Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Published by sampaom, 2022-11-16 08:26:02

Description: ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Search

Read the Text Version

19 ชดุ วิชาการเงนิ เพอื่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน้

20 ชดุ วิชา การเงนิ เพอื่ ชวี ิต 2 (สค22016) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) รายวชิ าเลอื กบังคับ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น หลกั สตู รการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 สำนกั งานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั สำนักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

21 คำนำ ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 สค22016 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) ใช้กับผู้เรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ชุดนี้ประกอบด้วยเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับว่าด้วยเรื่องของเงิน การวางแผน การเงิน สนิ เชอื่ สทิ ธิและหน้าทีข่ องผู้ใชบ้ ริการทางการเงิน และภยั ทางการเงิน ซง่ึ เนื้อหาความรู้ ดังกล่าว มีวัตถปุ ระสงค์เพื่อให้ผู้เรยี น กศน. มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และตระหนักถงึ ความ จำเป็นของการเงนิ เพ่ือชวี ติ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอขอบคุณธนาคาร แห่งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนองค์ความรู้ประกอบการนำเสนอเนื้อหา รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ในการจัดทำชุดวิชา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดวิชานี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน กศน. และนำไปสู่ การเงนิ เพ่ือชวี ิตอย่างเหน็ คุณค่าตอ่ ไป สำนักงาน กศน. พฤศจิกายน 2564 ชดุ วิชาการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น

22 คำแนะนำการใชช้ ุดวชิ า ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 รหัสวิชา สค22016 ใช้สำหรับผู้เรียนหลักสูตร การศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ แบ่งออกเปน็ 2 สว่ น คือ ส่วนท่ี 1 โครงสร้างของชุดวิชา แบบทดสอบก่อนเรยี น โครงสร้างของหน่วยการ เรยี นรู้ เนอ้ื หาสาระ กิจกรรมเรยี งลำดับตามหน่วยการเรียนรู้ และแบบทดสอบหลงั เรยี น ส่วนท่ี 2 เฉลยแบบทดสอบและกิจกรรม ประกอบด้วย เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เฉลยกิจกรรมเรียงลำดบั ตามหนว่ ยการเรียนรู้ วธิ กี ารใช้ชดุ วิชา ใหผ้ เู้ รียนดำเนินการตามขัน้ ตอน ดังนี้ 1. ศึกษารายละเอียดโครงสร้างชุดวิชาโดยละเอียด เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียน ตอ้ งเรียนรู้เนือ้ หาในเรอ่ื งใดบ้างในรายวิชานี้ 2. วางแผนเพื่อกำหนดระยะเวลาและจัดเวลาที่ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะ ศึกษาชุดวิชาเพื่อให้สามารถศึกษารายละเอียดของเนื้อหาได้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ พร้อมทำ กิจกรรมตามทก่ี ำหนดใหท้ ันกอ่ นสอบปลายภาค 3. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนของชุดวิชาตามที่กำหนด เพื่อทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน โดยให้ทำลงในสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบคำตอบจาก เฉลยแบบทดสอบเฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเลม่ 4. ศึกษาเนื้อหาในชุดวิชาในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างละเอียดให้เข้าใจ ท้งั ในชุดวชิ าและสอ่ื ประกอบ (ถา้ ม)ี และทำกจิ กรรมทกี่ ำหนดไวใ้ หค้ รบถว้ น 5. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแต่ละกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนสามารถตรวจสอบ คำตอบได้จากเฉลย/แนวตอบ ท้ายเล่ม หากผู้เรียนยังทำกิจกรรมไม่ถูกต้องให้ผู้เรียนกลับไป ทบทวนเนอ้ื หาสาระ ในเรอ่ื งน้นั ซำ้ จนกวา่ จะเขา้ ใจ 6. เมื่อศึกษาเนื้อหาสาระครบทุกหน่วยการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนทำ แบบทดสอบหลังเรียนและตรวจคำตอบจากเฉลยท้ายเล่มว่าผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบได้ ถูกต้องทุกข้อหรือไม่ หากข้อใดยังไม่ถูกต้อง ให้ผู้เรียนกลับไปทบทวนเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่ง ผู้เรียนควรทำแบบทดสอบหลังเรียนให้ได้คะแนนมากกว่าแบบทดสอบ ชุดวิชาการเงินเพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น

23 ก่อนเรียน และควรได้คะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของแบบทดสอบทั้งหมด (หรือ 24 ข้อ) เพ่ือให้ม่นั ใจว่าจะสามารถสอบปลายภาคผ่าน 7. หากนักศึกษาได้ทำการศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมแล้วยังไม่เข้าใจ ผเู้ รยี นสามารถสอบถามและขอคำแนะนำได้จากครหู รือแหล่งค้นควา้ เพิ่มเติมอืน่ ๆ หมายเหตุ : การทำแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน และทำกิจกรรมท้ายเรื่อง ให้ทำและ บันทกึ ลงในสมุดบันทกึ กจิ กรรมการเรยี นร้ปู ระกอบชดุ วชิ า การศกึ ษาค้นคว้าเพ่ิมเติม ผู้เรียนอาจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ศูนย์คุ้มครอง ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร.1213, เว็บไซต์ : www.1213.or.th , เฟสบุ๊ค : www.facebook.com/hotline1213 การศึกษาจากอินเทอร์เน็ต พิพิธภัณฑ์ นทิ รรศการ หน่วยงานทเ่ี ก่ียวขอ้ งกับการเงินการธนาคาร การศกึ ษาจากผรู้ ู้ เป็นตน้ การวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ผเู้ รียนตอ้ งวดั ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี น ดังนี้ 1. ระหวา่ งภาค วัดผลจากการทำกจิ กรรมหรืองานท่ีไดร้ บั มอบหมายระหว่างเรียน รายบคุ คล 2. ปลายภาค วดั ผลจากการทำข้อสอบวดั ผลสมั ฤทธป์ิ ลายภาค ชดุ วิชาการเงินเพ่ือชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

24 โครงสรา้ งชดุ วชิ า สาระการเรยี นรู้ สาระการพฒั นาสังคม มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนังถงึ ความสำคญั เกี่ยวกบั ภมู ิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชวี ติ มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ มีความรู้ ความเขา้ ใจ ตระหนกั เก่ียวกับภมู ิศาสตร์ ประวตั ิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครองในทอ้ งถิน่ ประเทศ นำมาปรับใช้ในการดำเนินชวี ิตและการประกอบ อาชพี เพ่ือความมน่ั คงของชาติ ผลการเรียนรู้ทคี่ าดหวัง - อธิบายขอ้ มลู เกี่ยวกบั เรอ่ื งการเงินได้อย่างถกู ต้อง - วิเคราะห์ เปรียบเทียบ การชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ตลอดจนบัญชีเงินฝาก ประเภทตา่ ง ๆ และเลือกใชไ้ ดอ้ ยา่ งเหมาะสม - คำนวณอัตราแลกเปลยี่ นเงนิ ตราต่างประเทศ และดอกเบ้ียบญั ชเี งินฝากได้ - ประยุกต์ใช้และเลือกใช้ความรู้ทางการเงินมากำหนดเป้าหมายมาออกแบบวางแผน การเงนิ ของตนเองได้อยา่ งเหมาะสม - มีความรับผิดชอบต่อการใช้จ่าย จัดการการเงินได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ตระหนักถึง สทิ ธิและหนา้ ทีท่ างการเงิน ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น

25 สาระสำคัญ เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน เนื่องจากเป็นสื่อกลางที่ใช้ สำหรับแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น “เงนิ ” ยงั เปน็ ปจั จยั สำคญั สำหรับการลงทนุ เพ่ือเพิ่มพูนรายได้ อย่างไรก็ตาม ในปจั จุบันนี้สภาพ สังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีวิธีทางการเงินใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้นอย่าง หลากหลาย เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม การทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ ทางอนิ เทอร์เน็ต การลงทนุ ทางการเงนิ ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น และเมื่อมกี ารพฒั นาทางการเงิน เพิ่มขึ้น ภัยทางการเงินก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น เงินกู้นอกระบบ แชร์ลูกโซ่ ภัยการเงิน ออนไลน์ เป็นต้น จึงต้องพัฒนาทักษะความสามารถด้านการเงินให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถออกแบบวางแผน และตัดสินใจทางการเงิน ตลอดจนหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงภัยทาง การเงิน อันเปน็ ประโยชน์ตอ่ การดำรงชวี ิตในปจั จุบัน ขอบขา่ ยเนือ้ หา หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 1. ว่าด้วยเร่ืองของเงนิ 2. การวางแผนการเงิน 3. สินเชอื่ 4. สทิ ธแิ ละหนา้ ท่ขี องผูใ้ ช้บรกิ ารทางการเงิน 5. ภยั ทางการเงนิ ส่ือประกอบการเรยี นรู้ 1. ชุดวชิ า 2. สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดวชิ า 3. ส่อื เสรมิ การเรียนรู้อืน่ ๆ จำนวนหนว่ ยกติ 3 หน่วยกติ (120 ชวั่ โมง) ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

26 กิจกรรมเรียนรู้ 1. ทำแบบทดสอบกอ่ นเรียน ตรวจสอบคำตอบจากเฉลยท้ายเลม่ 2. ศึกษาเน้อื หาสาระในหนว่ ยการเรียนรูท้ ุกหนว่ ย 3. ทำกจิ กรรมตามทกี่ ำหนด และตรวจสอบคำตอบจากเฉลยท้ายเลม่ 4. ทำแบบทดสอบหลงั เรียน และตรวจสอบคำตอบจากเฉลยท้ายเลม่ การประเมนิ ผล 1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน – หลงั เรยี น 2. ทำกจิ กรรมในแตล่ ะหนว่ ยการเรยี นรู้ 3. เขา้ รบั การทดสอบปลายภาค ชดุ วิชาการเงนิ เพอื่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้

สารบัญ 27 คำนำ หนา้ คำแนะนำการใช้ชดุ วชิ า โครงสรา้ งชุดวชิ า 1 สารบัญ 4 หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรอื่ งของเงิน 11 29 เรอื่ งที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกบั เงนิ 38 เร่อื งที่ 2 ประเภทของเงนิ 40 เรื่องท่ี 3 การชำระเงินทางอิเลก็ ทรอนิกส์ 43 หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 การวางแผนการเงนิ 57 เรื่องที่ 1 การวางแผนการเงิน 63 เรอ่ื งท่ี 2 การประเมนิ ฐานะการเงนิ 71 เรื่องที่ 3 การต้ังเป้าหมายและจัดทำแผนการเงนิ 107 เร่ืองที่ 4 การออม 109 เรื่องที่ 5 การฝากเงนิ และการประกนั ภัย หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 3 สนิ เชื่อ 112 เรื่องที่ 1 การประเมนิ ความเหมาะสมกอ่ นตดั สินใจก่อหน้ี 131 เรอื่ งที่ 2 ลกั ษณะของสินเช่อื ประเภทตา่ ง ๆ 136 138 และการคำนวณดอกเบี้ย 144 เรื่องท่ี 3 เครดิตบูโร เรอ่ื งท่ี 4 วิธกี ารป้องกันปัญหาหน้ี เรื่องท่ี 5 วิธีการแกไ้ ขปัญหาหน้ี เรื่องท่ี 6 หนว่ ยงานท่ีให้คำปรกึ ษาเก่ียวกบั วิธีการแก้ไขปญั หาหนี้ ชดุ วิชาการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

สารบัญ (ตอ่ ) 28 หนา้ หนว่ ยการเรยี นร้ทู ่ี 4 สทิ ธิและหน้าทขี่ องผใู้ ชบ้ รกิ ารทางการเงิน 148 เรื่องท่ี 1 สิทธขิ องผใู้ ช้บริการทางการเงนิ 150 เรอ่ื งท่ี 2 หนา้ ที่ของผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน 152 เรอ่ื งที่ 3 ผู้ให้บรกิ ารทางการเงินในประเทศไทย 154 เรอ่ื งที่ 4 การคมุ้ ครองผ้ใู ช้บริการทางการเงนิ ของธนาคารแห่งประเทศไทย และหนว่ ยงานท่รี บั เรอื่ งร้องเรียนอ่ืน ๆ 162 เรื่องที่ 5 ขั้นตอนการรอ้ งเรียนและหลักการเขยี นหนงั สอื ร้องเรยี น 168 173 หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 5 ภัยการเงนิ 175 เรอ่ื งท่ี 1 หนีน้ อกระบบ 179 เรอ่ื งท่ี 2 แชรล์ ูกโซ่ 183 เรื่องท่ี 3 ภยั ใกล้ตวั 186 เร่ืองที่ 4 แก๊งคอลเซนเตอร์ 190 เรอ่ื งท่ี 5 ภัยออนไลน์ 199 เรอ่ื งที่ 6 ภยั ธนาคารออนไลน์ 207 เรอื่ งท่ี 7 ภัยบตั รอิเลก็ ทรอนิกส์ 210 211 เฉลยแบบทดสอบกอ่ นเรียน-หลงั เรยี น 262 เฉลย/แนวตอบกิจกรรมทา้ ยเร่อื ง 265 บรรณานุกรม คณะผจู้ ัดทำ ชดุ วชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

1 หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรอ่ื งของเงิน สาระสำคญั เงินเป็นสื่อกลางในการใช้แลกเปลี่ยนเพื่อซื้อหาสิ่งของหรือบริการเพื่อให้ สามารถดำรงชีพ โดยในประเทศไทยใชส้ กลุ เงินบาท อย่างไรกด็ ี หากตอ้ งเดินทางหรอื ทำการค้า ทต่ี า่ งประเทศ ก็จะต้องเข้าไปเกี่ยวขอ้ งกับเงินตราของประเทศอื่น ๆ ดว้ ย ซึง่ ค่าของเงินในแตล่ ะ ประเทศจะไม่เท่ากัน จึงต้องมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นเพื่อเทียบราคาของเงินตรา ประเทศหนึ่งกับเงนิ ตราของอีกประเทศหนง่ึ อย่างไรก็ดี ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจจะต้องไม่มากหรือน้อย เกินไป เพราะถ้ามากเกินไปอาจเป็นสาเหตุหนึง่ ที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของราคาแพง แต่ ถ้าน้อยเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเงินฝืด เศรษฐกิจชะลอตัว จึงเป็นหน้าที่หลักของธนาคารกลาง ท่ีต้องเขา้ มาดูแลให้ปริมาณเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยในกรณขี องประเทศไทยเป็นบทบาท หนา้ ท่ขี องธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงกช์ าติ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการดูแลปริมาณเงินให้ เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจหรือที่เราเรียกวา่ การดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อรักษาระดับเงินเฟ้อ ให้เหมาะสมอันจะทำให้เศรษฐกิจมีความมัน่ คงและเติบโตอย่างยั่งยืน อัตราแลกเปลีย่ นเงินตรา ต่างประเทศไม่ผันผวนมากเกินไปจนกระทบตอ่ การดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ในการ บริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ การดูแลความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน การเป็นนาย ธนาคารของรฐั บาล รวมทั้งการพัฒนาและเป็นผู้ใหบ้ ริการในระบบการชำระเงนิ ระบบการชำระเงินมีความสำคัญในฐานะเป็นกลไกที่ช่วยให้กิจกรรมทาง เศรษฐกิจและการเงิน เช่น การซื้อขาย ดำเนินไปอย่างราบรื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ พฒั นาระบบการชำระเงนิ อิเล็กทรอนกิ ส์ โดยมวี ัตถุประสงคใ์ หร้ ะบบการชำระเงินของประเทศมี ประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีความมั่นคง ปลอดภัย ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม เช่น ชุดวิชาการเงินเพื่อชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 วา่ ดว้ ยเร่อื งของเงนิ

2 การชำระเงินออนไลน์ รวมทั้งบริการพร้อมเพย์ และ QR code ที่ทำให้การโอนเงิน ชำระเงิน เปน็ เรอ่ื งง่าย ไม่ตอ้ งเสยี เวลาเดินทางไปทำธุรกรรมทีธ่ นาคาร ตัวช้ีวดั 1. อธิบายความหมายของเงนิ 2. บอกหนา้ ทขี่ องเงนิ ตอ่ ระบบเศรษฐกิจ 3. บอกความหมายของเงินเฟ้อ เงนิ ฝดื 4. บอกบทบาทและหนา้ ที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย 5. อธิบายวิธีการตรวจสอบธนบตั ร 6. บอกชนิดราคาเหรียญกษาปณ์หมนุ เวียน 7. คำนวณอัตราแลกเปล่ียนเงนิ ตราตา่ งประเทศ 8. บอกช่องทางการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 9. บอกความหมายและประโยชนข์ องการชำระเงนิ ทางอิเล็กทรอนกิ ส์ 10. อธบิ ายความแตกตา่ งระหวา่ ง บตั รเดบติ และบตั รเครดติ 11. รวู้ ิธกี ารใชง้ านสื่อการชำระเงินทางอิเลก็ ทรอนิกสอ์ ย่างปลอดภยั ขอบขา่ ยเนอื้ หา เรือ่ งท่ี 1 ความรู้เบ้อื งต้นเกย่ี วกับเงนิ เรือ่ งที่ 2 ประเภทของเงิน เรือ่ งท่ี 3 การชำระเงินทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรูท้ ่ี 1 ว่าดว้ ยเรื่องของเงิน

3 สอ่ื การเรยี นรู้ 1. ชุดวชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 2. เวบ็ ไซต์ธนาคารแหง่ ประเทศไทย (ธปท.): www.bot.or.th 3. เวบ็ ไซต์ศูนย์คุ้มครองผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงนิ (ศคง.): www.1213.or.th 4. เวบ็ ไซตส์ ำนกั กษาปณ:์ www.royalthaimint.net เวลาท่ีใชใ้ นการศกึ ษา 18 ชว่ั โมง ชุดวชิ าการเงนิ เพอื่ ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 1 วา่ ดว้ ยเรื่องของเงิน

4 เรอ่ื งที่ 1 ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกบั เงนิ ในอดีตที่ยังไม่ได้ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เมื่อต้องการแลกเปลี่ยน สิ่งของระหว่างกัน ก็จะนำสิ่งของนั้นมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง หรือเรียกว่าระบบการ แลกเปลีย่ นของตอ่ ของ (barter system) เชน่ ไก่ 1 ตวั แลกกบั ข้าวสาร 1 ถงุ ปลา 10 ตัว แลก กับถ้วย 3 ใบ การแลกเปลี่ยนแบบนี้แม้ว่าจะดูง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่ก็มักเกิดปัญหา เช่น ถ้าความต้องการสิ่งของไม่ตรงกันก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ไม่มีมาตรฐานในการวัดมูลค่า สิ่งของบางอย่างไม่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ ประกอบกับสังคมขยายใหญ่ขึ้นทำให้ความ ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมีมากขึ้น จึงได้มีการกำหนดสื่อกลางในการ แลกเปลี่ยนที่เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น เปลือกหอย หนังสัตว์ และมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทง่ั เปล่ียนมาใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สำหรับประเทศไทย ตัวอย่างสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในระยะแรก ๆ คือ หอย เบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และมีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ จนถึงในปจั จุบันท่ีใช้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ อย่างไรกด็ ี เงินอาจไม่ไดจ้ ำกัดอยู่ในรูปธนบัตร และเหรียญกษาปณ์เท่าน้ัน แต่อาจอยู่ในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก เช่น เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) หรืออาจมีชื่อเรียกอื่น เช่น e-Wallet, e-Purse แม้จะมีชื่อต่างกันแต่ลักษณะที่ เหมือนกันคือเงินจะถูกบันทึกอยู่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของบัตรหรือเครือข่าย คอมพวิ เตอร์ หน้าท่ขี องเงิน กลา่ วได้ว่าเงนิ มหี นา้ ท่สี ำคญั ในทางเศรษฐกจิ 4 ประการ คือ 1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อกับ ผู้ขาย ช่วยให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีกิจกรรม ทางเศรษฐกจิ มากข้ึน ชุดวชิ าการเงินเพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 วา่ ดว้ ยเรอื่ งของเงนิ

5 2. เป็นมาตรฐานการวัดมูลค่า โดยการเทียบค่าสิ่งของ สินค้าหรือบริการ ออกมาเป็นหน่วยเงินตรา หรือที่เรียกว่า ราคา เช่น ข้าวสารกิโลกรัมละ 50 บาท น้ำดื่มขวดละ 10 บาท กว๋ ยเตี๋ยวชามละ 35 บาท 3. สามารถนำมาชำระหนี้ได้ในอนาคต เมื่อสังคมขยายตัวมากขึ้นจึงเกิด กจิ กรรมการซอ้ื ขายแลกเปลี่ยนมากขึ้น บางคร้ังมีการซอื้ ขายด้วยเงินเชอื่ ซ่ึงเปน็ การเลื่อนชำระ เงินออกไปในอนาคต เงินจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ระหว่าง เจา้ หนก้ี บั ลูกหน้ี หรือระหวา่ งผู้ซือ้ กบั ผู้ขายนนั่ เอง 4. เป็นเครื่องรักษามูลค่า หรือมีค่าในตัวเอง เช่น เมื่อเราเก็บออมเงินไว้และ เมอ่ื ระยะเวลาผ่านไป เงนิ กย็ ังมีค่าสามารถใช้ซ้อื สิ่งของหรือบริการได้ แต่หากเก็บไว้ในรูปแบบอื่น เช่น เมล็ดพืช หนังสัตว์ ของสิ่งนั้นอาจเน่าเสีย ผุพัง มูลค่าอาจลดลงหรืออาจไม่สามารถใช้ซ้ือ สนิ คา้ ได้ เงนิ เฟอ้ เงนิ ฝดื ระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทำให้มูลค่าของเงินที่เรามีอยู่ (หรือที่ เรียกว่าอำนาจซอื้ ) เพมิ่ หรอื ลดตามไปด้วย ซง่ึ แบง่ ไดเ้ ปน็ 2 กรณี คอื เงนิ เฟอ้ และเงินฝืด โดยมี ความหมายดังนี้ เงนิ เฟ้อ หมายถงึ ภาวะท่ีระดับราคาสินค้าโดยทัว่ ไปเพ่ิมสูงขึ้นต่อเนื่อง หรือพูด ง่าย ๆ ว่าเป็นภาวะที่ข้าวของแพงข้ึนไปเรือ่ ย ๆ ลองเปรียบเทยี บราคาก๋วยเตี๋ยวในปจั จุบนั เม่อื 10 ปีที่แล้ว และอีก 10 ปีข้างหน้า ในวันนี้เราอาจซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ในราคาชามละ 40 บาท เมื่อ 10 ปีก่อน เงนิ 40 บาท อาจซือ้ กว๋ ยเตี๋ยวได้ถึง 2 ชาม แต่ในอีก 10 ปขี า้ งหนา้ อาจจะซ้ือก๋วยเตี๋ยว ไม่ได้สักชามก็เป็นไปได้ นั่นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เงินเฟ้อทำให้เงินในกระเป๋าสตางค์ของ เราที่มีอยู่เท่าเดิมแต่กลับมีค่าลดลง เพราะซื้อของได้น้อยลง หรืออาจต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อให้ สามารถซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิม หรือที่เรียกว่า “มูลค่าของเงนิ ” หรือ “อำนาจซื้อ” ของเรา ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนั่นเอง อย่างไรก็ดี เงินเฟ้ออาจเกิดจากความต้องการบริโภค หรือการ ลงทุนที่มากเกินไปจนเกินกำลังการผลิตที่มี หรือเกิดจากการคาดการณ์ของประชาชนว่าราคา ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 1 ว่าดว้ ยเรื่องของเงิน

6 สินค้ามีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จึงเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยหรือกักตุนสินค้าส่งผลให้ราคาสินค้า สงู ข้นึ อยา่ งต่อเนอ่ื ง ในภาวะที่ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ คือ เงินฝืด หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้า โดยทั่วไปลดต่ำลงเรื่อย ๆ หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นภาวะที่ข้าวของมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะ เป็นเรื่องที่ดีหากข้าวของถูกลงเพราะต้นทุนถูกลง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้ เทคโนโลยีทันสมัย และการพัฒนาระบบการขนส่ง แต่หากราคาสินค้าลดลงเกิดจากภาวะ เศรษฐกิจไม่ดี ตลอดจนการคาดการณ์ของประชาชนว่าในอนาคตเศรษฐกิจจะไม่ดี ทำให้ ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ลดการลงทุนและลดการบริโภคลง ส่งผลให้สินค้าที่ผลิต ออกมาขายไม่ได้ กระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการจ้างงาน หรือหากข้าวของถูกลง เพราะบริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้าออกมาขายมากเกินกว่าความต้องการซื้อของประชาชน บริษัท อาจจำเปน็ ตอ้ งลดราคาสนิ ค้าลงเพ่ือให้ขายไดห้ มด หรือไมก่ ็ตอ้ งลดการผลติ ลงเพราะว่าถ้าผลิต ออกมาเทา่ เดิมกข็ ายได้ไม่หมด ผลทตี่ ามมาก็คือ การจา้ งงานจะลดลงตามไปดว้ ย ชุดวชิ าการเงนิ เพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 ว่าด้วยเรื่องของเงนิ

7 จะเห็นได้ว่าทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางที่ต้องเข้ามาดูแลและดำเนินนโยบาย การเงนิ เพื่อลดผลกระทบทางลบทเี่ กิดจากปจั จยั ดังกลา่ ว กรณีตวั อยา่ งวกิ ฤตการณ์ “เงนิ เฟอ้ ” ข้นั รนุ แรงของประเทศซมิ บบั เว ปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรงของประเทศซิมบับเวเริ่มจากเศรษฐกิจถดถอย ต้องกู้ เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อแก้ไขปัญหา นอกจากนั้น แนวทางการ บรหิ ารงานท่ีผดิ พลาดของรัฐบาลในการสั่งพิมพ์เงินเพ่ือชำระหนี้ IMF และใช้จ่ายภายในประเทศ ทำให้ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีมากเกินกว่าสินค้าหรือบริการในประเทศ ส่งผลให้ราคาสินค้าสงู ข้ึนอย่างต่อเนื่องหรอื เงนิ มีค่านอ้ ยลง เกิดการกักตนุ สินค้าและลักลอบซ้ือ ขายสินค้าในตลาดมืดเกินกว่าราคาที่กำหนด ซึ่งมีรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อเคยสูงถึงหลักล้าน เปอรเ์ ซ็นตต์ อ่ ปี จนในท่ีสดุ รฐั บาลตอ้ งประกาศยกเลกิ การใช้เงนิ ดอลลารซ์ มิ บับเว และเปล่ียนไป ใช้เงนิ ตราสกุลตา่ งประเทศแทน จนกวา่ เงินเฟอ้ จะเขา้ สรู่ ะดับท่ียอมรับได้ จากกรณีตัวอย่างของประเทศซิมบับเว ภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงจะส่งผลเสียต่อ ระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรง จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางที่ต้องเข้ามาดูแล ระบบเศรษฐกิจไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืดจนทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความกนิ ดอี ยดู่ ีของประชาชน บทบาทหน้าท่ีของธนาคารแหง่ ประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย มีบทบาทหน้าท่ีสำคัญในการดำเนินโยบายการเงิน เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีความม่ันคงและ เติบโตอยา่ งย่งั ยนื โดยมีหนา้ ที่โดยสังเขปดังนี้ 1. ดูแลเงนิ เฟ้อและกำหนดดอกเบีย้ นโยบาย ดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมายที่กำหนด หรือที่เรียกว่านโยบาย การเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) การควบคุมปริมาณเงินให้ เหมาะสมจะดำเนินการได้โดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (policy rate) หรืออัตราดอกเบี้ย ชดุ วชิ าการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 ว่าด้วยเรือ่ งของเงนิ

8 ธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรระยะเวลา 1 วันเป็นเครื่องมือ มีกระบวนการดำเนินงานที่ชัดเจน โปร่งใสและนา่ เชือ่ ถือ ซึ่งมีการประกาศเป้าหมายอัตราเงนิ เฟอ้ ให้สาธารณชนทราบโดยเปิดเผย และมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณาปรับอัตราดอกเบีย้ นโยบาย โดยจะ มกี ารสอ่ื สารใหป้ ระชาชนเข้าใจเหตุผลในการข้นึ หรือลดอัตราดอกเบี้ยแต่ละครง้ั ด้วย 2. ดแู ลอัตราแลกเปลย่ี น ใชน้ โยบายอตั ราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจดั การ ซึง่ จะไมก่ ำหนดอัตรา แลกเปลี่ยน ณ ค่าใดค่าหนึ่ง แต่จะดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวผันผวนมากเกินไป เพราะจะนำไปสู่ความไม่สมดลุ ทางเศรษฐกิจ แต่กรณีที่เห็นว่าค่าเงินบาทเคลือ่ นไหวบิดเบือนไป จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนผ่าน กลไกตลาดบา้ งเปน็ ครัง้ คราว 3. บรหิ ารเงินสำรองระหวา่ งประเทศ เงินสำรองระหว่างประเทศ หรือเงินสำรองทางการ คือ เงินตราหรือ สินทรัพย์ต่างประเทศ ที่มีไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงในการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และรักษา เสถียรภาพของระบบการเงนิ ของประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศว่า มีเงินตรา ตา่ งประเทศเพียงพอตอ่ ความต้องการภาคธุรกจิ และช่วยรองรบั ความเสี่ยงจากภาคต่างประเทศ โดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง หรือมีโอกาสที่จะมีเงินทุนไหลออกนอก ประเทศ ดังนั้น เงินสำรองระหว่างประเทศจึงทำหน้าที่เสมือนเป็น “กันชน” ให้กับ ระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนจากภายนอกเข้ามาสร้างผลกระทบต่อ ธุรกิจไทย 4. ดแู ลความมนั่ คงของระบบสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สาขาของธนาคารต่างประเทศ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ บริษัทบริหารสินทรัพย์ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเงินของประเทศ โดยทำหน้าท่จี ัดสรรเงนิ ทุนจากผทู้ ่มี เี งินออมไปยังผ้ทู ต่ี อ้ งการเงินทนุ ซึ่งจะ ชุดวิชาการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 1 วา่ ด้วยเรอ่ื งของเงนิ

9 ก่อให้เกิดการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของ ประเทศเจริญเติบโตและมีเสถียรภาพ ดังนั้น การกำกับดูแลให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ให้บริการแก่ประชาชนอย่างเหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีคณะกรรมการนโยบายสถาบัน การเงิน (กนส.) เปน็ ผ้พู ิจารณานโยบายเก่ยี วกับการกำกับและตรวจสอบสถาบนั การเงิน 5. พัฒนาระบบการชำระเงิน ระบบการชำระเงิน หมายถึง กระบวนการส่งมอบเงินเพื่อชำระเงนิ อันเป็น ผลมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ระหว่างผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน และตัวกลางระหว่างผู้รับและ ผู้จ่าย ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ธนาคารแห่ง ประเทศไทยจึงได้พัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เพื่อให้ระบบการชำระเงินของประเทศมี ประสทิ ธิภาพยิง่ ขน้ึ ซึง่ คณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) เป็นผ้กู ำหนดนโยบายชำระเงิน (สามารถศึกษารายละเอียดเพ่ิมเตมิ ไดจ้ ากเร่ืองที่ 3 หวั ขอ้ การชำระเงินทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์) 6. เปน็ นายธนาคารของรฐั บาล ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของรัฐบาล โดยมี อำนาจหน้าท่ีที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การเก็บรักษา เงิน หลักทรัพย์หรือของมีค่าอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ของรัฐบาล การเป็นตัวแทนของรัฐบาลใน การซื้อขายโลหะทองคำและเงิน การซื้อขายและโอนตั๋วแลกเงิน หลักทรัพย์และใบหุ้น นอกจากนั้น อาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยมีอำนาจกระทำการจัดจำหน่าย หลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของ รฐั วสิ าหกิจ สถาบันการเงนิ ทม่ี กี ฎหมายเฉพาะจัดต้ังขึน้ หรือหนว่ ยงานอืน่ ของรฐั 7. ผลติ และนำธนบตั รออกใช้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีสิทธิ์พิมพ์และออกใช้ธนบัตรในประเทศ ไทยแต่เพียงผู้เดียว โดยในส่วนของการจัดพิมพ์นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายาม ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 1 วา่ ด้วยเร่อื งของเงนิ

10 ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลงและ ลอกเลียนแบบ ทั้งวัสดุพมิ พ์ หมึกพิมพ์ ลวดลาย รวมทั้งมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพอย่าง ละเอยี ด ซ่งึ ทา่ นสามารถศึกษาเน้อื หาเพิม่ เติมไดจ้ ากเรอื่ งท่ี 2 ประเภทของเงิน หวั ข้อธนบัตร กจิ กรรมทา้ ยเรื่องท่ี 1 ความรูเ้ บ้อื งต้นเกี่ยวกับเงิน (ให้ผู้เรยี นไปทำกิจกรรมเรือ่ งท่ี 1 ท่สี มดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรยี นร)ู้ ชดุ วิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 1 วา่ ดว้ ยเร่ืองของเงิน

11 เร่อื งท่ี 2 ประเภทของเงิน เงนิ ตราไทย เงินตราที่ใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ โดยมรี ายละเอียดดังนี้ ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการธนบัตร ภายในประเทศทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การผลิตนำธนบัตรใหม่ออกใช้หมุนเวียนและทำลาย ธนบัตรเก่า รวมทั้งประเมินความต้องการใช้ธนบัตรใหม่ในแต่ละปีว่าควรจะผลิตธนบัตรชนิด ราคาใดออกมาจำนวนมากนอ้ ยเพยี งใด เพอื่ ให้เพียงพอตอ่ ความต้องการใช้จ่ายของประชาชนใน ประเทศ ซึ่งในแต่ละปีปริมาณการผลิตธนบัตรจะผันแปรไปตามความต้องการใช้ธนบัตรท่ี เพม่ิ ขน้ึ หรอื ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีสิทธ์ิพิมพ์และออกใช้ธนบัตรในประเทศไทย แต่เพียงผู้เดียว โดยปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 กำหนดไว้ว่าการนำ ธนบัตรออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสามารถทำได้ 2 กรณี คอื 1. แลกเปลยี่ นทันทีกบั ธนบตั รทอี่ อกใช้หมุนเวียนอยู่แล้วในมูลค่าที่เท่ากัน เช่น ธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท 10 ฉบับ มูลค่า 10,000 บาท แลกเปลี่ยนกับธนบัตรใหม่ชนิด ราคาเดียวกัน จำนวน 10 ฉบับ หรือแลกเปลี่ยนกับชนิดราคา 500 บาท จำนวน 20 ฉบับ เป็นต้น 2. แลกเปลี่ยนทันทีกับสินทรัพย์ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นทุนสำรองเงินตรา ในมลู ค่าที่เทา่ กนั เช่น นำทองคำมลู คา่ 100 ล้านบาท มาเข้าบัญชีทุนสำรองเงนิ ตรา แลกเปลยี่ น กบั ธนบตั รเพ่ือนำออกใชม้ ูลค่า 100 ล้านบาท เทา่ กนั ทำไมธนบตั รจงึ มีค่า การที่ธนบัตรได้รับความเชื่อถือและมีมูลค่าตามราคาที่ระบุไว้ได้นั้น เนื่องจาก กฎหมายกำหนดใหต้ ้องนำสินทรัพย์ เชน่ ทองคำ เงินตราตา่ งประเทศ และหลักทรัพยต์ า่ งประเทศ ชดุ วิชาการเงนิ เพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 1 ว่าด้วยเรอื่ งของเงิน

12 มาแลกเปลี่ยนเท่ากับจำนวนมูลค่าของธนบตั รที่จะนำออกใช้ ซึ่งสินทรัพย์ดังกลา่ วจะโอนเขา้ ไว้ ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลรักษาบัญชี และมีสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบเป็นประจำทุกปี ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าธนบัตรทุกฉบับ มีมูลค่า ตามราคาท่ตี ราไว้อยา่ งแทจ้ รงิ ธนบัตรทใี่ ชห้ มุนเวยี นในปัจจบุ นั นบั จากปี พ.ศ. 2445 ท่เี รมิ่ นำธนบัตรแบบแรกออกใช้ จนถงึ ปัจจุบันปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีธนบัตรออกใช้หมุนเวียนรวมจำนวน 17 แบบ โดยธนบัตรแบบปัจจุบัน คือ ธนบัตรแบบ 17 มี 5 ชนิดราคา ได้แก่ 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1000 บาท สำหรับธนบัตรที่เคยออกใช้ไปก่อนหน้า เช่น แบบ 15 แบบ 16 ก็ยังคงใช้ชำระหนี้ได้ตาม กฎหมาย แต่อาจพบได้น้อยลงเนื่องจากธนบัตรที่ครบอายุการใช้งานและเสื่อมสภาพ จะถูกนำ ออกจากระบบเพือ่ เข้าสูก่ ระบวนการทำลาย ขนาดมาตรฐานของธนบัตรแบบปจั จบุ ัน การกำหนดขนาดธนบัตรมุ่งเน้นถึงความสะดวกในการพกพาเป็นหลัก และเพื่อ ประโยชน์ต่อการสังเกตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาซึ่ง สามารถแยกแยะชนิดราคาธนบตั รด้วยการสัมผสั เทา่ นัน้ สำหรับธนบัตรแบบที่ใชใ้ นปจั จุบัน ได้ กำหนดให้ธนบัตรทุกชนิดราคามีความกว้างเท่ากัน คือ 72 มิลลิเมตร โดยมีความยาว ลดหลัน่ กันชนิดราคาละ 6 มิลลเิ มตร ชดุ วชิ าการเงนิ เพื่อชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 1 วา่ ด้วยเรอ่ื งของเงนิ

13 ลกั ษณะและขนาดธนบัตรแบบ 16 ลักษณะธนบัตรดา้ นหน้า ภาพประธาน : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระมหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฉลอง ลกั ษณะธนบตั รด้านหลัง พระองค์ครุยมหาจักรบี รมราชวงศ์ ขนาด วันประกาศออกใช้ ภาพประธาน : ภาพพระบรมราชานุสาวรียพ์ ่อขุนรามคำแหง วนั ออกใช้ มหาราช ภาพประกอบ : ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึก ลักษณะธนบัตรดา้ นหนา้ หลกั ท่ี 1 จารึกพอ่ ขุนรามคำแหง ภาพลายสอื ไทย ภาพทรง รับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพ ลักษณะธนบตั รดา้ นหลงั เคร่อื งสังคโลก ขนาด 72 x 138 มิลลิเมตร วนั ประกาศออกใช้ ลงวันท่ี 2 พฤศจิกายน 2555 วนั ออกใช้ วนั ท่ี 1 เมษายน 2556 ภาพประธาน : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระมหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฉลอง พระองค์ครุยมหาจักรบี รมราชวงศ์ ภาพประธาน : ภาพพระบรมราชานสุ าวรยี ์สมเดจ็ พระนเรศวร มหาราช ภาพประกอบ : ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวดั พระนครศรอี ยุธยา 72 x 144 มิลลิเมตร ลงวนั ท่ี 24 มิถุนายน 2554 วันท่ี 18 มกราคม 2555 ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 วา่ ด้วยเร่ืองของเงิน

ลักษณะธนบตั รด้านหน้า 14 ลกั ษณะธนบัตรด้านหลัง ภาพประธาน : พระบรมฉายาสาทิสลกั ษณ์พระบาทสมเด็จ พระมหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ในฉลอง ขนาด พระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันประกาศออกใช้ วันออกใช้ ภาพประธาน : ภาพพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ลักษณะธนบตั รด้านหน้า ภาพประกอบ : ภาพทรงเกลยี้ กล่อมให้ประชาชนรวมกำลัง กันต่อสู้กู้อิสรภาพ ภาพท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี ลกั ษณะธนบตั รดา้ นหลัง ภาพพระบรมราชานสุ าวรยี ์สมเด็จพระเจา้ ตากสินมหาราช ขนาด ทรงมา้ พระทน่ี ง่ั ออกศกึ และภาพปอ้ มวิไชยประสทิ ธิ์ วนั ประกาศออกใช้ 72 x 150 มิลลเิ มตร วนั ออกใช้ ลงวนั ท่ี 24 ธันวาคม 2557 วันท่ี 26 กุมภาพนั ธ์ 2558 ภาพประธาน : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฉลอง พระองค์ครุยมหาจกั รีบรมราชวงศ์ ภาพประธาน : ภาพพระบรมราชานสุ าวรีย์พระบาทสมเด็จ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช ภาพประกอบ : ภาพวัดพระเชตุพนวมิ ลมงั คลาราม และ ภาพปอ้ มพระสเุ มรุ 72 x 156 มิลลเิ มตร ลงวนั ที่ 27 ธนั วาคม 2556 วนั ท่ี 12 พฤษภาคม 2557 ชดุ วิชาการเงนิ เพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 1 ว่าด้วยเรือ่ งของเงิน

ลักษณะธนบัตรดา้ นหนา้ 15 ลกั ษณะธนบตั รด้านหลงั ภาพประธาน : พระบรมฉายาสาทสิ ลักษณ์พระบาทสมเด็จ ขนาด พระมหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ในฉลอง วนั ประกาศออกใช้ พระองค์ครยุ มหาจกั รบี รมราชวงศ์ วนั ออกใช้ ภาพประธาน : ภาพพระบรมรปู พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว ภาพประกอบ : ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวทรงม้าพระท่นี ั่ง ภาพพระทนี่ ั่ง อนันตสมาคม และภาพการเลิกทาส 72 x 162 มลิ ลิเมตร ลงวนั ท่ี 24 มถิ ุนายน 2558 วันท่ี 21 สงิ หาคม 2558 วธิ กี ารตรวจสอบธนบตั รแบบ 16 1. สมั ผัส 1.1 สัมผสั กระดาษธนบัตร ธนบัตรทำจากกระดาษชนิดพิเศษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก จงึ มีความแกรง่ ทนทาน ไมย่ ยุ่ ง่าย เมอื่ จบั สมั ผสั จะใหค้ วามรสู้ ึกแตกตา่ งจากกระดาษทั่วไป 1.2 ลวดลายเสน้ นนู สามารถสัมผัสความนูนที่ตัวอักษรคำว่า “รัฐบาลไทย” ตัวเลขอารบิก และตัวเลขไทยแจ้งชนิดราคาด้านหน้าธนบัตร และลวดลายเส้นนูนรูปดอกไม้ที่บริเวณมุมล่าง ด้านขวาของธนบัตรทุกชนิดราคา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาธนบัตรที่ประยุกต์มาจาก อักษรเบรลล์ เพ่ืออำนวยความสะดวกแกผ่ ูม้ ีความบกพร่องทางสายตา ชดุ วิชาการเงนิ เพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 1 วา่ ดว้ ยเรอ่ื งของเงิน

16 2. ยกสอ่ ง 2.1 ลายน้ำ ลายน้ำเกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตกระดาษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความ หนาและบางไม่เท่ากัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจึงมองเห็นภาพการไล่ระดบั ของแสงเงา และมีลายนำ้ โปร่งแสงพเิ ศษเปน็ ตวั เลขไทยตามชนดิ ราคาธนบตั ร ประดับควบคูล่ ายนำ้ พระบรม ฉายาสาทิสลกั ษณพ์ ระบาทสมเดจ็ พระมหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร 2.2 แถบสี ธนบัตรทุกชนิดราคามีแถบสีต่าง ๆ ตามชนิดราคาธนบัตรที่ฝังไว้ใน เนื้อกระดาษตามแนวตั้ง มีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหลังของธนบัตร เมื่อยกส่องดกู ับแสงสว่างจะเห็นเป็นเส้นตรงยาวต่อเนื่อง บนแถบมตี ัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง แจ้งชนิดราคาธนบัตรที่มองเห็นได้ทั้งสองด้าน และสามารถมองเห็นการเปลี่ยนสีของแถบนี้ เม่ือพลิกเอียงธนบัตรไปมา ชุดวชิ าการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงนิ

17 2.3 ภาพซ้อนทับ บริเวณมมุ บนด้านซ้ายของธนบตั ร มตี วั เลขอารบิกแจ้งชนดิ ราคาธนบัตรท่ี พิมพ์แยกไว้ในตำแหน่งตรงกันของด้านหน้าและด้านหลังธนบัตร จะมองเห็นเป็นตัวเลขท่ี สมบูรณ์เมอ่ื ยกธนบัตรสอ่ งกบั แสงสว่าง 2. พลกิ เอียง 3.1 หมึกพมิ พ์พิเศษสลบั สี เป็นจุดสังเกตสำหรับธนบัตรชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท เท่านั้น โดยให้สังเกตที่มุมล่างด้านซ้ายของธนบัตรเมื่อพลิกขอบล่างธนบัตรขึ้น ลายประดิษฐ์ สีทองจะเปลี่ยนเป็นสเี ขียว ชุดวชิ าการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 วา่ ด้วยเร่ืองของเงิน

18 3.2 แถบฟอยล์สามมติ ิ แถบฟอยล์สามมิติที่ผนึกอยู่บนด้านหน้าธนบัตรชนิดราคา 100 บาท 500 บาท และ 1000 บาท จะมองเห็นเป็นหลายมิติแตกต่างกันตามชนิดราคา และจะเปลี่ยนสี สะท้อนแสงวาววับ เมือ่ พลิกเอียงธนบัตรไปมา 3.3 ตวั เลขแฝง ในลายประดิษฐ์มุมล่างซ้ายของธนบัตรทุกชนิดราคาเมื่อยกธนบัตร เอียงเข้าหาแสงสว่างและมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตรในมุมที่เหมาะสม จะเหน็ ตวั เลขอารบกิ แจ้งชนิดราคาธนบตั รฉบบั นนั้ 4. ลกั ษณะพิเศษภายใตร้ งั สีเหนือมว่ ง ลักษณะพิเศษที่สามารถมองเห็นเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง (หลอดไฟ black light) ได้แก่ เส้นใยเรืองแสงท่ีโรยไว้ในเน้ือกระดาษ หมึกพิมพพ์ ิเศษเรืองแสงซึ่งนำมาใช้ บริเวณลวดลายสพี ืน้ หมวดอักษรและเลขหมายของธนบัตร ชุดวชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ี่ 1 ว่าดว้ ยเรอ่ื งของเงนิ

19 ลกั ษณะและขนาดธนบตั รแบบ 17 ธนบัตรแบบ 17 มีแนวคิดในการออกแบบเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรีที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในทุกด้าน เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข นำความร่มเย็นมาสอู่ าณาประชาราษฎร์และชาตบิ ้านเมอื ง ลักษณะธนบตั รดา้ นหนา้ ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะธนบตั รดา้ นหลัง ของกองทัพอากาศ ขนาด วันประกาศออกใช้ ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ วนั ออกใช้ พระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั 72 x 138 มิลลเิ มตร ลงวันที่ 28 มถิ ุนายน 2561 วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ชุดวชิ าการเงนิ เพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 1 วา่ ดว้ ยเรอื่ งของเงนิ

ลักษณะธนบัตรดา้ นหน้า 20 ลกั ษณะธนบตั รดา้ นหลงั ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ ขนาด พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ วันประกาศออกใช้ ของกองทัพอากาศ วันออกใช้ ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ ลักษณะธนบัตรด้านหนา้ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ลักษณะธนบตั รดา้ นหลัง ขนาด 72 x 144 มิลลิเมตร วนั ประกาศออกใช้ ลงวันที่ 28 มิถนุ ายน 2561 วนั ออกใช้ วนั ท่ี 28 กรกฎาคม 2561 ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ ลกั ษณะธนบตั รด้านหนา้ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ ของกองทัพอากาศ ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยหู่ ัว 72 x 150 มิลลเิ มตร ลงวันที่ 28 มถิ ุนายน 2561 วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ภาพประธาน : พระบรมสาทสิ ลักษณพ์ ระบาทสมเด็จ พระวชริ เกลา้ เจา้ อยู่หวั ในฉลองพระองค์เคร่ืองแบบเต็มยศ ของกองทพั อากาศ ชดุ วิชาการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 วา่ ดว้ ยเร่อื งของเงิน

21 ลักษณะธนบัตรดา้ นหลัง ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ ขนาด พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมสาทิสลักษณ์ วันประกาศออกใช้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล วนั ออกใช้ 72 x 156 มิลลเิ มตร ลักษณะธนบัตรด้านหน้า ลงวันท่ี 28 มิถุนายน 2561 วนั ที่ 28 กรกฎาคม 2561 ลักษณะธนบัตรดา้ นหลัง ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ ขนาด พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ วนั ประกาศออกใช้ ของกองทพั อากาศ วันออกใช้ ภาพประธาน : พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้า เจ้าอยูห่ ัว 72 x 162 มิลลิเมตร ลงวันท่ี 28 มิถุนายน 2561 วนั ที่ 28 กรกฎาคม 2561 วิธีการตรวจสอบธนบัตรแบบ 17 1. สัมผสั 1.1 กระดาษธนบตั ร ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยยุ่ ง่าย เมอ่ื จบั สมั ผสั จะใหค้ วามรสู้ ึกแตกตา่ งจากกระดาษท่วั ไป ชุดวิชาการเงนิ เพือ่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงิน

22 1.2 ลวดลายเสน้ นนู สามารถสัมผัสความนูนที่ตัวอักษรคำว่า “รัฐบาลไทย” ตัวเลข อารบิกและตัวเลขไทยแจ้งชนิดราคาด้านหน้าธนบัตร และลวดลายเส้นนูนรูปดอกไม้ที่บริเวณ มุมล่างด้านขวาของธนบัตรทุกชนิดราคา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แจ้งชนิดราคาธนบัตรที่ประยุกต์มา จากอกั ษรเบรลล์ เพ่อื อำนวยความสะดวกแก่ผู้มคี วามบกพรอ่ งทางสายตา 2. ยกส่อง 2.1 ลายนำ้ ลายน้ำเกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตกระดาษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความ หนาและบางไม่เท่ากัน เมื่อยกธนบัตรส่องกับแสงสว่างจึงมองเห็นภาพการไล่ระดบั ของแสงเงา และมีลายน้ำโปร่งแสงพิเศษเป็นตัวเลขอารบิกตามชนิดราคาธนบัตร ประดับควบคู่ลายน้ำ พระบรมสาทิสลกั ษณ์พระบาทสมเดจ็ พระวชิรเกล้าเจา้ อยู่หัว 2.2 แถบสี ธนบัตรทุกชนิดราคามีแถบสีต่าง ๆ ตามชนิดราคาธนบัตรที่ฝังไว้ใน เนื้อกระดาษตามแนวตั้ง มีบางส่วนของแถบปรากฏให้เห็นเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหน้าของธนบัตร เมอ่ื ยกสอ่ งดูกับแสงสว่างจะเห็นเปน็ เส้นตรงยาวตอ่ เนอ่ื ง บนแถบมตี วั เลขและตัวอักษรโปรง่ แสง แจ้งชนิดราคาธนบัตรที่มองเห็นได้ทั้งสองด้าน และสามารถมองเห็นการเปลี่ยนสีของแถบนีเ้ มอ่ื พลิกเอียงธนบัตรไปมา ชดุ วชิ าการเงินเพือ่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 1 ว่าดว้ ยเรอ่ื งของเงนิ

23 2.3 ภาพซ้อนทับ ธนบัตรแบบ 17 ทุกชนิดราคา เมื่อยกขึ้นส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นรูป พระครุฑพา่ หอ์ ย่ใู นตำแหนง่ ทตี่ รงกันทงั้ ดา้ นหน้าและด้านหลัง 3. พลิกเอยี ง 3.1 ตัวเลขแฝง ตัวเลขอารบิกตามราคาธนบัตรซ่อนในลายประดิษฐ์ซึ่งอยู่บริเวณ ตอนกลางดา้ นลา่ งของธนบตั ร มองเห็นได้เม่ือเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสวา่ ง โดยมองผา่ นจากมุม ลา่ งซ้ายของลายประดิษฐเ์ ขา้ หามมุ บนขวาของธนบตั ร ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 วา่ ดว้ ยเรอื่ งของเงิน

24 3.2 หมกึ พิมพ์พเิ ศษ ในธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ พิเศษสีทองจะเห็นเป็นประกายระยิบระยับเมื่อพลิกธนบัตรไปมา สำหรับธนบัตรชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติ เมื่อพลิก ธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นลวดลายภายในลายดอกประดิษฐ์เคลื่อนไหวไปมาและ เปล่ยี นสลับจากสที องเป็นสีเขียว 4. ลักษณะพเิ ศษภายใตร้ งั สเี หนอื ม่วง ลักษณะพิเศษที่สามารถมองเห็นเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง (หลอดไฟ black light) ได้แก่ เส้นใยเรืองแสงที่โรยไวใ้ นเน้ือกระดาษ หมึกพิมพพ์ ิเศษเรืองแสงซึ่งนำมาใช้ บริเวณลวดลายสีพื้น หมวดอกั ษรและเลขหมายของธนบัตร เหรียญกษาปณ์ กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้ในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา ซึ่งมีหลากรุ่นหลายแบบ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณะ ลวดลาย และ กรรมวิธกี ารผลติ เร่ือยมา เพื่อให้สะดวกตอ่ การพกพา การใชส้ อย และยากตอ่ การปลอมแปลง เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปใน ชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ ชดุ วิชาการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1 ว่าดว้ ยเร่ืองของเงนิ

25 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท 5 บาท 2 บาท 1 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ มใี ช้ในทางบญั ชเี ท่าน้นั เหรยี ญกษาปณ์กบั การใช้ชำระหนต้ี ามกฎหมาย ตามพระราชบัญญตั ิเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 11 ระบุวา่ เหรียญกษาปณ์เป็นเงิน ทช่ี ำระหนี้ไดต้ ามกฎหมาย ไม่เกนิ จำนวนท่กี ำหนดโดยกฎกระทรวงดงั นี้ ชนิดราคา จำนวนการชำระหน้ตี ่อครง้ั เหรยี ญชนดิ ราคา 1 สตางค์ ชำระหนไ้ี ดค้ ร้ังละไม่เกนิ 5 บาท เหรียญชนิดราคา 5, 10, 25 และ 50 สตางค์ ชำระหน้ีได้ครั้งละไม่เกิน 10 บาท เหรียญชนิดราคา 1, 2 และ 5 บาท ชำระหน้ีไดค้ รงั้ ละไม่เกิน 500 บาท เหรยี ญชนิดราคา 10 บาท ชำระหน้ีได้ครั้งละไม่เกนิ 1,000 บาท สาเหตทุ ี่กฎหมายต้องกำหนดจำนวนเงินในการชำระหนข้ี องเหรียญกษาปณ์ คือ เพ่ือปอ้ งกนั การกลนั่ แกลง้ ระหว่างลูกหน้ีกับเจา้ หนใี้ นการชำระหน้ี เงินตราตา่ งประเทศ ในการดำเนินชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป เราจะใช้เงินสกุลของประเทศไทย คือ เงินบาทในการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ แต่หากตอ้ งเดนิ ทางหรือมีการทำธรุ กจิ ระหว่างประเทศ เราก็จะต้องเข้าไปเก่ยี วขอ้ งกบั เงินตราของประเทศอ่นื ๆ ตวั อย่างเงนิ สกุลต่างประเทศท่สี ำคญั ช่อื ประเทศ ช่ือสกุลเงิน อักษรยอ่ สกุลเงิน สหรัฐอเมรกิ า ดอลลาร์สหรัฐ USD สหราชอาณาจักร ปอนด์ GBP ยูโรโซน ยูโร EUR ญป่ี ุ่น เยน JPY จนี หยวน CNY มาเลเซยี รงิ กิต MYR ชุดวิชาการเงินเพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าดว้ ยเรอ่ื งของเงนิ

26 ซงึ่ คา่ ของเงินในแตล่ ะสกลุ จะไม่เท่ากัน จงึ ต้องมกี ารกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนข้ึน อตั ราแลกเปลยี่ น หมายถึง ราคาของเงินตราสกลุ หนึง่ เมื่อเทยี บกับเงนิ ตราอีกสกลุ หนง่ึ เชน่ 1 USD เท่ากับ 31 บาท หมายถึง เงินบาทจำนวน 31 บาท แลกเป็นเงิน ดอลลารส์ หรัฐได้ 1 ดอลลารส์ หรัฐ 1 EUR เท่ากับ 42 บาท หมายถึง เงินบาทจำนวน 42 บาท แลกเป็นเงินยูโรได้ 1 ยูโร อัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้คงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่เสมอในแต่ละ ช่วงเวลาตามปัจจัยที่มีผลกระทบ เช่น ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐกิจโลก ภาวะตลาด การเงนิ การดูอัตราแลกเปล่ยี นอย่างงา่ ย ตวั อยา่ งตารางแสดงอตั ราแลกเปล่ียนระหว่างเงนิ ต่างประเทศและเงินบาท ประเทศ สกุลเงิน อตั รารับซื้อ อตั ราขาย 35.22 สหรัฐอเมรกิ า USD 34.89 50.69 39.96 สหราชอาณาจักร GBP 49.84 32.37 4.32 ยูโรโซน EUR 39.25 9.13 ญปี่ ุ่น (ต่อ 100 เยน) JPY 31.68 จนี CNY 4.29 มาเลเซีย MYR 8.85 (เงินบาทต่อ 1 หนว่ ยสกลุ เงนิ ตราตา่ งประเทศ) อัตรารับซ้ือ คอื อตั ราท่ีผู้ใหบ้ รกิ ารเสนอซือ้ เงนิ ตราตา่ งประเทศ อัตราขาย คอื อัตราที่ผใู้ ห้บริการเสนอขายเงินตราต่างประเทศ • หากตอ้ งการนำเงินบาทไทยไปแลกเป็นเงินดอลลาร์สหรฐั กลา่ วคอื ต้องการ ซอื้ เงนิ ดอลลารส์ หรัฐ เราต้องดูราคาที่อัตราขาย จากตวั อยา่ งข้างตน้ 1 USD = 35.22 บาท • หากต้องการนำเงินดอลลาร์สหรฐั ไปแลกเปน็ เงนิ บาท กล่าวคือ ตอ้ งการขาย ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 วา่ ดว้ ยเรื่องของเงิน

27 เงินดอลลารส์ หรัฐ เราตอ้ งดรู าคาที่อตั รารบั ซ้ือ จากตัวอย่างขา้ งตน้ 1 USD = 34.89 บาท วธิ กี ารคำนวณอตั ราแลกเปลยี่ นเงินตราตา่ งประเทศ ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ เราอาจต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินเป็นของ ประเทศน้ัน ๆ ซึง่ สามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนได้ดังนี้ ตวั อย่างที่ 1 หากตอ้ งการเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) สมมุติว่า อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้นอยู่ที่ 1 USD = 30 บาท หากต้องการแลก 100 USD ตอ้ งใชเ้ งินบาทไทยแลกเปน็ จำนวนเท่าไร วธิ ีคำนวณ 1 USD = 30 บาท 100 USD = [30 x 100] ÷ 1 = 3,000 บาท ดงั นนั้ ต้องใช้เงินบาทไทยจำนวนเงนิ 3,000 บาท จึงจะแลกได้ 100 USD ตวั อยา่ งท่ี 2 หากตอ้ งการไปประเทศญปี่ นุ่ ซึ่งใชส้ กุลเงนิ เยน สมมุตวิ า่ อัตราแลกเปลยี่ น ขณะน้ันอย่ทู ่ี 100 เยน = 30 บาท หากตอ้ งการแลก 1,000 เยน ตอ้ งใชเ้ งนิ ไทยแลกเปน็ จำนวนเท่าไร วธิ ีคำนวณ 100 เยน = 30 บาท 1,000 เยน = [30 x 1,000] ÷ 100 = 300 บาท ดงั นน้ั ตอ้ งใชเ้ งนิ บาทไทยจำนวนเงิน 300 บาท จงึ จะแลกได้ 1,000 เยน ตัวอย่างที่ 3 หากต้องการนำเงินดอลลาร์สหรัฐมาแลกเป็นเงินบาท สมมุติว่า อัตรา แลกเปลี่ยนขณะนั้นอยู่ที่ 1 USD = 30 บาท หากต้องการแลก 1,500 บาท จะต้องใช้เงิน ดอลลาร์สหรัฐจำนวนเงนิ เทา่ ไร ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรูท้ ี่ 1 ว่าด้วยเร่ืองของเงิน

28 วิธีคำนวณ 30 บาท = 1 USD 1,500 บาท = [1 x 1,500] ÷ 30 = 50 USD ดังนน้ั ตอ้ งใชเ้ งนิ ดอลลารส์ หรัฐจำนวนเงนิ 50 USD จึงจะแลกได้ 1,500 บาท ช่องทางการแลกเปลี่ยนเงินตราตา่ งประเทศ การติดต่อขอแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการซึ่ง ประกอบธรุ กิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศทีไ่ ดร้ ับอนุญาต เช่น • นิติบุคคลรับอนญุ าต หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคลทีม่ ีกฎหมาย เฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ โดยมี ขอบเขตการประกอบธรุ กิจ คือ ซอื้ -ขาย ฝาก-ถอน หรอื ให้กูเ้ งนิ ตราต่างประเทศ • บุคคลรับอนุญาต หมายถึง ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจการซื้อและขายธนบัตรต่างประเทศ และรับซื้อเช็คเดินทาง จากลูกค้า อาทิ บรษิ ทั ท่ไี ด้รบั อนุญาต กจิ กรรมทา้ ยเรื่องท่ี 2 ประเภทของเงิน (ใหผ้ เู้ รยี นไปทำกจิ กรรมเรอ่ื งที่ 2 ท่สี มดุ บันทึกกิจกรรมการเรยี นรู้) ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 ว่าดว้ ยเรอ่ื งของเงิน

29 เรอ่ื งที่ 3 การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงิน (payment) คือ การส่งมอบเงินหรือโอนเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ เพอื่ ซือ้ สนิ ค้าและบรกิ าร หรอื ใชช้ ำระหน้ี โดยสามารถใช้ส่ือการชำระเงินท่ีเป็นได้ทั้งเงินสดและ ไม่ใช่เงินสด ในบางครั้งการชำระเงินอาจทำผ่านคนกลางที่เป็นผู้ให้บริการเพื่ออำนวยความ สะดวกและรักษาความปลอดภัยของการทำรายการ ซึ่งผู้ให้บริการมีทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน และมิใชส่ ถาบนั การเงนิ (non-bank) เงินสดเปน็ สง่ิ ท่ีเราค้นุ เคยในการใชจ้ ่ายมากท่ีสดุ จนนกึ ไม่ถงึ วา่ ทีจ่ รงิ แล้ว การใช้ เงินสดนั้นไม่สะดวกหลายประการ เช่น ต้องเตรียมเงินสดให้เพียงพอในการซื้อสินค้า และหาก ยิ่งพกพาเงินสดจำนวนมากก็เสี่ยงต่อการสูญหาย ถูกปล้น ขโมย หรือหากมองในมุมเจ้าของ กิจการ การรับชำระดว้ ยเงินสดอาจถูกยักยอกหรอื ขโมยได้ง่ายและตรวจสอบได้ยาก รวมถึงเสีย โอกาสในการขายสนิ ค้าหากมีช่องทางให้ลกู ค้าชำระค่าสินคา้ เปน็ เงินสดเพียงอย่างเดียว สำหรับ มมุ ของประเทศนน้ั เงนิ สดมีคา่ ใช้จ่ายในการจดั การค่อนข้างสงู เชน่ ค่าใชจ้ า่ ยท่ีเกดิ จากการผลิต การขนส่ง การเก็บรักษา การตรวจนับ การคัดแยก และการทำลาย ถ้าเราหันมาช่วยกันใช้การ ชำระเงินทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ (e-Payment) จะชว่ ยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจดั การได้ 2 - 3 เท่า เลยทีเดียว ความหมายการชำระเงินทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การส่งมอบหรือโอนเงินเพื่อซื้อสินค้า และบรกิ าร หรอื ชำระหนี้ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีความสะดวกและรวดเร็วโดยใช้ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ มาช่วย ทั้งด้านสื่อที่ใช้ชำระเงินแทนเงินสด เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่องทางการชำระเงินที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว เช่น ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้อุปกรณ์ ประเภทต่าง ๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศพั ท์มือถอื ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 วา่ ดว้ ยเร่ืองของเงนิ

30 ประโยชนข์ องการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตอ่ ประชาชน ต่อเจ้าของกิจการ • โอนเงนิ หรอื ชำระเงนิ ไดท้ กุ ที่ทุกเวลา • ไมต่ อ้ งเกบ็ เงินสดจำนวนมากไวท้ รี่ ้านคา้ • ไมต่ อ้ งเสยี เวลาและค่าใชจ้ ่ายในการ ลดปญั หาพนกั งานยักยอกหรอื ขโมยเงนิ เดินทาง • จัดทำบญั ชไี ดร้ วดเร็ว และมีระบบท่ี • ปลอดภัย ไม่ต้องกลวั เงนิ สดหายหรอื ตรวจสอบได้ ถกู ขโมย • มีทางเลอื กใหล้ กู ค้าในการชำระเงินได้ • ตรวจสอบได้ มีหลักฐานชัดเจน หลายวธิ ี • มีรูปแบบการชำระเงนิ ให้เลอื กได้ • ไมจ่ ำเปน็ ตอ้ งมสี ถานที่หรือหนา้ ร้าน หลากหลายตามความสะดวก ก็ขายของได้ • ขยายฐานลูกคา้ ไดก้ ว้างข้ึน ไมจ่ ำกัดแต่ พน้ื ท่ีใดพน้ื ท่หี นง่ึ หรือในประเทศเทา่ นน้ั ตอ่ ประเทศ • ลดค่าใชจ้ ่ายในการพิมพธ์ นบัตร • ลดค่าใชจ้ ่ายในการบรหิ ารจดั การเงินสด เชน่ การขนส่งธนบตั ร • การหมุนเวียนของเงินในเศรษฐกิจมคี วามคล่องตวั • การค้าและการชำระเงินระหว่างประเทศทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น สอ่ื และช่องทางการชำระเงิน 1. บัตรเดบิต (debit card) เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารพาณิชย์ออกให้แก่ลูกค้าโดยผูกกับบัญชี เงินฝากของเจ้าของบัตรสามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ณ จุดขายและออนไลน์ได้ โดยผถู้ ือบตั รสามารถสังเกตจุดทร่ี บั บัตรไดจ้ ากตราหรอื โลโกท้ ี่รา้ นคา้ ติดหรือแสดงไว้ เช่น VISA, MasterCard, UnionPay ลกั ษณะเดน่ • สามารถนำไปทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น ฝาก/ถอน/โอน/ ชำระเงินที่เครอื่ งทำรายการอัตโนมัติได้ ชดุ วิชาการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 1 วา่ ดว้ ยเร่ืองของเงิน

31 • ใช้ซื้อสินค้าและบริการ ณ จุดขายและออนไลน์ได้ โดยเมื่อใช้แล้ว ยอดเงนิ ทใี่ ชจ้ ่ายจะถกู ตดั จากบัญชีเงนิ ฝากทันที • การใช้บัตรเดบิต มีทั้งแบบใช้ลายเซ็น และแบบกดรหัสผ่านส่วนตัว (PIN) ของผ้ถู อื บตั ร ขึ้นอย่กู บั ระบบการให้บริการ • การใช้จา่ ยผา่ นบตั รเดบติ เปน็ การใช้เงนิ ของเราที่มอี ยู่ในบัญชี จึงไมส่ ร้าง ภาระหนี้ รหู้ รือไม่วา่ หากคุณต้องการทำบัตรเดบิตที่ธนาคาร คุณมีสิทธิ์เลือกได้ว่าต้องการประกัน พ่วงหรือไม่ ซึ่งธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นควบคู่กับผลิตภัณฑ์หลักของธนาคารได้ แตจ่ ะบงั คบั ขายไมไ่ ด้ และหากคณุ ตอ้ งการบัตรธรรมดาทไ่ี มพ่ ว่ งประกันก็สามารถแจ้งพนักงานได้ 2. บัตรเครดิต (credit card) เป็นบัตรทีอ่ อกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบรษิ ัท ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต (ผู้ออกบัตร) เพื่อให้ผู้ใช้บริการ (ผู้ถือบัตร) นำไปใช้ชำระค่าสินค้า และบริการแทนเงินสดโดยไม่เกินวงเงินที่ผู้ออกบัตรกำหนดไว้ โดยผู้ออกบัตรจะจ่ายเงินให้กับ รา้ นคา้ ไปกอ่ น และจะเรยี กเกบ็ เงินจากผู้ถือบัตรตามระยะเวลาที่กำหนด (ดูรายละเอยี ดเพิ่มเตมิ ได้จากหนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 3 เรือ่ ง สินเชือ่ ) 3. เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เราอาจได้ยิน e-Money ในชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น บตั รเงนิ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ บัตรเตมิ เงนิ รถไฟฟา้ e-Wallet, e-Purse, e-Cash แมจ้ ะมชี ่ือเรียก ต่างกันไป แต่ลักษณะที่เหมือนกัน คือ มูลค่าเงินจะถกู บันทกึ อยู่ในสือ่ อิเล็กทรอนิกส์โดยอาจจะ อยู่ในรูปของบัตรหรือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องเติมเงินก่อนจึงสามารถ นำไปซื้อสินค้าและบริการตามร้านค้าที่ผู้ออก e-Money กำหนด และผู้ใช้บริการสามารถ ตรวจสอบมูลค่าคงเหลอื ได้ ตัวอย่าง e-Money ที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น บัตรเติมเงินรถไฟฟ้า (บัตร Rabbit, บัตร MRT) บัตร Smart Purse ทใี่ ชซ้ อื้ สินคา้ ในรา้ น 7-eleven ชดุ วชิ าการเงินเพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 ว่าด้วยเร่ืองของเงิน

32 ลกั ษณะเดน่ • ผใู้ ช้บริการเติมเงนิ ไดต้ ามมูลค่าทตี่ ้องการ • ใหค้ วามสะดวกรวดเร็วในการใชจ้ า่ ย ไม่ตอ้ งพกเงินสด ข้อแนะนำในการใช้บัตรอิเล็กทรอนกิ สใ์ หป้ ลอดภัย 1. เมื่อได้รับบัตรมาใหม่ให้รีบเซ็นชื่อหลังบัตรทันที เพื่อป้องกันผู้อื่นนำไป แอบอา้ ง 2. เก็บรักษารหัสบัตรไว้เป็นความลับ ไม่ตั้งรหัสที่คาดเดาง่าย และควร เปลี่ยนรหสั อยูเ่ สมอ 3. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือเกี่ยวกับบัตร เช่น เลขหน้า-หลังบัตร ประชาชน เลขบัญชธี นาคาร 4. ตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมทุกครั้ง เช่น ยอดเงินที่ต้อง ชำระ รวมถึงตรวจสอบรายการใชจ้ ่ายเป็นประจำเมื่อได้รับใบแจ้งหน้ี 5. สงั เกตส่งิ แปลกปลอมท่ีอาจติดต้ังอยู่กบั เคร่ืองเอทีเอม็ เช่น กล้องขนาดเล็ก ทอ่ี าจถกู ตดิ อยู่บริเวณเครอ่ื งเอทีเอ็ม หรอื อุปกรณ์แปลกปลอมทต่ี ดิ อยตู่ รงชอ่ งสอดบัตร 6. หากมีรายการธุรกรรมทางการเงินที่เราไม่ได้ใช้เกิดขึ้น ให้รีบติดต่อ ผอู้ อกบตั รเพ่ือตรวจสอบทนั ที 7. เมื่อทำบัตรหายต้องรีบแจ้งอายัดบัตรทันที อย่างไรก็ดี บัตร e-Money โดยท่ัวไปท่ีไม่มกี ารลงทะเบยี น หากบัตรหายก็เหมอื นกับทำเงนิ หาย 4. การชำระเงนิ ผ่านออนไลน์ (online payment) ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนำมาใช้เป็นช่องทางการชำระเงิน ผ่านออนไลน์ เพื่อเพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการในการทำธุรกรรม ทางการเงนิ แบ่งออกเป็น 1) การชำระเงินผ่าน internet banking ซึ่งเป็นบริการที่ผู้ใช้บริการ สามารถโอนเงิน ชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต็ ของธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ โดยจะตัดเงินออกจากบัญชีเงินฝากทันที นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบยอดเงินในบัญชี ชดุ วชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 1 วา่ ด้วยเร่อื งของเงิน

33 เรียกดูรายการใช้จ่ายยอ้ นหลงั ได้ โดยสามารถสมคั รใชบ้ ริการกับธนาคารที่ผู้ใชบ้ รกิ ารมีบัญชีเงิน ฝากอยู่ สำหรับการซื้อของทางอินเทอร์เน็ต ระบบของร้านค้าบางแห่งจะเชื่อมโยงไปยังระบบ internet banking ของธนาคารเพื่อตรวจสอบและอนุมัติรายการชำระเงิน หากทำรายการ สำเร็จ ผูใ้ ชบ้ ริการจะได้รับการยนื ยนั การทำรายการทางเวบ็ ไซต์ ทาง SMS หรอื ทางอีเมลตามที่ ไดแ้ จ้งลงทะเบยี นไว้กับธนาคาร 2) การชำระเงินผา่ นอุปกรณเ์ คลื่อนที่ (mobile banking) สามารถชำระ คา่ สินค้าและบรกิ ารผ่านเครือขา่ ยของระบบโทรศัพทม์ อื ถอื โดยผู้ใชต้ ้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน (application) ของธนาคารหรือผู้ให้บริการชำระเงิน และลงทะเบียนเพื่อเชื่อมโยงบัญชีที่จะ ชำระเงินเข้ากับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อน อาทิ บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต และเงิน อเิ ล็กทรอนิกส์ 3) การชำระเงินผ่านเวบ็ ไซต์ของร้านค้าออนไลน์ด้วยบัตรเครดติ บตั รเดบิต หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถซื้อสินค้าและบริการกับร้านค้าออนไลน์ที่มีช่องทางชำระ เงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งผู้ซื้อเพียงกรอกรายละเอียดการชำระเงิน เช่น หมายเลข บัตร ชื่อผ้ถู อื บัตร วนั หมดอายุ หมายเลขรหัส CVV1 รวมถงึ อาจตอ้ งใสร่ หสั ผ่าน OTP2 ด้วย และ เมื่อการชำระเงินสำเร็จจะได้รับข้อความยืนยันการชำระเงินทางหน้าเว็บไซต์ ทาง SMS หรือ ทางอีเมล ตามทีไ่ ด้แจ้งลงทะเบียนไว้กับธนาคารหรอื ผอู้ อกบัตร ข้อดีของการชำระเงินผ่าน online payment สำหรับผใู้ ช้บริการ สำหรบั รา้ นค้า • ลดเวลาและคา่ ใชจ้ ่ายในการทำธุรกรรม • ได้รบั เงินรวดเรว็ เพราะเงินเข้าบญั ชีโดยตรง ไม่ตอ้ งเสยี เวลาเดนิ ทางไปท่รี ้านค้า เพราะ และลดความเส่ียงในการจัดการเงินสด สามารถจดั การธุรกรรมได้ดว้ ยตวั เอง ทีไ่ หน 1 CVV (card verification value) หรือ CVC (card verification code) คือ รหสั สำหรับการทำธรุ กรรมออนไลน์ เช่น VISA และ MasterCard ใช้เลข 3 หลักดา้ นหลงั บตั ร สว่ นของ American Express ใช้เลข 4 หลกั ด้านหน้าบัตร 2 OTP (one time password) เปน็ รหสั ที่ใช้คร้ังเดยี ว โดยผอู้ อกบตั รจะส่งให้แก่ผ้ถู อื บตั รผ่าน SMS หรือสง่ ทางอีเมล ตามทีผ่ ู้ถอื บัตรไดล้ งทะเบยี นไว้ เพือ่ ใช้ในการยืนยนั ตวั ตนความเปน็ เจ้าของบัตร ชดุ วิชาการเงนิ เพื่อชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 1 ว่าด้วยเร่อื งของเงนิ

34 เมอื่ ไรกไ็ ด้ ไม่ว่าจะอยตู่ า่ งจงั หวดั หรอื • มีช่องทางการชำระเงินใหล้ ูกค้าเลือกมากขึน้ ต่างประเทศ ขายสนิ คา้ ได้ทุกเวลา ไมจ่ ำเป็นตอ้ งเปิด • สามารถตรวจสอบรายการได้ตลอด หนา้ รา้ น • ไมต่ อ้ งถือเงินสดในการซื้อสินคา้ • มีบนั ทึกข้อมลู การขาย และสรปุ ขอ้ มลู ทางบญั ชีไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ 5. พรอ้ มเพย์ (PromptPay) พร้อมเพย์เป็นบริการที่ช่วยให้โอนเงินได้สะดวกขึ้น โดยใช้หมายเลข เช่น โทรศพั ท์มือถือและ/หรือเลขบตั รประจำตัวประชาชนแทนการระบุเลขท่ีบัญชีเงินฝากของผู้รับเงิน เร่ิมจากเลือกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการใช้เป็นบัญชีในการรับเงิน และแจ้งลงทะเบียนกับ ธนาคารผ่านช่องทางที่ธนาคารแต่ละแห่งเตรียมไว้บริการ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม/internet banking/mobile banking หรือสาขาธนาคาร และจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียน ตามทธ่ี นาคารกำหนด เชน่ สมดุ บญั ชี หรอื เลขที่บญั ชีเงนิ ฝากธนาคาร บตั รประจำตัวประชาชน โทรศัพทม์ อื ถือท่ตี ้องการลงทะเบยี น สำหรบั การลงทะเบียน ผ้โู อนเงนิ ไมจ่ ำเป็นตอ้ งลงทะเบียนก็สามารถโอนเงิน ด้วยพร้อมเพย์ได้ แต่ผู้รับโอนต้องลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ ผู้โอนจึงจะสามารถโอนเงิน ผ่านระบบพร้อมเพย์มาให้แก่ผู้รับโอนได้ ซึ่งผู้รับโอนเงินนั้นจะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชี ธนาคารของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชนก่อน และแจ้ง หมายเลขดังกล่าวให้ผู้โอนทราบเพื่อรับเงินเข้าบัญชีที่ผูกไว้ โดยหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือ เลขประจำตัวประชาชน 1 หมายเลขจะสามารถใช้ผูกหรือจับคู่กับบัญชีเงินฝากปลายทางได้ 1 บญั ช3ี (รายละเอยี ดตามภาพด้านล่าง) และสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผกู บญั ชไี ด้ตลอด 3 อน่งึ บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกได้กบั ท้งั เลขประจำตวั ประชาชนและหมายเลขโทรศพั ท์มือถอื และบญั ชี เงนิ ฝากธนาคาร 1 บญั ชีสามารถผกู กบั หมายเลขโทรศัพทม์ อื ถอื ได้สงู สดุ ตามจำนวนทธี่ นาคารกำหนด ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 ว่าดว้ ยเร่อื งของเงนิ

35 ข้อควรปฏบิ ัติ ผ้รู ับโอนเงิน 1. ต้องลงทะเบียนใหส้ ำเร็จกอ่ นจงึ จะสามารถรบั โอนเงินผา่ นระบบพรอ้ มเพยไ์ ด้ 2. หากต้องการเปลี่ยนบัญชีเงินฝากธนาคารที่ได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไว้กับ บริการพร้อมเพย์ ต้องไปยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารที่เคยผูกบัญชีไว้ก่อน แล้วจึงไป ลงทะเบยี นผกู บัญชีกบั ธนาคารแหง่ ใหม่ 3. กรณีเปลี่ยน/ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไว้ แล้วต้องไปยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารที่ผูกไว้โดยเร็ว และหากลูกค้ายังต้องการใช้บริการ พร้อมเพย์ ตอ้ งนำหมายเลขโทรศัพท์ใหมไ่ ปลงทะเบยี นใหม่กบั ธนาคารทล่ี ูกค้าเลือกใช้บริการ ชดุ วิชาการเงนิ เพ่ือชีวิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 1 ว่าดว้ ยเรื่องของเงิน

36 4. ระมัดระวังรักษาอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือที่ใช้เชื่อมต่อทำธุรกรรม เกีย่ วกบั ระบบพร้อมเพย์เปน็ อย่างดี เพอื่ ไม่ใหผ้ ู้อ่ืนเอาไปใชง้ านเชน่ เดียวกับการดแู ลบัตรเครดติ ผู้โอนเงิน ต้องตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของผู้รับโอนเงินให้ถูกตอ้ งก่อนยืนยัน การโอนเงินทุกครั้ง โดยควรเรียนรู้ ศึกษา วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่น การตรวจสอบ ข้อมูลใหถ้ ูกต้องกอ่ นการยืนยนั การโอนเงิน 6. QR code เพื่อการชำระเงนิ QR code ย่อมาจาก quick response code คือรหัสชนดิ หน่ึงทถ่ี ูกพฒั นาขน้ึ เพอื่ ใชใ้ นการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ใน QR code จะมขี อ้ มูลทีจ่ ำเป็นสำหรับการจ่ายเงินซ้ือสนิ ค้าต่าง ๆ โดยใช้ ควบคู่กับ mobile application ที่เชื่อมต่อกับบัตรเดบิต บัตรเครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร หรือบัญชี e-Wallet จึงเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการเพราะไม่ต้องพกบัตร หรือไม่ต้องขอเลขทบ่ี ัญชรี ้านคา้ หรือหมายเลขโทรศัพท์จากรา้ นคา้ เพ่อื โอนเงิน ข้อแนะนำการใชง้ านที่ถูกต้อง – กรณีลูกคา้ 1. ตรวจสอบจำนวนเงินที่โอนและข้อมูลร้านค้าให้ถูกต้องก่อนการยืนยัน การจ่ายเงนิ ทกุ คร้ัง เชน่ ชอื่ ผรู้ ับต้องตรงกับช่ือทีร่ ะบุไวท้ ่ี QR code ของร้านค้ากอ่ นยืนยนั ยอด 2. ควรระมัดระวังการตั้งรหัสผูใ้ ช้งาน (username) รหัสผ่าน (password) ของ mobile application ให้คาดเดาได้ยาก และไม่บอกรหัสกับผู้อื่น หรือเขียนเอาไว้ในที่ เปดิ เผย ขอ้ แนะนำการใชง้ านทีถ่ กู ต้อง – กรณรี ้านคา้ 1. หมั่นตรวจเช็ค QR code ให้ถูกต้องว่าเป็น QR code ของร้านค้าจริง (บัญชีของร้านค้าทใ่ี ช้รบั เงนิ ) มิให้มจิ ฉาชพี นำ QR code ปลอมมาปดิ ทบั ได้ 2. ควรระบุชื่อบัญชีที่ใช้รับเงินไว้คู่กับ QR code ให้ลูกค้าสามารถใช้ ตรวจสอบกอ่ นยืนยันการจ่ายเงนิ อกี ครั้งหน่งึ ชุดวชิ าการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 1 วา่ ด้วยเร่อื งของเงิน

37 ขอ้ ดีของการใช้ QR code 1. สะดวก ใชง้ านงา่ ย ไมต่ ้องพกเงนิ สด 2. ปลอดภัย ไม่ต้องยื่นบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือให้ข้อมูลบัญชีธนาคาร แก่ร้านคา้ จึงไม่ต้องเส่ยี งกับการโดนขโมยข้อมูล 3. มั่นใจ ระบบในการชำระเงินเป็นการบริการของธนาคารและผู้ให้บริการ ชำระเงนิ ในปัจจบุ ันซง่ึ มีความน่าเช่ือถอื และระบบ QR code ของไทยเปน็ ไปตามมาตรฐานสากล กิจกรรมท้ายเรื่องท่ี 3 การชำระเงนิ ทางอิเลก็ ทรอนกิ ส์ (ให้ผูเ้ รยี นไปทำกิจกรรมเรอื่ งที่ 3 ทีส่ มดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรยี นร้)ู ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 ว่าดว้ ยเรอ่ื งของเงนิ

38 หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน สาระสำคญั วิถีชีวิตท่ีเปล่ียนแปลงไปทำให้คนเราต้องใชเ้ งินในการดำรงชีพมากขึน้ จนทำให้ หลายครอบครัวเกิดปัญหาเงินไม่พอใช้ เราจึงจำเป็นต้องวางแผนการเงินเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาซึ่งในที่สุดแล้วอาจช่วยสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้เราได้ด้วย โดยเริ่มจากการประเมิน ตนเองเพื่อให้ทราบฐานะการเงินและรู้จักการใช้จ่ายของตนเองผ่านการจดบันทึกรายรับ- รายจ่าย แล้วตั้งเป้าหมายการเงินให้สอดคล้องกับฐานะทางการเงินและความสามารถของ ตนเอง รวมไปถึงรูจ้ ักการออมเงิน ระบบการออมเงนิ และบริการทางการเงินตา่ ง ๆ ตัวชวี้ ัด 1. เข้าใจความสำคญั และบอกขนั้ ตอนการวางแผนการเงิน 2. อธิบายหลักการ และวธิ กี ารคำนวณฐานะทางการเงนิ 3. วิเคราะห์ความแตกต่างของ “ความจำเป็น” และ “ความต้องการ (อยากได้)” และจัดลำดับความสำคญั ของรายจ่าย 4. บอกลกั ษณะและประโยชน์ และวเิ คราะห์บันทกึ รายรบั -รายจ่าย 5. อธิบายลักษณะของการมีสุขภาพการเงินที่ดี และประเมินสุขภาพการเงิน ของตนเอง 6. บอกประโยชนข์ องการมีเป้าหมายการเงิน และเป้าหมายการเงินทค่ี วรมีในชวี ิต 7. สามารถตงั้ เปา้ หมายการเงิน และวางแผนการเงนิ ของตนเองที่สอดคล้องกับ เปา้ หมายในชวี ติ 8. อธิบายความหมาย และประโยชน์ของการออม 9. ตงั้ เปา้ หมายการออมท่ีเหมาะสมกบั ตนเอง 10. อธบิ ายหลกั การออมใหส้ ำเร็จ ชดุ วชิ าการเงนิ เพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงนิ

39 11. มีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งสามารถเลือกผลิตภัณฑ์เงินฝาก และการ ประกนั ภัย ท่เี หมาะสมกบั ตนเองได้ 12. บอกบทบาทหน้าที่และหลักการของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ กองทุนประกนั สังคม ขอบขา่ ยเนือ้ หา 1. การวางแผนการเงิน 2. การประเมินฐานะการเงิน 3. การตั้งเปา้ หมายและจัดทำแผนการเงนิ 4. การออม 5. การฝากเงิน และการประกันภัย สื่อการเรียนรู้ 1. ชุดวชิ าการเงินเพ่ือชวี ติ 2 2. สมดุ เงนิ ออมของศูนย์คุม้ ครองผ้ใู ช้บรกิ ารทางการเงิน 3. เว็บไซต์ศนู ยค์ มุ้ ครองผูใ้ ช้บรกิ ารทางการเงิน (ศคง.): www.1213.or.th 4. เฟซบ๊กุ ศคง. 1213: www.facebook.com/hotline1213 เวลาท่ใี ช้ในการศึกษา 36 ชว่ั โมง ชุดวชิ าการเงินเพอื่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน

40 เรอื่ งที่ 1 การวางแผนการเงนิ การวางแผนการเงินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการชีวิตอย่างเป็น ระบบ ใหม้ รี ายได้เพียงพอกบั รายจ่าย มเี งินใช้เมื่อเกิดเหตฉุ กุ เฉนิ มีเงินออมไวซ้ ือ้ สิง่ ต่าง ๆ หรือ ลงทุน รวมไปถึงมีเงินไว้ใช้จา่ ยยามแกช่ รา การวางแผนการเงินในแต่ละวัย ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน อายุเท่าใด ก็ต้องเกี่ยวข้องกับเงิน ดังนั้น ทุกคน จึงควรวางแผนการเงิน แต่อายุที่แตกต่างทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตแตกต่างกันไป คนใน แต่ละวัยจึงอาจมีการวางแผนการเงินท่ีไม่เหมือนกัน ลักษณะสำคัญ เป็นวัยที่ยังไม่มีรายได้ แต่อาจมีรายรับเป็นเงินจาก ของขวัญตามเทศกาลต่าง ๆ ส่วนรายจ่ายโดยมากผู้ปกครองจะเป็น ผูร้ ับผิดชอบ การวางแผนการเงิน เหมาะแก่การบ่มเพาะนิสัยการออมอย่าง สม่ำเสมอ ให้รู้จักค่าของเงินและใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล รวมทั้ง วัยเด็ก ความแตกตา่ งระหวา่ ง “จำเป็น” และ “อยากได”้ เช่น ฝกึ ให้ออมเงิน ให้ครบก่อนที่จะซื้อของต่าง ๆ หรือฝึกจัดสรรเงินโดยให้เงินเมื่อไปเที่ยว แลว้ ใหว้ างแผนใชจ้ ่ายเอง วัยทำงาน ลักษณะสำคัญ เป็นวัยที่เริ่มมีรายได้เป็นของตนเอง มีอิสระในการ ใช้จ่าย แต่ส่วนมากมักเป็นรายจ่ายที่ไปตามกระแสสังคม กิน เที่ยว ซอื้ ของ และเรมิ่ เขา้ ถงึ บริการสินเชื่อ การวางแผนการเงิน ควรวางแผนการใช้จ่ายไม่ให้เกินรายได้ที่มีอยู่ ระมัดระวังการก่อหน้ีที่ไม่จำเป็น และควรเริ่มวางแผนการออมโดย กำหนดเป้าหมายการออมให้ชัดเจน เช่น ออมเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ แตง่ งาน หรือแมก้ ระทั่งเพื่อใช้จา่ ยในวยั ชรา ชดุ วชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook