ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย ชเนตตี ทนิ นาม โกสุม โอมพรนวุ ัฒน์ และรตั นา ด้วยดี ข้อมูลทางบรรณานกุ รมของหอสมุดแห่งชาติ ชเนตตี ทนิ นาม. ยุทธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย.-- นครปฐม : สมาคม เพศวิถีศกึ ษา, 2564. 377 หนา้ . 1. ความเสมอภาคทางเพศ. 2. สิทธทิ างเพศ. I. โกสุม โอมพรนวุ ัฒน,์ ผแู้ ตง่ รว่ ม. II. รตั นา ด้วยดี, ผู้แต่งร่วม. III. ชอื่ เรอ่ื ง. 306.76 ISBN 978-616-92279-3-9 พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1: พฤษภาคม 2564 จ�ำนวน 1,000 เล่ม úสงวนลขิ สทิ ธต์ิ ามกฎหมาย จัดพมิ พ์โดย: สมาคมเพศวิถศี ึกษา อาคารประชาสงั คมอุดมพฒั น์ สถาบนั วจิ ัยประชากรและสงั คม มหาวิทยาลยั มหิดล ตำ� บลศาลายา อำ� เภอพุทธมณฑล จังหวดั นครปฐม 73170 เว็บไซต์ http://www.ssa.ipsr.mahidol.ac.th/Sexuality พมิ พท์ ี:่ บรษิ ทั โรงพมิ พ์เดอื นตลุ า จำ� กดั 39/205-206 หมู่ 9 ถนนวภิ าวด-ี รงั สติ แขวงสกี นั เขตดอนเมอื ง กทม 10210. โทรศพั ท์ 02-996-7392-4 โทรสาร 02-996-7395
ค�ำนำ� การจัดทำ�ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ โดยสมาคมเพศวิถีศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการภายใต้การสนับสนุนของสำ�นักงานกองทุน สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ�เพ่ือให้มียุทธศาสตร์ ทช่ี ดั เจนในการดำ�เนนิ งานสนบั สนนุ สง่ เสรมิ และพฒั นาสขุ ภาวะกลมุ่ ประชากร LGBTIQN+ หรือกลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยยึดพันธกิจการส่งเสริมสิทธิด้านสุขภาวะสำ�หรับประชากร LGBTIQN+ การสร้างระบบและการขับเคล่ือนองค์ความรู้ด้านสุขภาวะสำ�หรับประชากร LGBTIQN+ และการพฒั นาระบบเครือข่ายการทำ�งาน ชมุ ชน เยาวชนรนุ่ ใหม่ เพอ่ื ใหป้ ระชากร LGBTIQN+ บรรลคุ วามเปน็ ธรรมทางสุขภาพ มกี ารทำ�งาน ลดความเหลื่อมล้ำ�ทางสุขภาวะผ่านปัจจัยทางสังคม สามารถเปล่ียนแปลง ทั้งในระดับวิธีคิดและเชิงโครงสร้างสังคมผ่านยุทธศาสตร์ท่ีเน้นการเสริม พลังอำ�นาจกลมุ่ บคุ คลผมู้ คี วามหลากหลายทางเพศ ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้บรรลุพันธกิจตามยุทธศาสตร์ การจัดท�ำ ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ จึงใช้กรอบแนวคิดท่ีหลากหลาย ไดแ้ ก่ สิทธิในวถิ ที างเพศ และอตั ลักษณ์ทางเพศ (SOGI) การกดขี่ทบั ซอ้ น (Intersectionality) มาศึกษาร่วมกับแนวคิดสุขภาวะทางเพศ และ ความเป็นพลเมืองสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well–being and Citizenship) และความเสมอภาคทางสขุ ภาพ (Health Equity) เปน็ ต้น ในส่วนของระเบียบวิธีวิจัย ใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจดั ประชมุ ระดมความคดิ เหน็ โดยมกี ลมุ่ บคุ คลทมี่ คี วามหลากหลาย (3) ยทุ ธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ทางเพศทเ่ี ปน็ ตวั แทนของ LGBTIQN+ ไดแ้ ก่ Lesbian (หญงิ รกั หญงิ ) Gay (ชายรกั ชาย) Bisexual (บคุ คลรกั ได้ทงั้ สองเพศ) Transgender (บุคคล ขา้ มเพศ) Intersex (บคุ คลทมี่ เี พศกำ� กวม) Queer (ผไู้ มน่ ยิ ามเพศ บคุ คล ท่ีปฏิเสธการนิยามตนเองด้วยอัตลักษณ์ทางเพศทุกรูปแบบ) และ Non– Binary (นอน–ไบนาร่ี) เข้าร่วมในการเก็บรวมรวมข้อมูลครบทุกกลุ่ม เพ่ือให้การจัดท�ำยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย ครั้งน้ี มาจากความต้องการของบุคคลทุกกลุ่มท่ีเป็นความหลากหลายทางเพศ โดยแท้จริง ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้หนังสือเล่มนี้ซ่ึงถือเป็นการน�ำเสนอ “ยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะLGBTIQN+ ฉบบั แรกของประเทศไทย” สามารถบรรลุ ตามวสิ ยั ทศั นข์ องยทุ ธศาสตรท์ ต่ี งั้ ไวว้ า่ “ประชากรกลมุ่ LGBTIQN+ เขา้ ถงึ ความเป็นธรรมทางสุขภาพ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ และเพศวิถี ตลอดจนปัจจัยการกดข่ีทับซ้อน ได้รับการปกป้องคุ้มครอง ในสิทธิทางสุขภาวะ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีสุขภาวะองค์รวม ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม เพื่อให้ประชากร LGBTIQN+ ในฐานะที่เป็นพลเมืองสุขภาวะ ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมสุขภาพดี รว่ มกัน” ชเนตตี ทินนาม โกสมุ โอมพรนวุ ฒั น์ รตั นา ด้วยดี (4) ยุทธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
คำ� นิยม กว่า 7 ทศวรรษแล้วท่ีองค์การสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากล ว่าดว้ ยสทิ ธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรอื UDHR) เมื่อวนั ท่ี 10 ธนั วาคม ค.ศ. 1948 รบั รองว่ามนษุ ยท์ กุ คนมสี ทิ ธิ ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกเนื่องจากความแตกต่างทาง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือสถานะอื่นๆ แต่ในความเป็นจริงสังคมโลกเพิ่งตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของบุคคลท่ีมี ความแตกต่างและหลากหลายทางวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ผ่านการรับรองหลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles) ว่าด้วย การใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและ อัตลกั ษณท์ างเพศ ทปี่ ระกาศใน ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) หรอื เมอื่ 15 ปี ที่ผา่ นมาน้ีเอง การปรับเปลย่ี นของหลกั การสทิ ธิมนษุ ยชนระดบั นานาชาตทิ ี่เร่มิ “มอง เหน็ ” สทิ ธขิ องคนหลากหลายอตั ลกั ษณท์ างเพศนี้ มไิ ดเ้ กดิ จากความวา่ งเปลา่ แต่เป็นผลจากการต่อสู้ขับเคล่ือนของขบวนการเคล่ือนไหวเรียกร้องสิทธิของ ‘กลมุ่ LGBTIQN+’ ซงึ่ รฐั ไมม่ คี วามสามารถจะเขา้ ใจความแตกตา่ งของมนษุ ย์ และสนใจใหค้ ณุ คา่ กบั การ ‘เปน็ ’ เพศหลากหลายเหลา่ นน้ั ทั้งยังกดทบั และ ปิดกั้นอัตลักษณ์หลากหลายดังกล่าวด้วยแบบแผนทางเพศที่รัฐยึดถืออย่าง แขง็ ทอ่ื ตายตวั จากการเคลอื่ นไหวเพอ่ื สทิ ธแิ ละอตั ลกั ษณข์ องกลมุ่ LGBTIQN+ ที่ร่วมเป็นส่วนหน่ึงของขบวนการสิทธิมนุษยชนในทศวรรษ 1970 กลุ่มคน ทมี่ ีอัตลกั ษณ์ทางเพศหลากหลายถูกเรยี กวา่ เปน็ Sexual Minorities ทส่ี ังคม (5) ยทุ ธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
สว่ นใหญไ่ ดแ้ ตป่ ระทบั ตราวา่ เปน็ ความเบย่ี งเบนทางเพศและวปิ รติ ผดิ ธรรมชาติ คนรักเพศเดียวกันต้องใช้ชีวิตประจ�ำวันท่ามกลางการเลือกปฏิบัติ ถูกกีดกัน และเสี่ยงต่อความรุนแรงนานาประการ รวมทั้งเข้าไม่ถึงความเป็นธรรม ทางสังคมในทุกๆ ด้าน คล้ายเป็นชะตากรรมท่ีพวกเขาต้องเผชิญบทลงโทษ จากสงั คม หลายทศวรรษต่อมา ขบวนการเคล่ือนไหวทางสังคมในประเด็น เร่ืองสิทธิและอัตลักษณ์ด้านต่างๆ ได้ช่วยให้สังคมโลกให้ความสนใจความ ไม่เป็นธรรมและความเหล่ือมล้�ำในการด�ำรงชีวิตของ ‘กลุ่ม LGBTIQN+’ มากขึ้น รัฐหลายรัฐมองอัตลักษณ์ท่ีแตกต่างหลากหลายน้ีอย่างเข้าใจและ เคารพมากข้ึน หนังสือเล่มนี้นับเป็นเอกสารวิชาการเล่มแรกๆ ในบ้านเรา ที่เสนอยุทธศาสตร์การท�ำงานกับประชากรกลุ่มน้ี โดยใช้กรอบการศึกษา จากแนวคิดหลากหลาย ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับเพศสภาพ เพศวิถี สิทธิ ในวิถีทางเพศ และอัตลกั ษณ์ทางเพศ (SOGI) ความเทา่ เทียมทางเพศสภาพ การกดข่ีทับซ้อน (Intersectionality) ความหลากหลายของเพศสภาพและ เพศวิถี (Gender and Sexual Diversity) สขุ ภาวะทางเพศ และความเปน็ พลเมืองสขุ ภาวะทางเพศ (Sexual Well–being and Citizenship) ปจั จัย สังคมก�ำหนดสุขภาวะ (Social Determinants of Health) และแนวคิด สขุ ภาพดรี ่วมกนั (Inclusive Health) ตลอดจนความเสมอภาคทางสุขภาพ (Health Equity) เนื้อหาท่ีเรียงร้อยอย่างดีท้ัง 5 บทในหนังสือเล่มน้ี แต่ละบทมีความ น่าสนใจในหลายประเด็น เร่ิมจากให้ภาพขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของ ‘กลุ่ม LGBTIQN+’ จากอดีตท้ังในต่างประเทศและของประเทศไทยเอง (บทท่ี 1) มาสู่บริบทสังคมปัจจุบันท่ีส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของ ‘กลุ่ม LGBTIQN+’ ในบทท่ี 2 รายละเอียดในแต่ละหัวข้อย่อยของบทน้ีสามารถ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงท�ำความเข้าใจเบ้ืองต้นส�ำหรับนักวิชาการ และประชาชน (6) ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ทวั่ ไปทสี่ นใจเรอ่ื งราวชวี ติ ของ ‘กลมุ่ LGBTIQN+’ ไดอ้ ยา่ งดที เี ดยี ว ซง่ึ แนน่ อน ว่าได้รวมถึงสถานการณ์ชีวิตของ ‘กลุ่ม LGBTIQN+’ ในช่วงการระบาดของ โควดิ –19 ไวด้ ว้ ย เนอื้ หาในบทท่ี 3 เปน็ การสำ� รวจสถานะองคค์ วามรทู้ มี่ าจาก งานวิจัยเกี่ยวกับ ‘กลุ่ม LGBTIQN+’ ในประเทศไทย เพ่ือค้นหาช่องว่างว่า มปี ระเดน็ ทส่ี งั คมควรทำ� ความเขา้ ใจหรอื ศกึ ษาเพม่ิ เตมิ อยา่ งไร หรอื มปี ระเดน็ อะไรท่ียังไม่มีการศึกษาเลย ดังเช่น งานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่ม Intersex และ Non–Binary เป็นต้น ในบทท่ี 4 และบทท่ี 5 เป็นบทท่ีว่าด้วยยุทธศาสตร์สุขภาวะของ LGBTIQN+ โดยบทที่ 4 เสนอภาพกรณีศึกษาการท�ำงานเพื่อสร้างสุขภาวะ LGBTIQN+ ทเี่ กดิ ขนึ้ ในประเทศแคนาดา และไดเ้ ชอื่ มโยงใหเ้ หน็ ภาพรวมของ งานด้านนี้ในประเทศไทยไว้ด้วยอย่างน่าสนใจ อันน่าจะเป็นประโยชน์มาก สำ� หรบั ผสู้ นใจทจี่ ะเรม่ิ ทำ� งานดา้ นน้ี สำ� หรบั บทสดุ ทา้ ยเปน็ ขอ้ เสนอยทุ ธศาสตร์ สุขภาวะ LGBTIQN+ รวม 5 ด้าน โดยผู้เขียนทั้งสามคนได้แจกแจง รายละเอียดของเหตุผล เป้าหมาย และตัวอย่างของการด�ำเนินงานในแต่ละ ด้านไว้ด้วย ข้อเสนอในการท�ำงานเพ่ือสุขภาวะของ LGBTIQN+ ที่ปรากฏ ในหนังสือเล่มนี้ นา่ จะเป็นหนึง่ ในแนวทางที่ผู้เขียนได้แผ้วถางนำ� ไวใ้ หผ้ ู้สนใจ จากทกุ วงการไดค้ ดิ ทบทวน วพิ ากษว์ จิ ารณ์ ชว่ ยกนั ตอ่ ยอดและพฒั นาปญั ญา ให้กับสังคมไทยได้เข้าใจ และละเอียดอ่อนต่อความแตกต่างหลากหลายด้าน เพศภาวะและเพศวถิ ขี องผคู้ นทเ่ี กดิ ขน้ึ ในสงั คม รวมถงึ เคารพในความเปน็ มนษุ ย์ ทีเ่ ทา่ เทียมกนั อย่างแทจ้ รงิ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนจิ กุล นายกสมาคมเพศวิถศี ึกษา (7) ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
สารบญั คำ� น�ำ (3) (5) คำ� นิยม 1 บทที่ 1 บทน�ำ 4 นิยามศัพท ์ 5 กรอบแนวคดิ ยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะ 20 แนวคิดและกระบวนการจดั ท�ำยทุ ธศาสตร ์ 23 บทท่ี 2 บรบิ ทและสถานการณป์ ัญหาสุขภาวะ ของกลุ่มประชากร LGBTIQN+ 23 พัฒนาการของการเคล่ือนไหวเพอื่ สทิ ธิ 51 ผมู้ ีความหลากหลายทางเพศในตา่ งประเทศ บริบทและสถานการณป์ ัญหาในประเทศไทย 61 บริบททางสังคมและประเดน็ ปญั หาความหลากหลาย ทางเพศที่สง่ ผลต่อสุขภาวะ LGBTIQN+ ในปัจจบุ ัน
บทที่ 3 สถานภาพองคค์ วามรสู้ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย 127 องคค์ วามรู้สขุ ภาวะกล่มุ LGBTIQN+ พ.ศ. 2493–2563 128 ชอ่ งว่างของงานวจิ ยั ดา้ นสขุ ภาวะของ LGBTIQN+ 150 ในประเทศไทย บทท่ี 4 กรณศี กึ ษายุทธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ 161 161 กรณศี กึ ษาสขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในตา่ งประเทศ: 192 ประเทศแคนาดา กรณศี ึกษายทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะกลมุ่ /องคก์ รทท่ี ำ� งาน ประเด็น LGBTIQN+ ในประเทศไทย บทท่ี 5 ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ 243 243 หลักการและเหตุผล 246 วสิ ยั ทศั น์ของยทุ ธศาสตร ์ 247 พนั ธกิจ 248 เป้าประสงค ์ ยุทธศาสตร์ท่ื 1 การคมุ้ ครองสิทธมิ นษุ ยชน 253 และศกั ดศ์ิ รีความเปน็ มนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสรา้ งระบบบรกิ ารสุขภาพ 262 ทเี่ ปน็ ธรรมและเขา้ ถงึ ไดส้ ำ� หรบั LGBTIQN+
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 การพฒั นาฐานขอ้ มลู และการบรหิ าร 268 จัดการองคค์ วามรูเ้ พ่ือเสริมสรา้ งสุขภาวะ LGBTIQN+ 274 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเขม้ แขง็ ของเครือข่าย 279 และชุมชน LGBTIQN+ เพื่อการสร้างเสรมิ สุขภาวะ 283 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพฒั นาศักยภาพเยาวชน ด้านการสร้างเสริมสขุ ภาวะ บทสรปุ ส�ำหรบั การขบั เคล่ือน ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ บรรณานุกรม 287 ดัชน ี 321 ภาคผนวก 335 ประวัติผเู้ ขียน 376
สารบญั ตาราง ตารางที่ 1 การศกึ ษาวจิ ัยทั้งภาษาไทยและภาษาองั กฤษ 135 ระหวา่ งปี ค.ศ. 2000–2016 140 157 ตารางที่ 2 สรุปสดั สว่ นประเด็นงานวจิ ยั เกีย่ วกับสุขภาวะ 177 ของ LGBTIQN+ ในประเทศไทย 196 ระหว่างปี พ.ศ. 2553–2563 221 250 ตารางที่ 3 แสดงจ�ำนวนกลุ่มประชากรท่ศี ึกษาในงานวิจัย ด้านสุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553–2563 ตารางที่ 4 นโยบาย ยุทธศาสตรข์ องกล่มุ เครือขา่ ย องค์กรทท่ี �ำงานด้านความหลากหลายทางเพศ ในแคนาดา ตารางท่ี 5 ยทุ ธศาสตร์กลุ่ม องค์กรท่ที �ำงาน ด้านความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ตารางท่ี 6 ขอ้ เสนอแนะต่อยทุ ธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ของนกั วชิ าการและนกั กจิ กรรม ด้านความหลากหลายทางเพศ ตารางท่ี 7 ความสัมพันธข์ องวิสัยทัศน์ พันธกิจ เปา้ ประสงค์ และยทุ ธศาสตร ์
สารบญั ภาพ แผนภาพ 1 กรอบแนวคดิ และกระบวนการจดั ท�ำยุทธศาสตร ์ 21 แผนภาพ 2 กรอบแนวคดิ เพศสภาพ สุขภาพทางเพศ 50 194 ทห่ี ลากหลายและความไม่เปน็ ธรรมทางสุขภาวะ แผนภาพ 3 พื้นทีก่ ารทำ� งานดา้ นสุขภาวะ LGBTIQN+ ของภาคประชาสงั คม
1บทที่ บทน�ำ มิติสุขภาวะหมายถึงภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทาง ปญั ญา และทางสังคม1 เช่อื มโยงกนั เปน็ องค์รวมอยา่ งสมดุลเก่ียวขอ้ ง กับความยุติธรรมและการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมหรือท่ีเรียกว่าความยุติธรรม สุขภาพ โดยที่ทุกคนในสังคมควรเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกันเพ่ือบรรลุ เปา้ หมายในชวี ติ ทวี่ างไว้ (Substantive Equality of Opportunity) ส�ำหรับประเทศไทยแม้จะได้รับการยอมรับว่ามีการเคลื่อนไหวเพ่ือ ยกระดับสิทธิบุคคลท่ีมีความหลากหลายทางเพศและมีความก้าวหน้า ในหลายประเด็นเมื่อเทียบกับภูมิภาคเดียวกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศซึ่งตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถงึ “กลมุ่ LGBTI” เปน็ กลมุ่ บคุ คลทป่ี ระสบปญั หาจากการถกู เลอื กปฏบิ ตั ิ เพราะเหตุแห่งวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) คนรกั เพศเดยี วกนั และคนขา้ มเพศยงั ถกู มองโดยสมาชกิ สว่ นหนง่ึ ของสงั คมไทยวา่ มปี ญั หาทางจติ แมว้ า่ จะมกี ารเลกิ ใชค้ ำ� วา่ “โรคจติ ” 1 ส�ำนักงานคณะกรรมการสขุ ภาพแหง่ ชาต.ิ พระราชบญั ญัตสิ ขุ ภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550, น. 2 สืบค้นเม่ือ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จาก https://www.dms.go.th/backend//Content/ Content_File/Information_Center/Attach/25621124013609AM_17.pdf 1 ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
กบั คนกลมุ่ นแี้ ลว้ โดยองคก์ ารอนามยั โลกรวมทงั้ กฎหมายไทย แตใ่ นทางปฏบิ ตั ิ พวกเขายงั คงเผชญิ กับการเลอื กปฏิบัติทก่ี ว้างขวางในชีวติ และการทำ� งาน2 ปจั จยั เรอื่ งเพศสภาพ เพศวถิ ี และอตั ลกั ษณท์ างเพศ ไดส้ รา้ งผลกระทบ ทำ� ใหบ้ คุ คลทมี่ คี วามหลากหลายทางเพศ หรอื LGBTIQN+ เขา้ ไมถ่ งึ การดแู ล ด้านสุขภาวะ รวมท้ังความเจ็บป่วยของผู้คนในสังคมที่มีอาการเกลียดกลัว คนรักเพศเดียวกัน (Homophobia) คนข้ามเพศ (Transphobia) ส่งผล กระทบตอ่ สภาวะทางจติ ใจ รา่ งกาย ปัญญา และการอยู่ร่วมกันในสังคมของ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากบุคคลท่ีมีความหลากหลาย ทางเพศต้องเผชิญกับปัญหาความเหล่ือมล้�ำทางสุขภาพหลายประการ และ มีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพ อันเนื่องมาจากการถูกเลือกปฏิบัติและการตีตรา จนท�ำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ท่ีส�ำคัญก็คือในการวาง นโยบายและยทุ ธศาสตรด์ า้ นสขุ ภาพและสขุ ภาวะของประชากรในประเทศไทย ยงั คงใชเ้ ลนสแ์ บบรกั ตา่ งเพศในการกำ� กบั นโยบายและการปฏบิ ตั งิ าน ขาดมมุ มองในเรอ่ื งของความหลากหลายทางเพศ เปน็ การตงั้ กลมุ่ เปา้ หมายการทำ� งาน โดยไม่ค�ำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะของอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ เพศวิถี และ วิถที างเพศที่มีความเฉพาะของบคุ คล การไปสเู่ ปา้ หมายของการบรรลคุ วามเปน็ ธรรมทางสขุ ภาพ สรา้ งระบบ สังคมท่ีให้คุณค่ากับทุกอัตลักษณ์ทางเพศ ลดปัญหาความเหลื่อมล�้ำในการ เขา้ ถงึ ระบบบริการสขุ ภาพ ทไ่ี ม่ได้มแี ค่ชายหญิงแตย่ ังตอ้ งนบั รวมกลมุ่ บุคคล หลากหลายทางเพศ มอี งคค์ วามรทู้ ส่ี ามารถเขา้ ถงึ ไดง้ า่ ยและสรา้ งความเขา้ ใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาวะของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตลอดจน มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยส่งเสริมสุขภาวะของคนทุกเพศ แต่การจะสร้าง 2 บุษกร สุริยสาร, อัตลักษณ์และวิถีทางเพศของประเทศไทย, (องค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ, 2557), น. iv. 2 ยุทธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
การเปลย่ี นแปลงทง้ั ในระดบั วธิ คี ดิ และเชงิ โครงสรา้ งในปญั หาสขุ ภาวะดงั กลา่ ว ได้นั้นต้องอาศัยยุทธศาสตร์ในการขับเคล่ือนการท�ำงานเพื่อให้ประชากร LGBTIQN+ ซง่ึ หลน่ หายจากนโยบายสขุ ภาวะในทกุ ระดบั สามารถไดร้ บั ประโยชน์ จากการลดความเหลื่อมล�้ำทางโครงสร้างสุขภาพ ให้สามารถเข้าถึงการสร้าง เสริมสุขภาวะได้โดยเสมอภาค การพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทยในครงั้ น้จี งึ ไดว้ างวัตถปุ ระสงคไ์ ว้ 3 ประการ 1) เพ่ือส�ำรวจและวิเคราะห์บริบทสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันของ กล่มุ LGBTIQN+ ทส่ี ง่ ผลกระทบต่อสุขภาวะของบคุ คลกลุ่มนี้ 2) เพื่อสำ� รวจและวเิ คราะห์นโยบายยทุ ธศาสตร์ท่เี ก่ยี วขอ้ งกับสุขภาวะ ของกลุ่ม LGBTIQN+ 3) เพ่ือพัฒนาข้อเสนอยุทธศาสตร์สุขภาวะของกลุ่ม LGBTIQN+ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา เพ่ือเป็นทิศทางในการด�ำเนินงานด้าน การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาวะให้กบั บุคคลกลุม่ นี้ ท้ังนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายให้สังคมไทยมีหมุดหมายเพ่ือการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ท่ีชัดเจนเป็นครั้งแรกในการด�ำเนินงานสนับสนุน ส่งเสริม และ พฒั นาสขุ ภาวะกลมุ่ ประชากร LGBTIQN+ หรอื กลมุ่ บคุ คลผมู้ คี วามหลากหลาย ทางเพศในประเทศไทย ยุทธศาสตร์นี้จะอยู่บนพ้ืนฐานของการส่งเสริมสิทธิ ดา้ นสขุ ภาวะ เพอ่ื ใหป้ ระชากร LGBTIQN+ สามารถเปน็ พลเมอื งสขุ ภาวะและ มีสว่ นรว่ มในการสรา้ งสงั คมสุขภาพดรี ่วมกนั 3 ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
นิยามศัพท์ ในหนังสือเล่มน้ีจะใช้ค�ำว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTIQN+ โดยต้องการให้มีความหมายครอบคลุมถึงบุคคลทุกกลุ่มท่ีมี เพศก�ำเนิดกับเพศสภาพในลักษณะท่ีไม่ได้สอดคล้องกันตามความเข้าใจแบบ ทวิเพศ การนิยามน้ีเป็นไปในเชิงการปฏิเสธระบบความเข้าใจท่ีวางอยู่บน พน้ื ฐานทวเิ พศ โดยไมไ่ ดม้ งุ่ ระบวุ า่ บคุ คลทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศประกอบ ด้วยบุคคลใดบ้าง ในตัวยอ่ ภาษาองั กฤษที่เลอื กใช้ คอื LGBTIQN+ ประกอบ ด้วย Lesbian (หญิงรักหญิง) Gay (ชายรักชาย) Bisexual (บุคคลรักได้ ทง้ั สองเพศ) Transgender (บคุ คลขา้ มเพศ) Intersex (บคุ คลทมี่ เี พศกำ� กวม) Queer (ผู้ที่ไม่นิยามเพศ หมายถึงบุคคลท่ีปฏิเสธการนิยามตนเองด้วย อัตลักษณ์ทางเพศทุกรูปแบบ) Non–Binary (นอน–ไบนารี่ หรือบุคคล ท่ีปฏิเสธการนิยามตนเองด้วยอัตลักษณ์ทางเพศที่วางอยู่บนฐานการแบ่งเพศ เป็นสองขั้วตรงข้ามคือ ชายและหญิง) โดยจะใส่สัญลักษณ์ + ลงไปเพ่ือให้ เหน็ วา่ บคุ คลทมี่ คี วามหลากหลายทางเพศไมม่ อี ตั ลกั ษณท์ างเพศทห่ี ยดุ นง่ิ หรอื ตายตัว เพื่อให้เป็นนิยามท่ีเปิดกว้างสามารถล่ืนไหลต่อไปได้ เพราะรูปแบบ ความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลอาจสามารถเปลีย่ นแปลงไดใ้ นอนาคตข้างหน้า 4 ยทุ ธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
กรอบแนวคิดยุทธศาสตร์ 1. แนวคดิ เรื่อง เพศสภาพ เพศวิถี สิทธใิ นวิถีทางเพศ และอัตลักษณท์ างเพศ (SOGI) ความเทา่ เทยี มทางเพศภาวะ ความหลากหลายของเพศสภาพ และเพศวิถี (Gender and Sexual Diversity) และสขุ ภาวะทางเพศ และความเป็น พลเมอื งทางเพศ (Sexual Well–being and Citizenship) แนวคิดเร่ือง เพศสภาพ เพศวิถี สิทธิในวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ ทางเพศ (SOGI) เป็นหลักการว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศในประเดน็ วิถีทางเพศและอตั ลกั ษณ์ทางเพศ เกิดจากการประชมุ ของ นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนท่ีเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมอ่ื ปลายปี 2549 โดยเหน็ ตรงกนั วา่ มหี ลกั การสทิ ธมิ นษุ ยชนระหวา่ งประเทศ ซ่ึงเป็นแนวทางปฏิบัติเพ่ือคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมานานแล้ว โดยรัฐบาล หลายประเทศก็ร่วมลงนามและให้ค�ำม่ันว่าจะปฏิบัติติตามหลักการ สิทธิมนุษยชนนั้น ซ่ึงนั่นก็หมายถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนที่มี ความหลากหลายทางเพศด้วย3 โดยหลักการยอกยาการต์ าได้กำ� หนดค�ำศัพท์ ซงึ่ ไดร้ บั การยอมรับทางกฎหมายโดยท่วั ไปสองค�ำคอื Sexual orientation (วถิ ที างเพศ) หมายถงึ ความสามารถของบคุ คล เก่ียวกับแรงดึงดูดอันล้�ำลึกด้านอารมณ์เสน่หาด้านเพศ และความสัมพันธ์ ทางเพศกับบุคคลซงึ่ มีเพศสภาพท่ีแตกต่างกนั หรือเหมือนกนั หรอื มีมากกวา่ หนงึ่ เพศสภาพ 3 มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ, สิทธิท่ีจะสร้างครอบครัวคือสิทธิมนุษยชน, สบื ค้นเมอ่ื 18 ตลุ าคม 2563 จาก http://forsogi.org/?p=301 5 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
Gender Identity (อัตลักษณ์ทางเพศ) หมายถึง ความรู้สึกล�้ำลึก ภายในของบคุ คลเก่ยี วกับเพศสภาพ ซ่งึ อาจจะสอดคลอ้ งหรอื ตรงขา้ มกับเพศ โดยก�ำเนิดของตน รวมท้ังความรู้สึกทางสรีระ (ซ่ึงหากสามารถเลือกได้อาจ เกย่ี วขอ้ งกบั การเปลย่ี นแปลงแกไ้ ขลกั ษณะและการทำ� งานทางกายภาพดว้ ยวธิ ี ทางการแพทย์ การผ่าตัด หรือวิธีอ่ืนใด) รวมทง้ั การแสดงออกทางเพศสภาพ เชน่ การแต่งกาย การพดู จา และกิริยาอน่ื ๆ4 อยา่ งไรกต็ าม สงั คมและศาสนากระแสหลกั สว่ นใหญใ่ นโลกยอมรบั และ ก�ำหนดกฎเกณฑ์การจ�ำแนกเพศของบุคคลออกเป็น 2 เพศตามลักษณะ กายภาพ คอื ชายและหญงิ รวมทงั้ ใหค้ ณุ คา่ กบั เพศวถิ เี พยี งแบบเดยี วคอื เพศ วิถีแบบรักต่างเพศภายใต้สถาบันการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียวท่ีมี เปา้ หมายเพอ่ื การมบี ตุ รเพอื่ สบื ทอดดำ� รงเผา่ พนั ธ์ุ ซง่ึ ดว้ ยระบบโครงสรา้ ง และ ความคิดความเช่ือเรื่องเพศเช่นน้ี ท�ำให้บุคคลท่ีเป็น LGBTIQN+ ถูกกีดกัน ให้เป็นบุคคลชายขอบของสงั คม เนอื่ งจากมีอตั ลักษณ์ การแสดงออก และมี เพศวถิ ไี มเ่ ปน็ ไปตามกรอบทีส่ งั คมกระแสหลกั กำ� หนด นอกจากน้ภี ายในกลุม่ LGBTIQN+ แต่ละกลุ่มอัตลักษณ์เองต่างก็หลีกไม่พ้นจากการถูกหล่อหลอม หรือได้รับอิทธิพลจากความคิดความเช่ือเรื่องเพศกระแสหลักของสังคม ซึ่งท�ำงานกับการสร้างความเป็นตัวตนทางเพศภาวะและเพศวิถีของบุคคล ท่ีเป็น LGBTIQN+ แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป รวมถึงอิทธิพลของปัจจัยทาง ด้านสงั คมอ่ืนๆ ไมว่ ่าจะเป็นเร่ืองชนชั้น ชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา สถานะทาง เศรษฐกิจของครอบครวั การเขา้ ถึงโอกาสทางการศึกษา รายได้ ฯลฯ ปัจจัย เหลา่ นล้ี ว้ นมผี ลกระทบตอ่ การนยิ าม การยอมรบั การเปดิ เผยความเปน็ ตวั ตน ในความเป็น LGBTIQN+ ของแต่ละคน และต่อการเข้าถึงความเป็นธรรม ทางสังคมและสุขภาพ 4 บษุ กร สุริยสาร, อัตลกั ษณ์และวถิ ีทางเพศในประเทศไทย, น. 19 6 ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
นอกจากนี้ในแง่มมุ ทางการเมอื ง เม่อื พูดถงึ “ความเป็นพลเมอื ง” โดย ทวั่ ไปนยั ของคำ� นดี้ เู หมอื นจะมคี วามเปน็ กลางทางเพศ แตใ่ นความเปน็ จรงิ แลว้ มติ ใิ นเรอื่ งเพศสภาพและเพศวถิ มี ผี ลอยา่ งยง่ิ ตอ่ การเขา้ ถงึ ทรพั ยากร สวสั ดกิ าร การใช้พื้นที่ต่างๆ ทางสังคม รวมทั้งสิทธิในการแสดงออกในเร่ืองเพศสภาพ เพศวถิ ี เนอื่ งจากภายใตแ้ นวคดิ เรอ่ื งความเปน็ พลเมอื งทไ่ี ดร้ บั การรบั รอง มเี พยี ง เพศสภาพและเพศวิถีบางรูปแบบเท่านั้นท่ีได้รับการยอมรับ การจะท�ำ ความเขา้ ใจในสถานการณป์ ญั หาและผลกระทบดา้ นตา่ งๆ ทกี่ ลมุ่ LGBTIQN+ เผชิญอยู่ รวมถึงการแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จ�ำเป็นอย่างยิ่ง ท่ีจะต้องวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้กรอบแนวคิดด้านเพศสภาพ เพศวิถี สิทธิ ในวถิ ีทางเพศและอัตลกั ษณท์ างเพศ ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ เป็นหลัก 2. การกดขีท่ บั ซอ้ นหรอื อตั ลักษณท์ บั ซ้อน (Intersectionality) แนวคิดการกดขี่ทับซ้อนหรืออัตลักษณ์ทับซ้อนปรากฎข้ึนในคลื่น ลกู ทสี่ ามของขบวนการเคลอื่ นไหวสตรนี ยิ ม เกดิ ขน้ึ ตง้ั แต่ 1980–ปจั จบุ นั เปน็ ห้วงเวลาของการท�ำงานเชิงลึกโดยต้ังค�ำถามถึง บทบาทตามเพศ (Gender Roles) ของผู้คนในสังคม การเรียกร้องที่ส�ำคัญของสตรีนิยมคลื่นลูกที่ 3 คอื การมบี ทบาทตามเพศท่ีตายตวั มสี ว่ นสรา้ งความไม่เทา่ เทยี มในสงั คมและ เปน็ การจำ� กดั ทางเลอื กและอสิ รภาพในการแสดงความคดิ เหน็ ของปจั เจกบคุ คล ในเรื่องเพศ ท�ำให้โลกนี้มีแต่เพศชายและหญิง ไม่ยอมรับความเป็นเพศ หลากหลาย5 คล่ืนลูกท่ี 3 จึงให้ความส�ำคัญของความหลากหลายในสังคม ท้งั มติ ิเพศสภาพ ชนชัน้ เชอื้ ชาติ วฒั นธรรมที่หลากหลาย อยา่ งไรก็ตามบน พ้ืนฐานของความหลากหลายและการต้ังค�ำถามต่อบทบาทตามเพศ แนวคิด 5 ชเนตตี ทินนาม, สงครามเฟมินิสต์ จากคลื่นลูกท่ี 1 ถึงยุคดิจิทัล อ�ำนาจและข้อโต้แย้ง ไม่เคยเปล่ียน, สืบค้นเม่ือ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, จาก https://workpointtoday.com/lutte– feminism–chanettee2020/ 7 ยทุ ธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
การกดขี่ทับซ้อนหรืออัตลักษณ์ทับซ้อนจะช้ีให้เห็นในระดับท่ีลึกลงไป เป็น การวิเคราะหใ์ ห้เห็นถงึ ระบบทซี่ บั ซ้อน หลากหลายของความไมเ่ ทา่ เทยี มและ การกดขี่ซึ่งรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสังคมวัฒนธรรมและอ�ำนาจอภิสิทธ์ิ ไดก้ อ่ รูปปัจเจกบคุ คล อัตลกั ษณแ์ ละประสบการณ์ร่วมข้ึนมา McCall6 กล่าวว่า อัตลักษณ์ทับซ้อนคือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ และรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคม และการหล่อหลอมตัวตนของปัจเจก หรอื กลุม่ คนทม่ี ีองค์ประกอบหลากหลาย” ภายในตัวคนๆ หนง่ึ หรอื กลมุ่ คน กลุ่มใดกลุ่มหน่งึ ล้วนแตม่ อี ัตลกั ษณ์ ประสบการณ์ และชดุ ความสมั พันธ์ทาง สงั คมทแี่ ตกตา่ งหลากหลายประกอบกนั อยใู่ นตวั เอง โดยมติ เิ หลา่ นม้ี าบรรจบกนั และสร้างผลกระทบบางอย่างต่อชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มคนน้ันๆ ในรูปแบบ ที่แตกต่างหลากหลายและซับซ้อน ดังนั้นคนท่ีเห็นด้วยกับแนวคิดการกดขี่ ทับซ้อนหรอื อตั ลักษณท์ ับซ้อน (Intersectionality) จะมองเหน็ ความซับซอ้ น ขององคป์ ระกอบหลากหลายทมี่ าบรรจบกนั ในชวี ติ ของบคุ คลหรอื กลมุ่ คนหนงึ่ ๆ และไม่เหมารวมว่าคนในกลุ่มเดียวกันต้องเหมือนกัน หรือมีอัตลักษณ์ แบบเดยี วกนั ทง้ั หมด การวเิ คราะหอ์ ตั ลกั ษณท์ บั ซอ้ นมคี วามหลากหลายทงั้ ในดา้ นเวลา สาขา วิชา และมุมมองแห่งกระบวนการวิจัย เช่น Stewart and McDermott7 แบ่งงานวิจัยด้านอัตลักษณ์ทับซ้อนออกเป็น 3 ด้าน 1) ในฐานะที่เป็น การวิพากษ์ไปยังการศึกษาด้านเพศสภาพในทางจิตวิทยาส�ำหรับกลุ่มท่ีไม่ใช่ คนรักเพศเดียวกัน 2) ต�ำแหน่งแห่งที่ของบุคคลภายใต้โครงสร้างอ�ำนาจ 6 McCall, Leslie, The Complexity of Intersectionality. Sign 30, 3 (Spring, 2005) แปล โดย วราภรณ์ แช่มสนิท เอกสารเลนส์เพศภาวะและความหลากหลาย, ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสรา้ งเสรมิ สุขภาพ, น. 3. (เอกสารไม่ตพี มิ พเ์ ผยแพร)่ 7 Stewart, A. J., & McDermott, “Gender in Psychology”. Annual Review of Psychology, 55, 2004, p.519–544. 8 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
3) การยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและผลกระทบของการนิยาม ทม่ี ากกวา่ หนงึ่ กลุ่ม ขณะท่ี Choo and Ferree8 เนน้ ความส�ำคญั ของสิง่ ท่ี ซอ่ นอยู่ภายใตอ้ ตั ลักษณ์ซอ้ นทับ ค�ำถามสำ� คญั คือสถานภาพของคนชายขอบ ทม่ี คี วามซอ้ นทบั จากหลายปจั จยั มสี ว่ นในการสรา้ งประสบการณแ์ ละหลอ่ หลอม อัตลักษณ์ ซ่ึงรวมถึงมุมมองต่ออัตลักษณ์ทับซ้อนที่ใช้การวิเคราะห์หลาย ระดบั ชนั้ ทสี่ ำ� คัญประสบการณ์ของผหู้ ญิงผิวสีทงั้ อเมรกิ ันและแอฟรกิ าจะเปน็ ตวั อยา่ งสำ� คญั ในการแสดงให้เห็นรากและพัฒนาการของวธิ คี ิดนี้ การนำ� แนวคดิ อตั ลกั ษณท์ บั ซอ้ นมาใชใ้ นการศกึ ษาดา้ นสขุ ภาวะของกลมุ่ ผมู้ คี วามหลากหลายทางเพศ เพอ่ื ใหเ้ หน็ วา่ ปญั หาสขุ ภาวะนนั้ ตอ้ งมกี ารนยิ าม เพราะประสบการณแ์ ละพน้ื ทท่ี างสงั คมของบคุ คลทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศ มคี วามซบั ซอ้ นแตกตา่ งหลากหลายในตวั เอง ทง้ั ยงั มคี วามซบั ซอ้ นของอตั ลกั ษณ์ เฉพาะกลุ่ม โดยไม่สามารถมองข้ามประสบการณ์กลุ่มคนที่อยู่ในจุดบรรจบ ของอัตลักษณ์หลักๆ เช่น อัตลักษณ์หญิงรักหญิงกับการเป็นผู้อยู่ร่วมกับ เชอ้ื เอชไอวี อตั ลกั ษณข์ องบคุ คลขา้ มเพศกบั การเปน็ ชายขอบตา่ งๆ ของสงั คม เปน็ ต้น การท�ำความเขา้ ใจประสบการณ์ของกลุม่ คนเฉพาะทอ่ี ยใู่ นจดุ บรรจบ ของอัตลักษณ์ท่ีหลากหลายน้ันมักต้องเผชิญความไม่เท่าเทียมและการกดข่ี หลายมติ ภิ ายใต้ความสมั พนั ธเ์ ชิงโครงสรา้ ง 8 Choo and Ferree, Practicing Intersectionality in Sociological Research: A Critical Analysis of Inclusions, Interactions and Institutions in the Study of Inequalities, (June 1, 2010), Accessed 30 August 2020, Available from https://journals.sagepub.com/doi/10.1111/ j.1467–9558.2010.01370.x 9 ยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
แนวคิดเรอื่ งปจั จัยสงั คมกำ� หนดสุขภาพ (Social Determinants of Health) การน�ำแนวคิดเร่ืองความเป็นชายขอบมาใช้ในการท�ำงานด้านสุขภาพ ช่วยให้คนท�ำงานเข้าใจปัญหาความเจ็บป่วยท่ีเช่ือมโยงกับความสัมพันธ์ทาง สังคมอย่างชัดเจน จนเกิดเป็นขบวนการท�ำงานท่ีเป็นรูปธรรมระดับโลก คือ แนวคดิ ปจั จยั สงั คมกำ� หนดสขุ ภาพ (Social Determinants of Health หรอื SDH) ขององค์การอนามัยโลก เพ่ือส่งเสริมความเป็นธรรมทางสุขภาพผ่าน จิตวิญญาณของความเป็นธรรมทางสังคม โดยสมัชชาอนามัยโลกคร้ังที่ 66 (พ.ศ. 2546) ไดล้ งมติรบั รองคำ� ประกาศ “Rio Political Declaration on Social Determinants of Health” และองค์การอนามัยโลกใช้แนวคิดน้ี เป็นวาระพ้ืนฐานในการขบั เคลื่อนงานในช่วงปี พ.ศ. 2557–25629 แนวคิดปัจจยั สงั คมก�ำหนดสขุ ภาวะ คอื การมองวา่ การทป่ี ระชาชนใน สังคมจะมสี ขุ ภาวะท่ีดไี ด้นนั้ เก่ียวข้องกบั ปจั จัยทางสังคมตา่ งๆ หลากหลาย ปัจจยั ตงั้ แต่ระดบั ปัจเจกบคุ คล เพศ อายุ พฤตกิ รรม และวิถกี ารด�ำเนนิ ชวี ิต ไปจนถึงระดับสังคม บริบท สภาพแวดล้อมที่เกิดเติบโตอาศัยอยู่ ท�ำงาน ใชช้ วี ติ การไดร้ บั การศกึ ษา การมรี ายได้ ไปจนถงึ ระบบสาธารณสขุ การเขา้ ถงึ บริการสุขภาพ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ โดยบุคคลที่มาจากพื้นฐานปัจจัย ทางดา้ นสงั คมทแี่ ตกตา่ งกนั ยอ่ มเขา้ ถงึ การมสี ภาวะทางสขุ ภาพทดี่ หี รอื เขา้ ถงึ ความเป็นธรรมทางดา้ นสุขภาพได้แตกต่างกัน 9 Secretariat, Social Determinant of Health, Executive Board 132nd Session (WHO), Accessed 12 August 2020, อ้างถึงใน จารปุ ภา วะสี, จาก https://roottogether.net/leader/the– classroom/ 10 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้นิยามปัจจัยสังคมก�ำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health) วา่ หมายถงึ สภาวะแวดลอ้ มของบคุ คล ตั้งแต่เกิด เติบโต ท�ำงาน และชราภาพ ซ่ึงสภาวะน้ันถูกก�ำหนดโดยระบบ เศรษฐกจิ การเมอื ง และการกระจายทรพั ยากรในระดบั ทอ้ งถน่ิ ระดบั ชาติ และ ระดับโลก โดยปัจจัยเหล่าน้ีมีผลท�ำให้บุคคลมีความแตกต่างกันในเชิงสังคม และท�ำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในด้านสุขภาพปัจจัยทางด้านสังคมท่ีก�ำหนด สขุ ภาพ (Social Determinants of Health: SDH) ในขณะท่ี สุพจน์ เด่นดวง จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุว่าปัจจัยก�ำหนดสุขภาพคือส่ิงที่มีส่วนช่วยลด ชอ่ งวา่ งหรอื ปรบั ปรงุ ความไมเ่ ปน็ ธรรมทางสขุ ภาพของคนในสงั คม โดยถอื วา่ สขุ ภาพทไี่ มด่ กี ถ็ อื เปน็ ความไมเ่ ปน็ ธรรมทางสงั คมอกี ประการหนงึ่ ซงึ่ สว่ นมาก ความไมเ่ ปน็ ธรรมทางสงั คมนนั้ จะเกยี่ วขอ้ งกบั ความไมเ่ ปน็ ธรรมในเรอื่ งอำ� นาจ เงิน และทรัพยากรที่กระจายอยู่ในหลายลักษณะ เช่น ความไม่เป็นธรรม ระหวา่ งชนช้นั ความไมเ่ ป็นธรรมระหวา่ งชายหญงิ ความไมเ่ ปน็ ธรรมระหว่าง ผู้ท่ีอยู่ในชุมชนแออัดกับชุมชนทั่วไป และความไม่เป็นธรรมระหว่างชาติพันธุ์ เปน็ ตน้ 10 จากนยิ ามตา่ งๆ ทก่ี ลา่ วมาขา้ งตน้ สามารถสรปุ ไดว้ า่ ปจั จยั สงั คมกำ� หนด สุขภาพหมายถึงปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่เก่ียวข้องกับบุคคลในช่วงใดช่วงหนึ่ง ของชีวิต เป็นปัจจัยท่ีมีผลหรือก่อให้เกิดความเส่ียงต่อสุขภาพของบุคคล และเป็นปัจจัยท่ีมีความเชื่อมโยงกับความไม่เป็นธรรมทางสังคม ผ่านทาง ความไมเ่ ทา่ เทยี มกนั ทางสงั คมในดา้ นตา่ งๆ อาทิ อำ� นาจ เงนิ ทรพั ยากร หรอื วัฒนธรรมความไมเ่ ทา่ เทยี มกันในมติ ติ ่างๆ ในสังคม 10 ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ปัจจัยสังคมก�ำหนดสุขภาพ, สืบค้น วันท่ี 18 ตุลาคม 2563, จาก https://vulnerablegroup.in.th/condition–plan 11 ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
นพนันท์ วรรณเทพสกุล11 ได้สรุปหลักการพ้ืนฐาน 3 ประการของ แนวคดิ ปัจจยั สงั คมก�ำหนดสุขภาพ คอื 1) รากปญั หาทลี่ กึ สดุ ของความไมเ่ ปน็ ธรรมทางสขุ ภาพ เกดิ จากปญั หา ความไมเ่ ปน็ ธรรมทางการเมอื ง ซงึ่ ทำ� ใหเ้ กดิ ความเหลอื่ มลำ้� ทางสทิ ธิ การเขา้ ถงึ ทรพั ยากรสาธารณะ และการเลอื กปฏบิ ตั ิ ดงั นน้ั จดุ เรม่ิ ตน้ ของการแกไ้ ขปญั หา จึงอยู่ท่ีการเพิ่มอ�ำนาจให้ผู้เสียเปรียบที่สุด โดยภาคส่วนต่างๆ ของสังคม เข้ามาท�ำงานร่วมกนั 2) ปรากฏการณท์ เี่ กดิ ขน้ึ ในชวี ติ ประจำ� วนั ทงั้ ทางกาย จติ และพฤตกิ รรม คือการปรากฏตัวของรากปัญหาท้งั ท่อี ยใู่ นโครงสร้างสังคมและระบบสขุ ภาพ 3) การแทรกแซงเพื่อลดช่องว่างความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพท�ำได้ พร้อมกันในหลายประเด็นและหลายระดับ โดยการท�ำงานร่วมกันเพื่อเพ่ิม อ�ำนาจให้ผู้เสียเปรียบท่ีสุด เช่น การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และสภาพ แวดลอ้ มในชวี ติ ประจำ� วนั การจดั การกบั ความไมเ่ ปน็ ธรรมเชงิ โครงการในการ กระจายอ�ำนาจ เงิน และทรัพยากร การติดตามประเมินผลกระบวนการ แก้ปัญหา พัฒนาก�ำลังคนท่ีเข้าใจแนวคิดปัจจัยสังคมก�ำหนดสุขภาพ และ ท�ำให้สาธารณชนตระหนกั ถงึ ความสำ� คญั ของแนวคดิ นี้ จากแนวคดิ ปจั จยั สงั คมกำ� หนดสขุ ภาพขา้ งตน้ สามารถอธบิ ายถงึ ปญั หา สุขภาวะของบุคคลท่ีมีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTIQN+ ซึ่งเป็น บุคคลกล่มุ หนงึ่ ท่ถี ูกกดี กันให้เป็นกลุม่ ประชากรชายขอบของสงั คม เน่อื งจาก อัตลักษณ์ทางเพศสภาพและเพศวิถีที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานทางเพศ 11 นพนันท์ วรรณเทพสกุล, “ความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างคือปัจจัยสังคมกําหนดความ ไมเ่ ปน็ ธรรมทางสขุ ภาพ” ใน นพนนั ท์ วรรณเทพสกลุ และกลุ ธดิ า สามะพทุ ธ, เรม่ิ ทชี่ วี ติ จติ ใจ สคู่ วาม เปน็ ธรรมทางสังคมและสขุ ภาพ (กรงุ เทพฯ: สถาบนั วจิ ยั สงั คม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั , 2554) 12 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
กระแสหลกั ทำ� ใหพ้ วกเขาตอ้ งเผชญิ กบั ปญั หาการไมไ่ ดร้ บั ความเปน็ ธรรมทาง ดา้ นสขุ ภาพในทกุ มติ ิ ตง้ั แตก่ ารถกู ใหค้ วามหมายทางดา้ นสขุ ภาพวา่ เปน็ บคุ คล ทมี่ คี วามผดิ ปกตทิ างจติ เบย่ี งเบนทางเพศ ไปจนถงึ ตตี ราเพศวถิ แี ละพฤตกิ รรม ทางเพศ เชน่ การมเี พศสมั พนั ธก์ บั คนหลายคน การเปน็ ตน้ เหตขุ องการเผยแพร่ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การถูกเลือกปฏิบัติในการเข้าถึง และเขา้ รบั บรกิ ารสขุ ภาพ การไดร้ บั การปกปอ้ งคมุ้ ครองสทิ ธจิ ากการถกู กระทำ� ความรุนแรงอันเนื่องมาจากอคติทางเพศของสังคม การน�ำเอากรอบแนวคิด เร่ืองปัจจัยสังคมก�ำหนดสุขภาพมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาวะ ท้ังทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณของกลุ่ม LGBTIQN+ จะชว่ ยใหเ้ หน็ และกำ� หนดแนวทางในการดำ� เนนิ งานเพอ่ื สนบั สนนุ และสร้างเสริมสุขภาวะให้กับกลุ่มประชากร LGBTIQN+ ในประเทศไทยได้ อย่างชัดเจนข้ึน ความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) “Health Literacy” ซง่ึ ประกอบด้วยค�ำ 2 ค�ำ คอื ค�ำวา่ “Health” และค�ำวา่ “Literacy” โดยองค์การอนามยั โลกได้ใหค้ วามหมายไว้ ดังน้ี Health (สุขภาพ) หมายถึง สภาวะท่ีมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จติ ใจ รวมทง้ั สภาพความเปน็ อยทู่ างสงั คม มใิ ชเ่ พยี งแคก่ ารปราศจากโรคทาง กายและทางจิตเท่านัน้ ส่วนค�ำว่า “Literacy” องคก์ ารยเู นสโก (UNESCO) ใหค้ วามหมายของ Literacy (การรหู้ นงั สอื ) วา่ หมายถงึ ความสามารถในการ จำ� แนก เข้าใจ ตีความ สร้างสรรค์ การสือ่ สาร การค�ำนวณ และการใช้ส่อื ส่ิงพิมพ์และเครื่องเขียนในบริบทที่หลากหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการ เรียนรู้อย่างต่อเนื่องในการบรรลุเป้าหมายของปัจเจกบุคคลเพ่ือการพัฒนา ความร้แู ละศกั ยภาพ รวมท้ังการมสี ว่ นร่วมในชมุ ชนและสังคม 13 ยทุ ธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ในขณะทกี่ องสขุ ศกึ ษา กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ (2554)12 ได้ให้ความหมายของความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) หมายถงึ ความสามารถและทกั ษะในการเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ความรู้ ความเขา้ ใจเพอ่ื วิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมท้ังสามารถช้ีแนะเร่ือง สขุ ภาพสว่ นบคุ คล ครอบครวั และชมุ ชนเพอื่ สขุ ภาพทดี่ ี การทจี่ ะมคี วามฉลาด ทางสขุ ภาพได้ คนๆ นั้นจะตอ้ งมคี ุณลักษณะสำ� คญั 6 ประการ ได้แก่ 1. การเขา้ ถงึ ความสามารถในการเขา้ ถงึ ซง่ึ แหลง่ ความรหู้ รอื การไดม้ า ซึ่งความรูด้ ้านสขุ ภาพ 2. การมีความรเู้ กีย่ วกับสขุ ภาพที่ถกู ตอ้ งและเปน็ ปจั จุบัน 3. การวิเคราะห์ ความสามารถในการน�ำความร้คู วามเขา้ ใจมาสอ่ื สาร แลกเปล่ียนกันระหว่างกลุ่มเพ่ือร่วมกันวิเคราะห์ เปรียบเทียบและ ประเมินกอ่ นทจี่ ะตดั สินใจ 4. การตัดสินใจ ความสามารถในการตัดสินใจเลือกที่จะกระท�ำหรือ ไมก่ ระทำ� การใดๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การดแู ลสขุ ภาพ 5. การลงมอื ปฏบิ ตั ิ การกระท�ำการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและ ชมุ ชน 6. การรู้เทา่ ทนั ส่ือเพ่อื น�ำไปสกู่ ารมสี ุขภาพดี จะเหน็ ไดว้ า่ ความฉลาด ทางสุขภาพเป็นต้นทุนชีวิตท่ีสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิต โดยสามารถ เร่ิมได้ท่ีตัวเองและขยายไปสู่ครอบครัวและชุมชนเพ่ือยกระดับการมีสุขภาพดี ของสงั คมไทย 12 กองสขุ ศกึ ษา กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ , ความฉลาดทางสขุ ภาพ, พมิ พ์คร้ังท่ี 1 (กรงุ เทพฯ: นวิ ธรรมดาการพมิ พ,์ 2554) 14 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ตวั อยา่ งงานวจิ ยั ทน่ี ำ� แนวคดิ นไี้ ปศกึ ษาเพอื่ ปรบั ใชใ้ นดา้ นระบบการดแู ล สขุ ภาพ เชน่ วชั ราพร เชยสวุ รรณ13 ไดม้ งุ่ ศกึ ษาประเดน็ ความรอบรดู้ า้ นสขุ ภาพ แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล โดยได้ศึกษาถึงปัจจัย ท่ีเก่ียวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ แนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้าน สุขภาพ และแนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล ประชาชนท่ัวไป สามารถมีความรอบรูด้ า้ นสขุ ภาพได้ โดยการใชท้ กั ษะทจ่ี �ำเปน็ ในการแสวงหา ทำ� ความเขา้ ใจ ประเมนิ สอื่ สาร และใชส้ ารสนเทศดา้ นสขุ ภาพ ในขณะเดยี วกนั พยาบาลสามารถส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพได้โดยมีการประเมินระดับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้รับบริการ การสร้างสัมพันธภาพและสื่อสาร ในแนวทางทที่ ำ� ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารเกดิ ความเขา้ ใจ และสามารถปฏบิ ตั ติ นตามขอ้ มลู ที่ได้รบั ดขี ้นึ ซึ่งการสอื่ สารทีด่ ยี ังสามารถเพ่มิ ความปลอดภัยใหแ้ กผ่ ปู้ ว่ ยด้วย อภิญญา อินทรรัตน์14 ศึกษาประเด็นความฉลาดทางสุขภาพของ ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ดา้ นสขุ ภาพ ซงึ่ ไดเ้ สนอแนวคดิ เกยี่ วกบั บทบาทของผปู้ ระกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพในการพัฒนาปรับปรุงความฉลาดทางสุขภาพของสังคม ส่วนรวมโดยการใช้กลยุทธ์การส่ือสาร การสร้างส่ือให้ความรู้ทางด้านสุขภาพ ท่ีเหมาะสม การสร้างสิ่งแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ และ การใหบ้ รกิ ารชว่ ยเหลอื อนื่ ๆ ทีส่ ามารถปรบั ใหเ้ หมาะสมกบั ผูร้ บั สารทม่ี ีความ แตกตา่ งและหลากหลายในระดบั ความรู้ ความสามารถ ภาษา และวฒั นธรรม 13 วชั ราพร เชยสวุ รรณ, ความรอบร้ดู ้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยกุ ต์สู่ การปฏิบตั ิการ พยาบาล Health Literacy: Concept and Application for Nursing Practice. วารสารแพทย์นาว,ี 44(3), (2560): 183–197. 14 อภิญญา อินทรรัตน์, ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ Health literacy of Health Professionals. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), (2557): 174–178. 15 ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
จิระภา ข�ำพิสุทธิ15 ศึกษาความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรม สรา้ งเสริมสขุ ภาพของนสิ ิตมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเห็นวา่ ควรมกี ารกำ� หนด นโยบายการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการปลูกฝังค่านิยม การมพี ฤตกิ รรมสขุ ภาพทถ่ี กู ตอ้ ง มกี ารจดั กจิ กรรมสง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ กระบวนการ เรียนรู้ โดยผ่านการส่ือสารที่ทันสมัย ตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อมท่ีเอ้ือ ต่อการสร้างเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัย เพ่ือเสริมสร้างความยั่งยืนของ พฤติกรรม ส�ำหรับนิสิตควรให้ความสนใจแสวงหาความรู้ มีความตระหนัก ในการสร้างเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม เป็นแบบอยา่ งที่ดใี นดา้ นการสรา้ งเสรมิ สุขภาพ อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบงานวิจัยท่ีน�ำแนวคิดความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) มาศกึ ษาหรอื ปรบั ใชก้ ลมุ่ กลมุ่ ประชากร LGBTIQN+ ทงั้ นี้ กลุ่มประชากร LGBTIQN+ จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตลอดจนระบบ การดูแลบริการทางสุขภาพ และสุขภาวะโดยรวมของ LGBTIQN+ จะมี ประสิทธิภาพและย่ังยืนมากขึ้น หากสามารถน�ำแนวคิดน้ีมาประยุกต์ใช้ใน การออกแบบระบบดูแลสุขภาพ ตลอดจนยุทธศาสตร์หรือนโยบายเก่ียวกับ สขุ ภาวะของกลุม่ ประชากร LGBTIQN+ 5. แนวคดิ สขุ ภาพดรี ว่ มกัน (Inclusive Health) และความเสมอภาคทางสุขภาพ (Health Equity) ประชากรกลมุ่ บคุ คลทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศ ตอ้ งเผชญิ กบั ปญั หา ความเหลื่อมล้�ำทางสุขภาพหลายประการ และมีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพ อนั เนอื่ งมาจากการถกู เลอื กปฏบิ ตั แิ ละการตตี รา จนทำ� ใหป้ ระชากรกลมุ่ บคุ คล 15 จิระภา ข�ำพิสุทธิ, ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิต มหาวทิ ยาลยั นเรศวร Health Literacy and Health Promotion Behaviors of Students in Naresuan University. (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2559) 16 ยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศไมส่ ามารถเขา้ ถงึ บรกิ ารดา้ นสขุ ภาพและสาธารณสขุ ในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและสุขภาวะของประชากร ในประเทศยังขาดมุมมองในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ เป็นการต้ัง กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ค�ำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะ อัตลักษณ์ทางเพศสภาพ เพศวิถี และวิถีทางเพศที่มีความเฉพาะของบุคคล แนวคิดสุขภาพดีร่วมกัน (Inclusive Approach) และความเสมอภาคทางสุขภาพ (Health Equity) จงึ เปน็ แนวทางการก�ำหนดนโยบายสาธารณะท่มี องเห็นคนทกุ กลุ่ม รวมไปถึง กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศท่ีมีความจ�ำเป็นด้านสุขภาพท่ีมี ความจำ� เพาะ ไมม่ องขา้ มคนกลมุ่ ไหนเพอื่ ใหท้ กุ คนสามารถเขา้ สคู่ วามเสมอภาค ทางสุขภาพ (Health Equity) เปน็ แนวความคดิ ทีเ่ ช่ือว่าปัจเจกบคุ คลทุกคน มีสิทธิท่ีจะมีสุขภาพที่ดี และถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน ทจ่ี ะตอ้ งทำ� ใหม้ น่ั ใจไดว้ า่ ทกุ ๆ คนสามารถมศี กั ยภาพในดา้ นสขุ ภาพอยา่ งสงู สดุ ดังน้ัน การก�ำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและสุขภาวะของ ประชากรดว้ ยจดุ ยนื ในเรอื่ งของความเสมอภาคทางสขุ ภาพ จำ� เปน็ ตอ้ งดำ� เนนิ นโยบายและยทุ ธศาสตรท์ ท่ี ำ� ใหท้ กุ คนเขา้ ถงึ การมสี ขุ ภาพดไี ดอ้ ยา่ งเสมอภาคกนั เพราะเป็นสทิ ธิของทุกปัจเจกบคุ คล การนับรวมทุกกลุ่มคน (Inclusiveness or Inclusion) หมายถึง การเปิดช่องทางให้ปัจเจกบุคคลและกลุ่มทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นส่วนหน่ึงของ สงั คมของพลเมอื ง มคี วามเทา่ เทยี มกนั ทางสงั คมในดา้ นสทิ ธเิ สรภี าพ มโี อกาส และความเสมอภาคในกระบวนการอภิปรายถกเถียงและการตัดสินใจทาง การเมือง โดยการรวมประชาชนทุกคนในสังคมให้เข้ามาเป็นส่วนหน่ึงของ ความเปน็ พลเมอื งทีม่ สี ิทธเิ สรภี าพอยา่ งเสมอกนั ทุกคนสามารถเขา้ ถงึ อำ� นาจ ตามกฎหมายในการมสี ว่ นรว่ มทางสงั คม เศรษฐกจิ และการเมอื ง อยา่ งไมถ่ กู เลอื กปฏบิ ตั ิ ความเปน็ สว่ นหนงึ่ ของสงั คมของพลเมอื งจงึ เปน็ การรวมประชาชน ทกุ ฝง่ั ฝา่ ยเขา้ เปน็ สงั คมเดยี ว ความหมายดงั กลา่ วจงึ ตรงขา้ มกบั อภสิ ทิ ธเ์ิ ฉพาะ 17 ยทุ ธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
กลุ่มหรือเฉพาะบุคคล (Exclusiveness) ซึ่งหมายถึงการให้สิทธิพิเศษแก่คน บางกลมุ่ จนกลายเปน็ อภสิ ทิ ธช์ิ นในสงั คม หรอื การกดี กนั คนกลมุ่ เลก็ กลมุ่ นอ้ ย ออกไปจากระบบหรอื สงั คม16 การมีสุขภาพดีร่วมกัน (Inclusive Health) จึงเป็นนโยบายสุขภาพ ทรี่ วมทกุ กลมุ่ คนอยา่ งทว่ั ถงึ และเทา่ เทยี ม ตลอดจนการมสี ว่ นรว่ มในกระบวนการ อภิปรายถกเถยี ง การตัดสนิ ใจเก่ยี วกับนโยบายระบบสขุ ภาพ องค์การอนามัยโลก17 ได้ด�ำเนินโครงการ CBR Guidelines (Com- munity Based Rehabilitation) ซ่ึงได้วางแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการโดยชุมชน การศกึ ษาแบบเรียนรว่ ม (Inclusive Education) เปน็ แนวคิดท่ีได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและน�ำไปใช้ในระบบการศึกษา ทวั่ โลก ซง่ึ หมายถงึ การศกึ ษาทเ่ี ปดิ รบั บคุ คลทกุ คน รวมทงั้ คนพกิ ารใหเ้ ขา้ รว่ ม อย่างเต็มที่ทั้งในโรงเรียนท่ัวไปหรือศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ในชุมชน เช่นเดียว กับแนวคิดสขุ ภาพดรี ่วมกันซง่ึ ก�ำลงั ได้รบั การส่งเสริมโดยโครงการ CBR เพื่อ ใหแ้ นใ่ จวา่ ระบบสขุ ภาพมกี ารตระหนกั ถงึ ความตอ้ งการของคนพกิ ารและบรรจุ เอาไว้ในนโยบาย แผนงาน และการจัดบริการต่างๆ ซ่ึงใช้การดูแลสุขภาพ ระดับปฐมภมู เิ ป็นฐาน ตามแนวคิด “สขุ ภาพดถี ้วนหนา้ ” (Health for All) กล่าวคือการดูแลสุขภาพควรเป็นสิ่งที่บุคคลและครอบครัวสามารถเข้าถึงได้ ในชมุ ชนผา่ นการมสี ว่ นรว่ มอยา่ งเตม็ ทแ่ี ละมคี า่ ใชจ้ า่ ยทช่ี มุ ชนและประเทศนน้ั สามารถจ่ายได้ สุขภาพแบบมีส่วนร่วม หมายถึงการที่ทุกคนสามารถเข้าถึง การดแู ลสุขภาพโดยไมค่ �ำนึงถึงความพิการ เพศ อายุ สผี วิ เช้ือชาติ ศาสนา 16 Young, Iris Marion, Inclusion and Democracy, (Oxford: Oxford University Press, 2002) 17 มยรุ ี ผวิ สวุ รรณ, ดารณี สวุ พนั ธ, วไิ ลภรณ์ โคตรบงึ แก, Karen Heinicke–Motsch, Barney McGlade, ปิยมาส อุมัษเฐียร, CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Com- munity Based Rehabilitation), (องคก์ ารอนามยั โลก, 2556) 18 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
เศรษฐกิจ และฐานะทางสังคม ซึ่งการจะเป็นเช่นน้ีได้ผู้ให้บริการสุขภาพ ต้องมีทัศนคติเชิงบวกต่อความพิการและคนพิการ มีทักษะที่เหมาะสม เช่น ทกั ษะดา้ นการสอ่ื สารเพอ่ื ใหท้ ราบถงึ ความตอ้ งการของคนพกิ ารประเภทตา่ งๆ สง่ิ แวดลอ้ มทง้ั หมดจำ� เปน็ ตอ้ งเปลยี่ นแปลงเพอ่ื ไมใ่ หม้ ผี ถู้ กู แบง่ แยกหรอื กดี กนั หนทางหนงึ่ ทจ่ี ะบรรลเุ ปา้ หมายนไี้ ดโ้ ดยสง่ เสรมิ ใหค้ นพกิ ารและองคก์ รคนพกิ าร เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการวางแผนงาน การเพิ่มความเข้มแข็งของ บริการสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากน้ี Audrey Verdier–Chouchane and Charlotte Karagueuzian18 ได้น�ำเสนอบทความเรื่องกลุ่มธนาคารเพ่ือการพัฒนา แอฟริกา (African Development Bank Group) โดยสำ� รวจแนวคดิ เร่ือง การนบั รวมอยา่ งทวั่ ถงึ โดยมงุ่ เนน้ ดา้ นสขุ ภาพ ซง่ึ แสดงใหเ้ หน็ ขอ้ จำ� กดั ของดชั นี การเติบโตแบบท่ัวถึงและถ้วนหน้าท่ีโดยท่ัวไปจะรวมเอาตัวชี้วัดด้านสุขภาพ ไปรวมกับตัวช้ีวัดด้านอ่ืนๆ ดังนั้น Audrey Verdier–Chouchane and Charlotte Karagueuzian จึงเสนอแนวคิดและมาตรวัดด้านสุขภาพที่ นบั รวมทกุ กลมุ่ คนแยกออกมา และใหม้ กี ารยอมรบั วา่ สขุ ภาพเปน็ องคป์ ระกอบ ส�ำคัญของการพัฒนามนุษย์และเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการลดความยากจน ดัชนีสุขภาพแบบถ้วนหน้าของ Audrey Verdier–Chouchane and Charlotte Karagueuzian นนั้ ประกอบดว้ ย ชดุ ของกระบวนการดา้ นสขุ ภาพ และตวั ชผี้ ลลพั ธ์ทม่ี ีอยใู่ นระดับโลก ท้งั ดา้ นปรมิ าณ คณุ ภาพ และการเข้าถึง บรกิ ารดา้ นการดแู ลสขุ ภาพทดี่ ที ส่ี ดุ ทว่ั โลก ซงึ่ ไดด้ ำ� เนนิ การมาแลว้ 178 ประเทศ ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของงานนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่แตกต่างกันสองวิธี คือ การ วเิ คราะหแ์ บบ Totally Fuzzy Analysis และ The Principal Components 18 Audrey Verdier–Chouchane and Charlotte Karagueuzian, African Development Bank Group. (African Development Bank, Abidjan, Côte d’Ivoire, 2016) 19 ยุทธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
Analysis ซงึ่ ถกู นำ� มาเปรยี บเทียบความแนน่ อนของวธิ กี าร ม่งุ เน้นค�ำแนะนำ� ด้านนโยบายดังกล่าวในแอฟริกา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีรายงานผลด้านสุขภาพ แบบถ้วนหน้าท่ีต�่ำ เพ่ือสร้างสุขภาพที่มีความครอบคลุมมากขึ้นในภูมิภาคนี้ เป็นส่วนหน่ึงของกลยุทธ์การเติบโตแบบทั่วถึงทุกพื้นที่และถ้วนหน้าทุกกลุ่ม เป้าหมาย ส�ำหรับการน�ำรูปแบบแนวคิดสุขภาพดีร่วมกัน (Inclusive Health) มาใชใ้ นกลมุ่ ประชากร LGBTIQN+ กย็ งั ไมพ่ บเชน่ กนั ถา้ หนว่ ยงานหรอื องคก์ ร ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ระบบและนโยบายดา้ นสขุ ภาวะในประเทศไทย สามารถนำ� รปู แบบ แนวคิดสุขภาพดีรว่ มกนั (Inclusive Health) มาปรับใชใ้ ห้เข้ากบั แตล่ ะกลุม่ เปา้ หมายได้ จะเปน็ การใหบ้ รกิ ารและผลกั ดนั ประเดน็ สถานการณป์ ญั หาเฉพาะ กลุ่มประชากรได้อย่างทั่วถึงทุกพื้นท่ีและถ้วนหน้า โดยไม่เลือกปฏิบัติในด้าน มติ ิทางเพศ แนวคดิ และกระบวนการจัดท�ำยทุ ธศาสตร์ การพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในคร้ังนี้ ได้ใช้กรอบ การศึกษาจากเพศสภาพ เพศวิถี สิทธิในวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ การกดขี่ทับซ้อน(Intersectionality) ความหลากหลายของเพศสภาพและเพศวถิ ี (Gender and Sexual Diversity) สุขภาวะทางเพศ และความเป็นพลเมืองสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well– being and Citizenship) ปจั จยั สงั คมกำ� หนดสขุ ภาวะ (Social Determinants of Health) แนวคดิ สุขภาพดรี ว่ มกัน (Inclusive Health) และความเสมอ ภาคทางสขุ ภาพ (Health Equity) โดยมขี น้ั ตอนการพฒั นายทุ ธศาสตร์ ดงั น้ี 1. การส�ำรวจและวเิ คราะห์ บริบท สถานการณ์ปัญหาที่เก่ยี วขอ้ งกับ สุขภาวะของกลุ่ม LGBTIQN+ จากงานวิจัย ข่าว บทความ และเอกสาร ที่เก่ยี วขอ้ ง ท้ังในและต่างประเทศ 20 ยทุ ธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
2. การส�ำรวจและวิเคราะห์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ ที่เก่ียวข้องกับ สขุ ภาวะของกลมุ่ LGBTIQN+ ในประเทศไทยและตา่ งประเทศ จากฐานขอ้ มลู เอกสารของภาคประชาสงั คม และองคก์ รภาครฐั ทที่ ำ� งานในประเดน็ LGBTIQN+ 3. การสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนกลุ่มLGBTIQN+ เพื่อรวบรวม สถานการณป์ ญั หาทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั สขุ ภาวะของ กลมุ่ LGBTIQN+ จำ� นวน 22 คน โดยคดั เลอื กผใู้ หส้ มั ภาษณท์ มี่ ปี ระสบการณก์ ารทำ� งานดา้ นสขุ ภาวะ LGBTIQN+ และเป็นตวั แทนของ Lesbian (หญงิ รกั หญิง) Gay (ชายรักชาย) Bisexual (บคุ คลรกั ไดท้ ้ังสองเพศ) Transgender (บคุ คลข้ามเพศ) Intersex (บคุ คล ทมี่ ีเพศกำ� กวม) Queer (ผทู้ ไี่ มน่ ยิ ามเพศ หมายถงึ บคุ คลทป่ี ฏเิ สธการนิยาม ตนเองด้วยอัตลักษณ์ทางเพศทุกรูปแบบ) Non–Binary (นอน–ไบนารี่ หรือ บุคคลท่ีปฏิเสธการนิยามตนเองด้วยอัตลักษณ์ทางเพศท่ีวางอยู่บนฐาน การแบง่ เพศเปน็ สองข้วั ตรงขา้ มคอื ชายและหญงิ ) 4. การประชมุ ทปี่ รกึ ษารา่ งแผนยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+จำ� นวน 20 คน ซง่ึ เป็นผู้เชย่ี วชาญดา้ นสุขภาวะ LGBTIQN+ 5. การประชุมกลุ่ม LGBTIQN+ จ�ำนวน 20 คน โดยเป็นผู้ที่ ประสบการณ์การท�ำงานด้านสุขภาวะ LGBTIQN+ และเป็นตัวแทนของ Lesbian (หญงิ รกั หญิง) Gay (ชายรกั ชาย) Bisexual (บุคคลรักได้ท้งั สอง เพศ) Transgender (บุคคลข้ามเพศ) Intersex (บุคคลที่มีเพศก�ำกวม) Queer (ผู้ที่ไม่นิยามเพศ หมายถึงบุคคลที่ปฏิเสธการนิยามตนเองด้วยอัต ลักษณท์ างเพศทุกรูปแบบ) Non–Binary (นอน–ไบนารี่ หรอื บคุ คลทป่ี ฏเิ สธ การนยิ ามตนเองดว้ ยอตั ลกั ษณท์ างเพศทว่ี างอยบู่ นฐานการแบง่ เพศเปน็ สองขวั้ ตรงขา้ มคือ ชายและหญงิ ) 6. การประชุมภาคีหลัก และภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์ ซ่ึงได้แก่ กลุ่ม LGBTIQN+ ภาคประชาสังคม องค์กรทท่ี ำ� งานในประเด็น LGBTIQN+ นักวชิ าการ ผู้เช่ียวชาญ จำ� นวน 50 คน 22 ยทุ ธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
2บทท่ี บรบิ ทและสถานการณ์ ปัญหาสุขภาวะ ของกลมุ่ ประชากร LGBTIQN+ พฒั นาการของการเคลื่อนไหวเพือ่ สทิ ธิบุคคล ทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศในต่างประเทศ19 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1969 บุคคลรักเพศเดียวกัน หญิงรักหญิง ชายรักชาย บุคคลรักได้ท้ังสองเพศ บุคคลข้ามเพศ ได้ออกมาร่วมประท้วง หลายครัง้ หลังเกิดเหตุการณเ์ จา้ หน้าท่ตี ำ� รวจใชค้ วามรนุ แรงบกุ จับกมุ ในบาร์ เกย์ สโตนวอลล์ อนิ น์ ในยา่ นกรีนวิช วิลเลจ นวิ ยอร์ค ถึงแมว้ ่าในสมยั นัน้ ได้ มกี ารบกุ จบั กมุ ทใี่ ชค้ วามรนุ แรงอยเู่ ปน็ ประจำ� แตเ่ หตกุ ารณจ์ ลาจลสโตนวอลล์ เมอื่ วนั ท่ี 28 มถิ นุ ายน ค.ศ. 1969 เปน็ จดุ เปลย่ี นสำ� คญั ทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ การกอ่ รา่ ง 19 แปลสรุปความจาก “The Birth of Movement and Development of LGBT Right” in Lovel, Natalie, Theorising LGBT Rights as Human Rights: A Queer (itical) Analysis. E–Inter- national Relation, 2015, Accessed 13 June 2020, Available from https://www.e–ir.info/ pdf/60542; Todd, M., Pride: The Story of LGBTQ Equality Movement. (Richmond, CA: Weldon Owen International, 2020); The New York Times, Pride: Fifty Years of Parades and Protest. (New York, NY: Abrams The Art of Books, 2019) 23 ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ของขบวนการเคลื่อนไหวชายรักชาย และหญิงรักหญิง ซึ่งมาพร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างท่ีไม่เคยคาดคดิ มาก่อน การจลาจลสโตนวอลลเ์ ปน็ หมดุ หมายเชงิ สญั ลกั ษณส์ ำ� คญั ของจดุ กำ� เนดิ การเคลอื่ นไหวเพื่อสิทธบิ คุ คลท่มี คี วามหลากหลายทางเพศในยุคสมัยใหม่ ซ่งึ กอ่ นหนา้ นน้ั การเคลอ่ื นไหวทางการเมอื งในตะวนั ตกเพอ่ื ผลกั ดนั ใหก้ ารรกั เพศ เดยี วกนั ไมเ่ ปน็ ความผดิ ทางอาญา (Decriminalization of Homosexuality) ได้ด�ำเนินมามากกว่าศตวรรษ20 ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกคร้ังที่ 1 องค์กร Germany’s Scientific Humanitarian Committee (Wissenschaftlich– Humanitäres Komitee) ท่ีก่อต้ังข้ึนในปี ค.ศ. 1897 ณ เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เป็นองค์กรส่งเสริมสิทธิเกย์องค์กรแรกของโลกที่ด�ำเนินการ เพอ่ื เรยี กรอ้ งสทิ ธแิ ละความเทา่ เทยี มของบคุ คลรกั เพศเดยี วกนั องคก์ รดงั กลา่ ว ถูกนาซีส่ังปิดในปี ค.ศ. 1933 ชายรักชายในยุโรปถูกจับและส่งตัวไปยังค่าย กกั กนั ของนาซี ฮติ เลอรเ์ ชอ่ื วา่ การเปน็ ชายรกั ชายนนั้ เหมอื นเปน็ โรคตดิ ตอ่ และ ตอ้ งหาทางกำ� จดั เพอ่ื ธำ� รงความบรสิ ทุ ธขิ์ องเชอ้ื สายเยอรมนั อนั สงู สง่ มกี ารตดิ เคร่ืองหมายสัญลักษณ์รูปสามเหล่ียมหัวคว�่ำสีชมพูบนเคร่ืองแบบของนักโทษ ทเี่ ปน็ ชายรกั ชาย เพอ่ื จำ� แนกนกั โทษทเี่ ปน็ ชายรกั ชายออกจากนกั โทษคนอนื่ ๆ21 เชื่อว่ามีชายรักชายกว่าหมื่นคนถูกสังหารในค่ายกักกัน ส่วนผู้ท่ียังมีชีวิต 20 Adam, B. D., The Rise of a Gay and Lesbian Movement. (New York: Twayne Publisher, 1995); Foster, T. A., Long Before Stonewall: Histories of Same–Sex Sexuality in Early America. (New York: NYU Press, 2007); Sullivan, N., A Critical Introduction to Queer Theory. (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2003) 21 CBC Kids, Why Pink Triangles Are Special, accessed 14 June 2020, available from https://www.cbc.ca/kidscbc2/the–feed/why–pink–triangles–are–special 24 ยทุ ธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ได้ถูกท�ำร้าย เหยียดหยาม กักขัง ใช้เป็นหนูทดลอง หรือแม้กระท่ังถูกตอน อวัยวะเพศ22, 23 ทศวรรษที่ 1950 และทศวรรษที่ 1960 ในชว่ งทศวรรษที่ 1950–1960 ในประเทศสหรฐั อเมรกิ าเกดิ การรวมกลมุ่ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของกลุ่มบุคคลท่ีมีความหลากหลาย ทางเพศ เรยี กวา่ Homophile Movement การเมอื งของขบวนการเคลอ่ื นไหว นมี้ เี ปา้ หมายคอื การขบั เคลอ่ื นเพอื่ ทำ� ใหค้ นกลมุ่ นอ้ ยอยา่ งบคุ คลรกั เพศเดยี วกนั สามารถกลนื กลาย (Politics of Assimilation) อยรู่ ว่ มกนั ในวฒั นธรรมกระแส หลักอย่างบุคคลรักต่างเพศได้24 โดยกลุ่มที่เรียกว่า Mattachine Society ในเมอื งลอสแองเจลสิ รฐั แคลฟิ อรเ์ นยี และองคก์ รหญงิ รกั หญงิ The Daughters of Bilitis ในเมอื งซานฟรานซสิ โก กจิ กรรมของขบวนการเคลอื่ นไหวนสี้ ว่ นใหญ่ อยใู่ นระดบั ทอ้ งถน่ิ เรยี กรอ้ งใหม้ กี ารสรา้ งสภาพแวดลอ้ มทางสงั คมทป่ี ลอดภยั การขจดั การเลือกปฏบิ ัตใิ นทท่ี ำ� งานและท่ีพักอาศัย และส่งเสรมิ ให้ผู้ประกอบ 22 ชิษณุพงศ์ นิธิวนา และวรรณภา ลีระศิร, การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้มีความหลาก หลายทางเพศ ในสหรฐั อเมรกิ าสมยั ประธานาธบิ ดบี ารคั โอบามา (ค.ศ. 2009–2017). วารสารรฐั ศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1) (มกราคม–มิถุนายน 2560): 1–32. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2563, จาก https://so05.tci–thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/download/91305/71724/ 23 Hari, J., The Strange, Strange Story of the Gay Fascists, (The Huffington Post: May 25, 2011), Accessed 12 December 2020, Available from https://www.huffpost.com/ entry/the–strange–strange–story_b_136697; Tatchell, P., The Nazi Doctor Who Experimented on Gay People and Britain Helped to Escape Justice, The Guardian, (May 5, 2015) Accessed 12 December 2020, Available from https://www.theguardian.com/commentisfree/2015/ may/05/nazi–doctor–gay–people–carl–vaernet–escaped–justice–danish. 24 Richardson, D., Desiring Sameness? The Rise of a Neoliberal Politics of Normalisa- tion. Antipode, 37(2005), 515–535. 25 ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
วชิ าชีพแพทย์ กฎหมาย และอาชพี อ่นื ๆ มที ัศนคตทิ ีม่ คี วามเห็นใจตอ่ บุคคล รกั เพศเดียวกันมากข้นึ 25 ทศวรรษท่ี 1970 ทศวรรษท่ี 1970 เป็นทศวรรษแรกของการเคลื่อนไหวเพ่ือสิทธิชายรัก ชายสมัยใหม่ เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีสีสัน การมีตัวตน และเสรีภาพ ชายรักชายปรากฏตัวในพ้ืนท่ีสาธารณะ ในส่ือกระแสหลัก ทั้ง ภาพยนตร์ ละครเวที และโทรทัศน์ รวมถึงนิยายที่เชิดชูวิถีชีวิตและเพศวิถี แบบชายรกั ชาย ไพรด์พาเหรดถูกจัดขึ้นเป็นคร้ังแรกที่แมนฮัตตัน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1970 หน่ึงปีหลังเหตุการณ์สโตนวอลล์ ไพรด์พาเหรดถือว่าเป็น การแสดงออกอย่างกล้าหาญในช่วงเวลาที่การคุ้มครองบุคคลรักเพศเดียวกัน ทางกฎหมายยังมีอยู่อย่างจ�ำกัด ถึงแม้ว่าสมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ได้ถอด “การรักเพศเดียวกัน” (Homosexuality) ออกจากบัญชีโรคผิดปรกติทางจิต ต้ังแต่ปี ค.ศ. 1973 แต่ความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันผ่านระบบสถาบัน (Institutionalized Homophobia) ยงั คงเกดิ ขน้ึ อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง อาทิ ในปี ค.ศ. 1977 นกั กจิ กรรม ทางการเมืองและนักรอ้ งอานิตา ไบรอนั ท์ (Anita Bryant) สามารถรณรงค์ จนเกิดการยกเลิกข้อบัญญัติห้ามมิให้เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งวิถีทางเพศ ในรฐั ฟลอรดิ า ในปี ค.ศ. 1976 นกั เทนนสิ หญงิ ขา้ มเพศ เรเน่ รชิ ารด์ ส (Renee Richards) ถกู กดี กนั ไมใ่ หเ้ ขา้ รว่ มการแขง่ ขนั รายการ United States Open ของนกั เทนนสิ หญิง 25 Cornell University, 1950s–1960s Homophile Movement, 2006, Accessed 13 November 2020, Available from http://rmc.library.cornell.edu/HRC/exhibition/stage/stage_3. html 26 ยุทธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว สิทธิความเท่าเทียมอย่างแท้จริงยิ่งทวี ความส�ำคัญ ท�ำให้นักกิจกรรมชายรักชาย ฮาร์วีย์ มิลค์ (Harvey Milk) ลงชิงต�ำแหน่งทางการเมืองและได้รับการเลือกต้ังเป็นสมาชิกคณะกรรมการ กำ� กับดแู ลแหง่ ซานฟรานซิสโก (San Francisco Board of Supervisors) ในปี ค.ศ. 1978 มลิ คเ์ ปน็ ขา้ ราชการในสหรฐั อเมรกิ าคนแรกๆ ทเ่ี ปดิ เผยตนเอง วา่ เปน็ ชายรกั ชาย อยา่ งไรกต็ าม หลงั จากรบั ตำ� แหนง่ ไมถ่ งึ ปี ฮารว์ ี่ มลิ ค์ และ จอร์จ มอสโคนี นายกเทศมนตรีซานฟรานซสิ โก ถูกกระหน่�ำยงิ สังหารกลาง ศาลากลาง เหตกุ ารณค์ วามรนุ แรงตอ่ ตา้ นชายรกั ชายในครง้ั นน้ั นอกจากเปน็ แรงบันดาลใจให้ ศิลปินจอร์จ เบเกอร์ (Geoge Baker) ออกแบบธงสีรุ้ง ท่ีเป็นสัญลักษณ์ของ LGBT มาจนถึงปัจจุบัน อีกท้ังยังเป็นการจุดชนวนการ จลาจลและการประทว้ งในวงกวา้ ง ภายในระยะเวลาไมก่ เ่ี ดอื นหลงั การเสยี ชวี ติ ของมลิ คแ์ ละมอสโคนี ไดม้ กี ารรวมตวั กนั อยา่ งทรงพลงั เดนิ ขบวนเพอื่ สทิ ธหิ ญงิ รกั หญงิ และชายรกั ชายขน้ึ เปน็ ครง้ั แรก ในเมอื งหลวงกรงุ วอชงิ ตนั ดซี ี คาดวา่ มีผเู้ ข้าร่วมการชุมนมุ มากถึง 75,000 ถงึ 125,000 คน ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของกลุ่มชายรักชายในสหรัฐอเมริกา ในช่วงตน้ ทศวรรษท่ี 1970 น้ี นำ� โดยกลุ่ม New York’s Gay Liberation Front (GLF) การดำ� เนนิ กจิ กรรมของกลมุ่ GLF ไมไ่ ดเ้ นน้ การสรา้ งความเขา้ ใจ และการสรา้ งบรรยากาศทเ่ี ปน็ มติ รตอ่ กลมุ่ บคุ คลทมี่ คี วามหลากหลายทางเพศ แต่หันไปเน้นการปลดปล่อยให้เกิดเสรีภาพทางเพศ (Sexual Liberation) ต้องการพงั ทลายโครงสร้างทางสังคมชายเปน็ ใหญแ่ บบด้งั เดิม เป็นขบวนการ เคลื่อนไหวในลักษณะก้าวร้าว ที่วิพากษ์วิจารณ์ค่านิยมกระแสหลัก ต้องการ ปฏวิ ตั สิ งั คม เพอื่ ยตุ กิ ารกดขขี่ ม่ เหงกลมุ่ เพศทางเลอื กทถี่ กู เบยี ดขบั ไปเปน็ กลมุ่ คนชายขอบของสงั คม ในขณะเดยี วกนั กย็ ดึ ถอื และภาคภมู ใิ จในตวั ตนของเพศ ทางเลือก ขบวนการเคลื่อนไหว GLF น�ำกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จากการเรียกร้องสิทธิเชิงลบ 27 ยทุ ธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
(Negative Rights) คือการเรียกร้องให้หยุดการกีดกันทางกฎหมาย ไปสู่ การเรียกร้องสิทธิเชิงบวก (Positive Rights) คือการให้สิทธิพลเมือง เช่น การให้ความคุ้มครองทางกฎหมายจากการถูกเลือกปฏิบัติ และการรับรอง สถานะตามกฎหมายของความสมั พนั ธข์ องบคุ คลรกั เพศเดียวกนั 26 กลา่ วไดว้ า่ ภายหลงั เหตกุ ารณจ์ ลาจลสโตนวอลล์ ขบวนการเคลอื่ นไหว มลี กั ษณะเปลย่ี นไปจากเดมิ ทเี่ ปน็ การเมอื งของการกลนื กลาย (Assimilationist Politics) ไปสู่วาระของการต่อสู้เพ่ือเสรีภาพมากข้ึน ภายในระยะเวลาสองปี กลุ่มเพ่ือเสรีภาพของชายรักชายเพิ่มจ�ำนวนข้ึนอย่างรวดเร็วในประเทศสหรัฐ- อเมรกิ า แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศตา่ งๆ ในยุโรปตะวนั ตก27, 28 โดย มีเป้าหมายเพอ่ื ต่อตา้ นสถาบนั ท่ตี ่อต้านบคุ คลรกั เพศเดียวกนั กลมุ่ ขบวนการ เคล่ือนไหวท่ีโดดเด่น ได้แก่ Gay Liberation Front (GLF) ในประเทศ สหรฐั อเมรกิ า แคนาดา และสหราชอาณาจกั ร Campaign against Moral Persecution (CAMP) ในประเทศออสเตรเลีย The Netherland Association for the Integration of Homosexuality COC ในประเทศ เนเธอแลนด์ และ The Front Homosexual Action Revolutionnaire (FHAR) ในประเทศฝร่ังเศส29 26 Encarnación, O. G., Gay rights: Why democracy matters. Journal of Democracy, 25, 3 (2014): pp.90–104. 27 Adam, B. D., The Rise of a Gay and Lesbian Movement. 28 Stein, M., Rethinking the Gay and Lesbian Movement (New York: Routledge, 2012) 29 Adam, B. D., The Rise of a Gay and Lesbian Movement. 28 ยุทธศาสตรส์ ขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
“Pride, Choice, Coming Out, and Liberation” (“ความภมู ใิ จ ทางเลอื ก การเปดิ เผยตวั ตน และเสรภี าพ”) เปน็ หวั ใจสำ� คญั ของนกั เคลอ่ื นไหว เพอ่ื เสรภี าพทปี่ ฏเิ สธการกลนื กลายตามแนวคดิ ของกลมุ่ Homophile Move- ment30 ดังนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพเกย์ (Gay Liberation Movement) จึงมองว่า เสรีภาพของเกย์เป็นการปฏิวัติเพื่อให้เกย์สามารถ มวี ิถกี ารด�ำเนินชวี ติ ทเ่ี ปน็ อสิ ระและเกิดความภาคภมู ิใจในตวั ตนของตนเอง อย่างไรกต็ าม ในชว่ งกลางทศวรรษที่ 1970 ขบวนการเคล่อื นไหวเพอ่ื เสรภี าพเกย์ (Gay Liberation Movement) เร่ิมมีการแตกแยกเป็นฝกั ฝา่ ย ผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้หญิงจ�ำนวนมากมองว่าขบวนการเคลื่อนไหวเพ่ือเสรีภาพนี้ เป็น “การต่อสู้ของเกย์ชนชั้นกลางผิวขาว”31 ต่อมาจึงเกิดการก่อร่างของนัก สตรนี ิยมหญงิ รักหญิงสายถอนรากถอนโคน (Radical Lesbian Feminists) เป็นขบวนการเคล่ือนไหวอย่างอิสระ ท่ีก่อตัวมาจากความรู้สึกแปลกแยกจาก ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพเกย์ กลุ่มนักสตรีนิยมหญิงรักหญิงเข้าร่วม ขบวนการเคลื่อนไหวเพ่ือเสรีภาพชายรักชาย โดยเน้นไปที่ประเด็นเสรีภาพ ทางเพศ แตม่ วี ธิ กี ารขบั เคลอ่ื นทแ่ี ตกตา่ งออกไป คอื การเนน้ ไปทกี่ ารปลดปลอ่ ย หญงิ รกั หญงิ ออกจากปติ าธปิ ไตยและสรา้ งพนื้ ทส่ี ำ� หรบั ผหู้ ญงิ เพอ่ื ผหู้ ญงิ ซงึ่ ใน เวลาต่อมากลายเป็นทิศทางใหมข่ องขบวนการเคลอ่ื นไหวในภาพรวม ทศวรรษท่ี 1980 ทศวรรษท่ี 1980 หลงั ผา่ นเหตกุ ารณจ์ ลาจลสโตนวอลลม์ าแลว้ กวา่ 10 ปี อาจคาดหวังว่าช่วงเวลานี้จะได้เห็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มี ช่ือเสียงและเป็นท่ียอมรับในแวดวงศิลปะวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น มีกระแส 30 Sullivan, N., A Critical Introduction to Queer Theory. 31 Sullivan, N., A Critical Introduction to Queer Theory. 29 ยุทธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
นกั การเมอื งหลากหลายทางเพศไดร้ บั การเลอื กตง้ั มากขนึ้ การชมุ นมุ และเดนิ ขบวน เพอ่ื สทิ ธมิ ขี นาดใหญข่ นึ้ บคุ คลทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศเขา้ กบั ศาสนชมุ ชน โรงเรยี น และครอบครวั ได้ดยี ง่ิ ข้ึน อย่างไรก็ตาม ทศวรรษท่ี 1980 กลับเปน็ ท่ีจดจ�ำตลอดไปถึงการเกิดขึ้นและแพร่ระบาดของโรคเอดส์ มีรายงานตีพิมพ์ ในวารสารทางการแพทย์ในปี ค.ศ. 1981 วา่ พบผู้ปว่ ยด้วยโรคเอดส์เปน็ ชาย รักชายวัยหนุ่มสุขภาพแขง็ แรง ในนวิ ยอร์คและแคลิฟอร์เนีย ในปีต่อมา ศนู ย์ ควบคุมโรคแห่งสหรฐั อเมรกิ า (Centers for Diseases Control) ใชค้ ำ� วา่ เอดส์ “AIDS” (Acquired Immunodeficiency Syndrome) เป็นครัง้ แรก ความสับสนและความไม่เข้าใจเก่ียวกับการติดต่อของโรคเอดส์ ผนวกกับ การเกลยี ดกลัวคนรกั เพศเดียวกัน ทำ� ให้มกี ารพุ่งเป้าไปท่ีชายรกั ชาย รายงาน ทางการแพทย์ระบุว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชายรักชาย เร่ือยมาจนถึงกลาง ทศวรรษที่ 1980 นกั แสดง รอ็ ค ฮัดสนั (Rock Hudson) เสยี ชีวติ ด้วยโรค เอดส์ในปี ค.ศ. 1985 โรคเอดส์ถูกเช่ือมโยงอย่างฝังแน่นว่าเกี่ยวข้องกับ การรกั เพศเดยี วกนั 32 นบั ถงึ ปี ค.ศ. 1987 มคี นอเมรกิ นั เสยี ชวี ติ ดว้ ยโรคเอดสม์ ากกวา่ 16,000 คน ทั้งยังไม่มียาและวิธีการรักษาโรคนี้ได้ การศึกษาและการรณรงค์จึงถูก ใช้เป็นเคร่ืองมือส�ำคัญในการต่อสู้กับไวรัส ในปี ค.ศ. 1988 รัฐบาลกลาง สหรัฐอเมริกา ได้แจกจ่ายแผ่นพับ “เข้าใจเอดส์” (Understanding AIDS) ไปยงั ทุกครวั เรอื นในสหรฐั อเมริกา เพอื่ สรา้ งความเข้าใจว่าโรคเอดสเ์ กี่ยวข้อง กับพฤติกรรมทางเพศ มิใช่อัตลักษณ์ทางเพศ ทั้งน้ีเพ่ือลบล้างความเชื่อท่ีว่า มเี ฉพาะ LGBTQ เทา่ นน้ั ทตี่ ดิ โรคนไี้ ด้ Understanding AIDS เปน็ ผลมาจาก การเคลอื่ นไหวกว่าหนง่ึ ปีของกลุ่ม ACT UP (Aids Coalition to Unleash 32 The New York Time, Pride: Fifty Years of Parades and Protest. 30 ยุทธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
Power) ซง่ึ กอ่ ตง้ั ขนึ้ โดยกลมุ่ LGBTQ ทที่ นไมไ่ ดแ้ ละโกรธเคอื งกบั การนง่ิ เฉย ของรัฐบาลต่อการจดั การกบั โรคเอดส์ จนปลายทศวรรษที่ 1980 มีคนอเมริกันอยู่ร่วมกับเช้ือเกอื บ 700,000 คน กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น ACT UP ช่วยกันปรับเปล่ียนจุดสนใจของ เอดส์จากความเกลียดกลัวไปสู่การดูแลรักษา ช่วยเสริมพลังของผู้อยู่ร่วมกับ เช้ือในฐานะของนักกิจกรรม แทนที่จะจมไปกับความเจ็บป่วย ในขณะที่ โรคเอดสใ์ นเวลานั้น ยงั คงเป็นโรคท่ีรกั ษาไม่หายและนำ� ไปสกู่ ารเสยี ชวี ิต ทง้ั นใี้ นดา้ นขบวนการเคลอ่ื นไหวของบคุ คลทม่ี คี วามหลากหลายทางเพศ ยงั ไมป่ รากฏวา่ มกี ารใหค้ วามหมายกบั เรอ่ื ง “สทิ ธมิ นษุ ยชน” (Human Rights) กลมุ่ ขบวนการเคลอื่ นไหวเพอื่ ปลดปลอ่ ยชายรกั ชายและกลมุ่ นกั สตรนี ยิ มหญงิ รกั หญงิ ยงั คงมงุ่ ไปทกี่ ารเรยี กรอ้ ง “เสรภี าพ” และ “ความเสมอภาค”33 และตอ่ ตา้ นสถาบนั ทเี่ คยกดี กนั บคุ คลรกั เพศเดยี วกนั จนกระทงั่ ในชว่ งปลายทศวรรษ ที่ 1980 และเข้าสู่ทศวรรษท่ี 1990 ขบวนการเคล่ือนไหวด้วยภาษาของ “สทิ ธิมนุษยชน” เรม่ิ เขา้ มาเป็นจุดเนน้ ขององค์กรบคุ คลท่มี คี วามหลากหลาย ทางเพศ (LGBT Organisations) การแพรร่ ะบาดของโรคเอดสใ์ นชว่ งทศวรรษ 1980 นำ� มาซ่งึ ผลกระทบอยา่ งรนุ แรงไปทั่วโลก โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ผลกระทบ ตอ่ ชมุ ชนบคุ คลทมี่ คี วามหลากหลายทางเพศ ภายใตว้ กิ ฤตสขุ ภาพน้ี ขบวนการ เคล่ือนไหวชายรักชายและหญิงรักหญิงสร้างคุณูปการอย่างย่ิงในการต่อสู้ กับโรคเอดส์ ส่งผลให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวข้ามชาติของบุคคลท่ีมีความ หลากหลายทางเพศที่ท�ำงานร่วมกับกลุ่มและองค์กรนักกิจกรรมด้านเอดส์ ในทางกลับกัน การแพร่ระบาดของโรคเอดส์หล่อเลี้ยงให้เกิดการขับเคล่ือน ขบวนการเคล่อื นไหวชายรกั ชายและหญงิ รักหญิง เกดิ การปรับเปลีย่ นแนวคดิ 33 Kollman, K. & Waites, M., The Global Politics of Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender Human Rights: An Introduction, Contemporary Politics, 15, (2009), 1–17. 31 ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
ท่ีมีความสุดโต่งมากข้ึน และจนกระท่ังเกิดกลุ่มนักเคลื่อนไหวเควียร์ (ผู้ไม่ นยิ ามเพศ) ซงึ่ มเี ปา้ หมายเพอ่ื ขยบั ทศิ ทางและปฏเิ สธการเมอื งของชายรกั ชาย และหญิงรกั หญิงกระแสหลัก34 ทศวรรษที่ 1990 ผ่านมาหนง่ึ ทศวรรษของวกิ ฤตการณเ์ อดส์ ยาต้านไวรัสคอ่ ยๆ เริ่มเข้า ส่ทู อ้ งตลาด สภาคองเกรสผ่านพระราชบัญญตั ิ Ryan White Act จัดสรร งบประมาณดา้ นการรกั ษา 220.5 ลา้ นเหรยี ญสหรฐั ประธานาธปิ ดี บลิ คลนิ ตนั จดั ต้ังส�ำนกั งานโยบายเอดส์แหง่ ชาติ (Office of National AIDS Policy) และองค์การอาหารและยา (FDA) รับรองชุดการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ เอชไอวีแบบทราบผลเร็ว นับจนถึงกลางทศวรรษท่ี 1990 มีรายงานจ�ำนวน ผู้ป่วยเอดส์มากกว่า 500,000 คนท่ัวประเทศ และในปี ค.ศ. 1995 เพียง ปีเดียวมีคนอเมริกันเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์กว่า 50,000 คน ท�ำให้โรคเอดส์ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตล�ำดับต้นๆ ของคนอเมริกันอายุระหว่าง 25 ถึง 44 ปี ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นชายรักชาย และมีจ�ำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพมิ่ จำ� นวนข้นึ อย่างรวดเร็วในคนแอฟรกิ ัน–อเมรกิ ัน นอกจากเอชไอวีแล้ว บุคคลที่ท่ีมีความหลากหลายทางเพศอเมริกัน ยงั ตอ้ งเผชิญกบั การเลอื กปฏบิ ตั แิ ละตอ่ ตา้ นชายรกั ชายจากรัฐบาล ในรปู แบบ ของนโยบายและกฎหมาย ประธานาธบิ ดี คลนิ ตนั ไดผ้ า่ นนโยบาย หา้ มถาม/ ห้ามบอก (Don’t Ask/Don’t Tell–DADT) ในปี ค.ศ. 1994 และกฎหมาย ปอ้ งกนั การสมรส (Defence of Marriage Act–DOMA) ในปี ค.ศ. 1996 นโยบายหา้ มถาม/หา้ มบอกทำ� ให้ LGBTQ ทรี่ บั ราชการทหารจำ� เปน็ ตอ้ งปดิ บงั ตวั ตน ตลอดระยะเวลา 16 ปีท่รี ัฐบาลใชน้ โยบายน้ี นบั ตง้ั แตป่ ี ค.ศ. 1994 34 Stien, M., Rethinking the Gay and Lesbian Movement. 32 ยทุ ธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
จนถึงปี ค.ศ. 2010 ทน่ี โยบายนถ้ี ูกยกเลกิ ไป มีกองกำ� ลงั ถูกปลดประจำ� การ ถงึ 14,000 คน สว่ นกฎหมายปอ้ งกนั การสมรส ปฏเิ สธการสมรสระหวา่ งครู่ กั เพศเดียวกัน โดยนิยามการสมรสว่าเป็นการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างผู้ชายและ ผู้หญงิ เทา่ นัน้ ทศวรรษท่ี 1990 ยังเป็นหมดุ หมายของเหตุการณส์ ำ� คญั ทางกฎหมาย การรกั เพศเดยี วกนั ไดร้ บั การกำ� หนดใหเ้ ปน็ สง่ิ ถกู ตอ้ งทางกฎหมายในรฐั จอรเ์ จยี และแมรีแลนด์ และในรัฐก้าวหน้าบางรัฐเร่ิมออกกฎหมายให้สิทธิในการรับ บุตรบุญธรรมของคู่รักเพศเดียวกัน และกฎหมายคุ้มครองในสถานท่ีท�ำงาน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1995 กฎหมายว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายและ การลงโทษอาชญากรรมด้วยเหตุแห่งความเกลียดชัง (Hate Crimes Sen- tencing Enforcement Act) มีผลในการบงั คับใช้ ส่งผลใหอ้ าชญากรรม ดว้ ยเหตแุ หง่ เช้ือชาติ ศาสนา หรอื เพศสภาพ รวมไปถงึ วถิ ีทางเพศ ไดร้ บั บท ลงโทษหนักขึ้น เหตุการณ์ที่ส�ำคัญท่ีสุดอย่างยิ่งในปี ค.ศ. 1996 ฮาวาย กลายเปน็ รฐั แรกที่มกี ฎหมายรับรองสทิ ธกิ ารสมรสระหวา่ งบุคคลเพศเดียวกัน ในทศวรรษ 1990 เกอื บทกุ ใจกลางเมอื ง ในอเมรกิ าเหนอื สหภาพยโุ รป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเมืองใหญ่จ�ำนวนมากในละตินอเมริกา เอเชีย ตะวันออก และแอฟริกาใต้ มีการจัดต้ังองค์กรบุคคลท่ีมีความหลากหลาย ทางเพศ35 ในทศวรรษ 1990 น้ี นับได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนไปสู่การผลักดันเพ่ือ เรยี กรอ้ งสทิ ธเิ ชงิ บวก (Positive Rights) คอื การใหส้ ทิ ธพิ ลเมอื ง อกี ทง้ั เปลยี่ น ทิศทางจาก “เสรีภาพทางเพศ” ไปสู่ “การบูรณาการสู่สังคม” (Social Integration)36 หวั ใจสำ� คญั ของขบวนการเคลอ่ื นไหวของบคุ คลทม่ี คี วามหลาก หลายทางเพศในทศวรรษนี้ คือ “การบูรณาการประเด็นการรักเพศเดียวกัน 35 Adam, B. D., The Rise of a Gay and Lesbian Movement. 36 Encarnación, O. G., Gay rights: Why democracy matters. 33 ยุทธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
เข้าสู่ประเด็นกระแสหลัก” (Mainstreaming Homosexuality)37 นั่นคือ “ความเสมอภาค” (Equality) จำ� เปน็ ตอ้ งมี “ความเหมอื นกนั ” (Sameness) ซ่ึง “ความเสมอภาค” น้ีตคี วามได้ว่าเปน็ การมีสิทธอิ ยา่ งเท่าเทยี มกันในการ เข้าถึงการยอมรบั และทรพั ยากร38 ในสหรฐั อเมรกิ าและยโุ รป ขบวนการเคลอ่ื นไหวมงุ่ เนน้ ไปทก่ี ารขบั เคลอื่ น เพื่อสิทธิพลเมือง การเข้าถึงสวัสดิการ สิทธิในการสมรสและการเข้ารับ ราชการทหาร39 ในขณะที่การเคลื่อนไหวของนักกิจกรรมเพื่อสิทธิบุคคลที่มี ความหลากหลายทางเพศระหว่างประเทศมุ่งเน้นไปท่ีการปรับแก้กฎหมาย การนิรโทษกรรม การผลักดันให้การรักเพศเดียวกันไมเ่ ป็นความผิดทางอาญา ความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์ระหว่างประเทศน้ีมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการ ท�ำให้ขบวนการเคลื่อนไหวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศท่ีเกิดข้ึน มากมายขบั เคลอื่ นภายใตห้ ลกั คดิ เรอ่ื งสทิ ธมิ นษุ ยชน40 องคก์ รระหวา่ งประเทศ อาทิ ILGA (International Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Intersex Association) ทีเ่ กดิ ขนึ้ ตงั้ แต่ปี ค.ศ. 1978 แต่ยังคงเปน็ การท�ำงานของกลุ่ม ในประเทศต่างๆ ประสานกนั เป็นเครือขา่ ยแบบหลวมๆ จนกระทัง่ องคก์ รได้ ขับเคล่ือนร่วมกันภายใต้หลักการสิทธิมนุษยชน ILGA เร่ิมขยายตัวและ เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งท�ำงานแบบมืออาชีพโดยเน้นที่การขับเคล่ือนผ่านทาง การเมอื งระหวา่ งประเทศ ILGA มเี ครอื ขา่ ยทว่ั โลกใน 6 ภมู ภิ าค ไดแ้ ก่ ILGA 37 Ibid. 38 Richardson, D., Desiring Sameness? The Rise of a Neoliberal Politics of Normal- isation. 39 Ibid. 40 Kollman, K. & Waites, M., The Global Politics of Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender Human Rights: An Introduction 34 ยทุ ธศาสตรส์ ุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
Asia, ILGA Europe, ILGA Latin America & Caribbean, ILGA North America, ILGA Oceania and Pan Africa ILGA ทศวรรษท่ี 2000 ในทศวรรษแรกของสหสั วรรษท่ี 2 นี้ เปน็ ช่วงเวลาของการฟืน้ ตวั และ การเกิดข้ึนใหม่ของวัฒนธรรมบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หลังผ่าน วิกฤตการณ์เอดส์มากว่า 20 ปี อัตราการติดเชื้อเริ่มควบคุมได้และลดลง การรกั ษามีประสทิ ธภิ าพย่งิ ขนึ้ สถานการณโ์ รคสามารถจัดการได้ อยา่ งไรกต็ าม ถงึ แมว้ า่ จะมคี วามกา้ วหนา้ ในดา้ นการรกั ษาและควบคมุ โรค แต่การเลอื กปฏิบัตยิ ังคงอยู่ อาทิ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2000 ศาลสงู สดุ ตัดสินให้ องค์กรลูกเสือแหง่ อเมรกิ า (Boy Scouts of America) เป็นฝ่ายชนะ จากกรณีสนับสนุนการตัดสินใจไม่รับสมาชิกด้วยเหตุผลเร่ือง วถิ ีทางเพศ ในขณะที่เอชไอวีเร่ิมห่างออกไปจากชุมชนบุคคลที่มีความหลากหลาย ทางเพศ ทศวรรษแหง่ ความสดใสในเรอ่ื งของวฒั นธรรม การเมอื ง และความ เป็นธรรมทางสงั คมเร่ิมปรากฏขนึ้ มา การต่อสูท้ างกฎหมายเพอ่ื ไปสกู่ ารสมรส เทา่ เทยี มอย่างแทจ้ รงิ เริ่มเกดิ ข้ึน ในปี ค.ศ. 2000 รัฐเวอรม์ อนด์กลายเปน็ รัฐ แรกทีร่ ับรองคชู่ วี ติ รกั เพศเดยี วกันตามกฎหมาย ตามมาดว้ ยรัฐแมสซาชูเซสต์ รัฐออริกอน รัฐแคลฟิ อรเ์ นีย และรฐั นิวเจอรซ์ ยี ์ ที่รบั รองคู่ชวี ิตรักเพศเดียวกัน ตามกฎหมายและวัฒนธรรม นอกจากนั้น ศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกายังได้ ยกเลกิ กฎหมายทล่ี งโทษการมเี พศสมั พนั ธร์ ะหวา่ งคนเพศเดยี วกนั (Sodomy Laws) เพราะขัดตอ่ รัฐธรรมนญู ถงึ แมว้ ่าในทศวรรษน้ี ได้มีความสำ� เรจ็ ทางกฎหมายหลายประการ แต่ ความลม้ เหลวทค่ี าดไมถ่ ึง คือ ในปี ค.ศ. 2008 ผมู้ สี ทิ ธลิ งคะแนนเสียงในรฐั 35 ยทุ ธศาสตร์สขุ ภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393