Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การปกครองไทย

การปกครองไทย

Published by somsakw111, 2022-07-22 06:23:15

Description: การปกครองไทย

Search

Read the Text Version

ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี หรือบทความที่มีการน�ำเสนอ หากแต่อยู่ที่ปฏิกิริยาการรับรู้ของราษฎร ตา่ งหากวา่ เมื่อรับรูข้ อ้ มลู ในมมุ ท่ีตา่ งไปจากเดมิ แลว้ ประชาชนเหลา่ น้นั คิดอย่างไร แน่นอนว่ามันย่อมจะต้องส่งผลบ้างไม่ทางใดก็ทางหน่ึงท่ี เชอ่ื ไดว้ า่ ความทีป่ ระชาชนมีโลกทศั นก์ วา้ งขนึ้ นี้ ยอ่ มสง่ ผลต่อฐานขอ้ มลู ทางความคิดท่เี ปลยี่ นแปลงไปจากเดมิ เรื่องสำ� คญั นั่นกค็ ือเรื่องทเ่ี ช่อื กนั ว่าความเหลื่อมล�้ำทางสังคมน้ันเป็นเร่ืองของบุญกรรมที่สะสมกันมาแต่ ชาตปิ างก่อนนนั้ เปล่ียนไปด้วย ในภาพรวมส่วนใหญ่ของประชาชนยังคงแสดงออกเพียงแค่ รับรู้ ไม่มีประวัติศาสตร์ท่ีสะท้อนให้เห็นถึงการแสดงออกของประชาชน ท่ีมีปฏิกิริยากับข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มข้ึน ทว่ามีเพียงกลุ่มคนบางกลุ่ม เท่านั้นที่มีความคิดและความปรารถนาให้ความคิดใหม่น้ีเป็นผลปรากฏ ข้นึ จรงิ ซ่งึ กล่มุ คนท่พี ดู ถึงเหลา่ นีก้ ค็ ือ “คณะราษฎร”์ น่นั เอง การเปลีย่ นแปลงการปกครองในตา่ งประเทศ อาจกล่าวได้ว่า ยุคล่าอาณานิคมตะวันตกนั้น ได้สร้างความ เปลี่ยนแปลงให้กับโลกน้ีอย่างเห็นได้ชัด เกิดการเปล่ียนแปลงการ ปกครองในรูปแบบใหม่ในหลายประเทศ ทั้งนี้ก็เป็นการปรับตัวเองให้ เท่าทันต่อการเปล่ียนแปลง หรือรองรับกับภัยร้ายจากการครอบครอง ของอิทธิพลตะวันตก หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จ�ำต้องละทิ้งจารีตที่ใช้ กันอยู่แต่เดิม เพื่อการเอาตัวรอดจากนักล่าอาณานิคมที่มีศักยภาพสูง ทางการทหาร ดูเหมือนญ่ีปุ่นจะเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคแห่งนี้ที่ “ไหว ตัวทัน” ก่อนประเทศอ่ืนๆ โดยท่ีพระจักรพรรดิมัตสุฮิโต ได้พระราช ทานรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนเม่ือวันท่ี ๑๑ 51

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๓๑ ซึ่งแต่เดิมญี่ปุ่นเองก็มีการใช้รูปแบบการเมือง การปกครองแบบสมบรู ณาญาสิทธิราชย์มาอยา่ งยาวนาน ท่ีน่าสนใจคือ ญี่ปุ่นเองก็รับแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยมาจาก การศึกษาแบบตะวันตกเช่นกนั โดยมชี าวญีป่ ุน่ ท่มี ีความคิดแบบเสรี ได้ พยายามเรียกร้องให้มีการปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก และก็เช่นเดียวกันกับประเทศสยามท่ีญ่ีปุ่นเองได้เล็งเห็นถึงภัยร้ายจาก ตะวันตกก็มีการเรง่ พัฒนารูปแบบการศกึ ษาของประเทศอยา่ งจริงจงั สิ่งท่ีเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นน้ีก็คือความรวดเร็ว ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง กล่าวกันว่าเพียงช่ัวอายุคนเดียว ระบบการ ศึกษาของญี่ปุ่นก็รุดหน้าอย่างรวดเร็วจนถึงขนาดที่ว่าพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องส่งพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากลุ ) ไปศกึ ษาดูงานดา้ นการศกึ ษาที่ญี่ปุ่นเลยทีเดียว รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของญ่ีปุ่นนั้นเป็นรูปแบบท่ีมี ความคล้ายคลึงกันกับประเทศเยอรมนี โดยมีนายอิโต้ ฮิโรบุมิเป็น นายกรัฐมนตรีคนแรก ซ่ึงอาจกล่าวได้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกใน ภูมิภาคเอเชียท่มี ีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จีน เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากยุคล่าอาณา นิคมตะวันตก เกิดการปฏิวัติใหญ่ขึ้นในพ.ศ.๒๔๕๔ ซ่ึงตรงกับรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่ีแต่เดิม จีน เองใช้ ระบอบจักรพรรดิมาช้านาน การเปล่ียนแปลงทางการเมืองในประเทศ จีนน้ีถือว่าเป็นจุดส�ำคัญและส่งผลอย่างมากต่อการปรับตัวของประเทศ ต่างๆ ในภมู ิภาคเอเชีย เน่ืองจากวา่ จนี นน้ั เปน็ มหาอ�ำนาจทยี่ ่ิงใหญ่ เป็น ท่ีรับรู้กันโดยท่ัวไปในภูมิภาคแห่งน้ี เม่ือพญามังกรยังเกิดการเปลี่ยน- แปลงแล้ว แน่นอนว่าประเทศเล็กๆ อ่ืนๆ ก็คงไม่อาจหลีกเล่ียงการ เปลีย่ นแปลงได้เช่นกนั บคุ คลสำ� คญั ทตี่ อ้ งกลา่ วไวถ้ งึ การเปลยี่ นแปลงการปกครองของ 52

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี จีนน่ันก็คือ ดร.ซุน ยัตเซน ที่เป็นหัวหน้าคนส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ดร.ซุน ยตั เซ็น ถือเปน็ นักปฏวิ ัติและประธานาธบิ ดจี นี และได้ รบั การกล่าวขานวา่ เปน็ \"บิดาของชาติ\" ในสาธารณรัฐจนี และ \"ผู้บุกเบิก การปฏิวัติประชาธิปไตย\" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ ริเร่ิมจีนชาตินิยมคนส�ำคัญ ดร.ซุน ยัตเซ็นมีบทบาทส�ำคัญในการล้ม ราชวงศ์ชิงระหว่างการปฏิวัติซินไฮ่ ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นประธานาธิบดี เฉพาะกาลคนแรกเมือ่ สาธารณรัฐจนี ก่อตง้ั ขนึ้ ใน ค.ศ. ๑๙๑๒ และภาย หลังร่วมก่อตั้งพรรคก๊กมินต๋ัง ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ซุนเป็น บคุ คลผู้สร้างความสามัคคีในจนี หลังยุคจักรวรรดิ และยงั คงเป็นนกั การ เมืองจีนสมัยคริสต์ศตวรรษท่ี ๒๐ เพียงหน่ึงเดียวท่ีได้รับความเคารพ นับถืออยา่ งกวา้ งขวางจากประชาชนทง้ั สองฟากฝัง่ ช่องแคบไตห้ วัน ๓ กล่าวกันว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของจีนในครั้งน้ี เป็น เพราะอิทธิพลของชาติตะวันตกท่ีรุกรานประเทศประกอบกับเป็นช่วง เวลาท่ีบ้านเมืองอยู่ในช่วงอ่อนแอ นอกจากน้ีปัญญาชนของจีนจ�ำนวน มากได้พบเห็นความเจริญรุ่งเรืองของชาติตะวันตก ท�ำให้เกิดความคิด เปรยี บเทียบกับบา้ นเมืองของตนเอง ชาติที่ถือว่ารุกรานจีนอย่างหนักในเวลานั้นคือ อังกฤษ ที่เป็น ผู้น�ำในการเรียกร้องสิทธิต่างๆ จากจีนอย่างไม่เป็นธรรม ในที่สุดก็ถึง กับเกิดเป็นสงครามระหว่างกัน ทว่าด้วยพลานุภาพทางการสงครามท่ี ก้าวหน้ากว่าที่แม้ว่าจีนเองจะเคยเป็นมหาอ�ำนาจอันยิ่งใหญ่ ก็จ�ำต้อง พ่ายให้กับอังกฤษ น�ำมาซึ่ง “สนธิสัญญานานกิง” ท่ีจีนเองจ�ำเป็นต้อง ยกเกาะฮอ่ งกงใหก้ บั อังกฤษ เมอื่ พ.ศ.๒๓๘๕ นอกจากนีจ้ นี ยงั ตอ้ งเปดิ เมืองท่าอีก ๕ แหง่ พร้อมกบั จ่ายเงินคา่ ปรับสงครามในสนธสิ ัญญาเพ่มิ เตมิ จนี ตอ้ งใหส้ ิทธสิ ภาพนอกอาณาเขต และสิทธวิ า่ ดว้ ยการปฏิบัตขิ อง ชาตทิ ่ไี ด้รบั อนเุ คราะห์ย่งิ แกอ่ ังกฤษ ๔ ซ่งึ รปู แบบของการรุกรานแบบนก้ี ็ 53

ประวตั ศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เป็นรูปแบบเดียวกันกับท่ีอังกฤษใช้กับหลายๆ ประเทศท่ีตนเองเข้า ครอบครอง ส�ำหรับประเทศสยามก็คงไม่ต่างอะไรกับสนธิสัญญาเบาริง ที่ไทยท�ำกับอังกฤษจนท�ำให้ไทยต้องสูญเสียเอกราชทางการศาลรวมถึง สิทธิในเร่ืองการเก็บภาษี ต่อมาจีนเองก็ต้องท�ำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับอีก หลายประเทศ ท้ังนี้ก็สืบเนื่องมาจากความอ่อนแอของจีนเอง และการ ปกครองส่วนภูมิภาคของจีนที่ไม่รัดกุม ซึ่งคล้ายกันกับประเทศสยามท่ี ต้องสูญเสียดินแดนจ�ำนวนมากให้กับตะวันตกก็ด้วยรูปแบบการ ปกครองส่วนภูมิภาคท่ีหละหลวมนี่เอง ท่ีต่อมาเกิดการปฏิรูปการ ปกครองเสียใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากรูปแบบเดิมมาเป็นกระทรวงเพ่ือดึงอ�ำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง และเป็น การประกาศความชดั เจนพระราชอำ� นาจเหนือดินแดนตา่ งๆ แม้ว่าจีนจะพ่ายแพ้และเกิดความสูญเสียต่ออ�ำนาจชาติตะวัน ตกต่างๆ แต่นักวชิ าการกว็ ิเคราะหก์ นั ว่า จีนเองกลับไมม่ ีความพยายาม ที่จะปรับตัวเองเหมือนเช่นประเทศญ่ีปุ่น ต่อเมื่อจีนต้องมาท�ำสงคราม กับญ่ีปุ่นในปีพ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๓๘ อีกครั้ง และในครั้งนี้จีนเองก็ต้อง พ่ายแพ้อีก ผลของความพ่ายแพ้ในครั้งน้ีท�ำให้จีนต้องโอนเกาะไต้หวัน ให้แกญ่ ีป่ ่นุ ความพ่ายแพ้ของจีนในหลายคร้ัง ได้สะท้อนให้เห็นถึงความ อ่อนแอของจีนได้อย่างชัดเจน ในเวลานั้นประเทศจีนเป็นเสมือนดิน แดนท่ีถูก “รุมกินโต๊ะ” จากนานาประเทศ บรรดามหาอ�ำนาจท้ังหลาย ต่างก็บีบบังคับให้จีนนั้นยอมรับในอิทธิพลท่ีเหนือกว่าของตน โดยที่ ภาคใตข้ องจีนตกเปน็ ปริมณฑลของฝร่ังเศส ลุม่ น้ำ� แยงซี เป็นปริมณฑล ของอังกฤษ มณฑลฟูเก้ียนเป็นปริมณฑลของญี่ปุ่น มณฑลชานตุงเป็น ปรมิ ณฑลของเยอรมัน เปน็ ต้น การเปล่ียนแปลงทางการเมืองของจีนที่เกิดข้ึนในคร้ังน้ี แม้ว่า 54

ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี จะไม่ได้เปล่ียนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย ก็ตาม หากแต่ก็ได้สะท้อนถึงความน่าสะพรึงกลัวของมหาอ�ำนาจในรูป แบบใหม่ท่ีแม้แต่มหาอ�ำนาจอย่างจีนที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่หรือมหาอ�ำนาจ ท่ีอยู่เหนอื ทุกประเทศในภมู ิภาคยังถงึ กบั เกิดการเปลย่ี นแปลงได้ สภาพการณ์ท่ีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หลายประเทศเกิดการ เปล่ียนแปลงท้ังการปรับตัวรวมไปถึงความสูญเสียและพ่ายแพ้ให้แก่ มหาอ�ำนาจตะวันตก เป็นเครื่องยืนยันถึงความน่าสะพรึงกลัวของ มหาอ�ำนาจจากแดนไกลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะแนวคิดเร่ืองรูปแบบ การเมืองการปกครองที่มีใช้กันอยู่แต่เดิมคือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ ถูกมองว่าเป็นหน่ึงในหลายๆ ปัจจัยท่ีเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางความ เจริญรุ่งเรือง หรือมองให้เบาลงมาหน่อย ก็เป็นว่าระบอบเก่าคือเครื่อง ถ่วงร้งั ความรุง่ เรอื งทไี่ มค่ วรจะเกดิ ขน้ึ ในประเทศของตน สิ่งตางๆ เหล่าน้ีได้ซึมผ่านคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาหรือมี โอกาสเปิดโลกกว้าง มองเห็นเปรียบเทียบความรุ่งเรืองกับความยากจน ทผี่ ่านกระบวนการทางการเมอื งการปกครอง ทงั้ การส่งเสรมิ ให้คนสยาม มีศักยภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านระบบการศึกษาแบบตะวันตก รวมไปถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการส่งตัวไปศึกษาหาความรู้ยังแดน ไกล ประจักษ์พยานท่ีแสดงออกมาให้เห็นเด่นชัด น่ันก็คือการรวม ตัวกันของกลุ่มผู้ได้รับการศึกษาจากตะวันตกท่ีได้เสนอความคิดเห็น เรอื่ งการเมอื งการปกครองทมี่ พี ระมหากษตั รยิ ท์ รงอยภู่ ายใตร้ ฐั ธรรมนญู ท่ีเกิดข้ึนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือแม้แต่ กรณีท่ีมีนายทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันแล้วคิดที่จะเปล่ียนแปลง การปกครองท่ีเรารู้จักกันดีในกรณีกบฏ ร.ศ.๑๓๐ ที่เกิดข้ึนในรัชสมัย พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยหู่ ัว กรณีกบฏ ร.ศ.๑๓๐ เกิดข้ึนจากทหารหนุม่ กลุ่มหนึ่งได้รวมตัว 55

ประวตั ิศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี กันประมาณ ๑๐๐ คน เรียกตวั เองวา่ “คณะพรรค ร.ศ.๑๓๐” คดิ ท่จี ะ กระท�ำการเปล่ียนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๕๔ หรือราวๆ ต้น รัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีเป้าประสงค์ ท่ีจะเปล่ียนแปลงการปกครองโดยให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วน ร่วมในการใช้อ�ำนาจน้ันด้วย ทว่าแนวคิดดังกล่าวยังไม่ทันได้ด�ำเนินการ ก็เกิดเป็น “ความลับร่ัวไหล” เสียก่อน ความประสงค์ดังกล่าวจึงไม่ ประสบความส�ำเรจ็ ซึง่ รายละเอยี ดจะได้อธิบายในหัวข้อต่อไป ความคิดริเร่ิมทเี่ กิดจากนกั เรยี นไทยในฝรง่ั เศส ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือ ว่าเป็นช่วงเวลาของการรุกคืบแผ่นดินสยามของทั้งอังกฤษและฝร่ังเศส มากท่ีสุด พระองค์ทรงตระหนักถึงความส�ำคัญของภัยท่ีเกิดข้ึน แนว พระราชด�ำริหนึ่งที่พระองค์ทรงน�ำมาแก้ไขปัญหา คือการส่งบุคคลากร พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไปศึกษาเรียนรู้กระบวนการพัฒนา ของชาวตะวันตก บุคคลกลุ่มแรกๆ น้ันเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ช้ันสูง ต่อมาก็มี การให้ทุนการศึกษาแก่โอรสของเจ้านายและบุตรหลานของข้าราชการได้ มีโอกาสไปศึกษาเรียนรู้ความเจริญยังประเทศต่างๆ ด้วย ท้ังนี้ก็ด้วย วัตถุประสงค์ท่ีว่าต้องการบุคคลากรที่มีคุณภาพกลับมาเร่งพัฒนา ประเทศใหเ้ จริญรดุ หน้าทดั เทยี มนานาอารยประเทศเปน็ สำ� คญั หลายประเทศในยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์แยกย้ายกันออกไป ตามประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศท่ีมีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย เจ้านายพระองค์ส�ำคัญทรงได้รับการส่งตัวไปศึกษายัง ประเทศองั กฤษ เชน่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยหู่ วั พระบาท 56

ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม หลวงลพบุรีราเมศวร์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระก�ำแพงเพ็ชรอัคร โยธนิ พระเจา้ บรมวงศ์ธอ กรมพระจันทบรุ นี ฤนาท พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธ์ิ เปน็ ตน้ ส่วนสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชา- นาถ ทรงส่งให้ไปศึกษาวิชาทหารบกในรัสเซีย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ นครสวรรค์วรพินิต ทรงศึกษาท่ีโรงเรียนนายร้อยทหารบก ประเทศ เยอรมนี ส่วนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราช ชนก ก็ทรงศึกษาวิชาทหารเรือเช่นเดียวกัน ต่อมาพระองค์ทรงเปล่ียน มาศึกษาทางด้านการแพทย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เจ้านายอีกพระองค์หน่ึง ก็ทรง เสด็จไปศกึ ษาวิชาทหารบกทปี่ ระเทศเดนมาร์ก เปน็ ต้น ๕ เจ้านายทุกพระองค์ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ต่อมาคือบุคคลที่ เป็นก�ำลังส�ำคัญของประเทศท่ีมีส่วนช่วยเร่งความเจริญรุ่งเรืองให้กับ ประเทศสยาม จนสามารถรอดพ้นจากเงื้อมมือของมหาอ�ำนาจชาติ ตะวนั ตกได้ อยา่ งน้อยก็ ๒ พระองค์ที่ตอ่ มาไดเ้ สด็จขน้ึ ครองราชสมบัติ เปน็ พระมหากษตั รยิ ์รัชกาลท่ี ๖ และรัชกาลท่ี ๗ ตามล�ำดบั ต่อมารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๖ การส่งนักศึกษาไทยไปศึกษายังต่างประเทศมีเพ่ิมมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาล รวมถึงโอกาสท่ีจะได้เดินทางไปศึกษาต่อ ก็มีการกระจายไปสู่ประชาชนท่ัวไปมากข้ึนด้วย ซ่ึงส่วนใหญ่ยังคงเป็น เช่นเดิมคือ ส่วนมากมักเลือกไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศ อังกฤษ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันถึงมาตรฐานทางการศึกษาท่ีสูงกว่าประเทศ อนื่ ๆ นน่ั เอง อีกประเทศหน่ึงที่น่าสนใจคือ ฝร่ังเศส ในตอนปลายรัชกาล บรรดาผู้มีอันจะกินก็เริ่มมีการส่งบุตรหลานของตนเองออกไปศึกษายัง 57

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ประเทศยุโรปบ้างด้วยทุนเล่าเรียนส่วนตัว ซ่ึงส่วนใหญ่ก็เลือกท่ีจะไป เรียนท่ีประเทศฝร่ังเศสเสียเป็นส่วนใหญ่ ท้ังนี้ด้วยว่าค่าใช้จ่ายใน ฝรั่งเศสนั้นน้อยกว่าในประเทศอังกฤษ ฝ่ายฝรั่งเศสเองก็มีหลักฐาน ว่าพยายามส่งเสริมท่ีจะให้นักเรียนไทยไปศึกษาต่อยังฝร่ังเศสให้มากข้ึน มีการเพ่ิมและให้ทุนกับนักเรียนไทยไปศึกษาต่อยังฝร่ังเศส เป็นต้น ซึ่ง ถือเป็นโอกาสที่เปิดกว้างให้กับคนไทย และสาขาท่ีส่วนใหญ่เลือกไป เรียนก็คอื สาขาวิชาดา้ นการทหาร ดา้ นกฎหมาย และด้านอักษรศาสตร์ เป็นต้น รัฐบาลสยามเองก็มีการสนองตอบต่อข้อเสนอของทางฝร่ังเศส เป็นอย่างดี โดยมีการส่งเสริมให้นักเรียนไทยไปศึกษาวิชาการต่างๆ ท่ี ฝรั่งเศส เช่น กระทรวงยุติธรรมได้ส่งนายปรีดี พนมยงค์ไปศึกษาด้าน กฎหมาย กระทรวงกลาโหม สง่ ร้อยโทแปลก ขตี ตะสังคะ ไปศกึ ษาวชิ า ปืนใหญ่ เป็นต้น การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเหล่าน้ี แน่นอน ว่าสงิ่ ทไ่ี ด้คอื บคุ คลากรทีม่ ีคณุ ภาพและกลับมาชว่ ยเร่งพฒั นาประเทศให้ มีความทนั สมัย ทวา่ ในอีกทางดา้ นหนึง่ ประเทศต่างๆ ท่ีนกั เรียนไทยไป ศึกษาน้ัน ส่วนมากเป็นประเทศที่มีการเมืองปกครองในระบอบประชา- ธิปไตย การไปใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นเวลาหลายปี แนน่ อนวา่ รปู แบบทางความคดิ หรอื ชดุ ความคดิ เกยี่ วกบั การปกครองแบบ ประชาธิปไตย ย่อมซึมซับเข้าไปในกระบวนการคิด โดยผ่านการ รับรู้และเห็นถึงความแตกต่างของบ้านเมืองท่ีเนื่องผลมาจากระบอบการ ปกครองทีใ่ ชก้ นั อยู่ กลุ่มแรกๆ ท่ีเป็นพระบรมวงศานุวงศ์น้ันดูจะไม่ค่อยจะส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองชนิดหนักหน่วง ซ่ึงต่างกันกับกลุ่มท่ี เป็นข้าราชการและนักศึกษาที่มาจากประชาชนที่เมื่อรับรู้ก็มีความมุ่งหวัง ให้ประเทศเกิดการเปลีย่ นแปลงไปตามอยา่ งนานาอารยประเทศ 58

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของกลุ่มคนท่ีได้รับการศึกษาจาก ต่างประเทศนี้ล้วนส่งผลต่อความคิดที่จะเปล่ียนแปลงหรือแม้แต่ ปรับปรุงการเมืองการปกครองของประเทศให้เกิดความทันสมัยย่ิงข้ึน ดังกรณกี ารเสนอความคิดเห็นเรอื่ งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของกลุ่มพระบรมวงศานุ วงศ์ หรือกรณีกลุ่มท่ีตระเตรียมก่อการกบฏในร.ศ.๑๓๐ จนมาถึงการ ท�ำปฏิวัติเปล่ียนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ซ่ึงทั้งหมดล้วนมี ผ้นู ำ� ท่ีมาจากกลมุ่ ของนักเรียนไทยท่ีไปศึกษาตอ่ มาจากยุโรปทัง้ ส้ิน 59

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เชงิ อรรถ ๑ รอง ศยามานนท์. ประวตั ิศาสตรไ์ ทยในระบอบรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : ไทยวฒั นาพานิช. ๒๕๒๐, หนา้ ๖ ๒ เพ่ิงอ้าง หน้า ๘ ๓อา้ งจาก http://th.wikipedia.org/ เขา้ ถงึ เมอ่ื วนั ท่ี ๑๗ มนี าคม ๒๕๕๖ ๔ รอง ศยามานนท.์ ประวตั ิศาสตร์ไทยในระบอบรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ๒๕๒๐, หน้า ๑๕ ๕ เพง่ิ อ้าง หน้า ๑๙ 60

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๐๔ ปัญหาเศรษฐกิจ... วิกฤติทีน่ �ำมาซึง่ การเปลยี่ นแปลง๑ สภาพปญั หาทางเศรษฐกิจ ก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้าอยหู่ ัวเสดจ็ ขึ้นครองราชย์ การศึกษาแนวพระราชด�ำริทางด้านเศรษฐกิจของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ควรต้องเข้าใจสภาพทางเศรษฐกิจท่ีเกิด ขึ้นท้ังก่อนและภายหลังเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ท้ังนี้เพ่ือให้ทราบถึง รายละเอียดที่เกิดขึ้นของปัญหาเศรษฐกิจและส่งผลต่อแนวพระราชด�ำริ ทางด้านเศรษฐกิจของพระองค์ ปัญหาส�ำคัญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต้อง เผชิญเป็นอันดับแรกภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ คือ ปัญหา เรื่องเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะสถานะทางการคลังของประเทศสยาม ณ เวลานั้นไม่เอื้อต่อการพัฒนาแต่เป็นสภาพที่พระองค์ต้องทรงหาทาง แก้ไข ทั้งเร่ืองของฐานะทางการคลังของประเทศ รวมถึงปัญหา 61

ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เศรษฐกิจที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ซ่ึงเรื่องแรกที่ควรพิจารณาถึงคือ ปัญหาเรอื่ งเงินคงคลงั เม่ือแรกทพ่ี ระองค์จะทรงขนึ้ ครองราชสมบัติ ในระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็น “เจ้า ชีวิต” หรอื กลา่ วอีกนัยหนงึ่ คอื ทั้งทรพั ยส์ นิ ท่ีดิน หรือแมแ้ ต่ ไพรพ่ ล หรือคน ก็ถือเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์ท้ังสิ้น ทรงมีพระราช อ�ำนาจสิทธิขาดในการท่ีจะทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์ได้ตามพระราช อัธยาศัย ในระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมไม่มีการใช้จ่ายเงินกันอย่างแพร่ หลายดังเช่นปัจจุบัน ส่ิงที่มีค่ามากกว่าเงินคือการเกณฑ์ไพร่พลมาเป็น แรงงานเพื่อส่งเข้าสู่ระบบการผลิต ท�ำให้ระบบของเงินยังไม่มีความยุ่ง ยาก หรือเรียกว่าระบบเงินตราไม่มีความจ�ำเป็นเลยหรือแทบไม่ต้องจ่าย เงินออกจากท้องพระคลังเลยในยามท่ีบ้านเมืองสงบ บรรดาเสนาหรือ ขุนนางช้ันผู้ใหญ่ก็ได้รับพระราชทานส่วนรายได้จากหัวเมืองที่ตนได้รับ การแบ่งใหบ้ รหิ ารกจิ การหรือ “กินเมอื ง” นอกจากน้ีรัฐบาลยังไม่ต้องให้ค่าตอบแทนแก่แรงงานรวมถึง วัสดุบางอย่างท่ีน�ำมาใช้ในงานโยธา ด้วยเหตุท้ังหมดน้ีจึงน่าจะเป็นการ ยากทีเ่ งินรายจา่ ยแผน่ ดนิ สมัยก่อนจะเกดิ การขาดดลุ ๒ กล่าวคอื การท่ี ไม่มีความจ�ำเป็นต้องใช้เงินหรือเงินไม่มีความส�ำคัญเพราะในช่วงเวลา ดังกล่าวยังไม่มีการท�ำการค้าอย่างแพร่หลายด้วยการใช้เงินเป็นส่ือกลาง ในการแลกเปลี่ยนเหมือนสมัยที่มีการค้ากับต่างประเทศแพร่หลาย ดงั เช่นสมยั รตั นโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจสมัยโบราณไม่มีความยุ่งยากรวมถึงเกิดการ เปล่ียนแปลงไปอย่างเช่ืองช้า จนเม่ือถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีมีการท�ำสัญญาทางไมตรีและการค้ากับต่าง ประเทศ โดยเฉพาะสนธิสัญญาเบาว์ริงซึ่งเป็นสนธิสัญญาท่ีเปรียบ เสมือนการเปิดประเทศให้มีการท�ำการค้ากันได้อย่างเสรี ระบบการจัด เก็บรายได้ที่เปล่ียนจากระบบผูกขาดของพระคลังสินค้าเป็นการจ�ำกัด 62

ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ภาษีศุลกากรเฉพาะสินค้าขาเข้าทุกชนิด ๓% แทน รวมถึงระบบเงินตรา เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจมากข้ึนเพราะมีการใช้เงินตราใน การแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งท�ำให้ระบบเศรษฐกิจของ สยามเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันระบบเศรษฐกิจก็ เขา้ ไปผกู พนั กบั เศรษฐกจิ โลกมากข้ึนเช่นกนั ภายหลังการปฏิรูปแผ่นดินครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๓๕) รูปแบบการปกครองแบง่ ออก เป็นกระทรวง บริหารจัดการจากส่วนกลางออกไป เป็น ๑๒ กระทรวง ซึง่ กระทรวงท่ไี ด้รบั งบประมาณมากทีส่ ุดไดแ้ ก่ กระทรวงกลาโหม เฉล่ีย ร้อยละ ๑๗.๓ และกระทรวงคมนาคมท่ีได้รับงบประมาณมากตาม ล�ำดับ ซึ่งถือเป็นเร่ืองปกติที่ช่วงเวลาดังกล่าวการทหารมีความสำ� คัญต่อ ความมั่นคงของประเทศ แต่ท่ีน่าสังเกตคือ ในส่วนของกระทรวง ธรรมการ และกระทรวงเกษตร ซึ่งถือว่าเป็นกระทรวงที่มีความส�ำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศในระดับฐานรากหรือระดับประชาชนกลับได้รับ งบประมาณน้อยมาก คอื ประมาณ ๒.๗% ของงบประมาณเทา่ นนั้ ๓ การท่ีรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความส�ำคัญกับการคมนาคมของประเทศมาก (ยกเว้นด้านการ ทหารท่ีมีความส�ำคัญต่อทุกประเทศอยู่แล้ว) อาจพิจารณาได้ว่า การ คมนาคมเป็นการสร้างโครงสร้างพ้ืนฐานจะท�ำให้เกิดความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงเพราะหากพิจารณาจากจำ� นวนตัวเลข งบประมาณที่ได้รับ และเช่นเดียวกันการท่ีรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความส�ำคัญด้านงบประมาณกับการทหาร มากเป็นอันดับหนึ่งนั้นย่อมหมายความว่า รัฐบาลค�ำนึงถึงความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรทั้งภายในและภายนอกอย่างมาก รวมท้ังค�ำนึงถึง ปริมาณของงบประมาณท่ีมีอยู่เป็นหลัก ไม่มีการกู้เงินจากต่างประเทศ มากนัก ซึ่งด้วยปริมาณของงบประมาณที่มีอยู่น้ีเองท�ำให้รัฐบาลต้อง 63

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เลอื กใชจ้ า่ ยตามความจ�ำเปน็ ของประเทศ ณ เวลานน้ั ซึง่ ส่งผลให้รัฐบาล ต้องยืดโครงการดา้ นการพัฒนาบางโครงการออกไปอย่างนา่ เสียดาย อยา่ งไรก็ตาม ดว้ ยกระบวนการทางดา้ นการใช้จา่ ยเงนิ แผน่ ดิน ของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็อยู่ในสถานะ มั่นคงพอสมควร แต่หากพิจารณาถึงภาพรวมของผลการพัฒนาอย่าง จริงจังท่ีเกิดข้ึนกลับพบว่า จุดประสงค์ของการพัฒนาในขณะนั้นกลับ มิได้อยู่ที่การยกระดับมาตรฐานการครองชีพด้วยการยกระดับรายได้ ของประชาชน แต่เป็นการเน้นหนักในด้านการบริหารการปกครองของ รัฐบาลทดี่ ึงอำ� นาจเขา้ สสู่ ่วนกลางเป็นส�ำคัญ ๔ แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความส�ำคัญด้านความมั่นคงของประเทศแต่ หากพิจารณาจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงรัชสมัยของ พระองค์กลับพบว่าเศรษฐกิจของไทยขยายตัวขึ้นทุกปี แม้การขยายตัว ด้านการใช้จ่ายจะสูงมากอย่างต่อเน่ืองแต่บางปีรายได้ก็สูงกว่ารายจ่าย ด้วยซ�้ำ ท้ังนี้นอกจากเหตุผลที่รัฐบาลไม่ต้องการกู้เงินจากต่างประเทศ และส่วนหน่ึงเป็นผลสืบเน่ืองมาจากนโยบายของที่ปรึกษาชาวต่าง ประเทศท่ีพยายามควบคุมรายจ่ายของประเทศให้อยู่ในกรอบของเงิน รายได้ ดังนั้นงบประมาณแผ่นดินจึงอยู่ในสภาพเกินดุลเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจสรุปได้ว่าความส�ำเร็จของการปฏิรูปประเทศโดยเฉพาะด้านการ คลังของรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สร้างความ ม่ันคงสมบูรณ์ด้านการคลังให้กับประเทศได้จนถึงปลายรัชสมัยของ พระองค์ 64

ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ปัญหาเงนิ คงคลงั ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยหู่ ัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครองราช สมบัติในขณะที่ฐานะทางการคลังของประเทศอยู่ในภาวะม่ันคงแข็งแรง ซ่ึงในปีแรกของพระองค์ (พ.ศ. ๒๔๕๓) รายได้จริงของรัฐบาลสูงกว่า รายจ่ายถึง ๔.๕ ล้านบาท รวมถึงมูลค่าของการส่งออกยังสูงกว่าสินค้า เข้าถึง ๔๐.๗ ล้านบาทอีกด้วย อย่างไรก็ตามการท่ีงบประมาณของ ประเทศอยู่ในภาวะเกินดุลในปีแรกของพระองค์ก็มิได้หมายความถึง ความม่นั คงของฐานะทางการเงนิ ของประเทศเสมอไป โดยท่พี ระองคย์ งั คงยึดรูปแบบการบริหารจัดการการคลังแบบสมดุลตามแนวคิดของท่ี ปรึกษาด้านการคลังชาวต่างประเทศ เพราะรูปแบบการบริหารการคลัง ของรัฐบาลแบบสมดุลน้ี ให้ความส�ำคัญกับการก�ำหนดรายจ่ายของ ประเทศพยายามไม่ให้เกินรายได้เป็นส�ำคัญ ดังน้ันรายจ่ายเพื่อการ พัฒนาจึงข้ึนอยู่กับรายได้ของประเทศเป็นหลัก ในช่วง ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๓ เป็นช่วงระยะเวลาท่กี ารคา้ กบั ต่างประเทศไมด่ นี กั เหตุเพราะ เกิดภัยธรรมชาติท้ังน�้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันท�ำให้สินค้าด้านการ เกษตรโดยเฉพาะขา้ วเสียหาย ท�ำใหร้ ายได้ของประเทศไมเ่ พิ่มขน้ึ ดังนัน้ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจึงพยายามจ�ำกัดขอบเขตของรายจ่ายไม่ ให้สูงข้ึนกว่าปีก่อนๆ รวมถึงมีการตัดทอนรายจ่ายของกระทรวงต่างๆ ลงจ�ำนวนมาก แม้ว่าผลของการด�ำเนินนโยบายลักษณะดังกล่าวจะช่วย ให้สถานะทางการคลังอยู่ในภาวะท่ีสมดุลได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็น การชะลอโครงการพฒั นาของกระทรวงต่างๆ ลงด้วย อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลาของพระองค์เป็นช่วงของการ พัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอันเป็นผลสืบเนื่องจากการปรับปรุงประเทศ ใหท้ นั สมยั ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั กระทรวง 65

ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ต่างๆ มีการวางแผนนโยบายการพัฒนาให้กว้างขวางออกไป และเป็น โครงการท่ีไม่สามารถหยุดได้ เช่น การพัฒนาหัวเมืองมณฑลช้ันนอก ของกระทรวงมหาดไทย การเร่งสร้างโครงสร้างพ้ืนฐาน เช่น ถนน สะพาน คลอง เพื่อเช่ือมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างส่วนกลางและ หัวเมืองต่างๆ ใหค้ รอบคลมุ ย่ิงขนึ้ ท�ำใหต้ ้องมีการใชจ้ ่ายเงนิ เพิม่ มากขน้ึ นอกจากน้ี ปัญหาเร่ืองของเงินเดือนของข้าราชการท่ีไม่ได้มีการเปล่ียน แปลงมาเป็นเวลานานแล้วก็มีส่วนเร่งให้กระทรวงต่างๆ ต้องเพ่ิม มาตรฐานเงินเดือนให้เท่าเทียมเสมอกัน เหตุปัจจัยเหล่าน้ีเองที่ส่งผลให้ รายจ่ายของรัฐบาลเพ่ิมสูงขึ้น ซ่ึงสวนทางกันกับรายได้ของประเทศท่ีไม่ เพ่มิ ข้ึน ส่วนหน่ึงของรายได้ที่ไม่เพ่ิมขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั และเป็นเร่ืองทน่ี ่าสนใจคอื รายได้ที่ลดลงอยา่ ง ต่อเนอ่ื งสว่ นหนง่ึ เป็นเพราะการยกเลกิ บอ่ นการพนัน หวย ก.ข. และการ จ�ำกัดการคา้ ฝนิ่ ลง ซ่ึงถอื เปน็ รายได้สำ� คัญของประเทศ แตพ่ ระองค์ทรง เลือกท่ีจะให้ความส�ำคัญกับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์ มากกว่าความส�ำเร็จจากตัวเลขด้านการคลัง แม้จะทรงรู้ดีว่าการจ�ำกัด และตัดรายได้ดังกล่าวจะน�ำมาซึ่งปัญหาด้านการคลังในอนาคต รวมถึง เป็นการสร้างความเป็นชาติที่เจริญแล้วด้วยการที่ราษฎรเลิกฝิ่นซ่ึงถือ เปน็ ยาเสพติด จากนโยบายการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่างๆ ท�ำให้รายได้ ของประเทศไม่พอกับรายจ่าย รัฐบาลหาทางออกด้วยการกู้เงินจากต่าง ประเทศ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ รัฐบาลได้ตกลงกู้เงินจากยุโรปเพ่ือสร้าง ทางรถไฟสายเหนือไปถึงเชียงใหม่ ซ่ึงรัฐบาลคาดว่าจะต้องใช้งบ ประมาณท้ังหมดสูงถึง ๑๗ ล้านบาท และต่อมาได้ตกลงกู้เพิ่มอีก ประมาณ ๒๖ ล้านบาท เพอ่ื ลงทนุ ดา้ นชลประทานของประเทศ ภายหลงั จากท่ีภาคการเกษตรในพ้ืนท่ีลาบลุ่มภาคกลางให้ผลผลิตไม่เป็นท่ีน่า 66

ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี พอใจ แต่เป็นที่น่าเสียดายอยู่ว่า การลงทุนด้านการคมนาคมขนส่ง ของรัฐบาลโดยเฉพาะทางรถไฟ แม้จะช่วยให้ระบบการคมนาคมขนส่ง อันเป็นพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจดีขึ้น แต่กลับพบว่าไม่ได้ช่วยให้กระบวน การผลติ ของประเทศขยายตัวสูงขน้ึ มากแตอ่ ยา่ งใด ดงั ปรากฏวา่ เม่ือตอ่ ทางรถไฟสายเหนือขึ้นไปจนถึงพิษณุโลกแล้ว ก็เป็นประโยชน์ส่วนน้อย เทา่ นัน้ ท่จี ะสนบั สนุนให้ชาวนาปลูกข้าวมากขน้ึ เพราะในบรเิ วณพ้นื ถ่ินน้ี ใช้การคมนาคมขนส่งทางน�ำ้ อยูแ่ ลว้ ซ่งึ ก็เช่นเดยี วกบั กรณีของทางรถไฟ สายใต้ ๕ หากพจิ ารณาถงึ การลงทุนพฒั นาของรฐั บาลทีเ่ กดิ ข้ึนกต็ ้องนับ วา่ ไมป่ ระสบความสำ� เรจ็ เทา่ ทค่ี วร หรอื อาจกลา่ วไดว้ า่ การใชจ้ า่ ยเงนิ แผน่ ดินดา้ นการลงทนุ ของรฐั บาลพระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยู่หวั ไม่ ได้ส่งผลต่อการเปล่ียนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปจากช่วงเวลา ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั การพฒั นามลี กั ษณะเดิม คือ มีการลงทุนสร้างทางรถไฟเพ่ิมจาก ๙๒๗ กิโลเมตรเป็น ๒,๕๘๙ กิโลเมตร นอกจากน้ันก็เป็นการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ บ้าง เช่น ไฟฟ้า ประปา การศึกษา ซึ่งความเจริญดังกล่าวเป็นไปอย่าง เชอ่ื งช้าอนั เนอื่ งมาจากการขาดทนุ ที่จะสนับสนุน ๖ การกู้เงินจากต่างประทศนี้ได้สร้างความยากล�ำบากให้กับ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติอย่างมาก นโยบายรักษาดุลการคลังของ รัฐบาลก�ำลังประสบปัญหา อย่างไรก็ตามกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ก็คงพยายามรักษาดุลการคลังให้อยู่ในกรอบของงบประมาณมากท่ีสุด เทา่ ทจ่ี ะท�ำไดด้ ้วยการตัดทอนงบประมาณของกระทรวงต่างๆ ที่เสนอเขา้ มาสู่กระทรวงการคลังให้อยู่ในภาวะสมดุล และก็ได้สร้างปัญหาตาม มามากมายอีกเช่นกัน ทั้งเร่ืองของความขัดแย้งระหว่างกระทรวงพระ คลังมหาสมบัติกับกระทรวงอ่ืนโดยเฉพาะกระทรวงกลาโหม รวมถึง ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติท่ีมีกรมพระจันทบุรี 67

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี นฤนาถเป็นเสนาบดีกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในเร่ือง การเสด็จเยือนญปี่ ุ่น แต่ท่สี �ำคญั ของการตดั ลดงบประมาณก็คือเปน็ การ ชะลอการพฒั นาประเทศโดยเฉพาะดา้ นเศรษฐกจิ ซงึ่ การดำ� เนนิ นโยบาย รักษาดุลการคลังของรัฐบาลนี้เป็นแนวนโยบายทางด้านการคลังท่ี ทป่ี รกึ ษาชาวตา่ งประเทศเข้ามามบี ทบาทส�ำคัญอยา่ งมาก การด�ำเนินนโยบายการบริหารประเทศที่เน้นด้านการป้องกัน ประเทศเป็นส�ำคัญของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะ ทร่ี ะดับฐานะทางการคลังของประเทศไมด่ ีนกั ก็เปน็ อกี ประเดน็ หน่งึ ของ ความผิดพลาดท่ีเกิดขึ้นกับปัญหาเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัญหาด้านเงินคงคลังที่เกิดข้ึนเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาท สมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอย่หู วั จะพิจารณาในรายละเอยี ดดังน้ี คือ การใช้จ่ายของรฐั บาลและราชส�ำนกั กล่าวได้ว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวฐานะทางการคลังในช่วงก่อนที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์อยู่ใน ระดับที่มั่นคง มีรายได้และรายจ่ายที่สมดุล แต่เม่ือมาถึงรัชสมัยของ พระองค์กลับพบว่ารายจ่ายของประเทศมีอัตราเพ่ิมข้ึนตลอดเวลาใน ขณะท่ีรายได้กลับลดลง ซ่ึงเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ปัญหา เร่ืองการผลิตของประเทศ ปัญหาเรื่องของรายได้ ในส่วนของรายจ่าย แผน่ ดินน้ีอาจแบง่ ไดเ้ ปน็ ๒ ทาง ๗ คือ ๑) การใช้จ่ายจากรายได้ประจ�ำปี คือรายจ่ายท่ีใช้เงินจากการ เก็บภาษีอากรในแต่ละปี และเป็นการใช้จ่ายท่ีอยู่ในรูปของค่าใช้จ่าย ด้านเงินเดอื น ค่าใชส้ อย การจราจร และงบพเิ ศษ ๒) การใช้จ่ายจากเงินคงคลัง เป็นการใช้จ่ายเพ่ือการพัฒนา และการลงทุนของประเทศ ในขณะที่รายได้ของประเทศลดลงแต่รายจ่ายกลับสูงขึ้นอย่าง ต่อเน่ือง ซ่ึงรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มข้ึนนี้เป็นเพราะรัฐบาลจ�ำเป็นต้อง 68

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ใช้จ่ายเงินจ�ำนวนมากในการบริหารประเทศ การป้องกันประเทศ และ รายจ่ายในพระราชส�ำนัก ในส่วนของรายจ่ายเพื่อการบริหารประเทศน้ี อาจแยกได้เปน็ รายจ่ายประเภทเงนิ เดือนของข้าราชการ ซึ่งเป็นรายจ่าย หลักท่ีมีอัตราการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นรายจ่ายส�ำคัญท่ี ยากต่อการตัดทอนลงได้ในรชั สมยั ของพระองค์ นอกจากน้ีรายจ่ายที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ รายจ่ายด้านการ ทหารที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ความส�ำคัญอย่าง มาก และรายจ่ายในราชส�ำนัก ซ่ึงรายจ่ายทั้งสองประการหลังน้ี หาก พิจารณาในแง่ของเศรษฐกิจแล้วกล่าวได้ว่า เป็นรายจ่ายที่ไม่สร้างความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่พระองค์ก็ทรงให้ความส�ำคัญ กับรายจ่ายทั้งสองอย่างนี้อย่างมากดังตารางรายจ่ายของประเทศเฉล่ีย ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๘ ดงั น้ี ตารางแสดงรายจา่ ยของประเทศโดยเฉลย่ี ระหวา่ ง พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๘ ประเภทรายจ่าย เฉลย่ี ร้อยละ ๑. ด้านการบรหิ าร ๓๑.๒ ๒. ดา้ นการปอ้ งกันประเทศ ๒๓.๑ ๓. ด้านราชสำ� นัก ๑๒.๐ ๔. ดอกเบยี้ เงินก้ ู ๑๐.๐ ๕. รัฐพาณิชย์ ๗.๑ ๖. การจดั เก็บภาษ ี ๖.๐ ๗. การพัฒนา ๓.๒ ๘. เบยี้ หวดั บ�ำนาญ ๒.๐ ๙. กรมธนบัตร ๑.๒ 69

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ที่มา : ปรับปรงุ จาก พรเพญ็ ฮ่นั ตระกลู (๒๕๒๗) “การใชจ้ ่ายเงนิ แผน่ ดินในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓- ๒๔๖๘) ๒๕๑๗” อา้ งใน ฉตั รทพิ ย์ นาถสภุ า สมภพ มานะรงั สรรค์ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ.๒๔๘๔” กรุงเทพ มหานคร ส�ำนกั พิมพม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ หนา้ ๔๘๗ มีข้อน่าสังเกตเก่ียวกับรายจ่ายในสมัยของพระองค์อยู่ท่ีราย จ่ายในราชส�ำนักและการใช้จ่ายเพื่อการป้องกันประเทศที่อยู่ในอัตราสูง กลา่ วคือ รวมกันแลว้ สงู ถึงรอ้ ยละ ๓๕.๑ ของรายจา่ ยทง้ั หมด รายจ่าย ท้ังสองอย่างนี้เป็นรายจ่ายที่ไม่ได้ส่งเสริมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และเป็นรายจ่ายท่ีส�ำคัญต่อฐานะทางการคลังหรือดุลการคลังของ ประเทศเพราะเป็นรายจ่ายท่ีมีปริมาณมาก เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก (Sir Edward Cook) ซึ่งเป็นท่ีปรึกษาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ รายงานไว้ในบันทึกการคลงั ของไทยเม่ือ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า “การที่รัฐบาล ใช้จ่ายเงินเป็นจ�ำนวนมากไปเพ่ือกิจการดังกล่าวเช่นน้ีเอง จึงท�ำให้ราย จ่ายขยายตัวเพิ่มสูงข้ึนอย่างรวดเร็ว”๘ นอกจากนี้ เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก ยังกลา่ วอีกว่า ในรอบ ๑๐ ปีที่ผา่ นมารฐั บาลใชจ้ ่ายเงนิ เพือ่ การดังกลา่ ว มากเกนิ ไป ซง่ึ หากเปรยี บเทยี บกบั ประเทศอนื่ ๆ ทมี่ ขี นาดและสถานการณ์ ใกลเ้ คยี งกนั แล้วจะพบกบั ความแตกตา่ งอยา่ งเห็นไดช้ ัดดงั ตาราง 70

ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ตารางแสดงเปรียบเทยี บรายจ่ายระหว่างประเทศ (เฉล่ียรอ้ ยละ) ประเทศ รายจา่ ยเพ่ือป้องกันประทศ รายจ่ายเพ่ือราชส�ำนกั ญีป่ ุ่น ๑๘.๗ ๐.๒๕ เดนมารก์ ๑๔.๙ ๐.๙ เนเธอร์แลนด ์ ๑๑.๕ ๐.๑ สเปน ๒๐.๖ ๐.๓ นอรเวร ์ ๘.๕ ๐.๑ ไทย ๑๒.๓ ๑๐.๗ ทม่ี า : กองจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลท่ี ๗ ค.๑๕.๓/๑ Observation Upon the present Financial Position of Siam : Sir Edward Cook ๑ June ๑๙๒๕ -๒๖ p.๑๓ อ้างใน ชาญชัย รัตนวิบูลย์ (๒๕๔๘) “บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” พิพิธพันธ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า หน้า ๘๕ จากตารางเปรียบเทียบรายจ่ายเพื่อราชส�ำนักและรายจ่ายด้าน การป้องกันประเทศดังกล่าวจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนของ ตัวเลขรายจ่ายโดยเฉพาะรายจ่ายในราชส�ำนัก อาจกล่าวได้ว่า ไม่ เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใดส�ำหรับประเทศท่ีปกครองด้วยระบอบสมบูร ณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขทรงมีพระราชอ�ำนาจ สิทธิขาดกับการบริหารประเทศและสิทธิขาดกับการใช้จ่ายในพระราช ทรัพย์ของประเทศ แต่เม่ือสถานการณ์ของสังคมสยามและสังคมโลก เปล่ียนแปลงไป การพัฒนาด้านเศรษฐกิจก�ำลังเข้ามามีบทบาทต่อ 71

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ประเทศนั้นๆ แล้ว ตัวเลขรายจ่ายในราชส�ำนักของพระองค์ที่สูงจึงนับ เป็นอีกสาเหตหุ นง่ึ ของปัญหาด้านการคลังที่ตามมา ในขณะท่ีรายได้ของประเทศลดลงแต่มีรายจ่ายเพ่ิมข้ึนนี้ ใน ส่วนของรายจ่ายราชส�ำนักก็เช่นเดียวกัน มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่เกิดปัญหาทางการเงินในกรมพระคลังข้างท่ี ใน พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๖๕ ท�ำให้รัฐบาลต้องสนับสนุนเงินเข้ากรมพระคลังข้างท่ีถึง จ�ำนวน ๓ ล้านบาท หากย้อนกลับมาพิจารณาถึงรายละเอียดของราย จ่ายในราชส�ำนักท่ีท�ำให้เกิดปัญหาทางการเงินของพระคลังข้างที่กรณี ดังกล่าวแล้วจะพบว่า เหตุท่ีรายจ่ายในราชส�ำนักของพระองค์ที่สูงข้ึนน้ี มีอย่สู องสว่ นด้วยกันคือ รายจ่ายปกติและรายจ่ายที่ไมป่ กติ กลา่ วคือ พระคลังข้างที่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวจะมีรายจ่ายเพื่อการอุปถัมภ์กิจการเสือป่า รายจ่ายกับการตาม เสด็จของข้าราชบริพารไปมณฑลต่างๆ รายจ่ายเพื่อพระราชทานส�ำหรับ การส่งเสริมการศึกษา การสาธารณสุข รายจ่ายเพ่ือการด�ำรงพระ เกียรตยิ ศสำ� หรับงานตา่ งๆ เปน็ ตน้ ซ่ึงรายจา่ ยเหล่านเี้ ปน็ รายจ่ายทพ่ี ระ คลังข้างที่จะได้รับจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในแต่ละปีอยู่แล้ว ทว่าปัญหาด้านการเงินของพระคลังข้างท่ีที่เกิดขึ้นกลับเป็นรายจ่าย จ�ำนวนมากทจ่ี า่ ยให้กบั ข้าราชบรพิ ารในราชสำ� นกั ซึ่งกล่าวกนั วา่ มกี ารขอ พระราชทานอยา่ งไม่มีขอบเขต ๙ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ยังได้กล่าวไว้ว่า ข้าราชส�ำนักบางคน ไดย้ ักยอกพระราชทรัพย์ไปอยา่ งไม่ละอาย และทีส่ ำ� คัญพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ยังทรงเห็นว่า พระองค์ทรงมีพระราช อำ� นาจอยา่ งเดด็ ขาดทจ่ี ะใชจ้ า่ ยเงนิ แผน่ ดนิ นอกเหนอื ไปจากงบประมาณ ที่กำ� หนดไว้ ความเห็นของพระองค์ในเร่ืองดังกล่าวยืนยันได้จากกรณี ความขัดแย้งที่เกิดข้ึนระหว่างพระมหากษัตริย์กับกรมพระจันทบุรีนฤ 72

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี นาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เร่ืองที่พระองค์มีพระราช ประสงค์จะเสด็จประพาสญี่ปุ่น แต่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พิจารณาว่าไม่เหมาะสมเนื่องด้วยเรื่องของงบประมาณ จนกลายเป็น ความขัดแย้งขึ้นเม่ือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยืนยัน ถึงพระราชประสงค์ของพระองค์ ส่งผลให้กรมพระจันทบุรีนฤนาถถึง กบั ลาออกจากตำ� แหน่งเสนาบดกี ระทรวงพระคลงั มหาสมบัติ อย่างไรก็ตามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยูห่ วั การใช้จา่ ยเพอ่ื การพัฒนาประเทศเปน็ หลกั สำ� คญั ของงบประมาณ ในแต่ละปีด้วยเช่นกัน พระองค์ทรงด�ำเนินนโยบายการพัฒนาประเทศ สืบต่อจากพระบรมราชชนก โดยเงินท่ีน�ำมาใช้จ่ายเพ่ือการน้ีส่วนใหญ่ เป็น “เงินคงคลัง” ซ่ึงหมายถึงเงินรายได้แผ่นดินที่สูงเกินกว่ารายจ่าย ของรัฐที่สะสมไว้ ซึ่งในช่วงต้นรัชกาลปรากฏว่าเงินคงคลังนี้มีอยู่จ�ำนวน มาก โดยเฉพาะในชว่ งปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๒ ท่ีฐานะทางการคลังของ รฐั บาลอยู่ในภาวะเกินดุลมาโดยตลอด (ยกเวน้ พ.ศ. ๒๔๕๔) นอกจากน้ีก็ยังใช้เป็นเงินส�ำหรับช่วยเหลือบรรเทาความเดือด ร้อนของราษฎร และใชจ้ า่ ยเพ่ือการลงทนุ อันจะเป็นการช่วยเพ่ิมดอกผล ใหก้ ับเงนิ ดังกล่าวอีกทางหนงึ่ รายจา่ ยเพอื่ การพฒั นาประเทศในรัชสมยั ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายโครงการต้องใช้จ่าย เงินจ�ำนวนมาก โครงการเพ่ือการพัฒนาประเทศท่ีส�ำคัญๆ เช่น การ ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) ที่ใช้จ่ายเงินคงคลัง รวมทง้ั ส้ิน ๑๓,๖๑๒,๕๔๙.๗๘ บาท สายใต้ (สายแยกตรัง-ทงุ่ สง) ทใ่ี ช้ จ่ายเงินรวมท้ังส้ิน ๑๑,๘๔๐,๗๕๖.๒๕ บาท สายตะวันออก (อรัญประ ทศ) ๑๒,๔๖๒,๘๗๖.๗๙ บาท สายตะวันออกเฉยี งเหนอื มี ๒ สายคอื สายอุบลราชธานี ใช้จ่ายเงิน ๑๐,๓๗๗,๙๙๐.๗๘ บาท และสาย ขอนแก่น อีกจ�ำนวน ๓๕๒,๕๐๒.๑๖ บาท รวมถึงการเปล่ียนรางรถไฟ อกี จ�ำนวน ๘๙๔,๕๑๘.๒๔ บาท เป็นตน้ 73

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี นอกจากนี้ยังมีโครงการอีกจ�ำนวนมากท่ีล้วนจ�ำเป็นต้องใช้จ่าย เงินงบประมาณของประเทศท้ังการสร้างสะพานพระราม ๖ การก่อสร้าง การไฟฟ้า การก่อสร้างการประปา การก่อสร้างด้านชลประทาน การใช้ จ่ายเงินเพ่ือการตรวจหาแหล่งแร่เช้ือเพลิง รวมไปถึงการใช้จ่ายเพ่ือกิจ การอื่นๆ ของรัฐ เช่น การก่อต้ังธนาคารออมสิน การสร้างเรือพระท่ีน่ัง การใช้จ่ายเพื่อการสงคราม (สงครามโลกคร้ังที่ ๑) การใช้จ่ายเพ่ือการ ชว่ ยเหลือราษฎรในคราวที่เกดิ อุทกภัย หรอื ในคราวทีข่ ้าวยากหมากแพง เปน็ ตน้ ๑๐ จากรายจา่ ยดงั กลา่ วกเ็ ปน็ สาเหตหุ นงึ่ ทที่ ำ� ใปหร้ มิ าณเงนิ คงคลงั ลดลงอย่างรวดเร็ว สุดท้ายเมื่อส้ินรัชสมัยของพระองค์ปรากฏว่ากรม พระคลังข้างท่ีต้องมีหนี้สินสูงถึง ๑๙ ล้านบาท และเป็นสาเหตุที่พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริเรื่องการตัดงบรายจ่าย ส่วนของพระองค์ลงเพื่อประคองสถานการณ์ด้านการคลังของประเทศ ในเวลาต่อมา ปญั หาดา้ นรายได้ ดังได้กล่าวไว้แล้วตอนต้นว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครองราชย์ในขณะที่ฐานะทางการเงินมั่นคง กล่าวคือ ในพ.ศ. ๒๔๕๓ อันเป็นปีแรกของการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของ พระองค์รัฐบาลมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายถึง ๔.๕ ล้านบาท นอกจากนี้ มูลค่าของสนิ คา้ ทสี่ ง่ ออกยังสูงกวา่ สนิ ค้าเขา้ ถึง ๔๐.๗ ล้านบาท ๑๑ ที่มาของรายได้แผน่ ดนิ มอี ยู่ ๔ ด้านสำ� คญั ๑๒ คอื ๑) รายได้จากอากร มี ๓ หมวด คือ หมวดรฐั สามิต เชน่ คา่ ภาคหลวงดีบุก การป่าไม้ หมวดรัฐพาณิชย์ เช่น รายได้จากการรถไฟ และหมวดอากรเบด็ เตล็ด เช่น รายได้จากดอกเบีย้ เป็นต้น รายไดจ้ าก อากรนี้มอี ตั ราลดลงอยา่ งต่อเนอ่ื ง ๒) รายได้จากภาษี เช่น ภาษที ่ีดิน ภาษศี ลุ กากร ภาษรี ัชชูปการ 74

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ภาษีฝิ่น ภาษีด้านการพนันและหวย ก.ข. ในส่วนของภาษีศุลกากรและ ภาษีทีด่ นิ นั้นมอี ตั ราการจดั เก็บเพิ่มขึ้น แตท่ ่ีส�ำคัญคอื ภาษีด้านการพนัน และหวย ก.ข. กลับลดลงเม่ือรัฐบาลพยายามเลิกภาษีดังกล่าว รวมถึง ความพยายามเลิกการสูบฝนิ่ กท็ �ำให้ภาษีฝิ่นลดลงอย่างมากเช่นกนั ๓) ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ เช่น ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การพนัน และค่าปรับต่างๆ เปน็ ต้น มีอัตราลดลงนบั แตป่ ี พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการพนัน ท้ังนี้เพราะรัฐบาลมี น๋ โยบายใหเ้ ลกิ การพนนั ทวั่ ประเทศ ๔) รายได้เบ็ดเตลด็ ซงึ่ กม็ ีอัตราลดลงเชน่ กัน ในส่วนของรายได้จากภาษีท่ีเกิดจากกระบวนการผลิตภายใน ประเทศคือเป็นสินค้าออกท่ีส�ำคัญคือ “ข้าว” เน่ืองจากประเทศไทยเป็น ประเทศทมี่ ีการผลติ ข้าวเป็นสนิ ค้าหลกั มาแตส่ มัยโบราณ ในช่วงรชั สมยั ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดปัญหาต่อกระบวน การผลิตข้าวของประเทศ ทั้งปัญหาจากภัยธรรมชาติและปัญหา เศรษฐกิจตกต่ำ� อนั เน่ืองมาจากสงครามโลก ครัง้ ท่ี ๑ ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๔ เป็นปีท่ีสภาพดินฟ้า อากาศไม่อ�ำนวยต่อกระบวนการผลิต ท�ำให้ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ลด น้อยลงและส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศ สาเหตุหลักส�ำคัญอีก ประการหนึ่งของการผลิตท่ีผ่านมา คือ ต้องยอมรับว่าการขยายตัวของ กระบวนการผลิตข้าวของชาวสยามอยู่ในลักษณะของการขยายพ้ืนที่ การเพาะปลูกเท่านั้น แต่ไม่ได้พัฒนากระบวนการผลิตให้ทันสมัยอัน เป็นกระบวนการเพิ่มผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ปริมาณของ ผลผลิตก็ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ดังน้ันเม่ือใดที่ฟ้าฝนไม่เอื้อ อ�ำนวยย่อมส่งผลต่อปริมาณการผลิตอย่างยากท่ีจะหลีกเลี่ยง ซ่ึงถือได้ ว่าเป็นจุดอ่อนของระบบทางเศรษฐกิจของสยามที่มีการเกษตรเป็นแกน หลกั ของการได้มาซงึ่ รายได้ 75

ประวัติศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ประทศไทยต้องประสบกับภาวะขาดแคลน ข้าวต่อการบริโภคอย่างหนักอันเนื่องจากภัยธรรมชาติท้ังอุทกภัยและ ฝนแล้งติดต่อกัน รัฐบาลขณะน้ันประกาศสั่งห้ามส่งข้าวออกนอก ประเทศ น�ำมาซึ่งความถดถอยทางเศรษฐกิจ ภาคส่วนท่ีต้องรับภาระ หนักกับเรื่องนี้ตกอยู่ท่ีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผลของการ ประกาศห้ามส่งข้าวออกนอกประเทศท�ำให้มูลค่าของสินค้าออกลดลง ทันที ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ภาวะดา้ นการคลังของประเทศขาดดุลหลงั จาก ทเ่ี กินดุลมาอยา่ งต่อเนอื่ ง นอกจากข้าวท่เี ป็นสินค้าหลกั ของประเทศแล้ว การปา่ ไม้ การปศสุ ัตว์ การประมง การอตุ สาหกรรม กถ็ อื เป็นแหลง่ ราย ไดข้ องประเทศเชน่ กัน นอกจากสินค้าด้านการเกษตรแล้วรายได้ที่ส�ำคัญของประเทศ ภาษอี ากรด้านอนื่ ๆ กม็ ีส่วนสำ� คญั ต่อการเปลย่ี นแปลงฐานะทางการคลัง ของประเทศด้วยเช่นกัน การเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะฝนแล้งหรือ อทุ กภัย อาจสรา้ งผลกระทบต่อรายไดข้ องรัฐบาล แต่หากได้พิจารณาถงึ รายละเอยี ดแล้วจะพบว่า เปน็ ผลกระทบทส่ี ่งผลในระยะส้ันเท่าน้นั เมื่อ ภาวะดังกล่าวหมดไปก็สามารถด�ำเนินการต่อใหม่ได้ แต่รายได้ที่ควร พิจารณาและเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในระยะยาวในช่วงรัชสมัยของ พระองค์ คือ การปรับโครงสร้างภาษีด้วยการยกเลิกการพนันและหวย ก.ข. รวมถึงการดำ� เนนิ การจ�ำกดั การสูบฝนิ่ ลง ในอดีตท่ีผา่ นมาภาษีจาก การพนัน หวย ก.ข. และภาษีจากฝิ่น โดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รายได้จากกิจกรรมดังกล่าวมี สูงถงึ ๑ ใน ๔ ของรายไดจ้ ากภาษีดังน้ี 76

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ตารางแสดงรายได้แผน่ ดนิ พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๖๕ หนว่ ย : บาท พ.ศ. รายได้จากภาษที ้ังสนิ้ จากภาษฝี นิ่ จากการพนันและหวย ก.ข. ๒๔๕๖ ๕๔,๙๖๑,๙๐๕ ๒๔,๙๔๒,๗๙๙ ๗,๐๑๗,๔๒๑ ๒๔๕๗ ๕๕,๔๘๗,๐๓๙ ๑๖,๑๙๐,๑๐๑ ๖,๗๐๔,๐๕๔ ๒๔๕๘ ๕๖,๒๖๗,๐๐๙ ๑๖,๕๖๐,๒๒๗ ๗,๑๖๙,๓๔๔ ๒๔๕๙ ๕๘,๘๙๐,๐๐๔ ๑๙,๒๗๕,๗๐๒ ๒,๘๘๖,๔๓๑ ๒๔๖๐ ๕๘,๓๙๔,๒๒๔ ๒๑,๑๗๙,๙๒๑ ๗,๑๔๐ ๒๔๖๑ ๕๙,๗๖๑,๙๑๙ ๒๑,๔๔๔,๔๑๘ ๕,๙๘๔ ๒๔๖๒ ๖๒,๒๔๘,๖๘๖ ๒๓,๒๒๑,๕๖๙ ๗๖๐ ๒๔๖๓ ๕๒,๕๗๖,๗๙๗ ๑๙,๘๘๙,๓๒๔ ๓๗๖ ๒๔๖๔ ๕๖,๘๕๒,๒๗๑ ๑๘,๘๐๗,๖๕๒ - ๒๔๖๕ ๕๔,๗๒๗,๑๖๘ ๑๖,๕๖๔,๗๕๘ - ที่มา : ธนาคารออมสิน (๒๕๔๕) “สมเด็จมหาธีรราชเจ้า เศรษฐกิจ พระผู้วางรากฐานความม่ันคงและเศรษฐกิจยุคใหม่” กรุงเทพมหานคร ธนาคารออมสนิ หนา้ ๓๙ จากตารางจะเห็นไดว้ ่า รายไดท้ เ่ี กดิ จากการพนนั และหวย ก.ข. ลดลงจาก ๗,๐๑๗,๔๒๑ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จนหมดสนิ้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ด้วยการด�ำเนินการตามแนวพระบรมราโชบายของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีทรงมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรของ พระองค์เลิกลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในอบายมุข การด�ำเนินนโยบายดังกล่าว ของพระองค์เป็นการเดินสวนทางกับความต้องการเรื่องรายได้เพ่ือการ ใช้จ่ายในด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยท่ีพระองค์ทรงพระ กรุณาโปรดเกลา้ ฯ ใหย้ กเลกิ หวย ก.ข. ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ และใหย้ กเลิก 77

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี บ่อนการพนนั ในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นอกจากน้ีรายได้จากภาษีฝิ่นก็มีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่องด้วย เช่นกัน อันเน่ืองมาจากการออกกฎหมายควบคุมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ หากพิจารณาในด้านนโยบายการคลังโดยเคร่งครัดจะพบว่า การลดลง ของรายไดใ้ นสว่ นดงั กลา่ วอาจถอื ไดว้ า่ เปน็ การดำ� เนนิ นโยบายทผ่ี ดิ พลาด เพราะ ท�ำให้รายไดล้ ดลงจ�ำนวนมาก แต่หากพิจารณาในด้านของการพัฒนาอย่างยั่งยืนย่อมสะท้อน ให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเมตตาต่อ อาณาประชาราษฎร์ โดยการท่ีทรงยอมให้รัฐบาลเสียรายได้จ�ำนวนมาก เพ่ือให้ราษฎรของพระองค์ไม่ลุ่มหลงมัวเมาตกอยู่ในวังวนของอบายมุข แม้ว่าจะนำ� มาซ่ึงปญั หาดา้ นการคลังภายหลงั ส้ินรชั กาลแล้วก็ตาม สรุปได้ว่า ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หวั (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) พระองคท์ รงบริหารจัดการ ให้มีการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยมาอย่างต่อเน่ือง รวมถึงพยายาม ปรับปรุงการป้องกันประเทศให้เข้มแข็งข้ึนด้วยการด�ำเนินนโยบายท่ี หลากหลาย ท�ำให้รัฐบาลมีความจ�ำเป็นต้องใช้งบประมาณจ�ำนวนมาก และเพมิ่ ปรมิ าณขน้ึ ทกุ ปี ในขณะทรี่ ายไดเ้ พอ่ื การใชจ้ า่ ยในแตล่ ะปนี น้ั กลบั สวนทางกนั อย่างสน้ิ เชิง น่าเสียดายว่าภายหลังจากท่ีพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว (พ.ศ. ๒๔๖๘) การด�ำเนินนโยบายเพ่ือการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ท่ีพระ องค์ได้ทรงด�ำเนินไว้ต้องหยุดชะงักลงด้วยปัญหาและอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่�ำท่ัวโลกในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๘๒ ถือได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศไว้หลายด้าน และเป็นจุดเร่ิมต้นให้มี การพฒั นาตอ่ มาจนถึงปัจจุบนั อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ 78

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดรัชกาลก่อให้เกิดงบประมาณด้านการ คลังขาดดลุ ถงึ ๑,๙๓๘,๙๘๙ บาท ๑๓ และเป็นปญั หาหน่ึงท่ีส่งผลตอ่ แนว พระราชด�ำริเร่ืองเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมอ่ื ทรงเสด็จเถลิงถวลั ย์ราชสมบตั สิ ืบต่อมา พระองคต์ อ้ งมพี ระราชด�ำริ ในการแก้ไขปัญหาหลายประการเพื่อประคองฐานะทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ดว้ ยนโยบายและมาตรการตา่ งๆ ปัญหาเศรษฐกจิ ในรชั สมัย พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จข้ึนครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ทา่ มกลางปัญหาต่างๆ ที่รมุ เร้ามากมาย ทัง้ ปัญหาทาง ด้านเศรษฐกิจและปัญหาทางด้านการเมือง ซ่ึงพระองค์ต้องทรงใช้พระ วริ ิยะอตุ สาหะอยา่ งมากเมือ่ ขึ้นครองราชย์ เม่ือเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปัญหาท่ีพระองค์ต้องทรงแก้ไข เป็นอนั ดับแรก คอื ปัญหาด้านเศรษฐกจิ ทั้งปญั หาดา้ นการคลังที่ติดลบ มาแต่ครั้งรัชกาลก่อน ปัญหาด้านการผลิตของประเทศท่ีต้องพบกับภัย ธรรมชาติทั้งฝนแล้งและอุทกภัย รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจตกต�่ำท่ีเกิดข้ึน ท่วั โลกอนั สบื เนือ่ งมาจากผลของสงครามโลกครง้ั ท่ี ๑ ปัญหาด้านเศรษฐกจิ ในรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้า อยู่หวั สามารถแบง่ ออกไดเ้ ปน็ ๓ ด้านคอื ปัญหาดา้ นการคลงั ปัญหาดา้ น การเงิน และปัญหาด้านการผลิตกับการค้า ๑๔ ปัญหาดังกล่าวท่ีเกิดข้ึน นอกจากความไม่มั่นคงเรื่องสถานะทางการคลังท่ีส่งผลต่อเน่ืองมาจาก รัชกาลก่อนแล้ว ปัจจัยภายนอกเป็นสาเหตุส�ำคัญท่ีส่งผลต่อปัญหาด้าน เศรษฐกิจสมัยพระองค์ ซึ่งอาจพิจารณาถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจในสมัย พระองค์หลกั ๆ ได้ดงั น้ี 79

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๑) ปัญหาดา้ นการคลัง ปัญหาส�ำคัญด้านการคลังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ฐานะทางการคลังลดน้อยลงในขณะท่ีรายจ่าย ของประเทศเพิ่มข้ึน เห็นได้จากจ�ำนวนเงินคงคลังท่ีลดลงมาแต่ครั้ง รัชกาลก่อน ซ่ึงก่อนหน้าน้ันในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวสถานะทางการคลังยังอยู่ในฐานะท่ีมั่นคงและลดลง เรอ่ื ย ๆ จนสนิ้ รชั สมยั ของพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั (พ.ศ. ๒๔๖๘) ถึงกับมีรายจ่ายมากกว่ารายรับสูงถึง ๑,๙๓๘,๙๘๙ บาท และ เปน็ การขาดดลุ งบประมาณที่ติดตอ่ กันมาถงึ ๔ ปี เงนิ คงคลังน้มี คี วามส�ำคญั ตอ่ ประเทศอยา่ งมาก กลา่ วคอื เป็น เงินส�ำรองหรือเงินเหลือจ่ายท่ีสะสมไว้ส�ำหรับใช้ในยามฉุกเฉินหรือใน กรณีที่รัฐมีความจ�ำเป็นต้องใช้จ่ายในอัตราที่เกินจากรายได้ แต่ก็เป็น เงินท่ีรัฐบาลจะพยายามไม่น�ำมาใช้ เพราะถือว่าเป็นเงินท่ีเป็นหลัก ประกันถึงเสถียรภาพและความม่ันคงทางการเงินหรือฐานะของประเทศ รวมถึงเป็นความเช่ือถือและช่ือเสียงของประเทศในสายตาของต่าง ประเทศ ดงั นัน้ เมือ่ “เงินคงคลงั ” หมดลง ย่อมน�ำมาซง่ึ ความเปราะบาง ทางการคลัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครอง ราชย์ พระองค์จึงทรงมีพระราชด�ำริท่ีจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่ง ด่วนด้วยมาตรการต่างๆ มากมาย เช่น การดุลข้าราชการออก การตัด ลดงบรายจ่ายของราชส�ำนักลง การตัดทอนรายจ่ายของกระทรวงต่างๆ เป็นต้น ทั้งนเี้ พ่อื ให้ดุลการคลงั กลับมาอยใู่ นสภาพที่มน่ั คงโดยเรว็ ทีส่ ุด ปัญหาด้านการคลังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจา้ อยหู่ ัวอาจแยกพจิ ารณาได้เปน็ ๒ ส่วน คือ ปญั หาเร่ืองรายได้แผ่นดิน และรายจา่ ยแผ่นดนิ ปัญหาเรอื่ งรายได้แผ่นดิน เรื่องของรายได้ในรัชสมัยของพระองค์น้ีนับได้ว่าเป็นปัญหา 80

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี มาก เพราะแหล่งท่ีมาของรายได้นั้นไม่ได้เพิ่มข้ึนแต่อย่างใด ในขณะที่ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติพยายามต้ังงบประมาณรายได้ของประเทศ ไว้ต่�ำเกินความเป็นจริง ทั้งน้ีก็เพื่อให้ตัวเลขของดุลการคลังเข้าสู่ภาวะ สมดุล ซึ่งหากเป็นช่วงภาวะที่ฐานะของเงินคงคลังเป็นปกติอาจไม่เกิด ผลเสียต่อประเทศ ทว่าในรัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงที่รัฐบาลก�ำลัง ประสบปัญหาการขาดแคลนเงิน ซึ่งเกิดจากรายได้ของประเทศไม่ได้ เพ่ิมขนึ้ เนอ่ื งจากปญั หาเศรษฐกิจตกต่�ำ ดงั นนั้ จึงน�ำมาซ่ึงปัญหาความยุ่งยากต่อการจดั สรรงบประมาณ รายจ่ายของแต่ละกระทรวงท่ีต้องจ�ำกัดลง ท้ังน้ีก็เพ่ือให้รายได้และราย จ่ายของประเทศอยู่ในกรอบของดุลการคลังแบบสมดุล การด�ำเนิน นโยบายด้านการคลงั ลกั ษณะน้เี รียกวา่ เปน็ แนวคดิ แบบ “อนรุ กั ษน์ ยิ ม” คือ มจี ุดหมายปลายทางท่ีตวั เลขความสมดลุ ของงบประมาณเป็นหลกั นโยบายการการคลังแบบอนุรักษ์นิยม เป็นนโยบายท่ีเกิดจาก ความเห็นของท่ีปรึกษาชาวต่างประเทศท่ีเข้ามาวางรากฐานทางการคลัง ของประเทศไว้ให้อยา่ งเคร่งครัด โดยหมายถึง นโยบายทพี่ ยายามรักษา เงินคงคลัง ไมน่ ิยมท�ำงบประมาณรายจ่ายโดยการกเู้ งนิ จากต่างประเทศ หลีกเล่ียงการกู้ยืมเงิน และมีนโยบายใช้หนี้เงินกู้เพ่ือแสดงความ สามารถ และเสถียรภาพทางการคลังให้ปรากฏแก่นานาชาติ ปรับงบ ประมาณรายรับรายจ่ายให้ไดด้ ลุ ปญั หาเรือ่ งรายจา่ ยแผน่ ดิน การใช้จ่ายของแต่ละกระทรวงมีอัตราส่วนเพ่ิมขึ้นทุกปี เน่ือง จากความความจ�ำเปน็ ที่ต้องการพฒั นาประเทศในทกุ ภาคส่วน ในแต่ละ กระทรวงจะเสนองบประมาณของแต่ละกระทรวงเข้ามาท่ีกระทรวงพระ คลังมหาสมบัติเพื่อพิจารณา ซึ่งแต่ละกระทรวงก็จะมีรายจ่ายท้ังที่เป็น รายจา่ ยประจำ� เชน่ เงินเดือน และรายจ่ายแบบกา้ วหน้าซ่ึงเปน็ โครงการ เพื่อการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่างๆ ในขณะท่ีกระทรวงพระคลังฯ 81

ประวัติศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี จะพิจารณาจากรายได้ เมื่อกระทรวงพระคลงั ฯ ใช้วิธีการประเมินรายได้ ต�่ำกว่าท่ีเป็นจริง ดังนั้นรายจ่ายของแต่ละกระทรวงที่เสนอเข้ามาจึงสูง เกินความเป็นจริง เพราะกลัวว่างบประมาณรายจ่ายท่ีเสนอมาจะถูกตัด ทอนลง ท่ีส�ำคัญของการจัดสรรงบประมาณในรัฐบาลของพระองค์ยัง สะท้อนให้เห็นได้ว่ารัฐบาลให้ความส�ำคัญกับกระทรวงใดมากกว่า ซ่ึงจะ ช่วยให้เข้าใจถึงแนวพระราชด�ำริเรื่องการพัฒนาของพระองค์ได้ชัดเจน ข้ึน ซึ่งหากพิจารณาถึงสัดส่วนของงบประมาณของแต่ละกระทรวงแล้ว จะเห็นได้ดงั น้ี ตารางแสดงงบประมาณรายจา่ ยจรงิ จ�ำแนกเป็นรายกระทรวง พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๕ หนว่ ย : ล้านบาท กระทรวง ๒๔๖๙ ๒๔๗๐ ๒๔๗๑ ๒๔๗๒ ๒๔๗๓ ๒๔๔๔ ๒๔๗๕ กลาโหม ๑๖.๐ ๑๖.๐ ๑๖.๖ ๑๖.๖ ๑๔.๕ ๑๑.๓ ๑๐.๔ ทหารเรือ ๔.๕ ๔.๕ ๔.๕ ๔.๕ ๓.๘ ๓.๔ ๒.๖ ตา่ งประเทศ ๑.๗ ๑.๓ ๑.๓ ๑.๒ ๑.๓ ๑.๒ ๐.๘ คลงั ๖.๒ ๖.๕ ๖.๕ ๖.๕ ๖.๗ ๖.๕ ๕.๘ มหาดไทย ๑๓.๓ ๑๕.๖ ๑๖.๘ ๑๙.๐ ๑๙.๑ ๑๘.๐ ๑๔.๑ ยุตธิ รรม ๔.๙ ๒.๙ ๓.๐ ๓.๐ ๓.๑ ๒.๘ ๒.๔ ธรรมการ ๒.๙ ๒.๙ ๓.๑ ๓.๔ ๓.๗ ๓.๕ ๓.๓ พาณชิ ย์/คมนาคม ๔.๙ ๖.๑ ๗.๖ ๙.๒ - - - เกษตราธกิ าร ๓.๖ ๓.๗ ๔.๑ ๔.๗ ๔.๖ ๓.๕ ๓.๐ เกษตรพาณชิ ยการ - - - - ๙.๔ ๘.๒ ๘.๑ เบ็ดเตล็ด ๑.๐ ๐.๘ ๐.๘ ๐.๘ ๐.๘ ๑.๐ ๑.๐ งบประมหากษตั รยิ ์ ๖.๔ ๖.๒ ๖.๔ ๖.๓ ๗.๒ ๖.๑ ๔.๐ รวม ๑๐๐.๖ ๑๑๗.๔ ๑๐๖.๙ ๑๐๗.๑ ๙๖.๓ ๘๗.๕ ๗๐.๒ 82

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ทีม่ า : S.Y.B. B.E. ๒๔๖๙-๒๔๘๐ อา้ งจาก มยรุ ี นกยูงทอง “ปญั หา เศรษฐกจิ ในรชั สมยั ของพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)” วิทยานพิ นธอ์ ักษรศาสตรมหาบณั ฑิต แผนกประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๐ หน้า ๘๔ ๒) ปัญหาด้านการเงนิ นโยบายทางด้านการเงินของไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มี ลกั ษณะเป็นแบบ “อนุรกั ษน์ ยิ ม” ๑๕ กล่าวคอื จะม่งุ รกั ษาเสถยี รภาพทาง การเงินหรืออัตราแลกเปล่ียนเงินตราจากภายนอกเป็นส�ำคัญ โดยการ ก�ำหนดอัตราแลกเปล่ียนเงินบาทกับเงินต่างประเทศหรือเทียบกับค่าเงิน บาทกับทองค�ำให้คงท่ี เพราะรัฐบาลเช่ือว่าการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้ คงที่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการค้า รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อม่ันต่อ ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งท่ีจะรักษาค่าของเงินบาทด้วยการ ระมัดระวงั ไม่ให้เกิดภาวะเงนิ เฟอ้ ดังน้ันรัฐบาลจึงมุ่งให้ความส�ำคัญกับเงินทุนส�ำรองขอประเทศ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในส่วนท่ีเป็นทองค�ำ โดยเชื่อมั่นว่าหากมีทองค�ำหรือ ค่าปริวรรตแห่งทองค�ำในทุนส�ำรองจ�ำนวนมากค่าของเงินก็จะไม่เสื่อม ลง เพราะฉะน้ันจึงเห็นว่ารัฐบาลมุ่งท่ีจะสะสมทุนส�ำรองเป็นจ�ำนวนมาก เพ่ือให้เงินบาทมีฐานะมั่นคง ซ่ึงผลของแนวนโยบายด้านการเงินดัง กล่าวเราจึงสามารถพิจารณาผลของแนวคิดดังกล่าวได้เป็น ๒ ทางคือ ทางหนึ่งเป็นผลดีในการช่วยให้ฐานะทางการเงินของประเทศเกิดความ มั่นคงและประเทศมีความน่าเช่ือถือ อีกทางหนึ่งการมุ่งสะสมทุนส�ำรอง ของประเทศในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไม่เอ้ืออ�ำนวยจะส่งผล เสยี ตอ่ การจดั งบประมาณเพือ่ การพัฒนาประเทศใหก้ า้ วหน้าเช่นกัน 83

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๓) ปญั หาดา้ นการผลติ และการคา้ ประเทศไทยเปิดประตูการค้าอย่างเสรีในช่วงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือภายหลังจากการท�ำสนธิ สัญญาเบาว์ริง ท�ำให้กระบวนการผลิตของสังคมสยามเปล่ียนแปลงไป จากทเี่ คยผลติ เพื่อการยังชพี มาเป็นการผลติ เพือ่ การคา้ เปน็ ส�ำคัญ นำ� มา ซ่งึ รายไดเ้ พอ่ื การพัฒนาประเทศในรูปแบบตา่ งๆ การผลติ และการคา้ จงึ เขา้ มามบี ทบาทสำ� คัญต่อรัฐบาล ดังนั้นการผนั แปรของการผลิตและการ ค้าไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยใดๆ ก็ตาม ย่อมส่งผลต่อความผันผวนทาง เศรษฐกจิ ของประเทศอย่างเลย่ี งไมไ่ ด้ ด้านการผลิตยังคงใช้ระบบดั้งเดิม คือ การพ่ึงพาธรรมชาติ เป็นหลัก การเพิ่มปริมาณการผลิตก็ด้วยวิธีการขยายพื้นท่ีเพ่ือการเพาะ ปลูกออกไปมากกว่าการพัฒนาหรือน�ำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพ่ิม ผลผลติ ดงั น้นั ปัจจยั เรือ่ งธรรมชาติ เช่น นำ�้ ท่วมหรอื ฝนแลง้ จงึ ส่งผล ตอ่ ปรมิ าณการผลติ และทำ� ใหเ้ กดิ ความไมแ่ นน่ อนของรายไดจ้ ากปรมิ าณ ของผลผลติ ท่ีจะไดไ้ มส่ ม่ำ� เสมอในแตล่ ะปี ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สภาพ ทางการผลิตและการค้ากับต่างประเทศอยู่ในฐานะเป็นที่น่าพอใจ แต่ใน ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๗๔ สถานการณ์ทางการค้าของไทยได้รับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ� ทั่วโลกท�ำใหท้ รดุ ลงมาก แต่ในทสี่ ดุ ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นไปสถานการณ์ดา้ นการคา้ กับตา่ งประเทศก็ดี ขนึ้ ตามล�ำดับ ๑๖ แม้ว่าการค้าจะมีความส�ำคัญต่อฐานะทางเศรษฐกิจ แต่มีข้อ น่าสังเกตว่าผู้ท่ีกุมอ�ำนาจทางด้านการค้ากลับตกอยู่ในมือของชาวต่าง ชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน นอกจากนั้นก็เป็นชาวยุโรป ชาวอินเดีย เป็นต้น การค้าที่เก่ียวข้องกับยุโรปก็ตกอยู่ในมือของชาวยุโรปโดย เฉพาะอย่างยิ่งบริษัทการค้าท่ีเป็นของชาวอังกฤษ ทั้งน้ีในช่วงระยะเวลา 84

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ดังกล่าวการค้ากับต่างประเทศร้อยละ ๗๐ ท�ำกับประเทศที่อยู่ในเครือ จักรภพของอังกฤษ ที่ส�ำคัญแต่เดิมมาสังคมสยามเป็นสังคมเกษตร กรรม อาชีพของคนสยามคือการเป็นเกษตรกรและรับราชการ รูปแบบ การค้าแบบใหม่ชาวสยามยังไม่มีความสามารถมากนักรวมถึงยังไม่มี ศักยภาพด้านบริการ เช่น การเดินเรือ การประกันภัย หรือการค้ากับ ต่างประเทศ จึงท�ำให้การค้ากับต่างประเทศส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของ ชาวต่างชาติ เชน่ ชาวจนี หรอื ชาวอนิ เดีย นอกจากนี้สินค้าส่งออกของประเทศก็เป็นสินค้าอันเกิดจาก การเกษตรกรรมด้วย ดังน้ันเราจึงเห็นปัญหาเศรษฐกิจด้านการส่งออก ต้องได้รับผลกระทบเมื่อเกิดเหตุภัยกับกระบวนการผลิตอยู่หลายครั้ง เช่น ภาวะฝนแลง้ หรืออุทกภัย เป็นตน้ สิง่ ส�ำคญั ประการหนึ่งของการคา้ กบั ต่างประเทศ คือ ขา้ วท่ีเปน็ สินค้าออกหลัก แต่การค้าข้าวที่เกิดขึ้นเป็นการค้าโดยผ่านคนกลางที่ ฮ่องกงและสิงคโปร์ ท�ำให้ผลของรายได้จากการค้าข้าวถูกตัดทอนด้วย พ่อค้าคนกลาง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเร่ืองสินค้าถูกปลอมปนก่อนถึง ปลายทาง ท�ำให้ข้าวได้รับผลกระทบด้านช่ือเสียงอย่างมากและถือเป็น ปัญหาส�ำคัญของรัฐบาลสยามเกิดข้ึนในช่วงเวลาท่ีเกิดภาวะเศรษฐกิจ ตกต�่ำทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความผูกพันทางเศรษฐกิจกับต่าง ประเทศอยา่ งชดั เจน ปญั หาดงั กลา่ วแสดงใหเ้ หน็ ในรปู ของดลุ การคา้ แตไ่ มอ่ าจเรยี ก วา่ เกดิ ภาวะ “ขาดดลุ ” เหตเุ พราะดลุ การคา้ ของไทยเกนิ ดลุ มาโดยตลอด แต่เป็นปัญหาเร่ืองของส่วนเกินในดุลการค้าลดลง อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดข้ึนก็เป็นเพียงระยะสั้นเท่าน้ัน คือ ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๒- ๒๔๗๔ ทั้งน้ีปัญหาดังกล่าวไม่ลุกลามด้วยความสามารถในการปรับตัว ทางการค้าของสยามท่ีเม่ือการส่งออกสินค้าลดลง มูลค่าของสินค้าเข้าก็ ลดลงด้วย ส่วนปัญหาที่ยังคงค้างอยู่ก็คือ ปัญหาเรื่องราคาสินค้าตกต�่ำ 85

ประวัติศาสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ซึง่ เป็นปญั หาทร่ี ฐั บาลต้องแบกรับอยา่ งหลกี เลี่ยงไมไ่ ด้ ในส่วนของการผลิตน้ัน ข้าวยังคงเป็นสินค้าหลักของประเทศ แต่เดิมการผลิตข้าวของสังคมไทยไม่มีความจ�ำเป็นต้องผลิตเกินความ ต้องการบริโภค แต่เม่ือสยามเข้าสู่ระบบการค้าเสรีกับต่างประเทศ ข้าว จึงกลายเป็นสินค้าท่ีสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก ยิ่งความ ต้องการข้าวท้ังภายในและภายนอกประเทศมีจ�ำนวนมากเท่าใดการผลิต ข้าวก็เปลีย่ นไปเป็นการผลติ เพือ่ การคา้ มกี ารเพม่ิ ปริมาณการผลติ อยา่ ง ต่อเน่ือง ทว่าการเพิ่มปริมาณการผลิตดังกล่าวอยู่ในรูปของการขยาย พื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าการเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งยัง ไม่มีการน�ำเทคโนโลยีด้านการผลิตสมัยใหม่เข้ามาช่วยเสริม ประสิทธิภาพการผลิต แต่ด้วยคุณลักษณะเฉพาะของข้าวไทยท่ีมี คุณภาพดีกว่าข้าวจากพม่าหรือเวียดนาม ดังน้ันราคาท่ีซ้ือขายกันใน ตลาดโลกจึงสูงกว่าและเป็นสินค้าส�ำคัญในการสร้างรายได้ให้กับ ประเทศ นอกจากข้าวท่ีเป็นสินค้าหลักแล้ว การท�ำป่าไม้สัก ยางพารา การท�ำเหมืองแร่ หรือแม้แต่การปลูกพืชอ่ืนๆ ก็เป็นการผลิตที่มีความ ส�ำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วยเช่นกัน แต่ชาวสยามส่วนใหญ่ก็ให้ ความส�ำคัญต่อการผลิตข้าวมากกว่าท้ังนี้อาจเป็นเพราะความช�ำนาญท่ีมี การผลิตกันมายาวนาน ส่วนการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมืองแร่ หรือการผลิตยาง ส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวต่างชาติ รวมถึง รัฐบาลก็ให้ความส�ำคัญต่อการผลิตข้าวมากว่าสินค้าอ่ืน ดังน้ันปัญหา ด้านการผลิตจึงให้ความส�ำคัญกับกระบวนการผลิตข้าวเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ดา้ นเทคนคิ การผลิต การชลประทาน การปรับปรุงดิน และการใช้ ปยุ๋ เพ่ือเพมิ่ ผลผลิต เมื่อพิจารณาปัญหาด้านเศรษฐกิจท่ีเกิดข้ึนในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่า 86

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เป็นปัญหาใหญ่หลวงมากส�ำหรับพระองค์ รวมถึงเป็นช่วงระยะเวลาที่ พระองค์จะต้องเน้นด้านการแก้ปัญหามากกว่าที่จะการสานต่อแนวทาง การพัฒนาประเทศใหท้ ันสมยั ตามรัชกาลกอ่ น นอกจากน้ียังมีข้อน่าสังเกตถึงรายละเอียดต่อปัญหาด้าน เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ว่า ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติมีบทบาทอย่างมากต่อปัญหาของประเทศทั้งท่ีปรึกษาด้าน เศรษฐกิจ รวมถึงอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวพระ ราชดำ� รเิ ร่ืองเศรษฐกจิ ของพระองคด์ ว้ ย กลา่ วคือ เปน็ บทบาททบ่ี างครงั้ อาจกล่าวได้ว่ามีอ�ำนาจเหนือพระราชด�ำริของพระองค์ด้วยซ�้ำไปโดย เฉพาะประสบการณ์และความอาวุโสด้านเศรษฐกิจของสมเด็จกรมพระ จันทบุรีนฤนาถในฐานะที่เป็นหน่ึงในอภิรัฐมนตรีสภา หรือแม้แต่ที่ ปรึกษาด้านการคลังที่เป็นชาวต่างประเทศอย่าง เซอร์ เอดเวิร์ด คุก ที่ ถือเป็นเร่ืองความน่าเช่ือถือของต่างประเทศต่อการน�ำเสนอแนวทางด้าน การคลงั ของประเทศ 87

ประวตั ิศาสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี เชงิ อรรถ ๑ ปรับปรุงมาจาก ส�ำราญ ผลดี. แนวพระราชด�ำริทางด้าน เศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สาขาวิชา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช. ๒๕๕๑, หนา้ ๓๘-๕๖ ๒ พรเพ็ญ ฮ่ันตระกูล “การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)” อ้างใน ฉัตร ทิพย์ นาถสุภา, สมภพ มานะรังสรรค์ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย จนถึง พ.ศ.๒๔๘๔” (กรงุ เทพฯ : สำ� นักพมิ พม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ๒๕๒๗) หนา้ ๔๖๒ ๓ เพ่ิงอา้ ง หน้า ๔๖๗ ๔ เพงิ่ อา้ ง หน้า ๔๗๐ ๕ เพิง่ อ้าง หน้า ๔๗๕ ๖ เพงิ่ อ้าง หน้า ๔๘๓ ๗ อสมั ภินพงศ ์ ฉตั ราคม “บทบาทของที่ปรึกษาทางเศรษฐกจิ ชาวต่างประเทศในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๗๕” รายงาน การวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ๒๕๒๙ หน้า ๑๑๑-๑๑๓ ๘ เพ่ิงอา้ ง หน้า ๔๘๗ ๙ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก พรเพ็ญ ฮ่ันตระกูล “การ ใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)” ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา สมภพ มานะรังสรรค์ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ.๒๔๘๔” (กรุงเทพฯ : ส�ำนัก พิมพม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ๒๕๒๗) หนา้ ๔๘๘-๔๘๙ 88

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๑๐ อสัมภินพงศ ์ ฉัตราคม “บทบาทของที่ปรึกษาทางเศรษฐกจิ ชาวต่างประเทศในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๗๕” รายงาน การวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ๒๕๒๙ หน้า ๑๒๑-๑๓๗ ๑๑ อ่านรายละเอยี ดเพิม่ เติมไดจ้ าก พรเพ็ญ ฮัน่ ตระกลู “การ ใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)” ใน ฉตั รทพิ ย ์ นาถสภุ า สมภพ มานะรงั สรรค์ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ.๒๔๘๔” (กรุงเทพฯ : ส�ำนัก พมิ พม์ หาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๒๗) หน้า ๔๗๓-๔๗๕ ๑๒ อสัมภนิ พงศ ์ ฉตั ราคม “บทบาทของทปี่ รึกษาทางเศรษฐกจิ ชาวต่างประเทศในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๗๕” รายงาน การวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ๒๕๒๙ หน้า ๑๑๐-๑๑๒ ๑๓ “พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” พิมพ์ท่ีระลึกใน พระราชพิธีทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ในอภิลักขิตสมัย วันพระบรมราชสมภพราบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ประชาธิปก พระปกเกลา้ เจา้ อย่หู ัว (กรุงเทพฯ : อัมรนิ ทร์พริน้ ต้ิงแอนด์ พบั ลิชชงิ่ จ�ำกดั (มหาชน) ๒๕๓๖) หนา้ ๓๓๔-๓๓๕ ๑๔ มยุรี นกยูงทอง “ปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา สมภพ มานะรังสรรค์ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ.๒๔๘๔” (กรงุ เทพฯ : ส�ำนกั พมิ พ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๒๗) หน้า ๔๙๖ 89

ประวตั ิศาสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ๑๕ มยุรี นกยูงทอง “ปัญหาเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา สมภพ มานะรังสรรค์ “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ.๒๔๘๔” (กรุงเทพฯ : สำ� นกั พิมพม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ๒๕๒๗) หน้า ๕๐๗ ๑๖ เพง่ิ อ้าง หนา้ ๕๒๐ 90

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี พระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อยู่หวั กษัตรยิ ผ์ ู้ทรงเปน็ พระบิดาแหง่ ประชาธิปไตย ที่มา : สถาบันพระปกเกล้า (๒๕๔๔) \"สมุดภาพรัชกาลท่ี ๗ จัดพิมพ์เป็นท่ีระลึกใน นิทรรศการอวดภาพและของหายากยุครัชกาลที่ 7 ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ๑๒ พฤศจกิ ายน - ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔, 91

ประวัตศิ าสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี ๐๕ เสน้ ทางสกู่ ารเป็นกษัตรยิ น์ ักประชาธปิ ไตย ของพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยู่หวั พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระพระราช สมภพเม่ือวันท่ี ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงเป็นพระราชโอรส พระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา กษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีล�ำดับท่ี ๕ กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงมีพระนามที่พระราชวงศ์เรียก ขานกันในโดยท่ัวไปว่า “เอียดน้อย” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยหู่ วั ทรงพระราชทานนามวา่ “สมเดจ็ เจ้าฟา้ ชายประชาธปิ กศกั ดิเดชน์ ชเนศร มหาราชาธิราชจุฬาลงกรนาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธ์ิ มหามกุฎราชพงศ บริพัตร บรมขตั ยิ มหารชั ฎาภิษญิ จพรรโษทัย มงคลสมัย สมาการ สถาวรรัจฉริยคณุ อดุลยราชกุมาร” ๑ 92

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี ต่อมาเม่ือทรงผ่านพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ทรงพระราชทาน พระสพุ รรณบฏั เฉลมิ พระนามเปน็ เจา้ ฟา้ ตา่ งกรม โดยทรงมพี ระนามตาม จาฤกในพระสพุ รรณบฏั วา่ “สมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ ประชาธปิ กศกั ดิ เดชน์ ชเนศรมหาราชาธริ าช จฬุ าลงกรณน์ ารถวโรรส อุดม ยศอกุ ฤษฐศักด์ิ อุภัยปักษนาวิล อสมั ภนิ ชาติภิสุทธ์ิ มหา มกุฎราชพงษ์บริพัตร บรมขัดติยมหารัชฎาภิสิญจน์ พรรโษทัย มงคลสมัยสมากรสถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลย ราชกุมาร กรมขนุ ศุโขไทยธรรมราชา” ๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเชษฐาร่วม พระชนนีหลายพระองค์ทว่าก็มีหลายพระองค์เช่นกันท่ีส้ินพระชนม์ เมอื่ ครงั้ ทรงพระเยาว์ ท่ที รงทรงมพี ระชนม์ชีพอยู่ประกอบดว้ ย ๑. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ภายหลัง เสด็จข้ึนครองราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๖ แหง่ พระบรมราชจกั รีวงศ์ ๒. สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวง พษิ ณุโลกประชานาถ (สนิ้ พระชนม์เม่ือวันที่ ๑๓ มิ.ย. ๒๔๖๓ รวมพระ ชนมายุ ๓๘ พระชนั ษา) ๓. สมเด็จพระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจ้าฟา้ อัษฎางค์เดชาวธุ กรมหลวง นครราชสีมา (ส้ินพระชนม์เม่ือวนั ท่ี ๙ ก.พ. ๒๔๖๗ รวมพระชนมายุ ๓๕ พระชนั ษา) ๔. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุน เพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (ส้ินพระชนม์เม่ือวันท่ี ๘ พ.ค. ๒๔๖๖ รวม 93

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี พระชนมายุ ๓๑ พระชันษา) และ ๕. สมเดจ็ พระเจ้าน้องยาเธอ เจา้ ฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรม ขุนศโุ ขทัยธรรมราชา ต่อมาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ก็เสด็จข้ึนครองราชสมบัติเป็นพระมหา กษัตริย์ล�ำดับที่ ๗ แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรเมน ทรมหาประชาธปิ ก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดีฯ ตามลำ� ดับ ๓ ความน่าสนใจอยู่ท่ีการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นไปอย่างเหนือความคาด หมาย แมใ้ นความคดิ ของพระองค์เอง ความจริงการสืบราชสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ท่ีผา่ นมาก็มีความปรวนแปรตอ่ พระราชอำ� นาจอยไู่ มน่ อ้ ย แต่เดิมท่มี กี าร ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น พระมหากษัตริย์ถ่ายโอน พระราชอำ� นาจแตกต่างจากการสบื ราชสันตติวงศข์ องทางยโุ รป เราอาจเคยได้ยินช่ือต�ำแหน่งสมเด็จพระมหาอุปราชาหรือพระ มหาอปุ ราชในหนังสอื ประวตั ิศาสตร์อย่บู ้าง ซง่ึ ตำ� แหนง่ ดงั กลา่ วนำ� ความ เหมาะสมเรื่องของอ�ำนาจมาเป็นหลักส�ำคัญ ซ่ึงเราจะได้เห็นประวัติ ศาสตร์ในหลายยุคหลายสมัยที่มีการกล่าวไว้ถึงการสืบถ่ายพระราช อำ� นาจ ทอ่ี าจเปน็ พระอนชุ าบา้ ง หรอื พระญาตบิ า้ ง ดงั เชน่ เมอื่ ครง้ั ทสี่ มเดจ็ พระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเอกาทศรถก็ รั้งตำ� แหนง่ สมเดจ็ พระมหาอุปราชา และตอ่ มากเ็ สดจ็ ข้ึนครองราชสมบตั ิ สบื ต่อจากพระเชษฐาในท่สี ุด แม้เมื่อคร้ังรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เองก็ยังทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระราชโอรสของพระ 94

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี องคท์ รงสืบต่อราชสมบัติ ทว่ากไ็ ม่ไดเ้ ปน็ ไปตามพระราชประสงค์ข้างตน้ เนื่องจากผู้ที่รับสืบต่อราชสมบัติเป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดากับ พระองค์ นั่นก็คอื พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว จะเห็นได้ว่า การสืบต่อราชสมบัติในอดีตท่ีผ่านมา ไม่ได้เป็น การเปล่ียนถ่ายตามสายเลือด หากแต่เป็นด้วยพระราชอ�ำนาจของพระ มหากษัตริย์หรือกลุ่มการเมืองท่ีก�ำลังมีอ�ำนาจในเวลานั้นว่าจะต้องการ ให้ราชสมบัติน้ันตกอยู่แก่ผู้ใด ซึ่งอาจเป็นพระอนุชาหรือผู้ใดก็ได้ตาม พระราชประสงค์ หรือหากว่าพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตไปน้ันไม่ ได้มีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทเอาไว้ ก็จะต้องเป็นหน้าท่ีของท่ีประชุม ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายที่จะต้องท�ำหน้าท่ีในการ คดั เลอื ก ซึง่ โดยมากแล้วกจ็ ะเปน็ พระบรมวงศานุวงศ์ชน้ั สงู นน้ั เอง อย่างไรก็ตาม การสืบราชสมบัติลักษณะดังกล่าวก็ไม่อาจเป็น เชน่ น้นั เสมอไป ซงึ่ เราจะเห็นไดใ้ นบทเรียนทางประวัตศิ าสตร์ทีม่ ีอยู่ดว้ ย กันหลายครั้ง แม้ว่าจะมีการเปล่ียนถ่ายพระราชอ�ำนาจไปแล้ว หากว่า กษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีฐานอ�ำนาจทางการเมือง มากเพียงพอก็น�ำมาซ่ึงการแย่งชิงในพระราชอ�ำนาจน้ันเสมอ ดังเช่น กรณีของพระยอดฟ้าแห่งกรุงศรีอยุธยา ท่ีต่อมาก็เกิดการแย่งพระราช อ�ำนาจไปโดยขุนวรวงศาและทา้ วศรีสุดาจันทร์ เปน็ ต้น นอกจากน้ีประเพณีดั้งเดิมของการสืบราชสมบัติท่ีผ่านมา ก็ ไม่มีการเปิดโอกาสให้กับสตรีข้ึนครองราชย์ ย่ิงส่งเสริมให้เรื่องของฐาน อ�ำนาจทางการเมืองมีความส�ำคัญท่ีผลักดันให้การข้ึนสู่ราชบัลลังก์มี ความส�ำคัญมากขน้ึ ต่อเม่ือสมัยรัตนโกสินทร์แนวคิดและทัศนะเกี่ยวกับเรื่องการ สบื ราชสมบตั ริ วมถึงพระราชอำ� นาจของพระราชวงศจ์ ากตะวันตกเร่มิ เขา้ มามีบทบาทมากข้ึน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลสะเทือนอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อเรื่องประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ของสยามท่ีมีมาแต่เดิมให้ 95

ประวตั ิศาสตร์ประชาธปิ ไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี เปลย่ี นแปลงไป ลักษณะหรือรูปแบบท่ีมีความชัดเจนกว่าในเรื่องการสืบราช สันตติวงศ์ของตะวันตกก็คือ ต�ำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่ ตะวันตกเองก็มองว่า ต�ำแหน่งอุปราชซ่ึงเป็นรูปแบบหน่ึงของสยามนั้น เป็นเร่ืองที่ไม่ปกติ รวมถึงความไม่แน่นอนชัดเจนของต�ำแหน่งดังกล่าว ต่อการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เพราะท่ีผ่านมาประวัติศาสตร์ได้จด จารเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า พระอุปราชบางคนได้เป็นพระมหากษัตริย์ ในขณะที่บางองคก์ ็ไมม่ ีโอกาสอย่างน้นั ความชัดเจนเกิดข้ึนด้วยการรับเอาทัศนะและแนวคิดเรื่องการ สืบราชสันตติวงศ์ใหม่มาจากตะวันตก นั่นคือ ภายหลังประเทศสยามมี การน�ำต�ำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เข้ามาใช้ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจา้ ฟ้าวชิรุณหิศ พระราชโอรสพระองค์โตที่เกิดจากพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ข้ึนเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกในประเทศสยามอย่างเป็น ทางการ ทว่าต่อมาไม่นาน มกุฎราชกุมารพระองค์น้ีก็ทรงพระประชวร และส้ินพระชนม์ แม้ว่าเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ จะมีพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกัน นั่นกค็ อื เจ้าฟา้ มหดิ ล ทว่าในเวลานนั้ กท็ รงมพี ระชนมายเุ พียง ๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตัดสินพระทัยโปรด เกล้าฯ แต่งต้ังเจ้าฟา้ มหาวชิราวธุ ขน้ึ เป็นสยามมกุฎราชกมุ ารสบื ต่อกัน เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี หรอื สมเด็จพระศรีพชั รนิ ทรา พระบรมราชนิ ีนาถ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธดิ า รวมทั้งสิน้ ๑๑ พระองค์ มหี ลายพระองค์ทส่ี นิ้ พระชนม์ ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ส่วนพระราชโอรสท่ีมีสิทธิสามารถขึ้นสืบราช 96

ประวัตศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี สันตติวงศไ์ ด้น้ันมอี ยู่ ๕ พระองค์ ดงั รายพระนามขา้ งตน้ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติแล้ว ยังมิได้ทรงมีพระราชโอรส ดังนั้นผู้ที่อยู่ในข่าย ของการสืบราชสันตติวงศ์ในชั้นต่อมาก็คือ สมเด็จพระอนุชาทั้ง ๔ พระองค์ แต่เหตุอันน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับพระราชวงศ์และ ประชาชนชาวสยามโดยทั่วกนั กค็ อื ดว้ ยปรากฏตอ่ มาว่าท้งั สมเดจ็ เจ้าฟา้ จักรพงศ์ภวู นาถ กรมหลวงพิษณโุ ลกประชานาถ สมเดจ็ เจา้ ฟ้าอษั ฎางค์ เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสมี า และสมเดจ็ เจ้าฟา้ จุฬาธุชธราดิลก กรม ขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ทั้ง ๓ พระองค์ซ่ึงเป็นสมเด็จพระเชษฐาท่ีรัก ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่างก็สิ้นพระชนม์ลงในเวลา ไล่เล่ยี กัน ดังน้ันล�ำดับช้ันในการสืบราชสันตติวงศ์ของพระบาทสมเด็จ พระปกเกลา้ เจา้ อย่หู วั จงึ เล่อื นข้ึนมาอย่างรวดเร็ว ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ องค์ก็ทรงเป็นกังวลเก่ียวกับเร่ืองของการสืบราชสันตติวงศ์ด้วยเช่นกัน โดยที่พระองค์ทรงแสดงท่าทีกระตือรือร้นอย่างแรงกล้าภายหลังจากที่ ข้ึนครองราชสมบัติแล้ว ในอันที่จะมีพระราชโอรสไว้สืบราชสันตติวงศ์ ถงึ กบั ละทงิ้ หลกั การทวี่ า่ “จะมพี ระมเหสพี ระองคเ์ ดยี ว การมเี จา้ จอมเปน็ อันเลิก” ๔ ซึ่งเป็นหลักการท่ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงก่อนท่ีจะประกาศยกเลิกพิธีหมั้นของพระองค์กับหม่อมเจ้า หญิงวัลลภาเทวี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เห็นได้จากภายหลังท่ีทรงประกาศหม้ันกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณแล้วไม่นานก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง คุณเปร่ือง สุจริตกุล และคุณประไพ สุจริตกุล เป็นพระสุจริตสุดาและ พระอนิ ทราณีตามลำ� ดับ ๕ อย่างไรก็ตามความพยายามท่ีจะมีพระราชโอรสของพระบาท 97

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ประสบความส�ำเร็จ เนื่องจาก พระองค์ไม่ทรงมีพระราชโอรสกับพระชายาพระองค์ใดเลย มีแต่พระ ธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาสิริ โสภาพัณณวดี อันประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีเท่านั้น เม่ือแรกที่ประสูติน้ัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ ราชทานพระนามวา่ สมเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ เจา้ ฟา้ เพชรรตั นราชสุดา คร้ัง ต่อเมื่อทรงได้รับการเปล่ียนค�ำน�ำหน้าพระนามใหม่เป็นสมเด็จพระเจ้า ภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาเม่ือ พ.ศ. ๒๔๗๐ เม่ือรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหดิ ล รัชกาลที่ ๘ ทรงโปรดเกลา้ ฯ ให้เปล่ียนค�ำน�ำพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน ราชสุดาเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘ ครั้นต่อมาในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมอ่ื วนั ท่ี ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๒ พระ ราชทานยศทหาร ต�ำแหน่งพันโทหญิง ผู้บังคับการพิเศษ ในกองพัน ทหารราบท่ี ๒ กรมผสมที่ ๕ พระองค์ส้ินพระชนม์เมื่อวันท่ี ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พระชันษา ๘๕ ปี ๖ ความไม่แน่นอนของบุคคลท่ีจะอยู่ในข่ายของผู้สืบราชสันตติ วงศต์ ามสายพระโลหติ ประกอบกบั ปัจจัยแวดล้อมท่ีเป็นขา่ วแพร่สะพัด ไปทวั่ ในขณะนนั้ วา่ พระราชวงศบ์ างพระองคจ์ ะเปน็ กบฏบา้ ง จะมกี ารโคน่ ล้มรัชกาลของพระองค์บ้าง ๗ ดังน้ันเพื่อความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงระบุรายละเอียดของ องค์รัชทายาทไว้เม่ือครั้งที่ทรงเรียกประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และ ขา้ ราชการช้นั ผ้ใู หญ่ในตอนตน้ รัชกาลไวว้ ่า “...ในเวลาน้ีต้องให้น้องร่วมพระชนนีเป็นรัช- ทายาทไม่มีอย่างอื่น เว้นแต่ข้าพเจ้ามีบุตรจึงให้บุตรเป็น 98

ประวัตศิ าสตรป์ ระชาธปิ ไตยในสยาม สำ� ราญ ผลดี รชั ทายาทต่อไป ๘เพราะฉะน้ันในเวลานข้ี า้ พเจา้ ขอกำ� หนด ไวว้ า่ ใหน้ อ้ งทเ่ี กดิ แตส่ มเดจ็ พระบรมราชนิ นี าถ อนั เปน็ นอ้ ง รว่ มอทุ รเปน็ รัชทายาทตามลำ� ดับอายพุ รรษกาล...” ๙ การแต่งต้ังองค์รัชทายาทที่เป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เป็นการระบุเพื่อสร้างความชัดเจน ณ เวลา นั้น เพราะข้อความที่ว่า “เว้นแต่ข้าพเจ้ามีบุตรจึงให้บุตรเป็นรัชทายาท ต่อไป” ยอ่ มแสดงให้เห็นวา่ พระองคย์ ังทรงตอ้ งการทีจ่ ะให้พระโอรสอัน เกดิ จากสายพระโลหิตของพระองค์เป็นผ้สู ืบราชสันตตวิ งศ์ต่อไป หากแต่การณ์มิได้เป็นดังเช่นพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจา้ อยู่หวั เพราะปรากฏวา่ มิได้ทรงมีพระราชโอรส แตอ่ ยา่ งใด เมอื่ สภาพการณเ์ ปน็ เชน่ น้ี บคุ คลทอ่ี ยใู่ นขา่ ยอยา่ งชดั เจนของ ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์จึงเป็นพระอนุชาร่วมพระราชชนนีของ พระองคท์ ้งั ส้นิ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส องค์โตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีประสูติแต่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) และมีพระอนุชาร่วมพระอุทรอีกหลายพระองค์ แต่ในรัชสมัยของพระ องค์มีผู้ที่อยู่ในข่ายขององค์รัชทายาทรวมทั้งสิ้น ๔ พระองค์ ดังที่ได้ ล�ำดบั ชนั้ ไวต้ อนตน้ จะเห็นได้ว่าล�ำดับช้ันของผู้ท่ีจะได้รับการสืบราชสันตติวงศ์นั้น มีอยู่ถึง ๓ ช้ันก่อนถึงสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ เดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ในที่น้ียังไม่นับรวมว่า หากพระบาท สมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยหู่ ัวทรงมีพระราชโอรสอกี อย่างไรก็ตามความไม่น่าจะเป็นไปได้ก็เกิดข้ึนเมื่อปรากฏว่า บุคคลท่ีอยู่ในล�ำดับช้ันดังกล่าวส้ินพระชนม์ลงในระยะเวลาเพียง ๕ ปี 99

ประวตั ศิ าสตร์ประชาธิปไตยในสยาม ส�ำราญ ผลดี บรรดาพระเชษฐาท่ีทรงอยู่ในฐานะองค์รัชทายาททั้ง ๓ พระองค์แรกได้ ส้ินพระชนม์ลงอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่มีพระองค์ใดทรงมีพระชนมายุ ครบ ๔๐ ปีด้วยซ�้ำไป และการส้ินพระชนม์ขององค์รัชทายาทบางพระ องค์กน็ า่ จะมีเง่อื นง�ำบางประการแฝงอยู่ ๑๐ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในฐานะองค์รัชทายาทต่อมาก็คือ สมเด็จพระเจ้า นอ้ งยาเธอ เจา้ ฟ้าประชาธปิ กศกั ดเิ ดชน์ กรมหลวงสุโขทยั ธรรมราชา ถึง กระน้ันก็ยังมีข้อแม้อยู่ที่พระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระ มงกฎุ เกล้าเจ้าอยูห่ ัว ซ่งึ มีสาระอยู่วา่ “...การสืบราชสมบัติน้ันพระบาทสมเด็จพระ มงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั มพี ระราชประสงคว์ า่ ถา้ พระราชกมุ าร ในครรภ์พระนางสุวัทนาประสูติออกมาเป็นพระราชโอรส ก็ใคร่จะให้ได้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ถ้าเป็นพระราช ธดิ า กใ็ ครใ่ หร้ าชสมบตั ติ กอยแู่ กส่ มเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ รว่ มพระราชชนนี ซ่ึงมีเหลอื อยพู่ ระองคเ์ ดียวตามนยั แห่ง กฎมณเฑียรบาลฉบบั สดุ ทา้ ยในเวลานัน้ ” ๑๑ ข้อความในพระราชพินัยกรรมนี้เป็นเสมือนการสร้างความ ชัดเจนเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ ท�ำให้ความเคลือบแคลงของ ล�ำดับช้ันต่อๆ มาหมดสิทธิในราชบัลลังก์ทันที และต้องถือว่า เป็นพระ ราชพินัยกรรมที่มีความส�ำคัญมากถึงกับมีการโจษกันว่า หากไม่ถือตาม กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ท่ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานมา สมเด็จพระเจ้าพี่ยาพระองค์หนึ่งที่ ทรงมีพระอ�ำนาจมากในขณะนั้นจะได้ทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ล�ำดับที่ ๗ ในพระราชจกั รีวงศ์ ๑๒ สมเด็จพระพ่ียาฯ ท่ีกลา่ วถงึ นี้ คอื สมเด็จพระเจา้ พ่ียาเธอ เจา้ 100


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook