การพัฒนาหลกั สตู ร Curriculum Development คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั บ้านสมเดจ็ เจา้ พระยา 2563
การพัฒนาหลกั สตู ร (Curriculum Development) โดย จิตตวสิ ทุ ธ์ิ วิมุตตปิ ญั ญา ธนภทั ร จันทรเ์ จรญิ ธิดารัตน์ ตนั นริ ตั ร์ แฝงกมล เพชรเกลี้ยง พชั รภี รณ์ บางเขยี ว ภิญญาพัชญ์ ปลากัดทอง วโิ ฬฏฐ์ วฒั นานมิ ติ กูล อารวี รรณ เอีย่ มสะอาด สิริกร โตสติ ผทู้ รงคุณวฒุ ิตรวจพิจารณาเอกสาร: รองศาสตราจารย์ ดร.ไสว ฟักขาว รองศาสตราจารย์ ดร.สนุ ีย์ เหมะประสิทธ์ิ รวบรวมและจดั ท�ำต้นฉบบั ธิดารตั น์ ตันนิรัตร์ ขอ้ มลู ทางบรรณานุกรมหอสมุดแหง่ ชาติ การพัฒนาหลักสูตร=Curriculum Development. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเดจ็ เจ้าพระยา, 2563. 226 หน้า. 1. การศึกษา 2. การวางแผนหลักสูตร. ISBN: 987-974-373-618-6 ปรบั ปรงุ ครั้งท่ี 2 สิงหาคม 2563 จ�ำนวน 1,000 เล่ม ออกแบบปก แฝงกมล เพชรเกลย้ี ง สงวนลิขสิทธต์ิ ามพระราชบญั ญัติลขิ สิทธิ์ (ฉบบั เพ่มิ เตมิ ) พ.ศ. 2558 หา้ มลอกเลยี นแบบ หรอื คดั ลอกสว่ นใดส่วนหน่ึงของหนงั สือเล่มนี้ ยกเว้นแตไ่ ดร้ บั อนญุ าตเปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษรจากผเู้ ขยี น หนังสอื ยืมเรียน หรอื แจกฟรี (หา้ มจำ� หน่าย) จดั ทำ� โดย คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏั บา้ นสมเดจ็ เจา้ พระยา 1061 ซอย 15 ถนนอสิ รภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบรุ ี กรงุ เทพฯ 10600 โทร. 02-473-7000 ต่อ 5000 โทรสาร : 02-472-5712 E-mail : [email protected] https://www.edu.bsru.ac.th พิมพท์ ่ี โรงพิมพ์ หจก.วรานนท์ เอน็ เตอร์ไพรส์ 6, 8 ซอย 13 ถนนสะแกงาม แขวงแสมด�ำ เขตบางขนุ เทียน กรุงเทพมหานคร 10150 โทร. 02-894-9050-3 E-mail : [email protected]
ค คานา หนังสือการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) เล่มนี้ เรียบเรียงข้ึนจากคณาจารย์ ผู้สอนในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในระดับเบ้ืองต้น เก่ียวกับการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย ความรู้พ้ืนฐานการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร รูปแบบของหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตร การนาหลักสูตรไปใช้ การประเมินและปรับปรุง หลักสูตร การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตร สถานศึกษา ตลอดจนปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษท่ี 21 คณะผู้เขียนเช่ือว่า การมี ความรู้ความเข้าใจในประเด็นเบ้ืองต้นเก่ียวกับการพัฒนาหลักสูตร จะเป็นฐานความรู้ที่สาคัญอย่างยิ่ง สาหรับการศกึ ษาค้นคว้าเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในระดับสูงต่อไป ทั้งน้ี คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือการพัฒนาหลักสูตรเล่มน้ี จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อ การจัดการศกึ ษาและการเรียนการสอนในรายวิชาท่ีเก่ียวข้องต่อไป คณะครศุ าสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจา้ พระยา พ.ศ. 2563
จ สารบญั บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร........................................................................................1 1. การศึกษากับหลักสูตร ...........................................................................................................1 2. แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร .......................................................................................................8 3. หลักการของหลักสูตร......................................................................................................... 21 4. วิวฒั นาการของหลกั สูตร ..................................................................................................... 24 5. ลักษณะของหลักสูตรที่ดี .................................................................................................... 29 บทสรปุ . ................................................................................................................................... 31 บทที่ 2 พ้ืนฐานของการพัฒนาหลักสูตร ..........................................................................................35 1. พื้นฐานดา้ นปรัชญาการศึกษา.............................................................................................. 36 2. พื้นฐานด้านจิตวิทยา............................................................................................................ 44 3. ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรม................................................................................ 55 4. ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ................................................................................................. 56 5. ข้อมูลพ้ืนฐานด้านการเมอื งการปกครอง .............................................................................. 57 6. ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม .................................. 58 7. ข้อมูลพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ..................................................................... 59 8. ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพของสังคมในอนาคต ....................................................................... 60 9. ข้อมูลพ้ืนฐานจากบคุ คลภายนอก และนกั วิชาการสาขาต่าง ๆ............................................. 61 10. พ้ืนฐานทางประวัติศาสตรแ์ ละการศึกษาหลักสูตรเดิม ....................................................... 61 11. พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้................................................................................. 62 บทสรุป .................................................................................................................................... 64
ฉ สารบญั (ตอ่ ) บทท่ี 3 การพัฒนาหลักสูตร.............................................................................................................67 บทนา .......................................................................................................................................67 1. ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร......................................................................................68 2. ความสาคัญของการพัฒนาหลักสูตร.....................................................................................69 3. หลักการพัฒนาหลกั สูตร.......................................................................................................70 4. คาศพั ท์ท่ีเก่ียวกับการพัฒนาหลกั สูตร ..................................................................................71 5. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร..................................................................................................72 6. ประเด็นคาถามและข้อแนะนาในการพัฒนาหลกั สูตร ...........................................................83 7. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ................................................................................................84 บทสรุป.....................................................................................................................................85 บทท่ี 4 การสร้างหลักสูตร ...............................................................................................................87 บทนา .......................................................................................................................................87 ข้ันตอนท่ี 1 การวิเคราะห์ข้อมลู พ้ืนฐาน....................................................................................88 ขั้นตอนท่ี 2 การกาหนดจุดหมายของหลักสูตร .........................................................................90 ขน้ั ตอนท่ี 3 การกาหนดรูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตร.....................................................94 ขน้ั ตอนที่ 4 การกาหนดจุดประสงค์ของวชิ า.............................................................................97 ข้นั ตอนที่ 5 การเลือกเน้ือหาวิชา............................................................................................101 ขัน้ ตอนที่ 6 การกาหนดจุดประสงค์การเรยี นรู้ .......................................................................107 ขน้ั ตอนท่ี 7 การกาหนดประสบการณก์ ารเรียนรู้ ....................................................................108 ขนั้ ตอนที่ 8 การกาหนดกิจกรรมการเรียนการสอน.................................................................111
ช สารบัญ (ต่อ) บทท่ี 4 การสร้างหลักสูตร (ต่อ) ข้ันตอนท่ี 9 การประเมินผลการเรียนรู้................................................................................... 116 ขนั้ ตอนที่ 10 การจัดทาวัสดุหลกั สูตรและส่อื การเรียนการสอน.............................................. 119 บทสรุป .................................................................................................................................. 121 บทท่ี 5 การนาหลักสูตรไปใช้........................................................................................................ 123 บทนา..................................................................................................................................... 123 1. หลักการนาหลักสูตรไปใช้ .................................................................................................. 123 2. ภาระงานสาคัญในการนาหลักสูตรไปใช้............................................................................. 124 3. ข้ันตอนการนาหลักสูตรสู่การปฏิบัติ .................................................................................. 130 4. บทบาทของบคุ คลท่ีเก่ียวข้องในการนาหลักสูตรไปใช้ ........................................................ 132 5. ปัญหาการนาหลักสูตรไปใช้ ............................................................................................... 136 6. รูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรมการใช้หลักสูตร............................................................ 139 บทสรุป .................................................................................................................................. 141 บทท่ี 6 การประเมนิ และปรับปรุงหลักสูตร.................................................................................... 143 บทนา..................................................................................................................................... 143 1. ความหมายของการประเมินหลกั สูตร ................................................................................ 143 2. ความจาเป็นของการประเมนิ หลักสูตร ............................................................................... 145 3. จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร ................................................................................ 146 4. ขอบเขตของการประเมินหลกั สูตร ..................................................................................... 146 5. กระบวนการประเมินหลกั สูตร ........................................................................................... 147
ซ สารบัญ (ตอ่ ) บทที่ 6 การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร (ต่อ) 6. ปัญหาในการประเมินหลกั สูตร ...........................................................................................148 7. รูปแบบการประเมินหลักสูตร .............................................................................................149 8. การปรับปรุงหลักสูตร.........................................................................................................156 บทสรุป...................................................................................................................................157 บทท่ี 7 การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ............................................................ 159 บทนา .....................................................................................................................................159 1. การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ..............................................................159 2. แนวโน้มของหลกั สูตรสาหรับพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษท่ี 21 ...............................................161 3. ข้ันตอนการพัฒนาหลกั สูตรสถานศึกษา .............................................................................165 บทสรุป...................................................................................................................................168 บทที่ 8 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา................................... 169 บทนา .....................................................................................................................................169 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ...............................................169 2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ....179 3. หลักสูตรสถานศึกษา ..........................................................................................................184 บทสรุป...................................................................................................................................187
ฌ สารบัญ (ตอ่ ) บทท่ี 9 ปญั หาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษท่ี 21.................................................. 189 บทนา..................................................................................................................................... 189 ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร ................................................................................................. 189 ภาพรวมของศตวรรษที่ 21 กับแนวโนม้ การพัฒนาหลักสูตร................................................... 191 แนวคิดหลักของศตวรรษที่ 21 ............................................................................................... 191 แนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21............................................................................... 197 การพัฒนาหลกั สูตรในศตวรรษท่ี 21 ...................................................................................... 207 ขอ้ เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษท่ี 21............................................................ 214 บทสรุป .................................................................................................................................. 217 บรรณานุกรม................................................................................................................................ 219
ญ สารบัญตาราง ตารางท่ี หน้า 2.1 การเปรียบเทียบปรัชญาสากลและปรัชญาการศึกษา ………………………………………………… 44 6.1 การประเมนิ หลักสูตรของสเตก้ ..........................................................................................149 7.1 โครงสร้างหลกั สูตร.............................................................................................................165 7.2 แบบประเมินเอกสารหลักสูตรสถานศกึ ษา.........................................................................167 8.1 เปรียบเทียบเวลาเรียน จาแนกตามระดับการศึกษา..........................................................173 8.2 เปรียบเทียบการเกณฑ์การจบการศึกษา จาแนกตามระดับการศึกษา...............................174 8.3 เปรียบเทียบบทบาทผู้สอนและผู้เรียน ..............................................................................175 8.4 เปรียบเทียบข้อมูลในหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลาง การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 .................................................................................176 8.5 เปรียบเทียบการปรับปรงุ โครงสร้างเวลาเรียน จาแนกตามระดับการศึกษา…………………..182
ฎ สารบญั ภาพ ท่ี หน้า 1.1 ความสัมพันธ์ของการพัฒนาหลักสูตรกับการพัฒนาการศกึ ษา.....................................................7 1.2 องคป์ ระกอบหลักสูตร....................................................................................................................15 1.3 องค์ประกอบหลักสูตรเชิงระบบ.....................................................................................................16 1.4 ระดบั ของหลักสูตร..........................................................................................................................20 2.1 การวเิ คราะห์ความคิดรวบยอดทางการศึกษาตามแนวปรัชญาวิเคราะห์ ....................................43 3.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์.......................................................74 3.2 แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา....................................................................................75 3.3 กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา.........................................................................................76 3.4 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของโบแชมพ์.......................................................................................77 3.5 การจัดลาดับหลักสูตรแบบ Backward Design............................................................................78 3.6 รปู แบบการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษใ์ หญ่..............................................................................80 3.7 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของสงัด อุทรานันท์...........................................................................82 6.1 การวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องกับความสัมพันธ์ของหลักสูตร.................................................152 6.2 การประเมินหลกั สูตรของไฟ เดลตา คปั ปา หรือรปู แบบซิป......................................................153 6.3 รปู แบบของมัลคัล์ม โพรวสั ..........................................................................................................154 6.4 กระบวนการในการตัดสินในการประเมินของโพรวัส..................................................................155 7.1 ความสมั พันธ์ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน......160 7.2 กรอบแนวคิดเพอื่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.............................................................................162 8.1 ส่วนประกอบสาคัญของหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551..............181
บทที่ 1 ความรพู้ ้ืนฐานการพฒั นาหลักสูตร พชั รภี รณ์ บางเขียว การศึกษาเปน็ กระบวนการเรยี นรู้เพ่อื ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม ส่งเสริมให้บุคคล มพี ฒั นาการทางปัญญา มีความร้คู วามสามารถท่ีเหมาะสมสาหรับการประกอบอาชีพ สามารถดารงชีวติ ได้ อย่างมคี วามสุข หลักสูตรเป็นส่วนสาคัญของการศึกษา เนอ่ื งจากหลักสูตรเป็นหัวใจของการจัดการเรียน การสอน และเป็นตัวกาหนดแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามแผนการศึกษา แห่งชาติ และเป็นไปตามที่สังคมต้องการ และเพ่ือให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในเร่ืองของหลักสูตรและการ พัฒนาหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทเรียนความรู้พ้ืนฐานการพัฒนาหลักสูตรนี้ จึงได้นาเสนอ ความรู้ในเร่ือง การศึกษากับหลักสูตร แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร หลักการของหลักสูตร วิวัฒนาการของ หลกั สตู ร และ ลักษณะของหลกั สตู รท่ีดี โดยมสี าระสาคญั ดงั นี้ 1. การศึกษากับหลักสูตร 1.1 ความหมายของการศกึ ษา คาว่า \"การศึกษา\" พจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (ราชบัณฑิตสถาน, 2556) ได้ให้ ความหมายไว้ว่า การศึกษา หมายถึง \"การเล่าเรียน การฝึกอบรม\" เป็นคาที่ใช้ในความหมายตรงกับคาใน ภาษาอังกฤษว่า “Education” ซึ่ง คาร์เตอร์ วี กูด (Good, 1973: 202) ได้กล่าวถึงความหมายน้ีไว้ใน พจนานุกรมศัพท์การศึกษา มขี อ้ ความ 4 ประการ โดยสรปุ คือ 1) การศึกษา หมายถึง การดาเนินการด้วย กระบวนการทุกอย่างท่ีทาให้บุคคลพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ รวมท้ังทัศนคติและพฤติกรรมอ่ืนตาม ค่านิยมและคุณธรรมในสังคม 2) การศึกษา หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่ทาให้บุคคลได้รับอิทธิพล จากส่ิงแวดล้อมท่ีคัดเลือกและกาหนดไว้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะโรงเรียน เพ่ือพัฒนาบุคคลและสังคม 3) การศึกษา หมายถึง วิชาชีพอย่างหนึ่งสาหรับครู หรือการเตรียมบุคคลให้เป็นครู ซ่ึงจัดสอนในสถาบัน อดุ มศึกษา ประกอบด้วย วิชาปรัชญา จิตวิทยาการศึกษา ประวัติการศึกษา หลักสูตรหลักการสอน การวัดผล การบริหาร การนิเทศการศึกษา และวิชาอื่น ๆ ที่ครูควรรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏบิ ัติ ซ่งึ จะทาใหเ้ กิดความ เจริญงอกงามสาหรับครู และ 4) การศึกษา หมายถึง ศิลปะในการถ่ายทอดความรู้ตา่ ง ๆ ในอดีต ซ่ึงรวบรวมไว้ อย่างเปน็ ระบบ สาหรับคนรนุ่ ใหม่
2 โจฮัน เฮนริค เปสตาลอสซ่ี (Johann Henrich Pestalozzi, 1746–1827, อ้างถึงในวิไล ต้ังจิตสมคิด, 2557) ให้ความหมายของการศึกษาว่า การศึกษา คือการปลูกฝังความเคารพนับถือในตัวบุคคลให้มีความรัก ความเมตตาต่อเพอ่ื นมนุษย์ด้วยกัน และเชื่อว่าการศึกษา คือการพัฒนาสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ ใหม้ ีความเจริญขนึ้ เรอื่ ย ๆ และมคี วามผสมกลมกลืนกันไปในทุก ๆ ทาง จอห์น ดิวอ้ี (John Dewey, 1969) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย ดังน้ี 1) การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต 2) การศึกษาคือความเจริญงอกงาม และ 3) การศึกษาคือ กระบวนการทางสงั คม ตามทรรศนะของดิวอ้ี \"การศึกษา\" คือกระบวนการสร้างหรือจัดสรรประสบการณ์ เป็นการสร้างใหม่ หรือการจัดระบบข้ึนใหม่เพื่อให้เกิดประสบการณ์แก่บุคคล เป็นกระบวนการของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ระหวา่ งบคุ คลกบั สง่ิ แวดล้อม รวมไปถึงผลที่เกิดขนึ้ ตามมาจากการมีปฏสิ ัมพนั ธน์ ้นั ท่ีกอ่ ใหเ้ กิดการเรียนรู้ ในบุคคลด้วย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (กระทรวง ศกึ ษาธิการ, 2551) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า “การศึกษา” หมายความถึง กระบวนการเรียนรู้ เพ่ือความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทาง วัฒนธรรม การสร้างสรรค์ จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัด สภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรแู้ ละปัจจัยเกือ้ หนุนให้บุคคลเรยี นรู้อย่างตอ่ เนือ่ งตลอดชีวิต สมหมาย ปวะบุตร (2558) กล่าวถึงความหมายของการศึกษาไว้ว่า คือ กระบวนการท่ีส่งเสริม และพัฒนาใหค้ นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความเจรญิ งอกงามทั้งร่างกาย อารมณ์ สงั คม และสติปัญญา โดย การถ่ายทอดความรู้ การฝกึ การอบรม วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกุล (2559) ได้ให้ความหมายในส่วนของการศึกษาไว้อย่างสอดคล้องกับ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต, 2546) ว่า การศึกษา คือการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คาว่า “ศึกษา” เป็นคาท่ีมาจากภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นภาษาบาลี คือคาว่า “สิกขา” ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา การศึกษาเป็นการปฏิบัติไม่ใช่เลา่ เรียน แต่คือการเรียนรู้ เข้าใจ และทาได้ ทาเป็น หรือเรียนรู้ ฝึก ทา ใหไ้ ด้ผล จงึ จะเรยี กว่าการศกึ ษา การศึกษา จึงหมายถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เจตคติที่ดี มีคุณค่า เป็นการ สืบสานทางวัฒนธรรม เพื่อให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ส่งเสริมและพัฒนาให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทง้ั รา่ งกาย อารมณ์ สงั คม และสติปญั ญา สามารถดารงชวี ิตอย่ใู นสงั คมได้อยา่ งมีความสุข
3 1.2 ความสาคญั ของการศึกษา การศึกษามีความสาคัญต่อมนุษย์ ดังคากล่าวที่ว่า การศึกษาคือชีวิต และชีวิตคือการศึกษา คากลา่ วเช่นนย้ี ังคงเปน็ ความจริงอยู่ตลอดไป โดยการศึกษามีความสาคญั ต่อบุคคล สังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองของประเทศ สรุปพอสังเขปได้ดังนี้ 1. ความสาคัญของการศกึ ษาทีม่ ีตอ่ บุคคล การศึกษามีความสาคัญต่อชีวิตมนุษย์ เน่ืองจากช่วย พัฒนาคนใหม้ ีความร้คู วามสามารถ เสรมิ สร้างสติปัญญา มที ักษะพ้ืนฐานท่ีจาเปน็ พรอ้ มท่ีจะประกอบการ งานอาชีพได้ มีลักษณะนสิ ัยและจติ ใจทดี่ ีงาม และเปน็ พลเมืองทม่ี ีประสทิ ธิภาพของประเทศชาติ ซ่ึงจะส่งผล ต่อการพัฒนาประเทศ การศึกษาจึงเป็นความจาเป็นของชีวิตอีกประการหน่ึงนอกเหนือจากความจาเป็นใน ปัจจยั 4 ท่ีจะชว่ ยแก้ปัญหาทุก ๆ ดา้ นของชวี ติ และเปน็ ปจั จัยทสี่ าคัญท่ีสุดของชีวิต 2. ความสาคญั ของการศึกษาทม่ี ตี อ่ สังคม การศึกษาเป็นระบบของสังคม และเป็นไปตาม จดุ มุ่งหมายทสี่ ังคมวางไว้ รวมถึงการมีบทบาทตามที่สงั คมปรารถนา การศึกษาเปน็ ปัจจยั สาคญั ท่ีทาให้เกิด การเปลยี่ นแปลงทางสังคม ในขณะเดยี วกัน การเปล่ียนแปลงทางสังคมก็มอี ิทธพิ ลตอ่ การกาหนดรูปแบบหรือ ระบบการศึกษาในสังคมได้เช่นเดียวกัน การศึกษามีบทบาทหรือมีอิทธิพลอย่างสาคัญต่อการเปล่ียนแปลง ทางสังคม ทาให้สมาชิกในสังคมมีความฉลาดรอบรู้ โดยมผี ลมาจากการสืบทอดวัฒนธรรมของตนและเรยี นรู้ วฒั นธรรมสังคมอ่ืน ๆ ทาให้คนในสังคมมีการประดิษฐ์คดิ คน้ แสวงหาส่ิงใหม่ ๆ มาสนองตอบความตอ้ งการ ของตนเองและสังคม ทาให้มนุษย์รูจ้ กั ปรับปรุงชีวิตความเปน็ อยใู่ ห้สะดวกสบายมากย่งิ ขึ้น 3. ความสาคัญของการศึกษาท่มี ีตอ่ เศรษฐกิจ การจัดการศึกษาเปน็ การพัฒนาทุนมนุษย์และทุน ทางสังคมท่ีเป็นปัจจัยสาคัญท่ีสุดในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ เน่ืองจากการศึกษาเป็นการพัฒนา ทรพั ยากรมนุษยใ์ ห้เป็นทรัพยากรท่ีมีคุณคา่ เปน็ การสะสมทุนมนษุ ย์ (Human Capital) ซง่ึ จะมผี ลต่อการ พัฒนาและสะสมทุนทางสังคม (Social Capital) ระบบการศึกษาเปรียบเสมือนโรงงานท่ีแปลงหรือผลิต แรงงานให้เป็นทรัพยากรท่ีมีคุณค่า แรงงานเป็นส่วนหน่ึงของปัจจัยการผลิตท่ีใช้ร่วมกับทรัพยากรอ่ืน การศกึ ษาจงึ มผี ลโดยตรงต่อการเจริญเตบิ โตของระบบเศรษฐกจิ 4. ความสาคัญของการศึกษาที่มีต่อการเมือง การศึกษาคือปัจจัยการพัฒนาการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สาคัญท่ีสุดของการพัฒนาคณุ ภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ อนั เป็นเป้าหมายของการพัฒนาทุก ๆ ด้าน หน้าที่ทางการเมืองของการศึกษา เพ่ือปลูกฝังความเช่ือ คุณค่า และทัศนคติที่สอดคลอ้ งกับสภาพการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากน้ี การศึกษายังช่วยพัฒนา ผู้นาทางการเมืองโดยผ่านระบบของการให้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และช่วยเตรียมให้ประชาชนเป็น พลเมอื งทม่ี คี ณุ ภาพ มีความรู้ มีระเบียบวนิ ัย มีความซ่อื สตั ย์สจุ ริต และมคี วามจงรักภกั ดตี ่อชาติ
4 จากบทบาทของการศึกษาที่กล่าวข้างต้นชี้ให้เหน็ ถึงความสาคัญของการศึกษาท่ีมีตอ่ การพัฒนา ท้ังบคุ คล สังคม เศรษฐกิจ การเมือง อันส่งผลถงึ การพัฒนาประเทศชาติ ดังนั้นจึงมีความจาเป็นที่จะต้อง ให้ความสาคัญในการดาเนินการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรของชาติอย่างหลากหลายผ่านกลไกต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพ 1.3 รูปแบบการศึกษาไทย ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามท่ีกาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิม่ เตมิ (ฉบบั ท่ี 2) 2545 มีการจัดระบบการศกึ ษาขัน้ ประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชน้ั ) การศึกษาขั้น มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือ ระบบ 6-3-3 นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษา นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับน้ี จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่า การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นเพียงวิธีการเรียนการสอนหรือ รูปแบบของการเรียนการสอนท่ีภาษาอังกฤษใช้คาว่า \"Modes of learning\" ฉะนั้น แนวทางใหม่คือ สถานศกึ ษาสามารถจดั ไดท้ ง้ั 3 รูปแบบ และใหม้ ีระบบเทยี บโอนการเรียนรู้ท้ัง 3 รปู แบบ โดยพระราชบญั ญัติ การศกึ ษาฯ มาตรา 15 กล่าวว่า การจัดการศกึ ษามสี ามรปู แบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอัธยาศยั โดยมีสาระสาคัญสรุปได้ ดงั นี้ 1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาท่ีกาหนดจุดมงุ่ หมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของ การศึกษา การวัดและการประเมนิ ผล ซง่ึ เป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศกึ ษาท่ีแนน่ อน 2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซ่ึงเป็นเง่ือนไขสาคัญของการสาเร็จ การศกึ ษา โดยเนื้อหาและหลักสตู รจะตอ้ งมีความเหมาะสมสอดคลอ้ งกับสภาพปญั หาและความต้องการของ บุคคลแต่ละกลุ่ม 3) การศึกษาตามอัธยาศัย เปน็ การศึกษาทีใ่ ห้ผูเ้ รยี นได้เรยี นรดู้ ว้ ยตนเองตามความสนใจ ตาม ศกั ยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศกึ ษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดลอ้ ม หรือแหลง่ ความรู้ อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหน่ึงหรือท้ังสามรูปแบบก็ได้ ให้มีการเทียบโอนผล การเรียนท่ีผู้เรยี นสะสมไว้ในระหวา่ งรูปแบบเดียวกนั หรือตา่ งรปู แบบได้ ไมว่ า่ จะเป็นผลการเรียนจาก
5 สถานศกึ ษาเดียวกันหรือไมก่ ็ตาม รวมท้ังจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจาก ประสบการณก์ ารทางานการสอน โดยสง่ เสริมใหส้ ถานศึกษาจัดไดท้ ้งั 3 รปู แบบ การศึกษาในระบบ มี 2 ระดบั คอื การศึกษาขั้นพน้ื ฐาน และการศกึ ษาระดับอดุ มศกึ ษา 1. การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซ่ึงจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดม ศกึ ษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาข้นั พื้นฐาน ให้เป็นไปตามท่กี าหนดในกฎกระทรวง การแบ่ง ระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไปตามที่กาหนดใน กฎกระทรวง การศกึ ษาในระบบทีเ่ ปน็ การศึกษาข้นั พ้นื ฐานแบง่ เปน็ 3 ระดบั ดงั น้ี 1.1 การศึกษากอ่ นระดับประถมศกึ ษา เป็นการจัดการศกึ ษาให้แกเ่ ดก็ ท่ีมอี ายุ 3-6 ปี 1.2 การศึกษาระดับประถมศกึ ษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี และ 1.3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี และ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทสามญั ศึกษา และ ประเภทอาชีวศกึ ษา 2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 2 ระดบั คือ 1) ระดบั ต่ากว่าปริญญา และ 2) ระดับ ปริญญา การใชค้ าว่า \"อดุ มศึกษา\" แทนคาวา่ \"การศกึ ษาระดับมหาวิทยาลัย\" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาใน ระดับประกาศนยี บตั รหรืออนุปริญญาท่เี รียนภายหลังท่ีจบการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐานแลว้ ทั้งน้ีการศึกษาภาคบังคับจานวน 9 ปี โดยให้เดก็ ซึ่งมีอายุย่างเข้าปที ี่ 7 เขา้ เรียนในสถานศึกษา ข้นั พื้นฐานจนอายุย่างเข้าปที ี่ 16 เวน้ แต่สอบได้ช้ันปีท่ี 9 ของการศึกษาภาคบังคบั หลกั เกณฑ์ และวิธีการนับ อายุให้เป็นไปตามทกี่ าหนดในกฎกระทรวง การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ซึ่งการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไม่บังคับให้ ประชาชนต้องเข้าเรียน แตเ่ ปน็ สิทธ์ิของคนไทย ส่วนการศึกษาภาคบงั คับเป็นการบังคบั ให้เขา้ เรียนถอื เป็น หน้าทีข่ องพลเมอื งตามมาตรา 69 ของรฐั ธรรมนญู 1.4 ความสัมพนั ธข์ องการศึกษากบั หลกั สตู ร หลักสูตร ถือเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือสาคัญในการกาหนดแนวทาง การจัดการศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดารงชีวิตอยู่ในสังคม การ จัดการศึกษาท่ีดีจึงควรมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคมของผู้เรียน หลักสูตรจึงจาเป็น ต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับการเปล่ียนแปลงของสังคมในปัจจุบัน และอนาคตอยู่เสมอ กระบวนการพฒั นาหลักสูตรจงึ มคี วามสาคัญอยา่ งยิง่ ต่อการจัดการศกึ ษา และเพอื่ ให้
6 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจาเป็นจะต้องมีหลักสูตรท่ีมีคุณภาพเป็นปัจจัย การดาเนนิ การท่ีสาคัญเชน่ กนั ซ่ึงในเรื่องดงั กล่าวนี้ ไดม้ นี กั วชิ าการไดใ้ ห้ทรรศนะไว้อยา่ งน่าสนใจ ดังนี้ สุนีย์ ภู่พันธ์ (2546: 16) ได้สรุปถึงความสัมพันธ์ของหลักสูตรและการจัดการศึกษาว่า การจัดการ ศึกษาประเภทใดก็ดีจะขาดหลักสูตรมิได้ เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกาหนดไว้ว่าจะให้เด็กได้รับ ประสบการณ์ใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญให้แก่ ผู้เรียน นอกจากนี้หลกั สูตรยงั เป็นเครอื่ งช้ีให้เหน็ โฉมหนา้ ของสงั คมในอนาคตว่าจะเปน็ อย่างไรอีกด้วย วโิ ฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล (2559: 11-12) ได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่สาคัญของหลักสูตรต่อการศึกษา โดย มีสาระสาคัญ ดังน้ี 1. หลักสูตรเป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องช้ีแนวทางปฏิบัติงานของผู้สอน เพราะหลักสูตรได้ กาหนดจดุ ม่งุ หมาย เนอื้ หาสาระ การจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนและการประเมนิ ผลไวเ้ ปน็ แนวทาง 2. หลักสูตรเป็นข้อกาหนดแผนการเรียนการสอนในลักษณะของประเทศ เพ่ือนาไปสู่ความมุ่ง หมายตามแผนการศกึ ษาชาติ 3. หลักสตู รเปน็ เอกสารของทางราชการ เพือ่ ให้บุคลากรท่ีเก่ียวข้องกบั การจัดทาการศึกษาเป็น แนวทางปฏิบัตติ าม 4. หลกั สตู รเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาเพ่อื ควบคุมการเรียนการสอนในสถานศกึ ษาระดับตา่ ง ๆ 5. หลักสูตรเป็นแผนการดาเนินงานของผู้บริหารการศึกษาที่จะอานวยความสะดวกและควบคุมดูแล ตดิ ตามผลให้เปน็ ไปตามนโยบายการจัดการศกึ ษาของรฐั 6. หลักสูตรจะกาหนดแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงาม และพัฒนาการของเด็กตาม จุดมงุ่ หมายของการศกึ ษา 7. หลักสตู รจะกาหนดลักษณะและรปู รา่ งของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นไปในรูปใด และ 8. หลักสูตรจะเป็นสิ่งบ่งชี้ถงึ ความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการพฒั นาคน ดังนัน้ หากประเทศใดมีหลกั สูตรทเี่ หมาะสมย่อมสามารถจัดการศึกษาไดอ้ ย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ อัน จะนามาซง่ึ ความเจรญิ รุง่ เรืองของประเทศ เมื่อพิจารณานิยามหรือความหมาย และบทบาทของการศึกษาและหลักสูตรแล้ว สามารถแสดง ความสัมพันธ์ของหลักสูตรและการศึกษาในลักษณะแผนภาพได้ โดยวงจรของการได้มาซึ่งหลักสูตรอาจ ด้วยการปรับปรุงหรือสร้างขึ้นใหม่ก็ตาม จะได้หลักสูตรที๋ประกอบด้วย 1) จุดมุ่งหมาย 2) เน้ือหาสาระ 3) การนาไปใช้ และ 4) การประเมินผล ซ่ึงอาจกล่าวในภาพกว้างได้ว่า จากการพัฒนาหลักสูตรจะได้องค์ ความรู้และวิธีการที่จะนาไปปฏิบัติจริง หรือท่ีเรียกว่า กระบวนการนาหลักสูตรไปใช้ ซ่ึงจาเป็นต้อง
7 สอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษา จึงทาให้เห็นความสัมพันธ์ท่ีชัดเจนว่า เป้าหมายของการศึกษาเป็น ตวั กาหนดรูปลกั ษณ์ของหลักสูตร ในทางกลบั กันหลักสูตรจะเป็นตัวกาหนดความสาเร็จตามเป้าหมายของ การศึกษาท่ีต้งั ไวด้ งั ภาพท่ี 1.1 ตอ่ ไปน้ี การพฒั นาการศึกษา หลกั สตู ร การพัฒนาหลักสตู ร องค์ความรู้ ข้อมูล วิธกี าร ปอ้ นกลบั สร้าง ปรบั ปรุง หลกั สูตร - จดุ มุ่งหมาย - เน้ือหา - การนาไปใช้ - การประเมนิ ผล กระบวนการใหก้ ารศึกษา การนาหลกั สตู รไปใช้ การประเมนิ ผล ภาพท่ี 1.1 ความสัมพันธ์ของการพัฒนาหลกั สตู รกบั การพฒั นาการศึกษา วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมติ กลุ (2559: 12)
8 อยา่ งไรกต็ าม การศึกษาซึ่งมนี ัยสาคญั เพ่ือการพัฒนาบคุ คล สังคม ประเทศชาติ และโลก ย่อมมี การเปล่ียนแปลง ปรับปรุงไปตามบริบทท่เี ปลยี่ นแปลงไปตลอดเวลา ดังน้ัน หลักสูตรซ่งึ เปรียบได้กับเส้น ทางที่นาไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา จึงจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาไปอย่างต่อเน่ืองด้วยเช่นกัน เพราะ กระบวนการทางการศึกษามีความจาเป็นต้องดาเนินการภายใต้ตัวกลางท่ีสาคัญคือหลักสูตร ซ่ึงเป็น เอกสารท่ีบรรจแุ ผนงาน โครงการ หรือแนวทางทมี่ งุ่ พัฒนาผ้เู รียนทั้งในดา้ นความรู้ ทกั ษะและคณุ ลักษณะ ต่าง ๆ อันเป็นส่ิงที่พึงประสงค์ของสังคม และหากกล่าวว่า เป้าหมายของการศึกษาเป็นตัวกาหนด รปู ลักษณข์ องหลกั สูตร ในทางกลับกันหลักสูตรก็เป็นตัวกาหนดความสาเรจ็ ตามเป้าหมายของการศึกษา ท่ีตง้ั ไว้ด้วย ดงั น้ัน เมื่อการศึกษามีการปรับเปล่ียนไปตามความเหมาะสม หลักสูตรจึงต้องไดร้ ับการพัฒนา เพ่ือให้หลักสูตรไดเ้ ป็นเครอื่ งมือหรือสื่อกลางในการพัฒนาการศึกษาไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ 2. แนวคดิ เกี่ยวกับหลกั สูตร การจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีความรู้ ทักษะและคุณธรรม จริยธรรม สามารถเรียนรู้และเผชิญสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง หลักสูตร เปรยี บเสมือนหวั ใจสาคญั ของการจัดการศึกษาที่จะต้องนาพาผเู้ รียนไปส่จู ุดมงุ่ หมาย ดังน้นั ในการพัฒนา หลกั สูตรผู้พัฒนาจึงจาเป็นต้องมีความรู้พ้ืนฐานเกี่ยวกับหลักสูตร โดยในสว่ นนี้จึงเป็นการนาเสนอประเด็น ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักสูตรในด้านของความหมาย ความสาคัญ องค์ประกอบ และระดับของหลักสูตร สาระสาคญั มีดังน้ี 2.1 ความหมายของหลักสูตร (Curriculum) หลักสูตร ตรงกับคาภาษาอังกฤษว่า “Curriculum” มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า \"Currere\" หรือ \"Racecourse\" มีความหมายถึงช่องทางสาหรับว่ิง ดังวลีภาษาอังกฤษท่ีว่า \"running sequence of course or learning experience\" ซ่ึงเป็นการเปรียบเทียบหลักสูตรกับสนามหรือช่องทางท่ีใช้ว่ิงแข่ง ที่ผู้เรียนจะสาเร็จการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือจบหลักสูตรใด ๆ ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และ ฟันฝ่าความยากของวิชาหรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตรตามลาดับ เช่นเดียวกับ นักว่ิงท่ีต้องวิ่งแข่งและฟันฝ่าอุปสรรคเพ่ือชัยชนะและความสาเร็จ นอกจากความหมายดังกล่าวน้ีแล้ว มีนักพัฒนาหลักสูตรอีกหลายท่านได้ให้คานิยามหรือความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย ดงั ต่อไปนี้ ทาบา (Taba, 1962: 10) ได้กล่าวไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย จุดประสงค์และ จุดหมายเฉพาะ การเลือกและการจัดเนื้อหา วิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล เพ่ือการ
9 จัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นวิธีการเตรียมพร้อมเยาวชนเพ่ือให้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกที่สามารถสร้าง ผลผลิตให้แกส่ งั คมได้ กู๊ด (Good, 1973: 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังน้ี คอื 1. หลักสูตร หมายถึง เน้ือหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้สามารถประสบ ความสาเรจ็ หรอื รับประกาศนยี บัตรในสาขาวชิ าหนงึ่ 2. หลักสูตร หมายถงึ โครงสร้างทัว่ ไปของเนื้อหาหรือสิง่ เฉพาะทจ่ี ะตอ้ งสอน ซึง่ โรงเรยี นจัดให้แก่ ผเู้ รยี นเพื่อให้สาเรจ็ การศกึ ษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในสายอาชีพต่อไป 3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ เรยี นภายใต้การแนะนาของโรงเรียนหรอื สถานศึกษา ออนสเตน (Ornstein, 2013) กล่าวถึงคาจากัดความของคาวา่ หลักสตู รไว้วา่ หมายถึง ลักษณะของ แบบแผนท่ีนามาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นประสบการณ์ของผู้เรียน ซ่ึงหมาย รวมถึงส่ิงท่ีอยู่ภายในและภายนอกโรงเรียน สามารถเป็นส่วนหน่งึ ของหลักสูตรไดท้ ั้งหมด รวมท้ังระบบที่ เกี่ยวข้องกบั บุคคลในโรงเรียน นอกจากน้ีหลักสตู รยังเปน็ วชิ าทแี่ บง่ ตามเน้ือหาสาระหรือองค์ความรหู้ ลัก ของวิชานัน้ ๆ ด้วย เซเลอร์และโอลิวา (Saylor & Oliva, 2013) ได้ให้คาจากัดความของหลักสูตรว่า หมายถึง สิ่งที่ จะสอนในโรงเรยี น เป็นองค์ความรู้หลักหรือโปรแกรมการเรียนรู้ และเป็นทุก ๆ ประสบการณ์ท้ังในและ นอกโรงเรียน โดยการให้ความหมายหลกั สตู รขึน้ อยู่กบั ลักษณะความเช่ือหรือปรชั ญาการจัดการศึกษาของ แต่ละบุคคล โดยอาจมคี วามหมายทีแ่ ตกตา่ งกนั ดังตอ่ ไปน้ี 1. หลักสูตร คือ ส่ิงที่สอนในสถานศึกษา 2. หลักสตู ร คือ เนอ้ื หาวิชา 3. หลกั สูตร คือ โปรแกรมสาหรบั การเรียนรู้ 4. หลักสตู ร คอื กลุ่มของวสั ดุอุปกรณ์ 5. หลกั สตู ร คือ กล่มุ วิชา 6. หลกั สตู ร คอื ลาดบั ของรายวิชา 7. หลกั สตู ร คือ กลมุ่ การปฏิบตั ิตามวัตถุประสงค์ 8. หลกั สตู ร คือ รายวิชาทจี่ ะศกึ ษา 9. หลกั สตู ร คอื ทุกสงิ่ ทกุ อยา่ งทีด่ าเนนิ การภายในสถานศึกษา กิจกรรมนอกช้นั เรยี น การแนะแนว รวมทง้ั บคุ คลที่เกี่ยวขอ้ ง 10. หลกั สูตร คอื สง่ิ ท่ีสอนทง้ั ในและนอกสถานศึกษา โดยการดแู ลจากสถานศึกษา
10 11. หลกั สูตร คอื ทุกสง่ิ ท่ีไดว้ างแผนจากบุคลากรในสถานศกึ ษา 12. หลักสูตร คอื ลาดับขัน้ ตอนของประสบการณท์ ส่ี ถานศกึ ษาจัดให้กบั ผูเ้ รยี น 13. หลักสูตร คือ ผลของประสบการณ์ท่ีผเู้ รียนแต่ละคนได้รับมาจากสถานศึกษา มอร์ (Moore, 2015) กล่าวถึง ความหมายของหลักสูตรว่า หมายถึง ผลิตภณั ฑ์ท่ีประกอบด้วยองค์ ความรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ โดยหลักสตู รมักจะเปน็ กระบวนการท่ีเกิดข้นึ เฉพาะภายในหอ้ งเรยี น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554 (ราชบัณฑิตสถาน, 2556) ได้นิยาม ความหมายของหลักสูตรว่า หมายถึง ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีกาหนดไว้ในการศึกษาเพ่ือ วัตถปุ ระสงคอ์ ยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 6) ได้ให้แนวคิดเก่ียวกับความหมายของหลักสูตรไว้ว่า มีท้ังความหมายแคบ และความหมายกว้าง ความหมายแคบ หลักสตู รจะหมายถึงวิชาที่ใช้สอนเพ่อื ให้เกิดการเรียนรู้กบั ผู้เรียน ส่วนความหมายกว้างจะหมายถึง มวลประสบการณ์ท้ังหลายท่ีจัดให้กับผู้เรียนทั้งภายในและภายนอก สถานศึกษา ท้ังทางตรงและทางอ้อม การจัดประสบการณ์การเรียนต้องมีความหลากหลายสอดคล้องกับ สงั คมของการเรียนรู้ สุเทพ อ่วมเจริญ (2556: 4) กลา่ วว่าหลักสูตร หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้ เพ่ือนาไปกาหนดวิถที าง ทีน่ าไปสกู่ ารจดั ประสบการณใ์ หก้ ับผู้เรียนเพอื่ การเรียนรู้ ซงึ่ จัดกลมุ่ ไดเ้ ป็น 5 กลุ่มดังนี้ 1. หลกั สตู รเปน็ ผลผลติ ในรปู แบบ เอกสาร ส่ืออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ หรือมลั ตมิ ีเดยี เป็นตน้ 2. หลกั สูตรเปน็ โปรแกรมการศึกษา โดยปกติเขยี นในรปู แบบหลกั สูตรรายวิชา การจัด ลาดบั ของมาตรฐานในการเรยี นรู้ตามหลกั สูตร 3. หลกั สตู รเปน็ ความตงั้ ใจเพ่อื การเรียนรู้ จะบอกจุดหมาย เนอ้ื หาสาระ มโนทัศน์ หลักการทั่วไป และผลการเรียนรู้ 4. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน มีกิจกรรม ทง้ั ทมี ีการวางแผนและไม่ได้วางแผนไว้ 5. หลกั สูตรแฝง ไม่ไดเ้ ป็นหลักสูตรโดยตรง แตจ่ ะเป็นสง่ิ ใดหรืออะไรก็ตาม ทีผ่ ู้เรียนเรยี นรู้ทไี่ มไ่ ด้ วางแผนไว้ หรอื ถึงแมจ้ ะไม่ไดเ้ ปน็ ความคาดหวังไว้ แต่สามารถเปน็ ไปได้ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2560: 3) ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หมายถึง มวลประสบการณ์ ท้ังหลายซึ่งเป็นแนวทางสาหรับจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ท่ีโรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาให้มี คณุ ลักษณะตามที่สังคมคาดหมายไว้ สิทธพิ ล อาจอินทร์ (2563: 5-6) ไดส้ รปุ ความหมายของหลักสูตร โดยมสี าระดงั น้ี 1. หลักสูตร คือรายวิชาหรือเนื้อหาสาระท่ีจัดให้กับผู้เรียน หมายถึง รายวิชาหรือเน้ือหาสาระท่ี กาหนดไว้ให้ผู้เรียนต้องเรียนในหลักสูตรใดหลักสูตรหน่ึง เช่น หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
11 พุทธศักราช 2551 ได้กาหนดรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5) สุขศึกษาและ พลศึกษา 6) ศิลปะ 7) การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ 8) ภาษาตา่ งประเทศ เป็นตน้ 2. หลักสตู ร คือ แผนการจัดการเรียนรู้ทีจ่ ัดให้กบั ผเู้ รยี น หมายถึง แผนสาหรับนาไปใช้ในการจัด การศึกษา ซึ่งประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหลกั สูตร เนอ้ื หาสาระ แนวการจัดการเรยี นการสอน และการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้เพอื่ เป็นแนวทางให้ผทู้ ่ีเกย่ี วข้องในการจดั การศึกษาไดป้ ฏบิ ัตหิ รอื นาไปใชใ้ น การจัดการศึกษา เพอื่ ใหผ้ ู้เรียนบรรลตุ ามจดุ มุ่งหมายของหลักสตู รท่ีกาหนดไว้ 3. หลักสูตร คือกิจกรรมทางการศึกษาท่ีจัดให้กับผู้เรียน หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ท่ีจัดให้กับ ผูเ้ รียนทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น กิจกรรมการเรยี นการสอน กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมกีฬา กิจกรรม การแข่งขันทางวิชาการ กิจกรรมการไปทัศนศึกษา กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บาเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร ชุมนุม ชมรม กิจกรรมเพ่ือสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นต้น เพ่ือให้ผู้เรียนได้มี พฒั นาการบรรลตุ ามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กาหนดไว้ 4. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ท้ังปวงที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียน หลักสูตรในความหมายนี้ ไดม้ าจากแนวคิดที่ว่าการจัดการเรียนรทู้ เ่ี น้นเนอ้ื หาวชิ าในตาราเรียนอย่างเดยี ว ส่งผลใหก้ ารจัดการ ศกึ ษา ไม่ประสบความสาเร็จ ดังน้ัน จึงมีแนวคิดว่าหลักสูตรควรประกอบด้วยประสบการณ์ทั้งปวงท่ีโรงเรียนจัด ให้กับผู้เรียน เป็นประสบการณ์ท่ีนักเรียนได้รับทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การจัดกิจกรรมควรจัดให้ สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสตปิ ญั ญาอนั จะสง่ ผลให้บรรลตุ ามจุดมุ่งหมายของหลกั สูตรท่ีกาหนดไว้ จากนิยามหรอื ความหมายของหลักสูตรจากข้อความท่ไี ดก้ ลา่ วมาข้างต้น สามารถสรปุ ความหมาย ของหลกั สตู รได้ ดังน้ี 1. หลกั สูตร หมายถึง รายวชิ าหรอื เน้ือหาสาระที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซ่ึงผู้เรียนจะตอ้ ง ได้รับประสบการณ์นั้นเพื่อการพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์เพ่ือการดารง ชีวิตได้ อยา่ งมีคุณภาพ 2. หลักสูตร หมายถึง มวลประสบการณ์ท่โี รงเรียนจัดใหแ้ กผ่ ูเ้ รียน เป็นประสบการณ์ทุก ชนิดของ ผู้เรียนที่โรงเรียนรับผิดชอบดาเนินการจัดให้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน รวมทั้งรายวิชาที่เปิดสอน เอกสารหลกั สูตร กระบวนการเรียนการสอน รวมทั้งปฏสิ ัมพันธอ์ ันก่อใหเ้ กิดประสบการณ์การเรียนรู้ของ ผเู้ รยี นแตล่ ะคน
12 3. หลักสูตร หมายถงึ กิจกรรมการเรียนการสอน ซ่ึงเป็นกิจกรรมการเรยี นการสอนต่าง ๆ ที่ได้ เตรียมการไว้ และจัดให้แก่ผู้เรียนโดยโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน ซ่ึงเป็นกิจกรรมท่ีสอดคล้องกับ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน 4. หลักสูตร หมายถึง สิ่งท่ีสังคมคาดหมายหรือมุ่งหวังจะให้เด็กได้รับ เป็นชุดของการเรียนและ ประสบการณ์สาหรับผเู้ รียนที่วางแผนไว้ลว่ งหน้าโดยโรงเรยี น เพอื่ ให้ผเู้ รียนบรรลุจดุ มุ่งหมายของการศึกษา 5. หลักสูตร หมายถึง สื่อกลางหรือวิถีทางที่จะนาผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลายทาง เป็นแนวทาง วิธีการเตรยี มผู้เรียนให้มีสว่ นรว่ มในฐานะทเี่ ป็นสมาชกิ ที่สามารถสรา้ งผลผลิตให้แกส่ ังคม 6. หลกั สูตร หมายถึง กระบวนการปฏิสมั พันธ์ระหวา่ งผูเ้ รียนกบั ครูและส่งิ แวดล้อมทางการเรยี น หรือเป็นกระบวนการปฏิสัมพนั ธ์ระหว่างผเู้ รียนกับครแู ละเนื้อหาสาระในส่วนทเี่ ป็นงานทางการศึกษา ซ่ึง ประกอบด้วย ความรู้ ทักษะ และค่านิยมหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพ่ือพัฒนาผู้เรียนไปสู่จุดหมาย ปลายทางของการจัดการศึกษาทีไ่ ด้กาหนดไว้ 2.2 ความสาคัญของหลักสตู ร หลักสูตรมีความสาคัญอย่างไรตอ่ การจัดการศึกษา สาหรับในเร่ืองดงั กล่าวน้ี นักการศกึ ษาหลาย ท่านได้แสดงทัศนะหรือความคิดเห็นที่ตรงกันว่าหลักสูตรมีความสาคัญต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นอยา่ งมาก ซ่ึงมสี าระสาคญั ตามรายละเอียด ดงั น้ี วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 4) ได้กล่าวถึงความสาคัญของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรมีความสาคัญและ จาเป็นสาหรับการจัดการศึกษาของประเทศไทยในระดับและประเภทการศึกษาต่าง ๆ ตั้งแต่การจัด การศึกษาผู้เรียนก่อนวยั เรยี น การประถมศกึ ษา การมัธยมศกึ ษา การศึกษานอกระบบ การศกึ ษาประเภท อาชวี ศึกษา และการอุดมศกึ ษา รวมทัง้ การฝึกอบรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซ่ึงหลกั สูตรเป็นเครื่องมือ ท่ีทาให้ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของประเทศมีประสิทธิภาพ โดยความสาคัญของหลักสูตร สรุปได้ดงั นี้ 1. หลักสูตรเป็นแผนและแนวทางในการจัดการศึกษาของชาติให้บรรลุตามความมุ่งหมายและ นโยบาย 2. หลักสูตรเป็นหลักและเป็นแนวทางในการวางแผนวิชาการ การจัดการ การบริหารการศึกษา การ สรรหา และการพัฒนาบุคลากร การจัดวัสดุ อุปกรณ์ เคร่ืองมือ นวัตกรรมการเรียนการสอน งบประมาณ อาคารสถานท่ี ซงึ่ จาเปน็ ตอ้ งได้รับการพิจารณาใหเ้ หมาะสมและสอดคล้องกับความคาดหวงั ของหลักสตู ร 3. หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการควบคุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน ใหเ้ ปน็ ไปตามนโยบายและแผนการศึกษาชาติ และสอดคล้องกบั ความต้องการของแต่ละท้องถ่นิ
13 4. ระบบหลักสูตรจะกาหนดความมุ่งหมาย ขอบข่ายเน้ือหาสาระ แนวทางการจัดประสบการณ์ การเรียนการสอน แหล่งทรพั ยากร และการประเมินผลสาหรับการจดั การศกึ ษาของผสู้ อนและผบู้ ริหาร 5. หลักสูตรจะเป็นเคร่ืองบ่งช้ีทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับ แนวโน้มการพัฒนาสงั คมของประเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช (2555) กล่าวว่า หลกั สูตรมีความสาคญั ตอ่ ปจั จัยด้านตา่ ง ๆ ดังนี้ 1. การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาวะการเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ระบบการค้า ในระดับโลกหรือภูมิภาคที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศมีหลายประการมากขึ้น ประกอบกับใน ปจั จุบันอาชีพเกดิ ใหมม่ ีมากข้ึน ดังน้นั หลักสูตรทพี่ ัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการเปล่ียนแปลงของเศรษฐกิจและ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างอาชีพได้ดว้ ยตนเอง จึงสามารถทาให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถพัฒนา ต่อไปไดเ้ ปน็ อยา่ งดี 2. การพฒั นาการเมอื งการปกครอง การปลกู ฝงั แนวความคดิ ที่ช่วยส่งเสริมความเป็นประชาธปิ ไตย อย่างถกู ตอ้ งโดยผ่านหลักสูตรสู่การเรียนการสอนจงึ เป็นสิ่งสาคัญ ซ่ึงจะช่วยแก้ปัญหาในเร่ืองการซ้ือสิทธิ์ ขายเสยี งในการเลอื กผู้แทนแต่ละคร้ังทยี่ งั คงมีมากอยู่ใหห้ มดไปจากสังคม 3. การพัฒนาสังคม สังคมคาดหวังท่ีจะให้การศึกษาช่วยปลูกฝังและถ่ายทอดวัฒนธรรมท่ีดีงามของ สังคมสืบต่อไป ในขณะท่ีปัจจุบันการไหลบ่าทางวัฒนธรรมจากต่างประเทศกาลังเข้ามาและรวดเร็ว ก่อให้เกิด ปัญหาสังคม นอกจากน้ียังมีปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ ท่ีเป็นมีความแตกต่างของสังคม เมืองกับสังคมชนบท สภาพปัญหาต่าง ๆ เหล่าน้ี การศึกษาและหลักสูตรท่ีพัฒนาใหม่จะช่วยลดปัญหาโดยการ ปลูกฝังค่านิยมที่ดใี ห้กบั เยาวชนและพฒั นาสังคมให้ดขี ึ้น 4. การพัฒนาด้านวิชาการ ความรู้วิทยาการต่าง ๆ มีเพิ่มข้ึนรวดเร็วมาก โดยเฉพาะความรู้ ความกา้ วหน้าดา้ นวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทีม่ ผี ลกระทบต่อการเปลย่ี นแปลง ของสังคมอย่างรวดเร็ว การพัฒนาหลักสูตรเพ่ือเตรียมผู้เรยี นให้พร้อมรับวิทยาการใหม่ ๆ เพ่ือให้ทันกับ ความกา้ วหนา้ ทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากความรู้และเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อยา่ งเต็ม ศกั ยภาพ 5. การแก้ปัญหาสง่ิ แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินขีดจากัด มีผลต่ออนาคตของคนรุ่นต่อไป ทาให้ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ ปัญหามลพิษทั้งทางน้า ทางบก และทางอากาศมีมากขนึ้ หลักสูตรจะช่วยลดปญั หาด้านน้ีลงได้ โดยนาหลักสูตรที่พฒั นาขนึ้ เพอื่ สนับสนุน การแก้ปัญหาส่ิงแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินาสู่การจัดการเรียนการสอนผ่านการให้ความรู้และ สรา้ งความตระหนกั ใหก้ บั ผูเ้ รยี นได้รับรู้ ป้องกนั และเปน็ ส่วนหนึง่ ในการแก้ปัญหาเหลา่ น้ี
14 จากความสาคัญของหลักสูตรข้างต้น ทาให้กล่าวได้ว่า หลักสูตรมีความสาคัญและมคี วามจาเป็น อย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษาหรือการจัดการเรียนการสอน เพราะหลกั สูตรเป็นแม่บทที่จะบ่งชีใ้ ห้ ทราบว่าผู้เรียนจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างไร เป็นกรอบแนวทางในการกาหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรม การเรียนการสอน และเคร่ืองมือวัดผลประเมินผลการเรียนของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมาย ตามแผนการศกึ ษาแห่งชาติ และความตอ้ งการของสังคม รวมไปถึงหลักสูตรยังเปน็ ปัจจัยสาคัญในการสง่ เสริม การพัฒนาเศรษฐกจิ การเมอื ง สงั คม วิชาการ และการแกป้ ญั หาสง่ิ แวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ เพื่อ พฒั นาสงั คมและประเทศชาตใิ หเ้ จริญกา้ วหนา้ ตอ่ ไป 2.3 องค์ประกอบของหลักสูตร (Curriculum Component) หลกั สูตรที่สมบูรณ์ต้องมอี งคป์ ระกอบที่จาเป็นอยา่ งครบถ้วน ผู้สอนจึงจะสามารถนาไปใช้ในการ จดั การเรียนการสอนไดอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเรื่ององค์ประกอบของหลักสูตรน้ี ได้มีนักการศึกษาให้ ขอ้ เสนอแนะทีเ่ ป็นสาระสาคญั ไว้ดังน้ี ไทเลอร์ (Tyler, 1971: 1) ได้ต้ังคาถามซ่ึงนาไปสู่ข้อสรุปเพื่อเป็นองค์ประกอบสาคัญของหลักสูตรไว้ 4 ประการ คือ 1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Educational purpose) ส่ิงที่โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียน บรรลุผลคืออะไร 2. ประสบการณ์ทางการศึกษา (Educational experience) ท่ีโรงเรียนจะจัดให้กับผู้เรียน ประสบการณ์อะไรบา้ งทจี่ ะทาใหผ้ ู้เรยี นบรรลผุ ลตามจดุ มุ่งหมายที่กาหนดไว้ 3. วิธีการจัดประสบการณ์ (Organizational of educational experience) โรงเรียนจะจัด ประสบการณใ์ ห้มีประสทิ ธภิ าพได้อย่างไร 4. วิธีการประเมิน (Determination of what to evaluate) เพื่อตรวจสอบการดาเนินการ ตามจุดมงุ่ หมายทก่ี าหนดไว้ และจะทราบไดอ้ ยา่ งไรวา่ ผู้เรียนบรรลจุ ดุ มงุ่ หมายนนั้ ๆ แลว้ ดังน้ัน องค์ประกอบสาคัญของหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์ (Tyler) จึงประกอบด้วย จดุ ม่งุ หมาย ประสบการณ์ วิธีการจดั ประสบการณ์ และ การประเมนิ ผลทางการศกึ ษา ทาบา (Taba, 1962: 422-423) ได้นาเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรที่สาคัญไว้ 4 ประการ ได้แก่ จุดประสงค์ เน้ือหาวิธีสอนและการดาเนินการ และการประเมินผล ซ่ึงแต่ละองค์ประกอบสามารถ สรปุ เปน็ สาระสาคัญได้ ดังน้ี 1. จุดประสงค์ (Objectives) เป็นองค์ประกอบที่มีความสาคัญมาก เนื่องจากจุดประสงค์จะ เป็นแนวทางของการเรยี นการสอน ทาให้ผูส้ อนร้วู า่ มีจดุ ประสงค์อะไรบ้างในการสอน ตอ้ งสอนเนื้อหาอะไร
15 สอนใคร สอนทาไม และจะมีวิธกี ารสอนและประเมินผลอย่างไร 2. เนื้อหา (Subject matter) หมายถึง สาระของความรู้และประสบการณ์ในการแสวงหา ความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาน้ัน ๆ เน้ือหาวิชาจะเป็นรายละเอียดของสาระความรู้และประสบการณ์ ดังกลา่ วท่ีนามาถา่ ยทอดใหก้ ับผูเ้ รยี นให้มคี ุณลกั ษณะตามจุดประสงค์ท่ีกาหนดไวใ้ นหลกั สูตร 3. วิธีสอนและการดาเนินการ (Methods and organization) เป็นการแปลงจุดประสงค์และ เนอื้ หาของหลกั สูตรไปสกู่ ารสอนตามทีห่ ลักสตู รกาหนดไว้ โดยใช้วธิ สี อนแบบตา่ ง ๆ ทีห่ ลากหลาย เพ่อื ให้ ผ้เู รียนมีผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนและคณุ ลกั ษณะตามจดุ ประสงคข์ องหลกั สูตร 4. การประเมินผลหลกั สูตร (Evaluation) เปน็ การประเมนิ เพอื่ ปรบั ปรงุ การเรยี นการสอน โดย ประเมินว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติ หรือคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรหรือไม่ โดยใช้ จุดประสงค์เปน็ แนวทางหรอื เป็นเกณฑ์ในการประเมิน จากองค์ประกอบขา้ งตน้ สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ ดงั ภาพที่ 1.2 วัตถปุ ระสงค์ เนื้อหาวชิ า กจิ กรรม ประเมินผล ภาพท่ี 1.2 องคป์ ระกอบหลักสูตร (Taba, 1962: 423) โบแชมพ์ (Beaucham, 1968: 108) ได้กล่าวถงึ องค์ประกอบของหลกั สตู รในเชิงระบบ ไวว้ ่า ประกอบด้วย ส่วนที่ปอ้ นเขา้ (Input) กระบวนการ (Process) และผลลพั ธ์ท่ีได้ (Output) โดยมรี ายละเอยี ด ดังนี้ 1. ส่วนทป่ี อ้ นเข้า (Input) ประกอบดว้ ย เนอื้ หารายวิชาทคี่ รูใช้ในการจัดกิจกรรมการเรยี นการ สอน ผูเ้ รียนซ่งึ มีคุณสมบัติทแี่ ตกตา่ งกัน ชุมชนหรือสังคมที่แวดล้อมสถานศกึ ษา และพ้ืนฐานการศึกษาของ ผู้เรียน 2. กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย ลักษณะและวิธีการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลา และการวดั และประเมินผล
16 3. ผลลัพธท์ ไี่ ด้ (Output) ผู้เรียนท่ีมีความรู้ ทักษะ และเจตคติ พฤติกรรมการแสดงออกอย่างมั่นใจ ตามจุดมุง่ หมายของหลักสตู รนนั้ ๆ สรปุ เป็นแผนภาพไดด้ งั ภาพที่ 1.3 ต่อไปนี้ สว่ นท่ีป้อนเข้า กระบวนการ ผลลพั ธ์ เนื้อหาวชิ า ลักษณะการใช้ ความรู้ ผูเ้ รียน ส่อื /อุปกรณ์ ทักษะ ชุมชน ระยะเวลา เจตคติ พ้ืนฐานการศึกษา การวัดผล ความม่นั ใจ ภาพท่ี 1.3 องค์ประกอบหลกั สตู รเชงิ ระบบ (Beauchamp, 1968) นอกจากน้ี ธารง บวั ศรี (2542: 8-9) ได้สรุปองค์ประกอบสาคัญของหลักสูตรไว้ 9 ประการ ไดแ้ ก่ 1. เป้าประสงค์และนโยบายการศึกษา (Education goals and policies) หมายถึง ส่ิงท่ีรัฐ ต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติในเรื่องท่เี ก่ยี วกบั การศึกษา 2. จุดหมายของหลักสูตร (Curriculum aims) หมายถึง ผลส่วนรวมท่ีต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน หลังจากเรียนจบหลกั สูตรแล้ว 3. รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (Types and structures) หมายถึง ลักษณะและแผนผังที่ แสดงการแจกแจงวชิ าหรือกล่มุ วชิ า หรอื กลุ่มประสบการณ์ 4. จดุ ประสงค์ของวิชา (Subject objectives) หมายถงึ ผลที่ต้องการใหเ้ กิดแก่ผู้เรียน หลังจาก ที่ไดเ้ รยี นวิชานน้ั แลว้ 5. เน้ือหา (Content) หมายถึง ส่ิงที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทักษะและความสามารถท่ี ตอ้ งการใหม้ ี รวมท้งั ประสบการณ์ท่ีต้องการใหผ้ ู้เรียนได้รบั 6. จุดประสงค์ของการเรียนรู้ (Instructional ojectives) หมายถึง ส่ิงท่ีต้องการให้ผู้เรียนได้ เรยี นรู้ ไดม้ ที กั ษะและความสามารถ หลงั จากท่ีได้เรียนรเู้ น้ือหาทกี่ าหนดไว้
17 7. ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน (Instructional strategies) หมายถึง วิธีการจัดการเรียนการ สอนทเ่ี หมาะสมและมีหลักเกณฑ์ เพ่ือใหบ้ รรลุผลตามจุดประสงคข์ องการเรียนรู้ 8. การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การประเมนิ ผลการเรียนรู้เพ่ือใช้ในการปรับปรุงการ เรียนการสอนและหลกั สตู ร 9. วัสดุหลกั สตู รและสือ่ การเรยี นการสอน (Curriculum materials and Instructional media) หมายถึง เอกสารส่ิงพิมพ์ วีดิทัศน์ ภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น ท่ีจะช่วยส่งเสริมคุณภาพและ ประสทิ ธิภาพการเรียนการสอน จากสาระข้างต้นจึงสรุปได้ว่า องค์ประกอบหลักสูตร ประกอบด้วยส่วนประก อบสาคัญ 4 ประการ ดังน้ี 1. จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เป็นการกาหนดแนวทางในการจัดการเรียนการ สอน และคุณลกั ษณะของผเู้ รียนเมื่อสาเรจ็ ตามหลักสูตรแล้ว ผเู้ รยี นจะเปน็ อย่างไร ซ่ึงควรกาหนดให้ครบ ทง้ั 3 ด้านคือ ดา้ นพทุ ธพิ สิ ยั ดา้ นทกั ษะพสิ ยั และด้านจติ พิสยั 2. เนอ้ื หาวิชาหรอื สาระการเรยี นรู้ ซึ่งเปน็ เนื้อหาสาระสาคัญเพ่ือใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ ถูกจัดไวอ้ ย่างเป็นระบบ และเอ้อื ต่อการบรรลจุ ุดมุ่งหมายของหลักสตู ร 3. การนาหลกั สูตรไปใชห้ รือจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน เปน็ หนา้ ที่ของผู้สอนและผู้ที่เกีย่ วข้อง ที่จะตอ้ งจดั ส่วนประกอบตา่ ง ๆ ในการจดั การเรียนการสอนเพ่ือใหห้ ลักสตู รบรรลจุ ุดม่งุ หมาย 4. การประเมินผล เป็นการรวบรวมข้อมูลของสิ่งท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรผ่านการ วิเคราะห์ ประมวลผล และพิจารณาตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณค่า ท่ีจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตาม จดุ ม่งุ หมายทีก่ าหนดไว้ได้หรอื ไม่ 2.4 ระดบั ของหลกั สตู ร หลักสูตรเป็นแนวทางสาคญั ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนใหบ้ รรลุเปา้ หมายตามท่ี กาหนดในแผนการศึกษา หลักสูตรสามารถจาแนกไดห้ ลายระดับ (Level of Curriculum) สรปุ ไดด้ งั นี้ Tyler (1949) นักพฒั นาหลกั สตู รที่สาคญั ไดแ้ บ่งระดบั ของหลักสูตรออกเปน็ 4 ระดบั คอื 1. หลักสูตรระดับสังคม (The society curriculum) เป็นหลักสูตรที่อยู่ไกลตัวผู้เรียน และถูก สรา้ งโดยรฐั นักการเมือง กลมุ่ ผลประโยชน์ ผ้บู รหิ ารระดับต่าง ๆ และผเู้ ชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวชิ า 2. หลักสูตรระดับสถาบัน (The institutional curriculum) เป็นหลักสูตรท่ีใช้ในสถานศึกษาและ ได้รบั แนวทางหรอื โครงสร้างหลักสูตรมาจากหลักสูตรสูตรระดับสังคม ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมโดยนัก การศึกษาและคณะทางานในระดับท้องถนิ่
18 3. หลักสูตรระดับการเรียนการสอน (The instructional curriculum) เป็นหลักสูตรท่ีวางแผน โดยครูและถูกกาหนดขน้ึ เพอื่ ใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอน 4. หลักสูตรระดับประสบการณ์ (The experience curriculum) เปน็ หลักสูตรท่ียอมรับและถูก จัดข้ึนโดยตัวผู้เรียนเอง ท้ังน้ีเพราะว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนั้น หลักสูตรจึง ต้องสอดคลอ้ งกบั ผเู้ รียนแต่ละคน สภาพัฒนาหลักสูตรของฮ่องกง (Curriculum Development Council, 2000: 12 อ้างถึงใน บุญเล้ียง ทุมทอง, 2553: 168-169) ได้กล่าวไว้ในรายงาน Learning to Learn: The Way Forward in Curriculum Development\" ถงึ หลักสูตรว่า ควรมีการพัฒนาจาก 2 ระดับ คือ การพัฒนาจากส่วนกลางและ การพัฒนาโดยโรงเรียน (Central development and school-based development) เนื่องจาก หลักสูตรท่ีพัฒนาจากส่วนกลางไม่สามารถนาไปใช้อย่างเหมาะสมกับนักเรียนทกุ คนได้ จาเป็นทีโ่ รงเรียน ต้องพัฒนาหลักสูตรเองภายใต้กรอบทิศทางกว้าง ๆ ท่ีกาหนดโดยรัฐบาลเก่ียวกับเป้าหมายการศึกษา รัฐบาลมีหน้าท่ีรับผิดชอบในการให้การสนับสนุนโรงเรียนสู่ความเป็นมอื อาชีพ ส่ิงทมี่ ีคุณค่าต่อการพัฒนา ของแต่ละโรงเรียนนาไปสูก่ ารกาหนดนโยบายและขยายไปสู่โรงเรยี นอ่นื ๆ ความสัมพันธร์ ะหวา่ งนโยบาย ส่วนกลางและการพัฒนาทีด่ าเนินการโดยโรงเรียน มีลักษณะเป็นห้นุ ส่วนกันมากกว่าเปน็ ความสัมพันธ์ที่ แยกจากกันในลักษณะการสั่งการจากเบื้องบนสู่ระดับล่าง (Top-down) และจากระดับล่างสู่เบ้ืองบน (Bottom-up) สอดคลอ้ งกับพระราชบัญญัตกิ ารศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 ทีก่ าหนดระดับ ของการพัฒนาหลักสูตรไวอ้ ยา่ งชดั เจนวา่ มีอยู่ 2 ระดบั ในหลักสตู รของการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน ไดแ้ ก่ 1. ระดับชาติ เป็นหลกั สตู รแม่บท /แกนกลางทกี่ าหนดให้คณะกรรมการการศึกษาจากส่วนกลาง เปน็ ผู้ออกแบบ พฒั นาหลกั สตู ร เพ่ือให้สถานศกึ ษาทัว่ ประเทศไดใ้ ช้เพอ่ื เปน็ มาตรฐานเดียวกนั 2. ระดบั โรงเรยี นหรือสถานศกึ ษา เปน็ หลักสูตรทกี่ าหนดให้สถานศึกษาข้ันพน้ื ฐานมีหน้าท่ีจดั ทา สาระของหลกั สูตรท่ีสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางในส่วนที่เก่ียวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิ ปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพ่ือเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ วารรี ัตน์ แก้วอุไร (2549: 93-95) ไดส้ รุปว่า โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตาม แหลง่ การสร้างหลักสูตร คือ 1. หลกั สตู รระดับชาติหรือหลักสตู รแม่บท ซง่ึ เปน็ หลกั สตู รทีจ่ ัดทาข้ึนเพ่ือใช้ในสถานศกึ ษาตา่ ง ๆ ท่วั ประเทศ เพอ่ื ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถท่ีเหมาะสมกับวัย ระดับการศึกษา เป็น หลักสูตรที่มุ่งสร้างความม่ันคงและความเป็นปึกแผ่นร่วมกันของคนในชาติโดยรวม ผู้มีบทบาทในการ
19 จัดทาหลักสูตรระดับน้ีคือหน่วยงานระดับชาติ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทาหลักสูตร หลักสูตร แกนกลาง การศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 ขน้ึ ใชก้ ับโรงเรียนทั่วประเทศ 2. หลักสูตรระดับท้องถ่ิน เป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงมาจากหลักสูตรแม่บทให้มีความสอดคล้องและ เหมาะสมกับสภาพ ความจาเป็น และความต้องการของท้องถ่ินน้ัน ๆ หน่วยงานท่ีมีบทบาทในการพัฒนา หลักสูตรระดับน้ีคือ เขตพ้ืนท่ีการศึกษาและสถานศึกษาต่าง ๆ เช่น หลักสูตรเยาวชนรักท้องถ่ิน หลักสูตร มัคคเุ ทศก์น้อย เป็นตน้ 3. หลักสูตรระดับโรงเรียน เป็นหลักสูตรท่ีนาหลักสูตรแม่บทและหลักสูตรระดับท้องถ่ิน มาพิจารณาเลือกสรรและปรับให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ผู้มีบทบาทในการจัดทา หลักสูตรระดับน้ีคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู หรือผู้เก่ียวข้องในท้องถ่ิน โดยจัดทาข้ึนในรูปของหลักสูตร สถานศกึ ษาและหลักสูตรกลมุ่ สาระการเรียนรู้ตา่ ง ๆ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2560: 9) กล่าวว่า หลักสูตรมีหลายระดับ ซ่ึงอาจสรุปได้ว่า 1) หลักสูตร ระดับชาติ เป็นหลักสูตรที่ใช้เป็นแกนร่วมกันของคนท้ังชาติที่ต้องเรียนเหมือน ๆ กัน 2) หลักสูตรระดับ ทอ้ งถน่ิ เปน็ หลกั สตู รท่จี ดั ทาข้นึ ใหเ้ หมาะสมกับแตล่ ะท้องถ่นิ โดยคนในท้องถ่นิ และหลักสูตรในระดับ สถานศึกษาท่ีสถานศึกษาเป็นผู้พัฒนาขึ้นใช้เองโดยพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรระดับท้องถิ่นและ ระดับชาติ ซ่ึงกวา่ ท่ีหลักสูตรในระดบั ชาติจะถกู ส่งผา่ นไปสู่หลักสตู รระดับสถานศกึ ษานั้นต้องรอ้ ยเรยี งกัน อย่างต่อเน่ืองและสอดคล้องกัน เพื่อหล่อหลอมผู้เรียนให้เรียนรู้ได้บรรลุตามอุดมการณ์ของหลักสูตรท่ี กาหนดไว้ สิทธิพล อาจอินทร์ (2563: 14-16) ได้กล่าวไว้ว่า การจาแนกระดับของหลักสูตร หากพิจารณาในแง่ ของการนาไปปฏบิ ตั ิ สามารถจาแนกระดบั ของหลกั สูตรออกเป็น 4 ระดับ ดังน้ี 1. หลักสูตรระดับชาติ เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้าง ๆ และบรรจุเนอื้ หาสาระที่จาเป็นสาหรับ ทุกคนในประเทศต้องเรียนรู้เหมือนกัน เช่น หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 หลักสูตร การศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช 2544 หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 เปน็ ตน้ 2. หลักสูตรระดับท้องถ่ิน เป็นหลักสูตรที่จัดทาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของคนในชุมชนนั้น ๆ โดยสาระการเรียนรู้จะสอดคล้องและสัมพันธ์กับสภาพท้องถ่ิน เพ่ือให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้และสามารถนาความรูไ้ ปประยกุ ต์ใช้ในการดาเนินชวี ิตจริงได้ เช่น หลักสูตรการปลูกมันสาปะหลัง หลักสูตรการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก หลักสูตรการปลูกยางพารา หลักสูตรการเลี้ยงโคนม หลักสูตรการ เพาะพันธ์สุ ัตว์น้า เป็นต้น 3. หลักสูตรระดบั สถานศึกษา เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดทาข้ึนเพื่อนาไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน โดยยึดตามหลักสูตรระดับชาติและเพมิ่ เติมในส่วนท่ีเป็นสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
20 สังคม และภูมิปัญญาท้องถ่ิน เช่น หลักสูตรโรงเรียนกัลป์ยาณวัตร พุทธศักราช 2552 หลักสูตรโรงเรียน อนุบาลขอนแก่น พทุ ธศกั ราช 2553 หลักสูตรโรงเรยี นบ้านหนองกุงวิทยาคาร พทุ ธศกั ราช 2553 เปน็ ตน้ 4. หลักสูตรระดับชั้นเรียน เป็นหลักสูตรที่สาคัญที่สุด เพราะเป็นหลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึน โดย ครูผู้สอนในแต่ละกลุม่ สาระการเรยี นรหู้ รอื รายวิชา เพื่อนาไปใช้ในการเรยี นการสอนจริงในหอ้ งเรียน โดย นาหลักสูตรระดับชาติ ระดับท้องถ่ิน และระดับสถานศึกษามาพิจารณาปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กาหนดไว้ เช่น หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรกลุ่มสาระ การเรยี นรสู้ งั คมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม เปน็ ตน้ ระดบั ของหลักสูตรทัง้ 4 ระดับ สรปุ ไดด้ งั ภาพที่ 1.4 ระดับชาติ ระดบั ท้องถิ่น ระดบั สถานศึกษา ระดบั ชัน้ เรยี น ภาพที่ 1.4 ระดบั ของหลักสูตร (สทิ ธพิ ล อาจอินทร์, 2563) จากการจาแนกระดับหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจาแนกระดับหลักสูตรขึ้นอยู่กับ โครงสร้างการบริหารการศึกษาของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในบริบทของการจัดการศึกษาของไทย สามารถ จาแนกเปน็ 4 ได้แก่ 1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท ซึ่งเป็นหลักสูตรที่บรรจุโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่ จาเป็นต้องเรียนรู้เหมือนกัน จัดทาขึ้นเพื่อใช้ในสถานศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มี ความรคู้ วามสามารถทเ่ี หมาะสมกบั พฒั นาการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยในแตล่ ะระดบั การศึกษา 2. หลักสูตรระดับท้องถ่ิน เป็นหลักสูตรท่ีปรับปรุงมาจากหลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท เพ่อื ให้เกิดความเหมาะสม โดยสาระการเรยี นรู้จะสอดคล้องและสัมพันธก์ บั สภาพทอ้ งถ่ิน เพื่อใหผ้ ู้เรียนได้
21 เรยี นรแู้ ละสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใชใ้ นการดาเนินชวี ิตจริงไดส้ ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมหรือ ท้องถิ่นนั้น ๆ 3. หลักสูตรระดับสถานศึกษา เป็นหลกั สตู รที่สถานศกึ ษาจดั ทาข้นึ โดยนาหลักสูตรระดับชาตหิ รือ หลักสตู รแมบ่ ทและหลักสูตรระดับท้องถิ่นมาพิจารณาประยุกต์ใช้ใหส้ อดคล้อง เหมาะสมกับสภาพสังคม และท้องถิ่นของสถานศึกษา โดยเพิ่มเติมในส่วนท่เี ป็นสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน สังคม และ ภมู ิปญั ญาท้องถ่นิ 4. หลกั สตู รระดับชั้นเรียนหรอื ระดับรายวชิ า เปน็ หลักสูตรที่มีความสาคัญ เพราะจะบรรจุเน้ือหา สาระท่ีเป็นมวลประสบการณ์ท่ีครูจะนาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เป็น หลกั สูตรทพ่ี ฒั นาขึน้ โดยผ้สู อนในแตล่ ะกลมุ่ สาระการเรยี นรหู้ รอื รายวชิ า 3. หลกั การของหลกั สูตร คาว่า \"หลักการ\" ในบรบิ ทนี้ หมายถึง ข้อเท็จจริง ธรรมชาติ คณุ สมบัติ หรอื ข้อตกลงทั่วไปทีถ่ ือ วา่ เป็นจริงและยอมรับกันทั่วไปในระหว่างนกั พฒั นาหลกั สูตร เช่น ข้อเท็จจรงิ หรือความเช่ือท่ีว่า หลักสูตร เป็นงานกลุ่มทตี่ ้องอาศยั ความร่วมมือจากหลายฝ่าย เปน็ กระบวนการต่อเนอ่ื ง หรือหลักสูตรมลี กั ษณะเป็น พลวัตทตี่ อ้ งมีการปรบั ปรงุ เปลีย่ นแปลงเพอ่ื ให้สอดคล้องกบั ความเปลี่ยนแปลงของสังคม เปน็ ต้น โอลิวา (Oliva, 1982 อ้างถึงใน ทัศนีย์ ชาติไทยและคณะ, 2557: 13-21) ได้ศกึ ษาและรวบรวม หลักการของหลักสูตรไว้ 10 หลกั การ สรปุ ไดด้ งั ต่อไปนี้ หลกั การท่ี 1 การเปลยี่ นแปลงหลกั สตู รเป็นส่ิงที่พึงกระทา การเปล่ียนแปลงหลักสูตรเป็นสิ่งที่จาเป็นและเป็นสิ่งท่ีควรกระทาให้สม่าเสมอตามรอบระ ยะ เวลาท่ีต้องพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร เนื่องจากบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และสังคม มีการพัฒนา เปลีย่ นแปลงไปตามยุคสมยั และกาลเวลา ทั้งน้ีเพ่อื ให้หลักสตู รสามารถตอบสนองและเตรยี มพรอ้ มผเู้ รยี น ให้สามารถปรับตนเองให้เขา้ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและดารงชีวิตไดอ้ ย่างมีคุณภาพ หลักการท่ี 2 หลักสตู รเปน็ ผลิตผลของแต่ละช่วงเวลา ความจริงข้อนี้เก่ียวเนือ่ งกบั ข้อแรก กล่าวคือหลักสูตรของสถานศึกษาไมเ่ พียงเป็นผลสะท้อนของ การเปลี่ยนแปลงของสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นผลิตผลของช่วงเวลานั้นด้วย เพราะหลักสูตรต้องพัฒนาให้ สามารถตอบสนองต่อการเปล่ยี นแปลงของสังคม และมักถกู เปลี่ยนแปลงโดยพลงั ของสังคมน้ัน เช่น เมื่อ ผู้นาทางการศึกษาในช่วงเวลาน้ัน ๆ มีแนวทางในการพัฒนาการศึกษาอย่างไร หลักสูตรก็มักเป็นไปใน แนวทางน้ัน และผลของการคน้ พบนวตั กรรม สิ่งประดษิ ฐ์ใหม่ ๆ ในขณะน้ัน ตา่ งก็มอี ิทธิพลต่อหลักสูตร ดว้ ยกนั ทงั้ ส้นิ
22 หลักการท่ี 3 การเปล่ียนแปลงหลักสูตรที่เกิดขึ้นในช่วงแรกจะมีส่วนหนึ่งท่ีขนานและเกิดขึ้น ร่วมกันกับการเปลย่ี นแปลงหลักสูตรท่ีเกดิ ขน้ึ ในชว่ งตอ่ มา ประเด็นนี้หมายถึง การเปล่ียนแปลงหลักสูตรที่ได้เกิดขึ้นในตอนแรกของช่วงระยะเวลาหนึ่งยัง สามารถดารงอยู่ร่วมกันไดก้ ับการเปลย่ี นแปลงหลักสูตรใหม่ทีเ่ กิดข้ึนในช่วงระยะเวลาต่อมา การปรับปรุง เปล่ียนแปลงหลักสูตรมักจะไมเ่ ป็นการเร่ิมต้นแล้วจบสิน้ ลงทนั ทีทันใด แต่ความเปลยี่ นแปลงนั้น ๆ ตอ้ งใช้ เวลาและมีการดาเนนิ การใช้หลักสูตรเดิมคู่ขนานกัน เช่น การประกาศใช้หลักสูตรฉบับใหม่ ในขณะท่ียัง ต้องคงใช้หลกั สตู รฉบับเดิมทผ่ี า่ นมาตอ่ ไปด้วย จนกว่าผู้เรยี นในหลักสูตรเดมิ นนั้ จะจบการศกึ ษา เปน็ ตน้ หลักการที่ 4 การเปล่ียนแปลงหลักสตู รเป็นผลมาจากการเปล่ียนแปลงในตวั บุคคล หลักการน้ตี ้องการจะชีใ้ หเ้ ห็นวา่ การเปลี่ยนแปลงหลกั สูตรท่ีประสบความสาเรจ็ นน้ั จาเปน็ จะตอ้ ง มีการเปล่ียนแปลงในตัวบุคคลท่ีเกี่ยวข้องด้วย ตัวบุคคลท่ีเก่ียวข้อง ในท่ีนี้หมายรวมถึงต้ังแต่นักพัฒนา หลักสูตร เจ้าหนา้ ท่ดี ้านหลักสตู ร ผบู้ รหิ ารโรงเรียน ครูผู้สอน และบคุ ลากรอน่ื ท่ีเกย่ี วข้อง เปล่ยี นแปลงในรูป ของการให้ความรู้ การฝึกอบรม และการให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้การดาเนิน การพัฒนาหลักสูตรใหม่ และจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดหมายและความต้องการของหลักสูตร ใหมอ่ ย่างแท้จรงิ หลกั การที่ 5 การพฒั นาหลักสตู รเป็นงานกลมุ่ ท่ตี ้องอาศยั ความรว่ มมอื จากหลายฝ่าย การดาเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรมักจะจากัดอยู่ที่การทางานของกลุ่มเล็ก ๆ หรือข้ึนอยู่กับคาส่ัง ของฝ่ายบริหาร ถ้าครูแต่ละคนต่างทางานเฉพาะของตน ก็จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสตู รเฉพาะใน ส่วนท่ีครูทาได้และภายในวงแคบ ๆ ดังน้ัน ถ้าจะให้การเปล่ียนแปลงที่มากขึ้นและมีนัยสาคัญกับความ สาเร็จ จงึ จาเป็นจะต้องใช้กระบวนการทางานแบบกลมุ่ เพอื่ ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันพฒั นาหลักสูตร ภายใต้บทบาทและหน้าทท่ี ี่แตกต่างกนั ในสถานศกึ ษาหรือหนว่ ยงานนน้ั หลกั การที่ 6 การพัฒนาหลักสูตรเปน็ กระบวนการของการตดั สนิ ใจ โดยพืน้ ฐานการพัฒนาหลักสูตรเปน็ เรอื่ งของการตัดสินใจ โดยเฉพาะนักพัฒนาหลกั สูตรที่จะต้อง ทางานกับผู้คนท่ีเก่ียวข้องหลาย ๆ ฝ่าย จะต้องพิจารณาตัดสินใจในทางเลือกท่ีเก่ียวข้อง ในเรื่องต่างๆ ไดแ้ ก่ การตดั สนิ ใจเลือกหรือกาหนดรายวิชาตา่ ง ๆ ท่ีตอ้ งเรียนในหลักสตู ร และพิจารณาวา่ ผู้เรียนควรจะ เรียนวิชาใดบา้ ง ทางเลือกระหว่างทรรศนะที่แตกต่างกัน ในการตัดสินใจว่าจะจัดการจัดการศึกษาใน ลกั ษณะท่ใี ห้ใช้สองภาษาในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่ ทางเลือกท่ีเกี่ยวกับการใหค้ วามสาคัญเป็น พเิ ศษสาหรบั เดก็ ทม่ี ีความถนัดพเิ ศษหรือไม่ ทางเลือกเก่ียวกับวธิ ีการ เช่น วิธีการใดเหมาะสมที่สดุ สาหรับ การสอน ทางเลือกเกีย่ วกับการจดั ระบบห้องเรยี นที่เหมาะทีจ่ ะเปิดโอกาสให้ทุกคนไดเ้ รียนรู้อย่างดี
23 หลักการท่ี 7 การพัฒนาหลักสูตรเปน็ กระบวนการต่อเนือ่ ง ตามหลักการน้ีแสดงวา่ นกั พัฒนาหลกั สตู รและผทู้ ่เี กย่ี วขอ้ งจะทางานเพอื่ พฒั นาการเรยี นการสอน การประเมินผล และการปรบั ปรงุ หลักสูตรอย่างตอ่ เนือ่ ง ซงึ่ เปน็ สงิ่ ท่ีมีความสาคัญ เนื่องจากสงั คมเปลีย่ น แปลงอยูเ่ สมอ จงึ ไมม่ หี ลักสูตรที่สมบรู ณอ์ ยา่ งแท้จริง จาเป็นตอ้ งมกี ารปรับปรงุ หลักสูตรอยู่เสมอ หลกั การท่ี 8 การพฒั นาหลักสูตรจะมีประสิทธิผลมากขน้ึ ถา้ มีการพิจารณากันอยา่ งครอบคลุม ตามหลักการน้ีเป็นการชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่พัฒนาส่ิงที่ไม่ถูกต้องให้ ถูกตอ้ ง เป็นการตัดทอน การเพิ่ม การสอดแทรก และการเสริมเน้ือหาสาระ วิธกี ารท่มี ีคณุ ภาพให้มากข้ึน โดยเน้นทรรศนะท่ีครอบคลุมของผู้รว่ มพัฒนา รวมถึงการคานึงถึงผลของการพฒั นาหลักสูตรทไี่ ม่เพียงแต่ มีต่อผู้เรียนและครูผู้ซึ่งได้รับจากการเปลี่ยนแปลงโดยตรงเท่าน้ัน แต่ยังต้องคานึงถึงผู้ท่ีเกี่ยวข้องอื่น ๆ ดว้ ย ซงึ่ อาจไม่ได้เป็นผ้ทู ่ีไม่ไดม้ ีส่วนไดส้ ่วนเสียในการพฒั นาหลกั สูตรโดยตรง แตจ่ ะได้รบั ผลกระทบไมท่ าง ใดกท็ างหนึ่งจากการเปล่ียนแปลงนั้น ๆ หลักการท่ี 9 การพัฒนาหลักสูตรจะมีประสิทธภิ าพมากขึ้นถ้ามกี ารดาเนินการไปตามกระบวนการท่ีมี ระบบ การพฒั นาหลกั สูตรทเ่ี ป็นระบบจะมปี ระสิทธผิ ลมากกว่าการลองผิดลองถูก การพัฒนาหลกั สูตรท่ี ครอบคลุม จะเป็นการมองภาพรวมของขั้นตอนและกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร มีการนาส่วนต่าง ๆ ที่ เก่ียวข้องท้ังหมดมาพิจารณาและศึกษาความสัมพันธ์ และจากกิจกรรมและขั้นตอนที่มีอยู่ทั้งหมด นักพัฒนาหลักสูตรและผู้ท่ีกี่ยวข้องจะวางแผนและกาหนดวิธีการดาเนินงาน หลังจากน้ันก็จะปฏบิ ัติงาน ตามวิธีการและกิจกรรมทีไ่ ด้กาหนด วิธีการที่ได้กาหนดไว้แล้วอย่างเปน็ ระบบนี้ ควรได้รับความเห็นชอบ และรบั รูจ้ ากทุกฝ่ายทมี่ ีส่วนร่วมในการพฒั นาหลักสูตร หลกั การท่ี 10 การพฒั นาหลกั สูตรจะเรมิ่ จากหลักสูตรเดมิ ท่ีมอี ยู่แลว้ ในขณะนั้น นักพัฒนาหลักสูตรส่วนใหญ่จะเร่ิมงานจากหลักสูตรท่ีมีอยู่แล้วในเวลานั้น โดยตรวจสอบและ ประเมินว่ามีส่วนใดที่เป็นส่วนดีและยังสามารถนาไปใช้ได้ และมีสว่ นใดบ้างท่ีเป็นปัญหา ล้าสมัย และผิด ขอ้ เท็จจรงิ ซึ่งจาเป็นจะตอ้ งแกไ้ ขหรือตัดทิง้ กล่าวอีกนยั หน่ึงก็คอื การพฒั นาหลกั สตู รมักไม่ไดเ้ รม่ิ งานจาก ศนู ย์ โดยยดึ หลักทีว่ ่าสิง่ ใดที่ดแี ละเปน็ ประโยชนอ์ ย่แู ล้วกค็ วรเก็บรกั ษาไว้ และพัฒนาตอ่ ไป หลักการของหลักสูตรท้ัง 10 ประการเป็นหลักของความเป็นจริงท่ีสามารถนามาเป็นแนวทางในการ ดาเนินงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรทีเ่ หมาะสมกบั ผูเ้ รยี นและบริบทของผู้ร่วมงานในการพัฒนาหลักสูตร และทาให้ ได้หลักสูตรทมี่ ีคณุ ภาพสามารถพฒั นาการเรยี นรขู้ องผู้เรยี นได้ตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาได้
24 4. วิวัฒนาการของหลกั สูตร หากพิจารณาหลักสูตรและการศึกษาของไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จะพบว่ามีความเจริญ ก้าวหน้ามาเป็นลาดบั ซึง่ แต่ละยุคสมัยก็มีการพฒั นาและส่งต่อความเจรญิ มาอย่างต่อเนื่อง มีนักวิชาการ หลายท่านได้จาแนกยุคสมัยของวิวัฒนาการของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย โดยในเรื่องดังกล่าวน้ี กนิษณ์ฐา ทองดี (2553) ชัยอนันทร์ นวลสุวรรณ์ (2555) ธนภัทร จันทรเ์ จรญิ (2557) และ สิทธิพล อาจอินทร์ (2563) ได้ให้แนวคิดเก่ียวกับวิวัฒนาการของหลักสูตรไว้อย่างสอดคล้องกัน เป็นไปตามพัฒนาการของ การศึกษาในสังคมไทย โดยสามารถสรุปและจาแนกรายละเอียดของวิวัฒนาการของหลักสูตรไทยเป็น 9 สมัย ดงั น้ี 4.1 หลักสูตรและการศกึ ษาสมัยก่อนกรุงสุโขทัย ยคุ สมัยนจี้ ะตรงกบั สมยั อาณาจักรล้านนาไทย กิจกรรมทางการศึกษาท่ีมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในอาณาจักรล้านนาไทยก็คือกิจกรรมอัน เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา มีหลักฐานมากมายที่ยืนยันและแสดงให้เห็นว่าชาวล้านนาสนใจศึกษาและ ปฏิบัติตามพระธรรมคาสั่งสอนของพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะได้ความรใู้ นด้านพุทธ ธรรมแล้ว ยังก่อให้เกิดความรู้ความสามารถในด้านสถาปัตยกรรม และปฏิมากรรมอันวิจิตร ตลอดจน ศลิ ปะการช่างแขนงตา่ ง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างเงิน ช่างเหล็กรวมอยู่ดว้ ย การเรยี นรเู้ รอ่ื งสกุลชา่ งท้ังหลายจึง มคี วามเจรญิ ก้าวหนา้ เป็นอนั มากในอาณาจักรล้านนาไทย 4.2 หลักสูตรและการศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย คนในสมัยกรุงสุโขทัยถือว่าการครองชีวิตและ การศึกษาเป็นเร่ืองเดียวกนั การศึกษาจงึ มิใช่การเตรียมตัวเพ่ือชีวิต แตก่ ารศึกษาคือชวี ิต (Education is Life) การศึกษาในลักษณะนี้เป็นการศึกษาโดยการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing) และพุทธ ศาสนามีอิทธิพลอย่างสาคัญต่อการดาเนินชีวิตของคนไทยในสมัยน้ี ดังน้ันการจัดการศึกษาจึงแบ่ง ออกเป็น 2 สาย ไดแ้ ก่ 1) สายฆราวาส มคี รอบครัวและวดั เป็นศนู ยก์ ลางการเรยี นรู้ การศึกษาเล่าเรียนจะเน้นดา้ น วชิ าชพี คอื ศกึ ษาและเรียนรู้ในครอบครัวจากพอ่ แมห่ รือเครอื ญาติ และดา้ นความประพฤติ คอื ศึกษาและ ปฏิบัตติ ามหลกั ธรรมของพระพทุ ธองค์ มพี ระสงฆเ์ ป็นผู้อบรมส่งั สอน 2) สายบรรพชิต เป็นการศึกษาของพระสงฆ์ ซึ่งพอสรุปได้ว่าพระสงฆ์ในสมัยกรุงสุโขทัย ให้ความสาคัญและสนใจศึกษาพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง โดยมีพระเจ้าแผ่นดินทรงให้การสนับสนุนอย่าง เต็มที่ ดว้ ยการพระราชทานราชสานกั ให้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ มีการอาราธนาพระสงฆ์ท่ีมคี วามรอบ รูใ้ นพระธรรมวินยั จากดินแดนต่าง ๆ มาเผยแผ่ความรู้ยังกรงุ สุโขทัย ดังจะเห็นได้จากหนังสือไตรภูมิพระ รว่ งท่ีพระมหาธรรมราชาลิไททรงพระราชนิพนธ์ข้ึนน้นั ก็ด้วยทรงประสงค์ให้พระสงฆ์ใช้เป็นแนวทางใน การอบรมส่งั สอนพุทธศาสนิกชนเปน็ สาคัญ
25 ในสมัยสโุ ขทยั น้ี พ่อขุนรามคาแหงมหาราชได้ทรงประดษิ ฐ์อักษรไทยขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.1826 ตวั อกั ษรท่พี ่อขนุ รามคาแหงประดิษฐ์ข้นึ ใชน้ ั้น สนั นิษฐานกันว่าเป็นการใชว้ ิธผี สมผสานอกั ษรไทยแบบเดิม และอกั ษรขอมหวดั เข้าด้วยกนั เพือ่ ใหใ้ ช้เขียนไดส้ ะดวกย่งิ ขน้ึ 4.3 หลักสูตรและการศึกษาสมัยกรุงศรอี ยุธยา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี อนุมานไดว้ ่าการศกึ ษาในสมัยกรุงศรีอยธุ ยามีธรรมเนียมเช่นเดียวกับกรุงสุโขทยั ตอ่ มาเม่ือมีการตดิ ต่อกับ ฝรงั่ ต่างชาติมากขน้ึ การศึกษาจงึ มกี ารเปล่ยี นแปลงไป การศกึ ษาในสมยั กรงุ ศรีอยุธยามีลกั ษณะดังน้ี 1) การศึกษาของฆราวาสและบรรพชิต วัดเป็นศูนย์กลางในด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการอบรมสั่งสอนประชาชน และได้ ปฏิบตั ิสืบทอดเป็นประเพณีมาจนตน้ สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ 2) การศึกษาของฝ่ายราชสานัก มีพระมหาราชครูและโหราธิบดีเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้วิชา นิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ราชประเพณี ตลอดจนวิชาการปกครองและการรบพุ่งอื่น ๆ ให้แก่พระราชกุมาร นอกเหนือจากการสง่ ไปศึกษากบั พระสงฆต์ ามพระอารามตา่ ง ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาน้ี การจัดการศึกษายังคงเหมือนกับสมัยสุโขทัย แต่ท่ีแตกต่างออกไป คือ ได้มีการจัดต้ังโรงเรียนมิชชันนารี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างเพ่ือเผยแพร่ศาสนา ครสิ ต์และมกี ารสอนวิชาสามัญดว้ ย 4.4 หลักสูตรและการศึกษาสมัยกรุงธนบรุ ี กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยอยู่เพียง 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการทาศึกสงคราม แต่ก็ถือได้ว่ากรุงธนบุรียังได้วางพน้ื ฐานทั้งในด้านการค้า การศาสนา และอักษรศาสตร์ ไว้ใหก้ ับราชอาณาจักรไทยอย่างมน่ั คง ท้งั น้ีก็ดว้ ยพระอัจฉริยภาพแห่งสมเด็จ พระเจา้ กรงุ ธนบุรี การจัดการศกึ ษาในสมัยนี้มลี กั ษณะเชน่ เดยี วกับสมยั อยุธยา โดยแบ่งได้ ดังน้ี 1) การศึกษาของฆราวาสและบรรพชิต วัดยังคงเป็นเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ รวมทั้ง การจัดกจิ กรรมตา่ ง ๆ ของสงั คม พระสงฆ์เปน็ ผู้มีบทบาทสาคัญในการอบรมสั่งสอนประชาชน 2) การศึกษาของฝา่ ยราชสานกั มพี ระมหาราชครูและโหราธบิ ดีเป็นผ้ถู ่ายทอดความรู้วชิ าตาม ราชประเพณี ตลอดจนวิชาการปกครองและเน้นในเรื่องการสงคราม ให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และมีการ เดินทางไปศึกษากับพระสงฆ์ตามพระอารามตา่ ง ๆ ดว้ ย การศึกษาในสมัยธนบุรี บ้านและวัดยังคงมีบทบาทเหมือนเดิม ในสมัยนี้จะเป็นช่วงระยะ เวลาของการเก็บรวบรวมสรรพตาราจากแหล่งต่าง ๆ ท่ีรอดพน้ จากการทาลายของพม่ามารวบรวมไว้เพื่อ การทานุบารุง เช่นตาราทางศาสนา ศิลปะและวรรณคดี แม้จะไมม่ ีความเจริญ ก้าวหน้ามากนัก แต่กเ็ ป็น การเริ่มต้นทางการศึกษาท่ีเปน็ พ้นื ฐานให้เกิดความเจริญก้าวหนา้ ตอ่ มาในสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์
26 4.5 หลักสูตรและการศึกษาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลท่ี 1-4) การจดั การศึกษาใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีระบบแบบแผนชัดเจนมากขึ้น มีการกาหนดใช้หนังสือแบบเรียน เช่น หนังสือ จินดามณี หนังสือประถม ก กา และปฐมมาลา การศึกษาในสมัยนี้ไม่ผิดแผกไปจากการศึกษาสมัยกรุงศรี อยุธยาเท่าใดนัก กล่าวคือ ในราชสานักคงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิต เป็นผู้ให้ความรู้แก่พระราชโอรส พระราช ธิดา พระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรหลานข้าราชการชั้นสูง ส่วนการศกึ ษาของสามญั ชนก็อาศัยวัดเป็นศูนยก์ ลาง การให้ความรู้โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้สอน การเรียนเน้นให้รู้จักการอ่าน เขียน คิดเลขเป็น พร้อมท้ังสอดแทรก จริยธรรมและหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปในตัว มีการกาหนดหลักการและวิธีการในการจัดการศึกษา เรยี กว่า \"มาติกาการศกึ ษา\" ตามหลักฐานท่ีปรากฏมีหนังสือเรยี นที่ใชก้ ันอยู่ 5 เล่ม คือ ประถม ก กา ปฐมมาลา สุบนิ ทกุมาร ประถมจนิ ดามณี เลม่ 1 และประถมจินดามณี เลม่ 2 4.6 หลักสูตรและการศึกษาสมัยปฏิรูปการศึกษา (รัชกาลที่ 5-7) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนับได้ว่าเป็นยุคของการปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริง การปฏิรูปได้เกิดข้ึนอย่าง กว้างขวางในแทบจะทุกด้าน เร่ิมต้ังแต่การปกครอง สังคม กฎหมาย รวมไปถึงการศึกษาด้วย การศึกษาใน ระบบโรงเรียนได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และกลายเป็นรากฐานทีส่ าคัญทาให้เกิดพระราชบัญญัติการประถมศึกษา ในปี พ.ศ.2464 การปฏิรูปการศึกษามีความสาคัญในยคุ นี้เป็นพิเศษ เพราะได้ส่งผลต่อการผลิตนักเรียนให้กับ หน่วยงานราชการอนื่ ๆ ที่กาลังขยายตัวอย่างกว้างขวางดว้ ย ปัจจัยที่ทาใหเ้ กิดการปฏิรปู การศกึ ษา ได้แก่ การ คกุ คามของจักรวรรดินยิ มตะวนั ตก อิทธิพลของชาวตะวันตก การศกึ ษาในระบบโรงเรียนจากต่างประเทศ และ ความขาดแคลนบุคคลทม่ี ีความรู้เพ่ือมารับราชการ การจัดการศึกษาในสมัยนี้ ไดม้ ีการจัดต้ังโรงเรียนสาคัญขน้ึ หลายแห่ง เช่น โรงเรียนหลวงใน พระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ การปรับปรุงโรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบให้เป็น โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้กลายเป็นโรงเรยี นข้าราชการพลเรือน จดั ตง้ั โรงเรียนแผนที่ และใน ปี พ.ศ.2427 ได้มีการจดั ต้ังโรงเรยี นหลวงสาหรบั ราษฏรขึน้ ตามวัดในกรงุ เทพมหานครหลายแห่ง และแห่ง แรก คอื โรงเรียนมหรรณพาราม 4.7 หลกั สตู รและการศกึ ษาสมยั หลังเปลยี่ นแปลงการปกครอง เม่อื วันท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ได้เกิดการเปล่ียนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นพระประมขุ ซึ่งสง่ ผลกระทบตอ่ การเมือง เศรษฐกจิ สงั คม และการศึกษาของชาติ โดยเฉพาะเมื่อ \"คณะราษฎร์\" ได้กาหนดว่า \"จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎรทุกชนชั้น\" เพื่อ ประโยชน์ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และมีเจตนาที่จะพัฒนาการศึกษาของชาติให้ เจริญก้าวหนา้ ยงิ่ ข้ึน
27 ตอ่ มาในปี พ.ศ.2475-2503 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญรวม 15 ฉบับ มีรฐั บาลเข้ามาบรหิ ารราชการ แผ่นดิน 30 ชุด มีผู้เข้ามาดารงตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 16 ท่าน ยุคนี้เป็นยุคท่ีเชื่อมโยง การจัดการศึกษาของไทยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับระบอบประชาธิปไตย ซ่ึงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะแรก (พ.ศ.2475-2485) นโยบายในการจัดการศึกษาเป็นการขยายการศึกษาระดับ ประถมศกึ ษา และให้ความสาคัญมากกว่าระดบั อ่นื สว่ นในระดับมัธยมศึกษา อาชวี ศึกษา และอดุ มศึกษา น้ัน เปน็ การขยายดา้ นปรมิ าณและปรบั ปรงุ คุณภาพเทา่ นน้ั 2. ระยะทสี่ อง (พ.ศ.2485-2493) ระยะนีป้ ระเทศตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามนโยบายการบรหิ าร ราชการแผ่นดิน จึงเน้นหนักในด้านการทหารและการป้องกันประเทศ หลังภาวะสงครามรฐั บาลได้มีการ ปรบั ปรุงการศึกษาหลายประการ ทาให้นโยบายการจัดการศกึ ษาของชาติในทุกระดับมีความเด่นชัดทั้งใน ดา้ นปรมิ าณและคุณภาพมากข้นึ 3. ระยะท่ีสาม (พ.ศ.2493-2503) เป็นช่วงหน่ึงท่มี ีความสาคัญสาหรับการศึกษาของชาติ เพราะ เป็นช่วงที่มีการปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านและทุกระดับ เช่น รัฐบาลจะ สง่ เสริมการศึกษาในทางปริมาณและคุณภาพ มีการวางรากฐานเพือ่ ให้ประชาชนมีพ้ืนความรู้สูงข้ึน และ มีความสามารถที่จะประกอบอาชีพได้ดี และพร้อมที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและศีลธรรม อนั ดีงามด้วยศาสนาผสานการศึกษาเป็นหลัก แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 ได้กาหนดแนวทางการจัดการ ศึกษาเป็นสี่ส่วน ได้แก่ พุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา ในระยะน้ีมีการประกาศใช้แผน การศึกษาชาติ รวม 3 ฉบับ คือ แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2475 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2479 และแผนการ ศกึ ษาชาติ พ.ศ.2494 ในปี พ.ศ.2494-2520 กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันให้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2503 และได้ปรับปรุงหลักสตู รการศึกษา ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท่ีสาคัญ คือ มีการขยาย การศกึ ษาภาคบังคับเป็น 7 ปี ใน พ.ศ.2506 ในยุคนี้มีจุดท่ีน่าสนใจคือมีการศึกษาในสายอาชีวศึกษา และ ในขณะเดียวกันก็มีการผลิตนักเรียนฝึกหัดครเู ป็นจานวนมาก ในช่วงปี พ.ศ.2503-2520 นโยบายในการ บริหารงานการพัฒนาการศึกษาของชาติได้ยึดเอาแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2503 เป็นแผนแม่บทในการ ดาเนนิ การจดั การศกึ ษา 4.8 หลักสูตรและการศึกษาไทยในปัจจุบัน การศึกษาที่นับเป็นการศึกษาในยุคปัจจุบันเริ่ม ตัง้ แตห่ ลกั สตู รการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพอ่ื ให้พลเมืองทกุ คนได้รับการศกึ ษา ตามควรแก่อัตภาพ ในการจัดการศึกษานั้นเพ่ือสนองตอบความต้องการของกระแสการเปล่ียนแปลง ทางด้านสังคมและบคุ คล เพ่ือให้สอดคล้องกบั แผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ
28 จากสภาวะการบ้านเมืองท่ีเปล่ียนแปลงเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การศึกษาไม่สามารถสนองตอบตาม ความต้องการของสังคมได้ ทาให้ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการแต่งต้ังคณะกรรมการพ้ืนฐานเพื่อการ ปฏิรปู การศึกษา เพอ่ื เสนอแนวทางการฏริ ูปการศึกษาของประเทศใหเ้ หมาะสมกบั กาลสมัยและสอดคลอ้ ง กับการพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมในระบอบประชาธิปไตย โดยได้มีการปรับปรุงระยะเวลาการเรียนตาม หลักสูตรจากเดิมเปน็ ประถมศกึ ษา 4 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และมีการ ประกาศใชห้ ลักสูตรใหม่จากการปรับปรุงตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอน ปลาย ปี พ.ศ. 2518 หลักสตู รประถมศึกษา ปี พ.ศ. 2521 และ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนตน้ ปี พ.ศ. 2521 จากน้ันไดม้ ีการพัฒนาหลกั สูตรให้มคี วามทันสมัยและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง น่ันคือ หลักสตู รประถมศึกษา พทุ ธศกั ราช 2521 (ฉบบั ปรบั ปรงุ 2533) หลักสตู รมัธยมศึกษา พทุ ธศักราช 2521 (ฉบับปรบั ปรงุ 2533) ต่อมาได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการเปล่ียนไปใช้ หลกั สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุ ธศักราช 2544 ซ่งึ ได้กาหนดจุดมงุ่ หมายเพือ่ พฒั นาคนไทยให้เปน็ มนุษย์ที่ สมบูรณ์ เปน็ คนดี มีปญั ญา มีความสขุ และมคี วามเปน็ ไทย มศี กั ยภาพในการศกึ ษาต่อและประกอบอาชีพ เมื่อมีการนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ไปใช้ ทาให้พบว่ามีความสับสนใน ผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา กอปรกับหลักสูตรมีเนื้อหาแน่นเกินไป มีปัญหาในการเทียบโอน และปัญหา คณุ ภาพผูเ้ รียนในด้านความรู้ ทักษะ และคณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ กระทรวงศกึ ษาธกิ ารจึงเปลย่ี นมาใช้ หลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพ่ิมสมรรถนะสาคญั และคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของผูเ้ รียนเข้ามา สว่ นเนื้อหาสาระยงั คงใช้ 8 กลุ่มสาระเหมือนเดิม หลักสตู รนไี้ ดม้ กี ารกาหนด ตัวชี้วัดมาใหแ้ ละเน้นกิจกรรมพฒั นาผูเ้ รยี นในลักษณะกิจกรรมบาเพญ็ ประโยชนเ์ พ่ือสงั คมด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ. 2560) เพือ่ ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรแู้ ละตัวช้วี ดั กลุ่มสาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฉบับ ปรับปรุงใหม่ เนื่องจาก หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นั้น มีความจาเป็นจะต้องปรับให้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคล่ือนประเทศไทยโดยการสร้างรายได้จากนวัตกร รมเป็น หลัก หรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 ซ่ึงจาเป็นต้องสร้างกาลังคนที่มีความเข้มแข็งในองค์ความรู้ด้าน SMT (Science, Mathematics and Technology) เป็นฐานในการสร้างนวัตกรรม จึงต้องปรับปรุงพัฒนา หลักสูตรที่เก่ียวข้องเพ่ือใหส้ อดคล้องต่อการสร้างกาลังคน และลดความซ้าซ้อนของเนื้อหาระหว่างชั้นปี หรอื ช่วงช้ัน ระหวา่ งกลุ่มสาระ ทาให้การจดั การศึกษาในระดับนีม้ ีคณุ ภาพมากย่ิงขนึ้
29 5. ลกั ษณะของหลักสูตรทดี่ ี หลักสูตรจะดีหรือไม่น้ันอาจพิจารณาได้จากหลายเหตุผล ดังท่ีนักการศึกษาต่างประเทศ และ ในประเทศไทย ได้เสนอไวด้ งั นี้ เซลเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 44-45) ได้สรุปลักษณะของ หลกั สตู รทด่ี ี โดยพิจารณาจากสง่ิ ต่อไปนี้ 1. เป็นหลักสูตรที่มีเน้ือหาสาระสาคัญครอบคลุมขอ้ มูลทีไ่ ด้มาจากนักเรียน สังคม กระบวนการเรียน และความรทู้ ่คี วรจะได้รบั ในระหว่างการศึกษา 2. เป็นหลักสูตรทมี่ จี ุดม่งุ หมายชดั เจน เข้าใจง่าย และมีช่องวา่ งท่ีจะขยาย ตัดต่อ เพ่ิมเติมได้ 3. เป็นหลักสูตรท่ีมีกระบวนการเรียนที่ให้ผเู้ รียนได้มีโอกาสก้าวหน้าและมีอิสระที่จะพฒั นาตาม ความสามารถ ความสนใจ และตามแนวทางของตนเอง 4. เป็นหลักสูตรทน่ี ักเรยี นและครูมีความเขา้ ใจตรงกันเก่ียวกับแผนการเรียนต่าง ๆ ในหลักสูตร และนักเรียนมีสว่ นร่วมในการทาแผนการเรียนน้นั ๆ 5. เปน็ หลกั สูตรท่ีมแี ผนงานสอดคล้องสัมพนั ธ์กบั การเรยี นการสอนและการวัดผล 6. เป็นหลักสูตรท่ีได้มีการอธิบายและช้ีแจงแก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และบุคคลอ่ืนท่ีเก่ียวข้องจน เข้าใจชัดเจน 7. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความ คิดเห็น และให้ผลย้อนกลบั เพ่ือการปรับปรงุ เปลี่ยนแปลงหลกั สูตร 8. เปน็ หลกั สตู รทีใ่ ชว้ ัสดอุ ุปกรณ์ของโรงเรียน ชุมชน อย่างกว้างขวางทั่วถึง ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, (2560) ได้สรุปประเด็นท่ีควรพิจารณาว่าเป็นลักษณะหลักสูตรท่ีดีไว้หลาย ประการดังน้ี 1. เป็นหลักสูตรท่ีมาจากการวางแผนงานท่ีรัดกุม มีข้ันตอนในการดาเนินงาน และต้ังอยู่บน รากฐานทเี่ ชื่อถือได้ 2. เป็นหลักสูตรท่ีมีวิธีการกาหนดจุดมุ่งหมาย การเลือกเนื้อหา และการจัดเน้ือหา การจัด กระบวนการเรยี นการสอน และการวดั ประเมินผล ถกู ต้องตามหลกั การ ทฤษฎี การสร้างหลกั สตู ร 3. เปน็ หลักสูตรทีต่ รงตามความมุ่งหมายของการศกึ ษาของชาติ เป็นเครอ่ื งมือที่ช่วยให้เป้าหมาย ทางการศึกษาบรรลตุ ามวัตถปุ ระสงคท์ ก่ี าหนดไว้ 4. เปน็ หลักสตู รที่ไดม้ าจากแนวคิดของบคุ คลหลายฝา่ ยท่ีเข้ามามสี ว่ นร่วมในการสร้างและพัฒนา หลักสตู รทงั้ ผู้ปกครอง ประชาชน และผ้เู รยี น
30 5. เป็นหลักสูตรท่ีสอดคล้องกับพื้นฐานที่สาคัญ ได้แก่ ปรัชญา จิตวิทยา สังคม เศรษฐกิจ และ การปกครอง ตลอดจนวฒั นธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเอกลักษณข์ องชาติ 6. เป็นหลักสูตรที่จัดลาดับเน้ือหาและประสบการณ์ไว้อย่างต่อเน่ือง ไม่ข้ามข้ัน ไม่วกวน หรือ ขาดตอน จนผู้เรียนไดร้ บั ประสบการณท์ ่ไี ม่ต่อเน่ือง 7. เป็นหลักสูตรที่ต้องคานึงถงึ ความแตกต่างระหว่างบคุ คลของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนไดม้ ีโอกาส เลอื กเรียนได้ตามความถนดั และความสนใจ 8. เปน็ หลกั สูตรท่ียึดผู้เรียนเป็นสาคัญ มีเนื้อหา กจิ กรรม ท่ีเหมาะสมกบั พนื้ ฐานธรรมชาติ ความ ตอ้ งการของผู้เรียน 9. เป็นหลกั สตู รทีส่ ง่ เสริมความเจริญงอกงามในตัวผเู้ รยี นทุกด้าน รวมทงั้ ความคดิ ริเรมิ่ สร้างสรรค์ และชว่ ยให้ผเู้ รยี นแก้ปัญหาได้เอง 10. เป็นหลักสูตรท่ีบอกแนวทางการสอน สื่อการเรยี นการสอน และแนวทางการวดั ประเมนิ ผลไว้ อย่างเหมาะสม 11. เป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น ปรับปรุง เปล่ียนแปลงให้เข้ากับสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย สามารถนาไปดดั แปลงให้เหมาะสมกับสภาพการดาเนนิ ชวี ติ ของผ้เู รียน 12. เปน็ หลักสูตรทคี่ รเู ข้าใจงา่ ย และนาไปปฏบิ ตั ไิ ด้จริงและสะดวก 13. เป็นหลกั สูตรท่ีมีเนือ้ หาสาระบรบิ ูรณ์เพยี งพอที่จะใหผ้ ู้เรยี นไดค้ วามรู้ ทักษะ คดิ เป็น ทาเปน็ แก้ปญั หาเปน็ 14. เป็นหลักสูตรที่บรรจเุ นือ้ หา ประสบการณ์ และกจิ กรรมการเรียนการสอนทเี่ หมาะสมกับชว่ ง เวลาท่ีใหก้ ารศกึ ษา 15. เป็นหลักสูตรที่กาหนดเน้ือหาสอดคล้องกับสภาพการดาเนินชีวิตของตัวผู้เรียน สามารถนา ไปใชใ้ นชวี ิตประจาวนั ได้ 16. เป็นหลักสูตรที่มีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อนาผลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร ให้ดีขน้ึ ดงั น้นั หลักสูตรทด่ี ีจงึ เปน็ แนวทางสาคัญทีจ่ ะนาไปสู่การเรยี นการสอนท่มี ปี ระสทิ ธิภาพ และเกิด สมั ฤทธ์ผิ ลทางการศึกษา หลักสูตรทีด่ ีควรมีลกั ษณะ ดงั น้ี 1. เป็นหลักสูตรท่มี จี ุดม่งุ หมายชัดเจน เข้าใจง่าย และมคี วามหยืดหยนุ่ ที่จะสามารถปรบั เพิม่ เติมได้ 2. เปน็ หลักสูตรทย่ี ดึ ผู้เรียนเป็นสาคัญ มีเนือ้ หา กิจกรรม ท่ีเหมาะสมกับพน้ื ฐานธรรมชาติ ความ ตอ้ งการของผูเ้ รยี น
31 3. เป็นหลักสูตรทีค่ านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลอื ก เรยี นไดต้ ามความถนัด และความสนใจ 4. เปน็ หลกั สูตรท่ีส่งเสริมความเจรญิ งอกงามในตัวผ้เู รียนทุกด้าน รวมทั้งความคดิ ริเรมิ่ สรา้ งสรรค์ และชว่ ยให้ผู้เรียนแกป้ ัญหาไดเ้ อง 5. เป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น ปรับปรุง เปล่ียนแปลงให้เข้ากับสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย สามารถนาไปดดั แปลงใหเ้ หมาะสมกับสภาพการดาเนินชวี ิตของผูเ้ รียน 6. เป็นหลกั สูตรทีบ่ รรจุเนอื้ หา ประสบการณ์ และกจิ กรรมการเรยี นการสอนทเ่ี หมาะสมกบั ช่วง เวลาท่ีให้การศกึ ษา 7. เปน็ หลกั สูตรทเี่ ปดิ โอกาสให้ครู นักเรยี น ผู้ปกครอง ชมุ ชน และผ้เู กยี่ วข้องไดม้ สี ว่ นรว่ มใน แสดงความคิดเห็น เพ่อื การปรับปรุงหลักสตู ร 8. เป็นหลักสูตรท่ีมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพ่ือนาผลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร ใหด้ ขี ้ึน บทสรุป หลักสูตรมีความสาคัญอย่างมากต่อการจัดการศึกษา เน่ืองจากหลักสูตรเป็นแนวทาง เป็นมวล ประสบการณ์ทส่ี ถานศึกษานาไปจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาให้ผู้เรยี นมคี ุณลกั ษณะตาม จุดหมายท่ีกาหนดไว้ เป็นแม่บทที่จะบอกให้ทราบว่าผู้เรียนจะบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างไร และจะต้องจัด เนื้อหาสาระ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และใช้เครื่องมือวดั ผลประเมินผลอย่างไร ดังนั้นหลักสูตรจึง เป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอน และเป็นตัวกาหนดเส้นทางเดินในการจัดการศึกษาเพ่ือนาไปสู่ เป้าหมายตามแผนการศกึ ษาแห่งชาติ และเปน็ ไปตามทีส่ งั คมต้องการ หลักสูตรมีองค์ประกอบท่ีสาคัญ ได้แก่ จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชาหรือสาระการ เรียนรู้เป็นเนอื้ หาสาระสาคัญท่ีต้องจัดไว้อย่างเป็นระบบ การนาหลักสูตรไปใช้หรือจัดกิจกรรมการเรียน การสอน และการประเมินผลหลักสตู รซง่ึ เป็นการพิจารณาตัดสนิ วา่ มคี ุณค่าบรรลุตามจดุ มุ่งหมายที่กาหนด ไวห้ รือไม่ โดยในการพฒั นาหลกั สูตรนั้นนกั พัฒนาหลักสตู รมีความจาเป็นต้องศึกษาหลักการของหลักสูตร ให้ชัดเจนเน่ืองจากหลักสูตรเป็นผลิตผลของแต่ละช่วงเวลา มักมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทที่เปลี่ยนไป เป็นงานกลุ่มที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เป็นกระบวนการของการตัดสินใจและเป็น กระบวนการต่อเน่ือง เป็นท่ีนา่ สังเกตว่าหลักสูตรจะมีประสิทธิผลมากขึ้น ถ้ามีการพิจารณาองคป์ ระกอบ สาคัญกันอย่างครอบคลมุ ดาเนนิ การไปตามกระบวนการท่ีมีระบบ รวมท้งั มีการศึกษาบทเรียนในอดีตตาม
32 วิวัฒนาการของหลักสูตร เพื่อนาส่วนที่ดีมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากข้ึน เหมาะสมกับสภาพของ สังคม การเมอื ง เศรษฐกจิ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านวิวัฒนาการของหลักสูตรและการศึกษาของไทยน้ัน ได้มีการเริ่มใช้หลักสูตรต้ังแต่มีการจัด การศึกษาในสมัยก่อนกรุงสุโขทัย สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) สมัยปฏิรูปการศึกษา (รัชกาลที่ 5-7) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง และหลักสูตร การศึกษาไทยในปัจจุบนั ซึ่งเร่ิมตงั้ แต่หลักสูตรการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2503 จนถึงปัจจุบัน ซึ่ง จะพบว่าหลักสูตรไทยน้ันได้มีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลาดับ ซ่ึงแต่ละยุคสมัยก็มกี ารพัฒนาและส่งต่อ ความเจรญิ มาอย่างต่อเน่ือง โดยทั้งน้ีหลกั สูตรท่ีจะสามารถพัฒนาการเรยี นรขู้ องผเู้ รียนไดเ้ ป็นอย่างดีน้ัน จะต้องเป็นหลักสูตรท่ีได้มาจากความสนใจของผู้เรียนและสอดคล้องกับข้อมูลในชุมชน รวมท้ังมี ผู้เก่ยี วข้องในการสร้างหลักสตู รจากหลายฝ่าย ท้ังในสถานศึกษาและในชุมชน สามารถนาหลักสูตรไปใช้ได้ จริง โดยหลกั สตู รทน่ี าไปใช้ต้องจัดการเรียนรู้ทเี่ น้นผู้เรียนเปน็ สาคัญ ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน ให้ อิสระในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และมีใช้วัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียน ชุมชน อย่างกว้างขวาง มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทต่าง ๆ ได้ มีการติดตามและประเมินผล หลักสูตรเพื่อปรับปรุงเป็นระยะ ๆ โดยเปิดโอกาสให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เก่ียวข้องได้ แสดงความคดิ เหน็ และใหผ้ ลยอ้ นกลับเพ่ือการปรบั ปรงุ เปลีย่ นแปลงหลักสตู รใหด้ ยี ง่ิ ขน้ึ ไดต้ ่อไป เอกสารอา้ งองิ กนิษณ์ฐา ทองด.ี (2553). สรปุ พัฒนาการหลักของหลักสตู รการศึกษาไทย. (ข้อมลู ออนไลน์). เขา้ ถงึ ไดจ้ าก: http://www.learners.in.th/blogs/posts/410600. สืบค้นเมือ่ 24 กันยายน 2556. ชัยวัฒน์ สทุ ธิรตั น.์ (2560). การพฒั นาหลกั สูตร: ทฤษฎีสูก่ ารปฏิบัติ. (พิมพ์คร้งั ที่ 6). กรงุ เทพฯ: วพี รนิ ท.์ ชัยอนนั ทร์ นวลสวุ รรณ์. (2555). ประวตั หิ ลกั สตู รและการศกึ ษาไทย. (ขอ้ มลู ออนไลน์). เขา้ ถึงไดจ้ าก: http://chainan1.blogspot.com/2012/01/blog-post_11. Html. สบื ค้นเมอื่ 20 กันยายน 2556. ทัศนีย์ ชาตไิ ทย และคณะ (2557). แกน่ การศกึ ษา. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยธุรกจิ บณั ฑติ ย์ ธนภทั ร จันทร์เจริญ. (2557). พพิ ฒั นาการหลักสูตรและการศึกษา. ใน แก่นการศึกษา. หนา้ 27-51. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั ธรุ กจิ บัณฑติ ย์. ธารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎหี ลกั สตู ร การออกแบบและการพฒั นา. (พมิ พค์ รั้งที่ 2). กรงุ เทพฯ: บริษัทธนธัชการพมิ พ์ จากดั .
33 บุญเลย้ี ง ทมุ ทอง. (2553). การพฒั นาหลักสตู ร. (พิมพ์คร้ังท่ี 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยตุ ฺโต). (2546). พจนานกุ รมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศพั ท์. (พิมพค์ รง้ั ที่ 12). กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช. (2555). ประมวลสาระชดุ วชิ าการประเมินผลหลกั สูตรและการเรยี นการ สอนสาขาวิชาศกึ ษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช. นนทบรุ ี: โรงพิมพ์สุโขทัยธรรมาธริ าช. ราชบณั ฑติ สถาน. (2556). พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพค์ รัง้ ที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑติ ยสถาน. วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554). การพัฒนาหลกั สูตรอดุ มศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท อาร์ แอนด์ ปริน้ ส์ จากัด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช. (2555). ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินผลหลักสูตรและการเรียนการ สอน สาขาวชิ าศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช. นนทบรุ ี: โรงพิมพ์สโุ ขทัยธรรมาธิราช. สิทธพิ ล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาหลกั สูตร. (พิมพค์ รงั้ ท่ี 5). ขอนแก่น: โรงพมิ พ์มหาวิทยาลัยขอนแกน่ . สเุ ทพ อว่ มเจริญ. (2556). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎแี ละการปฏบิ ัติ. นครปฐม: ภาควชิ าหลักสูตรและ วธิ สี อน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร. Alexander, W. M. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning (4 th ed.) New York: holt, Rinehart and Winston. Amstrong, D. G. (1989). Developing and documenting the curriculum. Boston: Allyn and Bacon. Beauchamp, G. A (1981). A Curriculum theory. (4th ed.). Itusch, Illinois: F.E.Peacock. Eisner, E. W. & Vallance, E. (1974). Conflicting conceptions of curriculum. Berkeley CA: McCutchan. Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill. Dewey, J. (1969). Philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O.Buford Toward a Philosophy of Education. pp.180-183. _______. (1997). Democracy and Education. New York: The Free Press. p.76. Moore, A. (2015). Understanding the School Curriculum: Theory, Politics and Principles. London: Routledge. Oliva. P. F. (1982). Developing the curriculum. New York: Harper Collins. Ornstein, A. C. (2013). Curriculum: foundations, principles, and issues. Boston: Pearson. Saylor. J. G., & Oliva, P. F. (2013). Developing the curriculum. Boston: Ma: Pearson.
34 Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for Schools. New York: Holt, inehart and Winston: Inc. Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World. Tyler, R. W. (1969). Basic principle of curriculum and instruction. University of Chicago press. ________. (1971). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicaco: The University of Chicaco Press.
35 บทที่ 2 พ้นื ฐานของการพัฒนาหลักสตู ร วา่ ท่รี อ้ ยตรหี ญิง แฝงกมล เพชรเกล้ยี ง การพัฒนาหลักสูตรจาเป็นต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ได้แก่ พ้ืนฐานจากปรัชญา สังคมวิทยา จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่าง ๆ มาเพ่ือให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ได้ หลักสูตรท่ีดี มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและทัศนคติที่ต้องการ เพราะ ขอ้ มลู พน้ื ฐานเหล่าน้ีจะชว่ ยนักพัฒนาหลักสูตรในเรื่องต่าง ๆ (สุนีย์ ภู่พนั ธ์, 2546: 28) ดงั นี้ 1. ช่วยให้มองเห็นภาพรวมว่า ในการจัดทาหลักสูตรน้ันจาเป็นต้องคานึงถึงส่ิงใดบ้าง และสิ่งต่าง ๆ เหลา่ น้นั มอี ิทธพิ ลต่อหลักสูตรอย่างไร 2. ช่วยให้สามารถกาหนดองค์ประกอบของหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม เช่นการกาหนด จดุ มุ่งหมายของหลักสตู ร และการกาหนดเนอื้ หาวิชา ฯลฯ 3. ช่วยให้สามารถกาหนดยุทธศาสตรก์ ารเรยี นการสอนได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 4. ชว่ ยเพ่ิมพูนความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร อันจะส่งผลให้การดาเนินการใน อนาคตประสบผลดียิ่งขึน้ นอกจากนี้ได้มีนักการศึกษาท้ังไทยและต่างประเทศที่ได้กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐาน ท่ีควรนามาใช้ใน การพัฒนาหลักสตู ร ดังน้ี ไทเลอร์ (Tyler, 1949: 1 – 43, cited in Ornstein, 1993: 35 - 36) กล่าวถึงส่ิงท่ีควรพิจารณาในการ สรา้ งจุดม่งุ หมายของการศกึ ษา คือ 1) ข้อมลู เก่ยี วกบั ตวั ผเู้ รียน 2) ข้อมูลจากภายนอกโรงเรียน 3) ข้อมลู ท่ีได้ จากผ้เู ชย่ี วชาญในสาขาตา่ ง ๆ 4) ข้อมลู ทางด้านปรัชญา และ 5) ข้อมลู ทางด้านจิตวทิ ยาการเรียนรู้ ทาบา (Taba, 1962: 16 – 87, อ้างถงึ ใน วิชัย วงษ์ใหญ่, 2537: 17) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1) ความต้องการและลักษณะโครงสร้างของสังคมและ วฒั นธรรม 2) ผู้เรยี น ความตอ้ งการ ความสนใจและกระบวนการเรยี นรู้ 3) ธรรมชาติของวชิ าความรู้ และ 4) จุดมงุ่ หมายของโรงเรยี น เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 102 - 103) กล่าวถึงข้อมูลพ้ืนฐานในการ พัฒนาหลักสูตรไว้ว่า 1) ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมซ่ึงสนับสนุนโรงเรียน 3) ข้อมูล เก่ียวกับธรรมชาติ และลักษณะของกระบวนการเรียนรู้ และ 4) ความรู้ท่ีได้สะสมไว้และความรู้ท่ีจาเป็น อยา่ งยิง่ ทต่ี ้องใหแ้ กผ่ ้เู รยี น
36 แฮส (Hass, 1977: 6) แบ่งพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่า ต้องอาศัยข้อมูลพ้ืนฐาน 4 ด้าน ดงั ต่อไปน้ี 1) อิทธิพลจากแรงผลักดันของสังคม 2) การพัฒนาการของมนุษย์ 3) ธรรมชาติของการเรียนรู้ และ 4) ธรรมชาติของความรู้ ออนสเตน (Ornstein, 1993: 14 - 15) กล่าวถึง ข้อมูลพ้ืนฐานสาคัญที่เก่ียวข้องกับการพัฒนา หลักสูตรว่า ควรจะมาจากทั้งข้อมูลท่ีมาจากภายนอกและภายใน ซ่ึงประกอบด้วย 1) ปรัชญา 2) ประวัตศิ าสตร์ 3) จิตวทิ ยา และ 4) สังคมวิทยา สาโรช บัวศรี (2514: 21 - 22) ได้กลา่ วว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐาน หลกั 5 ประกอบ คือ 1) พ้ืนฐานทางปรชั ญา 2) พ้นื ฐานทางจิตวิทยา 3) พื้นฐานทางสังคม 4) พ้ืนฐานทาง ประวตั ศิ าสตร์ และ 5) พน้ื ฐานทางดา้ นเทคโนโลยี ธารง บัวศรี (2532: 4) กล่าวว่า พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร มีดังนี้ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พืน้ ฐานทางสังคม 3) พืน้ ฐานทางจิตวิทยา 4) พนื้ ฐานทางความร้แู ละวทิ ยากร 5) พื้นฐานทางเทคโนโลยี และ 6) พ้นื ฐานทางประวตั ิศาสตร์ สงัด อุทรานันท์ (2532: 46) กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ไว้ดังน้ี 1) พ้ืนฐานทาง ปรัชญาการศึกษา 2) ขอ้ มูลทางสังคมและวัฒนธรรม 3) พ้ืนฐานเก่ยี วกับพัฒนาการของผู้เรียน 4) พื้นฐาน เกย่ี วกับทฤษฎีการเรียนรู้ และ 5) ธรรมชาตขิ องความรู้ บุญชม ศรสี ะอาด (2555: 21) กล่าวถึง พน้ื ฐานการพัฒนาหลกั สูตรไมว่ ่าจะเปน็ หลักสูตรระดบั ใด ก็ตามจาเป็นต้องอาศัยพ้ืนฐานจากด้านต่าง ๆ หลายด้านประกอบกันดังน้ี 1) พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ 2) พืน้ ฐานจากปรัชญา 3) พนื้ ฐานจากสังคมวทิ ยา 4) พน้ื ฐานจากจติ วิทยา และ 5) พน้ื ฐานจากวิชาความรู้ กล่าวได้โดยสรุปว่า ข้อมูลท่ีสาคัญและควรนามาเป็นพ้ืนฐานในการพัฒนาหลักสูตรมีมากมาย หลายด้านดังต่อไปน้ี 1) ปรชั ญาการศึกษา 2) จิตวิทยา 3) สงั คมและวัฒนธรรม 4) เศรษฐกิจ 5) การเมอื ง การปกครอง 6) สภาพปญั หาและแนวทางการแก้ปญั หาในสังคม 7) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8) สภาพ ของสังคมในอนาคต 9) บุคคลภายนอกและนักวิชาการสาขาต่าง ๆ 10) ประวัติศาสตร์และการศึกษา หลกั สูตรเดมิ และ 11) ธรรมชาติของความรู้ 1. พื้นฐานด้านปรชั ญาการศึกษา ความหมายของปรัชญา คาว่า ปรัชญา ตรงกับในภาษาอังกฤษว่า Philosophy แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้ และ ความจริง ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า “Philosophia” คาว่า Philip หมายถึง Loving หรือความรัก คาว่า Sophia หมายถึง Wise หรือ Wisdom ซึ่งแปลว่า ความรู้หรือความฉลาด ดังนั้นคาว่าปรัชญาตามความหมาย ในภาษาองั กฤษ ซึ่งมรี ากศพั ท์มาจากภาษากรีก จงึ แปลว่า Love of Wisdom หรือความรักทมี่ ีต่อความรู้
37 ส่วนในเชิงวิชาการ ปรัชญา หมายถึง การศึกษาหาความจริงหรือแก่นแท้ของสรรพส่ิงที่มีอยู่ใน โลก และจกั รวาลอยา่ งมรี ะบบ และมรี ะเบยี บแบบแผน ปรัชญามีส่วนสาคัญต่อการสรา้ ง หรอื การพฒั นาหลกั สูตรมาก ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรจะใชป้ รัชญา ช่วยในการกาหนดจุดประสงค์ ในการจัดหลักสูตร และการจัดการสอน ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับว่ามีความเชื่อหรือยึดถือ ปรัชญาใด ได้แก่ จิตนิยม (Idealism) สัจจนิยม (Realism) เทวนิยม (Neo - Thomism) ปฏิบัติการนิยม (Experimentalism or Pragmatism) อัตถิภาวนิยม (Existentialism) และปรัชญาวิเคราะห์ (Philosophical Analysis or Scientific Empiricism) จากแนวความเช่ือของปรัชญาจึงพัฒนาข้ึนมาเป็นปรัชญาการศึกษาต่าง ๆ โดยแต่ละสาขาต่างก็ ยดึ แนวความเชื่อของปรชั ญาสากลเป็นหลกั และปรัชญาการศึกษาบางสาขาได้รวมปรัชญาสากลบางสาขา เข้าดว้ ยกัน ปรชั ญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษา หมายถึง อุดมคติ อุดมการณ์ อันสูงสุดซึ่งยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษามี บทบาทในการเป็นแม่บทเป็นต้นกาเนิดความคิดในการกาหนดความมุ่งหมายของการศึกษาและเป็น แนวทางในการจดั การศกึ ษาตลอดจนกระบวนการในการเรยี นการสอน ในดา้ นการศึกษาปรชั ญาได้เขา้ มามบี ทบาทสาคัญ และก่อให้เกิดประโยชนน์ านัปการดังน้ี 1) อธิบาย ถึงสภาพการณ์ของการศึกษาว่าอยู่ในสภาพอย่างไร 2) วจิ ารณท์ ้ังภาคทฤษฎแี ละภาคปฏิบัติของการศกึ ษาว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงไร 3) เปรียบเทียบแนวความเช่ือของตนกับแนวการจัดการศึกษาว่า แตกต่าง กันอย่างไร โดยอาศัยการวิเคราะห์ วิจารณ์จากความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ 4) เกิดความริเร่ิม สรา้ งสรรคใ์ นการพัฒนาการศึกษาใหด้ ขี ึ้น หรือกาหนดแนวปฏิบัตทิ ่เี หมาะสมกับการจัดการศกึ ษา การจดั หลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาต่าง ๆ 1. ปรัชญาการศกึ ษาสารตั ถนิยม (Essentialism) แนวคิดและความเชื่อปรัชญาสารัตถนิยม เป็นชื่อของปรัชญาการศึกษาที่กาหนดข้ึนมาโดย วิ ลเลียม ซี แบกเลย์ (William C. Bagley) ซึ่งมีความเช่ือว่า ในแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ทักษะ ความเช่ือ อุดมการณ์ ฯลฯ ที่เปน็ แกนกลางหรือเปน็ หลกั ทกุ คนในวฒั นธรรมน้ันควรรู้สิ่งเหล่านี้ และระบบการศกึ ษา มุ่งถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้แก่เยาวชน หลักสูตรท่ีจัดตามแนวปรัชญาน้ี ได้แก่ หลักสูตรแบบเน้ือหาวิชา (Subject Curriculum) และหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum) ในด้านการเรียนการ สอนตามแนวปรัชญาการศึกษานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจเพ่ือให้ผู้เรียนคล้อยตามและยอมรับหลักการ ความคิด และค่านิยมท่ีผู้สอนนามาให้ การเรียนการสอนจึงไม่เป็นการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ แต่เป็น การยอมรับสง่ิ ที่คนในสังคมเคยเชื่อและเคยปฏบิ ตั ิกนั มาก่อน (ไพฑรู ย์ สนิ ลารตั น์, 2553)
38 ข้อสังเกตในการพัฒนาหลกั สูตรโดยใช้ปรชั ญาสารัตถนิยม (Essentialism) มดี ังนี้ 1. กระบวนการเรยี นร้โู ดยผ่านกระบวนการทางจติ ซึ่งประกอบดว้ ยญาณและแรงบนั ดาลใจ 2. มุ่งพัฒนาใหจ้ ิตของผู้เรยี นใหเ้ ป็นจิตท่ีสมบูรณ์ 3. สาระสาคัญของความรู้ คือ วิชาท่ีเก่ียวกับประวัติศาสตร์ และความรู้ปัจจุบัน ซึ่งเน้นปริมาณ ความรู้เป็นสาคญั 4. การเรยี นการสอนมุ่งเน้นทีจ่ ะฝึกการอา่ น การเขียน การคดิ เลข อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาหลักสูตรตามแนวปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) พบว่ายังมี ข้อด้อย คือ การเรียนการสอนท่ีเน้นเนื้อหาวิชา และเน้นให้ผู้เรยี นเชื่อฟังผู้สอน ทาให้ผู้เรียนขาดความคิด ริเร่ิมสร้างสรรค์ และขาดความเป็นตัวของตัวเอง ทาใหผ้ ู้เรียนขาดอิสรภาพและความมเี หตุผล ซ่ึงเปน็ สงิ่ ที่ จาเป็นในการปกครองตามแนวระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้การสอนท่ีเน้นความจา ทาให้ผู้เรียนไม่มี ความคิดก้าวหน้า มีแต่ความรู้ในทางทฤษฎีที่นาไปปฏิบัติได้ยาก และการกาหนดจุดมุ่งหมายของ การศึกษาไวแ้ นน่ อน ซ่งึ ขัดกบั แนวคดิ ในการพัฒนาผู้เรยี นในยุคสังคมแหง่ การเรียนรู้ 2. ปรัชญาการศกึ ษานริ ันตรนิยม (Perenialism) แนวคิดและความเชื่อ แนวความคิดหลักการทางการศึกษาของนิรันตรนิยม ได้แก่ ความเช่ือท่ีว่า หลักการของความรู้จะต้องมีลักษณะจีรังยั่งยืนอย่างแท้จริง Perenia มีความหมายถึง ความคงท่ี ความไม่ เปล่ียนแปลง รากฐานของทัศนะนี้มาจากงานของ เซนต์ โทมสั อะไควนสั (St. Thomas Aquinas) นิรันตรนิยมเป็นปรัชญาการศึกษาที่ยึดแนวความเช่ือตามหลักปรัชญาสาขาเทวนิยม โดยมีความ เชือ่ วา่ ส่ิงทสี่ าคัญท่สี ุดของธรรมชาติของมนุษย์ คือ ความสามารถในการคดิ ความสามารถในการใช้เหตผุ ล การตดั สินแยกแยะ และมคี วามเชื่อถอื พระเจ้า การจัดหลักสูตรจงึ เน้นความสมั พันธ์ของวชิ าพื้นฐานท้ังสาม คือ การอา่ น การเขียน และการคานวณ (Three R’s) ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนมีความเชื่อว่า ผู้เรียน คือ ดวงวิญญาณท่ีมีเหตุผล ผู้สอน คือ ดวงวิญญาณท่ีมีลักษณะของการเป็นผู้นา และนักวิชาการ สาหรับหลักสูตรน้ันก็เป็นเนื้อหาสาระที่ เก่ียวกับดวงวิญญาณและสติปัญญา เช่น หลักการของศาสนา กฎเกณฑ์ หลักการต่าง ๆ ของภาษา คณิตศาสตร์ เป็นต้น จุดเน้นอยู่ที่การจัดกิจกรรมเพื่อการฝึกและควบคุมจิต เน้ือหาสาระท่ีมาจาก ธรรมชาติในรูปของสาขาวิชาการและความสามารถทางจิต วิชาการสอนจึงได้แก่ การฝึกฝน ทางปัญญา เช่น การอ่าน การเขียน การฝึกทักษะ การท่องจา และการคานวณ กลุ่มสัจวิทยานิยม ถือว่า การเรียนรู้เก่ียวกับการหาเหตุผลที่มีความสาคัญมากด้วยเช่นกัน และการจะได้สิ่งเหล่านี้มาจาเป็น จะต้องมีการฝกึ ฝนสติปัญญาเพิ่มเติม โดยการเรียนรู้ไวยากรณ์ ตรรกวิทยา และวาทศลิ ป์ ซ่งึ นักการศึกษา ได้ยนื ยนั ความเช่ือเก่ียวกับการสอนโดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาว่า เราไม่สามารถทาอะไรใหแ้ ก่เด็กได้
39 ดีไปกว่าการเก็บความจาในส่ิงที่ควรแก่ความจา เขาจะร้สู ึกยินดีและพอใจเมื่อเขาเติบโตเปน็ ผู้ใหญ่ นับถือ ลักษณะของการศึกษาท่ียึดหลักการฝึกอบรมให้เป็นบุคคลที่ดีมีเหตุผล ท้ังน้ีโดยมีเป้าหมายจะให้ผู้เรียน สามารถค้นพบชีวติ ท่ีมีความสขุ และมีเหตุผลตามหลักของศาสนาเป็นประการสาคัญ (วทิ วัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม, 2549: 35) ข้อสังเกตเก่ียวกับปรชั ญาการศึกษานิรันตรนยิ ม มีดงั น้ี 1. มีแนวความคิด และความเชื่อใกล้เคียงกับปรัชญาสารตั ถนิยม แต่ยึดหลักความศรัทธาเป็น หลกั การเบอ้ื งตน้ ของความมีเหตุผลของมนุษย์ และท่ีมาของความรู้ 2. จุดมุ่งหมายของการศึกษามงุ่ ท่จี ะเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ท่ีดใี นอนาคต ทาให้การอ่าน การเขียน การคดิ เลข มีความสาคญั ในระดบั ประถมศึกษา อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาหลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม พบว่า ยังมี ขอ้ ดอ้ ย คือ การทถี่ ือว่า ผเู้ รยี นทุกคนเหมอื นกนั เปน็ การขดั กบั หลักจิตวทิ ยาในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคล การเรียนที่ถือเอาผู้สอนเป็นศูนย์กลางจะทาให้ผู้เรียนขาดความคิดริเร่ิม ขาดลักษณะผู้นา เป็นการฝึก ผู้เรียนให้เป็นผู้ตาม ผู้เรียนน่าจะได้เรียนตามความสามารถและความถนัดของตน ไม่ใช่บังคับให้ทุกคน เรียนเหมือนกันหมด การวัดผลท่ีเน้นความจาจะนาความรู้ไปใช้ได้น้อย ไม่เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก ไม่เหมาะสมกับสังคมยุคใหม่ ไม่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ทาให้เกิดการแบ่งชนช้ัน และ กระบวนการเรียนรอู้ าศัยการขบู่ ังคบั เป็นหลกั 3. ปรชั ญาการศกึ ษาสาขาพิพฒั นาการนิยม (Progressivism) พิพัฒนาการนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาในปัจจุบันของอเมริกา เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1925 นับเป็น ทัศนะทางการศึกษาที่มีอิทธิพลมากท่ีสุดในอเมริกา ฌ็อง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เป็นบุคคล แรกที่หนั มาให้ความสาคัญตอ่ การพฒั นาการของเดก็ รุสโซ เชอ่ื ว่า การศึกษาจะช่วยพัฒนาเด็กไปในทางท่ดี ไี ด้ แนวคิด และความเช่ือของปรัชญาพิพัฒนาการนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาท่ียึดหลักของปรัชญา สากลของสาขาปฏิบัติการนิยม โดยมีความเช่อื ว่า ผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีทักษะพร้อมท่ีจะปฏิบตั ิงานได้ ผู้เรียน จะเรียนรู้ได้โดยอาศยั ประสบการณ์ ผู้สอนมีหน้าที่จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ผู้สอนนั้นเป็นผู้นาทางด้านการ ทดลอง และวิจัย หลักสูตรเป็นเนื้อหาสาระที่เก่ียวกับประสบการณ์ต่าง ๆ ของสังคม เช่น ปัญหาของสังคม รวมท้ังแนวทางท่ีจะแก้ปัญหานั้น ๆ จนกระท่ัง จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ทาการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โลกจึงได้รู้จักปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ในนามของ ดิวอี้ หลักปรัชญาของดิวอ้ีนั้น แตกต่างจากปรัชญาในสาขาท่ีแล้ว ๆ มา คือ แทนที่จะเน้นการศึกษาเพ่ือพัฒนาความเป็นเลิศทางสติปัญญา ของผู้เรียน ดิวอี้หันมาเน้นใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวผู้เรียนแทน โดยเน้นว่าผู้เรียนควรมี ความเข้าใจ และตระหนักในตนเอง (Self-Realization) ดิวอี้เชื่อว่า ในกระบวนการท่ีเด็กพยายามแก้ปัญหา
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238