Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หลักสูตรไม้สักและผลลิตภัณฑ์ไม้สัก ม.3

หลักสูตรไม้สักและผลลิตภัณฑ์ไม้สัก ม.3

Published by mazzbamqils, 2021-04-13 06:40:16

Description: หลักสูตรไม้สักและผลลิตภัณฑ์ไม้สัก ม.3

Search

Read the Text Version

2

คำนำ ชุดคู่มือเอกสารประกอบการเรียน หลักสูตรไม้สักและผลิตภัณฑ์ไม้สักสำหรับ นักเรียนโรงเรียนร่วมพัฒนำจังหวัดแพร่ ม.3 เล่มน้ี จัดทําขึ้นสําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีท่ี 3 โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนและครูใช้เป็นส่ือในการจัดการเรียนรู้เพ่ือ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ในหลักสูตร มีสมรรถนะสําคัญ ด้านการส่ือสาร การคิด การแก้ปัญหา และการใช้ทักษะชีวิต ตลอดจนพัฒนานักเรียนให้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทําประโยชน์ให้สังคม เสริมสร้างทักษะพ้ืนฐานงานไม้ ตลอดจนการรู้จักการทํามาค้าขาย เพื่อสืบสานองค์ความรู้งานไม้ให้อยู่คู่กับสังคม วัฒนธรรมของคนจังหวัดแพร่สืบไป และสามารถนําองค์ความรู้มาประกอบอาชีพเพื่อล่อ เลย้ี งตนเองและครอบครวั ในอนาคตได้ ชุดคู่มือเอกสารประกอบการเรียน หลักสูตรไม้สักและผลิตภัณฑ์ไม้สักสำหรับ นักเรียนโรงเรียนร่วมพัฒนำจังหวัดแพร่ ยึดแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญใช้หลักการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของการทํางาน และ สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน โดย พฒั นานกั เรยี นแบบองค์รวมอยู่บนพ้ืนฐานของการบูรณาการความคิดรวบยอด ที่ เน้นให้ นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Active Learning) และเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brainbased Learning) เป็นการเรียนรู้ให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) เปน็ ทกั ษะทสี่ รา้ งเสริมความเข้าใจที่คงทนของนักเรียนซึ่งเป็นผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการ ให้เกดิ ตามหลักสูตร การชุดคู่มือเอกสารประกอบการเรียน หลักสูตรไม้สักและผลิตภัณฑ์ ไม้สักสําหรับนักเรียนโรงเรียนร่วมพัฒนาจังหวัดแพร่ คณะผู้จัดทําได้แบ่งเน้ือหาออกเป็น 9 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้สัก การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ชนิด ของการค้าปลกี ธรุ กิจการค้าแบบไร้หน้าร้าน การขายและบริการลกู ค้า การเลือกทําเล

ที่ต้ังร้านค้า การกําหนดราคาค้าปลีก การจัดการสินค้าและการโฆษณาในกิจการร้านค้า ปลกี หวังเป็นอยา่ งย่ิงว่า ชดุ คมู่ อื เอกสารประกอบการเรยี นหลกั สตู รไม้สักและผลิตภัณฑ์ ไม้สักสําหรับนักเรียนโรงเรียนร่วมพัฒนาจังหวัดแพร่ ม.3 จะช่วยสนับสนุนให้นักเรียนได้ พัฒนาทักษะพื้นฐานในการทํางาน การจัดการ การคิดสร้างสรรค์ ทักษะพ้ืนฐานงานไม้ และการทํามาคา้ ขาย เพื่อบรรลุตามจุดมุง่ หมายของหลักสูตร คณะผ้จู ัดทำ

สำรบญั 1 1 หนว่ ยกำรเรียนรทู้ ี่ 1 กำรออกแบบผลติ ภณั ฑไ์ ม้สกั 1 1.องค์ประกอบในกำรออกแบบ 2 1.1 ความหมายของการออกแบบ 13 1.2 องค์ประกอบในการออกแบบ 18 1.3 หลักการจัดองคป์ ระกอบ 18 2.หลักกำรออกแบบ 29 2.1 หลักเกณฑ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม 34 2.2 ความคดิ สรา้ งสรรคใ์ นการออกแบบ 41 3.กระบวนกำรออกแบบ 51 4.กระบวนกำรผลิต 51 หนว่ ยกำรเรยี นร้ทู ี่ 2 กำรผลติ เฟอรน์ เิ จอร์ไมส้ ัก 51 2.1 ประเภทของเฟอรน์ เิ จอรไ์ ม้ 52 2.2 วสั ดทุ ใ่ี ช้ผลติ เฟอรน์ ิเจอรไ์ ม้ 54 2.3 กระบวนการผลติ 56 2.4 ตวั อยา่ งชิน้ งานผลิตภณั ฑ์ไม้สกั 56 หนว่ ยกำรเรยี นรทู้ ี่ 3 ชนิดของกำรค้ำปลีก 57 3.1 ลกั ษณะของการคา้ ปลีก 58 3.2 ประเภทของการคา้ ปลีก 69 3.3 รปู แบบการค้าปลีกของไทย 69 หน่วยกำรเรยี นรู้ท่ี 4 ธุรกิจกำรคำ้ แบบไร้หน้ำรำ้ น 70 4.1 บทนําของค้าปลกี แบบไรห้ นา้ รา้ น 88 4.2 การตลาดทางตรง 92 4.3 เครอื่ งขายสนิ ค้าอตั โนมตั ิ 95 4.4 การขายปลกี แบบขายตรง 4.5 การจัดงานแสดงสินค้า

หน่วยกำรเรยี นรู้ที่ 5 กำรขำยและบริกำรลกู ค้ำ 97 5.1 ลกั ษณะการบริการในธรุ กิจคา้ ปลกี 97 5.2 ปัจจัยที่มีผลตอ่ การกาํ หนดนโยบายในกจิ การค้าปลีก 98 5.3 ประเภทของการบริการในกิจการรา้ นคา้ ปลกี 100 5.4 การให้สนิ เช่ือในกิจการคา้ ปลีก 107 5.5 กลยุทธก์ ารบริการลูกคา้ 110 หน่วยกำรเรยี นรทู้ ี่ 6 กำรเลือกทำเลท่ตี งั้ ร้ำนค้ำ 115 6.1 ความหมายของการเลือกทําเลท่ีต้งั ร้านค้าปลกี 115 6.2 คําถามเกี่ยวกบั ลกู คา้ รา้ นคา้ ปลกี 115 6.3 ปัจจยั ในการพจิ ารณาเลือกทําเลทีต่ ัง้ ร้านค้าปลีก 116 6.4 ปจั จัยท่มี อี ทิ ธิพลตอ่ การเลือกทาํ เลทตี่ ้งั ร้านคา้ ปลีก 123 หน่วยกำรเรยี นรู้ที่ 7 กำรกำหนดรำคำคำ้ ปลกี 128 7.1 กลยุทธ์เกีย่ วกับการกาํ หนดราคา 128 7.2 ปจั จัยทม่ี ีผลต่อการกาํ หนดนโยบายราคาขายปลกี 129 7.3 ราคา และผลกาํ ไร 133 7.4 นโยบายการกาํ หนดราคาโดยทวั่ ไป 134 7.5 การต้งั ราคาขายปลีก 141 หน่วยกำรเรยี นรู้ที่ 8 กำรจดั กำรสินคำ้ 146 8.1 สินคา้ และบริการ 146 8.2 การจดั ซ้อื สินค้า 148 8.3 โลจสิ ติกส์สาํ หรบั ธุรกจิ ค้าปลกี 169 8.4 การจดั การสินคา้ 170 8.5 การจดั การสินคา้ คงคลัง 179

หนว่ ยกำรเรยี นร้ทู ่ี 9 กำรโฆษณำในกิจกำรรำ้ นคำ้ ปลกี 192 9.1 การโฆษณาในกิจการรา้ นคา้ ปลีก 193 9.2 การจัดแสดงสนิ ค้าในกิจการรา้ นคา้ ปลีก 202 9.3 ข้อควรพิจารณาในการวางผงั รา้ นค้าปลกี 217 9.4 การส่งเสรมิ การขายในกิจการร้านคา้ ปลกี 219 9.5 การประชาสัมพันธ์ในกิจการรา้ นค้าปลกี 223 บรรณำนกุ รม

1. กำรออกแบบผลติ ภัณฑไ์ ม้สกั 1. องคป์ ระกอบในกำรออกแบบ (Elements of Design) ปัจจัยหน่ึงที่สําคัญต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คือ ความงามเป็นอีก ปัจจัยหนึ่งที่ผลิตภัณฑ์ต้องมีเพ่ือเป็นการตอบสนองความต้องการหรือตอบสนอง ประโยชน์ใช้สอยทางด้านจิตใจแก่ผู้บริโภค การศึกษาถึงองค์ประกอบของศิลปะในการ ออกแบบ ทําให้นักออกแบบสามารถนําศิลปะไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมี เนอื้ หาดงั นี้ 1. ความหมายของการออกแบบ (design meaning) 2. องคป์ ระกอบในการออกแบบ (elements of design) 3. หลกั การจัดวางองคป์ ระกอบ (composition) 1.1 ควำมหมำยของกำรออกแบบ สมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ (International Council of Societies of Industrial Design : ICSID) ได้ให้ความหมายว่า การออกแบบ เป็นกิจกรรมของ ความคิดสร้างสรรค์ท่ีมีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนดคุณภาพของวัสดุ การผลิตในระบบ อุตสาหกรรม โครงสร้างและความสัมพันธ์กับประโยชน์ ใช้สอยเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมและองค์ประกอบของสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง การใชง้ านของผ้บู รโิ ภค 8

1.2 องคป์ ระกอบในกำรออกแบบ (elements of design) วัตถุต่าง ๆ ท่ีมองเห็นอยู่แวดล้อมตัวมนุษย์น้ันมีมากมายหลากหลายลักษณะ รูปแบบขององค์ประกอบ ท่ีก่อร่างสร้างรูปร่างข้ึนเป็นวัตถุสิ่งของที่เกิดข้ึนเองตาม ธรรมชาติ หรอื เกิดจากการสร้างของมนุษย์ รวมท้ังการเลือกใช้องค์ประกอบให้เหมาะสม กับแต่ละวัตถุประสงค์ในการออกแบบได้โดยอาศัยความเข้าใจถึงประเภทของ องค์ประกอบ และการรับรู้ของมนุษย์ต่อองค์ประกอบในลักษณะต่าง ๆ ท่ีไม่เหมือนกัน ดงั น้ี - ขนำดสดั ส่วน และทีว่ ่ำง (Proportion scale and space) - จดุ เสน้ ระนำบ (Dot line plane) - ลักษณะพนื้ ผวิ ลวดลำย และคำ่ ควำมเขม้ สี นำ้ หนกั ควำมเขม้ (Texture pattern and value) - สี (Color) 1.2.1 ขนำดสดั สว่ น และท่วี ำ่ ง (proportion scale and space) กําหนดขนาด สัดส่วน และท่ีว่างท่ีให้ผลต่อการรับรู้ในการมอง ของมนุษย์ท่ี แตกตา่ งกนั ด้วยตวั แปร 4อยา่ งด้วยกันได้แก่ ขนาดของพ้ืนภาพ หรือขนาดของกรอบงาน (Format size) ขนาดของภาพ (Figure size) ตําแหน่งและทิศทางของภาพ (Position and direction) และคา่ ความเขม้ สขี องภาพ (Figure value/tone) 9

ขนำดของพื้นภำพหรือขนำดของกรอบงำน ขนำดของภำพ ตำแหน่งและทศิ ทำงของภำพ (Position and direction) 10

1.2.2 จุด เส้น ระนำบ (dot, line and plane) จดุ เปน็ องคป์ ระกอบรปู ร่างที่มขี นาดเล็ก รู้สึกถึงความเล็กได้จากการอ้างอิงกับสิ่ง ท่ีแวดล้อมที่อยู่รอบจุดได้แก่ขนาดของกรอบภาพนั่นเอง การที่ขนาดของกรอบ ภาพมี ขนาดใหญ่กว่าขนาดจุดแตกต่างกันมาก จะทําให้รู้สึกได้ถึงความเล็กและการบ่งบอกถึง จุด จุด สามารถมีลักษณะรูปร่างได้หลากหลายแบบไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นรูปวงกลม หรอื ส่เี หลี่ยม เสมอไป นัน่ หมายความว่า จุด บง่ บอกด้วยขนาด มากกวา่ รูปร่าง เสน้ เม่ือนํา จุด หลาย ๆ จุดที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาเรียงต่อกันในระยะที่ ไม่ห่าง กันมากเกินไป จะรู้สึกได้ถึงเส้นและทิศทางของเส้นทันที และเม่ือจุดเหล่านั้นเรียงชิด ติดกันมากขึ้นตอ่ เนื่องกนั ไป จะทาํ ใหเ้ กดิ ความชัดเจนของเสน้ ทีส่ ม่ําเสมอเปน็ เส้นเดยี วกัน 11

ระนำบ เช่นเดียวกับพัฒนาจากจุดเกิดเป็นเส้น จากเส้นตรงเส้นหน่ึงในแนวนอน เมื่อนําเส้นแบบเดยี วกนั เรยี งชดิ ติดกันในแนวขนานจะทาํ ใหเ้ กดิ ระนาบ และย่ิงเรียงชิดกัน มากข้ึน ภาพของระนาบที่ปรากฏต่อสายตาก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น จากตัวอย่างเกิดเป็น ระนาบรูปสี่เหลี่ยม นอกจากน้ีการนําระนาบสี่เหล่ียมมาเรียงซ้อนกันข้ึนไป จะทําให้เกิด รปู ทรงสเี่ หล่ียมในทาํ นองเดียวกัน 12

1.2.3 ลกั ษณะพน้ื ผิว ลวดลำย และค่ำควำมเข้มสี (Texture, pattern and value) ลักษณะพื้นผิว (Texture) เป็นองค์ประกอบท่ีช่วยกระตุ้นความรู้สึกใน การรับรู้ เน่ืองจากมนุษย์มีความรู้สึกต่อลักษณะพ้ืนผิวแบบต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น ลักษณะ พ้ืนผิวที่เนียนละเอียด ให้ความรู้สึกท่ีอ่อนโยน ประณีต ในขณะท่ี ลักษณะพื้นผิวท่ีหยาบ ขรขุ ระให้ความรู้สกึ กระด้างลักษณะพน้ื ผวิ เรียบเงามนั วาว ให้ความรู้สกึ หรหู รา กำรนำพ้นื ผวิ มำใชใ้ นกำรออกแบบผลติ ภัณฑ์ของตกแตง่ บ้ำน 13

ลวดลำย (Pattern) ลวดลายจัดได้ว่าเป็นลักษณะพื้นผิวแบบหน่ึง ท่ีรับรู้ได้จาก การมองลวดลายที่พบเห็นในชีวิตประจําวัน อาจเป็นได้ท้ังลวดลายที่มีการวางโครงสร้าง ของลายทเ่ี ป็นระเบยี บแบบแผน หรือลวดลายที่วางแบบลายอยา่ งอสิ ระ กำรนำลำยลำยที่ใชเ้ ส้นเป็นองค์ประกอบในกำรออกแบบผลติ ภณั ฑข์ องตกแตง่ บ้ำน 14

น้ำหนักควำมเข้มสี (Value) น้ําหนักความเข้มสี หมายถึง ค่าน้ําหนักความเข้มสีขององค์ประกอบเมื่อ เปรียบเทียบกับลําดับความเข้มสีโทนเทาจากสีขาวไล่เป็นเทาและดํา องค์ประกอบ สามารถแสดงให้เห็นถึงน้ําหนักความเข้มสีท่ีแตกต่างกันได้ด้วยการท่ีองค์ประกอบ นั้นมี การใช้ลักษณะพน้ื ผวิ ลวดลาย และสที แี่ ตกต่างกัน 1.2.4 สี (Color) สี เป็นปรากฏการณ์การรบั รู้ในการมอง ของมนุษย์ เช่น การรับรู้ว่าทุ่งหญ้าสีเขียว ท้องฟ้าสีฟ้า การรับรู้ถึงสีได้ต้องประกอบด้วย แสงและผู้สังเกต หากอยู่ในห้องที่มืดก็ไม่ สามารถมองเห็นสีได้ และถ้าห้องนั้นสว่างข้ึนแต่ปิดตาไม่มอง ก็ไม่สามารถมองเห็นสีได้ เช่นกัน การรับรู้เร่ืองสีเกิดข้ึน จากการที่แสงเดินทางเข้าไปสู่ตา โดยตาทําหน้าท่ีรับแสง และสง่ สญั ญาณไปยงั สมองเพือ่ แปลความหมาย 15

วงจรสี สีจากแสงธรรมชาติน้ันประกอบไปด้วย7สี เม่ือเพ่ิมสีม่วงแดง เขียวเหลือง ส้ม เหลือง ส้มแดง และเขียวนํ้าเงิน จะได้วงจรสี 12สีท่ีมีความสมดุลกันในวงจรสี ประกอบด้วยสี 3 ระดบั ขนั้ ไดแ้ ก่ สีข้นั ตน้ (Primary Colors) ไดแ้ กส่ เี หลือง แดง นํ้าเงิน เรียกวา่ แมส่ ี ............................... สีข้ันที่ 2 (Secondary Colors) เกิดจากการนําแม่สีในข้อ 1 มาผสมกันได้สีขั้นที่ 2 เพ่ิมขึ้นได้แก่ สีส้ม เขียว และม่วง................................................................................ สีขน้ั ท่ี 3 (Tertiary Colors) เป็นการนําสีขัน้ ท่ี 2 มาผสมกบั แม่สที ่ีละคู่ ได้อีก 6 สี 16

ได้แก่ สีส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ําเงิน ม่วงแดง และม่วงน้ําเงิน นอกจากนี้ถา้ นาํ ทกุ สีมาผสมกันจะได้สีเทาแก่ ๆ เกือบดํา เรียกว่า สีกลาง หรือหากนําแม่สี 3 สี มาผสมกนั กจ็ ะไดส้ ีกลางเช่นกัน วรรณะสี สีทงั้ 12 สีในวงจรสีสามารถแบ่งเป็นสวี รรณะร้อน และสีวรรณะเยน็ สีวรรณะร้อน ได้แก่กลุ่มสีโทนสีแดง ประกอบด้วยสีส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง สีวรรณะเย็น ได้แก่กลุ่มสีโทนสีน้ําเงิน ประกอบด้วย สีเขียวเหลือง เขียว เขียวน้ําเงิน นํ้าเงิน ม่วงน้ํา เงิน โดยสีเหลืองและสมี ่วงอย่ใู นวรรณะกลาง 17

สแี ละกำรสอ่ื ควำมหมำย วิธีการใช้สีนั้น เพ่ือการทดลอง ใช้สีในเบื้องต้น แนวการใช้สีดังกล่าวนั้นไม่ได้ เป็น รูปแบบตายตัวกับกลุ่มสีแท้ (Hue)เท่านั้น แต่รวมไปถึงการปรับค่าน้ําหนักความ เข้มสี (Value) เป็น shade หรือ Tint ซึ่งต้องเป็นผู้เลือกคู่สีให้สอดคล้องกับการสื่อความหมาย ในงานออกแบบให้เหมาะสมด้วย color combination image scale 18

ผลติ ภณั ฑ์ของตกแตง่ บ้ำนท่ใี ชส้ ีวรรณะรอ้ น กจ็ ะใหค้ วำมร้สู กึ ที่อบอ่นุ ให้กบั บำ้ น 19

1.3 หลกั กำรจัดองคป์ ระกอบ (Composition) หากเปรียบองค์ประกอบ (Elements) เป็นวัตถุดิบในการทําอาหาร เช่น นํ้ามัน กระเทยี ม ซอส แครอท เหด็ หอม และ ผกั การจดั องคป์ ระกอบกเ็ ปน็ วิธีในการปรุงอาหาร เริม่ ต้ังแตก่ ารเลอื กที่จะตัดแครอทเป็นช้ินยาวขนาดเล็ก คงรูปร่างกลม ของเห็ดหอมท่ีคัด ขนาดพอดีมาแล้ว และน่ันผักเป็นช้ินขนาดใหญ่ สีส้มของแครอท ที่ช่วยสร้างความสนใจ น่ามองในหมู่ใบผักสีเขียวและเห็ดหอมสีน้ําตาล รวมไปถึงการให้ความร้อนท่ีเหมาะสม ลําดับการปรงุ เวลาทีใ่ ช้ให้อาหารสุกดนู า่ รบั ประทาน และมรี สชาตอิ รอ่ ยกลมกล่อม ดังนัน้ การจัดองค์ประกอบ ใหผ้ ลงานออกแบบที่สวยงามสามารถสื่อความหมายได้ ตามต้องการด้วยการปรับคุณสมบัติเรื่อง ขนาด สัดส่วน ลักษณะพ้ืนผิว สี ตําแหน่ง ทิศทาง และท่ีว่าง ของรูปร่าง ไม่ว่าจะเป็นจุด เส้น ระนาบ โดยใช้หลักการเรื่อง ความ สมดลุ (Balance) เอกภาพ (Unity) จังหวะ (Rhythm) และการเนน้ (Emphasis) หลักกำรจดั องค์ประกอบ (Composition) มีดังน้ี ความสมดลุ (balance) เอกภาพ (unity) จงั หวะ (rhythm) การเนน้ (emphasis) 20

1. ควำมสมดลุ (balance) ควำมสมดุล (balance) โลกใบนี้อยู่ภายใต้กฎของแรงดึงดูด ส่ิงของต่าง ๆ บน โลกนี้ ต้องมคี วามสมดุลจงึ สามารถตง้ั วางอยู่ได้โดยไม่โอนเอนหรือล้มไป ความสมดุลแบ่ง ได้ เปน็ 2 แบบ - ความสมดุลแบบสมมาตร หมายถึงการออกแบบท่ีใหน้ ้ําหนักขององค์ประกอบ ที่ อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาของเส้นตั้งกึ่งกลางภาพเท่ากันทุกประการไม่ว่าจะเป็นลักษณะ รปู รา่ ง ทวี่ ่าง ขนาด สดั ส่วน ตาํ แหนง่ ทิศทาง ลกั ษณะพื้นผิว และสี - ความสมดุลแบบอสมมาตร เป็นการออกแบบท่ีให้ความสมดุลของผลงาน ด้วย ความรู้สึกอาศัยความรู้สึกของผู้มอง ในการจัดการองค์ประกอบจัดวางรูปร่าง ท่ีว่าง ขนาดสดั ส่วน ตําแหนง่ ทิศทาง ลักษณะพื้นผิว และสี ให้แตกต่างกันได้อย่าง อิสระในแต่ ละพ้นื ที่การออกแบบ ควำมสมดุลแบบสมมำตร 21

2. เอกภำพ (unity) เอกภำพ เปน็ วธิ กี ารจัดองค์ประกอบอีกวธิ หี นึ่งท่ีตัวยสร้างความคุ้นเคยในการรับรู้ ของมนุษย์ เนื่องจาก เอกภาพ หมายถึง การสร้างความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันสร้างจุด ร่วมระหว่างองค์ประกอบจัดระบบให้องค์ประกอบดูน่ามองมากยิ่งข้ึน เกิดภาพรวมของ ผลงานนกั ศึกษาสามารถจดั องคป์ ระกอบให้มเี อกภาพได้หลายวิธใี ด้แก่ - การจัดวางองค์ประกอบในตาํ แหน่งใกล้ ๆ กนั - การจดั วางองค์ประกอบในทศิ ทางท่ีต่อเน่อื งกัน - การซํา้ กนั ดว้ ยเร่ืองรปู ร่าง ทว่ี ่าง ขนาด สัดสว่ น ตําแหนง่ ทศิ ทาง ลักษณะพน้ื ผิว และสี ขององคป์ ระกอบ 22

3. จงั หวะ (rhythm) จังหวะ การจัดจังหวะขององค์ประกอบ 2มิติ การจัดระยะท่ีว่างระหว่าง องค์ประกอบช่วยสร้างระบบและการติดตามลําดับเร่ืองราวขององค์ประกอบได้มากขึ้น จังหวะในการจดั องค์ประกอบแบ่งได้ 3 อยา่ ง ได้แก่ - จังหวะแบบสม่ําเสมอ หมายถึง การเว้นระยะที่ว่างระหว่างองค์ประกอบเท่า ๆ กั น ……………………………………………………………………………………………………………………… - จังหวะแบบสลับหมายถึงการเว้นระยะระหว่างแต่ละองค์ประกอบสลับกัน เช่น ชดิ หา่ ง ชิด ชดิ หา่ ง ชิด ห่าง ชิด ชิด ห่าง เป็นต้น……………………………………………………. - จังหวะแบบก้าวหน้าหมายถึงการเพ่ิมระยะท่ีว่างระหว่างแต่ละองค์ประกอบ มากขนึ้ เรือ่ ย ๆ ในแตล่ ะชว่ ง 23

4 กำรเน้น (emphasis) กำรเน้น การออกแบบท่ีมีความสมดุล เอกภาพ และจังหวะน้ันสร้างความคุ้นเคย ในการรับรู้ตอ่ มนุษย์ แต่อาจสรา้ งความน่าเบอ่ื เดาได้ ไม่น่า สนใจ ไม่น่าตดิ ตาม ดังน้ันการออกแบบจึงต้องมีการสร้างจุดเด่นท่ีดึงดูดความสนใจด้วยนการเน้น การเน้น หมายถึงการสร้างความแตกต่างในหมู่องค์ประกอบ วิธีการสร้างความแตกต่างน้ัน เช่น รูปร่าง ที่ วา่ ง ขนาด สดั สว่ น ตาํ แหน่ง ทศิ ทาง ลักษณะพ้นื ผวิ หรอื สี ขององคป์ ระกอบ เป็นต้น สรุป องคป์ ระกอบในการออกแบบเปน็ พน้ื ฐานสาํ คัญท่ีนกั ออกแบบตอ้ ง ศกึ ษาและทาํ ความเข้าใจ เพ่อื นํามาประยุกต์ใชใ้ นการออกแบบเพอื่ ตอบสนองหน้าทใี่ ชส้ อยทางด้าน จิตใจของผลติ ภณั ฑท์ ่ีมตี อ่ ผูใ้ ช้งาน นักออกแบบจึงควรฝึกฝนจนเกิดความชาํ นาญในการ นําองค์ประกอบมาใชใ้ น การออกแบบ ผสมผสานกบั หลกั การจดั วางองค์ประกอบ เพอ่ื ให้ ผลติ ภณั ฑม์ ี รูปรา่ ง สสี ัน ทสี่ วยงาม ตอบสนองความพงึ พอใจใหก้ บั ผบู้ รโิ ภคที่ นอกเหนอื จากหน้าท่ใี ช้สอยทางด้านกายภาพของผลิตภณั ฑ์ 24

2. หลกั กำรออกแบบ (Design Principle) การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ันจําเป็นต้องเข้าใจ หลักการแนวคิด กระบวนการออกแบบ ตลอดจนการใช้ความคดิ สร้างสรรค์ในการออกแบบหรือแก้ปัญหา โดยมเี นือ้ หาทน่ี ักออกแบบ ควรศกึ ษาดังน้ี 2.1 หลกั การออกแบบ 2.2 ความคิดสรา้ งสรรค์กับการออกแบบ 2.1 หลักเกณฑ์ในกำรออกแบบผลิตภัณฑอ์ ุตสำหกรรม งานออกแบบตอ้ งอาศัยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย เช่น รูปทรง ประโยชน์ใช้สอย วัสดุ กรรมวิธีการผลิต เป็นต้น นอกจากน้ียังประกอบด้วยเง่ือนไขอ่ืน ๆ ท่ีมีผลกระทบต่องาน ออกแบบ เช่น ด้านการตลาด ดังนั้น หลักการออกแบบจึงมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ตามลกั ษณะงานออกแบบแต่ละประเภท 25

แนวทางการพิจารณาสร้างหลักการออกแบบ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถแบ่งเปน็ หัวข้อหลกั ๆ ไดด้ ังน้ี 1. หลักเกณฑด์ ้านการออกแบบ(design) 2. หลกั เกณฑด์ ้านการผลิต (production) 3. หลกั เกณฑด์ ้านการตลาด (marketing) หลักเกณฑต์ ้ำนกำรออกแบบ (design principle) การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นเพ่ือต้องการอํานวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ดังน้ันใน การออกแบบ นกั ออกแบบจะตอ้ งคาํ นงึ ถงึ ปัจจัยหลายได้ ดังตอ่ ไปนี้ 1. ประโยชน์ใชส้ อย (function) 2. ความสวยงาม (aesthetics) 3. ความเหมาะสมกบั สรีระของผใู้ ช้ (ergonormics) 4. ความปลอดภัย (Safety) 5. โครงสรา้ งและความทนทาน (structure and durability) 6. การบํารงุ รักษา (maintenance) 26

1. ประโยชน์ใชส้ อย (function) คือ หน้าท่ีของผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองตรงกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เช่น เก้าอี้ หน้าท่ีคือใช้น่ัง เป็นต้น ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทย่อมมีหน้าท่ีใช้สอยท่ีแตกต่างกัน ออกไป ตามลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ ซ่ึงนักออกแบบจะต้องกําหนด หน้าที่ใชส้ อยของผลิตภณั ฑ์กอ่ นการออกแบบ ให้ตรงกบั วตั ถุประสงค์ของการออกแบบ การดํารงชีวิตในปัจจุบันมนุษย์เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่ง ล้วนแต่มีหน้าทใ่ี ชส้ อยแตกตา่ งกนั ออกไป เช่น โคมไฟ เก้าอ้ี โซฟา เปน็ ตน้ 27

2. ควำมสวยงำม (aesthetics) หรือลักษณะท่ีดึงดูดใจผู้บริโภค ได้แก่ รูปทรง สีส้น รูปแบบการใช้ งานท่ีแปลก ใหม่ โดยนักออกแบบจะใช้องค์ความรู้ด้านศิลปะมาใช้ (องค์ประกอบศิลป์) และนัก ออกแบบทดี่ คี วรศึกษาถึงความแตกต่างของ ลกั ษณะเฉพาะของกล่มุ ผบู้ รโิ ภคด้วย เพราะ มนุษย์มีความชอบทไ่ี มเ่ หมอื นกนั 28

3. ควำมเหมำะสมกบั สรรี ะของผู้ใช้ (ergonomics) ผลติ ภณั ฑ์ทดี่ ีตอ้ งมีความเหมาะสมในการใช้งานของมนุษย์ เช่น การหยิบจับ การ นงั่ การสวมใส่ เป็นตน้ นกั ออกแบบจําเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะทางด้านกายภาพของ กลุ่มผใู้ ช้งานและออกแบบใหส้ อดคลอ้ งกบั สรรี ะและหนา้ ทใ่ี ช้สอยของผูใ้ ช้ตอ่ ผลติ ภณั ฑ์ 29

4. ควำมปลอดภัย (Safety) นักออกแบบต้องคาํ นงึ ถึงความปลอดภยั ตอ่ ผบู้ รโิ ภคเป็นสาํ คัญ ในบางผลิตภัณฑท์ ่ี มีการใชง้ านท่ีเกยี่ วข้องกบั ไฟฟ้าหรือมกี ารใช้งานท่ีซับซ้อน เก่ียวข้องกับระบบกลไก เช่น การออกแบบของเล่น จะต้องไม่มี ช้ินส่วนแหลมคมหรือมีขนาดเล็กท่ีเด็กสามารถกลืน กินได้ เป็นต้น 30

5. โครงสรำ้ งและควำมทนทำน (structure and durability) ผลิตภัณฑ์ที่มีชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบต่าง ๆ มากมาย นักออกแบบต้องทําการ ออกแบบโครงสร้างท่ีดี แข็งแรง ทนต่อสภาพการใช้ งานน้ัน ๆ ได้ และมีความทนทาน ไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย การยืดอายุของผลิตภัณฑ์ให้ใช้งานได้นานข้ึน สามารถนํามาใช้ เปน็ จดุ ขายของผลติ ภัณฑไ์ ดเ้ ชน่ กนั 6. กำรบำรงุ รกั ษำ (maintenance) ผลิตภัณฑ์เม่ือผ่านการใช้งานย่อมมีการเสื่อมสภาพ เช่นชิ้นส่วน บางชิ้นชํารุด เสียหาย จึงต้องมีการบํารุงรักษาซ่อมแซมที่ง่าย และสะดวกในการถอด ปรับ แต่ง หรือ เพ่ิมเติมชิ้นส่วนท่ีมีการทําความสะอาดท่ีไม่ ยุ่งยาก ซับซ้อนได้เอง ไม่ให้ราคาของการ บาํ รงุ รักษาสงู เกนิ ไป เมื่อเทียบกบั การซ้อื ผลติ ภัณฑ์ใหม่ 31

หลักเกณฑ์ดำ้ นกำรผลติ (production) ในการผลิตเพื่อการแข่งขัน การออกแบบมีบทบาทสําคัญเป็นอย่างมากท่ีจะ ออกแบบอย่างไร ให้สามารถผลิตได้มีคุณภาพ และมีต้นทุนตํ่า ดังน้ัน นักออกแบบที่ดี ต้องเข้าใจในกระบวนการผลิต ตลอดจนมีความรู้ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต ตั้งแต่ข้ันตอน การออกแบบไปจนถงึ การหมดอายุการใช้งานของ ผลติ ภณั ฑ์ ดังน้ี 1. วสั ดุ (materials) 2. กรรมวิธีการผลติ (process) 3. การออกแบบทไ่ี ม่ซับซ้อน (easy to production) 4. การออกแบบโดยมชี นิ้ ส่วนประกอบขนาดมาตรฐาน (standard parts) 1. วัสดุ (materials) การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบผลิตภัณฑ์น้ัน ต้องคํานึงถึงสมบัติของวัสดุน้ัน ๆ เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และคุณภาพ ที่ต้องการโดยอยู่ในราคาท่ี เหมาะสม เป็นวัสดุที่มีอยู่ในท้องตลาด สามารถ ซื้อได้ง่าย และยังต่อสอดคล้องกับ กระบวนการผลติ การออกแบบทีด่ ีควร ใหส้ ามารถผลติ ไดโ้ ดยส้ินเปลืองวสั ดุน้อยที่สดุ 32

การเลอื กใชว้ ัสดุ วัตถดุ ิบ ท่มี อี ย่ใู นท้องถิ่น และใช้ใหเ้ กดิ ประโยชนส์ ูงสุด 2. กรรมวิธกี ำรผลติ (process) การเลือกกระบวนการผลิตที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของเคร่ืองจักร ปริมาณการผลิต ความเชี่ยวชาญของพนักงานตลอดจน เทคโนโลยีกรรมวิธี ความ ซับซ้อนในการผลิต ซ่ึงจําเป็นต้องมีการวาง แผนการผลิตให้สอดคล้องกับการออกแบบ ดว้ ยเพอื่ ใหส้ ามารถผลิตได้งา่ ย 33

3. กำรออกแบบทีไ่ มซ่ บั ซ้อน (easy to production) การออกแบบท่ีดีนั้นต้องไม่ซับซ้อน และสามารถผลิตได้จริงในระบบอุตสาหกรรม เชน่ การออกแบบใหม้ ชี นิ้ สว่ นนอ้ ยชนิ้ การออกแบบทไ่ี มใ่ ช้เทคโนโลยีข้ึนสูงในการผลิต ก็ จะสามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ และยังส่งผลต่อต้นทุนในภาพรวมของผลิตภัณฑ์ ด้วย 34

4. กำรออกแบบโดยมชี ิน้ สว่ นประกอบขนำดมำตรฐำน (standard parts) เป็นปัจจยั ท่ีสาํ คัญในการผลติ ระบบอุตสาหกรรม(mass production) หลังจากได้ ข้อสรุปการออกแบบแล้ว นักออกแบบต้องคํานึงถึงการเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน เพ่ือ เป็นการลดข้ันตอน และต้นทุนในการผลิต ตลอดจนความซับซ้อนของชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ ลงได้ การพิจารณาปัจจัยด้านการตลาด เก่ียวข้องกับ ประเภทตลาดของผลิตภัณฑ์ ลักษณะของกลมุ่ ผู้บริโภค คู่แข่งทางการตลาด เพอ่ื เป็นข้อมูลประกอบเป็นแนวคิดในการ ออกแบบ(concept of design) และตอ้ งคาํ นงึ ถึง ปัจจยั อืน่ ๆ เช่น - การกําหนดราคาของผลิตภณั ฑใ์ ห้ตรงกับกล่มุ ผู้บรโิ ภคเปา้ หมาย - การสรา้ งความนา่ เชือ่ ถอื ใหก้ บั ผลิตภณั ฑ์ - การตระหนกั ถึงปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อส่งิ แวดลอ้ มดว้ ย 35

2.2 ควำมคิดสร้ำงสรรคใ์ นกำรออกแบบ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความผิดหรือความรู้สึกที่เกิดข้ึน และ เปล่ียนความคิดน้ันออกเป็นการกระทําหรือเป็นผลผลิตท่ีแปลกใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ เกดิ จากการรวบรวมความรู้จากประสบการณ์ เดิมแล้วเช่ือมโยงกับสถานการณ์ใหม่ อาจ แสดงออกมาในรูปแบบของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์ หรืออาจเป็นเพียง กระบวนการได้ (Torrance, 1963) กระบวนการความคดิ สร้างสรรค์ หมายถึง วิธีคิดหรือกระบวนการการทํางานของ สมองอย่างมีขั้นตอน ตลอดจนแก้ปัญหาได้สําเร็จเป็นกระบวนการแก้ปัญหาทาง วิทยาศาสตร์ หรือเรียกว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (creative problem solving) (Torrance, 1962) มขี ้ันตอนดงั น้ี 1.การคน้ พบความจริง (fact finding) 2. การค้นพบปัญหา (problem finding) 3. การหาสมมติ (Idea finding) 4. การค้นพบคําตอบ (solution finding) 5. การยอมรบั จากการคน้ พบ (acceptance-finding) เทคนิคควำมคิดสร้ำงสรรค์ในกำรออกแบบ: Alex F, Osbond 1. เอำไปทำอย่ำงอน่ื ได้ ? (Put to other uses?) จะมีหนทางใดบ้าง ท่ีจะใช้ประโยชน์ส่ิงนั้น ให้ต่างออกไป จากที่มันมีอยู่ หรือ เปน็ อยูจ่ ากของเดมิ 36

2. ปรบั แต่งได้หรอื ไม่ (Modify?) การเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง แก้ไขบางส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ จากของเดิม จะทําให้ดี ขนึ้ หรือไม่ ? เชน่ สี รปู ทรง เสยี ง การเคลือ่ นไหว การใชง้ าน 3. ขยำยขนำดไดห้ รือไม่ ? (Magnify?) การขยายส่วน การเพ่ิมเติมส่วนใหม่ ๆ เข้าไปในของเดิมจะทําให้ดีขึ้น ? เช่น เพ่ิม ประโยชน์ใช้สอยเขา้ ไปอีกเพมิ่ ความแขง็ แรง เพม่ิ ความสงู เพิ่มความยาว เพิ่มความหนา 37

4. ย่อใหเ้ ล็กได้หรอื ไม่ ? (Minify?) การลดส่วน การตัดออก การย่อส่วนจะทําให้มันดีขึ้นกว่าเดิม ? เช่น ย่อสัดส่วน ของเดิมลง ตัดฟังก์ช่ันที่ไม่จําเป็นบางส่วนออก แยกชิ้นส่วนหรือการทํางานบางส่วน ออกมาตา่ งหาก 5. แทนที่ได้? (Substitute?) การแทนท่ีใหม่ หาสิ่งใหม่มาทดแทน จะทําได้หรือไม่ ? เช่น ใช้กรรมวิธีการผลิต ใหม่ ใช้ระบบการทํางานใหม่ ใช้วัสดุใหม่ ใช้พลังงานแบบใหม่ เปลี่ยนส่วนประกอบ บางสว่ นใหม่ 38

6. จัดลำดบั ใหมไ่ ด้ ? (Rearrange?) การจัดส่วนประกอบใหม่ ให้แปลกออกไปจากเดิม จะทําให้ดีขึ้นหรือไม่ ? เช่น การสลบั ทีส่ ว่ นประกอบบางชิน้ การสลับท่ลี วดลาย ให้เกิดความงามใหม่ที่ดูแปลกไปจาก เดมิ รวมทง้ั สี จงั หวะชอ่ งไฟ และองค์ประกอบตา่ ง ๆ 7. กลับค่ำได้ ? (Reverse?) ในกระบวนการการออกแบบนําเอาความการกลับหน้าเป็นหลัง กลับซ้ายเป็นขวา กลับดํา เป็นขาว เปล่ียนจากบวกเป็นลบ หรือทําให้เกิดผลตรงกันข้าม จากท่ีเคยมีอยู่หรือเป็นอยู่จะช่วยทํา ใหเ้ กดิ ส่ิงใหม่ ๆ ที่ดกี วา่ เดิมขนึ้ มา ? 39

8.รวมกัน? (Combine?) การผสมส่ิงที่คล้ายกันหรือใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน การรวมฟังก์ชั่นท่ีคล้ายกันเข้า ด้วยกนั ส่ิงเหล่าน้ีทาํ ใหเ้ กดิ ของใหมท่ ดี่ กี วา่ ของเดมิ ซึ่งแยกกันอยู่หรอื ไม่ ? สรปุ การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ันจําเป็นต้องเข้าใจ หลักการแนวคิด กระบวนการออกแบบ ตลอดจนการใช้ความคิด สร้างสรรค์ในการออกแบบ หรือ แก้ปัญหา เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภค ดังน้ันนักออกแบบท่ีดีควรฝึกฝนทักษะ ในการออกแบบอยเู่ สมอ เชน่ การวาดภาพ กระบวนการคดิ อย่างสร้างสรรคเ์ ปน็ ต้น 40

3. กระบวนกำรออกแบบ (Design Process) คือกระบวนการแก้ปัญหาหรือความต้องการในการออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้ งานของผู้ใช้ จําเป็นต้องอาศัยข้อมูลในหลายด้าน เช่น การศึกษาสภาพปัญหา ความ ต้องการของตลาด และข้อมูลอื่นที่เก่ียวข้องกับการออกแบบ โดยมีกระบวนการ ดังต่อไปน้ี กระบวนกำรออกแบบ (Design Profess) มี 6 ข้ันตอนดงั ต่อไปน้ี ขน้ั ตอนที่ 1 การตปี ญั หา (Problem ldentification) ขน้ั ตอนท่ี 2 ความคดิ ริเร่ิมเบอื้ งตน้ (Preliminary ldeas) ข้นั ตอนท่ี 3 การกล่นั กรองการออกแบบ (Refinement) ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ (Analysis) ขน้ั ตอนที่ 5 การตัดสินใจ (Decision) ขน้ั ตอนท่ี 6 การทําใหเ้ กดิ เปน็ ผลสําเรจ็ (Implementation) ข้นั ตอนท่ี 1 กำรตปี ญั หำ (Problem Identification) ขั้นตอนการดาํ เนินงานในการตปี ัญหา มขี น้ั ตอนดงั ต่อไปน้ี 1. ขอ้ กาํ หนดปญั หา (problem statement) 2. ขอ้ บงั คับของปญั หา (Problem requirements) 3. ขอบเขตปญั หา (problem limitations) 4. ภาพรา่ ง (sketches) 5. การรวบรวมข้อมูล (data collection) ขนั้ ตอนดงั กล่าวจะนําไปสู่แนวคดิ ในการออกแบบ (concept of design) 41

ขั้นตอนท่ี 2 ควำมคิดริเริม่ เบอ้ื งต้น (Preliminary Ideas) ความคิดริเร่ิมเบ้ืองต้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ (creativity)และการสะสมขอ้ มูล(accumulating information) ดังน้ี 1. การทาํ งานดว้ ยตนเองกับกลุ่ม (individual Vs team) 2. การวางแผนกิจกรรม (plan of action) 3. การระดมสมอง (brainstorming) 4. การวาดและจดบันทกึ (sketching and notes) 5. วธิ กี ารวิจัย (research method) 6. วธิ กี ารสํารวจ (survey method) 42

ขน้ั ตอนที่ 3 กำรกล่นั กรองกำรออกแบบ (Refinement) การกลั่นกรองการออกแบบ เปน็ การกล่นั กรองคดั เลอื กแบบต่าง ๆ จากภาพร่าง ซึ่งเปน็ ตน้ แบบแนวคดิ ริเรมิ่ เพอ่ื ทําใหง้ านออกแบบมคี วามใกลเ้ คียงกบั ข้อมลู ทงั้ หมด โดย พจิ ารณา ดังนี้ 1. สดั สว่ นทางกายภาพ (physical properties) 2. การประยกุ ต์ทางเรขาคณิต (application of geometry) 3. เงอื่ นไขการกลั่นกรอง (refinement considerations) 4. ชิ้นส่วนมาตรฐาน (standard parts) 43

ข้นั ตอนท่ี 4 กำรวเิ ครำะห์ (Analysis) การวิเคราะห์เป็นกระบวนการท่ีสําคัญขั้นตอนหน่ึงในการออกแบบ เพราะเป็น การตรวจสอบวิเคราะห์งานออกแบบ ภายใต้หวั ขอ้ ดังตอ่ ไปนี้ 1. การวเิ คราะหป์ ระโยชน์ใช้สอย (function analysis) 2. การวเิ คราะหท์ างวศิ วกรรม (engineering analysis) 3. การวิเคราะห์ตลาดของผลติ ภณั ฑ์ (market and product analysis) 4. การวิเคราะหร์ ายละเอยี ด (specification analysis) 5. การวิเคราะห์ความแข็งแรง (strength analysis) 6. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ (economic analysis) 7. การวเิ คราะหห์ ุ่นจําลองตน้ แบบ (model analysis) 44

ขน้ั ตอนท่ี 5 กำรตดั สินใจ (Decision) การตัดสินใจในการออกแบบเป็นกระบวนการท่ีอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ตลอดจนประสบการณ์ในการทํางานของทีมออกแบบ หรือบุคคลท่ีเกี่ยวข้อง ท่ีมีต่อ แนวความคดิ การ ปฏเิ สธ (reject) ยอมรับ (accept) ประยุกต์ (combine) กำรตดั สนิ ใจ (decide) ศกึ ษาเพิ่ม (restudy) ทําตอ่ เน่ือง (continue) หยุด (stop) 45

ขั้นตอนที่ 6 กำรทำใหเ้ กดิ เป็นผลสำเรจ็ (Implementation) ข้นั ตอนสุดทา้ ยของกระบวนการออกแบบ คือการทาํ งานให้สมบูรณ์เปน็ ผลสาํ เรจ็ ซ่งึ มกี ระบวนการดังตอ่ ไปนี้ 1. การสรา้ งสรรค์ทางเอกลกั ษณข์ องงาน (identification) 2. การศึกษางานและแบบแผนให้ชดั เจน (final study) 3. การวเิ คราะห์และสงั เคราะห์ขนั้ สุดทา้ ย (final analysis and synthesis) 4. การเลือกหาผลสรปุ ข้นั สุดทา้ ย (final selection of solution) 46

สรปุ กระบวนการออกแบบเป็นขั้นตอนของการออกแบบเพ่ือตอบสนองความต้องการ หรือแก้ปัญหาของผู้บริโภค(ผู้ใช้) จําเป็นอย่างยิ่งท่ีต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการออกแบบ และการทํางานร่วมกับผู้อื่น การเก็บ รวบรวม ขอ้ มลู เพอ่ื ประกอบการออกแบบ เพ่ือใหไ้ ดง้ านออกแบบทีต่ รงกับความต้องการ ของผู้ใช้มากที่สดุ 47

4. กระบวนกำรผลิต (Manufacturing Process) ในการยกมาตรฐานการครองชีพของบุคคลในชาติให้สูงข้ึนนั้น ย่อมต้องอาศัยการ ผลิตเปน็ หลัก ซง่ึ เป็นการเปลย่ี นแปลงสภาพทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดให้เกิดประโยชน์ เพื่อสนองความต้องของมนุษย์ การผลิตทําให้มนุษย์มีของใช้ของกินอย่างสมบูรณ์ ใน ปัจจุบันนี้ความเจริญของประเทศย่อมวัดกันได้ด้วยประสิทธิภาพของการผลิตว่าอยู่ใน ระดับสงู หรือตา่ํ 1. ความหมายของการผลติ 2. เครอ่ื งจกั รพื้นฐานงานไม้ 3. การข้ึนรปู ผลติ ภณั ฑ์ 4. กรรมวธิ กี ารผลติ ควำมหมำยของกำรผลติ คําว่าการผลิตในภาษาอังกฤษมีคําท่ีใช้กันอยู่ 2คํา คือ Productionและ Manufacturing ซ่งึ มีความหมายต่างกนั ดังน้ี Production หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ท่ีก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น ท้ังในรูปของ สินคา้ เพือ่ อุปโภคบริโภครวมท้งั ดา้ นตา่ ง ๆ ด้วย Manufacturing หมายถงึ การผลติ สนิ ค้าท่ีสามารถจบั ตอ้ งได้ ในที่น้ีจะใช้คําว่า Production เป็นหลักเพราะมีความหมายกว้างกว่า ซ่ึงรวมถึง การผลิตสินคา้ และการบริการด้วย 48

ระบบกำรผลิต ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้มีคุณค่ามากขึ้นมาโดยใช้ ปัจจัยการผลิตได้แก่ คน วัตถุดิบ พลังงาน ข่าวสาร เงินทุนและเครื่องจักรอุปกรณ์เป็น ต้น การผลิตดังกล่าวจะถูกนํามาใช้โดยมีผู้บริหารงานผลิตเป็นผู้วางแผน และควบคุม เพอื่ ให้ดาํ เนินไปได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ วตั ถุประสงค์หลัก ของการผลิต กำรจำแนกจำนวนกำรผลติ ในอุตสำหกรรม 1. Mass Production 2. Moderat Production 3. Job lot Production ปัจจยั ทส่ี ำคัญของอุตสำหกรรมกำรผลติ 1. คนทําหนา้ ทผี่ ลิต 2. วตั ถดุ บิ 3. เครอ่ื งจักร เครอื่ งมอื และอปุ กรณ์ 4. ข่าวสาร 5. เงนิ ทุน กรรมวิธกี ำรผลติ ท่ัว ๆ ไปแบ่งออกเปน็ 5 ขนั้ ตอน 1. กรรมวิธกี ารเปล่ยี นแปลงรูปรา่ งหรือการแปรรปู ของวสั ดุ 2. กรรมวิธกี ารใช้เคร่ืองมอื เครื่องจักรกระทําตอ่ ชิ้นงานเพือ่ ให้ ได้ขนาดตามท่ีกาํ หนดไว้ 3. กรรมวธิ กี ารตกแตง่ ผิวชิน้ งานให้เรยี บ 4. กรรมวธิ กี ารประกอบ การต่อหรือการประสานงานน้ัน ๆ 5. กรรมวิธีการแปลงคณุ สมบัติทางกายภาพของชิน้ งาน 49

กรรมวิธีกำรตกแต่งผิววสั ดชุ น้ิ งำน 1. การขัดผวิ ชิ้นงานท่วั ไป 2. การขัดด้วยเครือ่ งขดั สายพาน 3. การขดั ดว้ ยเครอื่ งขดั จาน 4. การพน่ สารเคลอื บไม้ 5. การเคลือบไม้ 6. การยอ้ มไม้ กรรมวธิ ีกำรใชเ้ คร่อื งจกั รผลติ ชน้ิ สว่ นใหไ้ ด้ขนำดตำมต้องกำร 1. การกลึง (Turning) 2. การไสแบบงานเคล่ือนทเ่ี ขา้ หามดี (Planning) 3. การไสแบบมีเคลอ่ื นทเ่ี ขา้ หาชน้ิ งาน (Shaping) 4. การเจาะ (Drilling) 5. การคว้าน (Reaming) 6. การเลื่อย (Saving) 7. การขดั (Grinding) 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook