Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ครอบครัวเปราะบาง

ครอบครัวเปราะบาง

Published by paktholibrary, 2020-04-10 03:38:46

Description: ครอบครัวเปราะบาง

Search

Read the Text Version

ครอบครวั “เปราะบาง” เม่ือการเปลยี่ นแปลงของสงั คม ทำ�รา้ ยครอบครัวไทย และท้งิ ใครหลายคนไวเ้ บือ้ งหลัง ภูเบศร์ สมทุ รจกั ร ▪ กมลชนก ขำ�สุวรรณ ▪ พมิ ลพรรณ นิตย์นรา

ครอบครวั “เปราะบาง” เม่ือการเปลี่ยนแปลงของสังคมท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และทิ้งใครหลายคนไวเ้ บ้อื งหลัง ภเู บศร์ สมุทรจกั ร, กมลชนก ขำ� สุวรรณ และ พมิ ลพรรณ นิตย์นรา ข้อมูลทางบรรณานุกรม ภเู บศร์ สมทุ รจักร ครอบครัวเปราะบาง เมื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมท�ำร้ายครอบครัวไทยไทยและท้ิงใครหลายคนไว้ เบอื้ งหลงั / ภเู บศร์ สมทุ รจกั ร, กมลชนก ขำ� สวุ รรณ, พมิ ลพรรณ นติ ยน์ รา. -- พมิ พค์ รงั้ ที่ 1. -- นครปฐม : สถาบนั วจิ ัยประชากรสงั คม มหาวิทยาลยั มหดิ ล, 2562 (เอกสารทางวิชาการ / สถาบนั วจิ ัยประชากรและสังม มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล; หมายเลข 485) ISBN: 978-616-443-302-1 1. ครอบครัวไทย. 2. ครอบครวั -- ไทย. 3. ครอบครัว -- แง่สงั คม. 4. ความสมั พันธใ์ นครอบครวั . 5. การเปลี่ยนแปลงประชากร. 6. ผู้สูงอายุ. 7. การท�ำงานและครอบครัว. 8. องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ . I. กมลชนก ขำ� สวุ รรณ. II. พมิ ลพรรณ นติ ยน์ รา. III. มหาวิทยาลัยมหดิ ล. สถาบันวจิ ัยประชากร และสังคม. IV. ช่อื ชุด HQ743 ภ658ค 2562 พมิ พ์ครง้ั ท่ี 1 กรกฎาคม 2562 จำ� นวนพิมพ ์ 200 เล่ม บรรณาธิการ ประทีป นัยนา สนับสนุนการจดั พิมพ์โดย ส�ำนักงานกองทุนสนบั สนุนการวจิ ยั (สกสว.) จดั พิมพ์ สถาบนั วิจยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ศาลายา พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 0-2441-0201-4 ตอ่ 404 โทรสาร 0-2411-9333 Website: http://www.ipsr.mahidol.ac.th พมิ พท์ ี่ โรงพิมพเ์ ดือนตลุ า 39/205-206 ซอยวภิ าวดีรงั สิต 84 แขวงสนามบนิ เขตดอนเมือง กรงุ เทพฯ 10210 โทรศพั ท์ 0-2996-7392-4 โทรสาร 0-2996-7395 e-mail: [email protected] เอกสารทางวชิ าการ หมายเลข 485 ISBN: 978-616-443-302-1

ค�ำน�ำ สถาบนั วจิ ัยประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหิดล ตระหนักถงึ ความสำ� คญั ของการศกึ ษาเกย่ี วกบั การเปลยี่ นแปลงโครงสรา้ งประชากรไทย ทม่ี ตี อ่ การพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศในประเดน็ ตา่ งๆ รวมทง้ั ประเดน็ ทกี่ ารเปลย่ี นแปลงเหลา่ นนั้ สง่ ผลตอ่ ความอยดู่ มี สี ขุ ความเปราะบาง และการดแู ลกนั ของสมาชกิ ในครอบครวั ไทยดว้ ย นกั วจิ ยั ของสถาบนั ฯ มงุ่ คน้ หาพรมแดนองคค์ วามรู้ ตลอดจนขอ้ คน้ พบทส่ี �ำคญั เพอื่ สง่ สญั ญาณเชงิ นโยบาย และเชงิ ปฏบิ ตั ใิ หแ้ กส่ งั คมไทย ในการเสรมิ สรา้ งใหส้ ถาบนั ครอบครวั เปน็ รากฐานอนั แขง็ แรงของสงั คม สถาบนั ฯ ขอขอบคณุ สำ� นกั งานกองทนุ สนบั สนนุ การวจิ ยั (สกสว.) เปน็ อยา่ งยง่ิ ทใี่ หก้ ารสนบั สนนุ งบประมาณทงั้ ในการวจิ ยั และการจดั พมิ พ์ เปน็ หนงั สอื ครง้ั นี้ และขอขอบคณุ รองศาสตราจารย์ ดร.ปทั มาวดี โพชนกุ ลู รองศาสตราจารย์ ดร.เรณู สขุ ารมณ์ ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ ดร.ปราโมทย์ ประสาทกลุ ศาสตราจารยเ์ กยี รตคิ ณุ ดร.อภชิ าติ จำ� รสั ฤทธริ งค์ คณุ จริ ะพนั ธ์ กัลลประวิทย์ คณะท่ีปรึกษากรอบประเด็นการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ท่ี 9 การเปลยี่ นแปลงโครงสรา้ งประชากร และทา่ นผทู้ รงคณุ วฒุ ิ ทก่ี รณุ าใหค้ ำ� ชแ้ี นะ อนั เปน็ ประโยชนอ์ ยา่ งยงิ่ ทงั้ ตอ่ ชดุ โครงการวจิ ยั และการผลติ หนงั สอื เลม่ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์ เกรย ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวจิ ยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหิดล



จาก… ความอยูด่ ีมสี ุข ถึงความเปราะบาง เมื่อ พ.ศ. 2559 ผู้เขียนได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกสว.) ให้ด�ำเนินการชุดโครงการวิจัย “ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย” ซึ่ง ประกอบดว้ ยโครงการย่อย 3 โครงการวิจยั 1 มองความอยู่ดมี สี ขุ ของครอบครวั ไทยในประเดน็ 3 ประเดน็ ไดแ้ ก่ การสรา้ งสมดลุ ระหวา่ งการท�ำงานและชีวิตครอบครัวเพอื่ ใหส้ ามภี รรยายุค ปัจจบุ ันสามารถมีลูกและเลี้ยงลูกได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ ประเด็นความพร้อมท้ังในแง่ปริมาณ คุณภาพ และการเข้าถึงศูนย์ศึกษาก่อนวัยเรียน และประเด็นความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวใน ชนบทไทย ซ่งึ มีบรบิ ทเปล่ียนแปลงไปจากอดีต เมื่อสนิ้ สุดโครงการฯ ผเู้ ขียน และนักวิจัยผู้ชว่ ยในขณะนั้นคอื คุณธีรนุช ก้อนแก้ว และ คุณริฏวัน อุเดน ได้ร่วมกันเขียนหนังสือ “ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย”2 เพื่อเผยแพร่ ข้อค้นพบต่างๆ จาการสังเคราะห์งานวิจัยโครงการย่อยทั้ง 3 โครงการ ซึ่งมีหลายประเด็น ทส่ี ะท้อนปัญหาทเ่ี กิดขนึ้ กบั ครอบครวั ไทยอนั เกดิ จากการเปลี่ยนแปลงโครงสรา้ งประชากรและ 1 (1) โครงการวิจัยการส่งเสริมการมีบุตร ผ่านการสร้างสมดุลในการท�ำงานและการสร้างครอบครัวท่ีมีคุณภาพ ดำ� เนินการโดย ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.มนสกิ าร กาญจนะจิตรา (2) โครงการวิจยั การใหบ้ รกิ ารของศูนยก์ ารศึกษา ก่อนวยั เรยี นในเขตกรงุ เทพมหานครและปริมณฑล ด�ำเนนิ การโดย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จงจติ ต์ ฤทธิรงค์ และ (3) โครงการวจิ ยั ความอยดู่ ีมสี ขุ ของครัวเรือนชนบทไทยภายใต้การเปล่ยี นแปลงทางประชากรและสงั คม ด�ำเนนิ การ โดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ปยิ ะวัฒน์ เกตวุ งศา 2 https://www.trf.or.th/featured-documents/185-interesting-docs/11861-the-well-being-of-thai-family

สังคมไทยในศตวรรษท่ี 21 ซ่ึงไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาทิ การบีบค้ันทางเศรษฐกิจที่ท�ำให้ ประเด็นการสร้างสมดุลระหว่างการท�ำงานและการสร้างครอบครัว รวมถึงวิถีการด�ำเนินชีวิต ในปัจจุบันน�ำไปสู่การตัดสินใจมีลูกน้อย ความไม่สมดุลในการกระจายตัวท้ังเชิงปริมาณ เชิงพื้นที่ และเชิงคุณภาพของสถานรับเล้ียงเด็ก ซ่ึงเป็นปัญหาท่ีทวีความรุนแรงขึ้นในพ้ืนท่ี เขตเมือง รวมทั้งการเปล่ียนแปลงของลักษณะการอยู่อาศัย (Living arrangement) ท่ีเกี่ยวเนื่องกับการจัดการความสัมพันธ์ภายในครอบครัวชนบท ท�ำให้พบว่ามีครอบครัวไทย หลายลักษณะ ท่ีมีความเปราะบางต่อความอยู่ดีมีสุข อันเน่ืองมาจากกลไกการดูแล และ การช่วยเหลือเกื้อกูล จากทั้งสมาชิกในครอบครัวเองที่อยู่ห่างไกลกันมากข้ึน จากทั้งชุมชน ที่มีความใกล้ชิดและคุ้นเคยกันลดลง และจากทั้งกลไกและโครงสร้างองค์กรภาครัฐในท้องถ่ิน มีความแตกต่าง หลากหลาย เป็นเหตุให้ผู้เขียนเสนอต่อ สกสว. ให้ด�ำเนินชุดโครงการวิจัย ต่อเนื่องจากชุดโครงการวิจัยแรก ภายใต้หัวข้อ “การดูแลครอบครัวเปราะบางในสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมไทย” ซ่ึงประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 4 โครงการ3 เพอื่ คลีป่ ระเด็นความเปราะบางของครอบครัวไทยในประเด็น การปรับการดแู ล ผสู้ ูงอายุท่อี าศยั อยู่ในครัวเรือนแบบต่างๆ ท้ัง 4 โครงการวิจัยย่อยน้ี เช่ือมต่อภาพการดูแลครอบครัวไทยต้ังแต่ “ในบ้าน” ออกไปพื้นท่ี “ข้างบ้าน” จนถึงท้องถ่ิน กลไกภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และ “ตลาดหลักทรัพย์” เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่า เรื่องของครอบครัว ไม่ใช่เรื่องของเฉพาะ ครอบครวั เสียแล้ว แตเ่ ป็นเรื่องทท่ี ุกภาคส่วนตอ้ งระดมกำ� ลงั และทรัพยากรเพ่อื สรา้ งความเขม้ แข็งให้แก่ครอบครัวไทย ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างประชากรจะ เปลย่ี นแปลงไปอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้เชน่ นี้ เพ่อื ให้ครอบครัวไทย และสังคมไทย ด�ำเนนิ ไปได้ อย่างเข้มแข็ง และเพื่อหาข้อเสนอแนะเชิงนวัตกรรม เกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมมิติต่างๆ ได้แก่ สถาบนั ครอบครวั ชมุ ชน และองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ ในการดูแลแก้ไขความเปราะ บางของครอบครัวไทย ตามรูปแบบการอยู่อาศัยท่ีหลากหลายปัจจุบันซึ่งเป็นมิติท่ียังไม่เคยมี การศกึ ษามากอ่ น การศกึ ษาในครงั้ น้ี จงึ มงุ่ ไปทส่ี ภาพความเปน็ ไปและพลวตั รของสถานการณ์ 3 (1) โครงการวจิ ยั การปรบั วถิ กี ารท�ำงานของครอบครวั เมอ่ื มบี ตุ ร โดยผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.มนสกิ าร กาญจนะจติ รา (2) โครงการวิจัย การดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยท่ีหลากหลายในสังคมไทย เพ่ือประเมิน ความเข้มแข็งและความต้องการสนับสนุนครัวเรือน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุทธิดา ชวนวัน (3) โครงการ วจิ ยั กลไกของชมุ ชนและองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ ในการดแู ลครวั เรอื นเปราะบาง: กรณศี กึ ษาครวั เรอื นขา้ มรนุ่ และ ครัวเรือนที่ผู้สูงอายทุ ่อี ยคู่ นเดยี ว โดย ผู้ขว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวฒั น์ เกตวุ งศา และ (4) โครงการวจิ ยั ระบบ การสนับสนุนผสู้ งู อายแุ บบบรู ณาการ: การมสี ว่ นรว่ มของภาคเอกชนและกจิ การเพอ่ื สงั คม โดย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ธรี นงค์ สกลุ ศรี ค ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ครอบครัวไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่สังคมไทยก�ำลังรุดหน้าเข้าสู่สังคมสูงวัย อยา่ งสมบูรณ์ (Complete aged society) และสงั คมสูงวยั ระดับสดุ ยอด (Super aged society) อยา่ งรวดเรว็ การสมานความเปราะบางทจี่ ะเกดิ ขน้ึ และการเสรมิ สรา้ งความเขม้ แขง็ ครอบครัวไทยรกั ษาความอบอุ่น ชว่ ยเหลอื เกอื้ กลู พ่งึ พากนั อาศยั กันในระดับตา่ งๆ เพ่อื ให้ ครอบครวั ทแ่ี มจ้ ะเปน็ หนว่ ยสงั คมทเ่ี ลก็ ทส่ี ดุ แตก่ แ็ ขง็ แรงทส่ี ดุ ได้ ในการผลติ และดแู ลทรพั ยากร มนษุ ยใ์ หก้ บั สงั คมไทย หนงั สอื “ครอบครวั เปราะบาง เมอ่ื การเปลยี่ นแปลงของสงั คมอาจทำ� รา้ ยและทง้ิ ใครบางคน ไว้เบ้ืองหลัง” เลม่ น้ี เกดิ จากการสงั เคราะห์ และสกัดประเดน็ ข้อค้นพบจากโครงการวจิ ัยยอ่ ย ท้ัง 4 โครงการ แสดงความเช่ือมโยงของกลไกการดูแลสมาชิกในครอบครัวไทย ต้ังแต่ ภายในบา้ น กลไกชมุ ชน รฐั สวสั ดกิ ารและภาคประชาสงั คม เพอื่ ใหเ้ หน็ การบรู ณาการของกลไก ตา่ งๆ ในสังคมไทยทีท่ ำ� งานเก้อื กูลกันได้ ประกอบกับการสงั เคราะหว์ รรณกรรมทง้ั ภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่เก่ียวข้องกับครอบครัวเปราะบาง เพ่ือให้มีความกระชับในการเผยแพร่ เป็นประโยชน์ทางวิชาการและนโยบายการพัฒนาครอบครัวไทยต่อไป โดยคร้ังน้ีได้ร่วมงาน กับนกั วิจัย 2 ท่านคอื คุณกมลชนก ขำ� สุวรรณ และคุณพมิ ลพรรณ นิตย์นรา ซึ่งเปน็ นกั วจิ ยั ท่ีศึกษาประเด็นครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ได้ร่วมกันทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เกยี่ วกบั ความเปราะบางของครอบครวั ตดิ ตามการลงพน้ื ทเี่ พอ่ื เกบ็ ขอ้ มลู ของโครงการวจิ ยั ยอ่ ย ทงั้ 4 โครงการ สังเคราะหป์ ระเด็นต่างๆ ที่ได้จากโครงการวจิ ัยยอ่ ย และร่วมกันเขียนหนังสือ เลม่ นจ้ี นส�ำเรจ็ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มน้ีจะช่วยสะท้อนภาพครอบครัวไทยในมิติท่ีน่าห่วงใย แต่ก็ไม่ได้ตัง้ ใจทจี่ ะสือ่ วา่ สถาบันครอบครัวไทยอ่อนแอลง ซ่ึงจรงิ ๆ แลว้ สถาบันครอบครัวไทย ยังเข้มแข็งและเป็นรากฐานของสังคมที่เชื่อมโยงสมาชิกในครอบครัวให้ดูแลและห่วงใยกัน ไมเ่ สอื่ มคลาย การสมานและเยยี วยารอยเปราะทพี่ บในวนั นจี้ ะทำ� ใหค้ รอบครวั ไทยยง่ิ อบอนุ่ ขนึ้ แขง็ แรงขึ้น ดูแลกนั และกันใหด้ ีย่ิงข้นึ ตอ่ ไป ภเู บศร์ สมทุ รจักร สถาบนั วิจยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหิดล ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ฅ ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง



ค�ำน�ำผู้เขยี น เคาะประตบู า้ นไทย....ใครอยูบ่ า้ ง หนังสอื The Sociology of Family: Change and Diversity in Intimate Rela- tions ของ Deborah Chambers (2102) สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวใน ศตวรรษท่ี 19 และ 20 ท่ีมีปัจเจกานุวัฒน์ (Individualization) ซ่ึงโดยรวมหมายถึง การทคี่ นในสังคมมุ่งสู่ความเปน็ ปจั เจกนยิ ม ดว้ ยการปรับสภาพแวดลอ้ มต่างๆ ให้เหมาะและ ตรงตามความต้องการของตนเอง และมีความเป็นตัวของตัวเองสูงข้ึน โดยนัยหนึ่งน้ันสื่อ ความหมายถึงการเส่ือมคลายของความเป็นพหุนิยม (Collectivism) ท่ีมุ่งเน้นการเอ้ือต่อ ส่วนรวม ซ่ึงในเชงิ ของครอบครวั ศกึ ษานน้ั ส่ือต่อเนื่องไปถึงการลดลงของความเป็นแบบแผน ประเพณี (Detraditionalization) ของการสร้างครอบครวั อาทิ การตัดสินใจเก่ยี วกับจำ� นวน บุตรที่สามารถเล้ียงได้ การอยู่อาศัยร่วมกันของสามีภรรยาในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การอยู่กินโดยไม่สมรส (Cohabitation) การแยกกันอยู่คนละที่ (Living Apart but Together: LAT) การชะลอการแตง่ งานตลอดจนบทบาทหนา้ ที่ และความสัมพนั ธ์ของสมาชิก ในครอบครัว อาทิ การเปล่ียนแปลงบทบาทของสามภี รรยา และพอ่ แม่ กระแสการเปล่ยี นของ สงั คมและครอบครัวเชน่ นี้ ท�ำใหเ้ กดิ ครอบครวั หลายลักษณะ ซ่งึ บางลกั ษณะมคี วามเปราะบาง (Vulnerability) ทเ่ี กย่ี วเนอื่ งโดยตรงกบั การเกดิ ระยะหา่ งเชงิ พนื้ ที่ ทอ่ี าจสง่ ผลกระทบตอ่ ระยะ ห่างเชิงความสัมพันธ์ รวมทั้งการพึ่งพาอาศัยและการดูแลซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว ชาย โพธสิ ติ า (2552) วิเคราะหก์ ารเปล่ียนแปลงของครอบครัวไทยในประเดน็ ดังกลา่ ว และไดส้ ะทอ้ นออกมาเปน็ รปู แบบของครวั เรอื นไทยทน่ี บั วนั จะมคี วามหลากหลาย แตกตา่ งจาก ครวั เรอื นไทยในอดตี สงั คมไทยในปจั จบุ นั มที งั้ ครวั เรอื นแบบดง้ั เดมิ ทเี่ ปน็ ครวั เรอื นขยาย (ทม่ี ี คน 3 รนุ่ หรอื มากกวา่ ) ครวั เรอื นเดย่ี ว (ครวั เรอื นทมี่ คี น 2 รนุ่ ) และยงั มคี รวั เรอื นทอี่ ยคู่ นเดยี ว ครัวเรือนข้ามรุ่น และครัวเรือนที่ไม่ใช่ญาติ และแม้ในครัวเรือนเดี่ยวก็ยังแยกย่อยออกเป็น ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ง ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ครอบครวั แบบคสู่ าม-ี ภรรยาทไ่ี มม่ บี ตุ ร ครอบครวั เดยี่ วแบบมที ง้ั สาม-ี ภรรยา และบตุ ร ครอบครวั เลี้ยงเดี่ยวแบบมีลูกกับพ่อ หรือแม่ แม้ว่าปัจจุบันครัวเรือนขยายยังเป็นลักษณะครัวเรือนหลัก ทีม่ สี ดั สว่ นประมาณร้อยละ 33 ซง่ึ สงู กวา่ ครวั เรือนประเภทอื่นๆ แต่การเพ่มิ ขนึ้ ของครวั เรอื น ประเภทอ่ืนๆ ก็เพ่ิมขึ้นอย่างน่าจับตามอง (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ 2559) ซึ่ง ความหลากหลายทเี่ กดิ ขนึ้ น้ี ไมเ่ พยี งแตท่ ำ� ใหก้ ารจดั การความสมั พนั ธ์ และการอดุ หนนุ เกอ้ื กลู กนั ภายในครอบครวั เปลยี่ นแปลงไป แตย่ งั ทำ� ใหน้ ยิ ามเกย่ี วกบั “ครอบครวั ” และ “ครวั เรอื น”ตา่ งไป จากท่หี นว่ ยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เคยเขา้ ใจ และใช้ในการกำ� หนดนโยบายตา่ งๆ เพ่อื การสนบั สนุนครอบครวั การเปลยี่ นแปลงทเี่ กดิ ขนึ้ เหลา่ นี้ สง่ ผลกระทบตอ่ การดำ� เนนิ ชวี ติ ครอบครวั ในทกุ จงั หวะ และขนั้ ตอนของเสน้ ทางชวี ติ (Life course) นบั ตัง้ แต่การใช้ชวี ิตรว่ มกันเรม่ิ ขึ้น การตดั สนิ ใจ มลี กู การเลย้ี งลกู การดูแลพอ่ แม่ยามป่วยไข้ แก่ชรา และไปจนถึงวาระสดุ ทา้ ยแห่งชีวติ ซ่ึง การเปลย่ี นแปลงของครอบครวั ไทยในศตวรรษที่ 21 แสดงใหเ้ หน็ แลว้ วา่ ทำ� ใหเ้ กดิ การสนั่ คลอน เสถยี รภาพของการอย่รู ่วมกนั ฉันท์ครอบครัว ท่อี าจยง่ิ ท�ำให้การเกิดลดลง ส่วนความตายที่ยดื เวลาออกไปเนอ่ื งจากการมอี ายยุ นื ยาวขน้ึ กลบั สรา้ งความกงั วลเกย่ี วกบั เงนิ ออมทอี่ าจไมเ่ พยี งพอ และการตายอยา่ งเดียวดาย หา่ งไกลจากลูกหลาน และญาตพิ ีน่ อ้ ง หนังสือเล่มน้ีสะท้อนความเปราะบางที่เกิดข้ึน ทั้งในมิติของครอบครัวรุ่นใหม่ ท่ีพ่อแม่ ตอ้ งมกี ารปรบั วถิ กี ารทำ� งาน และการดำ� เนนิ ชวี ติ เมอ่ื เรม่ิ มลี กู ในสภาวะเศรษฐกจิ ทบี่ บี คน้ั และ ในสภาพสงั คมท่ีมีข้อจ�ำกดั ในมีลกู และการเลย้ี งลูก ความหลากหลายของรปู แบบการอยูอ่ าศยั (Living arrangement) ของผูส้ ูงอายุ ซึ่งมรี ะดับและลักษณะความเปราะบางท่ีแตกต่างกัน และการมสี ว่ นรว่ มของภาคเอกชนและกจิ การเพอื่ สงั คม” ศกึ ษามติ ใิ หมข่ องความรว่ มมอื ในการ ดแู ลสงั คมจากภาคเอกชน ในรปู แบบกจิ การเพอื่ สงั คม (Social enterprise) ทตี่ อ้ งทำ� งานรว่ ม กับภาครัฐ และภาคประชาชน เพอ่ื ให้เกิดกลไกทีย่ ั่งยนื ในการดูแลผสู้ ูงอายุ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อค้นพบจากโครงการวิจัยย่อยท้ัง 4 โครงการ แยกเป็นประเด็น ส�ำคญั ๆ และแสดงเปน็ ตาราง ไว้ในภาคผนวก ข. ซึง่ มีความยาวค่อนขา้ งมาก แทนทีจ่ ะเอา มารวมไวใ้ นสว่ นของเนอื้ หา เพอ่ื ไมใ่ หร้ บกวนความตอ่ เนอ่ื งของเนอ้ื หา และไมใ่ หด้ เู ปน็ รายงาน การวจิ ยั เกินไปจนเสยี อรรถรสของหนังสือ ทง้ั นี้ ภาพรวมของขอ้ คน้ พบทง้ั หมด ไดแ้ สดงใหเ้ หน็ ถงึ ความเปลยี่ นแปลงของครอบครวั ไทย โดยเฉพาะในมติ ทิ เี่ กยี่ วขอ้ งกบั การเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ งประชากร ซงึ่ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ความเชอ่ื มโยง จ ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ของกลไกการดแู ลครอบครวั ในสภาวะทสี่ มาชกิ ในบา้ นอยกู่ นั อยา่ งกระจดั กระจาย ทำ� ใหก้ ารชว่ ยเหลอื ดูแลกัน ไม่วา่ จะเป็นเรอื่ งการช่วยกนั เล้ยี งดลู กู หลาน หรอื ปยู่ ่าตายายท�ำไดไ้ ม่เต็มที่ ในขณะ ทผี่ หู้ ญงิ ซงึ่ เคยเปน็ หลกั ในการทำ� หนา้ ทเี่ หลา่ นี้ ตอ้ งออกไปทำ� งานนอกบา้ นมากขนึ้ เพอ่ื ชว่ ยกนั ทำ� มาหากินให้เพยี งพอกับสภาพเศรษฐกจิ ทก่ี ดดันใหค้ นทำ� งานมากขึน้ และลงเอยด้วยการถกู คาดหวงั จากทกุ คนใหท้ ำ� หนา้ ทที่ กุ อยา่ ง ท้งั นอกบ้านและในบา้ นอยา่ งสมบรู ณต์ ามแม่และเมีย ในอุดมคติของสังคมไทย ตัวช่วยท่ีอยู่นอกครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงรับจ้าง หรือสถานรับ เล้ียงเดก็ และผู้สูงอายุในปัจจุบนั มรี าคาแพงลวิ่ ขา้ งบ้านทเี่ คยเป็นเครอื ญาติหรือรู้จักไปมาหาสู่ และพง่ึ พากนั กลายเปน็ คนทไ่ี มค่ นุ้ หนา้ คนุ้ ตา หรอื คนุ้ หนา้ กนั แตไ่ มส่ นทิ และไวว้ างใจกนั ตามสภาพ ท้องถิ่นท่ีพัฒนาสู่ความเป็นเมอื งอย่างคึกคกั ผู้สูงอายุทต่ี อ้ งอยู่ล�ำพังมากข้นึ และอาจตอ้ งช่วย รับหลานมาเลยี้ งเพ่อื ใหล้ ูกไปทำ� งานต่างถนิ่ ได้อย่างมีหว่ งน้อยทสี่ ุด การเปล่ียนแปลงเหล่าน้ี แม้ที่สุดจะไม่เกินก�ำลังของคนในครอบครัวท่ีสุดท้ายต้องช่วย เหลอื ซงึ่ กนั และกนั ใหไ้ ด้ แตก่ ก็ ระทบตอ่ ความอยดู่ มี สี ขุ ของครอบครวั และทำ� ใหภ้ าคสว่ นตา่ งๆ ของสงั คมตอ้ งเขา้ มาชว่ ยการดแู ลครอบครวั อยา่ งเปน็ ระบบและเปน็ รปู ธรรมมากขน้ึ ซง่ึ ภาคสว่ น ที่ว่าน้ี จะหวังพึ่งแต่องค์กรของรัฐโดยเฉพาะในรูปแบบของการสงเคราะห์เท่าน้ันจะไม่ทั่วถึง และเพียงพอกับการขยายตัวของสังคมไทยในปัจจุบัน การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ไดเ้ ข้ามามบี ทบาทในการดูแลครอบครวั จึงเป็นกรอบทัศน์ ที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการมององคาพยพ หรือระบบนิเวศน์ของการดูแลครอบครัว ทง้ั หมด จากภายในครอบครวั ออกไปสภู่ ายนอกครอบครวั อยา่ งเปน็ ระบบ เพอ่ื ใหค้ รอบครวั ไทย ทำ� หน้าทห่ี ่วงใยและดูแลกนั ได้อยา่ งดที ่สี ดุ ภเู บศร์ สมทุ รจักร กมลชนก ขำ� สวุ รรณ พมิ ลพรรณ นติ ย์นรา สถาบนั วจิ ยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหดิ ล ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ฉ ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

¹À°§–œ ‹ŮÀ¦ŮÀˆ ‹ŮÀ¦ŮÀ©Řŷ‰¯Ũ ¦ Ž Éí ĉý§ś ‰ÀŘ ¶¤ŨŖºÀ¯Æ¨Ċ É ‹¶À®¦œ¯ÃºŽŕ ˆÀ°Â¨³¯ŖŨ ¦Ã¨³Ž‰½Ž¹œŽ‹®Ã³¿‹°½§‹°¶œ  É «ř¦Ŭ ¤ŖŨö³ÀĂ°¿¯¿ºÀŕ Ž  ‰Ř½ÀŮ ˆœ¡Å¦ˆÀ°¡Ãŷ ³‹°½§‹°¶œ Ƥ¯ Ï ‹°½§‹°¶œ íí티¶œ °½Ŭ ¦  ¦À®¥°°®ó¿°¨ŷ ¥°°®úŽŕ ‹¶À®¹œ®«¦œ ¥Š ÉÉ Êí ‹¶À®Â¨°À¿§ÀŽ‰½Ž‹°½§‹°¶œ Ƥ¯ ÉÏ °ŷŘ ˆœ ˆœ§‹¶À®Â¨°À¿§ÀŽ ÉÐ ˆ°¿ˆŵ íí툰¿À¯ °¨ŷ 秈À°½¯ŷ½ŕ À·œ¯¤ŨŖ¨³¯ŖŨ ¦Ã¨³ŽÆ¨ ÊÉ ©ŷˆ«¦œ ¤ŨŖ¦Ř½¯³Žíí틶À®Â¨°À¿§ÀŽ¤ŨŖ®Àˆ‰řŪ¦ ÊÍ ‹°½§‹°¶œ Ƥ¯Å¦¶£Ŧ Ũ‘¶Ũ ¢Ŧ ŽÀŕ ¯‰ř¦Ū ó¿Ã«Ž‰řŪ¦ ÊÐ ®½Ŭ ¤ŨŖ®½ŽÆ®Âŕ º¦ţ íí틦¤ŖŨ®½ŽÆ®Âŕ º¦ţ  ËÈ Ëí ċ°Ž¹°ÀŘ Ž¨°¿‘Àˆ°¤ŨŖ¨³ŖŨ¯¦Ã¨³Ž ËË ˆœ§‹¶À®Â¨°À¿§ÀŽÅ¦‹°½§‹°¶œ  Ìí ¹½Ž‹¦Å¦‹°½§‹°¶œ Ƥ¯¤ŨŖ¨°À¿§ÀŽ ÌÉ ®¢Ŧ Ŧ«· ÌË ·œˆ¡šŦ·°‰Ũ ½Žĉ®¦ŵ¸¯ÃŠ ®Ċŕ  ÌÌ ˆÀ°¹°ÀŘ Ž¹®¡³ŵ °¿º¶Àŕ ŽˆÀ°Â³¯řŨ Ž¡³ŷ ˆŷ ó¿ˆÀ°¤ŮÀŽÀ¦ ÌÎ ·œˆ¡šŦ·°ÃŨ ³¿‹¶À®À٠¨Ť¦Å¦ˆÀ°«ŖŽŪ «À‰½Ž©Řŷ¹ŷŽ½À¯ŵ ÍÊ Í ¤ŵ¦¦Ŧ¯®ˆ³Æˆ¢³À¡ˆœ§ˆÀ°®¹Ũ ඦ°¶ŕ ®‰½Ž­À‹Â½ˆ‘¦ ÎÉ Ã³¿ˆŦˆÀ°Â«ŖŬ½¹œŽ‹® ¹ŕŽ¤ŘÀ¯ííí£ŪŽ‹°½§‹°¶œ Ƥ¯ ÎÑ §°° À¦ŵˆ°® ÏÉ

­À‹©¦¶ˆ ÏÑ ­À‹©¦¶ˆˆíˆÀ°¤§¤¶¦¶°° ˆ°°®½¯ŕÀŽÂ¨¦Ť °¿§§ ÐÍ Ŧ¨°¿Â¡ţ¦ĉ‹°½§‹°¶œ ¨°À¿§ÀŽ ÑË ­À‹©¦¶ˆ‰íˆÀ°¹œŽÂ‹°À¿º‰Š Ř½‹Ř¦«§ÀˆÌċ°ŽˆÀ°¯ŕ½¯ ÉÍÏ ­À‹©¦¶ˆ‹íˆÀ°¦ŮÀ¹¦½©³ŽÀ¦¶Ŧ ¯œ  ÉÏÑ ­À‹©¦¶ˆŽí\"0\"/ %/&\"# ¡œ‘¦Ũ‹Ř¦‹ŮÀ



สารบญั ตาราง ตารางที่ 1 ลกั ษณะของความเปราะบาง จำ� แนกตามรปู แบบการอยู่อาศัยของครวั เรอื นผู้สูงอายุ 36 สารบัญรปู 19 23 รปู ที่ 1 มติ ิความเปราะบางของครอบครวั 24 รปู ที่ 2 รอ้ ยละครวั เรอื นเดี่ยว จำ� แนกตามรแู บบและปี 49 รปู ที่ 3 รอ้ ยละครวั เรอื นขยาย จำ� แนกตามรแู บบและปี 51 รปู ที่ 4 ความเปราะบางของผู้หญิงวยั ท�ำงานที่เรมิ่ มลี กู รปู ที่ 5 ทัศนคติของประชาชนและคนหนุ่มสาวท่ีมตี ่อผู้สูงอายุ

แอบ๊ ขา้ วใบใหญ่ หายไปจากครวั เรอื นไทย พรอ้ มกับการทยอยหายหนา้ ไปของสมาชกิ ในครอบครวั ไทยในศตวรรษที่ 21 ที่ต่างแยกย้ายออกจากบา้ นในชว่ งเวลาตา่ งๆ จนเหลือเพียงสมาชกิ เพียงแค่ 2-3 คน ในครวั เรอื น

1 “แอบ๊ ขา้ วท่ีหายไป” ความนัยแหง่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมและครอบครวั “แอบ๊ ขา้ ว” ในภาษาเหนอื หมายถงึ ภาชนะจกั สานสำ� หรบั บรรจขุ า้ วเหนยี วนง่ึ สกุ ในภาษา อสี านใช้คำ� ว่า “กระติ๊บข้าว” ในภมู ิภาคอ่ืนของประเทศไทยไมพ่ บว่ามีภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ในลักษณะนี้ คงเปน็ เพราะภาคเหนอื และภาคอีสานมลี กั ษณะความเป็น “ลาว” รว่ มกนั และมี วฒั นธรรมการกนิ ขา้ วเหนยี วเหมอื นกนั ทงั้ แอบ๊ ขา้ ว และกระตบ๊ิ ขา้ วมลี กั ษณะลวดลายแตกตา่ ง กันไปตามแต่ละท้องถ่ิน ท�ำจากใบไผ่บ้าง ใบจากบ้าง ใบตาลบ้าง มีรูระบายอากาศที่พอ ประมาณ ทำ� ให้ขา้ วเหนียวน่ึงสุกท่บี รรจอุ ยไู่ ม่แฉะ หรอื แห้งเกินไป ปลอดภยั จากแมลงตา่ งๆ ฝามีความลึกเกือบเท่าตัวภาชนะที่บรรจุข้าว ท�ำให้เวลาปิดแล้วฝาจะอมตัวภาชนะแลดูเกือบ เปน็ ชน้ิ เดยี ว จงึ สามารถรกั ษาความอนุ่ และความชมุ่ ไดเ้ ปน็ สองชนั้ ในฤดหู นาวชาวบา้ นจะเกบ็ ไวใ้ ตผ้ ้าหม่ เพ่อื รักษาความอนุ่ และนมุ่ ของข้าวเหนียว ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม 1 ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

แอบ๊ ขา้ ว เปน็ ภาชนะสำ� คญั ของการกนิ อยรู่ ว่ มกนั ของครอบครวั ไทยเหนอื และไทยอสี าน เพราะแต่ละบ้านมักจะมีแอ๊บข้าวเพียงแอ๊บเดียวส�ำหรับคนกินร่วมกันในครัวเรือน และอาจมี แอ๊บส�ำรองใบย่อมลงมาส�ำหรับใส่ข้าวเหนียวติดตัวไปกินเวลาออกไปท�ำงานนอกบ้าน ในสมัย ที่ครัวเรือนไทยมีขนาดเฉล่ีย ครัวเรือนละ 5-6 คน หรือถอยเวลาไปนานยาวกว่านั้น ตามท่ี บันทึกในหนังสือ A thousand miles on an elephant in the Shan states ของ Holt Samuel Hallett (1890) ครัวเรือนของเมืองต่างๆ ที่ปรากฏในบันทึก ซ่ึงปัจจุบันอยู่ใน ภาคเหนอื ของประเทศไทย เชน่ ล�ำปาง เชียงใหม่ พะเยา มีสมาชิกเฉล่ียประมาณครัวเรอื นละ 8 คน แอ๊บข้าวจึงต้องมีขนาดใหญ่ ซ่ึงอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 ฟุต เพ่ือให้บรรจุข้าว พอส�ำหรับทุกคนเวลาน่ังล้อมวงกินข้าวร่วมกัน ในครอบครัวชาวบ้านท่ัวไปมักท�ำอาหารมื้อละ เพยี งหนึง่ อยา่ ง อาจมีของเคียงเลก็ ๆ น้อยๆ แซมเสรมิ บา้ ง ส่วนในครอบครัวทีม่ ีฐานะดหี น่อย ก็อาจจะมีอาหารมากถึงสองสามอย่างในส�ำรับ ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า “โตก” หรือ “สะโตก” มบี างกรณที แี่ ม่อยุ้ พอ่ อยุ้ ซง่ึ หมายถึงผสู้ ูงอายใุ นครัวเรือนจะแยกสำ� รบั ทานบา้ ง แอ๊บข้าวกจ็ ะมี ขนาดเลก็ ลงส�ำหรบั คนเดียวหรอื สองคน การล้อมวงกินข้าวร่วมกันเป็นกิจกรรมครอบครัวที่มีความหมายลึกซ้ึงไปกว่าการกิน ให้อิ่มตามเวลาอาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนในบ้านได้พบปะพูดคุยกัน เล่าสารทุกข์สุกดิบ ชว่ ยกนั แกป้ ญั หา สะสางความขดั แยง้ สอื ทอดเรอ่ื งราวความเปน็ มาของครอบครวั เปน็ ทอี่ บรม สง่ั สอน วา่ กลา่ วตกั เตอื น ปรกึ ษาปญั หา แสดงความยนิ ดี และอนื่ ๆ อกี มากมาย การอยกู่ นิ ขา้ ว พรอ้ มหนา้ จงึ มคี วามสำ� คญั ตอ่ ความอบอนุ่ และความแนน่ แฟน้ ภายในครอบครวั ตามวถิ ชี าวบน้ โครงสรา้ งครวั เรอื นไทย ในมติ ขิ องจำ� นวนสมาชกิ เปลยี่ นแปลงอยา่ งนา่ ตกใจเมอ่ื ลว่ งเขา้ สู่ศตวรรษที่ 21 ครัวเรือนไทยโดยเฉล่ียมเี หลอื อยู่เพยี งครัวเรือนละประมาณ 3 คน (ขอ้ มูล ณ ปฐี าน พ.ศ. 2553) โดยเฉพาะในเขตเมอื งทข่ี นาดทดี่ นิ มรี าคาแพงขนึ้ บา้ นเรอื นและทอี่ ยอู่ าศยั ประเภทต่างๆ มีขนาดเล็กลง ครอบครัวไทยปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กับขนาดพน้ื ทบ่ี ้านและทอ่ี ยอู่ าศยั ท่ี หดตัวลง และรูปแบบการอยู่อาศัยแบบใหม่ๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรรที่มีการจัดแบ่งที่ดินเป็น แปลงๆ ขนาดเท่าๆ กัน บ้านมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันท้ังแถว หรือบ้านแบบทาวน์เฮ้าส์ท่ี มผี นงั บา้ นตดิ ๆ กนั รวมทง้ั การอยเู่ ปน็ หอ้ งๆ บนอาคารสงู ๆ ชนั้ หนง่ึ มหี ลายๆ หอ้ งทฝ่ี รงั่ เรยี ก ว่าอพาร์ทเม้นท์ แต่คนไทยเรียกว่าคอนโดมิเนียม คนไทยพากันเข้ามากระจุกตัวแออัด ในเมอื งมากขน้ึ ๆ อยา่ งหลกี เลยี่ งไมไ่ ดเ้ พอื่ แลกกบั การอยใู่ กลค้ วามเจรญิ ไมว่ า่ จะเปน็ สถานศกึ ษา หรือแหลง่ ทำ� มาหากิน ซึ่งเปน็ แรงดงึ ดูดหลกั ของการย้ายถิน่ ท�ำให้พืน้ ทีเ่ ขตเมืองหนาแน่นข้นึ และขยายตัวออกไปมากขึ้น ในบางพื้นที่ได้รุกรานเขตที่เคยเป็นชนบท และเปลี่ยนเขตชนบท ให้กลายเปน็ พน้ื ท่ี “ก่งึ เมอื ง” ซ่ึงยิ่งมคี วามซับซอ้ นทางสังคมในหลากมติ ิ 2 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

แอ๊บข้าวใบใหญ่ หายไปจากครัวเรือนไทยพร้อมกับการทยอยหายหน้าไปของสมาชิก ในครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ท่ีต่างแยกย้ายออกจากบ้านในช่วงเวลาต่างๆ จนเหลือเพียง สมาชกิ เพียงแค่ 2-3 คนในครัวเรอื น ท�ำใหก้ ารลงมอื เข้าครัวประกอบอาหารจ�ำนวนมากอย่าง เอิกเกริกดังเช่นสมัยก่อนไม่คุ้มค่าทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่ายอีกต่อไป ปรากฏการณ์ “แม่บ้าน ถงุ พลาสตกิ ” เปน็ ววิ ฒั นาการทางสงั คมทสี่ ะทอ้ นการเปลยี่ นของขายในตลาดสด จากเดมิ ทขี่ าย แต่ของสดเพ่ือไปประกอบอาหาร มาเป็นขายอาหารส�ำเร็จรูปเรียงรายหลายหม้อหลายถาด รอตกั ใสถ่ งุ พลาสตกิ ขนาดยอ่ มเหมาะสำ� หรบั การกนิ 1-2 คน การศกึ ษาพฤตกิ รรมการบรโิ ภค อาหารของครัวเรือน โดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ (2560) รายงานว่า ครัวเรือนในเขต กรุงเทพมหานคร นนทบรุ ี ปทมุ ธานี และสมุทรปราการ มีการบริโภคอาหารนอกบ้าน ร้อยละ 38.6 ซง่ึ สงู กว่าภาคอืน่ ๆ เนอื่ งจากความเป็นสงั คมเมืองที่คอ่ นข้างสงู การใช้ชวี ิตท่ีเร่งรีบแข่ง กับเวลา ซ่ึงการบริโภคอาหารนอกบ้านเป็นความสะดวกสบายและประหยัดทั้งงบประมาณ และเวลาการท�ำอาหารของแม่บ้าน ที่นอกจากต้องดูแลงานบ้านและดูแลความอยู่ดีกินดี ของสมาชกิ ในบา้ นแลว้ ยงั ตอ้ งทำ� หนา้ ทช่ี ว่ ยสามที ำ� มาหากนิ อกี แรงหนงึ่ ดว้ ย ตามความจำ� เปน็ และแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ความดีของอาหารปรุงส�ำเร็จรูปอีกประการหน่ึง คือท�ำให้ส�ำรับอาหารในครัวเรือนมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้จ�ำกัดแต่การกินอาหาร ม้ือละอยา่ งอกี ต่อไป สว่ นขา้ วซึง่ เปน็ ศูนย์กลางของสำ� รับอาหารนน้ั ก็สามารถซ้อื อยา่ งส�ำเรจ็ รปู ไดง้ า่ ยดายเชน่ กนั แมค่ รวั ไมต่ อ้ ง “หมา่ ขา้ ว” ซงึ่ หมายถงึ การแชข่ า้ วเหนยี วในนำ�้ คา้ งคนื ไวก้ อ่ น จะน�ำไปน่ึง ขา้ วเหนียวน่งึ สกุ สำ� เร็จรปู สามารถหาซ้อื ได้งา่ ยๆ จากตลาดสด แม่คา้ แบง่ ขายให้ ได้มากน้อยตามความต้องการและจ�ำนวนสมาชิกในครัวเรือน บรรจุอยู่ในใบตองกล้วย หรือ ใบตองตงึ (ตองสกั ) ขนาดใหญ่ ซงึ่ ปจั จบุ นั เรมิ่ หาไดย้ าก และหนั มาใชถ้ งุ พลาสตกิ เปน็ สว่ นใหญ่ ส่วนข้าวท่ีกินไม่หมดสามารถเก็บไว้ในถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น และเมื่อต้องการกิน อีกคร้ังก็สามารถอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ ให้เหนียวอุ่น นุ่มได้ทันใจในเวลาไม่ถึงสองนาที บา้ นไหนทอ่ี ยูค่ นเดียวก็ซอ้ื ครงั้ ละ 5-10 บาทได้ หากอยเู่ ปน็ ครัวเรือนเดี่ยวทีม่ พี อ่ แมล่ กู ก็อาจ ซ้ือห่อเล็กๆ หลายๆ ห่อ แต่ถ้าอยู่เป็นครัวเรือนขยายท่ีมีปู่ย่าตายายอยู่ร่วมด้วย อาจซ้ือ หอ่ ใหญ่ขนาด 1 กิโลกรัม หรือครึง่ กิโลกรมั ไม่เพียงเฉพาะแอ๊บข้าวใบใหญ่ที่เท่านั้นหายไปแล้วจากครัวเรือนไทย หากมองไป รอบๆ ครัว และรอบๆ บ้าน เราก็จะเห็นการเปล่ียนแปลงอีกหลายอย่างท่ีล้วนเกิดขึ้นจาก การเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ งของสมาชกิ ในครวั เรอื น ถงั แกส๊ หงุ ตม้ ขนาดใหญค่ วามจุ 15 กโิ ลกรมั เปล่ียนเป็นถังแก๊สขนาดเล็ก 7 หรือกระท่ัง 4 กิโลกรัม เน่ืองจากการประกอบอาหารใน ครวั เรอื นทล่ี ดลงไปอยา่ งมาก ภาชนะประกอบอาหารตง้ั แตก่ ระทะ หมอ้ ตกู้ บั ขา้ ว รวมไปจนถงึ ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม 3 ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

เตา และแมแ้ ตข่ นาดของหอ้ งครวั เองกม็ ขี นาดเลก็ ลงเปน็ อยา่ งมาก ครวั ไทยปจั จบุ นั ไมต่ อ้ งการ อะไรมากไปกว่าเตาไมโครเวฟ ตเู้ ย็น และโตะ๊ อาหารเล็กๆ ส�ำหรับ 2-3 คนนั่ง และในการอยู่ อาศยั บางรปู แบบ เชน่ หอ้ งชดุ ขนาดอยกู่ นั 1-2 คน ไมไ่ ดอ้ อกแบบใหม้ หี อ้ งครวั เสยี เลยดว้ ยซำ้� การประกอบอาหาร และการกินอาหารซง่ึ เคยเปน็ กจิ กรรมในบา้ น กลายเป็นกจิ กรรมทตี่ อ้ งทำ� นอกบา้ น และไมเ่ พยี งการเปลยี่ นแปลงของขนาดหอ้ งครวั จำ� นวนและขนาดของภาชนะเทา่ นน้ั แมแ้ ตอ่ าหารและเครอ่ื งปรงุ ตา่ งๆ ในปจั จบุ นั ลว้ นตอ้ งแบง่ ขายใหม้ ขี นาดเลก็ ลงเพอ่ื ใหส้ อดคลอ้ ง กับจ�ำนวนสมาชกิ ในครัวเรือน เชน่ นำ�้ มันพืช นำ�้ ปลา ซอสปรุงรส ทเี่ คยบรรจุขวดขนาดใหญ่ กลายเป็นขวดขนาดเล็ก กลว้ ยทเี่ คยแบง่ ขายทีละคร่ึงหวี ต้องแบง่ ขายทลี ะลกู หรอื สองลูกเพื่อ ใหก้ ินไดท้ นั แอ๊บข้าวในสังคมไทยทุกวันน้ีจะพบเห็นได้ก็เพียงแค่ในร้านท่ีขายอาหารพื้นบ้าน และเหลือให้เห็นเฉพาะขนาดเลก็ จิ๋วส�ำหรับคนเดียวกนิ บรรจุขา้ วเหนยี วท่ีใส่ถุงพลาสติกไวอ้ กี ทีหนึ่งเพ่ือข้าวเหนียวจะได้ไม่ติดแอ๊บข้าว ส่วนแอ๊บข้าวขนาดใหญ่ตลอดจนข้าวของเคร่ืองใช้ ทเี่ ปน็ รอ่ งรอยของการอยอู่ าศยั แบบครวั เรอื นขยายขนาดใหญส่ ดุ ทา้ ยคงมใี หเ้ หน็ ไดใ้ นพพิ ธิ ภณั ฑ์ ร่วมสมัยเท่านัน้ พัฒนาการของสังคมไทยในช่วงระยะเวลาคร่ึงศตวรรษท่ีผ่าน ไม่เพียงแต่เปล่ียนแปลง สภาพทางกายภาพของครัวเรือนไทยเท่าน้ัน แต่การใช้เวลาอยู่ร่วมกันในบ้านก็เป็นอีกมิติหน่ึง ของการเปลย่ี นแปลงของครวั เรอื นไทยทีน่ ่าจบั ตามอง ในยุคท่ีครัวเรือนไทยแยกกันอยู่กระจัดกระจายและห่างไกลขึ้นจากแต่เดิมที่เคย อยรู่ ่วมกัน 3-4 ร่นุ ในข้นั หน่ึงเพ่ือเห็นแก่ความกา้ วหนา้ ด้านการศกึ ษา ตอ่ มาอกี ข้นั กเ็ พื่อเหน็ แกอ่ าชพี การงานทด่ี ี และอกี ขนั้ เพอ่ื ไดอ้ ยใู่ กลก้ บั คชู่ วี ติ จนกระทงั่ ถงึ การยา้ ยไปเพอ่ื ใหล้ กู ไดอ้ ยู่ ใกล้โรงเรียนดีๆ ท�ำให้การพบปะและรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เคยท�ำร่วมกันในชีวิตประจ�ำวัน ลดน้อยลงไป การท่ีสมาชิกในครัวเรือนรอกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างน้อยในมื้อเย็น ของแต่ละวัน กลายเป็นกิจกรรมที่ต้องรอคอยโอกาสพิเศษ เช่น วันเทศกาล วันหยุดยาว หรือการฉลองวันส�ำคัญบางอย่างของครอบครัว ซึ่งกิจกรรมเหล่าน้ีเป็นปัจจัยส�ำคัญท่ีเก้ือหนุน ให้สมาชิกครวั เรอื นมคี วามรกั ความผูกพันท่เี ปน็ คณุ ค่าทางด้านจติ ใจ กอ่ ให้เกดิ เป็นครอบครัว อบอนุ่ เขม้ แขง็ (บงั อร เทพเทยี น และคณะ, 2008; Sprunger, L.W., Boyce, W. T., & Gaines, J. A., 1985) และแมใ้ นบางครอบครวั ทอี่ ยกู่ นั แบบครวั เรอื นขยาย แตภ่ ารกจิ นอกบา้ นของแตล่ ะ คนท่มี ีมากขึ้น อกี ทงั้ เวลาทใี่ ช้ในการเดินทางจากทหี่ น่ึงไปอีกทหี่ นงึ่ ยาวนานขึ้น ทำ� ใหส้ มาชกิ ในบ้านใช้เวลาร่วมกันลดลง 4 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ในครัวเรือนช้ันกลางท่ีอยู่ในเขตเมืองหรือกึ่งเมือง การเลี้ยงดูลูกให้เติบโตขึ้นอย่าง มีคุณภาพกลายเป็นสนามการแข่งขันท่ีทวีความรุนแรงขึ้นอย่างท่ีพ่อแม่เองไม่ได้ต้ังใจ แต่เกม การอยู่รอดในกลไกการศึกษาของไทยบีบบังคับให้พ่อแม่และลูกลงสนามการแข่งขันอย่าง ไม่มีทางเลือก ด้วยการทุ่มเงินเท่าท่ีมีหรืออาจท่ีเกินจะมี (ซ่ึงหมายถึงการต้องเป็นหนี้เป็นสิน) รวมทงั้ เวลาทงั้ หมดใหก้ บั การตดิ อาวธุ ทางปญั ญาดว้ ยการกวดวชิ า เรยี นเสรมิ ทกั ษะพเิ ศษตา่ งๆ พ่อแม่สาละวนอยู่กับการเทียวรับเทียวส่งและนั่งรอลูกเรียนพิเศษ พ่อแม่ช้ันกลางยุคปัจจุบัน เขา้ ไปมสี ว่ นรว่ มกบั การจดั การศกึ ษาของลกู เรยี นพเิ ศษ (Parental involvement in educa- tion) เพม่ิ ข้ึนในระดบั เขม้ ข้นอยา่ งมากในช่วงเวลาวันหยุด หรอื แม้แต่ชว่ งเยน็ ของวันธรรมดา ก็ไม่ใชช่ ่วงเวลาที่เดก็ ว่งิ เลน่ กับเด็กๆ รุน่ เดยี วกันในละแวกบ้าน หรือรับผิดชอบช่วยเหลืองาน บา้ นตามสมควรแก่วัย เวลาของพ่อแมล่ กู ส่วนใหญจ่ งึ อยูน่ อกบา้ น และในกรณที ่มี ลี กู มากกว่า 1 คน สามภี รรยาอาจตอ้ งแบง่ กนั ดแู ล เพราะลกู แตล่ ะคนอาจเรยี นพเิ ศษคนละท่ี หรอื มกี จิ กรรม ทไี่ มเ่ หมอื นกนั การปลอ่ ยใหล้ กู เดนิ ทางไปไหนมาไหนโดยลำ� พงั ดว้ ยบรกิ ารขนสง่ สาธารณะ เชน่ รถประจำ� ทาง หรอื แมก้ ระทง่ั การขจี่ กั รยานไปไหนมาไหน อาจไมเ่ หมาะกบั สภาพความปลอดภยั ของสงั คมในปัจจุบนั ในประเดน็ นี้ ระยะหา่ งระหวา่ งบา้ นและทตี่ ง้ั ของกจิ กรรมตา่ งๆ นอกบา้ นเปน็ มติ ทิ มี่ กี าร เปล่ียนแปลงไปที่น่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ในท่ีน้ีเน้นใช้ค�ำว่าระยะห่าง (Distance) ซ่ึง เป็นความห่างทางอุดมคติ ไม่ใช่ระยะทางที่วัดได้ทางภูมิศาสตร์ เพราะในบางคร้ังระยะทาง ใกล้ๆ ในสังคมที่มีความเป็นเมืองมากขึ้นกลับใช้เวลาเดินทางนานกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก ทำ� ใหร้ ะยะทางสนั้ ๆ กลายเปน็ ระยะทางทแ่ี สนไกลได้ การทรี่ ะยะหา่ งเพมิ่ มากขนึ้ ตามพฒั นาการ ของสงั คมทมี่ คี วามเปน็ เมอื งมากขน้ึ นเ้ี องทที่ ำ� ใหเ้ วลาทใ่ี ชใ้ นบา้ นลดลงไปดว้ ย การใชเ้ วลารว่ มกนั ของครอบครวั ตอ้ งแปรตามดว้ ยการปรบั กจิ กรรมในบา้ นใหส้ อดคลอ้ งกบั ความคาดคน้ั ของสงั คม นอกบา้ น การกนิ ขา้ วร่วมกนั ในบ้านอาจตอ้ งต่างคนต่างกินมากขนึ้ ป่ยู ่าตายายต้องดแู ลตวั เอง มากข้ึน เพราะลูกและหลานใช้เวลานอกบ้านนานขึ้น การท�ำความสะอาดบ้านเรือนเปล่ียน จากการท�ำทุกวันเป็นนานๆ คร้ัง เช่น สัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละคร้ัง หรือต้องจ้างคน มาทำ� ความสะอาดแทน เวลาในการพบปะพดู จาวสิ าสะระหวา่ งสมาชกิ ในครวั เรอื นแบบพบหนา้ หาได้ยากข้ึน แปรรูปกลายเป็นบทสนทนาผ่านห้องแชท (Chat room) ท่ีมักต้ังชื่อว่า “ห้องครอบครัว” และอาจเหลือเพียงการส่งสติกเกอร์แทนค�ำพูดและความรู้สึกในบางเวลา ท่ีไม่อยากพิมพ์ข้อความยืดยาว กลายเป็นธรรมเนียมการสนทนาระหว่างคนในครอบครัว เกดิ เป็น “ครัวเรือนเสมือน” แหง่ ศตวรรษท่ี 21 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม 5 ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

การเตบิ โตของระบบการค้าปลกี สมยั ใหม่ ไมว่ า่ จะเป็นหา้ งสรรพสินคา้ (Department store) หรอื ซปุ เปอรเ์ ซน็ เตอรท์ ป่ี ระสบความสำ� เรจ็ อยา่ งมากในการขยายตวั ออกจากเมอื งหลวง สู่เมืองหลักในภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนถึงเมืองรอง ได้สร้างพ้ืนท่ีนอกบ้านแห่งใหม่ให้กับ ครอบครัวไทยและเบยี ดพ้ืนที่นอกบ้านอื่นๆ ไม่วา่ จะเป็นสนามกีฬา สนามเด็กเลน่ บา้ นเพื่อน บา้ นญาติ ชายปา่ ชายทงุ่ ใหห้ ดแคบจนแทบจะหายไปจากสงั คมปจั จบุ นั หา้ งสรรพสนิ คา้ และ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ได้กลายเป็นพื้นท่ีนอกบ้านยอดนิยมท่ีสมาชิกในครัวเรือนไทยทุกเพศทุกวัย ต่ืนตาต่ืนใจท่ีจะไปใช้เวลาร่วมกันยามว่าง ด้วยเหตุผลของความสะดวกสบายในการเดินทาง ความครบพรอ้ มของสินค้าและบรกิ าร ความเปน็ ระเบียบเรยี บรอ้ ย ความทันสมัย และอากาศ เยน็ สบายตลอดวนั นอกจากน้ี พน้ื ทน่ี อกบา้ นประเภท Co-working space ซง่ึ มลี กั ษณะเปน็ ร้านกาแฟ หลายแห่งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คนมาน่ังท�ำงาน อ่านหนังสือ คนเดียวหรือหลายคนแล้วแต่โอกาส ก�ำลังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ท้ังที่อยู่ในวัยเรียนและ วัยท�ำงาน บ้านหรืออพาร์ทเม้นท์อาจเงียบเกินไป หรืออาจวุ่นวายเกินไปจนเสียสมาธิ หรือ คับแคบและจ�ำเจเกินไปจนคิดอะไรไม่ออก ซ่ึงไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดเราเห็นร้านกาแฟ หรอื Co-working space เหลา่ น้มี คี นนั่งอา่ นหนังสือ หรอื ทำ� งานแน่นขนัดตลอดวนั บทบาทหน้าท่ีของบ้านในศตวรรษที่ 21 เปล่ียนแปลงไปหลายรูปแบบส�ำหรับสมาชิก แต่ละคน แต่สิ่งหน่ึงท่ีเหมือนกันคือสมาชิกแต่ละคนใช้เวลาในพ้ืนท่ีบ้านน้อยลง พลอยให้ กิจกรรมต่างๆ ท่ีเคยท�ำในพ้ืนที่บ้านหดหายไป พร้อมกับการหายหน้าของสมาชิกในบ้าน หลายๆ คน และอาจจะมีเฉพาะสมาชกิ ทีส่ งู อายุของครัวเรอื นเทา่ นนั้ ทห่ี มดกำ� ลังจะตดิ ตาม การเปลีย่ นแปลงอนั รวดเร็วนี้ และถูกท้งิ ใหเ้ ฝา้ บ้านโดยล�ำพงั 6 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

พ้ืนท่ี-เวลา-ระยะหา่ ง ข้อจำ� กัดในการดแู ลครอบครวั ไทย สายสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ว่าจะเชื่อมร้อยกันด้วยสายเลือด หรือด้วยความรู้สึก หรือ ด้วยท้ังสองอย่าง ท�ำให้ครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด และโดยความสัมพันธ์นั้น สมาชิกในครอบครวั มีการแลกเปล่ียนกจิ กรรมกนั หลายอยา่ ง ซึ่งส่วนหนง่ึ ของกิจกรรมเหล่านนั้ คือการดแู ล ชว่ ยเหลอื เกอ้ื กูลและพ่งึ พาอาศยั กัน (Dependency) ทำ� ใหส้ มาชิกในครอบครัว ต่างตอ้ งการซึง่ กนั และกนั และทำ� ใหค้ รอบครวั มคี วามแน่นแฟ้น อบอนุ่ และเข้มแขง็ สามารถ ช่วยเหลอื กันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทีจ่ ะเขา้ มากระทบกับสมาชิกในครอบครวั พลวัตรการย้ายถิ่นและความเป็นเมืองของสมาชิกในครอบครัวไทยตลอด 5 ทศวรรษ ทผี่ า่ นมา เปน็ สว่ นหนงึ่ ทที่ ำ� ใหเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลงของการอยอู่ าศยั ซง่ึ แตเ่ ดมิ เปน็ การอยอู่ าศยั ของเครือญาติท่ีตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกใกล้เคียงกัน ท�ำให้ชุมชนในอดีตมีแต่ครัวเรือนของ คนท่เี ก่ยี วดองเปน็ ญาติทางตรงบา้ งทางอ้อมบ้าง ทำ� ใหเ้ กดิ การไปมาหาสกู่ นั แม้จะไมส่ ามารถ บอกได้ว่าความสัมพนั ธ์ระหวา่ งคนในชุมชนจะมแี ตค่ วามรักใคร่สมานฉันทเ์ สมอ แตอ่ ย่างนอ้ ย กเ็ ปน็ สงั คมทม่ี คี นแปลกหนา้ ปนเปเขา้ มานอ้ ยมาก หวั บา้ นทา้ ยบา้ นลว้ นแตร่ จู้ กั วา่ ใครเปน็ ใคร ใครเกยี่ วดองกบั ใครอยา่ งไร เมอื่ ถงึ คราวงานบญุ งานมงคล งานอวมงคล คนในชมุ ชนบอกตอ่ ๆ และมารว่ มมือลงแรง หรืออย่างน้อยมาร่วมงานให้เหน็ หนา้ โดยไมต่ อ้ งสง่ การด์ เชิญแตอ่ ย่างใด การดูแล เอ้ือเฟื้อ ช่วยเหลือเก้ือกูลกันภายในครัวเรือน รวมไปจนถึงบริเวณละแวกบ้านและ เขตชมุ ชนใกลเ้ คยี งเปน็ สิ่งท่คี กู่ ับสังคมไทยด้งั เดิมมาชา้ นาน สมาชิกของครอบครัวไทยตัดสินใจย้ายถิ่นฐานออกจากสภาพแวดล้อมที่ตนเองคุ้นเคย และอยู่ห่างไกลจากบุคคลที่ตนเองรักเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต ด้วยท่ีที่ตนเองด้ินรนจะไปน้ัน มีการศึกษาที่ดีกว่า หรือการงานที่ดีกว่า และแม้จะมีเหตุผลอ่ืนๆ ประกอบด้วยบ้าง เช่น การย้ายติดตามครอบครัวแต่ก็ไม่มากเท่ากับสองเหตุผลแรก ปรากฏการณ์นี้ส่วนหนึ่งสะท้อน ระดบั การพฒั นาของแตล่ ะพน้ื ทที่ ไี่ มเ่ ทา่ เทยี มกนั (Uneven development) และยงิ่ เมอ่ื สงั คม ไทยมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจท่ีดีข้ึน มีการพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) สงู ขนึ้ แตก่ ลบั มกี ารยา้ ยถนิ่ มากขน้ึ โดยเฉพาะในลกั ษณะทพ่ี น้ื ทค่ี วามเปน็ เมอื งดงึ ดดู คนเขา้ มา จากชนบทรอบนอกสู่ตัวเมือง และประชากรที่ย้ายถิ่นเหล่านี้ก็มักจะเป็นคนวัยหนุ่มสาวและ วัยแรงงานเปน็ สว่ นใหญ่ ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม 7 ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ครอบครวั ไทยใหก้ ำ� เนดิ ลกู และเลย้ี งดจู นถงึ วยั หนง่ึ จากนนั้ ตอ้ งยอมตดั ใจใหล้ กู ยา้ ยออก จากบ้านเพื่อไปอยู่ใกล้สถานศึกษา ซ่ึงแต่ก่อนอาจหมายถึงระดับอุดมศึกษาตามค่านิยม ใบปรญิ ญาของสงั คมไทย แตป่ จั จบุ นั มคี รอบครวั จำ� นวนไมน่ อ้ ยทยี่ นิ ยอมใหล้ กู ยา้ ยออกจากบา้ น ตงั้ แตร่ ะดบั มธั ยมศกึ ษา เพอื่ เพมิ่ โอกาสการเขา้ เรยี นในสถานศกึ ษาทรี่ บั ประกนั ความมน่ั คงของ อนาคตลกู ทต่ี อ้ งดกี วา่ รนุ่ พอ่ แม่ เมอื่ เดก็ ยา้ ยถนิ่ สเู่ ขตเมอื ง ไมว่ า่ จะเปน็ เมอื งหลวง หวั เมอื งหลกั หรอื หวั เมอื งรอง โอกาสการยา้ ยกลบั หลงั จากการสำ� เรจ็ การศกึ ษามไี มเ่ กนิ รอ้ ยละ 60 สว่ นทเี่ หลอื จะยงั คงอยใู่ นตา่ งถน่ิ เพอื่ โอกาสในการทำ� งานทมี่ รี ะดบั ความทา้ ทายและมรี ายไดเ้ หมาะสมกวา่ การกลับมาหางานทำ� ท่บี ้านเกิด ด้วยเหตุน้เี องท่คี รวั เรือนในเขตชนบทจ�ำนวนไมน่ ้อยท่ีบ้านจะ เหลอื แตพ่ อ่ แมท่ ยี่ งั อยทู่ บี่ า้ น (Parent left behind) และพอ่ แมเ่ หลา่ นไี้ ดก้ ลายเปน็ ปยู่ า่ ตายาย ไปในทสี่ ดุ เมอื่ ลกู ยา้ ยออกไปนน้ั ใหก้ ำ� เนดิ บตุ รในเมอื งอนื่ ทกุ วนั นจี้ ะเหน็ ไดว้ า่ มเี พยี งคนรนุ่ ปยู่ า่ ตายายในต่างจังหวดั และชนบทเท่านนั้ ทเี่ กดิ เติบโต ทำ� มาหากนิ และสร้างครอบครัว อยู่ในที่ เดมิ โดยไมย่ า้ ยออกไปไหน และมเี พยี งลกู หรอื หลานจำ� นวนหนง่ึ เทา่ นน้ั ทย่ี า้ ยกลบั มา หรอื ยงั คง อาศัยอยใู่ นทอ้ งถ่ินเดิม แตจ่ �ำนวนน้กี ็มแี นวโนม้ ท่ีลดลงไปตามอัตราเกิดทีล่ ดลงของสงั คมไทย การทยอยยา้ ยออกจากถนิ่ ฐานเดิมนี้ ทำ� ใหป้ ระชากรในเขตนอกเมอื งมแี นวโน้มลดลงใน ขณะท่ีประชากรในเขตเมืองเพ่ิมมากขึ้น พื้นท่ีเขตเมืองของประเทศไทยขยายตัวจาก 2,400 ตารางกิโลเมตรในปี 2543 มาเปน็ 2,700 ตารางกิโลเมตรในปี 2553 (ธนาคารโลก, 2558) ในขณะท่ีครัวเรือนเดี่ยว และครัวเรือนคนเดียว รวมจนถึงครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุอยู่เพียงล�ำพัง มแี นวโน้มท่เี พ่ิมข้ึน (ศทุ ธิดา ชวนวัน และคณะ, 2561) ยิ่งท�ำใหเ้ หน็ ไดช้ ดั ว่า ครอบครัวไทย พลดั พราก และอยู่อาศัยหา่ งกนั มากขึน้ ส�ำหรับครัวเรือนที่ถ่ินฐานบ้านเรือนเดิม อยู่ในเขตเมืองอยู่แล้ว และไม่น่าจะมีเหตุต้อง ย้ายถ่ินฐานออกไปอยู่ห่างไกลจากบ้านเดิมเพราะทั้งโอกาสทางการศึกษา และโอกาสทาง การท�ำมาหากินล้วนกระจุกตัวอยู่แล้วในเขตเมือง แต่สภาพความเป็นเมืองที่แออัดมากข้ึน การขยายครัวเรอื นเพื่อรองรับสมาชกิ เพ่มิ ขึ้นเมอื่ มกี ารสรา้ งครอบครวั ใหมท่ ำ� ไดไ้ ม่เต็มท่ี ราคา ทด่ี นิ และท่อี ยู่อาศัยในเขตเมืองสงู ขึน้ อย่างนา่ ตกใจ จากรายงานของ CRBE Research and Capital Markets-Investment & Land (2018) รายงานมูลค่าที่ดินย่านใจกลาง กรงุ เทพมหานครปรับตัวสูงขึ้นกวา่ 1,000% ในช่วง 30 ปีท่ีผ่านมา นอกจากน้ีราคาท่ดี ินใน กรงุ เทพฯ และปรมิ ณฑล ในชว่ งไตรมาส 2 ของปี 2561 ปรบั ขน้ึ 32.2% เมอ่ื เทยี บกบั ไตรมาส เดียวกันของปี 2560 (ผจู้ ัดการออนไลน์ วนั ที่ 16 พ.ย. 2561) ประกอบกับการขนสง่ มวลชน ท่ียังไม่สะดวกสบายและทั่วถึงเท่าท่ีควร ท่ีอยู่อาศัยของครอบครัวรุ่นใหม่เหลือเพียงทางเลือก ที่ต้องย้ายเข้าไปอยู่ในท่ีอาศัยประเภทอพาร์ทเม้นท์ขนาดเล็กใกล้ที่ท�ำงานในเขตเมือง หรือ 8 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ใกล้เส้นทางการขนส่งมวลชน ซ่ึงยิ่งใกล้ท่ีท�ำงานหรือตัวเมืองมากเท่าไรพ้ืนท่ีก็จะย่ิงเล็กลง และแพงขึ้นเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องย้ายไปอยู่เขตชานเมืองเพ่ือให้ได้พ้ืนที่ท่ีมากขึ้น แต่ก็ต้อง แลกดว้ ยการใช้เวลาในการเดินทางอนั ยาวนานระหวา่ งทีอ่ ย่อู าศยั และทท่ี �ำงาน การปรับตัวด้านที่อยู่อาศัยเหล่าน้ี ท�ำให้เกิดการแยกห่างกันของสมาชิกครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการแยกกันอยู่คนละจังหวัด หรือแม้จะอยู่ในจังหวัดเดียวกัน หรือในเขตเมือง เหมอื นกนั แตก่ ต็ อ้ งแยกหา่ งกนั อยดู่ ี มผี ลอยา่ งมากตอ่ ระยะเวลาทจี่ ะไดอ้ ยรู่ ว่ มกนั ซงึ่ ระยะเวลา ท่ีลดน้อยลงไปนี้ไม่ได้มีผลต่อระยะห่างของความรู้สึกเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อระยะห่างของ การช่วยเหลือเกื้อกูล ดูแลเอ้ือเฟื้อและเอาใจใส่กัน โดยเฉพาะในยามฉุกเฉินหรือจ�ำเป็น เช่น การป่วยไข้ รวมถึงการชราภาพลงท่ีตอ้ งมีคนคอยปรนนบิ ัติชว่ ยเหลืออยูเ่ สมอ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ธรรมชาติของวงจรชีวิตครอบครัว (Family life cycle) ที่ Carter และ McGoldrick (1980) บรรยายไวว้ า่ มี 6 ขน้ั ตอน ตงั้ แตเ่ จรญิ วยั เปน็ ผใู้ หญเ่ ตม็ ตวั (Young adult) แต่งงานและสรา้ งครอบครวั (Newly Married Couple) เร่ิมมลี กู เลก็ ๆ (Family with young children) ลกู โตเปน็ วยั รุ่น (Family with adolescents) ลกู โตและ เตรยี มแยกครอบครวั (Family with adult children) จนกระทง่ั ถงึ ลว่ งเขา้ วยั ชราในบนั้ ปลาย ชีวิต (Family in later life) ได้สร้างกลไกการช่วยเหลือเก้ือกูลกันภายในครอบครัวอย่าง นา่ มหศั จรรย์ แม้ขัน้ ตอนทัง้ 6 นอ้ี าจดูเหมอื นเสน้ เวลาล�ำดบั เดียวทตี่ ่อเน่อื งกนั ไปจากขน้ั แรก ไปจนถึงขั้นสุดท้าย แต่แท้จริงแล้วคนแต่ละคนมีวงจรชีวิตครอบครัวของตัวเอง ท�ำให้ในหนึ่ง ครอบครัวมีเส้นวงจรชีวิตครอบครัวที่ว่ิงซ้อนเหล่ือมกันหลายเส้นตามจ�ำนวนของสมาชิกใน ครอบครวั แต่ในเสน้ วงจรชวี ิตทซ่ี ้อนเหลื่อมกันนี้มกี ลไกการสนับสนนุ ช่วยเหลือกนั แฝงอยดู่ ้วย ผู้ใหญ่เต็มตัวในสังคมในอดีต (พ.ศ. 2513) เร่ิมมีลูกในขณะท่ีอายุประมาณ 22-25 ปี (ศทุ ธิดา ชวนวัน และ ปยิ วัฒน์ เกตุวงศา, 2557, น. 33) ซ่งึ เปน็ ช่วงเวลาที่ปยู่ ่าตายายมีอายุ ประมาณ 55-60 ปี ยังมีสภาพร่างกายท่ีแข็งแรงและช่วยดูแลหลานเล็กๆ ได้เป็นอย่างดี ประกอบท้ังการอยู่อาศัยแบบครัวเรือนขยายท�ำให้ลูกวัยท�ำงานออกไปท�ำงานได้อย่างสบายใจ เพราะมพี ่อแม่ของตัวเองช่วยดลู ูก และเมอ่ื ป่ยู า่ ตายายอายลุ ่วงเขา้ 70-80 ปี หลานกเ็ ตบิ โตขนึ้ มาช่วยเหลือตัวเองได้ทัน และยังสามารถช่วยดูแลปู่ย่าตายายที่มีสภาพร่างกายถดถอยลง ไปสู่การเป็นผู้สูงอายุวัยกลางหรือวัยปลายในขณะที่พ่อกับแม่ออกไปท�ำงาน แต่การชะลอ เวลาการมีลูกในปัจจุบัน ท�ำให้กลไกการซ้อนเหล่ือมของเวลาเพื่อการดูแลซ่ึงกันและกันน้ี คลาดออกจากกัน ไม่สามารถส่งทอดการดูแลซึ่งกันและกันได้อย่างในอดีต ท�ำให้ หลายครอบครัวอยู่ในสภาวะท่ีต้องดูแลท้ังลูกเล็กๆ และผู้สูงอายุวัยกลางหรือวัยปลาย ไปพร้อมๆ กัน และยงิ่ ในสภาวะทีค่ รัวเรอื นไมไ่ ดอ้ ยดู่ ้วยกันแบบครัวเรอื นขยาย ทำ� ให้ต้องจ้าง ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม 9 ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ทั้งผูช้ ว่ ยดแู ลเดก็ และผูส้ งู อายุ ซ่งึ เป็นค่าใชจ้ ่ายทีส่ งู มากในปจั จุบนั มนสิการ กาญจนะจติ รา และคณะ (2561) และศทุ ธดิ า ชวนวัน และคณะ (2561) รายงานวา่ คา่ จ้างเลย้ี งดเู ด็กอาจสูง ถึงเดือนละ 8,000–10,000 บาท ในขณะท่ผี ดู้ แู ลผู้สงู อายอุ าจสูงถึง 12,000 บาท “พ้ืนที่” และ “เวลา” เป็นการเช่ือมโยงประสบการณ์ในการใช้ชีวิต การกระท�ำ หรือ วิถีชวี ิตของมนุษยท์ ่เี กิดข้ึนในพนื้ ทต่ี า่ งๆ เพอ่ื เรยี นร้สู ังคม วัฒนธรรม หรอื ความเปลีย่ นแปลง ท่ีเกิดขึ้นจากปฏิบัติการทางสังคม (Giddens, 1984) แต่พื้นท่ีที่ว่าน้ีไม่ได้มีความหมายทาง ในทางรปู ธรรมทเ่ี หน็ และจบั ตอ้ งไดท้ างกายภาพเทา่ นน้ั แตพ่ น้ื ทยี่ งั มคี วามหมายในเชงิ นามธรรม ซอ้ นอยดู่ ว้ ย ดงั ทเี่ ราอาจเคยไดย้ นิ ค�ำวา่ “พนื้ ทส่ี ว่ นตวั ” ซง่ึ ไมไ่ ดห้ มายถงึ บริเวณทเี่ ปน็ รปู ธรรม เฉพาะสว่ นตวั แตห่ มายถงึ กจิ กรรมใดๆ ทเี่ ปน็ การเฉพาะสว่ นตวั ของแตล่ ะคน คนอน่ื จะเขา้ ไป ล่วงละเมิดไม่ได้ ท�ำให้พื้นที่มีความซับซ้อนและเปล่ียนแปลง ล่ืนไหลไปตามกิจกรรมต่างๆ และการใช้ชีวิตประจ�ำวันของมนุษย์ (Lefebvre, 1991) ในขณะท่ี “เวลา” จะแสดงถึง การเปล่ียนแปลงที่มีล�ำดับ หรือข้ันตอนทางประวัติศาสตร์ที่มีการเปล่ียนแปลงรูปแบบวิถีชีวิต ของคนในแต่ละสงั คม (Auslander, 2008) พื้นที่ เวลา และระยะห่าง มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในแง่ท่ีระยะห่างเชิงพ้ืนที่ท่ีเป็น รูปธรรมท�ำให้การใช้เวลาร่วมกันมีข้อจ�ำกัด และส่งผลต่อระยะห่างเชิงพื้นที่ท่ีเป็นนามธรรม เช่น ความรูส้ ึกใกลช้ ิด หรอื ความรู้สึกอบอุ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งแมส้ ายสัมพันธ์ของคน ในครอบครัวจะได้รับการถนอมรักษาด้วยวัฒนธรรม ค่านิยมและประเพณีซ่ึงแตกต่างกันไป และไม่ว่าตัวสมาชิกในครอบครัวจะอยู่ห่างไกลกันแค่ไหนก็ไม่น่าจะส่งผลต่อความผูกพันที่มี ต่อกนั ได้ แต่ต้องยอมรบั ว่าระยะหา่ งเชงิ พื้นทท่ี เี่ ป็นรปู ธรรม ทวี่ ดั ได้เปน็ กิโลเมตร หรือเป็นไมล์ ส่งผลต่อการดูแล พ่ึงพาอาศัยกัน โดยเฉพาะในยามคับขันจ�ำเป็นต่างๆ อย่างปฏิเสธไม่ได้ และแม้จะมีพื้นทีเ่ สมือน (Virtual space) เชน่ พื้นท่บี นโลกดจิ ิทัล หรือพน้ื ทบี่ นโลกออนไลน์ ผา่ นสอื่ โซเชยี ลมเี ดยี มาชว่ ยเยยี วยาระยะหา่ งเชงิ พน้ื ทร่ี ปู ธรรมหรอื ทางกายภาพ แตก่ ไ็ มส่ ามารถ ทดแทนสมั ผสั จริงทเี่ กดิ จากการอยใู่ กล้ชดิ กนั ได้อยา่ งเตม็ ที่ 10 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ครอบครวั ...ครวั เรอื น นามธรรม และรปู ธรรม แหง่ ความสัมพนั ธ์ ค�ำวา่ “ครวั เรอื น” และ “ครอบครัว” มีความแตกตา่ งในมติ ิของความเปน็ รูปธรรมและ นามธรรม ซ่ึงความแตกต่างนี้ไม่ได้มีนัยยะเฉพาะตัวอักษรที่เขียนเป็นนิยามเท่านั้น แต่ยังมี ความหมายท่ีลึกซ้ึงถึงความรู้สึกท่ีเกิดขึ้นเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ในขณะท่ีค�ำว่า “ครัวเรือน” สะท้อนสภาพท่ีเป็นสถานที่ตั้งที่มองเห็นและรับรู้ได้ด้วยลักษณะทางกายภาพ แจงนับได้ชัดเจน ท�ำให้เป็นหน่วยนับส�ำคัญของส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ เพ่ือการแจงนับพ้ืนท่ี ทางกายภาพของการอยู่กินร่วม “ครัว” เดียวกันของคนกลุ่มหนึ่ง ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ในครอบครวั ในขณะที่คำ� ว่า “ครอบครัว” สะทอ้ นความสัมพนั ธ์และความผกู พนั เปน็ หลัก มี ลักษณะเปน็ นามธรรม บอกขอบเขตและแจงนับไมไ่ ด้ เพราะครอบครัวหมายถึงคนท้งั สาแหรก ทเ่ี ก่ียวข้องกันฉันท์ญาติ จะจ�ำกดั วา่ ครอบครวั หมายถึงเฉพาะพ่อแม่ลูกเทา่ นัน้ ไม่ได้ เพราะผู้ เปน็ พ่อ หรือเปน็ แม่ กเ็ ป็นลูกของปยู่ า่ ตายาย เปน็ น้อง เปน็ หลาน เป็นเหลนของอกี หลายคน ครอบครวั จงึ เปน็ หนว่ ยทไี่ มส่ ามารถนบั ได้ เพราะครอบครวั ตา่ งๆ จะซอ้ นเหลอ่ื มกนั อยู่ ไมอ่ าจ แยกครอบครัวหนึ่งๆ เป็นเอกเทศได้ และในทางภาษาพูดเม่ือพูดถึงครอบครัวน้ันครอบครัวนี้ แทจ้ รงิ แลว้ หมายความถงึ ครวั เรอื นทม่ี สี มาชกิ ของครอบครวั อาศยั อยรู่ ว่ มกนั ในทอ่ี ยอู่ าศยั หนง่ึ อย่างไรก็ตาม ครวั เรอื นและครอบครวั สะท้อนคุณคา่ ทางดา้ นจิตใจของสมาชิก ภายใต้ กจิ กรรมและการมปี ฏสิ มั พนั ธใ์ นชวี ติ เชน่ การรบั ประทานอาหารรว่ มกนั ของสมาชกิ ในครอบครวั ในยุคสมัยอดีต สมาชิกในครอบครัวจะนั่งล้อมวงรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่จะอยู่กัน เปน็ ครอบครัวใหญ่ สมาชกิ ประกอบไปด้วย พ่อแม่ ปยู่ า่ ตายาย ลุงปา้ นา้ อา (Eazy-Thai cooking, 2549) มีอาหารจัดมาเป็นส�ำรับอยู่ตรงกลาง สมาชิกของครอบครัวได้พูดคุยกัน เป็นความสัมพันธ์แนบแน่น มีความเป็นวิถีชีวิต ท�ำให้เด็กๆ มีโอกาสท่ีจะได้รับการถ่ายทอด ประสบการณ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกที่เป็นญาติผู้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่พ่อแม่ ออกไปทำ� งานนอกบา้ น เนอื่ งจากสมยั กอ่ นการพฒั นาประเทศยงั ไมเ่ จรญิ กา้ วหนา้ มนษุ ยเ์ ขา้ ใจ พ้ืนท่ีในมิติท่ีไม่กว้างนัก เพราะอุปสรรคด้านระยะเวลา ซึ่งสะท้อนให้ทราบว่าพ้ืนที่และเวลา ในสมัยอดีตมีคณุ ค่าทางด้านจิตใจตอ่ การสร้างสมั พันธภาพของสมาชิกในครอบครัว 11ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

แต่เม่ือเวลาผ่านไป การพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม และการขยายตัว ของความเป็นเมือง รวมทั้งการพัฒนาที่ขาดความสมดุลเชิงพ้ืนท่ีดังท่ีได้กล่าวมาแล้ว ท�ำให้ สมาชกิ ในครอบครัวที่เคยมีครัวเรือนอยู่ร่วมกัน หรืออย่างน้อยๆ อยู่ไม่ไกลจากกัน มีอันต้อง แยกกระจาย และมรี ะยะหา่ งเชงิ พนื้ ทมี่ ากขน้ึ แมจ้ ะเปน็ สภาพทไี่ มม่ ใี ครอยากใหเ้ ปน็ แตก่ เ็ ปน็ การจำ� นนตอ่ ความจำ� เปน็ ในการยกระดบั ฐานะทางเศรษฐกจิ และสงั คมของคนในครอบครวั อยา่ ง ที่ยากจะต่อรอง ความเป็นเมืองน�ำมาซ่ึงความแปลกแยกในการด�ำรงชีวิต ความโดดเดี่ยวใน ความพลุกพล่าน การขาดความเช่ือมโยงกับคนรอบข้าง เพราะความต้องมีต้องใช้ใน หลายส่ิงหลายอย่างที่อาจดูไม่มีความจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตพื้นฐาน แต่มีความส�ำคัญ เชิงสัญลักษณ์ ต่อภาพลักษณ์และความมีหน้ามีตาในสังคม (Lefebvre, 1991) รวมทั้ง ความส�ำคัญในระดับมหภาพท่ีเก่ียวข้องกับความมั่งค่ังทางเศรษฐกิจและความสะดวกสบาย รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าในการยกระดับความเป็นอยู่ท่ีดีให้แก่คนในสังคมไทยให้ทัดเทียม กับท่ีต่างๆ ในโลก (กฤษณ์ ปัทมะโรจน์, 2556) แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ท่ีสร้างความกดดัน ตอ่ ทง้ั สขุ ภาพกาย และสุขภาพจิตของคนในสังคมเมอื ง ขณะทเี่ ทคโนโลยที เ่ี ปน็ ตวั แทนของความสมยั ใหม่ ไมว่ า่ จะเปน็ คอมพวิ เตอร์ สมารท์ โฟน โทรศัพท์มือถือ ได้สร้างการรับรู้เช่ือมต่อกับชีวิตมนุษย์เกิดเป็นโลกออนไลน์ โลกอินเทอร์เน็ต โลกเสมอื นจริง ท�ำใหค้ วามสัมพันธบ์ นพนื้ ท่ีซ้อนพนื้ ทอี่ ีกตอ่ หนึง่ สง่ ผลให้นิยาม “พืน้ ท่ีซ่ึงเปน็ สถานที่อยู่อาศัยของสมาชิกครอบครัว และพ้ืนที่ทางด้านจิตใจ” เปล่ียนแปลงไป เนื่องจาก สภาพสงั คม วฒั นธรรมของโลกไดถ้ กู เชอื่ มตอ่ กนั ผา่ นระบบคมนาคม การสอื่ สาร และเทคโนโลยี ท่ีก้าวหน้าทันสมัย ท�ำให้เกิดความกระชับระหว่าง “เวลา-พ้ืนที่-ระยะห่าง” ประดุจดังโลก ใบเล็กลง (Monge, 1998) สิ่งดังกล่าวท�ำให้คุณค่าทางด้านจิตใจของสมาชิกในครัวเรือน ภายใตก้ จิ กรรมและการมปี ฏสิ มั พนั ธใ์ นชวี ติ เชน่ การรบั ประทานอาหารของครวั เรอื นเปลยี่ นไป จากการรับประทานอาหารร่วมกันในบ้านไปเป็นการรับประทานอาหารนอกบ้านอย่างเร่งรีบ ตอ้ งพงึ่ อาหารสำ� เรจ็ รปู หรอื แกงถงุ หรอื รา้ นอาหารตา่ งๆ เนอ่ื งจากปจั จยั หลายๆ อยา่ ง อาทเิ ชน่ ค่าครองชีพท่ีสูงข้ึนท�ำให้ต้องใช้เวลาในการท�ำงานนานขึ้น พ่อแม่ประสบปัญหาเร่ืองเวลา ซงึ่ ตอ้ งทำ� งานดว้ ยและเลย้ี งลกู ดว้ ยควบคกู่ นั ทำ� ใหจ้ งั หวะชวี ติ ตอ้ งรบี เรง่ แขง่ กบั เวลา นอกจากน้ี เดก็ และเยาวชนในครอบครวั เอง กย็ งั มภี ารกจิ หลายอยา่ ง เชน่ เลน่ กฬี า กวดวชิ า และกจิ กรรม หลงั เลกิ เรยี น ทำ� ใหก้ ารรบั ประทานอาหารรว่ มกนั ของครอบครวั มคี วามเปน็ ไปไดน้ อ้ ย สง่ ผลให้ ครอบครัวหลายครอบครัวมีความเปราะบางต่อการดูแลซึ่งกนั และกัน ท่ีส่งผลต่อความสัมพนั ธ์ ในครอบครัวและเครือญาติลดลง การท�ำหน้าท่ีในการอบรมเล้ียงดูบุตร/ผู้สูงอายุน้อยลง สถาบนั ทางสงั คมอน่ื ๆ ตอ้ งเขา้ มาทำ� หนา้ ทเ่ี ลยี้ งดแู ทน เชน่ สถานรบั เลย้ี งเดก็ สถานสงเคราะห์ 12 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

คนชราฯ (ชาย โพธสิ ติ า, 2552; ภเู บศร์ สมทุ รจกั ร และคณะ, 2560; ปยิ วฒั น์ เกศวงศา, 2559; สรุ ยี พ์ ร พันพงึ่ , 2554) ยุคสมัยท่ีเปลี่ยนแปลงไปท้าทายท้ังลักษณะความเป็นไปและนิยามของท้ังค�ำว่า “ครัวเรือน” และ “ครอบครัว” ซ่ึงทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องหาทางรักษาปลายรากของ หน่วยทย่ี อ่ ยท่ีสุดของสังคมหน่วยนี้ ใหม้ คี วามรัก ความอบอ่นุ ห่วงหาอาทร และพงึ่ พาอาศยั กันได้ไมเ่ ส่อื มคลาย 13ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

เอกสารอา้ งองิ ภาษาไทย กฤษณ์ ปทั มะโรจน.์ (2556). โครงสรา้ งพนื้ ฐานดา้ นโลจสิ ตกิ สข์ องไทยในบรบิ ทประชาคมอาเซยี น. วารสาร ธรรมศาสตร,์ 32 (2), 36-54. ชาย โพธิสิตา. (2552). บทโหมโรง เกิดอะไรขึ้นกับครอบครัว. ใน ชาย โพธิสิตา และสุชาดา ทวีสิทธ์ิ(บรรณาธิการ), ประชากรและสังคม 2552: ครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน ทางสงั คมและประชากร. นครปฐม :สถาบันวจิ ยั ประชากรและสงั คม. ธนาคารโลก. (2558). การพฒั นาเขตเมอื งในประเทศไทยกระจุกตัวอยใู่ นพนื้ ท่ีกรงุ เทพฯ. http://www. worldbank.org/th/news/feature/2015/01/26/urbanization-in-thailand-is-dominated- by-the-bangkok-urban-area. สบื ค้นเมอื่ วนั ท่ี 1 มนี าคม 2562. บงั อร เทพเทยี น และคณะ. (2008). ปจั จยั ทสี่ มั พนั ธก์ บั ครอบครวั เขม้ แขง็ . Journal of Public Health and Development, 6(2), 25-38. ปิยวัฒน์ เกตุวงศา และคณะ. (2561). กลไกของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในการดูแล ครวั เรอื นเปราะบาง: กรณศี กึ ษาครวั เรอื นขา้ มรนุ่ และครวั เรอื นทผี่ สู้ งู อายทุ อ่ี ยคู่ นเดยี ว. นครปฐม: สถาบันวจิ ัยประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล. ผู้จัดการออนไลน์. (2561). ศูนย์ข้อมูลฯ หนุนผ่าน กม.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดความร้อนแรง ราคาทด่ี นิ . เผยแพร:่ 16 พ.ย. 2561 ปรับปรุง: 17 พ.ย. 2561 โดย: ผจู้ ัดการออนไลน์ https:// mgronline.com/stockmarket/detail/9610000114671 สืบคน้ เมื่อวนั ท่ี 4 ก.พ. 2562 ภูเบศร์ สมุทรจักร, ธีรนุช ก้อนแก้ว และ ริฏวัน อุเด็น. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย, นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวทิ ยาลยั มหิดล. มนสกิ าร กาญจนะจติ รา, ทรงพนั ธ์ เจมิ ประยงค,์ กญั ญาพชั ร สทุ ธเิ กษม และ รนี า ตะ๊ ด.ี (2561). ราคา ของการมีลูก. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสงั คม มหาวทิ ยาลัยมหิดล. ศุทธิดา ชวนวัน และ ปิยวัฒน์ เกตุวงศา. (2557). ท�ำไมผู้หญิงไม่แต่งงาน: ผู้ชายหายไปไหน. ใน ยุพิน วรสริ อมร, จงจติ ต์ ฤทธิรงค,์ ศุทธดิ า ชวนวนั และ พจนา หันจางสทิ ธ์ิ (บรรณาธกิ าร), ประชากรและสงั คม 2557: การเกดิ กบั ความมน่ั คงในประชากรและสงั คม. สถาบนั วจิ ยั ประชากร และสังคม มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล. ศทุ ธดิ า ชวนวนั , กัญญา อภพิ รชยั สกลุ , กาญจนา เทยี นลาย และ ภัทราพร ตาสงิ ห์. (2561). ผสู้ งู อายุ โดดเดี่ยว แต่ (ไม่) เดยี วดาย. นครปฐม: สถาบนั วิจยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สำ� นกั งานสถติ แิ ห่งชาติ. (2560). ปี 59 คนไทยใช้จ่ายกบั อะไรบา้ ง?. เขา้ ถึงเมื่อวนั ท่ี 3 มกราคม 2561, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib14/2560/25-08-60/คนไทยใช้จา่ ยกบั อะไร บ้าง.pdf. สืบค้นเมอื่ วันท่ี 5 มีนาคม 2562. สรุ ยี พ์ ร พนั พงึ่ . (2554). บทโหมโรง จดุ เปลย่ี นประชากร จดุ เปลยี่ นสงั คมไทย. ใน สรุ ยี พ์ ร พนั พง่ึ และมาลี สนั ภวู รณ์ (บรรณาธกิ าร), ประชากรและสงั คม 2554. (หนา้ 1-9). นครปฐม, สถาบนั วจิ ยั ประชากร และสงั คม มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล. 14 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ภาษาอังกฤษ Auslander, P. (2008). Theory for Performance Studies: A Students Guide. London: Routledge Taylor & Francis Group. Carter, E. A., & McGoldrick, M. (1980). The family life cycle and family therapy: An overview. The family life cycle: A framework for family therapy, 3-20. CRBE Research and Capital Markets-Investment & Land (2018). Bangkok land price increase 1000% in 30 years. https://cdn.cbre.co.th/media/research_lang_file/2674/ Thailand_Viewpoint-30_Years_of_the_Bangkok_Land_Market-July_2018_EN.pdf. Retrieved 31 March 2019. Eazy Thai cooking. (2549). กรงุ เทพฯ: Health & Cuisine: http://guru.sanook.com/ency- clopedia/ประเพณีการรบั ประทานอาหารของคนไทย เขา้ ถึงเมอ่ื : 7 กุมภาพนั ธ์ 2562. Giddens, A. (1984). The construction of society. Cambridge: Polity. Hallett, H. S. (1890). A thousand miles on an elephant in the Shan States. W. Black- wood and sons. Lefebvre, Hennri. (1991). Translated by Donald Nicholson-Smitch. The Production of Space. Blackwell Publishing. UK. Monge, P. (1998). Communication Structures and Processes in Globalization. Journal of Communication, 48(4), 142-153. Sprunger, L.W., Boyce, W. T., & Gaines, J. A. (1985). Family-infant congruence: Routines and Rhythmicity in family adaptations to a young infant. Child Development, 56: 564–572. 15ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

สังคมยุคอตุ สาหกรรม เพ่ือการผลิตท่ีมากข้ึน ขายได้มากข้นึ รวยมากข้นึ สะดวกมากข้ึน ก็จรงิ แต่ก็ท�ำใหค้ นท�ำงานหนักข้นึ ด้วย โดยเฉพาะคนที่ ไมอ่ าจอยู่ในระดับท่ีสามารถซ้อื เวลาของคนอ่นื ได้ ท�ำใหเ้ วลาของคนเหล่าน้ีหายไปจากครอบครวั ...

2 ความเปราะบางของครอบครวั ไทย สังคมไทยเป็นสังคมท่ีมีเอกลักษณ์เด่นชัดในแง่ของความช่วยเหลือเก้ือกูลกัน สามัคคี พ่ึงพาอาศัยมีน�้ำใจต่อกัน แม้ว่าจะเป็นคนแปลกหน้าท่ีไม่เคยพบเจอกันมาก่อน แต่เม่ือมี เหตุการณ์หรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่สร้างความรุนแรง เสียหาย หรือต้องได้รับการช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน ความเป็นคนไทยโดยเน้ือแท้สามารถท�ำให้ทุกคนหันหน้าเข้าหากันและร่วมกัน แก้ปญั หาให้ผา่ นพ้นไปไดอ้ ยา่ งด้วยดี แต่เดิมสงั คมไทยเป็นสงั คมเกษตรกรรม มวี ถิ ีชีวิตทเ่ี รียบง่าย พึ่งพาอาศัยซึง่ กันและกนั มกี ารอยอู่ าศยั เปน็ ครอบครวั ใหญ่ หรอื อยกู่ นั แบบครวั เรอื นขยาย เราทราบกนั ดวี า่ ในครวั เรอื นหนง่ึ จะประกอบไปด้วยสมาชิกหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็นปู่ย่า ตายาย พ่อแม่และลูกหลาน ผลผลิต สว่ นใหญจ่ ะผลติ ไวเ้ พอื่ ยงั ชพี ทำ� กนิ กนั ในครวั เรอื น หากมเี หลอื กแ็ บง่ ปนั เพอ่ื นบา้ นหรอื จำ� หนา่ ย 17ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ขายต่อ ยามว่างก็มีการสร้างกิจกรรมท�ำร่วมกันในครัวเรือน วิถีชีวิตแบบนี้ท�ำให้สมาชิกใน ครัวเรือนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี แต่เม่ือยุคสมัยเปลี่ยนไป การเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมน้ันส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไม่น้อย รวมท้ัง การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่มีการเกิดน้อยลง ขณะเดียวกันก็มีจ�ำนวนของ ผู้สูงอายุท่ีมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยท่ีท�ำให้สังคมต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ และสง่ ผลกระทบโดยตรงทง้ั ทางดา้ นเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศ การเปลย่ี นแปลงทา่ มกลาง สงิ่ เรา้ ทหี่ ลากหลายไมว่ า่ จะเปน็ เรอื่ งของการทำ� งาน วถิ ชี วี ติ ทต่ี อ้ งแขง่ ขนั กบั เวลาจากการทส่ี งั คม กลายเปน็ เมืองมากขึน้ ย่อมท�ำให้เกิดความเปราะบางได้ ซึ่งในบทนีจ้ ะเป็นการน�ำเสนอการได้ ทบทวนวรรณกรรมอย่างเปน็ ระบบ (Systematic literature review) เพ่อื สร้างความเขา้ ใจ เก่ียวกับความเปราะบางในบริบทของครอบครัวในมติ ิตา่ งๆ รจู้ กั กับความเปราะบาง ความเปราะบางเป็นสภาวะหน่ึงท่ีก่อให้เกิดผลกระทบต่อการด�ำรงชีวิตภายหลังจาก การเกิดเหตุการณ์ ท�ำให้บุคคลอยู่ในสภาพท่ีไม่พร้อมเพราะไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ ด้วยตนเอง ไม่สามารถวางแผนจัดการหรือคาดการณ์ปัญหาไว้ล่วงหน้าได้ เนื่องจากขาด การเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยง ท�ำให้ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่าง มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ตกอยู่บนความเหลื่อมล้�ำของสังคม อันเนื่องมาจากปัญหา เช่น ความรุนแรง การเลือกปฏิบัติ ความยากจน การถูกละเลยจากสังคม สุขภาพไม่แข็งแรง ขาดความรูป้ ระสบการณ์ ขาดทรพั ยากร/ทุนทางสังคม อ�ำนาจและศักด์ิศรี เปน็ ตน้ ส่ ง่ิ เหลา่ น้ี สง่ ผลตอ่ คณุ ภาพชวี ติ ทแ่ี ยล่ ง หากบคุ คลนนั้ อยใู่ นสภาวะของความเหลอื่ มลำ�้ มาก ความเปราะบาง กจ็ ะยิง่ มากขึ้นตามไปด้วย ซง่ึ ในแวดวงวชิ าการมกี ารศึกษาคน้ ควา้ ทส่ี ะท้อนใหเ้ ห็นวา่ สังคมท่ี มคี วามเหลอ่ื มลำ�้ สงู มโี อกาสทจี่ ะสรา้ งความขดั แยง้ ระหวา่ งกลมุ่ คนในสงั คมและกอ่ ใหเ้ กดิ ความ เปราะบางตอ่ ปัจเจกบุคคลได้ในหลายๆ มติ ิ ดงั รูปที่ 1 ดงั น้ี 18 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

เศรษฐกิจ ภยั พบิ ตั ิ สังคม สิ่งแวดลอ้ ม ความเปราะบาง ของครอบครวั เพศ วยั สขุ ภาพ และประวตั ิชีวติ ความสัมพนั ธ์ และการเกือ้ หนนุ ภายใน ครอบครวั รปู ท่ี 1 ม25ิต3ิค0วามเปราะ2บ5า4ง5ของครอบค25ร5วั 6 ที่มา: รายงานชดุ โครงการวจิ ยั การดูแลครอบครวั เปราะบางในสถานการณ์การเปลยี่ นแปลงโครงสรา้ ง ประชากรและสงั คมไทย (ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั , 2561) มิติเศรษฐกิจ เป็นมิติส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดความเปราะบางได้อย่างเป็นรูปธรรมในยุคสมัย ของทนุ นยิ ม ทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งจำ� เปน็ จะตอ้ งใชเ้ งนิ ตราในการแลกเปลยี่ น ซอ้ื ขายสนิ คา้ และบรกิ าร การมีรายได้ไม่เสพามียี-งภพรรอยแาก่การครองชีพ ทพ�ำอ่ใ-หแ้เมก-่ ลิดูกข้อจ�ำกัดในกาพรอ่ เหขร้าือถแมึงเ่คล้ียุณงเภดา่ียวพชีวิตที่ดี เช่น ไม่สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่จ�ำเป็นได้ หรือการอยู่อาศัยในบ้านที่ไม่ได้มาตรฐานหรือ ตอ้ งอาศัยอย่ใู นสภาพแวดล้อมท่ไี ม่ดี มติ สิ งั คม การถกู ละเลย ประ2ท53บั 0ตราหรอื ถกู 2เ5ล4อื5กปฏบิ ตั จิ า2ก5ส5งั6คม ครอบครวั เพอื่ นบา้ น หรือแม้กระทั่งเพื่อนฝูงก็สามารถท�ำให้บุคคลต้องเผชิญกับการถูกจ�ำกัดสิทธิที่พึงมีและเกิด ความเปราะบางได้ เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือให้บริการอย่างเท่าเทียม ท�ำให้บุคคล 5.6 13.0 16.2 52.4 37.5 26.6 8.6 7.1 7.1 1.0 19 1.4 2.1 25.6 30.3 33.6 6.1 9.8 13.9 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ข้ามรุน่ ทส�ำารมา้ รยนุ่ ครอบครวั ไทย และท้ิงใครอหยคู่ลนายเดคียนวไวเ้ บ้ืองหลัง

ต้องอยู่ในสภาวะไร้ตัวตน กลายเป็นคนกลุ่มน้อยท่ีถูกลดคุณค่าและไม่ได้รับการเหลียวแล เกดิ ความไม่ม่นั คงในการใช้ชวี ิต มิติสุขภาพ ปัญหาสุขภาพเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดความเปราะบาง โดยเฉพาะ อยา่ งยิ่งในผสู้ งู อายุที่มกั จะมโี รคซ�้ำซ้อนตามวยั แต่ไมว่ า่ จะเปน็ กล่มุ อายุใด เมอ่ื ตอ้ งเผชิญกับ ความเจ็บป่วยหรือมีความพิการ หากความเจ็บป่วยหรือความพิการน้ันอยู่ในข้ันรุนแรง จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และไม่มีคนดูแล ย่อมเป็นเหตุส�ำคัญที่บังคับให้บุคคลนั้น เปราะบางในที่สุด มิติความสัมพันธ์และการเกื้อหนุนภายในครอบครัว เป็นมิติท่ีค่อนข้างละเอียดอ่อน เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกท่ีจะน�ำไปสู่การปฏิบัติที่อาจก่อให้เกิดความเปราะบางได้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงเป็นมิติท่ีเกิดข้ึนภายในครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยทางสังคมท่ีส�ำคัญท่ีสุด ในการสรา้ ง ปลกู ฝงั และพัฒนาศกั ยภาพของบุคคลเพ่อื เขา้ ไปมสี ่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ต่อไป การท่ีบุคคลไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว เพ่ือน เพื่อนบ้านหรือ เพื่อนร่วมงานท้ังด้านการปฏิบัติและทางอารมณ์ ล้วนก่อให้เกิดความกดดัน ความเครียด ท่สี ่งผลตอ่ ใหเ้ กิดปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมบุคคล มิติเพศ วัย และเส้นทางชีวิต ส่ิงหนึ่งท่ีสามารถท�ำให้เกิดความเสี่ยงจนน�ำไปสู่ความ เปราะบางได้ คงไม่สามารถทจ่ี ะหลีกหนจี ากมิตเิ พศ วยั และเสน้ ทางชวี ติ (Life course) ได้ เพราะเป็นส่ิงท่ีเกิดขึ้นมาพร้อมกับบุคคล ความแตกต่างของเพศและวัยสามารถท�ำให้บุคคล พบเจอกบั ความเสย่ี งหรอื ความเปราะบางในลกั ษณะทแี่ ตกตา่ งกนั ได้ และขน้ึ อยกู่ บั วา่ บคุ คลนนั้ มเี สน้ ทางชวี ติ อยา่ งไร เชน่ ผสู้ งู อายุ ดว้ ยวยั ทมี่ อี ายเุ กนิ กวา่ ครงึ่ ชวี ติ คน รา่ งกายกม็ กั จะเสอ่ื มถอย ไปตามกาลเวลา ประกอบดว้ ยเรื่องราวในชีวิตท่ีตอ้ งพบเจอ เช่น ปญั หาสขุ ภาพหรอื เศรษฐกิจ ไม่มีคนดูแล ก็อาจท�ำให้ผู้สูงอายุเปราะบางได้ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ด้อยกว่าผู้ชาย รวมท้ังเพศทางเลือกที่อาจจะมีความเปราะบางจากการได้รับการดูแลจาก ครอบครวั เนอื่ งจากไมม่ ลี ูก เปน็ ตน้ มติ สิ งิ่ แวดลอ้ ม ถอื เปน็ มติ ทิ คี่ วบคมุ ไดย้ าก โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ความเปราะบางทเ่ี กดิ จาก ภยั ธรรมชาติ เชน่ น�้ำท่วม พายุ สนึ ามิ เปน็ ต้น ส่ิงทเ่ี กดิ ขึน้ หลังจากเหตกุ ารณน์ น้ั ๆ ท�ำให้ เกดิ ความเสียหายและกระทบตอ่ การดำ� เนนิ ชวี ติ ของบคุ คลไมน่ อ้ ย ไมว่ า่ จะเป็นดา้ นท่อี ยอู่ าศัย การเดนิ ทาง อาหารการกนิ การสญู เสยี ทรพั ยส์ นิ ฯลฯ หากเหตกุ ารณม์ คี วามรนุ แรงมากเทา่ ใด ความเสียหายก็มีมากข้ึนเท่าน้ัน สิ่งแวดล้อมจึงสามารถจัดเป็นมิติหนึ่งที่อาจท�ำให้เกิด ความเปราะบางได้เช่นกัน 20 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

อยา่ งไรกต็ าม ความเปราะบางทเ่ี กดิ ขน้ึ ในแตล่ ะบคุ คลสามารถเกดิ ขน้ึ ไดใ้ นหลายๆ มติ ิ พรอ้ มกนั เชอื่ มโยงกนั เปน็ ความเปราะบางซำ้� ซอ้ นระหวา่ งมติ ติ า่ งๆ ไดข้ น้ึ อยกู่ บั บรบิ ทของแตล่ ะ บคุ คลทจี่ ะเปน็ ตวั กำ� หนดวา่ บคุ คลนนั้ ตอ้ งพบเจอกบั ความเปราะบางในมติ ใิ ดบา้ ง ความเปราะ บางจงึ ต้องมกี ารพิจารณาทงั้ ปัจจัยภายในและปจั จยั ภายนอกของแต่ละบุคคล ยกตวั อย่างเชน่ คนพิการ หากอยใู่ นสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ตอ่ การใช้ชวี ิตมสี ่งิ อ�ำนวยความสะดวกสำ� หรบั ผ้พู กิ าร แมป้ จั จยั ภายในคือร่างกายตัวตนทพี่ ิการ แตป่ จั จัยภายนอกเป็นสภาพแวดลอ้ มท่เี อ้อื ประโยชน์ แกค่ นพกิ าร กถ็ อื ไดว้ า่ ความพกิ ารนน้ั ไมไ่ ดท้ ำ� ใหบ้ คุ คลนนั้ เปราะบางอยา่ งทส่ี ดุ ในทางกลบั กนั คนปกตแิ ตม่ รี ายได้ตำ�่ กลับมคี วามเปราะบาง เพราะไม่มรี ายได้ในการยงั ชพี ส่งผลกระทบตอ่ ชีวิตประจำ� วันในหลายๆ ด้าน แตห่ ากรัฐมกี ารสนับสนุนสวสั ดิการอยา่ งเพยี งพอและเทา่ เทยี ม ความยากจนนั้นก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดความเปราะบางก็ได้ ซึ่งความเปราะบางเม่ือเกิดข้ึนกับ บคุ คลใดบคุ คลหนงึ่ ในครอบครวั กม็ กั จะสง่ ผลกระทบทงั้ ครวั เรอื นมากกวา่ ทจ่ี ะสง่ ผลกระทบตอ่ บคุ คลน้นั เพยี งคนเดยี ว (สถาบันวจิ ยั ประชากรและสังคม, 2560; Sarfati, 2016) กระจกุ ...กระจาย รปู แบบการอยูอ่ าศัยท่ีเปลย่ี นแปลงไป ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (Agrarian society) ด้วยทรัพยากร ที่เอื้อต่อการเพาะปลูก ท�ำให้ประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้�ำที่ส�ำคัญ สามารถผลิตวัตถุดิบต่างๆ เพ่ือหล่อเล้ียงคนในประเทศรวมไปจนถึงบางประเทศเพ่ือนบ้านได้อย่างเพียงพอ จึงไม่ใช่ เรื่องแปลกหากครอบครัวในอดีตจะอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ หรือครัวเรือนขยายที่ ประกอบไปดว้ ย ปูย่ า่ ตายาย พ่อแม่ และลูกหลาน เพราะการทำ� เกษตรกรรมต้องใช้ก�ำลงั คน จ�ำนวนมากในการท�ำงานเน่ืองจากกระบวนการผลิตยังไม่ได้น�ำเทคโนโลยีเข้ามาแทนท่ีมากนัก ผคู้ นไมต่ อ้ งยา้ ยถนิ่ ไปไกลบา้ น เพราะอยทู่ บ่ี า้ นกม็ งี านท�ำ มรี ายได้ และไดอ้ ยกู่ นั เปน็ ครอบครวั ท�ำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความแน่นแฟ้น ดังน้ัน การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ จึงเปน็ รปู แบบการอย่อู าศยั หลกั ของคนในยุคนี้ 21ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

เมื่อเวลาผ่านไป การพัฒนาประเทศภายในกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทท่ี กุ สว่ นของโลกสามารถเชอ่ื มตอ่ กนั ไดอ้ ยา่ งไรพ้ รมแดน ทำ� ใหเ้ กดิ การเปลย่ี นแปลงทางสงั คม (Social change) จากยคุ เกษตรกรรมเขา้ สยู่ คุ อตุ สาหกรรม (Industrialization) ซงึ่ มกี ารนำ� เอาเทคโนโลยีมาใช้เพ่ือทุ่นแรงในกระบวนการผลิตเพ่ิมมากขึ้น ขณะเดียวกันการขยายตัวของ ความเปน็ เมอื ง (urbanization) เปน็ ผลมาจากภาวะทนั สมยั (Modernization) กส็ ง่ ผลกระทบ ทำ� ให้สังคมเกดิ ความเปลี่ยนแปลงได้ (Toffler A., 2016) และแนน่ อนว่าผลกระทบไดเ้ กดิ กบั หนว่ ยเล็กทีส่ ดุ ของสังคมคอื “ครอบครวั ” อย่างชดั เจน เม่อื มเี ทคโนโลยีเขา้ มาแทนท่กี ำ� ลงั คน การท�ำมาหากินก็เปล่ียนแปลงไป จากที่เคยต้องใช้แรงงานคนจ�ำนวนมากในการท�ำงาน กลับใช้เพียงเครื่องจักรท่ีสามารถผลิตวัตถุดิบหรือสินค้าออกมาได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย และได้ผลผลิตท่ีค่อนข้างมีคุณภาพคงที่ในจ�ำนวนปริมาณมาก แต่ใช้เวลาในการผลิตน้อยลง ซึ่งแท้จริงแล้ว คนควรมีเวลามากขึ้น แต่กลับมีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวน้อยลง และ เพรยี กหาความสมดุลของชวี ิตการทำ� งาน (Work-life balance) ประกอบกบั ความเป็นเมอื ง ทเี่ รม่ิ มคี วามตอ้ งงานแรงงานภาคอตุ สาหกรรมมากขน้ึ ไมว่ า่ จะเปน็ โรงงาน บรษิ ทั หา้ งรา้ นตา่ งๆ ลว้ นตอ้ งการแรงงานเพอ่ื เปน็ สว่ นหนง่ึ ในกระบวนการผลติ ทำ� ใหโ้ อกาสทจี่ ะทำ� งาน ณ ภมู ลิ ำ� เนา เดมิ ลดลงไป การยา้ ยถน่ิ เขา้ สเู่ มอื งจะเปน็ เรอ่ื งจำ� เปน็ ของวยั แรงงานทตี่ อ้ งการยกระดบั คณุ ภาพ ชีวิตและฐานะทางเศรษฐกจิ ของตนเอง ซ่งึ ถอื ไดว้ ่าเปน็ การเปล่ยี นแปลงในเชิงโครงสรา้ งสงั คม อย่างหน่งึ การเปลย่ี นแปลงสคู่ วามเปน็ อตุ สาหกรรมสง่ ผลกระทบทง้ั ดา้ นบวกและดา้ นลบ ผลกระทบ ดา้ นบวกคอื เกดิ การเชอ่ื มตอ่ ภมู ภิ าคตา่ งๆ ของประเทศเขา้ ไวด้ ว้ ยกนั จากการพฒั นาโครงสรา้ ง พืน้ ฐานดา้ นการคมนาคมของประเทศ และสร้างโอกาสท�ำใหเ้ กดิ ความมง่ั คง่ั ทางเศรษฐกิจดว้ ย การเชอื่ มโยงเศรษฐกจิ ของประเทศเขา้ กบั เศรษฐกจิ ของเพอื่ นบา้ น (กฤษณ์ ปทั มะโรจน,์ 2556) ขณะที่ผลกระทบด้านลบคือการสูญเสียตัวตนความเป็นมนุษย์ เพราะคนต้องท�ำงานหนักขึ้น แขง่ ขนั มากขน้ึ คกู่ บั เครอื่ งจกั รภายในโรงงานอตุ สาหกรรม การใชแ้ รงงานในรปู แบบงานเดมิ ๆ ซำ�้ ไปซำ�้ มา ทำ� ใหข้ าดโอกาสในการคดิ สรา้ งสรรคห์ รอื รเิ รมิ่ ใหเ้ กดิ ความแปลกใหมเ่ ปรยี บเสมอื น หุ่นยนต์ท่เี ปน็ ทรัพยส์ ิน และเครื่องมือการผลติ ของนายทนุ และรฐั ไม่สามารถตอ่ รองกบั ระบบ สงั คมได้ ทำ� ใหต้ ้องรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยกในการดำ� รงชวี ติ ขาดการเช่ือมต่อกบั คนรอบข้าง การต้ังเป้าหมายของการท�ำงานที่สูง ท�ำให้ต้องเผชิญกับความกดดันในการท�ำงานให้ทันเวลา และตรงตามเป้าทีน่ ายทุนและรัฐก�ำหนด (Lefebvre, 1991) 22 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ภยั พบิ ตั ิ สังคม สงิ่ แวดลอ้ ม อย่างหกลกีารเลเปย่ี งลไี่ยมน่ไดแ้ปกลางรทยาา้ ยงสถังน่ิ คเพม่อื ทเี่ขกา้ลคขส่าว่เูอวมาไงือมปงคนเปรทั้น�ำอรใบาหไะดคแ้ บ้ตสรา่เ่งวัดงผมิ ลทกีค่ รระอทบบคตร่วัออรยูปกู่ แนั บอบยก่าางรพอรย้อู่มอหาศนัยา้ พใหรม้อๆ่มตเาพเม่ิปม็นารกูปขแนึ้ บจบแากลกาะกเปรพาอรรศยะทวู่อวสี่ตั ยัามิชศาวี ัยชติ หกิ ลในักคขรอวั งเสรังอื คนมตอ้ งกยลา้ ายยถเปนิ่ ็นเพมอ่ื ีรเูปขา้แมบสาบุขทกภำ� างาราพอนยใู่อนาเขศตัยเใมนอื ลงักษแณละะ แกมนั จ้นะ้ออยยล่ใู งนเทขำ� ตใทหี่ใ้คกรลอเ้บคคียรงวั กในันปหจั รจอืบุ แนั มม้แหี ตล่ใาแนกคลคหะวกรลาัวมาาเรยสรเรอืัมกปู นพื้อแเหนับดนธบยี ุน์ วมกากนั ขแนึ้ ตจ่กาลกับทมเ่ี คีเวยลอายพกู่ บนั ปอยะา่แงลกะรอะยจู่ดกุ ตว้ ยวั เปน็ ครอบครวั ใหญ่ กลายเปน็ รปู แบบการอยอู่ าศยัภทายกี่ รในะจายตวั เชน่ พอ่ แมอ่ ยบู่ า้ นหลงั หนง่ึ ตายาย อยู่กับหลานอีกหลังหนึ่ง เป็นต้น จากข้อมคูลสรอถบิตคิเปร็นัวส่ิงสะท้อนได้อย่างดีว่า รูปแบบการอยู่ อาศัยของครัวเรือนกำ� ลงั เปล่ียนแปลงไป (รปู ที่ 2) 2530 2545 2556 5.6 13.0 16.2 52.4 37.5 26.6 8.6 7.1 7.1 สาม-ี ภรรยา พอ่ -แม่-ลูก พอ่ หรือแม่เลย้ี งเดี่ยว รูปท่ี 2 รอ้ ยละครวั เรือนเดยี่ ว จ�ำแนกตามรูปแบบและปี ท่มี า: ส�ำนักงานสถิติแห่งอช้าางตอิ.งิ จกาากรกสอ�ำรง2วท5จนุ ภ3ป0ารวะกชาารกณรแ์ทห�ำงง่ สานห2ขป5อร4งะ5ปชราะชชาตากิปรรไะทเทยศไไ2ทต5ยร5ม,6า2ส5539. พ.ศ. 2530-2556 1.0 1.4 2.1 25.6 30.3 33.6 6.1 9.8 13.9 รูปท่ี 2 สะทอ้ นให้เหน็ วา่ ภายในระยะเวลา 20 กวา่ ปี ประเทศไทยมกี ารเปลี่ยนแปลง รูปแบบครอบครัวอย่างเห็นได้ชัด จะสังเกตได้จากการท่ีมีครอบครัวสามี-ภรรยามีมากขึ้น ขณะที่ครอบครัวที่พร้อมหน้าพร้อมตาพ่อแม่ลูกมีจ�ำนวนน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจาก การพัฒนาสังคมในยุคอุตสาหกรรมท่ีผู้คนต้องเผชิญกับความตึงเครียดในการท�ำงาน ความกดดันทั้งในด้านของเวลาและการเงิน ท�ำให้คนจ�ำนวนไม่น้อยท่ีมีครอบครัวตัดสินใจ ข้ามรุ่น สามรุ่น อยู่คนเดียว 23ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

5.6 13.0 16.2 2 8.6 7.1 7.1 ทีจ่ ะไม่มีลกู สหามรี-ือภมรรลี ยกู าไดน้ ้อยลง หรือมีลกู แพต่อต่ -แ้อมง่-อลยูก่กู บั คนใดคนหนึ่งพอ่ เหพรรือาแะมว่เลา่ ี้ยองีกเคดย่ีนวหน่ึงต้อง ย้ายไปอยู่ใกล้ที่ทำ� งาน ซ่ึงส่งผลกระทบตอ่ โครงสร้างประชากรโดยตรง 2530 2545 2556 1.0 1.4 2.1 25.6 30.3 33.6 6.1 9.8 13.9 ขา้ มรุ่น สามร่นุ อยูค่ นเดยี ว รูปที่ 3 รอ้ ยละครวั เรือนขยาย จ�ำแนกตามรูปแบบและปี ทีม่ า: ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ. การส�ำรวจภาวการณ์ท�ำงานของประชากรไทย ไตรมาส 3 พ.ศ. 2530-2556 อา้ งอิงจากกองทนุ ประชากรแหง่ สหประชาชาติประเทศไทย, 2560. ในขณะท่ีพบว่า รูปแบบการอยู่อาศัยแบบสามรุ่นยังคงเป็นรูปแบบการอยู่อาศัยหลัก แต่รูปแบบการอยู่อาศัยแบบข้ามรุ่น ซ่ึงเป็นรูปแบบที่เด็กไม่ได้อยู่อาศัยกับพ่อแม่ แต่อยู่อาศัย กบั ปยู่ า่ ตายาย และรปู แบบการอยอู่ าศยั แบบอยคู่ นเดยี วกม็ จี ำ� นวนมากขนึ้ เชน่ กนั ในระยะเวลา 20 กวา่ ปมี าน้ี การเปลย่ี นแปลงรปู แบบการอยอู่ าศยั สะทอ้ นวา่ รปู แบบของความสมั พนั ธภ์ ายใน ครอบครวั ทแี่ นน่ แฟน้ อาจจะเสอื่ มคลายลงกลายเปน็ ความหา่ งเหนิ อยา่ งนอ้ ยทส่ี ดุ ทางกายภาพ และอย่างมากท่ีสุด คือท้ังกายภาพและสัมพันธภาพ น�ำไปสู่โอกาสการเกิดความเส่ียงที่จะน�ำ ไปสูค่ วามเปราะบางไดใ้ นท่ีสุด เนอ่ื งจากครอบครวั ในแบบฉบบั ดง้ั เดิมทีม่ ีทัง้ ปยู่ ่า ตายาย พอ่ แม่ และลูกหลาน อยูภ่ ายในครัวเรอื นเดียวกนั มแี นวโน้มลดลงเรอื่ ยๆ ซงึ่ ข้อดีของการอยู่รว่ ม กนั เปน็ ครอบครวั ใหญท่ ำ� ใหส้ มาชกิ สามารถดแู ลกนั ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ สมาชกิ ของครอบครวั ในแตล่ ะรนุ่ ตา่ งทำ� หนา้ ทภี่ ายในบา้ นไดอ้ ยา่ งเตม็ ที่ ผสู้ งู อายสุ ามารถถา่ ยทอดประสบการณ์ บอก เล่าเร่ืองราวแนวทางการใช้ชีวิตต่างๆ ให้แก่ลูกหลานได้ ขณะท่ีรุ่นพ่อแม่ก็สามารถท�ำงานได้ อย่างมีประสทิ ธิภาพ เพราะไมต่ ้องคอยพะวงเร่ืองการดูแลลกู มากนัก ส่วนลกู หลานกม็ ีผ้ใู หญ่ คอยดแู ลและในทางกลบั กนั การมลี ูกหลานอยใู่ นบา้ นก็ท�ำใหผ้ สู้ งู อายุมีความสุข ไมเ่ หงา และ ไดร้ ับการดูแลจากลูกหลานในคราวเดยี วกนั ซึง่ เปน็ สภาพทีห่ าได้นอ้ ยลงในสังคมปจั จุบัน 24 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ผูกพันท่ีน้อยลง...ความเปราะบางที่มากข้ึน ครอบครัวไทยก�ำลังเผชิญกับภาวะเปล่ียนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความ กา้ วหนา้ ของเทคโนโลยสี มยั ใหม่ ทง้ั ภายในครอบครวั และภายนอกครอบครวั ทงั้ ดา้ นเศรษฐกจิ ทก่ี ำ� ลงั อยใู่ นชว่ งของการเปลย่ี นผา่ นจากประเทศทมี่ รี ายไดป้ านกลางสปู่ ระเทศทมี่ รี ายไดส้ งู และ ดา้ นสงั คมทกี่ ำ� ลงั อยใู่ นชว่ งของการปรบั ตวั เพอื่ รบั มอื กบั การยา้ ยถน่ิ ของแรงงานตา่ งชาติ การยา้ ยถน่ิ จากชนบทสู่เมือง และการสื่อสารเช่ือมโยงที่รวดเร็ว ฉับไว ตลอดจนการเปลี่ยนผ่านทาง ประชากรจากภาวะเจริญพันธุ์สูงเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ต�่ำกว่าระดับทดแทนจนเข้าสู่สังคมผู้สูง อายอุ ยา่ งเตม็ ตวั การอยภู่ ายใตว้ ถิ ชี วี ติ ของคนในสงั คมเปลย่ี นแปลงไป ทกุ อยา่ งตอ้ งแขง่ ขนั กบั เวลา ประชากรวยั แรงงานจำ� นวนไมน่ อ้ ยตอ้ งแบกรบั ความกดดนั จากการทำ� งาน เนอื่ งจากระบบ เศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ มทำ� ใหก้ ารตดั สนิ ความสำ� เรจ็ ของคนขนึ้ อยกู่ บั ผลกำ� ไร ความกา้ วหนา้ ของ หน้าทกี่ ารงานและฐานะทางเศรษฐกจิ การเขา้ มาของเทคโนโลยที ำ� ใหเ้ กดิ การเชอ่ื มตอ่ ระหวา่ งชวี ติ มนษุ ยใ์ นโลกแหง่ ความเปน็ จรงิ เกดิ เป็นสงั คมใหม่ในโลกเสมือน โดยเฉพาะโลกเสมือนออนไลนท์ ท่ี ุกวนั นีม้ คี วามก้าวหน้าอยา่ ง ก้าวกระโดด ในอดตี การตดิ ตอ่ สือ่ สารกนั ต้องผ่านการสง่ จดหมาย หรือการเดินทางไปมาหาสู่ ทตี่ อ้ งใชเ้ วลาเปน็ วนั ๆ ในการดำ� เนนิ การ แตใ่ นปจั จบุ นั เราสามารถคยุ กบั คนอกี ซกี โลกไดเ้ พยี ง แคป่ ลายน้วิ สมั ผสั ทำ� ใหท้ กุ อย่างเชือ่ มตอ่ กันได้แบบไรพ้ รมแดน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีขอ้ ดีช่วย ยอ่ ใหโ้ ลกใบนแี้ คบลง ดว้ ยการทำ� ใหเ้ กดิ ความกระชบั ระหวา่ ง “เวลา-พน้ื ท-ี่ ระยะทาง” (Monge, 1998) ท�ำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันง่ายข้ึน และสามารถท�ำสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มากย่ิงขึ้น แต่ส่ิงเหล่าน้ีสามารถทดแทนรูปแบบความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีความผูกพันกัน มากระหว่างสมาชิกในครัวเรอื นได้จรงิ หรือไม่ อาจจะเปน็ สิ่งทต่ี อ้ งระวังและค�ำนึงถึง เดิมทกี ารอยู่อาศัยในครอบครัวท่มี สี มาชิกมาก การดูแลหรือช่วยเหลือกันสามารถท�ำได้ อย่างท่ัวถึง ความเปราะบางท่ีเกิดข้ึนอาจจะเกิดขึ้นเพียงมิติเดียวหรือแยกขาดจากมิติอ่ืนๆ เนอ่ื งจากยงั มกี ารดแู ลหรอื พงึ่ พงิ กนั ไดใ้ นครอบครวั ทท่ี ำ� ใหส้ ามารถซอ่ มแซมความเปราะบางนน้ั ใหก้ ลายเปน็ ความเขม้ แขง็ ได้ แตใ่ นปจั จบุ นั การอยอู่ าศยั กนั อยา่ งกระจดั กระจาย ทำ� ใหส้ มาชกิ ในครอบครัวไม่สามารถดูแลกันได้อย่างเต็มที่ มีการพึ่งพาอาศัยกันน้อยลง ด้วยข้อจ�ำกัดของ ภาระและหนา้ ทกี่ ารงาน ในบางครงั้ การพฒั นาทกี่ า้ วหนา้ มากจนเกนิ ไป กส็ ามารถสรา้ งผลกระทบ 25ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ทางลบไดเ้ ชน่ กนั ตวั อยา่ งเชน่ การเดนิ ทางเพอื่ ไปมาหาสกู่ นั ของครอบครวั ในสงั คมชนบทการ ไปมาหาสู่ยังคงสามารถท�ำได้แม้จะมีข้อจ�ำกัดบางอย่าง แต่ด้วยวิถีชีวิตท่ีไม่เร่งรีบเฉกเช่นคน เมือง ท�ำให้ปัจจุบันยังคงพบว่าคนท่ีอาศัยอยู่ในพ้ืนที่นอกเมืองยังคงมีการปฏิสังสรรค์กัน ทางสงั คมอยา่ งสมำ่� เสมอ แตใ่ นสงั คมเมอื งแมร้ ะยะทางไมห่ า่ งไกลกนั มาก แตก่ ารไปมาหาสกู่ นั กลบั ทำ� ไดย้ ากกวา่ ในบางครงั้ การเดนิ ทางดว้ ยรถยนต์ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในช่วงเวลาเร่งด่วน กว่าจะถึงท่ีหมายใช้เวลานานยาวอย่างทรมาน สร้างท้ังความเครียด และมลพิษ การกินข้าว ร่วมโต๊ะกัน ซ่ึงเป็นกิจกรรมท่ีแฝงนัยยะของความอบอุ่นภายในครอบครัว เป็นอีกหนึ่งส่ิงท่ี สามารถสรา้ งปฏสิ มั พนั ธใ์ นครอบครวั ได้ บางครอบครวั ใชเ้ วลาในการกนิ ขา้ วรว่ มกนั พดู คยุ แลก เปลยี่ นเรอื่ งราวระหวา่ งสมาชกิ ครอบครวั ทำ� ใหไ้ มม่ ใี ครตกขา่ วหรอื ขาดขอ้ มลู ของสมาชกิ คนใด คนหนงึ่ ไป กลบั ถกู แทนทดี่ ว้ ยการแยกกนั กนิ ใครมากอ่ นกินก่อน มาทีหลงั กก็ ินทหี ลงั เพราะมี ส่งิ อน่ื ทสี่ ำ� คญั กว่าต้องไปท�ำ ขาดการส่อื สารกนั ภายในครอบครวั นอกจากนี้สมาชกิ ครอบครัว ส่วนใหญ่นิยมกินอาหารท่ีประกอบจากนอกบ้านกันมากข้ึน เพราะแม่บ้านออกไปท�ำงานนอก บา้ นเพม่ิ ขนึ้ เพอื่ ชว่ ยการทำ� มาหากนิ ไมม่ เี วลามาประกอบอาหาร สอดคลอ้ งกบั พฤตกิ รรมการ บริโภคอาหารของครัวเรือน (ส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560) ท่ีพบว่าครัวเรือนในเขต กรงุ เทพมหานคร นนทบรุ ี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีการบริโภคอาหารนอกบา้ น รอ้ ยละ 38.6 ซึ่งสูงกว่าภาคอ่ืนๆ เน่ืองจากความเป็นสังคมเมืองท่ีค่อนข้างสูง การใช้ชีวิต ท่ีเร่งรีบแข่งกับเวลา ซึ่งการบริโภคอาหารนอกบ้านเป็นความสะดวกสบายและประหยัด เมื่อภาระหน้าที่การงานเป็นตัวก�ำหนดวิถีชีวิต แม้จะอยู่บ้านหลังเดียวกันก็แทบจะไม่ได้ เจอหน้ากัน บางครอบครัวลูกพบหน้าพ่อแม่เฉพาะวันหยุดเท่าน้ัน ตื่นเช้ามาไปท�ำงาน กลบั บา้ นมาลกู เขา้ นอนแลว้ ซง่ึ การไมม่ เี วลาทำ� ใหพ้ อ่ แมต่ อ้ งหาสง่ิ ทดแทนใหล้ กู เชน่ เงนิ หรอื สงิ่ ของทำ� ใหล้ กู รสู้ กึ ไมข่ าด แมอ้ าจจะไมเ่ ปน็ ผลดกี บั ตวั ลกู เทา่ ใดนกั แตท่ างเลอื กอน่ื กม็ ไี มม่ าก ในขณะทคี่ วามคาดหวงั ของพอ่ แมท่ อ่ี ยากใหล้ กู ประสบความสำ� เรจ็ กพ็ ยายามสรา้ งกจิ กรรม เพอ่ื ให้ลูกไดเ้ ข้ารว่ ม ซ่งึ อาจจะมที ง้ั ลกู เตม็ ใจอยากจะทำ� หรอื พอ่ แมบ่ งั คับให้ลูกท�ำ ซึง่ ท�ำให้เดก็ มี ภารกจิ ท่ีตอ้ งทำ� หลายอยา่ ง เช่น เล่นกฬี า กวดวชิ า และกิจกรรมหลงั เลกิ เรียน ท�ำใหก้ ารใช้ เวลาอยรู่ ว่ มกันในครอบครวั นอ้ ยลงตามไปดว้ ย การทค่ี รอบครวั จะอยดู่ ว้ ยกนั ไดอ้ ยา่ งราบรนื่ นน้ั สว่ นหนงึ่ เกดิ จากการเอาใจใสใ่ นสง่ิ เลก็ ๆ น้อยๆ และท�ำอย่างสม่�ำเสมอ แต่ความเร่งรีบของสังคมท�ำให้ผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยขาด การตระหนกั เพราะเหน็ วา่ เรอ่ื งเลก็ นอ้ ย คอื เรอื่ งเลก็ นอ้ ย แตล่ มื ไปชว่ั ขณะวา่ สง่ิ เลก็ ๆ สามารถ กลายเปน็ สง่ิ ทยี่ ง่ิ ใหญไ่ ดห้ ากถกู สง่ั สมในระยะเวลามากพอ สามภี รรยาบางครู่ กั กนั มากสามารถ 26 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

หย่าร้างกนั ได้เพียงเพราะขาดการส่อื สารกันเปน็ เวลานาน สามไี มร่ ู้เรอ่ื งราวของภรรยา ภรรยา ไม่รู้เรื่องราวของสามี พ่อแม่ไม่รู้เร่ืองราวของลูก เพราะหน้าที่การงานท�ำให้ไม่ได้สร้างหรือ เชอื่ มตอ่ ความสมั พนั ธท์ ดี่ ตี อ่ กนั รตู้ วั อกี ทกี ลายเปน็ ความรสู้ กึ ของคนรจู้ กั ทอ่ี ยรู่ ว่ มบา้ นกนั เทา่ นนั้ พ่อแม่ชราที่อยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถพบเจอหน้าลูกได้บ่อยคร้ัง เพราะหน้าที่การงานของลูก เปน็ สง่ิ ฉดุ รง้ั ใหเ้ กดิ ขอ้ จำ� กดั ในการไปมาหาสู่ บางคนลมื แมก้ ระทงั่ จะตดิ ตอ่ ไปถามคำ� ถามงา่ ยๆ ว่า “วนั นท้ี านข้าวหรือยัง? วนั น้ไี ปไหนมาบา้ ง?” กวา่ จะรู้ตัววา่ มใี ครรออยู่กอ็ าจเกดิ เหตกุ ารณ์ ทไ่ี มค่ าดคดิ ทไ่ี มส่ ามารถแกไ้ ขได้ เพราะอยกู่ บั ความเคยชนิ และใจจดใจจอ่ กบั สงิ่ ทมี่ คี า่ ทางสงั คม แตน่ อ้ ยคา่ ดา้ นจติ ใจมากจนเกนิ ไป อยา่ งไรกต็ าม มงี านศกึ ษาวจิ ยั แสดงใหเ้ หน็ วา่ การทำ� กจิ วตั ร ครัวเรือน ซ่ึงเป็นกิจกรรมที่มีความต่อเน่ือง สามารถสะท้อนบทบาทและความรับผิดชอบ (เรื่องประจ�ำ/เร่ืองปกติ) ของสมาชิกครัวเรือน เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน และ การทำ� กจิ กรรมรว่ มกนั ในวนั หยดุ เปน็ ปจั จยั เกอื้ หนนุ ใหส้ มาชกิ ครวั เรอื นมคี วามรกั ความผกู พนั ที่เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจ ก่อให้เกิดเป็นครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง (บังอร เทพเทียน และ คณะ, 2551; Sprunger, L.W., Boyce, W. T., & Gaines, J. A., 1985) นอกจากนี้ การอยู่คนเดียวหรืออยู่ล�ำพังมากขึ้นก็ท�ำให้ความเปราะบางเกิดขึ้นได้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การอยู่คนเดียวเปราะบางมากหากบุคคลน้ันก�ำลังประสบกับปัญหา ดา้ นสขุ ภาพและเศรษฐกจิ เพราะไมม่ ใี ครใหพ้ งึ่ พงิ ยง่ิ ในสงั คมเมอื งการอาศยั อยใู่ นหอ้ งสเ่ี หลยี่ ม คนเดยี วทม่ี คี วามเปน็ สว่ นตวั สงู ในบางครง้ั มคี วามเปน็ ไปไดอ้ าจจะไมร่ จู้ กั เพอ่ื นบา้ นหอ้ งขา้ งๆ เมื่ออยู่ในสภาวะท่ีเปราะบางก็ไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้ นอกจากน้ี ในกรณีผู้สูงอายุ ที่อยู่คนเดียวและต้องประสบกับปัญหาสุขภาพและการเงินไปพร้อมๆ กัน ก็มีความเสี่ยงท่ีจะ ถกู ละเมดิ สทิ ธไิ ดง้ า่ ย ซงึ่ การถกู ละเมดิ สทิ ธนิ จ้ี ะนำ� ไปสคู่ วามเปราะบางในหลายมติ ิ ทงั้ สขุ ภาพ เศรษฐกิจ สังคมที่นับได้ว่าเป็นความเปราะบางซ�้ำซ้อน หากผู้สูงอายุมีความรู้น้อยหรือไม่มี ลูกหลานคอยดแู ล (จงจิตต์ ฤทธริ งค์ และสุภรณ์ จรัสสิทธิ์, 2560) 27ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ครอบครวั ไทยในวถิ ีชวี ติ งา่ ยข้ึน และ...แพงข้ึน ระบบเศรษฐกจิ แบบทนุ นยิ ม ทำ� ใหก้ ารผลติ สนิ คา้ และบรกิ ารมงุ่ เนน้ ผลกำ� ไรเปน็ หลกั โดย เฉพาะภายใตแ้ นวคดิ การบริหารธุรกิจ “มุง่ สู่ก�ำไรสูงสุด” (Profit maximization) ทฟ่ี งั ดแู สน สนั้ แตส่ รา้ งผลลพั ธร์ นุ แรง และกวา้ งขาวงเหลอื ประมาณ ตอ้ งพงึ่ พาระบบอตุ สาหกรรมในการ ผลติ สนิ คา้ และบรกิ าร เพอื่ ใหไ้ ดผ้ ลผลติ จำ� นวนมาก (Mass poduction) ออกสตู่ ลาดไดอ้ ยา่ ง รวดเรว็ ส่งผลใหเ้ กดิ ปัญหาอปุ สงค์ทเี่ ปน็ ความตอ้ งการในสนิ คา้ และ บริการ และอปุ ทานทเ่ี ปน็ ปริมาณของสินค้าและบริการไม่สมดุลกัน การผลิตสินค้าออกมาจ�ำนวนมากท�ำให้เกิดปัญหา สนิ คา้ ลน้ ตลาด เมอื่ กลไกตลาดปกตไิ มส่ ามารถควบคมุ ใหค้ วามตอ้ งการของคนและปรมิ าณของ สินค้าอยู่ในสภาวะสมดุลได้ จึงต้องมีการสร้างสัญญะบางอย่าง เพ่ือประชาสัมพันธ์สินค้าใน ระบบตลาดให้เป็นที่ต้องการของคนในสังคมมากข้ึน ท�ำให้เกิดเป็นกระแสบริโภคนิยม (Consumerism) (ทัศนียา บริพิศ, 2557) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามี บทบาทสำ� คญั ในการดำ� รงชวี ติ ของคนในสงั คมอยา่ งแนบเนยี น ผขู้ ายสามารถโฆษณาสนิ คา้ และ บรกิ ารผา่ นสอ่ื สงั คม (Social media) ไดอ้ ยา่ งอสิ ระ ทำ� ใหผ้ ซู้ อื้ สามารถสง่ั ซอื้ สนิ คา้ สง่ั อาหาร หรือแม้แต่บริการต่างๆ ได้เพียงผ่านแอพลิเคชั่นจากโทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ท�ำให้การใช้ชีวิตโดยเฉพาะอย่างย่ิงในสังคมเมืองมีความสะดวกสบายมากย่ิงข้ึน และแน่นอน วา่ ความสะดวกสบายทไ่ี ดร้ บั นนั้ ตอ้ งแลกกบั คา่ บรกิ ารทแ่ี พงขน้ึ และแนวโนม้ การใชจ้ า่ ยทสี่ งู ขน้ึ ด้วย ซ่ึงปัจจุบันคนนิยมหันมาซ้ือขายสินค้าผ่านส่ือสังคมมากข้ึน เพราะมีความอิสระ ไม่ถูก จ�ำกัดด้วยพ้นื ท่แี ละเวลา ไมว่ ่าจะอยทู่ ชี่ ว่ งเวลาใด หรืออยทู่ ไ่ี หน “ซ้ือ” ได้ทกุ เมื่อ สะทอ้ นได้ จากการสำ� รวจกจิ กรรมที่คนท�ำบนอนิ เทอรเ์ น็ต พบวา่ มีการซื้อสินคา้ และบริการมากกว่าครึ่ง (รอ้ ยละ 50.8) โดยมกี ารใชบ้ รกิ ารผา่ นแอพพลเิ คชน่ั มากขนึ้ เชน่ การจอง-ซอ่ื ตวั๋ โดยสารเครอ่ื งบนิ หรอื โดยสารสาธารณะทวั่ ไป จองโรงแรม บรกิ ารรบั -สง่ เอกสาร ฯลฯ (สำ� นกั งานพฒั นาธรุ กรรม ทางอิเลก็ ทรอนิกส์, 2560) แต่เดิมน้ันการดูแลกันของสมาชิกในครอบครัวมักจะเป็นการดูแลด้วยการไปมาหาสู่กัน ระหวา่ งบา้ นตา่ งๆ บางครอบครวั มกี ารตง้ั กฎเกณฑท์ เี่ ปน็ ทย่ี อมรบั กนั ของทกุ คนในครวั เรอื นวา่ ต้องมารวมตัวเพ่ือทานข้าวร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คร้ัง เพ่ือที่จะได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราวต่างๆ ได้พบปะสังสรรค์กันระหว่างเครือญาติ หรือบางครอบครัวก็มี การไปมาหาสกู่ นั เปน็ ประจำ� ทกุ วนั มกี ารสง่ ขา่ วหรอื ขอความชว่ ยเหลอื พง่ึ พาอาศยั ซง่ึ กนั และกนั 28 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ท�ำให้สมาชิกในครอบครัวติดต่อกันอยู่เสมอ การไปมาหาสู่จึงเป็นกิจกรรมหน่ึงท่ีท�ำให้สมาชิก ในครอบครัวเกิดการดูแลพึ่งพากันได้ แต่เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาประกอบกับข้อจ�ำกัด ในการใช้ชีวิตในยุคใหม่ การพึ่งพาอาศัยถูกแทนท่ีด้วยความสะดวกสบาย แม้จะได้รับสิ่งท่ี ตอ้ งการอย่างความรวดเร็ว แตใ่ นทางตรงกันข้ามกลับทำ� ให้การพึง่ พาอาศัยกันระหวา่ งสมาชกิ ครอบครัวลดลง จากที่เคยไปมาหาสู่กันบ่อยๆ ท�ำให้เกิดความห่างเหินข้ึนเรื่อยๆ เพราะ เทคโนโลยีสามารถตอบโจทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองเล็กๆ น้อยๆ เช่น การซ้ือของ หรือกินอาหารร่วมกัน เดิมอาจจะมีการซ้ือของเพื่อเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ หรือ ซื้อวัตถุดิบต่างๆ ไปท�ำอาหารเพ่ือรับประทานร่วมกัน กลายเป็นใช้เทคโนโลยีในการสั่งสินค้า ต่างๆ เพียงไม่ก่ีนาทีส่ิงท่ีต้องการก็สามารถปรากฏได้ท่ีบ้าน เพียงแค่จ่ายเงินโดยที่สมาชิกใน ครอบครัวไม่จ�ำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกันก็ได้ ท�ำให้กลไกการพึ่งพากันในครอบครัวถูกแทนท่ีด้วย ตัวเงินได้อย่างสะดวกสบาย และความสัมพันธ์ในครอบครัวกลายเป็นการพบปะกันบนโลก เสมือน ผ่านการพดู คุยโทรศัพท์ การโทรศพั ทแ์ บบเหน็ หนา้ (Video call) หรอื การพดู คุยกนั ผ่านแอพลิเคช่ันแทนการพบหน้าและสัมผัสกาย ปรากฏการณ์นี้หากมองในแง่ของประโยชน์ก็ คงมไี มน่ อ้ ย แตเ่ มอ่ื พจิ ารณาในแงข่ องความเปราะบางแลว้ นน้ั แมเ้ ทคโนโลยจี ะท�ำใหส้ มาชกิ ใน ครอบครวั สามารถตดิ ตอ่ กนั ไดง้ า่ ยขน้ึ ทำ� ใหล้ ดความเปราะบางในมติ ขิ องสงั คม การเกอื้ กลู กนั ในครอบครวั ไดใ้ นระดบั หนงึ่ แต่อาจท�ำให้เปราะบางในมติ ิของวยั ทสี่ มาชกิ ในครอบครวั มคี วาม แตกตา่ งกนั ความสามารถในการเขา้ ถงึ เทคโนโลยีไม่เท่ากัน ผู้สูงอายุเข้าถึงเทคโนโลยีได้ไม่ดี เทา่ เดก็ รนุ่ ใหม่ ในขณะท่ีคนรนุ่ ใหม่จ�ำนวนไมน่ อ้ ยกไ็ มม่ เี วลามากเพยี งพอทจี่ ะสอนให้ผ้สู ูงอายุ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยไี ดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ ขณะเดียวกันความสะดวกสบายตา่ งๆ มคี า่ ใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากครอบครัวใดมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี โอกาสในการเข้าถึงสินค้าและ บรกิ ารกน็ อ้ ยลงตามไปดว้ ย จงึ มคี วามเปน็ ไปไดส้ งู ทถี่ กู จ�ำกดั สทิ ธใิ นการเขา้ ถงึ สนิ คา้ และบรกิ าร ที่พงึ ได้รบั 29ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

มือท่ีมองไมเ่ หน็ ...คนท่ีมองไมเ่ หน็ เปน็ เวลากวา่ 200 ปมี าแล้ว ท่ีโลกตน่ื เตน้ หนกั หนากบั “มอื ทม่ี องไม่เหน็ ” (Invisible hand) แนวคดิ สดุ ล�้ำของ Adam Smith บดิ าแหง่ เศรษฐศาสตรท์ ี่เสนอไวท้ ี่แรกเมอื่ ปี 1759 ในหนังสอื The theory fo Moral Sentiments แต่ไม่ได้โยงกับเศรษฐกจิ อย่างชัดเจน แต่วา่ ในปี 1776 มืองที่มองไม่เหน็ ของ Adam Smith ท�ำงานราวกับมือลอ่ งหนของนักมายากลท่ี จัดการซ้ือและการผลิตให้ลงตัวท่ีจุดดุลยภาพได้อย่างเหมาะเจาะและอัศจรรย์ มิหน�ำซ้�ำยังจะ นำ� พาใหป้ ระเทศเกดิ ความมง่ั คงั่ เปน็ การสนบั สนนุ ใหม้ กี ารคา้ เสรี โดยทภ่ี าครฐั ไมม่ คี วามจำ� เปน็ จะตอ้ งแทรกแซงกลไก การทำ� กจิ กรรมทางเศรษฐกจิ ของหน่วยงานเอกชนแต่อย่างใด หากจะ กล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น มือที่มองไม่เห็นเป็นกลไกท�ำให้ความต้องการของผู้ซ้ือและปริมาณของ สินค้าอยู่ในสภาวะสมดุล เม่ือคนในสังคมมีความต้องการเพ่ิมขึ้น กลไกน้ีจะท�ำให้ราคาของ สนิ คา้ สงู ขน้ึ และท�ำใหผ้ ขู้ ายผลติ ปรมิ าณสนิ คา้ เพอ่ื ตอบสนองความตอ้ งการของคนมากขนึ้ เมอ่ื ถึงจุดหนึ่งที่มีจ�ำนวนสินค้ามากเกินความต้องการ ราคาสินค้านั้นก็จะลดลงพร้อมกับความ ต้องการสินค้าของคนลดลงตามไปด้วย ท�ำให้ผู้ขายมกี ารผลิตสนิ คา้ ในจำ� นวนน้อยลง จนเกดิ สภาวะสมดุลระหว่างความต้องการและปริมาณของสินค้า หากมองในแง่ของเศรษฐกิจเพียง ดา้ นเดยี ว กจ็ ะเหน็ ไดว้ า่ กลไกตลาดนม้ี ปี ระโยชนอ์ ยา่ งยงิ่ ในการสรา้ งสมดลุ ในภาคของธรุ กจิ แต่ ในแงข่ องสงั คมแลว้ ระหวา่ งทกี่ ลไกกำ� ลงั ทำ� งานอยา่ งแขง็ ขนั อาจจะทำ� ใหเ้ กดิ ชอ่ งวา่ งของการเขา้ ถงึ สนิ คา้ และบรกิ ารสำ� หรบั คนบางกลมุ่ ทำ� ใหเ้ กดิ ความเหลอ่ื มลำ้� ในสงั คม เนอื่ งจากกลไกตลาด เอ้ือต่อชนช้ันที่มีอ�ำนาจการซ้ือขายสินค้าและบริการเท่าน้ัน แต่อาจมองไม่เห็นกลุ่มคนท่ีไม่มี กำ� ลงั หรอื ความสามารถในการเขา้ ถงึ สนิ คา้ หรอื บรกิ ารเหลา่ นนั้ อนั เนอื่ งมาจากความเปราะบาง ตา่ งๆ ได้ หรืออาจกลา่ วไดว้ า่ กลไกตลาดทำ� ให้เกดิ ความสมดุลในชนช้ันนายทนุ แตไ่ มส่ มดลุ กับชนชัน้ อืน่ ที่มีเงนิ นอ้ ยกว่า เม่อื ความตอ้ งการมากข้ึน ราคาสนิ คา้ กส็ งู ขนึ้ ดงั นน้ั คนที่จะเข้าถึงได้จะตอ้ งเปน็ คนทม่ี กี ำ� ลังในการซอ้ื ซง่ึ แน่นอนว่าไม่ใช่กลุ่มคนที่มี รายได้นอ้ ย ในทางกลบั กนั เมอื่ ความตอ้ งการลดลง ราคาสนิ คา้ ตำ่� ลง กเ็ กดิ ผลกระทบตอ่ กลมุ่ คน ทม่ี รี ายไดต้ ำ่� โดยเฉพาะกลุ่มคนท่มี อี าชีพภาคเกษตรกรรม หรอื ผลิตสินค้าท่ตี ้องเผชญิ กบั การ กดราคาผลผลติ เพราะสนิ คา้ ไดร้ าคาตำ�่ เนอื่ งจากความตอ้ งการทล่ี ดลง กลมุ่ คนเหลา่ นจี้ งึ ถกู กลไก ผลกั ออกใหก้ ลายเปน็ คนชายขอบ สญู เสยี โอกาสในการเขา้ ถงึ สนิ คา้ หรอื บรกิ าร โดยเฉพาะอยา่ ง ยงิ่ ในยคุ ทส่ี งั คมไทยอยใู่ นชว่ ง “รวยกระจกุ จนกระจาย” กลไกตลาดอาจไมส่ ามารถตอบสนอง ห้เกดิ ความสมดุลอยา่ งทค่ี วรจะเปน็ ได้ โดยเฉพาะในกรณกี ารเขา้ ถึงระบบการศึกษา และการ สาธารณสุข ซ่งึ เกี่ยวข้องโดยตรงกบั การพัฒนาทุนมนษุ ย์ สง่ิ ท่ีตามมาคือความเหล่ือมลำ�้ ทจี่ ะ น�ำไปสูค่ วามเหลือ่ มลำ้� ทีม่ ากข้นึ และจากความเปราะบางเป็นการแตกสลายได้ในทีส่ ดุ 30 ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

เอกสารอา้ งองิ ภาษาไทย กฤษณ์ ปทั มะโรจน.์ (2556). โครงสรา้ งพน้ื ฐานดา้ นโลจสิ ตกิ สข์ องไทยในบรบิ ทประชาคมอาเซยี น. วารสาร ธรรมศาสตร,์ 32 (2): 36-54. กองทนุ ประชากรแหง่ สหประชาชาตปิ ระจำ� ประเทศไทย (UNFPA Thailand). (2559). รายงานสถานการณ์ ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหนา้ ครอบครวั ไทย ยคุ เกิดนอ้ ย อายยุ นื . เขา้ ถงึ เมือ่ 3 มกราคม 2562, จาก http://thailand.unfpa.org/th/publications/รายงานสถานการณป์ ระชากรไทย- พ.ศ.2558-โฉมหนา้ ครอบครัวไทย-ยคุ เกดิ นอ้ ย-อายุยนื . จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และ สุภรต์ จรัสสิทธ์ิ. (2560). สถานเล้ียงเด็กในบริบทสังคมเมือง: พัฒนาการ เพือ่ ความมัน่ คงของชาต,ิ นครปฐม, สถาบนั วจิ ยั ประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหดิ ล. ทศั นียา บริพิศ. (2557). วฒั นธรรมบรโิ ภคนิยม ทุนนยิ มและสัญญะ. สารอาศรมวฒั นธรรมวลยั ลักษณ์. 1(1): 39-42. บงั อร เทพเทยี น และคณะ. (2008). ปจั จยั ทสี่ มั พนั ธก์ บั ครอบครวั เขม้ แขง็ . Journal of Public Health and Development, 6(2), 25-38. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). สุขภาพคนไทย 2560 : เสริมพลัง กลุม่ เปราะบาง สรา้ งสังคมท่ไี มท่ อดทิ้งกนั . นครปฐม : สถาบันวจิ ยั ประชากรและสงั คม. สำ� นกั งานพฒั นาธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). ETDA เปิดพฤตกิ รรมผู้ใชอ้ นิ เทอร์เนต็ ปี 61 คน ไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ช่ัวโมง 5 นาทีต่อวัน. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/content/ etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html สืบค้นเมือ่ วันที่ 5 มีนาคม 2562 สำ� นกั งานสถิตแิ ห่งชาติ. (2560). ปี 59 คนไทยใชจ้ า่ ยกบั อะไรบา้ ง?. เขา้ ถึงเม่ือวันท่ี 3 มกราคม 2561, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib14/2560/25-08-60/คนไทยใช้จ่ายกับ อะไรบ้าง.pdf. สบื คน้ เม่ือวันท่ี 5 มนี าคม 2562. ภาษาอังกฤษ Lefebvre, Hennri. (1991). Translated by Donald Nicholson-Smitch. The Production of Space. Blackwell Publishing. UK. Monge, P. (1998). Communication Structures and Processes in Globalization. Journal of Communication, 48(4), 142-153. Sarfati, H. (2016). OECD. Integrating social services for vulnerable groups–Bridging sectors for better service delivery. Paris, Organisation for Economic Co-operation and Development, 2015. 210 pp. ISBN 978-92-64-23376-8. International Social Security Review, 69(2), 137-140. Sprunger, L.W., Boyce, W. T., & Gaines, J. A. (1985). Family-infant congruence: Routines and Rhythmicity in family adaptations to a young infant. Child Development, 56: 564–572. Toffler, A. (2016). The Third Wave: Entrepreneur’s Vision of the Future. New York: Simon and Schuster. 31ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลยี่ นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง

ต้องท�ำอยา่ งไร ? สังคมไทยจงึ จะเปราะบางน้อยท่ีสุดท่ามกลางการ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรท่ีควบคุมได้ ยาก หากมองความเปราะบางของครัวเรือนเป็น เสมือนภาชนะท่ีมีรอยรา้ วที่พรอ้ มจะแตกได้ทุกเม่ือ การซ่อมรอยร้าวดูเหมือนจะเป็นเร่ืองยากมากกว่า การปล่อยใหแ้ ตกหรอื ไม่น�ำภาชนะนั้ัน มาใชอ้ กี เลย

3 โครงสรา้ งประชากรท่ีเปล่ียนแปลง กับความเปราะบางในครอบครวั จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ท�ำให้เกิดการเปล่ียนแปลงของจ�ำนวน คนในวยั ตา่ งๆ ไมว่ า่ จะเปน็ การมเี ดก็ และคนทำ� งานนอ้ ยลง หรอื มผี สู้ งู อายมุ ากขนึ้ ตามโครงสรา้ ง ที่เปล่ียนแปลงไป ยิง่ ในสังคมไทยทีจ่ ะเขา้ สูส่ งั คมสงู วยั อยา่ งสมบูรณใ์ นชว่ งระยะเวลาอนั ใกล้น้ี ยง่ิ สะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ ในอนาคตประเทศไทยจะตอ้ งใหค้ วามสำ� คญั กบั การดแู ลผสู้ งู อายเุ พม่ิ มากขนึ้ ขณะเดียวกันก็ต้องเพ่ิมจ�ำนวนประชากรเพ่ือทดแทน แต่การส่งเสริมให้ประชากรมีลูกเพิ่มขึ้น ดเู หมอื นจะเปน็ ความทา้ ทายอยา่ งยงิ่ ของภาครฐั ทา่ มกลางสงั คมทไี่ มไ่ ดม้ บี รบิ ททจ่ี ะตอบสนอง ให้คนมลี ูกกนั มากนัก ในชว่ งระยะเวลากวา่ 50 ปที ผ่ี า่ นมา ประเทศไทยมกี ารเปลย่ี นแปลงโครงสรา้ งประชากร และโครงสร้างครอบครัวทสี่ ง่ ผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยเร่ิมจากการลดลงของอตั ราการตาย ในขณะที่การเกิดสูงมาก จนท�ำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายควบคุมประชากร ซ่ึงผลของ นโยบายดงั กลา่ ว ทำ� ใหอ้ ตั ราการเพม่ิ ประชากรลดลงจนเหลอื เพยี งรอ้ ยละ 1.6 ซงึ่ เปน็ อตั ราการ 33ครอบครวั “เปราะบาง” เม่อื การเปลย่ี นแปลงของสังคม ท�ำรา้ ยครอบครวั ไทย และท้ิงใครหลายคนไวเ้ บ้ืองหลัง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook