194 แบบประเมนิ ผลงาน ๑ คะแนน ข้อ ที่ ใบกจิ กรรมที่ ๙ ตอบคำ�ถามถูกต้องและ ๓ คะแนน ตรงประเด็นนอ้ ย ๑-๑๐ ตอบคำ�ถามถูกต้อง ระดบั คะแนน ตรงประเดน็ ๒ คะแนน ตอบคำ�ถามถกู ตอ้ ง ตรงประเดน็ ส่วนใหญ ่ เกณฑ์การตัดสิน เกณฑ์ ร้อยละ คะแนน ผา่ น ๖๐ ข้ึนไป ๑๘ - ๓๐ ไมผ่ า่ น ตา่ํ กวา่ ๖๐ ๐ - ๑๗ หมายเหตุ เกณฑก์ ารตดั สนิ สามารถปรบั ใชต้ ามความเหมาะสมกบั กลมุ่ เปา้ หมาย แบบประเมนิ ผลการเรียนรู้ แบบทดสอบหลังเรยี น เกณฑ์การประเมิน ตอบถกู ได้ ๑ คะแนน ตอบผิดได้ ๐ คะแนน เกณฑ์ เกณฑก์ ารตัดสิน คะแนน ผ่าน รอ้ ยละ ๓-๕ ไมผ่ ่าน ๖๐ ขนึ้ ไป ๐-๒ ตา่ํ กวา่ ๖๐ แนวทางการจดั การเรยี นรูธ้ รรมศึกษา ชนั้ โท วิชาอนุพทุ ธประวตั ิ
195 ใบกจิ กรรมท่ี ๙ เทศกาลส�ำ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา พิธีลอยกระทงตามประทปี พธิ ถี วายผ้าปา่ พิธถี วายกฐนิ กล่มุ ท่ี.................... ชอื่ ......................................................................................ชน้ั .....................เลขท.ี่ .......................... ชอื่ ......................................................................................ชน้ั .....................เลขท.่ี .......................... ชอ่ื ......................................................................................ชน้ั .....................เลขท.ี่ .......................... ชอื่ ......................................................................................ชนั้ .....................เลขท.่ี .......................... คำ�ชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำ�ถามตอ่ ไปนี้ จำ�นวน ๑๐ ขอ้ (๓๐ คะแนน) ๑. การลอยกระทงตามประทีป เปน็ การลอยกระทงเพ่ืออะไรในสมยั สุโขทัย .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๒. ผา้ ป่าและผา้ อจั เจกจีวร ได้แก่ผา้ อะไร .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๓. การทอดผา้ ป่ากำ�หนดเวลาในการทอดไว้หรือไม่ .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๔. ผา้ จำ�น�ำ พรรษา คือผ้าอะไร .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. แนวทางการจดั การเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ช้นั โท วชิ าอนพุ ทุ ธประวัติ
196 ๕. กฐินโจร หรือ กฐินโจล มคี วามหมายถึงกฐินแบบไหน มขี น้ั ตอนอยา่ งไร .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๖. กฐินราษฎรแ์ ละกฐนิ หลวง มคี วามแตกต่างกนั อยา่ งไร .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๗. จุลกฐนิ คือกฐินอะไร มีชอ่ื เรียกอีกอย่างว่าอะไร มีขนั้ ตอนอยา่ งไร .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๘. วดั ที่กำ�หนดให้รบั กฐินหลวงได้แก่วัดอะไรบ้าง .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๙. กฐินตน้ และกฐนิ พระราชทาน มคี วามแตกตา่ งกนั อย่างไร .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ๑๐. ทำ�ไมจึงตอ้ งปกั ธงรูปจระเขเ้ ปน็ สัญลักษณ์ในเทศกาลทอดกฐนิ .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. แนวทางการจัดการเรยี นรธู้ รรมศึกษา ชน้ั โท วิชาอนพุ ทุ ธประวัติ
197 เฉลยใบกจิ กรรมท่ี ๙ เทศกาลส�ำ คญั ทางพระพุทธศาสนา ๑. การลอยกระทงตามประทปี เปน็ การลอยกระทงเพ่อื อะไรในสมยั สโุ ขทัย ตอบ เพอ่ื บูชารอยพระพทุ ธบาทในวนั เพญ็ เดือน ๑๒ ๒. ผา้ ป่าและผา้ อจั เจกจีวร ได้แก่ผ้าอะไร ตอบ ผ้าป่า หมายถึง ผ้าเปือนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ทิ้งอยู่ตามป่าดงบ้างตามป่าช้าบ้าง ตามถนนหนทางและห้อยย้อยอยู่ตามก่ิงไม้บ้าง ผ้าอัจเจกจีวร หมายถึง ผ้าจำ�นำ�พรรษาที่ ทายกรับด่วนถวายก่อนกำ�หนดกาล คือ ถวายก่อนออกพรรษา ๓. การทอดผา้ ป่าก�ำ หนดเวลาทอดไวห้ รือไม่ ตอบ ไมม่ กี ำ�หนดเวลา มีศรทั ธาเมื่อไรก็ถวายได้ ๔. ผ้าจำ�นำ�พรรษาคือผ้าอะไร ตอบ ผา้ จ�ำ นำ�พรรษา คือ ผา้ ทีท่ ายกถวายแก่ภกิ ษผุ ู้อยู่จำ�พรรษาครบ ๓ เดือนเว้นผา้ กฐิน ๕. กฐินโจร หรือ กฐินโจล มคี วามหมายถงึ กฐนิ แบบไหน มีขนั้ ตอนอย่างไร ตอบ เปน็ กฐนิ ทพี่ ทุ ธศาสนกิ ชนท�ำ ขน้ึ ในวนั จวนจะหมดเขตกฐนิ กาล ราววนั ขน้ึ ๑๔ คาํ่ หรอื ๑๕ คา่ํ ดว้ ยการสบื หาวดั ทย่ี งั ไมไ่ ดร้ บั การทอดกฐนิ เปน็ การจโู่ จมไมใ่ หพ้ ระสงฆร์ ลู้ ว่ งหน้า สว่ นวธิ กี าร ทอดเหมอื นการทอดกฐินทวั่ ไป ๖. จุลกฐนิ คือกฐนิ อะไร มชี ือ่ เรยี กอกี อย่างว่าอะไร มีขน้ั ตอนอยา่ งไร ตอบ เปน็ กฐนิ อย่างหนง่ึ พุทธศาสนกิ ชนจัดท�ำ ขน้ึ มาเป็นพเิ ศษ เรมิ่ ต้ังแต่เก็บฝา้ ยมาปัน่ ทอเป็นผนื กะ ตัด เย็บ ย้อม ทำ�เป็นผ้ากฐินให้เสร็จภายในวันเดียว ในบางท้องถิ่น เรียกว่า กฐินแล่น ซงึ่ แปลว่ารบี ด่วน ๗. กฐนิ ตน้ และกฐนิ พระราชทาน มคี วามแตกตา่ งกันอยา่ งไร ตอบ กฐินต้น หมายถึง พระกฐินท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำ�เนินไปทอด เป็นการสว่ นพระองค์ ณ วดั ราษฎร์ ตามพระราชอัธยาศัย ส่วนใหญ่เป็นวัดในพ้ืนท่ตี า่ งจงั หวัด ไม่เคยเสดจ็ พระราชดำ�เนนิ ถวายผา้ พระกฐินมาก่อน กฐนิ พระราชทาน หมายถงึ กฐนิ ทรงพระราชกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานแกห่ นว่ ยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การ สมาคม มลู นิธิ หรอื เอกชน นำ�ไปทอด ณ พระอารามหลวง ตา่ ง ๆ ทวั่ ประเทศ แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ช้นั โท วชิ าอนพุ ทุ ธประวัติ
198 ๘. วัดทีก่ ำ�หนดให้รบั กฐนิ หลวงได้แกว่ ดั อะไรบา้ ง ตอบ วัดที่กำ�หนดให้รับกฐินหลวงได้แก่วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วดั พระเชตพุ น ฯ วดั มกฎุ กษตั รยิ าราม วดั มหาธาตยุ วุ ราชรงั สฤษฎ์ิ วดั ราชบพติ ร วดั ราชประดษิ ฐ์ วัดอรุณราชวราราม วัดราชาธิราช วัดสุทัศนเทพวราราม วัดราชโอรสาราม วัดนิเวศ- ธรรมประวตั ิ วดั สวุ รรณดาราราม วดั พระปฐมเจดีย์ วดั พระศรรี ตั นมหาธาตุ ๙. กฐนิ ราษฎรแ์ ละกฐินหลวง มคี วามแตกตา่ งกนั อยา่ งไร ตอบ กฐนิ ราษฎร์ เปน็ กฐินท่ีประชาชนมีจิตศรัทธาแจ้งความประสงคจ์ ะทอดกฐนิ โดยการจองกฐนิ เป็นลายลกั ษณ์อกั ษร มกั จะนำ�ไปทอด ณ วัดราษฎร์ ส�ำ นกั สงฆ์ หรอื ท่ีพักสงฆ์ กฐนิ หลวง หมายถงึ พระกฐนิ ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั เสดจ็ ไปทอดดว้ ยพระองคเ์ อง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้แทนพระองค์ เช่นพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี น�ำ ไปทอด แบง่ ออกเป็น กฐินหลวงกำ�หนดเปน็ งานพธิ ี กฐินต้น และกฐนิ พระราชทาน มกั จะ ทอด ณ พระอารามหลวงต่าง ๆ ท่ัวประเทศ ๑๐. ทำ�ไมจึงต้องปกั ธงรปู จระเขเ้ ป็นสัญลักษณใ์ นเทศกาลทอดกฐิน ตอบ เหตผุ ลทต่ี อ้ งปกั ธงรปู จระเขเ้ ปน็ สญั ลกั ษณใ์ นเทศกาลทอดกฐนิ เพราะจระเขอ้ ยากท�ำ บญุ ดว้ ย แตไ่ ม่สามารถว่ายนํา้ ตามเรอื ที่จะน�ำ กฐนิ ไปทอดได้ แนวทางการจัดการเรยี นรูธ้ รรมศึกษา ช้นั โท วิชาอนพุ ุทธประวตั ิ
199 แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ผลการเรยี นรูท้ ่ี ๘ รูแ้ ละเข้าใจ เห็นความสำ�คัญของเทศกาลส�ำ คญั ทางพระพุทธศาสนา จำ�นวน ๕ ขอ้ คะแนน ๕ คะแนน คำ�ชแ้ี จง ใหน้ กั เรยี นเลือกคำ�ตอบทีถ่ ูกตอ้ งท่ีสดุ เพียงข้อเดียว ๑. ผา้ ป่าในสมัยพุทธกาล คอื ผา้ ชนิดใด ก. ผ้าวัสสกิ สาฎก ข. ผ้าอาบนา้ํ ฝน ค. ผา้ บงั สกุ ุลจวี ร ง. ผา้ อจั เจกจวี ร ๒. การทอดกฐิน หมดเขตกลางเดือนใด ก. เดอื น ๑๑ ข. เดือน ๑๒ ค. เดือนอ้าย ง. เดือนยี่ ๓. เวจกุฎี หมายถึงสถานท่ใี ด ก. หอ้ งนอน ข. ห้องรบั แขก ค. หอ้ งพยาบาล ง. หอ้ งสุขา ๔. ผ้าที่พระสงฆพ์ จิ ารณาในพธิ ีท�ำ บญุ ทอดผา้ ปา่ เรียกว่าอะไร ก. ผา้ บังสกุ ุล ข. ผ้าอาบน้ําฝน ค. ผ้าจำ�น�ำ พรรษา ง. ผา้ กฐนิ ๕. ผา้ วัสสกิ สาฎก คือผ้าเช่นไร ก. ผ้าเชด็ หนา้ ข. ผา้ เช็ดเทา้ ค. ผา้ อาบนํา้ ฝน ง. ผ้าปูน่งั แนวทางการจัดการเรยี นร้ธู รรมศกึ ษา ช้นั โท วิชาอนพุ ุทธประวัติ
200 เฉลยแบบทดสอบวดั ผลการเรยี นรู้ ผลการเรียนร้ทู ี่ ๘ รู้และเข้าใจ เห็นความสำ�คัญของเทศกาลส�ำ คญั ทางพระพุทธศาสนา ข้อ ๑ ค ข้อ ๒ ข ขอ้ ๓ ง ขอ้ ๔ ก ขอ้ ๕ ค แนวทางการจดั การเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ชั้นโท วชิ าอนุพทุ ธประวัติ
201 ใบความรู้ท่ี ๒๑ เทศกาลสำ�คญั ทางพระพุทธศาสนา บทที่ ๔ เทศกาลสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา พิธีลอยกระทงตามประทีป การลอยกระทงตามประทีป เป็นประเพณีมมี าแตโ่ บราณ ส�ำ หรบั ประเทศไทย มหี ลักฐานการจดั พิธีลอยกระทงต้ังแต่สมัยสุโขทัย วัตถุประสงค์เพ่ือบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ซึ่งประดิษฐาน อยรู่ มิ ฝง่ั แมน่ าํ้ นมั มทาในชมพทู วปี อกี นยั หนง่ึ เพอื่ ขอขมาพระแมค่ งคา ซงึ่ พวกเราอาศยั ใชส้ อยในการด�ำ รงชพี เป็นการแสดงวา่ คนไทยเป็นผู้มีความกตัญญูต่อสง่ิ ให้ประโยชนต์ น แมเ้ ป็นสิ่งไม่มชี ีวิตก็ตาม คตคิ วามเชอื่ ทางพทุ ธศาสนา ในอรรถกถาปณุ โณวาทสตู รกลา่ วว่า สมัยหน่ึง พระพทุ ธเจ้าเสดจ็ ไปยงั แม่นํา้ นมั มทา พญานัมมทา นาคราช ทลู อาราธนาใหเ้ สด็จไปส่นู าคพิภพด้วยความศรัทธาเลอื่ มใส เพอ่ื ถวายบชู าสกั การะ พระองคเ์ สดจ็ ไปตรัสเทศนาโปรดพญานาคราชพร้อมบริวารแล้ว ขณะเสด็จกลับ พญานาคราชได้กราบทูลขอสิ่งระลึก อย่างใดอย่างหน่ึง เพื่อเป็นอนุสาวรีย์สำ�หรับบูชาสักการะ ในกาลต่อไป พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ตาม ความประสงค์ โดยประดิษฐานรอยฝ่าพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่นํ้านัมมทานั้น ให้เป็นที่สักการบูชาของ พญานมั มทานาคราชและบริวารสบื มา ความเปน็ มาของพธิ ีลอยกระทงตามประทปี พธิ ลี อยกระทงของไทย เรม่ิ มมี าตง้ั แตส่ มยั กรงุ สโุ ขทยั เปน็ ราชธานี ในรชั สมยั ของ พระมหาธรรมราชา- ลิไทท่ี ๕ นิยมทำ�กันเป็นประเพณี ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยปรากฏในหนังสือ ตำ�หรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไท และเป็นพระธิดาของพระศรีมโหสถ ตำ�แหน่งราชครู ตระกูลพราหมณ์ ได้เรียบเรียงเร่ืองเก่ียวกับราชประเพณี ๑๒ เดือน ในราชสำ�นักพระมหาธรรมราชาลิไท ความตอนหนง่ึ วา่ ถงี วนั เพญ็ เดอื น ๑๒ พระรว่ งเจา้ รบั สงั่ ใหบ้ รรดาพระสนมนางใน เถา้ แกแ่ มท่ า้ วทง้ั หลาย ตกแต่งประดบั กระทงดอกไม้ธูปเทียน นำ�ลอยน้ําหนา้ พระทน่ี ัง่ ตามประเพณขี องกษัตริยโ์ บราณทม่ี มี า จากข้อความน้ีแสดงว่า การลอยกระทงตามประทีป เพ่ือบูชารอยพระพุทธบาทในวันเพ็ญ เดอื น ๑๒ ของไทย ท�ำ กนั มาแตค่ รัง้ กรุงสุโขทยั เปน็ ราชธานี และในหนังสอื พระราชพธิ ี ๑๒ เดือน พระราช นิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ ก็ทรงกล่าวถึงพิธีลอยกระทงตามประทีปไว้ แสดงวา่ พิธีนไี้ ด้ปฏบิ ัตติ อ่ เนอื่ งมาโดยตลอด แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชน้ั โท วิชาอนพุ ทุ ธประวัติ
202 พิธีลอยกระทงตามประทีป เรียกกันท่ัวไปว่า งานลอยกระทง ในภาคเหนือจัดเป็นงานใหญ่เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เรียกว่า งานประเพณียี่เป็ง ถือเป็นงานประเพณีสำ�คัญของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชาวไทย และชาวต่างชาติรู้จักกันดี จังหวัดอ่ืน ๆ ทางภาคเหนือก็ได้จัดงานประเพณีลอยกระทงเช่นเดียวกัน ส่วน จงั หวดั สโุ ขทยั เปน็ ตน้ ต�ำ หรบั ของพธิ ลี อยกระทงตามประทปี ไดจ้ ดั งานประเพณี เผาเทยี นเลน่ ไฟ เปน็ งานใหญ่ ประจำ�ปีของจังหวัดในช่วงเทศกาลลอยกระทง เป็นงานประเพณีมีช่ือเสียงเป็นที่รู้จักกันดีของนักท่องเที่ยว ทัว่ โลก ก่อนลอยกระทงตามประทีปบูชาพระพุทธบาท โบราณมีการกล่าวคำ�บูชาด้วย ปัจจุบันการลอย กระทงโดยทวั่ ไป เปน็ เรือ่ งเฉพาะบคุ คล เฉพาะคนหนมุ่ สาวจะชวนกันไปลอยกระทงเปน็ คู่ ๆ และส่วนใหญ่ จะอธิษฐานเกี่ยวกับความรัก จึงทำ�ให้ไม่ค่อยมีคนนึกถึงวัตถุประสงค์แท้จริง ของประเพณีการลอยกระทง ตามธรรมเนยี มโบราณ พธิ ถี วายผ้าปา่ คำ�ว่า ผ้าป่า ในสมัยพุทธกาล เรียกว่า บังสุกุลจีวร หรือผ้าบังสุกุล แปลว่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ไม่มี เจ้าของหวงแหน ทิ้งอยู่ตามถนนหนทาง ในป่าช้า หรือแขวนอยู่ตามกิ่งไม้ในป่า แรกตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ยงั มิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับถวายจีวรจากชาวบ้าน ทรงอนญุ าตเพยี งให้ แสวงหาผา้ บังสกุ ลุ ผา้ เปือ้ นฝุน่ ไม่มีเจ้าของ ผ้าห่อซากศพท้ิงตามป่าช้า และผ้าตกอยู่ตามถนน นำ�มาซักย้อมตัดเย็บเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ อยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ เพอื่ ใชน้ งุ่ หม่ พทุ ธศาสนกิ ชนสมยั นน้ั เหน็ ความล�ำ บากของพระภกิ ษเุ รอ่ื งน้ี มคี วามประสงค์ จะบำ�เพญ็ กศุ ลไม่ขดั ต่อพระพทุ ธบญั ญัติ จึงจัดหาผ้าควรแก่สมณบรโิ ภค นำ�ไปท้งิ ตามสถานทีต่ า่ ง ๆ โดยมาก ตามปา่ หรือป่าช้า ดังน้ัน พุทธศาสนกิ ชนชาวไทย จึงนิยมเรยี กกนั วา่ ผา้ ปา่ ประเภทของผ้าปา่ พิธีทอดผ้าป่าในประเทศไทย มีปฏิบัติกันหลายแบบ ไม่จำ�กัดกาลเหมือนพิธีถวายผ้ากฐิน เดิม การทอดผ้าป่าไม่มีพิธีการอะไร ผู้มีจิตศรัทธาจัดสิ่งของควรแก่สมณบริโภค บรรจุในภาชนะ เช่น กระบุง กระจาด หรือถังสังกะสี ปัจจุบันใช้ถังพลาสติก ปักกิ่งไม้ตรงกลาง แขวนผ้าผืนหนึ่งพาดก่ิงไม้ไว้ สมมุติว่า เป็นป่า ต้ังตามทางพระบิณฑบาตเดินผ่านไปมา หรือนำ�ไปตั้งใกล้วัด ทำ�สัญญาณให้พระสงฆ์ รู้ว่ามีผู้นำ� ผ้าป่ามาถวาย เมื่อพระสงฆ์พิจารณานำ�ไปใช้สอย ก็สำ�เร็จเป็นผ้าป่าทันที ปัจจุบันการทอดผ้าป่าดังกล่าว มกี ารเรียกช่ือตามวิธปี ฏิบัติ ๓ ประเภทดว้ ยกัน คือ ผ้าปา่ โยง ผา้ ป่าหาง และผา้ ปา่ สามัคคี ผ้าป่าโยง เป็นผ้าป่าที่พระพุทธศาสนิกชนมีภูมิลำ�เนาใกล้แม่น้ําลำ�คลองนิยมจัดกัน ในสมัยก่อน ผมู้ จี ติ ศรัทธาคนเดยี วหรอื เปน็ หมคู่ ณะ ทำ�ต้นผ้าป่าจ�ำ นวนหลาย ๆ ตน้ นำ�ใส่เรือลำ�ใหญ่พรอ้ มคณะศรัทธา ใชเ้ รอื ยนตล์ ากจงู ไปตามแมน่ า้ํ หรอื คลอง เมอื่ ถงึ หนา้ วดั จะจอดเรอื น�ำ ตน้ ผา้ ปา่ ไปตง้ั บนศาลาทา่ นา้ํ จดุ ประทดั สัญญาณ เพื่อใหพ้ ระภิกษใุ นวดั น้ันทราบ จากนนั้ ลงเรือแลน่ ต่อไปยงั วดั อืน่ ๆ ตามรมิ นํา้ ปฏิบตั ิเชน่ เดียวกัน จนหมดต้นผ้าป่าท้ังลำ�เรือ จึงเดินทางกลับ เม่ือพระภิกษุในวัดน้ัน ได้ยินเสียงสัญญาณ มาพิจารณาผ้าป่า น�ำ ไปใชส้ อย ถอื วา่ ส�ำ เรจ็ เป็นผา้ ป่า การทอดผ้าปา่ โยงนี้ ไม่มพี ิธีถวายและพระภกิ ษกุ ไ็ ม่ตอ้ งอนุโมทนา แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ช้นั โท วชิ าอนพุ ุทธประวัติ
203 ผา้ ป่าหาง คำ�เต็มว่า ผา้ ปา่ หางกฐิน หรอื ผ้าป่าแถมกฐนิ เปน็ ผา้ ป่าทีเ่ จ้าภาพทอดกฐิน จัดผ้าปา่ ต้นหนึ่ง ประกอบพิธีถวายหลังจากถวายผ้ากฐินเสร็จแล้ว โดยวัตถุประสงค์ให้ทางวัดนำ�ปัจจัยจากต้นผ้าป่า ไปเปน็ คา่ ใชจ้ ่ายเบด็ เตล็ด ในการเตรยี มงานทอดกฐิน ผา้ ปา่ สามคั คี เปน็ ผา้ ปา่ นยิ มจดั กนั มากในปจั จบุ นั มกี ารจดั หาประธานกรรมการ และคณะกรรมการ เปน็ จ�ำ นวนมาก เพอ่ื รวบรวมรายไดจ้ ากการทอดผา้ ปา่ สามคั คี น�ำ ไปใชก้ อ่ สรา้ ง หรอื บรู ณปฏสิ งั ขรณถ์ าวรวตั ถุ ในวัด อาจเรียกไดอ้ ีกอยา่ งหน่งึ ว่า ผา้ ปา่ พัฒนาการ พิธีทอดผ้าป่าต่อหน้าสงฆ์ เช่น ผ้าป่าสามัคคี ต้องทำ�พิธีถวาย ด้วยการนำ�ต้นผ้าป่าข้ึนต้ังบนโต๊ะ หรือสถานท่ีสมควร เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคำ�บูชาพระกราบพระอาราธนาศีล รับศีล กลา่ วคำ�ถวายผ้าป่า จบแลว้ ไม่ต้องยกประเคน นิมนต์พระสงฆ์พิจารณาประเคนจตุปจั จัยไทยธรรม พระสงฆ์ อนโุ มทนา กรวดนํ้ารับพร เป็นอนั เสร็จพิธี คำ�ถวายผา้ ป่า อมิ านิ มะยงั ภันเต ปังสกุ ูละจีวะรานิ สะปะรวิ ารานิ ภกิ ขสุ ังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภกิ ขุสงั โฆ อมิ านิ ปังสุกลู ะจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏคิ คัณหาตุ อัมหากงั ทฆี ะรัตตงั หิตายะ สขุ ายะ. ค�ำ แปล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าท้ังหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร กับบริวารท้ังหลายเหล่านี้ แดพ่ ระภกิ ษสุ งฆ์ ขอพระภกิ ษสุ งฆ์โปรดรบั ผ้าบงั สกุ ลุ จวี ร พรอ้ มทง้ั บรวิ ารทง้ั หลายเหล่าน้ี ของขา้ พเจา้ ทง้ั หลาย เพอื่ ประโยชนแ์ ละความสุข แก่ขา้ พเจ้าท้ังหลายตลอดกาลนาน เทอญ. พธิ ีถวายผ้ากฐิน พิธีถวายผ้ากฐิน เป็นประเพณีทำ�บุญอย่างหนึ่งของไทย ต้องทำ�ในระยะเวลาตามกำ�หนด ในรอบปีหน่งึ ๆ ระหวา่ งวันแรม ๑ คาํ่ เดอื น ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๒ รวม ๑ เดือน เรยี กว่า กฐินกาล จะทำ�ก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้ และวัดหน่ึง ๆ ปีหนึ่งรับกฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่าน้ัน เรียกอย่างสามัญว่า ทอดกฐิน ความหมายและเหตเุ กิดการทอดกฐิน กฐิน เป็นภาษามคธ แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำ�หรับขึงผ้าให้พระภิกษุตัดเย็บจีวรได้ สะดวกข้ึน เนื่องจากสมัยก่อน เคร่ืองมือใช้เย็บผ้าไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน การเย็บจีวรเป็นการเย็บผ้า หลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนกระทงนา จึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้าให้ตึง ดังน้ัน ผ้าที่เย็บโดยอาศัยไม้สะดึงน้ี จึงเรียกว่า ผ้ากฐิน และยังใช้เรียกผ้ากฐิน ตามความหมายเดิมเรื่อยมา จนถงึ ปจั จบุ นั แมจ้ ะมผี า้ ตดั เยบ็ ส�ำ เรจ็ รปู โดยไมต่ อ้ งอาศยั ไมส้ ะดงึ กต็ าม นอกจากน้ี ค�ำ วา่ กฐนิ ยงั มคี วามหมาย แตกออกไปอกี หลายอย่าง พอสรปุ ได้ ดงั นี้ แนวทางการจดั การเรยี นร้ธู รรมศึกษา ช้นั โท วิชาอนุพทุ ธประวัติ
204 ๑. เป็นชือ่ ของกรอบไม้สะดงึ ส�ำ หรบั ขึงผ้าตัดเย็บสังฆาฏิ จีวร สบง ของพระสงฆ์ ๒. เปน็ ชื่อของผ้าถวายแกส่ งฆ์ เรยี กว่า ผ้ากฐนิ ๓. เป็นชื่อสังฆกรรมในพธิ รี บั กฐิน เรียกว่า กฐินกรรม ๔. เปน็ ช่อื ชว่ งเวลาตง้ั แต่แรม ๑ ค่าํ เดอื น ๑๑ ถงึ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๒ เรียกว่า กฐนิ กาล เร่ืองกฐิน เดิมเป็นของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาจากสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่มีใคร เป็นเจ้าของ ด้วยวิธีบังสุกุล นำ�ผ้าน้ันมาเย็บย้อมใช้สอยเอง ต่อมาพุทธศาสนิกชนมีจิตศรัทธานำ�ผ้ามาถวาย พระพุทธเจา้ ทรงอนุญาตผ้าที่พุทธศาสนิกชนนำ�มาถวายและให้กรานเป็นกฐินได้ เป็นเหตุให้พุทธศาสนิกชน ไดบ้ ำ�เพญ็ กุศลการทอดกฐนิ สืบมาตามลำ�ดับ ค�ำ ว่า ทอด คือ น�ำ ไปวาง การทอดกฐิน จงึ หมายถงึ การนำ�ผา้ กฐนิ ไปวางตอ่ หน้าพระสงฆ์จ�ำ นวน อย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ต้ังใจถวายพระภิกษุรูปใดรูปหน่ึงเป็นการเฉพาะ ในพระไตรปิฎก ตอนว่าด้วย กฐนิ ขนั ธกะ ไดก้ ล่าวมลู เหตุการทอดกฐินไว้ว่า สมัยหนึ่ง พระภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายประจำ�เมืองสาวัตถี ชวนกันเดินทางมา พอถึง เมืองสาเกต ห่างจากเมืองสาวัตถี ๖ โยชน์ (๙๖ กิโลเมตร) จวนถึงวันเข้าพรรษา จะเดินทางต่อไปก็ไม่ทัน จึงต้องจำ�พรรษาท่ีเมืองสาเกต ระหว่างจำ�พรรษาก็ร้อนใจจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อออกพรรษาปวารณา แล้ว รีบเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที ขณะน้ันฝนยังตกชุกอยู่ พ้ืนดินเต็มไปด้วยนํ้าหล่มเลน ทำ�ให้จีวร เปรอะเป้ือน พอมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธองค์ตรัสถามถึงการเดินทางและ ความยากลำ�บากอ่ืน ๆ ภิกษุเหล่านั้นทูลให้ทรงทราบถึงความกระวนกระวายจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และรีบเดนิ ทางมา จนจวี รเปรอะเปือ้ นไปด้วย โคลนตม พระพุทธองค์ทรงยกข้นึ เปน็ เหตุ และมพี ุทธานุญาต ให้มีการถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ นับต้ังแต่น้ันเป็นต้นมา โดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นบุคคลแรก ในพระพทุ ธศาสนา ขอรบั เป็นเจ้าภาพผา้ กฐินถวายพระภิกษุชาวเมืองปาฐา ทงั้ ๓๐ รปู เหลา่ นนั้ ประเภทของกฐนิ กฐิน แบง่ เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ ๑. กฐินหลวง คือ กฐินพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำ�เนินไปทอดถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานแก่ผู้ขอรับพระราชทานนำ�ไปทอด ณ พระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วประเทศ ๒. กฐนิ ราษฎร์ คือ กฐนิ ผมู้ ีจติ ศรัทธาน�ำ ไปทอด ณ วัดราษฎร์ สำ�นักสงฆ์ หรือท่ีพักสงฆ์ คณุ สมบัติของวัดรบั กฐินได้ ๑. มีพระภิกษุจ�ำ พรรษาอย่างนอ้ ย ๕ รูป ถา้ มไี ม่ครบอาจนิมนต์จากวดั อื่นมาเพ่มิ ได้บา้ ง ๒. พระภกิ ษตุ ้องอยู่จ�ำ พรรษาครบไตรมาสหรอื ๓ เดอื น แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ช้นั โท วิชาอนุพุทธประวตั ิ
205 ความเปน็ มาของประเพณกี ารทอดกฐนิ พทุ ธศาสนกิ ชนชาวไทยทกุ ระดบั ชน้ั ตง้ั แตพ่ ระมหากษตั รยิ ์ พระบรมวงศานวุ งศ์ ขนุ นาง ขา้ ราชการ พอ่ คา้ ประชาชน ถอื กนั ว่าการถวายผ้ากฐินหรือทอดกฐนิ เป็นบญุ ใหญ่มีอานิสงสม์ าก ทงั้ เปน็ การท�ำ นุบ�ำ รงุ พระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง จึงได้มีการจัดพิธีถวายผ้ากฐินเป็นงานใหญ่ ทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ ตั้งแต่ สมยั กรงุ สุโขทยั เปน็ ราชธานี ดังความในศิลาจารึกว่า “คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำ�แหง เจ้าเมืองสุโขทัยน้ี ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท้งั ทว่ ยป่ัวท่วยนาง ลูกเจา้ ลูกขนุ ทั้งส้ินท้งั หลาย ทงั้ ผชู้ ายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาใน พระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เม่ือออกพรรษาเดือนหน่ึงจึงแล้ว เม่ือกรานกฐิน มีพนมเบ้ีย พนมหมาก มพี นมดอกไม้ มหี มอนนงั่ มหี มอนนอน บรพิ ารกฐนิ โอยทาน แลป่ แี ลญ้ บิ ลา้ น ไปสวดญตั ตกิ ฐนิ ถึงอรัญญกิ พู้น เม่ือจะเข้ามาเวียง เรยี งกันแตอ่ รัญญกิ พ้นู เถา้ หวั ลานด�ำ บงดำ�กลอย ดว้ ยเสียงพิณพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเลน่ เลน่ ใครจกั มักหัว หวั ใครจักมักเล่ือน เล่ือน เมอื งสุโขทัยนี้ มีส่ีปากประตูหลวง เทียนญอมคนเสียดกนั เข้าไปดูท่านเผาเทยี นเล่นไฟ เมืองสโุ ขทัยนดี้ ังจักแตก” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ประเพณีการทอดกฐินนี้ ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา มิได้ขาด ทั้งเป็นของประชาราษฎร์และของหลวง กระท่ังเลยล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ถือเป็นงานบุญ งานกุศลย่ิงใหญ่ นอกจากมผี า้ เปน็ องค์กฐนิ แลว้ จดั เครอื่ งบรวิ ารกฐินเพ่มิ อกี มาก เช่น บาตร ที่นอน หมอน มุ้ง กานํ้าชา กระตกิ นํ้ารอ้ น กระเป๋า ชาม ช้อน และเคร่ืองมอื โยธา เช่น คอ้ น เลื่อย สิ่ว ตะไบ คมี กบไสไม้ ไมก้ วาด สรุปคือ เครื่องกิน เครอ่ื งใช้ เครือ่ งมอื ครบบริบรู ณ์ พรอ้ มจตปุ ัจจัยไทยธรรม ถวายรว่ มกับองคก์ ฐนิ พธิ ีทอดกฐินแตล่ ะวดั เจา้ ภาพนยิ มเชญิ ญาตมิ ิตรและผเู้ คารพนบั ถือไปร่วมอนโุ มทนาบุญโดยทั่วกัน ในศาสนพิธีน้ี จะนำ�กฐินราษฎร์มากล่าวเป็นลำ�ดับแรก เพราะเป็นเร่ืองใกล้ตัวชาวพุทธ ทุกคน เคยไปร่วมพิธที อดกฐินกันโดยมาก ส่วนกฐินหลวงจะกลา่ วในล�ำ ดับถดั ไป กฐนิ ราษฎร์ กฐนิ ราษฎร์แบง่ ออกเปน็ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คอื มหากฐินและจุลกฐิน มหากฐิน เป็นกฐินส่วนบุคคล เจ้าภาพเป็นคหบดีมีศรัทธาออกทุนทรัพย์ของตนและครอบครัว เป็นหลักในการทอดกฐิน นิยมเรียกส้ัน ๆ ว่า กฐิน แต่ถ้าผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมกันออกทุนทรัพย์และ ร่วมกันทอดกฐิน เรยี กวา่ กฐินสามคั คี การทำ�บญุ กฐนิ ก่อให้เกดิ อานสิ งสท์ ัง้ แก่ ผ้ทู อดและพระสงฆ์ ส�ำ หรบั พระสงฆ์ จะได้รับอานิสงส์ตามพระวินัยว่า พระภิกษุกรานกฐินแล้ว สามารถเท่ียวไปไม่ต้องบอกลา ไม่ต้อง ถือไตรจีวรครบสำ�รับ ฉันอาหารคณะโภชน์ปรัมประโภชน์ได้ ใช้สอยอดิเรกจีวรเก็บจีวรส่วนเกินได้ตาม ปรารถนา เม่ือมลี าภเกิดขนึ้ ในวดั ตกเปน็ ของพระภิกษุ ผูจ้ �ำ พรรษากาลและกรานกฐนิ แล้ว ส�ำ หรับเจ้าภาพ ทอดกฐิน เช่ือกันว่าได้บุญมาก เพราะในปีหน่ึงมีเพียงฤดูกาลเดียว คือ ฤดูกาลทอดกฐินเท่านั้น เป็นผลให้ เจ้าภาพมีจติ ใจแจม่ ใส อม่ิ ในบุญกศุ ล นอกจากน้ี ยงั สามารถขจัดความโลภในใจทางออ้ มอกี ดว้ ย แนวทางการจัดการเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ชน้ั โท วชิ าอนพุ ทุ ธประวตั ิ
206 ประเพณีการทอดกฐิน หลังจากทอดกฐินเสร็จแล้ว เจ้าภาพนิยมปักธงรูปจระเข้ไว้ตามวัด เพื่อ เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า วัดน้ีมีคนทอดกฐินแล้ว การปักธงรูปจระเข้เป็นสัญลักษณ์ในเทศกาลทอดกฐิน มีตำ�นานเลา่ ขานไว้ ๒ ทางด้วยกัน เรื่องแรกเล่าว่า สมัยก่อน การเดินทางต้องอาศัยดูดาวเป็นสำ�คัญ เช่น ยกทัพตอนใกล้รุ่ง ต้อง ดูดาวจระเข้ขึ้นตอนใกล้รุ่ง การทอดกฐินก็เหมือนกัน มีการตระเตรียมมาก บางครั้งไปทอดตามวัดไกลบ้าน ต้องเดินทางไกล ฉะนั้น การดูเวลาต้องอาศัยดูดาว พอดาวจระเข้ปรากฏบนฟ้า ก็เคล่ือนองค์กฐินไปสว่าง ท่ีวัดพอดี ต่อมามีผู้คิดทำ�ธงในงานกฐิน ชั้นต้นคงทำ�ธงทิวประดับให้งาม ภายหลังหวังใช้เป็นเครื่องหมาย ทอดกฐนิ จึงทำ�เปน็ ธงรูปจระเข้ขึ้น อีกเร่ืองหนึ่งเลา่ ว่า ในการแห่กฐินทางเรือของอุบาสกคนหนึ่ง จระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญ อุตสาห์ ว่ายนํ้าตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดหมดกำ�ลังก่อน ว่ายตามต่อไปไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า ตนไมส่ ามารถว่ายตามไปรว่ มการกศุ ลตอ่ ไปได้ ชว่ ยเขียนรูปของตนเปน็ สักขีพยานว่า ได้ไปร่วมการกุศลด้วย อบุ าสกนัน้ จึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเปน็ ธงขึ้นในวดั เปน็ ครงั้ แรก ภายหลงั มีการทำ�ธงรูปจระเข้ปักในงานกฐนิ สืบตอ่ กนั มา จุลกฐิน เป็นกฐินอย่างหนึ่ง พุทธศาสนิกชนทำ�กันขึ้นมาเป็นพิเศษ ต่างจากกฐินทั่วไป กล่าวคือ เริ่มตง้ั แตเ่ กบ็ ฝา้ ยมาปนั่ ทอเป็นผืน กะ ตัดเย็บ ยอ้ ม ทำ�เป็นผา้ กฐนิ ให้เสรจ็ ในวนั เดียว จลุ กฐนิ จึงหมายถึง ผ้าทำ�สำ�เร็จมาจากส่ิงเลก็ ๆ น้อย ๆ ในบางทอ้ งถ่ินเรียกว่า กฐินแล่น แปลวา่ รีบดว่ น เพราะจุลกฐนิ ต้องเร่ง ท�ำ ใหเ้ สร็จภายในวันน้นั มักทำ�ในระยะจวนหมดเขตการทอดกฐิน เชน่ ในวนั ข้ึน ๑๔ ค่าํ ๑๕ คํา่ เดอื น ๑๒ กฐินอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า กฐินโจร หรือ กฐินโจล เป็นกฐินที่พุทธศาสนิกชนทำ�ขึ้น ในวัน จวนจะหมดเขตกฐินกาล ราววันข้ึน ๑๔ ค่ํา ๑๕ คํ่า เดือน ๑๒ ด้วยการสืบหาวัดยังไม่ได้รับการทอดกฐิน และจัดหาผ้ากฐินไปทอด เรียกว่า กฐินตก กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร เพราะเป็นวัดตกค้างไม่มีผู้ใดมา ทอดกฐิน ตามธรรมดาการทอดกฐิน ต้องบอกกล่าวพระภิกษุสงฆ์ในวัดนั้นให้ทราบล่วงหน้า จะได้เตรียม การตอ้ นรบั และเพอื่ มใิ หม้ กี ารทอดกฐนิ ซ�ำ้ แตก่ ฐนิ โจรไมม่ กี ารบอกลว่ งหนา้ จู่ ๆ กน็ �ำ ไปทอดเลย เปน็ การจโู่ จม ไม่ให้พระสงฆ์รู้ล่วงหน้า เหมือนการปล้นของโจร ส่วนวิธีการทอดนั้น เหมือนการทอดกฐินทั่วไป เจ้าภาพ กล่าวคำ�ถวายผ้ากฐิน ถวายบริวารกฐิน พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดนํ้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธี การทอดกฐิน ด้วยวิธีนี้ ถือกันว่ามีอานิสงส์มากกว่ากฐินอื่น เพราะเป็นการอนุเคราะห์พระสงฆ์ให้มีโอกาสกรานกฐินตาม พระวนิ ยั การเตรียมงานทอดกฐินราษฎร์ เมื่อเจ้าภาพมีจิตศรัทธาจะทอดกฐิน เบ้ืองต้นต้องจองกฐินก่อน แจ้งความประสงค์ให้วัดทราบว่า จะมาทอดกฐินวัดน้ี การจองกฐินควรทำ�หนังสือเป็นหลักฐาน แต่ถ้าเจ้าภาพกับทางวัดคุ้นเคยกัน จะจอง ด้วยวาจาก็ได้ พร้อมนัดวันเวลาทำ�พิธีทอดกฐิน ทำ�ป้ายติดประกาศไว้หน้าวัด ให้พุทธศาสนิกชนรับทราบ จัดเตรียมไตรจีวรเป็นผ้ากฐิน ใหถ้ ูกตอ้ งตามประเภทของวดั คอื มหานิกายหรอื ธรรมยตุ เพราะวัดธรรมยุต ใชผ้ ้าไตร ๒ ชนั้ จัดเตรียมบริวารกฐนิ ตามความศรทั ธา กอ่ นวันทอดกฐนิ จะมีพธิ ฉี ลององค์กฐนิ และมหรสพ สมโภชดว้ ยก็ได้ ขึ้นอย่กู ับเจ้าภาพ แนวทางการจัดการเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ชั้นโท วชิ าอนุพทุ ธประวัติ
207 ลำ�ดบั พธิ ีทอดกฐินราษฎร์ ครั้นถงึ ก�ำ หนดวันทอดกฐนิ เจา้ ภาพพร้อมญาตมิ ิตรและผเู้ ขา้ รว่ มพธิ ี น�ำ ผ้ากฐนิ และ บรวิ ารกฐนิ ไปจัดตง้ั ณ สถานทต่ี ามก�ำ หนด เช่น อโุ บสถ ศาลาการเปรยี ญ อาราธนาพระสงฆน์ ่ังประจ�ำ อาสนะ ประธาน หรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรนำ�บูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล รับศีล ถวายผ้าห่ม พระประธานมอบให้ไวยาวัจกรนำ�ไปห่มพระประธาน ต่อจากน้ันประธานหรือพิธีกรกล่าวนำ�ถวายกฐิน ยกผ้ากฐินประเคนพระสงฆร์ ูปท่ี ๒ ประเคนเทยี นสวด พระปาติโมกข์ (ถ้ามี) พระสงฆ์ประกอบพธิ ีกรานกฐิน คือ อปโลกน์องค์ครองกฐินฉลองศรัทธาเจ้าภาพ เสร็จแล้วองค์ครองออกไปครองผ้ากฐิน กลับมานั่ง ตามเดมิ ประธานประเคนบริวารกฐนิ แดอ่ งค์ครองกฐิน พระสงฆ์อนโุ มทนา กรวดนํ้ารบั พร เปน็ อนั เสร็จพิธี ค�ำ ถวายผา้ กฐิน (แบบที่ ๑) อิมงั สะปะริวารงั กะฐินะทุสสงั สังฆัสสะ โอโณชะยามะ ทตุ ยิ มั ปิ อมิ ัง สะปะริวารัง กะฐนิ ะทสุ สัง สงั ฆสั สะ โอโณชะยามะ ตะติยัมปิ อมิ ัง สะปะริวารงั กะฐินะทุสสัง สงั ฆัสสะ โอโณชะยามะ. ค�ำ แปล ขา้ พเจ้าทัง้ หลาย ขอนอ้ มถวายผา้ เพอื่ กฐิน พรอ้ มท้งั บรวิ ารน้ี แดพ่ ระสงฆ์. คำ�ถวายผา้ กฐนิ (แบบท่ี ๒) อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตวา จ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทฆี ะรัตตงั หติ ายะ สุขายะ. ค�ำ แปล ขา้ แตพ่ ระสงฆผ์ ูเ้ จรญิ ขา้ พเจา้ ทั้งหลาย ขอน้อมถวายผา้ เพ่อื กฐนิ พรอ้ มท้งั บรวิ ารนี้ แดพ่ ระสงฆ์ ขอพระสงฆ์โปรดรับผ้าเพ่ือกฐิน พร้อมท้ังบริวารน้ี ของข้าพเจ้าทั้งหลาย คร้ันรับแล้วโปรดกรานกฐินด้วย ผา้ น้ี เพ่อื ประโยชน์และความสุข แกข่ ้าพเจ้าทง้ั หลายตลอดกาลนาน เทอญ. พระกฐนิ หลวง กฐินหลวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กฐินหลวงกำ�หนดเป็นงานพระราชพิธี กฐินต้นและ กฐินพระราชทาน กฐินหลวงกำ�หนดเป็นงานพระราชพิธี หมายถึง พระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสดจ็ พระราชด�ำ เนนิ ไปทอดดว้ ยพระองคเ์ อง หรอื ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหผ้ แู้ ทนพระองค์ เชน่ พระบรม วงศานวุ งศ์ องคมนตรี น�ำ ไปทอดตามพระอารามหลวงส�ำ คัญทัง้ ๑๖ พระอาราม ในเขตกรงุ เทพมหานคร ๑๒ วัด ได้แก่ วัดบวรนิเวศวหิ าร วดั เทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วดั พระเชตุพน ฯ วดั มกุฏกษัตรยิ าราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ิ วัดราชบพิธ วัดราชประดิษฐ์ วัดอรุณราชวราราม วัดราชาธิวาส วัดสุทัศน- แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ช้ันโท วิชาอนุพทุ ธประวตั ิ
208 เทพวราราม วัดราชโอรสาราม ในต่างจังหวดั ๔ วดั ได้แก่ วัดนิเวศธรรมประวตั ิ วดั สวุ รรณดาราราม จงั หวัด พระนครศรอี ยธุ ยา วดั พระปฐมเจดีย์ จงั หวัดนครปฐม วดั พระศรีรตั นมหาธาตุ จังหวดั พิษณุโลก การเสดจ็ พระราชดำ�เนินถวายพระกฐนิ หลวง การเสด็จพระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐิน ถือเป็นพระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์โดยตรง ซ่ึงในปีหน่ึง ๆ เม่ือถึงเทศกาลออกพรรษาแล้ว ราษฎรจะพากันไปทอดกฐินตามวัดตา่ ง ๆ พระมหากษัตริย์ ก็มีวัดต้องเสด็จ ฯ ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยเช่นกัน เรียกกันว่า พระอารามหลวง มีจำ�นวนมาก แต่ได้มี การสงวนพระอารามหลวงไว้ ส�ำ หรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำ�เนิน ไปถวายดว้ ยพระองค์เอง จำ�นวน ๑๖ พระอาราม ดงั ปรากฏช่อื ข้างต้น การถวายผ้าพระกฐินท้งั ๑๖ พระอารามนี้ พระมหากษัตรยิ ์มิไดเ้ สด็จพระราชด�ำ เนินไปทรงถวาย ทุกพระอาราม จะเสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงถวายเพียง ๑ หรือ ๒ พระอารามเท่าน้ัน ส่วนพระอารามที่ เหลอื ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหพ้ ระบรมวงศานวุ งศเ์ สดจ็ แทนพระองค์ หรอื ใหอ้ งคมนตรี น�ำ ไปถวายตาม พระอารามดงั กล่าว การเตรียมงานพระกฐินหลวง ส�ำ นกั พระราชวงั จะออกหมายก�ำ หนดการแจง้ ใหท้ ราบลว่ งหนา้ วา่ พระมหากษตั รยิ เ์ สดจ็ พระราชด�ำ เนนิ ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามใด วัน เวลาใด สมยั กอ่ นก�ำ หนดวนั แรม ๖ ค่าํ เดอื น ๑๑ เป็นวนั แรก ในการเสด็จพระราชดำ�เนินทอดผ้าพระกฐิน แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ เพื่อให้ทางวัดเตรียมการรับเสด็จ พระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐิน พร้อมวางฎีกานิมนต์พระสงฆ์ ในวัดนั้น ๆ ลงอนุโมทนากฐินด้วย และใน หมายกำ�หนดการน้ัน ถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติราชกิจแทน จะแจ้งนาม ผแู้ ทนพระองคด์ ว้ ย รวมถงึ การแตง่ กายของเจา้ หนา้ ทส่ี ว่ นงานตา่ ง ๆ ซงึ่ มหี นา้ ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั พระราชพธิ ดี งั กลา่ ว เม่อื ถึงกำ�หนดวันเสดจ็ พระราชด�ำ เนินถวายผ้าพระกฐนิ ส�ำ นกั พระราชวังจะจัดเตรยี มผา้ พระกฐิน พรอ้ มทง้ั เครอื่ งบรวิ ารกฐนิ ตา่ ง ๆ น�ำ ไปตงั้ ภายในพระอโุ บสถ หรอื สถานทรี่ บั ผา้ พระกฐนิ เตรยี มสถานทป่ี ระทบั เตรยี มเครอ่ื งบูชานมัสการ พร้อมท้งั ปฏบิ ตั งิ านในความรบั ผิดชอบ เชน่ ถวายผา้ พระกฐนิ ถวายเทียนชนวน รบั พระราชทานผ้าห่มพระประธาน ถวายพระเต้านาํ้ คือ อปุ กรณส์ �ำ หรบั พระมหากษตั รยิ ์ทรงหลั่งทกั ษโิ ณทก เจ้าหน้าท่ีกรมการศาสนา เตรียมทำ�บัญชีพระสงฆ์จำ�พรรษาในพระอารามนั้น ๆ กราบทูลรายงานจำ�นวน พระสงฆ์ ฝ่ายเจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ เตรียมกังสดาลสำ�หรับตีให้สัญญาณวงปี่พาทย์ของกรมศิลปากร ซ่ึงบรรเลงในช่วง องค์ครองกฐินเปลี่ยนผ้าครองใหม่ และเตรียมบุคลากรปฏิบัติงานอ่ืน ๆ เช่น รับผ้าจาก พระสงฆ์ นำ�ไปครองผ้าใหม่ ขณะพระมหากษัตริย์ทรงประเคนเครื่องบริวารพระกฐิน ก็รับต่อจากพระสงฆ์ การเสด็จพระราชดำ�เนินทรงบำ�เพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินแต่ละพระอาราม มีกิจกรรมแตกต่างกัน ออกไป บางพระอารามมีพิธีสดับปกรณ์ บางพระอารามมีพิธีพระราชทานของท่ีระลึกให้แก่ผู้ร่วม โดยเสดจ็ พระราชกุศล บางพระอารามเสด็จพระราชด�ำ เนนิ ทางรถยนต์ เรียกวา่ สถลมารค บางพระอาราม เสด็จพระราชด�ำ เนนิ ทางเรือ เรียกวา่ ชลมารค ทง้ั นี้ เนอื่ งดว้ ยพระราชประเพณีปฏบิ ัติตอ่ พระอารามนัน้ ๆ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ช้ันโท วิชาอนพุ ุทธประวัติ
209 ระเบียบพธิ ีถวายพระกฐินหลวง เมื่อพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำ�เนินถึงพระอารามหลวง ตามหมายกำ�หนดการของสำ�นัก พระราชวัง วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงรับผ้าพระกฐินจาก เจา้ พนกั งานศภุ รตั ทูลเกลา้ ฯ ถวายบริเวณประตพู ระอุโบสถ ในขณะน้วี งปพ่ี าทย์กรมศิลปากรบรรเลงเพลง ทรงอุ้มประครองผ้าพระกฐิน ทรงวางบนพานแว่นฟ้า ต้ังอยู่ด้านหน้าพระสงฆ์รูปท่ี ๒ ทรงรับเทียนชนวน จากเจ้าหน้าที่สนมพลเรือน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระรัตนตรัย ทรงคืนเทียนชนวนแก่เจ้าหน้าที่ ขณะน้ีเจ้าหน้าท่ีกองศาสนูปถัมภ์ จะให้สัญญาณ แก่คนตีกังสดาล คนถือกังสดาลจะตี ๑ คร้ัง ปีพาทย์ ต้องหยุดบรรเลงทันที แม้ยังไม่จบเพลง พระมหากษัตริย์ทรงกราบ เสด็จมายังพานแว่นฟ้าประทับยืน เจ้าพนักงานภูษามาลาถวายคำ�นับ เข้ารับผ้าห่มพระประธาน อธิบดีกรมการศาสนาถวายคำ�นับ กราบทูล รายงานจำ�นวนพระสงฆ์ อยู่จำ�พรรษา ณ พระอารามนน้ั จบแลว้ ถวายค�ำ นับ พระมหากษตั รยิ ท์ รงอมุ้ ประคองผา้ พระกฐนิ ประนมพระหตั ถห์ นั ไปทางพระประธานในพระอโุ บสถ ทรงวา่ นะโม ๓ จบ หันมาทางชุมนุมสงฆ์ ทรงกลา่ วคำ�ถวายผา้ พระกฐิน จบแล้วทรงวางผา้ พระกฐนิ บนพาน แว่นฟ้า ทรงยกประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ ต่อด้วยพานเทียนพระปาติโมกข์ เสด็จไปประทับพระราชอาสน์ พระสงฆ์เริ่มทำ�สังฆกรรม อปโลกน์ยกผ้าให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เป็นองค์ครองผ้าพระกฐิน พระภิกษุ ผู้ได้รับเป็นองค์ครองผ้าพระกฐิน ลงไปครองผ้าพระกฐิน ในขณะน้ีวงปี่พาทย์บรรเลงเพลง เมื่อองค์ครอง กฐินกลบั เข้ามานง่ั บนอาสน์สงฆ์ เจา้ หนา้ ทก่ี องศาสนปู ถัมภ์เคาะกงั สดาลใหส้ ัญญาณ วงป่พี าทย์หยดุ บรรเลง ทันที ล�ำ ดับน้ี พระมหากษตั ริย์ เสดจ็ ฯ จากพระราชอาสน์ ทรงรบั เครอ่ื งบริวารพระกฐินจากเจา้ หนา้ ท่ี ทรงประเคนประธานสงฆ์จนครบ เจ้าหน้าท่ีกองศาสนูปถัมภ์รับเครื่องบริวารพระกฐินจากประธานสงฆ์ นำ�ออกไปวางในท่ีอันควร เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จ ฯ ไปประทับพระราชอาสน์ เจ้าหน้าที่เชิญพระเต้าน้ํา เขา้ ไปถวาย พระสงฆต์ งั้ พดั ยศถวายอนโุ มทนา ถวายอดเิ รกจบแลว้ ทรงกราบพระประธาน ทรงลาประธานสงฆ์ เสดจ็ พระราชดำ�เนินกลับ เปน็ อนั เสรจ็ พิธี เน่ืองจากพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระประสงค์ในการบำ�เพ็ญพระราชกุศลเป็นกรณีพิเศษ เพ่ือ พระราชทานกศุ ลอุทิศแดพ่ ระราชอุปัธยาจารย์ จึงจดั พธิ สี ดับปกรณเ์ กิดขึน้ ปจั จบุ นั มเี พยี ง ๓ พระอาราม คือ วัดบวรนเิ วศวิหาร วดั พระเชตุพนวมิ ลมังคลาราม วัดราชบพิธสถติ มหาสีมาราม ในการประกอบพิธีดงั กล่าว ทำ�หลังถวายผ้าพระกฐินเสร็จ สำ�หรับวัดบวรนิเวศ วัดพระเชตุพน ฯ พระสงฆ์สดับปกรณ์จะลงไปครองผ้า พร้อมกับองค์ครองกฐิน ส่วนวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม แต่เดิมประกอบพิธีสดับปกรณ์ในพระวิหาร ต่อมาเห็นว่าเป็นการไม่สะดวก จึงอัญเชิญพระอัฐิ สมเด็จพระสังฆราชประกอบพิธีในพระอุโบสถแทน พิธีพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้บริจาค โดยเสด็จพระราชกุศล สุดแต่พระอารามใดจัดให้มี ต้องกราบทูล ให้ทรงทราบเป็นการล่วงหน้า เมื่อถึงวันเสด็จพระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐิน จะเชิญผู้ให้การอุปถัมภ์วัด เขา้ รับพระราชทาน ของท่รี ะลกึ ภายหลงั การถวายผ้าพระกฐินเรยี บรอ้ ยแล้ว แนวทางการจัดการเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ช้ันโท วชิ าอนพุ ุทธประวตั ิ
210 กฐนิ ตน้ หมายถงึ พระกฐินทีพ่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั เสดจ็ พระราชดำ�เนินไปทอด เป็นการ ส่วนพระองค์ ณ วัดราษฎร์ ตามพระราชอัธยาศัย ส่วนใหญ่เป็นวัดในพ้ืนท่ีต่างจังหวัด ไม่เคยเสด็จ พระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน มีประชาชนเคารพศรัทธาเล่ือมใสมาก และประชาชนท้องถ่ินน้ัน ไม่คอ่ ยมีโอกาสไดเ้ ฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ระเบียบพธิ ีถวายพระกฐนิ ต้น พระกฐนิ ต้น วิธปี ฏิบตั ใิ นการถวายเหมอื นกบั พระกฐนิ หลวง เรม่ิ มีชอ่ื เรียกตัง้ แตเ่ มอื่ ใด ไมป่ รากฏ หลกั ฐาน ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว เรียกกนั โดยเทียบเคียงการเสด็จประพาสบา้ ง อาทิ การเสดจ็ ประพาสหวั เมอื ง พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหจ้ ดั แบบงา่ ย ๆ พอพระทยั ประทบั ทใี่ ด ก็ประทับ ทางหัวเมอื งไมต่ อ้ งเตรียมสถานท่ปี ระทับไว้ การเสดจ็ ประพาสลกั ษณะนี้ เรียกวา่ เสด็จประพาสตน้ คราวหน่ึงเสด็จประพาสทางนํ้า มีรับส่ัง ให้จัดหาเรือมาดมาเพิ่มอีกลำ�หนึ่ง แจวตามเรือพระที่น่ัง มิให้ใคร รู้จักพระองค์ เรือมาดลำ�นั้น เรียกว่า เรือต้น ดังนั้น พระกฐินท่ีเสด็จ ฯ ไปถวายเป็นการส่วนพระองค์ จึง เรยี กว่า พระกฐินตน้ เหมือนเรยี กชอ่ื เรือมาดล�ำ ดงั กล่าว แม้ในรชั สมัยพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว พระองค์ ปัจจุบนั กเ็ คยเสด็จพระราชด�ำ เนนิ ทรงถวายพระกฐนิ ตน้ อยูห่ ลายครัง้ กฐินพระราชทาน หมายถึง กฐนิ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานแก่หนว่ ยงานราชการ รัฐวสิ าหกจิ องคก์ าร สมาคม มลู นธิ ิ หรือเอกชน นำ�ไปทอด ณ พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร และ ต่างจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร โดยขอรับพระราชทานผ่านกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อถึง เขตกฐินกาลแลว้ กรมการศาสนา รวบรวมบญั ชีรายนามผูไ้ ดร้ ับพระราชทานผ้าพระกฐนิ นำ�ไปถวายพระสงฆ์ ณ พระอารามหลวงทว่ั พระราชอาณาจกั รนน้ั น�ำ ความขน้ึ กราบบงั คมทลู พระกรณุ าทราบฝา่ ละอองธลุ พี ระบาท ขอพระราชทานถวายพระราชกศุ ลในการถวายผ้าพระกฐนิ ประจำ�ปีต่อไป พระกฐนิ พระราชทาน ถวายไดเ้ ฉพาะวัดเป็นพระอารามหลวงท่ัวประเทศ การขอรบั พระราชทาน และการดำ�เนินการต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมศาสนา เช่น การรับจอง การจัดหาผ้าพระกฐิน และเครื่องบริวาร การทำ�บัญชีรายนามผู้ขอรับพระราชทาน การทำ�บัญชี เงินทอดกฐิน การกราบทูลถวาย พระราชกุศล รวมถึงงานธุรการต่าง ๆ พระกฐินพระราชทานนี้ ทางการจะจัดเครื่องพระกฐินมอบแก่ผู้ขอรบั พระราชทาน ๑ ชุดต่อ ๑ พระอาราม เม่ือรับไปแล้ว เจ้าภาพจะไปจัดหาบริวารพระกฐินอ่ืน ๆ เพ่ิมเติม อีกก็ได้ แต่ไม่นิยมให้จัดหาในลักษณะการเร่ียไร ผู้ขอรับพระราชทานต้องประสานกับทางวัด ถึงวันเวลา ในการไปทอดให้แน่นอน เพ่ือทางวัดจะได้เตรียมความพร้อมในการรับพระกฐินและสมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ การเตรียมงานกฐนิ พระราชทาน การทอดกฐินพระราชทาน ควรทอดหลังวันเสด็จพระราชดำ�เนินถวายผ้าพระกฐินของ พระมหากษัตริย์ ๑ วัน เจ้าหน้าท่ีผู้เก่ียวข้องทุกฝ่าย จะเตรียมการถวายกฐินพระราชทาน ต้ังแต่จัดโต๊ะ ถวายราชสักการะ วางผ้าพระกฐินหน้าพระอุโบสถ ตั้งโต๊ะหัวอาสน์สงฆ์ หน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒ วางพาน แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ช้นั โท วิชาอนุพุทธประวัติ
211 แว่นฟ้าเปล่าและพานเทียนพระปาติโมกข์บนโต๊ะน้ัน เตรียมธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมเทียนชนวน ชุดกรวดนํ้า เคร่ืองบริวารพระกฐิน และไทยธรรมสำ�หรับถวายพระสงฆ์ทั่วไป นำ�ไปวางภายในพระอุโบสถ ท้ายอาสนส์ งฆ์ จนเปน็ ทเ่ี รยี บร้อย ระเบยี บพิธถี วายกฐนิ พระราชทาน เมอ่ื ถงึ เวลาตามก�ำ หนด ประธานพธิ เี ดนิ ทางถงึ พระอโุ บสถ เขา้ ไปยงั โตะ๊ วางผา้ พระกฐนิ ท�ำ ความเคารพ พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ เปิดกรวยดอกไม้ ทำ�ความเคารพอีกครั้งหน่ึง ยกผ้าไตร อมุ้ ข้ึนประคอง ยืนตรง ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี จบแลว้ เดินเข้าสพู่ ระอุโบสถ วางผา้ พระกฐนิ บนพานแวน่ ฟา้ หนา้ พระสงฆร์ ปู ท่ี ๒ รับเทียนชนวนจุดธูปเทียนบชู าพระรตั นตรยั กราบพระรัตนตรยั ๓ คร้งั มายังโต๊ะวางผ้าพระกฐิน หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้ไวยาวัจกร อุ้มประคองผ้าพระกฐิน ประนมมือ หนั ไปทางพระประธาน วา่ นะโม ๓ จบ หนั มาทางชมุ นมุ สงฆ์ กลา่ วค�ำ ถวายผา้ พระกฐนิ จบแลว้ วางผา้ พระกฐนิ บนพานแว่นฟ้า ประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ ต่อด้วยพานเทียนพระปาติโมกข์ ไปนั่ง ณ สถานท่ีจัดเตรียมไว้ พระสงฆก์ ระทำ� อปโลกนกรรมและญตั ติทุติยกรรม องคค์ รองกฐนิ ลงไปครองผา้ ใหม่ กลับมานัง่ บนอาสนส์ งฆ์ ประธานรับบริวารพระกฐินถวายองค์ครองกฐิน ผู้มาร่วมพิธีถวายไทยธรรมพระสงฆ์ครบทุกรูป เจ้าหน้าที่ ประกาศยอดเงินบำ�รุงพระอาราม ประธานประเคนใบปวารณา พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกรวดนํ้าถวาย เปน็ พระราชกศุ ล พระสงฆถ์ วายอดเิ รก ขณะพระสงฆถ์ วายอดเิ รก ไมต่ อ้ งประนมมอื ลดมอื ลง เพราะการถวาย อดิเรกเป็นการถวายพระพรแด่พระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ เม่ือพระสงฆ์รูปที่ ๒ รับภวตุ สัพพะมังคะลัง จึงประนมมือรับพรตอ่ ไป จบแลว้ กราบพระประธานในพระอุโบสถ กราบลาพระสงฆ์ เป็นอนั เสร็จพิธี กฐนิ พระราชทานเป็นกรณีพิเศษ นอกจากกฐนิ พระราชทานดงั กลา่ วแลว้ ในปจั จบุ นั มกี ฐนิ พระราชทาน ทรงพระกรณุ า โปรดเกลา้ ฯ เป็นกรณพี เิ ศษ เพิม่ ขึ้นอกี ๒ ประเภท คอื ๑. กฐินพระราชทานแก่วัดไทยในต่างประเทศ คือ กฐินท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานแก่วัดไทยในต่างประเทศ จำ�นวน ๒๐ วัด เป็นประจำ�ตลอดไป โดยเจ้าภาพ ไม่ต้อง ทำ�เรื่องกราบทูลขอพระราชทานทุกปี เหมือนกฐินพระราชทานสำ�หรับพระอารามหลวง ในประเทศ กรมการศาสนา จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาผ้าไตรพระราชทาน มอบแก่เจ้าภาพกฐิน เพ่ือดำ�เนินการถวาย ตามวัดได้รบั พระราชทานต่อไป ๒. กฐินทีพ่ ระบรมวงศานวุ งศ์ พระราชทานหรือประทานแก่ผู้ขอรบั ไปทอดตามวดั ราษฎรต์ า่ ง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ปัจจุบันจะมีผู้ขอรับพระราชทานหรือขอรับประทานไปทอดหลายวัด เป็นการเพ่ิมพูน พระราชกศุ ลโดยยงิ่ ข้ึนไป ระเบยี บพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ ทงั้ ๒ ประเภทดงั กล่าว ปฏบิ ตั เิ ชน่ เดยี วกบั การทอดกฐนิ พระราชทาน สามารถปรับประยกุ ต์ใช้ใหเ้ หมาะแกส่ ถานทแ่ี ละโอกาส โดยอนุโลม แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ชัน้ โท วชิ าอนพุ ุทธประวัติ
212 เวลา..........ชั่วโมง แผนการจดั การเรียนรทู้ ี่ ๙ ธรรมศึกษาชัน้ โท สาระการเรียนรศู้ าสนพธิ ี เร่อื ง ประเพณสี �ำ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา ๑. มาตรฐานการเรยี นรู้ มาตรฐาน ธศ๒ รู้และเข้าใจพุทธประวัติ ความสำ�คัญของพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตนเป็น พุทธศาสนกิ ชนทด่ี ี และธ�ำ รงรักษาพระพุทธศาสนา ๒. ผลการเรียนรู้ รแู้ ละเข้าใจ เห็นความสำ�คญั ของประเพณสี ำ�คัญทางพระพุทธศาสนา ๓. สาระส�ำ คัญ ประเพณสี �ำ คัญทางพระพุทธศาสนา ๔. จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ นกั เรยี นบอกความส�ำ คัญของพธิ ีบรรพชาสามเณร และพิธีอปุ สมบทเปน็ พระภิกษุสงฆไ์ ด้ ๕. สาระการเรียนรู้ ประเพณสี ำ�คัญทางพระพุทธศาสนา - พิธบี รรพชาสามเณร - ประโยชนข์ องการบรรพชา - การเตรยี มบรรพชาสามเณร - ส่ิงทีต่ อ้ งจดั เตรยี มในพธิ ีบรรพชาสามเณร - ระเบยี บพิธีบรรพชาสามเณร - พิธีอุปสมบทเป็นพระภกิ ษุ - สง่ิ ทตี่ ้องจดั เตรยี มในพิธีอปุ สมบท - พิธปี ลงผมและทำ�ขวญั นาค - ความหมายของคำ�วา่ นาค - การจดั ขบวนแห่นาค - พธิ ีวันทาเสมาและนำ�นาคเขา้ โบสถ์ - ระเบียบพิธีอปุ สมบทพระภกิ ษุ แนวทางการจัดการเรยี นร้ธู รรมศึกษา ชัน้ โท วชิ าอนุพทุ ธประวตั ิ
213 - คำ�สำ�หรบั เรยี กผู้ไดร้ ับการอปุ สมบทแลว้ - วัตถปุ ระสงคข์ องการบวช - พธิ ฉี ลองพระบวชใหม่ - พิธีบรรพชาสามเณร - ประโยชน์ของการบรรพชา ๖. กระบวนการจดั การเรยี นรู้ ขน้ั สบื คน้ และเชอ่ื มโยง ๑. ครูน�ำ วดี ที ัศนเ์ กีย่ วกบั พธิ อี ปุ สมบทเป็นพระภิกษสุ งฆม์ าใหน้ ักเรียนดู แล้วสนทนากับนักเรยี น จนเกดิ ความเข้าใจ เพ่ือเชื่อมโยงไปส่กู ารเรยี นรู้ ๒. นักเรียนทุกคนร่วมกันอภิปรายคำ�ว่า “สามเณร” และคำ�ว่า “พระภิกษุสงฆ์”โดยอธิบาย ความหมายลงในสมดุ บนั ทึก ครสู ุ่มถามนกั เรยี น ๒-๓ คน จนเขา้ ใจ ขั้นฝึก ๓. แบ่งนักเรยี นออกเปน็ กลุ่ม ๓ กลมุ่ กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยใชก้ ระบวนการกลุ่ม ให้แต่ละกล่มุ ศึกษาใบความรทู้ ี่ ๒๒ เรื่องประเพณีสำ�คัญทางพระพุทธศาสนา ตามทค่ี รูก�ำ หนดให้ ดังนี้ กลมุ่ ท่ี ๑ พธิ บี รรพชาสามเณร กลมุ่ ท่ี ๒ พิธอี ปุ สมบทเป็นพระภกิ ษสุ งฆ์ ๔. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาสรุปความสำ�คัญของเร่ืองท่ีได้รับมอบหมายหน้าช้ันเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้องและนำ�ผลงานมาตดิ ป้ายนเิ ทศ ขั้นประยกุ ต์ ๕. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความสำ�คัญของพิธีบรรพชาสามเณร และพิธีอุปสมบทเป็น พระภกิ ษสุ งฆ์ ๖. นักเรียนทุกคนท�ำ ใบกิจกรรมที่ ๑๐ และส่งครูตรวจ ๗. นักเรียนทำ�แบบทดสอบหลงั เรยี น และครตู รวจใหค้ ะแนน ๗. ภาระงาน/ช้นิ งาน ท ่ี ภาระงาน ชิน้ งาน ๑ ตอบคำ�ถามพธิ บี รรพชาสามเณรและพธิ อี ุปสมบทเปน็ พระภิกษสุ งฆ ์ ใบกจิ กรรมที่ ๑๐ แนวทางการจดั การเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ช้นั โท วิชาอนพุ ทุ ธประวัติ
214 ๘. สือ่ /แหล่งการเรียนรู้ ๑. วีดที ัศน์งานพธิ อี ุปสมบทเปน็ พระภิกษุสงฆ์ ๒. ใบความรูท้ ่ี ๒๒ เรื่องพธิ บี รรพชาสามเณร และพธิ อี ุปสมบทเป็นพระภกิ ษสุ งฆ์ ๓. ใบกจิ กรรมท่ี ๑๐ ๔. แบบทดสอบหลังเรยี น ๙. การวดั และประเมินผล สง่ิ ที่ตอ้ งการวดั วิธวี ดั เคร่ืองมอื เกณฑก์ ารประเมิน บอกความส�ำ คญั ของ พิธีบรรพชาสามเณร - ตรวจผลงาน - แบบประเมนิ ผ่าน = ได้คะแนนตัง้ แต่ร้อยละ ๖๐ ข้นึ ไป และพิธอี ปุ สมบท - สังเกต ผลงาน ไม่ผ่าน = ได้คะแนนตํ่ากวา่ รอ้ ยละ ๖๐ เป็นพระภกิ ษุสงฆ์ได้ - แบบสงั เกต พฤตกิ รรม การปฏบิ ตั ิ กิจกรรมกลมุ่ แนวทางการจัดการเรยี นร้ธู รรมศกึ ษา ชั้นโท วชิ าอนพุ ุทธประวตั ิ
ขอ้ ท่ี แบบประเมนิ ผลงาน 215 ๓ คะแนน ใบกิจกรรมท่ี ๑๐ ๑ คะแนน ๑-๑๐ ตอบคำ�ถามถูกต้อง ตอบคำ�ถามถกู ตอ้ งและ ตรงประเดน็ ระดับคะแนน ตรงประเดน็ นอ้ ย ๒ คะแนน ตอบค�ำ ถามถูกตอ้ ง ตรงประเดน็ ส่วนใหญ ่ เกณฑก์ ารตดั สนิ เกณฑ์ ร้อยละ คะแนน ผา่ น ๖๐ ขน้ึ ไป ๑๘ - ๓๐ ไม่ผา่ น ต่าํ กว่า ๖๐ ๐ - ๑๗ หมายเหตุ เกณฑ์การตดั สนิ สามารถปรับใชต้ ามความเหมาะสมกบั กลมุ่ เป้าหมาย แบบประเมินผลการเรียนรู้ แบบทดสอบหลงั เรียน เกณฑก์ ารประเมนิ ตอบถกู ได้ ๑ คะแนน ตอบผดิ ได้ ๐ คะแนน เกณฑ์ เกณฑ์การตัดสิน คะแนน ผ่าน รอ้ ยละ ๓-๕ ไมผ่ ่าน ๖๐ ขน้ึ ไป ๐-๒ ตา่ํ กวา่ ๖๐ แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศึกษา ช้ันโท วชิ าอนพุ ทุ ธประวัติ
216 ใบกจิ กรรมท่ี ๑๐ พธิ ีบรรพชาสามเณร และพธิ อี ุปสมบทเปน็ พระภกิ ษุสงฆ์ ชอ่ื ......................................................................................ชนั้ .....................เลขท.่ี .......................... ค�ำ ชีแ้ จง ใหน้ กั เรยี นตอบคำ�ถามต่อไปน้ี จำ�นวน ๑๐ ข้อ (๓๐ คะแนน) ๑. พิธบี รรพชาแตกตา่ งจากพธิ ีอุปสมบทอย่างไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ๒. การบวชเป็นสามเณรมีการเตรียมตัวอยา่ งไร และจะตอ้ งเตรยี มสิ่งของใดบา้ งในพิธีบรรพชา ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ๓. การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มกี ารเตรียมตวั อยา่ งไร และจะตอ้ งเตรยี มส่ิงของใดบา้ งในพิธีอุปสมบท ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๔. การเวยี นนาครอบอโุ บสถ ๓ รอบ มีวธิ ีการเวยี นอยา่ งไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศกึ ษา ช้นั โท วิชาอนุพทุ ธประวัติ
217 ๕. กอ่ นนำ�นาคเขา้ อุโบสถทำ�ไมจึงต้องมีการโปรยทาน ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ๖. การนำ�นาคเขา้ อโุ บสถมีจดุ ประสงคอ์ ยา่ งไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๗. อปุ สัมปทาเปกขะ มีความหมายว่าอะไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. ๘. วัตถุประสงค์ของการบรรพชาและอุปสมบท ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๙. พธิ ฉี ลองพระใหมค่ อื อะไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๑๐. พระภิกษแุ ละสามเณรถือศีลตา่ งกนั อยา่ งไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. แนวทางการจัดการเรียนร้ธู รรมศึกษา ชัน้ โท วิชาอนุพุทธประวัติ
218 เฉลยใบกจิ กรรมที่ ๑๐ ประเพณสี �ำ คัญทางพระพุทธศาสนา ๑. พิธีบรรพชาแตกตา่ งจากพิธีอุปสมบทอย่างไร ตอบ พิธบี รรพชา หมายถงึ การบวชสามเณร พิธีอุปสมบท หมายถึง การบวชผู้ท่ีผ่านการบวชเณรมีคุณสมบัติพร้อมที่จะขอบวชเป็น พระภกิ ษุ ๒. การบวชเป็นสามเณรมกี ารเตรยี มตัวอย่างไร และจะตอ้ งเตรียมส่ิงของใดบา้ งในพิธบี รรพชา ตอบ การบวชเปน็ สามเณรมกี ารเตรยี มตวั ในเบอ้ื งตน้ ควรใหบ้ ดิ ามารดาหรอื ผปู้ กครองพาไปมอบตวั ต่อเจ้าอาวาสหรือพระอุปัชฌาย์ในวัดต้องการจะอยู่อาศัย เพื่อให้ตรวจดูคุณสมบัติและ ก�ำ หนดวนั บวชให้ ก่อนถึงวันบวช ๓ วนั ๗ วนั ผขู้ อบวชตอ้ งทอ่ งคำ�ขอบรรพชาและศีล ๑๐ ให้ได้ถูกต้อง คล่องปาก อย่าให้ติดขัดอึกอัก ตามแบบพระอุปัชฌาย์กำ�หนดให้ หม่ันฝึกซ้อม ขั้นตอนพิธีบรรพชากับพระอปุ ุชฌายใ์ ห้ช�ำ นาญ ฝกึ หดั กริ ยิ ามารยาท เช่น การกราบ การไหว้ ใหถ้ กู ต้อง สง่ิ ตอ้ งจดั เตรียมในพิธบี รรพชาสามเณร ๑. ดอกไม้ ธูป เทียน ส�ำ หรับบูชาพระรัตนตรัย ๒. ดอกไม้ ธูป เทยี น หรือธูปเทยี นแพ สำ�หรบั ถวาย ๓. ไตรจีวรส�ำ หรบั สามเณร ประกอบด้วย จวี ร สบง อังสะ ประคตเอว ผ้ารดั อก ๔. บาตร พรอ้ มฝาบาตรและเชงิ รอง ๕. ของใช้อ่ืน ๆ เช่นยา่ ม ผ้าเชด็ ตัว รองเท้า สบู่ ยาสีฟัน เสอ่ื หมอน มุง้ ๓. การอปุ สมบทเปน็ พระภกิ ษุ มกี ารเตรียมตวั อยา่ งไร และจะตอ้ งเตรียมสิง่ ของใดบ้างในพิธีอุปสมบท. ตอบ การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีการเตรียมตัวเหมือนการเตรียมตัวของสามเณร แต่จะฝึกซ้อม ขานนาคต้องไปอยู่ที่วัด ประมาณ ๑๕ วัน ถึง ๑ เดือน หรืออาจจะฝึกท่องอยู่ที่บา้ นก็ได้สิ่ง ท่ีตอ้ งเตรยี มในพิธีอุปสมบท ๑. ไตรครอง ประกอบด้วย สังฆาฏิ จีวร สบง ประคตเอว องั สะ ผา้ รดั อก ๒. บาตร พร้อมฝาบาตร เชิงบาตร ถลกบาตร สายสะพาย ๓. มดี โกน พรอ้ มหินลบั มีด ๔. เขม็ เย็บผ้า พรอ้ มด้ายเยบ็ ผา้ ๕. ที่กรองนํา้ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชัน้ โท วิชาอนุพทุ ธประวัติ
219 ๖. เสือ่ หมอน มงุ้ ผ้าห่ม ผา้ เชด็ ตวั ๗. ตาลปตั ร ย่าม รองเทา้ ร่ม ๘. จาน ชอ้ นส้อม กระตกิ นํ้า แกว้ นํา้ ๙. ขันอาบน้าํ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ๔. การเวยี นนาครอบอโุ บสถ ๓ รอบ มีวิธกี ารเวียนอยา่ งไร ตอบ การเวยี นนาครอบอโุ บสถ ๓ รอบ มีวธิ ีการเวียนขวาตามเข็มนาฬกิ า เรยี กวา่ ประทักษิณ รอบที่ ๑ ภาวนาว่า พุทโธพุทโธ รอบท่ี ๒ ภาวนาว่า ธัมโมธัมโม รอบท่ี ๓ ภาวนาวา่ สงั โฆสังโฆ ๕. ก่อนนำ�นาคเข้าอุโบสถท�ำ ไมจึงตอ้ งมีการโปรยทาน ตอบ กอ่ นน�ำ นาคเขา้ อโุ บสถตอ้ งมกี ารโปรยทานเพอื่ แสดงใหเ้ หน็ วา่ ผบู้ วชสละทรพั ยส์ นิ ภายนอกแลว้ ไม่อาลัยในทางโลก พรอ้ มจะดำ�รงเพศสมณะ ดำ�เนนิ ชีวิตในทางธรรม ๖. การน�ำ นาคเข้าอโุ บสถมีจุดประสงคอ์ ย่างไร ตอบ การน�ำ นาคเข้าอโุ บสถมจี ุดประสงค์๒ นยั คอื ๑. พ่อแม่นำ�นาคเข้าอุโบสถ มีความหมายว่าพ่อแม่นำ�นาคไปมอบแก่พระสงฆ์ เพื่อให้ พระอปุ ชั ฌาย์ทำ�การอุปสมบทให้ ๒. นาคนำ�พ่อแม่เข้าสู่อุโบสถ มีความหมายว่า ลูกชายนำ�พ่อแม่เข้าสู่ประตูพระพุทธศาสนา ตามคำ�กล่าวว่า เกาะชายผา้ เหลอื งข้ึนสวรรค์ ๗. อุปสมั ปทาเปกขะ มคี วามหมายวา่ อะไร ตอบ อปุ สมั ปทาเปกขะ เป็นชอ่ื ตั้งใหมข่ องสามเณร ๘. วัตถปุ ระสงค์ของการบรรพชาและอปุ สมบท ตอบ วัตถุประสงค์ของการบรรพชาและอุปสมบทเพื่อเป็นทายาททางพระศาสนาได้เล่าเรียน และปฏบิ ตั ธิ รรม ตอบแทนคา่ นาํ้ นมและขา้ วปอ้ นของพอ่ แม่ เผยแพรพ่ ระศาสนา รกั ษาประเพณี อันดีงามของชาวพุทธ ตอ่ อายพุ ระศาสนาให้คงอยสู่ ืบต่อไป ๙. พธิ ีฉลองพระใหม่คืออะไร ตอบ พิธีฉลองพระใหม่เป็นพิธีทำ�บุญฉลองผู้ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เรียบร้อย นมิ นตพ์ ระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ฉลองพระบวชใหม่ และถวายภัตตาหารเพล ๑๐. พระภกิ ษุและสามเณรถือศีลตา่ งกันอยา่ งไร ตอบ พระภกิ ษถุ อื ศีล ๒๒๗ ขอ้ สามเณรถือศีล ๑๐ ข้อ แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษา ชนั้ โท วชิ าอนุพทุ ธประวัติ
220 แบบทดสอบวัดผลการเรยี นรู้ ผลการเรยี นร้ทู ่ี ๙ รแู้ ละเขา้ ใจเหน็ ความสำ�คัญของประเพณีส�ำ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา จำ�นวน ๕ ขอ้ คะแนน ๕ คะแนน คำ�ชแี้ จง ใหน้ กั เรยี นเลอื กคำ�ตอบท่ถี กู ตอ้ งทส่ี ดุ เพียงข้อเดียว ๑. การบวชมี กอ่ี ย่าง ก. ๑ อย่าง ข. ๒ อยา่ ง ค. ๓ อยา่ ง ง. ๔ อยา่ ง ๒. สามเณร ตอ้ งถือศีลกขี่ อ้ ก. ๕ ข้อ ข. ๑๐ ข้อ ค. ๘ ข้อ ง. ๑๒ ขอ้ ๓. ข้อใดคอื ขอ้ ก�ำ หนดไว้ตามระเบียบพระธรรมวนิ ยั สำ�หรับการอปุ สมบท ก. เปน็ ชายอายุ ครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ข. ไมเ่ ป็นคนพกิ าร ค. ไมม่ หี น้ีสนิ ง. ถกู ทุกขอ้ ๔. เครื่องอัฐบริขาร ตามพระธรรมวินยั มีกี่อยา่ ง ก. ๕ อย่าง ข. ๖ อยา่ ง ค. ๘ อยา่ ง ง. ๑๐ อยา่ ง ๕. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการบวชเณร ก. ไดศ้ กึ ษาท้ังวิชาชพี และพระธรรมวนิ ยั ข. พ้นจากการมั่วสุมและส่ิงเสพตดิ ค. ไดร้ ับของจากผมู้ จี ติ ศรัทธานำ�มาถวาย ง. เป็นผ้ปู ระพฤติปฏิบัติดีงาม แนวทางการจดั การเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ช้ันโท วชิ าอนพุ ุทธประวตั ิ
221 เฉลยแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ผลการเรียนร้ทู ่ี ๙ รแู้ ละเขา้ ใจ เห็นความส�ำ คัญของประเพณสี �ำ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา ขอ้ ๑ ข ข้อ ๒ ข ข้อ ๓ ง ขอ้ ๔ ค ข้อ ๕ ค แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ช้ันโท วชิ าอนุพุทธประวตั ิ
222 ใบความรู้ท่ี ๒๒ ประเพณีสำ�คัญทางพระพทุ ธศาสนา ประเพณสี �ำ คญั ทางพระพทุ ธศาสนา พิธบี รรพชาสามเณร บรรพชา แปลวา่ การงดเวน้ ในสง่ิ ไมด่ ไี มง่ ามตา่ งๆ ในทนี่ ห้ี มายถงึ การบวชเปน็ สามเณร เรยี กสนั้ ๆ วา่ บวชเณร การบรรพชาเป็นสามเณรมีมาแต่สมัยพทุ ธกาล สามเณรรปู แรกในพระพุทธศาสนา คอื ราหุลกุมาร มีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้จะบรรพชาเป็นสามเณรต้องมีอายุอย่างตํ่า ๗ ปี ปัจจุบันการบรรพชา เป็นสามเณร ต้องขอบรรพชาต่อพระอุปัชฌาย์ ซ่ึงได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ บวชด้วย วิธีรับไตรสรณคมน์ เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา และรักษาศีล ๑๐ มิให้ขาดมิให้ด่างพร้อยทางภาคเหนือ ของประเทศไทยนิยมให้บุตรหลานตนบรรพชาเป็นสามเณรมากกว่าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในบางจังหวัด จด้ ให้มีประเพณีบวชลกู แก้ว เปน็ พิธีส�ำ คญั ประจ�ำ จังหวดั ทุกปี ประโยชนข์ องการบรรพชา การบรรพชาในแต่ละยุคสมัย มีวัตถุประสงค์ในการบวชแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมประเพณี ของสังคมในยคุ น้นั ๆ พอสรุปได้ ดังน้ี สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงให้พระราชโอรส และ พระโอรสของพระองค์เจริญวัยพอสมควรบรรพชาเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพื่อศึกษา พระพุทธศาสนาให้มีพระทัยแนบแน่นมั่นคงต่อพระศาสนา จนมีผู้นิยมนำ�มาปฏิบัติตาม พระราชโอรสและ พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์มีพระราชศรัทธาทรงดำ�รงตนในสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพก็มี เช่น สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระวชริ ญาณวโรรส สมัยน้ันวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา เพราะยังไม่มีโรงเรียน วิชาการทุกแขนงมีสอนในวัด โดย พระภิกษุเป็นผู้สอน ดังนั้นจึงมีผู้นิยมส่งบุตรชายหลานชายตนมาขอบรรพชาเป็นสามเณร หรือเป็นศิษย์วัด เพ่ือศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ ยุคต่อมา เม่ือเปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ท้ังแผนกธรรมและบาลี รวมถึงแผนกสามัญศึกษาขึ้นในวัด เป็นเหตุให้ประชาชนในชนบทนิยมให้บุตรหลานของตนบรรพชาเป็น สามเณร และเข้ารบั การศึกษาจำ�นวนมาก เพราะคา่ ใชจ้ ่ายนอ้ ย ผู้เข้ามาศกึ ษาตามระบบน้ี เม่ือลาสกิ ขาแล้ว ไดเ้ ขา้ รับราชการดำ�รงตำ�แหน่งใหญ่โตมากมาย ปัจจุบันโลกเจริญข้ึน คนมีทางเลือกในการดำ�เนินชีวิตมากข้ึน สามารถแสวงหาความรู้ได้ หลาย ทาง การบวชสามเณรเพอ่ื ศกึ ษาพระปรยิ ัติธรรมอยา่ งสมัยก่อน จึงลดจำ�นวนลงตามลำ�ดับ เปน็ เพยี งการบวช ระยะสัน้ และรกั ษาประเพณเี ทา่ นน้ั แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชั้นโท วิชาอนพุ ุทธประวตั ิ
223 การบวชเป็นสามเณรระยะส้ัน ช่วงปิดภาคเรียนในฤดูร้อน เรียกว่า บวชเณรภาคฤดูร้อน โดย ก�ำ หนดเวลา ๑๕ วนั หรอื ๑ เดอื น ตามแตท่ างวดั จะก�ำ หนดเพอ่ื ใหเ้ ดก็ นกั เรยี นไดเ้ ขา้ มาศกึ ษาพระพทุ ธศาสนา ทั้งปริยัติและปฏิบัติมีพระภิกษุเป็นผู้สอน เป็นการนำ�เด็กเข้าพระศาสนาต้ังแต่เยาว์วัย เพ่ือปลูกฝังให้เด็ก เป็นคนดีมีศีลธรรม ไม่เป็นปัญหาของสังคม การบวชเป็นสามเณรด้วยวิธีน้ีได้รับความนิยมและจัดบวชกัน ท่ัวประเทศ การบวชเปน็ สามเณรในพธิ ฌี าปนกจิ ศพหรอื พระราชทานเพลงิ ศพของบพุ การเี รยี กวา่ บวชหนา้ ไฟ เป็นการบวชรักษาประเพณี เปน็ การแสดงถึงความมกี ตัญญกู ตเวที และอุทศิ กุศลแกผ่ ลู้ ว่ งลบั ไปแล้ว เชอ่ื กัน ว่าผู้ตายจะได้อนุโมทนาบุญและไปสู่สุคติ นิยมบวชตอนเช้าในวันปลงศพ และลาสิกขาตอนเย็นหลังเสร็จ พิธีฌาปนกิจศพ หรือในวันรุ่งข้ึน ถือเป็นการตอบแทนคุณบุพการี ทำ�ให้วิญญาณท่านได้เห็นชายผ้าเหลือง เกาะชายผ้าเหลอื งข้นึ สวรรค์ การเตรียมบรรพชาสามเณร กุลบุตรปรารถนาจะบวชเป็นสามเณร ในเบื้องต้นควรให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองพาไปมอบตัว ต่อเจ้าอาวาสหรือพระอุปัชฌาย์ในวัดต้องการจะอยู่อาศัย เพ่ือให้ตรวจดูคุณสมบัติและกำ�หนดวันบวชให้ กอ่ นถึงวันบวช ๓ วัน ๗ วัน ผ้ขู อบวชต้องทอ่ งค�ำ ขอบรรพชาและศีล ๑๐ ใหไ้ ดถ้ กู ต้องคลอ่ งปาก อย่าให้ตดิ ขัด อกึ อัก ตามแบบพระอปุ ัชฌาย์กำ�หนดใหห้ มนั่ ฝกึ ซอ้ มขน้ั ตอนพธิ ีบรรพชากบั พระอุปชั ฌายใ์ หช้ ำ�นาญ ฝกึ หัด กริ ยิ ามารยาท เชน่ การกราบ การไหว้ ให้ถกู ต้อง สง่ิ ต้องจัดเตรียมในพธิ ีบรรพชาสามเณร ๑. ดอกไม้ ธปู เทียน ส�ำ หรบั บชู าพระรัตนตรยั ๒. ดอกไม้ ธปู เทียน หรือธูปเทียนแพ ส�ำ หรบั ถวายพระอุปชั ฌาย์ ๓. ไตรจีวรสำ�หรับสามเณร ประกอบดว้ ย จวี ร สบง องั สะ ประคตเอว ผ้ารดั อก ๔. บาตร พร้อมฝาบาตรและเชงิ รอง ๕. ของใชอ้ ่นื ๆ เช่น ย่าม ผ้าเชด็ ตัว รองเท้า สบู่ ยาสฟี นั เสอ่ื หมอน ม้งุ กรณีทางวดั จัดพธิ ีบรรพชาหมู่ เช่น การบรรพชาสามเณรภาคฤดูรอ้ น ทางวดั จะจดั เตรยี มสง่ิ ของ จำ�เปน็ ไวใ้ ห้ เพียงแตผ่ ู้ปกครองน�ำ บุตรหลานไปสมคั รบวชเทา่ นนั้ ระเบยี บพิธีบรรพชาสามเณร ก่อนถึงเวลาผู้ขอบรรพชาควรปลงผม โกนขนค้ิว โกนหนวดให้เรียบร้อย ถึงเวลาบรรพชา จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ คร้ังรับผ้าไตรจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ถวายเคร่ืองสักการะพระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ คร้ังอุ้มผ้าไตรระหว่างแขนประนมมือ กล่าวคำ�ขอบรรพชาคำ�ขอบรรพชามี ๒ แบบ คือ อุกาสะ และ เอสาหํ จะกล่าวแบบใดพระอุปัชฌาย์เป็น ผู้กำ�หนดให้ท่องพระอุปัชฌาย์รับผ้าไตรไปถือไว้ ให้โอวาท และสอนตจปัญจกกัมมัฏฐาน โดยอนุโลม และปฏิโลม เสร็จแล้วมอบผ้าไตรให้นุ่งห่มผู้ขอบรรพชาครองผ้าเรียบร้อยแล้ว กลับเข้ามาหาพระอุปัชฌาย์ แนวทางการจดั การเรยี นร้ธู รรมศกึ ษา ชัน้ โท วชิ าอนพุ ุทธประวัติ
224 น่งั คุกเขา่ ประนมมอื เปลง่ วาจาขอสรณคมนแ์ ละศลี ๑๐ พระอุปัชฌายว์ ่านะโม ๓ จบ ต่อดว้ ยสรณคมนแ์ ละ ศีล ๑๐ ผู้ขอบรรพชาเปล่งวาจาตามไปทกุ บท จบแลว้ กราบพระอปุ ชั ฌาย์ ๓ คร้ัง เป็นอันเสรจ็ พธิ ี สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ จัดเป็นบรรพขติ ในพระพุทธศาสนา ๕ ประเภทประกอบดว้ ย ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี รวมเรียกว่า สหธรรมิก ปัจจุบันในประเทศไทยเหลืออยู่เพียง ภกิ ษุและสามเณรเทา่ น้นั สามเณรตอ้ งรักษาศีล ๑๐ ขอ้ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เวน้ จากการเสพกาม ๔. เวน้ จากการพดู โกหก พูดค�ำ หยาบ พดู ยุยงใหเ้ ขาแตกกัน และพูดเร่ืองไรส้ าระ ๕. เว้นจากการดม่ื สรุ าเมรยั และของมึนเมาตา่ งๆ ๖. เว้นจากการฉนั อาหารในเวลาวิกาล หลงั จากเทีย่ งวนั เปน็ ตน้ ไป ๗. เวน้ จากการฟ้อนร�ำ ขับรอ้ ง ประโคมดนตรี และดกู ารละเล่น ๘. เวน้ จากการตกแตง่ รา่ งกาย ทัดทรงดอกไม้ ลูบไลด้ ้วยของหอม ๙. เว้นจากการนงั่ นอนบนเตยี งฟูกต่งั สูงใหญ่ ภายในยดั นนุ่ สำ�ลี มีลวดลายวจิ ติ รงดงาม ๑๐. เวน้ จากการรับเงินและทอง รวมทงั้ ของมคี ่าอืน่ ๆ ถา้ สามเณรทำ�ผิดศลี ทัง้ ๑๐ ขอ้ นี้เรยี กว่า ศลี ขาด หมายถึง ขาดจากความเป็นสามเณรแตส่ ามเณร สามารถสมาทานศีล ๑๐ ข้อนั้นอีกได้ เรียกว่า ต่อศีลนอกจากนั้นสามเณรยังต้องศึกษาและปฏิบัติตาม เสขยิ วตั ร ๗๕ ขอ้ เชน่ เดยี วกบั พระภกิ ษุ เพอ่ื ฝกึ กริ ยิ ามารยาทใหเ้ รยี บรอ้ ย เปน็ ทเ่ี จรญิ ศรทั ธาเกดิ ความเลอ่ื มใส แกผ่ พู้ บเห็น พิธีอุปสมบทเป็นพระภกิ ษุ การอุปสมบท คอื การบวชกลุ บตุ รเป็นพระภกิ ษุ เรียกให้เต็มรปู แบบของพธิ บี วชว่า พิธบี รรพชา อุปสมบท เพราะผู้บวชเป็นพระภิกษุต้องผ่านการบวชเป็นสามเณรในเบ้ืองต้นก่อนคำ�ว่าอุปสมบท มาจาก คำ�วา่ อปุ สัมปทา แปลว่า ความถงึ พร้อมผู้จะอปุ สมบทตอ้ งมีคณุ สมบัตพิ รอ้ มสมบูรณ์ เช่น เป็นผู้ชาย มอี ายุ ครบ ๒๐ ปี ได้รับอนุญาตจากบิดามารดามีอัฐบริขารครบ ไม่มีบรรพชาโทษหรือข้อห้ามในการอุปสมบท เชน่ เป็นโรคเรื้อรัง เป็นทาสเขา มหี นี้สินตดิ ตัว เปน็ ขา้ ราชการยังไม่ไดร้ บั อนุญาตให้ลาบวช การเตรียมตวั อุปสมบทเปน็ พระภิกษุ เหมอื นการเตรียมตวั บรรพชาเปน็ สามเณรข้างต้น เพยี งแต่ เดิมผู้ขออุปสมบทต้องไปอยู่วัดประมาณ ๑๕ วัน ถึง ๑ เดือน เพ่ือฝึกท่องขานนาค นอกจากนี้ยังต้องท่อง บทสวดมนต์อื่นๆ ซ่ึงจำ�เป็นต้องใช้หลังจากอุปสมบทแล้ว แต่ปัจจุบันการปฏิบัติเช่นนี้มีน้อยแล้ว ผู้ขอ อุปสมบทส่วนมากท่องขานนาคที่บ้าน พอใกล้ถึงวันบวชจึงไปฝึกซ้อมต่อหน้าพระอุปัชฌาย์หรือผู้ได้รับ มอบหมาย อย่างไรก็ตาม ผบู้ วชต้องทอ่ งขานนาคจนจำ�ได้และกล่าวค�ำ ขอบรรพชาอุปสมบทได้ถกู ต้องชัดเจน ดว้ ยตนเอง แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศกึ ษา ช้ันโท วชิ าอนพุ ทุ ธประวัติ
225 สงิ่ ต้องจดั เตรียมในพิธอี ปุ สมบท สงิ่ ตอ้ งจดั เตรยี มในพธิ อี ปุ สมบท ประกอบดว้ ยสง่ิ จ�ำ เปน็ ตามขอ้ ก�ำ หนดในพระวนิ ยั ไดแ้ กอ่ ฐั บรขิ าร เรยี กวา่ บริขารแปด และเคร่ืองใช้สอยสำ�หรับพระบวชใหม่ คือ ๑. ไตรครอง ประกอบดว้ ย สังฆาฏิ จีวร สบง ประคตเอว องั สะ ผ้ารัดอก ๒. บาตร พรอ้ มฝาบาตร เชิงบาตร ถลกบาตร สายสะพาย ๓. มีดโกน พรอ้ มหินลับมีด ๔. เขม็ เยบ็ ผ้า พรอ้ มดา้ ยเย็บผ้า ๕. ธมกรก อา่ นว่า ทะมะกะหรก คอื ทกี่ รองนา้ํ ๖. เสอื่ หมอน มุง้ ผา้ ห่ม ผา้ เชด็ ตวั ๗. ตาลปัตร ยา่ ม ร่ม รองเทา้ ๘. จาน ช้อนส้อม กระติกน้ํา แก้วน้าํ ๙. ขันอาบน้ํา สบู่ ยาสฟี นั แปรงสฟี นั ส่ิงของข้อ ๑ ถึง ๕ ขาดส่ิงใดส่ิงหน่ึงไม่ได้ เพราะเป็นอัฐบริขารของพระภิกษุ จำ�เป็นต้องมี ส่วนข้อ ๖ ถึง ๙ จะมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะสามารถจัดหาเพิ่มเติมได้ภายหลัง สำ�หรับการเตรียมอัฐบริขาร ผา้ ไตรครองควรวางไว้บนพานแว่นฟา้ มีดโกน พร้อมหนิ ลบั มีด กล่องเข็มและธมกรก รวบรวมใส่ไว้ในบาตร น�ำ บาตรสวมในถลกบาตรอกี ชัน้ หนงึ่ พธิ ปี ลงผมและท�ำ ขวัญนาค งานอุปสมบท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า งานบวช หรืองานบวชนาคตามประเพณีภาคกลาง ถือเป็น งานใหญ่ มีการออกบัตรเชิญหรือแจกการ์ด แก่ญาติมิตรของเจ้าภาพและเพื่อนนาคด้วย เดิมนิยมจัดงาน เป็น ๒ วัน วนั แรกเป็นวันทำ�ขวญั นาค หลังจากปลงผมแต่งตวั นาคเรยี บร้อยแล้ว อาจมพี ิธเี จรญิ พระพุทธมนต์ ตอนเยน็ แตจ่ ะไมเ่ ลย้ี งพระเช้า เพราะตอนเชา้ เจา้ ภาพตอ้ งเตรยี มแหน่ าคไปวดั พระสงฆเ์ จรญิ พระพทุ ธมนตจ์ บ เจ้าภาพถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพและนาคกรวดน้ํารับพร เป็นอันเสร็จพิธี ภาษาท้องถิ่น เรยี กวา่ สวดมนตป์ ลอ่ ย ตกตอนกลางคนื จงึ ใหม้ พี ธิ ที �ำ ขวญั นาคหรอื บางงานนมิ นตพ์ ระมาเทศนส์ อนนาคแทน เพอื่ ใหน้ าคเขา้ ใจถึงวัตถุประสงค์และอานิสงส์ของการบวช อาจมมี หรสพมาแสดงสมโภชดว้ ยกไ็ ด้ ความหมายค�ำ วา่ นาค นาค แปลวา่ ผ้ปู ระเสริฐ หรอื ผู้ไม่กลบั มาสู่ความชั่ว หมายถงึ มีจติ ศรัทธาบวช ตัง้ ใจละความไมด่ ี ต่างๆ เคยทำ�มาแล้ว และจะไม่หวนกลับมาทำ�ส่ิงนั้นอีก ผู้บวชแล้วกลับมาทำ�ความช่ัวความเลวอีก โบราณ บอกว่า บวชเสยี ผ้าเหลือง ความเปน็ มาของคำ�วา่ นาคมเี รือ่ งเล่าว่า คร้ังหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ พญานาคตนหน่ึงจำ�แลงกายเป็น ชายหนุ่มมาฟังพระธรรมเทศนาด้วย เกิดความเล่ือมใสในพระพุทธศาสนา มีความประสงค์จะบวชเป็น พระภิกษุ จึงเข้าไปหาพระสงฆ์เพ่ือขอบวชพระ พระสงฆ์ไม่ทราบว่าพญานาคจำ�แลงมาจึงบวชให้ เมื่อ แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศกึ ษา ชัน้ โท วิชาอนพุ ทุ ธประวตั ิ
226 ท่านบวชแล้วได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเหมือนพระสงฆ์รูปอ่ืนๆ ต่อมาวันหนึ่งพระภิกษุนาคจำ�แลงนั้น นอนเผลอสติหลับไป ร่างมนุษย์ได้กลับคืนเป็นพญานาคตามเดิม พระภิกษุรูปหนึ่งมาเห็นเข้า ตกใจกลัว ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์สั่งให้ตรัสเรียกพระภิกษุนาคจำ�แลงน้ันมา ตรัสบอกว่า สัตว์ดิรัจฉานไม่สามารถอุปสมบทเป็นพระภกิ ษุในพระพุทธศาสนาได้ พญานาคจงึ สละเพศพระภิกษุ แต่ดว้ ย ความเลื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงทูลขอพรว่า ภายภาคหน้าถ้ากุลบุตรมีศรัทธาขอบวชพระ ให้เรียก ผูน้ ้นั วา่ นาค พระพทุ ธเจ้าทรงประทานพรน้ัน ค�ำ ว่า นาค จึงเปน็ ค�ำ เรียกผูข้ อบรรพชาอุปสมบทมาจนบัดน้ี การจดั ขบวนแหน่ าค การจัดขบวนแห่นาคมีรูปแบบการจัดแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นท่ี ในเขตภาคกลาง เดิมมีการ จัดขบวนแห่นาคจากบ้านงานไปวัดทั้งทางน้ําและทางบก ปัจจุบันการคมนาคมทางบกสะดวกกว่าจึงนิยม แห่นาคทางบกเป็นหลัก ขบวนแห่นาคจัดการแสดงนำ�หน้า เช่น สิงโต ฟ้อนรำ� ตามด้วยดนตรี กลองยาว หรือแตรวง ลำ�ดับต่อมาเป็นผู้ถือของสักการะพระอุปัชฌาย์และคู่สวดผู้ถือไทยธรรมพระอันดับบิดาหรือ ญาติผู้ชายสะพายบาตรถือตาลปัตร มารดาหรือญาติผู้หญิงอุ้มพานแว่นฟ้าผ้าไตรครองส่วนนาคประนมมือ ถอื ดอกบวั ๓ ดอก ธปู ๓ ดอก เทียน ๒ เลม่ เดินตรงกลางขบวน ญาตผิ ู้หญิงอ้มุ พานแว่นฟา้ ผา้ ไตรอาศัย ผถู้ ือบรขิ ารส�ำ หรบั พระบวชใหม่ และผรู้ ว่ มขบวนแห่ท้งั หมด เดนิ ตามหลงั นาค กระท่งั นาคเข้าโบสถ์ การเวยี นนาครอบโบสถ์ ในการเวียนนาครอบอุโบสถ ๓ รอบ เป็นการเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา เรียกว่า ประทักษิณ เป็นการแสดงความเคารพแบบชาวอนิ เดยี ในสมยั พทุ ธกาล นาคเดนิ ดว้ ยความส�ำ รวม ในรอบที่ ๑ ภาวนาว่า พุทโธๆ รอบท่ี ๒ ภาวนาว่า ธมั โมๆ รอบท่ี ๓ ภาวนาวา่ สงั โฆๆ เพ่ือใหจ้ ิตแน่วแนใ่ นพระรตั นตรัย ไม่ควร ขี่คอคนอื่นและผู้ร่วมขบวนแห่ไม่ควรนำ�สุราของมึนเมามาดื่มในขบวนแห่เพราะอุโบสถเป็นเขตพุทธาวาส เป็นสถานท่ีประทับพระพุทธเจ้า พระประธานถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า การขี่คอ การดื่มของมึนเมา ทุกชนิด ถือเป็นการแสดงอาการไม่เคารพต่อพระพุทธเจ้า ปัจจุบันในกรณีไม่มีการจัดงานใหญ่ ไม่นิยม จัดดนตรีเครื่องประโคม มีขบวนแห่เฉพาะเจ้าภาพ และญาติมิตรเดินเวียนโบสถ์ด้วยความสงบ นับว่าเป็น การปฏบิ ัติที่ถูกตอ้ ง พธิ ีวนั ทาเสมาน�ำ นาคเข้าโบสถ์ เมอ่ื แหน่ าคเวียนประทักษณิ อโุ บสถครบ ๓ รอบแล้ว ขบวนแหน่ ำ�สิง่ ของถือมาเข้าไปตัง้ ในอโุ บสถ ใหเ้ รยี บร้อย สว่ นนาคก่อนเข้าอโุ บสถต้องวันทาเสมากอ่ น โดยนั่งคุกเข่าหนา้ เสมาด้านหนา้ อโุ บสถ ประนมมือ ถือดอกไม้ธูปเทียน กล่าวคำ�วันทาเสมา บางแห่งจัดดอกไม้ธูปเทียนอีกชุดหน่ึงสำ�หรับให้นาควันทาเสมา ส่วนชุดในขบวนแห่ใช้สำ�หรับจุดบูชาพระรัตนตรัยในอุโบสถการวันทาเสมา เป็นการแสดงความเคารพ ต่อสถานท่ี อันเป็นปูชนียสถานเพื่อขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยหรือสถานท่ีน้ัน หากตนเคยทำ�ผิดหรือ ล่วงเกินทั้งเจตนาและไม่เจตนา เพราะนาคต้องอาศัยสถานท่ีนั้นประกอบพิธีอุปสมบทยกฐานะเป็นพระคือ ผูป้ ระเสรฐิ แนวทางการจัดการเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ช้ันโท วิชาอนุพทุ ธประวัติ
227 เมือ่ วนั ทาเสมาแลว้ กอ่ นเขา้ อุโบสถใหน้ าคโปรยทานด้วย เพ่อื แสดงให้เห็นวา่ ผ้บู วชสละทรัพย์สนิ ภายนอกแล้ว ไม่อาลัยในทางโลก พร้อมจะดำ�รงเพศสมณะ ดำ�เนินชีวิตในทางธรรม การนำ�นาคเข้าอุโบสถ มคี ติเป็น ๒ อย่าง คอื อย่างแรกพอ่ แม่น�ำ นาคเข้าอุโบสถ มคี วามหมายวา่ พ่อแมน่ ำ�นาคไปมอบแก่พระสงฆ์ เพ่ือใหพ้ ระอุปัชฌาย์ท�ำ การอุปสมบทให้ อยา่ งที่ ๒ คือ นาคนำ�พ่อแม่เข้าสู่อโุ บสถ มีความหมายว่า ลกู ชาย น�ำ พ่อแม่เขา้ สู่ประตูพระพทุ ธศาสนา ตามค�ำ กลา่ วว่า เกาะชายผ้าเหลืองขนึ้ สวรรค์ นาคเข้าสู่อุโบสถแล้ว นำ�ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กลับมานั่งกลางอุโบสถ ถ้านาคยังไม่ ได้ขอขมาโทษต่อบิดามารดา จะขอขมาช่วงนี้ก็ได้ จากนั้นรับผ้าไตรจากบิดามารดาเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ขอบรรพชาตามพิธบี รรพชาขา้ งตน้ ระเบียบพธิ ีอุปสมบทพระภกิ ษุ เม่ือกุลบุตรได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จากน้ันสามเณรรับบาตรจากบิดามารดา อุ้มเข้า ไปหาพระอุปัชฌาย์ วางบาตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเคร่ืองสักการะถวายแด่พระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ คร้ัง ยืนหรือน่ังคุกเข่า ตามวิธีการบวชแบบ เอสาหํ หรือ อุกาสะ ประนมมือกล่าวคำ�ขอนิสัย คือการขออยู่ เปน็ ศิษยข์ องท่าน ตอ่ ดว้ ยคำ�ฝากตวั ต่อพระอปุ ัชฌาย์ ซึ่งมีความหมายวา่ ตัง้ แต่บัดน้ีเปน็ ตน้ ไป พระอุปัชฌาย์ เป็นภาระของพระบวชใหม่ในการปรนนิบัติ แม้พระบวชใหม่ ก็เป็นภาระของพระอุปัชฌาย์ในการอบรม ส่ังสอน จบแล้วกราบ ๓ ครงั้ พระอุปัชฌาย์บอกฉายานามของท่านคือ ช่ือในทางพระพุทธศาสนา บอกฉายานามของสามเณร เรียกอีกอยา่ งหน่ึงวา่ อุปสัมปทาเปกขะ คือ ต้ังช่ือให้ใหม่เม่ือเขา้ มาบวชในพระศาสนาบอกชื่อบริขารสำ�คัญ ๔ อย่าง คือ บาตร สังฆาฏิ จีวร สบง จบแล้วพระสงฆ์นำ�สายบาตรคล้องตัวสามเณร บอกให้สามเณร ออกไปยืนนอกท่ปี ระชมุ สงฆ์ พระคู่สวด มีช่ือเรียกตามวิธีอุปสมบทว่า พระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์สำ�หรับ พระกรรมวาจาจารย์ มีพรรษามากกว่าพระอนุสาวนาจารย์ ทั้งสองรูปสวดสมมุติตนแล้วออกไปสวดซักถาม อันตรายิกธรรม คือ สิ่งเป็นข้อห้ามในการอุปสมบท ถามนามพระอุปัชฌาย์ และนามผู้ขอบวช เบื้องหน้า อปุ สมั ปทาเปกขะ จบแล้วกลบั เขา้ มาสวดเรยี กอปุ สัมปทาเปกขะ กลับเขา้ มายังท่ปี ระชุมสงฆ์ กราบพระสงฆ์ ๓ ครัง้ น่งั คกุ เขา่ ประนมมอื เปล่งวาจาขออุปสมบท ๓ จบ ตอ่ หน้าพระสงฆท์ ุกรูป สำ�ดบั นนั้ พระอุปัชฌาย์เผดยี งสงฆใ์ หร้ บั รู้การเขา้ มาขออุปสมบทของอปุ สัมปทาเปกขะพระคสู่ วด สมมุติตนสอบถามอันตรายิกธรรม ถามฉายาพระอุปัชฌาย์ ถามฉายาอุปสัมปทาเปกขะต่อหน้าสงฆ์ อีกครั้งหน่ึง จากนั้นผู้ขอบวชนั่งฟังการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ นับจากน้ีไป ผู้บวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ ทรงศีล ๒๒๗ ข้อตามพระวินัยโดยไม่ต้องต่อศีลใหม่ เหมือนศีลของสามเณร วิธีอุปสมบทน้ีเรียกว่า ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์องค์แรก ทำ�การอุปสมบทราธพราหมณ์เป็นพระภิกษุ รูปแรก ด้วยวธิ ีอปุ สมบทนี้ แนวทางการจดั การเรยี นรูธ้ รรมศึกษา ช้ันโท วิชาอนพุ ุทธประวตั ิ
228 เม่ือเสร็จการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาแล้ว พระใหม่นำ�บาตรออกจากตัว กราบ ๓ ครั้ง น่ังพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ คือ คำ�สอนการปฏิบัติตนในเบื้องต้น ๘ ประการ แบง่ เป็น ๒ ประเภท คือ นสิ สยั ปัจจัยเคร่ืองอาศัยของบรรพชิต ได้แก่ อาหารบณิ ฑบาต ผา้ บังสุกุลส�ำ หรบั นุ่งหม่ เสนาสนะสำ�หรับอยู่อาศยั ยารักษาโรคและอกรณียกจิ ข้อหา้ มไมใ่ ห้ พระภกิ ษุกระท�ำ รูปใดขืนกระท�ำ ลงไป ต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที จะกลับมาบวชอีกไม่ได้ ได้แก่ เสพเมถุน ฆ่าคนตายโดยเจตนา ลักขโมยทรัพย์ของคนอื่น เทียบเท่าราคาแต่ ๑ บาทขึ้นไปพูดอวดคุณวิเศษไม่มีในตน เพ่ือหลอกลวงคนอ่ืน หวังจะได้ลาภสักการะเม่ือพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์จบ พระบวชใหม่รับว่า อามะ ภันเต กราบ ๓ คร้ัง เจ้าภาพถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา พระบวชใหม่และเจ้าภาพกรวดน้ํารับพร จบแล้ว พระสงฆแ์ ละพระบวชใหมก่ ราบพระประธาน ๓ ครัง้ เป็นอนั เสร็จพธิ ี คำ�ส�ำ หรบั เรยี กผู้ได้รบั การอปุ สมบทแลว้ บุคคลผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว มีสมัญญานามยกย่องหลายประการ โดยมีความหมายแตกต่าง กันไป เช่นพระ มาจากคำ�ว่า วร แปลวา่ ผ้ปู ระเสริฐ หมายถงึ ผปู้ ระเสริฐด้วยศีลภิกษุ แปลได้ ๒ ความหมาย อยา่ งแรกแปลวา่ ผขู้ อ คอื ด�ำ รงชพี อยดู่ ว้ ยการรบั อาหารบณิ ฑบาต บางแหง่ เรยี ก ออกโปรด หมายถงึ ออกโปรด ชาวบ้านให้ได้ทำ�บุญตักบาตร สร้างเสบียงบุญให้ตน อีกอย่างหนึ่งแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร หมายถึง เห็นโทษการเวียนว่ายตายเกิดออกบวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นเหมือนพระสาวกในอดีตบรรพชิต แปล ตามศัพท์ว่า บวชแล้ว เว้นแล้ว หมายถึง เป็นนักบวชประเภทหน่ึง งดเว้นการทำ�บาปและความช่ัวท้ังปวง สมณะ แปลว่า ผู้สงบ หมายถงึ สงบกาย สงบวาจา สงบใจ จากสง่ิ ย่วั ยุให้เกดิ กิเลสท้งั ปวง ประเพณีการบวชของพทุ ธศาสนิกชนชาวไทย เดมิ นิยมใหบ้ ตุ รหลานที่มีอายุครบ ๒๐ ปี เรียกวา่ ครบบวช เข้ารับอปุ สมบทอยา่ งน้อย ๑ พรรษา เพื่อศึกษาเล่าเรยี นปฏบิ ตั ิตามพระวนิ ัย จนมีคำ�พดู ติดปากว่า บวชเรียน คนยังไม่ได้บวช เรียกว่า คนดิบ ไปขอลูกสาวใครพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่เต็มใจยกลูกสาวให้ เมื่อ บวชแล้วสึกออกมา เรียกวา่ คนสุก หมายถึง เป็นคนโดยสมบูรณ์ เรียกวา่ ทิด ย่อมาจาก บัณฑิต แปลวา่ ผู้มีปัญญา หรือผู้ดำ�เนินชีวิตด้วยปัญญา แต่ปัจจุบันคนอุปสมบทแล้วอยู่ครบพรรษามีจำ�นวนน้อยโดยมาก บวชกันเพยี ง ๗ วนั ๑๕ วัน หรือเดือนหน่ึง เป็นการบวชพอเป็นพธิ บี วชไมท่ ันได้ศกึ ษาเลา่ เรยี นก็ลาสิกขาแล้ว มีภาระการงานเป็นเหตอุ า้ งท�ำ ใหก้ ารบวชเปล่ียนไปจากวตั ถุประสงค์เดมิ วตั ถุประสงคก์ ารบวช วตั ถปุ ระสงคก์ ารบรรพชาและอปุ สมบทมมี าแตโ่ บราณเพอื่ เปน็ ทายาททางพระศาสนา ไดเ้ ลา่ เรยี น ศึกษาและปฏิบัติธรรมตอบแทนค่าน้ํานมและข้าวป้อนของพ่อแม่เผยแผ่พระศาสนารักษาประเพณีอันดีงาม ของชาวพทุ ธตอ่ อายุพระศาสนาให้คงอยู่สบื ไป ตราบใดยังคงมพี ระสงฆ์ พระพุทธศาสนายงั ด�ำ รงอยู่ ตราบน้ัน จงึ เปรยี บจวี รของพระสงฆเ์ ป็นธงชยั พระอรหันต์ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชนั้ โท วชิ าอนุพทุ ธประวัติ
229 พธิ ฉี ลองพระบวชใหม่ งานฉลองพระบวชใหม่ เป็นพิธีทำ�บุญฉลองกุลบุตรผู้ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุใน พระพุทธศาสนาเรียร้อยแล้ว สมัยก่อนนิยมจัด ๒ วัน คือสวดมนต์เย็นเล้ียงพระเช้า เรียกกันว่า สวดมนต์ ฉันเช้า ปัจจุบันนิยมจัดเพียงวันเดียว โดยจัดพิธีอุปสมบทในช่วงเช้านิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ฉลองพระบวชใหม่ และถวายภัตตาหารเพล พิธีฉลองพระบวชใหม่ มีระเบียบวิธีปฏิบัติเหมือนพิธีมงคลอ่ืน ๆ ข้างต้น อาจต่างกันบ้าง ในรายละเอียด ซ่งึ การประกอบพธิ ีสว่ นใหญเ่ ป็นเรอ่ื งของพระบวชใหม่กิจกรรมต่าง ๆ จึงมุ่งเนน้ พระบวชใหม่ เปน็ หลกั ดังนั้น ในวันฉลอง พระบวชใหม่จะเปน็ ผู้จุดธูปเทียนบูชาพระรตั นตรยั พธิ ีกรน�ำ ไหว้พระกราบพระ ตามปกติพระใหม่ไม่ต้องประนมมือตามคฤหัสถ์ ประธานสงฆ์ให้ศีล ก็ไม่ต้องรับศีล เมื่อพระสงฆ์เจริญ พระพุทธมนต์จึงประนมมือข้ึนพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทพาหุง พระใหม่รับประเคนอาหารจาก คฤหสั ถน์ ำ�ไปตกั บาตรรบั ประเคนอาหารจากคฤหัสถ์ อกี คร้งั หนง่ึ ถวายแด่พระสงฆ์ เม่ือพระสงฆท์ �ำ ภตั ตกจิ เสร็จแล้ว ถวายไทยธรรม กรวดนํ้ารับพร รับการประพรมนํ้ามนต์จากประธานสงฆ์ กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี แนวทางการจัดการเรียนรูธ้ รรมศกึ ษา ช้นั โท วชิ าอนุพุทธประวตั ิ
230 บทที่ ๕ แบบทดสอบ แบบทดสอบธรรมศกึ ษา ชัน้ โท ประกอบดว้ ย - แบบทดสอบกอ่ นเรียน - เฉลยแบบทดสอบกอ่ นเรยี น - แบบทดสอบหลังเรยี น - เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน แนวทางการจดั การเรยี นรู้ธรรมศึกษา ชัน้ โท วิชาอนพุ ทุ ธประวตั ิ
231 แบบทดสอบก่อนเรยี นวิชาอนพุ ทุ ธประวตั ิ ธรรมศกึ ษา ช้ันโท จำ�นวน ๕๐ ข้อ ๕๐ คะแนน คำ�ชแี้ จง ใหน้ ักเรยี นเลอื กคำ�ตอบท่ีถกู ต้องทส่ี ุดเพียงคำ�ตอบเดียว ๑. ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจา้ ตรงกบั ข้อใด ข. พระโสดาบนั ก. พระปัจเจกพุทธเจา้ ง. พระอนาคามี ค. พระอนุพทุ ธะ ๒. ผู้แรกเขา้ ถงึ กระแสพระนิพพาน เปน็ ความหมายของข้อใด ก. พระโสดาบนั ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคาม ี ง. พระอรหันต์ ๓. ผูไ้ ดร้ บั ยกยอ่ งว่าเลิศในทางน้นั ๆ เรียกว่าอะไร ข. สาวก ก. อริยบุคคล ง. พหูสตู ค. เอตทคั คะ ๔. อญญฺ าสิ ในคำ�วา่ อญญฺ าสิ วต โภ โกณฑญโฺ ญ หมายความว่าอยา่ งไร ก. ได้บรรลุแล้ว ข. ได้รแู้ ล้ว ค. ได้เห็นแลว้ ง. ได้ปลงแล้ว ๕. พระอัญญาโกณฑญั ญะ ได้รบั ยกยอ่ งเปน็ รตั ตัญญูเพราะเหตใุ ด ก. ร้ธู รรมก่อนใคร ข. บวชกอ่ นใคร ค. มปี ระสบการณม์ าก ง. มคี วามรูม้ าก ๖. วาจาเช่นนี้ เราไดเ้ คยพูดแลว้ ในปางกอ่ นหรือ ใครกล่าว ก. พระพทุ ธเจา้ ข. พระโกณฑัญญะ ค. พระอสั สช ิ ง. พระสารบี ตุ ร ๗. พระสาวกท่ีได้รับยกย่องวา่ มบี ริวารมาก ชอ่ื วา่ อะไร ก. พระอรุ เุ วลกสั สปะ ข. พระนทีกสั สปะ ค. พระคยากัสสปะ ง. พระมหากสั สปะ ๘. พระพทุ ธเจา้ ทรงแสดงอาทติ ตปรยิ ายสูตร ณ ทีใ่ ด ก. อุรุเวลาเสนานคิ ม ข. คยาสสี ะ ค. เชตวัน ง. เวฬวุ ัน แนวทางการจดั การเรียนรูธ้ รรมศึกษา ชั้นโท วชิ าอนุพุทธประวตั ิ
232 ๙. ใครเป็นกำ�ลังสำ�คญั ในการประกาศพระศาสนาทแ่ี คว้นมคธ ก. พระอสั สช ิ ข. พระมหากัสสปะ ค. พระสารบี ตุ ร ง. พระอรุ เุ วลกัสสปะ ๑๐. ผูม้ อี ายุ ท่านมอี ินทรยี ผ์ ่องใส บวชจำ�เพาะใคร เป็นค�ำ พดู ของใคร ก. อชิตมาณพ ข. ปณุ ณกมาณพ ค. อปุ ตสิ สมาณพ ง. โกลิตมาณพ ๑๑. อุปตสิ สมาณพไดด้ วงตาเหน็ ธรรม เพราะฟังธรรมจากใคร ก. พระพทุ ธเจา้ ข. พระมหานามะ ค. พระอสั สช ิ ง. พระยส ๑๒. ปิปผลมิ าณพเหน็ โทษในการครองเรือนอยา่ งไร จงึ ออกบวช ก. ตอ้ งรบั ผิดชอบมาก ข. ตอ้ งคอยรบั บาปคนอืน่ ค. ต้องทำ�แตบ่ าปกรรม ง. ตอ้ งพัวพันเรอ่ื งกาม ๑๓. ขอ้ ใด ไมใ่ ชธ่ ุดงควตั รของพระมหากัสสปะ ข. เท่ยี วบิณฑบาต ก. ถือผ้าบงั สุกลุ ง. อยู่ปา่ ชา้ ค. อยปู่ ่า ๑๔. วรรณะท้ัง ๔ ย่อมเสมอกันด้วยกรรมคอื การกระทำ� ใครกลา่ ว ก. พระมหากสั สปะ ข. พระมหากัจจายนะ ค. พระอานนท ์ ง. พระอนรุ ทุ ธะ ๑๕. พระสาวกรปู ใด บรรลพุ ระอรหตั ก่อนบวช ข. พระมหากัสสปะ ก. พระอนรุ ทุ ธะ ง. พระอานนท์ ค. พระมหากัจจายนะ ๑๖. ใครเหน็ วา่ ลัทธบิ ูชาไฟของตนไม่มแี ก่นสาร จึงขอบวชในพระพทุ ธศาสนา ก. อรุ เุ วลกสั สปะ ข. ปปิ ผลมิ าณพ ค. อุปติสสมาณพ ง. โกลิตมาณพ ๑๗. พระสาวกรปู ใด ทำ�ใหพ้ ระสารบี ุตรได้ชื่อวา่ เป็นผู้มคี วามกตญั ญู ก. พระราธะ ข. พระราหลุ ค. พระรัฐบาล ง. พระจนุ ทะ แนวทางการจัดการเรยี นร้ธู รรมศกึ ษา ชน้ั โท วชิ าอนุพุทธประวัติ
233 ๑๘. พระมหากสั สปะอุปสมบทแลว้ ก่ีวัน จงึ สำ�เร็จเป็นพระอรหันต์ ? ก. ๕ วัน ข. ๗ วัน ค. ๘ วนั ง. ๑๕ วนั ๑๙. พระสาวกรูปใด เป็นประธานท�ำ สงั คายนาเพือ่ รักษาพระศาสนาให้มงั่ คงถาวร ? ก. พระมหากัสสปะ ข. พระอนุรทุ ธะ ค. พระอานนท์ ง. พระอุบาลี ๒๐. พระพทุ ธเจา้ แสดงโทษการพูดมุสาแกใ่ คร ข. พระราหลุ ก. พระนนั ทะ ง. พระอุบาลี ค. พระอานนท ์ ๒๑. ราหลุ เป็นพระนามที่ตงั้ ตามหลกั ใด ข. พธิ ขี นานนาม ก. มงคลนาม ง. คำ�อทุ านของบดิ า ค. ฤษีตัง้ ให ้ ๒๒. ลูกเศรษฐเี มืองโสเรยยะ คดิ อยากไดภ้ รรยามีรปู งามเหมือนพระสาวกรูปใด ? ก. พระมหากัสสปะ ข. พระโมฆราช ค. พระมหากัจจายนะ ง. พระราธะ ๒๓. พระสาวกรปู ใด ขอผอ่ นปรนให้อปุ สมบทในปจั จนั ตชนบทดว้ ยสงฆ์ ๕ รูป ? ก. พระโมฆราช ข. พระมหากัจจายนะ ค. พระอานนท์ ง. พระเรวตะ ๒๔. ข้อใด มใิ ชเ่ อตทคั คะของพระอานนท์ ข. มีสติ ก. แสดงธรรมไพเราะ ง. มีความเพียร ค. พหสู ตู ๒๕. พระสาวกรปู ใด บรรลุพระอรหัตชา้ เพราะมีกจิ มาก ก. พระสารีบุตร ข. พระอานนท์ ค. พระโมคคัลลานะ ง. พระอนรุ ทุ ธะ ๒๖. พระสาวกรปู ใด เปน็ สหชาติ คือเกิดวนั เดียวกบั พระพทุ ธเจ้า ? ก. พระภัททยิ ะ ข. พระนันทะ ค. พระราหุล ง. พระกาฬุทายี แนวทางการจดั การเรยี นรธู้ รรมศึกษา ช้ันโท วชิ าอนพุ ุทธประวัติ
234 ๒๗. พระสาวกรูปใด อธิษฐานใหไ้ ดร้ ับความร้ทู ุกวนั เทา่ กับเม็ดทรายในก�ำ มอื ? ก. พระราหุล ข. พระอนุรทุ ธะ ค. พระอานนท์ ง. พระนนั ทะ ๒๘. พระสาวกรปู ใด มีความช�ำ นาญรอบร้ใู นพระวินัยปิฎก ? ก. พระมหากสั สปะ ข. พระอนุรทุ ธะ ค. พระอานนท์ ง. พระอุบาลี ๒๙. พระอานนท์ทูลขอพรวา่ อย่าทรงไปในที่นิมนต์ เพราะเหตุใด ? ก. ถอื ธุดงค์ ข. ไม่เหน็ แก่ลาภ ค. เบ่อื หนา่ ย ง. ทุพพลภาพ ๓๐. กอ่ นพระพทุ ธเจ้าปรินพิ พาน พระอานนทส์ �ำ เรจ็ เป็นพระอริยบุคคลชัน้ ใด ? ก. พระโสดาบัน ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์ ๓๑. ภิกษณุ ีรูปใดไดช้ อ่ื ว่าเปน็ อัครสาวกิ าเบอ้ื งซ้ายผูท้ รงฤทธิ์ ก. พระกสี าโคตมเี ถร ี ข. พระอบุ ลวรรณาเถรี ค. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ง. พระปฎาจาราเถรี ๓๒. ภกิ ษุณีรูปใดไดช้ อื่ วา่ เปน็ ภิกษุณีสาวิกาผ้ทู รงจีวรเศร้าหมอง ก. พระกสี าโคตมเี ถร ี ข. พระอุบลวรรณาเถรี ค. พระมหาปชาบดโี คตมเี ถรี ง. พระปฎาจาราเถรี ๓๓. สามเณรรูปใดบรรลุพระอรหนั ต์เม่ืออายุ ๗ ขวบ ก. บัณฑิตสามเณร ข. สงั กิจจสามเณร ค. สุขสามเณร ง. สมุ นสามเณร ๓๔. สามเณรรปู ใดแสดงปาฏหิ ารยิ ์ปราบโจร และแสดงธรรมใหโ้ จรกลับใจขอบวชได้ ก. บณั ฑิตสามเณร ข. สงั กิจจสามเณร ค. สุขสามเณร ง. สุมนสามเณร ๓๕. ผูท้ ีส่ รา้ งวัดพระเชตวนั ถวายแก่พระพทุ ธเจา้ คือใคร ก. ธัมมกิ อบุ าสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบณิ ฑกิ เศรษฐี ง. นางวสิ าขา แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ช้ันโท วชิ าอนุพทุ ธประวัติ
235 ๓๖. ใครตัดสินอธกิ รณ์ เรอ่ื งภกิ ษณุ มี ารดาของพระกุมารกสั สปะ ก. พระมหากสั สปะ ข. พระสารบี ุตร ค. พระอุบาล ี ง. พระอานนท์ ๓๗. ฝนดอกไม้ทพิ ย์ ๔ สี ตกลงมาเป็นทนี่ ่าอัศจรรย์ เนอ่ื งจากมบี คุ คลใดมาถวายความเคารพพระพุทธเจ้า ก. ธมั มกิ อบุ าสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ง. นางวสิ าขา ๓๘. อบุ าสกผูใ้ ดทเี่ ทวดาเชื้อเชิญให้เปน็ สหายและนำ�ไปอยู่สวรรคช์ น้ั ดสุ ติ ก. ธัมมิกอุบาสก ข. จติ ตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑกิ เศรษฐี ง. นางวสิ าขา ๓๙. พระสาวกรปู ใด อยใู่ นครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดอื น ๗ วนั ก. พระราหลุ ข. พระสวี ลี ค. พระพากุละ ง. พระกังขาเรวตะ ๔๐. อุบาสกิ าใดทเ่ี ป็นผ้รู ิเริ่มการถวายผ้าอาบน้ําฝน ข. จิตตคฤหบดี ก. ธมั มิกอบุ าสก ง. นางวสิ าขา ค. อนาถบิณฑิกเศรษฐี ๔๑. การยนิ ยอมให้ว่ากลา่ วตกั เตอื นกันได้ เรยี กวา่ อะไร ก. การขอขมา ข. การท�ำ วตั ร ค. สามีจิกรรม ง. ปวารณากรรม ๔๒. ขอ้ ใดเป็นอานภุ าพของพระปรติ ร ข. อายุยนื ก. รา่ํ รวยเงินทอง ง. เจริญด้วยยศศกั ดิ์ ค. ขจัดทุกขภ์ ยั โรค ๔๓. ทักษิณานปุ ระทาน มีความหมายตรงกับข้อใด ข. ท�ำ บุญอายุ ก. ทำ�บญุ วันเกดิ ง. ท�ำ บุญให้ผตู้ าย ค. ท�ำ บญุ ขึน้ บา้ นใหม่ ๔๔. การท�ำ บญุ สตมวาร หมายถึงการท�ำ บญุ ครบวนั ตายกีว่ นั ก. ๗ วนั ข. ๕๐ วัน ค. ๑๐๐ วัน ง. ๓๖๕ วัน แนวทางการจัดการเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชนั้ โท วชิ าอนพุ ทุ ธประวัติ
236 ๔๕. สวดมาติกาบงั สกุ ลุ ในงานพระราชพธิ ี เรียกวา่ อย่างไร ก. สวดแจง ข. สดับปกรณ์ ค. สวดมาติกา ง. สวดพระอภิธรรม ๔๖. เทศนม์ หาชาติ เป็นการเทศนช์ าดกใด ข. สุวรรณสาม ก. มโหสถ ง. มหาชนก ค. มหาเวสสนั ดร ๔๗. การท�ำ บญุ ตอ่ นาม หมายถึงอะไร ข. งานท�ำ บญุ ท่ีญาตจิ ัดใหผ้ ปู้ ว่ ย ก. งานท�ำ บญุ ในบน้ั ปลายชีวติ ง. งานท�ำ บญุ อทุ ศิ ส่วนกศุ ลแกผ่ ้ลู ่วงลบั ค. งานทำ�บุญครบรอบอายุ ๔๘. ผา้ ปา่ ในสมัยพุทธกาล คือผา้ ชนิดใด ข. ผ้าอาบน้าํ ฝน ก. ผา้ วัสสกิ สาฎก ง. ผา้ อัจเจกจีวร ค. ผา้ บังสกุ ลุ จวี ร ๔๙. การทอดกฐนิ หมดเขตกลางเดอื นใด ข. เดือน๑๒ ก. เดอื น ๑๑ ง. เดือนย่ี ค. เดือนอ้าย ๕๐. เวจกุฎี หมายถึงสถานทใ่ี ด ข. ห้องรับแขก ก. ห้องนอน ง. หอ้ งสุขา ค. หอ้ งพยาบาล แนวทางการจดั การเรียนรู้ธรรมศึกษา ช้ันโท วชิ าอนุพุทธประวัติ
237 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนวชิ าอนุพทุ ธประวตั ิ ธรรมศกึ ษา ชน้ั โท จำ�นวน ๕๐ ข้อ ๕๐ คะแนน ขอ้ ขอ้ ข้อ ขอ้ ขอ้ ๑ ค ๑๑ ค ๒๑ ง ๓๑ ข ๔๑ ง ๒ ก ๑๒ ค ๒๒ ค ๓๒ ก ๔๒ ค ๓ ค ๑๓ ง ๒๓ ข ๓๓ ก ๔๓ ง ๔ ข ๑๔ ข ๒๔ ก ๓๔ ข ๔๔ ค ๕ ก ๑๕ ค ๒๕ ข ๓๕ ค ๔๕ ข ๖ ก ๑๖ ก ๒๖ ง ๓๖ ค ๔๖ ค ๗ ก ๑๗ ก ๒๗ ก ๓๗ ข ๔๗ ข ๘ ข ๑๘ ค ๒๘ ง ๓๘ ก ๔๘ ค ๙ ง ๑๙ ก ๒๙ ข ๓๙ ข ๔๙ ข ๑๐ ค ๒๐ ข ๓๐ ก ๔๐ ง ๕๐ ง แนวทางการจัดการเรียนร้ธู รรมศกึ ษา ชัน้ โท วชิ าอนพุ ุทธประวัติ
238 แบบทดสอบหลังเรยี นวชิ าอนพุ ทุ ธประวตั ิ ธรรมศึกษา ชั้นโท จำ�นวน ๕๐ ข้อ ๕๐ คะแนน ค�ำ ชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำ�ตอบท่ีถกู ต้องท่สี ดุ เพยี งค�ำ ตอบเดยี ว ๑. วาจาเช่นน้ี เราได้เคยพดู แล้วในปางก่อนหรือ ใครกล่าว ก. พระพุทธเจ้า ข. พระโกณฑญั ญะ ค. พระอสั สชิ ง. พระสารีบตุ ร ๒. พระสาวกที่ได้รับยกยอ่ งวา่ มบี ริวารมาก ชือ่ วา่ อะไร ก. อรุ ุเวลกัสสปะ ข. นทกี สั สปะ ค. คยากสั สปะ ง. มหากัสสปะ ๓. พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปรยิ ายสตู ร ณ ทีใ่ ด ก. อรุ ุเวลาเสนานคิ ม ข. คยาสสี ะ ค. เชตวนั ง. เวฬุวัน ๔. ใครเปน็ ก�ำ ลังสำ�คญั ในการประกาศพระศาสนาท่ีแคว้นมคธ ก. พระอัสสช ิ ข. พระมหากัสสปะ ค. พระสารีบุตร ง. พระอุรเุ วลกสั สปะ ๕. ผ้มู ีอายุ ทา่ นมีอนิ ทรียผ์ ่องใส บวชจ�ำ เพาะใคร เปน็ คำ�พดู ของใคร ก. อชิตมาณพ ข. ปุณณกมาณพ ค. อุปติสสมาณพ ง. โกลิตมาณพ ๖. ผตู้ รัสรูต้ ามพระพุทธเจ้า ตรงกับข้อใด ข. พระโสดาบัน ก. พระปัจเจกพทุ ธเจ้า ง. พระอนาคามี ค. พระอนพุ ทุ ธะ ๗. ผแู้ รกเขา้ ถึงกระแสพระนพิ พาน เปน็ ความหมายของขอ้ ใด ก. พระโสดาบนั ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคาม ี ง. พระอรหนั ต์ ๘. ผไู้ ดร้ บั ยกยอ่ งว่าเลศิ ในทางนั้น ๆ เรยี กว่าอะไร ก. อรยิ บุคคล ข. สาวก ค. เอตทัคคะ ง. พหูสตู แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศึกษา ชั้นโท วิชาอนพุ ุทธประวัติ
239 ๙. อญญฺ าสิ ในคำ�วา่ อญญฺ าสิ วต โภ โกณฺฑญโฺ หมายความวา่ อย่างไร ก. ไดบ้ รรลแุ ลว้ ข. ไดร้ แู้ ลว้ ค. ไดเ้ หน็ แลว้ ง. ได้ปลงแลว้ ๑๐. พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับยกยอ่ งเป็นรตั ตญั ญู เพราะเหตุใด ก. รู้ธรรมก่อนใคร ข. บวชกอ่ นใคร ค. มปี ระสบการณ์มาก ง. มคี วามรู้มาก ๑๑. ใครเหน็ วา่ ลัทธิบชู าไฟของตนไม่มแี ก่นสาร จงึ ขอบวชในพระพุทธศาสนา ก. อรุ เุ วลกสั สปะ ข. ปิปผลมิ าณพ ค. อุปตสิ สมาณพ ง. โกลิตมาณพ ๑๒. พระสาวกรูปใด ทำ�ใหพ้ ระสารบี ุตรไดช้ อื่ ว่า เป็นผมู้ ีความกตญั ญู ก. พระราธะ ข. พระราหุล ค. พระรัฐบาล ง. พระจนุ ทะ ๑๓. พระมหากสั สปะอุปสมบทแล้วกวี่ ัน จึงส�ำ เร็จเป็นพระอรหนั ต์ ? ก. ๕ วนั ข. ๗ วัน ค. ๘ วนั ง. ๑๕ วนั ๑๔. พระสาวกรปู ใด เป็นประธานทำ�สงั คายนาเพ่อื รกั ษาพระศาสนาใหม้ ั่งคงถาวร ก. พระมหากสั สปะ ข. พระอนรุ ทุ ธะ ค. พระอานนท์ ง. พระอบุ าลี ๑๕. พระพทุ ธเจ้าแสดงโทษการพดู มุสาแก่ใคร ข. พระราหลุ ก. พระนันทะ ง. พระอุบาลี ค. พระอานนท์ ๑๖. อุปตสิ สมาณพไดด้ วงตาเห็นธรรม เพราะฟังธรรมจากใคร ก. พระพทุ ธเจ้า ข. พระมหานามะ ค. พระอัสสช ิ ง. พระยส ๑๗. ปปิ ผลมิ าณพเห็นโทษในการครองเรือนอยา่ งไร จึงออกบวช ก. ต้องรับผิดชอบมาก ข. ตอ้ งคอยรับบาปคนอื่น ค. ตอ้ งทำ�แต่บาปกรรม ง. ตอ้ งพวั พนั เรื่องกาม แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศกึ ษา ชั้นโท วชิ าอนพุ ทุ ธประวตั ิ
240 ๑๘. ข้อใด ไมใ่ ช่ธุดงควตั รของพระมหากัสสปะ ข. เทยี่ วบณิ ฑบาต ก. ถอื ผา้ บังสกุ ุล ง. อยปู่ ่าชา้ ค. อย่ปู ่า ๑๙. วรรณะท้งั ๔ ยอ่ มเสมอกันด้วยกรรมคือการกระทำ� ใครกลา่ ว ก. พระมหากัสสปะ ข. พระมหากจั จายนะ ค. พระอานนท ์ ง. พระอนุรทุ ธะ ๒๐. พระสาวกรูปใด บรรลุพระอรหนั ตก์ ่อนบวช ข. พระมหากัสสปะ ก. พระอนรุ ุทธะ ง. พระอานนท์ ค. พระมหากัจจายนะ ๒๑. พระสาวกรปู ใด เปน็ สหชาติ คือเกดิ วนั เดียวกบั พระพทุ ธเจ้า ก. พระภัททยิ ะ ข. พระนนั ทะ ค. พระราหุล ง. พระกาฬุทายี ๒๒. พระสาวกรปู ใด อธษิ ฐานให้ได้รบั ความรทู้ ุกวันเท่ากับเม็ดทรายในกำ�มือ ก. พระราหลุ ข. พระอนรุ ุทธะ ค. พระอานนท์ ง. พระนันทะ ๒๓. พระสาวกรปู ใด มคี วามช�ำ นาญรอบร้ใู นพระวินัยปฎิ ก ก. พระมหากัสสปะ ข. พระอนรุ ุทธะ ค. พระอานนท์ ง. พระอุบาลี ๒๔. พระอานนทท์ ูลขอพรว่า อยา่ ทรงไปในที่นมิ นต์ เพราะเหตุใด ? ก. ถอื ธดุ งค์ ข. ไม่เห็นแกล่ าภ ค. เบ่ือหน่าย ง. ทุพพลภาพ ๒๕. กอ่ นพระพทุ ธเจา้ ปรนิ พิ พาน พระอานนท์ส�ำ เรจ็ เป็นพระอรยิ บคุ คลชนั้ ใด ก. พระโสดาบัน ข. พระสกทาคามี ค. พระอนาคามี ง. พระอรหันต์ ๒๖. ราหลุ เป็นพระนามท่ตี ้ังตามหลกั ใด ข. พธิ ีขนานนาม ก. มงคลนาม ง. ค�ำ อุทานของบิดา ค. ฤษีตง้ั ให้ แนวทางการจดั การเรียนรธู้ รรมศกึ ษา ชัน้ โท วชิ าอนุพุทธประวตั ิ
241 ๒๗. ลูกเศรษฐเี มืองโสเรยยะ คดิ อยากได้ภรรยามีรปู งามเหมือนพระสาวกรปู ใด ? ก. พระมหากัสสปะ ข. พระโมฆราช ค. พระมหากัจจายนะ ง. พระราธะ ๒๘. พระสาวกรูปใด ขอผ่อนปรนให้อปุ สมบทในปัจจันตชนบทด้วยสงฆ์ ๕ รูป ? ก. พระโมฆราช ข. พระมหากัจจายนะ ค. พระอานนท์ ง. พระเรวตะ ๒๙. ขอ้ ใด มิใชเ่ อตทัคคะของพระอานนท์ ข. มสี ติ ก. แสดงธรรมไพเราะ ง. มคี วามเพียร ค. พหูสตู ๓๐. พระสาวกรูปใด บรรลพุ ระอรหตั ชา้ เพราะมีกจิ มาก ก. พระสารีบุตร ข. พระอานนท์ ค. พระโมคคลั ลานะ ง. พระอนรุ ทุ ธะ ๓๑. ใครตัดสินอธิกรณ์ เรื่องภิกษณุ มี ารดาของพระกุมารกัสสปะ ก. พระมหากสั สปะ ข. พระสารบี ุตร ค. พระอุบาล ี ง. พระอานนท์ ๓๒. ฝนดอกไมท้ พิ ย์ ๔ สี ตกลงมาเป็นทนี่ า่ อศั จรรย์ เนอื่ งจากมีบุคคลใดมาถวายความเคารพพระพุทธเจา้ ก. ธัมมิกอุบาสก ข. จติ ตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑกิ เศรษฐี ง. นางวสิ าขา ๓๓. อุบาสกผู้ใดท่เี ทวดาเชอื้ เชิญให้เป็นสหายและน�ำ ไปอยู่สวรรคช์ นั้ ดุสติ ก. ธัมมกิ อุบาสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบิณฑกิ เศรษฐี ง. นางวสิ าขา ๓๔. พระสาวกรูปใด อยใู่ นครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดอื น ๗ วัน ก. พระราหลุ ข. พระสีวลี ค. พระพากลุ ะ ง. พระกงั ขาเรวตะ ๓๕. อบุ าสิกาใดที่เป็นผู้รเิ รม่ิ การถวายผ้าอาบน้ําฝน ข. จติ ตคฤหบดี ก. ธัมมกิ อบุ าสก ง. นางวิสาขา ค. อนาถบณิ ฑิกเศรษฐี แนวทางการจดั การเรียนรู้ธรรมศกึ ษา ชัน้ โท วชิ าอนุพทุ ธประวตั ิ
242 ๓๖. ภกิ ษุณรี ูปใดไดช้ ่อื วา่ เป็นอคั รสาวิกาเบื้องซา้ ยผู้ทรงฤทธิ์ ก. พระกีสาโคตมเี ถรี ข. พระอบุ ลวรรณาเถรี ค. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ง. พระปฎาจาราเถรี ๓๗. ภิกษุณีรูปใดได้ช่ือวา่ เปน็ ภิกษณุ ีสาวกิ าผ้ทู รงจีวรเศรา้ หมอง ก. พระกีสาโคตมีเถร ี ข. พระอบุ ลวรรณาเถรี ค. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ง. พระปฎาจาราเถรี ๓๘. สามเณรรปู ใดบรรลพุ ระอรหนั ตเ์ ม่อื อายุ ๗ ขวบ ก. บัณฑติ สามเณร ข. สังกิจจสามเณร ค. สุขสามเณร ง. สมุ นสามเณร ๓๙. สามเณรรูปใดแสดงปาฏิหารยิ ป์ ราบโจร และแสดงธรรมให้โจรกลับใจขอบวชได้ ก. บัณฑิตสามเณร ข. สงั กิจจสามเณร ค. สขุ สามเณร ง. สุมนสามเณร ๔๐. ผู้ที่สร้างวัดพระเชตวนั ถวายแก่พระพทุ ธเจา้ คือใคร ก. ธัมมิกอบุ าสก ข. จิตตคฤหบดี ค. อนาถบณิ ฑกิ เศรษฐี ง. นางวิสาขา ๔๑. เทศนม์ หาชาติ เปน็ การเทศนช์ าดกใด ข. สวุ รรณสามชาดก ก. มโหสถชาดก ง. มหาชนกชาดก ค. มหาเวสสนั ดรชาดก ๔๒. การทำ�บุญตอ่ นาม หมายถึงอะไร ข. งานท�ำ บุญที่ญาติจัดใหผ้ ปู้ ่วย ก. งานทำ�บญุ ในบั้นปลายชวี ิต ง. งานท�ำ บุญอุทิศสว่ นกุศลแกผ่ ู้ลว่ งลับ ค. งานท�ำ บุญครบรอบอาย ุ ๔๓. ผ้าปา่ ในสมัยพทุ ธกาล คอื ผา้ ชนิดใด ข. ผ้าอาบน้าํ ฝน ก. ผา้ วสั สิกสาฎก ง. ผา้ อัจเจกจีวร ค. ผ้าบงั สุกุลจวี ร ๔๔. การทอดกฐิน หมดเขตกลางเดือนใด ข. เดอื น ๑๒ ก. เดือน ๑๑ ง. เดอื นยี่ ค. เดอื นอ้าย แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศกึ ษา ชน้ั โท วิชาอนพุ ุทธประวตั ิ
243 ๔๕. เวจกุฎีหมายถงึ สถานท่ใี ด ข. ห้องรบั แขก ก. ห้องนอน ง. ห้องสุขา ค. หอ้ งพยาบาล ๔๖. การยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตอื นกนั ได้ เรยี กว่าอะไร ก. การขอขมา ข. การท�ำ วัตร ค. สามีจกิ รรม ง. ปวารณากรรม ๔๗. ข้อใด เปน็ อานภุ าพของพระปริตร ข. อายุยืน ก. รา่ํ รวยเงนิ ทอง ง. เจริญดว้ ยยศศักดิ์ ค. ขจดั ทกุ ข์ภัยโรค ๔๘. ทกั ษิณานุประทาน มีความหมายตรงกบั ขอ้ ใด ข. ทำ�บญุ อายุ ก. ทำ�บุญวันเกิด ง. ท�ำ บุญใหผ้ ้ตู าย ค. ท�ำ บญุ ขึ้นบ้านใหม่ ๔๙. การทำ�บญุ สตมวาร หมายถงึ การทำ�บุญครบวันตายกวี่ ัน ก. ๗ วัน ข. ๕๐ วนั ค. ๑๐๐ วนั ง. ๓๖๕ วนั ๕๐. สวดมาตกิ าบังสุกลุ ในงานพระราชพธิ ี เรยี กว่าอยา่ งไร ก. สวดแจง ข. สดบั ปกรณ์ ค. สวดมาตกิ า ง. สวดพระอภิธรรม แนวทางการจัดการเรยี นรู้ธรรมศึกษา ชนั้ โท วิชาอนุพุทธประวัติ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256