Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กาลานุกรม

กาลานุกรม

Description: กาลานุกรม

Search

Read the Text Version

พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

กาลานุกรม ปกและรูปเล่ม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก พระชัยยศ พทุ ฺธวิ โร Text Copyright ศิลปกรรม © พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) พระชยั ยศ พุทฺธวิ โร ชาญชยั พนิ ทเุ สน ISBN: จฑุ ามาศ หวังอายัตตวนชิ 978-974-93332-5-9 รเิ รมิ่ -อุปถัมภก์ ารจดั ท�ำเปน็ หนงั สอื ภาพ บรษิ ัท มหพนั ธ์ไฟเบอรซ์ ีเมนต์ จำ� กดั (มหาชน) พิมพค์ ร้งั แรก ด�ำเนนิ การผลติ วสิ าขบูชา ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ สำ� นักพิมพ์ผลธิ มั ม์ พมิ พ์คร้ังท่ี ๕ (ปรับขนาดและการจัดเล่ม) ในเครอื บริษัท สำ� นักพมิ พ์เพ็ทแอนด์โฮม จำ� กัด พฤษภาคม ๒๕๕๔ จ�ำนวน ๑๓,๐๐๐ เลม่ ๒๓ ซอย ๖ หมู่บ้านสวนหลวงแหลมทอง ๒ ถ.พฒั นาการ (หอจดหมายเหตพุ ุทธทาส อนิ ทปญั โญ ๕,๐๐๐ เลม่ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ โทร. ๐๒ ๗๕๐ ๗๗๓๒ บริษทั มหพนั ธไ์ ฟเบอรซ์ ีเมนต์ จ�ำกัด (มหาชน) ๒,๐๐๐ เล่ม ทนุ พมิ พ์หนงั สือวัดญาณเวศกวัน ๑,๐๐๐ เลม่ สถานทต่ี ดิ ต่อ คณุ นวลละออ เกรยี งไกรรตั น์ ๑,๓๐๐ เลม่ วัดญาณเวศกวนั บรษิ ัท แปลน โมทิฟ จ�ำกัด ๑,๐๐๐ เล่ม ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐ โทร. ๐๒ ๔๘๒ ๑๕๕๒, ๐๒ ๘๘๙ ๔๓๙๖ คณะผู้ศรทั ธา ๒,๗๐๐ เลม่ ) e-mail: [email protected] ธรรมทาน-ให้เปล่า-ห้ามจ�ำหนา่ ย For free distribution only

บันทกึ นำ� ในการพิมพค์ ร้งั ที่ ๕ ไดท้ ราบวา่ จะมกี ารพมิ พห์ นงั สอื กาลานกุ รม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก ครง้ั ใหม่ ในชว่ งใกลก้ ลางปี ๒๕๕๔ ซึง่ นบั เป็นครั้งท่ี ๕ เคยนกึ ไวว้ า่ ถ้าจงั หวะอำ� นวย จะเพมิ่ เติมหนังสือนี้ เฉพาะอย่างยง่ิ เกี่ยวกบั การรเิ ริ่มและยุคสมัยทางความคิด ซ่งึ เป็นเรอื่ งสำ� คญั ในอารยธรรม แตย่ งั ไม่ไดโ้ อกาส ตอ้ งปลอ่ ยพมิ พ์ไปตามเดิมก่อน อยา่ งไรก็ตาม แมว้ ่าเน้ือหาของหนงั สือจะคงเดมิ แตม่ คี วามเปลย่ี นแปลงคร้งั สำ� คัญในดา้ นรูปเล่ม เน่อื งจาก พระชัยยศ พุทฺธิวโร เห็นว่าควรเปลี่ยนขนาดเล่มหนังสือให้เข้ากับมาตรฐานสากล เพื่อความสะดวกและคล่องตัวใน ระบบการจัดพมิ พส์ บื ตอ่ ไป เช่น หากระดาษพมิ พ์ไดง้ า่ ยขึ้น เมื่อตกลงว่าจะพิมพ์หนังสือในขนาดเล่มที่เปล่ียนใหม่ ก็เป็นเหตุให้ต้องบรรจุเนื้อความค�ำบรรยายและจัด ปรบั ภาพท้งั หมดทีเ่ ป็นของเดมิ เข้ากบั รูปแบบใหม่จนลงตวั หมดท้งั เล่ม ซงึ่ เป็นงานท่คี ่อนขา้ งหนักและใช้เวลาไม่นอ้ ย พรอ้ มกันนั้น พระชัยยศ พุทฺธวิ โร ยังได้พิจารณาเปล่ยี นและเพม่ิ ภาพอกี ดว้ ยตามความเหมาะสม รวมแลว้ ก็เป็นการ เปลยี่ นแปลงและความแปลกใหม่ในทางทด่ี ีมปี ระโยชนใ์ ห้เกิดคณุ ค่าเพมิ่ ข้นึ โดยเฉพาะจะเปน็ รูปลักษณ์ต้นแบบของ การพมิ พ์คร้งั ตอ่ ๆ ไป จงึ ขออนโุ มทนากศุ ลฉันทะของพระชยั ยศ พทุ ฺธวิ โร ไว้ ณ โอกาสนด้ี ้วย ในดา้ นเนื้อหา ถึงจะยังมไิ ดเ้ พ่มิ เตมิ อะไร แตม่ คี วามผดิ พลาดลอดตามาบางจดุ ท่รี อแกไ้ ข เมื่อมกี ารพมิ พใ์ หม่ กต็ อ้ งรีบแก้ให้เสรจ็ ไปกอ่ น ซงึ่ ขอบนั ทกึ เลา่ ไว้ เรอ่ื งแรก วันหนง่ึ ขณะนั่งอย่ใู นศาลาที่พักในชนบท ยกหนังสือกาลานุกรมฯ นี้ขนึ้ มาเปดิ พลิกดู กบ็ ังเอิญพบ ขอ้ ความในหนา้ 181 วา่ “ไอนส์ ไตน์ … นกั ฟสิ กิ สเ์ ยอรมนั ” ยงั แปลกใจวา่ เขยี นเพลนิ ผา่ นไป และลอดตาผา่ นการพมิ พ์ มาได้อยา่ งไรถงึ ๔ ครั้ง [แก้เปน็ “ไอนส์ ไตน์ … นกั ฟิสิกสอ์ เมรกิ ัน (เยอรมันโดยกำ� เนดิ )”] อีกแหง่ หนง่ึ คอื หนา้ 207 วา่ “พระเจา้ ศรสี วา่ งวงศ์ กษัตริยอ์ งค์สดุ ทา้ ยของลาว…” ทัง้ ท่กี ร็ ู้อยูว่ ่า ทีถ่ กู คอื พระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ซึ่งเป็นโอรส แต่คงเขียนเพลินไปด้วยความคุ้นใจกับพระนามของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ แล้วก็ พลอยท�ำให้ฝ่ายศิลป์จัดภาพตามไปอย่างนั้นด้วย จนกระท่ังไม่นานนี้เอง พระกงจิต ฟูไตปิง พธ.ม. แห่งวัดผ้าขาว เชียงใหม่ (บ้านเดิม เป็นชาวหลวงพระบาง ประเทศลาว) แจ้งมาทางพระชัยยศ พุทฺธิวโร [แก้เป็น “เจ้ามหาชีวิต ศรสี วา่ งวัฒนา…”] จึงขอขอบใจพระกงจติ ไว้ ณ ท่ีนเี้ ป็นอยา่ งมาก

ข้อความอย่างน้ี แม้จะสั้นนิดเดียว แต่ส�ำคัญมาก ต้องรีบแก้ทันทีที่มีโอกาส และถ้าผู้อ่านพบจุดผิดพลาด ทีใ่ ดอีก ขอให้แจง้ ด้วย จะอนโุ มทนาอย่างยิง่ อีกแห่งหน่ึง หน้า 210-211 เกี่ยวกับ คุรุ (ภควาน) ศรี รัชนี ไม่ใช่เร่ืองผิดหรือถูก แต่เปิดกว้างไว้ ได้เติม ตอ่ ทา้ ยเรอื่ งทง้ั หมดวา่ “อยา่ งไรกด็ ี ความผดิ และขอ้ เสยี หายดงั วา่ น้ี เปน็ ขอ้ มลู ของทางการอเมรกิ นั และตามทป่ี รากฏ ในเอกสารทัว่ ไป แต่ผทู้ ่เี ล่อื มใสในทา่ นคุรุน้ีถอื กันว่าเป็นการใสค่ วามแก่ทา่ นโดยไมเ่ ปน็ ความจรงิ ” อยา่ งไรกด็ ี ขอใหเ้ ขา้ ใจไวก้ อ่ นวา่ หนงั สอื อยา่ งกาลานกุ รมนี้ ยอ่ มบอกเพยี งขอ้ มลู ความรทู้ เ่ี ปน็ พน้ื ฐาน และเปน็ ทย่ี อมรบั ทว่ั ไป อนั ถอื วา่ ผศู้ กึ ษาและประชาชนควรทราบเปน็ จดุ ตง้ั ตน้ จะไมล่ งลกึ ไปในรายละเอยี ดและการวเิ คราะห์ เชน่ ทม่ี ีผ้คู า้ นว่า โคลมั บัสไมใ่ ช่เปน็ ผคู้ น้ พบอเมรกิ า… อะไรอยา่ งน้ี หนังสือนีย้ ่อมไมก่ า้ วไปเกยี่ วขอ้ งดว้ ย ขอยาํ้ วา่ ความร้กู ค็ ือความรู้ เปน็ ของกลาง ไม่เข้าใครออกใคร ไม่ขึ้นตอ่ ความชอบใจหรอื ไมช่ อบใจ ข้อส�ำคัญ อยู่ท่ีวางจติ ใจตอ่ ความรู้ให้ถูกต้อง โดยตระหนกั วา่ ไม่ว่าเร่ืองรา้ ยหรอื เรือ่ งดี เปน็ ข้อมลู ทพี่ งึ รู้หรอื ต้องรไู้ ว้ เพอ่ื ให้มอง สถานการณอ์ อก หยง่ั ถงึ เหตปุ จั จยั จะไดแ้ กป้ ญั หาดว้ ยความรเู้ ขา้ ใจใชป้ ญั ญา มใิ ชอ่ ยกู่ นั แคว่ าทกรรมเพยี งดว้ ยคดิ เอา ถา้ วางใจถกู ตอ้ ง มุ่งใชเ้ พอื่ แก้ปัญหาดว้ ยเจตนาท่ีมุ่งดโี ดยมีเมตตาแล้ว ยิ่งร้ลู ะเอยี ดลกึ ลงไปเท่าไร ก็ย่ิงดี มีแต่ชว่ ยให้ แก้ปญั หาไดถ้ ูกจดุ ถูกทาง ได้ผล และสร้างสรรค์อารยธรรมใหง้ อกงามนำ� สู่สันตสิ ุขได้จรงิ ขอใหค้ วามใฝร่ เู้ จรญิ งอกงามยงิ่ ขนึ้ ไป พรอ้ มดว้ ยจติ ใจทพี่ ฒั นา และปญั ญาทจี่ ะใชใ้ นการแกป้ ญั หาและสรา้ งสรรค์ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๓ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๕๔

อนโุ มทนา ในการพมิ พค์ รงั้ ที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ในโอกาสทีจ่ ะตีพมิ พห์ นงั สือ จารกิ บญุ จารึกธรรม คร้งั ใหม่ ไดม้ องเห็นวา่ หนังสือดังกลา่ ว มเี นอ้ื หามากนกั ทำ�ใหเ้ ลม่ หนาเกนิ ไป จงึ คดิ จะจดั ปรบั และตดั บางส่วนใหห้ นังสือลดขนาดลง พรอ้ มกันนั้นกค็ ดิ ว่า นา่ จะทำ�กาลานกุ รม คอื ลำ�ดบั เหตกุ ารณส์ ำ�คญั ในประวตั ศิ าสตรพ์ ระพทุ ธศาสนา มาพมิ พไ์ วต้ อ่ ทา้ ย หรอื เปน็ ภาคผนวก ของหนงั สอื นนั้ ดว้ ย จะไดช้ ว่ ยใหผ้ อู้ า่ นไดค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจชดั เจนยงิ่ ขนึ้ จงึ ไดใ้ ชเ้ วลาไมน่ อ้ ยเขยี นกาลานกุ รมดงั กลา่ ว จนเสร็จ อยา่ งไรกต็ าม ปรากฏว่ากาลานุกรมนนั้ มคี วามยาวมาก หนงั สอื จาริกบญุ จารกึ ธรรม เอง แม้จะจัดปรับใหม่ แล้ว กย็ งั หนา ถา้ ใส่กาลานกุ รมตอ่ ทา้ ยเข้าไป กจ็ ะหนาเกนิ สมควร ในท่ีสดุ จงึ ไดพ้ มิ พ์เฉพาะ จารกิ บุญ จารกึ ธรรม อย่างเดียว ส่วนกาลานุกรม ท่ีเสร็จแล้ว ก็เกบ็ ไว้เฉยๆ แล้วหนั ไปทำ�งานอื่นต่อไป กาลานกุ รมน้ันจึงเหมือนกบั ถกู ท้ิงไปเปลา่ ประมาณ ๒ ปตี อ่ มา วันหน่ึง พระครรชติ คณุ วโร ได้มาแจง้ วา่ บริษัท มหพันธไ์ ฟเบอร์ซีเมนต์ จำ�กัด (มหาชน) ไดร้ บั ไฟลข์ อ้ มลู กาลานกุ รมจากพระครรชติ ไปอา่ น แลว้ เกดิ ความพอใจ ไดค้ ดิ เตรยี มการกนั วา่ จะรวบรวมภาพทเ่ี กย่ี ว กับเหตุการณ์ในกาลานุกรมพระพทุ ธศาสนานัน้ โดยเดินทางไปถ่ายภาพในชมพูทวีป และตามเส้นทางสายไหม แล้ว นำ�มาเป็นภาพประกอบ ทำ�เป็นหนังสือภาพกาลานุกรม จึงมาขอความเห็นชอบและขอคำ�ปรึกษา ผู้เรียบเรียงก็ได้ อนโุ มทนาศรทั ธาและฉนั ทะของบรษิ ทั ฯ สว่ นการรวบรวมภาพจะทำ�อยา่ งไรก็สุดแตเ่ ห็นสมควร ขา่ วเงยี บไปประมาณ ๕ ปี จนผูเ้ รียบเรียงคิดว่า งานอาจจะหยุดเลกิ ไปแล้วก็ได้ แตแ่ ล้ววนั หนงึ่ พระครรชติ คณุ วโร ก็ไดม้ าแจง้ วา่ ทางบริษัทฯ ไดด้ ำ�เนนิ งานที่ตั้งใจไปเกอื บเสรจ็ ส้ินแลว้ จงึ ขอมาปรึกษางานขน้ั ตอ่ ไป คราวนัน้ บรษิ ัท มหพนั ธ์ไฟเบอรซ์ ีเมนต์ จำ�กัด (มหาชน) พรอ้ มด้วยคุณชาญชยั พินทุเสน แห่งมลู นธิ กิ ระตา่ ย ในดวงจนั ทร์ และคณุ สภุ าพ ดรี ตั นา ไดน้ ำ�ตน้ ฉบบั หนงั สอื ภาพกาลานกุ รมพระพทุ ธศาสนา ทไ่ี ดจ้ ดั ทำ�เสรจ็ ไปขนั้ หนงึ่ แล้ว มาใหพ้ ิจารณา ผเู้ รียบเรียง ไดร้ ับไว้ และบนั ทึกข้อคดิ ข้อสังเกตแลว้ มอบคนื ไป ทางคณะผดู้ ำ�เนนิ การไดร้ บั ตน้ ฉบบั ไปปรบั ปรงุ จนกระทง่ั เดอื นตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ จงึ ไดน้ ำ�ตน้ ฉบบั หนงั สอื ภาพดงั กลา่ วมามอบใหต้ รวจพจิ ารณาอกี ครงั้ หนงึ่ และเนอ่ื งจากเปน็ ระยะเวลาทผ่ี เู้ รยี บเรยี งมงี านเรอื่ งอนื่ เรง่ อยู่ พรอ้ ม กับมีโรคาพาธต่อเนือ่ ง พระมาโนช ธมฺมครโุ ก จึงได้ขอนำ�ไปตรวจขั้นต้นกอ่ น

ต่อมาเม่ือจังหวะงานมาถึง ผู้เรียบเรียงจึงรับต้นฉบับมาตรวจ และเน่ืองจากท่ีวัดญาณเวศกวันน้ี พระชัยยศ พทุ ธฺ ิวโร เปน็ ผมู้ ีความชำ�นาญทางดา้ นศิลปะ สะดวกที่จะประสานงาน เมื่อตรวจไปจะแก้ไขอะไร ก็ขอใหพ้ ระชัยยศ พุทธฺ วิ โร ชว่ ยรับภาระดำ�เนนิ การไปด้วยเลย และระหวา่ งนี้ นอกจากตรวจแก้จดั ปรบั ต้นฉบบั แลว้ ก็ยงั ได้เพิม่ ขอ้ มลู เหตกุ ารณ์อกี บา้ ง พร้อมกันน้นั พระชัยยศ พทุ ธฺ วิ โร กไ็ ด้หาภาพมาประกอบเพิ่มเตมิ อกี จำ�นวนไม่น้อยทเี ดยี ว ในทส่ี ดุ หนงั สอื ภาพกาลานกุ รมกไ็ ดเ้ สรจ็ เรยี บรอ้ ย ไดต้ ง้ั ชอ่ื วา่ กาลานกุ รม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก (Chronology of Buddhism in World Civilization) และหวังวา่ ทางบรษิ ทั ฯ ซ่ึงตง้ั ใจไวเ้ ดมิ ว่าจะพิมพ์แจกในวัน มาฆบูชา พ.ศ. ๒๕๕๒ และรออยู่ จะพมิ พไ์ ดท้ นั แจกในวนั วสิ าขบูชา ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ กาลานกุ รมพระพทุ ธศาสนาฉบบั นี้ สำ�เร็จเป็นหนงั สอื ภาพไดด้ ังท่ปี รากฏ ด้วยแรงศรทั ธาและกำ�ลงั ฉนั ทะของ บริษทั มหพนั ธ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำ�กัด (มหาชน) นับวา่ เปน็ การทำ�กุศลครัง้ ใหญ่ท่คี วรจะอนุโมทนาเป็นอยา่ งยิง่ กศุ ลใหญ่นส้ี ำ�เรจ็ ดว้ ยปจั จยั หลายประการ เริ่มแตป่ ระการแรก คอื ความคิดริเรม่ิ ทจ่ี ะทำ�ภาพประกอบเพ่อื ให้ ข้อมลู ความรู้เปน็ เรอ่ื งที่นา่ สนใจ อา่ นง่าย และไดค้ วามชดั เจนในการศกึ ษา ประการทส่ี อง แรงศรทั ธาและความเพยี ร พยายามทจ่ี ะรวบรวมภาพดว้ ยการลงทนุ เดนิ ทางไปถา่ ยภาพสถานทต่ี า่ งๆ เฉพาะอยา่ งยงิ่ พทุ ธสถานในชมพทู วปี และ ทีส่ ำ�คัญบนเส้นทางสายไหม โดยต้องสละทง้ั เวลา เรีย่ วแรง และทุนทรัพย์เปน็ อนั มาก และประการที่สาม คอื ความ มีนํ้าใจปรารถนาดีต่อพุทธบริษัท ต่อประชาชน และต่อสังคมท้ังหมด ในการจัดพิมพ์หนังสือขึ้นโดยใช้ทุนก้อนใหญ่ เป็นผลสำ�เร็จในข้นั สดุ ทา้ ย เพอ่ื แจกจา่ ยมอบเปน็ ธรรมทาน เปน็ การส่งเสริมการศกึ ษาเผยแพรค่ วามร้คู วามเข้าใจใน พระพุทธศาสนา และเป็นการบูชาคุณพระรัตนตรัย โดยไม่คำ�นึงถึงค่าใช้จ่ายท่ีมากมาย ทั้งที่ไม่ได้ผลประโยชน์จาก หนังสือนแี้ ต่อยา่ งใดเลย การจดั ทำ�หนงั สอื ภาพเลม่ น้ี แยกไดเ้ ปน็ ๒ ขน้ั ตอน คอื ขน้ั แรก งานตง้ั เลม่ หนงั สอื ซง่ึ ทางบรษิ ทั ฯ ไดร้ บั ความ รว่ มมือจากคณุ ชาญชัย พนิ ทุเสน และคณุ สุภาพ ดีรตั นา ดำ�เนินการจนสำ�เร็จเป็นตน้ ฉบบั และขัน้ ท่สี อง งานจัดปรับ เสริมแต่ง คอื เม่อื งานน้ันมาถึงวัด ดงั ไดก้ ล่าวแลว้ ว่า เพอ่ื ความสะดวกในการประสานงาน ได้รบั ความเกื้อกูลจาก พระชยั ยศ พุทฺธวิ โร ในการจัดปรบั แตง่ แก้ ตามทผ่ี ู้เรียบเรียงได้พิจารณาหารอื ตรวจสอบจนลงตัว ถอื ว่า พระชัยยศ พทุ ธฺ ิวโร และคุณชาญชยั พนิ ทุเสน เป็นส่วนรว่ มทสี่ ำ�คญั ย่ิงในการสรา้ งกศุ ลคร้งั นี้ และขออนโุ มทนาเปน็ อยา่ งสงู

ตลอดกระบวนการจัดท�ำท้ังหมดน้ี ได้เน้นความส�ำคัญในเรื่องการติดต่อขออนุญาตลิขสิทธ์ิส�ำหรับภาพ ประกอบ ใหเ้ ปน็ ไปโดยชอบ ซึง่ ไดเ้ ปน็ ภาระท้ังแกค่ ณุ ชาญชยั พนิ ทุเสน แหง่ มลู นิธกิ ระต่ายในดวงจนั ทร์ ในช่วงต้น และแก่พระชัยยศ พุทธฺ ิวโร ในขัน้ ต่อมา ซง่ึ ไดด้ �ำเนนิ การให้ลุล่วงไปดว้ ยดี ขออนุโมทนาตอ่ สถาบนั องคก์ ร ตลอดจน บคุ คล ที่เปน็ แหลง่ เออื้ อำ� นวยภาพเหล่าน้นั และตอ่ ผ้ดู �ำเนนิ การติดต่อทกุ ท่านไว้ ณ ทน่ี ี้ เปน็ อย่างยงิ่ หนงั สอื น้ี เปน็ เรอื่ งของเหตกุ ารณใ์ นประวตั ศิ าสตร์ ซง่ึ มที งั้ การสรา้ งสรรคแ์ ละการทำ� ลาย โดยมภี าวะจติ ใจและ ภมู ปิ ญั ญาของมนษุ ยแ์ ฝงหรอื ซอ่ นอยเู่ บอื้ งหลงั รวมแลว้ ในดา้ นหนง่ึ กเ็ ปน็ ประวตั ศิ าสตรข์ องพระพทุ ธศาสนา และอกี ดา้ นหนง่ึ มองโดยรวม กค็ อื อารยธรรมของมนษุ ย์ ถา้ รจู้ กั ศกึ ษากห็ วงั วา่ จะเปน็ ประโยชนม์ าก ทงั้ ในแงเ่ ปน็ ความรขู้ อ้ มลู เป็นบทเรยี น และเป็นเครื่องปรงุ ของความคิดในการสร้างสรรค์พัฒนาอารยธรรมกันตอ่ ไป เปน็ ธรรมดาของผอู้ า่ นหรอื ดเู หตกุ ารณ์ ซง่ึ จะเกดิ มที ง้ั ความรแู้ ละความรสู้ กึ ในดา้ นความรู้ กต็ อ้ งพดู วา่ ความรู้ กค็ อื ความรู้ ความจรงิ ก็คือความจรงิ เม่ือเกิดมีขน้ึ แลว้ ก็ตอ้ งให้รไู้ ว้ ส่วนในด้านความรสู้ กึ จะตอ้ งปรับวางใหถ้ กู อยา่ ง น้อยไมต่ กเป็นทาสของความรู้สกึ เชน่ ความโกรธแค้นชิงชัง แต่พงึ ตั้งความรูส้ ึกนั้นไว้ในทางทีจ่ ะแตง่ สรรเจตจ�ำนงให้ มุ่งไปในทางแห่งเมตตาและกรุณา เพื่อว่าปัญญาจะได้น�ำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ โดยเฉพาะใน การทีจ่ ะน�ำอารยธรรมของมนษุ ย์ ไปสู่สนั ติสุขให้จงได้ ขออนโุ มทนา บรษิ ทั มหพนั ธไ์ ฟเบอรซ์ เี มนต์ จ�ำกดั (มหาชน) ซงึ่ เปน็ ผนู้ �ำ ทไ่ี ดร้ เิ รม่ิ และหนนุ งานจดั ท�ำหนงั สอื ภาพกาลานกุ รมนี้ให้ดำ� เนินมาจนถึงความสำ� เร็จ เพือ่ บำ� เพ็ญธรรมทานสมดงั บญุ เจตนาท่ตี ั้งไว้ ขอคุณพระรัตนตรัยอวยชัยให้ผู้ศรัทธาบ�ำเพ็ญธรรมทานน้ี และผู้ที่เก่ียวข้อง ประสบจตุรพิธพรทั่วกัน และ ให้ผอู้ า่ นผู้ศกึ ษา มกี �ำลงั ท้งั ทางกาย ทางใจ ทางปัญญา และพลงั ความสามคั คี ท่ีจะช่วยกันใชค้ วามรู้สนองเจตนาท่ี ประกอบดว้ ยเมตตาการุณย์ เพ่ือรว่ มกนั แก้ปัญหา สรา้ งสรรคส์ งั คม เก้ือกูลแก่สรรพชีพ ให้ทงั้ โลกสนั นวิ าสน้ี มีความ รม่ เยน็ เกษมศานต์ ตลอดกาลยืนนานสบื ไป ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

วิธอี ่านกาลานกุ รม เนอื้ หา เหตุการณ์ในพระพทุ ธศาสนา วิธอี า่ น อา่ นจากหน้าซ้าย ต่อไปหน้าขวา คอื อ่านเนอ้ื หาทตี่ ่อเนือ่ ง และเหตุการณ์ทเี่ กีย่ วข้องในชมพทู วีป (อ่านบน กบั อา่ นล่าง คืออา่ นเพอ่ื เทยี บเคียงเหตกุ ารณ)์ (ข้างบน) พุทธฯ ถกู ท�ำลายอีก กอ่ นฟน้ื ใหม่ ทงั้ ฮนั่ และศศางกะ ถึงอวสาน บอกเหตกุ ารณ์ พ.ศ. ๑๑๔๘-๑๑๖๒ (ค.ศ. 605-619) ราชา พ.ศ. ๑๑๔๘ (ค.ศ. 605) หลังชว่ งเวลาว่นุ วายใน ในชมพูทวีป ศศางกะ เป็นฮนิ ดูนกิ ายไศวะ ได้ด�ำเนนิ การท�ำลาย ชมพทู วีป กษตั ริย์ราชวงศ์วรรธนะได้ปราบพวกหณู ะลง เสน้ เวลา (Timeline) พระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง เช่น สงั หารพระสงฆท์ ี่ ได้ใน พ.ศ. ๑๑๔๘ แตแ่ ลว้ ราชาใหมร่ าชยวรรธนะกถ็ ูก กสุ นิ าราหมดส้นิ โค่นพระศรมี หาโพธทิ์ ี่พทุ ธคยา นำ� ราชาศศางกะใช้กลลวงปลงพระชนมเ์ สีย (ขา้ งลา่ ง) พระพทุ ธรปู ออกจากพระวหิ ารแลว้ เอาศิวลึงคเ์ ข้าไปต้ัง บอกเหตุการณ์ แทน แม้แต่เงนิ ตราของรัชกาลกจ็ ารึกขอ้ ความกำ� กับ เหตกุ ารณน์ ที้ ำ� ใหเ้ จา้ ชายหรรษวรรธนะผเู้ ปน็ อนชุ า พระนามราชาวา่ “ผูป้ ราบพทุ ธศาสนา” ตอ้ งเขา้ มารกั ษาแผน่ ดนิ ขนึ้ ครองราชยท์ เ่ี มอื งกนั ยากพุ ชะ ทอ่ี นื่ ในโลก (ปัจจบุ ัน=Kanauj) มพี ระนามวา่ หรรษะ แหง่ ราชวงศ์ วรรธนะ และได้กลายเปน็ ราชายิง่ ใหญ่พระองคใ์ หม่ ราชาศศางกะทเ่ี ปน็ ฮนิ ดไู ศวะ กส็ น้ิ อำ� นาจใน พ.ศ. ๑๑๖๒ แลว้ ดินแดนทง้ั หมดกเ็ ข้ารวมในจักรวรรดิของ พระเจ้าหรรษวรรธนะ อาณาจักรศรีวิชยั เกิดท่สี มุ าตรา ทวาราวดี ในทีแ่ หง่ สุวรรณภูมิ พทุ ธศาสนาเขา้ สูท่ เิ บต พ.ศ. ๑๑๐๐ (กะคร่าวๆ; ค.ศ. 600) ในชว่ งเวลา พ.ศ. ๑๑๕๐ (โดยประมาณ; ค.ศ. 600) พ.ศ. ๑๑๖๐ (ค.ศ. 617) เปน็ ปปี ระสตู ขิ องกษตั รยิ ์ นี้ มีอาณาจกั รใหมท่ สี่ ำ� คัญเรยี กวา่ ศรวี ชิ ยั เกดิ ขึน้ ในดนิ อารยธรรมทวาราวดี ของชนชาติมอญ ได้รุ่งเรอื งเด่นขน้ึ ทิเบตพระนามสรองสนั คมั โป ซึ่งต่อมาไดอ้ ภิเษกสมรสกับ แดนที่ปัจจุบนั เปน็ อนิ โดนีเซยี และมาเลเซีย มาในดนิ แดนทเ่ี ปน็ ประเทศไทยปจั จบุ ัน แถบล่มุ แม่น�้ำ เจ้าหญิงจีนและเจา้ หญงิ เนปาล ที่นบั ถือพระพทุ ธศาสนา เจ้าพระยาตอนลา่ ง ต้ังเมืองหลวงทน่ี ครปฐม เปน็ แหลง่ เปน็ จุดเรม่ิ ให้พระพุทธศาสนา เทา่ ท่ีทราบ อาณาจกั รน้ีเร่มิ ขน้ึ โดยชาวฮินดจู าก รบั วัฒนธรรมชมพทู วปี รวมทงั้ พระพุทธศาสนา แล้วเผย เข้าสทู่ ิเบต พระเจา้ สรองสนั - อนิ เดยี ใตม้ าตง้ั ถนิ่ ฐานทป่ี าเลมบงั ในเกาะสมุ าตรา ตงั้ แตก่ อ่ น แพร่ออกไปในเขมร พม่า ไทยอยู่นาน จนเลือนหายไปใน คัมโป ทรงสง่ ราชทตู ช่ือ ค.ศ. 600 แตม่ ชี อื่ ปรากฏครงั้ แรกในบันทึกของหลวงจีน อาณาจักรสยามยคุ สุโขทยั แห่ง พ.ศต. ที่ ๑๘-๑๙ ทอนมิสัมโภตะไปศึกษาพระ อจ้ี งิ ผมู้ าแวะบนเสน้ ทางสู่ชมพูทวีปเมือ่ พ.ศ. ๑๒๑๔ พทุ ธศาสนาและภาษาต่างๆ อาณาจักรทวาราวดีนเ้ี จรญิ ข้นึ มาในดินแดนที่ ในอนิ เดีย และดดั แปลงอักษร เทคโนโลยี: พลงั งานจากลม ถอื ว่าเคยเป็นถิ่นซงึ่ เรียกวา่ สวุ รรณภมู ิในสมัยโบราณ อนิ เดียมาใชเ้ ขยี นภาษาทิเบต ตง้ั แตก่ อ่ นยุคอโศก ใน พ.ศต. ท่ี ๓ พ.ศ. ๑๑๕๐ (โดยประมาณ; ค.ศ. 600) ที่ เปอร์เซยี คนท�ำกงั หนั ลม ขึน้ ใชค้ รั้งแรก หมายเหตุ: วงกาลจกั ร แสดงเขตเวลา เนื้อหา เหตกุ ารณส์ �ำคญั ในส่วนอื่นของโลก ทเ่ี กดิ ขนึ้ ของเหตุการณ์ทอี่ ยใู่ นหนา้ นนั้ ๆ ในช่วงเวลาใกลเ้ คยี งกบั เหตกุ ารณ์ในชมพทู วีปข้างบน ๑. เน้อื หาของหนงั สือน้ีได้เขียนไวเ้ ม่ือ ๘ ปกี ่อน โนน้ เพียงเพ่อื เป็นส่วนประกอบหรือสว่ นเสรมิ ของหนังสอื ปรารถนาดที จ่ี ะเพม่ิ พูนประโยชน์แกผ่ อู้ ่าน แมจ้ ะยงั มิได้ ตา่ งประเทศก็ออกเสยี งวา่ “เตอรก์ ี” หรือ “เทอร์กี”); จาริกบญุ จารึกธรรม ไมไ่ ดต้ ั้งใจทำ� เป็นหนงั สือเล่มหนงึ่ ดำ� เนนิ การคดั เลือกอยา่ งเป็นงานเป็นการจรงิ จงั กห็ วังว่า ค�ำทใ่ี นอดตี เคยออกเสยี งว่า “อาเซยี ” ปจั จบุ ันนิยมวา่ ต่างหาก เหตกุ ารณบ์ างอย่างจึงอาจมีรายละเอยี ดไม่ จะช่วยเสริมความคิดความเข้าใจในการมองภาพรวมของ “เอเชยี ” ในทนี่ ไี้ ดป้ รบั ตามนยิ มบา้ ง แตค่ ำ� วา่ “อาเซยี กลาง” สมสว่ นกนั อีกทัง้ เรอื่ งทส่ี �ำคญั แต่ไมเ่ ป็นเหตกุ ารณ์ และ เหตกุ ารณไ์ ดพ้ อสมควร ซึง่ ในท่ีน้ีกลา่ วถึงบอ่ ย ไดป้ ลอ่ ยไว้ตามท่คี ้นุ เสยี งกัน; เหตกุ ารณ์สำ� คญั แต่ไม่ทันนกึ กไ็ ม่มี ตกั สลิ า ใช้อย่างท่ีลดรปู จากค�ำบาลี คอื “ตกฺกสลิ า” (ไม่ ๓. การสะกดชือ่ ประเทศ เผ่าชน ฯลฯ โดยท่ัวไป ใช้ ตกั ศิลา ทล่ี ดรปู จากคำ� สนั สกฤต “ตกษฺ ศลิ า”); เขยี น ๒. แผนภูมิกาลานกุ รม ท่ีเป็นใบแทรกพ่วงไวท้ า้ ย ถอื ตามก�ำหนดของราชบณั ฑติ ยสถาน เชน่ ทิเบต (ไม่ใช้ กาหลฟิ (ไมใ่ ชก้ าหลิบ หรือกาหลปิ ) ใหใ้ กล้เสยี งค�ำอาหรบั เลม่ เปน็ สว่ นทผ่ี จู้ ดั ทำ� ภาพประกอบ ได้เลอื กเหตุการณ์ ธิเบต) แตบ่ างช่อื ใชอ้ ยา่ งอ่ืนดว้ ยเหตุผลเฉพาะ เช่น ตรุ กี ว่า คอลฟี ะฮ์ ซ่งึ เห็นวา่ สำ� คัญในเนอื้ หนงั สือมาจดั ทำ� ล�ำดับไว้ เป็นความ ในที่น้ีใช้ เตอร์กี เพ่ือให้โยงกันไดก้ ับเผา่ ชน “เตอร์ก” ซ่ึงมีเรือ่ งราวเก่ยี วขอ้ งมากในกาลานกุ รมนี้ (พจนานกุ รม

สารบญั ชมพูทวีป ก) ฮั่น-ฮนิ ดู ท�ำลายพุทธ ..........................................64 ก) มุสลมิ ครอง ๖ ศตวรรษ ..................................116 ระลอกท่ี 3. มสุ ลิมมงโกล .......................................135 (เรอ่ื งขา้ งบนเหนือเสน้ เวลา) หลังพทุ ธกาล ภัยนอกภยั ใน จนมลายสูญส้นิ .......76 ข) ฝรงั่ มา พุทธศาสนากลับเร่ิมฟน้ื ค) ยุคองั กฤษปกครอง ............................................154 กอ่ นพุทธกาล .........................................................3 พทุ ธศาสนารุง่ เรือง ยคุ ท่ี ๓ ......................................78 ค) พทุ ธศาสนาฝ่ากระแสโลกาภิวัตน์ พุทธกาล ..................................................................7 ข) ยุคมุสลมิ เข้าครอง หลังพุทธกาล สงั คายนา คร้ังที่ ๑ - พญามิลนิ ท์ 24 ระลอกที่ 1. มสุ ลมิ อาหรบั ........................................90 ผ่านเขา้ สหัสวรรษใหม่ .....................................197 พทุ ธศาสนาสูญสิ้น จากอนิ เดีย พุทธศาสนารุ่งเรือง ยุคท่ี ๑ ......................................34 ระลอกที่ 2. มุสลิมเตอรก์ .........................................98 หลังพทุ ธกาล ......................................................218 ทมิฬก์ ถ่นิ อนิ เดยี ใต้ .................................................43 หลงั พทุ ธกาล ๘๐๐ ปี ทอี่ ินเดียไมม่ พี ุทธศาสนา ชมพทู วปี ในปัจจุบนั หลงั พทุ ธกาล ยคุ กุษาณ - ส้นิ ยุคคปุ ตะ ...............50 พทุ ธศาสนารุ่งเรอื ง ยุคที่ ๒ ......................................58 นานาทวีป การแผ่ขยายอสิ ลาม .................................................80 พ.ศ. ๒๒๙๓ - พ.ศ. ๒๔๘๐ ........................154 ช่วงที่ 1. อาหรบั -กาหลฟิ (เรอ่ื งข้างล่างใต้เส้นเวลา) เม่อื พทุ ธศาสนาจะสูญสนิ้ จากอนิ เดีย ......................97 สงครามโลกครงั้ ท่ี 1 ...............................................183 ชว่ งท่ี 2. เตอร์ก-สุลต่าน สงครามโลกคร้งั ท่ี 2 ...............................................189 624 ปี ก่อนค.ศ. ....................................................7 500 ปี ก่อนค.ศ. .................................................25 พ.ศ. ๑๗๗๕ - พ.ศ. ๒๒๗๙ .......................112 พ.ศ. ๒๔๘๐ - พ.ศ. ๒๕๔๓ ........................192 ลงั กาทวปี ค่แู ค้นแดนทมฬิ ......................................43 ยุคอาณานิคม ........................................................124 นานาทวีป: ศาสนา-ศาสนิก ...................................218 เหตกุ ารณส์ �ำคญั ต่อจากกลางปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ........220 141 ปี ก่อนค.ศ. .................................................54 พ.ศ. ๑๑๐๐ - พ.ศ. ๑๗๖๓ ...........................76



เ ต รี ย ม เ ส บี ย ง แ ห่ ง

ทะเล ทะเลดำ� เมดิเตอเรเนยี น แม่น�้ำทกิ รีส ทะเล ครีต แมน่ �้ำยูเฟรตีส แคสเปยี น อยี ปิ ต์ เมโสโปเตเมีย ทะเล แดง อิหร่าน อัฟกานิสถาน อา่ ว แมน่ ้ำ� สินธุ ฮารัปปา เปอร์เซีย โมเหนโจ-ดาโร นิวเดลี อ่าวเอเดน อนิ เดีย 2 กาลานกุ รม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

ก่อนพทุ ธกาล อารยธรรมชมพูทวปี c. 2600-1500 BC [๒๐๐๐-๙๐๐ ปี ก่อนพ.ศ.] ยคุ อารยธรรมลมุ่ แมน่ า้ํ สนิ ธุ (Indus civilization, บางที เรียก Harappan civilization) มีจุดขดุ คน้ สำ�คญั อยูท่ ่ี Mohenjo-Daro (ทางตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของเมอื งการาจี ในปากสี ถาน) และ Harappa (หา่ งจดุ แรก ๓๐๐ ไมล)์ เปน็ อารยธรรมเกา่ แกท่ ส่ี ดุ เทา่ ทร่ี ขู้ องเอเชยี ใต้ อยใู่ นยคุ สมั ฤทธ์ิ (Bronze Age) สมัยเดียวกบั อารยธรรมอียปิ ตโ์ บราณ อารยธรรมเมโสโปเตเมยี และอารยธรรมมโิ นอนั ทเ่ี กาะครตี อารยธรรมน้เี จริญมาก มเี มอื งท่ีจดั วางผงั อยา่ งดี พรอ้ มทง้ั ระบบชลประทาน ร้จู กั เขียนตวั หนังสอื มีมาตรา ชง่ั -ตวง-วัด นบั ถือเทพเจ้าซึง่ มีลกั ษณะอย่างทีเ่ ปน็ พระ จีน ศิวะในยคุ หลังต่อมา อารยธรรมนีแ้ ผ่ขยายกว้างขวาง ทาง ตะวันตกถงึ ชายแดนอิหรา่ น ทางเหนอื ถงึ สดุ เขตอฟั กา- นิสถาน ทางตะวนั ออกถงึ กรุงนวิ เดลปี ัจจบุ นั 1500-1200 BC [๙๐๐-๖๐๐ ปีกอ่ น พ.ศ.] ชนเผา่ อารยัน ยกจากทร่ี าบสูงอิหร่านหรือเปอร์เซีย เขา้ มารกุ รานและครอบครองตลอดลงไปถึงลุ่มแมน่ ้าํ คงคา พร้อมทัง้ นำ�ศาสนาพราหมณ์ ภาษาสนั สกฤต และระบบ วรรณะเขา้ มาดว้ ย อารยธรรมเร่มิ เขา้ สยู่ ุคเหล็ก จากซา้ ย: ตราเมืองฮารปั ปา Priest King อารยธรรมโมเหนโจ-ดาโร เครือ่ งปนั้ ดนิ เผา โมเหนโจ-ดาโร พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยุตฺโต ) 3





กัมโพชะ ชมั มแู ละแคชเมียร์ ตกั สลิ า คนั ธาระ เกเกยะ ปากสี ถาน หมิ าจัลประเทศ จีน สาคละ กรุ ุ ปญั จาบ อตุ ตรนั จลั อินทปตั ถ์ หะระยาณ มัจฉะ สุรเสนะมถุรา เหจสัตอตปีหินัญิฉโากตั จปสรารุ โมัะละกพะศี ลสศพาาวากกัตรยามาถกะณสลัี บมีลสลิ คะีพธรัสาดชเว์ุคสฤาวหลอวชั์ ิเีงั ทชคจหี ัมะะปา เนปาล สกิ ขิม ภฐู าน อรณุ าจัลประเทศ วังสะ ราชสถาน อตุ ตรประเทศ อสั สมั นาคาแลนด์ อุชเชนี คุชราต อวนั ตี พิหาร บงั คลเมาฆเาทลัยศ มณีปุระ จารขัณฑ์ ตเบะวงกนั อตลก ไมโซราม มัธยประเทศ วทิ รรภะ อินเดยี ชาตสิ การห์ พมา่ อัสสกะ โภชะ โอรสิ สา กลงิ คะ มหาราษฎร์ อนั ธระ อันธรประเทศ กวั กรณาฏกะ เกราละ ทมฬิ นาฑุ ดนิ แดนชมพทู วปี สมยั พทุ ธกาล เทียบกับประเทศอินเดยี ปจั จบุ ัน 6 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

ชมพทู วปี -พทุ ธศาสนา ๑๖ แคว้นแหง่ ชมพูทวีป 623 BC ชมพทู วปี แบ่งเปน็ ๑๖ แควน้ (โสฬส- มหาชนบท) นบั จากตะวันออกข้นึ ไปทางตะวันตกเฉยี ง- เหนือ คอื องั คะ มคธ กาสี โกศล วชั ชี มลั ละ เจตี วงั สะ กรุ ุ ปญั จาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คนั ธาระ กมั โพชะ (กมั โพชะบางทเี รยี กควบกบั “โยนะ” เปน็ โยนะ- กมั โพชะ หรอื โยนก-กมั โพชะ) ใน ๑๖ น้ี บางแคว้นไดส้ ญู ส้ินหรือก�ำลังเส่อื ม อำ� นาจ บางแควน้ มชี อ่ื เสยี งหรือกำ� ลงั เรอื งอำ� นาจขน้ึ มา (สังเกตทใี่ หต้ ัวอักษรดำ� หนา) โดยเฉพาะแคว้นทจี่ ะมี อ�ำนาจสงู สดุ ตอ่ ไปคอื มคธ เหตกุ ารณโ์ ลก จากซา้ ย: ทะเลดำ� Anaximander, Thales, โยนก ท่ีเกิดปราชญ์กรกี Pythagoras, Heraclitus ทะเล เอเธนส์ ทะเล อนาโตเลยี อีเจยี น 624?-546? BC ทแี่ ดนกรีกแหง่ ไอโอเนยี เป็น พดู ง่ายๆ วา่ ในเตอร์กปี ัจจุบนั ) พวกกรกี แห่งไอโอเนียหรอื ไอโอเนยี ช่วงชวี ิตของเธลสี (Thales) ผู้ได้ชื่อวา่ เป็นนักปรชั ญากรกี ไอโอเนียนกรีกน้ี อพยพหนีภัยมาจากแผน่ ดนิ กรกี ตง้ั แต่ เมดิเตอเรเนยี น และนกั ปรัชญาตะวนั ตกคนแรก (ถา้ นับอย่างเรากต็ รง กอ่ น 1000 BC เนือ่ งจากเปน็ ผูใ้ ฝ่ปัญญา ตอ่ มาต้งั แตร่ าว เกือบเท่ากับช่วงพระชนมชพี ของพระพุทธเจ้าคอื 623- 800 BC ชนพวกนไี้ ดน้ ำ� กรกี เขา้ สคู่ วามเจรญิ ทางวทิ ยาการ 543 BC) และศิลปะวัฒนธรรม เรมิ่ ยุคกรีกแบบฉบับ (Classical Greek) โดยเฉพาะในชว่ ง 600-500 BC ได้มีนักปราชญ์ ในชว่ งพุทธกาลนัน้ มดี นิ แดนกรีกที่กำ� ลังเจริญ เกดิ ขนึ้ มาก เชน่ เธลสี ทก่ี ล่าวแลว้ และอะแนกซมิ านเดอร์ รงุ่ เรอื ง เฉพาะอยา่ งย่ิงเป็นแหลง่ ก�ำเนิดแห่งปรชั ญากรกี (Anaximander) พแิ ธกอรสั (Pythagoras) เฮราไคลตสั และเมธีชนยุคแรกของตะวันตก เรยี กวา่ ไอโอเนีย (Ionia (Heraclitus) พารเ์ มนดิ สี (Parmenides) อะแนกซากอรสั ไดแ้ ก่ อนาโตเลีย/Anatolia หรือเอเชยี นอ้ ย/Asia Minor (Anaxagoras) เป็นตน้ ซ่งึ เปน็ รุน่ อาจารย์ของโสเครตีส และหมเู่ กาะอเี จยี น/Aegean Islands ในทะเลอเี จยี น ที่เป็นนกั ปรชั ญากรกี ยคุ กรงุ เอเธนส์ในสมยั ตอ่ มา หรือซอกข้างบนด้านตะวนั ออกของทะเลเมดเิ ตอเรเนยี น พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 7

ประสตู ิ-ตรัสรู้-ประกาศพระศาสนา ๔๕ ปี ก.พ.ศ. (= 588 BC) ในวนั เพญ็ วสิ าขปรุ ณมี ที่ปา่ นั้น ตอ่ มาไม่นาน หลังจากยสกุลบตุ ร ๑ และ เจา้ ชายสทิ ธัตถะพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ตรสั รู้เป็นพระ สหาย ๕๔ คน ออกบวชและบรรลอุ รหตั ตผลแลว้ เกิดมี ๘๐ ปี ก.พ.ศ. (= 623 BC; ฝร่งั วา่ 563 BC) สัมมาสัมพุทธเจา้ ที่มหาโพธพิ ฤกษ์ ริมฝัง่ แม่น�ำเนรัญชรา พระอรหนั ตสาวกยุคแรก ๖๐ รูป จงึ ทรงส่งพระสาวก เจา้ ชายสทิ ธตั ถะโอรสของพระเจา้ สทุ โธทนะ และพระนาง ตำ� บลอรุ ุเวลา เสนานิคม (ปจั จุบัน เรียกวา่ “พุทธคยา”) ไปประกาศพระศาสนาดว้ ยพุทธพจน์ ซ่งึ มตี อนส�ำคญั ท่ี สริ มิ หามายา แห่งแคว้นศากยะ ประสูติที่ลมุ พนิ ีวนั ในแควน้ มคธ จำ� เป็นหลกั กันสืบมาว่า “จรถ ภกิ ขฺ เว จารกิ ํ พหุชนหิตาย ระหวา่ งเมอื งกบิลพัสด์ุ กบั เมืองเทวทหะ หลังประสตู แิ ลว้ พหชุ นสขุ าย โลกานกุ มฺปาย” (ภิกษุทง้ั หลาย เธอทงั้ หลาย ๗ วัน พระพุทธมารดาสวรรคต ๒ เดือนจากน้ัน ในวนั เพ็ญอาสาฬหปรุ ณมี พระ จงจาริกไป เพอ่ื ประโยชน์สุขแกช่ นจำ� นวนมาก เพอ่ื เกอื้ สัมมาสัมพุทธเจา้ ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกปั ป- การุณย์แก่ชาวโลก) ๕๑ ปี ก.พ.ศ. (= 594 BC) เจ้าชายสทิ ธตั ถะ พระ วัตตนสูตร แกพ่ ระเบญจวัคคีย์ ท่ปี า่ อสิ ิปตนมฤคทายวนั ชนมายุ ๒๙ พรรษา เสดจ็ ออกผนวช (มหาภเิ นษกรมณ์) ใกลเ้ มืองพาราณสี ทีอ่ โนมานที 8 กาลานกุ รม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

ประดิษฐานพระศาสนาในแควน้ มคธ โดยเฉพาะเม่อื พระสารบี ตุ รบรรลุอรหตั ตผล พอดี หนา้ ตรงขา้ มจากซ้าย: ถงึ วนั มาฆปรุ ณมี ราตรนี นั้ มจี าตรุ งคสนั นบิ าต พระพทุ ธเจา้ ลุมพินวี ัน ประเทศเนปาล ต่อนัน้ นบั แตต่ รัสรไู้ ด้ ๙ เดอื น หลงั เสดจ็ จาก ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ในท่ปี ระชมุ พระอรหันตสาวก เจดยี ์พทุ ธคยา เมอื งคยา ปา่ อิสิปตนมฤคทายวัน เมอื งพาราณสี ยอ้ นกลับมาแคว้น ๑,๒๕๐ รูป จากซ้าย: มคธ โปรดชฎลิ ๑,๐๐๐ ท่ีคยาสสี ะแล้ว เสดจ็ เขา้ เมือง ธมั เมกขสถูป เมืองสารนาถ ราชคฤห์ โปรดพระเจ้าพมิ พสิ ารและราชบริพาร ไดร้ ับ ในปที ี่ ๓ แหง่ พทุ ธกจิ อนาถบณิ ฑกิ เศรษฐเี ลอื่ มใส สาลวโนทยาน เมอื งกุสินารา ถวายพระเวฬุวันเป็นอารามแรกในพระพทุ ธศาสนา ไดเ้ ปน็ อบุ าสกแลว้ สรา้ งวดั พระเชตวนั ถวาย ทเี่ มอื งสาวตั ถี แควน้ โกศลอนั เปน็ อารามทป่ี ระทับและแสดงธรรมมาก ทรงบำ� เพญ็ พุทธกิจประดิษฐานพระพทุ ธศาสนา ทีส่ ดุ รวม ๑๙ พรรษา (รองลงมา คือวัดบพุ พาราม ท่นี าง ในแคว้นมคธ ทรงไดอ้ คั รสาวก คือพระสารบี ตุ ร และพระ วิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย ในเมืองสาวตั ถี เช่นกัน มหาโมคคลั ลานะ อดตี ปรพิ าชก (ชอ่ื เดมิ วา่ อปุ ตสิ สะ และ ซึ่งได้ประทบั รวม ๖ พรรษา) โกลติ ะ) พร้อมบรวิ าร ซงึ่ ไดอ้ อกบรรพชา รวมเป็น ๒๕๐ พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยุตโฺ ต ) 9

พทุ ธประวัติตรัสเล่า เรา ในบดั น้ี ผ้สู มั พุทธโคดม เจริญมาในศากยสกลุ … นครอนั เปน็ ถนิ่ แดนของเราชื่อวา่ กบลิ พสั ด์ุ พระเจา้ สุทโธทนะเปน็ พระบดิ า พระมารดาผูช้ นนมี พี ระนามวา่ มายาเทวี เราครองอาคารยิ วิสยั อยู่ ๒๙ พรรษา มีปราสาท ๓ หลงั ชื่อวา่ สุจันทะ โกกนทุ และโกญจะ พร้อมด้วย สตรสี ห่ี มนื่ นางเฝา้ แหนอลงั การ ยอดนารมี ีนามวา่ ยโสธรา โอรสนามว่าราหลุ เราเห็นนิมติ ๔ ประการแล้ว สละออกผนวชด้วย ม้าเป็นราชยาน บำ� เพญ็ เพียรอนั เป็นทกุ รกริ ยิ าสิน้ เวลา ๖ ปี (ครนั้ ตรัสรู้แล้ว) ไดป้ ระกาศธรรมจักรทป่ี ่าอิสปิ ตน- มฤคทายวนั ในถ่นิ แหง่ พาราณสี เรา ผูโ้ คตมสัมพุทธ เป็นทพ่ี ึ่งของมวลประชา มี ภกิ ษุ ๒ รูป เป็นอัครสาวก คอื อุปดิสส์ และโกลติ มี อุปฏั ฐากอยู่ภายในใกลช้ ิดชือ่ ว่า อานนท์ ภิกษุณีท่เี ป็น คูอ่ คั รสาวกิ า คอื เขมา และอบุ ลวรรณา อุบาสกผเู้ ป็น อคั รอุปัฏฐาก คือ จิตตะ และหัตถาฬวกะ กับท้งั อุบาสกิ า ท่ีเปน็ อคั รอปุ ัฏฐายิกา คอื นนั ทมารดา และอตุ ตรา เราบรรลอุ ุดมสมั โพธญิ าณท่ีควงไม้อัสสตั ถพฤกษา (แตน่ ั้นมา) รัศมหี น่งึ วาวงรอบกายของเราอย่เู สมอพวยพุ่ง สงู ๑๖ ศอก อายุขยั ของเราบดั น้ี เลก็ นอ้ ยเพยี งแคใ่ นรอ้ ย ปี แต่ช่ัวเวลาเทา่ ท่ีดำ� รงชีวอี ยนู่ ้นั เราไดช้ ว่ ยใหห้ มู่ชนข้าม พน้ วฏั สงสารไปได้มากมาย ทัง้ ตง้ั คบเพลงิ ธรรมไว้ปลกุ คน ภายหลงั ใหเ้ กิดปัญญาท่ีจะตืน่ ขน้ึ มาตรสั รู้ตอ่ ไป 10 กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

อกี ไมน่ านเลย แม้เรา พรอ้ มทง้ั หมู่สงฆ์สาวก กจ็ ะ มคธ … และบดั นี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจา้ พระองค์ ภูเขาคิชฌกฏู ปรนิ ิพพาน ณ ท่ีนี้แล เหมอื นดังไฟท่ีดบั ไปเพราะสิ้นเช้อื นี้ เสด็จอุบตั แิ ล้วในโลก แลเรามีคู่แหง่ สาวก ท่ีเปน็ คเู่ ลิศ ประดาเดชอันไม่มีใดเทยี บได้ ความยิ่งใหญ่ ทศพลญาณ เป็นคทู่ ี่ดเี ยีย่ ม ชือ่ ว่าสารบี ุตรและโมคคลั ลานะ … เม่ือสงิ่ ท่มี ีความสูญสนิ้ ไปเป็นธรรมดา มาสญู และฤทธาปาฏหิ ารยิ ์ หมดทงั้ สิ้นเหลา่ นี้ พร้อมทัง้ เรอื น สิ้นไป เขาหาได้มองเห็นตระหนักไม่วา่ มใิ ชว่ า่ ส่ิงท่ีมคี วาม ร่างวรกายที่ทรงไว้ซ่งึ คุณสมบัติ วิจติ รดว้ ยวรลักษณ์ท้งั ภิกษุทง้ั หลาย เวลานัน้ จกั มาถงึ เม่ือชอื่ ภูเขานี้จกั สญู ส้ินไปเป็นธรรมดาของเราผ้เู ดยี วเท่าน้นั จะสูญสนิ้ ไป ๓๒ ประการ อันมดี วงประภาฉัพพรรณรงั สี ที่ได้ฉายแสง ลบั หาย หมู่มนุษย์เหล่านี้จักลบั ล่วงจากไป และเราก็จกั แทจ้ ริงนน้ั ตราบใดทีส่ ตั วท์ ัง้ หลาย ยงั มกี ารมา มกี ารไป มี สวา่ งไสวไปทวั่ ทศทศิ ดจุ ดวงอาทิตย์ศตรังสี ก็จกั พลนั ลบั ปรนิ ิพพาน การจากหายเคล่ือนยา้ ย มีการเกดิ ข้ึนมาใหมก่ ันอยู่ สงิ่ ท่มี ี ดับหาย สงั ขารทง้ั หลายล้วนวา่ งเปล่าดงั นมี้ ใิ ชห่ รอื ความสญู สิน้ ไปเป็นธรรมดา ก็ย่อมสญู ส้ินไปท้ังน้นั ตวั เรา ภิกษุทั้งหลาย สงั ขารท้งั หลายไมเ่ ที่ยงอยา่ งน้ี ไม่ เองน่แี หละ เมอ่ื สิ่งทมี่ คี วามสญู สิ้นไปเป็นธรรมดาสญู สิน้ (โคตมพุทธฺ วํส, ข.ุ พทุ ธ.๓๓/๒๖/๕๔๓) ยงั่ ยนื อย่างน้ี ใหค้ วามม่ันใจไม่ได้อย่างน้ี ตามภาวะที่เป็น ไปแลว้ ถา้ จะมามวั เศร้าโศก คร่�ำครวญ รำ�่ ไร ตีอก ร่ำ� ไห้ ไปน้ี จึงควรแทท้ จ่ี ะหน่ายหายเมาในสรรพสงั ขาร ควรท่ี ฟมู ฟายไป แมแ้ ตอ่ าหารก็จะไม่อยากรบั ประทาน รา่ งกาย สงั ขารไมเ่ ทีย่ งแทย้ ่ังยนื จะเปลอ้ื งคลายโล่งออกไป ควรที่จะพ้นกเิ ลสไปได้ … กจ็ ะมผี ิวพรรณเศร้าหมอง ซบู ผอม งานการก็จะสะดุด ควรจะคลายหายห่นื หายเมา เสียหาย เหลา่ พวกอมติ รก็จะดีใจ ส่วนมิตรทง้ั หลายก็จะ ภเู ขาปาจนี วงั สะของหมู่ชนชาวติวรา มาเปน็ ภเู ขา พลอยใจเสีย สมยั หน่งึ พระผู้มีพระภาคประทบั อยู่ ณ ภเู ขา วงกตของหม่ชู นชาวโรหติ สั สะ เปน็ ภูเขาสุปัสสะของหมู่ คิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล … ไดต้ รสั ดังน้ี ชนชาวสุปปิยา เป็นภเู ขาเวปลุ ละของหมชู่ นชาวมคธ ไม่ ว่า … เทยี่ งเลยหนอ สงั ขารทงั้ หลาย มีอันเกิดข้นึ และเส่อื ม สลายไปเป็นธรรมดา เกิดข้ึนแล้วกด็ ับไป ความสงบวางลง ภิกษทุ ้ังหลาย ในกาลกอ่ นได้เคยเป็นมาแล้ว ภูเขา ปลงไดแ้ หง่ สังขารเหล่านั้นเป็นสุข เวปลุ ละนี้ได้เกดิ มีชอื่ ว่าปาจนี วงั สะ สมัยนัน้ แล เหล่า ประชาชนไดช้ ื่อว่าชาวติวรา … จงดูเถดิ ชื่อภูเขาน้ีทเ่ี รียก (ส.ํ นิ.๑๖/๔๕๖/๒๒๕) วา่ ปาจนี วงั สะนน้ั กอ็ นั ตรธานไปแลว้ ประชาชนชาวติวรา เหลา่ นน้ั ก็ดบั ชีพลับหายไปแล้ว … แม้ชวี ติ จะผันแปรทกุ ข์ภัยเวยี นมาสารพัน ผู้รู้ธรรมแล้วรู้ทนั ย่อมมุ่งมน่ั พากเพียรต่อไป ภเู ขาเวปลุ ละนี้ไดเ้ กดิ มชี ื่อว่าวงกต สมยั นน้ั แล เหล่าประชาชนไดช้ อ่ื ว่าชาวโรหติ สั สะ … ภกิ ษทุ ง้ั หลาย สำ� หรบั ปถุ ชุ นผมู้ ไิ ดเ้ ลา่ เรยี นสดบั ฟงั สง่ิ ทมี่ คี วามแกเ่ ปน็ ธรรมดา กย็ อ่ มแก่ … สง่ิ ทมี่ คี วามเจบ็ ไข้ ภูเขาเวปลุ ละนไี้ ดเ้ กิดมีชอ่ื วา่ สุปสั สะ สมัยนัน้ แล เปน็ ธรรมดา กย็ อ่ มเจบ็ ไข้ ... สง่ิ ทม่ี คี วามตายเปน็ ธรรมดา เหล่าประชาชนไดช้ อ่ื วา่ ชาวสปุ ปิยา … กย็ อ่ มตาย ... สง่ิ ทมี่ คี วามเสอ่ื มสลายไปเปน็ ธรรมดา กย็ อ่ ม เสอ่ื มสลายไป ... สงิ่ ทม่ี คี วามสญู สนิ้ ไปเปน็ ธรรมดา กย็ อ่ ม ภิกษทุ ง้ั หลาย บดั นแ้ี ล ภูเขาเวปุลละนีม้ ีชอ่ื ว่า สญู สนิ้ ไป เวปลุ ละนแี่ หละ แลบัดน้ี เหล่าประชาชนมชี ื่อวา่ ชาว พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ โฺ ต ) 11

ด้วยประการดงั ว่านี้ เมอ่ื ส่งิ ที่มีความสูญสน้ิ ไปเปน็ หากร้ชู ดั ว่าจดุ หมายน้ัน ไมว่ ่าเราหรือคนอ่ืนใด ดกู รพราหมณ์ ทา่ นจงอาบตนในหลักธรรมนเ้ี ถิด ธรรมดา มาสญู สน้ิ ไป เขากไ็ ดแ้ ตเ่ ศรา้ โศก คร่�ำครวญ ร่�ำไร ไมม่ ีใครจะให้สำ� เรจ็ ได้ ก็ไมต่ ้องเศร้าเสยี ใจ พึงวางจติ สงบ จงสร้างความเกษมแกส่ ัตวท์ ง้ั ปวงเถิด ถา้ ทา่ นไมก่ ล่าว ตีอก รำ�่ ไห้ ฟมู ฟายไป ตั้งใจแน่วลงไปว่า ทีน้ี เราจะทำ� การอะไรมงุ่ มนั่ ตอ่ ไป เท็จ ไม่เบยี ดเบยี นสัตว์ ไมท่ �ำอทินนาทาน เปน็ ผ้มู ศี รัทธา หาความตระหน่ีมิไดไ้ ซร้ ทา่ นจะตอ้ งไปทา่ น�ำ้ คยาท�ำไม นเ้ี รยี กวา่ ปุถุชนผู้มิไดเ้ ลา่ เรียนสดับฟงั ถูกลูกศร (องฺ.ปฺ จก.๒๒/๔๘/๖๐–๖๓) แม้น�้ำดมื่ ของทา่ นกเ็ ปน็ น�ำ้ คยาแลว้ ” อาบยาพษิ คอื ความโศกเศร้า เสียบแทงเข้าแล้ว ไดแ้ ต่ ท�ำตัวเองให้เดือดรอ้ น เพยี รท�ำให้สำ� เรจ็ ด้วยกรรมดี (ม.ม.ู 12/98/70) ไม่มวั รรี อขอผลดลบันดาล ภิกษทุ ้ังหลาย สว่ นว่าอริยสาวกผู้ไดเ้ รียนสดับแลว้ “ถา้ แม้นบุคคลจะพน้ จากบาปกรรมได้ เพราะการ สง่ิ ท่ีมีความแกเ่ ป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่ … สิง่ ท่ีมคี วามสูญ “คนพาลมกี รรมดำ� ถึงจะโลดแล่นไปยัง (แมน่ ้ำ� อาบนำ้� (ชำ� ระบาป) กบ เตา่ นาค จระเข้ และสตั วเ์ หลา่ อนื่ ส้นิ ไปเปน็ ธรรมดา ก็ยอ่ มสญู สนิ้ ไป ศักดิ์สทิ ธ์ติ ่างๆ คือ) แมน่ ำ�้ พาหุกา ท่าน้�ำอธกิ กั กะ ทา่ น้�ำ ทเี่ ทยี่ วไปในแมน่ ำ�้ ก็จะพากนั ไปสู่สวรรคแ์ น่นอน ... ถา้ คยา แมน่ ้ำ� สุนทรกิ า แม่น้ำ� สรัสวดี ท่านำ�้ ปยาคะ และ แม่น�้ำเหล่านี้จะพาเอาบาปทท่ี า่ นทำ� ไวแ้ ลว้ ในกาลก่อนไป … เมือ่ ส่ิงที่มีความสญู ส้นิ ไปเป็นธรรมดา มาสญู แม่น้ำ� พาหุมดี เป็นนิตย์ กบ็ รสิ ุทธิ์ไมไ่ ด้ … ได้ไซร้ แมน่ ำ้� เหล่าน้กี ็ต้องพาเอาบุญของทา่ นไปไดด้ ้วย” สนิ้ ไป เขามองเหน็ ตระหนกั ดงั น้ีว่า มิใชว่ ่าสิ่งท่มี คี วาม สญู ส้ินไปเป็นธรรมดาของเราผู้เดยี วเทา่ น้นั จะสูญสนิ้ ไป (ข.ุ เถร.ี ๒๖/๔๖๖/๔๗๓) แทจ้ รงิ นนั้ ตราบใดท่สี ัตวท์ ัง้ หลาย ยังมีการมา มีการไป มี การจากหายเคลอื่ นย้าย มกี ารเกดิ ขนึ้ มาใหมก่ นั อยู่ ส่งิ ทม่ี ี ปัญจาละ ม.อจริ วดี ความสูญสน้ิ ไปเป็นธรรมดา ก็ยอ่ มสญู สน้ิ ไปท้งั นั้น … โกศลสังกสั สะ ด้วยประการดังว่าน้ี เมื่อสงิ่ ท่ีมคี วามสูญสนิ้ ไป เจวตงั สี ะ กาสี มคธ วชั ชอี ังคะม.ยมนุ า เป็นธรรมดา มาสญู สนิ้ ไป อริยสาวกนนั้ ก็ไม่มัวโศกเศรา้ โกสมัม.โพคมมี ต.สิสนุาปสวทยัตารเากิถกคาีตะมมกสม..พอสุบ.โสองุนาลิ มรหมสิพาภาิปุกสัพรูตาดคานุ์รริ ลมาี มุฤณพคสนิทรีกีาาสุปยมนิาวอควาันรุ าารเุอมวาคาลยฬาาวีปม.ามฏเหวิลสรีบานาุตลชาีรคลนัฤทหมา์ิถิลา ครำ�่ ครวญ ร่�ำไร ตอี ก รำ่� ไห้ ฟูมฟายอยู่ … ม.โกสกิ ี ม.สทานีรา อริยสาวกนนั้ ผู้ไมม่ ีความโศกศลั ย์ ไม่มีลกู ศรเสยี บ ม.โรหิณี แทงใจ ท�ำตนใหห้ ายทุกขร์ ้อนสงบเยน็ ได้ … ม.คงคา ความโศกเศรา้ การคร่�ำครวญรำ่� ไห้ จะชว่ ยให้ ได้ประโยชนอ์ ะไรในโลกนี้ แมแ้ ตน่ อ้ ย ก็หาไม่ บัณฑิตผู้ จัมปา จีน รู้เข้าใจฉลาดในการวนิ จิ ฉัยเร่ืองราว ยอ่ มไมห่ วนั่ ไหวต่อ ปากีสถาน เนปาล เคราะห์รา้ ยภัยพบิ ัติ … ประโยชนท์ ดี่ ีงามพงึ มุ่งหมาย จะ ม.เน ัรญชรา ม.สรสั วดี สำ� เรจ็ ไดท้ ไี่ หน ด้วยวิธกี ารอยา่ งไร ก็พึงพากเพียรมุ่งหนา้ ม.มหาน ีท อินเดีย ท�ำไปทน่ี ่นั ดว้ ยวิธีการนน้ั ๆ 12 กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

จากบน: บูชายัญใหญ่ยงิ่ แต่ผูม้ คี วามดยี ่งิ ใหญ่ หญา้ เขยี วสด จงดื่มน�้ำเยน็ จงรับลมสดชน่ื ท่พี ดั โชยมาให้ เชตวนั มหาวหิ าร ไมม่ าเฉยี ดใกล้ สุขสบายเถิด พธิ ีอัศวเมธ ฆา่ สัตว์บชู ายัญ สมยั หนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคประทบั อยู่ ณ พระวหิ าร (ท.ี สี.๙/๒๓๖/๑๘๙) เชตวนั อารามของอนาถบณิ ฑกิ เศรษฐี เขตพระนครสาวตั ถี พระพรหม ไตรเพท บูชายญั วรรณะ ล้วนคือ กโ็ ดยสมยั นนั้ แล พระเจา้ ปเสนทโิ กศลไดต้ ระเตรยี ม โมฆะที่แตง่ สรร การบูชามหายญั โคผู้ ๕๐๐ ตวั ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตวั ลกู โคเมยี ๕๐๐ ตวั แพะ ๕๐๐ ตวั และแกะ ๕๐๐ ตวั ถูก พราหมณ์เนสาท กลา่ ววา่ น�ำไปผูกท่หี ลักเพื่อบชู ายัญ แม้ประดาเหล่าชนทเ่ี ปน็ เพราะได้บูชามหายญั แล้ว พราหมณ์ท้งั หลายจงึ ทาส เปน็ คนรับใช้ หรอื กรรมกร ถูกขู่ด้วยอาชญา ถูกภัย บริสุทธไ์ิ ดอ้ ยา่ งนี้ (เพราะฉะนน้ั ) เราจักบูชามหายญั และ คกุ คาม มหี นา้ นองน�้ำตา ร้องไหพ้ ลาง ท�ำงานเตรียมการ ดว้ ยการปฏบิ ตั อิ ยา่ งนี้ เราก็จะหลดุ พน้ จากบาป ทงั้ หลายไปพลาง … (ข.ุ ชา.๒๘/๗๒๒/๒๕๑) ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความน้ัน แล้ว ได้ตรสั พระคาถาเหลา่ น้ใี นเวลานน้ั ว่า กาณารฏิ ฐะ ผู้เปน็ พราหมณ์ในอดีต กล่าววา่ “อรยิ ชนชาวอารยันคือพราหมณร์ า่ ยมนต์ พธิ ีอัศวเมธ (ฆ่าม้าบชู ายัญ) ปุรสิ เมธ (ฆ่าคน ทรงไตรเพท พวกกษัตรยิ ป์ กครองแผน่ ดนิ พวกแพศย์ บชู ายญั ) สัมมาปาสะ (มหายญั บนแท่นบชู าตรงทีห่ ล่น ประกอบกสกิ รรม และพวกศูทรบ�ำเรอรบั ใช”้ วรรณะ ลงของไม้ลอดบว่ ง) วาชเปยยะ (มหายญั ดืม่ ฉลองฆา่ สตั ว์ ทงั้ ๔ นี้ เขา้ ส่หู น้าทีจ่ �ำเพาะอย่างตามก�ำหนดท่ชี ส้ี ง่ั องค์ ใหญ่ ๑๗ อย่างละหลายรอ้ ยตัว) นริ คั คฬะ (ฆา่ ครบทกุ มหาพรหมเป็นเจ้า ไดท้ รงจัดสรรไว้ ท่านบอกมาดังว่าน้ี อยา่ งไมม่ ขี ดี ค่นั บชู าเป็นมหายญั ) เป็นการบูชายัญอยา่ ง พระพรหมผทู้ รงสรา้ งทรงจดั สรรโลก พระวรณุ เทพ ย่งิ ใหญ่ มกี ารจดั เตรยี มการใหญโ่ ต จะได้มีผลมากมายก็ ทา้ วกเุ วร พระโสมะ พระยมเทพ พระจนั ทร์ พระวายุ หาไม่ มแี ตแ่ พะ แกะ โค และสัตว์หลากหลายชนดิ จะถูก พระสรุ ยิ เทพ เทพไทเ้ หลา่ น้ี ลว้ นไดบ้ ชู ายญั กนั มามากมาย ฆา่ , ยญั นนั้ ทา่ นผู้ด�ำเนนิ ในปฏิปทาถูกทาง ผูแ้ สวงคุณ และได้ถวายสงิ่ สรรพอ์ นั นา่ ปรารถนาแกพ่ ราหมณ์ผูท้ รง ความดียิ่งใหญ่ ยอ่ มไม่เฉยี ดใกล้ เวทแล้ว (จงึ ได้มาเป็นใหญอ่ ยา่ งน้)ี ท้าวอรชนุ และท้าวภมี เสน ผทู้ รงพลงั ทงั้ ผนื (ส.ํ ส.๑๕/๓๔๙/๑๐๙) แผน่ ดนิ หาใครเทยี บไม่ได้ ยกธนูได้ ๕๐๐ คนั ดังมีพนั พาหา นั่นก็คอื ทา่ นไดบ้ ูชาไฟมาแตค่ รง้ั ก่อนนัน้ กฏู ทันตพราหมณ์ กลา่ ววา่ ขา้ แต่พระโคดมผู้เจรญิ ข้าพเจ้าขอปลอ่ ยโคผู้ (ขุ.ชา.๒๘/๗๖๑/๒๕๘) ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคเมยี ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ แกะ ๗๐๐ ขา้ พเจ้าใหช้ ีวติ แกส่ ัตว์เหลา่ นั้น สตั วเ์ หล่านน้ั จงกนิ พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 13

จากซา้ ย: ว่า พระพรหมมอี �ำนาจเหนือทุกสิง่ ทกุ อยา่ ง และว่าพระ ศึกษามนต์ คนนอกจากวรรณะแพศย์ก็ไมพ่ งึ ทำ� กสิกรรม พระพรหม พรหมบชู าไฟ กพ็ ระพรหมมีอ�ำนาจ ทรงสรรพานภุ าพ และพวกศทู รกจ็ ะไม่พ้นจากการรบั ใชผ้ ู้อน่ื ไปได้ คมั ภรี ์ฤคเวท ไม่มใี ครสรา้ ง กลบั ไปไหว้ไฟทตี่ นสรา้ งเพื่อประโยชนอ์ ะไร พราหมณ์ แตเ่ พราะค�ำนีไ้ มจ่ รงิ เปน็ ค�ำเทจ็ พวกคนหาเล้ยี ง ช�ำระบาป คำ� ของพวกพราหมณน์ ัน้ น่าหวั เราะ ไม่ทนต่อการ ทอ้ งกลา่ วไว้ ใหค้ นไมม่ ปี ญั ญาหลงเชอ่ื แตบ่ ณั ฑติ ทง้ั หลาย พินจิ ไม่เป็นความจริง พวกพราหมณ์ปางกอ่ นแตง่ ขน้ึ ไว้ ยอ่ มเห็นดว้ ยตนเองว่า พระโพธสิ ัตว์ องค์ภูริทตั กลา่ ววา่ เพราะเห็นแกส่ กั การะ คร้ันเม่อื ลาภและสักการะไมเ่ กิด ถ้าคนท�ำบญุ ได้โดยเอาไมแ้ ละหญา้ ให้ไฟกิน คน ขึ้น พวกเขากจ็ ัดแตง่ ยัญพิธีขนึ้ มา เอาการฆ่าสัตวบ์ ชู ายัญ พวกกษตั รยิ ก์ เ็ กบ็ สว่ ยจากพวกแพศย์ พวกพราหมณ์ เผาถ่าน คนหงุ เกลือ พอ่ ครวั และคนเผาศพ ก็ตอ้ งได้ เปน็ สันตธิ รรม กถ็ อื ศสั ตราเทีย่ วฆ่าสัตว์ เหตไุ ฉน พระพรหมจงึ ไม่ทำ� โลก ท�ำบญุ … ทีว่ ุ่นวายผดิ เพ้ยี นไปเช่นนน้ั ให้ตรงเสยี คนบูชาไฟอนั ไรอ้ ินทรีย์ ไมม่ ีกายทจ่ี ะร้สู กึ เปน็ “อรยิ ชนคอื พราหมณร์ ่ายมนตท์ รงไตรเพท พวก เพียงเครือ่ งทำ� การงานของประชาชน เมื่อคนยงั ท�ำบาป กษตั ริยป์ กครองแผ่นดิน พวกแพศยป์ ระกอบกสิกรรม ถา้ พระพรหมเป็นใหญใ่ นสรรพโลก เป็นจอมบดี กรรมอยู่ จะไปสคุ ตไิ ด้อย่างไร และพวกศทู รบ�ำเรอรับใช้” วรรณะทัง้ ๔ นี้ เขา้ สหู่ นา้ ที่ เปน็ เจา้ ชวี ีของหมสู่ ตั ว์ ทำ� ไมจึงจดั สรรทง้ั โลกใหม้ เี รอ่ื ง พวกพราหมณใ์ นโลกน้ตี อ้ งการหาเลี้ยงชีวติ กบ็ อก จำ� เพาะอยา่ งตามกำ� หนดทช่ี ส้ี งั่ เขาบอกวา่ องคม์ หาพรหม เลวร้าย ท�ำไมไม่ทำ� โลกทงั้ ปวงใหม้ คี วามสขุ เปน็ เจ้า ไดท้ รงจดั สรรไว้ ถา้ พระพรหมเป็นใหญ่ในสรรพโลก เปน็ จอมบดี ถา้ ค�ำนี้เป็นจรงิ อย่างทพ่ี วกพราหมณ์กลา่ วไว้ คน เปน็ เจา้ ชีวีของหมูส่ ตั ว์ แล้วทรงตอ้ งประสงคอ์ ันใด จึง ท่ีมใิ ช่กษตั ริยก์ ็ไมพ่ งึ ไดร้ าชสมบัติ ผทู้ ่มี ิใชพ่ ราหมณ์ก็ไม่พึง สร้างโลกมิให้เป็นไปโดยธรรม กลบั ให้มที ัง้ การหลอกลวง การมดเท็จ แม้กระท่งั ความมัวเมา 14 กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

ถา้ พระพรหมเป็นใหญใ่ นสรรพโลก เปน็ จอมบดี ภเู ขามาลาคิรี ขนุ เขาหมิ วนั ต์ ภเู ขาวิชฌะ ภเู ขา บอ่ นำ�้ ท้งั หลายในมนุษยโลกนี้ ท่ีเขาขุดไว้กลาย เป็นเจ้าชวี ีของหมู่สัตว์ ก็ชือ่ ว่าเป็นเจา้ ชีวติ ทอ่ี ยุตธิ รรม สุทัศน์ ภูเขานิสภะ ภูเขากากเวรุ ภเู ขาเหลา่ นี้ และภเู ขา เปน็ น�้ำเค็มกม็ ี แตไ่ มใ่ ช่เคม็ เพราะทว่ มพราหมณ์ตาย… ทั้งท่ีธรรมมอี ยู่ แตพ่ ระพรหมนัน้ กจ็ ดั สรรโลกใหไ้ ม่เปน็ ใหญอ่ นื่ ๆ เขาบอกว่า พวกพราหมณ์ผู้บชู ายัญกอ่ สรา้ งไว้ ธรรม… ครง้ั เกา่ โพ้นดกึ ด�ำบรรพ์ ใครเป็นภรรยาของใคร ทพ่ี ูดกนั มาว่าพวกพราหมณผ์ ูบ้ ูชายัญเอาอฐิ มา คนกไ็ ดใ้ หก้ �ำเนดิ มนษุ ยข์ น้ึ ตัง้ แตก่ อ่ นมา ตามธรรมดา ถา้ คนฆ่าคนฆ่าสตั ว์ (บูชายัญ) แล้วจะบรสิ ทุ ธ์ิ ก่อเป็นภูเขา แตภ่ เู ขาหาใช่เป็นอฐิ อยา่ งนน้ั ไม่ เห็นชดั ๆ น้ัน จงึ ไมม่ ีใครเลวกวา่ ใคร การจดั แบง่ จำ� แนกคนกไ็ ดว้ ่า และผถู้ กู ฆ่าจะเข้าถงึ แดนสวรรค์ พวกพราหมณ์ก็พึงฆ่า วา่ เป็นหนิ … เหล็กและโลหะย่อมไม่เกิดในอิฐ ทีพ่ วก กนั ไปตามการงานอาชีพทที่ �ำมาอย่างน้ี ถงึ แม้เป็นลกู คน พวกพราหมณ์ด้วยกนั หรอื พึงฆา่ พวกทเ่ี ชื่อถอ้ ยคำ� ของ พราหมณ์พร�ำ่ พรรณนายัญกลา่ วไว้ว่า ผูบ้ ูชายญั ก่อขน้ึ มา จัณฑาลกพ็ งึ เรยี นเวทกลา่ วมนต์ได้ หากเปน็ คนฉลาดมี พราหมณ์เสียสิ ความคิด หวั ของเขาก็ไม่ตอ้ งแตกเจด็ เส่ยี ง (อยา่ งที่พวก เขาบอกว่า พราหมณผ์ ู้ชาญเวท เขา้ ถงึ คุณแหง่ พราหมณว์ ่า) … พวกเนอื้ พวกปศสุ ตั ว์ และโคตัวไหนๆ ไม่ได้อ้อน มนต์ ผมู้ ีตบะ เปน็ ผู้ประกอบการขอ มหาสมทุ รซัดท่วม วอนขอใหฆ้ า่ ตวั มนั เลย มแี ตด่ น้ิ รนตอ้ งการมชี วี ติ อยใู่ นโลก พราหมณน์ นั้ ผกู้ ำ� ลังตระเตรยี มน้ำ� อยทู่ ี่ฝั่งมหาสมทุ ร เป็น (ข.ุ ชา.๒๘/๗๗๑-๒/๒๖๐–๒๗๐) นี้ แต่คนไปเอาเหลา่ ปศสุ ัตว์มาผกู เขา้ ที่เสาหลกั บูชายญั เหตใุ ห้นํา้ ในมหาสมทุ ร (ถกู ลงโทษใหเ้ คม็ ) ดื่มไม่ได้ แล้วพวกพาลชนกย็ ่ืนหนา้ เขา้ ไปตรงเสาบูชายญั แมน่ ำ้� ทง้ั หลายพดั พาเอาพราหมณ์ผ้เู จนจบเวท ท่ผี กู สัตว์ไว้ พร่ำ� พรรณนาถ้อยค�ำงามเสนาะท่ีแตง่ สรรวา่ ทรงมนตไ์ ปเกินกว่าพนั น�้ำในแม่นำ้� เหล่านนั้ ก็มิได้เสยี รส เสาหลกั บชู ายัญนจี้ ะอ�ำนวยสิ่งทปี่ รารถนาแก่ทา่ นในโลก ไป เหตุไฉนมหาสมทุ รท่กี ว้างขวางสุดประมาณเท่านนั้ จงึ หนา้ จะเป็นของย่งั ยืนในสมั ปรายภพ … นำ้� เสยี ดื่มไม่ได้ พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 15

ชัน้ วรรณะหมดไป ตบะไลบ่ าปไมไ่ ป ใชส้ มาธแิ ละปญั ญา คนยิ่งใหญโ่ ดยธรรมด้วยความดี จึงหมดอวิชชาเปน็ อิสระได้ บคุ คลไม่เปน็ คนถ่อยทรามเพราะชาตกิ �ำเนดิ ไม่ สมัยหนง่ึ พระผมู้ พี ระภาคประทับอยู่ ณ ภเู ขา เป็นพราหมณ์เพราะชาติก�ำเนิด แต่เป็นคนถอ่ ยทราม คิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ... ได้ตรสั ว่า เพราะกรรม (สิง่ ท่ีคิด-พูด-ท�ำ) เปน็ พราหมณเ์ พราะกรรม (ส่งิ ทคี่ ิด-พูด-ทำ� ) ดกู รนโิ ครธ ผู้บ�ำเพญ็ ตบะในโลกนี้ เป็นชีเปลือย ปล่อยตัวไม่ถอื มารยาท เลยี มอื ... ถอื รับอาหารในเรือน (ขุ.ส.ุ ๒๕/๓๐๕/๓๔๙) หลงั เดียว ยงั ชีพดว้ ยข้าวค�ำเดยี วบา้ ง ถือรับอาหารใน เรือน ๒ หลงั ยังชีพด้วยขา้ ว ๒ ค�ำบ้าง ... ถอื กนิ อาหาร กษตั รยิ ์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจณั ฑาล ทเ่ี กบ็ ไว้ค้าง ๑ วนั บา้ ง ถอื กินอาหารท่ีเก็บไว้คา้ ง ๒ วนั จนถึงคนขนขยะ ทกุ คนสงบกเิ ลสแลว้ ฝกึ ตนแลว้ ก็เปน็ บา้ ง ฯลฯ ถอื กนิ อาหารที่เกบ็ ไว้คา้ ง ๗ วันบา้ ง ถือบริโภค ผู้เย็นชนื่ สนทิ หมดทัง้ นัน้ เมอื่ เป็นผเู้ ยน็ ทกุ คนแลว้ กไ็ มม่ ี อาหารครึ่งเดือนมอ้ื หน่งึ บ้าง ... ถือกนิ ผักดองเป็นอาหาร ใครดีกว่า ไมม่ ใี ครเลวกวา่ ใคร ... ถือกินหญา้ เปน็ อาหาร ถอื กินโคมัย (ข้ีววั ) เป็นอาหาร ถือกนิ หัวเหง้าและผลไม้ปา่ เป็นอาหาร ถือกินผลไมห้ ลน่ (ข.ุ ชา.๒๗/๑๙๑๘/๓๗๖) ยังชพี ... ถือนุ่งห่มผา้ เปลอื กไม้ ถือนงุ่ หม่ หนงั เสือ ... ถือ นงุ่ ห่มผา้ ถักทอดว้ ยผมมนษุ ย์ ถือถอนผมและหนวด ถอื แมน่ �้ำสินธู แมน่ ำ�้ สรสั วดี แมน่ �ำ้ จนั ทภาคา แม่น้ำ� ยืนอย่างเดียวไม่ยอมน่งั ถอื เดนิ กระโหย่ง ถอื นอนบน คงคา แมน่ �ำ้ ยมุนา แมน่ �ำ้ สรภู และมหนิ ที ทั้งหมดนเ้ี ม่ือ หนาม ถอื นอนบนเนนิ ดิน ถอื คลุกตวั กับฝุน่ และเหงอ่ื ไคล หลง่ั ไหลมา สาครยอ่ มรบั ไว้ด้วยกัน ชอ่ื เดมิ นนั้ ก็สลัดหาย ถอื อยูก่ ลางแจ้ง ... ถือบริโภคคูถ ถอื หา้ มนำ้� เย็น ถือลงน้�ำ หมายรู้กันแต่ว่าเป็นทะเลใหญ่ วนั ละ ๓ ครงั้ … เหล่าชน ๔ วรรณะน้ี กเ็ ช่นกัน บรรพชาในสำ� นกั ดูกรนิโครธะ การหน่ายบาปดว้ ยตบะ แมท้ บ่ี ำ� เพ็ญ ของพระองค์ กล็ ะชอื่ เดิมหมดไป หมายรู้กันแตว่ า่ เป็น บรบิ รู ณแ์ ลว้ อยา่ งนี้ เรากลา่ ววา่ มอี ปุ กิเลสมากมาย … พุทธบตุ ร (หมดทั้งนน้ั ) (ที.ปา.๑๑/๒๓/๔๒) (ข.ุ อป.๓๒/๓/๓๙) สมัยหนง่ึ พระผู้มพี ระภาคประทบั อยู่ ณ กฏู าคาร ดูกรวาเสฏฐะฯ แท้จริงนั้น บรรดาวรรณะทั้งส่นี ้ี ศาลาในป่ามหาวัน ใกลน้ ครเวสาลี ครัง้ นัน้ แล เจา้ ลิจฉวี ผู้ใด… หา่ งไกลกิเลส … หลุดพน้ แลว้ เพราะร้ชู อบ ผนู้ นั้ แล พระนามวา่ สาฬหะและอภยั เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผมู้ พี ระ เรียกวา่ เป็นผู้เลิศสดุ เหนอื กว่าวรรณะท้ังหมดนนั้ ภาคถงึ ทป่ี ระทับ ทรงถวายอภวิ าทแล้ว ประทบั น่งั ณ ที่ ควรขา้ งหนึ่ง ท้ังนก้ี โ็ ดยธรรมน่ันเอง หาใช่โดยส่งิ อนั มใิ ชธ่ รรม ไม่ ดว้ ยวา่ ธรรมนแี่ หละ ประเสรฐิ สงู สดุ ในหม่มู นษุ ย์ ทงั้ บดั นี้ และเบ้ืองหน้า … ที.ปา.๑๑/๕๓/๙๐) 16 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

คร้ันแลว้ เจ้าสาฬหะลิจฉวไี ดท้ ูลถามพระผมู้ ี ดกู รสาฬหะ นกั รบเปน็ ผู้ยิงแมน่ ไว ฉันใด ฉันนน้ั พระภาคว่า ขา้ แตพ่ ระองคผ์ ู้เจรญิ สมณพราหมณ์พวก นน่ั แล อริยสาวกกเ็ ปน็ ผมู้ ีสัมมาทิฏฐิ, อริยสาวกผู้มี หน่งึ บญั ญตั ิการถอนตวั ข้นึ จากโอฆะ โดยเหตุ ๒ อยา่ ง สัมมาทฏิ ฐิ ยอ่ มร้ชู ดั ตามเปน็ จริงว่า นี้ทกุ ข์ นีท้ กุ ขสมุทัย คอื โดยศีลวสิ ุทธิเปน็ เหตุ ๑ โดยการหนา่ ยบาปดว้ ย นีท้ ุกขนโิ รธ นี้ทกุ ขนิโรธคามนิ ีปฏิปทา ตบะเปน็ เหตุ ๑ ส่วนในธรรมวินยั น้ี พระผู้มพี ระภาคตรัส อยา่ งไร พระเจ้าข้า ดูกรสาฬหะ นกั รบเป็นผทู้ �ำลายเป้าหมายทัง้ ใหญ่ ได้ ฉนั ใด ฉนั นั้นนั่นแล อรยิ สาวกก็เป็นผู้มสี ัมมาวิมตุ ต,ิ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดกู รสาฬหะ เรา อริยสาวกผู้มสี ัมมาวิมุตติ ยอ่ มทำ� ลายเสียได้ซง่ึ กอง กลา่ วศีลวิสทุ ธิแลว่า เปน็ องค์แหง่ สมณธรรมอยา่ งหน่งึ อวิชชาอันใหญ่ (แต่) สมณพราหมณ์เหล่าใด ถอื ลัทธหิ นา่ ยบาปดว้ ยตบะ ถอื การหน่ายบาปด้วยตบะเป็นสาระ ติดแนน่ อยใู่ นการ (อง.ฺ จตกุ กฺ .๒๑/๑๙๖/๒๗๑-๕) หน่ายบาปด้วยตบะ สมณพราหมณเ์ หล่าน้นั ไมอ่ าจเป็น ไปได้ทจ่ี ะไถถ่ อนตวั ขึ้นจากโอฆะ … สมณพราหมณ์เหลา่ ใด มีความประพฤติทาง กายบริสุทธ์ิ มีความประพฤติทางวาจาบรสิ ุทธ์ิ มคี วาม ประพฤตทิ างใจบรสิ ุทธ์ิ มอี าชีพบรสิ ทุ ธิ์ สมณพราหมณ์ เหลา่ นนั้ จงึ ควรเพ่อื ญาณทศั นะ เพอื่ ความตรัสรู้สูงสดุ … ดูกรสาฬหะ เปรยี บเหมอื นนักรบอาชพี ถึงแม้จะรู้ กระบวนธนมู ากมาย แตก่ ระนั้น เขาจะได้ชื่อวา่ เปน็ นักรบ คูค่ วรแก่ราชา ควรแกก่ ารใชง้ านของราชา ถงึ การนับว่า เป็นองค์ของราชาแท้ทีเดียว กด็ ้วยสถานะ ๓ ประการ กล่าวคอื เปน็ ผยู้ งิ ไดไ้ กล ๑ ยงิ แมน่ ไว ๑ ทำ� ลายเป้าหมาย ได้ทั้งใหญ่ ๑ ดกู รสาฬหะ นกั รบเปน็ ผยู้ งิ ไดไ้ กล แมฉ้ นั ใด ฉนั นน้ั นน่ั แล อรยิ สาวกกเ็ ปน็ ผมู้ สี มั มาสมาธ,ิ อรยิ สาวกผมู้ ี สมั มาสมาธิ ยอ่ มมองเหน็ ดว้ ยสมั มาปญั ญาตามเปน็ จรงิ อยา่ งนวี้ า่ รปู … เวทนา... สญั ญา... สังขาร... วญิ ญาณ… ทัง้ หมดน้ี ไม่ใชข่ องเรา ไมเ่ ป็นเรา ไมใ่ ช่ตัวตนของเรา พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยุตโฺ ต ) 17

๔๕ พรรษาแห่งพทุ ธกจิ ในเวลา ๔๕ ปแี ห่งการบำ�เพ็ญพุทธกจิ พระ พทุ ธเจา้ ไดเ้ สดจ็ ไปประทับจำ�พรรษา ณ สถานทีต่ า่ งๆ ซึง่ ท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตกุ ารณ์สำ�คญั บางอยา่ ง เปน็ ที่สงั เกตดังนี้ พรรษาท่ี ๑ ปา่ อิสิปตนมฤคทายวัน ใกลก้ รุง พาราณสี (โปรดพระเบญจวคั คยี ์) พรรษาท่ี ๒-๓-๔ พระเวฬวุ นั กรงุ ราชคฤห์ (ระยะประดษิ ฐานพระศาสนา เร่ิมแต่โปรดพระเจา้ พิมพสิ าร ได้อคั รสาวก ฯลฯ เสดจ็ นครกบลิ พสั ดค์ุ รง้ั แรก ฯลฯ อนาถบิณฑิกเศรษฐเี ป็นอบุ าสกถวายพระเชตวนั ; ถา้ ถอื ตามพระวินยั ปฎิ ก พรรษาที่ ๓ นา่ จะประทบั ที่ พระเชตวนั นครสาวตั ถ)ี พรรษาท่ี ๕ กูฏาคาร ในปา่ มหาวนั นครเวสาลี (โปรดพระพุทธบิดาซง่ึ ปรินิพพานท่กี รุงกบิลพสั ดุ์ และ โปรดพระญาติทว่ี ิวาทเรือ่ งแมน่ ํ้าโรหณิ ี พระมหาปชาบดี ผนวช เกิดภกิ ษุณสี งฆ์) บาบโิ ลเนยี ใช้ไม้สักอินเดีย หัวขอ้ “India”) ถ้าเปน็ จรงิ ตามทอ่ี ้างน้ี จะช่วยใหเ้ รือ่ ง ราวหลายอยา่ งในประวตั ศิ าสตรช์ ดั เจนย่ิงขึ้น (บาบโิ ลเนีย 605-562 BC ทีก่ รงุ บาบโิ ลน (Babylon อยู่ใต้ ปรากฏช่อื ในประวัตศิ าสตรก์ อ่ น 2,000 BC เคยตกเปน็ แบกแดด เมอื งหลวงของอริ กั ปจั จบุ นั เลก็ นอ้ ย) เปน็ รชั กาล ของแอสซเี รยี และสดุ ทา้ ยพา่ ยแพแ้ กเ่ ปอรเ์ ซีย ในปี 539 ของกษตั รยิ เ์ นบูคดั เนซซาร์ท่ี ๒ (Nebuchadnezzar II) BC ซ่งึ นับอยา่ งเรา = พ.ศ. ๔ นบั อยา่ งฝร่งั = ๕๖ ปีกอ่ น ในยคุ ทอ่ี าณาจกั รบาบิโลเนียรุ่งเรอื ง ต�ำราฝรัง่ กลา่ วว่า พ.ศ.; อเลกซานเดอร์มหาราชสวรรคตท่นี ี่ เม่อื 323 BC) ชา่ งก่อสรา้ งในบาบโิ ลนใชไ้ มส้ ักจากอนิ เดยี และอ้าง หลักฐานว่าคัมภรี ์ชาดกเอ่ยถึงการคา้ กับกรุงบาบิโลน หลงั จากบาบิโลนเส่ือมอำ� นาจแลว้ พอ่ ค้าชาว โดยเรยี กช่อื เป็นภาษาบาลวี ่า “พาเวร”ุ (ข.ุ ชา.๒๗/๖๕๕/ อาหรับไดเ้ ป็นผคู้ า้ ขายตอ่ มา โดยคงจะจัดสง่ สนิ คา้ จาก ๑๕๔; อ้างใน Encyclopædia Britannica, 1994-2002 อนิ เดียแกอ่ ยี ปิ ต์และเมดิเตอเรเนยี น 18 กาลานกุ รม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

พรรษาท่ี ๖ มกลุ บรรพต (ภายหลังทรงแสดง พรรษาที่ ๑๑ เอกนาลา หมู่บา้ นพราหมณ์ พรรษาที่ ๒๐ พระเวฬวุ นั นครราชคฤห์ (โปรด ยมกปาฏหิ าริย์ทน่ี ครสาวตั ถี) พรรษาที่ ๑๒ เมืองเวรญั ชา มหาโจรองคุลมิ าล พระอานนท์ได้รับหนา้ ท่ีเป็นพระพุทธ- พรรษาท่ี ๑๓ จาลิยบรรพต อปุ ฏั ฐากประจำ�) พรรษาท่ี ๗ ดาวดงึ สเทวโลก (แสดงพระอภธิ รรม พรรษาที่ ๑๔ พระเชตวัน (พระราหุลอปุ สมบท โปรดพระพุทธมารดา) วาระน)้ี พรรษาที่ ๒๑-๔๕ ประทับสลับไปมา ณ พระ พรรษาท่ี ๑๕ นิโครธาราม นครกบลิ พสั ด์ุ เชตวนั กบั บพุ พาราม พระนครสาวตั ถี (รวมทง้ั คราวกอ่ น พรรษาที่ ๘ เภสกลาวัน ใกล้เมอื งสุงสุมารครี ี พรรษาที่ ๑๖ เมอื งอาฬวี (ทรมานอาฬวกยกั ษ์) นด้ี ้วย อรรถกถาว่าพระพทุ ธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ แควน้ ภัคคะ (พบนกุลบดิ า และนกุลมารดา) พรรษาท่ี ๑๗ พระเวฬวุ ัน นครราชคฤห์ พรรษา ณ บพุ พาราม ๖ พรรษา) พรรษาท่ี ๑๘-๑๙ จาลิยบรรพต พรรษาท่ี ๙ โฆสติ าราม เมอื งโกสัมพี พรรษาท่ี ๔๕ เวฬวุ คาม ใกลน้ ครเวสาลี พรรษาที่ ๑๐ ปา่ ตำ�บลปารเิ ลยยกะ ใกลเ้ มือง โกสมั พี (ในคราวท่ีภกิ ษุชาวเมอื งโกสมั พที ะเลาะกัน) ทะเลดำ� เล่าจอื๊ ขงจ๊อื ปราชญ์แหง่ จนี ตุรกี แมน่ ำ้� ทกิ รีส แคทสะเเปลยี น c.604 BC ท่ีเมืองจีน ประมาณว่าเป็นปีเกิดของ เล่าจอ๊ื (Lao-tze or Lao-tzu) แมน่ �้ำยเู ฟรตสี บาบิโลน c.551?-479 BC เป็นชว่ งชวี ิตของขงจอ๊ื (Confu- เมดิเตทอะเเลรเนียน ซีเรยี อริ กั อินเดยี cius) อิสจอรารเ์แออดบาลนณาบาโิ จลักนรกรงุ บาบอโิ เลปหิ อนอรร่า่า์เวซนยี อยี ิปต์ จากซ้าย: พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 19 บาบิโลน ทแะดเลง ซาอุดีอาระเบยี เล่าจื๊อ ขงจ๊อื

พุทธกจิ ประจ�ำวนั นอกจากสถานทท่ี รงจ�ำพรรษาใน ๔๕ ปีแห่ง พุทธกิจแลว้ พระอรรถกถาจารยไ์ ดป้ ระมวลพระพทุ ธกจิ ทีพ่ ระพทุ ธเจ้าทรงปฏบิ ตั เิ ป็นประจำ� ในแต่ละวันไวด้ ้วยวา่ มี ๕ อยา่ ง เรยี กว่า พุทธกจิ ประจ�ำวัน ๕ ดังนี้ ๑. ปพุ พฺ ณเฺ ห ปณิ ฑฺ ปาตญจฺ เวลาเชา้ เสดจ็ บณิ ฑบาต ๒. สายณเฺ ห ธมมฺ เทสนํ เวลาเยน็ ทรงแสดงธรรม ๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาคํา่ ประทานโอวาท แก่เหล่าภิกษุ ๔. อฑฒฺ รตฺเต เทวปญหฺ นํ เทีย่ งคนื ทรงตอบ เทวปัญหา ๕. ปจฺจสุ ฺเสว คเต กาเล ภพพฺ าภพเฺ พ วโิ ลกนํ จวนสวา่ ง ทรงตรวจพจิ ารณาสัตว์ทสี่ ามารถและยงั ไม่ สามารถบรรลุธรรม ว่าควรจะเสดจ็ ไปโปรดผ้ใู ด (สรุปทา้ ยว่า เอเต ปญฺจวเิ ธ กิจเฺ จ วิโสเธติ มนุ ิ ปงุ ฺคโว พระพทุ ธเจา้ องค์พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงยงั กิจ ๕ ประการน้ใี หห้ มดจด) Cyrus II the Great เปอร์เซียขึน้ ครองกรกี ด้านการเมอื ง ในปี 546 BC (นบั อย่างเรา ๓ ปี กอ่ นสิ้นพุทธกาล) พระเจา้ Cyrus II the Great ผู้ต้งั จักรวรรดิเปอรเ์ ซยี (อหิ ร่าน) ที่อยู่ถัดจากชมพูทวีป ได้ มาตเี อาพวกไอโอเนยี นกรกี ท่ีอะนาโตเลียไวใ้ ต้อ�ำนาจ จากน้ันพระเจา้ Cyrus II ไดย้ ึดบาบโิ ลนในปี 539 BC หลังนน้ั ก็มาตีเอาบากเตรยี (Bactria เป็นอาณาจกั ร โบราณ = อัฟกานิสถานตอนบน + เอเซยี กลางตอนลา่ ง) ไว้ใต้ปกครองของเปอรเ์ ซีย 20 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

ต้นแบบสงั คายนาและพุทธปัจฉมิ วาจา 527 BC (ตวั เลขฝา่ ยตะวนั ตก) มหาวรี ะ (นคิ รนถนาฏบุตร) ศาสดาแหง่ ศาสนาเชน/ไชนะ สิ้นชีพ สาวกทะเลาะวิวาทกนั เป็นข้อปรารภท่พี ระพุทธเจา้ ทรง แนะนำ� ให้มกี ารสงั คายนา และครัง้ หนง่ึ พระสารีบตุ รได้ แสดงสังคีตสิ ตู รไวเ้ ป็นตวั อย่าง ๑ ปี ก.พศ. (= 543 BC; ฝรั่งว่า 483 BC ) ในวัน เพ็ญวิสาขปุรณมี หลังจากบำ� เพญ็ พทุ ธกิจ ๔๕ พรรษา พระพทุ ธเจา้ มีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา เสดจ็ ปรนิ พิ พาน ทสี่ าลวโนทยาน เมอื งกสุ ินารา พระพุทธปัจฉมิ วาจา... “วยธมฺมา สงขฺ ารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” (สังขารท้งั หลายมีความเส่ือม สลายไปเปน็ ธรรมดา จงท�ำกิจทัง้ ปวงให้ถงึ พร้อม ด้วย ความไม่ประมาท) ทะเลดำ� โยนก: ไอโอเนยี -บากเตรีย ตรุ กี ทะเลแคสเปยี น อริ ักออ่าิหวรเปา่ นอรอ์เซฟั ยี กานสิ ถาน พวกเปอร์เซียเรยี ก Ionians คอื ไอโอเนยี นกรกี วา่ Yauna (เยานะ) ซ่ึงเม่อื มาถึงชมพทู วปี เรยี กเปน็ University of Texas Libraries “ยวนะ” บา้ ง “โยนะ” บ้าง หรอื เรยี กชอื่ ถ่นิ ตามคำ� เรียก ตวั คนเปน็ “โยนก” แลว้ ใชเ้ รียกชาวกรกี ทกุ พวกสบื มา ระยะแรกมกั หมายถึงชุมชนกรกี ในเปอร์เซีย ตะวันออก ต่อมา หลงั อเลกซานเดอร์ฯ พิชติ บากเตรยี ใน ปี 328 BC แลว้ มุ่งเอากรกี ท่ีแควน้ บากเตรีย จนกระท่ัง ยุคทา้ ยๆ กลายเปน็ คำ� เรียกชาวต่างชาติพวกอนื่ ด้วย พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ โฺ ต ) 21



สั ง ค า ย น า ค ร้ั ง ที่ ๑ - พ ญ า มิ ลิ น ท์

ถ้�ำสัตตบรรณคูหา สังคายนา คร้ังที่ ๑ 24 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก ๓ เดือน หลังพทุ ธปรินพิ พาน (๙ เดอื น ก.พศ.) มี การสงั คายนาคร้ังท่ี ๑ ปรารภเรอ่ื งสุภัททภกิ ษุ ผู้บวชเม่อื แก่ กลา่ วจาบจว้ งพระธรรมวนิ ยั และเพอ่ื ใหพ้ ระธรรมวนิ ยั รุ่งเรืองอยู่สบื ไป โดยทีป่ ระชุมพระอรหันต์ ๕๐๐ รปู มี พระมหากสั สปะเปน็ ประธาน พระอบุ าลเี ปน็ ผู้วิสชั นา พระวินัย พระอานนทว์ สิ ชั นาพระธรรม (ท่จี ัดแยกเป็น พระสูตรและพระอภธิ รรม) ณ ถ�ำ้ สัตตบรรณคูหา ภเู ขา เวภารบรรพต เมอื งราชคฤห์ โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรง อุปถัมภ์ ใชเ้ วลา ๗ เดอื น wMwapwo.yfutchaetaMnaadyaveanretuare.com

การนบั พทุ ธศักราช สายอชาตศัตรสู ้ินวงศ์ สู่ปาฏลบี ุตร พ.ศ. ๗๒ (471 BC; ตามฝร่งั = 411 BC) หลัง จากกษัตริยท์ �ำปิตุฆาตต่อกันมา ๕ รัชกาล ราษฎรได้ โดยวิธีนับวา่ “บดั นี้ พระบรมศาสดาสัมมา- พ.ศ. ๑-๒๐ (543-523 BC; ตามฝรัง่ = 483- พรอ้ มใจกนั ปลงชีพกษตั ริย์พระนามวา่ นาคทาสก์ แลว้ สมั พทุ ธเจ้าปรินพิ พาน ล่วงแลว้ ได้ ๑ ปี/พรรษา” จึง 463 BC) หลังพุทธปรนิ พิ พานในปที ่ี ๘ ของรัชกาลแลว้ สถาปนาอำ� มาตยช์ ือ่ สสุ นุ าคขึ้นเปน็ กษตั ริย์ ตงั้ ราชวงศ์ ถอื วา่ ๑ ปี หลงั พทุ ธปรินพิ พาน เริม่ ต้นพทุ ธศกั ราช พระเจา้ อชาตศตั รคู รองราชยต์ อ่ มาอีก ๒๔ ปี จงึ ถูกโอรส ใหม่ ย้ายเมืองหลวงไปตงั้ ทีเ่ วสาลี เป็น พ.ศ. ๑ (นเี้ ปน็ การนบั แบบไทย สว่ นศรีลงั กา และ คอื เจา้ ชายอทุ ัยภทั รทำ� ปติ ฆุ าต ระหวา่ งนน้ั แคว้นโกศล พมา่ นบั พทุ ธศักราชเรมิ่ แตพ่ ุทธปรนิ พิ พาน ดงั นั้น เมอ่ื และแควน้ วชั ชีได้สญู อำ� นาจ ตกเป็นของมคธแล้ว มคธจงึ โอรสของพระเจ้าสุสนุ าค พระนามวา่ กาลาโศก พระพุทธเจา้ ปรินพิ พานครบ ๑ ปีแล้ว ต่อจากน้นั ก็เป็น ครองความเปน็ ใหญใ่ นชมพูทวปี เม่อื อทุ ยั ภทั รข้ึนครอง เมื่อครองราชย์ในปที ี่ ๑๐ ตรงกบั พ.ศ. ๑๐๐ ได้ทรง พ.ศ. ๒) ราชยแ์ ลว้ ตอ่ มา ได้ย้ายเมอื งหลวงไปยงั ปาฏลีบตุ ร (เมอื ง อปุ ถมั ภส์ งั คายนาคร้งั ท่ี ๒ และในรัชกาลนี้ ไดย้ ้าย หนา้ ด่านที่พระเจา้ อชาตศัตรูไดใ้ ห้สุนีธะและวสั สการะ เมอื งหลวงไปตั้งทีป่ าฏลีบตุ รเปน็ การถาวร สรา้ งขนึ้ ตอนปลายพุทธกาล) เปน็ คร้งั แรก กอ่ นเป็นอเมริกา 500 BC (โดยประมาณ) ก�ำเนิดอารยธรรมของ ชนอนิ เดียนแดงเผา่ มายา ในอเมริกากลาง (แถบเมกซิโก กัวเตมาลา ฮอนดรู สั และเอลซลั วาดอร์ ในปัจจุบนั ) ซง่ึ รุ่งเรืองตั้งแตร่ าว ค.ศ. 300 (ราว พ.ศ. ๘๕๐) ไปจนลม่ สลายราว ค.ศ. 900 (ราว พ.ศ. ๑๔๕๐) มคี วามเจรญิ เดน่ ทางด้านสถาปัตยกรรม ดาราศาสตร์ (เร่อื งปฏิทนิ ) คณติ ศาสตร์ และการเขยี นด้วยอกั ษรภาพ พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ โฺ ต ) 25

ข้นึ ยุคกรกี แหง่ เอเธนส์ BC) อรสิ โตเติล (Aristotle, 384-322 BC) ซ่งึ ถอื กันว่า The School of Athens เปน็ ตรีโยนกมหาบรุ ษุ (the great trio of ancient ต่อมาเมื่อพวกกรกี ท่เี อเธนส์ (Athens) เขม้ แขง็ Greeks) ผวู้ างรากฐานทางปรัชญาของวฒั นธรรม กรีกแห่งมาซโิ ดเนีย (Macedonian Greeks) แตแ่ ล้วถึงปี ข้ึน พวกกรีกทไี่ อโอเนยี อาศยั ก�ำลังจากพวกเอเธนส์ ตะวันตกและท�ำใหเ้ อเธนสไ์ ด้ช่ือวา่ เปน็ แหล่งก�ำเนดิ ของ 133 BC (นับอย่างเรา=พ.ศ. ๔๑๐) พวกกรกี ส้ินอำ� นาจ ท�ำให้กรีกชนะเปอรเ์ ซียไอโอเนียกเ็ ป็นอสิ ระในปี 479 BC อารยธรรมตะวันตก โยนกกลายเป็นดินแดนส่วนหน่งึ ของจักรวรรดิโรมัน จน (นบั อยา่ งเรา=พ.ศ. ๖๔; นับอย่างฝร่งั =พ.ศ. ๔) แตต่ ่อนี้ กระท่ังจกั รวรรดิออตโตมานของมุสลมิ เตอรก์ มาเข้าครอง ไป ไอโอเนียต้องขึน้ ต่อเอเธนส์ ต่อมา โยนก ตกเปน็ ของเปอร์เซียอกี ในปี 387 เป็นท้ายสดุ ใน ค.ศ. 1458 (พ.ศ. ๒๐๐๑) BC จนกระทง่ั อเลกซานเดอร์มหาราช มาพิชติ จกั รวรรดิ แม้แต่ศนู ย์กลางทางปญั ญาก็ย้ายจากไอโอเนีย เปอร์เซียลงในราวปี 334 BC ไอโอเนยี จงึ มาเปน็ ของ ส่วนในดา้ นศิลปวิทยา เมอ่ื อรสิ โตเติลสนิ้ ชวี ิตลง ไปอยทู่ เี่ อเธนส์ ดงั ทตี่ อ่ น้ไี ปทีเ่ อเธนส์ ไดม้ ี โสเครตสี ในปี 322 BC (นบั อย่างเรา=พ.ศ. ๒๒๑) ยุคคลาสสิกของ (Socrates, 470?-399 BC) เพลโต (Plato, 427-347 กรกี กจ็ บลงด้วย 26 กาลานกุ รม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

University of Texas Libraries ปราชญก์ รีกแห่งเอเธนส์ ตวั ละครหลกั เชน่ The Apology, Crito, Euthyphro และ Phaedo ผลงานท่ีมกั ถอื กนั ว่าเดน่ ที่สุดคอื The 470?-399 BC ช่วงชีวิตของโสเครตีส (Socra- Republic tes) นักปรัชญากรกี ท่ีย่งิ ใหญ่ ผู้ใชว้ ธิ สี อนแบบถาม-ตอบ ท่ีเรยี กกนั ว่า Socratic dialogue หรือ dialectic เขา 384-322 BC ชว่ งชวี ิตของอริสโตเตลิ (Aristo- ถูกสอบสวนแล้วตดั สินประหารชวี ติ ฐานท�ำเยาวชนของ tle) นักปรัชญากรกี ย่ิงใหญ่ เป็นศิษย์เพลโต ได้เรยี นแล้ว เอเธนส์ใหพ้ ปิ ลาสเสอื่ มทราม และส้ินชีพโดยดื่มยาพษิ สอนใน “Academy” ประมาณ ๒๐ ปกี ระทั่งเพลโต ความคิดของเขาปรากฏในผลงานท่เี พลโตเขียนไว้ สิน้ ชพี ต่อมาไดร้ บั เชญิ จากพระเจา้ Philip II กษตั ริย์ แหง่ Macedonia ใหอ้ ำ� นวยการศกึ ษาแกโ่ อรส ท่ตี ่อมา เพลโต ตอ่ ด้วยอริสโตเตลิ เปน็ พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช เม่อื กลับส่เู อเธนส์ ไดต้ ้งั โรงเรียน “Lyceum” มีผลงานครอบคลมุ วิชาการ 427-347 BC ชว่ งชวี ิตของเพลโต (Plato) นกั หลากหลาย เฉพาะอยา่ งยิ่งเปน็ ต้นสายวิชา ตรรกศาสตร์ ปรัชญากรีกย่งิ ใหญ่ ศษิ ย์โสเครตสี เขาตงั้ “Academy” ชีววิทยา วรรณคดีวจิ ารณ์ และมอี ทิ ธพิ ลยิง่ ในวิชาจรยิ - ซง่ึ เป็นสถานศกึ ษา ทม่ี อี ิทธพิ ลมากท่สี ุดในตะวันตกยคุ ศาสตรแ์ ละรัฐศาสตร์ โบราณ และสอนที่นนั่ จนตลอดชีวิต มีผลงาน ๓๖ เร่ือง สว่ นมากใช้วธิ ถี าม-ตอบ (dialogue) โดยมโี สเครตีสเป็น อติ าลี บัลแกเรยี ทะเลด�ำ กรีซ ตรุ กี เอเธนส์ ทะเลเมดเิ ตอเรเนยี น จากซ้าย: มรณะแห่งโสเครตีส โสเครตสี เพลโต อรสิ โตเตลิ พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 27

สังคายนา ครงั้ ท่ี ๒ เรียกวา่ มหาสงั คีติ เป็นอาจรยิ วาทกลมุ่ ใหม่ ซึง่ เปน็ จดุ เร่ิมให้เกดิ นิกายข้นึ และเป็นตน้ ก�ำเนิดของอาจารยวาท/ พ.ศ. ๑๐๐ (443 BC; ตามฝรัง่ =381 BC) มี อาจริยวาท ท่ีตอ่ มาเรียกตนเองวา่ “มหายาน” สงั คายนา ครง้ั ที่ ๒ ปรารภเร่ืองภกิ ษุวัชชีบุตรแสดงวตั ถุ ๑๐ ประการ นอกธรรมวนิ ยั พระยศกากณั ฑบุตรเปน็ ทง้ั นี้ มหาสงั ฆกิ ะนนั้ ไดแ้ ตกย่อยออกไป จนกลาย ผ้ชู ักชวนพระอรหันต์ ๗๐๐ รูป ประชมุ ท�ำที่วาลกิ าราม เป็นอาจรยิ วาท ๖ นิกาย ทางดา้ นเถรวาทเดิม ก็ไดม้ ี เมอื งเวสาลี พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามเี ป็นผู้ อาจรยิ วาทแยกออกไป ๒ พวก แลว้ ๒ พวกนน้ั กแ็ ตก วิสชั นา โดยพระเจา้ กาลาโศกราชทรงอุปถัมภ์ ใชเ้ วลา ๘ ยอ่ ยออกไปๆ จนกลายเปน็ ๑๑ อาจริยวาท จนกระทั่งใน เดอื น ช่วง ๑๐๐ ปี กว่าจะถึง พ.ศ. ๒๐๐ พระพทุ ธศาสนากไ็ ด้มี นิกายย่อยทัง้ หมด ๑๘ เรยี กว่า ๑๘ อาจริยวาทบา้ ง ๑๘ เกิดนิกายในพระพทุ ธศาสนา อาจริยกุลบา้ ง ๑๘ นิกายบา้ ง (คอื เถรวาทด้ังเดมิ ๑ กบั อาจรยิ วาทอ่ืนๆ ๑๗) เปน็ ปญั หาท่ีรอการชำ� ระสะสางแล้ว อยา่ งไรกด็ ี ภิกษวุ ชั ชีบุตรไดแ้ ยกตวั ออกจาก ทำ� สงั คายนา ครั้งท่ี ๓ (คำ� ว่า “หนี ยาน” ก็ดี “มหายาน” เถรวาท กลายเป็นพวกหนงึ่ ตา่ งหาก เรียกชอ่ื วา่ “มหา- กด็ ี ไม่มีในคมั ภีร์บาลี นอกจากทเ่ี ขยี นในสมัยปัจจุบนั ) สงั ฆกิ ะ” (พวกสงฆ์หม่ใู หญ่) และท�ำสังคายนาตา่ งหาก 28 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

ราชวงศ์นันทะ ครองมคธ กันตอ่ มา) วา่ ดว้ ยสงครามใหญ่เม่อื ราว ๑,๐๐๐-๔๐๐ ปี กอ่ นพุทธกาล อันเกดิ ขนึ้ ในวงศ์กษตั ริย์ ระหวา่ งโอรส พ.ศ. ๑๔๐ (=403 BC; ตามฝร่งั = c. 343 BC) ของเจ้าพเี่ จา้ นอ้ ง คือ เหลา่ โอรสของ ธฤตราษฏร์ (เรยี ก มหาปทั มนนั ทะสงั หารกษตั ริย์แห่งราชวงศส์ ุสนุ าคแลว้ วา่ เการพ) กับเหลา่ โอรสของ ปาณฑุ (เรียกวา่ ปาณฑพ) ขน้ึ ครองราชย์ ต้งั ราชวงศ์นันทะ ซง่ึ ครองมคธสบื ต่อกนั ซง่ึ รบกันทีท่ งุ่ กรุ ุเกษตร (เหนือเดลปี จั จุบนั ) จนฝ่ายเการพ มาถงึ องคส์ ุดทา้ ยคือธนนันทะ รวมทัง้ สิ้น ๙ รัชกาล จบ สิ้นชีพทง้ั หมด ยธุ ษิ ฐิระพ่ีใหญ่ฝา่ ยปาณฑพข้ึนครองราชย์ สิ้นใน พ.ศ. ๑๖๒ (=381 BC; ตามฝรัง่ =321 BC) รวม ทหี่ ัสตนิ าปรุ ะ และมีเร่อื งตอ่ ไปจนเสด็จสู่สวรรค์ ๒๒ ปี ภควทั คีตา ซึง่ เป็นคมั ภีรป์ รัชญาสำ� คัญยวดยงิ่ เรอ่ื งขา้ งเคียงในอนิ เดยี ของฮินดู กเ็ ป็นสว่ นหนงึ่ อยู่ในเรื่องน้ี โดยเปน็ บทสนทนา ระหวา่ ง กฤษณะ กับเจ้าชายอรชุน (มหากาพย์ มหาภารตะ) จากซา้ ย: 400 BC (ในช่วงเวลาแตน่ ี้ ถงึ ราว ค.ศ. 400 คอื ภควัทคีตา ชว่ ง พ.ศ. ๑๕๐-๙๕๐ ซ่ึงไมอ่ าจชี้ชดั ) ฤๅษวี ยาสได้แต่ง กฤษณะกบั อรชนุ มหากาพย์สันสกฤตเร่อื งมหาภารตะ อนั เป็นกวีนพิ นธท์ ี่ พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 29 ยาวทีส่ ุดในโลก (คงเริม่ เรอื่ งเดิมที่เป็นแกนแล้วแต่งเพมิ่ คมั ภรี ์เก่าของยิว-ครสิ ต์ 425 BC (โดยประมาณ) คัมภรี ์ศาสนายวิ ท่ียิว เรียกวา่ Torah ซ่ึงชาวคริสต์ก็นับถอื ดว้ ย โดยทัว่ ไปเรียก วา่ Pentateuch (“ปัญจครนั ถ์” คือ ๕ คมั ภีรแ์ รกแหง่ Old Testament ของ Bible/ไบเบลิ มี Genesis และ Exodus เปน็ ต้น) จบลงตัว

อเลกซานเดอร์กลบั ไป จันทรคปุ ต์ข้นึ มา กรซี จีน อเลกอซาาณนเาดจอักรร์ แมหหง่ าราช ตรุ กทีะเลดำ�ทะเลแคสเปยี น ราชวงศน์ ันทะ พ.ศ. ๑๕๑-๘ (ตามฝร่ังนับ=332-325 BC) พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชเดินทัพผ่านหรือมีชัย อียิปต์ อริ ักอิหรา่ น อฟั กานสิ ถาน ในที่ใดอันส�ำคัญ มักสร้างเมืองขึ้นใหม่และต้ังชื่อเมือง ปากสี ถาน เฉลิมพระเกียรติว่า “Alexandria” ดังเช่นเมืองช่ือนี้ท่ี ส�ำคัญซึ่งยังคงอยู่ท่ีอียิปต์เป็นต้น แม้ทางชมพูทวีป ก็มี อทาหะเรลับ อนิ เดีย อเลกซานเดรียหลายแห่ง เช่นเมืองท่ีบัดนี้เรียก Herat (=Alexandria of the Arians), Kandahar และแห่ง หลังจากอเลกซานเดอรเ์ ลิกลม้ ความคิดทจ่ี ะตีมคธ หน่งึ ในท่ีไมไ่ กลจากเมอื ง Kabul ในอัฟกานสิ ถาน และยกทพั กลบั ออกไปจากชมพูทวีปในปี 325 BC แลว้ ไม่ นาน จนั ทรคุปตก์ ็ตมี คธไดส้ �ำเรจ็ ในพระไตรปิฎก มี ๒-๓ แห่ง กล่าวถึงเมืองช่ือ “อลสนั ทะ” ซงึ่ สันนิษฐานกนั ว่าไดแ้ ก่ อเลกซานเดรยี นี้ และคมั ภรี ใ์ นพระไตรปฎิ กเลม่ ใดมีชอ่ื เมอื งน้ีกก็ ลา่ วได้ ว่าเพ่ิงยตุ ิในสมยั สังคายนาคร้ังที่ ๓ ในคัมภรี ม์ ลิ นิ ทปัญหา พญามลิ นิ ท์ (Menander) ตรัสว่าพระองคป์ ระสูตทิ เี่ มือง อลสนั ทะ 30 กาลานกุ รม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก

กรกี รบ-สงบ-สง่ ทตู สู่ปาฏลีบตุ ร พระเจา้ จนั ทรคปุ ต์ พ.ศ. ๑๖๒ (=381 BC; แต่ฝร่ังนับ=321 BC) พ.ศ. ๑๘๖ (=357 BC; แตฝ่ ร่ังนับ=297 BC) ส้นิ จันทรคปุ ตป์ ราบกษัตรยิ น์ นั ทะได้ ขึ้นครองมคธ ตง้ั รชั กาลพระเจา้ จนั ทรคปุ ต์ โอรสคือพระเจา้ พินทุสารครอง ราชวงศใ์ หมค่ อื โมริยะ จากนนั้ อกี ๑๖ ปี ยกทพั มารบ ราชย์ตอ่ มาอกี ๒๘ ปี ชนะกษตั รยิ ์กรกี คือซีลูคสั ที่ ๑ (Seleucus I) ซ่งึ ยอม ยกดนิ แดนคนั ธาระแถบ Kandahar ให้ โดยขอแลกได้ ช้างไป ๕๐๐ เชอื ก ต่อนัน้ อีก ๓ ปี (ตามฝรัง่ =302 BC) เมคาสธนี สี (Megasthenes) ชาวไอโอเนยี นกรกี (โยนก) ได้เปน็ ทูตของพระเจ้าซีลูคสั ท่ี ๑ ไปอยูท่ ี่เมืองปาฏลีบตุ ร (กรีกเรยี ก Palimbothra, ปัจจุบันเรยี ก Patna/ปัฏนา) และไดเ้ ขียนบันทกึ ๔ เลม่ ชอื่ Indica เลา่ ถงึ ความเจรญิ รุง่ เรอื งแห่งแคว้นมคธของพระเจ้าจันทรคุปต์ (กรกี เรียก Sandrocottus) และความอุดมสมบรู ณข์ องชมพทู วปี ไว้ (ฝร่งั วา่ Megasthenes เป็นนกั ประวตั ศิ าสตร์ และวา่ คงเปน็ ชาวยุโรปคนแรกทไี่ ด้เหน็ แมน่ �ำ้ คงคา) กรีก เข้าแดนชมพทู วปี แมท่ พั กรีกต้ังอาณาจกั ร 336-323 BC (ฝรงั่ นับ=พ.ศ. ๑๔๗-๑๖๐; ไทย 323 BC (ฝรงั่ นบั =พ.ศ. ๑๖๐; เรานบั =383 นับ=พ.ศ. ๒๐๗-๒๒๐) พระเจ้าอเลกซานเดอรม์ หาราช BC) อเลกซานเดอรฯ์ สวรรคต ดนิ แดนทเ่ี คยอยู่ในการ (Alexander the Great) กษัตรยิ ์กรกี แหง่ มาซิโดเนยี ปกครองชงิ อ�ำนาจกนั แม่ทพั ใหญ่คนหนึง่ ของพระองคไ์ ด้ ศิษย์ของอรสิ โตเตลิ เรืองอ�ำนาจ ปราบอียิปตจ์ นถงึ เป็นกษตั ริย์ครองดินแดนทั้งหมดในภาคตะวันออก ตั้งแต่ เปอรเ์ ซยี ไดส้ น้ิ และในชว่ ง พ.ศ. ๑๕๖-๘ ได้ยกทัพผา่ น เอเชยี น้อย (=เตอรก์ ีแถบเอเชีย) จดอินเดยี ได้พระนามวา่ แควน้ โยนก (บากเตรีย/Bactria) เข้าคันธาระ มาตงั้ ที่ พระเจ้าซีลูคัสท่ี ๑ ผ้พู ชิ ติ (Seleucus I Nicator) ตักสลิ า เตรียมยกเข้าตีมคธของราชวงศน์ ันทะ และไดพ้ บ กับเจา้ จนั ทรคุปต์ แต่แล้วเลิกล้มความคิด ยกทัพกลบั ไป จากซ้าย: อเลกซานเดอร์ ซลี คู ัสท่ี ๑ พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ โฺ ต ) 31

บากเตรีย เขา้ สูย่ คุ อโศกมหาราช ปุรษุ ปรุ ะ ตกั สิลา พ.ศ. ๒๑๔ (=329 BC; แตฝ่ รงั่ นบั =268 BC) ส้นิ รชั กาลพระเจา้ พนิ ทุสาร เจ้าชายอโศก ซง่ึ เป็นอุปราชอยู่ อชุ เชนี ปาฏลบี ตุ ร ท่ีกรงุ อุชเชนี ในแคว้นอวนั ตี ด�ำเนินการยดึ อำ� นาจโดย วทิ ิศา คยา ก�ำจัดพี่น้อง ครองอำ� นาจโดยยังไมไ่ ด้อภิเษกอยู่ ๔ ปี ทะเลอาหรบั อาอณโศาจกกั ร อโศกมหาราช จักรพรรดิธรรมราชา อา่ วเบงกอล พ.ศ. ๒๑๘ (=325 BC; แตฝ่ รง่ั นบั =265 BC) พระเจ้าอโศกมหาราชราชาภิเษกแลว้ แผ่ขยายอาณาจกั ร ออกไป จนได้แม้แตแ่ ควน้ กลงิ คะที่เข้มแข็งยงิ่ ยง กลาย เป็นกษัตรยิ ท์ ่ียิ่งใหญท่ สี่ ดุ และมดี นิ แดนกวา้ งใหญไ่ พศาล ที่สุดในประวัตศิ าสตรข์ องอนิ เดีย อียปิ ตข์ ้ึนเปน็ ศูนย์กรีก กรีซ ทะเลดำ� ทะเลเมดเิ ตอเรเนยี น ตรุ กี 323 BC ในปีเดยี วกนั นนั้ ทางดา้ นอยี ปิ ต์ ทเี่ มอื ง อเลกซานเดรยี ซงึ่ อเลกซานเดอรม์ หาราชไดส้ รา้ งขึ้น อเลกซานเดรีย จอร์แดน คราวพชิ ิตอยี ิปตใ์ นปี 332 BC และก่อนจะเดนิ ทพั ตอ่ สู่ ตะวนั ออก ไดต้ ้ังแมท่ ัพช่ือโตเลมี (Ptolemy) ใหด้ ูแลไว้ อยี ิปต์ ทะเลแดง เมอ่ื สิ้นอเลกซานเดอร์ โตเลมีก็ขึ้นเปน็ กษตั รยิ อ์ ยี ิปต์ โตเลมีท่ี ๑ กษตั รยิ โ์ ตเลมที ่ี ๑ มุ่งให้ อเลกซานเดรยี เป็น ศนู ย์กลางวฒั นธรรมแหง่ โลกกรกี และไดส้ ร้างหอสมดุ อเลกซานเดรีย อันมชี อื่ เสยี งทีส่ ุดในยุคโบราณ ตอ่ มา อเลกซานเดรยี แห่งอยี ิปตก์ ็ได้เปน็ ศนู ย์กลางแหง่ ศลิ ป- วิทยาแทนที่เอเธนส์ 32 กาลานกุ รม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

เรื่องข้างเคียงในอินเดีย (รามเกียรติ์: พระราม-นางสีดา) 300 BC (ไม่กอ่ นนี;้ ราว พ.ศ. ๒๕๐) ฤๅษวี าลมีกิ แตง่ มหากาพยส์ ันสกฤตเรื่อง รามายณะ (รามเกียรต)ิ์ ว่า ดว้ ยเร่อื งพระราม-นางสดี า แหง่ อโยธยา (ในพุทธกาล= เมอื งสาเกต) ในพระพทุ ธศาสนา คัมภีร์ชน้ั อรรถกถาและฎีกา กลา่ วถึงเรอ่ื งมหาภารตะ และรามายณะบอ่ ยๆ โดยยก เปน็ ตัวอย่างของเรื่องเพอ้ เจ้อไร้ประโยชน์ (นริ ตั ถกถา) จดั เปน็ สัมผัปปลาปะบา้ ง ติรัจฉานกถาบ้าง เวน้ แต่ยกเปน็ ขอ้ พจิ ารณาทางธรรม (ในอรรถกถา มกั เรยี กวา่ ภารตยทุ ธ และสตี าหรณะ มีบางแห่งเรียกวา่ ภารตะ และรามายณะ ในฎีกาเรียกว่า ภารตปรุ าณะ และรามปุราณะ บ้างกม็ )ี คลีโอพตั รา สบื อโศก ถงึ คลีโอพตั รา ราชวงศโ์ ตเลมี รงุ่ เรอื งต่อมา ๓๐๐ ปี จึงเสีย แก่โรมในรัชกาลสุดทา้ ยของพระนางคลโี อพตั รา (Cleopatra) และโอรส คอื โตเลมที ่ี ๑๕ (Ptolemy XV, Caesarion) เมื่อปี 30 BC (พ.ศ. ๕๑๓) บรรดาพระมหากษัตรยิ ใ์ นดินแดนตะวันตก ทพี่ ระเจา้ อโศกมหาราชทรงมสี ัมพันธไมตรี และระบุ พระนามไวใ้ นศลิ าจารกึ มพี ระเจา้ โตเลมที ่ี ๒ (Ptolemy II Philadelphus) แห่งอยี ปิ ต์รวมอยดู่ ้วย (ในศลิ าจารกึ เรียกวา่ “ตุลมยะ” ) พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยุตฺโต ) 33

พทุ ธศาสนารงุ่ เรือง ยคุ ท่ี ๑ นโยบาย “ธรรมวิชยั ” เมอื่ ตีแควน้ กลิงคะไดใ้ นปที ่ี ๘ แห่งรชั กาล (=พ.ศ. ๒๒๒=321 BC แต่ฝรง่ั นับ=261 BC) พระเจ้าอโศกทรง สลดพระทยั ต่อความทกุ ข์ยากของประชาชน และไดห้ ัน มานับถอื วิถแี ห่งสันติและเมตตาของพระพุทธศาสนา พระเจา้ อโศกมหาราชประกาศละเลิกสงั คามวิชยั หันมาดำ� เนนิ นโยบาย ธรรมวิชยั เนน้ การสร้างสง่ิ สาธารณปู โภค บ�ำรงุ ความสขุ และศีลธรรมของประชาชน อุปถมั ภบ์ ำ� รงุ พระสงฆ์ สร้างวหิ าร (วดั ) ๘๔,๐๐๐ แห่ง เปน็ ศูนย์กลางศกึ ษา และทำ� ศลิ าจารึกสอื่ สารเสริมธรรม แก่ประชาชน ประกาศหลกั การแหง่ เสรภี าพแบบสมัคร- สมานทางศาสนา ตลอดจนอุปถัมภส์ งั คายนาคร้งั ที่ ๓ และสง่ พระศาสนทตู ๙ สายไปประกาศพระศาสนาใน แดนห่างไกล จากศลิ าจารึกของพระเจา้ อโศก ท�ำใหร้ ้วู ่า แควน้ โยนะ และกมั โพชะ อยใู่ นพระราชอาณาเขต อาณาจกั ร ปาณฑยะ และโจฬะในแดนทมิฬ เปน็ ถ่ินข้างเคียง ศลิ าจารกึ ยังไดก้ ลา่ วถงึ กษตั ริย์ท่ตี ดิ ตอ่ ในดินแดน ตะวนั ตกอนั ห่างไกลมาก รวมท้งั Ptolemy II แหง่ อียปิ ต์ Alexander แห่งเอปิรสุ หรือ โครินธ์ Antiochus II แหง่ ซเี รยี Antigonus II แหง่ (กรีก)มาซโิ ดเนยี 34 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

จารึกอโศก จรยิ าวตั รของพระจักรพรรดธิ รรมราชา มไิ ด้ทรงสอน และการตำ� หนลิ ทั ธศิ าสนาของผอู้ นื่ เมอ่ื ไมม่ เี หตอุ นั ควร... ธรรมทีเ่ ป็นเทศนากจิ ของพระสัมมาสมั พุทธเจา้ และพระ การสงั สรรคส์ มาคมกนั นน่ั แลเปน็ สง่ิ ดงี ามแท้ จะทำ� อยา่ งไร? พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดใหท้ �ำศิลาจารึก เร่มิ ภกิ ษุสงฆ์ กบั ทั้งเหน็ ไดช้ ดั ว่าทรงมงุ่ ยกประชาชนใหพ้ ้น คอื จะต้องรับฟังและยนิ ดรี ับฟงั ธรรมของกันและกัน แต่เม่อื อภเิ ษกได้ ๑๒ พรรษา (เรานบั =พ.ศ. ๒๒๖) จากลัทธบิ ชู ายญั และระบบวรรณะของพราหมณ์ จรงิ ดงั นน้ั พระผเู้ ป็นที่รักแหง่ ทวยเทพทรงมคี วาม ในบรรดาศลิ าจารึกมากมายทีไ่ ด้โปรดใหท้ �ำไว้ หลกั การไมเ่ บยี ดเบยี น คอื อหงิ สา หรือ อวิหงิ สา ปรารถนาวา่ เหลา่ ศาสนกิ ชนในลัทธศิ าสนาท้ังปวง พงึ เป็น ตามนโยบายธรรมวชิ ยั น้ัน ศลิ าจารกึ ฉบบั ที่คน้ พบมาก ตามพุทธโอวาท ซง่ึ เป็นจุดเนน้ ของนโยบายธรรมวชิ ยั ได้ ผ้มู คี วามรอบรู้ และเป็นผ้ยู ดึ มั่นในกรรมด.ี .. จะบงั เกดิ ทีส่ ุดถึง ๑๒ แห่งคอื จารกึ ฉบับเหนือ ทว่ี ่าดว้ ยการทรงเปน็ แสดงออกเด่นชัดท่ัวไปในศิลาจารึก รวมท้ังหลักการแหง่ ผลใหม้ ที งั้ ความเจริญงอกงามแหง่ ลัทธิศาสนาของตนๆ ความสามัคครี ะหว่างศาสนกิ ตา่ งศาสนา (สมวายะ) ซึง่ และความรุ่งเรอื งแห่งธรรม” อบุ าสกและเข้าสู่สงฆ์ ซ่งึ มคี วามเร่ิมตน้ ว่า “พระผูเ้ ป็นท่รี กั นำ� หนา้ และควรเป็นแบบอย่างของหลกั การแหง่ เสรภี าพ แห่งทวยเทพ ได้ตรัสไว้ดงั น้ี:- นับเป็นเวลานานกว่า ๒ ทางศาสนา และขันตธิ รรม (freedom of religion และ พระเจา้ อโศกฯ ไดเ้ สดจ็ ไปนมสั การสงั เวชนยี สถาน ปคี ร่ึงแลว้ ที่ขา้ ฯ ไดเ้ ปน็ อุบาสก แตก่ ระนน้ั ข้าฯ กม็ ไิ ด้ tolerance) ทแี่ ม้แตม่ นุษย์ในยุคทีถ่ ือว่าพฒั นาสงู ยิง่ แล้ว ดงั ความในจารกึ ฉบับที่ ๘ ว่า กระทำ� ความพากเพียรจรงิ จงั เลย และนับเปน็ เวลาไดอ้ กี ในปจั จุบัน กย็ ังปฏิบตั ไิ มไ่ ด้จรงิ หรอื ไมก่ ถ็ อื ไปตามความ ๑ ปีเศษแล้วทขี่ า้ ฯ ได้เขา้ ส่สู งฆ์ แลว้ จึงได้กระทำ� ความ เข้าใจผิดพลาด (เช่น แทนทีจ่ ะประสานคน กลับไปปะปน “สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวปรยิ ทรรศี ผู้เป็นที่รักแหง่ พากเพียรอย่างจรงิ จงั ” หลักธรรม) ทวยเทพ เม่อื อภเิ ษกแลว้ ได้ ๑๐ พรรษา (=พ.ศ. ๒๒๘) ได้เสดจ็ ไปสสู่ ัมโพธิ (พุทธคยา-สถานทีต่ รสั รขู้ องพระ ในศลิ าจารกึ แหง่ ไพรตั พระเจา้ อโศกฯ ไดต้ รสั ในศิลาจารกึ ฉบับที่ ๑๒ มีพระด�ำรสั ว่า พทุ ธเจา้ ) จากเหตุการณ์ครัง้ น้ัน จงึ เกดิ มีธรรมยาตรานีข้ ึน้ ปราศัยกบั พระภกิ ษุสงฆว์ า่ ในธรรมยาตรานัน้ ยอ่ มมีกิจตอ่ ไปน้ี คือ การเย่ยี มเยียน “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรยิ ทรรศี ผเู้ ปน็ ทร่ี ักแห่ง สมณพราหมณ์และถวายทานแดท่ า่ นเหล่านน้ั การ “ขา้ แต่พระผ้เู ป็นเจา้ ทง้ั หลาย พระผเู้ ปน็ เจา้ ท้ัง ทวยเทพ ยอ่ มทรงยกยอ่ งนบั ถือศาสนกิ ชนแหง่ ลทั ธิ เย่ยี มเยียนทา่ นผู้เฒา่ ผ้สู ูงอายุ และการพระราชทานเงนิ หลายยอ่ มทราบว่า โยมมคี วามเคารพและเลื่อมใสศรทั ธา ศาสนาท้ังปวง ท้ังทเ่ี ปน็ บรรพชติ และคฤหสั ถ์ ด้วย ทองเพอื่ (ชว่ ยเหลือ)ทา่ นเหล่าน้นั การเย่ยี มเยียนราษฎร ในพระพทุ ธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มากเพยี งใด... พระราชทาน และการแสดงความยกยอ่ งนับถืออย่างอืน่ ๆ ในชนบท การสงั่ สอนธรรม และการซักถามปญั หาธรรม สิ่งใดก็ตามที่พระผ้มู ีพระภาคพุทธเจา้ ตรัสไวแ้ ล้ว สง่ิ นั้นๆ แต่พระผู้เปน็ ทร่ี ักแห่งทวยเทพ ไมท่ รงพิจารณาเห็นทาน แก่กนั .. ท้งั ปวงล้วนเป็นสภุ าษิต” หรอื การบูชาอันใด ทีจ่ ะเทียบไดก้ ับสงิ่ น้เี ลย สิ่งน้ีคืออะไร? น้ันก็คือการที่จะพงึ มคี วามเจริญงอกงามแห่งสารธรรมใน ธรรมทพ่ี ระเจา้ อโศกฯ ทรงนำ� มาสอนประชาชน ลัทธิศาสนาทั้งปวง ก็ความเจริญงอกงามแหง่ สารธรรม ไวใ้ นศลิ าจารกึ ทัง้ หลาย (ซึ่งพวกนกั ปราชญม์ ักเรยี กวา่ น้ี มีอยูม่ ากมายหลายประการ แตส่ ่วนท่เี ป็นรากฐานแห่ง “อโศกธรรม”) ไดแ้ ก่ค�ำสอนส�ำหรบั ชาวบา้ นทัว่ ไป ซง่ึ ความเจริญงอกงามนัน้ ได้แกส่ ิง่ นี้คอื การสำ� รวมระวังวาจา เน้นการไมเ่ บยี ดเบยี น การชว่ ยเหลือกัน และการปฏบิ ัติ ระวังอยา่ งไร? คอื ไม่พงึ มกี ารยกยอ่ งลทั ธิศาสนาของตน ธรรมคือหนา้ ท่ตี ามหลกั ทศิ ๖ มีแตเ่ รอื่ ง บญุ -ทาน-การ ไปสวรรค์ (คือธรรมะอย่างทีช่ าวพทุ ธเมืองไทยร้จู ัก แต่ ทรงย�ำ้ ธรรมทาน) ไมเ่ อย่ ชอื่ หลกั ธรรมลึกๆ อย่างอรยิ สัจ ๔ ขนั ธ์ ๕ ปฏิจจสมปุ บาท นพิ พาน คือทรงสอนธรรมตาม พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป. อ. ปยตุ ฺโต ) 35

ณ สารนาถ (อสิ ิปตนมฤคทายวนั ) สถานทแี่ สดง “สมเด็จพระเจา้ อย่หู ัวปริยทรรศี ผู้เปน็ ท่ีรกั แหง่ ปฐมเทศนา พระเจา้ อโศกฯ กท็ รงประดิษฐานหลกั ศิลา ทวยเทพ เมอ่ื อภเิ ษกแล้วได้ ๒๐ พรรษา (=พ.ศ. ๒๓๘) ใหญไ่ ว้ ซ่ึงมีช่อื เสยี งท่สี ุด เพราะรูปเศยี รสงิ ห์ทัง้ สี่ บน ยอดเสาศลิ าจารึกนั้น ได้มาเปน็ ตราแผ่นดนิ ของประเทศ ไดเ้ สด็จมาดว้ ยพระองคเ์ องแล้ว ทรงกระทำ� การ อนิ เดียในบัดนี้ และรูปพระธรรมจักรท่ีเทนิ อย่บู นหัวสิงห์ บูชา (ณ สถานท่ีน้)ี เพราะวา่ พระพุทธศากยมนุ ีได้ ทง้ั สีน่ น้ั ก็มาเปน็ สัญลักษณ์อย่กู ลางธงชาตอิ ินเดียใน ประสูติแลว้ ณ ท่ีนี้ (พระองค์) ได้โปรดให้สรา้ งร้วั ศิลา ปจั จบุ นั และโปรดให้ประดิษฐานหลักศลิ าขนึ้ ไว้ โดยเฉพาะในจารกึ หลกั ศลิ าทลี่ มุ พนิ ี ที่พระ “โดยเหตุท่พี ระผมู้ พี ระภาคเจ้าได้ประสตู ิ ณ พุทธเจา้ ประสตู ิ จะเห็นชัดว่า พระเจา้ อโศกฯ ทรงมพี ระ สถานที่นี้ จึงโปรดให้หมู่บ้านถิน่ ลุมพินีเป็นเขตปลอดภาษี ราชศรัทธามากเพียงใด ดังคำ� จารึกวา่ และใหเ้ สยี สละ (ผลิตผลจากแผ่นดนิ เป็นทรพั ย์แผน่ ดิน เพยี ง ๑ ใน ๘ ส่วน)” 36 กาลานุกรม พระพทุ ธศาสนาในอารยธรรมโลก

หลักศลิ าของพระเจ้าอโศกฯ นี้ เทา่ กบั บอกว่า พระพทุ ธเจ้าทรงเป็นเอกบคุ คลในประวัตศิ าสตรท์ มี่ ี หลกั ฐานการอบุ ัติบ่งชัดทส่ี ดุ ซ่ึงระบุบอกไว้ดว้ ยความ เคารพรกั โดยบุคคลส�ำคญั ย่งิ แห่งประวัตศิ าสตร์อีกท่าน หนงึ่ และเป็นหลักฐานท่เี กดิ มีภายในกาลเวลาใกลช้ ดิ เพยี งไมก่ ่ีชั่วอายคุ น ซึ่งความทรงจ�ำและการกลา่ วขาน พร้อมทงั้ กจิ การทเ่ี กี่ยวเน่อื งในสงั คมยงั ไม่เลอื นหายไป หนา้ ตรงข้าม: หวั เสาอโศกทสี่ ารนาถ จากซา้ ย: เสาอโศกท่ีลุมพนิ ี เสาอโศกทเ่ี วสาลี โรมนั รงุ่ กรีกเลือนลบั นานมาแล้วต้งั แต่ 264 BC พวกโรมันเริ่มจัดใหม้ ี กีฬาคนสกู้ นั (gladiator) หรอื คนสู้กบั สัตวร์ ้าย เชน่ สิงโต 272 BC (ตามฝรง่ั =พ.ศ. ๒๑๑ แตเ่ รานบั ๒๗๑) โดยใหช้ าวโรมันได้สนุกสนานกับการเอาเชลยหรอื ทาส ทางด้านยุโรป พวกโรมนั เรืองอ�ำนาจขน้ึ ตีไดแ้ ละเขา้ มาให้ฆ่ากนั หรือถูกสตั วร์ า้ ยฆ่าในสนามกฬี าโคลีเซียม ครองประเทศอติ าลี แลว้ แผข่ ยายดินแดนออกไปเร่อื ยๆ (Coliseum) ต่อมาไดท้ �ำสงครามใหญย่ าวนานกับกษตั รยิ ์กรกี 256 BC (ตามฝรง่ั =พ.ศ. ๒๒๗ แตเ่ รานับ พ.ศ. แหง่ มาซิโดเนีย (Macedonia) และทงั้ พระเจ้า Antio- ๒๘๗) ท่ีเมอื งจีน สิน้ ราชวงศ์โจ ทปี่ กครองมาเกอื บพันปี chus III กษัตรยิ ์ในราชวงศ์ของพระเจา้ ซีลูคัส (กลา่ วข้าง และเริ่มราชวงศ์จิ้น (ตวั เลขไมล่ งตัวแนน่ อนตามทถี่ อื สบื ต้น) ท่คี รองซเี รยี กนั มาวา่ ราชวงศโ์ จครอง 1122-256 BC) ในทสี่ ุด ถึง 146 BC กรีกกต็ กอยู่ใตอ้ ำ� นาจโรมัน จนหมดส้นิ พระพรหมคณุ าภรณ์ ( ป. อ. ปยุตฺโต ) 37


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook