สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเป็นทัง้ พระมหาเถระ ผู้รูธ้ รรมอันลึกซ้ึงกว้างขวาง และนักการศึกษาท่ีวางฐาน การศึกษาเป็นระบบรอบด้าน ทรงเน้นการอาศัยสถาบัน ทางศาสนาสรา้ งความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างรฐั บาล กับราษฎรผ่านกระบวนการศึกษา (ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๔๙, หนา้ ๘๔๘) บทความเรื่อง นวโกวาท พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส: การศึกษาในฐานะ “แบบเรียนเร็ว” ทาง พระพุทธศาสนา ของสายป่าน ปุริวรรณชนะ ได้ท�ำให้เห็นว่าสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงแตกฉานในพระธรรมวินยั และทรงปรชี าสามารถใน การจัดการศึกษา พิจารณาจากการแบ่งส่วนเน้ือหา การจัดล�ำดับหัวข้อ การคัดเลือกข้อธรรม และการอธิบายความด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไป ตรงมา ซง่ึ มิได้เปน็ ประโยชนแ์ ก่ผอู้ ่านในฐานะพระบวชใหมเ่ ท่าน้นั หากแต่ ยงั ทรงมงุ่ อบรมผู้อา่ นใหเ้ ปน็ ราษฎรทดี่ ีดว้ ย พระกรณียกิจและพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ดังได้ อธิบายมาน้ีได้แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเป็นทั้ง พระมหาเถระผู้รู้ธรรมอันลึกซ้ึงกว้างขวาง และนักการศึกษาที่วางฐาน การศึกษาเป็นระบบรอบด้าน ทรงเน้นการอาศัยสถาบันทางศาสนาสร้าง ความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างรัฐบาลกับราษฎรผ่านกระบวนการศึกษา สมดังพระด�ำริที่ว่าพระสงฆ์จะได้ท�ำประโยชน์แก่แผ่นดิน “...มีส่ังสอนคน ให้ประพฤติดี เอาธุระในการเล่าเรียนของเด็ก บุตรหลานราษฎรเป็นอาทิ ขอ้ สำ� คญั คอื เปน็ ทางเชอื่ มใหส้ นทิ ระหวา่ งรฐั บาลกบั ราษฎร...” (พระประวตั ิ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับรวมเล่ม), ๒๕๖๔, หน้า ๔๘) นอกจากงานพระนิพนธ์อันเก่ียวแก่การศึกษาแล้ว พระธรรมเทศนาอย่างพระมงคลวิเสสกถาก็เป็นตัวอย่างอันดีในการแสดง ใหเ้ หน็ ถงึ บทบาทของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ในฐานะพระสงฆ์ ทท่ี รงใช้ พระธรรมเทศนาเปน็ อบุ ายถวายโอวาทสง่ั สอนพระราชจรรยาพระมหากษตั รยิ ์ เพื่อความผาสกุ ของบา้ นเมอื ง สายชล สตั ยานรุ ักษ์ (๒๕๕๐, หนา้ ๑๕๗) 22
เสนอว่าสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสน่าจะทรงเป็น ปัญญาชนพระองค์แรกท่ีเน้นความส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ในฐานะแบบ อย่างทางศีลธรรมของประชาชน พระมงคลวิเสสกถาเป็นตัวอย่างชัดเจน ทส่ี ดุ ทที่ ำ� ใหแ้ นวคดิ เรอ่ื งพระมหากษตั รยิ ก์ ลายเปน็ คตทิ างธรรม โดยทรงนำ� เอาแนวคดิ ทางพทุ ธศาสนามาตคี วามใหมแ่ ละยกตวั อยา่ งใหม่ เพอื่ ประชาชน เขา้ ใจความหมายและความส�ำคัญของพระมหากษตั รยิ ์แหง่ ชาตไิ ทย (เร่อื ง เดยี วกัน, หนา้ ๑๕๘) แม้ในพระนพิ นธบ์ ันทกึ เสด็จตรวจการแถลงการณ์ คณะสงฆ์ก็แสดงให้เห็นถึงพระจริยวัตรที่ทรงสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง พระองคใ์ นฐานะพระบรมวงศ์และสมเด็จพระสงั ฆราชกบั ราษฎรเช่นกนั บทความเรอื่ งพระมงคลวเิ สสกถา: พระธรรมเทศนาถวายพระราชา เพ่ือความผาสุกแห่งพระราชอาณาจักร ของอัสนี พูลรักษ์ ท�ำให้เห็นว่า พระนิพนธ์นี้นับเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทยอันทรงคุณค่า แสดง พระอจั ฉรยิ ภาพดา้ นพระปรยิ ตั ธิ รรมและอกั ษรศาสตรอ์ ยา่ งยงิ่ และชใี้ หเ้ หน็ ถงึ บทบาทของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ในฐานะของสมาชิกพระ ราชวงศ์ท่ีให้การอปุ ถมั ภค์ ำ้� ชฝู า่ ยอาณาจกั ร บทความเรอื่ ง สมเดจ็ พระ มหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสในฐานะอธิบดีสงฆ์ ภาพ สะท้อนการทรงงานจากบันทึกเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕–๒๔๖๐ ของวรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์ ช้ีให้เห็นถึงแนวทางการ ทรงงานที่เน้นการบริหารจัดการศาสนจักรให้มีความเป็นปึกแผ่นและต้อง สอดคลอ้ งกลมกลนื กับการสรา้ งความม่นั คงให้แกพ่ ระราชอาณาจักร “มหาบณั ฑติ ยอ์ นั ประเสรฐิ ” แหง่ สยามและโลก จากทไี่ ดก้ ลา่ วไลเ่ รยี งมานนั้ ยอ่ มทำ� ใหเ้ หน็ วา่ สมเดจ็ พระมหาสมณ เจา้ ฯ ทรงเป็นปราชญ์ส�ำคัญพระองค์หน่ึงของไทย นับต้ังแต่ยังทรงพระ เยาว์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ ท้ังของไทยและ ต่างประเทศ ทรงฝึกฝนพระองคใ์ นทางอักษรศาสตรจ์ นชำ� นาญเป็นท่ีไว้ วางพระหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อ ทรงด�ำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงศึกษาความรู้ท้ังคดีโลกและคดีธรรม อย่างแตกฉาน ทรงแสวงหาความรู้จากที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในวง วิชาการต่างประเทศ ทรงแลกเปลยี่ นพระทศั นะกบั หมู่ชนชน้ั นำ� และผู้มี ความรทู้ ั้งหลายผ่านงานเขียนในวารสาร อีกท้ังยังทรงจัดต้ังวารสารขึ้น เองด้วย เมื่อทรงด�ำรงตำ� แหนง่ ในการปกครองคณะสงฆก์ ไ็ ดว้ างรากฐาน กจิ การสงฆด์ ว้ ยการศกึ ษาเป็นพ้ืนฐานหลัก ขยายผลจากพระอาราม2ท3่ี
ประทับมาสู่คณะสงฆ์ท้ังปวง และท้ายทส่ี ุดกไ็ ด้นำ� มาใชใ้ นการจดั การ ศกึ ษาแก่ราษฎรตลอดพระราชอาณาจกั ร แสดงใหเ้ ห็นถึงพระปรชี าสามารถ และพระญาณทัศนะในฐานะที่ทรงเปน็ นักการศึกษา อาจกล่าวได้ว่า งานพระนิพนธ์เร่ืองต่าง ๆ ของสมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ ล้วนแล้วแต่เป็นผลลัพธ์แห่งยุคสมัยท่ีเกิดขึ้นจากพระวิริยภาพ และพระประสงคท์ จ่ี ะสนองพระเดชพระคณุ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวในการปฏิรูปประเทศมาโดยตลอดรัชกาล ทรงพระอุตสาหะ เตรยี มพระองคใ์ หม้ คี วามรรู้ อบ รลู้ กึ และรจู้ รงิ ในเรอ่ื งอนั ทรงรบั พระภารธรุ ะ โดยเฉพาะเรื่องในทางอักษรศาสตร์และพระศาสนา ทรงเร่ิมต้นเรียนรู้ ภาษาต่าง ๆ เน่ืองจากเป็นกุญแจท่ีจะช่วยไขความรู้ให้กว้างขวางกระจัด กระจา่ งยง่ิ ขนึ้ จากนน้ั ทรงศกึ ษาคน้ ควา้ เปรยี บเทยี บ และวเิ คราะหว์ จิ ารณ์ ข้อความรูต้ า่ ง ๆ เพื่อน�ำมาปรับใชใ้ ห้เหมาะแกก่ าลสมัย และเป็นประโยชน์ ตอ่ วงวชิ าการและการพฒั นาบา้ นเมอื ง ทรงจำ� แนกความรทู้ งั้ หลายออกเป็น ช้นั ใหเ้ หมาะกับระดบั ความร้ขู องบุคคล งานพระนิพนธข์ องพระองคส์ ะท้อน ถงึ ความเปน็ นกั การสื่อสารได้เปน็ อยา่ งดี ทรงเลือกเน้อื หา ภาษา สอ่ื หรอื เคร่อื งมือใหต้ รงกบั เปา้ หมายท่ที รงก�ำหนด งานพระนิพนธ์ทั้งหลายจงึ เป็น ประโยชน์แก่คนช้ันหลังในหลายสถาน กล่าวคือ เป็นทั้งงานวิชาการที่ให้ ผู้มาศึกษาต่อไปใช้ประโยชน์จากการคิดวิเคราะห์และการอ้างอิงของ พระองค์ เป็นหลักฐานทางประวตั ิศาสตร์เพือ่ ศกึ ษาความเปลย่ี นแปลงทาง สังคมวัฒนธรรมของไทยและโลก เป็นข้อคิดหรือค�ำแนะน�ำในการใช้ชีวิต ตามหลักพระพทุ ธศาสนา และเป็นขมุ สมบัตทิ างวัฒนธรรมที่สามารถนำ� ไป ต่อยอดสร้างสรรค์ได้อยา่ งไม่รจู้ บ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงเป็น “มหาบัณฑิตย์อันประเสริฐ” 24
ท่ีสร้างคุณูปการมากมหาศาลหลากหลายด้าน ทรงเป็นท่ียอมรับทั้งใน สังคมไทยและสังคมโลก สมดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกยอ่ งไว้ในประกาศมหาสมณตุ มาภิเษกว่า อนึ่งได้ทรงเปนผู้เช่ียวชาญในสรรพอรรถธรรมทั้งปวง แลว้ ก็ได้ทรงเปิดเผยแผ่พระธรรมนั้น ๆ ให้ปรากฏแก่ มหาชนทว่ั ไป ดว้ ยโวหารอนั ไพเราะจับใจซมึ ทราบ ท�ำใหผ้ ู้ ฟังแล้วแลเห็นเข้าใจข้อความแจ่มแจ้งสิ้นความเคลือบแคลง ลงได้ท�ำให้บังเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตรยทวีข้ึนเป นอนั มาก ความอันใดทเ่ี ข้าใจยากก็ได้ทรงขยายให้แลเหน็ ง่ายดายกระจา่ งประหนง่ึ ทรงนำ� ทางใหเ้ ดริ ไปสทู่ ชี่ อบ ทรง ช�ำนิช�ำนาญทั้งในทางแสดงพระสัทธรรมเทศนาแลในทาง นิพนธ์รจนาหนังสืออันเปนเคร่ืองชูใจให้ผู้ฟังผู้อ่านได้รับผล อันดปี ีติปราโมทย์ เปนทนี่ ยิ มนบั ถอื ของมหาชนทว่ั ไป ไมเ่ ฉ ภาะแตใ่ นสยามราชอาณาเขตร ถงึ แมช้ นในไพรชั ประเทศ กส็ รรเสรญิ ยกยอ่ งพระองคว์ า่ เปนมหาบณั ฑติ ยอ์ นั ประเสรฐิ ผทู้ เี่ ลอื่ มใสในพระพุทธสาสนาทั่วไป ได้นิยมยอมยก พระองค์เปน มหาสาสนนายก แต่ถึงแม้ผู้ท่ีมีใจนับถือสาสนาอื่น ๆ ก็มี ความนบั ถอื พระองคเ์ ปนปราชญอ์ นั หาทเี่ ปรยี บไดโ้ ดยยาก ผู้มีชื่อเสียงส�ำคัญอันเปนชาวต่างประเทศ แม้มาเยี่ยม กรุงสยามก็คงต้ังใจพยายามไปน้อมค�ำนับด้วยความนิยม นบั ถอื ดว้ ยไดย้ นิ พระเกยี รตคิ ณุ บรรฦๅไปจนถงึ ประเทศนนั้ ๆ จึงชวนกันมาเฝ้าเพ่ือส�ำแดงความเคารพฉันเคารพ มหาบญั ทิตย์ฉนนั้ (ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๕๓, หนา้ ๒๕๘๒-๒๕๘๓) วาระครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสนิ้ พระชนม์ พ.ศ. ๒๕๖๔ น้ี เปน็ โอกาส ส�ำคญั ท่ีองค์การการศกึ ษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแหง่ สหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ไดร้ ว่ มเฉลมิ พระเกยี รตคิ ณุ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา 25
รายการอ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๔๙๑). ลิลิตนิทราชาคริต. พระนคร: ไทยวัฒนาพานชิ . จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๔๙๓). ชุมนุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ภาคปกิณกะ ภาค ๑. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร.์ ดรุโณวาท. (๒๕๑๒). พระนคร: โรงพมิ พแ์ พรก่ ารช่าง. ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๔๘๔). ความทรงจ�ำ. พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจันทร.์ ธนพงศ์ จิตต์สง่า. (๒๕๕๒). “วชิรญาณ” กับการแสวงหาความรู้ของชนชั้นน�ำของสยาม พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๔๘. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . นันทนา วฒั นสุข. (๒๔๑๖). บทบาทสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ในสมยั กรุงรตั นโกสินทรเ์ ก่ยี ว กับท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. ปฐม ตาคะนานันท์. (๒๕๔๙). สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสกับ สถาปนาอดุ มการณแ์ หง่ รฐั สยาม. วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบณั ฑติ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั . ประกาศในการตง้ั ตำ� แหนง่ พระสงฆ.์ (๒๔๓๖). ราชกจิ จานเุ บกษา. เลม่ ๑๐. หนา้ ๓๘๘-๓๙๔ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/036/388.PDF ประกาศพระราชดำ� รสั แกพ่ ระสงฆโ์ ดยพระองค.์ (๒๔๓๑). ราชกจิ จานเุ บกษา. เลม่ ๕. หนา้ ๔๑๐- ๔๑๒ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/047/410.PDF ประกาศมหาสมณตุ มาภเิ ษก. (๒๔๕๓, ๒๘ มกราคม). ราชกจิ จานเุ บกษา. เลม่ ๒๗. หนา้ ๒๕๗๙- ๒๕๘๗ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2579.PDF ประกาศเลอื่ นพระนามกรม. (๒๔๔๙, ๑๑ พฤศจกิ ายน). ราชกจิ จานเุ บกษา. เลม่ ๒๓. หนา้ ๘๔๘- ๘๕๐ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/033/848.PDF พชรวีร์ ทองประยูร. (๒๕๖๓). การศึกษาวิเคราะห์การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของอนาคาริก ธรรมปาละ. วารสารมหาจฬุ าวชิ าการ ๗(๓): ๕๗-๗๑. พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับรวมเล่ม). (๒๕๖๔). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรนิ ทรพ์ ร้ินตง้ิ แอนดพ์ ับลิชช่ิง จ�ำกดั (มหาชน). ราม วชั รประดษิ ฐ์. (๒๕๓๙). พัฒนาการของประวตั ิศาสตรช์ าตใิ นประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๑๑- ๒๔๘๗. วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบณั ฑติ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . 26
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๖๔). พระราชหัตถเลขาและ ลายพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีไปมากับสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส เลม่ ๑-๒. กรุงเทพฯ: มูลนธิ ิมหามกฏุ ราชวิทยาลัย. วยั อาจ, เดวดิ เค. (๒๕๕๖). ประวตั ศิ าสตรไ์ ทยฉบบั สงั เขป. กรงุ เทพฯ: มลู นธิ โิ ครงการตำ� รา สงั คมศาสตรแ์ ละมนษุ ยศาสตร.์ วิมุตติยา, แม่ชี. [ออนไลน์]. (๒๕๕๗). โครงการอนุรักษ์พระไตรปิฎกฉบับพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. http://www.arts. chula.ac.th/tipitaka/ebooktipitaka_web/web/aboutus.html สมจิตต์ อินสิงห์. [ออนไลน์]. (๒๕๖๓). ความส�ำคัญของศีลธรรมในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ. https://pridi.or.th/th/content/2020/08/370 สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส กับการพฒั นาสยามประเทศ. (๒๕๖๔). กรุงเทพฯ: โรงพมิ พส์ รุ วฒั น.์ สายชล สตั ยานรุ กั ษ.์ (๒๕๕๐). รายงานวจิ ยั ประวตั ศิ าสตรว์ ธิ คี ดิ เกยี่ วกบั สงั คมและวฒั นธรรมไทย ของปัญญาชน (พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๕๓๕). กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย. สาวติ รี เจริญพงศ์. (๒๕๔๔). ภารตารยะ อารยธรรมอนิ เดียต้งั แต่สมยั โบราณจนถึงหลังได้รับ เอกราช. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย. สทิ ธ์ิ บตุ รอนิ ทร์ ปรชี า บญุ ศรตี นั และสพุ ฒั น์ โตวจิ ษั ณช์ ยั กลุ . (๒๕๔๖). สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส: งานและพระดำ� รดิ า้ นการศกึ ษาและการปกครอง. งานวจิ ยั ศูนยพ์ ทุ ธศาสนศ์ กึ ษา จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. หนังสอื COURT ขา่ วราชการ. (๒๔๖๖). พระนคร: โรงพิมพไ์ ท. Britannica, T. Editors of Encyclopaedia (2021, April 8). Vajirañāṇavarorasa. Encyclopedia Britannica. https://www.britannica.com/biographyVajiranana varorasa Kesboonchoo Mead, Kullada. (2009). The Rise and Decline of Thai Absolutism. London: Routledge. Keyes, Charles F. (1987). Thailand: Buddhist Kingdom as Modern Nation-State. Boulder, Colo: Westview Press. Tonsiengsom, Surangsri. (1990). Western Knowledge and Intellectual Groups in Japan and Thailand in the Nineteenth Century: The Meirokusha and Young Siam. Ph.D. Dissertation, University of Washington. 27
“วชิรญาณ มีญาณเปนเพขร ซ่งึ จะตัดเผยแผ่ธรรมทด่ี ีออกให้ปรากฏ” จากพระราชปรารภพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหนังสือ ศาสนสุภาษิต
ศาสนสภุ าษติ : หนงั สือเฉลมิ พระเกียรติ อนั เปน็ นริ นั ดร์ ชัชวาลย์ จนั ทรอ์ ดิศรชยั ๑ หนงั สอื ศาสนสภุ าษติ (พจิ ารณาจากฉบบั พมิ พ์ พ.ศ. ๒๔๖๒) ถอื เปน็ หนังสือรวบรวม จัดหมวดหมู่ภาษิต และเรียบเรียงค�ำแปลเล่มแรกของ สยามประเทศ เป็นแหล่งรวมความคิดรวบยอดของปราชญ์ควรแก่ค่านิยม ในสมยั นน้ั ซ่งึ ได้คัดสรรแตข่ อ้ ความทางศาสนามาจดั หมวดหมู่ มีลกั ษณะ เฉพาะตัวคือ สั้นกระชับ มีค�ำแปลไทย และอ้างท่ีมาในคัมภีร์ แม้หนังสือ ศาสนสภุ าษติ จะเปน็ หนงั สอื เลม่ บาง ทวา่ เกย่ี วพนั เหตตุ า่ ง ๆ อนั จะแบง่ เปน็ หัวข้อได้เป็น บันทึกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมการพิมพ์ของไทย และ ลักษณะการนพิ นธ์หนังสือดงั กล่าว ปรารภมงคลวาร หนงั สอื เล่มน้เี ปน็ “หนงั สือพิเศษเพราะอาศยั เหตุวิเศษ” ดว้ ยวา่ เป็น หนังสือท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้จัด ท�ำขึ้นในคราวเล่ือนกรม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ขึ้นเป็นกรมหลวง เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ (ราชกิจจา นเุ บกษา, ๒๔๔๙, หน้า ๘๔๙) แต่เดิมไม่มีพระราชประเพณีเฉลิมพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ที่ ทรงผนวชแต่ยังมิได้เป็นประธานสงฆ์แห่งสกลราชอาณาจักรสยามหรือ “มหาคณิสราธิบดีในหมู่สงฆ์” ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นผู้ใหญ่ ทว่าการเล่ือนกรมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสข้ึนเป็น กรมหลวงนนั้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระราชปรารภ ในหนงั สือศาสนสภุ าษิตวา่ ๑ ผูช้ ว่ ยบรรณาธกิ าร สำ� นักพิมพ์ผเี ส้อื . 29
ด้านหลงั ของเหรยี ญท่ีระลกึ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เบื้องบนปรากฏ รูปเพชรเปล่งรศั มโี ดยรอบ อันหมายถึง “วชริ ” (ทมี่ า: กรมธนารักษ์) หนงั สือ ศาสนสภุ าษติ หรอื ต่อมาตีพมิ พ์ “งานฉลองยุค” ณ วัดบวรนเิ วศวิหาร ระหว่างที่ 31 ตุลาคม – ในช่ือ พุทธศาสนสุภาษติ ใช้เปน็ หนงั สอื 3 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2449 ในโอกาสท่พี ระเจา้ น้องยาเธอ กรมหมื่น อา้ งองิ สำ� หรบั พทุ ธบรษิ ทั อยา่ งกวา้ ง วชิรญาณวโรรส ทรงครองวัดบวรนเิ วศครบ 14 ปี เสมอดว้ ยพระบาท สมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงครองวัดบวรนเิ วศ และพระราชพิธี ขวางมาจนปจั จบุ นั เลอ่ื นกรมเปน็ กรมหลวง (ท่ีมา: หนังสอื ต�ำนานพระอารามหลวง ของ กรมศลิ ปากร (2563)) 30
...กรมหม่ืนวชิรญาณซ่ึงมีคุณพิเศษพระองค์หนึ่งนี้ จะไมไ่ ด้รับเลอื่ นต�ำแหนง่ อันใดเลย เพราะเหตทุ ี่ไมม่ ีตัวอยา่ ง จ�ำจะต้องรอไปจนพระชัณษาสมควรท่ีจะรับพระเกียรติยศ ใหญ่ยิ่งอย่างพระบรมวงษ์ซึ่งด�ำรงสมณศักดิ์ เห็นหาสมควร ไม่...เพราะเธอเปนน้อง จ่ึงได้คิดจะให้ยศอย่างเจ้านายท่ี เปนนอ้ ง ซึง่ ได้ทำ� ราชการมีช่ือเสยี งปรากฎนน้ั บา้ ง... (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๖๒, หนา้ ช) การเล่ือนกรมในคราวนนั้ จึงถอื เปน็ เหตกุ ารณ์พเิ ศษคร้ังหน่งึ เพราะ นอกจากจะเป็นการเฉลมิ พระยศเลือ่ นกรมด้วยเหตทุ ีท่ รงพระปรีชาสามารถ ประกอบคุณูปการเป็นประโยชน์แก่ราชการแผ่นดินแล้ว ยังอาศัย พระราชศรัทธาและน้�ำพระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั ทม่ี ตี อ่ พระเจา้ นอ้ งยาเธอฉนั พนี่ อ้ งดว้ ย ดงั ทท่ี รงรบั เปน็ พระราชธุระ รบั จัดหาของทร่ี ะลึกสำ� หรบั พระราชทานชว่ ยการดังกล่าวด้วย พิมพการวศิ ิษฐ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอนุวัติแนวคิดในการ จัดท�ำของท่ีระลึกตามพระนามกรมแห่งพระเจ้าน้องยาเธอคือ “วชิรญาณ” ไดแ้ ก่ มดี ตดั กระดาษ (paper-knife) และหนงั สอื ศาสนสภุ าษติ การออกแบบ หนังสือศาสนสุภาษิต ฉบับพิมพ์ครั้งแรกนับว่าหาได้ยากยิ่งในกาลบัดน้ี ตามคำ� ปรารภภายในหนงั สอื แสดงหลกั ฐานทน่ี า่ สนใจวา่ หนงั สอื ทอี่ อกแบบ นน้ั ยงั ไมเ่ จยี นขอบพบั ของยก (unopened) ตามความนยิ มในการทำ� หนงั สอื ในอดีตที่จะเข้าเล่มเย็บก่ีหนังสือโดยไม่ตัดขอบพับของแต่ละยก เมื่อเปิด พลิกหน้ากระดาษจะติดกันทั้งยก เป็นเครื่องหมายว่าหนังสือเล่มนี้ใหม่ยัง ไม่ไดอ้ า่ น ต่อเมอื่ ใชม้ ดี ตัดหน้ากระดาษน้นั ออกจึงจะอ่านได้ (Blake, Erin, 2016) มดี ตดั กระดาษจงึ เปน็ ของจำ� เปน็ อยา่ งยงิ่ คลอ้ งกบั พระนาม “วชริ ญาณ” หมายถึง “ญาณเป็นเพชร์ ซึง่ จะตดั เผยแผ่ธรรมทีด่ ีออกใหป้ รากฏ” หนังสือศาสนสุภาษิตน้ียังแสดงความเจริญเฟื่องฟูของวิทยาการ การพมิ พใ์ นสยามประเทศ เพราะการอา้ งองิ ทม่ี าแหง่ ภาษติ ตา่ ง ๆ ในหนงั สอื น้ันอ้างอิงตามพระไตรปิฎกบาลี อักษรไทย ฉบับพิมพ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ซง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ า โปรดเกลา้ ฯ ใหจ้ ดั พมิ พแ์ ละพระราชทานเผยแพรไ่ ปทว่ั โลก หา่ งจากการพิมพ์ 31
หนังสือศาสนสุภาษิตนี้เองเป็นเครอ่ื งแสดง พระปรีชาญาณของสมเด็ จพระมหาสมณเจ้ า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสโดยแท้ ทรงพระอตุ สาหะ รวบรวมกระบวนความสุภาษิตที่ส้ัน กระชับ และ หลากหลายหมวดหมู่เช่นน้ี ให้ปรากฏเป็นหลักฐาน ทางประวตั ิศาสตรก์ ารพมิ พ์ชิน้ ส�ำคัญของชาติไทย หนงั สอื ศาสนสภุ าษติ ครงั้ แรก ๑๓ ปี โดยใชร้ ปู แบบการอา้ งองิ เลขเลม่ /หนา้ ถอื ไดว้ า่ เปน็ ระเบยี บวธิ กี ารอา้ งองิ แบบสมยั ใหม่ อนั เปน็ การเสนอบรรทดั ฐาน ใหมแ่ ก่การพิมพ์หนังสือของสยาม ศาสนสุภาษติ นพิ นธ์ การจัดพิมพ์หนังสือศาสนสุภาษิตคร้ังแรกกระท�ำในเวลาอันจ�ำกัด ทง้ั การรวบรวมภาษติ และแปลไทยใหท้ นั สำ� เรจ็ เปน็ ตน้ ฉบบั เรยี งพมิ พ์ จดั พมิ พ์ เข้าเลม่ รวมถึงการสลักภาษิตบนมีดตัดกระดาษพระราชทาน การรวบรวมถ้อยความที่สั้นและกระชับเหมาะแก่การเป็นภาษิตให้ รวดเรว็ ทนั การนน้ั คณะทำ� งานนา่ จะคดั ถอ้ ยความจากคมั ภรี ใ์ นพระไตรปฎิ ก ทร่ี วมศาสนธรรมประเภทคำ� ประพนั ธไ์ วเ้ ปน็ จำ� นวนมาก อนั ไดแ้ ก่ ขทุ ทกนกิ าย ธมั มบท/อทุ านวคั ค/สตุ ตนบิ าต (เลม่ ๒๕) ขทุ ทกนกิ าย ชาดก เอกนบิ าต (เล่ม ๒๗-๒๘) รวมถึงมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ (เล่ม ๑๔) และ สงั ยตุ ตนกิ าย สคาถวรรค (เล่ม ๑๕) นอกจากนี้ ไดค้ ดั จากคมั ภีร์ชั้นหลงั ประกอบด้วย สวดมนต์ฉบับหลวง ขุททกนิกาย ธัมมบท อรรถกถา มงั คลตั ถทปี นี นอกจากน้ียังมีกถาอีกจ�ำนวนหน่ึงซึ่งมิได้น�ำมาจากพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์พระศาสนาช้ันหลัง แต่อ้างถึงพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ และ ผลงานประพนั ธข์ องบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ๑. พระราชนพิ นธใ์ นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ๒. พระนพิ นธใ์ นพระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ วชริ ญาณวโรรส (พระยศ กอ่ นการเลือ่ นกรม) 32
๓. พระนิพนธ์ในสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) ซ่ึงส้ินพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ตามปฏิทินเก่า ก่อนการพิมพ์คร้ังแรก ๗ ปี ๔. คำ� ประพนั ธข์ องสมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ฉมิ ) วดั โมลโี ลกยาราม ในสมยั รัชกาลท่ี ๔ บทพระนิพนธ์และค�ำประพันธ์ท่ีมิได้มาจากพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ พระศาสนาชั้นหลงั เหลา่ นีม้ ีวิธีผูกความเป็นภาษิต ๒ ลักษณะ คือ ๑. ทรงผูกข้ึนเองตามพระทรรศนะ หรือพระปณิธานส่วนพระองค์ ไมป่ รากฏความนัน้ ในพระไตรปฎิ ก ตัวอยา่ งทช่ี ดั เจนไดแ้ ก่ มหาปุรสิ ภาวสสฺ ลกฺขณํ กรุณาสโห ฯ อัชฌาสยั ที่ทนไม่ได้เพราะกรณุ าเป็นลักษณะของมหาบุรุษ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๔๖๒, หน้า ๔๖) ยถาวาที ตถาการี ฯ (คนจริง) พดู อย่างใด ท�ำอย่างนน้ั (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๔๖๒, หน้า ๔๒) ๒. นำ� ความในพระไตรปฎิ กหรอื คมั ภรี ต์ า่ ง ๆ มายอ่ ความโดยพสิ ดาร แล้วผกู ข้นึ ใหม่ใหย้ ่นยอ่ เขา้ เชน่ ยาทสิ ํ กุรเุ ต มติ ฺตํ ยาทิสํ จุปเสวติ ส เว ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส ฯ (ข.ุ อิติ.(บาลี) ๒๕/๒๕๔/๒๘๓) ปรากฏความโดยสรปุ บทสำ� คญั เปน็ ภาษติ กง่ึ บาทคาถา วา่ ยเํ ว เสวติ ตาทโิ ส (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๖๒, หนา้ ๖๔) 33
หรือ เอกํ ธมมฺ ํ อตีตสสฺ มุสาวาทสิ ฺส ชนฺตโุ น วติ ิณฺณปรโลกสสฺ นตถฺ ิ ปาปํ อการยิ ํ ฯ (ข.ุ ธ.(บาล)ี ๒๕/๒๓/๓๘) ปรากฏความโดยสลับต�ำแหน่งค�ำให้สอดคล้องคณะฉันท์เป็นภาษิต บาทคาถาบาทหน่งึ ว่า นตฺถิ อการยิ ํ ปาปํ มุสาวาทิสสฺ ชนตฺ ุโน (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๖๒, หน้า ๔๔) หนังสือศาสนสุภาษิตน้ีเองเป็นเคร่ืองแสดงพระปรีชาญาณของ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสโดยแท้ ทรงพระอตุ สาหะ รวบรวมกระบวนความสภุ าษติ ทส่ี นั้ กระชบั และหลากหลายหมวดหมเู่ ชน่ น้ี ให้ปรากฏเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์การพิมพ์ช้ินส�ำคัญของชาติไทย เปน็ การเทศนาเผยแผศ่ าสนธรรม ใหพ้ ทุ ธบรษิ ทั ทง้ั หลายไดอ้ า่ นและใครค่ รวญ พิจารณาด้วยดีเพื่อต้ังทิฏฐิไว้ชอบ และยังเป็นประโยชน์แก่การเรียงความ แก้ปัญหากระทู้ธรรมของนักเรียนหลักสูตรนักธรรมแห่งคณะสงฆ์ในเวลา ตอ่ มาจวบจนปจั จบุ นั สมดงั ฉายาพระนามกรมของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ อันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารภในหนังสือศาสน สุภาษติ (๒๔๖๒, หนา้ ญ) ว่า “วชิรญาณ มญี าณเป็นเพชร์ ซ่งึ จะตดั เผยแผ่ ธรรมที่ดีออกใหป้ รากฏโดยแท้” 34
รายการอ้างอิง ประกาศเล่ือนพระนามกรม. (๒๔๔๙, ๑๑ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๓. หน้า ๘๔๘-๘๕๐. http//:www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF.848/033/2449/PDF พระสุต์ตัน์ตปิฎก. [ออนไลน์]. (๒๔๓๖). พระนคร: [ม.ป.พ.]. https://search.ebscohost. com/login.aspx?direct=true&db=cat05085a&AN=chu.b1300452&site= eds-live มหามกุฏราชวิทฺยาลเยน ปกาสิตา. [ออนไลน์]. (๒๔๖๙-๒๔๗๓). สฺยามรฏฺสฺส เตปิฏกํ. พระนคร: มหามกฎุ ราชวทิ ยาลยั . https://library.car.chula.ac.th/record=b1299192 วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยา. [ออนไลน]์ . (๒๔๖๒). ศาสนสภุ าษิต. พระนคร: โรงพิมพอ์ ักษรนิต.ิ http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/ item/dc:47491?fbclid=IwAR0fQHbQVEUYg-mzPrp_CibFT6fAvd bgE8VSechcLhXO7GqWTayZ39hPZ8A Blake, Erin. [online]. (2016). Uncut, unopened, untrimmed, uh-oh. https://collation. folger.edu/08/2016/uncut-unopened-untrimmed-uh-oh/ 35
“อุปัชฌายะอาจารย์ผู้หวังความรูแ้ ก่สัทธิ วหิ ารกิ และอนั เตวาสกิ ตอ้ งหาอบุ ายสง่ั สอน ให้เขาได้ความรู้มากที่สุดตามแต่จะเป็น ได้, ถ้าใชแ้ บบสอนทพ่ี ิสดาร เรยี นรูย้ ังไมถ่ ึง ไหนกถ็ ึงเวลาสกึ จึงตอ้ งใช้ แบบยอ่ ใหจ้ ุ ขอ้ ความที่ควรจะศึกษา น้ีเป็นเหตุเรม่ิ เรยี งหนังสือเล่มนี้ข้ึนหนังสือนี้ถึงเป็นแบบ ย่อ ถ้าเข้าใจวิธีสอนก็ทําให้ภิกษุสามเณร ผู้บวชใหม่เข้าใจกวา้ งขวางได้เหมอื นกัน” จากพระนิพนธ์ นวโกวาท
นวโกวาท พระนิพนธ์สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส: การศึกษาในฐานะ “แบบเรียนเรว็ ” ทางพระพทุ ธศาสนา สายป่าน ปรุ ิวรรณชนะ๑ ตวั อยา่ งภาพปกหนงั สอื นวโกวาท พระนพิ นธส์ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ๑ นกั วิชาการอสิ ระ. 37
หนังสือนวโกวาท เป็นพระนิพนธ์เรื่องหนึ่งซึ่งมี ความโดดเด่นด้านการรวบรวมเรยี บเรยี งและจัดหมวดหมู่ ท้ัง “พระธรรม” และ “พระวินัย” จนกล่าวได้เต็มที่ว่าเป็น “แบบเรียนเร็ว” ทางพระพุทธศาสนา อันแสดงให้เห็น พระปรีชาสามารถในการ “จัดระบบความคิด” และ “จัดระเบียบวิธีสอน” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าผู้ทรง เป็นเสาหลักแรกเริ่มแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาใน รูปแบบ “สมัยใหม่” ซึ่งยังคงใช้อยู่จนปัจจุบันกาล สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสมีพระกิตติคุณ เป็นที่ยกย่องอยู่ทั่วกันประการหนึ่งในฐานะผู้ทรงปฏิรูปการศึกษาของ คณะสงฆ์ไทยให้ก้าวหน้า โดยเฉพาะการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมด้วย ภาษาไทย เรยี กวา่ หลกั สตู รนกั ธรรม (ตอ่ มาพฒั นาเปน็ หลกั สตู รธรรมศกึ ษา สำ� หรับผเู้ รียนท่เี ปน็ ฆราวาส) และการทรงพระนพิ นธ์ตำ� ราซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “งานรวบรวมเรียบเรียง” ข้ออรรถข้อธรรมให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน อันเป็น ปัจจัยส�ำคัญยิ่งท่ีท�ำให้องค์ความรู้ทางพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวาง ออกไปในหมู่ประชาชนซ่ึงส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจภาษาบาลี และ อาจไม่มีโอกาสศกึ ษาจากพระไตรปฎิ กและอรรถกถาพระไตรปิฎกโดยตรง หนังสือนวโกวาท เป็นพระนพิ นธ์เรื่องหนงึ่ ซงึ่ มีความโดดเดน่ ด้าน การรวบรวมเรียบเรยี งและจดั หมวดหมู่ท้งั “พระธรรม” และ “พระวนิ ัย” จน กลา่ วไดเ้ ตม็ ที่ว่าเปน็ “แบบเรยี นเร็ว” ทางพระพุทธศาสนา อนั แสดงใหเ้ ห็น พระปรีชาสามารถในการ “จัดระบบความคิด” และ “จัดระเบียบวิธีสอน” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าผู้ทรงเป็นเสาหลักแรกเริ่มแห่งการศึกษา พระพทุ ธศาสนาในรปู แบบ “สมัยใหม”่ ซึ่งยงั คงใช้อยูจ่ นปัจจุบนั กาล สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงชี้แจง วัตถุประสงค์ของการทรงพระนิพนธ์ นวโกวาทไว้อย่างชัดเจนว่า “หนังสือ เลม่ น้ี แตง่ ขนึ้ สำ� หรบั สอนภกิ ษสุ ามเณรบวชใหมใ่ หพ้ อควรแกเ่ วลาจะศกึ ษา ได้ จึงตั้งชื่อว่า นวโกวาท และมีข้อความแต่โดยย่อ ๆ เพียงเท่าน้ี” (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หนา้ คำ� นำ� ) อันแสดงถึงความแตกต่างอย่างย่ิงจากความคิดในการจัดการเรียนการ สอนพระพทุ ธศาสนาแกพ่ ระภกิ ษสุ งฆใ์ นอดตี ซง่ึ ตอ้ งเรม่ิ จากการศกึ ษา 38
ไวยากรณภ์ าษาบาลีโดยมคี ัมภรี ม์ ูลกจั จายน์เปน็ ตำ� ราหลัก สง่ ผลให้การ เข้าถึงความรู้เร่ืองพระธรรมค�ำสอนไม่สามารถกระท�ำได้เลยหากปราศจาก ความรู้ความเข้าใจภาษาบาลีอย่างแตกฉาน (พระมหาไพโรจน์ ปญฺาว ชิโร แก่นแก้ว, ๒๕๔๘, หน้า ๑) ทว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรง เล็งเห็นแล้วว่า “ผู้บวชใหมย่ อ่ มบวชเพยี งพรรษาเดยี ว...ถา้ ใช้แบบสอนที่ พสิ ดาร เรยี นรูย้ งั ไมถ่ งึ ไหนกถ็ งึ เวลาสกึ จงึ ตอ้ งใชแ้ บบยอ่ ใหจ้ ขุ อ้ ความที่ ควรศกึ ษา นเ่ี ปน็ เหตใุ ห้เรียบเรียงหนังสือเล่มน้ีขึ้น หนังสือนี้ถึงเป็นแบบ ย่อ ถ้าเข้าใจวิธีสอน ก็ท�ำให้ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่เข้าใจกว้างขวางได้ เหมือนกัน” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หน้าคำ� นำ� ) จึงได้ทรง “สกัดกลั่น” สาระส�ำคญั จากพระไตรปิฎก เปน็ ตำ� ราเลม่ ดังกล่าว พระนิพนธ์นวโกวาทแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกได้แก่ วนิ ยั บญั ญตั ิ แจกแจงเนอื้ หาจากพระวนิ ยั ปฎิ ก สว่ นทส่ี อง ไดแ้ ก่ ธรรมวภิ าค แจกแจงขอ้ ธรรมสำ� หรบั บรรพชติ และสว่ นสดุ ทา้ ย ไดแ้ ก่ คหิ ปิ ฏบิ ตั ิ แจกแจง ข้อธรรมส�ำหรับคฤหัสถ์ ท้ังน้ีทรง “ก�ำหนดแผนการศึกษา” ไว้โดยคร่าว ๆ ด้วยวา่ หากการบวชของกุลบตุ รผหู้ นงึ่ ใชเ้ วลา ๔ เดือน ภายหลังจากการทำ� บรุ พกจิ หรอื การปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กบั สมณเพศในชว่ งเดอื นแรกแลว้ เดอื นท่ี ๒ ให้ศกึ ษาเนอ้ื หาวนิ ยั บัญญตั ิ เดือนท่ี ๓ ใหศ้ กึ ษาธรรมวิภาค และชว่ งเดอื น สุดท้ายก่อนสึกให้ศึกษาคิหิปฏิบัติไปโดยล�ำดับ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หนา้ คำ� นำ� ) แสดงใหเ้ หน็ พระวจิ ารณญาณ รอบคอบในการจัดการศึกษาว่าสิ่งไรควรเรียนรู้เมื่อไรจึงจะเหมาะควรแก่ กาลและสถานภาพของผู้เรียน น่าสนใจยงิ่ วา่ ในส่วนวนิ ยั บัญญตั ิ นอกจากจะทรงอธิบายเรอื่ งอาบตั ิ ตา่ ง ๆ เปน็ ภาษาไทยใหส้ ามารถเขา้ ใจไดง้ า่ ยแลว้ ยงั ทรงใชว้ ธิ ี “ใหผ้ กู ปญั หา เป็นแนวเทียบ” ตัวอย่างเช่นท่ีทรงอธิบายในค�ำน�ำว่า “ภิกษุพยาบาลคนไข้ วางยาผิด คนไข้ตาย, จะต้องปาราชิกหรือไม่? ผู้ตอบต้องครวญดูเจตนา ของผู้วางยาว่า เหมอื นกบั เจตนาของผ้ทู กี่ ลา่ วไว้ในแบบหรือไม่ ? เทา่ นก้ี ็ ตัดสนิ ได้.” (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หน้าค�ำน�ำ) วิธีดังกล่าวน้ีช่วยลดความสับสนของพระภิกษุใหม่ และน่าจะ 39
