ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซ่ึงกล่าวได้ว่าสมเด็จ พระเจ้าพ่ียาฯ พระองค์น้ีเป็นผู้มีอิทธิพลมากท่ีสุดในเวลาน้ัน ทรงเคย เป็นเสนาธิการทหารบก และผู้บัญชาการทหารเรือ ในรัชสมัยของพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นเสนาธิการทหารเรือ และเสนาธิการทหารบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หวั แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ยังทรงยอมรับ ว่าสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต เป็นผู้ที่ทรงรอบรู้ในกิจการบ้านเมืองและทรงเป็นปูชนียบุคคล ท่ีควรเคารพและนา่ เลือ่ มใสของคนส่วนมากอีกดว้ ย ต่อมาเม่ือปรากฎว่าพระนางสุวัทนาประสูติเป็นพระธิดาคือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าหญิงเพ็ชรรัตนราชสุดา ดังนั้น ถือตาม พระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ราช สมบัติจึงตกแก่พระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัย ธรรมราชา พระอนุชาพระองค์สุดท้ายซึ่งเป็นไปอย่างเหนือความคาด หมาย และเป็นส่ิงทพี่ ระองคม์ ิได้ม่งุ หวังหรือปรารถนามากอ่ น ดังจะเห็น ได้จากการศึกษาของพระองค์ และล�ำดับช้ันของการสืบราชสันตติวงศ์ ดงั กลา่ วข้างต้น เหตุเร่ืองล�ำดับช้ันการสืบราชสันตติวงศ์น้ีได้สร้างความหนัก พระทัยให้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่น้อยในเรื่อง ความพร้อมส่วนพระองค์กับการเป็นกษัตริย์ แม้ว่าจะมิได้มีการเตรียม พระองค์ในการขึ้นเป็นกษัตริย์มาแต่ต้น ทว่าในช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีการให้พระองค์ทรงศึกษา ประเพณีการปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดินอยู่บ้าง แต่ก็เป็น เพียงระยะเวลาไม่มากนัก คือ ประมาณ ๑ ปี ก่อนเสด็จข้ึนครองราช สมบตั ิ 101
ประวตั ิศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ต้องนับว่าเป็นระยะเวลาท่ีน้อยมากส�ำหรับพระราชภาระอัน ใหญ่หลวงนี้ เพราะปรากฏในเวลาต่อมาว่าเมื่อพระองค์ทรงข้ึนเป็น กษัตริย์ ปัญหาบ้านเมืองท้ังเรื่องของเศรษฐกิจและการเมืองการ ปกครองตา่ งก็เป็นปญั หาทใ่ี หญ่เกนิ กวา่ ความพรอ้ มของพระองค์ทมี่ ีอยู่ การศึกษาเรื่องประเพณีและการปกครองบ้านเมืองของพระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดข้ึนจากการมองเห็นถึงปัญหาใน อนาคตของการสืบราชบัลลังก์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว ดังน้ันพระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้พระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้ ศึกษาถึงงานราชการแผ่นดิน โดยให้เริ่มศึกษาถึงหนังสือราชการแผ่น ดินเรื่องส�ำคัญๆ รวมไปถงึ ใหท้ รงปฏบิ ตั ิราชการแทนพระองคใ์ นระหวา่ ง ทไ่ี มไ่ ดป้ ระทบั อยใู่ นพระนครและในขณะทที่ รงพระประชวร๑๓ โดยเฉพาะ เร่ืองเกี่ยวกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งเป็นปัญหาท่ี ส�ำคัญในขณะนั้น ท้ังน้ีก็เพื่อฝึกและเตรียมความพร้อม เสริมสร้าง ประสบการณ์ และความเป็นผนู้ ำ� ให้กบั พระอนุชาของพระองค์ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงระยะเวลาท่ีพระองค์ได้ทรง ศึกษาราชการแผ่นดินอย่างจริงจังแล้ว ก็ต้องนับว่าน้อยมากส�ำหรับ ปัญหาที่ก�ำลังรออยู่เบื้องหน้า แต่ที่น่าสนใจคือเม่ือพระองค์ทรงรับพระ ราชภาระกับปัญหาหนักที่เกิดข้ึนแล้ว พระองค์ก็ทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นับเป็นพระพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ที่ น่าสนใจอย่างย่งิ ภายหลงั ท่ีพระองคท์ รงได้รบั การสถาปนาขน้ึ เป็นองคร์ ัชทายาท ทรงรับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง พระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ถาปนาเลอื่ นกรมขึน้ เป็น สมเดจ็ พระเจ้าน้อง ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสโุ ขทยั ธรรมราชา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๔๖๘ 102
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เมื่อพระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระยศได้เพียงไม่ก่ี วัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต เม่ือวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ อันเป็นการสูญเสียพระเชษฐาอันเป็น ท่ีรักที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยกล่าวไว้ว่า ทรงรัก และเคารพพระเชษฐาของพระองคด์ ุจพระบิดา นอกจากพระองค์จะทรงเป็นองค์รัชทายาทตามกฎมณเฑียร บาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวยังทรงบันทึกส่ังเสนาบดีกระทรวงวังไว้เกี่ยวกับการสืบสันตติ วงศ์ไว้ว่า ทรงมีพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาเสด็จข้ึนครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ นอกจากจะทรงมีพระราชโอรสก็โปรดให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ทรงส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างท่พี ระเจ้าแผน่ ดนิ ทรงพระเยาว์ ต่อมาเมื่อพระนางเจ้าสุวัทนาประสูติพระราชธิดา ที่ประชุมจึง ลงความเห็นต้องกันในการที่จะท�ำตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือการมอบราชสมบัติให้กับพระอนุชา ของพระองค์ รวมท้ังพระบรมวงศานุวงศ์ก็พร้อมใจกันที่จะถวายความ ช่วยเหลือในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มความสามารถทุก ประการ ด้วยเหตุดังน้ี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง ยอมรับราชสมบัติ เสด็จข้ึนครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจ้าฟ้า ประชาธปิ กศกั ดเิ ดชน์ กรมหลวงสโุ ขทยั ธรรมราชา พระบาทสมเดจ็ พระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาประชาธิปก มหนั ตเดชนดิลกรามาธบิ ดีฯ ตามล�ำดับ ทรงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกข้ึนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมคี ณะโหรค�ำนวณพระฤกษบ์ รมราชาภเิ ษกถวาย และในวัน ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกข้ึน 103
ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ในการน้ี พระบาทสมเด็จพระ ปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดม้ พี ระบรมราชโองการโปรดเกลา้ ฯ สถาปนาหมอ่ มเจา้ หญิงร�ำไพพรรณี พระวรชายา ข้ึนเป็นสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชนิ ีตามล�ำดับ 104
ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เชิงอรรถ ๑ “พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” พิมพ์ที่ระลึกใน พระราชพิธีทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ในอภิลักขิตสมัย วันพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอย่หู วั . (กรงุ เทพฯ : อมั รินทร์พร้ินต้ิงแอนด์ พบั ลิชชงิ่ จ�ำกัด (มหาชน), ๒๕๓๖), หนา้ ๓ ๒ ราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ๒๒ (๑๑ มนี าคม ร.ศ. ๑๒๔) หน้า ๑๑๔๐-๑๑๔๙ ๓ กองจดหมายเหตุแหง่ ชาติ เอกสารรัชกาลท่ี ๗ บ. ๑.๑ / ๒ เร่ือง รัชกาลท่ี ๖ สวรรคตและตั้งพระเจ้าแผ่นดินขึ้นแทน (๒๖ พ.ย. ๒๔๖๘) ๔ ชาญชัย รตั นวบิ ลู ย์ “บทบาทของอภิรฐั มนตรีสภาในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” วิทยานิพนธ์เสนอต่อบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ๒๕๑๙ หน้า ๙๐ ๕ เพ่งิ อา้ ง หนา้ เดียวกนั ๖ อ้างจาก ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรม ศลิ ปากร. ๒๕๕๔ หน้า ๑๐๕ ๗ วัลย์วิภา จรูญโรจน์ “แนวพระราชด�ำริทางการเมืองของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิเคราะห์วิเคราะห์เชิง ประวัติศาสตร์” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชา ประวัตศิ าสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ๒๕๒๐ หนา้ ๒๐-๒๑ ๘ เนน้ โดยผเู้ ขยี น 105
ประวตั ิศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๙ เสถียร ลายลักษณ์ “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราช สนั ตตวิ งศ์ ๒๔๖๗ ม. ๙ อนุฯ ๘” อ้างจาก วลั ย์วิภา จรูญโรจน์. “แนว พระราชด�ำริทางการเมอื งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อย่หู วั การ วิเคราะห์วิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหา บัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๐ หน้า หน้า ๒๐ ๑๐ กลา่ วคือ - สมเดจ็ เจา้ ฟ้าจักรพงษภ์ วู นาถ สน้ิ พระชนมเ์ มอ่ื วันท่ี ๑๓ มิ.ย. ๒๔๖๓ รวมพระชนมายุ ๓๘ พระชนั ษา - สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรม หลวงนครราชสีมา ส้ินพระชนม์เม่ือวันที่ ๙ ก.พ. ๒๔๖๗ รวมพระชน มายุ ๓๕ พระชันษา และ - สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรม ขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันท่ี ๘ พ.ค. ๒๔๖๖ รวม พระชนมายุ ๓๑ พระชนั ษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก วัลย์วิภา จรูญโรจน์ “แนวพระ ราชด�ำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การ วิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๐ หน้า ๑๓-๒๒ ๑๑ ทวี มุขธระโกษา “พระมหาธีรราชเจ้า” (กรุงเพฯ : ส�ำนัก พมิ พแ์ พรพ่ ิทยา ๒๕๐๖) หน้า ๖๑๒-๖๑๗ ๑๒ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไมโคร ฟลิ ์ม F.O. ๓๗๑/๑๐๙๗๓ Law of Succession to the throne. John to Austin Chamberlain. D. Dec. ๑๑, ๑๙๒๔ (อ้างจาก วัลย์วิภา จรญู โรจน์ หน้า ๒๑) 106
ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๑๓สำ� นกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ เอกสารรชั กาลท่ี ๗ ค.๑๕.๓/๑ รายงานการประชุมเสนาบดีสภาครั้งท่ี ๑ และ ๒ (วันท่ี ๘ และ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘) ๑๔ กองจดหมายเหตุแหง่ ชาติ เอกสารรัชกาลที่ ๗ บ. ๑.๑ / ๒ เรื่อง รัชกาลที่ ๖ สวรรคตและตั้งพระเจ้าแผ่นดินขึ้นแทน (๒๖ พ.ย. ๒๔๖๘) 107
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี การเดนิ ทางของ “ประชาธิปไตย” ในสยาม 108
ประวตั ิศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยหู่ วั ท่ีมา : สถาบันพระปกเกล้า (๒๕๔๔) “สมุดภาพรัชกาลที่ ๗ จัดพิมพ์เป็นท่ีระลึกใน นิทรรศการอวดภาพและของหายากยุครัชกาลท่ี 7 ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยหู่ วั ๑๒ พฤศจิกายน - ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔, หนา้ ๑๙ 109
ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๐๖ พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยูห่ ัว : “มา้ มดื ” การสืบราชสนั ตติวงศ์แหง่ สยาม ความจริงแล้วการสืบราชสันตติวงศ์กษัตริย์สยามแบบใหม่ หรือท่ีเรียกกันในต�ำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชน้ัน ไม่ได้มีความ ชัดเจนและแน่นอนมาตั้งแต่ต้นแล้ว ตั้งแต่เม่ือคร้ังที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ข้ึนเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์แรก เพราะต่อมาพระองค์ก็ สิ้นพระชนม์เสียก่อนที่จะได้เสด็จข้ึนครองราชย์ ท�ำให้พระราชโอรส พระองค์ต่อมาขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งแทน และต่อมาก็ได้เสด็จขึ้นครองราช สมบตั เิ ปน็ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยู่หวั รัชกาลท่ี ๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การ สืบราชสันตติวงศ์ย่ิงมีความสับสนมากขึ้นไปอีก เม่ือพระองค์มิได้ทรงมี พะราชโอรสสืบสายพระโลหิต ดังนั้นต�ำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิ ราชจึงจ�ำต้องวา่ งเวน้ ไปโดยปรยิ าย กระบวนการแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการสืบราช สันตติวงศ์ของกษัตริย์สยามก็จ�ำต้องให้พระอนุชาร่วมพระชนนีของพระ 110
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี มหากษัตริย์ในเวลานั้น ข้ึนรั้งต�ำแหน่งผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ไปก่อน ซ่ึงการข้ึนรั้งต�ำแหน่ง “ว่าท่ี” น้ีไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปตามกฎ มณเฑยี รบาล เน่อื งจากว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยูห่ ัว พระองค์กย็ งั คงมโี อกาสที่จะมพี ระราชโอรสไดต้ ลอดเวลา เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึน ครองราชย์ใหม่ๆ น้ัน ยังไม่ได้ทรงอภิเษกสมรส ทว่าต�ำแหน่งผู้ท่ีจะสืบ ราชสันตติวงศ์ก็จะว่างเว้นไว้ไม่ได้เช่นกัน ท้ังน้ีก็เพ่ือไม่ให้เกิดความ สับสนกับอนาคตของต�ำแหน่งพระมหากษัตริย์จึงมีการคิดที่จะหา หนทางแก้ไข การสืบราชสันตติวงศ์โดยผ่านสายพระโลหิตแห่งพระราช มารดา คือ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี คือความต้องการของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น พระอนุชาพระองค์รองของ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาท น่าจะเป็นผู้รั้งต�ำแหน่งนี้ไปก่อน ทว่าพระองค์ก็ทรงส้ินพระชนม์ในเวลาต่อมา ประกอบกับว่าเจ้าฟ้าจักร พงศ์ภูวนาททรงอภิเษกกับสาวชาวรัสเซีย ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศดังน้ัน สายเลอื ดของพระองคจ์ ึงไมส่ ามารถสืบถ่ายต่อไปได้ พระอนุชาพระองค์ต่อมา คือ เจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธ ก็เป็น ล�ำดับต่อมาในการเป็นองค์รัชทายาท เน่ืองจากว่าพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ยังมิทรงมีพระราชโอรส ต่อมาพระองค์ก็สิ้น พระชนม์ลงเม่ือวันที่ ๙ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๔๗๖ ในขณะทมี่ พี ระชนมายุเพยี ง ๓๕ พรรษาเทา่ นน้ั หากยังคงต้องการให้การสืบราชสันตติวงศ์อยู่ในข่ายร่วมสาย พระโลหิตเดียวกันกับพระองค์ ผู้ที่จะต้องเป็นองค์รัชทายาทสืบต่อจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ควรจะต้องเป็นพระอนุชา พระองค์ต่อมา คือ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรอินทราชัย ทว่าพระองค์ก็ทรงสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้าน้ันเพียง ๑ ปี ในขณะที่มี 111
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี พระชนมายเุ พียง ๓๑ พรรษาเทา่ น้นั มาถึงเวลานี้ แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะ ทรงพยายามอย่างมากที่จะมีพระราชโอรสสืบสายพระโลหิตให้ได้ เห็น ไดจ้ ากความพยายามดว้ ยการทรงอภเิ ษกเพ่ิมเติม อย่างไรก็ตามความพยายามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่เป็นผล ดังน้ัน ต�ำแหน่งองค์รัชทายาทจึงตกแก่ พระอนุชาพระองค์เล็กของพระองค์ นั่นก็คือ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ เดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา และมีการคาดกันว่า หากในช่วงเวลาท่ี พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ หากยังมิทรงมีพระราชโอรส พระอนุชา พระองค์น้ีจะได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป และก็เป็นเช่นนั้นจริง เพราะต่อมาเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ก็เสด็จ ขึ้นครองราชย์เปน็ พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยู่หัว รชั กาลที่ ๗ ทว่าความชัดเจนดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ได้มีความแน่นอนแต่ อย่างใด เพราะภายหลังจากท่ีเจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธส้ินพระชนม์ไปได้ไม่ นาน พระอัครชายาพระองค์หน่ึงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อย่หู วั ก็ทรงพระครรภ์ ความชัดเจนในเบ้ืองต้นก็เกิดกลายเป็นความคลุมเครืออีกครั้ง ทว่าต่อมาเม่ือพระอัครชายาทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดา ท่ี ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ไม่เปิดโอกาสให้ สตรีมีสิทธิข้ึนเป็นกษัตริย์ได้ ความชัดเจนจึงย้อนกลับมาที่เจ้าฟ้า ประชาธิปกศกั ดิเดชนอ์ กี คร้งั เม่ือครั้งท่ีพระอัครชายาใกล้จะมีพระประสูติกาลนั้น พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนัก เมื่อพระราชธิดา ของพระองค์เสด็จพระราชสมภาพได้เพียง ๒ วัน พระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต ดังนั้นพระราชสมบัติจึงตกแก่พระ อนุชาพระองคเ์ ลก็ คอื เจา้ ฟ้าประชาธปิ กศักดิเดชนใ์ นทีส่ ดุ 112
ประวตั ิศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี จะเห็นได้ว่า เส้นทางการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ัน ไม่ได้เป็นเส้นทางสายตรงตั้งแต่ต้น กล่าวคือ ไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ พระองคก์ อ่ นหากแตเ่ ป็นพระอนุชา ไมไ่ ดด้ ำ� รงต�ำแหนง่ พระบรมโอรสาธิ ราช แม้การเป็นพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ที่เข้าข่ายการเป็นองค์ รชั ทายาทได้ แตก่ ็เปน็ ลำ� ดบั ชัน้ ทีห่ า่ งจากความเป็นจรงิ เน่อื งจากวา่ กอ่ น หนา้ พระองค์ยงั คงมีพระเชษฐา ร่วมพระชนนถี ึง ๓ พระองค์ ดังนั้น การเสด็จข้ึนครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า “เหนือความคาด หมาย” ที่แม้พระองค์เองก็ยังทรงมีบันทึกถึงสถานการณ์ช่วงปลาย รชั กาลที่ ๖ เอาไว้อย่างน่าสนใจ ความว่า “...เม่ือใกล้ๆ สิ้นรัชกาล ประชาชนเริ่มหมด ความเชื่อถือกษัตริย์พระองค์ก่อน และปัญหาการสืบราช บัลลังก์เป็นเรื่องที่หลายคนวิตกกันอย่างมาก เจ้านายชั้น สูงพระองค์เดียวที่ทรงมีพระเกียรติยศอยู่บ้างก็คือ เจ้า ฟา้ บรพิ ตั รสขุ ุมพันธ์ หลายๆ คนอยากเหน็ ราชบัลลังก์ ตก แก่พระองค์ แต่เป็นท่ีรู้กันดีว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงรอ คอยพระประสูติกาลของพระอัครชายา และถ้าทารก พระองค์นั้นไม่ใช่พระโอรส ราชบัลลังก์จะตกแก่พระ อนุชาของพระองค์ ซึ่งข้าพเจ้าเสียใจท่ีจะบอกว่า คนส่วน ใหญ่ไม่เคยนึกถึง เพราะข้าพเจ้าเองน้ันเหมือนม้าด�ำ ไมม่ ีประสบการณด์ า้ นการบรหิ ารประเทศ” ๑ จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แม้พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็มิได้ทรงคาดคิดมาก่อนว่าพระองค์จะ 113
ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ได้เสด็จขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระเชษฐา หรือแม้แต่คนส่วนใหญ่ หรือโดยทั่วไปก็ไม่ได้คาดคิดว่าจะเป็นพระองค์ ท้ังด้วยความสับสน ต่างๆ มากมายในช่วงปลายรัชกาลท่ี ๖ จนแทบว่าความชัดเจนเกิดขึ้น เพยี ง ๒ วันสุดท้ายก่อนส้นิ รัชกาลเทา่ นนั้ เอง นอกจากนี้ แม้ว่าพระองค์จะยังคงอยู่ในฐานะองค์รัชทายาท อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม ก็ยังคงเกิดความไม่ม่ันใจในหมู่คนทั่วไปอีกเม่ือ เวลาน้ัน ต้องยอมรับอย่างหน่ึงว่าพระองค์ยังไม่ทรงโดดเด่นมากนักใน ทางการบริหารจัดการบ้านเมือง หากแต่ผู้ท่ีโดดเด่นกลับเป็นพระเชษฐา อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งแม้พระองค์เองก็ทรงยอมรับว่าทรงมีพระเกียรติยศ และทรงเช่ยี วชาญด้านการบรหิ ารนนั่ ก็คือ เจา้ ฟ้าบรพิ ัตรสขุ ุมพันธ์ อย่างไรก็ตามเม่ือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสดจ็ สวรรคตแลว้ พระบรมวงศแ์ ละเสนาบดที ั้งหลายก็ทลู เชิญใหเ้ จ้าฟ้า ประชาธิปกศักดิเดชน์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นกษัตริย์ล�ำดับท่ี ๗ แห่งพระราชวงศ์จักรี ความจริงแล้ว จะกล่าวว่าพระองค์ทรงไม่มีความพร้อมในการ บริหารจัดการบ้านเมืองในฐานะพระมหากษัตริย์เสียท้ังหมดน้ันก็คงจะ ไม่ค่อยถูกต้องนัก หากแต่ก็มีการเตรียมการมาบ้างตั้งแต่ครั้งปลาย รชั กาลท่ี ๖ แลว้ ดว้ ยการเตรียมความพรอ้ มจากพระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งในค�ำน�ำหนังสือพระราชด�ำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยหู่ วั ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแกไ้ ขการปกครองแผน่ ดิน ซงึ่ คำ� นำ� ของหนังสือเล่มน้ี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ เอาไว้ ความวา่ “...เมื่อข้าพเจ้ากลับมาจากทวีปยุโรปคร้ังหลังน้ี ใน พ.ศ.๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชดำ� รวิ า่ ขา้ พเจา้ มอี ายมุ าก สมควรจะเล่าเรียน 114
ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ประเพณีการปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดินเพื่อ จะไดส้ ามารถฉลองพระเดชพระคณุ ไดต้ ามโอกาส จงึ ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหิธรราชเลขาธิการ ขณะนน้ั นำ� หนังสือราชการแผ่นดินเร่อื งสำ� คญั ๆ อนั เปน็ หลกั ราชการมาใหข้ า้ พเจา้ อา่ นและศกึ ษา ทงั้ นเ้ี ปน็ พระราช ประเพณมี าแต่เดิม” ๒ จะเห็นได้ว่า “ความน่าจะเป็น” เรื่องการเสด็จขึ้นเป็นกษัตริย์ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั นน้ั กม็ มี าบ้างแลว้ อยา่ งน้อยก็ การเตรียมความพร้อมท่ีพระเชษฐาของพระองค์ได้ทรงสร้างเอาไว้ให้ แมว้ ่าจะเปน็ เพียงระยะเวลาแคป่ ระมาณ ๑ ปกี อ่ นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศสยามก็ได้มีพระมหา กษัตริย์พระองค์ใหม่ ซ่ึงเป็นล�ำดับที่ ๗ แห่งพระราชวงศ์จักรี คือพระ บาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้าอยู่หวั ที่ตอ่ มาในรัชสมัยของพระองคค์ อื ชว่ ง เวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการปกครองคร้ังส�ำคัญ ท่ีประวัติ ศาสตร์จะต้องจารึกเอาไว้ว่าพระราชอ�ำนาจหรืออ�ำนาจการปกครอง ประเทศได้เปล่ียนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยท่กี ่อนหน้าน้ไี ม่มีใครได้รู้จักกนั มากอ่ นเลย ส่ิงท่ีน่าสนใจคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชด�ำริอย่างไรเก่ียวกับเร่ืองพระราชอ�ำนาจของพระองค์กับการ ปกครองที่จะต้องทรงสูญเสียไปซึ่งพระราชอ�ำนาจนี้ ท่ีส�ำคัญพระองค์ ทรงตอ้ งแบกรับพระราชภาระเร่อื งนม้ี ากมายเพยี งใด 115
ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เชงิ อรรถ ๑ อ้างจาก เบนจามนิ เอ. บทั สนั . อวสานสมบูรณาญาสิทธริ าชย์ ในสยาม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษย ศาสตร์. ๒๕๔๗, หนา้ ๔๐ ๒ อ้างจาก รอง ศยามานนท์. ประวัติศาสตร์ไทยในระบอบ รัฐธรรมนูญ.กรุงเทพฯ : บริษัทส�ำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จ�ำกัด. ๒๕๒๐, หนา้ ๓๐-๓๑ 116
ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๐๗ พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจ้าอยหู่ วั : กษัตริย์ผู้ยนื อยู่บนช่วงเวลาแหง่ การเปลย่ี นผ่าน กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จข้ึน ครองราชสมบัติในช่วงเวลาท่ีไม่น่าร่ืนรมย์เลย พระองค์ต้องทรงแบกรับ พระราชภาระต่างๆ มากมาย หลายปัญหาก็ได้เดินทางมาถึงช่วงเวลาท่ี เรยี กวา่ เขา้ ข้ันวกิ ฤตแิ ลว้ ดว้ ยซำ้� ไป ปัญหาใหญ่ๆ ที่พระองค์ต้องทรงแบกรับพระราชภาระน้ีมีอยู่ ๒ เรื่องด้วยกนั คอื ปัญหาแรก คือปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ที่อาจจะเรียกว่าเป็น กษัตริย์พระองค์แรกในสยามก็ได้ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ในช่วงเวลาที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศติดลบ ซ่ึงรายละเอียดได้กล่าวไว้แล้ว ในตอนต้น อีกปัญหาหน่ึงท่ีต้องเรียกว่าร้อนแรงจนถึงขั้นวิกฤติแล้ว น่ันก็ คือ ปัญหาความร้อนแรงเกี่ยวกับแนวคิดเร่ืองการเมืองการปกครองใน ระบอบประชาธปิ ไตย 117
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี มีประจักษ์พยานที่ชัดเจนมาแล้วก่อนหน้าน้ี ท้ังกรณีท่ีกลุ่ม นักเรียนนอกที่รวมตัวกันแล้วเสนอความคิดเห็นเร่ืองการเมืองการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในสยามเมื่อรัชกาลของพระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ เกิดกรณีกบฏ ร.ศ.๑๓๐ ท่ีมีการรวมตัวกันแล้วคิดที่จะก่อการกบฏกัน เป็นเร่ืองเปน็ ราว ทว่าไมไ่ ดบ้ งั เกิดผล เนื่องจากเกิด “ความลับร่วั ไหล” ออกมาเสียกอ่ น จนน�ำไปสู่การปราบปรามจับกุมได้ในทส่ี ดุ ความจริงแล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็คง ทราบเกี่ยวกับเร่ืองนี้เป็นอย่างดี เห็นได้จากความพยายามของพระองค์ ท่ีจะพระราชทานรัฐธรรมนูญปการปกครองประเทศให้กับประชาชน แม้ว่าความพยายามของพระองค์จะยังไม่ประสบผล และเกิดการ เปล่ียนแปลงการปกครองที่เกิดจากการปฏิวัติเสียก่อน อย่างไรก็ตามก็ ยังมีนักวิชาการบางท่านได้แสดงทัศนะเอาไว้ในท�ำนองว่าความพยายาม ดังกล่าวของพระองค์เป็นเพียงการสร้างเร่ืองทางประวัติศาสตร์ข้ึนมา เท่าน้ัน ซ่ึงไม่น่าจะเป็นจริงตามนั้น เนื่องจากว่ามีหลักฐานมากมายท่ี แสดงถงึ ความพยายามของพระองคใ์ นคร้ังนี้ ค่อนข้างจะเป็นความชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในช่วงเวลาทรงตกอยู่ในฐานะล�ำบาก ในหลายๆ เร่ือง ท้ังเศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง สมเด็จฯ กรม พระยาด�ำรงราชานุภาพกย็ งั ทรงกล่าวไวว้ า่ “เมื่อเสด็จข้ึนครองราชย์ (พระเจ้าอยู่หัว) ทรง ได้รับมรดกอันน่าเศร้า เพราะพระราชวงศ์ตกต่�ำราษฎร หมดความเคารพเชื่อถือ สมบัติเกือบหมดพระคลัง รฐั บาลฉอ้ ฉล การบรหิ ารราชการยงุ่ เหยิง” ๑ 118
ประวตั ิศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เน้ือความดังกล่าว ช่วยสะท้อนความวุ่นวายหรือทุกข์ลาภใน ราชสมบัตินั้นได้เป็นอย่างดี ความตกต�่ำของพระราชวงศ์นั้น เป็นเรื่อง ส�ำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงของพระราชอ�ำนาจในต�ำแหน่งพระมหา กษัตริย์ ความยุ่งเหยิงทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การบริหารจัดการของ รัฐบาล ล้วนเป็นปัญหาท่ีท้าทายพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างมาก รวมถึงเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพของพระองค์อย่างมากด้วยเช่นกัน ซึ่ง เร่ืองเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงทราบดีว่าทั้ง หลายเหล่าน้ีจะน�ำมาซ่ึงความไม่มั่นคงในพระราชอ�ำนาจได้ในที่สุด ดังท่ี พระองคท์ รงกล่าวไวว้ า่ “พระเจ้าแผ่นดินทรงอยู่ในฐานะล�ำบาก ความ คิดเห็นของราษฎรที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศน้ี เป็น สัญญาณท่ีบ่งชัดว่าการปกครองระบอบราชาธิปไตยใกล้ ถึงจุดจบเต็มที ถ้าจะให้ราชวงศ์ด�ำรงอยู่ต่อไปจะต้องท�ำ ฐานะของกษัตรยิ ์มัน่ คงกว่านี”้ ๒ หากว่าเราสืบย้อนกลับไปในพระราชประวัติของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จะพบว่า พระองค์ไม่ได้ทรงเตรียม พระองค์มาโดยตรงต่อการขึ้นเป็นกษัตริย์เลย หากแต่เตรียมพระองค์ มาในฐานะพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ต่างหาก ดังนั้นเม่ือทรงขึ้น ครองราชสมบัติ พระองค์ก็ทรงเลือกท่ีจะแก้ไขปัญหาด้วยการดึงผู้ที่มี ความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยพระองค์ ซ่ึงหน่ึงในน้ันคือ การแต่งต้ัง คณะอภริ ฐั มนตรสี ภา ซ่งึ จะกลา่ วถึงรายละเอียดในหวั ข้อต่อไป ความจริงแลว้ เรื่องของพระราชอำ� นาจทีเ่ ปลี่ยนไปนี้ พระองค์ก็ ทรงเห็นสัญญาณอยู่บ้างจนมองไปถึงว่า “เป็นสัญญาณท่ีบ่งชัดว่าการ ปกครองระบอบราชาธิปไตยใกล้ถึงจุดจบเต็มที” ดังน้ันพระราชอ�ำนาจ 119
ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี และพระราชวงศ์จะมั่นคงอยู่ได้ พระองค์ก็จะต้องท�ำให้พระราชอ�ำนาจ ในฐานะกษัตริย์นั้นกลับมาม่ันคงอีกคร้ัง ซ่ึงพระราชวงศ์ช้ันผู้ใหญ่จะมี สว่ นชว่ ยสร้างความนา่ เช่อื ถอื ได้อยา่ งมาก ความร้อนแรงในเร่ืองความคิดประชาธิปไตยนี้ มีขึ้นมาก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเสียอีก หรืออาจกล่าวให้ชัดว่า เป็นเชื้อไฟที่ก่อตัวและเริ่มข้ึนตั้งแต่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัวด้วยซ�ำ้ ไป เห็นได้จากการรวม ตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มีการเปล่ียนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแบบตะวันตก รัชกาลท่ี ๕ ทรงพิจารณาเห็นว่าสังคม สยามยังไม่พร้อมกับการเปล่ียนแปลงดังกล่าว ซ่ึงเรื่องน้ีพระองค์ก็มิได้ ทรงปฏิเสธแต่อย่างใด หากแต่พระองค์ทรงเลือกท่ีจะพัฒนาและเตรียม ความพร้อมของสงั คมก่อนแลว้ จึงจะพระราชทานรฐั ธรรมนูญ เม่ือคร้ังมีการประชุมเสนาบดีเม่ือปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระราชด�ำรัสเก่ียวกับเรื่องนี้ เอาไวว้ า่ “...ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พล เมืองในทันทีท่ีข้ึนสู่ราชบัลลังก์ ในขณะสืบต�ำแหน่ง กษัตริย์ กล่าวคือ ฉันจะให้เขาให้ปาลิเมนต์และคอน สติตวิ ชนั่ ...” เป็นการยืนยันท่ีชัดเจนว่า แนวคิดเรื่องการปกครองแบบ ประชาธิปไตย ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคิดของพระมหากษัตริย์สยาม แต่อย่างใด หากแต่ควรเปลี่ยนแปลงไปในความพร้อมของสังคม มากกว่า ทว่าต่อมาเมื่อครั้งท่ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ก็ยังคงไม่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ 120
ประวตั ิศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ดังท่ีพระราชบิดาทรงมีพระราชดำ� รัสเอาไว้ ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการเปล่ียนแปลงครั้งส�ำคัญในประเทศ จีน เมื่อเกิดการปฏิวัติล้มราชวงศ์แมนจูข้ึนใน พ.ศ.๒๔๒๔ ซ่ึงการ เปล่ียนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อบรรยากาศทาง ความคดิ ของคนสยาม กลา่ วคอื แตเ่ ดิมนัน้ จนี เป็นมหาอ�ำนาจทผ่ี ูกขาด พระราชอ�ำนาจในรูปของพระมหาจักรพรรดิมายาวนาน ทว่ายังไม่พ้น และไม่อาจต้านทานต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการ ปกครองไปได้ เม่ือคร้ังท่ีเกิดความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เรียก วา่ “กบฏ ร.ศ.๑๓๐” แม้วา่ จะไม่ประสบความสำ� เร็จ แต่อย่างนอ้ ยก็ได้ช้ี ให้เห็นถึงแนวคิดท่ีส่งผลต่อพระราชอ�ำนาจของกษัตริย์สยามอย่าง ชัดเจน แนวความคิดดังกล่าวก็เป็นเช่นไฟท่ีคุโชนขึ้นมาต้ังแต่สมัย รัชกาลที่ ๕ แม้ว่าจะยังไม่สามารถเผาท�ำลายอาจการปกครองของสยาม ลงได้ ทว่ามันก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเชื่อไฟแห่งประชาธิปไตยน้ีมันได้ ก่อตัวไว้แล้วอย่างเงียบๆ และเม่ือมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดมีลมโหมพัดเข้ามาทั้งปัญหาสารพัดท่ีเกิดข้ึน เรื้อรังมาต้ังแต่รัชกาลก่อน ก็ย่ิงส่งผลให้เช่ือไฟแห่งประชาธิปไตยน้ี ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง ท่ีส�ำคัญมันได้เผาไหม้พระราชอาญาสิทธิ์แห่งพระ มหากษัตริย์ในระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลงอย่าง ส้ินเชงิ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถนุ ายน ๒๔๗๕ 121
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เชิงอรรถ ๑ อ้างจาก เบนจามนิ เอ. บัทสนั . อวสานสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์ ในสยาม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�ำราสังคมศาสตร์และมนุษย ศาสตร์. ๒๕๔๗, หน้า ๓๕ ๒ เพง่ิ อา้ ง หน้า ๓๕ 122
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๐๘ “อภิรัฐมนตรีสภา” กบั พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในปลาย รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ความตกต�่ำ ของพระราชวงศ์ กล่าวกันว่า พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์ ไมไ่ ด้ทรงมบี ทบาทดา้ นการบรหิ ารประเทศดงั เช่นในรชั สมัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นพระราชภารกิจแรกเม่ือพระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระท�ำคือ การแต่งต้ังคณะอภิ รัฐมนตรสี ภาข้นึ มา เก่ียวกับเร่ืองการแต่งต้ังอภิรัฐมนตรีสภาน้ีได้มีผู้ท�ำการ ค้นควา้ วจิ ยั เอาไว้ค่อนขา้ งชัดเจน จงึ ขอน�ำเสนออา้ งอิงไว้ดังนี้ ๑ ภายหลังจากท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติได้เพียง ๒ วัน (๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๘) ส่ิงแรกที่ พระองค์ทรงกระท�ำก็คือ ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งต้ังพระบรม วงศานวุ งศ์ชั้นผใู้ หญใ่ หร้ ่วมบรหิ ารราชการแผน่ ดิน ในฐานะท่ีทรงอาวโุ ส 123
ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ในราชการและมีประสบการณ์มาก ข้อส�ำคัญคือ เป็นการถวายพระ เกียรตคิ ืนแก่พระบรมวงศานวุ งศซ์ ึ่งตกตำ�่ มาต้ังแตส่ มัยรัชกาลที่ ๖ รวม ถึงเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในพระราชกิจของพระองค์ลงด้วย โดย ได้ทรงบัญญัติต�ำแหน่งข้ึนมาใหม่เป็นการถวายพระเกียรติยศให้สูงกว่า ตำ� แหน่งเสนาบดวี ่า “อภริ ฐั มนตรสี ภา” เปน็ สภาการแผน่ ดินชัน้ สูง เป็น ท่ีปรึกษาราชการท้ังปวงให้กบั พระองค์ ข้อส�ำคัญของอภิรัฐมนตรีสภา คือ ต่อมาภายหลังได้มีบทบาท ต่อการบริหารประเทศอย่างมากโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าอภิ- รัฐมนตรีสภาจะมีบทบาทและอ�ำนาจมากเพียงใดก็ตาม แต่ในฐานะ กษัตริย์อันเป็นประมุขของประเทศ หากอภิรัฐมนตรีสภาจะเสนอแนะ หรือวางนโยบายใดๆ ออกมา จะสนองต่อแนวพระราชด�ำริของพระองค์ หรือไม่ หากพิจารณาตามหลักการในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ก็ต้องทรงรับผิดชอบแต่พระองค์เดียว ดังนั้นแนวพระราชด�ำริด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นด้านการแก้ไขปัญหา หรือด้านการพัฒนาต่างๆ จะเป็นไปตามพระราชประสงค์หรือไม่นั้น อภิ รฐั มนตรีสภาน้มี สี ่วนร่วมอย่างมากในการส่งเสริม ผลักดัน และคัดค้าน แนวพระราชด�ำริของพระองค์ ดังนั้นการศึกษาถึงรายละเอียดเก่ียวกับ อภิรัฐมนตรีสภาเป็นการเฉพาะ จึงมีความส�ำคัญมากเพื่อให้เข้าใจถึง แนวพระราชดำ� รขิ องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ในดา้ นตา่ งๆ 124
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี สมาชกิ อภิรัฐมนตรสี ภาทไ่ี ด้รบั การแต่งต้งั ครงั้ แรกในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ทมี่ า : ปรับปรุงจาก ชาญชัย รัตนวิบูลย์ (๒๕๔๘) “บทบาทของ อภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว” ปริญญานพิ นธก์ ารศกึ ษามหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕๑๙ จัดพิมพ์โดย พิพิธภัณฑ์พระบาท สมเดจ็ พระปกเกลา้ เจ้าอยูห่ วั สถาบันพระปกเกล้า 125
ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี อภิรัฐมนตรีสภาท่ีได้รับการแต่งต้ังในคร้ังแรก เป็นพระราช วงศช์ ัน้ ผู้ใหญ่ ๕ พระองค์ประกอบดว้ ย ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรม พระยาภาณุพันธุ์วงศว์ รเดช ๒. สมเดจ็ พระเจา้ พ่ียาเธอ เจ้าฟา้ บริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมหลวง นครสวรรค์วรพินิต ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติ- วงศ์ ๔. สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ๕. พระเจ้าพยี่ าเธอ กรมพระจนั ทบรุ นี ฤนาถ และภายหลังมีการแตง่ ตัง้ เพ่มิ เติมอีก ๓ พระองค์ การแตง่ ตัง้ เพมิ่ เตมิ ประกอบด้วย ๑. พ.ศ. ๒๔๗๓ สมเดจ็ เจา้ ฟ้าฯ กรมหลวงลพบรุ ีราเมศวร์ ๒. พ.ศ. ๒๔๗๔ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก�ำแพงเพ็ชรอัคร โยธนิ ๓. พ.ศ. ๒๔๗๔ พระวรวงศเ์ ธอ กรมหม่นื เทววงศ์วโรทยั มูลเหตุส�ำคัญท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่ง ต้ังเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ช้ันผู้ใหญ่น้ี เป็นด้วยเหตุปัจจัยส่วนพระ องค์เองที่ทรงยอมรับว่าขาดประสบการณ์และความสามารถในการท่ีจะ ต้องรับพระราชภาระอันหนักหน่วงในฐานะพระมหากษัตริย์ของประเทศ สยาม ดังนั้นการแต่งตั้งพระราชวงศ์ช้ันผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์และ ความสามารถก็เพื่อขอค�ำปรึกษาเก่ียวกับเรื่องส�ำคัญต่อบ้านเมืองและ ราชบัลลงั ก์ พระราชวงศ์ท่ีพระองคท์ รงไว้วางพระราชหฤทัยท่ี จะชว่ ยให้ แนวพระราชด�ำริของพระองค์น้ันรอบคอบและประสบความส�ำเร็จ ซ่ึง ชาญชัย รัตนวิบูลย์ ได้ท�ำการศึกษาไว้ว่า ปัจจัยส�ำคัญที่มีอิทธิพลต่อ การแต่งตั้งอภริ ฐั มนตรีสภาจำ� แนกได้เป็น ๓ ประการ ๒ คือ 126
ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๑. ปจั จัยดา้ นความตอ้ งการท่ีปรกึ ษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองไม่ได้ทรงมุ่งหวังใน เรอ่ื งการขน้ึ เป็นพระมหากษตั รยิ ์ ทรงเปรยี บพระองคเ์ องวา่ เป็น “มา้ มืด” ด้วยตามล�ำดับการสืบราชสันตติวงศ์นั้นยังมีล�ำดับชั้นอีกหลายพระองค์ ที่จะข้ึนเป็นพระมหากษัตริย์ได้ ท�ำให้พระองค์ไม่ได้เตรียมความพร้อม มาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาที่ทรงมุ่งม่ันด้านการทหาร เป็นพิเศษ ดังนั้นจึงท�ำให้ทรงขาดประสบการณ์ท้ังด้านการบริหาร ราชการแผ่นดนิ และขนบธรรมเนียมราชการตา่ งๆ และที่สำ� คัญ คือด้าน เศรษฐกิจซง่ึ ค่อนขา้ งจะเปน็ เรอื่ งทพี่ ระองค์ทรงมีความพร้อมนอ้ ยท่ีสดุ ๒. ปัจจัยด้านการเมืองก่อนขน้ึ ครองราชย์ เหตกุ ารณเ์ ร่อื งการกบฏทเ่ี กิดขน้ึ ในรชั สมยั ของพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอย่หู วั หรือทเ่ี รยี กว่า “กบฏ ร.ศ. ๑๓๐” แสดงใหเ้ ห็น ถึงความตึงเครียดทางการเมือง มีการท้าทายพระราชอ�ำนาจสิทธิขาด ของพระมหากษัตริย์ รวมถึงมีข่าวลือเร่ืองของเจ้านายบางพระองค์ที่มี อ�ำนาจทางการเมืองมากอยู่ในขณะนั้นจะทรงก่อการปฏิวัติ ได้สร้าง ความอึมครึมและหวาดระแวงให้เกิดขึ้น ดังน้ันพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชด�ำริให้แต่งตั้งเจ้านายชั้นสูงเป็น อภิรัฐมนตรีสภา ท้ังนี้ก็เพ่ือจัดสรรและแบ่งอ�ำนาจทางการเมืองออกไป รวมถึงเป็นการประกันว่าการข้ึนเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์ได้รับ การสนบั สนุนจากเจา้ นายชนั้ ผใู้ หญอ่ ย่างจรงิ จัง ๓. ปัจจัยทางดา้ นความต้องการทีจ่ ะรักษาเสถยี รภาพของราช บลั ลังก์และราชวงศช์ ้ันสูง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวความ สัมพันธ์ระว่างพระบรมวงศานุวงศ์เกิดความร้าวฉานและขัดแย้งกัน กรณีส�ำคัญ คือ ความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวกับพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งเป็นเสนาบดี 127
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติขณะนั้น เร่ืองการเสด็จประพาสญี่ปุ่นดัง ได้กล่าวก่อนหน้าน้ี เหตุที่ก่อให้เกิดความร้าวฉานขึ้นในหมู่พระบรม วงศานุวงศ์ช้ันสูง ซ่ึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงทราบดี ตลอดเวลา ดังนั้นแนวพระราชด�ำริเรื่องการแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา นอกจากจะเป็นการสร้างความศรัทธาให้เกิดข้ึนแก่ประชาชนแล้ว ยัง รวมถงึ การประสานรอยรา้ วภายในกล่มุ พระราชวงศอ์ ีกด้วย หากพิจารณาถึงปัจจัยท้ัง ๓ ข้อดังกล่าวจะพบว่า แนวพระ ราชด�ำรขิ องพระองคน์ ้ีจงึ เปน็ แนวพระราชดำ� รทิ ล่ี ุ่มลึก เพราะประโยชนท์ ี่ ได้รับจากอภิรัฐมนตรีสภานี้นอกจากเร่ืองของความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์การท�ำงานด้านต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับสถาบันกษัตริย์ด้วย แม้ว่าหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภาตามท่ี บัญญตั ไิ ว้นน้ั จะเปน็ เพยี งการถวายค�ำปรึกษาเกย่ี วกับขอ้ ราชการทัง้ ปวง เพื่อประกอบการพระราชวินิจฉัยตัดสินพระทัยส่ังการของพระมหา กษัตริย์เท่าน้ัน ไม่มีหน้าที่บัญชาราชการแต่อย่างใด เว้นแต่จะทรงพระ กรณุ าโปรดเกลา้ ฯ พเิ ศษหรือเฉพาะตวั เป็นการชว่ั คราว การถวายค�ำปรึกษาของอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่จะท�ำในรูป ของการประชุม โดยที่สามารถกราบบังคมทูลความเห็นเป็นการส่วน พระองค์ได้ทุกเม่ือ ท้ังในเร่ืองที่พระราชทานมาให้ถวายค�ำปรึกษาหรือ อืน่ ๆ ที่เหน็ สมควร แม้จะมีหน้าท่ีเพียงถวายค�ำปรึกษาแต่ความส�ำคัญของอภิรัฐ มนตรีสภากลับอยู่ที่เร่ืองท่ีถวายค�ำปรึกษานี้ล้วนเป็นเร่ืองที่ส�ำคัญท้ังสิ้น เช่น เรื่องของความม่ันของต่อประเทศหรือราชบัลลังก์ เร่ืองปัญหาด้าน เศรษฐกิจ เร่ืองท่ีมีความลับมาก หรือเร่ืองเก่ียวกับนโยบายการบริหาร ราชการแผ่นดิน เป็นต้น ดังนั้นบทบาทหน้าท่ีของอภิรัฐมนตรีสภาจึงไม่ ได้อยทู่ อี่ �ำนาจสัง่ การแตอ่ ยู่ท่ีความส�ำคัญของเรอ่ื งท่ถี วายค�ำปรึกษา ท่ีน่าสนใจ คือ ในส่วนของเศรษฐกิจการที่พระองค์ทรง 128
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี แต่งตง้ั พระเจา้ พย่ี าเธอ กรมพระจนั ทบรุ ีนฤนาถ ซงึ่ เปน็ ผเู้ ชีย่ วชาญด้าน เศรษฐกิจการคลัง รวมถงึ เคยเปน็ เสนาบดีกระทรวงพระคลงั มหาสมบัติ และกระทรวงพาณิชย์มาก่อน นับเป็นความแหลมคมและลุ่มลึกในแนว พระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างยิ่งที่ทรง สามารถเติมเต็มส่วนที่ขาดของพระองค์ คือ ความสามารถและ ประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจ เห็นได้จากบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาใน ด้านการคลังที่สามารถบริหารจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี กลา่ วคอื ภายหลงั จากท่ไี ดม้ กี ารสถาปนาอภิรฐั มนตรสี ภา แล้ว สภาน้ีได้เข้ามามีบทบาทส�ำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของ ประเทศอย่างจริงจัง ดังที่ชาญชัย รัตนวิบูลย์ ได้วิเคราะห์และแบ่ง บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาด้านการคลังไว้ ๓ ด้าน๓ ซึ่งสรุปได้เป็น แผนภมู ดิ ังน้ี บทบาทดา้ นเศรษฐกจิ ของอภิรฐั มนตรีสภา ในรัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทีม่ า : สรุปจากชาญชัย รัตนวิบูลย์ (๒๕๔๘) “บทบาทของอภิรัฐ มนตรีสภาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว” (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕๑๙) จัดพิมพ์โดย พิพิธภัณฑ์พระบาท 129
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี สมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อยูห่ ัว สถาบนั พระปกเกลา้ หนา้ ๑๖๑- ๑๖๓ ๑. ดา้ นงบประมาณ ในช่วงระยะแรกของการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดปัญหาด้านงบดุลอย่างหนัก อภิรัฐ มนตรีสภาได้เสนอให้แก้ไขปัญหาการขาดดุลของงบประมาณด้วย มาตรการตัดทอนรายจ่ายในหลายภาคส่วน ต่อมาในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๓ ฐานะทางการคลังของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติอันสืบเนื่องมาจาก ภาวะเศรษฐกิจตกต่�ำท่ัวโลก สินค้าด้านการเกษตรของไทยซ่ึงเป็นสินค้า หลักไม่สามารถส่งออกได้ดังก่อน ท�ำให้รายได้ของประเทศตกต่�ำลง งบ ประมาณของประเทศอยู่ในภาวะขาดดุล กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยความเห็นชอบของอภิรัฐมนตรีสภาต้องเพิ่มความเฉียบขาดใน มาตรการตัดทอนรายจ่ายมากขึ้น ด้วยการลดเงินเดือนของข้าราชการ ลดเงินพระคลังข้างที่ ดุลข้าราชการออก ลดการข้ึนเงินเดือน เป็นต้น แมจ้ ะพยายามเขม้ งวดกบั มาตรการดงั กลา่ วอยา่ งมาก แตป่ ญั หาเศรษฐกจิ ก็ไม่สามารถบรรเทาลงได้แต่อย่างใด ใน พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๕ ฐานะ ทางการคลังของประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติมากข้ึน ประกอบกับภาวะ เศรษฐกิจตกต่�ำท่ัวโลกท�ำให้สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศเลว ร้ายย่ิงขึ้น และซ�้ำเติมด้วยการท่ีประเทศอังกฤษประกาศยกเลิกระบบ มาตรฐานทองคำ� คา่ เงนิ ปอนด์ลดลง ทำ� ให้สินคา้ สง่ ออกของไทยมีราคา สูงขึ้นในตลาดโลก ปริมาณการส่งออกจึงลดลงอย่างต่อเน่ือง โดย เฉพาะข้าวอันเป็นสินค้าหลักท่ีการส่งออกมีอัตราลดลงอย่างต่อเน่ืองนับ แต่พระองค์ทรงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ มีเพียงปีเดียวเท่าน้ันที่มูลค่า การสง่ ออกสงู คือ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ดังตารางที่ ๓.๑ ดงั น้ี 130
ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี แสดงปริมาณการสง่ ออกและมลู ค่าของสินค้าขา้ ว (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๕) หน่วย : บาท พ.ศ. ปริมาณเปน็ หาบ ราคาตอ่ ๑ หนว่ ยหาบ รวมเป็นบาท ๒๔๖๘ ๒๒,๙๒๙,๑๑๔ ๗.๓๐ ๑๖๗,๔๐๙,๓๕๙ ๒๔๖๙ ๒๑,๗๙๙,๕๔๑ ๗.๕๘ ๑๖๕,๒๒๖,๒๓๔ ๒๔๗๐ ๒๘,๖๗๐,๖๕๔ ๗.๐๒ ๒๐๑,๑๕๖,๓๔๙ ๒๔๗๑ ๒๔,๖๖๗,๓๐๙ ๗.๑๐ ๑๗๕,๑๒๓,๗๘๑ ๒๔๗๒ ๑๘,๘๖๐,๐๘๗ ๗.๓๗ ๑๓๙,๐๘๗,๓๙๐ ๒๔๗๓ ๑๗,๑๑๒,๓๓๐ ๖.๐๒ ๑๐๓,๐๖๗,๗๑๘ ๒๔๗๔ ๒๒,๒๐๐,๔๕๓ ๓.๔๙ ๗๗,๕๐๐,๓๕๔ ๒๔๗๕ ๒๗,๘๖๗,๒๑๐ ๓.๓๘ ๙๔,๒๐๐,๖๖๐ ทีม่ า : ยวุ ดี ไกรพบิ ลู ย์ (๒๕๒๓) “บทบาทของกระทรวงพระคลงั มหา สมบัติกับการปฏิรูปประเทศ”วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์บัณฑิต แผนกวชิ าประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร หน้า ๔๓๕ จากตารางที่แสดงไว้ มีข้อน่าสังเกตว่า ปริมาณการส่งออกไม่ ได้ลดลง แต่เป็นราคาต่อหน่วยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และลดลงอย่าง มากใน ๒ ปีก่อนการเปล่ียนแปลงการปกครอง ส่งผลให้รายได้ลดลง อย่างรนุ แรงและน�ำมาซ่ึงภาวะวกิ ฤติรายได้และการคลงั ของประเทศ ภาวะวิกฤติด้านงบประมาณนี้ สังเกตได้ว่ารัฐบาลภายใต้การ น�ำของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเน้นเรื่องความสมดุลของ งบประมาณเป็นหลกั ซ่งึ ความสมดุลของงบประมาณน้ี เปน็ แนวคดิ ดา้ น การคลังแบบอนุรักษน์ ยิ มท่ีใชก้ นั มาแตอ่ ดีต เปน็ แนวคดิ ส�ำคญั ของกลุ่ม ที่ปรึกษาดา้ นเศรษฐกจิ ชาวต่างประเทศ การที่พระองคท์ รงยอมรบั ความ 131
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เห็นของอภิรัฐมนตรีสภาเร่ืองการรักษาดุลงบประมาณ ย่อมแสดงให้ เห็นว่าพระองค์เองก็ทรงมีแนวพระราชด�ำริเรื่องงบประมาณในรูปแบบ ดังกลา่ วดว้ ยเช่นเดียวกนั ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ำริให้ต้ัง “อนุกรรมการเสนาบดีสภา” ขึ้นตาม ขอ้ เสนอแนะของ “อภริ ฐั มนตรีสภา” ซง่ึ เกือบทง้ั หมดเปน็ อภริ ัฐมนตรี ๔ ท้ังน้ีเพ่ือเตรียมการจัดท�ำงบประมาณให้เข้าสู่ดุลยภาพ โดยการตัดทอน รายจา่ ยและหาทางเพมิ่ รายได้ดว้ ยวธิ ีการเพมิ่ ภาษีอากร ข้อควรพิจารณา คือ การที่พระองค์ทรงสนับสนุนแนวคิดใน การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของอภิรัฐมนตรีสภาในหลายๆ เรื่องนี้ แสดง ว่าแนวพระราชด�ำริของพระองค์ก็ต้องคล้อยตามแนวคิดของอภิรัฐ มนตรีสภาด้วยเช่นกัน เพราะหากว่าพระองค์ทรงมีข้อคิดเห็นท่ีขัดแย้ง กับแนวคิดของอภิรัฐมนตรีสภา ในฐานะประมุขของประเทศพระองค์ ย่อมสามารถคัดค้านมาตรการหรือแนวคิดดังกล่าวอย่างแน่นอน ตรง กนั ข้ามพระองคก์ ลบั เหน็ ชอบในแนวคดิ ของอภริ ัฐมนตรีสภาด้วยการต้งั อนุกรรมการเสนาบดีสภาเพ่ือแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณของประเทศ ท่ีสว่ นใหญเ่ ป็นอภิรัฐมนตรสี ภาเอง ตวั อยา่ งเชน่ ทรงมีแนวพระราชดำ� ริ เห็นด้วยกับคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวท่ีกรมพระก�ำแพงเพ็ชรฯ ทรง เสนอให้รัฐบาลด�ำเนินการแก้ไขเร่ืองปัญหาราคาข้าวแทนการให้ความ ส�ำคัญกับคุณภาพของข้าว เพราะข้าวของไทยมีคุณภาพดีอยู่แล้ว ส่ิงท่ี รัฐบาลควรป้องกันไม่ให้เกิดข้ึนคือ การปลอมปนข้าว นอกจากน้ัน รัฐบาลควรปรับปรุงวิธีการด�ำเนินการค้าให้ดีขึ้น ๕ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบและทรงเห็นว่าเป็น หน้าท่ีของรัฐบาลท่ีควรจะต้องด�ำเนินการตามน้ันมาเป็นเวลานานแล้ว ได้ทรงมีพระราชบนั ทึกเกย่ี วกบั เร่อื งนีว้ ่า 132
ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี “...น่าเสียดายที่ไม่ได้คิดท�ำเสียนานแล้ว แต่ก็มี หลายเร่อื งท่ี the public at large หนงั สอื พิมพ์ เป็นตน้ ได้พูดถึงมานานแล้ว แต่เราก็ไม่กระดิกเสียเลยจนมี เหตุการณ์จำ� เป็นแทๆ้ มากระตุ้นจงึ กระดิกได้ ซง่ึ บางครงั้ น่าจะชา้ เกินไปได้ เพราะตอ้ งใหภ้ ัยมาถึงตวั แล้วจงึ เตรียม จะปัด ถ้าเคราะห์ดีก็ทันการ แต่เป็นทางที่อาจพลาดพลั้ง ได้ ควรจะคิดหัดป้องกันล่วงหน้ากันเสียบ้าง ซึ่งข้าพเจ้า เหน็ วา่ เปน็ หน้าทอ่ี นั แท้จริงของรัฐบาล” ๖ อีกกรณีหน่ึง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัญหาเรื่องงบประมาณเกิด ความยุ่งยากมากขึ้นเมื่อกระทรวงต่างๆ ต้ังงบประมาณของแต่ละ กระทรวงรวมกันสูงถึงราว ๗๙ ล้านบาท ในขณะที่กระทรวงพระคลังฯ และอนุกรรมการเสนาบดสี ภาคาดวา่ รายได้จะไดร้ าว ๖๘ ล้านเศษ (แต่ รายได้จริงกลับสูงถึง ๗๙ ล้านเศษ) ท�ำให้เกิดปัญหาเร่ืองการจัดงบ ประมาณ โดยทีค่ วามคดิ นั้นแตกออกเป็น ๒ ฝา่ ย ฝา่ ยหน่งึ เปน็ ความคิด ของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติโดยมีแนวคิดส�ำคัญจากท่ีปรึกษาของ กระทรวงชาวต่างประเทศ และอกี ฝ่าย คือ แนวคิดของกลมุ่ อภริ ฐั มนตรี สภา ความคิดของท้ังสองกลุ่มนี้ คือ ความคิดเห็นที่เป็นเหตุและผล ส�ำหรับการพิจารณาก่อนการตัดสินพระทัยเลือกแนวทางการแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อยหู่ วั นอกจากน้ีแนวคิดของกลุ่มอภิรัฐมนตรีสภายังได้คัดค้าน แนวคิดเร่ืองการขอเพิ่มเงินเดือนของทหารในช้ันยศเดิม ๙๑ นาย ของ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พระองคเ์ จ้าบวรเดช กฤดากร) ได้ส�ำเร็จ ซึง่ พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ทรงเหน็ ชอบด้วย มีผลใหเ้ สนาบดี กระทรวงกลาโหมกราบบังคมทูลลาออกและได้รับพระบรมราชานุญาต โดย “มติของอภิรฐั มนตรีสภา” 133
ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี จะเห็นได้ว่าเร่ืองของงบประมาณ อภิรัฐมนตรีสภาเข้ามามี บทบาทอย่างมากในการจัดสรร ส่วนหน่ึงเป็นเพราะเกิดจากการที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขาดประสบการณ์ด้านการ คลัง โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะวิกฤติจ�ำเป็นต้องได้ แนวคิดจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างอภิรัฐมนตรีสภาเข้ามาแก้ไข รวมท้ังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงเห็นชอบกับ แนวคิดในมาตรการต่างๆ หลายเรื่องที่อภิรัฐมนตรีเสนอแนะ เห็นได้ จากแนวคดิ ของอภิรฐั มนตรีสภา มติของอภริ ัฐมนตรีสภา และมาตรการ ต่างๆ ท่ีเกิดจากแนวคิดของอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่มักได้รับการน�ำ ไปปฏิบัติแทบท้งั สน้ิ ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่า แนวพระราชด�ำริในการแก้ไขวิกฤติงบ ประมาณท่ีกลุ่มอภิรัฐมนตรีสภาเสนอแนะเรื่องความพยายามจัดท�ำงบ ประมาณแบบ สมดุล ซึ่งเป็นแนวคดิ ดา้ นการเงินการคลงั แบบ “อนรุ กั ษ์ นิยม” เป็นแนวคิดที่สอดคล้องเป็นอันเดียวกันกับแนวพระราชด�ำริด้าน เศรษฐกจิ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยู่หวั ดว้ ย ๒. บทบาทด้านการจัดเก็บภาษี ระบบภาษีของไทยในขณะนั้น เป็นโครงสร้างของระบบภาษี อากรที่เป็นภาษที างอ้อมถงึ ร้อยละ ๗๙ เชน่ ภาษีศลุ กากร ภาษรี ถยนต์ เป็นตน้ อภิรัฐมนตรสี ภาเพียงแกไ้ ขวธิ กี ารจัดเก็บภาษเี งนิ รัชชูปการ ๗ ซ่ึง เป็นภาษีทางตรงท่ีท�ำรายได้ให้กับประเทศเป็นจ�ำนวนมากเป็นอันดับ สองรองจากภาษีที่ดิน เมื่อประเทศต้องพบกับวิกฤติเศรษฐกิจ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจึงมีการเสนอให้จัดเก็บภาษีคนรวยมาก ขึ้น แต่กลบั ไมไ่ ด้รับการสนับสนุนจากอภริ ฐั มนตรีสภา เชื่อว่าเปน็ เพราะ หากแนวคิดดังกล่าวได้รับการน�ำไปปฏิบัติอาจกระทบกระเทือนถึงกลุ่ม ผลประโยชนข์ องอภริ ฐั มนตรสี ภาดว้ ย 134
ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง ยอมรับว่า แม้แต่ข้อเสนอของพระองค์ท่ีจะน�ำระบบภาษีที่เป็นธรรมมา ใช้ก็ไม่อาจประสบความส�ำเร็จ ซึ่งพระองค์น้ันทรงเห็นชอบด้วยกับ แนวคิดของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพราะเชื่อว่าเป็นการจัดเก็บ ภาษีที่เป็นธรรมต่อสังคม ความส�ำคัญอยู่ท่ีว่าแม้แนวพระราชด�ำริที่ ต้องการสร้างความเป็นธรรมต่อสังคมดังกล่าว จะเป็นของพระมหา กษตั รยิ แ์ ต่ก็ยงั ไมส่ ามารถน�ำมาใช้ปฏิบัติไดจ้ ริง ดังน้นั จงึ กลา่ วไดว้ ่า แนวการปฏิบตั ิจริงของรฐั บาลกับแนวพระ ราชด�ำริของพระองคใ์ น “บางเรื่อง” ก็ไม่ตรงกันดงั เชน่ แนวคดิ การจัด เก็บภาษีจากคนรวยให้มากขึ้น เป็นต้น น่าสนใจว่าอภิรัฐมนตรีสภามี บทบาทอย่างมากในทางปฏิบัติ ที่แม้ว่าจะมีหน้าที่ตามบทบัญญัติว่าเป็น เพียงให้ค�ำปรึกษาต่อพระองค์ แต่ปรากฏว่าแนวความคิดของอภิรัฐ มนตรีสภาสามารถคัดค้านแนวพระราชด�ำริของพระมหากษัตริย์ในบาง แนวคดิ ๓. บทบาทด้านหนีส้ าธารณะ แนวพระราชด�ำริด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวทรงเลือกวิธีการ “รัดเข็มขัด” อย่างเข้มแข็ง แทนการก่อหนี้เพิ่มเพื่อให้งบประมาณของประเทศในแต่ละปีลงตัว ดัง น้ันบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาด้านหน้ีสาธารณะนี้จึงมีน้อยมาก กล่าว คือ เพียงแต่มีการเสนอแนะให้กู้เงินภายในประเทศ เป็นจ�ำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพ่ือใช้ในงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ตามแนวพระดำ� ริของกรมพระกำ� แพงเพช็ รฯ เท่าน้ัน สรุปได้ว่า แนวพระราชด�ำริเร่ืองการแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภานี้ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นแนวพระราชด�ำริในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยตรง แต่บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภามีส่วนส�ำคัญอย่างมากในการสนับสนุน 135
ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี และช่วยเหลือพระองค์คลี่คลายปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ ท่ีเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง การท่ีพระองค์ทรงเห็นชอบกับแนวคิดเก่ียวกับการแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจของกลุ่มอภิรัฐมนตรีสภาน�ำเสนอและมีมติออกมา หลายเรื่องสอดคล้องกัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแนวคิดเร่ืองเศรษฐกิจ ของกลุ่มอภิรัฐมนตรีสภาเป็นแนวคิดท่ีสอดคล้องกับแนวพระราชด�ำริ ของพระองค์ นอกจากนี้ความเป็นพระราชวงศ์ช้ันผู้ใหญ่ที่มีทั้งความรู้และ ประสบการณ์ของอภิรัฐมนตรีสภา จะเป็นการช่วยสร้างความชอบธรรม มากขึ้นหากว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราช ด�ำริเรื่องเศรษฐกิจออกมาแล้วสอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่มอภิรัฐ มนตรสี ภายอ่ มงา่ ยต่อการน�ำไปเปน็ นโยบายเพอ่ื การน�ำไปปฏบิ ตั ติ ่อไป ดังนั้นแนวพระราชด�ำริเรื่องการแต่งต้ังอภิรัฐมนตรีสภาของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพ่ือถวายค�ำปรึกษาโดยเฉพาะ ดา้ นเศรษฐกิจ จึงถอื วา่ ประสบความสำ� เร็จอย่างมาก เพราะสามารถช่วย พระองค์ตัดสินพระทัยเร่ืองที่เก่ียวข้องกับเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและ รอบคอบยิง่ ขน้ึ นอกจากนี้อภิรัฐมนตรีสภายังมีบทบาทอย่างมากต่อการ เปล่ียนแปลงทางการเมืองการปกครอง อย่างน้อยที่สุดก็มีผลต่อแนว พระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่มาก เน่ืองด้วยว่า ทุก พระองค์ในคณะรัฐมนตรีสภา ได้รับการสถาปนาแต่งต้ังข้ึนมาจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง และท่ีส�ำคัญ เป็นพระบรม วงศานุวงศ์ช้ันสูงท่ีได้รับการเคารพนับถือจากพระองค์ ดังนั้น แนวคิด ของอภิรัฐมนตรีสภา จึงมีผลหรือส่งผลอย่างแน่นอนต่อแนวพระราช ด�ำริด้านการเมอื งการปกครองของพระองค์ เกี่ยวกับเร่ืองนี้เห็นได้ชัดเจนจากเมื่อครั้งท่ีพระบาทสมเด็จ พระปกเกลา้ เจา้ อย่หู ัวทรงมพี ระราชด�ำริท่จี ะให้รฐั ธรรมนญู กับประชาชน 136
ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ได้มีการน�ำเรื่องน้ีเข้าปรึกษาต่ออภิรัฐมนตรีสภา ซ่ึงก็ได้รับการทูลเกล้า ถวายความคิดที่ไม่เห็นด้วย ส่งผลให้แนวพระราชด�ำริดังกล่าวก็มีอัน ต้องสะดุดลง ความส�ำคัญของอภิรัฐมนตรีสภาดังที่ได้น�ำเสนอมานี้ แม้ว่า บทบาทหน้าที่จะเน้นหนักไปในเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก ทว่าก็ได้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของคณะอภิรัฐมนตรีสภาต่อการตัดสินพระทัย ในการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ไม่น้อย ซึ่งในท่ีน้ีก็รวมถึงเรื่องของการเมืองการปกครองด้วย โดย เฉพาะอย่างย่ิงการตัดสินใจให้ชะลอการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อยหู่ ัวทรงใหร้ า่ งขนึ้ ซงึ่ จะไดก้ ล่าวในราย ละเอียดตอ่ ไป 137
ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เชิงอรรถ ๑ ปรับปรุงจาก ส�ำราญ ผลดี. แนวพระราชด�ำริทางด้าน เศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรญิ ญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวชิ าไทยคดศี ึกษา สาขา วชิ าศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๕๑, ๖๗-๗๗ ๒ ชาญชยั รตั นวบิ ูลย์ “บทบาทของอภริ ัฐมนตรสี ภาในรัชสมยั ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” (ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๕๑๙) จัดพิมพ์โดย พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า ๒๕๔๘ หนา้ ๑๖๑-๑๖๓ ๓ เพง่ิ อ้าง หนา้ ๑๖๓ ๔ สมาชิกอนุกรรมการเสนาบดีสภาประกอบด้วย ๑. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (เป็น ประธานอนกุ รรมการ) ๒. สมเดจ็ เจา้ ฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรรี าเมศวร์ ๓. พระยาโกมารกลุ มนตรี ๔. พระเจา้ พ่ยี าเธอ กรมพระก�ำแพงเพ็ชรอัครโยธนิ ๕ ยุวด ี ไกรพบิ ูลย์ “บทบาทของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กับการปฏิรูปประเทศ” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต ภาควิชา ประวัตศิ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๓ หน้า ๔๔๒ ๖ ส�ำนกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ เอกสารรชั กาลที่ ๗ พ.๘.๑/๑ เร่ือง พระราชบันทึกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๑๒ กนั ยายน พ.ศ. ๒๔๗๓) 138
ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๗ คือ รูปแบบภาษีท่ีก�ำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ ๒๐-๖๐ ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุ ๑๗ ปีขึ้นไป แต่ได้ท�ำการสมรสแล้ว และอยู่ภายในพระราชอาณาเขต ต้องเสียเงินรชั ชูปการอยา่ งสูงคนละ ๖ บาทต่อปี โดยกรรมการอ�ำเภอจะเป็นผู้ท�ำหน้าท่ีเก็บ เสนาบดีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติเป็นผูม้ ีอ�ำนาจในการกำ� หนดอัตราเงนิ รชั ชูปการ 139
ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๐๙ แผน่ ดนิ พระปกเกลา้ ฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครองราชสมบัติ ภายหลังจากการสถาปนาเลื่อนฐานะจากกรมขุนเป็นกรมหลวงได้เพียง แค่ ๒ สปั ดาห์เท่าน้นั ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันท่ี ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พระบรมวงศานุวงศ์ ช้ันผู้ใหญ่และบรรดาเหล่าเสนาบดีทั้งหลายก็ได้มีการประชุมปรึกษา หารือกัน ณ พระท่ีนั่งอมรินทรวินิจฉัยตามราชประเพณี โดยคร้ังนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ ภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซ่ึงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ทรงเป็นประธานการประชุมดังกล่าว ในท่ีประชุมได้ลงความเห็นอย่าง พร้อมเพรียงกันว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา พระอนุชา ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสิทธิและความ เหมาะสมท่ีจะสืบต่อพระราชสมบัติจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หวั พระบรมเชษฐาธริ าช กล่าวกนั วา่ ในเบ้อื งต้นน้นั พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้าอยู่ 140
ประวตั ิศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี หัวทรงปฏิเสธ จนพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายต่างต้องพยายามกราบ บังคมทูลอ้อนวอนอยู่เป็นเวลานานจนพระองค์ทรงยอมรับในพระราช สมบตั ใิ นท่สี ุด น่าเชื่อได้ว่าเหตุท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ปฏิเสธการรบั ราชสมบตั ิในเบอื้ งตน้ นั้นนา่ จะมคี วามจริงอยู่บ้าง ก็ด้วยว่า ทรงเห็นถึงปัญหาของประเทศที่มีมากมาย รวมถึงยังมีพระบรมวงศานุ วงศ์ที่เหมาะสมและมีความสามารถมากกว่าพระองค์ที่ควรได้รับราช สมบัติมากกวา่ ซงึ่ จะเห็นไดว้ ่า กษัตริย์พระองคน์ ี้ ไม่ไดท้ รงเห็นแก่พระ ราชอ�ำนาจต้ังแต่ต้น ดังน้ันการที่มีการถกเถียงกันในภายหลังถึงเร่ือง ความพยายามทจี่ ะเรยี กพระราชอำ� นาจคนื ภายหลงั จากการเปลยี่ นแปลง การปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ จึงไมเ่ ป็นความจรงิ ทรงเห็นถงึ ปญั หาของ ประเทศท่ีจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยผู้ท่ีสมควร ผู้ท่ีมีความรู้ความ สามารถท่ีเหมาะสม ทว่าต่อเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ท้ังหลายต่างกราบ บังคมทูลอ้อนวอนและพร้อมท่ีจะให้ความช่วยเหลือ พระองค์จึงทรงรับ พระราชสมบตั ดิ ังกลา่ ว หากพิจารณาเน้ือความตามประวัติศาสตร์แล้วเราจะพบว่า ตลอดรัชกาลพระองค์ต้องทรงรับพระราชภาระอันหนักหน่วงในหลาย เรื่อง ซ่ึงเร่ืองแรกที่จะต้องทรงแบกรับไว้แก้ปัญหาน่ันก็คือ ปัญหา เศรษฐกิจที่ปรากฏว่า ตัวเลขงบประมาณของประเทศมีการติดลบมา ตั้งแต่เมอื่ ครงั้ รัชกาลก่อน ซึ่งสว่ นหนงึ่ ก็สบื เน่อื งจากจากเกิดภาวะวกิ ฤติ เศรษฐกิจตกตำ่� ทเ่ี กิดขนึ้ ท่วั โลก ปัญหานี้ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ส�ำหรับพระองค์มาก หากท�ำการ ศึกษาย้อนไปในพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัวก่อนข้ึนครองราชสมบัติแล้วก็จะพบว่า พระองค์น่าจะมีพ้ืนฐานทาง ด้านเศรษฐกิจอยู่ไม่มากนัก ท้ังจากการศึกษาท่ีทรงเลือกเรียนทางด้าน การทหารมาต้ังแต่ต้น แม้ว่าตอนปลายรัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จ 141
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวจะทรงมอบพระราชภาระด้านตา่ งๆ ให้พระองค์ ทรงรับผิดชอบอยู่บ้าง แต่ก็ไม่นานนัก ดังนั้นปัญหาดังกล่าวจึงได้สร้าง ความวติ กกงั วลใหก้ บั พระองค์อย่างมาก อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงแก้ปัญหาด้วยการคัดเลือกผู้ท่ีมี ความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยพระองค์แก้ปัญหาดังกล่าว ซ่ึงบุคคลท่ี กล่าวถึงอยู่นี้คือพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ท่ีเข้ามามี บทบาททางด้านเศรษฐกิจต่อพระองค์ในฐานะหน่ึงในสมาชิกของอภิ รัฐมนตรีสภาที่พระองค์ทรงคัดเลือกเข้ามา ซ่ึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์นต้ี า่ งกเ็ ป็นที่ยอมรบั กันโดยทว่ั ไปว่าเปน็ ผ้ทู ม่ี เี ชี่ยวชาญทางดา้ น เศรษฐกิจ และทรงมีบทบาทอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทยต้ังแต่รัชสมัย พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู วั แนวพระราชด�ำริในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของพระองค์เมื่อ แรกรบั ราชสมบตั ินั้น พระองค์ทรงใหว้ ธิ กี ารทเี่ รยี กว่า “รัดเข็มขดั ” หรือ การตัดทอนรายจ่ายในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ ซ่ึงก็ได้ผลเป็นอย่าง ดีว่า งบดุลของประเทศจากท่ีเคยติดลงติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี กลบั มาอยใู่ นภาวะสมดุลได้ในปีแรกทเี่ สด็จครองราชย์ สภาพการณ์ของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระ องค์น่าจะเดินไปในทิศทางที่ดีแล้ว ทว่าต่อมาในช่วงปลายรัชกาลของ พระองค์กเ็ กดิ ปัญหาข้นึ มาอีก ทัง้ ปญั หาเศรษฐกิจตกต�่ำท่เี กิดข้นึ ท่ัวโลก ปญั หาค่าเงินบาททผี่ กู ตดิ อยกู่ ับราคาทองค�ำ นอกจากนี้ประเทศสยามยังเกิดภัยธรรมชาติติดต่อกันอีก ท�ำให้ผลผลิตข้าวของประเทศเกิดปัญหา เน่ืองจากเมื่อในช่วงเวลานั้น สินคา้ หลักของประเทศคอื “ข้าว” รวมถึงเวลานัน้ กระบวนการผลติ ขา้ ว ของสยาม ยังใช้การพ่ึงพาฟ้าฝน พ่ึงพิงต่อธรรมชาติอยู่มาก ดังนั้นเม่ือ เกิดความไม่สมบูรณ์ของปัจจัยท่ีส่งเสริมต่อกระบวนการผลิตจึงส่งผล เป็นภาพรวมของประเทศอย่างหลกี เลีย่ งไม่ได้ 142
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี จะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าว ทั้งปัญหาเศรษฐกิจตกต�่ำที่เกิดข้ึน ทั่วโลกรวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาท่ีอยู่นอกเหนือการ ควบคุมท้ังสิน้ อย่างไรก็ตามเป็นท่ีเชื่อได้ว่า การไม่ประสบความส�ำเร็จในการ แกไ้ ขปัญหาเศรษฐกิจของพระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อยู่หวั น้นั เปน็ สาเหตุหน่ึงท่ีน�ำมาซ่ึงการเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ อย่าง แน่นอน ๑ อีกปัญหาหน่ึงท่ีเกิดข้ึนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกลา้ เจ้าอยู่หวั นน่ั ก็คอื แนวคดิ เรอื่ งการเปลยี่ นแปลงการปกครองของ สยามประเทศ เป็นท่ีชัดเจนอยู่ว่าแนวคิดดังกล่าวเร่ิมมีขึ้นในประเทศ สยามต้ังแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนถึงรัยสมัยของพระองค์ ซ่ึงเรื่องน้ีพระองค์ก็ทรงทราบดี เห็นได้จาก ความพยายามท่ีจะส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่น การ สง่ เสริมรูปแบบของสทิ ธเิ สรีภาพในการแสดงความคดิ เหน็ สทิ ธิเสรภี าพ ทางบุคคล รวมถึงกระบวนการบริหารจัดการประเทศท่ีเปิดโอกาสให้มี การถกเถียงแสดงความคิดเห็นเพ่ือหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของ ปญั หาประเทศ ดงั กรณีของการประชมุ อภิรัฐมนตรีสภา เปน็ ต้น แม้ว่ารูปแบบจะไม่ชัดเจนว่าเป็นกระบวนการเมืองแบบ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ทว่าก็ได้ช้ีให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและ ความพยายามที่จะปรับเปล่ียนรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบททางสังคม ทเ่ี ปลย่ี นแปลงไป หลายเรื่องที่ตามพระราชอ�ำนาจแล้วพระมหากษัตริย์ทรง สามารถตัดสินพระทัยได้ด้วยพระองค์เอง ทว่าก็หลายครั้งเช่นกันท่ี ความเห็นของที่ประชุมไม่ตรงกับความเห็นส่วนพระองค์ ก็ไม่ได้ทรง ยืนยันหากแต่ทรงเลือกเอาความคิดที่เป็นท่ีผ่านกระบวนการถกเถียงกัน มาแล้ว ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็เป็นแนวทางตามความหมายของค�ำว่า 143
ประวตั ิศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี “ประชาธิปไตย” นั่นเอง ท่ีน่าสนใจก็คือ ปัญหาของประเทศในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ ไม่ได้เป็นปัญหาท่ีแยกออกจากกัน หาก แต่เป็นปัญหาท่ีเก่ียวเน่ืองเชื่อมโยงกัน ซ่ึงผลท่ีเกิดข้ึนก็ไม่ได้เกิดขึ้นมา จากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง หากแต่เกิดจากปัญหาหลายๆ อย่างประกอบ เข้าด้วยกนั และผลท่ีเรากำ� ลงั กลา่ วถึงกนั อยูน่ ี้กค็ ือ การเปลี่ยนแปลงการ ปกครองท่ีเกิดขึ้นในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ กล่าวคือ ปัญหา ทางเศรษฐกิจตลอดรัชกาลของพระองค์ได้น�ำมาซึ่งปัญหาสังคม ทั้ง ความไมพ่ อใจของกลมุ่ ข้าราชการทง้ั หลายท่ีต้องสูญเสียประโยชน์ ความ ไม่อุดมสมบูรณ์ของราษฎร ความไม่ม่ันคงในชีวิตของราษฎร การสูญ เสียซึ่งอ�ำนาจและอนาคตความก้าวหน้าของตนเอง และเชื่อได้ว่าน�ำมา ซ่งึ การเปลีย่ นแปลงในท่ีสุด การเปล่ียนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ ที่เป็นไปอย่าง “เร่งรีบ” และ “รวบรัด” ในท่ามกลางสถานการณ์ของสังคมท่ียังไม่ พรอ้ มนำ� มาซง่ึ ปัญหายุง่ ยากต่างๆ มากมายมาจนถึงปจั จบุ ัน ความจริงแล้วเกี่ยวกับปัญหาด้านการเมืองการปกครองแบบ ประชาธิปไตยนี้ เช่ือได้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง ทราบดีถึงความร้อนแรงที่เร่งปะทุอยู่ตลอดเวลา พระองค์เองก็ทรง พยายามท่ีจะแก้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดข้ึนตลอดรัชกาลของพระองค์ ทรง วางรากฐานของประชาธิปไตย ด้วยกระบวนการทางรัฐสภา ดังเช่นการ จัดต้ัง “สภาองคมนตรี” ซึ่งเป็นสถาบันท่ีสืบเน่ืองมาจากสภาที่ปรึกษา ในพระองค์ท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้จัดตั้งข้ึน เมอ่ื ปี พ.ศ.๒๔๑๗ เม่ือครั้งท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครอง ราชสมบัติ ทรงมีพระราชด�ำริท่ีจะปรับปรุงองคมนตรีดังกล่าว โดยให้ เป็นไปตามพระราชประสงค์ที่ว่าจะให้เป็นสถาบันเรียนรู้และทดลองการ 144
ประวตั ิศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ปกครองแบบรัฐสภา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการแต่งต้ังคณะกรรมการ เพื่อจัดระเบียบองคมนตรี โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วร พนิ ติ ทรงเป็นองค์ประธาน แม้ว่าในเบื้องต้นนี้ คณะกรรมการดังกล่าวจะเป็นกลุ่มชนช้ัน สูง ทว่าอย่างน้อยท่ีสุดก็ช่วยให้เราได้เห็นถึงความพยายามของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พยายามจะส่งเสริมให้เกิดกระบวนการ ทางประชาธปิ ไตยขึ้นในสยาม นอกจากนี้สิ่งท่ีเห็นได้ชัดเจนถึงความพยายามของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย คือความพยายามที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ราษฎรสยาม ทว่าร่าง รัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ได้มีการประกาศใช้ก็เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ซึ่งเรื่องเก่ียวกับร่างรัฐธรรมนูญของ พระองค์นี้มีความส�ำคัญมากต่อความกระจ่างทางประวัติศาสตร์ช่วงของ การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการปกครองของสยาม ดังน้ันจึงขอแยก เปน็ อีกหวั ขอ้ หนึ่งท่จี ะไดก้ ล่าวถึงในรายละเอยี ดต่อไป สรุปได้ว่า ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว พระองค์ทรงต้องแบกรับพระราชภาระของประเทศมากมายใน ฐานะพระมหากษัตริย์ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการ ปกครอง พระองค์ทรงใช้ความพยายามอย่างมากในการแก้ไขปัญหาทั้ง หลายที่รุมเร้าอยู่ ทว่าก็ยังไม่เพียงพอหรือทันต่อความต้องการท่ีเกิดขึ้น ซึ่งปัญหามากมายท่ีกล่าวมานี้ ไม่ได้เป็นปัญหาท่ีเกิดขึ้นจากพระองค์ หากแต่เป็นปัญหาเกิดขึ้นและพัฒนามาแล้วตั้งแต่อดีตอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ว่าพระองค์ทรงเข้ามารับราชสมบัติในช่วงเวลาท่ีปัญหาทั้งหลาย เหลา่ นไ้ี ด้ถึงทีส่ น้ิ สุดแล้ว อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรง ด�ำรงฐานะพระมหากษัตริย์ได้อย่างสมบูรณ์พร้อม ทรงเป็นพระมหา 145
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี กษัตริย์ที่มีคุณูปการต่อสยามประเทศอย่างหาที่สุดมิได้ โดยเฉพาะ อย่างย่ิงเก่ียวกับความพยายามท่ีจะพระราชทานพระราชอ�ำนาจที่มีอยู่ ของพระองค์ให้แก่ราษฎรด้วยการเตรียมการท่ีจะพระราชทานรัฐ ธรรมนูญแห่งสยาม แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ได้มีการ ประกาศใช้ ด้วยว่ามีกลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดอุดมการณ์ ท�ำการ เปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนก็ตาม อย่างน้อยร่างรัฐธรรมนูญที่ เกิดจากความพยายามของพระองค์ก็เป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันถึงความ เป็นพยายามของพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตยของพระองค์ได้เป็น อยา่ งดี ท่ีส�ำคัญร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เป็นหลักฐานที่ช่วย ตอกย�้ำใหเ้ หน็ วา่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อย่หู ัว ทรงเหน็ แกบ่ ้าน เมืองและราษฎรของพระองค์ ไม่ใชพ่ ระราชอ�ำนาจ 146
ประวตั ิศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เชงิ อรรถ ๑ เกี่ยวกับปัญหาด้านเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ส�ำราญ ผลดี. แนวพระราชด�ำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว. วทิ ยานพิ นธห์ ลักสตู รปรญิ ญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ แขนงวชิ า ไทยคดีศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ๒๕๕๑, ๖๗-๗๗ 147
ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๑๐ ร่างรัฐธรรมนญู ของพระบาทสมเด็จ พระปกเกลา้ เจ้าอย่หู ัว หลกั ฐานยืนยนั ความเป็นพระมหากษัตรยิ ์นกั ประชาธปิ ไตย ในชว่ งกอ่ นเปลยี่ นแปลงการปกครอง มคี วามพยายามหนงึ่ ของ พระบาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีจะพระราชทานพระราชอ�ำนาจ ของพระองค์ให้กับประชาชนหรือท่ีเราเรียกว่าประชาธิปไตย นั่นก็คือ การเตรยี มการพระราชทานรัฐธรรมนญู แห่งพระราชอาณาจกั รสยาม ท่ีน่าสนใจก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นความพยายามและเป็น แนวพระราชด�ำริที่มาจากพระองค์เอง ไม่ใช่สถานการณ์บีบบังคับแต่ อย่างใด ความจริงแล้วความพยายามในลักษณะดังกล่าวทรงมีให้เห็น มาตั้งแต่ต้นรัชกาลแล้วด้วยซ้�ำไป ทว่าความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นใน ช่วงเวลาท่ีบ้านเมืองก�ำลังต่ืนตัวกับเรื่องนี้ ท่ีส�ำคัญคือความร้อนแรงที่ เกิดข้ึนมากท�ำให้ความพยายามของพระองค์ไม่ทันต่อความต้องการของ สงั คมในเวลานนั้ 148
ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี มีหลายมุมมองที่พยายามน�ำเสนอถึงความพยายามของ พระองค์ว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด แต่อย่างน้อยสิ่ง ที่เราได้เห็นก็คือ เป็นความพยายามที่จะปรับให้มีการปกครองท่ีมีความ เหมาะสมกับสยามประเทศในเวลาน้ันมากกว่าท่ีจะปล่อยให้มีการแย่งชิง การใช้อ�ำนาจกันไปมาอย่างไร้จุดหมาย ซึ่งผลท่ีออกมารังแต่จะน�ำมาซ่ึง ความวุ่นวายและเสียหายตอ่ บา้ นเมือง อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าความร้อนแรงเร่ืองแนวคิดประชาธิป ไตยที่เกิดข้ึน ย่อมบ่อนท�ำลายพระราชอ�ำนาจของพระมหากษัตริย์ลง ดังน้ันการท่ีจะรักษาพระราชอ�ำนาจของพระราชวงศ์เอาไว้ได้ดีที่สุดก็ ต้องกระท�ำด้วยการที่พระองค์ทรงเป็นผู้น�ำในการเปล่ียนแปลงครั้งนี้ เสยี เอง วิธีการท่ีดีที่สุดก่อนที่ความร้อนแรงแห่งไฟแนวคิดเร่ือง ประชาธิปไตยจะเผาผลาญจนเกิดความวุ่นวายในสยามเสียก่อนก็คือ การที่พระองค์จะต้องพระราชทานรัฐทานรัฐธรรมนูญ ก่อนท่ีจะเกิดการ ล้มล้างพระราชวงศ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระท�ำ อย่างตอ่ เนอ่ื งในหลายมาตรการด้วยกนั คือ๑ ทรงมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น เทววงศว์ โรทัย เสนาบดกี ระทรวงการต่างประเทศในเวลานัน้ เดินทางไป ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของสถาบันการเมืองการปกครองในระบอบ รฐั สภาทฮ่ี อลนั ดา ซง่ึ รปู แบบดงั กล่าวฮอลนั ดาไดน้ ำ� เอามาใชก้ บั ประเทศ ทอ่ี ยู่ในอาณานคิ มของตนเอง ความพยายามท่ีดูจะชัดเจนที่สุดก็คือ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จ กลับจากต่างประเทศก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนเทววงศว์ โรทยั เสนนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ จดั เตรยี ม การร่างรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรสยาม ที่ต่อมาเสนาบดี กระทรวงการต่างประเทศก็ได้โอนเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญน้ีไปให้กับ 149
ประวตั ศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจาเป็นผู้รับผิดชอบ ด�ำเนนิ การ ครั้นเม่ือได้ร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว ก็น�ำข้ึนทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยู่หัว เมอ่ื เปน็ เชน่ นี้ เราจึงอาจ เข้าใจกันได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับน้ีเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดจากแนว พระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทว่าต่อมาร่าง รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังไม่ได้ทันได้มีการน�ำมาใช้ก็เกิดการเปล่ียน แปลงการปกครองเสียก่อน เรื่องหน่ึงท่ีน่าสนใจ คือผู้ที่รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าว เป็นการให้ชาวต่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่เป็นชาวไทยร่วมกันคิดอ่านร่างเน้ือความรัฐธรรมนูญข้ึนมา หนึ่งคือ นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ และอีกหนึ่งคือ พระยาศรวี ิสารวาจา ทีก่ ล่าวกันวา่ เปน็ ผูเ้ ช่ียวชาญดา้ นกฎหมายมหาชน นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ น้ันเป็นชาวอเมริกันผู้ท่ีมีความ เช่ียวชาญด้านกฎหมาย จบการศึกษาจาก Harvard Low School ซ่ึง เป็นสถาบันทางกฎหมายที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง นอก จากน้ีนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวมนส์ยังเคยท�ำงานในสภาคองเกรสของ สหรัฐอเมริกา เข้ามาเป็นท่ีปรึกษาของกระทรวงการต่างประเทศของ สยามในช่วงเวลานั้น ส่วนพระยาศรีวิสารวาจาเองก็เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ ทางด้านกฎหมายท่ีได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษและกลับเข้ารับ ราชการในกระทรวงการตา่ งประเทศเชน่ กนั ส่ิงที่น่าสนใจอย่างมากในร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวคือ เนือ้ หาสาระทปี่ รากฏ เนื่องจากเปน็ เรือ่ งของอ�ำนาจท่จี ะต้องเปลี่ยนแปลง ไปอย่างมากกับการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่ง สามารถพิจารณาในภาพรวมเกยี่ วกับเรื่องของอำ� นาจไดด้ งั นี้ ๒ อ�ำนาจนิติบัญญัติ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับน้ีมีการก�ำหนดรูป 150
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221