Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล

Description: คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล

Search

Read the Text Version

ค�ำ น�ำ

คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate เล่มน้ี กรมพลศึกษาโดยสถาบัน พัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา จัดทำ�ขึ้นเพ่ือเผยแพร่ความรู้ด้านการฝึกสอน กีฬาวอลเลย์บอลให้มีความทันสมัย มีมาตรฐานสูงขึ้น สอดคล้องกับการจัดการแข่งขัน กฬี าวอลเลยบ์ อลในปจั จบุ นั และมอบให้แกผ่ ฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลยบ์ อล ระดับ T-Certificate ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลท่ัวไปและผู้สนใจได้ใช้เป็นคู่มือในการฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล การดำ�เนินการได้รับความร่วมมือจากสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และผู้เช่ียวชาญ ดา้ นกฬี าวอลเลย์บอลมาเป็นวิทยากรและร่วมจัดท�ำ ต้นฉบบั กรมพลศึกษาขอขอบคุณสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยและผ้เู ช่ยี วชาญทุกท่าน ทม่ี สี ว่ นรว่ มในการจดั ท�ำ คมู่ อื ผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate เลม่ น้ี จนส�ำ เรจ็ ลลุ ว่ ง เปน็ อย่างดี และหวงั เปน็ อย่างยงิ่ ว่าค่มู อื เล่มนี้จะเปน็ ประโยชนต์ ่อผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล และผู้ท่ีสนใจทั่วไปได้ศึกษา ค้นคว้า และนำ�ไปใช้ในการพัฒนาการฝึกสอน ฝึกซ้อม และ การจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลให้มีมาตรฐานสูงข้นึ สนองนโยบายและแผนพัฒนาการกีฬา ของชาตติ ่อไป กรมพลศกึ ษา มีนาคม 2555



VOLLEYBALL สารบญั หลกั สูตรการฝกึ อบรมผฝู้ ึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล ระดบั 1 T-Certificate 1 ตารางการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล ระดับ 1 T-Certificate 2 บทท่ี 1 ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลยบ์ อล 13 ประวตั ขิ องสหพนั ธ์กีฬาวอลเลยบ์ อลนานาชาต ิ 14 กีฬาวอลเลยบ์ อลในเอเชยี 19 กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย 22 บทที่ 2 หลกั สูตรการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล 24 ผ้ฝู ึกสอนกบั จิตวิทยาการกีฬา (Coach and Sport Psychology) 35 บทท่ี 3 การเสริมสร้างสมรรถภาพทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั กฬี าวอลเลยบ์ อล 41 บทที่ 4 การฝึกซอ้ มด้านร่างกายสำ� หรับนกั กฬี าวอลเลยบ์ อล 61 บทที่ 5 วทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี าและเทคโนโลยที างการกีฬากับการพฒั นานกั กฬี าวอลเลยบ์ อล 83 บทที่ 6 การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการกฬี า 93 บทที่ 7 ทักษะการเลน่ กฬี าวอลเลย์บอล 104 การเสริ ฟ์ (Serving) 104 การเล่นลกู สองมอื ลา่ ง (Underhand) 119 การเซต (Setting) 128 การตบ (Spiking) 141 การสกดั กัน้ หรอื การบลอ็ ก (Blocking) 160 ผู้เล่นตัวรบั อิสระหรอื ลิโบโร่ (The Libero) 171 บทที่ 8 มนิ วิ อลเลย์บอล 178 เทคนิคการฝึกสอนผ้เู ลน่ มินวิ อลเลย์บอล 180 (Coaching Techniques for the Mini Volleyball Players) การฝึกซอ้ มทกั ษะเดก็ อายุ 12-14 ปี 183 การพฒั นาเทคนคิ ของนกั กฬี าวอลเลยบ์ อล 188 การเลน่ วอลเลย์บอลในสวนสาธารณะ (Park Volleyball) 190 บทท่ี 9 การเลน่ ทีม (Team) 192 บรรณานุกรม 206 คณะกรรมการจดั ทำ� คู่มือผู้ฝึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล ระดบั 1 T-Certificate 207



ห ลกั สูตรการฝกึ อบรมผู้ฝกึ สอน กฬี าวอลเลย์บอล ระดับ 1 T-Certificate ระยะเวลาดำ�เนินการ : จำ�นวน 7 วนั เนื้อหาหลกั สตู ร : ลำ�ดับ กิจกรรม บรรยาย อภปิ ราย ฝึกปฏิบตั ิ สอ่ื นวตั กรรม ปรทะดเสมอินบผล จช�ำ ่ัวนโมวนง ที่ เนือ้ หา สาธติ 1 ประวัตคิ วามเปน็ มาของกีฬาวอลเลย์บอล 1 - - - - 1 2 หลกั การเปน็ ผฝู้ ึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล 1 .30 - .30 - 2 3 การเสริมสร้างสมรรถภาพทีเ่ ก่ียวข้องกบั .30 .30 .30 .30 - 2 กฬี าวอลเลยบ์ อล 4 การฝกึ ซ้อมดา้ นรา่ งกายส�ำ หรับ .30 .15 .30 .15 - 1.30 กฬี าวอลเลยบ์ อล 5 วทิ ยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลย ี .30 .30 .15 .15 - 1.30 ทางการกฬี ากบั การพฒั นานกั กฬี าวอลเลยบ์ อล 6 การปฐมพยาบาลการบาดเจ็บจากการกีฬา .30 .30 - .30 - 1.30 7 ทักษะการเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อล - การเสิรฟ์ .30 .15 2.45 .15 - 3.45 - การเล่นลกู สองมอื ล่าง .15 .15 2.45 .15 - 3.30 - การเซต .30 .15 2.15 .15 - 3 - การตบ .15 .15 2.45 .15 - 3.30 - การสกดั กัน้ .15 .15 2.30 .15 - 3.15 - ตวั รับอสิ ระ .15 .15 1.30 - - 2 8 กตกิ าทีค่ วรทราบ 1 .15 - .15 - 1.30 9 มนิ วิ อลเลย์บอล .15 .15 2.30 .15 - 3.15 10 การเลน่ ทีม-แขง่ ขนั .30 .30 5.30 .15 - 6.45 11 การทดสอบ - - - - 4 4 รวม 44 ชม. หมายเหตุ : รวมเวลาในการฝกึ อบรม 40 ชวั่ โมง คมู่ อื ผูฝ้ ึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate 1

ตารางการฝกึ อบรมหลกั สูตรผู้ฝกึ สอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate รบั ประทานอาหาร 1 ชวั่ โมง เวลา 08.30 - 10.00 น. 10.00 - 12.00 น. 12.00 น. 13.00 - 14.45 น. 15.00 - 16.30 น. 2 คู่มอื ผ้ฝู ึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificateวันท่ี 13.ถ0งึ0 น. พิธีเปิด/ประวัติความเป็นมาของ หลกั การเป็นผู้ฝึกสอน การฝึกซ้อมด้านร่างกาย วนั ที่ 1 กฬี าวอลเลยบ์ อล กฬี าวอลเลยบ์ อล การเสริมสรา้ งสมรรถภาพที่เกย่ี วกับ ส�ำหรบั กีฬาวอลเลย์บอล กีฬาวอลเลย์บอล การเล่นลกู สองมือลา่ ง วทิ ยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยี การเสิร์ฟ การเสิร์ฟ วนั ที่ 2 ทางการกฬี ากบั การพัฒนา การเล่นลูกสองมือล่าง นักกฬี าวอลเลยบ์ อล วนั ที่ 3 การปฐมพยาบาล การเซต การบาดเจบ็ จากการกีฬา การสกัดกัน้ วนั ท่ี 4 การตบ มินวิ อลเลยบ์ อล การเล่นทีม-แข่งขัน วนั ที่ 5 กติกาทีค่ วรทราบ ตัวรับอิสระ อภปิ ราย วนั ที่ 6 การเลน่ ทีม-แข่งขัน วันที่ 7 ทดสอบภาคปฏิบัติ ทดสอบภาคปฏิบัติ ทดสอบภาคปฏบิ ตั ิ พิธีปิด

หลกั การและเหตผุ ล ในปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดย้ัง ในท�ำนองเดยี วกนั กบั กฬี าวอลเลยบ์ อลสมยั ใหม่ ไมใ่ ชเ่ ปน็ การแขง่ ขนั ดา้ นเทคนคิ แตเ่ ปน็ การแขง่ ขนั ด้านการบริหารจัดการวิทยาศาสตร์การกีฬาได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธีเพ่ือพัฒนาตนเองจากพ้ืนฐาน สคู่ วามเป็นเลิศและอาชีพต่อไป ฉะนั้น ผู้ฝึกสอนท่ีสอนกีฬาขั้นพื้นฐานต้องมีความรู้ ความเข้าใจทุกๆ ด้าน เพื่อพัฒนา นักกีฬาให้ก้าวหน้าไปสู่สากล หลักสูตร T-Certificate ประกอบด้วยเน้ือหาต่างๆ จากหลักสูตร ผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลนานาชาติ ระดับ 1 ซ่ึงเป็นหลักสูตรของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กรมพลศึกษา จึงได้จัดการอบรมผู้ฝึกสอน กฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate เพอื่ สอดคลอ้ งกบั แผนพฒั นากฬี าชาตแิ ละความนยิ มกฬี าวอลเลยบ์ อล มากขนึ้ ทุกวนั วตั ถุประสงค์ 1. เพือ่ ส่งเสริมและพัฒนาผฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล ให้มคี วามรู้ ความสามารถ ฝึกสอน นักกฬี าในระดับพ้ืนฐานให้ถูกต้อง 2. เพอื่ เปน็ พน้ื ฐานส�ำหรบั ผฝู้ กึ สอนในการเรยี นหลกั สตู ร Coaches course Level 1 ของ สหพันธว์ อลเลยบ์ อลนานาชาติ 3. เพอื่ เปน็ การสง่ เสรมิ และพฒั นาผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อลใหม้ ที ศั นคตทิ ดี่ ี และใหโ้ อกาส ผ้สู นใจเขา้ รว่ มกิจกรรมวอลเลย์บอล โครงสร้างเน้ือหาหลักสูตร การฝึกอบรมหลกั สูตรผูฝ้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อลขนั้ พ้นื ฐาน (T-Certificate) มกี ารเรียน การสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ การฝกึ อบรมหลกั สตู รผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อลขนั้ พนื้ ฐาน นบั เปน็ ความรบั ผดิ ชอบของ สถาบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กรมพลศึกษา และสมาคมกีฬาวอลเลย์บอล แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะด้านผฝู้ ึกสอนท่ีต้องท�ำทีมให้ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขัน ดงั นน้ั ผฝู้ กึ สอนจึงตอ้ งศกึ ษาหาความรคู้ วามเขา้ ใจตามหลักสตู รการฝึกอบรม ซ่ึงประกอบด้วย - ประวตั คิ วามเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล - หลักการเปน็ ผ้ฝู ึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล - การเสรมิ สร้างสมรรถภาพท่เี กยี่ วกับกีฬาวอลเลย์บอล คูม่ ือผฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 3

- การฝกึ ซอ้ มดา้ นร่างกายส�ำหรับนักกฬี าวอลเลยบ์ อล - วทิ ยาศาสตร์การกฬี าและเทคโนโลยีทางการกฬี ากบั การพัฒนานกั กีฬาวอลเลย์บอล - การปฐมพยาบาลการบาดเจบ็ จากการกฬี า - การเสริ ฟ์ - การเล่นลูกสองมือบนหรอื การเซต - การตบ - การสกัดก้นั - กติกาที่ควรทราบ - ตัวรับอิสระ - มนิ ิวอลเลยบ์ อล - การเล่นทีม-แขง่ ขัน - การทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบตั ิ ระยะเวลาในการฝกึ อบรม ใช้เวลาในการฝึกอบรม จ�ำนวน 7 วนั รวม 44 ช่วั โมง - ภาคทฤษฎี 12 ชัว่ โมง - ภาคปฏบิ ัติ 32 ช่ัวโมง คณุ สมบัตแิ ละบทบาทหนา้ ท่ีของวทิ ยากร และผชู้ ่วยวิทยากร - ผู้ทผ่ี า่ นการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรหรือสมาคมกฬี าวอลเลยบ์ อลใหก้ ารรบั รอง คณุ สมบตั ิของผู้เขา้ รบั การฝึกอบรม 1. ตอ้ งมอี ายุไมต่ ่�ำกวา่ 18 ปี 2. ตอ้ งท�ำหน้าที่เป็นผู้ฝกึ สอนทมี ใดทีมหนึง่ 3. วุฒกิ ารศกึ ษาไม่ต่ำ� กว่ามธั ยมศึกษาตอนปลาย 4 คมู่ อื ผูฝ้ ึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate

วัสดอุ ุปกรณ์ทจ่ี �ำเปน็ ตอ้ งใช้ในการฝึกอบรม - ยิมเนเซยี ม มสี นามวอลเลย์บอลพร้อมเสา นวมหมุ้ เสา ตาข่าย เสาอากาศ - ลูกวอลเลยบ์ อล จ�ำนวน 40 ลูก พร้อมตะกร้าใส่ลกู บอล - หอ้ งส�ำหรบั ใชอ้ บรมภาคทฤษฎี - โทรทศั น์ - เคร่ืองเลน่ Video/VCD - เคร่อื งฉาย Overhead/LCD/Profector, Monitor การประเมินผล - มเี วลาในการฝกึ อบรม อยา่ งน้อย 80% - ภาคทฤษฎี สอบข้อเขียน ผ่าน 60% - ภาคปฏบิ ัติ ผ่าน 60 % รายละเอียดประกอบหลกั สูตรการฝกึ อบรมผู้ฝกึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล หัวขอ้ เนอ้ื หา ประวัติความเป็นมาของกฬี าวอลเลยบ์ อล ระยะเวลา 1.30 ชว่ั โมง ขอบขา่ ยเนือ้ หา ความเปน็ มาของกฬี าวอลเลย์บอลตง้ั แต่ตน้ จนถงึ ปัจจบุ ัน เน้ือหา 1. ประวัติความเป็นมาของกฬี าวอลเลยบ์ อล 2. ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย กิจกรรม การบรรยาย การอภปิ ราย-การซักถาม ส่ือและอุปกรณ ์ - วีดีทัศน์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - เคร่ืองฉายข้ามศรี ษะ - พาวเวอรพ์ อยท์ คมู่ อื ผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate 5

หวั ข้อเนือ้ หา หลักการเป็นผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล ระยะเวลา 1.30 ช่วั โมง ขอบขา่ ยเน้ือหา กฬี าวอลเลยบ์ อลจะประสบความส�ำเรจ็ ไดถ้ า้ มกี ารบรหิ ารจดั การ นกั กฬี าใหเ้ หมาะสมและนกั กฬี าไดแ้ สดงความสามารถเตม็ ท่ี เนอื้ หา - หลกั การเปน็ ผ้ฝู ึกสอนที่ดี - ผฝู้ ึกสอนกบั จติ วิทยาการกีฬา กิจกรรม การบรรยาย การอภปิ ราย-การซักถาม สือ่ และอุปกรณ ์ - วดี ที ศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - เครือ่ งฉายข้ามศีรษะ - พาวเวอรพ์ อยท์ หวั ข้อเนือ้ หา การเสริมสรา้ งสมรรถภาพทเี่ ก่ยี วขอ้ งกบั กฬี าวอลเลยบ์ อล ระยะเวลา 2 ช่ัวโมง ขอบขา่ ยเนอ้ื หา การสร้างสมรรถภาพของมนุษย์ท่ีสามารถท�ำให้เกิด ความสัมพันธ์การเล่นเป็นอยา่ งดี เล่นวอลเลยบ์ อลได้ดี เน้อื หา - สมรรถภาพทางกาย - สมรรถภาพทางกลไก - สมรรถภาพทางกลไกท่วั ไป กิจกรรม บรรยาย-สาธติ ปฏบิ ตั ิ สอ่ื และอปุ กรณ์ - วดี ีทศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย 6 ค่มู อื ผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

หัวข้อเนอื้ หา การฝกึ ซอ้ มด้านรา่ งกายส�ำหรับนักกีฬาวอลเลยบ์ อล ระยะเวลา 1.30 ชว่ั โมง ขอบข่ายเนอื้ หา การสรา้ งสมรรถภาพดา้ นรา่ งกายในการเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อล ไดอ้ ยา่ งมี ประสิทธภิ าพ เน้ือหา - ความทนทาน - ก�ำลงั (ความแขง็ แรงแบบเรว็ ) - ความแข็งแรงสงู สุด - ความคลอ่ งตวั - ความเรว็ ความออ่ นตัว กิจกรรม บรรยาย-สาธติ ปฏบิ ตั ิ สอ่ื และอุปกรณ์ - วีดที ัศน์ - หอ้ งเวทฮ์ เทรนน่ิง (weight training room) หัวข้อเนื้อหา วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬากับการพัฒนา นกั กฬี าวอลเลยบ์ อล ระยะเวลา 1.30 ชัว่ โมง ขอบขา่ ยเนอ้ื หา การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ในการท�ำสถิติ การแขง่ ขนั และระดับนานาชาติใช้ระบบ VIS (Volleyball Information System) เนอ้ื หา วิทยาศาสตร์การกีฬาและเทคโนโลยีทางการกีฬากับ การเตรยี มนักกฬี าวอลเลย์บอล ประกอบดว้ ย - สรรี วทิ ยา - ชวี กลศาสตร์กบั การกีฬา - จิตวิทยาการกฬี า - โภชนาการกีฬา - เวชศาสตรก์ ารกีฬา กิจกรรม บรรยาย-การสาธติ ปฏิบัติ สอ่ื และอุปกรณ์ - วีดที ัศน์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - เครอื่ งฉายข้ามศรี ษะ - พาวเวอร์พอยท์ คู่มือผ้ฝู ึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate 7

หวั ขอ้ เนอื้ หา หลกั ทวั่ ไปของการปฐมพยาบาลและการบาดเจ็บจากการกฬี า ระยะเวลา 1.30 ชวั่ โมง ขอบข่ายเนอื้ หา การให้ความช่วยเหลือและป้องกันการบาดเจ็บของนักกีฬา ก่อนส่งเข้ารกั ษาตอ่ ไป เนอ้ื หา - การบาดเจบ็ ของกลา้ มเนือ้ - การบาดเจบ็ ของขอ้ ต่อ กิจกรรม บรรยาย-อภปิ ราย ซักถาม ส่ือและอปุ กรณ ์ - วดี ที ศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - เครอื่ งฉายขา้ มศีรษะ - พาวเวอร์พอยท์ หวั ขอ้ เน้อื หา การเสริ ฟ์ 3.30 ชว่ั โมง การเสริ ฟ์ เปน็ การเรม่ิ ตน้ ขน้ั แรกของการเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อล ระยะเวลา ถา้ การเสริ ์ฟมปี ระสิทธภิ าพดที �ำให้ฝ่ายรบั ลูกยากเปิดเกมรกุ ขอบขา่ ยเนือ้ หา ไม่ได้ โอกาสท่ีฝ่ายเสิร์ฟจะรุกกลับได้ และได้คะแนนที่เกิด จากการเสิรฟ์ ทม่ี ปี ระสิทธิภาพดว้ ย - การเสริ ์ฟลกู มอื ลา่ ง - การเสิร์ฟลกู มือบน เนื้อหา การบรรยาย-การสาธติ การปฏบิ ัติ กิจกรรม - วดี ีทศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย สือ่ และอปุ กรณ ์ - ลูกวอลเลยบ์ อลพร้อมตะกร้า - ยมิ สนามฝกึ อบรม 8 ค่มู อื ผูฝ้ ึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate

หวั ขอ้ เนอ้ื หา การเลน่ ลกู สองมอื ลา่ ง ระยะเวลา 3.30 ชวั่ โมง ขอบข่ายเน้อื หา การเลน่ ลกู สองมอื ลา่ งเปน็ ทกั ษะพน้ื ฐานทน่ี กั กฬี าวอลเลยบ์ อล ต้องฝึกให้ถูกต้อง เพ่ือให้เกิดความสามารถในการเป็นผู้เล่น กีฬาวอลเลยบ์ อลท่ีดี เนื้อหา - การจับมอื - การรบั ลกู เสริ ฟ์ - การรบั ลูกตบ กจิ กรรม อธบิ าย-สาธติ การปฏิบตั ิ สือ่ และอปุ กรณ์ - วดี ีทัศน์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - ลูกวอลเลยบ์ อลพรอ้ มตะกรา้ - ยิมสนามฝึกอบรม หัวขอ้ เนอ้ื หา การเล่นลูกสองมือบนหรือการเซต ระยะเวลา 3 ชัว่ โมง ขอบข่ายเน้อื หา ตัวเซตเป็นหัวใจส�ำคัญของทีมท่ีจะส่งบอลให้เพ่ือนร่วมทีม ท�ำการรุกท�ำคะแนนได้ เนอื้ หา - การเซตบอลหัวเสา - การเซตลูกเรว็ กจิ กรรม ศึกษาจาก VCD สาธิต ฝึกปฏิบัติ ส่อื และอุปกรณ ์ - วดี ที ศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - ลูกวอลเลย์บอลพร้อมตะกร้า - ยมิ สนามฝกึ อบรม คู่มอื ผู้ฝึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate 9

หัวขอ้ เนอื้ หา การตบ 3.30 ชว่ั โมง ในการแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อลถา้ ทมี มตี วั ตบทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ ระยะเวลา จะท�ำใหท้ ีมประสบความส�ำเร็จในการแขง่ ขัน ขอบข่ายเนื้อหา - การตบลกู หวั เสา - การตบลกู เรว็ เนอื้ หา ศกึ ษาจาก VCD สาธิต กจิ กรรม ฝกึ ปฏบิ ตั ิ - วดี ที ัศน์ - เอกสารประกอบการบรรยาย สอ่ื และอุปกรณ์ - ลกู วอลเลยบ์ อลพร้อมตะกรา้ - ยมิ สนามฝึกอบรม หัวข้อเน้ือหา การสกัดก้ัน 3.30 ชั่วโมง การเล่นลกู หนา้ ตาขา่ ยเพอ่ื ปอ้ งกนั มใิ ห้คตู่ อ่ สู้รกุ ได้รนุ แรง ระยะเวลา - การสกดั กนั้ คนเดียว ขอบขา่ ยเนื้อหา - การสกดั กั้นเปน็ กลมุ่ เนื้อหา ศึกษาจาก VCD สาธิต กจิ กรรม ฝกึ ปฏิบตั ิ - วีดที ัศน์ - เอกสารประกอบการบรรยาย ส่อื และอุปกรณ ์ - ลกู วอลเลยบ์ อลพรอ้ มตะกร้า - ยิมสนามฝึกอบรม 10 คู่มอื ผูฝ้ ึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

หวั ขอ้ เนื้อหา กตกิ าท่คี วรทราบ ระยะเวลา 1.30 ชว่ั โมง ขอบข่ายเน้อื หา นักกีฬาต้องรู้วิธีการเล่นและมารยาทของการเป็นนักกีฬา วอลเลยบ์ อลที่ดี เนื้อหา - กตกิ าการแข่งขนั กจิ กรรม การบรรยาย อภปิ ราย-ซกั ถาม สาธติ -ปฏบิ ัติ สื่อและอปุ กรณ ์ - วีดที ศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - เครอื่ งฉายขา้ มศีรษะ - พาวเวอร์พอยท์ หวั ขอ้ เน้อื หา ตัวรบั อสิ ระ 1.30 ชั่วโมง ตัวรับอิสระเป็นผู้เล่นแดนหลัง รับลูกบอลจากการเสิร์ฟ ระยะเวลา การรุกจากฝ่ายตรงข้ามเพ่ือส่งลูกให้ตัวเซต ท�ำการเซต ขอบข่ายเนื้อหา เพอ่ื งา่ ยตอ่ การรุกในการท�ำคะแนน - การรบั ลูกเสริ ฟ์ - การรับลกู ที่รุนแรง เน้ือหา ศึกษาจาก VCD สาธติ กจิ กรรม ฝึกปฏบิ ัติ - วีดีทศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย ส่ือและอปุ กรณ ์ - ลูกวอลเลยบ์ อลพรอ้ มตะกร้า - ยมิ สนามฝกึ อบรม คู่มอื ผ้ฝู กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate 11

หัวข้อเน้อื หา มินวิ อลเลย์บอล ระยะเวลา 3.30 ชว่ั โมง ขอบข่ายเนื้อหา การฝกึ เลน่ ทมี เบอ้ื งตน้ เพอ่ื พฒั นาไปสกู่ ารแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อล ทเ่ี ต็มรูปแบบต่อไป เนอ้ื หา - วอลเลย์บอลตามสวนสาธารณะ - มินิวอลเลยบ์ อล กจิ กรรม สาธิต การปฏบิ ัติ สอ่ื และอุปกรณ์ - วดี ที ศั น์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - ลกู วอลเลยบ์ อลพรอ้ มตะกร้า - ยิมสนามฝึกอบรม หวั ข้อเนื้อหา การเลน่ ทมี -แข่งขัน ระยะเวลา 6.30 ช่วั โมง ขอบขา่ ยเนอื้ หา การฝกึ ทกั ษะตา่ งๆ เพอ่ื ประกอบการเลน่ ทมี ตามต�ำแหนง่ ตา่ งๆ ในการแขง่ ขันกีฬาวอลเลยบ์ อล เนอ้ื หา - การเล่นเป็นทมี ในรูปแบบการรุก การรับ - การแข่งขนั โดยการแบ่งกลมุ่ แข่งขนั กจิ กรรม สาธติ การปฏิบตั ิ สือ่ และอปุ กรณ ์ - วีดที ัศน์ - เอกสารประกอบการบรรยาย - ลูกวอลเลยบ์ อลพรอ้ มตะกรา้ - ยมิ สนามฝกึ อบรม 12 คมู่ อื ผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

บ ทท่ี 1 ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลยบ์ อล ปี ค.ศ. 1895 กีฬาวอลเลย์บอล เริ่มขึ้นโดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) มีสมาคม Y.M.C.A (Young Men’s Christian Association) เมืองฮอลโยค (Holyoke) มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) โดยเขาพยายามจัดกิจกรรมสันทนาการ ให้กับสมาชิกเขาคิดค้นเกมต่างๆ ในท่ีสุดก็หันมาทางด้านกีฬาเทนนิส (Tennis) ซ่ึงต้องใช้แร๊กเกต ลูกบอลและตาข่ายเป็นอุปกรณ์การเล่น โดยน�ำเอายางในของลูกบาสเกตบอลมาใช้มือตีเล่น แทนไมแ้ รก็ เกตใหข้ า้ มตาขา่ ย ซง่ึ สงู 6 ฟตุ 6 นวิ้ แตเ่ นอ่ื งจากลกู บอลมนี ำ้� หนกั เบา ท�ำใหก้ ารเคลอ่ื นท่ี ของลูกบอลช้า เขาจึงหันมาใช้ลูกบาสเกตบอลแทน ซ่ึงมีน�้ำหนักมากเกินไปอีก แต่ก็ยังคงใช้เล่น ไปกอ่ นเรื่อยๆ อย่างไมม่ ีกฎเกณฑ์อะไร วิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) 13 คู่มอื ผฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate

ประวัตขิ องสหพนั ธว์ อลเลย์บอลนานาชาติ ปี ค.ศ. 1895 นายวิลเลยี ม จี มอรแ์ กน (William G.Morgan) ไดค้ ิดค้นเกมการเลน่ วอลเลย์บอลข้ึนที่สมาคม Y.M.C.A. ในเมืองโฮลยอค มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใชช้ อ่ื มนิ โตเนต (Mintonette) ปี ค.ศ. 1896 ศาสตราจารย์อลั เฟรด ที ฮอลสเตด (Dr.Alfred T.Halstead) ได้เสนอ ใหเ้ ปลี่ยนชอ่ื จากมนิ โตเนต เปน็ วอลเลยบ์ อล ปี ค.ศ. 1900 ประเทศแคนาดาได้พัฒนากีฬาวอลเลย์บอลเพ่ือเป็นกิจกรรมนันทนาการ ปี ค.ศ. 1908 นายแฟรงกนิ เอช บราวน์ (Frankiln H.Brown) ไดน้ �ำกฬี าวอลเลยบ์ อล เขา้ ไปเผยแพรใ่ นประเทศฟลิ ปิ ปนิ ส์ และศาสตราจารยเ์ จ ฮาวารด์ โครเกอร์ ไดน้ �ำกฬี าวอลเลยบ์ อล เข้าไปเผยแพรใ่ นประเทศจีน ปี ค.ศ. 1913 ไดม้ กี ารบรรจกุ ฬี าวอลเลยบ์ อลเขา้ ในการแขง่ ขนั กฬี าภาคพนื้ ตะวนั ออกไกล ครงั้ ท่ี 1 ณ กรงุ มะนลิ า ประเทศฟิลิปปินส์ ปี ค.ศ. 1918 ได้ก�ำหนดใหใ้ ช้ผู้เลน่ ข้างละ 6 คน ปี ค.ศ. 1922 ไดก้ �ำหนดกตกิ าใหแ้ ต่ละทีมเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และได้มกี ารก่อต้งั สมาคมวอลเลย์บอลและบาสเกตบอลขน้ึ เปน็ ครั้งแรกในประเทศเชคโกสโลวาเกยี ปี ค.ศ. 1928 มกี ารกอ่ ตงั้ สมาคมวอลเลยบ์ อลขนึ้ ในประเทศสหรฐั อเมรกิ า มกี ารจดั การแขง่ ขนั กฬี าวอลเลย์บอลชงิ ชนะเลิศแหง่ ประเทศสหรฐั อเมริกา ครั้งที่ 1 ท่ี Brooklyn Central Y.M.C.A. ปี ค.ศ. 1933 ไดบ้ รรจุกฬี าวอลเลย์บอลหญงิ ในการแข่งขนั กีฬา Central American และ Caribbean Game ใน San Salvador ปี ค.ศ. 1934 มีการจัดต้ังคณะกรรมการกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติเป็นคร้ังแรก ภายใต้สหพนั ธแ์ ฮนด์บอล ปี ค.ศ. 1946 ประเทศโปแลนด์ ฝรง่ั เศส เชคโกสโลวาเกยี สหรฐั อเมรกิ า สหภาพโซเวยี ต รสั เซียและโรมาเนีย ได้ร่วมกนั ก่อตงั้ คณะกรรมการที่ด�ำเนนิ การดว้ ยตนเองข้ึนครง้ั แรก ปี ค.ศ. 1947 14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติข้ึนใน กรงุ ปารสี ประเทศฝรั่งเศส และไดเ้ ลอื กนายพอล ลิบอรด์ (Paul Libaud) เป็นประธานกรรมการ โดยมปี ระเทศทรี่ ว่ มกนั จดั ตง้ั ประกอบดว้ ย สหรฐั อเมรกิ า ฝรงั่ เศส เชคโกสโลวาเกยี โปแลนด์ อยี ปิ ต์ อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี บราซิล อุรุกวัย ยูโกสลาเวีย (อิสราเอล และเลบานอนไดเ้ ขา้ ร่วมในปี ค.ศ. 1949) ปี ค.ศ. 1948 การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 1 ประเภทชายที่กรุงโรม ระหวา่ งวนั ท่ี 24-26 กนั ยายน 14 คู่มือผฝู้ ึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate

ปี ค.ศ. 1949 - คณะกรรมการโอลมิ ปิกสากลได้รบั กีฬาวอลเลย์บอลซง่ึ ไม่ใชก่ ีฬาท่ีอยู่ ในกีฬาโอลมิ ปกิ - การแข่งขันชงิ แชมป์โลก ประเภททีมชาย คร้ังแรกท่ี Prague - การแขง่ ขนั ชิงแชมปย์ โุ รป ประเภททมี หญิง ครงั้ แรกท่ี Prague - มกี ารใชร้ ะบบการรกุ 3 คน และมกี ารลำ้� แดนของตวั เซตทอี่ ยแู่ ดนหลงั ปี ค.ศ. 1951 อนญุ าตใหม้ อื สามารถลำ้� เหนอื ตาขา่ ยได้ ภายใตเ้ งอ่ื นไขคือการสกัดกนั้ ปี ค.ศ. 1952 การแขง่ ขนั ชงิ แชมปโ์ ลก ครัง้ ที่ 1 ประเภททีมหญิง ปี ค.ศ. 1955 - กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าใน “แพนอเมริกันเกม คร้ังท่ี 2” ที่เม็กซโิ ก - นายมาซาเอชิ นิชิเคโอ และนายยูตากะ เมดา จากประเทศญ่ีปุ่น ไดจ้ ัดต้ังสหพนั ธว์ อลเลยบ์ อลแหง่ ทวปี เอเชยี ขึ้น ปี ค.ศ. 1956 จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกในเวลาเดียวกัน เปน็ คร้ังแรกที่ปารีส ประเทศฝร่งั เศส โดยมีทมี ชาย 24 ทมี และทมี หญิง 17 ทมี ปี ค.ศ. 1957 คณะกรรมการโอลมิ ปกิ สากลไดม้ กี ารประชมุ ทเี่ มอื งโซเฟยี ประเทศบลั แกเรยี และรบั กฬี าวอลเลยบ์ อลเขา้ เปน็ กฬี าชนดิ หนงึ่ ในกฬี าโอลมิ ปกิ และรบั วา่ สหพนั ธว์ อลเลยบ์ อลนานาชาติ เป็นองคก์ รกฬี าสากลเมื่อ 24 กันยายน ปี ค.ศ. 1961 คณะกรรมการโอลมิ ปกิ สากลไดม้ กี ารประชมุ ทก่ี รงุ เอเธนส์ ใหป้ ระเทศญป่ี นุ่ เปน็ เจา้ ภาพจดั การแขง่ ขนั กฬี าโอลมิ ปกิ เกม และไดบ้ รรจกุ ฬี าวอลเลยบ์ อลเขา้ เปน็ กฬี าชนดิ หนง่ึ ในการ แขง่ ขันกีฬาโอลมิ ปกิ ท่จี ัดขึ้นที่กรงุ โตเกียวด้วย ปี ค.ศ. 1963 สหพนั ธว์ อลเลยบ์ อลแหง่ ทวปี ยโุ รปไดจ้ ดั ตงั้ คณะกรรมการในโซนของยโุ รป ปี ค.ศ. 1964 - กฬี าวอลเลยบ์ อลชาย-หญงิ ไดถ้ กู บรรจเุ ขา้ ในการแขง่ ขนั กฬี าโอลมิ ปกิ เปน็ ครงั้ แรกทจ่ี ดั ขน้ึ ทก่ี รงุ โตเกยี ว ประเทศญปี่ นุ่ (เหรยี ญทองหญงิ ไดแ้ ก่ ทมี ญป่ี นุ่ เหรยี ญทองชาย ไดแ้ ก่ ทีมสหภาพโซเวียตรัสเซยี ) - ไดม้ กี ารปรบั ปรงุ กตกิ าการสกดั กน้ั ใหม่ (อนญุ าตใหม้ อื ทง้ั สองลำ้� เหนอื ตาขา่ ย และอนญุ าตให้ถูกลูกขณะสกัดกน้ั เกินกว่า 1 ครั้งได้) ปี ค.ศ. 1965 - การแขง่ ขนั เวลิ ดค์ พั ชาย ครง้ั ท่ี 1 ท่กี รุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์ - มีการจัดตั้งคณะกรรมการในโซนแอฟรกิ าข้นึ ปี ค.ศ. 1966 - Dr.Roben Acosta ได้จัดต้ังคณะกรรมการโซนอเมริกากลาง และ โซนคาริเบยี นขึ้น ปี ค.ศ. 1968 สหรฐั อเมรกิ าและแคนาดาไดเ้ ขา้ รว่ มโซนอเมรกิ ากลาง เพอื่ จดั ตงั้ สหพนั ธ์ วอลเลยบ์ อลแหง่ Norceca ตามข้อเสนอของ Dr.Ruben Acosta คมู่ ือผู้ฝกึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 15

ปี ค.ศ. 1971 ได้มีการจัดหลักสูตรผู้ฝึกสอนระดับนานาชาติข้ึนคร้ังแรก โดยสมาคม วอลเลยบ์ อลแหง่ ประเทศญป่ี นุ่ ภายใตก้ ารด�ำเนนิ งานของ Mr.Yutaka Maeda และ Mr.Hiroshi Toyoda ปี ค.ศ. 1972 สหพนั ธ์วอลเลยบ์ อลทงั้ 5 ทวีป ไดจ้ ัดตง้ั คณะกรรมการฝา่ ยแขง่ ขันกฬี า ของแตล่ ะทวปี ขึน้ โดยการรบั รองโดยสหพนั ธข์ องแตล่ ะทวีป ปี ค.ศ. 1973 การแข่งขนั กีฬาวอลเลยบ์ อลเวิลดค์ พั หญิง คร้งั ท่ี 1 ท่ปี ระเทศอรุ กุ วยั ปี ค.ศ. 1974 มกี ารถา่ ยทอดสดเปน็ ครง้ั แรกในการแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อลชาย-หญงิ ชิงแชมป์โลกจากประเทศเมก็ ซโิ กไปยงั ประเทศญปี่ นุ่ และประเทศอ่ืนๆหลายประเทศ ปี ค.ศ. 1975 - มกี ารจัดประชมุ และสง่ เสริมมนิ ิวอลเลยบ์ อลอ่นื ที่ประเทศสวีเดน - มกี ารจดั การแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อลหญงิ ชงิ ชนะเลศิ แหง่ ทวปี แอฟรกิ า ทีเ่ มอื งดากา ประเทศเซเนกลั ปี ค.ศ. 1976 Dr.Ruben Acosta ได้คิดค้นระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก เพ่ือใช้ใน การแข่งขนั กีฬาโอลมิ ปิกเกมที่มอนทรลี และในท�ำนองเดียวกนั กติกาที่อนุญาตใหเ้ ล่นได้อีก 3 คร้งั หลังการสกัดกั้นได้ถูกน�ำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมท่ีมอนทรีล ประเทศแคนาดา และการแข่งขนั ลีกอาชพี ของสหพนั ธ์วอลเลย์บอลนานาชาตไิ ด้ใช้ตาขา่ ยทีม่ คี วามยาว 9 เมตร ปี ค.ศ. 1977 การแขง่ ขนั เยาวชนอายุต�ำ่ กว่า 21 ปี ชาย-หญงิ ชงิ แชมปโ์ ลกได้เรม่ิ ข้ึน เปน็ ครง้ั แรกที่ประเทศบราซลิ ปี ค.ศ. 1980 ได้มีการพัฒนากติกาขึ้นเป็น 3 ภาษา เป็นครั้งแรก (ฝร่ังเศส อังกฤษ และสเปน) ตามผลจากการเสนอของประเทศเม็กซิโก ในการประชุมใหญ่ท่ีกรุงมอสโคว์ และ ไดม้ ีการรบั รองเกยี่ วกับนกั กีฬาอาชีพ ปี ค.ศ. 1982 ไดม้ กี ารลดแรงอดั ลมของลกู บอลจาก 0.45 เปน็ 0.40 ตารางเซนตเิ มตร ตอ่ กโิ ลกรัม ปี ค.ศ. 1984 - Dr.Ruben Acosta ได้รับเลือกให้เป็นประธานสหพันธ์วอลเลย์บอล นานาชาติแทนประธาน Pual Libaud ผกู้ อ่ ตงั้ สหพนั ธฯ์ - ส�ำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฯ ได้ย้ายจากปารีสไปยังเมืองโลซาน ประเทศสวติ เซอรแ์ ลนด์ ปี ค.ศ. 1985 คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ให้การรับรอง 5 โครงการหลักเพ่ือพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลของโลก ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta และได้มี เจตนาม่งุ หมายเพ่ือยกระดบั กีฬาวอลเลย์บอลขน้ึ สรู่ ะดับกีฬาอาชีพ ปี ค.ศ. 1987 ได้มีการจัดการแข่งขัน World Gala เป็นคร้ังแรกที่กรุงปักกิ่งและ เมืองเซี่ยงไฮ้ โดยทีมหญิงของประเทศจีนพบกับทีมดาราของโลก การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล ชายหาดชิงแชมปโ์ ลกได้จัดเป็นคร้ังแรกทป่ี ระเทศบราซิล 16 คมู่ อื ผูฝ้ ึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

ปี ค.ศ. 1990 การแข่งขัน “เวิลด์ลีก” ได้เริ่มขึ้นเป็นคร้ังแรก มีการจัดการแข่งขัน มากกว่า 20 เมือง โดยมี 8 ทีม เขา้ รว่ มแข่งขนั เพอื่ ชิงเงนิ รางวลั 1 ลา้ นเหรียญสหรัฐ ปี ค.ศ. 1992 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้เร่ิมให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล ชายหาด World Tour ข้ึนเปน็ คร้ังแรก โดยมกี ารจัดการแขง่ ขนั ทญ่ี ่ปี ุน่ เปอรโ์ ตรโิ ก บราซิล อิตาลี และออสเตรเลยี ปี ค.ศ. 1993 - สหพนั ธว์ อลเลยบ์ อลนานาชาตไิ ดก้ ลายเปน็ องคก์ รกฬี าทใี่ หญท่ สี่ ดุ ในโลก โดยมปี ระเทศสมาชกิ ถงึ 210 ประเทศ - เริม่ มกี ารแขง่ ขนั กฬี าวอลเลย์บอลหญิง “เวลิ ด์กรังปรซี ์” ขน้ึ เปน็ ครงั้ แรก โดยมี 8 ประเทศ เขา้ ร่วมการแข่งขันเพือ่ ชงิ เงินรางวลั 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี ค.ศ. 1994 - อนุญาตใหล้ กู ถกู ส่วนต่างๆของร่างกายได้ทกุ สว่ นรวมทง้ั เทา้ - ได้มีการขยายเขตเสริ ์ฟจนเตม็ เขตพนื้ ท่ี 9 เมตร - คณะกรรมการโอลมิ ปกิ สากลไดม้ กี ารประชมุ ที่ Monte Carlo ใหบ้ รรจุ กฬี าวอลเลยบ์ อลชายหาดเขา้ ในกฬี าโอลมิ ปกิ เกม 1996 มกี ารแขง่ ขนั ทมี หญงิ 16 คู่ ทมี ชาย 24 คู่ - ท่ีประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้รับรองแผนการ สง่ เสริมกฬี าวอลเลยบ์ อลปี 2001 ซ่งึ เสนอโดย Dr.Ruben Acosta เพ่อื พัฒนาทกั ษะการบรหิ าร จัดการของสมาคมแต่ละประเทศให้สามารถจัดการแข่งขันลีกอาชีพขึ้น รวมท้ังกีฬาวอลเลย์บอล ชายหาดด้วย ปี ค.ศ. 1995 ครบรอบ 100 ปี กีฬาวอลเลย์บอล จัดให้มีการเฉลิมฉลอง 100 วัน ในท่ัวโลกโดยผู้เกี่ยวขอ้ งกบั กีฬาวอลเลย์บอล ปี ค.ศ. 1996 กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดได้ถูกบรรจุเข้าในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ท่ีแอตแลนตา ปี ค.ศ. 1997 - มกี ารจดั การแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อลชายหาดชงิ แชมปโ์ ลกเปน็ ครง้ั แรก ที่ Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมรกิ า โดยมีเงนิ รางวัล 600,000 เหรยี ญสหรฐั - วอลเลย์บอลเวิลด์ลกี ได้เพม่ิ เงินรางวลั เปน็ 8 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี ค.ศ. 1998 มีการใช้ระบบการนับคะแนนแบบ “Really Point System” และ มีการยอมรับอย่างเป็นทางการให้มีการเล่น โดยใช้ตัวรับอิสระในการแข่งขันชิงแชมป์โลก ทกี่ รุงโตเกยี ว ปี ค.ศ. 1999 ทมี หญงิ ประเทศควิ บาไดร้ บั ต�ำแหนง่ ชนะเลศิ ในการแขง่ ขนั “เวลิ ดค์ พั ” เป็นครั้งที่ 4 และทีมรัสเซียชายได้รับต�ำแหน่งชนะเลิศเป็นคร้ังแรกหลังจากมีการเปล่ียนแปลง ประเทศใหม่ คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 17

ปี ค.ศ. 2000 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมท่ีเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มกี ารแขง่ ขันกฬี าวอลเลยบ์ อลชายหาด ชาย 24 คู่ หญิง 24 คู่ วอลเลยบ์ อลในร่ม ชาย 12 ทมี หญิง 12 ทมี และประเทศ Kiribati ไดเ้ ขา้ เปน็ สมาชิกล�ำดบั ที่ 218 ปี ค.ศ. 2002 - มีการประชุมใหญ่สหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติ คร้ังที่ 28 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอารเ์ จนตินา - ประเทศเยอรมนี เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลหญิง ชงิ แชมปโ์ ลก โดยมที มี เข้ารว่ ม 24 ทีม แขง่ ขนั ในเมืองต่างๆ ถึง 8 เมือง - ประเทศอารเ์ จนตนิ า เปน็ เจา้ ภาพจดั การแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อลชาย ชงิ แชมปโ์ ลก โดยมที มี เข้ารว่ ม 24 ทีม แขง่ ขันในเมืองตา่ งๆ ถึง 6 เมอื ง ปี ค.ศ. 2004 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มีการแข่งขัน กฬี าวอลเลย์บอลในรม่ ชายจ�ำนวน 12 ทมี หญิง จ�ำนวน 12 ทีม และกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ชาย จ�ำนวน 24 ทมี หญิง จ�ำนวน 24 ทมี - ทีมชนะเลศิ วอลเลย์บอลประเภททีมชาย ไดแ้ ก่ ประเทศบราซิล และ ประเภททมี หญงิ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2006 การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศ ประเภททมี ชาย ได้แก่ ประเทศบราซิล และประเภททมี หญิง ได้แก่ ประเทศรัสเซีย ปี ค.ศ. 2007 การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภททีมชาย ได้แก่ ประเทศบราซลิ และประเภททมี หญิง ไดแ้ ก่ ประเทศอิตาลี ปี ค.ศ. 2008 การแขง่ ขนั กฬี าโอลมิ ปกิ ทปี่ ระเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี ทมี ชนะเลศิ ประเภททีมชาย ไดแ้ ก่ ประเทศสหรฐั อเมริกา และประเภททีมหญิง ได้แก่ ประเทศบราซิล ปี ค.ศ. 2010 การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศ ประเภททีมชาย ไดแ้ ก่ ประเทศบราซิล และประเภททีมหญิง ไดแ้ ก่ ประเทศรัสเซีย ปี ค.ศ. 2011 การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภททีมชาย ได้แก่ ประเทศรสั เซีย และประเภททีมหญงิ ได้แก่ ประเทศอติ าลี ปี ค.ศ. 2012 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทปี่ ระเทศองั กฤษ ทมี ชนะเลศิ ประเภททมี ชาย ได้แก่ ประเทศรัสเซีย และประเภททีมหญิง ไดแ้ ก่ ประเทศบราซลิ 18 คู่มอื ผู้ฝึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate

กีฬาวอลเลย์บอลในเอเชยี ฝ่ายวิชาการ กองกีฬา กรมพลศึกษา (2535: 5-6) ได้เรียบเรียงกีฬาวอลเลย์บอล ในเอเชยี ไว้ดังน้ี ดร.เกรย์ (Dr.Gray) ผอู้ �ำนวยการพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ไดน้ �ำกฬี าวอลเลยบ์ อล เข้ามาในประเทศอนิ เดยี เมือ่ ปี ค.ศ. 1900 ต่อมาในปี ค.ศ. 1906 กีฬาวอลเลย์บอลได้เข้าสปู่ ระเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนายโรเบิร์ทสันและนายเกลีย (Robert and Gaily) ผู้อ�ำนวยการ พลศกึ ษาของสมาคม Y.M.C.A. ปี ค.ศ. 1910 นายเอลวดู เอส. บราวน์ (Elwood S. Brown) ผู้อ�ำนวยการพลศึกษา ของสมาคม Y.M.C.A. ไดน้ �ำเขา้ เผยแพรใ่ นประเทศฟลิ ปิ ปนิ ส์ และไดแ้ ผข่ ยายออกไปถงึ ประเทศตะวนั ออกไกล ปี ค.ศ. 1913 ไดม้ กี ารแขง่ ขนั กฬี าภาคพน้ื ตะวนั ออก ครงั้ ท่ี 1 ขน้ึ ทกี่ รงุ มะนลิ า ประเทศ ฟิลิปปินส์ กีฬาวอลเลย์บอลก็ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันด้วย โดยใช้ระบบการแข่งขันแบบ 16 คน ซึง่ อกี 5 ปตี ่อมา ได้เปล่ียนเป็นระบบการเลน่ 6 คน ซงึ่ คดิ โดยสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1921 ซ่ึงเป็นการแข่งขันกีฬาภาคพ้ืนตะวันออก ครั้งท่ี 5 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เปล่ยี นระบบการเล่นแบบ 16 คน มาเป็นระบบ 12 คน ปี ค.ศ. 1924 ประเทศญ่ีปุ่น ได้คิดระบบการเล่นแบบ 9 คน ซึ่งระบบน้ีได้น�ำมาใช้ ในการแขง่ ขนั ภาคพน้ื ตะวนั ออก ครง้ั ท่ี 8 ในเมอื งเซย่ี งไฮ้ ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี ในปี ค.ศ. 1927 ปี ค.ศ. 1943 นายแฟรงคลนิ เอช. บราวน์ (Franklin H. Brown) ไดน้ �ำกฬี าวอลเลยบ์ อล เข้าสหพันธ์แห่งเอเชยี ปี ค.ศ. 1951 ญปี่ ุน่ และฟลิ ิปปนิ ส์ไดเ้ ขา้ รว่ มกบั สหพนั ธ์วอลเลยบ์ อลนานาชาติ ปี ค.ศ. 1952 อินเดียและเลบานอนได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกชาย ครั้งท่ี 2 ซ่ึงจัดข้ึนท่ีกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย และทีมชาติหญิงของอินเดียได้เข้าร่วมการแข่งขัน ชงิ แชมปโ์ ลกหญิงครัง้ ที่ 1 ซง่ึ จดั ท่กี รุงมอสโกในเวลาเดยี วกัน ปี ค.ศ. 1953 ทีมมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda) แห่งประเทศญ่ีปุ่นได้เข้าร่วม การแขง่ ขนั กฬี าชิงชนะเลิศภายในประเทศสหรัฐอเมรกิ า ทเี่ มอื งโอมาฮะ และเนบรากา้ (Omaha and Nebraska) และไดม้ แี รงจงู ใจให้น�ำเอาระบบการเลน่ 6 คน เข้ามาในประเทศญีป่ นุ่ ปี ค.ศ. 1954 ได้มีการก่อต้ังสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชียขึ้นในกรุงมะนิลา ในโอกาสที่มีการแข่งขันเอเช่ียนเกมส์ คร้ังท่ี 2 ซ่ึงได้รับการสนับสนุนจากนายมาซาอิชิ นิชิกาวา (Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญป่ี นุ่ ในขณะนั้น แตอ่ ย่างไรก็ตาม มขี อ้ ผกู พนั วา่ ประเทศสมาชกิ ต้องเปน็ สมาชกิ ของสหพันธ์ ปี ค.ศ. 1955 ได้มีการจดั การแขง่ ขันชงิ ชนะเลศิ แห่งเอเชีย คร้ังที่ 1 ประเภททมี ชาย ข้ึนทกี่ รงุ โตเกียว ประเทศญ่ีปนุ่ เพือ่ เป็นท่ีระลึกแกส่ หพนั ธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย และในครงั้ นนั้ ประเทศอนิ เดียและญปี่ ุ่นเป็นผู้ชนะเลศิ ประเภท 6 คน และ 9 คน ตามล�ำดบั คูม่ อื ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 19

ปี ค.ศ. 1958 มีการจัดการแข่งขันกีฬาเอเช่ียนเกมส์ข้ึนที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในการแข่งขันประเภทหน่ึงด้วย (เฉพาะทีมชาย) ประเทศญี่ปุ่น ได้ชนะเลิศทั้งประเภท 6 คน และ 9 คน ในระหว่างการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในคร้ังน้ี ได้มีการด�ำริที่จะจัดการแข่งขันกีฬาภาคพ้ืนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เซียพเกมส์ (SEAP Games) และได้มีการประชุมกันระหว่างผู้แทนของประเทศต่างๆ ท่ีต้ังอยู่ในแถบน้ี โดยการริเร่ิมของคณะกรรมการ โอลมิ ปกิ แหง่ ประเทศไทยในปี 1949 ซง่ึ ในขอ้ ตกลงไดก้ �ำหนดใหม้ กี ารจดั การแขง่ ขนั 2 ปีตอ่ ครั้ง และ ไดพ้ จิ ารณาบรรจกุ ีฬาวอลเลยบ์ อลเขา้ ต้งั แต่การแข่งขนั กีฬาเซยี พเกมส์ คร้ังที่ 1 เปน็ ตน้ มาด้วย ปี ค.ศ. 1964 สมาคมวอลเลยบ์ อลแหง่ ประเทศเกาหลี ไดจ้ ดั การแขง่ ขนั กฬี าวอลเลยบ์ อล เยาวชนชงิ ชนะเลิศแหง่ เอเชยี (Asian Youth Games) ขน้ึ ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลใี ต้ ปี ค.ศ. 1975 จดั ใหม้ กี ารแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ครง้ั ท่ี 1 ภายใตก้ ารควบคมุ ของ สหพนั ธว์ อลเลยบ์ อลแหง่ เอเชยี ทกี่ รงุ เมลเบริ น์ ประเทศออสเตรเลยี ทมี ชนะเลศิ ทมี ชาย ไดแ้ ก่ ประเทศ ญ่ปี ่นุ ทมี ชนะเลิศทมี หญิง ได้แก่ ประเทศญี่ปนุ่ ปี ค.ศ. 1979 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและชาย คร้ังที่ 2 ที่ประเทศฮ่องกงและบาห์เรน ตามล�ำดับในเดือนธันวาคม ทีมชนะเลิศทีมชาย ได้แก่ ประเทศ สาธารณรฐั ประชาชนจนี ทีมชนะเลศิ ทีมหญงิ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 1980 จดั การแข่งขนั ชงิ ชนะเลิศแห่งเอเชีย (Junior Asian Championship) ครง้ั ที่ 1 ประเทศเกาหลี ปี ค.ศ. 1983 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ประเภททมี หญงิ และชาย ครง้ั ท่ี 3 ณ ประเทศญ่ปี นุ่ ทมี ชนะเลศิ ทีมชาย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ทมี ชนะเลศิ ทีมหญงิ ไดแ้ ก่ ประเทศญีป่ ุ่น ปี ค.ศ. 1984 จัดการแข่งขันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย (Asian Youth Games) ประเภททีมหญิง ครั้งที่ 2 ท่ีเมืองแคนเบอร์รา (Canbera) ประเทศออสเตรเลีย และประเภท ทมี ชาย ครงั้ ที่ 2 ที่เมืองริยาด (Riyadh) ประเทศซาอุดิอาระเบีย ปี ค.ศ. 1987 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี (ครง้ั ท่ี 4) ประเภททมี ชาย ทป่ี ระเทศ คเู วต และการแขง่ ขนั ประเภททมี หญงิ ทป่ี ระเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี ทมี ชนะเลศิ ทมี ชาย ไดแ้ ก่ ประเทศญ่ปี นุ่ ทีมชนะเลิศทมี หญงิ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 1989 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมหญิงและทีมชาย ทป่ี ระเทศเกาหลี และฮอ่ งกง ตามล�ำดบั ทีมชนะเลศิ ทีมชาย ไดแ้ ก่ ประเทศเกาหลีใต้ ทมี ชนะเลศิ ทมี หญิง ได้แก่ ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจีน ปี ค.ศ. 1991 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ ออสเตรเลีย ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเภททีมหญิงจัดข้ึนท่ีประเทศไทย ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 20 คู่มอื ผูฝ้ ึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate

ปี ค.ศ. 1993 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ประเภททมี ชายจดั ขนึ้ ทป่ี ระเทศไทย ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี ปี ค.ศ. 1995 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ประเภททมี ชายทปี่ ระเทศเกาหลใี ต้ ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจนี ประเภททีมหญิงจัดขึ้นทีป่ ระเทศไทย ทมี ชนะเลศิ ได้แก่ ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจีน ปี ค.ศ. 1997 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ประเภททมี ชายจดั ขน้ึ ทป่ี ระเทศกาตาร์ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจนี ปี ค.ศ. 1999 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ประเภททมี ชายจดั ขน้ึ ทป่ี ระเทศอหิ รา่ น ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเภททีมหญิงจัดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนฮอ่ งกง ทมี ชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2001 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดข้ึนที่ประเทศ เกาหลใี ต้ ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศเกาหลใี ต้ ประเภททมี หญงิ จดั ขนึ้ ทปี่ ระเทศไทย ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2003 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นท่ีประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ประเภททีมหญิงจัดข้ึนที่ประเทศ เวียดนาม ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2005 จัดการแขง่ ขันชงิ ชนะเลิศแหง่ เอเชยี ประเภททมี ชายจัดข้ึนทปี่ ระเทศไทย ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศญปี่ นุ่ ประเภททมี หญงิ จดั ขนึ้ ทป่ี ระเทศเวยี ดนาม ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจนี ปี ค.ศ. 2007 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดขึ้นที่ประเทศ อนิ โดนีเซีย ทีมชนะเลิศ ไดแ้ ก่ ประเทศออสเตรเลยี ประเภททมี หญงิ จัดข้นึ ทป่ี ระเทศไทย ทมี ชนะเลิศ ไดแ้ ก่ ประเทศญี่ปนุ่ ปี ค.ศ. 2009 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประเภททีมชายจัดข้ึนที่ประเทศ ฟลิ ปิ ปินส์ ทมี ชนะเลิศ ไดแ้ ก่ ประเทศญป่ี นุ่ ประเภททมี หญงิ จดั ขน้ึ ท่ีประเทศเวียดนาม ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ประเทศไทย ปี ค.ศ. 2011 จดั การแขง่ ขนั ชงิ ชนะเลศิ แหง่ เอเชยี ประเภททมี ชายจดั ขนึ้ ทป่ี ระเทศอหิ รา่ น ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศอหิ รา่ น ประเภททมี หญงิ จดั ขน้ึ ทป่ี ระเทศจนี ไทเป ทมี ชนะเลศิ ไดแ้ ก่ ประเทศ สาธารณรฐั ประชาชนจีน คู่มอื ผฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 21

กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย ฝา่ ยวชิ าการ กองกฬี า กรมพลศกึ ษา (2534 : 34-36) ไดเ้ รยี บเรยี งประวตั กิ ฬี าวอลเลยบ์ อล ในประเทศไทยไวอ้ ยา่ งละเอียดในหนงั สอื “ประวัติการกีฬา” ไวด้ ังน้ี กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทยน้ันไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ได้แพร่หลายเข้ามา ในปใี ดหรอื สมยั ใด แตพ่ อจะอนมุ านไดว้ า่ การเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อลไดม้ ขี น้ึ ในประเทศไทยมากกวา่ 60 ปี โดยมากเล่นเพ่ือการพักผ่อนหย่อนใจ เม่ือตั้งกรมพลศึกษาข้ึน เม่ือปี พ.ศ. 2476 กรมพลศึกษา เห็นว่าวอลเลย์บอลเป็นกีฬาท่ีนักเรียนทั้งหญิงและชายสามารถเล่นได้ จึงได้จัดให้สอนวิชานี้ข้ึนใน สถาบนั พลศึกษา ในปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล ท่านเป็นผู้ท่ีมีความช�ำนาญมากจึงได้รับการเชิญให้เป็นผู้บรรยายเก่ียว กับเทคนิควิธีการเล่นตลอดจนกติกาการแข่งขันให้ครูพลศึกษาทั่วประเทศประมาณ 100 คน ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการอบรมขึ้น และในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มี การแข่งขันกีฬาประจ�ำปีและบรรจุกฬี าวอลเลย์บอลหญิงไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก ซ่ึงในสมัย ของ น.อ.หลวงศุภชลาศัย ร.น.ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา แต่การแข่งขันไม่ใคร่เป็นที่นิยมนัก ทั้งน้ีเพราะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแต่ละบุคคล เล่นกันไปตามเร่ืองตามราวมิให้ผิดกติกา ส่วนที่จะให้มีฝีมือน้ันไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะไม่มีผู้ช�ำนาญการโดยเฉพาะมาฝึกสอนให้ จึงท�ำให้ การเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อลเสื่อมความนิยมไป แตย่ งั คงมกี ารแขง่ ขันอยู่เรื่อยๆ ทง้ั ทีป่ รมิ าณไมเ่ พิม่ ขึ้น และคณุ ภาพก็ยงั ไมด่ ีพอ ต่อมาได้ทราบกันว่า วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์นิยมเล่นกันมาก และมีฝีมืออยู่ในข้ันมาตรฐาน มีเทคนิคต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความตื่นเต้นไม่เป็นที่น่าเบ่ือหน่าย บรรดาผู้ฝึกสอนซ่ึงความจริงหาใช่ผู้ช�ำนาญการ โดยเฉพาะไม่ หากแต่สนใจและพยายามเรยี นรกู้ ารเคลอื่ นไหวจากตา่ งประเทศ น�ำมาถา่ ยทอดไปยงั ผเู้ ลน่ ท�ำใหเ้ กดิ ความสนใจในการเล่นกฬี าวอลเลย์บอลกันขึ้นอีกระยะหน่ึงและเจริญมาจนกระท่ัง ทุกวนั น ้ี ต่อมามีคณะบุคคลผู้ริเร่ิมก่อต้ังสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยชุดแรก มี 7 คน คือ 22 คมู่ ือผฝู้ ึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate

1. พลโทสุรจิต จารุเศรณี 2. นายกอง วสิ ุทธารมณ์ 3. นายสวสั ดิ์ เลขยานนท์ 4. นายเสรี ไตรรตั น์ 5. นายนิคม พลสุวรรณ 6. นายแมน พลพยุหครี ี 7. นายเฉลิม บุณยะสุนทร บุคคลท้ัง 7 คน ได้ร่วมกันประชุมวางแผนด�ำเนินการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอล แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2500 จากที่ประชุมได้มอบหมายให้ นายกอง วสิ ทุ ธารมณ์ เปน็ ผ้แู ทนไปด�ำเนินการขออนุญาตจดั ต้งั สมาคมฯ ตอ่ กระทรวงศึกษาธกิ าร ในวนั ที่ 11 กมุ ภาพนั ธ์ 2502 โดยมนี ายนาค เทพหสั ดนิ ณ อยธุ ยา ปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร เปน็ ผลู้ งนาม ในใบอนุญาตจัดต้ังสมาคมฯ มีชื่อ “สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” (Amateur Volleyball Association of Thailand = A.V.A.T.) วนั ที่ 1 มิถนุ ายน 2502 พลเอกสจุ รติ จารเุ ศรณี นายกสมาคมฯ ได้ลงนามในขอ้ บงั คบั ของ สมาคมฉบบั แรก ทก่ี �ำหนดใหม้ คี ณะกรรมการบรหิ ารเพยี ง 7 ต�ำแหนง่ และด�ำรงต�ำแหนง่ ไดส้ มยั ละ 4 ปี คณะกรรมการสมาคมฯ ชุดแรก มดี ังน้ี 1. พลเอกสุรจติ จารเุ ศรณี นายกสมาคมฯ 2. นายกอง วิสทุ ธารมณ์ อปุ นายก 3. นายแมน พลพยหุ ครี ี เหรัญญิก 4. นายเฉลิม บุณยะสุนทร เลขานุการ 5. นายสวสั ด ์ิ เลขยานนท ์ กรรมการ 6. นายเสร ี ไตรรัตน์ กรรมการ 7. นายนิคม พลสวุ รรณ กรรมการ เม่ือมีการจัดตั้งสมาคมฯ ข้ึนเป็นผลส�ำเร็จ ประเทศไทยจึงส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ในกีฬาแหลมทอง คร้ังที่ 1 ที่กรุงเทพฯ และเน่ืองจากมีประเทศท่ีส่งเข้าร่วมการแข่งขันเพียง 4 ประเทศ ทีมไทยจึงประสบความส�ำเร็จได้ชนะเลิศ แต่ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 ทีก่ รงุ ย่างกุ้ง ประเทศพม่า ทีมไทยไม่ประสบความส�ำเร็จ คู่มอื ผ้ฝู กึ สอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate 23

บ ทที่ 2 หลักสูตรการเปน็ ผู้ฝกึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล การสร้างทีมให้ประสบผลส�ำเร็จน้ันมีปัจจัยท่ีส�ำคัญหลายอย่างประกอบกัน แต่ที่นับว่า ส�ำคัญมากอย่างหนึ่งคือ ผู้ฝึกสอน ดังน้ัน เพ่ือให้เกิดความเข้าใจผู้ฝึกสอนมากข้ึน จึงจ�ำเป็น ต้องเข้าใจพน้ื ฐานของผฝู้ ึกสอนที่ส�ำคัญ 1. บทบาทและคุณสมบตั ิของผูฝ้ ึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล การท่ีผู้ฝึกสอนกีฬาจะถ่ายทอดและพัฒนาเทคนิควิธีการต่างๆ ในการฝึกนักกีฬา ใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพไดน้ น้ั ผฝู้ กึ สอนกฬี าจ�ำเปน็ ตอ้ งมพี น้ื ฐานความรคู้ วามเขา้ ใจเกยี่ วกบั พลศกึ ษาหรอื กฬี า โดยเฉพาะอย่างย่ิงในกีฬาแต่ละชนิดแต่ละประเภท การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาโดยไม่มีพื้นฐานความรู้ ทางดา้ นพลศกึ ษาหรอื กฬี ามาเลย เปรยี บเสมอื นการสรา้ งบา้ นโดยไมม่ กี ารวางรากฐานนนั่ เอง ถงึ แมว้ า่ จะสรา้ งไดส้ วยงามปานใดกต็ าม กจ็ ะไมม่ คี วามมน่ั คงเทา่ ทค่ี วร บทบาทและคณุ สมบตั ขิ องผฝู้ กึ สอนกฬี า ท่ีส�ำคญั ได้แก ่ 1.1 ผู้ฝึกสอนกีฬาจะต้องศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ส่ิงต่างๆ เพ่ือใช้ในการส่งเสริมและ พัฒนานกั กฬี าให้มีความสามารถสูงสุดในกีฬาชนิดและประเภทนนั้ ๆ 1.2 ผฝู้ กึ สอนกฬี าตอ้ งสามารถเขา้ ใจถงึ ความตอ้ งการดา้ นตา่ งๆ ของนกั กฬี าไดเ้ ปน็ อยา่ งดี 1.3 ผู้ฝึกสอนกฬี าตอ้ งเปน็ คนทมี่ ีอารมณร์ า่ เริงแจม่ ใส สามารถสรา้ งบรรยากาศทสี่ นกุ สนาน ให้กบั นักกฬี า ซ่งึ ตอ้ งท�ำการฝกึ อย่างหนักตลอดเวลาได้ 1.4 ผูฝ้ กึ สอนกีฬาตอ้ งสามารถเผชิญกบั สถานการณห์ ลายๆ อยา่ งไดเ้ ปน็ อย่างดี มจี ิตใจ เข้มแขง็ ไมอ่ ่อนไหวงา่ ย 1.5 ผฝู้ กึ สอนกฬี าตอ้ งมคี วามยตุ ธิ รรม ไมล่ �ำเอยี ง หรอื เลอื กทรี่ กั มกั ทช่ี งั ในนกั กฬี าคนหนง่ึ คนใดโดยเฉพาะ 1.6 ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องพยายามทุ่มเททุกอย่างให้กับการฝึก เพื่อพัฒนานักกีฬาให้เป็น นกั กฬี าท่ีดใี นทุกด้าน 24 คู่มือผูฝ้ ึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

1.7 ผฝู้ กึ สอนกฬี าจะตอ้ งมคี วามสามารถหลายๆ ดา้ น โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ตอ้ งมคี วามเชยี่ วชาญ เปน็ พิเศษในกีฬาประเภทน้ันๆ เพือ่ จะได้เป็นท่ีเชอื่ ถือและยอมรับของนักกีฬา 1.8 ผฝู้ กึ สอนกฬี าตอ้ งมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจทางดา้ นเทคนคิ และวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี าเปน็ อยา่ งดี เพอ่ื ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดข้ึนจากการฝึกและการแขง่ ขนั 1.9 ผฝู้ กึ สอนกฬี าจะตอ้ งมคี วามรบั ผดิ ชอบสงู มคี วามสามารถในการวางแผนใชค้ วามคดิ และมีเหตุผล 1.10 ผู้ฝึกสอนกีฬานอกจากจะมีความรู้ทางทฤษฎีอย่างดีแล้ว จะต้องสามารถสาธิต ใหน้ กั กีฬาเหน็ ล�ำดบั ขนั้ ตอนตา่ งๆ ได้เปน็ อยา่ งดดี ว้ ย 1.11 ผฝู้ ึกสอนกฬี าจะต้องเป็นผู้ท่มี ีมนษุ ยสัมพันธ์ท่ีดี ทัง้ กบั ผ้รู ่วมงานและคนอ่นื ๆ จากบทบาทและคุณสมบัติของผู้ฝึกสอนกีฬาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ฝึกสอนกีฬาจะต้อง เป็นผ้ทู ่ีสามารถท�ำให้นกั กีฬาแต่ละคนเกดิ ความรู้ ทักษะ มีความเฉลยี วฉลาดในการใชเ้ ทคนิคตา่ งๆ เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายท่ีวางไว้ในขณะท�ำการแข่งขัน ตลอดจนสามารถน�ำประสบการณ์เหล่าน้ัน ไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันด้วย ซ่ึงเป็นบทบาทและคุณสมบัติทั่วๆ ไปของผู้ฝึกสอนกีฬา ส�ำหรับ กฬี าวอลเลย์บอลผูฝ้ กึ สอนถอื ว่าเปน็ หัวใจของการสร้างทีม ซง่ึ มหี นา้ ที่ต้องด�ำเนนิ การ หน้าท่ีของผู้ฝึกสอนไม่ใช่เพียงเป็นผู้ส่งต�ำแหน่งให้กับผู้ตัดสินและไม่ใช่มีหน้าท่ีเพียงเพ่ือ ส้ินสุดการเล่นลูกสุดท้ายในแต่ละนัดเท่านั้น การบริหารและการจัดการของทีมให้ต่อเนื่องและ สอดคล้องกับการเริ่มการแข่งขันเป็นส่ิงที่ผู้ฝึกสอนจะต้องเตรียมการ เพ่ือให้ทีมบรรลุเป้าหมาย ในระยะส้ันหรือการพัฒนาการด้านเทคนิค การจัดการ และการควบคุมขบวนการให้ประสบผล ตามเป้าหมายนั้น จะต้องรู้และเข้าใจกลวิธีการเล่นของทีมเข้าใจเรื่องสภาพร่างกายและจิตใจ (ทงั้ ของทมี ตนเองและฝา่ ยตรงขา้ ม) และมคี วามสมั พนั ธภ์ ายในทมี ผฝู้ กึ สอนจะตอ้ งมขี อ้ มลู เกย่ี วกบั กลยุทธ์และกลวิธีการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล เข้าใจจิตวิทยาและสังคมวิทยาเป็นอย่างดี ตลอดจน มีความรคู้ วามเข้าใจเรอื่ งกตกิ าการแขง่ ขันเป็นอย่างดี 2. การวางแผนการแขง่ ขัน ในการวางแผนการแข่งขันนั้นจะเป็นการวางแผนอย่างมีระบบ มีการจัดการเก่ียวกับ การฝึกซ้อมเพื่อให้ได้มาซ่ึงความสามารถของนักกีฬา ข้ึนอยู่กับปัจจัยส�ำคัญที่สามารถแยกออก ได้เป็น 3 กลุ่ม ไดแ้ ก่ คู่มอื ผ้ฝู กึ สอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate 25

1. สภาพการแขง่ ขนั ได้แก่ - เวลาการแขง่ ขนั รายวนั - ขนาดของสนามแขง่ ขัน - แสงสวา่ ง - ความสงู ของเพดาน - ระบบการแขง่ ขนั - ก�ำหนดการแขง่ ขนั - ระดบั มาตรฐานของทมี ตรงข้าม - ระดับมาตรฐานของทีมตัวเอง - ลกั ษณะของผชู้ ม - สภาพภมู ิอากาศ - รปู แบบของอาหารการกนิ ส�ำหรบั เรอ่ื งของสภาพการแขง่ ขนั ผฝู้ กึ สอนควรจะตอ้ งทราบลว่ งหนา้ ในระยะเวลาทน่ี าน เพียงพอส�ำหรับการเตรยี มทีมเพือ่ เข้าแขง่ ขัน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ เรอื่ งของ สภาพอากาศ เวลา และอาหารการกนิ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความคนุ้ เคยมากทสี่ ดุ การเตรยี มทมี เพอ่ื เขา้ แขง่ ขนั ควรจะใหใ้ กล้เคียงกันสภาพของการแขง่ ขันมากทส่ี ุด 2. การสอดแนม (Scouting) การสอดแนมเพื่อหาข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ควรจะท�ำล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้การวางแผน การแข่งขันได้ดีข้ึน ข้อมูลที่ได้จากการสอดแนมควรมีรายละเอียดอย่างชัดเจน เพ่ือใช้เวลาในการ ศึกษาและวิเคราะห์เก่ียวกับเทคนิคและแทคติคของฝ่ายตรงข้าม ทั้งนี้ถ้าความสามารถในทกั ษะ ของทมี เรายงั ไมเ่ พยี งพอ โอกาสชนะทมี คแู่ ขง่ ขนั ทม่ี คี วามแนน่ อนเหนอื กวา่ เรากเ็ ปน็ ไปไดย้ าก แตก่ ค็ วร จะเป็นประโยชน์ในโอกาสหน้า ไม่ใช่เพียงแค่ระยะเวลาช่วงส้ันๆ จะสามารถแก้ไขทีมให้เกิดความ ส�ำเร็จได้ ข้อมลู ทีไ่ ดจ้ ากการสอดแนมฝ่ายตรงข้าม ควรจะประกอบดว้ ย 2.1 ส่วนประกอบของทีม ได้แก่ ระบบการเล่น เช่น ระบบ 4-2, 5-1 ต�ำแหน่งผู้เล่น 6 คนแรก และโอกาสในการเปลี่ยนผู้เล่นที่เป็นตัวหลักในการรุกและการรับ และสภาพวิญญาณ การเป็นนักส้ขู องทมี 26 ค่มู อื ผู้ฝกึ สอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate

2.2 รูปแบบของทีม ไดแ้ ก่ - การเสิร์ฟ ใช้วิธีการเสิร์ฟแบบใด, มีกลวิธีการเสิร์ฟอย่างไร และมีการสับเปล่ียน ต�ำแหนง่ หรอื ไม่ - การรบั ลูกเสิรฟ์ รปู แบบในการยนื รบั เป็นอยา่ งไร, ผู้เล่นคนใดรับลูกเสิรฟ์ ได้, ผูเ้ ล่น คนใดรับลูกเสิร์ฟไม่ดี, ผู้เล่นคนใดรับลูกเสิร์ฟแล้วจะต้องมาตบบล็อกหน้าเน็ตด้วย จะต้อง วเิ คราะหใ์ ห้ดี - การต้งั เกมรบั เป็นอยา่ งไร (Defense), ระบบการยืนรับเปน็ อย่างไร, การบลอ็ กเปน็ อย่างไร, ผู้เล่นคนใดยืนอย่ตู �ำแหน่งใดแลว้ บล็อกได้ดแี ละมีประสทิ ธิภาพ - การรุก ฝ่ายตรงข้ามใช้การรุกแบบใด, ใช้การรุกแดนหน้าอย่างเดียวหรือมีผสม แดนหลังเข้ามาด้วย, ท�ำการรุกแบบรวดเร็วโดยใช้บอลเร็วเป็นหลักหรือใช้บอลหัวเสาเป็นหลัก ผู้เล่นในต�ำแหน่งใดท�ำคะแนนได้มาก ตัวเซตชอบจ่ายบอลให้ใครรุก ตัวรุกแต่ละตัวตบบอล ไปในทศิ ทางใดเป็นสว่ นใหญ่ - ตวั ผฝู้ กึ สอนฝา่ ยตรงขา้ มมวี ธิ กี ารอยา่ งไร เชน่ วธิ กี ารสอน การเปลย่ี นตวั การวางต�ำแหนง่ การขอเวลานอก การกระตนุ้ ทีม 2.3 การวางแผนการเล่น การวางแผนการเลน่ ควรประกอบด้วยรายการต่างๆ ดังนี้ - การคาดการณ์ผลการแขง่ ขนั โดยเปรียบเทยี บระดับความสามารถของทีม - การวางต�ำแหน่งผู้เล่น 6 คนแรกในการยืนเพื่อเตรยี มการในคร้ังแรก - การเลือกเปลยี่ นผเู้ ล่นส�ำรองในต�ำแหน่งต่างๆ - เทคนิคและแทคตคิ ในการรุกและการรับ - การเตรียมเปลย่ี นแผนการเลน่ - เรอื่ งเก่ยี วกบั จติ วทิ ยาของทมี 3. การจดั การส�ำหรับทมี กอ่ นและหลงั การแข่งขัน 3.1 การเดนิ ทางถงึ สนามแขง่ ขนั ทมี ควรเดนิ ทางไปใหถ้ งึ สนามแขง่ ขนั กอ่ นก�ำหนดการ แข่งขันอย่างน้อยหน่ึงชั่วโมงคร่ึง นักกีฬาทุกคนควรไปท�ำความคุ้นเคยกับสภาพสนาม แสงสว่าง และสง่ิ ตา่ งๆ ภายนอก โดยการเดนิ ไปรอบๆ และเพือ่ สภาพจติ ใจท่ีมัน่ คง 3.2 การประชุมก่อนการแข่งขัน เม่ือเปล่ียนเครื่องแต่งกายเรียบร้อยแล้ว ควรมี การประชุมโดยผู้ฝึกสอนในช่วงส้ันๆ โดยเน้นในเรื่องแผนการเล่นคร่าวๆ และกระตุ้นให้นักกีฬา ท�ำให้ดีที่สดุ คมู่ อื ผู้ฝกึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 27

3.3 การอบอุ่นรา่ งกาย การเตรียมการอบอุ่นร่างกายจะต้องข้ึนอยู่กับพิธีการก่อนการแข่งขัน ซึ่งประกอบด้วย การแนะน�ำทีม การบรรเลงเพลงชาติ และเวลาท่ีใช้อบอุ่นร่างกายอย่างเป็นทางการในสนาม ดงั นนั้ ผฝู้ กึ สอนจะตอ้ งก�ำหนดแผนการอบอนุ่ รา่ งกายใหส้ อดคลอ้ งกบั เวลาตา่ งๆ การอบอนุ่ รา่ งกาย จะเร่ิมจากการยืดเส้นและกล้ามเนื้อ การว่ิงเบาๆ การว่ิงระยะสั้นๆ การกระโดด ฯลฯ จากนั้น จงึ เริม่ ใชล้ กู บอล (ถา้ เปน็ ไปได้ลกู บอลท่ีใช้ควรเป็นลักษณะเดียวกบั ลูกทีใ่ ชแ้ ข่งขนั ) ในช่วงการอบอุ่นร่างกายน้ีไม่ควรให้มีการฝึกทักษะหรือเทคนิคใหม่ ท้ังน้ีถ้านักกีฬา ท�ำได้ไม่ดีหรือเกิดความผิดพลาด ย่อมจะเกิดผลกับสภาพจิตใจด้วย ในตอนสุดท้ายควรจะให้มี การเสิร์ฟและการรับลูกเสิร์ฟโดยเฉพาะ ผู้เล่นท่ีจะเป็นตัวรับโดยเฉพาะควรจะได้มีโอกาสฝึกรับ มากกว่าผู้อ่ืน ส�ำหรับตัวเชตที่ใช้ระบบการเล่นแบบ 5-1 ไม่ควรเข้าร่วมการฝึกการรับลูกเสิร์ฟ ในช่วงนี้ ผู้ฝึกสอนจะสามารถประเมินสภาพของผู้เล่นแต่ละคน และพยายามไม่สร้างความกดดันใดๆ ให้แกน่ กั กฬี า 3.4 การเลอื กจากการเส่ียง ผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีมควรจะพิจารณาถึงสภาพสนามทั้งสองด้านและพิจารณา เลือกในการเสี่ยง โดยทั่วๆ ไปการเลือกนี้หัวหน้าทีมควรมีความรู้ในกติกาอย่างดี ทั้งน้ีเพราะ ในปัจจุบันการนับคะแนน จะใช้ระบบ Rally Point คือ มีการได้คะแนนทุกครั้งท่ีมีการเล่นลูก ด้งั นั้น การเลือกจากการเสี่ยงควรจะเปน็ การเลือกรับลกู เสริ ฟ์ มากกว่าการเลือกเสิร์ฟ แต่อย่างไรก็ตามหลักการนี้จะไม่เป็นเช่นน้ีเสมอไป ท้ังน้ี อาจจะประกอบด้วย ปจั จัยอน่ื ๆ อีก เช่น สภาพสนาม ความสามารถในการเสริ ์ฟของผู้เสริ ์ฟคนแรกของทีม 3.5 ขอ้ แนะน�ำทัว่ ๆ ไป ในขณะแข่งขนั 3.5.1 การวางแผนการเล่นตง้ั แตเ่ ริ่มตน้ เป็นสงิ่ ส�ำคัญอย่างยง่ิ และจะต้องมนั่ ใจได้วา่ แผนการที่วางไว้บรรลุผล การอ่านแผนการเล่นเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ได้มากและ ผู้ฝึกสอนจะต้องพยายามหาวิธีให้ผู้เล่นตามแผนที่วางไว้ (ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ สามารถใหข้ ้อมูลต่างๆ ได้จากการวิเคราะหก์ ารแขง่ ขันโดยข้อมูลทางสถิติอย่างง่ายๆ) 3.5.2 การมีวิญญาณเป็นนักสู้เป็นส่ิงส�ำคัญ ผู้ฝึกสอนจะต้องคิดเสมอว่าการแข่งขัน จะยงั ไม่จบจนกระทง่ั ถงึ คะแนนสดุ ทา้ ย และผลการแขง่ ขนั จะสามารถเปล่ยี นไดต้ ลอดเวลา ดงั นน้ั ผู้ฝกึ สอนจะตอ้ งพยายามสรา้ งหรอื กระตุน้ ให้นกั กีฬามวี ญิ ญาณนักสู้ตลอดเวลาแข่งขนั 3.5.3 ช่วงวิกฤตในแต่ละเซตควรจะเปล่ียนจังหวะหรือกลวิธีการเล่น โดยเฉพาะ ในช่วงคะแนนที่ 8, 16 และ 20-21 เป็นช่วงที่จะต้องพยายามใหเ้ ป็นฝา่ ยน�ำกอ่ นให้ได้ ทง้ั นีเ้ พราะ จะมผี ลดา้ นจิตวทิ ยาของผเู้ ลน่ ดว้ ย 28 คมู่ ือผฝู้ ึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate

3.5.4 ผฝู้ กึ สอนสามารถท�ำสง่ิ ตา่ งๆ ใหเ้ กดิ ผลกบั ทมี สง่ิ ตา่ งๆ ควรมกี ารเตรยี มการลว่ งหนา้ และมีการวางแผนไว้ เชน่ การเปล่ียนตวั และการขอเวลานอก 3.5.5 ใช้กลวิธีต่างๆ ให้ถึงสิ้นสุดการแข่งขัน ขณะท่ีท้ังสองทีมมีคะแนนคู่คี่กันมาก เช่น 22 : 23 จะตอ้ งพยายามไมใ่ หเ้ สยี การเล่นลกู 3.6 การปฏิบตั ขิ ณะแขง่ ขัน ผฝู้ ึกสอนสามารถท�ำส่ิงต่างๆ ในขณะแขง่ ขัน คอื 3.6.1 การใช้เวลานอก ในช่วงการขอเวลานอกเพียง 30 หรือ 60 วินาที จะต้องใช้ ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด ซ่ึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นท่ีจะให้ผู้เล่นได้มีการประชุมกับผู้ฝึกสอน อยา่ งเร็วท่สี ุดท่บี รเิ วณหนา้ ม้านัง่ ของทมี ตนเอง การขอเวลานอกจะท�ำเม่อื ก. เมอ่ื ฝา่ ยตรงขา้ มท�ำคะแนนน�ำไปถงึ 4-5 คะแนนตดิ ตอ่ กนั และมคี วามจ�ำเปน็ ท่จี ะต้องหยดุ จงั หวะการท�ำคะแนนนี้ ข. เม่ือทีมเกดิ ความสับสนหรือผ้เู ลน่ บางคนเล่นพลาดซ้�ำบอ่ ยๆ ค. เมอ่ื ผู้ฝึกสอนตอ้ งการแนะน�ำกลวิธี เช่น จะเสริ ฟ์ ไปทไี่ หน จะรกุ อย่างไรที่จะ ไดป้ ระโยชนท์ ส่ี ุด หรือจะสกัดกนั้ ท่ไี หน ง. เม่อื ต้องการท่ีจะเปลย่ี นกลวธิ ี เน่อื งจากคู่ตอ่ สสู้ ามารถจดั แผนการเล่นได้ จ. เมือ่ ผู้เล่นตอ้ งการแรงกระตุ้นเพมิ่ ขึ้น ฉ. เมอ่ื ผเู้ ลน่ ตอ้ งการพกั สภาพจติ ใจ หลงั จากมกี ารเลน่ ลกู ทย่ี าวนานในแตล่ ะครง้ั 3.6.2 การขอเปล่ยี นตัว ผู้ฝกึ สอนจะขอเปล่ียนตัวผเู้ ล่น โดยพจิ ารณาส่งิ ตา่ งๆ ดงั นี้ ก. เพ่ือเพม่ิ เกมรกุ การรบั ใหม้ ปี ระสิทธิภาพยิ่งข้ึน หรือเพือ่ เปล่ยี นสภาพจติ ใจ ในสนาม โดยเปลีย่ นเอาผู้เล่นตัวพิเศษเฉพาะลงแทน ข. เปลี่ยนผู้เล่นที่เล่นผิดพลาดจากแผน หรือท�ำผิดพลาดบ่อยๆ หรือแสดง ความไม่มีนำ�้ ใจนกั กีฬา หรือเกิดความไมพ่ อใจในเพอ่ื นรว่ มทมี ค. ใหโ้ อกาสผู้เล่นส�ำรองได้ลงเล่นในนัดทไ่ี มม่ ีผลตอ่ ทมี ง. หยุดการแข่งขันเพื่อให้ค�ำแนะน�ำกับทีม หรือหยุดจังหวะการเล่นของคู่ต่อสู้ (รวมถึงการขอเวลานอกด้วย) 3.6.3 การใช้เวลาในชว่ งพกั ระหวา่ งเซต ในช่วงพักระหว่างเซตมีเวลา 3 นาที ที่ผู้ฝึกสอนสามารถสรุปผลในเซตที่ผ่านมา และสามารถพูดคุย ถึงกลวิธีท่ีจะใช้ในเซตต่อไป ผลจากการวิเคราะห์การแข่งขันหรือข้อสังเกต คมู่ ือผู้ฝกึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate 29

จากผู้ช่วยผู้ฝึกสอนสามารถใช้เป็นข้อมูลเพ่ือปรับปรุงล�ำดับต�ำแหน่งหรือต�ำแหน่งเริ่มเล่น โดยการคาดคะเนการวางต�ำแหนง่ ของทมี ฝา่ ยตรงขา้ มในเซตตอ่ ไป นกั กฬี าทกุ คนควรจะมคี วามมนั่ ใจ อยา่ งเตม็ ทที่ ี่จะชนะในเซตต่อไปกอ่ นท่จี ะเริม่ ตน้ เซต 4. การประเมินผลการแขง่ ขัน คณะผู้ฝกึ สอน ได้แก่ ผชู้ ว่ ยผู้ฝกึ สอน หรือทกุ คนทเี่ ป็นผู้ช่วยผฝู้ ึกสอนของทีม รวมทั้ง ผเู้ ลน่ ส�ำรองจะตอ้ งพยายามเกบ็ ขอ้ มลู เพอ่ื เปน็ การชว่ ยเหลอื ผฝู้ กึ สอน ซงึ่ จะตอ้ งเกย่ี วกบั การผดิ พลาด และการประสบผลส�ำเรจ็ ในครง้ั ทผี่ ่านมา การประเมนิ ผลควรมจี ดุ หมายและประกอบด้วยสิง่ ตา่ งๆ ดงั น้ี (Federation Internationale de Volleyball. 1997 : 158) 4.1 สมั ฤทธ์ิผลของการวางแผนการเล่นและคุณภาพของทีม 4.2 การประเมนิ ความสามารถของนักกีฬาและพฤติกรรมขณะแข่งขัน การใชส้ ถิติการวิเคราะหก์ ารแขง่ ขัน จะท�ำให้ทราบข้อมลู ตา่ งๆ ไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง ขอ้ มลู เก่ียวกับทักษะการเล่นของนักกีฬา (ทั้งปริมาณและคุณภาพ) ในการแข่งขัน จะสามารถเก็บได้ โดยผู้ช่วยผู้ฝึกสอนหรือผู้เล่นบนม้านั่งผู้เล่นส�ำรอง หรือข้อมูลนี้สามารถน�ำเสนอโดยภาพยนตร์ หรือการบันทกึ วีดิโอ ข้อมูลจากใบบันทึกผลการแข่งขันเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมาก ผู้ฝึกสอนควรจะ ศึกษาและท�ำความเข้าใจเก่ียวกับข้อมูลและวิธีการบันทึกการแข่งขัน การใช้โปรแกรมอย่างง่ายๆ ในคอมพวิ เตอรจ์ ะสามารถท�ำใหท้ ราบเกย่ี วกบั คะแนนตา่ งๆ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี เชน่ ไดท้ ราบวา่ คะแนน ท่ีได้หรือเสียมากท่ีสุดจากอะไร และในการหมุนแต่ละต�ำแหน่งสามารถท�ำได้กี่คะแนน ฯลฯ ผู้ฝึกสอนควรหาโอกาสประชุมทีมในท่ีที่สงบหลังการแข่งขัน โดยจะต้องมีผลและการแปลผล ทางสถิติเก่ียวกับการวิเคราะห์การแข่งขัน ผู้ฝึกสอนไม่ควรประชุมทีมทันทีหลังจากจบการแข่งขัน เพียงแต่พูดเพียงเล็กน้อยเก่ียวกับการชนะหรือแพ้เท่าน้ัน โดยจะพูดถึงว่านักกีฬาทุกคนน้ัน ไม่ใช่เล่นไม่ดีอย่างที่เขาคิด ช่วงเวลาท่ีเหมาะสมส�ำหรับการประชุมเพ่ือวิเคราะห์การแข่งขัน คือ วันที่จะท�ำการฝึกซ้อมในวันถัดไป โดยให้นักกีฬาได้มีโอกาสพูดแสดงความคิดเห็นก่อน จากนั้นผู้ฝึกสอนจึงสรุปเหตุผลที่แพ้หรือชนะ เพราะอย่างไรในช่วงจบการประชุมจะต้องสรุป เพื่อการฝกึ ซ้อมในวันต่อไป 30 ค่มู ือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate

3. การวางแผนการฝกึ ซ้อม ในการวางแผนการฝกึ ซอ้ มเป็นสิ่งที่ส�ำคญั ที่สุดในการสรา้ งทีมเพอ่ื ไปส่เู ป้าหมาย ไม่วา่ ใน การแข่งขนั หรอื การพัฒนาทีมเพ่อื ไปสคู่ วามเปน็ เลศิ การวางแผนการฝึกซ้อมมีอยู่ 3 ระดับ ดงั นี้ 1. การวางแผนระยะยาว โดยทั่วไปอยู่ท่ี 4-8 ปี ถ้าในระดับชาติก็คือ การเตรียมทีมไปสู่ กฬี าโอลิมปกิ 2. การวางแผนระยะกลาง โดยท่ัวไปอยู่ท่ี 1-2 ปี โดยท�ำต่อเนื่องจากแผนระยะยาว โดยมโี ปรแกรมการแข่งขันรายการต่างๆ เขา้ มาสอดแทรกตอนกลางของแผนระยะยาว 3. การวางแผนระยะสนั้ อยทู่ ร่ี ะยะเวลา 3-6 เดอื น เปน็ การเตรยี มทเ่ี พอ่ื เขา้ แขง่ ขนั รายการ เฉพาะกิจ หรอื การมีเวลาเตรยี มทมี นอ้ ย ซ่ึงข้ึนอยู่กบั การเตรียมทมี ของแต่ละทีม สิ่งท่ีต้องค�ำนึงสูงสุดในการวางแผนการฝึกซ้อม คือ การตั้งเป้าหมายสูงสุด (Goal) ของแต่ละทีม ซ่ึงในการวางแผนการฝึกซ้อมนั้นจะมีโปรแกรมการแข่งขันในระดับต่างๆ เข้ามา ในการต้ังเป้าหมายสูงสุด ทางผู้ฝึกสอนจะต้องล�ำดับตามความส�ำคัญจากน้อยไปหามาก ตามล�ำดับดังตอ่ ไปนี้ เปา้ หมายทั่วไป เป้าหมายรอง เป้าหมายสูงสดุ กระบวนการวางแผนการฝกึ ซอ้ ม ประกอบด้วย 1. การเตรียมทีม 1.1 ดา้ นรา่ งกาย คอื การฝกึ ซอ้ มในเรอ่ื งของสมรรถภาพรา่ งกาย ประกอบด้วย - ความแขง็ แรง - ความอดทน - ความเรว็ - ความคลอ่ งตวั - ความออ่ นตัว 1.2 ดา้ นจิตใจ - ความสามคั คี - การมสี มาธิ คมู่ อื ผฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate 31

ในการเตรียมทีมท้ังในด้านร่างกายและจิตใจน้ันเป็นผลโดยตรงท่ีจะท�ำให้นักกีฬา เม่อื ฝกึ ซ้อมไปแล้ว จะท�ำใหเ้ กิดการพัฒนาใน 2 ดา้ น คือ - ความแนน่ อน - ความแมน่ ย�ำ 2. การวางแผนในเรอ่ื งของสภาพการแขง่ ขนั ซงึ่ เราจะตอ้ งเตรยี มทมี ฝกึ ซอ้ มใหใ้ กลเ้ คยี ง กบั ความเปน็ จรงิ มากท่ีสุด ประกอบดว้ ย 2.1 แขง่ ขนั ที่ไหน แขง่ เมอ่ื ไหร่ แข่งเวลาอะไร 2.2 สภาพภมู อิ ากาศเปน็ อย่างไร 2.3 สถานทแ่ี ข่งขันนัน้ เปน็ อย่างไร 3. การร้เู ขารู้เรา 3.1 การรเู้ ขา เพอ่ื ทจี่ ะท�ำการศกึ ษาจดุ แขง็ และจดุ ออ่ นของคตู่ อ่ สู้ โดยใชก้ ารสอดแนม (Scouting) การถา่ ยทอดวดี โิ อ (VDO Spy) 3.2 การรู้เรา เพ่ือที่จะได้รู้ฝึกจุดอ่อนจุดแข็งของทีมเรา และน�ำไปสู่การฝึกซ้อม ทถ่ี ูกต้อง เช่น ดูจากวดี ิโอบนั ทกึ การแขง่ ขนั ทีผ่ ่านมา ดูสถิตทิ ีบ่ นั ทึกเอาไว้ 4. การทดสอบ 4.1 การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เพื่อให้ทราบความสมบูรณ์และความพร้อม ของรา่ งกาย 4.2 การทดสอบทางดา้ นจิตใจ เพือ่ ทราบความสมบรู ณแ์ ละความพร้อมของจติ ใจ 5. การประเมินผล 5.1 การประเมินผลการฝึกซ้อม ควรท�ำหลังจากฝึกซ้อมของแต่ละวัน เพื่อปรับปรุง และแก้ไขขอ้ บกพรอ่ งตา่ งๆ 5.2 การประเมนิ ผลการแขง่ ขนั ควรท�ำหลงั จบการแขง่ ขนั เพอื่ น�ำมาปรบั ปรงุ แกไ้ ขขอ้ ดี ขอ้ เสยี ต่างๆ เพือ่ น�ำไปส่กู ระบวนการฝึกซอ้ มและแข่งขนั ต่อไป 32 คู่มือผู้ฝึกสอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate

ตัวอยา่ งการฝกึ ซอ้ มของผ้เู ล่นทเี่ รม่ิ ตน้ การเลน่ (แผนคร่ึงป)ี ตัวอย่างโปรแกรมการฝึกซ้อมของผู้เล่นเบ้ืองต้น ซึ่งพิจารณาจากผู้เล่น ชั่วโมงการฝึก และความถต่ี ่อสปั ดาห์ ตวั อยา่ งตารางการฝึกซ้อมของผ้เู ล่นท่ีเริม่ ต้นการเล่น (แผนครง่ึ ป)ี สปั ดาห ์ วิชาและหวั ข้อการฝึกซอ้ ม 1 การเล่นบอลโดยผูเ้ ล่น 1 คน 2 การเลน่ บอลโดยผเู้ ล่น 2 คน 3 การเล่นบอลสองมือล่างและมอื เดียวโดยผเู้ ล่น 1 คน 4 การเล่นบอลสองมือล่างและการจัดท่าทางขั้นพ้ืนฐาน ส�ำหรับการ เล่นลกู แดนหลงั 5 การเสิร์ฟและการต้ังรบั บอลเสริ ฟ์ 6 การส่งบอลโดยลูกมอื ลา่ ง 7 การเลน่ แบบ 2 ตอ่ 2, 3 ตอ่ 3, 4 ตอ่ 4 แบบการเลน่ สนามขนาดเลก็ 8 การขวา้ งบอล จบั บอล การครองบอล การสง่ โดยใชล้ กู มอื บน 9 การสง่ ลูกมือบนและเคลื่อนท่ไี ปหลายทิศทาง 10 การเลน่ เกมโดยสง่ ลกู มอื บน (โดยการวงิ่ และการกา้ วไปดา้ นขา้ ง) 11 การตัง้ บอลจากแดนหลังไปยังหน้าตาขา่ ย 12 การตง้ั หน้าตาข่าย 13 การต้ังรับโดยผูเ้ ลน่ 2-3 คน 14 การฝกึ ตบบอล (การเหวีย่ งแขน การกระโดด) 15 การฝึกตบบอล (กระโดดและตบอย่างรวดเรว็ ) 16 การฝึกตบบอล (การตบมุมสูง การเปลี่ยนต�ำแหน่งการตบ) 17 การรับลกู ตบโดยการเคล่ือนที่หลายทิศทาง 18 การคาดการณใ์ นการรับลกู ตบ 19 การรบั ลูกตบโดยผู้เลน่ 2-3 คน 20 การฝึกการตัง้ รบั การรับในระดบั สูง 21-22 เกมผ้เู ล่น 4 ต่อ 4 (สนามขนาด 6x4.5 เมตร) การเสิร์ฟลูกมือล่าง การรับลูกเสิรฟ์ การตง้ั รับ และการตบ * การฝึกอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ 2 ชั่วโมงต่อวัน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ชั่วโมงการฝึกท้งั หมด 88 ชว่ั โมงต่อ 6 เดอื น คมู่ อื ผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลยบ์ อล T-Certificate 33

การเรม่ิ ตน้ การฝึกซ้อม ส่งิ ทค่ี วรค�ำนงึ ถงึ ในการฝึกซอ้ ม 1. วางแผนการฝึกซ้อมท่ีดีเพ่ือพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายของผู้เล่นและทัศนคติ ของผ้เู ลน่ ส�ำหรบั การฝกึ แต่ละคร้ัง 2. การใชก้ จิ กรรมทหี่ ลากหลายในการสรา้ งความคนุ้ เคยกบั บอลเพอ่ื พฒั นาความสามารถ ทางด้านร่างกาย 3. ควรฝึกซำ�้ ๆ อยา่ งน้อยประมาณ 10 ครงั้ จึงพัก 10-15 นาที และฝึกต่อ 60 นาที 4. หลกี เลย่ี งการฝึกซอ้ มทเ่ี ข้มงวด ส�ำหรับเด็กอายตุ ำ�่ กว่า 12 ปี 5. ก่อนการฝึกซอ้ มควรอบอนุ่ ร่างกาย 6. ศึกษาทฤษฎีและรปู แบบการเล่นใหเ้ ข้าใจยง่ิ ขึน้ 7. จัดเตรียมสภาพแวดล้อม การสร้างก�ำลังใจให้กับนักกีฬา ส�ำหรับผู้เร่ิมเล่น การสร้างแรงจูงใจเปน็ สิ่งทสี่ �ำคญั 8. ผูเ้ ลน่ ควรมีความรับผดิ ชอบร้กู ฎระเบยี บเพือ่ พฒั นาความเป็นผู้น�ำ 9. ค�ำนึงถงึ สภาพทางด้านจิตใจของผู้เล่นเพอ่ื สรา้ งความมนั่ ใจในการฝกึ ซอ้ ม 10. มอบหมายหนา้ ทใ่ี หผ้ เู้ ล่นทกุ คนในทีม 11. หลังจากการฝกึ ซอ้ ม ผเู้ ล่นควรวิเคราะหผ์ ลการแข่งขนั 34 คูม่ อื ผู้ฝกึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

ผ้ฝู ึกสอนกับจติ วทิ ยาการกีฬา (Coach and Sport Psychology) ในสถานการณ์การแข่งขันกีฬาในปัจจุบันจะมีการเก่ียวข้องกับจิตวิทยาการกีฬา มากขนึ้ ซงึ่ เปน็ องคป์ ระกอบทส่ี �ำคญั ของการแสดงความสามารถของนกั กฬี านน้ั จะประกอบไปดว้ ย องคป์ ระกอบ 3 ประการ คอื - สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) เป็นดัชนีชี้ให้เห็นว่านักกีฬาจะแสดง ความสามารถทางด้านร่างกายที่มีอยู่มาใช้ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพ ทางกาย ได้แก่ ความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเน้ือ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต ความแคลว่ คล่องวอ่ งไว ความออ่ นตวั พลงั การประสานมอื กับอุปกรณ์ เปน็ ตน้ - สมรรถภาพทางเทคนิค ทักษะ และกลยุทธ์ทางการกีฬา (Sport Techniques Skill and Strategies Fitness) เป็นความสามารถของนักกีฬา ซ่ึงเป็นผลมาจากการเรียนรู้ และการฝึกหัดนักกีฬาท่ีมีทักษะสูง รู้จักเทคนิคและกลยุทธ์ในการกีฬาจะแสดงความสามารถ ออกมาได้สงู - สมรรถภาพทางจิตใจ (Mental Fitness) เป็นดัชนีท่ีช้ีวัดให้เห็นถึงความสามารถ ทางด้านจิตใจ ซ่ึงมีส่วนกับความสามารถทางกายที่จะแสดงพฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว ท่ีมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบที่ส�ำคัญได้แก่ ความมั่นใจในตนเอง การควบคุมความเครียด ความวติ กกงั วล การสรา้ งสมาธิ การสรา้ งจนิ ตนาการความคดิ ในทางบวก ความมงุ่ มน่ั ความพยายาม ส่คู วามส�ำเรจ็ เป็นต้น นักกีฬาที่ต้องการแสดงความสามารถของตนในระหว่างท�ำการแข่งขันให้ได้เต็มท่ี ตอ้ งมีการเตรยี มความพร้อมทั้ง 3 องคป์ ระกอบนี้ จะขาดอย่างใดอยา่ งหนงึ่ ไม่ได้ มฉิ ะน้ันจะท�ำให้ ประสทิ ธภิ าพในการแขง่ ขนั ลดลง ดงั นนั้ ในการฝกึ ซอ้ ม ผฝู้ กึ สอนตอ้ งมกี ารออกแบบฝกึ ใหส้ อดคลอ้ ง กับองคป์ ระกอบทงั้ สามนี้ เพอ่ื เพิม่ ขีดความสามารถใหน้ ักกีฬาในระหวา่ งท�ำการแขง่ ขนั ความวติ กกังวลในการกฬี า (Anxiety in Sport) ความวิตกกังวลเป็นสภาพทางอารมณ์อันไม่พึงปรารถนาของบุคคลท่ีรู้สึกหวั่นไหว ไม่สบายใจ ล้มเหลว หรือเป็นผลจากการคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ท่ีจะเกดิ ขึน้ คมู่ ือผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate 35

สาเหตขุ องความวติ กกงั วลทางการกฬี า - ขาดความเชอื่ ม่ันในความสามารถของตน - ความวติ กกังวลและคิดวา่ ตนเองจะตอ้ งมีความวติ กกังวล - ความสามารถท่ีแสดงออกในการแข่งขนั ทผ่ี ่านมาตำ�่ กว่ามาตรฐานของตนเอง - การเชือ่ วา่ คณุ ค่าของตนเองข้นึ อยู่กับการแข่งขัน - ความพรอ้ มของรา่ งกายนักกฬี า - สภาพแวดลอ้ ม สาเหตตุ า่ งๆ เหลา่ น้ี จะเหน็ ว่าทกุ คนไม่สามารถขจดั ความวิตกกงั วลออกไปไดโ้ ดยสิน้ เชงิ ทงั้ นี้ เพราะเกดิ ความกดดนั ขนึ้ มามากมายในการแขง่ ขนั อยา่ งไรกด็ นี กั กฬี าสามารถทจ่ี ะลดความรนุ แรง ของความวติ กกังวลลงได้ วิธีการควบคุมความวติ กกังวล 1. วธิ ีการทางรา่ งกาย - ออกก�ำลงั กายเคล่ือนไหวเปน็ จงั หวะ - ออกก�ำลงั กายเพิ่มช่วงการเคลอื่ นไหวของขอ้ ต่อ - การหายใจลึกๆ 2. วธิ กี ารทางจิตใจ - การยอมรับ คือ การท�ำจิตใจยอมรบั สภาพการณ์ สถานการณแ์ วดลอ้ มต่างๆ ก็ช่วย ลดความวติ กลงได้ - การเบย่ี งเบนความคิด คือ การฝึกใหค้ ดิ ในเรื่องอน่ื โดยเปลีย่ นความสนใจไปทอ่ี นื่ - การคิดในทางท่ีดี คือ ฝึกความคดิ วา่ สถานการณ์ คู่แขง่ อุปกรณ์ ส่งิ แวดลอ้ ม ท�ำให้ เราได้โอกาสดี 3. วธิ ผี อ่ นคลายกลา้ มเนอ้ื มดี ว้ ยกนั หลายวธิ ี ดงั นนั้ เพอ่ื ใหไ้ ดป้ ระโยชนจ์ ากการฝกึ มากทส่ี ดุ หลงั จากรสู้ กึ ตงึ เครยี ด เมอ่ื เคลอ่ื นไหวแตล่ ะครงั้ ใหเ้ กรง็ จดุ นนั้ ไวป้ ระมาณ 5 วนิ าที รบั รถู้ งึ ความรสู้ กึ ตึงเครียด แล้วผ่อนคลายให้หมดในทันที อ่อนนุ่มท้ังหมด สังเกตความรู้สึกสบายที่เกิดข้ึนจาก การผ่อนคลายประโยชนข์ องการผ่อนคลายกล้ามเนือ้ - ชว่ ยลดความวติ กกังวล - ชว่ ยใหก้ ารฟืน้ ตวั ไดเ้ รว็ ขึน้ - ช่วยประหยัดพลังงาน - ชว่ ยใหน้ อนหลับสบาย - ช่วยใหข้ จดั ความเครียดจากกล้ามเน้อื 36 คมู่ ือผ้ฝู กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

4. วธิ ีการฝกึ สมาธิ วิธีน้ีเป็นวิธีที่ยากท่ีสุดในการฝึกท่ีจะช่วยลดความวิตกกังวล แต่ถ้ามีการฝึกกระท�ำ เป็นประจ�ำสม่�ำเสมอแล้วจะได้ผลดีที่สุด เพราะจะช่วยให้นักกีฬามีสมาธิอยู่กับการเล่น ลดความ กดดันระหว่างแข่งขัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน มีความต้ังใจต่อสิ่งที่ก�ำลังกระท�ำอยู่ ซ่ึงในสถานการณ์กีฬา มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดข้ึน เช่น การเล่นของคู่ต่อสู้ การคิดถึงการเล่นที่ผ่านมาและที่ก�ำลัง จะเกิดขนึ้ การคาดหวังของตนเองและผู้ชม เปน็ ต้น ปรชั ญาของโค้ช โค้ชต้องเข้าใจว่าการฝึกเป็นสิ่งเฉพาะบุคคล และเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ วธิ ีการฝกึ อยา่ งเดยี วกันอาจใชไ้ มไ่ ดก้ ับการฝึกกีฬาอย่างเดยี วกันกไ็ ด้ การจะเป็นโค้ชได้ดีต้องศกึ ษา อบรมและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ไม่ใช่จะอ่านต�ำราแล้วจะมาเป็นผู้ฝึกสอนได้ สิ่งท่ีโค้ชต้องระลึก อยู่เสมอ คือ ความผิดหวังที่จะต้องมีและต้องเกิดกับตัวเองและทีมอยู่เสมอ ตลอดจนปัญหา และขอ้ ขดั แย้งทจี่ ะเกดิ ขนึ้ ในตวั ของโค้ชเอง ผู้รว่ มทมี และผู้เลน่ ซ่งึ โค้ชจะตอ้ งรู้วธิ แี ก้ปญั หาต่างๆ ทเี่ กดิ ขึ้น คุณลักษณะท่ดี ีของโคช้ 1. มคี วามรูเ้ กยี่ วกับสภาพรา่ งกายของมนษุ ย์ 2. ใฝห่ าวธิ กี ารฝกึ ทีท่ ันสมยั 3. ความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขท่าทาง 4. การสือ่ สาร 5. การไดป้ ระโยชนส์ ูงสดุ จากบุคลากร 6. มีจริยธรรมและมคี วามเช่ือถือถึงคณุ คา่ ของการแข่งขัน 7. การบคุ ลกิ ภาพทด่ี ี 8. มีปรชั ญาเป็นของตนเอง 9. มีเปา้ หมาย 10. ตอ้ งอทุ ิศตน กระตอื รอื ร้น และมคี วามคิดรเิ ริม่ 11. ต้องสร้างวนิ ัยในทมี 12. ต้องไมเ่ หน็ แกต่ วั 13. มมี นษุ ยสัมพันธ์ 14. มีความรูแ้ ละถ่ายทอดความรูแ้ ก่ผเู้ ล่น คมู่ ือผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 37

15. มคี วามเปน็ ผูน้ �ำ 16. มคี วามรแู้ ละเขา้ ใจด้านจิตวิทยา 17. มคี วามรับผดิ ชอบตอ่ ผูเ้ ล่นและชมุ ชน 18. มคี วามรเู้ รอ่ื งจติ วทิ ยา เวชศาสตรก์ ารกฬี า วทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า สรรี วทิ ยา การออกก�ำลงั กาย และวทิ ยาศาสตร์การเคลื่อนไหว บทบาทของโคช้ กับการแขง่ ขัน ก่อนการแข่งขนั โค้ชท่ีดีควรศึกษาทีมท่ีจะแข่งขันเพ่ือเตรียมยุทธวิธีในการท่ีจะสร้างความส�ำเร็จแก่ทีม และโค้ชควรจะสร้างสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา รวมทั้งความพร้อมทางด้านจิตใจในช่วง ก่อนการแข่งขันประมาณ 3-6 เดอื น กอ่ นฤดูการแขง่ ขนั อาจจะแบ่งออกเปน็ ขน้ั ตอนดงั นี้ 1. เตรียมและวางโปรแกรมการฝึก เพ่ือพัฒนาทักษะเทคนิคยุทธวิธีของผู้เล่นและทีม ในชว่ งการฝกึ ต่างๆ 2. วิเคราะหก์ ารเลน่ ของทีมคู่แข่งขัน 3. ตระเตรียมผ้เู ลน่ ให้พรอ้ มเพรยี ง และสมบูรณ์ทางดา้ นร่างกายและจิตใจ ขณะท�ำการแข่งขนั 1. วางตวั ผู้เล่นทจ่ี ะลงสนาม พร้อมส่งรายชอ่ื 2. ควบคุมการอบอุ่นรา่ งกายของผเู้ ล่นให้เกดิ ประสทิ ธภิ าพ 3. เนน้ ย้ำ� ยุทธวธิ กี ารเล่นอยา่ งส้ันและไดใ้ จความก่อนการแข่งขันจะเร่มิ ข้ึนเล็กนอ้ ย 4. วิเคราะห์การเลน่ ของทมี และเทคนคิ การเล่นของผเู้ ลน่ ทัง้ ฝา่ ยเราและฝา่ ยตรงข้าม 5. สรปุ และวจิ ารณก์ ารเลน่ ของทมี และผเู้ ลน่ ภายหลงั การแขง่ ขนั สน้ิ สดุ ลง เพอื่ ชจี้ ดุ ออ่ น และข้อผิดพลาด แนะน�ำวิธแี ก้ไขและรับฟงั ข้อเสนอแนะ เพ่อื น�ำไปปรับปรุงการเลน่ ในเกมต่อไป เม่ือส้ินสุดการแข่งขันและโค้ชพาลูกทีมเดินทางกลับถึงที่พัก โค้ชยังคงมีหน้าท่ี และบทบาทท่ีตอ้ งกระท�ำอกี ดังน้ี - ท�ำบนั ทกึ เทคนคิ การเล่นของผู้เลน่ ข้อบกพร่องทีค่ วรแก้ไขตามความคิดตัวเอง - นัดประชุมผู้เล่นท้ังหมดและสต๊าฟโค้ช เพ่ืออภิปรายผลการเล่นท่ีผ่านมา ในการน้ี ผู้เล่นจะได้รับโอกาสให้พูดทั้งผู้ที่ลงเล่นและไม่ลงเล่น การพบปะพูดคุยคร้ังนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศ และเป็นศูนย์รวมจิตใจ ผู้เล่นให้เกิดความสนใจร่วมกันท่ีจะฝึกซ้อมและเตรียมตัวเพ่ือแข่งขัน ในโอกาสตอ่ ไป 38 คู่มอื ผ้ฝู กึ สอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate

แรงจูงใจกับการกฬี า ชยั ชนะใช่ทกุ อยา่ ง แต่การพากเพยี รพยายามน่ีซิ คอื ทกุ ส่ิงทุกอย่าง แรงจูงใจกับการกีฬาน้ัน แบ่งได้หลายประเภท หลายรูปแบบ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง ประเภทแรงจูงใจท่ีนักจิตวิทยาบางกลุ่มได้แบ่งไว้ ตามหลักการแสดงออกของพฤติกรรมได้เป็น 2 ประเภท 1. แรงจงู ใจภายใน (Intrinsic Motives) แรงจงู ใจทเ่ี กดิ จากแรงกระตนุ้ อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ ท่ีเกิดขึ้นภายในตัวเอง โดยไม่มีผลจากสาเหตุภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องในการกีฬา เป็นแรงจูงใจ ในการเลน่ เพอ่ื การสนองความตอ้ งการของตวั เอง แรงจงู ใจภายในมคี วามส�ำคญั และมคี า่ มากส�ำหรบั นกั กีฬาทจ่ี ะท�ำให้ประสบความส�ำเรจ็ ในการฝึกซอ้ มหรอื เลน่ กีฬา 2. แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motives) คือ สภาพแวดล้อมที่อยรู่ อบๆ ตัวนกั กีฬา เช่น เงิน ทอง รางวัล ชื่อเสียง เป็นต้น แรงจูงใจชนิดน้ีเกิดจากแรงผลักดันของสังคมเป็นตัวกระตุ้น ท�ำใหบ้ คุ คลแสดงพฤตกิ รรมเพ่อื สนองความต้องการของสังคม ทฤษฎีแรงจูงใจเก่ียวกบั การกฬี า มี 4 ทฤษฎี 1. แรงจงู ใจภายในและแรงจงู ใจแบบประเมนิ (Intrinsic and Cognitive Evaluation Theory) เปน็ แรงจงู ใจท่เี กิดขนึ้ เองโดยไมม่ ีรางวัลหรอื สาเหตุภายนอกมาเกี่ยวข้อง เป็นการเลน่ เพ่ือสนุกสนาน สนุกที่จะได้เล่น ซ่ึงแรงจูงใจภายในเกิดได้อย่างไร เพ่ิมได้อย่างไร อธิบายไม่ได้ จึงต้องมีทฤษฎีแรงจูงใจแบบประเมินขึ้น ถือว่าเป็นแรงจูงใจประเภทหนึ่งท่ีเกิดจากภายใน ซ่งึ องคป์ ระกอบท่ีส�ำคญั คือ ความรู้สึกควบคุม หมายถึง การให้แรงเสริมภายนอก คือ เดิมทีเล่นเพ่ือสนุกสนาน (แรงจงู ใจ ภายใน) เมอื่ มแี รงเสรมิ ภายนอกจะเลน่ เพอื่ สงิ่ ของ เงนิ รางวลั ชอื่ เสยี ง เปน็ เหตผุ ลทส่ี �ำคญั 2. แรงจูงใจใฝส่ มั ฤทธิ์ (Achievement Motivation Theory) หมายถึง แรงขับหรือสิ่งเร้าใจที่ท�ำให้บุคคลมีความพยายามมุ่งมั่นที่จะไปถึงเป้าหมาย ดังนั้น ในการฝึกหรือแข่งขันกีฬา ถ้านักกีฬามีการรับรู้หรือถูกท�ำให้รับรู้ว่าตนเองมีความสามารถ ก็จะเกดิ ความมัน่ ใจ ความต้องการท่จี ะท�ำการฝึกให้ยากย่ิงขน้ึ มีแรงจูงใจที่จะกระท�ำใหม้ ากข้ึน 3. ทฤษฎอี า้ งสาเหตุ (Attribution Theory) การอา้ งสาเหตขุ องนกั กฬี า เปน็ การหาเหตผุ ลเขา้ ขา้ งตนเอง เพอื่ รกั ษาความภาคภมู ใิ จ ในตวั เอง ซงึ่ เปน็ แรงจงู ใจทสี่ �ำคญั ในการเลน่ กฬี า โคช้ เปน็ บคุ คลส�ำคญั ทจ่ี ะชว่ ยปรบั การอา้ งสาเหตุ เม่ือมกี ารรบั รวู้ ่าประสบผลส�ำเรจ็ หรือลม้ เหลว คูม่ อื ผูฝ้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate 39

โดยเมื่อนักกีฬาประสบผลส�ำเร็จ ให้อ้างสาเหตุเป็นเพราะความสามารถของนักกีฬา เพ่อื สรา้ งความเชอื่ ม่ัน หากประสบความล้มเหลว จะอ้างสาเหตุเดิมไม่ได้ เพราะจะท�ำลายความเช่ือม่ัน และแรงจูงใจของนกั กีฬา ควรจะอ้างเปน็ เพราะขาดความพยายาม งานยาก คตู่ ่อส้เู กง่ กวา่ ซงึ่ เปน็ ส่งิ ท่ไี ม่คงท่ี ดังนน้ั นกั กฬี าควรมีความพยายามมากข้นึ และใช้เวลาในการฝึกซอ้ มมากข้นึ 4. การก�ำหนดเปา้ หมาย (Goal Setting Theory) ต้องค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมาย ไม่เช่นน้ันการตั้งเป้าหมายจะท�ำให้ แรงจูงใจลดลง เพ่มิ ความคบั ขอ้ งใจมากขึน้ การก�ำหนดเป้าหมายท่กี �ำหนดตอ้ งยาก เฉพาะเจาะจง สามารถวดั ไดแ้ ละไมค่ ลมุ เครอื การก�ำหนดเปา้ หมายสามารถใชไ้ ดต้ ลอดเวลาทง้ั ในระหวา่ งฝกึ ซอ้ ม และแข่งขนั ผลทน่ี ักกีฬาได้รับจากการก�ำหนดเปา้ หมาย - ชว่ ยสร้างบรรยากาศของการฝกึ ร่วมกันเปน็ ทีม - สร้างความเขา้ ใจระหวา่ งกันภายในทมี - เกดิ ความคดิ ท่ีจะพฒั นาตนเองมากข้ึน - การก�ำหนดเปา้ หมายชว่ ยท�ำให้ทกุ คนมโี อกาสประสบผลส�ำเร็จ แรงจงู ใจกับนักกีฬา (Motivation and Athletes) - การยกยอ่ งชมเชย - การใชก้ ฎเกณฑแ์ ละการลงโทษ - การปลอบขวัญ - การก�ำหนดเง่อื นไข (ศึกษาคูต่ ่อสูแ้ ล้วมาฝกึ พเิ ศษ) - การใช้เสียง - การปรับปรงุ ทีมหรือแกป้ ัญหารายบุคคล - การพูดจี้ใจให้ได้สติ (ระหวา่ งก่อนแข่งขัน ขอเวลานอก พูดข้อดีขอ้ เสีย) - การใชเ้ ทคนคิ จติ วทิ ยา การกฬี าสรา้ งแรงจงู ใจ (ใหค้ ดิ ในทางบวก Positive Thinking) - การจดั บอรด์ (ยกยอ่ งบคุ คลดเี ดน่ ทมี รกุ ทมี รบั ประจ�ำต�ำแหนง่ ตา่ งๆ ในแตล่ ะสปั ดาห)์ - การประชาสมั พนั ธ์ กับส่อื มวลชน 40 ค่มู ือผูฝ้ ึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate

บ กกทาฬีทรี่าเวส3อรลิมเสลรยา้ ์บงสอมลรรถภาพทเ่ี ก่ยี วข้องกบั สมรรถภาพของมนุษย์ สามารถแบ่งออกตามองค์ประกอบของสมรรถภาพท่ีมี ความแตกต่างกัน แบ่งได้ดงั นี้ 1. สมรรถภาพทางกาย 2. สมรรถภาพทางกลไก 3. สมรรถภาพทางกลไกทว่ั ไป สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมหรือ การงานอย่างหนึ่งอย่างใดได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เหน่ือยอ่อนจนเกินไป ในขณะเดียวกัน กส็ ามารถทจี่ ะถนอมก�ำลงั กายทเี่ หลอื ไวใ้ ชใ้ นกจิ กรรมทจี่ �ำเปน็ และส�ำคญั ในชวี ติ รวมทงั้ กจิ กรรมใน เวลาว่างเพ่ือความสนกุ สนานในชวี ิตประจ�ำวนั ได้ดว้ ย ความแขง็ แรง ความอ่อนตัว สทมารงรกถาภยาพ ขคอวงกามลอ้ามดเทนนอ้ื ระบแบลคะไวหกาลามรเอวหดยี าทนยนเใลจือด คู่มอื ผู้ฝึกสอนกฬี าวอลเลย์บอล T-Certificate 41

สรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกลไก และสมรรถภาพทางกลไกท่ัวไป ต่างก็หมายถึง สมรรถภาพของการท�ำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กล่าวคือ สมรรถภาพ ทางกาย (Physical Fitness) ประกอบด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือ (Muscular Strength) ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ (Cardio Vascular Endurance) เทา่ นน้ั หากรวมพลงั กลา้ มเนอ้ื (Muscular Power) ความเร็ว (Speed) ความคล่องตัว (Agility) ความทรงตัว ความอ่อนตัว (Body-Balance Flexibility) เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า สมรรถภาพทางกลไก (Motor Fitness) และถ้ารวม ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งเทา้ กบั ตา (Eyes-Foots Coordination) และความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมอื กบั ตา (Eyes-Hands Coordination) เขา้ ด้วยกนั และจะกลายเปน็ สมรรถภาพทางกลไกท่ัวไป (General Motor Fitness) Physical Fitness สมรรถภาพทางกาย Motor สมรรถภาพ Fitness ทางกลไก Motor General Motor Fitness Fitness สมรรถภาพทางกลไกทั่วไป Body- Eyes-Foots Balance, Speed Coordination Eyes-Hands Muscular Muscular Cardio Muscular Flexibility Coordination Power Agility Endurance Vascular Strangth Endurance ความสัมพนั ธ์ พลัง ความ ความอดทน ความอดทน ความแข็งแรง ความทรงตวั ความเร็ว ความสมั พนั ธ์ ระหวา่ ง กลา้ มเนื้อ คล่องตัว ของ ของระบบ ของ ความออ่ น ระหว่าง มอื กับตา กลา้ มเน้อื ไหลเวียนโลหติ กล้ามเนือ้ ไหว เทา้ กบั ตา และระบบหายใจ แสดงความสัมพนั ธ์ระหวา่ งสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) สมรรถภาพทางกลไก (Motor Fitness) และสมรรถภาพทางกลไกทว่ั ไป (General Motor Fitness) 42 คมู่ ือผฝู้ กึ สอนกีฬาวอลเลย์บอล T-Certificate

องคป์ ระกอบของสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) องคป์ ระกอบของสมรรถภาพ ทางกลไก (Motor Fitness) และองคป์ ระกอบของสมรรถภาพทางกลไกท่วั ไป (General Motor Fitness) นบั วา่ มคี วามส�ำคญั ตอ่ การประกอบกจิ วตั รประจ�ำวนั การออกก�ำลงั กายและการเลน่ กฬี า ซงึ่ สอดคลอ้ งกบั ส�ำนกั พฒั นาการพลศกึ ษา สขุ ภาพและนนั ทนาการ กรมพลศกึ ษา (2539: 14) ทว่ี า่ องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไก และองค์ประกอบ ของสมรรถภาพท่ัวไป องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ ถ้าหากได้มีการฝึกฝนให้ท�ำงานท่ีนอกเหนือ จากงานประจ�ำอยู่เสมอแล้ว ก็จะท�ำให้แต่ละส่วนมีประสิทธิภาพสูงข้ึน และเม่ือน�ำไปใช้ใน การประกอบกิจกรรมอย่างหน่ึงอย่างใดพร้อมๆ กัน ก็จะเกิดเป็นสมรรถภาพท่ีสูงข้ึน และ การมีสมรรถภาพทางกายสูงข้ึนไม่ใช่จะต้องเล่นกีฬาได้เก่งทกุ อยา่ ง เพราะการเลน่ กฬี าจ�ำเปน็ ตอ้ ง อาศยั องคป์ ระกอบอนื่ ๆ ทรี่ วมกนั แลว้ เรยี กวา่ สมรรถภาพทางกลไกทวั่ ไป (General Motor Fitness) แต่คนจะเลน่ กีฬาไดเ้ ก่งจ�ำเปน็ ตอ้ งมสี มรรถภาพทางกายสงู เป็นพนื้ ฐาน ความหมายขององค์ประกอบสมรรถภาพทางกลไกท่วั ไป วุฒิพงศ์ ปรมัตถากร (2537: 78-79) ได้กล่าวว่า สมรรถภาพทางกลไกท่ัวไป (General Motor Fitness) คณะกรรมการนานาชาติเพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ ทางด้านร่างกาย International for the Standardization of Physical (Fitness Test) ได้จ�ำแนกองค์ประกอบสมรรถภาพทางกลไกทวั่ ไปไว้ดังน้ี 1. ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคล่ือนที่จากท่ีหน่ึงไปยัง อกี ที่หนงึ่ โดยใชร้ ะยะเวลาส้นั ท่ีสดุ 2. พลังกล้ามเน้ือ (Muscular Power) คือ ความสามารถของกล้ามเน้ือในการท�ำงาน ได้อย่างรวดเร็วและแรงในจังหวะของกล้ามเน้ือหดตัวเพียงครั้งเดียว เช่น การยืนกระโดดไกล (Standing Broad Jump) เปน็ ตน้ 3. ความแขง็ แรงของกลา้ มเนอ้ื (Muscular Strength) คอื ความสามารถของกลา้ มเนอื้ ท่หี ดตวั เพียงคร้งั เดยี วโดยไม่จ�ำกดั เวลา เชน่ การยกนำ้� หนกั เปน็ ต้น 4. ความอดทนของกลา้ มเนอื้ (Muscular Endurance) คอื ความสามารถของกลา้ มเนอื้ ที่ได้ประกอบกิจกรรมที่หนักกว่าปกติ ซ้�ำซากได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวงิ่ ระยะไกล เป็นต้น 5. ความคลอ่ งตวั (Agility) คอื ความสามารถของรา่ งกายทจี่ ะบงั คบั ควบคมุ ในการเปลย่ี น ทิศทางของการเคลือ่ นท่ีไดด้ ว้ ยความรวดเรว็ และแนน่ อน คมู่ อื ผฝู้ กึ สอนกฬี าวอลเลยบ์ อล T-Certificate 43