าน แตข่ าดการพัฒนาอยา่ งเป็นระบบ 14 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนนิ การสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

การพฒั นารปู แบบสปาอยา่ งเปน็ ระบบ เรมิ่ ขน้ึ เมอ่ื พ.ศ. 2538 โดย นายบญุ ชู โรจนเสถยี ร อดีตรองนายกรัฐมนตรี นักการเงิน และนักการเมือง ได้ก่อต้ัง ‘ชีวาศรม’ รีสอร์ทสุขภาพแห่งแรก ของประเทศไทย ดว้ ยเลง็ เหน็ วา่ สขุ ภาพทดี่ คี อื ชวี ติ ทด่ี ี ควบคกู่ นั ไปกบั สง่ิ แวดลอ้ มทด่ี ี และยงั มองเหน็ ศักยภาพของคนไทย และความโดดเด่นของอัตลักษณ์ความเป็นไทย ซ่ึงน�ำไปสู่การเป็นผู้น�ำ แนวหนา้ ของธรุ กจิ เพอ่ื สุขภาพไดใ้ นอนาคต ภาพท่ี 9 สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี เสดจ็ พระราชดำ� เนินเยือนชีวาศรม เมอื่ วนั ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2541 การดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติ ในประเทศไทย ได้รับความสนใจมากขึ้นด้วย วิสัยทัศน์อันยาวไกลของ นายบุญชู โรจนเสถียร จากช่วงเวลาท่ีรับการบริการส่งเสริมสุขภาพ ในเฮลท์ฟารม์ แถบประเทศยโุ รปตะวันออก ได้แก่ โรมาเนีย สวสิ เซอรแ์ ลนด์ บัลกาเรีย และองั กฤษ ท�ำให้เห็นประโยชน์และให้ความส�ำคัญต่อธุรกิจเพ่ือสุขภาพ จึงตัดสินใจเปล่ียนบ้านพักตากอากาศ ของครอบครัว ที่อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นรีสอร์ทสุขภาพ ชื่อ ‘ชีวาศรม’ ใช้เวลา กอ่ สร้าง 4 ปี ก่อนเริ่มให้บรกิ ารในปี พ.ศ. 2538 และใช้เวลาอกี ระยะหน่งึ ใหค้ นเข้าใจเรอ่ื งการดแู ล สุขภาพ จนเป็นทรี่ จู้ กั ชืน่ ชอบ ของชาวต่างชาติมากขน้ึ เป็นล�ำดับ นโยบายของ ‘ชวี าศรม อินเตอร์ เนชนั่ แนล เฮลท์ รีสอร์ท’ เริม่ ต้นทีก่ ารจดั ระบบการบริการสขุ ภาพท่ีครบวงจร กรมสนับสนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 15

การบริการเพ่ือสุขภาพในชีวาศรมระยะเร่ิมต้น ถูกก�ำหนดให้ได้มาตรฐานยุโรปและ มาตรฐานด้านสุขภาพ ท�ำให้ต้องพัฒนาด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเร่ืองบุคลากร ท่ียังไม่ อาจหาบุคลากรคนไทยซ่ึงมีความรู้และทักษะตามมาตรฐานที่ก�ำหนดมาร่วมงานได้ทันที ต้องจ้าง ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติเข้ามาเร่ิมต้น และช่วยพัฒนาคนไทยให้สามารถรับช่วงการบริหารงานและ การบริการตอ่ ไดเ้ ชน่ ในปจั จุบนั จากการเริม่ ตน้ ธรุ กจิ สปาเพือ่ สุขภาพของชีวาศรม จดุ ประกายใหโ้ รงแรมระดับ 5 ดาว ทั่วประเทศเพม่ิ การบรกิ ารสปาในโรงแรม เพือ่ เปน็ จุดขายไดอ้ ีกหนึง่ ประเภท และพบวา่ สรา้ งรายได้ เพมิ่ ขนึ้ ไดอ้ ย่างตอ่ เน่ือง กลา่ วคือ พ.ศ. 2538 ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท (Chiva-Som International Health Resort) อ�ำเภอหัวหิน จังหวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ พ.ศ. 2538 บันยันทรสี ปา (Banyan Tree Spa) โรงแรมบันยันทรี ภูเก็ต พ.ศ. 2539 เดอะแกรนดส์ ปา (The Grande Spa) โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สขุ ุมวทิ พ.ศ. 2551 เจ ดับบลิว เฮลท์คลับ แอนด์ สปา (JW’s Health Club & Spa) โรงแรมเจดบั บลิว แมริออท พ.ศ. 2556 เดอะ รอยลั เฮลท์ สปา (The Royal Health Spa) โรงแรม เลอ เมอริเดยี น ปัจจุบนั คอื โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตลั กรงุ เทพฯ ภาพท่ี 10 ชีวาศรม อนิ เตอรเ์ นชน่ั แนล เฮลท์ รสี อรท์ รสี อร์ทสุขภาพแห่งแรกในประเทศไทย พ.ศ. 2538 16 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพ่อื สขุ ภาพ

ระหว่างวันที่ 28 - 30 เมษายน พ.ศ. 2543 มีเหตุการณ์ส�ำคัญในประเทศไทยที่ เปดิ มติ ิให้ธุรกจิ สปาในประเทศไทย คอื งานประชมุ สัมมนา ISPA Asian Pacific Summit 2000 ท่ีโรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า จังหวัดภูเก็ต โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายกร ทัพพะรังสี ใหเ้ กยี รตเิ ปน็ ประธานเปดิ งาน และ นายบญุ ชู โรจนเสถยี ร อดตี รองนายกรฐั มนตรแี ละผกู้ อ่ ตง้ั ชวี าศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท ให้เกียรติเป็นวิทยากรรับเชิญ มีผู้ร่วมงานจากหลายประเทศ ทั้งผู้ประกอบการผลิตอุปกรณ์ เคร่ืองมือ และผลิตภัณฑ์ ผู้เช่ียวชาญด้านสุขภาพสาขาต่างๆ โดยมีผปู้ ระกอบการไทยและผู้สนใจเข้าร่วมชมงานคับคัง่ สปาไทย ได้รับการพัฒนามาตรฐานและขยายตัวอย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากร จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น แม้จะมีสถาบันสอนนวดและสปาเปิดสอนมากขึ้น แตส่ ว่ นใหญข่ าดครผู สู้ อนทม่ี คี วามรแู้ ละทกั ษะอยา่ งแทจ้ รงิ ทำ� ใหเ้ กดิ ความไมเ่ ขา้ ใจและการใหบ้ รกิ าร ท่ไี มไ่ ด้มาตรฐาน จนเกิดอนั ตรายตอ่ สขุ ภาพของผ้รู ับบรกิ ารได้ นอกจากน้ี ความนิยมทเ่ี พ่มิ มากขึ้น อาจกลายเป็นช่องทางการแสวงหารายได้ท่ีไม่สุจริต ของกลุ่มคนท่ีฉวยโอกาสท�ำธุรกิจแอบแฝง ภายใตช้ อ่ื สถานประกอบการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ ท�ำใหเ้ สอ่ื มเสยี ชอ่ื เสยี งทงั้ ในประเทศและตา่ งประเทศ ในขณะนั้นกลุ่มผู้ประกอบการสปาได้มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมสปาไทย และได้เข้าพบผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข ขอให้พิจารณาก�ำหนดมาตรฐานสถานประกอบการและการบริการ สปาเพอ่ื สขุ ภาพของประเทศไทย รัฐบาลได้จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของ เอเชีย (พ.ศ. 2547 ¬– 2551) โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพหลัก กรมสนับสนุนบริการ สขุ ภาพจงึ เรม่ิ บทบาท สง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ การบรกิ ารทไ่ี ดม้ าตรฐานและถกู ตอ้ ง ดว้ ยการกำ� หนดมาตรฐาน สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ออกเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดสถานท่ี เพ่ือสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธี การตรวจสอบเพ่ือการรบั รองให้เป็นไปตามมาตรฐานส�ำหรบั สถานทเี่ พื่อสขุ ภาพ หรอื เพอ่ื เสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2547 เพื่อรับรอง มาตรฐานสถานประกอบการ ผ้ดู �ำเนินการ และผใู้ ห้บรกิ ารเปน็ คร้งั แรก โดยแยกสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพออกจากสถานบริการท่ีเป็นอาบอบนวดอย่างชัดเจน และต่อมาได้พัฒนากฎหมายเป็น พระราชบญั ญัตสิ ถานประกอบการเพื่อสขุ ภาพ พ.ศ. 2559 เหตผุ ลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฉบบั น้ี ระบไุ ว้ คอื ‘โดยทก่ี จิ การสถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพเปน็ กจิ การดา้ นบรกิ ารท่ี สรา้ งงานและ รายได้แก่ประเทศเป็นจ�ำนวนมาก และเป็นกิจการท่ีได้รับความเช่ือม่ันจากผู้รับบริการทั้งชาวไทย และชาวตา่ งประเทศมายาวนาน จงึ มผี ปู้ ระกอบกจิ การสถานประกอบการเพอ่ื สขุ ภาพเพม่ิ มากขน้ึ ใน กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 17

แต่ละปี แตป่ ัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำ� กบั ดแู ลการดำ� เนินกจิ การนี้เป็นการเฉพาะ ผู้ประกอบกจิ การ ผดู้ ำ� เนนิ การ และผใู้ หบ้ รกิ ารจำ� นวนมากขาดความรแู้ ละทกั ษะในการประกอบกจิ การ และการใหบ้ รกิ าร ของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจของผู้รับบริการ ประกอบกับมีผู้ใช้ค�ำว่าสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพเพื่อ ประกอบกิจการแฝงอย่างอ่ืน อันส่งผลกระทบต่อความเช่ือมั่นของผู้รับบริการชาวไทยและชาวต่าง ประเทศท่ีมีต่อกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สมควรมีกฎหมายที่ก�ำกับดูแลการประกอบ กิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพข้ึนเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การด�ำเนินกิจการดังกล่าวเป็นไป อย่างมีมาตรฐาน อันเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและคุ้มครองผู้บริโภค จึงจ�ำเป็นต้อง ตราพระราชบญั ญตั นิ ’ี้ ซง่ึ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมือ่ วันที่ 31 มนี าคม พ.ศ. 2559 และมผี ล บังคับใช้วันท่ี 27 กันยายน พ.ศ. 2559 มีเป้าหมายเพื่อการคุ้มครองผู้ประกอบการ ผู้ด�ำเนินการ ผใู้ หบ้ รกิ าร และผรู้ บั บรกิ ารดว้ ยคณุ ภาพมาตรฐานระดบั สากลและเพอ่ื การบรกิ ารสขุ ภาพทป่ี ลอดภยั อันเป็นการพิทักษ์สิทธิของประชาชนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เช่ือมั่นในบริการสุขภาพของ ผู้ใหบ้ ริการชาวไทย บทบาทของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สร้างความเชื่อม่ันให้ ผปู้ ระกอบการมากขนึ้ ดว้ ยความรว่ มมอื กบั หนว่ ยงานภาครฐั และเอกชน ไดแ้ ก่ กรมพฒั นาการแพทย์ แผนไทยและแพทย์ทางเลือก พัฒนาหลักสูตรการนวดไทยเพื่อใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ในการผลติ บคุ ลากรดา้ นนวดไทยเพอื่ สุขภาพ โดยเนน้ การนวดเพื่อผอ่ นคลายเป็นหลัก ชอ่ื หลักสตู ร การนวดไทย 80 ช่ัวโมง และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้เริ่มด�ำเนินการรับรองหลักสูตรอบรม ผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา และในเวลาเดียวกัน ได้เร่ิมพัฒนาหลักสูตรกลางของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยในระยะแรกมี 7 หลักสูตร ต่อ มาปี พ.ศ. 2558 ได้ประกาศหลักสูตรกลางท่ีใช้เป็นเกณฑ์ในการขอรับรองหลักสูตร ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขเร่ือง ก�ำหนดสถานที่เพ่ือสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานท่ี การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพ่ือการรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐาน ส�ำหรับสถานที่เพ่ือสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2551 จ�ำนวน 12 หลักสูตร และต่อมาปี พ.ศ. 2559 ได้มีการทบทวนและพัฒนาปรับปรุง หลักสูตรกลางใหม้ มี าตรฐานมากขน้ึ มกี ารพจิ ารณายกเลกิ หลักสูตรผใู้ หบ้ ริการสขุ ภาพ 300 ชวั่ โมง จนปจั จบุ นั มี 11 หลกั สูตร ดังนี้ 1) นวดฝ่าเท้าเพ่ือสขุ ภาพ 60 ชั่วโมง 2) นวดไทยเพ่ือสขุ ภาพ 150 ช่วั โมง 18 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนนิ การสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

3) นวดไทยเพ่ือสุขภาพ 100 ชั่วโมง ต่อยอด 60/80 ช่ัวโมง (เทียบเท่าหลักสูตร นวดไทยเพ่อื สขุ ภาพ) 4) นวดเพือ่ สขุ ภาพขัน้ สงู 600 ชว่ั โมง 5) นวดไทยเพือ่ สขุ ภาพส�ำหรบั ผ้พู ิการทางสายตา 255 ช่ัวโมง 6) การนวดดว้ ยนำ้� มนั หอมระเหย 150 ชว่ั โมง 7) การนวดสวดี ิช 150 ชว่ั โมง 8) ผดู้ ำ� เนนิ การสปาเพ่ือสุขภาพ 100 ช่วั โมง 9) ผใู้ หบ้ รกิ ารสปาเพอ่ื สขุ ภาพ 500 ช่วั โมง 10) การบริการเพื่อความงาม 150 ช่ัวโมง 11) การดูแลสขุ ภาพและความงามสตรหี ลงั เรอื นไฟ 150 ชว่ั โมง มกี จิ กรรมเกดิ ขนึ้ มากมาย สนบั สนนุ ใหเ้ กดิ มาตรฐานการบรกิ าร บคุ ลากร และธรุ กจิ โดยรวม ด้วยการรับรองหลักสูตรของสถาบันและวิทยากรผู้สอน รับรองผู้ให้บริการ และออกใบอนุญาต ผดู้ ำ� เนนิ การ ทำ� ใหเ้ กดิ การเรยี น การสอน หลกั สตู รการบรกิ ารเพอ่ื สขุ ภาพ การนวดดว้ ยศาสตรต์ า่ งๆ การเสริมความงาม ฯลฯ ในสถาบนั การศึกษาระดับตา่ งๆ ได้แก่ มหาวทิ ยาลัย วิทยาลยั อาชวี ศกึ ษา และโรงเรยี นเอกชนนอกระบบ การให้ความส�ำคัญด้านคุณภาพมาตรฐาน ผนวกกับเชิงวัฒนธรรม และความเป็นไทย ท่ีมีจิตใจพร้อมให้การบริการ ใส่ใจผู้อ่ืน ท�ำให้ธุรกิจการบริการเพ่ือสุขภาพ หรือสปาไทย เป็นท่ียอมรับด้วยความพึงพอใจอย่างมากในหลายประเทศท่ัวโลก และพบว่ามีผู้ให้บริการชาวไทย ทำ� งานในสปาทวั่ โลกหลายหมน่ื คน การศกึ ษาและพฒั นาสมู่ าตรฐานทส่ี งู ขน้ึ จงึ เปน็ เรอื่ งจำ� เปน็ อยา่ งยง่ิ ในยุคท่ีสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตส�ำคัญต่อมนุษย์ทุกชนชาติ ทุกเพศ และทุกวัย มีผลให้ สถานประกอบการเข้ามาขอรับรองมาตรฐานเพื่อรบั การสนบั สนนุ มากข้นึ กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 19

3. ประเภทของสปาเพื่อสุขภาพ การแบง่ ประเภทสปา เนอ่ื งจากสปามลี กั ษณะการใหบ้ รกิ ารทห่ี ลากหลายรปู แบบ เพอื่ ให้ มองภาพธุรกจิ ได้กว้างและครอบคลุม จึงอาจแบ่งสปาตามลักษณะสถานที่ใหบ้ รกิ าร ตามค�ำนิยามของ สมาคมไอสปา (ISPA) สปาแบง่ ออกเปน็ 7 ประเภท ดังน้ี 3.1 Club Spa คือสปาท่ีต้ังขึ้นเพื่อให้บริการเฉพาะสมาชิก (member) โดยเน้นให้ความสะดวกสบายและครบครัน วัตถุประสงค์ในการออกก�ำลังกายและดูแลสุขภาพ รา่ งกาย พรอ้ มท้งั บริการดา้ นอื่นๆ 3.2 Day Spa คือสปาท่ีตั้งอยู่ในท�ำเลท่ีสะดวกต่อการใช้บริการ เช่น ใกลท้ พี่ กั อาศยั อาคารพาณชิ ย์ หา้ งสรรพสนิ คา้ บรเิ วณศนู ยก์ ลางธรุ กจิ หรอื ในอาคารสนามบนิ ฯลฯ รปู แบบการบรกิ ารคอ่ นขา้ งหลากหลาย ลกั ษณะการใชบ้ รกิ ารจะเปน็ ชว่ งเวลาสนั้ ๆ เปน็ สปาประเภท ท่เี ปดิ ใหบ้ รกิ ารมากท่ีสุด 3.3 Hotel and Resort Spa คือสปาทต่ี ้ังอยู่ภายในอาคารหรอื ในบรเิ วณเดยี วกบั โรงแรมหรอื รสี อรท์ ท่ีมสี ถานที่ออกกำ� ลังกาย ห้องอาหาร รูปแบบบรกิ ารมกั ประกอบด้วย การนวด เพื่อผ่อนคลาย ส�ำหรับผู้ที่ต้องการเปล่ียนบรรยากาศและหลีกหนีความจ�ำเจในชีวิตประจ�ำวัน มกั มขี นาดใหญ่กว่าเม่อื เทยี บกบั Day Spa ทว่ั ไป 3.4 Cruise Ship Spa คอื สปาทต่ี งั้ อยใู่ นเรอื ทอ่ งเทยี่ ว รปู แบบการบรกิ ารประกอบ ดว้ ย การนวดแบบต่างๆ การออกก�ำลงั กาย กจิ กรรมเพ่อื สุขภาพ และอาหารเพ่ือสุขภาพ 3.5 Mineral Spring Spa คือสปาท่ีตง้ั อยใู่ นแหล่งน�้ำพรุ ้อน หรือ น้ำ� แร่ธรรมชาติ รูปแบบการบริการจะเน้นการบ�ำบัดโดยการใช้ความร้อนของน้�ำ หรือแร่ธาตุต่างๆ เช่น ใช้เกลือ เปน็ ส่วนหน่ึงในการบ�ำบดั รกั ษา ตัวอยา่ งเชน่ สปาทต่ี ง้ั อยู่ตามแหล่งบ่อนำ�้ ร้อน ในประเทศญ่ปี ุ่นและ รสั เซยี ประเทศไทยมโี อกาสทจี่ ะพฒั นาแหลง่ นำ้� พรุ อ้ นธรรมชาตหิ ลายแหง่ ใหเ้ ปน็ แหลง่ ทอ่ งเทยี่ วได้ เปน็ อย่างดี เช่นท่ีจงั หวดั เชยี งใหม่ เชียงราย ระนอง สรุ าษฏรธ์ านี 3.6 Destination Spa คือสปาท่ีตั้งขึ้นเพ่ือให้การดูแลสุขภาพเป็นหลักโดยมี ที่พักอยู่ภายใน มีกิจกรรมเพื่อสุขภาพครบวงจร อาหารสุขภาพ การออกก�ำลังกาย การให้ความรู้ ดา้ นตา่ งๆ ผ้มู าใช้บริการส่วนใหญ่มักต้องการพ�ำนกั เป็นระยะเวลานาน เพือ่ ผ่อนคลายและปรบั ปรุง 20 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพื่อสขุ ภาพ

วิถีชีวิตให้ดีขึ้น ปรับความสมดุลของร่างกายและจิตใจ ลดน้�ำหนัก ออกก�ำลังกายอย่างถูกต้อง โดยทีมงานที่เช่ียวชาญจะพิจารณาจัดบริการให้เหมาะแก่ลักษณะสุขภาพแต่ละคน สถานที่ตั้ง มักอยู่ใกล้แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติเพ่ือใช้ประโยชน์จากแหล่งธรรมชาตินั้น ในการจัดกิจกรรม เชน่ ภเู ขา ทะเล น้ำ� พุรอ้ น โคลน ฯลฯ 3.7 Medical Spa คอื สปาที่มแี พทย์และพยาบาลกำ� กบั ดแู ล ให้ค�ำแนะนำ� บรกิ าร สง่ เสริมสุขภาพซ่ึงไม่ใชก่ ารรักษาโรค ส�ำหรบั ผทู้ ่ตี อ้ งการเสริมสร้างหรอื ฟน้ื ฟสู ุขภาพ ผู้รบั บริการจะ มาใชบ้ รกิ ารในระหว่างวัน เวลา ทำ� การ Medical Spa ในประเทศไทยจัดอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล มแี พทยแ์ ละพยาบาลกำ� กบั ดแู ล มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื บำ� บดั รกั ษาสขุ ภาพและความสวยงาม การบรกิ าร ประกอบด้วยโภชนาการบ�ำบัดและอาหารเพ่ือสุขภาพ การออกก�ำลังกาย กิจกรรมเพื่อสุขภาพ การนวดแบบต่างๆ การบริการด้วยความรู้ด้านสุขภาพ มีบริการทางการแพทย์ทางเลือก แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย แผนจีน ฯลฯ มีบริการนวดรักษาอาการเจ็บป่วย เช่น การนวดกดจุด การบ�ำบัดด้วยสมุนไพร การปรับโครงสร้างร่างกาย การสะกดจิต การฝังเข็ม ศัลยกรรมผิวหนัง และการบ�ำบัดท่ีเฉพาะเจาะจงเช่น การลดน�้ำหนัก การออกก�ำลังกาย และการเลิกบุหรี่ เปน็ ตน้ กรมสนับสนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 21

4. เอกลักษณ์สปาไทย เอกลักษณ์ของสปาไทยมีส่วนส�ำคัญท�ำให้เกิดความโดดเด่น ด้วยคุณค่าทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ความเป็นไทยโดยรวม “…เพื่อให้ประเทศไทยซ่ึงมีความโดดเด่น เรื่องเอกลักษณ์ไทย สามารถมีสปาที่แสดงความโดดเด่นในความเป็นไทยได้อย่างภาคภูมิใจ } หนว่ ยงานและองคก์ รทเ่ี กย่ี วขอ้ งจงึ ไดก้ ำ� หนดกรอบและแนวคดิ อยา่ งกวา้ งๆของเอกลกั ษณส์ ปาไทย เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับผู้ประกอบธุรกิจสปาในการน�ำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงสอดคล้องกับทิศทาง ของธุรกิจสปาที่เน้นภูมิปัญญาตะวันออกมากขึ้น” (พ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, นวดไทยบ�ำบัด อัมพฤกษ์ อมั พาต คลายเส้นและบ�ำบัด, กรมพฒั นาการแพทย์แผนไทย) เอกลกั ษณส์ ปาไทย คอื สปาทม่ี รี ปู แบบสถาปตั ยกรรม การบรกิ าร และสว่ นประกอบอน่ื ๆ หรือลักษณะเฉพาะท่ีประกอบด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม ศิลปะ และภูมิปัญญาซ่ึงมีลักษณะเด่น พบได้ในประเทศไทย ประกอบด้วยการผสมผสานวัฒนธรรมอ่อนโยนกับการบริการแบบไทย คือ การนวดไทย สัมผัสกลิ่นอายแห่งมิตรไมตรี กล่ินหอมจรุงใจด้วยดอกไม้ไทย สมุนไพร เคร่ืองดื่ม และอาหารเพื่อสุขภาพ ตัวอย่างรปู แบบการพัฒนาเอกลกั ษณส์ ปาไทย 4.1 ไทยสปั ปายะ ไทยสปั ปายะ เปน็ วถิ กี ารดแู ลสขุ ภาพและความงามแบบองคร์ วมอยา่ งไทย โดยผสมผสาน การบริการทางหัตถบ�ำบัด วารีบ�ำบัด สุคนธบ�ำบัด โภชนบ�ำบัด การออกก�ำลังกาย และการท�ำ สมาธิบำ� บดั เพ่อื ใหเ้ กดิ ความสมดลุ ของธาตุเจา้ เรอื นทั้ง 4 ในร่างกาย ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนำ้� ธาตลุ ม และธาตุไฟ ควบคู่กับการดูแลสภาพจิตใจให้แข็งแรง ไทยสัปปายะเป็นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และการส่งเสริมสขุ ภาพ (health prevention and promotion) โดยเนน้ ให้ดแู ลสขุ ภาพขัน้ พืน้ ฐาน ของตนเองและครอบครัว เพื่อให้สามารถป้องกันโรคร้ายแรง และบ�ำบัดโรคเร้ือรังได้ ทั้งยังเป็น กจิ กรรมทชี่ ว่ ยเพมิ่ ความรกั ความสมั พนั ธภ์ ายในครอบครวั ซงึ่ การมสี ขุ ภาพทดี่ นี น้ั มไิ ดห้ มายความ รวมถงึ มสี ขุ ภาพรา่ งกายทดี่ เี ทา่ นนั้ แตย่ งั หมายความรวมถงึ มสี ขุ ภาพจติ ใจทด่ี ี ยอ่ มสง่ ผลตอ่ สขุ ภาพ กายไม่ให้เส่ือมถอยไปด้วย ดังน้ัน ไทยสัปปายะจึงเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบไทย และ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาไทยท่ีมีคุณค่ายิ่ง ส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะคนไทยได้เข้าใจหลักการ และน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน อีกท้ังควรสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ให้แก่เยาวชนรุ่นหลัง ส่งเสริมให้มี การพฒั นาดา้ นมาตรฐาน การวจิ ยั และเผยแพรส่ ูส่ าธารณชนตอ่ ไป 22 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพ่อื สขุ ภาพ

การดูแลสุขภาพองค์รวมแบบไทยสัปปายะเพื่อให้เกิดความสบายและผ่อนคลาย โดยผสมผสานกับรูปแบบของกิจกรรมที่ให้บรกิ ารในสปา คือ รูป รส กลน่ิ เสยี ง และสมั ผสั เปน็ ตน้ รปู หมายถงึ บรรยากาศ และสถานท่ีทใ่ี หบ้ รกิ าร รส หมายถงึ การบรกิ ารอาหารสมนุ ไพร และน้�ำสมนุ ไพร กลนิ่ หมายถงึ การบำ� บดั ดว้ ยกล่นิ น้�ำมนั หอมระเหยจากสมนุ ไพรไทย เสยี ง หมายถงึ เสยี งดนตรไี ทยท่ไี พเราะ สัมผัส หมายถึง การนวดไทย ไทยสัปปายะ มีลักษณะความสบายอันเป็นองค์รวม ซ่ึงท�ำให้เกิดความสะดวกสบาย ในการด�ำรงชีวิต ความสบาย 7 ประการประกอบด้วย 1) ท่ีอยู่อาศัยอันสบาย ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทย เช่น บ้านเรือนไทย อันเป็น มรดกทม่ี คี ณุ คา่ และ มคี วามหมายในตวั เอง เปน็ ศลิ ปะทบี่ ง่ บอกถงึ วฒั นธรรม มเี อกลกั ษณซ์ งึ่ บง่ บอก ถึงความเป็นไทย เป็นภูมิทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสมแก่วิถีชีวิตของคนไทย ที่เรียบง่ายแต่สง่างาม ประโยชน์ใช้สอยซ่ึงเหมาะแก่ภูมิอากาศร้อนช้ืน เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นอยู่อย่างไทยท่ีพึ่งพิง ธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่เพียงเท่านั้น ท�ำเลท่ีต้ังของที่อยู่อาศัยอันสบาย ยังหมายความรวมถึง สถานท่ีปลอดภยั สงบ ร่มร่นื และมรี ะบบสาธารณปู โภคดี 2) สงิ่ แวดล้อมอันสบาย เป็นสถานท่ีแวดลอ้ มไปดว้ ยบรรยากาศดี อากาศบรสิ ุทธิ์ และถ่ายเทได้สะดวก มีต้นไม้ให้ความร่มร่ืน ร่มเย็น อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป มกี ลิน่ หอมจากธรรมชาติ และมีความสงบเงียบ 3) ความสบายที่ได้จากบุคคลรอบข้าง บุคคลรอบข้างถือเป็นปัจจัยส�ำคัญ อกี อยา่ งหนง่ึ ตอ่ การดำ� รงชวี ติ ใหเ้ กดิ ความสขุ มนษุ ยเ์ ปน็ สตั วส์ งั คม การไดก้ ลั ยาณมติ รถอื เปน็ เรอ่ื งที่ ประเสริฐที่สุดของการด�ำรงชีวิต การมีคนรอบข้างที่มีจิตใจงาม มีศีลธรรม เป็นยอดปรารถนา ของคนทวั่ ไป การอยู่อยา่ งไมก่ ระทบกระทง่ั ผิดใจกบั คนอน่ื เปน็ การอย่ใู นสังคมทเี่ ป็นสขุ รวมถึง ความสะดวกสบายที่ได้รับบริการจากผู้ท่ีมีความรู้ความสามารถ ความมีน�้ำใจจากผู้ให้บริการก็เป็น ความสบายอีกประเภทหน่งึ ด้วย กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 23

4) อิรยิ าบถอนั สบาย อริ ยิ าบถ อากปั กิรยิ า ท่าทาง และพฤตกิ รรม เชน่ การยนื การเดิน การนั่ง การนอน สะท้อนให้เห็นถึงมารยาทไทยอันงดงามซึ่งได้ส่ังสมสืบทอดกันมาจน เป็นวัฒนธรรม เป็นเอกลักษณ์ท่ีแฝงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย การไหว้ การกราบ การน่ังสมาธิ การเดินจงกรม การบริหารร่างกายแบบไทย ฤๅษีดัดตน การละเล่นต่างๆ หรือกีฬา ของไทยเช่น การเล่นว่าว การแข่งเรือ ล้วนเป็นอิริยาบถซ่ึงก่อให้เกิดความสนุกสนานเบิกบาน เปน็ สขุ ทง้ั สนิ้ นอกจากนี้ อริ ยิ าบถทส่ี บายยงั หมายถงึ หตั ถบำ� บดั หรอื การนวดไทยในลกั ษณะตา่ งๆ ซงึ่ มที ัง้ การนวดเพอ่ื ผ่อนคลาย และบำ� บดั โรค รวมทง้ั วารบี ำ� บัดในรูปแบบต่างๆ เชน่ การพอกหนา้ ขัดตัว อบ ประคบสมนุ ไพร การอาบน�ำ้ สมุนไพร และการอาบนำ้� แร่ แชน่ ้�ำนม เป็นตน้ 5) อาหารสุขภาพท่ีดี การบริโภคอาหารในแต่ละม้ือไม่เพียงมีผลต่อสุขภาพ เท่าน้ัน ยังส่งผลถึงคุณภาพชีวิต และอายุขัยของมนุษย์ อาหารเป็นปัจจัยหลักของการด�ำรงชีวิต ความสมดลุ ของอาหารกบั ธาตเุ จา้ เรอื นของแตล่ ะบคุ คล เปน็ เรอื่ งหลกั ของการดแู ลสขุ ภาพขน้ั พนื้ ฐาน แบบองค์รวมอย่างไทย การบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องและถูกหลักธาตุของตนเอง จะส่งผล ตอ่ สขุ ภาพโดยตรง อกี ทงั้ ยงั สามารถปอ้ งกนั โรคเรอื้ รงั บางโรคไดด้ ว้ ย นอกจากการรบั ประทานอาหาร ให้ถูกกับธาตุเจ้าเรือนแล้ว การบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามฤดูกาล ตามวัย ก็เป็นแนวทางหนึ่ง ในการส่งเสริมและดแู ลสขุ ภาพของตนเอง 6) การคมนาคมที่สะดวกสบาย สถานท่ีสะดวกในการเดินทางและไม่ไกล จากแหล่งหลักของการด�ำรงชีวิต เช่น แหล่งอาหาร แหล่งน�้ำ แหล่งวัตถุดิบ แหล่งยารักษาโรค และสถานพยาบาล ไม่หา่ งไกลจากชุมชนมากเกินไป รวมถึง ตอ้ งสามารถตดิ ต่อสอ่ื สารกบั สงั คมได้ สะดวก ไมต่ ้องเสียเวลาเดนิ ทาง 7) การไดย้ นิ ได้ฟงั เสยี งที่เกดิ จากความสบาย เสียงเป็นส่งิ ทีช่ วี ิตคนเราหลกี เลี่ยง ไม่ได้ในชีวิตประจ�ำวัน เสียงจึงมีผลต่ออารมณ์และสภาพจิตใจของมนุษย์อย่างมาก การสร้าง บรรยากาศดว้ ยเสยี งจงึ มคี วามสำ� คญั โดยเฉพาะในสถานทใ่ี หบ้ รกิ าร เพอ่ื ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารรสู้ กึ ผอ่ นคลาย เสียงแบ่งตามแหล่งท่ีมาได้ 2 ประเภท คือ 7.1) เสยี งจากแหลง่ ธรรมชาติ ไดแ้ ก่ เสยี งนำ�้ ไหล นำ�้ ตก ลมพดั เสยี งคลน่ื กระทบฝง่ั เสียงสตั วต์ า่ งๆ เปน็ ต้น 7.2) เสียงจากแหล่งท่ีมนุษย์สร้างขึ้นมา ได้แก่ เสียงดนตรี เสียงเพลง เป็นต้น การสนทนาโต้ตอบกันก็สามารถสร้างบรรยากาศของทั้งความทุกข์และความสุขได้ ท้ังต่อผู้ฟังหรือ คสู่ นทนาได้ การเลอื กรับฟังเสียงท่มี ปี ระโยชน์ จงึ เปน็ การบำ� บัดทางเสยี งท่กี อ่ ให้เกิดความสบาย 24 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพอ่ื สุขภาพ

ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพองค์รวมแบบไทยสัปปายะ คือการใช้องค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสม ประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อมา เพ่ือใช้ ในการดแู ลสุขภาพ มดี งั น้ี องค์ความรู้เก่ียวกับปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพหรือปัจจัยซึ่งเป็นสิ่งที่ธรรมชาติก�ำหนด ได้แก่ ธาตเุ จ้าเรือน การนวดไทย แบ่งเป็น 2 แบบ คอื แบบราชสำ� นกั และแบบทัว่ ไปหรอื พน้ื บา้ น อปุ กรณช์ ่วยนวด เชน่ เปลือกหอยทะเล นมไม ้ ไม้หมอน้อย กะลา การออกก�ำลังกายท่าฤๅษดี ัดตน การอบไอน้�ำสมนุ ไพร การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการบ�ำบัดรักษาของแพทย์แผนไทยซึ่งสามารถน�ำไปใช้ ควบค่กู ับการนวด โดยใชป้ ระคบภายหลงั การนวด การนวดแบบไทยสัปปายะ การนวดไทยสัปปายะ เน้นเพ่ือความสบายและผ่อนคลายในสภาวะร่างกายผิดปกติ มากกว่าการรักษาโรค เป็นการนวดที่ผสมผสานกับกิจกรรมสปา คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ เป็นการนวดที่น�ำภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพองค์รวมเข้ามาผสมผสานกับกิจกรรมของสปา ในข้นั ตอนตา่ ง ๆ กรมสนบั สนนุ บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 25

4.2 อัตลักษณ์ไทยลา้ นนาสปา ภาพท่ี 11 ภาพจ�ำลองการนวดประคบสมนุ ไพรลา้ นนา เม่อื ปี พ.ศ. 2546 รฐั บาลประกาศนโยบาย ‘ประเทศไทยเป็นศนู ยก์ ลางบรกิ ารสุขภาพ ของเอเชีย’ ธุรกิจสปาเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 1 ใน 3 ท่ีได้รับการส่งเสริมพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำ� ยุทธศาสตรธ์ รุ กจิ สุขภาพในการสรา้ งอตั ลกั ษณข์ องสปาอย่างตอ่ เน่ือง ตั้งแต่ปี 2549 จนถงึ ปัจจบุ ัน 1) ความหมายของอัตลกั ษณ์ไทยล้านนาสปา อตั ลกั ษณ์ หมายถงึ การแสดงหรอื การบง่ บอกลกั ษณะ ความเปน็ ตวั ตนทง้ั 5 ดา้ น ไดแ้ ก่ รปู เสียง กล่ิน รส และสมั ผัส ใหผ้ ู้อืน่ ไดร้ ับรู้ ไทยลา้ นนา หมายถงึ ศลิ ปะ ประเพณี และวฒั นธรรมตงั้ แตย่ คุ กอ่ นราชวงศม์ งั รายจนถงึ ปัจจบุ นั รวมทง้ั ชาติพนั ธุ์ ชนเผา่ ตา่ งๆในภาคเหนือ สปา หมายถงึ ธรุ กจิ สปาเพอื่ สขุ ภาพทมี่ กี ารใชศ้ าสตรข์ องการนวด การใชน้ ำ�้ และศาสตร์ อน่ื ๆ ที่เกี่ยวขอ้ งในการดแู ลสุขภาพแบบองค์รวม 26 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนินการสปาเพอื่ สุขภาพ

ดงั นนั้ อตั ลกั ษณไ์ ทยลา้ นนาสปาจงึ มคี วามหมายวา่ ธรุ กจิ สปาทม่ี กี ารนำ� ศลิ ปะ วฒั นธรรม และประเพณขี องไทยลา้ นนามาประยกุ ตใ์ ชใ้ นสปา ตงั้ แตแ่ นวคดิ การออกแบบ โครงสรา้ ง การตกแตง่ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องใช้ การแต่งกาย ดนตรี เสียงธรรมชาติ พืชหอม สมุนไพร การนวดพ้ืนบ้าน พธิ กี รรม ความเชอื่ ต�ำนานและนทิ าน เพอื่ สร้างเอกลักษณ์ให้มีความโดดเด่น สามารถอธบิ ายท่ีมา และความหมายได้ สามารถกำ� หนดต�ำแหนง่ ภาพลักษณก์ ารตลาดทางธรุ กจิ (Brand Positioning) ที่เหมาะสมตามความชอบ ความถนัดของเจ้าของกิจการ ส่งผลให้เกิดกลุ่มเป้าหมายลูกค้า ท่ีชัดเจน สามารถท�ำการตลาดได้ตรงเป้า ประหยัดและเกิดผลก�ำไรสม�่ำเสมอ ท�ำให้ธุรกิจเกิด ความยง่ั ยนื ในสว่ นภาครฐั ท่เี กี่ยวขอ้ งจะสนับสนนุ ดา้ นวิชาการ การประชาสัมพันธ์ และภาพลกั ษณ์ ในระดบั นานาชาตติ อ่ ไป ภาพท่ี 12 ภาพจำ� ลองการเขา้ เสา้ ศาสตรก์ ารบรกิ ารทใ่ี ชค้ วามรอ้ น การอบเซานา่ แบบลา้ นนา กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 27

ภาพท่ี 13 ภาพจ�ำลองการย�่ำขาง 2) การด�ำเนนิ การสร้างสรรคอ์ ัตลักษณไ์ ทยล้านนาสปา 2.1) การสรา้ งองคค์ วามรู้สปาจากภูมิปัญญาล้านนา การรวบรวมองค์ความรู้สปาและภูมิปัญญาล้านนาที่เกี่ยวข้องกับสปา ด้านรูป รส กลิ่น เสยี ง และสัมผัส ภายใต้แนวคิด 3 ประการตามการจัดกลมุ่ ของลูกค้าสปา ไดแ้ ก่ กลุ่ม Elite “ขอเป็นเจ้าสักวัน” ท่ีชอบความหรูหรา ละเอียด ประณีต กลุ่ม Primitive “อาบลม ห่มฟ้า” ทชี่ อบธรรมชาติปรงุ แตง่ นอ้ ยและกลมุ่ HIP(HighIndividualPersonal)“โลกสว่ นตวั ”วยั รนุ่ สมยั ใหม่ ชอบความเป็นสว่ นตวั 2.2) การสรา้ งตน้ แบบไทยลา้ นนาสปา 1. ดา้ นรูป แบ่งเป็น 2 สว่ น ส่วนที่ 1 รูปภายนอก เป็นสถาปัตยกรรมภายนอก พัฒนาต้นแบบโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ได้แก่ ซุ้มประตู หลงั คา อาคาร สวน ทจ่ี อดรถ รูปภายใน ไดแ้ ก่ การตกแต่งห้อง เฟอร์นเิ จอร์ตา่ งๆ 28 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนนิ การสปาเพ่อื สุขภาพ

ภาพท่ี 14 ตน้ แบบการตกแตง่ ในรูปแบบอัตลกั ษณไ์ ทยลา้ นนาสปา สว่ นที่ 2 เปน็ อปุ กรณ์ เครอ่ื งใช้ เครอ่ื งแตง่ กาย และสง่ิ แสดงอตั ลกั ษณ์ พฒั นาตน้ แบบโดย คณะวจิ ติ รศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ ไดแ้ ก่ ชดุ เซรามคิ ตะเกยี ง ถาดใสอ่ ปุ กรณ์ เสอื้ ผา้ เครอ่ื งแตง่ กาย ของพนักงานนวด พนักงานต้อนรับ แม่บ้าน และอ่ืนๆ การจัดท�ำนามบัตร ใบปลิว แผ่นพับ หวั จดหมาย ลวดลายผา้ ลวดลายกระดาษ การออกแบบสัญลกั ษณ์ การจดั ทำ� โทนสี เป็นต้น ภาพที่ 15 ต้นแบบอุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งแสดงอัตลักษณ์ 2. ด้านเสียง สรา้ งเสยี งโดยศิลปนิ ผ้เู ช่ยี วชาญด้านดนตรี ลักษณะเฉพาะคือ มีความยาว ประมาณ 50 นาที ไม่มีเนอ้ื ร้อง มแี ตท่ ำ� นองและเสยี งประกอบ เชน่ เสียงธรรมชาติ เสยี งประดิษฐ์ เสยี งทางวัฒนธรรม เนอ้ื หาแบ่งเปน็ 4 ชว่ ง ชว่ งที่ 1 มิตรภาพ ช่วงท่ี 2 ผ่อนคลาย ชว่ งท่ี 3 เยยี วยา ช่วงท่ี 4 ชีวาอรุณ มีการทดสอบประสิทธิผลของเพลงในกลุ่มทดลอง โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นการยืนยันผลของดนตรีบ�ำบัดในสปาล้านนา ช่ือว่า ‘คีตาบ�ำบัด หมายเลข 1’ กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 29

ภาพท่ี 16 ตน้ แบบแผ่นเสยี ง ‘คตี าบ�ำบัดหมายเลข 1’ 3. ด้านกลิ่นและรส พัฒนาต้นแบบโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการรวบรวมข้อมูลพืชหอมที่มีในภาคเหนือ มีคุณค่าและประวัติการใช้ท่ีน่าสนใจ มีคุณสมบัติ และการออกฤทธิ์ที่ดี คัดเลือก ได้ว่านสาวหลง (Amomum biflorum Jack) มาเป็นต้นแบบ ในการพัฒนารปู แบบ เป็นนำ้� มันตะเกียง สครบั น�ำ้ มันนวด สบู่ สปาบอล สมุนไพรอาบ อบ เป็นต้น การพัฒนาเคร่ืองดื่มที่ใช้ในสปา ทั้งรูปแบบชาชง แบบชนิดผงละลายทันที (instant) ไม่ใส่น้�ำตาล ให้ผลดีต่อสุขภาพ โดยใช้สมุนไพรท้องถิ่นต่างๆ เป็นต�ำรับเครื่องดื่มสมุนไพร ผลไม้ตามฤดูกาล ที่ปลูกในภาคเหนือ เช่น สตรอเบอร่ี มะเก๋ียง ต่อมาพัฒนาเป็นโครงการ 12 เดือน 12 ผลไม้ ของสมาคมไทยล้านนาสปา เปน็ ตน้ ภาพท่ี 17 ว่านสาวหลง (Amomum biflorum Jack) 30 เอกสารความรู้ ผ้ดู ำ�เนนิ การสปาเพอื่ สขุ ภาพ

ภาพท่ี 18 ตัวอยา่ งการนำ� ผลไม้ อะโวกาโด และมะเกยี๋ ง มาผสมผสานการบริการ ในโครงการอัตลกั ษณไ์ ทยล้านนาสปา 12 เดอื น 12 ผลไม้ 4. ดา้ นสมั ผสั มกี ารรวบรวมทา่ นวดทอ้ งถนิ่ 8 จงั หวดั ภาคเหนอื เพอ่ื การอนรุ กั ษท์ า่ นวด โดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการพัฒนาท่านวดโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ ขน้ึ เรยี กวา่ ทา่ นวดแบบสวนดอก ซงึ่ ยดึ หลกั ความปลอดภยั และความงดงาม การพัฒนาบริการที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยสมาคมไทยล้านนาสปา เรียกว่า นวดล้านนา เอ็กโซตกิ (Lanna Exotic Massage) ซ่งึ พัฒนามาจากทา่ นวดพืน้ บา้ น นวดนำ�้ มนั นวดตอกเสน้ ประกอบกบั การใชน้ ำ้� มนั วา่ นสาวหลง และดนตรบี ำ� บดั ทำ� ใหเ้ กดิ เอกลกั ษณเ์ ฉพาะ ยากตอ่ การลอกเลยี นแบบ ปัจจบุ นั ได้รบั ความนยิ มจากนักทอ่ งเทย่ี วทัง้ ชาวไทยและตา่ งชาติมาก ภาพที่ 19 การนวดตอกเสน้ ทีน่ ำ� มาประยุกตใ์ นทา่ นวดลา้ นนาเอก็ โซติก กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 31

3) การรบั รองคณุ ภาพอัตลกั ษณไ์ ทยล้านนาสปา เกณฑ์การรับรองคุณภาพอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา ถูกพัฒนาขึ้นโดยคณะ กรรมการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพอัตลักษณ์ไทยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 และมีการปรับปรุงในปี 2556 และปี 2559 กำ� หนดเกณฑ์ดงั น้ี 3.1) ดา้ นรูป แบ่งเปน็ 2 หมวด ไดแ้ ก่ 1. การตกแต่งภายนอกและภายใน สถาปตั ยกรรมภายนอก (การตกแตง่ ภายนอก) และสถาปตั ยกรรมภายใน (การตกแต่ง ภายใน) ของสถานประกอบการ แสดงออกหรือสือ่ ถงึ ความเป็นลา้ นนา อาจใชร้ ูปแบบล้านนาดัง้ เดิม หรือสถาปัตยกรรมล้านนาร่วมกับสถาปัตยกรรมล้านนาอ่ืนท้ังแบบเก่าและแบบใหม่ มีความชัดเจน ในแนวคิดและเร่ืองราวของการออกแบบ มีขนาดและสัดส่วนเหมาะสมต่อการใช้งาน มีบรรยากาศ ที่ดีและสวยงาม จากการเลือกใช้องค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ โครงสี วัสดุ แสงธรรมชาติและ แสงประดิษฐ์ เครอ่ื งเรือน เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ ตลอดจนภูมิสถาปัตยข์ องสถานประกอบการ ทสี่ ่งเสรมิ สภาพแวดล้อมและบรบิ ทของชุมชน 2. อุปกรณ์ เครอ่ื งใช้ การแตง่ กาย สิง่ แสดงภาพลกั ษณ์ การเลือกอุปกรณ์ เคร่ืองใช้ การแต่งกาย ส่ิงแสดงภาพลักษณ์ของสปา ต้องมีที่มา เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมล้านนา น�ำไปสู่การสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในอัตลักษณ์ ลา้ นนารว่ มสมยั ไมม่ ผี ลกระทบตอ่ ความเชอ่ื และคา่ นยิ มของวฒั นธรรมลา้ นนาดง้ั เดมิ มกี ารออกแบบ เชิงประยุกต์ มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ละเมิดลิขสิทธ์ิ สอดคล้องกับอุตสาหกรรมสปาร่วมสมัย และสอดคลอ้ งกับองคป์ ระกอบอนื่ ๆ อย่างมเี อกภาพ ภาพที่ 20 จ�ำลองการบริการผิวกายด้วยการขดั ผวิ ดว้ ยสมุนไพรลา้ นนา 32 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

ภาพท่ี 21 การใช้ดอกไมพ้ ้นื บ้านลา้ นนาในการสรา้ งบรรยากาศในสปา 3.2) ด้านกลิ่นและรส 1. ดา้ นกลนิ่ การสอื่ ความหมายอตั ลกั ษณไ์ ทยล้านนาสปาดา้ นกลิ่น จะพจิ ารณาจากการปลกู ไมห้ อม การน�ำดอกไม้หอมไทยล้านนามาประดับสถานประกอบการ น�ำน�้ำมันหอมระเหยจากพืชพ้ืนบ้าน ล้านนามาสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมในสปา มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากน�้ำมันหอมระเหย จากพืชพ้ืนบ้านล้านนา การใช้น�้ำมันตัวพา (carrier oil) จากพืชพื้นบ้านล้านนาในองค์ประกอบ หลักของผลิตภัณฑ์ท�ำความสะอาด ขัด และพอกผิว ผลิตภัณฑ์แช่อาบ แช่มือ แช่เท้า น�ำองค์ ความร้พู นื้ บา้ นลา้ นนา ทงั้ ประคบ อาบอบ ดว้ ยผลติ ภัณฑจ์ ากสมนุ ไพรไทยทเี่ ป็นผลติ ภณั ฑ์อินทรยี ์ และมีความคิดสร้างสรรค์ 2. ด้านรส การให้บริการเครื่องดื่มสุขภาพท่ีมาจากพืชพ้ืนบ้านล้านนา มีการให้ค�ำแนะน�ำ และมคี วามคิดสรา้ งสรรคใ์ นการน�ำพชื พื้นบา้ นลา้ นนามาประยุกต์ใช้ กรมสนบั สนนุ บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 33

ภาพที่ 22 ตัวอยา่ งการบริการเคร่อื งดมื่ สขุ ภาพจากสมุนไพร 3.3) ด้านเสียง องค์ประกอบด้านเสยี ง ทเ่ี ปน็ อัตลักษณ์ไทยลา้ นนาสปา ตอ้ งมกี ารเลอื กเสยี งหรอื ดนตรี ซึ่งมีท่ีมาของเสียงและดนตรีท่ีน�ำมาใช้ และสามารถน�ำไปสู่การสร้างสรรค์ให้เกิดแรงบันดาลใจ ในอัตลักษณ์ล้านนาร่วมสมัย เสียงและดนตรีต้องไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อความเชื่อ และค่านิยม ของวัฒนธรรมล้านนาด้ังเดิม ประยุกต์สอดคล้องกับอุตสาหกรรมสปาร่วมสมัย ไม่ละเมิดลิขสิทธ์ิ และสามารถร่วมกบั องคป์ ระกอบอื่นไดอ้ ยา่ งมเี อกภาพ ภาพที่ 23 กลองลา้ นนาทนี่ ำ� มาประยกุ ตใ์ ชใ้ นบทเพลงอตั ลักษณล์ า้ นนา 34 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพ่ือสุขภาพ

3.4) ด้านสัมผัส 1. การบรกิ ารท่วั ไป การตอ้ นรบั พจิ ารณาถงึ การสอื่ สารดว้ ยภาษาลา้ นนา บรกิ ารดว้ ยกริ ยิ าออ่ นชอ้ ย เรยี บรอ้ ยในรปู แบบ ชาวล้านนา เมนูการบริการมีเอกลักษณ์แบบล้านนา และมีการให้ข้อมูลอัตลักษณ์ล้านนา แก่ผู้รับบรกิ าร 2. การนวดไทยล้านนา ภาพท่ี 24 จำ� ลองการนวดพนื้ บา้ นลา้ นนา พิจารณาถึงผู้ให้บริการ ท่ีบริการด้วยวิธีการ รูปแบบการนวดซึ่งมีอัตลักษณ์ล้านนา ไดแ้ ก ่ นวดพน้ื บา้ นลา้ นนา นวดแบบสวนดอก นวดไทยลา้ นนาประยกุ ต์ นวดลา้ นนาเอ็กโซติก หรอื ทา่ นวดท่ีประดษิ ฐ์ขึน้ มาจากการนวดแบบลา้ นนา พิธกี รรม (สกั การบชู า หรือกรรมบูชา) 3.5) การบรหิ ารจดั การอัตลักษณไ์ ทยลา้ นนาสปาแบบยง่ั ยนื 1. ด้านธรรมาภบิ าลและบรหิ ารจดั การ สปาท่ีมีอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา ต้องมีผู้บริหารท่ีสนับสนุนการน�ำอัตลักษณ์ล้านนา มาใชใ้ นสถานประกอบการสปา มสี ว่ นรว่ มในงานศิลปวฒั นธรรม ประเพณลี า้ นนา ทีช่ มุ ชนจดั ขนึ้ ใน เทศกาลต่างๆ และพนักงานมสี ่วนรว่ มในการน�ำวัฒนธรรมลา้ นนามาใชใ้ นการประกอบอาชพี กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 35

2. ดา้ นศิลปวัฒนธรรม ประเพณลี ้านนา สปาที่มีอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา ต้องมีสวัสดิการต่างๆให้พนักงาน มีการก�ำหนด วิธีการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ จดทะเบียนและเสียภาษีตามกฎหมาย มีนโยบายตอ่ ตา้ นการคา้ ประเวณี เปิดโอกาสใหช้ ุมชนมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมของสปา 3. ด้านเป็นมติ รตอ่ สง่ิ แวดลอ้ ม สปาท่ีมีอัตลักษณ์ไทยล้านนาสปา ต้องมีนโยบายต่อส่ิงแวดล้อม อนุรักษ์พลังงาน มีการน�ำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในองค์กร ไม่สร้างภาระด้านส่ิงแวดล้อม ในชุมชน สงิ่ สนบั สนนุ ทจ่ี ะทำ� ใหเ้ กดิ ความยง่ั ยนื ไดแ้ ก่ การฝกึ อบรมพนกั งานนวด พนกั งานตอ้ นรบั และผู้ด�ำเนินการสปา การประกวดเครื่องดื่มในสปา การประกวดผลิตภัณฑ์สปา การประกวด การนวดสปาการมอบรางวลั อตั ลกั ษณไ์ ทยลา้ นนาสปาอวอรด์ ทกุ 3ปีนอกจากน้ียงั มกี ารผลติ สอ่ื ตา่ งๆ ไดแ้ ก่ใบปลวิ แผน่ พบั แผนที่ทำ� เนยี บรายชอ่ื (directory)การประชาสมั พนั ธ์ไดแ้ ก่การทำ� ปา้ ยโฆษณา สือ่ วิทยุ ทวี ี สื่อสงั คมออนไลน์ การท�ำเว็บไซด:์ lannahealthhub.org เป็นต้น ภาพที่ 25 การจัดงานมอบรางวัลอตั ลกั ษณ์ไทยล้านนาสปา ประจ�ำปี พ.ศ.2559 36 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพื่อสขุ ภาพ

4.3 อัตลักษณ์ไทยอีสานสปา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของประเทศไทย สัมผสั ไดด้ ว้ ยศาสตรท์ ัง้ 5 ของประสาทสมั ผัส ไดแ้ ก่ ดา้ นรปู ด้านรส ด้านกลน่ิ ด้านเสยี ง และ ด้านการสัมผัส อันเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการสปา เพื่อสร้างสภาวะสมดุลระหว่างร่างกาย จิตใจ วิญญาณ และอารมณ์ ซึ่งสามารถสร้างอัตลักษณ์ของตนเองให้แตกต่างจากภูมิภาคอ่ืนๆ ไดเ้ ปน็ อย่างดี ดา้ นรปู หรอื การรบั รจู้ ากการมองเหน็ อาจแบง่ ออกเปน็ 2 สว่ น คอื การตกแตง่ ภายนอก และภายใน และส่ิงแสดงภาพลักษณ์ การตกแตง่ ทั้งภายนอกและภายในอาจประยกุ ตส์ ถาปตั ยกรรม ท่ีมีอยู่มาเป็นอาคารส�ำหรับจัดบริการสปาได้ เช่น การน�ำเฮือนอีสาน หรือบ้านแบบอีสาน มาเป็น รูปแบบหลัก ส่วนอื่นๆ ประตู หน้าต่าง ผนัง สามารถน�ำวัสดุหรือลายมาใช้ตกแต่ง โดยอาจปรับ ประยกุ ตใ์ หด้ ทู นั สมยั ยงิ่ ขนึ้ ภายในหอ้ งตา่ งๆ อาจตกแตง่ ดว้ ยผา้ ทอซง่ึ มมี ากมายและเปน็ เอกลกั ษณ์ จากแต่ละท้องถ่นิ ทัง้ ผา้ มดั หม่ี ผ้าขิด ผ้าแพรวา ผ้าย้อมสีคราม ผา้ ขาวมา้ ท้งั ทอจากไหมและฝา้ ย สว่ นอปุ กรณแ์ ละเครอื่ งใชอ้ าจนำ� เครอ่ื งจกั สานรปู แบบอสี านมาจดั ตกแตง่ หรอื ใหบ้ รกิ าร นอกจากนน้ั ภาคอีสานยังมีรูปแบบจติ รกรรมทเ่ี ป็นเอกลักษณอ์ ีกดว้ ย ภาพท่ี 26 การตกแต่งภายในเลยี นแบบฝาไมไ้ ผจ่ ักสานที่ใหบ้ รรยากาศอีสาน (ขอขอบคณุ ภาพจาก เลอสปา โรงแรมพลู แมน ขอนแกน่ ราชาออคิด อ.เมือง จ.ขอนแก่น) กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 37

ภาพที่ 27 การตกแต่งดว้ ยวัสดุ อุปกรณ์ที่ได้จากภูมปิ ญั ญาท้องถ่ินเช่น ผ้าทอ หมอน พานหมาก เครือ่ งจักสาน (ขอขอบคุณภาพจาก ชวี าทิพย์สปา อ.เมอื ง จ.ขอนแกน่ ) ภาพท่ี 28 การนำ� พานหมาก หรอื เชยี่ นหมากแบบอสี าน และเครื่องจักสาน มาจัดตกแต่งหรือจัดดอกไม้ (ขอขอบคณุ ภาพจาก ชวี าทิพย์สปา อ.เมือง จ.ขอนแกน่ ) ด้านรส หรือการรับรู้จากการบริโภคและดื่ม อาหารอีสานหลายเมนูนับเป็นอาหาร เพ่ือสุขภาพ ท่ีประกอบและปรุงจากวัตถุดิบธรรมชาติซ่ึงเน้นผักเป็นหลัก ส่วนเคร่ืองดื่มน้ัน มีพืชพรรณท้องถิ่นท่ีเป็นเอกลักษณ์ เช่น หมาน้อย หรือกรุงเขมา นับเป็นเมนูเพ่ือสุขภาพ ทใี่ ห้พลงั งานตำ่� เครื่องด่ืมจากผลมะเม่า ชาจากตน้ ก�ำลังเสือโคร่ง ด้านกล่ิน หรือการรับรู้จากการสูดดม กล่ินที่ใช้ในสปาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กล่ิน ของผลิตภัณฑ์และกลิ่นเพ่ือสร้างบรรยากาศ กล่ินของผลิตภัณฑ์หลักๆท่ีใช้กันอยู่ คือ ไพล ขมิ้น ใบหนาด ใบเปล้า ใบหมากแนง่ สว่ นกลนิ่ เพอ่ื สร้างบรรยากาศจะเน้นกลิน่ หอมของดอกไม้ท้องถน่ิ 38 เอกสารความรู้ ผ้ดู ำ�เนนิ การสปาเพ่อื สุขภาพ

ซ่ึงโดดเด่น คือ ดอกสเลเต (ดอกมหาหงส์) เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมและศาสนา ใชแ้ ตง่ ขันหา้ พานบายศรี หรือใช้ทดั หู มีกล่นิ หอมละมุน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ด้านเสียง หรือการรับรู้ด้วยการฟัง ในภาคอีสานเองถึงแม้ว่าจังหวะดนตรีจะเน้น ความสนกุ สนาน แตบ่ างลายเพลงหรอื เครอ่ื งดนตรบี างชนดิ สามารถบรรเลงเพลงทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ อารมณ์ สงบและผ่อนคลายได้ เครื่องดนตรใี นภาคอสี านที่โดดเด่น ได้แก่ แคน โหวด พณิ ปี่ไสล โปงลาง ด้านการสัมผัส การนวดในภาคอีสานมีเอกลักษณ์ด้านวิธีการนวดและรูปแบบ การนวดเฉพาะตัวโดยธรรมชาติ การนวดแบบอีสานถูกพัฒนามาเพ่ือประโยชน์ในการบ�ำบัดรักษา โรคทางกลา้ มเนื้อ จงึ มหี ลากหลายรปู แบบ อย่างไรก็ตาม หากจะน�ำมาประยุกตใ์ หเ้ ป็นสว่ นประกอบ ของสปาอีสาน ควรเลือกเพียงบางเทคนิคและวิธีที่เหมาะสมมาประยุกต์ ท้ังน้ีเพื่อให้ได้การนวด แบบอีสานแต่ทำ� ใหร้ ู้สึกสบายกายและจติ ใจไดแ้ ก่ ลบู รีด บิด คลงึ ดงึ ดดั สบั กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 39

5. สปากับการดูแลสุขภาพองค์รวม ค�ำว่า ‘Holistic’ มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ ค�ำว่า ‘Holos’ หมายถึง ‘Whole’ แปลวา่ ทัง้ หมดในทางการแพทย์องค์รวม หมายถงึ การดแู ลสุขภาพ ร่างกาย จติ ใจ และจติ วญิ ญาณ (body, mind and spirit) เนน้ การเสรมิ สร้างสขุ ภาพ เพอ่ื ให้ประชาชนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจสขุ ภาพ ของตนเองมากข้ึน มมุ มองของการดูแลสขุ ภาพแบบองคร์ วม จงึ ครอบคลมุ ในหลายมติ ิ 5.1 ความหมายของสุขภาพ และสุขภาพองค์รวม ‘สุขภาพ’ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายของ ค�ำว่า สขุ ภาพ หมายถงึ ภาวะของมนุษยท์ ี่สมบรู ณท์ ้งั ทางกาย ทางจติ ทางปญั ญา และทางสงั คม เชอ่ื มโยงกนั เปน็ องค์รวมอย่างสมดุล สุขภาพองค์รวม (Holistic Health) หมายถึง ความสมดุลของทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วยหรือไม่มีโรค หากยังครอบคลุมถึงการด�ำเนินชีวิต ท่ียืนยาวและมีความสุขของทุกคนดว้ ย 5.2 องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม องค์ประกอบของสขุ ภาพองคร์ วมมี 5 มิติ ได้แก่ มติ ทิ างกาย (Physical dimension) เปน็ มติ ทิ างรา่ งกายทส่ี มบรู ณแ์ ขง็ แรง ปราศจากโรค หรือความเจ็บป่วย มีปัจจัยองค์ประกอบท้ังด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม ท่ีอยู่อาศัย ปัจจัยเกื้อหนุน ทางเศรษฐกจิ ทีเ่ พียงพอ และสง่ เสรมิ ภาวะสขุ ภาพ มิติทางจิตใจ (Psychological dimension) เป็นมิติท่ีบุคคลมีสภาวะทางจิตใจแจ่มใส ปลอดโปรง่ ไมม่ ีความกงั วล มีความสขุ มีเมตตาและลดความเห็นแกต่ ัว มิติทางจิตวิญญาณ (Spiritual dimension) เป็นความผาสุกท่ีเกิดจากจิตสัมผัสต่อ สิ่งท่ียึดมั่นและเคารพสูงสุด ท�ำให้เกิดความหวัง ความเชื่อมั่น และศรัทธา ปฏิบัติดีงามด้วย ความมีเมตตากรุณาไม่เห็นแก่ตัว เสียสละและยินดีที่ได้เห็นความสุขหรือความส�ำเร็จของบุคคลอ่ืน ท้งั นส้ี ุขภาวะทางจติ วญิ ญาณจะเกดิ ข้ึนเมื่อบุคคลมีความหลดุ พ้นจากตัวเอง (self-transcending) 40 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพือ่ สุขภาพ

มิติทางอารมณ์ (Emotional dimension) มนุษย์จะตอบสนองต่ออารมณ์ทั้งทางบวก และลบ ผลที่เกิดขึ้นจะเปน็ สิ่งดีหรือร้ายอย่ทู ก่ี ารควบคุมตนเอง มิติทางสังคม (Social dimension) เป็นความผาสุกของครอบครัว สังคม และ ชุมชน สามารถให้การดูแลช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน สังคมมีความเป็นอยู่ที่เอื้ออาทรเสมอภาค มคี วามยตุ ิธรรม มีระบบบรกิ ารทดี่ แี ละท่ัวถงึ มิติสุขภาพองค์รวมท้ัง 5 ซึ่งถือเป็นสุขภาวะ จะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยสุขภาวะทางจิตวิญญาณจะเป็นมิติส�ำคัญ ที่เช่ือมโยงความเป็นองค์รวมของกาย จิต อารมณ์ สังคมของบุคคลและชุมชนให้สอดประสานเข้าเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน จิตวิญญาณเป็นสิ่งส�ำคัญ ต่อสุขภาพ จะยึดสุขภาวะในมิติอ่ืนๆ ให้ปรับตัวประสานกันอย่างครอบคลุมและครบถ้วน ท้ังใน ระดับปัจเจกบุคคลและชุมชน หากขาดสุขภาวะทางจิตวิญญาณ มนุษย์จะไม่พบความสุขท่ีแท้จริง เกดิ ความรสู้ กึ วา่ ตนเองบกพรอ่ งไมส่ มบรู ณ์ หากมคี วามพรอ้ มถงึ สง่ิ อนั มคี ณุ คา่ สงู สดุ กจ็ ะมคี วามสขุ หรอื สุขภาวะที่ดไี ด้ แมว้ า่ จะบกพร่องทางกาย เชน่ มีความพิการหรือเป็นโรคเรือ้ รงั หรอื รา้ ยแรง 5.3 แนวคิดเก่ียวกับสุขภาพ แนวคดิ เกยี่ วกบั สขุ ภาพมคี วามแตกตา่ งกนั ขน้ึ อยกู่ บั ปรชั ญาความเชอื่ และทศั นคติ หรอื ความสนใจ โดย ‘Smith’s model of health’ ไดว้ ิเคราะห์และแบ่งออกเป็น 4 รปู แบบ ได้แก่ รปู แบบทางคลนิ กิ (Clinical model) รปู แบบนใ้ี หค้ วามหมายสขุ ภาพเปน็ การปราศจาก อาการแสดงของพยาธิสภาพหรือการที่บุคคลปราศจากความพิการ เป็นการรักษาสมดุล ทางดา้ นสรีรวิทยาซ่ึงบุคคลจะรอใหเ้ กดิ อาการ และอาการแสดงแล้วจึงมงุ่ รกั ษาโรค รปู แบบทางดา้ นการปฏบิ ัติตัวตามบทบาท (Role performance model) เปน็ รปู แบบ ที่ให้ความหมายสุขภาพเป็นความสามารถของบุคคลท่ีจะปฏิบัติหน้าท่ีตามท่ีสังคมคาดหวังได้ ครบถ้วน 3) รูปแบบดา้ นการปรับตัว (Adaptation model) รปู แบบนีเ้ ชอื่ วา่ บคุ คลมกี ารปรับตวั ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและตลอดเวลาเพ่ือรักษาดุลยภาพกับสิ่งแวดล้อม เป็นความสามารถ ในการปรับตัวกับส่ิงแวดล้อม ที่ท้าทาย รวมท้ังสิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งที่คุกคามทางกายภาพ สขุ ภาพทด่ี จี ะเปน็ ความยดื หยนุ่ ในการปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กบั สง่ิ แวดลอ้ มไดอ้ ยา่ งสมดลุ เปน็ การมปี ฏสิ มั พนั ธ์ กับสิ่งแวดล้อมที่ก่อใหเ้ กิดประโยชน์สงู สดุ กับชีวติ กรมสนับสนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 41

4) รูปแบบด้านความผาสุก (Eudaimonistic model) ค�ำ Eudaimonistic หมายถึง ความผาสุก (well-being) ความสุข (happiness) รูปแบบน้ีเช่ือว่าการท่ีบุคคลสามารถกระท�ำ ตามบทบาทท่ีได้รับมอบหมาย และมีศักยภาพทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ สุขภาพเป็นภาวะท่ีมีความผาสุกท่ีไม่หยุดน่ิง และเป็นความภาคภูมิใจตนเอง สามารถปฏิสัมพันธ์ กับครอบครัวและชุมชนได้ บุคคลท่ีมีภาวะสุขภาพแข็งแรงสามารถท�ำงานได้ตามหน้าท่ีรับผิดชอบ อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ 5.4 ปัจจัยก�ำหนดความมีสุขภาพดี (Health determinants) ปัจจยั ก�ำหนดความมีสุขภาพดี ข้นึ กบั องค์ประกอบดา้ นบุคคล สังคม ส่ิงแวดล้อม และ ระบบการบริการสุขภาพ ซึ่งสามารถจำ� แนกได้ตอ่ ไปน้ี สถานะทางสังคมและภาวะเศรษฐกิจ (Income and social status) มีผลต่อภาวะ สขุ ภาพทำ� ใหบ้ คุ คลมคี วามสามารถในการดแู ลตนเอง และแสวงหาการบรกิ ารสขุ ภาพทเี่ หมาะสมได้ การมีเครือข่ายและแรงสนับสนุนทางสัมคม (Social support networks) ต้ังแต่ใน ครอบครัวทที่ ำ� งาน หนว่ ยงานอื่นและชมุ ชน ในลักษณะเชิงบวก ย่อมเกิดผลดีต่อสขุ ภาพ การศกึ ษา (Education and literacy) เป็นปัจจยั สำ� คัญทำ� ใหบ้ ุคคลร้จู ักเรียนร้กู ารดูแล สุขภาพตนเอง และหลกี เล่ยี งภาวะเสย่ี งตา่ งๆ ท่มี ผี ลต่อสขุ ภาพ สภาวะการท�ำงาน (Employment working conditions) อาชีพ ลักษณะงาน และสิ่งแวดล้อมในสถานท่ีท�ำงาน มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของคนท�ำงาน เช่น ผู้ให้บริการ มโี อกาสเสี่ยงตดิ เชอื้ ในการท�ำงาน เป็นตน้ ส่ิงแวดล้อมทางสังคม (Social environment) สิ่งแวดล้อมทางสังคมท่ีครอบคลุม ท้ังครอบครัว ชุมชน และระบบสังคม หากมีครอบครัวท่ีอบอุ่น ย่อมสามารถดูแลสุขภาพตนเอง สร้างความเข้มแขง็ ของชุมชน และระบบสงั คมทีเ่ อือ้ ตอ่ การสร้างเสรมิ สุขภาพ สง่ิ แวดลอ้ มทางกายภาพ (Physical environment) ไดแ้ ก่ ปจั จยั พนื้ ฐานในการดำ� รงชวี ติ การคมนาคม และยานพาหนะ อาจท�ำให้เกิดอุบัติเหตุ สิ่งเสพติดและมลภาวะท่ีเป็นพิษ ตลอดจน สง่ิ อำ� นวยความสะดวก สวนสาธารณะ สวนสุขภาพต่างๆ ซง่ึ เปน็ ปจั จัยทีม่ ผี ลตอ่ สุขภาพทัง้ สน้ิ การปฏิบตั ภิ าวะสุขภาพส่วนบุคคล (Personal health practices and coping skills) งานอดิเรก การใช้เวลาว่าง การพักผ่อน และการผ่อนคลาย หากได้กระท�ำอย่างถูกต้อง ย่อมมีผล ต่อภาวะสุขภาพ 42 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนนิ การสปาเพ่อื สุขภาพ

พฒั นาการภาวะสุขภาพในวัยเด็ก (Child health development) พัฒนาการในวัยเดก็ ย่อมมผี ลตอ่ ภาวะสุขภาพจนถึงวยั สูงอายุ ทำ� ใหก้ ารดแู ลสขุ ภาพแตกตา่ งกัน ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม (Biology and genetic endowment) ทุกคนจะมี พันธุกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทั้งของบิดา และมารดา มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดรูปร่าง หน้าตา นิสยั พฤติกรรม โรคบางโรคถา่ ยทอดทางพันธกุ รรมได้ เช่น เบาหวาน เป็นต้น 10) การใชบ้ รกิ ารสขุ ภาพ (Health services) 11) เพศ (Gender) สตรจี ัดเป็นเพศทอี่ ่อนแอในบางสงั คม สว่ นใหญ่เพศหญงิ มีอายุขัย เฉลย่ี สงู กว่าเพศชาย 12) ประเพณีวัฒนธรรม (Culture) ข้ึนกับความเช่ือ ค่านิยมของบุคคลแต่ละท้องถ่ิน ทีม่ ีพฤติกรรมในการดแู ลสขุ ภาพทีเ่ สีย่ งตอ่ การเกิดโรคได้ ในภาวะปัจจุบัน คนเราเร่ิมเห็นความส�ำคัญของการมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง จิตใจเป็นสุขสงบ ภาวะการมีสุขภาพดีเชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซ่ึงเป็นแนวคิด ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ‘N E W S T A R T’ โดยองคก์ ารอนามยั โลกได้ให้ความหมาย ของการตืน่ ตวั ในการรกั ษาสุขภาพของคนยคุ ใหม่ ประกอบดว้ ย N - NUTRITION : อาหาร โภชนาการ E - EXERCISE : การออกก�ำลงั กาย W - WATER : น้ำ� S - SUNSHINE : แสงแดด T - TEMPERANCE : ความพอดี ความเหมาะสม การละเวน้ สิง่ ท่ีให้โทษ ต่อรา่ งกาย A - AIR : อากาศ R - REST : การพกั ผอ่ น T - TRUST IN GOD : ความเช่อื ความศรัทธา สมาธิ จติ ใจแจม่ ใส กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 43


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook