เอกสารประกอบการสอน รายวิชา อักษรจีน รจุ ิรา ศรสี ภุ า คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏนครราชสมี า 2560
เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า อกั ษรจนี รจุ ิรา ศรีสภุ า Ph.D. Linguistics คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั นครราชสีมา 2560
ก คํานาํ เอกสารประกอบการสอนเร่ือง “อักษรจีน” (รหัสวิชา 210111) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้เขียนได้จัดทําข้ึนเพื่อนักศึกษาระดับปริญญาตรีโปรแกรมวิชา ภาษาจีนใช้เป็นคู่มือในการเรียนวิชาอักษรจีนและผู้ท่ีสนใจในอักษรจีนเพื่อให้ทราบถึงประวัติ ความเป็นมาของอักษรจีน วิวัฒนาการอักษรจีน การประดิษฐ์ตัวอักษรจีน องค์ประกอบโครงสร้าง อักษรจีนวธิ กี ารเขยี นและการจดจําตัวอกั ษรจีน สาระสําคัญของเอกสารเล่มนี้ประกอบด้วย ความรู้ท่ัวไปเก่ียวกับตัวอักษรจีน หลักการเขียน และโครงสร้างอักษรจีน หมวดนําอักษรจีน อักษรข้างและวิธีการเปิดพจนานุกรม องค์ประกอบ ตัวอักษรจีน การเขยี นอกั ษรจีน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการสอนเร่ือง “อักษรจีน” เล่มน้ีจักอํานวย ประโยชน์ต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ช่วยให้หนังสือเล่มนี้สําเร็จ ด้วยดีหากมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้นําไปใช้ประการใด กรุณาให้แนวทาง เพือ่ การปรบั ปรงุ อย่างมีคุณภาพต่อไป รุจริ า ศรีสุภา กนั ยายน 2560
ข ข
สารบัญ ค บทท่ี หนา้ คํานํา ก สารบัญ ค สารบัญตาราง ช สารบัญภาพ ฌ แผนบริหารการสอนประจาํ วิชา ช แผนบริหารการสอนประจาํ บทท่ี 1 1 บทที่ 1 ความรทู้ ่ัวไปเก่ียวกับตัวอักษรจีน 3 ประวัติของตัวอักษรจีน 3 ต้นกําเนิดของตัวอกั ษรจีน 6 วิวัฒนาการของตวั อักษรจีน 8 วิวัฒนาการของรูปร่างตวั อกั ษรจีน 17 คุณสมบตั ิอกั ษรจีนยุคปัจจุบัน 18 วธิ กี ารสร้างอักษรจีน 19 สรปุ 25 แบบฝกึ หดั ท้ายบท 25 เอกสารอ้างองิ 26 แผนบริหารการสอนประจาํ บทท่ี 2 29 บทที่ 2 หลักการเขียนและโครงสรา้ งอักษรจนี 33 เสน้ ขีดตัวอักษรจีน 33 สว่ นประกอบตัวอกั ษรจนี 39 วธิ กี ารเขียนตัวอักษรจีน 44 โครงสรา้ งตัวอักษรจนี 45 โครงสรา้ งอกั ษรเดี่ยว 46 โครงสรา้ งอักษรประสม 47 สรุป 49
ง แบบฝึกหดั ท้ายบท 50 เอกสารอ้างองิ 53 แผนบริหารการสอนประจาํ บทท่ี 3 55 บทท่ี 3 หมวดนําอักษรจีน 57 ตน้ กําเนดิ และววิ ฒั นาการหมวดอักษรนํา 57 ววิ ัฒนาการหมวดนําอกั ษรจีน 58 ลักษณะเด่นของโครงสร้างหมวดนําอักษรจีน 59 การรวมตวั กันของหมวดอกั ษรนําจีน 61 ตําแหน่งของหมวดนําอักษรจีน 62 ความสัมพันธ์หมวดนําอักษรจีนระหว่างอกั ษรเด่ียวและอักษรประสม 62 ประเภทและความหมายของหมวดอักษรนํา 63 การแผข่ ยายของความหมายหมวดนําอกั ษรจีน 65 ความสมั พันธ์วัฒนธรรม สงั คมของหมวดนําอกั ษรจีน 66 ตารางรอ้ ยหมวดนําอักษร 67 สรปุ 75 แบบฝกึ หดั ท้ายบท 77 เอกสารอ้างองิ 80 แผนบริหารการสอนประจําบทที่ 4 81 บทที่ 4 อักษรขา้ ง 83 ความหมายและลักษณะของอักษรข้าง 83 อกั ษรข้างที่พบเหน็ บ่อยในชีวติ ประจําวัน 84 ความแตกต่างระหว่างอกั ษรข้างและหมวดอักษรนํา 110 สรุป 112 แบบฝึกหดั ท้ายบท 112 เอกสารอ้างองิ 113
จ แผนบริหารการสอนประจําบทท่ี 5 115 บทที่ 5 องค์ประกอบตัวอักษรจีน 117 ส่วนประกอบของตัวอักษรจีน 117 ตัวอกั ษรภาพ 117 ตัวอักษรเสียง 125 ตัวอักษรความหมาย 129 คาํ ในความหมายของอกั ษรจีน 132 สรุป 138 แบบฝกึ หัดท้ายบท 138 เอกสารอ้างอิง 140 แผนบริหารการสอนประจาํ บทท่ี 6 141 บทท่ี 6 มาตรฐานการเขยี นอักษรจีน 143 ความเปล่ยี นแปลงของตัวอักษรจีน จากอกั ษรตัวเตม็ สู่อกั ษรแบบตัวยอ่ 143 วิธีการยอ่ อักษรจีนจากอักษรตัวเต็มส่อู กั ษรตัวยอ่ 145 ลําดับตัวอักษรของอกั ษรจีนยุคปัจจุบัน 148 กฎเกณฑ์ตวั อักษรจีนในยุคปัจจุบัน 159 การจัดการข้อมลู ตัวอกั ษรจีนในยุคปัจจุบัน (การใช้แป้นพิมพอ์ ักษรจีน) 163 ตัวอักษรจีนกับขอ้ สอบ HSK 166 สรุป 170 แบบฝกึ หัดท้ายบท 170 เอกสารอ้างอิง 174 บรรณานุกรม 175 ภาคผนวก 177 178 ภาคผนวก 207 ใบงาน 213 เฉลย
ฉ
ช หน้า 34 สารบัญตาราง 35 64 ตารางท่ี 67 2.1 เส้นขีดพื้นฐานอกั ษรจีน 84 2.2 เส้นขีดอกั ษรจีนท้ังหมด32 เสน้ 118 3.1 ประเภทหมวดนําอกั ษรจีน 125 3.2 ตารางรอ้ ยหมวดนําอกั ษรจีน 126 4.1 อกั ษรข้าง 152 5.1 ตวั อักษรพ้องรูป 153 5.2 ตวั อักษรที่ออกเสียงเหมอื นกันแตเ่ ขียนต่างกัน 161 5.3 ตวั อกั ษรที่เขียนเหมอื นกันแตอ่ อกเสียงต่างกัน 6.1 พยัญชนะเปรียบเทียบ Zhuyin และ pinyin 6.2 สระเปรียบเทียบ Zhuyin และ pinyin 6.3 คาํ พ้องเสยี งภาษาจีน
ซ
ฌ หน้า 4 สารบัญภาพ 5 9 ภาพที่ 10 1.1 เน้ือหาอักษรบนกระดองเตา่ 卜辞 bǔcí 11 1.2 เครอื่ งป้ันดนิ เผา 12 1.3 ววิ ัฒนาการตวั อกั ษรจีน 13 1.4 อักษรบนกระดูกสตั ว์ 14 1.5 อักษรโลหะ 15 1.6 อกั ษรจ้วนเล็ก 16 1.7 อกั ษรลีซ่ ู 20 1.8 อักษรข่ายซู 21 1.9 อักษรเฉ่าซู 22 1.10 อักษรสงิ ซู 34 1.11 อักษรเหมอื นภาพ 45 1.12 อักษรบ่งความหรอื อกั ษรบง่ ชี้ 144 1.13 อกั ษรรวมความหมาย 164 2.1 เส้นขีดพื้นฐาน 8 ขดี 2.2 โครงสร้างอักษรจีนแบบสงั เขป 6.1 ภาพแป้นพิมพ์จู้อิน 6.2 ภาพการพิมพ์รหัสภาพของอักษรจีน
ช แผนบริหารการสอนประจําวชิ า รหสั วิชา 210111 3(2- 2-5 ) รายวชิ า อกั ษรจนี 64 ชั่วโมง / ภาคเรียน (Chinese Calligraphy) เวลาเรยี น คําอธิบายรายวิชา โครงสร้างตวั อักษรจีน อกั ษรเดีย่ ว อักษรผสม หลกั การเขียนอักษรจีน การเขียนอักษร ให้ถกู ต้อง การจดจําตวั อักษรจนี ที่ใช้บอ่ ย วัตถุประสงค์ทว่ั ไป เพือ่ ใหผ้ ูเ้ รียนมีความรู้ และความสามารถและทกั ษะดังน้ี (1) มคี วามรู้ความเข้าใจเก่ียวกับความเปน็ มา และววิ ัฒนาการตัวอักษรในภาษาจนี อย่าง สงั เขป (2) มคี วามรคู้ วามเข้าใจเก่ียวกับทฤษฎีการสร้างตวั อักษรจนี และโครงสร้างตวั อักษรจีน (3) มคี วามร้คู วามเข้าใจและวเิ คราะหอ์ ักษรเด่ยี วและอกั ษรคไู่ ด้ (4) สามารถเขียนตัวอกั ษรจีนไดอ้ ย่างถูกต้องตามหลักการเขียน (5) สามารถนําความรู้ทางทฤษฎอี กั ษรจีนมาช่วยในการจําจําอกั ษรจนี ได้ (6) รคู้ วามหมายของคําศัพท์พ้ืนฐานทใ่ี ช้ในชีวิตประจําวัน อย่างนอ้ ย 1,500 คํา (7) มีเจตคติท่ีดตี ่อตวั อกั ษรจีน (8) นําอกั ษรจีนไปประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการทํางานทีเ่ ก่ียวกับอักษรจีนได้ เนื้อหา 12 ช่ัวโมง บทที่1 ความรูท้ ั่วไปเก่ียวกับตวั อักษรจีน ประวัตขิ องตัวอกั ษรจนี ต้นกําเนิดของตวั อกั ษรจีน วิวัฒนาการของตวั อักษรจีน ววิ ฒั นาการของรปู ร่างตวั อกั ษรจีน
ซ 12 ชว่ั โมง 12 ชวั่ โมง คณุ สมบัตอิ กั ษรจนี ยคุ ปัจจุบัน 8 ช่ัวโมง วิธีการสร้างอกั ษรจีน 12 ชั่วโมง บทท่ี 2 หลกั การเขียนและโครงสรา้ งอกั ษรจีน เสน้ ขีดตัวอักษรจีน สว่ นประกอบตัวอักษรจนี วธิ ีการเขียนตวั อกั ษรจนี โครงสร้างตัวอักษรจีน โครงสรา้ งอักษรเดี๋ยว โครงสร้างอกั ษรผสม บทที่ 3 หมวดนําอักษรจีนและวิธกี ารเปดิ พจนานุกรม ตน้ กําเนิดและววิ ัฒนาการหมวดอักษรนํา ลักษณะเด่นของโครงสรา้ งหมวดอกั ษรนํา ตําแหน่งของหมวดอักษรนํา ประเภทและความหมายของหมวดอกั ษรนํา ตารางรอ้ ยหมวดนําอักษร วิธกี ารเปิดพจนานกุ รม บทที่ 4 อกั ษรข้าง ความหมายและลกั ษณะของอกั ษรข้าง อักษรข้างทีพ่ บเห็นบอ่ ยในชีวิตประจําวัน ความแตกต่างระหว่างอักษรข้างและหมวดอกั ษรนํา วิธีการเปดิ พจนานกุ รมโดยใช้หมวดอักษรนํา บทท่ี 5 องคป์ ระกอบตวั อกั ษรจีน สว่ นประกอบตัวอักษรจนี ตัวอกั ษรภาพ ตัวอักษรเสยี ง ตวั อกั ษรความหมาย ความหมายของคาํ ของอักษรจีน
ฌ บทที่ 6 ระบบการเขียนอักษรจนี 8 ชั่วโมง การเปล่ยี นแปลงของตวั อกั ษรจีน จากอักษรตัวเต็มสอู่ กั ษรแบบตวั ย่อ วิธกี ารยอ่ อกั ษรจนี จากอกั ษรตวั เต็มสู่อักษรตัวยอ่ กฎเกณฑ์ตัวอักษรจนี ในยุคปัจจุบัน การจดั การข้อมูลตัวอักษรจีนในยคุ ปัจจุบัน ตวั อักษรจีนกับข้อสอบ HSK วิธกี ารสอนและกิจกรรม 1. ศกึ ษาเอกสารประกอบการสอนวิชาอักษรจีน 2. บรรยายประกอบโปรแกรมนําเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ 3. การจัดกิจกรรมกลมุ่ ฝึกปฏิบัติ 4. ทาํ แบบฝกึ หัดทบทวน 5. ศกึ ษาตวั อย่างอกั ษรจนี จากบทความ วารสารและสือ่ ออนไลน์ 6. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สื่อการเรียนการสอน 1. โปรแกรมนําเสนอดว้ ยคอมพิวเตอร์ 2. เอกสารประกอบการสอนวิชาอักษรจีน 3. โสตทัศนวสั ดุที่เกย่ี วขอ้ ง เช่น แผน่ ภาพอักษรจนี เพลง ดนตรที ่มี ีอกั ษรจีน เร่อื งเล่าจาก สอื่ อนิ เทอรเ์ น็ต เป็นต้น 4. แหล่งเรยี นรู้และกรณีศกึ ษา การวัดผลและการประเมนิ ผล 30 คะแนน 30 คะแนน 1. การวัดผล 30 คะแนน สอบย่อยและการนําเสนอรายงาน 10 คะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค การตรงต่อเวลาและพฤตกิ รรมในหอ้ งเรียน การส่งงาน การรายงาน
ญ 2. การประเมินผล 85 – 100 ไดร้ ะดับ A คะแนนระหว่าง 80 – 84 ได้ระดับ B+ คะแนนระหว่าง 75 – 79 ได้ระดับ B คะแนนระหว่าง 70 – 74 ไดร้ ะดับ C+ คะแนนระหว่าง 65 – 69 ไดร้ ะดับ C คะแนนระหว่าง 60 – 64 ไดร้ ะดับ D+ คะแนนระหว่าง 55 – 59 ได้ระดับ D คะแนนระหว่าง 0 – 54 ได้ระดับ F คะแนนระหว่าง
แผนบริหารการสอนประจาํ บทที่ 1 หวั ข้อเนือ้ หาประจาํ บท 1. ประวัตขิ องตัวอกั ษรจนี 2. ต้นกําเนิดของตัวอกั ษรจีน 3. วิวฒั นาการของอักษรจีน 4. ววิ ัฒนาการของรปู ร่างตัวอกั ษรจนี 5. คุณสมบัตอิ ักษรจีนยคุ ปัจจุบัน 6. วิธกี ารสรา้ งตัวอักษรจีน วัตถุประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม เมอ่ื นกั ศึกษาได้ศกึ ษาบทท่ี 1 แล้ว นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ดังน้ี 1. อธิบายประวัติและต้นกําเนดิ ของตวั อักษรจีนได้ 2. อธิบายวิวฒั นาการของตวั อกั ษรจนี ได้ 3. วิเคราะห์คณุ สมบัตแิ ละความแตกต่างของอักษรจีนในแตล่ ะยุคสมัยได้ 4. อธิบายพรอ้ มทงั้ ยกตัวอยา่ งวธิ ีการสร้างตัวอักษรจนี ได้ วิธสี อนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ศกึ ษาเอกสารประกอบการสอนวชิ าตัวอกั ษรจนี บทที่ 1 เรอื่ ง ความรู้ทั่วไปเก่ียวกบั ตวั อกั ษรจนี 2. บรรยายประกอบโปรแกรมนาํ เสนอดว้ ยคอมพิวเตอร์ เรื่อง ความรทู้ ว่ั ไปเกี่ยวกบั ตัวอักษรจนี 3. ศึกษาจากส่อื สาํ เร็จรปู เกีย่ วกบั ต้นกาํ เนดิ อกั ษรจีน 4. จดั กิจกรรมกลมุ่ โดยแบ่งนักศกึ ษาออกเป็นกลุม่ กล่มุ ละ 4-5 คน ใหน้ กั ศกึ ษาไปค้นควา้ จาก เอกสารแล้วให้ นักศึกษาทํา mind map เก่ียวกับวิธีการสร้างตัวอักษรจีนเพื่อจะนําไปวิเคราะห์ว่าอักษร จนี แต่ละตัวนั้นมีวิธีการสรา้ งตัวอักษรแบบใด 5. กิจกรรมเกมออนไลน์ kahoot ทายวธิ ีการสรา้ งอักษรจนี
2 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวชิ าตวั อักษรจีน เร่อื ง ความรทู้ ัว่ ไปเกย่ี วกบั ตวั อกั ษรจีน 2. โปรแกรมนําเสนอดว้ ยคอมพิวเตอร์ เรื่อง ความรูท้ วั่ ไปเกีย่ วกบั ตัวอกั ษรจีน 3. โสตทศั นวัสดุทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง เช่น สอื่ มลั ติมีเดยี แผน่ ภาพตวั อกั ษรจนี แตล่ ะยคุ เกมออนไลน์ เปน็ ตน้ วธิ ีวัดผลและการประเมนิ ผล 1. สังเกตพฤติกรรมการมีสว่ นรว่ มในห้องเรียน 2. ประเมินจากการตอบคาํ ถามของนักศกึ ษา 3. ประเมินจากผลการจดั กิจกรรมกล่มุ วา่ นกั ศึกษาสามารถนําเสนอเกย่ี วกับหวั ขอ้ ของวธิ ีการ สรา้ งตวั อักษรจนี ไดถ้ กู ตอ้ งหรอื ไม่
3 บทที่ 1 ความร้ทู ว่ั ไปเกย่ี วกับตัวอกั ษรจนี ตวั อกั ษรจีนนับได้ว่ามีประวตั ิยาวนานทสี่ ุดในโลกและมีลักษณะเด่นทไ่ี ม่เหมือนภาษาอื่นเนอ่ื งจาก มีวิวัฒนาการมาจากอักษรภาพต่อมามีการเปล่ียนแปลงมาเป็นเส้นขีดและต้องจดจําทีละตัวอักษรทําให้ เป็นอุปสรรคต่อผู้เรียนภาษาจีนเน่ืองจากอักษรไทยเป็นอักษรที่ใช้ตัวสะกด ส่วนอักษรจีนเป็นอักษรที่มี กลวิธีการประดิษฐต์ ัวอักษรท่ีเป็นระบบแบบแผนชัดเจนมาตั้งแตแ่ รกเริ่ม ผ่านการเปล่ียนปรับพัฒนา หลักการสร้างรวมท้ังรูปแบบลักษณะของตัวอักษรเพ่ือตอบสนองตอ่ การส่ือสารและสังคมท่ีเปล่ียนแปลง บทท่ี1เป็นเน้ือหาเก่ียวกับประวัติของตัวอักษรจีน ต้นกําเนิดของตัวอักษรจีน วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน การเปล่ียนแปลงรูปแบบลักษณะตัวอักษรโดยภาพรวมอย่างต่อเน่ืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการ ของรูปร่างตวั อกั ษรจีน คณุ สมบตั อิ ักษรจนี ยุคปจั จบุ ันและกลวิธีการประดษิ ฐต์ ัวอักษรจีน ประวัติของตัวอกั ษรจีน การค้นพบอักษรจีนโบราณเป็นท่ีทราบกันดีว่าอักษรจีนเป็นอักษรโครงสร้างระบบสัญลักษณ์คือ อักษรบนกระดองเต่าหลงั สมัย 商代 shāng dài และ 金文 jīn wén เรื่องเล่าเก่ียวกบั ตวั อักษรจีน สมัย ปลายราชววงศ์ชิง มีขุนนางประจําท่ีปักก่ิงนามว่า 王懿荣 wángyìróng ขุนนางท่านน้ีชอบที่จะเก็บ รักษาของเก่าและได้ทําการศึกษาตัวอักษรจีนอย่างลุ่มลึก อยู่มาวันหน่ึง ขุนนางเกิดล้มป่วย ด่ืมยาจีน ในยาจีนมีกลิ่นของ กระดูกมังกร “龙骨” lónggǔ ขุนนาง 王懿荣 Wángyìróng ก็ได้พบ สัญลักษณ์ที่ใช้มีดแกะสลักอยู่บนกระดูกมังกร เขาก็ได้หยิบกระดูกมังกรขึ้นมาทันทีเพื่อที่จะนํามาศึกษา วิเคราะห์อย่างละเอียด จากการพินิจพิจารณาแล้ว เขาคิดว่า สัญลักษณ์ท่ีอยู่บนแผ่นกระดูกมังกรน้ีไม่ใช่ การใช้มีดแกะสลักแบบธรรมดาแต่นี้คืออักษรจีนโบราณที่หลงเหลือไว้ ครั้นแล้วเขาก็ไปหาคนที่ขายยาซ้ือ แผ่นกระดูกมังกรมาเก็บไว้หมด และให้คนไปสอบถามแหล่งของกระดูกมังกรน้ี และได้ซื้อโดยไม่ได้ คํานึงถึงราคาเลย ต่อมาเขาได้ทราบมาว่าแหล่งของกระดูกมังกรพบได้ที่ 河南安阳小屯 Hénán ānyáng xiǎo tún เหอ หนานอันหยางเสี่ยวถุน เมืองน้ีคือเมืองหลวงเก่าของราชวงศ์อิน 殷王 Yīn
4 wáng กระดูกมังกรทแ่ี กะสลกั เป็นสัญลักษณน์ นั้ สามารถใช้เป็นตัวอักษรจีนได้ ตวั อักษรจีนเหล่านี้ไดม้ ีเวลา ประมาณ 3500 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถทราบได้ว่า ชาวอิน 殷人 Yīn rén มีความ หลงใหลในภูตผีปีศาจไม่ว่าจะเป็นเร่ืองเล็กหรือเรื่องใหญ่ล้วนจะใช้การเสี่ยงทาย (การเสี่ยงทายคือการ ทํานายโชคชะตาราศี) ยกตัวอย่างเช่น ฝนตกลมพัด การออกสู้รบ ปีไหนถึงจะเป็นปีท่ีดีหรือไม่ก็เป็นการ ทํานายทายฝัน การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นต้น เนื้อหาการทํานายทายทักน้ันส่วนมากมักสลักไว้บนเปลือก กระดองเต่าหรือไม่ก็บนกระดูกของวัว กระดูกของแพะ สัญลักษณ์บนแผ่นของกระดูกมังกรน้ันก็ได้มีการ บันทึกการทํานายไว้เช่นกันเนื่องมาจากการทํานายในสมัยโบราณส่วนมากจะสลักเนื้อหาการทํานายไว้บน กระดูกสัตว์ คนยุคต่อมาเลยเรียกขานกันว่า “甲骨文” jiǎgǔwén อักษรกระดองเต่านั้นเอง และ เป็นการบันทึกเน้ือหาการเสี่ยงทายก็ได้ขนานนามว่า “卜辞” bǔcí การเส่ียงทาย แสดงได้ดังภาพที่ 1.1 ภาพท่ี 1.1 เนอื้ หาอกั ษรบนกระดองเตา่ 卜辞 bǔcí ทม่ี า : news.seehua.ออนไลน.์ 2560.
5 ในสมัยก่อนขุนนางหรือผู้ท่ีมียศถาบรรดาศักดิ์น้ันส่วนมากจะสลักตัวอักษรจีนไว้ท่ีดาบ 剑 jiàn ขาต้ัง 鼎 dǐng กาน้ํา 壶 hú กล่อง 爵 jué นาฬิกา 钟 zhōng อาวุธ 戈 gē เครื่องทองแดง 铜器上 เป็นต้น อย่างเช่นในสมัยที่ราชวงศ์ชิงเจริญรุ่งเรือง ณ เมือง 陕西省 ที่หมู่บ้าน 岐山 qíshān ขุดพบเจอกระถางขาต้ัง สูง 1 เมตร หนัก 153.5 กิโล สลักอักษร 19 แถว รวมตัวอักษร 291 ตัว เนื้อหาท่ีเขียนคือบรรยายถึงสมัยราชวงศ์ช่วงแรกของโจวตะวันตก 西周初年 Xīzhōu chū nián ในช่วงน้ันกษัตริย์ 周康王 Zhōu kāngwáng ได้มีคําบัญชา ให้ทาสจํานวนมากนําเหล้าสังเหวย ที่ดิน รถม้า อาวุธยุทธโธปกรณ์ต่าง ๆ ได้นําไปมอบให้แก่ทาสช่ือ 主盂 Zhǔ yú ส่วน 主盂 Zhǔ yú น้ันเพ่ือ ความเจริญรุ่งเรืองของตัวเองก็ได้ทํากระถางตั้งเพื่อระลึกถึงตัวเอง ต่อมาผู้คนก็ขนานนามว่า 盂鼎 yú dǐng วันที่รับมอบกระถางน้ันได้จัดทําพิธีอย่างใหญ่โต และยังนําคําบัญชาของกษัตริย์ 周康王 Zhōu kāngwáng สลักไว้ส่วนท้องของกระถาง คําบัญชาน้ีกลายมาเป็นการจารึกบนกระถาง 盂鼎 yú dǐng ไม่เป็นเพียงแต่สมบัติของชาว 殷 yīn เท่านั้น แถมยังมีอุปกรณ์ทองแดงอีกมากมายในราชวงศ์โจว ตัวอักษรจีนทีส่ ลกั บนเครื่องเหล่านล้ี ้วนเป็นชื่อของบุคคล บ้างก็เปน็ ชอ่ื นกั เขียน บ้างกเ็ ป็นช่ือบรรพบุรุษใน อดีตเป็นต้น ผู้คนในสมัยราชวงศ์โจวนั้นเรียกทองแดง 铜 tóng ว่า 金 jīn ทอง ดังนั้นการสลักตัวอักษร จนี บนเคร่ืองโลหะทองแดงนนั้ เรียกได้ว่า “金文” jīn wén ศตวรรษท่ี 20 ยุค 50 ได้มีการขุดพบเครอ่ื งป้นั ดนิ เผาที่อําเภอ 山东莒县 Shāndōng jǔ xiàn แถวแม่นํ้า 陵阳河 Líng yáng hé ไดพ้ บสัญลักษณ์ตามภาพขา้ งล่างดังตอ่ ไปน้ี ภาพท่ี 1.2 เครอ่ื งปัน้ ดนิ เผา ทมี่ า : ถา่ ยเมอื่ วนั ท่ี 15 มกราคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภฎั นครราชสีมา.
6 สญั ลกั ษณเ์ หลา่ น้ีลว้ นแสดงถึงหลกั ฐานการสลักบนเครือ่ งปนั้ ดินเผาเพื่อใชเ้ ปน็ อปุ กรณใ์ นการ ประกอบพิธี สญั ลักษณเ์ หล่าน้ีล้วนมคี วามคลา้ ยคลึงกับอกั ษรบนกระดองเต่าอย่างมาก เชน่ ตัวอักษรสอง ตัวแรกมีความคลา้ ยคลงึ กบั พระอาทิตยก์ าํ ลงั ขึ้น ส่วนภาพที่สามมสี ่วนคลา้ ยอาวุธชนดิ หน่งึ ภาพทส่ี ี่มีสว่ น คล้ายอปุ กรณต์ ัดหญา้ ชนิดหนงึ่ สัญลกั ษณท์ ี่สลักบนเครื่องปัน้ ดินเผานน้ั มรี ะยะเวลาห่างจากปจั จบุ ันเมือ่ ประมาณ 5,000-6,000 ปีมาแลว้ ขณะนสี้ ามารถสรุปไดว้ า่ ตวั อกั ษรจีนทคี่ น้ พบแรกเรม่ิ สันนษิ ฐานไดว้ า่ คอื อักษรบนกระดองเตา่ (甲骨文)jiǎgǔwén และอกั ษรจินเหวนิ (金文)jīn wén ตน้ กําเนดิ ของตัวอกั ษรจนี อั ก ษ ร จี น คื อ อั ก ษ ร ภ าพ (logogram) ที่ โด ย ห ลั ก ๆ ใน ปั จ จุ บั น ใช้ สํ าห รั บ เขี ย น ภาษาจีน (เรียกว่า 汉字 Hànzì) อักษรจีนเป็นระบบการเขียนท่ีใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ท่ีสุดใน โลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนท่ีเก่าสุดเร่ิมเม่ือ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มี หลักฐานแสดงความเก่ยี วข้องกับการเขยี นในบริเวณอ่ืน ตัวอยา่ งการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี กอ่ นพทุ ธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซงึ่ เป็นจารกึ บนกระดูกววั และกระดองเต่า ตัวอักษรจีนเป็นตัวอักษรท่ีมีการใช้มาเป็นเวลานานที่สุดโดยใช้กันในพ้ืนที่กว้างขวางท่ีสุดและมี จํานวนคนที่ใช้ก็มากท่ีสุดในโลก การสร้างและการใช้ตัวอักษรจีนไม่เพียงแต่ได้ทําให้วัฒนธรรมจีนพัฒนา ไปเท่านั้น หากยงั ไดส้ ง่ อิทธิพลอย่างลกึ ซึ้งตอ่ การพฒั นาวัฒนธรรมโลกอกี ด้วย ในเขตพ้ืนท่โี บราณที่มีประวตั ยิ าวนานหา่ งจากปจั จุบันกว่าหกพันปี เชน่ ซากสถานที่โบราณปัน้ โพ เป็นต้น ก็ได้ค้นพบเครื่องหมายขีดเขียนมากกว่า 50 ชนิด และมีการเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบ และ มีกฎเกณฑ์ท่ีแน่นอน เคร่ืองหมายเหล่านี้มีลักษณะเป็นตัวอักษรแบบง่าย ๆ นักวิชาการเห็นว่า น่ีอาจจะ เป็นรปู แบบขนั้ ต้นของตวั อกั ษรจีน ตัวอักษรจีนเริ่มกลายเป็นตัวอักษรที่มีระบบในสมัยราชวงศ์ซาง ศตวรรษท่ี 16 ก่อนคริสต์กาล นักโบราณคดีได้พิสูจน์ว่า ระยะต้นของราชวงศ์ซาง อารยธรรมจีนได้พัฒนาไปถึงระดับที่ค่อนข้างสูงแล้ว ลักษณะพิเศษที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ การปรากฎตัวอักษร 甲骨文 Jiǎgǔwén เจี่ยกู่เหวิน ตัวอักษร
7 แบบเจ่ียกู่เหวิน 甲骨文 Jiǎgǔwén เปน็ ตัวอักษรโบราณชนิดหน่ึงท่ีแกะสลักบนกระดองเต่าและกระดูก สัตว์ ในสมัยราชวงศ์ซาง กษัตริย์ต้องทําพิธีเส่ียงทายก่อนจะทรงทําพระราชภารกิจใด ๆ กระดองเต่าและ กระดูกสตั วก์ ค็ ืออปุ กรณก์ ารเสย่ี งทายในสมยั นั้น ก่อนจะนํากระดองเต่าและกระดูกสัตว์ไปใช้ต้องเอาไปแปรสภาพก่อนอื่นคือต้องขูดล้างเลือดและ เน้ือที่เหลืออยู่บนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ให้สะอาด ต่อมาเล่ือยและขัดให้เรียบ จากนั้นใช้มีดหรือ อุปกรณอ์ ื่น ๆ เจาะลึกเข้าไปด้านในของกระดองเตา่ หรอื กระดูกสัตว์ รอยเว้าเหล่าน้เี รยี งตัวอยา่ งมรี ะเบียบ คนเส่ียงทาย คือพ่อมดจะแกะสลักช่ือของตน วันเวลาในการเส่ียงทายและปัญหาที่ต้องการถามลงบน กระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ แล้วใช้ไฟเผารอยลึกบนกระดองหรือกระดูก เม่ือได้รับความร้อนก็จะเกิด รอยร้าว ซึ่งเรียกว่า “เจ้า” พ่อมดก็อาศัยการวิเคราะห์ตามรอยแตกรา้ วเหล่านี้ ในการเส่ียงทาย พร้อมกับ แกะสลักไว้บนกระดองหรือกระดูกว่าผลการเสี่ยงทายแม่นยําหรือไม่ เม่ือการเส่ียงทายเกิดผลเรียบร้อย แลว้ กระดองหรือกระดกู ท่มี รี อยแกะสลกั เหล่านีก้ ็จะถกู เก็บไว้เปน็ หลักฐานอยา่ งเป็นทางการ ปัจจุบันนักโบราณคดีได้ขุดพบกระดองหรือกระดูกท้ังหมดกว่า 1 แสน 6 หมื่น ช้ิน ในจํานวนน้ัน มีบางชิ้นยังมีความสมบูรณ์อยู่ บางช้ินก็เป็นเพียงชิ้นส่วนที่ไม่ได้บันทึกตัวอักษรใด ๆ ตามสถิติ ตัวอักษร ชนิดต่าง ๆ บนกระดองและกระดูกเหล่าน้ีมีถึงสี่พันกว่าตัว ในจํานวนน้ัน มีการศึกษาวิจัยและพิสูจน์จาก นกั วิชาการแล้วประมาณสามพันตัว อักษรจนี จํานวน 3000 ตวั น้ีมีรับการตีความ หมายที่เป็นเอกภาพจาก นักวิชาการแล้วนั้นมีกว่าพันตัว ที่เหลือยังไม่สามารถแปลได้ หรือไม่นักวิชาการต่าง ๆ ก็แปลออกมา แล้วแต่ความหมายไม่ตรง อย่างไรก็ตามเม่ือศึกษาตัวอักษรพันกว่าตัวน้ีจะทําให้เราสามารถเข้าใจ สภาพการณ์เกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของราชวงศ์ซาง เช่น ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เป็นต้น ตัว อักษรเจ่ียกเู่ หวิน(甲骨文)jiǎgǔwén เป็นตัวอกั ษรท่ีค่อนข้างสมบูรณ์และมีระบบของตนเอง ซ่ึงได้ ปูพื้นฐานให้การพัฒนาตัวอักษรจีนในเวลาต่อมา ต่อจากนั้น ตัวอักษรจีนก็ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงเป็น หลายรูปแบบ เช่น 金文 jīnwén จินเหวิน (แปลว่าคําจารึกบนเคร่ืองทองเหลือง) 小篆 xiǎozhuàn เสี่ยวจ้วน 隶书 lìshū ลว่ีซู 楷书 kǎishū ข่ายซู เป็นต้น ตัวอักษรเหล่านี้ได้ใช้กันมาโดยตลอดจนถึง ปจั จบุ ัน
8 กระบวนการเปล่ียนแปลงของตวั อักษรจนี เป็นกระบวนการทรี่ ูปแบบของตวั อักษรจีนเริ่มปรับให้มี ระเบียบและมีความแน่นอนข้ึนเรื่อย ๆ รูปแบบ 小篆 xiǎozhuàn เส่ียวจ้วนได้กําหนดจํานวนขีดของ ตัวอักษรแต่ละตัวให้ชัดเจน ส่วน 隶书 lìshū ลว่ีซูก็ได้สร้างระบบรูปแบบการเขียนตัวอักษรจีนใหม่ รูปร่างค่อยๆเป็นส่ีเหล่ียมแบน ๆ พอถึงยุค 楷书 kǎishū ข่ายซู รูปร่างของตัวอักษรจีนก็มีทรงมาตรฐาน แน่นอน และได้กําหนดขีดพ้ืนฐานต่าง ๆ ขึ้น ได้แก่ขีดแนวนอน ขีดแนวยืน ขีดเบ่ียงซ้าย ขีดแต้ม ขีดลาก ลงขวา ขีดตวัดขึ้น และขีดโค้ง รูปร่างของแต่ละขีดก็ได้รับการปรับปรุงให้มาตรฐานมากยิ่งข้ึน จํานวนขีด และลําดับการเขียนขีดของตัวอักษรแต่ละตัวก็จะกําหนดไว้ พันกว่าปีมาน้ี รูปแบบ 楷书 kǎishū ข่ายซู เปน็ รปู แบบทเ่ี ปน็ มาตรฐานของตวั อกั ษรจีนมาโดยตลอด ตวั อักษรจีนเป็นรูปแบบตัวอกั ษรภาพโดยพ้ืนฐานแสดงความหมายโดยถือตัวอกั ษรที่เขียนตามรูป ของสง่ิ ของต่าง ๆ เปน็ พน้ื ฐาน มีจํานวนตัวอักษรทั้งหมดประมาณหน่ึงหมน่ื ตวั ที่ใช้บ่อย ๆ มีประมาณสาม พันตวั ตัวอักษรกว่าสามพันกว่าตัวนี้สามารถประกอบเป็นคําและสํานวนได้มากมาย คําและสํานวนต่าง ๆ ก็จะประกอบเป็นประโยคต่าง ๆ ภายหลังเกิดตัวอักษรจีนได้ส่งอิทธิพลอย่างลึกซ้ึงต่อประเทศรอบข้าง เช่น ตัวอกั ษรของภาษาญ่ีป่นุ เวียดนาม เกาหลเี ป็นตน้ ก็เกดิ ขนึ้ จากพ้นื ฐานของตัวอักษรจีน ววิ ัฒนาการของตวั อักษรจีน 汉字的发展过程 甲骨文 jiǎgǔwén(商代 shāngdài)—— 金文 jīnwén(周代 zhōudài)—— 小篆 xiǎozhuàn(秦代 qíndài)—— 隶书 lìshū(汉代 hàndài)—— 楷书 kǎishū(魏晋 wèijìn)——— 草书 cǎoshū(汉代 hàndài)—— 行书 xingshū (东汉末 dōnghànmò)—— 简化字 jiǎnhuàzì(建国后 jiànguóhòu)
9 ภาพท่ี 1.3 วิวัฒนาการตัวอักษรจนี ทมี่ า : baike.wiki.汉字演变.ออนไลน์. 2560. นับแต่โบราณกาลมา ผู้คนรู้จักใช้เส้นเชือก ภาพวาดและเครื่องหมายเพ่ือใช้ในการจดบันทึก สิ่งต่าง ๆ เมื่อล่วงเวลานานเข้า จึงเกิดวิวัฒนาการกลายเป็นตัวอักษรแสดงได้ดังภาพที่ 1.3 สําหรับศิลปะ ในการเขียนตัวอักษรจีนน้ัน ได้ถือกําเนิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับตัวอักษรจีน ดังนั้น การจะศึกษาถึงศิลปะใน การเขียนตัวอกั ษรจนี จึงตอ้ งทําความเขา้ ใจถึงต้นกําเนดิ ของตัวอักษรควบคกู่ ันไป การปรากฏของอักษรจีนท่ีเก่าแก่ที่สุดมาจากแหล่งโบราณคดีป้ันปอจากเมืองซีอันมณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของ อักษรภาพท่ีสลักเป็นรูปวงกลม เส้ียวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเคร่ืองป้ันดินเผา จนมาถึง เมื่อ 3,000 ปีก่อนจึงก้าวเข้าสู่รูปแบบของอักษรสลักบนกระดูกสัตว์ ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียน อักษรจนี เมื่อปี ค.ศ. 1899 ชาวบ้านจากหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหน่ึงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอําเภอ อันหยางมณฑลเหอหนันประเทศจีนได้ ค้นพบสิ่งท่ีเรียกกันว่า ‘กระดูกมังกร’ จึงนํามาใช้ทําเป็นตัวยา รกั ษาโรค ตอ่ มาเน่อื งจากพอ่ ค้าหวังอีห้ รงเกิดความสนใจต่อตวั อกั ษรจนี ที่สลกั บนกระดูก จึงไดห้ าซอ้ื สะสม ไว้มีจํานวนกว่า 5,000 ช้ินและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทําการศึกษาวิจัย จึงพบว่ากระดูกมังกรน้ันแท้ที่จริงคือ กระดูกที่จารกึ อักขระโบราณของยคุ สมยั ซาง 商代 Shāng dài ที่มีอายุเก่าแก่ถงึ 1,300 ปีก่อนคริสตกาล \"กระดูกมังกร\" ท่ีภายหลังพบว่าเป็นบันทึกอักขระโบราณ จากเจ๋ียกู่เหวินหรืออักษรจารบน กระดกู สัตว์ (甲骨文 jiǎgǔwén)จินเหวินหรอื อกั ษรโลหะ (金文 jīn wén)อกั ษรเส่ียว
10 จ้วนหรือจ้วนเล็ก(小篆 )xiǎozhuàn อักษรลี่ซู(隶书 lìshū) อักษรข่ายซู (楷书 kǎishū)อกั ษรเฉ่าซ(ู 草书 cǎoshū)และอกั ษรสงิ ซู(行书 hángshū)เปน็ ต้น อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเกิดจากการฟูมฟักอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีการ ผสมผสานกันของอักษรชนิดที่แตกต่างกันในช่ัวระยะเวลาหนึ่งผ่านการขัด เกลาจนเกิดเป็นตัวอักษรชนิด ใหม่เข้าแทนท่ีอักษรชนิดเดิม ไม่ใช่การยกเลิกอักษรชนิดเก่าโดยสิ้นเชิง ดังน้ัน ผู้คนในยุคต่อมาจึงยังคงมี การศึกษาและใชอ้ ักษรในยุคเก่ากอ่ น ท้งั ในเชิงศิลปะหรือในชวี ิตประจาํ วนั ทยี่ งั คงพบเห็นไดอ้ ยู่ 1. อกั ษรบนกระดกู สตั ว์ อักษรบนกระดูกสัตว์(甲骨文)jiǎgǔwén เป็นอักขระโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของ จีน เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบัน โดยมากอยู่ในรูปของบันทึกการทํานายที่ใช้มีดแกะสลักหรือสลักลงบน กระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ปรากฏแพร่หลายในราชสํานักซางเม่ือ 1,300-1,100 ปีก่อนคริสตกาล ลักษณะของตัวอักษรจีนบางส่วน ยังคงมีลักษณะของความเป็นอักษรภาพอยู่ โครงสร้างตัวอักษรเป็นรูป วงรี มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกนั ที่ขนาดใหญบ่ ้างสงู ถงึ น้ิวกว่า ขนาดเลก็ เท่าเมล็ดข้าว บางคร้ังในตัวอกั ษร จีนตัวเดียวกันยังมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกัน ตัวอักษรมีการพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลา โดยมีลักษณะ พิเศษ กล่าวคือ ยุคต้น ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ยุคกลาง มีขนาดเล็กและลายเส้นท่ีเรียบง่ายกว่า เม่ือถึงยุค ปลายจะมีลักษณะใกลเ้ คยี งกบั อกั ษรจนิ เหวนิ 金文 jīn wén หรอื อกั ษรโลหะทมี่ ีความเปน็ ระเบยี บ แสดง ไดด้ งั ภาพที่ 1.4 ภาพท่ี 1.4 อกั ษรบนกระดกู สตั ว์ ที่มา : baike.baidu.甲骨文.ออนไลน.์ 2560.
11 2. อักษรโลหะ อักษรโลหะ(金文)jīn wén เป็นอักษรที่ใช้ในสมัยซาง 商代 Shāng dàiต่อเน่ืองถึง ราชวงศ์โจว 周代 Zhōudài (1,100 – 771 ปีก่อนคริสตศักราช) มีชื่อเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า ‘จงต่ิงเหวิน’ (钟鼎文)zhōngdǐngwén หมายถึงอักษรท่ีหลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสําริด เนื่องจาก ตวั แทนภาชนะสาํ รดิ ในยุคนนั้ ไดแ้ ก่ ‘ต่ิง’ ซึ่งเปน็ ภาชนะคล้ายกระถางมีสามขา ใชแ้ สดงสถานะทางสงั คม ของคนในสมัยนั้นและตัวแทนจากเครื่องดนตรีท่ีทําจากโลหะ คือ ‘จง’ หรือระฆัง ดังนั้นอักษรท่ีสลักหรือ หลอมลงบนเครื่องใช้โลหะดังกล่าวจึงเรียกว่า ‘จงติ่งเหวิน’ (钟鼎文)zhōngdǐngwén มีลักษณะ พิเศษ คือ มีลายเส้นที่หนาหนัก ร่องลายเส้นราบเรียบท่ีได้จากการหลอม ไม่ใช่การสลักลงบนเนื้อโลหะ อักษรโลหะในสมัยหลังรชั สมัยเฉิงหวังและคงั หวังแห่งราชวงศ์โจว จะมีความสง่างาม สะท้อนภาพลักษณ์ท่ี สุขุมเยือกเย็น เนื้อหาที่บันทึกด้วยอักษรโลหะ โดยมากเป็นคําส่ังการของชนช้ันผู้นํา พิธีการบูชาบรรพ บุรุษ บันทึกการทําสงคราม เป็นต้น มีการบันทึกการค้นพบอักษรโลหะตั้งแต่สมัยฮ่ันอู่ตี้ในราชวงศ์ฮ่ัน (116 ปกี ่อนคริสตศักราช) บนภาชนะ ‘ต่ิง’ ท่ีส่งเขา้ วงั หลวง ดังนั้น จึงมีการศึกษาและการทาํ อรรถาธบิ าย จากปญั ญาชน ภาพท่ี 1.5 อกั ษรโลหะ ที่มา : baike.baidu.金文.ออนไลน.์ 2560.
12 3. อักษรจ้วนเล็ก สมัยชุนชิวจ้ันกว๋อจนถึงยุคการก่อต้ังราชวงศ์ฉิน (770-202 ปีก่อนคริสตศักราช) โครงสร้างของ ตัวอักษรจีนโดยมากยังคงรักษารูปแบบเดิมจากราชวงศ์โจวตะวันตก ซ่ึงนอกจากอักษรโลหะแล้ว ยังมี อักษรรูปแบบต่าง ๆ ท่ีเหมาะกับการบันทึกลงในวัสดุแต่ละชนิด เช่น อักษรท่ีใช้ในการลงนามสัตยาบัน ร่วมระหว่างแว่นแคว้นที่สลักลงบนแผ่นหยกก็ เรียกว่า หนังสือพันธมิตร หากสลักลงบนไม้ก็เรียกสาส์นไม้ หากสลักลงบนหินก็เรียก ตัวหนังสือกลองหิน ฯลฯ นอกจากน้ีก่อนการรวมประเทศจีนบรรดาเจ้านครรัฐ หรือแว่นแคว้นต่างก็มีตัวอักษรที่ใช้แตก ต่างกันไป ซ่ึงส่วนหนึ่งได้แก่อักษรจ้วนใหญ่หรือต้าจ้วน (大 篆)dàzhuàn ซ่งึ เป็นตน้ แบบของเสยี่ วจว้ น(小篆)xiǎozhuàn ในเวลาต่อมา ภายหลังจากจิน๋ ซฮี ่องเต้ได้รวมแผน่ ดนิ จีนเขา้ ดว้ ยกันในปคี .ศ. 221 แล้ว ก็ทําการปฏิรูประบบ ตัวอักษรครั้งใหญ่ โดยการสร้างมาตรฐานรูปแบบตัวอักษรที่เป็นหน่ึงเดียวกันท่ัวประเทศ กล่าวกันว่า ภายใต้การผลักดันของมหาเสนาบดีหลี่ซือ ได้มีการนําเอาตัวอักษรดั้งเดิมของรัฐฉิน (อักษรจ้วน) มาปรับ ให้เรียบง่ายข้ึน จากน้ันเผยแพร่ออกไปท่ัวประเทศ ขณะเดียวกัน ก็ยกเลิกอักษรที่มีลักษณะเฉพาะจาก แว่นแคว้นอ่ืน ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน อักษรที่ผ่านการปฏิรูปนี้ รวมเรียกว่า อักษรเสี่ยวจ้วนหรือจ้วน เล็ก (小篆)xiǎozhuàn ถือเป็นอกั ษรทใี่ ช้ท่ัวประเทศจีนเป็นครัง้ แรก ภาพที่ 1.6 อักษรจ้วนเล็ก ทม่ี า : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560.
13 4. อกั ษรลซี่ ู ยคุ สมัยฉินประกาศใช้อักษรจ้วนเล็กอย่างเป็นทางการ พร้อมกันนั้นก็ปรากฏว่ามีการใชอ้ ักษรล่ีซู (隶书)lìshū ควบคู่กันไปโดยมีการประยุกต์มาจากการเขียนอักษรจ้วนอย่างง่าย อักษรล่ีซูทําให้ อักษรจีนก้าวเข้าสู่ขอบเขตของอักษรสัญลักษณ์อย่างเต็มรูปแบบ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกระบวนการของ การเปลี่ยนรูปจากอักษรโบราณท่ียังมีความเป็นอักษรภาพสู่ อักษรจีนที่ใช้ในปัจจุบัน สําหรับที่มาของ อักษรลี่ซูน้ัน กล่าวกันว่าสมัยฉินมีทาสที่เรียกว่าเฉิงเหมี่ยวผู้หนึ่ง เน่ืองจากกระทําความผิด จึงถูกสั่งจําคุก เฉิงเหม่ียวที่อยู่ในคุกคุมขังจึงคิดปรับปรุงตัวอักษรจ้วนให้เขียนง่ายข้ึน จากโครงสร้างกลมเปลี่ยนเป็น สี่เหล่ียมกลายเป็นอักษรรูปแบบใหม่ จ๋ินซีฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นแล้วทรงโปรดอย่างมาก จึงทรงแต่งต้ัง ให้เฉิงเหม่ียวทําหน้าท่ีอารักษ์ในวังหลวง ต่อมาตัวหนังสือชนิดน้ีแพร่หลายออกไป จึงมีการเรียกช่ือ ตัวหนังสือชนิดนี้ว่า อักษรลี่ซูหรืออักษรทาส (คําว่า ‘ล่ี’“隶” lì ในภาษาจีนหมายถึง ทาส) แต่ใน เชิงโบราณคดีน้ัน พบว่าอักษรลี่ซูเป็นอักษรท่ีใช้เขียนบนวัสดุท่ีทําจากไม้หรือไม้ไผ่มาต้ังแต่ ยุคจ้ันกว๋อ จนถงึ สมัยฉนิ และมีพัฒนาการมาเรือ่ ย ๆ จนมาถึงอกั ษรขา่ ยซู 楷书 kǎishū ภาพท่ี 1.7 อักษรลีซ่ ู ทีม่ า : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560.
14 5. อกั ษรขา่ ยซู อักษรขา่ ยซ(ู 楷书)kǎishū หรือเรยี กอกี อย่างหนึ่งวา่ อกั ษรจรงิ (真书)zhēn shū เป็นอักษรจีนรูปแบบมาตรฐานใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (คําว่า ‘楷’ kǎi มีความหมายว่าแบบ ฉบับหรือตัวอย่าง) อักษรข่ายซู(楷书)kǎishū เป็นเส้นสัญลักษณ์ท่ีประกอบกันขึ้น ภายใต้กรอบ ส่ีเหลี่ยม รปู รา่ งไมเ่ หมือนจากรปู แบบอักษรภาพของตวั อักขระยุคโบราณอยา่ งส้นิ เชงิ อักษรข่าย(楷书)kǎishū ซูมีต้นกําเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮนั่ ตะวันออก ภายหลังราชวงศ์ วุ่ยจิ้น 魏晋 Wèi jìn (สามก๊ก) (คริสตศักราช 220-316) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากการก้าว เข้าสู่ขอบเขตข้ันใหม่ของอักษรล่ีซู(隶书)lìshū พัฒนาตามมาด้วย อักษรข่ายซู(草书) cǎoshū เฉ่าซู และสงิ ซู(行书)xíngshū ก้าวพ้นจากข้อจํากัดของลายเส้นทม่ี าจากการแกะสลัก เม่ือ ถึงยคุ ถงั (คริสตศักราช 618-907) จวบจนปจั จุบนั อกั ษรข่ายซูยังเปน็ อกั ษรทคี่ นจนี ใชก้ ันอยา่ งแพรห่ ลาย ภาพที่ 1.8 อกั ษรข่ายซู ทม่ี า : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560.
15 6. อักษรเฉา่ ซู ตั้งแต่กาํ เนดิ มีตัวอกั ษรจีนเป็นตน้ มา อกั ษรแต่ละรูปแบบลว้ นมวี ิธีการเขยี นแบบตัวหวัดท้ังส้นิ จวบจนถงึ ราชวงศฮ์ ่นั (汉代) Hàndàiอักษรหวดั จงึ ได้รบั การเรียกขานว่า ‘อกั ษรเฉา่ ซ’ู (草 书)cǎoshū อยา่ งเปน็ ทางการ (คาํ วา่ “草” cǎo ในภาษาจนี หมายถงึ อยา่ งลวก ๆ หรืออย่างหยาบ) อกั ษรเฉ่าซ(ู 草书)cǎoshū เกดิ จากการนาํ เอาลายเสน้ ท่มี แี ต่เดมิ มาย่นย่อเหลอื เพียงขดี เสน้ เดียว โดยฉกี ออกจากรูปแบบอนั จําเจของกรอบส่เี หล่ยี มในอกั ษรจนี หลุดพ้นจากข้อจาํ กัดของขน้ั ตอนวธิ กี ารขดี เขียนอักษรในแบบมาตรฐานตัวคัดหรอื ข่ายซู(楷书)kǎishū ในขณะทอี่ ักษรขา่ ยซูอาจประกอบขึ้น จากลายเสน้ สบิ กว่าสาย แตอ่ กั ษรเฉ่าซู(草书)cǎoshū เพียงใช้ 2-3 ขดี กส็ ามารถประกอบเปน็ สัญลักษณเ์ ช่นเดยี วกนั ได้แสดงไดด้ ังภาพท่ี 1.9 ภาพที่ 1.9 อักษรเฉ่าซู ที่มา : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560.
16 7. อักษรสงิ ซู อักษรสิงซ(ู 行 书 ) xíngshū เปน็ รูปแบบตัวอกั ษรทีอ่ ยู่กึ่งกลางระหวา่ งอักษรข่ายซ(ู 楷 书)kǎishū และ อักษรเฉา่ ซ(ู 草书)cǎoshū แสดงได้ดงั ภาพที่ 1.10 เกิดจากการเขียนอกั ษรตวั บรรจงทเ่ี ขยี นอยา่ งหวดั หรอื อักษรตวั หวดั ท่เี ขยี นอย่างบรรจงอาจกลา่ วไดว้ า่ เป็นตัวอักษรก่ึงตัวหวัดและกึง่ บรรจง อกั ษรสิงซู( 行 书 ) xíngshū กาํ เนดิ ขึน้ ในราวปลายราชวงศฮ์ ่ันตะวันออก( 东 汉 ) Dōnghàn รวบรวมเอาปมเด่นของอักษรขา่ ยซู(楷书)kǎishū และเฉ่าซู(草书)cǎoshū เข้า ดว้ ยกัน ภาพท่ี 1.10 อักษรสงิ ซู ท่มี า : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560. ตวั อักษรจีนสามารถแบง่ ออกเป็นอักขระทใี่ ช้ในสมัยโบราณกบั อักษรที่ใช้ในปจั จุบันเช่น อกั ษรลี่ซู ซึ่งเป็นรูปแบบของอักขระโบราณ อันเป็นต้นแบบของการปฏิรูปลักษณะตัวอักษรจีนครั้งใหญ่ กลายเป็น เส้นแบ่งระหว่างอักษรรุ่นเก่าและใหม่ ยุคสมัยที่ใช้อักษรล่ีซู(隶书)lìshū และก่อนหน้าน้ัน ถือเป็น อักขระโบราณ ไดแ้ ก่ อักษรจารบนกระดกู สัตวห์ รอื เจี๋ยกู่เหวินจากสมัยซาง 商代 Shāngdài อกั ษรโลหะ (金文)jīn wén จากราชวงศ์โจวตะวันตก 西周 xīzhōu อักษรเส่ียวจ้วนจากยุคสมัยจ้ันกว๋อและ สมัยฉิน หลังจากกําเนิดอักษรลี่ซูให้ถือเป็นอักษรในยุคปัจจุบัน อันได้แก่ อักษรลี่ซู อักษรข่ายซู สําหรับ อักษรเฉ่าซู(草书)cǎoshū และสิงซู (行书)xíngshū อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงพัฒนาการ ของรูปแบบตัวอักษร ไมใ่ ชว่ วิ ัฒนาการของตัวอกั ษรจีนโดยรวม
17 วิวฒั นาการของรูปร่างตวั อกั ษรจีน ววิ ฒั นาการของรูปร่างตัวอักษรจีนจากอดีตถึงปจั จบุ ัน จะมีการเปลี่ยนแปลงมา 3 ขัน้ ขนั้ แรกคือ อกั ษรภาพ 图形化 túxíng huà ขนั้ ทสี่ องคอื อกั ษรเส้น 线条化 xiàntiáo huà ขนั้ สุดทา้ ยคอื อกั ษร เส้นขดี 笔画化 bǐhuà huà 1. อักษรภาพ 图形化 Túxíng huà จากภาพทําให้สามารถทราบได้ว่าอักษรภาพของจีนในสมัยน้ันยังไม่มีระบบการเขียนที่ แน่นอน แต่อักษรภาพมีความใกล้เคียงกับภาพธรรมชาติ ดังน้ันภาพอักษรท่ีออกมาจะใหญ่บ้าง เล็กบ้าง หนึ่งตัวอักษรเขียนได้หลายแบบ สามารถเขียนแบบง่ายก็ได้ แบบซับซ้อนก็ได้ ข้ันตอนของอักษรภาพชนิด นีก้ ารเขียนไม่สะดวก สลักหนึ่งตัวต้องใช้เวลานาน ตัวอักษรน้อยและมีการรวมตัวกันของตัวอักษร ถ้าหาก มตี ัวอกั ษรเยอะมากตอ้ งใช้เวลาในการสลกั นานมาก 2. อักษรเสน้ 线条化 Xiàntiáo huà ในสมยั โบราณ การใชพ้ กู่ นั เขยี นตวั อักษรจีนนน้ั เหมอื นการวาดภาพ เขยี นไม่คอ่ ยสะดวก การเขยี นตวั อักษรจีนของคนในสมัยน้นั ขนึ้ อยู่กบั การคบคา้ สมาคมของผคู้ นและความเจริญรงุ่ เรืองของยคุ นั้น ๆ ทําใหก้ อ่ ใหเ้ กิดการใชต้ ัวอักษรจีนมากขึ้น ผ้คู นก็เรมิ่ หาวธิ ีการเขียนทง่ี ่าย วธิ กี ารนเี้ รยี กวา่ “偷 工减料” tōugōngjiǎnliào สามารถลดขดี การเขยี นได้หนง่ึ ขีด 3. อกั ษรเสน้ ขดี 笔画化 Bǐhuà huà ก่อนท่ีกษัตริย์จ๋ินซีฮ่องเต้จะรวมตัวอักษรจีนเป็นหน่ึงเดียวน้ัน ในยุคสมัยของกษัตริย์จ๋ินซี ฮ่องเต้นิยมเขียนตัวอักษรจีนแบบง่าย ๆ วิธีการเขียนชนิดน้ี ลักษณะเด่นท่ีสําคัญท่ีสุดคือนําเส้นที่โค้งงอ เหยียดให้ตรง นําตัวอักษรแต่ละตัวเขียนเป็นรูปส่ีเหลี่ยม ลักษณะอักษรแบบน้ีเรียกว่า “隶书” lìshū ล่ซี ู ส่วนในยุคสมัยฉินนั้นเรียกวา่ “秦隶” qín lì และ “古隶” gǔ lì
18 ตัวอักษรจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานตามแถบแม่น้ํามาหลายพันปี ได้มีการบันทึกลงวัสดุเป็น ลายลักษณ์อักษร ในนั้นมีทฤษฎีทางปรัชญา วิทยาศาสตร์ ผลงานทางวรรณคดี ความรู้ทางชีวิตประจําวัน เป็นต้น รวมทั้งการรวมตัวกันทางประสบการณ์และความรู้ความสามารถของชาวฮั้น จนมาถึงทุกวันนี้ ตัวอักษรจีนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารภาษาจีนก็เป็นหนึ่งในภาษาท่ีองค์กรสหประชาชาติใช้และยังคง เปน็ อุปกรณ์ท่ที าํ คุณูปการแลกเปลยี่ นทางวฒั นธรรมอยา่ งใหญ่หลวง คุณสมบัตอิ ักษรจนี ยคุ ปจั จบุ ัน คุณสมบัติของตัวอักษรจีนยุคปัจจุบันมีคุณสมบัติเหมือนกับอักษรบนกระดองเต่าและอักษรจินเห วิน คุณสมบัติของตัวอักษรจีนถอดรูปแบบมาจากสัญลักษณ์จากการใช้ตัวอักษรจีน การสํารวจสัญลักษณ์ ของอักษรจีนมีหลักสําคัญ 2 ประการ หนึ่งคือวิธีการบันทึกอักษรจีน สองคือการบันทึกสัญลักษณ์อักษร จนี ในตาํ แหนง่ นัน้ ว่ามีอะไรบา้ ง 1. วิธีการบันทึกสัญลักษณต์ ัวอักษรจีน การบันทึกตวั อักษรโดยวิธีการใชต้ วั อกั ษรภาพบรรยายคาํ ลกั ษณะของสรรพส่ิง เชน่ ตัวอกั ษรจีน โบราณคาํ วา่ (日)rì มภี าพคลา้ ยกบั พระอาทิตย์ และอกั ษรคําวา่ (火)huǒ มภี าพคล้ายกบั ไฟ ส่วนอกั ษรจนี ปจั จุบันเช่นอกั ษรคําว่า “凸” tū ส่ิงทีส่ งู ส่วนอักษรจีนคาํ วา่ “凹” Āo บริเวณส่วนล้อมรอบท่ตี าํ่ สดุ เปน็ ตน้ อักษรเหล่าน้ีลว้ นมาจากการบนั ทึกทางมือทางอรรถศาสตร์ 2. วธิ ีการใชอ้ กั ษรภาพบนั ทกึ เสียงของคํา การบันทึกอักษรโดยใช้เสียงน้ันเช่นอักษรคําว่า 我 wǒ เนื่องจาก 我 wǒ เป็นคําสรรพนาม ซ่ึงไม่สามารถหาอักษรภาพที่ใกล้เคียงมาบรรยายได้นั้น จึงยืมการใช้เสียงมาบันทึกคําแทนวิธีการใช้ภาพ เดิมทีอักษรตัวน้ีบันทึกไว้เป็นอาวุธชนิดหน่ึง ในขณะท่ีเขายืมอักษรเพ่ือบันทึก อักษรสัญลักษณ์รูปภาพ และอรรถศาสตร์(สรรพนาม) ไม่มีความสัมพันธ์กัน เพียงแต่เหมือนกบั เสียงเท่านั้น นอกเหนือจากน้ัน การ แปลเสียงจากภาษาต่างประเทศได้ใช้วิธีหลากหลายรูปแบบในการบันทึกเช่นคําว่า “巧克力”
19 qiǎokèlì “沙发” shāfā เป็นต้น การบันทึกตัวอักษรจีนโดยใช้เสียงช่วยเป็นอีกวิธีหน่ึงของการ บนั ทึกตัวอกั ษรจีน 3. วธิ กี ารใชอ้ กั ษรภาพบันทกึ ตวั อกั ษรจีนโดยวิธีใช้ทง้ั เสยี งและความหมาย การบันทึกอักษรโดยวิธีการใช้ทั้งเสียงและความหมายนั้นเช่นอักษรคําว่า 油 yóu โดย ด้านขวา 由 yóuเป็นตัวอ่านออกเสียง ด้านซ้ายมี 氵 บอกความหมาย คําว่า 油 yóu แปลว่า ของเหลวชนดิ หนง่ึ ตัวอกั ษรนี้เปน็ ตัวอยา่ งของวิธีการบนั ทกึ ทง้ั เสยี งและความหมาย วธิ กี ารสร้างอักษรจีน สร้างอักษรแบบดั้งเดมิ ของจีนเรียกว่า 六书 liù shū (อักษร 6ชนิด) วธิ กี ารสร้างอกั ษร 6 ชนิดน้ี มีอักษรเหมือนภาพ (象形 )xiàngxíng อักษรบ่งความ (指示 zhǐshì) อักษรรวมความหมาย (会意 huìyì) อักษรแบบบอกความหมายและเสียง (形声 )xíngshēng อักษรอธิบาย (转注 zhuǎnzhù) อักษรยืม (假借 jiǎjiè) แท้จริงแล้วในการสร้างอักษรนั้นมีเพียงส่ีชนิดแรกเท่านั้น สองชนิดหลังเป็นเพียง การใช้อักษรไม่ได้เป็นการสร้างอักษร ดังน้ันจึงมีการเรียกวิธีการสร้างอักษรจีนแบบด้ังเดิมอีกว่า “四书” sìshū ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอักษรแบบ 6 ชนิดหรือ 4 ชนิด คนรุ่นหลังอาศัยการใช้งานท่ีแท้จริงในสังคม และได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์สรุปเป็นกฎเกณฑ์ได้หลายข้อ กฎเกณฑ์นี้ไม่ได้เพิ่งกําหนดออกมาแล้ว นํามาใช้ในการสร้างอักษร แต่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นแล้ว ผู้ท่ีใช้วิธีการสร้างอักษรดังกล่าวเป็นครั้งแรก คือ สว่ีเซิน นักอักษรศาสตร์ ด้วยเหตุท่ี 4 ชนิดเป็นวิธีการสร้างอักษรโดยตรงและใช้กันมากในปัจจุบัน จึง ขอแนะนาํ ดังน้ี
20 1. อักษรเหมอื นภาพ (象形 )Xiàngxíng อักษรเหมอื นภาพ หมายถึงอักษรท่วี าดหรอื เขียนออกมาตามเค้าโครงบางสว่ นหรือท้งั หมด ของสิ่งของหรือรูปรา่ งของสิ่งนน้ั ๆ เช่น ตวั อักษร 人、山、羊、齿、燕、网 แสดงได้ดังภาพที่ 1.11 อักษรชนิดน้ีได้ผา่ นการววิ ัฒนาการมาหลายพนั ปี อกั ษรส่วนใหญไ่ มเ่ หมอื นรปู เดิม แตใ่ นบรรดา อกั ษรจาํ นวนมากทยี่ งั คงสามารถแยกแยะหรอื เปรียบเทยี บให้เห็นได้เชน่ 人 rén รูปคน 山 shān รปู ภเู ขา 羊 แพะ แกะ 齿 ฟัน 燕 นก 网 ตาขา่ ย และยังมตี ัวอยา่ งอักษรเหมือนภาพตวั อื่นอีก มากมาย (ดูภาคผนวก 1) 人山 羊 齿 网 燕 ภาพท่ี 1.11 อกั ษรเหมือนภาพ ท่ีมา : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560.
21 2. อกั ษรบง่ ความหรืออักษรบง่ ชี้ (指示 Zhǐshì) อักษรบ่งความน้ันเป็นการสร้างอักษรจากการใช้เครื่องหมายแสดงความหมาย แสดงได้ดังภาพท่ี 1.12 แบ่งเป็นสองประเภทคือ แบบที่หน่ึงใช้เส้นขีดมาประกอบเป็นตัวอักษร ประเภทท่ีสองคือ การใส่ หรือเพ่ิมเคร่ืองหมายลงไปในอักษรเหมือนภาพเพ่ือบ่งบอกความหมาย ได้แก่ 一 yī หมายถึง หน่ึง 二 èr หมายถึง สอง 三 sān หมายถึง สาม ส่วนที่ใช้เคร่ืองหมายเติมลงอักษรเหมือนภาพ เช่น 本 běn หมายถึงรากฐาน เติมขีดขวางลงบนส่วนล่างของต้นไม้ หมายถึงส่วนรากของต้นไม้ ต่อมามี ความหมายว่ารากแก่น รากฐาน 末 mò หมายถึง ปลายหรือสุด เป็นการสร้างอักษรบ่งความ โดยการ เติมขีดบนส่วนบนของต้นไม้ หมายถึงยอดไม้ ส่วนสุดของต้นไม้ นอกจากอักษรเหล่านี้ยังมีตัวอย่างอักษร ตัวอื่น (ดูภาคผนวก 2) เป็นต้น ภาพท่ี 1.12 อกั ษรบง่ ความหรืออักษรบง่ ชี้ ท่มี า : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560. 3. อักษรรวมความหมาย (会意 Huìyì) อักษรรวมความหมาย เป็นการสรา้ งอกั ษรแบบรวมตวั อกั ษรเขา้ ดว้ ยกัน อาจจะเปน็ สองตวั หรือสอง ตวั ขน้ึ ไป แสดงความหมายอย่างหนึง่ แสดงไดด้ ังภาพที่ 1.13 เชน่ ตัวอยา่ งท่ี 1 อักษรตวั คน 人 rén หมายถงึ คน (คนหนึง่ คน) ถ้าเป็นสองตวั 从 cóng แสดงความหมายว่า สองคนเดินตามกัน และถา้ สามตัว รวมกนั 众 zhòng รวมความหมายวา่ ฝูงชน มวลชน
22 ตวั อย่างที่ 2 อักษรตัวตน้ ไม้ 木 mù หมายถงึ ตน้ ไม้ ต้นไม้สองตน้ ถา้ สองตวั รวมกันเปน็ ตวั อกั ษร 林 lín หมายถงึ ปา่ ไม้ แตถ่ า้ สามตวั รวมกนั เป็น 森 sēn หมายถงึ ป่าทึบ ตัวอยา่ งท่ี 3คําวา่ 水 shuǐ หมายถงึ น้าํ ถา้ มีอกั ษร 水 shuǐ สามตัวรวมกนั เขียนเปน็ 淼 miǎo มีความหมายว่า น้าํ เออ่ ล้นนอง ลกั ษณะข้างต้นเป็นอักษรที่เหมอื นกันมารวมกัน อีกลกั ษณะหนงึ่ เป็นการรวมตัวอกั ษรท่ตี า่ งกัน เชน่ อักษรคาํ ว่า 休 xiū มีความหมายวา่ พักผอ่ น สว่ นหนา้ คอื 人 rén เหยนิ หมายถึงคน ส่วนหลงั เป็น ตัวอักษร 木 mù (ต้นไม)้ รวมความหมายวา่ สมัยกอ่ นผคู้ นเดินทางตามถนนที่มตี น้ ไมข้ า้ งทาง คนเดินทาง เม่อื เหน่อื ยแลว้ จะไปพกั ผ่อนอยใู่ ต้ต้นไม้ ตวั อกั ษรคําวา่ 泪 lèi มีความหมายวา่ น้ําตา สว่ นหนา้ เป็น นาํ้ 水 shuǐ ส่วนหลงั เปน็ 目 mù มีความหมายวา่ ดวงตา คําน้จี งึ รวมความหมายว่า น้าํ ตา และยงั มี อกั ษรตวั อ่ืน(ดภู าคผนวก 3) เปน็ ตน้ 休 众 彩 旦 ภาพท่ี 1.13 อักษรรวมความหมาย
23 ทมี่ า : 有趣的汉字 PPT. 15 มกราคม 2560. 4. อักษรแบบบอกความหมายและเสยี ง (形声 )Xíngshēng อักษรแบบบอกความหมายและเสียงนั้นเป็นการสร้างอักษรท่ีมีส่วนประกอบสองส่วนคือ ส่วน บอกเสียงและส่วนบอกความหมาย อักษรชนิดนี้ส่วนมากจะมีสองส่วน และในปัจจุบัน อักษรชนิดนี้มี จํานวนมากที่สดุ ในบรรดาอักษรทง้ั หมด เช่นคําว่า 慢 màn แปลว่า ช้า ประกอบด้วยสองส่วน สว่ นหน้า คือ 心 xīn เป็นหมวดคําและมีความหมายคอื หวั ใจ สว่ นหลังคือ 曼 ออกเสียงว่า màn เป็นส่วนบอก เสียง คําว่า 妈 mā (แม่) เป็นอักษรท่ีประกอบด้วย 女 nǚ และ 马 mǎ ส่วนหน้าบอกความหมาย เกยี่ วกับเพศหญิง ส่วนหลังบอกเสียง หมา่ คําว่า 椅 ออกเสียงวา่ yǐ มีความหมายว่า เกา้ อ้ี ประกอบด้วย ส่วนหนา้ คือ 木 mù หมายถงึ ไม้ สว่ นประกอบด้านหลังคอื 奇 ออกเสยี งว่า qí เป็นตน้ อักษรแบบบอกความหมาย (รูป) และเสียงน้ันเป็นวิธีการสร้างตัวอักษรที่ใช้กันมากที่สุดใน การสร้างตัวอักษรตัวย่อในปัจจุบัน(ดูภาคผนวก 4) เพราะส่วนประกอบของอักษรชนิดนี้สามารถบอก ความหมายครา่ ว ๆ หรือบอกความหมายเชงิ หมวดของคําแล้วยังสามารถเดาเสยี งอ่านของคํา ๆ นนั้ ได้ แต่ ในด้านเสียงอา่ นน้ัน ปัจจุบันมีคําท่ีสามารถบอกเสียงตามส่วนประกอบบอกเสียงได้เหมือนกันทั้งหมดนั้นมี น้อย อาจจะมีเสยี งพยัญชนะหรือเสียงสระและวรรณยกุ ต์ และเสยี งวรรณยกุ ต์ท่เี หมือนกนั เสียงพยัญชนะ อาจแตกต่างกันไปบ้างแตก่ ย็ ังคงอยู่ในฐานออกเสียงเดียวกนั เชน่ คําวา่ 长 Cháng เม่อื ประกอบอยใู่ นคํา อ่ืนอาจออกเสียงเป็น (张 zhāng) (帐 zhàng 账 zhàng 胀 zhàng) เป็นต้น ด้วยเหตนุ ้ีจึงเห็นได้ว่า สว่ นบอกเสียงของคํานั้นไม่อาจบอกเสยี งได้ 100% ทเี ดียว กฎของเสียงและภาพอักษรจนี 义符和声之规 左形右声,如钱、材、消、熔等; zuǒ xíng yòu shēng rú qián cái, xiāo, róng děng ภาพซ้ายเสียงขวา เชน่ 如钱、材、消、熔 เป็นตน้
24 右形左声,如放、鸭、刎、颈等; yòu xíng zuǒ sheng rú fàng, yā, wěn, jǐng děng ภาพขวาเสยี งซา้ ย เชน่ 放、鸭、刎、颈 เป็นต้น 上形下声,如茅、简、空、室等; shàng xíng xià sheng rú máo, jiǎn, kōng, shì děng บนภาพลา่ งเสียง เช่น 如茅、简、空、室 เป็นต้น 下形上声,如柴、酱、盆、甕等; xià xíng shàng sheng rú chái, jiàng, pén, wèng děng ลา่ งภาพบนเสียง เชน่ 柴、酱、盆、甕 เป็นตน้ 内形外声,如闻、问、闽等; nèi xíng wài sheng rú wén, wèn, mǐn děng ในภาพนอกเสยี ง เชน่ 闻、问、闽 เป็นต้น 外形内声,如辟匪、匐、固等。 wàixíng nèi sheng rú pì fěi, fú, gù děng นอกภาพในเสียง เชน่ 辟 pì 匪 fěi、匐 fú、固 gù เปน็ ตน้ 5. อกั ษรทีข่ ยายความแกก่ ัน 转注 Zhuǎnzhù อักษรท่ีขยายความแก่กันคือตัวหนังสือท่ีมีความหมายเหมือนกัน มีส่วนประกอบใกล้เคียงกัน ต่างอธิบายความแก่กันและกัน เช่นคําว่า 考 kǎo แปลว่า การสอบ หรือ บิดา และ 老 lǎo แปลว่า แก่ หรืออาวโุ ส
25 6. อักษรยืม 假借 Jiǎjiè อักษรยืมในภาษาจีนเดิมคําบางคํามีแต่เสียงอ่าน แต่ไม่มีตัวอักษรจึงมีการไปยืมคําที่มีเสียง อ่านเหมือนกันและมีอักษรมาใช้หรือการใช้ตัวอักษรออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน ดังเช่นการยืมคําว่า 棒 bàng ซึ่งแปลว่า เย่ียม ได้ยืมมาจากคําว่า 棒 bàng ท่ีแปลว่า ท่อนไม้ ตวั อักษรจีนมีลักษณะพิเศษหลายอยา่ ง เช่น ตัวอักษรจีนเปน็ เหลี่ยม การเขียนตัวอักษรจนี มักจะเขยี นจาก บนลงลา่ ง จากซ้ายไปขวา อักษรแต่ละตัวมคี วามหมายในตัวเอง และในการเขยี นอักษรจีนถือว่าเปน็ ศิลปะ อยา่ งหนึ่ง สรปุ อักษรจีนเป็นอักษรโครงสร้างระบบสัญลักษณ์คืออักษรที่สลักบนกระดองเต่า อักษรจีนมี วิวัฒนาการมากจากตัวอักษรภาพ ซึ่งภาษาจีน เรียกว่า 汉字(hànzì) อักษรจีนมีระบบการเขียนท่ี ใช้กันมาอย่างต่อเน่ืองจึงถือได้ว่าเป็นอักษรเก่าแก่ท่ีสุดในโลก มีวิวัฒนาการทั้งหมด 7 ยุคด้วยกันต้ังแต่ อักษรกระดองเต่า อกั ษรโลหะ อักษรจว้ นเลก็ อักษรล่ซี ู อักษรขา่ ยซู อักษรเฉ่าซแู ละอักษรสงิ ซู คุณสมบัติ ของตัวอกั ษรจีนคอื ใช้บันทกึ สัญลักษณ์ตัวอกั ษรจีนคอื การใช้อักษรภาพบนั ทึกเสียงของคําและใช้บันทึกท้ัง เสียงและความหมาย ส่วนวิธีการสร้างตัวอักษรจีนน้ันมีทั้งหมด 6 รูปแบบคืออักษรเหมือนภาพ อักษรบ่ง ความหรืออักษรบ่งชี้ อักษรรวมความหมายและอักษรแบบบอกความหมายและเสียง อีก 2 รูปแบบถือว่า เปน็ การใชต้ วั อกั ษรขยายความและอักษรยมื ไม่ถอื ว่าเปน็ การประดษิ ฐต์ ัวอักษร แบบฝกึ หดั ทา้ ยบท 1. การค้นพบอกั ษรจีนโบราณเปน็ อักษรโครงสร้างสัญลกั ษณแ์ บบใด 2. อกั ษรจนี มีตน้ กาํ เนดิ มาจากอะไร
26 3. “甲骨文” jiǎgǔwén อกั ษรกระดองเต่าเป็นการบันทึกเนอื้ หาใด 4. ววิ ฒั นาการของตัวอักษรจนี มีทง้ั หมดกรี่ ะบบ อะไรบ้าง จงอธบิ าย 5. ววิ ัฒนาการของรปู รา่ งตัวอักษรจีนจากอดีตถึงปัจจบุ นั มีการเปลี่ยนแปลงมากขี่ นั้ ตอน อะไรบา้ ง 6. รปู แบบตัวอักษรใดที่ยังเปน็ ท่นี ิยมใช้จนมาถงึ ปัจจุบัน 7. อกั ษรทหี่ ลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสําริดมีลักษณะพิเศษ คอื มีลายเสน้ ท่ีหนาหนกั รอ่ งลายเส้นราบเรียบทีไ่ ด้จากการหลอมคืออักษรชนิดใด 8. คุณสมบตั ิอักษรจนี ยุคปจั จุบนั มีอะไรบ้าง 9. วธิ ีการสร้างตัวอกั ษรจนี มีท้งั หมดกี่วธิ ี จงอธิบายพรอ้ มยกตวั อย่างประกอบ 10. วิธกี ารสร้างตวั อักษรทีใ่ ช้กนั มากทส่ี ุดในการสรา้ งตัวอกั ษรตวั ยอ่ ในปัจจุบนั คือวธิ กี ารสรา้ ง อกั ษรรูปแบบใด เอกสารอ้างอิง จาง จ้ิง. (2553). อา่ น เขยี น เรียนจีน จากอกั ษรภาพ. กรงุ เทพฯ : ซีเอด็ ยูเคชั่น. จิตฤดี วีระเวสส.์ (2009). 汉字部首教程 (Learning 100 Chinese Radicals). 北京:北 京大学出版社 . เหยิน จงิ่ เหวนิ . (2551). รเู้ รียนเขียนจนี . พมิ พ์ครง้ั ที่ 2. กรงุ เทพฯ : อมั รินทร.์ อภญิ ญา ศิริวรรณ. (มปป.). อักษรจนี : กระบวนการสื่อสารและผสานความหมายผ่านอักษรเลยี น ธรรมชาติ Chinese Characters : Communication and Meaning - Merging Process through Nature - Mimicking Characters Journal of Humanities and Social Sciences, Vol. 8 (2)293-324.
27 陈正治. (2000). 有趣的中国文字. 台北:国语日报社 . GAO YAN. (2559). ทางลดั เขียนอักษรจนี . กรงุ เทพฯ : แมนดารนิ เอดูเคชน่ั . 海 恩. (2010) . 象形字典. [Online]. Retrieved from http://www.vividict.com. [25มีนาคม2560]. 严文明. (2006). 中华文明史(第一卷). 北京. 北京大学出版社. 李俊红. (2011). 走进汉字. 北京 : 首都师范大学出版社. 李大遂. (2004). 对外汉字 教学发展 与研究概述. 暨南大学华文学 院学 报. (2)41-48. 马景仑. (2002). 汉语通论. 南京. 江苏古籍出版社. 编委会. (2009). 汉字五千年. 北京:新星出版社. 达世平. 神奇的汉字 (CD - ROM). 北京:北京语言大学电子音像出版社. 薛晓岚. (2559). เก่งจนี ไดไ้ มต่ อ้ งจํา. กรงุ เทพฯ : อมั รนิ ทร.์ 王秀荣. (2013). 国际汉语汉字与汉字教学. 北京:高等教育出版社. 现在汉语通论. 第二版. 上海:上海教育出版社. 王秀荣. (2013). 国际汉语汉字与汉字教学. 北京:高等教育出版社. 余志鸿. (2014). 汉字的秘密. 台北:龙图腾文化 . 许慎. (1963). 说文解字《汉字五千年》. 北京:中华书局. 杨开昌、何顺超. (2010). “六书”理论在对外汉语汉字教学中的作用. 河套
28 大学学报. Vol.7(3)39-45. 张静贤. (2004). 汉字教程. 北京. 北京语言大学出版社. 邵敬敏、张美霞. (2000). 说字释词谈文化(一)Chinese Characters,Words and Culture.北京:北京语言文化大学出版社 . 赵学清,张喆. (2011). 汉字文化趣谈. 陕西:陕西师范大学出版总社. 凌帅. (2009). 从外国学生汉字书写偏误看形声字意符 在对外汉语汉字教 学中的作用. Journal of Chifeng University. Vol.30(5)118-120.
แผนบริหารการสอนประจําบทที่ 2 หัวข้อเนื้อหาประจาํ บท 1. เสน้ ขีดตวั อกั ษรจีน 2. ส่วนประกอบตัวอกั ษรจนี 3. วิธกี ารเขียนตวั อกั ษรจีน 4. โครงสร้างอกั ษรจนี 5. โครงสร้างอกั ษรเดีย่ ว 6. โครงสรา้ งอักษรประสม (อักษรผสม) วัตถปุ ระสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรม เมื่อนกั ศกึ ษาไดศ้ กึ ษาจบบทท่ี 2 แลว้ นกั ศกึ ษามีความสามารถ ดังน้ี 1. อธิบายและเขยี นเสน้ ขีดพ้ืนฐานของอักษรจนี ได้ 2. อธบิ ายลําดบั ขีดในการเขียนตัวอกั ษรจนี ได้ 3. อธิบายวิธกี ารเขยี นตัวอกั ษรจีนพ้นื ฐานได้ 4. เขยี นตัวอกั ษรจีนพื้นฐานและบอกจาํ นวนเสน้ ขดี ได้ถกู ตอ้ ง 5. วเิ คราะห์ความแตกตา่ งของเส้นขดี และลําดบั ขีดได้ 6. อธบิ ายส่วนประกอบของโครงสร้างตวั อักษรจนี ได้ 7. เขยี นอักษรจนี โครงสร้างอักษรเด่ยี วได้ 8. เขียนอักษรจีนโครงสรา้ งอักษรประสม(อักษรผสม)ได้ 9. วิเคราะห์ถงึ ความแตกต่างระหว่างโครงสร้างอกั ษรเดย่ี วและโครงสร้างอักษรประสมได้
30 วิธีสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอน วธิ ีสอนและกจิ กรรมการเรยี นการสอนประจําบทท่ี 2 ประกอบดว้ ยรายละเอียดดังน้ี 1. ศกึ ษาเอกสารประกอบการสอนวชิ าอักษรจนี บทท่ี 2 เรื่อง หลักการเขียนและโครงสร้าง อกั ษรจีน 2. บรรยายประกอบโปรแกรมนําเสนอด้วยคอมพวิ เตอร์ เรือ่ ง หลักการเขยี นและโครงสร้าง อักษรจีน 3. ศกึ ษาจากตัวอยา่ งกรณีศึกษาทเ่ี กีย่ วขอ้ งกบั หลักการเขียนและโครงสร้างอกั ษรจนี 4. อภิปรายแลกเปล่ียนความคิดเหน็ จากประเดน็ ปัญหาเกีย่ วกับหลกั การเขยี นและโครงสรา้ ง อักษรจีน 5. จัดกิจกรรมกลุ่ม4-5 คนเล่นเกมแยกแยะอกั ษรเดยี่ วและอักษรคู่ 6. เกมออนไลน์ kahoot เร่ือง หลักการเขียนและโครงสร้างอกั ษรจนี ส่อื การเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวชิ าอักษรจนี บทท่ี 2 เร่อื งหลักการเขียนและโครงสร้างอักษรจนี 2. โปรแกรมนําเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ เรอ่ื ง หลกั การเขียนและโครงสร้างอักษรจนี 3. โสตทศั นวสั ดทุ เ่ี ก่ียวขอ้ ง เชน่ แผน่ ภาพอกั ษรจนี วิดีโอหลักการเขียนอกั ษรจีน แผ่นตวั อักษรจีน เกม kahoot เก่ียวกับเส้นขีดและโครงสร้างอกั ษรจนี เป็นต้น 4. ใบงานเรือ่ ง หลักการเขียนและโครงสร้างอกั ษรจนี วิธีวดั ผลและการประเมนิ ผล 1. ประเมินจากการเขยี นอกั ษรจนี ตามคําบอก 2. สงั เกตพฤติกรรมการมีส่วนรว่ มในหอ้ งเรียน
31 3. ประเมินจากผลการอภปิ รายของนักศกึ ษาว่า นกั ศึกษาสามารถอธบิ ายหลกั เกณฑ์และวธิ ีการ เขียนตัวอกั ษรจีน โครงสร้างอกั ษรจนี ไดห้ รอื ไม่ 4. ประเมนิ จากผลกิจกรรมแยกตัวอักษรจีนและการเลม่ เกม kahoot เรือ่ ง หลกั การเขยี นและ โครงสร้างอักษรจนี 5. ประเมนิ จากใบงานเร่อื ง หลักการเขียนและโครงสรา้ งอักษรจนี
32
33 บทที่ 2 หลกั การเขียนและโครงสรา้ งอกั ษรจีน การเรยี นรู้ภาษาจีนแตกต่างจากภาษาอ่ืน ๆ เนื่องจากอักษรจีนมีลักษณะเป็นเส้นขีดต้องจําทีละ ตวั อกั ษร แตห่ ากผ้เู รียนศกึ ษาตวั อักษรจีนข้นั พื้นฐานอย่างถูกตอ้ งจะทําใหก้ ารเรียนตัวอักษรท่ีไมค่ ุ้นเคยจะ กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ดงั ท่ีกล่าวไวใ้ นบทที่ 1 เนื่องจากตัวอักษรจีนเป็น “อักษรภาพ” เร่ิมวิวัฒนาการมา จากการวิเคราะห์ส่ิงของต่าง ๆ เป็นภาพท่ีเป็นธรรมชาติต่อมาเป็นลายเส้นและปรับเส้นอักษรมาประกอบ กันจนกลายเป็นตัวอักษรจีนมาตรฐานในปัจจุบัน ซ่ึงแต่ละตัวอักษรมีส่วนประกอบต่าง ๆ ประกอบกันขึ้น อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ ในบทน้ีจะอธิบายถึงเส้นขีดตัวอักษรจีน ส่วนประกอบตัวอักษรจีน วธิ ีการเขยี นตัวอักษรจีน โครงสร้างอักษรจีนซง่ึ ประกอบไปดว้ ยโครงสรา้ งอกั ษรเด่ียวและโครงสร้างอักษร ประสม (อักษรผสม) เส้นขีดตัวอักษรจีน รปู ลักษณะของอกั ษรจีนแยกเป็นสว่ นประกอบสาํ คญั 2 สว่ น คือ ขดี (เสน้ )笔画 bǐhuàและการ ประกอบเป็นตัวอักษร 结构 jiégòu ขีด 笔画 bǐhuà ลกั ษณะขดี ของตัวอกั ษรจีนมีลกั ษณะทเี่ ป็นขีดพ้ืนฐานอยู่ 8 ขดี ดว้ ยกนั และ จากลักษณะดังกลา่ วนย้ี งั ดดั แปลงไปเปน็ รูปรา่ งอน่ื ๆ อกี กว่า 20 กว่าลกั ษณะด้วยกัน ดังท่ีแสดงไว้ใน(ดู ภาคผนวก 5)
34 ภาพท่ี 2.1 เสน้ ขดี พ้ืนฐาน 8 ขีด ที่มา :baike.baidu.永字.ออนไลน.์ 2560. “永字八法” yǒngzìbāfǎ 基本笔画 jīběn bǐhuà(8 种 zhǒng)ตัวอักษรจนี มีเสน้ ขดี พน้ื ฐานอยู่ 8 ขดี คือ :- ตารางท่ี 2.1 เส้นขีดพ้ืนฐานอักษรจีน 基本笔画 笔画名称 例字 丶 点 diǎn 六 liù、义 yì、头 tóu、之 zhī 二 èr、大 dà、干 gàn、王 wáng 一 横 héng 丨 竖 shù 上 shàng、十 shí、下 xià、干 gàn 丿 撇 piē 八 Bā、乃 nǎi、乂 yì、儿 er 乀 捺 nà 人 rén、木 mù、又 yòu、水 shuǐ ㇀ 提 tí 地 de、瑞 ruì、扎 zhā、轻 qīng ������ 折 zhé 决 Jué、永 yǒng、互 hù、口 kǒu 亅 钩 gōu 小 xiǎo、豹 bào、勺 sháo、事 shì
35 อักษรจีนนับหม่ืนนับแสนตัวนั้น เม่ือแยกออกมาเป็นส่วนย่อย ก็จะได้ลักษณะขีดต่าง ๆ ตามที่ได้ แสดงไว้ดังในตารางข้างบน การประกอบขีดต่าง ๆ เข้าเป็นตัวอักษรน้ันจะต้องประกอบกันอย่างมีระบบ และอักษรแต่ละตัวก็ไม่ได้ประกอบกันโดยใช้ขีดต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ท้ังหมด ตัวอักษรจีนส่วนใหญ่ประกอบด้วย ส่วนสําคัญสองส่วนหรืออาจจะมากกว่า แต่ละส่วนก็จะประกอบด้วยขีดต่าง ๆ กันอาจจะมากถึง 10 ขีด หรืออาจจะมีเพียงแคข่ ีดเดียว ตามตารางเสน้ ขีดขา้ งล่างดงั ต่อไปน้ี ตารางที่ 2.2 เสน้ ขีดอักษรจนี ทัง้ หมด32 เส้น 汉字笔画总表(32 种 zhǒng) 汉字笔画总表(32 种) Hànzì bǐhuà zǒng biǎo 笔画 Bǐhuà 笔画名称 Bǐhuà míngchēng 例字 Lì zì ㇀ ㇁ 提 tí 地 de 冰 bīng ������ ㇂ ㇃ 弯钩 wān gōu 了 le 狐 hú 狱 yù ㇄ ㇅ 斜钩 xié gōu 我 wǒ 弋 yì 战 zhàn ㇆ ㇇ 卧钩 wò gōu 心 xīn 必 bì 沁 qìn 竖弯 shù wān 四 sì 西 xī 要 yào 横折折 héng zhé zhé 凹 Āo 卍 wàn 兕 sì 横折钩 héng zhé gōu 月 yuè 用 yòng 匀 yún 横撇 héng piē 水 shuǐ 又 yòu 互 hù
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243