4บทที่ การเคล่ือนไหวและพ้นื ทตี่ ัวอย่าง ด้านการดแู ลสุขภาพผูส้ ูงอายุ ดว้ ยภมู ิปัญญาพ้นื บา้ น
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก บทท่ี 4 การเคลอ่ื นไหวและพนื้ ทตี่ ัวอย่างดา้ นการดูแลสขุ ภาพ ผูส้ ูงอายุดว้ ยภูมิปัญญาพน้ื บ้าน ระหวา่ งปี พ.ศ. 2555 – 2556 สำนักการแพทย์พืน้ บา้ นไทย กรมพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มภี ารกจิ ในการศึกษา วเิ คราะห์ วิจัยและพฒั นาองค์ความรแู้ ละเทคโนโลยกี ารแพทย์พ้ืนบ้านไทย และสง่ เสรมิ การใช้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในระบบสุขภาพภาคประชาชนและระบบ สขุ ภาพปฐมภูมิ และได้ดำเนินการจดั ทำ “โครงการส่งเสรมิ การใชภ้ ูมปิ ญั ญา การแพทย์พ้นื บา้ นเพื่อการดูแลสขุ ภาพผู้สูงอายุในชุมชน” มวี ตั ถุประสงคเ์ พอ่ื จดั การองคค์ วามรแู้ ละสง่ เสรมิ การใชป้ ระโยชนจ์ ากภมู ปิ ญั ญาการแพทยพ์ น้ื บา้ น เพ่ือการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนารูปแบบการส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์ พ้ืนบา้ นในการดแู ลผ้สู ูงอายุ พ้นื ท่ีเปา้ หมาย 9 พน้ื ทีต่ น้ แบบ ใน 5 ภูมภิ าค วิธกี ารดำเนนิ งาน คือ (1) การสง่ เสรมิ การใช้ประโยชน์ ภูมปิ ัญญาการแพทย์ พื้นบ้านเพื่อผู้สูงอายุ โดย การคัดเลือกพ้ืนท่ีเป้าหมาย สนับสนุนแนวคิดและ แนวทางปฏิบตั ิงานสำหรับพน้ื ท่ี สนับสนนุ งบประมาณ และสรุปประเมนิ ผล และ (2) มภี ารกิจจดั จา้ งผ้เู ชี่ยวชาญดา้ นการแพทย์พื้นบ้าน เพ่อื จดั การความรู้ ด้านภมู ิปญั ญาการแพทย์พื้นบา้ นเพือ่ ดูแลสุขภาพผสู้ งู อายุ ปจั จุบนั โครงการ ดังกล่าวดำเนินงานสำเร็จและมีรายงานสรุปงานแล้ว สำหรับบทเรียนของ โครงการ สรุปไดเ้ ปน็ 2 รปู แบบหลกั คือ (1) แนวคิดและรูปแบบการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน ด้านสขุ ภาพเพอ่ื การดแู ลสุขภาพผู้สงู อายุ ค่มู อื 103 “แนวทางการดแู ลสุขภาพผู้สูงอายุดว้ ยภูมิปัญญาพน้ื บ้านดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตวั อยา่ งท่ี 1 ตำบลนาไหม อำเภอบ้านดงุ จังหวัดอุดรธานี 1. บรบิ ททางสังคม ตำบลนาไหม เป็นชุมชนท่มี ปี ระวตั ิศาสตร์กว่า 100 ปี ในอดตี ชาว ไทยอีสานได้อพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัด นครราชสีมา และจังหวัดร้อยเอ็ด และต้ังหลักแหล่งบริเวณบ้านนาไหม ในปัจจบุ นั ต่อมาชุมชนขยายตัวและกอ่ รูปเปน็ ตำบลนาไหม ในปี พ.ศ. 2537 ตำบลนาไหมมพี ืน้ ท่ี 115.47 ตารางกโิ ลเมตร ตง้ั อย่บู นทีร่ าบสงู และท่รี าบลุ่ม แม่น้ำ เหมาะกับการทำการเกษตร ชุมชนจะสร้างบ้านอยู่อาศัยบริเวณสอง ข้างทาง เป็นบ้านไม้มีใต้ถุนและบ้านปูนสองชั้น บ้านสร้างอยู่เป็นกลุ่มและ กระจายอยใู่ นบรเิ วณพน้ื ทภ่ี ายในชมุ ชน ภายในชมุ ชนตำบลนาไหม มปี ระชากร ประมาณ 10,826 คน และประกอบดว้ ยบา้ นเรอื นจำนวน 2,197 หลงั คาเรอื น (13 หมบู่ ้าน) ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลกั คือ ทำนา ทำไร่ (ไรอ่ ้อย ยางพารา) ทำสวน (สวนผลไม้) และเลยี้ งสตั ว์ สว่ นอาชพี รอง คอื การรบั จา้ ง ทง้ั ในและนอกพน้ื ท่ี ประชาชนบางสว่ นจะไปทำงานตา่ งประเทศ ทำใหม้ รี ายได้ และช่วยเหลือครอบครัวได้มาก ภายในชุมชนมีวิถีวัฒนธรรมแบบไทยอีสาน ตามแนว “ฮตี 12 คอง 14” ชาวตำบลนาไหมมกี ารสบื ทอดและจัดงานบุญ ประเพณี 12 เดือนอย่างตอ่ เนื่องทกุ ปี ตวั อย่างเช่น บญุ สงกรานต์ บุญบ้ังไฟ บุญเบิกบา้ น บุญขา้ วประดับดนิ และบญุ ข้าวสาก เป็นต้น ตำบลนาไหม มี 13 หม่บู ้าน องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นรับผดิ ชอบ โดยองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลนาไหม (อบต.นาไหม) สว่ นดา้ นสขุ ภาพรบั ผดิ ชอบ 104 คู่มอื “แนวทางการดแู ลสุขภาพผสู้ งู อายดุ ว้ ยภูมิปญั ญาพ้ืนบ้านดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาไหม รพ.สต.นาไหม ร่วมกบั สมาชกิ อบต.นาไหม ผู้นำชมุ ชน และผ้นู ำกลุม่ /ชมรมในชุมชน รว่ มกนั วเิ คราะห์ชมุ ชน เพื่อศึกษาปัญหาและทางออกของชุมชน พบว่า ชาวตำบลนาไหมมีปัญหา หลายดา้ น ไดแ้ ก่ ด้านเศรษฐกจิ ด้านครอบครัว / สงั คม และดา้ นสงิ่ แวดล้อม สำหรับปญั หาด้านเศรษฐกจิ คอื ครอบครวั มรี ายไดน้ อ้ ย รายจา่ ยมาก และ ทำมาหากนิ ลำบาก และไมม่ งี านทำทง้ั ผใู้ หญแ่ ละเยาวชน ดา้ นครอบครวั /สงั คม พบว่า ชุมชนและครอบครัวมีความขัดแย้ง ขาดความสามัคคี หลงวัตถุ หลงอบายมขุ (การพนนั สรุ า บุหรี่ ยาเสพติด) เดก็ ไมเ่ ช่อื ฟังพอ่ แม่ เหงา ขาดความอบอุ่น และครอบครัวต้องเลี้ยงลูกหลานเยอะ ด้านสิ่งแวดล้อม ชมุ ชนมปี ญั หามลพิษทางเสียง และมีปัญหานำ้ เสยี ในชุมชน นอกจากนย้ี ังไดม้ ี การประชุมเพ่ือกำหนดความคาดหวังของชุมชน ที่สำคัญ คือ ประชาชนมี สุขภาพดีท้ังร่างกายและจิตใจ และใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ภาคีเครือข่าย มีอำนาจตัดสินใจและมีความเข้มแข็ง อบต. กระจายอำนาจและส่งเสริม การทำงานของทกุ ภาคสว่ น ตลอดจนสบื สานวฒั นธรรมและภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ด้านสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ชุมชนครั้งน้ียังขาดข้อมูลเก่ียวกับ สถานการณ์และวิถีชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน จากข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาใน ชุมชนคาดว่า ผู้สูงอายุอาจมีบทบาทดูแลสุขภาพและเล้ียงดูหลานท่ีพ่อแม่ ไปทำงานต่างถิน่ อนั เป็นบทบาทสำคญั ของผสู้ งู อายุในชนบทปัจจบุ นั 2. สถานการณ์ดา้ นสขุ ภาพของผสู้ ูงอายุ รพ.สต.นาไหม รายงานว่า ในตำบลนาไหม 13 หมู่บ้าน มีจำนวน ผู้สูงอายุท้ังหมด 1,166 คน แต่ผู้สูงอายุที่อยู่จริงมีจำนวน 805 คน จำแนก เป็นกลุ่มสุขภาพดี 387 คน กลมุ่ สุขภาพมคี วามเส่ยี ง 193 คน กลมุ่ มโี รค 196 คน กลมุ่ ทพ่ี กิ าร 44 คน สำหรบั แนวคิดในการดแู ลสขุ ภาพผู้สูงอายุ คมู่ อื 105 “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผสู้ งู อายดุ ว้ ยภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นไปตามพันธกิจหลักของการบริการสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล คอื “การให้บรกิ ารเชงิ รกุ เชื่อมต่อกบั ภาคสี ขุ ภาพ และเช่ือมโยงกับ ทกุ ภาคสว่ นในชมุ ชน” หวั ใจการบรกิ ารผสู้ งู อายุ คอื การประสานความรว่ มมอื การบรกิ ารสุขภาพผสู้ ูงอายุ ระหวา่ งภาคีบริการชุมชน/ทอ้ งถิน่ ภาคีบรกิ าร สุขภาพและภาคีบริการสังคม สำหรับ รพ.สต.นาไหม ให้ความสำคัญกับ ผู้บริการ มีเจตคติที่ดีต่อผู้สูงอายุและความสูงอายุ มีความรู้และทักษะการ ดูแลผู้สงู อายุ ระบบบริการและสงิ่ แวดล้อมทเี่ อ้อื อาทรต่อผสู้ งู อายุสำหรบั การ จัดบริการผู้สูงอายุ เป้าหมายการบริการผู้สูงอายุ คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันภาวะทุพพลภาพและส่งเสริมความเป็นอิสระ/ความพึ่งพาตนเอง ของผู้สูงอายุ รพ.สต.นาไหม มีการจดั บริการสขุ ภาพผสู้ งู อายอุ ยา่ งเหมาะสม สำหรบั ผู้สงู อายุ 3 กล่มุ คือ กลมุ่ ผ้สู งู อายุท่เี จ็บปว่ ย กล่มุ ผูส้ ูงอายุที่มปี ัญหา สุขภาพ และกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี ตามแนวทางการบริการสุขภาพแบบ ผสมผสาน และสอดคลอ้ งกบั สภาพปญั หาและความตอ้ งการของผสู้ งู อายตุ าม แนวทางของกระทรวงสาธารณสขุ 3. แนวคิดและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของผูส้ ูงอายุ ภายในตำบลนาไหม มกี ลไก “ชมรมผสู้ งู อายุ ตำบลนาไหม” เพอื่ สรา้ ง ความมนั่ คงทางสังคมเพื่อผู้สูงอายุ มีจำนวนสมาชกิ 165 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 20.5 ของผู้สงู อายทุ ้งั หมดของตำบลนาไหม มีประธานชมรมและคณะกรรม การดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุมีบทบาทพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคง ทางสงั คมสำหรบั ผสู้ งู อายุ โดยมอี งคก์ ร/หนว่ ยงานภายในพน้ื ทใ่ี หก้ ารสนบั สนนุ คือ อบต.นาไหม สนับสนุนงบประมาณด้านกจิ กรรมของชมรม รพ.สต.นาไหม สนบั สนนุ ดา้ นบรกิ ารและดา้ นคำปรกึ ษา ดา้ นสขุ ภาพ และกลมุ่ ธรรมรฐั ชมุ ชน อำเภอบา้ นดุง สนบั สนุนการจัดการความรู้และการบริหารของชมรม 106 ค่มู ือ “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผูส้ ูงอายดุ ว้ ยภมู ิปญั ญาพน้ื บา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระยะที่ผา่ นมา ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลนาไหมมีกิจกรรมสำคญั 3 ด้าน คอื (1) การจัดการสวสั ดกิ าร มีการจดั กองทนุ ออมเงนิ การจัดสวัสดกิ าร ฌาปนกิจ การช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และการบริจาคเงินช่วยเหลือ สังคม เพ่ือเป็นการส่งเสริมการออมและช่วยเหลือสมาชิกชมรมเมื่อจำเป็น (2) การสง่ เสรมิ อาชพี และรายได้ โดยสง่ เสริมการรวมกลุ่มด้านอาชีพ เชน่ การทอผ้า การทอเสื่อ และการจักสาน เป็นต้น และนำไปจำหน่ายในงาน เทศกาลเพื่อให้สมาชิกชมรมมีรายได้ อีกทั้งจัดการศึกษาดูงานเพื่อให้มีการ พัฒนางานฝีมือ (3) การเพ่ิมศักยภาพของผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมให้ ผสู้ งู อายทุ มี่ ีภูมปิ ัญญาทอ้ งถิ่น และทกั ษะการทำหตั ถกรรม (จกั สาน ทอผ้า ทอเสื่อ) ถ่ายทอดภมู ิปัญญาให้กบั ลกู หลานหรือสมาชกิ ในครอบครัว เพ่ือเปน็ การส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุและสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่กับ ชุมชนต่อไป ค่มู ือ 107 “แนวทางการดูแลสุขภาพผูส้ งู อายดุ ้วยภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้านด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 4. บทเรยี นการจดั การความรแู้ ละสง่ เสรมิ ภมู ปิ ญั ญาการแพทยพ์ น้ื บา้ น รพ.สต.นาไหม มีการดำเนนิ งานใน “โครงการส่งเสริมการใชป้ ระโยชน์ ภูมิปัญญาการแพทย์พ้ืนบ้านเพือ่ ดูแลสขุ ภาพในชมุ ชน” ในปี พ.ศ. 2556 เป็น การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์พ้ืนบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และ การสรุปบทเรียนการสง่ เสรมิ การแพทย์พน้ื บ้านของพน้ื ที่ มีรายละเอียดดงั น้ี 4.1 ผลการศึกษาภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุต้นแบบ ผู้ศึกษาได้กำหนดเกณฑ์/คุณลักษณะของผู้สูงอายุต้นแบบ หมายถึง ผู้สูงอายุ ท่ีมีอายุ 80 ปีข้ึนไป สุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวหรือมีโรคประจำตัวแต่ ควบคมุ ดแู ลโรคได้ ชว่ ยเหลอื ตนเองได้ มสี ขุ ภาพจติ ดี และชมุ ชนยอมรบั นบั ถอื และมีการสัมภาษณ์ผสู้ ูงอายตุ น้ แบบจำนวน 16 คน พบว่า ผู้สงู อายุตน้ แบบ 16 คน ประกอบด้วย เพศหญงิ 9 คน เพศชาย 7 คน อายรุ ะหว่าง 81 – 92 ปี พบว่า ปัจจัยท่ีทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมท้ังสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ/อารมณ์ สุขภาพสังคมและสุขภาพ จิตวญิ ญาณ ด้านการดูแลสุขภาพกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพกาย แขง็ แรง ช่วยเหลอื ตนเองในกิจวตั รประจำวันได้ มกี ารดูแลสขุ ภาพและดำเนิน ชีวิตแบบเรียบง่าย พออยพู่ อกินตามวิถชี วี ติ ชาวอีสาน สำหรบั การรบั ประทาน อาหาร สว่ นใหญล่ กู หลานจะเตรยี มหรอื ซอ้ื อาหารใหผ้ สู้ งู อายุ อาหารสว่ นใหญ่ จะเป็นผักและปลา เปน็ อาหารออ่ น รสจืดหรอื รสไม่จดั ผักอาจมาจากสวนผัก ในบ้าน หรอื ตลาดในทอ้ งถ่ิน ผู้สงู อายุบางคนจะงดหรอื เล่ยี งการรับประทาน เน้ือสัตว์ กบ ปลาไหล ไก่ บางคนรับประทานอาหารเสรมิ เพอ่ื บำรงุ รา่ งกาย และเมอ่ื เจบ็ ป่วย ผสู้ ูงอายุบางคนมกี ารใช้สมุนไพรเพือ่ ดูแลตนเอง เช่น ขมนิ้ ฟ้าทะลายโจร ข่อย กวาวเครือขาว – แดง กระชายดำ เหงือกปลาหมอ เสลดพังพอน และหญ้าหนวดแมว เป็นต้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ด่ืมสุราและ 108 คู่มอื “แนวทางการดูแลสุขภาพผสู้ ูงอายุด้วยภูมิปญั ญาพื้นบา้ นด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ไม่สูบบุหรี่ ส่วนการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการออกกำลังกาย ทง้ั เป็นแบบแผน และไม่เป็นแบบแผน การออกกำลงั กายทเ่ี ปน็ แบบแผนมีการ ยืดเหยียด การเดิน การวง่ิ เบา ๆ ประมาณ 15 – 20 นาทหี ลงั ตื่นนอนทกุ วัน สว่ นการออกกำลงั กายที่ไมเ่ ปน็ แบบแผน มกี ารปลูกต้นไม้ การปลกู สมนุ ไพร การปลกู ผักสวนครวั การทำงานบา้ น การป่ันจักรยาน เปน็ ต้น ดา้ นการดแู ลจติ ใจ / อารมณ์ ผสู้ งู อายทุ กุ คนจะมสี ขุ ภาพจติ ดี แจ่มใส และจัดการกับความเครียดและปัญหาที่เข้ามากระทบจิตใจได้ หลายคนกล่าวถงึ การปลอ่ ยวาง การไม่คิดมาก การไมพ่ ูด / เฉยๆ การไมเ่ ก็บ เร่ืองท่ีไม่สบายใจมาคิดมาก / หรือใส่ใจ ปล่อยให้เรื่องราวผ่านไป การดูแล จิตใจให้สงบ ปราศจากความโกรธ บางคนอาจใช้วิธีระบายความรู้สึกด้วย การบ่น/การพูด ไม่นานกห็ าย อย่างไรกต็ าม ผ้สู งู อายุหลายคนมกี ารสวดมนต์ เป็นประจำทกุ วัน และยังมกี ารดแู ลสขุ ภาพจติ ใจตนเองด้วยการไปทำบญุ และ ฟังธรรมเป็นประจำ การดูแลด้านจิตวิญญาณ ชุมชนนาไหมเป็นชุมชนชาวพุทธ มีศาสนาพุทธเป็นหลักคำสอนการใช้ชีวิตและมีวัฒนธรรมไทยลาว คือ “ฮีตสิบสอง คองสบิ ส่ี” เปน็ ส่ิงทยี่ งั ถืออย่างตอ่ เน่ือง ผสู้ งู อายสุ ่วนใหญ่เขา้ รว่ ม ประเพณีของชุมชน และยงั มีพธิ ีกรรมการส่ขู วัญ การผูกข้อต่อแขน เป็นการ ยึดเหน่ียวจติ ใจระหวา่ งคนในชุมชน คมู่ ือ 109 “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผ้สู งู อายดุ ้วยภูมิปญั ญาพ้นื บ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การดแู ลดา้ นสงั คม ผสู้ งู อายทุ กุ คนไดร้ บั การดแู ลเอาใจใสจ่ าก ครอบครัวและสังคม อบต.นาไหม มีการสนับสนุนเบ้ียยังชีพผู้สูงอายุ และ สนบั สนนุ กจิ กรรมของชมรมผ้สู ูงอายุ และยงั สง่ เสริมด้านอาชพี /รายได้ และ รพ.สต.นาไหม ยงั ดแู ลดา้ นสขุ ภาพและรกั ษาโรค ทำใหผ้ สู้ งู อายเุ ขา้ รว่ มกจิ กรรม ชมรมผสู้ งู อายุ เช่น การทำบญุ ในงานประเพณี การออกกำลงั กาย การรำวง งานวนั ผสู้ งู อายุ เปน็ ตน้ ทำใหผ้ สู้ งู อายไุ ดร้ บั การดแู ล มกี ารรวมกลมุ่ และมสี งั คม ผู้สูงอายุท่ีดรี ่วมกนั 4.2 ผลการศกึ ษาภมู ปิ ัญญาด้านสุขภาพของหมอพื้นบ้าน ผศู้ กึ ษา ของ รพ.สต.นาไหม มีการรวบรวมข้อมูลหมอพ้ืนบ้านในพ้ืนท่ีตำบลนาไหม โดยการเสาะหาหมอพ้นื บ้านและกำหนดประเด็นการสัมภาษณเ์ ชงิ ลึกสำหรับ หมอพ้ืนบ้าน จากน้ันจึงสัมภาษณ์และเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและ องคค์ วามรหู้ มอพนื้ บ้านเป็นรายบุคคล (แบบสังเขป) และสดุ ท้ายมีการสรุป ภาพรวมของหมอพน้ื บ้านของตำบลนาไหม 110 คูม่ อื “แนวทางการดูแลสุขภาพผสู้ ูงอายดุ ้วยภมู ิปัญญาพน้ื บา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จากการศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านของตำบลนาไหม ผู้ศึกษา จำแนกเป็นหมอพื้นบ้าน 23 คน และหมอยาน้อย 9 คน (หมายถึงหมอ ยาสมนุ ไพรทเ่ี ปน็ ลกู ศษิ ยห์ มอพนื้ บา้ นรนุ่ เกา่ หรอื บางทเ่ี รยี กวา่ “หมอยาใหญ”่ เปน็ บุคคลทส่ี นใจเรยี นวชิ ากับหมอยาใหญ่) หมอพืน้ บา้ น เป็นกลไกหน่งึ ของ วฒั นธรรมสขุ ภาพชมุ ชนมาชา้ นาน เปน็ ผทู้ ม่ี พี น้ื เพทางวฒั นธรรมเดยี วกบั ผปู้ ว่ ย และเป็นทีพ่ ง่ึ ทางกายและทางจติ ใจสำหรับชมุ ชน หมอพน้ื บา้ นมีการเรยี นวิชา จากบรรพบุรุษหรือญาติ ผสมผสานกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง (จากตำรา/ หนังสือ) และเรียนรู้จากประสบการณ์การรักษาผู้ป่วย หมอพื้นบ้าน ประกอบด้วยหมอยาสมุนไพร หมอเป่า หมอกระดูก หมอนวด/หมอตำแย มีความสามารถในการรักษาอาการกระดูกหัก โรคกระเพาะอาหาร กาง (ปากเป่ือยในเด็กแรกเกิด) กำเริด อาการกินผิด ไข้หมากไม้ (อาการไข้ ออกตุ่มตามร่างกาย) งูสวัด ดีซ่าน ตับ ตาแดง ท้องร่วง การทำคลอด อาการปวดเมื่อย นิ่ว สัตว์มีพิษกัด วิธีการรักษาคือ การเป่า การนวด และ คูม่ อื 111 “แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สงู อายดุ ้วยภมู ิปญั ญาพ้ืนบา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การใช้ยาสมุนไพร ผู้ศึกษาได้ศึกษาและจดบันทึกโรคท่ีชำนาญ อาการป่วย และตำรบั ยาสมนุ ไพรเพอื่ การรกั ษาผ้ปู ว่ ยเพียง 1 โรคโดยสังเขป หมอพื้นบา้ น ตดิ ตามผปู้ ว่ ยโดยการดอู าการหรอื ตรวจจากผปู้ ว่ ย โดยทก่ี อ่ นการรกั ษาโรคของ หมอพน้ื บา้ นจะมี “การต้งั คาย” และเม่อื ผู้ปว่ ยหายจะมี “การปลงคาย” ดว้ ย สำหรับหมอพื้นบ้านท่ีเป็น หมอยาน้อย 9 คน ท้ังหมดเป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 40 – ราว 60 ปี ส่วนใหญม่ ีบรรพบรุ ุษเปน็ หมอพ้นื บ้าน หรอื เป็นผู้ที่สนใจและได้รับการชักชวนเข้ากลุ่มหมอพื้นบ้านในปี พ.ศ. 2554 มที ้งั หมอยาสมนุ ไพร และหมอนวด หมอยานอ้ ยเหลา่ นมี้ ีการศกึ ษาวชิ าจาก บรรพบุรุษที่เป็นหมอพื้นบ้าน และยังมีบทบาทบันทึกข้อมูลผู้ป่วยของหมอ พื้นบ้าน ตลอดจนร่วมกิจกรรมและเรียนรู้ยาสมุนไพรไปพร้อมกับกลุ่มหมอ พน้ื บา้ น อำเภอบา้ นดงุ นอกจากน้ี เปน็ ทน่ี า่ สงั เกตวุ า่ กลมุ่ หมอยานอ้ ยมพี น้ื ฐาน การศึกษาท้งั ระดบั ประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา (ระดบั มธั ยมศกึ ษา 3 – 6 จำนวน 3 คน จาก กศน.) อาจมีความเปน็ ไปไดใ้ นการสรา้ งโอกาสให้ ผู้สนใจได้เรยี นรวู้ ิชาเภสัชกรรมแผนไทยท่เี ป็นทางการอย่างตอ่ เน่ือง นอกจากการศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านแล้ว ผู้ศึกษายังได้มี การศกึ ษาภมู ปิ ญั ญาจากปราชญช์ าวบา้ นทเ่ี ปน็ ผสู้ งู อายทุ ม่ี คี วามชำนาญ 3 สาขา สาขาท่ี 1 ปราชญช์ าวบา้ นสาขาศาสนา ประเพณี และพธิ กี รรมมจี ำนวน 4 คน สืบทอดวชิ าจากบรรพบรุ ษุ เรยี นรู้ด้วยการจดจำและสงั เกตดุ ว้ ยตนเอง และมีการเรียนรู้เพิ่มเติมจากหนังสือด้านศาสนา มีความสามารถในการทำพิธี สขู่ วญั การสะเดาะเคราะห์ การแตง่ แกช้ ะตา การรอ้ งสรภญั ญะ การแตง่ กลอน อีสาน และมกี ารสบื ทอดประเพณีให้ลกู หลานท่สี นใจ สาขาท่ี 2 ปราชญช์ าวบา้ น สาขาการแพทยแ์ ผนไทย มจี ำนวน 4 คน อายุระหว่าง 60 – 70 ปี เป็นเพศชายและเป็นหมอยาสมุนไพรและหมอเป่า มกี ารเรยี นวิชาจากบรรพบุรษุ และหมอพ้นื บ้านรุ่นเกา่ ใชว้ ิธกี ารเปา่ และการใช้ ยาต้มสมุนไพรรักษาโรคในชุมชน ยาสมุนไพรมาจากการปลูกในบริเวณบ้าน และจากป่าธรรมชาติ 112 ค่มู ือ “แนวทางการดแู ลสุขภาพผสู้ ูงอายดุ ว้ ยภูมปิ ญั ญาพื้นบา้ นด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สาขาท่ี 3 ปราชญ์ชาวบ้าน สาขาการเกษตรและการทำมาหากนิ มีจำนวน 29 คน จำแนกเป็น การทอเส่ือกก 9 คน การจักสาน 10 คน การเกษตรพอเพยี ง 3 คน การทอผา้ ไหม 1 คน หมอแคน 1 คน การรอ้ งสรภญั ญะ 1 คน การทำปลารา้ 1 คน การทำบง้ั ไฟ 1 คน และการทำยาตง้ั (ลกู ประคบ สมนุ ไพร 3 ตำรับ) 1 คน ภูมปิ ัญญาเหล่านเ้ี ป็นประสบการณ์และทักษะทีอ่ ยู่ ในผู้สูงอายุ อบต.นาไหมและผู้นำท้องถ่ินมีการส่งเสริมภูมิปัญญาเพื่อเป็น การส่งเสริมงานหัตถกรรมพ้ืนบ้านเป็นแหล่งรายได้ของชุมชน และยังมีการ สนับสนนุ กจิ กรรมการแลกเปล่ยี นความรู้ การศกึ ษาดงู าน การอบรมเพ่มิ เติม เพ่ือพัฒนาคุณค่าและคุณภาพของงานให้มีความหลากหลาย และยังมีการ ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและประชาชนที่สนใจ โดยการสาธิตและ ฝึกปฏบิ ตั ิเพ่ืออนุรกั ษภ์ มู ิปัญญาของชมุ ชนตอ่ ไป คู่มอื 113 “แนวทางการดแู ลสุขภาพผู้สงู อายุดว้ ยภมู ิปัญญาพ้ืนบา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 4.3 การสรุปบทเรียนการส่งเสริมการแพทย์พน้ื บา้ น อำเภอบา้ นดงุ เป็นพ้ืนที่ที่มีบทเรียนการทำงานการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์ พ้นื บ้าน ริเริ่มโดย “กลมุ่ ใบชะโนด” เปน็ การรวมตัวของ หมอพน้ื บา้ นในพน้ื ที่ 3 ตำบล คอื ตำบลบ้านชัย ตำบลนาไหม และตำบลบ้านม่วง ในปี พ.ศ. 2549 และยงั มกี ารตง้ั คำนยิ มรว่ มกนั วา่ “ซอกหาคน คน้ หายา สรา้ งศรทั ธา หาแนวทำ” ระยะแรกจึงเป็นการค้นหา หมอพื้นบ้าน โดยตำบลนาไหมมีการข้ึนทะเบียน หมอพนื้ บา้ นทมี่ บี ทบาทในชมุ ชน จำนวน 24 คน ปจั จบุ นั มหี มอพนื้ บา้ นจำนวน 21 คน บางส่วนได้เสียชีวิตแล้ว ประกอบด้วย หมอยาสมุนไพร หมอเป่า หมอนวด หมอกระดูก และหมอตำแย รวมตัวเป็น “ชมรมหมอพื้นบ้าน ตำบลนาไหม” สำหรับ “การค้นหายา” เป็นกิจกรรมของชมรมหมอยาพ้ืนบ้านที่มุ่ง ศึกษาอนุรักษ์และสร้างแหล่งเรียนรู้สมุนไพรสำหรับชุมชนหมอยาพื้นบ้าน ตำบลนาไหมรว่ มกบั อบต.นาไหมและผนู้ ำชมุ ชนปรกึ ษาหารอื เกย่ี วกบั สมนุ ไพร และศึกษาแนวทางการเรียนรู้และหาแนวทางดูแลรักษาสมุนไพรในท้องถิ่น ในช่วงเวลา พ.ศ. 2554 – 2555 ชมรมหมอพ้ืนบ้านมีการเคล่ือนไหว 3 กจิ กรรม ประกอบดว้ ย (1) การสำรวจพน้ื ทปี่ ่าธรรมชาตใิ นพน้ื ที่ตำบลนาไหม ชมรม / เครอื ข่ายหมอยาพ้ืนบา้ นของอำเภอบ้านดงุ ร่วมกนั ค้นหาและบันทกึ สมุนไพรในป่าธรรมชาติ พบว่า ป่าธรรมชาติยังคงเป็นแหล่งสมุนไพรและ มสี มนุ ไพรมากกวา่ 70 ชนดิ ซง่ึ สามารถเปน็ แหลง่ เรยี นรสู้ มนุ ไพรของชมุ ชนได้ (2) การทำสวนสมุนไพรของชุมชน ชมรมฯ ต้องการให้เกิดแหล่งสมุนไพร เพ่อื อนรุ ักษ์และกลายเปน็ แหลง่ เรียนร้สู มุนไพร จึงไดจ้ ดั กิจกรรมระดมความ รว่ มมือจากชุมชนเพอ่ื ทำ “สวนสมุนไพร” ในชมุ ชน โดย อบต.นาไหม ไดม้ อบ พื้นที่ว่างของ อบต.ให้เป็นสวนสมุนไพร ชมรมฯ จึงร่วมมือกับ อบต.นาไหม อสม. และสมาชิกชุมชน ระดมพันธุ์สมุนไพรคนละ 1 – 2 ต้น และร่วมกัน 114 คู่มอื “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผูส้ งู อายุดว้ ยภมู ปิ ัญญาพน้ื บ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปลูกสมุนไพร มีสมนุ ไพรทงั้ หมดประมาณ 30 ชนิด (3) การทำสวนสมุนไพร ในวดั ปา่ ทาน เจา้ อาวาสวดั ปา่ ทานสนใจพชื สมนุ ไพรและไดจ้ ดั ทำสวนสมนุ ไพร ไว้ในบริเวณวัดเพื่อเป็นแหล่งยาสมุนไพรและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ชมรมฯ มีการประสานและร่วมมือกับเจ้าอาวาสวัดป่าทานปลูกสมุนไพรเพ่ิมเติมและ จัดเป็นสวนสมุนไพร โดยระดมความร่วมมือและการจัดหาพันธ์ุสมุนไพรจาก ชาวบ้านในชุมชน และนำมาช่วยกันปลูกในบริเวณวัด จึงทำให้ชุมชนมีสวน สมุนไพรเป็นแหล่งเรียนรู้ในวัด และหากชาวบ้านต้องการใช้สมุนไพร กส็ ามารถขอจากทางวัดได้ ส่วน “การสร้างศรทั ธาและการหาแนวทำ” หมายถึงการทชี่ มรมหมอ พน้ื บา้ นตำบลนาไหม มคี วามประสงคเ์ พอ่ื สรา้ งกระแสความสนใจตอ่ การแพทย์ พ้ืนบ้านและกระตุ้นเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและนำไป พฒั นาพฤตกิ รรมตนเองใหแ้ ขง็ แรง เมอ่ื หมอพน้ื บา้ นในตำบลนาไหมขน้ึ ทะเบยี น และรวมกันเป็น “ชมรมหมอพื้นบ้านตำบลนาไหม” แล้วมีการทำงานร่วมกัน และจดั ใหม้ คี ณะกรรมการชมรมหมอพน้ื บา้ นตำบลนาไหม ประชมุ และปรกึ ษา แนวทางการอนุรักษ์และฟ้ืนฟูความรู้การแพทย์พื้นบ้านสู่ชุมชน มีการเขียน “โครงการคนื ความรภู้ มู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ สชู่ มุ ชน” โดยไดร้ บั งบประมาณสนบั สนนุ การทำงานทง้ั หมดจำนวน 40,000 บาท จาก อบต.นาไหม จำนวน 20,000 บาท และจากกองทุนสุขภาพตำบลนาไหม จำนวน 20,000 บาท การทำงาน รบั ผิดชอบโดยชมรมหมอพืน้ บา้ นตำบลนาไหม และชมรมหมอพนื้ บา้ นอำเภอ บ้านดุง ร่วมกันทำงาน มีกิจกรรมการศึกษาสมุนไพรในป่าธรรมชาติ กลมุ่ เปา้ หมาย คอื เดก็ นกั เรยี นในโรงเรยี นเขตตำบลนาไหม ชมรมฯ รว่ มมอื กบั โรงเรียนโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้สมุนไพรและการนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ และมีหมอพ้ืนบ้านเป็นวิทยากรแนะนำสมุนไพร และนำศึกษาสมุนไพรใน ป่าธรรมชาติ และยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการบันทึกข้อมูล คู่มอื 115 “แนวทางการดแู ลสุขภาพผู้สูงอายุดว้ ยภูมิปญั ญาพ้ืนบา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การรกั ษาโรคของหมอพน้ื บา้ น กจิ กรรมนเ้ี กดิ จากการประชมุ แลกเปลย่ี นระหวา่ ง หมอพน้ื บา้ น มกี ารจดั ทำปา้ ยชอ่ื – ทอ่ี ยหู่ มอพนื้ บา้ น และชอื่ ของ “ศนู ยเ์ รยี นรู้ หมอยาพ้ืนบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถ่ิน” ไว้หน้าบ้านของหมอพื้นบ้าน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งดูแลรักษาโรคแบบพ้ืนบ้านในชุมชน และยัง วเิ คราะหร์ ว่ มกนั ถงึ การรกั ษาโรคของหมอพน้ื บา้ นไดม้ กี ารบนั ทกึ จงึ ไมส่ ามารถ แสดงได้ถงึ จำนวนผปู้ ว่ ย รกั ษาอยา่ งไร? รกั ษาด้วยยาสมนุ ไพรอะไรบ้าง? และ ผูป้ ่วยมอี าการดขี ึน้ หรือไม?่ อย่างไร? ในปี พ.ศ. 2553 กล่มุ หมอพ้นื บา้ นใน ตำบลนาไหม จงึ มีแนวคดิ การบนั ทกึ ผปู้ ่วยและการรักษาโรคของหมอพนื้ บา้ น ขนึ้ เพอ่ื ใหม้ ขี อ้ มลู การใหบ้ รกิ ารการรกั ษาโรคของหมอพน้ื บา้ น และเปน็ ขอ้ มลู / แหล่งเรยี นรขู้ องคนร่นุ หลงั และผูส้ นใจในชุมชน นอกเหนือจากการทำงานการแพทยพ์ ้นื บา้ นอีสานในชุมชนแลว้ ชมรม หมอพื้นบ้านตำบลนาไหมยังมีแลกเปล่ียนเรียนรู้ภูมิปัญญาระหว่างชมรมและ เครือข่ายหมอพ้ืนบา้ นทง้ั ในอำเภอบ้านดุงและนอกอำเภอบา้ นดุง ซ่ึงหมายถงึ ชมรมหมอยาพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาตำบลบ้านดุงและจังหวัดอุดรธานี และยังเช่ือมโยงและร่วมเรียนรู้/ทำงานร่วมกับเครือข่ายหมอพ้ืนบ้าน จังหวัด สกลนคร จังหวดั มหาสารคาม จงั หวดั แพร่ และจังหวดั พะเยา สำหรับใน จงั หวดั อุดรธานมี ีเครือข่ายหมอพืน้ บา้ นทัง้ หมด 6 อำเภอ คือ อำเภอบา้ นดุง อำเภอทุ่งฝน อำเภอเพ็ญ อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง และอำเภอ ประจักษศ์ ิลปาคม ในปี พ.ศ. 2554 เครอื ขา่ ย หมอพนื้ บ้านจังหวดั อดุ รธานี จำนวน 49 คน ได้เดินทางด้วยการปั่นจักรยานในกิจกรรม “ปั่นจักรยาน สานพลัง ฟังปราชญ์ชาวบ้าน สื่อสารสุขภาพ” ไปเรียนรู้และเย่ียมเยือนหมอ พ้นื บา้ นในจังหวัดสกลนคร และจงั หวดั นครพนม เกิดความคดิ และการเรยี นรู้ ระหวา่ งกนั ในภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ อกี ทง้ั สอ่ื สารดา้ นสขุ ภาพใหก้ บั ประชาชนดว้ ย นอกจากน้ี ระหว่างการประชุมปรึกษาระหว่างหมอพ้ืนบ้านเกิดเป็นแนวคิด 116 คู่มอื “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผู้สงู อายุด้วยภมู ิปญั ญาพืน้ บ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และแนวทางการทำงานอนรุ กั ษแ์ ละฟนื้ ฟสู มนุ ไพรในชมุ ชนดว้ ย และในปลายปี พ.ศ.2554 เครือขา่ ยหมอพน้ื บา้ นของจังหวดั แพร่ จงั หวัดลำปาง และจงั หวดั เชียงราย ได้มาดูงานและเยี่ยมเยือนยังพื้นที่ทำงานของชมรม/เครือข่ายหมอ พ้นื บ้านจังหวดั อุดรธานี เช่นกนั ในการสง่ เสรมิ ภมู ปิ ญั ญาการแพทย์พนื้ บ้าน ท่ีผ่านมา ได้พบปัญหาที่สำคัญคือ ประสบการณ์และ ภูมิปัญญาการแพทย์ พืน้ บา้ นเป็นการบอกเล่าของผสู้ งู อายุ ไมเ่ คยจดบันทึกเป็นตัวอักษร ขอ้ มลู อาจ มีความไม่สมบูรณ์และคลาดเคลื่อนจากความจริงบ้างหรือบางครั้ง ผู้สูงอายุก็ ลมื บอกเลา่ สาระสำคญั และชว่ งเวลาทเ่ี กบ็ ขอ้ มลู มคี วามจำกดั ทำใหก้ ารทำงาน ลา่ ชา้ และอาจไม่ครบถว้ นสมบรู ณ์ จากการจัดการความรดู้ ้านภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้านด้านสขุ ภาพของ รพ.สต. นาไหม พบวา่ ตำบลนาไหมไดเ้ รยี นรแู้ ละประมวลภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ดา้ นสขุ ภาพ อันเป็นทุนทางภูมิปัญญาและทุนทางสังคมท่ีสำคัญ ความรู้สำคัญคือ วิถีชีวิต และการดูแลสุขภาพเพื่ออายยุ ืน ชนิดและการใชป้ ระโยชนส์ มุนไพรในทอ้ งถ่ิน ประสบการณก์ ารรกั ษาโรคแบบพน้ื บา้ นของหมอพน้ื บา้ น ความรเู้ หลา่ นส้ี ามารถ นำมาใช้ประโยชน์และต่อยอดเพ่ือเศรษฐกิจของชุมชน และสร้างให้ชุมชนมี สว่ นรว่ มในการอนรุ กั ษ์ และสบื ทอดภมู ปิ ญั ญาพน้ื บา้ นดา้ นสขุ ภาพสคู่ นรนุ่ หลงั และประชาชนต่อไป คู่มือ 117 “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผสู้ ูงอายุดว้ ยภมู ิปญั ญาพืน้ บ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตัวอยา่ งที่ 2 ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จงั หวดั กาฬสินธ์ุ 1. บรบิ ททางสงั คม ตำบลทุ่งคลอง เป็นพื้นที่รับผิดชอบของ “โรงพยาบาลคำม่วง” อำเภอคำมว่ ง จังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ และมีเทศบาลคำม่วงเป็นองค์กรปกครองสว่ น ท้องถนิ่ รับผดิ ชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนเป็นชาวไทย-อีสาน และ สบื ทอดความเชอื่ และแนวปฏบิ ตั ิประเพณฮี ีตสิบสอง คองสบิ สี่ ตำบลทุง่ คลอง ประกอบด้วย 13 หมู่บา้ น มีประชากร 8,837 คน และ 2,650 หลังคาเรอื น 118 ค่มู ือ “แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุดว้ ยภูมิปัญญาพน้ื บ้านดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2. สถานการณ์ด้านสขุ ภาพของผสู้ งู อายุ ตำบลทุ่งคลอง มีผู้สูงอายุจำนวน 896 คน คิดเป็นร้อยละ 10.14 จำแนกเป็นผู้สูงอายุชาย 412 คน และผู้สูงอายุหญิง 484 คน และจากการ รายงานภาวะสขุ ภาพของผสู้ งู อายุปี พ.ศ. 2546 เป็น 3 กลมุ่ คือ กลุ่มท่ี 1 กลมุ่ ผู้สูงอายุติดสังคม (สุขภาพดี) จำนวน 761 คน (รอ้ ยละ 84.9) กลุ่มท่ี 2 กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 115 คน (ร้อยละ 12.83) และกลุ่มท่ี 3 กลมุ่ ผ้สู ูงอายุตดิ เตยี ง จำนวน 20 คน (รอ้ ยละ 2.23) และเม่ือสำรวจภาวะ การปว่ ยของผสู้ งู อายโุ รคเรอ้ื รงั พบวา่ ผสู้ งู อายเุ ปน็ โรคเบาหวานจำนวน 122 คน และโรคความดันโลหิตสูง 136 คน ค่มู ือ 119 “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผสู้ ูงอายดุ ว้ ยภูมปิ ัญญาพืน้ บ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 3. แนวคิดและระบบการบริการสุขภาพผสู้ งู อายุ โรงพยาบาลคำม่วง มีแนวคิดการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แบบครบวงจร และให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบย่ังยืนและอาศัยชุมชน เปน็ ฐาน โรงพยาบาลคำมว่ งมกี ารทำงานผสู้ งู อายดุ ว้ ยการเชอ่ื มโยงกบั หนว่ ยงาน ในพื้นที่ คือ เทศบาลคำม่วง อบต.ทุง่ คลอง ร่วมกันดูแลคุณภาพชีวิตผ้สู ูงอายุ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วม สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวและเครือข่ายของ ผู้สูงอายุ เพื่อใหเ้ กดิ ความเข้มแขง็ และต่อยอดทนุ ทางสังคมของผสู้ ูงอายุ การจัดระบบดูแลและบริการด้านสุขภาพผู้สูงอายุ มีการจำแนกตาม สถานะสุขภาพของผสู้ ูงอายุ คือ “กลุ่มสุขภาพปกต”ิ จะใหค้ วามสำคญั กบั การ ให้ความรูส้ ขุ ภาพตามหลัก 8 อ. และ 3 อ. 2 ส. “กล่มุ สุขภาพทม่ี คี วามเส่ยี ง จะเกิดโรค” มีการให้ความรู้เพ่ือการปรับเปล่ียนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และฝกึ สอนการออกกำลงั กาย การตรวจคดั กรองและดแู ลอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง และ “กล่มุ ที่มกี ารปว่ ย” มีการตรวจสุขภาพประจำปี การดแู ลรกั ษาและการเยย่ี ม บ้านโดยทีมสหวิชาชีพ 120 คู่มอื “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผู้สงู อายดุ ว้ ยภูมปิ ัญญาพ้นื บา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 4. แนวคิดและการขับเคล่ือนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ด้วยแนวคิดการสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาเครือข่าย เพื่อพัฒนา คณุ ภาพชวี ติ ของผสู้ งู อายุ โรงพยาบาลคำมว่ งมกี ารจดั ตง้ั และสง่ เสรมิ การรวมตวั ของผู้สูงอายุ ภายใต้ชื่อ “ชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งคลอง” มีสมาชิกผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน มกี ิจกรรมการประชุมสมาชกิ ชมรมผูส้ งู อายุ การจัดการเรียน เพ่ือถ่ายทอด ภูมิปัญญาสู่เด็กนักเรียน 2 เรื่อง คือ การทำบายศรีสู่ขวัญ และการสอนขับร้องสรภัญญะ การทัศนศึกษาเพ่ือทำบุญและไหว้พระท่ี วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม การเชิดชูผู้สูงอายุต้นแบบที่มีสุขภาพดี การจัดงานประเพณี เช่น งานพิธีไหว้ปู่ตาและทำบุญบ้านตาม ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ งานวันเข้าพรรษา งานวันผู้สูงอาย เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ ขับเคลอื่ นรว่ มกนั ระหว่าง แกนนำผสู้ ูงอายุและภาครัฐในท้องถิ่น นอกจากน้ี เทศบาลและ อบต. ยังเป็นหน่วยสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และ สนับสนุนเบ้ียยังชีพให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตาม จากการทบทวน สถานการณ์ชมรมผู้สูงอายุ พบว่า ชมรมผู้สูงอายุยังไม่เข้มแข็ง เน่ืองจาก ประธานชมรมมกี ารเปลย่ี นแปลงบอ่ ย และยงั ขาดการเชอ่ื มโยงและแลกเปลย่ี น เรียนรเู้ พอื่ ทำงานผูส้ ูงอายุรว่ มกัน คูม่ อื 121 “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผูส้ งู อายุด้วยภูมปิ ญั ญาพ้ืนบา้ นด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 5. การจดั การภูมปิ ญั ญาการแพทย์พ้นื บ้าน ในปี พ.ศ. 2556 โรงพยาบาลคำม่วง มกี ารสำรวจผู้สงู อายทุ มี่ ีบทบาท การดแู ลรกั ษาสขุ ภาพชมุ ชนดว้ ยภมู ปิ ญั ญาการแพทยพ์ น้ื บา้ นหรอื หมอพน้ื บา้ น พบวา่ ตำบลทงุ่ คลอง มหี มอพน้ื บา้ น จำนวน 62 คน จำแนกเปน็ หมอพธิ กี รรม/ ศาสนา (หมอขวญั หมอดู หมอเหยา หมอสะเดาะเคราะห์ เฒา่ จำ้ หมอธรรม) 21 คน หมอเป่า (รกั ษาตาแดง คางทมู ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก พิษงู ฝีหนอง ก้างตดิ คอ เรมิ งูสวดั เด็กร้องไห)้ จำนวน 18 คน หมอสมุนไพร 14 คน หมอนวด/ตำแย 4 คน และหมอกระดูก 5 คน และภายในชุมชนผูส้ ูงอายุ ทสี่ ุขภาพดีและไม่มีความเจ็บปว่ ย จำนวน 12 คน และผสู้ ูงอายจุ ำนวน 22 คน มที กั ษะความรแู้ ละทักษะดา้ นภูมิปัญญาทอ้ งถ่นิ เชน่ การจกั สาน การทำขนม พนื้ บ้าน การทำข้าวทิพย์ และการออกกำลงั กาย นอกจากนี้ ผู้ศึกษาได้มีการศึกษาประสบการณ์การรักษาโรคของหมอ พื้นบ้านจำนวน 5 คน (หมอพิธีกรรม หมอเป่า หมอสมุนไพร) โดยให้หมอ พื้นบ้านเล่ารายละเอียดเก่ียวกับ ความเชื่อ พิธีกรรม สาเหตุและวิธีการ วเิ คราะหโ์ รค สมนุ ไพร คาถา ผลการรกั ษา และการปฏบิ ตั ติ นเอง โดยสงั เขป ข้อมูลและประสบการณ์ของหมอพื้นบ้าน 1 คน ท่ีใช้วิธีการเป่า โดยจะใช้ 122 คู่มือ “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผ้สู ูงอายุดว้ ยภมู ปิ ัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก น้ำมนต์และสมุนไพรช่ือ “ช้างงาเดียว” รักษาผู้ป่วยงูกัดมาเป็นเวลา 40 ปี รักษาและชว่ ยผปู้ ่วยประมาณ 300 คน และไม่มีผเู้ สยี ชีวิต หมอพืน้ บา้ นคนนี้ ได้รักษาผู้ป่วยคนหน่ึงที่ถูกงูเห่าน้ำกัด และส่งผู้ป่วยไปรักษาท่ีโรงพยาบาล กาฬสินธ์ุ ญาติของผู้ปว่ ยตอ้ งการให้หมอพื้นบา้ นรักษา เขาจงึ แอบรักษาผู้ปว่ ย ในห้องฉุกเฉินและย้ายผู้ป่วยมารักษาที่บ้าน กระบวนการรักษามีพิธีบูชาครู การเปา่ การอาบและกนิ นำ้ มนต์ การใชย้ าสมนุ ไพร (วธิ ฝี น-อาบ-ทา) ใชร้ ะยะเวลา 2 อาทิตย์ ผู้ป่วยจึงหายเป็นปกติ และหมอพ้ืนบ้านอีก 1 คน ใช้ฮว่านง็อก (วา่ นงอ็ ก) หรอื พญาวานร ประสบการณก์ ารใชส้ มนุ ไพรวา่ นงอ็ ก รกั ษาเบาหวาน ทำให้ระดบั น้ำตาลในเลือดลดลงจาก 160 – 200 มก./ดล. เปน็ 90 มก./ดล. โดยระยะ 2 เดอื นแรก ระดบั นำ้ ตาลในเลือดเร่ิมลดลง อาจกล่าวได้ว่า ข้อมูลท่ีถูกรวบรวมและศึกษาจากประสบการณ์ การรักษาโรคของหมอพื้นบ้านยังไม่เป็นระบบมากนัก แต่มีข้อมูลท่ีน่าสนใจ และเป็นประสบการณ์การรักษาโรคท่ียาวนานของหมอพื้นบ้าน นอกจากนี้ ภายในชมุ ชนมหี มอพน้ื บา้ นเกยี่ วกบั ความเชอื่ ศาสนา และพธิ กี รรม หมอเปา่ และหมอสมุนไพร จำนวนมาก จึงอาจเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมท่ีถ่ายทอด เพอื่ ประโยชน์สำหรับผสู้ ูงอายแุ ละคนรุ่นหลงั ได้ คู่มือ 123 “แนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุดว้ ยภมู ิปัญญาพื้นบ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตัวอยา่ งท่ี 3 ตำบลสมอพลอื อำเภอบา้ นลาด จงั หวดั เพชรบรุ ี 1. บริบททางสังคม ตำบลสมอพลือ ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านสมอพลือ หมู่บ้านท่าไทร หมู่บ้านไร่คา หมู่บ้านนาพนัง หมู่บ้านห้วยเสือ และหมู่บ้าน ดอนพลบั จำนวนประชากรทง้ั หมด 2,257 คน และมี 677 หลงั คาเรอื น ในพน้ื ท่ี มอี งคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลสมอพลอื (อบต.สมอพลอื ) เปน็ หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบ ดา้ นปกครองทอ้ งถน่ิ พน้ื ทส่ี ว่ นใหญเ่ ปน็ ทร่ี าบลมุ่ มแี มน่ ำ้ เพชรบรุ ไี หลผา่ นทาง ทิศตะวันตกของตำบล และมีคลองชลประทานตัดผ่านหมู่ที่ 1, 3 และ 6 ทำให้เป็นพ้ืนที่เหมาะกับการทำการเกษตร ประชาชนมีอาชีพ ทำนา ทำไร่ และมีการรวมกล่มุ การแปรรปู นำ้ ตาลโตนด ภายใต้ชื่อ “กลุ่มวิสาหกจิ ชมุ ชน แปรรปู นำ้ ตาลโตนดสมอพลือ” 2. สถานการณแ์ ละการบรกิ ารสขุ ภาพผสู้ งู อายุ ตำบลสมอพลือ มผี สู้ ูงอายทุ ั้งหมด 448 คน ผ้สู ูงอายจุ ำนวน 273 คน ปว่ ยเปน็ โรคเร้อื รงั ไดแ้ ก่ โรคความดนั โลหิตสงู 104 คน โรคเบาหวาน 58 คน โรคเกา๊ ต์/ข้อเส่ือม 57 คน โรคตอ้ หนิ /ต้อกระจก 19 คน โรคหวั ใจ/โรคหลอด เลอื ดสมอง และอมั พาต 24 คน และท่ีเหลอื เปน็ โรคเรอื้ รังอน่ื ๆ นอกจากน้ี ผสู้ ูงอายุยงั มปี ญั หาสุขภาพชอ่ งปากและโรคซึมเศรา้ ดว้ ย สำหรับการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สมอพลือ (รพ.สต.สมอพลือ) มีการบริการด้านการดูแลสุขภาพและบริการ 124 คมู่ อื “แนวทางการดแู ลสุขภาพผสู้ ูงอายุดว้ ยภมู ิปญั ญาพน้ื บ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สขุ ภาพทบ่ี า้ นสำหรบั ผสู้ งู อายุ การบรกิ ารดา้ นสง่ เสรมิ สขุ ภาพมกี ารจดั กจิ กรรม สุขภาพใน “ชมรมรวมน้ำใจผู้สูงอายุตำบลสมอพลือ” อย่างต่อเน่ือง มีการ ส่งเสรมิ สขุ ภาพกาย (อาหารและการออกกำลงั กาย) สขุ ภาพจติ และเรียนรู้ ภูมิปัญญาพ้นื บ้านร่วมกัน และยังมีการจัดค่ายปรบั เปลยี่ นพฤตกิ รรมผู้ปว่ ยท่ี มโี รคความดนั โลหติ สงู /เบาหวาน คา่ ยชวี วถิ บี ำบดั สำหรบั ผปู้ ว่ ยเบาหวาน และ ในปี พ.ศ. 2557 รพ.สต.สมอพลอื ยงั รว่ มกบั อบต.สมอพลอื จดั ทำ “โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถ่ินในการใช้ลูกประคบ” เพ่ืออนุรักษ์และ เผยแพรภ่ มู ิปัญญาพืน้ บ้าน เพ่อื ใหผ้ ้เู ข้ารับการฝึกอบรมมีความรคู้ วามสามารถ ในการทำลกู ประคบสมนุ ไพร/นำ้ มนั ไพล และนำไปใชด้ แู ลญาต/ิ ผปู้ ว่ ยตดิ เตยี ง และประชาชนในชุมชน สำหรับการบริการสุขภาพผู้สูงอายุได้รับการดูแล แบบบรู ณาการรว่ มกนั กบั โรงพยาบาลบา้ นลาด และโรงพยาบาลพระจอมเกลา้ สว่ น รพ.สต.สมอพลอื มกี ารจดั บรกิ ารสขุ ภาพทบี่ า้ น (Home Health Care) ทมี สขุ ภาพประกอบดว้ ย เจา้ หนา้ ทขี่ อง รพ.สต.สมอพลอื อาสาสมคั รสาธารณสขุ (อสม.) อาสาสมัครดแู ลผู้สูงอายุ (อผส.) สมาชกิ อบต. และทีมฟ้ืนฟูสมรรถ ภาพทางการแพทยม์ กี ารรว่ มกนั เยย่ี มบา้ น และประสานสง่ ตอ่ ไปสโู่ รงพยาบาล อยา่ งเหมาะสม ในระยะเวลาทผ่ี า่ นมา รพ.สต.สมอพลอื เปน็ พน้ื ทท่ี ไ่ี ดร้ บั รางวลั เกย่ี วกบั ผสู้ ูงอายุ คอื ในปี พ.ศ. 2554 – 2555 เป็นตำบลตน้ แบบการดแู ลสุขภาพ ผสู้ งู อายรุ ะยะยาวดเี ดน่ และในปี พ.ศ. 2552 เปน็ ตำบลนำรอ่ งตน้ แบบการดแู ล สุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว และในปี พ.ศ. 2550 ชมรมรวมน้ำใจผู้สูงอายุ ตำบลสมอพลือ ได้รับรางวัลเป็นชมรมผู้สูงอายุดีเด่นด้านภูมิปัญญาพ้ืนบ้าน เนื่องจาก รพ.สต.สมอพลือ ร่วมกับประธานชมรมฯ มีการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุดว้ ยภูมปิ ญั ญาทอ้ งถ่ิน ได้แก่ การบำบัดผู้ป่วยเบาหวานดว้ ยลานกะลา การบริหารร่างกายด้วยท่ารำท่ีดัดแปลงมาจากการประกอบอาชีพ เช่น คมู่ ือ 125 “แนวทางการดูแลสุขภาพผูส้ งู อายุดว้ ยภูมิปญั ญาพ้ืนบ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รำวงเคยี วตาล เตน้ กำรำเคยี ว และรำเคยี วเกย่ี วขา้ ว และยงั มกี ารนำภมู ปิ ญั ญา พ้ืนบ้าน (การทำบายศรี กลองยาว เพลงพ้นื บ้าน การจักสาน) มาเรยี นรู้และ เผยแพร่ในชมรมด้วย 3. แนวคดิ และแนวทางการสรา้ งความมน่ั คงทางสงั คมเพอ่ื ผสู้ งู อายุ ภายในตำบลสมอพลอื อบต.สมอพลอื และรพ.สต.สมอพลือ มีนโยบาย และการทำงานเพ่ือสร้างความมั่นคงทางสังคมเพ่ือผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง กจิ กรรมสำคญั คือ (1) การสนับสนนุ เบยี้ ยังชีพสำหรับผู้สงู อายุตามนโยบาย ของรัฐบาล (2) การสนบั สนนุ การจัดสวสั ดิการผูส้ ูงอายุ มกี ารจดั ตง้ั กองทนุ สวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ การเยี่ยมบ้านเม่ือเจ็บป่วยและมีการช่วยเหลือกรณี ญาตหิ รือผ้สู ูงอายเุ สียชวี ติ (3) การส่งเสริมอาชพี และรายได้ มีหน่วยงานรัฐ ในพนื้ ทสี่ นบั สนนุ การอบรมฝกึ อาชพี เสรมิ เชน่ การทำขนมทองมว้ น ผลไมก้ วน ผลติ ภณั ฑจ์ กั สานใบตาล การทำพานบายศรี เปน็ ตน้ และจดั หาแหลง่ จำหนา่ ย ใหส้ มาชกิ (4) การเพม่ิ ศักยภาพของผู้สงู อายแุ ละครอบครัว อบต. สมอพลือ มีนโยบายสนับสนุนและเพ่ิมศักยภาพด้านดูแลสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุและ ครอบครัวอยา่ งต่อเนื่อง ในปที ่ผี า่ นมา อบต.สมอพลือ รว่ มกับหน่วยงานด้าน สาธารณสุข อบรมความรู้และทักษะด้านดูแลสุขภาพ คือ ด้านอาหารและ โภชนาการ ด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน ดา้ นยาเสพติด ด้านสขุ ภาพจติ ในชมุ ชน แนวทางการสร้างความมั่นคงทางสังคมเพ่ือผู้สูงอายุ มีการสนับสนุน ผ่านกลไกของผูส้ ูงอายุ ทส่ี ำคญั คือ “ชมรมรวมน้ำใจผ้สู ูงอายุตำบลสมอพลือ” ชมรมฯ กอ่ ตง้ั ขนึ้ ภายใตก้ ารหนนุ เสรมิ จาก รพ.สต.สมอพลอื ตง้ั แตป่ ี พ.ศ. 2548 ต่อมาทางจังหวัดเพชรบุรีเห็นถึงความสำคัญอย่างต่อเนื่อง และได้สนับสนุน งบประมาณของจงั หวัด ก่อสรา้ งเปน็ “อาคารศูนยด์ ูแลผูส้ งู อายุครบวงจร” 126 คู่มอื “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผูส้ งู อายุด้วยภูมิปัญญาพนื้ บา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (ปี พ.ศ. 2551) และ “อาคารเอนกประสงค”์ (ปี พ.ศ. 2552) ซึ่งอยู่ในบรเิ วณ ของ รพ.สต.สมอพลอื ปัจจุบัน ชมรมรวมน้ำใจผู้สูงอายุตำบลสมอพลือ มีสมาชิกผู้สูงอายุ จำนวน 431 คน และมี ร.ต.ต.บุญลาภ สะอาดจติ ต์ เปน็ ประธานชมรม และ มคี ณะกรรมการบริหารชมรมฯ จำนวน 15 คน ผู้สูงอายุของชมรมฯ จะได้รบั การดูแลสขุ ภาพแบบครบวงจร ภายในอาคาร 4 หลัง คอื (อาคาร รพ.สต. สมอพลือ เปน็ สถานท่ีตรวจวินจิ ฉยั รักษาโรค และให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุ (2) อาคารศนู ยส์ ง่ เสริมสุขภาพแพทยแ์ ผนไทย ใชด้ แู ลรกั ษาและฟน้ื ฟูรา่ งกาย ดว้ ยการนวด อบ ประคบสมนุ ไพร ตลอดจนการถา่ ยทอดภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ (3) อาคารศูนย์ดูแลผ้สู ูงอายุครบวงจร เปน็ สถานทท่ี ำงานของชมรมรวมนำ้ ใจ ผสู้ งู อายตุ ำบลสมอพลอื มกี จิ กรรมการตรวจ บำบดั และฟนื้ ฟสู มรรถภาพทางกาย เคร่ืองออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและห้องครัว (4) อาคารเอนกประสงค์ เป็นสถานที่สำหรบั การจัดกิจกรรมของชมรมผสู้ ูงอายุ ชมรมรวมน้ำใจผู้สูงอายุตำบลสมอพลือ เป็นชมรมท่ีมีความเข้มแข็ง ดำเนนิ งานอย่างตอ่ เนื่อง บรหิ ารจดั การโดยคณะกรรมการชมรมฯ ภายใตก้ าร สนับสนุนและการมีส่วนร่วมของท้องถ่ินและชุมชน องค์กรหลักที่ให้การ สนับสนุนประกอบด้วย อบต.สมอพลือ สนับสนุนด้านงบประมาณ รพ.สต. สมอพลอื สนับสนนุ ดา้ นบริการสขุ ภาพ การศกึ ษานอกระบบและตามอัธยาศัย สนับสนุนด้านการศึกษาและนันทนาการ ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 37 จังหวัดเพชรบุรี สนับสนุนด้านฝึกอาชีพเสริมรายได้ กิจกรรมของชมรมฯ ทส่ี ำคัญ คอื การตรวจสุขภาพท่ัวไป การตรวจสขุ ภาพประจำปี การจดั คา่ ย ปรับเปล่ียนพฤติกรรมสุขภาพ ค่ายปรับเปล่ียนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน การบำบดั ฟน้ื ฟรู า่ งกายดา้ นการออกกำลงั กาย (การเดนิ กะลา โยคะ ฤาษีดดั ตน การนวด อบ และประคบสมนุ ไพร) และการบรกิ ารสขุ ภาพผสู้ งู อายโุ ดย รพ.สต. สมอพลอื ร่วมกบั โรงพยาบาลบ้านลาด คูม่ อื 127 “แนวทางการดูแลสุขภาพผสู้ งู อายดุ ้วยภมู ิปัญญาพื้นบ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระยะท่ีผา่ นมา รพ.สต.สมอพลอื รว่ มกบั สถาบันเวชศาสตรผ์ ูส้ ูงอายุ กรมการแพทย์ มีการเรียนรู้และพัฒนารูปแบบท่ีเหมาะสมในการดูแลฟ้ืนฟู สุขภาพผู้สูงอายุ โดยมีแนวคิดการจัดต้ังและพัฒนา “ศูนย์ดูแลฟ้ืนฟูสุขภาพ ผสู้ งู อายุในชมุ ชน” หมายถงึ เปน็ ศนู ยท์ ีด่ ำเนนิ งานด้านผู้สูงอายแุ บบเบ็ดเสรจ็ ได้แก่ ศูนย์ให้ความรู้ ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศูนย์การฟื้นฟูสุขภาพ ผสู้ งู อายใุ นชมุ ชน ดำเนนิ การโดยบุคลากรในชุมชน ทีม่ ่งุ หมายให้คนในชุมชน ดำรงชวี ติ อยา่ งมคี ณุ ภาพ ดว้ ยความรคู้ วามเขา้ ใจและพอเพยี ง ในปี พ.ศ. 2552 และตำบลสมอพลอื มี “ศนู ย์ดแู ลผ้สู ูงอายคุ รบวงจร” (ปี พ.ศ. 2551) จงึ ไดม้ ี การเรียนรู้และร่วมแลกเปล่ียนประสบการณ์การทำงาน ตลอดจนพัฒนา ศกั ยภาพของการบรหิ ารจัดการเพ่อื ดแู ลผู้สูงอายรุ ว่ มกบั 3 พน้ื ท่ี คือ ศนู ย์ดแู ล ผู้สูงอายุวัดห้วยเกี๋ยง จังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตำบลบางสีทอง จังหวัดนนทบรุ ,ี และ ศนู ยด์ แู ลผูส้ ูงอายตุ ำบลหนองรี จงั หวัดชลบุรี ตอ่ มา ศนู ย์ดแู ลผู้สูงอายุครบวงจรตำบลสมอพลอื กลายเป็นแหล่งเรยี นรูแ้ ละศกึ ษา ดูงานดา้ นผูส้ ูงอายุ อนั เป็นตน้ แบบการดแู ลสขุ ภาพผู้สูงอายรุ ะยะยาว 4. การจดั การความรภู้ มู ปิ ญั ญาพน้ื บา้ นดา้ นสขุ ภาพ : หมอพน้ื บา้ น และอาหารพ้ืนบ้าน รพ.สต.สมอพลอื อำเภอบา้ นลาด จงั หวดั เพชรบรุ ี มกี ารศกึ ษาภมู ปิ ญั ญา พื้นบ้านด้านสุขภาพ โดยวิธีการสำรวจ สัมภาษณ์ และถ่ายรูปประกอบ ในพื้นที่ 6 หมู่บา้ น ในช่วงเดือน เมษายน พ.ศ. 2556 – เดือน สงิ หาคม พ.ศ. 2556 ผลสรปุ ของภมู ิปญั ญาพนื้ บ้านดา้ นสขุ ภาพ มีรายละเอยี ดดังนี้ 4.1 ภมู ปิ ญั ญาพน้ื บา้ นของหมอพน้ื บา้ น หมอพน้ื บา้ นมจี ำนวน 11 คน จำแนกเป็น ชาย 10 คน หญงิ 1 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหวา่ ง 70 – 86 ปี และ ปัจจบุ ันหมอพื้นบา้ นเกอื บทง้ั หมดไม่ไดม้ บี ทบาทหมอพน้ื บ้าน เพราะอายุมาก 128 คูม่ อื “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผสู้ งู อายดุ ้วยภูมิปญั ญาพน้ื บ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นอกจากนี้หมอพ้ืนบ้านบางคนมีการนวดและการต้ังศาลพระภูมิในบางคร้ัง หมอพืน้ บา้ นสว่ นใหญด่ ำรงชีวติ อยู่ดว้ ยเบย้ี ยังชพี ผสู้ งู อายุ และมลี กู หลานดูแล ชว่ ยเหลือดา้ นการเงนิ หมอพ้นื บา้ นกลุ่มนี้เปน็ หมอเป่า บางคนเปน็ หมอกวาด ยาเด็กและหมอนวด โรคท่ใี หก้ ารรกั ษา คือ โรคเริม คางทูม ตาแดง หมากัด ดับพษิ ไฟ ปดั รงั ควาน ปวดเมือ่ ยกลา้ มเนื้อ และตานซาง เม่อื มีผ้ปู ว่ ยมาพบ หมอพน้ื บา้ นจะสังเกตุ สอบถาม และตรวจอาการของผู้ป่วย วิธกี ารรกั ษาโรค ทส่ี ำคญั คอื การเปา่ ประกอบกบั คาถา บางคนอาจใหน้ ำ้ มนต์ นำ้ มนั สมนุ ไพร และยาสมุนไพรร่วมด้วย หมอพ้ืนบ้านบางคนเคยมีการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการ มากไปยัง รพ.สต.สมอพลือ หรือบอกให้ผู้ป่วยไปรักษากับหมอแผนปัจจุบัน ผู้ป่วยท่ีมารับการรักษา มาจากในพ้ืนที่และพื้นที่ใกล้เคียง เหตุผลที่มารักษา กับหมอพ้ืนบ้าน คือ ความศรัทธา เชื่อถือ และการบอกต่อของผู้ป่วยที่เคย มารกั ษาจากหมอพนื้ บ้าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลภูมิปัญญาพื้นบ้านของหมอพ้ืนบ้านในตำบล สมอพลอื จะเหน็ ไดว๋้ า่ หมอพน้ื บา้ นมบี ทบาทการรกั ษาโรคลดลง และหลายคน เลิกรักษาโรคแล้ว นอกจากนี้ โรคที่หมอพื้นบ้านรักษาและวิธีการรักษาโรค อาจมีความจำกัดและขาดความน่าเชือ่ ถอื เพราะปัจจุบัน โรคเหลา่ นม้ี วี ิธีการ รักษาโรคแบบแผนปัจจุบันที่เหมาะสม อีกทั้งอาจใช้ยาสมุนไพรที่ได้รับการ พิสูจน์ว่า มีฤทธิ์ที่ชัดเจน เช่น สมุนไพรพญายอ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หมอพ้ืนบ้านบางคน (หมอนวด หมอพธิ ีกรรม) อาจยังคงมีบทบาทดูแลสุขภาพ ในชมุ ชนและอาจเปน็ แหลง่ ความรทู้ ่ีสามารถสืบตอ่ วิชาไปยงั คนรุ่นหลงั ได้ 4.2 ภมู ปิ ญั ญาพนื้ บา้ นดา้ นอาหารพนื้ บา้ น ผสู้ งู อายทุ ม่ี คี วามชำนาญ ดา้ นอาหารพนื้ บา้ น มีจำนวนประมาณ 10 คน ทกุ คนเป็นเพศหญิง การศึกษา อยใู่ นระดบั ประถมศกึ ษา ในอดตี มอี าชพี ทำนา ทำไร่ หรอื ทำสวน แตป่ จั จบุ นั บางส่วนมีงานท่ีทำอย่างเหมาะสมตามวัย เช่น การปลูกผัก การค้าขาย คู่มือ 129 “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผู้สูงอายดุ ว้ ยภูมิปญั ญาพืน้ บา้ นด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การทำแกงเพอ่ื ขายในชุมชน การทำไม้เสยี บผลไม้ เปน็ ตน้ นอกจากนีย้ ังมเี งิน ช่วยเหลือจากกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ จากกองทุนชมรมผู้สูงอายุและ การช่วยเหลือจากลูกหลานของตนเอง ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีอายุอยู่ระหว่าง 60 – 70 ปี บุคลิกเป็นคนใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีชีวิตเรียบง่าย และเป็นท่ี ยอมรบั และเคารพจากชมุ ชน ผสู้ งู อายจุ ะอยใู่ นบา้ นทม่ี สี ภาพแวดลอ้ มทส่ี ะอาด เป็นระเบียบ และรอบบ้านมักจะปลูกผักพ้ืนบ้านหรือสมุนไพรไว้ใช้สอย เช่น กระชาย กะเพรา ขม้ิน ตะไคร้ ข่า พริก ไพล ยอ หญ้าหนวดแมว ฟา้ ทะลายโจร เปน็ ต้น ผู้สูงอายุท่ีมีความชำนาญด้านอาหารพ้ืนบ้านกลุ่มนี้ดูแลสุขภาพกาย และใจของตนเองค่อนข้างดี มีการรับประทานอาหารท่ีมีประโยชน์ ตำรับ อาหารที่ทานประจำ คอื ต้มจืด ผดั ผกั แกงสม้ แกงป่า น้ำพริก/ผกั ชอบทาน รสจดื หวาน เปรย้ี ว บางคนหลกี เลย่ี งการรบั ประทานเนอ้ื สตั ว์ หนอ่ ไม้ ปลาหมกึ กุ้ง ส่วนใหญ่รับประทานอาหาร 3 มื้อ/วัน ปรุงอาหารรับประทานเองหรือ ลูกหลานปรุงอาหารให้รับประทาน มีการเคลื่อนไหวร่างกายทุกวัน เช่น การยืดเหยยี ดกล้ามเนื้อ การเดิน การทำงานบ้าน บางคนปั่นจักรยานไปสง่ ผัก ท่ีตลาด เป็นต้น การดูแลสุขภาพจิตและคลายเครียดมีการฟังเพลง/ เพลงพ้นื บา้ น (หนังตะลุง ลิเก ละครชาตร)ี การคุยหรือระบายกับญาตหิ รอื เพื่อนบ้าน และบางคนมีการใส่บาตรทุกวันหรือการสวดมนต์ไหว้พระทุกคืน ผู้สูงอายมุ กี ารพกั ผอ่ นแต่หวั ค่ำ และตื่นแตเ่ ช้า/เชา้ มืด ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีประสบการณ์การทำอาหารพ้ืนบ้านโดยการเรียน การฝกึ ฝนและสะสมประสบการณต์ ง้ั แตว่ ยั เดก็ เมอ่ื อายรุ าว 10 กวา่ ปี จะเรยี น จากยาย/แม/่ ปา้ จากนนั้ ก็ฝกึ ฝนด้วยการทำขา้ วแกงขายในชมุ ชน หรอื ฝึกฝน ดว้ ยการเปน็ แมค่ รัวในงานบญุ ประเพณีของชุมชน เปน็ เวลายาวนานกว่า 30 ปี ทำใหม้ คี วามชำนาญในการทำอาหารและขนมพน้ื บา้ นหลายตำรบั ผศู้ กึ ษาของ 130 ค่มู ือ “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผู้สูงอายดุ ว้ ยภมู ปิ ญั ญาพน้ื บ้านดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รพ.สต.สมอพลอื ไดส้ มั ภาษณแ์ ละรวบรวมตำรบั อาหาร/ขนมพนื้ บา้ น ทงั้ หมด 35 ตำรับ จำแนกเป็น อาหารพื้นบ้าน 26 ตำรับ ได้แก่ ยำดอกข้ีเหล็ก แกงข้ีเหล็ก ยำใหญ่ แกงลูกสามสิบ ต้มกะทิสายบัว แกงใบมะขาม แกงหัวตาลใส่กุ้ง/ไข่แมงดา แกงตะลิงปลิงใส่ปลาริวกิว หม่ีกรอบเพชรบุรี ยำส้มโอ น้ำพริก/น้ำพริกมะขาม/น้ำพริกมะม่วง/น้ำพริกกะปิ ลาบหมู ต้มกะทิหน่อไม้ดอง ต้มไก่สามรส แกงค่ัวลูกตำลึง แกงป่าหมู ผัดผักรวม แกงส้มถ่ัวฝักยาว แกงส้มผักปลัง แกงป่า แกงคั่วใบมะขามอ่อน และขนม พื้นบ้าน 9 ตำรับ ได้แก่ ขนมตาล ขนมเบ้ือง ข้าวเหนียวเหลืองหน้าปลา คมู่ อื 131 “แนวทางการดูแลสุขภาพผ้สู งู อายุดว้ ยภูมิปญั ญาพ้ืนบ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ถัว่ กวน ตะโหนดทอด(ลกู ตาล) ลูกตาลลอยแก้ว ขนมหม้อแกง ข้าวเหนยี วหอ่ โดยแต่ละตำรับมีการบันทึกข้อมูลส่วนผสม วิธีทำและเทคนิคการทำของทุก ตำรับอาจกล่าวได้ว่า ตำรับอาหารพ้ืนบ้านเป็นภูมิปัญญาพ้ืนบ้านด้านสุขภาพ ของตำบลสมอพลือ ที่มีการบันทึกอย่างดีเป็นประโยชน์ต่อการจัดการความรู้ เบอ้ื งตน้ ในอนาคต รพ.สต.สมอพลอื อาจรว่ มกบั ชมุ ชนในการจดั ระบบประมวล ความรู้ภูมิปัญญาอาหารพ้ืนบ้าน และพัฒนาเป็นโครงการ/กิจกรรมหลักสูตร การอบรมอยา่ งตอ่ เนอื่ ง เพือ่ ใหเ้ ยาวชนรุ่นหลงั /ผ้ทู ี่สนใจไดเ้ รยี นรู้และสบื ตอ่ ภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลัง องค์ความรู้ภูมิปัญญาอาหารพ้ืนบ้านเหล่านี้ใช้วัตถุดิบ ในทอ้ งถนิ่ (ลกู ตาล ลกู ตำลงึ ตะลงิ ปลงิ ข้เี หล็ก และเคร่ืองเทศ) และมีการใช้ ประโยชน์ตอ่ คนทอ้ งถ่นิ ทง้ั ในครอบครัว ในงานประเพณี และในเศรษฐกิจ ทอ้ งถ่นิ การจัดการการเรยี นรสู้ ามารถทำไดท้ ัง้ ในและนอกห้องเรยี น สง่ ผลให้ เกิดการอนรุ กั ษพ์ ัฒนาและสบื ทอดต่อไป 132 คูม่ ือ “แนวทางการดูแลสุขภาพผูส้ งู อายุดว้ ยภูมิปัญญาพน้ื บา้ นด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นอกจากภมู ปิ ญั ญาดา้ นสขุ ภาพแลว้ ชมุ ชนตำบลสมอพลอื ยงั มภี มู ปิ ญั ญา ด้านวัฒนธรรมอีก 7 ด้าน คอื การจกั สาน การทำบายศรี ดา้ นเพลงพน้ื บา้ น งานปีผีมด ด้านดนตรีไทย การเกษตรพ้นื บา้ น และดา้ นพิธีกรรม รพ.สต. สมอพลือ ไดร้ วบรวมข้อมลู บุคคลท่ีมภี ูมิปญั ญาเหล่าน้ใี นชุมชน โดยมีขอ้ มูล ทัว่ ไป การดูแลสขุ ภาพตนเอง ประวตั กิ ารเรียนนรู้ วธิ ีเตรียม/ทำแต่ละเรื่อง ภูมิปัญญาเหล่าน้ีมีคุณค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพของชุมชน สร้างความ สามัคคีและส่งเสริมให้เกิดความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนในชุมชน สมควรท่ีชุมชนจะร่วมกันทำงานเพื่อประมวล ส่งเสริม และฟน้ื ฟูภมู ปิ ัญญา ดา้ นวัฒนธรรมเพื่อใหอ้ ย่คู ู่ชมุ ชนต่อไป คูม่ ือ 133 “แนวทางการดูแลสุขภาพผูส้ งู อายดุ ้วยภมู ิปญั ญาพื้นบา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตวั อยา่ งท่ี 4 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรงั 1. บริบททางสงั คม ตำบลนาท่ามใต้ เป็นพ้ืนท่ีลักษณะท่ีราบลุ่ม และมีแม่น้ำตรังไหลผ่าน ภายในพนื้ ท่ี และมีคลองยอ่ ยและสระน้ำสาธารณะด้วย ในอดตี พ้ืนท่สี ว่ นใหญ่ เป็นพื้นที่นา และเป็นชุมชนที่มีอาชีพทำนามายาวนาน นอกจากน้ีภายใน ตำบลนาท่ามใต้ยังมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 787 ไร่ และมีสภาพ อากาศรอ้ นช้นื ฝนตกชุกตลอดปี ปจั จุบัน ตำบลนาทา่ มใต้ มี 8 หมู่บ้าน มี อบต.นาท่ามใต้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ีรับผิดชอบด้านการ ปกครองและการพัฒนาทอ้ งถ่นิ ประชาชนส่วนใหญเ่ ป็นคนทอ้ งถิน่ มลี ักษณะ ตัวบา้ นเรือนกระจายในบรเิ วณสวนยางพารา นับถอื พทุ ธศาสนาเป็นสว่ นใหญ่ และพดู ภาษาใตเ้ ปน็ ภาษาถน่ิ อาชพี หลกั คอื การทำสวนยางพารา การทำนา การรับจ้างและค้าขาย ในตำบลนาท่ามใต้ มีประชากรท้ังหมด 17,018 คน และจำนวน หลังคาเรือน 3,752 หลังคาเรือน และมีความสะดวกในการเดินทางทุก หมู่บ้าน มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แหง่ และโรงเรียน 2 แห่ง สำหรับโครงการนมี้ ี “โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลนาท่ามใต้” เข้าร่วมการจัดการภูมิปัญญาการแพทย์พ้ืนบ้าน เพอ่ื ผสู้ งู อายุ 134 คูม่ ือ “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผู้สูงอายดุ ้วยภูมปิ ัญญาพน้ื บ้านดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2. สถานการณ์และการบรกิ ารสขุ ภาพ ภายในตำบลนาทา่ มใต้ มีผูส้ ูงอายุทง้ั หมด จำนวน 2,229 คน และ สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามใต้ (รพ.สต.นาท่ามใต้) มีความรบั ผดิ ชอบในพนื้ ที่ 4 หมบู่ ้าน มีประชากรทง้ั หมด 2,686 คน และใน คมู่ อื 135 “แนวทางการดแู ลสุขภาพผู้สงู อายุด้วยภูมปิ ัญญาพ้นื บา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี พ.ศ. 2555 พน้ื ที่ 4 หมู่บา้ นมีผู้สงู อายทุ งั้ หมด 436 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 13.7 ของประชากรท้งั หมด จำแนกเปน็ เพศชาย 179 คน และเพศหญงิ 257 คน ผสู้ งู อายสุ ว่ นใหญม่ สี ถานภาพสมรสเปน็ แบบคแู่ ละหมา้ ย กลมุ่ ผสู้ งู อายุ เป็นกลุ่มท่ีมีภาวะรา่ งกายมคี วามเสอื่ มตามอายุทมี่ ากขึ้น และมปี ญั หาสขุ ภาพ ทส่ี ำคัญ คอื โรคความดันโหลติ สงู โรคเบาหวาน และภาวะอมั พฤกษ์ อมั พาต โรงพยาบาลสง่ เสรมิ สขุ ภาพตำบลนาทา่ มใต้ (รพ.สต.นาทา่ มใต)้ มภี ารกจิ การจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุตามมาตรฐานและเกณฑ์คุณภาพเครือข่าย บริการปฐมภูมิและมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี และได้รับความ เออ้ื อาทรภายใตก้ ารเขา้ ถงึ บรกิ ารสขุ ภาพอยา่ งทวั่ ถงึ และเทา่ เทยี ม ประกอบดว้ ย 2 ลักษณะ คือ (1) การบริการสุขภาพผู้สูงอายุท่ี รพ.สต.นาท่ามใต้ มีการ บรกิ ารแบบจดุ เดยี ว (One Stop Service) และมีคลินคิ โรคเร้อื รัง ทุกวันพุธ ที่สามของทุกเดือน โดยทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลตรัง (2) การบริการ สุขภาพท่ีบ้าน รพ.สต.นาท่ามใต้ มีแผนการออกเย่ียมบ้านทุกวันจันทร์ โดยออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัคร ดแู ลผ้สู ูงอายุ และมกี ารกำหนดความถ่ี คอื ผ้สู งู อายุตดิ สังคม/ติดบ้าน เยย่ี ม 1 ครง้ั /เดอื น สว่ นผูส้ ูงอายตุ ดิ เตยี ง เย่ยี ม 1 ครั้ง/สปั ดาห์ 136 ค่มู อื “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผูส้ งู อายุดว้ ยภมู ปิ ญั ญาพื้นบา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระยะที่ผา่ นมา รพ.สต.นาท่ามใต้ มีกจิ กรรมการสง่ เสริมสุขภาพสำหรบั ผู้สูงอายุอย่างต่อเน่ือง ท่ีสำคัญคือ การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจ สขุ ภาพชอ่ งปาก การตรวจสขุ ภาพสายตา/ตอ้ กระจก การสนบั สนนุ ฟนั เทยี ม/ แว่นสายตา การคัดกรองภาวะซึมเศร้า การเยี่ยมบ้านตามปัญหาสุขภาพ ผสู้ งู อายุ นอกจากนยี้ งั จดั กจิ กรรมรว่ มกบั ชมรมผสู้ งู อายนุ าทา่ มใต้ และองคก์ ร/ หน่วยงานภายในและนอกตำบลนาท่ามใต้ อีกด้วย นอกจากนี้ ผู้สูงอายุ ต้องการให้ รพ.สต. เปิดบริการการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะการนวด ในปี พ.ศ. 2557 รพ.สต.นาท่ามใต้ ได้เปิดบริการนวดไทย เพม่ิ เตมิ จากเดมิ ท่ีมีการบริการยาสมุนไพร โดยการนำ “ทุนทางสังคม” คือ ผู้สูงอายุท่ีมี ความสามารถการนวดมาให้บรกิ ารการนวดไทยท่ี รพ.สต.นาท่ามใต้ อันเปน็ การสร้างขวัญกำลังใจและความรู้สึกภาคภูมิใจของผู้สูงอายุท่ีมีศักยภาพ ในชมุ ชน 3. แนวคดิ และแนวปฏบิ ตั เิ พอ่ื สรา้ งความมน่ั คงทางสงั คมของผสู้ งู อายุ ภายในตำบลนาทา่ มใต้ อบต.นาทา่ มใต้ มแี นวคดิ และนโยบายสนบั สนนุ และสร้างความมน่ั คงทางสงั คมเพอื่ ผสู้ ูงอายุ ประกอบดว้ ย การทำงาน 3 ดา้ น คือ การจัดสวัสดิการสังคม การส่งเสริมรายได้และอาชีพ การเพ่ิมศักยภาพ ของผู้สูงอายุและครอบครัว โดยการทำงานดังกล่าวมีองค์กร/หน่วยงานที่ สนับสนุนสำคัญ คือ องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.นาท่ามใต้) มีบทบาท สนับสนุนงบประมาณในการทำงานของผู้สูงอายุ และสนับสนุนเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลนาท่ามใต้ สนับสนุนด้านงบประมาณ/ ด้านการอบรมวิชาการสำหรับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และจัดสวัสดิการให้ ผู้สูงอายทุ ่เี จบ็ ป่วยและเสยี ชีวิต มลู นธิ ศิ ุภนมิ ติ สนบั สนนุ ด้านอาชพี และมี รพ.สต.นาทา่ มใต้ ชมรมอาสาสมคั รตำบลนาทา่ มใต้ กองทนุ หลกั ประกนั สขุ ภาพ คมู่ อื 137 “แนวทางการดูแลสุขภาพผสู้ งู อายุด้วยภมู ปิ ัญญาพน้ื บ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตำบลนาท่ามใต้ โรงพยาบาลตรัง และเหล่ากาชาดจังหวัด มีส่วนสนับสนุน ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ (การทำแผนงาน/โครงการที่เก่ียวข้องกับ ผู้สูงอายุ) ด้านบริการสุขภาพและด้านสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับสุขภาพ ผสู้ ูงอายุ ในปี พ.ศ. 2554 “ชมรมผสู้ งู อายตุ ำบลนาทา่ มใต้” ได้ก่อต้งั ขนึ้ เพื่อเปน็ กลไกการดูแลสวัสดิการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมี การรวมตัวและมาร่วมทำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ทำให้ผู้สูงอายุมี สุขภาพดี มีความสุขในชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่วนรวม ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลนาท่ามใต้ มีจำนวน 313 คน คิดเป็นร้อยละ 71.78 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ชมรมฯ ได้จัดให้มี คณะกรรมการชมรมผสู้ งู อายุ จำนวน 22 คน และมนี ายแชม่ สนี า เปน็ ประธาน ชมรมผู้สูงอายุตำบลนาท่ามใต้ และยังมีการตราระเบียบของชมรมเพื่อให้ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุถือปฏิบัติด้วย นอกจากนี้ยังมี นายก/ปลัดของ อบต. นาทา่ มใต้ กำนนั /ผ้ใู หญ่บ้าน และ ผอ.รพ.สต.นาทา่ มใต้ เป็นที่ปรึกษาชมรม ผสู้ ูงอายุ 138 คู่มอื “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผสู้ ูงอายดุ ้วยภูมปิ ญั ญาพน้ื บา้ นด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระยะทผ่ี า่ นมา ชมรมผสู้ งู อายุตำบลนาท่ามใต้ มกี ารทำงานรว่ มกนั 5 ดา้ น คอื (1) การจดั สวสั ดกิ ารสำหรับสมาชกิ ชมรมผสู้ งู อายุ สมาชกิ ชมรมผู้ สงู อายไุ ด้รับการสนบั สนนุ เบีย้ ยังชีพผ้สู ูงอายตุ ามสิทธิผูส้ ูงอายุ ชมรมฯ มกี าร เยย่ี มเยอื นและชว่ ยเหลอื ผสู้ งู อายุ หญงิ มคี รรภแ์ ละเดก็ เลก็ หากมสี มาชกิ ชมรมฯ เสียชีวิต ชมรมฯ จะมอบพวงหรีดและมอบเงินช่วยเหลือจากกองทุนฌาปนกิจ สงเคราะห์ นอกจากน้ี ชมรมฯ มีการจัดงานประเพณีและงานวันสำคัญทาง ศาสนา เชน่ วนั ผสู้ งู อายุ เพอ่ื ใหผ้ สู้ งู อายรุ ว่ มทำบญุ และรว่ มประเพณที างศาสนา อย่างต่อเน่ือง (2) การส่งเสริมอาชีพและรายได้ ระยะที่ผ่านมาชมรมผสู้ งู อายุ รว่ มมอื กบั มลู นธิ ศิ ภุ นมิ ติ มกี ารอบรมฝกึ สอนการทำโลชน่ั สมนุ ไพรเพอ่ื จำหนา่ ย คู่มือ 139 “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผสู้ ูงอายุด้วยภมู ปิ ัญญาพ้นื บา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยทำเปน็ 2 ขนาด ขวดเลก็ ราคา 30 บาท และขวดใหญร่ าคา 60 บาท ทำให้ ผสู้ งู อายรุ สู้ กึ ภาคภมู ใิ จ มรี ายได้ และมอี าชพี เสรมิ นอกจากน้ี อบต.นาทา่ มใต้ ยงั มกี ารสนบั สนนุ ใหม้ กี ลมุ่ อาชพี ในชมรมผสู้ งู อายุ มกี ารรวมตวั ทำจกั สานเสอื่ / ตะกร้า เพ่ือจำหนา่ ยเปน็ รายไดข้ องผ้สู ูงอายดุ ้วย ทำใหผ้ สู้ งู อายุมคี ณุ ภาพชีวิต ทด่ี ี (3) การเพม่ิ ศกั ยภาพผสู้ งู อายแุ ละครอบครวั ชมรมผสู้ งู อายรุ ว่ มกบั อบต. นาทา่ มใต้ รพ.สต.นาทา่ มใต้ ศูนย์พฒั นาครอบครัวตำบลนาท่ามใต้ และชมรม อาสาสมคั รสาธารณสขุ มกี ารจดั อบรมความรกู้ ารดแู ลสขุ ภาพตนเอง ทง้ั รา่ งกาย และจติ ใจใหผ้ สู้ งู อายุ และยงั มกี ารอบรมเฉพาะดา้ น ไดแ้ ก่ อบรมพฒั นาศกั ยภาพ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ การอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ผสู้ ูงอายุท่ีป่วยโรคเรอื้ รงั และอบรมคณะกรรมการชมรมผ้สู ูงอายุ เป็นต้น 4. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาพนื้ บ้านด้านสขุ ภาพ รพ.สต.นาท่ามใต้ มีการสำรวจและสัมภาษณ์แหล่งภูมิปัญญาพื้นบ้าน ด้านสขุ ภาพในพื้นท่ี 4 หม่บู ้าน ผลสรุปมี 3 เร่อื ง คอื 4.1 ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน หมอพื้นบ้านในชุมชนมี 5 คน จำแนกเปน็ ชาย 3 คน หญงิ 2 คน และเปน็ หมอสมนุ ไพร 2 คน และหมอนวด 3 คน หมอพ้นื บา้ นมอี าชพี หลกั คอื การทำสวนยางพารา และหมอนวด ยังคง มกี ารบรกิ ารการนวดใหห้ ญิงต้งั ครรภ์/หญิงหลงั คลอด มีรายได้ประมาณ 200 – 300 บาท/ครง้ั หมอพน้ื บา้ นเหลา่ นเ้ี รยี นวชิ ามาจากบรรพบรุ ษุ หรอื หมอพน้ื บา้ น รุ่นเก่า หมอนวดมีความสามารถในการรักษากลุ่มอาการเส้น/เอ็นจม อวัยวะ เคลด็ ขดั ยอก สะบกั จม อมั พฤกษ์ อมั พาต การนวดหญงิ มคี รรภ/์ นวดแตง่ ทอ้ ง ส่วนหมอสมุนไพรมีการรักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคระดูผิดปกติ ท้องผูก อย่างไรก็ตาม การเก็บขอ้ มูลหมอพน้ื บ้านเกีย่ วกบั การวนิ ิจฉยั การรักษาโรค และการตดิ ตามผลมรี ายละเอยี ดนอ้ ยมาก และหมอพน้ื บา้ นสว่ นใหญม่ อี ายมุ าก 140 คู่มือ “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผู้สงู อายดุ ้วยภมู ิปญั ญาพ้ืนบ้านด้านสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และมบี ทบาทการรกั ษาโรคลดลง ในปี พ.ศ. 2557 รพ.สต.นาทา่ มใต้ มแี นวคดิ และแผนงานเปิดการบริการนวดไทย ด้วยการนำผู้สูงอายุท่ีมีความสามารถ การนวดในชมุ ชนมาใหบ้ รกิ ารการนวดท่ี รพ.สต.นาทา่ มใต้ นบั เปน็ ความรเิ รม่ิ ทดี่ ี แต่ยังคงต้องอาศัยเวลาในการพัฒนารูปแบบการทำงานและประเมินผลลัพธ์ ในระยะต่อไป นอกจากน้ี รพ.สต.นาทา่ มใต้ ยงั มกี ารรวบรวมรายชอ่ื -ทอ่ี ยู่ ของปราชญ์ ท้องถิ่นดา้ นวัฒนธรรมพื้นบา้ น ไดแ้ ก่ ด้านรำมโนราห์ 3 คน ดา้ นววั ชน 1 คน ด้านจักสาน 16 คน การทำขนมจนี 2 คน ดา้ นเยบ็ ผ้า 5 คน ด้านร้องเพลง กล่อมเด็ก 4 คน ดา้ นช่างไม้ 2 คน ด้านจัดดอกไมโ้ ลงศพ 1 คน และดา้ นหมอ บ่าวสาว 1 คน แต่ปราชญ์ท้องถิ่นทุกคนไม่มีข้อมูลรายละเอียดและไม่อาจ คิดถึงการใช้ประโยชน์ต่อเน่ืองในชุมชน ยกเว้นด้านการจักสานที่มีการรวม กลุ่มและพฒั นาผลติ ภัณฑเ์ พอื่ สรา้ งรายได้ใหก้ ับสมาชิกผสู้ งู อายบุ างส่วนแลว้ 4.2 ภูมปิ ัญญาดา้ นอาหารพืน้ บา้ น รพ.สต.นาท่ามใต้ มกี ารรวบรวม รายช่ือและประโยชน์ของอาหารพื้นบ้านในท้องถิ่น จำนวน 11 ตำรับ ตัวอย่างเชน่ แกงสม้ อ้อดิบ ตม้ ส้มปลากระบอก แกงข้ีเหล็ก น้ำพรกิ ผักลวก ขนมจนี กบั แกงเหลอื ง/แกงไตปลา/แกงเขยี วหวาน แกงเลยี ง ขา้ วยำปักษ์ใต้ คูม่ ือ 141 “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผู้สงู อายุดว้ ยภูมิปญั ญาพน้ื บา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และยังมีการรวบรวมรายชื่อและประโยชน์ของพืชสมุนไพรและผักพื้นบ้านท่ี ผสู้ งู อายใุ นชมุ ชนมกี ารปลกู และใชป้ ระโยชนใ์ นครวั เรอื น ไดแ้ ก่ กระถนิ ขเี้ หลก็ กระเจีย๊ บ ก่มุ นำ้ แคบ้าน ชะมวง ทำมงั ผักหวานบา้ น มะกรดู มะกอก มะขาม มนั ปู ยอ เลบ็ ครฑุ เหมยี ง หมยุ กะทกรก รางจดื ยา่ นาง มะระขนี้ ก เป็นตน้ 4.3 ภมู ปิ ญั ญาการดแู ลสขุ ภาพตนเองของผสู้ งู อายตุ น้ แบบ รพ.สต. นาท่ามใต้ มีการรวบรวมและสัมภาษณ์การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตน้ แบบ จำนวน 36 คน จำแนกเปน็ หญงิ 24 คน ชาย 12 คน ผสู้ งู อายสุ ว่ นใหญ่ มีอายุระหวา่ ง 80 – 90 ปีและมผี ูส้ ูงอายจุ ำนวน 4 คน ท่ีมีอายมุ ากกว่า 90 ปขี ้นึ ไป ผูส้ งู อายสุ ว่ นใหญ่มีการศกึ ษาระดับประถมศกึ ษา ผสู้ ูงอายุสว่ นใหญ่ อายุมากและไม่ได้ประกอบอาชีพ มีผู้สูงอายุประมาณ 3 – 4 คน ยังคงมี อาชพี ทมี่ ีรายไดบ้ างสว่ น เช่น การปลกู ผกั การทำสวนยาง การเลีย้ งวัวชน และจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอม เป็นต้น รายได้ของผู้สูงอายุมาจากเบี้ยยังชีพ ผสู้ งู อายุตามนโยบายรัฐบาล เงินออมทส่ี ะสมไว้ในธนาคาร และมีลูกหลานให้ บางส่วน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยบ้านเดียวกับลูกหลาน มีส่วนน้อยท่ี อยู่เพียงคนเดียว และมีญาติอยู่ใกล้บ้านกัน ลักษณะบ้านเป็นลักษณะบ้าน ชั้นเดียว ปลกู อย่ใู นบรเิ วณสวนยางพารา มคี วามสะอาด และอากาศถ่ายเทดี สำหรบั ผสู้ งู อายชุ ายมกั เลย้ี งววั ชน เนอ่ื งจากววั ชนเปน็ กฬี าทอ้ งถน่ิ และสบื ทอด เปน็ เวลายาวนาน ผทู้ เ่ี ลย้ี งววั ชนมฐี านะคอ่ นขา้ งดี และอาจนำไปเลน่ พนนั ววั ชน เวลาทมี่ กี ารแขง่ ขันววั ชนด้วย ผสู้ งู อายกุ ลมุ่ นม้ี กี ารดแู ลสขุ ภาพกายและใจทด่ี ี สว่ นใหญต่ น่ื นอนชว่ งเชา้ ตง้ั แตร่ ะหวา่ ง 05.00 – 06.00 น บางคนตน่ื กอ่ น 05.00 น.และทานอาหารเชา้ เชน่ โจก๊ กาแฟ โอวลั ติน นมถัว่ เหลือง นมงาดำ การออกกำลังกาย มกั ฝึกทำ ท่ีบ้านด้วยตนเอง เช่น การเดิน (บางคนเดิน 4 – 5 กิโลเมตรทุกวัน) 142 คมู่ อื “แนวทางการดแู ลสุขภาพผสู้ งู อายดุ ว้ ยภมู ิปัญญาพ้ืนบา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การปลูก – รดนำ้ – ถอนหญ้าในบรเิ วณที่ปลกู ผกั สวนครวั และตน้ ไมร้ อบบา้ น บางคนทำงานบา้ น เชน่ กวาดขยะ ซกั ผา้ ทำอาหาร ดว้ ยตนเอง ผสู้ งู อายชุ ายจะจงู ววั ชนไปฝกึ เดนิ วง่ิ ประมาณ 6 – 8 กโิ ลเมตร/วนั โดยไปในชว่ งเช้า นับเป็นการออกกำลังกายพรอ้ มกันไปด้วย ส่วนดา้ นอาหาร กลางวันและอาหารเย็น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะทานอาหารรสจืด ทานข้าว ประมาณ 1 – 3 ทัพพ/ี ม้อื ทานผัก ผลไม้ และผกั พืน้ บ้าน บางคนจะชอบ อาหารรสเคม็ และรสหวาน อาหารทรี่ บั ประทานประจำ คอื แกงสม้ แกงจดื แกงเลยี ง ผกั /น้ำพรกิ แกงเหลือง ปลาทอด แกงพรกิ แกงไตปลา ขา้ วยำ และอาหารท่ผี ู้สูงอายมุ ักหลีกเล่ยี ง หรอื ไม่รับประทาน คอื อาหารประเภท ของทอด ของมัน เน้ือหม/ู วัว/ไก่ ของหมกั ดอง กะทิ อาหารรสจัด และมี ผู้สงู อายุบางคนมกี ารดูแลสขุ ภาพดว้ ยการใชส้ มนุ ไพรในการดแู ลรกั ษาสุขภาพ เช่น ชุมเห็ดเทศ ใบกุยช่าย สับปะรด ฟ้าทะลายโจร หญ้าหนวดแมว ยานำ้ สกดั โสมผสมเขากวาง ผลติ ภณั ฑ์เสริมอาหาร เปน็ ตน้ สว่ นการพักผอ่ น ผู้สงู อายสุ ว่ นใหญจ่ ะนอนช่วงคำ่ ระหว่างเวลา 19.00 – 21.00 และบางคนมี การนอนพักชว่ งกลางวนั ราว 1 – 2 ชวั่ โมงด้วย คู่มือ 143 “แนวทางการดแู ลสุขภาพผ้สู งู อายดุ ้วยภูมิปญั ญาพน้ื บา้ นด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การดแู ลสขุ ภาพใจของผสู้ งู อายุ ผสู้ งู อายสุ ว่ นใหญจ่ ะมอี ารมณด์ ี ไมโ่ กรธ และไมเ่ ครยี ด และมกี ารสวดมนต์ ไหวพ้ ระ ทำบญุ เปน็ ประจำ ในชวี ติ ประจำวนั มีกิจกรรมคลายเครียดหลายลักษณะ เช่น การดูโทรทัศน์ การพูดคุยกับ เพ่อื นบา้ น/ญาตใิ นบ้าน การเล้ียงหลาน เปน็ ต้น และยังมกี ารเขา้ ร่วมกิจกรรม ทางศาสนาของชุมชน เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณสี ารทเดือนสบิ และวนั สำคัญทางศาสนาด้วย อาจกลา่ วได้ว่า รพ.สต.นาท่ามใต้ เปน็ หนว่ ยงานสาธารณสขุ ทม่ี ภี ารกจิ บริการสุขภาพผู้สูงอายุ และมีการสนับสนุนและทำงานด้านผู้สูงอายุร่วมกับ องคก์ ารบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ องค์กรภาคประชาชนและองค์กรพัฒนา ภาคเอกชน ทำใหผ้ ู้สงู อายุมคี ุณภาพชวี ติ ที่ดี สำหรับผู้สูงอายมุ ีการรวมตัวเป็น “ชมรมผสู้ งู อายตุ ำบลนาทา่ มใต”้ และมกี จิ กรรม 3 ดา้ น คอื การจดั สวสั ดกิ าร สำหรับสมาชิกชมรม การส่งเสริมอาชีพและรายได้ และการเพ่ิมศักยภาพ ผูส้ งู อายแุ ละครอบครัว และในปี พ.ศ. 2556 รพ.สต.นาท่ามใต้ มกี ารจัดการ ความรู้โดยการรวบรวมภูมิปัญญาด้านสุขภาพ เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้าน การรักษาโรคของหมอพื้นบ้าน และการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ต้นแบบ ทำให้พืน้ ท่มี ีขอ้ มลู เพ่อื นำมาพฒั นางานผู้สงู อายใุ นอนาคตตอ่ ไป 144 ค่มู อื “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผสู้ ูงอายดุ ว้ ยภูมิปัญญาพน้ื บา้ นด้านสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตัวอยา่ งที่ 5 การจดั การองคค์ วามรูภ้ ูมิปัญญาการแพทยพ์ ้ืนบา้ น เพอ่ื การดูแลสขุ ภาพผู้สูงอายุ โดย ศ. (พเิ ศษ) พญ.สมบูรณ์ เกยี รตนิ นั ทน์ และคณะ คณะแพทยศ์ าสตร์ (สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1. ความเป็นมา สืบเนื่องจากสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จำนวน ผู้สูงอายเุ พ่มิ ขนึ้ อยา่ งต่อเนอ่ื ง และปัจจบุ ันภูมปิ ัญญาการแพทยพ์ ื้นบ้านมกี าร นำมาใช้ประโยชนใ์ นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้เกดิ บทเรยี นการสง่ เสริม สขุ ภาพและดแู ลสขุ ภาพผสู้ งู อายทุ ีด่ ี ดงั น้นั ในปี พ.ศ. 2556 คณะผู้วจิ ัยได้รับ การสนับสนุนจาก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในการศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์พ้ืนบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำชุดความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ รูปแบบ และองค์ความรู้ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน วิธีการศึกษาแบบเชิง คุณภาพในพ้นื ท่ี 4 ตำบล ใน 4 จังหวัด (จังหวดั เชียงราย จงั หวัดเลย จงั หวดั สพุ รรณบุรี และ จังหวดั นครศรีธรรมราช) 2. ผลการศกึ ษา สังคมไทยมจี ำนวนผสู้ งู อายุมากขึน้ อยา่ งตอ่ เนอื่ ง และผสู้ งู อายมุ ปี ญั หา สุขภาพสำคัญ คือ โรคเรื้อรัง โรคท่ีมาจากความเสื่อมของร่างกาย และ โรคอัมพฤกษ์ - อัมพาต ปจั จบุ ันประเทศไทยมีแผนงานผู้สูงอายุ ฉบับท่ี 2 คู่มือ 145 “แนวทางการดแู ลสุขภาพผูส้ ูงอายดุ ว้ ยภูมิปัญญาพื้นบา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (พ.ศ. 2545 – 2556) มีนโยบายการเตรียมความพร้อมเพื่อให้วัยสูงอายุมี คุณภาพชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน และยังมีการสนับสนุน และการเคล่อื นไหวตามพระราชบญั ญัตผิ ู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 อีกดว้ ย ในสังคมไทย มีการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาพ้ืนบ้านและท้องถิ่นมา ใช้ประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ มีการใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน และการแพทย์พ้ืนบ้าน จากการศึกษาองค์ความรู้ของหมอ พ้ืนบ้านจำนวน 26 คน ใน 4 พื้นท่ี พบว่า หมอพ้ืนบ้านจำนวน 26 คน จำแนกเป็น เพศชาย 19 คน และเพศหญิง 7 คน อายุเฉล่ีย 70 ปี มกี ารเรียน วชิ าจากบรรพบรุ ุษและพระสงฆ์ หากจำแนกเปน็ กลมุ่ หมอพืน้ บา้ นตามความ ชำนาญในการรักษาโรคเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มหมอเป่า/หมอกระดูก มีจำนวน 11 คน วิธีการรักษาโรค คือ การเป่า การใชค้ าถา และเข้าเฝอื ก ไม้ประกอบกัน ให้การรักษาอาการกระดูกหัก/แตก/ร้าว งูสวัด ตัวเหลือง/ ตาเหลอื ง (2) กลมุ่ หมอสมนุ ไพร มจี ำนวน 8 คน มกี ารใชส้ มนุ ไพรดว้ ยการตม้ 146 ค่มู ือ “แนวทางการดูแลสุขภาพผสู้ งู อายดุ ้วยภมู ปิ ัญญาพืน้ บ้านดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก การต้มและใช้ไอจากสมุนไพร การกวาดยาสมุนไพร ใช้รักษาโรคน่ิว ริดสีดวง ทวาร การดูแลสขุ ภาพหลงั คลอด โรคมะเร็ง อาการออ่ นเพลีย-ทานข้าวไมไ่ ด้ ตาฝา้ ฟาง การปวดหลัง (3) กลุ่มหมอนวด จำนวน 3 คน มกี ารใชก้ ารน วดรว่ มกบั ประคบสมนุ ไพร รกั ษาอาการปวดเมอื่ ยกลา้ มเนอื้ ปวดหลงั ปวดเอว โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (4) กลุ่มหมอพิธีกรรม/หมอขวญั /หมอเมื่อ (หมอด)ู / หมอไสยศาสตร์ จำนวน 4 คน มีการใชค้ าถาสขู่ วญั /เรียกขวญั ของผทู้ เ่ี กดิ อุบตั ิเหตหุ รอื อาจเกิดจากผกี ระทำ นอกจากนี้ ยังพบว่า หมอพ้ืนบ้านเป็นผู้ สูงอายุที่ดูแลสุขภาพตนเองท้ังกายและใจ มีการรับประทานผักและผลไม้เป็น หลัก รอบบ้านมีการปลูกผัก และประกอบอาหารรับประทานด้วยตนเอง มกี ารออกกำลงั กาย และบางคนมกี ารรบั ประทานยาสมนุ ไพร เปน็ ยาอายวุ ฒั นะ จากการศึกษาอาจสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาพ้ืนบ้านสามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน ดา้ นสง่ เสรมิ สขุ ภาพ ดา้ นปอ้ งกนั โรค ดา้ นรกั ษาโรค และดา้ นฟน้ื ฟสู มรรถภาพ สำหรับองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านยังไม่อาจกล่าวได้ว่า การรักษาโรคของ หมอพื้นบ้านมีประสิทธิภาพชัดเจน ยังต้องศึกษาระดับลึกต่อไปในอนาคต แต่สำหรับการนวดเพ่ือรักษากลุ่มกล้ามเน้ือปวดเมื่อย น่าจะเป็นประเด็น ความรู้ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และอาจขยายผลโดย การฝึกอบรมครอบครัวให้มีความรู้ด้านการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เพ่ือใช้ ประโยชนใ์ นการดแู ลผสู้ ูงอายทุ ่บี ้านได้ นอกจากน้ี คณะผูว้ ิจยั มีขอ้ เสนอแนะ ดงั นี้ (1) องคก์ ร/หน่วยงาน ในพ้ืนท่ี ประกอบด้วย องค์กรปกครองท้องถิ่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำบล ควรส่งเสริมให้ชุมชนและครอบครัวปลูกและใช้ประโยชน์จากผัก พนื้ บ้าน/อาหารพ้ืนบ้าน ส่งเสริมการออกกำลงั กายแบบพื้นบา้ น และสรา้ งให้ เกดิ การเรยี นรู้ ภมู ปิ ญั ญาของหมอพน้ื บา้ นกบั ผสู้ นใจในชมุ ชน เพอ่ื สรา้ งคณุ คา่ และส่งเสริมความสัมพันธ์ในชุมชน (2) ภูมิปัญญาพ้ืนบ้านสามารถนำมา คู่มอื 147 “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผสู้ ูงอายุดว้ ยภมู ปิ ญั ญาพื้นบา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คดั เลอื กอย่างเหมาะสม และประยกุ ต์ใชป้ ระโยชนใ์ นการดแู ลสขุ ภาพผสู้ งู อายุ ทง้ั 4 มติ ิ คอื ดา้ นสง่ เสรมิ สขุ ภาพ ดา้ นปอ้ งกนั โรค ดา้ นรกั ษาโรค และดา้ นฟน้ื ฟู สมรรถภาพรา่ งกาย สว่ นหมอพน้ื บา้ นสว่ นใหญจ่ ะมคี วามจำกดั ดา้ นวนิ จิ ฉยั โรค และประสิทธิภาพในการรักษาโรค หากต้องการใช้ประโยชน์วงกว้าง จำเป็น ต้องมีการเสริมความรู้ด้านการแพทย์เพ่ือให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในอนาคต (3) การสืบทอดองคค์ วามร้ขู องหมอพ้ืนบ้าน หน่วยงานรฐั ในพ้นื ท่อี าจมกี าร ถอดบทเรยี นตรวจสอบความรหู้ รอื พฒั นาตอ่ ยอดความรเู้ พอ่ื ใชป้ ระโยชนต์ อ่ ไป ในอนาคต 148 คมู่ ือ “แนวทางการดูแลสุขภาพผสู้ งู อายุด้วยภูมปิ ัญญาพน้ื บา้ นดา้ นสขุ ภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (2) แนวคิดและรูปแบบการส่งเสรมิ สุขภาพผูส้ งู อายุด้วยภูมิปญั ญา พนื้ บา้ นด้านสขุ ภาพ ตัวอย่างที่ 6 ตำบลนาแกว้ อำเภอเกาะคา จงั หวัดลำปาง 1. บรบิ ททางสังคม ตำบลนาแกว้ เป็นชมุ ชนดัง้ เดิมทีม่ อี ายกุ ว่า 300 ปี และเป็นชุมชน ก่ึงเมืองก่ึงชนบท ภูมิประเทศเป็นท่ีราบลุ่มเชิงเขาและอยู่เลาะเลียบด้าน ตะวันตกของแม่น้ำวัง ภายในตำบลนาแก้ว มี “วัดพระธาตุจอมปิง” เป็นโบราณสถานสำคัญ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเย่ียมชมงานพระธาตุอุโบสถ และเป็นศูนย์กลางทางประเพณีในชมุ ชน มีจำนวน 2,456 หลงั คาเรือน ตำบลนาแกว้ ประกอบด้วยหมบู่ ้าน 9 หมบู่ ้าน ชนด้งั เดิมเปน็ ชาวลวั๊ ะ ตอ่ มามคี นพน้ื เมอื งอพยพเขา้ มามากขน้ึ และเปน็ ชมุ ชนทม่ี คี วามเชอ่ื เรอ่ื งผปี ยู่ า่ และประเพณีพน้ื เมืองล้านนาทเ่ี ข้มแข็ง ในแต่ละปใี นชุมชนจะมี “พิธผี ปี ่ยู ่า” 4 คร้ัง โดยทตี่ ้นตระกลู ของหมู่บ้านจะเปน็ ผู้ประกอบพิธกี รรม และยงั มีงาน ประเพณีประจำปีหลายงาน คือ งานบุญปใี หม่ ประเพณเี ดือนส่ีเปง็ ประเพณี เดอื นหา้ งานขว่ งผญา๋ ประเพณสี งกรานต์ ประเพณเี ดอื นแปดเปง็ (งานประจำปี ของวัดพระธาตุจอมปงิ ) ประเพณเี ดอื นย่เี ป็ง งานกิน๋ สลาก ประชาชนร่วมมือ ร่วมใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและองค์กรภายในชุมชน เตรียมงาน และจัดงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะชวนลูกหลานร่วมงานและ เปน็ ผเู้ ตรยี มงานอยา่ งกระตอื รอื รน้ ในอดตี ประชาชนมอี าชพี ทำนาทำไร่ เชน่ ไรย่ าสบู ไรอ่ อ้ ย ไรข่ า้ วโพด และเลย้ี งสตั ว์ ครง้ั ตอ่ มาราวปี พ.ศ. 2525 ประชาชน คมู่ ือ 149 “แนวทางการดแู ลสขุ ภาพผสู้ งู อายุด้วยภูมปิ ญั ญาพ้นื บา้ นดา้ นสุขภาพ”
สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในตำบลนาแก้วนิยมไปทำงานในประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง ทำให้สภาพ เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในครอบครัวดีข้ึน ปัจจุบันประชาชนมีอาชีพหลัก คอื ทำนา และอาชีพรอง คอื การทำข้าวแต๋นและค้าขาย ในตำบลนาแกว้ เปน็ เขตปกครองทร่ี บั ผดิ ชอบโดย เทศบาลตำบลนาแกว้ และสถานบรกิ ารสาธารณสขุ ทส่ี งั กดั กระทรวงสาธารณสขุ 2 แหง่ คอื โรงพยาบาล สง่ เสริมสุขภาพตำบลบ้านสองแควใต้ (รพ.สต.บ้านสองแควใต้) รบั ผิดชอบ 5 หมู่บ้าน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมปิง (รพ.สต.จอมปิง) รบั ผดิ ชอบ 4 หมบู่ า้ น เนอ่ื งจากตำบลนาแกว้ เปน็ พน้ื ทท่ี ม่ี บี ทเรยี นการสง่ เสรมิ ภูมิปัญญาการแพทย์พ้ืนบ้านในระหว่างปี พ.ศ.2551 – 2553 จาก สสส. และมลู นิธสิ ขุ ภาพไทย (องคก์ รพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์) ตอ่ มาในปี 2556 รพ.สต.บา้ นจอมปิง ได้มกี ารจดั การความรู้ภายใต้ “โครงการสง่ เสริม การใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชน” มกี ารศกึ ษาแลกเปลีย่ นภูมิปัญญาทอ้ งถน่ิ ระหว่างหมอพนื้ บ้านและ การดูแลตนเองของผู้สูงอายุต้นแบบเพ่ือเป็นข้อมูลพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริม ภมู ิปัญญาพื้นบ้านเพ่อื ผู้สูงอายตุ ่อไป 2. สถานการณด์ ้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาแก้ว มีผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 1,934 คน จำแนกเป็น เพศหญิง 1,026 คน และเพศชาย 908 คน และภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผสู้ งู อายุสุขภาพดี (ตดิ สงั คม) สว่ นกลมุ่ ผู้สงู อายุท่ีตดิ บ้านมี จำนวน 10 คน และกลุม่ ผ้สู ูงอายุท่ีติดเตยี งมจี ำนวน 10 คน จากรายงานขอ้ มูลปญั หาสขุ ภาพของผสู้ ูงอายปุ ี 2556 พบว่า 5 อนั ดบั แรกของปัญหาสุขภาพ คือ โรคความดนั โลหติ สงู โรคเบาหวาน วัณโรคปอด โรคปอดอุดตันเร้ือรงั และโรคหอบหืด 150 คูม่ อื “แนวทางการดูแลสขุ ภาพผสู้ งู อายดุ ้วยภูมิปญั ญาพ้นื บา้ นด้านสขุ ภาพ”
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270