Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การบริหารงานคุณภาพในองค์กร

การบริหารงานคุณภาพในองค์กร

Published by poo_supreeda, 2021-03-06 09:17:54

Description: การบริหารงานคุณภาพในองค์กร
พชรภัทร สุธารัตน์

Search

Read the Text Version

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 1 คำนำ หนังสือ วิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การ รหัสวิชา 3001-1001 จัดทาข้ึนเพื่อ ประกอบการเรียน ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2557 ประเภท วิชาชีพพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพ่ือให้ผู้เรียนระดับช้ันประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ใช้ประกอบการเรียนรู้ และการจัดกระบวนการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และเกิด ประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ผู้เรียบเรียงจึงได้ดาเนินการจัดทาโดยศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา คาอธิบายรายวิชา และศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ท่ีเก่ียวข้อง จากหนังสือตาราต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์การสอนแล้วนาเนื้อหามาเรียบเรียงเป็นเอกสาร ประกอบการเรียนวิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การ แบ่งเน้ือหาออกเป็น 10 บท เพื่อใช้ในการ ประกอบการเรียนรขู้ องผ้เู รียน และผสู้ นใจสามารถนาไปใช้ใหเ้ กดิ ประโยชน์ในการบรหิ ารงานได้ ผู้เรียบเรียงหวังว่า เอกสารประกอบการเรียนวิชา การบริหารงานคุณภาพในองค์การ เล่มน้ี สามารถนาไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน และพัฒนานกั เรียนให้มีความรู้ มที ักษะ มีเจตคติที่ ดีและนาไปเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิตประจาวัน และนาไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพใน อนาคตได้ พชรภัทร สธุ ารกั ษ์ กรกฎาคม 2563 วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 2 สำรบัญ 1 32 บทท่ี 1 องคก์ ารและการจดั องค์การ 52 บทท่ี 2 การเพ่มิ ประสิทธิภาพในองค์การ 78 บทท่ี 3 การบรหิ ารคุณภาพและระบบมาตรฐานคุณภาพในองค์การ 98 บทที่ 4 วฒั นธรรมองค์การ บทที่ 5 การเพิ่มผลผลิตและการควบคุมการผลิตในองค์การ 126 บทที่ 6 กลยุทธก์ ารเพม่ิ ประสทิ ธิภาพในองค์การและบรรยากาศการสร้างแรงจงู ใจใน 148 การทางาน 171 บทท่ี 7 กิจกรรมระบบคุณภาพเพ่ือเพ่มิ ประสิทธิภาพในการทางานและการนามา 188 207 ประยกุ ต์ใช้ในการจัดการงานอาชพี บทที่ 8 การวางแผนและการจัดการความเสยี่ งในองค์การ บทที่ 9 การจดั การความขดั แยง้ ในองค์การ บทที่ 10 การฝกึ อบรมและการพัฒนาตนเองเพ่ือเพม่ิ ประสิทธภิ าพการทางาน วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 3 บทท่ี 1 องคก์ ำรและกำรจดั องคก์ ำร หัวเรอื่ ง 1. ความหมายขององคก์ าร 2. ลักษณะขององคก์ าร 3. โครงสร้างองค์การและการจัดโครงสรา้ งขององค์การ 4. ประเภทขององคก์ าร 5. การจัดองค์การ 6. หลกั การและขนั้ ตอนการจดั องค์การ 7. ความสาคัญของการจัดองคก์ าร 8. เป้าหมายขององคก์ าร 9. การประยกุ ตใ์ ช้ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง จุดประสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม เมอื่ ศึกษาบทที่ 1 จบแลว้ นกั ศึกษาสามารถ 1. อธบิ ายความหมายขององคก์ ารได้ 2. บอกลักษณะขององคก์ ารได้ 3. อธบิ ายโครงสร้างองคก์ ารและการจดั โครงสร้างขององคก์ ารได้ 4. อธบิ ายประเภทขององคก์ ารได้ 5. อธิบายการจัดองค์การได้ 6. อธิบายหลักการจดั องค์การและข้ันตอนการจัดองค์การได้ 7. บอกความสาคัญของการจดั องคก์ ารได้ 8. อธิบายเปา้ หมายขององค์การได้ 9. เขา้ ใจปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนาไปปฏบิ ตั ไิ ด้ วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 4 องค์การทุกองค์การต่างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่เหมาะสมตามระบบการจัดองค์การ จะต้อง มีหน้าท่ีเกี่ยวข้องกับบุคคลต้ังแต่ก่อนปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงาน เพ่ือสร้างความม่ันใจให้องค์การ ว่ามีบคุ คลท่ีมีความรู้ความสามารถ มีทักษะ ในระดบั และปรมิ าณที่เหมาะสมร่วมงานอยู่ตลอดเวลา บุคคลส่วนใหญ่ต้องทางานเพ่ือให้ตนเองและครอบครัว ดารงชีพมีคุณภาพชีวิตท่ีดีในสังคม โดยมีปัจจัยสี่ มีความปลอดภัย และได้รับการยอมรับจากสังคม เราจะเห็นได้ว่าการจัดการทรัพยากร มนุษย์มีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการระดับต่าง ๆ ของบุคลากรตั้งแต่การจัดองค์การ โครงสร้างองค์การ เป้าหมายขององค์การ การจัดองค์การล้วนจะมีส่วนเสริมคุณภาพชีวิตการทางาน และมาตรฐานการทางานให้ดขี ึน้ 1. ควำมหมำยขององคก์ ำร องค์การ (Organizing) หมายถึง ศูนย์รวมกิจกรรมท่ีมีขนาดใหญ่ เป็นการรวมบุคคลเพ่ือ ทากิจกรรมและการให้บริการ โดยมีการแบ่งงานกันทา เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายขององค์การที่ตั้งไว้ หลักการขององค์การได้แก่ ความชานาญงาน สายการบังคบั บัญชา ขอบข่ายการควบคุมงาน และการ จัดลาดับงาน โดยทั่วไปองค์การจะมีหน้าที่ให้บริการและสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพ และมีการทางาน อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์การบริหารทางธุรกิจ นักวิชาการ ด้านการจัดการและการบริหารได้วิเคราะห์ศัพท์และให้ความหมาย คาว่า “องค์การ” ไว้มากมาย หลายแนวคิด ซึ่งมคี วามหมายคล้ายคลึงกันดงั น้ี องค์การ หมายถึง รูปแบบการทางานของมนุษย์ ท่ีมีลักษณะการทางานเป็นกลุ่ม มีการ ประสานงานกันตลอดเวลา ตลอดจน ต้องมีการกาหนดทิศทาง มีการจัดระเบียบวิธีการทางาน และการตดิ ตามวดั ผลสาเร็จของงานท่ีทาอยู่เสมอ (ธงชัย สนั ติวงษ์ อ้างใน สิฏฐากร ชทู รพั ย์, และมนัส ชัย กีรติผจญ, การบริหารงานคุณภาพในองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัทสานักพิมพ์เอมพันธ์ จากัด, 2558) หน้า 2 องค์การ คือ หน่วยสังคมหรือหน่วยงาน ซ่ึงมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหน่ึงร่วมกันดาเนินกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหน่ึง (แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) อา้ งใน สมคิด บางโม, องค์การและการจัดองคก์ าร กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพฒั น์ จากดั , 2558) หนา้ 15 วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 5 องค์การ คือ บรรดาระบบประสานสัมพันธ์ ร่วมมือกันทางานทุกชนิดของมนุษย์ จัดเป็น องค์การได้ทั้งน้ัน (แทลคอตต์ บาร์สันส์ (Talcott Parson) อ้างใน (สมคิด บางโม, องค์การและ การจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพฒั น์ จากดั , 2558) หน้า 15 องค์การ หมายถึง หน่วยสังคมหรือกลุ่มบุคคลที่ต้ังข้ึนอย่างจงใจ เพื่อทางานให้บรรลุ เป้าหมายท่ีแน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง (เอมิไท เอตซิไอนิ (Amitai Etzioni) อ้างใน สมคิด บางโม, องคก์ ารและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัทวทิ ยพัฒน์ จากดั , 2558) หนา้ 15 องค์การ คือ กลุ่มบุคคลหลายๆ คนร่วมกันทากิจการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้ังไว้ การร่วมกันของกลุ่มต้องถาวร มีการจัดระเบียบภายในกลุ่มเก่ียวกับอานาจหน้าที่ของแต่ละคน ตลอดจนกาหนดระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้ยึดถือปฏิบัติ (สมคิด บางโม, องค์การและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษทั วิทยพัฒน์ จากัด , 2558) หน้า 16 องค์การ คือ หน่วยงานทางสังคมท่ีอยู่ภายใต้และมีปฏิสัมพันธ์กับส่ิงแวดล้อม โดยมี เป้าประสงค์อย่างใดอย่างหน่ึงหรือหลายอย่าง ซึ่งสมาชิกมีค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกัน ในการ ขับเคลื่อนองค์การให้บรรลุเป้าประสงค์ ดังน้ันจึงต้องมีการออกแบบโครงสร้างเพ่ือรวบรวมกลุ่มงาน กิจกรรม และการกาหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก รวมทั้งมีการสร้างระบบการประสานงานและ ยทุ ธศาสตรเ์ พอื่ ใหก้ ารดาเนินงานมีประสทิ ธภิ าพและเคลื่อนตัวได้อยา่ งราบร่นื ดังน้ัน องค์การ หมายถึง ศูนย์รวมของกิจกรรม ที่มีความเก่ียวข้องกันมาร่วมกัน อย่างเป็นระเบียบ หรือเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมที่บุคคลได้รวมกันขึ้น เพ่ือประกอบกิจกรรมอย่างใด อย่างหน่ึง โดยมีการใช้อานาจการบริหารที่ชัดเจน มีการแบ่งงานและหน้าที่ มีการลาดับชั้นของการ บงั คับบญั ชา และความรบั ผิดชอบเพื่อให้บรรลเุ ป้าหมายที่ตง้ั ไว้ 2. ลกั ษณะขององค์กำร องค์การ เป็นการรวมของกิจกรรมท่ีบุคคลได้รวมกันข้ึน เพื่อประกอบกิจกรรมอย่างใด อย่างหนงึ่ โดยมีระเบยี บ ข้อบงั คบั วิธีการทางาน เพือ่ ใหก้ ารดาเนินงานบรรลวุ ตั ถปุ ระสงค์ทกี่ าหนดไว้ ซง่ึ โดยท่ัวไป องคก์ าร สามารถแบง่ ออกเปน็ 3 ลกั ษณะใหญ่ คอื วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 6 2.1 องค์กำรทำงสงั คม เป็นองค์การทม่ี ีวัตถุประสงค์ในการทาหน้าที่เก่ียวข้องสัมพันธ์กับสมาชิกในสังคม ได้แก่ ครอบครวั ชุมชน สมาคม และกลมุ่ กิจกรรมต่างๆ เช่น มูลนิธิ เอน็ จีโอ ( NGO ; NGOs) greenpeace ภาพท่ี 1.1 : องคก์ ารทางสงั คม ทม่ี า : โดย พชรภทั ร สธุ ารักษ์ (2559) 2.2 องค์กำรทำงรำชกำร เป็นหน่วยงานทางราชการต่างๆ ที่ทาหน้าที่ในทางสาธารณะหรือบริการประชาชน และเป็นองค์การท่ีมีระบบสลับซับซ้อนมาก ได้แก่ กระทรวง เทศบาล และองค์การต่างๆ ที่อยูใ่ นระบบราชการ ภาพท่ี 1.2 องคก์ ารทางการ ทมี่ า : โดย พชรภทั ร สุธารักษ์ (2559) วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 7 2.3 องค์กำรเอกชน เ ป็ น อ ง ค์ ก า ร ที่ มี ก า ร ด า เ นิ น ก า ร เ พ่ื อ ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ ท า ง ก า ร ค้ า แ ล ะ บ ริ ก า ร โดยผลประโยชน์หรือกาไรจะตกแก่บุคคลหรือกล่มุ บุคคลที่เป็นเจ้าของ ได้แก่ สถาบันการเงิน โรงงาน อุตสาหกรรม บริษัท ห้างหุ้นส่วน เป็นต้น (สิฏฐากร ชูทรัพย์, และมนัสชัย กีรติผจญ, การบริหารงาน คณุ ภาพในองค์การ กรงุ เทพฯ : บริษัท สานักพิมพเ์ อมพันธ์ จากัด, 2558) หน้า 2 ภาพที่ 1.3 องคก์ ารเอกชน ที่มา: พชรภัทร สุธารักษ์ (2559) 3. โครงสร้ำงองค์กำรและกำรจัดโครงสรำ้ งขององค์กำร 3.1 โครงสรำ้ งองค์กำร (Organization Structure) ระบบการติดต่อสื่อสารและอานาจบังคับบัญชาที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมกลุ่มคน เข้าด้วยกัน เพื่อทางานร่วมกันจนบรรลเุ ป้าหมายขององค์การ โครงสร้างองค์การทาให้รู้เครือข่ายงาน การรายงาน และความสัมพันธ์ระหว่างคนและกลุ่มคน ลักษณะโครงสร้างขององค์การประกอบด้วย สงิ่ ต่างๆ ดงั น้ี (มณีรตั น์ สุวรรณวารี : ออนไลน)์ 3.1.1 เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Goal and Objective) มีการกาหนดเป้าหมาย และวัตถปุ ระสงคข์ ององคก์ ารให้ชดั เจนวา่ ต้องการอะไร 3.1.2 ภาระหนา้ ท่ี (Function) องคก์ ารทุกองคก์ ารจะต้องมกี ารกาหนดภาระหน้าที่ ไว้อย่างชัดเจน และจะมกี ารกาหนดไวอ้ ยา่ งถาวร 3.1.3 การแบ่งงานกันทา (Division of work) มีการมอบหน้าทแ่ี ละความรับผิดชอบ และมกี ารมอบหมายหน้าทีใ่ หแ้ ตล่ ะคนหรอื กลมุ่ คนรับผดิ ชอบอย่างเปน็ ระบบ วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 8 3.1.4 การบังคับบัญชา (Hierarchy) เป็นการจัดตามความสัมพันธ์ของอานาจหน้าที่ และความรบั ผดิ ชอบ ตามขอบเขตอานาจหนา้ ท่ีความรับผิดชอบของแต่ละคน หรอื แต่ละหน่วยงาน 3.1.5 ช่วงของการควบคุม (Span of Control) เป็นการแสดงให้เห็นว่าใคร มีหนา้ ทร่ี บั ผิดชอบเพยี งใด มีผบู้ ังคบั บญั ชากีค่ น มีหนว่ ยงานท่ีอยู่ภายใต้ความรับผดิ ชอบกี่หน่วย 3.1.6 เอกภาพการบังคับบัญชา (Unity of Command) คือความเป็นอันหน่ึง อันเดียวกันในการบังคับบัญชาให้อยู่กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลอย่างชัดเจนเพ่ือ ปฏิบัติ หนา้ ที่ ทไ่ี มซ่ า้ ซอ้ นกันและไม่กา้ วก่ายกนั ภาพท่ี 1.4 โครงสร้างองค์การ ท่มี า: พชรภทั ร สุธารักษ์ (2559) 3.2 กำรจัดโครงสร้ำงขององค์กำร (Organization Structure) ท่ียึดถือต่อกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณีก็คือ องค์การที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิด คือ มีด้านบนตาแหน่งน้อยและด้านล่างมีตาแหน่งสลับกันมาจนถึงระดับล่างสุด การจัดโครงสร้าง จะต้องกาหนดว่าจะจัดกลุ่มงานและกลุ่มคนที่ทางานให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้บังคับบัญชา การจัดโครงสร้างองค์การจะยึดหลักการแบ่งงานและแบ่งคนทางานเป็นสาคัญ ตามโครงสร้างของ องค์การสามารถแยกออกได้ 5 ประเภท ดังน้ี (กัลยา สุดแดน, การบริหารงานคุณภาพในองค์การ กรงุ เทพฯ : บริษทั ศนู ยห์ นังสือ เมืองไทย จากดั , 2558) หน้า 14 3.2.1 โครงสร้างองค์การตามหน้าท่ีการงาน (Functional Organization Structure) วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 9 หมายถึง โครงสร้างท่ีจัดต้ังขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภทหรือหน้าท่ีการงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละแผนกน้ันมีหน้าที่ต้องกระทาอะไรบ้าง ซ่ึงผลดีก่อให้เกิดการได้คนมีความสามารถทางาน ในแผนกน้ันๆ ท้ังยังฝึกบุคคลในแผนกนั้นๆ ให้มีความเช่ียวชาญกับหน้าที่ของงานนั้นอย่างลึกซ้ึง สาหรับฝ่ายบริหารระดับสูงนัน้ ก็เป็นเพียงแต่กาหนดนโยบายไว้กวา้ งๆ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะดา้ น คอยป้อนข้อมูลท่ีถูกต้อง ให้พิจารณาตัดสินใจและให้มีความผิดพลาดได้น้อยมาก การประสานงาน ได้ง่ายเนื่องจากแต่ละคนมีความสนใจในงานและใช้ภาษาเดียวกัน ทาให้สามารถสร้างบรรยากาศ การทางานท่ีดีได้ง่ายและการบริหารงานก็เกิดความประหยัดด้วย อย่างไรก็ตาม การจัดรูปแบบ องค์การแบบน้ีมีผลเสียทางการบริหารหลายประการ อาทิเช่น การแบ่งงานออกเป็นหลายแผนกและ มีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทาให้การวางแผนงานยุ่งยากขึ้น อาจมีการปัดความรับผิดชอบได้ นอกจากน้ัน การจัดองค์การรูปแบบนี้มักเน้นท่ีการรวมอานาจไว้ ณ จุดที่สูงท่ีสุด ไม่มีการกระจายอานาจในการ บรหิ ารให้ลดหล่ันลงไป รปู ท่ี 1.5 โครงสรา้ งองค์การตามหนา้ ท่ีงาน ทม่ี า : พชรภทั ร สธุ ารักษ์ (2559) 3.2.2 โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก (Line Organization Structure) หมายถึง การจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงานหลัก และมีการบังคับบัญชาจากบนลงล่างลดหล่ัน เป็นชั้นๆ จะไม่มีการส่ังการแบบข้ามขั้นตอนในสายงาน ซ่ึงโครงสร้างแบบน้ีเหมาะสมสาหรับองค์การ ต่างๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอนาคตได้ เพราะเพียงแต่เพ่ิมเติมโครงสร้างในบางสายงาน ให้มีการควบคุมบังคับบัญชาลดหลั่นลงไปอีกได้ การจัดองค์การแบบนี้อาจจะคานึงถึงสภาพของงาน ที่เป็นจริง เช่น แบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือแบ่งตามอาณาเขต หรือแบ่งตามประเภท วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 10 ของลูกค้า หรือแบ่งตามกระบวนการ ผลดีของโครงสร้างแบบน้ี คือ การจัดโครงสร้างด้วยรูปแบบ ท่ีเข้าใจง่าย การบังคับบัญชาตามสายงานเป็นข้ันตอน ฉะนั้นจุดใดท่ีมีการปฏิบัติงานล่าช้าก็สามารถ ตรวจสอบได้รวดเร็ว จากผู้บังคับบัญชาในระดับน้นั ได้ง่าย ผู้ปฏิบัติงานได้คลกุ คลีกับสภาพของปัญหา ท่ีเปน็ จรงิ และเกดิ ข้ึนเสมอ ทาให้การตดั สินใจต่างๆ มขี ้อมลู ที่แน่นอน และสามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งส่งผลสะท้อนให้มีการปกครองบังคับบัญชาที่อยู่ในระเบียบวินัยได้ดี การติดต่อสื่อสารและ การควบคุมการทางานทาได้ง่าย ประการสุดท้าย องค์การน้ีเหมาะสาหรับการจัดรูปแบบองค์การ ขนาดเล็ก แต่ไม่เหมาะสมที่จะจัดในลักษณะองค์การขนาดใหญ่ท่ีมีการปฏิบัติงานสลับซับซ้อน ส่วนข้อเสีย ประการแรก ไม่ได้สนับสนุนให้ผู้ทางานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ปริมาณของงาน มีมาก จนต้องใช้เวลาทางานประจาให้เสร็จ ไม่มีเวลาที่จะมาศึกษาถึงระบบการทางานท่ีดีกว่า และอีกประการ คือ ผู้บริหารระดับสูงอาจจะไม่ยอมมอบหมายงานให้ผู้บริหารงานระดับรองๆ ลงมา ทาให้ขวญั ของผู้ปฏิบตั ิงานในระดับรองๆ ไมม่ ี หมดกาลังใจในการปฏบิ ัติงาน เน่อื งจากโครงสร้างแบบ นใ้ี ห้อานาจควบคมุ โดยตรงต่อผบู้ ังคบั บัญชาระดับสูงเท่าน้ัน ผ้จู ดั การท่ัวไป ผู้จัดการฝา่ ยผลติ ผ้จู ดั การฝา่ ยขาย ผจู้ ดั การฝา่ ยการเงิน แผนกวัตถุดิบ แผนกผลติ การตลาด ฝ่ายโฆษณา การเงิน บัญชี รปู ท่ี 1.6 โครงสรา้ งองค์การตามสายงานหลกั ทีม่ า : พชรภัทร สุธารกั ษ์ (2559) 3.2.3 โครงสร้างองค์การแบบคณะท่ีปรึกษา (Staff Organization Structure) หมายถึง การจัดโครงสร้างโดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยการบริหารงาน เช่น ที่ปรึกษา นายกรฐั มนตรี ที่ปรึกษาผู้วา่ ราชการกรุงเทพมหานคร เปน็ ต้น เพราะท่ีปรึกษามีความรู้ ความชานาญ เฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซ่ึงต้องอาศัยผู้เช่ียวชาญมาช่วยหรือคอยแนะนา วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 11 ทาให้องค์การมองเห็นความสาคัญของการมีท่ีปรึกษาข้ึน อย่างไรก็ตาม พวกที่ปรึกษาไม่มีอานาจใน การสั่งการใดๆ นอกจากคอยป้อนข้อมูลให้ผู้บริหารเป็นผู้ช้ีขาดอีกครั้งหน่งึ ซ่ึงการจัดองค์การรูปแบบ นี้มีผลดีคือ ทาให้การดาเนินงานต่างๆ มีการวางแผนและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าได้ มีท่ีปรึกษา คอยให้ความกระจ่างและประสานงานกับหน่วยงานอ่ืนๆ และทาให้การทางานใช้หลักเหตุผลมากขึ้น มีการใช้เคร่ืองมือที่ทันสมัย และคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ผลเสียของการใช้ที่ปรึกษาอาจมีความ ขัดแย้งกัน เน่ืองจากความเห็นไม่ลงรอยกัน และฝ่ายคณะท่ีปรึกษาอาจท้อถอยในการทางานได้ เพราะมหี น้าทเี่ พียงเสนอแนะแต่ไมม่ ีอานาจสั่งการ คณะที่ ผูจ้ ดั การ ปรึกษา ทัว่ ไป การผลิต การตลาด การเงิน การบรหิ าร รปู ท่ี 1.7 โครงสรา้ งองค์การแบบคณะที่ปรึกษา ท่ีมา : พชรภัทร สุธารกั ษ์ (2559) 3.2.4 โครงสรา้ งองคก์ ารแบบคณะกรรมการบรหิ าร (Committees Organization Structure) หมายถึง การจดั โครงสรา้ งองค์การโดยให้มีการบรหิ ารงานในลักษณะคณะกรรมการ เชน่ คณะกรรมการบรหิ ารงานรถไฟฟา้ แห่งประเทศไทย คณะกรรมการองค์การสอ่ื สารมวลชนแห่ง ประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารบรษิ ัทเจรญิ โภคภณั ฑ์ เปน็ ตน้ ผลดีจะชว่ ยขจดั ปญั หา การ บริหารงานแบบผูกขาดของคนคนเดียว หรอื การใชแ้ บบเผดจ็ การเขา้ มาบรหิ ารงาน นอกจากนนั้ การ ตง้ั คณะกรรมการ ซึง่ ประกอบด้วยบคุ คลมาจากหลายๆ ฝ่ายจะทาให้ทุกคนเข้าใจปัญหาและก่อใหเ้ กิด การยอมรบั ในปัญหาท่ฝี ่ายอ่ืนเผชิญอยทู่ าใหก้ ารประสานงานเป็นไปได้งา่ ยข้ึน ข้อเสีย คือ เกิดการ สญู เสยี ทรัพยากรโดยใช่เหตเุ นือ่ งจากเวลาส่วนใหญใ่ ชไ้ ปในการประชุมถกเถียงกนั หรืออาจเกิดการ แลกเปล่ียนผลประโยชนใ์ นระดบั คณะกรรมการหรือยอมประนีประนอมกนั เพื่อให้ได้ข้อยุติที่รวดเร็ว ทาใหก้ ารตั้งคณะกรรมการไร้ผล วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 12 3.2.5 โครงสร้างองค์การงานอนุกรม (Auxiliary) คือ หน่วยงานช่วย หรือเรียกว่า หน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) ซ่ึงเป็นงานเก่ียวกับธุรการ และอานวยความสะดวก เชน่ งานเลขานกุ าร และงานตรวจสอบภายใน เปน็ ต้น ผูจ้ ดั การใหญ่ ผตู้ รวจสอบภายใน เลขานกุ าร ผ้จู ดั การฝา่ ย..... ผจู้ ัดการฝ่าย..... ผู้จดั การฝ่าย..... รูปที่ 1.8 โครงสร้างองค์การงานอนกุ รม ทม่ี า : พชรภัทร สุธารักษ์ (2559) 4. ประเภทขององค์กำร (Types of Organization) องค์การจะมีความแตกต่างกันมากมาย ท้ังในด้านองค์ประกอบ และวัตถุประสงค์ ดังนั้น ในการแบ่งประเภทขององค์การ จึงข้ึนอยู่กับจุดมุ่งหมายขององค์การว่าเป็นอย่างไร ซ่ึงมีลักษณะ การดาเนินงานท่ีแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งประเภทขององค์การได้ดังน้ี (กัลยา สุดแดน, การบริหารงานคุณภาพในองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัท ศูนย์หนังสือ เมืองไทย จากัด, 2558) หนา้ 14 วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 13 4.1 กำรแบ่งองคก์ ำรตำมควำมต้องกำรของบคุ คล 4.1.1 องค์การเบือ้ งตน้ (Primary Organization) เป็นองค์การท่ีสมาชกิ มีความรู้สึก สนิทสนมกันดี มีลักษณะเป็นครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนฝูง มีลักษณะที่ค่อนข้างไม่มีพิธีรีตอง มจี ุดมงุ่ หมายเนน้ ไปทค่ี วามสนกุ สนาน รูปที่ 1.9 องค์การเบอ้ื งตน้ ท่ีมา : จากหนังสอื พมิ พ์ฐานเศรษฐกิจ ปที ี่ 36 ฉบับท่ี 3,184 วันที่ 18 - 20 สงิ หาคม พ.ศ. 2559 http://www.thansettakij.com/content/85497 4.1.2 องค์การทตุ ยิ ภูมิ (Secondary Organization) เป็นองคก์ ารทก่ี าหนดบทบาท และหน้าท่ีของสมาชิกในองค์การ มีความสัมพันธ์ไม่แน่นแฟ้น เป็นไปในลักษณะชั่วคราว มีลักษณะ เป็นโรงงาน รา้ นค้า สมาคม สโมสร เป็นต้น 4.2 กำรจำแนกองคก์ ำรโดยยึดโครงสร้ำง แบ่งออกเปน็ 2 แบบ ดงั นี้ 4.2.1 องค์การแบบเป็นทางการ (Formal Organization) เป็นองค์การที่มีการ จัดโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบแบบแผนแน่นอน การจัดตั้งมีกฎหมายรองรับ บางแห่งเรียกว่า องคก์ ารรูปนัย ไดแ้ ก่ บรษิ ทั หน่วยราชการ โรงพยาบาล โรงเรยี น เป็นต้น วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 14 รูปที่ 1.10 องค์การแบบเปน็ ทางการ ท่มี า : พชรภัทร สธุ ารักษ์ (2559) 4.2.2 องค์การแบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization) เป็นองค์การ ที่รวมกันหรือจัดตั้งข้ึนด้วยความพึงพอใจและมีความสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัว ไม่มีการจัดระเบียบ โครงสร้างภายใน มีการรวมตัวกันอย่างง่ายๆ และเลิกล้มได้ง่าย องค์การน้ีเรียกว่า องค์การอรูปนัย หรือ องค์การนอกแบบ เช่น ชมรมต่างๆ หรือกลุ่มต่างๆ อาจเป็นการรวมกลุ่มกันตามความสมัครใจ ของสมาชกิ กลุม่ ซง่ึ เนื่องมาจากรายได้ อาชพี รสนยิ ม ศาสนา ประเพณี ตาแหน่งงาน เปน็ ต้น รปู ที่ 1.11 องค์การแบบไมเ่ ปน็ ทางการ ทม่ี า : พชรภัทร สุธารักษ์ (2559) 4.3 กำรแบง่ องค์กำรตำมจุดมงุ่ หมำยขององคก์ ำร 4.3.1 องค์การที่แสวงผลประโยชน์ (Profit Organization) เป็นองค์การ ท่ีมุ่งทางการค้า การแสวงหาผลกาไรเข้าองค์การ หรือกลุ่มสมาชิก เป็นลักษณะโรงงานอุตสาหกรรม ทผ่ี ลติ สนิ คา้ ร้านค้า สานกั งาน เปน็ ต้น วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 15 4.3.2 องค์การท่ีไม่แสวงหาผลประโยชน์ (Non-Profit Organization) เปน็ องค์การ ที่ให้บริการเพ่ือสังคม เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น การศึกษา ศาสนา สมาคมการกุศลต่างๆ สมาคม ศษิ ย์เกา่ มูลนธิ ิ เป็นต้น 5. กำรจัดองคก์ ำร การจัดองคก์ าร คือการกาหนดโครงสร้างขององคก์ ารอย่างเป็นทางการ โดยจัดแบ่งออกเป็น หน่วยงานย่อยต่างๆ มีการกาหนดอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไว้ให้ชัดเจน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานย่อยเหล่านั้น ท้ังนี้ เพื่อให้เอ้ือต่อการดาเนินงานให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ คือ ตัวบุคคลและหน้าท่ี การงาน เพ่ือรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานท่ีมีประสิทธิภาพ สามารถทางานบรรลุเป้าหมายได้ (Edwin B Flippo, 1970 : 129) อ้างใน (สมคิด บางโม, องค์การและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัท วิทยพัฒน์ จากัด , 2558) หนา้ 107 การจัดองค์การ หมายถงึ การแบ่งองค์การออกเป็นหนว่ ยงานย่อยๆ ให้คลอบคลมุ ภารกิจและ หน้าที่ขององค์การ พรอ้ มกาหนดอานาจหนา้ ท่ีและความสมั พันธ์กับองค์การย่อยอื่นๆไวด้ ว้ ย ทง้ั นี้เพื่อ ความสะดวกในการบริหารให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ( สมคิด บางโม, องค์การและการจัด องค์การ กรงุ เทพฯ : บรษิ ัทวิทยพัฒน์ จากดั , 2558) หน้า 107 องคก์ าร หมายถงึ ความสมั พนั ธ์ระหว่างมนษุ ยเ์ พื่อทางานให้สาเร็จรว่ มกัน การจัดองค์การจึง เป็นการจัดหน้าท่ีการงานให้ประสานสัมพันธ์กัน (มูนีย์และไรลีย์ (Mooney and Reiley) อ้างใน สมคิด บางโม, องคก์ ารและการจดั องคก์ าร กรุงเทพฯ : บริษัทวทิ ยพฒั น์ จากัด , 2558) หนา้ 107 การจัดองค์การ หมายถึง ความพยายามของผู้บริหารที่จะให้มีหนทางสาหรับการปฏิบัติงาน ให้สาเร็จตามแผนงานที่วางไว้ (ธงชัย สันติวงษ์) อ้างใน (สมคิด บางโม, องค์การและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพฒั น์ จากดั , 2558) หนา้ 107 วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 16 6. หลักกำรและขั้นตอนของกำรจัดองคก์ ำร (Principles of Organization) 6.1 หลกั กำรของกำรจดั องค์กำร การจัดองค์การเป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงาน บุคลากร และปัจจัยทาง กายภาพต่างๆ ขององค์การท่ีหลายคนมาทางานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน ก่อให้เกิดการรวม พลังเพ่ือให้ได้ผลงานที่ได้รับมากกว่าต่างคนต่างทางาน แยกกัน และมีการนาไปใช้ ในทกุ วงการ หลักทส่ี าคญั ของการจัดองค์การมีดังต่อไปนี้ (สมคดิ บางโม, องคก์ ารและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษทั วทิ ยพฒั น์ จากดั , 2558) หนา้ 108 6.1.1 หลักการกาหนดหน้าท่ีของงาน (Function) หลักการกาหนดหน้าท่ีการงาน น้ันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์การ หน้าที่การงานและภารกิจ จึงหมายถึงกลุ่มของกิจกรรมท่ีต้อง ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ หน้าที่การงานจะมีอะไรบ้างและมีกี่กลุ่มขึ้นอยู่กับ เปา้ หมายขององคก์ าร ลกั ษณะขององค์การ และขนาดขององคก์ ารดว้ ย 6.1.2 การแบ่งงาน (division of work) การแบ่งงาน หมายถึง การแยกงานหรือ รวมหน้าทก่ี ารงานที่มลี กั ษณะเดียวกันหรอื ใกลเ้ คียงกนั ไว้ด้วยกัน หรอื แบ่งงานตามลักษณะเฉพาะของ งาน แลว้ มอบงานนนั้ ๆ ใหแ้ ก่บคุ คลหรอื กลุ่มบุคคลท่ีมีความสามารถหรือความถนดั ในการทางานน้ันๆ โดยตั้งเปน็ หนว่ ยงานยอ่ ยขนึ้ มารับผิดชอบ 6.1.3 หน่วยงานสาคัญขององค์การ หน่วยงานย่อยท่ีสาคัญขององค์การ ได้แก่ หน่วยงานหลัก (line) หน่วยงานที่ปรึกษา (staff) และหน่วยงานอนุกรม (auxiliary) การแบ่ง หน่วยงานเชน่ นีท้ าให้เหน็ ลกั ษณะของงานเดน่ ชัดขึ้น 1) หนว่ ยงานหลัก หมายถงึ หน่วยงานท่ีทาหนา้ ที่โดยตรงกับวตั ถุประสงค์ ขององค์การ และบุคคลท่ีปฏิบตั ิงานทข่ี นึ้ ตรงต่อสายบงั คบั บัญชา องค์การทุกแห่งจะต้องประกอบด้วย หนว่ ยงานหลกั ซ่งึ เปน็ หน่วยงานปฏบิ ัตงิ านเพ่ือผลประโยชน์โดยตรงต่อความสาเร็จขององค์การ ในธุรกิจขนาดเล็กมักจะมีแต่หน่วยงานหลักเท่าน้ัน อานาจหน้าท่ีความรับผิดชอบ ทุกอย่างอยู่กับผู้เป็นเจ้าของหรือผู้จัดการ สมาชิกทุกคนอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการจากผู้จัดการ แต่เพียงผู้เดียวในบริษัทผู้ผลิตหน่วยงานหลักคือฝ่ายผลิต ในห้างสรรพสินค้าหน่วยงานหลักคือ ฝ่ายขาย ส่วนหน่วยงานอน่ื ๆ ถอื เป็นหนว่ ยงานประกอบท่ีช่วยอานวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานหลัก วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 17 2) หน่วยงานท่ีปรึกษา หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยให้หน่วยงานหลัก ปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะผู้เช่ียวชาญเฉพาะงาน หรือเป็นรูปคณะกรรมการ ทปี่ รึกษาในบริษทั ต่างๆ ไดแ้ ก่ คณะกรรมการบรหิ าร ฝา่ ยวิจยั วางแผน ฝา่ ยตรวจสอบ 3) หน่วยงานอนุกร หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลัก และหน่วยงานท่ีปรึกษา หน่วยงานอนุกรมักเป็นงานด้านธุรการและงานอานวยความสะดวก เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีหน้าที่บริการลูกค้าขององค์การโดยตรง หรือไม่ได้ปฏิบัติงานอันเป็นงานหลักของ องค์การในบรษิ ัทท่วั ไป ไดแ้ ก่ ฝ่ายการเงิน ฝา่ ยบคุ คล เปน็ ต้น 6.1.4 สายการบังคับบัญชา (chain of command) หมายถึง ความสัมพันธ์ ตามลาดับชั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ทราบว่าการติดต่อส่ือสารมีทางเดิน อย่างไร มีการควบคุม และรบั ผดิ ชอบอย่างไร สายการบังคับบัญชาทดี่ ีควรมลี ักษณะดังน้ี 1) จานวนระดับช้ันแต่ละสายไม่ควรให้มีจานวนมากเกินไป จะทาให้ ไมส่ ะดวกแก่การควบคุมอาจทาใหง้ านคัง่ คา้ งได้ 2) สายบังคับบัญชาควรมีลักษณะชัดเจนว่าใครเป็นผู้มีอานาจส่ังการและ สัง่ ไปยงั ผู้ใด ในทานองเดยี วกนั ถา้ จะมีการรายงานตะตอ้ งรายงานต่อใคร มีทางเดินไปในทิศทางใด 3) สายการบังคับบัญชาไม่ควรให้มีการก้าวก่ายกันหรือซ้อนกัน งานอย่าง หน่งึ ควรใหม้ ีผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียว ถ้าให้มผี ู้สั่งงานได้หลายคนหลายตาแหน่งในงานเดียวกนั จะทา ให้การปฏิบตั ิงานสับสน 6.1.5 อานาจการบังคับบัญชา นอกจากสายงานการบังคับบัญชาแล้วในการบริหาร ยังพิจารณาถงึ อานาจ (power) ในการตัดสนิ หรอื สง่ั การ ซงึ่ มี 2 รูปแบบ 1) การรวมอานาจ (centralization) หมายถึง ระบบบริหารท่ีรวมศูนย์ อานาจอยู่ที่ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานระดับสูงเพียงจุดเดียว จะตัดสินใจเร่ืองใดต้องรอให้ผู้บริหาร ระดับสูงตัดสินใจส่ังการหรืออนุมัติก่อนจึงจะดาเนินการได้ ทางานได้ล่าช้า ผู้บริหารระดับล่างไม่ต้อง รับผิดชอบใดๆ จึงไม่มีความคิดที่จะริเริ่มงานหรือพัฒนางานเท่าท่ีควร เช่น การบริหารราชการ ของไทย การตัดสินใจใดๆ จะอยู่ที่อธิบดีเท่านั้น หัวหน้าส่วนราชการทั่วประเทศจะต้องรอให้อธิบดี ส่ังการแต่เพียงผเู้ ดยี ว วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 18 2) การกระจายอานาจ (decentralization) หมายถึง ระบบบริหาร ทก่ี ระจายอานาจลงไปใหผ้ ู้บริหารระดับล่างหรือหนว่ ยงานส่วนท้องถ่นิ เป็นผตู้ ัดสินใจในหนา้ ที่การงาน ที่ตนรับผิดชอบ โดยกระจายอานาจส่วนใหญ่ลงไปให้ผู้บริหารระดับล่างสามารถตัดสินใจได้ทันที ไม่ต้องรอความเห็นชอบจากผู้บริหารในส่วนกลาง เช่น ระบบการปกครองท่ีมีเทศบาลหรือองค์การ บริหารส่วนตาบล (อบต.) เป็นหน่วยงานบริหารท้องถิ่นของตนเอง ผู้บริหารสามารถตัดสินใจสั่งการ ในงานที่รับผิดชอบได้ทนั ทไี มต่ อ้ งรอการตัดสินใจจากส่วนกลาง การจัดองค์การสมัยใหม่มุ่งเน้นการกระจายอานาจไปสู่ผู้บริหารระดับล่างมากข้ึน เพ่ือให้การบริหารจัดการคล่องตัว ดาเนินไปด้วยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการบริหารมากข้ึน โดยเฉพาะในการบริหารธุรกิจต้องการความรวดเร็วและการทางานแข่งขันกับเวลาและคู่แข่งขัน ทม่ี ีเพ่มิ มากข้ึนทุกที 6.1.6 ช่วงการควบคุม (span of control) หมายถึง สิ่งที่แสดงให้ทราบว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชาก่ีคน หรือมีหน่วยงาน ท่ีอยู่ใต้ความควบคุมรับผิดชอบก่ีหน่วยงาน แต่เดิมเชื่อกันว่าผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งควร ผ้ใู ตบ้ งั คบั บัญชารองลงไปไม่เกนิ 8 – 10 คน ปจั จบุ ันเชื่อกนั ว่ามีผ้ใู ตบ้ งั คบั บัญชากี่คนกไ็ ด้ ท้งั น้ี ข้นึ อยู่ กับความสามารถของผู้บังคับบัญชาและคุณภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาช่วยของการควบคุม มีความสัมพันธ์กับสายการบังคับบัญชา กล่าวคือ ถ้าช่วงของการควบคุมกว้าง สายการบังคับบัญชา ก็สั้น ถ้าช่วงการควบคุมแคบ สายการบังคับบัญชาจะยาว อย่างไรก็ตาม ช่วงการควบคุมจะกว้างหรือ แคบขนึ้ อยู่กบั องค์ประกอบดังตอ่ ไปน้ี 1) ความสามารถของผ้บู งั คบั บญั ชา 2) การได้รบั การฝกึ ฝนอบรมของพนกั งาน 3) ความยุ่งยากสลบั ซับซ้อนของงาน 4) ความสัมพนั ธก์ บั หน่วยงานอนื่ อาร์. ซี. เดวิส (R.C. Davis) นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิมได้ช้ีให้เห็นถึงความแตกต่างของ ขนาดการควบคุมว่ามี 2 ระดับ คือ ขนาดการควบคุมระดับบริหาร (executive span) หมายรวมถึง ผบู้ ริหารระดับสงู และระดับกลาง ขนาดการควบคุมที่ดนี ่าจะอยูร่ ะหวา่ ง 3 ถึง 9 คน ขนึ้ อยู่กบั ลกั ษณะ งานและความรับผิดชอบ และ ขนาดการควบคุมระดับการปฏิบัติงาน จะมีประสิทธิภาพสูงสาหรับ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 19 ผู้ใต้บังคับบัญชา 30 คน (สมคิด บางโม, องค์การและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยพัฒน์ จากดั , 2558) หน้า 111 เออร์วิก (Urwick) ยืนยันว่าช่วงการบังคับบัญชาท่ีเหมาะสมและดีท่ีสุดสาหรับผู้บริหาร ระดับสูงน้ันไม่ควรเกิน 4 คน แต่ผู้บริหารระดับล่างอาจจะเป็น 8 ถึง 12 คน (สมคิด บางโม, องค์การ และการจดั องค์การ กรุงเทพฯ : บริษทั วทิ ยพฒั น์ จากดั , 2558) หน้า 111 รูปท่ี 1.12 ชว่ งการควบคมุ ท่มี า : สมคดิ บางโม (2558) รปู ที่ 1.13 ช่วงการควบคุม 6 (กวา้ ง) ท่ีมา : สมคดิ บางโม (2558) วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 20 รปู ที่ 1.14 ช่วงการควบคมุ 16 (กว้างมาก) เปน็ แบบแบนราบ ทม่ี า : สมคดิ บางโม (2558) 6.1.7 เอกภาพในการบังคับบัญชา เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง อานาจการควบคุมบังคับบัญชา โดยอานาจสิทธ์ิขาดมาอยู่ที่บุคคลหนึ่ง หรือคณะบุคคลใดคณะหน่ึงโดยเด็ดขาด หน่วยงานต่างๆ จะต้องระบุลงไปให้ชัดเจนว่าใครเป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา ใครมีความรับผิดชอบงานใดในขอบเขตกว้าง แคบ เท่าใด เอกภาพในการบังคับ บัญชาจะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ย 6.1.8 แผนภูมิองค์การ (Organization Chart) เป็นเครื่องมือสาคัญอย่างหนึ่งที่จะ ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างขององค์การ อานาจหน้าท่ี ความรับผิดชอบ ตลอดจนสายบังคับบัญชาใน องคก์ ารนั้นๆ แผนภูมอิ งค์การเป็นส่วนย่อทีช่ ่วยแสดงให้ทราบถึงหนว่ ยงานย่อยและความสัมพันธ์ของ หน่วยงานภายในองค์การ การจัดองค์การควรต้องเขียนแผนภูมิแสดงไว้ด้วยเสมอ แผนภูมิองค์การ จาแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ 1) แผนภูมิโครงสร้างหลัก (Skeleton Chart) เป็นแผนภูมิแสดง การจัดโครงสร้างทั้งหมดขององค์การว่าประกอบด้วยหน่วยงานย่อยอะไรบ้าง มีความสัมพันธ์ กันอย่างไร หน่วยงานย่อยใดข้ึนกับหน่วยงานใด แสดงสายบังคับบัญชาท่ีชัดเจน โดยใช้สี่เหลี่ยม (  ) แทนหน่วยงานย่อย เส้นทึบ ( ) แทนสายบังคับบัญชา และเส้นประ ( ) แทนสายงานท่ี ปรึกษาหรือสายงานประสานงาน แผนภูมิประเภทนี้เป็นท่ีนิยมใช้กันเพราะชัดเจนดี แสดงหน่วยงาน ย่อยได้ท้งั หมด และไม่มกี ารเปลยี่ นแปลงบ่อยนนัก วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 21 รูปที่ 1.15 แผนภูมโิ ครงสร้างหลัก ท่มี า : https://www.google.co.th 2) แผนภูมิแสดงตัวบุคคล (Personnel Chart) เป็นแผนภูมิแสดง ตาแหน่งและหน่วยงานย่อย คล้ายแผนภูมิโครงสร้างหลัก แต่ระบุชื่อบุคคลดารงตาแหน่งไว้ด้วย บางแห่งติดรูปผดู้ ารงตาแหน่งในระดบั สงู อีกดว้ ย รปู ที่ 1.16 แผนภมู แิ สดงตวั บคุ คล ที่มา : โดย พชรภทั ร สุธารกั ษ์ (2559) วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 22 3) แผนภูมิแสดงหน้าท่ีการงาน (Function Chart) เป็นแผนภูมิแสดง ตาแหน่งและหน่วยงานย่อย คล้ายแผนภูมิโครงสร้างหลัก แต่บอกหน้าท่ีย่อๆ แต่ละตาแหน่ง ไว้ดว้ ย แผนภมู ิประเภทน้เี ปน็ ทนี่ ยิ มใช้ รปู ที่ 1.17 แผนภมู ิแสดงหน้าท่กี ารงาน ทม่ี า : http://www.cityub.go.th บางตาราได้แบ่งแผนภูมิองค์การออกเป็น แบบแนวดิ่ง ซ่ึงนิยมเขียนกันทั่วไป ส่วนแบบแนวนอน และแบบวงกลม จะพิจารณาตามลักษณะของการเขยี นมากกว่าหลักการ 6.2 ขอ้ แนะนำในกำรเขียนแผนภมู ิองคก์ ำร เพ่ือใหก้ ารเขยี นแผนภูมิขององค์การเป็นไปด้วยความถกู ต้อง ควรดาเนินการดังน้ี 6.2.1 รวบรวมหน่วยงานย่อยทั้งหมดขององค์การว่ามีท้ังหมดก่ีหน่วยงาน และศกึ ษาใหเ้ ขา้ ใจว่าหนว่ ยงานใดข้ึนอยู่กบั หน่วยงานใด วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 23 6.2.2 ชนิดของแผนภูมิว่าจะใช้แบบใด (แบบโครงสร้างหลัก แบบแสดงตัวบุคคล หรือ แบบแสดงหน้าท่ีการงาน) 6.2.3 ใช้สี่เหลี่ยมผนื ผา้ เลก็ ๆ (  ) แทนหน่วยงานย่อย หรอื บคุ คล หรอื ตาแหน่ง โดยให้หน่วยงานท่ีมีฐานะสูงกว่าขนาดของส่ีเหล่ียมยาวกว่าเล็กน้อย หน่วยงานที่มีฐานะเท่ากันควรมี ขนาดเทา่ กัน 6.2.4 จัดเรียงลาดับหน่วยงานย่อยให้ตรงสายงานและลดหล่ันกันไปตามสาย การบงั คบั บัญชา หน่วยงานทมี่ ฐี านะเทา่ กนั ให้วางอยใู่ นระดับเดียวกนั 6.2.5 หน่วยงานท่ีเป็นงานท่ีปรึกษาต้องเรียงไว้แยกออกจากสายงานบังคับบัญชา โดยวางไว้ในระดับของหน่วยงานที่จะต้องขอคาปรึกษา 6.2.6 ใช้เส้นทึบ ( ) แทนสายบังคับบัญชา เส้นประ ( ) แทนสายงาน ท่ปี รกึ ษา ขดี เส้นโยงหน่วยงานย่อยตา่ งๆ ตามสายงาน 6.2.7 เขียนชอ่ื แผนภมู ิไว้ด้านบนสุดดังน้ี แผนภมู แิ สดงการแบ่งส่วนงานของบรษิ ทั .................................... หรอื แผนผังการจัดองคก์ ารของบรษิ ัท................................................. หรอื แผนผังแสดงโครงสร้างของบริษทั ................................................ อย่างไรก็ตาม การเขียนแผนภูมิองค์การมักเกิดปัญหาเพราะขนาดของกระดาษ ท่ีเขียนไม่พอ เน่ืองจากองค์การมีหน่วยงานย่อยจานวนมาก ดังนั้นจึงเขียนแผนภูมิแสดงโครงสร้าง เฉพาะหน่วยงานใหญ่ๆ ก่อน แล้วแยกเขียนรายละเอียดของหน่วยงานใหญ่ๆ นั้นอีกคร้ังหน่ึง เช่น แผนภูมิโครงสร้างของกระทรวงมักนิยมเขียนแผนภูมิออกเป็นหลายแผ่น แผ่นแรกจะเขียนเฉพาะ โครงสร้างที่แสดงหน่วยงานระดับกรมและเทียวเท่ากรม ซ่ึงแผ่นต่อๆ ไปจะเขียนโครงสร้างของแต่ละ กรม ซึง่ จะเกบ็ รายละเอียดไดม้ ากและถกู ต้องกวา่ เปน็ ตน้ 6.3 ส่งิ ทตี่ อ้ งคำนึงถึงในกำรจดั องค์กำร นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงหลักการจัดองค์การไว้หลายประการ สิ่งท่ีต้อง คานงึ ถงึ ในการจัดองค์การสรปุ ไดด้ ังน้ี วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 24 6.3.1 องค์การต้องมเี ป้าหมาย นโยบาย และแผนงานในการดาเนินงานอยา่ งชัดเจน เพื่อให้ผู้ร่วมงานหรือสมาชิกขององค์การทราบ ซ่ึงจะทาให้การบริหารองค์การดาเนินไปอย่างรวดเร็ว และมปี ระสทิ ธิภาพ 6.3.2 องค์การต้องจัดให้มีศูนย์กลางในการอานวยการท่ีมีสมรรถภาพ มีความ รับผิดชอบ และอานวยการโดยตรง 6.3.3 องค์การต้องระบุหน้าท่ีการงาน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน ใหช้ ดั เจน มีการแบ่งแยกหนา้ ทกี่ ารงานตามความเหมาะสมตรงกบั ความร้คู วามสามารถ 6.3.4 องค์การต้องจัดระบบการทางานอย่างเหมาะสม มีเทคนิคการควบคุมงาน และการประสานงานภายในองค์การ 6.3.5 องค์การต้องมีระบบติดต่อสื่อสารที่ดี มีหลักในการอานวยการ การวินิจฉัย สง่ั การ 6.3.6 องค์การต้องสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสภาวการณ์และส่ิงแวดล้อม ท่เี ปลีย่ นไป การปรบั ตัวหรอื การพัฒนาองค์การจะตอ้ งมีสม่าเสมอตลอดไป 6.4 ข้นั ตอนกำรจัดองค์กำร การจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพนั้น เออร์เนสต์ เดล ได้เสนอแนะการจัดองค์การ เบ้ืองต้นไว้ 3 ประการดังน้ี อ้างใน (สมคิด บางโม, องค์การและการจัดองค์การ กรุงเทพฯ : บริษัท วิทยพฒั น์ จากดั , 2558) หน้า 114 6.4.1 การกาหนดรายละเอยี ดของงานเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย องคก์ ารตา่ งๆ สร้างขึ้นมาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง งานต่างๆ ขององค์การย่อมมีมากน้อยต่างกัน ตามประเภท ลักษณะ และขนาดขององค์การ การแจกแจงรายละเอียดของงานว่ามีอะไรบ้าง เปน็ สงิ่ จาเป็นเบ้ืองตน้ 6.4.2 การแบ่งงานให้แต่ละคนในองค์การรับผิดชอบตามความเหมาะสมและ ตามความสามารถ การแบ่งงานเบื้องต้นควรจะเป็นการรวมกลุ่มของงานท่ีมีลักษณะคล้ายกันหรือ สมั พันธ์กนั เปน็ แผนกงาน แลว้ จงึ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แตล่ ะคนแต่ละแผนก การแบง่ งานควร ให้ทุกคนได้ทางานตามความรู้ความสามารถ ได้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป และได้รับผลตอบแทนจากงานท่ไี ด้ปฏบิ ัติให้แก่องค์การดว้ ยความชอบธรรม วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 25 6.4.3 การประสานงาน เมื่อได้แบ่งงานให้แต่ละฝ่ายแต่ละแผนกแล้ว ข้ันต่อไป คือจัดให้มีการประสานงานระหว่างแผนกต่างๆ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุ เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หากการประสานงานไม่ดีหรือไม่มีการประสานจากการทางาน อาจซ้าซ้อนหรอื ขดั กนั ทาให้การทางานล่าช้าและเกดิ ปัญหาตา่ งๆ ตามมา 7. ควำมสำคัญของกำรจัดองคก์ ำร องค์การ เป็นที่รวมของคนและเป็นท่ีรวมของงานต่างๆ เพ่ือให้พนักงานขององค์การ ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ จึงจาเป็นต้องมีการแบ่งหน้าท่ีการทางาน และมี การมอบอานาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามความสามารถและตามความถนัด ซ่ึงจะเห็นได้ว่าการจัด องคก์ ารมคี วามจาเป็นและกอ่ ให้เกิดประโยชน์ ดังน้ี 7.1 ประโยชนต์ อ่ องคก์ ำร การจัดองค์การที่ดีและมีความเหมาะสมจะทาให้องค์การบรรลุเป้าหมายและมี ความเจริญกา้ วหนา้ ตามวัตถุประสงค์ การทางานไม่ซ้าซ้อน สามารถประหยัดตน้ ทุนคา่ ใชจ้ ่ายตา่ งๆ ได้ และองค์การสามารถปรับตวั ให้เขา้ กบั สิง่ แวดลอ้ มทีเ่ ปล่ยี นแปลงได้ง่ายตามความจาเป็น 7.2 ประโยชน์ตอ่ ผ้บู ริหำร ผู้บริหารสามารถบริหารงานได้ง่ายและสามารถแก้ปัญหาการทางานท่ีซ้าซ้อนได้งา่ ย ขึ้น และสะดวกข้ึน รู้ว่าใครมีหน้าท่ีรับผิดชอบอะไร ทาให้งานไม่คั่งค้าง การมอบอานาจหน้าที่ทาได้ งา่ ยข้ึน ขจัดปัญหาการเกย่ี งงานหรอื ปญั หาความรบั ผิดชอบ 7.3 ประโยชน์ตอ่ ผู้ปฏบิ ตั ิงำน ทาให้ผปู้ ฏิบตั ิงานรู้อานาจหน้าท่แี ละขอบข่ายการทางานของตนว่ามีเพียงใด ชว่ ยให้ ผู้ปฏิบัติงานมีความพอใจในการทางาน ทาให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจความสัมพันธ์ของตนต่อฝ่ายอื่นๆ และทาให้สามารถตดิ ต่อกันได้ดียง่ิ ขน้ึ 8. เป้ำหมำยขององค์กำร เป้าหมายขององค์การ เป็นการกาหนดทิศทางการดาเนินการขององค์การ โดยคอยกากับ แนวทางในการปฏิบัติ เมื่อองค์การมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทาให้มีความตั้งใจในการทางาน เป้าหมาย หลกั ขององค์การโดยท่ัวไป สามารถแบง่ ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 26 8.1 เป้ำหมำยทำงเศรษฐกิจ กาไรเป็นเคร่ืองแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งหรืออ่อนแอขององค์การ องค์การใด ท่ีมีกาไรสูง ย่อมแสดงว่าองค์การน้ันกาลังเจริญเติบโตและมีความม่ันคง ในทานองเดียวกัน ถ้าหาก กาไรลดต่าลง ก็แสดงวา่ องค์การน้นั กาลังมปี ัญหา เศรษฐกิจ อาจจะไม่ได้วัดที่กาไรเพียงอย่างเดียว อาจวัดอัตราการเจริญเติบโต ยอดขาย จานวนลูกคา้ ท่ีเพ่มิ ขึ้น 8.2 เป้ำหมำยเกยี่ วกับกำรให้บรกิ ำร ส่วนใหญ่จะเป็นองค์การของรัฐ ท่ีมุ่งจัดทาบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อสนองความ ต้องการของประชาชน สาหรับในส่วนองค์การเอกชน ในปัจจุบันได้พยายามปรับปรุง โดยเฉพาะ เกีย่ วกบั การทากาไรสงู สุด มาเปน็ เปา้ หมายเกย่ี วกบั การบริการทางสังคมเพมิ่ มากข้นึ 8.3 เปำ้ หมำยดำ้ นสงั คม โดยทั่วไปองค์การที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีพื้นฐานในการจัดต้ังเพื่อบริการ ประชาชน หรือเพ่ือความเจริญของประเทศโดยส่วนรวม การดาเนินการจึงเป็นการกระทาเพื่อสังคม โดยส่วนรวมเป็นส่วนใหญ่ 9. กำรประยกุ ตใ์ ชป้ รัชญำเศรษฐกิจพอเพียง 9.1 แนวควำมคดิ ปรัชญำเศรษฐกิจพอเพียง แนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานให้ประชาชนชาวไทยนามาใช้ เพ่ือเป็นกรอบในการทางานหรือ จัดทาแผนเพื่อการพัฒนา โดยแนวคิดน้ีได้รับการยอมรับและนาไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ของสังคมไทย เพราะนอกจากจะนามาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาระดับโครงสร้างอันเกิดจากความไม่สมดุลจากการพัฒนาและการดาเนิน ธุรกิจในอดีต ซ่ึงการนาความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการบริหารธุรกิจและการ ดาเนิน ธุรกิจของผู้ประกอบการ ซ่ึงจะทาเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การให้เจริญเติบโตอย่าง สมดุลและยั่งยืน ธุรกิจที่นาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จะทาให้องค์การสามารถ ปรับเปลี่ยนหรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกกิจการได้ดีด่า ไม่ว่าจะเป็น ด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนในการสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถมีสภาพการ วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 27 แขง่ ขนั ท่ดี ไี ด้ดว้ และยังชว่ ยใหผ้ ูป้ ระกอบการเกิดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมคิ มุ้ กันใน การดาเนินธุรกิจของตนเอง 9.2 โครงสรา้ งและเนื้อหาปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง รูปที่ 1.18 ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งทางสายกลาง ท่มี า : https://sites.google.com/site/sersthkicphxpheiyng62/thang-say-klang 1. ควำมพอประมำณ ความพอประมาณ คือ ให้มีการผลิตเพอื่ บรโิ ภคเองภายในครวั เรือน และชุมชน หากมเี หลือจึง สามารถจาหน่าย ปฏิบัติตามหลักการพ่ึงตนเอง โดยการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน มีการวางแผน คา่ ใชจ้ า่ ยและมีการจดั สรรค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนอย่างเหมาะสม ลักษณะกิจกรรมสนององค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง คือ 1. จดั สรรเวลาในการศึกษาคน้ คว้าตามใบมอบหมายงานได้อย่างเหมาะสม 2. ปฏิบัติตามหลักการบริหรคุณภาพในองค์การ และสามารถนามาประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจาวนั ได้อย่างเครง่ ครดั 3. เป็นสมาชกิ ท่ดี ีของสงั คมและขององค์การต่างๆ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 28 รูปท่ี 1.19 ความพอประมาณ ทมี่ า : https://sites.google.com/site/sersthkicphxpheiyng62/thang-say-klang 2. ควำมมีเหตุมีผล ความมีเหตุมีผล คือ ความมีส่วนร่วมคิดร่วมวางแผน โดยคานึงถึงผลลัพธ์และผลกระทบ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาองค์การ สามารถร่วมดาเนินการและร่วมประเมินผลได้ รจู้ ักใช้และสามารถบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอยา่ งฉลาด รอบคอบ โดยเลือกใชท้ รัพยากรหรือ วตั ถดุ ิบทตี่ อ้ งคานงึ ถงึ ความยั่งยนื สมดุล และสามารถก่อให้เกิดความสงบสขุ ในสงั คม ลักษณะกิจกรรมสนององคป์ ระกอบของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. ให้ตระหนักในการดารงตน โดยใช้หลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักอดออม เก็บไว้ใช้ เมอ่ื ยามจาเปน็ มไี ว้พอกินพอใช้ หากเหลือกแ็ จกจา่ ย 2. นาความร้เู กี่ยวกบั การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร มาประยุกต์ใชใ้ นชวี ิตประจาวนั 3. กลา้ แสดงความคดิ เป็นในการทางานกลุ่มอยา่ งมีเหตุผล 4. ยอมรบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของผู้อื่น วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 29 3. ควำมมีภมู ิคุ้มกนั ที่ดี ความมีภูมคิ มุ้ กันที่ดี คือ มกี ารสนับสนนุ ใหน้ ักเรียนนักศึกษาทกุ คน รวมไปถึงครอบครัวมีการ ทาบนั ทกึ บญั ชรี ายรับรายจ่ายหรอื บัญชคี รวั เรือนอยา่ งสมา่ เสมอ สนบั สนนุ ให้มีการออมเงินเพื่อรองรับ ความจาเป็นฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุต่างๆ ส่งเสริมให้มีการออกกาลังกายดูแลสุขภาพเมื่อยามเจ็บป่วย ส่งเสริมให้มีการจัดทาแผนปฏิบัติการเพ่ือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การ ปลกู ปา่ การจดั ระบบจดั การขยะท่ีดี ลกั ษณะกิจกรรมสนององค์ประกอบของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง คอื 1. กาหนดกฎระเบียบและข้อบงั คับในการเขา้ ช้ันเรยี น 2. กาหนดให้นกั เรียนนกั ศกึ ษาจดั ทาบัญชีรายรับรายจ่ายประจาวัน 3. ปลูกฝงั ให้นักเรยี นนกั ศกึ ษานาหลักการบริหารงานคุณภาพในองค์การ มาประยุกตใ์ ช้โดย ยึดหลกั เศรษฐกจิ พอเพียงมาใช้ในชีวติ ประจาวนั 4. สอดแทรกคุณธรรมจิรยธรรมและอบรมให้แก่นักศึกษาก่อนเรยี นและหลงั เรียน 5. ฝึกให้นักสกึ ษาควบคุมอารมณ์ตนได้ 6. จัดให้มีการตรวจประเมินการทางานร่วมกนั ในกลุ่มย่อย 7. ปลูกจติ สานึกให้มคี วามประหยัดโดยให้ โดยให้มกี ารปดิ ไฟฟา้ ทุกคร้งั หลงั เลิกเรยี น รปู ท่ี 1.20 ความมีภูมคิ ุ้มกนั ทีด่ ี ทีม่ า : โดย พชรภทั ร สุธารักษ์ (2559) วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 30 4.เง่ือนไขควำมรู้ เงื่อนไขความรู้ คือ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การดาเนินชีวิตและจากการประกอบ อาชีพครูและผู้รู้ให้แก่นักศึกษา ให้ตระหนักถึงการพ่ึงตนเองและความร่วมมือร่วมใจของเพ่ือนๆ เพ่ือพฒั นาตนเองและกลุ่ม ลกั ษณะกิจกรรมสนององคป์ ระกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง คือ 1. มคี วามรู้ความเข้าใจเกย่ี วกบั องค์การและการบริหารงานคุณภาพในองคก์ าร 2. สามารถแนะนาให้ผู้อื่น มีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับการบริหารงานคุณภาพใน องค์การ และสามารถนามาประยุกต์ใช้ในชวี ติ ประจาวนั ได้ 3. มคี วามรคู้ วามเข้าใจเกยี่ วกับหลักเศรษฐกจิ พอเพยี ง 5.เงอื่ นไขคุณธรรม เงื่อนไขคุณธรรม คือ สร้างความเข้มแข็งและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนในกลุ่ม ให้ความ ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในกลุ่มรวมถึงความร่วมมือกับสังคม โดยยึดหลักให้มีการพัฒนา วิทยาลัยฯ และสถาบันต่าง ๆ ในชุมชน เช่น วัด หรือศาสนสถาน จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ภายในวิทยาลัย เช่น ในห้องสมุดและมีการขยายผลเร่ืองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงให้กับนักศกึ ษาทว่ั ไป ลักษณะกจิ กรรมสนององค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง คอื 1. นักศึกษามีความขยันหม่ันเพียร เสาะแสวงหาความรู้เพ่ิมเติมท่ีนอกเหนือจากการ เรยี นการสอนให้กับตนเอง ช่วยเหลือแบง่ ปัน เอื้อเฟ้อื เผอ่ื แผ่ต่อเพ่อื นในชน้ั เรียนและ นอกชนั้ เรียน 2. มคี ณุ ธรรมและจริยธรรม ในการออกไปประกอบอาชพี 3. มคี วามซอ่ื สตั ย์สุจริต ไม่เห็นแกป่ ระโยชนส์ ่วนตัวมากกว่าสว่ นรวม 4. มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานของ อาชีวศกึ ษา และนโยบายสถานศึกษา 3 ดี (3D) วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 31 รูปท่ี 1.21 พัฒนาวัด (จิตอาสา) ทม่ี า : โดย พชรภทั ร สธุ ารักษ์ (2559) สรปุ องค์การ คือ ศูนย์รวมกิจกรรมที่บุคคลรวบรวมกันข้ึนเพื่อประกอบกิจการอย่างใดอย่างหน่ึง โดยมีระเบียบข้อบังคับ วิธีการทางาน เพ่ือให้ดาเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ท่ีได้กาหนดไว้ โดยทั่วไป องค์การสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่ ได้แก่ องค์การทางสังคม องค์การทางราชการ และองค์การ เอกชน โดยองค์การแต่ละองค์การจะมีโครงสร้างขององค์ท่ีแตกต่างกันไป แต่ทุกโครงสร้างของ องค์การจะมีส่วนท่สี าคัญ ได้แก่ มีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ มีภาระหน้าที่ มีการแบ่งงานกันทา และมี สายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน มีช่วงการควบคุม มีเอกภาพการบังคับบัญชา จึงสามารถแบ่งรูปแบบ ขององค์การ ใชเ้ ปน็ 2 รูปแบบใหญๆ่ ได้แก่ องคก์ ารที่เป็นทางการ และองค์การทไี่ ม่เป็นทางการ การจัดองค์การ เป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ และบุคคลในองค์การ โดยแบ่งภารกิจ อานาจหน้าท่ี และความรับผิดชอบให้ชัดเจน เพ่ือให้องค์การดาเนินตามกิจกรรม ภารกิจขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อ องค์การ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ซึงเป้าหมายหลักขององค์การสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ เปา้ หมายทางเศรษฐกจิ เป้าหมายการให้บริการ และเปา้ หมายดา้ นสงั คม วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 32 บทที่ 2 กำรเพ่ิมประสิทธภิ ำพในองค์กำร หวั เรือ่ ง 1. ความหมายของการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ 2. ขอ้ แตกตา่ งของคาวา่ ประสิทธิภาพกบั ประสิทธิผล 3. ปรชั ญาและอุดมการณ์การเพิม่ ประสิทธิภาพในองค์การ 4. วิธีใช้ตวั เกณฑว์ ัดประสทิ ธิภาพขององคก์ าร 5. องค์การแหง่ คณุ ภาพ 6. นสิ ยั แหง่ คุณภาพของทรพั ยากรบคุ คลเพื่อเพมิ่ ประสิทธิภาพขององค์การ 7. ความสาเร็จขององคก์ ารในศตวรรษที่ 21 จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม เมอ่ื นักศกึ ษาบทท่ี 2 จบแลว้ นักศึกษาสามารถ 1. อธบิ ายความหมายของการเพิ่มประสิทธภิ าพในองค์การได้ 2. อธบิ ายข้อแตกต่างของคาวา่ ประสทิ ธิภาพและประสิทธิผล 3. อธบิ ายปรชั ญาและอุดมการณ์เพิม่ ประสทิ ธิภาพในองค์การได้ 4. อธิบายวธิ ีการใชต้ วั เกณฑว์ ัดประสิทธภิ าพขององคก์ ารได้ 5. อธิบายองค์การแหง่ คุณภาพได้ 6. อธบิ ายนสิ ัยแหง่ คณุ ภาพของทรัพยากรบุคคลเพือ่ เพม่ิ ประสทิ ธิภาพขององคก์ าร 7. อธบิ ายความสาเรจ็ ขององคก์ ารในยคุ ศตวรรษที่ 21 ได้ การมีประสิทธิผลขององค์การ (Organizational Effectiveness) นับว่าเป็นเร่ืองท่ีสาคัญ อย่างยิ่งจากการบริหารงานว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ความมีประสิทธิผลขององค์การนี้จะมี ข้ึนได้น้ัน ย่อมข้ึนอยู่กับเง่ือนไขที่ว่า องค์การสามารถทาประโยชน์จากสภาพแวดล้อม สามารถ บรรลุผลสาเรจ็ ตามเป้าหมายทีต่ ั้งไว้ แตส่ ่ิงทสี่ าคญั ท่ีอยู่เบ้ืองหลงั ควบคู่กนั กบั ประสิทธิผลก็คือ ความมี ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การมีสมรรถนะสูง สามารถมีระบบการทางาน สร้างสม วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 33 ทรัพยากรและความมั่นคงเก็บเกี่ยวไว้ภายในเพื่อการขยายตัวต่อไป และเพ่ือเอาไปไว้สาหรับรองรับ สถานการณท์ ่ีอาจเกดิ วิกฤตการณ์จากภายนอกไดด้ ว้ ย ด้วยเหตุตามท่ีกล่าวมาน้ีเอง ประสิทธิภาพขององค์กรท่ีจะชี้ว่าองค์กรมีประสิทธิภาพจริง หรือไม่เพียงใดทอยู่ท่ีเกณฑ์การวัด คือ การอยู่รอด ซ่ึงจะเกิดขึ้นได้ต่อเม่ือองค์กรต้องสามารถปรับตัว ต่อสภาวการณ์และสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดข้ึน และสามารถมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายในพร้อมกันไป ด้วยเสมอ 1. ควำมหมำยของกำรเพิ่มประสิทธิภำพในองคก์ ำร การเพ่ิมประสทิ ธิภาพในองคก์ าร (Organization Efficiency) หมายถงึ การเพิ่มประสิทธภิ าพ ขององค์การ โดยเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลท่ีได้จากการทางานว่าดีขึ้นอย่างไร มากน้อย แค่ไหน ในขณะที่การทางานตามเปา้ หมายขององค์การ โดยหลกั การแล้วองคก์ ารควรมีทั้งประสิทธิผล และประสิทธิภาพควบคู่กันไป แต่ก็เห็นได้ว่ามีองค์การจานวนมากท่ีไม่สามารถทาได้ตามเป้าหมาย กล่าวคือ องค์การบางแห่งอาจทาให้มีสิทธิผลบรรลุเป้าหมายได้ แต่กลับมีการใช้จ่ายทรัพยากร สิ้นเปลือง ซ่ึงอาจปรากฏในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การต้องใช้วัตถุดิบหรือวัสดุอุปกรณ์มากเกินไป หรอื เกินความจาเป็น และรวมถึงการใชแ้ รงงานคนอยา่ งส้ินเปลอื ง ในขณะเดียวกัน บางองค์การอาจจะมีประสิทธิภาพการทางานดี แต่อาจไม่มี ประสิทธิผลเลยก็ได้ ดังเช่น องค์การอาจจะสามารถผลิตภัณฑ์หรือให้บริการได้ โดยมีต้นทุนต่ากว่า คู่แข่งขัน แต่กลับไม่สามารถขายสนิ ค้าท่ีตรงกับความต้องการของลูกค้า ในที่สุดยอดขายก็จะตกต่าลง เร่ือยๆ และเป็นเหตใุ ห้เปา้ หมาย กาไร การเติบโต และการอย่รู อดก็จะกระทบกระเทือนได้ 2. ข้อแตกตำ่ งของคำว่ำประสทิ ธภิ ำพและประสทิ ธผิ ล (Effectiveness and Efficiency) นักวชิ าการหลายท่านไดช้ ้ีให้เหน็ ถึงความแตกต่างระหว่างคาว่า ประสิทธิภาพผลขององค์การ และประสทิ ธภิ าพขององคก์ ารไวด้ ังนี้ 2.1 ประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ความสาเร็จในการท่ีสามารถดาเนินกิจการให้ เจริญก้าวหนา้ ไป และสามารถบรรลุเปา้ หมายตา่ งๆ ท่อี งค์การตัง้ ไวไ้ ด้ วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 34 2.2 ประสิทธิภำพ (Efficiency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จาก การทางานวา่ ดีขึ้นอยา่ งไร แค่ไหน ในขณะทก่ี าลงั ทางานตามเป้าหมายขององค์การ 3. ปรชั ญำและอดุ มกำรณ์กำรเพมิ่ ประสทิ ธภิ ำพในองคก์ ำร ปี พ.ศ. 2493 – 2503 แนวคิดเร่ืองประสิทธิภาพขององค์การยังคงใช้วิธีการแบบด้ังเดิม โดยอาศัยหลักเกณฑ์เป็นไปแบบง่ายๆ นั้นคือ ความมีประสิทธิภาพขององค์การ หมายถึง ขนาดของ ความสามารถขององค์การที่จะสามารถทางานบรรลุเป้าหมายต่างๆ ท่ีตั้งไว้ โดยนาทรัพยากรมาใช้ อย่างเต็มที่ จะสามารถทาให้บรรลุผลสาเร็จมากเพียงใด ซ่ึงความมีประสิทธิภาพในความหมายน้ี นับว่ายังมีปัญหาเปิดกว้างอยู่อีกมากท่ีจะต้องวิเคราะห์กันในแง่มุมที่ลึกกว่าและกว้างกว่า นั้นคือ จะต้องวิเคราะห์ถึงความสาเร็จของเป้าหมาย ว่าเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็น เป้าหมายที่แท้จรงิ ที่ต้องการ หรือเป็นเป้าหมายที่ระบใุ ห้บุคคลภายนอกทราบ รวมทั้งการพิจารณาวา่ เป้าหมายต่างๆ ท่ีบรรลุผลนั้น ได้เป็นกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใด เช่น เป็นของผู้ถือหุ้นของพนักงาน ของฝ่ายจดั การ หรอื กบั คู่คา้ ลูกคา้ และบุคคลนอก รวมทั้งสังคมสว่ นรวมดว้ ย การคน้ ควา้ เก่ียวกับหลักเกณฑ์การเพ่ิมประสทิ ธภิ าพขององค์การ ไดม้ กี ารขยายตวั ออกไปอีก ต่อเน่ืองจนถึงปัจจุบัน ซ่ึงได้มีความคิดถึงการสร้างหลักเกณฑ์การเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ แตกตัว ออกไปมากมาย โดยทั้งการมุ่งหลักเกณฑ์ท่ีมีการขยายของเขตกว้างๆ เช่นการเพิ่มคุณภาพและ ขวัญกาลังใจ ไปจนถึงการศึกษาท่ีจาเพาะเจาะจง เช่น การศึกษาถึงอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และการ ขาดงาน เป็นตน้ เกณฑ์ทใี่ ชเ้ ป็นตวั ศึกษา ได้มีการสรุปไวแ้ ตกต่างกัน ซงึ่ แต่ละตัวเหล่าน้ีอาจจะไม่เก่ียว กันก็ได้ สาหรับตัวเกณฑ์ที่ใช้ศึกษาความมีประสิทธิภาพขององค์การท่ีได้นามาใช้ จอห์น พี แคมป์ เบล ( John P. Campbell) ได้สรุปไว้โดยประกอบด้วยตัวเกณฑ์ต่างๆ 30 ตัวเกณฑ์ ดังน้ี (สิฎฐากร ชูทรัพย์, และมนัสชัย กีรติผจญ : การบริหารงานคุณภาพในองค์การ กรุงเทพฯ บริษัท สานักพิมพ์ เอมพนั ธ์ จากัด, 2558) หน้า 16 1. ประสทิ ธผิ ลรวม 6. การวางแผนและกาหนดเปา้ หมาย 2. ผลผลติ 7. ความเห็นทสี่ อดคล้องกันของสมาชิกต่อเป้าหมาย 3. ประสทิ ธิภาพ 8. การยอมรบั ในเปา้ หมายขององค์การ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 35 4. กาไร 9. การเขา้ กันไดข้ องบทบาทของสมาชิก 5. คณุ ภาพ 10. ความสามารถในทางมนุษยส์ ัมพันธข์ องผบู้ รหิ าร 11. อุบัติเหตทุ เ่ี กิด 21. ความสามารถในส่วนงานขององคก์ าร 12.การเตบิ โต 22. การบรกิ ารขอ้ มูลและการติดต่อสื่อสาร 13. การขาดงาน 23. ความพร้อมในด้านต่างๆ ทีม่ อี ยู่ 14. การลาออกจากงาน 24. ความสามารถทาประโยชน์จากสภาพแวดล้อม 15. ความพอใจในงาน 25. ทัศนะและการสนับสนุนจากกลุ่มตา่ งๆ ภายนอก 16. แรงจูงใจ 26. ความมน่ั คง 17. ขวญั และกาลงั ใจ 27. คุณคา่ ของทรพั ยากรดา้ นบคุ คล 18. การควบคมุ 28. การมีส่วนร่วมและการรว่ มแรงรว่ มใจ 19. ความขัดแยง้ และความสามคั คบี ุคคล 29. ความตง้ั ใจและทมุ่ เทในดา้ นการอบรมและพัฒนา 20. ความคล่องตัวและการปรับตวั 30. การมุง่ ความสาเรจ็ 4. วธิ ีกำรใชต้ วั เกณฑว์ ัดประสทิ ธภิ ำพขององคก์ ำร จากเร่ืองหลักเกณฑ์ การท่ีศึกษาประสิทธิภาพขององค์การตามท่ีกล่าวมาแล้ว อาจสามารถ นามาสรปุ เป็นแนวทางใหญ่ๆ สาคัญๆ ดงั นี้ 4.1 เกณฑ์วดั ผลสำเร็จตำมเปำ้ หมำย (The Goal-Attainment Approach) วธิ ีนีจ้ ะยึด หลักสาคัญว่าองค์การทุกองค์การท่ีจัดตั้งขึ้นมาต่างก็มีจุดมุ่งหมายท่ีจะให้สาเร็จผลตามเป้าหมาย อย่างใดอย่างหน่ึง หรอื หลายอยา่ งเสมอ 4.2 เกณฑ์กำรบริหำรประสิทธิภำพเชิงระบบ (The Systems Approach) เป็นวิธีการ ที่ผู้บริหารจะนาเอามาใช้ และจะต้องประยุกต์ใช้ โดยพิจารณาขอบเขตและปัจจัยต่างๆ ที่เก่ียวข้อง กับการบริหาร เช่น ความสัมพันธ์ท่ีมีต่อสภาพแวดล้อมท่ีดี ซ่ึงจะสามารถก่อให้เกิดความม่ันใจว่า องค์การจะได้รับส่ิงท่ีนาเข้ามาใช้ผลิตได้โดยไม่ขาดตอน ขณะเดียวกัน สิ่งท่ีผลิตได้ถ้าออกไปขาย กเ็ ปน็ ทยี่ อมรับของประชาชน 4.3 เกณฑ์กำรบริหำรประสิทธิภำพโดยอำศัยกลยุทธ์ตำมสภำพแวดล้อมเฉพำะส่วน (The Strategic Constituencies Approach) วิธีการบริหารสิทธิภาพขององค์การท่ีค่อนข้างใหม่ โดยมีแนวคิดว่าองค์การที่มีสิทธิภาพก็คือ องค์การท่ีสามารถตอบสนองความต้องการของส่วนต่างๆ วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 36 ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมได้ในเวลาเดียวกัน องค์การจะอยู่รอดต่อไปโดยอาศัยการสนับสนุนจากส่วน ต่างๆ เช่นกัน ซ่ึงจะมองเฉพาะสภาพแวดล้อมท่ีมีอยู่แล้วมีผลกระทบต่อความอยู่รอดขององค์กร เท่าน้ัน 4.4 กำรใชว้ ธิ ีกำรแขง่ ขนั คุณคำ่ (The Competing-Values Approach) วิธกี ารบรหิ าร องค์การให้มีประสิทธภิ าพสงู วธิ ีหน่งึ ที่ถอื ได้วา่ เป็นวธิ ีของการประเมินประสิทธิภาพเป็นเชิงรวม ซ่ึงจะ อาศัยชุดแขง่ ขนั 3 ชุดด้วยกัน คือ 4.4.1 ชุดท่ีเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การ แนวทางท่ีเน้นโครงสร้างองค์การ ทค่ี ล่องตวั 4.4.2 ชุดที่เกี่ยวข้องกับองค์การมุ่งเน้น แนวทางท่ีมุ่งเน้นถึงชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดี และพฒั นาคนทอี่ ย่ใู นองคก์ าร 4.4.3 ชุดท่ีเก่ียวกับหนทางและผลสุดท้าย เป็นแนวทางพิจารณาให้น้าหนักกับ หนทาง คือ กระบวนการทางานต่างๆ ควบคู่กับการพิจาณาให้น้าหนักผลสาเร็จ ซึ่งเป็นผลสุดท้าย โดยท้ัง 3 ชดุ จะแสดงออกมาให้เห็นตามภาพข้างลา่ ง กระบวนการ ความคล่องตวั การม่งุ คน การม่งุ องคก์ าร ความคล่องตัว ผลสุดทา้ ย รูปท่ี 2.1 การใช้วธิ ีการแข่งขันคณุ คา่ ทม่ี า : สิฏฐากรณ์ ชูทรัพย์,และมนสั ชัย กีรติผจญ (2558) วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 37 และจากเกณฑ์พิจารณาท้ัง 3 ชุดนี้เอง สามารถนามาพิจารณาเป็น 8 ช่องทางของเกณฑ์การบริหาร ประสิทธิภาพขององค์การ และจาก 8 ช่องทางสามารถสรุปเป็น 4 รูปแบบ โดยแสดงออกมาให้เห็นตาม ภาพน้ี รปู แบบมนุษยสัมพันธ์ ความคล่องตัว รปู แบบของระบบเปิด มงุ่ ผลสดุ ท้าย : มุง่ กระบวนการ : คณุ คา่ ของทรพั ยากรมนุษย์ (7) ความคล่องตวั และความพร้อม (4) มุ่งกระบวนการ : มงุ่ ผลสดุ ท้าย : ความสามัคคีและขวัญ (8) การจัดหาทรัพยากรและ การเติบโต (3) มงุ่ คน มงุ่ องคก์ าร มุ่งกระบวนการ : มุ่งผลสุดท้าย : การบริหารข้อมูลและ ผลผลิตและประสิทธิภาพ (1) การตดิ ต่อส่อื สาร (6) มงุ่ ผลสุดท้าย : ความคล่องตวั มุ่งกระบวนการ : ความมนั่ คงและการควบคุม (5) การตง้ั เป้าหมายและ การประเมินผล (2) รูปที่ 2.2 การใชว้ ธิ กี ารแข่งขันคุณคา่ เป้าหมา ทมี่ า : สิฏฐากร ชูทรัพย์,และมนัสชยั กรี ติผจญ (2558) วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 38 จากความรู้ความเข้าใจข้างต้น พอจะเป็นแนวทางสาหรับผู้บริหารท่ีจะสามารถตีกรอบแนว ทางการพิจารณา ท่ีจะเลือกใชเ้ กณฑก์ ารบรหิ ารรปู แบบใดที่เหมาะสม ทจี่ ะเสรมิ สร้างประสิทธภิ าพให้ องคก์ าร ท้งั ในระยะสนั้ และระยะยาว โดยพอสรุปไวใ้ นตารางข้างล่างน้ี รปู แบบกำร คณุ ค่ำหรือกำร มำตรกำรเสริมสรำ้ งประสทิ ธิภำพ บรหิ ำร มุ่งเนน้ ระยะส้ัน ระยะยำว มนษุ ยสมั พนั ธ์ คนและความคล่องตวั เสริมสร้างความสามคั คีและ การเพิ่มคณุ ค่าและพัฒนา อ่ืนๆ ทรัพยากรบุคคล ระบบเปดิ ความคล่องตวั และ เสรมิ สร้างใหเ้ กิดความ การเตบิ โตและพฒั นา องคก์ าร คล่องตวั และตนื่ ตัว ทรัพยากร และการ สนบั สนนุ จากภายนอก เปา้ หมายผลงาน องคก์ ารและการ การวางแผน การกาหนด การเพิม่ ผลผลิต และการ ควบคุม เปา้ หมาย และการ เพ่ิมประสทิ ธิภาพ ประเมนิ ผล กระบวนวธิ ีทางาน การควบคุมและคน การบริหารข้อมลู และจดั ความมัน่ คงมรี ะเบยี บและ ความร่วมมอื มดี ุลยภาพ ตารางที่ 2.1 เสรมิ สรา้ งประสิทธิภาพในองคก์ าร ท่มี า : : สิฏฐากร ชทู รัพย์,และมนัสชยั กรี ตผิ จญ (2558) 5. องค์กำรแห่งคณุ ภำพ (Quality Organization) คุณภาพในยุคปัจจุบันมีความสาคัญต่อความอยู่รอดขององค์การเป็นอย่างมาก องค์การ คุณภาพจะเกิดจากการปรับปรุงคุณภาพอยู่อย่างต่อเน่ือง ดังนั้นคุณภาพจึงไม่ใช่ทางท่ีจะมีหรือไม่มี ก็ได้ คุณภาพจึงเป็นเป้าหมายที่สาคัญท่ีทุกคนในองค์การจะต้องมุ่งมั่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพ่ือการ อยู่รอดขององค์การ และการที่องค์การจะไปสู่คุณภาพได้น้ัน จาเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพและ เพม่ิ ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่งิ ท่ีผลติ ออกมากจากองคก์ ารต้องมคี ุณภาพที่ดี วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 39 5.1 กำรลดตน้ ทนุ (Cost Reduction) การลดตน้ ทุนการผลิตจะเหน็ ได้ชดั เจนและรวดเร็ว นั้น คือการลดการสูญเสียต่างๆ ที่จะเกิดข้ึนในกระบวนการผลิต ถ้าองค์การผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพ โดยที่ไม่มีของเสียก็จะทาให้ต้นทุนการผลิตต่า หรือแม้แต่การท่ีไม่ต้องแก้ไขงานการผลิตสินค้า และบรกิ ารจึงควรทาให้ถูกต้องตั้งแตแ่ รก หรือท่เี รยี กวา่ “Do it Right First Time” เพราะการที่ผลิต สนิ ค้าทมี่ ขี อ้ บกพร่อง ไม่ได้คุณภาพ ผลทีต่ ามมามีดังนี้ 5.1.1 เสียเวลา เสยี แรงงาน ที่ใช้ในการผลิตจะทาใหส้ ญู เสยี ตน้ ทุน 5.1.2 เสียเวลา เสียแรงงาน ท่ีใช้ในการแก้ไขสินค้า และผลิตภัณฑ์ จะทาให้เกิด ค่าใช้จ่ายสูงข้ึน 5.1.3 การผลติ สินค้า ไมไ่ ดข้ นาดตามความต้องการ จะต้องนากลบั เข้ากระบวนการ ผลติ ใหม่ โดยไม่จาเปน็ ทาให้คา่ ใชจ้ า่ ยสูงขึ้น 5.1.4 สินค้ามีตาหนิ ถ้านาไปขายจะขายไม่ได้ราคา และจะทาให้ลูกค้าขาดความ เช่ือถอื 5.1.5 เสยี คา่ ใช้จ่ายในการตรวจสอบสินค้าทีม่ ีขอ้ บกพรอ่ ง 5.2 ควำมพึงพอใจของลูกคำ้ (Customer Satisfaction) ลกู คา้ เปน็ ผูท้ ่มี ีอานาจการซ้ือ และมอี ิสระในการเลือกสินค้าและบรกิ ารจากผู้ผลิตหรือผูข้ ายรายใดก็ได้ ปจั จุบนั ข่าวสาร ข้อมลู มีการ เผยแพร่อย่างกว้างขวาง ลูกค้ามีรสนิยมและความทันสมัยมากขึ้น การผลิตสินค้าที่ด้อยคุณภาพก็จะ เส่อื มสภาพหมดความต้องการอย่างรวดเร็ว ดังน้นั ลูกคา้ จึงเป็นผู้กาหนดการผลิตขององค์การที่จะต้อง ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ตัดสินใจอีกต่อไป สินค้าท่ีมีคุณภาพลูกค้าจะเป็นผู้ช้ีขาด ความพึงพอใจของลูกค้า คือ เหตุผลท่ีทาให้ลูกค้าเลือกซ้ือหรือ ใช้บริการ ถ้าองค์การไม่สามารถผลิตสินค้าท่ีตรงตามความต้องการของลูกค้า องค์การก็ไม่ขายสินค้า หรือบรกิ ารนั้นได้ 5.3 คู่แข่งขัน (Competitor) นโยบายของรัฐท่ีเปิดให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ทาใหไ้ ม่อาจปดิ กน้ั การมคี ู่แข่งได้ ค่แู ขง่ ไมเ่ พยี งแตจ่ ะเพ่ิมมากขน้ึ เทา่ นั้น แต่ยงั ไดป้ รับปรงุ กระบวนการ ผลิตของตนเองอีกด้วย ดงั นัน้ สภาพการแขง่ ขันจึงไม่อาจหลีกเล่ียงได้ ลูกคา้ จะยอมจ่ายเพ่ือส่ิงท่ีดีและ พอใจโดยไม่จาเปน็ จะตอ้ งราคาถูก ดงั น้ี วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 40 1) สนิ ค้าท่รี าคาเทา่ กนั ลกู คา้ จะเลอื กส่ิงท่ีสนองตอบความต้องการไดม้ าก 2) สินค้าท่ีราคาต่างกัน ถ้าลูกค้าเชื่อว่าสินค้านั้นมีคุณภาพดีกว่า ลูกค้าจะ ไมร่ ู้สึกวา่ สนิ คา้ ที่ราคาสงู น้ันแพงกว่า 5.4 วิกฤตกำรณ์ (Crisis) การสร้างองค์การที่มีคุณภาพ จะต้องเร่ิมจากผู้บริหารระดับสูง กาหนดนโยบายอย่างชัดเจน จากน้นั จงึ จดั ลาดบั สายงานความรบั ผิดชอบ จนถึงผปู้ ฏบิ ตั ิงานระดับล่าง เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งคุณภาพให้เกิดทั่วท้ังองค์การ องค์การที่มีคุณภาพจะมีระบบบริหารงานที่มี การป้องกนั มากกว่าการแก้ไข องค์การจึงสามารถปรบั สถานการณห์ รือจัดการกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้ เนื่องจากมกี ารปอ้ งกันและปรบั ปรุงอยา่ งตอ่ เนื่อง รูปที่ 2.3 ภยั ธรรมชาติ ทีม่ า : บุญชยั ธนะไพรนิ ทร์ 2559 https://www.tnews.co.th 6. นิสยั แห่งคณุ ภำพของทรพั ยำกรบคุ คลเพอื่ เพม่ิ ประสิทธิภำพขององคก์ ำร การปรับองค์การเพื่อความอยู่รอดในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมสาหรับอนาคตน้ัน วิธีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเน่ืองเป็นวิธีให้ผลระยะยาว และส่งผลต่อวิธีการอ่ืนๆ ด้วย จึงเป็น วธิ กี ารที่ยากทส่ี ดุ เพราะการสร้างคณุ ภาพการทางาน และคณุ ภาพสนิ ค้าหรือบรกิ าร จาเป็นตอ้ งอาศัย คุณภาพของคน ดังน้ัน คุณลักษณะขององค์การแห่งคุณภาพ ล้วนเกิดจากคุณภาพของคนในองค์การทั้งสิ้น องค์การจึงต้องปรับปรุง และจะต้องสร้างคนให้มี “นิสัยแห่งคุณภาพ” ซ่ึงนิสัยแห่งคุณภาพสามารถ จาแนกได้ 7 ประการ ดงั นี้ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 41 6.1 ควำมเป็นระเบียบเรียบร้อย องค์การแห่งคุณภาพ ต้องเริ่มจากความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของสภาพแวดล้อมในที่ทางาน โดยให้พนักงานทุกคนลงมือกระทาด้วยตนเอง จนติดเป็น นสิ ัยในการทางาน 6.2 กำรทำงำนเป็นทมี องค์การแห่งคุณภาพ จะต้องส่งเสริม สนับสนุน และสร้าง บรรยากาศให้พนกั งานทางานเป็นทมี โดยทุกทมี จะมจี ุดมงุ่ หมายเดียวกันก็คือ การสร้างสรรค์ความพึง พอใจให้ลูกค้า ทั้งน้ีจะต้องขจัดการทางานแบบต่างคนต่างทา แข่งกันทาเก่ง หรือขัดแย้งกัน เพราะสิ่ง เหลา่ นเ้ี ปน็ การบอ่ นทางานประสิทธิภาพโดยรวมขององค์การ รูปที่ 2.4 การทางานเปน็ ทมี ทีม่ า : พชรภัทร สุธารักษ์ (2559) 6.3 กำรปรับปรุงอย่ำงต่อเนื่อง ส่ิงท่ีจะปฏิเสธไม่ได้ คือ คุณภาพที่ดีท่ีสุดน้ันไม่มี เพราะ โลกมกี ารเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยตู่ ลอดเวลาอย่างไมส่ ิน้ สุด ดงั นน้ั องคก์ ารจะต้องเน้นย้าใหท้ ุกคนมี การปรับปรุงการทางาน หรือปรับปรุงคุณภาพของงานอย่างต่อเน่ืองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และทาการวัดผล ประเมินผล เพื่อตรวจสอบความกา้ วหน้าของงานต่างๆ และภาพรวมขององค์การ 6.4 กำรมงุ่ ทกี่ ระบวนกำร การทางานท่ีมปี ระสทิ ธิภาพและประสิทธิผล จะต้องมกี ารปฏบิ ัติ ทมี่ กี ารเคล่ือนไหวไปอย่างต่อเนื่องเปน็ กระบวนการ จากคนหนงึ่ หรือฝ่ายหนึง่ ไปยงั อีกคนหนง่ึ หรืออีก ฝ่ายหน่ึง ไมช่ า้ หรือเร็วเกินไป ตง้ั แต่เรมิ่ ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 42 6.5 กำรศึกษำและฝึกอบรม การใหก้ ารศกึ ษาและฝึกอบรมแก่พนกั งานทกุ ระดบั ในองค์การ อย่างเพียงพอ เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่จะเสริมพลังความสามารถในการทางานให้มีคุณภาพมาก ยง่ิ ขน้ึ รปู ท่ี 2.5 การฝกึ อบรม ท่มี า : พชรภทั ร สุธารกั ษ์ (2559) 6.6 กำรประกันคณุ ภำพ เพ่ือใหเ้ กิดประสทิ ธิผลหรอื การตัดสนิ ใจอย่างใดอย่างหน่งึ แล้วเกิด ผลดี เพอื่ เปน็ หลกั ประกันหรือสร้างความม่ันใจว่ากระบวนการหรือการดาเนนิ งานจะทาให้ไดผ้ ลลัพธ์ที่ มคี ณุ ภาพตรงตามทีก่ าหนด 6.7 กำรส่งเสรมิ ให้พนักงำนมีส่วนร่วม การทอ่ี งค์การเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีสว่ นร่วม ในการเสนอแนะ เพ่ือการปรับปรุงงานในองค์การ ถือเป็นส่ิงที่จะทาให้พนักงานเกิดความคิด สรา้ งสรรค์ และมคี วามรสู้ ึกเปน็ สว่ นหนง่ึ ขององคก์ าร การท่จี ะไดม้ าซง่ึ คุณภาพของคน ของงาน หรือของกระบวนการทางาน จาเปน็ จะต้องใช้ กลยุทธ์การบรหิ ารคุณภาพประเภทตา่ งๆ เพอ่ื เป็นแรงผลักดันให้ไปสู่คณุ ภาพไดง้ ่ายและรวดเรว็ ขนึ้ ซ่งึ บางองค์การอาจจะใช้หลายประเภท ขณะท่ีองค์การบางแห่งอาจใช้เพียงประเภทเดียว กลยุทธ์การบริหารเชิงคุณภาพ เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพในองค์การ เป็นเพียงส่วนหน่ึงที่นามา เสนอพอสงั เขปดงั นี้ - วงจร PDCA หรือวงล้อ PDCA วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นข้ันตอน เพ่ือทาให้งาน เสร็จสมบรู ณอ์ ย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเชอ่ื ถอื ไวใ้ จได้ วงจร PDCA จะประกอบด้วย วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 43 1) การเขียนแผนงาน (Plan) 2) การนาแผนงานไปปฏิบัติ (Do) 3) การตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Check) 4 การแก้ไขขอ้ บกพร่อง (Act) รปู ที่ 2.6 วงจร PDCA ทีม่ า : http://wirotsriherun.blogspot.com/2015/08/37leading-pdca.html หากกระบวนการดาเนินงานทัง้ 4 ขน้ั ตอนเปน็ ไปในลักษณะต่อเน่ือง และมีประสทิ ธภิ าพย่อม ทาให้การปฏิบัติงานต่างๆ ขององค์การมีคุณภาพ และบรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้ทุกประการ เช่น เม่ือฝ่ายบริหารกาหนดนโยบายและเป้าหมายการดาเนินการ ฝ่ายปฏิบัติตอบสนองด้วยการใช้วงจร PDCA ในการปฏิบตั ิงานได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ - ระบบ 5 ส หรือ 5 S เป็นกระบวนการบริหารงานท่ีมีแนวทางปฏิบัติ 5 อย่าง โดยเน้นให้พนักงานกระทาด้วยตนเองอย่างต่อเน่ือง จนกลายเป็นส่วนหน่ึงของการทางาน และ ชวี ิตประจาวัน ซงึ่ เป็นพนื้ ฐานในการสร้างวนิ ัยของคนได้เปน็ อยา่ งดี ระบบ 5 ส มาจากภาษาญ่ีปุ่น คือ 1. SEIRI (เซร)ิ สะสาง SORT 2. SEITON (เซตง) สะดวก SYSTEMISE 3. SEISO (เซโซ) สะอาด SWEEP 4. SEIKETSU (เซเคทซุ) สขุ ลกั ษณะ SUSTAIN วทิ ยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 44 5. SHITSUKE (ชทิ ซุเกะ) สร้างนสิ ัย SELF DISIPLINE โดยสำมำรถแสดงออกมำเปน็ ภำพไดด้ ังน้ี ไมม่ คี า่ ทาลาย ส 1 สะสาง คือ แมยก่ตข้อองกงทารี่ตอ้ งการ ออก ไมต่ อ้ งการ ขาย จากของท่ไี ม่ต้องการ หรือเกินความจาเปน็ ต้องการ มีค่า บรจิ าค เทา่ ทจ่ี าเป็น ตอ้ งการ เกินความจาเปน็ คืน ส 2 สะดวก คือ จดั เกบ็ และแยกหมวดหมู่ พรอ้ มมปี ้ายบ่งชี้ไวอ้ ยา่ งชัดเจน ส 4 สุขลักษณะ คือ รักษาสภาพให้คงอยู่ ส 3 สะอาด คอื ปัด กวาด เชด็ ถูสถานที่ และดีขึ้นตลอดไป เครื่องจกั ร เคร่ืองมือตามกาหนดอยู่เป็น ประจา ส 5 สร้างนิสยั คอื ปฏิบตั ติ นตามระบบ ระเบยี บ และข้อบังคบั จนเปน็ นสิ ยั รูปท่ี 2.7 รปู แสดงกจิ กรรม 5 ส ที่มา : สฏิ ฐากร ชทู รัพย,์ และมนัสชยั กีรติผจญ (2558) - กลุ่มระบบ QCC (Quality Control Circle : QCC) เป็นกิจกรรมท่ีพนักงานกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 3-10 คน ร่วมมือร่วมใจกันนาปัญหาในงานของกลุ่มคนมาศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ใช้เหตุ ใช้ผล ใช้ข้อมลู และวธิ ีการทางสถิติ ประกอบการตัดสินใจ โดยยึดหลักของวงจร PDCA การทา วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 45 กิจกรรมกลุ่มคุณภาพจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายขององค์การ และการกระทาอย่างต่อเนื่องสามารถนา ผลงานท่สี าเร็จมาแสดงได้ หลกั การของกล่มุ กิจกรรม QCC 1. ทุกคนในกลุ่มมสี ่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและปรับปรงุ งาน 2. การปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปตามอิสระ โดยนาเคร่ืองมอื การแกป้ ญั หามาใช้ 3. มีการควบคุมและตดิ ตาม ตลอดจนดาเนนิ การปรบั ปรงุ อยา่ งตอ่ เนื่อง ขั้นตอนการจดั ทากจิ กรรม QCC 1. สารวจปญั หา 8. วางแผนการดาเนินกิจกรรมเร่อื งต่อไป 2. กาหนดปญั หา 7. สรุปและรายงานผล 3. กาหนดเปา้ หมาย 6. กาหนดเปน็ มาตรฐาน 4. สารวจสภาพปญั หา 5. แกไ้ ขด้วยวงจร PDCA รปู ที่ 2.8 แผนขัน้ ตอนการจดั ทา QCC ที่มา : สิฏฐากร ชูทรพั ย์,และมนัสชัย กีรตผิ จญ (2558) - กำรปรับรื้อระบบ (re-engineering) เป็นเทคนิคที่เน้นการปรับเปลี่ยนวิธีการ ทางานใหม่ แทนวิธีการทางานเกา่ ให้สอดคล้องกับสภาพความเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึน เพ่อื วัตถุประสงค์ คอื ลดคา่ ใช้จ่าย เพิ่มประสทิ ธภิ าพของงาน และบริการรวดเร็วทนั ความตอ้ งการของลกู คา้ ด้วยการใช้ วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 46 เทคนิคหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล นิยมใช้ในธุรกิจท่ีมีการผลิตหรื อการ บริการมากๆ และตอ้ งการความรวดเรว็ และประหยดั เวลา - ระบบ TQM (Total Quality Management) การบริหารคุณภาพทั่วท้ัง องค์การ ได้วิวัฒนาการขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2523 เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมกัน บรหิ ารองคก์ าร และสามารถแก้ปญั หาการทางานทเี่ กีย่ วขอ้ งกับปัจจัยสาคญั 7 ประการ คือ 1) คณุ ภาพ (Quality) 2) ต้นทุน (Cost) 3) การสง่ มอบ (Delivery) 4) ความปลอดภยั (Safety) 5) ขวัญกาลงั ใจ (Morale) 6) สง่ิ แวดลอ้ ม (Environment) 7) จรรยาบรรณในการดาเนนิ ธรุ กจิ (Ethics) ระบบ TQM มีคุณลักษณะทสี่ าคญั 7 ประการ คอื 1) ทกุ คนมีส่วนร่วม ต้ังแตป่ ระธานบรษิ ัทลงมาจนถึงพนักงานระดบั ลา่ ง 2) มีการปฏิบัติในทุกแผนกงาน ไม่เฉพาะแต่ในสายงานการผลิตเพียงอย่าง เดยี วเทา่ นั้น 3) มกี ารปฏิบตั ิในทกุ ๆ ข้ันตอนของการทาธรุ กิจ 4) ส่งเสริมให้มีความใส่ใจปรับปรุงมาตรฐานการทางานในส่วนอื่นๆ ท่ัวท้ัง บรษิ ัทเพ่ือให้วงล้อ PDCA หมนุ ได้ไมห่ ยุดในกิจกรรมทางาน 5) ควบคุมและปรับปรุง QCDSM คือ Quality, Cost, Delivery, Safety และ Morale 6) ให้ความสาคญั ต่อปรชั ญา และวธิ ีการแก้ไขปญั หาแบบควบคุมคุณภาพ 7) ใชป้ ระโยชนจ์ ากเครื่องมอื และวิธีปฏบิ ัตแิ บบควบคุมคณุ ภาพ วิทยาลยั ประมงตณิ สลู านนท์

วิชา การบรหิ ารงานคณุ ภาพในองค์การ 47 7. ควำมสำเรจ็ ขององคก์ ำรในยุคศตวรรษที่ 21 เนื่องมาจากในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยท่ีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากกว่า ยุคอื่นๆ ท่ีเคยผ่านมา มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท่ีรวดเร็ว จนเราแทบตามไม่ทัน มีการ ติดต่อส่ือสารกันในระหว่างประเทศต่างๆ ข้ามซีกโลกอย่างรวดเร็วมาก อย่างท่ีในอดีตไม่เคยเร็วได้ ขนาดน้ี และมกี ารขยายธรุ กิจออกนอกประเทศ และมธี รุ กิจจากตา่ งประเทศเข้ามาส่ใู นประเทศ มีการ เปิดเสรีทางการค้าขายมากขึ้น ไม่ใช่การอยู่แค่เพียงตัวเราคนเดียวเท่านั้นแล้ว ดังน้ัน ในการทางาน ยุคน้ี คนทางานควรจะมีทักษะอะไรบ้างท่ีจะทาให้ตนเองและองค์การประสบความสาเร็จตาม จดุ ประสงคท์ ่ตี ัง้ ไว้ และเปน็ ท่ตี อ้ งการขององค์การตา่ งๆ มากขน้ึ (http://Prakal.wordpress.com) รูปที่ 2.9 การตดิ ต่อส่ือสารท่ีทันสมยั ทม่ี า : https://www.britishcouncil.or.th/events/conference-employability-digital-age ศาสตราจารย์ George DeMetropolis แห่ง University of Phoenix ได้ระบุทักษะ 10 ประการของคนทางานในยุคใหม่น้ี ซึ่งเป็นทักษะท่ีจะทาให้ตนเองประสบความสาเร็จและเป็นที่ ตอ้ งการตวั ขององคก์ รตา่ งๆ 7.1 ควำมเป็นผู้นำ(Leadership) มีความเป็นผู้นาสูง เร่ืองของภาวะผู้นาท่ีกล่าวถึงน้ี คือ ทักษะท่ีสามารถนาตนเองได้ เป็นผู้นาในชีวิตของตนเอง นอกจากน้ันก็ยังต้องสามารถนาพาองค์การ หรือทีมงานทีต่ นดแู ลให้ไปส่เู ป้าหมายทก่ี าหนดไว้ไดด้ ้วย 7.2 กำรคิดอย่ำงมีเหตุผล ( Critical Thinking) มีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล มีตรรกะใน การคดิ เนื่องจากทกุ อยา่ งเปลย่ี นแปลงไปอย่างรวดเรว็ มาก ดงั นั้น จะมานัง่ เรียนรู้แบบเดมิ ๆ กค็ งจะใช้ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองค์การ 48 เวลามากเกินไป ไม่ทันใช้ พนักงานที่เก่งๆ ในยุคน้ีจะต้องมีทักษะของการใช้ตรรกะอย่างดี สามารถ มองออกว่าถ้าทาแบบน้ีแล้วจะเกิดอะไรข้ึนบ้าง และถ้าเกิดแล้วจะต้องมีแผนในการป้องกันอย่างไร บา้ ง อยา่ งเปน็ เหตุเป็นผล 7.3 กำรร่วมมือ (Collaboration) มีความสามารถในการทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ วา่ จะเป็นใครกต็ าม กส็ ามารถทางานดว้ ยได้อย่างไม่มีปัญหา รวมท้งั ยงั ตอ้ งสามารถสร้างบรรยากาศใน การทางานเปน็ ทีมได้ดว้ ย ใครท่เี คยทางานคนเดยี ว น้นั ยุคสมัยใหมน่ ีค้ งจะอยู่ยากข้นึ เพราะแต่ละคน จะมุ่งเน้นความเก่งแบบเฉพาะทาง ดังน้ันการทางานให้สาเร็จก็ต้องอาศัยคนหลายๆ คนที่เก่งในสาย งานต่างๆ เข้ามาร่วมกันทางานสร้างความสาเร็จให้กับองค์การ ถ้าเราสามารถทางานร่วมกับคนอื่นได้ ดี กจ็ ะทาใหเ้ รายง่ิ เปน็ ทีต่ อ้ งการตวั ขององคก์ ารอ่นื ๆ 7.4 กำรสื่อสำร (Communication) มีทักษะการส่ือความที่ดี ทักษะด้านการส่ือความน้ี ไม่ว่าจะทางานในยุคใดสมัยใด ก็เป็นทักษะท่ีมีความสาคัญต่อความสาเร็จของคนเราทุกคน เนื่องจาก เราต้องทางานกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าเราไม่สามารถส่ือความกับคนอ่ืนได้อย่างเข้าใจ เราก็ จะไม่สามารถประสบความสาเรจ็ ในการทางานในยุคนี้ได้ 7.5 กำรปรับตัว (Adaptability) ความสามารถในการปรับตัว ทักษะในด้านน้ี ทวีความสาคัญขึ้นเร่อื ยๆ ซ่ึงมีสาเหตุมาจากเทคโนโลยีที่เปล่ียนแปลงไปอยา่ งรวดเรว็ ซ่ึงทาให้หลายๆ อย่างมีการเปล่ียนแปลงตามกันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองงาน สภาพแวดล้อมต่างๆ ในสังคมที่เราอยู่ สิ่งเหล่านี้ทาให้พนักงานในยุคน้ีจาเป็นท่ีจะต้องมีทักษะในการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ใช่ พวกที่ต่อต้านการเปล่ียนแปลง หรือยึดมั่นถือม่ันในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ คนกลุ่มน้ียิ่งอยู่ยากข้ึนในยุค ปจั จุบนั 7.6 ผลผลิตและควำมรับผิดชอบ (Productivity and Accountability) ต้องมีความ รับผิดชอบสูง และมีความสามารถในการสร้างผลงานมากกว่าคนอ่ืน เนื่องจากการเปล่ียนแปลงที่ รวดเร็ว และสภาพแวดล้อมทที่ าให้เราถูกหันเหออกจากงานได้งา่ ยข้ึนในยุคใหม่นี้ จึงส่งผลให้เรื่องของ ผลติ ภาพของพนกั งานแต่ละคนนั้นลดลง ในแต่ละวนั ท่ีกาหนดเวลาทางานไว้ 8 ชั่วโมงน้นั พนกั งานใน ยุคน้ีอาจจะทางานได้ไม่ถึง 8 ชั่วโมง เพราะถูกสิ่งอ่ืนๆ เบ่ียงเบนความสนใจออกจากงานไป ดังนั้น คนทางานสมัยน้ี ถ้าเป็นคนท่ีมี Productivity สูงๆ และมีความรับผิดชอบในการทางานได้อย่างดี วิทยาลัยประมงตณิ สลู านนท์

วชิ า การบริหารงานคณุ ภาพในองคก์ าร 49 ไม่ถูกดึงดูดออกไปจากงานได้ง่ายๆ ก็จะเป็นคนท่ีประสบความสาเร็จได้สูงกว่า และเป็นที่ต้องการตัว มากกวา่ 7.7 นวัตกรรม (Innovation) มีทักษะในการคิดอะไรใหม่ๆการท่ีเราจะเติบโตได้ในยุคสมัย นี้ สิ่งสาคัญก็คือ การที่เราสามารถคิดอะไรที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือสามารถต่อยอดความคิดเดิม ออกไปสู่ความคิดใหม่ๆ ไดอ้ ย่างท่ีไม่เคยเจอมาก่อน กจ็ ะยิ่งทาให้เราประสบความสาเร็จในการทางาน มากขน้ึ 7.8 กำรเข้ำถึง กำรวิเครำะห์และสังเครำห์ข้อมูล (Accessing, analyzing and Synthesizing information) ในยุคน้ีมีข้อมูลมากมายเข้ามาในชีวิตของเรา ซ่ึงทาให้เราไม่รู้เลยว่า ข้อมูลที่เราได้รับมาจากแหล่งต่างๆ น้ัน เป็นข้อมูลท่ีถูกต้อง และน่าเช่ือถือสักแค่ไหน ดังน้ัน คนที่จะ ประสบความสาเร็จในการทางานในยุคนี้ก็จะต้องมีทักษะในการวเิ คราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่เราได้รับมา เพ่ือให้สามารถนามาใช้ในการทางานจริงได้อย่างมีประสิทธิผล ใครที่ยิ่งมีความสามารถ ในเรอ่ื งนม้ี ากเทา่ ไหร่ ก็จะย่ิงเป็นทีต่ ้องการตวั มากขึ้นเทา่ นั้น 7.9 พลเมืองของโลก (Global Citizenship) ต้องมีทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับ วัฒนธรรมใหม่ๆ ของประเทศต่างๆ เพราะปัจจุบันนี้เป็นโลกท่ีไม่มีพรมแดนใดๆ ทั้งส้ิน ดังน้ันคนท่ีจะ ประสบความสาเร็จจะต้องมีความเป็นประชากรของโลก ก็คือ สามารถที่จะอยู่ท่ีไหนก็ได้ สามารถ ที่จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีความเข้าใจคนจาก ประเทศต่างๆ ดว้ ย เพราะองค์การอาจจะต้องร่วมงานกบั ตา่ งชาตติ ่างภาษามากขึ้น ถา้ เราเข้าใจเขาได้ มากเทา่ ไหร่ กจ็ ะยงิ่ ทาให้เราได้เปรียบในการทางานมากขนึ้ เท่านัน้ 7.10 กำรเป็นผู้ประกอบกำร (Entrepreneurialism) มีความรู้สึกการเป็นผู้ประกอบการ ในยุคนี้ถ้าเราทางานแบบเป็นพนักงานคนหนึ่ง ท่ีคิดแค่ทางานไปวันๆ มองแค่ว่าตนเองเป็นแค่ลูกจ้าง คนหน่ึงในองค์การ ไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับผลงานขององค์การ ถ้าคิดแบบน้ี เราก็จะไม่มี ความก้าวหน้าไดเ้ ลย ยุคสมัยน้ีตัวพนักงานจะตอ้ งมีความคิดแบบผปู้ ระกอบการ คดิ วา่ จะทาอย่างไรให้ งานขององค์การประสบความสาเรจ็ ใหไ้ ด้ วทิ ยาลัยประมงตณิ สลู านนท์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook