Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วารสาร-CMUJLSS Vol.12 No.2

วารสาร-CMUJLSS Vol.12 No.2

Published by E-books, 2021-06-18 09:13:39

Description: วารสาร-CMUJLSS Vol.12 No.2

Search

Read the Text Version

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 จนทาให้เกิดวิกฤติตลาดอสังหาริมทรพั ย์ โดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถจ่ายที่อยู่อาศัยราคาแพง ต้อง ไปอยู่ชานเมือง และพบวา่ คา่ เดินทางนั้นสงู มาก จนกระทบตอ่ การจา่ ยค่าเงนิ กสู้ ่งบา้ น24 กระบวนการดูดซับทุนส่วนเกินแล้วนาไปลงทุนเพื่อเปลี่ยนรูปโฉมของเมือง มักถูกเรียก อย่างสวยหรูว่า ‘การทาลายเชิงสร้างสรรค์’ (Creative Destruction) ซึ่งสื่อนัยในทางบวกว่าเป็น การทาลายเพื่อสร้างสิ่งที่งดงาม ฮาร์วีย์แย้งว่า ‘การทาลายเชิงสร้างสรรค์’ มีมิติทางชนชั้นมา เกยี่ วขอ้ ง เพราะทา้ ยทีส่ ุด คนจน คนชายขอบคอื ผูไ้ ด้รับผลกระทบจากกระบวนการดังกล่าว ต้ังแต่ ยุคสมัยของเฮาส์แมนที่มีการรื้อล้างสลัม โดยใช้อานาจในการเวนคืนและอ้างถึงการปรับปรุงเพ่ือ ความมีอารยะ ทั้งๆ ที่เป็นความตั้งใจที่จะโยกย้ายชนชัน้ แรงงานและคนที่ดื้อแพ่งออกไปนอกเมอื ง รวมถึงพัฒนารูปแบบใหม่ของเมืองที่มั่นใจได้ว่า สามารถตรวจตราและควบคุมขบวนการปฏิวัติที่ อาจจะมีขึ้นได้โดยง่าย จากความคิดดังกล่าวใช้เวลาราว 100 ปี กว่าที่ปารีสจะกลายเป็นพื้นที่ท่ี ครอบครองโดยชนชน้ั นายทุนดังเชน่ ในปจั จบุ นั 25 ฮาร์วียชี้ต่อไปว่า หัวใจสาคัญของการสะสมทุนนิยมในเมือง คือ การสะสมความ มั่งคั่งด้วยการปลดเปลื้องการถือครองของผู้อื่น (Accumulation by Dispossession) การเติบโต ของเมืองใหญ่ได้เพิ่มคุณค่าให้กับที่ดินบางพื้นที่ โดยเฉพาะที่ดินย่านใจกลางให้มีมูลค่าสูง ส่วน อาคารที่ชารุดทรุดโทรมที่อยู่บริเวณโดยรอบถูกลดคุณค่า เพราะไม่เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ จึง ถกู รือ้ ทง้ิ แล้วแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ กระบวนการทานองนเ้ี กิดขึน้ ในเมอื งอน่ื ๆ ดว้ ย เชน่ ในกรุงโซลของ เกาหลีใต้ มุมไบของอินเดีย ซึ่งสะท้อนการสะสมทุนเพื่อสร้างผลกาไรผ่านการพัฒนาเมือง และ กอ่ ใหเ้ กิดความขัดแย้งจากการท่ีนักลงทุ นไปหยบิ ฉวยท่ีดินจากคนจนท่ีอาศัยอยู่ท่ีน่ันเป็นเวลานาน เพ่ือนาทด่ี ินไปใชแ้ สวงหากาไรในเชิงธุรกจิ 26 กรณีของโซลในปี 1990 บริษัทและนักพฒั นาที่ดนิ ได้จ้างนักเลงใหเ้ ข้าไปขูค่ นในชุมชนท่ี พวกเขาปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยมาตั้งแต่ปี 1950 และต่อมาที่ดินนั้นกลายเป็นที่ดินมีราคา ส่วนท่ี มุมไบ ประชากรหกล้านคนอาศัยอยู่ในท่ีดนิ ท่พี วกเขาไม่มโี ฉนด โดยในแผนที่ของเมืองระบุว่าพื้นท่ี เหลา่ นี้เป็นพน้ื ที่ว่างเปลา่ ราวกบั ไม่รับรู้ถึงการมอี ยขู่ องคนในชมุ ชนแออัด เม่อื รฐั พยายามจะพัฒนา มุมไบใหเ้ ปน็ เมอื งเหมอื นเซี่ยงไฮ้ ทีด่ นิ ก็มมี ลู ค่าเพ่ิมขน้ึ มผี ้ปู ระเมินว่าที่ดนิ ของชุมชนดาราวี ชุมชน 24 Ibid., 30-31. 25 Ibid., 33. 26 Ibid., 34-35. 94

“รัฐประหาร พน้ื ที่ พลเมือง” ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในเดลฮีมีราคาถึงสองพันล้านเหรียญ และเมื่อมีการไล่รื้อไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ ค่าชดเชยจากการถูกบังคับให้รื้อย้าย ในขณะที่รัฐธรรมนูญของอินเดียระบุว่า รัฐมีหน้าที่ปกป้อง ชีวิตความเปน็ อยู่ของพลเมืองโดยไม่แบง่ ชนช้ันวรรณะ และมีการรับรองสิทธิในท่พี กั อาศัย แต่ศาล สงู ในอนิ เดียกลบั มีคาพิพากษาท่ีเปน็ เสมอื นการเขียนรฐั ธรรมนูญใหมว่ ่า ผู้ครอบครองอยู่อาศัยโดย ผดิ กฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์การอยอู่ าศัยมาเป็นเวลานานไมม่ ีสิทธิไดร้ ับค่าชดเชย การให้พวก เขาได้รบั คา่ ชดเชยจะเป็นเสมอื นการให้รางวัลกับนักลว้ งกระเป๋า ดงั น้ัน คนทถี่ ูกร้ือย้ายจึงทาได้แค่ ต่อต้านหรือไม่ก็ต้องยอมรื้อย้ายแล้วไปอยู่ตามข้างถนน เช่นเดียวกัน ในจีนคนจานวนนับล้านคน ถูกปลดเปล้ืองที่อยทู่ พ่ี วกเขาครอบครองมานาน แลว้ ถกู รอ้ื ย้ายไปขน้ึ แฟลตโดยได้รับคา่ ชดเชยเพียง เล็กน้อย เพื่อจะเปล่ียนที่ดินเหล่านี้ใหน้ ักพัฒนาไดส้ ร้างผลกาไรมหาศาล27 ฮาร์วีย์ สรุปว่า นี่คือราคาที่ต้องจ่ายสาหรับกระบวนการ ‘ทาลายล้างเชิงสร้างสรรค์’ (creative destruction) ซึ่งลิดรอนสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองไปจากมวลชนจานวนมาก เราจึง อาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยสลัม (Planet of slums) ตามคาของ ไมค์ เดวิส (Mike Davis) 28 นกั ทฤษฎีเมืองแห่งมหาวทิ ยาลยั แคลิฟอรเ์ นียร์ ในบทความของฮาร์วีย์ เขาวางจุดเน้นอยู่ที่การท้าทายการสถาปนาอานาจนาทาง ความคิดและตรรกะของตลาดเสรีนิยมใหม่ รวมถึงการครอบงาทางกฎหมายและรัฐ โดยที่สิทธิใน ทรัพย์สินส่วนบุคคลหรือกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิที่อยู่เหนือสิทธิอื่นๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสังคมถูก ครอบงาดว้ ยการการสะสมทุนผา่ นกลไกตลาด ซึ่งอาจจะสวนทางกบั ความเป็นธรรม ดังประโยคเก่า ท่ีกล่าวกนั มานานแลว้ ว่า “ไม่มสี ิ่งใดท่ีจะไมเ่ ท่าเทียมมากไปกว่าการปฏิบัติต่อคนท่ีไม่เท่าเทียมกัน ด้วยความเท่าเทียม”29 กลไกตลาดจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ก่อให้เกิดการผูกขาด ประสบการณ์ 30 ปี ของเสรีนิยมใหม่ให้บทเรียนแก่เราว่า ยิ่งตลาดเปิดเสรีมากเท่าไร ความไม่เท่าเทียมก็ขยายมากขึ้น เทา่ นน้ั และการผกู ขาดอานาจกม็ ากขน้ึ ฮาร์วียจ์ งึ ต่อต้านการสั่งสมทุนท่ีไมม่ จี ุดสน้ิ สุด ฮาร์วีย์วิเคราะห์ประเดน็ ที่ดูเหมือนจะมีความก้าวหน้าในการช่วยเหลอื คนจนด้วยการให้ สทิ ธสิ ่วนบคุ คลตอ่ ผอู้ าศัยในชมุ ชนแออดั ซง่ึ มาจากแนวคดิ ของ เฮอรน์ านโด เดอ โซโต (Hernando 27 Ibid., 35-36. 28 Davis, Mike. “Planet of slums.” New Perspectives Quarterly 23, no. 2 (2006). 29 Harvey, David. “The right to the city.” International journal of urban and regional research 27, no. 4 (2003): 940. 95

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 De Soto)30 ว่าด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เพื่อทาให้ทรัพยากรที่อยู่นอกระบบได้เข้ามาอยู่ใน ระบบตลาด และคนจนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่า แต่ในกรณีของชุมชนแออัด เมื่อมีการ รับรองสิทธิที่อยู่อาศัยในเชิงปัจเจกกับชาวชุมชนแออัด กลับกลายเป็นการเอื้ออานวยให้พวกเขา สามารถขายสิทธิเหล่านี้ได้ ตัวอย่างเช่น ชุมชนแออัดตามชานเมืองและเขตภูเขาในเมืองริโอ ประเทศบราซิล เมื่อชาวสลัมเหล่านี้ได้สิทธิไม่นาน พวกเขาก็ต้องขายสิทธิ ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ ประโยชน์เฉพาะหน้าจากการขายสิทธิ ขายบ้าน หากแต่เพราะการงานที่ไม่มั่นคง ทาให้พวกเขา ขาดรายได้ที่มั่นคง ส่วนชนชั้นกลางและนายทุนมักไม่ขายสิทธิ แต่จะสะสมสิทธิและความมั่งค่ัง ฮาร์วีย์คาดการณ์ว่า ในอนาคตชุมชนแออัดตามเชิงเขาชานเมืองริโอจะกลายเป็นคอนโดมีเนียม เพราะทัศนวิสัยที่สวยงาม ส่วนคนสลัมก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นซึ่งไกลออกไป จากตัวอย่างน้ีฮาร์วีย์ชี้ว่า การรับรองสทิ ธแิ บบปัจเจกชนแก่คนสลมั และนาไปส่กู ารขายสทิ ธิ เป็นคนละแนวทางกบั สิทธิท่ีจะมี ส่วนรว่ มในเมอื งทเี่ ขากาลังเสนอ31 เดวิด ฮาร์วีย์ จึงเสนอสิทธิมนุษยชนแนวใหม่นั่นคือ สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมือง (the Right to the City) ซึ่งมิได้หมายถึงสิทธิที่จะเข้าถึงการเก็งกาไรสินทรัพย์ และเป็นสิทธิที่ไปไกล กว่าเสรีภาพของปัจเจกที่จะเข้าถึงทรัพยากรของเมืองที่มีอยู่แล้ว แต่เป็นสิทธิที่จะเปลี่ยนเมืองให้ สอดคล้องกับที่หัวใจของเราปรารถนา เพ่ือสร้างตัวตนของชาวเมืองขึ้นใหม่ สิทธิดังกล่าวเปน็ สิทธิ รวมหมู่ ไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับการใช้อานาจร่วมของคนใน สังคม เพื่อจะปรับเปลี่ยนกระบวนการกลายเป็นเมือง เขาชี้ว่า เสรีภาพที่จะสร้างเมืองและสร้างตวั เราเองข้ึนใหม่ เป็นหน่ึงในสิทธิมนษุ ยชนทีถ่ ูกละเลยมากที่สุดสทิ ธิหนึง่ 32 ลักษณะสาคัญของโครงการเสรีนิยมใหม่ซึ่งดาเนินมามากกว่า 30 ปี อยู่ที่การแปรการ ควบคุมการใช้มูลค่าส่วนเกินให้อยู่ในมอื ของเอกชน เกิดระบบที่ผสานประโยชน์ของรัฐและเอกชน ซึ่งมีเป้าประสงค์เดียวกัน คือ ใช้เครื่องมือต่างๆ ไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุนและชนชั้นสูง เราจึงเห็นสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองอยู่ในมือของเอกชนหรือกึ่งเอกชน ดังเช่น นายกเทศมนตรีท่ี เป็นนักธุรกิจพนั ลา้ นอยา่ ง ไมเคิล บรูมเบิร์ก (Michael Broomberg) ได้เปลี่ยนย่านแมนฮัตตันให้ เปน็ ชมุ ชนช้นั สูงทีม่ รี ้วั รอบแยกจากย่านอ่ืนๆ (Gated Community) ทานองเดียวกันในเม็กซิโก ซิตี้ 30 De Soto, Hernando. The other path, (New York: Harper & Row, 1989). 31 Harvey, David. “The right to the city.” New Left Review 53 (2008): 36. 32 Ibid., 23. 96

“รฐั ประหาร พื้นท่ี พลเมอื ง” คาร์ลอส สลิม (Carlos Slim) มหาเศรษฐีระดับโลกได้เปลี่ยนย่านศูนย์กลางของเมืองให้กลายเป็น สถานท่ดี งึ ดดู นกั ท่องเทีย่ ว33 ในตอนท้ายของบทความที่ฮาร์วีย์เขียนในปี 2008 ชี้ว่า เนื่องจากในปัจจุบันสิทธิที่จะมี สว่ นร่วมในเมืองถูกจากัดอยู่ในมือคนสว่ นน้อย การกดข่ีที่เกดิ ขึ้นจึงยอ่ มมีการต่อตา้ น ประท้วง เรา จึงเห็นสัญญาณการประท้วงในทุกที่ แต่ปัญหาก็คือ การต่อต้านที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้มีการเชื่อม ประสานกัน ฮาร์วีย์ชี้แนะว่า สิ่งที่ผู้อยู่ในเมืองต้องการ คือ การเป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้นในการ ควบคุมการผลิตและการใช้มูลค่าส่วนเกิน เนื่องจากกระบวนการของเมืองเป็นช่องทางของการใช้ มูลค่าส่วนเกิน ดังนั้น การบริหารจัดการที่เป็นประชาธิปไตย คือ การรับเอา “สิทธิที่จะมีสว่ นร่วม ในเมือง” (the right to the city) ทั้งในฐานะสโลแกนและในฐานะความคิดทางการเมือง เริ่มจาก การต้งั คาถามว่า ใครคือผ้คู วบคมุ ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการกลายเปน็ เมืองกับการใช้มูลค่า ส่วนเกิน จากนั้นจึงเคลื่อนไหวให้คนที่ถูกลิดรอนสิทธิได้กลับมาควบคุมวิถีใหม่ของการกลายเป็น เมอื ง34 กลา่ วโดยสรุป แนวคิดสิทธิท่จี ะมีส่วนร่วมในเมืองของอองรี เลอแฟรบ และเดวิด ฮาร์วีย์ มจี ดุ รว่ มตรงทที่ ้งั สองต่างวเิ คราะหเ์ มือง เพ่อื วพิ ากษ์การขยายตวั ของระบบทุนนิยมที่ทาให้กลุ่มทุน เข้าถือครองการใช้และแสวงประโยชน์จากพื้นที่ของเมือง และกีดกันการมีส่วนร่วมในการกาหนด ชีวิตของเมืองของคนกลุ่มอื่นๆ แนวคิดของทั้งสองจึงเป็นเสมือนการจุดประกายความคิดให้มี จินตนาการถึงเมืองในแบบอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกจากเมืองในระบบทุนนิยม ทั้งนี้เพราะทั้งสองเห็น ตรงกันว่า เมืองเป็นสนามที่มีความอ่อนไหวและเป็นจุดเปราะบางสาหรับการโค่นระบอบทุนนิยม อย่างไรก็ดี ทง้ั สองมจี ดุ เน้นทแ่ี ตกต่างกันในรายละเอียดกล่าวคอื เลอแฟรบ ในฐานะท่มี ีความสนใจ ด้านปรัชญาและภูมิศาสตร์เป็นพื้นฐาน เขาจึงค่อนข้างให้ความสาคัญกับการผลิตสร้างพื้นที่ด้วย อานาจในระบบทุนนิยมที่สร้างความแปลกแยกให้กับมนุษย์35 เพราะฉะนั้นแนวคิด the Right to the City ของเขาจึงให้ความสาคัญกับการสร้างสรรค์พื้นที่ของเมือง ส่วนแนวการวิเคราะห์เรื่อง สิทธทิ ี่จะมสี ่วนร่วมในเมืองของฮารว์ ีย์ จะเชื่อมโยงการขยายตัวของเมืองเข้ากับระบบเศรษฐกิจทุน นยิ มเปน็ สาคัญ งานยคุ หลงั ของเขา วิเคราะหส์ ถานการณว์ ิกฤติของระบอบทุนนิยมโดยเฉพาะลัทธิ 33 Ibid., 38. 34 Ibid., 39-40. 35 Purcell, Mark. “Possible Worlds: Henry Lefebvre and the Right to the City.” Journal of Urban Affairs 36 no.1 (2014): 148-149. 97

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 เสรีนิยมใหม่ ในหนังสือ เมืองขบถ (Rebel Cities: From the Right to the City to the Urban Revolution, 2012)36 ที่แม้จะเริ่มต้นด้วยประเด็นสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมือง แต่จุดเน้นอยู่ที่ วิกฤติเศรษฐกิจทุนนิยมโลกซึ่งเริ่มจากภาคอสังหาริมทรัพย์ว่า เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงวิกฤติที่แฝงฝังอยู่ใน ระบบทุนนิยม และกระตุ้นการขับเคลื่อนเพื่อสร้างสรรค์เมืองแบบนอกกรอบความคิดทุนนิยม หนังสอื เล่มน้จี ึงเป็นเหมือนแถลงการณ์โคน่ ล้มระบอบทุนนิยมรว่ มสมยั 2. การตคี วามแนวคิดไปตามแนวทางต่างๆ จากแนวคดิ สิทธิท่ีจะมสี ว่ นร่วมในเมืองท่นี าเสนอโดยอองรี เลอแฟรบ และเดวิด ฮาร์วีย์ ที่มีลักษณะวิเคราะห์การพัฒนาเมืองที่เป็นอยู่โดยเชื่อมโยงกับการขยายตัวของระบบทุนนิยม ต่อมาก็มีนักวิชาการอีกหลายกลุ่มหลายแนวที่หยิบฉวยคาเดียวกันนี้มาใช้ แต่ตีความและให้ ความหมายของสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองไปแตกต่างกัน ในที่นี้จะขอทาความเข้าใจการตีความ สิทธิดังกล่าวในลกั ษณะเปน็ ช่วง (range) เริ่มจากจากปีกที่รักษาแนวคิดดัง้ เดิมในการวิพากษเ์ มอื ง แบบทุนนิยม ไปสู่แนวกลางๆ ที่วิพากษ์ระบบเสรีนิยมใหม่ แต่ไม่ได้วิพากษ์ในระดับรื้อระบบทุน นยิ ม กลุ่มกลางๆ นี้อาจจะรวมถงึ การเคล่ือนไหวท่ีเรยี กรอ้ งสทิ ธทิ ่ีเปน็ รูปธรรมต่างๆ ให้คนชายขอบ ในเมืองได้รับสิทธิ แต่ไม่ได้วิพากษ์ระบบทุนนิยม ไปจนถึงอีกปีกหนึ่งที่ลดทอนสาระสาคัญของ แนวคิดนี้ลงให้เป็นเพียงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยในเมืองต่อการกาหนดนโยบายการ พัฒนาเมือง แตไ่ ม่ได้วพิ ากษร์ ะบบ หนังสือ Cities for people not profits37 เป็นตัวอย่างของงานที่ใช้แนวคิด the Right to the City ในความหมายทว่ี พิ ากษ์ระบบทุนนยิ มซงึ่ ก่อปญั หาใหก้ ับเมือง โดยภาพรวมหนังสอื เล่ม นี้ชี้ว่า วิกฤติทางการเงินที่เริ่มจากภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและเมืองต่างๆ ในยุโรป เช่น สเปนและกรซี สะท้อนถึงกระบวนการกลายเปน็ เมืองแนวเสรีนิยมที่ไม่ยั่งยืน อีกทั้งมีลักษณะ กัดเซาะทาลายตัวเอง ทาให้เกิดการตั้งคาถามถึงการออกแบบเมอื งทีข่ า้ มพ้น หรอื นอกไปจากแนว เสรีนิยมใหม่ที่ไม่มีความมั่นคงและมุ่งแต่การสั่งสมทุน ขับเคลื่อนด้วยกาไร ตลอดจนเปลี่ยนการ บริการทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค พื้นที่สาธารณะ 36 Harvey, David. Rebel cities: From the right to the city to the urban revolution. (London and New York: Verso books, 2012). 37 Brenner, Neil, Peter Marcuse, and Margit Mayer, eds. Cities for people, not for profit: Critical urban theory and the right to the city. (London and New York: Routledge, 2012). 98

“รัฐประหาร พ้ืนท่ี พลเมือง” สุขภาพ การศึกษา แม้แต่น้าและการระบายน้า ให้กลายเป็นสินค้า ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงให้ ความสาคัญกับการสร้างเมืองที่ตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมและมนุษย์เป็นอันดับแรก ไม่ใชเ่ มอื งเพ่อื ทนุ นิยมทเี่ น้นกาไร และไมใ่ ช่การเปลี่ยนพน้ื ทข่ี องเมอื งใหก้ ลายเป็นสินคา้ การเรียกหา ‘เมืองเพื่อประชาชนไม่ใช่เพื่อกาไร’ สามารถเชื่อมโยงกับการเรียกร้องใน อดีต ไม่ว่าจะเป็น เฟดริช เองเกลส์ (Friedrich Engels) ที่กล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่อันย่าแย่ของ ผู้ใช้แรงงานในศตวรรษที่ 19 เจน จาคอปส์ (Janes Jacobs) และ อองรี เลอแฟรบ ก็วิพากษ์การ พัฒนาเมืองในระบบสายพานแบบฟอร์ด (Fordism) ฮาร์วีย์บอกว่า ต้องเปลี่ยนเมืองจากที่ถูกหา ประโยชน์ให้เป็นเมืองที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้น ภารกิจสาคัญของทฤษฎี เมอื งเชิงวพิ ากษ์ คือ ตอ้ งหาทางเลือกจากการกลายเป็นเมืองแบบทนุ นิยม สยู่ คุ การกลายเป็นเมือง หลังทุนนยิ ม เพ่ือเผชญิ หน้ากับการส่ังสมความมง่ั ค่งั ดว้ ยการปลดเปลือ้ งการใช้ประโยชน์ของผู้อ่ืน38 และการปิดล้อมของทุนนิยม (Capitalist enclosure)39 ปีเตอร์ มาร์คสุ (Peter Marcuse) อธบิ ายว่า the Right to the City เปน็ การผสานความ ต้องการของผูถ้ ูกกดขี่เข้ากับแรงบนั ดาลใจของผู้ท่ีรู้สึกแปลกแยกกับเมือง40 เขายา้ วา่ เป้าหมายของ สิทธิที่จะมีส่วนรว่ มในเมืองมิใช่แค่สิทธิตามรายการต่างๆ เช่น สิทธิในที่อยู่อาศัย น้าและอากาศท่ี สะอาด การศึกษา ฯลฯ หากแต่ครอบคลุมถึงสิทธิทีม่ ีความหมายกว้างในทางการเมือง คือ สิทธิใน ความเป็นธรรมทางสังคม (a Right to Social Justice)41 เช่นเดียวกับในบทของคริสเตียน ชมิด (Christian Schmid) ก็ชี้ประเด็นว่า แนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองในทัศนะของฮาร์วีย์ ไม่ใช่ สิทธิในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน (Basic Needs) แต่เป็นเรื่องคุณภาพของเมือง เป็นเมืองที่ แตกต่างกนั อยา่ งสิน้ เชิงกบั เมืองในสังคมทุนนยิ ม เปน็ เมอื งทีม่ ีชวี ติ สาธารณะ เมืองทอ่ี ดทนตอ่ ความ แตกต่าง และเมืองท่เี ปดิ กว้างตอ่ ผคู้ น42 38 Harvey, David. “The right to the city,” New Left Review 53 (2008). 39 De Angelis, Massimo. The beginning of history: Value struggles and global capital, (London: Pluto Press, 2007); Neil Brenner, Peter Marcuse, and Margit Mayer, eds. Cities for people, not for profit: Critical urban theory and the right to the city, (London and New York: Routledge, 2012). 40 Marcuse, Peter. “Whose right (s) to what city?.” in Cities for people, not for profit, (London and New York: Routledge, 2012), 33. 41 Ibid., 34. 42 Schmid, Christian. “Henry Lefebvre, the right to the city, and the new metropolitan mainstream.” in Cities for people, not for profit, (London and New York: Routledge, 2012), 44. 99

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 นอกจากนี้ในหนังสือเล่มเดียวกันยังมีหลายบทที่กล่าวถึงปัญหารูปธรรมอย่างเรื่องที่อยู่ อาศัย เช่น ในบทของจสั ตสุ ยูเทอรม์ ารค์ (Justus Uitermark)43 วเิ คราะห์ทิศทางการเปล่ียนแปลง ของเมืองอัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ จากเดิมเป็นเมืองที่ยุติธรรม (a just city) คือ เมืองที่การ เคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งของคนต่างชนชั้นกระทั่งนาไปสู่การควบคุมค่าเช่าที่อยู่อาศัย การจากัด สทิ ธิของผ้เู ปน็ เจา้ ของ ลดทอนการเปน็ สนิ คา้ ของทอี่ ยู่อาศยั และท่ีดินเมือง อกี ทั้งเกิดความเหน็ พ้อง ให้ที่อยู่อาศัยควรเป็นสิทธิที่คนเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง และการเปิดช่องทางที่กว้างขึ้นสาหรับการ เข้าถึงท่ีอยอู่ าศัยที่รัฐอุดหนนุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Housing) แต่ระยะหลัง การพัฒนา เมืองมีแนวโน้มไปในทางเมืองที่เน้นความสวยงาม (a nice city) ถึงแม้ที่อยู่อาศัยเพื่อสาธารณะใน อัมสเตอร์ดัมจะมีสัดส่วนมากกว่าเมืองอื่นๆ แต่เห็นแนวโน้มท่ีชัดเจนวา่ กาลังมุ่งไปในทศิ ทางที่จะ ทาให้ท่อี ยอู่ าศัยกลับไปเป็นสินค้า สว่ นอกี บทหนึง่ ของปเี ตอร์ มาร์คสุ 44 พยายามเช่ือมโยงปัญหาที่ ชาวอเมรกิ นั ซง่ึ เดือดร้อนจากการถกู ยึดบ้าน โดยพวกเขาเองกไ็ ม่ค่อยตระหนกั ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ ความบกพร่องเชิงศีลธรรมของพวกเขา แต่เป็นความบกพร่องของระบบ ดังนั้นทฤษฎีเมืองเชิง วพิ ากษ์จึงตอ้ งเปดิ เผยเร่ืองเหล่านใ้ี หส้ าธารณชนตระหนกั ในตอนทา้ ยของบทความมาร์คุสพยายาม เสนอข้อเสนอที่สามารถเรียกร้องนาไปปฏิบัติได้จริงในการลดทอนความเป็นสินค้าของที่อยู่อาศัย เพ่อื ให้คนเข้าถึงทอ่ี ยู่อาศัยในเมืองได้ เช่น การควบคมุ คา่ เช่า การเก็บภาษเี พื่อควบคุมการเก็งกาไร การทาให้ผู้เช่ามีความมั่นคงด้วยการเปลี่ยนเจ้าของที่ดินหรือที่อยู่อาศัยเป็นรัฐหรือองค์กรที่ไม่ได้ แสวงหากาไร ในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มดังกล่าว เดวิด ฮาร์วีย์ และ เดวิด วัชมุธ (David Harvey and David Waxhmuth) มุ่งไปสู่ขอ้ เสนอว่า ทาอย่างไรจงึ จะบรรลุถงึ สทิ ธิท่ีจะมีส่วนร่วมในเมือง ซึ่งมีลักษณะ ‘พลิกโฉม’ มากกว่าแค่ปรับแต่งเล็กๆ น้อยๆ ทั้งสองเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นว่าจาก ความเป็นจริงของระบบทุนนิยมปัจจุบัน คนงานในโรงงานไม่ใช่ผู้กระทาการสาคัญของการ เปลี่ยนแปลง แต่ต้องเป็นคนเมืองที่ถูกขูดรีดและรู้สึกแปลกแยกจากเมืองที่จะผลักดันภารกิจ ดงั กลา่ ว ส่วนประเด็นสาคญั ว่าจะเรียกรอ้ ง ‘อะไร’ ท่ีจะทาใหส้ ิทธิทจ่ี ะมีส่วนร่วมในเมืองจับต้องได้ ผู้เขียนทั้งสองตระหนักว่า สถานการณ์เงื่อนไขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่า ‘การปฏิวัติ’ คง 43 Uitermark, Justus. “An actually existing just city? The fight for the right to the city in Amsterdam.” in Cities for people, not for profit, (London and New York: Routledge, 2012), 197-214. 44 Marcuse, Peter. “A critical approach to solving the housing problem.” in Cities for people, not for profit, (London and New York: Routledge, 2012), 215-230. 100

“รฐั ประหาร พ้ืนท่ี พลเมือง” ไม่ไดเ้ กิดขนึ้ ในเร็ววนั จึงตอ้ งพยายามหาหนทางหรอื ขอ้ เรียกร้องทเ่ี ป็นไปไดภ้ ายใต้เงือ่ นไขที่เป็นอยู่ เพ่อื เป็นจุดเริ่มสาหรับก้าวต่อๆ ไปในการโค่นระบบทุนนิยม และช้วี ่า เมื่อเกดิ วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาทาก็คือ การใช้แผนเศรษฐกิจแบบเคนส์ด้วยเงินลงทนุ จากภาครัฐ แต่เงิน ถูกอัดฉีดไปในภาคธนาคาร ภาคธุรกิจ ผู้เขียนทั้งสองเสนอว่า เมื่อกระแสสังคมยอมรับการใช้ จ่ายเงินของภาครฐั อยู่แลว้ ขบวนการเคลอื่ นไหวจงึ ควรจะใชโ้ อกาสนี้เรียกรอ้ งให้ปรับแผนดังกล่าว จากการอุดหนุนนายทุนมาสู่การสนับสนุนชนช้ันแรงงานให้มีการประกันรายได้ขั้นต่า การส่งเสริม การตอ่ รองให้มกี ฎหมายระบชุ ว่ งเวลาของการทางานท่เี หมาะสม จากนนั้ จึงค่อยๆ ยกระดบั ของการ เคล่ือนไหวไปในทิศทางที่โคน่ ลม้ ระบบทนุ นยิ มมากขนึ้ 45 สาหรับการวิเคราะห์แนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองโดยนักวิชาการคนอื่นๆ ที่ น่าสนใจ เชน่ มาร์กิต เมเยอร์ (Margit Mayer)46 ชี้ให้เหน็ ถงึ บรบิ ททเี่ ปล่ยี นไปของคาว่า the Right to the City จากที่มีความหมายแบบถอนรากถอนโคนของเลอแฟรบมาสู่การถูกลดทอนความหมาย ทางการเมือง (Depoliticized Version) โดยจากดั และลดทอนความหมายของแนวคดิ น้ี เหลอื เพยี ง การขอมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตามระบบที่เป็นอยู่ เมเยอร์ชี้ถึงบรบิ ทของการพฒั นาเมอื ง โดยแนวทางเสรีนิยมใหม่ หรือการสะสมความมั่งคั่งโดยการปลดเปลื้องการถือครองของผู้อื่น ตาม คาอธิบายของฮาร์วีย์ว่า ทาให้คนจนกับคนรวยแยกขาดกันอย่างชัดเจนด้วยสิ่งกีดขวางทั้งที่ มองเห็นและมองไม่เห็น เช่น การเกิดขึ้นของชุมชนปิดที่แยกตัวจากบริเวณข้างเคียง (gated community) การแปรรปู พื้นท่ีสาธารณะใหเ้ ป็นของเอกชน ทาใหก้ ารเข้าถึงโครงสร้างพ้ืนฐานและ บริการสาธารณะถูกจากัดมากขึ้น การตื่นตัวและลุกมาเคลื่อนไหวของผู้อยู่อาศัยในเมืองทั้งใน ประเทศโลกท ี ่หนึ ่งและโลกท ี่ สามจึ งปราก ฏมากข้ึ นจากปั ญหาการเก็ งก าไรในส ินทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ การถูกบังคับให้รื้อย้าย และพลัดที่อยู่อาศัย (displacement) รวมถึงการ เคล่อื นไหวตอ่ ตา้ นเสรีนยิ มกม็ ลี ักษณะเปน็ เครอื ขา่ ยระดบั สากล ในสถานการณ์เช่นนี้ คาขวัญ the Right to the City ได้รับความสนใจจากขบวนการ องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น 45 Harvey, David, and David Waxhsmuth, “What is to be done? And who the hell is going to do it.” in Cities for people, not for profit, (London and New York: Routledge, 2012), 264-274. 46 Mayer, Margit. “The ‘Right to the City’ in the context of shifting mottos of urban social movements.” City 13, no.2-3 (2009): 362-374. 101

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 UN Habitat ไดร้ เิ รมิ่ พฒั นา Urban Agenda ปี 2003 กล่มุ สทิ ธิมนุษยชนได้ร่วมกนั เสนอ “World Charter for the Human Right to the City” ต่อองค์การ UNESCO ต่อมาในปี 2004 UN Habitat International Coalition ร่วมกับองค์กรต่างๆ ได้นาเสนอร่าง World Charter on the Right to the City ในที่ประชุม Social Forum ก่อนที่ข้อตกลง (Charter) จะได้รับประกาศในท่ี ประชุม Social Forum ในปี 2005 การผลักดันแนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองในเวทีระหว่าง ประเทศเหล่านี้เป็นความพยายามที่จะผลักดันให้คาขวัญนี้มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะและ ในทางกฎหมาย ซึ่งผนวกรวมการพัฒนาเมืองเข้ากบั ความยุติธรรมและความเท่าเทียมในเมือง โดย เน้นวา่ จาเปน็ ต้องจัดวางกลุ่มผอู้ าศัยในเมอื งท่ีเปราะบางเป็นศนู ย์กลางของการออกนโยบาย ไม่ใช่ เอานักลงทุนเป็นศูนย์กลาง และกลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้พยายามจะระบุถึง ‘สิทธิบางอย่าง’ ที่ควร ไดร้ บั การปกปอ้ ง ดงั ท่ีเขียนไว้ในกฎบัตรว่า “สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองเป็นการตระหนักในระดับระหว่างประเทศถึงสิทธิ มนุษยชนด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงทางสังคม การทำงาน มาตรฐานการ ดำรงชีวิตที่ดีพอ การพักผ่อน ข้อมูลข่าวสาร การจัดตั้งองค์กรและสมาคมที่เป็น อิสระ อาหาร น้ำสะอาด ปลอดจากการถูกขับไล่ การมีส่วนร่วมและการแสดง ตวั ตน สขุ ภาพ การศึกษา วฒั นธรรม ความเปน็ สว่ นตวั และความมัน่ คง การอยใู่ น สภาพแวดล ้ อมท ี ่ ปลอดภ ั ยและส ุ ขล ั กษณะ” (encompasses the internationally recognized human right to housing, social security, work, adequate standard of living, leisure, information, organization, and free association, food and water, freedom from dispossession, participation and self-expression, health education, culture, privacy and security, a safe and healthy environment)47 ในย่อหน้าที่ 12 ของข้อตกลง ก็ขยายความต่อว่า the Right to the City เป็นการ เรียกร้อง สิทธิของความเป็นมนุษย์ที่จะเข้าถึงที่ดิน สุขอนามัย ขนส่งสาธารณะ การบริการ โครงสร้างพ้ืนฐาน ศักยภาพและการเสริมสร้างศักยภาพ และการเข้าถึงบรกิ ารสาธารณะ (Human 47 Ibid., 368. 102

“รฐั ประหาร พนื้ ที่ พลเมือง” rights to land, sanitation, public transportation, basic infrastructure, capacity and capacity building, and access to public goods and services) ซึง่ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ และการเงิน การระบุข้อตกลงเหล่าน้ี มาจากหลักพื้นฐานว่า ผู้อยู่อาศยั ในเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะมี ส่วนรว่ มในเมืองโดยเฉพาะคนที่สมควรได้รับการปกป้อง เชน่ คนจน คนป่วย ผพู้ ิการ และผู้อพยพ กฎบัตรเหลา่ น้ีถูกนาเสนอคลา้ ยกับเป็นพมิ พเ์ ขียวสาหรับองค์กรท้องถนิ่ และองคก์ รปกครองท้องถ่ิน ที่สนใจในการบริหารจัดการเมอื งท่ีมีธรรมาภิบาล (Good Urban Governance) โดยมีคู่มือสาคัญ คือ การมสี ่วนร่วมในการตดั สินใจ ความโปรง่ ใส การมีสว่ นรว่ มในงบประมาณ48 อย่างไรก็ดี เมเยอร์วิจารณ์ว่า ความพยายามทาให้สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองได้รับการ ตระหนักในระดับสากล และมีอิทธิพลในเชิงนโยบายของเมืองต่างๆ นี้ อาจจะช่วยได้บ้าง แต่ก็ลด ความสาคัญของการสร้างเมืองใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนหรือทาให้แนวคิดที่มีความหมายถึง การเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างเจือจางลง เป็นการลดทอนหลักการลงมาเหลอื เพียงการขอผนวก เข้ากับระบบที่ดารงอยู่ โดยไม่ได้มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ การเรียกร้องสิทธิเช่นนี้ไม่ได้ เน้นถึงนโยบายและระบบที่ทาให้เกิดความยากจน และการกีดกันคนทีเ่ สียเปรียบ นี่คือกระแสท่เี ม เยอร์เรียกวา่ การลดทอนความเป็นการเมือง (depoliticization)49 จากเจตนารมณ์เดิมของแนวคิด สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองซึ่งมีลักษณะถอนรากถอนโคน สร้างสรรค์เมืองใหม่ที่เอื้อต่อความเป็น มนุษย์และเปน็ ทางเลอื กท่ตี า่ งไปจากการพฒั นาเมืองแนวเสรนี ยิ ม ถึงกระนั้น เมยอร์เห็นว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มจากภาค อสงั หาริมทรพั ย์ที่คนจานวนมากถูกยึดที่อยอู่ าศัย และยงั ลุกลามไปสูว่ ิกฤติทางการเงนิ ในยุโรป ท้ัง ในอิตาลี กรีซ และสเปน ภาพการประท้วงของคนในเมืองสะท้อนว่า พวกเขาเริ่มเห็นปัญหาของ ระบบเสรีนิยมใหม่ ความไม่เป็นธรรมที่คนจนต้องแบกรับ ดังคาขวัญ “เราไม่ยอมจ่ายสาหรับ วิกฤติการณ์ของพวกคุณ” (We Won’t Pay for Your Crisis) “ประชาชนต้องมาก่อน” (Put People First) ในสหรัฐอเมริกา มีการรวมตัวของเครือข่ายประชาชนเพื่อปกป้องบ้าน (Home Defenders) จากการถูกธนาคารยึด กระทั่งพัฒนาเป็นการต่อรองใหร้ ัฐบาลต้องช่วยเหลอื คนทีถ่ ูก ยึดบ้าน แทนที่จะอุ้มสถาบันการเงิน การเคลื่อนไหวเหล่านี้ทาให้คนเห็นความไม่ชอบธรรมของ ระบบ หากมองในแงด่ ี วกิ ฤตทิ างเศรษฐกิจท่ีเกดิ ขนึ้ และกระทบกับผูอ้ ยู่อาศัยในเมืองก็เปน็ โอกาสที่ 48 Ibid., 368-369. 49 Ibid., 369. 103

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 จะทาใหข้ อ้ เสนอสิทธทิ ี่จะมสี ่วนร่วมในเมอื งของเลอแฟรบไดร้ บั การตระหนักมากขน้ึ โดยไมใ่ ช่เพียง แค่การผนวกรวมคนที่ถูกกีดกันให้เข้ามาอยู่ในระบบโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมและขูดรีดประโยชน์ จากพวกเขา แต่เป็นการท าให้กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและเมืองมีความเป็น ประชาธปิ ไตย50 มาร์ค เพอรเ์ ซล (Mark Purcell) นกั วชิ าการดา้ นผงั เมืองแนววิพากษ์ช้ีว่า แนวคิดนี้ได้รับ ความสนใจในหมู่นักวิชาการปัจจุบันทีเ่ ห็นปัญหาของกระบวนการปรับโครงสร้างของเสรีนิยมใหม่ ซึง่ ส่งผลกระทบตอ่ ผ้อู ยู่อาศัยในเมือง ทาให้คนจานวนมากต้องกลายเป็นคนชายขอบไร้สิทธิ51 เกิด ประเด็นขัดแย้งในเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย การมีส่วนร่วมในการออกแบบผังเมือง และ การถกู กีดกนั จากเมือง เราจึงเห็นการเคล่ือนไหวของผู้ทถี่ ูกทาใหเ้ ปน็ ชายขอบในเมืองเพื่อเรียกร้อง การเมืองของเมืองที่เป็นประชาธิปไตยแบบใหม่ แต่เขามีข้อวิพากษ์ว่า นักวิชาการหลายคนสนใจ แนวคิดสทิ ธิท่จี ะมสี ว่ นรว่ มในเมอื ง แตน่ า่ เสียดายมนี ักวิชาการไมม่ ากที่จะถกเถยี งในรายละเอียดว่า คานี้หมายความว่าอย่างไร สิทธิที่ว่านี้จะมาแทนสิทธิแบบเก่าอย่างไร เขามีความเห็นว่า ข้อเสนอ ด้ังเดิมของเลอแฟรบ ไม่ควรเปน็ แนวทางเดียวทไ่ี ดร้ ับการยอมรบั มแี นวคิดมากมายท่ีพฒั นาต่อจาก ความคิดของเลอแฟรบ52 เพอร์เซล ตีความความคิดของเลอแฟรบว่า ไม่ใช่แค่ต้องการปฏิรูปปรับเปลี่ยนเมือง แต่ เป็นแนวคิดที่ต้องการรื้อโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมใหม่ โดยมี จุดเน้นสาคัญอยู่ท่ีการปรับเปล่ียนการตดั สินใจเกี่ยวกับการสร้างพื้นที่เมือง (The production of space)53 ซ่งึ ต้องเปลยี่ นความสัมพันธ์เชิงอานาจ เขาชี้ประเดน็ ตอ่ ไปว่า สว่ นใครคือผู้ถือสิทธิท่ีจะมี สว่ นรว่ มในเมอื งตามแนวคิดของเลอแฟรบจะพบว่า เลอแฟรบไมไ่ ดร้ ะบถุ งึ พลเมอื งของรฐั แตเ่ น้นผู้ ที่อยู่อาศัยในเมือง (Urban Inhabitants) เพราะผู้คนเหล่านี้มีส่วนต่อชีวิตและประสบการณ์ของ เมือง พวกเขาจงึ มคี วามชอบธรรมท่ีจะเรยี กรอ้ ง สทิ ธทิ ่ีจะมสี ่วนร่วมในเมอื ง เปน็ การให้ความสาคัญ กับผ้ใู ช้ (users) แทนที่จะขบั ไล่ผ้อู ยอู่ าศัย ผู้ใช้พื้นทข่ี องเมืองออกไป 50 Ibid., 370-371. 51 Purcell, Mark. “Excavating Lefebvre: The right to the city and its urban politics of the inhabitant.” GeoJournal 58, no. 2-3 (2002): 99-108. 52 Ibid., 101. 53 Ibid., 101. 104

“รัฐประหาร พื้นท่ี พลเมอื ง” เพอร์เซล เน้นว่าหลักการสาคัญสองประการของ the Right to the City คือ หลักของ การมีส่วนร่วมซึ่งผู้อยู่อาศัยในเมืองต้องมีบทบาทหลักในการของการตัดสินใจเกี่ยวกับพื้นที่ของ เมือง และสิทธิในการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ (the right to appropriation) ซึ่งหมายถึง สิทธิของผู้อยู่อาศัยในเมืองที่จะเข้าถึง ครอบครอง และใช้พื้นที่ของเมืองในเชิงกายภาพ เพอร์เซล ย้าต่อไปว่า ในความคดิ ของเลอแฟรบ สิทธนิ ไ้ี มใ่ ชแ่ ค่การเข้าครอบครองพืน้ ที่ของเมืองท่ีถูกผลิตข้ึน แล้วเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงสิทธิที่จะผลิตสร้างพื้นที่ให้ตอบสนองความต้องการของผู้อยู่ อาศัย54 แม้เพอร์เซลจะยอมรับว่าแนวคิดของเลอแฟรบ คือ จุดเริ่มต้นที่ดี เพราะเป็นข้อเสนอที่ ถอนรากถอนโคน ตั้งคาถามต่อทุนนิยม ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม และเป็นปลายเปิดให้พัฒนา แตเ่ ขากเ็ หน็ วา่ แนวคิด the Right to the City ยังไม่มคี วามชัดเจนท่จี ะนาไปใช้สง่ เสริมพลังอานาจ ของคนชายขอบในเมือง จดุ ทีน่ ่าเป็นหว่ งก็คอื เราไมร่ ้วู ่าเมอื งแบบไหนทีก่ ารเมอื งของเมอื งแนวใหม่ จะนามา55 ประเด็นที่เพอร์เซลกังวลว่า การเมืองของผู้อยู่อาศัยในเมือง (urban politics of the inhabitant) อาจไม่ได้นาไปสู่การผลิตสร้างพื้นที่ที่พึงปรารถนาของทุกคนในเมือง เป็นประเด็นที่ นักวิชาการคนอื่นๆ กังวลด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลสาคัญ คือ ผู้อยู่อาศัยในเมืองนั้นมีความ หลากหลาย ความต้องการ และผลประโยชน์จึงอาจขัดแย้งกัน ดังกรณีที่นา่ สนใจที่ ดอน มิทเชลล์ (Don Mitchell)56 ได้หยิบยกขึ้นมาก็คือ การแสดงความรังเกียจท่ีชนชั้นกลางมีต่อคนไร้บ้าน ดัง ปรากฏการณท์ ่ีเรยี กวา่ NIMBY- Not in my backyard คอื การทีช่ ุมชนตามละแวกบ้านตอ่ ต้านการ จัดตั้งศูนย์ท่ีพัก (shelter) สาหรับคนไร้บ้าน ซึ่งต่อมาขยายไปจนถึงไมอ่ นญุ าตให้มีการแจกอาหาร แกค่ นไร้บา้ นในพืน้ ที่สาธารณะ งานของ ดอน มทิ เชลล5์ 7 เรอ่ื ง Right to the City ในพน้ื ท่สี าธารณะของเมือง จากการมี กฎหมายที่ไม่เป็นมิตรกับคนไร้บ้าน ไม่ให้คนไร้บ้านใช้พื้นที่สาธารณะ เป็นการจงใจสร้างพื้นที่ สาธารณะท่ีมลี ักษณะกีดกัน ส่วนผ้ไู ร้ทอ่ี ยูอ่ าศยั ท่ตี ่อต้านกฎหมายนี้ ได้ยืนยนั สทิ ธขิ องคนส่วนน้อย 54 Ibid., 102-103. 55 Ibid., 106-107. 56 Mitchell, Don. The right to the city: Social justice and the fight for public space, (New York: Guilford Press, 2003) 57 Ibid. 105

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ทจ่ี ะตอ่ ตา้ นกฎหมายซึ่งอ้างว่าเป็นของคนสว่ นใหญ่ ดังนั้นมทิ เชลล์ จงึ โตแ้ ย้งวา่ เม่ือเขาพูดถึงสิทธิ ท่ีจะมีส่วนร่วมร่วมในเมืองอาจเป็นคนละเร่ืองกับประชาธิปไตย หากประชาธปิ ไตยหมายถึงคนส่วน ใหญท่ ่ีไมเ่ คารพสทิ ธขิ องคนสว่ นนอ้ ย มทิ เชลล์ต่อต้านการจัดการเมืองในแบบดงั กล่าว และเสนอว่า สิทธิของคนไร้บ้านวางอยู่บนหลักวา่ แม้เขาจะเป็นคนส่วนน้อย เขาก็ควรได้รับการเคารพสิทธิ จึง เกิดความตึงเครยี ด (tension) ระหว่างเสียงของคนส่วนใหญ่กับคนส่วนนอ้ ยท่ีควรได้รับการเคารพ และปกป้อง ในทางเดียวกัน มาร์เซโล โลเปซ เดอ ซูซ่า (Marcelo Lopes de Souza)58 เป็นห่วงว่า คาว่า ‘the Right to the City’ จะถูกนาไปใช้อย่างผิวเผิน องค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงาน ด้านการพัฒนาเมืองอาจใช้คาน้ี ในความหมายแค่เพียงสิทธิที่จะมีชีวิตในเมืองอย่างมีความเป็น มนษุ ย์มากข้ึนภายใตร้ ะบบทุนนิยม รปู ธรรมของแนวคิดกระแสน้ี คอื การมที ่ีอยอู่ าศัยราคาถูกและ เอื้อต่อการใช้ชีวิต การมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี มีเพื่อนบ้านสภาพแวดล้อมที่อยู่ ฐานคิดของคน กลุ่มนี้ เป็นการวพิ ากษว์ จิ ารณ์เสรนี ิยมใหม่ แต่ยอมรับระบบทุนนิยมโดยพื้นฐาน และแม้จะยอมรับ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แต่ก็เป็นเพียงส่วนเสริมของระบบประชาธิปไตยตัวแทน จึงไม่น่า แปลกใจหากสิทธิที่จะมีส่วนในเมืองของกระแสนี้จะเป็นแค่การต่อต้าน การทาให้เป็นย่านผู้ดี (gentrification) เรยี กร้องการมีท่ีอยู่อาศัยราคาถกู เป็นการลดทอนแนวคิดสิทธทิ ี่จะมีส่วนในเมือง ให้เปน็ แค่การเมืองของย่าน (politics of turf) ดังนั้น ประเด็นปัญหาทั้งหลายในเมือง อย่างปัญหาการทาให้เป็นย่านผู้ดี และปัญหา ท่ีอยู่อาศัย จาเป็นต้องถกู จัดวางในบริบทที่กว้างขนึ้ เพ่ือใหเ้ หน็ ว่าเปน็ ผลของตรรกะแบบทุนนิยมที่ ให้ความสาคัญกับคุณค่าของการแลกเปลี่ยน และการแสวงหากาไรสูงสุดอยู่เหนือคุณค่าของการ ใช้สอย มเิ ช่นน้ัน วาทกรรมการมีสว่ นร่วม จะเปน็ เพียงเครอื่ งมอื ในการจัดการช่วงวกิ ฤติ เพ่ือรักษา เสถียรภาพของระบบ แต่ประเด็นการทาให้พื้นที่ของเมืองเป็นสินค้ายังคงอยู่ หากเราไม่พิจารณา บรบิ ทภาพกวา้ งกจ็ ะเป็นไปดงั สานวนท่ีวา่ เราเห็นตน้ ไม้ แต่ไม่เห็นป่า59 58 De Souza, Marcelo Lopes. “Which right to which city? In defence of political-strategic clarity.” Interface 2, no. 1 (2010): 315-333. 59 Ibid., 317. 106

“รัฐประหาร พนื้ ที่ พลเมอื ง” 3. คำถามและขอ้ วิจารณต์ ่อแนวคิด the Right to the City แนวคิด the Right to the City ถูกตีความและให้ความหมายแตกตา่ งกัน สาเหตสุ าคัญก็ เพราะ อองรี เลอแฟรบ ซึ่งเป็นคนสาคัญของการเสนอแนวคดิ นี้ ไม่ได้ให้ความหมายไว้ชัดเจน แม้ ข้อเสนอของเขาจะมีลักษณะเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน แต่เมื่อมีการรับคา เดียวกันนี้ไปใช้โดยองค์กรเคลื่อนไหวและองค์กรระหว่างประเทศ มักถูกแปรให้เป็นสิทธิในเชิง กฎหมายที่เป็นไปได้ในทางปฏิบตั ิมากกวา่ รักษาเป้าหมายเดิมของเลอแฟรบท่ีเนน้ การเปลี่ยนแปลง เมืองและระบอบทุนนิยมอย่างสิ้นเชิง ปัจจัยสาคัญหน่ึงของความแตกต่างระหว่างการถกเถียงใน เชิงวิชาการกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมก็คือ แนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองของเลอแฟ รบ เป็นสิทธิความต้องการที่ตรงข้าม (oppositional demand) กับความต้องการที่มีอยู่เดิม ส่วน ขบวนการเคลื่อนไหวต้องการสิทธิที่มีผลในเชิงกฎหมาย60 คาว่า สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมือง ใน ฐานะที่เป็นคาขวัญทางการเมือง จึงทาได้แค่เป็นแรงบันดาลให้ขบวนการเคลื่อนไหว แต่ยังขาด ความชัดเจนในทางปฏิบัติ ขบวนการเคล่ือนไหวจงึ นาคานไ้ี ปใช้ไดใ้ นแบบทไ่ี ม่ไดร้ กั ษาเปา้ หมายเดิม นกั 61 คาฟู อัชโทช (Kafui A Attoh)62 ชี้ถึงจุดอ่อนของแนวคิดนี้ ในประเด็นความคลุมเครือ ของสิ่งที่เรียกว่า ‘สิทธิ’ อัทโทชเห็นว่า แม้นักวิชาการที่เป็นฝ่ายก้าวหน้าจะรับเอาแนวคิดนี้มาใช้ แต่ไม่ได้ตั้งคาถามอย่างจริงจังเกี่ยวกับมโนทัศนเ์ รื่อง ‘สิทธิ’ ของแนวคิดนี้ การใช้คาว่า ‘สิทธิ’ ใน แนวคดิ สทิ ธิท่จี ะมีส่วนรว่ มในเมอื งเป็นเหมือนกล่องดา คือ มคี วามคลมุ เครือวา่ จะใชใ้ นความหมาย แบบใด เป็นสิทธิประเภทไหน สถานะความเป็น ‘สิทธิ’ ของมันวางอยู่บนหลักการใด เป็นเรื่องท่ี นักวิชาการท่สี นใจแนวคดิ นี้ยงั ไมไ่ ด้ถกเถียงอย่างจริงจงั ทัง้ ๆ ที่มโนทศั น์ ‘สทิ ธิ’ เปน็ ฐานอันสาคัญ นกั วชิ าการบางคนมองว่า สิทธทิ ่จี ะมสี ่วนร่วมในเมือง เปน็ สทิ ธิทางเศรษฐกจิ สังคมและสิทธิรวมหมู่ ในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยหรือการคมนาคม ขณะที่คนอื่นๆ มองสิทธิเดียวกันนี้ว่า เป็นสิทธิเสรีภาพ แบบคลาสสิคท่วี างอยู่บนหลกั การต่อตา้ นการแทรกแซงของรัฐ 60 Uitermark, Justus, Walter Nicholls, and Maarten Loopmans. “Cities and social movements: theorizing beyond the right to the city.” Environment and Planning A 44, (2012): 2548. 61 Ibid., 2546-2554. 62 Attoh, Kafui A .“What kind of right is the right to the city?,” Progress in human geography 35, no. 5 (2011): 669-685. 107

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 อัทโทช63 ได้แจกแจงมโนทัศน์เรื่องสิทธิจากหลายแง่มุม แง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือ คาอธบิ ายของ เจเรมี วลั ดรอน (Jeremy Waldron) ซ่งึ กล่าวถงึ สิทธใิ นรุ่นต่างๆ จากสทิ ธิในรุ่นแรก (First Generation Rights) หมายถึง สิทธิเชิงจารีตที่รับรองให้พลเมือง เช่น เสรีภาพในการพูด นับถือศาสนา สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิในการเลือกตั้ง ส่วนสิทธิรุ่นที่สอง (Second Generation Rights) หมายถึง สทิ ธทิ างเศรษฐกจิ สงั คม เชน่ สิทธใิ นทอ่ี ยู่อาศยั สทิ ธิท่จี ะ ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม ซึ่งเชื่อมโยงกับการเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการ ส่วนสิทธิรุ่นที่สาม (third generation rights) หมายถึง สิทธิที่สัมพันธ์กับชุมชน ผู้คน และกลุ่มคน เช่น สิทธิด้านภาษาของ คนกลมุ่ น้อย หรือบางคร้ังเรยี กว่าสทิ ธิเพื่อความสมานฉันท์ (Solidarity Rights) วัลดรอน ช้วี า่ สทิ ธิ ในรุ่นที่สองเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและความยากไร้ทาง วัตถุ หากมนุษย์ไม่มีสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมเสียแล้ว สิทธิเสรีภาพของปัจเจกต่างๆ ก็ จะไร้ ความหมาย ดังนั้น กฎหมายที่ห้ามคนไร้ท่ีอยู่อาศัยเขา้ ถึงพืน้ ท่ีสาธารณะ จึงเป็นกฎหมายท่ีละเมดิ เสรีภาพของผู้ไร้ทีอ่ ยู่อาศัย แต่ก็มีคาถามถงึ สิทธิขั้นทีส่ อง เช่น สิทธิในที่อยู่อาศัย อาหาร และการ งาน ว่า จะทาให้สิทธิเหล่านี้เสถียรได้อย่างไร เพราะถูกมองว่าเป็นการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนอง ความตอ้ งการของคนบางกลุ่ม ถา้ สทิ ธิทจี่ ะมสี ว่ นรว่ มในเมอื งเป็นสิทธิรุน่ ท่สี าม คาถามก็คือ มีสิทธิ ของปัจเจกที่ถูกกระทบอย่างไรบ้าง64 หรือเราอาจตั้งคาถามรูปธรรมต่อไปได้ว่า หากสิทธิที่จะมี ส่วนรว่ มในเมอื งเป็นสิทธริ วมหมู่ การใช้สทิ ธดิ ังกลา่ วจะแสดงออกในรปู แบบใด อัทโทชเห็นว่า ประเด็นเกี่ยวกบั สิทธิท่ีจะมีสว่ นในการร่วมในเมือง ถ้าเทียบเคียงกับสิทธิ ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในสหรัฐอเมริกา ประเด็นของมันไม่ได้อยู่ที่การถกเถียงว่า การ เข้าถึงการรักษาพยาบาลควรเป็นสิทธิหรือไม่ แต่ข้อถกเถียงอยู่ที่ว่า รูปแบบของสิทธินั้นเป็น อย่างไร และจะไดร้ บั สทิ ธินัน้ อย่างไร65 4. การประยุกตใ์ ช้แนวคิดสทิ ธิทีจ่ ะมสี ว่ นรว่ มในเมอื งในงานวิจัย มีงานศึกษาทางวิชาการไม่น้อยที่ประยุกต์แนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองไปใช้ วิเคราะห์การพัฒนาเมืองที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในเมือง โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับที่อยู่อาศยั 63 Ibid., 671-672. 64 Attoh, Kafui A. “What kind of right is the right to the city?.” Progress in human geography 35, no. 5 (2011): 671-672. 65 Ibid. 108

“รฐั ประหาร พื้นท่ี พลเมือง” การถูกบังคับให้ต้องย้ายถิ่น การใช้แนวคิดนี้ในการวิเคราะห์ของนักวิชาการต่างๆ ก็มีการอ้างถึง แนวคิดนอ้ี ยา่ งเคร่งครัดแตกต่างกนั ไป ดงั ทจี่ ะแสดงใหเ้ ห็นต่อไป วารสาร International Journal of Housing Policy ฉบับที่ 3 ของ ปี 2014 มีการ ตีพิมพ์วารสารฉบับพิเศษที่มีบทความว่าด้วยสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองกับประเด็นที่อยู่อาศัย มานูเอล บี อัลเบอร์ (Manuel B Aalbers) และ เคนเนธ กิบบ์ (Kenneth Gibb)66 ผู้เขียนบทนา ของวารสารฉบับดังกล่าว อ้างถึงแนวคิด the Right to the City ของอองรี เลอแฟรบ โดยเน้น ประเด็น สิทธิที่จะมีสว่ นร่วมในเมืองและสิทธิท่ีจะไม่ถูกแปลกแยกจากพื้นทีช่ วี ิตประจาวัน ซึ่งการ จะบรรลุถึงสิทธิดังกล่าว จาเป็นต้องให้ความสาคัญกับคุณค่าในการใช้สอยพื้นที่ของเมืองเหนือ คุณค่าของการแลกเปล่ียน ผู้เขียนทั้งสองได้วิพากษ์การแปรรูปและการทาให้ที่อยู่อาศัยและพื้นท่ี ของเมอื งเปน็ สนิ ค้า67 บทความหลายชิ้นในวารสารฉบับนี้ หยิบยกประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น บทความของ ไมเคิล กลาส และเพื่อน (Michael Glass et.al)68 กล่าวถงึ การต่อสูข้ องชนช้ันกลาง ในนิวยอร์กซึ่งเคยพักในทีอ่ ยู่อาศัยราคาถูก แต่เมื่อเจ้าของใหม่มีแผนปรับปรงุ ยา่ นดังกล่าวและตัว อาคารให้สวยงามโดยมีการเพ่ิมค่าเช่า ทาให้ชนชนั้ กลางเองตอ้ งถกู เบียดขบั ออกจากเมือง บทความ นี้ชี้ให้เห็นว่า แม้แต่ชนชั้นกลางเองก็ยังถูกลิดรอนสิทธิท่ีจะมีส่วนร่วมร่วมในเมือง จากการทาให้ ที่อยู่อาศัยกลายเป็นสินค้า บทความอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ บทความเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับ แนวโน้มท่ีอยู่อาศยั จะถูกปฏิรูปให้เป็นไปตามกลไกตลาด ตามระบอบเสรีนิยมใหมใ่ นสามเมือง คือ เมืองนวิ ยอรก์ อัมสเตอรด์ ัม และโตเกียว ซ่ึงกระทบต่อสิทธิท่ีจะมีส่วนร่วมในเมือง ผู้เขียนช้ีให้เห็น ว่า แม้แนวโน้มของเมืองเหล่านี้จะมุ่งไปสู่ระบอบเสรีนิยมใหม่คล้ายคลึงกัน แต่บทบาทของรัฐ ท้องถิ่นยังมีความสาคัญท่ีจะลดผลกระทบจากระบอบเสรีนิยมใหม่ เช่น เมืองอมั สเตอร์ดัม ซึ่งเป็น เมืองที่เคยถูกกลา่ วถึงในฐานะเมืองยุตธิ รรม (a just city) เพราะมกี ารควบคุมคา่ เชา่ การส่งเสริมให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยราคาถูกอย่างกว้างขวาง ดังนั้น แม้จะมีการแปรรูปที่อยู่อาศัย 66 Aalbers, Manuel B., and Kenneth Gibb, “Housing and the right to the city: introduction to the special issue.” International Journal of Housing Policy 14, no. 3 (2014): 207-213. 67 Ibid., 208. 68 Glass, Michael R., Rachael Woldoff, and Lisa Morrison. “Does the middle class have rights to the city? Contingent rights and the struggle to inhabit Stuyvesant Town, New York.” International Journal of Housing Policy 14, no. 3 (2014): 214-235. 109

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ใหเ้ ป็นของเอกชน แต่สัดสว่ นทีอ่ ยูอ่ าศยั ในราคาทเ่ี ข้าถงึ ได้ (affordable housing) ก็ยงั มากกว่าอีก สองเมอื ง69 (Kadi and Ronald 2014) ยังมีบทความชิ้นอื่นๆ ที่เชื่อมโยงสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองกับประเด็นที่อยู่อาศัย ซ่ึง โดยส่วนใหญ่เป็นไปในแนวที่ชี้ให้เห็นว่า โครงการพัฒนาเมืองได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิที่จะอยู่ใน เมือง ในความหมายที่ว่า ผู้คนถูกเบียดขับให้ต้องรื้อย้ายออกไปอยู่นอกเมือง เช่น หยุนบางชิน (Hyun Bang Shin)70 กลา่ วถงึ นโยบายการพฒั นาเมืองทีก่ วางโจว (Guangzhou) และส่งผลกระทบ ต่อ the Right to the City ของผู้อยู่อาศัยเดิม ทั้งเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าต่างก็มีอัตลักษณ์ รว่ มกัน คือ เป็นผอู้ ยู่อาศยั ในเมืองที่ไดร้ บั ผลกระทบจากการถกู บงั คับให้ตอ้ งรือ้ ย้าย แม้ในงานชิ้นนี้ จะอ้างถึงแนวคิดทั้งของเลอแฟรบและฮาร์วีย์ แต่ the Right to the City ในความหมายของ บทความนี้ คือ สทิ ธิท่จี ะได้รบั ท่ีดินรองรับและค่าชดเชย เน่ืองจากตามกฎหมายของจีน เฉพาะผู้อยู่ อาศัยที่มีทะเบียนบ้านในท้องถิ่นและผู้เช่าที่อยู่อาศัยของรัฐเท่านั้นทีม่ ีสิทธไิ ด้รับคา่ ชดเชย ส่วนผู้ อพยพเขา้ มาในเมอื งและมาเช่าทพ่ี ักอยู่อาศัยของเอกชนจะไม่มีสิทธิไดร้ บั ค่าชดเชยตรงจากรฐั ต้อง ไปต่อรองกับเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าเอง ทาให้ผู้ไม่ได้รับค่าชดเชยหรือไม่พอใจที่ค่าชดเชยที่จะ ไดร้ บั น้อยเกนิ ไปตอ่ ต้าน จึงเกิดปฏิบัติการ ‘สทิ ธทิ ่จี ะขดั ขืนดว้ ยการอย่ทู ่เี ดิม’ (right to stay put) ของคนในท้องถิ่นท่ีไม่อยากย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม มีคาเรียกในภาษาจีนว่า ‘ดิง ซี หู’ (ding- zi-hu) มีความหมายตามตัวว่า ‘บ้านปลายเล็บ’ (“nail-houses” หรือ “nail-households”)71ซ่ึง อาจถอดความได้ว่า เป็นบ้านจานวนนอ้ ยทีต่ ิดหรือขวางโครงการพัฒนา ชินเผยให้เห็นว่า คนเมือง มองบ้านปลายเล็บแตกต่างกัน บ้างมองอย่างเห็นอกเหน็ ใจ เพราะการรอื้ ย้ายกระทบกับผู้อยู่อาศัย ผู้เป็นเจ้าของบ้านจึงควรจะได้รับค่าชดเชยที่เหมาะสม รวมถึงเห็นอกเห็นใจแรงงานอพยพที่ตาม 69 Kadi, Justin, and Richard Ronald. “Market-based housing reforms and the ‘right to the city’: the variegated experiences of New York, Amsterdam and Tokyo.” International Journal of Housing Policy 14, no. 3 (2014): 268-292. 70 Shin, Hyun Bang. “The right to the city and critical reflections on China's property rights activism.” Antipode 45, no. 5 (2013): 1167-1189. 71 ในความเข้าใจของผเู้ ขียน น่าจะหมายถงึ บ้านท่ีคัดค้านเป็นเหมือนปลายเล็บที่ตดิ อยกู่ ับนิ้ว แมจ้ ะมีขนาดเลก็ แตก่ ็ ไม่อาจจะสลัดหรือตดั ใหห้ ลุดออกไปได้ 110

“รัฐประหาร พืน้ ท่ี พลเมอื ง” กฎหมายไม่ได้รับค่าชดเชย เนื่องจากอาศัยอยู่ในเมืองมานานและเป็นผู้ทาประโยชน์ให้กับเมือง ส่วนฝ่ายรัฐพยายามสร้างภาพวา่ บ้านปลายเลบ็ เปน็ คนเหน็ แก่ตัว ต่อต้านการพฒั นา72 ชนิ วพิ ากษก์ ารเคล่ือนไหวเรยี กร้องสทิ ธขิ องผ้ทู ่เี ปน็ เจา้ ของทรัพยส์ ินว่า เปน็ การเรียกร้อง บนฐานของสิทธสิ ่วนบคุ คลและคุณคา่ ของการแลกเปลี่ยนท่วี ่า พวกเขาไดล้ งทุนในทรัพย์สินจึงควร ได้รับการชดเชย ซึง่ เทา่ กบั เปน็ การเรียกร้องเพือ่ ผลประโยชน์เฉพาะพวกเขาเอง ไม่ได้คานึงถึงผู้อยู่ อาศัยในเมืองกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าของบ้าน พร้อมแนะนาว่า หัวใจของการเรียกร้อง สิทธทิ ่จี ะมีสว่ นรว่ มในเมืองไม่ควรจากัดเฉพาะสิทธิของผู้ท่ีเป็นเจ้าของบา้ นเทา่ น้นั ทานองเดียวกัน บทความของ ลิซา เวนสตีน และ ซุยเฟ เรน (Liza Weinstein and Xuefei Ren)73 กล่าวถึง สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองที่เปลี่ยนไปของเมืองเซี่ยงไฮ้และมุมไบใน กระแสโลกาภิวัตน์ และมีผลกระทบต่อสิทธิในที่อยู่อาศัย (Housing Rights) การเปลี่ยนแปลงการ ใช้ประโยชน์ในที่ดินเกิดขึ้นในทั้งสองเมืองคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ที่ดินถูกขายหรือให้เช่าต่อ นักพัฒนาเมือง เป็นไปตามที่ฮาร์วีย์ได้กล่าวถึงกระบวนการการสั่งสมความมั่งคั่งด้วยการ ปลดเปลื้องการครอบครองของผู้อื่น ทาให้สิทธิในการเข้าถึงที่อยู่อาศัยของคนนับล้านต้องถูก กระทบ ผู้เขียนเปรียบเทียบสถานการณ์ในเซี่ยงไฮ้และมุมไบว่า สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองเป็น สทิ ธิทีอ่ ยูใ่ นบรบิ ทหรือภายใต้โครงสร้างของระบบสังคมการเมืองและระบบกฎหมายท่เี ก่ียวข้องกับ การควบคุมความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ดังนั้นวิธีการเข้าสู่การใช้อานาจที่แตกต่างกันระหว่างใน มุมไบทก่ี ารเลือกตั้งมีความสาคญั จงึ เป็นไปไดย้ ากในทางการเมืองที่จะไลร่ ื้อผูเ้ ช่าจานวนมาก แมว้ ่า จะมีอานาจกระทาได้ทางกฎหมาย เพราะจะกระทบกับฐานความนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วน ในเซยี่ งไฮ้ กระบวนการเลือกต้ังไม่ไดม้ คี วามสาคญั ตอ่ การเข้าส่อู านาจ ทาให้การละเมิดสทิ ธิในที่อยู่ อาศัยเกดิ ข้ึนโจง่ แจง้ กวา่ สาหรับในแวดวงวชิ าการไทย มีงานวชิ าการไม่มากนัก การกล่าวถึงแนวคดิ the Right to the City น้อยมาก ได้แก่ บทความวิจัยของ ณัฐพล แสงอรุณ74 ที่กล่าวถึงกระบวนการดาเนิน โครงการบ้านมนั่ คงท่ีคลองบางบัวโดยชุมชนว่า เป็นกระบวนการหน่ึงของชาวบา้ นท่เี รียกร้องสิทธิท่ี 72 Ibid. 73 Weinstein, Liza, and Xuefei Ren. “The changing right to the city: Urban renewal and housing rights in globalizing Shanghai and Mumbai.” City & Community 8, no. 4 (2009): 407-432. 74 ณัฐพล แสงอรณุ . “สิทธิทีจ่ ะอยู่ในเมือง: ภาพสะท้อนการเคลือ่ นไหวเพื่อสิทธิการอยู่อาศยั ของชุมชนบางบัว”, วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมอื ง 9 ฉ. (2555): 1-22. 111

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 จะอยู่ในเมือง ไม่ต้องถูกรื้อย้ายออกไปนอกเมือง งานชิ้นนี้ให้ความหมายของ the Right to the City ว่า ‘สิทธิที่จะอยู่ในเมือง’ ทานองเดียวกับบทปริทัศน์ความรู้เกี่ยวกับความเหลื่อมล้าในเมือง มหานครของ ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และคณะ75 ก็ใช้คาว่า ‘สิทธิที่จะอยู่ในเมือง’ และ ‘สิทธิที่จะ อาศัยอยู่ในเมือง’ แทนคาว่า the Right to the City แม้บทความของณัฐวุฒิ และคณะ อภิปราย ประเด็นเรื่องมูลค่าของที่ดินเมือง แต่บทความทั้งสองชิ้นเหมือนกันตรงที่ไม่ได้กล่าวถึงนัยของ the Right to the City ในความหมายของเลอแฟรบและฮาร์วีย์ที่ว่า สิทธิของผู้อยู่อาศยั ในเมืองที่ จะมสี ว่ นในการกาหนดวถิ ีของเมือง การใหค้ ุณคา่ ของการใช้สอยพนื้ ทข่ี องเมอื งเหนือคุณคา่ ของการ แลกเปลี่ยนหรือมูลค่าที่ดินของเมือง รวมถึงการวิพากษ์การพัฒนาเมืองตามแนวเสรีนิยมและท้า ทายตรรกะของทนุ นยิ ม บทความช้นิ เล็กๆ ของพชิ ญ์ พงษ์สวสั ด์ิ76 ซ่งึ อา้ งถึงการอภิปรายของ ชาตรี ประกิตนนท การ กก็ ล่าวถึง แนวคดิ the Right to the City โดยถอดความเป็นภาษาไทยว่า ‘สทิ ธทิ ่ีจะมีอานาจ กาหนดชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของเมือง’ และอธิบายว่า the Right to the City มักจะถูก ลดทอนให้เข้าใจว่าเป็นเพียงสิทธิที่จะอยู่ในเมือง กลายเป็นเรื่องเฉพาะของคนจนเมืองที่ถูกไล่ร้ือ และพยายามอ้างสิทธิที่จะอยู่ในเมือง ทั้งๆ ที่ ที่มาของแนวคิด the Right to the City หมายถึง สิทธขิ องคนเมืองทกุ คนที่จะมีส่วนร่วมในการกาหนดวิถชี ีวิตของเมือง แนน่ อนว่าความหลากหลาย ของกลมุ่ คนในเมืองย่อมทาให้เกิดแรงเสียดทานจากการมีวิถชี ีวิตท่ีแตกต่างกัน ดังนน้ั จาเป็นต้องมี กลไกที่เป็นประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพในการก ากับการก าหนดความเป็นไปของเมือง นอกจากนี้ในหนังสือแปลโดย พินดา พิสิฐบุตร ก็มีส่วนหนึ่งที่กล่าวถึง the Right to the City ซึ่ง ผู้เขียนใช้คาว่า ‘สิทธิในเมือง’ โดยอ้างถึงประโยคสาคัญของเดวิด ฮาร์วีย์ว่า “สิทธิในเมืองเป็น มากกวา่ เสรภี าพของปจั เจกชนในการเข้าถึงทรัพยากรเมือง มันคอื สิทธิในการเปลีย่ นตัวเราด้วยการ เปลี่ยนแปลงเมือง”77 เพื่อตอกย้าความสาคัญของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เกิดสมดุลกับการอยู่ อาศยั และสร้างความสุขใหก้ ับคนเมือง 75 ณัฐวุฒิ อศั วโกวิทวงศ์ และคณะ. \"ความเหล่อื มล้าในเมืองมหานคร: บทปริทรรศนค์ วามรใู้ นบรบิ ทประเทศไทย\", วารสารสิ่งแวดลอ้ มสรรคส์ รา้ งวินิจฉยั คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 17 ฉ. 12 (ก.ค.-ธ.ค. 2561): 157- 178. 76 พชิ ญ์ พงษ์สวสั ดิ์. “สทิ ธิทจี่ ะมีอานาจกาหนดชวี ติ และความเปลยี่ นแปลงของเมอื ง”, มติชนรายวัน, 5 พฤศจิกายน 2562. 77 มอนตโ์ กเมอรี, ชาลร์ลส์. Happy City เปลย่ี นโฉมชีวิตด้วยการออกแบบเมือง. แปลโดย พินดา พิสิฐบตุ ร. 112

“รัฐประหาร พืน้ ที่ พลเมือง” สาหรับผู้เขียน การทบทวนและสังเคราะห์แนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองในที่นี้ก็ เพราะเล็งเหน็ วา่ แมแ้ นวคิดน้ี จะมีขอ้ ออ่ นทถี่ กู ตง้ั คาถามเกย่ี วกบั ความคลุมเครอื หากพจิ ารณาจาก แง่มุมของความเป็น ‘สิทธิ’ ในทางกฎหมายที่เป็นอยู่ แต่ก็มีคุณูปการสาคัญในการขยายขอบฟ้า หรือเพดานทางความคิดเกี่ยวกบั การวิเคราะห์ วิพากษ์ และการถกเถียงเก่ียวกับเมืองในสังคมไทย ทั้งในทางวิชาการและทางนโยบายสาธารณะ จุดแข็งที่สาคัญของแนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมใน เมืองในทัศนะของผู้เขียนก็คือ การวิพากษ์ตรรกะของการพัฒนาเมืองตามระบบทุนนิยมที่มุ่งเน้น การสร้างกาไรสูงสุดจากพ้ืนท่ขี องเมือง โดยใช้กลไกตลาดเป็นกลไกสาคัญในการแจกจ่ายทรัพยากร ของเมือง ทาให้คนจานวนน้อยที่มีอานาจทุนเหนือกว่าสามารถกาหนดชะตากรรมของเมืองไปใน ทศิ ทางทเ่ี อ้ือประโยชนก์ ับกลุ่มของตน ขณะท่ีคนจานวนมาไม่ใช่แค่เฉพาะคนจน คนชายขอบอย่าง คนไรบ้ า้ น หรอื แม่คา้ หาบเร่แผงลอยเท่านั้น หากแต่รวมถึงชนช้ันกลางด้วย ต่างถูกกีดกันออกจาก การใช้พื้นที่ของเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีความจาเป็นต้องมีการตั้งคาถามและวิพากษ์ความไม่เปน็ ธรรมของระบบดงั กลา่ วในระดบั วิธีคดิ กล่าวอย่างเป็นรปู ธรรม เมืองในสังคมไทยกาลงั ถูกเปลี่ยนแปลงดว้ ยวิธีการ ‘สะสมความ มั่งคั่งด้วยการปลดเปลื้องการถือครองของผู้อืน่ ’ ตามตรรกะของทุนนิยมดังทีเ่ ดวิด ฮาร์วีย์ได้กล่าว ไว้ เช่น การทก่ี ลมุ่ ทนุ ขนาดใหญ่ได้สทิ ธิในการเชา่ ท่ีดนิ จากสานักงานทรพั ยส์ ินสว่ นพระมหากษัตริย์ ในย่านเก่ากลางเมืองที่มี ‘เสน่ห์’ ในทางประวัตศิ าสตร์ อยา่ งทีย่ า่ นเวง้ิ นครเกษม และกลุ่มคนผู้อยู่ อาศัยเดิมซึ่งก็ไม่ใช่ผู้ที่มีฐานะยากจนยังถูกขับไล่ให้ต้องย้ายที่อยู่เพราะหมดสัญญาเช่าและไม่ สามารถประมูลแข่งเสนอราคาค่าเช่ากับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ หากพิจารณาตามระบบกฎหมายตาม ตรรกะของทุนนิยมท่ีเปน็ อยู่ กลมุ่ ทุนขนาดใหญ่ย่อมสามารถทาได้ ในกระบวนการต่อต้านดังกล่าว ผอู้ ย่อู าศยั เดิมพยายามอ้างว่า ครอบครวั ร่นุ ปู่ย่าตายายไดเ้ ช่าที่ดินต่อเน่ืองเพื่อทาการค้า และพวก เขาก็ประสงค์จะทาการคา้ ต่อ รวมถึงยินดีที่จะพัฒนาย่านต่อไปแต่ไม่สาเรจ็ 78 เพดานของความคิด ที่ว่าจะต่อสู้ดว้ ยการประมูลแข่งขนั กันเสนอค่าเช่าเช่นนี้ เป็นแนวทางทไ่ี มไ่ ด้ท้าทายตรรกะของทุน นยิ ม และไม่ได้วพิ ากษ์ความไม่เป็นธรรมทก่ี ลุ่มทนุ ขนาดใหญ่ใช้อานาจทุนท่ีมากกว่าเข้าปลดเปล้ือง การถือครองการใชป้ ระโยชนข์ องผู้อยู่อาศยั เดิม (กรงุ เทพฯ: broccoli, 2562). 78 “ปิดตานานตลาดเวิ้ง หมุนไปตามนายทุน”, ไทยรัฐ, 19 กรกฎาคม 2554 https://www.thairath.co.th/content/187190 113

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ตัวอย่างอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น การที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่อย่างบริษัทในเครือซีพี ได้รับสัมปทานก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อสนามบิน โดยมีข้อแลกเปลี่ยนสาคัญอันหนึ่งก็คือ การได้ สิทธิในการพัฒนาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามย่านสถานีต่างๆ เช่น ที่ย่านสถานี มกั กะสนั และยา่ นสถานีรถไฟคลองตนั โดยจะมกี ารแปลงโฉมพนื้ ทย่ี ่านดังกล่าวเปน็ ห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ สว่ นผู้อยอู่ าศยั กจ็ ะถูกขับไลอ่ อกไป79 ซึ่งเป็นการตดั สินใจรว่ มกนั เฉพาะรฐั และทนุ ขนาด ใหญท่ ่ไี ดเ้ ชา่ ท่ดี ิน ส่วนคนเมอื งอน่ื ท่ีเคยสญั จร เคยเลือกซื้อสินค้าจากตลาดย่านชุมชนในละแวกนั้น ซึ่งก็ได้รับผลกระทบจากการตัดสินเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ของย่านดังกล่าว กลับไม่มีสิทธิที่จะมี ส่วนรว่ มกาหนดความต้องการในการใชป้ ระโยชนท์ ดี่ ินเมือง ทานองเดยี วกนั ยงั มกี ลุม่ แม่ค้าหาบเร่ แผงลอยที่ถูกคาสั่ง คสช. ห้ามขายสินค้าบนทางเท้า การตัดสินใจดังกล่าวย่อมมีทั้งคนที่พึงพอใจ และไม่พึงพอใจ แต่คนที่ได้รับผลกระทบอย่างแม่ค้าเองหรือตัวผู้ซื้อกลับไม่ได้มี ส่วนร่วมใน กระบวนการตัดสินใจ ปัญหาสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองจึงสัมพันธ์กับปัญหาความเป็น ประชาธิปไตยด้วย นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น การออกแบบผังเมืองที่เอื้อต่อชนชั้นสูง การ ลงทุนสร้างทางด่วนเพื่อผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัว การสร้างรถไฟฟ้าที่เก็บค่าโดยสารแพง แต่คนจนถูก ปล่อยใหต้ ้องขึ้นรถโดยสารสาธารณะบนทอ้ งถนนที่จราจรติดขดั และไมม่ คี วามปลอดภัยเพียงพอ80 แม้ขบวนการเคลื่อนไหวในเมืองในไทยจะมีการรวมตัวเพื่อต่อรองในบางประเด็น อาทิ กลุ่มคนไร้บ้านเรียกร้องสิทธิในการใช้พื้นที่สาธารณะในเมือง การรวมตัวของชุมชนย่านเมืองเก่า เพื่อพัฒนาชุมชนบนฐานของผู้อยู่อาศัยเดิม การรวมตัวของกลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ได้รับ ผลกระทบจากคาสงั่ คสช. ทวา่ การเคลื่อนไหวตอ่ รองดังกล่าวยงั มลี ักษณะแยกส่วน (fragmented) ตามประเด็นของตัวเอง แต่หากวิเคราะห์ปัญหาในระดับลึกจะพบว่า ปัญหาต่างๆ ที่ปรากฏนั้นมี รากเหง้ามาจากจุดเดียวกนั คือ การขาดสิทธิทีจ่ ะมีส่วนร่วมในเมือง และการถูกปลดเปลอื้ งจากการ ใชป้ ระโยชน์บนท่ีดินเมือง ดว้ ยตรรกะของระบบทนุ นิยมที่ทุนใหญ่สามารถประมูลเช่าหรือซื้อที่ดิน และขบั ไลผ่ ู้อ่ืนออกไปได้ ในแง่น้ีผูเ้ ขียนเห็นว่า แนวคิดสทิ ธิทจ่ี ะมีสว่ นร่วมในเมืองมีความสาคัญใน 79 “ซ.ี พี. ท่มุ 1.4 แสนล้านสรา้ งเมอื ง ปน้ั “มักกะสัน” โกลบอล เกตเวย”์ , ประชาชาตธิ รุ กิจ, 30 พฤษภาคม 2562. https://www.prachachat.net/property/news-332604 80 อภิวัฒน์ รตั นะวาหะ (สมั ภาษณ์). “ไปให้ไกลกว่า ‘รถตมู้ หาภยั ’”, ประชาไท, 18 มกราคม 2560. 114

“รัฐประหาร พนื้ ที่ พลเมือง” การเชิงของการเชื่อมร้อยการเคลื่อนไหวของเมืองให้มีจุดร่วมเดียวกัน81 ดังเช่นที่เกิดขึ้นใน ตา่ งประเทศ อย่างการเกิดข้นึ ของเครือข่าย Right to the City (RTTC) Alliance ในสหรัฐอเมริกา82 ทั้งนี้ ผู้เขียนตระหนักว่า หากจะมีเครือข่ายการเคลื่อนไหวของคนเมืองที่มีจุดเชื่อมร้อย กันด้วยการเรียกร้อง สิทธิที่จะมีส่วนในการร่วมในเมือง เครือข่ายดังกล่าวย่อมประกอบด้วยกลุ่ม คนที่หลากหลาย กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะมีเป้าหมายเฉพาะหน้าตรงกัน แต่มีเป้าหมายระยะยาว แตกต่างกัน แต่อย่างน้อยกแ็ สดงถึงการต่ืนตัวในการเรียกร้องสิทธิที่จะกาหนดวิถีความเป็นไปของ เมืองท่ีกระทบกบั ผ้อู ยู่อาศัยในเมอื ง โดยมีแกนกลางบางอย่างร่วมกัน ส่วนประเด็นที่ว่า แนวคิดนี้ยังมีความคลุมเครอื ในแง่ของการบังคับใชส้ ิทธิตามกฎหมาย นั้น ผู้เขียนเห็นด้วยกับที่นักวิชาการบางท่านได้เสนอว่า83 ไม่ควรมองสิทธิต่างๆ อย่างหยุดนิ่ง แต่ ควรมองในเชิงพัฒนาการ เพราะสิทธิต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับในทุกวันนี้ อย่างสิทธิในการเข้าถึง การศึกษา การรกั ษาพยาบาล มาจากการเรียกร้องของสังคมให้รฐั ตอ้ งรบั รอง ในสังคมไทยเอง ก่อน หน้านี้ แนวคิดสิทธิชุมชนก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากแวดวงนิติศาสตร์ในช่วงแรก เพราะถูกตั้ง คาถามว่าใครคือผู้ทรงสิทธิ เพราะไม่ใช่สิทธิบนฐานของปัจเจกชนตามที่นักกฎหมายทั่วไปคุ้นเคย แต่ต่อมาสิทธิดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับ กระทั่งมีบทบัญญัตใิ นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นครัง้ แรก แนวคิดสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในเมืองก็เช่นกัน เป็นแนวคิดที่รอการสานตอ่ ด้วยการผลักดันของ สังคมหลายภาคส่วนให้เป็นรูปธรรมต่อไป บนฐานของหลักคิดสาคัญสองประการ คือ หนึ่ง ผู้อยู่ อาศัยในเมืองควรมีสิทธิในการกาหนดวิถีชีวติ ของเมืองที่กระทบกับพวกเขา และสอง การกาหนด ความเป็นไปของเมืองไม่ควรจะตัดสินบนฐานของมลู ค่ากาไรเท่านั้น หากควรตระหนักถึงคุณคา่ ใน ด้านประโยชน์ใช้สอยเพ่อื ตอบสนองตอ่ ความต้องการของคนเมอื งในภาพกว้าง ไมใ่ ช่เฉพาะกลุ่มทุน ขนาดใหญ่เทา่ นน้ั ท้ายทส่ี ดุ หากจะกล่าวถึงการเคลือ่ นไหวทางสังคมในไทยท่ีใกลเ้ คียงกับการเรียกร้องสิทธิ ท่ีจะมสี ่วนร่วมในเมอื ง ในแบบอองรี เลอแฟรบและเดวดิ ฮาร์วยี ม์ ากท่ีสุดก็คือ การเคลื่อนไหวของ 81Purcell, Mark. “To inhabit well: Counterhegemonic movements and the Right to the City.” Urban geography 34 no.4 (2013): 560-574. 82 Liss, Jon. “The Right to the city: From theory to grassroots alliance.” in Cities for people, not for profit, (London and New York: Routledge, 2012), 250-263. 83 Purcell, Mark. “Possible worlds: Henry Lefebvre and the Right to the City.” Journal of Urban Affairs 36 no.1 (2014): 146-147. 115

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 เครือขา่ ยสลัม 4 ภาค เพราะเปน็ การเคล่อื นไหวของคนที่ถกู เรยี กขานในทางกฎหมายวา่ “ผูบ้ ุกรุก” เพราะส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนแออัดที่อยู่อาศัยในที่ดินซึ่งไม่มีสิทธิตามกฎหมาย แต่พวกเขา รวมกลุม่ เพ่อื สร้างอานาจตอ่ รองด้วยการสร้างวาทกรรมตอบโต้วา่ อยา่ งนอ้ ยพวกเขากเ็ ปน็ ผู้บุกเบิก สร้างเมือง สร้างความเจริญให้กับพื้นท่ี และขอให้เจ้าของที่ดินตามกฎหมายรับฟังเสียงและความ ต้องการของพวกเขา การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนที่สุด คอื การรวมกลุ่มของชาวชุมชนบนท่ีดินของการ รถไฟแห่งประเทศไทยท่เี รียกร้องขอเช่าท่ีดินบนที่อยู่อาศัยเดิมจากการรถไฟแห่งประเทศ และหาก ไม่สามารถอยทู่ ีเ่ ดิมได้ ขอใหก้ ารรถไฟจัดท่ีดินรองรับห่างจากท่ีเดิมไมเ่ กิน 5 กโิ ลเมตร มากกว่านั้น การเคลื่อนไหวดังกล่าวยังเปน็ การท้าทายและหักล้างระบบคดิ ของทุนนิยมที่สาคญั คือ ไม่แข่งขัน ในกตกิ าของการรถไฟฯ ท่ีตอ้ งประมูลค่าเช่าที่ดนิ เพราะพวกเขาร้อู ยู่แลว้ ว่าคนจนยอ่ มไม่มีศักยภาพ ทจ่ี ะประมลู แขง่ ขันที่ดินกับนายทุนได้ หากแตใ่ ช้เหตผุ ลเร่อื งประโยชน์จากการใช้ที่ดินเพ่ือสังคมให้ คนจนได้เช่าที่ดินราคาถูกและการเรียกร้องดังกล่าวประสบความสาเร็จเป็นมติคณะกรรมการการ รถไฟแห่งประเทศไทยวนั ท่ี 13 กนั ยายน พ.ศ. 254384 5. สรุป บทความชิ้นนี้ทบทวนและสังเคราะห์งานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสิทธิที่จะมี สว่ นรว่ มในเมือง โดยเร่ิมตง้ั แต่การเน้นให้เห็นวา่ รากที่มาของแนวคิดมาจากนักคิดแนวมาร์กซิสต์ท่ี เสนอการศึกษาเมืองในเชิงวิพากษ์ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการวิพากษ์ระบบทุนนิยม หลังจากน้ัน แนวคิดดังกล่าวก็ได้รับความนิยม ทั้งจากนักวิชาการ จากองค์กรพัฒนาเอกชนระดับประเทศและ ระดับระหว่างประเทศ การถูกนาไปใช้อย่างกว้างขวางกระทั่งเป็นคาขวัญที่ได้รบั ความนิยม ทาให้ แนวคิดนี้ถูกตีความแตกต่างกันไป ทั้งผู้ที่ยังรักษาแกนหลักของแนวคิดนี้ในการวิพากษ์ระบบทุน นิยมมาสู่กลุ่มที่มิได้วิพากษ์ระบบทุนนิยม เพียงแต่ใช้แนวคิดนี้เป็นฐานเรียกร้องสิทธิบางประการ เพื่อความเท่าเทียมกันที่มากขึ้นในระบบทุนนิยม จนถึง ผู้ที่ใช้แนวคิดนี้เพียงในทางเทคนิค ที่เรียกร้องการมีส่วนร่วมในการกาหนดนโยบาย แต่มิได้วิพากษ์ระบบ แนวคิดดังกล่าวยังถูก วพิ ากษ์จากแง่มมุ ทางนติ ศิ าสตรว์ ่า มรี ากฐานความเป็น ‘สทิ ธิ’ ท่ีไมห่ นักแนน่ ในทางกฎหมาย 84 บุญเลิศ วิเศษปรีชา .“เครอื ข่ายสลมั 4 ภาค: ประวตั ศิ าสตรแ์ ละบทเรียน.” ฟา้ เดียวกัน 1 ฉ.3 (ก.ค.-ก.ย. 2546): 68-92; บุญเลิศ วเิ ศษปรีชา .“บทบาทภาคประชาชนในการผ่าทางตนั ปัญหาชุมชนแออดั ”. วารสารร่มพฤกษ์ 26 ฉ.22 (ก.พ.- พ.ค.2551): 36-68. 116

“รฐั ประหาร พื้นท่ี พลเมอื ง” อยา่ งไรก็ดี อยา่ งน้อยแนวคิดนี้มีความน่าสนใจในการเปิดพื้นที่ และแงม่ ุมใหม่ใหผ้ ู้ไร้สิทธิ ในกระบวนการมีส่วนร่วมในการกาหนดเมืองได้ใช้เป็นฐานคิดในการเรียกรอ้ งให้ผู้กาหนดนโยบาย ตระหนักถงึ สิทธิที่ผอู้ ย่อู าศัยในเมืองควรมี เพือ่ ให้การผลิตสรา้ งพ้นื ที่ของเมืองเออื้ และสอดคล้องต่อ ความหลากหลายของคนในสังคม มิใช่เอื้อต่อภาคธุรกิจที่มุ่งแสวงหากาไรฝ่ายเดียว การเสนอ แนวคิดนี้เพื่อหวังหนุนเสริมให้ขบวนเคลื่อนไหวในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นขบวนการของคนสลัม กลุ่มแม่ค้าหาบเร่ ฯลฯ ได้มีฐานรองรับทางวิชาการที่หนักแน่นขึ้นว่า การพัฒนาเมืองไม่ควรถูก ประเมนิ คณุ ค่าจากกาไรตามตรรกะของระบบทนุ นิยมเท่านน้ั หากแตค่ วรตระหนักถึงการสร้างเมือง ทีม่ ีความยุติธรรม (a just city) 117

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 References Aalbers, Manuel B., and Kenneth Gibb. “Housing and the right to the city: introduction to the special issue.” International Journal of Housing Policy 14, no. 3 (2014): 207- 213. Apiwat Ratanawaraha (Interviewed). “ไปให้ไกลกว่า ‘รถตู้มหาภัย’” [ Going beyond ‘ the dangerous van]. Accessed Nov. 10, 2019. https://prachatai.com/journal/2017/01/ 69676. (in Thai) Attoh, Kafui A. “What kind of right is the right to the city?.” Progress in human geography 35, no. 5 (2011): 669-685. Boonlert Visetpricha. “เครือข่ายสลัม 4 ภาค: ประวัติศาสตร์และบทเรียน” [Four Regions Slum Network: History and lessons. Fadeawkan 1, no.3 (Jul. – Dec. 2003): 68-92. Boonlert Visetpricha. “บทบาทภาคประชาชนในการผ่าทางตันปัญหาชุมชนแออัด” [The roles of people movement in dissolving slum community problems]. Romphruek Journal 26, no.2 (Feb. - May. 2008): 36-68. Brenner, Neil, Peter Marcuse, and Margit Mayer, eds. Cities for people, not for profit: Critical urban theory and the right to the city. London and New York: Routledge, 2012. Budds Jessica, Paulo Teixeira, and SEHAB. “Ensuring the right to the city: pro-poor housing, urban development and tenure legalization in Sao Paulo, Brazil.” Environment and Urbanization 17, no. 1 (2005): 89-114. Davis, Mike. “Planet of slums.” New Perspectives Quarterly 23, no. 2 (2006): 6-11. De Angelis, Massimo. The beginning of history: Value struggles and global capital. London: Pluto Press, 2007. De Soto, Hernando. The other path. New York: Harper & Row, 1989. 118

“รัฐประหาร พน้ื ท่ี พลเมือง” De Souza, Marcelo Lopes. “Which right to which city? In defence of political-strategic clarity.” Interface 2, no. 1 (2010): 315-333. Earle, Lucy. “Citizenship, the ‘right to the city’ and state fragility’.” Cities and Fragile States Working Paper, no. 87 (2011). Fainstein, Susan S. The just city. Ithaca: Cornell University Press, 2010. Glass, Michael R., Rachael Woldoff, and Lisa Morrison, “Does the middle class have rights to the city? Contingent rights and the struggle to inhabit Stuyvesant Town, New York.” International Journal of Housing Policy 14, no. 3 (2014): 214-235. Harvey, David. “The right to the city.” International journal of urban and regional research 27, no. 4 (2003): 939-941. Harvey, David. A brief history of neoliberalism. Oxford: Oxford University Press, 2007. Harvey, David. “The right to the city.” New Left Review 53 (2008): 23-40. Harvey, David. Rebel cities: From the Right to the City to the urban revolution. London and New York: Verso books, 2012. Harvey, David and David Waxhsmuth, “What is to be done? And who the hell is going to do it.” In Cities for people, not for profit, edited by Neil Brenner, Peter Marcus, and Margit Mayer, 264-274. London and New York: Routledge, 2012. Kadi, Justin, and Richard Ronald, “Market-based housing reforms and the ‘right to the city’: the variegated experiences of New York, Amsterdam and Tokyo.” International Journal of Housing Policy 14, no. 3 (2014): 268-292. Lefebvre, Henri. Writings on cities. Edited and translated by Kofman, Eleomore, and Elizabeth Lebas. Oxford: Blackwell, 1996. 119

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 Liss, Jon. “The Right to the city: From theory to grassroots alliance. In Cities for people, not for profit, In Cities for people, not for profit, edited by Neil Brenner, Peter Marcuse and Margit Mayer, 250-263. London and New York: Routledge, 2012. Weinstein, Liza, and Xuefei Ren, “The changing right to the city: Urban renewal and housing rights in globalizing Shanghai and Mumbai.” City & Community 8, no. 4 (2009): 407-432. Marcuse, Peter. “From critical urban theory to the right to the city.” City 13, no. 2-3 (2009): 185-197. Marcuse, Peter. “Whose right (s) to what city?.” In Cities for people, not for profit, edited by Neil Brenner, Peter Marcus, and Margit Mayer, 24-41. London and New York: Routledge, 2012. Marcuse, Peter. “Reading the right to the city.” City 18, no. 1 (2014): 4-9. Mayer, Margit. “The ‘Right to the City’ in the context of shifting mottos of urban social movements.” City 13, no.2-3 (2009): 362-374. Mitchell, Don. The right to the city: Social justice and the fight for public space. New York: Guilford Press, 2003. Montgomery, Charles. Happy city: Transforming our lives through urban design. Translated by Phinda Phisitbut. Bangkok: broccoli, 2019. Nattapon Sang-arun. “สิทธิที่จะอยู่ในเมือง: ภาพสะท้อนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการอยู่อาศัยของ ชุมชนบางบัว” [The Right to the City: The housing rights movement of Bangbua Community]. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) 9, no.2 (2012): 1-22. (in Thai) Nattawut Usavagovitwong, Kwanporn Bunnag and Napas Vatanopas. \"ความเหลื่อมล ้าใน เมืองมหานคร: บทปริทรรศน์ความรู้ในบริบทประเทศไทย\" [Urban inequality in mega- urban region: The synoptic review from Thai’s context] Built Environment Inquiry 120

“รฐั ประหาร พ้ืนท่ี พลเมอื ง” Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University 17, no. 12 (Jul. -Dec. 2018): 157-178. (in Thai) Pattillo, Mary. “Housing: Commodity versus right.” Annual Review of Sociology 39, (2013): 509-531. Pitch Pongsawat. “สิทธิที่จะมีอานาจกาหนดชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของเมือง” [The Right to power to make decisions on life and urban change / The Right to the City). Accessed Nov. 6, 2019. https://www.matichon.co.th/columnists/news_1738940. (in Thai) Prachachat Business. “ซี.พี. ทุ่ม 1.4 แสนล้านสร้างเมือง ปั้น “มักกะสัน” โกลบอล เกตเวย์”[ C.P. invests 140 Billion to build Makkasan Global Gateway]. Accessed Nov 10, 2019. https://www.prachachat.net/property/news-332604. (in Thai) Purcell, Mark. “Excavating Lefebvre: The Right to the City and its urban politics of the inhabitant.” GeoJournal 58, no. 2-3 (2002): 99-108. Purcell, Mark. “To inhabit well: Counterhegemonic movements and the Right to the City”, Urban geography 34, no.4 (2013): 560-574. Purcell, Mark. “Possible worlds: Henry Lefebvre and the Right to the City”, Journal of Urban Affairs 36, no.1 (2014): 146-147. Schmid, Christian. “Henry Lefebvre, the right to the city, and the new metropolitan mainstream.” In Cities for people, not for profit, In Cities for people, not for profit, edited by Neil Brenner, Peter Marcuse and Margit Mayer, 42-62. London and New York: Routledge, 2012. Shin, Hyun Bang. “The Right to the City and critical reflections on China's property rights activism.” Antipode 45, no. 5 (2013): 1167-1189. Thairath. “ปดิ ตานานตลาดเว้ิง หมนุ ไปตามนายทนุ ” [Ending the legend of Werng Nakhon Gasem Market: Following Capitalists]. Accessed Nov. 10, 2019. https://www.thairath.co.th/content/187190. (in Thai) 121

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 Uitermark, Justus. “An in memoriam for the just city of Amsterdam.” City 13, no. 2-3 (2009): 347-361. Uitermark, Justus. “An actually existing just city? The fight for the Right to the City in Amsterdam.” In Cities for people, not for profit, edited by Neil Brenner, Peter Marcuse and Margit Mayer, 197-214. London and New York: Routledge, 2012. Uitermark, Justus, Walter Nicholls, and Maarten Loopmans. “Cities and social movements: theorizing beyond the right to the city.” Environment and Planning A 44, (2012): 2546-2554. Weinstein, Liza, and Xuefei Ren. “The changing right to the city: Urban renewal and housing rights in globalizing Shanghai and Mumbai.” City & Community 8, no. 4 (2009): 407-432. 122

“รัฐประหาร พน้ื ท่ี พลเมือง” บทบาทของนกั กฎหมายไทยกับการรัฐประหารเพื่อนำมาสู่ระบอบเผดจ็ การ: ศกึ ษากรณีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 A Role of Thai Lawyers during a Non-Democratic Coup d’état: the Case Study of Coup d’état on 22 May 2014 ศุภณฐั บุญสด ศูนยท์ นายความเพอ่ื สิทธิมนุษยชน 66/4 ซอยลาดพรา้ ว 16 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรงุ เทพฯ 10900 Supanut Boonsod Thai Lawyers for Human Rights, 66/4 Lat Phrao 16, Chom Phon, Chatuchak, Bangkok Thailand, 10900 E-mail : [email protected] Received: March 9, 2019; Revised: September 20, 2019; Accepted: September 26, 2019 บทคดั ย่อ รัฐประหารกับนักกฎหมายดูเหมือนจะเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงและไม่สามารถ นามาเป็นวัตถุในการศึกษาทางกฎหมายเคียงคู่กันได้ เนื่องจากอย่างแรกมุ่งทาลายกฎหมายซึ่งเป็น สิ่งที่นักกฎหมายต้องพิทักษร์ ักษาไว้ แต่อย่างไรก็ตามบทความนี้ได้มุ่งศึกษากฎหมายให้ออกไปจาก การให้ความสาคัญกับเฉพาะตัวบทกฎหมาย โดยอาศัยตัวนักกฎหมายและการกระทาของ นักกฎหมายมาเป็นวัตถุหลักในการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จากการศึกษาบทบาทของนักกฎหมายไทย ในช่วงรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ผู้เขียนจึงค้นพบว่านักกฎหมายโดยเฉพาะอย่างย่ิง นักกฎหมายไทยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างยิ่งต่อการทารัฐประหารและไม่ได้จากัดอยู่เฉพาะ บทบาทมือกฎหมายที่ทาหน้าท่ีสร้างระบบกฎหมายให้กบั คณะรฐั ประหาร หรอื บทบาทของศาลที่ทา หน้าที่รับรองอานาจของคณะรัฐประหารอันเป็นบทบาทที่เห็นได้ชัดเจนภายหลังรัฐประหารตามที่ งานศึกษาหลายชิ้นก่อนหน้านี้ได้ตอบคาถามไว้เท่านั้น แต่นักกฎหมายไทยยังมีบทบาทสาคัญอย่าง ยงิ่ ในการใช้และตีความรัฐธรรมนูญจนทาลายกลไกแกไ้ ขความขัดแย้งทางการเมืองของรัฐธรรมนูญลง และสรา้ งวิกฤตทิ างรฐั ธรรมนญู ขนึ้ มาเพื่อเปดิ ทางให้กับรัฐประหารโดยกองทพั อกี ด้วย คำสำคัญ: นักกฎหมายไทย, วิกฤตทางรัฐธรรมนญู , รฐั ประหาร 123

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 Abstract At first, it would appear insensible to make coups and lawyers a joint subject of a legal study. The former aims to destroy the law, which is the very thing that lawyers are tasked with protecting. All the same, this article aims to push a study of the law beyond a framework that gives chief importance to the letter of the law. Instead, lawyers and their actions are the primary material of this study. In studying the role of Thai lawyers during the coup of 22 May 2014, the author found that lawyers played a critical role in the success of the coup that was not limited to their role (1) as lawmakers tasked with building a new legal regime for the coup-makers or (2) in courts tasked with supporting the power and actions of the coup-makers. Both these roles were visible in the after the coup, as several previous studies have documented. However, Thai lawyers played another, critical role by interpreting and applying the constitution in ways that destroyed constitutional mechanisms for resolving political conflict. The hollowing of those mechanisms created a constitutional crisis that opened an opportunity for the military to conduct a coup once again. Key words: Thai Lawyers, Constitutional Crisis, Coup d’état 1. บทนำ เมอ่ื กลา่ วถึงนยิ ามของกฎหมายที่บคุ คลสามารถเข้าใจและรบั รู้กันโดยท่วั ไป เหน็ จะเข้าใจ เป็นว่ากฎหมายคือกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่มีขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคล ตลอดจน ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมระหว่างกันเอง หากบุคคลใดขัดขืนต่อกฎหมายย่อมจะต้องได้รับ ผลร้ายจากการกระทาดังกล่าว1 และด้วยความหมายเช่นนี้จึงทาให้กฎหมายมีลักษณะเป็น กฎเกณฑ์ที่คอยบังคับให้การดาเนินกิจกรรมหรือความประพฤติของผู้คนดาเนินอยู่ในขอบเขตใด ขอบเขตหน่ึงตลอดเวลา และส่งผลโดยตรงใหน้ ักกฎหมายในฐานะผู้ใชก้ ฎหมายในการประกอบการ 1 วรเจตน์ ภาครี ัตน,์ คำสอนว่าด้วยรัฐและหลกั กฎหมายมหาชน (กรงุ เทพฯ: โครงการตาราและเอกสารประกอบการ สอน คณะนติ ิศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, 2557), 110-111. 124

“รัฐประหาร พ้นื ที่ พลเมอื ง” งานมีภาพลักษณ์เป็นบุคคลที่คอยควบคุมและกากับสิ่งต่าง ๆ ให้คงอยู่หรือดาเนินไปเช่นเดิมโดย ไม่เปลี่ยนแปลง นักกฎหมายจึงกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อยา่ งฉับพลัน2 โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งการเปล่ยี นแปลงท่ีขัดตอ่ กฎหมายอย่างการทารัฐประหาร ภาพลกั ษณข์ องนกั กฎหมายดังกล่าวถกู ผลิตและเล่าซ้าได้อย่างดีผ่านกรณีของผู้พิพากษา ศาลไฮคอร์ท (High Court) ของฟิจิที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญจากการทารัฐประหารของทหารในคดี Chandrika Prasad V. Republic of Fiji and Attorney-General (2000) ซึ่งศาลตัดสินให้การ ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ 1997 ของคณะรัฐประหารไม่มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมาย3 หรือกรณี ความขัดแย้งระหว่างศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกากับประธานาธิบดีแฟรงค์คลิน ดี. รุสเวลท์ เกี่ยวกับการผลักดันร่างกฎหมายหลายฉบับตามนโยบายนิวดีล (New deal) เพื่อแก้ปัญหาทาง สังคมและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมรกิ าช่วงหลังสงครามโลกครั้งท่ี 1 โดยมีร่างกฎหมายหลายฉบับท่ี ดาเนินการเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจซึง่ ขัดต่อหลักเสรนี ิยมทางการคลังและเศรษฐกิจอนั เป็นหลักการ พื้นฐานทางรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าศาลฎีกาได้เข้ามาพิทักษ์หลักการพื้นฐาน ดังกล่าวไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลงผ่านคดี Locher ที่ศาลพิพากษาว่ากฎหมายที่กาหนดกฎเกณฑ์ เกี่ยวกับเวลาทางานและเงื่อนไขการทางานอบขนมปังขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีเนื้อหาขัดต่อ หลักเสรีภาพในการทาสัญญา และคดี U.S V. Butler ที่ศาลตัดสินว่ากฎหมายให้ความช่วยเหลือ การทาเกษตรกรรมขดั ต่อรัฐธรรมนญู เป็นต้น4 แต่อย่างไรกต็ าม การเข้าใจวา่ นกั กฎหมายต้องเป็นผ้พู ทิ กั ษ์สถานะดั้งเดิมและต่อต้านการ เปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อกฎหมายอย่างการทารัฐประหารแต่เพียงบทบาทเดียวเท่านัน้ ย่อมเป็นความ เข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากตัวอย่างในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกฎหมาย ไทยไม่ได้ผูกมัดตัวเองอยู่แต่กับบทบาทข้างต้นเท่าน้ัน เพราะการรัฐประหารที่เกิดขึ้นหลายครั้งใน ประเทศไทยต่างก็มีนักกฎหมายเป็นตัวแสดงที่สาคัญอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น การรัฐประหารเม่ือ พ.ศ. 2490 กลุม่ นกั กฎหมายไทยในศาลฎีกาอย่างพระยาลัดพลธี รรมประคลั ภ์และพระยารักตประ- 2 จติ ติ ติงศภทั ิย์, หลกั วชิ าชพี นกั กฎหมาย (กรงุ เทพฯ: โครงการตาราและเอกสารประกอบการสอน คณะนติ ศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558), 58. 3 ปยิ บุตร แสงกนกกลุ , ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผดจ็ การ และนติ ริ ฐั ประหาร (นนทบุรี: สานักพิมพ์ฟ้า เดยี วกัน, 2560), 106-112. 4 วรเจตน์ ภาคีรตั น์, การเปลี่ยนแปลงคำวนิ ิจฉัยและผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ:ศึกษากรณีศาลสูงสุด ของสหรฐั อเมริกาและศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธส์ าธารณรฐั อเมริกา (กรงุ เทพฯ: 2550), 31-32. 125

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 จิตธรรมจารัส ต่างก็เข้ามามีส่วนรว่ มในการร่างรัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ไวต้ งั้ แตก่ ่อนจะมกี ารทารัฐประหารดังกล่าวด้วย5 จงึ แสดงให้เหน็ ได้ว่ากลุ่มนกั กฎหมาย ไทยดังกลา่ วมีสว่ นร่วมกับการทารฐั ประหาร พ.ศ. 2490 ตั้งแตแ่ รกเร่ิม ดังนั้น คาถามหลักของบทความชิ้นนี้จึงมุ่งสารวจว่า เงื่อนไขเกี่ยวกับความเข้าใจทาง วิชาชพี การตดั สินใจส่วนบุคคล และพน้ื ที่ทางอานาจของวชิ าชีพกฎหมายใดในโลกสมัยใหม่ท่ีทาให้ นกั กฎหมายก้าวออกจากบทบาทผพู้ ิทักษ์กฎหมายเข้ามามสี ่วนร่วมในการทารฐั ประหารได้ รวมถึง บทบาทของนักกฎหมายอยู่ในส่วนใดของกระบวนการทารัฐประหาร เพื่อตอบคาถามดังกล่าว บทความนี้จึงแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ หัวข้อที่ 1 การทาความเข้าใจนิยามของคาว่า “การ รัฐประหารเพื่อนาไปสู่ระบอบเผด็จการ” หัวข้อที่ 2 เงื่อนไขของรัฐสมัยใหม่และสนามกฎหมายท่ี ส่งผลให้นักกฎหมายมีความสัมพันธ์กับการรัฐประหาร หัวข้อที่ 3 กรณีศึกษาบทบาทของ นักกฎหมายไทยกับการทารัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ หัวข้อที่ 4 การเลือกอย่างเป็นเหตุเปน็ ผลระหว่างทวิลักษณ์ที่ขัดแย้งกันของนักกฎหมาย และหวั ขอ้ สุดทา้ ย บทสรุปวา่ ดว้ ยบทบาทของนักกฎหมายไทยกับการกระบวนการทารฐั ประหาร 2. ขอ้ ความคิดทางนติ ศิ าสตร์เก่ียวกับ “การรัฐประหารเพื่อนำมาสู่ระบอบเผด็จการ” การจะทาความเข้าใจว่าเงอ่ื นไขใดท่ีทาใหน้ ักกฎหมายกับรฐั ประหารเก่ียวข้องกันและนัก กฎหมายมีบทบาทเช่นไรในการทารัฐประหารได้ ก่อนอื่นเราจะต้องนิยามความหมายของคาว่า “การรัฐประหารเพ่อื นามาสู่ระบอบเผด็จการ” ท่ใี ช้ในบทความช้ินนีใ้ หช้ ดั เจนเสียก่อน โดยเบื้องต้น เมื่อเรากล่าวถงึ การรฐั ประหาร ความเขา้ ใจทีร่ บั รูก้ ันโดยท่ัวไปของบุคคลตอ้ งถอื ว่าเปน็ การกระทาท่ี มีความใกล้ชิดกับกองทัพอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐสมัยใหม่ส่วนมากจาเป็นจะต้องมีกองทัพที่ เข้มแข็งเพียงพอในการใช้กาลังความรุนแรงทางอาวุธและกาลังทหารเพื่อปฏิบัติภารกิจรักษา ความมั่นคงจากภัยคุกคามต่าง ๆ ซึ่งการมีอานาจที่สูงล้นเช่นน้ีของกองทัพก็เปรียบเสมือนกับดาบ สองคมที่สามารถย้อนกลับมาเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของระบอบการปกครองเสรี ประชาธปิ ไตยและสทิ ธิเสรภี าพของประชาชนได้เช่นกนั ดงั น้นั ปญั หาการจดั ความสมั พนั ธ์ระหว่าง ทหารกับรัฐบาลพลเรือนจึงมีความสาคัญอย่างยิ่งสาหรับรัฐสมัยใหม่ จนถึงกับมีนักกฎหมาย มหาชนบางท่านได้อธิบายว่า ลักษณะเฉพาะของอานาจรัฐในรัฐสมัยใหม่คือการที่อานาจของพล 5 สุชนิ ตันติกุล, รัฐประหาร พ.ศ. 2490 (กรงุ เทพฯ: มตชิ น, 2557), 112. 126

“รฐั ประหาร พ้นื ที่ พลเมอื ง” เรือนต้องอยู่เหนืออานาจของทหาร6 ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ซึ่งกองทัพไม่เคารพต่อ หลักการดังกล่าวและใช้อาวุธหันกลบั มาคุกคามรัฐบาลพลเรือนกเ็ ท่ากับวา่ การรัฐประหารได้กาลัง เรม่ิ ข้ึนทันที สาหรับนิยามการรัฐประหาร เราสามารถให้นิยามได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับว่าอาศยั เกณฑ์ทางรูปแบบหรือทางเนื้อหา โดยเบื้องต้น หากนิยามการรัฐประหารโดยอาศัยเกณฑ์ทาง รปู แบบ นักกฎหมายคนสาคัญแหง่ ศตวรรษที่ 20 อยา่ งฮันส์ เคลเซน่ (Hans Kelsen) กไ็ ด้ให้นิยาม ของคาวา่ รฐั ประหาร หมายถึง“การยกเลิกรฐั ธรรมนญู ฉบบั เก่าและแทนท่ดี ้วยรฐั ธรรมนูญฉบับใหม่ โดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับเก่า”7 การนิยามเช่นนี้ค่อนข้างกว้าง เนื่องจากอาศยั เกณฑ์แค่ว่าการเปล่ียนแปลงดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไมเ่ ท่านั้น ดังนั้น นิยาม ในส่วนนี้จึงครอบคลุมทั้งรัฐประหารและการปฏิวัติโดยไม่มีพลังเพียงพอที่จะแยกความแตกต่าง ระหว่างการกระทาทง้ั สองได้ ผเู้ ขยี นจึงไม่ใช้นยิ ามการรัฐประหารของฮันส์ เคลเซน่ (Hans Kelsen) ในบทความชนิ้ น้ี ลาดับต่อมาการให้นิยามในทางเนื้อหาของการรัฐประหารมีการให้นิยามไว้แตกต่างกัน โดยหากอาศัยเกณฑ์ทางเนื้อหาในส่วนของผู้กระทาการรัฐประหารมาเป็นเกณฑ์ในการนิยาม รฐั ประหาร ยอ่ มหมายถึง “เมือ่ กองทัพหรอื ส่วนใดสว่ นหนึ่งของกองทัพกระทาการเป็นปฏิปักษ์ต่อ ผ้มู ีอานาจสงู สุดภายในรัฐและสถาปนาตัวเองเป็นผู้มอี านาจสงู สดุ ในรฐั แทน”8 การนิยามเช่นน้ีย่อม ทาให้การทารัฐประหารโดยตัวแสดงอื่น ๆ อย่างประชาชน ตารวจ หรือฝ่ายพลเรือน ไม่อาจถูก เรียกว่ารัฐประหารได้ นอกจากนี้หากนิยามการรัฐประหารโดยอาศัยวิธีการการทารัฐประหารมา เป็นเกณฑ์ในการนิยาม รัฐประหารย่อมหมายถึง “การยึดอานาจโดยฉับพลันโดยกลุ่มบุคคลไม่ก่ี คน”9 ซึ่งนิยามเช่นนีส้ ่งผลให้การยดึ อานาจที่มีบุคคลเข้าร่วมจานวนมากและใชเ้ วลายาวนานจึงไม่ อาจเรียกว่ารัฐประหารได้เช่นกัน หรือท้ายสุด หากอาศัยผลลัพธ์ของการรัฐประหารเป็นเกณฑ์ใน 6 โภคนิ พลกุล, หลักกฎหมายมหาชน (กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2525), 71. 7 Hans Kelsen, General Theory of Law and State (Massachusetts, USA: Harvard University press, 1949), 117. 8 Ozan O. Varol, “The democratic Coup d’Etat,” Harvard International Law Journal, 53 No.2 (Summer 2012): 291-356. 9 วรเจตน์ ภาครี ตั น์, คำสอนวา่ ดว้ ยรัฐและหลกั กฎหมายมหาชน, หนา้ 77. และพันศักดิ์ วิญญรัตน์, คมู่ ือรัฐประหาร (กรุงเทพฯ: สมมติ, 2556), 43. 127

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 การนยิ าม การรัฐประหารยอ่ มหมายถงึ “การกระทาที่มเี ป้าหมายเพอ่ื เปล่ียนแปลงรัฐบาลหรือผู้นา ฝ่ายบริหารเท่านั้น”10 โดยนิยามในทางเนื้อหาอันหลากหลายของการรัฐประหารข้างต้น เรา สามารถสรุปรวมให้หมายความของรัฐประหารได้ว่า “การที่กลุ่มผู้นาของกองทัพดาเนินการอย่าง ฉับพลันเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือผู้นาฝ่ายบริหารและสถาปนาตนเองเข้าไปเป็นผู้ใช้อานาจรัฐ แทน” ซึ่งมีแต่เพียงนิยามทางเนื้อหาเช่นนี้เท่านั้นที่มีพลังเพียงพอจะสามารถแบ่งแยกการ รัฐประหารและการปฏิวัติออกจากกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแบ่งแยกโดยอาศัยผลลัพธ์เพราะ ขณะที่การรัฐประหารมุ่งเปลี่ยนแปลงแค่ผู้ถืออานาจรัฐโดยไม่เปลี่ยนหลักการพื้นฐานทาง รัฐธรรมนูญใดเลย แต่การปฏิวัติกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือการปฏิวัติเป็นการมุ่ง เปลี่ยนแปลงหลักการพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญ11 ด้วยเหตุเช่นนี้นิยามของการรัฐประหารสาหรับ บทความนี้ ผู้เขยี นจึงใช้นยิ ามทางเนอื้ หาในการให้ความหมายของคาว่า “รฐั ประหาร” อย่างไรกต็ ามบทความช้ินนี้ไม่ได้ใหค้ วามสาคญั กบั การรฐั ประหารเปน็ การทวั่ ไป แต่มุ่งให้ ความสนใจเฉพาะ “การรัฐประหารเพือ่ นามาสูร่ ะบอบเผด็จการ” เท่านั้น ในส่วนนีน้ ยิ ามของคาวา่ “การรัฐประหารเพื่อนามาสู่ระบอบเผด็จการ” ผู้เขียนใช้นิยามของ Ozan O. Varol ซึ่งอาศัย ระบอบการปกครองที่รัฐประหารมุ่งก่อต้งั ข้ึนมาเป็นเกณฑ์ในการนิยามใหห้ มายถงึ การรัฐประหาร ที่เป็นไปเพื่อก่อตั้งระบอบการปกครองที่ผู้นากองทัพเข้าปกครองประเทศชาติอย่างผู้เผด็จการ12 และจากัดเขตแดนสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลใหแ้ คบที่สดุ 13 อย่างไรก็ตามแม้ว่านิยามของ การรัฐประหารเพื่อนามาสู่ระบอบเผด็จการข้างต้นจะมีความเกี่ยวข้องกับกองทัพหรือทหารอย่าง มาก แต่บทความชิ้นนี้จะมุ่งให้ความสนใจเฉพาะบทบาทของนักกฎหมายที่เข้าไปมีส่วนกับการทา รฐั ประหารเพ่อื นามาสูร่ ะบอบเผดจ็ การเป็นหลกั เทา่ นนั้ 3. รัฐสมัยใหม่ การปกครองโดยกฎหมาย และสนามกฎหมาย: เงื่อนไขความสัมพันธ์ทาง อำนาจระหว่างนักกฎหมายกับการรัฐประหาร จากนิยามการรัฐประหารเพื่อนามาสู่ระบอบเผด็จการข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าปัจจัย สาคัญที่จะทาให้การรัฐประหารสาเร็จได้ก็คือกาลังทางอาวุธและเจ้าหน้าที่ทหาร ดังนั้น การ 10 Ozan O. Varol, “The democratic Coup d’Etat”. 11 วรเจตน์ ภาครี ตั น,์ คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, 77. 12 Ozan O. Varol, “The democratic Coup d’Etat”. 13 วรเจตน์ ภาครี ัตน,์ คำสอนว่าด้วยรฐั และหลกั กฎหมายมหาชน, 77. 128

“รฐั ประหาร พื้นท่ี พลเมอื ง” รฐั ประหารในทางทฤษฎีจงึ ควรเป็นเร่ืองอานาจทางข้อเท็จจริงของผูน้ ากองทัพเป็นหลักเท่านั้น แต่ เหตุใดในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเรากลับพบว่านักกฎหมายได้เข้าไปมีบทบาทสาคัญกับการทา รฐั ประหารและการปกครองของคณะรฐั ประหารอยเู่ สมอ จนเกิดคาถามขน้ึ มาว่าปจั จยั อะไรที่ทาให้ เกิดความสัมพันธ์ระหว่างนักกฎหมายกับการรัฐประหาร ทั้งที่สองสิ่งนี้มีความแตกต่างกันโดย สิ้นเชิงเพราะการรัฐประหารคือการทาลายกฎหมายอันเป็นสิ่งที่นักกฎหมายยึดมั่นและใช้ในการ ประกอบวิชาชีพ โดยคาตอบต่อคาถามนี้ก็คงเป็นเพราะการทารัฐประหารของผู้นากองทัพไม่อาจ อาศยั แค่เพยี งอานาจทางข้อเท็จจริงอย่างเดียว แต่จาเป็นต้องพ่งึ พานกั กฎหมายด้วยเพ่ือทาให้การ รัฐประหารและการปกครองโดยคณะรัฐประหารดารงอยู่อย่างมีความชอบธรรม เนื่องจาก พัฒนาการของรัฐสมัยใหม่นับตั้งแต่การปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศ ฝรั่งเศส ค.ศ.1789 เป็นต้นมา14 ได้ปรากฏว่าหลักการปกครองโดยกฎหมาย (The rule of Law) กลายมาเป็นหลักการปกครองที่สังคมอารยะต่าง ๆ ในโลกยอมรับกันว่าเป็นการปกครองที่ดีที่สุด เพราะการปกครองโดยกฎเกณฑ์ที่เป็นกลางเป็นการปฏิเสธโดยตรงต่อการปกครองโดยคนที่มี อารมณ์ ความรสู้ กึ รกั โลภ โกรธ และเห็นแก่ตวั ซ่ึงจะทาให้เกดิ การปกครองที่เปน็ ธรรมและป้องกัน ไม่ให้ผู้ปกครองใช้อานาจได้อย่างตามอาเภอใจ อันจะนามาสู่การสร้างความสงบสุขและความ ยตุ ธิ รรมใหเ้ กิดข้ึนในสังคมได้ในท้ายทีส่ ุด15 โดยการแพรก่ ระจายการยอมรับหลักการปกครองเช่นนี้ ไปทั่วโลกส่งผลใหแ้ มแ้ ตป่ ระเทศที่ปฏเิ สธการปกครองโดยกฎหมายอย่างจีน เวยี ดนาม อดตี สหภาพ โซเวยี ต ฯลฯ ต่างก็ต้องมีรฐั ธรรมนญู ลายลกั ษณ์อักษรเพอ่ื จัดระเบียบการปกครองในรฐั 16 และด้วย เหตุเช่นนี้ รัฐสมัยใหม่ในปัจจุบันจึงถือว่าความชอบธรรมในการเข้าสู่อานาจรัฐและใช้กาลังในการ ปกครองของผู้ปกครองที่จะทาให้ผู้ถูกปกครองยินยอมอยู่ภายใต้อานาจได้ก็คือ การปกครองที่ต้ัง อยบู่ นความถูกต้องตามกฎหมาย17 แต่เนื่องจากตั้งแตศ่ ตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา วิชานิติศาสตร์ได้ถูกนักกฎหมายอย่าง ฮันส์ เคลเซ่น (Hans Kelsen) พัฒนาทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ขึ้นมาเพื่อยกระดับความเป็นศาสตร์ให้กับ 14 Ibid, 34-35. 15 สมชาย ปรชี าศลิ ปกลุ , นิติปรชั ญาทางเลอื ก (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546), 83-84. 16 บวรศกั ดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เลม่ 1 ววิ ัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่าง ๆ (กรุงเทพฯ: สานักพมิ พ์แห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2552), 82. 17 มักซ์ เวบเบอร์, กมลรัตน์ ศลี ประเสรฐิ (แปล), การยึดม่นั ในอาชพี การเมือง (Politics as a vacation) (กรงุ เทพฯ: สานักพมิ พส์ มมติ, 2560), 31-37. 129

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 วชิ านติ ิศาสตรข์ ้นึ ไป อยู่ระดบั เดยี วกบั วชิ าวทิ ยาศาสตร์ โดยแยกคณุ คา่ และอุดมการณ์ต่าง ๆ อย่าง จิตวิทยา จริยศาสตร์ ชีววิทยา เทววิทยา ศีลธรรม อุดมการณ์ทางการเมืองและศาสตร์อื่นออกให้ พน้ จากนิติศาสตร์เพ่อื ทาให้กฎหมายบริสุทธ์ิ เป็นกลางและเป็นอิสระจากศาสตรอ์ ่ืน ๆ18 ซึ่งผลของ ทฤษฎีดังกล่าวทาให้พรมแดนเกี่ยวกับกฎหมายทั้งหมดมีสภาพเป็นสนามกฎหมาย (Juridical Field) ขึ้นมา อันเป็นพื้นที่ที่เป็นอิสระจากความต้องการหรือข้อเรียกร้องภายนอกทั้งหมดอย่าง สมบูรณ์และเป็นพื้นที่สาหรับการแข่งขันเพื่อผูกขาดการให้นิยามว่าอะไรคือกฎหมาย โดยการ เกดิ ขึ้นของสนามกฎหมายเช่นน้ีทาใหเ้ กิดการแบง่ แยกระหว่างประชาชนทีไ่ ม่มคี วามรูท้ างกฎหมาย ซึ่งถูกกีดกั้นออกจากสนามกฎหมายกับนักกฎหมายที่ผูกขาดอานาจเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Power) ในการตีความตัวบทกฎหมายขึ้น โดยตัวแสดงทางกฎหมายสาคัญสองตัวที่คอยผูกขาด อานาจและแขง่ ขนั กันทาหน้าท่ีในการตีความตัวบทกฎหมายได้แก่ (1) นกั ทฤษฎีทางกฎหมาย เช่น นักวิชาการและอาจารย์ทางกฎหมายซึ่งเป็นตัวแสดงที่ทาหน้าที่สร้างคาอธิบายทางกฎหมาย และ (2) ผู้พิพากษาซึ่งเป็นตัวแสดงที่ทาหน้าที่เป็นผู้ใช้และตีความกฎหมายให้เกิดผลทางกฎหมายข้ึน จรงิ ผ่านกรณีเฉพาะ19 ดังน้นั การตีความกฎหมายของนกั กฎหมายเหล่าน้ีภายในสนามกฎหมายจึง กลายมาเป็นเครื่องมือสาคัญในการควบคุมสังคมและสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อานาจของ รัฐ20 จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดจึงสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนักกฎหมายกับ รัฐประหารไดว้ ่าแม้การรฐั ประหารจะสามารถทาสาเร็จได้โดยอาศัยกาลงั อาวธุ และเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ผู้นาของกองทัพถือครองอยู่เป็นหลัก แต่การที่ผู้นาของกองทัพจะทารัฐประหารและปกครอง อย่างชอบธรรมในรัฐสมัยใหมไ่ ด้จะอาศัยแคก่ าลังในทางขอ้ เท็จจริงเพียงอยา่ งเดียวยังคงไม่เพียงพอ การทารัฐประหารจาเป็นจะต้องพึ่งพาอานาจทางกฎหมายเข้ามาเป็นองค์ประกอบด้วย แต่ เนื่องจากกฎหมายเป็นพื้นที่ทางอานาจที่ถูกผูกขาดไว้โดยนักกฎหมายเท่านั้นและกีดกั้นบุคคล อื่นๆ ออกไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่เคยผ่านการฝึกอบรมทางกฎหมายมาก่อนอย่างผู้นากองทัพ และเจ้าหน้าที่ทหาร จึงส่งผลให้เกิดเงื่อนไขความสัมพันธ์ทางอานาจที่ผู้ทารัฐประหารจาเป็นต้อง 18 วรเจตน์ ภาครี ัตน,์ ประวัตศิ าสตร์ความคดิ นิติปรัชญา (กรงุ เทพฯ: สานกั พมิ พอ์ ่านกฎหมาย, 2561), 457-485. 19 Pierre Bourdieu, “The Force of Law : Toward a Sociology of The Juridical Field,” Hasting Law Journal, 38 No.5 (1986): 814-853. 20 Maurico Garcia Villegas, “On Pierre Bourdieu’s Legal Thought,” Droit et Société, 2004/1 No. 56-57 (2004): 57-70. 130

“รัฐประหาร พ้นื ท่ี พลเมือง” พึ่งพาการให้บริการทางกฎหมายจากนักกฎหมายขึ้นมาโดยปริยาย นักกฎหมายจึงได้กลายมาเป็น ส่วนสาคัญในการสร้างความชอบธรรมให้กับการทารัฐประหารของผู้นากองทัพผ่านการใช้อานาจ เชิงสัญลักษณ์ในรูปแบบการผลิตคาอธบิ ายหรือทฤษฎีทางกฎหมาย การตรากฎหมาย การตีความ กฎหมาย และคาพิพากษา ตัวอย่างเช่น การพิสูจน์ว่าการทารัฐประหารสาเร็จแล้วหรือไม่และคณะรัฐประหารมี อานาจออกกฎหมายได้หรือไม่ บุคคลอาจจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงไปได้หลายทางว่าคณะ รัฐประหารควบคุมอานาจการปกครองและสั่งการหน่วยงานของรัฐหรือประชาชนทั่วไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพแล้วหรือไม่ แต่ท้ายที่สุด องค์กรที่จะเข้ามาชี้ขาดให้เป็นที่ยุติในทางกฎหมายว่าการ รัฐประหารสาเร็จลงแล้วและคณะรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์ก็คือ ศาล21 หรือในขณะเดียวกัน บุคคลที่จะชี้ขาดให้ยุติได้ว่าเมื่อไรเกิดสถานการณ์ที่ระบบกฎหมายปกติล้มเหลวในการจัดการ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและเกิดความจาเป็นที่จะต้องอาศัยอานาจพิเศษที่เกินกว่ากรอบ ของกฎหมายอย่างการทารัฐประหารเข้ามาจัดการความขัดแย้งดังกล่าวก็คงเป็นนักกฎหมายด้วย เช่นเดยี วกนั 4. กรณีศึกษานักกฎหมายไทยกับการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ ความขัดแย้งทางการเมืองที่นามาสู่วกิ ฤติทางการเมืองและความรนุ แรงบนท้องถนนเร่มิ ตั้งแต่เดอื นพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 สืบเนื่องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกดั พรรคเพื่อไทยได้ผลกั ดันรา่ งพระราชบัญญตั ินิรโทษกรรมแกผ่ ซู้ ่งึ กระทาความผิดเน่ืองจากการ ชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยเริ่มแรกร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมดังกล่าวจากัดการนิรโทษกรรมให้เฉพาะผู้ชุมนุมหรือผู้แสดง ความคิดเห็นทางการเมืองเท่านั้น แต่เมื่อผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการเพื่อเข้าสู่ การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระสามกลับได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าวในสาระสาคัญโดยให้มีการนิรโทษกรรมครอบคลุมถึงแกนนาการชุมนุม 21 กรณีทศ่ี าลทาหนา้ ทีร่ ับรองว่าการรัฐประหารสาเรจ็ และคณะรฐั ประหารมีอานาจปกครองประเทศไดป้ รากฏในคา พิพากษาศาลฎกี าหลายคดี เชน่ คาพพิ ากษาศาลฎกี าที่ 45/2496 คาพพิ ากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505 คาพพิ ากษาศาลฎีกาท่ี 1234/2523 คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2560 คาพพิ ากษาศาลฎีกาที่ 1688/2561 เป็นต้น 131

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 อดีตผู้นารัฐบาลที่สั่งการสลายการชุมนุม บุคคลที่ถูกดาเนินคดีโดยองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายหลัง รัฐประหาร พ.ศ. 2549 และอดีตผู้นากองทัพ โดยครอบคลุมการกระทาตั้งแต่ปี 2547 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ประกอบกับการผลักดันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบในวาระสามได้ดาเนินการไปอย่างเร่งรีบในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา 04.25 น.22 จึงทาให้เกิดการคัดค้านร่างพระราชบญั ญัตดิ ังกลา่ วจากประชาชนในวงกว้าง โดยนายสุเทพ เทือก สุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เป็นหนึ่งในแกนนาที่นาประชาชนออกมาคัดค้านกฎหมาย ฉบับนี้ ก่อนที่ต่อมากลุ่มคดั ค้านดังกลา่ วจะได้พัฒนาข้ึนมาเปน็ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะกรรมการ ประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 255623 และได้เปลี่ยนแปลง เป้าหมายการเคลือ่ นไหวของกลุ่มมาเป็นการขับไล่รัฐบาลและเรียกร้องการปฏริ ูปก่อนการเลือกตั้ง ในที่สุด จนการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ได้กลายมาเป็นการชุมนุมที่นามาสู่วิกฤติทางการเมืองซ่ึง ความรุนแรงบนท้องถนนในหลากหลายรูปแบบที่มีบุคคลเสียชีวิตและบาดเจ็บจ านวนมาก 24 การยึดสถานที่ราชการและการขัดขวางการเลือกตั้งในท้ายที่สุด โดยวิกฤตินี้ได้จบลงชั่วคราวใน วนั ที่ 22 พฤษภาคม 2557 เมือ่ คณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาตไิ ดท้ ารฐั ประหาร เหตุการณ์วกิ ฤติทางการเมืองน้ไี ด้มีนกั กฎหมายเข้ามาเก่ียวข้องอยา่ งมาก เน่ืองจากความ ขดั แยง้ ทางการเมอื งดงั กล่าวมีจุดศูนยก์ ลางอยู่ทขี่ ้อโตแ้ ย้งทางกฎหมายเปน็ หลกั ซ่ึงถือว่าอยู่ภายใน ขอบเขตของสนามกฎหมาย เริ่มตั้งแต่ประเด็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ประเด็นปัญหาว่าการชุมนุมของ กปปส. อยู่ภายใต้การคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมถงึ ปัญหาเรอื่ งเขตอานาจและความชอบดว้ ยรัฐธรรมนญู ของคาวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญในหลายคดี และท้ายที่สุด ประเด็นปัญหาที่ว่าการตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลาง การ เลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ออกไปเพื่อจัดต้ังสภา 22“สภาฉลุย! ผ่านนิรโทษสุดซอยวาระ3,” โพสต์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561, https://www.posttoday.com/politic/news/256324. 23 “\"สุเทพ\" ประกาศตั้ง\"กปปส.\"- ดีเดย์เคลื่อนขบวนยึดทาเนียบ 1 ธ.ค.น้ี,” สานักข่าวอิศรา, สืบเมื่อค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2556, https://www.isranews.org/isranews-news/25518-0278.html. 24 ตัวอย่างเชน่ เหตุการณ์การปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม นปช.และผชู้ ุมนุม กปปส.ท่ีบริเวณมหาวิทยาลัยรามคาแหง ในช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2556 มีผู้เสียชีวิต 5 ราย โปรดดู “ตร.แถลงสรุปหน้ารามฯ ป่วน 19 ครั้ง-เสียชวี ิต 5 คน,” ไทยรฐั , สบื คน้ เมื่อวนั ท่ี 19 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/387812 . 132

“รฐั ประหาร พน้ื ที่ พลเมือง” ประชาชนเขา้ มาปฏิรูปประเทศน้ันสามารถกระทาตามกรอบของรัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้หรือไม่ โดยนกั วิชาการทางกฎหมาย นกั กฎหมายที่เปน็ เจ้าหน้าท่ขี องศาล (officer of the court) อย่างผู้พิพากษา รวมถึงนักกฎหมายที่เป็นสมาชิกในองค์กรอสิ ระตามรัฐธรรมนูญและ สถาบันทางการเมืองอย่างวุฒิสภาต่างเข้ามามีบทบาทในการสร้างคาอธิบายต่อสังคมถึงความไม่ ชอบธรรมของรัฐบาล พัฒนาทฤษฎีทางกฎหมายและใช้อานาจหน้าที่ตามกฎหมายให้สอดรับหรือ ไปในทิศทางเดียวกับประเด็นการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส.ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่เป็นปฏิปักษ์ กับรฐั บาลพลเรือนในส่วนตา่ ง ๆ ดังตอ่ ไปนี้ 1) ตีความและใช้กฎหมายเพื่อรับรองความชอบด้วยกฎหมายให้กับการชุมนุมของ กลุ่มประชาชนทเี่ ป็นปฏปิ กั ษ์กบั รัฐบาล สาหรับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 นักกฎหมายมีบทบาทหลักในการสร้างวิกฤติทางรัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis)25ที่ทาให้ ระบบกลไกลของรัฐธรรมนูญตามปกติล้มเหลวลงและไม่อาจแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองได้ จนกระทั่งเปิดทางให้การทารัฐประหารโดยผู้บัญชาการกองทัพและตารวจในนาม “คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ” เกิดขึ้นและนามาสู่การสิ้นสุดลงของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในท้ายที่สุด26 โดยเริ่มจากช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556 แม้ว่าวุฒิสภาได้ลงมติเป็น เอกฉันท์ไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับที่ถูกคัดค้านจากประชาชนจานวนมาก 25 วกิ ฤตทิ างรัฐธรรมนูญ (Constitutional Crisis) หมายถงึ สถานการณ์ความขดั แย้งพิเศษที่เกดิ ขึ้นจากความไม่เห็น ดว้ ยและขัดแย้งกันในทางการเมืองจนกระทั้งระบบรัฐธรรมนูญไม่อาจตอบสนองหรือแกไ้ ขความขดั แยง้ ดังกล่าวได้และนามาสู่ การลม้ สลายลงของระบบรัฐธรรมนูญ โดยวิกฤติรัฐธรรมนูญปรากฏอย่างน้อยในสามรปู แบบไดแ้ ก่ รปู แบบแรก การใช้อานาจ เกินกวา่ รัฐธรรมนญู มอบให้ของผู้เล่นทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ รปู แบบที่สอง การใช้อานาจน้อยกว่าทีร่ ัฐธรรมนูญมอบให้ ของผู้เล่นทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ และรูปแบบที่สาม ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกินกว่ากรอบความขัดแย้งตาม รัฐธรรมนูญและการเมอื งท่ัวไปโดยเป็นรูปแบบความขัดแยง้ ทค่ี ขู่ ัดแยง้ แตล่ ะฝา่ ยต่างอ้างว่าตวั เองปกป้องรัฐธรรมนูญ กล่าวหา ว่าอีกฝ่ายกระทาการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญหรือใช้อานาจโดยมชิ อบ ซึ่งคู่ขัดแย้งในความขัดแย้งนีม้ ีความมุ่งมัน่ ที่จะทาให้อีก ฝ่ายพา่ ยแพ้โดยใชว้ ิธีการตอ่ สู้เคลอื่ นออกไปจากกรอบความขดั แยง้ ทางการเมืองปกติ เชน่ การใชค้ วามรุนแรงหรือการก่อกบฏ เปน็ ตน้ อนั นาไปสูก่ ารทาให้ระบบรัฐธรรมนญู ล้มเหลวลงในทีส่ ุด ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งเร่ืองการเลิกทาสทีน่ าไปสู่สงคราม กลางในสหรัฐอเมริกา โปรดดู Sanford Levinson and Jack M. Balkin, “Constitutional Crises,” University of Pennsylvania Law Review, 157 No.3 (Feb 2009): 707-753. 26 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่อง การควบคุมอานาจการปกครองประเทศ และ ประกาศคณะรกั ษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2557 เร่ือง การสิ้นสดุ ชัว่ คราวของรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย 133

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 แล้ว แต่ปรากฏว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนาการชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว กลับไม่ยอมยุติการชุมนมุ และดาเนินการประกาศยกระดับการชุมนุมโดยเปลีย่ นเป้าหมายของการ ชุมนุมจากการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมมาเป็นการต่อสูข้ ับไลร่ ัฐบาล27 ซึ่งในส่วนนี้ นักกฎหมายจึงได้เร่ิมเข้ามามีบทบาทจัดการกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยการสร้างทฤษฎีทาง กฎหมายเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการชุมนุมที่นาโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณดังกล่าว และ อธิบายเหตุจาเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรัฐบาลซึ่งหมดความชอบธรรมทางการเมืองเผยแพร่ต่อ สาธารณะ ตัวอย่างเช่น รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยต่อหน้าที่ผู้ชุมนุมที่เวทีราชดาเนินในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 โดยอธิบายว่ารัฐบาลและรัฐสภาได้กระทาละเมิดรัฐธรรมนูญสองครั้งได้แก่ การผลักดันร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและประกาศไม่ยอมรับคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังน้ัน การชุมนุมขับไล่รัฐบาลจึงเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยสันติวิธีที่ได้รับการคุ้มครองตาม มาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 2550 พร้อมกบั อธบิ ายตอ่ วา่ การที่ผู้ชุมนุม ได้ปิดลอ้ มและเขา้ ยึดสถานทีร่ าชการหลายแห่งเพื่อกดดันรัฐบาลยงั คงถือว่าเป็นการกระทาท่ีอยู่ใน ขอบเขตของสันติวิธเี ชงิ รุก28 โดยคาอธบิ ายดังกล่าวน้ีได้ถูกรับรองต่อมาในคาส่ังยกคาร้องของศาล รัฐธรรมนูญจากกรณีที่นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทยยื่นคาร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการชุมนุมของนายสุเทพ เทือกสุบรรณและกลุ่ม กปปส. เป็นการใช้เสรีภาพเพื่อล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุขหรือไม่ เนอื่ งจากเปน็ การชุมนุม ที่มีอาวุธและใช้ความรุนแรงเพื่อมุ่งกระทาการปฏิวัติประชาชนขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคาร้องดังกลา่ วไม่มมี ูลเพราะการกระทาของกลุ่ม กปปส. ที่คัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและคัดค้านการปฏิเสธไม่ยอมรับคาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็น การใชส้ ิทธิพทิ ักษร์ ัฐธรรมนญู ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6929 27 “'สุเทพ'ยกระดับ ออกอีก 4 มาตรการ เดินหน้า ถอดถอน 310 ส.ส.,” ไทยรัฐ, สืบเมื่อค้นวันที่ 19 กรกฎาคม 2561, https://www.thairath.co.th/content/383100. 28 คาปราศรัยของ รศ.ดร.กิตตศิ ักดิ์ ปรกติ เวทีราชดาเนิน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 (ถอดเทป), สืบค้นเมือ่ วนั ท่ี 20 กรกฎาคม 2561, https://www.youtube.com/watch?v=KRhfzwkU408. 29 คาส่งั ศาลรัฐธรรมนญู ที่ 63/2556 134

“รัฐประหาร พนื้ ที่ พลเมอื ง” ผลของค าอธิบายและค าวินิจฉัยดังกล่าวท าให้แม้จะมีการยุติการผลักดันร่าง พระราชบญั ญัตนิ ิรโทษกรรมและประกาศยุบสภาผแู้ ทนราษฎรไปแลว้ แต่การชุมนุมบนท้องถนนก็ ยังสามารถดาเนินอยู่ต่อไปได้และยกระดับความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการชมุ นุมของประชาชนที่ มุ่งขัดขวางการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นกลไกแก้ไขความขัดแย้งทางเมืองตาม รฐั ธรรมนญู ไดโ้ ดยที่การชมุ นุมดงั กล่าวยงั คงได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนญู และรัฐบาลไม่อาจ ใชอ้ านาจตามกฎหมายเขา้ ควบคมุ การชุมนุมเพอ่ื รกั ษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศได้30 2) สร้างคำอธิบายทางกฎหมายมารองรับข้อเสนอของกลุ่มประชาชนที่เป็นปฏิปักษ์ กบั รฐั บาลพลเรอื น ต่อมาเมื่อมกี ารจัดตัง้ คณะกรรมการประชาชนเพ่อื การเปล่ียนแปลงปฏริ ูปประเทศไทยให้ เปน็ ประชาธปิ ไตยทสี่ มบูรณแ์ บบอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และได้ประกาศข้อ เรียกร้องหลักของกลุ่มที่ต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง โดยเสนอให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรกั ษาการลาออกเพอื่ เปิดช่องให้ประธานวฒุ ิสภาเสนอช่ือนายกรัฐมนตรีคนกลาง ให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง เพื่อให้นายกรัฐมนตรีตั้งคณะรัฐมนตรีและจัดตั้งสภาประชาชนเข้ามา ดาเนินการปฏิรูปประเทศต่อไป31 ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่ม กปปส. ได้ถูกโต้แย้งจากกลุ่ม นักวิชาการและปัญญาชนในนาม “สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย” ว่าเป็นข้อเสนอที่ขัดต่อ รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และจะทาให้บ้านเมืองถงึ ทางตนั 32 แต่อย่างไรก็ตาม กลับปรากฏว่าในอีกด้านหนึ่งได้มีนักวิชาการทางกฎหมายจานวนหนึ่งเข้ามาสร้างคาอธิบายทาง กฎหมายเผยแพร่ต่อสาธารณะสนบั สนุนความเปน็ เหตุเป็นผลทางกฎหมายให้กับขอ้ เสนอของกลุ่ม กปปส. โดยเริ่มตั้งแต่ข้อเสนอแรกที่เสนอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาการลาออก ของกลมุ่ กปปส. ได้มีนกั วิชาการอย่าง ศ.ดร.สรุ พล นิตไิ กรพจน์ อดตี อธกิ ารบดมี หาวทิ ยาลัยธรรม - 30 “คาพิพากษาฉบับเต็มศาลไม่ถอนพรก.แต่ห้ามสลายม็อบ,” โพตส์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2562, https://www.posttoday.com/politic/news/279039. 31 “กปปส.เปิดเผยรูปแบบจัดตั้งรัฐบาล-สภาประชาชน,” ข่าวไทยพีบีเอส, สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561, https://news.thaipbs.or.th/content/211684. 32 “กลมุ่ นักวิชาการตั้ง 'สมชั ชาปกปอ้ งประชาธปิ ไตย' เห็นตา่ งข้อเสนอ กปปส.-ทปอ. (แถลงการณเ์ ต็ม),” ประชาไท, สืบค้นเมอื่ วันท่ี 19 กรกฎาคม 2561, จาก https://prachatai.com/journal/2013/12/50321. 135

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ศาสตร์ อธบิ ายว่า33 แม้วา่ รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 18134 ได้กาหนด หลักทั่วไปว่าเมื่อภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รัฐธรรมนูญได้บังคับให้คณะรัฐมนตรีต้อง รักษาการปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าท่ี แต่คณะรัฐมนตรีก็สามารถ ไม่ปฏิบัตหิ นา้ ที่ได้หากเสียชวี ิตหรอื ขาดคณุ สมบัติตามรฐั ธรรมนูญ มาตรา 18235 หรือแสดงเจตนา ขอไม่รักษาการ โดยคาอธิบายทางกฎหมายนี้ต่อมา ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในขณะนั้นก็ได้ให้ความเห็นในทานองเดียวกันยืนยันว่านายกรัฐมนตรี สามารถลาออกจากรกั ษาการได้และเคยเกดิ เหตกุ ารณเ์ ชน่ น้ีข้นึ มาแล้วในอดตี 36 ส่วนข้อเสนอให้ประธานวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทา หน้าที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลางให้พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ได้มีนักวิชาการอย่าง ศ.ดร.บรรเจิด สงิ หเนติ อาจารย์ประจาคณะนิตศิ าสตร์ สถาบนั บณั ฑิตพัฒนบรหิ ารศาสตร์ อธิบาย 33 คาสมั ภาษณ์ของ ศ.ดร.สรุ พล นิติไกรพจน์ในรายการเจาะข่าวเดน่ ทางสถานวี ิทยุโทรทัศนไ์ ทยทวี สี ีช่อง 3 วันที่ 10 ธันวาคม 2556 (ถอดเทป), สบื ค้นเม่ือวันท่ี 20 กรกฎาคม 2561, https://www.youtube.com/watch?v=nYJgm0VXmW0&t=66s. 34 รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 181 บัญญตั ิว่า “คณะรัฐมนตรีท่ีพน้ จากตาแหน่ง ต้องอยู่ ในตาแหน่งเพอื่ ปฏิบตั หิ นา้ ที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรที ่ตี งั้ ข้ึนใหมจ่ ะเขา้ รับหน้าท่ี….” 35 รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, มาตรา 182 บญั ญัตวิ ่า “ความเปน็ รฐั มนตรีสิ้นสดุ ลงเฉพาะตัว เมือ่ (1) ตาย (2) ลาออก (3) ต้องคาพิพากษาให้จาคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุด หรือมกี ารรอการลงโทษในความผิดอนั ไดก้ ระทาโดยประมาท ความผดิ ลหโุ ทษ หรอื ความผิดฐานหมน่ิ ประมาท (4) สภาผแู้ ทนราษฎรมมี ตไิ มไ่ วว้ างใจตามมาตรา 158 หรอื มาตรา 159 (5) ขาดคณุ สมบัตหิ รือมลี กั ษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา 174 (6) มพี ระบรมราชโองการใหพ้ ้นจากความเป็นรัฐมนตรตี ามมาตรา 183 (7) กระทาการอนั ต้องหา้ มตามมาตรา 267 มาตรา 268 หรอื มาตรา 269 (8) วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ใหถ้ อดถอนออกจากตาแหนง่ นอกจากเหตุที่ทาให้ความเป็นรฐั มนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามวรรคหนึง่ แล้ว ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สนิ้ สดุ ลงเมอื่ ครบกาหนดเวลาตามมาตรา 171 วรรคสี่ ดว้ ย ให้นาบทบัญญตั มิ าตรา 91 และมาตรา 92 มาใชบ้ งั คบั กับการส้ินสุดของความเป็นรฐั มนตรตี าม (2) (3) (5) หรือ (7) หรอื วรรคสอง โดยใหค้ ณะกรรมการการเลอื กตงั้ เป็นผู้สง่ เรอื่ งใหศ้ าลรัฐธรรมนญู วินิจฉยั ไดด้ ้วย” 36 สานกั ขา่ วอิศรา, “สมคดิ : ช่องทาง รบ.ไม่รกั ษาการ และความกระจา่ งเร่ืองมาตรา 7”, สบื ค้นวันท่ี 20 กรกฎาคม 2561, จากhttps://www.isranews.org/isranews-article/item/25747-somkidlert.html 136

“รัฐประหาร พนื้ ท่ี พลเมือง” ว่า37ตามจารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ปฏิบัติกันมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ของประเทศไทย หากปรากฏว่านายกรัฐมนตรีลาออกหรือสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีด้วยเหตตุ ่าง ๆ จะต้องมีการตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่ทันที ดังนั้น เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิน วตั ร สิน้ สดุ ลงเฉพาะตัวตามมาตรา182 วรรคหนึง่ (7) ของรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบกับองค์กรทีม่ ีหนา้ ท่ีเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อยา่ งสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีอยู่ จึง ต้องอนุโลมหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้กับประธานวุฒิสภาและวุฒิสภาเข้ามาดาเนินการ แกไ้ ขวกิ ฤติทางการเมืองเพ่ือหาแนวทางปฏริ ูปประเทศและผรู้ ับผดิ ชอบในการปฏิรปู ประเทศต่อไป โดยความเห็นทางกฎหมายที่ยืนยันว่ารัฐธรรมนูญได้มอบอานาจให้วุฒิสภามีอานาจทาเรื่องสาคญั ๆ ในนามรัฐสภาแทนสภาผู้แทนราษฎรในกรณีที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรเช่นนี้ก็ได้รับการยืนยันอีก ครั้งโดย ศ.ดร.สรุ พล นิตไิ กรพจน์38 ต่อมาข้อเสนอจัดตั้งสภาประชาชนมีนักกฎหมายหลายท่านออกมาให้ความเห็นทาง กฎหมายว่าสามารถจัดตั้งได้ในแนวทางที่แตกต่างกันไป โดยแนวทางแรก รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ เสนอว่าสภาประชาชนเป็นการใช้อานาจในทางข้อเท็จจริงของประชาชนในฐานะเจ้าของอานาจ อธปิ ไตยเพอ่ื ที่จะทาการปฏริ ปู ประเทศและพิทกั ษร์ ฐั ธรรมนูญ39 จึงไม่จาเปน็ ต้องมีกฎหมายรับรอง แต่อย่างใด40 และแนวทางที่สอง นายวิชา มหาคุณ41และศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์42 ต่างสร้าง คาอธิบายทางกฎหมายไปในทิศทางเดียวกันว่าคณะรัฐมนตรมี ีอานาจตราพระราชกาหนดเพ่อื จัดตั้ง สภาประชาชนขึน้ มาได้ 37 ไทยรฐั , “นานาทรรศนะ 'นิวฒั นธ์ ารง' มีอานาจเทียบเท่า 'นายกฯ' หรอื ไม?่ ”, สบื ค้นเม่ือวันท่ี 4 สิงหาคม 2561, จากhttps://www.thairath.co.th/content/422148 38 ปูนเทพ ศิรนิ พุ งศ์, ตลก รัฐธรรมนญู , (กรงุ เทพฯ: ไชน์ พบั ลิชชงิ่ เฮ้าส์, 2559), หน้า 53 39 คาปราศรัยของ รศ.ดร.กิตตศิ ักดิ์ ปรกติ เวทีราชดาเนิน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 (ถอดเทป), สืบค้นเมื่อวนั ท่ี 20 กรกฎาคม 2561,จาก https://www.youtube.com/watch?v=KRhfzwkU408 40 “คณบดีนิติศาสตร์นิด้าแนะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง,” โพสต์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2561, จาก https://www.posttoday.com/politic/news/264811 41 “\"วิชา\"เผยสภาประชาชนตั้งได้ให้รบ.ออกพ.ร.ก.,” โพสต์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2561, https://www.posttoday.com/politic/news/264049. 42 “สมคิด : ช่องทาง รบ.ไม่รักษาการ และความกระจ่างเรื่องมาตรา 7,” สานักข่าวอิศรา, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561, https://www.isranews.org/isranews-article/item/25747-somkidlert.html. 137

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 และสุดท้ายข้อเสนอการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยใจความ สาคัญของประเด็นข้อถกเถียงทางกฎหมายในเรื่องนี้อยูท่ ี่ว่า เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและมี การตราพระราชกฤษฎีกากาหนดวันเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แล้ว รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พ.ศ.2550 อนุญาตใหน้ ายกรัฐมนตรหี รือองคก์ รอนื่ ๆ ใชอ้ านาจ ตามรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงหรือเลื่อนวันเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรได้อีกหรือไม่ โดย ศ.ดร.บรรเจิด สิงหเนติ ได้อธิบายต่อสังคมในคราวขึ้นเวทีสมัชชามวลมหาประชาชน วันที่ 14 ธันวาคม 2556 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่าการเลื่อนเลือกต้ัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 สามารถกระทาได้ หากเกิดเหตุการณ์พิเศษ เช่น เหตุการณ์น้าทว่ มในปี 2554 หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่ทาให้ไม่สามารถจัดการเลอื กต้ังได้ภายใน วันเดียวกัน โดยการเลื่อนเลือกตั้งสามารถกระทาได้ผ่านการแก้ไขพระราชกฤษฎีกายุบสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เฉพาะส่วนมาตราที่กาหนดวันเลือกตั้งและ ศ.ดร.บรรเจิด สิงหเนติยังได้ ยืนยนั ตอ่ อกี ดว้ ยว่าการกระทาเชน่ นไ้ี ม่ขัดตอ่ รัฐธรรมนูญ43 3) ใช้และตีความกฎหมายที่ส่งผลทำให้กลไกตามรัฐธรรมนูญปกติที่ใช้แก้ไขความ ขัดแยง้ ทางการเมอื งดำเนินการไม่ได้ ขณะเดียวกันนักกฎหมายที่ดารงตาแหน่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญอย่างวุฒิสภา สมาชิก องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญต่างมีส่วนสาคัญในการอาศัยคาอธิบายทาง กฎหมายข้างต้นของนักวิชาการต่าง ๆ มาเป็นฐานรองรับการใช้อานาจหน้าที่เกินกว่ากรอบตาม รัฐธรรมนูญมอบไว้ในการใช้และตีความรัฐธรรมนูญจนทาให้กลไกตามรัฐธรรมนูญที่ใช้แก้ไขความ ขัดแย้งทางการเมืองดาเนนิ การไม่ได้เพือ่ สร้างสุญญากาศในระบบการเมืองการปกครองขึ้นมา โดย เริม่ จากในวันที่ 25 ธันวาคม 2556 ศาลรัฐธรรมนญู ไดว้ ินจิ ฉัยว่าการนาเสนอขอ้ เสนอต่าง ๆ ข้างต้น ของ กปปส.ไม่ใช่การกระทาที่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 68 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 255044 แต่เป็นเพียงการใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็น 43 คาอภิปรายของศ.ดร.บรรเจิด สิงหเนติ เวทีสมัชชามวลมหาประชาชน วันที่ 14 ธันวาคม 2556 ณ หอประชุม ใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ถอดเทป), สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561, https://www.youtube.com/watch?v=vAW2baVvbfg. 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 68 บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตาม รัฐธรรมนญู เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั ริย์ทรงเป็นประมุขตามรฐั ธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ ไดม้ าซึ่งอานาจในการปกครองประเทศโดยวธิ กี ารซ่ึงมิได้เป็นไปตามวถิ ีทางทีบ่ ญั ญตั ไิ ว้ในรัฐธรรมนูญน้ี มไิ ด้ 138

“รฐั ประหาร พ้นื ที่ พลเมอื ง” ทางการเมืองตามรัฐธรรมนญู เพ่ือเสนอแนวทางการแกไ้ ขปัญหาของประเทศกอ่ นเข้าสกู่ ระบวนการ เลือกตงั้ เท่าน้ัน45 ต่อมาในระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2556 - วันที่ 1 มกราคม 2557 คณะกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) ได้เปิดให้มีการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ทั่วประเทศ ปรากฏว่าได้มีมวลชนของกลุ่ม กปปส. ดาเนินการปิดล้อมขัดขวางกระบวนการรับ สมัครนี้ จนทาให้ กกต.ไม่สามารถรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งได้จานวน 28 เขตเลือกตั้ง วันที่ 21 มกราคม 2557 กกต.จึงได้ยื่นคาร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสามารถเลื่อนกาหนดวัน เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หรือไม่และองค์กรใดมีอานาจกาหนดวันเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ ตอ่ มาในวันที่ 24 มกราคม 2557 ศาลรฐั ธรรมนูญไดว้ นิ ิจฉัยว่า หากเกดิ เหตสุ ดุ วสิ ัยหรือเหตุจาเป็น อย่างอื่นที่จะต้องกาหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ การกาหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ สามารถกระทาได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเปลี่ยนแปลงกาหนดวันเลือกตั้งทั่วไปที่ กาหนดไว้เดมิ ซ่งึ เป็นอานาจดงั กลา่ วนีเ้ ป็นอานาจของนายกรฐั มนตรกี ับกกต.ทีจ่ ะหารือรว่ มกันเพ่ือ จะกาหนดวนั เลอื กต้ังใหม่46 อย่างไรก็ตามภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไดด้ าเนนิ การผา่ นพน้ ไปแบบท่ีหน่วยเลือกตั้งหลายหนว่ ยถูกขดั ขวางจากกลุ่ม กปปส.จนไม่สามารถ จัดการเลือกตั้งได้และมีเขตเลือกตั้งจานวน 28 เขตที่ไม่ได้มีการจัดการเลือกตั้งเพราะไม่มีผู้สมัคร รับเลือกตั้ง ปรากฏว่าในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์ประจา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินว่า การดาเนินการจัดเลือกตั้งหรือการบังคับใชพ้ ระราชกฤษฎีกากาหนดวันเลอื กต้ังสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทาการตามวรรคหนึง่ ผู้ทราบการกระทาดังกล่าวยอ่ มมีสิทธิเสนอเรื่อง ให้อยั การสงู สุดตรวจสอบข้อเท็จจรงิ และยื่นคาร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสงั่ การให้เลิกการกระทาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่ กระทบกระเทือนการดาเนินคดอี าญาตอ่ ผกู้ ระทาการดงั กล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทาการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจส่งั ยุบพรรคการเมืองดงั กล่าวได้ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคาสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรค การเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทาความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่ วนั ทีศ่ าลรัฐธรรมนูญมีคาสัง่ ดังกลา่ ว” 45 คาสง่ั ศาลรฐั ธรรมนญู ที่ 63/2556 46 คาวนิ จิ ฉยั ศาลรฐั ธรรมนูญที่ 2/2557 139

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ของ กกต.ดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ47 ซึ่งต่อมาในวันที่ 6 มีนาคม 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติส่งคาร้องฉบับนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยขอให้ศาล รัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดเลือกตั้งหรือการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาของ กกต.ที่ไม่ชอบด้วย รัฐธรรมนูญนี้ทาให้เนื้อหาของพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ขัดต่อมาตรา 108 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หรือไม่48 โดยในท้ายที่สุดวันท่ี 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนญู ก็ได้วินิจฉัยว่า การบังคบั ใช้กฎหมายของ กกต. ทไี่ ม่สามารถจัดเลือกต้ังสภา ผู้แทนราษฎรภายในวันเดียวทั่วราชอาณาจักรได้เป็นผลให้เนื้อหาของพระราชกฤษฎีกายุบสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ49 ทาให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เปน็ โมฆะไปในทส่ี ดุ นอกจากการทาให้กลไกของรัฐธรรมนูญตามปกติที่ใช้ในการแก้ไขความขัดแย้งทาง การเมืองอย่างการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรล้มเหลวลงแล้ว นักกฎหมายในองค์กรตาม รัฐธรรมนูญอย่างวุฒิสภาและศาลรัฐธรรมนูญยังมีส่วนสาคัญในการปลดนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีรักษาการออกจากตาแหน่งโดยไม่จาเป็นต้องรอให้คณะรฐั มนตรีชดุ ใหมเ่ ขา้ รบั หนา้ ที่ โดย อาศัยผลสืบเนื่องจากคดีที่ศาลปกครองวินิจฉัยว่าคาสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งย้ายนายถวิล เปล่ยี นศรี ออกจากตาแหน่งเลขาธิการสภาความมัน่ คงแห่งชาติเปน็ คาสัง่ ทางปกครองทีไ่ ม่ชอบด้วย กฎหมาย ซง่ึ สมาชิกวุฒสิ ภาจานวน 28 คนนาโดยนายไพบลู ย์ นติ ติ ะวนั ไดอ้ าศยั เหตดุ ังกล่าวยื่นคา ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าการออกคาสั่งย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีเป็นการใช้อานาจเพ่ือ ผลประโยชน์ของตนเองอันขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ปรากฏว่าในท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญได้ วินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลกั ษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการและรัฐมนตรี รักษาการที่ร่วมมีมติย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (7) ของ รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 255050 47 “อาจารย์ มธ.ร้องผู้ตรวจการสง่ ศาล รธน.ฟันเลอื กตงั้ 2 ก.พ. โมฆะ,”สานักข่าวอิศรา, สบื คน้ เมอื่ วนั ที่ 4 สงิ หาคม 2561, จาก https://www.isranews.org/isranews-news/27374-election_27374.html. 48 “ผู้ตรวจฯชงคาร้องอาจารย์มธ.ให้ศาลรธน.ชี้โมฆะ,” กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2561, http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/567146. 49 คาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนญู ที่ 5/2557 50 คาวนิ จิ ฉยั ศาลรฐั ธรรมนญู ท่ี 9/2557 140

“รัฐประหาร พนื้ ท่ี พลเมือง” ภายใต้บรรยากาศสุญญากาศทางการเมืองและกลไกของรัฐธรรมนูญต่าง ๆ ที่ใช้บังคับ มิได้ดังกล่าว วุฒิสภาภายใต้การนาของนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาซึ่งปฏิบัติ หน้าท่ปี ระธานวุฒิสภาในขณะนั้นไดอ้ อกมาแถลงว่าขอเป็นองค์กรทีเ่ ข้ามาแกไ้ ขวิกฤติของประเทศ โดยเสนอกรอบการแก้ไขวกิ ฤตจิ านวนสามขอ้ และหนง่ึ ในข้อเสนอดังกล่าววฒุ ิสภาเสนอว่าจะต้องมี การปฏิรูปประเทศและต้องมีนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีที่มีอานาจเต็มโดยเร็ว51 แม้ว่าข้อเสนอ กรอบการแก้ไขวิกฤติดังกล่าวของวุฒิสภาจะไม่มีความชัดเจนว่าจะอาศัยช่องใดทางตาม รัฐธรรมนูญในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แต่ก็ปรากฏว่าการดาเนินการ ของวุฒิสภาและวิกฤติทางรัฐธรรมนูญก็ต้องยุติลงเสียก่อนเมื่อมีการทารัฐประหารของคณะรักษา ความสงบแหง่ ชาติ ท้ายสุด อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องกล่าวไว้คือนอกจากอาศัยการตีความการกระทาของ นักกฎหมายที่ปรากฏในพื้นท่ีสาธารณะอย่างคาปราศรัยบนเวทีชุมนุม คาให้สัมภาษณ์ต่อ สื่อมวลชนและการใช้อานาจขององค์กรของรัฐต่าง ๆ แล้ว ผู้เขียนไม่มีข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกใดที่ จะยืนยันได้ว่านักกฎหมายไทยที่มีบทบาทในการสร้างวิกฤติรัฐธรรมนูญได้ร่วมมือกันอย่างเป็น เอกภาพและร่วมกันวางแผนที่จะก่อให้เกิดการรัฐประหารด้วยกัน นอกจากนี้ในทางสาธารณะ นักวิชาการกฎหมายและนักกฎหมายเหล่านี้ต่างไม่ได้มองตัวเองในฐานะผู้มีส่วนสร้างวิกฤติทาง รัฐธรรมนูญข้างต้นแต่อย่างใด ในทางกลับกันพวกเขาต่างให้คาอธิบายถึงบทบาทของตัวเองต่อ สาธารณะไปในทศิ ทางเดยี วกนั ว่า พวกเขามบี ทบาทเป็นผแู้ กไ้ ขหรือเสนอทางออกใหก้ บั วกิ ฤติความ ขดั แยง้ ทางการเมอื งของประเทศไทย 5. การเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างทวิลักษณ์ที่ขัดแย้งกันเองของนักกฎหมาย: นกั กฎหมายของรฐั หรอื นักกฎหมายการเมือง? ภายหลังจากได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบทบาทของนักกฎหมายไทยกบั การรฐั ประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 แล้ว คาถามสาคัญในลาดับต่อมาคือเหตุใดนักกฎหมายที่มี ภาพลักษณ์เป็นบุคคลที่พิทักษ์กฎหมายจึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารอันเป็นรูปแบบของ การเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อานาจรัฐที่ขัดต่อกฎหมายได้ ซึ่งคาถามนี้ถือว่าเป็นคาถามที่เราไม่อาจหา 51 “เปดิ คาแถลงวฒุ ิสภาแก้วิกฤติชาตฉิ บับเตม็ กอ่ น \"กานนั สุเทพ\" โบกมือลา!,” สานักขา่ วอศิ รา, สืบคน้ เมอื่ วันท่ี 4 สงิ หาคม 2561, จาก https://www.isranews.org/isranews-scoop/29461-pporn.html. 141

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 คาตอบที่แน่ชัดหรือเป็นที่คลายสงสัยได้ แต่ในเบื้องต้นจากการเข้าไปสารวจหนังสือหลักวิชาชีพ วิชาต่าง ๆ และแนวทางการศึกษาทางกฎหมายที่ใช้ในฝึกอบรมนักกฎหมาย เราจะพบว่านัก กฎหมายได้รับการฝึกอบรมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของนักกฎหมายต่อสังคมใน ลักษณะที่มีสองบทบาทซึ่งขัดแย้งกันเองระหว่างบทบาทนักกฎหมายของรัฐ (Government lawyer)52 ที่มีหน้าที่มุ่งพิทักษ์กฎหมายของรัฐ และบทบาทนักกฎหมายการเมือง (Political lawyer)53 ที่มีหน้าที่มุ่งพิทักษ์ความยุติธรรม โดยสาเหตุที่บทบาทต่อสังคมทั้งสองขัดแย้งกันเอง สืบเนือ่ งมาจากสองสิ่งที่นกั กฎหมายแต่ละบทบาทต่างมุ่งพทิ ักษ์มีลักษณะทีแ่ ตกต่างกันโดยส้นิ เชิง เน่ืองจากสง่ิ แรกอย่างกฎหมายของรัฐเป็นกฎเกณฑท์ ่ีมนุษย์ตราขึ้นเพอ่ื บงั คับใชอ้ ยู่จรงิ ในบ้านเมือง ซึ่งเปน็ สงิ่ ทีม่ ีสภาพแน่ชัด แตค่ วามยตุ ิธรรมน้ันกลับเปน็ ไปในทศิ ทางตรงกันขา้ มกับกฎหมายของรัฐ อย่างสนิ้ เชงิ เพราะมีสภาพเป็นกฎเกณฑ์ทีไ่ มไ่ ด้บังคับใชอ้ ยู่จริงในบ้านเมือง แต่ดารงอยู่ในอุดมคติ และธรรมชาติซง่ึ เป็นสง่ิ ทมี่ ีสภาพไม่แนช่ ัดและคลุมเครอื อย่างยง่ิ สาหรับบทบาทอันแรกต่อสังคมของนักกฎหมายในฐานะนักกฎหมายของรัฐที่มุ่งพิทักษ์ กฎหมายเป็นบทบาทที่ค่อนข้างถูกมองในฐานะพลังของอนุรักษนิยม เนื่องจากเป็นบทบาทของ บุคคลทีค่ อยพิทักษส์ ถานะดั้งเดิมไม่ให้เปล่ียนแปลงและเป็นปฏปิ กั ษ์ต่อการเปล่ียนแปลงทางสังคม ที่ฉับพลันหรือวิธีการนอกกฎหมาย54 อย่างเช่น การดื้อแพ่งของประชาชน การก่อจลาจล 52 นักกฎหมายของรัฐ (Government Lawyer) หมายถึง กลุ่มนักกฎหมายที่ทางานให้บริการทางกฎหมายกับ หน่วยงานของรัฐและนักกฎหมายกลุ่มนี้มีส่วนสาคัญในงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับกิจการมหาชนของรัฐ ตั้งแต่การตรา กฎหมาย การตคี วามกฎหมาย การบงั คับใช้กฎหมายและการกาหนดนโยบายการบริหารราชการแผน่ ดิน โดยนักกฎหมายกลุ่ม นี้ถือว่าเป็นอภิสิทธิชนกลุ่มหนึ่งของรัฐด้วย รายละเอียดโปรดดู Yoav Dotan, Lawyering for The Rule of Law: Government lawyers and the rise of judicial power in Israel (New York, USA: Cambridge University Press, 2014), 1-4. 53 นกั กฎหมายการเมือง (Political Lawyer) เปน็ ภาพลักษณ์ของนกั กฎหมายท่ีอยู่ไม่อยภู่ ายใต้กรอบหน้าท่ีของนัก กฎหมายของรัฐ แต่เป็นนักกฎหมายท่ีหน้าท่ีหรือปฏบิ ัติการในรูปแบบต่าง ๆ มาจากแรงผลักดันทต่ี ั้งอยู่บนพื้นฐานทางความ เชื่อและศีลธรรมส่วนบุคคลของนักกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลอนื่ ลูกความและสังคม โปรดดู Karen L. Loewy, “Lawyering For Social Change,” Fordham Urban Law Journal, 27 No.6 (2000): 1869-1901. 54 จิตติ ติงศภทั ิย์, หลกั วิชาชีพนักกฎหมาย, 58 และ 65-66. 142

“รฐั ประหาร พืน้ ที่ พลเมอื ง” การปฏิวัติ หรือการรัฐประหาร โดยเหตุที่นักกฎหมายถูกสร้างความเข้าใจให้มองตัวเองเป็นนัก กฎหมายของรฐั ท่ีมีหน้าทีพ่ ทิ กั ษ์กฎหมาย สบื เนื่องมาจากเหตุผลหลักส่ีประการดงั นี้55 ประการแรก การศึกษาทางกฎหมายมุ่งปลูกฝังให้นักกฎหมายยึดมั่นแต่เพียงกฎหมายที่ ตราขึ้นโดยรัฐและบังคับใช้อยู่จริงในบ้านเมืองเท่านั้น จึงส่งผลให้นักกฎหมายมีความเชื่อหลักว่า การแก้ไขทุกความขัดแย้งหรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสามารถกระทาได้อย่างสันติผ่าน กระบวนการทางกฎหมายของรัฐ อันได้แก่ การฟ้องคดีต่อศาล การแก้กฎหมายหรือการตีความ กฎหมายเทา่ น้นั 56 ไมอ่ าจดาเนินการผา่ นการกระทาทีข่ ัดตอ่ กฎหมายอย่างเชน่ การดอ้ื แพ่ง การก่อ จลาจล การรัฐประหารหรือการปฏวิ ัติได้ ประการทสี่ อง การศึกษาทางกฎหมายม่งุ ปลกู ฝังให้นักกฎหมายเขา้ ส่บู ทบาทเจ้าหน้าท่ีใน สถาบนั ของรัฐที่ใช้อานาจรัฐได้เปน็ หลัก หนงึ่ ในบทบาทหลักของนกั กฎหมายคือการเป็นเจ้าหน้าท่ี ของศาล (officer of the court) ได้แก่ ผู้พิพากษา อัยการ และทนายความ ซึ่งบทบาทเหล่านี้ได้ สร้างขอบเขตความสามารถและการกระทาของนักกฎหมายให้จากัดไว้เพียงบทบาทตามที่ระบบ กฎหมายและระบบราชการกาหนดไว้อย่างเคร่งครัดเท่านั้น นักกฎหมายจึงไม่อาจกระทาการใด เกินเลยกรอบดงั กล่าวจนกลายไปเป็นการเคลือ่ นไหวในกิจกรรมทางการเมอื งหรอื การก่อจลาจลได้ ประการที่สาม การประกอบวิชาชีพของนักกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของ ทนายความ นักกฎหมายจะอยู่ในฐานะเป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกความและใช้ความรู้ทาง กฎหมายอย่างดีที่สุดเพื่อใช้กระบวนการทางกฎหมายตอบสนองต่อผลประโยชน์ของลูกความเป็น หลัก โดยในบทบาทเช่นนี้นกั กฎหมายจึงไมจ่ าเป็นจะต้องคานึงหรือประเมนิ ถงึ ความยุตธิ รรมใด ๆ เลยนอกเหนือจากผลประโยชนข์ องลกู ความ ประการที่สี่ นักกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทนายความจะถูกปลูกฝังว่าต้องใช้ ความสามารถอย่างถึงที่สุดในการให้บริการทางกฎหมายเพื่อให้สมประโยชน์ของลูกความ 57 นั่นหมายความว่าสาหรับนักกฎหมายแล้ว ผลประโยชน์ของลูกความจึงมีความสาคัญเหนือกว่า ผลประโยชน์ของส่วนรวมนั้นเอง การกระทาของนักกฎหมายจึงถูกจากัดไว้โดยผลประโยชน์ของ ลูกความอย่างรัฐหรือเอกชนเป็นหลัก และนักกฎหมายไม่อาจปล่อยให้การคานึงถึงผลประโยชน์ 55 Yaniv Roznai, “Revolutionary Lawyering? On Lawyer Social Responsibilities and Roles During A Democratic Revolution,” Southern California Interdisciplinary Law Journal, 22 No.2 (2013): 353-384. 56 จติ ติ ติงศภทั ยิ ์, หลกั วชิ าชพี นกั กฎหมาย, 65. 57 Ibid, 95. 143


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook