Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การทอผ้าและลวดลายผ้าแบบของเจ้านายเมืองอุบล

การทอผ้าและลวดลายผ้าแบบของเจ้านายเมืองอุบล

Description: การทอผ้าและลวดลายผ้าแบบของเจ้านายเมืองอุบล

Search

Read the Text Version

๗๖ ภาพที่ ๕-๓๗ ช่างทอผา้ บา้ นคาปนุ กาลงั ควบเสน้ ไหม ที่มาภาพ: สทิ ธิชัย สมานชาติ, ๒๕๕๖. ภาพท่ี ๕-๓๘ ผา้ ซ่ินไหมก่อม หรอื ไหมเขน็ กอ้ ม เมอื งอบุ ลฯ ทีม่ าภาพ: สิทธิชัย สมานชาต,ิ ๒๕๕๓.

๗๗ ภาพที่ ๕-๓๙ ภาพที่ ๕-๔๐ ผา้ ซิน่ แล้ และผ้าซนิ่ แล้หวั จกดาว ที่มาภาพ: สิทธชิ ยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๖. ๖) เทคนิคการทอ “ยก” การทอผ้ายก เป็นศิลปะการทอผ้าท่ีละเอียดอ่อน วิจิตร ประณีตมาก ในประเทศไทยมีแหล่งทอผ้ายกท่ีมี ช่ือเสียงในหลายภูมิภาค ไดแ้ ก่ ภาคเหนือทจ่ี ังหวัดลา้ พนู จังหวัดเชียงใหม่ ในภาคใต้ท่ีจงั หวดั นครศรีธรรมราช ท่ีอ้าเภอพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่ีอ้าเภอเกาะยอ จังหวัดสงขลา และท่ีต้าบลนาหม่ืนศรี อ้าเภอนาโยง จังหวัดตรัง ในภาคอสี านมที อท่จี ังหวัดรอ้ ยเอ็ด จังหวดั สุรนิ ทร์ และจงั หวัดอบุ ลราชธานี ผ้ายก เกดิ จากการทอที่ไม่เรียบ มีเส้นด้ายเชิดขึ้นเรยี กว่า เส้นยก ด้ายที่จมลงเรียกว่า เส้นข่ม เม่ือทอพุ่ง กระสวยไปมาระหว่างเส้นยกและเส้นข่มจะเกิดเป็นลวดลายนูนข้ึนจากพ้ืนผ้า จะยกด้วยไหมหรือยกด้วยเส้นเงิน เส้นทองก็ได้ ถ้าทอยกด้วยไหมก็เรียกว่า ยกไหม ถ้าทอยกด้วยเส้นทองก็เรียกว่า ยกทอง เส้นเงินก็เรียกว่า ยก เงนิ (จิรา จงกล, ๒๕๒๕: ๒๘๐) การทอผ้ายกคือการเพ่ิมลวดลายในเน้ือผ้าให้พิเศษขึ้น มีเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าขิดมาก ถ้ามีลวดลาย ตกแต่งพิเศษมาก ๆ ต้องใช้ความละเอียดประณีตในการทอ (เพยาว์ อุ่นศิริ และคณะ ๒๕๓๑: ๓๑) ผ้ายกมีราคา ค่อนข้างสงู จะนา้ มาใชใ้ นโอกาสพิเศษทส่ี ้าคัญเท่านั้น จังหวัดอุบลราชธานี มีหลักฐานอ้างในพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลท่ี ๕) เรียกว่า “ผ้าเยียรบับลาว” มีความงดงามมาก จากการศึกษาผ้าโบราณเมืองอุบล จาก คลังของคุณพ่อบ้าเพ็ญ ณ อุบล พบว่า มีการใช้เทคนิค “มัดหมี่” เพื่อให้สีพ้ืนทอผ้า และใช้การ “ยก” การ “จก” และการ “ขิด” เสน้ ไหมอย่างประณีต ในการสรา้ งลวดลาย โดยจะสงั เกตไดว้ ่าผ้ายก เมืองอุบล ฯ น้ี จะ

๗๘ มีโครงสร้างลวดลายคล้ายผ้าขดิ อีสาน ผสานกับลวดลายของราชสา้ นัก ผ้ายกเมืองอบุ ลฯ จึงวิจิตร ซบั ซ้อน ท้ัง เชิงเทคนิค สีสันและลวดลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง บ้านค้าปุนประสบความส้าเร็จอย่างสูงในการฟื้นฟู “ผ้าเยยี รบบั ลาว” เมืองอบุ ลฯ ภาพที่ ๕-๔๑, ๕-๔๒ ตัวอย่างผา้ โบราณ “ผ้าเยยี รบบั ลาว” เก็บรกั ษาไวท้ ี่ ดร.บาเพญ็ ณ อบุ ล (สญู ไปกบั เหตกุ ารณเ์ พลงิ ไหม้ปี พ.ศ. ๒๕๕๓) ทมี่ าภาพ: สิทธิชยั สมานชาติ, ๒๕๕๑. ภาพท่ี ๕-๔๓ ตวั อย่างผา้ โบราณ “ผ้าเยยี รบับลาว” เก็บรักษาไวท้ ีว่ ัดเลียบ อาเภอเมอื ง จังหวดั อบุ ลราชธานี ท่ีมาภาพ: สทิ ธชิ ยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๗.

๗๙ ภาพท่ี ๕-๔๔ ผ้ายกเมืองอบุ ลฯ ผลงานการฟื้นฟู ของคุณมชี ยั แตส้ จุ ริยา บา้ นคาปนุ จงั หวัดอบุ ลราชธานี ที่มาภาพ: สิทธิชัย สมานชาติ, ๒๕๕๖. ภาพท่ี ๕-๔๕ ผา้ ยกเมอื งอบุ ลฯ ผลงานออกแบบของคุณมชี ัย แตส้ จุ ริยา บา้ นคาปนุ จังหวัดอุบลราชธานี ใชต้ ะกอแนวด่งิ เกบ็ ลายทอไว้ช่วยในการทอผา้ ท่ีมาภาพ: สทิ ธชิ ัย สมานชาติ, ๒๕๕๖.

๘๐ ภาพที่ ๕-๔๖ ภาพที่ ๕-๔๗ ภาพท่ี ๕-๔๘, ภาพที่ ๕-๔๙ การทอผา้ เยียรบับลาว เมืองอบุ ลฯ ทปี่ ระยกุ ต์ใช้เทคนคิ การ “เกาะ/ลว้ ง” ผสมผสานในการทอผา้ ยก เป็นผลงานการประยกุ ตแ์ ละฟืน้ ฟูลายผา้ โบราณ ของคุณมชี ัย แต้สุจรยิ า บ้านคาปนุ จงั หวดั อบุ ลราชธานี ท่ีมาภาพ: มีชยั แต้สุจรยิ า, ๒๕๕๗.

๘๑ ๗) เทคนิคการทอ “ยกมุก” เทคนคิ การทอผ้ายกมุก คือ การทอเสรมิ เสน้ ด้ายยนื พเิ ศษ เป็นผา้ ทอยกลายในตัวโดยใชเ้ สน้ ยนื พเิ ศษ ๒ ชุด เพิ่มจากเสน้ ยืนปกติบนก่ที อผ้า ลายมุกบนผา้ เกดิ จากการใชต้ ะกอยก ซึ่งดา้ ยยนื พิเศษชดุ นี้ตา่ งกับขิดและ จกตรงทใี่ ชด้ ้ายพุ่งพเิ ศษ เสน้ ยืนพิเศษ ๒ ชดุ น้นั ประกอบไปดว้ ย ชุดแรกใช้เสน้ ดา้ ยยืนสเี ดยี วหรอื หลายสี ทอ เป็นลายขดั ธรรมดา ชุดท่ี ๒ ใช้เสน้ ดา้ ยยนื ทีเ่ พ่ิมพิเศษจากเส้นด้ายยืนธรรมดา มสี ีเดยี วหรอื หลายสี อาจ สอดแทรกดว้ ยเส้นไหม หรือดิ้นสีต่างๆ ลักษณะลวดลายผา้ ยกมกุ เป็นลวดลายซา้ ยาวติดต่อกนั เปน็ เสน้ ริ้วหรือ แถบตามทศิ ทางของเสน้ ดา้ ยยืน ซงึ่ เปน็ เทคนคิ ร่วมกันทง้ั กับชา่ งทอผ้าชาวไทน้อยในแขวงซ้าเหนือ และชาวมะ กองในแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ผ้าซน่ิ ทวิ มุกจกดาวของเจา้ นายเมอื งอบุ ลฯ จะมลี วดลายและเทคนิคการทอผ้า “ยกมุก” คล้ายผา้ ซิ่น มกุ ของชาวมะกอง สปป.ลาว แต่เราไดข้ ้อสงั เกตว่าจะมีการผสมผสานกับลวดลายและเทคนคิ การทอที่มีอยู่ใน ทอ้ งถิ่นเมืองอุบลฯ โดยเจา้ นายเมืองอบุ ลฯไดเ้ ปล่ียนวัสดุจากเสน้ ใยฝ้ายใหเ้ ป็นเสน้ ไหม ด้วยเหตุท่เี ทคนคิ การ ทอไม่ใช่ของท้องถน่ิ ท้าให้มีช่างทอท้องถ่นิ ท้าได้น้อย ดังหลักฐานผา้ โบราณที่พบน้อยมาก อีกท้งั อาจจะ สันนิษฐานได้วา่ อาจเปน็ เหตผุ ลท่ีเจา้ นายเมืองอบุ ลฯ เลือกใช้ “ผา้ ซิน่ ทิวมกุ จกดาว” เพ่อื แยกสถานะของตนให้ แตกตา่ งจากชาวบ้านที่ใช้ผ้าที่ทอดว้ ยเทคนิคท้องถ่นิ อนื่ ๆ สามารถวิเคราะห์ไดช้ ดั เจนคือการผสมผสานของ เทคนคิ การทอผา้ จากหลกั ฐานผา้ โบราณ และการถือปฏบิ ัติของกลุม่ ทอผ้าที่ได้ฟ้นื ฟูและสบื ทอดผ้านี้อยูใ่ น ปจั จุบัน ภาพที่ ๕-๕๐, ภาพท่ี ๕-๕๑ การทอผ้าซิน่ ทิวมกุ จกดาว ทฟี่ ืน้ ฟูข้ึนใหม่ ณ บ้านคาปนุ จังหวัดอุบลราชธานี ท่ีมาภาพ: สิทธิชัย สมานชาติ, ๒๕๕๖.

๘๒ การทอผ้าของเจ้านายเมืองอุบลฯ น้ันส้าหรับเทคนิคการ “ยกมุก” นี้ได้พยายามผสมผสานร่วมกับ เทคนิคการทอผ้าแบบอ่ืนๆ เพื่อออกแบบลายผ้าของ “ผ้าซิ่นทิวมุกจกดาว” ท่ีมีการผสมผสาน ๓ เทคนิคการ ทอผ้าคือ ๑) การยกมุก (ทอเสริมเส้นยืนพเิ ศษ) เทคนคิ น้ีนบั เป็นเทคนิคร่วมท้ังของช่างทอผ้าชาวเมืองอุบลฯ ท่ี แต่น้ามาประยุกต์ออกแบบองค์ประกอบลวดลายตามแบบเฉพาะของตน เป็นผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ ๒) การจก (ทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง) จากการวิเคราะห์เทคนิคการทอผ้า พบว่าช่างทอผ้า ของเจ้านายเมืองอุบลฯนั้น จะใช้เทคนิคการจกในการสร้างลวดลายสองแบบคือ การจกลายดาวท้ังในส่วนหัว ซ่ินและส่วนตัวซิ่น และการทอจกลายขีดเส้นตรงท่ีเรียงกันเป็นแถบๆ ๓) การต้ังเครือเส้นยืนแบบซิ่นทิว สันนิษฐานว่า การทอ “ผ้าซ่ินทิว” น่าจะมีความนิยมอย่างแพร่หลายในบริเวณเมืองอุบลฯ เน่ืองจากได้พบท้ัง หลักฐานฮูปแตม้ วัดทงุ่ ศรเี มอื ง และตัวอย่างผา้ โบราณจ้านวนมากในจงั หวัดอุบลราชธานี ๘) เทคนคิ การทอ “คา้ เพลา” (ยก/เหยียบตะกอ) เทคนิคการทอ “ค้าเพลา” หรือเทคนิคการ “เหยียบ” เป็นการใช้ตะกอช่วยสร้างลวดลาย โดยปกติ เทคนิคการเหยียบจะใช้จ้านวนตะกอประมาณ ๔-๘ ตะกอเท่าน้ัน หากมีจ้านวนตะกอมากก็จะเรียกกันว่า เทคนิค “ยก” ภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวเมืองอุบลฯ มีการทอผ้าด้วยเทคนิคการ “เหยียบ” ส้าหรับทอเป็น ผา้ หม่ เน่อื งจากการทอผา้ เทคนคิ นีจ้ ะชว่ ยใหเ้ นือ้ ผ้าแน่นและหนาขน้ึ กวา่ การทอผา้ สองตะกอธรรมดา โดย บรรพบุรุษของชาวเมืองอุบลฯ น่าจะได้เรียนรู้แลกเปล่ียนเทคนิคการทอผ้าแบบน้ีกับกลุ่มวัฒนธรรมอื่น เน่อื งจากเปน็ มรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่สามารถพบได้ในภมู ิภาคนี้ ขั้นตอนวิธีการทอผ้าด้วยเทคนิค “เหยียบ” นี้ประกอบด้วย ๒ ขั้นตอนหลักคือ ๑) ขั้นตอนการเก็บ ตะกอ ๒) ขัน้ ตอนการทอผา้ ๑) ขั้นตอนการเกบ็ ตะกอ จะคล้ายกบั เทคนิคการเก็บขิด แต่จะมีจ้านวนตะกอน้อยกว่าเทคนิคการขิด หรือเทคนคิ การยก ตามรายละเอียดดังได้กล่าวไปแล้ว โดยช่างทอจะเก็บตะกอเพียง ๔-๘ ตะกอข้ึนอยู่กับแบบ ลวดลายทตี่ อ้ งการ การเก็บตะกอ บางคร้ังจะเรียกว่า “เขา” เพ่ือแยกลักษณะการใช้งานออกจากตะกอธรรมดา ใน กรรมวิธเี ก็บตะกอดง้ั เดมิ น้นั จะใชก้ ารนับสลบั แถวในข้ันตอนร้อยตะกอเสน้ ยืนต่อมายงั ฟืม โดยจะร้อยเครือเส้น ยืน ตามลักษณะของลวดลายท่ีต้องการ ลายง่ายก็จะมี ๔ ตะกอ หากเป็นลายยากก็จะใช้ ๘ ตะกอ เม่ือร้อย ตะกอครบเสรจ็ เรียบรอ้ ยแลว้ กจ็ ะต้องน้าเครือเส้นยืนไปติดต้ังท่เี คร่อื งทอผา้ เรียกกันวา่ “กางหูก” คือการกาง เครอื เส้นยืนออกใหพ้ รอ้ มในการทอผ้า ๒) ขั้นตอนการทอ ในการทอผ้าทุกคร้ังท่ีเปิดตะกอตามแบบลวดลายที่ต้องการ จะต้องสอดกระสวยเส้นพุ่ง ตีกระทบฟืม ซา้ แล้วจึงเหยียบตะกอสลับเพือ่ ทอส่วนต่อไป ซึ่งจงั หวะของการสอดเส้นพุ่งซ่ึงมีการสลับระยะถ่ีห่างไม่เท่ากัน

๘๓ ตามแบบแผนการร้อยตะกอและแบบแผนการเหยียบ จะท้าให้เกิดลวดลายแบบต่างๆ ลายโดยทั่วไปจะเป็น รูปทรงคลา้ ยทรงข้าวหลามตัดเรยี กว่า “ลายลูกแกว้ ” ส้าหรับแบบแผนการเหยียบ ๔-๘ ตะกอที่ชาวเมอื งอบุ ลฯ ใชท้ อผ้าเหยียบ มแี บบแผนการเหยียบตะกอดงั น้ี เหยียบไม้ ๑ พร้อม เหยียบไม้ ๒ สอดกระสวย เหยียบไม้ ๒ พรอ้ ม เหยยี บไม้ ๓ สอดกระสวย เหยยี บไม้ ๓ พร้อม เหยยี บไม้ ๔ สอดกระสวย เหยียบไม้ ๔ พร้อม เหยียบไม้ ๑ สอดกระสวย เหยยี บไม้ ๑ พร้อม เหยียบไม้ ๒ สอดกระสวย เหยียบไม้ ๒ พรอ้ ม เหยียบไม้ ๓ สอดกระสวย เหยยี บไม้ ๓ พร้อม เหยยี บไม้ ๔ สอดกระสวย เหยยี บไม้ ๔ พร้อม เหยยี บไม้ ๑ สอดกระสวย ...ทอสลับตามแบบแผนนไ้ี ปจนเสรจ็ ภาพท่ี ๕-๕๒ กราฟแผนการทอผา้ ด้วยเทคนคิ การเหยยี บ แบบ ๔ ตะกอ เพอื่ ทอผา้ สต่ี ะกอ (ผา้ ส่ีเขา) ทมี่ าภาพ : http://www.anxinusa.com/ ภาพท่ี ๕-๕๓ ตวั อย่างผ้าทท่ี อดว้ ยการคา้ เพลา หรือเหยียบตะกอ ทม่ี าภาพ: สทิ ธิชัย สมานชาต,ิ ๒๕๕๗.

๘๔ ๕.๒.๔ เครือ่ งทอผา้ และอุปกรณ์ ในภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีกลุ่มวัฒนธรรมที่ทอผ้าอยู่มากมาย แต่ ละกลุ่มมีเอกลักษณ์และลักษณะร่วมท่ีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มด้วย เคร่ืองทอผ้าและอุปกรณ์ทอผ้าใน ภาคอีสานของประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน แต่ละกลุ่มวัฒนธรรมมีเอกลักษณ์ของตนเอง และมีลักษณะร่วมที่ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน อุปกรณ์ทอผ้าแต่ละกลุ่มจึงคล้ายกัน แต่มีเอกลักษณ์ที่ งดงามของตนเอง เคร่ืองทอผา้ ที่พบในเขตจงั หวดั อบุ ลราชธานมี ีทั้ง “หกู แบบไท-ลาว” และ“กีแ่ บบเขมร” ภาพที่ ๕-๕๔ ผ้าผะเหวด ของเจา้ นายเมืองอุบลฯ ท่มี หี ลกั ฐาน กระบวนการทอผา้ ภาพหญิงนัง่ กวกั ไหมอยูบ่ นเรือนชาน ทม่ี าภาพ: บาเพ็ญ ณ อุบล, ๒๕๕๑. ภาพท่ี ๕-๕๕ หญิงชา่ งทอผ้า บา้ นคาปุน นง่ั กวกั ไหม ท่ีมาภาพ: มชี ัย แตส้ จุ ริยา, ๒๕๕๕.

๘๕ ภาพที่ ๕-๕๖ เคร่อื งทอผา้ แบบขาตั้งแบบไท-ลาว จดั แสดง ณ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวดั อุบลราชธานี ท่ีมาภาพ: สทิ ธิชัย สมานชาติ, ๒๕๕๓. เคร่ืองทอผ้าเรียกตามภาษาไท-ลาวท้องถ่ินว่า “หูก” ส่วนชาวไทยเชื้อสายเขมรจะเรียกว่า “ก่ี” โดย เครื่องทอผ้าแบบขาตั้งเป็นรูปแบบท่ีใช้กันทั่วไป เหมาะสมกับวิถีชีวิตในสังคมเกษตรกรรมที่ตั้งถ่ินฐานท้ากิน แน่นอน นิยมทา้ จากไม้เนอ้ื แข็งซึ่งเป็นวัสดุในทอ้ งถน่ิ และหาไดง้ ่าย ส่วนประกอบทส่ี า้ คัญของเคร่ืองทอผ้าแบบ ขาตัง้ ไดแ้ ก่ ๑. เสาหลกั ขาตัง้ หกู เป็นเสาทรงสเ่ี หลีย่ ม ขนาดสูงเทา่ กนั มี ๔ ตน้ ๒. ไม้คานหูก เป็นคานไม้พาดเช่ือมต่อระหว่างเสาหลักทั้ง ๔ ต้น เครือเส้นด้ายยืนพาดบนไม้คาน ดา้ นหนา้ แล้วโยงมาผกู ไม้คานดา้ นหลงั ดึงเส้นยืนให้ตงึ ๓. ไม้รองนั่ง เป็นแผ่นไม้ที่พาดไว้บนคานไม้ด้านล่างด้านคนทอ เพ่ือให้คนทอน่ังและวางอุปกรณ์การ ทอ เช่น ตะกรา้ ใส่ดา้ ย ๔. ไม้ม้วนผ้า เป็นไม้ท่อนส่ีเหล่ียม ที่ปลายทั้งสองข้างเสียบเข้าเดือยท่ีหลักไม้ด้านใกล้ผู้ทอ เพื่อม้วน เก็บผา้ ท่ีทอเสรจ็ เรียบร้อยเอาไว้ ๕. ไม้หาบหูก เป็นไม้ไผ่ทรงกระบอกขนาดกลางยาวพาดคานไม้ เพื่อใช้ผูกเชือกโยงฟืมและรอกท่ีพยุง ตะกอหรือเขาเอาไวไ้ ม้หาบหกู นี้หากเสาหลกั สงู บางทอ้ งถ่ินก็จะผูกหอ้ ยต่้าลงมาจากคานไม้อีกทีหน่ึง

๘๖ ๖. ไม้เหยียบหูก เปน็ ไม้ไผล่ า้ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๑ เมตร ผูกโยงกับตะกอหรอื เขาสา้ หรบั เหยียบ เพอ่ื บังคบั การสลับขึ้นลงของเครอื เส้นด้ายยนื โดยปกติจะมี ๒ อัน สา้ หรบั การทอแบบสองตะกอ แต่ถ้าเป็นการ ทอผา้ แบบสามตะกอกจ็ ะมี ๓ อัน และถ้าเป็นการทอผ้ายกดอกพ้ืนฐาน ๔-๘ ตะกอ จ้านวนไม้เหยยี บหูกกจ็ ะมี จ้านวนเท่ากนั กับจ้านวนตะกอท่ีใชใ้ นการทอผา้ ภาพท่ี ๕-๕๗ เครื่องทอผ้าแบบขาตงั้ ทปี่ ระยกุ ตจ์ ากแบบของเขมร บ้านคาปุน จงั หวัดอุบลราชธานี ทมี่ าภาพ: สทิ ธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๓. ๗. ตะกอหรือเขา เป็นแผงเส้นดา้ ยที่ถกั เกย่ี วเครอื เส้นด้ายยนื เอาไว้ โดยใช้ไม้ไผ่ ๒ ซี่เป็นคาน โดยปกติ ถ้าเป็นผ้าทอแบบสองตะกอก็จะมีตะกอหรือเขา ๒ อัน ซ่ึงจะคัดเก็บเครือเส้นด้ายยืนสลับกันเส้นต่อเส้น เพื่อ ยกเส้นด้ายยนื ข้ึนลง ให้กระสวยเส้นด้ายพุ่งผ่านไปสานทอขดั เพ่ือใหเ้ กดิ ลวดลายบนผนื ผา้ ๘. ฟืม (ฟันหวี) เป็นอุปกรณ์การทอท่ีส้าคัญ อยู่หน้าตะกอหรือเขาที่ใช้กระทบเส้นด้ายพุ่งให้สานทอ กับเส้นด้ายยืนเป็นผืนผ้า หน้าฟืมจะมีทั้งขนาดยาวและขนาดสั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทอผ้าว่า ตอ้ งการจะทอผ้าหน้ากวา้ งหรอื ผา้ หน้าแคบ สามารถถอดเปลย่ี นได้ ๙. รอก เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงตะกอหรือเขา โดยผูกโยงไว้กับไม้คานหูก รอกมีรูปลักษณะแตกต่างกัน ไปในแตล่ ะท้องถนิ่ (ดูรายละเอียดในเรือ่ งอุปกรณ์ทอผ้า) ๑๐. ไม้ม้วนเครือเส้นยืน จะนิยมใช้กับเครื่องทอผ้าแบบเขมรท่ีทอด้วยเส้นใยไหม โดยเส้นใยจะถูก จดั เรียงเท่ากันกับขนาดหน้าผ้า เส้นไหมจึงไม่ค่อยขาดเสียหายแบบการผูกมัดโยงมาไว้บนคานเหนือศรีษะช่าง ทอผา้ แบบเครอ่ื งทอผ้าไท-ลาว ทปี่ กตจิ ะใชท้ อเส้นใยฝา้ ย

๘๗ ภาพท่ี ๕-๕๘ ภาพหญงิ กาลงั นัง่ เขน็ ฝา้ ยหรือควบไหม ฮปู แตม้ วดั ทุง่ ศรเี มอื ง จหั วดั อุบลราชธานี ที่มาภาพ: สิทธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๓. ภาพที่ ๕-๕๙ ช่างทอกาลังใชอ้ ปุ กรณ์ควบเส้นไหม บา้ นคาปนุ จังหวัดอุบลราชธานี ท่มี าภาพ: สทิ ธชิ ยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๓.

๘๘ อุปกรณก์ ารทอผ้า ฟืม (ฟันหวี) เป็นอุปกรณ์ในการกระทบเส้นด้ายพุ่งกับเส้นด้ายยืน ประกอบด้วยโครงซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง สว่ นฟันหวเี ดิมทา้ จากซ่ีไม้ไผ่ แตป่ ัจจบุ ันนยิ มใช้ซี่เหล็ก ไม้คา้ เปน็ อุปกรณค์ ้าแยกเสน้ ยนื ออกจากกัน เพ่อื ทอเสริมเส้นพุง่ พิเศษได้ง่ายข้นึ ผูท้ อจะใชไ้ ม้ค้าใน การทอขิดและจก บางท้องถ่ินเรียกว่า ไม้ค้าขิด (ไม้ดาบ) เป็นแผ่นไม้บางเรียบสม่้าเสมอกันตลอด ปลายสอง ข้างเจยี นใหโ้ ค้งแหลม ผังหรือธนู ท้าจากซ่ีไม้ไผ่ดัดโคง้ ที่ปลายท้ังสองด้านหุ้มเหล็กปลายแหลมเพื่อเสียบยึดกับริมผืนผ้าช่วย ขยายหน้าผา้ ไว้ให้เท่ากนั ตลอด เป็นอุปกรณ์ที่ชว่ ยขึงก้ากับขนาดหน้าผ้าให้สม่้าเสมอ โดยผู้ทอจะขยับเล่อื นผัง หรือธนตู ามขอบหรือรมิ ผา้ ทท่ี อเสรจ็ ไปเร่อื ย ๆ แปรงหวีเครอื เสน้ ดา้ ยยืนหรอื แปรงหวหี กู มที ง้ั ท้าจากเส้นใยตน้ ตาลหรือขนหมูป่า เป็นอุปกรณใ์ น การหวีเครือเส้นด้ายยืน เพื่อจัดระเบียบเส้นใยมิให้พันกันยุ่งขณะทอผ้า แต่ให้เรียงตัวเป็นระเบียบ โดยเฉพาะ การทอไหมจะทอได้สะดวกข้ึน รอก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงฟืมและเขาหรือตะกอให้อยู่ในต้าแหน่งท่ีพอเหมาะไม่ต่้าหรือสูงจนเกินไป เดิมท้าจากไม้เน้ือแข็ง แกะเป็นวงล้อรอกภายใน โครงภายนอก ในอดีตนิยมแกะสลักเป็นลวดลายสวยงาม ปัจจุบันจะท้าจากวัสดุง่าย ๆ เช่น ใช้ปล้องไม้ไผ่ขนาดสั้น ในปัจจุบันบางท้องถ่ินก็ใช้รอกเหล็กแทนรอกไม้ไผ่ หรอื รอกทองเหลือง ภาพที่ ๕-๖๐ ภาพท่ี ๕-๖๑ อักคอน ไหม ท่ีแกะสลักเปน็ หวั พญานาค ที่มาภาพ: สิทธิชัย สมานชาติ, ๒๕๕๖. ภาพที่ ๕-๖๒ แปรงหวหี ูก ไว้หวีเครือเส้นยืน ทีม่ าภาพ: สิทธชิ ัย สมานชาติ, ๒๕๕๖.

๘๙ ภาพท่ี ๕-๖๓ หลกั คน้ เสน้ ยนื บ้านคาปุน จังหวัดอุบลราชธานี ได้อนรุ กั ษเ์ ครื่องมอื ทอผ้าเอาไว้ ที่มาภาพ: สทิ ธชิ ยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๖. กระสวย เป็นอุปกรณ์ใสเ่ สน้ ดา้ ยพงุ่ มีหลายลกั ษณะ ไดแ้ ก่ ๑) กระสวยแบบเรือ ๑ หลอด หรือแกนเดี่ยว ท้าจากไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ ๑๒-๑๔ น้วิ ถากไม้ให้ เป็นรูปคล้ายล้าเรือ ตรงกลางของกระสวยเซาะบากเป็นร่องลึก ๑ ช่อง ไว้ส้าหรับใส่หลอดด้ายเส้นพุ่งเพียง หลอดเดียว ใช้ทอผ้าเนื้อบาง ๒) กระสวยแบบเรือ ๒ หลอด หรือแกนคู่ ท้าจากไม้เน้ือแข็งยาวประมาณ ๑๔-๑๖ น้ิว ถากไม้ให้เป็น รูปคล้ายล้าเรือ ช่วงกลางแบ่งเซาะบากเป็นร่องลึก ๒ ช่อง ไว้ส้าหรับใส่หลอดด้ายเส้นพุ่ง ๒ หลอด เพ่ือใช้ทอ ผ้าเนอื้ หนา

๙๐ ภาพที่ ๕-๖๔ ภาพท่ี ๕-๖๕ กระสวยแบบเรอื ๑ หลอดและกระสวยแบบ ๒หลอด ท่มี าภาพ: สทิ ธิชัย สมานชาติ, ๒๕๕๓. ภาพที่ ๕-๖๖ กระสวยแบบเรือ ๑ หลอด แกะลายตกแตง่ สวยงาม ของบ้านคาปนุ จงั หวดั อุบลราชธานี ทม่ี าภาพ: มีชยั แต้สจุ ริยา , ๒๕๕๖. ๕.๓ กระบวนการจดั การองค์ความรู้ -การเรยี นร้สู ืบทอดภายในครอบครัวหรือสังคมระดบั หมู่บ้าน ชุมชนท่ีสืบทอดผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ น้ันพยายามสืบทอดไว้ในระบบเครือญาติจากรุ่นสู่รุ่น ในอดีตผทู้ อผ้าจะต้องเรียนรู้และทา้ เองทุกข้ันตอน ตั้งแต่เล้ียงไหม สาวไหม เตรียมเส้นใยในการทอผ้า และทอ

๙๑ ผา้ เป็นผืน ปัจจุบนั ช่างทออาวโุ สจะ เป็นเสาหลักในการอบรมใหค้ วามรแู้ ก่รนุ่ ลูกหลานในชุมชน ในกรณีบา้ นค้า ปุน ซึ่งเป็นแหล่งสืบทอดที่ส้าคัญ มีการจัดล้าดับข้ันตอนการผลิตผ้าอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนออกแบบ ลวดลายผา้ ไวล้ ว่ งหน้า -การจดั การแหล่งผลติ ชุมชนท่ีสืบทอดผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ ทุกชุมชนพยายามรักษาทักษะการทอผ้า ซ่ึงช่วยสร้าง รายได้เสริมให้แก่ชุมชน โดยมีท้ังการจัดการแหล่งผลิตแบบครอบครัวในรูปแบบด้ังเดิม และรูปแบบกึ่ง อุตสาหกรรมท่ีมีการแบ่งงานกันตามความเชี่ยวชาญ โดยแยกท้าเป็นขนั้ ตอน เชน่ ชา่ งท่ีเชย่ี วชาญในการเตรยี ม เส้นไหม ช่างท่ีเชี่ยวชาญย้อมสีไหม ช่างท่ีเช่ียวชาญการทอผ้ามัดหม่ี ช่างทอที่เชี่ยวชาญในการทอ “ขิด” การ ทอ “จก” การทอ “ยก” เปน็ ตน้ ตวั อย่างชมุ ชนผ้สู บื ทอดท่ีสา้ คญั ของการทอผ้าเมืองอบุ ลฯ คือ บ้านคา้ ปนุ จะ มกี ารจัดงาน “นิทรรศการผ้าโบราณและสาธิตการทอผ้าแบบเมืองอุบลฯ” ช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี ช่วง เทศกาลงานแหเ่ ทยี นเข้าพรรษา คณุ มชี ยั แต้สจุ ริยา คือผู้สบื ทอดงานผา้ ทอต่อจากคุณแม่คา้ ปนุ โดยเน้นงานผ้า ทอชัน้ สูงทีป่ ระยุกตม์ าจากงานผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ -ขอ้ ปฏบิ ตั ิในสังคมชาวเมอื งอบุ ลฯ ที่เก่ียวข้องกับผ้า “ขะล้า” (ผิดจารีต) ชุมชนที่สืบทอดผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ และชุมชนท่ีสืบทอดการทอผ้า พ้ืนเมอื ง พยายามรักษาข้อปฏิบตั ิตามจารีตด้ังเดิมจะถือละเวน้ การปฏบิ ัติทเ่ี ปน็ “ขะลา้ ” (ผดิ จารตี ) ไดแ้ ก่ ๑) จะห้ามไมใ่ หผ้ ชู้ ายทอผา้ หรือนง่ั บนหูก/เคร่อื งทอผ้า ๒) ในระหวา่ งท่ผี ู้หญิงทอผา้ หรอื เขน็ ฝา้ ย ฝ่ายผ้ชู ายจะมาแตะเน้อื ตอ้ งตวั ไม่ได้ ถือวา่ เปน็ “ขะล้า” (ผดิ จารตี ) ตอ้ งมกี ารปรับสนิ ไหม ๓) ในการยอ้ มผา้ ตามความเชอ่ื ดัง้ เดิม น้นั ในกรณีการยอ้ มสีคร่งั จะไม่ใหผ้ หู้ ญงิ ท่ีมีประจ้าเดือนเข้า ใกล้บริเวณ หรือเปน็ ผยู้ ้อม เพราะสีจะด่างหรือเสน้ ไหมไม่กินส/ี ตดิ สี ส่วนสยี ้อมวสั ดอุ น่ื ๆไมม่ ีขอ้ หา้ ม ๔) จะไม่ย้อมสีผา้ ในวนั พระ ๕) จะไมส่ าวไหมในวนั พระ/วันศีลอโุ บสถ ๖) การยอ้ มสีครามจะไมย่ ้อมในวันขา้ งแรม ๗) จะไม่ใช้ผ้าทมี่ ลี วดลายเทยี มเจ้านาย “จารตี ” ชาวเมืองอุบลฯ มีความเชือ่ ความศรัทธาในการใชผ้ ้าทอของชาวเมืองอุบลฯ ซ่ึงยงั คงมี ประเพณีปฏิบตั ิกนั ในบางชุมชน ได้แก่ ๑) การใช้ตีนซ่ินของแม่ คลอ้ งคอในยามที่ไปออกรบ เชื่อวา่ ช่วยปกป้องคมุ้ ครองแคลว้ คลาดปลอดภัย ๒) หญงิ มีครรภจ์ ะนา้ ผา้ ซ่ินของแม่มาใช้นุง่ ในเวลาทจี่ ะคลอดลูก เชอื่ วา่ ชว่ ยท้าใหค้ ลอดงา่ ย ๓) การใชห้ วั ซ่ินแชน่ ้าให้ผู้หญิงทอ้ งแก่กิน เช่อื ว่าจะชว่ ยให้คลอดลูกง่าย ๔) การใชต้ นี ซิ่นของแมต่ บปากลูกน้อย เชือ่ ว่าจะช่วยใหเ้ ดก็ พดู งา่ ย

๙๒ ๕.๔ การจดั การแหล่งผลติ สังคมของชาวเมืองอุบลฯ ชุมชนทสี่ ืบทอดการทอผ้าแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ เป็นสังคมเกษตรกรรมท่ี ประกอบกิจกรรมการทอผ้าเป็นงานเสริมในยามว่างจากงานในเรือกสวนไร่นา ในสมัยโบราณผ้าเป็นผลผลิต อย่างหน่ึงท่ีชาวเมืองอุบลฯ ทุกครอบครัวจะต้องสามารถท้าข้ึนเพ่ือใช้สอยในชีวิตประจ้าวันและเพ่ือกิจกรรม ทางสังคม ประการท่ีส้าคัญเป็นค่านิยมอย่างหน่ึงของสังคมท้องถ่ินที่ลูกผู้หญิงทุกคนจะต้องเรียนรู้โดยการ ฝึกฝนจากบรรพบุรุษจนสามารถท้าได้ด้วยตนเองเพื่อท่ีจะสามารถเป็นแม่บ้านแม่เรือนท่ีดี โดยในการจัดการ แหล่งผลิตในยคุ โบราณนั้น ฝ่ายชายทเี่ ป็นพ่อบ้านจะต้องช่วยฝา่ ยหญงิ ที่เป็นแมบ่ า้ น ส้าหรับการทอผา้ ของกลุ่ม เจา้ นายเมืองอุบลฯนน้ั เจา้ นายฝ่ายหญิงถือว่าการทอผ้าเป็นงานในหน้าทีแ่ ละธรรมเนียมปฏบิ ตั ิของฝา่ ยหญงิ ท่ี จะท้าหน้าท่ีผลิตเครื่องนุ่งห่มไว้ใช้สอย อย่างไรก็ดีเจ้านายเมืองอุบลฯก็จะมีข้ารับใช้ทั้งชายและหญิงที่จะ ชว่ ยงานในกระบวนการผลติ ผา้ ทอ โดยสามารถจา้ แนกกระบวนการผลิตผา้ ทอมอื เป็น ๓ หมวดใหญๆ่ คอื ๑) กระบวนการผลิตเสน้ ใย ๒) กระบวนการยอ้ มสี ๓) กระบวนการทอผ้า จากกระบวนการทั้งสามด้าน ผู้วิจัยสามารถแสดงรายละเอียดการจัดการแหล่งผลิตในสังคมของ ชาวเมอื งอุบลฯ ในรูปแบบตารางไดด้ ังน้ี ๑) กระบวนการผลติ เส้นใย มีการแบง่ หน้าท่ใี นกระบวนการต่างๆดงั น้ี การจัดการแหล่งผลิตกระบวนการผลิตเสน้ ใย กระบวนการผลิต หน้าที่ฝา่ ยหญิง หนา้ ทีฝ่ า่ ยชาย การปลูกและดแู ลตน้ หมอ่ น ฝ่ายหญิงจะช่วยดูแลรดน้าต้น ฝา่ ยชายจะท้าหน้าที่หลักในการ หมอ่ น ในยามท่ีฝา่ ยชายไมว่ ่าง ปลกู และดูแลรดนา้ ตน้ หม่อน การเก็บใบหมอ่ น ฝ่ายหญิงจะช่วยฝ่ายชายเก็บ ฝ่ายชายจะชว่ ยฝ่ายหญงิ เก็บ ถอื เป็นงานที่ท้าร่วมกันได้ การเลย้ี งหนอนไหม ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าท่ีหลักใน ฝ่ายชายจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่จะ การหั่นซอยใบหม่อน เพื่อให้ ช่วยสร้างโรงเรือน และนง่ั รา้ นที่ อาหารแก่หนอนไหม ใช้ในการเล้ียงไหม การสาวไหม ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าท่ีหลักใน ฝ่ายชายจะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่จะ การสาวไหม ช่วยเตรียมฟืนไว้ให้ใช้ก่อไฟ การคดั เสน้ ไหม ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าที่หลัก ใน ฝา่ ยชายจะไม่ยงุ่ เก่ยี ว การคดั เสน้ ไหม การปลูกฝ้ายและดูแลต้นฝา้ ย ฝ่ายหญิงจะช่วยดูแลรดน้าต้น ฝ่ายชายจะท้าหน้าที่หลักในการ ฝา้ ย ปลกู และดแู ลรดนา้ ตน้ ฝา้ ย การเก็บสมอฝา้ ย (ปุยฝา้ ยที่แตก ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าท่ีร่วมกันกับ ฝ่ายชายจะท้าหน้าท่ีร่วมกันกับ ออกจากผลฝ้าย) ฝา่ ยชาย ในการเก็บสมอฝา้ ย ฝ่ายหญิงในการเก็บสมอฝา้ ย การอ้ิวฝ้าย (คัดเมล็ดฝ้ายออก ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าท่ีหลักใน ฝ่ายชายจะไมย่ งุ่ เกยี่ ว จากปุยฝา้ ย) การอวิ้ ฝา้ ย การยงิ ฝา้ ย (ตีปุยฝ้ายให้ฟ)ู ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าท่ีหลักใน ฝ่ายชายจะไมย่ งุ่ เกี่ยว การยิงฝา้ ย

๙๓ การล้อฝ้าย (ม้วนปุยฝ้ายเป็น ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าที่หลักใน ฝ่ายชายจะไมย่ งุ่ เก่ียว หลอด) การล้อฝา้ ย การเข็นฝา้ ย เปน็ เส้นใย ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าท่ีหลักใน ฝ่ายชายจะไมย่ งุ่ เกี่ยว การเขน็ ฝ้าย การเปยี ฝา้ ย รวมเสน้ ฝ้ายเป็นไจ ฝ่ายหญิงจะท้าหน้าที่หลักใน ฝ่ายชายจะไมย่ ุ่งเกย่ี ว การเปยี ฝ้าย ตารางการแบง่ หน้าท่ีในกระบวนการผลิตเส้นใยของชาวเมอื งอุบลฯ ทม่ี าตาราง : สทิ ธิชยั สมานชาติม, ๒๕๕๗. **ในปจั จุบนั การผลิตเส้นฝ้ายและเสน้ ไหมในชมุ ชน ยงั มอี ยู่บ้างแตส่ ว่ นใหญ่นิยมซ้ือหรือแลกเปลย่ี นวสั ดเุ สน้ ใย มาจากแหลง่ ผลิตภายนอก ๒) กระบวนการย้อมสี มีการแบ่งหนา้ ที่ในกระบวนการตา่ งๆ ดังน้ี การจัดการแหลง่ ผลิตกระบวนการยอ้ มสี หน้าที่ฝา่ ยชาย กระบวนการผลิต หนา้ ทฝี่ า่ ยหญงิ การปลูกพันธุ์พืชท่ีใช้เป็นวัสดุ เปน็ งานทท่ี า้ รว่ มกัน เปน็ งานทีท่ ้าร่วมกนั ยอ้ มสีธรรมชาติ การเก็บหาวัสดุย้อมสีธรรมชาติ เปน็ งานที่ท้าร่วมกนั เปน็ งานทีท่ า้ รว่ มกนั จากปา่ ชุมชน การตัดย่อยวัสดุย้อมสี เพื่อให้ เป็นงานทที่ า้ รว่ มกนั เป็นงานที่ท้าร่วมกนั พร้อมในการตม้ ยอ้ ม การต้มวัสดุย้อมสี หรือ การ เปน็ งานที่ท้ารว่ มกัน เปน็ งานทท่ี ้ารว่ มกัน หมกั น้าย้อมเพอ่ื เตรียมน้าสี การท้าข้ีเถ้าน้าด่าง เพื่อฟอก เปน็ งานทีท่ า้ รว่ มกนั เป็นงานที่ท้ารว่ มกนั เส้นใย การฟอกเสน้ ใย ให้หมดกาวก่อน เป็นงานทที่ ้าร่วมกนั เปน็ งานที่ทา้ รว่ มกัน นา้ ไปย้อม การจุม่ ยอ้ มและบดิ เสย้ ใยในการ เปน็ งานทีท่ า้ ร่วมกัน เป็นงานทท่ี ้าร่วมกัน ย้อมสี การล้างท้าความสะอาดเส้นใย เป็นงานทีท่ า้ รว่ มกนั เป็นงานทท่ี ้ารว่ มกนั หลังการย้อมและการน้าเส้นใย ที่ย้อมแลว้ นา้ ไปตาก ตารางการแบ่งหน้าท่ใี นกระบวนการย้อมสีของชาวเมืองอุบลฯ ทมี่ าตาราง : สทิ ธชิ ยั สมานชาติ, ๒๕๕๗.

๙๔ ๓) กระบวนการทอผา้ มีการแบ่งหน้าทใ่ี นกระบวนการต่างๆดังน้ี การจดั การแหลง่ ผลิตกระบวนการทอผา้ กระบวนการผลติ หน้าทฝ่ี า่ ยหญิง หนา้ ที่ฝ่ายชาย การตงั้ หูกทอผา้ ฝ่ายหญิงจะช่วยเป็นลูกมือใน ฝ่ายชายจะช่วยตั้งหูก และจะ การค้นเครอื หกู การประกอบต้งั หกู ทอผา้ ทา้ หน้าท่ีหลักในการประกอบไม้ เป็นหกู /เครือ่ งทอผา้ ฝา่ ยหญงิ จะทา้ หน้าที่หลัก ฝ่ายชายจะไม่ยุ่งเกีย่ ว การ ค้น ล้าห มี่ และ กา รมั ด ฝา่ ยหญงิ จะทา้ หน้าทหี่ ลกั ฝ่ายชายจะไมย่ ุง่ เกี่ยว ลวดลายหมี่ ฝา่ ยชายจะไมย่ ุ่งเกย่ี ว การปั่นหลอด เส้นใยเพื่อใช้เป็น ฝ่ายหญงิ จะทา้ หนา้ ที่หลัก เส้นพุ่ง เพื่อน้าไปใส่ในกระสวย ฝ่ายชายจะไมย่ ุ่งเกี่ยว เวลาทอผ้า การเก็บตะกอ เส้นยืน เพื่อเปิด ฝ่ายหญงิ จะทา้ หน้าท่หี ลกั ฝา่ ยชายจะไมย่ ุ่งเก่ยี ว เส้นใยให้เส้นพุ่งในกระสวยว่ิง ผ่านไปทอสานเปน็ ผืนผา้ การทอผา้ ฝ่ายหญงิ จะทา้ หนา้ ที่หลกั การเกบ็ เครอื หูก ฝ่ายหญิงจะทา้ หนา้ ท่หี ลัก ฝา่ ยชายจะไมย่ ุ่งเกย่ี ว ตารางการแบ่งหน้าทใ่ี นกระบวนการทอผา้ ของชาวเมืองอบุ ลฯ ท่มี าตาราง : สทิ ธิชยั สมานชาติ, ๒๕๕๗. ***ในปัจจุบันสังคมชาวเมืองอุบลฯ โดยเฉพาะที่บ้านสมพรรัตน์ อ้าเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี เปิด โอกาสให้ผู้ชายที่สนใจงานทอผ้า ท้างานทอผ้าได้เช่นเดียวกันกับฝ่ายหญิง ซ่ึงเกิดข้ึนสังคมของชาวไท-ลาวใน จังหวัดอ่ืนๆ เช่นเดียวกัน แต่ส้าหรับชุมชนท่ีสืบทอดการทอผ้าแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ ยังคงเป็นช่างทอผ้า ผ้หู ญงิ ทั้งหมดตามธรรมเนยี มดง้ั เดิม



๙๕ บทที่ ๖ ผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอบุ ลฯ : เอกลกั ษณ์ ววิ ฒั นาการ และการฟื้นฟู ผ้าเจ้านายเมืองอุบลฯ มีช่ือเสียงในเร่ืองความสวยงาม ที่มีลักษณะเฉพาะท้องถ่ินอันเกิดจากการ ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมท้ังจากราชสานักล้านช้าง ราชสานักสยามและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นมรดกภูมิ ปัญญาทางวัฒนธรรมด้านสิ่งทอ ท่ีไดฟ้ ้ืนฟูข้ึนและสืบทอดอยู่จนถึงปัจจุบัน อย่างไรกด็ ี ผ้าทอแบบของเจ้านาย เมืองอุบลฯยังเป็นผ้าท่ีมีหัวข้อวิจัยทางด้านประวตั ิศาสตรส์ ิ่งทอหลายประการท่ียังไม่ได้รับการค้นพบคาตอบท่ี จาเป็นต้องศึกษาวิจัย งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นน้ีต้องการค้นหาคาตอบเรื่องของผ้าทอแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ ประเภทตา่ งๆ รวมท้งั การวเิ คราะหเ์ อกลักษณ์ลวดลาย เทคนคิ การทอผา้ วิวัฒนาการ ของผา้ ประเภทต่างๆของ เจ้านายเมืองอุบลฯ ตลอดจนได้พยายามตรวจสอบช่วงเวลาต้นกาเนิดของผ้าแบบเจ้านายเมืองอุบลฯ และ ชว่ งเวลาการฟื้นฟูใหม่ของผ้าทอ ๖ ประเภทคือ (๑) “ผ้าเยยี รบับลาว” (ผ้ายกเมอื งอุบลราชธานี) (๒) “ผา้ ซนิ่ ” แบบต่างๆของเจ้านายเมืองอุบลฯ (๓) “หัวซ่ิน” แบบเจ้านายเมืองอุบลฯ (๔) “ตีนซ่ิน” แบบเจ้านายเมือง อุบลฯ (๕) “แพรขดิ ” (๖) แพรไสเ้ อ่ยี น/แพรไสป้ ลาไหล/แพรอโี ป้ ซง่ึ จะได้วเิ คราะห์ตามลาดบั ดังน้ี ภาพท่ี ๖-๑ นทิ รรศการผา้ ทอแบบเจา้ นายเมอื งอบุ ลฯ ของ ดร.สุนัย ณ อบุ ล ณ ลานคาหอม พระตาหนกั ภพู าน จังหวดั สกลนคร ทม่ี จี ดั แสดงผ้าครบเกอื บทุกประเภท ท่ีมาภาพ : ส่งเสริม ตริ สถาพร , ๒๕๔๒.

๙๖ ๖.๑ ผ้าเยยี รบับลาว “ผ้าเยียรบับลาว” จากชื่อเรียกน้ันบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นผ้าที่มีลวดลายแบบผ้ายก ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการ ผลิตขึ้นท่ีเมืองอุบลฯ (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอุบลราชธานี) สาหรับงานวิจัยเกี่ยวกับ “ผ้าเยียรบับลาว ของเมือง อุบลฯ” นั้นยังไม่มีการศึกษาวิเคราะห์วิจัยอย่างจริงจังมาก่อน จึงต้องนาเสนอหลักฐานการมีตัวตนของ “ผ้า เยียรบบั ลาว” สาหรับรากศพั ท์ คาว่า “เยยี รบบั ลาว” มาจาก ๒ คาหลกั คอื “เยียรบับ” และ “ลาว” คาว่า “เยียรบับ” มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า “Zarbaft” หมายถึง “ผ้ายก หรือ ผ้ายกทอง” ที่ไทย น่าจะรับคาน้ีผ่านมาจากอินเดีย (คาว่า Zar ซ่ึงแปลว่า ทอง และคาว่า Baft ที่แปลว่า ผ้าฝ้าย หรือผ้าไหม ดังน้ันคาว่า Zarbaft จึงหมายถึง ผ้าที่ทอยกดอกเงินหรือทอง) เพื่อนบ้านของไทยเช่นเขมร ก็มีผ้าท่ีประยุกต์ จากผ้ายกเปอรเ์ ซียเรียกวา่ “ซา่ ระบบั ” (สานกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ, ๒๕๓๗: ๑๙๐) ส่วนคาว่า “ลาว” นั้นเป็นคาย่อจากคาเรียกพื้นที่เมืองอุบลฯ ที่อยู่ในเขตการปกครองที่ราชสานัก สยามกาหนดเรียกวา่ “ลาวกาว” ในทน่ี หี้ มายถึง “เมอื งอุบลฯ” ข้อสังเกตเร่ืองการที่เรยี กขานช่ือผ้าแตกต่างจากผ้าเยียรบับของราชสานักสยามนั้นน่าจะเป็นการบ่งชี้ ลักษณะบางประการที่ “ผ้าเยียรบับลาว” มีความแตกต่างจาก “ผ้าเยียรบับ” ของราชสานักสยามที่ส่ังให้ อินเดยี ผลิตให้ ซึ่งอาจเปน็ เทคนคิ การทอหรือลวดลาย แต่อย่างไรก็ดีจาเป็นต้องมลี ักษณะลวดลายหรือเทคนิคท่ี แสดงลักษณะเฉพาะของผ้าเยียรบับ จากหลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณท่ีมีอยู่ในพื้นที่ ในการศึกษาคร้ังน้ี สามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนงานวิจัย จากการลงพื้นท่ีสารวจหลักฐาน “ผ้าเยียรบับลาว” ท้ังเอกสารและ ตวั อย่างผา้ โบราณ ซ่ึงพบหลกั ฐานสาคญั จาก ๗ แหล่งคือ ๑) หลักฐานเอกสารโบราณ จดหมาย/ใบบอกจากเมืองอุบลฯ และ พระราชหัตถเลขา ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ท่ีเรียกผ้าท่ีทอเพื่อนาไปทูลเกล้าฯ ว่า “ผา้ เยยี รบับลาว” ๒) หลักฐานตัวอย่างผา้ โบราณ คลงั สะสมของ ดร.บาเพญ็ ณ อบุ ล ๓) หลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณ คลงั สะสมของ คุณมีชยั แตส้ จุ รยิ า บา้ นคาปุน ๔) หลกั ฐานตวั อย่างผา้ โบราณ คลังสะสมของ พิพธิ ภัณฑ์ วัดศรอี บุ ลรตั นาราม ๕) หลักฐานตวั อยา่ งผ้าโบราณ คลังสะสมของ ผ้าห่อคัมภีร์ วดั เลยี บ ๖) หลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณ คลังสะสมของ มล.ภมู ิใจ ชมุ พล ๗) หลกั ฐานตัวอยา่ งผ้าโบราณ พพิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ อุบลราชธานี นอกจากหลักฐานด้านเอกสารและตัวอย่างผ้าโบราณ ยังมี “พยานบุคคล” ที่เป็นผู้ฟ้ืนฟูผ้าเยียรบับ ลาวและยังคงสืบทอดการทอผ้าเยียรบับลาว เมืองอุบลฯ คือ “คุณมีชัย แตส้ ุจริยา” แห่งบ้านคาปุน ทไ่ี ด้ศกึ ษา เทคนคิ และลวดลายโบราณ จนสามารถช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถทอผา้ เยียรบับลาวขน้ึ ไดใ้ หมอ่ ยา่ งงดงาม และ ยังได้เพิ่มเทคนิคการทอแบบเกาะ/ล้วง แทนการย้อม/แจะสีเส้นยืน เพ่ือปรับปรุงคุณภาพของลวดลายผ้าให้

๙๗ ประณีตข้ึน โดยออกแบบตามแนวโครงสร้างองค์ประกอบลวดลายตามแบบแผนผ้าเยียรบับโบราณ ที่มี องค์ประกอบลายท้องผ้า ลายขอบผ้า และลายเชิงผ้า ใช้การเก็บตะกอแบบขิดช่วยในการทอสอดเส้นพุ่งพิเศษ ทอเสริมสลับสีสันต่างๆ มีการทอสอดด้ินเงินด้ินทองด้วยเช่นกัน ดังน้ัน “ผ้าเยียรบับลาว เมืองอุบลฯ” แม้ว่า โครงสร้างลวดลายจะประยุกต์มาจากลายสยาม แต่ก็ทอข้ึนด้วยโครงสร้างลายขิดพื้นเมืองของอีสาน โดยคง เอกลักษณ์ด้านวัสดุเส้นใยท่ีได้พยายามรักษาการใช้เส้นใยไหมพื้นเมืองสาวมือของท้องถ่ินอีสาน (ซ่ึงเป็น หลกั ฐานบ่งช้ีความแตกตา่ งจากผ้ายกในจังหวัดอื่นๆ ทใี่ ชเ้ สน้ ใยไหมจนี หรอื เส้นไหมที่สาวจากท้องถ่นิ อนื่ ) จากหลักฐานเอกสารและตัวอย่างผ้าโบราณที่ได้ศึกษา สามารถวิเคราะห์จาแนกลักษณะ ผ้าเยียรบับ ลาว ของเมืองอุบลฯ จากวิธีการทอเป็น ๓ ลักษณะคือ (๑) ผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทองบนพ้ืนผ้าไหมสี ท่ีใช้ระบบ ตะกอแบบขิดอีสาน (๒) ผ้ายกไหมจกสอดสลับสีโดยมีการทอแทรกด้ินเงินดิ้นทองด้วยเช่นกัน ด้วยโครงสร้าง ลายขิดของอีสาน มีการย้อม/แจะสีเส้นยืนเพื่อแบ่งส่วนประกอบของผ้า (๓) ผ้ายกไหมสอดสลับสี ด้วย โครงสร้างลายขดิ อีสาน โดยมีลักษณะพเิ ศษคือจะทอเป็นลายแถบสลับร้ิวลายทาง แบบซิ่นทิว หรือแบบซ่ินหมี่ ค่ันของอีสาน (๑) ผา้ เยียรบับลาว (เมืองอุบลฯ) – ยุคแรก - ยกตะกอขิด ขิดยกด้ินเงินดิน้ ทอง - ทอยกบนพ้นื สเี ดยี ว และด้นิ สีเดียว ภาพท่ี ๖-๒ แผนภาพ แสดงหลักฐานพฒั นาการ ผา้ เยียรบบั ลาว เมืองอบุ ลฯ ยุคแรก ทม่ี าภาพ : สิทธชิ ยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๗

๙๘ จากเอกสารจดหมาย/ใบบอก จากเมืองอุบลฯ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ร.ศ. ๑๑๕ ของกรมหม่ืนสรรพ สิทธิประสงค์ มีหลักฐานกล่าวว่า “ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ใช้ช่างทอผ้าจะเรียกว่าเยียระบับหรือไหมก็ได้ ไม่มีด อกดวงเป็นแบบพื้นๆ โดยถวายผ้าช้ิน เห็นด้วยเกล้ากระหม่อมว่างามดี ประสาตาเถ่ือนๆ และเห็นด้วยเกล้า กระหม่อมว่า สมควรเป็นฉลองพระองค์ด้ังในวันพฤหัสหรือวัน...ก็ได้ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้า” จากหลักฐานน้ีบ่งช้ีว่า “ผ้าน้ีน่าจะทอด้วยพ้ืนสีแสด อันเป็นสีประจาวันพฤหัส” และลักษณะผ้าเป็น “ผ้าชิ้น” ทีไ่ มใ่ ช่ผ้าซิ่นหรือผา้ นุ่ง และลวดลายผา้ เปน็ แบบ “ไม่มีดอกดวง” เมื่อลงพ้ืนที่วิจัยภาคสนามในจังหวัดอุบลราชธานี และกรุงเทพฯ จึงได้พบหลักฐานผ้าโบราณที่เป็นผ้า ยกสแี สด ที่สอดคล้องกับหลกั ฐานดา้ นเอกสารจดหมาย/ใบบอก จากเมืองอุบลฯ กลา่ วคือเปน็ ผ้าทอยกดนิ้ แบบ การทอผ้าเยียรบับ เป็นสีประจาวันพฤหัสบดี และลวดลายไม่มีดอกดวง โดยพบหลักฐานที่เก่ียวข้องเป็นผ้ายก ด้ินเงินบนพ้ืนสีแสด ๒ ช้ิน (๑) ช้ินแรกเป็นผ้าชิ้น ไม่มีลายเชิง ในคลังสะสมของ หม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ที่ รักษาผ้ามรดกจาก หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช (พระธิดาในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา) (๒) ช้ินท่ีสองเป็นผ้าซ่ินยกดิ้นเงินลายเดียวกัน แต่มีการเย็บต่อตีนซิ่นลาย ตีนตวย ที่ประยุกต์จากลายกรวยเชิงของราชสานักสยาม โดยพบหลักฐานตัวอย่างผ้าในคลังของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ซ่ึงเป็นมรดกผ้าที่มอบให้โดยนางไสลลักษณ์ ราชพิตร (เครือญาติของ หมอ่ มบุญยนื ชุมพล ณ อยุธยา) ความสอดคล้องของหลักฐานเอกสารและตัวอย่างผ้าโบราณท่ีพบเป็นหลักฐานสนับสนุนให้เกิดข้อ สนั นิษฐานว่า “ผ้าเยียรบับลาว” ที่ผลิตขึ้นในยุคแรกๆ น้ันน่าจะเป็นรปู แบบผ้า ท่ีใช้การทอด้ินเงินดิ้นทอง บน พ้ืนไหมสีเดียว แบบเดียวกับวิธีการทอ “ผ้าซ่ินดอกเงิน-ซ่ินดอกคา” โดยด้ังเดิมอาจไม่ได้มีการทอลายท่ี ประยกุ ต์มาจากลายกรวยเชงิ ต่อมาจึงคดิ ประดษิ ฐ์เพิม่ เข้าไป (๒) ผา้ เยียรบับลาว (เมอื งอุบลฯ) – ยคุ ที่สอง (แบบที่ ๑) - ยกตะกอขิด และจกไหมสี ผสมด้ินเงนิ ด้ินทอง - มลี ายกรวยเชิง มกี ารใช้ไหมหลายสี ภาพที่ ๖-๓ แผนภาพ แสดงหลกั ฐานพฒั นาการ ผา้ เยียรบับลาว เมืองอบุ ลฯ ยุคท่สี อง (แบบท่ี ๑) ท่มี าภาพ : สทิ ธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๗

๙๙ จากการลงพ้ืนที่วิจัยภาคสนามทั้งในจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร เพื่อศึกษามรดกผ้าทอเมือง อบุ ลฯทอ่ี ย่ใู นคลังสะสมของ ดร.บาเพ็ญ ณ อุบล ทายาทเจา้ นายเมอื งอุบลฯ พบหลกั ฐานหีบตัวอยา่ งผา้ โบราณ ท่ีมีผ้าต้นแบบ เส้นไหมที่ย้อมสีไว้เตรียมทอผ้า ท่ีชิ้นผ้าต้นแบบ (ทอด้วยการ “ขิด”) ได้ประยุกต์ใช้การทอ เทคนิค “จก” ไหมสีต่างๆ โดยยังสามารถเห็นความเหมือนของโครงสร้างลวดลายต้นฉบับ ที่ถูกพัฒนามาจาก ลาย “ขิด” มาเป็นการทอด้วยเทคนิค “จก” ความสอดคล้องกันของตัวอย่างหลักฐานผ้าโบราณ ชว่ ยสนบั สนุน ให้ผู้วิจัยต้ังข้อสมมติฐานว่า เจ้านายเมืองอุบลฯ ได้พยายามที่จะผลิตผ้ายก หรือ “ผ้าเยียรบับลาว” ขึ้น ด้วย เทคโนโลยีการทอผ้าของท้องถ่ิน (ภาพที่ ๖-๓) นอกจากน้ียังได้พบหลักฐานสนับสนุนเป็นตัวอย่างผ้าโบราณที่ ทอด้วยเทคนิคและลวดลายคล้ายกัน ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี คือ หลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณ คลังสะสม ของ คณุ มชี ยั แต้สุจริยา บา้ นคาปุน ทเี่ ปน็ ตน้ แบบการฟ้ืนฟู และหลกั ฐานตวั อยา่ งผ้าโบราณ คลังสะสมของ ผ้า หอ่ คมั ภีร์ วัดเลียบ (ภาพท่ี ๖-๔) ภาพที่ ๖-๔ แผนภาพ เปรยี บเทียบหลกั ฐานตัวอย่างผ้าโบราณ ผ้าเยียรบบั ลาว เมอื งอบุ ลฯ ยคุ ท่ีสอง (แบบที่ ๑) ทีม่ าภาพ : สิทธชิ ัย สมานชาต,ิ ๒๕๕๗ จากการวิเคราะห์วัสดุเส้นใย สังเกตพบว่า เส้นไหมของตัวอย่างผ้าโบราณทั้ง ๓ ผืนเป็นผ้าที่ทอด้วย เส้นไหมพนั ธุ์พื้นบา้ นที่มแี หลง่ ผลิตสาคัญในจังหวัดอุบลราชธานี แต่การทอเปน็ การประยุกตล์ ายผ้าขดิ หรอื จกท่ี เป็นเหลีย่ มๆ ซ่ึงใชท้ อลายหัวจกดาว สาหรับซิ่นเมืองอุบลฯ มาทอจดั องค์ประกอบเป็นลวดลายสยาม ด้วยเส้น ไหมสีต่างๆ ซึ่งสันนิษฐานจากวัสดุได้ตามข้อสังเกตว่า เมืองอุบลฯ ห่างไกลจากแหล่งขายด้ินเงินดิ้นทอง แต่ ร่ารวยทรัพยากรวัสดุย้อมสีต่างๆ จึงได้เลือกการใช้ไหมสีต่างๆในการทอแทนดิ้นทอง ท่ีทางภาคใต้นิยมใช้ เพราะหาได้งา่ ย สาหรับเมืองอุบลฯ ตอ้ งหาซือ้ ดิ้นทองดิน้ เงิน จากฝรง่ั เศส ผ่านเมืองจาปาศกั ด์ิ (สปป.ลาว) ซ่ึง อาจจะไม่สามารถหาได้ง่ายนัก จึงต้องทอด้วยไหมสีอ่ืนๆ ทดแทน ซ่ึงในปี พ.ศ.๒๕๔๓ บ้านคาปุน สามารถ ฟ้ืนฟผู า้ เยยี รบบั ลาว ในรปู แบบการทอแบบนี้และสบื ทอดมาจนถงึ ปจั จบุ นั

๑๐๐ ภาพที่ ๖-๕ ตวั อย่างผ้าเยียรบบั ลาวโบราณ มรดกผา้ เจ้านายเมืองอุบลฯ ของ ดร.บาเพญ็ ณ อุบล ปี ๒๕๕๑ ที่มาภาพ : สิทธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๗ (๓) ผ้าเยียรบับลาว (เมอื งอุบลฯ) – ยุคทีส่ อง (แบบที่ ๒) - ยกตะกอขิด จกไหมสตี ่างๆ - ทอสลับริ้วแบบซ่ินทิว หรอื ซน่ิ คนั่ ทอ้ งถ่ินอสี าน ภาพที่ ๖-๖ แผนภาพ แสดงหลกั ฐานเปรยี บเทียบการผสมเทคนิคการทอ ผา้ เยียรบบั ลาว เมอื งอุบลฯ ยุคทีส่ อง (แบบที่ ๒) ที่มาภาพ : สทิ ธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๗

๑๐๑ จากการลงพ้ืนที่วิจัยภาคสนามในจังหวัดอุบลราชธานี ทาให้ได้พบหลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณท่ี เจ้านายเมืองอุบลฯ ได้ถวายเป็นผ้าห่อคัมภีร์ ไว้ท่ีวัดศรีอุบลรัตนาราม ท่ีมีเทคนิคการทอและลวดลายคล้าย ตวั อย่างผ้าโบราณ “เยียรบับลาว” ยุคท่ีสอง แบบที่ ๑ แต่มีโครงสร้างลวดลายเป็นแถบร้ิวและการผสมเทคนิค อ่ืนของท้องถ่ินเมืองอุบลฯ จึงทาให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “ผ้าเยียรบับลาว เมืองอุบลฯ ยุคที่สอง (แบบท่ี ๒)” ด้วยเหตุผลท่ีตัวอย่างผ้าแสดงหลักฐานถึงมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าแบบท้องถิ่นอีสานของเมือง อุบลฯ คือ “การใชเ้ ครอื ทวิ แบบซ่นิ เมืองอบุ ลฯ” ท่ีน่าจะประยุกต์นาการตั้งเครือเส้นยนื มาจากแบบแผนลายร้ิว ของซิ่นทิว ของท้องถ่ินอีสาน และการทอจกไหมสีเป็นลวดลายคล้าย “ลายขอบผ้าหรือท้องผ้าของผ้าเยียรบับ ลาว ยุคท่ีสอง (แบบที่๑) ตัวอย่างผา้ โบราณชิ้นน้ีจงึ เป็นหลักฐานสาคัญอีกชิ้นหน่ึงท่ีช่วยสนับสนุนว่ามีการผลิต ผ้าเยียรบับลาว ของเมอื งอุบลฯ เพราะแหล่งผลิตจงั หวัดอ่นื ๆ ไมม่ ีการทอผา้ ด้วยวิธกี ารแบบนี้ ภาพที่ ๖-๗ ตัวอย่างผา้ โบราณ ผา้ เยยี รบบั ลาว เมอื งอุบลฯ ยคุ ทส่ี อง (แบบท่ี ๒) พบเปน็ ผ้าห่อคัมภีร์ วดั ศรีอบุ ลรัตนาราม ทีม่ าภาพ : สิทธชิ ัย สมานชาต,ิ ๒๕๕๗ (๔) ผา้ เยียรบับลาว (เมืองอุบลฯ) – ยุคทสี่ าม (ผา้ ท่ีฟื้นฟู พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน) - ยกตะกอขดิ จกไหมสีต่างๆหรือ ด้นิ เงนิ ด้นิ ทอง และทอ เกาะ/ลว้ ง ไหมเส้นพุ่งแบง่ ท้องผา้ - ทอยกบนพืน้ ไหมสลบั สีต่างๆ จัดลายทอ้ งผา้ ลายขอบผ้า และมีลายกรวยเชิง - มกี ารปรับลบเหลย่ี มลายขดิ เป็นลายกนกมากข้นึ โดยคุณมีชยั แต้สจุ รยิ า บ้านคาปนุ จากการจัดเวทีชุมชน และการลงพื้นที่วิจยั ภาคสนามทั้งในจังหวดั อบุ ลราชธานี ทาให้พบหลักฐานการ สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าเยยี รบบั ลาวจงั หวดั อุบลราชธานี ทชี่ ุมชนผู้สืบทอดและถอื ครองภมู ิปญั ญาคอื บ้าน คาปุน คณุ มีชัย แต้สุจริยา ได้ให้ข้อมูลแก่ผู้วิจัยวา่ “ผ้าเยยี รบับลาว” ทฟ่ี ื้นฟูข้ึนมาน้ัน ประยุกต์มาจากต้นแบบ ผ้าเยียรบับลาวโบราณของเมืองอุบลฯ ท่ีพบหลักฐานในจังหวัดอุบลราชธานีและเก็บรักษาไว้ในคลังสะสมของ ตนเอง โดยเก็บรักษาไว้ท่ีบ้านคาปุน ตัวอย่างผ้าโบราณเป็นผ้าที่ทอแบบการจกไหมสี ซึ่งช่างทอสามารถเก็บ ตะกอยกลาย ดว้ ยโครงสร้างลายแบบขิดอสี าน ที่มีองค์ประกอบลายเหลีย่ มๆ แบบลายขดิ

๑๐๒ ภาพที่ ๖-๘ ตวั อย่างผ้าโบราณ ผา้ เยียรบับลาว และผา้ เยียรบับลาว ทฟ่ี ้ืนฟู ออกแบบโดย คุณมชี ยั แตส้ ุจรยิ า ท่ีมาภาพ : สิทธิชยั สมานชาต,ิ ๒๕๕๗ โดยผ้าที่ทอในปัจจุบัน คุณมีชัย แต้สุจริยา แห่งบ้านคาปุนได้ค้นคว้าเทคนิคการทอจากตัวอย่างผ้า โบราณ และพยายามทาให้ประณีตย่ิงข้ึนกว่าเดิม ด้วยแต่เดิมนั้นส่วนสีของท้องผ้าและสีของขอบผ้านั้นจะแบ่ง เขตกันด้วยการใช้เทคนิคมัดหม่ีมดั ย้อมหรือแจะสีเป็นส่วนละสี แล้วทอยกดอกลวดลายของแต่ละส่วนบนพ้ืนสี ที่มัดย้อมสีเอาไว้ซ่ึงมีส่วนเหลื่อมล้าของมัดหม่ี คุณมีชัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคเกาะหรือล้วง เก่ียวเส้นไหม แบ่งแยกส่วนท้องผ้าและขอบผ้าโดยไม่เกิดส่วนเหลื่อมล้าแบบมดั หมี่หรือการแจะสี สาหรบั ช่วงเวลาที่คณุ มีชัย แต้สุจริยา ประสบความสาเร็จในการฟ้ืนฟู ผ้าเยียรบับลาว เมืองอุบลฯ ท่ีบ้านคาปุนคือปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งผ้า ชนิดน้ีน้ีบางคร้ังในปัจจุบันน้ันรูจ้ ักกันในนาม “ผ้ากาบบัวคา” ดว้ ยเหตุท่ีทอด้วยด้ินทองคาและด้วยเหตุที่คุณมี ชยั แตส้ ุจริยาเป็นคนแรกที่คิดออกแบบ “ผ้ากาบบัว” และด้วยกระแสนิยมผ้ากาบบัว คนเมืองอุบลในปัจจุบัน จึงเรียกผ้าทุกชนิดเป็นผ้ากาบบัวท้ังหมด ผ้าเยียรบับลาวท่ีถือกาเนิดในสมัยรัชกาลท่ี ๕ จึงกลายช่ือมาเป็นผ้า กาบบวั คา ซง่ึ ส่งิ ท่ีไม่เปลี่ยนแปลงคอื ความวจิ ิตรงดงามของผืนผา้ ที่สามารถเทียบเคยี งไดก้ ับผ้าโบราณนัน่ เอง จากหลักฐานต่างๆท่ีอธิบายข้างต้น ช่วยให้สรุปได้ว่า “ผ้าเยียรบับลาว” น่าจะมี “ต้นกาเนิด” ขึ้นไม่ เกินช่วงสมัยรัชกาลท่ี ๕ ดังปรากฏในเอกสารบันทึกในพระราชหัตถเลขา โดยน่าจะได้อิทธิพล“เอกลักษณ์ ลวดลาย” ไปจากราชสานักสยาม โดยอาจส่งผ่านทางความสัมพันธค์ วามเป็นเครือญาติด้วยการสมรสระหว่าง เจ้านายเมืองอุบลฯและเจ้านายจากสยาม ลวดลายผ้าจึงมีการผสมระหว่างลายราชสานักสยามและลายอีสาน โดยเฉพาะการนา “ลายจกดาว” มาจดั องค์ประกอบประยุกต์ใหเ้ ป็นลายต่างๆ เช่น ลายกรวยเชิง ลายย่อมมุ ไม้ สิบสอง ฯลฯ สาหรับ “เทคนคิ การทอผา้ ” ใชก้ ารเกบ็ ตะกอลายขิดแบบภูมปิ ัญญาอสี าน เพ่ือยกเสน้ ยืน แล้วทอ แทรกเสน้ พุง่ พิเศษด้วยไหมสีต่างๆ ดว้ ยการ “จก” โดยในส่วนการแยกส่วนประกอบ กรวยเชิง ขอบผ้า ทอ้ งผ้า นั้นด้ังเดิมใช้ “การมัดหมี่หรือการแจะสี เส้นยืน” ส่วนปัจจุบันนิยมใช้เทคนิคการ “เกาะหรือล้วง” เพื่อไม่ให้ เกิดความเหล่ือมล้าของสีขึ้น โดยสามารถสรุปวิวัฒนาการ ผ้าเยียรบับลาว ออกได้เป็น ๓ ยุค คือ (๑) ผ้า

๑๐๓ เยียรบับลาว ยุคแรก ท่ีทอยกดิ้นทองดิ้นเงินบนไหมสีเดียว (๒) ผ้าเยียรบับลาว ยุคสอง ที่ทอยกตะกอแล้วจก ไหมสีต่างๆลงไปบนผืนผ้า (๓) ผ้าเยียรบับลาว ยุคท่ีสาม ที่เป็นงานฟื้นฟูผ้าทอแบบยุคที่สอง โดยสามารถทา สาเรจ็ โดยคณุ มชี ัย แต้สจุ รยิ า ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้สืบทอดต่อมาจนถงึ ปัจจบุ ัน ภาพท่ี ๖-๙ ภาพท๖ี่ - ๑๐ และภาพท่ี ๖-๑๑ คณุ มีชัย แตส้ จุ รยิ า กบั ผลงานผา้ เยยี รบับลาว ทฟี่ ้นื ฟขู ึ้นใหมไ่ ดส้ าเรจ็ ที่มาภาพ : สทิ ธชิ ัย สมานชาติ, ๒๕๕๗ ดังน้ันจากหลักฐานเอกสารและตัวอย่างโบราณในคลังสะสมต่างๆ รวมทั้งผ้าเยียรบับลาวที่ฟื้นฟูขึ้น ใหม่ จงึ เป็นหลกั ฐานเชิงประจักษท์ ่ีช่วยสนับสนุนว่า “ผ้าเยยี รบับลาว” เปน็ มรดกภูมิปญั ญาทางวฒั นธรรมของ ผ้าทอเมืองอุบลฯ มีพฒั นาการเริม่ ต้นไม่ช้ากวา่ ช่วงสมัยรชั กาลที่ ๕ ดงั ทีน่ าเสนอขา้ งตน้ และยังสามารถสืบทอด อยู่จนถึงปจั จุบนั ซง่ึ เราสามารถสรปุ “แกน่ ” ของผา้ เยียรบบั ลาวจากเวทชี มุ ชนไดด้ ังน้ี (๑) เทคนิคการทอ ผ้าเยียรบับลาว เป็นการยกตะกอขิด แบบเทคนิคท้องถิ่นท่ีชาวเมืองอุบลฯ และ ชาวอีสาน เชี่ยวชาญ รวมท้ังการผสมการใชเ้ ครือทิวแบบเมอื งอุบลฯ (๒) เส้นไหมที่ใช้ทอ ผ้าเยียรบับลาว เป็นเส้นไหมพ้ืนบ้านอีสานสาวมือ ท่ีเป็นเส้นใยขนาดกลางและ ยงั คงมแี หล่งผลิตเส้นใยท่ีอบุ ลราชธานี จนถึงปจั จบุ นั ซ่ึงแตกต่างจากผา้ ยกเมืองนครศรีธรรมราช และ ผา้ ยกลาพูน ที่ใชไ้ หมต่างถิ่น (อาจเป็นไหมจีน หรือไหมไทยพันธล์ุ ูกผสม) ซ่ึงเปน็ หลักฐานสาคัญในการ บ่งชแี้ หล่งผลติ ผ้าชนดิ น้ี (๓) เทคนิคการทอ แบบ “จกไหมสีบนพ้ืนไหม” ของผ้าเยียรบับลาว เป็นวิธีการทอแบบเดียวกันกับ การจกไหมสี หัวซ่ินจกดาว และ ผ้าซ่ินทิวมุกจกดาว ซึ่งผ้าเอกลักษณ์ของเมืองอุบลฯ ที่มีพัฒนาการ ร่วมสมัยกันมา และเป็นหลักฐานช่วยบ่งช้ีว่า ผ้านั้นทอมาจากแหล่งทอผ้าเดียวกันคอื เมืองอุบลฯ อีก ท้ังกระบวนการจัดองค์ประกอบลวดลายผ้า เป็นการนาลายจกดาวน้อยที่เป็นเหล่ียมๆ มาเรียงเป็น ลายต่างๆ ซึ่งเป็นขอ้ แตกต่างจากลวดลายผ้ายกในแหล่งอ่นื ๆ ทนี่ ยิ มลายโค้งพร้ิวไหว ไม่เป็นเหล่ียมๆ (๔) ปจั จบุ ันชา่ งทอผ้าเมืองอุบลฯ ยังมีการสบื ทอดทักษะในการทอ ผ้าเยียรบับลาว ไดต้ ามแบบดั้งเดิม ท่ีบ้านคาปนุ และมหี ลกั ฐานตวั อย่างผ้าโบราณในคลงั สะสมของชุมชน (๕) ท้องถิน่ อน่ื ๆ ยงั ไม่สามารถทอผา้ แบบ “ผ้าเยยี รบบั ลาว” น้ีไดเ้ องโดยช่างทอผา้ ทอ้ งถ่นิ

๑๐๔ ช่ือผา้ : กราฟลายผา้ (เตม็ ผนื ) องคป์ ระกอบลายผ้า “ผ้าเยียรบับลาว เมอื งอบุ ลฯ” แบบมกี รวยเชงิ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอลาย จกไหมสี แทรกดน้ิ เงนิ ดน้ิ ทอง แหล่งสบื ทอดภมู ิปัญญา : จงั หวัดอุบลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผา้ : ผ้าโบราณ ในคลงั สะสมของ ดร.บาเพ็ญ ณ อุบล

๑๐๕ ชือ่ ผ้า : กราฟลายผ้า (ครึง่ ผืน) องคป์ ระกอบลายผา้ “ผา้ เยียรบบั ลาว เมอื งอบุ ลฯ” แบบมกี รวยเชงิ เทคนิคการทอ : ยกตะกอลาย จกไหมสี แทรกดน้ิ เงนิ ด้ินทอง แหล่งสืบทอดภมู ิปญั ญา : จังหวดั อุบลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผา้ : ผา้ โบราณ ในคลงั สะสมของ ดร.บาเพ็ญ ณ อุบล

๑๐๖ ช่ือผ้า : สันนิษฐานว่า เป็นผา้ ยกยคุ แรกๆ ทเี่ รยี กว่า “เยยี รบบั ลาว” ทอสแี สด (สีประจาวนั พฤหัศบดี) ดังที่บันทึกระบุไว้ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอ ทอเสริมดิ้นเงินดนิ้ คา บนพืน้ ไหมสีแสด แหลง่ สืบทอดภูมิปญั ญา : จังหวดั อุบลราชธานี คน้ คว้าจากคลงั ผา้ : หมอ่ มหลวงภมู ใิ จ ชุมพล (มรดกผา้ จาก หม่อมเจ้าหญงิ บุญจิราธร (ชุมพล) จฑุ าธชุ )

๑๐๗ ชอื่ ผา้ : “เยียรบบั ลาว” ทอจกไหมสี ต่อลายเชิงผา้ เทคนิคการทอ : ยกตะกอขดิ ทอเสริมไหมยอ้ มสีตา่ งๆ บนพื้นไหมสชี มพูอมแดงครั่ง แหลง่ สบื ทอดภมู ิปญั ญา : จงั หวัดอุบลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผ้า : ดร.บาเพญ็ ณ อบุ ล มรดกผ้าจากบรรพชน เจา้ นายเมืองอบุ ลฯ

๑๐๘ ชอ่ื ผ้า : “เยยี รบบั ลาว” (ส่วนของลายท้องผา้ ) เทคนิคการทอ : ยกตะกอขิด ทอเสริมไหมยอ้ มสีต่างๆ บนพื้นไหมสีชมพูอมแดงครั่ง แหลง่ สบื ทอดภูมิปัญญา : จงั หวัดอบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผา้ : ดร.บาเพญ็ ณ อุบล มรดกผ้าจากบรรพชน เจา้ นายเมอื งอบุ ลฯ

๑๐๙ ชอื่ ผ้า : “เยียรบบั ลาว” ทอต่อลายเชงิ ผา้ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอขิด ทอเสรมิ ไหมยอ้ มสีตา่ งๆ บนพ้ืนไหมสชี มพูอมแดงครั่ง แหล่งสบื ทอดภมู ิปัญญา : จังหวัดอุบลราชธานี คน้ คว้าจากคลงั ผ้า : ดร.บาเพ็ญ ณ อบุ ล มรดกผา้ จากบรรพชน เจา้ นายเมืองอุบลฯ

๑๑๐ (บน-ล่าง) ช่ือผ้า : “เยียรบับลาว” ทอตอ่ ลายเชงิ ผา้ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอขดิ ทอเสรมิ ไหมย้อมสีทองและแดงอมชมพู บนไหมสีขาวนวล แหลง่ สบื ทอดภูมิปญั ญา : จงั หวดั อบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลังผา้ : คณุ มชี ยั แตส้ ุจริยา บา้ นคาปนุ (มรดกผ้าจากทายาท เจ้านายเมืองอุบลฯ)

๑๑๑ ช่อื ผา้ : “เยยี รบับลาว” ทอต่อลายเชงิ ผา้ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอขดิ ทอเสรมิ ไหมย้อมสที องและแดงอมชมพู บนไหมสขี าวนวล แหล่งสบื ทอดภูมิปญั ญา : จังหวดั อุบลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผา้ : คุณมีชัย แตส้ จุ ริยา บา้ นคาปุน (มรดกผา้ จากทายาท เจ้านายเมืองอุบลฯ)

๑๑๒ ชอ่ื ผ้า : “เยียรบบั ลาว” ทอต่อลายเชงิ ผา้ เทคนิคการทอ : ยกตะกอขิด ทอจกเสริมไหมย้อมสีตา่ งๆ บนพ้นื มัดหม่สี ีท่ีแบง่ เปน็ ส่วนต่างๆ แหล่งสบื ทอดภมู ิปัญญา : จงั หวัดอุบลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผ้า : ดร.บาเพญ็ ณ อบุ ล มรดกผา้ จากบรรพชน เจ้านายเมอื งอบุ ลฯ

๑๑๓ ชอื่ ผ้า : “เยยี รบับลาว” ทอต่อลายเชิงผา้ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอขดิ ทอจกเสริมไหมย้อมสีตา่ งๆ บนพ้นื มดั หมส่ี ีท่ีแบง่ เปน็ ส่วนต่างๆ แหลง่ สืบทอดภมู ิปัญญา : จังหวดั อบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผ้า : ดร.บาเพญ็ ณ อบุ ล มรดกผา้ จากบรรพชน เจ้านายเมอื งอบุ ลฯ

๑๑๔ ชอื่ ผ้า : “เยยี รบบั ลาว” ทอต่อลายเชงิ ผ้า เทคนิคการทอ : ยกตะกอขดิ ทอเสริมไหมย้อมสีต่างๆ บนพื้นมดั หมสี่ ที ่แี บง่ เปน็ สว่ นต่างๆ แหลง่ สบื ทอดภูมิปัญญา : จังหวัดอุบลราชธานี คน้ ควา้ จากคลังผ้า : ดร.บาเพ็ญ ณ อบุ ล มรดกผ้าจากบรรพชน เจา้ นายเมอื งอุบลฯ

๑๑๕ ชือ่ ผ้า : “เยยี รบับลาว” ทอต่อลายเชงิ ผา้ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอขิด ทอเสรมิ ไหมยอ้ มสตี า่ งๆ บนพื้นมดั หมสี่ ที ่แี บง่ เปน็ สว่ นต่างๆ แหล่งสบื ทอดภมู ิปัญญา : จงั หวดั อบุ ลราชธานี คน้ คว้าจากคลงั ผ้า : ดร.บาเพญ็ ณ อุบล มรดกผ้าจากบรรพชน เจา้ นายเมอื งอุบลฯ

๑๑๖ ชอ่ื ผ้า : “เยียรบับลาว” ทอต่อลายเชงิ ผ้า เทคนิคการทอ : ยกตะกอขิด ทอเสรมิ ไหมย้อมสีต่างๆ บนพื้นมดั หมี่สที ี่แบง่ เปน็ สว่ นตา่ งๆ แหลง่ สบื ทอดภูมิปญั ญา : จงั หวดั อบุ ลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผ้า : วดั เลยี บ อาเภอเมือง จงั หวดั อบุ ลราชธานี

๑๑๗ ชอ่ื ผ้า : “เยียรบบั ลาว” ทอต่อลายเชงิ ผ้า เทคนิคการทอ : ยกตะกอขิด ทอเสรมิ ไหมยอ้ มสีต่างๆ บนพื้นมดั หมี่สที ี่แบง่ เปน็ สว่ นตา่ งๆ แหล่งสืบทอดภูมิปญั ญา : จงั หวดั อุบลราชธานี คน้ ควา้ จากคลงั ผ้า : วดั เลียบ อาเภอเมือง จงั หวัดอุบลราชธานี

๑๑๘ ชอ่ื ผ้า : “เยียรบับลาว” ทอต่อลายเชิงผ้า เทคนิคการทอ : ยกตะกอขิด ทอเสรมิ ไหมย้อมสีต่างๆ บนพื้นมดั หมี่สที ี่แบง่ เปน็ สว่ นตา่ งๆ แหลง่ สบื ทอดภูมิปญั ญา : จงั หวดั อบุ ลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผ้า : วดั เลยี บ อาเภอเมือง จงั หวดั อบุ ลราชธานี

๑๑๙ ชอื่ ผ้า : “เยียรบบั ลาว” สนั นษิ ฐานว่า เปน็ ผา้ ทอในยุคท่ีสอง (แบบที่ ๒) เทคนคิ การทอ : ยกตะกอขดิ จกไหมสตี า่ งๆ และทอสลบั กับริ้วแถบแบบซิน่ ทวิ หรอื ซน่ิ ค่ัน แหลง่ สืบทอดภูมิปญั ญา : จงั หวดั อบุ ลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผา้ : พพิ ธิ ภัณฑ์ วดั ศรีอุบลรัตนาราม อาเภอเมอื ง จังหวัดอบุ ลราชธานี

๑๒๐ วิเคราะห์ ผา้ โบราณ มรดกของเจ้านายเมอื งอุบลฯ ท่โี ครงสีสนั ของ “ผ้าลายอย่าง” (ผ้าเขียนยอ้ มสที ่รี าชสานกั สยามส่งั อินเดียผลติ ) ผนื แขวนดา้ นหนา้ บนโตะ กบั สผี า้ ยกโบราณ ผนื แขวนด้านหลงั (สนั นิษฐานวา่ “เยียรบับลาว” ) สองผนื มอี งคป์ ระกอบสีคล้ายกนั ทั้งบ่งชใ้ี ห้เกิดข้อสนั นษิ ฐานวา่ เจา้ นายเมืองอุบลฯ อาจจะประยุกตส์ ผี ้าลาย อยา่ ง ในการทอผา้ เยียรบับลาว สว่ นสองผนื ด้านข้าง เปน็ ผา้ มัดหม่ปี ูม แหลง่ สืบทอดภูมิปัญญา : จงั หวัดอบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผ้า : ผา้ โบราณ เมืองอุบลฯ มรดก ของ ดร.บาเพญ็ ณ อุบล

๑๒๑ ชื่อผา้ : ผ้าเยยี รบบั ลาว /ผ้ากาบบวั คา บา้ นคาปนุ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอ จกไหมสี ดน้ิ เงินดิน้ ทอง เกาะ/ล้วงแยกสเี ส้นพงุ่ แบ่งองค์ประกอบลายผา้ แหล่งสืบทอดภูมิปัญญา : บา้ นคาปนุ จงั หวดั อบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลังผา้ : คุณมีชัย แต้สุจริยา บ้านคาปุน อาเภอวารินชาราบ จังหวดั อุบลราชธานี

๑๒๒ ชือ่ ผา้ : ผา้ เยียรบบั ลาว /ผา้ กาบบัวคา บา้ นคาปนุ เทคนิคการทอ : ยกตะกอ จกไหมสี ดิน้ เงินด้ินทอง เกาะ/ล้วงแยกสเี ส้นพงุ่ แบ่งองค์ประกอบลายผา้ แหล่งสืบทอดภมู ิปัญญา : บา้ นคาปนุ จังหวดั อบุ ลราชธานี ค้นควา้ จากคลงั ผ้า : คณุ มีชัย แตส้ จุ ริยา บ้านคาปุน อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี

๑๒๓ ชอ่ื ผา้ : ผ้าเยียรบบั ลาว /ผ้ากาบบัวคา บา้ นคาปุน เทคนิคการทอ : ยกตะกอ จกไหมสี ดน้ิ เงินด้นิ ทอง เกาะ/ล้วงแยกสเี ส้นพงุ่ แบ่งองค์ประกอบลายผา้ แหล่งสบื ทอดภูมิปัญญา : บา้ นคาปนุ จงั หวัดอบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผ้า : คณุ มีชยั แตส้ จุ รยิ า บ้านคาปนุ อาเภอวารนิ ชาราบ จงั หวดั อุบลราชธานี

๑๒๔ ชือ่ ผา้ : ผ้าเยยี รบบั ลาว /ผ้ากาบบวั คา บ้านคาปนุ เทคนคิ การทอ : ยกตะกอ จกไหมสี ดน้ิ เงนิ ดิ้นทอง เกาะ/ล้วงแยกสเี ส้นพงุ่ แบ่งองค์ประกอบลายผา้ แหล่งสืบทอดภูมิปัญญา : บา้ นคาปุน จังหวดั อบุ ลราชธานี ค้นคว้าจากคลงั ผา้ : คณุ มชี ัย แตส้ ุจริยา บ้านคาปนุ อาเภอวารนิ ชาราบ จงั หวดั อุบลราชธานี