วดั บวรนเิ วศวิหาร สามารถลดการทำ� ผดิ พระวนิ ัยโดยไมเ่ จตนาได้อีกทางหนึ่ง ในส่วนธรรมวิภาคเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีการจัดเรียงหัวข้อของ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ซ่ึงเป็นการเรียงล�ำดับหัวข้อธรรมจากน้อยไปหามาก จากเอกนบิ าตมขี อ้ ธรรม ๑ ขอ้ ถงึ เอกาทสกนบิ าตมขี อ้ ธรรม ๑๑ ขอ้ มาใช้ กับการจัดเรียงหัวข้อของ นวโกวาท และหากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว 40
หวั ขอ้ ธรรมตา่ ง ๆ ทรงรวบรวมจาก พระวินยั ปฎิ ก และ พระสตุ ตนั ตปฎิ ก เป็นหลัก มีเพียงบางหัวข้อเท่านั้นท่ีน�ำมาจาก พระอภิธรรมปิฎก เช่น หัวข้อ มละ คือ มลทนิ ๙ อย่าง ทีม่ ีทม่ี าจาก พระอภิธรรมปิฎก วภิ งั ค์ (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หนา้ ๕๗) สันนิษฐานว่าเพราะทรงมุ่งจะน�ำเสนอธรรมะท่ีผู้เร่ิมศึกษาพึงรู้เป็นเบ้ืองต้น และเป็นเรอ่ื งท่ีเขา้ ใจง่ายเสียก่อน จงึ ทรงเลือกหัวข้อธรรมจากพระวนิ ยั และ พระสตู รซง่ึ ซบั ซอ้ นนอ้ ยกวา่ พระอภธิ รรมเปน็ สำ� คญั อกี ทง้ั ยงั ทรงมอี กั ษรย่อ ชอ่ื คมั ภรี ท์ มี่ าของหวั ขอ้ นนั้ ๆ กำ� กบั ไวเ้ สมอเพอื่ ใหส้ ามารถสบื คน้ เพม่ิ เตมิ ได้ ในแงว่ ธิ กี ารนำ� เสนอ หากเปน็ ค�ำสน้ั ๆ ทรงใชค้ �ำภาษาบาลีควบคูไ่ ป กบั คำ� ภาษาไทย ขณะท่หี ากหวั ข้อธรรมใดเปน็ ประโยคภาษาบาลีขนาดยาว จะทรงเลือกแปลเป็นประโยคภาษาไทย ในท่ีน้ีขอเปรียบเทียบการน�ำเสนอ หัวข้อ อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง ท่ีทรงพระนิพนธ์ ค�ำอธิบายเปน็ ประโยคภาษาไทยกบั หวั ข้อ ปธาน คือความเพยี ร ๔ อยา่ ง อันตรายของภกิ ษุสามเณรผบู้ วชใหม่ ๔ อย่าง ๑. อดทนตอ่ ค�ำสอนไมไ่ ด ้ คอื เบ่อื ตอ่ คำ� สั่งสอนขเ้ี กยี จทำ� ตาม. ๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ทอ้ ง ทนความอดอยากไม่ได.้ ๓. เพลดิ เพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สขุ ยงิ่ ๆ ข้นึ ไป. ๔. รักผ้หู ญงิ ภิกษุสามเณรผู้หวังความเจริญแก่ตน ควรระวังอย่าให้อันตราย ๔ อยา่ งนย้ี ำ่� ยีได้. อง.ฺ จตุกกฺ . ๒๑/๑๖๕. ปธาน คือความเพยี ร ๔ อย่าง ๑. สงั วรปธาน เพยี รระวงั ไมใ่ หบ้ าปเกดิ ขน้ึ ในสนั ดาน. ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปทเี่ กิดขนึ้ แล้ว. ๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขน้ึ ในสนั ดาน. ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรกั ษากุศลท่ีเกิดข้นึ แลว้ ไม่ให้เสือ่ ม. ความเพยี ร ๔ อยา่ งนเ้ี ปน็ ความเพียรชอบ ควรประกอบใหม้ ใี นตน. องฺ. จตกุ กฺ . ๒๑/๒๐. 41
ซึ่งมีค�ำศัพท์ภาษาบาลีและค�ำแปลภาษาไทย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หนา้ ๓๕) ดังนี้ เหตุท่ีทรงเลือกใช้วิธีการอธิบายแบบนี้ก็ด้วยทรงค�ำนึงถึงทั้งผู้คุ้น เคยกับภาษาบาลีท่ีอาจสับสนหากไม่มีศัพท์ภาษาบาลีก�ำกับข้อธรรมที่ตน เคยทราบมา และผู้ใหม่ต่อการศึกษาพุทธศาสนา (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๓๐, หน้าค�ำน�ำ) โดยหากจ�ำเป็นต้อง อธบิ ายภาษาไทยกท็ รงใช้ภาษาท่เี ขา้ ใจงา่ ย สอ่ื ความได้อย่างตรงไปตรงมา ดังปรากฏในตวั อย่างทีไ่ ด้ยกมาข้างต้นแล้ว อนงึ่ ความทส่ี มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงคำ� นงึ ถงึ ความจรงิ ขอ้ ทวี่ า่ กลุ บตุ รสว่ นใหญอ่ ุปสมบทแต่เพียงชว่ั คราวตามประเพณี จึงทรงแยกหวั ข้อ คิหิปฏิบัติ หรือข้อปฏิบัติส�ำหรับฆราวาส ประกอบด้วยหัวข้อธรรม อาทิ สังคหวัตถุ ๔ ศีล ๕ ทิศ ๖ อันล้วนแต่เป็นธรรมะท่ีใช้ได้จริงในชีวิตของ ผู้ครองเรือนไว้ต่างหากในส่วนท้ายของ นวโกวาท เห็นได้ชัดเจนว่าทรง พระประสงคจ์ ะใหก้ ลุ บุตรผ้เู คยอปุ สมบทแล้วไม่เพียงแตจ่ ะเป็น “ภิกษทุ ีด่ ”ี ในชวั่ ระยะเวลาทบี่ วชเทา่ นน้ั แตย่ งั ทรงปรารถนาจะอบรมใหเ้ กดิ “คนดขี อง สงั คม” ขน้ึ ในระยะยาวด้วย การวเิ คราะหว์ ธิ กี ารแบง่ สว่ นเนอ้ื หา การจดั ลำ� ดบั หวั ขอ้ การคดั เลอื ก ข้อธรรม และการอธบิ ายในพระนิพนธ์ นวโกวาท ทำ� ใหเ้ ห็นได้อย่างชัดเจน ว่าพระนิพนธ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติของการเป็น “แบบเรียนเร็ว” ที่สามารถ เข้าใจได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น ท้ังยังเป็นเครื่องประกาศพระกิตติคุณ อันประกอบไปดว้ ยพระปรชี าแตกฉานในพระธรรมวนิ ยั และพระอจั ฉรยิ ภาพ 42
รายการอ้างอิง ไพโรจน์ ปญฺาวชิโร แก่นแก้ว, พระมหา. (๒๕๔๘). โยชนามูลกัจจายนะ ปริเฉทท่ี ๕-๖ (ตทั ธติ -อาขยาต): การตรวจชำ� ระและศกึ ษา. วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบณั ฑติ บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั . วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๓๐). นวโกวาท (หลักสูตร นักธรรมชั้นตรี) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่ง. (พิมพ์ครั้งท่ี ๗๕). กรงุ เทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลยั . 43
“เรื่องที่จะแต่งนี้ก็เป็นข่าวเกิดมานานแล้ว เหลือวิสัยท่ีจะรับรองได้ว่าเป็นจริงทั้งหมด เพราะไม่มีสิ่งใดเป็นหลักฐานม่ันคงเว้นไว้แต่ ธรรมค�ำสั่งสอนของพระสัมพุทธเจ้า ซ่ึงมี ปัญญาของนักปราชญ์สามารถจะรู้ได้ว่า จรงิ เทา่ นนั้ เหตนุ นั้ ผศู้ กึ ษาจงตงั้ ใจเลอื กถอื เอา ส่งิ ที่จริงและประกอบดว้ ยประโยชนเ์ ทอญ” จากพระนพิ นธ์ พุทธานุพทุ ธประวตั ิ
สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส กับพทุ ธประวัติแนวใหม่ ภรู ทิ ัต หงษว์ ิวัฒน์๑ พทุ ธประวัติมีความส�ำคญั ต่อพทุ ธศาสนกิ ชนมาชา้ นาน ในวรรณคดี พุทธศาสนาพากย์ไทยมีวรรณคดีพุทธประวัติท่ีส�ำคัญหลายเร่ือง อาทิ พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมา นุชิตชิโนรส ทรงช�ำระต้นฉบับภาษาบาลีและแปลเป็นภาษาไทยส�ำหรับ เทศน์ในวันส�ำคัญทางศาสนา วรรณคดีเร่ืองน้ีเป็นที่ยกย่องว่าแต่งด้วยรส วรรณศิลป์อันวิเศษ มีเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ตามขนบวรรณคดีพุทธประวัติที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ในยุคต่อมาก็มี ปฐมสมโพธิ พระนพิ นธส์ มเดจ็ พระสงั ฆราช (สา ปสุ สฺ เทวมหาเถร) วรรณคดี พุทธประวัติเล่มน้ียังมีโครงเรื่องเดียวกับพระปฐมสมโพธิกถา หากแต่ ตัดทอนเหตกุ ารณท์ แ่ี สดงอทิ ธปิ าฏหิ ารยิ อ์ อกไปมาก เชน่ ตอนมารวชิ ยั และ ตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ ต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรสทรงพระนิพนธ์หนังสือพุทธประวัติอย่างน้อยสองเรื่อง ได้แก่ พุทธานุพุทธประวัติและพุทธประวัติ ทั้งสองเล่มเป็นหนังสือ พุทธประวัติที่พัฒนาสืบเน่ืองมาจากปฐมสมโพธิของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปสุ ฺสเทวมหาเถร) แมว้ า่ หนงั สอื พทุ ธประวตั ิ ของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา วชิรญาณวโรรสจะเป็นท่ีรู้จักแพร่หลายท่ีสุด แต่แท้จริงแล้วพระนิพนธ์ หนังสือพุทธประวัติเล่มแรกของพระองค์คือหนังสือพุทธานุพุทธประวัติ ทรงพระนิพนธ์ข้ึนเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๓๕ ใจความส�ำคัญของหนังสือเล่มนี้ มิได้อยู่ที่อิทธิปาฏิหาริย์ แต่อยู่ท่ีการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวก พระประวัตินั้นทรงกล่าวแต่โดยสังเขปเพื่อน�ำเร่ืองไปสู่การ แสดงธรรม มีหลายปริจเฉทท่ีเป็นบทธรรมเทศนาซ่ึงไม่ปรากฏมาก่อนใน พุทธประวัติอันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมา นุชิตชิโนรสและสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) อาทิ ปริจเฉท ๑ นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี สนั สกฤต และพทุ ธศาสน์ ศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. 45
ตวั อย่างภาพปกหนงั สอื พทุ ธประวตั ิ ตวั อยา่ งภาพปกหนังสือ พทุ ธานุพุทธประวตั ิ พระนิพนธส์ มเด็จพระมหาสมณเจ้า พระนิพนธส์ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส (ท่ีมา: หอจดหมายเหตพุ ุทธทาส อนิ ทปญั โญ) พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระ ปรมานุชติ ชโิ นรส (ท่มี า: ศลิ ปวัฒนธรรม) 46
ท่ี ๘ ซึ่งมีต้นเค้ามาจากโสฬสปัญหา ในคัมภีร์สุตตนิบาต ขุททกนิกาย เน้ือความมีอยู่ว่า พาวรีพราหมณ์ประสงค์จะทดสอบปัญญาของพระผู้มี พระภาคเจ้า จึงส่งมาณพ ๑๖ คนผู้เป็นศิษย์มาทูลถามปัญหาธรรมแก่ พระองค์ ภายหลังมาณพทั้ง ๑๖ ครั้นได้ฟังวิสัชนาก็บังเกิดความเลื่อมใส ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุในพุทธศาสนาด้วยกันท้ังส้ิน เช่น ปัญหาของ อชติ มาณพ อ. พระองค์จงตรัสบอกว่า อะไรเป็นเคร่ืองห้าม เป็น เคร่ืองกันความอยาก ซ่ึงเป็นดุจกระแสน�้ำ หล่ังไหลไปใน อารมณ์ทงั้ ปวง ความอยากนน้ั จะละได้ เพราะธรรมอะไร. พ. เรากล่าวว่า สตเิ ป็นเครอ่ื งห้ามเป็นเครือ่ งกันความ อยากนัน้ และความอยากนน้ั จะละได้เพราะปัญญา. อ. ปัญญา สติ กับนามรูปน้ัน จะดับไป ณ ที่ไหน ข้าพระเจ้าทูลถามแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อน้ีแก่ ข้าพระเจ้า. พ. เราจะแก้ปัญหาท่ีท่านถามถึงท่ีดับนามรูปสิ้นเชิง ไมม่ ีเหลือแกท่ า่ น เพราะวญิ ญาณดับไปกอ่ น นามรปู จึงดบั ไป ณ ทน่ี น้ั เอง. อ. ชนผู้มีธรรมได้พิจารณาเห็นแล้ว และชนผู้ยังต้อง ศกึ ษาอยู่ สองพวกนมี้ อี ยใู่ นโลกเปน็ อนั มาก ขา้ พระเจา้ ขอทลู ถามถึงความประพฤติของชนสองจ�ำพวกน้ัน พระองค์มี พระปัญญาแก่กลา้ ขอจงตรสั บอกแกข่ า้ พระเจา้ . พ. ภกิ ษผุ มู้ ธี รรมไดพ้ จิ ารณาเหน็ แลว้ และชนผยู้ งั ตอ้ ง ศึกษาอยู่ ตอ้ งเปน็ ผูไ้ ม่ก�ำหนดั ในกามท้ังหลาย มีใจไมข่ นุ่ มัว ฉลาดในธรรมท้งั ปวง มีสตอิ ยู่ทกุ อริ ยิ าบถ. (สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๖๑, หนา้ ๘๒) นอกจากจะมุ่งน�ำเสนอธรรมะแล้ว ยังทรงอธิบายความต่าง ๆ ใน พุทธประวัติด้วยการยกสถานการณ์ร่วมสมัยมาเปรียบเทียบด้วย เช่น ทรงอธิบายลักษณะการปกครองของแคว้นวัชชีและแคว้นมัลละโดยเทียบ กบั แว่นแควน้ เยอรมนี 47
...เทียบด้วยธรรมเนียมใหม่ เหมือนธรรมเนียมใน แว่นแคว้นเยอรมนนี ้ัน ในแวน่ แคว้นเยอรมนี แบ่งอาณาเขต เป็นส่วน ๆ มีเจ้าผู้ปกครองทุกส่วน ๆ ต้ังเป็นตระกูลอัน หนงึ่ ๆ สืบกันมา มยี ศเรียกเจ้าผูป้ กครองต่าง ๆ กัน ตามมี อ�ำนาจและที่ดินมากหรือน้อย ตระกูลเจ้าเหล่าน้ัน นับเน่ือง เป็นพระวงศ์เดียวกัน แต่บางครั้งไม่อยู่ในความปกครอง อันเดยี วกนั บางครงั้ กอ็ ยใู่ นความปกครองเปน็ อนั เดยี วกนั คอื ยกเจ้าในเมืองหนงึ่ ขึน้ เปน็ ราชาธริ าช มีอ�ำนาจปกครองท่ัวไป เหมือนในบัดน้ี เขายกเจ้าในกรุงปรัสเซียข้ึนเป็นราชาธิราช รวมอยใู่ นความปกครองอันเดียวกนั ... (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๖๑, หน้า ๑๒๒-๑๒๓) จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงมีภูมิรู้กว้างขวาง ไม่เพียงแต่เรื่องเกี่ยวแก่ กิจการพระศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงประวัติศาสตร์และการปกครองของ ตา่ งประเทศอีกดว้ ย ทรงน�ำความรทู้ างโลกมาอธบิ ายประกอบเรื่องราวทาง ธรรมไดอ้ ยา่ งกลมกลนื บททค่ี ดั มานเ้ี ปน็ ตวั อยา่ งทแ่ี สดงใหเ้ หน็ อยา่ งชดั เจน ว่าความรทู้ างโลกนั้นมีประโยชนเ์ ก้อื หนนุ ความรูท้ างธรรมอย่างไรบ้าง ส่วนหนังสือพุทธประวัตินั้นทรงรจนาขึ้นหลังพุทธานุพุทธประวัติ ถึง ๒๑ ปี คือในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ไว้ส�ำหรับแจกในการบ�ำเพ็ญกุศล พระศพพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงวรเสรฐสดุ า ทรงแจ้งพระประสงคไ์ ว้ ในพระนพิ นธ์ค�ำปรารภวา่ เ ร่ื อ ง พุ ท ธ ป ร ะ วั ติ ที่ พ ร ร ณ น า ค ว า ม เ ป ็ น ไ ป ข อ ง พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ยอ่ มเปน็ สำ� คญั ในการศกึ ษาและปฏบิ ตั ิ พระพุทธศาสนาเพราะแสดงพระพุทธจรรยาให้ปรากฏ, อย่างเดียวกับต�ำนานย่อมเป็นส�ำคัญของชาติคน ท่ีจะให้รู้ ได้ว่าชาติได้เป็นมาแล้วอย่างไร, แต่น่าเสียดายว่า เร่ืองพุทธ ประวัติน้ัน ไม่ปรากฏในบาลีซ่ึงข้ึนสู่สังคีติจนตลอดเร่ืองสัก แห่งเดียว, มมี าในบาลีน้ันประเทศ ๆ เพียงเปน็ ท่อน ๆ... ... 48
สมเด็จพระอรยิ วงศาคตญาณ พระธรรมโกศาจารย์ (เงือ่ ม อินทปญั โญ) หรอื สมเดจ็ พระสงั ฆราช (สา ปุสสเทวมหาเถร) พทุ ธทาสภกิ ขุ (ท่ีมา: หอจดหมายเหตพุ ทุ ธทาส อินทปัญโญ) (ท่มี า: ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) พุทธประวัติท่ีรจนาในภาษาไทยของพวกเรา มุ่งใน ทางแสดงอภินิหารของพระศาสดาก็มีแล้ว มุ่งในทางธรรม ก็มีแล้ว. ข้าพเจ้าเองก็ได้รจนามุ่งทางธรรมคราวหนึ่งแล้ว, ที่มุ่งทางต�ำนานยังไม่มี เรื่องท่ีปรารภรจนาบัดน้ี จึงมุ่งใน ทางแสดงต�ำนานเป็นที่ต้ัง, ท้ังมุ่งจะแนะผู้เรียนให้รู้จักอ่าน หนงั สอื ถอื เอาความ ทอ้ งเรอ่ื งเรยี นเปน็ ตำ� นานชกั เอาอภนิ หิ าร ซ่ึงท่านพรรณนาไว้มากล่าวในท้ายอธิการน้ัน ๆ เพื่อกัน ความฟั่นเฝอื แต่ไดเ้ รอ่ื งบริบูรณ์. ... (สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๕๗, หนา้ ก, ค) ค�ำวา่ “ต�ำนาน” ท่ที รงใชน้ ้ี น่าจะหมายความตรงกับค�ำว่า “ประวตั ิ” ซึ่งแปลว่า “ความเป็นไป” ดังจะเห็นได้จากการท่ีทรงต้ังช่ือพระนิพนธ์น้ีว่า พุทธประวัติ แปลตามพยัญชนะว่าเรื่องราวความเป็นไปของพระพุทธเจ้า การใชค้ �ำว่า “ต�ำนาน” ในความหมายน้คี ลา้ ยกบั ที่ปรากฏในพระนพิ นธ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพที่ทรงอธิบาย ความเป็นมาของเรื่องน้ัน ๆ ตามหลักวิชาการ พระนิพนธ์เรื่องพุทธประวัติ 49
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็ด�ำเนินไปใน ลักษณะเดียวกันน้ี ทรงน�ำความรู้ด้านภารตวิทยามาประกอบการรจนา พุทธประวัติ เช่น ในปริจเฉท ๑ ท่ีกล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ของชมพูทวีป และประชาชนในชมพทู วปี ทรงกลา่ วถงึ อทิ ธปิ าฏหิ ารยิ ข์ องพระสมั มาสมั พทุ ธ โดยตคี วามเรอื่ งเลา่ เหลา่ นน้ั ในรปู แบบธรรมาธษิ ฐาน เชน่ การเพมิ่ ภาคผนวก ท่ี ๒ เรอ่ื งถอดใจความแหง่ อภนิ หิ ารในเวลาประสตู ิ ทรงอธบิ ายยา่ งพระบาท ๗ ก้าวว่าเป็นสญั ลักษณ์หมายถงึ การประกาศพระศาสนาไปยงั ๗ ชนบท พระองค์ตรัสรู้ ณ จังหวัดคยาอันเป็นหนใต้ เสด็จ เท่ียวประกาศพระศาสนาขึ้นไปหนเหนือ, แม้นเสด็จด�ำเนิน ด้วยพระบาท บ่ายพระพักตร์สู่อุดรทิศ. เมื่อเป็นเช่นน้ี ย่าง พระบาท ๗ กา้ วแลว้ หยดุ ยนื นน้ั นา่ จะไดแ้ กท่ รงแผพ่ ระศาสนา ไดแ้ พรห่ ลายใน ๗ ชนบท, หรอื เพยี งไดเ้ สดจ็ ดว้ ยพระองคเ์ อง. ลองนบั ดปู ระมาณกไ็ ดก้ นั , นบั ชนบททอี่ ยใู่ นอาณาจกั รเดยี วกนั เปน็ แต่ ๑ คอื กาสกี ับโกสละ ๑ มคธะกับองั คะ ๑ สกั กะ ๑ วัชชี ๑ มัลละ ๑ วังสะ ๑ กุรุ ๑ เป็น ๗, นอกจากน้ี มีแต่ ชนบทน้อย ที่ขน้ึ ในชนบทใหญ่. ทรงหยุดเพยี งเทา่ น้ัน ไม่กา้ ว ต่อไป กไ็ ดแ้ กส่ ิน้ เวลาของพระองค์เพยี งเทา่ นั้น (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๕๗, หนา้ ๑๐๔-๑๐๕) ส่วนการผจญมาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรสทรงอธิบายไว้ในปริจเฉทที่ ๕ ตอนตรสั รวู้ า่ ในประพฤติเหตุเหล่านี้ ข้อท่ีจะพึงปรารภถึง มีแต่ เรอ่ื งผจญมาร. สนั นษิ ฐานเหน็ วา่ เปน็ เรอื่ งแสดงนำ�้ พระหฤทยั ของพระมหาบรุ ุษโดยบุคคลาธฏิ ฐาน คอื กลา่ วเปรียบด้วยตวั บุคคล. กิเลสกามเปรียบด้วยพระยามาร, กิเลสอันเป็นฝ่าย เดียวกัน เปรียบด้วยเสนามาร. กิเลสเหล่าน้ัน เกิดขึ้น ท่องเที่ยวอยู่ในจิตของพระมหาบุรุษ ให้นึกถึงความเสวยสุข สมบัติในปางหลังและทวนกลับ เปรียบด้วยพระยามารยก พลเสนามารมาผจญ. ... (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๕๗, หน้า ๔๕) 50
วรรณคดีพุทธประวัติที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงพระนิพนธ์น้ันมีคุณค่าใน ฐ า น ะ ผ ล ง า น บุ ก เบิ ก ก า ร ตี ค ว า ม พุ ท ธ ป ร ะ วั ติ แน ว ให ม่ ส�ำหรบั พุทธศาสนิกชนจ�ำนวนมากแล้ว พุทธประวัติอาจดู เปน็ เรอ่ื งสามัญ แต่เมอื่ ทรงน�ำมาเล่าใหมแ่ ล้ว ประวัติของ พระศาสดากลับทอประกายขน้ึ มาอีกครงั้ จะเห็นได้ว่าทรงน�ำหลักความรู้มาก�ำกับการตีความพุทธประวัติ ท�ำให้วรรณคดีพุทธประวัติพากย์ไทยมีมิติท่ีลึกซึ้งขึ้น น่าเสียดายว่ามิได้ ทรงพระนิพนธ์หนังสือพุทธประวัติเล่มน้ีจนจบบริบูรณ์ แต่เดิมทรงวาง โครงไว้ ๔ วภิ าค ไดแ้ ก่ ปรุ มิ กาล และ ปฐมโพธกิ าล คอื ตงั้ แตป่ ระสตู จิ นได้ อคั รสาวก มชั ฌมิ โพธกิ าล กลา่ วถงึ กาลในระหวา่ งทที่ รงเผยแผพ่ ระศาสนา ปัจฉิมโพธิกาล คือเมื่อจวนจะส้ินพระชนมชีพจนดับขันธปรินิพพานและ แจกพระธาตุ ส่วนสุดท้ายคือ สังคีติกถา กล่าวถึงการท�ำสังคายนาหลัง พุทธปรินิพพานเป็นต้นไป ทรงพระนิพนธ์แล้วเสร็จแต่เฉพาะภาคปุริมกาล และ ปฐมโพธกิ าล รวมเปน็ เลม่ ๑ ภาคมชั ฌมิ โพธกิ าล อนั เปน็ เลม่ ๒ ทรง ไวไ้ มจ่ บกส็ นิ้ พระชนมไ์ ปกอ่ น ภาคปจั ฉมิ โพธกิ าลนนั้ ทรงนำ� ตอนปรนิ พิ พาน ในปฐมสมโพธขิ องสมเดจ็ พระสงั ฆราช (สา ปสุ สฺ เทวมหาเถร) มาดดั แปลง ให้ใช้เปน็ แบบเรยี น ส่วนสังคีตกิ ถา มไิ ดท้ รงรจนาไว้ อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือพุทธประวัตินี้จะมิได้บริบูรณ์ดังที่หมาย พระทยั แตม่ ีอทิ ธพิ ลอย่างสงู ต่อการแต่งวรรณคดพี ทุ ธประวัตพิ ากยไ์ ทยใน ยุคหลัง ท้ังเป็นต้นแบบให้แต่งตามและน�ำไปต่อยอด อาทิ พุทธประวัติ จากพระโอษฐ์ ของพุทธทาสภิกขุ ท่ีเก็บความเฉพาะในพระไตรปิฎกมา แปลและเรยี บเรยี งเปน็ พทุ ธประวตั ิ พทุ ธทาสภกิ ขไุ ดร้ ะบถุ งึ หนงั สอื พทุ ธ ประวตั เิ ล่ม ๑ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรสไว้ พร้อมกับแนวทางทน่ี ำ� มาต่อยอด พระประวตั ิของพระองค์ทกุ ๆ ตอน ทั้งท่ีทรงเลา่ เอง และเป็นค�ำของพระสังคีติกาจารย์ผู้ร้อยกรองบาลีพระ ไตรปิฎก ย่อมมีอยู่เป็นแห่ง ๆ ตอน ๆ ไม่ติดต่อกันไปจน ตลอดเรอ่ื ง เปน็ การลำ� บากแกผ่ ศู้ กึ ษา. สมเดจ็ พระมหาสมณ เจา้ กรมพระวชริ ญาณวโรรส เคยทรงพบเหตแุ หง่ ความไม่ 51
สะดวกข้อนี้...แต่ในหนังสือพุทธประวัติท่ีพระมหาสมณเจ้า พระองคน์ ้ีทรงเรียบเรียงนั้น ทรงเก็บความในบาลีมา คละปนกันไป ทงั้ ทต่ี รสั เลา่ โดยพระโอษฐเ์ อง และทเ่ี ปน็ คำ� ของสงั คตี กิ าจารย์ บางแห่งก็รวมทั้งอรรถกถา ทั้งไม่ได้ทรง หมายเหตุไว้ให้ชัดวา่ ตอนไหนเปน็ คำ� ตรสั เลา่ ตอนไหนเปน็ คำ� ของผรู้ จนา เพราะทรงแตง่ ใหเ้ ปน็ หนงั สอื เลม่ ใหมข่ นึ้ ตา่ ง หาก พรอ้ มทงั้ มอี ธบิ ายและความเห็นสันนิษฐาน. ส่วนเรื่อง จากพระโอษฐ์ที่ข้าพเจ้ารวบรวมมานี้ เลือกเก็บและแปลออก เฉพาะตอนที่พระศาสดาตรัสเล่าเร่ืองของพระองค์เองจาก บาลอี ยา่ งเดยี ว ไมม่ คี ำ� ของพระสังคีติกาจารย์หรือคันถ รจนาจารย์ปนอยู่เลย เพ่ือไม่ให้คละกัน ด้วยหวังว่าจะ เป็นการสะดวกแก่ผู้ที่จะศึกษา และสันนิษฐานคัมภีร์พุทธ ประวัติสืบไป, แม้เม่ือไปอ่านคัมภีร์พทุ ธประวตั อิ นื่ ๆ ทท่ี า่ น รวบรวมขน้ึ ใหม่ เชน่ ปฐมสมโพธเิ ปน็ ต้นก็ดี ตลอดจนพุทธ ประวัติต่างประเทศก็ดี จะเข้าใจได้ง่ายว่า อะไรเป็นแกน่ และอะไรเปน็ เกร็ดของเรอ่ื ง (พุทธทาสภิกขุ, ๒๕๖๑, หน้า (๘)-(๙)) ข้อความท่ีคัดมาน้ีแสดงให้เห็นว่าผลงานพุทธประวัติท่ีสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงรเิ รมิ่ ไวเ้ ปน็ แรงบนั ดาลใจ หนงึ่ ทท่ี ำ� ใหพ้ ทุ ธทาสภกิ ขรุ จนาพทุ ธประวตั จิ ากพระโอษฐข์ นึ้ พทุ ธทาส ภิกขุได้ระบุไว้ว่าหนังสือเล่มนี้มิใช่หนังสือแสดงประวัติศาสตร์ดังเช่น พุทธประวัติเล่ม ๑ แต่เป็น “พุทธประวัติแห่งการปฏิบัติธรรม” (เรื่อง เดียวกัน, หน้า (๑๔)) เช้ือเชิญสาธุชนให้ทดลองประพฤติตามหนทางท่ี พระบรมศาสดาได้เคยทรงบ�ำเพ็ญมาแล้วเพื่อลิ้มรสความเป็น ‘อกาลิโก’ ของพระธรรมท่พี ระพุทธองคท์ รงคน้ พบและน�ำมาเผยแผ่ ผู้เขียนเห็นว่าวรรณคดีพุทธประวัติที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงพระนิพนธ์น้ันมีคุณค่าในฐานะผลงาน บุกเบิกการตีความพุทธประวัติแนวใหม่ ส�ำหรับพุทธศาสนิกชนจ�ำนวน มากแล้ว พุทธประวัติอาจดูเป็นเรื่องสามัญ แต่เม่ือทรงน�ำมาเล่าใหม่แล้ว ประวตั ขิ องพระศาสดากลบั ทอประกายขนึ้ มาอกี ครงั้ แมใ้ นเวลาน้ี พระนพิ นธ์ ของพระองค์ก็ยังคงมอบมโนทัศน์ใหม่ ๆ หากอ่านและศึกษาด้วยใจท่ี เปิดกว้าง ก็จะสัมผัสได้ถึงกระแสแห่งปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ท่ี 52
แทรกอยแู่ ทบทกุ บรรทดั ในพระนพิ นธ์ เปรยี บเหมอื นเดนิ ทอ่ งอยใู่ นมรรควิถี อันกว้างใหญ่ทอดยาวไปสุดสายตา แต่หากอ่านด้วยจิตคิดระย่อ มิได้แล เห็นศักยภาพที่แฝงอยู่ในตนแล้ว หนทางท่ีกว้างก็จะกลายเป็นป่าชัฏไป โดยพลัน วรรณกรรมพุทธประวัติน้ันเปรียบประดุจกระแสธารที่ไหลรินเร่ือยไป ตามกาล ล�ำน�ำน้ีจะไหลอยู่เรื่อยไปตราบท่ีพุทธศาสนายังไม่อันตรธานไป วรรณคดีพุทธประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส เปรียบเหมือนช่วงตอนส�ำคัญแห่งล�ำน�้ำที่ก�ำลังเปลี่ยนทางเดิน ทางน้�ำน้ีได้หันเหพาพุทธศาสนาไปสู่ยุคใหม่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระองค์น้ัน ทรงรับมือความแปรเปลี่ยนในสายธารด้วยปัญญาและความ กล้าหาญผสานกัน เห็นได้จากท่ีทรงกล้าน�ำองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาอธิบาย พทุ ธประวตั ิท่พี ุทธศาสนิกชนเข้าใจกนั อย่างซึมซาบมาแต่ก่อน บทความน้จี ึงเปน็ การพาผ้อู า่ นท่องเวลา ‘ทวนลำ� น้�ำ’ กลับไปสำ� รวจ ความเป็นไปแห่งวรรณคดีพุทธประวัติ หากมองลงไปในล�ำน้�ำให้ลึกซ้ึง เพียงพอ ผู้อ่านท่ีมีสายตาแหลมคมอาจแลเห็นอะไรมากกว่าเงาสะท้อน รายการอ้างอิง พุทธทาสภิกข.ุ (๒๕๖๑). พทุ ธประวตั จิ ากพระโอษฐ์. (พมิ พค์ รั้งท่ี ๒๔). กรงุ เทพฯ: ธรรมสภา. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๕๖). พุทธประวัติเล่ม ๒ มชั ฌิมโพธกิ าล. (พมิ พค์ ร้งั ท่ี ๑๙). กรงุ เทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลัย. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๕๖). พุทธประวัติเล่ม ๓. (พิมพ์ครง้ั ที่ ๔๗). กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวิทยาลัย. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๕๖). พุทธานุพุทธประวัติ. (พมิ พค์ รง้ั ที่ ๓๒). กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๕๗). พุทธประวัติเล่ม ๑. (พมิ พค์ ร้งั ที่ ๕๖). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลยั . 53
“ขอกล่าวไว้ว่า การรจนาเรื่องเช่นนี้มี ประโยชน์จะได้รวบรวมข้อความที่ฟังเอาเป็น หลักฐานได้ ขอท่านผู้สนใจในเรื่องน้ี ช่วย เสาะหาต่อไป ถ้าได้พบสอบสวนคงแก่เหตผุ ล พึงรจนาขึ้นไว้ บอกแก้หนังสือนี้อีกต่อหนึ่ง ความรูใ้ นเรอ่ื งนี้ของคนช้ันหลังที่สุดของเรา เอง จะเจรญิ ข้ึนโดยล�ำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ ค ว า ม รู ้จั ก อ่ า น แ ล้ ว แ ล ะ ถื อ เ อ า ค ว า ม จ า ก หนังสือ ก็นับวา่ เจรญิ ขึน้ ตามกัน” จากพระนพิ นธ์ พุทธประวัติ เล่ม ๑
พระนิพนธ์ พุทธประวัติ กบั ความรใู้ หมจ่ ากโลกโบราณคดี เดชดนัย ศภุ ศลิ ปเลศิ ๑ เซอร์ อเลก็ ซานเดอร์ คนั นิงแฮม นักโบราณคดีชาวองั กฤษ ๑ นักศกึ ษาปริญญามหาบณั ฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัตศิ าสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลยั ศิลปากร. 55
สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรงมีบทบาท หลายประการต่อวงการพระพุทธศาสนาของไทย ทรงพระนิพนธ์หนังสือไว้ เปน็ จำ� นวนมาก หนง่ึ ในเลม่ สำ� คญั ไดแ้ ก่ พทุ ธประวตั ิ ซงึ่ ถอื เปน็ พระนพิ นธ์ ท่ีน�ำเสนอพุทธประวัติแนวใหม่ เนื่องจากภาพของพระพุทธองค์ตาม พุทธประวัติฉบับนี้เป็นภาพของ “มนุษย์” ผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ทรงพระชนม์อยู่ในชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดีย หาใช่บุคคลอย่างต�ำนาน ปรัมปราทเ่ี ต็มไปด้วยอภินหิ ารอย่างวรรณกรรมพุทธประวตั ิแนวจารีตท่ีเคย มีมา พระนิพนธ์ดังกล่าวเกิดข้ึนในเวลาที่ความรู้ทางโบราณคดีในอินเดีย อันเป็นแดนพุทธภูมิเจริญข้ึน บทความนี้จะมุ่งฉายภาพถึงความรู้ทาง โบราณคดีอันเนื่องกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาบางเร่ืองท่ีปรากฏอยู่ ในพระนิพนธ์พุทธประวัติ อันแสดงถึงความเป็นนักวิชาการของสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ในการคน้ ควา้ หาความรใู้ หม่ ๆ อนั เกดิ จากความก้าวหน้าทางโบราณคดีในสมยั น้ัน โบราณคดีท่อี นิ เดีย: เมือ่ พระพุทธองคท์ รงเปน็ “บคุ คล” ในประวัติศาสตร์ จดุ เรมิ่ ตน้ ของงานโบราณคดใี นอนิ เดยี เกดิ ขนึ้ ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๔ จากกระแสของผนู้ ยิ มของเกา่ (Antiquarianism) ซง่ึ มกั จะเสาะแสวงหาทตี่ งั้ ของเมืองต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น เอกสารกรีก และจนี หลายคนไดศ้ กึ ษาหาความรจู้ ากสงิ่ ทพ่ี บ ความรทู้ ไ่ี ดเ้ หลา่ นก้ี ลายเปน็ ตน้ ธารของความรเู้ กยี่ วกบั ประวตั ศิ าสตรอ์ นั ยาวนานของอนิ เดยี โดยเฉพาะ ความรเู้ กยี่ วกบั พทุ ธศาสนาทสี่ ญู หายไปกวา่ ๗๐๐ ปี เชน่ เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๘๐ เจมส์ ปรินเซป (James Princep) นักวิชาการชาวอังกฤษ สามารถถอด อักษรพราหมีบนจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชได้อย่างสมบูรณ์ ท�ำให้ สามารถอ่านข้อความบนจารึกเสาอโศกได้ ส่งผลให้ประวัติศาสตร์ยุคต้น ของอนิ เดยี ทเี่ รอื่ งราวของพุทธศาสนาเคยโลดแล่นอยนู่ นั้ “ถกู ปลุก” ขน้ึ มา อีกคร้ัง เพราะเม่ืออ่านอักษรพราหมีได้ เรื่องราวในจารึกทั้งหลายท่ีกระจาย อยทู่ วั่ อนิ เดยี เหนือกย็ ่อมเปน็ ทเี่ ปดิ เผย 56
ผทู้ ขี่ ยายความรเู้ กย่ี วกบั พทุ ธศาสนาในทางโบราณคดอี ยา่ งกวา้ งขวาง คอื เซอร์ อเลก็ ซานเดอร์ คนั นงิ แฮม (Sir Alexander Cunningham) ผซู้ ง่ึ ออกส�ำรวจและด�ำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีตามแหล่งโบราณคดี หลายแห่ง เช่น การขุดค้นท่สี ารนาถในปี พ.ศ. ๒๓๘๐ และยังดำ� เนินการ ทางโบราณคดีในอีกหลายพ้ืนที่ เชน่ เมืองสงั กัสสะ ตักกสิลา และพระสถูป สาญจี โดยเฉพาะกรณีธัมเมกขสถูป ท่ีต�ำบลสารนาถนั้น พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปสักการะถึงท่ี สังเวชนียสถาน สถานท่ีแสดงปฐมเทศนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ น�ำไปสู่ การจ�ำลองธัมเมกขสถูปในกรุงเทพมหานคร ท่ีวัดโสมนัสวิหาร และ วัดกันมาตุยาราม และยังท�ำให้เกิดความนิยมในการเดินทางไปศึกษา โบราณคดีเน่ืองด้วยพุทธศาสนาในอินเดียมากขึ้นนับแต่น้ัน๒ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม ได้ตีพิมพ์หนังสือหลายเล่ม เช่น The Bhilsa Topes, The Ancient Geography of India และ The Stûpa of Bharhut ซ่ึงนับเปน็ ก้าวแรกของความรู้ทางโบราณคดีอันเน่อื งกับพุทธศาสนา หลังจากสมัยของเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮมแล้ว ยังมีการ ด�ำเนินงานทางโบราณคดีอันเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาอีกหลายคร้ัง เช่น การด�ำเนินงานทางโบราณคดีที่สถูปปิปราหวะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ โดยนายวิลเลียม แคลกซ์ตัน เปปเป้ (W.C.Peppe) ซ่ึงได้ค้นพบผอบมี จารกึ อกั ษรพราหมี ระบวุ า่ ภายในเปน็ สว่ นพระสรรี ะของพระพทุ ธเจา้ ภายใน มพี ระบรมสารรี กิ ธาตุ ซงึ่ ตอ่ มารฐั บาลองั กฤษในอนิ เดยี ไดน้ ำ� เขา้ มาทลู เกลา้ ฯ ถวายพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ปจั จบุ นั พระบรมสารรี กิ ธาตุ ส่วนน้ีบรรจุอยู่ ณ บรมบรรพต วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร ถือเป็น พระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบจากงานโบราณคดี และมีความเป็นมาชัดเจน ทสี่ ุด ๒ สมเด็จฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ, นทิ านโบราณคดี, พิมพค์ รัง้ ที่ ๖ (นนทบุร:ี ดอกหญา้ ๒๐๐๐, ๒๕๖๐), หน้า ๘๑. 57
ธัมเมกขสถปู จ�ำลอง วดั กนั มาตยุ าราม กรงุ เทพมหานคร พระเจดีย์บนยอดพระบรมบรรพต วัดสระเกศ สถานท่ีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 58
“พทุ ธประวัติ” กบั ความรูส้ มัยใหม่ในทางโบราณคดี ภาพของพระพุทธเจ้าในสายตาคนไทยก่อนรัชกาลที่ ๔ แตกต่าง จากภาพของพระพุทธเจ้า ณ ปัจจุบันอยู่มาก กระท่ังในรัชสมัยพระบาท สมเดจ็ พระนงั่ เกล้าเจา้ อยู่หัว รชั กาลท่ี ๓ พระวชิรญาณมหาเถระ (พระบาท สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ) ไดท้ รงตงั้ คณะธรรมยตุ ขน้ึ อนั เปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ สำ� คญั ของการปฏริ ปู พระพทุ ธศาสนาใหม้ คี วามเปน็ มนษุ ยนยิ ม-เหตผุ ลนยิ ม มากข้ึน ส่ิงเหล่าน้ีเกิดข้ึนพร้อมกับการเข้ามาของความรู้ทางภูมิศาสตร์ สมยั ใหม่ ซงึ่ มใิ ชภ่ มู ศิ าสตรแ์ บบไตรภมู อิ กี ตอ่ ไป ภาพของพระพทุ ธเจา้ จงึ เรมิ่ มีตัวตนชัดเจนขึ้น และเริ่มเกิดความรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็น “แขก” (อินเดีย) เปน็ บุคคลทีม่ ีตวั ตนจรงิ ในประวตั ศิ าสตร์ พระนิพนธ์พุทธประวัติ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชริ ญาณวโรรส เป็นหนังสอื ส�ำหรบั ใชใ้ นหลักสูตรนักธรรม มี ๓ เลม่ ไดแ้ ก่ เล่ม ๑ ปุริมกาล และปฐมโพธิกาล เล่ม ๒ มัชฌิมโพธิกาล และเล่ม ๓ ปัจฉิมโพธิกาล สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรง พระนิพนธ์เล่ม ๑ (ตีพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๕๕) และเล่ม ๒ (ทรงพระนิพนธ์ไว้ เพยี ง ๓ ปรเิ ฉท ตพี มิ พค์ รง้ั แรก พ.ศ. ๒๔๙๓) สว่ นเลม่ ๓ นน้ั ทรงดัดแปลง จากเทศนาปฐมสมโพธิตอนนิพพานของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) เพ่ือใช้ไปพลางก่อนทรง พระนิพนธ์เสร็จ ในบทความนี้จึงขอกล่าวถึงความในพุทธประวัติเล่ม ๑ ซ่ึงเป็น พระนพิ นธท์ แี่ สดงขอ้ วเิ คราะหว์ จิ ารณเ์ รอื่ งในพทุ ธประวตั ิ รว่ มกบั การคน้ ควา้ ความจากเอกสารต่าง ๆ อย่างหลากหลายและทันยุคทันสมัยในเวลานั้น อันเป็นเอกลักษณ์ของพุทธประวัติเล่ม ๑ ตัวอย่างประเด็นในพระนิพนธ์ โดยสังเขปที่สะท้อนความเป็นนักวิชาการอันเกี่ยวข้องกับความรู้ทาง โบราณคดีสมยั ใหม่ของพระองค์ 59
อริยกะ-อารยัน และชมพทู วีป สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเร่ิมเร่ือง พทุ ธประวตั ดิ ว้ ยขอ้ ความวา่ “ตง้ั แตค่ รงั้ ดกึ ดำ� บรรพม์ า ชมพทู วปี คอื แผน่ ดิน ท่ีเรียกในทุกวันนี้ว่าอินเดีย อันต้ังอยู่ในทิศพายัพของประเทศสยามของ เรานี้”๓ ข้อความน้ีถือเป็นการแสดงความคิดท่ีว่า “ชมพูทวีป” อันเป็นแดน พุทธภูมิ หมายถึงภูมิภาคเอเชียใต้ หาใช่ “ชมพูทวีป” ในภูมิศาสตร์แบบ ไตรภมู ๔ิ จากนนั้ ยงั ทรงกลา่ วถงึ ชนชาตสิ องชนชาตใิ นชมพทู วปี ไดแ้ ก่ “อรยิ กะ” ซง่ึ มคี วามเจรญิ มากกวา่ ขา้ มภเู ขาหมิ าลยั มา “รกุ ไลช่ นชาติ ‘มลิ กั ขะ’ เจา้ ถนิ่ เดิมให้ถอยเล่ือนลงมาข้างใต้”๕ ความตามนี้จึงนับว่าเป็น “ความรู้ใหม่” ที่ พระองค์ทรงพระประสงค์ให้คนไทยได้รับรู้ ความรู้ดังกล่าวเริ่มก่อตัวขึ้นราวพุทธทศวรรษที่ ๒๓๙๐ เมื่อมัคส์ มลึ เลอร์ (Max Muller) นักภารตวิทยารุ่นแรกชาวเยอรมันไดเ้ สนอแนวคดิ วา่ ชาว “อารยัน” สายหนึ่งได้อพยพส่อู ินเดีย (อกี สายหนึ่งเขา้ สู่ยโุ รป) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ เซอร์ เฮอรเ์ บริ ต์ โฮป รสิ ลยี ์ (Sir Herbert Hope Risley) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษได้เสนอแนวคิดอันเป็นผลจากการส�ำรวจทาง ชาติพันธุ์วรรณาในเบงกอลว่าชาวอารยันได้เข้ารุกรานอินเดียซ่ึงเดิมมี ชาวดราวิเดียน ซึ่งควรหมายถึง “มิลักขะ” ในพระนิพนธ์อาศัยอยู่ ชาวอารยนั ไดส้ รา้ งระบบวรรณะทงั้ ๔ ขน้ึ เพอื่ ควบคมุ สงั คมหลงั การเขา้ มายัง อินเดีย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส น่าจะทรง ทราบถึงแนวคดิ ดงั กลา่ วด้วย จงึ ประมวลแนวคิดดังกลา่ วซ่ึงนบั วา่ ทันสมยั ในเวลานัน้ ลงในพระนิพนธ์ ๓ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, พทุ ธประวตั ิ เลม่ ๑, พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๕๖ (กรุงเทพฯ: มหามกฎุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๗), หนา้ ๑. ๔ ตง้ั แต่สมยั สโุ ขทยั ไมป่ รากฏหลักฐานวา่ มคี นไทยคนใดเคยเดนิ ทางหรอื ติดต่อกับดินแดน สงั เวชนียสถานในอนิ เดยี เหนอื พบแตก่ ารตดิ ตอ่ สบื พระศาสนายงั ลงั กา กระทง่ั ในสมัย รัชกาลที่ ๔ จึงเริ่มปรากฏความรับร้เู รือ่ งแดนพุทธภมู ิในอินเดยี เหนือ เชน่ การปลูกต้น พระศรีมหาโพธ์ิด้วยเมล็ดจากพุทธคยา. ๕ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, พทุ ธประวตั ิ เลม่ ๑, พมิ พค์ รงั้ ที่ ๕๖ (กรงุ เทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลยั , ๒๕๕๗), หนา้ ๑. 60
Friedrich Max Müller พระพทุ ธรูปประทานอภัย ศิลปะอนิ เดีย แบบคันธาระ นักภารตวทิ ยา ชาวเยอรมัน พุทธศตวรรษท่ี 6-9 ห้างบอมเบเบอรม์ า่ น้อมเกลา้ ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หวั (ทม่ี า: กลุ่มเผยแพรแ่ ละประชาสมั พนั ธ์ กรมศลิ ปากร) ในช่วงปลายพระชนม์ชีพของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ การศึกษา ทางโบราณคดีในอินเดียยังคงด�ำเนินต่อไป และได้พบหลักฐานใหม่จาก การขุดค้นทางโบราณคดีท่ีเมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-Daro) และ ฮารัปปา (Harappa) ในลุ่มแม่น้�ำสินธุตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นมา ทำ� ใหพ้ บขอ้ สนั นษิ ฐานใหมว่ า่ ชาวดราวเิ ดยี นในลมุ่ แมน่ ำ�้ สนิ ธมุ อี ารยธรรม อนั เจรญิ รงุ่ เรอื งมาอยกู่ อ่ นทช่ี าวอารยนั ซงึ่ มาจากภายนอกจะเขา้ มารกุ รานแลว้ อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีในปัจจุบันมองว่าชาวอารยันอาจมิได้รุกราน (invasion) ชาวดราวเิ ดยี น แตอ่ าจอยใู่ นรปู แบบการอพยพเขา้ มา (migration) มากกว่า 61
บทความนี้จะมุ่งฉายภาพถึงความรูท้ างโบราณคดี อันเน่ืองกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาบางเรื่องที่ ปรากฏอยู่ในพระนิพนธพ์ ุทธประวัติ อันแสดงถึงความเปน็ นักวิชาการของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส ในการค้นคว้าหาความรูใ้ หม่ ๆ อันเกิด จากความก้าวหน้าทางโบราณคดีในสมัยนั้น ในการพรรณนาเร่ืองบ้านเมืองต่าง ๆ ในชมพูทวีป ทรงกล่าวถึง บ้านเมืองต่าง ๆ แยกออกไปในภาคผนวกด้วย โดยทรงให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แคว้นต่าง ๆ ในมหาชนบททั้ง ๑๖ แคว้น ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ต่าง ๆ ไมป่ รากฏวา่ ทรงระบทุ ต่ี งั้ อนั แนน่ อนของเมอื งเหลา่ น้ี อยา่ งไรกต็ าม ในการ ตพี มิ พฉ์ บบั ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ กองตำ� ราของมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ผจู้ ดั พมิ พ์ ไดท้ ำ� เชงิ อรรถอธบิ ายถงึ ตำ� แหนง่ ของเมอื งตา่ ง ๆ ในภมู ศิ าสตรจ์ รงิ อาจดว้ ย ในเวลานน้ั มไี ดม้ กี ารสำ� รวจและขดุ คน้ ทางโบราณคดตี ามเมอื งตา่ ง ๆ ท่ี ปรากฏในพุทธประวตั ิ และเอกสารทางประวตั ศิ าสตรต์ า่ ง ๆ อย่างกวา้ ง ขวางแล้ว เร่ืองพระพทุ ธรปู พระวินิจฉัยเร่ืองพระพุทธรูปแสดงพระลักษณะแห่งความเป็น นกั วชิ าการของพระองคโ์ ดยแท้ เพราะเมอ่ื ทรงอภปิ รายเรอื่ งการออกบรรพชา ของพระพทุ ธองค์ และทรงกลา่ วถงึ เรอ่ื งการตดั พระเกศา ทรงตง้ั คำ� ถามขน้ึ วา่ “เหตุไฉนพระพุทธรูปโบราณจึงมีพระเกตุมาลา ดูเป็นท่ีเกล้าพระเมาลี?”๖ ซง่ึ เกตมุ าลาครงั้ นน้ั หมายถงึ กะโหลกสว่ นทนี่ นู ออกมากลางพระเศยี ร หรอื ต่อมกลางพระเศียร๗ ในประเด็นดังกล่าวน้ี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเช่ือมโยงเรื่องพระเกตุมาลากับเรื่องการ เกล้าพระเมาลี โดยทรงต้ังข้อสังเกตจาก “พระพุทธรูปศิลาในแคว้นเนปอล ๖ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, พทุ ธประวตั ิ เลม่ ๑, พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๕๖ (กรงุ เทพฯ: มหามกฏุ ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗), หน้า ๓๒. ๗ ปจั จบุ นั นเ้ี รยี กวา่ พระอษุ ณษี ะ สว่ นคำ� วา่ เกตมุ าลาใชเ้ รยี กพระรศั มเี ปลวเพลงิ เหนอื พระ 62
อนิ เดยี ตอนเหนอื ดเู ปน็ ตดั พระเมาลเี หลอื ไวย้ าว ๆ กวา่ ๒ นว้ิ ” พระพทุ ธรปู อยา่ งดงั กลา่ วนน้ั คงจะทรงหมายถงึ พระพทุ ธรปู ศลิ ปะคนั ธาระ (Gandhara) ซึ่งเปน็ พระพุทธรปู รุ่นแรก ๆ ของโลก ก�ำเนดิ ในแถบคนั ธาระ ทางตะวันตก เฉียงเหนือของอินเดีย มีลักษณะเด่นคือพระวรกายท่ีสมจริง มีพระเกศา หยิกสลวยขมวดเป็นมุ่นมวยผม คล้ายประติมากรรมอย่างกรีกผสานกับ ลักษณะของมหาบุรุษตามคัมภีร์ ก่อนท่ีในภายหลังความนิยมสร้าง พระพทุ ธรปู จะแพรห่ ลายสตู่ อนในของอนิ เดยี ความรบั รขู้ องคนไทยเกย่ี วกับ พระพุทธรูปลักษณะน้ีน่าจะเป็นท่ีแพร่หลายพอควร จนน�ำไปสู่การสร้าง พระพุทธรูปพระคันธารราฐ ปางขอฝนในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทม่ี ลี กั ษณะสมจรงิ รวมถงึ พระผอม หรอื พระพทุ ธ รปู ปางบ�ำเพ็ญทุกขรกิริยา ศิลปะคันธาระ มีลักษณะพระวรกายซูบผอม เห็นโครงพระอัฐิ๘ ผดิ จากพระพุทธรูปท่ัวไป จากพระพุทธรูปดังกล่าวทรงอภิปรายต่อว่า “ถ้าพระพุทธรูปเหล่านี้ ทำ� ตามเรอ่ื งในอรรถกถาวา่ ดว้ ยตดั พระเมาลดี ว้ ยพระขรรคก์ แ็ ลว้ ไป” เพราะ ในอรรถกถากลา่ วถึงการตดั พระเกศาว่า ทรงเหลอื พระเกศาเพยี ง ๒ นิ้ว๙ ซ่ึงน่าจะทรงตัดท่ีเกล้าพระเมาลี หรือจุก ตามธรรมเนียมการไว้ผมแต่ โบราณ๑๐ แต่หากไม่ได้มาจากคติเช่นน้ัน ทรงสันนิษฐานตามธรรมเนียม บรรพชติ วา่ เดมิ อาจทรงเกลา้ พระเกศาตามอยา่ งคณะทพี่ ระพทุ ธองคป์ ระทับ อยู่ก่อนจะตรัสรู้ อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงวินิจฉัยว่า พระพุทธองค์ทรงตัดพระเกศา ไม่ไวพ้ ระเกศาเกิน ๒ น้ิวตลอดพระชนม์ชีพ เปน็ แนแ่ ท้ โดยทรงอา้ งองิ ความในพระไตรปฎิ ก เชน่ พระวนิ ยั มหาวภิ งั ค์ และสามัญญสูตร ท่ียืนยันว่าพระเกศาของพระพุทธองค์ไม่ต่างกับ ๘ สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ, นทิ านโบราณคด,ี พมิ พค์ รงั้ ที่ ๖ (นนทบรุ :ี ดอกหญา้ ๒๐๐๐, ๒๕๖๐), หน้า ๑๐๑-๑๐๓. ๙ อรรถกถา ขุททกนกิ าย สตุ ตนบิ าต มหาวรรค ปัพพชาสตู ร. ๑๐ การไว้มวยผม ในคมั ภรี ฝ์ ่ายฮนิ ดเู รยี กว่า “ศิขา” (Shikha) เปน็ ขอ้ ปฏบิ ตั สิ �ำคัญของวรรณะ พราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงสนั นษิ ฐานว่านา่ จะเป็นท่ีมาของ การไว้จุกในเดก็ และผมทรงมหาดไทย. 63
พระสาวกเลย สว่ นพระพุทธรูปท่เี กลา้ พระเกศาน้ี น่าจะเปน็ ทมี่ าของพระเกตุมาลา หรือปัจจุบันคือพระอุษณีษะของพระพุทธรูปนั่นเอง ในปัจจุบันมีความเห็น จากนักวิชาการหลายท่านท่ีว่าช่างชาวคันธาระได้สร้างพระพุทธรูปที่เกล้า มวยพระเกศาเพอ่ื แสดงความยง่ิ ใหญอ่ ยา่ งจกั รพรรดิ และแสดงใหเ้ หน็ วา่ เปน็ ประติมากรรมรูปพระพุทธองค์ ต่างจากรูปพระสาวก หากแต่ในภายหลัง ลักษณะพระเกศาที่หยิกสลวยถูกลดทอนให้เรียบลง และแทนที่ด้วยเม็ด ขมวดพระเกศา เป็นต้นแบบให้แก่พระพุทธรูปในพ้ืนท่ีต่าง ๆ ที่นับถือ พระพทุ ธศาสนาสืบมา สรุป จากตัวอย่างข้างต้นน้ี ท�ำให้เห็นได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงมีความเป็นนักวิชาการ ทรงใฝ่พระทัยใน การแสวงหาข้อมูลทั้งความรู้จากคัมภีร์ต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนา และ ความรู้ใหม่ ๆ อันเกิดจากความก้าวหน้าของวิชาโบราณคดีในอินเดีย ซึ่ง ก�ำลังเผยข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนา แม้จะยังมีข้อมูลอยู่ จ�ำกัด และอาจไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาในปัจจุบันก็ตาม พระนิพนธ์ พุทธประวัติของพระองคจ์ งึ เปน็ หลกั ฐานส�ำคัญที่แสดงถึงการน�ำความรทู้ ั้ง เก่าและใหม่มาผสานอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพ่ือร้อยเรียงพุทธประวัติของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาบุรุษผู้ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่จริง 64
บรรณานุกรม เชษฐ์ ตงิ สญั ชล.ี (๒๕๕๖). สงั เวชนยี สถาน และสถานทส่ี ำ� คญั ทางพทุ ธประวตั ใิ นอนิ เดยี -เนปาล. กรงุ เทพฯ: มวิ เซยี มเพรส. ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา (๒๕๖๐). นิทานโบราณคดี. (พิมพ์คร้ังท่ี ๖). นนทบุรี: ดอกหญ้า ๒๐๐๐. ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา และ นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. (๒๕๑๕). สาสน์ สมเดจ็ เลม่ ๒๗. (พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๒). กรงุ เทพฯ: องคก์ ารคา้ ของครุ สุ ภา. ดำ� รงราชานุภาพ, สมเดจ็ ฯ กรมพระยา. (๒๕๔๖). ความทรงจำ� . กรงุ เทพฯ: พิฆเนศ. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๕๗). พุทธประวัติ เล่ม ๑. (พมิ พ์ครัง้ ท่ี ๕๖). กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . Imam, A. (1963). Sir Alexander Cunningham (1814-1893): The First Phase of Indian Archaeology. Journal of the Royal Asiatic Society, 95(3-4). Risley, Herbert Hope (1891). The Study of Ethnology in India.The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. 65
“...ในเวลาสอนหนงั สอื เลม่ นี้ เมอื่ ถงึ แบบใด อาจารย์ต้องแนะให้ศิษย์เข้าใจความแบบนั้น ให้ดีก่อน จึงให้แปลประโยคเหล่านั้น อาจารย์ ไมค่ วรบอกใหศ้ ษิ ยว์ า่ ตามไป เชน่ บอกหนังสอื กันโดยธรรมดา ควรจะให้ศิษย์แปลประโยค เหลา่ นนั้ เขยี นลงในกระดานชะนวนหรอื ในสมดุ หรือในกระดาษแล้วคอยตรวจดู ... สอน อย่างน้ี ศิษย์จะต้องอาศัยก�ำลังความคิด และความจ�ำของตนเองมาก จะได้ความรูด้ ี อาจารย์จะสอนศิษย์ได้มากคนด้วย...” จากพระนพิ นธ์ อภุ ัยพากยป์ รวิ ัตน์
ต�ำราไวยากรณบ์ าลี ฉบับสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส: ลักษณะเดน่ และอิทธิพลตอ่ การ ศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทย บณุ ฑรกิ า บุญโญ๑ การศึกษาภาษาบาลีมีความเก่ียวข้องกับการศึกษาพระธรรมคำ� สอน ของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซ้ึง เนื่องจากภาษาบาลีเป็นภาษาท่ีใช้บันทึก พระพุทธพจน์ ฉะน้ันการจะศึกษาคัมภีร์ในพุทธศาสนาเถรวาทต้ังแต่ชั้น พระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ช้ันรองลงมาให้แตกฉาน จึงต้องมี การศึกษาภาษาบาลีควบคู่กัน ดังค�ำกล่าวของพระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ (๒๕๖๐, หนา้ ๑๖๗) ว่า ...การศกึ ษาภาษาบาลี สงิ่ สำ� คญั คกู่ บั พระพทุ ธศาสนาเถรวาท คำ� สอน จากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ช้ันรองลงมา คืออรรถกถา หากไม่ศึกษาหลัก ภาษาบาลเี ปน็ อยา่ งดใี นเบอ้ื งตน้ กอ่ นแลว้ อาจตคี วามพระวนิ ยั คลาดเคลอื่ น และนำ� ไปเผยแผ่ให้ผู้อน่ื อย่างผิดพลาดนำ� ไปสกู่ ารปฏบิ ัตทิ ผี่ ดิ ธรรมวินยั ... พระภิกษุสามเณรผู้มุ่งจะศึกษาหาความรู้จากพระไตรปิฎกจึงจ�ำเป็น ต้องเรยี นร้ภู าษาบาลเี พอื่ ให้สามารถอา่ นแปลเองได้ ปัจจุบันการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทยอยู่ภาย ใต้การก�ำกับดูแลของแม่กองบาลีสนามหลวง โดยมีแบบแผนการศึกษาท่ี ยงั คงรกั ษารปู แบบดงั้ เดมิ มาตงั้ แตค่ รง้ั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา วชิรญาณวโรรสทรงปรับปรุงการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของคณะ สงฆไ์ ทยในสมยั รชั กาลที่ ๕ ตอ่ มาจนถงึ สมยั รชั กาลที่ ๖ ซง่ึ มกี ารแบง่ หลกั สตู รการศกึ ษาออกเปน็ ๓ ระดบั ๙ ประโยค ไดแ้ ก่ เปรยี ญตรี (ประโยค ๑-๒, ๓) เปรียญโท (ประโยค ๔, ๕, ๖) และเปรียญเอก (ประโยค ๗, ๘, ๙) โดยใชแ้ บบเรยี นบาลไี วยากรณฉ์ บบั พระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ เป็นแบบเรยี นส�ำหรบั วิชาไวยากรณ์ ๑ อาจารยป์ ระจำ� สาขาวชิ าภาษาเอเชยี ใต้ ภาควชิ าภาษาตะวนั ออก คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . 67
หนังสือ บาลีไวยากรณ์ พระนพิ นธ์ หนงั สือ อภุ ัยพากยปริวัตน์ พระนพิ นธ์ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่เดิมก่อนท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จะทรงพระนิพนธ์ต�ำรา บาลีไวยากรณ์น้ัน การเรียนการสอนภาษาบาลีในสมัยก่อนจะใช้คัมภีร์ มูลกจั จายน์เป็นหลัก ดังท่ีทรพั ย์ ประกอบสขุ (๒๕๒๐, หน้า ๑) ระบุถงึ ตำ� ราไวยากรณท์ ใี่ ชใ้ นการเรยี นภาษาบาลใี นสมยั กอ่ นวา่ “...ตำ� ราไวยากรณ์ ทีใ่ ช้ศกึ ษาภาษาบาลี ไดแ้ ก่ คมั ภรี ก์ ัจจายนะและต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้คมั ภรี ์ มูลกัจจายน์เป็นแบบเรียนแทน...” รังษี สุทนต์ ก็ได้ระบุว่ามูลกัจจายน์ เป็นแบบเรียนที่ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมต้องศึกษาก่อนจะเริ่มแปล อรรถกถาธรรมบท อันเป็นหลักสูตรส�ำหรับผู้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม เช่นกัน ดงั ความวา่ 68
...ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดอาราธนา สมเดจ็ กรมพระปรมานชุ ิตชโิ นรส แต่ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นให้ทรงรับภาระในการสอบไล่ โดยจดั แบง่ ออกเป็น ๓ สตู ร คอื ๑. ธรรมบท ๒. มงคลทปี นี ๓. สารตั ถสังคหะ อนึ่ง ก่อนจะข้ึนแปลธรรมบท จะตอ้ งเรียน สนธแิ ละนามมากอ่ น เรียกกันวา่ เรียนมลู กจั จายน.์ .. (รังษี สุทนต,์ ๒๕๕๖, หน้า ๑๔๑) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเองก็ทรงผ่าน การศึกษาในแนวทางน้ีมาเช่นกัน โดยทรงระบุไว้ในพระประวัติตรัสเล่าว่า ทรงเรม่ิ เรยี นภาษาบาลกี บั พระยาปรยิ ตั ธิ รรมธาดา (เปย่ี ม) ตง้ั แตม่ พี ระ ชนมายุ ๗ หรอื ๘ พรรษา โดยเรมิ่ จากอา่ นอกั ษรขอมจนถงึ เรยี นไวยากรณท์ ่ี เรยี กวา่ ปทมาลา (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร ญาณวโรรส, ๒๕๑๔, หนา้ ๖-๗) ตอ่ มาไดท้ รงเรยี นมลู กจั จายนก์ บั พระ ปรยิ ตั ธิ รรมธาดา (ชัง) ด้วยทรงเห็นว่าหากต้องการรู้ธรรมเป็นหลักและ กว้างขวาง ควรรู้ภาษาบาลี และปทมาลาทท่ี รงศกึ ษามาจากพระปรยิ ตั ิ ธรรมธาดา (เปย่ี ม) น้นั แคบไป ดงั ความในพระประวัติตรัสเล่าวา่ ...เราลงสนั นษิ ฐานวา่ จะรธู้ รรมเปน็ หลกั และกวา้ งขวาง ต้องรู้ภาษามคธ จะได้อ่านพระไตรปิฎกได้เอง ไม่เช่นน้ัน จะอ่านได้เรื่องแปล เร่ืองแต่งท่ีมักเป็นไปตามใจของผู้แปล ผู้แต่ง... พระปริยัติธรรมธาดา (ชัง) อยู่บ้านหน้าวัดรังษี สุทธาวาส ไม่ไกล ทั้งได้เคยเป็นครูสอนมาบ้างแล้ว จึงขอให้ แกมาสอน ไดย้ นิ เขาพดู กนั วา่ จะรภู้ าษามคธกวา้ งขวาง ตอ้ ง เรียนมูลคือกัจจายนปกรณ์ บทมาลาแคบไป ไม่พอจะให้รู้ กวา้ งขวาง เรยี นทงั้ ทปี รารถนาจะรดู้ ที สี่ ดุ ตามจะเปน็ ได้ ทงั้ บท มาลาก็ได้เคยเรียนมาแลว้ ร้ทู างอยูจ่ ึงตกลงเรยี นเปน็ มลู ... (พระประวตั สิ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๑๔, หนา้ ๓๖-๓๗) 69
ต�ำราไวยากรณ์บาลีของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ น้ันเรยี บเรยี งมาเพื่อให้เขา้ ใจง่ายข้นึ โดยมีการอธบิ ายและ สรุปความด้วยรอ้ ยแก้วภาษาไทยทอ่ี ่านเขา้ ใจงา่ ย และแบง่ เนอ้ื หาออกเปน็ หวั ขอ้ ใหญ่ ๆ ไดแ้ กส่ มญั ญาภธิ าน สนธิ นาม อัพยยศัพท์ สมาส ตัทธิต อาขยาต และกิตก์ ซ่ึงผู้เรยี นจะ ได้เหน็ ภาพรวมของเนื้อหาในเรอื่ งต่าง ๆ ได้อยา่ งชดั เจน มี เอกภาพ และไมก่ ระจัดกระจาย มูลกัจจายน์เป็นต�ำราไวยากรณ์ประเภทสูตร คือเป็นข้อความส้ัน ๆ ในรูปแบบของสูตร ผู้เรียนจ�ำเป็นต้องท่องสูตรให้ได้ก่อน แล้วจึงเรียนรู้ ความหมายและคำ� อธบิ าย ซง่ึ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงระบวุ า่ การเรยี น ในรูปแบบเช่นน้ีมีอุปสรรคคือครูท่ีไม่ช�ำนาญนักจะไม่สามารถอธิบายให้ เขา้ ใจได้ ผเู้ รยี นจงึ ตอ้ งทำ� ความเขา้ ใจเอาเอง ทำ� ใหเ้ รยี นไดไ้ มล่ ะเอยี ด และ อปุ สรรคอกี ประการหนง่ึ คอื เวลา ซงึ่ คนทวั่ ไปใชเ้ วลาเรยี นถงึ สองปี (พระประวตั ิ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๑๔, หน้า ๓๗) สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเหน็ ปัญหาของการเรียนมูลกจั จายน์ ตามแบบแผนว่า การเรียนในลักษณะสูตรนั้นยังจัดระเบียบไม่ดี ยากแก่ การทรงจ�ำ เน่อื งจากต้องใช้เวลามาก ผเู้ รยี นจงึ มักเลกิ เรยี นกลางคัน และ ถึงแม้วา่ จะเรียนจบมูลกัจจายน์แล้วก็ยังยากแกก่ ารน�ำไปใชแ้ ปลอรรถกถา ธรรมบท ดงั ท่ที รงระบุในพระประวตั ติ รสั เล่าวา่ ...เราอาจสังเกตเห็นว่าระเบียบที่จัดในมูลยังไม่ดีมี กา้ วกา่ ยความยดื ยาวฟน่ั เฝอื เหลอื ความสามารถของผแู้ รก เรียนจะทรงไว้อยู่ ครั้นข้ึนคัมภีร์คือจับเรียนเรื่องนิทานใน อรรถกถาธรรมบท เปน็ เรอื่ งดาดของเราในเวลานแ้ี ลว้ แตเ่ รา เลือกเอาหนังสือท่ีครูถนัดว่าเป็นดีจึงตกลงเรียนอรรถกถา ธรรมบท ทง้ั เรยี นมลู มาแลว้ และแปลพฤตขิ องมลู ไดเ้ องแลว้ เริ่มเรียนอรรถกถาธรรมบทยังงง กว่าจะเอาความรู้ในมูลมา ใชเ้ ป็นเครอื่ งก�ำหนดได้ ก็เปลืองเวลาอย.ู่ .. (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๑๔, หนา้ ๓๗) 70
จะเหน็ วา่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงเลง็ เหน็ ปญั หาของการศึกษา ไวยากรณบ์ าลีตามแบบแผนท่ีใชต้ �ำราในรูปแบบของสูตร จึงทรงพระนิพนธ์ แบบเรียนบาลีไวยากรณ์ขึ้น เพื่อใช้ประกอบการเรียนต้ังแต่สมัยแรกตั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นท่ีนิยมใช้แพร่หลาย ภายหลังเมื่อทรงจัด การศึกษาพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณรและเปล่ียนวิธีการสอนและ การสอบจากการแปลด้วยปากเป็นการเขียน ก็ได้ใช้แบบเรียนน้ีประกอบใน หลักสูตรเปรียญธรรมตรี (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส, ๒๕๑๔, หนา้ ๓๑๓) อนั ประกอบด้วยประโยค ๑-๒ และ ประโยค ๓ โดยแบบเรยี นชดุ น้ีมที งั้ สน้ิ ๖ เล่ม ประกอบดว้ ย ๑. อักขรวธิ ี ภาคท่ี ๑ สมัญญาภธิ านและสนธิ ๒. วจวี ิภาค ภาคท่ี ๒ นามและอพั ยยศพั ท์ ๓. วจีวิภาค ภาคที่ ๒ สมาสและตัทธิต ๔. วจวี ภิ าค ภาคท่ี ๒ อาขยาตและกติ ก์ ๕. อภุ ยั พากยปริวตั น์ ภาค ๑-๒ ๖. วากยสมั พนั ธ์ ภาคท่ี ๓ แบบเรยี นชดุ นย้ี งั คงใชม้ าจนถงึ ปจั จบุ นั เมอ่ื เทยี บกบั ตำ� ราไวยากรณ์ บาลีในรูปแบบสูตรจะเห็นว่า ต�ำราไวยากรณ์บาลีของสมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ นนั้ เรยี บเรยี งมาเพอ่ื ใหเ้ ขา้ ใจง่ายขึน้ โดยมกี ารอธบิ ายและสรุป ความด้วยร้อยแก้วภาษาไทยที่อ่านเข้าใจง่าย และแบ่งเน้ือหาออกเป็น หัวข้อใหญ่ ๆ ได้แก่สมัญญาภิธาน สนธิ นาม อัพยยศัพท์ สมาส ตัทธิต อาขยาต และกิตก์ ซึ่งผู้เรียนจะได้เห็นภาพรวมของเนื้อหาในเร่ืองต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน มีเอกภาพ และไม่กระจัดกระจาย ดังเช่นในเรื่องอาขยาต สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงอธบิ ายกรยิ าอาขยาตทง้ั หมดอยา่ งเปน็ ระบบ เริ่มตง้ั แต่วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรษุ ธาตุ วาจก ปจั จัย จากนัน้ จงึ ทรง แสดงแบบแจกวิภัตติกริยาในวาจกต่าง ๆ และมีค�ำอธิบาย ในขณะท่ี ไวยากรณ์จากมูลกัจจายน์น้ันจะต้องอาศัยหลายสูตรประกอบกันในการ ประกอบกรยิ า ๑ ค�ำ เชน่ หากจะแจก กโรติ สำ� หรับไวยากรณ์ทั้งสองฉบบั จะเปน็ ดังนี้ 71
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272