Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การโค้ชเพื่อการรู้คิด พิมพ์ครั้งที่ 5_1544714623

การโค้ชเพื่อการรู้คิด พิมพ์ครั้งที่ 5_1544714623

Description: การโค้ชเพื่อการรู้คิด พิมพ์ครั้งที่ 5_1544714623

Search

Read the Text Version

บทที่ 7 พลังคาถาม 237 การ สรา้ งสรรค์ ประเมนิ ค่า ประเมิน การสงั เคราะห์ วิเคราะห์ การวิเคราะห์ ประยกุ ต์ การนาไปใช้ ความเขา้ ใจ ความเขา้ ใจ ความจา ความรู้ Anderson and Krathwohl. (2001) Bloom. (1956) แผนภาพ 20 ลาดับขน้ั การรูค้ ิดของ Bloom กบั Anderson and Krathwohl จากการปรับปรุงลาดับขั้นการรู้คิดดังกล่าว จึงได้มีการกาหนดคากริยา (action verb) ทส่ี อดคลอ้ งกับลาดับขั้นการรูค้ ดิ ซึ่งมีรากฐานมาจากคากริยาที่ Bloom ได้คิดค้นไว้ ผู้เขียนได้สังเคราะห์ร่วมกันได้ดังต่อไปนี้ (Bloom. 1956, Anderson and Krathwohl. 2001) ตาราง 17 คากรยิ าทใ่ี ชใ้ นการตั้งคาถามตามลาดับขั้นการร้คู ิด ระดบั การคดิ คากรยิ าที่ใชใ้ นการตั้งคาถาม สร้างสรรค์ ออกแบบ เรียบเรียง สร้าง วางแผน ประมวล กาหนด ประดิษฐ์ ตง้ั สมมติฐาน เปลยี่ น ทดแทน เขยี น พัฒนา สรปุ อา้ งอิง บูรณาการ ปรับปรุง จัดระบบ เตรียมการ ผลิต จัดเรียงใหม่ เรยี บเรียงใหม่ แกไ้ ขใหด้ ีข้นึ เลือก

238 บทที่ 7 พลังคาถาม ตาราง 17 คากรยิ าท่ีใช้ในการต้ังคาถามตามลาดับขนั้ การรู้คิด (ตอ่ ) ระดบั การคดิ คากริยาที่ใชใ้ นการต้ังคาถาม ประเมนิ ตดั สิน ตัดสนิ ใจ ประเมิน เลือก ประมาณ ให้คะแนน วเิ คราะห์ ทานาย เลอื ก ทดสอบ เรียงลาดับความสาคัญ พิจารณา ลงความเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ ติชม โนม้ น้าว ชกั จูง วดั ประยกุ ต์ ปกป้อง ลงความเหน็ ความเข้าใจ วเิ คราะห์ เปรยี บเทียบ จัดประเภท อธิบายความแตกต่าง ความจา จดั กลุ่ม คดั แยก คานวณ อนุมาน แนะนา เลือก จาแนก แยกแยะ เช่อื มโยง บ่งชี้ สารวจ ระบคุ วามสมั พนั ธ์ แก้ปญั หา ประยุกต์ สาธิต แสดงตัวอยา่ ง ใช้ เปลี่ยน เลือก แสดง ทาให้สมบูรณ์ เตรยี ม สอน จัดการ ทดลอง อธบิ าย บรรยาย ตคี วาม ขยายความ สรุป ทาให้ชดั เจน อภิปราย แปล เทยี บเคียง สรปุ กล่าวอ้าง ระบุ บอกชื่อ จับคู่ เลือก ระลึก ท่อง อา่ น บันทึก เขยี น ทาสญั ลักษณ์ ทาเคร่ืองหมาย บอกรายการ ตวั อย่างพลังคาถามชแ้ี นะการรคู้ ดิ ทเ่ี ชอื่ มโยงกบั สาระสาคัญ สาระสาคญั เรอื่ ง ส่ีเหลย่ี มมุมฉาก มีตัวอยา่ งพลังคาถามดงั นี้ - ส่เี หล่ียมมมุ ฉากมลี ักษณะเฉพาะอยา่ งไร - สี่เหลย่ี มมุมฉากเปน็ สี่เหลีย่ มจัตรุ สั หรอื ไม่ เพราะเหตุใด - สเี่ หล่ยี มจตั ุรสั เปน็ ส่ีเหลี่ยมมมุ ฉากหรือไม่ เพราะเหตใุ ด - มีวิธีการคานวณเส้นรอบรปู ส่ีเหลี่ยมมุมฉากได้อยา่ งไร - ถา้ นารูปสี่เหล่ียมมมุ ฉากมาวางตอ่ กันจะได้ผลลัพธเ์ ปน็ รปู อะไร

บทท่ี 7 พลังคาถาม 239 - ถ้าต้องการหาพน้ื ทรี่ ูปสเ่ี หลย่ี มมุมฉาก สามารถทาอย่างไรไดบ้ า้ ง - ข้อมูลท่ีจาเปน็ ตอ่ การหาความยาวของเสน้ รอบรูปสีเ่ หลีย่ มมมุ ฉาก มอี ะไรบ้าง - ข้อมูลที่จาเปน็ ต่อการหาพ้ืนที่รูปสเ่ี หลย่ี มมุมฉากมอี ะไรบา้ ง - การหาความยาวเสน้ รอบรปู กบั พื้นที่ของสี่เหลย่ี มมุมฉาก มคี วามเหมือนหรอื ต่างกนั อย่างไร - ถา้ ทราบความยาวของดา้ นรปู สีเ่ หลี่ยมจัตุรสั 1 ด้าน จะสามารถ หาเส้นรอบรูปและพื้นที่ได้หรือไม่ เพราะเหตใุ ด - ถา้ ทราบความยาวของดา้ นรูปสเ่ี หล่ียมผนื ผ้า 1 ด้าน จะสามารถ หาเสน้ รอบรูปและพ้นื ที่ได้หรือไม่ เพราะเหตใุ ด - ควรวางแผนการหาความยาวของเสน้ รอบรูปและพ้นื ที่ของสี่เหลยี่ มมุมฉาก ทก่ี าหนดให้นี้อย่างไร - มีวิธกี ารใหม่ๆ ในการหาความยาวของเสน้ รอบรปู และพื้นท่ขี อง ส่ีเหล่ียมมุมฉากนอ้ี ีกหรอื ไม่ - มนั่ ใจหรือไม่ว่าคาตอบของความยาวเสน้ รอบรูปและพืน้ ที่ที่คานวณได้ มีความถูกตอ้ ง และเพราะอะไร - ให้ระบุสิง่ ของเคร่ืองใช้ในชีวติ ประจาวันท่ีมีรูปส่ีเหล่ียมมุมฉากประกอบ - ถ้าแบ่งรูปสีเ่ หลยี่ มมุมฉากออกเป็นรูปสามเหลยี่ มท่ีมคี วามเทา่ กัน ทุกประการ จะไดร้ ปู สามเหล่ียมที่เทา่ กันทุกประการกรี่ ปู - สีเ่ หลย่ี มมุมฉากนามาใช้ประโยชนใ์ นชีวิตประจาวันไดอ้ ย่างไรบา้ ง

240 บทที่ 7 พลงั คาถาม น อกจ า กน้ี กา ร ใช้ พ ลั งคาถ ามยั ง ช่ ว ย เ ส ริ มส ร้ าง คุณ ลั กษณ ะของ ผู้ เ รี ย น ได้อีกดว้ ย โดยโค้ชใช้พลังคาถามแทนคากลา่ วหรือคาถามแบบเดิม ดังตวั อย่างตอ่ ไปน้ี ตาราง 18 ตัวอย่างการใช้พลงั คาถามเสริมสรา้ งคณุ ลกั ษณะของผ้เู รียน คากลา่ ว / คาถาม แบบเดมิ พลงั คาถาม ทาไดห้ รือยงั อธิบายข้ันตอนการทาได้อยา่ งไร ทาใหด้ ีกวา่ นี้ได้มยั้ ทาดีที่สุดแลว้ หรือยัง เม่ือไหรจ่ ะเสร็จ พรอ้ มที่จะให้ชน่ื ชมผลงานเม่ือไร ทาไมไม่ทา ทาไม่ไดต้ รงไหน มสี ่ิงใดใหช้ ่วยมั้ย ทาผดิ อีกแล้ว มั่นใจหรอื ไม่ว่าทาได้ถูกตอ้ งแลว้ ทาไมทางานไมเ่ รียบร้อย มสี ิ่งใดทจ่ี ะแก้ไขให้เรียบร้อยอีกหรือไม่ ทาไมไม่ตั้งใจเรียน วนั นต้ี ้ังใจเรียนดที ีส่ ดุ แล้วหรอื ยงั ทาไมสง่ งานไม่ตรงเวลา การสง่ งานตรงเวลามีขอ้ ดีอยา่ งไร อยา่ เห็นแก่ตัวใหม้ ากนัก การเห็นแกป่ ระโยชนส์ ่วนรวมคืออะไร ต้งั ใจทาการบ้านใหม้ ากกว่านี้ การตง้ั ใจทาการบา้ นมีประโยชนอ์ ยา่ งไร เมอ่ื ไหรจ่ ะหยดุ ลอกการบา้ น การทาการบา้ นดว้ ยตนเองมีข้อดีอย่างไร คดิ ใหม้ ากกวา่ นี้ไดม้ ยั้ มีวธิ กี ารอนื่ อีกหรือไม่ เงียบๆ หน่อยไดม้ ย้ั นักเรียนพร้อมจะเรยี นรหู้ รือยัง ทาไดแ้ คน่ ห้ี รือ ใช้ความพยามยามในการทาแลว้ หรือยัง มีเหตุผลหนอ่ ยได้มยั้ เหตุผลของนักเรียนคอื อะไร ทาไมถงึ ทาแบบนี้ เหตุผลท่ตี ดั สนิ ใจแบบนีค้ ืออะไร เม่ือไหรจ่ ะเรมิ่ ลงมือเสียที พร้อมทจ่ี ะเรยี นรู้แลว้ หรอื ยัง ไปลอกใครมา ทางานนีโ้ ดยใชก้ ระบวนการอย่างไร หัดมีความรบั ผดิ ชอบเสียบา้ ง ความรับผิดชอบมีประโยชน์อย่างไร

บทที่ 7 พลังคาถาม 241 นอกจากน้ีโค้ชยังสามารถใช้พลังคาถามในลักษณะต่างๆ เพื่อเสริมสร้าง คณุ ภาพของผเู้ รยี น ดังตัวอยา่ งต่อไปนี้ 1. พลังคาถามเสริมสรา้ งการตรวจสอบผลการเรียนรู้ของตนเอง - แน่ใจในคาตอบของตนเองหรือยัง - มน่ั ใจในคาตอบของตนเองแล้วหรอื ยงั - มนั่ ใจได้อย่างไรวา่ คาตอบที่คิดได้มคี วามถูกต้อง - ตอ้ งการทบทวนคาตอบของตนเองอีกครัง้ หรอื ไม่ - คดิ ว่าผลงานของนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดบั ใด - คดิ ว่ามสี ง่ิ ใดท่ีประสบความสาเร็จในการเรียนรู้คร้ังนี้ - คาดวา่ คาตอบของตนเองมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ - คดิ ว่าคาตอบของตนเองน่าจะถูกตอ้ งหรือไม่เพราะอะไร - คิดวา่ ตนเองมสี งิ่ ใดทีต่ ้องปรับปรงุ แก้ไขในการเรยี นรู้คร้งั ตอ่ ไป - ลองทบทวนตรวจสอบคาตอบของตนเองอีกครั้งจะดีกว่าหรอื ไม่ 2. พลงั คาถามเสริมสร้างการอธบิ ายขยายรายละเอียด - รายละเอียดเปน็ อย่างไร - เร่ืองนม้ี ีรายละเอยี ดเป็นอย่างไร - มีรายละเอยี ดเพ่มิ เติมอีกหรอื ไม่ - น่าสนใจมาก...เรือ่ งราวเปน็ มาอยา่ งไร - ชว่ ยอธบิ ายให้มากขึ้นกวา่ นี้อกี ไดห้ รอื ไม่ - พอจะเล่ารายละเอยี ดเพมิ่ เตมิ อีกไดห้ รือไม่ - น่าสนใจมาก...ช่วยอธิบายขยายรายละเอียดอีกนิด - มีรายละเอยี ดอนื่ ๆ ที่เกี่ยวขอ้ งกับเร่อื งน้อี ีกหรอื ไม่ - รายละเอียดของเร่ืองน้ีเปน็ อยา่ งไร ช่วยอธิบายเพม่ิ เติมอีก

242 บทท่ี 7 พลงั คาถาม 3. พลงั คาถามเสรมิ สรา้ งการแสดงทศั นคติ - คิดอยา่ งไรกบั เร่ืองน้ี - คดิ อยา่ งไรกับปัญหาน้ี - เห็นดว้ ยกบั เร่ืองนี้หรือไม่ - คิดอย่างไรกับเหตุการณน์ ้ี - รู้สึกอยา่ งไรกับเหตกุ ารณ์น้ี - รูส้ กึ อย่างไรกับผลงานช้นิ นี้ - มีแนวคิดอยา่ งไรในประเด็นนี้ - มมี ุมมองตอ่ เหตุการณ์นี้อย่างไร - มีความคิดเก่ียวกับเรื่องน้ีอยา่ งไร - คิดอย่างไรกบั วิธีการแกป้ ัญหาด้วยวธิ กี ารน้ี - มีทรรศนะอยา่ งไรเก่ียวกบั ประเด็นที่กลา่ วมา - มมี ุมมองตอ่ ปัญหานี้และแนวทางการแก้ไขอย่างไร 4. พลังคาถามเสรมิ สร้างการสรปุ แนวคดิ - แนวความคดิ โดยรวมคืออะไร - สรุปแนวคิดของกลุ่มได้ว่าอย่างไร - นวัตกรรมช้ินน้มี ีแนวคิดวา่ อยา่ งไร - สิ่งที่จะทามแี นวคิดพน้ื ฐานอย่างไร - สรปุ เปน็ แนวคิดท่แี ทจ้ ริงได้อยา่ งไร - ส่ิงท่ีกลา่ วมามแี นวคิดสาคัญอยา่ งไร - มีแนวคดิ อย่างไรกับการทางานชน้ิ น้ี - แนวคิดในการทางานช้ินน้เี ปน็ อยา่ งไร - แนวคดิ ท่ีสนบั สนุนการแกป้ ัญหาน้ีคอื อะไร - ประเดน็ สาคัญของสว่ นน้มี ีแนวคิดวา่ อย่างไร - แนวความคดิ หลักทแ่ี ท้จริงของเร่ืองนีค้ ืออะไร - คิดว่าแนวคิดสาคัญของเร่ืองน้ีอยูท่ ป่ี ระเด็นใด

บทที่ 7 พลังคาถาม 243 5. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งการสรุปความรู้ด้วยตนเอง - เรอื่ งนี้สรุปไดว้ ่าอย่างไร - สิง่ ท่ไี ดเ้ รียนรูว้ ันน้คี อื อะไร - นิทานเรือ่ งนีส้ อนใหร้ วู้ ่าอะไร - หัวใจสาคญั ของเรื่องนีค้ ืออะไร - ใจความสาคญั ของสง่ิ นค้ี ืออะไร - สาระสาคญั ของเรอ่ื งนส้ี รุปไดอ้ ยา่ งไร - ไดร้ ับความรู้อะไรจากการทากิจกรรมน้ี - ประเด็นสาคญั ของส่วนนม้ี ีใจความวา่ อยา่ งไร - Concept ของเนื้อหาท่กี ล่าวมานน้ั สรปุ ได้ว่าอย่างไร - ได้ความรอู้ ะไรจากการทากิจกรรมการแลกเปล่ียนเรียนรู้คร้งั น้ี 6. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งการใหเ้ หตผุ ลสนบั สนุนการคดิ และตัดสนิ ใจ - ชอบสง่ิ น้เี พราะอะไร - ที่คิดแบบน้มี ีเหตผุ ลอะไร - เลอื กทาแบบนเี้ พราะอะไร - มีเหตผุ ลในชแ้ี จงว่าอย่างไร - ตัดสนิ ใจแบบน้ีเพราะอะไร - ให้เหตุผลสนับสนุนได้หรอื ไม่ - เพราะอะไรจึงเลือกแนวทางน้ี - เหน็ ดว้ ยกับเร่อื งน้เี พราะอะไร - เหตุผลที่ตัดสินใจแบบน้ีคืออะไร - เหตุผลท่ีตัดสนิ ใจแบบนค้ี ืออะไร - ไม่เหน็ ด้วยกับเร่อื งน้ีเพราะอะไร - เหตุผลท่ที าใหใ้ ช้วิธีการน้ีคอื อะไร - ใช้วธิ ีการที่แตกต่างออกไปเพราะอะไร - เหตผุ ลทไ่ี ม่เลือกใช้วธิ กี ารท่เี หมือนคนอ่ืนๆ คืออะไร

244 บทที่ 7 พลังคาถาม 7. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งการแสดงความคิดเหน็ ตอ่ ส่ิงใดสง่ิ หนึ่ง - มีความคิดเหน็ ต่อเร่ืองนี้อย่างไร - มคี วามคิดเหน็ ต่อนวัตกรรมนีอ้ ยา่ งไร - มคี วามคดิ เหน็ อย่างไรเกย่ี วกับผลงานในวันน้ี - มีความคิดเห็นว่าควรปรบั ปรุงให้ดีข้ึนอย่างไร - มีความคดิ เหน็ ที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นดว้ ยกบั เร่ืองน้ี - มคี วามคดิ เหน็ ว่าอะไรคอื จุดดแี ละจดุ ด้อยของส่งิ น้ี - มคี วามคดิ เห็นอย่างไรเก่ยี วกบั กิจกรรมการทดลองในวันนี้ - มคี วามคดิ เห็นต่อกระบวนการแกป้ ัญหาของเพือ่ นอย่างไร - มีความคิดเห็นอย่างไรเกย่ี วกบั ปญั หาสิ่งแวดลอ้ มในปัจจุบัน - มคี วามคิดเห็นอย่างไรกบั พฤติกรรมการใช้ Smart Phone ของวยั ร่นุ 8. พลังคาถามเสริมสรา้ งการให้เหตุผลเกีย่ วกบั สิ่งใดสง่ิ หนง่ึ - เราควรประหยัดเพราะเหตุใด - เหตผุ ลทต่ี อ้ งออกกาลงั กายคืออะไร - ตน้ ไมม้ ปี ระโยชนต์ ่อมนุษยเ์ พราะอะไร - ทรัพยากรปา่ ไม้ถูกทาลายเพราะเหตุใด - เพราะเหตใุ ดเราจึงต้องดแู ลรักษาสุขภาพ - สารเสพติดมโี ทษตอ่ ร่างกายเพราะเหตุใด - การสงั เกตทาให้เกดิ ความรูไ้ ด้เพราะเหตใุ ด - ทุกคนตอ้ งประกอบอาชพี สุจรติ เพราะอะไร - เพราะเหตุใดพืชจงึ เปน็ สิง่ มีชวี ิตประเภทหนง่ึ - สง่ิ แวดล้อมมคี วามสาคัญต่อมนษุ ยเ์ พราะเหตใุ ด - จานวนคูบ่ วกดว้ ยจานวนค่จู ะไดจ้ านวนคู่เสมอเพราะอะไร - การสอ่ื สารภาษาองั กฤษมคี วามสาคัญมากในปัจจุบันเพราะอะไร - เพราะเหตุใดการอ่านออกเขยี นไดจ้ ึงมคี วามสาคัญต่อการดารงชีวติ - เพราะเหตุใดสถานการณ์ปัญหาเรอื่ งสงิ่ แวดล้อมจงึ มีความรนุ แรงมากข้นึ

บทท่ี 7 พลงั คาถาม 245 9. พลงั คาถามเสรมิ สร้างการแสวงหาวิธีการแกป้ ญั หา - ปญั หาที่เกดิ ขึ้นควรแก้ไขโดยวธิ ีการใด - มวี ิธีการแกป้ ญั หานีไ้ ด้อย่างไรบ้าง - ควรแกป้ ญั หาน้ีอยา่ งไร - ปัญหาน้ีสามารถแก้ไขได้หรือไม่ - วิธกี ารแก้ปัญหานด้ี ีที่สุดแล้วหรอื ยงั - ยังมวี ธิ ีการแกป้ ัญหาวิธกี ารอื่นอีกหรอื ไม่ - วธิ กี ารแก้ปัญหาทเ่ี หมาะสมกบั บริบทน้ีควรเปน็ อย่างไร - วธิ ีการแกป้ ญั หาน้ีมีวธิ กี ารเดยี วหรือไม่ - วิธกี ารท่เี หมาะสมกับการแก้ปัญหานี้มีกว่ี ิธี - การแก้ปัญหาในทานองเดยี วกันนคี้ วรดาเนินการอยา่ งไร - จะมีวิธีการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปญั หานี้ได้อย่างไร 10. พลังคาถามเสรมิ สร้างการทานายปรากฏการณ์บางอย่าง - จะเกดิ อะไรขึน้ ถา้ มสี ิง่ น้นั - จะเกดิ อะไรขึ้นถ้าไม่มสี ิง่ นี้ - น่าจะเกิดอะไรขึน้ นบั จากน้ี - หากขาดส่งิ น้จี ะเปน็ อย่างไร - ถ้ามีสิง่ น้แี ลว้ อาจจะเกดิ อะไรขึ้นตามมา - ถา้ ไม่มสี ่ิงนแ้ี ล้ว อาจจะเกิดอะไรขึ้นตามมา - สิ่งท่ีคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังจากนคี้ ืออะไร - อนาคตจะเปน็ อยา่ งไรถา้ หากยังเป็นแบบนี้ - นักเรยี นคิดวา่ จะเกิดอะไรขึ้นกับเหตกุ ารณ์น้ี - ถา้ สง่ิ น้ีเกิดขน้ึ นักเรยี นคดิ ว่าจะเกดิ อะไรต่อไป - ถา้ ในปนี ้ีฝนตกชุก คดิ วา่ ฤดูหนาวปีนจี้ ะเปน็ อยา่ งไร - ผลกระทบทอ่ี าจจะเกิดขึ้นซึ่งเปน็ ผลจากเหตุการณน์ คี้ ืออะไร - ถา้ ฉดี ยาฆ่าแมลงลงในแหล่งน้า คิดวา่ จะเกิดอะไรขึน้ ตามมา

246 บทที่ 7 พลงั คาถาม 11. พลงั คาถามเสรมิ สร้างการศกึ ษาค้นควา้ เพ่มิ เตมิ ดว้ ยตนเอง - คน้ เพ่ิมอีกนดิ ดีมั้ย - แหลง่ ความรู้อยู่ที่ไหน - หาความรเู้ พมิ่ เติมไดจ้ ากทีใ่ ด - สงิ่ ทต่ี อ้ งศึกษาเพ่ิมเติมคืออะไร - ควรศึกษาคน้ คว้าเพิม่ เตมิ ในประเด็นใด - แสวงหาความรู้เพ่มิ เตมิ อีกจะดีกว่าหรอื ไม่ - มน่ั ใจหรือไม่ว่าข้อมลู ทน่ี าเสนอมานี้เพยี งพอแลว้ - ประเดน็ ทีน่ ่าจะต้องศึกษาเพิม่ เตมิ น่าจะเป็นประเด็นใด - หากต้องการความร้เู พ่มิ เติมในประเด็นนี้ควรทาอยา่ งไร - ช่วยค้นคว้าเพม่ิ เติมให้ครอบคลมุ ประเด็นมากขึ้นได้หรือไม่ - ถ้าหากได้ศกึ ษาคน้ คว้าเพิ่มเติมดว้ ยตนเองแลว้ จะเข้าใจมากขึ้นอย่างไร 12. พลงั คาถามเสริมสร้างการทบทวนความคดิ ของตนเอง - แน่ใจนะ - คดิ ดแี ลว้ นะ - มนั่ ใจแน่นะ - มั่นใจมากเพียงใด - คดิ ดที ี่สดุ แลว้ ใช่มั้ย - คิดรอบคอบดแี ล้วใช่หรือไม่ - ความคิดตกตะกอนแลว้ หรือยงั - จะทบทวนความคิดอีกครั้งดมี ย้ั - ตรวจสอบความคดิ ดแี ลว้ หรอื ยัง - คดิ ไตร่ตรองรอบดา้ นแล้วใช่หรือไม่ - แนใ่ จในความคิดของตนเองแล้วหรอื ยัง - มั่นใจหรือไมว่ ่าสง่ิ ท่ีคดิ จะนาไปปฏบิ ัติไดจ้ ริง - ลองทบทวนความคิดของตนเองอีกครงั้ ไดห้ รือไม่

บทที่ 7 พลงั คาถาม 247 13. พลงั คาถามเสริมสร้างการกาหนดเป้าหมายของตนเอง - วนั น้ีต้องการเรยี นร้เู รือ่ งใด - มคี วามรอู้ ะไรทตี่ ้องการคาตอบ - ตอ้ งการให้ภารกจิ เสรจ็ สน้ิ เมอ่ื ใด - มที ักษะอะไรทต่ี ้องการทาให้ดขี ึน้ - คาดหวังอะไรจากการเรยี นรวู้ ันนี้ - เปา้ หมายของการเรยี นร้คู รั้งนีค้ อื อะไร - ส่งิ ทต่ี ้องการประสบความสาเรจ็ คอื อะไร - ผลงานจะออกมาดแี ละมีคุณภาพอย่างไร - สงิ่ ทีต่ อ้ งการประสบความสาเรจ็ วนั นีค้ อื อะไร - พัฒนาการเรียนรู้ท่ีจะเกิดข้ึนในครัง้ ต่อไปคอื อะไร - เป้าหมายทส่ี าคญั ที่สุดของการทางานชนิ้ น้ีเป็นอย่างไร 14. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งการวางแผนพัฒนาตนเอง - วางแผนพัฒนาตนเองอยา่ งไรดี - มแี ผนการพัฒนาตนเองอย่างไร - ควรวางแผนการพฒั นาทักษะน้ีอย่างไรดี - ข้นั ตอนการพัฒนาทักษะนี้ควรเป็นอยา่ งไร - จะวางแผนอย่างไรให้มผี ลการเรยี นร้ทู ี่ดขี ึ้น - ควรวางแผนพัฒนาตนเองให้ชดั เจนกอ่ นดีม้ัย - วางแผนพฒั นาตนเองมาเป็นอย่างดีแลว้ ใชห่ รือไม่ - ควรวางแผนพัฒนาตนเองอยา่ งไรให้บรรลเุ ป้าหมาย - การพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมาย ควรวางแผนอย่างไร - ทาอยา่ งไรจึงจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาตนเองคร้งั นี้ - หากตอ้ งการพฒั นาตนเองในเร่อื งน้ี จะวางแผนอยา่ งไร - ถา้ จะพฒั นาทักษะนใ้ี ห้ดีขึน้ ควรวางแผนการพฒั นาอย่างไร - กระบวนการพัฒนาตนเองควรเริม่ จากอะไร และทาอยา่ งไรต่อไป

248 บทท่ี 7 พลงั คาถาม 15. พลังคาถามเสริมสร้างความเช่ือมนั่ ในตนเอง - มั่นใจนะ - ไม่ยากเกนิ ไปใชม่ ้ัย - คิดวา่ ตนเองมีความเก่งในเรอ่ื งใด - สัญญาไดห้ รอื ไมว่ า่ จะทาให้ดที ี่สุด - เชือ่ มย้ั วา่ เราสามารถทาเรื่องน้ีได้ - ทุกคนสามารถพัฒนาไดใ้ ช่หรอื ไม่ - เชื่อหรือไม่วา่ ตนเองจะทาไดส้ าเรจ็ - ส่ิงทยี่ ากกวา่ นก้ี ็เคยทามาแล้วใชห่ รือไม่ - ไม่มีอะไรยากเกินความพยายามจรงิ มัย้ - ถึงแม้จะผิดพลาดเรากส็ ามารถแก้ไขได้ใชห่ รอื ไม่ - เชื่อหรือไมว่ า่ คนเราทกุ คนสามารถเรยี นรแู้ ละพฒั นาตนเองได้ 16. พลังคาถามเสริมสร้างความรับผดิ ชอบและพยายาม - ไดใ้ ช้ความพยายามอย่างไร - ใช้ความพยายามเต็มที่แลว้ หรือยงั - ข้นั ตอนใดทีต่ ้องใช้ความพยายามมากทสี่ ดุ - คดิ วา่ นา่ จะใช้ความพยายามมากกว่านดี้ ีมย้ั - ความรับผิดชอบสง่ ผลต่อการทางานอย่างไร - ไดใ้ ช้ความรับผดิ ชอบในการทางานช้ินนอ้ี ย่างไร - ควรแสดงความรบั ผิดชอบตอ่ เหตกุ ารณน์ ้ีอย่างไร - มคี วามรับผิดชอบและพยายามมากพอแล้วหรอื ยงั - ทาหนา้ ท่ีทไี่ ดร้ ับผดิ ชอบเต็มความสามารถแลว้ หรือยัง - สิง่ ทต่ี อ้ งใชค้ วามพยายามอย่างมากในงานชนิ้ น้ีคืออะไร - ความพยายามส่งผลต่อการทางานในระยะยาวอยา่ งไร - สง่ิ ทต่ี อ้ งแสดงความรับผิดชอบเพ่ือให้งานน้ีสาเร็จคอื อะไร - ได้แสดงความรับผดิ ชอบต่อภารงานท่ีไดร้ ับมอบหมายอย่างไร

บทที่ 7 พลงั คาถาม 249 17. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งการแกป้ ัญหาอยา่ งสรา้ งสรรค์ - แกป้ ัญหาน้ีอย่างไรดี - ปัญหาน้ีควรแก้ไขอยา่ งไรดี - มวี ิธกี ารแก้ปญั หาน้ีอย่างไรดี - วธิ กี ารแก้ปญั หาท่ีดีท่ีสุดควรเป็นอย่างไร - ปญั หาน้ีควรแก้ไขอย่างไรให้ได้ผลอยา่ งยั่งยืน - ทางออกทีด่ ีทส่ี ดุ ของปญั หาน้คี วรเปน็ อย่างไร - จะแก้ปัญหานีแ้ ละไม่เกดิ ความขัดแยง้ ได้อย่างไร - ใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศมาช่วยแกป้ ัญหานี้ได้อย่างไร - จะแก้ปญั หานี้แล้วเกดิ ประโยชนก์ บั ทุกฝา่ ยไดอ้ ยา่ งไร - ทางออกของปญั หาน้ีมีก่ีวธิ ี วธิ ีใดน่าจะดีทสี่ ดุ เพราะอะไร - ควรแกป้ ัญหานอ้ี ย่างไรจึงจะทาใหเ้ กดิ การพัฒนาอยา่ งต่อเนอื่ ง - ปจั จยั สนบั สนุนให้การแก้ปัญหานใี้ หป้ ระสบความสาเรจ็ เปน็ อย่างไร 18. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งความซื่อสัตย์สจุ ริต - ความซือ่ สตั ยส์ ุจริตมีคุณคา่ ต่อเราอย่างไร - ความซื่อสตั ย์สจุ รติ สร้างสรรคส์ ังคมไดอ้ ยา่ งไร - ความซื่อสตั ย์สจุ รติ ทาใหง้ านมีคุณภาพได้อยา่ งไร - ความซอ่ื สัตยส์ ุจรติ ทาใหเ้ กิดการพฒั นาได้อยา่ งไร - ความซือ่ สตั ยส์ ุจรติ ทาใหป้ ระเทศเขม้ แขง็ ไดอ้ ย่างไร - ความซือ่ สตั ยส์ จุ รติ ทาให้ชวี ิตเราเจรญิ ก้าวหนา้ อย่างไร - ถา้ ขาดความซื่อสตั ยส์ จุ รติ แลว้ จะสง่ ผลระยะยาวอยา่ งไร - มีแนวทางการพัฒนาความซ่อื สตั ย์สจุ รติ ของตนเองอย่างไร - ความซือ่ สัตยส์ จุ รติ ชว่ ยทาใหช้ ุมชนเกดิ การพฒั นาได้อย่างไร - ถ้าทกุ คนในสงั คมมีความซื่อสัตย์สุจรติ จะส่งผลทาให้เกดิ สิ่งใด - ความซอ่ื สัตยส์ จุ รติ มีความสาคญั ต่อสงั คมและประเทศชาติอยา่ งไร - ความซอื่ สัตย์สุจริตเปน็ พลังขับเคล่อื นสังคมและประเทศชาตอิ ยา่ งไร

250 บทท่ี 7 พลังคาถาม 19. พลังคาถามเสริมสรา้ งการใฝเ่ รยี นรู้ - อยากเรยี นรูส้ งิ่ ใด - สิ่งที่ยงั ไมร่ คู้ ืออะไร - แหล่งข้อมลู อยู่ท่ีไหนบ้าง - ตอ้ งการพัฒนาตนเองในเรื่องใด - การใฝ่เรียนรู้มีประโยชนอ์ ย่างไร - มวี ิธีการเข้าถงึ ความรนู้ ี้ได้อย่างไร - เราต้องเรยี นร้ตู ลอดเวลาเพราะอะไร - เราสามารถเรยี นรตู้ ลอดเวลาได้อย่างไร - ควรใชเ้ ครอื่ งมืออะไรในการแสวงหาความรู้ - คนทีใ่ ฝเ่ รียนรู้จะประสบความสาเรจ็ อย่างไร - ความใฝ่เรียนรชู้ ว่ ยทาให้เกิดการพัฒนาอย่างไร - การพฒั นาใดๆ จะตอ้ งอาศัยความรเู้ พราะเหตใุ ด 20. พลงั คาถามเสรมิ สรา้ งการคดิ เปน็ ระบบ - การทางานชน้ิ นี้มีขัน้ ตอนอย่างไร - กระบวนการแก้ปญั หานีค้ วรเป็นอยา่ งไร - ผลงานชน้ิ นม้ี กี ระบวนการทางานอย่างไร - จะเริ่มตน้ งานชน้ิ น้ีอย่างเป็นระบบได้อยา่ งไร - ขนั้ ตอนทก่ี าหนดไวม้ ีประสิทธภิ าพเป็นอย่างไร - การทางานอยา่ งเป็นระบบมคี วามสาคัญอยา่ งไร - ระบบการทางานช้นิ นี้ให้มีคุณภาพควรเปน็ อยา่ งไร - ระบบการทางานของเรามีประสทิ ธิภาพเป็นอยา่ งไร - ระบบการทางานชน้ิ น้ีควรปรบั ปรุงและพัฒนาอย่างไร - เราควรกาหนดข้ันตอนการทางานร่วมกันเป็นทมี อยา่ งไร - ข้นั ตอนหลักและขน้ั ตอนย่อยของการทางานน้เี ปน็ อย่างไร - ขัน้ ตอนการทางานชิน้ นแี้ ต่ละขน้ั ตอนมีความสัมพันธก์ นั อยา่ งไร

บทท่ี 7 พลังคาถาม 251 21. พลังคาถามเสริมสร้างความพอเพียง - ชีวติ ที่พอเพยี งดีอยา่ งไร - การใช้ชีวติ แบบพอเพยี งควรเป็นอยา่ งไร - ความพอเพียงมีความสาคัญตอ่ เราอย่างไร - มแี นวทางการใชช้ ีวิตอย่างพอเพียงอย่างไร - เพราะเหตุใดชวี ิตเราจึงต้องมคี วามพอเพยี ง - หากชีวติ มคี วามพอเพยี งแลว้ จะสง่ ผลอย่างไร - ความไม่พอเพียงส่งผลกระทบระยะยาวอย่างไร - การกระทาใดๆ หากมคี วามพอดี จะส่งผลอยา่ งไร - ความพอเพยี งทาใหเ้ กดิ การพัฒนาคุณภาพชีวติ อยา่ งไร - ความพอเพยี งสามารถปฏิบัติในชวี ิตประจาวันได้อยา่ งไร - การกระทาใดๆ หากมากหรือน้อยเกินไปจะสง่ ผลอย่างไร - ความพอเพยี งทาใหเ้ กิดความประหยดั และประโยชนอ์ ย่างไร 22. พลงั คาถามเสริมสรา้ งการคิดรเิ รมิ่ สร้างสรรค์ - อยากเปลย่ี นแปลงมย๊ั - มีอะไรใหมๆ่ หรือไม่ - สงิ่ ใหมๆ่ น่าจะเปน็ อย่างไร - มวี ธิ ีการท่ีดกี วา่ เดมิ อยา่ งไร - เรม่ิ เบื่อวธิ กี ารเดมิ ๆ หรือยัง - ความแตกต่างที่ดขี น้ึ คอื อะไร - จะเปลย่ี นแปลงใหด้ ีขน้ึ อย่างไรดี - สิ่งใหม่ๆ ทอ่ี ยากใหเ้ กดิ ขนึ้ คืออะไร - ถา้ ไม่ทาแบบเดิม จะทาแบบใหม่อยา่ งไร - เบอื่ หรือยงั ท่ตี ้องทาแบบเดิมๆ อยู่อยา่ งนี้ - ต้องการเปล่ียนแปลงไปสู่ส่งิ ท่ดี ีกว่าหรอื ยัง - ถ้าหากไม่ทาแบบน้ี ยงั มวี ิธีการอื่นอกี หรือไม่

252 บทท่ี 7 พลงั คาถาม 23. พลงั คาถามเสรมิ สร้างการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศ - เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร - คนที่ใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถกู ต้องเปน็ อยา่ งไร - มวี ิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการเรียนรอู้ ย่างไร - หากใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยา่ งถกู วธิ จี ะเกดิ ผลอยา่ งไร - มีวธิ ีการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศช่วยการทางานน้อี ยา่ งไร - หากใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศในทางทีผ่ ิดจะเกดิ ผลอยา่ งไร - การใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการเรยี นรมู้ วี ิธีการอยา่ งไร - มวี ธิ กี ารใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศให้เกดิ ประโยชนไ์ ด้อย่างไร - การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกดิ ประโยชนค์ วรทาอยา่ งไร - การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ตอ่ การดารงชีวิตอย่างไร - เทคโนโลยสี ารสนเทศชว่ ยให้การเรียนร้สู ่งิ ตา่ งๆ รวดเร็วข้ึนอยา่ งไร - ปัจจยั ท่ที าใหก้ ารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเกดิ ประโยชนส์ งู สดุ คืออะไร 24. พลังคาถามเสรมิ สรา้ งการแลกเปล่ียนเรยี นรู้ - ทราบหรอื ไม่วา่ เพื่อนๆ คดิ อยา่ งไร - เพ่ือนๆ เหน็ ดว้ ยกับเราหรือไม่อย่างไร - แลกเปล่ยี นเรยี นรู้กับเพ่ือนแลว้ หรอื ยัง - ม่นั ใจหรือไม่วา่ เพื่อนๆ จะคดิ เหมอื นเรา - แลกเปลย่ี นเรยี นรกู้ บั เพ่ือนแล้วเป็นอย่างไร - เพื่อนๆ มีประสบการณ์เหมือนกบั เราหรือไม่ - ความเห็นของเราเป็นตัวแทนของกลมุ่ หรือยัง - พรอ้ มท่ีจะแลกเปล่ียนเรยี นรูก้ ับเพ่ือนๆ หรอื ยัง - เพอ่ื นๆ มวี ธิ ีการเหมือนหรือแตกตา่ งจากเราอยา่ งไร - การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ทาให้เกิดนวัตกรรมไดอ้ ย่างไร - ประสบการณท์ นี่ ่าเรียนรู้และแบ่งปนั กับเพ่ือนคืออะไร - มสี งิ่ ใดทต่ี อ้ งการแลกเปลีย่ นเรยี นรกู้ ับเพ่ือนอีกหรือไม่

บทท่ี 7 พลังคาถาม 253 25. พลงั คาถามเสรมิ สร้างนสิ ัยรักการทางาน - มีวธิ ีการทางานน้ีให้ดีท่สี ุดอย่างไร - การทางานทาให้เกดิ การพัฒนาอย่างไร - การต้ังใจทางานสง่ ผลดีต่องานน้ันอยา่ งไร - การทางานไม่ใหค้ ัง่ คา้ งมปี ระโยชนอ์ ยา่ งไร - ตัง้ ใจทางานนีเ้ ตม็ ความสามารถแล้วหรอื ยัง - การทางานชว่ ยทาให้เรามีคุณคา่ เพราะอะไร - การทางานใหเ้ สรจ็ ไปวนั ๆ เปน็ สงิ่ ทีไ่ ม่ดีอยา่ งไร - ความเอาใจใสใ่ นงาน จะทาให้งานน้ันมีคุณภาพอย่างไร - การให้ความสาคัญกบั คุณภาพ ทาให้เกิดผลตอ่ งานอยา่ งไร - ความรักในการทางานส่งผลตอ่ ความเจริญกา้ วหนา้ อยา่ งไร - ความเกียจครา้ นในการทางานสง่ ผลกระทบระยะยาวอย่างไร - ความมงุ่ ม่ันและทมุ่ เทในการทางานช่วยทาให้งานนัน้ เป็นอยา่ งไร 26. พลังคาถามเสริมสร้างการอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติ - เราจะช่วยอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาตไิ ด้อยา่ งไร - มวี ิธกี ารฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาตทิ ่เี สยี ไปอยา่ งไร - มกี ารวางแผนอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยา่ งไร - ทรพั ยากรธรรมชาตมิ ีความสาคญั ตอ่ มนุษย์อยา่ งไร - หากไม่มที รัพยากรธรรมชาติจะส่งผลกระทบอย่างไร - มีวธิ ีการเพิม่ ทรพั ยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ อย่างไร - จะดีอยา่ งไรหากทุกคนชว่ ยกนั อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ - การอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาตสิ ามารถทาไดท้ ุกวันอยา่ งไร - มวี ิธกี ารอนรุ ักษท์ รัพยากรธรรมชาตใิ นชวี ติ ประจาวนั อยา่ งไร - มีข้อปฏิบตั ิในการอนรุ ักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของตนเองอย่างไร - การอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ มทาได้ง่ายๆ อยา่ งไร - แนวทางการใช้ทรพั ยากรธรรมชาติให้เกดิ ประโยชน์สูงสุดเปน็ อยา่ งไร

254 บทท่ี 7 พลงั คาถาม 27. พลงั คาถามเสริมสร้างจิตอาสาและจติ สาธารณะ - วนั น้ีมจี ิตอาสาและจติ สาธารณะแล้วหรือยงั - เขา้ ใจคาว่าจิตอาสาและจติ สาธารณะว่าอยา่ งไร - เราควรมจี ติ อาสาและจติ สาธารณะเพราะเหตุใด - การมีจิตอาสาและจิตสาธารณะทาไดง้ ่ายโดยวธิ ีการใด - การมจี ิตอาสาและจติ สาธารณะเปน็ สงิ่ ที่ทาได้งา่ ยอยา่ งไร - หากคนในสังคมมีจติ อาสาและจิตสาธารณะจะส่งผลดอี ย่างไร - การมีจติ อาสาและจติ สาธารณะทาให้สังคมน่าอยู่เพราะเหตใุ ด - หากคนในสงั คมขาดจติ อาสาและจิตสาธารณะจะสง่ ผลอยา่ งไร - คดิ อย่างไรกับคาวา่ “ชมุ ชนนา่ อยูด่ ว้ ยจิตอาสาและจติ สาธารณะ” - เราสามารถแสดงพฤตกิ รรมจติ อาสาและจติ สาธารณะได้โดยวิธกี ารใด - การมีจิตอาสาและจิตสาธารณะทาให้ตนเองเปน็ ท่ีรักของคนอื่นอย่างไร - เปน็ ไปไดห้ รือไม่ทีเ่ ราจะแสดงพฤติกรรมจิตอาสาและจิตสาธารณะทุกวนั 28. พลงั คาถามเสริมสร้างการมวี นิ ัยในตนเอง - คาดว่าจะประสบความสาเร็จเมือ่ ใด - ตอ้ งการมีความร้คู วามสามารถด้านใด - ตอ้ งการพฒั นาตนเองไปสู่เป้าหมายอะไร - วางแผนตนเองเพื่อไปสู่ความสาเรจ็ อย่างไร - มีวิธกี ารควบคุมตนเองไปสเู่ ปา้ หมายอย่างไร - วางแผนป้องกนั ปญั หาและอุปสรรคไว้อยา่ งไร - คาดวา่ จะประสบปญั หาและอปุ สรรคอะไรบา้ ง - มวี ิธกี ารกากับตนเองใหเ้ ปน็ ไปตามแผนอย่างไร - มีตวั ชีว้ ัดหรอื เกณฑค์ วามสาเร็จในเรอ่ื งนี้อยา่ งไร - ตอ้ งทาสิง่ ใดบา้ งเพ่ือใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายทก่ี าหนดไว้ - มีวิธกี ารตรวจสอบประสิทธภิ าพการทางานนอี้ ย่างไร - ขณะน้กี ารทางานของเราเปน็ ไปตามแผนทีก่ าหนดหรือไม่

บทที่ 7 พลงั คาถาม 255 29. พลังคาถามเสรมิ สร้างทักษะการใช้ชีวติ - ชีวิตทีด่ ีควรเปน็ อยา่ งไร - มีวธิ กี ารปฏิเสธสารเสพตดิ อยา่ งไร - การควบคมุ อารมณ์ที่ดีควรทาอยา่ งไร - คุณค่าที่แทจ้ รงิ ของบคุ คลดูไดจ้ ากอะไร - การดแู ลสขุ ภาพใหแ้ ข็งแรงทาได้อยา่ งไร - ความอดทนเป็นปจั จัยของความสาเร็จอย่างไร - การสรา้ งสัมพันธภาพทด่ี ีกับบคุ คลอ่ืนมีวิธกี ารอยา่ งไร - การรักษาสมั พันธภาพที่ดีกับบุคคลอน่ื มีวิธกี ารอยา่ งไร - การมีสตปิ ญั ญาชว่ ยทาให้ชีวิตมคี ณุ ภาพดีขึ้นได้อยา่ งไร - ความขยันหม่ันเพียรทาใหม้ ีความเจรญิ ก้าวหนา้ ไดอ้ ยา่ งไร - ความประหยัดและร้จู ักใช้ในวันนท้ี าใหอ้ นาคตเป็นอย่างไร - การเรยี นรดู้ ้วยตนเองตลอดเวลาช่วยทาให้ชีวิตเปน็ อยา่ งไร 30. พลงั คาถามเสรมิ สร้างคณุ ลกั ษณะพลเมอื งตน่ื รู้ (Active Citizen) - เรม่ิ เลยดมี ย้ั - ถ้าเราไม่เรม่ิ แล้วใครจะเร่ิม - เราจะทาประโยชนอ์ ะไรให้กบั ชุมชนไดบ้ ้าง - ร่วมกันสรา้ งสรรค์ชมุ ชนและสงั คมของเรากนั ดีมั้ย - หาอะไรทาที่เป็นประโยชนต์ ่อชุมชนของเรากนั ดีมย้ั - เราจะริเริม่ กิจกรรมดๆี ให้กับชุมชนและสังคมได้อยา่ งไร - คิดว่าตนเองทาประโยชนอ์ ะไรให้กบั ชมุ ชนหรอื สงั คมไดบ้ ้าง - หนง่ึ สมองและสองมือของเราชว่ ยชมุ ชนและสังคมได้อย่างไร - คิดอยา่ งไรถา้ หากเราไดร้ เิ ร่ิมสิง่ ดๆี ให้กบั ชมุ ชนและสงั คมของเรา - ความคิดสรา้ งสรรคข์ องเราจะเปน็ ประโยชน์ตอ่ สว่ นรวมได้อยา่ งไร - ความร้คู วามสามารถของเราจะเปน็ ประโยชนต์ อ่ สว่ นรวมได้อย่างไร

256 บทที่ 7 พลังคาถาม ตัวอย่างพลังคาถามดังกลา่ วมาขา้ งต้นเปน็ เพยี งตัวอย่างพลงั คาถามท่ีผู้เขียน มักใช้กับผู้เรียนอยู่บ่อยคร้ังซึ่งผลการใช้พลังคาถามทาให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด กระบวนการเรยี นรู้ไดเ้ ปน็ อย่างดี ซึง่ ยงั สามารถปรับประยุกต์ใช้คาถามกับบริบทต่างๆ ของการโค้ชได้อย่างหลากหลาย จากทก่ี ลา่ วมาทาใหเ้ หน็ ว่าคาถาม เป็นเคร่ืองมือสาคัญของการโค้ชในฐานะ ท่ีเปน็ ตัวกระตนุ้ ชี้แนะใหผ้ ูเ้ รียนแสดงออกถงึ พฒั นาการการเรียนรู้ รวมทงั้ เป็นเครื่องมือ วัดและประเมินผล เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เทคนิคการตั้งคาถามเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นส่ิงสาคัญท่ีครูควรเรียนรู้และนามาใช้อย่างต่อเน่ืองและมี ประสิทธิภาพ การใช้พลังคาถามเป็นทักษะพื้นฐานสาคัญที่โค้ชจะต้องมีการตั้งคาถาม ทีม่ ปี ระสทิ ธภิ าพจะช่วยกระตุ้นการคิดข้ันสงู ของผู้เรียนไดเ้ ปน็ อย่างดี Cognitive Questioning กับการคิดวเิ คราะหแ์ ก้ปญั หาทีต่ น้ ตอ (Root Cause Analysis) การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาที่ต้นตอ คือ กระบวนการพิจารณาเหตุปัจจัย ท่ีทาให้เกดิ ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อทาให้เข้าใจวงจรของการเกิดปัญหาอันจะนาไปสู่ การแกไ้ ขปัญหาทตี่ น้ ตอ เป้าหมายหน่ึงของการโค้ชเพ่ือการรู้คิด คือ การต้ังคาถามให้ผู้เรียน เกิดความสงสัยในปัญหา และคิดวิเคราะห์เช่ือมโยงให้เห็นระบบของปัญหา โดยโค้ชทา หนา้ ท่ีตั้งคาถามท่ีกระตุ้นการคิด โดยไม่มีการให้คาตอบท่ีถูกต้อง คาถามต่างๆ ของโค้ช จ ะ ช่ ว ย ก า ห น ด ป ร ะ เ ด็ น แ ล ะ วิ ธี ก า ร คิ ด ข อ ง ผู้ เ รี ย น ใ ห้ ผู้ เ รี ย น ไ ด้ ใ ช้ ก ร ะ บ ว น ก า ร ทางสตปิ ัญญาของตนเอง ซง่ึ เป็นกระบวนการพฒั นาการรู้คิดไดเ้ ปน็ อยา่ งดี

บทท่ี 7 พลงั คาถาม 257 ก า ร ตั้ ง ค า ถ า ม เ พื่ อ น า ไ ป สู่ ก า ร คิ ด วิ เ ค ร า ะ ห์ แ ก้ ปั ญ ห า ที่ ต้ น ต อ อ า จ ใ ช้ กระบวนการแก้ปัญหาเป็นกรอบในการตั้งคาถาม เวลาถามต้องถามไปทีละขั้นตอน จะถามข้ามขนั้ ตอนไมไ่ ด้ เชน่ กระบวนการแกป้ ัญหา ประกอบดว้ ย ขั้นที่ 1 การระบุปญั หา ขน้ั ท่ี 2 การวิเคราะหส์ าเหตุของปัญหา ขัน้ ท่ี 3 การกาหนดเปา้ หมายของการแก้ปญั หา ข้ันท่ี 4 การกาหนดวิธีการแกป้ ญั หา การตัง้ คาถามจะถามไปทีละข้ัน แต่ละขั้นอาจมีเพียงคาถามเดียวหรือหลาย คาถาม ข้ึนอยู่กับความสามารถของผู้เรียนว่าจะบรรลุผลในแต่ละขั้นแล้วหรือไม่ ซึ่งโค้ช จะตอ้ งมคี วามสามารถในการตั้งคาถาม และใจเย็นไม่บอกคาตอบแก่ผู้เรียน ดังตัวอย่าง กรณศี กึ ษา การคิดวเิ คราะห์แกป้ ญั หาทตี่ ้นตอ ต่อไปน้ี

258 บทที่ 7 พลังคาถาม หอคอยบรรหารทส่ี พุ รรณบรุ ี มีความสวยงามมากกลางวันจะมีผู้มาเย่ียมชม กลางคืนมีไฟสาดส่องสวยงาม นกพิราบชอบมาอาศัยอยู่และสร้างปัญหาข้ีรดหอคอย พนักงานต้องใช้อุปกรณ์และน้ายาทาความสะอาด ซึ่งใช้งบประมาณเป็นจานวนมาก ถา้ ท่านเปน็ ผูด้ แู ลหอคอย ทา่ นจะแก้ปัญหาน้ีอยา่ งไร คิดว่าอะไรคือต้นตอของปัญหา คิดว่ารากเหง้าของปัญหาน้ีคืออะไรที่จะทา ให้ปัญหาหมดไป 1. นก 2. แมลง 3. แสงไฟ การต้ังคาถามกระตุ้นการคิดของผู้เรียน ควรตะล่อมความคิดของผู้เรียน ใหน้ าไปสู่การคน้ พบคาตอบ ดังนี้ เปิดไฟสวา่ ง แมลงชอบมาเล่นแสงไฟ นกพริ าบจึงมากนิ แมลงเปน็ อาหารแลว้ ขี้รดหอคอย ถ้าคิดวา่ นกเปน็ ปญั หา จบั นกให้หมดไป นกกลุม่ อื่นกจ็ ะมาอกี ถ้าคิดวา่ แมลงเปน็ ปญั หา กาจัดแมลงใหห้ มดไป แมลงกลมุ่ อนื่ ก็จะมาอีก ถ้าคดิ วา่ แสงไฟเปน็ ปัญหา ปิดไฟตอนกลางคนื แมลงไม่มาเล่นไฟ นกไม่มากินแมลง ปญั หานกขี้รดหอคอยหมดไป

บทท่ี 7 พลังคาถาม 259 7.4 ระบบการใชพ้ ลังคาถาม การใช้พลังคาถามเป็นเคร่ืองมือสาคัญสาหรับกระตุ้นการคิดของผู้เรียน คาถามทกี่ ระตุ้นการคดิ (thinking questions) เปน็ หัวใจทสี่ าคญั ของการโค้ช เพราะ การโค้ชที่ดีจะต้องใช้คาถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและพัฒนาตนเองอย่างต่อเน่ือง การโค้ชทดี่ ีเป็นมากกว่าการให้คาตอบที่ถูกต้อง หากแต่อยู่ท่ีการดึงศักยภาพของผู้เรียน ออกมาแลว้ ใหเ้ ขาพฒั นาด้วยตัวของเขาเองเต็มตามศักยภาพ การใช้พลังคาถามท่ีกระตุ้นการรู้คิด มีความเป็นระบบท่ีสะท้อนให้เห็นถึง ข้ันตอนและกระบวนการตั้งคาถามผู้เรียน โดยมีจุดประสงค์ของการถาม และการ ตอบสนองต่อคาตอบของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นคาตอบท่ีถูกต้องหรือผิดพลาดซ่ึงคาถาม ที่ช้ีแนะการรู้คิดของผู้เรียนมีหลายลักษณะ เช่น คาถามที่กระตุ้นความจา คาถามท่ีให้ ผู้เรียนคดิ วเิ คราะห์ คดิ สงั เคราะห์ คิดประเมินค่า และคิดสร้างสรรค์ คาถามท่ีให้ผู้เรียน ใช้มุมมองทหี่ ลากหลาย เปน็ ต้น ระบบการใช้พลังคาถามที่ชี้แนะการรู้คิด เริ่มตั้งแต่การที่โค้ชตั้งคาถาม ผู้เรียน แล้วตรวจสอบว่าสิ่งท่ีผู้เรียนตอบนั้นถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็จะถามด้วย คาถามท่ีซับซ้อนมากขึ้น คือ เป็นคาถามท่ีต้องใช้การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน ค่า และสร้างสรรค์ เพ่ือที่จะตอบคาถามของโค้ช สาหรับในกรณีท่ีผู้เรียนตอบผิดพลาด โค้ชจะไม่เฉลยคาตอบทันที แต่จะใช้วิธีการตั้งพลังคาถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวน ความรู้เดิมเพ่ือท่ีจะนามาตอบคาถาม ถ้าตอบได้ถูกต้องก็จะนาไปสู่คาถามใหม่ถัดไป แตถ่ ้าหากยงั ตอบผิดพลาดอยู่ โคช้ จะให้ขอ้ มูลสารสนเทศเพ่ิมเติมแก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบ คาถามอีกครั้ง และถ้าหากตอบได้ถูกต้องก็จะนาไปสู่คาถามใหม่ถัดไป แต่ถ้ายังตอบ ผิดพลาดอยู่ โค้ชจึงทาการอธิบายและแสดงตัวอย่างเพ่ิมเติม แล้วจึงถามผู้เรียนด้วย คาถามเดิมซ้าอกี ครั้ง ซง่ึ มีวงจรการใช้พลังคาถามในลักษณะน้ีอย่างต่อเนื่อง แสดงได้ดัง แผนภาพตอ่ ไปนี้

260 บทท่ี 7 พลงั คาถาม จุดเรมิ่ ต้น ผดิ พลาด โค้ชตง้ั คาถาม ผเู้ รยี นตอบคาถาม ถกู ต้อง คาตอบของผู้เรยี น โคช้ ตั้งคาถาม โค้ชใช้คาถาม ท่ีซบั ซอ้ นมากข้นึ ทบทวนความรู้เดิม ถูกต้อง คาตอบของผเู้ รยี น ผดิ พลาด ผิดพลาด คาตอบของผู้เรียน ถูกต้อง โค้ช โค้ชใหข้ อ้ มลู สารสนเทศ โค้ช ตั้งคาถามใหม่ เพิ่มเติมแก่ผ้เู รยี น ตั้งคาถาม ใหม่ ผิดพลาด คาตอบของผู้เรยี น ถูกต้อง ให้คาอธิบาย โคช้ พร้อมยกตวั อย่าง ตงั้ คาถามใหม่ โค้ชตัง้ คาถาม ด้วยคาถามเดมิ อีกครัง้ แผนภาพ 21 ระบบการใชพ้ ลังคาถาม

บทที่ 7 พลงั คาถาม 261 7.5 กลยทุ ธ์การใชพ้ ลงั คาถาม การโค้ชผู้เรียนจะต้องค่อยๆ ต้ังคาถามให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งท่ีตนเองมีอยู่ เห็นเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวของตนเอง กระตุ้นให้คิดว่า ต้นทุนที่เขามีจะไปถึง เป้าหมายน้ันได้อย่างไร กระบวนการอะไรบ้างระหว่างทางต้องทาอะไรเพิ่มเติม ถ้าทา อย่างตอ่ เนื่อง คุณภาพการเรียนรูข้ องผเู้ รยี นจะเกดิ การเปลยี่ นแปลง การใช้พลังคาถาม มกี ลยทุ ธ์ 5 ประการดงั ต่อไปน้ี 1. วางแผนการใช้พลังคาถามล่วงหน้า โดยเป็นคาถามท่ีเสริมสร้างให้ ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้โดยการตั้งคาถามท่ีดีควรมีลักษณะเป็นคาถาม ปลายเปิด ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การให้เหตุผล การคิดแก้ปัญหา และการ คดิ สรา้ งสรรค์ มากกว่าคาถามท่ีเพียงให้ผูเ้ รียนระลกึ ความจาเท่าน้นั 2. หลีกเลี่ยงการใช้คาถามที่ช้ีนาคาตอบ (leading questions) เพราะเปน็ คาถามที่ไม่ได้กระตุ้นการคิดของผู้เรียน อีกท้ังยังเป็นการสร้างเงื่อนไขการไม่ คดิ ให้กับผู้เรยี นอกี ดว้ ย การใช้คาถามท่ีไมช่ ้ีนาคาตอบจะชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นได้ใช้กระบวนการ คดิ ที่หลากหลายเพ่ือหาคาตอบในส่ิงท่ีโค้ชใช้พลังคาถาม ซ่ึงอาจได้รับคาตอบดีๆ ท่ีโค้ช ไม่คาดคดิ มาก่อน 3. เว้นระยะเวลาให้ผู้เรียนคิดหาคาตอบอย่างเหมาะสม ผู้เรียนท่ีถนัด ใช้สมองซกี ซ้ายในการคิดจะต้องใช้เวลานานในการตอบคาถาม เพราะผู้เรียนจะไม่ตอบ จนกว่าจะแน่ใจคาตอบของตน ตรงกันข้ามกับผู้เรียนท่ีถนัดใช้สมองซีกขวาในการคิด จะตอบคาถามของโค้ชทันที โดยอาจจะยังไม่ได้ใคร่ครวญทบทวนความถูกต้องของ คาตอบตนเอง ดังน้ันโค้ชจะต้องเข้าใจความแตกต่างของผู้เรียนในจุดน้ีด้วย เพราะถ้า โค้ชไม่เข้าใจจุดนี้แล้วอาจทาให้เข้าใจผิดคิดว่าผู้เรียนไม่กระตือรือร้นที่จะตอบคาถาม และอาจตาหนิผู้เรยี นได้โดยไมร่ ู้ตัว

262 บทท่ี 7 พลงั คาถาม 4. ไมย่ า้ คาถาม การย้าคาถามหรอื การถามซ้าจะทาให้ผู้เรียนขาดความ สนใจในคาถามของโค้ช เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ว่าไม่จาเป็นต้องตั้งใจฟังคาถาม หรือไม่ต้องมีสมาธใิ นการฟงั คาถามก็ได้เพราะโค้ชจะต้องถามซา้ อกี หลายครั้ง 5. ถามด้วยคาถามท่ีชัดเจน (clear) และเฉพาะเจาะจง (specific) โดยการตั้งประเด็นคาถามประมาณ 1 – 2 ประเด็นคาถามเท่านั้นในการถามแต่ละคร้ัง เป็นการสร้างแรงจูงใจ ในการตอบคาถามให้กับผู้เรียน หากถามหลายประเด็นผู้เรียน อาจเกิดความเหนื่อยล้าในการตอบคาถาม 7.6 กลยุทธ์การตอบสนองคาตอบของผู้เรียน ก า ร ต อ บ ส น อ ง ต่ อ ค า ต อ บ ข อ ง ผู้ เ รี ย น ภ า ย ห ลั ง ท่ี โ ค้ ช ไ ด้ ใ ช้ พ ลั ง ค า ถ า ม มีแนวทางการปฏิบตั ิดังต่อไปน้ี 1. ตกลงกับผู้เรียนว่าทุกคาตอบล้วนเป็นส่ิงท่ีมีคุณค่า ไม่มีคาตอบใด ท่ีผิดพลาด ซึ่งการสร้างข้อตกลงดังกล่าวจะทาให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะตอบคาถาม ไม่กลัวการตอบผิด หรือการอายเพ่ือนร่วมช้ันเรียน อย่างไรก็ตามโค้ชจาเป็นต้องมี วิธีการแก้ไขคาตอบของผ้เู รยี นหากตอบผิด โดยไมใ่ หผ้ ู้เรยี นรู้สึกเสียหน้า 2. แสดงความสนใจต่อคาตอบของผู้เรียน เช่น การพยักหน้า การยิ้ม เป็นต้น ซ่ึงเป็นการสร้างแรงจูงใจในขณะตอบคาถาม จะทาให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ ในการตอบคาถามและตอบคาถามได้มากข้ึน กล้าแสดงความคิดเห็นสนับสนุนคาตอบ ของตนเอง 3. ชน่ื ชมคาตอบของผู้เรียน เมื่อผู้เรียนตอบเสร็จส้ินแล้ว จาเป็นอย่าง ย่งิ ทโี่ ค้ชจะต้องแสดงความชื่นชมคาตอบของผู้เรียน ไม่ว่าคาตอบน้ันจะถูกต้องหรือไม่ก็ ตาม หากผ้เู รียนตอบผิด โคช้ อาจกล่าวว่า “เป็นคาตอบทีน่ า่ สนใจ แต่ครคู ิดว่า......”

บทท่ี 7 พลังคาถาม 263 4. ไม่ขัดจังหวะการตอบคาถามของผู้เรียน ข้อน้ีสาคัญมากเพราะการ ขดั จังหวะในการตอบคาถามของผู้เรยี น จะทาให้สูญเสียความม่ันใจ และอาจรู้สึกว่าเสีย หน้า อายเพื่อน ทาให้ไม่ตอบคาถามโค้ชอีกต่อไป เน่ืองจากได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึง พอใจจากการตอบคาถาม 5. ถ้าผู้เรียนไม่ตอบคาถาม ให้ต้ังคาถามใหม่ที่ง่ายกว่าคาถามเดิม เพราะคาถามท่ีถามนั้นอาจยากเกินไปสาหรับผู้เรียนหรืออาจเป็นคาถามท่ีไม่ชัดเจน คลมุ เครือ อย่างไรก็ตามก่อนท่ีโค้ชจะถามด้วยคาถามใหม่ อาจถามผู้เรียนก่อนว่าเข้าใจ ในสงิ่ ทโ่ี ค้ชถามหรอื ไม่ เพราะบางคร้ังการท่ีผู้เรียนเงียบอยู่น้ัน เขาอาจกาลังใช้ความคิด ตา่ งๆ เพือ่ คน้ หาคาตอบกเ็ ป็นได้

264 บทที่ 7 พลังคาถาม สรุป สาระสาคัญท่ีนาเสนอในบทน้ีได้กล่าวถึงพลังคาถาม (power questions) ซ่ึงเป็นคาถามกระตุ้นการคิด และนาไปสู่การเรียนรู้ เป็นคาถามที่สอดคล้องกับ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ เป็นคาถามท่ีมีประสิทธิภาพมากกว่าเป็นคาถามทั่วๆ ไป โดยพลังคาถามช่วยพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูงและคุณลักษณะต่างๆ เช่น รักการ เรียนรู้ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งเป็นเครื่องมือท่ีสาคัญท่ีสุดของการโค้ช เพื่อการรู้คิด เพราะเป็นวิธีการท่ีใช้กระตุ้นและพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน โดยเฉพาะกระบวนการคิดขั้นสูง ตลอดจนคุณลักษณะต่างๆ การใช้พลังคาถามที่มี ประสิทธภิ าพเปน็ กิจกรรมท่มี ีความเปน็ ระบบ โดยพลังคาถามจะมีการปรับให้สอดคล้อง กับระดับความสามารถของผู้เรียน โดยมีกลยุทธ์ในการใช้พลังคาถาม 5 ประการ ได้แก่ 1) วางแผนการใชพ้ ลังคาถามล่วงหน้า 2) หลกี เล่ียงการใชค้ าถามท่ีชี้นาคาตอบ (leading questions) 3) เว้นระยะเวลาให้ผู้เรียนคิดหาคาตอบอย่างเหมาะสม 4) ไม่ย้าคาถาม 5) ถามด้วยคาถามท่ีชัดเจน (clear) โดยที่โค้ชจะต้องมีการตอบสนองต่อคาตอบของ ผู้เรียนภายหลงั ทโี่ คช้ ได้ใชพ้ ลงั คาถาม ได้แก่ 1) ตกลงกับผู้เรียนว่าทุกคาตอบล้วนเป็นสิ่ง ท่ีมีคุณค่า 2) แสดงความสนใจต่อคาตอบของผู้เรียน 3) ช่ืนชมคาตอบของผู้เรียน 4) ไม่ ขัดจังหวะการตอบคาถามของผู้เรียน 5) ถ้าผู้เรียนไม่ตอบคาถาม ให้โค้ชต้ังคาถามใหม่ ท่งี ่ายกวา่

บทที่ 7 พลังคาถาม 265 บรรณานกุ รม Bloom, B.S., (Ed.) (1956). Taxonomy of Educational Objectives: The Classification of Educational Goals: Handbook I, Cognitive Domain. New York: Longmans. Anderson, Lorin. W, & Krathwohl, David. R. (eds.) (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. Abridged Edition, New York: Longman. Costa, Arthur L. and Garmston, Robert J. (2002). Cognitive Coaching A Foundation for Renaissance Schools. 2nded. Massachusetts: Christopher – Gordon Publishers, Inc. Knight, Jim. (2009). Coaching Approaches & Perspectives. California: Corwin Press. Marzano, Robert J. and Simms, Julia. (2012). Coaching Classroom Instruction: The Classroom Strategies Series. Bloomington: Marzano Research Laboratory. Sobel, Andrew and Panas, Jerold. (2012). Power Questions: Build Relationships, Win New Business, and Influence Others. New York: John Wiley & Sons, Incorporated. Sweeney, Diane. (2010). Student – Centered Coaching: A guide for K – 8 Coaches and Principals. California: Corwin Press.

266 บทที่ 7 พลังคาถาม พลงั คาถาม ช่วยกระตนุ้ ให้ผเู้ รยี น เป็นนักคิด นักปฏบิ ัติ นักวจิ ัย นักนวตั กรรมสร้างสรรค์

บทท่ี 8 การให้ขอ้ มูลยอ้ นกลบั อยา่ งสร้างสรรค์ 267 บทที่ 8 การให้ข้อมลู ยอ้ นกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์

268 บทท่ี 8 การใหข้ ้อมลู ย้อนกลบั อย่างสรา้ งสรรค์ การให้ข้อมูลย้อนกลบั อยา่ งสร้างสรรค์ ชว่ ยสรา้ งความมงุ่ มั่น และพยายามในการเรยี นรู้

บทท่ี 8 การใหข้ ้อมลู ย้อนกลบั อยา่ งสร้างสรรค์ 269 บทนา การนาเสนอเน้ือหาสาระ เร่ือง การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ ความสาคัญของการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่าง สร้างสรรค์โดยการกล่าวคาพูด การส่ือสารเชิงบวกเพิ่มพลังการให้ข้อมูลย้อนกลับ ทักษะการช่ืนชมและเห็นคุณค่า และการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ท่ีเน้นการ สะท้อนคิดและถอดบทเรียน โดยมีสาระสาคญั ดังต่อไปนี้ 1. การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ เป็นการให้ข้อมูลเก่ียวกับ ผลการเรยี นร้ขู องผู้เรียน ดว้ ยวธิ กี ารทสี่ รา้ งสรรค์ สอดคล้องกับธรรมชาตผิ ู้เรยี น 2. การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ ช่วยทาให้ผู้เรียนเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ มองเห็นจุดแข็งและจุดที่ ต้องพัฒนาตนเอง ทาใหส้ ามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดและกระบวนการ เรยี นรู้ของตนเองได้เตม็ ตามศกั ยภาพ 3. การสือ่ สารเชงิ บวกดว้ ยความจรงิ ใจใชเ้ พิม่ พลังปรารถนาส่งเสริมให้ ผู้เรยี นใช้ความพยายามมากยง่ิ ขนึ้ และเพมิ่ พลงั การตรวจสอบตัวเองของผเู้ รียน 4. การส่ือสารเชิงบวกเป็นปัจจัยความสาเร็จของการให้ข้อมูล ยอ้ นกลับ ชว่ ยเพิ่มพลังการให้ข้อมูลย้อนกลบั ไปสผู่ เู้ รียนใหม้ ีประสทิ ธภิ าพมากขึ้น 5. ทักษะการชื่นชมเห็นคุณค่า เป็นทักษะสาคัญของโค้ชช่วยให้ การสื่อสารระหว่างโค้ชและผู้เรียนมีความสร้างสรรค์ ทาให้การโค้ช มีประสิทธิภาพ มากยง่ิ ขึน้ ท้ังยงั เป็นการเสริมสรา้ งสัมพันธภาพท่ีดี

270 บทที่ 8 การให้ขอ้ มลู ยอ้ นกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์ 6. การให้ผลย้อนกลับท่ีเน้นการสะท้อนคิดและการถอดบทเรียน ของผู้เรียน ช่วยทาให้โค้ชมีสารสนเทศเก่ียวกับการรู้คิดของผู้เรียนท่ีชัดเจนมากข้ึน สามารถนามาโค้ชใหเ้ กิดการพฒั นาไดอ้ ย่างต่อเน่ือง

8. การใหข้ อ้ มูลยอ้ นกลับ บทท่ี 8 การใหข้ อ้ มูลย้อนกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์ 271 อย่างสร้างสรรค์ 8.1 แนวคดิ ของการให้ข้อมลู ยอ้ นกลับ อยา่ งสรา้ งสรรค์ 8.2 ความสาคัญของการให้ข้อมลู ยอ้ นกลับ อยา่ งสรา้ งสรรค์ 8.3 การใหข้ ้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ โดยการกลา่ วคาพดู 8.4 การใหข้ ้อมลู ย้อนกลบั อย่างสร้างสรรค์ โดยการสะท้อนคิดและถอดบทเรียน 8.5 การส่อื สารเชงิ บวกเพมิ่ พลงั การให้ข้อมูลย้อนกลบั 8.6 ทักษะการช่ืนชมและเหน็ คณุ คา่

272 บทท่ี 8 การให้ข้อมูลย้อนกลบั อยา่ งสรา้ งสรรค์ ปฏบิ ตั ิตวั ตอ่ ผู้เรียน อย่างทเ่ี ราอยากให้ผ้อู ื่นปฏิบัติตอ่ เรา เพราะผเู้ รียนกม็ ีความปรารถนาเชน่ เดยี วกนั

บทท่ี 8 การให้ข้อมูลยอ้ นกลบั อยา่ งสร้างสรรค์ 273 8.1 แนวคิดของการให้ขอ้ มลู ย้อนกลบั อยา่ งสร้างสรรค์ การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการ เรียนร้ขู องผเู้ รยี น คณุ ภาพของผลงาน พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอัน พึงประสงค์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียนโดยโค้ช ทั้งก่อน ระหว่าง และ ภายหลังที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้หรือการทากิจกรรมต่างๆ ด้วยวิธีการ ทสี่ รา้ งสรรค์ สอดคลอ้ งกับธรรมชาติผูเ้ รียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพอื่ ให้ผเู้ รียนทราบจุดแข็ง และจุดที่ตอ้ งปรบั ปรุงและพัฒนาตนเอง 8.2 ความสาคญั ของการให้ขอ้ มูลย้อนกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์ การให้ข้อมลู ยอ้ นกลับทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ชว่ ยทาให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนา ตนเองอย่างตอ่ เน่ือง มแี รงบันดาลใจในการเรียนรู้ มองเห็นจุดแข็งและจุดท่ีต้องพัฒนา ตนเอง ทาใหส้ ามารถพฒั นาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิด และกระบวนการเรียนรู้ของ ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ นอกจากนี้การที่ผู้เรียนได้รับการให้ข้อมูลย้อนกลับท่ีชัดเจน ยังช่วยทาให้มีเป้าหมายในการพัฒนาตนเองให้ประสบความสาเร็จยิ่งข้ึนอีกด้วย เน่ืองจากการท่ีผู้เรียนทราบจุดบกพร่องของตนเอง จะทาให้เขาสามารถวางแผน และกาหนดวิธีการพัฒนาตนเองได้ตรงตามรูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ของ ตนเองได้ 8.3 การให้ข้อมูลย้อนกลบั อย่างสร้างสรรคโ์ ดยการกลา่ วคาพดู สาหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงสร้างสรรค์น้ัน โค้ชจะใช้การส่ือสาร เชิงบวก (positive communication) ด้วยความจริงใจทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษา กายที่ทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนการกล่าวคาพูดจากแบบเดิมไปสู่ แบบใหมท่ ีส่ ร้างสรรค์ แสดงไดด้ ังตารางต่อไปนี้

274 บทท่ี 8 การให้ข้อมูลยอ้ นกลับอย่างสรา้ งสรรค์ ตาราง 19 การใหข้ อ้ มูลย้อนกลับด้วยการพดู แบบใหม่ การพดู แบบเดมิ การพดู แบบใหม่ - บอกใหร้ ู้ - ต้ังคาถามชวนคิด - ทาตวั เปน็ ผ้เู ชย่ี วชาญ - ชกั ชวนใหค้ นอ่ืนแบง่ ปันสิ่งท่ีถนัด - ควบคุมความรู้ - ช่วยดึงประสบการณข์ องผ้เู รยี นออกมา - คาดเดาความหมาย - ถามความหมายท่ีแท้จรงิ - ชี้นาทางออก - แสดงใหค้ นอ่ืนรูว้ ่าพวกเขาเก่งและฉลาด - มงุ่ แตว่ ิเคราะห์ - สงั เคราะห์หรือนาความคดิ ของผู้อ่นื มาผสมผสานเปน็ หนึ่งเดยี วและมองภาพรวม ตั ว อ ย่ า ง ก า ร ก ล่ า ว ค า พู ด อ ย่ า ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ใ น ก า ร ใ ห้ ข้ อ มู ล ย้ อ น ก ลั บ ในลักษณะ I massage หรือการส่ือสารความคิดความรู้สึกต่างๆ จากโค้ชไปยังผู้เรียน ดงั ตวั อยา่ งตอ่ ไปนี้ Feedback เพ่ิมพลังปรารถนา - อะไรทชี่ ว่ ยใหง้ านมีคณุ ภาพมากยิ่งขน้ึ - ส่วนใดของงานหรือสงิ่ ทนี่ ักเรยี นกาลงั ทาอยู่ คือส่ิงท่นี า่ ตน่ื เตน้ หรอื นา่ สนใจท่สี ุด เพราะอะไร - อะไรคอื สง่ิ ท่ีนักเรียนประทบั ใจมากที่สุดในงานทท่ี า - ครูคิดว่าถา้ เธอใช้ความพยายามเพมิ่ ขน้ึ อีกนิดเธอจะทางานไดด้ ีกวา่ เดิม Feedback ส่งเสรมิ การใช้ความพยายาม - ส่วนไหนท่ีคดิ วา่ ดที ส่ี ดุ - เล่าให้ฟังมากกว่านี้ไดไ้ หม - ยงั มวี ิธกี ารพัฒนางานใหด้ ขี นึ้ กวา่ นี้อีกหรือไม่

บทที่ 8 การใหข้ อ้ มูลย้อนกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์ 275 - ขอใหใ้ ช้ความม่งุ ม่ันและความพยายามมากขนึ้ - นกั เรียนคดิ วา่ ยังมีสว่ นใดของงานที่สามารถพฒั นาให้ดีขนึ้ ได้อกี Feedback เพ่มิ พลังการตรวจสอบตนเอง - ใจของนักเรยี นบอกวา่ อะไร - มอี ะไรทนี่ ักเรยี นอยากทาให้น้อยลง - จากตรงนี้นกั เรยี นคดิ วา่ จะทาอะไรต่อไป - นักเรยี นคดิ วา่ ถ้าทาอย่างนแ้ี ล้วจะเกดิ ผลเสยี อะไร - มสี ่วนไหนของงานทีน่ ักเรียนอยากใช้เวลากบั มันมากขึ้น - นกั เรยี นคิดวา่ อะไรเปน็ ปจั จยั ที่ชว่ ยให้นกั เรยี นตัดสินใจได้ - ครูไม่คอ่ ยมน่ั ใจในคาตอบของเธอ อยากให้ลองทบทวนดูอีกครง้ั - ครูดใี จมากท่ีเธอตรวจสอบความเรียบรอ้ ยของการบา้ นกอ่ นนามาส่งครู การสร้าง self – talk ของตนเองพยายามสร้างชุดประโยคให้ครอบคลุม เป้าหมายของตนเองให้มากท่ีสุด คิดบวก ใส่พลังงานท้ังหมดลงไปในทุกคาพูดและการ สนทนากบั ตวั เอง - ใชค้ าพดู ทเ่ี ป็นของตัวเอง - ใช้คาพูดชดั เจน ครอบคลุม - ใชค้ าพดู ที่เรยี บง่าย จาง่าย - ใชค้ าพดู ที่ไม่ทาให้เกดิ ผลเสยี ข้างเคียง - ใช้คาพูดที่เหมาะสมกับศักยภาพทเี่ รามี - ใช้คาพดู ทเ่ี ป็นปจั จบุ นั ปจั จุบนั ไมใ่ ช่อนาคต - ใช้คาพดู ทเ่ี ปน็ รูปธรรม จับต้องได้ เห็นภาพ ตรวจสอบได้

276 บทที่ 8 การให้ข้อมลู ยอ้ นกลบั อย่างสรา้ งสรรค์ 8.4 การให้ขอ้ มลู ยอ้ นกลบั อย่างสรา้ งสรรคท์ ีเ่ นน้ การสะทอ้ นคิด และถอดบทเรียน การสะท้อนคิด (reflective thinking) เป็นการให้ผู้เรียนคิดไตร่ตรอง ทบทวน พิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ มีเหตุผลด้วยสติและปัญญา เป็นวิธีการ ทบทวนประสบการณ์จากการปฏิบัติของตนเอง เพื่อนาไปสู่การเรียนรู้ การสร้างความรู้ การคน้ พบจุดเดน่ และจุดทีต่ ้องปรับปรงุ แก้ไข เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสะท้อนคดิ เป็นกระบวนการชว่ ยให้เกดิ การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการ คิดผ่านประสบการณ์ท่ีมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก ช่วยให้เกิดการหย่ังรู้และค้นพบ ตนเอง การเขียนบันทึกการสะท้อนคิดยังช่วยให้ค้นพบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่นาไปสู่การ คิดอยา่ งมีวจิ ารณญาณ การสะทอ้ นคดิ ช่วยพัฒนาการเรยี นรู้ซึง่ ประกอบดว้ ย 6 ขั้นตอน ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. สรา้ งความตระหนัก ใช้สถานการณ์กระตุน้ ความรู้สกึ และความคิด 2. ทบทวนและตระหนกั ถงึ ความรูส้ ึก บันทึก และแลกเปลีย่ นเรียนรู้ 3. ทบทวนข้อเทจ็ จริง เขียนบันทกึ และนาไปแลกเปลีย่ นเรียนรู้ 4. หาข้อมลู วิเคราะห์ เพอ่ื ทาความเข้าใจเหตุการณน์ ั้น 5. ปรบั เปลี่ยนการเรียนรู้ ปรับมุมมอง ความคดิ จากการเรียนรู้ 6. การนาความรู้จากการสะทอ้ นคิดไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ การสะทอ้ นคิด 3 ระยะ โคช้ สามารถใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยการให้ผู้เรียนสะท้อนคิดตนเอง ตลอดชว่ งเวลาของการเรียนรู้ดังนี้ Reflection on action เกิดข้ึนหลังจากประสบการณ์เป็นการมอง ย้อนสถานการณ์ เพ่ือใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจท่ดี ขี ึ้น

บทที่ 8 การใหข้ ้อมูลยอ้ นกลบั อยา่ งสร้างสรรค์ 277 Reflection in action เกิดขึ้นในขณะท่ีอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มี คาตอบชดั เจน และทาใหห้ ยดุ คดิ เพ่ือหาทางออก แก้ปัญหาขณะทากจิ กรรม Reflection for action เป็นการเปิดความคิดท่ีมุ่งจะวางแผนการ แกป้ ัญหาในอนาคต การสะท้อนคิดเป็นกระบวนการประมวลผลทางสมองเรียกว่า Mental model เร่ิมจากการรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ นาไปสู่การสังเกตข้อมูลและ ประสบการณ์ การเลือกข้อมลู การแปลระบบความหมายประมวลผลข้อมูล การกาหนด สมมติฐาน การสรุป และเกดิ การยอมรบั และความเชื่อ นอกจากนี้การสะท้อนคิดยังช่วย ให้เกดิ การคิดท่เี ปน็ ระบบ ทมี่ องเห็นความเปน็ องค์รวมซึ่งถือว่าเป็นระบบใหญ่ และส่วน ที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ คือระบบย่อย มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กระบวนการ สะทอ้ นคดิ ของ Mental Model แสดงไดด้ ังแผนภาพตอ่ ไปนี้ แผนภาพ 22 กระบวนการสะท้อนคดิ ของ Mental Model

278 บทท่ี 8 การใหข้ อ้ มูลย้อนกลบั อยา่ งสรา้ งสรรค์ เมอ่ื ผเู้ รียนไดส้ ะท้อนคดิ ตนเองแล้ว สิ่งที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องต่อไป คือ การถอดบทเรียน ซึ่งเป็นเคร่ืองมือในการแปลงผลผลิตของการ สะท้อนคิดให้ออกมาเป็นรูปธรรม ใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศสาหรับโค้ชในการโค้ช ใหผ้ ู้เรยี นเกดิ การพัฒนา การถอดบทเรียน (lesson - learned) การกระตนุ้ ใหผ้ ูเ้ รยี นเกิดการเรียนรู้ท่ดี ีมีหลายวิธี การถอดบทเรยี น (lesson - learned) เป็นวิธีการหน่ึงที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความรู้และประสบการณ์หลังการ ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์นาไปสู่การ ปรบั ปรงุ และพัฒนาการปฏบิ ตั หิ รอื การเรยี นรใู้ หม้ ีประสทิ ธิภาพ มากขน้ึ นอกจากนี้การถอดบทเรียนยังเป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างเป็นระบบ ต่อคณะทางานเกี่ยวกับผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ดาเนินการแล้วเป็นการกระตุ้นให้ คณะทางานเกิดความต่ืนตัวและมีความรู้สึกผูกพัน (involve) อยู่กับกิจกรรมและเป็น กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยให้เน้นที่ผลการปฏิบัติว่าเป็นไปตาม “สิ่งท่ี คาดหวัง” อย่างไรให้ผู้เรียนได้รู้จักทบทวนตนเอง การจับประเด็นความรู้ที่เกิดข้ึนสั้นๆ ภายหลังการทากิจกรรมของกลุ่มรวมท้ังทบทวนและสะท้อนบทเรียนเพื่อนาไปสู่ การวางแผนต่อไป ลักษณะของการถอดบทเรียน 1. บทเรยี นจะอธบิ ายเหตกุ ารณ์และเงอ่ื นไขท่ีเกดิ ข้ึน 2. คาอธบิ ายจะต้องมีคณุ คา่ ไปสู่การปฏิบตั ิ 3. คาอธิบายจะมีคาสาคัญหรือสาระสาคญั ที่เกิดจากการเรยี นรู้ 4. บทเรียน คอื ความรู้เมือ่ จบเหตกุ ารณห์ รือบทเรียนที่สังเคราะห์จาก สารสนเทศทเ่ี ก็บสะสมข้อมลู ในอดีต

บทที่ 8 การใหข้ อ้ มลู ยอ้ นกลับอยา่ งสร้างสรรค์ 279 การถอดบทเรียนเป็นกระบวนการ ข้ันตอนการถอดบทเรียนต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบท่ีเหมาะสม องค์ประกอบของผู้ถอดบทเรียนมีหลายด้าน เช่น ด้านความพร้อม คุณสมบัติ ทักษะ การสอ่ื สาร การเปดิ ใจ ความมงุ่ มั่นทจี่ ะเรียนรู้มากกวา่ การวิพากษ์วิจารณ์ องค์ประกอบ ของผู้ถอดบทเรียน เป็นการแบ่งปันความรู้ เพ่ือขยายสิ่งดีๆ ให้เกิดการเรียนรู้ต่อยอด ขน้ึ ไป วธิ ีการถอดบทเรียน 1. ตอ้ งตอบโจทย์ การถอดบทเรียนอะไร เพือ่ อะไร 2. ใครคือบุคคลท่ีจะถอดบทเรียน การถอดบทเรียนของคนอ่ืน หรือ การถอดบทเรียนตวั เอง 3. วธิ ีการถอดบทเรยี น ควรเลือกวธิ กี ารให้เหมาะสมกบั ผ้ถู อดบทเรยี น 4. แบบปฏิบัติที่ดี (best practice) อาจจะมีประเด็นท่ีคล้ายกัน แต่แตกต่างบรบิ ท การหาบทเรียนท่ดี ีถือว่าได้ความรู้ท่ีมคี ุณค่ามีพลงั 5. สุนทรียสนทนา (dialogue) เป็นกลไกสาคัญในการถอดบทเรียน ท่ีมากกว่าการตั้งคาถาม 6.ได้รับบทเรียนที่มิใช่ความแตกต่างท่ีเกิดขึ้น จากส่ิงท่ีคาดหวังกับส่ิงท่ี เกิดข้ึนจริง ตามนัยของการต้ังสมมติฐานการวิจัยอะไร ท่ีทาให้เกิดความแตกต่างน้ัน เปน็ ปัจจัยใหเ้ กิดพฤตกิ รรมอย่างไร “สิ่งนค้ี ือบทเรยี น”

280 บทท่ี 8 การให้ข้อมูลยอ้ นกลับอย่างสรา้ งสรรค์ ใบกิจกรรมการถอดบทเรยี น คาช้แี จง ให้ผ้เู รยี นทบทวนถงึ สาระและกจิ กรรมการเรยี นรูต้ ่างๆ แลว้ ถอดบทเรยี น ลงในตารางตอ่ ไปนี้ แลว้ นามาแลกเปลย่ี นเรียนรกู้ บั โคช้ และเพอ่ื น ประเด็นการถอดบทเรยี น บทเรยี นท่ีผู้เรียนไดร้ ับ ส่ิงทค่ี าดหวังในการเขา้ ร่วมกิจกรรม การเรียนรคู้ ืออะไร ส่ิงทีไ่ ด้เรียนรใู้ นวันน้ีคืออะไร เช่ือในสงิ่ ทีไ่ ดเ้ รียนรู้จากโคช้ หรือไม่ ถ้าเชื่อ เชอื่ อย่างไร เพราะเหตุใด เพราะเหตุใดจึงคิดว่าสงิ่ ทไ่ี ด้รับจากโคช้ เป็นส่ิงท่ถี กู ต้อง ถา้ ไม่เชื่อ มสี าเหตุมาจากอะไร สงิ่ ทจี่ ะเรียนรตู้ ่อยอด คืออะไร สิ่งท่ีจะพฒั นาตนเองตอ่ ไปคืออะไร แนวคิดของการถอดบทเรียนเรียนตามใบกิจกรรมการถอดบทเรียนข้างต้น ผู้เขียนได้เสนอท่ีมาจากการวิจัยไว้ในหนังสือ “การประเมินหลักสูตรเพ่ือการเรียนรู้ และพัฒนา” แลว้

บทท่ี 8 การให้ข้อมูลยอ้ นกลบั อยา่ งสรา้ งสรรค์ 281 8.5 การส่อื สารเชงิ บวกเพิม่ พลงั การให้ข้อมูลยอ้ นกลบั การส่ือสารเชิงบวกนับว่าเป็นปัจจัยความสาเร็จของการให้ข้อมูล ย้อนกลับ เพราะการสื่อสารเชิงบวกช่วยเพิ่มพลังการให้ข้อมูลย้อนกลับไปสู่ผู้เรียนให้มี ประสิทธิภาพมากข้ึน ให้ผู้เรียนยอมรับจุดที่ตนเองต้องปรับปรุง อีกทั้งช่วยทาให้เกิด แรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองอีกด้วย หลักการสื่อสารเชิงบวก มีดังนี้ 1. ให้ความเอาใจใส่ต่อผู้เรียน ให้ความสาคัญกับผู้เรียนในฐานะท่ีเป็น มนุษย์ มีเกียติและศักด์ิศรีที่ต้องให้ความเคารพ ให้ความสาคัญกับมิติทางด้านจิตใจ ท่อี อ่ นโยนในฐานะท่ยี ังเป็นเด็ก 2. ใช้ภาษากายท่ีมีประสิทธิภาพ ในการสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึก ถึงความห่วงใย ความรักและความปรารถนาดีต่อผู้เรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการรับรู้ว่าโค้ช มคี วามรักให้กบั เขา ผเู้ รียนจะมีพลงั ในการเรยี นรู้และพฒั นาตนเองอย่างมาก 3. ใช้ภาษาเชงิ บวก หลกี เลย่ี งคาตาหนิ โดยภาษาเชิงบวกเปน็ ภาษาท่ีมี พลัง สามารถสร้างแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการพัฒนา ตนเอง ความเชื่อม่ัน ความภาคภูมิใจ ไม่ใช้ภาษาในเชิงตาหนิติเตียน หรือเปรียบเทียบ กับผู้เรียนคนอื่นๆ เพราะเป็นการบั่นทอนกาลังใจ ความเชื่อมั่น และทาลายความ ภาคภมู ิใจในตนเองซึง่ สิ่งเหล่านี้ลว้ นเปน็ ปัจจยั ส่งเสริมการเรียนรทู้ ่สี าคญั มาก 4. การส่อื สารในแนวราบ เป็นการส่ือสารด้วยภาษาท่ีมีความเท่าเทียม กันระหว่างโค้ชและผู้เรียน ในลักษณะของสุนทรียสนทนา และการฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่ด่วนตัดสิน ทาให้บรรยากาศการสะท้อนผลการประเมินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนไม่มีความหวาดกลัว ท่ีจะรับทราบผลการประเมินมีโอกาสเลือกแนวทางการ ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง กาหนดเป้าหมายและวิธีการพัฒนาตนเองโดยได้รับ คาแนะนาจากโค้ช

282 บทที่ 8 การให้ข้อมูลย้อนกลบั อยา่ งสรา้ งสรรค์ 5. การติดตามพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนสาคัญที่ทาให้ผู้เรียน ทราบว่าโค้ชให้ความเอาใจใส่พัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนเกิด ความรู้สึกว่าตนเองเป็นบุคคลท่ีมีคุณค่าเป็นความหวังของ โค้ช การไต่ถามถึง ความก้าวหน้าของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง การให้กาลังใจทุกคร้ังเมื่อผู้เรียน แสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการพัฒนาตนเองหรือการเสริมแรงทางบวกให้กับผู้เรียน อยา่ งสม่าเสมอ สุนทรยี สนทนา (Dialogue) การสนทนาอย่างครุ่นคิดและผลิดอกออกผลเป็นกระบวนการพูดจา เพื่อให้ เกิดความเข้าใจซ่ึงกันและกัน โดยผ่านการครุ่นคิดอย่างลึกซ้ึงเพ่ือให้เกิดความคิดใหม่ มุมมองใหม่ท่ีผลิดอกออกผล การสนทนาแบบนี้จะทาให้แต่ละคนพยายามฟังคนอ่ืน และตัง้ คาถามเพื่อใหเ้ กดิ ความรูใ้ หมร่ ่วมกัน สุนทรียสนทนา เน้นการสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ท่ีเอ้ือต่อการคิดร่วมกัน อยา่ งเสมอภาค การสนทนาที่นาไปสู่การคิดร่วมกัน ฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสิน ข้อสรุปใดๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การต้ังใจฟังกัน การเข้าใจกัน การเทใจมารวมกัน มีสมาธิอยู่กับตัวเอง และเสียงท่ีได้ยิน ให้ความเข้าใจกับเสียงผู้อ่ืน กาหนดใจรบั รู้ความเงียบดว้ ยความรู้สึกเชงิ บวก สุนทรียสนทนา เน้นการฟังอย่างสงบ ฟังให้ได้ยิน (deep listening) เม่ือสงบและลึกก็สัมผัสความจริงได้ ทาให้เกิดปัญญาจะคิด จะพูด จะทา ก็ผ่านสภาวะ ทางปัญญามาแล้ว จงึ ตรงต่อความจริงเกดิ ประโยชนม์ ากกวา่ การคดิ การพูด การกระทา อยา่ งตื้นๆ สนุ ทรียสนทนาจะทาให้จิตสงบและประสบอสิ รภาพ สุนทรียสนทนา มุ่งเน้นการส่ือสารของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่าง ลึกระหว่างกัน สร้างความละเอียดอ่อน (awareness and sensibility) ท่ีมองไปถึง

บทที่ 8 การใหข้ อ้ มูลย้อนกลับอยา่ งสร้างสรรค์ 283 “ความคิดที่แฝงอยู่ภายใน” (tacit) ซ่ึงกลายเป็นส่ิงเพาะเล้ียงความขัดแย้งของแต่ละ บุคคล และอาจกลายเปน็ ความขดั แยง้ ระหวา่ งกันได้ การจัดการความคิดที่ยึดม่ันถือม่ันหรือความเป็นตัวตนโดยมีหลักการของ สนุ ทรยี สนทนา 3 ประการ ได้แก่ 1. หลักความเท่าเทียมกัน การสนทนาที่ดีเป็นการขจัดสลายอานาจ ให้ทกุ คนมคี วามเท่าเทยี มกัน เกดิ การมสี ่วนร่วมในกระบวนการแห่งความคิดร่วม 2. หลักการรับฟังอย่างลึกซ้ึงเมื่อมีคนกาลังพูด รวมทั้งรับฟังเสียง แหง่ ความเงียบที่เกดิ ขน้ึ ในวงสนทนาขณะทย่ี งั ไม่มผี ้พู ดู โดยถอื ว่าความเงียบเป็นส่ิงปกติ ไม่จาเป็นตอ้ งรูส้ กึ อึดอดั ท่ีไมม่ ีคนพดู 3. หลักการเฝ้าดูจิตใจและความคิดที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตัดสินว่าถูกหรือ ผิด เฝ้าดูความคิดของตนเองที่เกิดขึ้นมาใหม่ ประเมินความรู้สึกว่าอยากจะเข้าร่วม แลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ หรือไม่ 8.6 ทักษะการชนื่ ชมและเหน็ คุณคา่ ทกั ษะการช่ืนชมเหน็ คุณคา่ (appreciation skills) เป็นทักษะสาคัญของ โค้ชท่ีทาหน้าท่ีโค้ช การช่ืนชมและเห็นคุณค่าเป็นการสื่อสารระหว่างโค้ชและผู้เรียน อย่างสร้างสรรค์ ทาให้การโค้ชมีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน ท้ังยังเป็นการเสริมสร้าง สมั พนั ธภาพท่ดี ีอีกด้วย โดยทกั ษะการชื่นชมและเห็นคณุ คา่ มีดงั ตอ่ ไปน้ี 1. ประทบั ใจผลงาน “ครูรู้สึกดีใจมากทีค่ ุณสอบแขง่ ขนั เขา้ ทใ่ี หมไ่ ด้” การกล่าวด้วยเสยี งแสดงความยินดี แววตาเป็นประกาย จะทาใหล้ ูกศษิ ย์เกิดความเชื่อม่นั ในสมรรถนะของตน (self - efficacy)

284 บทท่ี 8 การใหข้ ้อมูลย้อนกลับอยา่ งสรา้ งสรรค์ 2. ชื่นชอบพฤตกิ รรม เป็นการพดู ระบกุ ารกระทา “ครนู ึกถึงเมอ่ื สัปดาห์ท่ีแล้วกอ่ นสอบคณุ ทบทวนเรือ่ งตา่ งๆ และค้นคว้าผ่าน internet ร่วมกับเพ่อื น ครูประทบั ใจมาก” การพูดเร่ืองราวทีช่ ดั เจนจะทาให้ลูกศษิ ยร์ ู้สึกภมู ิใจในตนเอง (self - esteem) รวู้ า่ อะไรท่ีตนเองมีการพัฒนาและไดร้ ับการยอมรับ 3. ชนื่ ชมลักษณะ เป็นการกลา่ วเช่ือมโยงผลงานหรือลกั ษณะนสิ ยั ที่ดีงาม “สงิ่ ทสี่ าเร็จได้กด็ ว้ ยความอดทน มีวินัย มคี วามใฝ่รู้ และรูจ้ ักควบคุมตนเอง ลกั ษณะนิสยั ทดี่ ีงามน้ี จะติดตวั เธอไป และทาให้เธอสาเร็จเสมอ” กล่าวดว้ ยน้าเสยี งเช่อื ม่นั จะทาให้ลกู ศิษยร์ ูจ้ กั ตัวเอง (self - realization) มีลักษณะนสิ ยั อย่างที่ควรธารงรกั ษาไว้ และพฒั นาต่อไป วาจาที่แช่มชื่น เพิ่มอานาจการสั่งสอน การเข้าใจตนเอง (intrapersonal) การเข้ากับคนอ่ืน (interpersonal) การใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย (existential) จะพฒั นาได้จากการให้แรงเสริมอย่างเหมาะสม คาพูดทไี่ มส่ รา้ งสรรค์ (-) และสรา้ งสรรค์ (+) - นกั เรยี นเม่ือไรจะหยุดพูดกนั เสียที (-) - ถา้ นกั เรียนเงยี บเสยี ง นกั เรียนจะได้ยนิ ครพู ดู ได้ชัดเจน (+) - นกั เรยี นพดู มากตลอดเวลา (-) - ครเู ขา้ ใจวา่ นักเรียนอยากปรึกษากนั แต่ขณะน้ีครูขอให้ นกั เรียนเงยี บก่อน เพอื่ ทุกคนจะไดย้ ินสงิ่ ทีค่ รูพูด (+)

บทท่ี 8 การใหข้ ้อมูลยอ้ นกลบั อยา่ งสรา้ งสรรค์ 285 - เธอน่ชี อบตะโกนพดู จาหยาบคายเปน็ ประจา (-) - คาพูดบางอยา่ งเหมาะทจ่ี ะใช้เฉพาะกลุ่ม เฉพาะที่ ผเู้ รียนไม่ควรนามาใช้ในโรงเรียน (+) - ผ้ทู ขี่ ีดเขยี นโตะ๊ เปน็ พวกทาลายทรพั ย์สมบัติ (-) - นักเรยี นควรเขยี นบนกระดานเพราะโต๊ะเรียนเปน็ สมบัติ ของส่วนรวมเราตอ้ งช่วยกันรกั ษา (+) โค้ชจาเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการช่ืนชมและเห็นคุณค่าเพ่ือใช้ในการ ใหข้ ้อมลู ยอ้ นกลับตอ่ ผเู้ รยี นอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ สรุป สาระสาคัญท่ีนาเสนอในบทนี้ ได้กล่าวถึงการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่าง สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเก่ียวกับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการ ท่ีสร้างสรรค์ สอดคล้องกับธรรมชาติผู้เรียน โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ ชว่ ยทาใหผ้ ู้เรยี นเรยี นรู้ และพฒั นาตนเองอย่างต่อเน่ือง มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ มองเห็นจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาตนเอง ทาให้สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ใช้การสื่อสาร เชิงบวกด้วยความจริงใจใช้เพิ่มพลังปรารถนาส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความพยายาม มากย่ิงขึ้น และเพิ่มพลังการตรวจสอบตัวเองของผู้เรียน นอกจากนี้การส่ือสารเชิงบวก ยังเปน็ ปัจจัยความสาเร็จของการให้ข้อมูลย้อนกลับ ช่วยเพิ่มพลังการให้ข้อมูลย้อนกลับ ไปสู่ผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โค้ชจะต้องมีทักษะการช่ืนชมเห็นคุณค่า ช่วยใหก้ ารสอ่ื สารระหว่างโค้ชและผู้เรียนมีความสร้างสรรค์ เสริมสร้างสัมพันธภาพท่ีดี การให้ผลย้อนกลบั ทเ่ี นน้ การสะท้อนคิดและการถอดบทเรยี นของผูเ้ รียน ช่วยทาให้โค้ช มีสารสนเทศเกี่ยวกับการรู้คิดของผู้เรียนท่ีชัดเจนมากข้ึน สามารถนามาโค้ชให้เกิดการ พฒั นาได้อยา่ งต่อเนอ่ื ง

286 บทท่ี 8 การให้ข้อมลู ยอ้ นกลบั อยา่ งสรา้ งสรรค์ การสื่อสารเชงิ บวก เป็นปัจจัยความสาเร็จ ของการใหข้ ้อมูลย้อนกลบั