Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ฟ้อนหางนกยูง : อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงในประเพณีออกพรรษาบูชาพระธาตุพนม

ฟ้อนหางนกยูง : อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงในประเพณีออกพรรษาบูชาพระธาตุพนม

Published by Nithipon Thimasan, 2022-01-31 05:14:55

Description: ฟ้อนหางนกยูง : อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงในประเพณีออกพรรษาบูชาพระธาตุพนม

Search

Read the Text Version

82 ภาพประกอบ 3 ภาพมุมสงู วัดพระธาตุพนม ทีม่ า : http://ibreak2travel.com/2018/05/19/review-nakhon-phanom/ ตามตานานอุรังคธาตุ เม่ือช่วงแรกพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่กล่าวถึงพุทธทานายถึงการ เกิดเมอื งตา่ ง ๆ ในบรเิ วณลมุ่ แมน่ ้าโขงและทรงกล่าวกับพระอานนท์วา่ เมอ่ื พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว จึง นาเอาพระอุรังคธาตุมาบรรจุไว้ที่ดอยกัปปนคีรีหรือภูกาพร้าหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพานได้ 8 ปี เหล่าสาวกได้นาเอาพระอุรังคธาตุมายังสุวรรณภูมิและบรรจุไว้ในภูกาพร้า โดยในช่วงแรกได้สร้าง เป็นอูบ มุ่งไว้ ตานานยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของเมืองต่าง ๆ บริเวณลุ่มน้าโขง ชี มูล ถึงการติดต่อ ทาง การเมืองการค้าและเครือญาติ พร้อมท้ังเล่าแบบนิยายปรัมปรา มีการกลับชาติมาเกิดอภินิหาร ต่าง ๆ มากมาย ในช่วงทส่ี องกลา่ วถึงในชว่ งอาณาจักรล้านชา้ งด้านประวัติศาสตร์ ตงั้ แต่ตน้ อาณาจักร จนมาถึง ช่วงปัจจุบันจากที่กล่าวมาผู้วิจัยสันนิษฐานว่าผู้เขียนอุรังคนิทานเขียนข้ึนในระยะเวลาของ อาณาจักรล้าน ช้างคือ พ.ศ. 2072 และเขียนสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตุได้จากในช่วงแรกเป็น การเขยี นจากนิทาน หรอื คาบอกเล่าและช่วงท่ีสองจึงเขียนจากการมเี ค้าโครงประวตั ิศาสตร์ที่เป็นลาย ลักอักษร (เสาวรัตน์ ทศศะ, 2556 : 165)

83 ภาพประกอบ 4องค์พระธาตุพนม ท่ีมา : ศภุ กร ฉลองภาค พระธาตุพนมถือเป็นปูชนียสถานสาคัญอันเป็นที่เคารพสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนริม สองฝ่ังโขงและประชาชนทั่วไปพระธาตุพนมได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษาเล่มท่ี 52 หน้า 3687 ลงวันท่ี 8 มีนาคม 2478 และกาหนดขอบเขต โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเลม่ ท่ี 96 ตอนที่ 160 หนา้ 3217 ลงวันท่ี 18 กันยายน 2522 มี พ้ืนทีประมาณ 17 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวาองค์พระธาตุพนม ต้ังอยู่ภายในวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร ตาบลธาตุพนม อาเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม สถานที่ต้ังขององค์พระธาตุเป็น เนนิ ดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ 2 เมตร เนนิ ดนิ อันเปน็ ทต่ี ้งั ขององค์พระธาตุพนมนี้กล่าวเรียก ในตานานว่า “ภูกาพร้า” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้าโขง (ห่างประมาณ 600 เมตร) ทิศ ตะวันออกติดถนนชยางกูร (ถนนสายนครพนม-อุบลราชธานี) ห่างจากถนนสายนี้ไปทางทิศ ตะวันออกจะพบบงึ น้ากวา้ งประมาณ300 เมตร ยาวขนานไปกับแม่น้าโขง เรยี กกนั ในท้องถ่ินว่า “บึง ธาตุ” และเช่ือกนั ว่าบึงนถี้ ูกขดุ ขน้ึ ในอดีตเพื่อนาเอาดนิ ท่ีได้มาปั้นอิฐก่อองคพ์ ระธาตพุ นมขนึ้ องค์พระธาตุพนม เป็นมหาเจดีย์โบราณ เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธ์ิมานาน เป็นท่ีบรรจุ พระพุทธอุรังคธาตุ ท่ีแปลกันมาว่า “พระธาตุหัวอกพระพุทธเจ้า” เป็น พุทธเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองของ ไทยล้านชา้ งมาแตโ่ บราณ เปน็ โบราณสถานที่ให้ความรู้ ทางประวัติศาสตร์ ศลิ ปกรรม และวัฒนธรรม เก่าแก่ ประชาชนชาวล้านช้างนับแต่ พระมหากษัตริย์ลงมาได้เคารพบูชาและอุปถัมภ์บารุงไว้เป็นมิ่ง ขวัญจิตใจของชาวพุทธ ซึ่งจะหาเจดีย์เก่าแก่ให้เราได้ชมอย่างนี้ได้ยากในประเทศไทย จึงสมควรที่เรา ทงั้ หลาย จะชว่ ยกนั รักษาไวใ้ ห้เปน็ มรดกของชาตบิ ้านเมอื งและพระพทุ ธศาสนา

84 ที่ตั้งพระธาตุพนมปัจจุบันนี้องค์พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร ตาบลและอาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในเขตภาค 4 อยู่ฝั่งขวา (ตะวันตก) ของ แม่น้าโขง อันเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและลาว แต่โบราณสถานที่ ประดิษฐานองค์ พระธาตุพนมนี้ เรียกว่า “ภูกาพร้า” หรือ “ดอยกาพร้า” ภาษาบาลี ว่า “กปณบรรพต” หรือ “กปณ คีร”ี ตั้งอยรู่ ิมฝง่ั แมน่ ้า “ขลนุ ที” เป็นเขตแขวงนคร ศรีโคตรบรู โบราณ นครนตี้ านานบอกวา่ อยู่ใต้ปาก เซบ้ังไฟ ซึ่งเป็นสายน้าแควหนงึ่ ไหลจากภูเขาแดนญวน ตกแม่น้าโขงตรงธาตุพนม เข้าใจว่าเป็นเมือง ร้างแห่งหน่ึง อยู่ บ้านเรียกกันบัดน้ีว่า “เมืองขามแท้” ริมแม่น้าเซบ้ังไฟทางใต้ ลึกจากฝ่ังโขงเข้าไปใน ประเทศลาวประมาณ 5-6 กม. ชาวบา้ นเรียกกนั วา่ “เมืองขามแท”้ ชือ่ นครต่าง ๆ สมยั สร้างพระธาตุ 1. นครศรีโคตรบรู อย่ฝู ั่งซ้ายแมน่ ้าโขงใตล้ าน้าเซบ้งั ไฟ ในประเทศลาว 2. แคว้นจุลมณี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้าโขงเหนือแคว้นศรีโคตรบูร เห็นจะปกคลุมบริเวณ หลวงพระบางและสบิ สองจุไทยบัดนี้ 3. เมืองหนองหานหลวง อยู่ตะวันตกแคว้นศรีโคตรบูร เมืองหลวงต้ัง อยู่ริมฝั่งหนองหาน เมอื งสกลนครบัดน้ี 4. เมืองหนองหานน้อย อยู่บริเวณจังหวัดอุดรตะวันตก เมือง เห็นจะตั้งเมืองอยู่ริมฝ่ังหนอง หาน อาเภอหนองหาน จงั หวัดอดุ รธานี 5. แคว้นอินทปัตถนคร อยู่ใต้ลงไป ได้แก่ประเทศกัมพูชาบัดนี้ แต่ ทราบว่าเมืองหลวงอยู่ท่ี ไหนเจ้าผู้ครองนครทั้ง 5 น้ี ได้มาร่วมสร้างองค์พระธาตุพนมองค์ละด้านตาม ทิศทางของตนต้ังอยู่ สมัยโน้นเรยี กวา่ “ก่ออโุ มงค์อุรังคธาตุ” และยงั มชี ่อื แควน้ ใหญ่ๆ อกี 2 ท่ไี ม่ได้ร่วมสร้างคอื 6. เมืองสาเกตหรือร้อยเอ็ดประตู ต้ังอยู่เมืองร้อยเอ็ดบัดนี้ คงมีอาณาเขตแผ่คลุมไปปลาย นา้ มลู นา้ ชีทางตะวนั ตก 7. แคว้นกุลุนทนครหรือทวารวดีก็เรียกเห็นจะได้แก่ลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา ในภาคกลางแห่ง ประเทศไทยบัดน้ี (พระเทพรัตนโมลี, 2557 : 31-67) พระธาตพุ นมมกี ารบูรณะซ่อมแซมหลายครั้งด้วยกัน ครั้งท่ีหน่งึ ใน พ.ศ. 500 โดยพระ เจ้าสุ มิตตธรรมวงศากษัตรยิ ์แควน้ ศรโี คตรบูร ไดท้ าการบรจิ าคข้าทาสในการรับใช้งานตา่ ง ๆ ขององค์ พระ ธาตพุ นม ครัง้ ที่สอง พ.ศ. 2233 2235 โดยพระครดพนเสม็กจากล้านช้างได้ทาการบูรณะครง้ั ใหญ่ ทา การต่อฐานเดิมเป็นสามช่วง ช่วงท่ี 1 เป็นรูปทรงดอกบัว ช่วงท่ี 2 องค์ทาเป็นองค์ระฆังรูปโกศ ช่วงที่ 3 เป็นปมมีรู เอาไว้ปักฉัตรพระธาตุที่ทาจากทองฝังเพชรและพลอยประมาณ 3000 กว่าเม็ด คร้ังท่ี สาม พ.ศ. 2444 โดยพระครูวิโณจน์รัตโนบลเป็นผู้นาในการซ่อมแซมในช่วงนั้นมีข่าวลือที่ทาให้มีการ คัดค้าน จากชาวบ้านเพราะกลัวภูตผีอาละวาดและมีคนปล่อยข่าวลือในแถบอุบลราชธานีว่าหากเอา เงินทองไว้จะ ไม่ดีต้องนามาบริจาคสร้างวัดทาให้สามารถซ่อมแซมอย่างรวดเร็ว ครั้งที่สี่ พ.ศ. 2483

85 กรณีพิพาทดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศลทาให้ทางรัฐบาลทาการบูรณะพระธาตุพนม เพื่อเป็นการ สร้างหลักเขต แดนของไทยให้ชัดเจน ในครั้งนี้การซ่อมแซมเกิดปัญหาอย่างมากในการทางาน เน่ืองจากว่าฝร่ังเศลทา การยิงและทิ้งระเบิด ข่มขู่ การบูรณะในองค์พระธาตุมีการต่อเติมจากเติมขึ้น ไปอกี 10 เมตร หากแตไ่ ม่มี การเสรมิ ยอดและมกี ารเปดิ ของเพื่อระบายอากาศ 1.1.2การพงั ทลายขององคพ์ ระธาตพุ นม วันที่ 11 สิงหาคม 2518 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 4 ค่า เดือน 9 ปีเถาะ พระธาตุพนมได้ พังทลายลงไปทางทิศตะวันออกท้ังองค์ ทับวัตถุก่อสร้างต่าง ๆ ซ่ึงอยู่ ใกล้เคียงนั้นเสียหายหมด เช่น กาแพงแกว้ ชน้ั ท่ี 1-2 หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้, ธาตหุ อบชู าข้าวพระ, ศาลาการเปรยี ญ และพระ วิหารหอพระแก้ว ส่วนฉัตรพระธาตุ ซ่ึงทาด้วยทองคาน้ันตกกระเด็นไปพิงอยู่ฝากาแพงพระวิหาร หอ พระแก้วได้รับความ เสียหายเล็กน้อย การที่พระธาตุพนมได้พังทลายลงครั้งน้ีสืบเนื่องมาจากฐานเดิม หรือ พระธาตุช้ันที่ 1 ซึ่งมีความสูงประมาณ 8 เมตร เก่าแก่และผุพังมาก จนไม่สามารถทานน้าหนัก สว่ นบนไดแ้ ละประจวบกับระหว่างน้นั ฝนตกพรา ๆ ติดต่อกันหลายวัน บางคร้ังก็ตกหนกั และมพี ายุพัด แรงอกี ด้วย จึงเป็นเหตุให้พระธาตุซ่งึ เกา่ แกแ่ ละผพุ งั อยู่ แล้วเรม่ิ ผพุ ังมากขึ้นจนกระท่งั หักลม้ ลงในที่สุด วันที่ 8 กันยายน 2518 เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ทาการรื้อถอน ขนย้ายซากปรักหักพังขององค์พระ ธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจานวน 50 คน ใช้ ทางานอยู่ 170 วัน จึงแล้วเสร็จ ในระหว่างการขุดค้น ขนย้ายซากปรักหกั พังพร อยนู่ ั้น ไดพ้ บวัตถสุ ง่ิ ของมีค่ามากมายประมาณ 14,700 ช้ินเศษ ของจานวน น้ีได้ เข้าบรรจุไว้ในพระธาตุองค์ใหม่เป็นบางส่วน และบางส่วนจะได้เก็บไว้ท่ีพิพิธภัยปรักหักพังพระ ธาตุเก็บไวท้ ่พี ิพธิ ภณั ฑ์วัด อาการพังทลายไม่ได้ทรดุ ท่ีฐาน หากเริม่ จากยอดทเ่ี ปน็ นา้ หนัก ในแนวดงิ่ ทหี่ นกั มาก มากดคอบวั ฐานช้นั ที่ 1 และช้นั ที่ 2 ให้บิออกเป็นแนวฉกี ลกึ ไปในเจดีย์ เพราะอิฐเปยี กยุ่ยจากฝนตก ติดต่อกันอย่างหนกั ตอ่ จากนน้ั อิฐผนังทีย่ ุย่ อยูแ่ ลว้ ก็ค่อย ๆ ทลายลงเปน็ แถบ ๆ ยอดเจดียก์ ด พุ่งลงมาตามแนวดงิ่ หักลงเปน็ ท่อน ๆ องคพ์ ระธาตุไดล้ ้มฟาดลงมาทางทศิ ตะวนั ออก แตกหกั ออกเปน็ ทอ่ น มลี ักษณะเปน็ 3 ตอน คอื ตอนท่ี 1 คือฐานชน้ั ลา่ งที่ก่อด้วยอิฐแดงจาหลกั ลวดลายสงู 8 เมตร คอื ดอนทเ่ี กา่ ที่สดุ สร้างด้วยอิฐเรียงสอด้วยวัตถุเหนียวแตกทับตัวเอง หลุดร่วงและล้มเป็นกองเศษอิฐแตกกระจายออก ทัง้ 4 ดา้ น พนู ขึน้ เปน็ กองอฐิ ขนาดใหญ่ ตอนที่ 2 ระหว่างเรือนธาตุชั้นท่ี 2 กับฐานบัลลังก์เป็นส่วนท่ีได้รับการบูรณะในภายหลัง แตกออกเปน็ 2 ทอ่ น ทอ่ นลา่ งละเอยี ดหมด ทอ่ นบนยังดอี ยู่ ลม้ กองไปตามทางทิศตะวนั ออก

86 ตอนที่ 3 คือส่วนยอดท่ีสร้างครอบยอดเดิมไว้เมื่อคร้ัง พ.ศ. 2483 เป็นโครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็กยาวประมาณ 20 เมตร (ความสูงใหญ่ 10 เมตร ระยะของความสูงเดิมจากฐานบัลลังก์ข้ึน ไป) หักล้มไปทางทิศตะวันออกทับศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาแหลกละเอียดและหอพระแก้วราบ ทะลายลงไปท้ังสองหลังเฉพาะหอพระแก้วเหลือแต่เพียงมุขด้านหน้าไว้เท่าน้ัน ส่วนฉัตรที่ทาด้วย ทองคาสวมยอดพระธาตุนนั้ เอนปะทะพิงอยู่กับผนังหอพระแก้วความเสียหายของฉัตรบุบสลายเพียง เลก็ นอ้ ย ความเสยี หายเนอื่ งจากพระธาตุพนมล้ม มีดงั นี้ 1. กาแพงแกว้ รอบองค์พระธาตุพนมชัน้ ท่ี 1 และชัน้ ที่ 2 2. หอขา้ วพระทรงปราสาทยอดมณฑป ซึง่ สร้างในสมัยเจ้าพระยานครหลวงพิชติ ทศทิศราช ธานศี รโี คตรบรู หลวง บูรณะพระธาตพุ นมเม่ือ พ.ศ. 2153 3. ศาลาการเปรยี ญหรือโรงธรรมสภาสรา้ งเม่อื พ.ศ. 2466 4. วิหารหอพระแก้ว หรือวิหารหลวง แรกสร้างในสมัยพระเจ้าโพธิสารได้บูรณะพระธาตุ พนม เมอื่ ราว พ.ศ. 2073 5. หอพระด้านทิศเหนือและทิศใต้ส่วนพระอุโบสถซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของหอพระแก้ว รอดพ้น อันตรายไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะอาคารทั้งสองสร้างอยู่ใกล้ชิดกันมาก (ระยะห่างเพียง 5 เมตร เทา่ น้นั ) ภาพประกอบ 5พระธาตุพนมล้ม ทม่ี า : http://www.watpamahachai.net/Document12_6.htm

87 ภาพประกอบ 6พระธาตุพนมล้ม ท่ีมา : http://www.haii.or.th/ จากการศึกษาข้อมูลและเอกสารท่ีงานวิจัยข้องผู้วิจัยพบว่าสาเหตุในการพังทลายลงของ องค์พระธาตุพนม สันนิษฐานได้ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2518 ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว จึงทาให้องค์ พระธาตุเกดิ รอยร้าว และสภาพอากาศหลังจากน้นั มีฝนตกหนัก ลมพดั แรง จงึ ทาใหอ้ งค์พระธาตุพนม คอ่ ย ๆ พังทลายลงมาในทีส่ ุด จากเหตกุ ารณท์ ี่เกิดขึ้นทาให้พุทธศาสนิกชนท้งั ในจังหวัดนครพนม และ ผู้ท่ีมีจิตศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนมทั่วทุกสารทิศเกิดความสะเทือนใจเป๋นอย่างมาก แต่ด้วยบารมี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ในรัชกาลที่ 9) จึงเกิดการบูรณะพระธาตุพนมให้ เป้นที่ศรทั ธาของพทุ ธศาสนิกชนมาจากอดีตจนถึงปจั จบุ นั ภาพประกอบ 7องค์พระธาตุพนม พ.ศ. 2480 ที่มา : http://www.watthat.com/show.php?type=6&id=71

88 1.1.3การบรู ณะองคพ์ ระธาตุพนม วันท่ี 26 ธันวาคม 2518 ถึงวันท่ี 9 มกราคม 2519 (7 วัน 7 คืน) มีงานสมโภชพระอุรังค ธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ มาเป็น ประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์การ ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ได้สร้างครอบพระธาตุองค์เก่าช้ันที่ 1 หรือ ท่ีเรียกว่าอุโมงค์เดิม ซึ่งไม่ได้ พังทลายทั้งหมด ยังเหลือเป็นกองอิฐอยู่สูงประมาณ 5 เมตร การก่อสร้างทาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีรูปทรงสเี่ หล่ียมเหมือนของเดิม ทกุ ประการ สูงจากระดับพ้นื ดิน 500.60 เมตร ฐานวัดระดับพ้นื กวา้ ง ด้านละ 13 เมตร วัดสงจากระดับพ้ืน 64 เซนติเมตร กว้างด้านละ 12.30 เมตร การดาเนินการ ก่อสรา้ งแบ่งออกเป็น 2 ตอน คอื 1. สร้างโครง 2. ประดบั ตกแตง่ ลวดลายสาหรับการสร้างโครงน้ันทา ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก บริษัทอิตาเลียนไทย เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในราคา 4,450,000 บาท ทาง บริษัทได้ทาการขุดรากลงเข็ม ในวันท่ี 12 พฤษภาคม 2519 ต่อมาในวันที่ 28-29 พฤษภาคม ศก เดียวกัน ทาง วัดพระธาตุพนม อันมีท่านเจ้าคุณพระเทพรัตนโมลีเป็นประธาน พร้อมด้วยกรมการ นครพนม กรมการอาเภอธาตุพนม และประชาชนชาวธาตุพนมมีนายพิศาล มูลศาสตร์สาธร ผู้ว่า ราชการจังหวัดนครพนมเป็นประธาน ได้ทาพิธีลงรากฝังเข็ม พระธาตุพนมเพื่อให้เป็นสิริมงคลในการ ก่อสรา้ งพระธาตุองคใ์ หม่ การประดบั ตกแต่งลวดลาย หลังจากสรา้ งโครงพระธาตุเสร็จแลว้ 1 ปี จึงได้ มีการประดับตกแตง่ ลวดลาย คณะกรรมการอานวยการบรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมได้มอบหมายให้ กรมศิลปากรเปน็ ผู้ดาเนินการประดบั ตกแต่งให้เหมือนของเดิมทุกประการ ในวันที่ 22 มีนาคม 2522 ทางรัฐบาลได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการ พระราชพิธียกฉัตรยอดองค์พระธาตุพนม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดาเนินในพระราช พิธีเชิญพระบรมสารีริกธาตุ(พระอุรังคธาตุ) ข้ึนบรรจุในองค์พระธาตุพนม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ปี เดียวกัน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวหิ าร อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระธาตุพนมท่ีพังพลาย ลงตามกาลเวลา กก็ ลับมาตัง้ ตระหง่านสูงเสียดฟา้ ณ ริมฝั่งโขง ใหป้ ระชาชนไดส้ ักการะอกี ครงั้ และยัง เปน็ ศนู ยร์ วมใจยดึ มน่ั ศรทั ธาในพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนกิ ชนสองฝ่ังโขงอย่างไมเ่ สือ่ มคลาย

89 ภาพประกอบ 8 พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว ฯ ในรชั กาลที่ 9 และสมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าชฯ สยามมกุฎราชกุมารฯ(รัชกาลท1่ี 0) เสด็จวัดพระธาตพุ นม อาเภอธาตพุ นม จังหวดั นครพนม ทม่ี า : http://www.watpamahachai.net/Document12_6.htm ภาพประกอบ 9พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ฯ ในรัชกาลท่9ี ทรงบรรจพุ ระบรมสารีริกธาตุ ทีม่ า : http://www.watpamahachai.net/Document12_6.htm

90 1.1.4พระธาตุพนมในยุคปจั จุบนั ปัจจุบันในทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานเทศกาลนมัสกาลพระธาตุพนม ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือระหว่างวันขึ้น 8 ค่า จนถึงวันข้ึน 15 ค่า เดือน 3 (วันมาฆบูชา) ชาว พุทธ ท้ังมวลเป็นท่ีรู้จักกันท่ัวไปว่า บุญเดือนสาม ถือเป็นโอกาสอันดีของชาวพุทธที่จะได้นาผลผลิตท่ี เกบ็ เกย่ี ว ไดต้ ามฤดเู ปน็ พทุ ธบชู า เป็นประเพณีการถวายขา้ วพชื ภาค และการแห่กองบญุ ของชาวพุทธ และข้าโอกาสอันถือเป็นสิริมงคลและที่ค่าย่ิงในชีวิต พระธาตุพนมถือเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจเป็นศูนย์ รวมของ การถ่ายโอนทางวฒั นธรรมอนั เก่าแก่ของสังคมพทุ ธในแถบลุ่มน้าโขงแห่งน้ี (สมชาย มณีโชติ, 2554 : 34-38) นอกเหนือจากประเพณีในบุญเดือนสามนั้น พุทธศาสนิกชนชาวอีสานต่างได้ให้ความ สนใจในประเพณีออกพรรษาซึ่งมีพิธีกรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ณ บริเวณวัดพระธาตุ พนม อาเภอธาตุพนม จงั หวัดนครพนม ภาพประกอบ 10บรเิ วณหนา้ วดั พระธาตุพนม ทีม่ า : ศภุ กร ฉลองภาค วัดพระธาตุพนมจึงเป็นศาสนสถานท่ีศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวอีสาน แห่งสาคัญที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จากการศึกษาพบว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและ ศิลปะการแสดงของท้องถ่ิน โดยเฉพาะอัตลักษณ์วัฒนธรรมท่ีปรากฏ พบว่า อัตลักษณ์วัฒนธรรมมี ความหลากหลายมิติซึ่งถือเป็นแกนกลางของการศึกษาด้านสังคมพหุวัฒนธรรม เน่ืองจากวัฒนธรรม คือระบบหนึ่งที่เป็นการก่อร่างสร้างความสัมพันธ์จนให้เกิดเป็นรูปธรรมของอัตลักษณ์หรือตัวตนของ สังคมในแต่ละพ้ืนท่ี ในท่ีน้ีผู้วิจัยได้นาเสนออัตลักษณ์วัฒนธรรมท่ีเก่ียวข้องกับศิลปะการแสดง ฟ้อน

91 หางนกยงู ทีใ่ ช้ในการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนม อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ใน ประเพณอี อกพรรษา จากการศึกษาพบว่าความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนท่ีมีมาจากหลายเช้ือชาติท่ีแสดง ความศรัทธาด้วยการเคารพบูชาและการฟ้อนบูชานั้นมีความโดดเด่นในกลุ่มชนที่แสดงออกถึงค วาม เป็นชนชาติด้านทางศิลปะการแสดงหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการแสดงจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็น ชาตทิ ี่สบื ทอดกนั มาและยงั ดารงอยู่ ดังน้ันจึงควรศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมเพื่อสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมด้าน ศลิ ปะการแสดงดังนี้ 1.2ความหมายของอตั ลักษณว์ ฒั นธรรม “อัตลักษณ์”(Identity) ในแวดวงวัฒนธรรมศึกษา(cultural studies) มีความหมายถึง คุณสมบัติท่ีเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลหรือสิ่งน้ัน ในพจนานุกรมภาษาไทย – อังกฤษ คาแปลของ Identity คือ เอกลักษณ์ น่ันก็คือส่ิงที่เป็นคุณสมบัติของคนหรือส่ิงนั้น และมีนัยขยายต่อไปว่าเป็น คุณสมบัติเฉพาะของส่ิงนั้น ท่ีทาให้สิ่งน้ันโดดเด่นหรือแตกต่างจากสิ่งอื่นขึ้นมา การนิยามความหมาย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปได้ตามบริบท มิได้หมายถึงคุณสมบัติเฉาพะตัวอีกต่อไป ดังนั้น คาว่า อัตลักษณ์ ดู จะเหมาะสมกว่าคาว่า เอกลักษณ์ ในความหมาย Identity ในยุคปัจจุบัน ในอีกด้านหน่ึงอัตลักษณ์ก็ เกี่ยงกับมิติภายในของความเป็นตัวเราอย่างมากท้ังในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด เพราะมนุษย์ให้ ความหมายหรือเปลี่ยนแปลงความหมายเกี่ยวกับตนเองในกระบวนการท่ีเข้าสัมพันธ์กับโลกและปริ มลฑล (อภิญญา เฟ่อื งฟูสกลุ , 2546 : 1-6) อัตลักษณ์มีความสัมพันธ์อย่างมากในการเปล่ียนแปลงทางวัฒนธรรมในปัจจุบัน คานิยาม ของ วฒั นธรรม หรืออารยธรรม คอื องคร์ วมทซี่ บั ซ้อน ซึง่ รวมถึงความรู้ ความเชื่อ ศลิ ปกรรม กฎหมาย ประเพณี ความสามารถ และลักษณะนิสัยอ่ืน ๆ ที่คนได้รับมาในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหน่ึงของสังคม ที่ครอบคลุมหลายส่ิงหลายอย่าง ท้ังที่เป็นวัตถุ และความคิด ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ เอฟดายส์ ได้แยก ความหมายจากท่ีปรากฏ ใช้อยใู่ นปจั จบุ นั โดยนกั วิชาการสานกั ต่าง ๆ ออกเปน็ 5 กล่มุ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1.วัฒนธรรมคือรูปแบบของปรากฏการณ์และเหตุการณ์ท่ีได้สังเกตเห็น pattern of observed wents) ท่ีเป็นทัศนะของนักพฤติกรรมศาสตร์ behaviarist และวัตถุนิยม ศาสตราจารย์ ตายส์ประชดว่าในกรณีวัฒนธรรม อยู่เพื่อให้คนข้างนอกมองไม่ได้มีไว้สาหรับผู้ถูกศึกษาวิจัย (เจ้าของ วฒั นธรรม) ใช้

92 2.วัฒนธรรมในฐานะเป็นบุคลิกภาพความหมายน้ีเป็นความหมายที่นัก มานุษยวิทยาสานัก “วฒั นธรรมและบุคลกิ ภาพ” (culture and personalityใช้ นักจติ วิทยาจานวนหนงึ่ ก็ใชด้ ้วย 3. วัฒนธรรมคอื การรับรู้ นกั มานุษยวิทยากลุ่มทีเ่ รยี กตนเองว่า “นกั มานษุ ยวิทยาสานักการ รบั รู้” (cognitivBanthropologists ยึดถือความหมายนี้ 4. วัฒนธรรมคือโครงสร้างพ้ืนฐานของจิตมนุษย์ น่ีเป็นความหมายท่ีเลวี สโตรส นัก มานษุ ยวทิ ยาผยู้ ิ่งใหญ่ของฝรง่ั เศสใช้ 5. วัฒนธรรมคือความหมาย อันเป็นที่รู้กันท่ัวไป หรือเป็นสาธารณะและนักมานุษยวิทยาอืน่ ๆ หลายคนใช้ความหมายนี้โดยได้รับสืบต่อกันมาในรูปของสัญลักษณ์และแสดงออกในรูปของ สัญลักษณ์ซ่ึงผู้คนในการติดต่อสื่อสาร เก็บรักษาไว้ และพัฒนาเพื่อสร้างเสริมความรูเ้ กี่ยวกับชวี ิตและ ทัศนะที่มีต่อชีวิตแม้ว่าความคิดเรื่อง ความหมายอาจตีความไปได้หลายทาง มุ่งไปที่รูปแบบของจิต วิสัยหรือความรสู้ ึกส่วนตัวท่ีการสนทนาและการกระทาท้ังสองอยา่ งและรวบรวมจัดระเบียบขึน้ (อคิน รพพี ฒั น์, 2551 : 72-76) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอัตลักษณ์ถูกก่อตัวข้ึนมาโดยผ่านการปฏิสังสรรค์หรือการมีส่วนร่วม ระหว่างบุคคลในสังคมไปยังในบุคคลอ่ืน ๆ ก็จะถือว่ามีอัตลักษณ์ท่ีหลากหลาย และเม่ือแต่ละบุคคล ยอมรับในอัตลักษณ์ใดอัตลักษณ์หน่ึงในขณะเวลานั้นมันมีกระบวนการที่แตกต่างกันในการแทนท่ี ในขณะที่บุคคลทาการกาหนดตาแหน่งของตนเอง และถูกกาหนดตาแหน่งในทางสังคม กระบวนการ ท่เี กดิ ขนึ้ นไ้ี ด้ คานงึ ถงึ จดุ ที่เนน้ ความแตกตา่ ง ความหลากหลายหลายในการสรา้ งอัตลักษณ์ท่ีเทา่ เทียม กบั การตง้ั คาถามว่าอัตลักษณ์ท้ังหลายนี้ได้เชื่องโยงกับสงั คมโดยมีการม่งุ เป้าหมายไปที่ความสาคัญต่อ มมุ มองทางสังคมของอัตลักษณ์ท่จี ะนาเราไปสารวจ โครงสร้างตา่ ง ๆ โดยผ่านชวี ิตของเราท่ีถูกจัดการ กับอัตลกั ษณ์ต่าง ๆ ของเราที่ถกู จดั เก็บไว้เข้าท่ีดว้ ยโครงสร้างต่าง ๆ ทางสงั คมและเราก็มสี ่วน ร่วมใน การกอ่ ตวั ของอัตลักษณข์ องตัวเราเองด้วยเชน่ กัน สรุปได้ว่าอัตลักษณ์วัฒนธรรมได้สร้างคุณค่าทางศาสนา ค่านิยมเรื่องเพศ คุณค่าประเพณี วัฒนธรรมเก่า ๆ หรอื คา่ นิยมของกลมุ่ ชาติพันธ์ุ ล้วนแลว้ กระทบกระทง่ั ในรูปแบบต่าง ๆ จากพลงั ของ โลกาภิวัฒน์ ท้ังในระดับจุลภาคในแง่แบบแผนชีวติ ประจาวันของปัจเจกชน ในแง่การมีปฏิสัมพันธ์กับ ผอู้ ่ืน จนถึงระดับทีก่ ลายไปเปน็ ขบวนการเคล่ือนไหวทางสงั คม เราจะเห็นไดจ้ ากขบวนการทางศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมใหม่ได้เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในประเทศต่าง ๆ มันเป็นปรากฏการณ์ทาง สังคมท่ีทาให้ต้องมีการทบทวนคาว่า วัฒนธรรม หรือ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซ่ึงเป็นสิ่งท่ี นักวิชาการทางด้านมนษุ ยวทิ ยาได้นามาใชก้ ับสิ่งที่เป็นตัวตนหรือลกั ษณะเฉพาะโดดเด่นจากท่ัว ๆ ไป โดยมีกระบวนการสร้างตัวตนและอัตลักษณ์ของกลุ่มเกิดจากการผสมผสานองค์ประกอบทาง วัฒนธรรมท่ีซับซ้อนและเป็นท่ีให้การยอมรับในกลุ่มประชากร ชุมชน และภาพรวม รวมไปถึงการ ปฏิบัติสืบต่อจากกลุ่มประชากรในยุคดั้งเดิมจนมาถึงรุ่นลุกหลายในปัจจุบันอย่างต่อเนื่องจากความ

93 หลากหลายทางด้านอัตลักษณ์วัฒนธรรมท่ีมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถ่ินที่มีความเช่ือของ กลุ่มชนแต่ละกลุ่ม โดยส่วนใหญ่คนอีสานนับถือผีและพระพุทธศาสนาควบคู่กันไปคนอีสาน มีเคร่ือง ยึดเหนี่ยวทางจติ ใจของคกู่ บั คนอสี าน ซ่งึ พระธาตุพนมเปรยี บเสมือนปชู นยี สถานอันเปน็ ศูนยร์ วมจิตใจ ของประชาชนท้ังสองฝ่ังโขง พระธาตุพนมเป็นโบราณสถานที่บ่งบอกถึงอารยธรรมในลุ่มน้าโขง ทางด้านของสังคม ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ที่ก่อเกิดเป็นความเชื่อความศรัทธาข อง พุทธศาสนกิ ชนที่แสดงออกตอ่ องค์พระธาตพุ นมอย่างชดั เจน อัตลักษณ์วัฒนธรรมมีปรากฏในงานบูชาพระธาตุพนมจากการศึกษามีพิธีกรรมทางพุทธ ศาสนา ประเพณีไหลเรอื ไฟ และการฟอ้ นบชู าพระธาตุพนมซึ่งมคี วามสาคญั ดังน้ี 1.2.1. พิธกี รรมทางพระพุทธศาสนา วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า \"วันมหาป วารนา\" คาว่า \"ปวารนา\" น้ันแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันท่ี 19 ตุลาคม 2556 ท้ังน้ี วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทาสังฆกรรมใหญ่ท่ีเรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซ่งึ เป็นการเปดิ โอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซง่ึ กนั และกนั ได้ เนือ่ งจากในระหว่าง ท่ีเข้าพรรษาอยดู่ ว้ ยกนั พระสงฆบ์ างรูปอาจมขี ้อบกพร่องที่ต้องแกไ้ ข และการให้ผู้อนื่ ว่ากลา่ วตกั เตือน ก็จะทาให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกท้ังยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซ่ึงกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็ กลา่ วตกั เตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวโุ สน้อยก็สามารถช้ีแนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผ้ใู หญ่จะมีอาวโุ สมากกว่า แต่ทา่ นกม็ ิได้สาคัญตนผิดคิดว่าท่านทาอะไรแลว้ ถกู ไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเคร่อื งมือชีใ้ ห้เหน็ วิธกี ารคอยสงั วร คอื ตามระวงั ไมป่ ระมาท ไมย่ อมใหค้ วามเลวร้ายเกดิ ข้ึนได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะ ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา สาหรับ คากล่าว ปวารณา มีคา กล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังน้ี \"สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มงั อายสั ์มันโต อะนุกทั ปัง อุปาทายะ ปสั สันโต ปฎิกะริสสามิ\" มคี วามหมายว่า ขา้ แตพ่ ระสงฆผ์ ู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าว ตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี (หอสมุดแห่งชาติรัชมัง คลาภิเษก จันทบุรี, n.d.) นอกจากน้ีชาวอีสานยังมีความเชื่อคล้าย ๆ กับทุกภูมิภาคด้วยเรื่องของการ ทากิจกรรมเพ่อื สรา้ งบุญกศุ ลในวันออกพรรษา ได้แก่ ตกั บาตรเทโว ฟงั เทศน์ เวียนเทยี น เป็นตน้

94 ภาพประกอบ 11 พุทธศาสนิกชนรว่ มตักบาตรเทโว ณ วดั พระธาตุพนม ทม่ี า : ศุภกร ฉลองภาค ภาพประกอบ 12 พทุ ธศาสนิกชนเวยี นเทยี นในวันออกพรรษา ณ วัดพระธาตุพนม ที่มา : ศภุ กร ฉลองภาค

95 1.2.2. ประเพณีไหลเรอื ไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสาน ภาษาท้องถ่ินเรียกว่า “เฮือไฟ” จัดขึ้น ในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถปุ ระสงค์เพ่ือบูชารอยพระพทุ ธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้านัมทามหานที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้านัม ทามหานที ซึ่งเป็นท่ีอยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคท่ีเมือง บาดาล และพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ณ ริมฝ่ังแม่น้านัมทามหานที ต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ท้ังหลายได้มาสักการะบูชา รอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ ประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพ่ือขอขมาลาโทษแม่น้าที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูล และเป็นการเอาไฟเผาความ ทกุ ขใ์ หล้ อยไปกบั สายนา้ เรือไฟ หรือ เฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทาด้วยท่อนกลว้ ย ไม้ไผ่ หรือ วัสดุ ท่ีลอยน้า มีโครงสรา้ ง เป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ เมือ่ จุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเปน็ รูปรา่ งตามโครงสรา้ งน้นั ภาพประกอบ 13 โครงสรา้ งเรือไฟ จังหวัดนครพนม ทมี่ า : https://www.dmc.tv/pages/top_of_week.html งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่า เดือน 11 ประเพณีไหลเรือไฟ มีความเชื่อเก่ียวโยง สัมพันธ์กับข้อมูลความเป็นมา หลายประการ เช่น เน่ืองจากการบูชารอยพระพุทธบาท การสักการะพกาพรหม การบวงสรวงพระ ธาตุจุฬามณี การระลึกถงึ พระคณุ ของพระแมค่ งคา เปน็ ต้น

96 เรือไฟประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสาหรับลอยน้า จะใช้ไม้ท่ีลอยน้า มาผูกติดกัน เป็นแพ และส่วนท่ีเป็นรูปร่างสาหรับจุดไฟ เป็นส่วนที่อยู่บนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ ลายาวแข็งแรง ต้ังปลายข้ึน ทัง้ 3 ลา เปน็ เสารบั นา้ หนกั ของแผลง และแผลงน้ี กท็ าด้วยไมไ้ ผข่ นาดเล็กมาผูกยึดไขว้กนั เป็นตาราง ส่ีเหล่ียม ระยะห่างกันประมาณ คืบเศษ มัดด้วยลวดให้แน่นวางราบบนพื้น เมื่อวางแผนงานออกแบบ บนแผงว่า ควรเป็นภาพอะไร การออกแบบในสมัยก่อน ออกแบบเป็นเร่ืองราวเก่ียวกับ ศาสนาพุทธ เชน่ พุทธประวัติ เป็นตน้ ภาพประกอบ 14 ประเพณีไหลเรอื ไฟนครพนม ท่ีมา : https://ranu-nakhon.blogspot.com/ วัสดุทีใ่ ชล้ อยน้า สมยั โบราณ - นยิ มใช้ตน้ ไมท้ ี่สามารถลอย่น้าได้ เช่น ต้นกลว้ ย ตน้ ง้ิว และไมไ้ ผ่ - จะใช้ผ้าจีวรเก่า ๆ ขาด ๆ มาฉีกเป็นริ้ว ๆ ชุบ่น้ามันยาง แล้วตากให้แห้งนาไปพันกับเสน้ ลวด ในโครงสร้างรูปทรงเรือจนทั่วแล้ว ใช้น้ิวผ้า เส้นเล็ก ๆ วางแนบเป็นแนวยาว ทาหน้าท่ีเป็น สายชนวนนาไปปักไว้กลางแพ โดย ผูกติดกับไม้ไผ่ขนาดใหญ่ท่ีเป็นฐาน เมื่อจะจุดเรือไฟก็จะ จุดที่สายชนวนไฟจะ ค่อยๆ ลุกติดไปตามโครงสร้างเรือไฟที่จัดทาไว้ หลังจากนั้นก็จะปล่อย เรอื ไฟไป ดา้ นการตกแต่ง

97 - เรือไฟจะตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน แล้วใส่ขนม ข้าวต้ม สิ่งของเครื่องใช้ ลงไปในเรือเพ่ือ เป็นการทาบุญและเม่ือไหลไปแล้วถ้าประชาชนเก็บได้ก็สามารถนาไปใช้ได้เลย ส่วนเรือไฟท่ี ลอยแลว้ ก็จะท้งิ ไป - ผ้เู ข้ามาร่วมงานสว่ นใหญจ่ ะมาด้วยความศรทั ธาในพระ พทุ ธศาสนา และความเชอ่ื ท่มี มี านาน อย่างแท้จรงิ เช่น การบูชารอยพระพทุ ธบาท ฯลฯ และทุกคนทมี่ าถือว่าเปน็ หนา้ ทสี่ าคัญต้อง มาร่วมในงานใหไ้ ด้ - ผูเ้ ขา้ มารว่ มงานส่วนใหญจ่ ะมาดว้ ยความศรัทธาในพระ พทุ ธศาสนา และความเชอ่ื ทมี่ ีมานาน อยา่ งแทจ้ ริง เช่น การบูชารอยพระพทุ ธบาท ฯลฯ และทุกคนทมี่ าถือว่าเป็นหนา้ ท่ีสาคัญต้อง มาร่วมในงานให้ได้ - เรือไฟจะตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน แล้วใส่ขนม ข้าวต้ม ส่ิงของเครื่องใช้ ลงไปในเรือเพื่อ เป็นการทาบุญและเมื่อไหลไปแล้วถ้าประชาชนเก็บได้ก็สามารถนาไปใช้ได้เลย ส่วนเรือไฟที่ ลอยแล้วก็จะทิ้งไป - สมัยปัจจุบัน ผู้เข้ามาร่วมงานและประชาชนท่ัวไปยังขาดความรู้ใน คุณค่าความสาคัญของ ประเพณีนอี ย่นู อ้ ยมาก ทาใหก้ ารแสดงออกในด้านต่าง ๆ ไม่คอ่ ยเด่นชดั นัก ดา้ นพธิ ีการ - จะเน้นมากและถือเป็นภารกิจท่ีจะต้องปฏิบัติดังคาประพันธ์ โบราณกล่าวไว้ว่า \"ฮีตหน่ึงน้ัน เกิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแนวทางป้อง เป็นช่องของ พระเจ้าเคยเข้าแล้วออกมานานถึงแล้ว สามเดือนก็เลยออก เฮียกว่าออกพรรษา ปวารณากล่าวไว้เฮาได้เล่ามา\" โดยเฉพาะทางด้าน ศาสนาก่อนทีจ่ ะปล่อยเรือลงนา้ ต้องมีการทาบุญเล้ียงพระ กลา่ วคาบชู า จึงเทศน รับศลี และ มกี ารละเล่นฉลองเรอื ไฟด้วย สมัยปจั จุบนั - นิยมใชถ้ งั น้ามันเกา่ และเรอื จริง แทนตน้ ไมท้ ก่ี ล่าวมา ดา้ นวัสดทุ ี่เป็นเชอ้ื ไฟ - การตกแต่งเรือไฟจะเน้นท่ีความกว้าง ยาว ความสูง ขนาด การออกแบบภาพจากควงไฟ จานวนดวงไฟ และความสวยงามจากภาพใน ควงไฟ พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ประกอบให้ อลงั การย่ิงขึน้ เพราะจะได้ส่งเขา้ ประ กวดเพอ่ื ผลในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานของคนและ ไดร้ ับรางวลั มาอกี ดว้ ย สว่ นตวั เรือไฟก็จะเก็บไว้ใชใ้ นปีตอ่ ไป ด้านผูเ้ ข้ารว่ มในพิธีการ - ยังคงปฏิบัตกิ นั อยแู่ ตเ่ นน้ ท่ีความย่ิงใหญ่ในส่วนอื่น ๆ เป็นสาคญั

98 คณุ คา่ ของประเพณไี หลเรอื ไฟ จังหวัดนครพนม คุณค่าของประเพณีไหลเรือไฟเมืองนครพนมชาวนครพนมทุกคนมีความภาคภูมิใจ ในประเพณีสาคญั ของตนเอง ส่งถงึ ปีจะได้จัดงานทย่ี งิ่ ใหญ่ทส่ี ุดหนง่ึ คร้ัง ทุกคนจะเตรียมตัว เตรียมเงนิ เตรียม ที่อยู่อาศัย เตรียมเส้ือผ้า เคร่ืองแต่งกายที่สวยงาม และเตรียมท่ีจะต้อนรับญาติสนิท เพ่ือนฝูง ที่จะมาเยี่ยมเยือนและถือเป็นโอกาสสังสันทน์ประจาปี นอกจากน้ันยังจะ ได้อวดของดีที่มีในจังหวัด ดว้ ย คุณค่าด้านปรัชญาทางศาสนาเห็นได้จากการที่เราทาเรือไฟข้ึนมาให้มีความยิ่งใหญ่ สวยงามตระการตาเมอ่ื เวลาจดุ ไฟ และสวยงามเมอื่ ยามที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปชา้ ๆ ตามลานา้ โขงแต่ เม่ือ ไฟในเรือไฟบอดสนิท จะเหลอื แต่ความมืด เปรียบไดก้ ับความไมแ่ นน่ อนของชาตมนุษย์ทีเ่ ปน็ \"อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา\" ศิลปะในการจัดสร้างเรือไฟของคนนครพนมได้ผ่านการเรียนรู้ สะสม สะทอ้ นให้เห็น ถงึ วฒั นธรรมที่ถา่ ยทอดออกมาอย่างหน่ึง และศลิ ปะเหล่าน้ยี งั จะ ต้องวิวฒั นาการต่อไป เน่อื งจากการ จัดสร้างเรือไปได้หันมาเน้นความใหญ่โตเป็นสาคัญทาให้ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างสูงข้ึน ในบางปีเพ่ือ เน้นเร่ืองชื่อเสียงของหน่วยงาน อาเภอท่ีส่งเข้าประกวดในงานทาให้งบประมาณค่าจัดสร้างสูงกว่าท่ี ทางจังหวัดตั้ง ไวเ้ ปน็ รางวลั สูงสดุ แตท่ ัง้ นีไ้ ด้ทาให้มองเห็นว่ารางวลั น้ันเป็นเพียงส่วนประกอบ เท่าน้ัน แต่ส่ิงที่สาคัญคือ ความเสียสละ ความร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มคนในหน่วยงานอาเภอ ที่ได้เกินค่ากว่า รางวลั เสยี อีก คุณค่าด้านความสามัคคีและเสียสละร่วมใจกันในงานเรือไฟแต่ละลานั้นย่ิงใหญ่และ ตระการมาก ในขณะทล่ี อยลาอยู่ในสายน้ายามค่าคนื ในวันเพ็ญ 15 ค่า เดือน 11 พระจันทร์กาลังเต็ม ดวงแสงระยิบระ ยับของเรือไฟแต่ละลาสะท้อนลงแม่น้าโขง เป็นภาพท่ีน่าจดจาเป็นอย่างย่ิง แต่กว่า จะได้มาซึ่งภาพเหล่าน้ีจะต้องอาศัยความสามัคคี เสียสละ ร่วมแรงร่วมใจกันที่จะ ทาให้เรือไฟมีความ สวยงาม ท้ังกาลังแรงงาน กาลังทรัพย์ กาลังสติปัญญา ซ่ึงต้อ อาศัยระยะเวลา และความประณีตใน การทาเปน็ อนั มาก แต่เมื่อผลงานท่ีออกม ตามที่ตอ้ งการประสบความสาเร็จ ทาให้เกิดความพอใจและ ภาคภูมิใจ(อร่ามจิต ชิณช่าง, 2544 : 1-43)จะได้ว่าพิธีกรรมไหลเรือไฟ เป็นหนึ่งประเพณีท่ีทาให้ ชาวบ้านหรือผู้คนในชุมชนแถบลุ่มแม่น้าโขงได้ออกมาสนุกสนานร่วมกันในขบวนฟ้อนรา การละเล่น ต่าง ๆ ในการฉลองเรือไฟ การทาบุญในพระพุทธศาสนา รวมไปถึงความสามัคคีในแต่ละชุมชนที่ใช้ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการท่ีก่อให้เกิดเรือไฟอันทรงคุณค่าและงดงามและยังแสดงให้เห็นถึง ศลิ ปวัฒนธรรมพืน้ บา้ นท่ดี ารงสบื ไว้ สมควรแกก่ ารอนุรกั ษไ์ วเ้ ป็นมรดกให้อนุชนรนุ่ หลงั ได้ภาคภูมิใจใน มรดกภมู ิปัญญาของท้องถิน่ สืบไป

99 ภาพประกอบ 15 เรอื ไฟ อาเภอธาตพุ นม จงั หวัดนครพนม ท่ีมา : https://www.sanook.com/travel/1091588/ 1.2.3การฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ฟอ้ นบูชาพระธาตุพนมน้ปี รากฏในตานานการสร้างพระธาตุพนมหรือตานานอรุ ังคนิทาน เม่อื สรา้ งเสรจ็ “วสั วลหกเทวบุตร พาเอาบริวารนาหางนกยงู เข้าไปฟ้อนถวายบชู าเทวดาท้ังหลาย ลาง ขับร้อง ลางดีดสีตีเป่าถวายบูชา นางเทวดาท้ังหลายถือหางนกยูงฟ้อนและขับร้องถวายบูชา” (แก้ว อุ ทุมมาลา, 2537 : 74)จากเค้าโครงในตานานโดยเทวดาและนางฟ้าฟ้อนราถวายเพื่อเป็นมงคล ตาม ความเชอื่ ในตานานจึงทาให้มกี ารถา่ ยทอดจากบรรพบุรุษสู่คนร่นุ หลังต่อกันมา แสดงความศรทั ธาของ เหล่าข้าโอกาสธาตุพนมในบริเวณภาคอีสานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ ผู้มีจิต ศรัทธากระทาการฟ้อนราต่อองค์พระธาตุพนม เพื่อเป็นสิ่งมงคลในการแห่กองบุญงานบุญเดือนสาม ของทุกปี ซ่ึงมีการปฏิบัติแบบชาวบ้าน ใน พ.ศ. 2518 – 2521 ไม่พบว่ามีการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ในการแห่กองบุญเดือนสาม เนื่องจากองค์พระธาตุพนมล้ม หากแต่ใน พ.ศ. 2518 พบว่ามีการฟ้อน ประกอบพธิ ีบูชาพระบรมสารีริกธาตสุ ่วนอรุ ังคธาตุ ตอ่ มาใน พ.ศ. 2522 มกี ารฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ในขบวนแห่อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และในปีเดียวกันได้มีการฟื้นฟูฟ้อนบูชาพระธาตุพนมในงาน พิธีแห่กองบุญเดือนสามพร้อมทั้งปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน จึงได้มีการนาเอาฟ้อนบูชาพระธาตุ พนมเข้ามาผนวกกับเทศกาลไหลเรือไฟ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว และจักขึ้นในช่วงออกพรรษา ระหวา่ งวนั ขึน้ 12 ค่า เดือน 11 ถึงวันแรม 1 คา่ เดือน 12 ของทุกปี (นฤทร์บดินทร์ สาลีพนั ธ์, 2548 : 1-2)ฟ้อนบูชาพระธาตุพนมได้ปรับเปล่ียนรูปแบบการฟ้อนเพ่ือความบันเทิงในงานเทศกาลไหลเรือไฟ โดยมีภาครัฐ ฯ เข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรม งานเทศกาลไหลเรือไฟได้เร่ิมนาเอาการฟ้อนมา

100 ประกอบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ได้เลือกชุดฟ้อนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวนครพนม และมีลักษณะ การฟ้อนที่สื่อให้เห็นถึงการสักการะบูชา เพื่อถวายแด่องค์พระธาตุพนมและใหน้ ักท่องเที่ยวที่มาเยย่ี ม ชมในงานเกิดความเป็นสิริมงคล โดยมีการแสดงทั้งหมด 3 ชุด ได้แก่ ฟ้อนหางนกยูง ฟ้อนภูไทเรณู นคร ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการเพิ่มชุดการแสดงในฟ้อนบูชาพระธาตุพนมข้นึ ทั้งหมด 7 ชดุ การแสดง ได้แก่ ฟอ้ นภไู ทเรณูนคร ฟอ้ นไทญ้อ ฟ้อนตานานพระธาตุพนม ฟอ้ นศรีโคตร บูรณ์ ฟ้อนอีสานบ้านเฮา ฟ้อนขันหมากเบ็ง และ ฟ้อนหางนกยูง (ชัยบดินทร์ สาลีพันธุ์. 2560 : สัมภาษณ์) ภาพประกอบ 16ภาพฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ท่มี า : Nikran Photo ภาพประกอบ 17 นักแสดงฟ้อนบูชาพระธาตุทาพิธีทางศาสนากอ่ นทาการแสดง ทมี่ า : ศภุ กร ฉลองภาค

101 ในสังคมวัฒนธรรมแถบลุ่มน้าโขงยังคงเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ย่าตา ยาย และสิ่งศักด์ิสิทธ์ิท้ังหลาย ดังน้ันลูกหลานที่สืบทอดความเช่ือน้ีจะต้องให้ความเคารพและเซ่น สงั เวย เพ่อื บูชาเปน็ ประจาทุก ๆ ปซี ่งึ เชอื่ ว่าเมอ่ื ได้ทาการเซน่ สังเวยตามพธิ ีกรรมแล้วจะทาให้ผู้ปฏิบัติ น้ันได้ผลดี ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะส่งผลร้ายให้แก่ผู้นั้น ดังน้ันจึงมีการฟ้อนเพ่ือให้ส่ิงศักด์ิสิทธิ์ภูตผีวิญญาณ นั้นพึงพอใจเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข (ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ, 2532 : 134-151) การฟ้อนเพ่ือ บูชาน้ันส่วนใหญ่เป็นการฟ้อนชุดด้ังเดิมท่ีมีมาแต่โบราณ เพ่ือบูชาสถานท่ีศักด์ิสิทธ์ิท่ีเป็นท่ีนับถือของ คนทั่วไป เช่น การฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนม อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพ่ือ บูชาอุรงั คธาตุหรือสงิ่ ศกั ด์สิ ิทธ์ิซง่ึ เปน็ ท่ีเคารพนบั ถอื ของกลมุ่ นนั้ ทีก่ ล่าวขานมาจากตานาน การฟอ้ นบูชาพระธาตุพนม เป็นการรวมตัวของชนพน้ื เมืองตา่ ง ๆ รวม 7 เผา่ ท่ีอาศยั อยู่ ในจังหวัดนครพนม แต่งกายด้วยเส้ือผ้าประจาเผ่าของตน และวาดฟ้อนในท่วงท่าอันงดงามเพื่อบูชา องค์พระธาตุพนม และจะแสดงในวันแรกของงานนมัสการพระธาตุพนมประจาปี ฟ้อนบูชาพระธาตุ พนม ณ บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยมีเจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้า อาวาสวัดพระธาตุพนม เป็นประธานสงฆ์ประกอบพิธีทางศาสนาในพิธีฟ้อนบูชาพระธาตุพนมซึ่ง จังหวัดนครพนม คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครพนม ร่วมจัดขึ้นในพิธี ก่อนไหลเรือไฟ ในวันออกพรรษา การฟ้อนบูชาถวายองค์พระธาตุพนม เป็นประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัด นครพนม ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน จัดข้ึนเป็นประจาทุกปีในเทศกาลงานสาคัญ เช่น งาน เทศกาลนมัสการพระธาตุพนม หรอื ในวนั ออกพรรษากอ่ นงานไหลเรอื ไฟ ก่อนการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมน้ัน ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ได้ร่วมแห่เคร่ือง สักการบูชาประธานในพิธี ได้กล่าวคาบูชาไหว้พระธาตุพนม หลังจากนั้น ได้จัดชุดฟ้อนบูชาพระธาตุ พนม 7 ชุด คือ ราตานานพระธาตุพนม ราศรีโคตรบูรณ์ ราภูไทเรณูนคร ฟ้อนหางนกยูง ราไทญ้อ ฟ้อนขนั หมากเบง็ และเซิง้ อสี าน โดยมปี ระชาชนและนกั ทอ่ งเที่ยวจากหลายจังหวัด รวมไปถงึ ประเทศ สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชานชนลาว ไดม้ าเขา้ ร่วมงานประเพณีฟ้อนบูชาประธาตุพนม ณ วัดพระ ธาตพุ นม อาเภอธาตุพนม จังหวดั นครพนม จากการศึกษาพบวา่ ศิลปะการแสดงในประเพณีออกพรรษา ณ วดั พระธาตุพนม อาเภอธาตุพนม จงั หวดั นครพนม มศี ลิ ปะการแสดงท่ใี ชใ้ นการประกอบพธิ ีกรรมฟ้อนบูชาพระธาตุ พนมเปน็ ประจาของทุกปี ดังน้ี

102 ภาพประกอบ 18 ราตานานพระธาตพุ นม ทมี่ า : ศุภกร ฉลองภาค 1.ราตานานพระธาตุพนม ราตานานพระธาตุพนมเปน็ การราบูชาพระธาตุพนมทีป่ รบั ปรงุ มาจากการฟ้อนราแห่ กองบุญในเทศกาลงานนมสั การพระธาตุพนม ได้นาเอาบทสวดสดุดีองค์พระธาตุพนมทานอง สรภญั ญะ และมีท่วงทา่ การรา่ ยราแบบนาฏศิลป์ไทย มาประกอบกับวงดนตรีมโหรี บทร้องซึง่ จะ กลา่ วถึงตานานและความพสิ ดารขององค์พระธาตพุ นม การราชุดนี้แสดงครงั้ แรกในงานสมโภชพระธาตพุ นมองค์ใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2522 ถือเปน็ เอกลกั ษณใ์ ช้ราเปิดงานนมัสการพระธาตุพนมทุกครั้ง จนถึงปจั จบุ ัน และไดน้ ามาราบูชาพระธาตุ พนมในงานไหลเรือไฟของจงั หวัดนครพนมตง้ั แต่ พ.ศ. 2530 เปน็ ตน้ มา การแต่งกาย การแตง่ กายในการแสดงจะใช้สเี ส้ือผ้า2สี คือฟา้ และชมพูในแต่ละปี ตามแตผ่ คู้ วบคมุ การแสดงจะนามาใส่ ใช้เสือ้ แขนกระบอกสี ผ้าถงุ ลาว ห่มสไบเบี่ยงซ้าย เครื่องประดบั ใชเ้ ครื่องเงิน ตั้งแตต่ ุม้ หู สร้อยคอกาไลเงิน ผมเกล้ามวยสูง ทัดดอกไม้

103 ภาพประกอบ 19 ราศรโี คตรบูรณ์ ท่ีมา : ศุภกร ฉลองภาค 2.ราศรีโคตรบูรณ์ ศรีโคตรบูรเป็นอาณาจักรที่ย่ิงใหญ่ในอดีต อาณาจักรหน่ึงแห่งภูมิภาคลุ่มน้าโขง ซึ่ง ศูนย์กลางอาณาจักร อยู่ในเขตนครพนมและสกลนคร มีเกล็ดประวัติศาสตร์เล่าว่า เม่ือครั้งศรีโคตร บูรณ์รุ่งเรือง บ้านเมืองสงบสุข ศิลปะต่าง ๆ เจริญเป็นอันดี ศิลปะด้านดนตรี และนาฏศิลป์ ตามหัว เมืองน้อยใหญ่ ก็รุ่งเรือง เป็นท่ีนิยมมาก อยู่มาวันหน่ึง เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ จึงดาริให้มีการเล่นแอ่ว แคนประกอบการฟ้อนราประกวดประชันกัน ระหว่างคณะแอ่วแคนต่าง ๆ โดยทานองเพลงและฟ้อน รา ขอให้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ท้ังหมด ขอให้เป็นการแสดงใหม่ท่ีไม่เคยมีมาก่อน คณะแอ่วแคนต่าง ๆ ก็ส่ง การแสดงเข้าประกวดมากมาย สุดท้าย เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์ ได้ตัดสิน ให้แอ่วแคนชุดนี้ ชนะการ ประชันและต่อมา เพื่อเป็นการราลึกถึงอาณาจักรน้ี จึงได้ต้ังชื่อชุดการแสดงนี้ว่า “ฟ้อนศรีโคตร บูรณ์” ลักษณะการแสดงฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ ใช้ผู้หญิงล้วน ด้ังเดิม เป็นราประกอบลายแคน และท่าราก็ออ่ นช้อย งดงาม สมเป็นการแสดงระดบั สูงซง่ึ แสดงต่อหนา้ เจา้ เมอื ง การแตง่ กาย ใชเ้ สื้อแขนกระบอกสีดาขลบิ แดง ผา้ ถุงสดี า ผา้ คาดเอวสแี ดง เคร่ืองประดับใชเ้ คร่ืองเงิน ตง้ั แต่ตุ้มหู สร้อยคอกาไลเงิน ผมเกล้ามวยสงู รัดเกล้าด้วยผา้ แดง

104 ภาพประกอบ 20 ฟ้อนภูไทเรณนู คร ทมี่ า : ศภุ กร ฉลองภาค 3. ฟอ้ นภไู ทเรณนู คร การฟ้อนภไู ทเรณูนคร เป็นการฟอ้ นประเพณีที่มีมาแต่บรรพบรุ ุษ ทสี่ รา้ งบ้านแปลงเมือง การฟอ้ นภไู ทนี้ถอื วา่ เป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจาเผา่ ของภูไทเรณูนคร ถอื วา่ ฟ้อนภู ไทเป็นการฟ้อนท่ีเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในคราวท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลท่ี 9)ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมในปี พ.ศ. 2498 น้ัน นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวดั นครพนมในสมัยนัน้ ได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย นายคานึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอาเภอเรณูนคร ได้อานวยการปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงาม กว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุท่ีมีประสบการณ์ในการฟ้อนภูไทมาให้คาแนะนา จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบ แผนของชาวเรณูนคร ในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชา การฟ้อนภูไทเรณูนคร เข้าไว้ใน หลักสูตร ให้นักเรียนท้ังชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ฝึกฝนเล่าเรียนกันโดยเฉพาะนักเรียนที่ เล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษาภายในเขตอาเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จะฟ้อนราประเพณี “ฟ้อนภู ไทเรณนู คร” เป็นทกุ คน ลักษณะการฟอ้ นภูไทเรณูนคร ชายหญิงจับค่เู ปน็ คู่ ๆ แล้วฟอ้ นทา่ ต่าง ๆ ให้เข้ากับ จงั หวะดนตรี โดยฟอ้ นราเป็นวงกลม แลว้ แต่ละคจู่ ะเข้าไปฟอ้ นกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน การแตง่ กาย ฝา่ ยชาย นุ่งกางเกงขากว๊ ย สวมเส้ือสนี า้ เงิน คอตงั้ ขลบิ แดงกระดุมเงิน มีผ้าขาวม้าไหม มดั เอว สวมสายสร้อยเงนิ ข้อเทา้ ทาดว้ ยเงนิ ประแปง้ ด้วยแปง้ ขาว มีดอกไม้ทดั หูอย่างสวยงาม ฝา่ ยหญิง นุ่งผา้ ซนิ่ และสวมเส้ือแขนกระบอกสนี ้าเงนิ ขลบิ แดง ประดบั ด้วยกระดุมเงิน พาดสไบสขี าวท่ไี หล่ซ้ายติดเข็มกลดั เป็นดอกไมส้ ีแดง สวมสร้อยคอ กาไลข้อมอื ข้อเท้าหรอื ทาดว้ ย ทองหรือเงนิ ตามควรแก่ฐานะของตน เกล้าผม มีดอกไมส้ ีขาวประดับผม

105 ภาพประกอบ 21 ฟอ้ นหางนกยงู ทม่ี า : ศุภกร ฉลองภาค 4.ฟ้อนหางนกยูง ราหางนกยูงกาเนิดมาแลว้ ประมาณ 100 ปีเศษ ใช้สาหรบั ราบวงสรวงสกั การะเจ้าพ่อ หลักเมืองอันศักด์ิสิทธิ์ เพ่ือประทานพรให้มีชัยชะและแคล้วคลาดจากภยันตรายในการเข้าแข่งขันชิง ชัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา ปกติการราชนิดน้ีจะแสดงท่ารา บนหัวเรือแข่งและราถวายหนา้ ศาลเจ้าพ่อหลกั เมือง ท่าราได้ดัดแปลงมาจากการราไหวค้ รูของนักรบ กอ่ นออกศกึ สงครามในสมยั ก่อน โดยราอาวุธตามท่ตี ัวเองฝึก คือราดาบ รากระบ่ีกระบองเข้าจงั หวะ กลองยาว ต่อมาฟ้อนหางนกยูงได้นามาดัดแปลงและเพ่ิมท่าราให้เป็น 12 ท่า โดยใช้ผู้หญิงแสดง เพอื่ ใหเ้ กิดความอ่อนช้อยงดงามตามแบบแผน โดย นางเกษมสขุ สุวรรณธรรมมา การแตง่ กาย แต่งกายแบบพ้นื เมอื งอีสาน ในปัจจุบันปรับปรุงใหใ้ ชส้ ีเขียวเพอื่ ให้เข้ากับหางนกยูง สวม เสื้อแขนกระบอกคอจีน นุ่งผ้าซ่ิน ผ้าสไบห่มเฉียงบ่า ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ สวมเคร่ืองประดับเงิน เช่น ตา่ งหู สร้อย และกาไลแขน

106 ภาพประกอบ 22 ราไทญ้อ ทมี่ า : ศภุ กร ฉลองภาค 5.ราไทญ้อ ไทญ้อ\" เป็นชนอีกกลุ่มหน่ึงท่ีมีถ่ินอาศียอยู่ในเขตอาเภอท่าอุเทน นาหว้าและโพน สวรรค์ โดยปกติการราไทญ้อจะพบในเทศกาลสงกรานต์ในช่วงเดือนเมษายนและเทศกาลที่สาคัญ เทา่ นัน้ ในเทศกาลสงกรานต์ชาวไทญ้อจะมสี รงน้าในตอนกลางวนั โดยมีการตัง้ ขบวนแห่จากคมุ้ เหนือ ไปยังคุ้มใต้ลงมาตามลาดับ ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่า เป็นต้นไป จนถึงวันเพ็ญ 15 ค่า เดือน 5 ใน ตอนกลางคืน หนุ่มสาวชาวบา้ นจะจัดทาขบวนแห่ดอกไม้บูชาพระธาตุ โดยนาต้นดอกจาปา(ล่ันทม) ไปบชู าวดั ต่าง ๆ โดยจะเร่มิ จากวดั ใต้สุดไปหาวัดเหนอื สุด ซง่ึ จะเปน็ คนื สุดท้ายเมอ่ื เสรจ็ พธิ แี ห่ดอกไม้ บูชาองค์พระธาตุ จะเป็นช่วงแห่งความสนุกสนานของหนุ่มสาว ซึ่งจะมีการหยอกล้อ การเก้ียวพา ราสขี องบรรดาหนุม่ สาว การแต่งกาย ชาย สวมเสื้อคอพวงมาลยั สเี ขยี วสด ใช้สไบไหมสีนา้ เงนิ พับคร่ึงกลาง พาดไหล่ ซ้าย และขวา ปลอ่ ยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเทา่ กัน น่งุ ผ้าโจงกระเบนสนี ้าเงนิ เขม้ ใช้สไบไหมสแี ดง คาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายดา้ นหน้า เครือ่ งประดับสร้อยเงิน หอ้ ยพระ ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย หญิง สวมเส้ือแขนกระบอกสีชมพู (สบี านเย็น) คอกลมขลิบดา หรอื นา้ เงินเข้ม นงุ่ ผ้าถงุ ไหมสนี า้ เงนิ มีเชงิ (ตีนจก) เขม็ ขดั ลายชดิ คาดเอว ใชส้ ไบไหมสีน้าเงินพาดไหลด่ ้านซ้ายแบบเฉียง ปล่อยชายยาวทง้ั ดา้ นหนา้ และด้านหลังใหช้ ายเทา่ กนั เคร่ืองประดบั สร้อยคอ ตุ้มหู สรอ้ ยขอ้ มือ เครอื่ งเงนิ ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรอื ดอกไม้ประดิษฐ์

107 ภาพประกอบ 23 ฟ้อนขนั หมากเบง็ ทม่ี า : ศภุ กร ฉลองภาค 6.ฟ้อนขันหมากเบง็ \"หมากเบ็ง\" เป็นเคร่ืองบูชาชนิดหนึ่งของภาคอีสาน คาว่า \"เบ็ง\" มาจาก \"เบญจ\" หมายถึงการบูชาพระเจ้า 5 พระองค์ คอื กกุสนั โท โกนาคมโน กสั สโป โคตโม และอริยเมตตรัย โย ในสมัยพุทธกาลนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้นาขันหมากเบ็งถวายพระพุทธเจ้า ในปัจจุบันนี้ชาว อีสานโดยเฉพาะเผ่ากะเลิงใช้บูชาส่ิงศักดิ์สิทธ์ิตามความเช่ือ ด้วยเหตุน้ีจึงได้นามาประดิษฐ์เป็นท่า ฟอ้ นราเพื่อบชู าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในการแสดงการฟ้อนราขันหมากเบง็ แสดงถึงพญาทั้ง หา้ แห่งอาณาจกั รศรีโคตรบรู ไดน้ าขนั หมากเบง็ มาถวายองคพ์ ระธาตุพนม การแตง่ กาย พาดสไบกรองสีขาวเตม็ ผืน และใชส้ ไบขดิ ห่มทบั นงุ่ ผ้าซ่นิ อีสาน สวมใส่เครื่องประดบั เงนิ ตีลาย ผมรวบมวยสูงตัง้ ตรง

108 ภาพประกอบ 24 เซงิ้ อสี านบ้านเฮา(ฟินนาเลย่ ์) ทมี่ า : ศุภกร ฉลองภาค 7.เซง้ิ อีสานบา้ นเฮา การฟ้อนชดุ นี้เป็นการแสดงปิดทา้ ยทใี่ ช้นกั แสดงท้ัง 6 ชุดการแสดงที่มาเขา้ รว่ มพิธีกรรม ฟอ้ นบูชาพระธาตุพนม โดยบรรเลงด้วย บทเพลง อสี านบา้ นเฮา ซึง่ เปน็ บทเพลงท่สี ะท้อนให้เหน็ ถึงวถิ ี ชีวติ การการทามาหากนิ และการอยรู่ ่วมกันของคนอีสาน และยงั สะท้อนใหเ้ ห็นถงึ ความสามคั คีของ ชาวนครพนมที่มีจิตศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนม ลักษณะการแสดง จะใช้ท่าราพ้ืนฐานและราพรอ้ มเพยี ง หลังจากท่บี ทเพลงจบลงนัก ดนตรจี ะบรรเลงดนตรีต่อเพื่อให้แขกผูม้ ีเกยี รติ นกั ทอ่ งเทย่ี วไดเ้ ขา้ มาร่วมฟ้อนรากับนักแสดงที่มาร่วม ฟ้อนบชู าพระธาตุพนม การแต่งกาย นักแสดงทุกคนแต่งกายตามชุดการแสดงของตนเองในแต่ละท้องถ่ิน

109 การแสดงในพิธกี รรมฟ้อนบูชาพระธาตุพนมจากกลุ่มชนต่าง ๆ เชน่ ลาว ภไู ท ไทญ้อ และกลุ่มชนอีสานทั่วไป การแสดงท่ีนามาแสดงเพ่ือเป็นพุทธบูชาจากความศรัทธาน้ัน นอกจากจะใช้ ท่าฟ้อนท่ีสวยงามแล้ว ยังคงความเป็นตัวตนของกลุ่มชนผ่านเครื่องแต่งกายและเครื่องดนตรีพ้ืนบ้าน วงโปงลาง ลายเพลงและทว่ งทานองเปน็ ลายเพลงอสี าน จากการศึกษาพบว่าอัตลักษณว์ ฒั นธรรมของ ศิลปะการแสดงท่ีพบจากการฟ้อนบชู าพระธาตุพนมคือการแตง่ กายแบบกลมุ่ ชนอีสานและการใช้ลาย เพลงและท่วงทานองอีสานบรรลงดว้ ยวงโปงลาง ภาพประกอบ 25 แผนผังฟอ้ นบชู าพระธาตุพนม ที่มา : ศุภกร ฉลองภาค

110 จากการศึกษาศิลปะการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมในประเพณีออกพรรษาท่ีจัดข้ึนในทุก ๆ ปี น้ันการฟ้อนท่ีกล่าวมาท้ังหมด 7 ชุดการแสดงได้มีการปรับเปล่ียนไปตามสภาพของสังคมในแต่ละ สมัย แต่ก็ยังคงอัตลักษณ์ท่ีสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นตัวตนในแต่ละท้องถิ่นและความด้ังเดิมไว้เพ่ือ เป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีท่ีสาคัญของชาวจังหวดั นครพนมและผู้ที่มีจิตศรัทธาต่อองค์พระ ธาตพุ นมจากท่กี ลา่ วมาท้งั หมด โดยเฉพาะฟอ้ นหางนกยูง ซ่ึงมปี รากฏตามตานานอรุ ังคนิทานและเป็น ศิลปะการแสดงท่ีมีวิวัฒนาการของการฟ้อนมาอย่างยาวนานและปรับตัวไปตามสภาพสังคมในแต่ละ ยุคสมัย ฟ้อนหางนกยูงยังคงมีนาฏยลักษณ์เฉพาะตัวมาตั้งแต่ก่อนที่จะนาเอามาฟ้อนในงานฟ้อนบูชา พระธาตุพนม ดังน้ันต้องศึกษาถึงความสาคัญของฟ้อนหางนกยูงว่ามีความเป็นมาและความสาคัญ ของการแสดงที่ปรากฏในประเพณอี อกพรรษา ดังน้ี 1.3ฟ้อนหางนกยูงในประเพณีออกพรรษา 1.3.1ที่มาของฟ้อนหางนกยูง ศิลปะการแสดงในแขนงนาฏฏรรมที่ใช้หางนกยูงประกอบการแสดงกาเนิดขึ้นในยุค สมยั ใดนนั้ ยงั ไมม่ ีหลักฐานปรากฏเด่นชัด เพยี งแต่สนั นิษฐานวา่ การแสดงท่ีใชห้ างนกยูงเป็นนาฏกรรม ที่มกี ารแพร่กระจายไปเกอื บทุกภมู ภิ าคของประเทศรวมไปถึงในราชสานกั ไทยอีกดว้ ย การฟ้อนหางนกยูงในภาคกลาง นาฏกรรมที่ใช้หางนกยูงประกอบการฟ้อนในราชสานักไทยมาตั้งแต่ครั้งสมัย กรุงศรี อยุธยาเจริญรุ่งเรือง เอนก นาวิกมูล ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยแต่ก่อนเคยเล่นหวาดเสียว เช่น การลอด บว่ งบนปลายบนปลายไม้สงู ราเพน ไต่ลวด นอนบนคมหอกคมดาบ ซึง่ การละเลน่ เหลา่ น้จี ะพบเห็นได้ จากงานพระราชพิธีต่าง ๆ และจะเล่นเฉพาะงานราชพิธีสาคัญ ๆ เท่านั้น เช่น งานพระเมรุ งาน สมโภชน์ช้างเผือก ซ่ึงปรากฏอยู่ในวรรณกรรมคดีเรื่องปุณโณวาทคาฉันท์ ซ่ึงแต่งขึ้นในสมัยพระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือประมาณ 300 ปีก่อน กล่าวถึงการละเล่นในงานสมโภช พระพุทธบาทตอน หนงึ่ ว่า(อเนก นาวิกมลู , 2547 : 23-25) “เหล่าหกคเมนเมนิ จรล่ิวลลานแด ยกบาทกลับแปร ศิรลงกเ็ สยี วสลอน ไตล่ วดและกุมหาง มะยรุ ยา่ งพเนจร

111 แล่น แลน่ บ อาทร ดุจเหาะจะเหินหาว แนบนทิ รลวดแลบ กก็ ะแหนบ ทหิ นวดคราว ชวนเสยี วสยองแทน หอหนั ยืนคังคาว ถ กย็ นื รโยนแปลน ราแพน ฟฟ้อนหตั - มารงั สรรคโสภา” ปลายไมป้ ระดุจแมน ภาพประกอบ 26 การละเลน่ ญวนหก ไต่ลวดราแพน ในงานเทศกาลวดั อรุณ ร.ศ. 100 ทมี่ า : http://www.oocities.org/travelmateclub/watarun.htm ภาพประกอบ 27 ภาพจติ รกรรมฝาผนัง การถวายพระเพลงิ พระพทุ ธสรีระ ณ ในพระวิหารวัดประดทู่ รงธรรม จ.อยธุ ยา ท่ีมา : http://travelchoicetv.ran4u.com

112 จากทก่ี ลา่ วมายังมีการใชห้ างนกยงู ประกอบการราเบิกโรงละครและถือว่าเปน็ การแสดงทีเ่ ป็น มงคลและมคี วามศักดส์ิ ิทธ์ิเป็นอย่างยิ่ง คือ ประเลง ซงึ่ เป็นละครราเบกิ โรงชุดหน่งึ ของละครไทยท่มี ีมา ต้ังแต่ครั้งโบราณกาล ประเลงเป็นระบาคู่ ผแู้ สดงจะแต่งตวั ยืนเครอ่ื งอยา่ ง นายโรงละครสวมหวั เทวดา ศีรษะโลน้ มอื ทั้งสองกาหางนกยงู ไม่มีเน้ือร้อง มแี ต่เพลงหนา้ พาทย์ ประกอบจงั หวะ ทา่ ราใชเ้ พลง “กลม” หรือ “โคมเวยี น” หรอื “ชานาญ” ซง่ึ ตามแบบแผนของบูรพคณาจารย์ทางดุริยางคไ์ ทยใช้ เพลงเหลา่ น้ีบรรเลงประกอบอริ ิยาบถของตัวละครท่ีสมมุติว่าเป็นเทวดาสามารณหาะเหิเดนิ อากาศ ดว้ ยอานาจของตน เวลารกลับเขา้ โรงใชเ้ พลงหนา้ พาทยเ์ ชิด หรอื รวั (เกดิ ศริ ิ นกน้อย. 2561 : สมั ภาษณ์) ธนิต อยู่โพธิ์ ไดแ้ สดงทรรศนะเก่ียวกับการประเลงไวว้ า่ “การราประเลง นอกจากเพื่อดูความ สวยงามทางนาฏศิลปแ์ ลว้ ไดเ้ คยทราบจากผหู้ ลกั ผใู้ หญว่ ่าเปน็ เคลด็ ลบั ของทา่ นผ้รู โู้ บราณท่านวา่ ก่อน เวลาท่เี ราจะเลน่ ละครกันกต็ ้องถือ ไม้กวาดออกมาปัดกวาดข้ีผงขไ้ี ผห่ ยากไยหยากเย่ือในโรงละครให้ สะอาดเสยี ก่อน เพราะ แตก่ ่อนนาน ๆ ละครจึงจะแสดงกนั สกั ครง้ั เหน็ จะเป็นเพราะคนปัดกวาคก็เป็น พวกละคร อยู่ดว้ ยจึงออกท่าออกทางมศี ลิ ปะในตัวเลยกลายเป็นบรู พกิจ ซ่ึงถือเปน็ ประเพณที ่ตี ้องทา กอ่ นมีการแสดงทุกครงั้ ภายหลงั เม่ือเกิดเป็นทานองเสียแลว้ เรอื่ งทาความสะอาดหายไป เหลือแต่ไม้ กวาดกบั ท่าทางจะยกเลกิ ธรรมเนยี มเสียก็ไม่ทราบต้นเหตุวา่ ความมุ่งหมายเดิม ของท่านเป็นอย่างไร แตจ่ ะถือ ไมก้ วาดออกมาให้คนดกู ็ดูกระไรอยจู่ งึ เลยถือหางนกยงู แทนไม้กวาด แตบ่ างท่านใหข้ ้อ สนั นษิ ฐานต่อไปว่า ที่ถอื หางนกยงู ออกมารานั้นวา่ จะมา จากนบั ถือกันว่า นกยงู เป็นต้นกาเนดิ ของการ ฟอ้ นราด้วยอีกด้วยอยา่ งหนง่ึ ชาวอนิ เดียจึง สรา้ งและเขียนรปู พระสรุ ัสวดปี ระทับอย่บู นหลงั นกยงู รา แพน ท่านสันนษิ ฐานกนั ไว้ดงั นี้ จงึ ขอนามาเล่าไว้ดว้ ย แตจ่ ะอยา่ งไรก็ตามภายหลังเกิดความนิยมถือกัน เปน็ ธรรมเนียมหรอื ประเพณีของละครสืบมาวา่ ประเลง เปน็ การฟ้อนราเบิกโรงทต่ี ้องแสดงก่อนเพือ่ ป้องกนั เสนยี ดจญั ไร หรอื ปดั รังควาญขบั ไล่ภูตผปี ีศาจและมารรา้ ยทีจ่ ะมาขัดขวางกลับกลายใหเ้ ปน็ อปุ สรรค และเป็นอปั มงคลแก่งานการแสดง” (ธนติ อย่โู พธ์ิ, 2535 : 113) นอกจากหางนกยูงจะใช้เป็นอุปกรณ์การแสดงแล้วในการแสดงหนังใหญ่ยังใช้หางนกยูงปัก ด้านบนของจอหนังเพื่อให้เกดิ ความสวยงาม น่าชม และประกอบกับความเชอื่ ทน่ี กยงู เป็นพาหนะของ พระสุวรัสวดีซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะท้ังปวง จึงนาหางนกยูงขึ้นไปปักไว้บน ออหนังเพื่อป้องกัน อนั ตรายจากภตู ผี ทจ่ี ะมาทารา้ ยนกั แสดงหรอื ทาใหก้ ารแสดงดาเนินไปได้ ไมร่ าบร่ืน

113 ภาพประกอบ 28ราเบิกโรง ชุด “ประเลง” ท่มี า : https://pantip.com/topic ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาท่ีเปิดทาการเรียนการสอนในสาขานาฏศิลป์ซึ่งมีอยู่มากมายได้ ประดิษฐ์สร้างชุดการแสดงนาฏศิลป์ท่ีใช้หางนกยูงเป็นอุปกรณ์การแสดงอยู่มากมายหลายชุดแล แตกต่างกันไป แต่ชุดการแสดงที่เป็นท่ียอมรับและเผยแพร่อยู่ ท่ัวไปคือ ระบาแววพัชนี ระบาชุดนี้มี พัดหางนกยูง ซ่ึงเป็นพัดที่เจ้านายฝ่ายในนิยมใช้ต้ังแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ผู้แสดงจะถือพัดหางนกยูงร่ายราตามจังหวะ ทานองเพลงและแต่งกายตามแบบสตรีไทยใน ราชสานกั อยธุ ยาการแสดงชุดนปี้ ระดษิ ฐ์โดยคณะ ครู-อาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลป์อา่ งทอง ภาพประกอบ 29 ระบาแวววชิ นี ท่มี า : http://www.nattasampun.com

114 ศิลปะการแสดงในราชสานักไทยที่ใช้หางนกยูงประกอบการแสดงท่ีปรากฏให้เห็นเด่นชัดคือ ราแพนไตล่ วด ราแพนบนปลายไม้ และประเลง ซงึ่ มีหลกั ฐานยนื ยนั ว่าการแสดง เหลา่ นีม้ อี ยจู่ ริงและมี บทบาทท่ามกลางบริบทของสังคมไทย นับว่าศิลปะการแสดงท่ีกล่าวมาน้ันเป็นเครื่องนันทนาการ ให้กับราษฎรและราชสานัก ถึงแม้จะเป็นมหรสพท่ีใช้แสดงในงานพระราชพิธีสาคัญต่าง ๆ ราษฎรก็มี โอกาสได้ พบเห็นและได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการละเล่นของราชสานัก เพราะฉะน้ันจึง ไม่ใช่ เร่ืองสาคัญท่ีจะมีการถ่ายทอดโอนวัฒนธรรมจากราชสานักไปสู่ราษฎรหรือจากราษฎรไปสู่ราช สานกั การฟอ้ นหางนกยงู ในภาคเหนอื การฟ้อนของชาวล้านนาในอดีตประกอบไปด้วยลีลาท่าทางท่ีเลียนแบบหรือดัดแปลงแบบ หรอื แปลงมาจากธรรมชาติ มกั มีลักษณะเป็นศิลปะตามเผ่าพนั ธุโ์ ดยแท้จริง กล่าวคือเช่ืองช้าแช่มช้อย สวยงาม ไม่มีลีลาท่าราท่ีซับซ้อนยุ่งยาก ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับใด ๆ เป็นกระบวนท่าง่าย ๆสั้น ๆมัก แสดงเป็นชุด ๆมีมากมายหลายรูปแบบ และขนานนามชุดการแสดงหรือกระบวนฟ้อนน้ัน ๆ ตามเชื้อ ชาติของผูฟ้ ้อน ซงึ่ เรยี กตามภาษาถ่ินพนื้ เมืองว่า ชา่ งฟอ้ น ( อ่าน “ จา้ งฟ้อน “ ) กระบวนฟ้อนตา่ ง ๆ ของล้านนาได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.ฟ้อนเมือง2.ฟ้อนม่าน 3.ฟ้อนเง้ียว ซ่ึงฟ้อนหาง นกยูงไดจ้ ดั อยู่ในประเภทฟ้อนเมือง จากการศึกษาของธีระยุทธ ยวงศรี, (2540 : 60-64) พบว่าการฟ้อนหางนกยูงของ กลุ่มชน ในล้านนามีมานานแลว้ กว่า 500 ปี จากหลักฐานท่ีสามารถยนื ยนั ได้คือ หนังสือโครงนิราศ หริภุญไชย บทที่ 110 บรรยายไว้ว่า จงึ เสลยอรยิ ากรฟ้อน เฟอื นฟัด แวววาคหางนกยูงกวกั แกวง่ เตน้ เงนิ ทองระบาทัด ทอมทอด งามเอ่ ตามพวกคันธัพเหล้น หลากแล้หลายระบา

115 ภาพประกอบ 30 ฟ้อนหางนกยูงล้านนาในพธิ ีไหว้ครชู ่างศิลป์ คณะวจิ ิตรศลิ ป์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ ทีม่ า : ศภุ กร ฉลองภาค กระบวนการฟ้อนที่มีมาต้ังแต่เดิมของชาวล้านนานิยมใช้ผู้ฟ้อนต้ังแต่ 2 คนขึ้นไปจะเป็นชาย ทัง้ หมด หรือหญงิ ทง้ั หมด หรือชายหญงิ ผสมกนั ก็ได้ ชา่ งฟอ้ นแต่ละคนละถือหางนกยูงในมือข้างละกา แล้วฟ้อนไปตามกระบวนท่ีได้ รับการฝึกหัดถ่ายทอดมาแต่งกายตามประเพณีของผู้ฟ้อน วงดนตรีที่ใช้ บรรเลงประกอบการฟอ้ นไม่กาหนดตายตัว จะใช้วงใดกไ็ ด้บางท้องถนิ่ ใช้วงกลองกันยาวหรือกลองปูเจ๋ แต่บ้างท้องถิ่นใช้ วงพาทย์ฆ้อง จุดประสงค์ในการฟ้อนหางนกยูงของชาว ล้านนาเพ่ือฟ้อนถวายเป็น พทุ ธบูชาแด่องค์พระธาตหุ รภิ ุญไชย การฟ้อนหางนกยูงในภาคอีสาน ฟ้อนหางนกยูงเป็นการฟ้อนพื้นเมืองของชาวนครพนมและเป็นการฟ้อนในพิธีฟ้อนบูชาพระ ธาตุพนมมาช้านาน การฟ้อนราน้ีผู้ฟ้อนจะถือหางนกยูงราท้ังสองข้างฟ้อนราไปตามจังหวะกลองยาว ซ่ึงนิยมราเดี่ยวยืนราบนหวั เรือแข่งเม่ือมีงานประเพณีออกพรรษาก่อนจะมีการแข่งเรือยาวหวั หน้าคุม้ วัดนายท้ายและฝีพายจะนาเรือยาวที่ตกแต่งไว้เป็นที่เรียบร้อยจัดเครื่องถวายสักการะพายเรือขึ้นไป ถวายสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง มีการร่ายราหางนกยูงต่อหน้าศาล เพ่ือเป็นการ บอกกล่าวว่าจะมีงาน พิธีแข่งเรือขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครองให้การแข่งขันสาเร็จด้วยดี ต่อมาได้มีการ คัดแปลงท่าราให้มี ความสวยงามย่ิงขึ้นแสดงในงานพิธีราบูชาพระธาตุพนม งานบุญออกพรรษาและ งานนมัสการพระ ธาตุพนม วัฒนศักด์ิ พัฒนภูทอง ได้ศึกษางานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม พบว่าฟ้อนหางนกยูงเป็น กิจกรรมหนึ่งของงานประเพณี ไหลเรือไฟ ซึ่งจะจัดข้ึนในวันสุดท้ายของเทศกาลไหลเรือไฟ คือ แรม1

116 ค่า เดือน 11 จะมีพิธีฟ้อน บูชาองค์พระธาตุพนม ซ่ึงมีชุดการฟ้อน 5 ชุด ได้แก่ 1. ฟ้อนตานานพระ ธาตุพนม โดยอาเภอธาตุพนมและอาเภอนาแก 2. ฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ โดยอาเภอปลาปาก 3. ฟ้อน ไทยญ้อ โดยอาเภอท่าอุเทน อาเภอนาหว้าและอาเภอโพนสวรรค์ อาเภอบ้านแพง อาเภอศรีสงคราม และอาเภอนาทม 4. ฟ้อนหางนกยูงโดยอาเภอเมือง 5 เซิ้งอีสาน เป็นการานาผู้ฟ้อนจากแต่ละชุดมา ฟอ้ นรวมกันในเพลงอีสาน บา้ นเฮา ภาพประกอบ 31 ฟ้อนหางนกยงู หัวเรอื ทีม่ า : ศุภกร ฉลองภาค ภาพประกอบ 32 ฟ้อนหางนกยงู จงั หวัดนครพนม ทม่ี า : ศุภกร ฉลองภาค

117 ฟอ้ นหางนกยงู ภาคใต้ จากการศึกษาความรู้เบื้องตน้ เก่ยี วกบั การฟ้อนหางนกยูงไม่ปรากฏการใชห้ างนกยงู ประกอบการแสดงของภาคใต้ ตาราง 2 การเปรยี บเทียบการฟอ้ นหางนกยงู ในประเทศไทย ภาค ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ฟอ้ นหางนกยูง ภาคเหนือ การฟ้อนของชาวลา้ นนา หางนกยูงประกอบการ เปน็ ศิลปะการฟ้อนรา ไม่ปรากฏ การใช้หาง ในอดตี ฟ้อนในราชสานกั ไทยมา ของจงั หวดั นครพนมมี นกยงู ประกอบการ ประกอบไปด้วยลีลา ตงั้ แตค่ รัง้ สมยั กรุงศรี อายุมากกวา่ 100 ปี แสดง ทา่ ทางท่ีเลียนแบบหรอื อยุธยาเจรญิ รงุ่ เรือง ในสมัยก่อนนิยมฟ้อน ไมป่ รากฏ การใช้หาง พิธีกรรม ความ ดดั แปลงแบบหรือ แปลง ศิลปะการแสดงในราช เดยี่ วบนหวั เรือแขง่ นกยูง เชื่อ ประกอบการ มาจากธรรมชาติมักมี สานกั ไทยที่ใชห้ างนกยูง และได้นามาปรับปรุง แสดง ท่าฟอ้ น ลักษณะเป็นศลิ ปะตาม ประกอบการแสดงท่ี ทา่ ฟ้อนใหม่ ใน พ.ศ. เผ่าพันธุ์โดยแทจ้ ริง ปรากฏให้เห็นเดน่ ชัดคือ 2491และไดน้ ามารา กลา่ วคอื เช่อื งช้าแช่มช้อย ราแพนไต่ลวด ราแพน บชู าพระธาตุพนมใน สวยงาม บนปลายไม้ และ งานไหลเรอื ไฟของ ประเลง จังหวดั นครพนมต้ังแต่ พ.ศ. 2530 ช่างฟ้อนแต่ละคนละถือ ท่าราใชเ้ พลง “กลม” ท่าฟ้อนทง้ั หมด 12 หางนกยงู ในมือขา้ งละกา หรอื “โคมเวยี น” หรอื ทา่ ดงั นี้ ทา่ นกยงู ร่อน แล้วฟอ้ นไปตามกระบวน “ชานาญ” เวลากลบั เข้า ออก,ท่ายงู ราแพน,ทา่ ท่ีไดร้ บั กระบวนฟ้อนต่าง โรงใชเ้ พลงหน้าพาทย์ ราแพนปักหลัก,ไหวคั ๆ ของล้านนาไดแ้ บ่ง เชิดหรอื รัว ร,ู ยงู พิสมัย,ยงู ฟ้อน ออกเปน็ 3 ประเภทใหญ่ หาง,ปกั หลักลอดซุ้ม, ๆคือ 1.ฟ้อนเมือง 2.ฟอ้ น ยงู รา่ ยไม,้ ยงู กระสันคู่, ม่าน 3.ฟ้อนเง้ียว ซง่ึ ฟ้อน ยงู ราแพนซุ้ม,ยงู ปัดรงั หางนกยูงได้จัดอยู่ใน ควาน,ยงู เหินฟ้า ประเภทฟ้อนเมือง

118 ตาราง 2 (ตอ่ ) ภาค ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ฟอ้ นหางนกยูง ผูฟ้ อ้ นตง้ั แต่ 2 คนข้ึนไป การละเล่นญวนหก ไต่ ผฟู้ ้อนหญิงล้วน 60 คน ไม่ปรากฏ ผแู้ สดง จะเป็นชายท้งั หมด หรือ ลวดราแพน นกั แสดง การใชห้ าง ดนตรบี รรเลง หญงิ ท้ังหมด หรือชาย ชาย 1คน การราประเลง นกยูง การแตง่ กาย หญงิ ผสมกนั ก็ได้ นกั แสดง 2 คนข้นึ ไป ประกอบการ ระบาแววพชั นี นักแสดง แสดง หญงิ 5 คนข้ึนไป วงดนตรที ีใ่ ชบ้ รรเลง ไม่มีเนื้อร้อง มแี ตเ่ พลง ในสมัยก่อนนั้น เปน็ การ ไมป่ รากฏ ประกอบการฟ้อนไม่ หนา้ พาทย์ ประกอบ ฟ้อนเขา้ จงั หวะกลอง การใชห้ าง กาหนดตายตวั จะใชว้ ง จงั หวะ เวลากลบั เขา้ โรง ยาว ฉง่ิ ฉาบ ฆอ้ ง นกยงู ใดก็ได้บางท้องถิ่นใชว้ ง ใช้เพลงหน้าพาทย์เชดิ เทา่ นั้น และไดค้ ิด ประกอบการ กลองกันยาวหรอื กลองปู หรอื รัว ประดษิ ฐท์ ่าราเพ่ิมเตมิ แสดง เจ๋ แต่บ้างท้องถิ่นใช้ วง ขนึ้ แลว้ กไ็ ดใ้ ช้ระนาด พาทย์ฆ้อง กลอง ฉ่งิ ฉาบ เป็น จังหวะประกอบการ ฟอ้ นในปัจจุบนั นิยมใช้ วงดนตรพี นื้ บ้านอสี าน หรอื วงโปงลาง แตง่ กายตามประเพณี ผ้แู สดงจะแต่งตัวยืน สวมเส้อื แขนกระบอกคอ ไม่ปรากฏ ชาวลา้ นนาตามแบบของ เครือ่ งอยา่ ง นายโรง จีน นุ่งผา้ ซนิ่ ผ้าสไบห่ม การใช้หาง ผูฟ้ ้อน ละครสวมหวั เทวดา เฉียงบา่ ผมเกลา้ มวยทดั นกยูง ศรี ษะโล้น มือท้ังสองกา ดอกไม้ สวม ประกอบการ หางนกยูง ระบาแวว เครื่องประดับเงิน เช่น แสดง พัชนี แต่งตัวตามแบบสตี ตา่ งหู สร้อย และกาไล ไทยในราชสานกั แขน

119 ตาราง 2 (ต่อ) ภาค ภาคเหนอื ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ ฟ้อนหางนกยูง การฟ้อนหางนกยงู ของ มหรสพท่ีใช้แสดงในงาน ฟ้อนหางนกยูงเพื่อบูชา ไมป่ รากฏ จดุ มุ่งหมายใน ชาว ล้านนาเพอื่ ฟ้อน พระราชพิธีสาคัญต่าง ๆ ศาลเจา้ พ่อมเหศักดห์ิ ลกั การใชห้ าง การแสดง ถวายเปน็ พุทธบูชาแด่ ราษฎรกม็ โี อกาสได้ พบ เมอื งและบูชาองค์พระ นกยูง องค์พระธาตหุ ริภุญไชย เหน็ และไดร้ บั ความ ธาตพุ นมแล้ว ชาว ประกอบการ สนกุ สนานเพลดิ เพลนิ นครพนมยงั เชอื่ กนั อกี วา่ แสดง จากการละเลน่ ของราช การฟ้อนหางนกยงู เปน็ สานัก ประเลงเป็นการ การแสดงทีเ่ ปน็ มงคล ฟอ้ นราเบิกโรงทีต่ ้อง เพือ่ ปดั รังควานสง่ิ ชว่ั รา้ ย แสดงก่อนเพื่อปอ้ งกัน และความอปั มงคล ตาม เสนยี ดจัญไร หรือปดั รัง คตคิ วามเชือ่ ของชาว ควาญขับไลภ่ ตู ผีปีศาจ อสี าน ท่วี ่า ฮา้ ยกวาดหนี และมารรา้ ยท่ีจะมา ดีกวาดเขา้ ขัดขวางกล้ากลายใหเ้ ปน็ อุปสรรค จากตารางการเปรยี บเทียบการศึกษาศิลปะการฟ้อนทีป่ ระดบั ด้วยหางนกยูงในประเทศไทย พบว่าศิลปะการฟ้อนราเป็นศิลปวัฒนธรรมของสังคมทุกกลุ่มซ่ึงจะมีลักษณะองค์ประกอบของการ ฟ้อนราท่ีแตกต่างกันออกไป เช่น ในด้านการลีลาการฟ้อน การแต่งกาย เน้ือร้อง เครื่องดนตรี และ ท่วงทานองท่ีบรรเลงลายดนตรี เป็นต้น ท้ังน้ีเนื่องสืบเนื่องมาจากลักษณะสภาพทาง ภูมิศาสตร์และ สภาพแวดล้อมท่ีแตกต่างกัน ทาให้ลักษณะของวัฒนธรรมในด้านวิถีชีวิต การดารงชีพ ศาสนา ประเพณีและความเชื่อ ศิลปะต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปด้วย รวมไปถึงการฟ้อนหางนกยูง ซ่ึงพบว่ามี กลุ่มวัฒนธรรมท่ีนิยมใช้หางนกยูงประกอบการฟ้อนได้แก่ ภาคกลาง คือ การแสดงกายกรรมราแพน ไตล่ วด ภาคเหนือฟ้อนหางนกยูงบชู าพระธาตุหริภุญไชย ภาคอสี านฟ้อนหางนกยูง บูชาหลักเมืองและ บูชาพระธาตุพนม สาหรับภาคได้ไม่พบว่ามีชุดการแสดงใด ๆ ที่ใช้หางนกยูง ประกอบการแสดงเลย ซึ่งท้ังหมดน้ีผู้ศึกษาจะใช้เป็นความรู้พื้นฐานสาหรับการศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของฟ้อนห างนกยูง ในประเพณีออกพรรษา ท่ีใช้ในการฟ้อนเพื่อสักการะบูชาองค์พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนม

120 อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จงึ ตอ้ ศึกษาประวัตคิ วามเป็นมาของฟ้อนหางนกยูงจังหวัดนครพนม ดังน้ี 1.3.2ฟ้อนหางนกยงู จงั หวัดนครพนม ฟ้อนหางนกยูงกาเนิดมาแลว้ ประมาณ 100 ปีเศษ ใชส้ าหรับราบวงสรวงสักการะเจ้า พอ่ หลักเมอื งอนั ศกั ดสิ์ ทิ ธิ์ เพื่อประทานพรให้มชี ัยชะและแคลว้ คลาดจากภยันตรายในการเข้าแข่งขนั ชิงชยั ต่าง ๆ โดยเฉพาะในการแข่งขนั เรือยาวในเทศกาลออกพรรษา ปกตกิ ารราชนดิ น้ีจะแสดงทา่ รา บนหวั เรือแข่งและราถวายหน้าศาลเจา้ พ่อหลักเมือง นายพันธุ์ เหมหงสไ์ ด้ดัดแปลงท่ารามาจากการ ราไหว้ครูของนักรบก่อนออกศกึ สงครามในสมัยก่อน โดยราอาวุธตามทต่ี ัวเองฝกึ คือราดาบ รา กระบี่กระบองเข้าจงั หวะกลองยาว การฟอ้ นหางนกยูงน้ี ในอุรงั คนิทานมีกล่าวไว้ในบทพระธาตุทาปาฏหิ าริย์ หลงั จากพระ อินทร์ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจา้ ประดิษฐานในอุโมงค์ ภายในพระเจดยี ์เป็นที่ อนุโมทนาสาธุแก่เหล่าเทวดา ครั้งนั้นพระอุรังคธาตุเสด็จออกมาทาปาฏิหาริย์ เทวดาท้ังหลายมีความ ชื่นชมยินดียิ่งนัก ในเวลานี้เองที่เป็นที่มาของตานานของการ ฟ้อนหางนกยูงและฟ้อนราบูชาพระธาตุ พนมประจาปี ความว่า “เทวดาท้ังหลายมีความช่ืนชมยินดียิ่งนัก จึงส่งเสียงสาธุข้ึนอึงมี่ตลอดทั่ว บรเิ วณวทิ ยาธรคนธรรพ์ทั้งหลายประโคมดว้ ยดรุ ิยะดนตรี วสั สวลาหกเทวบุตรพาเอาบริวารนาเอาหาง นกยงู เขา้ ไปฟอ้ นถวายบูชาเทวดาทั้งหลายลางหมู่ขับ ลางหมู่ดีด สี ตี เปา่ นางเทวดา ทง้ั หลายถือหาง นกยูง ฟ้อนและขับร้องถวายบูชา” ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าฟ้อนหางนกยูง เป็นศิลปะการฟ้อนราของ จังหวัดนครพนม เป็นลีลาฟ้อนราอีกแบบหนึ่งท่ีเป็นการเลียนแบบจากท่านกยูงราแพนเป็นส่วนมาก การฟ้อนหางนายูงน้ีมีผู้นามาถ่ายทอดและฟ้อนราเองตามคาบอกเล่าฟ้อนหางนกยูงเป็นศิลปะการ ฟ้อนราที่เก่าแก่และงดงามของจังหวัดนครพนมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปจั จุบัน ซ่ึงมีการพัฒนามาอย่างชา้ ๆ และต่อเนื่อง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเปล่ียนแปลงตลอดเวลา จาก การฟ้อนท่ีอยู่ในพิธีกรรมถวยเทียน ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผี ฟ้อนหางนกยูงก็พัฒนาเป็นการฟ้อน ในพิธกี รรมบูชาพระธาตพุ นม ซึง่ เปน็ พธิ กี รรมของพทุ ธศาสนา ฟอ้ นหางนกยูงแบง่ ออกเป็น 3 ยคุ ดังน้ี ฟอ้ นหางนกยงู ในยคุ ท่ี 1 กอ่ นปี พ.ศ. 2498 ซ่ึงในอดีตฟ้อนหางนกยูงเคยเป็นการละเล่นใน พิธีกรรมถวยเทียนของชาวเมืองนครพนมพิธีกรรมถวยเทียนน้ีจะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา จุดประสงค์เพื่อบูชาและขออนุญาต เจ้าหม่ืน ซ่ึงตามความเชื่อของชาวนครพนมเชื่อว่าเจ้าหมื่นคือ มเหศักด์ิหลักเมืองหรือวิญญาณของ เจ้าหมื่นที่คุ้มครองชาวนครพนมและนอกจากจะดูแลชาว

121 นครพนมแล้วยังดูแลรักษาแม่น้าโขงในเขตนครพนมอีกด้วย จากตานานที่ก่อให้เกิดความเช่ือนี้ทาให้ ชาวนครพนมไม่ว่าจะประกอบ กิจกรรมใด ๆ ในชุมชนก็แล้วแต่จะต้องทาพิธีกรรมบอกกล่าวขอ อนญุ าตเจา้ หมืน่ ทุกคร้งั ไป ฟ้อนหางนกยูงเปน็ เพียง การละเลน่ ในพธิ ีกรรมเท่านั้นไม่ได้ฟ้อนเพ่ือเป็นมหรสพแต่อย่างใดผู้ ฟ้อนมอี ิสระในการออกลีลา ทา่ ฟอ้ นตามความสามารถของตนเอง ในยคุ นม้ี ที า่ ฟ้อนเพยี ง 4 ท่า เทา่ น้นั ซึ่งเป็นท่าของการฟ้อนดาบไม่มีการต้ังช่ือท่าฟ้อน การฟ้อนหางนกยูงซึ่ง แสดงความเป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีและจุดประสงค์ของการฟ้อนก็เพื่อใช้ติดต่อ บูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ิ ซ่ึงชาว นครพนมเชอ่ื และเคารพศรทั ธาในความศักด์สิ ิทธม์ิ า ตั้งแตอ่ ดีตจนถงึ ปัจจบุ ัน ฟ้อนหางนกยูงในยุคที่ 2 ปี พ.ศ. 2498 – 2530 ฟอ้ นหางนกยูงเป็นนาฎกรรมที่ปรากฏอยู่ ในวิถีชีวิตของชาวนครพนมเร่ือยมาและต่อเน่ือง มาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ.2493 เม่ือนางเกษมสุข สวุ รรณธรรมา ไดม้ ารับราชการครูทโี่ รงเรยี นบา้ นหนองจนั ทร์ อาเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในวยั เยาว์ นางเกษมสุข เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการฟ้อนราและมีใจรักในการฝึกหัดวิชานาฏศิลป์ทุกประเภท โดยที่ ตนเองไม่ มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาของกรมศิลปากร มีเพียงแต่ได้ฝึกหัดการฟ้อนรา จากศิลปินพ้ืนบ้านรวมไปถึงการฟ้อนหางนกยูงด้วย ทาให้ฟ้อนหางนกยูงเกิดการเปลี่ยนแปลงในทาง ที่ดขี น้ึ ในยุคที่ 2 ฟ้อนหางนกยูงได้สืบทอดโดย นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา เมื่อปี พ.ศ. 2463 ได้มารับราชการครูได้มา รับราชการครูท่ีโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ อาเภอเมือง จังหวัดนครพนม ใน วยั เยาวน์ างเกษมสขุ เปน็ ผูม้ ีพรสวรรคใ์ นการฟ้อนราและมีใจรักในการฝึกหัดวิชานาฏศลิ ป์ทุกประเภท โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาของกรมศิลปากร มีเพียงแต่ได้ฝึกหัดการฟ้อน ราจาก ศิลปินพ้ืนบ้านรวมไปถึงการฟ้อนหางนกยูงด้วย ทาให้ฟ้อนหางนกยูงเกิดการเปล่ียนแปลง ในทาง ท่ีดขี ้นึ

122 ภาพประกอบ 33 นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา ท่ีมา : ศภุ กร ฉลองภาค ในอดีตนางเกษมสุข สุวรรณธรรมา เคยเป็นผู้ฟ้อนหางนกยูงบนหัวเรือแข่งของชาวคุ้ม วดั โพธศ์ิ รี มาโดยตลอดจนเกิดความชานาญและถูกคัดเลือกจากชาวคุ้มวัดโพธิ์ศรใี ห้ฟ้อน หางนกยูงอยู่ เป็นประจาจนถึงปี พ.ศ. 2488 นางเกษมสุข สามารถสอบเข้าโรงเรียนฝึกหัดครู มูลอุดรธานี และได้ ศึกษาวิชาการต่าง ๆ รวมไปถึงวิชานาฏศิลป์ ซ่ึงเป็นวิชาที่ตนเองช่ืนชอบ โดยโรงเรียนฝึกหัดครูมูล อุดรธานีได้ว่าจ้างครูผู้สอนฟ้อนราจากกรมศิลปากร มาทาการสอน ให้กับนักศึกษา โดยการจัดการ เรียนการสอนเดือนละ 2 ครั้ง จนจบหลักสูตร ซึง่ ครผู ู้สอนใน สมัยน้นั ไดผ้ ลดั เปล่ียนกันมาทาการสอน อยู่เป็นประจาทาให้อาจารย์เกษมสุข ได้มีโอกาสศึกษา และได้รับการถ่ายทอดการราละครของราช สานกั ระบาต่าง ๆ ของกรมศลิ ปากรแต่มิไดศ้ ึกษาเป็นวชิ าเอกเพยี งแต่ศึกษาเป็นวิชาเพ่ิมเติมเท่านั้นจน สาเร็จการศึกษาและการปฏิบัตริ าชการครูในปี พ.ศ. 2462 ทโ่ี รงเรียนอเุ ทนวิทยาคาร อาเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยช่วงนี้เป็นช่วงที่ทาให้การฟ้อนหางนกยูงมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น (วัฒนศักดิ์ พฒั นภทู อง. 2561 : สมั ภาษณ)์ เม่ือนางเกษมสุข เร่ิมปฏิบตั ริ าชการทโ่ี รงเรยี นบา้ นหนองจันทร์ อาเภอเมอื ง จงั หวดั นครพนม ซ่ึงในขณะน้ันมีนายทวี สุริรมย์ เป็นครูใหญ่ ให้แนวคิดกับนางเกษมสุข ให้คิดค้น และประดิษฐ์การ แสดงประจาโรงเรียนไว้เพื่อถ่ายทอดให้กับนักเรยี น และใชต้ ้อนรับผู้มาเยือนโรงเรยี น นางเกษมสขุ จึง ได้นาฟ้อนหางนกยูงมาปรับปรุงให้มาเป็นการแสดงโดยไปขอถ่ายทอด ศิลปะการฟ้อนหางนกยูงกับ นายพนั เหมหงษ์ ซึง่ มีศักดเ์ิ ปน็ คุณตาของนายทวี สุรริ มย์ นายพัน เหมหงษ์ เป็นครดู าบและเปน็ นกั รบ มีความเชี่ยวชาญในการถือคาบสองมือได้ปรับปรุงการถือดาบสองมือให้เป็นทาฟ้อนหางนกยูง แต่ ยังคงลีลาท่าฟ้อนของการฟ้อนดาบไว้เหมือนเดิมแต่ไม่ได้ ถ่ายทอดให้ใคร เพราะเป็นเพียงกิจกรรม ยามว่างของนายพัน เหมหงษ์ เท่านั้น นางเกษมสุข จึงไปฝึกหัดการฟ้อนหางนกยูงกับนายพัน เหม

123 หงษ์ ด้วยความตั้งใจและ อดทน เนื่องจากการฟ้อนหางนกยูงของนายพัน เหมหงษ์ ลีลาท่าฟ้อนเป็น การฟ้อนแบบฟ้อนดาบ ท่าทางต้องทะมัดทะแมงกระฉับกระเฉง นางเกษมสุข จึงได้ปรับปรุงลีลาท่า ฟ้อนของนายพัน เหมหงษ์ ให้มีลีลาท่าฟ้อนให้อ่อนช้อยงดงามมากย่ิงข้ึน โดยใช้หลักการแสดง นาฏศิลปท์ ี่เคยศึกษา เลา่ เรียนมาเป็นหลัก ในการปรับปรุงท่าฟ้อนโดยใช้ท่าฟ้อนดาบสองมือของนายพัน เหมหงษ์ เป็นพ้ืนฐาน ผสมผสานกับลีลากระบวนการฟ้อนของละครหลวง ทาให้ได้ท่าฟ้อนหางนกยูงที่อ่อนช้อยงดงาม จานวน 4 ท่า ได้แก่ 1. ท่านกยูงร่อนออก 2. ท่าตั้งหลัก 3. ท่ายูงราแพน 4. ท่าปัดรังควาน เมื่อได้แม่ ท่าทั้ง 4 ท่าแล้ว ก็นาไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนและเพื่อนครูท่ีสนใจทาการฝึกซ้อม โดยมีนายพรมมี หงษ์ภักดี เป็นผู้บรรเลงดนตรี ทานองเพลงใช้ทานองเพลงลาวแพน ซึ่งนายพัน เหมหงษ์ ได้จดจามา เม่ือครั้งเป็นทหารเกณฑ์ท่ีจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากในสมัยโบราณ ไม่มีการ บันทึกทานองเพลงใน รูปแบบของตัวโน้ตสากล ศิลปินจะใช้วิธีการจดจาทานองเพลง และมาท่อง ให้นายพรมมี หงษ์ภักดี เป็นผู้บรรเลงให้โดยใช้ระนาดเอกเป็นเคร่ืองดนตรีท่ีใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนโดยใช้ท่าฟ้อนที่ อาจารยเ์ กษมสขุ ปรบั ปรุงขน้ึ มาใหมแ่ ละนางเกษมสุข เปน็ ผู้ฟ้อน ปี พ.ศ. 2464 นายกมล ประสิทธิสา ศึกษาธิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มา ตรวจเยี่ยม สถานศึกษาในจังหวัดนครพนมรวมท้ังโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ด้วย ทางโรงเรียนบ้าน หนองจันทร์ นาโดยนายทวี สุริรมย์ ได้มอบหมายให้นางเกษมสุข ฟ้อนหางนกยูงเพื่อต้อนรับ ศึกษาธิการภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ชื่นชอบของคณะเดินทางเป็นอย่างย่ิง หลังจากน้ันใน ปีเดียวกันก็มีคาส่ัง มอบหมายจากศึกษาธิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือใหโ้ รงเรียนบ้านหนองจันทร์ นาฟ้อนหางนกยูงไป ร่วมแสดงในงานศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวดั อุดรธานี โดยมีจังหวดั อุดรธานีและ จังหวัดขอนแก่นเป็นเจ้าภาพ โดยใช้สถานที่บริเวณหนองประจักษ์เป็น สถานท่ีจัดงานในคร้ังน้ี จาก การฟ้อนในคร้ังนี้ศึกษาธิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ประกาศให้ ฟ้อนหางนกยูงเป็นศิลปะการ ฟ้อนของชาวนครพนม หลังจากท่ีนางเกษมสุข ได้เผยแพร่ศิลปะการฟ้อนหางนกยูงในงานศิลปหัตถกรรม ภาค ตะวนั ออกเฉียงเหนือแล้ว การฟ้อนหางนกยูงกเ็ ป็นทรี่ ูจ้ ักแพร่หลายมากข้ึนทง้ั ภายในจงั หวัด นครพนม และจังหวัดใกล้เคียง นางเกษมสุขได้รับเชิญไปฟ้อนในงานต่าง ๆ โดยมิได้คิด ค่าตอบแทน ทาให้ อาจารย์เกษมสุข เริ่มมีช่ือเสียงในการฟ้อนหางนกยูง และฟ้อนเร่ือยมาตามแต่ จะมีผู้มาเชิญแต่ก็ไม่มี บ่อยมากนักส่วนมากจะฟ้อนต้อนรับแขกเมืองหรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มารับตาแหน่งในจังหวัด นครพนม ในงานศิลปหัตถกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2498 นับเป็นปีท่ีฟ้อนหางนกยูงมี พัฒนาการอย่างชัดเจนและถือว่าท่าฟ้อน หางนกยูงเป็นแม่ท่าท่ีพัฒนาเป็นการฟ้อนหางนกยูงใน ปัจจุบัน เนื่องจากในปีนี้เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า

124 พระบรมราชินีนาถ(ในรัชกาลที่9)เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาค อีสานรวมท้ังจังหวัดนครพนมด้วย ในวนั ท่ี 29 พฤศจิกายน 2498 การเสด็จพระราชดาเนินในครั้งน้ีสร้างความปล้ืมปีติยินดีแก่พสกนิกรชาว นครพนมเป็นอย่างย่ิงทางจังหวัดจึงได้จัด เตรียมการแสดงไว้มากมายหลายชุดการแสดง ได้แก่ 1. ฟ้อนไทยญ้อ 2. ฟ้อนแสกเต้นสาก 3. ฟ้อนผู้ไทย 4. ฟ้อนโม้ทั้งบ้ัง และ 5. ฟ้อนหางนกยูง จากการ แสดงทง้ั หมด ทางจงั หวดั นครพนมได้คัดเลือกฟ้อนหางนกยงู เป็นชดุ การแสดงหน้าพระที่น่ัง สว่ นการ แสดงชุดอื่น ๆ เป็นการแสดงตามจุดที่เสด็จพระราชดาเนินผ่านเพื่อเย่ียม พสกนิกร ในการจัดการ แสดงทางจังหวัดได้มอบหมายให้อาเภอต่าง ๆ จัดการแสดงเข้าร่วม ได้แก่ 1. ฟ้อนไทยญ้อ จาก อาเภอท่าอเุ ทน อาเภอนาหวา้ และอาเภอศรสี งคราม 2. ฟอ้ นแสกเตน้ สาก ของ ชาวบา้ นอาจสามารถ อาเภอเมืองนครพนม 3. ฟ้อนผู้ไทย ของ อาเภอเรณูนคร อาเภอนาแก และอาเภอธาตุพนม 4. ฟ้อน โส้ทง่ั บ้ัง ของ ก่งิ อาเภอโพนสวรรค์ 5. ฟ้อนหางนกยูง ของ อาเภอเมืองนครพนม ภาพประกอบ 34 ฟ้อนหางนกยงู รบั เสด็จสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ในรัชกาลที9่ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2498 ทีม่ า : ภาพยนตร์สว่ นพระองค์

125 ภาพประกอบ 35 ฟ้อนหางนกยงู รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลท่ี9 เมอื่ ปี พ.ศ. 2498 ทมี่ า : ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ฟ้อนหางนกยูงในยุคท่ี 3 พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน ในยุคที่ 3 นฟี้ ้อนหางนกยูงมีพัฒนาการมา อย่างต่อเน่ืองและช้านานซึ่งเกิดจากสภาพทาง สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบให้ ฟ้อนหางนกยงู เปลี่ยนแปลงเพ่ือให้เข้ากับยคุ สมัยเปน็ ทนี่ า่ สังเกตว่าฟ้อนหางนกยูงในยคุ ปจั จุบนั มีส่วน ในการส่งเสริมการท่องเท่ียวในจังหวัด นครพนมได้อีกทางหน่ึงด้วยเห็นได้จากการฟ้อนหางนกยูงเป็น กจิ กรรมหนึ่งในงานประเพณีไหล เรอื ไฟและงานนมัสการพระธาตุพนม ซง่ึ สามารถดึงดดู นักท่องเที่ยว ไดเ้ ปน็ อยา่ งดีเป็นการ เสริมสรา้ งเศรษฐกิจชุมชนได้อีกทางหนงึ่ ด้วย (จันทร รัศม.ี 2561 : สมั ภาษณ์) ฟ้อนหางนกยูงจึงได้กลับมามีบทบาทในการฟ้อนบูชาพระธาตุพนม ในงานประเพณีออกพรรษา และ ประเพณีไหลเรือไฟ ของจังหวัดนครพนม ท่ีทางจังหวัดกาหนดให้ ในปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน จึง ได้มีการฟ้อนและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาและได้มอบหมายให้ คุณครูจันทร รัศมี ครูสอนนาฏศิลป์ที่ โรงเรียนนครพนมวิทยาคมเป็นผู้สืบทอดและดูแลต่อจากแม่ครูเกษมสุข สุวรรณธรรมา จึงได้มีการ นาพาเอานักเรียนในโรงเรียนนครพนมวิทยาคมเข้ามามีบทบาทในการฟ้อนหางนกยูง ในพิธีฟ้อนบูชา พระธาตุพนม (อร่ามจติ ชณิ ชา่ ง. 2561 : สมั ภาษณ์)

126 ภาพประกอบ 36 คณุ ครจู นั ทร รัศมี ทมี่ า : ศุภกร ฉลองภาค จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมได้แก่ การศึกษา เศรษฐกิจ และการรับ วัฒนธรรมจากภายนอกชุมชนทาให้ระบบความเช่ือเก่ียวกับพิธีกรรมถวยเทียนเลือนหายไปจากสังคม ชาวเมืองนครพนม ในปจั จุบนั จะไม่พบพธิ กี รรมถวยเทยี นและการฟ้อนหางนกยงู ที่ สวยงามบนหวั เรือ แข่งอีกแล้ว แต่ฟ้อนหางนกยูงได้กลับมาอีกครั้งในพิธีกรรมบูชาพระธาตุพนม ซ่ึงเป็นพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนา พิธีกรรมบชู าพระธาตุพนมเปน็ พิธกี รรมใหม่ท่ีพ่ึงมีใน จังหวดั นครพนม ซงึ่ ทางจงั หวัด กาหนดให้พิธีฟ้อนบูชาพระธาตุพนมเป็นกิจกรรมเสริมงาน ประเพณีไหลเรือไฟ ถึงแม้ว่าเป็นเพียง กิจกรรมเสริมการท่องเท่ยี วแตฟ่ ้อนหางนกยูงก็กลับมาอยู่ ทา่ มกลางบริบททางสงั คมของชาวนครพนม บนพ้ืนฐานของความเชือ่ ของชาวนครพนมว่าการ ฟ้อนหางนกยูงจะฟ้อนเพื่อบูชาสิ่งศักด์สิ ิทธท์ิ ่ีเคารพ นับถือชาวนครพนมจะไม่ฟ้อนหางนกยูงเพ่ือ เป็นมหรสพ เพ่ือแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาว นครพนมทเี่ กี่ยวกับการฟ้อนหางนกยูงใน ปจั จุบนั ผศู้ กึ ษาค้นควา้ ได้ศกึ ษาเพมิ่ เติม การฟ้อนหางนกยูง ในพธิ ีกรรมบูชาพระธาตุพนมในงาน ประเพณไี หลเรอื ไฟ ปี พ.ศ. 2530 จนมาถึงยุคปัจจุบันนี้การฟ้อนหางนกยูงมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและช้า นานซ่ึงเกิดจากสภาพทาง สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบให้ฟ้อนหางนกยูง เปลย่ี นแปลงเพ่ือให้เข้ากับยุค สมยั เป็นทนี่ ่าสังเกตวา่ ฟ้อนหางนกยูงในยุคปัจจุบันมีส่วนในการสง่ เสริม การท่องเท่ยี วในจังหวัด นครพนมไดอ้ ีกทางหนึ่งด้วยเห็นได้จากการฟ้อนหางนกยูงเป็นกจิ กรรมหนึ่งใน งานประเพณีไหล เรือไฟและงานนมัสการพระธาตุพนม ซ่ึงสามารถดึงดูดนักท่องเท่ียวได้เป็นอย่างดี

127 เป็นการ เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย (จันทร รัศมี. 2561 : สัมภาษณ์) ฟ้อนหาง นกยูงจึงได้กลับมามีบทบาทในการฟ้อนบูชาพระธาตพุ นม ในงานประเพณีออกพรรษา และ ประเพณี ไหลเรือไฟ ของจังหวัดนครพนม ที่ทางจังหวัดกาหนดให้ ในปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการ ฟอ้ นและปฏบิ ตั ิสืบทอดตอ่ กันมาจนถงึ ทุกวันน้ี กระบวนการท่าฟ้อนหางนกยูงได้รับการปรับปรุงและถ่ายทอดจากนางเกษมสุข สุวรรณธรร มา ซ่ึงไดใ้ ชก้ ระบวนทา่ ฟ้อนเหลา่ น้เี ป็นแบบแผนจนถงึ ปจั จบุ ัน มีทั้งสิ้น 12 ท่า ดังต่อไปนี้ ทา่ ท่ี 1 ท่านกยงู ร่อนออก ทา่ ท่ี 2 ท่ายูงราแพน ท่าท่ี 3 ท่าราแพนปกั หลัก ท่าที่ 4 ไหว้ครู ท่าที่ 5 ยงู พสิ มยั ทา่ ที่ 6 ยูงฟ้อนหาง ทา่ ท่ี 7 ปกั หลักลอดซมุ้ ท่าท่ี 8 ยงู ร่ายไม้ ท่าท่ี 9 ยูงกระสันคู่ ทา่ ท่ี 10 ยงู ลาแพนซุม้ ท่าท่ี 11 ยงู ปัดรงั ควาน ท่าที่ 12 ยูงเหินฟ้า นอกจากความเชอ่ื เรื่องการฟ้อนหางนกยูงเพ่ือบชู าศาลเจ้าพ่อมเหศักดห์ิ ลกั เมืองและบชู าองค์ พระธาตุพนมแล้ว ชาวนครพนมยังเชือ่ กันอีกว่า การฟ้อนหางนกยูงเป็นการแสดงท่ีเป็นมงคล เพ่ือปัด รังควานส่ิงช่ัวร้ายและความอัปมงคล ตามคติความเช่ือของชาวอีสาน ที่ว่า ฮ้ายกวาดหนี ดีกวาดเข้า (วัฒนศักด์ิ พัฒนภูทอง, 2548 : 3-4) ที่เป็นคติความเช่ือของคนอีสานท่ีสืบทอดต่อกันมาจากอดีต จนถงึ ปัจจบุ ัน ในปัจจุบัน คุณครูจันทร รัศมี ได้นาเอาฟ้อนหางนกยูงเข้ามาจัดอยู่ในหลักสูตรการเรียนการ สอนนาฏศลิ ปข์ องโรงเรียนนครพนมวิทยาคม โดยนักเรยี นช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี 5 ของโรงเรียนนครพนม วิทยาคมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟ้อนหางนกยูงและได้คัดเลือกเอานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 5 มาร่วม ฟอ้ นในพิธีฟ้อนบูชาพระธาตุพนม สว่ นนกั เรียนทไี่ ม่ได้รว่ มฟ้อนจะต้องลงพื้นทภี่ าคสนามเพ่ือหาข้อมูล ทาเปน็ รปู เลม่ รายงาน เหตุผลท่ที างจังหวดั นครพนมและหน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้องท้ังหมดได้มอบหมายให้ ทางโรงเรียนนครพนมวิทยาคมเป็นผู้รับผิดชอบการฟ้อนในพิธีบูชาพระธาตุพนมนนอกจากผู้ฟ้ อนใน อดีตหายากมากข้ึนเพราะต้องใช้ความสามารถและทักษะสูง และยังสะดวกต่อการฝึกซ้อม และ

128 สามารถเพมิ่ จานวนผู้ฟ้อนไดม้ ากขน้ึ กวา่ เดิม จึงได้มีการปรบั กระบวนท่าฟ้อนให้ง่ายต่อผู้ฟ้อนท่ีไม่ได้มี ทักษะในการแสดงแต่มีใจรักและมีจิตศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนมวรวิหาร ที่เป็นศาสนสถานศูนย์รวม จติ ใจของชาวจงั หวัดนครพนม ภาพประกอบ 37 ฟ้อนหางนกยูง ปี พ.ศ. 2547 ทม่ี า : ศุภกร ฉลองภาค ภาพประกอบ 38 ฟ้อนหางนกยงู ปี พ.ศ. 2561 ที่มา : ศภุ กร ฉลองภาค

129 อัตลักษณ์วัฒนธรรมเป็นส่ิงท่ีบรรพบุรุษสร้างข้ึนเพ่ือควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมคน อีสาน โดยผ่านความเช่ือ และ ความต้องการความมั่นคงทางจิตใจ ในแต่ละสังคมของคนอีสานจะมี การสร้างความเป็นวัฒนธรรมท่ีเข้มแข็งจนมีอัตลักษณ์ประจาชุมชนท่ีสามารถสืบทอดและกลายเป็น ประเพณีท่ีชุมชนยอมรับร่วมกัน โดยแต่ละกลุ่มน้ันล้วนมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองท่ีเด่นชดั แต่เม่ือมองถึงภาพรวมแล้วสามารถแบ่งประเภทของวัฒนธรรมอีสานได้หลายประเภท อาทิเช่น ประเพณพี ธิ กี รรม ศิลปะการแสดงทแี่ ฝงไปตามกลุ่มชนต่าง ๆ ของคนอสี านเน่ืองจากอสี านสว่ นใหญ่มี ประเพณีท่ี เรียกว่า ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ท่ีสืบทอดกันมายาวนานและเคร่งครัด ในอดีตคนอีสานใช้ การสอดแทรกความรู้เรื่องวัฒนธรรมแต่ละท้องถ่ินผ่านศิลปะการแสดง เพ่ือถ่ายทอดวัฒนธรรมด้าน ต่าง ๆ จากรุ่นส่รู นุ่ เน่ืองจากศลิ ปะการแสดงของคนอีสานน้ันเป็นสิ่งที่มีผลในการจูงใจ มคี วามใกล้ชิด กับผู้ชม ปรับเปล่ียนได้ตามสถานการณ์ นับเป็นสื่อที่สามารถใช้ใน การถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ แก่ ประชาชนได้เปน็ อยา่ งดี ประเพณีเป็นการเกิดขึ้นหลังจากการแพร่กระจายทางสังคมสร้างวัฒนธรรมท่ีเข้มแข็งและ สามารถสืบทอดกลายเป็นประเพณีท่ีชุมชนยอมรับโดยเฉพาะคนอีสานที่แส ดงถึงความเชื่อความ ศรัทธาผ่านศิลปะการแสดง การฟ้อนรา ดนตรี เพ่ือแสดงถงึ ความเคารพความศรัทธานและความนอบ น้อมที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ิในแต่ละท้องถ่ิน โดยเฉพาะชาวจังหวดั นครพนมและพุทธาศาสนิกชนใกล้เคยี ง ท่ีได้นาเอาศิลปะการแสดงการฟ้อนประจาท้องถิ่นทั้งหมด 7 ชุดการแสดง ได้แก่ ราตานานพระธาตุ พนม ฟอ้ นศรีโคตรบูรณ์ ฟ้อนภไู ทเรณนู คร ฟอ้ นหางนกยูง ราไทญ้อ ฟ้อนขนั หมากเบ็ง และเซ้งิ อีสาน บ้านเฮา มาร่วมฟ้อนบูชาพระธาตุพนมท่ีได้สืบทอดปฏิบัติกันมาจากอดีตจนมาถึงปัจจุบันในที่ตรงกับ ประเพณีออกพรรษา รวัดพระธาตุพนม อาเภอาตพุ นม จังหวดั นครพนม จากเอกสารและงานวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาการฟ้อนบูชาพระธาตุพนมในประเพณีออกพรรษา พบว่าฟ้อนหางนกยูง มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะท้องถ่ินของชาวนครพนมเนื่องจากฟ้อนหาง นกยูงมีปรากฏตามตานานอุรังคธาตุหรืออุรังคนิทานและเป็นศิลปะการแสดงท่ีมีวิวัฒนาการของการ ฟ้อนมาอย่างยาวนานและปรบั ตัวไปตามสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัย ฟ้อนหางนกยูงยงั มีนาฏยลักษณ์ เฉพาะตวั มาต้ังแต่ก่อนท่จี ะนาเอามาฟ้อนในงานฟ้อนบชู าพระธาตุพนม ในประเพณีออกพรรษา ณ วดั พระธาตุพนม อาเภอธาตุพนม จงั หวดั นครพนม

130 2. กระบวนการประดษิ ฐส์ รา้ งของศลิ ปะการแสดง ชุด ฟ้อนหางนกยูง ในประเพณอี อกพรรษา ณ วัดพระธาตพุ นม อาเภอธาตพุ นม จังหวดั นครพนม กระบวนการประดิษฐ์สร้างศิลปะการฟ้อนราของชาวอีสานนับว่าเป็นหัวใจของการสร้าง ผลงานการแสดงทางนาฏศิลป์ท้ังนี้ต้องคานึงถึงสภาวะแวดล้อมสภาพแวดล้อมและสภาพสังคมด้วย นอกจากน้ันการประดิษฐ์สร้างศิลปะการฟ้อนราที่ดีและได้มาตรฐานน้ันผู้ประกอบสร้างต้องคานึงถึง หลักเกณฑ์ในการประดิษฐ์สร้างท่าราด้านการนาเสนอเนื้อหาตามความมุ่งหมายในชุดการแสดง เช่น เน้นทางด้านการละเล่น ด้านอาชีพ ด้านสังคม ด้านพิธีกรรมความเชื่อด้านการบวงสรวง ด้าน โบราณคดแี ละความสวยงาม รวมไปถึงความกระชบั ของการแสดง (พจมาลย์ สมรรคบุตร, 2538 : 41) องค์ประกอบของศิลปะการแสดงเป็นรูปแบบชนิดหน่ึงในการสร้างความสุนทรยี ์ทเี่ กิดในจิตใจ มนุษย์ ถือเป็นศิลปะท่ีสามารถสัมผัสได้ทั้งจากการมองเห็นเพียงอย่างเดียว หรืออาจท้ังจากการ มองเห็นและฟังพร้อม ๆ กัน ศิลปะการแสดงเป็นการสื่อสาร แสดงออกโดยอาศัยตัวบุคคลเป็น เครอ่ื งมือทจ่ี ะสอื่ ไปยงั ผ้ชู มให้เกิดความพึงพอใจ ดังน้ันองค์ประกอบท่ีสาคัญในการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงเป็นจุดเริ่มต้นของงานการ แสดง กระบวนการประดิษฐ์สร้างจึงมีขอบเขตท่ีกว้างขวางมากรวมถึงความนึกคิด เรื่องราวในบท ละครหรือเนื้อหาของระบา รา เต้น อารมณ์ความรู้สึก ลีลาการสร้างสรรค์ การเชื่อมต่อท่าราการแปร แถวดนตรีการเขียนบทละคร บทร้อง ทานอง เพลง เคร่ืองแต่งกาย ฉากแสงสีเสียง รวมไปถึงการ แสดงท่มี ีการใช้อุปกรณ์ในการแสดง ศิลปะการแสดงฟ้อนหางนกยูงจากที่กล่าวมาเป็นการแสดงท่ีอยู่คู่กับชาวนครพ นมมาอย่าง ยาวนานนับต้ังแต่อดีตท่ีนานกว่าหลายร้อยปี ฟ้อนหางนกยูงได้ปรับตัวเข้ากับบริบททางสังคมจนมี พฒั นาการและถูกสบื สานจนกลายเป็นมรดกทางวฒั นธรรมภูมิปญั ญาของชาวจังหวดั นครพนม ซึ่งกวา่ จะเกิดเป็นฟ้อนหางนกยูงในปัจจุบัน ต้องใช้กระบวนการประดิษฐ์ท่ีเป็นองค์ประกอบหลัก ผ่าน กระบวนการคิดวิเคราะหข์ องศิลปินพืน้ บ้านอีสานผู้ประดิษฐศ์ ิลปะการแสดงอีสาน กระบวนการประดษิ ฐส์ ร้างของศิลปะการแสดง ชุด ฟอ้ นหางนกยูง ในประเพณีออกพรรษา ณ วัดพระธาตุพนม อาเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีองค์ประกอบท่ีสาคัญในการประดิษฐ์สร้าง ศิลปะการแสดงเพ่ือให้การแสดงชุดฟ้อนหางนกยูงได้ถูกสร้างขึ้นให้เป็นการแสดงท่ีสมบูรณ์แบบและ อย่ใู นบรสิ ังคมอยา่ งเปน็ ทย่ี อมรบั ของชมุ ชนจึงแบ่งการศึกษาในดา้ งองค์ประกอบออกเป็น 7 กลุ่มไดแ้ ก่ - แนวคดิ ในการประดิษฐส์ ร้างศิลปะการแสดง - รปู แบบการแสดง - กระบวนการเคลื่อนไหว - ทา่ ฟอ้ นหางนกยงู

131 - เครอ่ื งแตง่ กาย - ดนตรี - อุปกรณก์ ารแสดง จากการศึกษาองค์ประกอบของฟ้อนหางนกยูง ในประเพณีออกพรรษา ณ วัดพระธาตุ พนม อาเภอธาตุพนม จงั หวดั นครพนม มีองค์ประหลกั ท่สี าคัญดงั น้ี 2.1แนวคิดในการประดิษฐ์สร้างศลิ ปะการแสดง แนวคิดในการประดิษฐ์สร้างฟ้อนอีสาน เกิดจากธรรมชาติและการเลียนแบบธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมและประเพณี พิธีกรรม หมอลา ตลอดจนจิตวิญญาณ และ อารมณ์ความรู้สึกช่ัวขณะน้ันของชาวอีสาน การฟ้อนถ่ายทอดความสนุกสนาน แต่คงความเรียบ ง่าย ไม่ซับซ้อน ซ่ือตรง มีความเป็นอิสระของท่าฟ้อนและการใช้ร่างกายตามธรรมชาติ ไม่มีรูปแบบที่ ตายตัว ผู้ฟ้อนมีอารมณ์ความรู้สึก ณ ขณะน้ัน จะแสดงท่าทางออกมาตามที่ตนเองรู้สึกหัวใจหลักของ การฟ้อนของอีสานจะเป็นไปตามจังหวะของดนตรี เพ่ือให้เกิดความสวยงาม อ่อนช้อยท่ีวิจิตรกว่า ธรรมชาติ โดยใช้ทุกส่วนของรา่ งกาย ทั้งมือ เท้า ลาตัว เคล่ือนไหวไปตาม เสียงดนตรี ผ่านการย่าเทา้ การม้วนมือ การกระดิกน้ิว การแอ่นลาตัว การย้อน การเดิน การเตะ ขา การยกเท้าสูง การใช้เอว การใชส้ ะโพก การยึกยักวบั แวบ การกม้ เสน่หข์ องการฟอ้ นอีสานท่ี สาคัญ คือ การเคลอื่ นไหวรา่ งกาย ตามธรรมชาติ ทั้งน้ีการจีบของอีสานมีทั้งการไม่จรดมือ และการ จรดมือ โดยได้รับอิทธิพลจาก นาฏศิลปไ์ ทยมาผสม นอกจากนีย้ ังมีนกั วชิ าการและผเู้ ช่ียวชาญทางด้านศลิ ปะการแสดงพ้ืนเมืองได้ให้ แนวความคิดในการประดิษฐ์สร้างศิลปะการแสดงพื้นเมืองอีสาน จากการศึกษาแนวคิดการประดิษฐ์ สร้างของ ชัชวาลย์ วงษ์ประเสรฐิ , (2532 : 56-61) ไดก้ ลา่ วถงึ เรอ่ื งของการประดิษฐ์สรา้ งศิลปะฟ้อน พ้ืนบ้านอีสานไว้ว่า กระบวนการท่าฟ้อนอีสานอีสานท่ีประดิษฐ์สร้างที่ใช้แบบศิลปะการแสดงมาเป็น เครื่องช่วยตัดสินใจ โดยเฉพาะการฟอ้ นราของชนในชาตนิ ้นั การฟ้อนราแบง่ ออกเปน็ 2 ชนิด คือ 1. การฟ้อนราของชาวบ้าน (Folk Dance) คือการฟ้อนราอันเกิดจากความรูสึก ของ ชนธรรมดาสามัญ โดยไม่ต้องมีการฝึกหัดหรือมีก็เพียงเล็กน้อย เต็มไปดวยความสนุกสนาน มี ชีวิตชีวา 2. การฟ้อนราตามแบบแผน (Classical Dance) คือการฟ้อนราที่ตองอาศัยการ ฝึกหดั กันตามแบบฉบับ เชน การราละครของไทย ซึ่งยกย่องว่าเป็นของสงู การฟ้อนราตามแบบแผน ไม่สามารถแสดงอารมณก์ ับคนดู จงึ เป็นความงามปราศจากชวี ติ คลา้ ยหุ่นกระบอกที่รา่ ยรา จากแนวคิดของ ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ พบว่าฟ้อนหางนกยูงเป็นการฟ้อนราที่เกิด จากความรู้สึกของกลุ่มชนธรรมดาที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานมีชีวิตชีวา และ ฉวีวรรณ ดาเนิน