วชิรญาณวโรรส – มหามกฎุ กษตั รราชวรางกรู ดนยั พลอยพลาย๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเลื่อน ต�ำแหน่งยศพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าพระมนุษยนาคมานพข้ึนเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้า น้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณานุนายก สาสนดิลกธรรมานุวาท บรสิ ษั ยนาถบพติ ร” ด้วยทรงพระราชดำ� รวิ า่ “ถึงยังมพี ระชนมายุน้อยอยู่ก็ดี แต่ประกอบดว้ ยศีลาทิคุณวบิ ุลยปรีชารอบรใู้ นพระปรยิ ัตธิ รรม สมควรด�ำรง ฐานนั ดรศกั ด์ิ โดยต�ำแหนง่ ในราชตระกลู และพระพุทธศาสนาได้ ตามทไี่ ด้ ทรงปฏิญาณไว้แต่กาลก่อนน้ัน ควรเป็นท่ีเคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน ท่ัวหน้า” (พระประวตั สิ มเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส (ฉบบั รวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หนา้ ๑๑๐) พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ พระองค์ น้ันทรงปฏิบัติพระกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นประโยชน์อเนกประการและ ทรงเจรญิ ในพระสมณศกั ดติ์ ลอดมา คร้ันถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชด�ำริให้ตั้งการมหาสมณุตมาภิเษกและเลื่อนพระอิสริยยศต่าง กรมเพ่ือ “ให้สมแก่ความยินดีเล่ือมใส จะได้เป็นท่ีเคารพสักการะบูชา เป นท่ีนิยมนับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแลพระบรมวงษานุวงษ์ ขา้ ราชการ ตลอดจนถึงมหาชนนกิ รทเี่ ล่อื มใสในพระบวรพทุ ธสาสนาทวั่ นา่ ” (ราชกิจจานุเบกษา, ๒๔๕๓, หน้า ๒๕๘๔) มีพระนามตามจารึกใน พระสพุ รรณบฏั วา่ “สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังศีกัลยาณวากย์ มนุษยนา คอเนญชาริยวงษ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถประนับดา มหามกุฎ กษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณปรมินทร์สูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราช ๑ อาจารย์พเิ ศษ ศูนยภ์ าษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะอักษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 123
หิโตปัธยาจารย์ ศุภศีลสารมหาวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศล เบญจปฎลเศวตฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมา ภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆ ปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สิทธรรถนานานิรุกติ ประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศรัย พุทธาทิรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอัคร มหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตยพุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศ สกลพทุ ธจกั รกฤตโยปการ มหาปาโมขประธานสถาวรี วโรดม บรมนาถบพติ ร” ตอ่ มาไดร้ บั การเฉลมิ พระนามขน้ึ เปน็ “สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา วชิรญาณวโรรส” พระนาม “วชริ ญาณวโรรส” ซง่ึ ทรงไดร้ บั เมอื่ แรกสถาปนาพระอสิ รยิ ยศ เจ้าต่างกรมนั้น มีท่ีมาแต่พระสมณฉายานาม “วชิรญาณ” ของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถ นอกจากน้ี สร้อยพระนาม “มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร” ซ่ึงทรงได้รับเมื่อการมหา สมณตุ มาภเิ ษก กม็ ที มี่ าแตพ่ ระปรมาภไิ ธยของพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทร มหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ทั้งพระนามและสร้อยพระนาม ล้วนสะท้อนให้เห็นว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์น้ันทรงเป็นท้ัง “กุลทายาท” คือ ทายาทผู้สืบสายพระราชตระกูล และ “ศาสนทายาท” คือ ทายาทผู้สืบทอดและด�ำรงศาสนาไว้ให้มั่นคงสถาวร อีกท้ังยังแสดงให้เห็น ถึงสายสัมพันธ์อันแน่นสนิทของทั้งสองพระองค์ด้วย พระกรณียกิจหลาย ประการของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสก็นับเป็น การฉลองพระเดชพระคุณและอุทิศถวายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถดังจะ ไดแ้ สดงตวั อยา่ งต่าง ๆ เป็นล�ำดับไป สายสัมพันธ์ “ฉันพอ่ กับลกู ” สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดีท่ี ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓ เป็นพระราชโอรสล�ำดับที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เม่ือคราวประสูตินั้นเกิดฝนตก ใหญ่จนน�้ำขังนองชาลาพระต�ำหนัก สมเด็จพระบรมชนกนาถพระราชทาน นามวา่ “มนษุ ยนาคมานพ” ดว้ ยทรงเหน็ เหตคุ ราวประสตู เิ ปน็ นมิ ติ วา่ เหมอื น คร้ังสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ ควงไม้ราชายตนะ แล้ว มฝี นตกพรำ� ตลอด ๗ วนั มุจลินทนาคราชจึงขนดเวียนพระพทุ ธวรกายแล้ว แผพ่ งั พานกนั ฝนถวาย พอฝนหายกไ็ ดจ้ ำ� แลงกายเปน็ มานพหนมุ่ มาเขา้ เฝา้ พระนาม “มนษุ ยนาคมานพ” นแี้ ปลไดว้ า่ “คนผเู้ ปน็ มนษุ ยนาค” หรอื “ผเู้ ปน็ นาคในมนษุ ย”์ อนั หมายถงึ บรุ ษุ รตั น หรอื มหาบรุ ษุ ซงึ่ ใชเ้ รยี กพระพทุ ธเจา้ และพระเจ้าแผ่นดิน (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา 124
วชิรญาณวโรรส (ฉบบั รวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หนา้ ๒) นอกจากน้ี ยงั มพี ระราช หตั ถเลขาพระราชทานพระนามและทรงพระราชนพิ นธค์ าถาเปน็ อกั ษรอรยิ กะ ไว้ด้วย อนั มคี วามหมายแปลเปน็ ภาษาไทย ดงั นี้ กุมารนี้จงมีนามว่า “มนุษยนาคมานพ” ดังน้ีเถิด ขอกุมารผู้ปรากฏโดยนามอย่างน้ี จงเป็นผู้ประเสริฐใน ราชตระกลู น้ี จงมคี วามสขุ ไมม่ โี รค มอี านภุ าพใหญ่ ไรอ้ ปุ ทั วะ และเป็นผู้มั่งค่ัง ได้ผลประโยชน์มาก มีทรัพย์ มีอิสริยยศ ทุกเมอื่ อนงึ่ ขอกมุ ารนจี้ งเปน็ ผไู้ มเ่ กยี จครา้ น สามารถเปน็ ท่ี พ่ึงแห่งหมู่ญาติของตนได้ จงมีอายุยืนอยู่นาน รักษามารดา ของตนไว้จงดี ให้ปราศจากราคีอย่าให้ใครข่มได้เพ่ือด�ำรง วงศ์ตระกูลของบดิ าของตนไว้ (พระประวตั สิ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบบั รวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หน้า ๖) พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เปน็ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถ อันประเสริฐ ทรงพระเมตตาต่อบรรดาพระราชโอรสพระราชธิดาเสมอถ้วน หนา้ กนั นำ�้ พระราชหฤทยั ของพระองคย์ อ่ มเปน็ ทซ่ี มึ ซาบประทบั อยใู่ นพระทยั ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสไม่รู้ลืมเลือน เม่ือทรงมีโอกาสตรสั ถงึ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถกไ็ ดท้ รงสรรเสริญไว้วา่ โดยฐานเป็นกุลเชฏฐ์นั้น พระองค์ทรงประพฤติต่อ พระราชโอรสและพระราชธิดา เสมอด้วยบิดาและบุตรแห่ง สามัญชน ไม่ทรงถือพระราชอิสริยยศ และพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ท่ัวถึงกัน เพื่อเป็นสมบัติ ส�ำหรับ พระองค์ที่เป็นพระราชกุมารได้รับพระราชทานท่ีวังและ ต�ำหนักให้เป็นสิทธิ์โดยมากด้วยกัน เว้นแต่ช้ันท่ียังทรง พระเยาวน์ กั ยงั ไมท่ นั ทจี่ ะได้ ทรงพระราชดำ� รโิ ปรดใหไ้ ปศกึ ษา โดยสมควรแก่สมัย ทรงยกย่องให้มีพระเกียรติยศโดยกาล เช่นพระราชทานเครื่องยศ เฉลิมพระสุพรรณบัฏ แห่โสกันต์ แห่ทรงผนวช และตั้งกรมเป็นต้น อน่ึงทรงรักษาสามัคคี ในระหว่างพระราชบุตรีมิให้มีร้าวฉานแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า 125
ให้เข้ากลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้รู้จักรักใคร่ เคารพนับถือ ตามฉันที่เป็นผู้ใหญ่ผู้น้อย พระองค์ทรง พระเมตตา ในพระราชโอรสและพระราชธิดาโดยท่ัวถึง ฉะน้ี แม้ไมเ่ พง่ โดยฐานเปน็ สมเด็จพระเจา้ แผน่ ดนิ ก็ยงั ยากทีบ่ ุตร ในสกลุ อน่ื จะหาบดิ าเปรยี บใหเ้ หมอื น นบั วา่ ไดท้ ำ� ทรงทำ� หนา้ ที่ของชนกเป็นอยา่ งดี ตามทีจ่ ะทำ� ไดใ้ นเวลาน้ัน (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๑๔, หนา้ ๑๕๑-๑๕๒) ในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ เจา้ จอมมารดาแพไดถ้ งึ แกก่ รรมลง ทำ� ใหพ้ ระเจา้ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพทรงเป็นก�ำพร้าพระมารดา แต่ก็ ทรงไดร้ บั พระมหากรณุ าธคิ ณุ จากสมเดจ็ พระบรมชนกนาถอยา่ งยงิ่ เสมอมา ดังความในพระนิพนธ์พระประวัติตรัสเล่าว่า “แม้เราเป็นผู้ก�ำพร้าแม่ แต่เราไดอ้ สั สาสะคอื ความอนุ่ ใจในทลู กระหมอ่ มของเรา ทา่ นทรงกบั พวกเรา โดยฉันพ่อกับลูก ไม่ทรงท�ำพระยศพระอย่างโดยฐานเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่ีห่างเหินจากพระเจ้าลูกยาเธอชั้นพระองค์เจ้า หรือพูดตามสามัญว่า ลูกเมียน้อย เวลาเสวยพวกเราน่ังล้อมอยู่ใกล้โต๊ะเสวย คอยเล่ือนเคร่ือง ไมท่ นั ใจ ทลู ขอกำ� ลงั เสวยกม็ ี เสดจ็ ไปขา้ งไหนกพ็ รตู ามเสดจ็ ...” (พระประวตั ิ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส (ฉบบั รวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หน้า ๑๔) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพได้ตามเสด็จ สมเด็จพระบรมชนกนาถไปในทีต่ ่าง ๆ ท้ังในและนอกพระนคร มคี ร้ังหนึ่ง ซึง่ นา่ จะทรงประทบั พระทยั มาก จึงไดท้ รงบนั ทึกไวใ้ นพระประวัตติ รสั เลา่ คอื เมอื่ คร้ังตามเสด็จไปวัดราชประดิษฐ์ ทรงไดย้ นิ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถ ตรสั ถามสมเดจ็ พระสงั ฆราช (สา ปสุ สฺ เทวมหาเถร) ครงั้ ยงั เปน็ พระศาสน โศภณว่า คนชื่อคนมีหรือไม่ สมเด็จพระสังฆราชทรงน่ิงนึกอยู่ครู่หน่ึง แล้วถวายพระพรทลู ว่าไม่มี สมเดจ็ พระบรมชนกนาถจงึ ทรงชไ้ี ปยงั พระองค์ ซึ่งทรงนั่งอยเู่ บ้อื งพระปฤษฎางค์ว่า นแ่ี นะ่ คนชือ่ คน แลว้ ทัง้ สองพระองค์ก็ ทรงพระสรวล (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส (ฉบับรวมเล่ม), ๒๕๖๔, หนา้ ๒) ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ขณะนั้นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยมานพมี พระชนั ษาไดเ้ พยี ง ๘ ปี พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั กไ็ ดท้ รง พระมหากรณุ าแกพ่ ระเจา้ นอ้ งยาเธอ พระองคเ์ จา้ มนษุ ยนาคมานพสบื ตอ่ มา พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังคงอยู่ 126
หากจะนำ� “บรุ พทศิ านมสั นธรรมจรยิ า” มาพจิ ารณาถงึ พระกรณียกิจตลอดพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เราก็อาจพบได้ว่า สมเด็จ พ ร ะ ม ห า ส ม ณ เจ้ า พ ร ะ อ ง ค์ น้ั น ก็ ท ร ง ด� ำ เนิ น ต า ม ร อ ย พระยุคลบาทพระเชษฐาธิราชในการปฏิบัติพระกรณียกิจ ฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถไว้มากมาย เช่นกัน สนทิ แนน่ ในพระทยั ของพระองคเ์ จา้ มนษุ ยนาคมานพ โดยเฉพาะเมอ่ื ทรง ดำ� รงสมณเพศและเจริญในสมณศักดิ์แล้ว ได้ทรงประกอบหิตานุหิต ประโยชน์มากมายเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณและฉลองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระบรมชนกนาถในฐานท่ีทรงเป็นท้ัง “กุลทายาท” และ “ศาสน ทายาท” การอนั ทรงแสดงกตญั ญกู ตเวทติ านน้ั เหน็ สมดงั พทุ ธภาษติ บรหิ าร “ บุ ร พ ทิ ศ า นมัสนธรรมจริยา” ฉลองพระเดชพระคุณตาม “บรุ พทิศานมัสนธรรมจรยิ า” พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหพ้ ระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมน่ื วชริ ญาณวโรรส ทรงหนงั สอื เทศนาพระราช ประวัติในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นถวาย ในการพระราช กุ ศ ล ซึ่ ง ท ร ง พ ร ะ ร า ช อุ ทิ ศ ถ ว า ย ฉ ล อ ง พ ร ะ เ ด ช พ ร ะ คุ ณ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ พระธรรมเทศนาดงั กล่าวมีคณุ คา่ ทางประวตั ศิ าสตรเ์ ป็น อย่างย่ิง ดว้ ยทรงเรียบเรยี งพระราชประวัติในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั ไวอ้ ยา่ งพสิ ดาร มเี นอ้ื หารายละเอยี ดหลายอยา่ งใหศ้ กึ ษากนั ตอ่ ไป นอกจากน้ี ยงั เปน็ พระธรรมเทศนาทมี่ คี ณุ คา่ ในทางพระศาสนาดว้ ย พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมน่ื วชริ ญาณวโรรสไดถ้ วายวสิ ชั นา “บรุ พทศิ านมสั นธรรม จรยิ า” ตอ่ จากเทศนาพระราชประวตั ิ พทุ ธธรรมดงั กลา่ วปรากฏในสงิ คาลสตู ร 127
พระบรมฉายาลักษณพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวทรงฉายรว่ มกับ พระราชโอรสธิดา (ท่มี า: ศิลปวัฒนธรรม) พระอุโบสถ วัดราชาธวิ าส ซง่ึ ปฏสิ งั ขรณข์ น้ึ ในรชั กาลท่ี ๕ เพ่อื ฉลองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยหู่ ัว (ท่มี า: ธนภัทร์ ล้ิมหัสนยั กุล) หอคองคอเดียในพระบรม มหาราชวงั ใช้เป็นทท่ี ำ� การ ของหอพระสมดุ วชริ ญาณ สำ� หรบั พระนคร ปัจจุบัน คือ ศาลาสหทัยสมาคม (ที่มา: สำ� นักวรรณกรรมและ ประวตั ิศาสตร์ กรมศิลปากร) 128
เปน็ เร่ืองว่าดว้ ยการปฏิบัตติ นตอบแทนแดบ่ ดิ ามารดา รายละเอยี ดมดี งั น้ี ปญจหิ โข คหปติปตุ ตฺ าเนหิ ปตุ ฺเตน ปรุ ตฺถิมา ทิสา มาตาปิตโร ปจฺจุปฏฺาตพฺพา ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้ทิศปุรัตถิมาด้านตะวันออก เพราะมีอุปการะแก่บุตรธิดา กอ่ นกวา่ บทุ คลอนื่ ๆ อนั บตุ รพงึ ปฏบิ ตั โิ ดยสถานหา้ คอื คดิ วา่ ภโตเนสํ กริสฺสามิ เราจกั ท�ำกิจการของทา่ นหนึ่ง กลุ วํสํ เปสฺสามิ เราจักตัง้ วงศ์ตระกลู ไว้หนึ่ง ทายชชฺ ํ ปฏิปชชฺ ามิ เราจักปฏบิ ตั ปิ กครองทรพั ย์มฤดกไวห้ น่ึง อถวา ปน เปตานํ กาลกตานํ ทกฺขิณํ อนุปฺปทสฺสามิ ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ท�ำกาลแล้ว จักเพ่ิมทักษิณาทานเคร่ืองเจริญสุขสมบัติหน่ึง มารดาบิดาผู้ทิศปุรัตถิมา อันบุตรพึงปฏิบัติโดยฐานห้า ประการ ก็และสถานทง้ั หา้ นน้ั ภรณํ การเลยี้ งเปน็ ทห่ี นงึ่ กจิ จฺ ํ ทำ� กจิ เป็นท่สี อง กลุ วสํ ปนํ ตงั้ วงศต์ ระกูลไวเ้ ปน็ ท่ี สาม ทายชฺชปฏปิ ตตฺ ิ ปฏิบัตปิ กครองทรพั ย์มฤดกเปน็ ท่สี ่ี ทกขฺ ณิ านุปฺปทานํ เพมิ่ ทักษณิ าเปน็ ทคี่ รบห้า (กองวิชาการ กระทรวงธรรมการ, ๒๔๘๑, หนา้ ๑๙๙-๒๐๐) สรุปได้ว่า บุตรธิดาสามารถตอบแทนบิดามารดาผู้มีพระคุณแก่ตน มาก่อนไดด้ ้วยหลักปฏบิ ัติ ๕ ประการ ไดแ้ ก่ การเลยี้ งดู การทำ� กจิ การ การ ตง้ั วงศ์ตระกูล การปฏบิ ัตทิ รพั ย์มรดก และการทำ� ทกั ษิณาอทุ ิศ หลกั ปฏิบัต ิ ขอ้ การเลยี้ งดนู นั้ บตุ รธดิ าสามารถกระทำ� ไดเ้ มอ่ื ครงั้ บดิ ามารดายงั มชี วี ติ อยู่ ขณะทก่ี ารทำ� ทกั ษณิ าอทุ ศิ บตุ รธดิ าจะกระทำ� ไดก้ เ็ มอื่ บดิ ามารดาลว่ งลบั ไป แลว้ สว่ นการทำ� กจิ การ การตงั้ วงศต์ ระกลู และการปฏบิ ตั ทิ รพั ยม์ รดก หลกั ปฏิบัติทั้งสามนี้สามารถกระท�ำได้ท้ังในยามบิดามารดายังมีชีวิตอยู่และ ลว่ งลับไปแล้ว (กองวิชาการ กระทรวงธรรมการ, ๒๔๘๑, หน้า ๒๐๐) พ ร ะ เ จ ้ า น้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรสได้ยก “บุรพทิศานมัสนธรรมจริยา” ขนึ้ มาเทศนา เพอ่ื ทรงอธบิ ายแจกแจงใหเ้ หน็ วา่ พระบาทสมเดจ็ พระ จลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจฉลองพระเดชพระคุณ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถไวอ้ ย่างครบถว้ นบรบิ รู ณเ์ พียงใด หากจะนำ� “บรุ พทศิ านมสั นธรรมจรยิ า” มาพจิ ารณาถงึ พระกรณยี กจิ ตลอดพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เราก็อาจพบได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์น้ันก็ทรงด�ำเนินตาม 129
รอยพระยุคลบาทพระเชษฐาธิราชในการปฏิบัติพระกรณียกิจฉลองพระเดช พระคณุ สมเด็จพระบรมชนกนาถไวม้ ากมายเชน่ กัน ภรณธรรมจริยา แม้จะเป็นเวลาอันสั้นเพียง ๘ ปีท่ีพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า มนุษยนาคมานพทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมชนก นาถ แต่กท็ รงได้มีโอกาสสนองงานเลก็ ๆ น้อย ๆ อยา่ งเตม็ ตามพระกำ� ลงั ในขณะนน้ั ดงั ทที่ รงบนั ทกึ ไวใ้ นพระประวตั ติ รสั เลา่ วา่ “เรามคี วามอม่ิ ใจวา่ แมเ้ รายงั เลก็ เรากพ็ อเปน็ ประโยชนแ์ ดท่ ลู กระหมอ่ มของเราไดบ้ า้ ง ทา่ นทรง ใช้เราหยิบพระศรี (คือหมากเสวย) ก็มี พระสุพรรณศรี (คือบ้วนพระโอษฐ์ องค์น้อย) ก็มี โปรดให้เชิญพระแสงบ้าง เชิญธารพระกรบ้าง บางคราว ถูกเชิญพร้อมกันทั้งสองอย่าง หนักก็หนัก มือเล็กก�ำไม่ค่อยรอบ แต่อิ่มว่า เป็นผู้แข็งแรง ทรงใช้การหนักได้” (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส (ฉบับรวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หนา้ ๑๔) หลกั ภรณธรรมจรยิ า คอื การปฏบิ ตั เิ ลยี้ งดบู ดิ ามารดานี้ แมเ้ ปน็ การ ปรนนิบัติดูแลสมเด็จพระบรมชนกนาถเพียงเล็กน้อย ก็พอแสดงให้เห็นถึง กตัญญูกตเวทิตาธรรมเมอ่ื ครัง้ ทีย่ งั ทรงเยาวพ์ ระชนั ษา กจิ จกรณยี ธรรมจรยิ า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามอันเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั มาตลอดรชั กาล นบั เปน็ การปฏบิ ตั กิ จิ จกรณยี ธรรมจรยิ าอยา่ งหนงึ่ คือเป็นการสืบทอดและท�ำนุบ�ำรุงกิจการทั้งหลายของสมเด็จพระบรม ชนกนาถ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ได้ทรงพระราชด�ำริจะปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาส ใหมท่ ง้ั พระอาราม วดั แหง่ นเ้ี ปน็ พระอารามซง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวประทับขณะผนวช และไดท้ รงตงั้ ธรรมยุติกนกิ ายขน้ึ ก่อนจะทรง รับอาราธนาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไปทรงครองวัดบวรนิเวศ เมอื่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั มพี ระราชปรารภปฏสิ งั ขรณน์ นั้ ไดท้ รงมปี ระกาศเชญิ ชวนใหโ้ ดยพระราชกศุ ลเพอื่ “เพม่ิ ความประสาท เลอ่ื มใสในการกุศล ฤๅสนองพระเดชพระคุณโดยความกตัญญูกตเวที เป็นท่ีต้ัง” (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๔๙๙, หน้า ๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรสเก่ียวแก่การปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาสในหลาย เรื่องดว้ ยกนั ตั้งแตเ่ รอ่ื งเสนาสนะมีพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และหอ 130
ธรรมเนียมถวายพระราชกุศล แดพ่ ระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ในวนั มหาปวารณา ยังคงปฏบิ ัตสิ บื มาจนปจั จุบนั (ทีม่ า: วัดบวรนิเวศวิหาร) ระฆงั เปน็ อาทิ การหลอ่ พระสมั พทุ ธพรรณี การปกครองวดั การจดั การ โรงเรยี น ตลอดจนการจัดขบวนรถแห่ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๖๔, หนา้ ๒๐๐-๒๘๖) อาจกล่าวไดว้ า่ พระเจา้ น้องยาเธอ กรมหลวงวชริ ญาณวโรรสทรงเป็นเรย่ี วแรงส�ำคัญในการ ปฏสิ งั ขรณว์ ดั ราชาธวิ าส เพอ่ื เปน็ การฉลองพระเดชพระคุณสมเดจ็ พระบรม ชนกนาถและสมเดจ็ พระบรมเชษฐา พิจารณากิจการในสว่ นพระพทุ ธศาสนา จะเหน็ ไดว้ ่าสมเดจ็ พระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงปฏิบัติกิจจกรณียธรรมจริยา ฉลองพระเดชพระคุณสมเดจ็ พระบรมชนกนาถไวอ้ ยา่ งมากมาย ทั้งในฐาน ทท่ี รงเปน็ เจา้ อาวาสวดั บวรนเิ วศ เจา้ คณะธรรมยตุ กิ นกิ าย และประธานาธบิ ดี สงฆ์ทั้งปวงในพระราชอาณาจักร อาจยกตัวอย่างพระกรณียกิจส�ำคัญซ่ึง ทรงสืบทอดมาแต่สมเด็จพระบรมชนกนาถไดด้ งั นี้ ในส่วนกิจการของวัดบวรนิเวศ ทรงปรับปรุงเพ่ิมเติมต�ำแหน่ง เจ้าหน้าท่ีในกรรมการสงฆ์ให้ครอบคลุมข้ึน การจัดกรรมการสงฆ์เป็น แผนกน้ีมีมาตั้งคร้ังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครอง วัด สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงเพ่ิมต�ำแหน่ง เจ้าหน้าที่รักษาปูชนียวัตถุ เจ้าหน้าที่รักษาพระอาราม เจ้าหน้าที่ดูการ นวกรรม และเจ้าหน้าท่ีดูการศึกษา นอกจากนี้ ทรงให้ต้ังโรงพิมพ์ขึ้นใน วัดบวรนิเวศ โดยอนุโลมตามคร้ังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองวัด เพื่อพิมพ์แบบเรียนต่าง ๆ แต่ต่อมาได้ยกเลิกไปเน่ืองด้วย 131
ปัญหาค่าใช้จ่าย (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๖๕, หน้า ๙๐-๙๖) ในส่วนกิจการของธรรมยุติกนิกาย ทรงจัดการศึกษาคณะสงฆ์ให้ มน่ั คงและเปน็ ระบบระเบยี บยงิ่ ขน้ึ โดยขอพระบรมราชานญุ าตจากพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้ง “มหามกุฏราชวิทยาลัย” ขึ้น เพื่อ เฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงจดั การหลกั สตู ร การทดสอบความรู้ มีการสอนทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย อีกท้ังทรงตั้ง บุญนิธิไว้เป็นทุนนอนส�ำหรับอุดหนุนกิจการของราชวิทยาลัย (สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๔๖๕, หนา้ ๙๓-๙๕) ในสว่ นกิจการของพระพทุ ธศาสนาทั้งปวงนั้น ทรงพยายามประสาน มหานกิ ายและธรรมยตุ กิ นกิ ายใหม้ นี ำ้� ใจเปน็ สามคั คกี นั นบั เปน็ การสบื สนอง พระบรมราโชบายทางศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยา่ งสำ� คญั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสมพี ระนพิ นธ์ เรื่องนิกายข้ึน “เพื่อเตือนสติพวกสหธรรมิกที่ต้องแยกเปนนิกายแล้ว อย่า ให้เพลิดเพลินไปในการถือนิกาย เหนโทษแล้วจะได้ประหยัด รวังอย่าให้ แตกเปนส�ำนักออกไปอีกต่อหน่ึง ส่วนที่แยกจากกันแล้ว จะได้ปฏิบัติหัน หน้าเข้าหากันให้ที่สุด ฯ” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส, ๒๔๕๗, ไม่มีเลขหน้า) ด้วยมีพระด�ำริว่า “ในเวลาแรก ๆ ท่ีคนเรา กำ� ลงั คลงั่ ในพระศาสนา จะถอื นกิ ายกท็ ำ� เนา บดั นเี้ ปนเวลาทค่ี นเราจดื จาง ในพระศาสนา ทง้ั ความไปมาถงึ กนั กบั คนพวกถอื ศาสนาอนื่ กม็ ขี นึ้ ตอ้ งการ ความสามคั คอี ยมู่ าก ไมเ่ ชน่ นน้ั พวกเรายง่ิ จะถกู ปน้ั เปนกก๊ เปนเหลา่ กระจาย จากกันออกไปอีก ถ้าถูกปั้นทางโน้น ทางน้ีเหน่ียวกันเข้าได้ ก็พอทุเลา” (เร่อื งเดียวกัน, หน้าเดียวกัน) กุลวงั สฐปนธรรมจรยิ า การปฏิบัติกุลวังสฐปนธรรมจริยา คือ การตั้งวงศ์ตระกูลไว้ให้ด�ำรง สืบไป ในแง่นี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรง รับศาสนทายาท ผนวชเป็นพระภกิ ษุในพระบวรพุทธศาสนา นับเปน็ การสบื วงศ์ตระกูลในทางพระศาสนาของสมเด็จพระบรมชนกนาถสมดังพระนาม “วชิรญาณวโรรส” ด้วยเหตุน้ีเอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาวโรรสณจึงมักได้รับพระราชธุระทรงงานอันเกี่ยวข้องกับพระบาท สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ในทางพระศาสนาอยเู่ สมอ ดงั ตวั อยา่ งเมอื่ ครงั้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริให้เขียนภาพ พระราชพงศาวดารพรอ้ มทงั้ ประพนั ธโ์ คลงกำ� กบั ทรงพระกรณุ าโปรด เกลา้ ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรสทรงนิพนธ์โคลง 132
ประกอบรูปท่ี ๙๑ แผ่นดินพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภาพทรงพระผนวชพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เปนสามเณร มี ความดงั น้ี ๏ สมเดจ็ เอารสไท้ ภมู ิบาล ทคี่ รบสองรัชกาล อยู่เกลา้ เจา้ ฟา้ มงกฎุ มาน สร้อยตอ่ เจริญพระชนม์ย่างเข้า เขตรขา้ งบรรพชาฯ ๏ ครานัน้ โปรดตัง้ ราช พิธี เฉลิมพระเกียรติยศทวี เดชไท้ สมโภชเสรจ็ แล้วม ี การแห่ พระนา ไตรบาตรทรงครองให้ คชภเู่ ผอื กเชอญฯ ๏ ขบวนเดนิ เดนิ เลยี บอ้อม จังหวดั วังนา เข้าประตนู ามสวัสดิ์ เขตรขนั้ ดลวดั พระศรีรัตน ์ ศาสด์เสร็จ ผนวชแฮ วดั มหาธาตุน้นั ที่ไท้แรมสถานฯ ๏ บำ� เพญ็ ภารพรตตัง้ ศึกษา พุทธสาสนพ์ ุทธภา สติ ไว้ สำ� นกั น์ิพระราชา สงฆ์เรยี ก นามแฮ สัปตมาศล่วงแลว้ ไท ้ เสดจ็ เขา้ วงั สถานฯ (โคลงภาพพระราชพงศาวดาร, ๒๔๖๕, หนา้ ๑๐๐) ทายัชชปฏบิ ตั ิธรรมจริยา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงสรรเสริญ พระคณุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวไวว้ า่ “ข้อซึ่งสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พร้อมพระบุรพาภนิ ิหารบารมธี รรม เสด็จสถิตอยูใ่ นพระบรม ราโชวาท ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนาถพระราชทานทรงรักษา พระองค์ให้ควรแก่สยาเมกรัชชทายาท เป็นที่ยินดีน้อม เศียรเกล้าของพระบรมวงศานุวงศ์ และมูลมุขมาตยานิกร เสดจ็ สถติ ในสยาเมกราชัยมไหศวรรย์ โดยสรรพเกษมวธิ เี ปน็ 133
มหัศจรรย์ปรากฏแก่สรรพอเนกชนนิกร นี้เป็นทายัชชปฏิบัติ สว่ นบุรพทศิ านมัสนธรรมจรยิ าอันอกุ ฤษฏ์ ดว้ ยประการฉะนี้” (กองวชิ าการ กระทรวงธรรมการ, ๒๔๘๑, หน้า ๒๐๘) ในแง่นี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรสท้ังใน ฐานะพระราชอนุชาและข้าแผ่นดินได้มีส่วนร่วมในทายัชชปฏิบัติธรรมจริยา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติสรรพกรณียกิจ น้อยใหญ่สนองพระราชประสงค์สมเด็จพระบรมเชษฐา เพื่ออ�ำนวยความ ผาสกุ สวสั ดแี ก่อาณาประชาราษฎร สมกบั ท่ที รงเปน็ “สยาเมกรัชชทายาท” แหง่ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว นอกจากน้ัน บรรดาพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น ประธาน ทรงเขา้ ทนุ กนั จดั ตง้ั “หอสมดุ วชริ ญาณ” ขนึ้ เพอ่ื เฉลมิ พระเกยี รติ สมเดจ็ พระบรมชนกนาถ ซงึ่ ทรงพระมหากรณุ าพระราชทานทนุ พระราชมรดก ไวแ้ กพ่ ระราชโอรสธดิ าทง้ั ปวง (พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระดำ� รงราชานภุ าพ, ๒๔๕๙, หน้า ๑๖-๒๑) หอสมุดวชิรญาณนี้คือหอสมุดส�ำหรับพระนครใน เวลาต่อมา ในคราวฉลองหอสมุดวชิรญาณครบรอบ ๑ ปี บรรดาสมาชิก หอสมุดวชิรญาณได้ร่วมกันท�ำหนังสือ วชิรญาณสุภาษิต ขึ้น พระเจ้า น้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสได้ทรงมีส่วนร่วมด้วย ปรากฏเป็น พระนิพนธ์ ดงั นี้ ๏ ขวบนี้นิยมม ี พระพธิ มี ะโหฬาร สมโภชมะหาคาร ระบุเรียกสะมัญญา ๏ วา่ หอวเิ ชยี รญาณ ณะสถานอะน้ีหา ภาษติ ประกอบสา ระจะแจกสะมาชี ๏ ตตู ้องผะเดียงอา ระธะนานพิ นธ์มี ปราโมทยก์ ะมลปี ติมะนสั จะจัดค�ำ ๏ เปนเหตเุ กิดศร ี แลทวีสวัสดน์ิ �ำ ฝงู ชนประพฤตสิ มั ฤทธิสขุ เสนอกรรณ์ ๏ ปวงบาปบให้ทำ� ทุระกรรมระวงั มนั ทางชอบระบอบธรรม ์ สุจะริตสงวนงาม ๏ น้อมโน้มมะนัสฉัน ทะจะมันพยายาม ท�ำจติ ต์วิสุทธส์ าม วะระศาสนมนุ ีสอน ๏ ควรเรานุวัตตต์ิ าม คะติความกระแสกลอน เปนนติ ย์นิรันดร ณะทิวาณะราตรี 134
๏ จกั สบสถาพร แลบวรสวัสดี เรอื งเดชเจรญิ ศรี ศุภสุขเกษมสานต์ ๚ะ (วชริ ญาณสุภาษติ , ๒๔๓๓, หนา้ ๑๒) ทักขิณานปุ ปทานธรรมจริยา การปฏิบัติทักขิณานุปปทานธรรมจริยาน้ี คือ การบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศ แดบ่ พุ การมี บี ดิ ามารดาเปน็ ตน้ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรสได้โดยเสด็จพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐา ทรงรับอาราธนาในการทรงแสดงพระเทศนา พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานท่ีทรงเป็น พระราชโอรส และทรงปฏบิ ัติการพระราชพิธสี งฆใ์ นฐานทีท่ รงเปน็ พระภกิ ษุ การบำ� เพญ็ พระกศุ ลอทุ ศิ ถวายพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ที่ทรงวางไว้เป็นส�ำคัญ ได้แก่ การตั้งธรรมเนียมถวายพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ผเู้ ปน็ ตน้ เดมิ ของพระธรรมยตุ กิ นกิ าย แต่เดิมธรรมเนียมถวายพระราชกุศลน้ีเคยจัดเป็นการภายในวัดบวรนิเวศ เทา่ นนั้ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงหารอื ในที่ ประชมุ มหาเถรสมาคม และทปี่ ระชมุ ไดเ้ หน็ ชอบพรอ้ มกนั ใหว้ ดั ธรรมยตุ อน่ื ๆ ทว่ั พระราชอาณาจกั ร ประกอบการพธิ ถี วายพระราชกศุ ลแดพ่ ระบาท สมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ในวนั มหาปวารณา (พระประวตั สิ มเดจ็ พระมหา สมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับรวมเล่ม), ๒๕๖๔, หน้า ๑๗๙) นั บ เ ป ็ น การปฏิบัติทักขิณานุปปทานธรรมจริยาในฐานท่ีทรงเป็นศาสนาทายาทใน ธรรมยตุ กิ นกิ ายอนั มพี ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงเปน็ ตน้ เดมิ พระทายาท “ผ้ปู ระเสรฐิ ในราชตระกลู น”ี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงปฏิบัติ พระองคต์ ามบุรพทิศานมสั นธรรมจรยิ าอย่างครบถ้วน ทงั้ ในฐานทที่ รงเปน็ กลุ ทายาทของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว สมดงั สรอ้ ยพระนาม “มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร” และในฐานท่ีทรงศาสนทายาทของวชิรญาณ ภกิ ขุ สมดงั พระนาม “วชิรญาณวโรรส” ในทางราชตระกลู พระองคไ์ ดแ้ สดง กตเวทิตาฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถมาต้ังแต่ยังทรง พระเยาว์ ทรงสนองพระราชประสงคส์ มเดจ็ พระบรมเชษฐาในกจิ การตา่ ง ๆ ทเ่ี กยี่ วกบั สมเดจ็ พระบรมชนกนาถ อกี ทง้ั ยงั ทรงเฉลมิ พระเกยี รตคิ ณุ รว่ มกัน กับพระภราดา ในทางพระศาสนา พระองคไ์ ด้ฉลองพระเดชพระคณุ ทง้ั สว่ น ของวัดบวรนิเวศวิหาร ธรรมยุตกิ นิกาย และการพระพทุ ธศาสนาในพระราช 135
อาณาจักรท้ังปวง พระกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งหลายมิได้เพียงแต่จะเป็นการ แสดงกตัญญูกตเวทิตาเท่าน้ัน หากยังบังเกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แก่ สังคมอีกด้วย ข้อซึ่งควรกล่าวถึงเป็นพิเศษในท่ีน้ีคือ งานพระนิพนธ์ท้ัง หลายท่ีทรงพรรณนาเหตุการณ์และอธิบายรายละเอียดพระราชกรณียกิจใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นพระประวัติตรัสเล่า ต�ำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯลฯ ได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ส�ำคัญส�ำหรบั ผ้สู นใจศึกษาคน้ คว้าตอ่ ไป สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงปฏิบัติ รายการอ้างอิง กองวิชาการ กระทรวงธรรมการ. (๒๔๘๑). เทศนาพระราชประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ. พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจนั ทร.์ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร. (๒๔๖๕). พระนคร: โสภณพพิ รรฒธนากร. (พมิ พใ์ นงานพระราชทาน เพลิงศพ พระต�ำรวจเอก พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับศพคุณหญิงเชย อนุชติ ชาญไชย เมอื่ ปจี อ พ.ศ. ๒๔๖๕). จลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , พระบาทสมเดจ็ พระ. (๒๔๙๙). เรอื่ งวดั สมอรายอนั มนี ามวา่ ราชาธวิ าส. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย. (สหธรรมิกส�ำนักวัดราชาธิวาสพิมพ์ถวาย เปน็ ธรรมบรรณาการพระราชทานเปน็ ทร่ี ะลกึ ในงานถวายพระเพลงิ พระบรมศพสมเดจ็ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันท่ี ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙). ดำ� รงราชานภุ าพ, พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระ. (๒๔๕๙). ตำ� นานหอพระสมดุ หอพระมณเฑยี ร ธรรม หอวชริ ญาณ หอพทุ ธสาสนสงั คหะ แลหอสมดุ สำ� หรบั พระนคร. พระนคร: โสภณพิ พรรฒธนากร. (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระด�ำรงราชานุภาพ สภานายก กับ กรรมการ แลเจ้าพนักงานหอพระสมุด เรียบเรียงทูลเกล้า ฯ ถวาย เมื่อเสด็จเปิด หอพระสมุดส�ำหรับพระนคร ณวนั เสาร์ที่ ๖ มกราคม ปีมโรง พ.ศ. ๒๔๕๙). ประกาศมหาสมณุตมาภเิ ษก. ใน ราชกจิ จานุเบกษา. (๒๔๕๓). เขา้ ถงึ ได้จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2579.PDF 136
พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับรวมเล่ม). (๒๕๖๔). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พร้ินติ้งแอนด์พับลิชช่ิง จ�ำกัด (มหาชน). (พระมหา สมณานุสรณ์ เฉลิมพระเกียรติคุณวาระครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ พุทธศกั ราช ๒๕๖๔). วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณจ้า กรมพระยา. (๒๕๖๔). พระราชหัตถเลขาและ ลายพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีไปมากับสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏ ราชวิทยาลัย. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๔๕๗). เรื่องนิกาย. พระนคร: โรงพิมพส์ ามมติ ร. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๔๖๕). ต�ำนานวัดบวรนิเวศวิหาร. พระนคร: โสภณพิรรฒธนากร. (พิมพ์โดยพระบรมราชโองการในงารพระราชทาน เพลงิ พระศพสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทพ่ี ระเมรทุ อ้ งสนามหลวง เมอื่ พ.ศ. ๒๔๖๕). วชริ ญาณวโรรส, สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา. (๒๕๑๔). พระธรรมเทศนา. พระนคร: โรงพิมพม์ หามกุฏราชวิทยาลยั . (มหามกุฏราชวิทยาลยั ในพระบรมราชปู ถัมภ์ พมิ พ์ ในงานมหาสมณานุสรณค์ รบ ๕๐ ปี แตว่ ันสน้ิ พระชนมแ์ หง่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วันที่ ๑-๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔). วชิรญาณสุภาษิต. (๒๔๓๓). ม.ป.ท.: ม.ป.พ. (เรียบเรยี งแลลงพมิ พ์ไวเ้ ปนท่รี ฦกถึงการฉลอง หอพระสมุดวชริ ญาณ เม่อื วนั ท่ี ๑๕ เดือนพฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘). 137
พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมไี ปมากบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล๑ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอยู่เป็น จ�ำนวนมากและมีหลายประเภท มีท้ังบันเทิงคดีและสารคดี มีทั้งร้อยแก้ว และรอ้ ยกรอง ในบรรดาพระราชนพิ นธต์ า่ ง ๆ พระราชหตั ถเลขาหรอื จดหมาย ซ่ึงทรงมีถึงบุคคลต่าง ๆ ถือเป็นพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วประเภทหนึ่งท่ีมี ความส�ำคัญอย่างยิ่ง มีทั้งที่เป็นพระราชหัตถเลขาในทางราชการและ พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ พระราชหตั ถเลขาในทางราชการ เปน็ พระราชหัตถเลขาว่าดว้ ยเรือ่ ง ราชการ มีถึงผทู้ ี่รับหน้าทใี่ นราชการต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นพระราชอนุชา เชน่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หรือข้าราชการและข้าราชบริพาร อาทิ พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม ต่อมาเป็นเจ้าพระยายมราช) พระยาวิสุทธ สรุ ยิ ศกั ดิ์ (ม.ร.ว.เปยี มาลากลุ ตอ่ มาเปน็ เจา้ พระยาพระเสดจ็ สเุ รนทราธบิ ด)ี ฯลฯ พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ เป็นพระราชหัตถเลขาท่ีทรงมีถึง บุคคลใกล้ชิด เน้ือหาเป็นเรื่องราวส่วนพระองค์ เป็นการสนทนากันด้วย เรื่องต่าง ๆ บอกเล่าเหตุการณ์หรือบุคคลที่ประสบพบ โดยเฉพาะระหว่าง ท่ีเดินทาง ความคิดเห็นต่อส่ิงต่าง ๆ ที่พบเห็น รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึก พระราชหตั ถเลขาสว่ นพระองคท์ เ่ี ปน็ ทรี่ จู้ กั กนั ดี อาทิ พระราชหตั ถเลขาถงึ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ใน คราวเสด็จประพาสยุโรปคร้ังแรก พุทธศักราช ๒๔๔๐ พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุน อู่ทองเขตขตั ยิ นารี ในคราวเสดจ็ ประพาสยโุ รปครงั้ ท่ี ๒ พทุ ธศกั ราช ๒๔๕๐ ซ่ึงตอ่ มาไดจ้ ัดพิมพ์เป็นหนงั สือไกลบ้าน ๑ ผู้ช่วยศาสตราจารยป์ ระจำ� ภาควชิ าภาษาไทย คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย 139
บทความน้ีจะกล่าวถึงพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระ จลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมไี ปมากบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิร ญาณวโรรส ซง่ึ มีเนือ้ หาทัง้ เรอ่ื งราชการทที่ รงปรกึ ษาหารือกันและเร่อื งส่วน พระองค์ พระราชหัตถเลขาและลายพระหตั ถ์เหล่านี้จึงได้บนั ทึกความรู้ ความคิด พระทัศนะ พระราชวิจารณ์ พระบรมราชวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ท่ี เป็นประโยชน์ ท�ำให้ผู้อ่านได้รับความรู้เร่ืองราวในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มี การบนั ทกึ อยา่ งเปน็ ทางการ หรอื เรอื่ งราวอนั เปน็ “เบอื้ งหลงั ” หรอื ทมี่ าของ เหตกุ ารณห์ รอื สง่ิ สำ� คญั ตา่ ง ๆ ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในรชั สมยั และปรากฏสบื เนอื่ งตอ่ มา พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี ไปมากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสนี้ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในค�ำน�ำ ของหนังสือซึ่งจัดพิมพ์คร้ังแรกเมื่อวันปิยมหาราช พุทธศักราช ๒๔๗๒ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงคัดส�ำเนาเรียบเรียงเป็นล�ำดับ รักษาไว้ใน พระตำ� หนกั ทว่ี ดั บวรนเิ วศจนสนิ้ พระชนม์ รวบรวมไดร้ วมทง้ั สนิ้ ๑๖๘ ฉบบั แบ่งเน้ือหาออกเป็น ๘ หมวด ได้แก่ การเกี่ยวกับพระราชวงศ์ การใน พระองค์ การคณะสงฆ์ การศาสนา การศึกษา การบ�ำรุงวัด การเทศนา และการปกณิ กะ เนื้อหาท้ัง ๘ หมวดดังกล่าวมีทั้งที่เป็นเรื่องราชการและเรื่องส่วน พระองค์ สามารถจ�ำแนกเป็นกลุ่มได้เป็น ๓ กลุ่มหลัก โดยพิจารณาจาก เรือ่ งทส่ี ัมพันธเ์ ก่ยี วเน่ืองกัน ได้แก่ การศาสนาและการศกึ ษา การเก่ียวกบั พระราชวงศ์ และการในพระองค์ และมีเรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีกบางเร่ือง สะท้อนให้เห็นพระราชกรณียกิจและพระกรณียกิจต่าง ๆ ที่ทรงร่วมกันเพื่อ ประโยชนแ์ กพ่ ระราชอาณาจกั ร พระศาสนา และพระราชวงศ์ รวมทง้ั สะท้อน ให้เห็นความสัมพันธ์อันอาทรใกล้ชิดระหว่างทั้งสองพระองค์ในฐานะพ่ีน้อง อีกดว้ ย เน่ืองจากเน้ือหาในพระราชหัตถเลขาต่าง ๆ มีหลายเรื่องและมี รายละเอยี ดมาก ในทนี่ ใ้ี ครข่ อยกมาแสดงโดยสงั เขปเพยี งบางเรอื่ งเทา่ นนั้ เพ่ือเป็นการ “แนะน�ำ” ให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าและอ่านพระราชหัตถเลขาด้วย ตนเองตอ่ ไป อนั จะทำ� ใหไ้ ดร้ บั สาระประโยชนแ์ ละความเพลดิ เพลนิ อยา่ งเตม็ ท่ี 140
พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว สมเดจ็ พระศรพี ัชรินทรา พระบรมราชนิ ีนาถ (ท่มี า: หนังสือ ประมวลภาพพระปยิ มหาราช ของ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง เอนก นาวกิ มลู (2532)) (ท่ีมา: สำ� นักหอจดหมายเหตุแห่งชาต)ิ การศาสนาและการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเร่งพัฒนาบ้านเมือง ในทกุ ดา้ น นอกจากการปฏริ ปู การบรหิ ารราชการ การปกครอง การพฒั นา เศรษฐกจิ การสรา้ งสงิ่ กอ่ สรา้ ง ระบบสาธารณปู โภค และการสอื่ สารตา่ ง ๆ แลว้ สิง่ ท่ีทรงให้ความสำ� คญั อย่างย่ิงคอื การศาสนาและการศึกษา ทงั้ การ ศกึ ษาของคณะสงฆ์และการศึกษาของเยาวชนท่ัวไป อันเป็นท้ังการ สืบทอดพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบุรพมหากษัตริย์และการพัฒนา คนใหส้ อดคล้องกับความเปล่ียนแปลงของยุคสมัยและบ้านเมือง ซ่ึง 141
พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงพิชติ ปรีชากร สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงเปน็ กำ� ลงั สำ� คญั ยงิ่ ในการสนองพระบรมราโชบายและทรงด�ำเนินการตา่ ง ๆ ตามพระราช ประสงค์ การศาสนา พระราชกรณียกิจด้านการศาสนาที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาฯ มี หลายประการ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งการสร้างและบรู ณปฏิสงั ขรณว์ ดั ไดแ้ ก่ การสรา้ งวดั เบญจมพติ ร ซงึ่ เปน็ วดั ประจำ� พระราชวงั ดสุ ติ และทรงมงุ่ หมายให้ เปน็ ทจ่ี ดั การศกึ ษาแกค่ ณะสงฆฝ์ า่ ยมหานกิ าย การปฏสิ งั ขรณว์ ดั ราชาธวิ าส อันเป็นพระอารามส�ำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรง พระผนวชเคยประทับ เร่อื งที่ทรงปรกึ ษาหารือกันมีกระท่งั รายละเอยี ดเกย่ี ว กบั การคดั เลอื กรปู ทจี่ ะใชเ้ ขยี นลงบนฝาผนงั นอกจากนย้ี งั มเี รอื่ งการบรหิ าร จัดการวัดต่าง ๆ ได้แก่ วัดนรนารถสุนทริการาม วัดมกุฏกษัตริยาราม และวัดตรีทศเทพ นอกจากการสถาปนาและจัดการศึกษาแก่พระสงฆ์ในพระนครแล้ว ยังทรงให้ความส�ำคัญแก่การบ�ำรุงศาสนาในหัวเมืองด้วย จากการท่ีได้ เสด็จประพาสตามหัวเมืองต่าง ๆ ท�ำให้ทรงทราบความเป็นไปและการ 142
ประพฤติปฏิบัติ รวมทั้งการสั่งสอนธรรมของพระภิกษุหัวเมือง ทรงขอให้ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงกวดขนั และทรงแตง่ หนงั สอื เพอื่ ใหพ้ ระภกิ ษุ ตามหัวเมอื งใชเ้ ทศน์ ดว้ ยหมอ่ มฉนั มาเท่ยี วครั้งน้ี ได้มาท�ำบุญพระบรมอัฐิ ทลู กระหมอ่ มทเี่ มอื งจนั ทบรุ ี ไดฟ้ งั เทศนาทพ่ี ระครสู งั ฆปาโมกข์ มาเทศน์ มีเนื้อหาเปนนิทานมาก ข้อปฏิบัติมีแต่เล็กน้อย ไม่เปนที่เล่ือมใส เห็นว่าการศาสนาในหัวเมืองอยู่ข้างจะ เหลวไหลเส่ือมทรามมาก เพราะไม่มีหนังสือแสดงข้อปฏิบัติ ที่จริงแท้ส�ำหรับเล่าเรียน มีแต่หนังสือท่ีเหลว ๆ ไหล ๆ ฤๅ หนังสือท่ีลึกเกินไป ผู้อ่านเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง จึงเห็นว่า ถ้าแต่งหนังสือเทศน์ที่เข้าใจง่าย ๆ เหมือนหนังสือสมเด็จ พระวนรตั น แตง่ ใหเ้ ปนคำ� ไทย ๆ อยา่ ใหต้ ดิ ศบั ทม์ ากฤๅตดิ ศบั ทต์ ้องแปลทุกค�ำ ตีพิมพ์ส่งออกมาให้พระสงฆ์ตามหัว เมืองเทศนาส่ังสอนสัปรศุ เห็นว่าการศาสนาท่ีจรงิ แทจ้ ะแพร่ หลายเปนประโยชน์มาก... (พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัว, ๒๔๗๒, หน้า ๕๔) จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่อง สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสวา่ เป็นพระภกิ ษุผเู้ ป็น ปราชญ์ทรงสติปัญญาสามารถ ทรงรู้เข้าพระทัยธรรมะอย่างแตกฉานและ ทรงแตง่ หนงั สอื เทศนาไดด้ ี สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ จงึ ไดร้ บั พระราชทาน ถวายพระธรรมเทศนาในการต่าง ๆ อยู่เสมอ มีพระราชหัตถเลขาและ ลายพระหัตถ์หลายฉบับที่ทรงปรึกษาหารือเพื่อร่างเน้ือหาพระธรรม เทศนาในพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิ เทศนาพระราชประวัติ เทศนาในงาน ศตพรรษ งานพระบรมอัฐสิ มเดจ็ พระเทพศริ นิ ทราบรมราชินี การศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ัน เจริญกว้างขวางอย่างยิ่ง พระราชหัตถเลขาหลายฉบับสะท้อนให้เห็นการที่ สยามเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาและมีความสัมพันธ์ทางศาสนากับ ชาติอ่ืน ๆ เช่น เร่ืองพระภิกษุลังกามาขอบวชแปลงเป็นธรรมยุติ เรื่อง ชาวอินเดียมาขอบวช หรือเรื่องการรับพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบท่ี เมืองกบิลพัสดุ์จากรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นเรื่องท่ีทรงระมัดระวังอย่างย่ิง หลังจากที่รัฐบาลอินเดียมีหนังสือขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายพระบรม 143
พ ร ะ ร า ช หั ต ถ เ ล ข า ใ น พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและลายพระหัตถ์สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสท่ีทรง มี ไ ป ม า ร ะ ห ว่ า ง กั น เ ป็ น ห ลั ก ฐ า น ส� ำ คั ญ ท า ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ท่ี ท ร ง คุ ณ ค่ า ยิ่ ง เพ ร า ะ ไ ด้ บั น ทึ ก เร่ือ ง ราวอันเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหรือเร่ืองที่เป็น “เบ้ืองหลัง” ของพระราชกรณียกิจ เหตุการณ์ หรือ บรรดาสิ่งต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนและด�ำเนินไปในเวลาน้ัน ซึ่งบางเรอื่ งบางเหตุการณ์ยังคงส่งผลกระทบส�ำคัญ มากระทั่งปัจจุบัน สารรี กิ ธาตทุ ีข่ ุดพบในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ในฐานะท่ที รงเป็นบรมกษตั รยิ ์ผู้ทรง เป็นพุทธศาสนูปถัมภกแห่งประเทศเอกราชที่ยังคงเหลืออยู่เพียงประเทศ เดยี ว ไดท้ รงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหม้ กี ารศกึ ษาคน้ ควา้ และสอบสวนจน เกิดความมั่นใจว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์จริง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิตเป็นหัวหน้าคณะไปเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก อินเดียมายังกรุงเทพมหานคร โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุจากเมืองกบิลพัสดุ์นี้ไว้ท่ีบรมบรรพตหรือพระเจดีย์ภูเขาทอง และยังได้พระราชทานแบ่งพระบรมสารีริกธาตุบางส่วนแก่ประเทศญ่ีปุ่น รัสเซยี พม่า และลังกา ซ่งึ กราบบังคมทลู ขอพระราชทานอกี ด้วย การศกึ ษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความส�ำคัญแก่ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษาแผนใหม่ทั้งของฆราวาสและ ของคณะสงฆ์ ซงึ่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงรบั สนองพระบรมราโชบาย ในการน้ี ดังปรากฏพระราชหัตถเลขาหลายฉบับ อาทิ พระราชหัตถเลขา ว่าดว้ ยเรือ่ งการสอนธรรมแกเ่ ด็กและการสอบไลพ่ ระปริยัตธิ รรม นอกจากนี้ สว่ นสำ� คญั ประการหนง่ึ ในการจดั การและพฒั นาการศกึ ษา 144
แผนใหม่คือ การแต่งหนังสือและการจัดท�ำหนังสือ เพื่อให้เป็นเคร่ือง ส่ังสอนและสรา้ งเสรมิ ความรู้ ในพระราชหตั ถเลขาปรากฏเรอ่ื งทท่ี รงปรกึ ษา หารอื กันในการแตง่ หนังสอื นวโกวาท สำ� หรับพระนวกะหรอื พระภิกษุบวช ใหม่จะได้อ่านท�ำความเข้าใจ หลักธรรมต่าง ๆ อันเป็นเบื้องต้นในการเป็น พระภิกษุและเตรียมความรู้ส�ำหรับการเป็นฆราวาสท่ีดี ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำรัสชมเชยว่าทรงแต่งได้ดี มีเร่ือง การพิมพ์หนังสืออรรถกถา ตามค�ำขอของ Professor Rhys Davids แห่งสมาคมบาลปี กรณ์ ประเทศสหราชอาณาจักร หนังสอื สำ� คัญอีกเร่ืองหนึง่ ท่ีทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้แปลและ จัดพิมพ์คือหนังสือนิบาตชาดก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงใส่พระราชหฤทัยย่ิง ด้วยเป็นหนังสือที่จะใช้แจกในงาน พระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี พระราชธดิ าพระองคใ์ หญ่ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ พระราชธดิ าพระองคน์ ป้ี ระสตู ิ แตเ่ จา้ คณุ พระประยรู วงศ์ (แพ บนุ นาค) พระสนมเอก และเปน็ พระราชธดิ า ทท่ี รงสนิทเสนห่ าอยา่ งยง่ิ ดงั ท่ีทรงตรัสเรียกวา่ “ลกู เมียค่ทู กุ ขค์ ยู่ าก” ไดม้ ี พระราชหัตถเลขาทรงปรึกษาหารือถึงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น วิธีการแปล การหาตวั ผูท้ จี่ ะแปล การเรียงพมิ พ์ การใช้ถ้อยคำ� ตา่ ง ๆ ฯลฯ ใจหม่อมฉันรักฟรีแตรนสเลชัน (free translation- ผู้เขียน) แลย่อให้สั้น ไม่ใช้ค�ำซ�้ำเช่นภาษามคธ แต่ค�ำท่ีเรียง ลงน้ันจะต้องบรรจุค�ำให้เต็มให้เรียบในภาษาไทย ได้คิดหา ตัวอย่างซ่ึงจะยกถวายยังนึกไม่ใคร่ออก ในเวลานี้นึกได้แต่ ประกาศขอฝนซง่ึ ราชบณั ฑติ ยอา่ น แปลคาถาเทวดา แลคาถา พุทธภาษิต ดูเหมือนจะจุดีมากแลเข้าใจง่าย... ถ้าแปลน้ัน ให้เข้าใจง่ายเห็นปานน้ัน น่าจะเปนที่พอใจผู้ที่ต้องการรู้ทาง ใจความไมใ่ ชท่ างภาษา (พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , ๒๔๗๒, หนา้ ๘๔) เหตุที่มีพระราชด�ำริที่จะแปลนิบาตชาดกเพราะทรงเห็นว่า นบิ าตชาดกเปน็ วรรณกรรมสำ� คญั ของโลก ควรทจ่ี ะไดแ้ ปลไวเ้ ปน็ ภาษาไทย อนั เปน็ การแสดงความเจริญทางอกั ษรศาสตร์ และเป็นประโยชน์ท้งั ในทาง ธรรมะและการศึกษาคน้ ควา้ ในทางวชิ าการ ดงั ที่ได้มีพระบรมราชาธบิ ายไว้ 145
ในค�ำน�ำของหนังสือในการจัดพิมพ์คร้ังแรก การแปลและจัดพิมพ์นิบาต ชาดกน้ีได้ด�ำเนินการเป็นเวลายาวนานถึง ๓ รัชกาล มาส�ำเร็จบริบูรณ์ ครบทง้ั ๕๔๗ เรอ่ื งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อย่หู วั อีกเร่ืองหน่ึงที่นับเน่ืองอยู่ในการศึกษาด้วยนั่นคือ การค้นคว้า ความรู้ต่าง ๆ ท่ีทรงสงสัยจากคัมภีร์และต�ำราวิชาการต่าง ๆ เช่น พระราชหัตถเลขาว่าด้วยการวินิจฉัยศัพท์ ณฏฺ หรือ ณัฏฐ (ปัจจุบัน นิยมเขียน ณัฐ) ซึ่งมลี กั ษณะคล้ายปจุ ฉา-วสิ ัชนาในขนบเดมิ โดยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปุจฉาให้สมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ ทรงสบื คน้ ศพั ท์ ณฏฺ นี้ ดว้ ยทรงสงสยั วา่ ศพั ทน์ มี้ ที ม่ี าอยา่ งไร เพราะไม่มีในภาษาบาลีมาแต่เดิม สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงค้นคว้า จากคมั ภีร์ต่าง ๆ รวมทงั้ พจนานุกรมสันสกฤตของ Sir Monier Williams แล้วจึงถวายวิสัชนาว่าเป็นศัพท์ท่ีอาจจะมีที่มาในทางสันสกฤต ต่อมา ท่านผแู้ ตง่ คมั ภรี บ์ าลใี นชน้ั หลงั ไดน้ ำ� มาใชบ้ า้ ง ในความหมายวา่ “นกั ปราชญ”์ จนเป็นที่แพร่หลาย แม้กระทั่งปัจจุบันก็เป็นค�ำที่คนนิยมน�ำมาตั้งชื่อ เช่น ณฐั พงศ์ ณฐั พร ณัฐพล ณฐั พฒั น์ ฯลฯ ลกั ษณะการคน้ ควา้ และตำ� รบั ตำ� รา ท่ีทรงใช้ แสดงความเป็นปราชญ์และนักศึกษาค้นคว้าวิจัยท่ีมีญาณทัศน์ กวา้ งขวางของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสเปน็ อยา่ งดี การเกี่ยวกบั พระราชวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาทรง ปรกึ ษาเรอื่ งการเกยี่ วกบั พระราชวงศก์ บั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยา วชิรญาณวโรรสอยู่เนือง ๆ มีท้ังท่ีเน่ืองด้วยราชการ และท่ีเป็นเร่ืองส่วน พระองค์ เร่ืองท่ีเน่ืองด้วยราชการ อาทิ เร่ืองการถวายอดิเรกสมเด็จ พระบรมราชินีนาถ ซ่ึงสืบเนื่องมาจากการเสด็จประพาสยุโรปคร้ังท่ี ๑ พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงสถาปนาสมเดจ็ พระนางเจา้ เสาวภาผอ่ งศรี พระอรรคราชเทวี ข้ึนเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และเป็นผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ อันเป็นการยกย่องพระเกียรติเจ้านายฝ่ายในข้ึนว่าราชการต่างพระองค์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน เหตุท่ีทรงสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภา ผอ่ งศรี กเ็ พราะทรงเปน็ พระราชชนนขี องสมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟา้ มหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารซึ่งเป็นพระรัชทายาท เม่ือทรงสถาปนา ขึ้นแล้ว ได้มีพระราชด�ำริท่ีจะให้ถวายพระเกียรติยศอย่างเต็มที่ จึงทรง ปรึกษาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เรื่องการใช้ราชาศัพท์ต่าง ๆ ว่าให้ใช้ เสมอด้วยพระมหากษัตริย์ เว้นแต่ตัดค�ำว่า “บรม” ออกเสียเท่าน้ัน นอกจากน้ีในการพิธีสงฆ์ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวาย 146
อดิเรกด้วย ซ่ึงตามประเพณีต้ังแต่รัชกาลที่ ๔ จะถวายอดิเรกเฉพาะแก่ พระมหากษัตริย์เท่านั้น ทรงปรึกษาหารือรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ถ้อยค�ำ ทใ่ี ช้ โอกาสในการถวายอดเิ รก การถวายพระพรลา เพอ่ื ใหเ้ ปน็ การเหมาะสม และถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถอย่างเต็มที่จนเป็น แบบแผนสืบต่อมา นอกจากเรื่องอนั เป็นราชการแลว้ ยงั มเี รอ่ื งเกย่ี วกบั พระราชโอรส ธดิ า เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอให้สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นผู้ผูกดวงพระชะตา ประทานพระราชโอรสธิดาแทน “เสด็จพระอุปัชฌาย์” คือสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณซ์ ่ึงสนิ้ พระชนมไ์ ป เรื่องท่ีขอให้ทรงช่วยดูแลพระราชโอรสท่ีทรงผนวช กล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ พระเจ้าลูกยาเธอ ๔ พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้ากิติยากร วรลักษณ์ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม และ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงผนวชเป็นสามเณร ความในพระราช หัตถเลขาแสดงว่า ยังไม่ทรงพระราชประสงค์จะให้พระราชโอรสผนวชด้วย ยังทรงเยาว์พระชันษามาก แต่มิอาจจะทรงขัดความประสงค์ของเจ้าจอม มารดาของพระเจา้ ลูกยาเธอท้งั หลายได้ ดว้ ยถือตามความเชอื่ อยา่ งไทยวา่ บวชพระเป็นกุศลของพ่อ บวชเณรเป็นกุศลของแม่ จึงต้องทรงยอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหฤทัยกังวลเร่ือง ความประพฤติของพระองค์เจ้าสามเณรทั้งส่ี จึงทรงขอให้สมเด็จ พระมหาสมณเจา้ ฯ ยา้ ยจากวดั มกฏุ กษตั รยิ ารามมาประทบั ทวี่ ดั บวรนเิ วศ เป็นการชั่วคราว กล่าวโดยภาษาสามัญก็คือ ทรงขอให้สมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ ในฐานะท่ีเปน็ อามาช่วยดแู ล “หลาน ๆ” อันแสดงใหเ้ ห็นความ สัมพันธ์กันในฐานะพระญาติอนั สนทิ และเปน็ ผ้ทู ่ีทรงไว้วางใจวา่ จะสามารถ ดแู ลอบรมพระราชโอรสไดอ้ ย่างเรยี บร้อย ในทางกลบั กัน เม่ือพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เสด็จ พระราชด�ำเนินประพาสยุโรปคร้ังที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ อันเป็นโอกาสให้ ได้ทรงพบบรรดาพระราชโอรสท้ังหลายที่ก�ำลังทรงศึกษาอยู่ สมเด็จ พระมหาสมณเจา้ ฯ กไ็ ด้ทูลขอใหพ้ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั พระราชทานพระบรมราโชวาทในเรอื่ งพุทธศาสนาแก่พระราชโอรสดว้ ย พระราชหัตถเลขาได้บันทึกถึงเหตุการณ์หน่ึงที่เป็นปัญหาสร้าง ความเดือดร้อนพระทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เร่ืองหนังสือสนุกนึก อันเป็นเรื่องสั้นสมัยใหม่อย่างตะวันตกเรื่องแรก ๆ ของไทย พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงพชิ ติ ปรชี ากรทรงพระนพิ นธ์ ลงพมิ พ์ ในหนังสือวชิรญาณ โดยลักษณะของเร่ืองส้ันน้ันไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็น 147
เรื่องแต่งที่อาจจะใช้ฉากท่ีมีอยู่จริงเป็นพ้ืนของเร่ืองท่ีแต่งข้ึนเพื่อสร้าง ความสมจริง กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงแต่งเรื่องนี้โดยให้ตัวละครเป็น พระในวัดบวรนิเวศน่ังล้อมวงคุยกันถึงเร่ืองที่จะลาสิกขาออกมาท�ำราชการ และการแตง่ งานมเี หยา้ เรอื น ซงึ่ ไมเ่ หมาะแกค่ วามเปน็ ภกิ ษเุ ทา่ ใดนกั สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศในเวลาน้ันทรงอ่านแล้วก็ไม่เข้าพระทัยว่าเป็นเรื่องแต่งอย่าง สมัยใหม่ ก็ทรงโทมนัสน้อยพระทัยว่าเป็นการให้ร้ายพระวัดบวรนิเวศ กระทบไปถงึ พระองคท์ ่านท่ีเป็นผปู้ กครองวัดโดยตรง ถงึ ข้ันวา่ จะไมท่ รงลง เทศน์ในวันพระอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ร้อนพระทัยยิ่ง และมีพระราชหัตถเลขาไปทูลช้ีแจงและขอประทานโทษ สมเดจ็ ฯ กรมพระยาปวเรศวรยิ าลงกรณซ์ ง่ึ เปน็ เสดจ็ พระอปุ ชั ฌาย์ แลว้ ทรง ส�ำเนาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสให้ทรงทราบดว้ ย การในพระองค์ ในฐานะท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็น พระราชอนุชาอันสนิทและเป็นพระภิกษุผู้ทรงปัญญาเป็นปราชญ์และ มีพระจริยาวัตรน่าเล่ือมใส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง ท้ังทรงแสดงความอาทรห่วงใยและแสดงความเคารพแก่สมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ เป็นอย่างย่ิง ดังความที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาฯ หลายฉบับ เช่น เร่ืองการพระกุศลอุทิศพระราชทานเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลท่ี ๔ ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ และ เจ้านายอีก ๔ พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าย่ิงเยาวลักษณ์ พระองค์เจ้า พกั ตรพ์ มิ ลพรรณ กรมหลวงพรหมวรานรุ กั ษ์ (พระองคเ์ จา้ เกษมสนั ตโ์ สภาคย)์ และพระองค์เจา้ บัญจบเบญจมา ความในพระราชหตั ถเลขาแสดงใหเ้ ห็นถงึ พระราชหฤทัยที่ทรงผูกพันและซาบซึ้งในความอาทรห่วงใยและความจงรัก ภกั ดขี องเจา้ จอมมารดาแพที่มีต่อพระองค์ตง้ั แตย่ ังทรงพระเยาว์ ด้วยการในพระกุศลท่ีทรงบ�ำเพ็ญเวลาวันน้ีเปนส่วน อทุ ศิ ใหแ้ กแ่ มแ่ พ ซงึ่ เปนมารดาเลย้ี งของหมอ่ มฉนั แท้ เพราะ ได้มีคุณอุปการบ�ำรุงมาเหมือนบุตร หม่อมฉันยังรฦกได้ เปนนติ ย์ ถงึ เวลาทหี่ อ่ หว้ิ ของไปปอ้ นใหร้ บั ประทานในทต่ี า่ ง ๆ ทุกข์ด้วยในเวลาหม่อมฉันมีความผิด ยินดีด้วยในเวลาดี แลรฦกถึงเวลาที่หม่อมฉันตื่นข้ึนมีน�้ำตาอาบหน้าเม่ือได้ ทราบขา่ ววา่ ตาย ความจำ� ไดอ้ นั นป้ี รากฏอยใู่ นใจไมข่ าด แตม่ ริ ู้ จะทดแทนคณุ เฉพาะตวั ได้ เพราะลว่ งลบั ไปเสยี ชา้ นานมาแลว้ 148
(พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ วั , ๒๔๗๒, หน้า ๒๑-๒๒) เร่อื งทรงเลา่ ขณะเสดจ็ ประพาสยุโรป เช่น ทรงเลา่ ถงึ การทีไ่ ด้เฝา้ สมเดจ็ พระสนั ตปาปาทวี่ าตกิ นั ในการเสดจ็ ประพาสยโุ รปครงั้ ที่ ๑ ทรง “สารภาพ” วา่ ไดท้ รงจมุ พติ พระหตั ถส์ มเดจ็ พระสนั ตปาปา ทรงอธบิ ายวา่ กระทำ� เชน่ น้ันด้วยความเคารพนบั ถือตามธรรมเนียมอันดี ท้ังสมเดจ็ พระ สนั ตปาปาเองกเ็ ปน็ ผู้ทรงประพฤติตงั้ อย่ใู นสุจรติ ธรรม เป็นผคู้ วรแก่การ บชู า นอกจากจะทรงเล่าเรื่องต่าง ๆ ขณะเสด็จประพาสแล้ว ข้อความใน พระราชหตั ถเลขายงั แสดงดว้ ยวา่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงสืบขา่ วคราวเร่อื งราวต่าง ๆ ในพระนครจากสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ ท้ังนเี้ พราะไม่ได้ทรงทราบขา่ วจากกรงุ เทพฯ เป็นเวลาหลายวนั ทรงสงสัย วา่ จะเกิดเหตุรา้ ย จงึ มีพระราชโทรเลขถามมายงั สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ “โดยทรงเหน็ วา่ เป็นสมณคงไม่อ�ำพราง” (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว, ๒๔๗๒, หนา้ ๒๘) พระราชหัตถเลขาบางฉบับแสดงให้เห็นความสนิทสนมและความ อาทรห่วงใยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อสมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ เช่น ทรงจัดหาข้าวใหม่ท่ีมีรสอร่อยมาถวายเพื่อให้ เสวยไดม้ ากข้นึ ทั้งยงั จดั หาผู้ทีจ่ ะหงุ ข้าวนนั้ ให้ดไี ด้เพอื่ ที่จะไดห้ ุงถวายเป็น ประจ�ำ หรือการจัดงานเลื่อนกรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซ่ึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความส�ำคัญและใส่ พระราชหฤทยั อยา่ งยงิ่ ทรงปรกึ ษาหารอื กนั ในเรอ่ื งรายละเอยี ดตา่ ง ๆ ในพธิ ี มีการจัดท�ำหนังสือประชุมสุภาษิตและมีดส�ำหรับตัดกระดาษเพ่ือ พระราชทานแจกเปน็ ของชำ� ร่วยเป็นตน้ หรอื เมือ่ คราวเสดจ็ ประพาสยโุ รป ครงั้ ท่ี ๑ ก็ได้ทรงซอื้ ผา้ เน้ือดีมาถวายให้ทรงใช้ ดว้ ยมขี องตง้ั ใจจะซอื้ มาถวายอกี อยา่ งหนง่ึ คอื ผา้ กมั พล ท่ีเขาเรียกว่าแคชเมียชอล (shawl-ผู้เขียน) เปนของ ท�ำในประเทศยุโรป เลียนอย่างผ้าส่านแคชเมียในประเทศ อินเดีย ซง่ึ เปนทน่ี บั ถอื ของไทยเราแตโ่ บราณ แลฝรงั่ กำ� ลงั ตน่ื กนั มาก เปนเหตุท่ีเนื้อนุ่ม ได้พบมีสีขาว เดิมคิดว่าจะ ซ้ือมาตัดจีวรถวายพระอ่ืน ๆ ด้วย แต่ราคาแรงรอไม่ติด จึงได้ซ้ือมาแต่ผืนเดียว จะฉีกตัดจีวรก็เสียดายอยู่ เห็นว่า จะใช้เปนผ้าห่มหนาวได้ แต่มาไม่ทันก�ำหนดเมื่อไปท่ีวัด ด้วยมาแล้วยังต้องย้อม ก็อยู่ข้างจะเปนการใหญ่... บัดน้ี 149
เปนอันส�ำเร็จได้ดงั ปรารถนา แตเ่ น้อื กระด้างไปกวา่ เดิมสกั นิดหน่ึง ขอส่งมาถวายเพ่ือทรงทนั ฤดหู นาว... (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๔๗๒, หนา้ ๒๘-๒๙) สรุป พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสท่ีทรงมี ไปมาระหว่างกันเป็นหลักฐานส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าย่ิง เพราะไดบ้ นั ทกึ เรอ่ื งราวอนั เปน็ เกรด็ เลก็ เกรด็ นอ้ ยหรอื เรอื่ งทเี่ ปน็ “เบอื้ ง หลงั ” ของพระราชกรณยี กิจ เหตุการณ์ หรอื บรรดาสิ่งตา่ ง ๆ ที่เกิดขึ้นและ ด�ำเนินไปในเวลานน้ั ซง่ึ บางเรอ่ื งบางเหตกุ ารณย์ งั คงสง่ ผลกระทบสำ� คญั มากระทง่ั ปจั จบุ นั เชน่ การศาสนาและการศกึ ษา ซง่ึ ไดท้ รงวางรากฐานไว้ อยา่ งม่นั คงด้วยพระญาณทัศนะอันยาวไกล การได้มีโอกาสอ่านพระราช 150
บรรณานุกรม จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๔๗๒). พระราชหัตถเลขาทรงมีไปมากับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณ พิพรรฒธนากร. 151
พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยหู่ วั กบั สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส จฑุ าคภัสต์ิ รตั นพันธ์๑ พระบาทสมเด็จพระรามาธบิ ดศี รสี นิ ทรมหาวชริ าวุธ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๖ เปน็ พระมหากษตั รยิ ผ์ ทู้ รงเปย่ี มลน้ ดว้ ยพระอจั ฉรยิ ภาพ และพระปรีชาสามารถในด้านการต่าง ๆ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสขุ การตา่ งประเทศ และวรรณกรรมและ อักษรศาสตร์ ทรงน�ำพาสยามวัฒนาสถาวรทัดเทียมกับนานารยะประเทศ สมกบั พระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธรี ราชเจา้ ” คือ “พระราชาผทู้ รง เป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่” แต่เบ้ืองหลังความส�ำเร็จแห่งรัชกาลน้ีย่อมมีผู้ที่ เป็นก�ำลังส�ำคัญในการอบรมบ่มพระนิสัยให้เป็นผู้คงแก่เรียนท้ังทางโลก ทางธรรมมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนแผ่ผลไพศาลเต็มท่ีในรัชกาลนั้น ผู้ท่ีประคับประคองสมเด็จพระบรมราชาธิราชพระองค์นั้นมาตลอดทุกช่วง แหง่ พระชนมช์ พี คอื “สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส” สมเด็จพระมหาสังฆนายกปธานาธิบดีแห่งสงฆ์พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุง รตั นโกสนิ ทร์ ผทู้ รงเปน็ “บรุ ุษย์รตั น์อันล�้ำเลิศ” ของแผ่นดนิ สายสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระมหาสังฆนายกพระองค์น้ันกับ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖ ผูกพันแนบแน่นท้ังในฐานะพระญาติวงศ์สนิท และในฐานะครูและศิษย์ กล่าวคือ ในฐานะพระญาติวงศ์ สมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ เปน็ พระปติ ลุ า คอื อาในพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั และพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยู่หัวเปน็ พระภาติยะ คือ หลานอา ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ส่วนในฐานะครูและศิษย์ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนิทสนมคุ้นเคยต้องพระอัธยาศัยกันมากับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสมาตั้งแต่ยังทรงด�ำรง ๑ นสิ ิตดุษฎบี ณั ฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย. 153
พระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ ได้เสด็จวัดบวรนิเวศ วิหารอันเป็นส�ำนักแห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้นเมื่อคร้ังทรง ผนวชสามเณร และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราวุธ เสด็จไป ทรงศกึ ษา ณ ยโุ รป สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ กไ็ ดเ้ ปน็ ผทู้ รงรบั คำ� ปฏญิ ญา แสดงพระองคเ์ ปน็ พุทธมามกะ และสมเดจ็ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยู่หัวทรงขอให้สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ เปน็ ผู้ถวายพระอนุศาสนโี ดย เสมอมา เมื่อสมเดจ็ พระเจา้ ลูกยาเธอ เจ้าฟา้ วชิราวุธ ทรงด�ำรงพระอิสรยิ ยศ สยามมกุฎราชกุมาร และประทบั ณ ทวปี ยุโรป แม้ระยะทางจะห่างไกลจาก สยามมาก แต่เม่อื สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรง ออกหนังสือธรรมจกั ษุ กท็ รงสง่ หนงั สอื มชี อ่ื น้ันไปถวายสมเดจ็ พระยพุ ราช ถึงยุโรป สมเด็จพระยุพราชสบพระทัยมากเนื่องด้วยพระอัธยาศัยในการ ออกหนงั สอื ตอ้ งกนั กบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ถงึ กบั มพี ระราชหตั ถเลขา ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถฉบับหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้พระองค์จะ ประทับอยู่ต่างชาติต่างศาสนา แต่กระน้ันก็ยังทรงม่ันคงในพระพุทธ ศาสนาไม่เสื่อมคลาย ยังความโสมนัสยินดีแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถย่ิง ในการน้ีสมเด็จพระบรมชนกนาถมีพระราชหัตถเลขาทรงเล่าถวายสมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ กับทั้งทรงขอให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ถวาย พระอนุศาสนีแก่สมเด็จพระยุพราชเนือง ๆ การที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโสมนัสปานนั้นก็เหตุด้วยพระราชจริยวัตร แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชท่ีเป็นไปตามพระราชปรารถนาประการ หนง่ึ และทรงเลือกครูได้ถูกคนคือ เลือกสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรสให้ทรงเป็นครูแห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชอีก ประการหน่ึง ในเรื่องการถวายพระอนุศาสนีนั้น เมื่อรัชกาลท่ี ๕ จะ พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่สมเด็จพระยุพราช ก็ทรงปรึกษาสมเด็จ พระสมณเจ้าฯ ซง่ึ ไดถ้ วายคำ� แนะน�ำให้พระราชทานพระบรมราโชวาทอยา่ ง ที่เคยพระราชทานมาแล้วซ่ึงว่าด้วยค�ำสอนทางพระพุทธศาสนาเรื่องการ หม่นั ไม่เกยี จคร้าน และเป็น “เทียบการใหมใ่ ห้เขา้ กบั การเก่า” สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นธุระใน การอนั เน่ืองดว้ ยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดที ่ี ๖ ตั้งแตย่ งั มไิ ดท้ รงราชย์ ดังเช่น เรื่องใช้ค�ำว่า “มหา” น�ำหน้าพระนาม “วชิราวุธ” ในบทสวด ซึ่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถทูลปรึกษาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ หรือแม้แต่ เม่ือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จกลับจากยุโรปถึงพระมหานครใน เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๒๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ทรงมีส่วนเตรียม การรับเสด็จสมเด็จพระยุพราชผู้ทรงเป็นศิษย์ มีลายพระหัตถ์ถึงหม่อมเจ้า 154
พระสถาพรพริ ยิ พรต (ตอ่ มาเปน็ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ กรมหลวงชนิ วรสริ วิ ฒั น์ สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้ ) ใหว้ ดั ทง้ั หลายทอี่ ยรู่ ะยะทางแตง่ การรบั เสดจ็ อยา่ ง สมพระเกียรติ ตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเดจ็ พระยพุ ราชได้ทรงพระผนวช ตามโบราณราชประเพณี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทบั จ�ำพรรษาท่ีวัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษา ทรงได้รับสมณฉายาจากสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ว่า “วชิราวุโธ” ในการนี้ความสัมพันธ์ของสองพระองค์ก็แน่นแฟ้นย่ิงข้ึน พระองคห์ นงึ่ เปน็ พระราชอปุ ชั ฌาย์ พระองคห์ นงึ่ เปน็ สทั ธวิ หิ ารกิ ในสำ� นกั นน้ั สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็น ปราชญ์ผู้เช่ียวชาญรอบรู้คดีท้ังทางโลกทางธรรมย่ิงโดยมิต้องสงสัย ทรงเป็นอุปัชฌาจารย์ผู้ถ่ายทอดความเป็นปราชญ์ไปยังสมเด็จพระยุพราช ผู้ทรงเป็นสัทธิวิหาริกอย่างเต็มที่สมดังพระราชปรารถนาพระบาทสมเด็จ พระบรมรามาธิบดีที่ ๕ อย่างเช่นในการที่สมเด็จพระยุพราชเสด็จประพาส เมืองกำ� แพงเพชร เมืองสโุ ขทยั เมอื งสวรรคโลก เมอื งอตุ รดิตถ์ และเมือง พษิ ณโุ ลก ไดท้ รงตรวจตราโบราณวัตถุสถานและสอบสวนเร่อื งตำ� นานของ เมืองโบราณต่าง ๆ ในการน้ีมีพระราชหัตถเลขาถวายสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เสมอ เมื่อใดท่ีทรงสงสัยก็ทรงขอประทานค�ำแนะน�ำ ดังเช่นเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระยุพราชทรงได้ศิลาจารึกวัดกระพังช้างเผือกอักษรขอมจากเมือง สุโขทัย ทรงแปลด้วยพระองค์แล้วแต่ยังไม่ได้ความโดยละเอียด ก็ทรง อาราธนาสมเด็จพระอุปัธยาจารย์ประทานพระอนุเคราะห์ให้เปรียญช่วย แปล สมเด็จพระอปุ ัชฌาย์ทรงรับ ทรงแปลศิลาจารึก ประทานขอ้ สนั นิษฐาน เก่ยี วแก่ศพั ท์ และลายพระพทุ ธบาทเพ่ิมเติม นอกจากสมเด็จพระอปุ ชั ฌาย์ จะทรงเป็นผู้ไขข้อสงสัยของสมเด็จพระยุพราชแล้ว อีกคราหน่ึงเมื่อครั้ง สมเด็จพระยุพราชทรงร่างค�ำกราบบังคมทูลเปิดคลุมพระบรมรูปทรงม้า ครั้งทรงร่างเสร็จแล้วจึงทรงส่งร่างค�ำกราบบังคมทูลน้ันถวายสมเด็จพระ อุปัชฌาย์เพ่ือทรงขอประทานพระวินิจฉัย สมเด็จพระอุปัชฌาย์ทรงชื่นชม ในพระปรีชาสามารถแห่งสมเด็จพระยุพราชเป็นอย่างย่ิงถึงกับออก พระโอษฐช์ มวา่ “คำ� นท้ี รงเรยี บเรยี งดมี าก ยงั อยากไดต้ อ่ ไปวา่ ไฉนคนชนั้ หลงั จะรภู้ าษาเรยี งไดเ้ ชน่ นบี้ า้ ง” ในขณะเดยี วกนั กม็ ไิ ดท้ รงชมอยา่ งเดยี ว แตย่ งั ทรงมีพระวินิจฉัยถ้อยคำ� เน้ือความบางประการในร่างค�ำกราบบังคมทูลน้ัน ทง้ั นีเ้ พื่อทรง “ย่ัว” ให้สมเด็จพระยุพราช “ทรงเลน่ ” ภาษาให้ลึกซ้ึงอกี ดว้ ย เมอ่ื พจิ ารณาแล้วจะเห็นไดว้ า่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ ทรงมสี ว่ นส�ำคัญ ในการจุดประกายความสนพระราชหฤทัยใฝ่ศึกษาในทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ อันเป็นศาสตร์ที่ชาติอารยะให้ความส�ำคัญ และสมเด็จ พระยุพราชก็ทรงน�ำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการสร้างชาติเม่ือพระองค์ 155
สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยหู่ วั ขณะผนวชเปน็ พระภิกษุ และสมเดจ็ พระมหิตลาธิเบศร อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก ขณะบรรพชาเปน็ สามเณร สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส และพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยหู่ ัว ขณะผนวชเปน็ พระภิกษุ พรอ้ มด้วยคณะสงฆ์ 156
เสด็จข้ึนทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ เช่น การน�ำเร่ือง “พระร่วง” มาใช้ เป็นกุศโลบายในการด�ำเนินกิจการต่าง ๆ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของ ประเทศชาติ ประการหนึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจา้ พระองค์น้นั ยงั ทรงเป็น แรงบันดาลพระราชหฤทัยในทางอักษรศาสตร์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ดว้ ย เชน่ ทรงพระราชนพิ นธธ์ รรมาธรรมะสงคราม ขึ้นจากพระธรรมเทศนามงคลวิเสสที่สมเด็จพระราชูปัธยาจารย์ถวายใน งานเฉลมิ พระชนมพรรษา พระธรรมเทศนาครง้ั นนั้ เปน็ ตอ้ งพระราชหฤทยั ยง่ิ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖ ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ในส่วนค�ำน�ำ พระราชนพิ นธว์ า่ “สมเดจ็ พระมหาสมณะทรงเลอื กอทุ าหรณเหมาะหนกั หนา… คลา้ ยจรงิ ๆ กบั กจิ การทไ่ี ดเ้ ปนไปแลว้ ในงานมหาสงครามในยโุ รป อนั พงึ่ จะยตุ ลิ งในศกนน้ั ดว้ ยความปราชยั แห่งฝา่ ยผู้ท่ปี ระพฤตลิ ะเมดิ ธรรมะ” ความผูกพันสนิทเสน่หาระหว่างสมเด็จพระยุพราชและสมเด็จ พระอปุ ธั ยาจารยม์ อี ยเู่ นอื ง ๆ มไิ ดข้ าด นอกจากการศกึ ษาเรยี นรแู้ ลว้ สง่ิ ใด ที่จะยงั ให้สมเดจ็ พระยพุ ราชสบพระทัยกม็ ักจะทรงเออ้ื เฟอื้ เสมอ เช่นทรงสง่ สำ� เนามนตส์ ำ� หรบั เรอื พระทน่ี ง่ั ไอยราพต ซง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงขอใหเ้ ลอื กถวาย สงิ่ ใดทเ่ี ปน็ พระราชกจิ ในสมเดจ็ พระบรม บพติ รรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ก็ทรงอนุวรรตตามเสมอ ดังเช่น เม่ือทรงตั้งกิจการเสือป่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ประทานพระอนุ ศาสนีแก่กองเสือป่าในวันถือน�้ำเข้ากอง หรือเม่ือพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยหู่ วั เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปยงั มณฑลตา่ ง ๆ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ก็ได้เสด็จทรงตรวจการคณะสงฆ์ท่ัวพระราช อาณาจักรด้วย ในการเสด็จตรวจการนนั้ มกั จะมพี ระราชโทรเลขไปมาระ หวา่ งกนั เสมอ ในพระราชโทรเลขนน้ั แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความเปน็ หว่ งเปน็ ใย ของพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทมี่ ตี อ่ สมเดจ็ พระอปุ ชั ฌายเ์ ปน็ อยา่ งยง่ิ หรอื เมอื่ ครง้ั เมอ่ื รชั กาลที่ ๖ ทรงจัดซื้อ “เรือรบหลวงพระร่วง” มี การจัดพระราชพิธีฉลองอย่างเอิกเกริก ในการนสี้ มเด็จพระมหาสมณเจ้า พระองคน์ นั้ ทรงพระนิพนธม์ นตร์ส�ำหรบั เรือพระรว่ ง เพอื่ เปน็ บทสวดใน พระราชพธิ ีฉลองรับเรอื ครัง้ นนั้ อกี ด้วย ประการหน่ึง ส่ิงใดเป็นการจ�ำเริญพระราชสิริสวัสดิ์แห่งพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยหู่ วั สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ กท็ รงพระด�ำริ อยู่เสมอ อย่างเช่นทรงก�ำหนดให้พระสงฆ์สวดถวายชัยมงคลเวลาเสด็จ พระราชดำ� เนนิ ไปและสวดมหาการณุ ิโกถวายเวลาเสดจ็ พระราชดำ� เนินกลับ แม้แต่ในการท่ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้ส่ิงเพ่ิมพูน พระบารมีในรัชกาล สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ นั้นก็ทรงเป็นบุคคลส�ำคัญ 157
ต�ำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวหิ าร (ท่มี า: วัดบวรนเิ วศวหิ าร) พระโกศทองใหญท่ รงพระศพ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ภายในท้องพระโรง ตำ� หนกั เพ็ชร วดั บวรนิเวศวหิ าร (ท่ีมา: สำ� นักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) 158
ในการพระราชพธิ ี เชน่ แผน่ สมั ฤทธิ์รปู พระกระบธี่ ชุ พระครฑุ พา่ ห์ซ่ึงขดุ ไดท้ ่ี พระประโทน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟา้ กรมหลวงนรศิ รานวุ ดั ตวิ งศท์ รงคดิ เครอ่ื งประกอบเปน็ ธงพระกระบธี่ ชุ พระครุฑพ่าห์น้อย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญธงพระกระบี่ธุช พระครุฑพ่าห์น้ันไปถวายสมเด็จพระอุปัชฌาย์เพ่ือจะได้จารึกคาถาบน แผ่นสมั ฤทธ์ดิ ้านหลงั รูปพระกระบ่ีธุชพระครฑุ พา่ หน์ ัน้ ความเคารพบูชาท่ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี ต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสนั้นเป็นที่ประจักษ์ ชัดท่ัวไปเม่ือพระองค์ทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แล้วทรง ถวายพระเกียรติยศสูงสุดด้วยการที่ทรงพระกรุณาโปรดให้ต้ังการพระราช พิธีมหาสมณตุ มาภิเษกเปน็ “มหาสงั ฆปรินายกปธานาธิบดีสงฆ”์ และเล่ือน พระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระยา ความรู้สึกที่พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรสตงั้ แตย่ งั ทรงพระเยาวจ์ นเสดจ็ ขนึ้ ทรงราชยป์ รากฏดงั ความ ทวี่ ่า …ทรงพระอนสุ รคำ� นงึ ถงึ พระคณุ ในพระเจา้ บรมวงษเ์ ธอ กรมหลวงวชริ ญาณวโรรส พระบรมราชปู ธั ยาจารย์ ผเู้ ปน็ พระบรม ราชวงษ์ ซงึ่ ทรงผนวชในพระพทุ ธสาสนา ทรงพระปรชี าญาณ รอบรู้ในพระปริยัติธรรมหาผู้ที่จะรู้เท่าทันได้เปนอันยาก ได้ทรงถวายโอวาทานุสาสน์มาแต่ทรงพระเยาว์จนได้ทรง อปุ สมบทในพระพทุ ธสาสนา ไดท้ รงพระอนสุ าสนส์ ง่ั สอนธรรม วนิ ยั แลราชกรณยี กจิ เปนลำ� ดบั มา แลไดท้ รงสมณศกั ดเ์ิ ปน ใหญ่ เปนประธานในคณะสงฆด์ ว้ ยพระปรชี าสามารถ เปนทนี่ ยิ ม นบั ถอื ของหมู่คณะสงฆ์ ทั้งพระบรมวงษานวุ งษ์ แลประชาชน ท่ัวไป สมควรทจ่ี ะสถาปนาพระอศิ รยิ ยศใหย้ งิ่ ใหญ่ เชน่ พระบรมวงษท์ ี่ได้ทรงเปนใหญ่ในคณะสงฆ์มาแต่ก่อน จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต้ังการพระราชพิธีมหาสมณุ ตมาภิเศก เล่ือนพระอศิ รยิ ยศ พระเจา้ บรมวงษเ์ ธอ กรมหลวง วชริ ญาณวโรรส ใหด้ ำ� รงพระยศอนั ยงิ่ ใหญ…่ 159
ต ล อ ด พ ร ะ ช น ม์ ชี พ ข อ ง พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หนึ่งในผู้ที่ทรงอิทธิพลต่อ พระองค์ก็คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส ความไว้วางพระราชหฤทัยที่ทรงมี ต่อพระราชอุปธั ยาจารยย์ ังทรงด�ำรงเสมอมา ในประกาศสมณุตมาภิเษกก็ได้พรรณนาพระเกียรติคุณของสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ พระองค์นัน้ ไว้อย่างเตม็ ท่ี ท้ังน้ใี นการพระราชพิธดี งั กล่าว กม็ สี ง่ิ พเิ ศษบางประการอนั แสดงวา่ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ถวายพระเกยี รตยิ ศสงู สดุ แดส่ มเดจ็ พระราชอปุ ธั ยาจารยค์ อื การพระราชพธิ ี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญ พระแสงราชศาสตราประกอบเสาพระแทน่ มณฑล และตงั้ พระแทน่ เบญจปฎล เศวตฉตั รอีกด้วย แมว้ า่ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั จะถวายพระเกยี รตยิ ศ คือ มหาสมณุตมาภิเษกแด่สมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์แล้ว แต่การ เฉลิมพระเกียรติยศให้ยิ่งข้ึนไปหาสิ้นสุดเพียงแต่น้ันไม่ เม่ือใดท่ีสบโอกาส ส�ำคัญแห่งสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ ก็ทรงส�ำแดงพระกตัญญูกตเวทิตา ในกาลนน้ั เชน่ ทรงสถาปนาคำ� นำ� หนา้ พระนาม “สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ” อันแสดงพระเกียรติยศในส่วนทรงด�ำรงสมณศักด์ิ เมื่อสมเด็จพระราช อุปธั ยาจารยม์ ีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ดังความทีว่ ่า มพี ระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเดจ็ พระรามาธบิ ดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศ ทราบทวั่ กนั ดว้ ยทรงพระราชดำ� รหิ ว์ า่ พระมหาสงั ฆปรนิ ายก ปธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑลท่ัวพระราชอาณาจักร ซึ่งมี สมณศักดิ์ว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ นั้น ได้มีนาม อย่างสังเขปว่า สมเด็จพระสังฆราช เปนประเพณีสืบมา แต่ส่วนพระบรมราชวงศ์ผู้ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกด�ำรง สมณศักด์ิเช่นนี้ หาได้เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่ ย่อม เรียกพระนามไปตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ 160
ไม่ปรากฎพระเกียรติยศในส่วนทรงด�ำรงสมณศักดิ์นั้นเลย จงึ ทรงพระราชดำ� รหิ ว์ า่ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา วชิรญาณวโรรส พระอุปัธยาจารย์ ได้ทรงรับมหาสมณุตมา ภเิ ษกเปนมหาสังฆปรนิ ายกปธานาธบิ ดสี งฆ์ มาจนกาลบดั น้ี ถึง ๑๐ พรรษาล่วงแล้วทรงมีคุณูปการในทางพุทธศาสนกิจ ยิ่งนัก พระองค์มีพระชนมายุเจริญย่ิงข้ึนล่วง ๖๐ พรรษา ประจวบอภิลักขิตสมัยครบรอบวันประสูต์ิ ทรงบ�ำเพญ พระกศุ ลเฉลมิ พระชณั ษา สมควรจะสถาปนาพระนามในสว่ น สมณศักดิ์ให้ปรากฎพระเกียรติยศย่ิงข้ึน จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปล่ียนค�ำน�ำพระนามเปน สมเด็จ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส (มสี รอ้ ยพระนาม คงตามเดิม) เพื่อเฉลิมพระเกียรตยิ ศสบื ไปชัว่ กาลนาน พระเกยี รตยิ ศพเิ ศษแหง่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรสอีกประการหน่ึงซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไว้วางพระราชหฤทัยของ รัชกาลที่ ๖ ที่ทรงมีต่อสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ มีลายพระหัตถ์ถึงเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เกย่ี วแกก่ ารปกครองคณะสงฆว์ า่ ควรถวายอำ� นาจในการปกครองคณะสงฆ์ แก่พระองค์ ในฐานะท่ีทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชให้เด็ดขาด เพ่ือให้การ ปกครองคณะสงฆ์เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ ทรงมอบการท้ังปวงซึ่งเป็นกิจธุระพระศาสนาถวายแด่พระองค์ผู้เป็น พระมหาสังฆปรินายกปธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑลท่ัวพระราชอาณาจักร ตามพระประสงค์ต้งั แตเ่ ดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๕๕ นอกจากการข้างต้นจะเป็นนิมิตรูปแห่งพระราชกตัญญุตาที่พระบาท สมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั มตี อ่ สมเดจ็ พระราชอปุ ธั ยาจารยแ์ ลว้ กย็ งั มสี ง่ิ อน่ื ๆ ซงึ่ แสดงถงึ ความผกู พนั ของสองพระองค์ เชน่ “พระตำ� หนกั เพช็ ร” ซง่ึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ งถวายเปน็ ทอ้ งพระโรง ซง่ึ คำ� วา่ “เพช็ ร” นามพระต�ำหนักน้ันก็ออกจากค�ำว่า “วชิระ” ในนามพระนามของทั้งสอง 161
พระองค์นนั้ เอง กล่าวได้ว่าตลอดพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจา้ อยู่หัว หนงึ่ ในผ้ทู ่ที รงอทิ ธพิ ลต่อพระองคก์ ค็ ือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ความไว้วางพระราชหฤทัยท่ีทรงมีต่อพระราช อปุ ัธยาจารย์ยงั ทรงดำ� รงเสมอมา เม่อื ทรงพระราชด�ำริถงึ วาระสดุ ทา้ ยแหง่ พระชนมช์ พี ล่วงหนา้ ทรงท�ำพระราชพนิ ยั กรรมทร่ี ะบุไว้ชัดเจนวา่ ผู้ที่จะนำ� พระบรมศพสู่พระเมรุมาศนั้น หากสมเด็จพระราชอุปัธยาจารย์ยังเสด็จอยู่ ก็ขอให้พระองค์เป็นผู้อ่านพระอภิธรรมน�ำพระบรมศพ แต่การหาเป็นด่ัง พระราชพนิ ยั กรรมไม่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ พระองคน์ น้ั กเ็ ฉกเชน่ เดยี วกนั ทรงพระดำ� รถิ งึ กาลอนั จะเกดิ แกพ่ ระชนมช์ พี ในภายภาคหนา้ ทรงมน่ั หมาย ที่จะถวายพระมรดกของพระองค์แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจา้ อยหู่ วั ดว้ ย เมอื่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ประชวรมาก พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยูห่ ัวทรงตระเตรยี มพรอ้ มส�ำหรับเมอื่ กาละมาถึง โปรด ให้ใช้ค�ำว่า “สิ้นพระชนม์” และการพระศพนั้นเทียบอย่างสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่เฉลิมพระเกียรติยศให้พิเศษ กว่าคือ ประกอบพระโกศทองน้อยทรงพระศพตั้งแต่แรก เม่ือถึงวันออก พระเมรุให้เปล่ียนเป็นทรงพระโกศทองใหญ่ ในวันน้ันพระบาทสมเด็จ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงแสดงความเคารพบชู าสมเดจ็ พระราชปู ธั ยาจารย์ ดว้ ยการทรงพระภษู าขาว และเสดจ็ ตามพระศพเวยี นพระเมรดุ ว้ ยพระองคเ์ อง ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นเบื้องหลังความรุ่งเรืองแห่งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี ๖ ถึง ๑๑ ปี ถึงแม้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์น้ันจะทรงล่วงลับแล้ว แต่พระคุณูปการ ที่มีต่อราชอาณาจักรและพุทธจักรก็ยังคงสถิตด�ำรงอยู่มาจนกาลบัดน้ีและ 162
บรรณานุกรม ข่าวในพระราชส�ำนัก วนั ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕. ใน ราชกจิ จานุเบกษา. (๒๔๖๕). เข้าถงึ ไดจ้ ากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2465/D/122_1.PDF ข่าวสน้ิ พระชนม์ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ใน ราชกิจจานเุ บกษา. (๒๔๖๔). เขา้ ถงึ ไดจ้ าก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/ 1239.PDF จุลจอมเกล้าเกล้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (๒๔๗๒). พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมไี ปมากบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรส. พระนคร: โรงพิมพโ์ สภณพพิ รรฒธนากร. ชชั พล ไชยพร. (๒๕๖๔, ๑๕ สงิ หาคม). สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เข้าถึงได้จาก https://youtu.be/ phgFbkzjG_8 ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า. ใน ราชกิจจานุเบกษา. (๒๔๖๔). เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/A/10.PDF ประกาศมหาสมณุตมาภิเษก. ใน ราชกิจจานุเบกษา. (๒๔๕๓). เข้าถึงได้จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2579.PDF พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเศก สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ใน ราชกจิ จานเุ บกษา. (๒๔๕๓). เขา้ ถงึ ไดจ้ าก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2453/D/2562.PDF มงกุฎเกล้าเจา้ อย่หู วั ,พระบาทสมเด็จพระ. (๒๔๖๓). ธรรมาธรรมะสงคราม (ตามเคา้ เรอื่ งใน ธรรมะชาดก เอกาทสนบิ าต): บทพากย์ พระราชนพิ นธใ์ น พระบาทสมเดจ็ พระรามาธบิ ดี ศรีสนิ ทรมหาวชิราวธุ พระมงกฏุ เกลา้ เจา้ อยูห่ ัว. พระนคร: โรงพิมพ์ไท. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๑๗). พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และลายพระหัตถ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์มหามกฎุ ราชวิทยาลยั . วชริ ญาณวโรรส, สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๑๑). รายงานตรวจการคณะสงฆ์. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา. วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. (๒๕๓๒). พระมหาสมณศาสน ลายพระหัตถ์ ระหว่างสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กับ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชนิ วรสิริวัฒน์. กรงุ เทพฯ: มหามกฎุ ราชวิทยาลัย. 163
โภคาภเิ ษก - ปัญจราชาภเิ ษก ยุทธนาวรากร แสงอร่าม๑ พระราชปจุ ฉา คอื รบั สง่ั ถามขอ้ อรรถธรรมของพระเจา้ แผน่ ดนิ ทม่ี แี ก่ พระราชาคณะเพ่ือประชุมกันถวายวิสัชนา ซึ่งเป็นประเพณที มี่ ีมาแตโ่ บราณ หนังสือพระราชปุจฉาและข้อความที่พระสงฆ์ถวายวิสัชนาแต่ครั้งกรุง ศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ยังเก็บรักษาไว้ได้หลายเรื่อง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๔ หอพระสมุดวชิรญาณจึงได้รวบรวมพิมพ์พระราชปุจฉาเป็น ภาคต่าง ๆ ถึงพ.ศ. ๒๕๑๗ กรมศิลปากรได้เพ่ิมเติมพระราชปุจฉาใน รัชกาลท่ี ๕ พระราชปุจฉาที่ ๔ ว่าด้วยเร่ืองปัญจอภิเษก (กรมศิลปากร, ๒๕๑๗, หนา้ ๒๘๗-๒๙๐) โดยเป็นลายพระหัตถส์ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ถวายวิสัชนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ส�ำหรับพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยโต้ตอบเรื่องปัญจราชาภิเษก เก็บรักษา ณ สำ� นกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศลิ ปากร (“เรอื่ งพระราชวนิ จิ ฉัยใน ร.๕ เร่ืองอภเิ ษก,” ร.๕ บ.๑ ๗/๒, หนา้ ๔๑) และไดร้ ับการพมิ พเ์ ผยแพร่ใน พระราชหัตถเลขาและลายพระหตั ถ์ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงมไี ปมากบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรส ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ (สเุ ชาวน์ พลอยชุม, บรรณาธิการ, ๒๕๖๔, หนา้ ๓๖๙-๓๗๒) ผู้เขียนเข้าใจว่าพระราชปุจฉาเร่ืองปัญจราชาภิเษกนี้ สืบเนื่องมา จากการพระราชพธิ เี ฉลมิ พระทนี่ ง่ั อภเิ ศกดสุ ติ พระราชวงั ดสุ ติ เมอ่ื วนั ที่ ๑๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) ปรากฏตามจดหมายเหตุพระราชกิจ รายวันในรัชกาลที่ ๕ วา่ ๑ ภณั ฑารักษ์ชำ� นาญการ ส�ำนักพิพธิ ภัณฑสถานแหง่ ชาติ กรมศลิ ปากร. 165
เวลาทมุ่ เสศ เสดจ็ ออกในการเฉลมิ พระทนี่ งั่ อภเิ ศกดุ สติ แลฉลองปเรียญพระสงฆ์มีกรมหม่ืนวชิรญาณ เปน ประธานเจรญิ พระพทุ ธมนต์ จบแลว้ ทรงเปดิ ผา้ แพรทบ่ี งั นาม พระทนี่ ง่ั ออก ประโคม แล้วพระราชทานไตร พัดปเรียญ ประกาศ นยิ บตั รแ์ กพ่ ระสงฆว์ ดั เบญ็ จมบพติ ร ๑๒ รปู วดั บวรนเิ วศ ๑ รปู วัดสุวรรณ์กรุงเก่า ๑ รูป รวม ๑๔ รูป แล้วพระสงฆ์ ถวายอตเิ รก ถวายพระพรลา เสดจ็ ขึน้ (พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยูห่ วั , ๒๕๒๗, หน้า ๖๓) สันนิษฐานว่าในการพระราชพิธีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปุจฉาถึงค�ำว่า “อภิเษก” จากนามของพระที่น่ัง องคใ์ หม่นี้ พระท่ีน่ังอภิเศกดุสิต เป็นท้องพระโรงตรงหน้าพระท่ีน่ังวิมานเมฆ ด้านตะวันออก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างข้ึนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยพระที่น่ังในพระราชวังดุสิตมีนามที่คล้องจองกัน คือ พระท่ีน่ัง อัมพรสถาน พระทนี่ ั่งวมิ านเมฆ พระทน่ี งั่ อภเิ ศกดสุ ติ พระตำ� หนกั ราชฤทธ์ิ รุ่งโรจน์ (ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๕๔, หน้า ๔๒๙) สำ� หรบั ปญั จราชาภเิ ษก หรอื ลกั ษณะการราชาภเิ ษกพระมหากษตั รยิ ์ ๕ ประการ อันได้แก่ อินทราภิเษก โภคาภิเษก ปราบดาภิเษก ราชาภิเษก และอุภิเษก โดยอภิเษกท่ีเป็นพระวินิจฉัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส คือ “โภคาภิเษก” จดหมายฉบับแรกนั้นเป็นลายพระหัตถ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๓ เน้ือความตอนตอนต้นถวายพระพรว่า “เรื่องปัญจอภิเศกมีในท้ายกลสัตรีท่ีถวายมา เริ่มตั้งแต่หน้า ๓๐๐” โดย เอกสารทอ่ี า้ งนค้ี อื หนงั สอื เรอ่ื งปะทมุ ชาฎก แลตำ� หรบั เรอื่ งปญั จราชา ภิ เ ศ ก ว่าด้วยอภิเศก ๕ แลกล่าวซ่ึงราชาภิเศก กระษัตริย์ครั้งกรุงเก่า แล กล่าวเมื่อบรมราชาภิเศกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซง่ึ ไดร้ บั การตพี มิ พเ์ ผยแพรเ่ มื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ ที่โรงพมิ พ์หลวง ในพระบรม 166
มหาราชวงั ในสว่ นของ “โภคาภเิ ษก” ปรากฏตามตน้ ฉบับปญั จราชาภิเษก ดังนี้ โภคาภเิ สกํ ราชานํ มงคฺ ลํ อนั ว่าลกั ษณะโภคาภเิ ษก คือเป็นชาติตระกูลพราหมณมหาศาล มีโภไคยไอศุริยสมบัติ อันบริบูรณ์ก็ดี เป็นชาติตระกูลมหาเศรษฐี มียศบริวารและ ทรัพย์สมบัติอันรุ่งเรืองสมควรที่จะเป็นสมเด็จพระมหา กษัตริย์ อันจะเป็นเจ้าพิภพปกครองอาณาประชาราษฎรท้ัง หลาย และรู้จักในลักษณะราชธรรม และตราชูธรรม และ ทศกุศลผลอันจะเป็นประโยชน์โทษทัณฑ์ และรู้ลักษณะที่ จะแบ่งปันตัดรอนซ่ึงทุกข์ของราษฎรอาวรณ์ในการแผ่นดิน ลกั ษณะดงั นชี้ ่ือว่าโภคาภิเษกแล (กรมศลิ ปากร, ๒๕๐๙, หน้า ๒) สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสทรงมคี วามเหน็ วา่ โภคาภิเษกน้ันส�ำหรับต�ำแหน่งท่ีต�่ำกว่าพระเจ้าแผ่นดินโดยทรงยก ตัวอยา่ งจากพระไตรปฏิ ก ปรากฏตามลายพระหตั ถด์ งั นี้ โภคาภิเษกน้ันพอเห็นทาง เทียบในเรื่องพราหมณ์ ครองเมอื ง เชน่ ในอมั พฏั ฐสตู ร ในทฆี นกิ าย สลี กั ขนั ธวรรค กลา่ วถงึ พราหมณโ์ ปกขะระสาตคิ รองอกุ กฏั ฐะ ทพี่ ระเจา้ ปเสนทิ โกศลพระราชทานเปน็ พรหมไทย ตามนยั นน้ี า่ จะไดแ้ กอ่ ภเิ ษก เปน็ เจ้าผู้ครองเมอื งหรือเจา้ ประเทศราช ดังน้จี ะสมความกับ บาลพี ระวนิ ยั แกศ้ พั ทร์ าชาในทตุ ยิ ปาราชกิ สกิ ขาบท วางลำ� ดบั วา่ พระราชานนั้ คอื (ปฐวยิ าราชา) พระราชาในแผน่ ดนิ (ปเทส ราชา) พระราชาในประเทศ (มณฑฺ กิ า) ผคู้ รองมณฑล (อนตฺ ร โภคกิ า) ผคู้ รองเสวยสมบตั ใิ นระหวา่ งรชั สมี า ฯลฯ สนั นษิ ฐาน ตามเหตเุ หลา่ นี้ โภคาภเิ ษก สำ� หรบั ตำ� แหนง่ ทต่ี ำ่� กวา่ พระเจา้ แผน่ ดนิ ขอ้ นก้ี ย็ งั ไมพ่ บทางเทยี บกบั ขา้ งพราหมณฯ์ (กรมศิลปากร, ๒๕๑๗, หน้า ๒๘๘) สำ� หรบั คำ� วา่ พรหมไทย แปลวา่ “ทด่ี นิ ซง่ึ พระเจา้ แผน่ ดนิ พระราชทาน 167
แกพ่ ราหมณแ์ ละยกเวน้ ภาษอี ากร” (ราชบณั ฑติ ยสถาน, ๒๕๕๖, หนา้ ๘๐๘) ในอัมพัฏฐสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลักขันธวรรค ระบุว่า “...พราหมณ์โปกขรสาติอยู่ครองนครอุกกัฏฐะซึ่งคับค่ังด้วยประชาชนและ หมู่สัตว์อุดมด้วยหญ้าด้วยไม้ด้วยน้�ำสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารเป็นส่วนราช สมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานเป็นการปูนบ�ำเหน็จให้เป็นส่วน พรหมไทย.” (มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๐ก, หน้า ๔๙๗) ซ่ึงคัมภีร์ สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายได้ขยายความว่าพราหมณ์โปกขรสาติ เป็นบัณฑิตที่เฉลียวฉลาด พระเจ้าโกศลทรงเลื่อมใสจึงได้พระราชทานนคร อุกกฏั ฐะใหเ้ ป็นพรหมไทย ดงั น้ี ...โภคสมบัติพราหมณ์ได้มาจากพระราชาช่ือว่า ราชโภคะหากจะถามว่าใครให้. ก็ต้องตอบว่าพระราชาทรง พระนามวา่ ปเสนทโิ กศลพระราชทานให.้ บทวา่ ราชทายแํ ปลว่า เป็นของพระราชทานให้ของพระราชาอธิบายว่าเป็นมรดก. บทวา่ พรฺ หมฺ เทยยฺ แํ ปลวา่ เปน็ ของขวญั อนั ประเสรฐิ สดุ อธบิ าย ว่าเป็นของท่ีพราหมณ์จะพึงกางก้ันเศวตฉัตรเสวยโดย ท�ำนองเป็นพระราชา. อีกนัยหนึ่งบทว่าราชโภคํความว่าเป็น นครท่ีพราหมณ์ส่ังให้ลงโทษด้วยการตัดอวัยวะและการ ท�ำลายอวัยวะทุกอย่างได้เมื่อจะเก็บภาษีในสถานที่มีท่าเรือ และภูเขาเป็นต้นจะต้องกางกั้นเศวตฉัตรขึ้นเป็นพระราชา ครอบครอง... (มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๓๐ก, หนา้ ๕๓๕-๕๓๖) นอกจากพราหมณ์โปกขรสาติซ่ึงครองเมืองอกุ กัฏฐะแลว้ ยังปรากฏ การกล่าวถึงพราหมณ์ครองเมืองในพระสูตรอื่นด้วยคือ โสณทัณฑสูตร พราหมณ์โสณทัณฑะ ครองนครจัมปา ซง่ึ พระเจา้ พิมพิสารพระราชทานให้ เปน็ พรหมไทย (มหามกุฏราชวทิ ยาลยั , ๒๕๓๐ข, หนา้ ๑-๔) อยา่ งไรกด็ ใี นลายพระหตั ถฉ์ บบั ตอ่ มา (วนั ที่ ๒๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๓) สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเห็นว่า โภคาภิเษก คือพิธีเฉลิมพระราช 168
มณเฑียร รดน้�ำข้ึนเรือนใหม่ที่เก่ียวกับการครองราชสมบัติ มีเน้ือความ ในลายพระหัตถ์ตอนหน่ึงว่า มคี ำ� เลา่ ในอรรถกถาธรรมบทวา่ พระนนั ทกมุ าร (โอรส พระเจ้าสุทโธทนะแลพระนางมหาปชาบดี) ก�ำลังท�ำอภิเษก แลขึ้นต�ำหนกั ใหม่แลววิ าหะในคราวเดียวกนั พระพทุ ธเจ้าพา มาบวชเสีย อภิเษกน้ันในท่ีน้ี ตามต�ำราลอชิค ก็ต้องไม่ใช่ ขึ้นต�ำหนกั ไมใ่ ชว่ ิวาหะ คงเปนตง้ั แตง่ ใหม้ อี ิสรยิ ยศน้ันเองที่ เรยี กพระนนทว์ า่ กมุ าร กเ็ พราะยงั ไมเ่ คยรบั อภเิ ษก...จนเขียน มาถึงเร่ืองพระนนท์ จึงเกิดปฏิภาณข้ึนว่า โภคาภิเษกได้แก่ พิธีรดน้�ำข้ึนเรือนใหม่ที่เกี่ยวกับการครองสมบัติแน่แล้ว เทียบตามนี้ คงเปนพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรหรือค�ำว่า เถลิงถวลั ยราชสมบัติ กจ็ ะเลงเอาอภเิ ษกชนิดน้เี องฯ (กรมศลิ ปากร, ๒๕๑๗, หนา้ ๒๘๙-๒๙๐) ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพทรงวิจารณ์ถึง “เร่ืองราชประเพณีกรุงเก่า” มีพระวินิจฉัยเร่ือง ราชาภิเษก ๗ อย่างท่ปี รากฏในกฎมนเทยี รบาล และเรื่องปญั จราชาภเิ ษก ทั้งสองพระองค์มีพระมติเก่ียวกับโภคาภิเษกไปในทางเดียวกับสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสดว้ ย ดงั ลายพระหตั ถส์ มเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ ทลู สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ความตอนหน่ึงว่า “โภคาภิเษก คงเปน็ รดนำ้� ใหค้ รองโภคสมบตั ิ โดยบดิ าตกแตง่ ใหเ้ มอื่ บตุ รมอี ายเุ ปน็ ผใู้ หญ่ ควรครองเรือน เช่นนิทานเร่ืองพระเจ้าทรมานพระนนท์” (สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรม วงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ, ๒๕๐๕,หนา้ ๑๖๓) หรอื พระวนิ จิ ฉยั ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา 169
นรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ ลงวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ดังน้ี พธิ อี ภเิ ษกนนั้ ใจความหมายวา่ กจิ การอนั สำ� เรจ็ ดว้ ย มผี รู้ ดนำ้� ใหบ้ นศรี ษะ ใชใ้ ดใ้ นบคุ คลทกุ จำ� พวก ไมฉ่ ะเพาะแต่ เปนกษัตรยิ ์ คิดตอ่ ไปว่าเปนกจิ การอย่างใด วา่ โดยยอ่ เหน็ จะ เปนใหส้ ทิ ธอิ ยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ ยกอทุ าหรณเชน่ รดนำ้� แตง่ งาน คือให้สิทธิมีครอบครัวต่างหากจากอกผู้ปกครองเปนต้น ในบรรดาอภิเษกจึงต้องได้สิทธิอันใดอันหน่ึงแก่ผู้รับอภิเษก โภคาภิเษกนั้น ก็คือ สิทธิในโภคสมบัติ เช่นเฉลิมพระราช มณเทียรเปนตน้ ๒ (สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ ์ และสมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ, ๒๕๐๕, หนา้ ๑๗๑-๑๗๒) นอกจากน้ีสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ยังทรงถามเร่ือง พิธีราชาภิเษกในประเทศอินเดียกับพราหมณ์ ป. ส. ศาสตรี บรรณารักษ์ หอพระสมุดฯ แผนกภาษาสันสกฤต ซ่ึงพราหมณ์ ป. ส. ศาสตรี ได้มี จดหมายกราบทูล สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ อธิบายถึงเร่ืองโภคาภิเษก ในปัญจราชาภิเษก ว่าได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์ยชุรเวทของอินเดียแต่ “...ที่นี้ผู้แต่งพลาดไป นิดหนึ่ง แท้จริงก็คงหมายถึงพิธีวาชเปย อันมีลักษณใกล้เคียงกับพิธี ราชาภิเษกแบบท่ี ๑ และเปนพิธีที่ท่านก�ำหนดส�ำหรับพราหมณ์ท่ีจะได้ ตั้งให้เปนราชปุโรหิตกับทั้งเศรษฐีท่ีใคร่จะได้เปนหัวหน้าของพวกตน.” (“ราชประเพณกี รงุ ศรอี ยธุ ยารวบรวมมาจากตำ� ราและจดหมายเหตทุ ป่ี รากฏ ๒ พระวนิ จิ ฉัยของสมเดจ็ ฯ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพ ทูลสมเด็จฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานุวัดติวงศ์ ลงวนั ที่ ๕ พ.ค. ๒๔๗๒ ดู เร่ืองเดยี วกนั , หน้า ๑๗๑-๑๗๒. 170
จติ รกรรมพระวิหารวัดโสมนสั วหิ าร ภาพโภคาภิเษก การอภเิ ษกใหพ้ ราหมณ์ หรือบคุ คลทเ่ี ป็นมหาเศรษฐีมียศ บรวิ าร และทรพั ย์สมบตั ิ ไดเ้ ป็นกษตั รยิ ์ ตอนล่างเปน็ ภาพขบวนเสดจ็ เลียบพระนครโดยพระราชยาน (๗),” สบ. ๒.๒๔/๓๒, หน้า ๑๔) ในพระวหิ ารวดั โสมนสั วหิ าร ผนงั เหนอื ชอ่ งประตหู นา้ ตา่ งมจี ติ รกรรม เรอื่ งปญั จราชาภเิ ษก ซงึ่ กำ� หนดชว่ งเวลาทวี่ าดจติ รกรรมในปลายรชั กาลที่ ๔-ต้นรัชกาลที่ ๕ (ยุทธนาวรากร แสงอร่าม, ๒๕๕๓, หน้า ๕๕) โดย ภาพโภคาภิเษกวาดบนผนังด้านขวาพระประธาน การจัดองค์ประกอบของ ภาพโภคาภิเษก มีการจัดองค์ประกอบคล้ายกับราชาภิเษกอ่ืน ๆ กล่าวคือ มีภาพปราสาทเป็นภาพประธาน สถานท่ีประกอบพระราชพิธี โภคาภิเษก มีพนกั งานประโคมแตร สงั ข์ พณิ พาทย์ ภายนอกกำ� แพง พระนครซ่ึงแสดงเป็นภาพปราสาทนั้นจะแสดงภาพขบวนเสด็จเลียบ พระนครกระบวนราบเสด็จโดยพระราชยาน และมีงานมหรสพสมโภช คือ โรงหุ่น และส่ิงท่ีสะทอ้ นว่าการราชาภเิ ษกประเภทน้ีมีศักดฐ์ิ านันดรน้อย กว่าราชาภเิ ษกอื่น เช่นเดียวกับมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา 171
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272