Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วารสาร-CMUJLSS Vol.12 No.2

วารสาร-CMUJLSS Vol.12 No.2

Published by E-books, 2021-06-18 09:13:39

Description: วารสาร-CMUJLSS Vol.12 No.2

Search

Read the Text Version

“รฐั ประหาร พื้นที่ พลเมอื ง” CMU Journal of Law and Social Sciences บรรณาธิการ คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.สมชาย ปรีชาศลิ ปกลุ คณะนติ ิศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ กองบรรณาธิการ สานักวิชานติ ศิ าสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชยี งราย ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ รศ.ดิเรก ควรสมาคม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลยั รามคาแหง ผศ.ดร.มณทชิ า ภกั ดีคง สถาบันวิจยั สังคม จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ประภาส ปนิ่ ตบแต่ง คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานรุ ักษ์ คณะนิตศิ าสตร์ สถาบนั บัณฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร์ ดร.ธีทัต ชวศิ จนิ ดา ผศ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่ ผศ.ดร.อุษณยี ์ เอมศิรานันท์ คณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ ผศ.บญุ ชู ณ ป้อมเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ ฝา่ ยจัดการ คณะนติ ศิ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ นายทนิ กฤต นุตวงษ์ คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ นางสาววราลกั ษณ์ นาคเสน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เป็นวารสารวิชาการโดยเปิดโอกาสให้นักวิชาการ นักวิจัย นักนิติศาสตร์ และผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและ ภายนอกคณะนติ ิศาสตร์และมหาวทิ ยาลัย มีโอกาสได้เผยแพรผ่ ลงานวชิ าการในรูปของบทความวิชาการ 2. เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับความรู้ ทางสงั คมศาสตร์ให้กว้างขวางมากยงิ่ ขน้ึ ด้วยการจัดตพี มิ พ์เผยแพร่สู่สาธารณชนผสู้ นใจท่ัวไป ขอบเขต CMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของ CMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุม เน้อื หาเกย่ี วกบั กฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นตน้ ซ่ึงสมั พันธก์ ับความรู้ทางดา้ นสังคมศาสตรใ์ นสาขาตา่ งๆ กำหนดออกตพี ิมพเ์ ผยแพร่ CMU Journal of Law and Social Sciences เป็นวารสารวิชาการซึ่งตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัย จากบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดพิมพ์รายปี ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดอื น กรกฎาคม – ธันวาคม i

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 เจา้ ของ คณะนิติศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ สำนักงานกองบรรณาธกิ าร กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences 239 ถนนห้วยแก้ว ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวดั เชียงใหม่ 50200 โทร.053-942921 โทรสาร. 053-942914 E-mail: [email protected] Website: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS การพจิ ารณาบทความ กองบรรณาธกิ ารจะทาหนา้ ท่พี ิจารณากลน่ั กรองบทความและจะแจง้ ผลการพิจารณาให้ผสู้ ง่ บทความทราบภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับบทความ ทั้งนี้กองบรรณาธิการจะทาหน้าที่ประสานงานกับผู้ส่งบทความในทุกขั้นตอน กองบรรณาธิการจะดาเนินการจัดรูปแบบของบทความให้เป็นระบบเดียวกันทุกบทความก่ อนนาเสนอให้ ผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) พิจารณา จากนั้นจึงส่งบทความที่ได้รับการพิจารณาในเบื้องต้นให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) จานวน 2 ทา่ น เป็นผู้พิจารณาให้ความเหน็ ชอบในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยใชเ้ วลาพิจารณา แต่ละบทความไมเ่ กิน 3 เดือน ผลการพิจารณาของผ้ทู รงคุณวุฒดิ ังกล่าวถอื เป็นสิน้ สุด จากน้นั จงึ ส่งผลการพิจารณา ของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้ส่งบทความ หากมีการแก้ไขหรือปรับปรุงให้ผู้ส่งบทความแก้ไขและนาส่งกองบรรณาธิการ ภายในระยะเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันท่ีได้รับผลการพิจารณา กองบรรณาธิการนาบทความท่ีผ่านการพจิ ารณาและ แก้ไขแล้ว เข้าสู่กระบวนการเรียบเรียงพิมพ์และการตีพิมพ์ โดยใช้ระยะเวลาดาเนินการประมาณ 1-2 เดือน ผู้ส่ง บทความจะได้รับ “CMU Journal of Law and Social Sciences” จานวน 2 เล่มเป็นการตอบแทนภายใน 1 เดือนนับตัง้ แต่ CMU Journal of Law and Social Sciences ไดร้ ับการเผยแพร่ ดัชนกี ารอ้างองิ CMU Journal of Law and Social Sciences ปรากฏในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index- TCI) อยู่กลุม่ ที่ 1 ข้อมลู เพ่มิ เตมิ -บทความทุกเรือ่ งไดร้ ับการตรวจทางวิชาการโดยผูท้ รงคุณวฒุ ิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จานวน 2 ท่าน ต่อ 1 บทความ โดยเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นความลับและไม่เปิดเผย ชื่อ-นามสกุล รวมถึงหน่วยงานที่สังกัดทั้งของ ผูเ้ ขียนและผู้ประเมนิ บทความ -ความคดิ เหน็ ใดๆ ท่ลี งตพี ิมพใ์ น CMU Journal of Law and Social Sciences เปน็ ของผเู้ ขียน (ความคดิ เหน็ ใดๆ ของผ้เู ขียน กองบรรณาธกิ ารวารสารนิติสงั คมศาสตร์ ไมจ่ าเป็นต้องเหน็ ด้วย) -กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิง แหล่งที่มาดว้ ย ISSN: 2672-9245 (Online) ii

“รฐั ประหาร พืน้ ที่ พลเมอื ง” CMU Journal of Law and Social Sciences (เดมิ วารสารนติ สิ ังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่) ปีที่ 12 ฉบบั ที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562 สารบญั พนิ จิ คาสง่ั “หา้ มมัว่ สุมชมุ นุมทางการเมือง” ของคณะรฐั ประหารไทย ในฐานะ 1 เครื่องมือการปราบปรามโดยรฐั .................................................................................... นพพล อาชามาส กฎหมายการชุมนุมสาธารณะภายใต้อานาจรัฐประหาร 40 ................................................นทั มน คงเจรญิ และ วชั ลาวลี คาบญุ เรอื ง รฐั องค์รวม (Integral State) กบั การศึกษาเชิงวพิ ากษ์ของการจัดการทรัพยากร 64 ป่าไมแ้ ละทีด่ นิ หลังพฤษภาคม 2557 ....................................................โอฬาร ออ่ งฬะ และ วชั รพล พุทธรักษา สทิ ธิทจี่ ะมสี ว่ นรว่ มในเมือง 85 ………………………………………………………..………………. บญุ เลศิ วเิ ศษปรีชา บทบาทของนักกฎหมายไทยกับการรัฐประหารเพอื่ นามาสรู่ ะบอบเผดจ็ การ: 123 ศึกษากรณีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ………………………………………………………………………..…….. ศภุ ณฐั บุญสด ในปที ่ี 47 ของพลเมอื งโดยหลกั ดินแดนทถี่ กู ทาให้เปน็ อน่ื 157 ……………………….…………………………..……………. ดรณุ ี ไพศาลพาณชิ ยก์ ุล การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายบงั คบั คดตี ามคาพพิ ากษาหรอื คาสง่ั ในคดแี พง่ 179 ………………………………………….………… สภุ ธดิ า สุกใส และ กิตติพศ สกุ ใส iii

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 CMU Journal of Law and Social Sciences (เดมิ วารสารนติ ิสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่) Volume 12 Number 2 July – December 2019 Contents Consider Military Junta’s Order to Ban of Political Gatherings as State 1 Repression in Thailand .............................................................................. Noppon Archamas 40 64 The Law on Public Assembly under the Military Coup Power Nuthamon Kongcharoen and Watchalawalee Kumboonreung 85 123 Integral State: Critical Study on Land and Forest Management in the Post-May 2014 157 …………………………..Olarn Ongla and Watcharabon Buddharaksa 179 The Right to the City ………………………..……………………………….…….. Boonlert Visetpricha A Role of Thai Lawyers during a Non-Democratic Coup d’état: the Case Study of Coup d’état on 22 May 2014 ………………………………………………………….……….. Supanut Boonsod 47th Years of the Alienated Citizen from the Alienated Land ………………………………………………….……. Darunee Paisanpanichkul The Change of Law regarding Enforcement of Court Judgement or Order in Civil Case ………….……………..……… Supathida Sooksai and Kittipot Sooksai iv

“รฐั ประหาร พืน้ ที่ พลเมือง” บทบรรณาธิการ รัฐประหาร พนื้ ที่ พลเมอื ง อานาจทางการเมืองมีความสัมพันธ์กบั ปรากฏการณท์ างสังคมอยา่ งไม่อาจปฏเิ สธ ระบบ กฎหมายในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับอานาจทางการเมือง เชน่ เดียวกนั ในสังคมท่ตี อ้ งเผชิญกบั ความผันผวนในระบอบประชาธิปไตยมาอย่างตอ่ เน่ือง การเหวี่ยง หมุนกลับไปสู่ระบอบอานาจนิยมก็ไดส้ ่งผลต่อระบบกฎหมายโดยตรงอย่างชัดเจน โดยอานาจทาง การเมอื งได้เขา้ มากระทบระบบกฎหมายท้ังโดยตรงและโดยออ้ ม ในบางด้านอานาจการเมืองได้เข้า มาแก้ไข เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือบทบัญญัติของกฎหมายโดยตรง ขณะที่ในบางด้าน อาจเป็น อิทธิพลหรือแรงกดดนั ท่ที าให้การบงั คับใชก้ ฎหมายบดิ เบ้ยี วไปจากมาตรฐานท่ีควรจะเป็น มิติสองด้านที่ไดร้ ับผลกระทบอย่างชัดเจนจากอานาจการเมือง คือ พื้นที่และพลเมือง มี การใช้อานาจเพือ่ จัดการ /ปรับเปล่ียน /ควบคุม เกิดขึ้นในแงม่ ุมทสี่ ะทอ้ นให้เหน็ ความเขา้ ใจของผู้มี อานาจทางการเมอื งต่อมติ สิ องดา้ นนี้อยา่ งมาก บทความวิชาการในวารสารฉบบั นพ้ี ยายามทาความ เขา้ ใจกบั ปรากฏการณ์เหลา่ น้ี อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่าอานาจทางการเมืองที่กระทบต่อระบบกฎหมายไม่ไดจ้ ากัด ไว้เพียงในห้วงเวลาท่มี คี วามผันผวนเท่านั้น ในสภาวะทีด่ ูราวกับเป็นปกตสิ ุข อานาจทางการเมืองก็ ยังทางานอย่างต่อเนือ่ ง ชีวิตของผู้คนในพื้นที่ภายใต้การกากับของอานาจทางการเมืองจะสามารถ บง่ บอกถึงความหมายทีพ่ ยายามจะสถาปนาข้นึ การทาความเข้าใจกับอานาจทางการเมืองและระบบกฎหมายจึงมีความสาคัญไม่น้อย วารสารนิติสังคมศาสตร์ (ในชื่อเดิม) หรือ CMU Journal of Law and Social Sciences ของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับ “รัฐประหาร พื้นที่ พลเมือง” นาเสนอบทความ วิชาการเพื่อทาความเข้าใจกับความเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องกับอานาจทางการเมืองนับตั้งแต่ ภายหลงั การรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ด้วยความหวงั วา่ จะทาให้มองเหน็ และตระหนักถงึ ความยุ่งยาก ทเี่ กิดขึ้นและสบื เนือ่ งต่อมา แม้ในหว้ งเวลาท่ดี รู าวกบั ว่าอานาจรฐั ประหารได้สลายตัวไปแลว้ ก็ตาม บรรณาธกิ าร v

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 vi

“รฐั ประหาร พ้ืนท่ี พลเมอื ง” พินจิ คำสั่ง “ห้ามม่ัวสุมชุมนุมทางการเมือง” ของคณะรัฐประหารไทย ในฐานะเครื่องมือการปราบปรามโดยรัฐ Consider Military Junta’s Order to Ban of Political Gatherings as State Repression in Thailand นพพล อาชามาส ศนู ยท์ นายความเพื่อสทิ ธมิ นุษยชน 66/4 ซอยลาดพร้าว 16 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรงุ เทพมหานคร 10900 Noppon Archamas Thai Lawyers for Human Rights, 66/4 Lat Phrao 16, Chom Phon, Chatuchak, Bangkok, Thailand 10900 E-mail : [email protected] Received: May 22, 2019; Revised: September 18, 2019; Accepted: September 24, 2019 บทคัดย่อ บทความชน้ิ นพี้ ิจารณาประกาศ/คาสัง่ ของคณะรัฐประหารไทย เรื่องการห้ามมว่ั สุมชุมนุม ทางการเมอื งตัง้ แตห่ ้าคนขน้ึ ไป ในฐานะเคร่ืองมือหนง่ึ ในการปราบปรามทางการเมืองโดยรัฐ (State Repression) โดยศึกษาพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของการออกคาสั่งลักษณะนี้หลังการ รัฐประหารแต่ละครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ชี้ให้เห็นความต่อเนื่องของการใช้เครื่องมือน้ี เพื่อควบคุมอานาจหลังการรัฐประหาร และการทาให้เสรีภาพในการชุมนุมกลายเป็น “อาชญากรรม” ที่มีความผิดทางอาญา จนกลายเป็นเรื่องปกติหลังการเข้ายึดอานาจทางการเมอื ง ของกองทัพทกุ คร้ัง บทความนี้ยงั พิจารณาลักษณะของการใชค้ าส่ังนใ้ี นยุคของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีการบังคับใช้อย่างเข้มข้นที่สุดเมื่อเทียบกับการรัฐประหารทุกครั้งที่ผ่านมา โดยชี้ให้เห็นเป้าหมายของการใช้คาสั่งที่ถูกทาให้กลายเป็น “กฎหมาย” ในการปราบปรามการ คัดค้านการรัฐประหาร การควบคุมการชุมนุมแสดงออกต่อการใช้อานาจหรือการบริหารประเทศ ของรัฐบาลทหาร การใช้กฎหมายปิดกน้ั แทรกแซงกิจกรรมสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการใช้ กฎหมายสร้างภาระหรอื ต้นทุนในการออกมาแสดงออกใหก้ บั พลเมืองในสังคม 1

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 คำสำคัญ: ห้ามชุมนุมทางการเมือง, การปราบปรามโดยรัฐ, การปราบปรามทางการเมือง, คาส่งั คณะรฐั ประหาร, เสรีภาพในการชมุ นุม Abstract This article considered Thai military junta orders to ban political gatherings of five or more people as a state repression tool. It aimed to investigate the development and change of the orders of different Thai military juntas to reveal the continuity of utilization of this tool for power control after each coup and criminalization of the freedom of assembly so that this became a normal practice after each military coup. This article also considered the enforcement of this order under the administration of the National Council for Peace and Order (NCPO), when the order was the most intensively enforced when compared with previous coups. This showed their goal of applying this order, which became a law on suppressing the opposition to the coup, controlling the assembly against the military junta’ power exercising and administration, prohibiting or intervening in public activities, and creating burdens or costs in relation to expressions for activists or politically-active citizens. Key words: Ban on Political Gatherings, State Repression, Political Repression, Junta Orders and Announcements, Freedom of Assembly 1. บทนำ เป็นเวลารวมกว่า 4 ปี 6 เดือน 19 วัน ที่คณะรัฐประหารในนาม “คณะรักษาความสงบ แห่งชาติ” (คสช.) ควบคุมสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองอย่างเข้มงวด ผ่านการออกคาสั่งที่ถูกทา ใหเ้ สมอื นเปน็ “กฎหมาย” ต้งั แต่ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ต่อเนอื่ งมาถงึ คาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ที่หัวหน้าคณะรัฐประหารออกผ่านอานาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 2

“รฐั ประหาร พืน้ ที่ พลเมือง” แม้ความผิดเรื่องการห้ามมั่วสุมชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป จะถูก ยกเลิกไปภายหลังการผ่อนคลายการควบคุมทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรผ่านการออกคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2561 แต่การใช้คาสั่ง ดงั กล่าวควบคุมการแสดงออกทางการเมอื งของประชาชนก็ดาเนินต่อเน่อื งและเป็นไปอย่างเข้มข้น ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่คณะรัฐประหารชุดนี้ควบคุมอานาจอยู่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางและอาจกลายเป็นแนวทางการใช้อานาจที่กลายเป็นมรดก ตกทอดต่อไปในอนาคต การทบทวนการบังคับใช้คาสั่งนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจึงยังมี ความสาคญั นอกจากนั้นหากพิจารณาในระยะยาวของประวัติศาสตร์การเมืองไทย คาสั่งห้ามการ ชุมนุมทางการเมืองยังเป็นคาสั่งที่ถูกประกาศใช้หลังการรัฐประหารต่อเน่ืองกันมาหลายยุคหลาย สมัยจนแทบจะกลายเป็น “เรื่องปกติ” หาใช่ “สถานการณ์พิเศษ” ที่เกิดในภาวะที่สังคมมี สถานการณฉ์ ุกเฉนิ หรือไม่ปกตแิ ต่อยา่ งใด การทาความเขา้ ใจ “กฎหมาย” หรอื “กลไก” ทีถ่ กู ใชใ้ น ระบบการควบคุมอานาจของคณะรัฐประหาร รวมทัง้ ถกู ใช้จากัดเสรีภาพการชุมนุมในสังคมไทยจึง มอิ าจหลกี เลยี่ งการพจิ ารณาคาสั่งของคณะรฐั ประหารในเรือ่ งน้ไี ด้ บทความชิ้นนี้เสนอให้พิจารณาคาสั่ง/ประกาศคณะรัฐประหารในฐานะของเครื่องมือ ปราบปรามทางการเมือง (Political Repression) ชนิดหนึ่งซึ่งถูกประกาศใช้โดยคณะรัฐประหาร และสถาปนาข้อห้ามในการชุมนุมทางการเมืองให้กลายเป็น “กฎหมาย” มาอย่างต่อเนื่องใน การเมืองไทย การบังคับใช้เครื่องมือดังกล่าวจะเข้มข้นเพียงใดยังสัมพันธ์กับสถานการณ์การ ตอ่ ต้านทางการเมืองหลงั รฐั ประหารแต่ละครงั้ และลักษณะการควบคุมอานาจของคณะรัฐประหาร รวมทั้งการเลือกใช้เครื่องมืออื่นๆ ในการปราบปรามทางการเมืองด้วย โดยจะเน้นพิจารณาการใช้ ความผดิ เรือ่ งการชุมนุมทางการเมืองในยุคของ คสช. ซง่ึ มกี ารนามาใชอ้ ยา่ งเขม้ ขน้ ทีส่ ุด คาถามที่บทความนี้สนใจพิจารณา ได้แก่ คาสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองมีความสาคัญ อย่างไรตอ่ การรฐั ประหารในประเทศไทย มพี ฒั นาการ/ความเปล่ียนแปลงในการออกคาส่ังลักษณะ นี้ในการรัฐประหารแต่ละครั้งอย่างไรและมีลักษณะการบังคับใช้อย่างไร โดยเฉพาะในส่วนของ สถานการณ์ยคุ ของ คสช. 3

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 2. การปราบปรามทางการเมืองท่ถี ูกทำให้กลายเปน็ “กฎหมาย” ในทางรัฐศาสตร์ มีการพยายามศึกษาทาความเข้าใจการกระทาหลายอย่างของรัฐ ซึ่งมี ลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในระดับต่างๆ และนาไปสู่การจากัดสิทธิ เสรีภาพของพลเมืองอย่างกว้างขวาง เช่น การซ้อมทรมาน, การบังคับสูญหาย, การจับกุมคุมขัง- การจองจาอย่างเป็นระบบ, การทาให้การรวมตัวเป็นองค์กรทางการเมืองผิดกฎหมาย, การปิดกั้น สิ่งพิมพ์-สื่อมวลชน, การปิดกั้นการชุมนุม เป็นต้น ภายใต้แนวคิดเรื่อง “การปราบปรามทาง การเมือง” กระบวนการปราบปรามทางการเมือง (Political Repression) หรือการปราบปรามโดย รัฐ (State Repression) นั้น1 เป็นการข่มเหงปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มในสังคมด้วยเหตุผลทาง การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อจุดประสงค์ในการจากัดหรือขัดขวางความสามารถในการมีส่วน ร่วมในชีวิตทางการเมืองของสังคม โดยการลดทอนจุดยืน/ความคิดเห็นของบุคคลหรือกลุ่มคนนั้น ลงในหมู่พลเมือง ผ่านการสร้างความเสียหายให้กับพวกเขา การขัดขวางกิจกรรมต่างๆ หรือ ขัดขวางความเช่ือที่ถูกรับรวู้ ่าจะทา้ ทายตอ่ รฐั งานศึกษาการปราบปรามทางการเมือง เหน็ วา่ กระบวนการน้ีเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ อานาจกดบังคับ (Coercion) แต่ไม่ใช่ทุกการใช้อานาจกดบังคับที่จะเป็นการปราบปรามทาง การเมือง พฤติการณ์การปราบปรามนั้นวางอยู่บนฐานของการคุกคามและการข่มขู่ต่อเป้าหมาย เก่ียวพนั กับเคร่อื งมอื ของอานาจรัฐทจ่ี ะละเมิดต่อสทิ ธขิ ้นั พนื้ ฐานต่างๆ ของพลเมือง ไดแ้ ก่ เสรีภาพ ในการพดู การชุมนมุ การเดินทาง เสรภี าพของสื่อมวลชน เสรีภาพในการติดต่อส่อื สาร การสมาคม และการมีความเชื่อต่างๆ หรือการแสดงความคิดเห็นที่ตรงข้ามกับรัฐบาลโดยสงบ รวมทั้งการ ละเมิดต่อกระบวนการพิจารณาคดีท่ีเปน็ ธรรม และละเมิดต่อความมัน่ คงปลอดภัยของบคุ คล เมื่อ การกระทาของรฐั กีดกนั พลเมืองจากสทิ ธิใดๆ เหล่านี้ หรอื ละเมิดตอ่ บรรทัดฐานต่างๆ ของสิทธินั้น อย่างเป็นระบบ เทา่ กบั เรากาลังถกู ปราบปรามทางการเมือง 1 สรุปเรียบเรียงจาก Jacqueline H.R. Demeritt, “The Strategic Use of State Repression and Political Violence” The Oxford Research Encyclopedia of Politics (Oxford University Press, 2016). และ Christian Davenport, “State Repression and Political Order” Annual Review of Political Science, 10 (2007): 1–23. 4

“รัฐประหาร พนื้ ที่ พลเมอื ง” Jules Boykoff ได้จัดแบ่ง 10 ลักษณะของการกระทาที่เป็นการปราบปรามโดยรัฐ โดย อาศัยประสบการณ์จากในสหรฐั อเมรกิ า2 พบวา่ รปู แบบหนึ่ง ได้แก่ การออกกฎเกณฑ์หรอื กฎหมาย พิเศษ โดยการปราบปรามในลักษณะนี้เกิดขึ้นภายใต้ห้วงขณะพิเศษบางอย่าง เมื่อรัฐเข้มงวดกับ การเคลื่อนไหวท้าทายโดยกลุ่มหรือปัจเจกบุคคลที่ต่อต้าน รัฐมักจะตอบสนองโดยการประกาศใช้ หรือบังคับใชก้ ฎหมาย/กฎเกณฑ์พิเศษ ที่ซึ่งต่อมาถูกใช้เพื่อมุ่งการาบการทา้ ทาย หรือระงับยับย้ัง การต่อต้านดงั กลา่ ว พิชญ์ พงษส์ วสั ด3ิ์ พิจารณาเครื่องมอื สาคัญต่างๆ ของเผด็จการสมัยใหม่ ซึง่ ไมไ่ ดใ้ ช้ความ รุนแรงด้วยอาวุธและกองกาลัง แต่คือ “กฎหมายของระบอบเผด็จการ” เช่นการใช้กฎหมายเป็น เคร่อื งมอื ในการกดข่ี-กดบงั คบั ทางการเมอื ง (Legalized Political Repression) โดยเปน็ การทาให้ การกดขี่กดบังคับทางการเมืองเป็นเรือ่ งของกฎหมาย ซึ่งเกิดได้ท้ังจากตัวกฎหมายเองทีถ่ กู ตีความ การออกกฎหมายมาใหม่ หรือจากสถาบันตุลาการท่สี ยบยอมต่ออานาจเผด็จการ ลักษณะหนึ่งของ การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปราบปรามทางการเมืองกับฝ่ายตรงข้าม ได้แก่ การทาให้การ ชุมนุมประท้วงนั้นกลายเป็นอาชญากรรม รัฐบาลเผด็จการในหลายประเทศรับมือกับการชุมนุม ประท้วงโดยการใช้กฎหมายการชุมนุมที่เข้มงวด หรือหาข้ออ้างว่าการชุมนุมนั้นขัดกับความเป็น ระเบยี บในทส่ี าธารณะ เป็นการชมุ นุมโดยไม่ได้รบั อนุญาต โดยจุดมงุ่ หมายสาคัญของการทาให้การ ประท้วงกลายเป็นอาชญากรรมส่วนหนึ่งนั้น มุ่งไปที่การสกัดยับยั้งไม่ให้เกิดการรวมตัวของพลังที่ ไม่พอใจรัฐบาล กล่าวเฉพาะในงานศึกษาเรื่องกฎหมายและข้อจากัดที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะใน ประเทศไทย มักไม่ได้ให้ความสาคัญกับประกาศ/คาสั่งของคณะรัฐประหารที่กาหนดห้ามการ ชุมนุมทางการเมืองเท่าใดนัก ยกตัวอย่างเช่น งานของชุธิดา รตนัตจุฑามณี4 ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ 2 การปราบปรามโดยรัฐที่ Jules Boykoff สารวจไว้ ได้แก่ ความรุนแรงโดยตรง, การไต่สวนหรือดาเนนิ คดีต่อ สาธารณะ, การกดี กนั การจา้ งงาน, การจบั ตาสอดส่อง, การแทรกซมึ หรอื การใชต้ วั แทนเข้ารบกวนแทรกแซง, การโฆษณา ชวนเชื่อแบบปกปิด (Black Propaganda), การคุกคามและการจับกุม, การออกกฎเกณฑ์หรือกฎหมายพิเศษ, การ ครอบงาสื่อมวลชน, การใช้สื่อมวลชนสร้างความเกลียดชัง ดูใน Jules Boykoff, “Limiting Dissent: The Mechanisms of State Repression in the USA” Social Movement Studies, 6 No. 3 (2007): 281–310. 3 พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, “ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของเผด็จการสมัยใหม่ ในการอยู่ในอานาจ” เผด็จการวิทยา, (กรงุ เทพฯ: สานักพิมพ์มตชิ น, 2561), 61-72. 4 ชุธิดา รตนัตจุฑามณี, “ปัญหาเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะในประเทศไทย” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑติ , สาขาวชิ ากฎหมายมหาชน คณะนติ ิศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, 2556). 5

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 สาขากฎหมายมหาชนที่ศึกษาเรือ่ งปัญหาเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะในประเทศไทย ส่วนหนึง่ ใน งานชิ้นนี้มีการพิจารณากฎหมายที่จากัดเสรีภาพในการชุมนุม ได้แก่ พ.ร.ก.การบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548, พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551, พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522, พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ พ.ศ. 2535 โดยไม่ได้มีการพิจารณากฎหมายอย่าง พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และประกาศ/คาสั่งของคณะ รัฐประหารทหี่ ้ามการชมุ นุมทางการเมือง ทั้งข้อสรปุ ในสว่ นของปญั หาท่เี กย่ี วขอ้ งกับการใช้เสรีภาพ การชุมนุมสาธารณะตามกฎหมายไทย ก็ไม่ไดม้ ีการพิจารณาประเด็นการจากดั สิทธิเสรีภาพในการ ชุมนุมผ่านประกาศ/คาสั่งของคณะรัฐประหาร ในฐานะส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทาให้เสรีภาพการ ชมุ นุมในประเทศไทยมีอุปสรรค5 เช่นเดียวกับบทความของ ชลัท ประเทืองรัตนา เรื่อง “กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ: ดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของผู้ชุมนุมกับเสรีภาพของประชาชน”6 ซึ่งส่วนหนึ่งมีการพิจารณา บริบทของการชมุ นุมในสังคมไทย ต้ังแต่ก่อน 14 ตลุ าคม 2516 เป็นต้นมา แตก่ ็พจิ ารณาเพียงส้ันๆ และไม่ได้ให้ความสาคัญกับข้อจากัดในการใช้เสรีภาพในการชุมนุมท่ีเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา จึง ไม่ได้มกี ารพิจารณาความสาคัญของการจากัดการชุมนุมหลังการรฐั ประหารช่วงต่างๆ งานศึกษาเรื่องการชุมนุมในประเทศไทยที่ให้ความสาคัญกับบริบททางการเมืองอีกชิ้น หนึ่ง ได้แก่ งานของทินกฤต นุตวงษ์7 ซึ่งพิจารณาพัฒนาการใช้สิทธิเสรีภาพของการชุมนุม ระบบ 5 งานชิ้นนี้สรุปปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพการชุมนุมสาธารณะตามกฎหมายไทยไว้ 4 ประการใหญ่ ได้แก่ ปัญหาการที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะที่ชัดเจน (ศึกษาก่อนการ ประกาศใช้ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558), ปัญหาหลักการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการนิยาม การชุมนุมสาธารณะในร่างกฎหมาย, ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตอานาจของเจ้าหน้าที่ในการดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะ และปญั หาการใช้ความรนุ แรงเพื่อจดั การกบั ผู้ชมุ นมุ 6 ชลทั ประเทอื งรตั นา, “กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ: ดุลยภาพระหวา่ งเสรภี าพของผู้ชุมนุมกับเสรีภาพของ ประชาชน” วารสารนิตศิ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั นเรศวร, 9 ฉ.1 (2559): 125-153. 7 ทินกฤต นุตวงษ์, “อดีต ปัจจุบัน อนาคต ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะของไทย” วารสารนิติสังคมศาสตร์, 7 ฉ.2 (2557): 175-228. งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจยั ชุด “เสรีภาพในการชุมนมุ โดยสงบและปราศจากอาวุธตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” โดยคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีการศึกษาเปรียบเทียบประเดน็ เรือ่ งเสรีภาพ การชุมนมุ ในมิติทางกฎหมาย จากกรณศี ึกษาใน 5 ประเทศ 6

“รัฐประหาร พื้นท่ี พลเมอื ง” กฎหมายและบทบาทของศาลที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมในประเทศไทย8 โดยในส่วนของการ พจิ ารณากฎหมายทีจ่ ากัดเสรีภาพในการชุมนุม งานชิน้ นเ้ี สนอวา่ มกี ฎหมายสาคัญสามฉบับ ท่ีมีผล เป็นการจากัดเสรีภาพในการชุมนุม ได้แก่ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457, พ.ร.ก.การบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ทินกฤตได้พิจารณาประกาศของคณะรฐั ประหารในฐานะข้อจากัดการชุมนุม ท่ีเมื่อมีการ ประกาศกฎอัยการศึกแล้ว มักจะมีการประกาศห้ามชุมนุมติดตามมาด้วย โดยอิงกับบทบัญญัติใน มาตรา 11 (1) ของ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ทนิ กฤตยังเหน็ ว่าการประกาศใช้กฎอัยการศกึ เท่าท่ีผ่านมา ในประเทศไทย ไม่ได้เปน็ ไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอยา่ งแทจ้ ริง (คือประกาศใช้ต่อเมื่ออย่ใู น ภาวะศกึ สงครามหรอื การจลาจลข้ึนแล้วเท่าน้ัน) แต่งานชิ้นนกี้ พ็ ิจารณาประเด็นนี้เพียงยกตัวอย่าง ประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมืองหลังการรัฐประหารบางฉบับ และยังไม่ได้มีการพิจารณาการ ออกประกาศห้ามชุมนุมนี้โดยคณะรัฐประหารในช่วงระยะยาวของการเมอื งไทย รวมทั้งการบังคบั ใชป้ ระกาศเหลา่ นใ้ี นชว่ งต่างๆ แตอ่ ย่างใด ผู้เขียนเห็นว่างานศึกษาเรื่องข้อจากัดเร่ืองการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมในประเทศไทย ในมติ ิต่างๆ ยงั ให้ความสาคัญกับคาสง่ั /ประกาศของคณะรัฐประหารซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง น้อยเกินไป ทั้งที่การใช้อานาจออกคาสั่งในลักษณะดังกล่าวถูกผลิตซ้าอย่างต่อเนื่อง แทบจะ กลายเป็นเรื่อง “ปกติ” หลังการรัฐประหารทุกครั้ง ประกาศ/คาสั่งในลักษณะนี้ยังกลายเป็น เครื่องมือสาคัญที่คณะรฐั ประหารสามารถนามาใช้ควบคุมอานาจ และปราบปรามผู้ต่อต้าน ส่งผล 8 งานชิ้นนี้ได้มีการแบ่งยุคของการใช้เสรีภาพการชุมนุมเป็น 3 ช่วงใหญ่ คือ 1) ยุคเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ชว่ ง พ.ศ.2475-2530 ซง่ึ ในช่วงน้ี ทินกฤตเห็นวา่ บทบาททหารในทางการเมือง เปน็ บริบททางการเมอื งท่ีมี ผลกระทบต่อการจากัดเสรภี าพในการชมุ นุม คอื ภายใต้นโยบายตอ่ ตา้ นคอมมวิ นิสต์ ขอ้ หาคอมมวิ นสิ ต์ถกู ใช้ในการจับกุม คุมขังผู้นาทางการเมืองและผู้นาการชุมนุมต่างๆ ทั้งการรัฐประหารหลายครัง้ ทาให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครอง ของคณะรัฐประหารเป็นเวลานาน การชุมนุมเรียกร้องต่างๆ เกิดขึ้นได้ยาก 2) ยุคการเมืองภาคประชาชน ช่วง พ.ศ. 2531-2549 ซึ่งการใช้เสรีภาพการชุมนุมมีการขยายตัวมากขึ้น มีการชุมนุมในประเด็นต่างๆ กว้างขวางมากข้ึน โดยเฉพาะในประเด็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และปัญหาปากท้องของประชาชน และ 3) ยุคความขัดแย้งทางการเมือง ช่วง พ.ศ.2550 เป็นต้นมา เป็นยุคที่มีการชุมนุมทางการเมืองโดยกลุ่มสีเสื้อ โดยเป็นการชุมนุมของคนจานวนมาก ใช้ วิธีการชุมนุมต่อเนื่องยาวนาน มีการดาวกระจายไปยังสถานที่ต่างๆ มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมบ่อยครั้ง รวมทั้งมี บริบทการรฐั ประหาร 2549 ท่มี ีการห้ามใชเ้ สรีภาพในการชุมนมุ ด้วย 7

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 กระทบต่อการใช้สิทธิเสรภี าพของประชาชนอย่างกวา้ งขวาง การศึกษาพัฒนาการและรูปแบบการ บงั คับใช้คาสงั่ นีจ้ งึ มีความสาคัญสาหรบั ประเทศไทย ทย่ี งั คงมรี ัฐประหารเกิดขน้ึ อยบู่ อ่ ยครั้ง 3. 19 ปี 4 เดือน: ความตอ่ เนอ่ื งของคำส่ังห้ามชมุ นมุ ทางการเมือง ประกาศ/คาสั่ง คสช. เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปนั้น ไม่ได้เป็น เรอื่ งใหม่หรอื เพิ่งเกิดขึ้นแตอ่ ย่างใด แต่หลังการรฐั ประหารของกองทัพในแต่ละครั้ง ก็ได้มีการออก ประกาศ/คาสั่งของคณะรฐั ประหาร ซง่ึ ถกู ใช้บงั คับเปน็ “กฎหมาย” ที่กาหนดหา้ มชมุ นมุ มั่วสุมทาง การเมืองมาโดยตลอด แม้จะมคี วามแตกต่างในการกาหนดโทษหรือสถานการณ์การบงั คับใช้กันอยู่ บ้าง9 โดยพบว่าหลังการรัฐประหารทั้งหมดในประวตั ิศาสตร์การเมืองไทย เคยมีการออกประกาศ/ คาสง่ั หา้ มชมุ นุมทางการเมืองมาแล้วทั้งหมด 8 คร้งั ไดแ้ ก่ (1) การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทาการยึด อานาจรฐั บาลตนเอง คณะรัฐประหารชุดนน้ั ไดอ้ อก “ประกาศคณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับท่ี 5 เร่อื งประกาศห้ามชุมนุมทางการเมือง” ลงวันท่ี 29 พฤศจกิ ายน 2494 ประกาศฉบับน้ีมิได้มีการ กาหนดโทษทางอาญาใดๆ เพียงแต่ระบุเป็นข้อห้ามไว้ว่า “เน่ืองจากสถาบันต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันได้สิ้นสุดลงแล้ว คณะบริหารประเทศชั่วคราวจึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป ห้ามมิให้มีการชุมนุมทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และให้ฝ่ายปกครองได้สอดส่อง ตรวจตราโดยกวดขัน” การรัฐประหารในครั้งนั้นเป็นการประกาศทางวิทยุอย่างเดียว ไม่ได้มีการเคลื่อนย้าย ทหารเขา้ ยดึ สถานท่สี าคญั และไมไ่ ดม้ กี ารตอ่ ต้านจากกลุ่มการเมืองหรอื ประชาชนในทางสาธารณะ นัก10 จากการสืบค้น ไม่พบว่ามีการออกประกาศหรือกฎหมายเพื่อมายกเลิกประกาศคณะบริหาร 9 ประเด็นเรื่องการสร้างความชอบธรรม และการรับรองสถานะทางกฎหมายของประกาศ คาสั่ง หรือคาสั่ง หัวหน้าคสช. โดยองค์กรทางตุลาการ เป็นอีกประเด็นสาคัญหนึ่ง ที่นอกเหนือการพิจารณาในบทความนี้ สามารถดู ประเด็นนี้ได้ใน ปิยบุตร แสงกนกกุล, ศาลรัฐประหาร ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร (นนทบุรี: สานักพิมพฟ์ า้ เดียวกัน, 2560). 10 งานของสุธาชัย ยิ้มประเสรฐิ ระบวุ า่ หลังการรฐั ประหารครัง้ นี้ มีกระแสต่อตา้ นอยู่บา้ ง โดยมีการแจกใบปลิว โจมตีการยึดอานาจของคณะรัฐบาลพิบูลสงครามอย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม 2494-มกราคม 2495 แต่ เจ้าหน้าที่ตารวจไม่สามารถจบั กุมผู้จัดทาหรือแจกจา่ ยใบปลิวได้ ดูใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย: ว่าด้วยรัฐ และการต่อตา้ นรัฐสมยั จอมพลป.พิบูลสงคราม ครง้ั ที่ 2 (พ.ศ.2491-2500), พิมพ์คร้ังท่ี 2. (กรุงเทพฯ: สานกั พมิ พ์ 6 ตลุ า ราลกึ , 2550), 265. 8

“รัฐประหาร พืน้ ที่ พลเมอื ง” ประเทศชว่ั คราวฉบับน้ีอย่างเปน็ ทางการ ท้ังตวั บทในประกาศคณะบรหิ ารประเทศชั่วคราว ที่ไม่ได้ มกี ารกาหนดโทษหรอื มาตรการของเจ้าหน้าท่ีเอาไว้ จงึ ยังไมพ่ บหลกั ฐานชดั เจนว่ามีการดาเนินการ ใดตามประกาศฉบับนี้หรือไม่ (2) การรัฐประหาร 20 ตลุ าคม 2501 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คณะรฐั ประหารชุด น้นั ได้มีการออก “ประกาศของคณะปฏวิ ตั ฉิ บบั ที่ 13” ประกาศเม่อื วนั ท่ี 22 ตลุ าคม 2501 ระบุว่า “ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2501 เวลา 21.13 นาฬิกา แล้ว และโดยที่เห็นสมควรห้ามการกระทำบางอย่าง จึงห้ามมิให้มีการมั่วสุมประชุมกัน ในทางการเมือง ณ ที่ใดๆ มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนให้เจ้าพนักงานจับกุมเพ่ือ ดำเนินการสอบสวนความผิด” ประกาศฉบับนี้ไม่ได้มีการกาหนดโทษเอาไว้เช่นกัน แต่ที่แตกต่างกันจากประกาศหลัง การรัฐประหารเมื่อปี 2494 คือการระบุลงไปอย่างชัดเจนให้เจ้าพนักงานดาเนินการจับกุมเพ่ือ สอบสวนเอาผิดในเร่อื งน้ี ไม่ใชเ่ พียงการสอดสอ่ งตรวจตราโดยเข้มงวดไมใ่ ห้เกิดการกระทาเช่นนี้ขึ้น เท่านั้น และประกาศฉบับนี้ยงั หันไปใช้คาว่า “มั่วสุมประชุมกัน” ไม่ได้ใช้คาว่า “ชุมนุม” โดยตรง เหมือนก่อนหน้านั้น ทั้งยังเป็นครั้งแรกท่ีมีการกาหนดจานวนบุคคลที่ห้ามมามั่วสุมประชุมกันทาง การเมอื ง นน่ั คอื จานวนต้งั แต่ 5 คนข้นึ ไป ในยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ และสืบทอดอานาจต่อมาโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นคณะรัฐประหารที่ครองอานาจยาวนานที่สุดในการเมืองไทย การใช้อานาจรัฐปราบปราม ทางการเมืองก็เป็นไปอย่างรุนแรง ทั้งการใช้อานาจตามมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ในการส่ัง ประหารชีวิตโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม หรือการใช้ข้อกล่าวหาเรื่องการกระทาอันเป็น คอมมิวนิสต์ ตามพ.ร.บ.ป้องกันการกระทาอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2495 ซึ่งมีการตีความการ กระทาอันเป็นคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง ทาให้เกิดการกวาดจับกุมคุมขังนักการเมือง นักหนงั สือพิมพ์ นกั เขยี น ทนายความ ผ้นู ากรรมกร และชาวนา จานวนมาก11 ทั้งคณะรัฐประหาร ยังมีการออกประกาศคณะปฏิวัติกาหนดให้พนักงานสอบสวนมีอานาจควบคุมตัวผู้ต้องหา คอมมิวนิสต์ไว้ตลอดระยะเวลาที่ทาการสอบสวน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกาหนดระยะเวลาการ 11 ดูการใช้อานาจเผด็จการในช่วงของจอมพลสฤษด์ิ ใน ทกั ษ์ เฉลมิ เตียรณ, การเมืองระบบพอ่ ขุนอุปถัมภ์แบบ เผด็จการ, พมิ พ์คร้ังท่ี 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 2552). 9

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ควบคุมผู้ต้องหาดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ผลของข้อกาหนดนี้ ทาให้เกิดภาวะที่มีประชาชนถูก ควบคุมตัวไวอ้ ย่างไม่มกี าหนด เป็นระยะเวลาหลายปีโดยไมม่ กี ารสั่งฟอ้ งคดี ข้อกล่าวหาเรื่องคอมมิวนิสต์จึงเป็นเครื่องมือที่สาคัญในการปราบปรามทางการเมืองใน ยุคสมยั นน้ั ผู้ต้องหาทางการเมืองในยคุ น้ันจานวนมากถูกกล่าวหาในข้อหาคอมมวิ นิสต์ แม้จะไม่ได้ มีการกาหนดโทษของความผิดเรื่องการชุมนุมทางการเมืองเอาไว้ แต่การชุมนุมต่อต้านคณะ รัฐประหารหรอื การแสดงออกทางการเมืองในยุคนั้นก็เป็นไปไดย้ ากอยแู่ ล้ว นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการใช้ฐานความผิดเรื่องการฝ่าฝืนคาสั่งเจ้าพนักงาน ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 มาดาเนนิ คดีต่อผฝู้ ่าฝนื ประกาศคณะปฏิวัติฉบบั ที่ 13 ดว้ ย ดัง ตัวอย่างของคาพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2504 คดีระหว่างอัยการศาลจังหวัดยโสธร กับนายทา ฮว่าง และนายนิง งวนวัน เป็นจาเลยที่ 1 และ 2 ทั้งสองคนถูกกล่าวหาว่าได้ร่วมกับพวก รวม 6 คน “ประชุมกนั เพอื่ เขียนคาร้องทุกข์ย่นื ต่อพนักงานเจา้ หน้าท่ี วา่ พวกญวนทถี่ กู เจา้ พนักงานจับไป ในขอ้ หาคอมมนู สิ ตไ์ มไ่ ดก้ ระทาผิด” อันเป็นการฝา่ ฝนื ไมป่ ฏบิ ัติตามคาสงั่ เร่อื งการม่ัวสมุ ประชุมกัน ทางการเมอื งตัง้ แต่ 5 คนขน้ึ ไป ทางอัยการไดฟ้ อ้ งร้องในความผิดฐานขัดคาสั่งเจา้ พนักงาน คดีนี้ ศาลชัน้ ตน้ พิพากษาวา่ จาเลยท้ังสองกระทาผิดตามฟอ้ ง กอ่ นทศ่ี าลอทุ ธรณ์และศาล ฎีกาจะพิพากษากลับเป็นยกฟอ้ งคดี เนื่องจากเหน็ ว่าการกระทาของจาเลยไมเ่ ปน็ การม่วั สุมประชุม กันในทางการเมือง การยน่ื คาร้องดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเหน็ ต่อเจา้ พนักงาน ซึ่งประชาชน ยอ่ มจะเสนอความคิดเหน็ ต่อเจ้าพนักงานได้ จงึ ไม่มคี วามผดิ ฐานขัดคาส่ังเจ้าพนักงาน จะเห็นได้ว่า ในช่วงยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ การมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองไม่ได้ถูกทาให้เป็นความผิดใน ตัวมนั เอง แต่มกี ารนาข้อกล่าวหาอืน่ ท่ีมีอย่แู ล้วในกฎหมายอาญา มาใชใ้ นการดาเนินคดแี ทน ต่อมา ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 13 ฉบับนี้ ถูกยกเลิกโดยการออก “พ.ร.บ.ยกเลิก ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2511” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2511 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร โดย พ.ร.บ.ระบุสาเหตุที่ให้ยกเลิกประกาศห้าม มั่วสุมประชุมกันในทางการเมือง เพราะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึง เห็นสมควรยกเลิก รวมระยะเวลาที่มีการประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองในช่วงนี้ คือ 9 ปี 10 เดือน 21 วนั (3) การรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร 17 พฤศจิกายน 2514 คณะ รัฐประหารได้ออก “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 4” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ประกาศ ฉบับนี้เองที่ได้เริ่มมีการกาหนดโทษทางอาญาสาหรับความผิดในการมั่วสุมประชุมกันในทาง 10

“รัฐประหาร พน้ื ท่ี พลเมือง” การเมอื งขนึ้ เป็นครง้ั แรก คือมโี ทษจาคกุ ไม่เกนิ 6 เดือน หรือปรบั ไม่เกินหนง่ึ พนั บาท หรือท้ังจาท้ัง ปรบั “ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 น. เป็นต้นไปแล้ว จึงห้ามมิให้มั่วสุมประชุมกันในทางการเมือง ณ ที่ใดๆ มีจำนวน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทงั้ จำทัง้ ปรบั ทั้งนี้ ตง้ั แต่บัดนี้เป็นต้นไป” กล่าวได้ว่าการรัฐประหารครัง้ นี้ได้ทาให้ความผดิ เรื่องการชุมนุมทางการเมือง กลายเปน็ ความผิดทางอาญา หรือกลายเป็นอาชญากรรม (Criminalization) ซึง่ มบี ทกาหนดโทษโดยสมบูรณ์ หลงั การรัฐประหารคร้ังนี้ ปรากฏกระแสต่อต้านในหมนู่ ิสิตนักศึกษาอยบู่ ้าง เช่น มีนักศึกษาไปวาง พวงหรีดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หรือมีการติดโปสเตอร์ต่อต้านรัฐประหารในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้มีการชุมนุมรวมตัวเกิดขึ้น การชุมนุมของขบวนการนิสิตนักศึกษาในช่วง หลังจากนั้น (ปลายปี 2515) เป็นไปในประเด็นอื่นๆ มากกว่าการต่อต้านคณะรัฐประหาร/รัฐบาล โดยตรง เช่น การชุมนุมต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น การเดินขบวนต่อต้านสินค้าฟุ่มเฟือย การเดินขบวน ประท้วงประกาศคณะปฏวิ ตั เิ รื่องระเบยี บขา้ ราชการตลุ าการ เปน็ ต้น12 กระทั่ง กระแสต่อต้านรัฐบาลจอมพลถนอมเริ่มเข้มข้นขึ้น จนมีการจับกุมกลุ่มนิสิต นกั ศึกษา อาจารย์ นักหนงั สือพิมพ์ รวม 11 คน ท่ีเดินแจกใบปลวิ เรียกรอ้ งรัฐธรรมนูญ เมื่อวันท่ี 6 ตุลาคม 2516 โดยเจ้าหน้าที่ตารวจผู้จับกุมอ้างความผิดเรื่องมั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทาง การเมือง ตามประกาศคณะปฏิวัตฉิ บบั ที่ 4 หลังจากนั้นยงั มีการจับกุมบคุ คลเพิ่มอีก 2 ราย และมี ความพยายามตง้ั ข้อหาคอมมวิ นิสต์ กรณกี ารจบั กมุ ดังกลา่ วกลายเปน็ ชนวนเหตขุ องการชุมนุมใหญ่ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพ่ือเรยี กรอ้ งให้ปล่อยตัวกล่มุ ผู้เรียกรอ้ งรัฐธรรมนญู และขับไล่รัฐบาล จอมพลถนอม ซง่ึ ตามมาดว้ ยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในทีส่ ุด13 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และการล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ประกาศฉบับนี้ได้ถูก ยกเลกิ โดยการออก “พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศของคณะปฏวิ ัติ ฉบับที่ 4 ลงวนั ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 12 ดูเรอื่ งราวการเคลื่อนไหวและการชมุ นมุ ต่างๆ ของขบวนการนิสิตนกั ศึกษาในชว่ งก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ใน จรลั ดิษฐาอภชิ ัย, กอ่ นจะถึง 14 ตลุ า, (สานักพิมพ์เมฆขาว: กรุงเทพฯ, 2546). 13 ดูลาดับเหตุการณ์ดังกล่าวจนนาไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา ได้ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, “14 ตุลา: บันทึก ประวัติศาสตร์” จาก 14 ถึง 6 ตุลา, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544), 179-203. 11

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 2514 พ.ศ. 2517” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันท่ี 3 กุมภาพันธ์ 2517 โดยระบุเหตุในการ ประกาศยกเลิกเนื่องจากเพื่อประโยชน์แก่การตระเตรียมการเลือกตั้ง รวมระยะเวลาของการ ประกาศหา้ มชมุ นุมทางการเมอื งในชว่ งนี้ คือ 2 ปี 2 เดอื น 17 วนั ในการรัฐประหารหลังจากนั้นเป็นต้นมา จานวนทั้งหมด 5 ครั้ง ต่างก็มีการกาหนด ความผิดเรื่องการห้ามม่ัวสุมชุมนุมทางการเมืองต้งั แต่ 5 คนข้นึ ไป โดยมรี ปู แบบคาส่ังคล้ายคลึงกัน กบั ในสมัยจอมพลถนอม แม้มีการกาหนดเพิ่มอัตราโทษจาคุกหรอื โทษปรับในบางครัง้ (4) การรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 คณะรัฐประหารออก “คาสั่งคณะปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 4” ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีถ้อยความและกาหนดโทษเช่นเดียวกับ ประกาศของคณะรฐั ประหารเม่ือปี 2514 (5) การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 คณะรัฐประหารออก “คาสั่งคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3” ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ระบุว่าหลังประกาศกฎอัยการศึก เพื่อป้องกันมิให้เกิดความวุ่นวาย ขน้ึ ในบ้านเมือง จงึ หา้ มมใิ ห้ม่ัวสมุ กนั ในทางการเมอื ง ณ ทใ่ี ดๆ ทมี่ จี านวนตงั้ แต่ 5 คนขึ้นไป ผูใ้ ดฝ่า ฝืน ต้องระวางโทษจาคกุ ไมเ่ กนิ 6 เดือน หรอื ปรบั ไม่เกนิ 1,000 บาท หรือทั้งจาท้ังปรบั การรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้นภายหลังการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกดิ การกวาดจับและไล่ลา่ ขบวนการนกั ศึกษา-ปญั ญาชนอยา่ งกวา้ งขวาง ทั้งโดยฝ่ายรัฐและขบวนการฝ่ายขวา ภายใต้ข้อกล่าวหาเรื่องเป็นคอมมิวนิสต์ ทาให้เกิดการ “หนี เข้าป่า” เพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ของนักศึกษา-ปัญญาชน บริบทเช่นนี้ทาให้ไม่ได้มีการ ชมุ นุมตอ่ ต้านการรัฐประหารเกิดขึ้น หรือแมแ้ ตก่ ารแสดงความคิดเห็นทางการเมืองต่างๆ ก็เป็นไป ไดย้ ากยิง่ กระแสปราบปรามทางการเมืองเหลา่ นีย้ งั ตอ่ เน่อื งมาถึงทศวรรษ 2520 ดว้ ย ประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองทั้งในฉบับหลังการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 และ รัฐประหาร 20 ตลุ าคม 2520 ถกู ยกเลกิ ไปพร้อมๆ กัน ดว้ ยการออกเปน็ “พ.ร.บ.ยกเลิกคาสั่งคณะ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 พ.ศ. 2522” ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2522 โดย ระบุเหตุผลการยกเลิกเพราะได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว และเพื่อ ประโยชน์แก่การตระเตรียมการเลือกตั้ง รวมระยะเวลาของการประกาศห้ามชุมนุมทางการเมือง จากประกาศทงั้ สองฉบับต่อเนอื่ งกัน คือ 2 ปี 2 เดือน 25 วนั (6) การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะรัฐประหารออก “ประกาศคณะรักษา ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 7 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมือง” ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 12

“รฐั ประหาร พืน้ ที่ พลเมอื ง” 2534 ระบุว่าหลังประกาศกฎอัยการศึก เพื่อมิให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหาร ประเทศชาติ จึงห้ามมิให้มั่วสุม ประชุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจานวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ผู้ใด ฝา่ ฝืน ตอ้ งระวางโทษจาคุกไมเ่ กิน 6 เดอื น หรือปรับไม่เกนิ 10,000 บาท หรอื ท้งั จาทั้งปรบั หลงั การรฐั ประหารครง้ั น้ี มกี ระแสต่อตา้ นจากประชาชนจานวนหน่ึง โดยเฉพาะจากนิสิต นักศึกษา คณะรัฐประหารก็มีการใช้ประกาศเรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองเข้าจับกุมผู้ชุมนุม ยกตัวอย่างเช่น กรณีแกนนานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคาแหง 15 คน ถูกจับกุมหลังจากมีการ ชมุ นมุ ปราศรยั ตอ่ ตา้ นการรฐั ประหารในมหาวิทยาลัย เมอ่ื วนั ที่ 25 กุมภาพนั ธ์ 2534 โดยเจา้ หน้าท่ี อ้างว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎอยั การศกึ หลงั จากนนั้ ไดม้ กี ารควบคุมตวั กลุ่มนกั ศึกษาเอาไว้ มกี ารแจ้งข้อ กล่าวหาเรื่องการชุมนุมทางการเมือง และให้ประกันตัว แต่กระแสการต่อต้านรัฐประหารก็ไม่ได้ ขยายวงกวา้ งไปมากนกั 14 ประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองในช่วงนี้ ถูกยกเลิกไม่นานหลังการรัฐประหาร โดยการ ออก “พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ฉบับที่ 19 ฉบับที่ 20 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2534 ระบุเหตผุ ลการยกเลกิ คือเนือ่ งจากได้มีการยกเลกิ ประกาศกฎอยั การศกึ และไม่มี ความจาเป็นที่จะต้องห้ามการชุมนุมทางการเมือง หรือดาเนินกิจกรรมทางการเมืองอีกต่อไปแล้ว รวมระยะเวลาของการประกาศห้ามชุมนุมทางการเมอื งในช่วงน้ี คอื 2 เดอื น 18 วนั (7) การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คณะรัฐประหารออก “ประกาศคณะปฏิรูปการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 7 เรื่องการห้าม ชุมนุมทางการเมือง” ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 มีถ้อยคาและกาหนดโทษเช่นเดียวกับประกาศ หลงั การรัฐประหารปี 2534 14 สิรวิ ฒั น์ ไกรสนิ ธุ์ อดีตนายกองค์การนกั ศกึ ษามหาวิทยาลัยรามคาแหง หนึ่งในผู้ถูกจบั กมุ เล่าด้วยวา่ ระหว่าง ถกู ควบคมุ ตวั มีผู้มาเสนอขออยา่ ใหเ้ คลือ่ นไหวอีก แลว้ จะปล่อยตวั เป็นการแลกเปลยี่ น แต่ทางกลุ่มนกั ศึกษาปฏิเสธ ก่อน ตอ่ มาจะได้รับการประกนั ตวั ดบู ทสัมภาษณข์ องสิรวิ ัฒน์ ใน เจษฎา โชติกจิ ภิวาทย์ และวทิ ยากร บุญเรือง (บรรณาธิการ), ประชาชนต้านรัฐประหาร, (กรุงเทพ: บริษัท ลายเส้น จากัด, 2555), 89-94. ขณะเดียวกันกระแสการต่อต้านอย่าง กว้างขวาง มาเกิดขึ้นภายหลังมีการเลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535 และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร กลับขึ้นมาเป็น นายกรัฐมนตรี ทาให้ประชาชนรู้สึกว่าทางคณะรัฐประหารมีการสืบทอดอานาจ นาไปสกู่ ารชุมนุมประท้วงและเหตุการณ์ พฤษภาทมฬิ ในเวลาต่อมา 13

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 หลังการรัฐประหารครั้งนี้ มีกระแสต่อต้านเข้มข้นมากขึ้น จากการสืบค้น พบว่ามีการ จับกุมผูต้ ่อต้านรัฐประหารในครั้งน้ัน เช่น กรณี ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และนายทวี ไกรคุปต์ อดีต ส.ส. ราชบุรี พรอ้ มพวก ได้น่ังประท้วงและติดปา้ ยคัดคา้ นการรัฐประหารบริเวณอนุสาวรียป์ ระชาธิปไตย เม่อื วนั ที่ 20 กันยายน 2549 หลงั การรัฐประหารหนงึ่ วัน ไดถ้ ูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวไปใน ค่ายทหาร โดยอ้างเรื่องการฝา่ ฝนื คาสงั่ คณะรัฐประหาร ชมุ นมุ เกนิ กวา่ 5 คน แต่ไมพ่ บว่ามีการแจ้ง ขอ้ กลา่ วหาดาเนินคดีในกรณนี ้ี15 หรือพบว่ามีการอ้างประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองในการปิดกั้นกิจกรรม เช่น การจัด กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “เราจะทาความเข้าใจกบั การเมืองไทยได้อย่างไร” โดย “เครือขา่ ยนักศึกษา เพื่อประชาธิปไตยเชียงใหม่” ที่หน้าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ วันที่ 27 กันยายน 2549 กิจกรรมได้ถูกเจ้าหน้าที่ตารวจกว่า 20 นาย เข้าจับตาและขอให้ยุติ กิจกรรม เพราะเป็นการขัดต่อคาสั่งห้ามชุมนุมเกินกวา่ 5 คน โดยตารวจระบวุ า่ ถูกทางทหารกดดัน มาดว้ ย แต่ทางผจู้ ดั เสวนายงั ยืนยันจะจัดต่อไป จนกระท่ังเสร็จสิ้นกิจกรรม และไม่ได้มีการควบคุม ตวั ผจู้ ดั แต่อย่างใด16 แต่การชุมนุมต่อต้านรัฐประหารหลายครั้งในปี 2549 ก็ไม่ได้มีการจับกุมหรือดาเนินคดี ตามคาสั่งเรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองแต่อย่างใด อาทิเช่น การชุมนุมของ “เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร” ซึ่งจัดกิจกรรมหลายครั้ง อาทิ ที่หน้าห้างสยามเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2549, การชมุ นมุ ทม่ี หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ทา่ พระจนั ทร์ เมอ่ื วนั ท่ี 25 กนั ยายน 2549, การชุมนุมที่หน้ากองทพั บก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 หรือการเดินรณรงค์ต่อตา้ นรฐั ประหารจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2549 เป็นต้น ตาม รายงานข่าว การชุมนุมแต่ละครั้งในช่วงนั้น แม้มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าติดตามการชุมนุม แต่ไม่ได้มีการ จับกุมหรือห้ามปรามการชุมนุมเกิดขึ้นแต่อย่างใด17 คณะรัฐประหารในชุดนั้นจึงดูเหมือนจะไม่ได้ 15 ประชาไท, “คุมตวั \"ฉลาด\" ฐานชมุ นมุ เกิน 5 คน”, สบื ค้นวันที่ 8 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2006/09/9732. 16 ประชาไท, “รายงานพิเศษ: ด้วยแรงแห่ง \"ความกดดนั \" ตารวจเกาะติดเสวนา \"กลางแจ้ง\" เกิน 5 คนท่ี มช.”, สืบค้นวนั ที่ 8 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2006/09/9878. 17 ดตู วั อยา่ งรายงานข่าวการชุมนุมแต่ละคร้งั ในช่วงนัน้ ใน ประชาไท, \"เครือขา่ ย 19 กนั ยาต้านรัฐประหาร\" ชมุ นมุ เงียบคร้งั แรก ท่ามกลางกฎอยั การศึก” , สบื ค้นวนั ที่ 8 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2006/09/9797. ประชาไท, “เย็นน้ี ชุมนมุ เกิน 5 คนที่ลานโดม มธ.ตา้ น 14

“รฐั ประหาร พน้ื ที่ พลเมอื ง” ใช้คาสั่งนี้อย่างเข้มงวดนัก ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้เกิดการชุมนุมขนาดใหญ่ในการต่อต้านการ รัฐประหารเกดิ ขึ้นในระยะแรก18 ประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองในช่วงนี้ ได้ถูกยกเลิกไปโดยการออก “พ.ร.บ.ยกเลิก ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบบั ท่ี 7 เรอ่ื งการห้ามชมุ นุมทางการเมอื ง ลงวนั ท่ี 20 กันยายน พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2549” ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 โดยระบุเหตุผลในการยกเลิกคือประกาศฉบับน้ี เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง สมควรยกเลิกเพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีเสรีภาพในการประชุมทางการเมืองได้ ทาให้รวมระยะเวลาของการประกาศในช่วงน้ี คือ 3 เดือน 6 วนั (8) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะรัฐประหารได้ออกประกาศคณะรักษา ความสงบแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ 7/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ระบวุ ่า “เพ่อื ใหส้ ถานการณ์กลับ เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญตั ิกฎ อัยการศึก พทุ ธศกั ราช 2457 จงึ ห้ามมิใหม้ วั่ สุมหรือชมุ นุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ทีม่ ีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวังโทษจำคกุ ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ สำหรับผู้ทีช่ มุ นุมทางการเมืองอยู่ในปัจจุบัน ให้เดินทางกลับภูมิลำเนา ตั้งแต่บัดนี้เปน็ ตน้ ไป” จะเหน็ ไดว้ า่ ประกาศฉบบั นี้มีการกาหนดเพิ่มโทษจาคุกและโทษปรบั ในความผิดน้ี เป็นไม่ เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และประกาศฉบับนี้ยังเป็นฉบับแรกที่มีการอ้างอิงถึงการ อาศัยอานาจตามมาตราใน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ในการสั่งห้ามมัว่ สุมหรอื ชุมนุมทางการเมอื ง19 แต่ รัฐประหาร”, สืบค้นวันที่ 8 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2006/09/9829. ประชาไท, “โชติ ชว่ งชัชวาล !!! เผารัฐธรรมนูญฉบับ คปค.หน้า กองทพั บก”, สบื ค้นวนั ที่ 8 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2006/10/9939. ประชาไท, “ผชู้ ุมนุมตา้ นรัฐประหารกวา่ 200 คน มงุ่ หน้าจุดเทยี น อนสุ าวรียป์ ระชาธปิ ไตย”, สบื ค้นวนั ที่ 8 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2006/10/10094. 18 จนกระทั่งเกิดการเคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 และการเติบโตของขบวนการเคลื่อนไหว ของคนเส้ือแดง ในปีถดั ๆ มา ซง่ึ ก็เปน็ ภายหลังการยกเลิกคาสั่งห้ามชมุ นุมทางการเมอื งของคณะรัฐประหารไปแลว้ 19 โดยสว่ นใหญแ่ ล้วประกาศ/คาสั่ง ของคณะรัฐประหาร มักออกโดยอ้างอาศัยอานาจพเิ ศษ ในฐานะ \"รัฏฐาธิ ปัตย์\" หรือผู้ถือครองอานาจสงู สุด ของคณะรัฐประหาร แต่ในการรัฐประหาร 2557 นี้ มีประกาศ คสช. บางฉบับที่เปน็ การออกคาสั่งเพื่อจากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เป็นเงื่อนไขที่ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ .2457 ก็ให้อานาจไว้ให้ 15

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ควรตั้งข้อสังเกตด้วยว่าตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ในมาตรา 11 (1) นั้น ได้กาหนดเรื่องเจ้าหน้าที่ ทหารมอี านาจในการ “ท่จี ะหา้ มมั่วสุมประชุมกัน” ไม่ไดม้ กี ารกาหนดเฉพาะเรือ่ ง “การห้ามม่ัวสุม ประชุมกนั ในทางการเมอื ง” แต่อยา่ งใด ในการรฐั ประหารครั้งนี้ ยงั มกี ารออกประกาศทกี่ าหนดความผิดสาหรับการสนบั สนุนการ ชุมนุมทางการเมืองด้วย ได้แก่ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 49/2557 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ได้ กาหนดให้บุคคลที่กระทาการอันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทาความผิดเรื่อง ม่วั สมุ หรือชมุ นุมทางการเมือง โดยการอนญุ าตให้ใช้สถานที่ หรอื สนบั สนุนวสั ดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ชุมนุมทางการเมือง เช่น เครื่องขยายเสียง เต็นท์ เครื่องกาเนิดไฟฟ้า หรือการกระทาโดยประการ อื่น ให้ผู้กระทาการในลักษณะดังกล่าวระงับหรือยุติกระทาการทันที มิเช่นนั้น ผู้กระทาการ ดงั กลา่ วอาจถกู ดาเนินคดตี ามกฎหมายในฐานะผู้สนบั สนนุ ผู้กระทาความผิด ซึ่งตอ้ งระวางโทษสอง ในสามส่วนของโทษทีก่ าหนดไว้ตามประกาศ คสช. ฉบบั ที่ 7/2557 และอาจถกู ริบทรัพย์สินที่ใช้ใน การกระทาความผดิ ดงั กล่าวด้วย20 คณะรัฐประหารยังมีการออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 กาหนดให้ผู้ถูกดาเนินคดีในความผิดตามประกาศหรือคาสั่ง คสช. ต้องอยู่ในอานาจการ พิจารณาพพิ ากษาคดีในศาลทหาร ทาให้ความผิดเรอื่ งการมว่ั สุมชุมนุมทางการเมืองน้ีต้องถูกนาไป พิจารณาในศาลทหารด้วยเช่นกัน การใช้ศาลทหารพิจารณาคดีของพลเรือนที่แสดงออกโดยการ ชุมนุมทางการเมือง กลายเป็นกลไกที่ถูกใช้ดาเนินการปราบปรามทางการเมืองควบคู่มาด้วยกันใน การรฐั ประหารครงั้ นี้21 ทหารสามารถทาได้ด้วย ประกาศ คสช. ฉบบั เหล่านัน้ จงึ มักอา้ งอิงอานาจตามกฎอัยการศกึ ไปดว้ ย ตัวอยา่ งเชน่ ประกาศ คสช. ฉบบั ที่ 3/2557 เรื่องหา้ มออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน รวมทง้ั ประกาศฉบับท่ี 7/2557 น้ี 20 จากการติดตามคดีความหลงั การรฐั ประหาร 2557 ของศูนยท์ นายความเพอ่ื สิทธิมนษุ ยชน ยงั ไมพ่ บว่ามีการ ดาเนนิ คดีบคุ คลโดยใช้ข้อกล่าวหาตามประกาศฉบับนี้แตอ่ ยา่ งใด 21 กระทั่งภายหลังการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้ อานาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 44 ออกคาสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับท่ี 55/2559 ลงวันที่ 12 กันยายน 2559 กาหนดให้ความผิดที่เคยมีประกาศ คสช. ให้ต้องถูกพิจารณาคดีในศาลทหาร ที่เกิดขึ้นภายหลังการออกคาส่ัง หัวหน้า คสช. ฉบับนี้ กลับมาอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม ดูประเด็นเรือ่ งการบงั คับใช้ศาลทหารต่อพลเรือน ใน นพพล อาชามาส. 2561. “การบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเรือน: ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยกลไกการปกครองของ ระบอบอานาจนยิ มในประเทศไทย,” ใน ตลุ าการธิปไตย ศาล และการรฐั ประหาร. กรุงเทพฯ: ศูนยท์ นายความเพ่ือสิทธิ มนษุ ยชน. 16

“รัฐประหาร พน้ื ที่ พลเมอื ง” แม้ภายหลังการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา ก็ได้ใช้อานาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ออกคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยในเนื้อหาคาส่ัง ฉบบั นี้ มกี ารใหอ้ านาจของเจ้าหน้าท่ีทหารในลักษณะเดียวกับกฎอัยการศึก เช่น อานาจในการเข้า ตรวจค้น อานาจในการควบคุมตัวบุคคลในค่ายทหารไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ต้องมีหมายศาล22 และมี การกาหนดความผิดเรื่องการห้ามมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ไว้ในข้อ 12 ของ คาสัง่ ดว้ ย ทาใหข้ อ้ หาความผิดในเรือ่ งนี้ยงั คงสบื เนือ่ งต่อกนั มา สาหรับความผิดที่ถูกกาหนดไว้ในข้อ 12 ของคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ได้กาหนด โทษลดลงจากในประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 กลับไปอยู่ในอัตราเดียวกับคาสั่งห้ามชุมนุมทาง การเมอื งจากการรัฐประหารครง้ั ก่อน คือกาหนดโทษจาคุกไม่เกนิ 6 เดือน หรอื ปรบั ไมเ่ กนิ 10,000 บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ และกาหนดข้อยกเว้นว่าเว้นแต่การชุมนุมได้รบั อนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนั้นในวรรคสอง ยังกาหนดให้ผู้กระทาความผิดที่สมัครใจเข้ารับ การอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย (หมายถึงเจ้าหน้าที่ทหารยศร้อยตรีขึ้นไป ท่ี ได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้า คสช.) เป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวัน และเจ้าพนักงานรักษาความสงบ เรยี บรอ้ ยเหน็ สมควรปลอ่ ยตวั โดยมเี ง่ือนไข หรอื ไม่มเี งอ่ื นไข ให้ถอื วา่ คดีเลกิ กัน23 การบังคับใช้ความผิดนี้โดย คสช. ดารงอยู่ จนถึงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 ให้ยกเลิกความในข้อ 12 ของ คาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ทาให้ข้อหา้ มเร่ืองการมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองในยุค คสช. สิ้นสุด ลง รวมระยะเวลาของการประกาศห้ามชุมนุมทางการเมอื งในชว่ งนี้ คือ 4 ปี 6 เดือน 19 วนั ซึ่งถือ เป็นช่วงระยะเวลายาวนานทส่ี ุดเป็นลาดบั ท่ี 2 รองจากยุคการรฐั ประหารของจอมพลสฤษด์ิ 22 ดูสรุปคาสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับน้ี และปัญหาการบังคับใช้ ได้ใน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, “1 ปี คาสั่งหัวหน้าคณะรกั ษาความสงบแหง่ ชาติ ท่ี 3/2558: “อานาจพเิ ศษ” ในสถานการณ์ปกติ”, สบื คน้ วันที่ 12 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=1157. 23 ตัวบทในวรรคสอง ของข้อ 12 ระบุว่า “ผู้กระทาความผิดตามวรรคหนึ่งที่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้า พนักงานรกั ษาความสงบเรยี บรอ้ ย เป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวันและเจ้าพนกั งานรักษาความสงบเรียบร้อยเหน็ สมควรปล่อยตัวโดยมเี งือ่ นไข หรือไม่ มเี ง่ือนไขตามข้อ 11 วรรคสอง ให้ถือวา่ คดเี ลิกกนั ตามมาตรา 37 แห่งประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา ซึ่งแก้ไข เพิม่ เติมโดยพระราชบญั ญตั ิแกไ้ ขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา (ฉบบั ที่ 16) พ.ศ. 2529” 17

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 จะเห็นได้ว่าประกาศ/คาสั่งเรื่องการห้ามการชุมนุมทางการเมือง มักจะเป็นคาสั่งหรือ ประกาศลาดับต้นๆ ที่คณะรัฐประหารไทยแทบทุกชุดประกาศใช้ โดยจากการรัฐประหารเฉพาะท่ี ประสบความสาเร็จ 13 ครั้ง มีการประกาศใช้ข้อห้ามเรื่องนี้หลังการยึดอานาจถึง 8 คร้ัง และใน การรัฐประหาร 7 ครั้งหลังสุดต่อเนื่องกัน ตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี 2501 เป็น ต้นมา คณะรัฐประหารทุกชุดได้มีการออกประกาศลักษณะนี้ จนแทบจะกลายเรื่องปกติหลังการ รัฐประหาร ขณะทใี่ นสว่ นเนือ้ หาของตัวบทและการกาหนดโทษทางอาญากเ็ ริ่มลงตวั (Settle) และ ถูกใช้ซา้ ต่อเน่อื งเหมอื นๆ กันมาตัง้ แต่การรัฐประหารในปี 2514 โดยมกี ารปรบั เปลี่ยนอัตราโทษไป บ้างเป็นบางครั้ง รูปแบบการออกประกาศ/คาสั่งที่กาหนดห้ามชุมนุมทางการเมืองโดยเฉพาะ ให้เป็น ความผิดที่มีโทษทางอาญา และทาให้เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามามีหน้าที่ในการดูแลควบคุม จึงเป็น เทคนิควิธีการสาคัญที่คณะรัฐประหารไทยแทบทุกชุดใช้ควบคุมและจัดการทางการเมืองหลังการ ยดึ อานาจมาอยา่ งต่อเน่ือง หากลองรวมระยะเวลาของการดารงอยู่ของประกาศซึ่งสั่งห้ามการมั่วสุมชุมนุมทาง การเมืองของคณะรัฐประหารชุดต่างๆ ต่อเนื่องกัน จะได้ระยะเวลารวม 19 ปี 4 เดือนเศษ24 และ หากคำนวณถึงสิ้นปี 2561 ซึ่งประชาธิปไตยไทยมีอายุรวม 86 ปี 6 เดือน การดำรงอยู่ของ ประกาศคณะรฐั ประหารทสี่ ่ังหา้ มการชุมนุมทางการเมือง จะคดิ เป็นประมาณรอ้ ยละ 22.4 ของ ระยะเวลาทั้งหมดที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย นั่น หมายความว่าเป็นเวลาเกือบถึง 1 ใน 4 ของช่วงชีวิตทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย พลเมอื งไทยไดถ้ ูกจำกดั เสรีภาพในการชุมนุม ใหอ้ ย่ภู ายใตค้ ำสั่งห้ามชุมนุมทางการเมอื ง หากพิจารณาในรายละเอียดแต่ละครั้ง ข้อกล่าวหาเรื่องการห้ามมั่วสุมชุมนุมทาง การเมือง นับได้ว่าถูกใช้อย่างเข้มข้นที่สุดในยุคการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับในยุคสงครามเย็น สมัยจอมพลสฤษด์ิ-ถนอม หรือการรัฐประหารช่วงหลัง เหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 จนถึงต้นทศวรรษ 2520 รัฐได้ใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่รุนแรงกว่าในการ ปราบปรามผเู้ ห็นตา่ งทางการเมือง ทงั้ การใช้ความรุนแรงทางตรง การบงั คับสูญหาย การคุมขังโดย 24 ตัวเลขนไี้ ม่ไดน้ ับกรณีประกาศหา้ มชุมนุมทางการเมือง หลงั การรฐั ประหาร 29 พฤศจกิ ายน 2494 เนอื่ งจาก ไมไ่ ด้มีช่วงระยะเวลาที่ประกาศถกู ยกเลกิ แน่ชัด 18

“รฐั ประหาร พน้ื ที่ พลเมอื ง” ไม่มีกาหนดและไม่มีการสั่งฟ้องคดี การใช้ข้อกล่าวหาเรื่องกระทาการอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น ท้ังการชมุ นมุ หรือแสดงออกต่อต้านรฐั ประหารในชว่ งนน้ั ก็เปน็ ไปไดย้ ากอยู่แล้ว หากเมื่อระบอบประชาธิปไตยเริ่มสถาปนาตั้งมั่นมากขึ้น สถานการณ์โลกในยุคสงคราม เยน็ ผา่ นพ้นไป และปัญหา “ภัยคอมมิวนิสต์” ลดระดบั ลง การใช้ความรนุ แรงโดยรัฐในการควบคุม อานาจไมส่ ามารถทาไดโ้ ดยง่าย ในการรฐั ประหารในปี 2534 และ 2549 จะเหน็ ได้ว่าประกาศห้าม ชุมนุมทางการเมืองถูกประกาศใช้ในระยะเวลาค่อนข้างสั้น คือประมาณ 2-3 เดือน และไม่ได้ถูก บังคับใช้อย่างเขม้ ข้นนัก หากมีลักษณะของการมุ่งควบคุมการเคล่ือนไหวชมุ นมุ ต่อต้านเฉพาะช่วง หลังการรัฐประหารใหม่ๆ เพื่อทาให้การรัฐประหารประสบความสาเร็จ ไม่เผชิญกับการชุมนุม ต่อต้านขนาดใหญ่ คณะรัฐประหารยังมีกระบวนการเปลี่ยนถ่ายอานาจค่อนข้างเร็ว ไม่ได้มีการมุ่ง ถือครองอานาจในระยะยาว อีกทั้งในสองช่วงดังกล่าว กระแสการต่อต้านรัฐประหารเองก็ไม่ได้ เป็นไปอย่างกว้างขวางมากนัก ทาให้ความจาเป็นในการใช้บังคับข้อหาชุมนุมทางการเมืองมีน้อย กว่า แต่ในการรัฐประหารโดย คสช. มีลักษณะเป็นการรัฐประหารที่คณะรัฐประหารมุ่งครอง อานาจค่อนข้างยาว และต้องการควบคุมทางการเมืองอย่างเข้มข้น รวมทั้งมีกระแสต่อต้านการยดึ อานาจครั้งนีค้ ่อนขา้ งมาก ดงั จะเหน็ ได้จากกระแสการชุมนุมต่อต้านรฐั ประหารหลายพ้ืนท่ีช่วงหลัง รัฐประหารใหม่ๆ ทาให้คณะรัฐประหารเลอื กใช้วิธกี ารปราบปรามทางการเมอื งที่เข้มข้นขึ้น โดยมี การใช้เครื่องมือหลากหลาย ทั้งการเรียกตัวแกนนากลุ่มต่างๆ มาควบคุมตัวในค่ายทหาร การ คุกคามครอบครัว การดาเนินคดีผู้แสดงออกทางการเมืองด้วยข้อหาต่างๆ รวมทั้งการสร้างข้อหา มั่วสมุ ชมุ นมุ ทางการเมือง กเ็ ปน็ อกี เครื่องมือหนง่ึ ของ คสช. ดว้ ย 4. 4 ปี 6 เดือน 19 วัน ของการปราบปราม: การบังคับใช้คำสั่งห้ามชุมนุมทางการเมือง ในยุค คสช. หากพิจารณาในระบบกฎหมายไทยปกติ ไม่เคยมีข้อกาหนดหรือการนิยามความหมาย ของ “การชุมนุมทางการเมือง” มาก่อน ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับก็เพียงแต่กาหนดรับรองเรื่อง เสรีภาพในการชมุ นุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเอาไว้ แม้แต่กฎหมายในสถานการณพ์ ิเศษ ได้แก่ พ.ร.บ.กฎอัยการศกึ พ.ศ.2457 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซ่ึง เป็นกฎหมายเฉพาะที่อนุญาตให้มีการจากดั สิทธิเสรีภาพบางส่วนในสถานการณ์วกิ ฤตหิ รือฉุกเฉิน บางอยา่ ง ก็ไม่เคยมกี ารกาหนดเรือ่ งการห้ามชมุ นมุ “ทางการเมือง” เอาไว้แตอ่ ย่างใด 19

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ใน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก นั้น มาตรา 11 (1) ได้กาหนดเรื่องการให้อานาจเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารมีอานาจในการหา้ มประชุมมว่ั สุมกนั หากมกี ารประกาศกฎอัยการศกึ สว่ นพ.ร.ก.ฉกุ เฉนิ ฯ ใน มาตรา 9 (2) ได้ให้นายกรัฐมนตรีมีอานาจออกข้อกาหนดห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือม่ัวสุมกัน ณ ที่ ใดๆ หรือกระทาการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย โดยไม่ได้มีการระบุไว้เลยว่า ตอ้ งเป็นการชุมนุม หรอื ประชุมมั่วสุมทาง “การเมอื ง” แตอ่ ยา่ งใด ใน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ซึ่งนับได้ว่าเป็นกฎหมายเฉพาะฉบับแรกที่ บัญญัติเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลการชุมนุมต่างๆ ขึ้น และถูกผ่านร่างกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.) ในยุคหลังรัฐประหาร 2557 ก็ไม่ได้มีการแยกพิจารณาหรือกาหนดนิยามเรื่อง “การชุมนมุ ทางการเมือง” ไวโ้ ดยเฉพาะ แต่พิจารณาการชมุ นุมของบุคคลในท่ีสาธารณะไว้ในฐานะ “การชมุ นุมสาธารณะ” เชน่ เดยี วกันหมด25 ขณะเดียวกัน ตัวประกาศ/คาส่ังห้ามมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองของคณะรัฐประหารทุกๆ ชุดเอง ก็ไม่เคยมีการกาหนดนิยามของ “การชุมนุมทางการเมือง” เอาไว้แต่อย่างใด การใช้ข้อ กล่าวหานี้ในยุคของ คสช. ยิ่งชี้ให้เห็นความไม่ชัดเจนแน่นอนในนิยามเรื่องการชุมนุมทางการเมอื ง โดยมลี กั ษณะของการพิจารณาตามอาเภอใจของเจ้าหนา้ ท่ีทหาร ทาให้การชุมนุมเกือบทุกประเภท อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนคาสั่งฉบับนี้ ทั้งการเคลื่อนไหวต่อต้านคณะรัฐประหาร/รัฐบาล การเคลื่อนไหว เรียกร้องสิทธิทางการเมืองโดยตรง การเคลื่อนไหวในประเด็นสิ่งแวดล้อมทรัพยากร การพัฒนาใน ทอ้ งถน่ิ หรือนโยบายสาธารณะต่างๆ เปน็ ตน้ ตลอด 5 ปีทีผ่ า่ นมา คสช. กองทัพ และเจา้ หน้าท่ีรฐั ใช้ขอ้ หาความผดิ เรอ่ื งการชมุ นุมทาง การเมือง กับการแสดงออกทางการเมืองลักษณะแตกต่างกันจานวนมาก จากข้อมูลของศูนย์ ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2557 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2562 มีผู้ถูก ดาเนนิ คดใี นข้อหาเรือ่ งการมว่ั สุมชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป จานวนอย่างน้อย 428 คน คิดเป็นจานวน 69 คดี (บางรายถูกดาเนินคดีซ้าหลายคดี) แยกเป็นถูกกลา่ วหาด้วยประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 จานวนอย่างน้อย 50 คน คิดเป็นจานวน 19 คดี และถูกกล่าวหาด้วยข้อ 12 ของ 25 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มาตรา 4 ได้กาหนดนิยาม “การชุมนุมสาธารณะ” วา่ หมายถงึ “การชุมนุมของ บุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อ ประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วย หรือไม”่ 20

“รฐั ประหาร พื้นที่ พลเมือง” คาสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 จานวนอย่างน้อย 378 คน คิดเป็นจานวน 50 คดี26 โดย พจิ ารณาลกั ษณะการบงั คบั ใช้ประกาศ/คาสงั่ เร่ืองการห้ามชุมนุมทางการเมืองนี้ เปน็ ประเด็นต่างๆ ไดด้ งั ต่อไปน้ี 4.1 การใช้ปราบปรามการชุมนมุ ตอ่ ต้านการรัฐประหารหลังการยดึ อำนาจ ในชว่ งแรกหลงั การรัฐประหาร ข้อหาความผิดเรือ่ งการชุมนุมทางการเมือง ถกู นามาใช้ใน การปราบปรามการชุมนุมหรือเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารเป็นหลัก โดยในช่วง 1 เดือนแรก หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีประชาชนที่ออกมาชุมนุมหรือทากิจกรรมต่อต้านการ รัฐประหาร ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างน้อย 55 ราย27 หรือบางกรณีก็ถูกเจ้าหน้าที่ทหาร ติดตามเรยี กตวั ภายหลังมกี ารแสดงออกตอ่ ตา้ นรฐั ประหารในท่สี าธารณะแลว้ ปรากฏการณ์เหล่าน้ี เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เท่าที่ทราบเช่น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ลาปาง อุตรดิตถ์ ขอนแกน่ มหาสารคาม อบุ ลราชธานี เปน็ ตน้ ผู้ถูกจับกุมจากการชุมนุมหรือการเรียกตัวภายหลังหลายคน ยังถูกนาตัวไปควบคุมใน ค่ายทหารด้วยระยะเวลาต่างๆ กัน บางรายถึง 7 วัน จนครบอานาจของเจ้าหน้าที่ทหารตามกฎ อัยการศึก ก่อนปล่อยตัวโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา แต่บางรายก็มีการนาตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา ดาเนินคดีในข้อหาตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 เท่าที่ทราบมีอย่างน้อย 23 ราย ที่ถูกแจ้ง ข้อกล่าวหาในช่วงนี้ แยกเป็นจานวน 14 คดี28 โดยการนาตัวมาแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่ หรือปล่อย ตัวไปโดยไม่ได้มีการดาเนินคดีนั้น ไม่ได้มีหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ ทหารแต่ละพื้นท่ี และการพูดคุยที่เกิดขึ้นระหว่างการควบคุมตัวในค่ายทหาร ในช่วงนี้กลไกการ 26 Thai Lawyers for Human Rights, “Five years under NCPO, isn’t that enough? Recommendations to eliminate the effects of the coup”, Accessed Sep 16, 2019, https://www.tlhr2014.com/?p=13035&lang=en 27 อ้างอิงจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, “รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน 1 เดือนหลัง รัฐประหาร”, สืบคน้ วันท่ี 12 พฤษภาคม 2562, https://tlhr2014.files.wordpress.com/2014/12/th-after-coup- thai-human-rights-situation-report.pdf. 28 คดีการชุมนมุ หรอื ทากจิ กรรมตอ่ ตา้ นรัฐประหารในช่วงแรก อาทเิ ชน่ การร่วมกจิ กรรมตอ่ ตา้ นการรัฐประหาร ที่หน้าหอศลิ ปก์ รงุ เทพฯ มผี ูถ้ ูกดาเนนิ คดี 2 ราย, การทากิจกรรมชูปา้ ยต่อต้านรัฐประหารที่ท่าน้านนท์ มีผู้ถูกดาเนินคดี 4 ราย, การร่วมกจิ กรรมกินแม็คโดนลั ดต์ ้านรัฐประหาร ที่ราชประสงค์ มีผ้ถู ูกดาเนินคดี 3 ราย, การทากิจกรรมกินแม็ค โดนลั ด์ตา้ นรัฐประหาร ท่ีจงั หวดั เชียงราย มีผถู้ กู ดาเนินคดี 7 คน, คดีทากิจกรรมชูป้ายเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุม ตัวในค่ายทหาร จังหวัดเชียงราย มผี ้ถู กู ดาเนินคดอี กี 1 ราย เป็นต้น 21

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ควบคมุ ตัวบุคคลตามกฎอยั การศึกกับคาส่งั ห้ามชุมนุมทางการเมือง จึงถูกใชใ้ นลกั ษณะควบคู่กนั ไป เพอ่ื ปราบปรามหยุดยงั้ การตอ่ ตา้ นการรัฐประหาร ในช่วงหลังยึดอานาจ ยังมีการจับกุมกรณีที่ถูกเรียกว่า “ขอนแก่นโมเดล” โดยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 กาลังทหารในจังหวัดขอนแก่น ได้เข้าตรวจค้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่โรงแรมชลพฤกษเ์ ลคไซด์ กอ่ นจบั กมุ ผ้ตู ้องสงสัยรวม 26 คน โดยทางกองทัพแถลงข่าวว่าได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มผู้ไม่หวังดีจะออกปฏิบตั ิการ “ขอนแก่นโมเดล” ใน ลักษณะก่อกวนเมือง จึงทาการจับกุมกลุ่มคนดังกล่าวขณะประชุม กรณีนี้ต่อมา มีการแจ้งข้อหา เรื่องการชุมนุมทางการเมืองตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ต่อผู้ต้องหารวม 21 ราย ร่วมกัน กับข้อหาอ่ืนๆ ได้แก่ ตระเตรียมก่อการร้าย, เป็นซ่องโจร และครอบครองอาวธุ ด้วย29 การใช้คาส่ัง เรื่องการมั่วสุมชุมนุมทางการเมอื งดาเนินคดีบุคคลในช่วงแรก จึงไม่ได้มีแต่กรณีการออกมาชมุ นุม ในท่สี าธารณะเทา่ นั้น การจับกมุ ดาเนินคดีต่อผู้ชุมนุมตอ่ ต้านการรัฐประหาร ยงั เกดิ ขึน้ ไปพรอ้ มๆ กับการเรียก ตัวหรอื เขา้ ควบคมุ ตัวแกนนากลุ่มการเมืองต่างๆ ในทุกพืน้ ที่ โดยเฉพาะกลุ่มคนเส้อื แดง ไปควบคุม ในค่ายทหารทว่ั ประเทศ มกี ารให้เซ็นเง่ือนไขขอ้ ตกลง (MOU) การไม่รว่ มเคลือ่ นไหวหรือชมุ นุมทาง การเมืองอีก30 ก่อนปล่อยตัวออกมา พร้อมกับการถูกจับตาโดยเจ้าหน้าที่ทหารอย่างใกลช้ ิด มีการ แวะเวียนไปตรวจสอบความเคลื่อนไหว หรือให้โทรศัพท์แจ้งการเดินทางออกนอกจังหวัดต่อ เจ้าหน้าที่ในช่วงหลายเดือนแรกหลังรัฐประหาร การชุมนุมหรือการแสดงออกต่อต้านการ รฐั ประหารจึงค่อยๆ ลดลงเนื่องจากถกู ปราบปรามอย่างหนักในชว่ งแรก เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้คณะ รฐั ประหารสามารถควบคมุ อานาจไวไ้ ด้ 29 จาเลยหลายคนในคดีนี้ให้ข้อมูลตรงกันว่า ในวันเกิดเหตุ พวกเขาตั้งใจมาประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลเรื่องการ ปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ แต่กลับถูกบุกเข้าจับกุม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อถูกเจ้าหน้าที่สอบปากคา โดยกล่าวถึง “ขอนแกน่ โมเดล” นนั้ พวกเขาไม่เคยไดย้ ินมาก่อน ทง้ั ขณะถูกควบคมุ ตัวในคา่ ยทหาร 7 วนั หลายคนได้รับการปฏิบัติท่ี กดดันต่อสภาพร่างกายและจิตใจอย่างมาก ถึงปจั จบุ ันผ่านมากวา่ 5 ปี คดนี ี้กย็ งั ไม่ส้ินสดุ และยงั ไมม่ คี าพิพากษาออกมา ดูในรายงานของ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, “สืบพยานโจทก์คดี ‘ขอนแก่นโมเดล’ ยังไม่คืบ พยานทหารติด ราชการ เล่ือนสืบไปอีก”, สบื คน้ วนั ที่ 13 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=3820. 30 คสช. มกี ารออกประกาศกาหนดใหก้ ารฝา่ ฝนื เงอื่ นไขข้อตกลงในการปลอ่ ยตวั ของบคุ คลทมี่ ารายงานตัว หรือ ถูกกกั ตวั ตามกฎอยั การศึก มีความผิดทางอาญา ตามประกาศ คสช. ฉบบั ท่ี 39/2557 และฉบบั ท่ี 40/2557 โดยกาหนด โทษจาคุกไมเ่ กนิ 2 ปี ปรบั ไม่เกิน 40,000 บาท หรือทงั้ จาทั้งปรับ 22

“รฐั ประหาร พืน้ ที่ พลเมือง” 4.2 การใชป้ ราบปรามการชุมนุมที่เกย่ี วขอ้ งกับการใช้อำนาจของ คสช./รัฐบาลทหาร/ กองทพั หรือการบรหิ ารประเทศในมิติต่างๆ ในระยะหลังจากนั้น การออกมาเคลื่อนไหวหรือชุมนุมเพื่อคัดค้านคณะรัฐประหาร ก็ ไม่ได้หมดไปโดยสิ้นเชิง เมื่อมีบริบทหรือสถานการณ์ต่างๆ ทางการเมืองที่สาคัญ หรือมีความไม่ พอใจของประชาชน ก็ยังคงมีการแสดงออก หรือการเคลื่อนไหวคัดค้านเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท้ัง การเคลื่อนไหวตรวจสอบการทุจริตของกองทัพ ความไม่พอใจต่อการบริหารประเทศในประเด็น ต่างๆ ของ คสช. การรณรงค์โหวตโนร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อครบรอบการรัฐประหารหรือวาระสาคัญ ทางการเมือง การเรียกร้องให้กาหนดวันเลอื กตั้ง เป็นต้น คาสั่งห้ามเรื่องการชุมนุมทางการเมืองกลายเป็นเครื่องมือสาคัญที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้ใน การปิดกนั้ การทากิจกรรมต่างๆ อยตู่ ่อมา รวมทงั้ ใช้ดาเนินคดีบคุ คลอยา่ งตอ่ เน่ือง กล่าวได้ว่าคาสั่ง ฉบับนี้เป็นกลไกหนึ่งในการทาลายและขัดขวางการแสดงออกทางการเมืองบนท้องถนน หรือการ แสดงออกในทสี่ าธารณะของ “การเมอื งภาคประชาชน” ตลอดยคุ คสช. หากพิจารณาในส่วนเนือ้ หาการแสดงออกที่ถกู กลา่ วหาดาเนนิ คดี ในข้อหาฝา่ ฝนื เรือ่ งการ ชุมนุมทางการเมือง ในช่วงตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา พบว่าเป็นไปอย่างกว้างขวางในหลากหลาย ประเด็นและรปู แบบ ไม่ใช่เพียงเรือ่ งการคดั ค้านผู้ปกครอง หรือคัดค้านการยึดอานาจเทา่ นั้น อาทิ เช่น การทำกิจกรรมตรวจสอบการทุจริต ได้แก่ การทุจริตของกองทัพ อย่างการทากิจกรรมน่ัง รถไฟไปอุทยานราชภักด์ิ หรือการทากิจกรรมตรวจสอบการทุจริตในการลงประชามติร่าง รัฐธรรมนูญ อย่างการเปิด “ศูนย์ปราบโกงประชามติ” ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ, การ วิพากษ์วิจารณ์การแทรกแซงเสรีภาพทางวิชาการของทหาร ได้แก่ คดีการแถลงข่าว “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” และคดีชูป้าย “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร”, การทำกิจกรรม รำลกึ เหตกุ ารณ์ทางการเมืองในอดีต ไดแ้ ก่ การทากิจกรรมปัดฝุ่นประชาธปิ ไตย ที่อนุสาวรีย์หลัก ส่ี เพื่อราลกึ ถงึ เหตกุ ารณ์ 24 มิถนุ ายน 2475 ของกลุ่มนิสติ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ การจัดเสวนาให้ความรู้เก่ียวกบั ร่างรัฐธรรมนูญในช่วงการลงประชามติ ได้แก่ การจัด กิจกรรม “พูดเพอ่ื เสรีภาพ ร่างรัฐธรรมนูญกับคนอีสาน” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การรณรงค์ให้ โหวตโนในการลงประชามติ ได้แก่ การแจกใบปลิวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่ชุมชนตลาดเคหะบาง พลี, การทำกิจกรรมเรียกร้องการจัดการเลือกตั้ง ได้แก่ การทากิจกรรม “เลือกตั้งที่ (รัก) ลัก” เพื่อราลึกถึงการเลือกตั้งที่ถูกขโมยไป หรือคดีการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้ง, การทำกิจกรรม 23

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 รณรงค์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิชุมชน ได้แก่ การทากิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ เป็นต้น ในหลายคดี มีการใช้ข้อหาชุมนุมทางการเมืองกล่าวหากิจกรรมลักษณะเดียวกัน ท่ี เกิดขึ้นกระจายไปในหลายพืน้ ทีท่ ั่วประเทศพร้อมๆ กัน เช่น กรณีการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ช่วงก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 ซึ่งเครือข่ายของคนเสื้อแดงในหลาย จังหวัดดาเนินการร่วมกัน รูปแบบเป็นการติดป้ายในพื้นที่เอกชนเพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ติตดามจับตา การลงประชามติในพ้นื ทจ่ี ังหวัดน้นั ๆ โดยผเู้ ข้าร่วมจะมีกิจกรรมถา่ ยภาพเปิดศนู ย์ฯ รว่ มกัน กรณีนี้ กลับนาไปสูก่ ารถกู เจ้าหน้าท่ีทหารปิดกัน้ กิจกรรมในหลายพ้ืนที่ รวมทงั้ กล่าวหาดาเนินคดีในข้อหา ฝ่าฝืนคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 รวมจานวน 8 คดี มีผู้ถูกกล่าวหามากถึง 147 ราย จากการ เปิดศูนย์ปราบโกงในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดแพร่ ราชบุรี กรุงเทพฯ หนองบัวลาภู อุดรธานี สุรินทร์ สกลนคร และนครพนม โดยหลายคนเพียงแต่ไปร่วมถ่ายรูปในระหว่างการเปิดศูนย์ปราบ โกง หรือไปรับประทานอาหาร แตก่ ลับถูกเจา้ หน้าท่ที หารนารายชื่อไปแจ้งความกล่าวหาดว้ ย31 หรือกรณจี ดั กจิ กรรมของคนอยากเลอื กตงั้ ซงึ่ เปน็ การชมุ นุมเรียกรอ้ งให้มีการกาหนดวัน เลือกตั้งที่ชัดเจนตามสัญญาของคณะรัฐประหาร กิจกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2561 โดยเฉพาะในพนื้ ที่กรงุ เทพฯ และตามหัวเมอื งใหญ่ หลงั การทากิจกรรม แต่ละครั้ง เจ้าหน้าท่ีทหารจะเขา้ แจ้งความกล่าวหาท้ังแกนนาและประชาชนทั่วไปผู้ร่วมชมุ นุม ทา ให้รวมแล้วมีผู้ถูกดาเนินคดีถึง 130 คน รวมจานวน 10 คดี ทุกคดีถูกกล่าวหาด้วยข้อหาหลาย ขอ้ หา โดยมีขอ้ หาฝา่ ฝืนคาสัง่ หัวหนา้ คสช. ที่ 3/2558 เป็นหนึง่ ในนัน้ 32 กรณีทง้ั สองน้ี ช้ใี หเ้ หน็ การใช้การใช้ข้อหาชุมนุมทางการเมอื งในการพยายามระงับยับย้ัง กิจกรรมการเคล่ือนไหวท่มี ีลักษณะค่อนข้างกว้างขวาง ในหลายพ้ืนทหี่ ลายจังหวัด และมีผู้เข้าร่วม ค่อนข้างมาก การมุ่งกล่าวหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจานวนมาก ไม่ใช่เพียงแกนนาผู้จัดกิจกรรม และกล่าวหาในหลายคดีอย่างต่อเนื่อง ทาให้ส่งผลเป็นการระงับยับยั้งการขยายตัวของกิจกรรม 31 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, “รัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ แต่ “ผู้ต้องหาประชามติ” กว่า 104 ราย ยังถูกดาเนินคดี” , สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=3924. กรณีนี้ ผู้ต้องหาส่วน ใหญ่ยินยอมเข้ารับการอบรมกับเจ้าหน้าที่ทหาร ทาให้พนักงานสอบสวนและอัยการทหารสั่งไม่ฟ้องคดีจานวน 83 คน บางส่วนก็ยนิ ยอมให้การรับสารภาพตอ่ มาในชัน้ ศาลทหาร 32 อา้ งองิ จาก ศูนยท์ นายความเพ่อื สทิ ธมิ นษุ ยชน, “10 ปรากฏการณ์สทิ ธิมนษุ ยชน รอบปี 2561”, สบื ค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=10249. 24

“รัฐประหาร พืน้ ที่ พลเมือง” เหล่านี้ต่อไป ทาให้ประชาชนที่เห็นว่ามีการดาเนินคดีไม่กล้าเข้าร่วม สร้างภาระให้แกนนาหรือ ประชาชนผถู้ ูกดาเนนิ คดี และทาให้การดาเนนิ กิจกรรมตอ่ ไปเต็มไปดว้ ยขอ้ จากดั ขณะเดียวกันตัวอย่างคดีที่สะท้อนถึงภาวการณ์ใช้ข้อกล่าวหานี้ตามอาเภอใจ โดยการ กลา่ วหาดาเนินคดีไวก้ ่อน แมก้ ารชมุ นุมหรือกิจกรรมนน้ั จะไมเ่ ข้าข่ายเร่ืองการชุมนุมทางการเมือง เลยก็ตาม ได้แก่ คดี “We Walk เดินมิตรภาพ” ซ่ึงเป็นการท ากิจกรรมเดินเท้าจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ไปยังจังหวัดขอนแก่น เพื่อรณรงค์ถึงปัญหาของชุมชน ทั้งในเรื่อง หลักประกันสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน และประชาธิปไตย ซึ่งผู้ทากิจกรรมส่วนใหญ่เป็น ชาวบา้ นและนกั กิจกรรมในองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทางานด้านสทิ ธิชมุ ชนและสง่ิ แวดล้อม ท่ีรวมตัว กนั ในนามเครือข่าย “People Go” ตอ่ มาแกนนา 8 ราย ถกู ทหารกล่าวหาว่าไดร้ ่วมกันชุมนุมทาง การเมือง แต่ในชั้นอัยการได้มีคาสั่งไม่ฟ้องคดี เนื่องจากเห็นว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบและ ปราศจากอาวุธ และการชมุ นมุ ไม่ได้มกี จิ กรรมเกี่ยวกบั “การเมอื ง” แต่อยา่ งใด เช่นเดียวกับคดี “We Walk ดอยเทวดา” ที่ชาวบ้านและนักศึกษา 10 ราย ที่บ้านดอย เทวดา อาเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ร่วมทากิจกรรมสนับสนุน “We Walk เดินมิตรภาพ” โดยเดิน รณรงคเ์ รอื่ งปญั หาที่ดนิ ในหมบู่ ้าน แต่กลบั ถูกทหารกล่าวหาว่าเปน็ การชุมนุมทางการเมือง ก่อนที่ ตารวจและอัยการจะมีคาสั่งไม่ฟ้องคดีในเวลาต่อมา โดยระบุเรื่องพยานหลักฐานไม่เพียงพอว่าจะ เข้าขา่ ยเปน็ การม่ัวสมุ ชุมนมุ ทางการเมือง33 ทงั้ สองคดีนี้ ชี้ให้เห็นลกั ษณะการใชอ้ านาจทเ่ี จ้าหนา้ ท่ีทหารฉวยใช้ขอ้ หาฝ่าฝืนคาส่ังห้าม ชมุ นุมทางการเมอื งมาเป็นเครื่องมือในการกล่าวหาตามอาเภอใจ สร้างภาระให้ผ้ถู ูกดาเนินคดี และ พยายามใช้ขัดขวาง-หยุดยั้งการเคลื่อนไหวรวมตัวของประชาชน ไม่ให้มีการขยายตวั หรอื เปน็ ไปได้ โดยง่าย แม้ต่อมาพยานหลกั ฐานจะไมไ่ ดเ้ ขา้ ข่ายขอ้ กลา่ วหาก็ตาม ในทางตรงกนั ข้าม คดที ่มี กี ารแสดงออกพาดพงิ ถงึ เจ้าหนา้ ท่ที หาร แม้ไมไ่ ดม้ ลี ักษณะเป็น การชุมนุมสาธารณะ กลับถูกพิจารณาว่าเป็น “การชมุ นมุ ทางการเมือง” และถูกกลา่ วหาดาเนินคดี ตามมา ได้แก่ คดีชูป้าย “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร” เนื่องจากเห็นว่ามีทหารเข้าไปรบกวน 33 ดรู ายงานการสงั่ ไม่ฟอ้ งคดี We Walk เดนิ มิตรภาพทง้ั สองคดี ได้ใน ศูนยท์ นายความเพ่ือสิทธิมนษุ ยชน, “อัยการสงั่ ไมฟ่ ้องคดี ‘We walk เดินมติ รภาพ’”, สบื คน้ วนั ท่ี 15 พฤษภาคม 2561, https://www.tlhr2014.com/?p=8383. และ ศูนย์ทนายความเพ่อื สทิ ธมิ นษุ ยชน, “เป็นอันส้นิ สดุ อัยการมีความเหน็ สง่ั ไม่ฟอ้ งคดชี าวบา้ น “We walk ดอยเทวดา””, สืบคน้ วนั ที่ 15 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=7738. 25

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 แทรกแซงการประชุมงานวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ผู้ต้องหา 5 คน กลับถูกเจ้าหน้าที่ทหาร กลา่ วหาว่าฝ่าฝืนคาสั่งเร่ืองการชุมนุมทางการเมือง และทางตารวจและอัยการเองก็มีคาสั่งฟ้องคดี ในคดีนี้ เมื่อผู้ต้องหาได้ร้องขอความเป็นธรรมในคดีไป ทางอัยการสูงสุดกลับยืนยันว่าการติดป้าย ดังกล่าว “โดยมีการเสวนาและบรรยายในเรื่องทางการเมืองในลักษณะต่อต้านรัฐบาล คสช. ที่มา จากรัฐประหาร ทั้งยังแสดงสัญลักษณต์ ่อต้านทางการเมืองโดยการชูสามนิ้ว จึงเป็นการมั่วสุมทาง การเมอื งต้งั แต่ห้าคนขึ้นไป” และเหน็ ว่าการฟอ้ งคดเี ป็นธรรมแล้ว34 หากพิจารณาในด้านรูปแบบหรือพฤติการณ์การชุมนุมที่ถูกกล่าวหา จะพบว่าไม่ได้มี เพียงแต่การชุมนุมบนทอ้ งถนนหรือตามสถานที่สาธารณะ หรือมกี ารต้งั เวทีการชุมนุมเท่านั้น แต่มี ทั้งรูปแบบการเดินเท้าไปตามทางเท้า การทากิจกรรมเสวนาในมหาวิทยาลัย การชูป้ายข้อความ เฉยๆ โดยไม่ได้มีการนัดหมายชมุ นุมหรอื ชักชวนคนเข้ารว่ ม หรือการรวมตัวถา่ ยรปู กับปา้ ยข้อความ ในพน้ื ทเ่ี อกชน เปน็ ต้น ในบางกรณีที่ถูกกล่าวหาดาเนินคดีก็ไม่ได้เป็นการชุมนุมตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ยกตัวอย่าง เช่น คดีของพนั ธศ์ ักดิ์ ศรีเทพ นักกิจกรรมทากิจกรรม “พลเมอื งรกุ เดิน” โดยกจิ กรรมเป็นการเดิน เท้าเพียงลาพังจากบ้านพักย่านบางบัวทองไปรายงานตัวในคดี “เลือกตั้งที่ (รัก) ลัก” ที่ศาลทหาร กรุงเทพ เพื่อเรียกร้องให้ยุติการดาเนินคดพี ลเรือนในศาลทหาร แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารกล่าวหา ในข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 โดยอ้างว่าพันธ์ศักดิ์ได้ชักชวนประชาชนให้มาร่วมชุมนุม โดยยังมีบุคคลอื่นๆ ที่เป็นผู้ชุมนุมและ ไมไ่ ด้ตวั มาดาเนนิ คด3ี 5 บางกิจกรรมที่ถูกดาเนินคดเี รื่องการชุมนุมทางการเมือง มีลักษณะเป็นการแถลงข่าวตอ่ ผู้สื่อข่าว ไม่ได้เป็นการชุมนุมในที่สาธารณะ ไม่ได้มีการเปิดให้บุคคลอื่นสามารถเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ คดีการแถลงข่าวเรื่อง “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” ของกลุ่มนักวิชาการ “เครือข่าย 34 ศูนย์ทนายความเพอ่ื สิทธิมนษุ ยชน, “อยั การยืนยนั คดี “เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร” เปน็ ชุมนมุ การเมอื งโดย ไม่ขออนญุ าต คสช. คดียงั เดนิ หน้าต่อไป”, สบื ค้นวนั ที่ 15 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=8637. ต่อมาคดีนี้ในชั้นศาล สิ้นสุดลงโดยศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากข้อหาความผิดเรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมื องถูก ประกาศยกเลิกไป โดยศาลไมไ่ ด้มีคาวินจิ ฉัยในเรื่องเนือ้ หาทางคดแี ต่อยา่ งใด 35 กรณีนี้ต่อมา มีผู้ถูกกล่าวหาดาเนินคดีแยกไปอีก 1 ราย ได้แก่ นายปรีชา แก้วบ้านแพ้ว ผู้มาสังเกตการณ์ กจิ กรรมของเดินเทา้ ของพันธศ์ ักดิ์ และเข้าไปมอบดอกไม้และถุงอาหารให้กาลังใจพันธ์ศักด์ิเท่าน้ัน แต่กลับถูกดาเนินคดี ขอ้ หาฝ่าฝนื ประกาศห้ามชุมนมุ ทางการเมืองไปดว้ ย 26

“รัฐประหาร พน้ื ท่ี พลเมอื ง” คณาจารย์มหาวิทยาลัย” เม่ือวนั ท่ี 31 ตุลาคม 2558 ทโ่ี รงแรมในจงั หวัดเชียงใหม่ โดยนักวิชาการ 8 คน น่งั อ่านแถลงการณ์ที่มีเน้อื หาตอบโต้ พล.อ.ประยทุ ธ์ จันทร์โอชา ทใี่ หส้ มั ภาษณ์วา่ อาจารย์ใน มหาวิทยาลัยสอนให้นักศึกษามีความคิดเชิงต่อต้านและไม่เคารพกติกา ทั้ง 8 คน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ ทหารเขา้ แจ้งความดาเนินคดีในขอ้ หาชมุ นมุ ทางการเมอื งตัง้ แต่ห้าคนขน้ึ ไป36 หรือกรณีการจัดแถลงข่าวของแกนนาพรรคเพื่อไทยในโอกาสครบรอบ 4 ปี การ รัฐประหาร เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ณ ที่ทาการของพรรคเอง ก่อนการแถลงข่าวดังกล่าว แกนนาพรรคได้ถูกเจ้าหน้าที่ตารวจเข้าพูดคุย โดยระบุว่าการจัดแถลงข่าวอาจเข้าข่ายเป็นการ ชุมนุมทางการเมือง ทาให้ทางพรรคตัดสินใจงดการแถลงข่าวโดยกรรมการบริหารพรรค แต่ให้ สมาชิกพรรคสามคนเป็นผู้นง่ั แถลงขา่ วแทน ต่อมาทาง คสช. มอบอานาจให้นายทหารเขา้ แจง้ ความ ร้องทกุ ขแ์ กนนาพรรค 8 คน ทอ่ี ยู่รว่ มในทเ่ี กิดเหตุ แม้ไม่ได้รว่ มขึน้ แถลงข่าวก็ตาม ในข้อหาชุมนุม ทางการเมอื ง ตามคาส่งั หัวหน้า คสช. ฉบบั ที่ 3/2558 ขณะที่ผ้แู ถลงข่าว 3 ราย ยงั ถูกแจ้งความใน ขอ้ หาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ดว้ ย จากความหลากหลายทงั้ ในด้านเนื้อหาและรูปแบบของการชุมนุมท่ีถูกเจ้าหน้าท่ีกล่าวหา ดาเนินคดี ชี้ให้เห็นลักษณะของการพิจารณาตามอาเภอใจของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่จะเห็นว่าการ แสดงออกหรือการเคลื่อนไหวใดจะเป็นการชุมนุมทางการเมือง หรือแม้แต่ว่าบุคคลหรือกลุ่มใดท่ี เป็นผู้แสดงออกก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนามาพิจารณา37 ทาให้กิจกรรมในหลากหลายเนื้อหาและ 36 ตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาในคดนี ี้ ระบวุ ่าการเปดิ แถลงการณ์และแจกแถลงการณต์ ่อสื่อมวลชนดังกล่าว เพื่อประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลท่ีจะให้สื่อมวลชนนาแถลงการณ์ดังกล่าวไปขยายผลทางการเมือง เป็นการปลุก ระดมทางการเมอื งใหอ้ อกมาต่อต้านการทางานของ คสช. แตไ่ มไ่ ดม้ ีการบรรยายว่าการแถลงขา่ วดงั กลา่ วเข้าขา่ ยเป็นการ ชุมนุมทางการเมอื งอย่างไร กรณีนี้ตอ่ มา ผู้ต้องหา 6 ราย ยินยอมเข้ารับการอบรมกับเจ้าหน้าท่ีทหารในคา่ ยทหาร ส่วน ผูต้ ้องหาอกี 2 ราย ทไี่ ม่เข้ารับการอบรม อยั การทหารไม่ได้มกี ารสัง่ ฟ้องคดตี ่อศาลทหาร 37 แนวโน้มของผู้ถูกกล่าวหาดาเนินคดีมักจะเป็นประชาชนฝ่ายที่คัดค้านการยึดอานาจหรือต่อต้านการ ดาเนินการของรัฐบาลทหาร ขณะที่กลุ่มที่ออกมาชุมนุม/แสดงออกในลักษณะสนับสนุนคณะรัฐประหารหรือกองทัพ แทบไม่เคยมีรายงานการถูกดาเนินคดีตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ยกเว้นกรณีของกลุ่มประชาชนที่มาชูป้ายให้กาลังใจ พล.อ. ประวติ ร วงศส์ ุวรรณ ทห่ี น้ากระทรวงกลาโหม เม่ือวนั ที่ 1 กุมภาพนั ธ์ 2561 ซ่งึ มรี ายงานว่าตารวจมีการแจ้งข้อกล่าวหา ต่อผู้ชุมนุม 6 ราย ในข้อหาฝ่าฝืนคาสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และชุมนุมในเขตพื้นที่ห่างไม่เกิน 150 เมตร จากเขต พระราชฐาน ตามพ.ร.บ.การชมุ นุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แตไ่ มม่ รี ายงานว่าคดีน้ีมคี วามคืบหน้าอย่างไร ดูรายงานข่าวใน มติชนออนไลน์, “ม็อบเชียร์’บิ๊กป้อม’หน้ากลาโหมเขา้ มอบตัวสน.พระราชวัง ยันชื่นชอบ ให้กาลังรองนายกฯ”, สืบค้น วันที่ 19 พฤษภาคม 2562, https://www.matichon.co.th/politics/news_830850. 27

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 รูปแบบสามารถถูกกลา่ วหาดาเนนิ คดขี อ้ หานี้ได้ นอกจากนั้นยงั สะทอ้ นถงึ ความพยายามอย่างเป็น ระบบในการใช้ข้อหานี้ในการควบคุมปราบปรามการทากิจกรรมสาธารณะอย่างเข้มงวด ระงับ ยับยั้งการรวมตัวของประชาชน และลดทอนกระแสการคัดค้านต่อต้านในประเด็นต่างๆ การ ควบคุมการแสดงความคิดเห็นในรูปแบบการชุมนุมนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้การบริหาร ประเทศ หรือการใชอ้ านาจต่างๆ ของคณะรฐั ประหารดาเนนิ ไปไดอ้ ยา่ งต่อเนือ่ งหลายปี 4.3 การใช้คำสั่งเพื่อมุ่งสร้างภาระและต้นทุนในการออกมาชุมนุมหรือทำกิจกรรม สาธารณะ หากพิจารณากระบวนการในคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีลักษณะของการมุ่งใช้การ ดาเนินคดที าง “กฎหมาย” เพื่อปราบปรามการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมอื งหรอื ชุมนมุ สาธารณะ ต่างๆ มากกวา่ การมงุ่ ผลทางคดี หรือมงุ่ จะลงโทษหรือคุมขังผู้ถกู ดาเนินคดี เนอื่ งจากการดาเนินคดี ได้สร้างภาระใหก้ บั ผถู้ กู กล่าวหา ทงั้ เรือ่ งหลักทรพั ยป์ ระกนั ตัว เวลาทีต่ อ้ งสญู เสยี ในการไปรายงาน ตัวหรือเข้าร่วมในกระบวนการพิจารณา38 โดยเฉพาะความล่าช้าของกระบวนการพิจารณาคดีใน ศาลทหาร หากเลือกจะต่อสู้คดี เนื่องจากรูปแบบการนดั หมายสืบพยานแตกต่างจากศาลพลเรือน โดยการนัดสืบพยานในศาลทหารเป็นการนัดไม่ต่อเนื่อง ใช้เวลา 2-3 เดือนต่อหนึ่งนัด ทั้งยังมีการ เลอื่ นสืบพยานบ่อย ทาใหค้ ดีหนง่ึ ใช้เวลานานหลายปีกว่าจะสบื พยานแล้วเสรจ็ 39 ภาระจากการถูกกล่าวหาดาเนินคดี การต้องเผชิญกับกระบวนการในศาลทหาร ยังทาให้ ผู้ต้องหา/จาเลยจานวนมากที่ถูกกล่าวหาในข้อหาชุมนุมทางการเมือง ได้ให้การรับสารภาพ ไม่ได้ ต่อสูค้ ดี โดยเฉพาะกลุ่มที่เปน็ ประชาชนทวั่ ไป ไม่ใช่นักเคลื่อนไหวท่มี ีชอ่ื เสียงหรือต้นทุนทางสังคม มากนัก จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าผู้ถูกดาเนินคดีในช่วงแรก หลังการรัฐประหาร ให้การรับสารภาพ ถึง 11 คดี จาก 16 คดี ทั้งหมดถูกศาลทหารพิพากษา ลงโทษจาคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท แต่โทษจาคุกให้รอลงอาญาไว้ ในกลุ่มประชาชนเหล่านี้ การออกมาเคลอ่ื นไหวต่อไปจงึ อาจสุ่มเสย่ี งตอ่ โทษทางอาญาทถี่ กู รอลงไวไ้ ด้ 38 ยกตัวอยา่ งเชน่ ในคดีชปู ้าย “เวทีวชิ าการไม่ใชค่ ่ายทหาร” ผูต้ อ้ งหา 5 คน ในคดนี ้ี ต้องเดินทางไปรายงานตัว กับอัยการคดีศาลแขวงเชียงใหม่ทุกๆ เดือน แม้อัยการจะยังไม่มีคาสั่งฟ้องคดี รวมแล้วถึง 11 ครั้ง อัยการจึงจะมีคาสั่ง ฟอ้ งคดี สรา้ งภาระให้กับชีวติ และหน้าท่กี ารงานของผ้ตู อ้ งหาแต่ละคน 39 ดูประเด็นเรือ่ งความล่าชา้ ในการพจิ ารณาคดีของศาลทหารในศูนยท์ นายความเพ่อื สทิ ธมิ นุษยชน, “ความ ลา่ ชา้ ในศาลทหาร: คดพี ลเรอื นยงั ดาเนินอยู่ แม้ไร้เงา คสช.”, สืบคน้ วันท่ี 15 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=11352. 28

“รฐั ประหาร พน้ื ที่ พลเมอื ง” ขณะเดียวกัน หลังบังคับใช้คาสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับที่ 3/2558 พบว่าผู้ถูกกล่าวหาใน ข้อหาชุมนุมทางการเมืองอย่างน้อย 93 คน ได้ยินยอมเข้ารับ “การอบรม” จากเจ้าหน้าที่ทหาร หลงั จากการแจ้งขอ้ กล่าวหา เพื่อให้คดสี น้ิ สดุ ลง โดยไมต่ ้องมีการสั่งฟ้องคดี ในกระบวนการรับการ อบรมดังกล่าวเกิดขึ้นในค่ายทหาร โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพูดคุย โดยทั่วไปมักมีการชี้แจง ความจาเป็นต้องดูแล “รักษาความสงบเรียบร้อย” ทั้งมี “การร้องขอ” ไม่ให้มีการเคลื่อนไหวทาง การเมอื งอีก นอกจากนน้ั ยังตอ้ งมีการเซ็นบันทกึ ขอ้ ตกลง (MOU) ซ่ึงห้ามไมใ่ ห้เขา้ รว่ มกจิ กรรมทาง การเมอื งหรอื แสดงความคิดเหน็ ทางการเมืองอกี การฝ่าฝืนอาจถกู ดาเนินคดีตามมาอกี ได้ กล่าวได้ ว่ากระบวนการนี้คือการนากลไกการ “ปรับทัศนคติ” ในค่ายทหาร และการบังคับให้ทาเงื่อนไข ขอ้ ตกลงไม่เคลือ่ นไหวทางการเมอื ง มาบัญญัตเิ ปน็ ตัวบท “กฎหมาย” และนามาใชเ้ ป็นช่องทางใน การควบคมุ การเคล่อื นไหวทางการเมอื งในช่วงระยะหลงั ยกเลิกกฎอัยการศึกไปแลว้ ขณะที่คดีซึ่งผู้ต้องหาหรือจาเลยเลือกจะต่อสู้คดีนั้น จนถึงสิ้นปี 2561 พบว่าคดีข้อหา ฝ่าฝืนคาสั่งเรื่องการชุมนุมทางการเมอื งที่ต่อสู้ในช้ันศาล แทบไม่มีกรณีที่สืบพยานจนเสร็จสิ้นเลย เพราะความล่าช้าในการสืบพยานในชั้นศาลทหาร ยกเว้นเพียงคดีเดียว คือคดีของนายอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ นักกิจกรรม ที่ถูกดาเนินคดีในศาลพลเรือน40 ในข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับท่ี 7/2557 จากเข้าร่วมการชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร และชูป้าย “ไม่ยอมรับอานาจเถื่อน” เมื่อวันท่ี 23 พฤษภาคม 2557 คดนี ้ศี าลชน้ั ต้นและศาลอทุ ธรณไ์ ด้มคี าพพิ ากษารับรองสถานะของ คสช. ว่า มอี านาจเปน็ “รัฐฏาธิปัตย์” และประกาศ คสช. ท่ี 7/2557 ถอื เปน็ “กฎหมาย” โดยชอบ ส่วนข้อ ต่อสู้เรื่องหน้าที่พลเมืองในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของจาเลยตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ศาลก็ ระบุว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดไปโดยผลของประกาศ คสช. แล้ว จึงไม่สามารถยกบทบัญญัติมา อ้างได้อกี และเห็นวา่ จาเลยมีความผดิ 41 40 เนือ่ งจากคดนี ้กี ารกระทาของอภชิ าตเกิดข้ึนเม่ือวนั ที่ 23 พฤษภาคม 2557 กอ่ นหน้าการออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ซึ่งกาหนดให้ผู้ถูกดาเนินคดีในความผิดตามประกาศหรือคาสั่ง คสช. ต้องอยู่ในอานาจการพิจารณา พิพากษาคดีในศาลทหาร ทาให้คดีของอภิชาตถูกพิจารณาในศาลพลเรือน คดีจึงใช้เวลาในการสืบพยานไม่ยาวนานเท่า ศาลทหาร 41 คดีนี้ได้มีคาพิพากษาศาลชั้นต้นสองฉบับ เนื่องจากในครั้งแรก ศาลแขวงปทุมวันพิพากษายกฟ้องจาเลย เพราะเหน็ ว่าคดนี ี้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามไม่มีอานาจฟอ้ งคดี จงึ ไมถ่ ือว่ามกี ารสอบสวนท่ชี อบดว้ ยกฎหมาย แต่ ตอ่ มาศาลอุทธรณ์เหน็ ว่าพนักงานสอบสวนกองปราบปรามมีอานาจสอบสวน จึงถอื วา่ คดีมกี ารสอบสวนโดยชอบแล้ว จึง สั่งให้ศาลชั้นต้นไปทาคาพิพากษาใหม่ ศาลชั้นต้นจึงได้พิพากษาว่าจาเลยมีความผิด โดยลงโทษจาคุกสองเดือน ปรับ 6,000 บาท แต่โทษจาคุกใหร้ อการลงโทษไว้มีกาหนด 1 ปี ก่อนศาลอุทธรณ์จะไดแ้ ก้ให้ไม่ลงโทษจาคกุ แต่คงโทษปรับไว้ 29

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ต่อมา เมอื่ มกี ารยกเลกิ ข้อหาความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองในเดือนธันวาคม 2561 ทา ให้คดีจานวนมากที่ดาเนินอยู่ในทั้งศาลพลเรือนและศาลทหาร ถูกศาลพิจารณายกฟ้องหรือส่ัง จาหนา่ ยคดี เนื่องจากไมม่ ี “กฎหมาย” กาหนดใหเ้ ปน็ ความผดิ อีก ทาใหค้ ดีท่ีเกิดขึน้ และมกี ารต่อสู้ คดีอยู่แทบทั้งหมด ไม่ได้มีการวินิจฉัยเนื้อหาขององค์ประกอบของความผิดเรื่องการชุมนุมทาง การเมืองโดยองค์กรทางตุลาการเกิดขึ้น แต่ภาระทางคดีและการถูกปิดกั้นการชุมนุมหรือการทา กจิ กรรมก็ไดเ้ กิดข้ึนแลว้ อยา่ งตอ่ เนื่องหลายปี การจับกุมดาเนินคดีผู้ออกมาชุมนุมหรือทากิจกรรม แม้ไม่ต้องกระทาต่อผู้ชุมนุมทุกๆ คน แต่ถูกทาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีของการควบคุมอานาจ ยังกลายเป็นกรณีตัวอย่างที่สร้าง ต้นทุนให้กับประชาชนคนอื่นๆ ที่คิดจะออกมาชุมนุมหรือทากิจกรรมการแสดงออกในลักษณะ เดียวกนั ทาให้ตอ้ งคิดหน้าคิดหลงั และประเมินผลกระทบความเสีย่ งต่างๆ จานวนมาก ความเส่ียง เหลา่ นย้ี ังไม่ใช่เพียงการถกู ดาเนนิ คดี แตย่ ังรวมไปถงึ การถกู คุกคามติดตามโดยเจ้าหนา้ ท่ีรัฐอีกด้วย ส่งผลใหเ้ กดิ การระงบั ยบั ยั้งตนเองในการเข้าร่วมแสดงออกในท่สี ุด 4.4 การใชค้ ำสง่ั ข่มข่กู ดดนั เพื่อปดิ ก้ันหรือแทรกแซงการทำกิจกรรมสาธารณะตา่ งๆ คาสั่งห้ามชุมนุมทางการเมือง ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือสาคัญของเจ้าหน้าที่ทหารในการ ข่มขกู่ ดดนั เพอ่ื ปดิ กนั้ หรอื แทรกแซงการทากจิ กรรมสาธารณะต่างๆ ในหลากหลายประเด็น โดยไม่ ต้องมีการกล่าวหาดาเนินคดีโดยตรง โดยเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตารวจมักกล่าวอ้างถึงการฝ่าฝืน คาสั่งเรื่องการชุมนุมทางการเมือง หรือกล่าวอ้างถึงการฝ่าฝืนมาตรา 44 เพื่อแจ้งให้ผู้จัดกิจกรรม สาธารณะต่างๆ ยุติการทากิจกรรม หรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรม ทาให้ผู้จัด กิจกรรมจานวนมากต้องตัดสินใจยกเลิกการทากิจกรรม เนื่องจากเกรงกลัวต่อการถูกจับกุม ดาเนนิ คดี หรือเกรงกลวั ปญั หากับเจ้าหน้าทร่ี ัฐ ตัวอยา่ งกจิ กรรมทต่ี อ้ งถกู ยกเลกิ เนอื่ งจากเจา้ หน้าที่อา้ งถงึ การฝ่าฝืนคาสง่ั เรอื่ งการชุมนุม ทางการเมือง เชน่ กิจกรรม “Light Up Night: คา่ คืนสทิ ธมิ นุษยชน ณ เชียงใหม่” ซ่งึ เป็นกจิ กรรม พูดคุยเรื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ของแอมเนสตี้ อินเตอรเ์ นช่นั แนล ณ รา้ นอาหารในจงั หวดั เชยี งใหม่ เม่ือวนั ท่ี 17 สิงหาคม 2557 ไดถ้ ูกเจ้าหนา้ ที่ทหารโทรศัพท์ขอให้ เนื่องจากเหน็ ว่าการกระทาของจาเลยเป็นไปโดยสงบ ไม่ใช้ความรุนแรง และไมไ่ ดข้ ัดขนื การจับกุม ดูในศูนย์ทนายความ เพื่อสิทธิมนุษยชน, “สิทธิพิทักษ์ รธน. ไม่มีที่ใช้ ศาลอุทธรณ์ลงโทษอภิชาตชุมนุมต้านรัฐประหาร”, สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=7630. 30

“รัฐประหาร พน้ื ที่ พลเมอื ง” ยุติการจัดงาน อ้างว่ากิจกรรมขัดต่อประกาศ คสช. เรื่องการชุมนุมเกินกว่า 5 คน ทั้งยังเกี่ยวข้อง กับประเด็นทางการเมือง ทาให้ทางผู้จัดตอ้ งตัดสินใจยกเลกิ กจิ กรรม42 กรณีทากิจกรรมเดินเท้า “ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน” จากจังหวัดสงขลาเข้ากรุงเทพฯ ของ เครือข่ายภาคประชาชน 11 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปพลังงาน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารสั่งการให้ยุติการเดิน เนื่องจากเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน แม้ผชู้ ุมนุมจะพยายามปฏเิ สธว่าไมไ่ ด้เก่ียวข้องกบั การเมอื ง ในทส่ี ุดผู้ชุมนุมได้ถูกควบคุมตัวไป ค่ายทหาร แม้ไมไ่ ดม้ ีการดาเนนิ คดีในกรณีนี้ แต่กิจกรรมก็ไมส่ ามารถดาเนนิ ต่อไปได้43 กรณีจัดเสวนา “รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ?” เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการลงประชามติร่าง รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 ของเครือข่ายเวบ็ ไซต์ประชามติ ได้ถูกเจ้าหนา้ ท่ีทหาร และตารวจโทรศัพท์ไปถึงสถานที่จัดงาน และส่งจดหมายไปแจ้งว่างานอาจเข้าข่ายการชุมนุมทาง การเมอื ง ตามคาสั่งหวั หน้า คสช. ที่ 3/2558 ให้เจา้ ของงานขออนุญาตกอ่ น จนสถานที่จัดงานต้อง ยกเลิกการให้ใชพ้ ้ืนทีท่ ากจิ กรรม44 การใช้มาตรการข่มขู่กดดันเหล่านี้ รวมทั้งการนาคาสั่งนี้มาใช้อ้างอย่างกว้างขวาง ยัง นาไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองหรือเซนเซอร์กันเองของภาคส่วนต่างๆ ในการจัดกิจกรรมสาธารณะ ตลอด 5 ปีทผี่ ่านมา เกดิ ปรากฏการณท์ ่ีมหาวิทยาลยั หนว่ ยงานเอกชน หรือเจ้าของพื้นท่ีสาธารณะ ต่างๆ มีการปฏิเสธการให้จัดกิจกรรมสาธารณะในพื้นที่ของตน ด้วยเหตุว่าเป็นเรื่องทางการเมือง หรือเกรงจะมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ทหาร ส่งผลเป็นปิดกั้นการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นจานวนมาก อาทิเช่น กรณีในช่วงก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ทาง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่อนุญาตให้นักศึกษาและนักกิจกรรมจัดงานเสวนา “พูดเพ่ือ เสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน?” โดยแจ้งว่าไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ราชการจัดงานที่มีเรื่อง การเมือง และหากมีการจัดกิจกรรมจะทาให้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นกลาง มหาวิทยาลัยยงั ได้พยายามกดดันนกั ศกึ ษาโดนการตัดนา้ ตัดไฟสถานท่ีจดั กิจกรรม พรอ้ มต่อมาเม่ือ 42 ประชาไท, “แอมเนสตี้เผยทหารขอความร่วมมือยกเลิกกิจกรรมที่เชียงใหม่”, สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2014/08/55082. 43 ประชาไท, “ทหารรวบ ‘ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน’ เข้าค่าย ขณะเดินขบวนมา กทม.” , สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2014/08/55147. 44 มติชนออนไลน์, “ตั้งโต๊ะแถลง แฉถูกทหาร-ตร.สั่งยกเลิกให้ใช้ที่จัดเสวนาปมประชามติ ถึง 2 งาน”, สืบค้น วนั ท่ี 16 พฤษภาคม 2562, https://www.matichon.co.th/politics/news_52962. 31

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 นักศึกษายืนยันจัดงานต่อไป ทาให้ทางมหาวิทยาลัยเข้าแจ้งความเอาผิดผู้ทากิจกรรมร่วมกับทาง ทหารและตารวจเสยี เอง45 หรือกรณีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่อนุญาตให้ทาง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “การเมืองเรื่องการแปล ประชาธิปไตย จากมุมมอง Time Magazine” โดยเป็นการเสวนาที่ต่อเนื่องมาจากการให้สัมภาษณ์ของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในนิตยสารไทม์ โดยทางผู้บริหารมีการให้เหตุผลว่างานเสวนาเป็นเรื่อง “การเมอื ง” กลวั จะตกเป็นเครอื่ งมือทางการเมือง46 จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตลอด 5 ปีหลังการรัฐประหาร มี กจิ กรรมและการชุมนุมสาธารณะท่ถี ูกปิดก้ันโดยเจ้าหน้าท่รี ฐั จนไม่สามารถจัดข้นึ ได้ จานวนอย่าง น้อย 167 กจิ กรรม และถกู แทรกแซงโดยเจ้าหนา้ ที่รฐั จนต้องเปล่ียนแปลง ปรับรูปแบบ หรอื ได้รบั ผลกระทบในการจัดกิจกรรม อย่างน้อย 186 กิจกรรม ในกิจกรรมเหล่านี้ มีการใช้ข้ออ้างต่างๆ กันในการพยายามปิดกั้นหรือแทรกแซง เช่น ความไม่เหมาะสม ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทหาร ก่อน กระทบต่อ “ความมั่นคง” ผู้บังคับบัญชาไม่สบายใจ หรือการข่มขู่คุกคามสั่งห้ามโดยตรง เป็นต้น แต่ข้ออ้างเรื่องการฝ่าฝนื คาสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ก็เป็นอีกหน่ึงใน กลไกทถี่ ูกใช้กลา่ วอา้ งในการปดิ กั้น-แทรกแซงกจิ กรรมสาธารณะตา่ งๆ โดยตลอด การพิจารณารูปแบบการบังคับใช้คาสงั่ น้ี จึงไม่อาจพิจารณาแต่เพียงกรณีที่มีการแจ้งข้อ กล่าวหาดาเนินคดีโดยตรงเท่านั้น แต่จาเป็นต้องพิจารณาการใช้ในการข่มขู่ปิดกั้นการใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนดว้ ย จากภาพรวมลักษณะการใช้ประกาศ/คาสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองนี้ จะเห็นได้ว่าคาส่งั ชนดิ นี้ไดถ้ กู ใช้เป็นเครอื่ งมือในการจากัดเสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง โดย การตีความอย่างกว้างขวาง ทาให้การใช้สิทธิเสรีภาพของพลเมืองสามารถกลายเป็น “ความผิด” การนาข้อหาทางอาญามาใช้เพื่อข่มขู่สร้างความหวาดกลัวในการออกใช้สิทธิเสรีภาพ บรรยากาศ การใชค้ าสง่ั กดบังคับเช่นน้ีดาเนนิ ไปอย่างต่อเนื่องและเปน็ ระบบเป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งการจับกุม 45 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, “เจ้าหน้าที่ มข.แจ้งความนักศึกษาจัดกิจกรรม “พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน?” บุกรุกสถานที่ราชการ-ผิด พ.ร.บ.ประชามติฯ”, สืบค้นวันที่ 16 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=1430. 46 ประชาไท, “อาจารย์อักษรฯ จุฬาฯ เผย ผู้บริหารคณะขอไม่ให้จัดเสวนาวิชาการกรณีศึกษา 'ไทม์'”, สืบคน้ วนั ท่ี 16 พฤษภาคม 2562, https://prachatai.com/journal/2018/06/77622. 32

“รัฐประหาร พ้ืนที่ พลเมอื ง” ผู้ชุมนุม การเรียกตัวผู้ทากิจกรรมสาธารณะ การแจ้งความดาเนินคดี การข่มขู่คุกคามปิดก้ัน กจิ กรรม ทาใหพ้ ืน้ ทีก่ ารแสดงออกในสงั คมหดแคบลงอย่างมาก วัฒนธรรมการใช้ “กฎหมาย” แบบ อานาจนิยมเช่นนี้ ไดเ้ ปลีย่ นแปรกฎหมายให้กลายเปน็ เพียงเคร่ืองมือของรัฐในการปราบปรามกดขี่ ทางการเมอื ง แม้จะมีการยกเลิกข้อหาความผิดนี้ไปแล้ว แต่วัฒนธรรมการใช้กฎหมายเช่นนี้สามารถ ดารงสืบเน่ืองต่อไป ผา่ นการใช้กฎหมายอืน่ ๆ อีกมากทีเ่ กย่ี วขอ้ งกบั การใช้เสรภี าพในการแสดงออก ของประชาชน อาทิเช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ในกรณีของการใช้ลิดรอนเสรีภาพ ในการชุมนมุ ของประชาชน47 หรอื หากมรี ฐั ประหารเกิดข้นึ อีกในอนาคต คาส่งั ของคณะรัฐประหาร เชน่ นี้ กย็ ังคงเปน็ กลไกทส่ี ามารถถกู นามาใชไ้ ดอ้ กี ตราบเทา่ ทวี่ ฒั นธรรมทางกฎหมายเชน่ นยี้ ังดารง อยใู่ นสงั คมไทย 5. บทสรปุ บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าการออกประกาศ/คาสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้า คนขึ้นไป เป็นกลไกสาคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐประหารในระบอบการเมืองไทย โดยเสนอให้ พิจารณาประกาศ/คาสั่งเหล่านี้ ในฐานะส่วนหนึ่งของกลไกปราบปรามทางการเมืองของคณะ รฐั ประหารไทยทกุ ๆ ชุด ในห้วงจังหวะเวลาท่ีมีการเข้ายึดครองอานาจการปกครองรัฐ กองทพั ผู้ยึด อานาจได้ใชก้ ารออกคาส่งั ห้ามชุมนมุ ทางการเมือง เปน็ ส่วนหน่ึงของกลไกในการปราบปรามกระแส การต่อต้าน ทาให้ทหารเข้ามามีอานาจหน้าที่ในการดูแลควบคุมการชุมนุมหรือการทากิจกรรม สาธารณะต่างๆ มีการควบคุมการใช้เสรีภาพในการแสดงออก จนการเข้ายึดอานาจประสบ ผลสาเร็จ ประกาศ/คาสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองถูกพัฒนาขึ้นในยุคการรัฐประหารช่วง ทศวรรษที่ 2490 โดยไม่ได้มีบทลงโทษเป็นความผิด ก่อนเริม่ มีการนาข้อกลา่ วหาอื่นทีม่ ีอยูแ่ ล้วมา ใช้ดาเนินคดีควบคู่กับประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมือง ในช่วงยุคเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์ กระทั่งมีการเริ่มกาหนดบทลงโทษ ให้การมั่วสุมประชุมทางการเมืองกลายเป็นอาชญากรรมที่มี 47 ดูประเดน็ เร่อื งปัญหาการใช้ พ.ร.บ.การชมุ นุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ซ่งึ ตลอด 3 ปเี ศษท่ีผ่านมาหลังการบงั คับ ใช้ กฎหมายมีแนวโน้มจะถูกใช้จากดั สิทธิเสรภี าพในการชุมนุม มากกว่ารบั รองการใชส้ ิทธเิ สรภี าพในการชุมนุม ใน ศูนย์ ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, “3 ปี พ.ร.บ.ชุมนมุ สาธารณะ : หา้ มชมุ นุม หา้ มชปู ้าย หา้ มใชเ้ ครื่องขยายเสียง”, สืบค้น วันที่ 19 พฤษภาคม 2562, https://www.tlhr2014.com/?p=11258. 33

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ความผิดทางอาญา ในยุคการรัฐประหารทศวรรษ 2510 และรูปแบบนี้จะถูกผลิตซ้าต่อเนื่อง เรื่อยมาในการรัฐประหารทุกๆ ครั้งนับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน จนแทบกลายเป็นเรื่องปกติ และเป็น สว่ นหนึ่งของเครอ่ื งมือในการจากดั การใช้สทิ ธใิ นการชมุ นมุ สาธารณะในประเทศไทยตลอดมา ในส่วนการบงั คบั ใช้ข้อหาเร่ืองการชุมนุมทางการเมอื ง ยังขึน้ อยู่กับบริบทการรัฐประหาร ในแต่ละครั้ง ในการรัฐประหาร ที่คณะรัฐประหารไม่ได้มุ่งควบคุมอานาจในระยะยาว ไม่ได้เผชิญ กับการต่อต้านการรัฐประหารอย่างกว้างขวางนัก หรือคณะรัฐประหารมีการใช้เครื่องมือในการ ปราบปรามอ่นื ๆ ทเี่ ขม้ ข้นรนุ แรงกวา่ ได้ ทาใหแ้ มจ้ ะมกี ารประกาศใช้คาส่ังห้ามชุมนุมทางการเมือง แต่ก็ไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างเข้มข้น แต่ในการรัฐประหารที่คณะรัฐประหารมุ่งควบคุมอานาจ ค่อนข้างยาวนาน และหันไปใช้เครื่องมือที่อยู่ในรูปของกระบวนการทาง “กฎหมาย” เพื่อสร้าง ความชอบธรรมให้กับกระบวนการปราบปรามทางการเมอื ง คาสัง่ เรอื่ งการห้ามชุมนุมทางการเมือง เปน็ กลไกสาคญั ประการหน่งึ ทถี่ ูกนามาใชไ้ ด้ ในยุคคณะรกั ษาความสงบแห่งชาติ ซงึ่ คณะรฐั ประหารควบคุมอานาจอย่างต่อเนื่องถึง 5 ปี เป็นช่วงเวลาที่มีการใช้เครื่องมือเรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองอย่างเข้มข้น ทั้งในการใช้ ปราบปรามการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารในช่วงหลังการยึดอานาจใหม่ๆ ใช้ในการปิดกั้นการ ชุมนุมหรือทากิจกรรมสาธารณะในประเด็นต่างๆ จานวนมาก เพื่อควบคุมการคัดค้าน/ วิพากษว์ จิ ารณก์ ารบรหิ ารประเทศของคณะรัฐประหารเป็นระยะเวลาหลายปี ใชส้ รา้ งภาระให้ผู้ถูก ดาเนินคดี หรือสร้างต้นทุนให้ผู้ออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกในประเด็นทางสังคมการเมืองต่างๆ รวมทั้งใช้ในการข่มขู่คุกคามเพื่อปิดกั้นและแทรกแซงการทากิจกรรมสาธารณะต่างๆ ส่งผลทาให้ พนื้ ท่ใี นการแสดงออกสาธารณะของการเมอื งภาคประชาชนหดแคบลงอยา่ งมาก กระบวนการเหล่านี้ดาเนินไปอย่างเป็นระบบ จนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวัฒนธรรม อานาจนิยมของการใช้คาสั่งของคณะรัฐประหารที่ถูกทาให้กลายเป็น “กฎหมาย” วัฒนธรรม ดังกล่าวทาให้ “กฎหมาย” กลายเปน็ เพียงเครือ่ งมือของผู้ยึดอานาจ เพือ่ ควบคุมการแสดงออกของ พลเมืองในสังคม แม้ปัจจุบันจะไม่มีคาสั่งห้ามชุมนุมทางการเมืองอยู่แล้ว แต่วัฒนธรรมการใช้ กฎหมายเช่นน้ีก็สามารถดารงอยู่สืบเนื่องต่อไปได้ และกลไกการใช้อานาจของคณะรัฐประหารใน ลักษณะนี้ก็พร้อมจะถูกผลิตซ้าอีกในอนาคต หากการรัฐประหารยังเป็นส่วนหนึ่งของระบอบการ เมอื งไทยต่อไป 34

“รัฐประหาร พ้นื ที่ พลเมือง” References Boykoff, Jules. “Limiting Dissent: The Mechanisms of State Repression in the USA,” Social Movement Studies 6, No. 3 (2007): 281–310. Charat Prathueangrattana. “กฎหมายการชุมนมุ สาธารณะ: ดุลยภาพระหว่างเสรีภาพของผู้ชมุ นมุ กับเสรีภาพของประชาชน” [Public Assembly Law: Balance between Freedom of Demonstrators and Freedom of People]. Law Journal, Naresuan University, Vol 9, No 1 (2016): 125-153. (in Thai) Charnvit Kasetsiri. “14 ตุลา: บันทึกประวัติศาสตร์” [14 October: History Notes]. From 14 to 6 Oct. 2th edition. Bangkok. Social Sciences and Humanities Textbooks Foundation, 2001: 179-203. (in Thai) Chutida Ratanatjuthamanee. “ปัญหาเก่ียวกับการชมุ นุมสาธารณะในประเทศไทย”. [Public Assembly issues in Thailand]. Master of Arts, Public law, Faculty of Law, Thammasat University, 2013. (in Thai) Davenport, Christian. “State Repression and Political Order,” Annual Review of Political Science, 10 (2007): 1–23. Demeritt, Jacqueline H.R.. “The Strategic Use of State Repression and Political Violence,” The Oxford Research Encyclopedia of Politics. Oxford University Press, 2016. Jaran Ditapichai. “ก่อนจะถึง 14 ตลุ า” [Before 14 Oct]. Bangkok: White Cloud Publishing. 2003. (in Thai) Jessada Chotkitpivart and Wittayakorn Boonruang (editors). “ประชาชนตา้ นรัฐประหาร” [People Against the Coup]. Bangkok: LaiSen Co., Ltd. 2012. (in Thai) Matichon Online. “ต้ังโต๊ะแถลง แฉถกู ทหาร-ตร.สั่งยกเลกิ ให้ใช้ทจ่ี ดั เสวนาปมประชามติ ถึง 2 งาน” [The Military and Police Ordered to Cancel 2 Seminar about the Referendum] 35

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 Accessed May 16, 2019. https://www.matichon.co.th/politics/news_52962. (in Thai) Matichon Online. “ม็อบเชียร์’บกิ๊ ปอ้ ม’หนา้ กลาโหมเข้ามอบตัวสน.พระราชวัง ยันชืน่ ชอบ ให้กาลงั รองนายกฯ” [People who Rally Support General Prawit report themselves to the police] Accessed May 19, 2019. https://www.matichon.co.th/politics/news_830850. (in Thai) Noppon Archamas. “การบังคบั ใช้ศาลทหารตอ่ พลเรือน: ประวตั ศิ าสตรก์ ารเมอื งวา่ ด้วยกลไก การปกครองของระบอบอำนาจนยิ มในประเทศไทย” [Military Court Enforcement to Civilian: Political History about The State Mechanism of Authoritarian Regime in Thailand]. Judiciary, Court and Coup. Bangkok: Thai Lawyers for Human Rights, 2018: 169-233. (in Thai) Pitch Pongsawat. “เผดจ็ การวิทยา” [Science of Dictatorship]. Bangkok: Matichon Publishing. 2018. (in Thai) Piyabutr Saengkanokkul. “ศาลรัฐประหาร ตุลาการ ระบอบเผดจ็ การ และนติ ริ ัฐประหาร” [Judicial coup d'etat, Judiciary, Dictatorship and Law for the Coup]. Nonthaburi: Same Sky Books Publishing. 2017. (in Thai) Prachatai. “คมุ ตัว \"ฉลาด\" ฐานชุมนมุ เกนิ 5 คน” [Arrest ‘Charat’ after Assembly for more than 5 people] Accessed May 8, 2019. https://prachatai.com/journal/2006/09/9732. (in Thai) Prachatai. “รายงานพิเศษ: ด้วยแรงแห่ง \"ความกดดัน\" ตารวจเกาะตดิ เสวนา \"กลางแจ้ง\" เกนิ 5 คนท่ี มช.” [Special Report: Pressure from the Polices between Outdoors Seminar more than 5 people at CMU] Accessed May 8, 2019. https://prachatai.com/journal/2006/09/9878. (in Thai) Prachatai. “เครือข่าย 19 กันยาต้านรฐั ประหาร\"ชุมนุมเงียบคร้งั แรก ท่ามกลางกฎอยั การศึก” [19 Sep Against the Coup Network Organize First Silence Protest Among Martial Law] Accessed May 8, 2019. https://prachatai.com/journal/2006/09/9797. (in Thai) 36

“รฐั ประหาร พ้ืนที่ พลเมือง” Prachatai. “เย็นนี้ ชมุ นุมเกนิ 5 คนทีล่ านโดม มธ.ตา้ นรัฐประหาร” [Against the Coup Protest more than 5 people this evening at Dome Courtyard, TU] Accessed May 8, 2019. https://prachatai.com/journal/2006/09/9829. (in Thai) Prachatai. “โชตชิ ่วงชัชวาล !!! เผารัฐธรรมนญู ฉบบั คปค.หน้า กองทัพบก” [The Brilliance! Burned the Coup Constitution in front of the Army Headquarters] Accessed May 8, 2019. https://prachatai.com/journal/2006/10/9939. (in Thai) Prachatai. “ผูช้ มุ นมุ ต้านรฐั ประหารกว่า 200 คน มุง่ หน้าจดุ เทียนอนสุ าวรียป์ ระชาธิปไตย” [More than 200 People Protest Against the Coup, lit the Candle at Democracy Monument] Accessed May 8, 2019. https://prachatai.com/journal/2006/10/10094. (in Thai) Prachatai. “แอมเนสต้เี ผยทหารขอความรว่ มมือยกเลิกกิจกรรมที่เชยี งใหม่” [AI was asked by the Military Officers for Cancel the Activity at Chiang Mai] Accessed May 16, 2019. https://prachatai.com/journal/2014/08/55082. (in Thai) Prachatai. “ทหารรวบ ‘ขาหุ้นปฏิรปู พลงั งาน’ เข้าคา่ ย ขณะเดินขบวนมา กทม.” [Energy Reform Network were Arrested by the Military Officers between March to Bangkok] Accessed May 16, 2019. https://prachatai.com/journal/2014/08/55147. (in Thai) Prachatai. “อาจารยอ์ กั ษรฯ จุฬาฯ เผย ผู้บริหารคณะขอไม่ใหจ้ ัดเสวนาวิชาการกรณศี ึกษา 'ไทม์'” [Administrators of the Faculty of Arts ask the Lecturer to Cancel the Academic Seminar about TIME Magazine] https://prachatai.com/journal/2018/06/77622. (in Thai) Suthachai Yimprasert. “แผนชิงชาตไิ ทย: ว่าดว้ ยรัฐและการตอ่ ตา้ นรฐั สมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม คร้งั ท่ี 2 (พ.ศ. 2491-2500)” [The Plan to Steal the Thai Nation: On the State and Resistance in Field Marshal P. Piboon Songkram Period (1948-1957)]. 2th edition. Bangkok: 6 Oct Memorial Publishing. 2007. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “รายงานสถานการณส์ ทิ ธิมนษุ ยชน 1 เดือนหลังรัฐประหาร” [1 Month after the Coup: Human Rights Situation Report] Accessed May 12, 2019. https://tlhr2014.files.wordpress.com/2014/12/th-after-coup-thai-human-rights- 37

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 situation-report.pdf. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “1 ปี คาสั่งหวั หน้าคณะรกั ษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 : “อานาจพิเศษ” ในสถานการณป์ กติ” [1 year of Head of NCPO No.3/2015 Order: “Special Power” in Normal Situation] Accessed May 12, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=1157. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “เจา้ หน้าท่ี มข.แจ้งความนักศกึ ษาจัดกิจกรรม “พูดเพื่อเสรภี าพ รัฐธรรมนญู กับคนอีสาน?” บุกรกุ สถานท่รี าชการ-ผดิ พ.ร.บ.ประชามติฯ” [Khonkaen University Officers Report the Students who Organize the Activities about Freedom of Speech and Constitution Draft, Accuse Invade to the Government Place and Violate to the Referendum Act] Accessed May 16, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=1430. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “สบื พยานโจทก์คดี ‘ขอนแก่นโมเดล’ ยงั ไม่คบื พยานทหารติด ราชการเลอ่ื นสืบไปอีก” [Postpone Witness Hearing in ‘Khonkaen Model’ Case after the Military as Plaintiff didn’t come to the Military Court] Accessed May 13, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=3820. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “อัยการส่ังไมฟ่ อ้ งคดี ‘We walk เดนิ มิตรภาพ’” [Prosecutor ordered not to Indict in Case of ‘We walk: Friendship walk’] Accessed May 15, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=8383. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “เป็นอนั ส้นิ สุด อยั การมีความเห็นสัง่ ไมฟ่ อ้ งคดีชาวบา้ น “We walk ดอยเทวดา”” [Prosecutor ordered not to Indict in Case of ‘We walk Doi Tevada.] Accessed May 15, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=7738. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “รัฐธรรมนูญใหมป่ ระกาศใช้ แต่ “ผตู้ อ้ งหาประชามติ” กวา่ 104 ราย ยังถูกดาเนินคดี” [The New Constitution Promulgated but ‘Referendum cases’ more than 104 People Still Being Prosecuted] Accessed May 14, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=3924. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “สทิ ธิพทิ ักษ์ รธน. ไมม่ ที ่ใี ช้ ศาลอทุ ธรณล์ งโทษอภชิ าตชุมนมุ ตา้ นรัฐประหาร” [Rights to Protect the Constitution don’t Valid after Appeals 38

“รฐั ประหาร พ้ืนท่ี พลเมอื ง” Court Punish “Apichart case” protest against the coup] Accessed May 16, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=7630. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “อยั การยนื ยนั คดี “เวทวี ิชาการไมใ่ ช่คา่ ยทหาร” เปน็ ชุมนุม การเมอื งโดยไม่ขออนญุ าต คสช. คดียงั เดินหน้าต่อไป” [the Case is Still going on after the Prosecutor confirm ‘an Academic Forum is not Military Barrack’ case is Political Assembly] Accessed May 15, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=8637. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “10 ปรากฏการณส์ ทิ ธมิ นษุ ยชน รอบปี 2561” [10 Human Rights Phenomenon in 2018] Accessed May 14, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=10249. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “ความล่าช้าในศาลทหาร: คดพี ลเรอื นยังดาเนนิ อยู่ แม้ไร้เงา คสช.” [Delayed Process in the Military Court: Civilian cases Still going on although without NCPO] Accessed May 15, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=11352. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights. “3 ปี พ.ร.บ.ชมุ นุมสาธารณะ: ห้ามชมุ นุม หา้ มชูป้าย ห้ามใช้ เครื่องขยายเสยี ง” [3 years of Public Assembly Act: Do not Rally, do not Raise Signs, do not use the Machine Amplify] Accessed May 19, 2019. https://www.tlhr2014.com/?p=11258. (in Thai) Thai Lawyers for Human Rights, “Five years under NCPO, isn’t that enough? Recommendations to eliminate the effects of the coup”, Accessed Sep 16, 2019, https://www.tlhr2014.com/?p=13035&lang=en. Thak Chaloemtiarana. “การเมอื งระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผดจ็ การ” [The Politics of Despotic Paternalism]. 3th edition. Bangkok. Social Sciences and Humanities TextbooksFoundation, 2009. (in Thai) Tinkit Nutwong. “อดีต ปัจจุบัน อนาคต ว่าดว้ ยการชมุ นมุ สาธารณะของไทย” [Past Present and Future about Public Assembly in Thailand]. CMU Journal of Law and Social Sciences, Vol 7, No 2 (2014): 175-228. (in Thai) 39

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 กฎหมายการชุมนุมสาธารณะภายใต้อำนาจรัฐประหาร The Law on Public Assembly under the Military Coup Power นทั มน คงเจริญA และ วัชลาวลี คาบุญเรืองB A คณะนติ ิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนหว้ ยแกว้ ตาบลสุเทพ อาเภอเมือง จังหวดั เชยี งใหม่ 50200 Bนกั วิจัยอิสระ Nuthamon KongcharoenA and Watchalawalee KumboonreungB A Faculty of Law, Chiang Mai University, 239 Huay Kaew Road, Muang District, Chiang Mai, Thailand, Thailand 50200 B Independent Researcher Corresponding author E-mail: [email protected] Received: July 24, 2019; Revised: September 26, 2019; Accepted: October 2, 2019 บทคัดย่อ แมร้ ัฐธรรมนูญของไทยจะไดม้ กี ารรบั รองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะเพิ่งปรากฏขึ้นโดยสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ (โดยการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร) ได้ผ่าน พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ ออกมาบังคับใช้เมือ่ พ.ศ. 2558 แม้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ระบุว่าจะเป็นไปเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุม และการปกป้องความสงบเรียบร้อยของสังคม แต่ภายหลังจากที่กฎหมายได้ประกาศใช้บังคับเป็น ต้นมา พบว่ามีบุคคลเป็นจานวนมากได้ตกเป็นผู้ต้องหาและจาเลยจากการละเมิด พ.ร.บ. การ ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาเบื้องตน้ ของกฎหมายฉบบั นี้ กล่าวคือ ความคลุมเครอื ของนิยามและความหมายท่เี กี่ยวข้องกบั การชุมนุม กระบวนการแจ้งการชมุ นมุ การ บังคบั ใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงการตัดสนิ ของศาลในคดตี า่ งๆ กรณี พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ของไทยจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่จะแสดงให้ เหน็ วา่ ความพยายามท่ีจะบัญญัตกิ ฎหมายเก่ียวกับสิทธเิ สรีภาพของประชาชนให้มีความชัดเจนขึ้น 40

“รัฐประหาร พน้ื ที่ พลเมอื ง” อาจไม่ได้นามาซึ่งผลดังที่คาดหมายกันไว้แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่อยู่ภายใต้ บริบทการปกครองแบบอานาจนิยมกนั คำสำคญั : การชมุ นุมสาธารณะ; กฎหมายการชมุ นุมสาธารณะ Abstract Although, Thai Constitution has constantly guaranteed the right to peaceful assembly of the people. However, the statutory law to which directs the public assembly is just enacted in 2015 by the National Assembly (appointed by the Military Coup). Even, the objective of this law is to protect the freedom of assembly and maintain public order in the society; but after the law came into force, the fact that there are many people are prosecuted by this law illustrates major problems from this law. The problems from the law on public assembly include unclear definition of ‘public assembly,’ the procedure to inform of the public assembly, enforcement of the government officers, also the court decision concerning the public assembly. The law on public assembly is one example of the legislation that an attempt to enact the law protecting the right and liberty of people is clear; nonetheless, the result might be totally opposite direction, especially when the country scheme is the authoritarian governing. Key words: Public Assembly; Law on public assembly 1. กำเนิดกฎหมายชมุ นมุ สาธารณะในยุค คสช. การชมุ นุมสาธารณะนบั เป็นหลกั การสาคัญของสังคมในระบอบเสรปี ระชาธิปไตย โดยถือ เป็นเสรีภาพพื้นฐานที่จะทาให้การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นหรือความต้องการของประชาชนใน ประเด็นปัญหาต่างๆ สามารถบังเกิดขึ้นได้ รัฐธรรมนูญในระบอบเสรีประชาธิปไตยจะรับรอง เสรีภาพในการชุมนุมเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันการชุมนุมสาธารณะก็มิใช่สิ่งที่กระทา ได้อย่างปราศจากขอบเขตเพราะการชุมนุมสาธารณะอาจส่งผลกระทบในทางลบให้เกิดขึ้น ดังนั้น 41

CMU Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No. 2 ในอีกด้านหนึ่งจึงมีการจากัดขอบเขตของการชุมนุมพร้อมกันไปด้วยเช่นกัน แต่การจากัดขอบเขต ดังกล่าวกอ็ ย่บู นหลักการว่า ต้องไมท่ าใหเ้ กดิ ผลกระทบตอ่ เสรภี าพในการชุมนุมสาธารณะ ในประเทศไทย มีการรับรองเสรีภาพในการชุมนุมไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และสืบเนื่องต่อมาในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเป็นส่วนใหญ่ (รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560) อันเป็นการยืนยันถึงการยอมรับเสรีภาพดังกล่าวไว้อย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน มีความ พยายามผลักดันกฎหมายเพื่อให้เกิดการควบคุมการชุมนุมสาธารณะมาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ภายหลังจากที่สังคมไทยได้เผชิญกับการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่ในทศวรรษ 2550 จึงได้มีการเสนอร่างกฎหมายที่เข้ามาจัดการการชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังไม่ ประสบความสาเร็จในการตรากฎหมายดงั กล่าว กระทั่งภายหลังการยึดอานาจโดยคณะรักษาความ สงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ใน พ.ศ. 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่าน พ.ร.บ. การ ชมุ นมุ สาธารณะ และมีผลบงั คับใช้ตัง้ แต่ 13 สงิ หาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ในขั้นตอนของการร่างกฎหมายฉบับนี้ได้มีการอธิบายถึงเจตนารมณ์ ว่าต้องการกาหนด หลักเกณฑ์การใช้สิทธิชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจนและสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) และเพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบต่อความมั่นคง สาธารณะ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรยี บรอ้ ยและศลี ธรรมอันดี และไม่กระทบกระเทือน สิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น1 ซึ่งก็จะครอบคลุมการชุมนุมสาธารณะที่เกิด จากประชาชนผู้ท่ไี ดร้ ับความเดอื ดร้อน หรอื ตอ้ งการเรียกร้องประเด็นต่างๆ ทีต่ นเองเผชิญ รวมถึง การชุมนุมทางการเมืองซึ่งมีลักษณะหวังผลทางการเมือง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนผู้ไดร้ ับผลกระทบจากการชุมนุม อกี ทัง้ ยงั เป็นเครอ่ื งมือคุ้มครองเจ้าหนา้ ที่ผู้ดูแลคุ้มครอง การชุมนุมให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือที่ถูกต้องชอบธรรม เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการ จัดการการชุมนุมสาธารณะให้เป็นระเบียบ รวมถึงยังเป็นการสร้างความชัดเจนที่ต้องการจะ คมุ้ ครองสิทธขิ องประชาชน โดยไมจ่ าเปน็ ต้องนากฎหมายด้านความม่นั คง เช่น พ.ร.บ. ความม่ันคง ภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และ พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาบงั คบั ใช้ 1 สานักกรรมาธกิ าร 3 สานักงานเลขาธิการวุฒสิ ภา, เจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญตั ิการชมุ นุมสาธารณะ พ.ศ. .... สภานิติบญั ญัตแิ หง่ ชาติ, (กรุงเทพฯ: สานักการพิมพ์ สานักงานเลขาธิการวฒุ ิสภา, 2558), 61. 42

“รฐั ประหาร พน้ื ท่ี พลเมือง” หากพจิ ารณาจากการอภิปรายท่ีเกิดขึ้นในสภานิติบัญญัตแิ ห่งชาติ (สนช.) มีการช้ีแจงว่า พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและประกันสิทธิการชุมนุม สาธารณะ โดยเจา้ หน้าทผี่ ทู้ ่อี านาจต้องคานงึ ถึงสทิ ธกิ ารชุมนมุ และต้องไมใ่ ชก้ ฎหมายในประการท่ี จะเป็นการขัดขวางหรือควบคุมการใช้สิทธิชุมนุมของประชาชน การจากัดการใช้เสรีภาพดังกล่าว ต้องถือเป็นข้อยกเว้น ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงมิใช่เป็นความพยายามในการขัดขวาง หากมุ่ง ส่งเสรมิ และทาใหก้ ารชุมนุมสาธารณะสามารถเป็นไปอย่างสงบและสง่ ผลกระทบทนี่ อ้ ยทส่ี ุด อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางโดยมีประชาชนถูกดาเนินการตามกฎหมายเป็นจานวนมาก มีการโต้แย้ง เกิดขึ้นในหลากหลายแง่มุมและจากบุคคลหลากหลายกลุ่ม ว่ากฎหมายฉบับนี้กลายเป็นเครื่องมือ ในการควบคุมมากกว่าการปกป้องสิทธิในการชุมนุมสาธารณะ บทความชน้ิ น้ีตอ้ งการสารวจถึงการ ตีความ การบังคับใช้ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจาก พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะว่าในทางปฏิบัติจริง แล้ว กฎหมายฉบับนี้มุ่งส่งเสริมหรือเป็นเพียงเครื่องมืออันหนึ่งในการ “สยบ” สิทธิเสรีภาพของ ประชาชนกันแน่ โดยกรอบระยะเวลาของการศึกษาจะเป็นช่วงเวลานับตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้ใช้ บงั คับเมื่อ พ.ศ. 2558 มาจนกระท่งั การเลือกตง้ั ท่วั ไป เมอื่ เดอื นมนี าคม 2562 2. “Law in actions” ของ พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ จากการรวบรวมคดีที่เกิดข้ึนภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ ตั้งแต่ วันที่ 13 สิงหาคม 2558 จนถึงวันท่ี 24 มีนาคม 2562 (วันเลือกต้ังท่ัวไปครั้งแรกภายหลังจากการ รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2557) จากข้อมูลของ 3 แห่ง2 ประกอบด้วย โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อ กฎหมายประชาชน (iLAW) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) และมูลนิธินิติธรรม สิ่งแวดล้อม (Enlaw) พบว่ามกี ารบังคับใชร้ วมถึงการกล่าวอ้างวา่ จะใช้ พ.ร.บ. การชมุ นุมสาธารณะ เกิดขึน้ จานวน 60 เร่อื ง ซึ่งสามารถแบง่ ออกมาเป็น 5 กลมุ่ ดงั นี้ กลุ่มที่หนึ่ง ประเด็นด้านทรัพยากรดิน น้า ป่า มีจานวน 20 เรื่องกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นกลุ่ม ประชาชนท่ีไดร้ ับกระทบหรือคิดว่าอาจจะได้รับผลกระทบในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติท่ีอยู่ในพ้ืนท่ี ของชุมชน โดยกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการแสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร 2 เหตทุ ใี่ ช้ข้อมูลจากหน่วยงานทั้ง 3 นี้ เพราะเป็นหน่วยงานทีท่ างานเก่ียวข้องและไดม้ ีการรวบรวมข้อมลู ในประเด็น ทเ่ี กยี่ วเนอื่ งกบั พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะมาอย่างตอ่ เนื่อง 43


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook