คู่มือการสอนอา่ นเขยี น โดยการแจกลูกสะกดคา 0 สถาบนั ภาษาไทย สานกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร
คำนำ “คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา” ชุดนี้ จัดทาขึ้นเพ่ือเป็นแนวทางในการจัด การเรียนรู้สาหรับครูผู้สอนภาษาไทย ในการแก้ปัญหานักเรียนท่ีอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ด้วยวิธีการสอน แบบแจกลูกสะกดคา ซึ่งเป็นวิธีการสอนท่ีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นวิธีการสอนท่ีสร้าง ความเข้าใจทางภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทาให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ การจัดทา“คู่มือ การสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา” จัดทาข้ึนโดยคณะทางานซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านการสอนภาษาไทย ด้านการวดั และประเมินผลจากสถาบันอุดมศึกษา ศกึ ษานิเทศก์ที่รับผิดชอบภาษาไทย ครผู ู้สอนภาษาไทย และนักวิชาการศกึ ษา ทีม่ คี วามรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย และการวัดและประเมินผล ซ่ึงครูผู้สอนหรือผู้ท่ีสนใจสามารถนาไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพหรือพัฒนา ตนเองในด้านการสอนอ่านเขียนภาษาไทย โดยใช้เป็นแนวทางการสอนอ่านเขียนภาษาไทยแก่นักเรียน ในวัยเริ่มเรียน และซ่อมเสริมนักเรียนท่ีมีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยสามารถนาไปปรับใช้ให้เหมาะสม กบั บรบิ ทของตนเองไดเ้ ป็นอย่างดี ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทางาน และผู้ที่มีส่วนเก่ียวข้องท่ีได้ร่วมจัดทาและให้ ขอ้ เสนอแนะในการจัดทาหนังสือเล่มน้ี และหวังเป็นอย่างย่ิงว่า “คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา” นี้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านการเขียนของนักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนเป็นสาคัญ หากมีขอ้ เสนอแนะประการใด โปรดแจ้งสานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนา ตอ่ ไป (นายการณุ สกลุ ประดิษฐ์) เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน
สำรบัญ หนำ้ เร่ือง 1 2 คำนำ 5 บทนำ 1๒ กำรดำเนินงำนจัดทำค่มู อื กำรสอนอำ่ นเขยี นแบบแจกลกู สะกดคำ ๑๕ สอนอยำ่ งไรใหอ้ ่ำนออก อ่ำนคล่อง และอ่ำนเปน็ สำหรับนักเรียนระดบั ช้ันประถมศึกษำปที ่ี 1-3 ๒๕ กำรใช้ค่มู อื กำรสอนอ่ำนเขียนโดยกำรแจกลูกสะกดคำ ๔๐ หน่วยที่ ๑ รปู และเสยี งพยัญชนะ ๗๑ หนว่ ยท่ี ๒ รูปและเสียงสระ ๑๐๔ หนว่ ยที่ ๓ รปู และเสียงวรรณยุกต์ ๑๒๓ หน่วยท่ี ๔ กำรแจกลูกสะกดคำในแม่ ก กำ ๑๖๐ หน่วยท่ี ๕ กำรผนั วรรณยกุ ตค์ ำในแม่ ก กำ ๑๘๒ หนว่ ยที่ ๖ กำรแจกลูกสะกดคำท่ีมีตัวสะกดตรงตำมมำตรำ ๒๑๗ หนว่ ยท่ี ๗ กำรผันวรรณยกุ ต์คำทีม่ ีตวั สะกดตรงตำมมำตรำ ๒๓๙ หนว่ ยท่ี ๘ กำรแจกลูกสะกดคำทม่ี ตี วั สะกดไมต่ รงตำมมำตรำ ๒๖๕ หน่วยที่ ๙ กำรแจกลูกสะกดคำท่มี ีพยัญชนะควบกล้ำ ๒๖๖ หน่วยท่ี ๑๐ กำรแจกลูกสะกดคำท่ีมีอกั ษรนำ บรรณำนุกรม คณะผจู้ ัดทำ
บทนำ หลักกำรและเหตุผล การศึกษาเป็นเคร่ืองมือสาคัญในการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความคิดให้กับเยาวชนของประเทศ โดยเฉพาะในโลกของศตวรรษท่ี 21 ที่มีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว ท้ังด้านเทคโนโลยีการส่ือสาร และการคิดค้นพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ท่ีกล่าวได้ว่าการอ่านและการรู้หนังสือ (Reading & Literacy) เป็นทักษะท่ีจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับการเรียนรู้และการดาเนินชีวิต เนื่องจากการอ่านและการรู้หนังสือ ทาให้เกิดความรู้ ความสามารถ และส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ ประยุกต์ใช้ข้อมูล ท่ีเป็นประโยชน์ต่อชีวิต ซ่ึงหากผู้ใดมีความบกพร่องหรือขาดความสามารถในการอ่านการเขียนก็จะส่งผล ใหเ้ กดิ ความยากลาบากในการสื่อสารและเรียนร้แู ละจะเปน็ ปัญหาในการดารงชีวิตตอ่ ไปได้ กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นถึงความสาคัญของการพัฒนาการอ่านการเขียนว่าเป็นพื้นฐาน สาคัญในการพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ในระดับท่ีสูงขึ้นของผู้เรียน จึงได้กาหนดนโยบายพัฒนาการจัด การศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยมีมาตรการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดาเนินการเพ่ือให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานสามารถอ่านออกเขียนได้ เพื่อนาไปสู่การเรียนรู้ ในระดับต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากผลการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 - 6 ในภาคเรียนท่ี ๑ ปีการศึกษา 255๘ (สานักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ๒๕๕๘) พบว่า ยังมีนักเรียนจานวนหน่ึงที่มีผลการประเมินในระดับอ่านไม่ได้/อ่านไม่คล่อง (ร้อยละ 7.371, 4.303, 3.298, 2.332, 2.508 และ 1.609 ตามลาดับ) และระดับเขียนไม่ได้/เขียนไม่คล่อง (ร้อยละ 15.514, 7.241, 6.996, 4.063, 3.597 และ 3.112 ตามลาดับ) และเมื่อพิจารณาผลการประเมิน การอ่านออกเขยี นไดข้ องนกั เรยี นชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 1 พบวา่ นักเรยี นชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 มผี ลการประเมนิ การอ่านออกเขยี นไดใ้ นระดับปรับปรุง ร้อยละ 4.68 (สานักทดสอบทางการศึกษา. 2558) ซ่ึงจากการติดตาม การดาเนินงานการอ่านการเขียน พบว่า ครูผู้สอนภาษาไทยมีความคิดเห็นว่าการสอนแบบแจกลูกสะกดคา มีความเหมาะสมท่ีจะนามาใช้กับการสอนการอ่านการเขียน เพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ (สานักติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน. ๒๕๕๘) ซ่ึงสอดคล้องกับผลการติดตามการดาเนินงานพัฒนา คุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ที่พบว่า ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานภาษาไทยและครูผู้สอน ภาษาไทยต้องการได้รับความรู้เก่ียวกับเร่ืองการสอนแจกลูกสะกดคา เน่ืองจากปัจจุบันครูผู้สอนภาษาไทย ส่วนหนง่ึ ไมไ่ ด้จบวิชาเอกภาษาไทย (สานกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา. ๒๕๕๗) ในการนี้ สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา จึงได้จัดทาเอกสาร “คู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคา” ขึ้น ทั้งน้ี โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางสาหรับครูผู้สอนสาหรับนาไปใช้ใน การจดั การเรยี นรไู้ ด้อยา่ งมีประสิทธภิ าพต่อไป วตั ถปุ ระสงค์ของกำรสอนอ่ำนเขียนโดยกำรแจกลูกสะกดคำ 1. เพอ่ื เป็นแนวทางการสอนอ่านเขยี นเพอื่ ให้นกั เรียนอ่านออกเขยี นได้ 2. เพอ่ื เปน็ แนวทางใชส้ อนซ่อมเสรมิ สาหรบั นักเรียนเพื่อการอ่านออกเขียนได้ ๓. เพ่อื นาไปประยกุ ตใ์ ช้ในการจดั การเรียนรกู้ ลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย ๑
กำรดำเนินงำนจดั ทำคมู่ ือกำรสอนอำ่ นเขยี นโดยกำรแจกลกู สะกดคำ กระทรวงศึกษาธกิ ารเลง็ เหน็ ความสาคญั ของการยกระดบั คุณภาพการศึกษา จึงกาหนดนโยบาย ให้ทุกหน่วยงานที่เก่ียวข้องให้ความสาคัญกับการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนไปสู่ ความเป็นพลเมืองที่พร้อมสมบูรณ์ และสามารถดารงตนในสังคมอย่างปกติสุข ตามนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะ การรู้หนังสือ การอ่านเป็นทักษะท่ีจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับการเรียนรู้และการพัฒนาชีวิตสู่ความสาเร็จ การอ่าน อย่างคล่องแคล่วและเข้าใจความหมายจะนามาซ่ึงความรู้ และส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ แยกแยะ และประยุกต์ใช้ข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์ต่อชีวิต พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดส่ือสารให้ผู้อื่นทราบ และเข้าใจได้ ซ่ึงเป็นทักษะท่ีสาคัญของศตวรรษท่ี 21 หากผู้เรียนบกพร่องหรือขาดความสามารถในการอ่าน การเรียนรู้ย่อมไม่อาจก้าวหน้าได้ และจะประสบความยากลาบากในการดารงชีวิต จึงเป็นหน้าท่ีของรัฐ ที่ต้องพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ และการสื่อสารให้แก่ประชาชนตั้งแต่เยาว์วัย เพ่ือให้สามารถเรียนรู้ในระดับท่ีซับซ้อนข้ึนเม่ือ เติบใหญ่ จนกระทั่งสามารถดูแลตนเอง มีอาชีพ และมีรายได้ เป็นนักคิด และเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการศึกษา ภาคบังคับ ซ่ึงยาวนานถึง 14 - 15 ปี จึงจาเป็นต้องพัฒนาการศึกษาในช่วงนี้ให้มั่นคง โดยพิจารณาว่า การอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ เป็นพ้ืนฐานสาคัญสูงสุดอันดับแรก ๆ ของ การพฒั นาขดี ความสามารถของผู้เรียน การพัฒนาความสามารถการอ่าน นอกจากครูจะต้องมีองค์ความรู้ เข้าใจทักษะกระบวนการพัฒนาความสามารถในการอ่านของผู้เรียนแล้ว ผู้เรียนยังเป็นปัจจัยสาคัญท่ีต้อง คานึงถึงในการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การดาเนินงานพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จึงได้รับการกาหนดเป็นนโยบายสาคัญ เพ่ือให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนา ขดี ความสามารถของผเู้ รียนใหเ้ ป็นประชากรทีม่ ีคณุ ภาพในประชาคมอาเซยี นและโลก ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เร่งรัดพัฒนา การจัดการศึกษาของทุกภาคส่วนที่เก่ียวข้อง โดยเน้นคุณภาพผู้เรียนให้อ่านออกเขียนได้ โดยมีมาตรการ ใหห้ นว่ ยงานทเี่ กี่ยวข้องดาเนนิ การ ดังนี้ 1) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน กาหนดมาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และสื่อสารได้ ให้นักเรียนทุกระดับช้ันมีความสามารถอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และสื่อสารได้ กากับติดตามการดาเนินงานของสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา และรายงานความก้าวหนา้ การดาเนนิ งานตอ่ กระทรวงศกึ ษาธิการ 2) สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาทุกเขต ดาเนินการประกาศนโยบายแก่โรงเรียนในสังกัด มีข้อมูล การอ่านการเขียนของนักเรียนทุกระดับช้ัน วิเคราะห์ข้อมูล สรุป และจัดทาแผนซ่อมเสริมแก้ปัญหานักเรียน เป็นรายบุคคล ปรับระบบบริหารจัดการ และดาเนินการกากับ ติดตาม นิเทศ จัดทาแผนงาน/โครงการ และกิจกรรม ให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาในการดาเนินงานแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียน อย่างจรงิ จงั ต่อเนือ่ ง และรายงานความก้าวหนา้ ของการดาเนนิ งานต่อสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน ๓) สถานศึกษา ประกาศนโยบายให้ครูและผู้เกี่ยวข้องทราบ และต้องดาเนินการทุกวิธีเพ่ือให้ นักเรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้ตามมาตรฐานหลักสูตร โดยเฉพาะนักเรียนท่ีอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ปรับระบบบริหารจัดการให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนของนักเรียน มีแผนซ่อมเสริมนักเรียนทุกคนท่ีมีปัญหา และซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล ประสานผู้ปกครองให้รับทราบ ๒
ปัญหา และมีส่วนร่วมเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด กากับ ติดตาม นิเทศ ช่วยเหลือครูแก้ไขปัญหา การอ่านการเขียนของนักเรียน และรายงานความก้าวหน้าการดาเนินงานต่อสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยา่ งใกลช้ ดิ ด้วยเหตุน้ี สถาบันภาษาไทย สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีบทบาทหน้าท่ีหลัก ในการส่งเสริมและพัฒนาครู วิธีการสอน และสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียน การสอนภาษาไทย จึงได้จัดทา “คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา” ข้ึน โดยมีการประชุม ปฏิบัตกิ ารเพือ่ จัดทาและพฒั นาคู่มือการสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลกู สะกดคา จานวน 3 ครงั้ ดังนี้ การประชมุ คร้งั ท่ี 1 การประชมุ ปฏบิ ัติการจดั ทาคูม่ ือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมฮิพ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทา และพัฒนาค่มู ือการสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลูกสะกดคา ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอน ภาษาไทย การวัดและประเมินผล ศึกษานิเทศก์ท่ีรับผิดชอบภาษาไทย ครูผู้สอนภาษาไทยท่ีมีความรู้ ความเช่ียวชาญในการสอน และนักวิชาการศึกษา โดยวิธีการดาเนินการประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปราย และปฏิบัติงานกลุ่ม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ ในการจดั ทาคูม่ อื การสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลูกสะกดคา ในการประชุมครั้งน้ี คณะทางานได้ร่วมพิจารณาส่วนประกอบของคู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคา ซึ่งสรุปได้เป็น 3 ส่วน คือ ความรู้สาหรับครู ตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ และแนวทางการวัดและประเมินผลประจาหน่วย จากนั้น กาหนดเน้ือหาสาหรับนาไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน โดยยึดตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักในการจัดทา จากน้ันดาเนินการจัดทาคู่มือการสอนอ่านเขียน โดยการแจกลูกสะกดคา โดยมีการวิพากษ์ผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาไทย และการวัด และประเมินผล เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถนาไปปฏิบัติได้จริงในการจัด การเรียนการสอน การประชุมครั้งที่ 2 การประชุมปฏิบัติการพัฒนาคู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมฮิพ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทาและพัฒนา คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาไทย การวัดและประเมินผล ศึกษานิเทศก์ท่ีรับผิดชอบภาษาไทย ครูผู้สอนภาษาไทยท่ีมีความรู้ความเช่ียวชาญ ในการสอน และนักวิชาการศกึ ษา วิธีการดาเนนิ การประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปราย และปฏบิ ัติงานกลุ่ม ในการประชุมครั้งนี้ คณะทางานได้ร่วมจัดทาคู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ต่อจากการประชุมคร้ังท่ี 1 โดยมีการวิพากษ์ผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาไทย และการวัด และประเมินผล เพ่ือให้ได้เนื้อหาท่ีมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถนาไปปฏิบัติได้จริงในการจัด การเรยี นการสอน รวมทั้งตรวจสอบความถกู ตอ้ งสมบรู ณ์ของคมู่ อื การสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกด การประชุมคร้ังที่ 3 การประชุมปฏิบัติการจัดทาคู่มือติดตามและประเมินผลการใช้คู่มือการสอน อ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ระหว่างวันที่ ๑๔- ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ โรงแรมฮิพ กรุงเทพมหานคร มวี ตั ถุประสงค์เพ่อื จดั ทาแนวทางการตดิ ตามและประเมนิ ผลการใช้คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาไทย การวัดและประเมินผล ศึกษานิเทศก์ ท่ีรับผิดชอบภาษาไทย ครูผู้สอนภาษาไทยท่ีมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสอน และนักวิชาการศึกษา โดยใช้วิธีการบรรยาย การอภปิ ราย และปฏิบัติงานกลมุ่ ๓
การประชุมในครั้งนี้แบ่งการดาเนินงานเป็น 2 ส่วน เพื่อให้คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูก สะกดคา มีความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนนาไปใช้ในการอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานภาษาไทย ท้ัง 225 เขต โดยส่วนที่ 1 เป็นการบรรณาธิการกิจคู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาไทย การวัดและประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขเป็นคร้ังสุดท้าย และพจิ ารณาร่างคาชีแ้ จงการใช้คู่มอื การสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลูกสะกดคา สว่ นที่ 2 เป็นการพิจารณา ร่างแนวทางและเครื่องมือการติดตามและประเมินผล การใช้คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา สาหรับนาไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการใช้คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ซึ่งจากการประชุมทาให้ได้คู่มือการสอนอ่านเขียนแบบแจกลูกสะกดคาเพื่อการอ่านออกเขียนได้ จานวน 10 เล่ม พรอ้ มคาช้ีแจงการใช้ค่มู ือการสอนอ่านเขียนแบบแจกลูกสะกดคาเพื่อการอ่านออกเขียนได้ รวมจานวน 11 เล่ม เพอ่ื นาไปจัดพิมพส์ าหรบั ใช้ในการเผยแพร่ไปยงั ศึกษานเิ ทศก์ผรู้ ับผิดชอบงานภาษาไทยทั้ง 225 เขต ๔
สอนอยำ่ งไรใหอ้ ่ำนออก อ่ำนคลอ่ ง และอ่ำนเป็น สำหรับนักเรยี นระดับชนั้ ประถมศกึ ษำปที ่ี 1-3 อาจารย์คณะครศุ าสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั รองศาสตราจารย์ปติ ินนั ธ์ สทุ ธสาร กรรมการวชิ าการวิชาการของราชบัณฑติ ยสภา การอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เด็กจะต้องรู้จักสัญลักษณ์ท่ีเป็นตัวอักษรไทย คือ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพ่ือนามาประสมแล้วสามารถเปล่งเสียงคา ๆ น้ัน และเข้าใจความหมายของคา โดยโยงประสบการณ์ของตนเข้ามาช่วยเสริมให้เข้าใจย่ิงข้ึน ดังน้ันการอ่านจึงเป็นส่ิงที่จาเป็นที่ครูจะต้อง สอนให้แก่เด็ก รู้วิธีการสอนหลาย ๆ แบบ ไม่มีวิธีการสอนใดเป็นสูตรสาเร็จ การสอนท่ีดีจึงต้องใช้วิธีสอน หลากหลายวิธีผสมผสานกันตามความสามารถของเด็กแต่ละวัย และพิจารณาถึงความเหมาะสม ของสภาพแวดลอ้ ม การอ่าน เป็นทักษะท่ีครูจะต้องฝึกฝนให้เด็กจนเกิดความชานาญ และฝึกฝนอย่างต่อเน่ือง อยา่ งสม่าเสมอ ทกั ษะกำรอำ่ นที่ครตู อ้ งสอนให้แก่เดก็ ไดแ้ ก่ ๑. กำรอ่ำนคำ และรู้ความหมายของคา น่ันคือให้เด็กอ่านออกเป็นคา และเข้าใจความหมายของคาน้ัน ซงึ่ เปน็ ทกั ษะเบื้องต้นคือสอนให้เด็กอำ่ นออก ๒. กำรอ่ำนจบั ใจควำม เม่ือเด็กอ่านออกเป็นคา เป็นวลี และเป็นประโยคได้แล้ว จะต้องเข้าใจในส่ิง ท่ีอ่าน บอกได้ว่าใครทาอะไร ที่ไหน อย่างไรในเรื่องที่อ่าน เล่าเรื่องได้ สรุปเร่ืองได้ น่ันคือการสอนให้เด็ก อำ่ นเป็น ๓. กำรอ่ำนออกเสียงให้ชัดเจน ถูกต้อง โดยเฉพาะคาท่ีออกเสียง ร ล คาควบกล้า คาที่มีอักษรนา รูจ้ ักจังหวะในการอา่ นให้ถูกวรรคตอนฝกึ จนอ่ำนคล่อง ๔. กำรอ่ำนเพ่ือศึกษำหำควำมรู้ รู้จักวิธีค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทักษะนี้เหมาะ ท่จี ะใช้กบั เด็กในชน้ั ประถมปลายไปจนถงึ ชั้นทีส่ ูง ๕. ฝึกให้เด็กมีนิสัยรักกำรอ่ำน ครูจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นให้เด็กอ่านหนังสือ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีเชิญชวนให้เด็กอยากอ่าน ข้อสาคัญ คือ ครูต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก อ่านหนังสือ หลากหลายนามาเลา่ ให้เดก็ ฟัง ๖. กำรอ่ำนเพือ่ ให้คุณคำ่ และเกดิ ควำมซำบซึ้ง นั่นคือ การสอนอ่านวรรณคดี และวรรณกรรม สาหรับเด็ก ให้เด็กมองเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านเพื่อนามาใช้ในชีวิตประจาวัน ให้เด็กรู้รสไพเราะ ของการอา่ นร้อยกรองตา่ ง ๆ การอ่านวรรณคดีที่จัดไวใ้ ห้เดก็ แต่ละชั้นเพือ่ ใหเ้ ห็นความงดงามของภาษา ๕
กำรสอนใหอ้ ำ่ นออก การสอนให้อ่านออกมีหลายวิธี ครูไม่ควรยึดวิธีใดวิธีหน่ึง ควรผสมผสานหลายวิธีจนสามารถ ทาให้เดก็ อ่านออกเป็นคา และรคู้ วามหมายของคา ๑. สอนโดยวิธีประสมอักษร เป็นการสอนท่ีใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท่ีแสดงถึงภูมิปัญญา การสอนอา่ นแบบไทย ซง่ึ ทาใหเ้ ดก็ อ่านหนงั สือไทยได้แตกฉานวิธีหนึง่ วิธีสอนแบบนี้เป็นการนาพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาประสมกัน แล้วฝึกอ่ำนแบบแจกลูก การอ่ำนแบบสะกดคำ เป็นการสอนอ่านท่ีเน้นการฟังเสียง ของพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด และ วรรณยุกต์ทนี่ ามาประสมกันเป็นคา เมอื่ ฝึกฝนบ่อย ๆ จนชินหูกจ็ ะอ่านได้ถกู ตอ้ งแมน่ ยา กำรอำ่ นแบบแจกลกู เปน็ การอ่านโดยยึดพยัญชนะต้นเปน็ หลกั ยึดสระเปน็ หลัก หรือยึดสระ และตวั สะกดเปน็ หลกั เช่น ยดึ พยัญชนะต้นเปน็ หลกั -ะ –ำ -ิ -ี -ึ -ื -ุ -ู ก กะ กา กิ กี กึ กอื กุ กู ข ขะ ขา ขิ ขี ขึ ขอื ขุ ขู ค คะ คา คิ คี คึ คอื คุ คู ยดึ สระเป็นหลัก ก จ ต อ ข ส ม ย -า กา จา ตา อา ขา สา มา ยา -ี กี จี ตี อี ขี สี มี ยี -ู กู จู ตู อู ขู สู มู ยู ยดึ สระและ ก จ ต อ ข ส ม ย ตวั สะกดเป็นหลกั -า ง กาง จาง ตาง อาง ขาง สาง มาง ยาง -า น กาน จาน ตาน อาน ขาน สาน มาน ยาน -า ด กาด จาด ตาด อาด ขาด สาด มาด ยาด ๖
กำรอ่ำนแบบสะกดคำ เป็นการอ่านโดยสะกดคา หรือออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ การนั ต์ ทีป่ ระกอบเปน็ คา เชน่ ตา สะกดว่า ตอ - อา ตา บ้าน สะกดว่า บอ - อา - นอ บาน - ไม้โท บ้าน เรื่อง สะกดวา่ รอ - เอือ - งอ เรอื ง - ไมเ้ อก เร่อื ง สตั ว์ สะกดวา่ สอ - อะ - ตอ - วอการันต์ สดั ถนน สะกดว่า ถอ - นอ - โอะ - นอ ถะ – หนฺ น ๒. สอนดว้ ยกำรเดำคำจำกภำพ หรอื กำรสอนอ่ำนจำกภำพ เด็กเร่ิมหัดอ่ำนจำกรูปภำพก่อน แล้วจึงนาไปสู่การอ่ำนจำกตัวอักษรรูปภาพจะเป็นสิ่งชี้แนะ ให้เดก็ อา่ นคานั้นได้ เชน่ กระตา่ ย เรอื ใบ ๓. สอนอ่ำนจำกรูปร่ำงของคำ เม่ือเด็กเห็นรูปร่างของคาโดยส่วนรวมก็จะจาได้ แล้วจะนาไป เปรียบเทียบกับคาที่เคยอ่านออกแล้ว คาใดที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกัน ก็สามารถเดาและเทียบเสียงได้ว่า อ่านอย่างไร การสอนแบบน้ีครูต้องตีกรอบคาท่ีทาให้เด็กสามารถมองเห็นรูปร่างคาได้อย่างชัดเจน เน้นการฝกึ ใหเ้ ดก็ สงั เกตรูปร่ำงของคำ เช่น หน หม ื ื ู ู เร อ เส อ ิ ิ ใน ใจ บน กน ๔. สอนด้วยกำรเดำคำจำกบริบท หรือคาที่อยู่แวดล้อม สาหรับเด็กมักจะใช้บริบทที่เป็น ปริศนาคาทาย หากครูต้องการให้เด็กอ่านคาใดก็สร้างปริศนาคาทาย เม่ือเด็กทายคาได้ถูกก็สามารถอ่าน คาน้นั ออก ตัวอย่ำงปรศิ นำคำทำยทีใ่ ช้สระอะ ๏ ฉนั เปน็ ผกั สวนครวั เนอ้ื ตัวเปน็ ตะปมุ่ ตะป่า แต่มีคุณคา่ เลิศลา้ คน้ั เอานา้ แม้ขมหนอ่ ยอร่อยดี (มะระ) ๏ ฉนั เป็นของใช้ มีไวใ้ นครวั เอาไว้ผดั ค่ัว ทว่ั ทุกบา้ นต้องมี (กระทะ) ๗
๕. สอนอ่ำนโดยให้ร้หู ลกั ภำษำ วิธีนี้เด็กจะรู้หลักเกณฑ์ของภาษาเพ่ือการอ่านการเขียน ตามที่ บรรจุไวใ้ นหลักสูตร เช่น อกั ษร ๓ หมู่ สระเสยี งเดี่ยว สระเสียงประสม มาตราตัวสะกด การผันวรรณยุกต์ การอ่านคาควบกล้า การอ่านอักษรนา ฯลฯ วิธีน้ีจึงต้องหาวิธีสอนที่หลากหลาย จัดกิจกรรมท่ีน่าสนใจ ให้เด็กเรียนรู้หลักภาษาที่ง่าย ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทาให้เด็กสนุกสนาน กิจกรรมที่เด็กชอบ เช่น เล่านิทาน รอ้ งเพลง เล่นเกม ฯลฯ ตวั อย่ำงกำรสอนโดยใช้เพลง เพลง สระ อะ คารอ้ ง รศ.ปิตนิ นั ท์ สุทธสาร ทานอง THIS IS THE WAY คาสระอะ จะมีเสียงสัน้ อยูค่ เู่ คียงกันพยัญชนะ จะ ปะ กระบะ กระทะ ตะกละ มะระ ล้วนอะตามเรียงราย คาสระอะมีตัวสะกด อะจะกระโดดเปน็ หันอำกำศ เชน่ กะ - น - กนั และฉนั น้นั มน่ั ตวั อะ แปรผัน เปน็ หันอำกำศ (ซา้ ) ๖. สอนอ่ำนตำมครู วิธีน้ีเป็นการสอนทงี่ ่าย ครูสว่ นใหญ่ชอบมาก ถา้ ครูไม่คิดพิจารณาให้ดีว่า เม่ือใดควรสอนด้วยวิธี น้ีจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ครูจะใช้วิธีน้ีต่อเม่ือเป็นคายาก คาที่มีตัวสะกดแปลก ๆ และครูได้ใช้วิธีอื่นแล้ว เดก็ ยงั อ่านไม่ได้ สาหรับช้ัน ป. ๑ ครูอาจใช้วิธีน้ีได้ โดยครูอ่านนาแล้วให้นักเรียนอ่านตาม เมื่อเด็กอ่านได้แล้ว จึงฝึกใหอ้ า่ นเปน็ กลุม่ เปน็ รายบุคคล การอ่านบทร้อยกรองนั้น ครูจาเป็นต้องอ่านนาก่อน เพื่อให้รู้จังหวะ และลีลาการอ่านบทร้อยกรอง ตามประเภทของคาประพันธน์ ั้น ๆ วธิ กี ารสอนทั้ง ๖ วิธีนี้ ครูควรนาไปประยุกต์ใช้ให้ผสมผสานให้เหมาะสมแก่วัยของเด็กจะทาให้ เด็กอ่ำนออกอ่ำนเก่ง ต่อไปครูจึงสอนอ่าน วลี ประโยค ข้อความ เร่ืองราวส้ัน ๆ และการฝึกการอ่าน จับใจความในลาดับตอ่ ไป ๘
กำรสอนอ่ำนจับใจควำม เมื่อเด็กอ่ำนออกแลว้ จึงสอนให้อ่ำนเป็น คือ อ่านแล้วเข้าใจความหมาย ไม่ว่าจะอ่านเป็นคา วลี ประโยค ข้อความ หรือเรื่องราวก็สามารถเข้าใจเร่ืองที่อ่าน เล่าเรื่องได้ สรุปเรื่องที่อ่านได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนหาประเด็นสาคัญ ๆ จากเร่ืองทอี่ ่านได้อยา่ งชัดเจนถกู ต้อง การสอนอ่านจับใจความเป็นการฝึกการอ่ำนในใจ ก่อนที่จะให้นักเรียนอ่านในใจ ครูต้องนาคา ยากหรือคาศัพท์มาอธิบายความหมายเสียก่อน ท้ังน้ีเพ่ือช่วยให้เด็กอ่านในใจโดยไม่ติดขัดจะช่วยให้จับ ใจความได้ดี การฝึกอ่านในใจท่ีดี คือ ฝึกการกวาดสายตาจากซ้ายไปขวาจากบนไปล่าง ไม่ส่งเสียงพึมพา ขณะอ่าน ไม่ทาปากขมุบขมิบ ไม่ส่ายหน้าไปตามหนังสือ ให้มีสมาธิในขณะท่ีอ่าน ฝึกการเก็บใจความทีละ ยอ่ หนา้ ทลี ะหนา้ ใจควำม หมายถึง ส่วนสาคัญของเร่ือง ตรงข้ามกับ พลควำม หมายถึงส่วนท่ีไม่สาคัญ ท่ีเป็น รายละเอียดทไ่ี มจ่ าเปน็ ใจควำม จะปรากฏอยู่ตามย่อหน้าต่าง ๆ ของเรื่องที่อ่าน อาจเป็นประโยคสาคัญอยู่ในส่วนต้น ส่วนกลำง หรือส่วนทำ้ ย ของยอ่ หนา้ ครูต้องฝึกให้เด็กอ่านทกุ ยอ่ หนา้ อยา่ งละเอียด ในการสอนอ่านจับใจความ ครคู วรตง้ั จดุ มงุ่ หมายในการอ่านแต่ละคร้ังว่า ต้องการให้ผู้เรียนอ่าน เพอื่ วตั ถปุ ระสงค์ใด เชน่ ๑. จบั ประเดน็ สาคัญของเร่ือง ๒. อา่ นเพ่ือตอ้ งการรรู้ ายละเอยี ด ๓. อ่านเพอ่ื ตอบคาถามสิง่ ที่อยากรู้ ๔. อ่านเพือ่ ยอ่ หรือ เรยี บเรยี งเร่อื งให้กระชบั ๕. อา่ นเพื่อสรปุ หลกั เกณฑ์ แนวคดิ หรอื แก่นของเรอื่ ง ๖. อา่ นเพอ่ื คาดคะเน หรอื คาดหวังผลท่ีได้ ๗. อ่านเพื่อให้รูค้ ุณค่า และเกดิ ความซาบซ้งึ ในเรอื่ งท่ีอ่าน ๘. อา่ นเพ่อื ประเมินความถูกตอ้ ง ใชว้ จิ ารณญาณไตร่ตรอง ควำมเขำ้ ใจในกำรอำ่ น มี ๓ ระดับ คือ ระดบั ตน้ ระดบั กลาง และระดับสูง ระดับต้น เปน็ ความเขา้ ใจขั้นข้อเท็จจริง เป็นระดับความเข้าใจที่ใช้ความรู้ ความจา ความเข้าใจ ตามตัวอักษรที่ปรากฏในเรื่องที่อา่ น ระดับกลำง เป็นความเข้าใจข้ันตีความ ท่ีต้องนาความรู้และประสบการณ์มาช่วยในการตีความ อ่านแลว้ สามารถนาแนวทางจากเรอ่ื งท่ีอา่ นไปใช้ใหเ้ กิดประโยชน์ สามารถแยกแยะส่ิงท่ีไม่ได้ระบุไว้ในเรื่อง ท่อี า่ น แต่สังเกตจากคา กลุ่มคา และประโยคทีบ่ อกไว้เปน็ แนวทาง ระดับสูง เป็นความเข้าใจขั้นวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าเป็นการอ่านจับใจความที่ต้องการ ใชค้ วามคิดในระดบั สูง สามารถสังเคราะห์ ประเมนิ ค่าในเร่อื งทีอ่ า่ นโดยใชค้ วามคิดที่ต้องใชจ้ ารณญาณ ในชั้น ป.๑ – ป.๒ ครูอาจฝึกให้เด็กเข้าใจในระดับต้น และระดับกลางก่อน สาหรับชั้น ป.๓ ครตู ้องพยายามฝกึ ให้เด็กใช้ความคดิ วจิ ารณญาณ ตามระดบั ความสามารถของเดก็ ในวยั นี้ ๙
ตัวอยำ่ งคำถำมต่อไปนี้ ท่ำนคิดว่ำเปน็ ควำมเข้ำใจกำรอำ่ นในระดับใด ๑. จังหวัดทน่ี กั เรียนอยมู่ ีป่าชายเลนหรอื ไม่ บอกช่ือจังหวัดทมี่ ีป่าชายเลนตามทนี่ ักเรียนรูจ้ ัก ๒. สตั วท์ อี่ าศยั อยู่ในปา่ ชายเลนมีอะไรบา้ ง ๓. ป่าชายเลนมีประโยชนอ์ ย่างไร เหตุใดเราจงึ ต้องชว่ ยกันดูแลไม่ให้เส่ือมโทรม ๔. นอกจากวธิ ีประหยัดพลังงานที่กล่าวมาแลว้ นักเรียนคิดว่ามวี ธิ ใี ดอีกบา้ ง ๕. นกั เรียนคดิ ว่าผลกระทบจากนา้ มนั ขนึ้ ราคา มีอะไรบา้ ง ๖. เมอื่ ได้ยินใครว่าร้ายแก่นักเรียน เราควรปฏบิ ัตอิ ยา่ งไร ๗. อธบิ ายความหมายของคาวา่ “กนิ รอ้ น ชอ้ นกลาง ลา้ งมือ” ๘. ทาอยา่ งไรจงึ จะปลอดภยั จากการเล่น และการเดินทาง ๙. เด็ก ๆ ควรดูแลสขุ ภาพอย่างไรจงึ จะไม่เจ็บปว่ ย ๑๐. “แต่เด็กซื่อไว้” นักเรยี นเข้าใจความหมายไว้ว่าอย่างไร ๑๑. ในเพลงกลอ่ มเด็ก “นกกาเหวา่ ” นกั เรียนสงสารใครมากท่ีสุด เพราะเหตุใด ๑๒. ลองพิจารณาดูวา่ เนื้อหาความตอนใดในเพลงกล่อมเด็ก ท่อี ่านแลว้ เหน็ ภาพได้ชัดเจน ๑๓. นักเรียนชอบบทร้อยกรองตอนใดมากทีส่ ดุ ยกมาให้ฟังแลว้ บอกว่าชอบเพราะเหตุใด ๑๔. เมื่ออา่ นเรอ่ื ง “ธนดู อกไม้กับเจา้ ชายนอ้ ย”แล้ว ลองพิจารณาวา่ ได้ข้อคิดอะไรทเี่ ปน็ ประโยชน์ แกต่ นบ้าง ๑๕. หากนักเรยี นพบคนทีม่ ีนิสยั เหมือนหมาปา่ ในนิทานเรื่อง “หมาปา่ กบั ลูกแกะ” นกั เรียนจะทา อยา่ งไรบ้าง ๑๐
กำรสอนอำ่ นวรรณคดี การสอนอ่านวรรณคดีและวรรณกรรม มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ผู้เรียนได้มีจินตนาการ มีความซาบซ้ึงในรสไพเราะของภาษา และมองเห็นคุณค่าของวรรณคดีในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งแฝงไว้ใน วรรณคดีแต่ละเรอ่ื ง ทง้ั ยงั ช่วยกล่อมเกลาพฒั นาการดา้ นจติ ใจและอารมณข์ องผเู้ รียนอีกด้วย การสอนอ่านวรรณคดีในช้ันประถมศึกษาตอนต้นน้ัน ครูควรจัดกิจกรรมท่ีหลากหลาย ให้นักเรียน อ่ำนอย่ำงสนุก มีชีวิตชีวา เช่น การร้อง การเล่น การเต้น การทาท่าประกอบ การแสดง บทบาทสมมติ การตบมือเข้าจังหวะ ฯลฯ ไม่ควรเน้นการอ่านออกอย่างจริงจัง เพราะวรรณคดีบางเร่ือง มีคาศัพท์ท่ียากสาหรับเด็ก ถ้าครูเน้นย้าให้นักเรียนต้องอ่านให้ออกจะเป็นการสกัดก้ันอารมณ์ที่จะทาให้ เกิดความซาบซ้ึงและรู้สึกไพเราะของภาษา วิธีที่เหมาะสม คือ ครูอ่านให้เด็กฟังเสียก่อน เพื่อให้เด็กเข้าใจ เน้ือเรื่องและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ครูต้องมีลีลาการอ่านอย่างมีชีวิตชีวา ดึงดูดความสนใจของเด็ก ตอนใดมีคาประพันธ์ที่มีคุณค่าก็ควรให้ท่องจาเป็นบทอาขยาน ให้รู้จักคาที่ประณีต สละสลวย คาคล้องจอง คาที่ใหค้ วามร้สู กึ นกึ คิดต่าง ๆ ตลอดจนปลูกฝังใหม้ ีทัศนคติทดี่ ี มนี ิสยั รักการอา่ นดว้ ย บทอำขยำนภำษำไทย ช้นั ป.๑ - ป.๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ บทหลัก บทเลอื ก ๏ น่ีของของเธอ ๏ แมวเหมยี ว ๏ รกั เมืองไทย ๏ ฝนตกแดดออก ๏ ไก่แจ้ ๏ กาดา ๏ รักษาปา่ ๏ สักวา ๏ เด็กน้อย ๏ วชิ าหนาเจา้ ๏ ความดีความชว่ั ๏ ต้งั ไข่ล้มต้มไขก่ นิ วรรณคดีและวรรณกรรม ชนั้ ป.๑ - ป.๓ ป.๑ - นิทานอสี ป กระต่ายกบั เตา่ ป.๒ - นทิ านอีสป ราชสหี ์กับหนู - นทิ านไทย ยายกะตา ป.๓ - นทิ านสุภาษิต กระตา่ ยต่ืนตมู - นทิ านอสี ป หมาป่ากบั ลกู แกะ - ประถม ก กา ฉบบั หอสมดุ แห่งชาติ - เพลงกล่อมเด็ก นกกาเหวา่ - ละครนอกเรอื่ ง ไชยเชษฐ์ ตอนพระนารายณธ์ เิ บศร์พบพระไชยเชษฐ์ ๑๑
บทรอ้ ยกรอง ๔๔ เพื่อนรัก ก เอ๋ย ก ไก่ ข ไข่น่าอวด รศ.ปิตนิ นั ธ์ สุทธสาร ค ควายอดทน ฅ คนเกง่ จัง ง งเู ลอ้ื ยคลาน จ จานงามยิง่ ฃ ขวดลวดลาย ช ช้างตวั โต ซ โซ่ใช้เสมอ ฆ ระฆงั สวยหรู ญ หญงิ งามตา ฎ ชฎานา่ รัก ฉ ฉ่งิ ปากกวา้ ง ฐ ฐานใหญ่โต ฑ มณโฑนงั่ เหงา ฌ เฌอแผก่ ่ิง ณ เณรยงั เล็ก ด เด็กวัยเยาว์ ฏ ปฏกั ปกั ท่ีลาน ถ ถุงเก็บนาน ท ทหารยนื ตรง ฒ ผเู้ ฒ่าใจเยน็ น หนวู ิ่งไว บ ใบไมใ้ บหนา ต เตา่ กินผักบงุ้ ผ ผงึ้ นางพญา ฝ ฝาก้นั บา้ น ธ ธงเชดิ ชู ฟ ฟันขาวเป็นเงา ภ สาเภาแล่นมา ป ปลาในบึง ย ยกั ษ์ใหญ่เหลือ ร เรอื ลอยนงิ่ พ พานรองขนั ว แหวนล้าค่า ศ ศาลาเย็นดี ม มา้ เร็วนกั ส เสอื เร่งรีบ ห หีบใสผ่ ้า ล ลิงโลดแลน่ อ อ่างขายถูก ฮ นกฮูกตาโต ษ ฤาษีช่วยเหลอื ฬ จฬุ าลอยควา้ ง * การทอ่ งบทคลอ้ งจอง ก – ฮ หลาย ๆ แบบ จะชว่ ยให้เด็กมีความแม่นยาย่งิ ข้ึน ๑๒
กำรใชค้ ู่มือกำรสอนอ่ำนเขยี นโดยกำรแจกลูกสะกดคำภำษำไทย 1. คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคาภาษาไทย จัดแบ่งเป็นหน่วยการสอน ตามลาดับของการสอนภาษาไทยขั้นพื้นฐาน เป็น 10 หน่วย จัดพิมพ์เป็นหน่วยละ 1 เล่ม มีทั้งหมด 10 เล่ม เลม่ ละ 1 หนว่ ย ได้แก่ หน่วยท่ี 1 รูปและเสยี งพยญั ชนะ หน่วยท่ี 2 รูปและเสียงสระ หน่วยท่ี 3 รูปและเสียงวรรณยุกต์ หน่วยท่ี ๔ การแจกลกู สะกดคาในแม่ ก กา หนว่ ยที่ ๕ การผนั วรรณยกุ ตค์ าในแม่ ก กา หน่วยที่ ๖ การแจกลกู สะกดคาที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา หน่วยที่ ๗ การผันวรรณยุกตค์ าทีม่ ตี ัวสะกดตรงตามมาตรา หนว่ ยที่ ๘ การแจกลูกสะกดคาทม่ี ีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา หน่วยท่ี ๙ การแจกลูกสะกดคาทม่ี พี ยญั ชนะควบกลา้ หนว่ ยท่ี 10 การแจกลกู สะกดคาท่มี ีอักษรนา 2. คู่มอื การสอนอา่ นเขยี นโดยการแจกลูกสะกดคา ในแต่ละหน่วย ประกอบดว้ ยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คอื สว่ นที่ 1 ควำมรู้สำหรบั ครู เป็นส่วนที่ให้ความรู้ความเข้าใจ เป็นการเตรียมความรู้ให้แก่ครู เพอ่ื ใหม้ ีความรูค้ วามเข้าใจสาระสาคัญ หลักการของเรือ่ งท่ีสอนอย่างถูกตอ้ งตามหลกั วชิ าการ ส่วนที่ 2 แนวทำงกำรจัดกำรเรียนรู้ เป็นการนาเสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ พร้อมสื่อการเรียนรู้ และการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ เพอื่ ให้ผู้สอนไดใ้ ชเ้ ปน็ แนวทางในการจดั การเรยี นรู้ ส่วนที่ 3 แนวทำงกำรวัดและประเมินผลประจำหน่วย เป็นการนาเสนอตัวอย่างการวัด และประเมินผล โดยมีการวัดผลระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (Formative test) ซ่ึงสอดแทรก ระหว่างการจัดการเรียนรู้ เป็นการบันทึกผลจากการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนในระหว่างเรียน ซ่ึงจะปรากฏอยู่ในส่วนท่ี 2 แนวทางการจัดการเรียนรู้ สาหรับในส่วนที่ 3 นี้ จะเป็นการวัดผลประจาหน่วย เพ่ือตัดสนิ วา่ หลังการจัดการเรียนรคู้ รบตามหน่วยนนั้ แลว้ ผู้เรียนมคี วามร้คู วามสามารถตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ในหนว่ ยน้ันในระดับใด ซง่ึ นาผลจากการวัดมาตรวจสอบความสามารถในการอ่านและเขยี นในหนว่ ยน้ันๆ ๑๓
สว่ นที่ 1 ควำมรู้สำหรบั ครู จุดประสงค์ของความรู้สาหรับครู เป็นเอกสารท่ีเป็นสาระสาคัญที่มีไว้ให้ครูได้ศึกษาเพ่ือให้มี ความรู้ความเข้าใจ ในการเตรียมความพร้อมในการสอนและเสนอแนะแนวทางการจัดเรียนรู้ในหน่วยนั้น โดยกาหนดเป็นข้ันตอน เพื่อเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้แก่ครูได้ศึกษาเพื่อทาความเข้าใจถึง สาระสาคญั ที่จะนาไปถา่ ยทอดใหน้ ักเรยี น โดยส่วนที่ 1 น้ี มุง่ เน้นให้ครมู ีหลกั การและแนวคิดในเร่อื งทจ่ี ะสอน สว่ นท่ี 2 แนวทำงกำรจัดกำรเรียนรู้ จดุ ประสงค์ของการนาเสนอในหัวขอ้ นี้ เพ่อื เปน็ ตวั อย่างให้ครูได้นาไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม และบรบิ ทของสถานศกึ ษา ในหวั ขอ้ น้ขี ออธบิ ายให้เขา้ ใจ ดงั นี้ ตัวอย่างแนวการจดั การเรียนรู้ 1. ระบชุ อื่ หนว่ ยและเวลาทใี่ ช้ในแต่ละหน่วย สาหรับเวลาที่ใช้ในแต่ละหน่วย ผู้นาไปใช้สามารถ ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เวลาทกี่ าหนดไว้เป็นการกาหนดโดยประมาณเท่านั้น 2. จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ เป็นการระบุให้ผู้สอนได้กาหนดว่า สอนหน่วยนี้แล้ว ผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถในการอ่านและเขียนตามจุดประสงค์ของหน่วยน้ัน ในระดับใด ซ่ึงแนวทางการจัดการเรียนรู้สามารถนาไปประยุกต์ใช้กับการสอนภาษาไทยตามหลักสูตร ไดจ้ ากการพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ 3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นว่าหน่วยนี้แบ่งการสอนเป็นข้ันตอนในการจัดการเรียนรู้ ได้กี่คร้ัง แต่ละคร้ังใช้เวลาคร้ังละ 1 ชั่วโมง ครูสามารถปรับเปลี่ยนจานวนคร้ังและเวลาได้ตามความเหมาะสม และการนาไปใชข้ องครู แตต่ ้องใหผ้ ูเ้ รยี นเกิดการเรยี นรู้ตามจุดประสงค์การเรยี นร้ทู กี่ าหนด 4. แนวการจัดการเรียนรู้ท่ี 1 ทุกหน่วยจะเขียนตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ไว้ให้ 1 เร่ือง ประกอบดว้ ย 1) จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ (ระบุผลลพั ธท์ ีเ่ กิดจากการเรียนรู้เฉพาะเรอื่ งทีส่ อนในช่วั โมงนนั้ ) 2) ข้นั ตอนการจดั การเรยี นรู้ เสนอใหเ้ ห็นข้นั ตอนการสอนต้ังแต่ ขนั้ นา: มจี ุดประสงค์เพ่อื สร้างความสนใจและทบทวนความรทู้ ีเ่ ช่อื มโยงกับหวั ข้อท่จี ะเรยี นต่อไป ข้ันสอน: เสนอแนวทางการจัดเรียนรู้ให้ไว้เป็นตัวอย่าง โดยครูสามารถปรับเปล่ียนสื่อได้ ตามความเหมาะสม แต่จุดเน้นของการจัดการเรียนรู้ต้องการให้ได้ฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสอดแทรก ในการสอนและตอ้ งมกี ารบนั ทึกผลการสอน ตามตัวอยา่ งทแี่ สดงไว้ ขน้ั สรปุ : เปน็ ขน้ั การทบทวนใหน้ กั เรียนเขา้ ใจในเรอ่ื งท่สี อน 3) สื่อการสอนเป็นการเสนอแนะสื่อทใ่ี ชใ้ นการสอนของชวั่ โมงนนั้ ๆ 4) การวัดและประเมินผล เสนอแบบบนั ทึกผลการฝกึ ทกั ษะระหว่างเรียนของนกั เรยี นเป็นรายบคุ คล ตัวอย่ำงแนวกำรจดั กำรเรียนรูท้ ่ี 2 และต่อ ๆ ไป เป็นการนาเสนอจุดประสงค์การเรียนรู้ของหน่วยนั้น และแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครูผู้สอนได้นาไปประยุกต์ใช้ได้ และบางหน่วยได้เสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนรู้ไว้จนครบทุก ข้ันตอน ๑๔
ส่วนที่ 3 กำรวัดและประเมนิ ผลประจำหน่วย การวัดและประเมินผลประจาหน่วยเป็นการประเมินตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ประจาหน่วย เพอ่ื ตัดสนิ ผลการเรียนของหนว่ ยน้นั โดยจะกาหนด 1) แบบวัดตามจดุ ประสงค์ของหนว่ ยน้ัน 2) วธิ ีการวัด 3) เกณฑก์ ารประเมนิ หมำยเหตุ การวัดระหว่างเรียนจะเป็นการจากการฝึกทักษะหรือการใช้แบบวัดอ่ืน ๆ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ในชั่วโมงนนั้ ๆ เปน็ การวดั เพอื่ การพัฒนาการเรยี นของนกั เรยี น ๑๕
หน่วยท่ี ๑ รูปและเสยี งพยัญชนะ สว่ นท่ี ๑ ความรู้สาหรบั ครู แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อมุ่งให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ท่ีประสบ ผลสาเรจ็ มหี ลากหลายวธิ ี ท้ังนขี้ ้ึนอยู่กบั เทคนคิ และประสบการณ์ของครูผู้สอนเป็นสาคัญ ซ่ึงครูผู้สอนแต่ละคน ต่างก็มีเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่สาคัญท่ีครูควรคานึงถึง คือ การศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสอนผู้เรียนตามความแตกต่างของผู้เรียนและสอนด้วยความรักความเข้าใจเป็นสาคัญ โดยคานึงถึง ประเด็นตา่ ง ๆ ดังนี้ ๑. ครูตระหนกั ถงึ ความสาคญั ของการจดั การเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาให้นักเรียนอ่าน ออกเขียนได้ ซ่ึงจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ และการส่ือสารในชีวิตตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของตน ๒. ครูมคี วามร้เู กย่ี วกบั รปู และเสียงของพยญั ชนะไทย ๓. ครูให้ความสาคัญกับการสอนและฝึกฝนให้นักเรียนเขียนพยัญชนะได้ถูกวิธี ตลอดจนวิธีการ จับดนิ สอ การวางสมุด และทา่ น่งั ที่ถูกตอ้ ง ๔. ครูจัดเตรียมสื่อให้น่าสนใจ ครบตามจานวนนักเรียน และให้นักเรียนทุกคนได้ฝึกปฏิบัติ จนเกิดทกั ษะและความแมน่ ยา รปู พยัญชนะ พยญั ชนะไทยมีท้งั หมด ๔๔ ตวั ปัจจุบนั ใช้เพยี ง ๔๒ ตวั ตัวทเี่ ลกิ ใช้ คือ ฃ ฅ ตวั อกั ษรแบบกระทรวงศกึ ษาธิการ พยญั ชนะไทย ขอ้ สงั เกต ๑. พยัญชนะ ฬ ในรปู แบบของกระทรวงศึกษาธิการนี้ใชห้ างสงู กว่าบรรทดั ท่ี ๑ ขึ้นไป ๒ สว่ น ๒. พยญั ชนะ อ ฐานของ อ จะโคง้ หรือตรงก็ได้ ๑๖
ช่อื พยัญชนะ ช่ือพยัญชนะไทยในปัจจุบันมีคาสร้อยประกอบช่ือพยัญชนะหลายสานวน ส่วนฉบับที่ใช้กันมา นานและจดจาได้อย่างแพร่หลาย คือ ฉบับท่ีใช้ชื่อตัวอักษรของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา ดารงราชานุภาพ ส่วนคาสรอ้ ยสร้างสรรคโ์ ดยบริษัทประชาชา่ ง ซ่งึ มีรายละเอยี ด ดงั นี้ ก ขฃ เอ๋ย กอไก่ ไข่ ในเลา้ ด ของเรา ค ควาย เข้านา ฅ คน ขงึ ขัง ฆ ระฆงั ขา้ งฝา ง งู ใจกลา้ จ จาน ใชด้ ี ฉ ฉง่ิ ตีดัง ช ชา้ ง วิ่งหนี ซ โซ่ ลา่ มที ฌ เฌอ คู่กัน ญ หญงิ โสภา ฎ ชฎา สวมพลนั ฏ ปฏัก หนุ หนั ฐ ฐาน เขา้ มารอง ฑ ฒ ผ้เู ฒ่า เดนิ ย่อง ณ เณร ไม่มอง ต เต่า หลงั ตงุ ถ มณโฑ หนา้ ขาว ธ ถุง แบกขน ด เด็ก ต้องนมิ นต์ ธง คนนยิ ม ท น ป หนู ขวกั ไขว่ ทหาร อดทน ปลา ตากลม บ ใบไม้ ทบั ถม ๑๗
ผ ผึง้ ทารัง ฝ ฝา ทนทาน พ พาน วางตง้ั ฟ ฟัน สะอาดจัง ภ สาเภา กางใบ ม มา้ คึกคัก ย ยกั ษ์ เขยี้ วใหญ่ ร เรอื พายไป ล ลิง ไตร่ าว ว แหวน ลงยา ศ ษ ส ศาลา เงยี บเหงา ฤๅษี หนวดยาว เสือ ดาวคะนอง ห ฬ อ หบี ใสผ่ ้า จฬุ า ทา่ ผยอง อา่ ง เนอื งนอง ฮ นกฮกู ตาโต ข้อสังเกต ๑. พยญั ชนะ ซ บางตาราใช้ ล่ามตี หมายถึง ลา่ มและตีตรวน แตใ่ นทีน่ ใี้ ช้ ล่ามที ๒. พยัญชนะ ฌ ที่ถูกใช้ เฌอ หมายถึง ต้นไม้ ซึ่งตามรูปท่ีแสดงในบทอ่าน ส่วน ฌ กระเชอ นั้น หมายถึง ภาชนะสานชนิดหน่ึงมีรูปร่างคล้ายกระจาดแต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้างกว่า ใช้สาหรับ กระเดยี ด ๓. พยญั ชนะ ศ ใช้ ศ ศาลา เทา่ นนั้ ทั้งนี้ไม่ใช้ ศ คอ ศาลา ๔. พยญั ชนะ ษ ใช้ ษ ฤๅษี เทา่ นั้น ท้ังนไ้ี มใ่ ช้ ษ บอ ฤๅษี อย่างไรก็ตาม ครูจะต้องสอนให้นักเรียนรู้จักรูปและเสียงของพยัญชนะให้ถูกต้องตรงกัน ส่วน ช่ือเรียกพยัญชนะและคาสร้อยนั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัยและสานักพิมพ์ ซ่ึงอาจมี ความแตกต่างกันได้ ๑๘
การฝึกเขียนพยญั ชนะ กรณีท่ีนักเรียนยังไม่เคยเรียนเร่ืองการอ่านและการเขียนพยัญชนะมาก่อนเลย ครูควรสอน พื้นฐานสาคญั สาหรบั การเรมิ่ ต้นของพยญั ชนะให้ถกู ตอ้ งกอ่ น ดังนี้ ๑. วิธกี ารจบั ดนิ สอทถี่ กู ตอ้ ง ๒. ลกั ษณะการนัง่ ทีถ่ ูกวิธี ๓. การเขยี นเส้นพนื้ ฐานในการเขยี นพยัญชนะ ๑. วิธีจบั ดินสอที่ถกู ต้อง การจับดินสอท่ีจะทาให้ไม่เกิดการเกร็งของน้ิวและข้อมือมากเกินไป และยังเป็นการจับแบบ ธรรมชาติตามสรรี ะของน้วิ และมือ นวิ้ หวั แมม่ ือและน้วิ ชจี้ บั ตัวดนิ สอ นวิ้ กลางใช้เป็นฐานรองดนิ สอ ภาพการจบั ดินสอที่ถูกวิธี ๒. ลักษณะการนั่งทถี่ ูกวธิ ี ๒.๑ นักเรยี นนั่งตวั ตรง หนั หนา้ เขา้ หาโตะ๊ เรียน ทงั้ นไี้ มค่ วรนง่ั เอียงเพราะอาจทาให้หลังคด ๒.๒ แขนทั้ง ๒ ข้าง วางอยู่บนโต๊ะ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของความยาวระหว่างศอกกับข้อมือ โดยวางพาดไวก้ บั ขอบโตะ๊ ๒.๓ วางกระดาษสาหรับเขียนไว้ตรงหน้า ทั้งนี้ควรวางกระดาษให้ตรง หรือเอียงเพียงเล็กน้อย หากวางเอียงมากไปอาจทาให้ผู้เขียนต้องเอียงคอ ส่งผลให้สายตาทางานมาก อาจทาให้สายตานักเรียน ผิดปกตไิ ด้ ๒.๔ มือที่ใช้เขียนต้องทามุมให้เหมาะสมกับตัวอักษร ข้อศอกต้องไม่กางออกหรือแนบลาตัว มากเกินไป ๒.๕ การวางมือ ใช้ฝ่ามือคว่าลง มืองอ ทามุม ๔๕ องศากับข้อมือ นิ้วกลางรองรับดินสอ หรอื ปากกา ส่วนนิ้วหวั แม่มือกับนว้ิ ชี้จะประคองดนิ สอร่วมกับนิ้วกลาง ๒.๖ จบั ดินสอให้พอเหมาะ ไมแ่ น่นหรือหลวมเกินไป สว่ นน้ิวทจี่ ับดินสอควรโค้งงอเล็กน้อย ๒.๗ ขณะทคี่ ดั ลายมือ แขน มอื และนิว้ ตอ้ งเคลอ่ื นไหวให้สมั พันธก์ นั ๑๙
๒.๘ การเคล่ือนไหวของดินสอขณะที่คัดตัวพยัญชนะ จะต้องเริ่มต้นจากการเขียนส่วนหัว ของพยัญชนะทกุ ตัวเสมอ ทั้งนีต้ ้องเขียนพยัญชนะแต่ละตัวใหเ้ สรจ็ เรยี บรอ้ ยกอ่ นทจ่ี ะยกดินสอ ๓. การเขยี นเส้นพื้นฐานในการเขยี นพยัญชนะ กอ่ นสอนเขยี นพยัญชนะไทย ครคู วรฝึกการเขยี นเสน้ พนื้ ฐานจากง่ายไปหายาก จานวน ๑๓ เส้น ใหก้ บั นักเรยี น โดยใชบ้ รรทดั ๕ เส้น (๔ สว่ น) จนนกั เรยี นเกิดความชานาญ ตวั อย่างเส้นพนื้ ฐานในการเขียนพยัญชนะ ๑. เสน้ ตรงจากบนลงลา่ ง ๑ ๒ ๓ ๔ ๒. เส้นเฉียงจากบนขวามาลา่ งซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๓. เสน้ เฉยี งจากบนซ้ายมาล่างขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๔. เสน้ เฉียงจากลา่ งซ้ายไปบนขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๕. เส้นตรงจากลา่ งไปบน ๑ ๒ ๓ ๔ ๖. เสน้ เฉียงจากล่างขวาไปบนซ้าย ๑ ๒ ๓ ๒๐
๔ ๗. เสน้ ตรงลา่ งจากซา้ ยไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๘. เส้นตรงล่างจากขวาไปซ้าย ๑ ๒ ๓ ๔ ๙. เสน้ โคง้ บนจากซา้ ยไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๐. เสน้ โค้งล่างจากซ้ายไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๑. เส้นโคง้ บนจากขวาไปซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๒. เส้นวงกลมจากซ้ายไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๒๑
๑๓. เส้นวงกลมจากขวาไปซ้าย ๑ ๒ ๓ ๔ เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการเขียนเส้นพื้นฐาน ครูผู้สอนควรกาชับให้นักเรียนเขียนเส้นพ้ืนฐาน ทั้ง ๑๓ เส้น ตามรูปแบบที่กาหนด ให้ต่อเน่ืองจนเกิดความชานาญ และเมื่อนักเรียนคุ้นเคยกับการเขียน เส้นข้ันพื้นฐานทั้ง ๑๓ เส้นแล้ว ครูสามารถเร่ิมสอนเขียนพยัญชนะไทยตามรูปแบบพยัญชนะไทยที่ถูกต้อง ทง้ั ๔๔ ตัว อยา่ งตอ่ เน่ือง จนเกิดความชานาญ โดยยึดหลักเกณฑ์ที่สาคญั ดงั น้ี การเขียนพยัญชนะไทยต้องเน้นให้นักเรียนเขียนลาตัวพยัญชนะก่อนแล้วจึงเขียนเชิง หาง หรือไส้ และให้เร่มิ เขียนท่ตี น้ ตัวพยัญชนะแลว้ ลากเสน้ ตดิ ต่อกันไปจนจบทปี่ ลายพยัญชนะ ก ฎตน้ ฐปลาย ษต้น ปลาย ศตน้ ปลาย ต้น ปลาย ปลาย ต้น ต้น ปลาย ตน้ ปลาย ปลาย ตน้ การเขียนหวั พยญั ชนะ การเขียนหัวพยัญชนะไทยให้กลม มีเส้นเรียบคม สม่าเสมอ นับว่าสาคัญยิ่ง ในโอกาสน้ี จึง ขอเสนอวธิ ีการเขียนพยัญชนะไทยตามลาดับความยากง่าย ดังนี้ ๑. หัวอยสู่ ่วนท่ี ๑ กลมเต็ม ๑ ส่วน ๑.๑ หัวหลังบน ไดแ้ ก่ ผ ฝ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๑.๒ หวั หนา้ บน ได้แก่ ง บ ป น ม ท ห พ ฟ ษ ฬ ๑ ๒ ๓ ๔ ๒๒
๒. หวั อยูใ่ นส่วนท่ี ๒ กลมเตม็ ส่วน ๑ ส่วน ๒.๑ หวั หลังกลาง ไดแ้ ก่ ค ศ อ ฮ ๑ ๒ ๓ ๔ ๒.๒ หวั หน้ากลาง ไดแ้ ก่ จ ฉ ด ต ฒ ฐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๓. หัวอยู่ในส่วนที่ ๔ กลมเตม็ ๑ ส่วน ๓.๑ หวั หลงั ล่าง ไดแ้ ก่ ถ ล ส ฌ ณ ญ ๑ ๒ ๓ ๔ ๓.๒ หัวหนา้ ลา่ ง ไดแ้ ก่ ฎ ฏ ภ ๑ ๒ ๓ ๔ ๔. หัวขมวดหกั หนา้ บน ไดแ้ ก่ ข ช (ไม่ตรงกบั ตัวอย่าง พยัญชนะกลุ่มท่ี ๓) ๑ ๒ ๓ ๔ ๕. หัวหยกั หกั เหล่ยี มหน้าบน ได้แก่ ซ ฑ ฆ ๑ ๒ ๓ ๔ ๒๓
วิธคี ดั พยัญชนะไทย พยญั ชนะกลมุ่ ที่ ๑ พยญั ชนะไมม่ ีหวั พยญั ชนะกล่มุ ท่ี ๒ พยัญชนะที่มีหวั เร่ิมที่บรรทดั ส่วนที่ ๑ พยัญชนะกลมุ่ ที่ ๓ พยัญชนะท่ีมีหัวระหว่างบรรทดั ส่วนท่ี ๑ และสว่ นท่ี ๒ พยญั ชนะกลมุ่ ท่ี ๔ พยัญชนะที่มหี ัวเริ่มท่ีบรรทัดส่วนท่ี ๒ พยัญชนะกลุม่ ท่ี ๕ พยญั ชนะท่มี หี ัวระหวา่ งบรรทดั ส่วนที่ ๓ และสว่ นที่ ๔ ลาดับพยญั ชนะทคี่ วรสอน ก่อน - หลัง พยัญชนะไทยท้ัง ๔๔ ตัว มีระดับความยากง่ายในการอ่านออกเสียง และการเขียนรูปพยัญชนะ ท่ีแตกต่างกัน ครูควรเลือกพยัญชนะที่ง่ายต่อการออกเสียงและเขียนรูป ให้นักเรียนฝึกอ่าน ฝึกเขียน ตามลาดับก่อน ท้ังนี้ เพ่ือการเสริมแรงและเพ่ิมกาลังใจในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน (สานักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา. ๒๕๕๘: ๒๔) ลาดบั พยญั ชนะไทยทคี่ วรสอนก่อน - หลงั เป็นชุด ๆ ดังนี้ ชุดที่ ๑ กจดตบปอ ชดุ ที่ ๒ ค ง ชซทน ชุดที่ ๓ พฟมย ร ลว ฮ ชดุ ท่ี ๔ ขฉถผฝสห ชดุ ท่ี ๕ ฃ ฅ ฆฑ ธ ภ ศ ษห ชุดที่ ๖ ฌญฎ ฏ ฐ ฒณ ๒๔
ส่วนที่ ๒ แนวทางการจัดการเรยี นรู้ ๑. สอนใหเ้ ห็นรูป สอนให้รูจ้ ักเสยี ง สอนใหเ้ ขยี นรูป ๒. สอนทีละตัว อย่ารบี ร้อน ๓. หากพบนกั เรียนคนใดยงั อ่านออกเสยี งไมถ่ ูกตอ้ ง เขยี นไมไ่ ด้ ใหห้ ยุดรอ พร้อมทั้งช่วยเหลอื และแกไ้ ขเสียกอ่ น อยา่ ปล่อยทงิ้ ไว้เปน็ เวลานาน เพราะจะเกดิ ความเสยี หายและสายจนแก้ไข ไดย้ าก ๒๕
ตวั อย่างการนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในห้องเรียน (๑ ช่วั โมง) (๑ ชว่ั โมง) หน่วยท่ี ๑ รูปและเสียงพยญั ชนะ จดุ ประสงค์การเรียนร้ขู องหนว่ ย (๒ ชว่ั โมง) เพ่อื ให้นกั เรยี นอา่ นเขยี นรปู และเสียงพยญั ชนะได้ แนวทางการจัดการเรยี นร้ทู ่ี ๑ การอา่ นรปู และเสียงพยัญชนะ แนวทางการจดั การเรียนรทู้ ่ี ๒ การเขียนพยัญชนะ แนวทางการจดั การเรียนรู้ที่ ๑ การอ่านรปู และเสียงพยญั ชนะ (๑ ช่ัวโมง) จดุ ประสงค์การเรียนรู้ อ่านรปู และเสียงพยัญชนะไทยทงั้ ๔๔ ตวั ได้ถูกต้อง ข้นั ตอนการจดั การเรยี นรู้ ๑. ขน้ั นา ครูสอนให้นักเรียนรู้จัก “ชื่อพยัญชนะ” ทั้งหมดโดยใช้วิธี “อ่านท่องร้องเล่น” ตามที่ท่องกัน โดยท่ัวไป ซ่ึงจะต้องเรียงตามลาดับพยัญชนะ เพื่อให้นักเรียนได้รู้จัก “ชื่อ” ของพยัญชนะแต่ละตัว ทั้งน้ี ควรฝึกให้นักเรียนอ่านท่องร้องเล่นบ่อย ๆ จนเกิดความชานาญและควรเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลิน กับการท่องร้องเล่นชอ่ื พยัญชนะพรอ้ มปรบมอื ให้จังหวะ ๒๖
ก ข ฃ เอย๋ กอไก่ ไข่ ในเลา้ ขวด ของเรา ค ควาย เข้านา ฅ คน ขงึ ขัง ฆ ระฆัง ขา้ งฝา ง งู ใจกลา้ จ จาน ใชด้ ี ฉ ฉง่ิ ตดี ัง ช ช้าง ว่งิ หนี ซ โซ่ ลา่ มที ฌ เฌอ คู่กัน ญ หญิง โสภา ฎ ชฎา สวมพลัน ฏ ปฏกั หนุ หนั ฐ ฑ ฒ ฐาน เข้ามารอง มณโฑ หนา้ ขาว ผ้เู ฒ่า เดินยอ่ ง ณ ด ต เณร ไม่มอง เดก็ ตอ้ งนมิ นต์ เตา่ หลงั ตุง ถ ท ธ ถงุ แบกขน ทหาร อดทน ธง คนนิยม น บ ป หนู ขวกั ไขว่ ใบไม้ ทบั ถม ปลา ตากลม ผ ฝ พ ผ้งึ ทารัง ฝา ทนทาน พาน วางตั้ง ๒๗
ฟ ภ ม ฟนั สะอาดจัง สาเภา กางใบ มา้ คึกคัก ย ร ล ยักษ์ เข้ยี วใหญ่ เรือ พายไป ลงิ ไต่ราว ว แหวน ลงยา ศ ษ ฤๅษี หนวดยาว ส เสอื ดาวคะนอง ศาลา เงยี บเหงา ฬ จฬุ า ทา่ ผยอง อ อ่าง เนืองนอง ห หีบ ใส่ผ้า ฮ นกฮกู ตาโต ๒. ข้นั สอน ๒.๑ ครูสอนให้ร้จู ัก “รูป” และ “เสียง” ของพยัญชนะแต่ละตัว เพื่อนาสู่การอ่าน และเขียนสะกดคา ต่อไป โดยใช้แผนภมู ิพยญั ชนะ ๒.๒ ใหน้ ักเรยี นอ่าน ก - ฮ พรอ้ ม ๆ กนั และเปน็ รายบคุ คล ๒.๓ ครสู ังเกตความถูกต้องในการอา่ นออกเสยี งพยญั ชนะของนกั เรียน ๒.๔ ใหน้ กั เรยี นทาแบบฝกึ การอา่ นรปู พยัญชนะ ๒๘
๓. ข้นั สรปุ ครแู ละนักเรยี นรว่ มกนั สรปุ ช่อื พยญั ชนะ ท้ัง ๔๔ ตวั โดยการอา่ นออกเสยี งให้ถกู ต้อง ดังน้ี ก ออกเสียงวา่ “กอ” ข ออกเสียงวา่ “ขอ” ค ออกเสยี งว่า “คอ” จ ออกเสียงว่า “จอ” ช ออกเสียงวา่ “ชอ” ต ออกเสยี งวา่ “ตอ” ฝ ออกเสียงวา่ “ฝอ” ร ออกเสยี งว่า “รอ” ส ออกเสยี งว่า “สอ” ฮ ออกเสียงว่า “ฮอ” สือ่ การเรียนการสอน ๑. แผนภูมิ ก - ฮ ๒. แบบฝกึ การอา่ นพยัญชนะ การวัดและประเมินผล การตรวจแบบฝึก ๒๙
แบบฝกึ การอ่านพยัญชนะ คาช้ีแจง ๑. ครแู บ่งกลุ่มนกั เรยี นตามความเหมาะสม การแบ่งกลมุ่ ของนกั เรยี นไมค่ วรเกิน ๕ คน หรือ อาจให้นกั เรียนจบั คู่กนั ๒. ครแู จกบัตรพยญั ชนะไทยและบัตรภาพ ก - ฮ แล้วใหน้ ักเรยี นจับคู่พยญั ชนะและภาพให้ ถกู ตอ้ ง ๓. ให้นักเรยี นจับคู่ คนท่ี ๑ ถือบัตรภาพ และคนที่ ๒ อา่ นออกเสยี งพยญั ชนะใหต้ รงกบั ภาพ ถ้านกั เรียนอ่านออกเสียงผดิ ให้แกไ้ ขทนั ที ๓๐
แบบบนั ทึกแบบฝกึ ก ที่ ชอ่ื - สกุล ก ขฃคฅฆงจฉชซฌญฎฏฐฑฒณดต คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ใหบ้ ันทึกคะแนนของนกั เรยี นเป็นรายขอ้ เพือ่ ให้รวู้ า่ นักเรยี นมีขอ้ บกพร่องใด สาหรับนาไปใช้ใน ๒. วิธกี ารบันทึก ถ้าทาถกู ต้องใหใ้ ส่เครื่องหมาย ถา้ ทาผิดให้ให้ใสเ่ คร่ืองหมาย X (เครื่องหมาย ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพอื่ ประโยชนใ์ นการวินจิ ฉัยขอ้ บกพร่องของนกั เรยี นเปน็ รายบุคคล และนาไปใ ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอื่ ประโยชนใ์ นการวินจิ ฉยั วา่ ขอ้ บกพร่องของนักเรียนในภาพรวมของช้นั เรีย ๕. นักเรยี นอ่านพยญั ชนะถูกตอ้ งทุกตัว จึงผ่านเกณฑ์ กรณที น่ี ักเรยี นไมผ่ ่านเกณฑ์ ครูผสู้ อนตอ้ งฝึกจน ๑
การอา่ นพยญั ชนะ พยญั ชนะ รวม คะแนน* ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อฮ นการปรับปรงุ และพัฒนานกั เรียน เทา่ กบั ๑ คะแนน เครอ่ื งหมาย X เท่ากับ ๐ คะแนน) ใช้ในการปรบั ปรุงและพฒั นานกั เรียนเป็นรายบุคคล ยน เพื่อนาไปใชใ้ นการปรับปรุงและพฒั นาการจัดการเรียนการสอน นนักเรยี นอา่ นได้
แนวทางการจัดการเรยี นรู้ที่ ๒ การเขียนพยญั ชนะ (เวลา ๑ ช่วั โมง) จุดประสงค์การเรียนรู้ เขยี นพยญั ชนะไทย ท้ัง ๔๔ ตวั ไดอ้ ย่างถกู ต้อง ข้ันตอนการจดั การเรยี นรู้ ๑. ข้ันนา ครนู าแผนภูมิพยัญชนะไทยซึ่งมที ง้ั หมด ๔๔ ตัว ปัจจบุ นั ใช้เพียง ๔๒ ตัว ตวั ท่ีเลกิ ใช้ คือ ฃ ฅ ๒. ข้นั สอน ๒.๑ ครเู ตรยี มความพร้อมด้านการเขียนให้นักเรียน โดยสาธิตและอธิบายเกี่ยวกับการจับดินสอ ทถ่ี ูกตอ้ งและลกั ษณะการน่ังที่ถกู วธิ ี ๒.๒ ในกรณีท่ีครูให้นักเรียนฝึกการเขียนเส้นพ้ืนฐานจากง่ายไปหายาก จานวน ๑๓ เส้น ตามแบบฝึกท่ี ๑ การเขียนบนเส้นพ้ืนฐานการเขียนพยัญชนะไทย โดยใช้บรรทัด ๕ เส้น (๔ ส่วน) จนนักเรียนเกิดความชานาญ โดยครูแจกกระดาษตารางให้นักเรียนฝึกเขียนเส้นพ้ืนฐาน ๑๓ เส้น เพ่ือให้ นักเรียนเกิดทักษะการเขียนเส้นพ้ืนฐาน ครูผู้สอนควรกาชับให้นักเรียนเขียนเส้นพื้นฐานท้ัง ๑๓ เส้น ตามรูปแบบท่ีกาหนดให้ต่อเน่ือง โดยให้นักเรียนดูตัวอย่างเส้นพื้นฐานการเขียนพยัญชนะไทย ทั้งน้ี อาจให้นักเรียนนาไปฝึกฝนทบ่ี า้ นเพ่มิ เตมิ กไ็ ด้ ๑
๒.๓ ครูสอนให้นักเรียนเขียนหัวพยัญชนะไทย ตามแบบฝึกที่ ๒ การเขียนหัวพยัญชนะไทย โดยใช้บรรทัด ๕ เส้น (๔ ส่วน) จนนักเรียนเกิดความชานาญ โดยให้นักเรียนดูตัวอย่างการเขียน หัวพยัญชนะไทย แลว้ ให้นกั เรียนฝึกเขียนตามตัวอยา่ ง ๒.๔ ครูสอนให้นักเรียนเขียนพยัญชนะไทย โดยเรียงลาดับพยัญชนะที่เขียนง่ายไปหายาก ตามลาดบั ๓. ขนั้ สรุป ครูและนกั เรียนร่วมกันสรปุ ถึงรูปแบบการเขียนตัวพยัญชนะไทยทถ่ี ูกต้องทั้ง ๔๔ ตวั สื่อการเรียนการสอน แบบฝกึ การเขียน การวัดและประเมนิ ผล การตรวจแบบฝึก ๒
แบบฝึกท่ี ๑ การเขียนเสน้ พ้นื ฐานในการเขยี นพยัญชนะ คาชแ้ี จง ใหน้ ักเรยี นเขียนเส้นพน้ื ฐานในการเขยี นพยญั ชนะให้ถูกต้อง ๑. เส้นตรงจากบนลงล่าง ๑ ๒ ๓ ๔ ๒. เส้นเฉียงจากบนขวามาลา่ งซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๓. เส้นเฉียงจากบนซา้ ยมาลา่ งขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๔. เสน้ เฉยี งจากลา่ งซ้ายไปบนขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๕. เส้นตรงจากลา่ งไปบน ๑ ๒ ๓ ๔ ๖. เสน้ เฉยี งจากลา่ งขวาไปบนซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๓
๗. เส้นตรงล่างจากซา้ ยไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๘. เสน้ ตรงลา่ งจากขวาไปซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๙. เสน้ โคง้ บนจากซ้ายไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๐. เส้นโค้งล่างจากซ้ายไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๑. เสน้ โค้งบนจากขวาไปซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๒. เสน้ วงกลมจากซ้ายไปขวา ๑ ๒ ๓ ๔ ๑๓. เส้นวงกลมจากขวาไปซา้ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๔
แบบบนั ทกึ แบบฝึกท่ี ๑ การเขียนเสน้ พ้นื ฐานในการเขียนพยญั ชนะ ท่ี ชอื่ - สกุล ขอ้ ท่ี รวมคะแนน* ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ใหบ้ ันทึกคะแนนของนกั เรยี นเป็นรายขอ้ เพอื่ ใหร้ ู้วา่ นกั เรยี นมขี อ้ บกพร่องใด สาหรับนาไปใชใ้ นการปรับปรุงและพฒั นา นกั เรยี น ๒. วิธกี ารบนั ทกึ ถา้ ทาถูกต้องให้ใสเ่ คร่อื งหมาย ถ้าทาผดิ ใหใ้ หใ้ สเ่ ครอ่ื งหมาย X (เครอ่ื งหมาย เท่ากับ ๑ คะแนน เคร่อื งหมาย X เท่ากับ ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพื่อประโยชนใ์ นการวนิ ิจฉัยขอ้ บกพร่องของนักเรยี นเป็นรายบคุ คล และนาไปใชใ้ นการปรบั ปรุง และพฒั นานักเรยี นเป็นรายบคุ คล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอ่ื ประโยชนใ์ นการวนิ ิจฉยั วา่ ข้อบกพรอ่ งของนักเรยี นในภาพรวมของชั้นเรียน เพื่อนาไปใชใ้ น การปรับปรุงและพฒั นาการจดั การเรยี นการสอน ๕. นักเรยี นเขยี นไดถ้ กู ต้องทกุ ข้อ จึงจะผ่านเกณฑ์ กรณีท่นี กั เรียนไมผ่ า่ นเกณฑ์ ครผู ้สู อนตอ้ งฝกึ จนนักเรยี นเขยี นได้ ๕
แบบฝกึ ท่ี ๒ การเขียนหวั พยัญชนะ คาช้แี จง ใหน้ กั เรียนเขยี นหัวพยัญชนะตามท่ีกาหนดใหถ้ ูกต้อง ๑. หัวอยู่สว่ นท่ี ๑ กลมเต็ม ๑ ส่วน ๑.๑ หัวหลงั บน ไดแ้ ก่ ผ ฝ ย ๑ ๒ ๓ ๔ ๑.๒ หวั หนา้ บน ไดแ้ ก่ ง บ ป น ม ท ห พ ฟ ษ ฬ ๑ ๒ ๓ ๔ ๒. หัวอยู่ในสว่ นท่ี ๒ กลมเตม็ ส่วน ๑ สว่ น ๒.๑ หวั หลงั กลาง ไดแ้ ก่ ค ศ อ ฮ ๑ ๒ ๓ ๔ ๒.๒ หัวหนา้ กลาง ได้แก่ จ ฉ ด ต ฒ ฐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๓. หวั อย่ใู นส่วนท่ี ๔ กลมเต็ม ๑ ส่วน ๓.๑ หวั หลังลา่ ง ได้แก่ ถ ล ส ฌ ณ ญ ๑ ๒ ๓ ๔ ๖
๓.๒ หวั หนา้ ล่าง ไดแ้ ก่ ฎ ฏ ภ ๑ ๒ ๓ ๔ ๔. หวั ขมวดหักหนา้ บน ได้แก่ ข ช ๑ ๒ ๓ ๔ ๕. หัวหยักหกั เหล่ียมหน้าบน ได้แก่ ซ ฑ ฆ ๑ ๒ ๓ ๔ ๗
ท่ี ชื่อ - สกุล แบบบันทกึ แบบฝึกที่ ๒ การเขยี นหัวพยัญชนะ ขอ้ ที่ รวมคะแนน* ๑.๑ ๑.๒ ๒.๑ ๒.๒ ๓.๑ ๓.๒ ๓.๓ ๓.๓ คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ใหบ้ นั ทึกคะแนนของนกั เรยี นเป็นรายข้อ เพอ่ื ให้ร้วู า่ นักเรียนมีขอ้ บกพร่องใด สาหรับนาไปใช้ในการปรบั ปรุงและพัฒนา นักเรยี น ๒. วธิ ีการบนั ทกึ ถ้าทาถูกต้องให้ใส่เครอ่ื งหมาย ถ้าทาผิดให้ใหใ้ สเ่ ครือ่ งหมาย X (เครอ่ื งหมาย เทา่ กับ ๑ คะแนน เครอ่ื งหมาย X เท่ากับ ๐ คะแนน) ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพอ่ื ประโยชนใ์ นการวนิ จิ ฉัยข้อบกพรอ่ งของนักเรียนเปน็ รายบคุ คล และนาไปใชใ้ นการปรับปรงุ และพฒั นานักเรยี นเปน็ รายบคุ คล ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอื่ ประโยชนใ์ นการวนิ จิ ฉยั ว่าขอ้ บกพรอ่ งของนกั เรยี นในภาพรวมของช้ันเรยี น เพือ่ นาไปใชใ้ น การปรบั ปรงุ และพัฒนาการจดั การเรียนการสอน ๕. นักเรียนเขยี นไดถ้ กู ต้องทกุ ขอ้ จงึ จะผ่านเกณฑ์ กรณที ่นี กั เรยี นไมผ่ า่ นเกณฑ์ ครผู สู้ อนต้องฝกึ จนนักเรียนเขยี นได้ ๘
สว่ นที่ ๓ แนวทางการวดั และประเมนิ ผลประจาหนว่ ย ฉบับท่ี ๑ การอา่ นพยญั ชนะ คาชแ้ี จง ใหน้ กั เรยี นอ่านออกเสียงพยัญชนะไทยตามที่กาหนดให้ถูกต้อง จานวน ๔๔ ตวั โดยครูสุ่มจากบัตรพยัญชนะ ก - ฮ เพ่อื ไม่ใหเ้ รียงตวั อักษร ตัวอยา่ งบัตรพยัญชนะ ก อา่ นวา่ กอ
แบบบันทึกฉบับที่ ๑ ก ท่ี ช่ือ - สกุล ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ใหบ้ ันทกึ คะแนนของนักเรยี นเปน็ รายข้อ เพอื่ ให้รวู้ า่ นักเรียนมีขอ้ บกพรอ่ งใด สาหรับนาไปใช้ในการ ๒. วิธีการบนั ทกึ ถา้ ทาถูกต้องใหใ้ ส่เครอื่ งหมาย ถา้ ทาผดิ ใหใ้ หใ้ สเ่ ครือ่ งหมาย X (เครือ่ งหมาย เท ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพ่ือประโยชนใ์ นการวินิจฉยั ขอ้ บกพรอ่ งของนกั เรียนเป็นรายบคุ คล และนาไปใชใ้ น ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพอื่ ประโยชนใ์ นการวินิจฉยั ว่าขอ้ บกพร่องของนกั เรยี นในภาพรวมของชนั้ เรียน เพ ๕. นกั เรียนอ่านพยัญชนะถกู ต้องทกุ ตัว จึงผา่ นเกณฑ์ กรณีท่นี ักเรียนไม่ผา่ นเกณฑ์ ครผู สู้ อนต้องฝกึ จน
การอา่ นพยัญชนะ พยญั ชนะ รวมคะแนน* ตถทธ นบปผฝพฟภมยร ลว ศษสหฬอฮ รปรับปรงุ และพัฒนานักเรียน ทา่ กบั ๑ คะแนน เครอ่ื งหมาย X เท่ากับ ๐ คะแนน) นการปรบั ปรงุ และพฒั นานักเรยี นเปน็ รายบุคคล พ่อื นาไปใชใ้ นการปรับปรงุ และพฒั นาการจัดการเรยี นการสอน นนกั เรยี นอา่ นได้
ฉบบั ที่ ๒ การเขียนพยัญชนะ คาชี้แจง ใหน้ ักเรียนเขียนพยัญชนะไทยตามแผนภมู ทิ ี่กาหนดทั้ง ๔๔ ตัว โดยใช้กระดาษที่มีบรรทัด ๕ เสน้
แบบบันทึกฉบับท่ี ๒ กา ท่ี ช่ือ - สกลุ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต คะแนนรวม** หมายเหตุ ๑. ใหบ้ นั ทึกคะแนนของนักเรียนเปน็ รายขอ้ เพื่อใหร้ ู้วา่ นักเรยี นมขี อ้ บกพร่องใด สาหรับนาไปใชใ้ นการ ๒. วธิ ีการบันทึก ถา้ ทาถกู ตอ้ งให้ใสเ่ ครือ่ งหมาย ถ้าทาผดิ ใหใ้ หใ้ สเ่ ครื่องหมาย X (เครอ่ื งหมาย เท ๓. ใช้ รวมคะแนน* เพื่อประโยชนใ์ นการวนิ ิจฉยั ขอ้ บกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล และนาไปใช้ใน ๔. ใช้ คะแนนรวม** เพ่อื ประโยชน์ในการวินิจฉัยว่าข้อบกพรอ่ งของนักเรยี นในภาพรวมของชน้ั เรยี น เพ ๕. นกั เรยี นเขยี นพยัญชนะถกู ต้องทุกตัว จึงผา่ นเกณฑ์ กรณีที่นักเรียนไม่ผา่ นเกณฑ์ ครผู ูส้ อนต้องฝึกจน
ารเขียนพยัญชนะ พยัญชนะ รวมคะแนน* ตถทธ นบปผฝพฟภมยร ลว ศษสหฬอฮ รปรบั ปรุงและพฒั นานักเรยี น ท่ากบั ๑ คะแนน เคร่ืองหมาย X เท่ากบั ๐ คะแนน) นการปรับปรุงและพฒั นานักเรียนเป็นรายบคุ คล พ่ือนาไปใชใ้ นการปรับปรุงและพฒั นาการจดั การเรยี นการสอน นนกั เรยี นเขียนได้
หน่วยที่ ๒ รูปและเสยี งสระ ส่วนที่ ๑ ความร้สู าหรับครู การสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคา ครูควรศึกษาเร่ืองรูปและเสียงสระในภาษาไทยที่มี การเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทง้ั ช่ือรปู สระและเสียงสระ เพื่อให้มีความรู้และข้อมูลเบ้ืองต้นสาหรับการจัด การเรียนรู้ พ้ืนฐานสาคัญของการอ่านและเขียน คือ การรู้จัก “รูป” และ “เสียง” ของสระ ควบคู่กับรูป และเสยี งพยญั ชนะ รูปสระ หมายถึง ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น -ะ -า สระก็เรียก (ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๕๔: ๑,๐๑๑) เสียงสระ หมายถึง เสียงท่ีเปล่งออกมาโดยอาศัยการเคล่ือนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสาคัญ แต่ไมม่ ีการสกัดก้นั จากอวัยวะส่วนใดสว่ นหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยท่ัวไปจะออกเสียงสระร่วมกับ พยญั ชนะหรอื ออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวกไ็ ด้ (ราชบณั ฑิตยสถาน. ๒๕๕๔: ๑,๒๖๔) รูปและเสยี งสระในภำษำไทย ช่ือเรียกรูปและเสียงสระในภาษาไทยสระในอดีตจะเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (น่ิม กาญจนาชีวะ) ระบุในหนังสือหลักภาษาไทยไว้ว่า สระมีจานวน ๒๑ รูป ๓๒ เสียง ต่อมาหนังสือ อเุ ทศภาษาไทยชดุ บรรทดั ฐานภาษาไทย เล่ม ๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๕๔: ๖๘ - ๖๙) ระบุว่า สระ มีจานวน ๓๗ รูป ๒๑ เสียง และหนังสือหลักภาษาไทย: เร่ืองท่ีครูภาษาไทยต้องรู้ (๒๕๕๘: ๒ - ๑๔) ระบุว่า สระมีจานวน ๓๘ รูป ๒๑ เสียง (รายละเอียดในภาคผนวก) จานวนรูปและเสียงของสระน้ีเปลี่ยนแปลง ไปตามการใชส้ ระในการสะกดคาภาษาไทย ซง่ึ ครูไม่จาเป็นต้องสอนนักเรียนประถมศึกษาในเบ้ืองตน้ สาหรับการมุ่งพัฒนาให้นักเรียนอ่านออกและเขียนได้ ในคู่มือเล่มนี้อธิบายรูปและเสียงสระ โดยยดึ เนือ้ หาในหนงั สือหลักภาษาไทย: เรอื่ งที่ครภู าษาไทยควรรู้ รูปและเสียงสระในภาษาไทยเป็นสระจม คือ ไม่ปรากฏโดยลาพัง ต้องประกอบด้วยพยัญชนะ เสมอ ทั้งนี้ เพราะคาในภาษาไทยทุกคาต้องมีเสียงพยัญชนะต้น ไม่มีคาที่ใช้สระเป็นเสียงต้นของคา ตัวอักษรท่ีเขียนแทนเสียงสระบางเสียงใช้รูปเขียนตัวเดียว บางเสียงใช้รูปเขียน ๒ - ๓ ตัว ในภาษาไทย มรี ูปสระ ๓๘ รูป ใช้แทนจานวนเสียง ๒๑ เสียง เสียงสระในภาษาไทยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ สระเด่ียว และสระประสม รวม ๒๑ เสียง
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294