Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางจัดการเรียนรู้ธศ.เอก-ธรรม

แนวทางจัดการเรียนรู้ธศ.เอก-ธรรม

Published by suttasilo, 2021-06-28 10:53:24

Description: แนวทางจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาเอกวิชาธรรม

Keywords: แนวทางจัดการเรียนรู้,วิชาธรรม,ธรรมศึกษาเอก

Search

Read the Text Version

แนวทางการจดั การเรียนรู ธรรมศกึ ษา ชั้นเอก วชิ าธรรม สาํ นักสงเสรมิ กิจการการศึกษา สาํ นกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร

แนวทางการจัดการเรียนรู้ ธรรมศกึ ษา ชนั้ เอก วิชาธรรม สำ�นกั ส่งเสริมกิจการการศกึ ษา ส�ำ นกั งานปลดั กระทรวงศกึ ษาธิการ

แนวทางการจัดการเรยี นร้ธู รรมศึกษา ชั้นเอก วิชาธรรม ปที พี่ มิ พ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ จ�ำ นวนพมิ พ ์ ๑๐๐ เลม่ ลิขสิทธ ์ิ สำ�นักส่งเสรมิ กจิ การการศึกษา ส�ำ นกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร พมิ พ์ท ่ี โรงพิมพช์ มุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ�กัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตจุ กั ร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสวุ รรณ ผพู้ ิมพผ์ ้โู ฆษณา

คำ�นำ� ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในสถานศึกษาระหว่าง สำ�นักงานแม่กองธรรมสนามหลวง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม สำ�นักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำ�นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจหลักพุทธธรรมที่ถูกต้อง มีความรู้ คู่คุณธรรม เสริมสรา้ งศีลธรรม เป็นพลเมอื งดมี คี ุณภาพ สร้างภมู คิ ้มุ กนั ใหผ้ เู้ รยี นหา่ งไกลอบายมขุ สิง่ เสพติด สง่ิ ผิดกฎหมาย และนำ�ไปสคู่ วามสงบเรยี บร้อยของสังคม เพอื่ ใหเ้ กดิ การขบั เคลอ่ื นการด�ำ เนนิ งานตามบนั ทกึ ขอ้ ตกลงความรว่ มมอื ในการจดั การเรยี นการสอน ธรรมศึกษาในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดเป็นรูปธรรม อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในสถานศึกษาอย่างย่ังยืน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัด ทำ�แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศกึ ษา ชั้นตรี โท เอก เพ่ือให้นกั เรียน นสิ ิต นกั ศกึ ษา มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจ เกยี่ วกับวชิ าธรรม วิชาพุทธ และวิชาวนิ ัย กระทรวงศึกษาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอก จะเป็นแนวทางการเรียนการสอนให้กับคณะครู อาจารย์ นำ�ไปสอนได้ตามหลักสูตร เพ่ือให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน และขอขอบคุณคณะผู้จัด ซ่ึงประกอบด้วยสำ�นักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ สำ�นักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ประถมศกึ ษานครราชสีมา เขต ๓ และโรงเรียนวดั ราชบพิธ ที่มีความมุ่งม่ันต้งั ใจพฒั นาเอกสารชดุ นีอ้ ยา่ งเต็ม ความสามารถจนบรรลวุ ตั ถปุ ระสงค์ (รองศาสตราจารย์ก�ำ จร ตตยิ กว)ี ปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร



สารบญั หนา้ เรื่อง ๑ ๓ ค�ำ นำ� ๑๐ บทท่ี ๑ ประวัตินักธรรม ธรรมศึกษา ๑๒ บทที่ ๒ เทคนิควธิ ีสอนของพระพุทธเจา้ ๑๓ บทท่ี ๓ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ และสาระการเรยี นร ู้ ๓๘ บทท่ี ๔ แผนการจดั การเรียนรู้ ๔๖ แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี ๑ ๕๕ แผนการจดั การเรยี นรู้ที่ ๒ ๖๘ แผนการจัดการเรยี นร้ทู ่ี ๓ ๗๕ แผนการจัดการเรยี นรูท้ ี่ ๔ ๘๙ แผนการจดั การเรยี นร้ทู ี่ ๕ ๑๐๒ แผนการจัดการเรียนรทู้ ่ี ๖ ๑๑๐ แผนการจัดการเรยี นร้ทู ี่ ๗ ๑๑๙ แผนการจดั การเรยี นรูท้ ี่ ๘ ๑๓๕ แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี ๙ ๑๔๔ แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี ๑๐ ๑๕๕ แผนการจดั การเรียนรทู้ ี่ ๑๑ ๑๕๖ แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ ๑๒ ๑๖๒ บทท่ี ๕ แบบทดสอบ ๑๖๓ แบบทดสอบก่อนเรยี น ๑๖๙ เฉลยแบบทดสอบกอ่ นเรยี น ๑๗๐ แบบทดสอบหลงั เรียน ๑๗๑ เฉลยแบบทดสอบหลังเรยี น ๑๗๒ ภาคผนวก บรรณานกุ รม คณะผู้จดั ทำ�



1 บทที่ ๑ ประวตั ินักธรรม ธรรมศกึ ษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือท่ีเรียกกันว่า นักธรรม เกิดข้ึนตามพระดำ�ริของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เปน็ การศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย เพอื่ ให้ภกิ ษุ สามเณรผู้เป็นกำ�ลังสำ�คัญของพระพุทธศาสนา สามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง อันจะเป็น พนื้ ฐานน�ำ ไปสสู่ มั มาปฏิบัติ ตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กวา้ งไกลออกไป การศึกษาพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณมา นิยมศึกษาเป็นภาษาบาลีที่เรียกว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม ซ่ึงเป็นสิ่งท่ีเรียนรู้ได้ยากสำ�หรับภิกษุสามเณรทั่วไป จึงปรากฏว่าภิกษุสามเณร ที่มีความรู้ในพระธรรมวินัยอย่างท่ัวถึงมีจำ�นวนน้อย เป็นเหตุให้สังฆมณฑลขาดแคลนพระภิกษุผู้มีความรู้ ความสามารถทจี่ ะชว่ ยกจิ การพระศาสนาทง้ั ในดา้ นการศกึ ษา การปกครอง และการแนะน�ำ สงั่ สอนประชาชน ดงั นั้น สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จงึ ไดท้ รงพระด�ำ ริวิธกี ารเลา่ เรียนพระธรรมวินยั ในภาษาไทยขึ้น สำ�หรับสอนพระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารเป็นคร้ังแรก นับแต่ทรงรับหน้าที่ปกครอง วัดบวรนเิ วศวิหาร เม่อื พ.ศ. ๒๔๓๕ เปน็ ตน้ มา โดยทรงก�ำ หนดหลกั สตู รการสอนให้ภกิ ษุสามเณรไดเ้ รยี นรู้ พระพุทธศาสนาทั้งดา้ นหลักธรรม พทุ ธประวัติ และพระวนิ ัย ตลอดถึงหัดแต่งเรยี งความแกก้ ระทธู้ รรม เมื่อทรงเห็นว่า การเรียนการสอนพระธรรมวินัยเป็นภาษาไทยดังนี้ได้ผล ทำ�ให้ภิกษุสามเณร มีความรู้กว้างขวางข้ึน เพราะเรียนรู้ได้ไม่ยาก จึงทรงดำ�ริที่จะขยายแนวทางน้ีไปยังภิกษุสามเณรทั่วไปด้วย ประกอบกบั ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ประเทศไทยเรม่ิ มพี ระราชบญั ญตั เิ กณฑท์ หาร ซง่ึ ภกิ ษทุ งั้ หมดจะไดร้ บั การยกเวน้ สว่ นสามเณรจะยกเวน้ ใหเ้ ฉพาะสามเณรผรู้ ธู้ รรม ทางราชการไดข้ อใหค้ ณะสงฆช์ ว่ ยก�ำ หนดเกณฑข์ องสามเณร ผรู้ ธู้ รรม สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส จงึ ทรงก�ำ หนดหลกั สตู รองคส์ ามเณรรธู้ รรมขน้ึ ต่อมาได้ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์สามเณรรู้ธรรมน้ันเป็น “องค์นักธรรม” สำ�หรับภิกษุสามเณรช้ันนวกะ (คือผบู้ วชใหม)่ ทว่ั ไป ได้รับพระบรมราชานมุ ตั ิ เมื่อวนั ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ และโปรดให้จัดการสอบ ในสว่ นกลางขนึ้ เปน็ ครง้ั แรกในเดอื นตลุ าคมปเี ดยี วกนั โดยใชว้ ดั บวรนเิ วศวหิ าร วดั มหาธาตุ และวดั เบญจมบพติ ร เปน็ สถานที่สอบ การสอบคร้ังแรกน้ี ๓ วชิ า คอื ธรรมวภิ าคในนวโกวาท แตง่ เรยี งความแก้กระทู้ธรรม และ แปลภาษามคธเฉพาะทอ้ งนิทานในอรรถกถาธรรมบท พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองคน์ กั ธรรมใหเ้ หมาะสมส�ำ หรบั ภกิ ษสุ ามเณรทวั่ ไปจะเรยี นรู้ ได้กว้างขวางยิ่งข้นึ โดยแบง่ หลกั สูตรเปน็ ๒ อยา่ ง คือ อยา่ งสามญั เรียนวชิ าธรรมวิภาค พุทธประวัติ และ เรยี งความแกก้ ระทธู้ รรม และอยา่ งวสิ ามญั เพม่ิ แปลอรรถกถาธรรมบท มแี กอ้ รรถบาลไี วยากรณแ์ ละสมั พนั ธ์ และวินยั บัญญัติท่ตี ้องสอบท้งั ผู้ทเ่ี รียนอย่างสามญั และวสิ ามัญ พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงปรับปรุงหลักสูตรองค์นักธรรมอีกคร้ังหน่ึง โดยเพ่ิมหลักธรรมหมวดคิหิปฏิบัติ เขา้ ในสว่ นของธรรมวิภาคดว้ ย เพ่ือให้เป็นประโยชนใ์ นการครองชีวติ ฆราวาส หากพระภิกษุสามเณรรูปน้นั ๆ แนวทางการจัดการเรยี นรธู้ รรมศึกษา ชัน้ เอก วชิ าธรรม

2 มีความจำ�เป็นต้องลาสิกขาออกไปด้วยเหตุใดเหตุหน่ึง เรียกว่า นักธรรมช้ันตรี การศึกษาพระธรรมวินัย แบบใหมน่ ้ี ไดร้ บั ความนยิ มจากหมภู่ กิ ษสุ ามเณรอยา่ งกวา้ งขวางและแพรห่ ลายไปอยา่ งรวดเรว็ เพยี ง ๒ ปแี รก กม็ ภี กิ ษสุ ามเณรสมคั รเขา้ สอบสนามหลวงเกอื บพนั รปู เมอื่ ทรงเหน็ วา่ การศกึ ษานกั ธรรมอ�ำ นวยคณุ ประโยชน์ แก่พระศาสนาและภิกษุสามเณรทั่วไป ในเวลาต่อมาจึงทรงพระดำ�ริขยายการศึกษานักธรรมให้ท่ัวถึงแก่ ภิกษทุ กุ ระดับ คือ ทรงตั้งหลักสตู รนักธรรมชนั้ โท สำ�หรับภกิ ษุช้นั มชั ฌมิ ะ คือ มีพรรษาเกนิ ๕ แต่ไม่ถึง ๑๐ และนกั ธรรมช้นั เอก ส�ำ หรบั ภกิ ษชุ ั้นเถระ คือ มพี รรษา ๑๐ ข้นึ ไป ดงั ท่ีเป็นหลักสตู รการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐานของ คณะสงฆส์ บื มาตราบถึงทกุ วันน้ี ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ สถติ มหาสมี าราม ทรงพิจารณาเหน็ ว่า การศึกษานักธรรมมไิ ดเ้ ป็นประโยชน์ตอ่ ภกิ ษุสามเณรเทา่ นนั้ แมผ้ ู้ท่ี ยังครองฆราวาสวิสัยก็จะได้รับประโยชน์จากการศึกษานักธรรมด้วย โดยเฉพาะสำ�หรับเหล่าข้าราชการครู จึงทรงต้ังหลักสูตรนักธรรมสำ�หรับฆราวาสข้ึน เรียกว่า “ธรรมศึกษา” มีครบทั้ง ๓ ช้ัน คือ ช้ันตรี ช้ันโท ชนั้ เอก ซงึ่ มเี นอ้ื หาเชน่ เดยี วกนั กบั หลกั สตู รนกั ธรรมภกิ ษสุ ามเณร เวน้ แตว่ นิ ยั บญั ญตั ทิ ท่ี รงก�ำ หนดใชเ้ บญจศลี เบญจธรรม และอุโบสถศีลแทน ได้เปิดสอบธรรมศึกษาชั้นตรีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และเปิดสอบ ครบทุกชั้นในเวลาต่อมา มีฆราวาสท้ังหญิงและชายเข้าสอบเป็นจำ�นวนมาก นับเป็นการส่งเสริมการศึกษา พระพุทธศาสนาใหก้ วา้ งขวางย่งิ ขน้ึ ปัจจุบันการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมนี้ มีสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง เน้นการพัฒนาศาสนทายาทให้มีคุณภาพสามารถดำ�รง พระศาสนาไว้ได้ด้วยดี ท้ังถือว่าเป็นกิจการของคณะสงฆ์ส่วนหนึ่งที่สำ�คัญย่ิงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศไทยมาตั้งแต่คร้งั อดีตจนถงึ ปัจจุบัน แนวทางการจัดการเรยี นร้ธู รรมศึกษา ชนั้ เอก วชิ าธรรม

3 บทที่ ๒ เทคนิควิธสี อนของพระพทุ ธเจา้ ๑. การทำ�นามธรรมใหเ้ ป็นรปู ธรรม ท�ำของยากใหง้ า่ ย ธรรมะเปน็ เรอ่ื งนามธรรมท่ีมีเนอ้ื หาลกึ ซง้ึ ยากทจ่ี ะเขา้ ใจ ยงิ่ เปน็ ธรรมะระดับ สูงสุดก็ย่ิงลึกล้�ำคัมภีรภาพย่ิงขึ้น...ความส�ำเร็จแห่งภารกิจการสั่งสอนประชาชนส่วนหน่ึง เพราะพระองค์ ทรงใช้เทคนิควิธีการท�ำของยากใหง้ ่าย เช่น ๑.๑ การใช้อุปมาอุปไมย วิธีนี้เป็นวิธีทรงใช้บ่อยท่ีสุดวิธีหนึ่ง เพราะทำ�ให้ผู้ฟังมองเห็นภาพ และเขา้ ใจงา่ ยโดยไม่ต้องเสยี เวลาอธบิ ายความใหย้ ดื ยาว ๑.๒ ยกนทิ านประกอบ เป็นเทคนิคหรอื กลวธิ หี น่งึ ทีพ่ ระพทุ ธองค์ทรงใช้บ่อย ๑.๓ ใช้อปุ กรณ์หรอื สอื่ การสอน เทคนคิ วธิ สี อนดว้ ยการกระท�ำ ของยากใหง้ า่ ย หรอื ท�ำ นามธรรม ใหเ้ ป็นรปู ธรรม นอกจากใชอ้ ปุ มาอุปไมยและเลา่ นทิ านประกอบแลว้ ยงั มีอกี วิธหี น่งึ อันเป็นวิธที ่ีพระพทุ ธองค์ ทรงใช้มากพอ ๆ กบั สองวิธขี า้ งต้น คอื การใช้ส่อื อปุ กรณ์หรอื ใช้ส่อื การสอน ๒. ทำ�ตนเปน็ ตัวอย่าง ในแง่ของการสอนอาจแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คอื ๒.๑ ทำ�ให้ดหู รอื สาธติ ใหด้ ู ๒.๒ ปฏิบัติใหด้ ูเป็นตัวอยา่ ง ๓. ใชถ้ ้อยคำ�เหมาะสม การสอนท่ีจะประสบผลสำ�เร็จ ผู้สอนจะต้องรู้จักใช้คำ� ต้องให้ผู้ฟังรู้สึกว่าผู้พูดพูดด้วยเมตตาจิต มใิ ช่พดู ดว้ ยความมุ่งรา้ ย ๔. เลือกสอนเปน็ รายบคุ คล ผู้สอนต้องรู้ว่าคนฟังนั้นต่างภูมิหลัง ต่างความสนใจ ต่างระดับสติปัญญาการเรียนรู้ เพราะ ฉะน้ันการเลือกสอนเป็นรายบุคคลจะช่วยให้การสอนประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดี ถ้าทำ�ได้ก็ควรใช้วิธีน้ี แมจ้ ะสอนเปน็ กลมุ่ กต็ อ้ งเอาใจใส่นักเรียนที่มีปญั หาเป็นรายบุคคลให้ได้ ๕. รู้จกั จงั หวะและโอกาส ดคู วามพร้อมของผเู้ รยี น รู้จักคอยจงั หวะอนั เหมาะสม ถา้ ผ้เู รยี นไม่พรอ้ มก็เหนื่อยเปลา่ ๖. ยดื หยนุ่ ในการใชเ้ ทคนิควิธี เทคนคิ วิธีบางอย่างใชไ้ ดผ้ ลในวันนี้ ตอ่ ไปวนั ข้างหน้าอาจใชไ้ ม่ไดก้ ไ็ ด้ จึงควรยดื หยุ่นวิธีการ แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชัน้ เอก วชิ าธรรม

4 ๗. การเสริมแรง มีค�ำ พูดสรรเสริญพระพุทธเจา้ ว่า “ทรงชมคนทีค่ วรชม ต�ำ หนคิ นท่คี วรต�ำ หน”ิ การชมเป็นการ ยอมรับความสามารถหรือให้กำ�ลังใจให้ทำ�อย่างนั้นย่ิง ๆ ข้ึนไป การตำ�หนิเป็นการตักเตือนมิให้ประพฤติ เช่นนนั้ อีกตอ่ ไป หลักสำ�คญั ทคี่ รูผ้สู อนควรทราบ หลกั ส�ำ คญั คอื หลักการใหญ่ ๆ ของการสอนไม่วา่ จะสอนเรื่องอะไรก็มอี ยู่ ๓ หลกั คอื ๑. หลักเก่ยี วกับเน้อื หาทสี่ อน ๒. หลักเกยี่ วกับตวั ผูเ้ รยี น ๓. หลักเก่ยี วกับตัวผสู้ อน ก. หลกั เกย่ี วกับเนือ้ หาทสี่ อน คนจะสอนคนอน่ื ตอ้ งรวู้ า่ จะเอาเรอ่ื งอะไรมาสอนเขาเสยี กอ่ น ไมใ่ ชค่ ดิ แตว่ ธิ กี ารสอนวา่ จะสอน อยา่ งไร ตอ้ งคดิ กอ่ นวา่ จะเอาอะไรไปสอนเขา พระพทุ ธเจา้ แนะน�ำ วา่ ผสู้ อนตอ้ งค�ำ นงึ เสมอวา่ ตอ้ งสอนสงิ่ ทรี่ เู้ หน็ หรอื เขา้ ใจงา่ ยไปหาส่งิ ทเ่ี ข้าใจยาก ๑. สอนเน้อื หาทล่ี ุ่มลกึ ลงไปตามลำ�ดบั ๒. สอนด้วยของจริง ๓. สอนตรงตามเน้อื หา ๔. สอนมีเหตุผล ๕. สอนเทา่ ท่ีจำ�เปน็ ตอ้ งรู้ ๖. สอนสิ่งทีม่ คี วามหมายและเป็นประโยชนแ์ กผ่ เู้ รียน ข. หลกั เกี่ยวกับตวั ผูเ้ รียน ๑. พระพุทธองค์จะทรงสอนใคร ทรงดูบุคคลผู้รับการสอนหรือผู้เรียนก่อนว่าบุคคลนั้น ๆ เปน็ คนประเภทใด มพี ื้นความรูค้ วามเข้าใจหรือความพร้อมแค่ไหน และควรจะสอนอะไรแคไ่ หน ๒. นอกจากดูความแตกต่างของผ้เู รียนแล้ว ยงั ต้องดคู วามพร้อมของผเู้ รียนดว้ ย ๓. สอนให้ผเู้ รยี นท�ำ ดว้ ยตนเอง ๔. ผู้เรียนจะต้องมีบทบาทรว่ มด้วย ๕. ครูต้องเอาใจใส่ผเู้ รยี นทมี่ ปี ญั หาเป็นพิเศษ ค. หลกั เกยี่ วกบั ตวั ผู้สอน ๑. สรา้ งความสนใจในการสอนคนน้ัน (การนำ�เข้าสู่บทเรยี น) ๒. สร้างบรรยากาศในการเรยี นการสอนใหป้ ลอดโปร่ง ๓. มุ่งสอนเนอ้ื หา มงุ่ ให้ผฟู้ ังเกดิ ความร้คู วามเขา้ ใจและเปลย่ี นพฤตกิ รรมในทางท่ีดี ๔. ตัง้ ใจสอน สอนโดยเคารพ ถอื ว่างานสอนเป็นงานสำ�คญั ๕. ใช้ภาษาเหมาะสม ผู้สอนคนอ่ืนควรมีความสามารถในการส่ือสาร ใช้คำ�พูดท่ีถูกต้อง และเหมาะสมกบั บุคคลและสถานการณ์ แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศกึ ษา ชัน้ เอก วชิ าธรรม

5 หลกั การสอนแนวพุทธวิธี พระพทุ ธเจา้ นน้ั ทรงเปน็ พระบรมครู ยอดครขู องผสู้ อน พระองคท์ รงมหี ลกั การในการสอนมากมาย หลายหลักการ เรยี กว่า “หลกั ๔ ส” คือ ๑. สนั ทัสสนา อธิบายใหเ้ หน็ ชดั แจ้ง เหมอื นจงู มอื ให้มาดูดว้ ยตา ๒. สมาทปนา ชักจูงใหเ้ ห็นจรงิ เหน็ จงั ตาม ชวนใหค้ ลอ้ ยตาม จนยอมรับเอาไปปฏิบตั ิ ๓. สมตุ เตชนา เร้าใจ เกิดความกล้าหาญ มกี �ำ ลังใจ ม่นั ใจวา่ ท�ำ ได้ไม่หวัน่ ไหวต่ออุปสรรคท่ีมมี า ๔. สัมปหงั สนา มีวธิ ีสอนทช่ี ว่ ยให้ผูฟ้ ังร่าเริง เบิกบาน ฟังไมเ่ บอ่ื เปี่ยมล้นไปดว้ ยความหวงั สรุปหลักการทวั่ ไปของการสอน คือ แจ่มแจ้ง - จูงใจ - หาญกลา้ - รา่ เรงิ หลักการสอนพทุ ธวิธีแบบสนทนา (สากัจฉาหรือธรรมสากัจฉา) เป็นวิธีท่ีทรงใช้บ่อยที่สุด พระองค์ชอบใช้วิธีนี้อาจเป็นด้วยว่าผู้ฟังได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ทำ�ใหก้ ารเรยี นการสอนสนุกไม่รู้สึกว่าตนก�ำ ลัง “เรยี น” หรอื ก�ำ ลัง “ถูกสอน” แต่จะรู้สกึ วา่ ตนกำ�ลังสนทนา ปราศรยั กบั พระพุทธองค์อย่างสนกุ สนาน หลกั การสอนพุทธวธิ ีแบบตอบปัญหา (ปจุ ฉา - วิสัชนา) ผ้ถู ามปัญหาอาจถามดว้ ยจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น ๑. บางคนถามเพือ่ ตอ้ งการค�ำ ตอบในเรือ่ งท่สี งสัยมานาน ๒. บางคนถามเพื่อลองภูมิว่าคนตอบรู้หรอื ไม่ ๓. บางคนถามเพ่อื ข่มหรือปราบให้ผูต้ อบอับอาย ๔. บางคนถามเพอ่ื เทยี บเคียงกบั ความเช่อื หรือค�ำ สอนในลทั ธิศาสนาของตน พระพทุ ธองคต์ รสั รู้ว่า การตอบปญั หาใด ๆ ต้องดลู กั ษณะของปญั หาและเลือกวธิ ตี อบใหถ้ กู ต้อง เหมาะสมพระองคจ์ ำ�แนกประเภทของปัญหาไว้ ๔ ประการ คือ ๑. ปญั หาบางอย่างตอ้ งตอบตรงไปตรงมา ๒. ปัญหาบางอยา่ งต้องย้อนถามก่อนจึงตอบ ๓. ปญั หาบางอย่างตอ้ งแยกความตอบ ๔. ปัญหาบางอย่างตอ้ งตัดบทไปเลยไม่ตอบ วิธีคิดแบบอรยิ สัจ ๔/คดิ แบบแก้ปัญหา เป็นการคิดแบบแก้ปัญหา เรียกว่า “วิธีแห่งความดับทุกข์” จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหน่ึง เป็นวิธีคดิ ตามเหตุและผลหรือเป็นไปตามเหตแุ ละผล สืบสาวจากผลไปหาเหตแุ ล้วแก้ไขและทำ�การที่ตน้ เหตุ จัดเปน็ ๒ คู่ คือ ค่ทู ี่ ๑ ทกุ ขเ์ ป็นผล เป็นตวั ปญั หา เปน็ สถานการณท์ ีป่ ระสบซึ่งไม่ต้องการ สมุทัยเปน็ เหต ุ เป็นท่ีมาของปัญหา เปน็ จุดที่จะตอ้ งก�ำ จัดหรือแก้ไขจงึ จะพ้นจากปญั หาได้ คทู่ ี่ ๒ นโิ รธเปน็ ผล เป็นภาวะสนิ้ ปญั หา เปน็ จดุ หมายซึ่งต้องการจะเขา้ ถึง มรรคเปน็ เหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำ�ในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุ จดุ หมาย คอื ภาวะสิน้ ปญั หาอนั ไดแ้ ก่ความดบั ทกุ ข์ แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชน้ั เอก วิชาธรรม

6 กระบวนการจัดการเรยี นรู้ แบบพทุ ธวิธี ๙ อยา่ ง ๑. การจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้พุทธวธิ ีแบบอปุ มาอปุ ไมย (การเปรยี บเทียบ) ข้ันสืบคน้ และขั้นเชื่อมโยง - เปรียบเทยี บนามธรรมกบั รปู ธรรมให้ผ้เู รยี นเห็นชดั เจน ครูผสู้ อนและผ้เู รียนมีสว่ นรว่ ม - ความแตกต่างระหวา่ งสิ่งทีเ่ ป็นนามธรรมกับรปู ธรรม ข้ันฝึก - ยกตัวอยา่ งสิ่งท่เี ป็นนามธรรมกบั รูปธรรม - ผูเ้ รียนแต่ละรปู หรอื แตล่ ะกลมุ่ ร่วมอภปิ รายหรอื นำ�เสนอสิ่งท่ีเปน็ นามธรรมกับรปู ธรรม - หาข้อสรุปเกีย่ วกับเนอ้ื หาทีเ่ ป็นนามธรรม - รูปธรรม ข้นั ประยุกต์ - คน้ คว้าสิ่งที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรมในเนอ้ื หาอืน่ ๆ นอกเหนือจากเนอื้ หาทีก่ �ำ หนดให้ ๒. การจัดกิจกรรมการเรยี นรพู้ ทุ ธวิธีแบบปุจฉา - วสิ ัชนา (การถาม - ตอบ) ขน้ั สืบคน้ และขั้นเชื่อมโยง - การท�ำ หน้าที่เป็นผู้ถาม - ตอบท่ีถูกต้องเหมาะสมแก่กาลเทศะ - วิธีถาม - ตอบ (ตอบทันทีเมื่อมีผู้ถาม ตอบแบบมีเง่ือนไข ย้อนถามผู้ถามก่อนแล้วจึงตอบ นิ่งเสียไม่ตอบ เป็นตน้ ) ขั้นฝึก - ตวั อยา่ งการถาม - ตอบ - ถาม - ตอบแบบคนตอ่ คน ถาม - ตอบแบบกลมุ่ ตอ่ กล่มุ ถาม - ตอบแบบกล่มุ ตอ่ คน เปน็ ตน้ - หาขอ้ สรุปเนอ้ื หาทเี่ กยี่ วกบั การถาม - ตอบ ขน้ั ประยุกต์ - คน้ ควา้ เพ่ิมเติมนอกเหนือจากเนอ้ื หาท่กี �ำ หนดไว้ในแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๓. การจัดกิจกรรมการเรยี นรพู้ ทุ ธวธิ แี บบธรรมสากัจฉา (การสนทนา) ขน้ั สืบค้นและขั้นเชื่อมโยง - ครูผ้สู อนเสนอสถานการณ์ท่ีเป็นปญั หาหรือจ�ำ ลองสถานการณ์ ขั้นฝึก - ผู้เรียน/ครูผู้สอน - อภิปรายในประเด็นที่เป็นปัญหา หัวข้อ หรือสถานการณ์ ตามเน้ือหา ทีก่ �ำ หนด - หาขอ้ สรุปในประเด็นที่เป็นปญั หา หัวขอ้ หรือสถานการณ์จากการสนทนาอภปิ ราย แนวทางการจดั การเรยี นร้ธู รรมศกึ ษา ชัน้ เอก วิชาธรรม

7 ขนั้ ประยุกต์ - ศกึ ษาเพิม่ เติมการสนทนา - อภิปรายของบคุ คล กลุ่มคน ละคร องคก์ ร เป็นตน้ ๔. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้พุทธวิธีแบบอริยสัจ ๔ (กำ�หนดปัญหา ต้ังสมมุติฐาน ทดลอง วเิ คราะห์ สรุป) ขนั้ สืบค้น (ทุกข)์ - ก�ำ หนดปญั หา ทมี่ าของปัญหา การเกดิ ปญั หา (ตามเนอื้ หาทก่ี ำ�หนด) ข้ันเชื่อมโยง (สมุทยั ) - ตง้ั สมมตุ ิฐาน การอนุมาน การคาดคะเน ความนา่ จะเป็น ปจั จัยเสยี่ ง ขน้ั ฝึก (นิโรธ) - ทดลอง เก็บขอ้ มูล - วิเคราะห์ สรุปผล ข้นั ประยุกต์ (มรรค) - การน�ำ ไปประยุกตใ์ ชก้ บั สิ่งอน่ื ๆ นอกเหนอื จากเนือ้ หาทเ่ี รียนรู้ ๕. การจัดกจิ กรรมการเรียนรูพ้ ทุ ธวธิ แี บบไตรสกิ ขา (ระเบียบวนิ ัย จิตใจแน่วแน่ แก้ปัญหาถูกต้อง) ข้ันสืบค้น (ศลี ) - สรา้ งความมรี ะเบยี บวนิ ยั ความมศี รทั ธา ความตระหนกั ความเรา้ ใหเ้ กดิ กบั ผเู้ รยี นพรอ้ มทจี่ ะเรยี น ขน้ั เชอื่ มโยง (สมาธ)ิ - ให้ผู้เรียนรวมพลังจิต ความคิดอันแน่วแน่ในการตั้งใจฟัง ตั้งใจดู ต้ังใจจดจำ� และเห็น ความส�ำ คญั ตอ่ เนือ้ หาที่จะน�ำ เสนอ ขนั้ ฝึก (ปัญญา) - ใชส้ มาธิ จิตใจอันแน่วแน่ท�ำ ความเขา้ ใจกบั ปญั หา - คน้ หาสาเหตุท่มี าท่ีไปของปญั หา - แกไ้ ขปญั หาอยา่ งถูกตอ้ งและถูกวธิ ี ข้นั ประยุกต์ (ปญั ญา) - ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกดิ ปญั ญา และมีมโนทัศน์ในเรือ่ งนน้ั ๆ ถูกตอ้ ง ๖. การจดั กิจกรรมการเรยี นรพู้ ุทธวธิ ีแบบพหูสตู (ฟงั มาก ๆ เขียนมาก ๆ ถามมาก ๆ คดิ วเิ คราะห์มาก ๆ) ข้ันสบื ค้นและขัน้ เชื่อมโยง (การสร้างศรัทธา) - การจัดบรรยายในการน�ำ เข้าสู่บทเรยี น - การสร้างแรงจงู ใจในการน�ำ เข้าสู่บทเรียน - บคุ ลิกภาพ ตลอดถึงการวางตัวทีเ่ หมาะสมของผู้สอน - การสรา้ งความสัมพันธ์ระหวา่ งผ้เู รยี นกับผู้สอน แนวทางการจดั การเรยี นรูธ้ รรมศกึ ษา ช้ันเอก วชิ าธรรม

8 ขัน้ ฝกึ (การฝึกทักษะ) - กิจกรรมกล่มุ /รายบุคคล - การปฏบิ ัติ/การนำ�เสนอ/การแสดงออก - ฝกึ การเขยี น การฟงั การถาม และการคดิ วเิ คราะห์ ขน้ั ประยุกต์ - การประเมินตนเอง - การประเมนิ ของกลั ยาณมติ ร - การศึกษาคน้ ควา้ เพิม่ เตมิ และการน�ำ ไปประยกุ ต์ใช้ ๗. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้พุทธวิธีแบบโยนิโสมนสิการ (การทำ�ไว้ในใจโดยแยบคาย การใช้ ความคิดอย่างถูกวธิ ี) แบบที่ ๑ ข้ันสบื คน้ และขั้นเชอ่ื มโยง - ผเู้ รยี นรจู้ กั คดิ คดิ เป็น คดิ อยา่ งมีระบบ - ผูเ้ รียนรูจ้ ักมอง รจู้ กั พจิ ารณา ไตรต่ รอง วเิ คราะห์ สังเคราะห์ ขั้นฝกึ - ฝกึ การคิดหาเหตุผล - ฝกึ การสืบค้นถึงตน้ เคา้ - ฝกึ การสืบสาวให้ตลอดสาย - ฝกึ การแยกแยะสงิ่ นนั้ ๆ ปัญหาน้นั ๆ ตามสภาวะแหง่ เหตุและปัจจัย ขนั้ ประยุกต์ - ผเู้ รียนนำ�การใชค้ วามคดิ อย่างถูกวธิ ีไปประยุกตใ์ ชก้ ับเหตกุ ารณป์ ัจจบุ ัน ๘. การจดั กิจกรรมการเรียนรูพ้ ุทธวธิ แี บบโยนิโสมนสิการ (สร้างศรทั ธาและวธิ คี ดิ ใหก้ บั ผเู้ รยี น) แบบท่ี ๒ ขน้ั สบื คน้ และขั้นเชือ่ มโยง - ครผู สู้ อนสรา้ งเจตคติทดี่ ีต่อผู้เรียน - ครูผสู้ อนเสนอปญั หาท่เี ปน็ สาระสำ�คัญ หัวเรือ่ ง - ครูผสู้ อนแนะแหลง่ วิทยาการ แหลง่ ขอ้ มลู แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชั้นเอก วิชาธรรม

9 ข้นั ฝึก - ผเู้ รียนฝึกการรวบรวมข้อมลู - ครผู สู้ อนจดั กจิ กรรมใหเ้ กดิ กระบวนการคดิ แกผ่ เู้ รยี น เชน่ คดิ สบื คน้ ตน้ เคา้ คดิ สบื สาวตลอดสาย คดิ สบื คน้ ต้นปลาย และคดิ โยงสายสัมพันธ์ - ฝึกการสรุปประเด็น เปรียบเทียบ ประเมินคา่ โดยวิธีอภิปราย ทดลอง ทดสอบ - ดำ�เนินการเลอื กและตัดสินใจ - กิจกรรมฝกึ ปฏิบตั ิเพอื่ พิสูจน์ผลการเลือกและตัดสินใจ ข้ันประยกุ ต์ - สงั เกตวิธกี ารปฏบิ ัติ ตรวจสอบ ปรบั ปรงุ - อภปิ รายและสอบถาม - สรปุ บทเรยี นการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ - วดั และประเมินผลตามสภาพจริง ๙. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้พุทธวิธีแบบอิทธิบาท ๔ (พอใจในสิ่งที่เรียนรู้ พากเพียรต่อสิ่งท่ี เรียนรูเ้ สมอ มุ่งมน่ั และเอาใจใส่ตอ่ ส่งิ ทเ่ี รยี นรู้ คิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง ก่อนน�ำ ไปใช้) ข้ันสบื คน้ (ฉันทะ) - สร้างความพอใจและความส�ำ คัญตอ่ ส่ิงทีเ่ รียนรู้ และสิง่ ทไ่ี ดร้ ับ ข้นั เช่ือมโยง (วิริยะ) - ฟังให้หมด จดใหม้ าก ปากต้องไว ใจตอ้ งคดิ (หัวใจบณั ฑิต สุ จิ ปุ ล)ิ ข้นั ฝกึ (จติ ตะ) - มงุ่ มน่ั โดยฝึกฟงั มาก ๆ ฝึกคิดมาก ๆ ฝกึ ถามมาก ๆ และฝึกเขียนมาก ๆ ขั้นประยกุ ต์ (วมิ งั สา) - พจิ ารณา ไตร่ตรอง แยกแยะ อธิบาย นำ�เสนอ และประยกุ ตใ์ ช้ การนยิ ามศัพทข์ ้ันตอน/กระบวนการจัดกจิ กรรมการเรยี นรูพ้ ทุ ธวิธี สบื คน้ หมายถงึ สบื สาวเรอื่ งราว คน้ คว้าใหไ้ ด้เรือ่ ง เช่อื มโยง หมายถงึ ทำ�ให้ตดิ เปน็ เน้อื เดยี วกัน ทำ�ใหป้ ระสานกัน ฝกึ หมายถึง ทำ� เช่น บอก แสดง หรือปฏิบัติ เพ่ือให้เกิดความรู้ความเข้าใจ จนเป็นนิสยั หรอื มีความชำ�นาญ ประยกุ ต ์ หมายถงึ น�ำ ความรู้ในวิทยาการตา่ ง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศึกษา ชัน้ เอก วิชาธรรม

10 บทที่ ๓ มาตรฐานการเรยี นรู้ ผลการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ธศ ๑ รู้และเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา มีศรัทธาท่ีถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติ ตามหลกั ธรรม เพอ่ื อย่รู ว่ มกันอย่างสันตสิ ุข มาตรฐาน ธศ ๒ รแู้ ละเข้าใจพทุ ธประวตั ิ ความส�ำ คญั ของพระพทุ ธศาสนา ปฏบิ ตั ติ นเปน็ พทุ ธศาสนกิ ชนทด่ี ี และธ�ำ รงรกั ษาพระพทุ ธศาสนา มาตรฐาน ธศ ๓ รู้ เขา้ ใจ และปฏิบตั ติ นตามหลกั พระวนิ ัยบัญญตั ิของพระพทุ ธศาสนา แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ช้ันเอก วิชาธรรม

11 มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรแู้ ละสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ธศ ๑ รแู้ ละเขา้ ใจหลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนา มศี รทั ธาทถี่ กู ตอ้ ง ยดึ มนั่ และปฏบิ ตั ิ ตามหลักธรรม เพ่อื อย่รู ่วมกันอยา่ งสนั ติสขุ ชัน้ ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ธศ เอก ๑. รู้และเข้าใจหลักธรรมพระพทุ ธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏิปทา - นิพพทิ า ความหนา่ ย - ปฏิปทาแห่งนิพพทิ า - วิราคะ ความสิน้ ก�ำ หนด ๒. รู้และเข้าใจหลกั ธรรมพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏิปทา - วิมตุ ติ ความหลดุ พ้น ๓. รู้และเขา้ ใจหลกั ธรรมพระพุทธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา - วิสทุ ธิ ความหมดจด ๔. รแู้ ละเข้าใจหลักธรรมพระพุทธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา - สันติ ความสงบ ๕. รแู้ ละเข้าใจหลักธรรมพระพุทธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทา - นิพพาน ความดบั ทุกข์ ๖. รู้และเข้าใจหลกั ธรรมพระพุทธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทา - ทคุ ติ ๗. รู้และเขา้ ใจหลกั ธรรมพระพุทธศาสนาส่วนสงั สารวัฏ - สคุ ติ - กรรม ๑๒ - หวั ใจสมถกมั มัฏฐาน ๘. รูแ้ ละเข้าใจหลักธรรมพระพทุ ธศาสนาสว่ นสงั สารวฏั - สมถกัมมฏั ฐาน : ๙. รูแ้ ละเขา้ ใจหลกั ธรรมพระพทุ ธศาสนาสว่ นสงั สารวัฏ หลกั การเจริญสมถะ ๑๐. รู้และเข้าใจหลักธรรมพระพุทธศาสนาส่วนสงั สารวัฏ - พุทธคณุ กาถา - วปิ สั สนากมั มัฏฐาน หลักการเจรญิ วิปสั สนา ๑๑. รแู้ ละเขา้ ใจหลักธรรมพระพทุ ธศาสนาสว่ นสังสารวัฏ ๑๒. รู้และเขา้ ใจหลกั ธรรมพระพทุ ธศาสนาสว่ นสงั สารวฏั แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศึกษา ชนั้ เอก วิชาธรรม

12 บทท่ี ๔ แผนการจดั การเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ธรรมศึกษาช้ันเอก ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำ�นวน ๑๒ แผน ดังนี้ แผนการจดั การเรยี นรทู้ ี่ ๑ หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏปิ ทา แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ ๒ หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี ๓ หลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏิปทา แผนการจดั การเรียนรทู้ ี่ ๔ หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา แผนการจดั การเรียนรทู้ ่ี ๕ หลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทา แผนการจดั การเรียนรู้ที่ ๖ หลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏิปทา แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี ๗ หลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาส่วนสังสารวัฏ แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่ ๘ หลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาส่วนสังสารวัฏ แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี ๙ หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาสว่ นสงั สารวัฏ แผนการจัดการเรียนรทู้ ี่ ๑๐ หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาสว่ นสังสารวฏั แผนการจัดการเรยี นรทู้ ่ี ๑๑ หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนสงั สารวฏั แผนการจัดการเรียนรู้ท่ี ๑๒ หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนสังสารวฏั แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษา ชั้นเอก วิชาธรรม

แผนการจัดการเรยี นร้ทู ี่ ๑ 13 ธรรมศกึ ษาชน้ั เอก สาระการเรยี นรู้วิชาธรรม เวลา..............ช่วั โมง เรือ่ ง หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏปิ ทา ๑. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ธศ ๑ รแู้ ละเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา มศี รทั ธาทถี่ กู ต้อง ยดึ มัน่ และปฏบิ ัติ ตามหลกั ธรรม เพือ่ อยู่ร่วมกันอยา่ งสนั ตสิ ุข ๒. ผลการเรียนรู้ รูแ้ ละเขา้ ใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมัตถปฏปิ ทา ๓. สาระส�ำ คญั หลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา เปน็ การศกึ ษา นพิ พทิ า ความหนา่ ย และปฏปิ ทา แหง่ นิพพิทา หากบุคคลยึดม่ันและปฏบิ ตั ไิ ด้จะอย่ใู นสังคมด้วยความเปน็ สขุ ๔. จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ นกั เรียนอธบิ ายหลกั ธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏปิ ทาได้ ๕. สาระการเรยี นรู/้ เนื้อหา - นิพพทิ า ความหน่าย - ปฏปิ ทาแหง่ นิพพทิ า ๖. กระบวนการจัดการเรยี นรู้ ขน้ั สืบคน้ และเชอ่ื มโยง ๑. ครูและนักเรียนสนทนาเก่ียวกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทาโดยใช้ คำ�ถามเพื่อพฒั นาทักษะกระบวนการคดิ และเช่อื มโยงไปสู่การเรยี นรู้ - นักเรยี นเคยเรยี นเร่อื งหลกั ธรรมของพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏิปทาบา้ งหรือไม่ - หลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา มีอะไรบา้ ง - นกั เรยี นเคยไดย้ นิ ไดเ้ ห็นหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏิปทาจากที่ไหนบา้ ง ข้นั ฝึก ๒. แบ่งนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สว่ นปรมัตถปฏิปทา ซง่ึ ประกอบดว้ ยนพิ พิทา ความหนา่ ย และปฏิปทาแหง่ นิพพทิ า จากใบความรทู้ ี่ ๑ ๓. นักเรียนแต่ละกลมุ่ จดั เตรียมการเสนอผลงานหนา้ ชน้ั เรียน แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ชน้ั เอก วิชาธรรม

14 ขนั้ ประยกุ ต์ ๔. ใหน้ กั เรียนแตล่ ะกลุ่มออกมาเล่าตามหวั ข้อท่ตี นเองได้รบั มอบหมายเพ่อื แลกเปล่ยี นเรยี นรู้ ๕. นกั เรยี นในแต่ละกลุ่มตอบคำ�ถามตามใบกิจกรรมท่ี ๑ ๖. ครแู ละนักเรียนร่วมกันสรุปในแต่ละหัวข้อ ๗. ตรวจผลงาน ๗. ภาระงาน/ช้ินงาน ที ่ ภาระงาน ช้ินงาน ๑ ตอบคำ�ถามเกี่ยวกบั หลกั ธรรมของพระพุทธศาสนา สว่ นปรมัตถปฏิปทา ใบกิจกรรมที่ ๑ ๘. สอ่ื /แหล่งการเรียนรู้ ๑. ใบความรทู้ ่ี ๑ เร่ือง หลักธรรมของพระพทุ ธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏิปทา ๒. ใบกจิ กรรมท่ี ๑ ๙. การวัดผลและประเมนิ ผล ส่งิ ทต่ี อ้ งการวดั วธิ ีวัด เครื่องมอื เกณฑก์ ารประเมิน อธบิ ายหลักธรรม พระพุทธศาสนา - ตรวจผลงาน - แบบประเมนิ ผ่าน = ไดค้ ะแนนตงั้ แตร่ ้อยละ ๖๐ ขน้ึ ไป สว่ นปรมัตถปฏิปทาได้ ผลงาน ไม่ผ่าน = ได้คะแนนตํ่ากวา่ ร้อยละ ๖๐ แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ชั้นเอก วชิ าธรรม

ข้อ ที่ แบบประเมินผลงาน 15 ๔ - ๕ คะแนน ใบกิจกรรมที่ ๑ ๑ คะแนน ๑ - ๒ ตอบคำ�ถามถูกตอ้ ง ตอบคำ�ถามถูกตอ้ งและ ตรงประเด็น ระดบั คะแนน ตรงประเดน็ นอ้ ย ๒ - ๓ คะแนน ตอบค�ำ ถามถกู ต้อง ตรงประเดน็ ส่วนใหญ ่ เกณฑ์ เกณฑก์ ารตัดสิน คะแนน ผ่าน ๖ คะแนนขึน้ ไป ไม่ผ่าน รอ้ ยละ ๕ คะแนนลงมา ๖๐ ข้นึ ไป ตา่ํ กวา่ ๖๐ หมายเหตุ เกณฑก์ ารตดั สินสามารถปรับใช้ตามความเหมาะสมกบั กลมุ่ เปา้ หมาย แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศกึ ษา ช้ันเอก วชิ าธรรม

16 ใบกิจกรรมที่ ๑ หลักธรรมพระพุทธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏปิ ทา ชือ่ กลุม่ .................... ชอ่ื .........................................................................................ช้ัน.....................เลขท่.ี .......................... ชอ่ื .........................................................................................ชน้ั .....................เลขที่........................... ช่อื .........................................................................................ชนั้ .....................เลขท.ี่ .......................... คำ�ชแี้ จง ใหน้ ักเรียนตอบค�ำ ถามต่อไปน้ี จำ�นวน ๒ ข้อ (๑๐ คะแนน) ๑. อธบิ ายถงึ ความหมายและการปฏบิ ตั ติ นของนพิ พิทา ความหน่าย .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๒. อธิบายถงึ ความหมายและการปฏบิ ัตติ นของปฏิปทาแห่งนพิ พทิ า .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชัน้ เอก วชิ าธรรม

17 เฉลยใบกิจกรรมที่ ๑ หลกั ธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏปิ ทา ๑. อธิบายถึงความหมายและการปฏิบัตติ นของนพิ พิทา ความหน่าย ตอบ นิพพิทา ความหน่าย หมายถึง ความเบื่อหน่ายที่เกิดจากการใช้ปัญญาพิจารณาเห็น ความจริง ได้แก่ ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ ความเบ่ือหน่ายในเบญจขันธ์ซ่ึงเกิดจากปัญญาท่ีพิจารณา เห็นว่าสังขารท้ังปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อพิจารณาได้ดังนี้ ย่อมเกิดความเบ่ือหน่ายในทุกขขันธ์ (กองทุกข์) ไม่มัวเมาเพลิดเพลินยึดม่ันในสังขารอันยั่วยวนชวนเสน่หา เป็นความเบ่ือหน่ายที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังขาร ไม่ใช่ความเบ่ือหน่าย เพราะแรงผลักดันแห่งกามตัณหา เช่น กรณีที่หญิงกับชายรักกันจนถึงขั้นอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้ว เบ่ือหน่ายจนเลิกร้างกันไปเพราะความประพฤติไม่ดีต่อกันหรือเอือมระอาในพฤติกรรมของกันและกัน แล้วต่างคนต่างไปแสวงหากามารมณเ์ สพสขุ ทางเพศกบั ชาย - หญงิ อืน่ เชน่ นไ้ี มจ่ ัดเป็นนิพพทิ า คำ�วา่ โลก ในอุทเทสท่ี ๑ จ�ำ แนกความหมายเปน็ ๒ อย่าง คอื (๑) โลกโดยตรง ได้แก่ แผ่นดิน เปน็ ท่ีอาศัย (๒) โลกโดยอ้อม ได้แกห่ มูส่ ัตว์ผ้อู าศัย โลกทง้ั โดยตรงและโดยออ้ มน้ีมสี ิง่ ตา่ งๆ รวมกนั อยู่ ๓ อยา่ ง คอื ๑. สงิ่ อันใหโ้ ทษโดยส่วนเดียว เปรยี บดว้ ยยาพษิ ๒. ส่งิ อนั ใหโ้ ทษในเม่ือเกนิ พอดี เปรยี บด้วยของมนึ เมา ๓. สิ่งอนั เปน็ อุปการะ เปรียบด้วยอาหารและเภสัช (ยารกั ษาโรค) ท่ใี ห้ความสบาย ผูห้ มกอยใู่ นโลก เหล่าคนเขลาผู้ไร้ปัญญาพิจารณาไม่สามารถหยั่งรู้เห็นโลกได้โดยถ่องแท้ จึงชื่อว่าหมกอยู่ในโลก โดยอาการ ๓ อย่าง คอื ๑. เพลดิ เพลนิ ในสิง่ ที่เปน็ โทษ ๒. ระเริงหลงเกนิ พอดีในสงิ่ อนั อาจใหโ้ ทษ ๓. ติดอยู่ในสิ่งท่ีเปน็ อุปการะล่อใจ เมื่อเป็นเช่นน้ี ย่อมได้รับสุขบ้าง ทุกข์บ้าง คละเคล้ากันไปตามแต่ส่ิงนั้นๆ จะอำ�นวยให้ แม้สุข ที่ได้รับน้ัน ก็เป็นอามิสสุข สุขอิงอามิส คือสุขท่ีคล้ายเหยื่อล่อให้ลุ่มหลงติดข้อง ไม่ใช่ความสุขท่ีแท้จริง ซงึ่ มอี าการดุจเหยอื่ ที่เบ็ดเกีย่ วไว้ อาจถูกชักจูงไปไดต้ ามปรารถนา ผูไ้ ม่ขอ้ งอยู่ในโลก ฝ่ายท่านผู้รู้ มีปัญญาฉลาด สามารถพิจารณาเห็นความเป็นจริงของส่ิงสมมติเป็นโลกน้ันๆ ว่า จะต้องเปล่ียนแปลงไปตามเหตุปัจจยั อย่างแน่นอนแล้วไมต่ ิดข้องพวั พันในสงิ่ อันเปน็ อุปการะล่อใจ โดยที่ไม่มี ผใู้ ดหรอื สงิ่ ใดยวั่ ใหต้ ดิ อยไู่ ด้ ยอ่ มเปน็ อสิ ระดว้ ยตนเอง เมอื่ เปน็ เชน่ น้ี ยอ่ มไดร้ บั นริ ามสิ สขุ สขุ ปราศจากอามสิ คือความสขุ ท่ีหาเหย่อื ล่อมิได้ อันเปน็ ความสุขท่ีแท้จรงิ ผ้รู ู้เชน่ น้ี ชื่อวา่ ผูไ้ ม่ขอ้ งอยู่ในโลก แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ชั้นเอก วชิ าธรรม

18 พุทธประสงค์ในการตรสั ใหด้ ูโลก พระพทุ ธองคต์ รสั ชกั ชวนเหลา่ พทุ ธบรษิ ทั มาดโู ลกอนั วจิ ติ รตระการตาเปรยี บดว้ ยราชรถครงั้ โบราณ ที่ประดับด้วยเครื่องอลังการอย่างงดงาม มิใช่เพ่ือให้หลงเพลิดเพลิน ดุจดูหนังดูละครที่มุ่งความบันเทิง แต่อย่างใดไม่ แต่ทรงประสงค์ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเห็นคุณ โทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ของส่ิงน้ันๆ ที่รวมกันเขา้ เป็นโลก อาการส�ำ รวมจติ ผู้สำ�รวมจิตไม่ปล่อยให้เพลิดเพลินระเริงหลงในโลกอันมีส่ิงล่อใจต่างๆ ชื่อว่าพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดว้ ยอาการส�ำ รวมจิต ๓ อย่าง คอื ๑. สำ�รวมอินทรีย์ (อนิ ทรียสงั วร) หมายถึง ความส�ำ รวมระวังตา หู จมูก ลน้ิ กาย ใจ มใิ หอ้ �ำ นาจ ความก�ำ หนดั ยินดคี รอบง�ำ ได้ ในเมื่อตาได้เหน็ รูป หไู ด้ยนิ เสยี ง จมูกดมกลิน่ ลน้ิ ล้ิมรส กายถกู ตอ้ งโผฏฐัพพะ (สมั ผัสทางกาย) อนั นา่ ปรารถนา ชกั ใหใ้ คร่ พาใจใหก้ ำ�หนัด ๒. มนสิการกัมมัฏฐาน (สมถกัมมัฏฐาน) หมายถึง ความใฝ่ใจในอุบายฝึกอบรมจิตเพ่ือลดละ บรรเทากามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในกาม ได้แก่ ความใฝ่ใจในอสุภกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานท่ีพิจารณา ดูความไม่งามของร่างกายเมื่อตอนเป็นซากศพท่ีแปรสภาพเปื่อยเน่าไปตามลำ�ดับ ความใฝ่ใจในกายคตา สติกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานท่ีใช้สติกำ�หนดพิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่งามเป็นอารมณ์ หรือความใฝ่ใจ ในมรณัสสตกิ ัมมัฏฐาน คือกมั มฏั ฐานทรี่ ะลกึ พิจารณาถงึ ความตายเนอื งๆ เป็นอารมณ์ ๓. เจริญวิปัสสนา (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) หมายถึง ความหม่ันฝึกจิตให้เกิดปัญญาพิจารณา สังขารโดยแยกออกเป็นขนั ธ์ ๕ หรือนามรปู ให้เหน็ ไตรลักษณ์ คอื เป็นสภาพทไ่ี มเ่ ที่ยง เปน็ ทกุ ข์ เปน็ อนัตตา ท้งั ๓ อยา่ งนี้ เป็นอาการสำ�รวมจิตเพือ่ ให้หลุดพน้ จากบว่ งแห่งมาร คอื ไม่ตกไปตามกระแสกเิ ลส การท่ีจิตจะ หลดุ พน้ จากบว่ งแหง่ มารนนั้ ตอ้ งด�ำ เนนิ การควบคมุ ตามอาการครบทงั้ ๓ อยา่ งน้ี โดยเฉพาะการเจรญิ วปิ สั สนา นับวา่ ส�ำ คญั ที่สดุ เพราะบ่วงแห่งมารนั้นมีฤทธานภุ าพสามารถคลอ้ งสรรพสตั ว์ไดอ้ ยา่ งแน่นหนา เหนอื กำ�ลัง จะตา้ นทาน เหลือวิสยั ท่จี ะปลดเปลื้องใหห้ ลุดพ้นได้ ดงั น้ัน จงึ ต้องใช้อาการสำ�รวมจติ โดยการเจรญิ วปิ ัสสนา เทา่ นน้ั จงึ จะสามารถเอาชนะมารและบว่ งแหง่ มารดงั จะกลา่ วต่อไปนีไ้ ด้ มารและบ่วงแห่งมาร มาร แปลว่า ผู้ฆา่ ผทู้ ำ�ลาย ในที่นห้ี มายถงึ โทษลา้ งผลาญคุณความดีและทำ�ให้เสยี คน โดยเปน็ ส่ิงที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี และจัดเป็นตัวการท่ีกำ�จัดหรือขัดขวางจิตคนเราไม่ให้บรรลุคุณธรรม ความดี ไดแ้ ก่ กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่ ซง่ึ จดั เป็นเจตสิก (องคป์ ระกอบภายในของจติ ส่ิงทเี่ กดิ ภายในใจ) อนั เศรา้ หมอง (อกุศลเจตสกิ ) ทม่ี อี ยภู่ ายในจิตใจของคนเรา โดยคอยรุมเรา้ จิตใหค้ ดิ โลภ โกรธ หลง มีช่ือเรยี ก ตา่ งๆ เช่น ตณั หา ความทะยานอยาก ราคะ ความก�ำ หนัด อรติ ความขง้ึ เคยี ด อิสสา ความริษยา หรอื หึงหวง เปน็ ตน้ กเิ ลสเหล่านีเ้ มือ่ มใี นจิตสนั ดานของบุคคลใด ย่อมเปน็ เหตยุ งั จิตของบคุ คลนั้นให้มคี วามยนิ ดี รกั ใคร่ ปรารถนา ไขวค่ ว้าเพอ่ื ให้ไดม้ าซึ่งส่งิ ต่างๆ และหรือเศร้าหมองเป็นไปตามอำ�นาจของกเิ ลสน้ันๆ เพราะฉะนัน้ ท่านจึงเรียกว่า กิเลสเป็นเหตุใคร่ ซ่ึงเปรียบดังพืชที่มียาง เป็นเหตุให้เกิดราก ลำ�ต้น ก่ิงก้านต่อไป ฉะน้ัน กเิ ลสกามนที้ า่ นจดั วา่ เปน็ มาร เพราะเปน็ โทษลา้ งผลาญคณุ ความดแี ละท�ำ ใหเ้ สยี คน คอื ท�ำ ใหม้ สี ภาพจติ ทไี่ มด่ ี แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ช้นั เอก วชิ าธรรม

19 บ่วงแห่งมาร หมายถึง อารมณ์เครื่องผูกจิตให้ติดแห่งมาร เหมือนเนื้อเหยื่อล่อท่ีถูกเบ็ดเกี่ยวไว้ ไดแ้ ก่ วัตถกุ าม วตั ถอุ ันนา่ ใคร่ คอื สิง่ ทเี่ ปน็ ทต่ี ัง้ แหง่ ความใคร่ ซง่ึ เรียกว่า กามคณุ ๕ คือ รูป เสียง กลิน่ รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่นา่ ปรารถนา) ซ่ึงเป็นส่ิงที่มารหรือกิเลสกามชักนำ�จิตคนเราให้ เข้าไปกำ�หนดว่าน่ารัก น่าใคร่ พาใจให้กำ�หนัดยินดีในรูป เสียง กล่ิน รส สัมผัสที่น่าปรารถนาน่าพอใจ บ่วงแหง่ มารนีไ้ มอ่ าจจะคลอ้ งบุคคลผูไ้ ม่ตดิ ขอ้ งอยใู่ นโลกได้ การปฏบิ ัติ สำ�รวมจิตไม่ปลอ่ ยให้เพลิดเพลนิ ระเรงิ หลงในโลกอนั มสี ิง่ ล่อใจต่างๆ ๒. อธิบายถึงความหมายและการปฏิบตั ิตนของปฏปิ ทาแห่งนพิ พิทา ตอบ ปฏิปทาแห่งนิพพิทา หมายถึง ข้อปฏิบัติให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายความยึดติดในโลก โดยใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสามัญญลักษณะหรือไตรลักษณ์ในสังขาร เม่ือพิจารณาเห็นเช่นนี้ ย่อมเบ่ือหนา่ ย ในทุกข์ และเปน็ เหตใุ ห้เข้าถึงวสิ ทุ ธิ คอื ภาวะท่จี ิตบริสทุ ธ์หมดจดจากกิเลส ความหมายของสังขาร สังขาร แปลวา่ สภาพปรงุ แตง่ หรือสิ่งที่ปจั จยั ปรุงแต่ง มี ๒ ประเภท คือ ๑. อปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารทมี่ ีใจครอง เช่น มนุษยแ์ ละสตั ว์ เปน็ ต้น ๒. อนปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารท่ไี มม่ ีใจครอง เชน่ แผ่นดิน ภเู ขา โตะ๊ เกา้ อี้ เปน็ ต้น ในอุทเทสว่า สังขารทัง้ หลายท้ังปวงไม่เทย่ี ง สังขารท้ังหลายทง้ั ปวงเป็นทกุ ข์ ไดแ้ ก่ ขันธ์ ๕ คือ ๑) รูป คือ ร่างกายอันประกอบดว้ ยธาตุ ๔ คือ ดิน นา้ํ ไฟ ลม ๒) เวทนา คอื ความรู้สกึ เปน็ สขุ เป็นทุกข์ หรือไมส่ ุขไมท่ ุกข์ ๓) สญั ญา คอื ความจ�ำ ได้หมายรู้ ๔) สงั ขาร คือ อารมณท์ ี่เกิดกับจติ หรอื เจตนาความคิดอ่านต่างๆ ๕) วญิ ญาณ คือ ความรู้แจ้งอารมณท์ างทวาร ๖ คอื ตา หู จมกู ลนิ้ กาย ใจ สามัญญลกั ษณะของสังขาร สงั ขารท้งั ปวง มลี ักษณะเสมอกนั ๓ ประการ เรียกว่า ไตรลกั ษณ์ คือ ๑. อนจิ จตา ความไม่เท่ียง ลกั ษณะที่แปรเปล่ยี นไมแ่ นน่ อน ๒. ทกุ ขตา ความเปน็ ทกุ ข์ ลกั ษณะทท่ี นอย่ใู นสภาพเดมิ ไม่ได้ ๓. อนัตตตา ความเป็นอนัตตา ลกั ษณะที่ไม่ไช่ตวั ตน อนจิ จตา ความไมเ่ ท่ยี งแห่งสังขาร ก�ำ หนดรู้ไดใ้ น ๓ ทาง คือ ๑) ในทางทเี่ ห็นไดง้ ่าย : โดยทสี่ งั ขารนั้นมีความเกิดขน้ึ ในเบื้องตน้ และความสิน้ ไปในเบือ้ งปลาย เป็นธรรมดา สมดังพระบาลใี นมหาวรรค ทีฆนกิ าย (พระไตรปฎิ กเล่มท่ี ๑๐/๑๘๑) วา่ อนิจฺจา วต สงขฺ ารา อปุ ปฺ าทวยธมมฺ โิ น อุปปฺ ชฺชติ วฺ า นริ ุชฌฺ นตฺ ิ ... .... .... สังขารทั้งหลายไม่เท่ียงหนอ มีความเกิดข้ึนและความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา (ไม่เลือกว่า เปน็ สงั ขารชนดิ ไร ประณตี กต็ าม ทรามก็ตาม) เกดิ ขึน้ แลว้ ยอ่ มดับไป. แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชนั้ เอก วิชาธรรม

20 ดังนั้น สังขารทั้งหลายจึงเกิด - ดับอยู่ตลอดกาล เกิดขึ้นในกาลใด ก็ดับในกาลน้ัน กล่าว โดยเฉพาะ ระยะกาลในระหว่างการเกิดและดบั แหง่ สงั ขารท่ีสมมติวา่ เป็นมนุษยน์ น้ั ทา่ นกำ�หนดวา่ ๑๐๐ ปี หรือเกนิ กว่า ๑๐๐ ปี ไปบา้ งกม็ ี แตม่ ีจำ�นวนน้อย ๒) ในทางที่ละเอียดกวา่ นั้น : สังขารทั้งปวงน้นั มคี วามแปรเปลี่ยนไปในระหวา่ งการเกดิ และดบั สมดังพระบาลีในสคาถวรรค สงั ยุตตนิกาย (พระไตรปฎิ ก เล่มท่ี ๑๕/๘๙) ว่า อจเฺ จนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตตฺ โิ ย วโยคณุ า อนปุ ุพฺพํ ชหนตฺ ิ. กาลย่อมลว่ งไป ราตรีย่อมผ่านไป ชนั้ แห่งวัยย่อมละไปตามล�ำ ดับ ระยะกาลระหวา่ งการเกดิ และการดบั แหง่ สังขารของคนเราน้ัน ทา่ นกำ�หนดเป็น ๓ วัย คือ (๑) ปฐมวยั วยั ต้น อย่ใู นระยะเวลาไม่เกิน ๒๕ ปี (๒) มชั ฌิมวยั วยั กลาง ตง้ั แต่ ๒๕ ปีขน้ึ ไปจนถงึ ๕๐ ปี (๓) ปจั ฉิมวัย วัยทา้ ย ต้งั แต่ ๕๐ ปขี น้ึ ไปจนถงึ สน้ิ อายุ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านกำ�หนดวัยโดยใช้อายุ ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ไว้ ดังนี้ (๑) ปฐมวัย วัยแรก กำ�หนดอายุ ๑ - ๓๓ ปี (๒) มชั ฌมิ วัย วัยกลาง กำ�หนดอายตุ ้งั แต่ ๓๔ - ๖๗ ปี (๓) ปัจฉมิ วัย วัยทา้ ย ก�ำ หนด อายุตง้ั แต่ ๖๘ - ๑๐๐ ปี ความแปรเปลย่ี นในระหวา่ งแหง่ สงั ขารผา่ นวยั ทงั้ ๓ ดงั กลา่ วน้ี ทา่ นเปรยี บไวก้ บั การเดนิ ขา้ มสะพาน ท่ีสงู ขน้ึ ๆ แลว้ ราบ แลว้ ตาํ่ ลงๆ ซงึ่ การทคี่ นเราจะผ่านไปไดต้ ลอดใหค้ รบทงั้ ๓ วยั นั้นเปน็ เรือ่ งยาก เหตุทเ่ี ป็น เช่นน้ี เพราะอายุของคนเราแตล่ ะคนนนั้ มวี บิ ากกรรมกำ�หนดมาไมเ่ ท่ากัน ๑) ในทางที่ละเอียดที่สุด : สังขารทั้งปวงนั้นมีความแปรเปลี่ยนไปช่ัวขณะหน่ึง ๆ คือ ไม่คงที่ อยู่นานเพียงระยะกาลนิดเดียวก็แปรปรวนเปล่ียนแปลงไปแล้ว ดังคาถาท่ีปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๓ หนา้ ๒๕๕ ว่า ชีวติ ํ อตฺตภาโว จ สขุ ทุกขฺ า จ เกวลา เอกจิตฺตสมา ยตุ ฺตา ลหโุ ส วตฺตเต ขโณ. ชีวิต อัตภาพ และสุขทุกข์ ท้ังมวล ล้วนประกอบกันเป็นธรรมเสมอด้วยจิตดวงเดียว ขณะยอ่ มเป็นไปพลนั . อนิจจลักขณะ ประการท่ี ๓ น้ี ต้องใช้ปัญญาพิจารณาจึงจะกำ�หนดเห็นชัดในนามกาย เช่น จติ บางขณะกข็ นุ่ มวั บางขณะกเ็ บกิ บาน หรอื บางขณะรบั อารมณน์ แ้ี ลว้ กพ็ ลนั เปลย่ี นไปรบั อารมณอ์ นื่ เปน็ ตน้ แม้ในรูปกายกเ็ หมอื นกัน เช่น เซลผิวหนังเก่าหลดุ รว่ งไป เซลใหม่เกิดข้นึ แทนท่ี เปน็ ต้น การท่คี นเราไม่รถู้ งึ ความแปรเปล่ียนแห่งสังขารเช่นน้ี เพราะมีภาวะสืบต่อท่ีเรียกว่า สันตติ ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเน่ืองรวดเร็ว จนไมส่ ามารถก�ำ หนดได้ เม่ือจติ ดวงแรกดับไป จติ ดวงใหม่กเ็ กดิ สบื ต่อมา เกดิ - ดบั เกิด - ดับ อยู่อย่างนี้ สภาวะที่เรียกว่าสันตติน้ีจะคอยบดบังมิให้คนเรารับรู้ถึงอนิจจลักษณะในข้ันที่ละเอียด เมื่อสันตติขาดลง ความดับสนิ้ แหง่ ชีวติ นิ ทรยี ห์ รือความตายย่อมปรากฏ ความเกิดแล้วดบั และความแปรเปลยี่ นในระหว่างแห่ง สงั ขารดงั กล่าวมาน้ี ทา่ นสรุปเขา้ ในบาลีทว่ี ่า “อุปปฺ ชชฺ ติ เจว เวติ จ อญฺ ถา จ ภวติ. : ยอ่ มเกิดข้นึ ด้วยเทียว แนวทางการจดั การเรยี นรูธ้ รรมศกึ ษา ชน้ั เอก วชิ าธรรม

21 ย่อมเส่ือมส้ินด้วย ย่อมเป็นอย่างอ่ืนด้วย” น้ีเป็นอนิจจลักษณะ คือเคร่ืองกำ�หนดว่าไม่เที่ยงแห่งสังขาร ความไม่เท่ียงแห่งสังขารที่กำ�หนดรู้ได้ใน ๓ ทางดังกล่าวมาน้ีย่อมปรากฏทั้งในอุปาทินนกสังขาร สังขาร ที่มใี จครอง และอนปุ าทินนกสังขาร สังขารท่ีไมม่ ใี จครอง ทกุ ขตา ความเป็นทกุ ข์แห่งสงั ขาร กำ�หนดเห็นไดด้ ว้ ยทกุ ข์ ๑๐ อยา่ ง คือ ๑) สภาวทุกข์ ทุกข์ตามสภาพ ได้แก่ ทุกข์ประจำ�สังขาร คือ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย อนั เปน็ คตธิ รรมดาประจ�ำ สงั ขาร ขณะทค่ี ลอดจากครรภม์ ารดา ทารกยอ่ มไดร้ บั ความล�ำ บาก ความเจ็บปวดจากอันตรายต่างๆ จัดเป็นชาติทุกข์ ทุกข์เพราะการเกิด ความทรุดโทรมเสื่อมลงแห่งสังขาร ทำ�ความเป็นไปแห่งชีวิตให้ลำ�บาก จัดเป็นชราทุกข์ ทุกข์เพราะความแก่ ความส้ินชีวิตได้รับทุกขเวทนา แรงกล้าเปน็ ภยั ทีน่ า่ กลวั จัดเปน็ มรณทุกข์ ทุกข์เพราะความตาย ๒) ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ทุกข์ท่ีจรมาในชีวิต คือ โสกะ ความโศก ปริเทวะ ความร่ําไรรำ�พัน ทุกขะ ความทุกข์กาย โทมนัส ความทุกข์ใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ รวมถึง อัปปเิ ยหิสมั โยคทกุ ข์ ทกุ ขท์ ่ีเกิดจากการประสบพบสัตว์ บคุ คล ส่งิ ทไ่ี ม่รกั ไมช่ อบใจ และปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ทกุ ขท์ ี่เกิดจากความพลัดพรากจากบคุ คล สัตว์ สิ่งของที่รกั ทชี่ อบ ๓) นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์ประจำ� ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นเจ้าเรือน เช่น ทุกข์เพราะ ความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอจุ จาระ ปวดปัสสาวะ ทกุ ขใ์ นข้อนี้คนเรามักจะไม่คำ�นงึ ถึงนัก ถอื เปน็ เรอ่ื งธรรมดาทจ่ี ะสามารถระงับบรรเทาไดง้ า่ ย ๔) พยาธิทุกข์ ทุกข์เจ็บปวด ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วย ได้แก่ ทุกขเวทนาต่างๆ ที่สร้าง ความเจบ็ ปวดทรมานใหแ้ กค่ นเรา ทมี่ สี มฏุ ฐานเกดิ จากโรคภยั ไขเ้ จบ็ เข้ามารมุ เรา้ รา่ งกายอนั เปน็ ดจุ รงั แหง่ โรค เชน่ ปวดศรี ษะ ปวดท้อง ปวดฟัน หรอื ปวดเมอื่ ยทวั่ ร่างกาย เปน็ ตน้ ทุกข์ประการที่ ๓ และท่ี ๔ น้ี พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในคิริมานันทสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔) ตอนอาทีนวสัญญา โดยความเป็นโทษแห่งรา่ งกาย ๕) สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือ ความร้อนรุ่ม หรือทุกข์ร้อน ได้แก่ ความกระวนกระวายใจเพราะ ถูกไฟกเิ ลส คอื ราคะ โทสะ และโมหะ หรอื รัก โลภ โกรธ หลง แผดเผา ดุจความแสบร้อนที่เกิดจากไฟลวก ทุกข์ประการน้ีตรงกบั ท่ีตรัสไวใ้ นอาทติ ตปริยายสตู ร ๖) วิปากทุกข์ ทุกข์ท่ีเป็นผลของกรรมชั่ว ได้แก่ การเกิดความเดือดร้อนใจ การถูกลงอาญา ไดร้ บั ความทกุ ขเ์ ดอื ดรอ้ นทางกายและใจตา่ งๆ การตกทกุ ขไ์ ดย้ าก หรอื การตายไปเกดิ ในอบายภมู ิ ทกุ ขป์ ระการนี้ ปรากฏในพระบาลไี ตรปิฎกหลายแหง่ ๗) สหคตทุกข์ ทุกข์ ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำ�กับกัน ได้แก่ ทุกข์ที่มาพร้อมกับโลกธรรมฝ่าย อฏิ ฐารมณ์ (ส่ิงทนี่ ่าปรารถนานา่ ชอบใจ) คอื มีลาภ มยี ศ ไดร้ บั สรรเสริญ มีความสุข ซึ่งลว้ นเจอื ปนดว้ ยทุกข์ ทจ่ี รมาเสมอ เชน่ เมอื่ มที รพั ยส์ มบตั แิ ลว้ กต็ อ้ งคอยเฝา้ รกั ษาไมใ่ หส้ ญู หาย บางครง้ั ถงึ กบั กนิ ไมไ่ ดน้ อนไมห่ ลบั บางคนตอ้ งเสยี ชวี ติ ในการปอ้ งกนั รกั ษาทรพั ยก์ ม็ ี เมอื่ ไดร้ บั ยศถาบรรดาศกั ดแ์ิ ลว้ ตอ้ งท�ำ ตวั ใหด้ กี วา่ คนทว่ั ไป มีภารกิจรับผิดชอบมาก เป็นที่หวังพึ่งพาของบริวาร ต้องพลอยร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับคนอื่น ดังนั้น จึงต้อง แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชน้ั เอก วชิ าธรรม

22 ขวนขวายหาทรพั ยไ์ วใ้ หม้ ากเพอื่ เปน็ ก�ำ ลงั จบั จา่ ยใหส้ ะดวก ท�ำ ใหเ้ กดิ ทกุ ขต์ ามมา เมอื่ ไดร้ บั สรรเสรญิ กท็ �ำ ให้ เพลิดเพลนิ หลงเคลมิ้ ไปวา่ ตนเปน็ คนเก่งคนดีกว่าคนอนื่ หากปราศจากสตริ ู้เท่าทัน กจ็ ะหลงมัวเมาประมาท ทำ�ให้เกิดทุกข์ เมื่อได้รับสุข ก็ปรารถนาอยากจะได้สุขยิ่งๆข้ึนไป ไม่รู้จักอิ่ม จึงไม่ได้รับความสุขท่ีแท้จริง ดงั นั้น โลกธรรมฝา่ ยอฏิ ฐารมณ์จึงมักมที กุ ขก์ �ำ กบั ซอ่ นอย่ดู ้วยเสมอ ๘) อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทกุ ข์เพราะการแสวงหาอาหาร ไดแ้ ก่ อาชวี ทุกข์ ทกุ ขใ์ นการหาเลย้ี งชพี โดยเหตทุ สี่ รรพสตั วด์ �ำ รงชพี อยไู่ ดเ้ พราะอาหาร จงึ ตอ้ งดนิ้ รนแสวงหาอาหารมาประทงั ชวี ติ เมอื่ ประกอบอาชพี การงาน ก็ยอ่ มเกดิ การแขง่ ขนั ช่วงชงิ ผลประโยชนจ์ นถงึ ข้นั ทำ�รา้ ยรา่ งกายลา้ งผลาญชวี ิตกัน จึงอยไู่ ม่เปน็ สขุ ดังนั้น คนเราไม่วา่ จะประกอบอาชพี ใดๆ เพอ่ื ใหไ้ ดอ้ าหารมาเลย้ี งชวี ติ ยอ่ มเป็นทุกขด์ ว้ ยกนั ทง้ั น้นั ๙) วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์มีวิวาทเปน็ มลู หรือทกุ ข์เพราะการทะเลาะกนั เปน็ เหตุ ได้แก่ ความไม่ ปลอดโปร่งใจ ความไม่สบายใจ ความกลัวแพ้ หรือความหวาดหวน่ั อนั มีสาเหตุมาจากการทะเลาะแก่งแยง่ กนั การส้คู ดกี ัน การท�ำ สงครามสรู้ บกนั เป็นตน้ ซง่ึ ลว้ นแตเ่ ปน็ เหตุใหเ้ กิดทกุ ข์ กอ่ เวรภัยแกก่ นั อย่างไม่รู้จบ ๑๐) ทุกขขนั ธ์ ทุกข์รวบยอด หรอื ศนู ยร์ วมความทกุ ข์ ไดแ้ ก่ อปุ าทานขันธ์ ๕ ทบี่ ุคคลเขา้ ไปยึดม่ัน ถือม่ันว่าเป็นตัวเราของเรา จัดเป็นตัวทุกข์ ซ่ึงตรงกับพระบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรท่ีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา : โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” และตรงกับพระบาลีแสดงหลัก ปฏิจจสมุปบาทท่วี า่ “เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทกุ ขฺ กฺขนธฺ สฺส สมุทโย โหติ : ความเกดิ ข้ึนแห่งกองทกุ ขท์ งั้ มวลนั่น จึงมดี ้วยประการดังกล่าวน”้ี การพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์เต็มท่ี โดยใช้ญาณปัญญากำ�หนดเห็นทุกข์ที่ชาวโลก เห็นเป็นสุข มีสหคตทุกข์ เป็นต้น ดังกล่าวมานี้อย่างละเอียดประจักษ์ชัด ตรงกับพระบาลีในวชิราสูตร ภิกขุนีสงั ยุต สคาถวรรค สังยุตตนิกาย (พระไตรปิฎก เลม่ ที่ ๑๕/๑๙๙) ทว่ี ่า ทกุ ขฺ เมว หิ สมโฺ ภติ ทุกฺขํ ติฏฺ ติ เวติ จ นาญฺ ตรฺ ทุกขฺ า สมโฺ ภต ิ นาญฺ ตรฺ ทกุ ฺขา นริ ุชฌฺ ติ. ก็ ทกุ ขน์ ั่นแล ย่อมเกดิ ขึ้น ทุกข์ย่อมตงั้ อยู่ด้วย ยอ่ มเสือ่ มสนิ้ ไปด้วย นอกจากทกุ ข์ หาอะไรเกิดมไิ ด้ นอกจากทุกข์ หาอะไรดบั มิได.้ ทกุ ขลกั ขณะดงั กลา่ วมานย้ี อ่ มเกดิ มเี ฉพาะอปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารทม่ี ใี จครองเทา่ นน้ั แตอ่ าจารย์ บางทา่ นวนิ ิจฉัยวา่ แมอ้ นปุ าทนิ นกสังขาร สังขารทไี่ ม่มใี จครอง ท่ีบุคคลเข้าไปยดึ มัน่ ดว้ ยอปุ าทาน ก็สามารถ มีทกุ ขลกั ขณะนี้ไดเ้ ชน่ กัน หรอื บางทา่ นเหน็ ความเฉาความซีดแห่งต้นไมใ้ บหญ้าว่า เป็นการเสวยทุกข์ของมนั ท้ังสองประเด็นน้ี สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเห็นว่าไม่สมเหตุสมผล อุปาทินนกสังขารเท่านั้นเป็นทุกข์ และทุกข์เป็นเจตสิกธรรม (สิ่งท่ีเกิด - ดับพร้อมกับจิต) การท่ีคนเราไม่เห็นสังขารคือเบญจขันธ์ว่าเป็นทุกข์ กเ็ พราะมกี ารผลัดเปลย่ี นเคลอ่ื นไหวอริ ิยาบถอยู่เสมอ ดังนน้ั อริ ยิ าบถ จงึ ชอ่ื วา่ ปิดบังทุกขลักขณะไว้ อนตั ตตา ความเป็นอนตั ตาแห่งสงั ขาร ก�ำ หนดรไู้ ด้ดว้ ยอาการ ๕ คอื ๑) ดว้ ยไมอ่ ยใู่ นอ�ำ นาจ หรอื ดว้ ยฝนื ปรารถนา หมายความวา่ สงั ขารคอื เบญจขนั ธน์ ไี้ มเ่ ปน็ ไปตาม ความปรารถนา ไมข่ น้ึ ตอ่ การบงั คบั บญั ชาของใครๆ ไมม่ ใี ครสามารถบงั คบั สงั ขารใหเ้ ปน็ ไปตามทใ่ี จตอ้ งการได้ แนวทางการจดั การเรียนรู้ธรรมศกึ ษา ช้นั เอก วิชาธรรม

23 เพราะสังขารไมใ่ ชอ่ ัตตา ดังนัยท่ตี รสั ไวใ้ นอนัตตลักขณสูตร (พระไตรปิฎก เลม่ ที่ ๔) ว่า “ถา้ เบญจขนั ธจ์ ักเปน็ อัตตาแล้วไซร้ เบญจขันธ์ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในเบญจขันธ์ตามปรารถนาว่า ขอเบญจขันธ์ ของเราเป็นอย่างน้ีเถิด อย่าได้เป็นอย่างน้ันเลย แต่เพราะเหตุที่เบญจขันธ์เป็นอนัตตา จึงเป็นไปเพ่ืออาพาธ และไมไ่ ด้เบญจขนั ธต์ ามปรารถนาอย่างนั้น” ๒) ดว้ ยแยง้ ต่ออตั ตา หมายความว่า โดยสภาวะของสงั ขารเองคา้ นตอ่ อัตตา คือตรงกนั ขา้ มกับ ความเปน็ อตั ตาอยา่ งประจกั ษช์ ดั ดงั ทต่ี รสั ไวใ้ นอนตั ตลกั ขณสตู รวา่ “สง่ิ ใดไมเ่ ทย่ี ง เปน็ ทกุ ข์ มคี วามแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือไม่ท่ีจะตามเห็นส่ิงน้ันว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวของเรา” และท่ีตรัสไว้ใน ยทนิจจสูตร ขนั ธวารวรรค สังยตุ ตนิกาย (พระไตรปฎิ ก เล่มท่ี ๑๗) วา่ “ยทนิจจฺ ํ ตํ ทกุ ฺข.ํ ยํ ทกุ ขฺ ํ ตทนตตฺ า. : สิง่ ใดไม่เท่ยี ง สง่ิ นั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเปน็ ทกุ ข์ สง่ิ นน้ั เปน็ อนัตตา” ๓) ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ หมายความว่า สังขารน้ีไม่เป็นของใครได้จริง ไม่มีใคร เป็นเจ้าของครอบครองได้ ดังที่ตรัสไว้ในสูตรท้ังหลายมีอนัตตลักขณสูตรเป็นต้นว่า “เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตตฺ า. : นน่ั มิใชข่ องเรา น่ันมใิ ช่เรา นัน่ มิใช่ตัวของเรา” ๔) ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่างหรือหายไป หมายความว่า สังขารนี้เป็นเพียงการประชุม รวมกันเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ โดยว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือ การสมมติเป็นต่างๆ ดังท่ีตรัสแก้ปัญหาของโมฆราชมาณพ ในปารายนวรรค สุตตนิบาต ขุททกนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕) ว่า “โมฆราช เธอจงมีสติทุกเม่ือ เล็งเห็นโลกโดยความเป็นสภาพสูญ ถอนอตั ตานุทิฏฐิ คือความคดิ เหน็ ว่าเปน็ อัตตาเสยี เชน่ นี้ เธอกจ็ ะพึงเป็นผขู้ า้ มพน้ พญามัจจรุ าชได.้ ..” การทค่ี นเราไมส่ ามารถเหน็ สงั ขารโดยความเปน็ สภาพวา่ ง กเ็ พราะมี ฆนสญั ญา ความส�ำ คญั วา่ เป็นกลุม่ ก้อน คือการก�ำ หนดว่า เปน็ เรา เปน็ เขา คอยปดิ บงั ไว้ ทำ�ให้เห็นแตอ่ งค์รวม เหมือนอย่างการทจ่ี ะ เรียกวา่ รถได้ กเ็ พราะมีชิ้นส่วนอะไหลต่ า่ งๆประกอบกัน ฉนั ใดกฉ็ นั นนั้ เมื่อขนั ธ์ ๕ คอื รปู เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มารวมกัน ย่อมมีการสมมติบัญญัติเรียกว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคลข้ึนมา ดังที่วชิราภิกษุณี กล่าวไว้ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕) ว่า “ข้ึนช่ือว่าสัตว์ย่อมหาไม่ได้ในกองแห่ง สังขารล้วนๆ น้ี เปรียบให้เห็นว่า เพราะคุมส่วนท้ังหลายไว้ด้วยกัน เสียงเรียกว่ารถย่อมมีฉันใด เม่ือขันธ์ ทง้ั หลายยังมีอยู่ การสมมตวิ ่าสตั วก์ ็ย่อมมีฉนั นัน้ ” เม่ือกำ�หนดพจิ ารณาเห็นสังขารโดยกระจายเปน็ สว่ นยอ่ ย ต่างๆ ไดแ้ ล้ว กจ็ ะสามารถถอนฆนสญั ญาในสังขารน้นั ได้ สว่ นอนตั ตลกั ขณะทว่ี า่ สงั ขารเปน็ สภาพหายไปน้ัน พึงก�ำ หนดรูไ้ ดด้ ว้ ยความเสื่อมสิน้ ไปแห่ง สงั ขารนนั้ ๆ ทา่ นเปรยี บเหมอื นกบั การทค่ี นเรานอนหลบั ฝนั แลว้ ตน่ื ขนึ้ มากไ็ มพ่ บกบั ความฝนั นน้ั เสยี แลว้ ดงั ที่ ตรัสไว้ในชราสตู ร สุตตนบิ าต ขทุ ทกนกิ าย (พระไตรปฎิ ก เลม่ ที่ ๒๕) วา่ “คนผู้ตืน่ ขน้ึ แล้วยอ่ มไมเ่ หน็ อารมณ์ อันประจวบด้วยความฝัน (ส่ิงทฝ่ี นั ) ฉันใด คนผู้มชี ีวติ อยู่ กย็ อ่ มไม่เหน็ คนที่ตนรกั ตายจากไปฉันนน้ั ” ๕) ด้วยความเปน็ สภาวธรรมเป็นไปตามเหตปุ จั จัย หมายความวา่ สงั ขารน้นั เป็นภาวะท่ีขนึ้ อยู่ กบั เหตปุ ัจจยั ไม่มีอยโู่ ดยลำ�พัง แตเ่ ปน็ ไปโดยอิงอาศยั กบั สง่ิ อ่นื ๆ ขอ้ น้ีเปน็ ลกั ษณะรวบยอดแหง่ อาการทงั้ ๔ ทีก่ ลา่ วมา ดงั ท่ตี รสั ไวใ้ นคมั ภีรอ์ ทุ าน ขทุ ทกนิกาย (พระไตรปฎิ ก เลม่ ที่ ๒๕) ว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ชน้ั เอก วชิ าธรรม

24 ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพิจารณา ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมส้ินไป เพราะมาร้ธู รรมเป็นไปกบั เหต.ุ .. และเพราะมารูค้ วามสิ้นไปแหง่ ปัจจยั ” ความเป็นอนัตตาแห่งสังขารนี้แม้จะเกิดมีประจำ�สำ�หรับชาวโลก แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เหน็ ไดย้ าก เพราะมี ฆนสัญญา คือความสำ�คัญเห็นเปน็ กลุ่มก้อนปดิ บงั ไว้ ตอ้ งอาศัย ภาวนามยปัญญา คอื การฝึกสติปญั ญาใหม้ ีกำ�ลังแรงกล้าจงึ จะสามารถพิจารณาเหน็ ไดโ้ ดยประจักษ์ เพราะไตรลกั ษณ์ขอ้ อนตั ตาน้ี นอกจากพระพทุ ธศาสนาแลว้ ไมม่ สี อนในลัทธศิ าสนาอื่น มตลิ ัทธศิ าสนาอ่นื : ยอมรบั การมีอัตตา ความเปน็ อนตั ตาแหง่ สงั ขารและสภาวธรรมทงั้ หลายนนั้ เมอ่ื พจิ ารณาตามพยญั ชนะคอื ตวั หนงั สอื ดูเหมือนเป็นมติท่ีขัดแย้งคัดค้านความเป็นอัตตาของลัทธิพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูและลัทธิที่เชื่อเก่ียวกับ การเวียนเกิดเวียนตาย (เวียนว่ายตายเกิด) ซ่ึงถือว่าในรูปกายน้ีมีอัตตาสิงอยู่ เป็นผู้คิด เป็นผู้เสวยเวทนา และสำ�เร็จอาการอย่างอื่นๆ อีก เมื่อคราวมรณะคือตาย อัตตาก็จุติ (เคล่ือนหรือตาย) จากสรีระร่างเดิมไป สิงในสรีระร่างอ่ืน ซึ่งจะเป็นสรีระร่างดีหรือเลวน้ันย่อมสุดแล้วแต่กรรมที่ได้ทำ�ไว้ ส่วนสรีระร่างเดิมย่อม แตกสลายไป เปรียบเหมือนบา้ นเรือนท่ีอยู่อาศัย เมื่อคนผู้อยู่อาศัยไม่ชอบใจ ก็ย้ายไปอยู่บา้ นเรือนหลังใหม่ ส่วนบ้านเรือนหลังเดิมก็ย่อมผุพังสลายไปตามกาลเวลาฉะนั้น อัตตาดังกล่าวมานี้ในหนังสือมิลินทปัญหา เรยี กวา่ ชโี ว ผ้เู ปน็ หรือเรยี กตามความนิยมของคนไทยว่า เจตภตู ผู้นึก มติทางพระพทุ ธศาสนา : ปฏเิ สธอัตตา มติทางพระพุทธศาสนากล่าวแย้งว่า ความจริง ไม่มีอัตตาอย่างนั้น เป็นแต่สภาวธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ ดับหรือสิ้นก็เพราะเหตุ ดังท่ีท่านพระอัสสชิเถระ แสดงแก่อุปติสสปริพาชก (พระสารีบุตรเถระ) ในพระวนิ ัยปิฎกมหาวรรค ปฐมภาค (พระไตรปิฎก เลม่ ท่ี ๔/๗๔) วา่ เย ธมฺมา เหตุปปฺ ภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต (อาห) เตสญจฺ โย นิโรโธ จ เอววํ าที มหาสมโณ. ธรรมเหลา่ ใดมีเหตุเปน็ แดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแหง่ ธรรมเหล่านั้น และตรสั ความดับแหง่ ธรรมเหล่าน้นั พระมหาสมณะมปี กติตรัสอยา่ งน้ี ในหลักพระพุทธศาสนา มีการแสดงความเกิดแห่งสภาวธรรมที่เนื่องสัมพันธ์กันเป็นสายๆ ดังท่ี แสดงความเกดิ แห่งวิถีจิตวา่ “อาศัยอายตนะภายในมจี กั ษุ เป็นตน้ อายตนะภายนอกมีรูป เป็นตน้ ประจวบ กันเข้า เกิดวิญญาณ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น จากนั้นจึงเกิดสัมผัส เวทนา สัญญา สัญเจตนา ตัณหา วิตก วิจาร โดยลำ�ดับ” หรือดังที่ตรัสไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ : สิ่งใดมีความเกิดข้ึนเป็นธรรมดา ส่ิงน้ันล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ความคิดอ่านจินตนาการต่างๆ ความเสวยเวทนา รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ใดๆ และอาการทางจิตอย่างอ่ืนๆ เป็นหน้าท่ีของจิตและเจตสิก ไม่มี อตั ตาส่งิ ทีเ่ ป็นตวั ตนใดๆ มาทำ�หน้าท่ีดงั กล่าวน้ัน อนง่ึ หลกั พระพุทธศาสนายอมรับวา่ มี จตุ จิ ติ คอื จิตทีท่ �ำ หน้าทเ่ี คลอ่ื นจากภพหนง่ึ ไปอีกภพหนงึ่ หรอื จิตขณะสุดทา้ ยกอ่ นตาย ดงั ทีต่ รสั ไวใ้ นมูลปณั ณาสก์ มัชฌมิ นิกาย (พระไตรปิฎก เลม่ ท่ี ๑๒) วา่ “จิตฺเต แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชั้นเอก วิชาธรรม

25 สงฺกิลิฏฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา : เม่ือจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ (ตายไปเกิดในทุคติภูมิ) จิตฺเต อสงกฺ ลิ ิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงขฺ า : เมอ่ื จิตไม่เศร้าหมองแล้ว สคุ ติเปน็ อันหวงั ได้ (ตายไปเกดิ ในสคุ ติภูม)ิ ” คำ�วา่ จติ ในพระพุทธพจนน์ ห้ี มายถึง จิตขณะสุดทา้ ยกอ่ นตายหรอื จตุ ิจติ นนั่ เอง นอกจากน้ี หลักพระพุทธศาสนายังรับรอง ปฏิสนธิจิต คือจิตที่ทำ�หน้าท่ีเกิด หรือจิตดวงแรก ขณะเกดิ ดงั แสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาทวา่ “วิญฺ าณปจจฺ ยา นามรปู ํ : เพราะวิญญาณเป็นปจั จัย จึงมนี ามรปู ” ทง้ั ยงั รบั รอง สงั สารวฏั คอื การเวยี นวา่ ยตายเกดิ ในภพภมู ติ า่ งๆ แตไ่ มบ่ ญั ญตั หิ รอื รบั รองเรอ่ื งพระเจา้ ทบ่ี นั ดาล ชีวิตเหมือนกับลัทธิศาสนาอ่ืนๆ โดยรับรองหลักการเก่ียวกับการเวียนว่ายตายเกิดหรือความดำ�รงอยู่และ เส่ือมส้ินแห่งสภาวธรรมท้ังหลายบนพ้ืนฐานแห่งหลัก อิทัปปัจจยตา คือความเป็นเหตุผลของกันและกันว่า เพราะสงิ่ นี้มี จงึ มีส่งิ น้ี หรือหลัก ปฏจิ จสมุปบาท คอื ความอิงอาศัยกนั เกดิ - ดบั แหง่ สภาวธรรมทง้ั หลายวา่ “เพราะอวชิ ชาเปน็ ปจั จยั จงึ มสี งั ขาร เพราะสงั ขารเปน็ ปจั จยั จงึ มวี ญิ ญาณ... ความเกดิ ขนึ้ แหง่ กองทกุ ขท์ งั้ มวล จงึ มดี ว้ ยประการดงั น้ี เพราะอวชิ ชาดบั สงั ขารจงึ ดบั ... ความดบั แหง่ กองทกุ ขท์ ง้ั มวลน้ี จงึ มดี ว้ ยประการดงั น”้ี อธบิ ายพระบาลีอุทเทสวา่ “ธรรมท้ังหลายทง้ั ปวงเป็นอนตั ตา” อนิจจลักขณะและทุกขลักขณะ ย่อมมีได้เฉพาะในสังขาร ดังน้ัน พระบาลีอุทเทสจึงแสดง ๒ ลักษณะน้ันว่า “สังขารท้ังหลายท้ังปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ส่วนอนัตตลักขณะ ยอ่ มมไี ดท้ ง้ั ในสงั ขาร ทง้ั ในวสิ งั ขาร คอื ธรรมอนั มใิ ชส่ งั ขาร (นพิ พาน) ดงั นนั้ พระบาลอี ทุ เทสจงึ แสดงลกั ษณะน้ี ว่า “ธรรมท้ังหลายท้ังปวงเป็นอนัตตา” เพ่ือประมวลสภาวะเหล่าน้ันมาแสดง เพราะบทว่า “ธรรม” หมายเอาสังขารกไ็ ด้ วสิ งั ขารก็ได้ การพิจารณาอนัตตลักขณะจำ�เปน็ ต้องมีโยนิโสมนสิการ การพจิ ารณาเหน็ สงั ขารเป็นอนตั ตาน้นั จ�ำ เปน็ ตอ้ งมโี ยนิโสมนสกิ าร คือ การพิจารณาโดยอบุ าย อันแยบคาย มิฉะนั้นอาจทำ�ให้เห็นผิดว่า ผลบุญหรือผลบาปไม่มี มารดาบิดาไม่มีบุญคุณจริง เป็นแต่เรื่อง สมมติทั้งนั้น เม่ือเกิดความเห็นผิดเช่นน้ี ก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ในทางธรรม มีแต่จะได้รับทุกข์ และโทษนานปั การ ดงั นนั้ จ�ำ ตอ้ งมโี ยนโิ สมนสิการกำ�กบั เพอื่ จะไดก้ ำ�หนดรู้ สัจจะ ๒ ประการ คือ ๑) สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ หมายถึง ความจริงที่มนุษย์ในโลกนี้หมายรู้ร่วมกันหรือสื่อสาร ระหว่างกนั เป็นเพยี งคำ�บัญญัตสิ มมตเิ รียกกันตา่ งๆ เชน่ สมมติเรียกชายผู้ใหก้ ำ�เนดิ วา่ บดิ า หญิงว่า มารดา หรอื สมมตเิ รยี กว่า ครอู าจารย์ สามภี รรยา ชา้ ง ม้า วัว ควาย รถ เรือน เป็นต้น ๒) ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ หมายถึง ความจริงโดยความหมายสูงสุด ความจริง ที่มีอยู่จริงโดยสภาวะ เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สสาร พลังงานต่างๆ หรือกล่าวตามหลักพระอภิธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เมื่อมีโยนโิ สมนสิการกำ�หนดร้สู ัจจะ ๒ ระดบั น้แี ล้ว กจ็ ะไดไ้ ม่ไขวเ้ ขวนำ�มาคัดคา้ นกัน เพราะการท่ี จะเขา้ ถงึ ความจรงิ โดยปรมตั ถไ์ ด้ จ�ำ ตอ้ งยอมรบั ความจรงิ โดยสมมตเิ สยี กอ่ น การก�ำ หนดรคู้ วามจรงิ ขน้ั สมมติ เป็นความรู้ข้ันพ้ืนฐาน ส่วนการใช้ปัญญากำ�หนดรู้ความจริงข้ันปรมัตถ์เป็นความรู้ข้ันละเอียด ดุจการรู้จัก ส่วนประกอบแต่ละชิน้ ของรถหรอื เรอื น ฉะน้ัน แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชน้ั เอก วชิ าธรรม

26 เม่ือกำ�หนดรู้ความจริงถึงข้ันปรมตั ถ์ ย่อมเหน็ ว่า สังขารท้ังหลายเปน็ ไปตา่ งๆ กนั ดบี า้ ง เลวบา้ ง เป็นไปตามกฎแห่งกรรมท่ีอำ�นวยผลให้เป็นเช่นน้ัน เม่ือกำ�หนดรู้ได้อย่างน้ี ก็จะเข้าใจเร่ืองอนัตตาได้ ประจักษแ์ จง้ สามารถละทิฏฐิมานะ คอื ความเห็นผดิ และความถอื ตวั รวมท้งั กเิ ลสอืน่ ๆ อนั เนอ่ื งมาจากการ ถอื เราถอื เขา ถอื พรรคถอื พวก การก�ำ หนดรอู้ นัตตาโดยอาศัยโยนโิ สมนสกิ ารเช่นน้ี จงึ จะสำ�เร็จประโยชน์ได้ ดังนน้ั ทา่ นจงึ กลา่ ววา่ “อนตั ตลักขณะยอ่ มปรากฏแก่ผูพ้ ิจารณาเห็นโดยแยบคาย หรอื ยอ่ มเหน็ ด้วยปัญญา” การปฏิบัติ พิจารณาเห็นสังขารเป็นอนัตตานั้น จำ�เป็นต้องมีโยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณา โดยอุบายอันแยบคาย แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชั้นเอก วชิ าธรรม

27 ใบความรู้ที่ ๑ หลกั ธรรมของพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตปฏิปทา สว่ นปรมัตถปฏิปทา นิพพิทา ความหนา่ ย ๑. เอถ ปสสฺ ถิมํ โลกํ จิตตฺ ํ ราชรถปู มํ ยตถฺ พาลา วิสที นตฺ ิ นตฺถิ สงโฺ ค วิชานตํ. สูท้ังหลายจงมาดโู ลกนี้ อนั ตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผูร้ ู้หาข้องอยู่ไม่. ๒. เย จิตตฺ ํ สญฺ เมสฺสนตฺ ิ โมกขฺ นฺติ มารพนธฺ นา. ผู้ใดจักระวังจติ ผ้นู ั้นจกั พ้นจากบว่ งแหง่ มาร. อธิบาย นิพพิทา ความหน่าย หมายถึง ความเบ่ือหน่ายท่ีเกิดจากการใช้ปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ได้แก่ ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ ความเบ่ือหน่ายในเบญจขันธ์ ซ่ึงเกิดจากปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าสังขาร ท้ังปวงไม่เท่ียง สังขารทัง้ ปวงเปน็ ทกุ ข์ ธรรมทง้ั ปวงเปน็ อนัตตา เมือ่ พิจารณาไดด้ ังน้ี ยอ่ มเกดิ ความเบื่อหนา่ ย ในทุกขขันธ์ (กองทุกข์) ไม่มัวเมาเพลิดเพลินยึดม่ันในสังขารอันยั่วยวนชวนเสน่หา เป็นความเบื่อหน่าย ท่ีเกิดจากปัญญาพิจารณาเข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังขาร ไม่ใช่ความเบื่อหน่ายเพราะแรงผลักดัน แห่งกามตณั หา เชน่ กรณที ห่ี ญิงกับชายรักกันจนถงึ ข้นั อยูก่ นิ เปน็ สามีภรรยากนั แลว้ เบ่อื หน่ายจนเลิกร้างกนั ไปเพราะความประพฤติไม่ดีต่อกันหรือเอือมระอาในพฤติกรรมของกันและกัน แล้วต่างคนต่างไปแสวงหา กามารมณ์เสพสุขทางเพศกบั ชาย - หญงิ อนื่ เช่นน้ีไมจ่ ัดเป็นนิพพิทา ค�ำ วา่ โลก ในอุทเทสที่ ๑ จ�ำ แนกความหมายเป็น ๒ อยา่ ง คือ (๑) โลกโดยตรง ไดแ้ ก่ แผ่นดิน เป็นทอ่ี าศัย (๒) โลกโดยอ้อม ไดแ้ ก่หมูส่ ัตว์ผู้อาศัย โลกท้ังโดยตรงและโดยอ้อมน้ีมสี งิ่ ตา่ งๆ รวมกันอยู่ ๓ อยา่ ง คอื ๑. ส่งิ อนั ให้โทษโดยสว่ นเดยี ว เปรยี บด้วยยาพิษ ๒. สง่ิ อันใหโ้ ทษในเม่อื เกนิ พอดี เปรยี บด้วยของมนึ เมา ๓. สง่ิ อันเปน็ อปุ การะ เปรียบดว้ ยอาหารและเภสชั (ยารกั ษาโรค) ทใี่ หค้ วามสบาย ผหู้ มกอยู่ในโลก เหล่าคนเขลาผู้ไร้ปัญญาพิจารณาไม่สามารถหยั่งรู้เห็นโลกได้โดยถ่องแท้ จึงชื่อว่าหมกอยู่ในโลก โดยอาการ ๓ อย่าง คอื แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ช้ันเอก วชิ าธรรม

28 ๑. เพลิดเพลินในสง่ิ ที่เปน็ โทษ ๒. ระเรงิ หลงเกินพอดีในสิ่งอันอาจใหโ้ ทษ ๓. ติดอยใู่ นสิ่งท่ีเปน็ อปุ การะล่อใจ เมื่อเป็นเช่นน้ี ย่อมได้รับสุขบ้าง ทุกข์บ้าง คละเคล้ากันไปตามแต่ส่ิงนั้นๆ จะอำ�นวยให้ แม้สุข ท่ีได้รับนั้น ก็เป็นอามิสสุข สุขอิงอามิส คือสุขท่ีคล้ายเหย่ือล่อให้ลุ่มหลงติดข้อง ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ซง่ึ มีอาการดุจเหย่ือทเ่ี บ็ดเก่ยี วไว้ อาจถูกชักจงู ไปได้ตามปรารถนา ผไู้ ม่ขอ้ งอยใู่ นโลก ฝ่ายท่านผู้รู้ มีปัญญาฉลาดสามารถพิจารณาเห็นความเป็นจริงของส่ิงสมมติเป็นโลกน้ันๆ ว่า จะตอ้ งเปล่ียนแปลงไปตามเหตปุ ัจจัยอย่างแนน่ อนแล้วไม่ตดิ ขอ้ งพัวพันในสิง่ อันเปน็ อปุ การะลอ่ ใจ โดยท่ีไมม่ ี ผใู้ ดหรอื สงิ่ ใดยัว่ ให้ติดอยไู่ ด้ ยอ่ มเปน็ อิสระด้วยตนเอง เมือ่ เป็นเชน่ น้ี ยอ่ มไดร้ ับนริ ามิสสุข สขุ ปราศจากอามิส คอื ความสุขที่หาเหยือ่ ลอ่ มไิ ด้ อนั เปน็ ความสขุ ท่แี ท้จริง ผ้รู เู้ ช่นน้ี ชอื่ ว่า ผู้ไมข่ อ้ งอยูใ่ นโลก พทุ ธประสงคใ์ นการตรัสใหด้ โู ลก พระพทุ ธองคต์ รสั ชกั ชวนเหลา่ พทุ ธบรษิ ทั มาดโู ลกอนั วจิ ติ รตระการตาเปรยี บดว้ ยราชรถ ครง้ั โบราณ ที่ประดับด้วยเครื่องอลังการอย่างงดงาม มิใช่เพ่ือให้หลงเพลิดเพลิน ดุจดูหนังดูละครที่มุ่งความบันเทิง แต่อย่างใดไม่ แต่ทรงประสงค์ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเห็นคุณ โทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ของส่ิงน้ันๆ ท่ีรวมกันเข้าเปน็ โลก อาการส�ำ รวมจิต ผู้สำ�รวมจิตไม่ปล่อยให้เพลิดเพลินระเริงหลงในโลกอันมีสิ่งล่อใจต่างๆ ชื่อว่าพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดว้ ยอาการส�ำ รวมจิต ๓ อยา่ ง คือ ๑. สำ�รวมอนิ ทรยี ์ (อนิ ทรียสังวร) หมายถงึ ความสำ�รวมระวงั ตา หู จมกู ลนิ้ กาย ใจ มใิ หอ้ �ำ นาจ ความกำ�หนัดยินดีครอบง�ำ ได้ ในเม่อื ตาได้เหน็ รปู หไู ด้ยนิ เสียง จมูกดมกลน่ิ ล้นิ ลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐพั พะ (สัมผัสทางกาย) อนั น่าปรารถนา ชกั ใหใ้ คร่ พาใจให้กำ�หนดั ๒. มนสิการกัมมัฏฐาน (สมถกัมมัฏฐาน) หมายถึง ความใฝ่ใจในอุบายฝึกอบรมจิตเพื่อลดละ บรรเทากามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในกาม ได้แก่ ความใฝ่ใจในอสุภกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานท่ีพิจารณา ดูความไม่งามของร่างกายเมื่อตอนเป็นซากศพท่ีแปรสภาพเป่ือยเน่าไปตามลำ�ดับ ความใฝ่ใจในกายคตา สติกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานท่ีใช้สติกำ�หนดพิจารณากายให้เห็นเป็นของไม่งามเป็นอารมณ์ หรือความใฝ่ใจ ในมรณสั สตกิ ัมมัฏฐาน คือกัมมฏั ฐานทร่ี ะลกึ พจิ ารณาถึงความตายเนอื งๆ เปน็ อารมณ์ ๓. เจริญวิปัสสนา (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) หมายถึง ความหมั่นฝึกจิตให้เกิดปัญญาพิจารณา สังขารโดยแยกออกเป็นขันธ์ ๕ หรือนามรปู ใหเ้ หน็ ไตรลักษณ์ คือ เป็นสภาพท่ีไมเ่ ท่ียง เปน็ ทกุ ข์ เป็นอนัตตา ทงั้ ๓ อย่างนี้ เปน็ อาการส�ำ รวมจิตเพื่อให้หลดุ พ้นจากบ่วงแห่งมาร คอื ไม่ตกไปตามกระแสกเิ ลส การท่ีจิตจะ หลดุ พน้ จากบว่ งแหง่ มารนน้ั ตอ้ งด�ำ เนนิ การควบคมุ ตามอาการครบทงั้ ๓ อยา่ งน้ี โดยเฉพาะการเจรญิ วปิ สั สนา นบั ว่าส�ำ คญั ท่ีสุด เพราะบ่วงแหง่ มารนน้ั มฤี ทธานภุ าพสามารถคล้องสรรพสตั วไ์ ดอ้ ยา่ งแนน่ หนา เหนอื ก�ำ ลงั แนวทางการจัดการเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ชน้ั เอก วิชาธรรม

29 จะตา้ นทาน เหลอื วิสัยทจ่ี ะปลดเปลื้องให้หลุดพ้นได้ ดังนัน้ จงึ ตอ้ งใชอ้ าการส�ำ รวมจติ โดยการเจริญวปิ ัสสนา เท่านัน้ จงึ จะสามารถเอาชนะมารและบว่ งแหง่ มารดังจะกลา่ วต่อไปนไี้ ด้ มารและบ่วงแห่งมาร มาร แปลวา่ ผฆู้ า่ ผทู้ ำ�ลาย ในท่ีนห้ี มายถงึ โทษลา้ งผลาญคณุ ความดีและทำ�ใหเ้ สียคน โดยเป็น ส่ิงที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี และจัดเป็นตัวการที่กำ�จัดหรือขัดขวางจิตคนเราไม่ให้บรรลุคุณธรรม ความดี ได้แก่ กเิ ลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่ ซึง่ จัดเปน็ เจตสิก (องค์ประกอบภายในของจิต สิง่ ท่ีเกดิ ภายในใจ) อนั เศรา้ หมอง (อกุศลเจตสิก) ทมี่ ีอยู่ภายในจติ ใจของคนเรา โดยคอยรมุ เรา้ จติ ให้คดิ โลภ โกรธ หลง มีชอ่ื เรียก ตา่ งๆ เชน่ ตัณหา ความทะยานอยาก ราคะ ความก�ำ หนดั อรติ ความขง้ึ เคยี ด อิสสา ความริษยา หรือหึงหวง เปน็ ต้น กิเลสเหลา่ น้เี ม่ือมีในจิตสนั ดานของบุคคลใด ยอ่ มเป็นเหตุยงั จติ ของบุคคลนัน้ ใหม้ ีความยินดี รกั ใคร่ ปรารถนา ไขว่ควา้ เพ่อื ให้ได้มาซ่ึงสง่ิ ต่างๆ และหรอื เศรา้ หมองเป็นไปตามอ�ำ นาจของกเิ ลสนั้นๆ เพราะฉะนน้ั ท่านจงึ เรยี กว่า กเิ ลสเปน็ เหตุใคร่ ซึ่งเปรียบดังพืชทมี่ ยี าง เปน็ เหตใุ หเ้ กดิ ราก ลำ�ต้น กง่ิ กา้ นต่อไป ฉะนน้ั กเิ ลส กามนท้ี า่ นจัดวา่ เปน็ มาร เพราะเปน็ โทษล้างผลาญคณุ ความดีและท�ำ ให้เสียคน คอื ท�ำ ใหม้ ีสภาพจติ ที่ไม่ดี บ่วงแห่งมาร หมายถึง อารมณ์เครื่องผูกจิตให้ติดแห่งมาร เหมือนเนื้อเหยื่อล่อท่ีถูกเบ็ดเก่ียวไว้ ได้แก่ วัตถุกาม วตั ถอุ ันน่าใคร่ คอื ส่งิ ท่ีเป็นทีต่ ้ังแห่งความใคร่ ซึ่งเรียกว่า กามคุณ ๕ คอื รปู เสียง กลน่ิ รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) ซ่ึงเป็นสิ่งท่ีมารหรือกิเลสกามชักนำ�จิตคนเรา ให้เข้าไปกำ�หนดว่าน่ารักน่าใคร่ พาใจให้กำ�หนัดยินดีในรูป เสียง กล่ิน รส สัมผัสที่น่าปรารถนาน่าพอใจ บว่ งแห่งมารนไ้ี ม่อาจจะคลอ้ งบคุ คลผไู้ ม่ตดิ ขอ้ งอยใู่ นโลกได้ สรปุ ความ โลก คือแผ่นดินเป็นท่ีอาศัยและหมู่สัตว์ผู้อาศัยน้ีเป็นศูนย์รวมไว้ท้ังสิ่งท่ีมีโทษ ส่ิงท่ีอาจให้โทษ ในเม่ือลุ่มหลงเกินพอดี และสิง่ ท่ีเป็นอปุ การะล่อใจ พวกคนเขลาผู้ไรป้ ญั ญา ซงึ่ ไมส่ ามารถพิจารณาเหน็ โลกได้ ตามสภาพเปน็ จรงิ ย่อมเพลดิ เพลินในสงิ่ ทีเ่ ปน็ โทษ ระเริงหลงเกินพอดใี นสิง่ อนั อาจใหโ้ ทษ และตดิ อยูใ่ นสง่ิ ที่ เปน็ อปุ การะลอ่ ใจ ชอ่ื วา่ หมกอยใู่ นโลก จงึ ไมไ่ ดร้ บั ความสขุ ทแี่ ทจ้ รงิ ตรงกนั ขา้ มกบั ทา่ นผรู้ คู้ อื บณั ฑติ ทไ่ี มข่ อ้ ง อยใู่ นโลกยอ่ มพจิ ารณาเหน็ ความเปน็ จรงิ ของสงิ่ สมมตเิ ปน็ โลกนน้ั ซง่ึ จะตอ้ งเปลยี่ นแปลงไปตามเหตปุ จั จยั แลว้ ไม่พัวพันในส่ิงอันเป็นอุปการะล่อใจ ย่อมได้รับความสุขท่ีแท้จริง พระพุทธองค์ตรัสชักชวนพุทธบริษัทดูโลก อนั ตระการตาดุจราชรถนี้มใิ ชใ่ ห้เพลิดเพลนิ เหมอื นดลู ะครทมี่ ุ่งการบันเทิง แต่ทรงมีพระประสงคใ์ หพ้ จิ ารณา หยั่งซ้ึงถึงสภาพความเป็นจริงของสรรพส่ิงในโลก เพื่อที่จะสามารถควบคุมจิตให้พ้นจากมาร คือกิเลสกาม และจากบว่ งแหง่ มาร คอื วตั ถุกาม หรอื สง่ิ ทีเ่ ป็นทีต่ ัง้ แหง่ ความใคร่ ซึ่งเรยี กว่ากามคณุ ๕ โดยทรงแนะนำ�ให้ใช้ วิธกี ารส�ำ รวมควบคมุ จติ ๓ วิธี คอื (๑) การควบคมุ อินทรยี ์ ๖ มิใหย้ ินดใี นอารมณท์ นี่ า่ ปรารถนา (๒) การเจรญิ สมถกมั มฏั ฐาน ทเ่ี กยี่ วกบั การพจิ ารณาดคู วามไมง่ ามของรา่ งกาย เปน็ ตน้ และ (๓) การเจรญิ วปิ สั สนากมั มฏั ฐาน คอื การฝกึ จติ ใหเ้ กดิ ปญั ญาพจิ ารณาโลก คอื เบญจขนั ธโ์ ดยความเปน็ ไตรลกั ษณ์ ซง่ึ นบั เปน็ วธิ ที ด่ี ที สี่ ดุ ฉะนแี้ ล แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศึกษา ชัน้ เอก วชิ าธรรม

30 ปฏิปทาแหง่ นพิ พทิ า สพฺเพ สงขฺ ารา อนจิ จฺ าต ิ ..... ...... ....... สพฺเพ สงขฺ ารา ทกุ ขฺ าต ิ ..... ...... ........ สพฺเพ ธมมฺ า อนตตฺ าต ิ ยทา ปญฺ าย ปสสฺ ติ อถ นพิ ฺพินฺทติ ทกุ เฺ ข เอส มคฺโค วิสุทฺธยิ า. เม่อื ใด เหน็ ด้วยปัญญาว่า สังขารท้ังหลายท้งั ปวงไม่เทย่ี ง ... สงั ขารทง้ั หลายท้งั ปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมท้ังหลายทัง้ ปวงเป็นอนตั ตา เมื่อน้นั ยอ่ มหนา่ ยในทุกข์ นั่นทางแหง่ วิสุทธิ. อธิบาย คำ�ว่า ปฏิปทาแห่งนิพพิทา หมายถึง ข้อปฏิบัติให้เกิดความเบ่ือหน่ายคลายความยึดติดในโลก โดยใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสามัญญลักษณะหรือไตรลักษณ์ในสังขาร เมื่อพิจารณาเห็นเช่นน้ี ย่อมเบื่อหนา่ ย ในทุกข์ และเปน็ เหตุใหเ้ ขา้ ถงึ วสิ ุทธิ คอื ภาวะที่จติ บรสิ ทุ ธห์ มดจดจากกเิ ลส ความหมายของสังขาร สงั ขาร แปลว่า สภาพปรงุ แตง่ หรือสงิ่ ทีป่ ัจจยั ปรงุ แต่ง มี ๒ ประเภท คือ ๑. อปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารที่มีใจครอง เชน่ มนษุ ยแ์ ละสัตว์ เปน็ ต้น ๒. อนปุ าทนิ นกสังขาร สงั ขารทีไ่ ม่มีใจครอง เชน่ แผน่ ดิน ภเู ขา โต๊ะ เก้าอ้ี เป็นต้น ในอทุ เทสว่า สงั ขารทงั้ หลายทงั้ ปวงไม่เทีย่ ง สงั ขารทัง้ หลายท้งั ปวงเป็นทกุ ข์ ไดแ้ ก่ ขันธ์ ๕ คอื ๑) รูป คือ รา่ งกายอันประกอบดว้ ยธาตุ ๔ คอื ดิน นา้ํ ไฟ ลม ๒) เวทนา คอื ความรู้สกึ เป็นสขุ เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไมท่ กุ ข์ ๓) สญั ญา คือ ความจ�ำ ได้หมายรู้ ๔) สังขาร คอื อารมณท์ ี่เกดิ กบั จติ หรอื เจตนาความคดิ อา่ นต่างๆ ๕) วญิ ญาณ คอื ความรูแ้ จง้ อารมณท์ างทวาร ๖ คือ ตา หู จมูก ล้นิ กาย ใจ สามัญญลักษณะของสงั ขาร สงั ขารท้งั ปวง มลี ักษณะเสมอกนั ๓ ประการ เรยี กว่า ไตรลักษณ์ คอื ๑. อนิจจตา ความไมเ่ ท่ียง ลักษณะท่ีแปรเปล่ียนไม่แน่นอน ๒. ทุกขตา ความเปน็ ทุกข์ ลกั ษณะทที่ นอยใู่ นสภาพเดิมไมไ่ ด้ ๓. อนตั ตตา ความเปน็ อนตั ตา ลกั ษณะทีไ่ ม่ไชต่ ัวตน อนิจจตา ความไม่เท่ียงแห่งสังขาร กำ�หนดรู้ได้ใน ๓ ทาง คอื ๑) ในทางท่ีเหน็ ไดง้ า่ ย : โดยที่สงั ขารน้ันมคี วามเกิดขน้ึ ในเบ้อื งต้นและความสนิ้ ไปในเบอ้ื งปลาย เปน็ ธรรมดา สมดังพระบาลีในมหาวรรค ทีฆนิกาย (พระไตรปฎิ ก เลม่ ที่ ๑๐/๑๘๑) วา่ แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศึกษา ชน้ั เอก วชิ าธรรม

31 อนจิ จฺ า วต สงฺขารา อปุ ปฺ าทวยธมมฺ ิโน อปุ ปฺ ชฺชติ วฺ า นริ ชุ ฌฺ นตฺ ิ ... .... .... สังขารท้ังหลายไม่เท่ียงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมส้ินไปเป็นธรรมดา (ไม่เลือกว่า เปน็ สงั ขารชนิดไร ประณีตก็ตาม ทรามกต็ าม) เกดิ ข้นึ แลว้ ย่อมดับไป. ดังนั้น สังขารท้ังหลายจึงเกิด-ดับอยู่ตลอดกาล เกิดข้ึนในกาลใด ก็ดับในกาลนั้น กล่าว โดยเฉพาะ ระยะกาลในระหวา่ งการเกิดและดบั แห่งสังขารที่สมมติวา่ เปน็ มนุษย์นัน้ ท่านก�ำ หนดว่า ๑๐๐ ปี หรือเกินกวา่ ๑๐๐ ปี ไปบา้ งก็มี แต่มจี ำ�นวนนอ้ ย ๒) ในทางท่ลี ะเอยี ดกวา่ นนั้ : สังขารทัง้ ปวงนั้นมคี วามแปรเปลี่ยนไปในระหว่างการเกดิ และดับ สมดังพระบาลีในสคาถวรรค สงั ยตุ ตนกิ าย (พระไตรปฎิ ก เล่มที่ ๑๕/๘๙) วา่ อจฺเจนตฺ ิ กาลา ตรยนฺติ รตฺตโิ ย วโยคณุ า อนปุ ุพฺพํ ชหนฺต.ิ กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชัน้ แห่งวัยย่อมละไปตามล�ำ ดับ ระยะกาลระหว่างการเกิดและการดบั แห่งสังขารของคนเราน้ัน ทา่ นก�ำ หนดเป็น ๓ วัย คือ (๑) ปฐมวัย วัยต้น อย่ใู นระยะเวลาไมเ่ กนิ ๒๕ ปี (๒) มชั ฌมิ วยั วยั กลาง ต้งั แต่ ๒๕ ปีขนึ้ ไป จนถึง ๕๐ ปี (๓) ปัจฉิมวยั วยั ท้าย ตงั้ แต่ ๕๐ ปขี ้ึนไป จนถึงส้นิ อายุ ในคัมภรี ว์ สิ ุทธมิ รรค ทา่ นก�ำ หนดวยั โดยใช้อายุ ๑๐๐ ปีเปน็ เกณฑ์ไว้ ดงั น้ี (๑) ปฐมวัย วัยแรก ก�ำ หนดอายุ ๑-๓๓ ปี (๒) มชั ฌมิ วยั วัยกลาง ก�ำ หนดอายตุ ง้ั แต่ ๓๔ - ๖๗ ปี (๓) ปจั ฉิมวยั วัยท้าย ก�ำ หนด อายุตั้งแต่ ๖๘ - ๑๐๐ ปี ความแปรเปลยี่ นในระหวา่ งแห่งสงั ขารผ่านวยั ทั้ง ๓ ดงั กลา่ วน้ี ท่านเปรียบไว้กับการเดนิ ข้าม สะพานทสี่ งู ขนึ้ ๆ แลว้ ราบ แลว้ ตาํ่ ลงๆ ซงึ่ การทค่ี นเราจะผา่ นไปไดต้ ลอดใหค้ รบทง้ั ๓ วยั นน้ั เปน็ เรอ่ื งยาก เหตุ ที่เป็นเชน่ น้ี เพราะอายขุ องคนเราแตล่ ะคนนนั้ มวี บิ ากกรรมก�ำ หนดมาไมเ่ ทา่ กัน ๓) ในทางที่ละเอียดที่สุด : สังขารทั้งปวงน้ันมีความแปรเปล่ียนไปชั่วขณะหน่ึงๆ คือ ไม่คงท่ี อยู่นาน เพียงระยะกาลนิดเดียวก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ดังคาถาท่ีปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๓ หน้า ๒๕๕ วา่ ชวี ิตํ อตตฺ ภาโว จ สุขทกุ ฺขา จ เกวลา เอกจิตตฺ สมา ยตุ ฺตา ลหุโส วตตฺ เต ขโณ. ชีวิต อัตภาพ และสุขทุกข์ ท้ังมวล ล้วนประกอบกันเป็นธรรมเสมอด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเปน็ ไปพลัน. อนจิ จลกั ขณะ ประการท่ี ๓ นี้ ต้องใชป้ ัญญาพิจารณาจงึ จะกำ�หนดเหน็ ชดั ในนามกาย เช่น จติ บางขณะกข็ นุ่ มวั บางขณะกเ็ บกิ บาน หรอื บางขณะรบั อารมณน์ แี้ ลว้ กพ็ ลนั เปลยี่ นไปรบั อารมณอ์ นื่ เปน็ ตน้ แม้ในรปู กายกเ็ หมือนกนั เชน่ เซลผิวหนังเกา่ หลดุ ร่วงไป เซลใหมเ่ กดิ ข้นึ แทนท่ี เปน็ ตน้ การที่คนเราไมร่ ูถ้ ึง แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศึกษา ชั้นเอก วิชาธรรม

32 ความแปรเปล่ียนแห่งสังขารเช่นน้ี เพราะมีภาวะสืบต่อที่เรียกว่า สันตติ ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว จนไม่สามารถก�ำ หนดได้ เม่อื จิตดวงแรกดับไป จิตดวงใหมก่ ็เกิดสบื ต่อมา เกดิ - ดับ เกดิ - ดบั อยอู่ ยา่ งนี้ สภาวะที่เรียกว่าสันตตินี้จะคอยบดบังมิให้คนเรารับรู้ถึงอนิจจลักษณะในขั้นท่ีละเอียด เมื่อสันตติขาดลง ความดบั สิ้นแหง่ ชีวิตินทรีย์หรือความตายย่อมปรากฏ ความเกดิ แล้วดับและความแปรเปลี่ยนในระหว่างแห่ง สังขารดังกล่าวมาน้ี ทา่ นสรุปเข้าในบาลที ีว่ า่ “อุปฺปชชฺ ติ เจว เวติ จ อญฺถา จ ภวติ. : ย่อมเกดิ ขึ้นดว้ ยเทียว ย่อมเส่ือมส้ินด้วย ย่อมเป็นอย่างอ่ืนด้วย” น้ีเป็นอนิจจลักษณะ คือเคร่ืองกำ�หนดว่าไม่เที่ยงแห่งสังขาร ความไม่เท่ียงแห่งสังขารท่ีกำ�หนดรู้ได้ใน ๓ ทางดังกล่าวมานี้ย่อมปรากฏทั้งในอุปาทินนกสังขาร สังขาร ท่ีมีใจครอง และอนปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารท่ไี ม่มใี จครอง ทกุ ขตา ความเปน็ ทุกข์แห่งสงั ขาร ก�ำ หนดเห็นไดด้ ว้ ยทุกข์ ๑๐ อย่าง คอื ๑) สภาวทุกข์ ทุกข์ตามสภาพ ได้แก่ ทุกข์ประจำ�สังขาร คือ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย อนั เปน็ คตธิ รรมดาประจ�ำ สงั ขาร ขณะทคี่ ลอดจากครรภม์ ารดา ทารกยอ่ มไดร้ บั ความล�ำ บาก ความเจ็บปวดจากอันตรายต่างๆ จัดเป็นชาติทุกข์ ทุกข์เพราะการเกิด ความทรุดโทรมเสื่อมลงแห่งสังขาร ทำ�ความเป็นไปแห่งชีวิตให้ลำ�บาก จัดเป็นชราทุกข์ ทุกข์เพราะความแก่ ความส้ินชีวิตได้รับทุกขเวทนา แรงกล้าเปน็ ภยั ที่น่ากลัว จัดเปน็ มรณทกุ ข์ ทกุ ข์เพราะความตาย ๒) ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ทุกข์ท่ีจรมาในชีวิต คือ โสกะ ความโศก ปริเทวะ ความรํ่าไรรำ�พัน ทุกขะ ความทุกข์กาย โทมนัส ความทุกข์ใจ อุปายาส ความคับแค้นใจ รวมถึง อัปปิเยหสิ มั โยคทกุ ข์ ทุกขท์ เี่ กิดจากการประสบพบสัตว์ บุคคล ส่ิงที่ไมร่ กั ไม่ชอบใจ และปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ทกุ ขท์ ่เี กิดจากความพลดั พรากจากบุคคล สตั ว์ สงิ่ ของทรี่ กั ทชี่ อบ ๓) นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์ประจำ� ได้แก่ ทุกข์ท่ีเป็นเจ้าเรือน เช่น ทุกข์เพราะ ความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปสั สาวะ ทุกขใ์ นขอ้ น้ีคนเรามกั จะไมค่ �ำ นงึ ถงึ นัก ถือเป็น เรอ่ื งธรรมดาที่จะสามารถระงบั บรรเทาไดง้ ่าย ๔) พยาธิทุกข์ ทุกข์เจ็บปวด ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วย ได้แก่ ทุกขเวทนาต่างๆ ท่ีสร้าง ความเจบ็ ปวดทรมานใหแ้ กค่ นเรา ทม่ี สี มฏุ ฐานเกดิ จากโรคภยั ไขเ้ จบ็ เข้ามารมุ เรา้ รา่ งกายอนั เปน็ ดจุ รงั แหง่ โรค เชน่ ปวดศีรษะ ปวดทอ้ ง ปวดฟัน หรือปวดเมอื่ ยทว่ั ร่างกาย เปน็ ตน้ ทุกข์ประการที่ ๓ และท่ี ๔ น้ี พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในคิริมานันทสูตร (พระไตรปิฎก เลม่ ที่ ๒๔) ตอนอาทีนวสัญญา โดยความเปน็ โทษแหง่ รา่ งกาย ๕) สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือ ความร้อนรุ่ม หรือทุกข์ร้อน ได้แก่ ความกระวนกระวายใจเพราะ ถูกไฟกเิ ลส คอื ราคะ โทสะ และโมหะ หรือรกั โลภ โกรธ หลง แผดเผา ดุจความแสบร้อนท่ีเกดิ จากไฟลวก ทกุ ข์ประการนตี้ รงกบั ท่ีตรสั ไว้ในอาทติ ตปริยายสตู ร ๖) วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว ได้แก่ การเกิดความเดือดร้อนใจ การถูกลงอาญา ไดร้ บั ความทกุ ขเ์ ดอื ดรอ้ นทางกายและใจตา่ งๆ การตกทกุ ขไ์ ดย้ าก หรอื การตายไปเกดิ ในอบายภมู ิ ทกุ ขป์ ระการน้ี ปรากฏในพระบาลไี ตรปฎิ กหลายแห่ง แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศึกษา ชัน้ เอก วชิ าธรรม

33 ๗) สหคตทุกข์ ทุกข์ ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำ�กับกัน ได้แก่ ทุกข์ท่ีมาพร้อมกับโลกธรรมฝ่าย อฏิ ฐารมณ์ (สิ่งที่นา่ ปรารถนานา่ ชอบใจ) คือ มีลาภ มยี ศ ได้รบั สรรเสรญิ มคี วามสขุ ซ่ึงล้วนเจือปนด้วยทกุ ข์ ทจี่ รมาเสมอ เชน่ เมอ่ื มที รพั ยส์ มบตั แิ ลว้ กต็ อ้ งคอยเฝา้ รกั ษาไมใ่ หส้ ญู หาย บางครงั้ ถงึ กบั กนิ ไมไ่ ดน้ อนไมห่ ลบั บางคนตอ้ งเสยี ชวี ติ ในการปอ้ งกนั รกั ษาทรพั ยก์ ม็ ี เมอื่ ไดร้ บั ยศถาบรรดาศกั ดแ์ิ ลว้ ตอ้ งท�ำ ตวั ใหด้ กี วา่ คนทวั่ ไป มีภารกิจรับผิดชอบมาก เป็นที่หวังพ่ึงพาของบริวาร ต้องพลอยร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับคนอื่น ดังน้ัน จึงต้อง ขวนขวายหาทรพั ยไ์ วใ้ หม้ ากเพอ่ื เปน็ ก�ำ ลงั จบั จา่ ยใหส้ ะดวก ท�ำ ใหเ้ กดิ ทกุ ขต์ ามมา เมอ่ื ไดร้ บั สรรเสรญิ กท็ �ำ ให้ เพลดิ เพลินหลงเคลิม้ ไปว่าตนเปน็ คนเก่งคนดกี วา่ คนอื่น หากปราศจากสติรู้เท่าทัน กจ็ ะหลงมัวเมาประมาท ทำ�ให้เกิดทุกข์ เม่ือได้รับสุข ก็ปรารถนาอยากจะได้สุขยิ่งๆข้ึนไป ไม่รู้จักอ่ิม จึงไม่ได้รับความสุขที่แท้จริง ดังนน้ั โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณจ์ งึ มักมที ุกขก์ ำ�กบั ซอ่ นอยู่ด้วยเสมอ ๘) อาหารปรเิ ยฏฐิทกุ ข์ ทกุ ข์เพราะการแสวงหาอาหาร ได้แก่ อาชีวทกุ ข์ ทกุ ข์ในการหาเล้ียงชพี โดยเหตทุ สี่ รรพสตั วด์ �ำ รงชพี อยไู่ ดเ้ พราะอาหาร จงึ ตอ้ งดน้ิ รนแสวงหาอาหารมาประทงั ชวี ติ เมอ่ื ประกอบอาชพี การงาน ก็ย่อมเกดิ การแข่งขันชว่ งชงิ ผลประโยชน์จนถงึ ขัน้ ทำ�รา้ ยรา่ งกายลา้ งผลาญชวี ติ กัน จึงอยูไ่ ม่เปน็ สขุ ดงั นน้ั คนเราไมว่ ่าจะประกอบอาชีพใดๆ เพ่ือใหไ้ ดอ้ าหารมาเล้ียงชีวิต ย่อมเปน็ ทกุ ข์ด้วยกันทง้ั นน้ั ๙) วิวาทมลู กทกุ ข์ ทกุ ขม์ ีววิ าทเปน็ มูล หรอื ทกุ ขเ์ พราะการทะเลาะกนั เปน็ เหตุ ไดแ้ ก่ ความไม่ ปลอดโปรง่ ใจ ความไมส่ บายใจ ความกลัวแพ้ หรอื ความหวาดหวั่นอนั มสี าเหตุมาจากการทะเลาะแกง่ แยง่ กนั การสู้คดีกัน การท�ำ สงครามสูร้ บกนั เปน็ ต้น ซงึ่ ล้วนแตเ่ ปน็ เหตใุ หเ้ กิดทกุ ข์ ก่อเวรภยั แก่กนั อยา่ งไมร่ ้จู บ ๑๐) ทกุ ขขันธ์ ทกุ ขร์ วบยอด หรือศนู ยร์ วมความทกุ ข์ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ทีบ่ ุคคลเขา้ ไปยึดมัน่ ถือม่ันว่าเป็นตัวเราของเรา จัดเป็นตัวทุกข์ ซึ่งตรงกับพระบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรท่ีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา : โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” และตรงกับพระบาลีแสดงหลัก ปฏจิ จสมุปบาททีว่ า่ “เอวเมตสสฺ เกวลสฺส ทกุ ฺขกฺขนธฺ สฺส สมทุ โย โหติ : ความเกดิ ข้ึนแหง่ กองทกุ ขท์ ้งั มวลนั่น จึงมีด้วยประการดังกล่าวน”้ี การพจิ ารณาเหน็ สงั ขารทง้ั ปวงวา่ เปน็ ทกุ ขเ์ ตม็ ท่ี โดยใชญ้ าณปญั ญาก�ำ หนดเหน็ ทกุ ขท์ ชี่ าวโลกเหน็ เปน็ สขุ มีสหคตทกุ ขเ์ ปน็ ต้นดงั กล่าวมานีอ้ ย่างละเอยี ดประจกั ษ์ชัด ตรงกับพระบาลใี นวชิราสตู ร ภกิ ขุนสี ังยุต สคาถวรรค สังยตุ ตนกิ าย (พระไตรปฎิ กเล่มท่ี ๑๕/๑๙๙) ท่วี ่า ทุกขฺ เมว หิ สมฺโภต ิ ทกุ ขฺ ํ ตฏิ ฺติ เวติ จ นาญฺ ตรฺ ทกุ ฺขา สมโฺ ภติ นาญฺตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌต.ิ ก็ ทุกข์นัน่ แล ย่อมเกิดขน้ึ ทุกขย์ ่อมตัง้ อยดู่ ว้ ย ยอ่ มเสอื่ มสิ้นไปด้วย นอกจากทุกข์ หาอะไรเกิดมิได้ นอกจากทกุ ข์ หาอะไรดบั มิได้. ทกุ ขลกั ขณะดงั กลา่ วมานยี้ อ่ มเกดิ มเี ฉพาะอปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารทมี่ ใี จครองเทา่ นน้ั แตอ่ าจารย์ บางท่านวินจิ ฉยั ว่า แมอ้ นุปาทินนกสังขาร สงั ขารท่ไี ม่มีใจครอง ทบี่ ุคคลเขา้ ไปยึดม่นั ด้วยอุปาทาน ก็สามารถ มที กุ ขลักขณะนีไ้ ดเ้ ช่นกัน หรือบางท่านเห็นความเฉาความซีดแห่งตน้ ไม้ใบหญ้าว่า เปน็ การเสวยทุกขข์ องมนั ท้ังสองประเด็นนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเห็นว่าไม่สมเหตุสมผล อุปาทินนกสังขารเท่านั้นเป็นทุกข์ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชั้นเอก วชิ าธรรม

34 และทุกข์เป็นเจตสิกธรรม (สิ่งท่ีเกิด - ดับพร้อมกับจิต) การท่ีคนเราไม่เห็นสังขารคือเบญจขันธ์ว่าเป็นทุกข์ กเ็ พราะมกี ารผลดั เปล่ียนเคลื่อนไหวอริ ยิ าบถอยเู่ สมอ ดงั นน้ั อริ ยิ าบถ จงึ ช่ือว่าปิดบงั ทกุ ขลักขณะไว้ อนตั ตตา ความเป็นอนตั ตาแห่งสงั ขาร ก�ำ หนดรไู้ ดด้ ้วยอาการ ๕ คือ ๑) ดว้ ยไมอ่ ยใู่ นอ�ำ นาจ หรอื ดว้ ยฝนื ปรารถนา หมายความวา่ สงั ขารคอื เบญจขนั ธน์ ไ้ี มเ่ ปน็ ไปตาม ความปรารถนา ไมข่ น้ึ ตอ่ การบงั คบั บญั ชาของใครๆ ไมม่ ใี ครสามารถบงั คบั สงั ขารใหเ้ ปน็ ไปตามทใี่ จตอ้ งการได้ เพราะสังขารไม่ใช่อัตตา ดังนยั ท่ตี รสั ไวใ้ นอนตั ตลกั ขณสตู ร (พระไตรปิฎก เล่มท่ี ๔) ว่า “ถ้าเบญจขันธ์จักเป็น อัตตาแล้วไซร้ เบญจขันธ์ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และจะพึงได้ในเบญจขันธ์ตามปรารถนาว่า ขอเบญจขันธ์ ของเราเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างน้ันเลย แต่เพราะเหตุที่เบญจขันธ์เป็นอนัตตา จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไมไ่ ด้เบญจขันธต์ ามปรารถนาอย่างน้นั ” ๒) ด้วยแย้งต่ออตั ตา หมายความว่า โดยสภาวะของสงั ขารเองค้านตอ่ อตั ตา คือตรงกนั ขา้ มกับ ความเปน็ อตั ตาอยา่ งประจกั ษช์ ดั ดงั ทตี่ รสั ไวใ้ นอนตั ตลกั ขณสตู รวา่ “สงิ่ ใดไมเ่ ทยี่ ง เปน็ ทกุ ข์ มคี วามแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือไม่ที่จะตามเห็นสิ่งน้ันว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา น่ันตัวของเรา” และที่ตรัสไว้ใน ยทนิจจสตู ร ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย (พระไตรปฎิ ก เลม่ ท่ี ๑๗) ว่า “ยทนิจจฺ ํ ตํ ทกุ ฺขํ. ยํ ทุกขฺ ํ ตทนตตฺ า. : สิง่ ใดไมเ่ ทย่ี ง สิง่ นัน้ เป็นทุกข์ สง่ิ ใดเป็นทกุ ข์ สง่ิ นนั้ เป็นอนตั ตา” ๓) ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ หมายความว่า สังขารนี้ไม่เป็นของใครได้จริง ไม่มีใคร เป็นเจ้าของครอบครองได้ ดังที่ตรัสไว้ในสูตรท้ังหลายมีอนัตตลักขณสูตรเป็นต้นว่า“เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตตฺ า. : นัน่ มใิ ช่ของเรา นัน่ มใิ ช่เรา น่ันมใิ ชต่ วั ของเรา” ๔) ด้วยความเป็นสภาพสูญ คือว่างหรือหายไป หมายความว่า สังขารน้ีเป็นเพียงการประชุม รวมกันเข้าขององค์ประกอบท่ีเป็นส่วนย่อยๆ โดยว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือ การสมมติเป็นต่างๆ ดังท่ีตรัสแก้ปัญหาของโมฆราชมาณพ ในปารายนวรรค สุตตนิบาต ขุททกนิกาย (พระไตรปฎิ กเลม่ ท่ี ๒๕) วา่ “โมฆราช เธอจงมสี ตทิ กุ เมอ่ื เลง็ เหน็ โลกโดยความเปน็ สภาพสญู ถอนอตั ตานทุ ฏิ ฐิ คือความคิดเหน็ วา่ เปน็ อัตตาเสยี เชน่ นี้ เธอกจ็ ะพึงเปน็ ผขู้ ้ามพ้นพญามัจจุราชได้...” การท่ีคนเราไม่สามารถเห็นสังขารโดยความเป็นสภาพว่าง ก็เพราะมี ฆนสัญญา ความสำ�คัญว่า เป็นกลุม่ กอ้ น คอื การกำ�หนดวา่ เป็นเรา เปน็ เขา คอยปิดบังไว้ ทำ�ใหเ้ ห็นแตอ่ งค์รวม เหมอื นอย่างการที่จะ เรยี กวา่ รถได้ ก็เพราะมชี ิ้นสว่ นอะไหล่ต่างๆประกอบกนั ฉนั ใดกฉ็ ันนนั้ เมื่อขนั ธ์ ๕ คือ รปู เวทนา สญั ญา สังขาร วิญญาณ มารวมกัน ย่อมมีการสมมติบัญญัติเรียกว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคลข้ึนมา ดังที่วชิราภิกษุณี กล่าวไว้ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย (พระไตรปิฎกเล่มท่ี ๑๕) ว่า “ข้ึนชื่อว่าสัตว์ย่อมหาไม่ได้ในกองแห่ง สังขารล้วนๆ น้ี เปรียบให้เห็นว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายไว้ด้วยกัน เสียงเรยี กว่ารถย่อมมีฉนั ใด เม่ือขนั ธ์ท้ัง หลายยงั มอี ยู่ การสมมตวิ า่ สตั วก์ ย็ อ่ มมฉี นั นนั้ ” เมอ่ื ก�ำ หนดพจิ ารณาเหน็ สงั ขารโดยกระจายเปน็ สว่ นยอ่ ยตา่ งๆ ไดแ้ ลว้ กจ็ ะสามารถถอนฆนสญั ญาในสังขารน้นั ได้ ส่วนอนัตตลักขณะท่ีว่า สังขารเป็นสภาพหายไปน้ัน พึงกำ�หนดรู้ได้ด้วยความเสื่อมสิ้นไปแห่ง สงั ขารนน้ั ๆ ทา่ นเปรยี บเหมอื นกบั การทคี่ นเรานอนหลบั ฝนั แลว้ ตน่ื ขนึ้ มากไ็ มพ่ บกบั ความฝนั นนั้ เสยี แลว้ ดงั ที่ แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชั้นเอก วชิ าธรรม

35 ตรัสไว้ในชราสตู ร สุตตนบิ าต ขทุ ทกนิกาย (พระไตรปิฎก เล่มท่ี ๒๕) ว่า “คนผู้ตนื่ ขนึ้ แล้วย่อมไม่เหน็ อารมณ์ อันประจวบดว้ ยความฝัน (สง่ิ ทฝี่ ัน) ฉันใด คนผมู้ ีชีวติ อยู่ กย็ ่อมไมเ่ หน็ คนท่ตี นรกั ตายจากไปฉันน้นั ” ๕) ดว้ ยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย หมายความว่า สังขารน้นั เป็นภาวะทข่ี นึ้ อยู่ กบั เหตปุ จั จยั ไม่มีอยูโ่ ดยลำ�พงั แต่เป็นไปโดยองิ อาศัยกับสิง่ อน่ื ๆ ขอ้ น้เี ปน็ ลักษณะรวบยอดแห่งอาการท้งั ๔ ที่กล่าวมา ดังท่ีตรัสไว้ในคัมภีร์อุทาน ขุททกนิกาย (พระไตรปิฎก เล่มท่ี ๒๕) ว่า “ในกาลใดแล ธรรมทั้ง หลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณผ์ เู้ พยี รเพ่งพจิ ารณา ในกาลนั้น ความสงสัยท้ังปวงของพราหมณน์ ้ันยอ่ มสนิ้ ไป เพราะมารู้ธรรมเปน็ ไปกับเหตุ... และเพราะมารู้ความส้นิ ไปแหง่ ปัจจัย” ความเป็นอนัตตาแห่งสังขารน้ีแม้จะเกิดมีประจำ�สำ�หรับชาวโลก แต่เป็นเรื่องท่ีเข้าใจยาก เหน็ ได้ยาก เพราะมี ฆนสัญญา คอื ความส�ำ คญั เห็นเป็นกลุม่ กอ้ นปิดบังไว้ ตอ้ งอาศัย ภาวนามยปญั ญา คือ การฝึกสติปญั ญาให้มกี ำ�ลังแรงกลา้ จึงจะสามารถพจิ ารณาเหน็ ไดโ้ ดยประจกั ษ์ เพราะไตรลักษณข์ ้ออนัตตานี้ นอกจากพระพทุ ธศาสนาแล้ว ไมม่ สี อนในลัทธศิ าสนาอื่น มตลิ ัทธิศาสนาอนื่ : ยอมรับการมอี ตั ตา ความเปน็ อนตั ตาแหง่ สงั ขารและสภาวธรรมทงั้ หลายนน้ั เมอ่ื พจิ ารณาตามพยญั ชนะคอื ตวั หนงั สอื ดูเหมือนเป็นมติท่ีขัดแย้งคัดค้านความเป็นอัตตาของลัทธิพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูและลัทธิที่เชื่อเก่ียวกับ การเวียนเกิดเวียนตาย (เวียนว่ายตายเกิด) ซ่ึงถือว่าในรูปกายนี้มีอัตตาสิงอยู่ เป็นผู้คิด เป็นผู้เสวยเวทนา และสำ�เร็จอาการอย่างอื่นๆ อีก เมื่อคราวมรณะคือตาย อัตตาก็จุติ (เคล่ือนหรือตาย) จากสรีระร่างเดิม ไปสิงในสรีระร่างอ่ืน ซ่ึงจะเป็นสรีระร่างดีหรือเลวนั้นย่อมสุดแล้วแต่กรรมที่ได้ทำ�ไว้ ส่วนสรีระร่างเดิมย่อม แตกสลายไป เปรียบเหมือนบา้ นเรือนที่อยู่อาศัย เมื่อคนผู้อยู่อาศัยไม่ชอบใจ ก็ย้ายไปอยู่บา้ นเรือนหลังใหม่ ส่วนบ้านเรือนหลังเดิมก็ย่อมผุพังสลายไปตามกาลเวลาฉะน้ัน อัตตาดังกล่าวมาน้ีในหนังสือมิลินทปัญหา เรยี กวา่ ชีโวผู้เป็น หรอื เรยี กตามความนิยมของคนไทยวา่ เจตภูต ผูน้ กึ มตทิ างพระพทุ ธศาสนา : ปฏิเสธอัตตา มติทางพระพุทธศาสนากล่าวแย้งว่า ความจริง ไม่มีอัตตาอย่างนั้น เป็นแต่สภาวธรรมเกิดข้ึน เพราะเหตุ ดับหรือส้ินก็เพราะเหตุ ดังที่ท่านพระอัสสชิเถระ แสดงแก่อุปติสสปริพาชก (พระสารีบุตรเถระ) ในพระวนิ ัยปฎิ กมหาวรรค ปฐมภาค (พระไตรปฎิ ก เล่มท่ี ๔/๗๔) วา่ เย ธมมฺ า เหตุปปฺ ภวา เตสํ เหตํุ ตถาคโต (อาห) เตสญจฺ โย นโิ รโธ จ เอววํ าที มหาสมโณ. ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกดิ พระตถาคตตรัสเหตุแหง่ ธรรมเหลา่ น้นั และตรัสความดบั แหง่ ธรรมเหลา่ น้นั พระมหาสมณะมปี กติตรสั อยา่ งน้ี ในหลักพระพุทธศาสนา มีการแสดงความเกิดแห่งสภาวธรรมท่ีเน่ืองสัมพันธ์กันเป็นสายๆ ดังท่ี แสดงความเกิดแห่งวิถีจิตว่า “อาศัยอายตนะภายในมีจักษุ เป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้นประจวบ กันเข้า เกิดวิญญาณ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น จากน้ันจึงเกิดสัมผัส เวทนา สัญญา สัญเจตนา ตัณหา วิตก แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ช้นั เอก วชิ าธรรม

36 วิจาร โดยลำ�ดับ” หรือดังท่ีตรัสไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ : สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ความคิดอ่านจินตนาการต่างๆ ความเสวยเวทนา รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ใดๆ และอาการทางจิตอย่างอ่ืนๆ เป็นหน้าท่ีของจิตและเจตสิก ไม่มี อัตตาสง่ิ ทเี่ ป็นตวั ตนใดๆ มาท�ำ หนา้ ท่ดี งั กล่าวนน้ั อนึ่ง หลักพระพุทธศาสนายอมรับว่ามี จุติจิต คือจิตที่ทำ�หน้าท่ีเคลื่อนจากภพหน่ึงไปอีกภพ หนง่ึ หรือจติ ขณะสุดทา้ ยกอ่ นตาย ดงั ที่ตรสั ไว้ในมลู ปัณณาสก์ มัชฌิมนกิ าย (พระไตรปฎิ ก เลม่ ที่ ๑๒) วา่ “จติ ฺเต สงฺกิลฏิ ฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงขฺ า : เม่อื จติ เศรา้ หมองแล้ว ทุคตเิ ป็นอันหวังได้ (ตายไปเกิดในทคุ ติภมู )ิ จิตเฺ ต อสงกฺ ิลิฏเฺ  สคุ ติ ปาฏกิ งฺขา : เมอ่ื จติ ไม่เศรา้ หมองแล้ว สคุ ติเปน็ อนั หวังได้ (ตายไปเกิดในสคุ ติภูมิ)” ค�ำ ว่า จติ ในพระพทุ ธพจน์นห้ี มายถึง จติ ขณะสดุ ท้ายก่อนตายหรือจตุ ิจิตนนั่ เอง นอกจากนี้ หลักพระพุทธศาสนายังรับรอง ปฏิสนธิจิต คือจิตท่ีทำ�หน้าที่เกิด หรือจิตดวงแรก ขณะเกดิ ดงั แสดงไวใ้ นปฏจิ จสมุปบาทว่า “วญิ ฺาณปจจฺ ยา นามรูปํ : เพราะวิญญาณเป็นปจั จยั จึงมีนามรูป” ทงั้ ยงั รบั รอง สงั สารวฏั คอื การเวยี นวา่ ยตายเกดิ ในภพภมู ติ า่ งๆ แตไ่ มบ่ ญั ญตั หิ รอื รบั รองเรอื่ งพระเจา้ ทบ่ี นั ดาล ชีวิตเหมือนกับลัทธิศาสนาอ่ืนๆ โดยรับรองหลักการเก่ียวกับการเวียนว่ายตายเกิดหรือความดำ�รงอยู่และ เส่ือมส้ินแห่งสภาวธรรมท้ังหลายบนพื้นฐานแห่งหลัก อิทัปปัจจยตา คือความเป็นเหตุผลของกันและกันว่า เพราะสงิ่ น้มี ี จึงมีสิง่ นี้ หรือหลกั ปฏิจจสมุปบาท คือ ความองิ อาศยั กนั เกิด - ดับแหง่ สภาวธรรมทงั้ หลายว่า “เพราะอวชิ ชาเปน็ ปจั จยั จงึ มสี งั ขาร เพราะสงั ขารเปน็ ปจั จยั จงึ มวี ญิ ญาณ... ความเกดิ ขน้ึ แหง่ กองทกุ ขท์ งั้ มวล จงึ มดี ว้ ยประการดงั นี้ เพราะอวชิ ชาดบั สงั ขารจงึ ดบั ... ความดบั แหง่ กองทกุ ขท์ งั้ มวลนี้ จงึ มดี ว้ ยประการดงั น”ี้ อธบิ ายพระบาลีอทุ เทสวา่ “ธรรมทัง้ หลายทง้ั ปวงเปน็ อนัตตา” อนิจจลักขณะและทุกขลักขณะ ย่อมมีได้เฉพาะในสังขาร ดังนั้น พระบาลีอุทเทสจึงแสดง ๒ ลักษณะน้ันว่า “สังขารท้ังหลายท้ังปวงไม่เที่ยง สังขารท้ังหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ส่วนอนัตตลักขณะ ยอ่ มมไี ดท้ ง้ั ในสงั ขาร ทง้ั ในวสิ งั ขาร คอื ธรรมอนั มใิ ชส่ งั ขาร (นพิ พาน) ดงั นน้ั พระบาลอี ทุ เทสจงึ แสดงลกั ษณะน้ี ว่า “ธรรมทั้งหลายท้ังปวงเป็นอนัตตา” เพ่ือประมวลสภาวะเหล่าน้ันมาแสดง เพราะบทว่า “ธรรม” หมายเอาสังขารกไ็ ด้ วิสังขารกไ็ ด้ การพจิ ารณาอนตั ตลกั ขณะจ�ำ เป็นต้องมโี ยนโิ สมนสิการ การพจิ ารณาเห็นสังขารเป็นอนตั ตานน้ั จ�ำ เปน็ ต้องมีโยนโิ สมนสกิ าร คอื การพจิ ารณาโดยอบุ าย อนั แยบคาย มฉิ ะนนั้ อาจท�ำ ใหเ้ หน็ ผดิ วา่ ผลบญุ หรอื ผลบาปไมม่ ี มารดาบดิ าไมม่ บี ญุ คณุ จรงิ เปน็ แตเ่ รอื่ งสมมติ ทั้งน้ัน เม่ือเกิดความเห็นผิดเช่นนี้ ก็ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ในทางธรรม มีแต่จะได้รับทุกข์และโทษ นานัปการ ดงั น้ัน จำ�ตอ้ งมีโยนิโสมนสกิ ารก�ำ กบั เพ่อื จะได้กำ�หนดรู้ สัจจะ ๒ ประการ คอื ๑) สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ หมายถึง ความจริงที่มนุษย์ในโลกน้ีหมายรู้ร่วมกันหรือสื่อสาร ระหวา่ งกัน เป็นเพยี งค�ำ บัญญัติสมมติเรยี กกันตา่ งๆ เชน่ สมมตเิ รยี กชายผูใ้ หก้ ำ�เนิดว่า บิดา หญงิ วา่ มารดา หรอื สมมติเรียกว่า ครอู าจารย์ สามีภรรยา ช้าง ม้า ววั ควาย รถ เรอื น เป็นต้น แนวทางการจดั การเรียนรูธ้ รรมศกึ ษา ชนั้ เอก วิชาธรรม

37 ๒) ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ หมายถึง ความจริงโดยความหมายสูงสุด ความจริงท่ีมี อยู่จริงโดยสภาวะ เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สสาร พลังงานต่างๆ หรือกล่าวตามหลักพระอภิธรรม ไดแ้ ก่ จิต เจตสกิ รปู นพิ พาน เมอื่ มีโยนโิ สมนสกิ ารก�ำ หนดรสู้ จั จะ ๒ ระดับนแี้ ล้ว กจ็ ะได้ไมไ่ ขว้เขวนำ�มาคัดค้านกนั เพราะการท่ี จะเข้าถงึ ความจรงิ โดยปรมตั ถไ์ ด้ จ�ำ ตอ้ งยอมรบั ความจรงิ โดยสมมตเิ สยี กอ่ น การก�ำ หนดรคู้ วามจรงิ ขน้ั สมมติ เป็นความรู้ข้ันพ้ืนฐาน ส่วนการใช้ปัญญากำ�หนดรู้ความจริงข้ันปรมัตถ์เป็นความรู้ขั้นละเอียด ดุจการรู้จัก สว่ นประกอบแตล่ ะช้ินของรถหรือเรือน ฉะนนั้ เม่ือกำ�หนดรู้ความจริงถึงข้ันปรมัตถ์ ย่อมเห็นว่า สังขารท้ังหลายเป็นไปต่างๆ กัน ดีบ้าง เลว บ้าง เป็นไปตามกฎแห่งกรรมท่ีอำ�นวยผลให้เป็นเช่นนั้น เม่ือกำ�หนดรู้ได้อย่างนี้ ก็จะเข้าใจเร่ืองอนัตตาได้ ประจักษ์แจ้ง สามารถละทฏิ ฐมิ านะ คอื ความเห็นผิดและความถือตวั รวมทัง้ กิเลสอื่นๆ อันเน่อื งมาจากการ ถือเราถอื เขา ถือพรรคถอื พวก การกำ�หนดรูอ้ นัตตาโดยอาศยั โยนิโสมนสกิ ารเช่นนี้ จึงจะส�ำ เร็จประโยชน์ได้ ดงั น้นั ท่านจึงกล่าวว่า “อนัตตลักขณะย่อมปรากฏแก่ผูพ้ จิ ารณาเห็นโดยแยบคาย หรอื ยอ่ มเหน็ ดว้ ยปัญญา” สรปุ ความ อนจิ จลักขณะ ยอ่ มมไี ดท้ ัง้ ในอุปาทินนกสงั ขาร สังขารทมี่ ีใจครอง และอนปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขาร ที่ไม่มใี จครอง ทกุ ขลักขณะ ย่อมมไี ดเ้ ฉพาะอุปาทนิ นกสังขาร สงั ขารท่มี ีใจครองอยา่ งเดียว เพราะเปน็ เจตสกิ ธรรม สว่ น อนตั ตลกั ขณะ ยอ่ มมีไดท้ ง้ั ในสงั ขาร และวิสังขาร คอื สภาวธรรมอนั มใิ ช่สังขาร (นิพพาน) ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เท่ียง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมท้ังปวงเป็น อนัตตา” ย่อมเบ่ือหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลินหมกมุ่นในสังขารส่ิงปรุงแต่งอันยั่วยวนชวนให้เสน่หา ทนี่ า่ รกั ใคร่ พาใจใหก้ �ำ หนดั ยอ่ มเบอ่ื หนา่ ยในสงั ขารทงั้ หลายได้ ดงั ทตี่ รสั ไวใ้ นอนตั ตลกั ขณสตู รวา่ “อรยิ สาวก ผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย แมใ้ นสังขารทัง้ หลาย ย่อมหน่ายแม้ในวญิ ญาณ” ความเบือ่ หนา่ ยเช่นน้ี เรยี กว่า นพิ พทิ า ทีเ่ กดิ ขน้ึ ดว้ ยปญั ญา จัดเปน็ นิพพิทาญาณ เป็นปฏปิ ทาใหถ้ ึงวิสทุ ธิ คอื ความบรสิ ทุ ธ์ิหมดจดจากกเิ ลสได้ แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศึกษา ชนั้ เอก วิชาธรรม

38 เวลา..............ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ท่ี ๒ ธรรมศึกษาช้นั เอก สาระการเรียนรู้วิชาธรรม เร่ือง หลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏิปทา ๑. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ธศ ๑ รู้และเข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา มีศรทั ธาทีถ่ กู ต้อง ยึดมน่ั และปฏบิ ตั ิ ตามหลักธรรม เพื่ออยรู่ ่วมกนั อย่างสันตสิ ขุ ๒. ผลการเรียนรู้ รู้และเขา้ ใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏปิ ทา ๓. สาระสำ�คญั หลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏปิ ทา เปน็ หลกั ธรรมทว่ี า่ ดว้ ยวริ าคะ ความสน้ิ ก�ำ หนดั หากบคุ คลยึดม่ันและปฏบิ ัติไดจ้ ะอย่ใู นสังคมด้วยความเป็นสุข ๔. จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนอธบิ ายหลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏิปทาได้ ๕. สาระการเรียนร้/ู เนื้อหา - วริ าคะ ความสิ้นก�ำ หนด ๖. กระบวนการจัดการเรยี นรู้ ข้นั สบื ค้นและเชอ่ื มโยง ๑. ครูและนักเรียนสนทนาเก่ียวกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทา โดยใช้ คำ�ถามเพอื่ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดและเชอื่ มโยงไปสู่การเรยี นรู้ - นกั เรียนเคยเรยี นเรือ่ งหลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทาบ้างหรอื ไม่ - หลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนาส่วนปรมัตถปฏิปทามอี ะไรบ้าง - นักเรียนเคยได้ยินได้เหน็ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาสว่ นปรมตั ถปฏิปทาจากที่ไหนบ้าง ขน้ั ฝกึ ๒. แบ่งนักเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สว่ นปรมัตถปฏิปทา วริ าคะ ความส้ินกำ�หนดั จากใบความร้ทู ี่ ๒ ๓. นกั เรยี นแต่ละกลุ่มจดั เตรียมการเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน แนวทางการจดั การเรียนรู้ธรรมศึกษา ชั้นเอก วิชาธรรม

39 ข้ันประยุกต์ ๔. ใหน้ ักเรยี นแตล่ ะกลมุ่ ออกมาน�ำ เสนอตามหัวขอ้ ท่ตี นเองไดร้ ับมอบหมายเพื่อแลกเปล่ยี นเรียนรู้ ๕. นกั เรียนในแต่ละกล่มุ ตอบคำ�ถามตามใบกิจกรรมที่ ๒ ๖. ครูและนักเรียนร่วมกันสรปุ ในแตล่ ะหัวข้อ ๗. ภาระงาน/ชิน้ งาน ท่ี ภาระงาน ชนิ้ งาน ๑ ตอบค�ำ ถามเกยี่ วกบั หลักธรรมของพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏปิ ทา ใบกิจกรรมที่ ๒ ๘. ส่อื /แหล่งการเรียนรู้ ๑. ใบความร้ทู ี่ ๒ เร่อื ง หลกั ธรรมของพระพทุ ธศาสนาสว่ นปรมัตถปฏปิ ทา ๒. ใบกจิ กรรมที่ ๒ ๙. การวดั ผลและประเมินผล สงิ่ ท่ตี ้องการวัด วธิ วี ัด เคร่ืองมือ เกณฑก์ ารประเมิน อธบิ ายหลกั ธรรม ของพระพุทธศาสนา - ตรวจผลงาน - แบบประเมนิ ผ่าน = ได้คะแนนตงั้ แตร่ ้อยละ ๖๐ ข้ึนไป ส่วนปรมตั ถปฏิปทาได้ ผลงาน ไม่ผา่ น = ได้คะแนนต่าํ กว่ารอ้ ยละ ๖๐ แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษา ชนั้ เอก วิชาธรรม

40 ขอ้ ท่ี แบบประเมินผลงาน ๑ คะแนน ๔ - ๕ คะแนน ใบกจิ กรรมท่ี ๒ ตอบค�ำ ถามถกู ต้องและ ๑ - ๑๑ ตอบคำ�ถามถูกตอ้ ง ตรงประเดน็ น้อย ตรงประเดน็ ระดบั คะแนน ๒ - ๓ คะแนน ตอบค�ำ ถามถกู ตอ้ ง ตรงประเดน็ สว่ นใหญ ่ เกณฑ์ เกณฑก์ ารตัดสนิ คะแนน ผา่ น ๓ คะแนนขนึ้ ไป ไมผ่ ่าน รอ้ ยละ ๒ คะแนนลงมา ๖๐ ขึน้ ไป ต่ํากว่า ๖๐ หมายเหต ุ เกณฑ์การตดั สนิ สามารถปรับใชต้ ามความเหมาะสมกับกลมุ่ เปา้ หมาย แนวทางการจดั การเรียนรู้ธรรมศึกษา ชน้ั เอก วิชาธรรม

41 ใบกจิ กรรมท่ี ๒ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมัตถปฏปิ ทา ช่ือกลุ่ม.................... ช่อื .........................................................................................ชั้น.....................เลขที่........................... ชือ่ .........................................................................................ช้นั .....................เลขที่........................... ชอ่ื .........................................................................................ชั้น.....................เลขท.ี่ .......................... ค�ำ ชแี้ จง ให้นักเรยี นตอบคำ�ถามตอ่ ไปน้ี จ�ำ นวน ๑ ข้อ (๕ คะแนน) ๑. อธบิ ายถึงความหมายและการปฏิบตั ิตนของวิราคะ ความสิ้นก�ำ หนดั .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ช้นั เอก วิชาธรรม

42 เฉลยใบกจิ กรรมท่ี ๒ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาส่วนปรมตั ถปฏปิ ทา ๑. อธิบายถึงความหมายและการปฏบิ ตั ิตนของวริ าคะ ความสนิ้ กำ�หนัด ตอบ วิราคะ ความสน้ิ กำ�หนดั หมายถึง ภาวะท่ีจิตปราศจากความกำ�หนดั ยินดใี นกาม ความสำ�รอกจิต จากกเิ ลสกาม หรือสภาวธรรมใดๆ ท่ีเป็นไปเพือ่ ความสนิ้ กำ�หนดั หายรัก หายอยากในกามสุขทัง้ ปวง ไวพจน์แหง่ วริ าคะ ๘ อย่าง ในอัคคัปปสาทสตู ร จตกุ กนบิ าต อังคุตตรนกิ าย (พระไตรปฎิ กเล่มที่ ๒๑) พระพทุ ธองคท์ รงแสดง วริ าคะว่าเปน็ ยอดแหง่ ธรรมท้ังปวง ท้งั ท่เี ปน็ สังขตธรรมและอสงั ขตธรรม แลว้ ทรงแจกไวพจนแ์ หง่ วริ าคะ คือ คำ�กำ�หนดใช้เรียกแทนวริ าคะ เป็น ๘ อย่าง คือ ๑. มทนิมฺมทโน ธรรมยงั ความเมาให้สรา่ ง ๒. ปิปาสวนิ โย ธรรมนำ�เสียซึง่ ความระหาย ๓. อาลยฺ สมคุ ฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดซี ่ึงอาลยั ๔. วฏฺฎูปจเฺ ฉโท ความเข้าไปตดั เสียซึง่ วัฏฏะ ๕. ตณฺหกฺขโย ความสิ้นตัณหา ๖. วิราโค ความสนิ้ กำ�หนัด ๗. นิโรโธ ความดับ ๘. นิพพฺ าน ํ ธรรมชาตหิ าเครือ่ งเสยี บแทงมไิ ด้ ๑. มทนมิ มฺ ทโน (มทนิมัมทนะ) ธรรมยังความเมาให้สร่าง ค�ำ ว่า ความเมา หมายถึง ความเมา ในอารมณ์อันย่ัวยวนให้เกิดความเมา เช่น ความเมาในชาติกำ�เนิดสูง อำ�นาจ บริวาร ลาภ ยศ ตำ�แหน่ง หน้าท่ีการงาน ความสุข สรรเสริญ วัย ความไม่มีโรค ชีวิต เป็นต้น ธรรมที่ทำ�ให้จิตสร่างคือคลายจาก ความเมาดังกลา่ ว จดั เปน็ วริ าคะ ๒. ปิปาสวินโย (ปิปาสวินยะ) ธรรมนำ�เสียซ่ึงความระหาย คำ�ว่า ความระหาย หรือกระหาย หมายถึง ความกระวนกระวายใจอันมีสาเหตุมาจากตัณหาคือความทะยานอยาก ซึ่งเปรียบเหมือนอาการ กระหายน้ํา ธรรมที่นำ�ออกคอื ระงับความกระวนกระวายใจ จัดเปน็ วิราคะ ๓. อาลฺยสมุคฺฆาโต (อาลัยสมุคฆาตะ) ความถอนข้ึนด้วยดีซึ่งอาลัย คำ�ว่า อาลัย หมายถึง ความติดพัน ความห่วงใยในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์ท่ีน่าปรารถนา นา่ พอใจ ธรรมทถ่ี อนอาลยั คือพรากจติ ออกจากกามคณุ ๕ จัดเป็นวิราคะ แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ชน้ั เอก วิชาธรรม

43 ๔. วฏฏฺ ปู จเฺ ฉโท (วฏั ฏปู จั เฉทะ) ความเขา้ ไปตดั เสยี ซง่ึ วฏั ฏะ ค�ำ วา่ วฏั ฏะ หมายถงึ ความเวยี นตาย เวียนเกดิ ในภมู ิท้ัง ๓ คือ กามาวจรภมู ิ รปู าวจรภมู ิ อรูปาวจรภูมิ อย่างไม่รู้จักจบสน้ิ ดว้ ยอำ�นาจกิเลส กรรม วิบาก ที่เรียกว่า วัฏฏะ ๓ กิเลส กรรม และวิบาก ทั้ง ๓ นี้จัดเป็นวงจรแห่งทุกข์ กล่าวคือ เมื่อเกิดกิเลส ก็เป็นเหตุให้ทำ�กรรม เม่ือทำ�กรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น เมื่อได้รับวิบากก็เป็นเหตุให้เกิดกิเลส แล้วท�ำ กรรมไดร้ บั วบิ ากหมนุ เวยี นต่อไปเชน่ นไี้ ม่รูจ้ ักจบส้นิ ธรรมที่ตดั วฏั ฏะใหข้ าด จัดเปน็ วิราคะ ๕. ตณฺหกฺขโย (ตัณหักขยะ) ความสิ้นตัณหา คำ�ว่า ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก ความดิ้นรนอยากได้ มี ๓ อย่าง คือ (๑) กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ได้แก่ อาการท่ีจิตแส่หา อยากได้กามคุณ ๕ (๒) ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ ได้แก่ อาการที่จิตด้ินรนอยากเป็นนั่นเป็นน่ี หรืออยากเกิดอยากมีอยู่อยากคงอยูต่ ลอดไป (๓) วภิ วตณั หา ความทะยานอยากในวภิ พ ได้แก่ อาการที่จติ ขัดข้องคับแค้น อยากพ้นไปจากภาวะท่ีตนไม่ปรารถนา อยากตายไปเสีย อยากขาดสูญ ธรรมท่ีขจัดตัณหา ให้สนิ้ ไป จดั เป็นวิราคะ ๖. วิราโค (วิราคะ) ความส้ินกำ�หนัด หมายถึง ภาวะที่จิตปราศจากความกำ�หนัดรักใคร่ หรือภาวะทีฟ่ อกจติ จากนา้ํ ยอ้ มคือกิเลสกามได้อยา่ งเดด็ ขาด ธรรมที่ท�ำ ให้สิ้นก�ำ หนัด จดั เป็นวริ าคะ ๗. นิโรโธ (นิโรธ) ความดับ หมายถึง ความดับตัณหา หรือความดับทุกข์ ธรรมท่ีดับตัณหา จัดเปน็ วิราคะ ๘. นิพฺพานํ (นิพพาน) ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้ หมายถึง ภาวะจิตท่ีดับกิเลสและ กองทุกข์ไดส้ ้นิ เชิง อนั เปน็ จดุ หมายสงู สุดของพระพทุ ธศาสนา ในท่นี ี้เพยี งแตน่ �ำ ค�ำ มาเปน็ ไวพจนข์ องวิราคะ เท่านน้ั รายละเอยี ดจะกล่าวในหัวขอ้ ว่าดว้ ย นิพพาน การปฏิบัติ รู้จักควบคมุ ตนเอง มีสติเตือนตนไมใ่ ห้เกดิ ความอยากทเ่ี ป็นเหตุแห่งทกุ ข์ แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ชั้นเอก วิชาธรรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook