288 บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สร้างสรรค์ พลงั การเรยี นรู้ภายในตน หมายถึง การมเี จตจำนงมุ่งม่นั ที่จะเรียนรู้ในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปใช้ต่อยอด ให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อส่วนรวมอย่างสร้างสรรค์เป็นพลังการเรียนรู้จากภายในสู่ภายนอก มีความรู้แล้ว สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคม การเรียนรู้ยุคใหม่มุ่งสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ ทีม่ ีพลงั การเรียนรู้อยา่ งมงุ่ มน่ั และนำไปสูก่ ารทำประโยชน์เพ่อื ส่วนรวมตามศักยภาพ การเสริมพลังการเรียนรู้เป็นโจทย์ท้าทายผู้สอนทุกคนในบริบทของ สังคมไทยที่มีอัตราการเกิดของประชากรนลดลง ผู้เรียนทุกคน คือ เพชรเม็ดงาม ที่พรอ้ มจะส่องแสงเจิดจรสั ผู้สอนจะไม่ใช่ช่างเจียรนัยที่บังคับให้ผู้เรียนเป็นในสิ่งที่ผู้สอนต้องการ แต่ผู้เรียนไม่ต้องการอีกต่อไป หากแต่เป็นคนที่จะทำให้เพชรแต่ละเม็ดมีคุณค่า ในตัวเอง และนำเพชรเม็ดนั้นไปจัดวางให้สวยงามตามธรรมชาติของเพชรแต่ละเม็ด ให้สอ่ งแสงรว่ มกบั เพชรเมด็ อืน่ ๆ อย่างสวยงามและสร้างสรรค์ การเสริมพลังการเรียนรู้ คือการทำใหผ้ ู้เรียนเห็นคุณคา่ และความเก่งของ ตนเองทส่ี ามารถนำมาใช้ใหเ้ กิดประโยชน์กับผอู้ ่ืนและสังคมโดยรวม โดยไม่จำเปน็ ต้อง เกง่ เหมือนคนอน่ื แตจ่ ำเปน็ ต้องมีความภาคภมู ใิ จไม่น้อยกว่าคนอื่น พลังการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทะนุถนอม และต้องไม่ทำลายด้วยพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้สอน ที่อาจจะแสดงออกมา โดยไม่ทราบว่าพฤติกรรมนั้นกำลังบั่นทอนพลังการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การทำตน เป็นผู้รู้ทุกเรื่องจนทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองไม่มีความรู้ใดๆ เลย หรือการอวดอ้างว่า ตนเป็นผู้เช่ียวชาญจนทำให้ผเู้ รยี นรูส้ ึกวา่ เขาทำอะไรไม่เปน็ เลย เป็นตน้ ทั้งท่ีในใจของ ผู้สอนจะรักและหวังดีกับผู้เรียนมากเพียงใด แต่หากแสดงพฤติกรรมที่ไม่ตรงกับ Learning style ของผู้เรียนแล้ว ผู้เรียนก็จะไม่สามารถเรียนรู้ไปกับผู้สอนได้
บทท่ี 6 ความเป็นครูเชิงสรา้ งสรรค์ 289 เกดิ อาการ Brown out คือ มี Passion แตไ่ ม่อยากไปตอ่ กับผสู้ อนและความกา้ วหน้า ของเทคโนโลยี AI จะทำให้ ครู AI สามารถสื่อสารได้ตรงกับ Learning style ของ ผู้เรียนได้ดีกว่า และนี่คือจุดเริ่มต้นของการ Disrupt วงการครู ผู้เรียนอาจจะเลือก เรียนรู้รว่ มกับครู AI แทนครมู นุษย์ในไม่ช้าน้ี “ถา้ ครไู ม่เปลีย่ นแปลง” การเสรมิ พลงั การเรยี นรู้มแี นวทางดงั น้ี 1. ทำความรู้จักผู้เรียนรายบุคคล ว่ามี Learning style เป็นอย่างไร แล้วสื่อสารกับผู้เรียนให้สอดคล้องกับ Learning style ของผู้เรียน การสื่อสาร ทีส่ อดคล้องกบั Learning style จะช่วยเสรมิ พลงั การเรยี นรขู้ องผเู้ รียนได้ดี 2. เช่ือมโยงสิ่งที่ผู้เรียนชอบและสนใจกับ Concept ที่ต้องการให้ ผู้เรียนเรียนรู้ แล้วนำไปออกแบบกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนมีส่วนรว่ ม การมีส่วนร่วมของ ผเู้ รยี นจะชว่ ยเสริมพลงั การเรียนรู้ไดด้ ีกว่าการไม่มีส่วนร่วม 3. ใช้บทบาทการโค้ช ชี้แนะ สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า ของตนเอง มคี วามเชื่อม่นั ในการเรยี นรู้ และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชนก์ ับสว่ นรวม 4. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ไม่ได้เป็นเพียง ผู้ถ่ายทอดความรู้ และผู้สัง่ งาน แต่เปน็ เพ่ือนรว่ มเรียนรู้ไปกบั ผ้เู รียน 5. ประเมินการเรียนรู้แบบเสริมพลัง โดยมุ่งประเมินกระบวนการ เรยี นรู้มากกว่าผลผลติ ของการเรียนรู้และใหข้ อ้ มลู ยอ้ นกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์ การเสริมพลังการเรียนรู้จะช่วยทำให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง และคุณค่าของการเรียนรู้ มุ่งมั่นตั้งใจเรียนรู้ มี Passion เพื่อนำความรู้ไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์สังคม ตอบโจทย์การเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์สังคม ซ่งึ เปน็ จดุ เนน้ ของการศึกษาของกลุ่มประเทศทีพ่ ฒั นาแลว้ ในปัจจุบนั
290 บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สรา้ งสรรค์ Guide for Growth ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการกำหนดเป้าหมาย ทางการเรียนรู้ เป้าหมายในการพัฒนาตนเองและวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายซึ่งเป็น ทกั ษะท่สี ำคัญที่สดุ ของการดำรงชวี ิตอยูใ่ นสังคมท่มี ีการเปลยี่ นแปลงตลอดเวลา เมื่อผู้เรียนอยู่ในพื้นที่ Great zone จากการชี้แนะของผู้สอนแล้วจะนำไปสู่ ทักษะการคิดแบบทะลุปรุโปร่ง หรือ Breakthrough Thinking เพื่อการสร้างสรรค์ นวตั กรรมได้ในทส่ี ดุ อปุ สรรคของการสรา้ งสรรคน์ วตั กรรมให้สำเรจ็ ประการหนึ่งคือการมขี ้อจำกัด ทางความคิด (Mind blocking) ท่ีไม่สามารถคิดตลอดแนว หรือ Breakthrough Thinking เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามที่ตั้งใจไว้ได้ จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถ สร้างสรรค์นวัตกรรมได้สำเร็จ ด้วยเหตุน้ีการคิดตลอดแนวจึงเป็นปัจจัยส่งเสริม ใหผ้ ูเ้ รยี นประสบความสำเรจ็ ในการสร้างสรรคน์ วัตกรรม Breakthrough หมายถึง การคิดตลอดแนว คิดทะลุปรุโปร่ง ในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับในบริบทของการสร้างสรรค์นวัตกรรมน้ัน Breakthrough หมายถึง การคิดออกแบบพัฒนานวตั กรรมอย่างตลอดแนว ทะลุปรุ โปร่ง คิดตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น การคิดว่าจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร มีโอกาสที่จะ ประสบปัญหาในขั้นตอนใด ถ้าเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ผลลัพธ์ ของนวัตกรรมจะเป็นอย่างไร จะมีผลกระทบทางบวกและทางลบอย่างไร ถ้ามี ผลกระทบทางลบแลว้ จะป้องกนั อย่างไร เปน็ ตน้ เมื่อคิดไม่ตลอดแนว ไม่ทะลุปรุโปร่ง จึงส่งผลทำให้การวางแผนพัฒนา นวัตกรรมมีข้อบกพร่อง เมื่อผู้เรียนลงมือพัฒนานวัตกรรมจะประสบปัญหา ถ้าผู้เรียน ส า ม า ร ถ แ ก ้ ไ ข ไ ด ้ก ็ พ ั ฒ น า น ว ั ต กร ร ม ต ่ อ ไ ด้ แ ต ่ถ ้า แ ก้ ป ั ญ ห า ไ ม ่ ไ ด ้อ า จ จ ะ ล ้ มเ ลิก การพฒั นานวตั กรรมไปในทส่ี ุด
บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สรา้ งสรรค์ 291 ดังนั้นการคิดแบบ Breakthrough จึงมีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ นวัตกรรมดังต่อไปนี้ 1) เพิ่มความเป็นไปได้ในการพัฒนานวัตกรรมได้สำเร็จ 2) ลด ความเสี่ยงของความล้มเหลวที่ไม่ควรเกิดขึ้นในการพัฒนานวัตกรรม 3) ลดความ สูญเสียทรัพยากรเกินความจำเป็น ในการสร้างนวัตกรรม 4) ลดความเสียหายหรือ อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนานวัตกรรม 5) เพิ่มความคุ้มค่า คุ้มทุน ของการสร้างนวัตกรรม ดังนั้นผู้สอนจึงมีบทบาทหน้าท่ีกระตุ้นและพัฒนาผู้เรียน ใหส้ ามารถคดิ ใหต้ ลอดแนว หรือ Breakthrough ใหไ้ ด้ ตามแนวทางดังน้ี 1. ใช้คำถามโดยถามผู้เรียนให้คิดและตอบคำถามไปตามขั้นตอนของ การสรา้ งนวัตกรรมแต่ละขั้นตอน ต้ังแตต่ น้ จนจบ 2. ให้ผู้เรยี นวางแผนการสร้างนวัตกรรมโดยละเอียด กอ่ นลงมอื ปฏิบัติ 3. ใหผ้ เู้ รียนวเิ คราะห์ความเป็นไปได้ของการเกดิ เหตุการณ์ท่ีไม่คาดฝัน ระหวา่ งสร้างนวัตกรรม และวิธกี ารป้องกัน แกไ้ ข 4. ใหผ้ ู้เรียนตัดสินใจด้วยตนเองในกิจกรรมต่างๆ ตามข้นั ตอนการสร้าง นวตั กรรม และรับผิดชอบต่อการตดั สินใจของตนเอง 5. ชี้แนะประเด็นที่ผู้เรียนมองข้าม หรือมองไม่ทะลุในการสร้าง นวัตกรรม 6. ประเมินการคิดแบบ Breakthrough ของผู้เรียน และให้ข้อมูล ย้อนกลบั แก่ผู้เรียนโดยเน้นไปทกี่ ระบวนการคิด
292 บทท่ี 6 ความเปน็ ครูเชงิ สรา้ งสรรค์ 1. ผู้สอนถามเนน้ ไปท่ี ขนั้ ตอนการสรา้ งนวตั กรรม 6. ผ้สู อนประเมินการคิด 2. ใหผ้ เู้ รยี นวางแผน Breakthrough ของผู้เรียน พฒั นานวตั กรรม แนวทางการกระตุ้น Breakthrough Thinking 5. ผสู้ อนช้ีแนะสง่ิ ทีผ่ ู้เรียน 3. ให้ผเู้ รยี นตัดสนิ ใจ ยังไม่ Breakthrough ดว้ ยตนเอง 4. ผเู้ รียนวิเคราะห์ปญั หา และดำเนินการแก้ไข ภาพประกอบ 6.9 แนวทางการกระตนุ้ การคิดแบบ Breakthrough
บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สร้างสรรค์ 293 ผู้เรียนพยายามสร้างสรรค์นวัตกรรม แต่บางครั้งอาจจะไม่สำเร็จหรือใช้ ทรพั ยากรไมค่ มุ้ คา่ เพราะขาดทักษะ Breakthrough Thinking ซง่ึ ผู้สอนควรกระตุ้น และพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ Breakthrough Thinking ไปพร้อมๆ กับการจัดการ เรียนร้หู รือในระหว่างทผ่ี ู้เรียนลงมอื ปฏิบตั ิการสร้างสรรค์นวตั กรรม 6.4 การจดั การชนั้ เรียนสร้างสรรค์ การกระตุ้นศักยภาพผู้เรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ ผู้สอนควรให้ความสำคัญของการใช้เวลาทุกนาทีเพื่อพัฒนาผู้เรียนซึ่งนอกจากผู้สอน จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการ ธรรมชาติ และความ สนใจของผู้เรียนรายบุคคลแลว้ ผู้สอนยังต้องจัดการชั้นเรียนใหเ้ กิดประสทิ ธภิ าพและ มีความสร้างสรรค์ เรียกว่าการจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ (Creative Classroom Management) ผู้เรียนแต่ละคนมีความเก่งแตกต่างกัน ผู้เรียนบางคนมีความรับผิดชอบ ผู้เรียนบางคนมีวินัยในตนเองสูง ในขณะที่ผู้เรียน บางคนมีความกระตือรือร้น หรือผู้เรียนบางคนอาจจะกำกับตนเองและควบคุมตนเองได้ไม่ดีพอ “การจัดการ ชัน้ เรยี นสรา้ งสรรค์” ช่วยทำใหผ้ ูส้ อนทำความเข้าใจกับความแตกตา่ งระหว่างบุคคล ของผ้เู รยี นทตี่ ่างกม็ ีจดุ แขง็ หรอื ความเก่งทสี่ ามารถพฒั นาได้ การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ (Creative Classroom Management) หมายถึง การบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้ดำเนินไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ผู้เรียนมีพื้นที่ในการใช้ศักยภาพหรือความเก่ง ของตนเองด้วยความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจ ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะ นกั สรา้ งสรรค์นวัตกรรมของผ้เู รียน
294 บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สร้างสรรค์ การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ช่วยเปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนทุกคนมีความเท่า เทียมกันในการเรียนรู้และประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆ ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนมีพื้นที่ศักยภาพ (Potential space) หรือพื้นที่แสดง ความสามารถหรือความเก่งของตนเอง ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีวินัย มุง่ ม่ัน ดว้ ยความรบั ผดิ ชอบ ให้บรรลเุ ปา้ หมาย ผ ู ้ ส อ น เ ป ็ น โ ค ้ ช แ ล ะ อ ำ น ว ย ค ว า ม ส ะ ด ว ก ใ น ก า ร เ ร ี ย น รู้ ล ด บ ท บ า ท การควบคุมพฤติกรรม การสร้างเงื่อนไขที่ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะเป็นการสกัดก้ัน Growth mindset และ Creativity ของผเู้ รียน ผูส้ อนเพ่มิ บทบาทการกระตุน้ ผู้เรยี น ให้ใช้กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการคิด การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ตลอดจนการกระตุ้น ให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพหรือความเก่งของตนเองให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อ่ืน ใหไ้ ดม้ ากทส่ี ุด พนื้ ทศี่ ักยภาพ (Potential space) เปน็ ของผู้เรยี นทุกคน ภาพประกอบ 6.10 พนื้ ที่ศักยภาพทเี่ ป็นของผเู้ รียนทุกคน
บทท่ี 6 ความเป็นครเู ชิงสรา้ งสรรค์ 295 จุดเนน้ ของการจัดการชน้ั เรยี นสรา้ งสรรค์ การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์มีจุดเน้นที่แตกต่างจากการจัดการชั้นเรียน ไม่สรา้ งสรรค์ ดังภาพประกอบต่อไปน้ี การจัดการช้ันเรยี นสรา้ งสรรค์ การจดั การชั้นเรียนไมส่ รา้ งสรรค์ - เปิดพนื้ ทีศ่ ักยภาพผู้เรยี นตามทผี่ ู้เรยี น - เปิดพื้นท่ศี กั ยภาพตามท่ผี ู้สอนกำหนด ตอ้ งการ (หา้ มทำส่ิงน้นั สิ่งน)้ี - โอกาสทางการเรียนรู้เป็นของผู้เรียน - ผสู้ อนกำหนดใหผ้ ้เู รยี นต้องเรยี นรู้ ผูเ้ รยี นเลอื กที่จะเรียนรู้ - เปิดโอกาสใหผ้ ู้เรยี นแสดงพฤติกรรม - ควบคุมการแสดงพฤตกิ รรมการเรียนรู้ การเรยี นรู้อยา่ งหลากหลาย ตามที่กำหนด (ตอ้ งทำอย่างนั้นตอ้ งทำอย่างนี้) - เสริมสร้างวนิ ัยเชงิ บวกและการสรา้ งสรรค์ - สร้างกฎเกณฑ์และเง่อื นไข - ใหเ้ สรภี าพทางความคดิ แก่ผเู้ รียน - ออกแบบกระบวนการคิดใหก้ บั ผ้เู รยี น สง่ เสริมคุณลักษณะ ไม่สง่ เสรมิ คณุ ลกั ษณะ นักสรา้ งสรรคน์ วัตกรรม นักสรา้ งสรรคน์ วตั กรรม ภาพประกอบ 6.11 จดุ เน้นของการจดั การชนั้ เรียนสรา้ งสรรค์และไม่สร้างสรรค์ การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนักสร้างสรรค์ นวัตกรรมของผู้เรียน จากการที่ผู้เรียนจะได้ปฏิบัติกิจกรรมภายใต้บรรยากาศการ เรียนรู้ที่มีลักษณะเปิด (Open Learning Atmosphere) ผู้เรียนได้ใช้ความคิดและ จินตนาการของตนเองอย่างกว้างขวาง ใช้วนิ ยั ในตนเอง กำกบั และควบคุมตนเองไปสู่ เป้าหมายทางการเรยี นรู้
296 บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สรา้ งสรรค์ ผู้สอนทุกคนสามารถจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ได้ด้วยตนเองอย่างมี ประสิทธภิ าพ เพยี งขอใหผ้ ู้สอนมี Growth mindset ดงั ต่อไปน้ี 1. ผู้เรียนแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีความต้องการ ในการปฏิบัตกิ จิ กรรมการเรยี นรแู้ ตกตา่ งกัน จงึ จะทำให้เกดิ การเรียนรไู้ ด้ดีทีส่ ดุ 2. ผู้เรียนทุกคนต้องการแสดงศักยภาพของตนเองซึ่งทำให้ได้รับการ ยอมรับจากเพื่อนและบุคคลรอบข้าง ผู้สอนเปิดใจกว้างยอมรับศักยภาพที่หลากหลาย ของผู้เรียน 3. ผู้เรียนทกุ คนต้องการประสบความสำเร็จดว้ ยการใช้ความสามารถของ ตนเองโดยไมจ่ ำเป็นว่าความสำเรจ็ ของเขาจะต้องสูงหรอื ดกี ว่าเพื่อน แตเ่ ปน็ ความสำเร็จ ทผ่ี ู้เรยี นมคี วามภาคภูมใิ จในความสำเร็จนน้ั 4. แท้จริงแล้วผู้สอนไม่สามารถจัดการหรือควบคุมพฤติกรรมใดๆ ของ ผู้เรียนได้โดยใช้กฎ ข้อบังคับ เงื่อนไข หรืออำนาจสั่งการ แต่อยู่ที่ความสามารถในการ ออกแบบกิจกรรมการเรยี นรใู้ ห้ผูเ้ รียนแสดงศกั ยภาพของเขาออกมา สง่ิ นี้คือการจัดการ ชน้ั เรยี นเชิงบูรณาการ 5. ผู้เรียนทุกคนมีความเกง่ ติดตัวมา หากผสู้ อนคน้ พบแลว้ นำมาออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีพื้นที่แสดงความเก่งของตนเองออกมา นั่นคือ การจัดการชั้นเรยี นสรา้ งสรรคท์ แี่ ทจ้ รงิ * การจัดการชั้นเรียนจะเป็นเรื่องยาก หากผู้สอนไม่เปิดพื้นท่ีให้ผู้เรียน ได้แสดงความสามารถหรือความเก่งของตนเองในกิจกรรมการเรียนรู้เพราะ กิจกรรม การเรยี นรูเ้ หลา่ นัน้ ไมไ่ ด้อยูใ่ นขอบเขตความสนใจของผู้เรยี น
บทท่ี 6 ความเปน็ ครเู ชงิ สรา้ งสรรค์ 297 การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ด้วยการ Synergy ความเก่งของผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความเกง่ ไมเ่ หมือนกัน หากผู้สอนคน้ พบความเก่งของผู้เรียนและนำ ความเก่งของผู้เรียนแต่ละคน มาเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ จะทำใหช้ น้ั เรียนเปน็ ชั้นเรียนสร้างสรรค์ (Creative classroom) ลกั ษณะการเรียนรู้ จะเปลี่ยนจาก Passive เปน็ Active ทนั ที ความเก่งของผู้เรียนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น พูดเก่ง ประสานงานเก่ง ค้นคว้าเก่ง เป็นต้น การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ คือ การนำความเก่งของผู้เรียน ทุกคนมาสังเคราะห์หรือ Synergy เข้าด้วยกัน แล้วออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ทุกคนได้ใช้ความเก่งของตนเองในการทำงานหรือทำโครงงานหรือผลงานต่างๆ เปน็ ต้น หากผู้สอนใช้แนวทางการจัดการชั้นเรียนโดย Synergy ความเก่ง ของผู้เรียนดังกล่าว จะทำใหก้ ารจดั การชัน้ เรยี นเปน็ ไปอยา่ งมีประสิทธภิ าพ และเอื้อต่อ การกระตุ้นศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน ไม่เหนื่อยกับการออกคำสั่งและควบคุม พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนมีพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่แสดง ความเก่งของตนเองเป็น Active learning ดังนั้นผู้สอนควรสังเกตพฤติกรรมที่ผู้เรียนชอบปฏิบัติ หรือพฤติกรรม ที่ผู้เรียนทำได้อย่างคล่องแคล่ง ชำนาญ และเปิดใจกว้างยอมรับความเก่ง ที่หลากหลายของผู้เรียน เช่น ผู้เรียนบางคนคิดเลขเก่ง บางคนพูดภาษาอังกฤษเก่ง บางคนวาดรูปเก่ง บางคนแต่งกลอนเกง่ บางคนใชโ้ ปรแกรมคอมพิวเตอรเ์ กง่ เป็นต้น ความเก่งเหล่านี้ผู้สอนนำมาเป็นต้นทุนของการจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ โดยการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ตอบสนองความเก่งของผู้เรียน ใหผ้ ู้เรยี นทุกคนไดใ้ ช้ความเกง่ ของตนเองในการเรียนรู้ ทำให้ชน้ั เรยี นมีความสรา้ งสรรค์
298 บทที่ 6 ความเป็นครูเชิงสรา้ งสรรค์ (Creative classroom) เมื่อชั้นเรียนมีความสร้างสรรค์แล้วจะช่วยส่งเสริม คณุ ลักษณะนกั สร้างสรรคน์ วัตกรรมของผู้เรยี น ความเก่งของผู้เรยี นแตล่ ะคน ถูกนำมา Synergy และนำไปสู่การออกแบบ การเรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (Co-Creative Learning) ผู้สอนดำเนินการ จัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ (เปิดพื้นที่ศักยภาพให้กับผู้เรียนทุกคน) ซึ่งเป็นการ เสริมสร้างคุณลักษณะนักสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้เรียน แสดงได้ดังภาพประกอบ ต่อไปนี้ พูดเกง่ ประสานงานเก่ง การเรียนร้รู ่วมกนั เสริมสรา้ งคณุ ลกั ษณะ ออกแบบเกง่ อย่างสร้างสรรค์ นกั สรา้ งสรรค์นวัตกรรม .................. การจัดการชน้ั เรยี น สร้างสรรค์ ภาพประกอบ 6.12 การ Synergy ความเก่งสู่การเรียนรู้
บทท่ี 6 ความเป็นครูเชงิ สร้างสรรค์ 299 การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์บูรณาการการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การผสมผสานการจัดการชั้นเรียนเข้ากับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ แล้วนำไปสู่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนที่ราบรื่น ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการ เรียนรู้ดว้ ยความรบั ผดิ ชอบ มงุ่ มนั่ และมวี ินยั ในตนเอง มีกระบวนการดังน้ี 1. ผ้สู อนวเิ คราะห์ความเก่งของผ้เู รียนรายบคุ คลให้เหน็ ว่าผู้เรียนแต่ละ คนมีความเก่งอะไร ซึ่งควรวิเคราะห์ให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม เช่น หากจะระบุว่าผู้เรียน เล่นดนตรีเก่งเท่านั้นยังไม่พอ ต้องระบุได้ด้วยว่าเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดเก่ง เพราะจะ ช่วยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไดต้ รงกบั ความเก่งทีแ่ ท้จริงของผู้เรียน ช่วยให้ การจดั การช้นั เรียนมคี วามราบรน่ื ไม่สบั สนวนุ่ วาย 2. ออกแบบกจิ กรรมการเรียนรู้ให้มกี ิจกรรมอยา่ งหลากหลาย ตรงตาม ความเก่งของผเู้ รยี น เพื่อใหผ้ เู้ รียนไดใ้ ช้ความเก่งของตนเองในระหว่างท่ปี ฏิบตั ิกิจกรรม การเรียนรู้ ทำให้ชั้นเรียนมีกิจกรรมสร้างสรรค์ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่พึง ประสงค์ จากการที่ได้ใช้ความเก่งของตนเอง ลักษณะการเรียนรู้จะมีลักษณะเป็น Active learning 3. เตรียมความพร้อมด้านแหลง่ การเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ การดำเนินการจัดกิจกรรมมีความราบรื่น ไม่ติดขัด และช่วยทำให้ผู้เรียนมีสมาธิอยู่กับ กจิ กรรมการเรียนรู้อยา่ งต่อเนอ่ื ง 4. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนใช้บทบาทการโค้ช กระตุ้น ผู้เรียนให้ใช้ศักยภาพหรือความเก่งของตนเองออกมามากที่สุด และใช้ให้เกิดประโยชน์ กับการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนอย่างสร้างสรรค์ (Co-Creative Learning) ผู้สอน จัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์โดยเปิดพื้นที่การเรียนรู้ (Learning space) ให้ผู้เรียนใช้ ความเก่งจนประสบความสำเร็จ ผู้สอนประคับประคองกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
300 บทท่ี 6 ความเปน็ ครเู ชงิ สร้างสรรค์ (Scaffolding) ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning) อยา่ งต่อเนื่อง 5. ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ (Creative feedback) เพ่ือ ส่งเสรมิ ให้ผู้เรียนเกิด Growth mindset ในการปรับปรงุ และพัฒนาตนเอง เห็นคุณค่า ของการเรียนรู้ เห็นคุณค่าในตนเอง และทำให้การจัดการช้ันเรียนสร้างสรรคข์ องผู้สอน มีประสทิ ธภิ าพ การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่และโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพ หรือความเก่งของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน เสริมสร้าง คุณลักษณะนักสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานของการพัฒนาสังคม และประเทศชาตใิ นอนาคต ผสู้ อนมี Growth mindset ต่อการจัดการช้ันเรียนสรา้ งสรรคโ์ ดยบูรณาการ ไปกับ การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติและความเก่ง ของผู้เรียนนับว่าเป็น การจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ไปพรอ้ มกับการจัดการเรยี นรู้ 6.5 พาผ้เู รียนทอ่ งไปในโลกออนไลน์ การเรียนรู้เป็นสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีขอบเขตสิ้นสุด ไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ ไมจ่ ำกัดวธิ กี าร และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ได้ทำให้ การเรียนรู้ยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล มากขึ้น จนไม่สามารถจินตนาการได้ว่ากว้างใหญ่ เพยี งใด การเรียนรเู้ กดิ ข้ึนได้ทุกเวลาและสถานท่ี โลกออนไลนเ์ ปน็ อีกแหล่งการเรียนรู้ หนึง่ ท่ีเขา้ มามีบทบาทอย่างมากในการเรียนรู้ของผูเ้ รยี นในปจั จุบัน
บทท่ี 6 ความเปน็ ครเู ชงิ สร้างสรรค์ 301 การเตรียมผ้เู รียนใหม้ ีความพรอ้ มสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในโลกออนไลน์ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ท่ามกลางอันตรายที่แฝงอยู่และผู้เรียนต้อง เผชิญตามลำพัง ผู้เรียนจำนวนหนึ่งสามารถเข้าไปเรียนรู้ในโลกออนไลน์ โดยใช้ เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาสรา้ งสรรคน์ วัตกรรม ทำประโยชนเ์ พอ่ื ส่วนรวมดว้ ยจติ อาสา ผู้เรียนกลุ่มนี้มีความสามารถในการใช้โลกออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ได้อย่าง สร้างสรรค์และเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศ แห่งการเรยี นรู้ ประเทศนวตั กรรม (Innovation Nation) แม้ผู้เรียนส่วนหนึ่งจะเรียนรู้ด้วยตนเองในโลกออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ ก็ตาม แต่ยังคงมีผู้เรียนอีกส่วนหนึ่งขาดความสามารถในการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ด้วยเหตุผลประการต่างๆ ผู้สอนควรให้ความเอาใจใส่ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้มาก เพราะผู้เรียนกำลังตกอยู่ในอันตรายจากภัยออนไลน์ ซึ่งอาจนำมาซึ่งความสูญเสีย อย่างคาดไม่ถึง ผเู้ รียนกลุ่มน้ีขาดความรู้ ทักษะ และคณุ ลักษณะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ในโลกออนไลน์ และต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ในโลกออนไลน์ได้อย่างถูกต้อง เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น สิ่งสำคัญที่ผู้เรียน ควรมี คือ ความรู้เกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ ทักษะการสืบค้นข้อมูล ในโลกออนไลน์ การคิดวิเคราะห์ การมีวนิ ัยในตนเอง (Self-discipline) ดังนั้นผู้สอนจึงควรพัฒนาผู้เรียนกลุ่มนี้ให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการ เรียนรู้ไดอ้ ย่างถูกต้องและมปี ระสิทธิภาพ ผ่านการจัดการเรียนรูต้ ากปกติประจำวนั เพื่อสร้างสติปัญญาในการใช้โลกออนไลน์ของผู้เรียน หากผู้เรียนขาดความรู้ ทักษะ และคณุ ลกั ษณะดงั กล่าวจะทำให้ไม่สามารถเรียนรใู้ นโลกออนไลน์ด้วยตนเองได้อย่าง ถูกต้อง และตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต และโลกออนไลน์โดยร้เู ทา่ ไม่ถงึ การณ์
302 บทที่ 6 ความเปน็ ครูเชิงสร้างสรรค์ ผู้สอนสามารถพัฒนาพัฒนาความสามารถของผู้เรียนผ่านการจัดการเรียนรู้ ตามปกติประจำวนั ในชว่ งจงั หวะเวลาที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผเู้ รียนดงั น้ี 1. นำข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในโลกออนไลน์ที่ผู้เรียนสนใจมาเล่า ให้ผูเ้ รยี นฟังและต้องบอกผเู้ รียนวา่ ข้อมูลนั้นผูส้ อนนำมาจากอินเทอรเ์ น็ต ทำให้ผู้เรียน เห็นว่าโลกออนไลน์มีประโยชนต์ ่อการแสวงหาความรู้ท่ตี นเองสนใจ 2. นำสื่อในโลกออนไลน์มาใชเ้ ป็นสือ่ การจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะคลปิ วิดิโอต่างๆ ที่ช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้ผู้เรียนเห็นว่า ในโลกออนไลน์มีสื่อต่างๆ ช่วยการเรียนรู้อยู่มากมาย ครอบคลุมเกือบทุกเรื่อง ที่ตอ้ งการเรยี นรู้ 3. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลในโลกออนไลน์ โดยผู้สอนต้องเตรียมตัวมา ก่อนล่วงหน้า ว่าจะให้ผู้เรียนสืบค้นอะไร ใช้แหล่งข้อมูลใด อย่าปล่อยผู้เรียนสืบค้น ตามลำพัง เพราะผู้เรียนอาจจะเข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง และแหล่งข้อมูลปฐม ภมู ิ (Primary source) 4. ในกรณีที่ผู้เรียนขาดทักษะการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ผู้สอนควร พาผู้เรยี นสืบคน้ และเรยี นร้จู ากโลกออนไลน์อย่างเปน็ ขั้นตอน อย่าประมาทวา่ ผ้เู รียนเป็นคน Gen Z หรือ Net Gen แล้วจะท่องไปในโลกออนไลน์ ได้อย่างถูกตอ้ งและสรา้ งสรรค์
บทที่ 6 ความเป็นครเู ชงิ สรา้ งสรรค์ 303 นำข้อมูลขา่ วสารใหมๆ่ ในโลกออนไลน์ มาเล่าใหผ้ เู้ รียนฟัง แนวทางการพัฒนา นำสอื่ ในโลกออนไลน์ ทกั ษะการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง มาใชเ้ ป็นส่อื การจดั การเรียนรู้ ในโลกออนไลน์ของผูเ้ รยี น ใหผ้ ูเ้ รยี นสบื คน้ ขอ้ มลู ในโลกออนไลน์ โดยผสู้ อนต้องเตรียมตวั มาก่อนล่วงหน้า อยา่ ประมาทว่าผู้เรียนจะท่องโลกออนไลน์ ไดอ้ ย่างถูกตอ้ งและสรา้ งสรรค์ ภาพประกอบ 6.13 แนวทางการพฒั นาทกั ษะการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง ในโลกออนไลนข์ องผ้เู รียน ความสามารถในการเรยี นรู้ดว้ ยตนเองในโลกออนไลน์มคี วามจำเป็นสำหรับ ผู้เรียนทุกคน ผู้สอนควรพัฒนาผู้เรียนให้ใช้โลกออนไลน์เพื่อการเรียนรู้อย่างถูกต้อง เกิดประโยชน์และต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ผ่านการจัดการเรียนรู้ ตามปกติประจำวนั ในช่วงจังหวะเวลาทเ่ี หมาะสมกบั ธรรมชาตขิ องผ้เู รียน
304 บทที่ 6 ความเป็นครูเชิงสร้างสรรค์ ดูแลผเู้ รียนให้ปลอดภยั จากกบั ดกั ดิจทิ ลั (Digital Traps) โลกดิจิทัลมีความทันสมัย สะดวกสบาย รวดเร็ว ลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน และชว่ ยการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผเู้ รียนทม่ี ีทักษะการคิดวิเคราะห์ และคิด อยา่ งมวี ิจารณญาณจะสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลทเี่ กิดประโยชน์ต่อตนเองได้อย่าง มีประสิทธิภาพการศึกษายุคใหม่ต้องใส่ใจฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของผู้เรยี นใหม้ ากขน้ึ เพราะในอนาคตอนั ใกลท้ ุกลมหายใจคือดจิ ทิ ลั กับดักดิจิทัล (Digital traps) หมายถึง สิ่งที่ไม่มีประโยชน์มีโทษ ไม่สร้างสรรค์ และเป็นอันตราย ซึ่งอยู่ในเนื้อหาดิจิทัล อาจอยู่ในรูปของการนำเสนอ แบบตรงไปตรงมา และแฝงเร้นมาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เรียนที่เข้าถึงเนื้อหา เหล่านั้น แล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและจิตใจ ส่งผลเสียต่อระบบคิด และพฤตกิ รรมท้ังในระยะส้นั และระยาว ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) เป็นทักษะเบื้องต้นท่ีช่วย ให้ผู้เรียนรอดพ้นจากกับดักดิจิทัล ผู้เรียนที่อ่านรู้เรื่องจะวิเคราะห์ในสิ่งที่อ่าน และตดั สนิ ใจไดว้ ่าจะไปต่อกบั เนื้อหาท่อี า่ นน้ันหรือไม่ หรือหยดุ ไว้เพียงแค่น้ัน ความฉลาดรู้ด้านการอา่ น (Reading literacy) หมายถึง “ความรู้และทกั ษะ ที่จะเข้าใจเรื่องราวและสาระของสิ่งที่ได้อ่าน ตีความหรือแปลความหมายของ ข้อความที่ได้อ่าน และประเมิน คิดวิเคราะห์ ย้อนกลับไปถึงจุดมุ่งหมายของการ เขียนได้ว่าต้องการส่งสารสาระอะไรให้ผู้อ่าน” (PISA THAILAND สถาบันส่งเสริม การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี. 2562) การศึกษาเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้เรียนที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่ใน โลกดิจิทัลในอนาคต จำเป็นต้องพัฒนาใหผ้ ู้เรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยี ไม่ติดกับดักดจิ ิทลั
บทท่ี 6 ความเปน็ ครูเชงิ สร้างสรรค์ 305 ที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ความท้าทายที่น่าสนใจคือ การศึกษา จะปอ้ งกนั ผ้เู รียนท่ีออ่ นต่อโลก ไมใ่ หเ้ ข้าไปติดกับดกั ดิจิทัลได้อยา่ งไร ผลการทดสอบ ของ PISA ดา้ นการอา่ น ไดท้ ำวิเคราะห์ไดว้ ่าหากผู้เรียนขาดความฉลาดรดู้ ้านการอ่าน มากเท่าใด ก็จะมีโอกาสเข้าไปติดกับดักดิจิทัลได้มากเท่านั้น เพราะไม่สามารถ วิเคราะหไ์ ดว้ ่าสิ่งทอี่ า่ นนัน้ คืออะไร มคี ุณ หรือมโี ทษตอ่ ตนเองอย่างไร ประเทศไทย ภาพประกอบ 6.14 ผลการทดสอบ PISA ปี 2018 ที่มา https://www.oecd.org/education/young-people-struggling-in-digital-world-finds-latest-oecd- pisa-survey.htm
306 บทท่ี 6 ความเป็นครูเชงิ สร้างสรรค์ การป้องกันไม่ให้ผู้เรยี นติดกับดกั ดิจิทลั สำหรบั ผู้สอนมดี ังนี้ 1. บูรณาการสอดแทรกกิจกรรมเสริมสร้างความฉลาดรู้ด้านการอ่าน เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การนำเนื้อหาที่อยู่ใน โลกออนไลนท์ ่ใี กล้ตวั ผเู้ รียนมาใช้เป็นส่ือในการจัดการเรียนรู้ เปน็ ต้น 2. กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวเิ คราะห์ในสิ่งที่อ่านให้มากข้ึนไม่ใชเ่ พียงแค่อ่าน ผ่านๆ อย่างน้อยต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าเนื้อหาที่อ่านนั้นผู้นำเสนอมีจุดมุ่งหมายอะไร และตอ้ งประเมินได้ว่าตนเองควรปฏบิ ตั ิตนอย่างไร จะหยุดไวแ้ คน่ ้ันหรือวา่ จะไปต่อ 3. ใหค้ ำแนะนำและคำชี้แนะแนวทางการปฏบิ ัติตนแกผ่ ู้เรียน เม่ือพบว่า ผู้เรียนกำลังติดกับดักดิจิทัล ด้วยจิตใจที่มีเมตตา ปรารถนาดี ถามให้ผู้เรียนสะท้อนคิด เกย่ี วกบั คุณ โทษ และทางออก ของพฤตกิ รรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทลั ของตนเอง 4. เสริมสรา้ งทักษะการร้เู ท่าทนั ดิจิทลั (Digital literacy) ให้กับผู้เรียน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายในลักษณะบูรณาการไปกับการจัดการเรียนรู้ ตามปกติ การป้องกันผู้เรียนไม่ให้ติดกับดักดิจิทัล มีแนวทางและวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งผู้สอนสามารถออกแบบวิธีการให้เหมาะสมกับบริบทและธรรมชาติของผู้เรียน หลายเส้นทางแต่เป้าหมายเดยี วกันจะทำให้ผู้เรียนใช้อาวุธทางปัญญาอยู่ในโลกดิจทิ ลั ไดอ้ ย่างสรา้ งสรรค์ ผู้เรียนยคุ ใหมแ่ มว้ า่ จะเกิดมาในยุคโลกออนไลน์ แต่กย็ ังคงตอ้ งได้รับ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ มีกระบวนการ คิดขั้นสูงโดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณเปน็ อาวุธทางปัญญา ติดตัวไว้ เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ติดกับดักดิจิทัล และบุคคลสำคัญที่จะช่วยติดอาวุธ ทางปญั ญาใหก้ บั ผเู้ รียน คือ ผู้สอนทกุ คน
บทท่ี 6 ความเป็นครูเชิงสรา้ งสรรค์ 307 บทสรปุ ครูทุกคนมีความรักแท้มอบให้กับผู้เรียน การมอบรักแท้ให้ผู้เรียน ไม่ใช่ การให้สิ่งของใดๆ หากแต่เป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุดที่อยู่ในภารกิจการจัดการเรียนรู้ คือ “คุณภาพการจัดการเรียนรู้” ครูผู้เป็นที่รัก คือครูที่มีความสามารถในการที่จะเข้าไป นั่งอยู่ในหัวใจของผู้เรียน เข้าถึงจิตใจ เข้าอกเข้าใจผู้เรียน บทบาทและหน้าที่สำคัญ ประการหนึ่งของผู้สอนในการส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเปน็ คือ การเป็นตัวแบบที่ดีของการ ใช้ความคิดหรือกระบวนการคิด ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ว่าการคิดเป็นสิ่งท่ี สำคัญ ที่จะต้องมีการจัดการชั้นเรียนสร้างสรรค์ หมายถึง การบริหารจัดการกิจกรรม การเรียนรู้ในชั้นเรียนให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ผู้เรียน มีพื้นที่ในการใช้ศักยภาพหรือความเก่งของตน เพื่อเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีความ พร้อมสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองในโลกออนไลน์ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้อง ดำเนนิ การ ท่ามกลางอันตรายทแ่ี ฝงอยู่และผู้เรยี นต้องเผชิญตามลำพงั
308 บทท่ี 6 ความเป็นครเู ชิงสรา้ งสรรค์ บรรณานกุ รม ASCD. (2019). A Culture of Coaching. Retrieved December, 12 from http://www.ascd.org/ascd-express/vol14/num13/toc.aspx Building Learning Power. (2019). Building learning power is about helping young people to become better learners, both in school and out. Retrieved October, 15 from https://www.buildinglearningpower.com/about/ Dweck, C. (2008). Mindset. New York, NY: Ballantine Books. Dweck, C. (2009). “Who will the 21stCentury Learners be?” Knowledge Quest. 38(2), pp. 8 – 9. Dweck, C. (2012). Mindset: How You Can Fulfill Your Potential. London: Robinson. Dweck, C., Walton, G. & Cohen, G. (2014). Academic Tenacity: Mindset and Skills that Promote Long – Term Learning. Seattle, WA: Bill & Melinda Gates Foundation. Grand Valley State University. (2019). Essential Skills for Online Learning. Retrieved September, 25, 2019 from https://www.gvsu.edu/ online/essential-skills-for-online-learning-14.htm Ismail, N. (2019). Building trust in the digital era is the main challenge to innovation. Retrieved September, 15, 2019 from https://www. information-age.com/building-trust-in-the-digital-era-is-the- main-challenge-to-innovation-123483637/ Light, L. (2019). The Five Principles of Trust Building. Retrieved September, 15, 2019 from https://www.forbes.com/sites/larrylight/2019/03 /14/the-five-principles-of-trust-building/#60b1fd70541d
บทท่ี 6 ความเปน็ ครูเชิงสรา้ งสรรค์ 309 Mindset Scholars Network. (2019). Learning Mindset. September, 26, 2019 from https://mindsetscholarsnetwork.org/learning-mindsets/# Minnesota State Career wise. (2019). What Makes a Successful Online Learner? Retrieved September, 25, 2019 from https://careerwise.minnstate.edu/education/successonline.html Organisation for Economic Co-operation and Development. (2019). Young people struggling in digital world, finds latest OECD PISA survey. Retrieved December, 19 from https://www.oecd.org/education /young-people-struggling-in-digital-world-finds-latest-oecd-pisa- survey.htm PISA THAILAND สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ความ ฉ ล า ด ร ู ้ ด ้ า น ก า ร อ ่ า น . ส ื บ ค ้ น 19 ธ ั น ว า ค ม 2562 จ า ก https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/reading-literacy/ Vogt, K. (2016). How student empowerment drives blended learning and other tips from experts in the field. Retrieved October, 15 from https://hechingerreport.org/ how-student-empowerment-drives-blended-learning-and- other-tips-from-experts-in-the-field/
310 บทท่ี 6 ความเป็นครเู ชงิ สร้างสรรค์ ครคู ือผู้หล่อมหลอม และพัฒนาผเู้ รยี น ในฐานะท่ีผู้เรียน เปน็ ผทู้ อ่ี ่อนเยาวต์ อ่ โลก
บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์ 311 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์
312 บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ การพฒั นาครูทมี่ ีประสิทธภิ าพ ควรมคี วามยืดหยุ่น ไมใ่ ช่การใชว้ ิธกี ารเดยี ว (one – size fit – all)
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ 313 7.1 การพฒั นาผเู้ รียนโดยใช้ PLC 7. การพฒั นาผเู้ รียน 7.2 จดุ เริ่มต้นและปจั จยั สนับสนนุ ของ PLC ด้วยกระบวนการ PLC 7.3 ปฏิบตั กิ าร PLC ดว้ ยวิธกี ารสร้างสรรค์ นวัตกรรม 5I 7.4 กรณศี ึกษาปฏิบัติการ PLC 7.5 การถอดบทเรยี นสปู่ ัญญาปฏิบตั ิ
314 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ สาระสำคัญ การนำเสนอเนื้อหาสาระ เรื่อง การพัฒนาผู้เรียนด้วยกระบวนการ PLC มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 1) การพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ PLC 2) จุดเริ่มต้นและ ปัจจัยสนับสนุนของ PLC 3) ปฏิบัติการ PLC ด้วยวิธีการสร้างสรรค์นวัตกรรม 5I 4) กรณีศึกษาปฏิบัติการ PLC 5) การถอดบทเรียนสู่ปัญญาปฏิบัติ 6) การประเมินผล PLC โดยมีสาระสำคัญดงั ต่อไปนี้ 1. ชุมชนแห่งการเรียนรูท้ างวชิ าชีพ เปน็ นวตั กรรมการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาผา่ นการพฒั นาศักยภาพผ้สู อนและนำไปสู่การพฒั นาผเู้ รยี น 2. ผู้นำในการเร่ิมชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จะเป็นใครก็ไดท้ ี่มี ความสนใจพฒั นางาน โดยความมีวินยั และใจรักเรยี นรูเ้ ป็นปัจจัยสนับสนนุ 3. ปฏิบัติการ PLC หมายถึงการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบของ กลุ่มผู้สอนที่เป็น PLC เดียวกันเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพ ของผเู้ รียน 4. กรณีศึกษา PLC แสดงให้เห็นว่าการทำ PLC ควรดำเนินการอย่าง มเี ป้าหมาย มวี ิธกี าร และการประเมนิ อย่างชัดเจน 5. การถอดบทเรียน (Lesson Learned) หมายถึง กระบวนการ วิเคราะหห์ ลังการปฏบิ ตั ิหรือการทำกจิ กรรมเพอ่ื การจัดการความรู้ 6. การประเมิน PLC นั้นมุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา ไม่เน้นการ ประเมนิ เพื่อตัดสนิ คณุ คา่
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ 315 7.1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรยี นโดยใช้ PLC การพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพควรมีความยืดหยุ่น ไม่ใช่การใช้วิธีการเดียว (one – size fit – all) แต่ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นเครื่องมือสำหรบั การพฒั นา การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่นำไปสู่การเติบโตและเจริญงอกงาม (Growth) ที่มิได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน แต่อาศัยกระบวนการบ่มเพาะ ฟูมฟัก และฝึกฝน จนเกิดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะการเรียนรู้จะต้อง ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ตามสภาพจริง การสะท้อนคิด และถอดบทเรยี น ช ุ ม ช น แ ห ่ ง ก า ร เร ีย น รู ้ท า ง ว ิช า ช ีพ ( Professional Learning Community เรียกชื่อย่อว่า PLC) เป็นการผสมผสานแนวคิดของความเป็นมืออาชีพ (professional) และชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ (learning community) เข้าดว้ ยกนั ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การรวมกลุ่มกันทางวิชาการ ของบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพ และคุณภาพ ของผู้เรยี นรว่ มกนั ผา่ นกระบวนการเรียนรรู้ ว่ มมอื ร่วมใจ (Collaborative learning) การเรียนรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานในพื้นที่ (Lesson learned) และการ แลกเปลีย่ นเรยี นรู้ (sharing learning) อย่างตอ่ เนือ่ ง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้สอนและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน เป็นความ ร่วมมือร่วมใจกันทางวิชาการของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมมือกัน ช่วยเหลือ สนบั สนุน และส่งเสรมิ ซ่ึงกนั และกนั ทำใหเ้ กดิ การพัฒนาอย่างตอ่ เนอ่ื ง
316 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สร้างสรรค์ PLC เปรียบเสมือนเป็น Assembly Point หรือจุดรวมของนักวิชาชีพ แสดงพลังความสามัคคีของนักวิชาชีพ สองนักรบที่มีพลังที่สุดของนักวิชาชีพ คือ ความอดทน และเวลา การลงมือทำเทา่ นนั้ ทจี่ ะเปลี่ยนความฝันใหเ้ ป็นความจรงิ ได้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้ผู้สอนมีความรู้ในสิ่งที่สอน ได้รับ การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ตลอดจนสมรรถนะอื่นๆ และจากการที่ผู้สอน ได้รับการพัฒนาดังกล่าว จะส่งผลไปยังคุณภาพของผู้เรียน คือ ความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทักษะและสมรรถนะด้านต่างๆ ตามที่กลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพได้นำมาเป็นประเด็นการเรียนรู้และพัฒนาของกลุ่ม แสดงได้ดังแผนภาพ 6 ดงั ต่อไปน้ี คุณภาพผเู้ รยี น 1. ความรู้ ความคดิ ความประพฤติ 2. ทกั ษะ และสมรรถนะด้านตา่ งๆ คุณภาพผสู้ อน 1. ความรู้ในสิ่งที่สอน 2. ความสามารถในการจดั การเรยี นการสอน ชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ ทางวชิ าชพี ครู ภาพประกอบ 7.1 ความสัมพันธร์ ะหว่างชุมชนแห่งการเรยี นรเู้ ชิงวิชาชีพ คณุ ภาพผ้สู อน และคณุ ภาพผ้เู รียน
บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ 317 ชมุ ชนแหง่ การเรียนรูท้ างวชิ าชีพ มอี งคป์ ระกอบสำคญั 3 ประการที่ทำให้ การดำเนนิ กิจกรรม PLC ประสบความสำเร็จ ดงั นี้ 1) การเรียนรู้ร่วมกัน (Learning together) ระหว่างสมาชิก ในชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชีพ แบง่ ปนั ความคิด ความรู้ และประสบการณ์เติมเต็ม ซ่ึงกันและกันเพือ่ นำไปสู่การต่อยอดและการแกป้ ญั หาในการจัดการเรียนรู้ 2) การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ ( Work collaborative) ท่ีสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบในผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่แยกส่วนความ รับผิดชอบจนไมส่ ามารถบรู ณาการการทำงานเข้าดว้ ยกนั 3) สำนึกความรับผิดชอบ (Accountable) คือ ความรับผิดชอบ ต่อการเรียนรู้ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่จะต้องพัฒนาตนเอง ตามแผนการดำเนินการของ PLC ที่ได้ตกลงร่วมกันความ รบั ผิดชอบต่อภารกิจการถอดบทเรยี นและนำบทเรียนมาแลกเปลย่ี นเรียนรู้ องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แสดงได้ดังแผนภาพ ตอ่ ไปน้ี การเรยี นรรู้ ว่ มกนั (learning together) องค์ประกอบ ชุมชนแหง่ การ เรียนรทู้ างวิชาชีพ ความรว่ มมือร่วมใจ สำนกึ รบั ผดิ ชอบ (collaboration) (accountable) ภาพประกอบ 7.2 องค์ประกอบของชมุ ชนแหง่ การเรยี นร้ทู างวิชาชพี
318 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์ PLC นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพที่ทุกวิชาชีพจำเป็นต้องพัฒนาอย่าง ตอ่ เนือ่ ง เพื่อให้การปฏบิ ัติงานของวิชาชีพน้นั สามารถตอบสนองการเปล่ียนแปลงของ สงั คมในด้านตา่ งๆ รวมทง้ั ความตอ้ งการของผรู้ ับบริการของวิชาชีพนัน้ ๆ ชมุ ชนแห่ง การเรียนรูท้ างวชิ าชพี ชว่ ยทำให้ผู้สอนสามารถปฏบิ ตั หิ น้าที่ได้อยา่ งเต็มประสิทธิภาพ ปัจจุบันมความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพมีพัฒนาการที่รวดเร็ว หากผู้สอนไมไ่ ดร้ ับการ update ก็จะไม่ทันกับความก้าวหน้าตา่ งๆ ท้ายที่สุดจะขาด สมรรถนะในการประกอบวิชาชีพ ดังนั้นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจึงเป็น หนทางการพัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ นำไปปฏบิ ตั ิในวิชาชีพอย่างกว้างขวางในลักษณะบูรณาการเป็นองคร์ วม บนรากฐาน ขององค์ความรู้ที่มาจากการปฏิบัติ (ปัญญาปฏิบัติ) คือ ลงมือทำแล้วถอดบทเรียน ออกมาเป็นองค์ความรู้ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในฐานะที่เป็น สมาชกิ คนหน่งึ ของวิชาชีพมคี วามเสมอภาคและเท่าเทียมกนั อยา่ งแท้จรงิ ค ว า ม เ ท ่ า เ ท ี ย ม ก ั น ท า ง ค ว า ม ค ิ ด แ ล ะ ก า ร แ ล ก เ ป ล ี ่ ย น ป ร ะ ส บกา ร ณ์ เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพ ที่มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์ ในแนวราบ ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความเปน็ กัลยาณมิตร เอื้อให้เกิดการใช้ โยนโิ สมนสิการ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (transform) 7.2 จดุ เรม่ิ ตน้ และปจั จยั สนับสนุนของ PLC PLC หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เริ่มที่บุคลากรในวิชาชีพที่มี ความสนใจและต้องการที่จะเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการพัฒนา ประสิทธิภาพการทำงาน และลงมือปฏิบัติเพือ่ การเรียนรู้นั้น แล้วถอดบทเรียนออกมา เป็นองคค์ วามรู้
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชงิ สร้างสรรค์ 319 ผู้นำในการเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจะเป็นใครก็ได้ที่มีความ สนใจพฒั นางาน ไม่จำเป็นตอ้ งดำรงตำแหน่งผู้บริหาร อาจเร่มิ ท่ตี นเองก่อน แล้วขยาย เครือข่ายออกไป ใหก้ ว้างขวางมากขึ้น โดยได้รบั การสนบั สนนุ จากผ้เู กย่ี วขอ้ งตอ่ ไป ปัจจยั สนบั สนนุ PLC 1) โค้ช: ผชู้ ้ีแนะในกระบวนการ PLC โค้ชเปน็ ปจั จัยสำคัญช่วยทำให้ชุมชน เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและถูกทิศทาง โค้ชคอยชี้แนะถามให้คิด กระตุ้นให้เรียนรู้ สะท้อนข้อมูล ให้ข้อคิด ให้กำลังใจ update ความรู้และความคิด ใหม่ๆ ให้สมาชิกในชุมชนได้นำไปปฏิบัติ และถอดบทเรียนออกมาเป็นองค์ความรู้ ตอ่ ยอดออกไปอีกอย่างต่อเนื่อง โคช้ ทีม่ คี วามรคู้ วามเช่ียวชาญและมีประสบการณ์สูง จะช่วยสนบั สนนุ กระบวนการเรียนรูข้ องชุมชนแกง่ การเรยี นร้ไู ด้อย่างมีประสิทธภิ าพ 2) การถอดบทเรียนด้วยความซื่อสัตย์ในกระบวนการเรียนรู้และการนำ ประสบการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และจากการถอด บทเรียนอย่างปราศจากอคติ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน เพราะสิ่งที่นำมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ จะถูกนำมาเป็นองค์ความรู้ ที่จะนำไปต่อยอด องค์ความรู้อื่นๆ ต่อไป ดังนั้นความซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จึงเป็นส่งสำคัญในการสร้าง องค์ความรู้ของชุมชนแหง่ การเรียนรู้ 3) ปัญญาปฏิบัติ (practical wisdom) และความสร้างสรรค์ของกลุ่ม PLC ช่วยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ในวิชาชีพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร บรบิ ททางภูมสิ ังคม เป็นภูมปิ ญั ญาของกลุม่ PLC เอง ที่กอ่ ร่างมาจากการเรียนรู้ของตน นับว่าเป็นการพึง่ พาตนเองทางสตปิ ญั ญาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
320 บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ 4) ใจที่จะเรียนรู้ การมีจิตใจใฝ่เรียนรู้ ความปรารถนา (Passion) ที่จะ เรียนรูแ้ ละพฒั นาวชิ าชีพ ตลอดจนการแบ่งปนั องค์ความรู้และนวตั กรรมที่ได้จากชุมชน แหง่ การเรยี นรูท้ างวิชาชีพ ไปเผยแพร่ให้กับชมุ ชนอน่ื เพอื่ ใหน้ ำไปปรบั ใช้ได้ ตามบริบท จะทำให้มอี งคค์ วามร้ใู หม่และนวตั กรรมในวิชาชีพเกดิ ขึน้ อย่างต่อเนอื่ ง 5) เทคโนโลยี Digital เป็นเครื่องมือสนับสนุนชุมชนแห่งกรเรียนรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล มีอยู่ในมือของทุกคนต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของ ชุมชนแอพลิเคชั่นต่างๆ สามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับระดับ ศกั ยภาพการใชเ้ ทคโนโลยีของสมาชกิ ในชุมชน ปจั จยั สนับสนนุ PLC ท้งั 5 ประการดังกล่าวแสดงได้ดังแผนภาพ 8 ต่อไปนี้ ถอดบทเรียน ใจท่ีจะเรยี นรู้ - สนุ ทรยี สนทนา - สะทอ้ นคดิ ปัญญาปฏิบตั ิ PLC Technology Digital โค้ชหรอื ผชู้ ี้แนะ ภาพประกอบ 7.3 ปจั จยั สนบั สนุน PLC
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ 321 ทกั ษะของผู้บริหารกับการพัฒนาผ้สู อนโดยใช้ PLC 1. แสดงออกถึงภาวะผู้นำทางวิชาการ 2. สร้างบารมที างวิชาการ 3. สร้างแรงจงู ใจภายในของผู้สอน 4. ให้สารสนเทศทเี่ ปน็ ประโยชน์ 5. ชี้แนะประเด็นการเรียนรูร้ ่วมกัน 6. สง่ เสริมสนบั สนุนกระบวนการเรียนรู้ 7. โค้ชกระบวนการเรยี นรู้และการคิด 8. ประสานเครอื ขา่ ยทุนทางสังคม 9. ยกย่องในความสำเร็จ ประเภทของโค้ชสำหรบั PLC 1. ผ้บู รหิ ารโค้ช Admin coach 2. ผู้เชยี่ วชาญโคช้ Expert coach 3. เพ่อื นโค้ช Peer coach 4. นกั วิชาชพี โค้ช Professional coach 5. โคช้ ตนเอง Self – coach โค้ชแต่ละประเภทมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน แต่ทำงานร่วมกัน เพ่ือขบั เคล่ือน PLC การพัฒนาครูโดยใช้ PLC การพัฒนาความรู้ ทักษะความสามารถของครู โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวชิ าชีพ Professional Learning Community (PLC) ให้ครูได้ร่วมกันเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง การถอดบทเรียน และการแลกเปล่ยี นเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสง่ ผลตอ่ คุณภาพของผเู้ รียน เป็นประเด็น สำคัญที่ผู้บริหารควรให้ความเอาใจใส่ ดูแลกระบวนการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ ผู้สอนมกี ารรวมกลมุ่ PLC กันภายในโรงเรียน และโคช้ ผ้สู อนอยา่ งตอ่ เนื่อง
322 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ ภาพประกอบ 7.4 ปจั จัยสง่ เสริม PLC PLC ขบั เคลอ่ื นอย่างไร ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพขับ เคลื่อนด้วยวินัย และใจในการ เรียนรู้PLC ขับเคลื่อนไปอย่างมีสติและปัญญา PLC ทำแล้วต้องได้ประโยชน์ไม่ใช่ทำๆ เลิกๆ และเวลาทำก็ต้องทำอยา่ งมสี ติและปัญญา สติ คือ รู้ตัววา่ กำลังทำอะไร ในขณะท่ี ปญั ญา คอื รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร อยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ สติมาปัญญาเกิด สติเป็นเหตุทำให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นพลัง การคิดและการเรยี นรู้ สติรู้ตัว ปญั ญารคู้ ิด นำไปใชไ้ ดท้ ุกวนิ าทขี องชวี ิต ฝึกและใช้สติไป พรอ้ มกบั การทำงานตา่ งๆ
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์ 323 มีสติอยูท่ ุกขณะจิต รู้ตวั อยู่ตลอดเวลา หม่นั ตั้งคำถามและตอบตัวเองด้วย คำถามต่อไปนี้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ช่วยทำให้กลุ่ม PLC เรียกสตกิ ลบั คนื มา 1) ใจของเราเปน็ อยา่ งไร 2) อารมณ์ของเราตอนนี้เปน็ อยา่ งไร 3) เรากำลงั เรียนรู้อะไร 4) สิง่ ทเี่ ราคดิ มีประโยชนอ์ ย่างไร 5) จะมีกระบวนการเรยี นรทู้ ด่ี ีอยา่ งไร 6) ผลลพั ธ์เป็นไปตามจุดประสงคห์ รือไม่ 7) มสี ่ิงใดท่เี ปน็ จุดแขง็ เป็นจุดแข็งเพราะเหตุใด 8) มสี ่งิ ใดทต่ี ้องปรบั ปรุงและพัฒนา 9) จะมีวิธีการปรบั ปรงุ และพัฒนาอย่างไร วินัย (discipline) คือ การควบคุมและกำกับตนเองให้ไปสู่ เป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งการใฝ่เรียนรู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ร่วมแลกเปล่ี ยน เรียนรู้เพื่อการเปลีย่ นแปลงไปสสู่ ่ิงทด่ี ขี ึ้น ใจ (mind) คือ อารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้ ความสุข ในการเรยี นรู้ ความรู้สกึ ปลอดภัยในการเรียนรู้ การพฒั นาวชิ าชีพทีม่ ีประสิทธภิ าพ และ ประสิทธิผลจำเป็นต้องเกิดมาจากใจหรือมิติด้านในเพราะเป็นรากฐานของการพัฒนา อยา่ งยง่ั ยืนและมีความสุข
324 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ เมื่อวินัยและใจมารวมกันจะเกิดเป็นพลังของการเรียนรู้ พลังการคิด และพลงั การพัฒนา +วนิ ยั PLC ภาพประกอบ 7.5 ปจั จัยขับเคล่อื น PLC ความสุขที่ซ่อนอยู่ใน PLC ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุข มีหลายระดับ เช่น ความสุขจากการได้รับรางวัล ความสุขจากการได้ทำประโยชน์ให้กับ ผู้อื่นและส่วนรวม การทำ PLC แน่นอนว่าจะต้องพบกับปัญหาที่ท้าทาย และต้องใช้ สติปัญญาและความมุ่งมั่นพยายาม ในการแก้ปัญหานั้น อาจจะรู้สึกว่าเหนื่อย ไม่เห็น คุณค่าแลว้ แต่ขอให้มสี ตกิ ลับคืนมา มองไปขา้ งหนา้ ให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดกับวิชาชีพ และผู้รับบริการของเราและมุ่งมั่นพยายามทำให้สำเร็จ สุดท้ายเราจะพบกับความสุข ท่ไี มส่ ามารถซือ้ ไดด้ ว้ ยเงิน น่ีคอื ความสขุ ทีซ่ ่อนอยูใ่ น PLC ความสขุ ณ จดุ เริ่มตน้ ...สขุ ท่ีไดท้ ำในสิง่ ทต่ี นเองรัก ...สขุ ทีไ่ ดท้ ำในส่ิงทต่ี วั เองเชื่อ ...สขุ ท่ีไดแ้ สดงฝีมอื ใหค้ นทัง้ โลกไดร้ บั รู้
บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ 325 7.3 ปฏิบัตกิ าร PLC ดว้ ยวธิ ีการสรา้ งสรรค์นวัตกรรม 5I ปฏิบัติการ PLC หมายถึงการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบของกลุ่มผู้สอน ที่เป็น PLC เดียวกันเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ของ PLC จากการวิจัยของผู้เขียน คือ APP Model เป็นรูปแบบ การดำเนินการของกลุ่ม PLC ตามลำดบั ดังนี้ A : Analyze คอื การวิเคราะหค์ วามตอ้ งการจำเป็นของการพฒั นา โดยกลุ่ม PLC ร่วมกนั วเิ คราะหจ์ ากสารสนเทศ ท่ีหลากหลาย การวเิ คราะหส์ าเหตขุ องปญั หา และลงสรปุ ประเด็นที่ต้องการเรียนร้ขู องกลุม่ P : Practical wisdom คือ การทบทวนปญั ญาปฏิบัติของกลมุ่ เกย่ี วกบั ประเดน็ ท่ีตอ้ งการเรยี นรู้ โดยวิเคราะหจ์ ากประสบการณ์ความสำเรจ็ จากการดำเนินการทีผ่ า่ นมาว่ามีอะไรทท่ี ำไดด้ ี ปัญญาปฏิบตั ิเป็นองคค์ วามรู้ท่ีไดม้ าจาก การลงมอื ปฏบิ ัติแลว้ ถอดบทเรยี น เมอ่ื ถอดบทเรยี นแลว้ จะไดอ้ งค์ความรู้ มาสว่ นหนึ่งใช้เป็นจุดเร่มิ ตน้ ของ กระบวนการเรียนรแู้ ละพัฒนาต่อไป P : Plan, Do, Check, Reflection คอื การวางแผน การดำเนินการพัฒนา การตรวจสอบผลการพัฒนา และการสะท้อนผลการพฒั นาไปสู่วิธกี ารทด่ี ีขน้ึ มีลกั ษณะเปน็ วงจรการพัฒนาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง
326 บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ รูปแบบการดำเนินการของ PLC ตามรูปแบบ APP model แสดงได้ดัง แผนภาพตอ่ ไปน้ี A : Analyze คือ การวเิ คราะห์ความต้องการพฒั นา จากสารสนเทศต่างๆ P : Practical wisdom review คอื การทบทวนปญั ญาปฏิบัติ จากประสบการณ์ความสำเร็จ P : Plan, Do, Check, Reflection คอื การวางแผน การดำเนินการพฒั นา การตรวจสอบผลการพฒั นา การสะท้อนผลการพัฒนาไปสวู่ ิธีการทด่ี ีขนึ้ ภาพประกอบ 7.6 รูปแบบการดำเนินการของ PLC ตามรูปแบบ APP model ในสว่ นของ Plan, Do, Check, Reflection ควรดำเนนิ การอย่างเปน็ ระบบ และยังสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมการพัฒนางานได้ในขั้นนี้ ซึ่งมีวิธีการสร้าง นวตั กรรมทีเ่ รยี กว่า วิธกี ารสรา้ งนวตั กรรม 5I
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ 327 อัลเบริ์ตไอน์สไตน์ กล่าวว่า“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ความคิด และจินตนาการของเรามักไม่ค่อยมีอิสระเพราะถูกกะเกณฑ์ให้อยู่ในกรอบที่กำหนด กรอบ คอื ส่งิ ท่ีตกี รอบความคิดเอาไว้ แบง่ สว่ นว่าอะไรอยู่ข้างในและสว่ นใดอยู่ข้างนอก กรอบความคิด ทำให้สายตาและจินตนาการของเราอยู่ในกรอบที่วางไว้ และเมื่อนำ สมองสองซีกมาผนวกกบั เทคโนโลยีท่ที นั สมัยจะเกดิ นวตั กรรม วิธสี รา้ งนวตั กรรม 5I 1. Imagination จินตนาการ ระวังมโน การใช้มุมมองเชิงความคดิ 2. Ideation เพื่อพฒั นาวิสยั ทศั น์ มองไปไกลกวา่ จดุ แรงบนั ดาลใจ Inspiration อาศยั การคดิ เพื่อประมวลทิศทางทีค่ วรมุ่งไป จนิ ตนาการอาศัยการคดิ บนฐานความรู้ การก่อรา่ งแนวคิด กำเนิดความคิด ลงมอื ปฏบิ ัติ (Action) คดิ ผสานไอเดียท่ีหลากหลาย คดิ แบบนแ้ี ล้วลงมือทำ 3. Integration บรู ณาการ ไม่ใช่แคเ่ พียงปะติดปะต่อส่ิงต่างๆ เข้าดว้ ยกนั นวตั กรรมตอ้ งมคี วามควบแน่น กลัน่ เอาชดุ ข้อมลู ท่ีแตกต่างมารอ้ ยเรยี ง ออกมาเป็นข้อเสนอหรอื Solution 4. Insight ความรู้เชิงลกึ (Main concept) 5. Implement ทำใหเ้ กิดผล นวตั กรรมเกดิ จากการลงมือปฏบิ ตั ิ ไม่ใช่แค่การคิด
328 บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์ การสร้างนวัตกรรม 5I ควรยึดหลักว่า จินตนาการมีในทุกคน อย่าจำกัด ความคิดของเรา อยใู่ นกรอบความคิดเดมิ หรือกรอบของความกลัว การคิดแบบนวัตกรรม ระหว่างคำถามกับคำตอบ อะไรสำคัญกว่ากัน คำตอบ คือ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังเสมอ คำถามเป็นสิ่งที่ทำให้สามารถมองไปข้างหน้า การทำนวัตกรรม การเริ่มต้นตั้งคำถามที่ถูกต้องสำคัญมาก คำถามที่ถูกต้องมี ความสำคญั มาก ถ้าคำถามผิด จะไม่มีทางได้คำตอบที่ถูกต้อง ถ้าคำถามถูก จะค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนา จนกว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง คำถามที่ถูกต้องนำไปสู่ พลังทางความคิด (Power Thinking) เป็นความคิดที่มีพลังสร้างสรรค์ สิ่งที่อยู่ เบอ้ื งหลงั ของความสำเรจ็ คอื ความคิดทดี่ ี Cresitive Thinking (Creative + Positive) การคิดบวก “ความคิด และทัศนคติ” คือ จุดเล็กๆ ที่ทำให้คนทำงานแล้วปรากฏผลแตกต่างกัน เพิ่มความคิด ทางบวกจะส่งผลดีตอ่ ตนเอง การทำงานและความสำเร็จขององคก์ ร 1. มีความรู้สึกผกู พนั กบั องคก์ รและเพ่ือนรว่ มงาน 2. สรา้ งบรรยากาศสรา้ งสรรค์ การทำงานร่วมกนั 3. สอ่ื สารกับผอู้ ่นื ไดร้ าบรื่น 4. กลา้ คิด กล้าทำสงิ่ ใหม่ท่ีสร้างสรรค์ 5. เพม่ิ ความคิด พฤตกิ รรมบวกใหก้ ับตนเอง
บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์ 329 การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) หมายถึงการนำกระบวนการคิด ที่ให้ความสำคัญกับบุคคล ประกอบการใช้เครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาการ สร้างสรรค์นวัตกรรม โดยเน้นบุคคลเป็นหลัก ( Human center approach) มีกระบวนการดงั นี้ 1. Empathize การวเิ คราะห์กลมุ่ เปา้ หมาย การเขา้ ใจวา่ ผู้เรยี นต้องการอะไร 2. Design Point of View การวิเคราะหแ์ ละระบวุ ่าโจทยค์ ืออะไร โดยการกำหนดได้ชัดเจนว่าปญั หา ทีแ่ ท้จริงคืออะไร 3. Idea การเสนอแนวคิดและคำตอบ โดยการสรา้ งความคดิ ต่างๆ ใหเ้ กดิ ข้ึน หาวธิ กี ารแก้ปัญหา นวัตกรรม ตลอดจนการวพิ ากษ์ความคิดใหม่ จนกระทงั่ เปน็ ทีย่ อมรบั 4. Prototype การสรา้ งแบบจำลองจากความคิด ร่วมกบั ประสบการณ์ การบรกิ ารต่างๆ ทนี่ ำมาสนับสนนุ 5. Test การทดสอบหาคณุ ภาพ กับกลมุ่ เป้าหมาย และนำข้อเสนอแนะ Feedback มาปรบั ปรงุ พฒั นาต่อไป
330 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สร้างสรรค์ การสรา้ งนวตั กรรมดว้ ยวธิ ีการ 5I มบี ทปฏิบัติการดังต่อไปนี้ บทปฏบิ ตั ิการท่ี 1 Imagination คำชีแ้ จง ให้สำรวจแรงบันดาลใจ ประสบการณ์เดิม ความรู้ที่สืบค้นและจินตนาการ ของตนเองแลว้ เขยี นลงในตารางต่อไปน้ี แรงบนั ดาลใจ ประสบการณ์เดิม ความรทู้ ี่สบื ค้น จินตนาการ
บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ 331 บทปฏบิ ตั ิการท่ี 2 Ideation การก่อร่างแนวคดิ กำเนิดความคิด สงั เคราะห์แนวคดิ ท่ีหลากหลาย วางแผนการลงมือปฏบิ ตั ิ คำชี้แจง ให้ทบทวนจินตนาการ สังเคราะห์แนวคิด เลือกแนวคิดสู่การปฏิบัติ แล้วเขียนลงในตารางตอ่ ไปนี้ จินตนาการ สังเคราะหแ์ นวคิด เลอื กแนวคดิ สกู่ ารปฏบิ ัติ เหตผุ ล นำเหตุผลมาเรียบเรยี งตามหัวขอ้ ต่อไปนี้ 1. หลักการและเหตผุ ล / ท่มี า 2. วัตถปุ ระสงค์ 3. ขัน้ ตอนการปฏิบตั ิ ขน้ั ที่ 1 ............................................................................................................ ข้นั ท่ี 2 ............................................................................................................ ข้ันที่ 3 ............................................................................................................ ขน้ั ที่ .. .............................................................................................................
332 บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ บทปฏิบตั ิการท่ี 3 Integration & Insight การบรู ณาการความรูเ้ ชงิ รกุ วิธกี ารและเครื่องมือ คำช้ีแจง ใหด้ ำเนนิ การวางแผน / ขน้ั ตอน โดยบูรณาการความรู้ วธิ ีการ / เครอ่ื งมอื แล้วเขยี นลงในตารางต่อไปนี้ ขัน้ ตอน ความรู้เชิงลึก วิธกี ารและเครื่องมอื ข้ันตอนท่ี 1 ขั้นตอนท่ี 2 ขัน้ ตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขน้ั ตอนที่ 5
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสรา้ งสรรค์ 333 บทปฏิบตั ิการท่ี 4 Implement ทำใหเ้ กิดผล นวัตกรรมเกิดจาก การลงมือปฏบิ ตั ิ คำชแี้ จง ให้วิเคราะหก์ ำหนดการดำเนินการในแตล่ ะขน้ั ตอน แล้วเขียนลงในตาราง ตอ่ ไปน้ี ข้ันตอน ระยะเวลาดำเนินการ ผลทคี่ าดวา่ จะไดร้ บั ข้นั ตอนท่ี 1 ขน้ั ตอนที่ 2 ขั้นตอนท่ี 3 ขน้ั ตอนท่ี 4 ขน้ั ตอนที่ 5
334 บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สรา้ งสรรค์ 7.4 กรณศี ึกษาปฏิบตั กิ าร PLC บทปฏิบตั กิ ารท่ี 1 Imagination คำชี้แจง ให้สำรวจแรงบันดาลใจ ประสบการณ์เดิม ความรู้ที่สืบค้นและจินตนาการ ของตนเองแลว้ เขยี นลงในตารางตอ่ ไปนี้ แรงบนั ดาลใจ ประสบการณ์เดมิ ความร้ทู ี่สืบคน้ จินตนาการ กลมุ่ PLC กล่มุ PLC กลมุ่ PLC กลุม่ PLC มองภาพความสำเรจ็ ในอนาคตทเี่ กิดจาก ใช้กระบวนการ เลา่ ประสบการณเ์ ดมิ สบื คน้ องค์ความรู้ การใชก้ ระบวนการ เรียนรรู้ ว่ มกัน สะท้อนคดิ หรือปัญญาปฏบิ ตั ิ ทเ่ี ปน็ ประโยชน์ สะทอ้ นคณุ ภาพ ของผู้เรยี น สรา้ งแรงบันดาลใจ ของตนเองต่อเพ่ือน ในการนำมาใช้ และสอดคลอ้ งกับ แรงบันดาลใจ ในการพัฒนาผู้เรยี น หากนำมาแลกเปลยี่ น แก้ปญั หา โดยใช้สนุ ทรยี สนทนา แบง่ ปนั กจ็ ะทำให้ กลุ่ม PLC มคี วามรู้ ท่จี ะไปแก้ปญั หา
บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชิงสร้างสรรค์ 335 บทปฏิบตั กิ ารที่ 2 Ideation การก่อร่างแนวคิด กำเนดิ ความคิด สังเคราะห์แนวคดิ ทีห่ ลากหลาย วางแผนการลงมอื ปฏบิ ัติ คำชี้แจง ให้ทบทวนจินตนาการ สังเคราะห์แนวคิด เลือกแนวคิดสู่การปฏิบัติ แล้วเขียนลงในตารางต่อไปนี้ จนิ ตนาการ สงั เคราะหแ์ นวคิด เลือกแนวคดิ สกู่ ารปฏบิ ัติ เหตผุ ล Copy มาจาก กล่มุ PLC กลมุ่ PLC กลุ่ม PLC บทปฏบิ ตั ิการที่ 1 ผสมผสาน เลือกหรอื กำหนด ใหเ้ หตุผล ประสบการณ์เดมิ วิธีการปฏิบัติ เชิงวิชาการ กับความรู้ทส่ี ืบค้น ท่ีสอดคล้องกับ สนับสนุน เป็นแนวคิดในการ แนวคดิ ท่ีสงั เคราะหไ์ ด้ แนวคิด ดำเนนิ การ และการปฏิบตั ิ นำเหตผุ ลมาเรียบเรยี ง ตามหวั ข้อตอ่ ไปน้ี 1. หลกั การและเหตผุ ล / ท่ีมา 2. วัตถุประสงค์ 3. ข้ันตอนการปฏิบตั ิ ขนั้ ท่ี 1 ................................................................................................... ขั้นท่ี 2 ................................................................................................... ขน้ั ท่ี 3 ................................................................................................... ขัน้ ที่ .. ...................................................................................................
336 บทท่ี 7 การออกแบบ PLC เชงิ สร้างสรรค์ บทปฏบิ ตั กิ ารที่ 3 Integration & Insight การบูรณาการความร้เู ชงิ รกุ วธิ ีการและเครือ่ งมือ คำช้ีแจง ใหด้ ำเนนิ การวางแผน / ขั้นตอน โดยบรู ณาการความรู้ วธิ กี าร / เครอ่ื งมอื แล้วเขียนลงในตารางต่อไปนี้ ขน้ั ตอน ความรเู้ ชิงลึก วิธกี ารและเครือ่ งมือ ข้ันตอนท่ี 1 กลมุ่ PLC ระบุความรู้ / กลุ่ม PLC ระบุวธิ กี าร ทกั ษะทจ่ี ำเป็นตอ้ งใช้ หรอื กจิ กรรมยอ่ ย ขั้นตอนท่ี 2 ในแตล่ ะขน้ั ตอน และเครื่องมอื ที่ใช้ (ถ้ามี) การระบคุ วามร/ู้ ทักษะ จะชว่ ยกลุม่ PLC ในการหาโคช้ ผเู้ ชีย่ วชาญ ขัน้ ตอนที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 ขน้ั ตอนที่ 5
บทที่ 7 การออกแบบ PLC เชงิ สร้างสรรค์ 337 บทปฏบิ ตั ิการที่ 4 Implement ทำให้เกดิ ผล นวัตกรรมเกิดจาก การลงมือปฏิบัติ คำช้ีแจง ใหว้ ิเคราะหก์ ำหนดการดำเนินการในแต่ละขน้ั ตอน แล้วเขียนลงในตาราง ตอ่ ไปน้ี ข้นั ตอน ระยะเวลาดำเนนิ การ ผลที่คาดวา่ จะได้รบั ข้นั ตอนที่ 1 ระบรุ ะยะเวลาดำเนนิ การ ระบผุ ลที่คาดวา่ จะไดร้ ับ ของแตล่ ะขน้ั ตอน ในแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนท่ี 2 ข้นั ตอนท่ี 3 ขน้ั ตอนท่ี 4 ขน้ั ตอนท่ี 5
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362