ต�ำราไวยากรณ์ของ มลู กัจจายน์ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ - กโรติ ศัพทเ์ ดิมเปน็ กรฺ ธาตุ กรฺ ธาตุ กรฺ เป็นในความ ท�ำ [กรฺ+โอ+ต]ิ กรเณ เป็นไปในความท�ำ สำ� เร็จรปู เปน็ กโรติ ย่อมทำ� . - ตง้ั กรฺ ชอ่ื ธาตุ ดว้ ย ภูวาทโยธาตโฺ ว (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยา - ลบ ธาตวฺ นฺตอเนกสร ธาตุ ดว้ ย วชริ ญาณวโรรส, ๒๕๕๗, หน้า ๑๖๔) ธาตสุ ฺสนโฺ ต โลโป เนกสรสฺส (กอ่ นจะมาถึงขัน้ นีน้ ้นั ผู้เรียนจะได้ศึกษา - ลง ติ วิภตั ติ ด้วย วตตฺ มานาปจจฺ ุปปฺ นเฺ น ท�ำความเขา้ ใจปพู ื้นฐานต้ังแตเ่ รอ่ื งวิภัตติ - ลง โอ ปัจจยั ด้วย ตนาทิโต โอ ยริ า กาล บท บรุ ษุ วจนะ ธาตุ ซง่ึ เปน็ องค์ - แยกสระออกจากพยญั ชนะ ด้วย ประกอบของกริยามาก่อนแลว้ และหาก ปุพฺพมโธฐติ มสสฺ รํ สเรน วโิ ยชเย จะดูวธิ ีแจกส�ำหรบั บรุ ษุ และพจนอ์ ่นื - ลบสระหน้า เพราะสระหลัง สระหลงั เป็น ในกาลเดียวกัน ก็สามารถดูแบบแจก ปกตดิ ว้ ย สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิ ท่ีทรงแสดงให้ดูในลำ� ดับตอ่ ๆ ไปได)้ มหฺ ิ สรโลเป ตุ ปกติ - เอา ร ประกอบกับ โอ ด้วย นเย ปรํ ยุตเฺ ต ส�ำเร็จรูปเปน็ กโรติ (ธาตพุ นมกจั จายน,์ ร.ศ. ๑๓๑, หน้า ๓๓ อ้างถึงใน ทรพั ย์ ประกอบสขุ , ๒๕๒๐, หนา้ ๒๒-๒๓) 72
เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างจากมูลกัจจายน์จะเห็นได้ชัดว่า ค�ำอธิบายไวยากรณ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ น้ันท�ำความเข้าใจได้ ง่ายกว่า โดยมีการอธิบายไปตามล�ำดับ เมื่อศึกษาจบผู้เรียนจะเข้าใจกริยา อาขยาตทงั้ ในสว่ นของการประกอบรปู คำ� และการนำ� ไปใช้ ในขณะทสี่ ตู รจาก มูลกัจจายน์น้ันต้องอาศัยวุตติคือค�ำอธิบายและอุทาหรณ์คือตัวอย่าง ประกอบการท�ำความเข้าใจ และบางครั้งต้องใช้หลายสูตรประกอบกัน จึงท�ำให้ตอ้ งใชเ้ วลาในการศกึ ษามากกว่า นอกจากน้ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ยังทรงพระนิพนธ์อุภัย พากยปริวัตน์ ซ่ึงเป็นแบบฝึกหัดส�ำหรับฝึกแปลบาลีเป็นไทยและไทยเป็น บาลี ควบคไู่ ปกบั แบบเรยี นบาลไี วยากรณด์ ว้ ย โดยในอภุ ยั พากยปรวิ ตั นน์ น้ั จะมีค�ำอธิบายส้ัน ๆ เพื่อสรุปหรือย�้ำวิธีการแปลประโยคแบบต่าง ๆ ก่อน จะเร่ิมแบบฝึกหัดในแต่ละหัวข้อ โดยตัวแบบฝึกหัดนั้นจะเร่ิมจากวลีง่าย ๆ ในภาษาบาลี แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากข้ึนจนกระท่ังมีความยาวใน ระดับย่อหน้าขนาดสั้น ท้ังนี้พระอมราภิรักขิตได้ระบุไว้ในค�ำน�ำของหนังสือ อุภัยพากยปริวัตน์ว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเรียบเรียงข้ึนเองเกือบท้ังหมด มีคาถา ๒-๓ แห่งเท่านั้นที่น�ำมาจาก ธรรมบท (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๕๘, หนา้ ค�ำชี้แจง) อาจกล่าวได้ว่าแบบเรียนไวยากรณ์บาลีพระนิพนธ์ในสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสชดุ นเี้ ปน็ คณุ ปู การตอ่ การศกึ ษา ภาษาบาลีเป็นอย่างย่ิง การสรุปและอธิบายความด้วยร้อยแก้วภาษาไทย ที่เข้าใจง่ายและไม่ยาวมาก ท�ำให้ย่นเวลาการศึกษาภาษาบาลีได้มากข้ึน และท�ำให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาบาลี มีความคล่องแคล่วในการแปลทั้งบาลี เป็นไทยและไทยเป็นบาลี และสามารถน�ำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการแปล และท�ำความเข้าใจตัวบทวรรณคดีบาลีได้มากกว่าการศึกษาแบบจารีตท่ีใช้ ไวยากรณ์ในลักษณะสูตรซ่ึงต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาและท�ำความ เขา้ ใจมากกวา่ 73
นอกจากน้ีแบบเรียนชุดน้ีซึ่งเป็นแบบเรียนบาลีไวยากรณ์ภาษาไทย ที่สมบูรณ์ฉบับแรก และใช้ประกอบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ส�ำหรับประโยค ๑-๒ และ ๓ มาต้ังแต่สมัยท่ีทรงวางรากฐานการศึกษา พระปรยิ ตั ธิ รรมนน้ั ยงั มอี ทิ ธพิ ลอยา่ งมากตอ่ การเรยี นการสอนและการเขียน ต�ำราบาลีไวยากรณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากการศึกษาและการสอบท่ีอยู่ใต้ ก�ำกับของแม่กองบาลีสนามหลวงได้ยึดตามต�ำราของสมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ จึงมีการเขียนต�ำราไวยากรณ์บาลีออกมาเป็นจ�ำนวนมากเพื่อ เกอ้ื กลู แกก่ ารศกึ ษาและการสอบภาษาบาลี โดยยดึ แบบเรยี นบาลไี วยากรณ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เป็นต้นแบบเช่นกัน เนื้อหาท่ีเขียนจึงเป็น ลักษณะการน�ำไวยากรณ์บาลีแบบท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงอธิบาย ไว้ในพระนิพนธ์มาย่อหรือสรุปหรืออธิบายใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้นหรือเพ่ือให้ ทอ่ งจ�ำงา่ ยขนึ้ จึงกล่าวได้ว่าพระนิพนธ์แบบเรียนบาลีไวยากรณ์น้ันนับเป็นจุด เปลยี่ นและเปน็ การปฏริ ปู การศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทยอย่างแทจ้ รงิ 74
รายการอ้างอิง ทรัพย์ ประกอบสุข. (๒๕๒๐). กิริยาอาขยาตในบาลีไวยากรณ์มูลกัจจายน์. วิทยานิพนธ์ ปรญิ ญามหาบณั ฑิต คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . พระประวตั สิ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส. (๒๕๑๔). พระนคร: มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ. (๒๕๖๐). ภาษาบาลีกับการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสาร วิชาการธรรมทัศน,์ ๑๗(๓), ๑๖๕-๑๗๖. รังษี สุทนต์. (๒๕๕๖). ความจ�ำเป็นของการเรียนภาษาบาลีในการศึกษาพระพุทธศาสนา. พระนครศรอี ยธุ ยา: มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๕๗). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคท่ี ๒ อาขยาตและกิตก.์ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. วชริ ญาณวโรรส, สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา. (๒๕๕๘). อภุ ยั พากยปรวิ ตั น์ ภาค ๑-๒. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. 75
“การเรยี นภาษานั้น นักปราชญ์ท่านนิยม เปน็ ๓ อยา่ ง คือเรยี นภาษาของตัว ๑ เรยี นภาษาโบราณ ๑ เรยี นภาษาตา่ งประเทศทใ่ี ชพ้ ดู อยใู่ นปจั จบุ นั ๑” จากพระนิพนธ์ แว่นองั กฤษ
บาลีไวยากรณ์ และแว่นองั กฤษ สิรีมาศ มาศพงศ๑์ กรรมการมหามกุฏราชวทิ ยาลยั สถานศึกษาซงึ่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงน�ำหนงั สอื บาลีไวยากรณ์ และ แว่นองั กฤษ มาใชส้ อนพระภิกษุสงฆ์ ๑ นกั ศึกษาปริญญาดษุ ฎีบณั ฑติ ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอรแ์ นล. 77
ในต�ำราท้ังสองเล่มนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงแบ่งออกเป็นภาคย่อย ๆ โดยบาลีไวยากรณ์ทรงแบ่ง เปน็ อักขรวธิ ี วจีวภิ าค และวากยสมั พนั ธ์ สว่ นแวน่ อังกฤษก็ ทรงแบ่งออกเป็นสามภาคใกล้เคียงกัน การแบ่งต�ำรา ไวยากรณ์ ออกเป็นภาคย่อยเช่นนี้ น่ าจะเป็นการสืบ ลักษณะข อ ง ต� ำ ร า ไว ย า ก ร ณ์ ข อ ง นั ก ป ร า ช ญ์ ภ า ษ า อังกฤษซ่ึงแบ่งออก ๔ ภาค ได้แก่ Orthography, Ety- mology, Syntax และ Prosody สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงพระนิพนธ์ ขอ้ ความตอนหนงึ่ ของคำ� นำ� ในแวน่ องั กฤษ (พ.ศ. ๒๔๔๒) ไวว้ า่ “การเรยี น ภาษาน้ัน นักปราชญ์ท่านนิยมเป็น ๓ อย่าง คือเรียนภาษาของตัว ๑ เรียนภาษาโบราณ ๑ เรียนภาษาต่างประเทศท่ีใช้พูดอยู่ในปัจจุบัน ๑” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๖ค) เป็น การสรุปเป้าประสงค์ในการทรงพระนิพนธ์หนังสือบาลีไวยากรณ์และ แว่นอังกฤษได้เป็นอย่างดี เม่ือเราพิจารณาบริบทในขณะนั้น จะพบว่ามี ตำ� ราเรยี น “ภาษาของตัว” คอื ตำ� ราสยามไวยากรณ์ซง่ึ จัดทำ� โดยกระทรวง ธรรมการแลว้ แตย่ งั ไมม่ ตี ำ� ราเรยี น “ภาษาโบราณ” และ “ภาษาตา่ งประเทศ ท่ใี ช้พูดอย่ใู นปัจจุบนั ” การท่ที รงพระนิพนธ์บาลีไวยากรณแ์ ละแว่นองั กฤษ จึงเป็นการท�ำให้มีแบบเรียนภาษาอันนักปราชญ์พึงเรียนครบทั้ง ๓ ภาษา ตามพระวสิ ัยทศั นข์ องพระองค์ ในตำ� ราทั้งสองเล่มน้นั สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงแบ่งออกเปน็ ภาคย่อย ๆ โดยบาลีไวยากรณ์ทรงแบ่งเป็นอักขรวิธี วจีวิภาค และ วากยสัมพันธ์ ส่วนแว่นอังกฤษก็ทรงแบ่งออกเป็นสามภาคใกล้เคียงกัน การแบ่งต�ำราไวยากรณ์ออกเป็นภาคย่อยเช่นนี้น่าจะเป็นการสืบลักษณะ ของตำ� ราไวยากรณข์ องนกั ปราชญภ์ าษาอังกฤษซ่งึ แบง่ ออก ๔ ภาค ไดแ้ ก่ Orthography, Etymology, Syntax และ Prosody และภาคตา่ ง ๆ เหลา่ น้ี น่าจะเป็นต้นแบบของภาคย่อยในต�ำราสยามไวยากรณ์ ได้แก่ อักขรวิธี วจีวภิ าค วากยสมั พันธ์ และฉนั ทลกั ษณ์ เชน่ เดียวกัน บทความนวี้ เิ คราะห์ เปรียบเทียบแต่ละภาคของบาลีไวยากรณ์และแว่นอังกฤษ และพบว่า เนื้อหาของพระนิพนธ์ทั้งสองเล่มมีลักษณะเน้ือหาแตกต่างกันตาม วัตถุประสงค์ของการเรยี นภาษาท่ตี ่างประเภทกัน 78
อักขรวธิ ี ภาคอักขรวิธีของบาลีไวยากรณ์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๐๐ค) และภาค ๑ ของแวน่ องั กฤษ (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๖) มีเนื้อหาเก่ียวกับ อักษรและเสียงอ่าน แต่ต�ำราทั้งสองมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน ตามลักษณะภาษาและวตั ถุประสงค์ของการสอน อักขรวิธีของบาลีไวยากรณ์แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนหลักคือ สมัญญาภิธาน อันกล่าวถึงอักษรและเสียงพยัญชนะและสระ และสนธิ อันกล่าวถึงสนธิประเภทในภาษาบาลี ส่วนท่ีน่าสนใจคือการอธิบายเสียง อ่านในส่วนสมัญญาภิธาน ลักษณะประการหน่ึงท่ีแตกต่างจากแบบเรียน ภาษาบาลีในยุคปัจจุบันคือบาลีไวยากรณ์บรรยายถึงระบบเสียงภาษาบาลี ท่ีแตกต่างกับภาษาไทยอย่างชัดเจน เช่น ในขณะท่ีภาษาไทยออกเสียง พยญั ชนะ ค ช พ ฯลฯ เปน็ เสียงอโฆษะ พยัญชนะดงั กลา่ วในภาษาบาลีเปน็ เสียงโฆษะ หรือภาษาบาลีมีพยัญชนะท้าย -ร ในขณะที่ภาษาไทยไม่มี ทั้งยังทรงกล่าวว่า “อ่านให้ถูกต้องดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ก็จะเป็นความเจริญ วิทยาของตน” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๐๐ค, หน้า ๑๑) อกี ด้วย ส่วนแว่นอังกฤษน้ัน เนื่องจากเป็นต�ำราท่ีทรงพระนิพนธ์ขึ้นส�ำหรับ “เพ่ือนวัด” ท่ีรู้ภาษาข้างอินเดียอยู่บ้าง การอธิบายเสียงอ่านของอักษร ภาษาอังกฤษจึงอิงจากการออกเสียงของภาษาไทยประสมกับภาษามคธ เชน่ อกั ษร ɡ ทา่ นวา่ มสี ำ� เนยี งแบบ ค ในภาษามคธ หรอื คอื เสยี ง [ɡ] ตาม สัทอักษร ที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย เป็นต้น การบรรยายระบบเสียง ภาษาอังกฤษในแว่นอังกฤษ แตกตา่ งจากบาลีไวยากรณเ์ ล็กนอ้ ย คือเน้น การอ่านออกเสียงมากกว่า ดังจะเห็นได้จากการที่มีแบบหัดอ่านส�ำหรับทุก หนว่ ยเสยี ง ทง้ั พยญั ชนะและสระไปจนถงึ เสยี งหนกั เบา (stress) แวน่ องั กฤษ บรรยายเสียงอ่านของค�ำในภาษาอังกฤษอย่างครบถ้วนก็จริง แต่ไม่ได้ อธิบายอย่างชัดเจนว่าภาษาอังกฤษมีหลายส�ำเนียง หรือส�ำเนียงท่ีใช้ใน แว่นองั กฤษเปน็ เสยี งอา่ นของภาษาองั กฤษส�ำเนยี งใด ทัง้ ยงั ไมไ่ ดก้ ล่าวถงึ เงื่อนไขในการออกเสียง เช่น ส�ำเนียงของอักษร ɡ แม้จะมีบรรยายว่ามี เสยี งแขง็ เปน็ [ɡ] ในคำ� กลมุ่ หนง่ึ และเปน็ เสยี งออ่ น [ʤ] ในคำ� อกี กลมุ่ หนง่ึ (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๖, หน้า ๑๖) แต่ไม่ได้อธิบายว่าค�ำในกลุ่มเสียง [ʤ] นั้น ɡ ปรากฏอยู่หน้า i หรือ e เป็นต้น ท้ังนี้ น่าจะเป็นความต้ังใจของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ตามท่ี ทรงเขียนไว้ว่า “ส�ำเนียงสระและพยัญชนะท่ีอธิบายมาน้ี ต้องเข้าใจว่ายัง ไม่สิ้นเชงิ แสดงแตพ่ อเป็นเคา้ ทผี่ ้ศู ึกษาจะกำ� หนดอ่านไดโ้ ดยมาก” (สมเดจ็ 79
พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๖, หน้า ๒๘) และ “หวังว่าหนังสือน้ีคงจะเป็นประโยชน์ในช้ันต้น […] ต่อน้ันไปก็พอมีตา เลือกหาหนังสือเรียนรู้ให้มากตามล�ำพังตนเอง” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๖, หน้า ฉ) วจวี ภิ าคและวากยสมั พันธ์ วจีวิภาค (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๐๐ก, ๒๕๐๐ข, ๒๕๐๑ก) และวากยสัมพนั ธ์ (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๐๑ข) ในบาลีไวยากรณ์และแว่นอังกฤษ ครอบคลุมการประกอบรูปค�ำและรูปประโยคในภาษาบาลีและภาษาอังกฤษ ตามล�ำดับ ซ่ึงทั้งในบาลีไวยากรณ์และแว่นอังกฤษมีโครงสร้างการ เรียบเรียงใกล้เคียงกัน อาจสันนิษฐานได้ว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ อธิบายลักษณะประกอบรูปค�ำและรูปประโยคในภาษาอังกฤษโดยใช้ โครงสร้างภาษาบาลีเป็นพ้ืน ทั้งนี้ แม้ว่าโครงสร้างแบบนี้จะไม่เหมาะแก่ การอธิบายไวยากรณ์ภาษาไทย การใช้โครงสร้างภาษาบาลีเป็นพ้ืนฐาน ในการอธิบายไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไม่นับว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากภาษาบาลีและภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน เช่นเดียวกัน ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์จึงมีความใกล้เคียงกัน เช่น ทั้งภาษาบาลีและภาษาอังกฤษมีการแจกรูปค�ำนามตามพจน์ (number) เช่นเดียวกัน เป็นต้น การใช้โครงสร้างในลักษณะน้ีท�ำให้การบรรยายเป็น ไปอย่างมีระบบระเบียบอย่างมาก ท้ังนี้ ภาษาอังกฤษก็มีลักษณะทาง ไวยากรณท์ แ่ี ตกตา่ งจากภาษาบาลเี ชน่ กนั แตใ่ นแวน่ องั กฤษยงั มหี วั ขอ้ ยอ่ ย ที่อธิบายลักษณะทางไวยากรณ์ที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ เช่น ค�ำนามภาษา อังกฤษไม่มีลิงค์หรือเพศทางไวยากรณ์ (grammatical gender) แต่มี หัวข้อลิงค์ในแว่นอังกฤษเพ่ือบรรยายเพศของค�ำนามตามเพศในโลกจริง ซึ่งไม่ถือเป็นสิ่งเดียวกับเพศทางไวยากรณ์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๖, หน้า ๓๑) เปน็ ต้น 80
81
บาลีไวยากรณแ์ ละแวน่ องั กฤษ ในฐานะแบบเรยี นภาษา บาลีไวยากรณ์และแว่นอังกฤษเป็นต�ำราท่ีมุ่งเน้นเพ่ือใช้เป็น แบบเรียนมากกว่าที่จะใช้เป็นต�ำราไวยากรณ์ที่มุ่งเน้นบรรยายลักษณะ ภาษา ทั้งยังถือเป็นแบบเรียนท่ีครบถ้วนแก่นักเรียนนักศึกษา ดังจะเห็น ได้จากการสอดแทรกวิธกี ารจำ� และแบบฝกึ หัดตลอดเลม่ แบบฝึกหัดในภาคอักขรวิธีของบาลีไวยากรณ์ไม่มีแบบฝึกหัด ส�ำหรับอ่านออกเสียง มีเพียงแบบฝึกหัดส�ำหรับส่วนสนธิเท่าน้ัน ต่างจาก ในแว่นอังกฤษที่มีแบบฝึกอ่านออกเสียงส�ำหรับทุกหน่วยเสียง ส่วนในวจี วิภาคและวากยสัมพันธ์ทั้งในบาลีไวยากรณ์และแว่นอังกฤษมีแบบฝึกหัด เน้นให้ผู้เรียนแจกรูปค�ำตามประเภททางไวยากรณ์ต่าง ๆ และการแปล ในบาลีไวยากรณ์จะเป็นแบบฝึกหัดแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นหลัก แต่ในแว่นอังกฤษจะมีทั้งแบบฝึกหัดแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและ แปลภาษาไทยเปน็ ภาษาอังกฤษ ความแตกต่างของแบบฝึกหัดอาจแสดงให้เห็นว่าในการเรียน “ภาษาโบราณ” และ “ภาษาต่างประเทศท่ีใช้พูดอยู่ในปัจจุบัน” มีเป้าหมาย ในการเรียนที่ต่างกัน ดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงกล่าวไว้ในค�ำน�ำ ของแว่นอังกฤษท่ีว่า “การเรียนภาษาโบราณน้ัน เป็นเหตุให้รู้เรื่อง […] ของคนโบราณในกาลไกลที่เราเกิดไม่ทัน ช่ือว่าเป็นอันได้ความรู้เหตุการณ์ อันล่วงไปแล้ว. การเรียนภาษาต่างประเทศท่ีใช้พูดอยู่ในปัจจุบันนี้น้ัน […] เป็นเหตุให้การสมาคมกับเขา เพ่ือกิจธุระนั้น ๆ ส�ำเร็จไปได้โดยสะดวก ชื่อว่าเป็นอันได้รู้เหตุการณ์ปัจจุบันนอกจากของตัวเองออกไป” (สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๖, หนา้ ค) 82
รายการอ้างอิง วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๐๐ก). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคท่ี ๒ นามและอัพยยศัพท์ [หลักสูตรเปรียญธรรมตรี]. (พิมพ์ครั้งที่ ๓๓). กรงุ เทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลยั . วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๐๐ข). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ ๒ สมาสและตัทธิต [หลกั สูตรเปรยี ญธรรมตรี]. (พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒๕). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลยั . วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๐๐ค). บาลีไวยากรณ์ อักขรวิธี ภาคท่ี ๑ สมัญญาภิธานและสนธิ [หลักสูตรเปรียญธรรมตรี]. (พิมพ์คร้ังที่ ๒๕). กรงุ เทพฯ: มหามกฏุ ราชวิทยาลยั . วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๐๑ก). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคท่ี ๒ อาขยาตและกติ ก์ [หลักสูตรเปรยี ญธรรมตร]ี . (พมิ พค์ รงั้ ที่ ๒๗). กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวิทยาลัย. วชริ ญาณวโรรส, สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา. (๒๕๐๑ข). บาลไี วยากรณ์ วากยสมั พนั ธ์ ภาคที่ ๓ ตอนต้น [หลักสูตรเปรียญธรรมตรี]. (พิมพ์ครั้งท่ี ๑๘). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลัย. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๓๖). แว่นอังกฤษ: ที่ระลึกงาน ครบรอบ ๑๐๐ ปี มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และงานฉลอง พระชนมายุ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก. กรงุ เทพฯ: วดั กันมาตุยาราม. 83
“ผู้เรยี นภาษาต่าง ๆ รูก้ ี่ภาษาก็ช่อื ว่า มตี ามหี ูขึ้นอีกเทา่ นั้นเพราะสามารถ จะอ่านหนังสือแลฟงั ความทแ่ี ต่ง แลกล่าวในภาษาทต่ี นเรยี น ทำ� อินทรยี ์ ให้กวา้ งขวาง มีทางทีเ่ กิดแห่งความคิด ผดิ กว่าคนรูภ้ าษาเดียว” จากพระนพิ นธ์ แว่นองั กฤษ
พระนิพนธ์ แวน่ อังกฤษ กับการสอนการอา่ นออกเสยี ง ภาษาอังกฤษ ณัฏฐนนั ท์ จันทร์เจ้าฉาย๑ ฟรานซิส ยอช แปตเตอร์สัน ครูภาษาอังกฤษ ท�ำให้ทรงสนใจภาษาอังกฤษ และความรู้อย่างตะวันตก ๑ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย. 85
นอกจากพระกรณียกิจในด้านพระพุทธศาสนาแล้ว สมเด็จพระมหา สมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสยงั ทรงพระคณุ ูปการอยา่ งมากในด้าน การศกึ ษาภาษาทัง้ ไทยและเทศ ได้ทรงพระนิพนธห์ นังสือ ต�ำรา และคมั ภรี ์ ไว้จ�ำนวนมาก เนื่องจากทรงมุ่งเน้นท่ีจะให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร พระนิพนธ์ท่ีเป็นที่รู้จักในวงกว้างจึงเป็นพระนิพนธ์เนื่องด้วยภาษามคธ (บาล)ี เสยี โดยมาก อยา่ งไรกด็ ี สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ไดท้ รงพระนพิ นธ์ ตำ� ราเพอ่ื การศกึ ษาตา่ งประเทศไวด้ ว้ ยเชน่ กนั ดว้ ยทรงเลง็ เหน็ ความสำ� คญั ของการรู้ภาษานอกเหนือจากเพียงภาษาของตัวว่า “ผู้เรียนภาษาต่าง ๆ รู้ ก่ีภาษา ก็ชื่อว่ามีตามีหูข้ึนอีกเท่านั้น เพราะสามารถจะอ่านหนังสือ แลฟัง ความที่แต่ง แลกล่าวในภาษาที่ตนเรียน ท�ำอินทรีย์ให้กว้างขวาง มีทาง ท่ีเกิดแห่งความคิด ผิดกว่าคนรู้ภาษาเดียว” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หนา้ ๑) สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงแนะน�ำและระบุภาษาที่คนไทยควร ศึกษาไว้อีกด้วยว่า “ถ้าว่าเฉพาะคนชาติเรา ควรเรียนภาษามคธ ภาษา สันสกฤต แลควรเรียนภาษาอังกฤษ เพราะใช้ได้ท่ัวไปในที่นั้น ๆ แลหา ตำ� หรบั วทิ ยาความรทู้ แี่ ตง่ ในภาษานนั้ กไ็ ดง้ า่ ย แลพวกองั กฤษมธี รุ ะเกยี่ วขอ้ ง กบั พวกเรามากกวา่ ชาตอิ น่ื ๆ” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หน้า ๒) สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงพระ นิพนธ์หนังสือแว่นอังกฤษขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ เพื่อประกอบการ ศึกษาวิชาภาษาอังกฤษที่สอนโดยครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนภาษา อังกฤษท่มี หามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร นักเรียนท่ีเข้าเรียนใน โรงเรียนดังกล่าวลว้ นแตเ่ ปน็ พระภิกษสุ ามเณร ในค�ำน�ำของพระนพิ นธ์ แว่นอังกฤษ จงึ ทรงแสดงทัศนะเกีย่ วกบั การเรียนภาษาองั กฤษสำ� หรบั พระ ภิกษสุ ามเณรโดยเฉพาะไวว้ า่ “เมอ่ื ใครค่ รวนดู แมว้ า่ พวกเราไมต่ อ้ ง แสวงหาศาสนปฏบิ ตั ใิ นภาษาอังกฤษก็จริง ถึงอย่างน้ันการที่เราจะรู้เร่ือง ราวที่เน่ืองในศาสนามาจากประเทศต่าง ๆ ก็ดี การท่ีจะปลูกภาษา สันสกฤตให้กลับงอกงามขึ้นอกี กด็ ี การทจี่ ะตอ้ งการความรทู้ างโลกกด็ ี จะ ตอ้ งอาศยั ภาษาองั กฤษเปนพน้ื ” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร ญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หน้า ๓) พระนิพนธ์แวน่ องั กฤษจงึ เปรยี บ “เปนดุจ แวน่ ตาสำ� หรับเพือ่ นวดั ส่องเหน ภาษาอังกฤษบ้างราง ๆ” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส, ๒๔๗๔, หน้า ๓) และมีเน้ือหาที่ “แต่งเทียบกับภาษามคธ” (สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หน้า ๓) เพ่ือให้ 86
แวน่ อังกฤษ พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระภิกษสุ ามเณรเข้าใจไดง้ ่าย พระนิพนธ์แว่นอังกฤษแบ่งออกเป็นสามภาค เทียบเคียงได้กับ อกั ขรวธิ ี วจวี ภิ าค และวากยสมั พนั ธ์ สว่ นทอี่ ภปิ รายในบทความนค้ี อื เนือ้ หา ในภาคท่ี ๑ ซงึ่ แตกตา่ งจากเนอื้ หาทเี่ กย่ี วกบั อกั ษรและอกั ขรวธิ ใี นพระนพิ นธ์ ทางไวยากรณ์เล่มอื่น ๆ ด้วยพระนิพนธ์แว่นอังกฤษอยู่ในรูปแบบของ “เอกสารประกอบการสอน” หาใช่ในรูปแบบของ “ต�ำรา” วิธีการท่ีทรงสอน เก่ียวกับอักษรและอักขรวิธีในพระนิพนธ์ภาคนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนสามารถ อ่านออกเสียงรูปเขียนในภาษาอังกฤษได้จริง บทความน้ีมุ่งท่ีจะหาค�ำตอบ เบื้องต้นต่อค�ำถามต่อไปน้ี เพ่ือให้นักวิชาการและผู้สนใจสามารถศึกษา เพิ่มเติมในประเดน็ ดงั กล่าวไดใ้ นภายหนา้ ๑. การสอนการอา่ นออกเสยี งภาษาองั กฤษในภาคท่ี ๑ ของพระนพิ นธ์ แว่นอังกฤษ มีเนื้อหาและรูปแบบเช่นใด อ้างอิงจากรูปแบบการสอนการ อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษในหนังสือภาษาอังกฤษท่ีตีพิมพ์ในช่วงเวลา ใกล้เคยี งกนั หรอื ไม่ อย่างไร ๒. อักษรไทยท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงใช้ถ่ายถอดเสียง ภาษาอังกฤษในภาคท่ี ๑ ของพระนิพนธ์แว่นอังกฤษ สอดคล้องกับเสียง ในภาษาอังกฤษแบบหนึง่ ตอ่ หนึ่งหรอื ไม่ อยา่ งไร หากอ้างองิ จากเสียงอา่ น 87
ในปัจจบุ นั เน้ือหาและรปู แบบของภาคท่ี ๑ ของพระนพิ นธ์แวน่ อังกฤษ พระนพิ นธแ์ วน่ องั กฤษ ภาคท่ี ๑ เปน็ การสอนอา่ นออกเสยี งรปู เขียน ภาษาองั กฤษโดยแท้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเร่ิมต้นด้วยการแนะน�ำ ตัวอักษรทง้ั ตวั พมิ พ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เลก็ ชื่อตัวอกั ษร และส�ำเนียง (เสียงอา่ น) ของแต่ละตัวอักษรในภาษาอังกฤษ จากน้ันจึงทรงระบุว่าตัวอักษรตัวใด เปน็ สระ ตวั ใดเปน็ พยญั ชนะ ลำ� ดบั การเขยี นตวั อกั ษรในแตล่ ะคำ� (พยญั ชนะตน้ สระ ตัวสะกด) จากนัน้ จงึ ทรงแจกแจงวา่ รูปเขียนแตล่ ะรูปสามารถอ่านออก เสยี งเปน็ เสยี งใดไดบ้ า้ ง เรมิ่ ตน้ จาก “สำ� เนยี งสระตวั เดยี ว” ซงึ่ หากพิจารณา แล้วหมายถึง การอ่านออกเสียง “รูปสระตัวเดียว” ซ่ึงพระองค์รวมถึง รูป a e i o u และ y ที่อาจอ่านได้เปน็ “สำ� เนียงส้ัน” “สำ� เนียงยาว” หรอื “สำ� เนยี งพเิ ศษ”๒ แลว้ จงึ ทรงกลา่ วถงึ “สำ� เนยี งสระผสม” (การอา่ นออกเสยี ง รปู สระผสม เช่น รปู เขยี น ai ในค�ำว่า rail หรอื รปู เขยี น eu ในคำ� ว่า Europe เป็นต้น) เสียง “สระที่จัดลงเปนแบบไม่ได้” “ส�ำเนียงพยัญชนะ” (การอ่าน ออกเสียงรูปพยัญชนะ) รายการค�ำพร้อม “ส�ำเนียงหนักเบา” คือการเน้น เสียงหนัก (stress) ในค�ำท่ีมีตั้งแต่ “สองเสียง” คือสองพยางค์ (syllables) ขน้ึ ไป และทรงปดิ ทา้ ยภาคที่ ๑ ดว้ ยคำ� อธบิ ายเพม่ิ เตมิ อกี เลก็ นอ้ ย นอกจาก น้ี พระนพิ นธใ์ นภาคนมี้ แี บบฝกึ หดั อา่ นแทรกไวท้ า้ ยหวั ขอ้ อยเู่ นอื ง ๆ แบบ ฝกึ หดั เหลา่ นอ้ี ยใู่ นรปู แบบของรายการคำ� ภาษาองั กฤษ มไิ ดม้ ีการถ่าย ถอดเสียงเป็นอักษรไทยไว้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพระนพิ นธ์ คอื การเปน็ เอกสารประกอบการเรียนการสอนในชั้นเรียน พระนิพนธ์ภาคนีแ้ สดงใหเ้ หน็ อย่างชดั เจนว่าเสียงและตวั อกั ษรไมไ่ ด้ มีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างกัน อันเป็นความเข้าใจท่ีจ�ำเป็น อย่างย่ิงต่อการศึกษาสัทศาสตร์และสัทวิทยา นอกจากนี้ เน้ือหาในภาคนี้ ยังมีความละเอียดอย่างยิ่ง ครอบคลุมรูปเขียนและเสียงท่ีเป็นไปได้ส�ำหรับ รูปเขียนน้ัน ๆ อยา่ งค่อนขา้ งสมบรู ณ์ แม้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จะทรง อธิบายว่าเนื้อหาในภาคน้ี “ยังไม่สิ้นเชิง” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หน้า ๓๗) ก็ตาม ด้วยเหตุน้ี ผ้เู ขยี น ๒ ส�ำเนียงสน้ั และยาวทีพ่ ระองค์ทรงกลา่ วถงึ ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งสอดคล้องกบั ความสนั้ ยาวของสระ ในทางสทั ศาสตร์ (phonetics) หรอื สทั วทิ ยา (phonology) เชน่ รปู เขยี น “a ยาว เปน เอ, สน้ั เปน แอ.” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หนา้ ๘) เปน็ ตน้ สว่ น สำ� เนยี งพเิ ศษคอื เสยี งอน่ื ๆ ของรปู สระ เชน่ a ยงั “มสี ำ� เนยี งเปน อ ดงั น้ี All ออล” หรอื เปน็ “อา ดงั น:ี้ Bar บาร.์ ” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หนา้ ๑๐) 88
แม้ว่าอักษรไทยท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงใช้ถ่ายถอดเสียงภาษาอังกฤษในภาคที่ ๑ ของ พระนิพนธ์แว่นอังกฤษจะไม่ได้สอดคล้องกับเสียง ในภาษาอังกฤษท่ีอ้างอิงจากเสียงอ่านในปัจจุบัน แบบหน่ึงต่อหน่ึง หากแต่ก็มีความคงเส้นคงวา คอ่ นขา้ งสงู และประกอบไปดว้ ยเสยี งในภาษาองั กฤษ ท่ีค่อนขา้ งครบถ้วนสมบูรณ์ จึงสนใจค้นคว้าเพิ่มเติมว่าระบบและรายละเอียดท้ังหมดในภาคที่ ๑ ของ พระนิพนธ์แว่นอังกฤษ น้ันเป็นข้อสังเกตท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรง ตงั้ ขน้ึ ดว้ ยพระองคเ์ อง หรอื ทรงอา้ งองิ จากรปู แบบการสอนการอา่ นออกเสยี ง ภาษาอังกฤษในหนังสือภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน หรือไม่ อย่างไร ดังท่ีกล่าวไว้ข้างต้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรง พระนิพนธ์หนังสือแว่นอังกฤษ ข้ึนในปีพุทธศักราช ๒๔๓๙ หรือตรงกับ ปีคริสตศ์ กั ราช ๑๘๙๖ ก่อนหนา้ นน้ั ประมาณหน่งึ ศตวรรษ ก�ำเนดิ หนังสอื ของ โนอาห์ เวบ็ สเตอร์ (Noah Webster) เชน่ The American Spelling Book ในปคี ริสตศ์ ักราช ๑๗๘๖ หนังสือเลม่ นีใ้ ชอ้ า้ งอิงและประกอบการ สอนในโรงเรยี นอยา่ งกวา้ งขวางในเรอ่ื งการสะกดคำ� ภาษาองั กฤษโดยเฉพาะ ช่วงเวลาไล่เล่ียกันในปีคริสต์ศักราช ๑๗๙๕ ก็ก�ำเนิดหนังสือไวยากรณ์ ภาษาองั กฤษทม่ี ผี ใู้ ชอ้ ยา่ งกวา้ งขวางทงั้ ในประเทศองั กฤษและสหรฐั อเมรกิ า เช่นกัน คือหนังสือ English grammar: adapted to the different classes of learners ของลนิ ด์ลยี ์ เมอร์เรย์ (Lindley Murray) หนงั สอื ของ ทงั้ สองทา่ นนน้ั เปน็ ทนี่ ยิ มอยา่ งมาก จนมฉี บบั พมิ พใ์ หมแ่ ละฉบบั แปลงอน่ื ๆ อกี หลายรอ้ ยฉบบั ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษตอ่ มา เมอื่ พจิ ารณาเนอื้ หา ในภาคที่ ๑ ของพระนิพนธ์ แว่นอังกฤษ ก็พบว่ามีเนื้อหาท่ีคล้ายคลึงกับ หนังสือท้ังสองเล่ม (ไม่อาจระบุได้ว่าฉบับปรับปรุงครั้งใด) อย่างไรก็ตาม รายการอ้างอิงดังกล่าวนี้เป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้นของผู้เขียน นักวิชาการและผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมเก่ียวกับรายละเอียดใน เชิงประวตั ิ เนอ้ื หาและรปู แบบของหนงั สอื สอนภาษาองั กฤษในประเทศไทย เทียบเคียงกับหนังสือไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของต่างประเทศในแต่ละยุค 89
โนอาห์ เวบ็ สเตอร์ (Noah Webster) หนงั สอื The American ผเู้ ขยี นหนงั สอื The American Spelling Book Spelling Book (๑๗๘๖) ใช้เปน็ หนังสือ ลนิ ดล์ ีย์ เมอรเ์ รย์ (Lindley Murray) อ้างองิ และประกอบ ผเู้ ขียนหนงั สือ English grammar: adapted การสอน to the different classes of learners ในโรงเรยี นอย่าง กวา้ งขวาง หนงั สือเล่ม 90 นแี้ ตง่ กอ่ นจะมี พระนพิ นธแ์ ว่นองั กฤษ กว่ารอ้ ยปี หนงั สอื English grammar: adapted to the different classes of learners (๑๗๙๕) เปน็ หนังสือ ไวยากรณ์ภาษา องั กฤษซ่ึงใชอ้ ยา่ ง กวา้ งขวางทง้ั ใน ประเทศองั กฤษและ สหรัฐอเมรกิ า รว่ มสมัยกับหนงั สอื The American Spelling Book
สมัยต่อไปได้ การถ่ายถอดเสียงภาษาองั กฤษ ด้วยอกั ษรไทยในภาคที่ ๑ ของพระนิพนธแ์ ว่นอังกฤษ สมยั ทส่ี มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงนพิ นธ์ แว่นอังกฤษน้ัน เป็นเวลาราว ๆ หน่ึงศตวรรษก่อนท่ีสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet; IPA) จะมีข้ึนครั้งแรกในปีคริสต์ ศักราช ๑๙๙๔ (MacMahon, 4991) การถ่ายถอดเสียงภาษาอังกฤษเพื่อ ประกอบการเรียนการสอนในเวลานั้นจึงจ�ำเป็นต้องอาศัยอักษรไทยที่ ใกลเ้ คยี งกบั เสยี งในภาษาองั กฤษแตล่ ะเสยี งมากทส่ี ดุ ผศู้ กึ ษาในสมยั ปัจจุบนั จงึ ไมอ่ าจตดั สนิ ไดว้ า่ อกั ษรทใ่ี ชน้ น้ั เหมาะสมและเทยี บเคยี งกนั ไดจ้ รงิ หรอื ไม่ เน่ืองจากเป็นไปไม่ได้เลยท่ีเสียงในภาษาไทยจะตรงกับเสียงในภาษา อังกฤษทั้งหมดรวมถึงในทางกลับกัน ด้วยเหตุน้ี ค�ำถามท่ีผู้เขียนสงสัยจึง เกย่ี วข้องกับความคงเสน้ คงวาในการถ่ายถอดเสยี ง กลา่ วคือ อกั ษรไทยที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงใช้ถ่ายถอดเสียงภาษาอังกฤษในภาคท่ี ๑ ของพระนิพนธ์แว่นอังกฤษสอดคล้องกับเสียงในภาษาอังกฤษแบบหน่ึง ต่อหน่ึงหรือไม่ อยา่ งไร หากอ้างองิ จากเสยี งอ่านในปัจจบุ ัน วิธีการด�ำเนินการหาค�ำตอบเริ่มต้นจากการประมวลข้อมูลที่มี ท้ังหมดในภาคท่ี ๑ ประกอบด้วย (๑) รูปเขียนภาษาอังกฤษ (๒) อักษรไทย ทที่ รงกำ� กบั เสยี งอา่ นของรปู เขยี นนนั้ ๆ (อาจออกเสยี งไดม้ ากกวา่ หนง่ึ แบบ) (๓) ตัวอย่างค�ำที่พระองค์ทรงระบุไว้ จากน้ันผู้เขียนจึงเพ่ิมข้อมูล (๔) เสยี งอา่ นในปจั จบุ ันในส�ำเนียงภาษาองั กฤษแบบมาตรฐาน (Received Pronunciation) และ (๕) เสียงอา่ นในปจั จุบันในสำ� เนียงภาษาอังกฤษแบบ อเมริกัน๓ ในเร่ืองของส�ำเนียงภาษาอังกฤษที่พระองค์ทรงใช้อ้างอิงใน พระนพิ นธน์ น้ั คอ่ นขา้ งยากทจ่ี ะตดั สนิ ในทนั ทวี า่ เปน็ ภาษาองั กฤษสำ� เนยี งใด เนือ่ งจากคำ� บางคำ� เชน่ เสียงสระค�ำวา่ aunt พระองค์ทรงระบวุ ่าเปน็ เสียง <อา> คือตรงกับส�ำเนียงภาษาอังกฤษแบบมาตรฐานในปัจจุบัน แต่เมื่อ ทรงกล่าวถึงเสียงโรทิก (rhotic) กลับทรงกล่าวว่า “ออกเสียงเปน ร ในเสยี งไทย ทั้งเปนตวั นำ� เปนตัวกลำ�้ เปนตวั ตาม ดงั น้ี: Riv-er, Grand, Car.” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หนา้ ๒๙) ๓ ขอ้ มูลส�ำเนียงภาษาอังกฤษแบบอเมรกิ นั ไม่ไดน้ �ำเสนอในบทความนี้ เนอ่ื งจากเป็นบทความขนาดสั้น. 91
ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับส�ำเนียงภาษาอังกฤษแบบอเมริกันในปัจจุบัน อย่างไรกต็ าม เสยี งโรทิกในตำ� แหน่งตวั สะกดในส�ำเนียงอังกฤษแบบบริตชิ เองก็เคยมีอยู่มากในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๘ และหายไปอย่างสิ้นเชิง ในช่วงค่อนปลายศตวรรษท่ี ๑๙ (Lass, 1999) ก่อนสมัยของพระนิพนธ์ แว่นอังกฤษ อีกท้ังหนังสือท่ีพระองค์ทรงอ้างอิงก็อาจมิได้มีเพียงของ ปราชญ์ชาวอเมริกันท้ังสองท่านดังท่ีกล่าวไว้ข้างต้นและอาจเป็นหนังสือ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในสมัยก่อนท่ีจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงโรทิกใน ส�ำเนียงอังกฤษแบบบริติชก็เป็นได้ ด้วยเหตุน้ี จึงยากที่จะตัดสินอย่าง แน่ชัดว่าเสียงอ่านท่ีพระองค์ทรงหมายถึงคือเสียงอ่านในส�ำเนียงภาษา องั กฤษส�ำเนยี งใด เน่ืองจากพระนิพนธ์แว่นอังกฤษมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนสามารถ อ่านออกเสียงรูปเขียนในภาษาอังกฤษได้ จุดเน้นของพระนิพนธ์จึงอยู่ท่ี “รูปเขียน” ว่าแต่ละรูปออกเสียงอย่างไรได้บ้าง มิได้เน้นว่า “เสียง” น้ัน ๆ เขียนเป็นรูปใดได้บ้าง เมื่อผู้เขียนเก็บข้อมูลในภาคที่ ๑ ครบถ้วนดีแล้ว จึงประมวลผลกลับกันจากที่ทรงน�ำเสนอในเล่ม กล่าวคือ ประมวลว่าเสียง อ่านแต่ละเสียงน้ัน พระองค์ทรงใช้อักษรไทยตัวใด (บ้าง) ในการถ่ายถอด เสยี งน้นั ดังทส่ี รปุ ในตารางที่ ๑ และแผนภาพที่ ๑ ซง่ึ ยกมาเพยี งแต่ขอ้ มลู ท่ีเทียบเคียงกับเสียงอ่านในส�ำเนียงอังกฤษแบบมาตรฐานในปัจจุบัน เพ่ือ ให้ทราบว่าอักษรไทยที่ทรงใช้และเสียงอ่านในปัจจุบันมีความสอดคล้องกัน แบบหนึ่งตอ่ หน่ึงหรอื ไม่ อย่างไร ในสว่ นของเสยี งพยญั ชนะดงั ทน่ี ำ� เสนอในตารางที่ ๑ นน้ั สงั เกตไดว้ า่ ในภาพรวมน้ัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงกล่าวถึงเสียงพยัญชนะทุก เสียงที่มีในภาษาอังกฤษ ไม่มีเสียงใดตกหล่นไป นอกจากน้ี พระองค์ยัง ทรงก�ำหนดรูปอักษรไทยแทนเสียงแต่ละเสียงน้ันให้เป็นรูปท่ีต่างกัน เช่น การท่ีทรงใช้เครื่องหมายดอกจันหลังตัวอักษรไทยส�ำหรับเสียงที่ไม่มีใน ภาษาไทย หรอื การวงเลบ็ หลงั เสยี งนน้ั ๆ วา่ เปน็ เสยี งในภาษาไทยหรอื เสียง ในภาษามคธ เปน็ ตน้ ในหมเู่ สยี งพยญั ชนะทง้ั หมด มเี พยี งเสยี งเสยี ดแทรก ในฐานฟัน ได้แก่เสียง /θ/ และเสยี ง /ð/ เสียงเสยี ดแทรกในฐานปมุ่ เหงือก ได้แก่เสยี ง /s/ และ /z/ และเสียงเสียดแทรกในฐานหลังปมุ่ เหงอื ก ไดแ้ ก่ เสยี ง /ʃ/ และเสยี ง /ʒ/ เทา่ นนั้ ท่อี าจยงั มคี วามคลาดเคล่อื นอย่บู ้างในบาง แห่ง ความคลาดเคลอื่ นดงั กลา่ วลว้ นแตเ่ ป็นความคลาดเคล่ือนท่ีเนอ่ื งดว้ ย เสียงโฆษะหรือเสียงก้อง กล่าวคือ ในบางแห่ง ทรงแทนเสียงที่น่าจะเป็น 92
เสียงก้องด้วยอักษรไทยท่ีในตอนต้นทรงระบุว่าเป็นอักษรแทนเสียงไม่ก้อง หรอื กลับกนั เช่น เมื่อทรงกลา่ วถงึ รูปเขยี น <th> ว่า “ออกเสยี งสงู เปน ถ* ดังน้:ี Thank, Think; Death, Mouth. ออกเสียงตำ่� เปน ธ* ดงั น:ี้ Thus, That; Breath, Be-neath” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส, ๒๔๗๔, หน้า ๓๑) แตร่ ปู <th> ทีเ่ ขียนอยใู่ นค�ำว่า breath หรือ beneath ตรงกบั เสียง /θ/ มใิ ชเ่ สยี ง /ð/ ท่ีทรงแทนด้วยรปู <ธ*> หรอื เมื่อทรงกล่าวถึงรูปเขียน <x> ว่าเมื่อ “เปนตัวน�ำ ออกเสียงเปน ซ ดังนี้: Xe-bec.” (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๗๔, หนา้ ๓๓) ขณะทตี่ วั <x> ทเี่ ขยี นอยใู่ นคำ� วา่ xebec หรอื คำ� วา่ xylography ในแบบฝึกหัดตอนท้าย ตรงกับเสียงอ่าน /z/ ในปัจจุบัน มิใช่เสียง /s/ ที่ ทรงแทนด้วย <ซ> เป็นต้น นอกจากน้ี เสียงเสียดแทรกในฐานหลังปุ่ม เหงือกยังทรงใช้รูปอักษรเดียวกันกับเสียงกักเสียงแทรกในฐานเดียวกัน 93
ตารางท่ี ๑: สัทอักษรสากลของเสียงพยัญชนะในภาษาอังกฤษ รูปอักษรไทยในพระนิพนธ์ท่ีใช้ถ่ายถอดเสียง ดังกล่าว (ระบุภายในเคร่ืองหมาย <> และขีดเส้นใต้หากซ�้ำ) ด้านล่างตารางคือสัทอักษรสากลและตัวอย่างค�ำที่ ปรากฏในพระนิพนธ์เมื่อทรงกล่าวถึงเสียงนั้น (ส่วนท่ีท�ำตัวหนาคือรูปท่ีแทนเสียงนั้น) 94
แผนภาพที่ ๑: แผนภาพแสดงเสียงสระในภาษาอังกฤษส�ำเนียงอังกฤษแบบมาตรฐาน ตามต�ำแหน่งลิ้นในผัง สัทอกั ษรสากล (ซา้ ย) เสยี งสระในภาษาองั กฤษ อกั ษรไทยทท่ี รงใชถ้ า่ ยถอดเสยี ง (ระบภุ ายในเครอื่ งหมาย <> ขีด เส้นใต้หากเป็นรูปอักษรไทยท่ีซ�้ำกับรูปแทนเสียงอ่ืน และท�ำตัวเอียงหากซ�้ำแต่เป็นเสียงที่อาจหารูปอักษรไทยตัว อื่นแทนได้ยาก) และตัวอย่างค�ำที่ปรากฏในพระนิพนธ์ (ส่วนท่ีท�ำตัวหนาคือส่วนท่ีแทนเสียงน้ัน) (ขวา) 95
มิได้ทรงใช้อักษรไทยตวั อน่ื มาแทนโดยเฉพาะ เสียงสระดงั ทเ่ี สนอในแผนภาพท่ี ๑ นั้นถือว่ามสี ดั สว่ นของรปู อักษร แทนเสียงซ้�ำกับอีกเสียงหนึ่งมากกว่าการถ่ายถอดเสียงพยัญชนะ เสียงท่ี เส้นใต้ไว้คือเสียงที่น่าจะมีความคลาดเคล่ือน ส่วนหน่ึงเป็นเร่ืองของความ ส้ันยาวของเสียงสระ (เช่นในค�ำว่า guest หรือ woman) ซึ่งอาจ คลาดเคลื่อนได้หากได้ยินค�ำน้ันจากผู้ที่พูดอย่างช้า ๆ อีกส่วนหน่ึงเป็น ความคลาดเคล่ือนท่ีอาจเกิดจากการท่ีมีเสียงโรทิกอยู่ในส่ิงแวดล้อมที่เกิด เสียงสระ (เช่นในค�ำว่า door หรือ air) ส่วนเสียงท่ีท�ำตัวเอียงไว้ถือเป็น เสียงพเิ ศษ ได้แก่ เสียง /ə/ (schwa) ท่ีปรากฏเฉพาะในการแทนเสียงสระ ลดรปู ในพยางคไ์ มเ่ นน้ หนกั ของภาษาองั กฤษ เมอ่ื อา่ นออกเสยี งอยา่ งชา้ ๆ หรอื เนน้ หนกั ก็อาจเป็นเสียงอน่ื ทไี่ ม่ใช่ /ə/ ได้ เชน่ คำ� นำ� หน้านาม a เม่อื พูดต่อเน่ืองในภาษาธรรมชาติอาจลดรูปเป็นเสียง /ə/ แต่เม่ือออกเสียง เนน้ หนักไมล่ ดรูปจะเปน็ เสยี ง /eɪ/ เปน็ ตน้ อกี เสียงหน่งึ ทท่ี ำ� ตวั เอยี งไว้คือ เสียง /i/ ที่ถือว่าอยู่ก่ึงกลางระหว่าง /ɪ/ <อิ> และ /iː/ <อี> ท่ีมีรูปแทน เสยี งแลว้ จงึ เปน็ เสยี งทอ่ี าจหารปู อกั ษรไทยตวั อน่ื แทนไดย้ าก เมอ่ื พจิ ารณา ในภาพรวม แม้ว่าอักษรไทยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงใช้ถ่ายถอด เสียงภาษาอังกฤษในภาคที่ ๑ ของพระนิพนธ์แว่นอังกฤษจะไม่ได้ สอดคล้องกับเสียงในภาษาอังกฤษท่ีอ้างอิงจากเสียงอ่านในปัจจุบันแบบ หนึง่ ต่อหน่งึ หากแต่กม็ ีความคงเสน้ คงวาคอ่ นข้างสูง และประกอบไปด้วย เสียงในภาษาองั กฤษท่คี อ่ นข้างครบถ้วนสมบูรณ์ พระนิพนธ์แว่นอังกฤษถือเป็นหนังสือท่ีมีความน่าสนใจอย่างยิ่งใน ทางวชิ าการ ดว้ ยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรง ตั้งใจให้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแก่พระภิกษุ สามเณร จงึ ท�ำให้รปู แบบและเนอื้ หาของหนงั สอื มเี อกลกั ษณ์ตา่ งจากตำ� รา ไวยากรณ์อ่ืน ๆ ที่ทรงนิพนธ์ ผู้สนใจสามารถศึกษาพระนิพนธ์เล่มนี้โดย ละเอียดเพิ่มเติมต่อไปได้ นอกจากนี้ นักวิชาการและผู้สนใจยังสามารถ ศึกษาเปรียบเทียบพระนิพนธ์เล่มน้ีกับเอกสารประกอบการสอนหรือต�ำรา ไวยากรณ์ที่เขียนโดยชาวต่างประเทศในยุคสมัยใกล้เคียงกันได้ในหลาย แงม่ มุ อกี ดว้ ย แมจ้ ะผา่ นเวลามานานกวา่ ศตวรรษ แตพ่ ระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็ยังคงมีคุณูปการอย่างยิ่ง ในดา้ นการศึกษาและยงั คงเปน็ ดุจ “แว่นตา” ใหผ้ ใู้ ดก็ตามท่ีใฝ่ใจจะมอง 96
รายการอ้างอิง วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๔๗๔). แว่นอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพไ์ ท. Lass, Roger. (1999). Phonology and Morphology. In Lass, Roger (ed.). The Cambridge History of the English Language, Volume III: 14761776-. Cambridge: Cambridge University Press. 56186-. MacMahon, Michael K. C. (1994). International Phonetic Association. In R. E. Asher & J. M. Y. Simpson (eds.), The Encyclopaedia of Language and Linguistics. Oxford: Pergamon Press. 17301731-. Murray, Lindley. (1785). English grammar: Adapted to the Different Classes of Learners. York. Webster, Noah. (1786). The American Spelling Book: Containing the Rudiments of the English Language for the Use of Schools in the United States by Noah Webster. The famous Blue-Backed Speller. 97
“ล�ำดับน้ี จะรบั พระราชทานกล่าวพรรณนา พระราชจรยิ าสาธุปฏิบัติท่ีตั้งแห่งสวัสดิมงคล อันพิเศษย่งิ ซง่ึ ได้ช่อื วา่ มงคลวเิ สสเปน็ พระคณุ อลังการ มีพรอ้ มบรบิ ูรณ์ในสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า เมื่อได้ทรงสดับแล้วทรง พระปจั จเวกขณ์ถึงโดยก�ำลังพระปรชี า ก็จะเกิด พระปีติปราโมทย์มีประมาณมิใช่น้อย แต่น้ันก็ จะตั้งพระราชหฤทัยทรงบ�ำเพ็ญให้บริบูรณ์ ยิ่งข้ึน สิรสิ วัสดิพิพัฒนชัยมงคล ก็จะเกิดมีแด่ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ด้วยเหตุ ทรงบำ� เพ็ญพระราชจรยิ านั้น” จากพระนิพนธ์ พระมงคลวเิ สสกถาในศก ๑๑๙
พระมงคลวิเสสกถา: พระธรรมเทศนาถวายพระราชา เพื่อความผาสุก แหง่ พระราชอาณาจกั ร อัสนี พูลรักษ์๑ ในพระนพิ นธพ์ ระประวตั ติ รสั เลา่ ตอนหนงึ่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงเลา่ วา่ หลงั จากทท่ี รงผนวชไดไ้ มน่ าน ทรงตงั้ พระปณธิ านทจ่ี ะอยใู่ นเพศบรรพชติ ตลอดพระชนมช์ พี ดว้ ยไมท่ รงปรารถนาให้ “เสียความวางพระราชหฤทัย” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ที่ทรงกราบพระองค์ด้วยพระอาการความเคารพ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๖๗, หนา้ ๔๙-๕๐) ตลอดพระชนมช์ พี ทท่ี รงดำ� รงอยใู่ นสมณเพศ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงรับพระราชภาระด้านการพระศาสนา หลายประการ สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มิให้ “เสียความวางพระราชหฤทัย” ดังที่ทรงตั้งพระทัยไว้ หนึ่งในนั้นคือการทรงพระนิพนธ์พระมงคลวิเสสกถาถวายพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมงคลวิเสสกถานี้นับเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทยอันทรง คุณค่า เป็นประจักษ์พยานแห่งพระอัจฉริยภาพด้านพระปริยัติธรรมและ อักษรศาสตร์เป็นอย่างเอก ท้ังยังมีส่วนธ�ำรงความผาสุกแห่งพระราช อาณาจักรโดยแยบคาย ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปแี หง่ การส้นิ พระชนม์ของ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส พทุ ธศักราช ๒๕๖๔ จึงสมควรท่ีจะกล่าวถึงพระนิพนธ์ชุดดังกล่าวนี้โดยสังเขป เพ่ือเป็นการ ประกาศพระเกียรติคณุ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์น้ี ๑ อาจารยป์ ระจ�ำภาควชิ าภาษาไทย คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . 99
ราโชวาทานศุ าสนธ์ รรมเทศนา พระมงคลวิเสสกถา เป็นพระธรรมเทศนาท่ีสมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระราชาคณะแสดงในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ธรรมเนยี มดงั กลา่ วนมี้ มี าแตร่ ชั สมยั พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ เปน็ ผถู้ วายมาตงั้ แตค่ รงั้ ยงั ทรงเปน็ พระศาสนโศภณ เมอ่ื สมเดจ็ พระสงั ฆราช พระองค์นี้สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสไดท้ รงถวายตอ่ มา นบั แต่ ศก ๑๑๙ (พุทธศักราช ๒๔๔๓) จนส้ินรัชกาล คร้ันถึงรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงถวายอย่างต่อเน่ืองกระทั่ง สิ้นพระชนม์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๕๔, หน้า [๓]; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หนา้ ก) เหตุที่พระธรรมเทศนานี้ช่ือว่ามงคลวิเสสกถานั้น สมเด็จพระเทพ รตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี (๒๕๕๔, หนา้ [๓]) ทรงสนั นษิ ฐานไวว้ า่ “เข้าใจว่าจะได้มาแต่การเจริญพระพุทธมนต์ท่ีเริ่มด้วยมงคลสูตรเป็น สูตรแรก เน้ือหาของมงคลวิเสสกถาก็มักน�ำข้อธรรมมาแต่มงคลสูตรมา อธิบายแจกแจงให้เขา้ กับพระราชกรณียกจิ ” พระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถานี้เป็นการประมวลพระราช กรณียกิจและพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมา พรรณนาเขา้ กับธรรมนัยตา่ ง ๆ มีราชธรรมเปน็ อาทิ เพ่ือจะไดท้ รงพิจารณา แล้วทรงเกิดพระปตี ิปราโมทย์ บ�ำเพ็ญราชธรรมนน้ั ใหย้ ง่ิ ขน้ึ ไป ดังทีส่ มเด็จ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรงอธบิ ายไว้วา่ หนงั สือมงคลวเิ สสกถาน้ี เป็นเทศนาพเิ ศษอยา่ งหนึ่ง ซ่ึงพรรณนาพระราชจรรยาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อ ประโยชน์จะได้ทรงพระปัจจเวกขณ์ถึงแล้ว เกิดพระปีติ ปราโมทยแ์ ลว้ ทรงบำ� เพญ็ ราชธรรมนน้ั ยงิ่ ๆ เปน็ การอปุ ถมั ภ์ พระราชจรรยาใหถ้ าวรไพบูล. (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หนา้ ก) 100
หากพิจารณาจากเน้ือหาและวัตถุประสงค์ตามค�ำอธิบายข้างต้น แล้วก็อาจกล่าวได้ว่า พระมงคลวิเสสกถา น้ีมีลักษณะเป็น “ราโชวาทา นุศาสน์ธรรมเทศนา” คือ พระธรรมเทศนาที่มุ่งถวายค�ำสอนแด่พระราชา หรือพระมหากษัตริย์ แต่เป็นการถวายพระอนุศาสโนวาทด้วยอุบายอย่าง ประณตี แยบยล คอื การกลา่ วถงึ พระราชจรรยาต่าง ๆ ดังทท่ี รงอธิบายว่า อันพระเจ้าแผ่นดินย่อมเป็นท่ีสูงสุดในมนุษยนิกาย ยากท่ีจะมีใครกล้าถวายโอวาทได้จัง ๆ ถึงอย่างน้ัน ผู้หวัง ประโยชน์ในพระองค์จึงหาช่องทางที่จะถวายด้วยอย่างหน่ึง อย่างใด. อันการกล่าวพระราชจรรยานั้น เป็นอุบายถวาย โอวาทอย่างละเมียด จึงเป็นแบบที่โบราณบัณฑิตได้ใช้มา ประการหน่งึ (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หน้า ก) ราชจรรยากถาภาษิต สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรงพระนิพนธ์ พระมงคลวเิ สสกถาถวายพระมหากษตั รยิ ์ ๒ พระองค์ คอื พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพรรณนาพระราชจรรยาในพระมงคลวิเสสกถานั้น สมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ ทรงจ�ำแนกพระราชจรรยาออกเป็น ๒ หมวด คือ อัตตสมบัติ และ ปรหิตปฏิบัติ พระราชจรรยาหมวดอัตตสมบัติเป็นการพรรณนา พระราชจรยิ วตั รหรอื ธรรมะทที่ รงมเี พยี บพรอ้ มอยใู่ นพระองค์ เชน่ ปพุ เพกต ปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญท่ีกระท�ำไว้ในอดีตชาติ) อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ) อปจายนธรรม (ความเป็นผู้อ่อนน้อม) ขอยกตัวอย่าง พระมงคลวิเสสกถาในศก ๑๒๐ ท่ีพรรณนาพระราชจรรยาของสมเด็จพระ จุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว หัวขอ้ อปจายนธรรมมาแสดงดังน้ี 101
แลอปจายนธรรมนั้น คือพระราชกุศลบุญกิริยาสัมมา ปฏิบัติส่วนอ่อนน้อมแก่วยวุฑฒบุคคล และธรรมท่ีชอบ อันสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ทรงปฏิบัติเป็น อาจณิ วตั รเสมอมา ดว้ ยสมเดจ็ บรมบพติ รพระราชสมภารเจา้ ประกอบด้วยพระราชกุศลสมภารบุญญาบารมีสโมสร เพ่ิมพูนวิบากขันธ์อันมโหฬารให้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระชาติ สมบัติในเบื้องต้น เป็นที่นิยมนับถือของอเนกชนนิกร […] แตด่ งั นนั้ ยงั ทรงออ่ นนอ้ มแกท่ า่ นผเู้ จรญิ ดว้ ยวยั ดง่ั ทรง ยกย่องพระราชวงศ์ผู้เจริญพระชนมพรรษาไว้ในท่ีกุลเชฏฐ และทรงแสดงเคารพพิเศษตามสมควร […] สมเด็จบรม บพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงบ�ำเพ็ญอปจายนธรรมใน วยวุฑฒบุคคลและธรรมที่ชอบเป็นอาจิณปฏิบัติ ข้อน้ีจัด เป็นประถมมงคลอนั วเิ ศษยิง่ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หน้า ๑๙–๒๔) ส่วนปรหิตปฏิบัติ คอื พระราชจรรยาทท่ี รงบำ� เพญ็ เพอื่ ประโยชนข์ อง ผ้อู ื่น ส่วนใหญ่มุ่งพรรณนารฏั ฐาภิปาลโนบาย คอื พระราชกรณียกิจในการ บริการปกครองพระราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ ท้ังฝ่ายพุทธจักรและ อาณาจกั ร เชน่ พระมงคลวเิ สสกถาทถี่ วายพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ มักทรงพรรณนาพระราชกรณียกิจ ดา้ นการพฒั นาประเทศในดา้ นตา่ ง ๆ เชน่ การออกกฎหมายสงฆ์ การพฒั นา สาธารณปู โภค การปรบั ปรงุ ระบบกฎหมายของบา้ นเมอื งใหม้ คี วามทนั สมยั เปน็ ต้น ขอยกตวั อยา่ งพระมงคลวเิ สสกถาทีถ่ วายในศก ๑๒๑ ดังนี้ พระราชจริยารัฏฐาภิปาลโนบายนั้น คือราชกรณียกิจ ท่ีทรงจัดข้ึนด้วยพระบรมเดชานุภาพ เพื่อประโยชนคุณแก่ พระราชอาณาจักรกับท้ังประชาชนข้าขอบขัณฑสีมา…ฝ่าย พระพุทธจักร ได้ทรงตั้งพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ เพ่ือวางแบบลงให้เป็นหลักฐาน พระราชทานอ�ำนาจแก่ เจ้าอาวาสตลอดขน้ึ ไปถงึ เจา้ คณะใหญ่ เพอื่ เปน็ ภารธรุ ะในกิจ พระศาสนาได้โดยสะดวก ทั้งในส่วนนิคคหะ คือปราบปราม 102
พวกอลัชชี และท้ังในส่วนปัคคหะ คือยกย่องผู้มีศีลเป็นท่ีรัก และทรงวางหน้าท่ีของเจ้าพนักงานฝ่ายฆราวาสให้อุดหนุน เจ้าคณะน้ันด้วย พระราชบัญญัติน้ี จะเป็นเคร่ืองรักษา คณะสงฆ์ต้งั อยใู่ นระเบียบเรยี บรอ้ ย อดุ หนุนพระวนิ ัยบญั ญตั ิ ดว้ ยอำ� นาจฝา่ ยราชอาณาจกั รอกี สว่ นหนง่ึ ภกิ ษสุ งฆม์ พี ระวินัย บัญญัติ และพระราชบัญญัติรักษาไว้ให้ต้ังอยู่ในระเบียบแล้ว กจ็ ะตัง้ มัน่ สบื อายพุ ระพทุ ธศาสนาถาวรตลอดกาลนาน… (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หนา้ ๓๘–๓๙) ปริยัติธรรม-อกั ษรศาสตร์ปฏิภาณ ในการพรรณนาพระราชจรรยานน้ั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา วชิรญาณวโรรส จะทรงนิยามและอธิบายความหมายของธรรมะข้อน้ัน ๆ เสียก่อน แล้วจึงยกพุทธพจน์หรือน�ำอุทาหรณ์จากคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกมาแสดง แล้วจึงทรงอธิบายว่าพระราชจรรยาท่ีทรงพรรณนา น้ันสอดคล้องกับหลักธรรมค�ำสอนของพระบรมศาสดาอย่างไร เช่น ใน พระมงคลวิเสสกาที่ทรงถวายในศก ๑๒๔ ทรงยกธรรมะข้อปฏิสันถาร กุสลตามาพรรณนา ทรงนิยามและอธิบายความหมายของศัพท์นี้ให้เข้าใจ เสยี กอ่ นว่า ปฏสิ ันถารกสุ ลตานนั้ มีพรรณนาว่า อาการเครอื่ งแผ่ เผ่ือชื่อว่าปฏิสันถาร ได้แก่การต้อนรับปราศรัย กล่าวโดย อาการเป็นไป ปฏิสันถารนี้เป็นกิจควรท�ำแก่แขกผู้มาถึงถ่ิน ของตนแม้แต่เพียงด้วยวาจา ด่ังท่ีเรียกว่า สมฺโมทนา ก็ยัง ให้ส�ำเร็จผลท�ำความยินดีให้เกิดแก่ผู้ได้รับ เป็นอุบายเคร่ือง ยดึ เหน่ยี วนำ้� ใจเพื่อตงั้ อย่ใู นไมตรี และทวคี วามสนิทย่ิงข้ึน” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หน้า ๗๘) 103
จากนั้นทรงยกอุทาหรณ์ที่พระเวสสันดรกระท�ำปฏิสันถารแก่ พราหมณช์ ชู กผมู้ าทลู ขอสองกมุ าร และทา้ วสกั กะซงึ่ แปลงเพศเปน็ พราหมณ์ มาทลู ขอพระนางมทั รี เพอื่ แสดงวา่ “การปฏสิ นั ถารเปน็ ประเพณที นี่ ยิ มสบื มาของโบราณบัณฑิต นอกพุทธุปบาทสมัย แม้แขกมาดีร้ายอย่างไร ก็ ส�ำคัญเหน็ เปน็ กจิ ควรทำ� ตามหนา้ ท”ี่ (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา ว ชิ ร ญ า ณ วโรรส, ๒๕๓๘, หนา้ ๗๘) เมื่อแสดงเนื้อความส่วนนี้แล้วจึงได้อธิบายว่า พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกอปรด้วยปฏิสันถารกุสลตาอย่างเต็มเปี่ยม โดยทรงเปรยี บเทยี บกบั คุณสมบตั ิของพระเจ้าจกั รพรรดริ าช ดงั นี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระปรีชา ในอันจะพระราชทานพระราชปฏิสันถารแก่ประชุมชนทุกหมู่ เหลา่ แมแ้ ตเ่ พยี งไดเ้ ขา้ เฝา้ และรบั พระราชดำ� รสั กม็ ปี ตี ชิ นื่ บาน มีพระคุณเป็นอัศจรรย์ ต้องกันกับอัจฉริยัพภูตธรรมของ พระเจ้าจักรพรรดิราช ดังแสดงไว้ในมหาปรินิพานสูตร มีใจความว่า ราชบริษัท ๔ เหล่า คือ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิราชแม้แต่เพียง เท่านั้นก็ยังยินดี ถ้าพระองค์มีพระราชด�ำรัสด้วยก็ย่ิงชื่นบาน ต้องการจะให้ตรสั ตอ่ ไปอีก ยงั ไม่ทนั อ่ิมใจ พระเจา้ จักรพรรดิ ก็ตอ้ งทรงนง่ิ ไปเอง (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หนา้ ๘๒–๘๓) การที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรง อธิบายตีความพระราชจรรยาเช่ือมโยงกับพุทธธรรมได้อย่างแตกฉาน ทั้งยังทรงอ้างอิงคัมภีร์ต่าง ๆ มาเป็นอุทาหรณ์ได้โดยเหมาะสม และทรง เรียบเรียงเป็นส�ำนวนโวหารอันไพเราะสละสลวยเกลี้ยงเกลานั้น ไม่เพียง แต่จะท�ำให้เกิดความเข้าใจสาระธรรม และสร้างความน่าเช่ือถือเพราะมี หลักฐานจากคัมภีร์มายืนยันเท่าน้ัน แต่ยังแสดงพระปฏิภาณในทางพระ ปรยิ ตั ธิ รรมและอกั ษรศาสตรข์ องพระองคอ์ ยา่ งชดั เจน พระมงคลวเิ สสกถา ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเรียบเรียงได้เป็นต้นแบบในการเรียบเรียง 104
พระมงคลวิเสสกถาน้ีนับเป็นวรรณคดีพุทธศาสนา พ า ก ย์ ไท ย อั น ท ร ง คุ ณ ค่ า เป็ น ป ร ะ จั ก ษ์ พ ย า น แห่ ง พระอัจฉริยภาพด้านพระปริยัติธรรมและอักษรศาสตร์ เป็นอย่างเอก ท้ังยังมีส่วนธ�ำรงความผาสุกแห่งพระราช อาณาจักรโดยแยบคาย พระมงคลวเิ สสกถาในรัชกาลตอ่ ๆ มาจวบจนถงึ ปจั จบุ นั นอกจากน้ี พระนพิ นธช์ ดุ นยี้ งั ไดใ้ ชเ้ ปน็ ตวั อยา่ งสำ� นวนเรยี งความแก้ กระทู้ธรรม ซึ่งเป็นวิชาหน่ึงในหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และ เคยใช้เป็นข้อสอบวิชาแต่งไทยเป็นมคธตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกบาลีด้วย พระเกียรติคุณข้อน้ีสมด้วยความตอนหน่ึงในประกาศ มหาสมณตุ มาภเิ ศก เมอ่ื พทุ ธศกั ราช ๒๔๕๓ ทสี่ รรเสรญิ พระองคว์ า่ “ทรง เปน็ ผู้เชี่ยวชาญในสรรพอรรถธรรมท้ังปวง แล้วก็ได้ทรงเปิดเผยแผ่พระ ธรรมน้นั ๆ ให้ปรากฏแกม่ หาชนทว่ั ไปโดยโวหารอันไพเราะจับใจซมึ ทราบ ทำ� ให้ผู้ฟังแล้วแลเห็นเข้าใจ ทรงช�ำนิช�ำนาญท้ังในทางแสดงพระสัทธรรม เทศนาและในทางนิพนธ์รจนาหนังสือ อันเป็นเครื่องชูใจให้ผู้อ่านได้รับ ผลอันดี ปีตีปราโมทยเ์ ปน็ ทน่ี ยิ มนบั ถอื ของมหาชนทวั่ ไป” (สเุ ชาวน์ พลอย ชมุ , ๒๕๔๑, หนา้ ๒๘–๒๙) สยามรัฏฐสุขศานต์สริ ิสวัสด์ิ แม้พระมงคลวิเสสกถาจะเป็นพระธรรมเทศนาท่ีมุ่งถวายอนุศาสน์ แดพ่ ระมหากษตั รยิ ์ เพอื่ เปน็ อบุ ายใหท้ รงบำ� เพญ็ พระราชจรรยาใหเ้ จรญิ ยง่ิ ๆ ข้ึนไปดังท่ีได้อธิบายไปแล้วนั้น อย่างไรก็ตาม ในการพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษาย่อมมีพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองพระบาทในราชส�ำนักและ เหล่าเสนาอ�ำมาตย์เข้าร่วมพระราชพิธีด้วย ผู้ท่ีอยู่ในพระราชพิธีจึงได้ รับทราบพระราชจรรยาอันพึงสรรเสริญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปโดยปริยาย เนื้อความในพระธรรมเทศนาจึงมีส่วนปลูกฝังให้ข้าราช ส�ำนักเหล่านี้ซาบซึ้งและจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวอย่างแยบคายด้วย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสก็ทรงเล็งเห็นความ 105
สำ� คญั ขอ้ นี้ จงึ ไดท้ รงแถลงไวใ้ นตอนทา้ ยพระมงคลวเิ สสกถา ศก ๑๒๖ วา่ พระราชจรรยาสาธปุ ฏบิ ตั ิ อนั เปน็ ทต่ี ง้ั แหง่ ศภุ สริ สิ วสั ดิ อดุ มมงคลอนั พเิ ศษ มเี อกเทศดงั รบั พระราชทานพรรณนามา ด้วยประการฉะน้ี. ควรแล้วที่พระราชวงศานุวงศ์ และ เสวกามาตย์ ตลอดถึงราษฎรทั้งปวงจะมีความกตัญญูรู้ พระคุณ และจงรักภักดีในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร เจ้าน้ัน ผู้มีหน้าที่ในราชกิจ ควรตั้งจิตรักษาการฉลอง พระเดชพระคุณ จงเต็มก�ำลังด้วยความสวามิภักดิ์ซ่ือสัตย์ วุฒิสิริสวัสด์ิก็จักเกิดเป็นผล แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราช สมภารเจา้ ตลอดลงมาถึงตนท่วั กันแล (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๘, หน้า ๑๒๐–๑๒๑) พระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาจึงมิเพียงแต่แสดงถึงพระอัจฉริย ภาพของสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสเทา่ นัน้ หาก แต่ยงั มีส่วนธ�ำรงไว้ซึ่งความผาสุกแห่งราชอาณาจักร ผ่านการถวาย อนุศาสน์แด่พระมหากษตั รยิ ์ ควบคกู่ บั การสรา้ งความซาบซงึ้ จงรกั ภกั ดใี น พระมหากษตั รยิ ผ์ ู้ทรงเป็นธัมมิกราชา สมดังที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุ ดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงอธบิ ายไวว้ ่า พระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาท่ีได้ประมวลมานี้ แสดงให้เห็นถึงความเก้ือกูลกันระหว่างพระศาสนาซ่ึงเป็น หลักแห่งศีลธรรมจริยธรรมกับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมี อำ� นาจและหนา้ ท่ปี กครองให้ราษฎรอยเู่ ยน็ เปน็ สขุ ใหเ้ ป็นไป เพ่ือความสวัสดีแห่งพสกนิกรและบ้านเมือง ผู้ได้รับหนังสือ ประมวลพระธรรมเทศนามงคลวเิ สสกถาแลว้ ไดอ้ า่ นพจิ ารณา จะเห็นว่า ทั้งฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรน้ันได้ใส่ใจดูแลให้ บ้านเมืองสงบร่มเย็น ก�ำกับเกิดสมดุลระหว่างอ�ำนาจกับ ความเป็นธรรม เป็นการใช้ธรรมเป็นอ�ำนาจ เป็นเหตุให้ บ้านเมืองประเทศชาติของเราเจริญวัฒนามาโดยไม่มีเหตุ รา้ ยแรง สมควรทบี่ คุ คลทงั้ หลายผมู้ หี นา้ ทที่ ำ� นบุ ำ� รงุ บา้ นเมอื ง ให้เจริญจะได้ใส่ใจศึกษาไว้เป็นสมบัติทางปัญญาและจิตใจ สบื ไป (สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ าร,ี 106
๒๕๕๔, หน้า [๓]) พระธรรมเทศนามงคลวเิ สสกถา พระนพิ นธส์ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงเป็นเคร่ืองพิสูจน์ว่า แม้สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสจะทรงด�ำรงอยู่ในฝ่ายพุทธจักรตลอด พระชนม์ชีพ แต่ในฐานะพระราชวงศ์ผู้อาศัยพระบรมโพธิสมภาร ก็ทรงมี บทบาทสนองพระมหากรุณาธิคุณในการอุปถัมภ์ค�้ำชูฝ่ายอาณาจักรได้ อย่างบริบูรณ์ มิทรงท�ำให้ “เสียความวางพระราชหฤทัย” ดังที่ทรงตั้ง พระปณธิ านไว้ รายการอ้างอิง เทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร,ี สมเดจ็ พระ. (๒๕๕๔). พระราชปรารภ. ใน พระธรรม เทศนามงคลวเิ สสกถา พระราชพธิ เี ฉลมิ พระชนมพรรษา พระบาทสมเดจ็ พระปรมิ นทร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช พุทธศักราช ๒๔๘๙-๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานเสริมสร้าง เอกลกั ษณข์ องชาติ. วชริ ญาณวโรรส, สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา. (๒๔๖๗). พระประวตั ติ รสั เลา่ . พระนคร: โรงพิมพ์บำ� รงุ นกุ ลู กิจ. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๓๘). พระมงคลวิเสสกถา หลกั สตู รนกั ธรรม และ ธรรมศกึ ษาช้นั เอก. (พิมพ์ครั้งที่ ๒๑). กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวิทยาลัย. สุเชาวน์ พลอยชุม. (๒๕๔๑). พระเกียรติคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส (พระองคเ์ จา้ มนษุ ยนาคมานพ) วัดบวรนิเวศวหิ าร. (พิมพค์ รง้ั ที่ ๒). กรุงเทพฯ: 107
“...การอันผู้มีความรักความนับถือท�ำ ท�ำด้วยความต้ังใจ ย่อมส�ำเร็จดีกว่าท�ำ ด้วยกลัว อ�ำนาจเอาไว้ใช้ทีหลังที่สุด ในเวลา ที่ไม่สำ� เรจ็ ด้วยอยา่ งอ่ืนแล้ว เจ้าคณะผไู้ มใ่ ช้ ความคดิ พบอะไรตดิ ขดั แลเหน็ อยทู่ างเดยี ว แต่ใช้อ�ำนาจ ถ้าใช้ความคิดเข้าก็จะแลเห็น ทางวา่ ไมจ่ ำ� เปน็ ทกุ อยา่ งไป เมอ่ื ถงึ คราวจะใช้ ก็ให้รูจ้ ักใช้แต่พอดี เช่นนี้จะได้เป็นท้ังที่รกั ที่นับถือ ทัง้ ที่เกรงกลัวของบรษิ ัท...” จากพระนพิ นธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสดจ็ ตรวจการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๐
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสในฐานะ อธบิ ดสี งฆ์ ภาพสะท้อนการทรงงาน จากบนั ทึกเสดจ็ ตรวจการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕–๒๔๖๐ วรรณวิวฒั น์ รตั นลมั ภ์๑ ๑ อาจารย์ประจ�ำสาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เพชรบุร.ี 109
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงได้รับ มหาสมณุตมาภิเษกเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ท่ี ๑๐ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) การทรงงานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ใน ฐานะประมุขฝ่ายศาสนจักรสอดคล้องสัมพันธ์กับการทรงงานของพระบาท สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ในฐานะประมขุ ฝา่ ยอาณาจกั รอยา่ งชดั เจน นา่ สงั เกตวา่ รูปแบบการทรงงานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ อาจได้รับแบบอย่าง มาจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล ท่ี ๕) โดยเฉพาะ “การเสดจ็ ตรวจการคณะสงฆ”์ ซงึ่ ทรงปฏบิ ตั อิ ยา่ งตอ่ เนือ่ ง ในระหวา่ งปี ๒๔๕๕ ถงึ ๒๔๖๐ ปรากฏหลกั ฐานในบนั ทึกการเสดจ็ ตรวจ การคณะสงฆซ์ งึ่ เปน็ จดหมายเหตรุ ะยะทางทงั้ สน้ิ ๘ ฉบบั ภาพการทรงงาน ทสี่ ะทอ้ นจากจดหมายเหตรุ ะยะทางเหลา่ นนั้ มลี กั ษณะเหมอื นกบั “การเสดจ็ ประพาสในราชอาณาจักร” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซง่ึ เปน็ พระราชกรณยี กจิ ทท่ี รงปฏบิ ตั อิ ยา่ งตอ่ เนอ่ื งตลอดรชั กาล ดงั ปรากฏ หลกั ฐานในบนั ทกึ การเสดจ็ ประพาสหลายประเภททงั้ ทเ่ี ปน็ “เยอแนล” หรือ บันทึกการเดินทางส่วนพระองค์ เป็นพระราชหัตถเลขาในราชการหรือ พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ รวมถึงจดหมายเหตุเสด็จประพาสที่ทาง ราชการเป็นผู้บันทึกก่อนน�ำไปเผยแพร่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเพ่ือ แจ้งข่าวการเสด็จประพาสให้ราษฎรทราบโดยท่ัวกัน การแจ้งข่าวเสด็จ ประพาสในหนังสือราชกิจานุเบกษาน้ี น่าจะเป็นต้นแบบให้แก่การออก หนงั สอื แถลงการณค์ ณะสงฆท์ ส่ี มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงรเิ รมิ่ ขนึ้ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๕๖ เพ่อื ให้เป็นสอ่ื แจ้งขา่ วสารและประกาศต่าง ๆ ของคณะสงฆ์ รวมถึงเผยแพร่ข่าวการเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลต่าง ๆ ของ พระองค์ด้วย จึงกล่าวได้ว่ารูปแบบการทรงงานของประมุขฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักรมีลักษณะประสานกันไปเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่ทั้ง ฝ่ายฆราวาสและบรรพชิต ในบันทึกการเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ได้แสดง ให้เห็นการทรงงานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ท้ังส่วนท่ีช่วยเสริม ความมั่นคงให้แก่ฝ่ายอาณาจักรและส่วนที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ ศาสนจักร ดังรายละเอียดต่อไปน้ี 110
๑. การทรงงานเพื่อช่วยเสรมิ ความม่นั คง ใหแ้ กฝ่ ่ายอาณาจักร การออกพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารหลายฉบับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๘-๒๔๕๙ ท�ำให้รัฐหรือฝ่ายอาณาจักรสามารถควบคุมไพร่พล ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ (ธนัย เกตวงกต, ๒๕๖๐, หนา้ ๖) กระนัน้ กส็ ่งผล กระทบโดยตรงต่อการบวชเรียนของชายไทย ดังที่พระครูน้อย เจ้าคณะ แขวงอำ� เภอบรรพตพสิ ยั “ทลู อา้ งวา่ ตงั้ แตก่ ารเกณฑท์ หารเกดิ ขนึ้ คนไมไ่ ด้ อบรมอยู่ในวัดจนถึงอายุครบ เมื่อกลับจากเกณฑ์ทหารแล้วมีภรรยาเสีย ไมไ่ ดบ้ วชบา้ ง ทบี่ วชกอ็ ยแู่ ตพ่ รรษาเดยี วเปน็ พนื้ ฯ” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๗, หนา้ ๖๙) แม้การด�ำเนินนโยบายของฝ่ายอาณาจักรเป็นเหตุให้ชายไทยบวช พระนอ้ ยลงและบวชไมท่ น แตส่ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ กท็ รงเขา้ พระหฤทัย ความจ�ำเป็นของพระราชบัญญัติดังกล่าวซ่ึงเกิดขึ้นในช่วงที่สยามต้อง เผชิญกับอิทธิพลของชาติมหาอ�ำนาจตะวันตก ที่ส�ำคัญคือเมื่อเสด็จทอด พระเนตรกจิ การของฝา่ ยรฐั บาลหรอื ทรงพบปะกบั ขา้ ราชการในหนว่ ยงานรฐั ทม่ี าเฝา้ รบั เสดจ็ เมอ่ื ทรงออกตรวจการคณะสงฆใ์ นมณฑลตา่ ง ๆ จะประทาน พระโอวาทโดยทรงบูรณาการพระธรรมค�ำสอนให้เข้ากับกลุ่มคนหรือ หน่วยงานนน้ั ๆ เชน่ เมอื่ ขา้ ราชการเชญิ เสดจ็ ไปทก่ี รมทหารเพอ่ื ใหป้ ระทาน น้�ำพระพุทธมนต์ ได้ประทานพระโอวาทใจความว่า “ให้ต้ังอยู่ในระเบียบ บังคับบัญชาของทหาร มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา และความไม่ประมาท อันเปน็ ขอ้ สำ� คญั ทรงยกเวลาทำ� สงคราม ถา้ ประมาทเลนิ เลอ่ แมใ้ นครเู่ ดยี ว อาจถงึ ความพนิ าศได้ ในทสี่ ดุ ทรงแสดงวา่ ธรรมในศาสนาพวกทหารกต็ อ้ ง ใช้เหมือนกัน เป็นแต่ให้รู้จักผ่อนผันใช้ตามภูมิของตน ก็อาจส�ำเร็จผลท่ี ประสงค์ได้” (เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗๙) นอกจากการเสด็จเยี่ยมเยือน สำ� นกั งานของรฐั บาลแลว้ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ มกั จะเสดจ็ ไปประทาน ธรรมเทศนาแก่นักโทษในเรือนจ�ำของทุกเมืองตามระยะทางท่ีเสด็จตรวจ การคณะสงฆ์ แสดงให้เห็นว่าทรงใช้ธรรมะเพ่ือสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวม อยา่ งแท้จริง 111
รู ป แบ บ ก า ร ท ร ง ง า น ข อ ง ป ร ะ มุ ข ฝ่ า ย อ า ณ า จั ก ร และศาสนจักรมีลักษณะประสานกันไปเพ่ือให้เกิดความ สงบเรยี บรอ้ ยแก่ทั้งฝ่ายฆราวาสและบรรพชิต ในบันทึก ก า ร เ ส ด็ จ ต ร ว จ ก า ร ค ณ ะ ส ง ฆ์ ไ ด้ แ ส ด ง ให้ เห็ น ก า ร ท ร ง งานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ท้ังส่วนที่ช่วยเสริม ความมั่นคงให้แก่ฝ่ายอาณาจักรและส่วนท่ีสรา้ งความเป็น ปึกแผ่นให้แก่ศาสนจักร สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงสรา้ งขวญั กำ� ลงั ใจแกร่ าษฎรซงึ่ พากนั มาเฝา้ จำ� นวนมาก เมอื่ กระบวนเสดจ็ ไปถงึ ในทอ้ งถน่ิ ตา่ ง ๆ “ไมว่ า่ เดก็ ผใู้ หญ่ ผชู้ ายผหู้ ญงิ แมแ้ กเ่ ฒา่ จนเดนิ ไมค่ อ่ ยไหว และบางคนตาบอดทง้ั ๒ ขา้ งแลว้ ก็ยังอุตส่าห์ให้เขาพามาเฝ้า ทรงพระเมตตา ตรัสปราศรัยด้วยเฉพาะตัว เพื่อให้ได้ฟังพระสุรเสียงแทนได้เห็นด้วยจักษุฯ” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๗, หนา้ ๙๕) สว่ นเดก็ ทพ่ี อ่ แมพ่ ามาเฝา้ นน้ั จะประทานสายสิญจน์ผูกข้อมือ ทรงผูกด้ายประทานแก่เด็กชายแต่ละคน ดว้ ยพระองคเ์ อง ถา้ ผกู ไมต่ ลอดเพราะมเี ดก็ จำ� นวนมาก กท็ รงใหพ้ ระรปู อืน่ ช่วยกันผูก หากเป็นเด็กผู้หญิง ก็จะประทานด้ายให้ผูกกันเอง ด้วยเหตุน้ี เมอ่ื เสดจ็ ไปถงึ ทใี่ ด ราษฎรจงึ อมุ้ ลกู จงู หลานมาขอรบั ประทานดา้ ยสาย สญิ จนผ์ กู ขอ้ มอื เพอื่ ความเปน็ สริ มิ งคลเสมอ ครง้ั หนง่ึ “พอจะออกจากที่ หญงิ มารดาพาเด็กมาทูลขอด้ายสิญจน์ผูกข้อมืออีก เด็กคนนี้อายุราว ๕ ขวบ เขากราบทูลว่าตกต้นไม้แขนหักและเป็นไข้มาแต่เช้า เห็นเด็กอื่นได้สาย สิญจน์ผูกข้อมอื อยากได้บ้าง รบให้พามา พอสรา่ งไข้จงึ พาตวั มา ทรงผูก ข้อมือและประทานเหรยี ญอรยิ สจั ผกู คอเปน็ การทำ� ขวญั ” (เรอ่ื งเดยี วกนั , หนา้ ๙๗) พระจริยวัตรดังกล่าวมิได้ผิดกับเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นซึ่งเป็นการเสด็จแบบไม่มีหมาย ก�ำหนดการแจ้งให้ข้าราชการในท้องถ่ินทราบและมักจะทรงปลอมพระองค์ เพ่อื มใิ ห้รู้ว่าพระเจ้าอยหู่ ัวเสดจ็ แต่ราษฎรท่ีสบื ขา่ วมาไดก้ ็พากนั หอบลกู จูง หลานไปเฝ้ารับเสด็จจ�ำนวนมากเสมอ ๆ พระพุทธเจ้าหลวงถึงกับทรง บนั ทกึ ไวอ้ ยา่ งสพั ยอกวา่ “ตอ้ งไปเดนิ ใหก้ ราบตนี ” ทสี่ ำ� คญั คอื ไดพ้ ระราชทาน 112
เสมาเปน็ ทร่ี ะลกึ การเสดจ็ ประพาสตน้ ใหแ้ กร่ าษฎร ราษฎรมกั นำ� เสมาเหลา่ นนั้ ไปคล้องคอลูกหลานเพราะเชื่อกันว่าป้องกันภยันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ แม้จะพระราชทานไว้จ�ำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครน�ำมาซ้ือขายแลกเปลี่ยน เสมาพระราชทานจึงเป็นสิ่งท่ีราษฎรต้องการและพยายามตามมาเฝ้า รับเสด็จเพื่อขอรับพระราชทานเสมาเสมอ อาจกล่าวได้ว่าการพระราชทาน เสมาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกุศโลบายในการ สร้างความใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร เน่ืองจากราษฎร ท่ีมาเฝา้ นน้ั ยอ่ มไดเ้ หน็ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ดว้ ยตาตนเอง ไดเ้ หน็ วา่ มพี ระราชจรยิ วตั รอยา่ งไร ทรงปฏบิ ตั ติ อ่ ราษฎรอยา่ งไร สง่ิ เหลา่ นสี้ ง่ ผลให้ เกดิ ความจงรกั ภกั ดอี ยา่ งแนบแนน่ ในเวลาตอ่ มา ดงั นน้ั ในทำ� นองเดยี วกนั การประทานด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือรวมถึงเหรียญอริยสัจของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ ย่อมท�ำให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างสถาบันศาสนากับ ราษฎร เน่ืองจากการได้รับความเมตตาอย่างเป็นรูปธรรมจากสมเด็จ พระสังฆราช ย่อมท�ำให้ราษฎรเห็นประจักษ์ว่าพระองค์มีพระจริยวัตร อย่างไรและทรงงานอย่างไร ภาพเหล่านั้นย่อมท�ำให้ราษฎรซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพุทธศาสนิกชนตระหนักถึงความส�ำคัญของสถาบันศาสนาว่ามี คณุ ูปการตอ่ วถิ ชี ีวิตของตนอย่างแทจ้ ริง ๒. การทรงงานเพอ่ื สร้าง ความเปน็ ปึกแผ่นใหแ้ ก่ศาสนจกั ร การเสดจ็ ตรวจการคณะสงฆต์ ลอดระยะเวลา ๖ ปตี ง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ ถึง ๒๕๖๐ ท�ำให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทอดพระเนตรความเป็นไป ของการศาสนาในมณฑลต่าง ๆ ตามความเป็นจริงอย่างใกล้ชิด ในเวลา เช้ามักเสด็จไปรับบิณฑบาตในย่านชุมชนโดยมีพระสงฆ์ติดตามไปเพียง รูปเดียว เน่ืองจากมีพระประสงค์จะทอดพระเนตรธรรมเนียมการรับ บิณฑบาตของพระในเมืองนนั้ ๆ บางคร้งั เสด็จไปเยี่ยมเยือนวดั ท่มี ิไดม้ ชี ่ือ ในหมายกำ� หนดการ ด้วยประสงค์จะทอดพระเนตรวา่ วัดทไ่ี มไ่ ดเ้ ตรียมการ รับเสด็จจะมีสภาพปกติเป็นอย่างไร ที่ส�ำคัญคือ ทรงได้พบพระสงฆ์ เจ้าคณะในท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ท�ำให้ “ทรงหยั่งทราบภาวะ ของพระทั่วไป อันจะพงึ สันนิษฐานได้จากหัวหนา้ และไดท้ รงทราบข่าวแห่ง การคณะในเมืองนั้น ๆ” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ 113
พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั เสด็จประพาสต้น มณฑลนครสวรรค์ เมอื่ พุทธศักราช 2449 (ทมี่ า: สำ� นกั หอจดหมายเหตแุ ห่งชาต)ิ ราษฎรมาเฝ้ารอรับเสดจ็ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวเสด็จประพาสตน้ (ทมี่ า: ส�ำนักหอจดหมายเหตแุ หง่ ชาต)ิ 114
วโรรส, ๒๕๓๗, หน้า ๓๙) ดว้ ยเหตุนก้ี ารเสด็จตรวจการคณะสงฆจ์ งึ เปน็ งานส�ำคัญที่ท�ำให้ทรงเข้าพระทัยปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคง ของศาสนาและทรงคล่ีคลายปญั หาแตล่ ะส่วนได้ ดังนี้ ๒.๑ สรา้ งความสมคั รสมานกลมเกลียวในคณะสงฆ์ พระพุทธศาสนาในสยามแบ่งออกเป็นหลายนิกาย เช่น ธรรมยุติก นกิ าย มหานิกาย แตล่ ะนิกายกม็ ีรายละเอียดของวตั รปฏิบตั ิแตกต่างกนั ไป นอกจากน้ีเจ้าคณะแต่ละท้องถ่ินก็มิได้รู้จักกันอย่างทั่วถึง มีการแบ่งกลุ่ม ตามชาติพนั ธุ์ เชน่ พระไทย พระลาว พระรามญั ท�ำใหค้ วามสามคั คีเกิดขน้ึ ไดย้ าก แตส่ มเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ทรงใช้วธิ ีอนั แยบยลในการประสาน ใหพ้ ระสงฆ์แต่ละกลุม่ ทำ� งานร่วมกนั ได้เปน็ อยา่ งดี ดงั เช่นกรณีการตั้งแตง่ เจา้ คณะใหญแ่ ละเจ้าคณะรองเมอื งตาก ความวา่ ใ น ก า ร ท่ี ท ร ง ตั้ ง พ ร ะ ค รู บุ ญ ทั น ขึ้ น เ ป ็ น พ ร ะ ผู ้ ร้ั ง ต�ำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองตากและต้ังพระอธิการสินเป็น ผู้รังต�ำแหน่งเจ้าคณะรอง ก็ด้วยพระประสงค์จะให้พระฝ่าย ลาวกับพระฝ่ายไทยมีสามัคคีเข้ากันกลมเกลี่ยวเป็นอันหนึ่ง อันเดียว...เพราะว่าพระครูบุญทันถึงเป็นผู้มีอายุพรรษามาก จะท�ำการไม่ค่อยไหว ก็เป็นผู้ใหญ่ เป็นท่ีนับถือของพวก พระลาว จดั เอาเป็นผชู้ กั นำ� และเปน็ ทป่ี รึกษาการงาน...ส่วน พระครูสินเป็นท่ีนับถือของพวกพระไทยและมีก�ำลังพอจะ ท�ำงานได้ จัดให้เป็นผู้ท�ำงานได้เต็มมือ เช่นน้ีเช่ือว่าต่อไป พระท้ังหลายคงจะเป็นผู้พร้อมเพรียงกันยังพระศาสนาให้ เปน็ ไปโดยเรียบรอ้ ย ฯ (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๗, หนา้ ๑๐๗) อน่ึง ความห่างเหินระหว่างพระสงฆ์ส่วนกลางกับพระหัวเมือง ทำ� ใหเ้ จา้ คณะมณฑลบางรปู แสดงกริ ยิ าไมเ่ หมาะตอ่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ กลา่ วคือ ไม่มารบั เสด็จตามธรรมเนียม เม่ือทรงให้คนไปตามก็ไมม่ า เมอื่ ถูกตักเตือนก็แสดงความไม่พอใจด้วยการนิ่งเสีย ไม่ลุกมาส่งเสด็จอีก “การท่ีเจ้าคณะมณฑลท�ำเช่นน้ี เป็นกิริยาแสดงอัธยาศัยกระด้างกระเดื่อง ต่อพระองค์ เจ้าคณะมณฑลสมควรจะชักน�ำท�ำตัวอย่างให้พระหัวเมือง 115
ภักดีนับถือ มาเป็นเสียเองเช่นน้ี ก็กีดผู้น้อยผู้ตั้งใจจะท�ำ” (เร่ืองเดียวกัน, หน้า ๘๘) เม่อื เปน็ เช่นน้ี สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงลงโทษโดยตรัส ห้ามมใิ หต้ ามเสดจ็ ไปในระยะทางท่ีเหลอื และให้งดเวน้ การปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ีใน ฐานะเจ้าคณะมณฑลชั่วคราว ทั้งนี้ก็เพ่ือให้พระผู้น้อยแสดงความเคารพ พระองค์ได้ตามอธั ยาศยั โดยไมต่ ้องเกรงใจพระผใู้ หญ่ท่บี ังคับบัญชาตน ๒.๒ ตรวจตราระเบียบวนิ ยั และความประพฤติของสงฆ์ การเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สร้าง ความกังวลให้แก่พระสงฆ์บางพวกเป็นอย่างมาก เนื่องจาก“ก่อนเสด็จถึง มีเสียงเล่าลือกันไปต่าง ๆ ว่าจะเสด็จมาไล่สิกขาพระ ถ้าใครไม่รู้หรือบวช ไม่บริสุทธ์ิ เช่น ไม่มีใบอนุญาตหรือเหลวไหลอย่างไร จะต้องถูกจับสึก” (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๗, หนา้ ๖๒) บ้างก็ “กลัววา่ รับสง่ั ถามอะไรจะตอบไม่ได้ จะถกู จับสึกเสีย” (เรอื่ งเดียวกัน, หนา้ ๗๕) ท�ำใหพ้ ระสงฆ์ไมอ่ อกมารับเสด็จ บางพวกถึงกับหนีเขา้ ปา่ ทง้ั ท่ี ในความเป็นจริงแล้วทรงสังเกตเร่ืองวินัยและความประพฤติโดยรวม มากกว่าการทดสอบความรู้ของสงฆ์แต่ละรูป ส่ิงที่ทรงใส่พระทัย ได้แก่ ๑) การครองผ้าของพระสงฆ์ซึ่งมักปรากฏว่าห่มไม่เรียบร้อย ห่มไม่เป็น หรือห่มมากเกินไปจนดูรุงรัง ทรงแนะน�ำให้ครองผ้าอย่างพอดี ท้ังนี้ต้อง อาศัยพระผู้ใหญ่ท่ีรู้ธรรมเนียมเป็นผู้แนะน�ำตักเตือน ๒) การออกเสียง บทสวดและท�ำนองสวดซึ่งมักปรากฏว่า “สวดท�ำนองบ้านนอก เสียง แปร่ง ๆ ว่าพยัญชนะเพี้ยน ๆ” (เร่ืองเดียวกัน, หน้า ๓) “ไม่เข้ารูปและ ไม่พรกั พร้อม” (เรือ่ งเดียวกนั , ๒๕๓๗, หนา้ ๓๒) ดว้ ยเหตนุ ี้จึงทรงแก้ไข ด้วยการสวดเป็นแบบอย่าง กล่าวคือ “ทรงสวดมนต์ท�ำนองสังโยคพร้อม ด้วยพระสงฆ์ผู้ตามเสด็จ เพ่ือพระเมืองน้ีจะได้ฟังและจ�ำไว้เป็นแบบ โปรดใหพ้ ระผูใ้ หญส่ วดดว้ ย เพอื่ จะไดร้ ูจ้ กั ท่วงท”ี (เรือ่ งเดียวกนั , หน้า ๗) หรือ “โปรดให้พระผู้ตามเสด็จสวดมนต์ เพ่ือเป็นมงคลแก่อ�ำเภอนั้น และ เพ่อื ใหพ้ ระท่ีนั่นได้ฟังท�ำนองไวเ้ ปน็ ตัวอยา่ ง” (เรอื่ งเดยี วกนั , หน้า ๑๒๕) ๓) การดแู ลรกั ษาสงั ฆาวาส ทรงแนะนำ� ใหร้ วมวดั ทอี่ ยใู่ กลเ้ คยี งเขา้ ดว้ ยกนั เพ่ือให้ดูแลรักษาง่าย ท่ีส�ำคัญคือ “ไม่ควรจะยอมให้ชาวบ้านผู้มีศรัทธา สร้างส่ิงน้ัน ๆ ข้ึนตามใจชอบ ควรให้สร้างส่ิงท่ีเป็นประโยชน์แก่วัดจริง ๆ หรอื ของทว่ี ดั ตอ้ งการ ถา้ เปน็ ของมแี ลว้ และวดั ไมต่ อ้ งการ กไ็ มค่ วรใหส้ รา้ งขน้ึ ควรจะแนะให้ปฏิสังขรณ์ของเก่าที่ช�ำรุดอันยังจะใช้ประโยชน์ได้ สร้างไว้ 116
วดั สมหุ ประดษิ ฐาราม อ.เสาไห้ จ.สระบรุ ี ในปจั จบุ ัน วัดนี้เปน็ ตวั อยา่ งวัดซ่งึ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสเคยเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ 117
มาก ๆ บำ� รงุ รกั ษายาก และเมอ่ื คราวทรดุ โทรมจะปฏสิ งั ขรณต์ อ้ งใชท้ นุ มาก” (เรอ่ื งเดยี วกนั , หนา้ ๑๒๘) ๔) การตดั สนิ ความพระทมี่ อี ธกิ รณ์ การเสดจ็ ตรวจการเป็นโอกาสให้ทรงสะสางคดีของพระสงฆ์หัวเมือง พระรูปใดท่ีมี คดอี ยรู่ ะหวา่ งไตส่ วน ทรงหา้ มมใิ หร้ บั นมิ นตแ์ ละเขา้ สมาคมกบั สงฆร์ ปู อน่ื ๆ ทรงแต่งตั้งการกสงฆ์ให้เป็นผู้วินิจฉัยคดีตามท่ีมีผู้ร้องเรียน การตรวจตรา ระเบยี บวนิ ยั และความประพฤตขิ องสงฆท์ กี่ ลา่ วมาน้ี เมอื่ ทรงพบวา่ พระสงฆ์ ปฏบิ ัติไม่ถกู ตอ้ ง จะทรงตักเตือนดว้ ยความละมุนละมอ่ มเพอื่ มิให้เสยี นำ้� ใจ แต่ถ้าพระรูปใดท�ำผิดและไม่ส�ำนึกในค�ำตักเตือนก็จะทรงลงโทษอย่างเด็ด ขาด ๒.๓ ติดตามการเรยี นการสอนพระธรรมวินยั และพระบาลี เร่อื งการศึกษาของพระสงฆ์หัวเมือง สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ ทรง เห็นว่าการศึกษาพระธรรมวินัยส�ำคัญกว่าการเรียนบาลี เม่ือทรงทราบว่า พระสงฆ์บางมณฑลจัดให้มีการเรียนการสอนบาลีมากกว่าพระธรรมวินัย จะทรงตเิ ตยี น ทรงอธบิ ายวา่ “อนั การเรยี นภาษาบาลี ยอ่ มมผี ลแกผ่ เู้ รยี น นอ้ ย เพราะเปน็ การยาก ตอ้ งใชเ้ วลานาน เรียน ๙-๑๐ คนจะเอาส�ำเร็จ ประโยชน์ใช้การได้สักคนหนึ่งก็ทั้งยาก...การเรียนธรรมวินัยท่ีเป็นภาษา ไทยแลว้ อย่างในนวโกวาท ย่อมได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์จริง ๆ ท�ำให้ผู้ เรียนรู้จักผิดรู้จักชอบ...แม้จะเรียนภาษาบาลีต่อไปก็จะเป็นการง่าย” (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๗, หน้า ๑๒๙) เพราะเหตดุ งั นจ้ี งึ ทรงจดั การศกึ ษาทว่ี ดั บวรนเิ วศวหิ ารใหเ้ ปน็ แบบ อยา่ ง กลา่ วคอื ภกิ ษุสามเณรทบี่ วชเปน็ พรรษาแรกให้เรียนธรรมวนิ ัย พรรษาที่ ๒ ให้เรียนสวดมนต์ พรรษาท่ี ๓ จึงเรียนภาษาบาลีหรือวิชาอื่น ๆ ทรงเห็นว่าบริบทของพระสงฆ์หัวเมืองนั้นควรส่งเสริมการศึกษาพระ ธรรมวินัยเป็นหลัก หากทรงทราบวา่ มกี ารจดั การท่ีผิดไปจากพระประสงค์ น้จี ะทรงคาดโทษพระสงฆ์ท่ีดูแลเร่อื งดังกล่าว นอกจากติดตามเร่ืองการศึกษาของพระสงฆ์แล้ว ยังทรงติดตาม การจัดการศึกษาในโรงเรียนตัวอย่างของมณฑลซึ่งมักสร้างไว้ในวัดส�ำคัญ ของชุมชนด้วย ทรงรับพระราชภาระอ�ำนวยการการศึกษาของกุลบุตรทั่ว ราชอาณาจักรมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๑ การเสด็จเย่ียมเยือนโรงเรียนต่าง ๆ ทำ� ใหไ้ ดท้ อดพระเนตรการสอน สภาพอาคารเรยี น ความเปน็ ไปของนกั เรยี น 118
และเป็นโอกาสท่ีได้ประทานหนังสือแก่ครู บางครั้งทรงมีรับส่ังให้จัดหา เสื้อขาวหรอื ผา้ ขาวม้าแจกแก่นกั เรียนด้วย ภาพการทรงงานของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรสท่ีปรากฏในบันทึกเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ท้ัง ๘ ฉบับซ่ึงบันทึกไว้ ตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ ถงึ ๒๔๖๐ เป็นระยะเวลาตอ่ เน่ืองกัน ๖ ปี แสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนว่าทรงบริหารจัดการงานด้านศาสนจักรด้วยพระเมตตา และพระปรีชา ทรงใช้ท้ังความละมุนละม่อมประนีประนอมและความเฉียบ ขาดเพื่อให้การพระพุทธศาสนาด�ำเนินไปได้อย่างราบร่ืนและสอดคล้อง กลมกลืนกับการท�ำงานของฝ่ายอาณาจักร เพ่ือความเจริญม่ันคงแห่ง รายการอ้างอิง ธนัย เกตวงกต. (๒๕๖๐). ประวัติศาสตร์การเกณฑ์ทหารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบรท์ . สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสเสดจ็ ตรวจการณค์ ณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕- ๒๔๖๐. (๒๕๓๗). กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวิทยาลัย. 119
๒ พระมหาสมณปกิณณกคดี
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272