Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่1

บทที่1

Published by phatthawan.kk, 2018-05-09 01:06:29

Description: บทที่1

Search

Read the Text Version

หน่วยที 1 ความหมายและความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับสาระสําคัญ ไม้ดอกไม้ประดับ( flower and ornamental plants) หมายถึง พนั ธุ์ไม้ทีมีลักษณะรูปร่างสีสันของลําต้น กิง ก้านใบ ดอก ตลอดจนผลสวยงาม นําไปใช้ประดับตกแต่งภูมิทัศน์ภายนอกและภายในให้ ร่มรืนสวยงามน่าอยู่ขึ น ตามความต้องการหรือใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจําวันและด้านเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึงไม้ดอกไม้ประดับ ยังมคี วามสําคัญ ทางด้าน เศรษฐกิจและสงั คมและมแี หลง่ ผลิตอยู่ทัวไปในประเทศจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์ทวั ไป 1. บอกความหมายของคําว่าไม้ดอกไม้ประดับได้ 2. บอกถึงความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับทางสังคมได้ 3. บอกถงึ ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับทางเศรษฐกจิ ได้ 4. บอกแหลง่ ผลิตหรือสถานทีผลติ ไม้ดอกไม้ประดับทีทําเป็นการค้าแต่ละภาคได้ 5. เพอื ให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ เรืองความ สนใจใฝ่ รู้ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายความหมายและความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับได้ถูกต้อง 2. สามารถอธิบายถงึ ประโยชนข์ องไม้ดอกไม้ประดับทีมีต่อชีวติ ประจําวันขงอมนุษย์ และ ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจและสังคมได้ 3. บอกแหล่งหรือสถานทีผลติ ไม้ดอกไม้ประดับเป็นการค้าในแต่ละภาคของประเทศไทย ได้ อย่างถูกต้อง และอธิบายสภาพการผลิตได้

2เนือหาสาระ1. ความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ พรรณไม้ดอกไม้ประดับเป็ นสิงทีสําคัญในการจรรโลงใจให้แก่ผู้ปลูก ได้รับความสุขความเพลดิ เพลนิ ทั งทางตรงและทางอ้อม เช่นทําให้สุขภาพทางจิตใจมีความสุข สดชืน ผ่อนคลายความเครียด จากการทํางานอืน ๆในแต่ละวันกับสภาพสิงแวดล้อมและเศรษฐกิจ นอกจากจะทําให้ตนเองหรือผู้ปลูกมีความสุขดังทีกลา่ วแล้ว ไม้ดอกไม้ประดับยังช่วยใหผ้ ู้พบเห็นมีความสุขกายสุขใจ ซึ งในปัจจุบันมีผู้ทีปลกู ไม้ดอกไม้ประดับเป็ นอาชีพกนั มาก ทั งมีการเพาะพันธุแ์ ละผสมพันธุ์ใหม่ๆ ขึ นมา ให้เป็ นทีต้องตา ต้องใจ ของลูกค้า และยังใชช้ ือเรียกพรรณไม้ใหม่ๆให้เป็นมงคลเพอื ดึงดดู ลูกค้าทีนิยมชมชอบไม้มงคลต่างๆ มาประดับอาคารบ้านเรือน สําหรับความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ มีนักวิชาการและนักการศึกษาได้ใหค้ ําจํากดัความ โดยแยกเป็นไม้ดอกและไม้ประดับตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน (2542) ให้ความหมายคําว่า “ไม้ดอก” คือไม้ทีปลูกไว้ดูดอก และ”ไม้ประดับ” คือไม้ทีปลูกไว้ประดับบ้านหรือสถานที มานิต มานิตเจริ ญ (2535) ให้ความหมายของ ไม้ดอก หมายถึง ต้นไมท้ ีให้ดอกเป็นประโยชนส์ ําคัญ เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล (2552) ให้ความหมายของไม้ดอก หมายถึง พืชทีปลูกขึ นเพือใช้ประโยชน์จากดอก มีลักษณะดอกทีสวยงาม ดังนั นไม้ดอก(flower plants) หมายถงึ พรรณไม้ทีปลูกไว้เพอื ชมความสวยงามของดอกหรือม่งุ หวังเพือใช้ประโยชน์ของดอกเป็ นหลัก กล่าวคือไมด้ อกจะต้องมีรูปร่างทรวดทรง สีสันของดอกสวยงาม สามารถนําไปใช้ประดับตกแต่งภูมิทัศนไ์ ด้ เช่น กุหลาบ หนา้ วัว เบญจมาศรักเร่ กล้วยไม้ เยอบีร่า สร้อยไก่ ดาวเรือง มะลิ เป็นต้น ภาพที 1.1 ดอกกล้วยไม้ ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

3 มานิต มานิตเจริญ (2535) ให้ความหมายของ ไม้ประดับ หมายถึงต้นไม้ทีปลูกดูเล่นสวยงาม เศรษฐมันตร์ กาญจนกลุ (2552) ให้ความหมายของไม้ประดับ โดยแยกประเภทดังนีไมต้ ้นประดับ หมายถึง ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีเนื อไมแ้ ข็งหรื อไม่มีเนือไม้แข็ง อายุยืนหลายปีไม้พุ่มประดับ หมายถึง ไม้ต้นทีมีลักษณะ ลาํ ต้นตั งตรงแตกกิ งก้านแตกเป็ นพุ่มกว้างไม้เลือยหรือไม้เถาประดับหมายถึง ไม้ทีมีลําต้นเรียวเล็ก เลือยเกียวพันไม้ หรือวัสดุอนืไม้ใบประดับ หมายถงึ ไม้ทีมีรูปทรงและสีสันของใบสวยงาม ดังนั น ไม้ประดบั ( onamental plants ) หมายถึง พรรณไม้ทีมีรูปร่างของ ลําตน้กิง ก้าน ใบ และผลสวยงาม ปลูกไวเ้ พือชมความสวยงามหรือใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆนําไปใช้ ตกแต่งอาคารสถานที ทั งภายในและภายนอกได้ เช่น เฟิ ร์น ปาล์ม สาวน้อยประแป้ งโกสน หมากผู้หมากเมยี ตะโกดัด วาสนา จันผา และ สนต่างๆ ภาพที 1.2 ต้นปาล์ม ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ สมเพียร เกษมทรัพย์ (2535) ไดก้ ล่าวไว้ว่า “ไม้ดอกไม้ประดบั ” หมายถึง ไม้ดอกทีนํามาใช้ในการประดับตกแต่งสวน หรือทีต่างๆ โดยไม้ดอก(flowering plants) หมายถึงพรรณไม้ทีออกดอกทีมีสี สันสวยงามหรื อมีกลินหอม อาจจําแนกไม้ดอกเป็ น 2 วิธี คือ วิธีแรกเป็นการจําแนกลักษณะของพรรณไม้และวธิ ีท2ี เป็นการจําแนกตามประโยชน์ใช้สอย ดังนั นไม้ดอกไม้ประดับ ( flower and ornamental plants) หมายถึง พืชสวนประดับหรือพรรณไม้ทีมลี ักษณะรูปร่างสีสนั ของลําต้น กิง ก้านใบ ดอกและผลสวยงาม นําไปใช้ประดับตกแต่งอาคารสถานที ทั งภายนอกและภายใน จัดสวนขนาดใหญ่และสวนหย่อม ให้ร่มรืนสวยงามตามความต้องการหรือใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน

42. ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอกไม้ประดับมีความสําคัญต่อการดํารงชีวขติ องมนุษย์หลายประการ โดยเห็นได้จากในอดีตมนุษยใ์ ช้ไมด้ อกไม้ประดับ ตั งแต่มนุษยก์ ําเนิดจากท้องมารดา ในการใช้ไม้ไผ่ตัดสายสะดือ การทําบายศรีสู่ขวัญเด็กเกิดใหม่ จนกระทังถงึ วันสุดท้ายของชีวติ ไม้ดอกไม้ประดับยังมบี ทบาททีสําคัญ ซึงในปัจจุบันไม้ดอกไม้ประดับยิงมีความสําคัญในด้านจิตจใกับมนุษย์มากเพราะธรรมชาติเกียวกับพรรณไม้ถูกทําลายจากฝีมือของมนุษย์ จึงทําให้มผี ู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเป็นการค้า เพือทําให้จิตใจมีความสุข สดชืน ผ่อนคลายความเครียด และหาสิงยึดเหนียวจ◌ิตใจโดยการหาพันธุ์ไม้มงคลมาปลูกซึงความสําคญั ของไม้ดอกไม้ประดับจุฑามาศ อ่อนวิมล (2547)ได้กล่าวถงึ ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับมีความสําคัญอยู่ 2 ประการใหญ่ๆดังนี 2.1 ความสําคัญทางสังคม ไม้ดอกไม้ประดับมีความสําคัญทางด้านปัจจัย 4 ของมนุษย์ และชีวิตประจําวันทางด้านพธิ ีกรรมตั งเกิดจนกระทังตาย ตลอดจนให้ความสวยงามของทีอยูอ่ าศัย อาคารสถานทีต่างๆ ซึงเป็นสิงสําคัญต่อมนุษย์หลายประการ ดังนี 2.1.1 ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับตอ่การดํารงชีพ ได้แก่ 1) ด้านอาหาร ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดนําไปใชป้ ระกอบเป็ นอาหารรับประทานในรูปของแกง ต้ม ทอด หรือเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น ยอดและใบเล็บครุฑ ดอกลีลาวดียอดและผลมะพร้าว ภาพที 1.3 ยอดและผลมะพร้าว ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

5 2) ด้านทีอยูอ่ าศัย ไม้ดอกไม้ประดบั ยืนตน้ บางชนิดสามารถนําไปสร้างเปน็ ทีอยู่อาศัยได้ เชน่ ตาลโตนด นนทรี คนู ตะแบก นําไปแปรรูปเป็นไม้ปลูกบ้าน ผลติ เฟอร์นิเจอร์ได้ ภาพที 1. 4 ต้นตาลโตนด ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 3) ด้านเครืองนุ่งห่ม ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดสามารถนําไปผลติ เป็ นเครืองนุ่งห่มได้ เช่นป่ านศรนารายณ์หรืออะกาเว่ นําไปใช้ทอผ้านอกจากนั นยังใชส้ กัดทํานํ าหอมเช่นลีลาวดีมะลิ กล้วยไม้ กหุ ลาบเป็นต้น ภาพที 1. 5 ต้นป่ านศรนารายณ์ ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

6 4) ดา้ นยารักษาโรค ไม้ดอกไม้ประดบั บางชนิดจัดเป็ นพืชสมุนไพร สามารถนํามาใช้เป็นยารักษาโรคได้ทั งแผนโบราณและแผนปัจจุบันมีการค้นคว้าตัวยาใหๆมจ่ ากพืชเสมอเช่น มะลิ เสลดพังพอน อัญชันเป็นต้น ภาพที 1. 6 ต้นเสลดพังพอน ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 5) ใช้ในชีวติ ประจําวันอนื ๆ มกี ารใช้ส่วนต่าง ๆ ของไม้ดอกไม้ประดับไปใช้ ประกอบพธิ ีกรรมหลายอย่างตั งแต่เกิดจนกระทังตาย เช่น นํากิง ก้านใบ ดอก ไปทํา พวงมาลัย จัดกระเช้า พานพุ่ม พวงหรีด รวมทั งเวทีในงานต่างๆพรรณไม้ประดับทีใช้ได้แก่ เฟิ น จังโปร่งฟ้ าปรง ดอกบัว สร้อยไก่ หมากเหลือง ยางอินเดีย หมากผู้หมากเมีย กหุ ลาบ หน้าวัว ดาวเรือง และกล้วยไม้ เป็นต้น ภาพที1.7 จัดกระเช้าดอกไม้ ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

7 2.1.2. ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับต่อการตกแต่งสถานที 1) การใช้ไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งภายในอาคาร ให้เกิดความสวยงาม ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับในร่มตา่ ง ๆ เช่น เฟิน ก้ามกุ้งก้ามกั งคล้า เดหลี หนา้ วัว สบั ปะรดสี จังกล้วยไม้ฟิ โลเดนดรอน นําไปใช้ในรูปแบบต่างๆ ขึ นอยู่กับความต้องการของแต่ละสถานที ภาพที 1.8 ตกแต่งภายในอาคาร (ก้ามกุ้งก้ามกั)ง ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 2) การใช้ไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งภายนอกอาคารบา้ นพักอาศยั ร้านอาหารโรงแรม รีสอร์ท สถานทีพักผ่อน สวนสาธารณะ สถานทีราชการ ตลอดจนสถานทีสําคัญต่างๆทีต้องการความสวยงาม ไม้ประดับทีนิยมใชต้ กแต่ง ไดแ้ ก่ ตะโกดดั ข่อยดดั ชาดัด ลีลาวดีโกสน เล็บครุฑ ซัลเวยี ไทรยอดทอง ประดู่ นนทรี คูน หางนกยูงฝรัง อโศกอินเดีย จันผาสนต่างๆ และพืชวงศ์ปาล์ม ภาพที 1.9 ตกแต่งภายนอกอาคาร (ซัลเวยี ) ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

8 2.2 ความสําคัญทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันนี ไม้ดอกไม้ประดับมคี วามสําคัญต่อมนุษย์ในแง่เศรษฐกิจ คือ สามารถประกอบเป็นอาชีพได้ไม่วา่ จะเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรอง ทําให้ครอบครัวกเ ิดรายไดม้ ากขึ น โดยมีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับจําหน่ายทั งภายในประเทศแลตะ่างประเทศ นําเงินตราเข้าประเทศปี ละหลายพันล้านบาทเป็นผลทําให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ นดังนี 2.2.1 ไม้ดอกทีส่งออก 1) ในรูปของไม้ตัดดอกได้แก่ กล้วยไม้ กุหลาบ ดาวเรือง มะลิ หน้าวัว เบญจมาศ 2) ในรูปของหัวพันธุ์ได้แก่ ปทุมมาและบอนสี 2.2.2 ไม้ประดับทีส่งออก 1) ในรูปของไม้ขดุ ล้อมได้แก่ ปาล์มประดับไทร คูน โมก สน และไม้ป่ าอนื ๆ 2) ในรูปของไม้กระถางได้แก่ โกสน กวนอมิ คล้า ไม้สกุลอโกนีม่า 3) ในรูปของไม้คลมุ ดินได้แก่ ผกากรอง เข็มแคระ กาบหอยแครง 4) ในรูปของไม้ตดั ใบ ได้แก่ หมากผู้หมากเมยี ฟิ โลเดนดรอน และเฟิ ร์น สําหรับไมด้ อกไม้ประดับนั นมปี ระเทศทีส่งออก 10 อนั ดับ ได้แก่ ประเทศญีปุ ่ นเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ลาว อาฟริกาใต้ แคนาดา สิงคโปร์อาหรับเอมิเรตส์ และแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับทีสําคัญ ของประเทศในการจาํ หน่ายทั งภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ซึ งแหล่งผลิตไมด้ อกไม้ประดบั เมืองหนาวได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก เลย นครราชสีมา ส่วนแหล่งผลิตไมด้ อกไม้ประดับเมืองร้อนได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมทุ รสาคร ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครนายก นนทบุรีนอกจากนี อาชีพการปลกู ไม้ดอกไม้ประดับยังสามารถ สร้างอาชีพอืนๆได้อีก เช่น อาชีพรับจ้างตกแต่งภมู ิทัศน์ อาชีพรับจ้างดแู ลสวน จําหน่ายวัสดตุ กแต่งสวน ตลอดจนการผลิตและจําหน่ายอุปกรณ์ทีใช้ผลิตพรรณไม้ดอกไม้ประดับเช่น กระถางปลูก และ วัสดุปลูก

9สรุป ดังนั นไม้ดอกไม้ประดับเป็นพรรณไม้ทีมลี ักษณะรูปร่าง สีสัน ของลําต้น กิง ก้าน ใบ ดอกและผล สวยงาม นําไปใช้ตกแต่งอาคาร บ้านเรือน สถานทีต่างๆ ทั งภายในและภายนอกเพือใหเ้ กิดความร่มรืน สวยงาม ตามความต้องการ โดยไม้ดอกไม้ประดับยังมีความสําคัญทางสงั คมเกียวกับชีวติ ประจําวันของมนุษย์ในการดํารงชีพ ทางด้านอาหาร ทีอยู่อาศัย เครืองนุ่งห่ม ยารักษาโรคและใช้ทางด้านศาสนพธิ ีกรรมต่างๆ ประดับตกแต่งอาคารสถานทีทั งภายในและภายนอกอาคารเป็ นทีพกั ผ่อนหย่อนใจ ให้มีความสวยงามน่าอยู่ น่าอาศัย นอกจากนั นแล้วไม้ดอกไม้ประดบัยังมีความสําคัญทางด้านเศรษฐกิจ เป็ นการสร้างอาชีพผลิตไม้ดอกไม้ประดับจําหน่าย ทั งภายในและภายนอกประเทศ และยังทําให้เกิดอาชีพอนื ๆได้อีก เช่น อาชีพตกแต่งภูมิทัศน์ อาชีพจําหน่ายวัสดุอปุ กรณ์ในการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

10 แบบทดสอบก่อนเรียนวิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดบั รหัสวิชา 2501-2104เรืองที 1 ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดบัคําชีแจง จงทําเครอื งหมาย กากบาท (x) หวั ข้อทีถูกต้องทสี ุดเพียงข้อเดียว1.ไม้ดอกมีความหมายตรงกับข้อใดก. พันธุ์ไม้ทีมที รงพุม่ กะทัดรัดข. พันธุ์ไม้ทีทนต่อสภาพแวดล้อมทีดีค. พันธุ์ไม้ในร่มทีมีสีสัน ลําต้น ใบ สวยงามง. พันธุ์ไม้ทีนําส่วนของดอกหรือช่อดอกไปใช้ประโยชน์2. ข้อใดเป็นชือของพันธุ์ไม้ประดับทั งหมดก. บอนสี จันผา โกสนข. ปทุมมา วาสนา หน้าวัวค. รักเร่ เล็บครุฑ พทุ ธรักษาง. เบญจมาศ ผกากรอง ว่านสีทิศ3. พรรณไม้ในข้อใดนํามาเป็นอาหารรับประทานได้ก. ปรง เทียนทองข. หน้าวัว ดอกยีโถค.วาสนา ดอกบานชืนง. เล็บครุฑ ดอกลลี าวดี4. เสลดพังพอน เป็นพรรณไมท้ ีมคี วามสําคัญทางด้านใดก. ด้านอาหารข. ด้านทีอยู่อาศัยค. ด้านเครืองนุ่งห่มง. ด้านยารกั ษาโรค5. ไม้ประดับข้อใดสร้างทีอยู่อาศัยได้ก. วาสนา คูนข. ตาลโตนด ตะแบกค. เขียวหมืนปี ปาล์มขวดง. หมากผู้หมากเมีย นนทรี

116. ไม้ดอกไม้ประดับในข้อใดทีใช้ตกแต่งภายในอาคารได้ ก. จันผา ปาล์ม บอนสี ข. ไทร ปริก เขียวหมืนปี ค. ปรง จัง ซองออฟอินเดีย ง. ก้ามกุ้งก้ามกงั เฟิ ร์น ฟิ โลเดนดรอน7. จังหวัดใดเป็นแหล่งผลติ ไมด้ อกไม้ประดับทีสําคัญในปัจจุบัน ก. สระบุรี ลพบุรี ข. นครนายก นครปฐม ค. ปทุมธานี สมทุ รสงคราม ง. อา่ งทอง พระนครศรีอยุธยา8. ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกไม้ตัดดอกเพือการค้าชนิดใดมากทีสุด ก. มะลิ ปทุมมา ข. ดาวเรือง ดาหลา ค. กล้วยไม้ กุหลาบ ง. เบญจมาศ เยอรบีร่า9. แหล่งผลติ ไมด้ อกไม้ประดับเมอื งหนาวทีมีความสําคัญได้แก่ ก. เลย ชัยภูมิ ข. ตาก เชียงใหม่ ค. ชัยนาท ลําปาง ง. นครปฐม ราชบุรี10.ประเทศใดทีเกษตรกรไทยส่งไม้ดอกไม้ประดับจําหน่ายมากทีสุด ก. จีน ข. ญีปุ ่ น ค. ฝรังเศส ง. มาเลเซีย

12 แบบทดสอบหลังเรียนวิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดบั รหสั วิชา 2501-2104เรืองที 1 ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดบัคําชีแจง จงทาํ เครืองหมาย กากบาท (x) หวั ข้อทีถูกต้องทสี ุดเพียงข้อเดยี ว1. จังหวัดใดเป็นแหลง่ ผลติ ไมด้ อกไม้ประดับทีสําคัญในปัจจุบันก. สระบุรี ลพบุรีข. นครนายก นครปฐมค. ปทุมธานี สมุทรสงครามง. อา่ งทอง พระนครศรีอยธุ ยา2. พรรณไม้ในข้อใดนํามาเป็นอาหารรับประทานได้ก. ปรง เทียนทองข. หน้าวัว ดอกยีโถค.วาสนา ดอกบานชืนง. เล็บครุฑ ดอกลลี าวดี3. เสลดพังพอน เป็นพรรณไมท้ ีมคี วามสําคญั ทางด้านใดก. ด้านอาหารข. ด้านทีอยู่อาศัยค. ด้านเครืองนุ่งห่มง. ด้านยารักษาโรค4. แหลง่ ผลติ ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวทีมีความสําคัญได้แก่ก. เลย ชัยภูมิข. ตาก เชียงใหม่ค. ชัยนาท ลําปางง. นครปฐม ราชบุรี5. ประเทศใดทีเกษตรกรไทยส่งไม้ดอกไม้ประดับจําหน่ายมากทีสุดก. จีนข. ญีปุ ่ นค. ฝรังเศสง. มาเลเซีย

136. ไม้ดอกมีความหมายตรงกับข้อใด ก. พันธุ์ไม้ทีมที รงพมุ่ กะทัดรัด ข. พันธุ์ไม้ทีทนต่อสภาพแวดล้อมทีดี ค. พันธุ์ไม้ในร่มทีมีสีสัน ลําต้น ใบ สวยงาม ง. พันธุ์ไม้ทีนําส่วนของดอกหรือช่อดอกไปใช้ประโยชน์7. ไม้ประดับข้อใดสร้างทีอยู่อาศัยได้ ก. วาสนา คูน ข. ตาลโตนด ตะแบก ค. เขียวหมืนปี ปาล์มขวด ง. หมากผู้หมากเมยี นนทรี8. ข้อใดเป็นชือของพันธุ์ไม้ประดับทั งหมด ก. บอนสี จันผา โกสน ข. ปทุมมา วาสนา หน้าวัว ค. รักเร่ เล็บครุฑ พุทธรักษา ง. เบญจมาศ ผกากรอง วา่ นสีทิศ9. ไมด้ อกไม้ประดับในข้อใดทีใช้ตกแต่งภายในอาคารได้ ก. จันผา ปาล์ม บอนสี ข. ไทร ปริก เขียวหมืนปี ค. ปรง จัง ซองออฟอนิ เดีย ง. ก้ามกุ้งก้ามกั งเฟิ ร์น ฟิ โลเดนดรอน10. ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกไม้ตัดดอกเพือการค้าชนิดใดมากทีสุด ก. มะลิ ปทุมมา ข. ดาวเรือง ดาหลา ค. กล้วยไม้ กหุ ลาบ ง. เบญจมาศ เยอรบีร่า

14 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน รหสั วิชา 2501-2104วิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดับเรืองที 1 ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดบั ข้อ เฉลย 1ง 2ก 3ง 4ง 5ข 6ง 7ข 8ค 9ข 10 ข

15 เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน รหสั วิชา 2501-2104วิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดบัเรืองที 1 ความสําคัญของไม้ดอกไม้ประดับ ข้อ เฉลย 1ข 2ง 3ง 4ข 5ข 6ง 7ข 8ก 9ง 10 ค

16 หน่วยที 2 การวิเคราะห์การตลาดเกยี วกับไม้ดอกไม้ประดบัสาระสําคัญ การวิเคราะห์การตลาดเกียวกับไม้ดอกไม้ประดับนั นประกอบไปด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ในช่วงเวลานั นของการผลิตไม้ดอกไม้ประดับในต่างประเทศ ภายในประเทศ และระดับท้องถิน ซึงจะทําให้ได้รับรเู้กียวกับการเปลียนแปลงของจํานวนพืนทีปลกู ไม้ดอกไม้ประดับเพือทีจะใช้ในการวิเคราะห์ความเป็ นไปได้ ในการวางแผนการผลิตเพือการจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ ในต่างประเทศ ภายในประเทศ และระดับท้องถิน ซึงในการวเิ คราะหส์ ถานการณ์การผลิตไม้ดอกไมป้ ระดับในระดับทอ้ งถินนั น จะนําไปสู่แนวทางการผลิตพันธุไ์ ม้ ชนิดพนั ธุ์ของไม้ดอกไม้ประดับทีจะปลูก แหล่งตลาดทีจะซือขาย ราคาซือขาย และพืนทีทีใช้ในการผลิตไม้ดอกไม้ประดับอย่างเหมาะสมต่อความตอ้ งการของตลาดจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์ทวั ไป 1. เพอื ให้นักเรียนมคี วามเข้าใจเกียวกับสถานการณ์การผลิตไม้ดอกไม้ประดับใน ต่างประเทศ ภายในประเทศ และในระดับท้องถิน 2. เพอื ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกียวกับสถานการณ์การตลาดของไม้ดอกไม้ประดับ ทั งในต่าง ประเทศ ภายในประเทศ และในระดับท้องถิน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายสถานการณ์การผลิตไม้ดอกไม้ประดับของต่างประเทศ ภายในประเทศ และใน ระดับท้องถินได้ 2. นักเรียนสามารถนําความรู้เกยี วกับสถานการณ์การผลิตไม้ดอกไม้ประดับไปปรับใช้ใน การผลติ และการจัดจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับได้

17เนือหาสาระการวิเคราะห์การตลาดเกียวกับไม้ดอกไม้ประดับ การผลิตไม้ดอกไม้ประดับในประเทศไทยสามารถผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพือการจําหน่ายทั งภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศซึงนําเงินตราเข้าประเทศเป็นจํานวนมาก แต่บางครั งหรือบางช่วงของฤดูกาลต้องสั งไม้ดอกไม้ประดับนําเข้ามาใช้ภายในประเทศโดยเฉพาะไม้เมืองหนาวทีประเทศไทยผลิตไม่ได้ ในบางฤดูกาล การทําธุรกิจเกียวกับการผลิตและการจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับเหมือนกับการทําธุรกิจด้านอนื ๆคือจะต้องรู้ว่าจะผลิตอะไรทีจะได้กําไรสูงสุดในช่วงใด และจะตอ้ งนาํ เข้าไม้ดอกไม้ประดับในช่วงใดและไมอ้ ะไรทีให้ผลคุ้มค่า ดังนั นเกษตรกรทีผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพือจําหน่ายทั งใน ระดับท้องถิน ระดบั ภูมิภาค จนถึงระดับประเทศ จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เกียวกับด้านตลาดเพือทีจะได้ทําการผลิตไม้ดอกไม้ประดับได้ถูกช่วงเวลาทีตลาดต้องการสถานการณ์ตลาดและแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ปั จ จุ บัน ป ร ะ เท ศ ไ ท ย มี พื น ทีป ลูก ไ ม้ด อก ไ ม้ป ร ะ ดับ ป ร ะ ม า ณ 7 0 , 0 0 0 ไ ร่(ศนู ย์สารสนเทศการเกษตร สํานกั งานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) โดยไม้ดอกไม้ประดับทีปลูกกันมาก คือ กล้วยไม้ ดาวเรือง มะลิ กุหลาบ รัก เบญจมาศ และอืนๆผลผลิตไม้ดอกไม้ประดับนํามาใช้ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยการนํามาประดับตกแต่ง อาคารสถานที ซึงแหล่งผลิตไม้ดอกไมป้ ระดับ มีดังต่อไปนี1. ระดบั ท้องถนิ จังหวัดชัยนาท เป็ นจังหวัดทีอยูใ่ นภาคกลาง ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยส่วนมากมีอาชีพการทํานาในทีราบลุ่ม และทําไร่ในทีดอน แต่ก่อนเมือเกษตรกรหมดฤดกู ารทํานาจะประกอบอาชีพเสริมโดยการเพาะต้นกล้าพืชผักสวนครัวและไม้ดอกไม้ประดับจําหน่าย แต่ต่อมาอาชีพการปลูกไม้ดอกไม้ประดบั ทํารายไดใ้ ห้กับเกษตรกรมากขึ น จึงได้มีเกษตรกรทีไมม่ ีทีทํากินเป็ นของตัวเองหันมายดึ อาชีพการปลูกไม้ดอกไม้ประดับจําหน่ายกันมากเพราะใชพ้ ืนทีการปลูกไม่มากนัก เพียงแต่ใช้พืนทีบริเวณบา้ นเรือนทีอยู่อาศยั มาทําการผลิตไม้ดอกไม้ประดับและส่วนมากจะทํากล้าไม้ดอกไม้ประดับและพชื ผักนํามาจําหน่าย ดังนี 1.1 บ้านบางตาด้วง ตําบลชัยนาท อําเภอเมอื ง จังหวัดชัยนาท เกษตรกรส่วนมากมีอาชีพหลักในการทํานา และอาชีพเสริมในการผลิตกล้าไม้ดอกไม้ประดับและกล้าพืชผักจําหน่าย ซึงจะใช้พืนทีบริเวณทีอยู่อาศัยในการผลิต และเมือมลี กู ค้าประจํามาก เกษตรกรก็ได้นําไม้ดอกไม้ประดับจากแหล่งอืนมาเพมิ เติม เพอื ให้มีไม้ดอกไม้ประดับทหี ลากหลายทีลกู ค้าต้องการโดยไมต่ ้องไปหา

18จากแหล่งอืนและนําผลผลิตมาจําหน่ายบริ เวณริ มทางถนนสายชัยนาท-วัดสิงห์ ใกล้กับเขือนเจ้าพระยา โดยมเี กษตรกรยึดการผลิตและจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับเป็ นอาชีพหลักกันมากซึงแหล่งนี จึงเป็นแหล่งผลติ และจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียงเพราะไม่ต้องไปซือพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับจากคลอง15 อําเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก และแหล่งจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับเขตปริมณฑลไม้ดอกไม้ประดับทผี ลิตได้แก่ กล้าปาล์มประดับเข็มแดง เทียนทอง โกสน ร่มเชียงใหม่ คุณนายตืนสาย เล็บครุฑ ดาวเรือง กุหลาบ บานชืนและไม้ดอกอนื ๆตามฤดูกาล ภาพที 2.1 แหลง่ จําหน่ายพันธ์ไม้บ้านบางตาด้วง อําเภอเมอื ง จังหวัดชัยนาท ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 1.2 บ้านทุ่งกระถิน ตําบลดงคอน อําเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เกษตรกรผลติ ไม้ประดับจําหน่าย จําพวกไม้ใหญ่ ไม้ขุดล้อม ไม้ป่ า โดยการปลูกเองในพืนทีทํานาและบริเวณทีอยูอ่ าศัยนอกจากนั น ยงั เป็ นทีรวบรวบไมใ้ หญ่จากแหล่งปลูกตามบ้าน เพือมาจําหน่ายให้กับลูกค้าทีเป็นนักจัดสวนและลูกค้าทัวไป ไม้ทีผลิตได้แก่ ปาล์มต่างๆ ลลี าวดี เฟื องฟ้ า และไม้ป่ าต่างๆ

19 ภาพที 2.2 แหลง่ จําหน่ายไม้ขดุ ล้อมบ้านทงกุ่ ระถนิ อําเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 1.3 วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท นอกจากวิทยาลัยจะทําการเรียนการสอนตามปกติแล้ว ยังสนับสนุนใหน้ ักเรียนนักศึกษาผลิตไม้ดอกไม้ประดับจําหน่ายใหก้ บั เกษตรกรและพ่อค้าแม่ค้า นักจัดสวน โรงงานและส่วนราชการต่างๆ เพือนําไปประดับและตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับทีผลติ ได้แก่ ไม้ในร่มและไม้กลางแจ้ง เช่นไม้สกุลาสวนอ้ ยปะแป้ ง สกุลวาสนาเฟิ น หมากผู้หมากเมีย สับปะรดสี เฟื องฟ้ า ปาล์มประดบั ต่างๆ โกสน เล็บครุฑ ไทรต่างๆไม้ดอกหอม และอืนๆ ภาพที 2.3 แหลง่ จําหน่ายพันธ์ไม้ในวทิ ยาลัเยกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

202. ระดบั ภูมิภาค การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ แต่ละแหลง่ ตามภมู ิภาคของประเทศไทยนั นจะทําการผลติไม้ดอกไม้ประดับตามสภาพแวดล้อมของภมู อิ ากาศ ภูมิประเทศทีเหมาะสมกับไม้ดอกไม้ประดับชนิดนั นๆ ดังต่อไปนี 2.1 แหล่งผลิตภาคเหนอื พันธุ์ไม้ดอกไมป้ ระดับทีผลติ ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ไม้ประเภททีต้องการสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น ได้แก่ สนมังกร แอสเตอร์ ลิลลี เบญจมาศ บิทูเนีย จังหวัดทีผลิตสําคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ตาก และกําแพงเพชร ภาพที 2.4 แหลง่ ผลิตเบญจมาศ อําเภอแม่วางจังหวัดเชียงใหม่ ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 2. 2 แหล่งผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พนั ธุ์ไม้ดอกไม้ประดับส่วนมาก ผลิตเพือใช้ในการประดับตกแตง่ สวน ตกแต่งบริเวณทีอยู่อาศัย จังหวัดทผี ลติ ไม้ดอกไม้ประดับทสี ําคัญ ได้แก่ เลย ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์อุบลราชธานี และอุดรธานี เป็นต้น ภาพที 2.5 แหล่งผลิตคริสติน่า อําเภอภเู รือ จังหวัดเลย ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

21 2.3 แหล่งผลิตภาคกลางและภาคตะวันออก แหล่งผลิตนี ถอื วา่ เป็นแหลง่ ผลติ ทีสําคัญของประเทศ โดยมีชนิดของพันธไุ์ม้ดอกไม้ประดับมากมายทีผลิต แหล่งผลติ ทีสําคัญได้แก่ กรุงเทพฯ เขตบางแค เขตบางบําหรุ เขตตลิงชันเขตมนี บุรี และเขตปริมณฑล ได้แก่บางกรวย บางบัวทอง บางใหญ่ ไทรน้อย สามพรานดําเนินสะดวก อัมพวา ส่วนภาคตะวันออกแหล่งผลิตทีสําคัญทีสุดคือ สวนนงนุช อําเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี คลอง15 อําเภอองค์รักษ์จังหวัดนครนายก และ จังหวัดปราจนี บุรี ภาพที 2.6 แหล่งจําหน่ายพันธุ์ไม้คลอง15 อําเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 2.4 แหล่งผลิตภาคใต้ พันธุ์ไม้ทีผลติ และใช้ในภาคนี ส่วนใหญ่เป็นไม้ทีต้องการความชืนสูง เช่น หมากแดงหมากงาช้าง อะโกลนีมา กล้วยไม้สกลุ ร้องเท้านารี จังหวัดทีผลิตพันธุ์ไม้ ได้แก่ นราธิวาสปัตตานี ชุมพร สงขลา เป็นต้น ภาพที 2.7 หมากงาช้าง อําเภอรัตภมู ิ จังหวัดสงขลา ถา่ ยภาพโดยสมพงษ์ ทองเด็จ

223. ระดับประเทศและต่างประเทศ จากการศึกษาข้อมูลพืนฐานเศรษฐกิจการเกษตร ของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในด้านการผลิตสินค้าเกษตรกรรมทีจําหน่ายทั งภายในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลการผลิตทางด้านพชื มีข้อมูลการผลิตข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยนื ต้น พืชผักส่วนข้อมูลไมด้ อกไมป้ ระดับนั น จะมีข้อมูลของ กล้วยไม้ เป็ นส่วนใหญ่ เพราะกล้วยไม้เป็ นไมด้ อกไม้ประดบั ทีสําคัญของประเทศไทย ทีมีการผลิตและจําหน่ายทั งภายในประเทศและต่างประเทศ ส่วนไม้ดอกไม้ประดับอืนๆ ไดท้ ําการผลิตเพือจําหน่ายในต่างประเทศบ้างเพียงเลก็ น้อย ส่วนมากจะจําหน่ายในระดบั ทอ้ งถินและระดับภูมิภาค ซึงจะนาํ มาใช้ประโยชน์ในการตกแต่งสถานที ทั งภายในและภายนอกอาคาร(ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) ตารางที 2.1 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้ ป2ี 553-2555 ปริมาณ : เมตริกตัน มลู คา่ : 1,000 บาทประเภทสินค้า ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปริมาณ มูลคา่ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่าดอกไม้สด 635 27,017 569 22,350 929 29,070 16,826 1,736,755ดอกกล้วยไม้สด 25,270 2,305,151 24,644 2,220,189 25,615 498,094 3,731 87,188ต้นกล้วยไม(้ต้น) 29,988 422,447 30,345 553,201 1,721 172,766ดอกไม,้ ใบไม้ 114,899 2,927 106,922 25,304 344,973ใช้ในการตกแต่งดอกไม้แห้ง,ย้อมสี 2,263 252,048 2,219 203,992จัดทําช่อต้นไม้อนื ทําพันธุ์ 16,713 287,681 20,778 292,755(ต้น)ทีมา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร(2556)

23 ตารางที 2.2 ปริมาณและมูลค่าการนําเข้าไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้ ป2ี 553-2555 ปริมาณ : เมตริกตัน มูลค่า : 1,000 บาทประเภทสินค้า ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 9,103 476,157ดอกไม้สด 3,720 299,306 9,054 451,944 2 735ดอกกล้วยไม้สด 2 842 1 202 2,149 30,253 123 9,058ต้นกล้วยไม(้ต้น) 2,261,626 23,086 2,759,125 29,815 148 2,051ดอกไม,้ ใบไม้ - 12,874 221 12,258 5,720 108,978ใช้ในการตกแต่งดอกไม้แห้ง,ย้อมสี 3 1909 1 313จัดทําช่อต้นไม้อืนทําพันธุ์ 4,350,524 90,541 5,476 88,445(ต้น)ทีมา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2556) การผลิตและการจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับทีสํานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร ได้เก็บรวบรวมข้อมูลการผลติ การจําหน่าย ทั งภายในประเทศและต่างประเทศ ไว้ให้เกษตรกร ผู้ทคีมวี ามเกียวข้องได้ศกึ ษาหาความรู้ และเป็นแนวทางในการผลติ ไม้ดอกไม้ประดับต่อไปจึงได้จัดกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ดังนี 3.1 ไม้ดอกเมืองร้อน ได้แก่ 3.1.1 กล้วยไม้ สถานการณก์ ารปลูกกล้วยไม้ของโลก ปี2555 (ศูนย์สารสนเทศการเกษตรสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) ในช่วง 5 ปี ทีผ่านมา (2550-2554) ปริมาณ การส่งออกมีแนวโน้มอัตราเฉลยี เพิมขึ นร้อยละ7.72 แต่มูลค่าการสง่ ออกมอี ัตราเฉลยี ลดลงร้อยละ2.12 โดยมีประเทศเนเธอร์แลนด์มีมูลค่าการส่งออกกล้วยไม้มากทีสุดเพิมขึ นอัตราร้อยละ42.24 ส่วนการผลิตและการจําหน่ายกล้วยไม้ของประเทศไทยปี 2551-2555 เนือทีเกบ็ เกียว และผลผลิตกล้วยไม้ลดลงจาก 21,602 ไร่ และ51,834 ตันในปี 2551 เป็น 18,550 ไร่ และ 44,580 ตัน ในปี 2555 หรือลดลงอัตราร้อยละ4.05 และ 3.88 ต่อปี ตามลําดับสาเหตุมาจาก การเกิดอุทกภัยในชว่ งปลายปี 2554ทําให้พืนทีปลูกและผลผลติ กล้วยไม้บางส่วนเกิดความเสียหายส่งผลให้แนวโน้มในภาพรวมลดลงส่วนผลผลติ ต่อไร่เพิมขึ นเลก็ น้อย จาก 2,400 กิโลกรัม ในปี 2551 เป็น 2,403 กิโลกรัม ในปี 2555หรือเพิมขึ นอัตราร้อยละ0.16 ต่อปี

24 แหล่งปลูกกล้วยไม้ทีสําคัญ5 อันดับแรกคือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ราชบุรีและสมุทรสาคร เนืองจากมีพืนทีเพาะปลูกสภาพอากาศทีเหมาะสมและใกล้ทะเลนอกจากนี ยังมีการเพาะปลูกกล้วยไม้ในจังหวัดใกล้เคียงได้แก่าญจนบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยาและ ชลบุรี เนืองจากสภาพภมู อิ ากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตของกล้วยไม้มีแหล่งนํ าทีสมบูรณ์และการ คมนาคมขนส่งสะดวก ต้นทุนการผลิตต่อไรก่ ล้วยไม้สกลุ หวายของเกษตรกรปี 2553-2555 มีแนวโน้ม อัตราเพิมขึ นร้อยละ7.63 ต่อปี จากไร่ละ 148,882.05 บาทในปี 2553เป็นไร่ละ 172,462.07 บาท ในปี 2555 โดยต้นทุนผันแปรอัตราเพิมขึ นต่อปี ร้อยละ4.33 จากไร่ละ100,986.36 บาท ในปี 2553 เป็นไร่ละ109,924.32 บาท ในปี 2555 และต้นทุนคงทีอัตราเพิมขึ นร้อยละ 14.27 ต่อปี จากไร่ละ 47,895.69 บาทในปี 2553 เป็นไร่ละ 62,537.75 บาท ในปี 2555เนืองจากราคาปัจจัยการผลติ โดยเฉพาะค่าต้นพันธวุ์ ัสดุ อุปกรณ์การปลูกและโรงเรือนมีราคาเพิมสูงขนึ ทําให้ต้นทนุ ต่อกิโลกรัมอัตราเพิมขึ นต่อปี ร้อยละ8.03 จากกโิ ลกรัมละ 61.50ในปี 2553 เป็นกิโลกรัมละ 71.77 บาท ในปี 2555(ศูนย์สารสนเทศการเกษตรสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) การตลาดของกล้วยไม้ ทีมีความต้องการใช้ในประทเ ศ ปี 2551-2555(ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556)ความต้องการใช้ดอกกล้วยไม้ภายในประเทศอัตราลดลงร้อยละ3.02 ต่อปี โดยลดลงจากปริมาณ 26,683 ตัน ในปี 2551เป็น 25,159 ตนั ในปี 2555 เนืองจากภาวะอุทกภัยทําให้สวนกล้วยไม้เสียหายจํานวนมาก ผลผลิตจึงลดลง ทําให้ผลผลิตทีใช้ในประเทศลดลงด้วย ซึงความต้องการใช้ในประเทศในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีสัดส่วนร้อยละ46 ของผลผลิตทั งหมด ส่วนทีเหลือร้อยละ54 ส่งออกต่างประเทศ ราคาทีเกษตรกรขายได้ ปี 2551-2555 ราคาดอกกล้วยไม้(ก้านช่อยาว55-60 ซ.ม.)ทีเกษตรกรขายได้อัตราเพิมขึ นร้อยละ2.69 ต่อปี โดยเพิมขึ นจากช่อละ4.53 บาท ในปี 2551เป็นช่อละ 5.29 บาทในปี 2555 เกษตรกรทีมสี วนกล้วยไม้สามารถต่อรองราคากับผู้ส่งออกได้ราคาสูงขึ นกว่าเดิม ราคาส่งออก ปี 2551-2555 ราคาส่งออกดอกกล้วยไม้เพิมขึ นจากกิโลกรัมละ95.86 บาท หรือช่อละ 2.90 บาท ในปี 2551 เป็นกิโลกรัมละ 105.35 บาท หรือช่อละ 3.19 บาทใน ปี 2555 หรือเพิมขึ นอัตราเฉลยี รอ้ ยละ 1.24 ต่อปี เนืองจากผลผลิตในประเทศมนี ้อย แต่ความต้องการกล้วยไม้ไทยในตลาดต่างประเทศยังมีอยู่ต่อเนืองทําให้ราคาขยับตัวสูงขึ น การส่งออก ปี 2551-2555 (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร, 2556)ปริมาณและมูลค่าการส่งออกดอกกล้วยไม้อตั ราลดลงเฉลีย ร้อยละ 5.02 และ 3.84 ต่อปี ตามลําดับโดยลดลงจากปริมาณ 25,152 ตันและมูลค่า2,411 ล้านบาทในปี 2551 เป็นปริมาณ 19,424 ตันและมูลค่า 2,046 ล้านบาทในปี 2555 เนืองจากผลผลิตในประเทศ ลดลงจากภาวะนํ าทว่ ม

25จึงมปี ริมาณเหลือส่งออกนอ้ ยลง ตลาดส่งออกหลักของไทยได้แก่ ญีปุ ่ นสหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป สาธารณรัฐประชาชนจีน เวยี ดนาม ลาว ประเทศกลุ่มอาเซียนมีอัตราการขยายการส่งออกเพิมขึ น ทั งปริมาณและมูลค่า เนืองจากการเปิ ดการค้าเสรีมากจึงทําให้มกี ารส่งออกกล้วยไม้กําและไมต้ ัดดอกไปขายยังประเทศเพือนบ้านมากทั งเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาส่วนประเทศญีปุ ่ นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อัตราการขยายการส่งออกทั งปริมาณและมูลค่ามแี นวโน้มลดลง อาจจะเป็นเพราะว่าการเข้มงวดเกียวกับมาตรการนําเข้าต้องปลอดโรคและแมลงในการนํากล้วยไม้ไปขายในประเทศเหล่านไี ทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้เขตร้อนมากเป็นอันดับ1 ของโลก หาก พจิ ารณาสัดส่วนการส่งออกสามารถแบ่งเป็นมูลค่าส่งออกดอกกล้วยไม้ร้อยละ80.23 เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย(Dendrobium) รองลงมาเป็น สกลุ ม็อคคาร่าอะแรนด้าอะแรนเธอรา อะแรคนิส ออนซิเดียม แวนด้าและ ซิมบิเดียม เป็นต้น และส่วนทีเหลอือีกร้อยละ 19.77 เป็นการส่งออกต้นกล้วยไมซ้ ึงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ฟาแลนนอปซิส(Phalaenopsis) และ ซิมบิเดียม (Cymbidium) ความนิยมกล้วยไม้ของไทยแบ่งออกเปน็ ตลาดเอเชียได้แก่ญีปุ ่ นจีน และ อนิ เดีย โดยมญี ีปุ ่ นเป็นตลาดใหญ่ทีสุดมคี วามต้องการดอกกล้วยไม้สีอ่อนทรงกลม ช่อยาว ตลาดยุโรป ได้แก่ อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ โดยมีอติ าลเี ป็นลูกค้าทีสําคัญมคี วามต้องการกล้วยไม้สีขาวและสีเข้ม ช่อยาว ส่วนตลาดอนื ๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลยี สําหรับประเทศคู่แข่งของกล้วยไม้ไทยคือ มาเลเซียและ สิงคโปร์ การนําเข้าประเทศไทยมีการนําเข้าดอกกล้วยไม้ทุกปี ในปริมาณและมูลค่าไม่มากโดยในปี 2551-2555 (ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร, 2556) ปริมาณการนําเข้าเฉลยี 5 ปี อัตราลดลงร้อยละ5.61 โดยเปลียนแปลงจาก 1.46 ตัน ในปี 2551 เป็น 3.13 ตันในปี 2555 ส่วนมูลค่าเพิมขึ นร้อยละ1.26 ต่อปี โดยเพิมขึ นจาก0.43 ล้านบาท ในปี 2551เป็น 1.09 ลา้ นบาทในปี 2555 โดยนําเข้าจากนิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน

26 ตารางที 2.3 ปริมาณและมูลค่าส่งออกกล้วยไม้ของโลก ปี2552-2554 ปริมาณ : ตัน มูลคา่ : ล้านบาท 2552 2553 2554ประเทศ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่าเนเธอร์แลนด์ 5,713 3,175.76 5,331 2,732.23 5,403 2,961.86ไทย 24,601 2,381.28 25,270 2,312.90 24,644 2,246.67สิงค์โปร 5,464 789.78 2,853 623.44 0 714.42ไต้หวัน 1,502 290.34 1,597 529.33 1,829 601.01นิวซีแลนด์ 1,033 457.21 2,327 508.46 864 374.87มาเลเซีย 2,553 153.89 2,574 186.27 2635 161.10เวยี ดนาม 388 56.14 109 96.83 169 133.44สหรัฐอเมริกา 153 22.18 50 10.85 0 55.41เบลเยียม 324 46.80 187 40.90 0 54.22เกาหลใี ต้ 92 36.91 83 31.25 139 40.68อืนๆ 1,607 253.15 570 141.34 173 95.66รวม 43230 7,663.42 40,951 7,213.80 35,856 7,439.35ทีมา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร(2556) ตารางที 2.4 พืนทีปลูก ผลผลติ และผลผลติ ต่อไร่กล้วยไม้ ปี พืนทีปลูก(ไร่) ผลผลติ (ตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 2553 22,779 54,026 2,432 2554 19,910 47,670 2,394 2,403 2555 18,550 44,580 0.16อัตราเพิม(ร้อยละ) -4.05 -3.88ทีมา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร(2556)

27 ตารางที 2.5 การใช้ภายในประเทศ การส่งออก และการนําเขา้ ดอกกล้วยไม้ ปริมาณ : ตัน มูลคา่ : ล้านบาท การใช้ การส่งออกดอกกล้วยไม้ การนําเข้าดอกกล้วยไม้ปี ภายในประเทศ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า2553 28,794 2,270 2,305 2.09 0.842554 23,027 24,644 2,220 0.60 0.202555* 25,159 19,424 2,046 3.13 1.10อัตราเพิม(ร้อยละ) -3.02 -3.84 -5.61 1.26หมายเหตุ * ประมาณการทีมา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกจิ การเกษตร(2556)ตารางที 2.6 ปริมาณและมูลค่าส่งออกกล้วยไม้ไทยไปยังประเทศต่างๆ ป2ี 552-2554 ปริมาณ : ตัน มูลค่า : ล้านบาทประเทศ 2552 2553 2554กล่มุ ประเทศ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่าญีปุ ่ น 4,307.21 740.46 4,603.61 777.14 4,300.20 752.67สหรัฐอเมริกา 2,891.57 445.85 2,793.07 410.71 2,677.26 396.60กล่มุ สหภาพยุโรป 3,871.78 446.56 3,367.90 359.12 2,884.27 321.68สาธารณรัฐ 7,493.04 232.17 7,593.16 243.74 7,072.18 172.55ประชาชนจีนกลุ่มอาเซียน 1,201.77 80.37 1,841.98 86.88 2,102.95 105.16อนื ๆ 4,835.80 421.01 5,070.13 427.56 5,607.02 471.51รวม 24,601.17 2,366.43 25,269.84 2,305.15 24,643.67 2,220.19ทีมา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2556)

28 ภาพที 2.8 แหลง่ ผลติ กล้วยไม้ส่งออกจังหวัดราชบุรี ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 3.1.2 ดาวเรือง เป็นพืชเศรษฐกิจในตลาดโลกมานานแล้วเนืองจากมีการวิจัยพบว่าในกลบีดอกดาวเรือง สีส้มมีสารธรรมชาติกล่มุ แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ทีมีชือวา่ แซนโทฟิ ล(Xanthophylls) สูงมาก และเป็น ประโยชนต์ ่อเซลล์ร่างกายของคนและสัตว์การผลิตดาวเรืองในประเทศไทยมีทั งตัดดอกจําหน่ายและการผลติ เพอื อตุ สาหกรรมแบบครบวงจร ปัจจุบันมโี รงงานรับซือดอกดาวเรืองเพือนําไปอบแห้งและส่งออกไปประเทศอนิ เดียเพอื สกัดสารทีเป็นประโยชน์ หลังจากนั นจึงส่งไปบริษัททีอเมริกาพืนทีปลูกดาวเรืองเด็ดดอกประมาณ9,500 ไร่แหล่งผลติ ดาวเรืองอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ปทุมธานี ศรีษะเกษ บุรีรัมย์เชียงใหม่ และสุโขทัย สําหรับการผลิตดาวเรืองเพอื อุตสาหกรรมมพี ืนทีปลูก ประมาณ18,500 ไร่แหล่งผลติ ทีสําคัญอยู่ใน เชียงใหม่ เชียงรายลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน ตาก กําแพงเพชรและ ปราจีนบุรี (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ภาพที 2.9 แปลงดาวเรืองตัดดอกจําหน่ายจังหวัดราชบุรี ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

29 3.1.3 มะลิ เป็นไม้ดอกทีผลิตไดท้ ั งปี นิยมนํามาใช้ประโยชนภ์ ายในประเทศโดยนํามาร้อยมาลัย ทําดอกไม้แห้ง สกัดเป็นนํ ามันหอมระเหยมีบางส่วนส่งออกไปนอกประเทศได้แก่สิงค์โปร มาเลเซีย และญีปุ ่ น พืนทีการผลติ ประมาณ6,000 ไร่ อยู่ในจังหวัดนครสวรรคน์ ครปฐมนครราชสีมา ขอนแก่น ศรีษะเกษ อดุ รธานี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และสงขลา(ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ภาพที 2.10 แปลงมะลิเกบ็ ดอกจําหน่ายจังหวัดนครสวรรค์ ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 3.1.4 หน้าวัว เป็นดอกไม้ทีตลาดต่างประเทศและตลาดภายในประเทศต้องการนอกจากการผลิตเพือ ตดั ดอกแล้วยังผลิตเป็ นไมก้ ระถางได้อีกด้วย ปัจจุบนั มีการนําเข้าพนั ธุ์หน้าววัจากต่างประเทศ ทีมีสีสันและ รูปร่างแปลกใหม่ มีความหลากหลาย หนา้ วัวเป็ นพืชทีใช้เทคโนโลยีการผลิตทีทันสมัย จึงต้องการลงทุนสูงหนา้ วัวมีการผลิตทีจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ชุมพรสุราษฎร์ธานี เป็นต้น(ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ภาพที 2.11 หน้าวัวตัดดอกจําหน่ายจังหวัดเชียงใหม่ ถา่ ยภาพโดยสมพงษ์ ทองเด็จ

30 3.1.5 บัวหลวง เป็นพืชทีทุกส่วนของต้นสามารถนําไปใช้ประโยชนไ์ ด้ตั งแต่ ดอก ใบ ฝักเมล็ด เหง้าและ ไหล มีพืนทีการผลติ ประมาณ 5,500 ไร่ ปลูกได้ทุกภาคทั วประเทศแหล่งผลิตทีสําคัญคือ นนทบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น พิจิตร พะเยา นครสวรรค์พษิ ณุโลก พัทลงุ สําหรับบัวหลวงตัดดอก พันธุ์ทีนิยมบริโภคได้แกบ่ ัวหลวงสัตตบุษย์และ บัวหลวงสัตตบงกช ตลาดจําหน่ายบัวหลวงตัดดอก ได้แกต่ ลาดปากคลองตลาด ตลาดไทตลาดสีมุมเมอื ง ตลาดองค์การตลาดเพอื เกษตรกร และตลาดดอกไม้ในท้องถิน(ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ภาพที 2.12 แปลงปลูกบัวหลวงจําหน่ายจังหวัดนครปฐม ถา่ ยภาพโดยสมพงษ์ ทองเด็จ 3.1.6 ธรรมรักษา ดาหลา ขิงแดง เป็นไม้ตัดดอกเมอื งร้อนทียังเป็ นทีนิยมปลกู เนืองจากมีสีสนั สวยงาม รูปทรงแปลกตา และอายกุ ารใช้งานนาน มีการปลูกในจังหวัดกาญจนบุรี ภูเก็ตปราจีนบุรี นนทบุรี นครปฐม (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ตลาดนําเขา้ธรรมรักษาได้แก่ ฮ่องกง จีน อิตาลี ฮอลแลนด์ และญีปุ ่ น เป็ นต้น พันธุ์ขิงแดงทีนิยมปลกู ได้แก่ขิงแดง ขิงชมพู ตลาดนําเข้าขิงแดง ได้แก่ ประเทศในตะวันออกกลาง เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตบาห์เรน และซาอุดิอาระเบีย พันธุ์ดาหลาทีนิยมปลูก ได้แก่ ดาหลาแดง ดาหลาชมพูประเทศทีนําเข้าดาหลา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ตรินิแดดแอนด์โทบาโก เยอรมัน เป็ นต้นสําหรับการผลิตดอกไม้เมืองร้อนและดอกไม้ทัวไป หัวใจสําคัญคือ การรักษาคุณภาพ และการสร้างความหลากหลาย ซึงหากทั ง2 อย่างนี ดําเนินไปได้ด้วยดอี นาคตไม้ตัดดอกของไทยกไ็ ปได้อกี ไกล

31ภาพที 2.13 แปลงปลูกธรรมรักษา จังหวัดนครปฐมถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ ภาพที 2.14 แปลงปลูกดาหลา จังหวัดนครปฐม ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ ภาพที 2.15 แปลงปลูกขิงแดง จังหวัดนครปฐมถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

32 3.1.7 ปทุมมา บอนสี ว่านแสงอาทิตย์ เป็นพันธุ์ไม้ทีส่งออกในรูปของ หัวหน่อแขนง เหง้า ประเทศทีนําเข้าไม้หัวหลัก ๆ ได้แก่ เยอรมันญีปุ ่ น สหรัฐอเมริกา ปทุมมา ปลูกมากในจังหวัดเชียงใหม่เชียงรายโดย ปลูกเพอื ผลติ หัวพันธุ์เพือส่งออกต่างประเทศ ได้แก่ ญีปุ ่ น ยุโรปและอเมริกา บอนสี แหลง่ ผลติ หัวบอนสีเพือการส่งออก อยู่ทีจังหวัดลําพูน เชียงใหม่ มีการผลติ หัวเพอื การส่งออกมูลค่าไม่ตํากวา่ 3 ล้านบาท(ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ภาพที 2.16 แปลงปลูกปทุมมา จังหวัดลําพูน ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ ภาพที 2.17 แปลงปลูกบอนสี จังหวัดเชียงใหม่ ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

33 ภาพที 2.18 แปลงปลูกว่านแสงอาทิตย์ จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 3.2. ไม้ดอกเมืองหนาว 3.2.1 กุหลาบ มีแนวโนม้ การผลิตลดลง ในปี 2550 พืนทีการผลิตประมาณ 6,600 ไร่(ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) ซึงพืนทีปลูกกุหลาบทีลดลงนั น ส่วนใหญ่เป็นพืนทีปลูกกหุ ลาบคุณภาพบนทีสูง แถบจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายปลูกภายใต้โรงเรือนพลาสติกมีการดูแลอย่างทัวถึง แต่เมอื ต้นทุนการผลิตสูงขึ นประกอบกับมีการนําเข้ากหุ ลาบคุณภาพดีจากจีนเข้ามาซึงราคาตํากว่าของไทยทําให้เกษตรกรบางรายไม่สามารถแข่งขันได้ จึงเลิกปลูกกุหลาบไปพืนทีปลูกกุหลาบเกรดรองมาส่วนใหญ่อยูท่ ีอําเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึงปลูกกุหลาบกลางแจ้งเพือจําหน่ายเชิงปริมาณแต่คุณภาพไม่สูงนกั และราคาค่อนข้างตํา สําหรับตลาดของกุหลาบมีทั งในประเทศและต่างประเทศ ปี 2550 มีการส่งออกกุหลาบ ปริมาณ 506 ตัน คิดเป็ นมลู ค่าประมาณ 44.02 ล้านบาท ประเทศทีนําเข้ากุหลาบจากไทยทีสําคัญได้แก่ ญีปุ ่ น สหรัฐอเมริกา อติ าลีจีน และอืนๆ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการนําเข้ากุหลาบเช่นกัน ปริ มาณ 317 ตัน คิดเป็ นมลู ค่า 12.21 ล้านบาท ส่วนใหญ่นําเข้าจากประเทศจนี ในปี 2552 (ศนู ย์สารสนเทศการเกษตรสํานกั งานเศรษฐกิจการเกษตร,2556) มีการนําเข้ากุหลาบจากจีน ส่งผลกระทบต่อตลาดกุหลาบในประเทศไทยอยา่ งมาก โดยเฉพาะกุหลาบคุณภาพดีจากทางเชียงใหม่ เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบคุณภาพดีของไทย เดิมนั นสามารถแข่งขันกับกุหลาบนําเข้าจากเนเธอร์แลนดแ์ ละยุโรปได้แต่การนําเข้ากหุ ลาบจากจีนทําให้เกษตรกร ต้องไปผลิต กหุ ลาบคุณภาพรองแทน เนืองจากกหุ ลาบจากจีนทีมคี ุณภาพใกล้เคียงของไทย มีดอกใหญ่ ก้านยาวคุณภาพดีแต่ราคาตํากว่า ดังนั นการทีจะทําให้

34เกษตรกรผู้ปลกู กุหลาบคุณภาพดีของไทยสามารถแข่งขัน กับจีนได้นั น เกษตรกรต้องแข่งขนัในเรืองการปรับปรุงสายพันธุ์ใหต้ รงกับความต้องการของตลาดปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะการลดต้นทุนการผลิต และพึงพาเทคโนโลยีทีทันสมัยเพือให้สามารถแข่งขันได้ในด้านราคา ภาพที 2.19 แปลงกหุ ลาบตัดดอก จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายภาพโดยสมพงษ์ ทองเด็จ 3.2.2 เบญจมาศ เป็นไม้ดอกเมอื งหนาวอีกชนิดหนึงทีได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเนืองจากมอี ายุการปักแจกันนาน มีรูปทรงและสีสันทีหลากหลาย เกษตรกรสามารถปลูกเบญจมาศ ตลอดทั งปี โดยเฉพาะบนพืนทสี ูงในจังหวัดเชียงใหม่ และอําเภอวังนํ าเขียวจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี ทางภาคใต้ทีจังหวัดยะลแาต่ต้องปลูกภายใต้โรงเรือนเพอื ป้ องกันนํ าฝน แต่การผลิตเบญจมาศกม็ ขี ้อจํากัดอยู่บ้าจงะสามารถผลติ ได้ปริมาณและคุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวแม้ในบางพืนทีจะสามารถ ผลิตเบญจมาศนอกฤดไู ด้ แต่คุณภาพยังไม่ดีเท่าเบญจมาศในฤดูทําให้ต้องมกี ารนําเข้าเบญจมาศจาก ต่างประเทศเข้ามาอยู่เสมอในปี 2550 (ศูนย์สารสนเทศกรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) มพี ืนทีปลูกเบญจมาศประมาณ2,385 ไร่ ประเทศนําเข้าทีสําคัญคือ ไต้หวัน พมา่ และมาเลเซีย

35 ภาพที 2.20 แปลงเบญจมาศตัดดอก จังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 3.3 ไม้ประดับ ไม้ประดับ มีมากมายหลากหลายชนิด เพอื ให้เกิดความเป็นหมวดหมู่ สามารถแยกเป็นกลมุ่ ๆ ซึงในทีนี จะขอแยกเป็น4 กลมุ่ ใหญ่ๆ ได้แก่ 3.3.1 กลุ่มไม้ประดับยืนต้น หรือไม้ขุดล้อมเช่น ปาล์มประดับต่างๆ ไทร คูน โมก สนตะแบก พญาสัตบรรณ ปี บ ประดู่ ลลี าวดี ประยงค์ ชงโค อินทนิล แคแสด หางยกยูง ไผ่นํ าเต้า ไผ่เหลือง ไผ่เขียว ภาพที 2.21 แปลงปาล์มฟอกซ์เทล ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

36 3.2.2 กลุม่ ไม้กระถาง แบ่งได้เป็น2 ประเภท ได้แก่ 1)ไม้ใบกระถาง เช่น โกสน กวนอิม คล้าเฟิ น แก้วกาญจนา (อโกลนีมา)หมากผู้หมากเมยี สาวน้อยประแป้ ง เข็มสามสี บอนไซ บอนสี โฮย่า ลินมังกร 2) ไม้ดอกกระถาง เช่น ชวนชม โป๊ ยเซียน เขม็ หน้าวัว ชบา เฟื องฟ้ ายีโถดาวเรือง พิทเู นีย บานชืน แพงพวย สร้อยไก่ ภาพที 2.22 ชวนชมไม้ดอกกระถาง ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

37 3.2.3 กลุ่มไม้ชําถุง หรือไม้คลุมดิน เช่น ผกากรอง เทียนทอง เข็มแคระ กาบหอยแครงในดา้ นการผลิตไม้ประดบั เพือการค้า ในปัจจุบันประเทศไทยมีพืนทีปลูกไม้ประดับประมาณกว่า 15,000 ไร่ (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) และคาดว่าพืนทีการผลิตเพิมขึ นในแต่ละปี ไม่ตํากว่า ร้อยละ3 เกษตรกรไทยเองมี ความสามารถในการผลิต และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ใหม่ ๆ ซึ งบางชนิดเป็ นทียอมรับว่าเป็ นทีหนึ งในระดับโลก เช่น แก้วกาญจนา (อโกลนีมา)หยก โป๊ ยเซียน นับวันไม้ประดับจะมีบทบาทสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศมากขึ นโดยมีแนวโน้มการผลิต เพือการส่งออกเพิมมากขึ น โดยประเทศทีไทยส่งออกมาก 10 อันดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ประเทศญีปุ ่ นเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลใี ต้ ออสเตรเลีย ลาว อาฟริกาใต้แคนาดา สิงคโปร์ อาหรับเอมิเรตส์ ภาพที 2.23 ผกากรองไม้คลุมดิน ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ

38 3.2.4 ไมต้ ัดใบ เป็ นไม้ประดับทีมีรูปร่างและสีสนั สวยงาม สามารถตัดใบมาใช้ประดับหรือประดิษฐ์ตกแต่งในรูปแบบต่างๆ สมัยก่อนนําไม้ตัดใบมาประดับตกแต่งกับดอกไม้สดในงานพิธีกรรมทางศาสนา แต่ในปัจจุบันร้านจําหนา่ ยดอกไมไ้ ด้นําไม้ตัดใบมาประดับตกแต่งเป็ นช่อดอกไม้ในงานพิธีการมงคลต่างๆ ไม้ตัดใบทีผลิตเพือจําหน่ายในประเทศไทยมีหลากหลายชนิดมีทั งชนิดทีปลกู กลางแจ้งได้แก่ หมากเหลือง เล็บครุฑ ยางอินเดีย ชนิดทีปลกู กึงกลางแจง้ ได้แก่หมากผู้หมากเมีย ไผฟ่ ิ ลิปปิ นส์ และ ชนิดทีปลกู ในร่ม หรือปลูกภายในโรงเรือน ได้แก่ ไม้ตัดใบสกุลฟิ โลเดนดรอน สกุลแอนทูเรียม เตยหอม และเฟิ นต่างๆ การผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ร่วมกับดอกไม้ในการจัดตกแต่งสถานทแี จกัน ช่อดอกไม้ ในโอกาสต่างๆ(อภิชาติ และปรัชญา, 2555) ภาพที 2.24 หมากเหลืองตัดใบจําหน่าย ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ สาํ หรับตลาดต่างประเทศ ปี 2550 (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551)มีการส่งออกใบไม้ กิงไมส้ ด (ตั งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2550) ปริมาณ 823.1 ตันมูล ค่า 30.88 ล้านบาทมูลคา่ การส่งออกเพิมขึ นจากปี ทีผา่ นมาร้อยละ14.3 ประเทศผู้นําเข้าทีสําคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ บลั กาเรีย และเยอรมนี ดา้ นการนําเขา้ไทยนําเข้าใบไม้ กิงไม้สด จากประเทศจีน ญีปุ ่ น ลาวและเนเธอร์แลนด์ ชนิดไม้ตัดใบทีมปี ริมาณและมูลค่าการส่งออกมากได้แก่ ใบหมากผู้หมากเมีย ใบฟิ โลเดนดรอน เฟิ น ใบเตยหอมใบเล็บครุฑ ฯลฯ การใช้ไม้ตัดใบในประเทศ และการส่งออก มีแนวโนม้ เพิมขึ นอีก สําหรับการผลิตเพือการส่งออก ผู้ผลิตควรเน้นการผลิตให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และวางแผนการผลิตให้ตรงความต้องการของตลาด เพอื จะสามารถรักษาตลาดให้ได้อยา่ งต่อเนืองและควรมีการพัฒนาให้มีพันธุ์ใหมๆ่ เพอื สร้างความต้องการของผู้บริโภค

39สรุป การวิเคราะห์การตลาดของไมด้ อกไม้ประดับเป็ นการทีผู้ผลิตจะต้องรู้ และศึกษาวิถีการตลาดของไม้ดอกไมป้ ระดับ เพือทีจะนําการวิเคราะห์มาปรับ เปลียนวิธีและกระบวนการผลิตไม้ดอกไม้ประดับให้เหมาะสมกบั ความตอ้ งการของตลาด ซึงตลาดไม้ดอกไม้ประดับมที ั งระดับท้องถิน ทีผู้ผลติ จะผลติ ไม้ดอกไม้ประดับตามความต้องการของผู้บริโภค และความถนัดความชํานาญของผู้ผลติ ระดับภูมิภาคเป็นแหลง่ ผลิตไม้ดอกไม้ประดับอกี ระดับหนึง ทีสามารถผลิตและจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับจํานวนมาก และเป็ นแหล่งทีผู้บริโภค แต่ละภาคแต่ละจังหวัดรู้จักเช่น แหล่งผลิตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว ได้แก่เบญจมาศ แอสเตอร์ สนมังกร ส่วนแหลง่ ผลติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะผลิตพันธุไ์ ม้เกียวกับใช้ประโยชน์ทางด้านตกแต่งสวน แหล่งผลิตภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีพันธุ์ไม้หลากหลายในการนํามาใช้ประโยชน์ เช่นนํามาตกแต่งสวนทั งภยาในและภายนอกอาคารและถือว่าเป็ นแหล่งรวบรวมพนั ธุ์ไม้จากภมู ภิ าคอืนๆ มาทําการจําหน่าย ให้กับนักจัดสวนและผู้ทชืีนชม มีใจรักในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือน แหล่งผลติ ไม้ดอกไม้ประดับระดับภูมิภาคนี ได้แก่คลอง15 อําเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก และเขตปริมณฑลจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรีส่วนแหล่งผลติ ไม้ดอกไม้ประดับในภาคใต้ ส่วนมากจะเป็ นไม้ป่ า ทีต้องการความชืนสูง ซึงผู้ผลิตนํามาขยายพันธุ์จําหน่าย เช่นหมากแดง หมากงาช้าง และกล้วยไม้ป่ าต่างๆ นอกจากนั นแล้วการผลิตไม้ดอกไม้ประดับยังมีแหลง่ ใหญ่ทีผลติ ไม้ดอกไม้ประดับส่งออกจําหน่ายยังต่างประเทศหรือนํามาจําหน่ายในแหล่งภาคกลางหรือให้ผู้บริโภคมาจัดซือถึงแหลง่ผลติไม้ดอกไม้ประดับทีผลิตและจ ําหน่ายแบ่งเป็ นกล่มุ ดังนี 1.ไม้ดอกเมืองร้อน ได้แก่ กล้วยไม้ซึ งเป็ นไม้ดอกทีสําคัญในการส่งออกจําหน่ายในต่างประเทศ อยู่ในอันดับ2 ของโลก รองมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ กล้วยไม้เป็นสินค้าส่งออกนํารายได้เข้าสู่ประเทศ ปี ละหลายล้านบาท แหล่งผลิตกล้วยไม้ทีสําคัญได้แก่ กรุงเทพมหานครนครปฐม ราชบุรี สมทุ รสาคร ส่วนประเทศทีไทยส่งออกกล้วยไม้มากทีสุดได้แก่ ประเทศญีปุ ่ นนอกจากนั นยังมีไม้ดอกทีผลติ ใช้ในประเทศและส่งอกจําหน่ายต่างประเทศ ได้แก่ ดาวเรืองมะลิหน้าวัว บัวหลวง ธรรมรักษา ดาหลาและขิงแดง 2. ไม้ดอกเมืองหนาว เช่นกุหลาบ เบญจมาศ เป็ นไม้ดอกทีผลิตและจําหน่ายทั งภายในประเทศและต่างประเทศ แหล่งผลิตทีสําคัญไดแ้ ก่ จังหวัดเชียงใหม่ จงั หวัดเชียงรายและอําเภอภูเขียว จังหวัดนครราชสีมา 3.ไม้ประดับ ไม้ประดับมมี ากมายหลายชนิด ได้แก่ ไม้ประดับยืนต้น ไม้กระถาง ไม้ชําถุงไม้คลมุ ดิน และไม้ตัดใบ ซึงไม้ประดับเหล่านี ผู้ผลิตได้จัดจําหน่ายให้กับนักจัดสวนนําไปตกแต่ง

40ทั งสวนขนาดใหญ่ และสวนขนาดเล็ก และประชาชนทัวไปทีมใี จรัก และชืนชอบไม้ดอกไม้ประดับซึงนํามาประดับอาคารบ้านเรือน นอกจากจะนาํ ไม้ประดับมาใช้ภายในประเทศแล้ว ไม้ประดบัยังเป็ นสินคา้ ส่งออก จําหน่ายต่างประเทศนํารายได้เข้าสู่ประเทศไม้น้อยกว่าสินคา้ เกษตรอืนๆโดยเฉพาะไม้ตัดใบมีปริมาณและมูลค่า การส่งออกจํานวนมากขึ นเรือยๆ

41 แบบทดสอบก่อนเรียนวิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดบั รหัสวิชา 2501-2104เรืองที 2 การวิเคราะห์การตลาดเกยี วกับไม้ดอกไม้ประดับคําชีแจง จงทาํ เครืองหมาย กากบาท (x) หัวข้อทีถูกต้องทีสุดเพียงข้อเดยี ว1. แหลง่ ผลติ ไม้ดอกไม้ประดับประเภทไม้ถุงสําหรับจัดสวนในจังหวัดชัยนาทได้แก่ข้อใดก. บ้านท่าอู่ อําเภอมโนรมย์ข. บ้านบางตาด้วง อําเภอเมืองค. บ้านทุ่งกระถิน อําเภอหันคาง. บ้านบางไก่เถอื น อําเภอสรรพยา2. แหล่งผลิตไม้ป่ า ไมข้ ุดล้อม ของจังหวัดชัยนาทตั งอยู่ทีก. บ้านบางตาด้วง อําเภอเมอื งข. บ้านดักคะนนท์ อําเภอเมืองค. บ้านทุ่งกระถิน อําเภอหันคาง. วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท อําเภอมโนรมย์3.ข้อใดเป็ นแหล่งผลิตและจ ําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับในเขตภาคกลางทีใหญ่ทีสุดในปัจจุบันก. คลอง 15 จังหวัดนครนายกข. บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีค. ดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีง. สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร4. จังหวัดในเขตภาคเหนือทีเป็นแหล่งผลติ เบญจมาศจําหน่ายก. จังหวัดตากข. จังหวัดเชียงรายค. จังหวัดเชียงใหม่ง. จังหวัดกําแพงเพชร5. กล้วยไม้ตัดดอกทีส่งออกจําหน่ายต่างประเทศมากทีสุดของประเทศไทยก. สกุลหวายข. สกลุ แวนดาค. สกลุ ม็อคคาราง. สกลุ ออนซิเดียม

426. ตลาดส่งออกกล้วยไมข้ องประเทศไทยได้แก่ประเทศ ก. ญีปุ ่ น ข. เกาหลใี ต้ ค. สหรัฐอเมริกา ง. เนเธอร์แลนด์7.ไม้ดอกในข้อใดทีผลติ เป็นไม้ตัดดอกและยังผลติ เป็นอุตสาหกรรมครบวงจร ก. หน้าวัว ข. กุหลาบ ค. ดาวเรือง ง. เบญจมาศ8. แหลง่ จําหน่ายไม้ตัดดอกทีใหญ่ทีสุดของประเทศไทย ก. ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี ข. คลอง 15 จังหวัดนครนายก ค. ตลาดสีมมุ เมือง จังหวัดนนทบุรี ง. ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร9. ข้อใดเป็นไม้ชําถุงหรือไม้คลมุ ดินทีผลิตส่งจําหน่ายต่างประเทศ ก. ผกากรอง เข็มแคระ ข. เทียนทอง เข็มสามสี ค. แก้วกาญจนา โกสน ง. เข็มเชียงใหม่ กาบหอยแครง10. ไม้ตัดใบทีไม่ได้ส่งออกจําหน่ายต่างประเทศ ก. หมากเหลอื ง ยางอนิ เดีย ข. เฟิ นใบหนัง ใบเตยหอม ค. ฟิ โลเดนดรอน ใบเล็บครุฑ ง. หมากผู้หมากเมยี ฟิ โลเดนดรอน

43 แบบทดสอบหลังเรียนวิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ รหัสวิชา 2501-2104เรืองที 2 การวิเคราะห์การตลาดเกียวกับไม้ดอกไม้ประดบัคําชีแจง จงทาํ เครอื งหมาย กากบาท (x) หัวข้อทีถูกต้องทสี ุดเพียงข้อเดยี ว1. แหล่งจําหน่ายไม้ตัดดอกทีใหญ่ทีสุดของประเทศไทยก. ตลาดไท จังหวัดปทุมธานีข. คลอง 15 จังหวัดนครนายกค. ตลาดสีมมุ เมือง จังหวัดนนทบุรีง. ปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร2. กล้วยไม้ตัดดอกทีส่งออกจําหน่ายต่างประเทศมากทีสุดของประเทศไทยก. สกลุ หวายข. สกลุ แวนดาค. สกุลม็อคคาราง. สกุล ออนซิเดียม3.ไม้ดอกในข้อใดทีผลติ เป็นไม้ตัดดอกและยังผลติ เป็นอุตสาหกรรมครบวงจรก. หน้าวัวข. กุหลาบค. ดาวเรืองง. เบญจมาศ4. แหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับประเภทไม้ถงุ สําหรับจัดสวนในจังหวัดชัยนาทได้แก่ข้อใดก. บ้านท่าอู่ อําเภอมโนรมย์ข. บ้านบางตาด้วง อําเภอเมอื งค. บ้านทุ่งกระถิน อําเภอหันคาง. บ้านบางไก่เถือน อําเภอสรรพยา5. แหล่งผลิตไม้ป่ า ไม้ขุดล้อม ของจังหวัดชัยนาทตั งอยู่ทีก. บ้านบางตาด้วง อําเภอเมอื งข. บ้านดักคะนนท์ อําเภอเมืองค. บ้านทุ่งกระถนิ อําเภอหันคาง. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท อําเภอมโนรมย์

446. ข้อใดเป็นไม้ชําถุงหรือไม้คลมุ ดินทีผลติ ส่งจําหน่ายต่างประเทศ ก. ผกากรอง เขม็ แคระ ข. เทียนทอง เข็มสามสี ค. แก้วกาญจนา โกสน ง. เข็มเชียงใหม่ กาบหอยแครง7. ไม้ตัดใบทไี ม่ได้ส่งออกจําหน่ายต่างประเทศ ก. หมากเหลือง ยางอินเดีย ข. เฟิ นใบหนัง ใบเตยหอม ค. ฟิ โลเดนดรอน ใบเล็บครุฑ ง. หมากผู้หมากเมียฟิ โลเดนดรอน8.ข้อใดเป็นแหลง่ ผลติ และจําหน่ายไม้ดอกไม้ประดับในเขตภาคกลางทีใหญ่ทีสุดในปัจจุบัน ก. คลอง 15 จังหวัดนครนายก ข. บางบัวทอง จังหวัดนนทบรุ ี ค. ดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ง. สวนจตุจกั ร กรุงเทพมหานคร9. ตลาดส่งออกกล้วยไม้ของประเทศไทยได้แก่ประเทศ ก. ญีปุ ่ น ข. เกาหลีใต้ ค. สหรัฐอเมริกา ง. เนเธอร์แลนด์10. จังหวัดในเขตภาคเหนือทีเป็นแหล่งผลิตเบญจมาศจําหน่าย ก. จังหวัดตาก ข. จังหวัดเชียงราย ค. จังหวัดเชียงใหม่ ง. จังหวัดกําแพงเพชร

45 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน รหสั วิชา 2501-2104วิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดับเรืองที 2 การวิเคราะห์การตลาดเกียวกับไม้ดอกไม้ประดบั ข้อ เฉลย 1ข 2ก 3ก 4ค 5ก 6ก 7ค 8ง 9ก 10 ก

46 เฉลยแบบทดสอบหลังเรยี น รหสั วิชา 2501-2104วิชา การผลิตไม้ดอกไม้ประดับเรืองที 2 การวิเคราะห์การตลาดเกียวกับไม้ดอกไม้ประดบั ข้อ เฉลย 1ง 2ก 3ค 4ข 5ค 6ก 7ก 8ก 9ก 10 ค

47 หน่วยที 3การจําแนกประเภทไม้ดอกไม้ประดับสาระสําคัญ การจําแนกประเภทไม้ดอกไม้ประดบั นั น มีหลักในการพิจารณาจําแนกประเภทของไม้ดอกไม้ประดับมีหลักใหญ่ ๆ3 ประเภท คือ 1. การจําแนกตามความมุ่งหมายการใชง้ านหมายถึง การจําแนกพันธุ์ไม้โดยคํานึงถึงการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนั นว่าจะนํามาใช้เพือประโยชน์อะไรเช่น ไม้ดอกมคี วามสวยงามทีดอกนําไปประดับอาคารสถานทีและใช้ประโยชน์และจําหน่ายได้ ส่วนไม้ประดับมคี วามสวยงามทีรูปทรง ราก ใบ ต้น ดอก และผล นําไปใช้ประโยชน์ เพือประดับตกแต่ง และเพือจําหน่าย 2. การจําแนกตามลักษณะนิสัยของพันธุ์ไม้ อันได้แก่ การจําแนกตามถินกําเนิด การจําแนกตามอายุของพันธุ์ไม้ การจําแนกตามลักษณะของเนือไม้ การจําแนกตามความต้องการแสงเพือการเจริญเติบโต การจําแนกตามการใช้นํ เาพอื การเจริญเติบโตและการจําแนกตามลักษณะของลํตา ้น 3. การจําแนกตามหลักพฤกษศาสตร์ หมายถงึ การจําแนกพันธุ์ไม้ออกเป็น กลุ่ม ๆ ตั งแต่กลุ่มใหญ่ลงมาหากลุ่มย่อย โดยอาศัยลักษณะพฤกษศาสตร์ต่าง ๆ เป็ นตัวพิจารณา จัดแบ่งโดยนักพฤกษศาสตร์ตั งแต่อาณาจักรพชื จนถึงพันธุ์เป็นกลมุ่ ทีเล็กทีสุดจดุ ประสงค์การเรียนการเรียนรู้ จุดประสงค์ทัวไป 1. บอกหลักการจําแนกไม้ดอกไม้ประดับได้ 2. บอกความหมายของการจําแนกไม้ดอกไม้ประดับตามความมุ่งหมายทีใช้งานได้ 3. บอกความหมายของการจําแนกไม้ดอกไม้ประดับได้ 4. เพอื ให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ เรืองความรับผิดชอบ

48จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. สามารถจําแนกไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างถูกต้อง 2. สามารถจําแนกไม้ดอกไม้ประดับตามความมงุ่ หมายทใี ช้งาน พร้อมทั งยกตัวอย่าง พันธไุ์ ม้ได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถจําแนกไม้ดอกไม้ประดับตามลักษณะของพันธุ์ไม้ พร้อมทั งยกตัวอย่างพันธุ์ไม้ ประกอบได้ถูกต้อง

49เนือหาสาระ การจําแนกประเภทของพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนับว่ามีความสําคัญอยา่ งมากเพราะทําให้ผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับสามารถรู้ถึงลักษณะนิสัยความเป็ นไปได้ ของพันธุไ์ ม้ดอกไม้ประดับไดอ้ ย่างลึกซึ ง ไม้ดอกไม้ประดบั แต่ละต้น มีนิสัยในการเจริญเติบโตอย่างไร ชอบภูมิอากาศแบบไหนและชอบดินอยา่ งไร ซึ งจะทําให้ผู้ปลกู ไดด้ ูแลและผลิตไม้ดอกไม้ประดับได้ตรงกับความมุ่งหมาย ทีจะนําไม้ดอกไม้ประดับนั นๆไปใช้ประโยชน์ มีความสวยงาม และจําหน่ายได้หลักในการพิจารณาจําแนกประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอกไมป้ ระดับเป็ นพืชทีมีการจัดกลุ่มหรื อหมวดหมู่ทีหลากหลายตามลักษณะของการใชป้ ระโยชน์ หรือลกั ษณะนิสัยของการเจริญเติบโต รวมทั งการจําแนกตามลักษณะและคุณสมบัติทางสรีระวทิ ยา หรือตามหลักพฤกษศาสตร์ของพืช ปิ ฏฐะ บุนนาค (2536) กล่าวว่า หลักในการพิจารณาจําแนกไม้ดอกไม้ประดับมีหลักใหญ่3 พวกด้วยกันดังนี1. การจําแนกตามความมุ่งหมายทีใช้งาน หมายถึง การจาํ แนกพนั ธุ์ไมโ้ ดยคํานึงถึงการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับนั นว่าจะนํามาใช้เพือประโยชน์อะไร เช่น การใช้ตกแต่งสถานทีทั งภายในและภายนอก ใช้ประโยชน์ในงานพิธีกรรมต่างๆ ใช้ในชีวิตประจําวัน ในเรืองปัจจัย 4 และใช้เป็นยาสมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น โดยแบ่งเป็น 2 พวก คือ 1.1 ไม้ดอก (flower plants) พันธุ์ไม้ทีมีรูปทรง สีสันของดอกสวยงามนําไปใชป้ ระดับตกแต่งทั งภายในและภายนอก จําแนกได้เป็น 1.1.1 ไม้ตัดดอก (cutting flower plants) เป็ นพันธุไ์ ม้เพือปลูกตัดดอกไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น กุหลาบ หน้าวัว กล้วยไม้เบญจมาศ เยอร์บีร่า เบญจมาศ ลิลลี มะลิ เป็ นต้น โดยใช้จัดทํากระเช้าดอกไม้ จดั พวงหรีด พวงมาลัย ของชําร่วยกํานัล ดงั นั นไม้ตดั ดอกทีดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี คือ (ปิ ฏฐะ, 2536) 1) ก้านดอกยาวตรงและแข็งแรง 2) ดอกมีอายุการใช้งานนานหลายวัน 3) กลีบดอกหนาทนทานในการบรรจุหีบห่อและขนส่ง 4) ให้ดอกดกและควรให้ดอกตลอดทั งปี 5) ดอกมสี ีสันสวยงาม สะดุดตา 6) เป็นพันธุ์ทีอยู่ในความนิยมเจริญเติบโตดีและปลูกเลียงง่าย

50 ภาพที 3.1 ดอกกุหลาบ ถา่ ยภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ 1.1.2 ไม้ดอกกระถาง (flowering – potted plants) เป็นพันธุ์ไม้ดอกทีปลูกเลี ยงในกระถาง ตั งแต่เริมเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า โดยการเลยี นกระถางให้มีขนาดใหญ่ขึ นตามลําดับ เมอืออกดอกจะนําไปใชป้ ระโยชน์ ในการประดับทั งต้น และดอกพร้อมกระถางได้แก่ บีโกเนีย แพนซีกล็อกซีเนีย กหุ ลาบ เบญจมาศ แอสเตอร์ กล้วยไม้ เป็นต้น(สมเพียร, 2526 ) ภาพที 3.2 กล้วยไม้ ถ่ายภาพโดย สมพงษ์ ทองเด็จ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook