Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

Published by E-book Prasamut chedi District Public Library, 2019-04-20 07:56:41

Description: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์
หนังสือ,เอกสาร,บทความที่เผยแพร่นี้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

Search

Read the Text Version

ne Vision, One Identity, One Coการก้าวสู่ประชาคมอาเซยี น O mmunity คณะทำงานจัดทำข้อมูลเพอ่ื เตรียมความพร้อมขา้ ราชการรัฐสภาสปู่ ระชาคมอาเซียน สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร

การกา้ วสู่ประชาคมอาเซียน ------------------------------------------------------ ISBN 978-974-9614-69-3 ปที ่ีพมิ พ์ พ.ศ.2555 จํานวนหนา้ หนา้ 217 พิมพค์ รง้ั ท่ี 1 จํานวน 500 เล่ม จัดทาํ โดย คณะทํางานจัดทาํ ข้อมลู เพอ่ื เตรยี มความพร้อม ข้าราชการรัฐสภาสปู่ ระชาคมอาเซยี น สํานักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร ถนนอู่ทองใน เขตดุสติ กรงุ เทพมหานคร 10300 โทรศพั ท์ 0-2244-2060 โทรสาร 0-2244-2058 Website : http://www.parliament.go.th/library ออกแบบปก นางสาวรติมา ศารทะประภา พิมพท์ ี่ สาํ นักการพมิ พ์ สํานักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร ถนนประดิพทั ธ์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2244-1275 โทรสาร 0-2244-1870



คํานาํ “ประชาคมอาเซียน” ถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 เม่ือผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน หรือข้อตกลงบาหลี 2 (Declaration of ASEAN Concord II / Bali Concord II) เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2563 ซ่ึงต่อมาได้ตกลงเร่งระยะเวลาจัดต้ังให้สําเร็จในปี พ.ศ. 2558 การก่อตั้งประชาคม อาเซียนมีเป้าหมายคือ การรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนท้ัง 10 ประเทศ เพ่ือเพ่ิมอํานาจ ต่อรองและขีดความสามารถด้านการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงความสามารถ ในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกท่ีส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียน เช่น โรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัตธิ รรมชาติ ปญั หาสง่ิ แวดลอ้ ม ภาวะโลกร้อน และการก่อการร้าย เป็นตน้ การเป็นประชาคมอาเซียนเป็นการรวมกลุ่มในเชิงลึกที่จะทําให้ประเทศสมาชิกอาเซียน เป็น “ครอบครัวเดียวกัน” มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพ ความเปน็ อยทู่ ี่ดี ปลอดภยั และสามารถทาํ มาค้าขายได้อย่างสะดวกมากย่ิงข้ึน ทั้งยังสามารถเผชิญกับ ความท้าทายใหม่ๆ และความเส่ียงท่ีอาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศ อน่ื ๆ โดยเฉพาะประเทศจนี และประเทศอนิ เดยี ทมี่ อี ัตราการขยายตัวทางเศรษฐกจิ อย่างก้าวกระโดด จากเหตุผลข้างต้น ทําให้หน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนของรัฐและเอกชน รวมทั้ง รัฐสภาไทย ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ดังนั้น คณะทํางานจัดทําข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมข้าราชการรัฐสภาสู่ประชาคมอาเซียน โดยการแต่งตั้ง ของคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ของสํานักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ดําเนินการจัดทําหนังสือ “การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” เพื่อ เผยแพร่ความรู้เก่ยี วกบั ประชาคมอาเซยี นให้กับบคุ ลากรในวงงานรัฐสภา ตลอดจนบคุ คลท่ีสนใจท่ัวไป สําหรับเนื้อหาของหนังสือฉบับน้ีประกอบด้วยข้อมูลภูมิหลังและพัฒนาการที่สําคัญของอาเซียน การก่อต้ังประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก อันประกอบด้วย 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ความสัมพันธ์ ของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค และข้อมูลด้านกฎหมาย ซึ่งนําเสนอผลการดําเนินการ ของร่างพระราชบัญญัติ ญัตติ กรอบการเจรจา และกระทู้ถามที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียนและ ได้นําเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยวัตถุประสงค์ของการจัดทําหนังสือฉบับนี้คือ การให้ ความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับความร่วมมือภายใต้ประชาคมอาเซียน และส่งเสริมให้ตระหนักถึง

ความสําคัญในการเตรียมความพร้อมเพ่ือการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ที่จะมาถึงใน อนาคตอนั ใกล้น้ี คณะทํางานฯ หวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือเร่ือง “การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้อ่านหรือผู้สนใจเรื่องประชาคมอาเซียนท้ังในเชิงการเผยแพร่ความรู้ หรือการนําไป ประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อไปไม่มากก็น้อย หากพบข้อผิดพลาดประการใดจากหนังสือเล่มนี้ ทางคณะทาํ งานฯ ขออภัยมา ณ ท่นี ้ี คณะทาํ งานจดั ทําขอ้ มูลเพอ่ื เตรียมความพรอ้ ม ขา้ ราชการรฐั สภาสปู่ ระชาคมอาเซยี น พฤศจกิ ายน 2555

สารบญั 1 3 ภูมหิ ลังและพัฒนาการของอาเซยี น 4 - วตั ถปุ ระสงคข์ องอาเซยี น 5 - พัฒนาการของอาเซยี น 6 - หลกั การพ้นื ฐานของความร่วมมอื อาเซยี น 9 - กฎบัตรอาเซยี น 11 - กลไกการบริหารของอาเซยี นภายใตก้ ฎบัตรอาเซยี น 15 - การจดั ตัง้ ประชาคมอาเซยี น - ความเชอื่ มโยงระหวา่ งกันในอาเซยี น 20 20 ประชาคมการเมอื งและความม่ันคง 25 - พฒั นาการความรว่ มมือด้านการเมืองและความม่นั คง 31 - การจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมัน่ คงอาเซียน 36 - การเตรยี มความพรอ้ มส่ปู ระชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซยี น 39 - ความก้าวหนา้ ในการจัดตั้งประชาคมการเมอื งและความมน่ั คงอาเซียน - ความคดิ เห็นต่อประชาคมการเมอื งและความม่ันคงอาเซียน 49 49 ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น 53 - พัฒนาการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซยี น 60 - การจดั ตงั้ ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น 76 - การเตรยี มความพร้อมสปู่ ระชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน 80 - ความกา้ วหน้าในการจดั ต้งั ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น - ประชาคมเศรษฐกิจอาเซยี น : ผลกระทบตอ่ ประเทศไทย 88 88 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 89 - พัฒนาการความรว่ มมือดา้ นสงั คมและวัฒนธรรม 98 - การจัดตงั้ ประชาคมสงั คมและวัฒนธรรมอาเซยี น 105 - การเตรียมความพรอ้ มสปู่ ระชาคมสงั คมและวัฒนธรรมอาเซียน - ความก้าวหน้าในการจัดต้ังประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

- ความคิดเหน็ ตอ่ ประชาคมสงั คมและวฒั นธรรมอาเซียน 108 ความสมั พันธภ์ ายนอกภมู ภิ าคของอาเซียน 118 - ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมรกิ า 120 - ความสมั พันธอ์ าเซยี น-สหพันธรฐั รสั เซีย 122 - ความสัมพนั ธอ์ าเซียน-สาธารณรัฐประชาชนจีน 124 - ความสัมพันธ์อาเซยี น-แคนาดา 126 - ความสมั พันธ์อาเซยี น-สหภาพยโุ รป 128 - ความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรฐั อินเดีย 129 - ความสัมพันธอ์ าเซยี น-สาธารณรัฐเกาหลี 131 - ความสมั พนั ธ์อาเซยี น-เครอื รฐั ออสเตรเลยี 133 - ความสมั พันธอ์ าเซยี น-นิวซีแลนด์ 134 - ความสัมพนั ธอ์ าเซยี น-ญีป่ ุ่น 136 - อาเซียน+3 (จนี ญ่ีปุ่น เกาหลใี ต)้ 138 - การประชมุ สดุ ยอดเอเชียตะวันออก 139 - องค์การสหประชาชาติ 141 - ความสมั พนั ธอ์ าเซยี น-สาธารณรฐั อิสลามปากสี ถาน 143 รฐั สภาไทยกับการกา้ วส่ปู ระชาคมอาเซียน 148 - รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 149 - พระราชบัญญตั ิ กรอบการเจรจาระหวา่ งประเทศ ญตั ตแิ ละกระทถู้ าม 155 ทเ่ี ก่ียวข้องกับการดําเนินการเพ่อื เขา้ สปู่ ระชาคมอาเซียน 186 บทสรปุ 193 ภาคผนวก

ภมู ิหลงั และพฒั นาการของอาเซียน ---------------------------------------------------------------------------- ความผันผวนของสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในยุคสงครามเย็น (พ.ศ.2490 - พ.ศ.2534) ซงึ่ เปน็ การตอ่ สู้ทางอดุ มการณร์ ะหว่างประเทศฝา่ ยเสรีนิยมประชาธปิ ไตยโดยการนําของ สหรัฐอเมริกากับประเทศฝ่ายสังคมนิยมโดยการนําของสหภาพโซเวียต ส่งผลให้ประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตระหนักถึงภาวะล่อแหลมต่อภยันตรายรอบด้านท้ังทางเศรษฐกิจและ การเมือง โดยเฉพาะการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์และการแทรกแซงทางการเมืองจากประเทศ มหาอํานาจภายนอกภูมิภาค สภาวการณ์เช่นน้ีกระตุ้นให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หาทาง ออกโดยการรวมกลุ่มกันอีกคร้ังเพื่อสร้างกลไกในระดับภูมิภาค* คือการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ในปี พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) การร่วมกันก่อต้ังองค์การท่ีมั่นคงเป็นทั้งวิธีการและจุดรวมความร่วมมือระหว่างกันของ ประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคในการพัฒนาความ เจริญก้าวหน้าและสร้างฐานความมั่นคงแก่ภูมิภาค ซึ่งสะท้อนผลประโยชน์กลับสู่แต่ละประเทศ โดยส่วนรวม อาเซียนจึงเปรียบเสมือนปราการที่ภาคีสมาชิกร่วมกันสร้างด้วยความพยายามที่ต้องการ พ่ึงตนเอง ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้เป็นกลางในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในสถานการณ์ต่างๆ ในขณะนั้นได้ริเร่ิมเชิญผู้นําของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สหพันธรัฐมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ประชุมพร้อมกัน (พิษณุ สุวรรณะชฎ, 2540) ที่บางแสน จ.ชลบุรี เพ่ือหารือ ในขน้ั ตอนสุดทา้ ยก่อนการลงนามเอกสารความรว่ มมอื ต่างๆ ทปี่ ระเทศไทยจดั เตรยี มไว้ อนั นาํ ไปสู่การ ประกาศจดั ต้ังอาเซียนขน้ึ ในเดอื นสงิ หาคม พ.ศ.2510 * การรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีสําคัญก่อนการก่อต้ังอาเซียน ได้แก่ องค์การ สนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty Organization : SEATO) ในปี พ.ศ.2492 สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia : ASA) ในปี พ.ศ.2504 และองค์การกลุ่ม ประเทศมาเลเซยี -ฟิลปิ ปนิ ส-์ อนิ โดนเี ซีย หรือมาฟลิ นิ โด (MAPHILINDO) ในปี พ.ศ.2506

2 อาเซียนก่อตั้งจากปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เม่ือวันท่ี 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ณ วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ โดยสมาชิก ผู้ก่อตั้งมีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทน ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (Adam Malik) - อินโดนีเซีย, นายตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (Tun Abdul Razak bin Hussein) - มาเลเซีย, นายนาซิโซ รามอส (Narciso Ramos) – ฟิลิปปินส์, นายเอส ราชารัตนัม (S. Rajaratnam) – สิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ – ไทย ต่อมา บรูไนดารุสซาลามได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ.2527 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในปี พ.ศ.2538 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์* เข้าเป็น สมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ.2540 และราชอาณาจักรกัมพูชาในปี พ.ศ.2542 (กรมอาเซียน, 2552) สําหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (ติมอร์ตะวันออก) ซึ่งเป็นประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ได้รับเอกราชจากประเทศอินโดนีเซียเม่ือวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2545) ปจั จบุ นั อยใู่ นสถานะผ้สู งั เกตการณ์ของอาเซียน อาเซียนประกอบด้วยประเทศต่างๆ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ละประเทศต่างมี ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และลักษณะทางภูมิศาสตร์ พ้ืนฐานทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง ระบบ กฎหมายท่ีแตกต่างกัน เม่ือก่อต้ังอาเซียนแล้วต่างก็ประสงค์ให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่น และประนีประนอมโดยคํานึงถึงศักดิ์ศรีและสิทธิเสมอภาคของสมาชิก เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคี ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาและเห็นพ้องร่วมกันเพ่ือความเสมอภาคของผลประโยชน์และผลกระทบ ดังนั้น พฒั นาการของอาเซยี นจึงมลี ักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไปท้ังในเรอื่ งโครงสรา้ งองค์กรและอํานาจ หน้าท่ี การดําเนินความสัมพันธ์ภายในกลุ่มน้ัน ประเทศสมาชิกอาเซียนดําเนินความร่วมมือด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยผูกพันตามผลของสนธิสัญญาและความตกลงของอาเซียนท่ีทําข้ึน สําหรับการดําเนินความสัมพันธ์ภายนอก อาเซียนได้กําหนดกลไกการประชุมในลักษณะคู่เจรจา (dialogue partner) และมีการกําหนดความสัมพันธ์ต่างๆ โดยอาเซียนจําแนกเป็น 2 ลักษณะคือ * เมียนมาร์ได้เปล่ียนช่ือประเทศใหม่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) ภายหลังการประชุม รัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ข้ึนปกครองประเทศ โดยเปล่ียนจากเดิมคือ สหภาพเมียนมาร์ (The Union of Myanmar) เป็นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) และใช้ เมียนมาร/์ พม่า เปน็ ชือ่ เรยี กภาษาไทยโดยทวั่ ไปอยา่ งไมเ่ ปน็ ทางการ

3 ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจลักษณะหนึ่ง และความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองอีกลักษณะหน่ึง ซง่ึ ปจั จุบนั นีอ้ าเซียนมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมากข้ึน และประสบความสําเร็จพอสมควร แมว้ า่ อาเซยี นจะมีลกั ษณะการดาํ เนินการอยา่ งคอ่ ยเป็นค่อยไปก็ตาม (ลาวัณย์ ถนดั ศิลปะกลุ , 2539) ท่ตี ัง้ ทางภูมิศาสตรแ์ ละธงประจําชาตขิ องประเทศสมาชกิ อาเซยี น 1. วัตถปุ ระสงค์ของอาเซียน ปฏิญญากรุงเทพ ซ่ึงเป็นเอกสารในการก่อต้ังอาเซียน ได้ระบุเป้าหมายและจุดประสงค์ของ อาเซยี นไวด้ ังนี้ คอื 1. เพื่อเร่งรัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าของสังคมและการพัฒนาทางวัฒนธรรม ของภูมภิ าค 2. เพ่ือส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เคารพในความยุติธรรมและหลักแห่ง เนติธรรมในการดําเนินความสัมพนั ธร์ ะหว่างประเทศ ยดึ ม่ันกฎบัตรสหประชาชาติ 3. เพ่ือส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจังในเรื่องท่ีมีผลประโยชน์ร่วมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวฒั นธรรม วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 4. เพื่อรว่ มมอื กันในดา้ นเกษตรกรรม อตุ สาหกรรม และการขยายการค้าระหว่างกัน การปรับปรุง ระบบการขนส่งและคมนาคม

4 5. เพ่อื สง่ เสริมการศึกษาเก่ียวกบั เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6. เพือ่ ธาํ รงไว้ซ่งึ ความร่วมมอื ทีม่ ปี ระโยชน์กบั องค์การระหว่างประเทศและองค์การส่วนภูมิภาค (กรมอาเซยี น, 2552) 2. พฒั นาการของอาเซยี น การดาํ เนนิ งานความรว่ มมอื ของอาเซยี นแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะท่ี 1 ระหว่างปี พ.ศ.2510–2520 ช่วง 10 ปีแรกของการก่อต้ังอาเซียนเป็นช่วง การปรับเปล่ียนทัศนคติเพ่ือหลีกเล่ียงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันที่เคยมีมาก่อนในภูมิภาค ความร่วมมอื ในช่วงนีจ้ งึ เป็นด้านการพฒั นาสังคมวฒั นธรรมเปน็ สําคญั ระยะที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ.2520-2530 เป็นช่วงของการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) และการสถาปนาความ ร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา จึงเป็นช่วงการขยายสาขาความร่วมมือเพื่อรับปัญหาใหม่ๆ เช่น ด้านสิง่ แวดล้อม และด้านโรคเอดส์ เป็นต้น ระยะที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ.2530-2540 เป็นช่วงท่ีอาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพจนครบ 10 ประเทศ และเป็นช่วงที่ภูมิภาคประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจรวมทั้งเกิดกระแส โลกาภิวัฒน์ ดังนั้นอาเซียนจึงได้กําหนดวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) และจัดทํา แผนปฏิบัติการเพ่ือดําเนินการตามวิสัยทัศน์ และรณรงค์ให้อาเซียนตระหนักถึงความสําคัญของการ ร่วมมือกันมากข้ึน โดยกําหนดเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ.2563 อาเซียนจําเป็นต้องมีลักษณะดังน้ี 1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (a concert of Southeast Asian nations) 2) หุ้นส่วน เพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต (a partnership in dynamic development) 3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศ ภายนอก (an outward-looking ASEAN) และ 4) ชุมชนแหง่ สังคมที่เออ้ื อาทร (a community of caring societies) ระยะท่ี 4 พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน เป็นช่วงของการปรับปรุงองค์การให้มีการรวมกลุ่มกันใน เชิงลกึ มากยงิ่ ขนึ้ ให้ดาํ รงอยูไ่ ดภ้ ายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในบริบท การเมอื ง เศรษฐกิจ และสังคมในภมู ภิ าคและโลก ในการนีไ้ ด้มกี ารประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนเพ่ือเป็น กรอบกฎหมายในการดําเนินงานของอาเซียน และมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ซ่ึงประกอบด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political- Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :

5 AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ใหเ้ ปน็ ผลสาํ เรจ็ ได้ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) (ทวีศกั ด์ิ ตงั้ ปฐมวงศ์, 2552) 3. หลกั การพนื้ ฐานของความร่วมมอื อาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการ ดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC) ซ่ึงได้กําหนด หลกั การพน้ื ฐานเปน็ แนวทาง ดังน้ี 1. การเคารพซ่ึงกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและ เอกลกั ษณป์ ระจําชาติของทกุ ชาติ 2. สิทธิของทุกรัฐในการดํารงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือ การบีบบงั คบั จากภายนอก 3. หลักการไม่แทรกแซงกจิ การภายในซึ่งกนั และกัน 4. ระงับความแตกต่างหรอื ข้อพิพาทโดยสนั ติวิธี 5. การไม่ใช้การขบู่ ังคบั หรือการใชก้ ําลัง 6. ความรว่ มมอื อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพระหวา่ งประเทศสมาชิก (กระทรวงการต่างประเทศ, 2555) นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนเป็นธรรมนูญของอาเซียนท่ีเร่ิมมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 ยังได้กําหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการ ดังตอ่ ไปน้ี 1. การเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติ ของประเทศสมาชิก 2. ความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในการเพ่ิมพูนสันติภาพ ความมั่นคงและความม่ังค่ัง ของภมู ิภาค 3. การไม่ใช้การรุกรานและการข่มขู่ว่าจะใช้หรือการใช้กําลัง หรือการกระทําอ่ืนใดในลักษณะท่ี ขดั ต่อกฎหมายระหวา่ งประเทศ 4. การอาศยั การระงับข้อพิพาทโดยสนั ติ 5. การไม่แทรกแซงกจิ การภายในของประเทศสมาชิก

6 6. การเคารพสิทธิของประเทศสมาชิกทุกประเทศในการธํารงประชาชาติของตนโดยปราศจาก การแทรกแซง การบ่อนทาํ ลาย และการบังคับจากภายนอก 7. การปรึกษาหารือที่เพ่ิมพูนขึ้นในเร่ืองที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของ อาเซียน 8. การยดึ มน่ั ต่อหลกั นิตธิ รรม ธรรมาภิบาล หลกั การประชาธปิ ไตยและรัฐบาลตามรฐั ธรรมนูญ 9. การเคารพเสรีภาพพ้ืนฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความ ยุตธิ รรมทางสงั คม 10. การยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรม ระหว่างประเทศทปี่ ระเทศสมาชิกยอมรับ 11. การละเว้นจากการมีส่วนร่วมในนโยบายหรือกิจกรรมใดๆ รวมถึงการใช้ดินแดนของตน ซ่ึงดําเนินการโดยประเทศสมาชิกหรือประเทศที่มิใช่สมาชิกหรือผู้กระทําที่ไม่ใช่รัฐใดๆ ซ่ึงคุกคาม อธิปไตย บูรณภาพแห่งดนิ แดน หรอื เสถยี รภาพทางการเมืองและเศรษฐกจิ ของประเทศสมาชิกอาเซยี น 12. การเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน โดยเน้นคุณค่า รว่ มกันของประชาชนอาเซยี นด้วยจติ วิญญาณของเอกภาพในความหลากหลาย 13. ความเป็นศูนย์รวมของอาเซียนในความสัมพันธ์ภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม โดยคงไว้ซ่ึงความมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน การมองไปภายนอก การไม่ปิดกั้นและการไม่ เลือกปฏิบตั ิ 14. การยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียนซึ่งมีกฎเป็นพื้นฐานสําหรับการปฏิบัติ ตามข้อผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไปสู่การขจัด อุปสรรคทั้งปวงต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในระบบเศรษฐกิจซึ่งขับเคล่ือนโดยตลาด (กระทรวงการตา่ งประเทศ, 2551) 4. กฎบตั รอาเซยี น (ASEAN Charter) แม้ว่าอาเซยี นได้จดั ต้ังข้ึนมานานกว่า 40 ปี และมีการจัดทําเอกสารความตกลงกันหลายฉบับ แต่ตลอดเวลาท่ีผ่านมาความร่วมมือส่วนใหญ่ของอาเซียนเป็นรูปแบบของความตกลงกันอย่างไม่เป็น ทางการ และมักใช้ความสัมพนั ธ์เชิงบคุ คลขับเคล่ือน เชน่ ความสมั พันธอ์ นั ดีระหวา่ งผู้นาํ ประเทศ เดือนธันวาคม พ.ศ.2540 ผู้นําอาเซียนได้รับรองเอกสาร \"วิสัยทัศน์อาเซียน 2020\" ซ่ึงกําหนด เป้าหมายหลัก 4 ประการ เพ่ือมุ่งพัฒนาอาเซียนไปสู่ประชาคมอาเซียนให้เป็นผลสําเร็จภายในปี

7 พ.ศ.2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งต่อมาผู้นําอาเซียนให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี คือภายในปี พ.ศ.2558 เนื่องจากกระแสโลกเกิดการเปล่ียนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงจําเป็นที่ อาเซียนต้องปรับตัวให้สามารถคงบทบาทนําในการดําเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนอง ความต้องการของประชาชนไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ ในการสร้างประชาคมอาเซียนภายใต้ 3 เสาหลักน้ัน จําเป็นต้องจัดโครงสร้างองค์กร ของอาเซียนเพื่อรองรับภารกิจและพันธกิจ รวมท้ังแปลงสภาพอาเซียนจากองค์การที่มีการร่วมมือกัน แบบหลวมๆ ให้เป็นนิติบุคคล ดังน้ันจึงต้องมีการร่างกรอบกฎหมาย หรือ \"กฎบัตรอาเซียน\" เพ่ือเป็น ธรรมนญู ของประเทศอาเซยี นท้ัง 10 ประเทศ ใหส้ ามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นหนึ่งเดียวกันดังปรากฏตาม คาํ ขวญั ท่วี า่ \"สบิ ชาติ หนงึ่ อาเซียน\" (Ten Nations, One Community) (กรมประชาสัมพันธ์, 2554 : 19) กฎบัตรอาเซียนซ่ึงมีผลบังคับใช้เมื่อวันท่ี 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 (ค.ศ. 2008) ได้บัญญัติให้ นิติฐานะแก่อาเซียน และเป็นกรอบการดําเนินการตามกฎหมายสําหรับประเทศสมาชิกอาเซียนท้ัง 10 ประเทศ โดยมวี ัตถุประสงค์เพอ่ื เพิม่ ประสทิ ธิภาพในการดําเนินการให้แก่อาเซียน และเป็นพ้ืนฐาน ในการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจนและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people- centered ASEAN) (กรมอาเซยี น กลุ่มงานนโยบาย, 2555) กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 บท 55 ข้อ โดยมีประเด็นใหม่ท่ีแสดงถึง ความก้าวหน้าของอาเซยี น เช่น 1. การจัดต้งั องค์กรสทิ ธมิ นุษยชนของอาเซียน 2. การให้อํานาจเลขาธกิ ารสอดส่องและรายงานการทําความตกลงของประเทศสมาชิก 3. การจัดตง้ั กลไกสาํ หรบั การระงบั ข้อพิพาทต่างระหว่างประเทศสมาชิก 4. การให้ผู้นําเป็นผู้ตัดสินว่าจะดําเนินการอย่างไรต่อประเทศผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตร อาเซยี นอยา่ งรา้ ยแรง 5. การเปดิ ช่องให้ใชว้ ิธีการอนื่ ในการตดั สินใจได้หากไม่มีฉนั ทามติ 6. การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาท่ีกระทบต่อ ผลประโยชน์รว่ ม ซงึ่ ทําให้การตคี วามหลกั การห้ามแทรกแซงกิจการภายในมคี วามยืดหยุ่นมากขน้ึ 7. การเพ่ิมบทบาทของประธานอาเซียนเพ่ือให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ ฉุกเฉินไดอ้ ย่างทันทว่ งที 8. การเปดิ ชอ่ งทางให้อาเซยี นสามารถมปี ฏสิ ัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น

8 9. การปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน เช่น ให้มีการประชุมสุดยอด อาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมี คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจําอาเซียน ท่ีกรุงจาการ์ตา เพ่ือลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุม ของอาเซียน เปน็ ต้น นอกจากน้ีลักษณะเด่นของกฎบัตรอาเซียนจะมีถ้อยคําที่ให้ตีความได้กว้างขวาง ยืดหยุ่น ท้ังในเชิงเป้าหมายและผลของการดําเนินการ อาเซียนมีวัฒนธรรมการตัดสินใจเช่นน้ี คือ มีช่องให้ ขยับขยายได้ ตีความได้ มีช่องให้ไม่พลาดโอกาส ขณะเดียวกันก็มีช่องที่เปิดไว้ ไม่ให้เชยและล้าสมัย (ทวีศกั ด์ิ ตง้ั ปฐมวงศ์, 2552) โครงสรา้ งอาเซียนภายใต้กฎบตั รอาเซียน การประชมุ สุดยอดอาเซยี น คณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรี คณะมนตรี คณะมนตรี ประชาคมการเมืองและความมน่ั คง ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมสังคมและวฒั นธรรม การประชมุ เจ้าหน้าที่อาวโุ ส การประชมุ เจ้าหนา้ ทอ่ี าวโุ ส การประชมุ เจ้าหนา้ ทอ่ี าวโุ ส ของคณะมนตรฯี ของคณะมนตรีฯ ของคณะมนตรีฯ องค์กรเฉพาะสาขา องค์กรเฉพาะสาขา องคก์ รเฉพาะสาขา ท่มี า : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ 2554

9 5. กลไกการบรหิ ารของอาเซียนภายใต้กฎบตั รอาเซยี น 1. ท่ีประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นองค์กรสูงสุดในการกําหนดนโยบาย และ มกี ารประชมุ ปีละ 2 คร้งั โดยมหี น้าท่ี 1) ให้แนวนโยบายและตดั สนิ ใจเรอื่ งสําคัญๆ 2) สง่ั การให้มกี ารประชมุ ระดบั รฐั มนตรเี ปน็ การเฉพาะกจิ เพ่ือพจิ ารณาเร่อื งท่ีเก่ยี วขอ้ งกบั เสาหลกั ต่างๆ มากกวา่ 1 เสา 3) ดําเนนิ การแกไ้ ขสถานการณ์ฉกุ เฉินทีก่ ระทบตอ่ อาเซียน 4) ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิก กรณีที่ไม่อาจหาข้อยุติในข้อขัดแย้งได้ หรือมีการไม่ ปฏบิ ัติตามคาํ ตดั สินของกลไกระงับข้อพิพาท 5) ตง้ั หรือยบุ องคก์ รภายในอาเซียน 6) แตง่ ตงั้ เลขาธกิ ารอาเซยี น 2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ประกอบด้วย รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยทําหน้าท่ีเตรียมการประชุม สุดยอดอาเซียน ประสานงานระหว่าง 3 เสาหลัก เพ่ือความเป็นบูรณาการในการดําเนินงานของ อาเซียน และแต่งตง้ั รองเลขาธิการอาเซยี น 3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Council) สําหรับ 3 เสาหลักของ ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนที่แต่ละประเทศสมาชิกแต่งต้ังเพื่อทําหน้าท่ีประสานงานและ ตดิ ตามการดาํ เนนิ งานตามแนวนโยบายของผู้นําทั้งในเรื่องที่อยู่ภายใต้เสาหลักของตน และเรื่องท่ีเป็น ประเด็นท่ีเกี่ยวข้องกับหลายเสาหลัก และเสนอรายงานและข้อเสนอแนะในเรื่องท่ีอยู่ภายใต้การดูแล ของตนตอ่ ผนู้ ํา 4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) จัดตั้ง โดยท่ปี ระชุมสุดยอดอาเซียน มหี นา้ ท่หี ลกั คือ 1) ดาํ เนินการตามอาณตั ิทมี่ ีอยู่แล้ว 2) นาํ ความตกลงและมติของผนู้ ําไปปฏิบัติ 3) เสริมสรา้ งความรว่ มมอื เพ่อื สนบั สนนุ การสรา้ งประชาคมอาเซียน 4) เสนอรายงานและขอ้ เสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนท่เี หมาะสม 5) สามารถมีเจ้าหนา้ ที่อาวุโส หรอื องคก์ รย่อยเพอื่ สนับสนนุ การทาํ งานได้

10 5. สํานักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการ อาเซียน (Secretary General of ASEAN) ซ่ึงมีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี และดํารงตําแหน่งได้ เพียงวาระเดียว ภายใต้กฎบัตรอาเซียนเลขาธิการอาเซียนมีบทบาทมากขึ้นโดยนอกจากจะเป็น หวั หนา้ เจ้าหน้าทฝี่ ่ายบริหารของอาเซยี นแลว้ เลขาธกิ ารอาเซียนจะมบี ทบาทในการติดตามการปฏิบัติ ตามคําตดั สนิ ของกลไกระงบั ข้อพิพาทและรายงานตรงตอ่ ผู้นําอาเซียน และสนับสนุนการมีปฏิสัมพันธ์ ระหวา่ งองค์กรของอาเซยี นกบั ภาคประชาสงั คม ท้งั นใี้ ห้มีรองเลขาธกิ ารอาเซียน (Deputy Secretary General) 4 คน โดย 2 คนจะมาจากการหมุนเวียนตามลําดับตัวอักษรประเทศ มีวาระการดํารง ตําแหน่ง 3 ปี โดยดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว และอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกตามความสามารถ มวี าระการดาํ รงตาํ แหนง่ 3 ปี และอาจได้รบั การต่ออายุได้อกี 1 วาระ 6. คณะผู้แทนถาวรประจําอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN) ท่ีกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยประเทศสมาชิกจะแต่งต้ังผู้แทนระดับเอกอัครราชทูต เพื่อทําหน้าท่ีเป็นคณะผู้แทนถาวรประจําอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา ซ่ึงเป็นคนละคนกับเอกอัครราชทูต ประจํากรุงจาการ์ตา โดยคณะผู้แทนถาวรประจําอาเซียนจะมีบทบาทสําคัญ 2 ด้าน ได้แก่ การเป็น ผู้แทนของประเทศสมาชิกและการเป็นผู้แทนของอาเซียน ซ่ึงจะเป็นเรื่องการสนับสนุนคณะมนตรี ประชาคมอาเซียน และองค์กรความร่วมมือเฉพาะด้านต่างๆ การประสานงานกับสํานักเลขาธิการ อาเซียน เลขาธิการอาเซียน และสํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติของแต่ละประเทศสมาชิก และการ สง่ เสริมความร่วมมือกับประเทศค่เู จรจา 7. สํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (ASEAN National Secretariat) จัดตั้งโดยประเทศ สมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อเป็นหน่วยประสานงานและสนับสนุนภารกิจต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับอาเซียน ภายในประเทศนั้น รวมท้ังการเตรียมการประชุมต่างๆ ของอาเซียนตลอดจนเป็นศูนย์กลางเก็บรักษา ข้อมูลเกยี่ วกับอาเซยี นด้วย 8. องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (ASEAN Human Rights Body : AHRB) ท้ังน้ีได้มีจัดตั้ง คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights : AICHR) เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซ่ึงคณะกรรมาธิการฯ ที่จัดต้ังขึ้น ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนชีวติ ความเปน็ อยขู่ องประชาชนอาเซียนโดยรวม

11 9. มูลนธิ อิ าเซยี น (ASEAN Foundation) มีหน้าทสี่ นับสนุนเลขาธิการอาเซียนและประสานงาน กับองค์กรอื่นๆ ของอาเซียน ในการเผยแพร่ความรู้เก่ียวกับอาเซียน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนและความร่วมมอื กับผู้มีสว่ นได้เสียต่างๆ ของอาเซียน (กรมประชาสมั พนั ธ,์ 2554 : 20-22) 6. การจดั ตั้งประชาคมอาเซยี น (ASEAN Community) ประชาคมอาเซียนเป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อ เพ่ิมอํานาจต่อรองและขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึง ความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรืออาจกล่าวได้ว่า การเป็นประชาคมอาเซียนคือการทําให้ประเทศสมาชิกรวมเป็น ครอบครัวเดียวกัน มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี สมาชิกในครอบครัวมีสภาพความเป็นอยู่ ท่ดี ี ปลอดภัย และสามารถทาํ มาค้าขายได้อย่างสะดวกย่ิงข้ึน แรงผลักดันสําคัญที่ทําให้ผู้นําประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงจัดต้ังประชาคมอาเซียน ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงและวางรากฐานของพัฒนาของอาเซียนครั้งใหญ่คือ สภาพแวดล้อมระหว่าง ประเทศที่เปล่ียนแปลงไปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทําให้อาเซียนต้องเผชิญกับความ ท้าทายใหม่ๆ เช่น โรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงท่ีอาจเกิดจากการไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศอินเดียได้ เพราะประเทศเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อยา่ งก้าวกระโดด ประชาคมอาเซียนถือกําเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเม่ือเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ในการประชุม สดุ ยอดผนู้ ําอาเซยี น ครง้ั ท่ี 9 ทเ่ี กาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญา ว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord) เพ่ือ เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคม การเมืองความมน่ั คงอาเซยี น ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซยี น และประชาคมสงั คมและวฒั นธรรมอาเซียน ต่อมาในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน คร้ังที่ 12 ในเดือนมกราคม พ.ศ.2550 ท่ีเมืองเซบู ประเทศ ฟิลิปปนิ ส์ ผู้นาํ อาเซยี นไดต้ กลงให้มกี ารจดั ต้งั ประชาคมอาเซียนให้แลว้ เสร็จเร็วข้ึนภายในปี พ.ศ.2558 (กรมประชาสมั พันธ,์ 2554 : 110) ทั้งน้ี ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน ครั้งท่ี 10 วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ผู้นําอาเซียนได้รับรองและลงนามเอกสารสําคัญท่ีจะวางกรอบ

12 ความร่วมมือเพ่ือบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ได้แก่ แผนปฏิบัติการของประชาคมการเมืองและ ความม่ันคงอาเซียน กรอบความตกลงว่าด้วยสินค้าสําคัญซึ่งจะช่วยเร่งรัดความร่วมมือด้านสินค้าและ บริการ 11 สาขา ภายในปี พ.ศ.2553 และแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากนี้ ผ้นู ําอาเซียนยังได้รับรองแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Program : VAP) ซ่ึงเป็นแผนดาํ เนนิ ความรว่ มมือในชว่ งปี พ.ศ.2547 - 2553 โดยได้กําหนดแนวคิดหลักของแผนปฏิบัติ การเวียงจันทน์ไว้ว่า “Towards shared prosperity destiny in an integrated, peaceful and caring ASEAN Community” แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จึงเท่ากับเป็นการจัดลําดับความสําคัญ ของแผนงานและโครงการของประชาคมอาเซียนท่ีจะเร่งปฏิบัติเพ่ือให้เป็นไปตามแนวคิดหลักดังกล่าว พรอ้ มกนั นีท้ ีป่ ระชุมสดุ ยอดผ้นู ําอาเซยี น ครง้ั ที่ 10 ยังเหน็ ชอบให้จัดต้ังกองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิมเพ่ือนํามาเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อ ดําเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ อันเป็นการส่งเสริมการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียน และเป็นกองทนุ ท่สี ามารถระดมการสนับสนุนท้ังจากประเทศคู่เจรจาและแหล่งทุน อ่นื ๆ ทง้ั น้ไี ด้มกี ารลงนามความตกลงจัดตั้งกองทุนดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 ในเดอื นกรกฎาคม พ.ศ.2548 สําหรับจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมท่ีนําไปสู่การสร้างประชาคมอาเซียนเกิดข้ึนในการประชุม สุดยอดผู้นําอาเซียนคร้ังท่ี 14 ระหว่างวันท่ี 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม พ.ศ.2552 อําเภอชะอํา- หัวหิน ประเทศไทย ผู้นําอาเซียนได้รับรองปฏิญญาชะอํา-หัวหินว่าด้วยแผนงานสําหรับการจัดต้ัง ประชาคมอาเซียนท้ัง 3 เสาหลัก เพื่อดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดต้ังประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 โดยมีกฎบัตรอาเซยี นรองรบั การจัดตง้ั ประชาคมอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน : มีวัตถุประสงค์ที่จะทําให้ประเทศในภูมิภาค อยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธีและยึดมั่นในหลักความม่ันคงรอบด้าน เพ่ือให้ บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ 1) ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของ อาเซียนทม่ี ีอยู่แลว้ ในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหา ข้อพพิ าทภายในภมู ิภาค รวมทั้งการต่อต้าน การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอ่ืนๆ และการขจัดอาวุธ ทีม่ ีอานุภาพทําลายลา้ งสูง ริเร่ิมกลไกใหม่ๆ ในการ 2) เสริมสร้างความมั่นคง และกําหนดรูปแบบใหม่ สําหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซ่ึงรวมไปถึงการกําหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท 3) ส่งเสริมความร่วมมือ

13 ด้านความมั่นคงทางทะเล ท้ังนี้ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศและความ รว่ มมือทางทหารของประเทศสมาชกิ กบั ประเทศนอกภูมิภาค ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน กําหนดวตั ถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ อาเซียน 2020 ท่ีจะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง ม่ังคั่ง และสามารถแข่งขันกับ ภูมิภาคอ่ืนๆ ได้ โดย 1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหล่ือมลํ้าทางสังคมภายในปี พ.ศ.2563 2) มุ่งท่ีจะจัดต้ังให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเร่ิมกลไกและ มาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเร่ิมทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว 3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศ สมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของ ระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน 4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือ ด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงานการท่องเท่ียว การพัฒนาทรัพยากร มนษุ ย์ โดยการยกระดับการศกึ ษาและการพฒั นาฝีมือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน : ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีจุดมุ่งหมายท่ีจะทําให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอ้ืออาทร ประชากรมี สภาพความเปน็ อยู่ที่ดี ไดร้ บั การพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดย เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ 1) การพัฒนาสังคมโดยการยกระดับความเป็นอยู่ของ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถ่ินทุรกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ใน สงั คม 2) การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพนื้ ฐานและสูงกวา่ การพฒั นาทางวทิ ยาศาสตร์และ เทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม 3) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน รุนแรง 4) การจัดการปัญหาด้านส่ิงแวดล้อม 5) การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด และศลิ ปินในภมู ิภาค (กระทรวงการต่างประเทศ, 2554)

14 ตารางลาํ ดับเหตกุ ารณก์ ารดาํ เนนิ การสู่ประชาคมอาเซยี นในปี พ.ศ.2558 ปี การดําเนินการ พ.ศ. 2546 ผู้นําอาเซยี นไดร้ ว่ มลงนามในปฏญิ ญาวา่ ด้วยความร่วมมอื อาเซียนเพื่อเห็นชอบ พ.ศ.2547 ใหจ้ ดั ตงั้ ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน คร้ังที่ 10 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว พ.ศ.2548 ผนู้ าํ อาเซียนได้รบั รองและลงนามเอกสารสําคัญท่จี ะวางกรอบความร่วมมอื เพอ่ื พ.ศ. 2550 บรรลุการจัดต้ังประชาคมอาเซียน ซ่ึงได้แก่ แผนปฏิบัติการของประชาคม พ.ศ. 2551 การเมืองและความมั่นคงอาเซียน กรอบความตกลงว่าด้วยสินค้าสําคัญซ่ึงจะ พ.ศ.2552 ช่วยเร่งรัดความร่วมมือด้านสินค้าและบริการ 11 สาขา ภายในปี พ.ศ.2553 แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และแผนปฏิบัติการ พ.ศ.2553 เวียงจันทน์ ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน คร้ังท่ี 11 ท่ีกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ พ.ศ.2558 มาเลเซีย ผู้นําประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นชอบให้มีการยกร่างกฎบัตรอาเซียน ข้ึน เพ่อื เปน็ กรอบกฎหมายและทิศทางในการสรา้ งประชาคมอาเซียน ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน คร้ังท่ี 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นําอาเซียนได้ตกลงให้เร่งจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นในปี พ.ศ.2558 กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันท่ี 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 ภายหลัง ประเทศสมาชกิ ให้สตั ยาบันครบทงั้ 10 ประเทศ ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียนคร้ังที่ 14 ท่ีอําเภอชะอํา-หัวหิน ประเทศ ไทย ผู้นําอาเซียนได้รับรองปฏิญญาชะอํา-หัวหินว่าด้วยแผนงานสําหรับการ จัดตั้งประชาคมอาเซียนท้ัง 3 เสาหลัก เพื่อดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายของ การจดั ต้งั ประชาคมอาเซยี น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งท่ี 17 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ผู้นําอาเซียนได้ให้การรับรองแผนแม่บทว่าด้วยความเช่ือมโยงระหว่างกันใน อาเซียน เพ่ือเร่งรัดการเชื่อมโยงประเทศสมาชิกท้ัง 10 ประเทศให้เป็นหนึ่ง เดียวในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน โดยมี เปา้ หมายสงู สดุ เพอื่ การสนบั สนนุ การสรา้ งประชาคมอาเซยี น เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมือง และความมนั่ คงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน

15 7. ความเชอ่ื มโยงระหว่างกนั ในอาเซียน (ASEAN Connectivity) อาเซียนมีพันธกรณีในการสร้างประชาคมในปี พ.ศ.2558 และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ การเป็นประชาคมท่ีเช่ือมโยงกันอย่างเพ่ิมพูนจึงมีความจําเป็น เพราะภูมิภาคอาเซียนท่ีเช่ือมโยงกัน ต้ังแต่เครือข่ายการคมนาคมไปจนถึงประชาชน จะนําไปสู่ภูมิภาคที่แข่งขันได้และมีความยืดหยุ่นสูง ทําให้ประชากร สินค้า บริการ และทุน เช่ือมโยงใกล้ชิดกันมากข้ึน ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและความ รุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องแก่ประชาชนอาเซียน ท้ังหมดนี้จึงเป็นการดําเนินการท่ีสอดคล้องกับกฎบัตร อาเซียน ดังน้ัน แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity) จึงเกดิ ขนึ้ เพอื่ สนับสนนุ ในการก้าวไปสู่วิสัยทศั น์น้ี (กรมอาเซียน กองอาเซยี น 3, 2554) การจัดทําแผนแม่บทฯ มีที่มาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งท่ี 15 ณ อําเภอชะอํา- หวั หนิ ประเทศไทย เมอื่ วันที่ 24 ตลุ าคม พ.ศ. 2552 โดยผูน้ าํ อาเซยี นได้เห็นชอบกับข้อเสนอของไทย เก่ียวกับแนวคิดความเช่ือมโยงระหว่างกันในอาเซียน และได้ออกแถลงการณ์ว่าด้วยความเช่ือมโยง ระหว่างกนั ในอาเซียนรวมท้ังได้จัดต้ังคณะทํางานระดับสูงว่าด้วยความเช่ือมโยงระหว่างกันในอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Connectivity : HLTF-AC) เพ่อื จดั ทําแผนแมบ่ ทฯ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2553 ได้ให้การรับรองแผนแม่บทฯ เพ่ือเป็นกรอบความร่วมมือในการสร้างความเช่ือมโยง ระหว่างกัน โดยความเชื่อมโยงดังกล่าวจะเน้นภายในอาเซียนเป็นเบ้ืองต้นและจะเป็นพ้ืนฐาน การเชอ่ื มโยงไปสภู่ มู ิภาคต่างๆ อาทิ เอเชยี ตะวนั ออก เอเชียใต้ แผนแม่บทฯ มีเจตนารมณ์ท่ีจะเร่งรัดการเช่ือมโยงประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศให้เป็น หน่ึงเดียว ท้ังในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อ การสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริงภายในปี พ.ศ.2558 และให้อาเซียนเป็นศูนย์กลาง ของสถาปัตยกรรมภมู ิภาค (Regional Architecture) 1. ด้านโครงสร้างพ้ืนฐาน ได้มีการกําหนดยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทฯ ในการก่อสร้างถนน เส้นทางรถไฟ การขนส่งทางน้ํา การขนส่งทางอากาศ รวมทั้งการเชื่อมโยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และดา้ นพลังงาน (โครงการทอ่ กา๊ ซและระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน) โดยมีคณะทํางานสาขาต่าง ๆ ของอาเซียน (ASEAN Sectoral Bodies) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดําเนินการให้บรรลุ เปา้ หมายตามกรอบเวลาที่กําหนดไว้ในแผนแมบ่ ทฯ 2. ดา้ นกฎระเบียบ แผนแม่บทฯ จะมีส่วนในการเร่งรัดการดําเนินการตามความตกลงพิธีสาร ข้อบงั คบั ตา่ งๆ ท่มี ีขนึ้ เพื่ออํานวยความสะดวกในการข้ามแดนให้สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ลดค่าใช้จ่าย

16 ในการเดินทางการเคล่ือนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดจากอาชญากรรมข้ามชาติ แรงงานผิดกฎหมาย การคา้ มนุษย์และมลภาวะต่าง ๆ ทีต่ ามมาจากการเช่ือมโยง 3. ด้านประชาชน แผนแม่บทฯ จะช่วยส่งเสริมและอํานวยความสะดวกการไปมาหาสู่กัน ระหว่างประชาชน การเชื่อมโยงทางสังคม วัฒนธรรม และการสรา้ งความรสู้ ึกของการเป็นประชาคม อาเซยี นที่เปน็ อันหน่งึ อันหนึ่งเดยี วกันมากข้ึน (กรมอาเซียน กองอาเซยี น 3, 2555) ด้านโครงสร้างพ้นื ฐาน การคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การพลงั งาน ดา้ นกฎระเบยี บ ดา้ นประชาชน การคา้ เสรี การบรกิ ารและการลงทนุ การศึกษาและวัฒนธรรม การขนส่ง การขา้ มพรมแดน การทอ่ งเท่ียว การเสริมสรา้ งศกั ยภาพ องคป์ ระกอบหลักของความเชือ่ มโยงระหว่างกันในอาเซียน จากแผนแม่บทฯ ความเชื่อมโยงของอาเซียนผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (ด้านโครงสร้างพ้ืนฐาน) การจัดระบบอย่างมีประสิทธิภาพ (ด้านกฎระเบียบ) และการเพ่ิมอํานาจให้ ประชาชน (ด้านประชาชน) จะต้องอาศัยการพัฒนายุทธศาสตร์และการลงทุนในการตอบสนองตาม โครงการต่างๆ เพ่ือให้เกิดประสทิ ธิผล นอกจากน้ียังต้องอาศัยเป้าหมายของความเช่ือมโยงท่ีเป็นปัจจัยแวดล้อมในการท่ีจะก้าวสู่ การเป็นประชาคม ไดแ้ ก่ 1. การรวมตวั และความร่วมมอื ของอาเซียนอย่างมปี ระสิทธิภาพ 2. การเพม่ิ ความสามารถในการแข่งขนั ในระดบั โลก โดยการมีเครือขา่ ยของภมู ภิ าคท่ีเข้มแข็ง 3. การทําใหส้ ภาพความเปน็ อยู่และวิถีชวี ติ ของประชากรอาเซียนดีขึ้น

17 4. การปรบั ปรงุ กฎระเบยี บและธรรมาภิบาลของอาเซยี นใหส้ อดคลอ้ งกับประชากร 5. การเช่ือมตอ่ กบั ศูนยก์ ลางทางเศรษฐกิจใหม้ ากขึ้น ท้ังภายในและภายนอกภูมภิ าค 6. การส่งเสริมพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมรวมถึงการลดช่องว่างของการพัฒนา (กรมอาเซียน กองอาเซียน 3, 2554) ----------------------------------------

18 บรรณานกุ รม กรมประชาสมั พันธ.์ (2554). ประเทศไทยกบั อาเซยี น. [ออนไลน]์ . วนั ทค่ี ้นขอ้ มูล 1 สิงหาคม 2555. เข้าถงึ ไดจ้ าก : http://www.prd.go.th/download/thai_asian.pdf กรมอาเซยี น. (2552). บันทกึ การเดนิ ทางอาเซียน. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ. กรมอาเซยี น. (2554). โครงสรา้ งอาเซียนภายใตก้ ฎบตั รอาเซยี น. [ออนไลน์]. วันทีค่ น้ ขอ้ มลู 17 พฤษภาคม 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/organize-document-5780.pdf กรมอาเซยี น กล่มุ งานนโยบาย. (2555). พฒั นาการของประชาคมอาเซียน. [ออนไลน]์ . วนั ทีค่ ้นขอ้ มลู 17 กนั ยายน 2555. เข้าถงึ ได้จาก : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/organize-20120827-153635-807152.pdf กรมอาเซียน กองอาเซียน 3. (2554). แผนแมบ่ ทวา่ ดว้ ยความเช่ือมโยงระหวา่ งกันในอาเซยี น. กรุงเทพฯ : คารสิ มา่ มเี ดยี . ____________________. (2555). การเชอื่ มโยงระหวา่ งกนั ในอาเซยี น. [ออนไลน]์ . วนั ท่ีคน้ ข้อมลู 23 สงิ หาคม 2555. เขา้ ถึงได้จาก : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/customize-20120821-170229-162024.pdf กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). กฎบัตรสมาคมแหง่ ประชาชาตเิ อเชียตะวนั ออกเฉียงใต.้ [ออนไลน]์ . วนั ทคี่ ้นข้อมลู 17 พฤษภาคม 2555. เขา้ ถึงได้จาก : http://aseansummit.mfa.go.th/15/thai/PDF/ASEAN_Charter_TH+EN.pdf กระทรวงการต่างประเทศ. (2554). ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community). [ออนไลน์]. วันท่คี ้นขอ้ มลู 1 สิงหาคม 2555. เขา้ ถงึ ไดจ้ าก : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/organize-document-1808.pdf

19 กระทรวงการตา่ งประเทศ. (2555). สนธสิ ญั ญามิตรภาพและความรว่ มมือในเอเชยี ตะวันออก เฉยี งใต้ บาหลี 24 กมุ ภาพันธ์ 2517. [ออนไลน]์ . วนั ที่คน้ ข้อมลู 1 สิงหาคม 2555. เขา้ ถงึ ได้จาก : http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/customize-20120427- 105041-808384.pdf ทวศี กั ด์ิ ตัง้ ปฐมวงศ์. (2552). ประชาคมอาเซียนและกฎบตั รอาเซียน คอื อะไร และสําคัญอยา่ งไร?. [ออนไลน์]. วันทค่ี น้ ขอ้ มูล 26 กุมภาพันธ์ 2555. เขา้ ถงึ ได้จาก : http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1324 พษิ ณุ สวุ รรณะชฎ. (2540). สามทศวรรษอาเซียน = ASEAN in three decades. กรงุ เทพฯ : สาํ นักงานกองทุนสนบั สนนุ การวิจัยร่วมกับมูลนิธโิ ครงการตําราสงั คมศาสตร์และมนษุ ยศาสตร์. ลาวัณย์ ถนัดศิลปะกุล. (2539). อาเซียนกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายในกลุ่มประเทศสมาชิกและ ความสมั พนั ธ์ภายนอกอาเซียน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช. ASEAN (1997). e-ASEAN FRAMWOEK AGREEMENT. [online]. Retrieved. February 14, 2012, from http://www.aseansec.org/ 5308.htm __________. (1997). External Relations. [online]. Retrieved. February 15, 2012, from http://www.asean.org/20164.htm

20 ประชาคมการเมืองและความมนั่ คงอาเซยี น ASEAN Political-Security Community ---------------------------------------------------------------------------- 1. พฒั นาการความร่วมมอื ดา้ นการเมืองและความมนั่ คง ภายหลังสงครามโลกคร้ังที่ 2 สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว นอกเหนือจากการท่ีมีรัฐเอกราชใหม่เกิดขึ้นเป็นจํานวนมากแล้ว การท่ีศูนย์อํานาจในระบบ การเมอื งโลกไดแ้ ปรเปลีย่ นจากระบบ 2 ขั้วอํานาจ (bipolarity) ที่มีสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เป็นผู้กุมอํานาจและเผชิญหน้ากันอยู่ในลักษณะสงครามเย็น (Cold War) ได้กลายมาเป็นระบบ หลายขวั้ อาํ นาจ (multipolarity) สภาวะดังกล่าวได้สง่ ผลกระทบต่อเสถียรภาพของภูมิภาคตะวันออก เฉียงใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคได้เริ่มปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ท่ี เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะท่ีแตกต่างกัน บางประเทศได้เข้าผูกพันกับประเทศมหาอํานาจภายนอก เช่น การเข้าร่วมในคณะกรรมการเศรษฐกิจสําหรับภาคพ้ืนเอเชียและตะวันออกไกล (Economic Committee for Asia and Far East : ECAFE) การเขา้ เปน็ สมาชิกของแผนการโคลัมโบ (Columbo Plan) รวมท้ังการเข้าเป็นภาคีองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization : SEATO) ซึ่งก่อตง้ั ขึ้นเม่อื ปี พ.ศ.2493 เป็นตน้ สําหรับบางประเทศซึ่งมีความภาคภูมิใจต่อเอกราชและอิสรภาพซึ่งตนเพ่ิงจะได้รับไม่ว่าจะ ด้วยวิธีการรุนแรงหรือสันติ หรือด้วยเหตุที่ระบบจักรวรรดินิยมเสื่อมลง ก็ได้หาวิธีการเสริมสร้างพลัง ต่อรองทางเศรษฐกิจและการเมืองกับประเทศมหาอํานาจภายนอกโดยได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มประเทศ ในโลกท่ีสามข้ึนเม่ือปี พ.ศ.2490 โดยใช้ช่ือว่า “ขบวนการกลุ่มประเทศเอเชีย-แอฟริกา” (AFRO- ASIAN Movement) ซ่ึงต่อมาได้กลายเป็นขบวนการกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement : NAM) อันเป็นขบวนการที่มีบทบาทและความสําคัญอย่างย่ิงในวงการการเมืองระหว่าง ประเทศในปจั จุบัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้ัน ประเทศต่างๆ ก็ได้ตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่น้อยไปกว่า ประเทศในเขตภูมิภาคอ่ืนๆ ทั้งนี้เนื่องจากผู้นําในภูมิภาคน้ีต่างมีทัศนคติที่สอดคล้องกันในเรื่อง การตอ่ ตา้ นลัทธิจกั รวรรดใิ นทกุ รูปแบบและมุ่งเน้นการดําเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระเพื่อ ใช้เป็นเกราะกําบังภัยคุกคามจากภายนอก อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้นําทั้งหลายต่างตระหนักดีว่า การดําเนินการเพ่ือให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวน้ัน ไม่อาจกระทําได้โดยลําพัง ในขณะที่การกลับไป

21 พึ่งพิงมหาอํานาจก็ยังเป็นส่ิงที่น่าหวาดระแวง ด้วยสาเหตุดังกล่าวทําให้ประเทศต่างๆ พยายาม แสวงหาลู่ทางที่จะกระชับความร่วมมือกันเฉพาะภายในภูมิภาค เพื่อให้บังเกิดผลในการพัฒนาตนเอง ในแต่ละประเทศ ประกอบกับแนวความคิดเก่ียวกับ “ภูมิภาคนิยม” ในยุคนั้นก็กําลังมีอิทธิพลและ เตบิ โตข้นึ โดยลําดบั (พษิ ณุ สุวรรณะชฎ, 2540 : 29) ภายหลังจากที่ 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิ ิปปินส์ สงิ คโปร์ และไทย สามารถฟนั ฝ่าอปุ สรรคต่างๆ จนบรรลุผลในการก่อต้ังสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ข้ึนได้ในท่ีสุดเมื่อปี พ.ศ.2510 แล้วนั้น ความเคลื่อนไหวและบทบาทของอาเซียนทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมก็เพิ่มพูนข้ึนโดยลําดับ พัฒนาการของอาเซียนแต่ละข้ันตอนเป็นเคร่ืองบ่งชี้ ให้เหน็ ว่าอาเซยี นเปน็ องคก์ ารระหว่างประเทศอีกองคก์ ารหนง่ึ ซง่ึ มีกิจกรรมด้านการเมืองอย่างต่อเน่ือง และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้น พร้อมกันนั้นความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ภายใน อาเซียนกไ็ ดร้ ับการกระชับขนึ้ จนแน่นแฟ้น ท้งั นี้ เพอื่ ให้ความพยายามร่วมกันที่จะให้ความร่วมมือส่วน ภมู ิภาคบรรลผุ ลตามเจตนารมณท์ ก่ี าํ หนดไวอ้ ยา่ งจริงจัง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในเอกสารทางราชการของอาเซียนจะระบุว่าอาเซียนเป็นองค์การ ความร่วมมือระดบั ภูมภิ าค ซ่ึงมวี ัตถุประสงค์เพ่ือความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่สิ่งท่ีได้รับการเน้นหนักเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในปฏิญญากรุงเทพฯ หรือท่าทีที่แสดงออกโดยผู้นําอาเซียนในยุคน้ันกลับกลายเป็นถ้อยความที่เกี่ยวกับสันติภาพ (peace) เสรีภาพ (freedom) เสถียรภาพ (stability) และความม่ันคง (security) ของภูมิภาค โดยเน้นเฉพาะ ภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงซึ่งเกิดจากการแทรกแซงจากภายนอกทุกรูปแบบ รวมท้ังระบุ ถึงปัญหาท่ีเก่ียวกับฐานทัพต่างประเทศซ่ึงยังต้ังอยู่ในประเทศสมาชิกบางประเทศ อันเป็นการช้ีให้ เห็นว่ามูลเหตุจูงใจทางด้านการเมืองตลอดจนปัญหาท่ีเก่ียวกับเสถียรภาพและความม่ันคงเป็นตัวแปร หลักทม่ี อี ิทธพิ ลผลักดนั ให้ประเทศภาคที ั้ง 5 ประเทศตกลงใจรว่ มกนั ที่จะกอ่ ตั้งอาเซยี นขึ้น ในการจัดตั้งกลไกเฉพาะเก่ียวกับการพิจารณาปัญหาความม่ันคงในภูมิภาคนี้ อาเซียนได้เริ่ม หารือกนั อย่างจรงิ จังในการประชุมสุดยอดอาเซียนคร้งั ท่ี 4 ที่ประเทศสิงคโปร์ เม่ือปี พ.ศ.2535 โดยที่ ประชุมได้เสนอให้พัฒนากลไกของอาเซียนท่ีมีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการประชุมระหว่างอาเซียนกับ คู่เจรจาภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรี (ASEAN Post-Ministerial Conference : PMC) ซึ่งเป็น พ้ืนฐานสําหรับจัดต้ังเวทีการหารือในประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงต่างๆ เพื่อเสริมสร้าง สันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคตามเจตนารมณ์ของสหประชาชาติ (United Nations : UN)

22 โดยมีวัตถุประสงค์เบ้ืองต้นในการเสริมสร้างลักษณะนิสัยและแบบแผนทางพฤติกรรมแก่ประเทศท่ี เกี่ยวข้องให้เรียนรู้เก่ียวกับการหารือร่วมกันอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา เพ่ือหลีกเลี่ยงความเส่ียง ภัยต่างๆ ท่ีอาจเกิดข้ึนจากผลของความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน อีกทั้งเพ่ือสร้างสรรค์สภาวะ แวดล้อมทเี่ ก้อื กลู ต่อเสถียรภาพทางการเมอื งและความมัน่ คงของภูมภิ าค ในปี พ.ศ.2537 ระหว่างการประชุมประจําปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน จึงได้เกิด “การประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก” (ASEAN Regional Forum : ARF) ข้ึนเป็นคร้ังแรกที่กรุงเทพฯ เม่ือวันท่ี 25 กรกฎาคม พ.ศ.2537 โดยได้รับความร่วมมือจาก 17 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ลาว ปาปัวนิวกินี จีน รัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญ่ีปุ่น เกาหลีใต้ และอีก 1 กลุ่มประเทศ คือ สหภาพยุโรป ซึ่งในการประชุมคร้ังแรกนี้ อาเซียนประสบความสําเร็จในการ ผลักดันให้ท่ีประชุมรับรองหลักการต่างๆ ตามท่ีระบุในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC) ให้เป็นแบบ แผนการปฏิบัติและกลไกทางการทูตเพื่อสนับสนุนการทูตเชิงป้องกัน และความร่วมมือด้านการเมือง และความมนั่ คง รวมท้งั เสริมสรา้ งความม่นั ใจระหวา่ งสมาชิก ARF ภายหลังการประชุมครั้งแรก ARF ได้พัฒนาไปอย่างต่อเน่ือง โดยได้เกิดการประชุมระดับ ต่างๆ ภายใต้กรอบของ ARF อย่างสมํ่าเสมอ นอกจากน้ัน ประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกเขตเอเชีย- แปซฟิ ิก (อนิ เดยี มองโกเลยี เกาหลีเหนือ พมา่ สหราชอาณาจกั ร ฝรั่งเศส) ได้แสดงความสนใจและยนื่ ความจาํ นงท่จี ะขอเข้าเป็นสมาชิก ARF ด้วย ส่วนในด้านเน้ือหาได้มีการขยายขอบเขตความร่วมมือใน ด้านการเมืองและความม่ันคงออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น มีการหารือกันในหัวข้อเก่ียวกับปฏิบัติการ รกั ษาสันติภาพ ความรว่ มมอื ในการคน้ หาและกูภ้ ยั เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความพยายามเสมอมาที่จะสร้างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็น เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ แต่ความพยายามดังกล่าวของอาเซียนประสบอุปสรรคมากมายในช่วงสงคราม เย็น เน่ืองจากต้องเผชิญกับอิทธิพลและการคัดค้านของประเทศมหาอํานาจท่ีครอบครองอาวุธ นิวเคลียร์ ซึ่งยังแข่งขันช่วงชิงความเป็นใหญ่อยู่ในภูมิภาคในขณะนั้น ภายหลังการสิ้นสุดลงของ สงครามเย็น สภาวการณ์ระหว่างประเทศเป็นไปในลักษณะเอื้ออํานวยต่อเจตนารมณ์ของอาเซียน ยิ่งข้ึน โดยเฉพาะกระแสการเมืองระหว่างประเทศที่คัดค้านการทดลอง ผลิต พัฒนา และการ ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ สําหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศต่างตระหนักถึง ความจาํ เปน็ ทจี่ ะต้องสร้างภมู ิภาคใหเ้ ป็นเขตปลอดอาวธุ นิวเคลียร์อย่างจรงิ จัง

23 ดังน้ัน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนคร้ังที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2538 ผู้นําอาเซียนท้ัง 7 ประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของลาว กัมพูชา และพม่าได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยเขต ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on Southeast Asia Nuclear Weapon- Free Zone : SEANWFZ) ซ่ึงมีสาระสําคัญคือ การจัดต้ังเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยดินแดนเขตเศรษฐกิจจําเพาะและไหล่ทวีปของท้ัง 10 ประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยภาคีสมาชกิ มพี ันธกรณที ่ีจะไม่พัฒนา ผลิต หรอื ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และ จะไม่อนุญาตให้รัฐอื่นเข้ามาพัฒนา ผลิต หรือเก็บอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในดินแดนของตน ยกเว้นแต่เป็น การดําเนินการเกี่ยวกับการใช้พลังงานปรมาณูเพ่ือสันติ ท่ีมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศสมาชิก นอกจากนั้น ยังตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการข้ึนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของสมาชิก เพื่อดูแลการปฏิบัติต่างๆ ให้เป็นไปตามสนธิสัญญา SEANWFZ รวมทั้งกํากับดแู ลการแกไ้ ขกรณีพพิ าทตา่ งๆ ระหว่างสมาชิกด้วย การลงนามในสนธิสัญญา SEANWFZ ถือได้ว่าเป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมือง ครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท้ัง 10 ประเทศ ซ่ึงสอดคล้องกับ ความต้องการของประชาคมระหว่างประเทศที่ต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของอาเซียนจะบรรลุผลอย่างสมบูรณ์ได้ก็ต่อเม่ือได้รับความร่วมมือจากประเทศ ผู้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝร่ังเศส รัสเซีย และจีน) ซ่ึงอาเซียนได้รณรงค์ ในเรอ่ื งนีต้ ่อไปอยา่ งแข็งขนั ประโยชน์สําคัญยิ่งที่อาเซียนได้รับจากความร่วมมือด้านการเมืองในระยะเวลาที่ผ่านมาคือ การท่ีอาเซียนสามารถสร้างธรรมเนียมปฏิบัติของตนเองเกี่ยวกับการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกัน บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ กล่าวคือ สมาชิกต่างรู้จักยับยั้งชั่งใจที่จะหลีกเลี่ยงการกระทํา ใดๆ ทเี่ ปน็ การแทรกแซงกิจการภายในของเพ่ือนสมาชิก แต่เม่ือเกิดข้อพิพาทระหว่างกันขึ้น สมาชิกก็ หลีกเล่ียงการเผชิญหน้าแต่หันมาแก้ไขปัญหาระหว่างกันด้วยการปรึกษาหารือโดยสันติวิธี การเคารพ ในเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแหง่ ดนิ แดนซ่ึงกนั และกนั ระหว่างสมาชกิ อยา่ งเครง่ ครัด สมาชิกอาเซียนยังได้ประโยชน์จากความร่วมมือด้านการเมืองในลักษณะอื่นๆ ด้วย อาทิ การท่ีสมาชิกแต่ละประเทศพ้นจากการอยู่โดดเดี่ยวตามลําพัง นอกจากนั้น อาเซียนยังได้กลายเป็น เวทีสําหรับประเทศสมาชิกในการแลกเปล่ียนทัศนะและประสบการณ์ระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งยังผลให้เกิดการกล่ันกรองนโยบายของแต่ละประเทศอย่างรัดกุม ในขณะที่ลดความแตกต่างกันใน เร่ืองผลประโยชน์ลง ประการสุดท้าย ความใกล้ชิดกันระหว่างสมาชิกในอาเซียนทําให้สมาชิกแต่ละ

24 ประเทศสามารถแสดงท่าทีต่อประเด็นทางการเมืองต่างๆ ได้อย่างเปิดเผย ก่อนที่จะสรุปเป็นท่าที รว่ มกันของอาเซยี น ซ่งึ มีผลเพมิ่ น้าํ หนักและอาํ นาจการตอ่ รองให้แก่ทา่ ทรี ว่ มดังกลา่ วดว้ ย ดังน้ัน จึงอาจกล่าวได้ว่าความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนก่อนการ ก่อต้ังประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) นั้น ต้องพิจารณาไปถึงภูมิหลังของอาเซียนในช่วงก่อนการก่อตั้งองค์การ ท้ังเร่ืองนโยบาย ต่างประเทศและผลประโยชน์ของประเทศผู้ก่อต้ังทั้ง 5 ประเทศ ตลอดจนองค์การระดับภูมิภาคท่ี ได้รับการจัดต้ังข้ึนในยุคก่อนหน้าน้ัน ได้แก่ องค์การ SEATO และสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia : ASA) การจัดตั้งองค์การเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การจัดต้ังอาเซียน เป็นผลมาจากความหวังร่วมกันของสมาชิกผู้ก่อต้ังที่จะอาศัยองค์การท่ีจัดต้ังข้ึนเป็นเคร่ืองค้ําประกัน ความม่ันคงของแต่ละประเทศ ภายใต้สภาวการณ์ท่ีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้นกําลังเป็นเวที ของความขัดแย้งด้านอุดมการณ์อย่างรุนแรงระหว่างมหาอํานาจ ซึ่งประเทศผู้ก่อต้ังอาเซียนเห็นว่า หนทางที่จะรักษาไว้ซ่ึงความม่ันคงของแต่ละประเทศ คือ การสร้างภูมิภาคให้มีเสถียรภาพและพ่ึงพา ตนเองแทนการพึ่งพามหาอํานาจดังเช่นที่เคยเป็นมา ดังนั้น อาเซียนจึงได้อาศัยความล้มเหลวของ องค์การท่ีจัดตั้งข้ึนก่อนหน้าเป็นอุทาหรณ์ในการกําหนดแนวทางความร่วมมือเพ่ือป้องกัน ความล้มเหลว ตัวอย่างเช่นการจํากัดสมาชิกไว้เฉพาะประเทศภายในภูมิภาคเท่าน้ัน หรือการจัด โครงสร้างองค์การให้เป็นไปอย่างหลวมๆ และยืดหยุ่น เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ช่วยเก้ือกูลและ เปดิ โอกาสให้อาเซียนถือกําเนดิ ข้นึ และสามารถพฒั นาไปอยา่ งตอ่ เน่อื ง ส่วนเร่ืองความร่วมมือในด้านการเมืองและความม่ันคงน้ัน โดยเหตุท่ีอาเซียนก่อตั้งข้ึนด้วย มูลเหตุทางการเมืองเป็นสําคัญ แม้ว่าถ้อยคําที่ระบุในปฏิญญากรุงเทพฯ พ.ศ.2510 อันเป็นเอกสาร พื้นฐานในการก่อต้ังจะระบุถึงเรื่องผลประโยชน์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดังนั้นในช่วงทศวรรษ แรกอาเซียนจึงทุ่มเทเวลาและกําลังงานให้แก่การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งน้ีเพื่อให้ บรรลุถึงความไว้เน้ือเช่ือใจกัน ความพยายามในการระงับข้อพิพาทท่ีมีอยู่ในขณะน้ันได้พัฒนามาจน กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของอาเซียนในการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี แปรสภาพจากการ เผชิญหน้าเพ่ือเอาชนะซึ่งกันและกัน มาเป็นการปรึกษาหารือเพื่อคลี่คลายปัญหาเพื่อผลประโยชน์ ร่วมกัน นอกจากน้ี บทบาทของอาเซียนต่อปัญหาระหว่างประเทศอื่นๆ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาท สําคัญของอาเซียนต่อการคํา้ ประกันสันตภิ าพและเสถียรภาพของภูมิภาค อาทิ ปัญหากัมพูชาในช่วงปี

25 พ.ศ. 2522 – พ.ศ.2534* การใหเ้ อเชียตะวนั ออกเฉยี งใต้เปน็ เขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง กลาง การจัดการประชุม ARF และการประกาศให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธ นวิ เคลียร์ เปน็ ต้น (พิษณุ สุวรรณะชฎ, 2540 : 114-115) 2. การจดั ต้งั ประชาคมการเมืองและความม่นั คงอาเซยี น ประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียนมีพัฒนาการจากความร่วมมืออันใกล้ชิดและ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมานานกว่า 40 ปี โดยผู้นําอาเซียนในที่ประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็น ทางการท่ีกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.2540 ได้ร่วมประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.2020/พ.ศ.2563” (ASEAN Vision 2020) ซง่ึ เหน็ พ้องใหก้ ลมุ่ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ มองไปสู่โลกภายนอก อยรู่ ว่ มกันอยา่ งสนั ติ มีเสถยี รภาพและมีความมัง่ คงั่ ผูกพันกนั ด้วยความ เป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาอันเป็นพลวัตและในประชาคมแห่งสังคมท่ีเอื้ออาทร ดังนั้น เพ่ือให้วิสัยทัศน์ อาเซียน พ.ศ.2563 มีผลอย่างเป็นรูปธรรม ผู้นําอาเซียนได้รับรองปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือ ในอาเซียน ฉบับท่ี 2 (The Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เมื่อปี พ.ศ.2546 เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 โดยประชาคมอาเซียนที่จัดตั้งขึ้น ประกอบดว้ ย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ผู้นําอาเซียนตระหนักว่าการส่งเสริมการรวมตัวของอาเซียนให้แข็งแกร่งย่ิงข้ึนโดยการเร่ง จัดตั้งประชาคมอาเซียนจะช่วยส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและบทบาทขับเคล่ือนการ สรา้ งโครงสร้างสถาปตั ยกรรมในภมู ภิ าค ดงั น้นั ท่ปี ระชุมสุดยอดอาเซยี น ครั้งท่ี 12 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 ท่ีเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นําอาเซียนจึงตัดสินใจที่จะเร่งรัดการจัดต้ังประชาคม อาเซียนให้เป็นผลสําเร็จในปี พ.ศ.2558 ต่อมาในท่ีประชุมสุดยอดอาเซียน คร้ังท่ี 13 เม่ือเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นําอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งแสดง * สงครามกมั พชู าเกิดขึ้นหลังจากกัมพูชาได้เอกราชในปี พ.ศ.2518 และได้นําเอาการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาใช้ ภายใต้การปกครองของกลุ่มบุคคลท่ีเรียกว่าเขมรแดง ต่อมาเวียดนามได้ส่งทหารจํานวนมากเข้ายึดครองกัมพูชา ทําให้เกดิ สงคราม

26 เจตนารมณ์ในการเร่งสร้างประชาคมอาเซียน โดยการเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมตัว ในภมู ิภาค ในการน้ี ผนู้ าํ ไดม้ อบหมายให้รฐั มนตรแี ละเจ้าหน้าท่ีจัดทําร่างแผนงานการจัดต้ังประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint : APSC Blueprint) ซึ่งได้มีการรับรองในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งท่ี 14 เม่ือเดือนมีนาคม พ.ศ.2552 ทอ่ี ําเภอชะอาํ -หัวหนิ ประเทศไทย APSC Blueprint ยึดหลักการในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งพัฒนาจากเอกสารแผนปฏิบัติการสําหรับ การจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC Plan of Action) แผนปฏิบัติการ เวียงจันทน์ (Vientiane Action Program : VAP) และข้อตัดสินใจต่างๆ จากองค์กรเฉพาะด้านของ อาเซียน APSC Plan of Action เป็นเอกสารหลักท่ีระบุกิจกรรมท่ีจําเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดต้ังประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน ในขณะที่แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ เป็นเอกสารท่ีวางมาตรการที่จําเป็นระหว่างปี พ.ศ.2547 – พ.ศ.2553 เอกสารท้ัง 2 ฉบับ เป็นเอกสารอ้างอิงท่ีสําคัญในการสานต่อความร่วมมือทางการเมืองและความม่ันคง ดังนั้น APSC Blueprint จึงเป็นแผนงานและกรอบเวลาสําหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียนภายในปี พ.ศ.2558 นอกจากนี้ APSC Blueprint ยังมีความยืดหยุ่นท่ีจะสานต่อกิจกรรม ตา่ งๆ ทีจ่ ะดาํ เนินการหลงั ปี พ.ศ.2558 ด้วย เพือ่ ใหค้ งไวซ้ ึ่งความสําคญั และความยงั่ ยนื (กรมอาเซียน, 2553 : 3-4) • คุณลักษณะและองค์ประกอบของแผนการจดั ตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เป็นความมุ่งหวังว่าประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน จะทําให้ความร่วมมือด้าน การเมืองและความม่ันคงของอาเซียนมีการพัฒนามากยิ่งข้ึน โดยเป็นหลักประกันต่อประชาชนและ ประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่อย่างสันติระหว่างกันและกับโลกภายนอกในบรรยากาศของความเป็น ประชาธปิ ไตย ความยตุ ธิ รรมและการมคี วามปรองดองตอ่ กัน จากหลกั การขา้ งตน้ ประชาคมการเมอื งและความมน่ั คงอาเซียนประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ได้แก่ ก) ประชาคมทมี่ ีกติกาและมีการพฒั นาค่านยิ มและบรรทดั ฐานรว่ มกนั ข) ประชาคมท่ีทําให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พรอ้ มท้งั มีความรับผดิ ชอบรว่ มกนั เพ่อื แก้ไขปัญหาความม่ันคงท่คี รอบคลมุ ในทุกมติ ิ ค) ประชาคมทท่ี าํ ใหเ้ ป็นภมู ภิ าคทม่ี พี ลวัตและมองไปยงั โลกภายนอกท่ีมีการรวมตัวและ ลักษณะพ่งึ พาซึ่งกันและกันมากย่ิงขึ้น

27 คุณลักษณะเหล่านี้มีความเก่ียวโยงกันและส่งเสริมซ่ึงกันและกัน และควรดําเนินการ อย่างสมดุลและสม่ําเสมอ ท้ังนี้ เพ่ือให้เกิดประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน APSC Blueprint จึงเป็นเอกสารท่ีมุ่งการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลและตระหนักถึงศักยภาพและความสามารถ ของประเทศสมาชกิ อาเซยี น (กรมอาเซียน, 2553 : 4-6) ก. ประชาคมท่มี กี ฎเกณฑแ์ ละบรรทัดฐานและค่านยิ มร่วมกนั ก.1 ความรว่ มมอื ด้านการพฒั นาการทางการเมอื ง ก.1.1 ส่งเสริมความเข้าใจและการยอมรับในระบอบการเมืองต่างๆ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีกิจกรรม เช่น จัดสัมมนา/การประชุม เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารเกย่ี วกบั สถาบนั ประชาธิปไตย การให้ความเท่าเทียมทางเพศเป็นกระแสหลักในนโยบาย และการมีส่วนรว่ มของประชาชน ก.1.2 ปูทางสําหรับกรอบองค์กรเพ่ืออํานวยความสะดวกต่อการ ไหลเวียนของข้อมูลโดยเสรี เพื่อการสนับสนุนและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน โดยมีกิจกรรม เช่น ให้มีการฝึกงาน ทุนฝึกงาน มอบทุนการศึกษา การประชุม เชิงปฏบิ ัตกิ าร การศึกษา ดงู านและการแลกเปลย่ี นผู้ส่ือข่าว เพ่ือเพ่ิมศักยภาพและความเป็นมืออาชีพ ดา้ นสือ่ ในภูมภิ าค โดยเน้นกระบวนการของการดําเนนิ การตามแผนงานน้ี ก.1.3 จัดทําแผนงานเพ่ือสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและ กันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างหลักนิติธรรม ระบบ ยุติธรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย โดยมีกิจกรรม เช่น จัดทําการศึกษาเปรียบเทียบสําหรับ ผรู้ ่างกฎหมายในการประกาศใช้กฎหมายและกฎระเบียบตา่ งๆ ก.1.4 ส่งเสริมธรรมาภิบาล โดยมีกิจกรรม เช่น ศึกษาและวิเคราะห์ เพอื่ จดั ทําฐานข้อมลู และรวบรวมแนวทางปฏิบตั ทิ ่ดี ีเลิศในเรื่องธรรมาภิบาลของภมู ภิ าค ก.1.5 ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยมีกิจกรรม เช่น รวบรวมข้อมูลเรื่องกลไกด้านสิทธิมนุษยชนและองค์กรท่ีเกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรเฉพาะด้าน เพ่อื ส่งเสรมิ สิทธสิ ตรแี ละเด็กภายในปี พ.ศ.2552 ก.1.6 เพ่ิมการมีส่วนร่วมขององค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน ท่ีเก่ียวข้องต่อการขับเคล่ือนความคิดริเริ่มเพ่ือพัฒนาการทางการเมืองของอาเซียนให้ดําเนินไป ขา้ งหน้า โดยมีกจิ กรรม เช่น สง่ เสริมการศึกษาวิจัย และสนับสนุนทุนจัดพิมพ์ของการริเร่ิมพัฒนาทาง การเมอื งอาเซยี น

28 ก.1.7 ป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมีกิจกรรม เช่น กําหนด กลไกท่ีเกี่ยวข้องในการปฏิบัติกับกิจกรรมเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และสร้างเสริม ความเชอ่ื มโยงและความร่วมมอื ระหว่างองค์กรทเ่ี กยี่ วข้อง ก.1.8 ส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย โดยมีกิจกรรม เช่น การจัด ทําการศึกษาวิจัยเป็นรายปีเพ่ือรวบรวมประสบการณ์ด้านประชาธิปไตยและเพื่อส่งเสริมการยึดม่ันใน หลักการของประชาธิปไตย ก.1.9 ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยมีกิจกรรม เช่น พัฒนาให้มีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ และการหารือระหว่างศาสนาและภายใน ศาสนาในภูมภิ าค ก.2 การสรา้ งและแบ่งปนั กฎเกณฑร์ ว่ ม ก.2.1 ปรับกรอบสถาบันของอาเซียนให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียน โดยมี กิจกรรม เช่น จัดเตรียมและดําเนินการตามแผนงานในช่วงเปลี่ยนผ่านว่าด้วยการปฏิรูปสถาบันท่ี จําเป็นเพื่อดําเนินการตามกฎบัตรอาเซยี น ก.2.2 เสริมสรา้ งความร่วมมือภายใต้สนธิสัญญา TAC โดยมีกิจกรรม เช่น จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพ่ือประเมินความก้าวหน้าของการดําเนินงานของ สนธสิ ญั ญา TAC และหาทางในการพัฒนากลไกการดาํ เนนิ การตอ่ ไป ก.2.3 ส่งเสริมให้มีการดาํ เนนิ การอยา่ งสมบรู ณต์ ามปฏิญญาว่าด้วยทะเล จีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea : DOC) เพ่ือสันติภาพ และเสถียรภาพในทะเลจีนใต้ โดยมีกิจกรรม เช่น ดําเนินการตามวิธีปฏิบัติท่ีมีอยู่ของอาเซียนโดย ประเทศสมาชิก เพือ่ ให้มกี ารปรึกษาหารอื อย่างใกล้ชิดและให้การดําเนินการของปฏิญญาว่าด้วยทะเล จีนใตบ้ รรลผุ ลอยา่ งเต็มที่ ก.2.4 สง่ เสรมิ ให้ม่ันใจในการดําเนินการตามสนธิสัญญา SEANWFZ และ แผนปฏิบัติการภายใต้สนธิสัญญาน้ี โดยมีกิจกรรม เช่น สนับสนุนให้มีการภาคยานุวัตรพิธีสารของ สนธิสญั ญา SEANWFZ สําหรับกลุ่มประเทศที่ครอบครองอาวธุ นวิ เคลียร์ ก.2.5 ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลอาเซียน โดยมีกิจกรรม เช่น จดั การประชุมเวทหี ารืออาเซยี นเรอ่ื งความร่วมมือทางทะเล

29 ข. ภูมิภาคท่ีมีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่ง พร้อมท้ังมีความ รับผดิ ชอบรว่ มกนั เพอื่ แกไ้ ขปญั หาความม่ันคงท่ีครอบคลมุ ในทุกมิติ ในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงท่ีมีความเป็นเอกภาพ สงบสุขและ แข็งแกร่ง อาเซียนยึดม่ันกับหลักการความม่ันคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ ซ่ึงครอบคลุมมากกว่าแง่มุม ความมั่นคงในรูปแบบเดิม แต่คํานึงถึงความม่ันคงในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยท่ีสําคัญต่อ ความแข็งแกร่งในระดับประเทศและภูมิภาค เช่น มิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และส่ิงแวดล้อม ของการพัฒนา อาเซียนยังคงยึดมั่นต่อการป้องกันความขัดแย้ง/มาตรการการสร้างความไว้เน้ือเช่ือใจ การทตู เชิงปอ้ งกัน และการสรา้ งสนั ติภาพหลงั ความขัดแย้ง ข.1 ป้องกันความขัดแยง้ และมาตรการการสร้างความไว้เนอื้ เช่อื ใจ ข.1.1 เสริมสร้างมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยมีกิจกรรม เช่น ส่งเสริมการแลกเปล่ียนผู้สังเกตการณ์ในการฝึกทหาร โดยเป็นไปตามความสามารถและเง่ือนไข ของแตล่ ะประเทศสมาชกิ อาเซียน ข.1.2 ส่งเสริมความโปร่งใสและความเข้าใจในนโยบายกลาโหมและ มุมมองด้านความมั่นคง โดยมีกิจกรรม เช่น มุ่งไปสู่การพัฒนาและตีพิมพ์มุมมองสถานการณ์ความ มน่ั คงประจําปีของอาเซยี น ข.1.3 สร้างกรอบการดําเนินการทางสถาบันที่จําเป็นเพื่อเสริมสร้าง กระบวนการภายใต้กรอบการประชุม ARF เพ่ือสนับสนุนประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน โดยมีกิจกรรม เช่น ติดตามข้อเสนอแนะเก่ียวกับการทบทวนความร่วมมือด้านการเมืองและ ความม่นั คงในภมู ิภาคเอเซีย-แปซิฟกิ ข.1.4 เสริมสร้างความพยายามในการธํารงความเคารพในบูรณภาพแห่ง ดินแดนอธิปไตย และเอกภาพของประเทศสมาชิกตามท่ีกําหนดไว้ในปฏิญญาว่าด้วยหลักการแห่ง กฎหมายระหว่างประเทศเก่ียวกับความสัมพันธ์ฉันท์มิตรและความร่วมมือโดยเป็นไปตามกฎบัตร สหประชาชาติ โดยมีกิจกรรม เช่น ส่งเสริมต่อไปและเพิ่มความตระหนักต่อประเด็นเหล่านี้เพื่อเร่งรัด การสร้างประชาคมและยกระดับการเปน็ ที่ยอมรับเป็นทร่ี จู้ ักของอาเซยี นในเวทโี ลก ข.1.5 ส่งเสริมการพัฒนาบรรทัดฐานเพื่อสร้างความรวมมือด้าน การป้องกันทางทหารและความม่ันคงอาเซียน โดยมีกิจกรรม เช่น ริเริ่มงานเตรียมการสําหรับการ พฒั นาโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างหนว่ ยงานทหารของประเทศสมาชิกอาเซยี น

30 ข.2 การแกไ้ ขความขัดแยง้ และการระงับข้อพพิ าทโดยสันติ ข.2.1 พัฒนารูปแบบการระงับข้อพิพาทโดยสันติ เพิ่มเติมจากรูปแบบ ท่ีมีอยู่และพิจารณาเสริมสร้างรูปแบบดังกล่าวให้เข้มแข็งข้ึนด้วยกลไกเพ่ิมเติม โดยมีกิจกรรม เช่น ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการระงับข้อพิพาทโดยสันติที่มีอยู่ และ/หรือกลไกเพ่ิมเติม เพ่ือเสริมสร้าง กลไกในภมู ภิ าคในการระงบั ข้อพิพาทโดยสนั ติ ข.2.2 เสริมสร้างกิจกรรมการค้นคว้าวิจัยเร่ืองสันติภาพ การจัดการ ความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้ง โดยมีกิจกรรม เช่น พิจารณาจัดต้ังสถาบันอาเซียนสําหรับ สนั ตภิ าพและสมานฉนั ท์ ข.2.3 ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพ่ือธํารงไว้ซ่ึงสันติภาพและ เสถียรภาพ โดยมีกิจกรรม เช่น ระบุหน่วยงานหลักของประเทศเพ่ือส่งเสริมความร่วมมือ ดา้ นสันติภาพและเสถยี รภาพในระดับภูมิภาค ข.3 การสรา้ งสันตภิ าพหลังความขดั แย้ง ข.3.1 เสริมสร้างความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอาเซียน โดยมี กิจกรรม เช่น ให้การบริการและความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานเพื่อบรรเทาทุกข์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก ความขดั แย้ง โดยตอ้ งปรึกษากบั ประเทศที่ได้รบั ผลกระทบ ข.3.2 ดําเนินการตามโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้าง ขีดความสามารถในพื้นที่ภายหลังความขัดแย้ง โดยมีกิจกรรม เช่น ร่างแนวทางการประเมินความ ต้องการการฝึกอบรมและการเสริมสร้างขีดความสามารถ ข.3.3 เพิ่มความร่วมมือในด้านการไกล่เกลี่ยประนีประนอมและ ค่านิยมท่ีมีสันติภาพเป็นศูนย์กลาง โดยมีกิจกรรม เช่น ดําเนินการศึกษาเพื่อเพิ่มความร่วมมือ ดา้ น การสมานฉนั ท์และส่งเสริมค่านยิ มท่มี ีสนั ตภิ าพเป็นศนู ย์กลาง ข.4 ประเด็นความม่นั คงรูปแบบใหม่ ข.4.1 เสริมสร้างความร่วมมือในการรับมือประเด็นปัญหาความม่ันคง รูปแบบใหม่ โดยเฉพาะเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและความท้าทายข้ามแดนอ่ืนๆ โดยมี กิจกรรม เช่น ดําเนินการในประเด็นสําคัญในแผนการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดําเนินการ ตามแผนปฏบิ ตั กิ ารตอ่ ตา้ นอาชญากรรมข้ามชาติ ข.4.2 เพ่ิมความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้ายโดยการให้ สัตยาบันโดยเร็วและดําเนินการอย่างเต็มที่ตามอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย

31 โดยมีกิจกรรม เช่น ดําเนินการเพ่ือให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ.2552 การให้สัตยาบัน โดยประเทศสมาชิกอาเซยี นทุกประเทศ และสง่ เสริมการดาํ เนินการตามอนุสัญญาฯ ข.5 เสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ และการ ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีกิจกรรม เช่น พัฒนาแนวทางยุทธศาสตร์ของความร่วมมือ ด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกสําหรับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและ ความรว่ มมือดา้ นการบรรเทาภัยพบิ ัติ ข.6 การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันกาลต่อประเด็นเร่งด่วน หรือสถานการณ์วิกฤติท่ีส่งผลกระทบต่ออาเซียน โดยมีกิจกรรม เช่น จัดการประชุมสมัยพิเศษใน ระดับผู้นํา หรือรัฐมนตรี ในเหตุการณ์วิกฤติหรือสถานการณ์ฉุกเฉินท่ีมีผลกระทบต่ออาเซียน และ พฒั นากรอบการดําเนนิ การเพอื่ จดั การกับสถานการณด์ งั กล่าวอยา่ งทันท่วงที ค. ภูมิภาคท่ีมีพลวัตรและมองไปยังโลกภายนอก ในโลกที่มีการรวมตัวและพึ่งพา อาศัยกันยิ่งข้ึน โดยมีกิจกรรม เช่น อาเซียนส่งเสริมและรักษาความสัมพันธ์ท่ีเป็นมิตรและเป็น ประโยชน์ร่วมกันกับประเทศภายนอก เพื่อให้ความมั่นใจว่าประชาชนและประเทศสมาชิกของ อาเซยี นสามารถอยู่อย่างสนั ตใิ นโลก ค.1 การส่งเสริมอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางในความร่วมมือระดับภูมิภาคและ การสร้างประชาคม โดยมีกิจกรรม เช่น เพิ่มพูนการประสานงานในการดําเนินความสัมพันธ์ภายนอก ของอาเซียนตลอดจนการประชมุ ในระดบั ภมู ิภาคและในระดับพหุภาคี ค.2 ส่งเสริมความสัมพันธ์ท่ีเพ่ิมพูนกับประเทศภายนอก โดยมีกิจกรรม เช่น แสวงหาโครงการความรว่ มมอื กบั องคก์ ารระดับภมู ภิ าค ค.3 เสริมสร้างการปรึกษาหารือและความร่วมมือในประเด็นพหุภาคีที่เป็น ความกังวลร่วมกัน โดยมีกิจกรรม เช่น เพ่ิมพูนการปรึกษาหารือภายในอาเซียน ซ่ึงรวมถึงการแต่งตั้ง ผู้แทนถาวรของประเทศอาเซียนประจําสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อส่งเสริม ผลประโยชน์ของอาเซียน (กรมอาเซียน, 2553 : 6-28) 3. การเตรยี มความพร้อมสู่ประชาคมการเมอื งและความม่นั คงอาเซยี น หน่วยราชการไทยท่ีเก่ียวข้องได้เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซยี น โดยไดจ้ ดั กิจกรรมและโครงการต่างๆ ตาม APSC Blueprint ซ่งึ มีรายละเอยี ดดังนี้ 1. การสรา้ งความตน่ื ตัว ตระหนักรู้ เก่ียวกับประชาคมการเมอื งและความม่นั คงอาเซยี น

32 1.1 คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและปฏิญญา อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนษุ ยชน 1.2 สถาบันอาเซยี นเพือ่ สนั ติภาพและสมานฉันท์ 1.3 การสร้างความตระหนกั รใู้ นกลไกระงบั ข้อพิพาทและสนธสิ ญั ญา TAC 2. การพัฒนาขีดความสามารถของสถาบนั วิจัยของไทยในเรื่องการเมอื งและความม่ันคง 2.1 สนบั สนุนการจัดตัง้ เครือขา่ ยสถาบันทเี่ ก่ยี วกบั ความม่ันคงทางทะเล 2.2 สนับสนุนการจัดตง้ั เครอื ขา่ ยสถาบนั อาเซยี นเพอ่ื สันติภาพและความสมานฉนั ท์ 2.3 การควบคมุ การแพรข่ ยายอาวธุ นิวเคลียร์ 2.4 ความปลอดภยั ทางด้านนิวเคลยี ร์ 3. การฝกึ อบรมข้าราชการใหม้ ีความพรอ้ มในการปฏิบัติตามพันธกรณตี า่ งๆ ของอาเซยี น 3.1 การเข้าร่วมปฏิบัติงานในศูนย์ประสานงานอาเซียนสําหรับการให้ความ ชว่ ยเหลอื ด้านมนษุ ยธรรมในการจัดการภัยพบิ ตั ิ 3.2 การปฏบิ ัตติ ามอนุสญั ญาอาเซียนวา่ ดว้ ยการตอ่ ตา้ นการก่อการรา้ ย 3.3 การลดผลกระทบด้านลบจากการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (กรมอาเซียน, 2555) นอกจากน้ี ประเด็นสําคัญที่ประเทศไทยให้ความสําคัญเป็นลําดับต้นๆ ในการสร้างประชาคม การเมอื งและความมนั่ คงอาเซยี น คอื 1) สง่ เสริมค่านยิ มของประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และหลกั การนิตธิ รรมในอาเซียน โดยมุ่งเน้น ประโยชนข์ องประชาชนเปน็ ทต่ี ั้ง 2) ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในงานของประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน โดยใช้หัวข้อการหารือเป็นตัวต้ังในการเชิญองค์กรที่มิใช่ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา ความม่ันคงรูปแบบใหม่ เช่น เรื่องการบริหารจัดการภัยพิบัติ อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ายา เสพตดิ และการคา้ มนษุ ย์ เป็นตน้ และมุง่ ดาํ เนนิ ภารกจิ ทางมนุษยธรรมมากกวา่ ด้านการเมือง 3) ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสมากข้ึนระหว่างฝ่ายกลาโหมอาเซียน โดยการแลกเปล่ียนข้อมูล เร่ือง Arms Modernization และการส่งผู้สังเกตการณ์ในการซ้อมรบ ควรมีความร่วมมือกันให้มาก ยง่ิ ขน้ึ ในเรอ่ื งการบรหิ ารจัดการภยั พบิ ัตแิ ละการปฏิบัตกิ ารรักษาสนั ตภิ าพ 4) ส่งเสริมความรว่ มมอื ของอาเซียนในการแก้ปัญหารว่ มกนั เชน่ ในเรอ่ื งของ (1) การปฏบิ ตั ิการ รักษาสันติภาพ (2) การบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยเฉพาะการจัดทําระบบและยุทธศาสตร์ บูรณาการ

33 โดยประสานการทํางานของฝ่ายพลเรือน ฝ่ายกลาโหมอาเซียน และสํานักเลขาธิการอาเซียน และ (3) การสง่ เสริมความมนั่ คงทางทะเลและการปราบปรามโจรสลัด (กรมอาเซียน กองอาเซียน 1, 2554 : 30) • แผนการเตรยี มความพรอ้ มสปู่ ระชาคมอาเซยี นในปี พ.ศ.2558 จาก APSC Blueprint ท่ีประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ หน่วยงานท่ีรับผิดชอบสามารถกําหนด เปน็ แผน กิจกรรม หรือโครงการตา่ งๆ ดังนี้ 1. ประชาคมทมี่ ีกฎเกณฑแ์ ละบรรทัดฐานและค่านยิ มร่วมกนั มุ่งเนน้ กิจกรรมดังนี้ - โครงการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในกรอบอาเซียนเพ่ือรองรับ การเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 - โครงการการจัดสัมมนาระดับประเทศในเรื่อง ASEAN Declaration on Human Rights (ADHR) - โครงการสรา้ งความตระหนักร้ใู นเร่ืองสนธิสัญญา SEANWFZ และกลไกต่างๆ ภายใต้ สนธิสญั ญาดงั กลา่ ว - การส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือเพ่ือนําข้อมูลมาปฏิบัติ โดยเฉพาะในสาขาความ ร่วมมือหลักที่กําหนดไว้ในข้อมูล เช่น การวิจัยร่วม และการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล เปน็ ตน้ - การส่งเสริมความตระหนกั รแู้ ละเข้าใจในเรื่องสนธิสัญญา SEANWFZ และการเตรียม ความพรอ้ มเพ่ือเข้าร่วมในกิจกรรมทีจ่ ะสง่ เสริมเขตปลอดอาวธุ นวิ เคลยี รใ์ นเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ - การสรา้ งความตระหนักรู้ในกิจกรรมความร่วมมือทางทะเลในอาเซียนและการเตรียม ความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามนโยบายความม่ันคงทางทะเลของไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ความรว่ มมอื ในกรอบอาเซยี นและกิจกรรมความรว่ มมืออื่นๆ ในภูมภิ าค 2. ภูมิภาคท่ีมีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่ง พร้อมท้ังมีความ รับผิดชอบร่วมกันเพ่ือแก้ไขปัญหาความม่ันคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ โดยมีกิจกรรมหรือโครงการ ต่างๆ ดงั นี้ - การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมความไว้เน้ือเช่ือใจใน อาเซยี นและภมู ภิ าค - การสร้างความตระหนักรู้ในเร่ืองกลไกระงับข้อพิพาทในภูมิภาคและจัดเตรียม บคุ ลากรและองค์การซึ่งอาจมสี ่วนร่วมในกลไกระงบั ขอ้ พพิ าทในภมู ภิ าค

34 - การส่งเสริมการวิจัยแนวโน้มพัฒนาการความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้โดยสถาบันวิจัยของไทย ภูมิภาค และระหว่างประเทศ และส่งเสริมการจัดตั้ง ASEAN Institute for Peace and Reconciliation พร้อมทั้งการส่งบุคลากรไทยให้เข้าร่วมในการบริหาร รวมท้ังกจิ กรรมของสถาบัน - การสร้างศักยภาพของหน่วยงาน/องค์กรไทยในการเข้าร่วมกลไกไกล่เกลี่ยใน ภูมภิ าค - การเตรียมความพร้อมและสร้างศักยภาพของหน่วยงานไทยในการปฏิบัติตาม อนุสญั ญาอาเซียนวา่ ด้วยการตอ่ ต้านการกอ่ การรา้ ย - การสร้างขีดความสามารถและศักยภาพของหน่วยงานไทยในการเข้าร่วมในระบบ การบริหารจดั การภยั พบิ ตั ขิ องอาเซยี นและในระดับภูมิภาค - ส่งเสริมการสร้างระบบบริหารจัดการภัยพิบัติในระดับภูมิภาคให้เป็นบูรณการโดย ให้ไทยเปน็ หนึง่ ในศูนย์กลางของความร่วมมือในภมู ิภาค - ส่งเสริมองค์กรในประเทศไทย เช่น Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) และศนู ยอ์ ื่นๆ ในประเทศไทยใหม้ ีบทบาทสาํ คญั ในเร่อื งการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิในภมู ภิ าค 3. ภูมิภาคท่ีมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก ในโลกท่ีมีการรวมตัวและพ่ึงพาอาศัยกัน ยง่ิ ขึ้น ไดก้ ําหนดกิจกรรมหรอื โครงการ เช่น - การส่งเสริมการวิจัยและผู้เช่ียวชาญในเร่ืองของแนวโน้มของพัฒนาการในโครงสร้าง สถาปตั ยกรรมในภมู ภิ าค - การส่งเสริมศักยภาพของหน่วยงานไทยในการกําหนดและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ อาเซยี นในเรอื่ งความสัมพันธน์ อกภูมภิ าค - การส่งเสริมใหห้ นว่ ยงานไทยมีศกั ยภาพมากยิ่งขึ้นในการช่วยกําหนดท่าทีของอาเซียน ในเวทีพหุภาคี (กรมอาเซยี น, 2555) • หน่วยงานด้านความมน่ั คงของไทยกบั การดาํ เนนิ ความรว่ มมอื ในกรอบประชาคมอาเซียน การดําเนินการเพื่อรองรับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในระดับนโยบายของ ไทย ซ่ึงมสี าํ นักงานสภาความมน่ั คงแหง่ ชาติ (สมช.) เป็นหนว่ ยงานรับผิดชอบ ได้จัดทําร่างยุทธศาสตร์ ในการดําเนินการด้านการเมืองและความม่ันคงเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ประกอบดว้ ย 6 ยุทธศาสตร์ คอื

35 1. ยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาการเมือง 2. ยทุ ธศาสตรก์ ารเสริมสรา้ งบรรทัดฐานความร่วมมือด้านความมน่ั คงในภูมิภาค 3. ยุทธศาสตร์การแกป้ ญั หาภยั คุกคามรูปแบบใหม่ที่มลี ักษณะขา้ มชาติ 4. ยทุ ธศาสตรก์ ารจัดการกบั ภยั พบิ ัตทิ ่สี ง่ ผลกระทบรนุ แรง 5. ยุทธศาสตรก์ ารป้องกันและแกป้ ญั หาความขดั แยง้ ในภูมิภาค 6. ยุทธศาสตร์ความสมั พนั ธ์กับมหาอํานาจ ท้ังน้ีในร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะกําหนดมาตรการในการดําเนินการในแต่ละยุทธศาสตร์ ซง่ึ ปรากฏอย่ใู นร่างยทุ ธศาสตร์แหง่ ชาตขิ องสํานกั งานสภาความมัน่ คงแหง่ ชาติ ในส่วนของกระทรวงกลาโหมได้ใช้กลไกการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM) เป็นส่วนเสริมสร้างเพื่อนําไปสู่การจัดตั้งประชาคม การเมอื งและความมัน่ คงอาเซยี น ซึ่งจากผลของการประชุม ADMM ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบร่วมกันให้มี กิจกรรมความร่วมมือทสี่ ําคัญ คอื - ความร่วมมือระหว่างกลาโหมอาเซียนกับองค์กรภาคประชาสังคมในด้านความมั่นคง รปู แบบใหม่ - การใช้ทรัพยากรและศักยภาพทางทหารอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบตั ิ - ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกนั ประเทศของอาเซียน นอกจากความร่วมมือในกรอบของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนดังกล่าวแล้ว ยังมีกรอบความ ร่วมมือของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจา (ADMM-Plus) อีก 8 ประเทศ ไดแ้ ก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญปี่ ุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อวันท่ี 12 ตุลาคม พ.ศ.2553 รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจาได้เห็นชอบในการดําเนินการ ด้านความรว่ มมือเพอื่ ความมนั่ คง 5 ดา้ น คอื 1. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (Humanitarian Assistance and Disaster Relief – HA/DR) 2. ความมัน่ คงทางทะเล (Maritime Security) 3. การแพทย์ทหาร (Military Medical) 4. การตอ่ ต้านการกอ่ การรา้ ย (Counter Terrorism) 5. การปฏิบัตกิ ารรกั ษาสนั ตภิ าพ (Peace Keeping Operations)

36 สําหรับการดําเนินการตามกรอบความร่วมมือของแต่ละด้านนั้น ประเทศในอาเซียนจะได้ ดํารงตําแหน่งประธานคณะทํางานอย่างน้อย 1 ด้าน และ 1 วาระ (มีวาระ 2 – 3 ปี) ซึ่งแต่ละด้านจะมี ประธานรว่ มระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกบั ประเทศคู่เจรจา ดังน้ี - การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย มีเวียดนามและจีน เป็นประธาน - ความมน่ั คงทางทะเล มีมาเลเซยี และออสเตรเลียเป็นประธาน - การแพทยท์ หาร มีสิงคโปรแ์ ละญี่ป่นุ เป็นประธาน - การตอ่ ต้านการก่อการร้าย มีอินโดนเี ซียและสหรฐั อเมริกาเป็นประธาน - การปฏบิ ัตกิ ารรักษาสันติภาพ มฟี ลิ ิปปนิ สแ์ ละนิวซแี ลนดเ์ ปน็ ประธาน โดยไทยมีแนวทางในการเข้าร่วมเป็นคณะทํางานทุกด้าน และเพ่ือสนับสนุนกรอบความ ร่วมมือดังกล่าว กระทรวงกลาโหมของไทยได้มีการแต่งตั้งคณะทํางานผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเพ่ือ ทําหน้าที่กําหนดแนวทาง วางแผนการปฏิบัติและเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานกับกลาโหม อาเซียนและกลาโหมประเทศคูเ่ จรจา (ภุชงค์ ประดิษฐธรี ะ, 2554 : 66–67) 4. ความก้าวหนา้ ในการจดั ตัง้ ประชาคมการเมืองและความมน่ั คงอาเซยี น กระบวนการจัดต้ังประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีรากฐานมาจากนํา ความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงท่ีได้ดําเนินการมาระยะหน่ึงแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีแบบแผนมากย่ิงข้ึน อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญา TAC สนธิสัญญา SEANWFZ และปฏิญญากําหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality : ZOPFAN) และ รวมถงึ ผลลัพธต์ า่ งๆ ที่เกดิ ขึ้นจากการประชุม ARF (ศนู ยข์ า่ วการศกึ ษาไทย, 2555) ปัจจุบัน การสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีความคืบหน้าในการส่งเสริม การแลกเปล่ียนขอ้ มูลและประสานท่าทีมากยิ่งข้ึนในเร่ืองที่มีนัยทางนโยบายและการเมืองของภูมิภาค โดยมีคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Council) เป็นผู้ดําเนินการขับเคล่ือน สําหรับประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคง ที่ได้รับความสนใจในช่วง 1 - 2 ปี ที่ผ่านมา คือ การส่งเสริมกลไกอาเซียนต่างๆ (Sectoral Bodies) และเน้นการประสานงานเพ่ือแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นประเด็นท่ีคาบเก่ียวกับกลไกต่างๆ (cross-cutting issues) ตัวอย่างสําคัญท่ีอาเซียนกําลังพิจารณาอย่างต่อเนื่องคือ ความเส่ียงของการส่งเสริม

37 ความเช่ือมโยงในภูมิภาค ซ่ึงรวมถึงอาชญากรรมข้ามชาติและผลกระทบทางด้านลบต่างๆ เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non- traditional threats) อยา่ งไรกต็ าม การดําเนนิ การเพ่ือรองรับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ยังไม่มีความก้าวหน้ามากนักเม่ือเทียบกับการเตรียมความพร้อมในมิติของเศรษฐกิจ และสังคมและ วัฒนธรรม ปัญหาอุปสรรคสําคัญท่ีสุดในการสร้างประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียนคือ การสร้างค่านิยมร่วมกัน เนื่องจากความหลากหลายของวัฒนธรรมการเมืองของประเทศสมาชิก อาเซียน และการที่แต่ละประเทศยังไม่มุ่งไปสู่การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมอาเซียน อย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดจากการท่ีระบบสถาบันของอาเซียนที่จะช่วยส่งเสริมค่านิยม อาเซียนยังออ่ นแอ โดยเฉพาะสาํ นักเลขาธกิ ารอาเซยี น ความท้าทายสําคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่ยังมีประเด็นท่ีมีความอ่อนไหวสูงในแต่ละประเทศ สมาชิกหรือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสร้างข้อจํากัดให้อาเซียนในการใช้กลไกของตนได้ เช่น กรณีที่เกือบทุกประเทศไม่ประสงค์ที่จะให้อาเซียนมายุ่งเกี่ยวกับปัญหาภายในประเทศ แม้ว่า ปัญหาดังกล่าวจะมีนัยหรือผลกระทบในระดับภูมิภาคก็ตาม เช่น เรื่องพัฒนาการทางการเมืองและ สิทธิมนุษยชนในเมียนมาร์ หรือปัญหาหมอกควัน เป็นต้น อีกท้ังไม่ประสงค์ให้อาเซียนมายุ่งเก่ียวกับ ปญั หาทวภิ าคีโดยเฉพาะปญั หาเขตแดน อย่างเชน่ กรณีความขดั แย้งระหว่าง สิงคโ์ ปรก์ ับมาเลเซียในปี พ.ศ.2552 ทั้งสองประเทศได้ใช้กลไกของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) มากกว่าการใชก้ ลไกของอาเซียนในการแก้ขอ้ พพิ าททางเขตแดน แม้ว่าประเทศสมาชิกจะพยายามให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อน (ASEAN Centrality) ในภูมิภาค แต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมหาอํานาจได้สร้างข้อจํากัดให้กับอาเซียนในการท่ีจะ ผลักดันให้กลไกต่างๆ ในภูมิภาคเป็นเร่ืองของความมั่นคงในภูมิภาค นอกจากนี้ เน่ืองจากความม่ันคง ในภูมิภาคยังต้องพ่ึงพาอาศัยบทบาทของประเทศนอกภูมิภาค อาเซียนจึงจําเป็นต้องสร้างหุ้นส่วน สําคัญกับประเทศนอกภูมิภาค และในบางกรณียังต้องใช้วิธีการคานอํานาจเพื่อไม่ให้มหาอํานาจใด มาครอบงําภูมิภาค ปัญหาอุปสรรคอีกประการหน่ึงคือ การท่ียังไม่มีความไว้เน้ือเชื่อใจระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากประเทศต่างๆ ยังอยู่ในสภาพที่ต้องแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ ระหว่างกัน ตัวอย่างเช่น เรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล ซึ่งมีส่วนให้เกิดความ ตงึ เครยี ดมากข้นึ ในทะเลจีนใต้ เป็นตน้ (กรมอาเซยี น กองอาเซียน 1, 2554 : 30)

38 กลไก/ประเด็นดา้ นการเมอื ง พฒั นาการล่าสดุ และความม่ันคงของอาเซยี น สนธิสัญญาเขตปลอดอาวธุ นิวเคลียร์ อาเซียนได้ข้อสรุปการเจรจากับประเทศผู้มีอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear ในภูมิภาคเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ Weapon States : NWS) ในพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญา SEANWFZ (SEANWFZ) ซ่ึงจะนาํ ไปสกู่ ารลงนามโดย NWS ตอ่ ไป สนธิสัญญามิตรภาพและความ ได้รับความสนใจจากประเทศนอกภูมิภาคมากข้ึน ปัจจุบันมีประเทศภาคี ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท้ังส้ิน 29 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ (TAC) เป็นต้น และ 1 กลุ่มประเทศ คือ สหภาพยุโรป ล่าสุดบราซิลกําลัง ดาํ เนินการภายในเพอ่ื ภาคยานวุ ตั สิ นธสิ ญั ญา TAC การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ปจั จบุ นั การประชุม ARF มีประเทศเข้าร่วม 26 ประเทศกับ 1 กลุ่ม ร่วมมือด้านการเมืองและความ ประเทศ ม่ันคงในภมู ภิ าคเอเชยี -แปซฟิ กิ การดําเนินงานในกรอบการประชุม ARF เพื่อนําไปสู่เสถียรภาพใน (ARF) ภมู ภิ าค มี 3 ขน้ั ตอน ไดแ้ ก่ 1) มาตรการเสริมสร้างความไวเ้ น้ือเชอ่ื ใจ 2) การทูตเชงิ ป้องกัน 3) แนวทางเร่ืองปัญหาความขดั แยง้ อาชญากรรมข้ามชาติ ไทยมีส่วนสําคัญในการริเร่ิมให้อาเซียนเห็นความสําคัญมากยิ่งข้ึนกับการ หามาตรการแก้ไขปัญหาอันเนื่องจากผลกระทบทางลบจากการส่งเสริม ความเชื่อมโยงในอาเซียน เช่น ความท้าทายจากอาชญากรรมข้ามชาติ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการฟอกเงิน อันเป็นประเด็นท่ีไทยถูกโจมตีโดยสหรัฐอเมริกาและคณะทํางานเฉพาะ กิจเพื่อดําเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force : FATF) การสง่ เสริมสนั ติภาพในภูมิภาค ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คร้ังที่ 20 เม่ือเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 มีมติให้จัดต้ังสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์เพ่ือทํา การวจิ ยั และสง่ เสริมการสร้างสนั ตภิ าพในอาเซียน ความมัน่ คงทางทะเล เปน็ ประเด็นท่ปี ระเทศนอกภมู ิภาคให้ความสนใจ ซงึ่ อาเซยี นจะต้องรักษา ความเปน็ แกนหลักในเร่ืองนใ้ี ห้ได้ สิทธมิ นษุ ยชน คณะรัฐมนตรีมีมติเม่ือวันท่ี 13 ตุลาคม พ.ศ.2552 แต่งต้ังให้ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี เป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่าง รัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) โดยมีวาระ 3 ปี ต้ังแต่ เดอื นตุลาคม พ.ศ.2552 - ตุลาคม พ.ศ.2555 AICHR ซ่ึงเป็นองค์กรท่ีไทยมีส่วนร่วมสําคัญในการจัดต้ัง อยู่ในระหว่าง

39 กลไก/ประเด็นด้านการเมือง พัฒนาการลา่ สดุ และความมัน่ คงของอาเซียน การจัดทําปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อจะนําไปสู่การสร้าง กลไก เชน่ สนธสิ ญั ญาและอนสุ ญั ญาที่เก่ียวข้องในอนาคต ท่มี า : กองอาเซียน 1 กรมอาเซียน พ.ศ.2555 5. ความคิดเห็นตอ่ ประชาคมการเมอื งและความมนั่ คงอาเซียน ประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพ่ือเสริมสร้างและธํารงไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพ่ือให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและ สามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทํา APSC Blueprint โดยเน้นใน 3 ประการ คือ การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน การส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกัน ในการรกั ษาความมั่นคง และการมพี ลวัตและปฏิสมั พันธ์กับโลกภายนอก ปัจจุบัน ประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียนมีความคืบหน้าในการส่งเสริม การแลกเปลย่ี นข้อมูลและประสานท่าทีมากย่ิงขึ้นในเร่ืองท่ีมีนัยทางนโยบายและการเมืองของภูมิภาค โดยคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน ซ่ึงประชุมปีละ 2 ครั้ง สําหรับประเด็น สําคัญในช่วง 1 - 2 ปีท่ีผ่านมา ที่อาเซียนกําลังพิจารณาอย่างต่อเนื่องคือ ความเส่ียงของการส่งเสริม ความเชื่อมโยงในภูมิภาค ซ่ึงรวมถึงอาชญากรรมข้ามชาติ และผลกระทบทางด้านลบต่างๆ เช่น ผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมและปัญหาสาธารณสุข ซ่ึงเป็นภัยด้านความมั่นคงนอกรูปแบบ (non- traditional security issues) สําหรับประเทศไทย หน่วยงานราชการหรือองค์กรที่เก่ียวข้อง นักวิชาการ ผู้เช่ียวชาญ ด้านอาเซียนต่างพยายามส่งเสริม สร้างความเข้าใจและให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่สังคม และประชาชนทั่วไปผ่านทางสื่อรูปแบบต่างๆ รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็น ให้ทัศนะและมุมมอง ทั้งในด้านบวกและลบของประเทศไทยกับประชาคมอาเซียนท้ัง 3 เสาหลัก ในส่วนของประชาคม การเมืองและความม่ันคงอาเซียนได้มีการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ที่เก่ียวข้องเช่นกัน โดยมี ความคดิ เหน็ และมมุ มองในบางประเดน็ ท่สี าํ คัญ ดงั นี้ ความเป็นประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน : ในกรอบของประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน มีหลายประเด็นที่นักวิชาการได้แสดงความคิดเห็นต้ังแต่ปัญหาของคํานิยาม

40 ของประชาคมการเมืองและความม่ันคงอาเซียน โดยคํานิยามของนักวิชาการกับคํานิยามของรัฐบาล ประเทศสมาชกิ อาเซียนมีความแตกตา่ งกัน นักวชิ าการอยา่ งเชน่ รศ.ดร.ประภสั สร์ เทพชาตรี อาจารย์ ประจาํ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ไดแ้ สดงความคิดเหน็ วา่ คาํ นยิ ามของรัฐบาลอาเซียน มีความแตกตา่ งไปอย่างมากจากคํานิยามของนักวิชาการ โดยประเด็นหลักทีน่ ักวิชาการให้ความสําคัญ แต่ไม่ปรากฏใน APSC Blueprint คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจะต้องมีการ กําหนดนโยบายร่วมกัน การรับรู้ถึงภัยคุกคามร่วมกัน มีอัตลักษณ์ร่วม มีความร่วมมือทางทหาร ไวเ้ น้อื เชื่อใจกนั มรี ะบอบการปกครองแบบประชาธปิ ไตย และมีสถาบนั ทเ่ี ปน็ ทางการ สําหรับกลไกการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งของประชาคมการเมืองและความมั่นคง ของอาเซียนมีลักษณะมุ่งเน้นแก้ความขัดแย้งระหว่างรัฐ แต่ในปัจจุบันและอนาคต ความขัดแย้ง ส่วนใหญ่จะเป็นความขัดแย้งท่ีเกิดขึ้นภายในรัฐแต่มีลักษณะข้ามชาติ ดังนั้น กลไกอาเซียนจึงอาจจะ ไม่มีประสิทธิภาพรองรับความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ นอกจากนี้ ความร่วมมือทางทหารของอาเซียน ยัง เบาบางมาก อาเซียนก่อตั้งมากว่า 40 ปีแล้ว แต่เพ่ิงจัดให้มีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมเป็น คร้ังแรกเมอ่ื ปี พ.ศ.2549 (ประภสั สร์ เทพชาตรี, 2552) นอกจากนี้ ในเร่ืองการป้องกันและการต่อสู้กับคอร์รัปชันท่ีเป็นกิจกรรมหน่ึงของ APSC Blueprint นายพรพล น้อยธรรมราช นักวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้กล่าวถึงในประเด็นน้ี โดยยกตัวอย่างในประเด็นของการสร้างประชาคมท่ีมีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกันบนพื้นฐานของ การใช้กฎร่วมว่า การสร้างประชาคมท่ีมีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกันน้ัน ประกอบไปด้วย 2 กรอบ การทํางานหลัก คือ 1) การร่วมมือกันในการพัฒนาการเมือง และ 2) การสร้างและใช้บรรทัดฐาน รว่ มกัน ซงึ่ กรอบการทํางานแรกนน้ั ประกอบไปดว้ ยกจิ กรรมต่างๆ เช่น การสง่ เสรมิ สภาพธรรมาภิบาล การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน การป้องกันและต่อสู้กับคอร์รัปชัน และการส่งเสริมหลักการ ของประชาธิปไตย ซึ่งหากเพียงแค่มองกิจกรรมดังกล่าวเพียงคร่าวๆ แล้ว ก็พอจะสามารถคาดเดาได้ ว่าเป็นไปได้ยากที่แต่ละประเทศสมาชิกจะเข้ามาร่วมมือกันได้ ยกตัวอย่างเช่นการป้องกันและ การต่อสู้กับคอร์รัปชัน ประเทศสมาชิกในอาเซียนนั้นเป็นกลุ่มประเทศท่ีประสบปัญหากับการคอร์รัป ชันมากท่ีสุดแห่งหนึ่งของโลก ตามสถิติของ Corruption Perception Index (CPI) ปี พ.ศ.2554 นั้น ประเทศในอาเซียนนอกจากสิงคโปร์และบรูไนแล้ว ทุกประเทศที่เหลืออยู่ตํ่ากว่าอันดับ 50 ทั้งหมด และมีถึง 6 ประเทศที่มีอันดับตํ่ากว่า 100 เรียกได้ว่ายังไม่รู้ว่าประเทศใดในอาเซียนจะเป็นผู้ริเร่ิม ในการแก้ไขปญั หาคอรร์ ปั ชนั นี้และอย่างไรดี (พรพล นอ้ ยธรรมราช, ม.ป.ป.)

41 ความร่วมมือกันทางทะเล : ความร่วมมือเพื่อความม่ันคงทางทะเลระหว่างประเทศ ในอาเซียนเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่กําหนดอยู่ใน APSC Blueprint นาวาเอกภุชงค์ ประดิษฐธีระ จากศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้แสดงความคิดเห็นว่า ความร่วมมือ กันทางทะเลเป็นเรื่องที่มีขอบเขตค่อนข้างกว้าง เน่ืองจากทะเลในภูมิภาคนี้มีพื้นท่ีกว้างใหญ่และ มีปัญหาภัยคุกคามหลายอย่าง ได้แก่ ปัญหาความขัดแย้งเร่ืองเขตแดนทางทะเลของประเทศ ในภูมิภาค การเสริมสร้างกําลังทางทหารของประเทศในภูมิภาค การก่อการร้ายทางทะเล โจรสลัด และการปลน้ ในทะเล การกระทําผิดกฎหมายทางทะเล และปัญหาภัยธรรมชาติและอุบัติภัยทางทะเล รวมท้ังตรวจสอบกลไกความร่วมมือที่มีอยู่เดิม และเสนอแนวทางความร่วมมือกันทางทะเลทั้งในส่วน ของทวิภาคีและพหุภาคี จากปญั หาภยั คุกคามตา่ งๆ ข้างตน้ กลไกความรว่ มมือทมี่ อี ยู่ในปัจจุบันยังไม่ประสบผลสําเร็จ เท่าท่ีควร ในการแก้ปัญหาเขตแดนทางทะเลควรแก้ไขโดยใช้การเจรจาตกลงในกรอบทวิภาคี การเสริมสร้างกําลังทางทหารโดยการส่งเสริมการสร้างมาตรการ สร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศ และการสร้างความโปร่งใสทางทหาร การก่อการร้ายทางทะเลควรมีการส่งเสริมการรับรู้ข่าวสาร ทางทะเลด้วยกลไกท่ีมีอยู่กับมาตรการเพื่อความมั่นคงทางทะเลระหว่างประเทศ ปัญหาโจรสลัดและ ปล้นเรือในทะเลควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยใช้ศูนย์แลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสารที่ มีอยู่แล้ว เช่น ศูนย์แลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสาร (Information Sharing Center หรือ ReCAAP ISC) เป็นต้น และปัญหาภัยธรรมชาติและอุบัติภัยในทะเล ควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานปฏิบัติการช่วยเหลือ และบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลของภูมิภาคเพ่ือเป็นการชว่ ยเหลือซึง่ กนั และกนั (ภุชงค์ ประดิษฐธีระ, ม.ป.ป.) ความร่วมมือด้านการทหาร : ในเรื่องของกองทัพและความม่ันคง ความร่วมมือทาง การทหารในอาเซียนเกิดจากการหารือกันในการประชุม ARF จากนั้นจึงมีผลต่อการประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียนและอีก 8 ประเทศ (ADMM-Plus) ซ่ึงมีการหารือและวางแผนจัดทําความร่วมมือ ด้านความมั่นคงใน 5 ประเด็นหลัก และประเทศสมาชิกแบ่งหน้าท่ีความรับผิดชอบในประเด็นต่างๆ ดงั น้ี 1. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีเวียดนามและจีน เปน็ ประธาน 2. ความม่ันคงทางทะเล โดยมมี าเลเซยี และออสเตรเลยี เปน็ ประธาน 3. ประเดน็ ความร่วมมอื ระหวา่ งกองทัพ โดยมสี ิงคโปรแ์ ละญ่ปี ุ่นเป็นประธาน

42 4. การปฏบิ ัติการรักษาสันติภาพ โดยมีฟลิ ปิ ปินส์และนิวซแี ลนด์เปน็ ประธาน 5. การตอ่ ตา้ นการกอ่ การรา้ ย โดยมอี นิ โดนีเซยี และสหรฐั อเมรกิ าเป็นประธาน ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่มีบทบาทของการเป็นผู้นําในส่วนใดเลย แม้ว่าประเทศไทยจะมีความ พยายามจัดให้มีการหารือและวางแผนงานในประเด็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและ บรรเทาสาธารณภัยกต็ าม ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนคร้ังถัดไป ทางกองทัพไทยจะนําประเด็นการสร้าง ความร่วมมือด้านการบินเข้าที่ประชุม โดยเสนอให้มีการฝึกบินร่วมกัน ซ่ึงประเทศไทยควรเป็นผู้นํา ในประเด็นดังกล่าว ท่ีผ่านมาการซ้อมรบระหว่างประเทศสมาชิกเป็นความร่วมมือในลักษณะทวิภาคี อาทิเช่น การซ้อมรบระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ รวมถึงมีการลาดตระเวนของแต่ละประเทศ ท้ังประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยแต่ละประเทศจะลาดตระเวนในน่านนํ้า ของตนเป็นการเคารพสิทธิซ่ึงกันและกัน ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนมองว่าประเทศไทยมี บทบาทการเป็นผู้นําลดน้อยลงมาก อย่างไรก็ตาม ประเทศอาเซียนบางประเทศยังคงเช่ือในศักยภาพ ของประเทศไทยทจ่ี ะก้าวขน้ึ มามบี ทบาทเพม่ิ ขึ้น ในประเด็นการเสริมสร้างกองทัพด้วยการจัดหายุทโธปกรณ์ ประเทศในอาเซียนมีการ ดําเนินการในการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ถึงแม้จะมีการปฏิเสธว่าการจัดหาอาวุธเป็นไปเพ่ือการรองรับ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ หรือเพ่ือชดเชยกับการขาดการพัฒนากองทัพในช่วงที่ประเทศต่างๆ เผชิญ วิกฤติเศรษฐกิจ เม่ือช่วงหลายปีท่ีผ่านมาประเทศต่างๆ มีการจัดหาเรือรบ เรือดํานํ้าและเครื่องบินรบ สมรรถนะและราคาสูงจํานวนมาก เช่น มาเลเซียจัดหาเรือดํานํ้าดีเซลชั้น SCORPENE สองลําและเรือ ดําน้ําใช้แล้ว AGOSTA 70 B อีก 1 ลํา มูลค่ารวมไม่ต่ํากว่า 990 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ สิงคโปร์มีการจัดหาเรือดํานํ้าช้ัน Vastergotland – class (A 17) จํานวน 2 ลํา และเรือดําน้ํามือสอง อีก 4 ลํา ส่วนเวียดนาม อินโดนีเซียและไทยต่างก็มีแผนที่จะจัดหาเรือดําน้ําเช่นกัน ส่วนเมียนมาร์ กําลังซื้อเคร่ืองบินขับไล่ แบบ MiG-29 จํานวน 20 ลําจากรัสเซียเป็นเงิน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะประเทศไทยมีการจัดหาฝูงบินขับไล่เข้าประจําการจากสวีเดน ดังน้ันจึงกล่าวได้ว่าสถานการณ์ การเสริมสร้างกองทัพของประเทศในอาเซียนมีนัยแห่งการถ่วงดุลระหว่างกันด้วย (กิตติพงษ์ จันทรส์ มบูรณ,์ ม.ป.ป.) ปญั หาเขตแดน : ยังเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขและหาวิธีการระงับข้อพิพาทด้วยสันติวิธี ปัจจุบัน ประเทศในอาเซียนยังมีแนวโน้มการใช้กําลังรบเข้าแก้ปัญหาแม้ว่าจะไม่รุนแรงก็ตาม อย่างเช่น กรณี

43 ประเทศมาเลเซียกับประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทยซ่ึงมีพรมแดนติดกับหลายประเทศ ยังคงมี ปญั หาเขตแดนกับประเทศเพ่อื นบ้านทงั้ ประเทศพมา่ กัมพชู า และลาว เปน็ ต้น ศ.ดร.สุรเกียรต์ิ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ แสดงความคิดเห็นเรื่องของปัญหาเขตแดนว่า ควรเร่งแก้ปัญหาเขตแดนและฟ้ืนฟู ความสัมพันธ์กอ่ นเขา้ สู่ประชาคมอาเซียน ซ่งึ ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขตแดนเป็นเรื่องท่ีชาติตะวันตก เป็นผู้กําหนดขึ้น ดังน้ัน ประเทศไทยควรปรับมุมมองใหม่และก้าวข้ามปัญหาดังกล่าวในบางจุด ไม่เช่นน้ันจะไม่สามารถสร้างเขตเศรษฐกิจชายแดนได้ เพราะหากเข้มงวดเรื่องปัญหาเขตแดนก็จะทํา ให้ประเทศไทยตอ้ งทะเลาะกบั ประเทศเพอ่ื นบา้ นในทกุ จดุ ฉะนั้น ทางออกเรื่องเขตแดนจึงมีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1) หากตกลงได้ก็ควรจัดการให้เสร็จสิ้น 2) หากตกลงไม่ได้อาจปล่อยให้เรื่องดังกล่าวดํารงต่อไปเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3) หากตกลงไม่ได้เน่ืองจากเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ควรขอความเห็นจากคนในประเทศและใช้แนวทาง กฎหมายระหว่างประเทศแก้ปัญหาควบคู่กัน เพราะการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ เพื่อนบ้านควรเป็นเป้าหมายของไทยเพ่ือส่งเสริมให้ก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างม่ันคง (ศูนย์ข่าว อารเ์ อสยนู ิวส์, 2555 : 1-2) ภัยคกุ คามรปู แบบใหม/่ ภัยด้านความม่ันคงนอกรูปแบบ : ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อย่างเช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยธรรมชาติ เป็นประเด็นหลักที่ได้รับการมองว่าเป็นปัจจัย สําคัญที่สามารถดึงเอาประเทศสมาชิกต่างๆ ของอาเซียนยอมเข้ามาร่วมมือกัน เพ่ือก่อให้เกิด ประชาคมในด้านการเมืองและความม่ันคงอาเซียนได้ เพราะภัยดังกล่าวถือว่าเป็นภัยที่แต่ละประเทศ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองได้เพียงลําพัง ซึ่งจะเป็นการบังคับกลายๆ ให้แต่ละประเทศ จําเป็นต้องร่วมมือกันแบบพหุภาคี และเป็นจุดเริ่มให้แต่ละประเทศเรียนรู้ท่ีจะสละอํานาจอธิปไตย ของตนบางส่วนเพ่ือผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาค (พรพล น้อยธรรมราช, ม.ป.ป.) ทั้งน้ี นักวิชาการ และองค์กรที่เก่ียวขอ้ งได้แสดงความเหน็ ในเร่อื งภัยคกุ คามรูปแบบใหม่ไว้นา่ สนใจ ดังน้ี อาชญากรรมข้ามชาติ ถือว่าเป็นส่วนหน่ึงของภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ปัจจุบัน อาชญากรรม ขา้ มชาติมคี วามซับซ้อนมากขึ้นกว่าเม่ือก่อนมาก เนื่องจากมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการส่ือสาร และคมนาคม ทําให้อาชญากรรมขา้ มชาติยกระดับเป็นปัญหาระดับโลก ย่ิงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจใน ปัจจุบันน้ันยกระดับจากเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก ส่งผลให้ เกิดการแก้กฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ ให้อ่อนตัวเพื่อเอื้อกับการค้าและแรงงานระหว่างประเทศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook