Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore GEH2201 การพัฒนาตน

GEH2201 การพัฒนาตน

Published by fastbad, 2016-07-07 04:34:12

Description: GEH2201 การพัฒนาตน

Keywords: การพัฒนาตน

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการเรียนการสอน รหัสวิชา GEH2201 รายวิชาการพฒั นาตนสํานักวิชาการศกึ ษาท่ัวไปและนวตั กรรมการเรียนรู อเิ ล็กทรอนกิ ส มหาวิทยาลยั ราชภัฏสวนสุนันทา



การพฒั นาตน คํานาํ เอกสารประกอบการสอนรายวิชา GEH 2201 การพัฒนาตน ฉบับนี้ ไดจัดทําข้ึนเพ่ือใชสําหรับการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาท่ัวไปของสํานักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรูอเิ ล็กทรอนกิ ส มหาวิทยาลัยราชภฏั สวนสุนันทา โดยไดพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอนสําหรับรายวิชาศึกษาท่ัวไปขึ้น ต้ังแตปการศึกษา 2558 เพื่อใชเปนเอกสารแมบทสําหรับการเรียนการเรียนสอน ซึ่งมีการปรับปรุงใหทันตอเหตุการณปจจุบัน เพิ่มเติมรายละเอียดตัวอยาง และแบบฝกหัด เพ่ือใหนักศึกษาไดมีกระบวนการเรียนรูอยางมีประสิทธิภาพและเกิดประสทิ ธผิ ล สาํ นกั วชิ าการศึกษาท่ัวไปและนวตั กรรมการเรียนรอู ิเล็กทรอนิกส มหาวิทยาลัยราชภฏั สวนสนุ ันทา ก

การพัฒนาตน

การพฒั นาตน สารบัญ หนาคํานาํ กสารบัญ คสารบญั ภาพ ชสารบัญตาราง ฌบทที่ 1 แนวคดิ พ้ืนฐานพฤตกิ รรมมนษุ ย 1 3 ตอนที่ 1.1 ความหมายของพฤติกรรม 4 ตอนท่ี 1.2 ประเภทของพฤติกรรม 4 6 เรอ่ื งท่ี 1.2.1 เกณฑก ารมองเห็นโดยทั่วไป 6 เร่อื งท่ี 1.2.2 เกณฑตามหลกั ของการเรียนรู 7 ตอนท่ี 1.3 องคประกอบของพฤติกรรม 7 เรอื่ งท่ี 1.3.1 ความรูสกึ (Affection) 8 เรอื่ งท่ี 1.3.2 การกระทํา (Behavior or Action) 9 เรือ่ งที่ 1.3.3 การคดิ (Cognition) 9 ตอนท่ี 1.4 การศกึ ษาพฤตกิ รรม 9 เร่อื งที่ 1.4.1 เปาหมายของการศึกษาพฤตกิ รรม 10 เรื่องท่ี 1.4.2 ความสาํ คญั ของการศึกษาพฤตกิ รรมวิธีการศกึ ษาพฤติกรรม 11 เร่อื งท่ี 1.4.3 วธิ กี ารศกึ ษาพฤตกิ รรม 15 เรื่องที่ 1.4.4 วิธีการรวบรวมขอ มลู 15 ตอนท่ี 1.5 กลมุ จิตวทิ ยาเพ่ือความเขา ใจเกยี่ วกับพฤติกรรมมนุษย 16 เร่ืองท่ี 1.5.1 แนวทัศนะของกลมุ จติ วิทยาโครงสรางนยิ ม (Structuralism) 17 เร่อื งที่ 1.5.2 แนวทัศนะของกลมุ จติ วทิ ยาหนา ท่ีนยิ ม (Functionalism) 20 เรื่องท่ี 1.5.3 แนวทัศนะของกลมุ จิตวิทยาจติ วิเคราะห (Psychoanalysis) เรอื่ งท่ี 1.5.4 แนวทัศนะของกลุมจติ วทิ ยาพฤติกรรมนยิ ม (Behaviorism) ค

การพฒั นาตน สารบญั (ตอ ) หนา เรอ่ื งท่ี 1.5.5 แนวทัศนะของกลมุ จิตวทิ ยาเกสตลั ท (Gestalt Psychology) 21 เรอื่ งที่ 1.5.6 แนวทัศนะของกลมุ จติ วิทยามนษุ ยนิยม (Humanism) 22บทสรุป 25คําถามทา ยบท 26เอกสารอางองิ 27บทท่ี 2 ปจจยั พน้ื ฐานของพฤติกรรมมนุษย 29 31 ตอนท่ี 2.1 ปจ จัยพื้นฐานพฤติกรรมมนุษยท างชวี วิทยา 31 เรอ่ื งที่ 2.1.1 พันธุกรรม (Heredity) 34 เรื่องท่ี 2.1.2 ระบบประสาท 43 เรื่องท่ี 2.1.3 ระบบกลามเนื้อ 46 เรื่องท่ี 2.1.4 ระบบตอม 51 51 ตอนท่ี 2.2 ปจ จยั พ้ืนฐานพฤติกรรมมนุษยท างจิตวิทยา 51 เรื่องท่ี 2.2.1 แรงจูงใจ 55 เรอ่ื งท่ี 2.2.2 ทฤษฎแี รงจูงใจ 57 เร่อื งที่ 2.2.3 การเรียนรู (Learning) 57 62 ตอนที่ 2.3 ปจจัยพื้นฐานของพฤตกิ รรมมนุษยท างสังคมวิทยา 62 เรอ่ื งท่ี 2.3.1 ลักษณะทางสังคม 70 71 ตอนท่ี 2.4 ปจ จยั พน้ื ฐานพฤตกิ รรมมนุษยท างจริยธรรม 72 เร่อื งท่ี 2.4.1 ปจ จยั ทางจริยธรรมและการเรยี นรูบทสรปุคําถามทา ยบทเอกสารอางอิงง

สารบญั (ตอ) การพฒั นาตนบทที่ 3 รูจกั เขาใจ ในตนเอง หนา ตอนท่ี 3.1 จติ ตอนที่ 3.2 บุคลกิ ภาพของตัวตน 73 ตอนที่ 3.3 พลงั ในตัวตน 75 ตอนที่ 3.4 การเขา ใจตนเอง 77 ตอนที่ 3.5 การสรางความเขาใจตนเอง 80 เรือ่ งเลาทา ยบทเรียน 86 90 กจิ กรรมทายบท 98 เอกสารอา งองิ 100 108บทที่ 4 แนวคิดในการพัฒนาตน ตอนท่ี 4.1 แนวคิดที่เกี่ยวกับการพัฒนาตน 111 ตอนท่ี 4.2 ทฤษฎีทเ่ี ก่ยี วของกับการพฒั นาตน 112 ตอนที่ 4.2 กระบวนการและแนวทางในการพัฒนาตน 130 142บทสรุป 148คาํ ถามทายบท 149เอกสารอางองิ 150บทที่ 5 พฤตกิ รรรมเสย่ี งจากปจจัยภายใน 151 ตอนท่ี 5.1 แนวคดิ ทเ่ี กยี่ วของกบั พฤติกรรมเส่ยี งจากปจจัยภายใน 152 ตอนที่ 5.2 ลักษณะพฤติกรรมเส่ยี งจากปจ จยั ภายใน 157 ตอนที่ 5.3 แนวทางปองกันและแกไ ขพฤตกิ รรมเสี่ยงจากปจ จัยภายใน 175 จ

การพฒั นาตน สารบัญ (ตอ)บทสรปุ หนาคําถามทายบทเอกสารอา งอิง 180 181บทท่ี 6 พฤติกรรมเสี่ยงจากปจจัยภายนอก 182 ตอนท่ี 6.1 แนวคดิ ท่เี กีย่ วของกบั พฤติกรรมเสยี่ งจากปจจัยภายนอก ตอนท่ี 6.2 ลักษณะพฤติกรรมเส่ยี งจากปจ จัยภายนอก 185 ตอนที่ 6.3 แนวทางปองกันและแกไ ขพฤตกิ รรมเสี่ยงจากปจจยั ภายนอก 186 188บทสรปุ 214คําถามทา ยบท 220เอกสารอางอิง 221 222บทท่ี 7 การสรา งคุณคาในการดําเนนิ ชีวิต ทม่ี ตี อ สังคม ตอนท่ี 7.1 แนวคดิ ของการเหน็ คุณคาในตนเอง 223 ตอนท่ี 7.2 การสรางคุณคา ในการดาํ เนินชีวิตในแตล ะชว งวยั 225 237คําถามทายบท 251เอกสารอางอิง 252บทท่ี 8 รจู ักความสขุ 253 ตอนท่ี 8.1 ความหมายของความสุข 254 ตอนที่ 8.2 ความสุขในแตล ะวยั 273 ตอนที่ 8.3 บุคลกิ ภาพและทัศนคติกับความสขุ 274 ตอนท่ี 8.4 คนื ความสุขใหช ีวิต 277 282บทสรุป 283คําถามทา ยบท 284เอกสารอางอิงฉ

สารบัญภาพ การพฒั นาตนภาพที่ หนา 1.1 พฤติกรรมตา ง ๆ ของบุคคล 4 1.2 วลิ เฮลม วุนดท ผูนาํ กลมุ จติ วิทยาโครงสรา งนิยม 16 1.3 จอหน ดวิ อ้ี และ วิลเลยี่ ม เจมส ผูนาํ กลมุ จิตวทิ ยาหนา ท่ีนยิ ม 17 1.4 ซกิ มนั ด ฟรอยด ผนู ํากลุมจิตวิทยาจิตวเิ คราะห 19 1.5 จอหน บี.วัตสัน ผูนาํ กลุม จิตวทิ ยาพฤติกรรมนิยม 21 1.6 วูลฟก งั โคฮเลอร ผูนํากลุมจิตวทิ ยาเกสตัลท 22 1.7 คารล อาร โรเจอร ผูน ํากลมุ จติ วทิ ยามนุษยนิยม 24 2.1 องคป ระกอบทางพนั ธุกรรม 32 2.2 ระบบประสาท 34 2.3 ไขสันหลงั 39 2.4 เซลลป ระสาท 41 2.5 กลา มเนอื้ ลาย 44 2.6 ภาพกลา มเน้อื หวั ใจ 45 2.7 ภาพกลา มเน้ือเรียบ 45 2.8 ภาพกลามเน้ือหัวใจ 46 2.9 ตน ไมจริยธรรมจิตลักษณะพ้ืนฐานและ 71 องคป ระกอบทางจติ ใจของพฤตกิ รรมทางจริยธรรม 74 3.1 มองตนเอง 75 3.2 ภเู ขานา้ํ แขง็ 76 3.3 ภเู ขานํา้ แข็งสวนท่ซี อนอยูใตผิวนํา้ โผลขึ้นมาเหนอื นํ้า 77 3.4 ระดบั ข้นั ของจิตสํานึก 79 3.5 โครงสรางบุคลกิ ภาพของตวั ตน 80 3.6 พลังของความคิด 81 3.7 โคง อนั ตราย 82 3.8 ตนเหน็ เองวา ตนเปนอยา งไร ช

การพฒั นาตน สารบัญภาพ(ตอ)ภาพท่ี หนา 3.9 ตวั ตนตามขอเทจ็ จริง 83 3.10 ตวั ตนทอ่ี ยากมีอยากเปน 84 3.11 ตัวตนทสี่ ะทอนภาพในกระจกทั้ง 3 บาน 85 3.12 หลายคนรักท่จี ะมชี ีวิต แตห ลายคนรกั ชวี ิตทีม่ ี 87 3.13 หนา ตางโจฮารี ของ โจเซฟ ลัฟท (Joseph Luft) 88 และแฮรี อินแกม (Harry Ingham) 3.14 ทางพุทธศาสนากลา วถงึ ตวั ตนวา ตัวตนก็คอื การประกอบเขา ดวยกันของกลมุ 91 92 (ขนั ธ) 5 กลมุ (กอง) ทเี่ ม่ือประกอบกนั เขา แลวกลายเปน สง่ิ มีชวี ิตเปนสัตว 95 เปน บคุ คล เปนตัวตน เปนเรา เปน เขา 95 3.15 การมีตัวตนอยูไ มจ ําเปน วาใครตองเห็นเรา 96 3.16 แนวทางในการศกึ ษาเพ่อื ตนเอง 121 3.17 การฝกทักษะการรูจ กั ตนเอง 148 3.18 มีความสขุ 249 4.1 ภาพแสดงความขัดแยง ทางสังคม-จติ ใจท่มี ีผลตอ การพัฒนาบคุ ลิกภาพ 277 4.2 ขั้นตอนของกระบวนการพฒั นาตน 278 7.1 แผนภาพวงจรสง เสริมการมชี วี ิตยืนยาวอยา งมีความสขุ 8.1 หนา เว็บไซตเ ฟสบุคทานพทุ ธทาสภิกขุ สวนโมกข 8.2 หนา เว็บไซตเฟสบุคพระอาจารยไพศาล วิสาโลซ

การพัฒนาตน สารบัญตารางตารางที่ หนา2.1 แสดงสว นประกอบของสมองและการทําหนา ทข่ี องสมองสวน1 355.1 ปจจัยท่ีมคี วามสมั พันธก ับการซึมเศราทัง้ ที่เปนภาวะซมึ เศรา และทเี่ ปนโรคซึมเศรา 1717.1 ภาพแหง ตน 2347.2 การสรางภาพแหงตน 2347.3 คนทมี่ ี self-esteem ประกอบดวยสิง่ ตอไปน้ี 2357.4 ปจ จัยทส่ี ง ผลตอความรูคุณคาในตวั เอง (self-esteem) 236

การพัฒนาตน

การพัฒนาตน บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานเก่ียวกับพฤตกิ รรมมนุษย์ ภาณวุ ฒั น์ ศวิ ะสกุลราชหวั ข้อเนอ้ื หา ตอนที่ 1.1 ความหมายของพฤตกิ รรม ตอนที่ 1.2 ประเภทของพฤติกรรม เรอ่ื งที่ 1.2.1 เกณฑ์การมองเห็นโดยท่วั ไป เรอ่ื งท่ี 1.2.2 เกณฑ์ตามหลักของการเรียนรู้ ตอนท่ี 1.3 องค์ประกอบของพฤตกิ รรม เรอ่ื งท่ี 1.3.1 ความรูส้ ึก เรื่องที่ 1.3.2 พฤติกรรมหรือการกระทา เรอ่ื งที่ 1.3.3 การคิด ตอนท่ี 1.4 การศกึ ษาพฤติกรรม เรอ่ื งที่ 1.4.1 เป้าหมายของการศึกษาพฤติกรรม เรอ่ื งท่ี 1.4.2 ความสาคญั ของการศึกษาพฤติกรรม เรื่องท่ี 1.4.3 วิธีการศึกษาพฤตกิ รรม เรื่องท่ี 1.4.4 วธิ ีการรวบรวมข้อมูล ตอนท่ี 1.5 กลุ่มจติ วิทยาเพื่อความเขา้ ใจเก่ยี วกับพฤติกรรมมนุษย์ เรื่องที่ 1.5.1 กลมุ่ จิตวทิ ยาโครงสรา้ งนยิ ม เรื่องท่ี 1.5.2 กลุ่มจิตวทิ ยาหน้าทีน่ ยิ ม เรื่องที่ 1.5.2 กลมุ่ จิตวิทยาจิตวิเคราะห์ เรอ่ื งท่ี 1.5.2 กล่มุ จิตวิทยาพฤติกรรมนิยม เรื่องที่ 1.5.2 กลุม่ จิตวทิ ยาเกสตัลท์ เรอ่ื งท่ี 1.5.2 กลุม่ จิตวิทยามนษุ ยนยิ ม 1

การพฒั นาตนแนวคดิ 1. มนุษย์จะสามารถทาการพัฒนาตนเองได้ ต้องอาศัยองค์ความรู้ท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง ซ่ึงในการจะเข้าใจเร่ืองพฤติกรรมนั้นจาเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานท่ีเก่ียวกับพฤติกรรม ได้แก่ ความหมายของพฤตกิ รรม ประเภทของพฤตกิ รรม องค์ประกอบของพฤติกรรม วิธีการศึกษาพฤติกรรม เป้าหมายและความสาคัญของการศึกษาพฤติกรรม และแนวทัศนะของกลุ่มจิตวทิ ยาเกย่ี วกับพฤติกรรมมนษุ ย์ 2. แนวคิดพ้ืนฐานเก่ียวกับพฤติกรรมเหล่าน้ีจะนาไปสู่การทาความเข้าใจตนเอง และนาไปสู่การพฒั นาตนเองต่อไปวัตถุประสงค์ เมือ่ ศกึ ษาเนื้อหาในบทเรยี นที่ 1 แลว้ ผเู้ รยี นสามารถ 1.1 บอกความหมายของพฤตกิ รรมได้ 1.2 อธิบายประเภทของพฤตกิ รรมได้ 1.3 บอกองค์ประกอบของพฤติกรรมได้ 1.4 ระบุวิธกี ารศกึ ษาพฤตกิ รรมได้อย่างถูกต้อง 1.5 อธบิ ายกลุ่มจติ วทิ ยาเพ่ือความเข้าใจเกีย่ วกับพฤติกรรมมนุษยไ์ ด้2

การพัฒนาตนบทนาํ ในการศึกษารายวิชาการพัฒนาตนนั้น เปนการศึกษาเพ่ือเขาใจแนวคิดพื้นฐานของพฤติกรรมมนุษย มีเทคนิควิธีการในการพัฒนาตนที่ถูกตอง และควบคุมตนเองใหการพัฒนาตนเกิดศักยภาพสูงสุด มนุษยจะสามารถทําการพัฒนาตนเองได ตองอาศัยองคความรูท่ีเก่ียวกับพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งในการจะเขาใจเรื่องพฤติกรรมนั้นจําเปนตองเขาใจถึงหลักการพื้นฐานท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรม ไดแก ความหมายของพฤติกรรม ประเภทของพฤติกรรม องคประกอบของพฤติกรรม วิธีการศึกษาพฤติกรรม เปาหมายและความสําคัญของการศึกษาพฤติกรรม และแนวทัศนะของกลุมจิตวิทยาเก่ียวกับพฤติกรรมมนุษย อันจะเปนพื้นฐานในการทําความเขาใจตนเองและนําไปสกู ารพฒั นาตนตอไปตอนที่ 1.1 ความหมายของพฤติกรรม พฤตกิ รรม (Behavior) หมายถึง ทกุ ๆ ส่งิ ที่บุคคลทาํ ซึง่ สามารถสังเกตไดโดยตรง หรืออยูในกระบวนการทางจติ ใจ ซ่งึ ไดแ ก ความคิด ความรูสึก และแรงขบั ซึง่ เปนประสบการณภายในของแตล ะบุคคลทีไ่ มส ามารถจะสังเกตไดโ ดยตรง [1] จากความหมายขางตนนั้น พฤติกรรมของมนุษยมีความหมายครอบคลุมการแสดงออกท้งั ทางดานรา งกาย และจิตใจ ซ่ึงถา เปนการแสดงออกทางดานรา งกาย ก็จะแสดงออกมาใหเห็นไดอยา งชดั เจน เชน เดนิ วงิ่ นอน หรือ กระโดด เปนตน แตถาเปนการแสดงออกท่ีอยูในกระบวนการของจติ ใจ ก็จะไมแ สดงออกมาใหเ หน็ อยางชดั เจน ซบั ซอ นอยูภายในจิตใจ เชน ความคิด ความรูสึกหรือแรงจูงใจ เปนตน เม่ือไมสามารถสังเกตเห็นไดโดยตรง จึงตองอาศัยการคาดเดาสรุปจากการกระทําตา ง ๆ ทส่ี ามารถสงั เกตเห็น 3

การพัฒนาตนภ3 าพท่ี 1.1 พฤติกรรมตาง ๆ ของบุคคล3ท่มี า: http://f.ptcdn.info/726/024/000/1413890372-m3-o.jpgตอนที่ 1.2 ประเภทของพฤติกรรม พฤติกรรมของมนุษยน้ันมีความซับซอนตองศึกษาโดยละเอียด เพ่ือใหเกิดความเขาใจมากขึน้ นักวิชาการจึงไดแบง ชนดิ พฤตกิ รรมของมนุษยออกเปนประเภทตาง ๆ โดยใชเกณฑในการจาํ แนก 2 เกณฑ ดังตอไปน้ี 3[2] เร่ืองที่ 1.2.1 เกณฑการมองเห็นโดยท่ัวไป แบงพฤติกรรมออกเปน 2 ประเภท 1.2.1.1 พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) หมายถึง การกระทําที่สามารถสังเกตหรือสัมผัสไดโดยตรงดวยอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย ซ่ึงพฤติกรรมภายนอกสามารถแบงออกไดเปน 2 ชนิด คอื 1) พฤติกรรมโมลาร (Molar Behavior) หมายถึงพฤติกรรมที่มีหนวยใหญ สามารถสงั เกตไดโดยไมตอ งใชเ ครอ่ื งมอื ชว ย เชน การย้ิม การโบกมือ การเดิน การทําหนาบ้ึงการรองไห การถีบจักรยาน การหยิบจับส่ิงของ เปนตน พฤติกรรมภายนอกเหลานี้สามารถสังเกตไดโ ดยผา นประสาทสัมผัสตาง ๆ และพฤติกรรมที่คนเราแสดงออกตอกันลวนเปนพฤติกรรมโมลารท้ังสนิ้ [3]4

การพัฒนาตน 2) พฤติกรรมโมเลกุลาร (Molecular Behavor) หมายถึง พฤติกกรมที่มีหนวยเล็ก ตองอาศัยเคร่ืองมือหรือวิธีการทางวิทยาศาสตรชวยในการวิเคราะหอยางมีระบบเพราะไมสามารถสังเกตหรือรับรูไดดวยประสาทสัมผัสธรรมดา เชน ความดันโลหิต การเปลี่ยนแปลงทางไฟฟาท่ีผิวหนัง การเปล่ียนแปลงของสารเคมีในกระแสเลือด การบีบตัวของลําไสการผลิตฮอรโมนของตอมตาง ๆ การเตนของหัวใจที่ตองใชเครื่องฟงเสียงหัวใจ สเตโทสโคป(Stethoscope) ชวยในการฟง และการทํางานของเซลลประสาทท่ีตองใชเคร่ือง ไมโครอิเล็กโทรด(Microelectrodes) ชวยในการวดั และการศึกษา เปนตน 1.2.1.2 พฤตกิ รรมภายใน (Covert Behavior) การกระทําท่ีรับรูไมไดดวยอวัยวะรับสมั ผสั แตเปนความในใจเทานน้ั ท่ีเจา ตัวรู เปน พฤติกรรมที่ผูอ่ืนไมสามารถสังเกตไดโดยตรง หากวาผูเปนเจาของพฤติกรรมน้ันไมบอกหรือไมแสดงพฤติกรรมภายนอกออกมาใหผูอ่ืนรูก็จะไมรูดงั น้นั พฤตกิ รรมภายในจึงเปนเรื่องของประสบการณส ว นบุคคล เชน ความคิด การเขาใจ ความจําความตองการ ความปรารถนา จินตนาการ และความรูสึกตาง ๆ เน่ืองจากพฤติกรรมภายในเปนพฤติกรรมท่ีไมสามารถจะสังเกตไดโดยตรง จึงตองใชการสังเกตทางออม นั่นคือ ผูสังเกตตองใชเทคนิคตาง ๆ เชน การสัมภาษณ การใชแบบทดสอบ เพื่อกระตุนใหบุคคลน้ัน ๆ แสดงพฤติกรรมภายในออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตได จากน้ันผูสังเกตจึงใชขอมูลท่ีไดจากการสังเกตเพ่ือการอนุมานถึงพฤติกรรมภายในของบุคคลนั้น ๆ อีกคร้ังหน่ึง พฤติกรรมภายในแบงเปน 2 ชนิด คือ 3[3] 1) พฤติกรรมภายในท่ีเกิดข้ึนโดยรูสึกตัว (Conscious Process)เกิดข้ึนโดยผูท่ีเปนเจาของพฤติกรรมรูสึกตัววากําลังเกิดพฤติกรรมเหลาน้ัน ถาบุคคลน้ันควบคุมความรูสึกตาง ๆ ท่ีเกิดข้ึนไดและไมบอกหรือไมแสดงอาการใหผูอานทราบ ผูอื่นก็ไมอาจทราบไดเชน ถาเรารูสึกหิว แตเราน่ังเฉย ๆ ไมแสดงอาการอยางใดอยางหนึ่งที่จะทําใหผูอ่ืนสังเกตไดวาเรากาํ ลังหิว ผูอ ่ืนกจ็ ะไมทราบวาเราหิว ดังน้ันความหิวท่ีเกิดขึ้นก็จะเปนประสบการณสวนตัวที่มีเพียงเราคนเดียวเทา นนั้ ทท่ี ราบ 2) พฤติกรรมภายในที่เกิดข้ึนโดยไมรูสึกตัว (Unconscious Process)เปน พฤติกรมที่เกิดขึ้นภายในโดยที่เจาของพฤติกรรมไมรูสึกตัว แตมีผลตอพฤติกรรมภายนอกของบุคคลนนั้ เชน แรงจงู ใจ ความวติ กกังวล เปนตน พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในมีความสัมพันธเก่ียวของกัน กลาวคือพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายในตางก็เปนตัวกําหนดซึ่งกันและกัน เชน ถาพฤติกรรมภายในโศกเศรา ก็จะแสดงออกมาเปนพฤติกรรมภายนอกทางสหี นาแววตาเศรา ทาทางเก็บกดเก็บ 5

การพัฒนาตนตัว หรือรองไหออกมา ในทํานองเดียวกัน ถาพฤติกรรมภายนอกเกร้ียวกราด ตวาดแมไปโดยไมตงั้ ใจ ก็จะสงผลใหเ กิดพฤตกิ รรมภายใน คอื รสู ึกผิด และอาจคดิ ในทางรา ยวา ตอ ไปแมจ ะไมร ักตน เรอ่ื งท่ี 1.2.2 เกณฑต ามหลักของการเรียนรู แบง พฤตกิ รรมออกเปน 2 ประเภท 3[2] 1.2.2.1 พฤตกิ รรมท่เี กิดโดยธรรมชาติ หมายถึง พฤติกรมท่ีมนุษยทุกคนสามารถกระทําไดเชนเดียวกันตามสัญชาติญาณ มนุษยสามารถเกิดพฤติกรรมน้ันข้ึนมาไดดวยตนเอง ไมตองผา นประสบการณหรอื การฝกฝน เชน การกระพริบตา การคลาน การหายใจ การนอน เปนตน 1.2.2.2 พฤตกิ รรมที่เกิดจากการเรียนรู หมายถึง พฤติกรรมท่ีมีการเปล่ียนแปลงหรือปรับแตงจากการไดรับประสบการณและการฝกฝน เชน การไหวที่ตางกันระหวางการไหวพระไหวผใู หญหรือรบั ไหว การขจี่ ักรยาน การวา ยนา้ํ การเขา แถวซอ้ื อาหารตามลาํ ดับกอ นหลงั เปน ตน ท้ังน้ี พฤติกรรมท่ีเกิดข้ึนโดยธรรมชาติจะเห็นไดชัดเจนและมีมากในวัยทารกและวัยเด็กโดยเฉพาะในชวงวัยทารกการกระทําสวนใหญจะเปนไปตามธรรมชาติหรือสัญชาติญาณที่ติดตัวมาของมนุษย แตเม่อื ยง่ิ โตข้ึน ไดร บั ประสบการณหรือการฝกฝนเกี่ยวกับพฤติกรรมมากข้ึน ก็จะทําใหมีพฤติกรรมท่ีเกิดจากการเรียนรูเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เชน ในวัยทารก เด็กจะรองไหแคเพียงเพราะหิวเจ็บปวดหรือรูสึกไมสบายตัวเทาน้ัน แตเมื่อเติบโตขึ้นก็จะเรียนรูท่ีจะรองไหเพื่อวัตถุประสงคอื่น ๆและเกิดเปนพฤติกรรมใหมเพ่ิมมากข้ึนเร่ือย ๆ เชน รองไหเพื่อออนขอสิ่งที่อยากได รองไหเพื่อเรียกรอ งความสนใจ รอ งไหเพื่อแกลงใหค นอ่นื ตกใจทงั้ ๆ ที่ตนไมไ ดเ จบ็ ปวดตอนท่ี 1.3 องคป ระกอบของพฤติกรรม พฤติกรรมของมนุษยนั้นนักจิตวิทยาไดจําแนกออกมาเปนสวนยอย ๆ เรียกวาองคป ระกอบพฤตกิ รรม โดยมีแนวคดิ หลกั วา พฤตกิ รรมมนษุ ยเปนปฏสิ ัมพนั ธระหวางองคประกอบ3 องคประกอบ คือ ความรูสึก (Affection) การกระทํา (Behavior/action) และการคิด (Cognition)[4] ซึ่งสอดคลองกับที่ วัลลภ ปยะมโนธรรม 3[5] ไดกลาวไววา ถาจะวิเคราะหแยกแยะออกไปแลวพฤติกรรมมีอยู 3 ดานใหญ ๆ ดวยกันคือ ความคิดออกมาเปนเหตุผล อารมณออกมาเปนความรูสึก และพฤติกรรมออกมาในรูปแบบของการกระทํา อาจกลาวไดวา ถาบุคคลรูวาปญหาของตนเกดิ จากองคป ระกอบใด การพฒั นาตนจะกระทาํ ไดง ายข้ึน6

การพฒั นาตน เรือ่ งที่ 1.3.1 ความรสู ึก (Affection) ส่ิงท่ีทําใหมนุษยเกิดความรูสึก คือ สัมผัสและอารมณ สัมผัสและอารมณไมใชส่ิงเดียวกัน คอื 1.3.1.1 การสัมผัส (Sensation) เปนความรูสึกตอปฏิกิริยาของรางกายท่เี กดิ จากการทํางานของอวัยวะรับสัมผัสทั้งภายนอกและภายใน เชน เหนื่อย รอน หรือมึนเปนตน สัมผัสจะไมนําไปสูความรูสึกพอใจหรือไมพอใจ ทําใหแตกตางจากอารมณ เชน เมื่อเราเหนื่อย ความเหนื่อยของเราไมไดนําไปสูความรูสึกพอใจหรือไมพอใจ จะเปนเพียงแคความเหน่ือยเทา นนั้ 1.3.2.2 อารมณ (Emotion) หมายถึง ความรูสึกพอใจหรือไมพอใจที่เกิดจากความคิดของบุคคลตอสภาวะทางกายภาพท่ีเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจูงใจใหบุคคลกระทําอยา งใดอยางหนงึ่ ได อารมณแบงเปน 1) อารมณเชิงบวก เปนความรูสึกพอใจและนําไปสูการกระทําที่สรางสรรค เกดิ ความสมั พนั ธทด่ี ีกบั คนทั่วไป เชน ความสุข สนุกสนาน รา เรงิ ยนิ ดี 2) อารมณเชิงลบ เปนความรูสึกไมพอใจ นําไปสูการกระทําที่ไมเหมาะสม เชน ความโกรธ เสียใจ กลมุ ใจ แสดงกิริยาหยาบคายตอผูอ่ืน อารมณเชิงลบ แยกไดเปน2 ประเภท (1) อารมณเชิงลบที่เหมาะสม เปนอารมณท่ีไมนาพอใจ แตเปนประโยชนชวยใหเราต่ืนตัวตอเหตุการณที่อาจจะกลายเปนปญหาได เชน นักศึกษากลัวตกในรายวิชาเพราะไดคะแนนจากการสอบกลางภาคนอย ทําใหต้ังใจเรียนและขยันทํางานท่ีไดรับมอบหมายมากขึ้น (2) อารมณเ ชงิ ลบท่ีไมเ หมาะสม เปนอารมณท่ีนอกจากไมนาพอใจแลว ยังเปน อารมณท่ีกอ ใหเกดิ โทษดวย เชน นักศึกษาโกรธเพื่อนและตวาดเพ่ือนดวยอารมณที่รนุ แรง กจ็ ะนาํ ไปสกู ารทะเลาะและเลกิ คบกันได เรื่องท่ี 1.3.2 พฤตกิ รรมหรือการกระทํา (Behavior or Action) พฤติกรรมหรือการกระทําเปนสวนท่ีเปนปฏิกิริยาของรางกายซึ่งสังเกตไดอยางชัดเจน เชน การพดู ตะโกน กระซิบ วิ่ง น่งั ยืน เปนตน การกระทาํ แบงออกเปน 2 ดา น คือ 1.3.2.1 การกระทําเชิงบวก ซ่ึงกอใหเกิดการเปล่ียนแปลงในทางท่ีดีขึ้น และมนุษยตองเรียนรูที่จะกระทําเชิงบวกเพิ่มเติมใหมากย่ิงขึ้น เพื่อประโยชนในการพัฒนาตน เชนนกั ศกึ ษาฝก นาํ เสนองานทีห่ นา กระจก เมอ่ื ถึงเวลานาํ เสนอจริงกจ็ ะทาํ ไดดขี ้ึน 7

การพัฒนาตน 1.3.2.2 การกระทําเชิงลบ ซ่ึงเปนการกระทําที่ไมเปนประโยชน มนุษยตองหยุดยัง้ เลกิ และปรบั ปรุงการกระทําน้ันเสีย หากตองการจะเปล่ียนแปลงหรือพัฒนาตนไปในทางที่ตองการ มักจะอยูในรูปแบบของพฤติกรรมเส่ียงทางจิตวิทยา เชน การใชสิ่งเสพติดและเคร่ืองด่ืมมนึ เมา พฤตกิ รรมเสีย่ งทางเพศตาง ๆ และการใชเ งินเกินตวั เปน ตน เรื่องที่ 1.3.3 การคดิ (Cognition) การคิด มคี วามหมายรวมถึง ความเขาใจ ความเช่ือ การรับรู อัตมโนทัศน ทัศนะท่ีมีตอบุคคลและส่ิงตาง ๆ การวางแผน การวิเคราะห การแปลความหมาย หรือการจิตนาการ ซ่ึงลวนอยูในกระบวนการคดิ ท้ังส้นิ ความคิดแบง ไดเ ปน 2 ประเภท คอื 1.3.3.1 ความคิดเชิงบวก เปนความคิดที่กอใหเกิดประโยชน เพ่ิมกําลังใจและแรงจงู ใจใหตนเอง เชน นักศกึ ษาคดิ วาการไดเ กรด A ในการเรียนรายวิชาที่ยากเปนสิ่งนาภูมิใจ ทําใหมีความสนใจการเรยี นวชิ านน้ั เพ่มิ ข้ึน 1.3.3.2 ความคิดเชิงลบ เปนความคิดท่ีทําใหเกิดความยุงยาก ทําใหแรงจูงใจลดลง และเปนตนเหตใุ หเกิดเร่ืองเชงิ ลบอ่ืน ๆ ตามมา ทําใหบุคคลไมสามารถมองความจริงในชีวิตไดชัดเจนจนไมสามารถพัฒนาตนเองได เชน นักศึกษาคิดวาตนเองไมเกง ไมฉลาด พยายามไปก็ไมร เู รือ่ ง ทอ แทและไมส ูตอ สง ผลใหไดผลการเรยี นในรายวชิ าน้ันไมดี การแสดงพฤติกรรมของมนุษยนั้น ดานรูสึก กระทํา และคิด มิไดเปนองคประกอบที่แยกออกจากกัน แตจะมีการปฏิสัมพันธกันระหวางองคประกอบทั้ง 3 คือมีผลกระทบตอ กนั และกันของการรูสึก กระทํา และคิด เปนความสัมพันธท่ีเปนเหตุและเกิดผลท่ีเปนเหตุสงผลตอกันไป เปนปฏิกิริยาท่ีเกิดตอเนื่องเปนลูกโซ การเขาใจพฤติกรรมในขณะหนึ่งจึงตองทราบวา ดานใดของพฤติกรรมเปนตนเหตุหรือเปนเชื้อปะทุของปฏิสัมพันธ เมื่อทราบตนเหตุแลวถาตองการจะปรับปรุงหรือพัฒนาพฤตกิ รรมจะตองสนใจดานท่ีเปนตนเหตุของพฤติกรรมกอน และเมือ่ รลู ําดบั ของปฏสิ มั พนั ธในกรณนี นั้ ๆจะทาํ ใหเราควบคุมพฤติกรรมได8

การพฒั นาตนตอนท่ี 1.4 การศึกษาพฤติกรรม เร่ืองท่ี 1.4.1 เปาหมายของการศึกษาพฤตกิ รรม การศึกษาพฤติกรรมของบุคคลในประเด็นและเรื่องราวตาง ๆ นั้น มีเปาหมายหลกั อยู 4 ประการ คือ [6] 1.4.1.1 เพื่อการอธิบาย (Describe) ความรูจากทฤษฎีและขอมูลตาง ๆ ที่ไดจากการศึกษาวิจัยจะชวยใหสามารถอธิบายถึงปรากฏการณทางจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนษุ ยไดอยา งถกู ตอ งและครบถว น 1.4.1.2 เ2 พ่ือการทํานาย2 2(Predict) ความรูจากทฤษฎีและขอมูลตาง ๆ ที่ไดจากการสังเกตหรือศึกษาวิจัยจะชวยใหสามารถคาดคะเน ทํานายถึงพฤติกรรมหรือปรากฏการณในอนาคตทีน่ าจะเกดิ ขนึ้ 1.4.1.3 เพื่อ2ความเขาใจ0 (Understanding) ความรูจากทฤษฎีและขอมูลท้งั หลาย ที่ไดจากการสังเกตหรือศึกษาวิจัยจะชวยใหสามารถเขาใจถึงพฤติกรรมและกระบวนการทางสมอง จติ ท่บี คุ คลตาง ๆ ไดก ระทําวาเกิดข้ึนดวยเหตุผลใด จากการกระตุนหรือแรงจูงใจใด ซึ่งจะทําใหเ รามคี วามเขาใจในบุคคลอืน่ ๆ และตนเอง สามารถที่จะคิดหรือเลือกพฤติกรรมตอบสนองไดถกู ตองและมีประสทิ ธภิ าพ 1.4.1.4 เพื่อการควบคุม (Influence) ความรูจากทฤษฎีและขอมูลตาง ๆ ที่ไดจากการศึกษาวิจัยท้ังหลายจะชวยใหเราสรางการชักนําควบคุมพฤติกรรมของสวนบุคคลและสงั คม ใหเ ปน ไปในทิศทางท่เี ปน ประโยชนหรอื บรรลุวัตถปุ ระสงคท่ตี องการ ซ่งึ จากเปา หมายดังกลาว การเรียนรูเกี่ยวกับพฤติกรรมจะเปนประโยชนอยางย่ิงท้ังแกตนเองและสังคม เพราะชวยใหรูและบอกไดถึงสาเหตุท่ีมาของพฤติกรรม แลวนําความรูเหลาน้ันมาวิเคราะหใหเกิดความเขาใจตนเอง เขาใจผูอื่น ชวยทํานายแนวโนมพฤติกรรม และไดแนวทางเสริมสรางพัฒนาพฤติกรรมเพ่ือดํารงชีวิตไดอยางมีประสิทธิภาพ ฝาวิกฤติชีวิตได และอยูรวมกบั ผูอื่นโดยสนั ตสิ ขุ 3[7] เร่อื งที่ 1.4.2 ความสาํ คญั ของการศกึ ษาพฤตกิ รรม จากเปาหมายของการศึกษาพฤติกรรมอันประกอบดวยเปาหมายเพื่อการอธิบายพฤติกรรม เปาหมายเพื่อการทํานายพฤติกรรม เปาหมายเพื่อการเขาใจพฤติกรรม และเปาหมายเพ่ือการควบคุมพฤติกรรมน้ัน หากการศึกษาพฤติกรรมบรรลุเปาหมายดังกลาวก็จะ 9

การพฒั นาตนสงผลดีตอผูศึกษาและมีความสําคัญตอบุคคลและสังคม ซ่ึงอาจกลาวเปนขอ ๆ ถึงความสําคัญของความรูเก่ยี วกับพฤติกรรม ไดดงั น้ี 3[7] 1.4.2.1 ความรูเ กี่ยวกับพฤตกิ รรมชวยใหผูศึกษาเกิดความเขาใจตนเอง คือ จากการศึกษาธรรมชาติพฤติกรรมของมนุษยในแงมุมตาง ๆ จะชวยใหผูศึกษาเกิดความเขาใจตนเองไปดว ย จากความเขาใจตนเองก็นาํ ไปสูการยอมรับตนเอง และไดแนวทางปรับตน พัฒนาตน เลือกเสนทางชีวติ ท่ีเหมาะสมแกต น 1.4.2.2 ความรูเก่ียวกับพฤติกรรมชวยใหผูศึกษาเกิดความเขาใจผูอ่ืน คือความรูดานพฤติกรรมอันเปนขอสรุปจากคนสวนใหญ ชวยเปนแนวทางเขาใจบุคคลใกลตัวและผูแวดลอม ชว ยใหย อมรบั ขอ ดีขอ จาํ กดั ของกนั และกัน ชว ยใหเ กิดความเขา ใจ ยอมรับ มีสัมพันธภาพทดี่ ี และชว ยการจดั วางตวั บุคคลไดเหมาะสมขึ้น 1.4.2.3 ความรูเก่ียวกับพฤติกรรมชวยบรรเทาปญหาสังคม คือ เร่ืองปญหาสังคมอันมีปจจัยหลายประการนั้น ปจจัยของปญหาสังคมที่สําคัญมากสวนหนึ่งมาจากปญหาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม อาจจะเปนปญหาสุขภาพจิต ปญหาเบ่ียงเบนทางเพศ ปญหาพฤติกรรมกาวราว ลักขโมย ความเช่ือที่ผิด การลอกเลียนแบบท่ีไมเหมาะสม เปนตน ซึ่งความรูเกี่ยวกับพฤติกรรมจะชวยใหไดแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดสภาพแวดลอมท่ีสง เสรมิ การปรบั ตวั ของบุคคลตอไป 1.4.2.4 ความรูเก่ียวกับพฤติกรรมชวยเสริมสรางพัฒนาคุณภาพชีวิต คือจากความเขาใจในอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดลอมตอพฤติกรรม ชวยใหผูศึกษารูจักเลือกรับปรับเปลีย่ นสง่ิ แวดลอมอยางเหมาะสมเพ่ือพัฒนาตนทั้งทางกาย อารมณ สงั คม สติปญญา ชวยใหเขาใจธรรมชาติภายในตน เขาใจความแตกตางระหวางบุคคล ซึ่งเปนแนวทางสูการเสริมสรางพัฒนาตนและบุคคลอ่นื ๆ ไดอยางเหมาะสม เรอ่ื งที่ 1.4.3 วธิ กี ารศกึ ษาพฤตกิ รรม วิธีการศึกษาพฤติกรรม คือ วิธีการท่ีถูกนํามาใชในการแสวงหาความรูตาง ๆเก่ียวกับพฤติกรรม ซึ่งวิชาใด ๆ ที่มีความเปนศาสตร จะนําวิธีการทางวิทยาศาสตรมาใชในการแสวงหาความรทู งั้ ส้นิ ซงึ่ วธิ ีการทางวิทยาศาสตรน้ี ประกอบดว ย 5 ขั้นตอน ดงั นี้ คือ3 [8] 1.4.3.1 ต้ังคําถามและกําหนดปญหาวิจัย (Research questions) คําถามที่จะนํามากําหนดเปนประเด็นในการศึกษา อาจมาจากหลายแหลง เชน จากทฤษฎีทางจิตวิทยา จากประสบการณในชีวิตประจําวัน ความเชื่อ ปญหาในสังคม หรือเหตุการณเฉพาะหนาที่เกิดข้ึน เม่ือ10

การพฒั นาตนไดข อ มูลมาแลว กจ็ ะนํามากําหนดเปนหัวขอ ปญหา การเขียนหัวขอปญหาจะตองเขียนเปนประโยคบอกเลา การใชภ าษาตองกระชับ และบง บอกถงึ ประเดน็ ทีจ่ ะศกึ ษาอยางชัดเจน 1.4.3.2 ตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) สมมุติฐานเปนขอความท่ีเก่ียวของกับพฤตกิ รรมและกระบวนการทาํ งานของจิต ซึ่งตองการจะพสิ ูจนห รอื ทดสอบดวยการทาํ การวิจัย 1.4.3.3 การทดสอบสมมุติฐาน (Hypothesis testing) โดยใชวิธีวิจัยทางจิตวิทยา เชน การทดลอง การสํารวจ การตรวจสอบจิตตนเอง วิธีทางคลินิก การสังเกตอยางเปนระบบ การสัมภาษณ การใชแ บบสอบถามและการทดสอบทางจิตวทิ ยา 1.4.3.4 วิเคราะหข อ มูล (Evidence data) นําขอมลู ท่ีไดมาวิเคราะหใหชัดเจนซ่ึงอาจตองใชก ารวเิ คราะหทางสถติ ดิ วย 1.4.3.5 และสรุปผล (Conclusion) เปนการสรุปผลการศึกษาวาเปนไปตามสมมตุ ิฐานทก่ี ําหนดไวห รอื ไม ผลท่ไี ดส อดคลองกับทฤษฎี หรอื มกี ารเปลย่ี นแปลงอยางไรบาง ตามลาํ ดับขน้ั ตอนดงั กลา ว เปน แนวทางสําหรบั วิธีการศึกษาพฤติกรรม แมวาแตละวิธีจะมรี ายละเอยี ดปลีกยอ ยแตกตางกนั ไปก็ตาม เรอ่ื งท่ี 1.4.4 วธิ กี ารรวบรวมขอมลู ในการรวบรวมขอมูลเก่ียวกับพฤติกรรม และกระบวนการทํางานของจิตกระทําไดห ลายวิธี ตามลกั ษณะของพฤติกรรมทศี่ กึ ษา [9] ดังนี้ 1.4.4.1 การทดลอง (Experimental Method) เปนการศึกษาพฤติกรรมในทางจิตวิทยาท่ีเปนวิทยาศาสตรสูงมาก โดยมุงศึกษาความสัมพันธเชิงเหตุและผลระหวางเหตุการณสองเหตุการณ และเหตุการณที่เปนเหตุ เรียกวา ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) สวนเหตุการณที่เปนผล เรียกวา ตัวแปรตาม (Dependent Variable) การปฏิบัติตอตัวแปรอิสระเรียกวา การจัดกระทํา (Treatment) ในการทดลองแตละครั้ง ผูทดลองตองตั้งสมมุติฐานกอนแลวทาํ การทดลอง การทดลองมี 2 ลกั ษณะ คอื 1.4.4.1.1 การทดลองในหองปฏิบัติการ เปนการศึกษาท่ีทําในหองปฏิบัติการ ท่ีมกี ารสรา งสถานการณท ดลอง ที่มีการควบคุมตัวแปรเกินตาง ๆ และสรา งสถานการณใหเหมาะสมกับการศึกษาอิทธพิ ลของตัวแปรอสิ ระท่เี ปนสาเหตุ 1.4.4.1.2 การทดลองภาคสนาม เปนการศึกษาในสถานการณที่เปนธรรมชาติไมไ ดม กี ารสรางสถานการณเพื่อการทดลองใด ๆ 11

การพัฒนาตน ในการทดลองแตล ะครงั้ ตองคํานึงถึง การปฏิบัติซํ้า หมายถึงวาการกระทําซ้ําอีกครั้งแมวาจะบคุ คลและสถานท่ีตางกันก็ไดผลอยางเดิมทุกคร้ัง นักจิตวิทยาควรทําการทดลองซ้ํา ๆหลาย ๆ คร้ังเพ่ือใหไดผลอยางเดิมเพื่อใหเกิดความม่ันใจ สวนการควบคุมตัวแปรน้ันจะเห็นวาในการทดลองแตละคร้ังมีขอจํากัด เพราะการที่จะควบคุมตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งน้ัน อาจจะมีตัวแปรซอนมาทําใหผลลัพธคลาดเคลื่อนไปจากความเปนจริงได สวนการสรุปผล ผลการทดลองจะเกิดลักษณะนี้ไดเฉพาะในกลุมทีมีคุณลักษณะแบบนั้นเทานั้น ซึ่งไมสามารถนําไปใชกับกลุมอ่ืนที่แตกตา งกนั ออกไปได ขอดีของการเก็บขอมูลโดยใชวิธีการทดลอง ไดแก ควบคุมตัวแปรได และสรุปเหตุและผลไดอยางชดั เจน จดุ ออน ไดแ ก ยากท่ีจะนาํ มาใชกบั สภาพความเปน จริงโดยทัว่ ไป [10] 1.4.4.2 การสํารวจ (Survey Method) เปนการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตรเชนกันแมวา จะไมเขม ขน นกั กย็ งั มีวิธีการศึกษาตัวแปรเหมือนการทดลอง แตความสัมพันธระหวางตัวแปรจะเปนเหตุเปนผลแกกันไมได และผูศึกษาไมมีการจัดกระทําตอตัวแปร กระทําเพียงแคศึกษาตัวแปรอยางมีระบบในสถานการณท่ีพบ การสํารวจจําเปนตองอาศัยเครื่องมือ ท่ีมีท้ังความเช่ือถือได(Reliability) ความเท่ยี งตรง (Validity) รวมทง้ั กลมุ ตัวอยา งท่ไี ดมาจากการสุมตัวอยางดวยวิธีการท่ีเหมาะสมเพ่ือใหเปน ตวั แทนทด่ี ขี องประชากร ขอดีของการสํารวจ ไดแก ไดขอมูลจํานวนมากเก่ียวกับส่ิงที่ตองการศึกษาและยงั สามารถใชผ ลจากการสํารวจตง้ั สมมุติฐานใหม ๆ เพ่ือรอการทดสอบ จุดออน ไดแก ขอมูลท่ีไดมีลักษณะกวา ง ไมล ึกซง้ึ ท้ังยังสิ้นเปลืองเงนิ และเวลาอกี ดว ย 1.4.4.3 วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง (Introspection Method) วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง หรือ วิธีการพินิจภายในน้ี หมายถึง วิธีการท่ีบุคคลสังเกตตนเองหรือสํารวจตนเอง โดยการใหบุคคลพิจารณาความรูสึกของตนเอง สํารวจตรวจสอบตนเอง แลวรายงานถึงสาเหตุและความรสู กึ ของตนเองออกมา ซงึ่ ในการตรวจสอบจติ ตนเอง บางครง้ั อาจใชวิธีการนึกยอนทบทวนไปถงึ เหตุการณทเี่ กิดขึ้น และฝงใจหรอื ประทับใจในอดีต อาจกลายเปน ปมขดั แยง ซึ่งเปนสาเหตุทําใหเกิดพฤติกรรมนน้ั ๆ ขอดีของการเกบ็ ขอมลู โดยใชวธิ ีการตรวจสอบจิตตนเอง ไดแก ขอมูลที่ไดรับตรงตามความเปนจริง เพราะผูรายงานเปนผูใหขอมูลดวยตนเอง มีประสบการณและอยูในเหตุการณนั้นจริง จุดออน ไดแก หากผูรายงานจําเรื่องราวไมไดหรือไมตองการรายงานขอมูลท่ีแทจริงใหทราบ จะทาํ ใหก ารตคี วามคลาดเคลื่อนไมตรงตามขอเท็จจริงได12

การพฒั นาตน 1.4.4.4 วิธีทางคลินิก (Clinical Method) เปนการศึกษาพฤติกรรมแบบลึก (In-Depth Study) รายใดรายหน่ึงโดยใชเครื่องมือหลาย ๆ อยาง เพ่ือใหไดขอมูลหลาย ๆ ดาน และใชระยะเวลานานเพื่อใหทราบสาเหตุของพฤตกิ รรมของบคุ คลนัน้ ๆ ตลอดจนไดขอความรูใหม ๆ ที่จะนําไปใชก ับกรณีอื่น ๆ ได นักจิตวิทยาจะไมเพียงแตศึกษาเร่ืองตามท่ีคนไขเลาใหฟงเทาน้ัน ยังตองมีการเก็บรวบรวมขอมูลจากประสบการณในอดีตชีวประวัติ ศึกษาความสัมพันธในครอบครัวและส่ิงแวดลอมเพ่ือดูภูมิหลังทางสังคมของคนไข โดยใชเครื่องมือตางๆ เชน การทดสอบ การศึกษารายกรณี การสังเกต การสัมภาษณ สังคมมิติ การทดสอบทางจิตวิทยา อาทิ การทดสอบบุคลิกภาพ การฉายจิต เพื่อศึกษาเจตคติ ความตองการทางอารมณและทางจิตใจ เพื่อดูสาเหตุของความผิดปกตทิ างบุคลิกภาพน้ันๆ วา มีสาเหตทุ ่แี ทจริงมาจากอะไร ขอดีของการเก็บขอมูลโดยใชวิธีการทางคลินิก ไดแก ไดรายละเอียดของขอมูลอยางลึกซ้ึง เพื่อใชสําหรับการศึกษาตอไป จุดออน ไดแก มีขอจํากัดในการนําไปใชอางอิงเนอื่ งจากขอมลู ท่ศี กึ ษามีความเฉพาะแตละราย อกี ท้ังยงั ไมสามารถสรุปความเปนเหตุผลไดชัดเจน 1.4.4.5 การสังเกตอยางมีระบบ (Systematic Observation) พฤติกรรมเปนจํานวนไมนอยจําเปนตองศึกษาในสถานการณปกติที่สถานการณน้ันเกิดข้ึน โดยการเฝาสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของกลุมตัวอยางซึ่งเรียกวา การสังเกตอยางมีระบบวิธีการนี้ตองนิยามพฤติกรรมท่ีจะสังเกตใหชัดเจนและวัดได เรียกวา นิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) การสังเกตเปนวิธีการที่มีความชัดเจน งาย และสะดวก ท้ังนี้ ข้ึนอยูกับผูสังเกตวาจะมีความรูความเขา ใจ มีทักษะความชํานาญ มีความสามารถในการสังเกตมากนอยแคไหน สิ่งเหลาน้ีผูสังเกตควรไดรับการฝกฝนการสังเกตมาเปนอยางดี การสังเกตท่ีดีนั้นจะตองมีจุดมุงหมาย วาจะสังเกตเร่ืองอะไร สังเกตไปทําไม สถานการณและสภาพการณที่ตองการสังเกต จํานวนคร้ังในการสังเกตระยะเวลา วันเวลาในการสงั เกต สิ่งเหลา นต้ี องกําหนดใหชัดเจน และที่สําคัญผูท่ีทําการสังเกตตองไมมีอคติตอผูถูกสังเกตและเร่ืองท่ีทําการสังเกตอยูรวมท้ังจะตองทําการสังเกตโดยไมใหกลุมตัวอยางรูตัววามีใครคอยสังเกตอยู การสังเกตอาจใชเคร่ืองมือชวยบันทึกรายละเอียดดวย เชนเครื่องบันทึกเสยี ง การถายภาพยนตร เครือ่ งมอื ตรวจนับผูมาใชบ รกิ ารของหางสรรพสินคา เปน ตน ขอดีของการเก็บขอมูลโดยใชการสังเกต ไดแก สามารถเก็บขอมูลที่ผูศึกษารายงานไมไดเนื่องจากไมแนใจวาตนมีลักษณะน้ันอยูหรือเห็นวาไมสําคัญ หรือใชเก็บขอมูลที่ผูถูกศึกษาไมเต็มใจบอกกลาว ท้ังขอมูลท่ีไดยังเปนปจจุบัน ไมไดเกิดข้ึนจากการถายทอดจากความจําของผูอ่ืน จุดออน ไดแก อาจไมสามารถเก็บขอมูลได เพราะขอมูลที่ตองการไมเกิดขึ้นในเวลาท่ีสงั เกต และขอ มูลอาจเปนความลบั เกินกวาผสู ังเกตจะรไู ด 13

การพัฒนาตน 1.4.4.6 การใชแบบสอบถาม (Questionnaire) เปนการเก็บขอมูล โดยผูถูกถามรายงานตนเองดวยวิธีการเขียน – ตอบ การใชแบบสอบถามเหมาะสําหรับในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีจํานวนมาก ๆ และตองการคําตอบอยางรวดเร็ว ทําใหประหยัดเวลาคาใชจายอื่น ๆแบบสอบถามทีใชจะตอ งเปนเคร่ืองมอื ทม่ี ีความเปนมาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเท่ียงตรง มีความเช่ือมั่นได สามารถวัดในส่ิงท่ีเราตองการจะวัด ในการใหตอบแบบสอบถามมักจะถามเก่ียวกับเจตคติเกี่ยวกับเร่ืองที่ตองการจะทราบ เม่ือรวบรวมขอมูลจากการตอบแบบสอบถามไดแลวก็จะใชวธิ ีการทางสถิตวิ จิ ยั หาคําตอบออกมา เพื่อใหไดผลท่ีชัดเจนข้ึนควรนําวิธีการอื่นมาใชตรวจสอบอีกครงั้ เชน การสมั ภาษณ การสังเกต เปนตน ขอดีของการเก็บขอมูลโดยใชแบบสอบถาม ไดแก สะดวก ประหยัด ไดขอมูลกวา งขวาง เปน การปลอ ยใหผตู อบตอบไดอยางเสรแี ละงา ยตอการวิเคราะห จุดออน ไดแก ใชไมไดตอผูเขียนอา นไมคลอง 1.4.4.7 การสัมภาษณ เปนการเก็บขอมูลจากผูศึกษาโดยตรงดวยการถามตอบปากเปลา ทั้งน้ีผูตอบจะตองใหขอมูลอยางตรงไปตรงมา มิฉะน้ันการสัมภาษณก็จะไมไดผลคาํ ถามทที่ าํ ใหผ ูต อบรูสึกอึดอัด ไมสบายใจ หรอื ตองปดบัง ก็ไมควรถาม ขอดีของการเก็บขอมูลโดยใชการสัมภาษณ ไดแก ยึดหยุน ปรับไดตามสถานการณแ ละความแตกตางระหวา งบคุ คล เมอ่ื ไมชดั เจนสามารถถามทวนซ้ําหรือคนหาเรื่องราวและเหตุผลไดใ นทันที จุดออน ไดแก ส้นิ เปลืองท้ังดานคา ใชจ า ยและเวลา 1.4.4.8 การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing) แบบทดสอบทางจิตวิทยาเปนเครื่องมือที่ใชวัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยูภายในตัวบุคคลซ่ึงเปนสิ่งท่ีบุคคลพยามยามปกปดซอนเรนไว จะโดยรูตัวหรือไมรูตัวก็ตาม อาทิ การตรวจเช็คระดับสติปญญา การวัดความถนัดและความสนใจ การตรวจลักษณะของบุคลิกภาพและอารมณ ซึ่งในขั้นตอนของการสรางแบบทดสอบน้นั ตองผานกระบวนการทีน่ าเชอื่ ถอื เพ่อื ใหไดแ บบทดสอบทีแ่ มนตรง ขอดีของการเก็บขอมูลโดยใชแบบทดสอบทางจิตวิทยา ไดแก รวดเร็ว ขอมูลมีความแมนตรง เนื่องจากวิธีการใชแบบทดสอบมีความรัดกุม มีเกณฑท่ีแนนอนในการใหคะแนนและแปลความหมาย จดุ ออ น ไดแ ก แบบทดสอบท่ีดี มีความตรงและความเช่ือมั่นสูง เปนที่ยอมรับสรางไดยาก สรุปแลววิธีการศึกษาทางจิตวิทยาตาง ๆ เหลานี้ไมมีวิธีใดดีที่สุด การนําไปใชข้ึนอยูกับ จุดมุงหมายของผูใชเปนสําคัญ วิธีการสังเกต การสํารวจ การใชแบบสอบถาม และการทดลอง มักใชศึกษากับกลุมคนจํานวนมาก ๆ และมักเปนการศึกษาเพ่ือหาความรู โดยไมสนใจ14

การพฒั นาตนพฤติกรรมเฉพาะตัวบุคคล สวนวิธีการทดสอบ การตรวจสอบจิตตนเอง และการศึกษาประวัติรายกรณี มักใชในทางคลินกิ เพ่อื ทําความเขา ใจ หรอื แกป ญ หาเฉพาะบุคคลตอนที่ 1.5 กลมุ จติ วทิ ยาเพ่อื ความเขาใจเกย่ี วกับพฤตกิ รรมมนุษย การทําความเขา ใจการศกึ ษาของนักจิตวิทยาในกลุมตาง ๆ การศกึ ษาจะชวยใหเราเขาใจพฤติกรรมมนุษยและสามารถมองพฤติกรรมมนุษยไดหลายทัศนะตามแนวคิดหลักของแตละกลุมซ่ึงในแตละกลุมจะมีความเช่ือ ระเบียบวิธีการศึกษา ตลอดจนเนื้อหาสาระ ขอบขายของกิจกรรมแตกตางกันไปตามความเชื่อพื้นฐานของแตละกลุม เราไมสามารถบอกไดวาแนวคิดของกลุมไหนถูกตองที่สุด วิธีท่ีดีท่ีสุดคือจะตองเลือกแนวคิดบางกลุม หรือผสมผสานแนวคิดจากหลาย ๆแนวคิดเขาดวยกัน เพ่ือนํามาอธิบาย หรือทําความเขาใจพฤติกรรมมนุษย [11] แนวคิดทางจติ วิทยา สามารถแบง เปนกลุมใหญ ๆ ได 6 กลุม ดังนี้ [12] เรอ่ื งที่ 1.5.1 กลุมจิตวทิ ยาโครงสรางนิยม (Structuralism) ผูนํากลุมความคิดน้ีคือ วิลเฮลม วุนดท (William Wundt) กลุมนี้เกิดข้ึนในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปนชวงความเจริญกาวหนาของวิชาเคมีที่มีการวิเคราะห สารประกอบของธาตุตางๆ โดยอาศัยการตรวจพินิจภายในท่ีเกิดจากการใชความรูสึก การสัมผัสและมโนภาพ ดังน้ันจุดประสงคของการศึกษาในกลุมน้ีคือ การวิเคราะหหาโครงสรางของจิต โดยเรียกกระบวนการศึกษาจิตวิธีนี้วา การพินิจภายใน0 (Introspection) เปนการใหผูถูกทดลองพิจารณาประสบการณทางจิตตนเองขณะไดรับส่ิงเราทางประสาทสัมผัส และอธิบายความรูสึกของตนที่เกิดข้ึน มีความเช่ือวา มนุษยประกอบดวย รางกายกับจิตใจ0 ซึ่งตางเปนอิสระตอกันแตทํางานสัมพันธกัน ดังนั้นการกระทําของบุคคลจึงเกิดจากการควบคุมและสั่งการจิตใจ วิลเฮลม วุนดท สรุปวาสวนนี้มาสัมพันธกันภายใตสถานการณแวดลอมที่เหมาะสมจะกอใหเกิดเปนความคิด อารมณ ความจําเปนตน อยางไรก็ตาม แนวคิดของกลุมจิตวิทยาโครงสรางนิยมก็ไดรับการโจมตีมากในวิธีการที่ใชศึกษา แมวากลุมโครงสรางนิยมจะยืนยันในความเปนวิทยาศาสตรของตน แตวิธีการศึกษาท่ีเรียกวา การพินิจภายใน ก็ยังดูไมนาเชื่อถือนัก เพราะยังอิงการศึกษาในแบบปรัชญา และวธิ กี ารศึกษาดังกลาวกม็ คี วามเปนอัตนยั สูง เน่ืองจากการตรวจสอบตนเองจะมีความเท่ียงตรงและเช่ือถือไดหรอื ไมน ั้น ขนึ้ อยกู ับผูตรวจสอบตนเองเปนสาํ คัญ 15

การพัฒนาตนภ3 าพที่ 1.2 วลิ เฮลม วุนดท ผูนาํ กลมุ จิตวิทยาโครงสรางนยิ ม3ทีม่ า: https://qph.is.quoracdn.net/main-qimg-b333781724a4791d5a3dd39edb2f3844?convert_to_webp=true เร่อื งท่ี 1.5.2 กลมุ จติ วิทยาหนา ท่ีนิยม (Functionalism) กลุมน้ีเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในป 1900 ผูนํากลุมคือ จอหน ดิวอ้ี(JohnDewey)0 และ0 วิลเล่ียม เจมส (William James)0 แนวคิดของกลุมนี้ไดรับอิทธิพลจากลัทธิปรัชญากลุมปฏิบัตินิยม0 (Pragmatism) และทฤษฎีที่สําคัญทางชีววิทยาคือ ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส ดารวิน0 (Chartles Darwin) จึงเกิดการรวมตัวของ 2 กลุมนี้ขึ้น ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายถึงการดํารงอยูของสัตวที่ตองตอสูและปรับตัวเองใหสอดคลองกับสภาพแวดลอม ซึ่งในการทําความเขาใจเก่ียวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตควรตองศึกษาหนาที่ของจิตตอการปรับตัวภายในจิตใตสํานึกมากกวาการแยกแยะองคประกอบโครงสรางของจิตออกเปนสวน ๆ กลุมน้ีเชื่อวาจิตสํานึกของมนุษยทําใหกระบวนการคิดและการตัดสินใจชวยใหมนุษยมีชีวิตอยูได กลาวโดยสรุปคือ กลุมนเ้ี ช่อื วาจิตมีหนา ทค่ี วบคุมพฤติกรรมเพ่ือปรับตวั ใหส ามารถดํารงชวี ิตอยูในสงั คมไดอยางเหมาะสมอยางไรก็ตาม ท้ังจอหน ดิวอี้ และวิลเลี่ยม เจมส ก็มีจุดเนนท่ีตางกัน0 จอหน ดิวอ้ี เช่ือวาประสบการณ0 (Experience) เปน สง่ิ สาํ คญั ทท่ี าํ ใหค นปรับตัวตอสิ่งแวดลอม ขณะที่วิลเลี่ยม เจมส0เช่ือในเรื่องสัญชาติญาณ0 (Instinct) ซ่ึงเปนสาเหตุที่สําคัญกวา กลุมหนาท่ีของจิตใชวิธีการศึกษาแบบสอบถาม การทดลองทางจติ วิทยาและวธิ พี รรณนาเชิงปรนยั มใิ ชใชเพียงการพินิจภายในเพียง16

การพัฒนาตนอยางเดียว นอกจากน้ัน0 จอหน ดิวอี้ ยังไดนําหลักของความคิดแนวนี้มาใชกับการศึกษา โดยเขาเห็นวา การเรียนการสอนควรมีจุดเนนที่ความตองการของผูเรียนไมใชเนื้อหาในหลักสูตร กลาวโดยสรุป แนวคิดของกลมุ หนาทน่ี ยิ ม0 เปน ดงั นี้ 1.5.2.1 การกระทําท้ังหมดหรือการแสดงออกมนุษยเปนการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวใหเขากับสิ่งแวดลอม ดังนั้น การศึกษาจิตใจคนจึงตองศึกษาท่ีการแสดงออกในสถานการณต างๆ 1.5.2.2 การกระทําหรือการแสดงออกท้ังหมดเก่ียวของกับประสบการณของแตละบุคคล พฤตกิ รรมของแตล ะคนจงึ แตกตางกันออกไปภ3 าพท่ี 1.3 จอหน ดิวอ้ี และ0 วิลเลี่ยม เจมส ผนู ํากลุมจิตวิทยาหนา ท่ีนิยม3ทีม่ า: http://ece.pkru.ac.th/early/web_std/Ne/1210998915.jpg3ท่มี า: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9c/William_James_b1842c.jpg เร่อื งท่ี 1.5.3 แนวทศั นะของกลุม จติ วิทยาจิตวเิ คราะห (Psychoanalysis) ผูนํากลุม คือ0 ซิกมันด ฟรอยด (Sigmund Freud) จิตแพทยชาวเวียนนาประเทศออสเตรีย เปนผูวางรากฐานของจิตวิทยาคลินิก ทฤษฎีของเขาเริ่มจากการศึกษาคนไขโรคจิตในคลินิกของตัวเอง จุดเนนของจิตวิเคราะหอยูท่ีการประยุกตวิธีใหมในการบําบัดรักษาบุคคลที่มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ขอมูลสวนใหญจึงไดจากการสังเกตในคลินิกมิไดมาจากทดลองใน 17

การพฒั นาตนหองปฏิบัติการ พื้นฐานแนวคิดนีม้ าจากความสนใจเก่ยี วกับจติ ใตส าํ นึกและเชอ่ื วาแรงขับทางเพศมีอิทธิพลตอพฤติกรรมของมนุษยมาก ความคิดหลักของฟรอยด0 คือ จิตมีลักษณะเปนพลังงานเรียกวา พลังจิต ซึง่ ควบคุมกจิ กรรมตาง ๆ ของบคุ คล ฟรอยด0 อธิบายวา 1.5.3.1 จิตของมนษุ ย มี 3 ระดับ คือ 1) จิตสํานึก0 (Conscious mind) เปนสภาพท่ีบุคคลมีสติ รูตัว การแสดงออกเปนไปอยางมีเหตุผลและแรงผลักดันภายนอกสอดคลองกับหลักของความจริง0 (Principle of Reality) 2) จิตใตสํานึก0 (Subconscious mind) หรือจิตก่ึงสํานึก0 (Preconscious)0เปน สภาพท่บี ุคคลมีพฤตกิ รรมไมรูตวั ในบางขณะ หรือพูดโดยไมต้ังใจ ประสบการณท่ีผานมากลายเปนความทรงจําในอดีตท่ีจะถูกเก็บไวในจิตสวนนี้ สามารถระลึกถึงได เมื่อไมนึกถึงก็จะไมรูสึกอะไรแตเมื่อนึกถึงจะสะเทอื นใจทุกครง้ั 3) จิตไรสํานึก0 (Unconscious mind) เปนสวนของพฤติกรรมภายในท่ีบุคคลกระทําโดยไมรตู วั ซง่ึ 0 ฟรอยด0 วิเคราะหว าอาจเกิดจากการถูกเก็บกดหรือพยายามจะลืม เชนความอิจฉา ความเกลียดชัง ความขมขื่นปวดราว บางเหตุการณเหมือนจะลืมไปจริงๆ แตฟรอยดอธิบายวาแทจริงสิ่งเหลาน้ันมิไดหายไปไหนแตจะถูกเก็บไวในจิตไรสํานึกและจะปรากฏออกมาในรูปของความฝน การละเมอ เปน ตน นักจิตวิเคราะหใหความสําคัญกับเร่ืองจิตไรสํานึกและการปฏิบัติงานของจิตไรสํานึกเปนอยางมาก เนื่องจากมีความเชื่อวาเปนเหตุที่ทําใหเกิดความผิดปกติทางจิตหรือระบบประสาท จิตไรสํานึกจึงเปนเหตุจูงใจใหบุคคลแสดงพฤติกรรมแทบทุกอยาง นอกจากนั้นแนวคิดนี้ยงั มีความเช่ือวาพฤตกิ รรมทั้งหลายมเี หตจุ ูงใจมากกวา พลงั แรงขับทางเพศอีกดวย อยางไรก็ตามฟรอยดชใี้ หเหน็ วาพฤตกิ รรมของบคุ คลดําเนินไปสจู ดุ หมายของหลักแหงความพึงพอใจ0 (Principle ofPleasure) หรือเพื่อความสบายใจเปนสําคัญสวนใหญเปนการแสดงพฤติกรรมท่ีมีสาเหตุมาจากสัญชาติญาณแหงการดํารงพันธุ0 (Sexual Instinct) อีกท้ังพฤติกรรมตางๆ ท่ีแสดงออกยังตองสอดคลองกับสภาพความเปนจริงตามหลักแหงความจริง0 (Principle of Reality) ซึ่งถูกกําหนดข้ึนตามสภาพแวดลอมของสังคมและวัฒนธรรม ฉะนั้น พฤติกรรมบางอยางที่แสดงออกตามความพอใจ เชน สัญชาติญาณแกงการดํารงพันธุซึ่งมีตั้งแตเด็กจึงตองถูกกดไว ในบางคร้ังจึงเกิดภาวะการขดั แยงอยางรนุ แรงผลท่ีเกิดขึน้ จงึ เปนพลงั แหงจติ ไรส าํ นึก 1.5.3.2 องคป ระกอบของจติ แบงเปน 3 สวน ซ่ึงท้ังสามสวนนี้ผสมผสานกันเปนบุคลกิ ภาพของบุคคล ซึง่ เปนแรงขบั ใหกระทําพฤตกิ รรมตา ง ๆ ดังน้ี18

การพฒั นาตน 1) อิด (id) เปนสวนท่ีติดตัวมาโดยกําเนิด เปนความตองการขั้นพนื้ ฐานของมนษุ ย ซงึ่ รวมถงึ ความอยาก สญั ชาตญาณ และแรงขบั เพื่อใหไดม าเพื่อความตองการของตน โดยไมค าํ นงึ ถึงความถกู ตอ ง ชวั่ ดี 2) อีโก (ego) เปนพลังสวนที่ผานกระบวนการเรียนรูมาแลว เปนสวนทีค่ วบคุม การแสดงพฤติกรรมของคน ๆ นน้ั ใหดาํ เนนิ ไปอยา งเหมาะสม ภายใตอิทธิพลของอิดและซุปเปอรอีโก พยายามแกไขความขัดแยงตาง ๆ ของอิดและซุปเปอรอีโก ไมใหมีความขัดแยงกันมากเกนิ ไป จนกอ ใหเ กิดโรคจิตหรอื โรคประสาท 3) ซุปเปอรอีโก (super ego) เปนพลังท่ีพัฒนาขึ้นจากการเรียนรูในสังคมท่ีเกี่ยวกับหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม อุดมคติในการดําเนินชีวิต ขอบังคับทางสังคมซุปเปอรอ ีโกอ าจไดม าจากการอบรมเล้ยี งดขู องพอ แม ครูอาจารย อยางไรก็ตาม แนวคิดของฟรอยด ไดรับการวิพากษวิจารณวามองโลกในแงรายเนน ในเรือ่ งของแรงขับทางเพศมากจนเกินไปภ3 าพที่ 1.4 ซกิ มันด ฟรอยด ผูน ํากลมุ จติ วิทยาจิตวเิ คราะห3ทมี่ า: https://qph.is.quoracdn.net/main-qimg-b333781724a4791d5a3dd39edb2f3844?convert_to_webp=true 19

การพฒั นาตน เร่อื งท่ี 1.5.4 กลุมจิตวทิ ยาพฤตกิ รรมนิยม (Behaviorism) แนวคิดน้ีเกิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย จอหน บี. วัตสัน0 (John B.Watson)โดยอาศัยแนวคิดพ้ืนฐานมาจากนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ช่ือ พาฟลอฟ(Pavlov) ซ่ึงอธิบายถึงการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองเพราะการวางเง่ือนไข ดังน้ัน พฤติกรรมท้ังหลายของมนุษยจึงเกิดจากความสัมพันธระหวางสิ่งเรากับการตอบสนอง ซ่ึงการแสดงออกในรูปแบบของการกระทําหรือพฤติกรรมเปนสิ่งท่ีสังเกตได โดยสังเกตโดยตรงจากประสาทสัมผัสหรือดวยเคร่ืองมือวัดวิธีการศึกษาของกลุมน้ีสวนมากใชวิธีการทดลอง ประกอบกับการสังเกตอยางมีแบบแผน แลวบันทึกไวเปนหลักฐาน0 วัตสัน0 เปนอาจารยที่มหาวิทยาลัยจอนส ฮอปกินส ไดประกาศทฤษฎีของเขาในหนังสือ “จิตวิทยาในทัศนะของนักพฤติกรรมนิยม” โดยมีแนวคิดที่สําคัญ คือ พฤติกรรมทั้งหลายเกิดจากความสัมพันธระหวางส่ิงเรากับการตอบสนอง0 (S-R Bond) โดยอธิบายวา เมื่ออนิ ทรยี ถ กู เรา จะมีการตอบสนองเกิดข้นึ นักจิตวิทยาในกลุมพฤติกรรมนิยมเนนศึกษาเฉพาะพฤติกรรมท่ีสังเกตไดอยางชัดเจน ซึ่งไดแก พฤติกรรมภายนอก โดยเชื่อวาเราจะทราบถึงเรื่องราวของจิตก็โดยศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออก จัดเปนกลุมที่อธิบายพฤติกรรมซึ่งมุงทําความเขาใจบุคคลจากส่ิงที่เปนรูปธรรม ผลงานของนักจิตวิทยาในกลุมน้ีสวนใหญเปนเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู ซ่ึงนําไปใชมากในการปรบั พฤติกรรม ความเชื่อของกลุมพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอยางจะตองมีสาเหตุพฤติกรรมเปนการตอบสนองของบุคคลตอสิ่งเรา มุงศึกษาความสัมพันธระหวางสิ่งเรากับการตอบสนอง ซ่ึงสามารถนําไปใชในการพัฒนาและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลได โดยใชสิ่งเรามาเปนตัวกําหนดพฤติกรรม ซึ่งกลุมพฤติกรรมนิยมเชื่อวา เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบคุ คลไดโดยใชส ่ิงเราท่ีบุคคลตองการมากําหนดการกระทํา และการใชแรงเสริมหรือรางวัลมาทําใหพฤติกรรมท่ีตองการเกิดซ้ําข้ึนอีกจนกลายเปนพฤติกรรมท่ีถาวร แตขณะเดียวกันกลุมน้ีก็เนนการลงโทษกับพฤติกรรมท่ีไมดีดวย โดยเช่ือวาการลงโทษจะทําใหบุคคลลดการกระทําท่ีไมดีเพ่ือหลีกเล่ียงการถูกลงโทษ อยางไรก็ตาม แนวคิดของกลุมพฤติกรรมนิยม ก็ไดรับการวิจารณวาเห็นมนุษยเปนเคร่ืองจักรมากเกินไป เพราะจะจัดกระทํากับมนุษยในลักษณะใดก็ได ไมไดคํานึงวามนุษยมีความรูส กึ มคี วามคิด มนษุ ยมีความแตกตางกันในแตบคุ คล20

การพัฒนาตนภ3 าพที่ 1.5 จอหน บี.วัตสัน0 ผูนํากลุม จติ วิทยาพฤติกรรมนยิ ม3ทมี่ า: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/ba/John_Broadus_Watson.JPG/220px-John_Broadus_Watson.JPG เร่อื งท่ี 1.5.5 กลุมจิตวิทยาเกสตลั ท (Gestalt Psychology) กลุมนเ้ี กดิ ที่ประเทศเยอรมันในเวลาใกลเคียงกันกับกลุมพฤติกรรมนิยมซึ่งกําลังแพรหลายในสหรัฐอเมริกา โดยมี แมกซ เวอไทลเมอร (Max Wertheimer) และวูลฟกัง โคฮเลอร(Woffganng Kohlor) เปนกลุม ผูริเริ่ม 3[12] เกสตัลท Gestalt เปนภาษาเยอรมันแปลวา0 Totality ซ่ึงแปลวา การรวมหนวยยอยหรอื โครงสรา งทงั้ หมด จติ วทิ ยากลมุ เกสตัลท จึงหมายถึง จิตวิทยาที่ยึดถือสวนรวมเปนสําคัญนักจิตวทิ ยากลุมนี้เหน็ วา การศกึ ษาจิตวิทยานั้นตองศึกษาพฤติกรรมเปนสวนรวม จะแยกเปนทีละสวนไมได เช่ือวาบุคคลจะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมายอมเกิดจากคุณสมบัติโดยสวนรวมของบุคคลนั้น ซึ่งประกอบไปดวยความรู ความคิด ทักษะ ทัศนคติ ไมไดเกิดจากคุณสมบัติใดเพียงอยางเดียว กลุมนี้ไดชื่ออีกช่ือหน่ึงวา ปญญานิยม (cognitivism) เนื่องจากเห็นวาการศึกษาพฤตกิ รรมตองศกึ ษาจากกระบวนรบั รแู ละการคดิ ในสมองซึ่งเปนตัวสั่งการใหเกิดพฤติกรรม ทฤษฎีของกลุม เกสตัลทใ หค วามสําคัญกบั 21

การพัฒนาตน 1.5.5.1 การรับรู (perception) เปนรากฐานของการเรียนรู เกิดจากการแปลอาการสัมผัสออกมาอยางมีความหมาย โดยอาศัยความรูความเขาใจเดิม ประสบการณเดิมปญญา หรือส่งิ ทคี่ าดคะเนไวลว งหนา 1.5.5.2 การหย่ังเห็น (insight) เปนการเกิดความรูความเขาใจอยางแจมแจงคิดชอ งทางแกปญ หาไดฉับพลนั จากการพิจารณาสภาวะรอบดาน รูและเขาใจปญหาที่กําลังเผชิญอยูและหาชองทางในการแกปญหานั้น ๆ ไดอยางเหมาะสมและรวดเร็ว เช่ือวาเกิดในมนุษยและสตั วช้นั สูงเทานน้ัภ3 าพท่ี 1.6 วลู ฟก งั โคฮเ ลอร ผนู ํากลุม จิตวิทยาเกสตลั ท3ทมี่ า: http://wkprc.eva.mpg.de/images/Kohler.jpg เรอื่ งที่ 1.5.6 กลุมจิตวิทยามนุษยนยิ ม (Humanism) ผูนําสําคัญในกลุมมนุษยนิยม ไดแก คารล อาร โรเจอร (Carl R. Rogers) และอับราฮัม มาสโลว (Abraham Maslow) ความเช่ือของกลุมจิตวิทยาแนวนี้ ถือวาสมัยใหมสอดคลองกับสังคมเปดและสังคมประชาธิปไตย ความเช่ือเบ้ืองตนของกลุมจิตวิทยามนุษยนิยม3[13] 3มีดังน้ี 1.5.6.1 มนุษยมีจิตใจ ตองการความรัก ความอบอุน ความเขัาใจ ท้ังยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัว ไมใ ชจ ะกําหนดใหเปนอะไรก็ไดต ามใจชอบของคนอืน่22

การพฒั นาตน 1.5.6.2 มนุษยแตละคนเปนผูซ่ึงพยายามที่จะรูสึก เขาใจตนเอง และตองการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (self acturalization) จึงไมยากนักท่ีจะเสริมสรางใหบุคคลคิดวเิ คราะห เขาใจตน และนําจุดดมี าใชประโยชนเพอ่ื พัฒนาเอง 1.5.6.3 ทุกคนตางมุงสรางความเปนมนุษยท่ีสมบูรณใหแกตนถาเขาไดรับการยอมรับ ดังนน้ั จุดเรม่ิ ตนของการพัฒนาตน จึงอยูท ก่ี ารยอมรับตนเองและผูอื่นใหไ ดก อน 1.5.6.4 บุคคลที่พรอมตอการปรับปรุงตนเองควรจะไดมีสิทธิเลือกการกระทําเลอื กประสบการณ กาํ หนดความตองการ และตัดสินใจเร่ืองตาง ๆ ดวยตนเอง(self mastery) เปนการ “ออกแบบชวี ิต” ทเ่ี หมาะสมตามทศิ ทางของเขา 1.5.6.5 วิธีการแสวงหาความรูหรือขอเท็จจริง สําคัญกวาตัวความรูหรือตัวขอเท็จจริง เพราะโลกมีการเปล่ียนแปลงอยูเสมอ ตัวของความรูหรือตัวขอเท็จจริงจะไมใชส่ิงตายตัว ดังน้ันส่ิงท่ีเปนประโยชนตออนาคตของบุคคลมากท่ีสุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู ไมใ ชเนน ที่ตวั ความรเู พยี งอยางเดียว แนวคดิ จากกลมุ มนษุ ยน ิยมท่ีอาจนาํ ไปใชเพื่อการพัฒนาพฤติกรรม คือ การเนนใหบคุ คลไดม ีเสรีภาพ เลอื กวถิ ีชีวติ ตามความตองการและความสนใจ ใหเสรีภาพในการคิด การทําเนนความแตกตางระหวางบุคคล เนนใหบุคคลมองตนเองในแงบวก ยอมรับตนเอง และนําสวนดีในตนเองมาใชประโยชนใหเต็มที่ รักศักด์ิศรีความเปนมนุษยของตนเอง สรางสรรคสิ่งดีใหตนเองทําใหมองคนอื่นในแงบวก ยอมรบั คนอนื่ และสรา งสรรคส่งิ ดงี ามใหแกผูอ ่ืนและสังคม หลักความเช่ือและแนวคิดของนักจิตวิทยากลุมมนุษยนิยมดังกลาว มีความทันสมยั และเปนทย่ี อมรับมากในปจจุบนั สําหรบั ในประเทศไทยน้นั มกี ารต่ืนตัวมากท่ีจะนําแนวคิดนี้มาสูการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพ่ือแกปญหาสังคมของประเทศไทยในปจจุบัน ซ่ึงกลุมมนุษยนิยมเช่ือวา ถาเด็กถูกเล้ียงในบรรยากาศของความรักความอบอุน เขาจะรูสึกม่ันคงปลอดภัย และจะเติบโตเปนผูใหญที่มองโลกในแงดี มีนํ้าใจตอผูอ่ืน การเสริมสรางคุณภาพชีวิตของคนนั้นทําไดโดยใหคนมองเห็นสวนท่ีดขี องตนเอง และนําสวนท่ีดีน้ันมาใชใหเกิดประโยชน เปดโอกาสใหบุคคลไดมีโอกาสศึกษาตนเองในแงมุมตาง ๆ นําไปสูการเรียนรูบุคคลอ่ืน ๆ เพื่อปรับตัวใหอยูรวมกันไดอยางมีประสทิ ธิภาพ 23

การพัฒนาตนภ3 าพที่ 1.7 คารล อาร โรเจอร ผูนํากลมุ จิตวิทยามนษุ ยนิยม3ท่มี า: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/ba/John_Broadus_Watson.JPG/220px-John_Broadus_Watson.JPG จากทฤษฎีหลักทั้ง 6 ทฤษฎีท่ีกลาวมาจะเห็นวาแตละทฤษฎีมีจุดเนนตางกัน มองลักษณะของปจเจกบุคคลตางกัน และมองสาเหตุพฤติกรรมมนุษยตางกัน แตทั้งนี้มิไดหมายถึงความขัดแยงหรือความสับสน ตรงกันขามทฤษฎีทั้งหมดตางชวยเสริมกันและกันในการท่ีจะมองพฤติกรรมมนษุ ยไ ดส มบรู ณข้ึน24

การพัฒนาตนบทสรปุ ในการศึกษารายวิชาการพัฒนาตนน้ัน มนุษยจะสามารถทําการพัฒนาตนเองได ตองอาศัยองคความรูที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง ซ่ึงในการจะเขาใจเรื่องพฤติกรรมนั้นจําเปนตองเขาใจถึงหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไดแก ความหมายของพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง ทุก ๆสง่ิ ทบ่ี ุคคลทาํ สามารถสงั เกตไดโดยตรง หรืออยูในกระบวนการทางจิตใจ เปนประสบการณของแตละบคุ คลทไี่ มสามารถจะสังเกตไดโ ดยตรง พฤติกรรมแบง ออกเปนประเภทตาง ๆ ตามเกณฑในการจําแนก 2 เกณฑ ไดแก เกณฑการมองเห็นโดยท่ัวไปและเกณฑตามหลักของการเรียนรูองคประกอบของพฤติกรรม ไดแก ความรูสึก การกระทํา และความคิด วิธีการศึกษาพฤติกรรมประกอบดวย 5 ขั้นตอน ไดแก ตั้งคําถามและกําหนดปญหาวิจัย ต้ังสมมุติฐาน การทดสอบสมมุติฐาน วิเคราะหขอมูล และสรุปผล โดยมีเปาหมายเพ่ือการอธิบายพฤติกรรม เขาใจพฤติกรรมพยากรณพฤติกรรม และควบคุมพฤติกรรม โดยวิธีการในการรวบรวมขอมูลพฤติกรรมถูกนํามาใชในการแสวงหาความรูตาง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรม กระทําได 8 วิธี ประกอบดวย การสังเกต การสาํ รวจ การสมั ภาษณ การใชแ บบสอบถาม การทดลอง การทดสอบทางจิตวิทยา การตรวจสอบจิตตนเอง และวิธีทางคลินิก เพื่อใหเกิดความเขาในในพฤติกรรมมากขึ้น จึงจําเปนตองศึกษากลุมจิตวิทยาที่ใหแนวคิดเกี่ยวกับจุดเนนและสาเหตุของการเกิดพฤติกรรม ซึ่งมีดวยกันทั้งหมด 6 กลุมไดแก กลุมจิตวิทยาโครงสรางนิยม กลุมจิตวิทยาหนาท่ีนิยม กลุมจิตวิทยาจิตวิเคราะห กลุมจติ วทิ ยาพฤติกรรมนยิ ม กลมุ จิตวิทยาเกสตัลท และกลุมจิตวิทยามนุษยนิยม อันจะเปนพื้นฐานในการทาํ ความเขา ใจในพฤตกิ รรมของตนเอง และนําไปสูการพัฒนาตนตอ ไป 25

การพฒั นาตนคาํ ถามทา ยบท 1. จงอธบิ ายความหมายของพฤตกิ รรม 2. พฤติกรรมโมลารแ ละพฤติกรรมโมเลกลุ ารต า งกันอยา งไร จงอธิบาย 3. สมชายอยากไดโทรศัพทมือถือใหม เปนพฤติกรรมภายนอก หรือพฤติกรรมภายในจงอธบิ าย 4. จงยกตวั อยางพฤตกิ รรมท่ีเกิดจากการเรียนรูมาอยางนอย 3 ตัวอยาง 5. จากกรณีตัวอยางดังตอไปน้ี จงอธิบายพฤติกรรมของบอย โดยแยกตามองคประกอบของพฤตกิ รรมอยางชัดเจน “บอยนง่ั คดิ ถงึ หนาแฟนสาวและรูส ึกสขุ ใจ จนเผลอย้ิมออกมา” 6. เมื่อเพ่ือนของนักศึกษามีพฤติกรรมเปล่ียนไป เริ่มเก็บตัวอยูในหองคนเดียว ไมพูดไมจากับใคร นักศึกษาจะใชวิธีการเก็บขอมูลพฤติกรรมของเพ่ือนวิธีการใด จงอธิบายและใหเหตุผลประกอบ 7. ประชาชนชาวไทยชอบบริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ควรจะใชว ธิ ีการเก็บขอ มลู พฤติกรรมวธิ กี ารใด จงอธบิ าย และใหเ หตุผลประกอบ 8. จงสรุปกลุมจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเกี่ยวกับความเชื่อหลัก และการทําความเขาใจเก่ียวกับพฤติกรรม 9. จงใชก รณตี ัวอยา งตอไปนี้ อธบิ ายเกี่ยวกับองคประกอบของจิต ซึ่งแบงเปน 3 สวน คืออิด อโี ก ซุปเปอรอีโก ตามแนวความคิดของกลมุ จิตวทิ ยาจติ วิเคราะห “ออ ยอิง่ เหนื่อยจากการเรียนทั้งวัน เมื่อเรียนจบเธอจึงรีบขึ้นรถเมลกลับบาน โชคดีท่ีเธอไดนั่ง เวลาผานไปมีคุณยายคนนึงขึ้นรถเมลและมายืนขาง ๆ เธอ พอแมสั่งสอนเสมอวาใหลุกใหคนชรานั่ง แตอ อ ยอิ่งก็รสู กึ เหน่ือยเหลือเกนิ เธอจงึ แกลงหลับและทาํ เปน ไมสนใจคณุ ยายคนนน้ั ” 10. จงอธิบายวาเพราะเหตุใด ในประเทศไทยจึงมีการต่ืนตัวมากท่ีจะนําแนวคิดจิตวิทยามนุษยนิยม มาสูการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพ่ือแกปญหาสังคมของประเทศไทยในปจจุบัน26

การพัฒนาตนเอกสารอา งองิ[1] Allen, R. and Santrock, J.W. 1993. Psychology: The Contexts of Behavior. UnitedState of America : Wm. C. Brown Communication.[2] ณัฐพร อินทยุ ศ. (๒๕๕๖). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพครงั้ แรก. กรงุ เทพฯ: สาํ นักพมิ พแหงจุฬาลงกรณมหาวทิ ยาลยั . หนา ๓.[3] จริ าภรณ ต้ังกิตติภาภรณ. (๒๕๕๖) จิตวิทยาท่ัวไป. พิมพครง้ั แรก. กรงุ เทพฯ: สาํ นักพมิ พแ หงจฬุ าลงกรณม หาวทิ ยาลัย. หนา ๒.[4] กญุ ชรี คา ขายและคณะ. (๒๕๔๖). พฤติกรรมมนษุ ยกับการพัฒนาตน. กรงุ เทพมหานคร:สถาบันราชภฏั สวนสนุ นั ทา.[5] วัลลภ ปยะมโนธรรม. (๒๕๔๖). คุยกับนักจิตวิทยา. พิมพคร้ังท่ี ๓. กรงุ เทพฯ:[6] สิริอร วชิ ชาวุธและคณะ. (๒๕๕๒). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพค รัง้ ท่ี ๒. กรุงเทพฯ:3สํานักพิมพมหาวทิ ยาลัยธรรมสาสตร. หนา ๖.[7] htpp://www.oknation.net/blog/lrukk/2007/07/14/entry-1[8] ขนษิ ฐา วิเศษสาธรและมานกิ า วิเศษสาธร. (๒๕๕๒). จิตวทิ ยาในชีวิตประจําวนั . พิมพคร้ังแรก.กรงุ เทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคณุ ทหารลาดกระบัง. หนา ๘.[9] 3ลกั ขณา สรวิ ฒั น. (๒๕๔๔). จติ วิทยาในชีวิตประจําวัน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.[10] htpp://www.bkkthon.ac.th/userfiles/file/.../introduction%20to%20psy.doc[11] วไิ ลวรรณ ศรสี งครามและคณะ. (๒๕๔๙). จติ วิทยาทั่วไป. กรงุ เทพฯ : ทรปิ เพล้ิ กรุป.[12] http://general-psychology-stu.blogspot.com/2015/02/blog-post_19.html[13] 3เตมิ ศกั ดิ์ คทวณิช. (๒๕๔๖). จติ วิทยาท่วั ไป. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยเู คชน่ั . 27

การพฒั นาตน28

การพัฒนาตน บทท่ี 2 ปจ จยั พืน้ ฐานของพฤตกิ รรมมนษุ ย ขวัญเรือน รศั มีหวั ขอเนื้อหา ตอนท่ี 2.1 ปจ จยั พ้นื ฐานของพฤตกิ รรมมนษุ ยท างชวี วทิ ยา เรอ่ื งที่ 2.1.1 พันธกุ รรม เรอื่ งที่ 2.1.2 ระบบประสาท เรอ่ื งที่ 2.1.3 ระบบกลามเนอ้ื เร่ืองที่ 2.1.4 ระบบตอ ม ตอนท่ี 2.2 ปจ จัยพ้นื ฐานพฤตกิ รรมมนุษยทางจิตวิทยา เรอ่ื งที่ 2.2.1 แรงจูงใจ เรือ่ งที่ 2.2.2 การเรียนรู ตอนที่ 2.3 ปจ จยั พน้ื ฐานของพฤติกรรมมนุษยทางสงั คมวิทยา เรอ่ื งที่ 2.3.1 ลกั ษณะทางสงั คม ตอนที่ 2.4 ปจ จัยพืน้ ฐานของพฤตกิ รรมมนุษยทางสังคมวทิ ยา เร่ืองที่ 2.4.1 ปจจยั ทางจรยิ ธรรมและการเรียนรูแนวคิด พฤตกิ รรมของมนษุ ยเกิดข้ึนจาก ปจ จัยพ้ืนฐาน เรยี กไดว า เปน หลกั การหรอื ความรทู จี่ ะชวยใหมีความเขาใจถงึ พฤตกิ รรมของมนษุ ยไ ดอยา งถกู ตองมากยิง่ ขึน้ และเนอื่ งจากพฤตกิ รรมของมนษุ ยน น้ั มีความสมั พนั ธก บั ระบบสรรี วทิ ยาโดยตรง ปจ จัยแรกทีเ่ ปน ปจ จัยพน้ื ฐานของพฤตกิ รรมมนุษยคอื ปจ จยั ทางชีววทิ ยา ปจจยั ตอ มาไดแ ก ปจ จัยทางจิตวิทยาในเรือ่ งของแรงจงู ใจและการเรียนรูทมี่ ีอิทธพิ ลตอ พฤตกิ รรมปจ จยั ทางสงั คมวิทยา อทิ ธพิ ลของสงิ่ แวดลอ ม กระบวนการสงั คมประกติ อทิ ธพิ ลของกลุม และปจ จยั ทางจรยิ ธรรมทสี่ งผลตอพฤติกรรมของบคุ คล พฤติกรรมของบุคคลจะเปน อยา งไร มกั ขนึ้ อยกู บั ปจ จัยเหลานี้วัตถปุ ระสงค เม่ือศึกษาเน้ือหาในบทเรยี นท่ี 2 แลว ผูเรียนสามารถ 29

การพฒั นาตน 1.1 บอกปจ จยั พน้ื ฐานของพฤติกรรมมนษุ ย ได 1.2 อธิบายประเภทของปจ จัยพนื้ ฐานของพฤตกิ รรมมนุษย ได 1.3 บอกองคป ระกอบของปจ จัยพน้ื ฐานของพฤติกรรมมนุษย ในแตล ะประเภทได30

การพฒั นาตนบทนํา ปจจัยพ้ืนฐานของพฤติกรรมมนุษย คือ หลักการหรือความรูที่จะชวยใหมีความเขาใจถึงพฤติกรรมของมนุษยไดอยางถูกตองมากย่ิงข้ึน พฤติกรรมของมนุษยนั้นมีความสัมพันธกับระบบสรรี วิทยาโดยตรง ท้งั ดา นชีววิทยาและจิตวิทยาจึงเปนศาสตรที่เก่ียวของสัมพันธกัน ปจจัยพ้ืนฐานที่เก่ียวของเช่ือมโยงกับพฤติกรรมมนุษยท่ีสําคัญประกอบดวย ปจจัยทางชีวภาพ ซ่ึงจะกลาวถึงพันธุกรรมและการทํางานของระบบประสาท สมอง ตอมไรทอและกลามเน้ือสวนตางๆ ท่ีสงผลตอพฤติกรรม ปจจัยทางจิตวิทยาในเร่ืองของแรงจูงใจและการเรียนรูที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรม ปจจัยทางสังคมวิทยา อิทธิพลของส่ิงแวดลอม กระบวนการสังคมประกิต อิทธิพลของกลุม และปจจัยทางจริยธรรมท่ีสงผลตอพฤติกรรมของบุคคล พฤติกรรมของบุคคลจะเปนอยางไร มักขึ้นอยูกับปจจัยเหลา น้ีตอนท่ี 2.1 ปจ จัยพนื้ ฐานของพฤติกรรมมนษุ ยท างชีววทิ ยา (Biological Factors) พื้นฐานของพฤติกรรมมนุษยในดานนี้จะวิเคราะหสวนประกอบสําคัญของมนุษย ซึ่งมีผลตอพฤติกรรม ประกอบดวย พันธุกรรม ระบบประสาท ระบบกลามเน้ือ ระบบตอมตางๆ ดังนี้ เร่อื งที่ 2.1.1 พันธกุ รรม พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถายทอดลักษณะของบรรพบุรุษ หรือตนตระกูล มายังรุนลูกหลานดวยกระบวนการสืบพันธุ การถายทอดนั้นกําหนดโดยสารพันธุกรรมท่ีเรียกวา ยีนส (Genes) ซึ่งเรียงตัวกันอยูในโครโมโซม (Chromosome) ภายในนิวเคลียส(Nucleus) ของเซลล จุดเริ่มตนของพันธุกรรมมาจากเซลปฏิสนธิ ซ่ึงเปนการรวมตัวกันระหวางไขจากแมกับอสุจิจากพอ ในเซลลปฏิสนธิของมนุษยจะมีโครโมโซม ซ่ึงมีโครงสรางบิดเปนเกลียวเรียงตัวกันเปนคู ๆ รวม 23 คู ขางหนึ่งจะมาจากพอ และอีกขางหนึ่งจะมาจากแม โครโมโซมแบงออกเปน 2 ประเภท 22 คูแรก เรียกวา ออโตโซม เปนโครโมโซมที่ควบคุมลักษณะและหนาที่ของรางกายทั้งเพศชายและเพศหญิงจะเหมือนกัน คูหลัง เรียกวา โครโมโซมเพศ ประกอบดวย x และy โครโมโซมเพศชายจะประกอบดวย xy สวนโครโมโซมเพศหญงิ ประกอบดวย xx โครโมโซมบรรจุดวยสารพันธุกรรม เปนโมเลกุลเชิงซอน เรียกวา DNA (Deoxyribonucleic acid) ประกอบดวยโครงสรางที่เปนผลิตผลของโปรตีน ซึ่งมีผลตอระบบรางกายและการแสดงออกทางลักษณะ 31

การพฒั นาตนพฤติกรรมของมนุษยท่ีสําคัญ ไดแก การสรางรางกาย ความแข็งแรง สติปญญาและรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย DNA เปนสวนประกอบที่สําคัญในยีนส ลักษณะทางพันธุกรรมจะไดรับอิทธิพลจากยีนสแตละชนิด ซึ่งจับตัวกันเปนคูเมื่อยีนสทํางาน เพ่ือแสดงอิทธิพลตอลักษณะของบุคคลยีนสตัวหนึ่งอาจจะขมอีกตัวหนึ่ง ดวยหลักการน้ีเอง ยีนสจึงแบงเปนยีนสเดนและยีนสดอยโดยปกติหากยีนสเดนและยีนสดอยมาจับคูกัน ยีนสเดนจะแสดงลักษณะออกมาใหเห็นในตัวบุคคลยีนสดอยจะแสดงผลก็ตอยีนสทั้งคูเปนยีนสดอยเทาน้ัน แตการถายทอดลักษณะดังกลาวคอนขางจะซับซอน เนื่องจากในโครโมโซมของมนุษย ประกอบดวย ยีนสประมาณ 50,000 ยีนสจากพอหรือแมแตละขางในการปฏิสนธิแตละครั้งการจับคูกันของยีนสจึงมีเปนสิบ ๆ ลานแบบโอกาสที่จะเกิดลักษณะใดๆ จึงมีความเปนไปไดจํานวนมาก เซลลในรางกายของมนุษยมีโครโมโซมอยู 23 คู ซ่ึงแตละคูจะทําหนาที่กําหนดลักษณะตางๆ กลุมนักวิชาการหลายทานศึกษาพบวา ยีนสมีอิทธิพลตอลักษณะบุคคล การดํารงชีวิตทั้งดานสติปญญา สมองและจิตสํานึกทางสังคม (Fuller, 1982; Plomin & Rede, 1991 ; Plomin et al., 1994)ภาพที่ 2.1 องคประกอบทางพนั ธกุ รรม 32

การพฒั นาตน สิ่งที่ถายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะท่ีเปนพันธุกรรมซึ่งควบคุมโดย ยีนสสามารถสง ผลใหล ูกหลานน้นั แบง ได 2 ทาง คอื ลักษณะทางรางกายและลักษณะทางจิต ลกั ษณะทางรางกาย แบง ยอยไดดังนี้ 1) ลกั ษณะของสี ไดแกส ีท่ปี รากฏอยูใ นสวนตางๆ ของรางกาย คือ สีของเสนผมผวิ หนงั นยั นตา สีเหลา นีจ้ ะเปน ไปในลกั ษณะใดขน้ึ อยกู บั ลกั ษณะของสขี องพอแมบรรพบรุ ุษ 2) ลักษณะใบหนา รวมทั้งสวนประกอบของใบหนา คือ ใบหู นัยนตา จมูก ปากริมฝปาก 3) ลักษณะประจําเพศ เชน เพศชายตองมีหนวด เสียงหาว กลามเนื้อแข็ง สวนเพศหญิงมีพัฒนาการทางกระดูกเชิงกราน ทรวงอกขยายใหญ เปนตน ส่ิงเหลาน้ีไดมาแตกําเนิดทางพนั ธกุ รรมโดยทางตอ มไรทอ (Endocrine Gland) 4) สดั สวนของรางกาย เชน ความสูง ลูกจะสูงหรือเตี้ยข้ึนอยูกับพอแม ถาพอแมเปนคนเต้ียลูกก็มักจะเต้ียดวย แมวาจะเล้ียงลูกใหอาหารดีอยางไร ความสูงที่เพ่ิมขึ้นก็จะไมเกินgenes ท่กี ําหนดไว 5) การทํางานของรางกาย บางคนทํางานดวยความเครงเครียด แตบางคนทํางานอยางสบาย หรือบางคนโตชาบางคนโตเร็ว ทั้งน้ี ข้ึนอยูกับพันธุกรรมบังคับการทํางานตางๆ ของรางกาย เชน การทํางานของระบบยอยอาหาร การเผาผลาญอาหาร หรือความถนัดตางๆ เชน บางคนถนัดทจี่ ะใชส มองมากกวาการทาํ งานทใี่ ชกําลังกาย เปน ตน 6) เพศ การเกิดเปนเพศหญิงหรือเพศชายเปนสิ่งท่ีถายทอดมาทางพันธุกรรมลกู ที่เกิดนั้นจะเปน เพศหญงิ หรอื ชายขึ้นอยูกบั โครโมโซมของเสปร ม ท่ีเขาผสมกบั ไข 7) หมูเลือด หมูเลือดของลูกจะเปนหมูเดียวกันกับหมูเลือดของพอหรือแม แตสว นปลีกยอยของเลอื ดอาจแตกตางกัน หมเู ลอื ดของคนมี 4 หมู คือ เอ บี โอ และเอบี 8) โรคบางชนิดสามารถถายทอดทางพันธุกรรมได เชน โรคเบาหวาน ลมบาหมูหรือขอบกพรองของรางกายบางอยางก็สามารถถายทอดทางพันธุกรรมได เชน ตาบอดสี ผิวเผือกศีรษะลา น เปน ตน ลักษณะทางจิต ลักษณะทางจิตที่ไดรับทางพันธุกรรม คือ เชาวปญญา(Intelligence) ลักษณะนสิ ัย อารมณ สิง่ เหลา นีส้ ามารถถายทอดจากพอ หรือแมไปสลู กู หลานได 33

การพฒั นาตน เร่ืองที่ 2.1.2 ระบบประสาท ระบบประสาท (Nervous System) คือ ระบบท่ีประกอบดวย สมอง ไขสันหลังเสนประสาททั่วรางกาย และเซลลประสาท ซ่ึงจะทําหนาที่รวมกันในการควบคุมการทํางานและการรบั ความรูส กึ ของอวยั วะทกุ สวน รวมถึงความรูสึก นกึ คดิ อารมณและความทรงจําตาง ๆ สมองและไขสันหลังจะเปนศูนยกลางคอยรับการกระตุนจากส่ิงเราทั้งภายในและภายนอกรางกาย แลวสงกระแสคาํ สง่ั ผานเสน ประสาทที่กระจายอยูตามสวนตาง ๆ ของรางกายใหทํางานตามท่ีตองการระบบประสาทในรางกายสามารถแบงออกเปน 3 สวนใหญๆ คือ สมองสวนหนา สมองสวนกลางและสมองสวนทา ยภาพที่ 2.2 ระบบประสาท 2.1.2.1 สมอง สมองเปนสวนของอวัยวะท่ีสําคัญท่ีสุดในรางกายของคนเรา ซ่ึงจะทําหนาที่ควบคุมการกระทําของเราทุกอยาง ไมวาจะเปนการเคล่ือนไหว ความรูสึกนึกคิด หรือความจํา นอกจากน้ี ยังมีการกระทําอีกหลายสิ่งหลายอยางที่สมองไมไดควบคุมการกระทําน้ันโดยตรง แตควบคุมผานทางสารเคมีท่ีมีอยูในโลหิต ซ่ึงจะสงผลกระทบไปยังสวนอ่ืน ๆ ของรา งกาย 34

การพัฒนาตนตารางท่ี 2.1 แสดงสว นประกอบของสมองและการทาํ หนา ทีข่ องสมองสว นตา งๆ สว นประกอบของสมอง การทาํ หนาที่1.สมองสวนหนา(forebrain) ประกอบดวย- - เปนสมองสวนหนา สุดท่มี ีขนาดใหญท่ีสุด ทําหนา ท่เี กี่ยวกับความจํา ความซีรบี รัม (cerebrum) นึกคดิ ไหวพริบ และความรูสึกผิดชอบ นอกจากนย้ี ังเปนศูนยกลางควบคมุ การ ทํางานของสว นตางๆ ของรางกายท่ีอยใู ตอ าํ นาจจิตใจ เชน ศนู ยค วบคมุ การ- ทาลามัส (thalamus) ทํางานของกลามเนือ้ การรบั สัมผัส การพดู การมองเหน็ เปนตน-ไฮโพทาลามสั - เปน สว นที่อยูดา นหนาของสมองสว นกลางหรอื อยขู า ง ๆ โพรงสมอง ทาํ(hypothalamus) หนา ทเ่ี ปน สถานีถอยทอดกระแสประสาททีร่ ับความรสู ึก กอ นท่ีจะสงไปยงั สมองท่ี เกี่ยวของกับกระแสประสาทน้ัน2.สมองสว นกลาง(Midbrain) - สมองสว นน้อี ยูใ ตสว นทาลามสั ซงึ่ อยดู า นลา งสดุ ของสมองสวนหนา ทํา หนาทีเ่ ปนศนู ยก ลางควบคมุ อุณหภูมิของรา งกาย การเตน ของหัวใจ การนอนหลับ3. สมองสวนทา ย ความดันเลือด ความหิว ฯลฯ นอกจากนย้ี ังเปนศูนยควบคุมอารมณและความรูสึก(hindbrain) ตาง ๆ เชน อารมณเ ศราโศกเสยี ใจ เปน ตนประกอบดวยซรี เี บลลัม (cerebellum) - เปน สวนที่ตอ จากสมองสวนหนา ทาํ หนา ท่ีเกยี่ วกับการเคล่ือนไหวของลูกตา และมา นตา เชน ทาํ ใหล กู ตากลอกไปมาได ปดเปดมา นตาขณะทม่ี แี สงเขา มามาก-พอนส (pons) หรือนอ ย - อยใู ตส ว นลางของซรี ีบรมั ทําหนาทใ่ี นการดูแลการทาํ งานของสวนตา ง ๆ ของรา งกาย และระบบกลา มเน้ือตาง ๆ ใหป ระสานสัมพนั ธกันอยางเหมาะสมและ ราบรน่ื อีกท้ังยงั เปน ตวั รบั กระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตวั ซึ่งอยใู นหู ชน้ั ใน และจากขอตอและกลามเนือ้ ตาง ๆ ซีรีเบลลัมจึงเปนสว นสําคญั ในการ ควบคุมการทรงตวั ของรา งกาย - เปนสว นของกานสมองทอ่ี ยดู านหนา ของซีรเี บลลัมติดกับสมองสวนกลาง ทาํ หนา ทค่ี วบคุมการทํางานบางอยา ง เชน การเคี้ยวอาหาร การหลง่ั นาํ้ ลาย การ เคลอ่ื นไหวของกลา มเนอื้ บริเวณใบหนา ควบคุมการหายใจ การฟง 35

การพฒั นาตนตารางที่ 2.1 แสดงสวนประกอบของสมองและการทาํ หนา ทขี่ องสมองสว นตา งๆ (ตอ)-เมดัลลาออบลองกาตา - เปนสมองสวนทา ยสุด ซึ่งตอนปลายของสมองสว นนต้ี อกับไขสนั หลงั จึง เปน ทางผา นของกระแสประสาทระหวางสมองกับไขสนั หลงั นอกจากนี้เมดัลลา ออบลองกาตายังทําหนา ทีเ่ ปนศูนยค วบคมุ กจิ กรรมของระบบประสาทอตั โนมัติ เชน การเตนของหัวใจ การหายใจ การหมนุ เวยี นเลือด การกลนื การไอ การจาม เปน ตนสมองสว นกลาง พอนส และ เมดลั ลา ออบลองกาตา สมองทงั้ 3 สว นนร้ี วมเรียกวา กา นสมอง (brain stem) สมองประกอบดวยสว นประกอบสาํ คญั ไดแก 1. ซรี บี รัม (Cerebrum) เปนสว นของสมองที่อยูบนสุดของศีรษะ มีรูปรางเปนพูยอ ย ตั้งแตห นา ผากไปตามรูปของกะโหลกศรี ษะจนถงึ บรเิ วณทา ยทอย มีขนาดใหญท่ีสุดประมาณ80% ของสมองท้ังหมด บริเวณเปลือกนอกจะมีลักษณะเปนรอยหยัก ยับยนจีบ เปนรองลึกเรียกวา คอรเทกซ (Cortex) ซ่ึงจัดวาเปนบริเวณท่ีสําคัญมาก ท้ังน้ี เน่ืองจากพบวาคนท่ีมีความฉลาดมากและอจั ฉริยะมกั จะมีคอรเทกซหรอื รอยหยักสว นน้มี ากกวา ปกติ เนือ่ งจากจะทําใหม ีพ้นื ท่ีในการใชงานของสมองมากตามไปดวย สมองเปนสวนที่มีความสําคัญมากท่ีสุด เนื่องจากเปนศนู ยก ลางในการควบคมุ พฤติกรรมการเรียนรู ความจํา การวิเคราะห การใชเ หตผุ ล เปน ตน ในสว นของสมองแบงออกไดอีก 4 สว นยอย ซ่ึงในแตละสว นจะมหี นาทกี่ ารทํางานแตกตางกนั ดงั น้ี - พูสมองสว นหนา (Frontal Lobe) ในบรเิ วณนี้จะแบง ออกไดอีก 2 ซีกคือ ซีกซาย (Left Thermosphere) และซีกขวา (Right Thermosphere) โดยมีหนาที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะตาง ๆ ทั่วรา งกาย แตก ารสั่งงานจะกลับดานกัน คือ สมองซีกซายจะควบคุมการทํางานของอวัยวะดานขวาของรางกาย สวนสมองซีกขวาจะควบคุมการทํางานของอวัยวะดานซายของรางกาย นอกจากน้ี ยังเปนศูนยกลางของอารมณ การพูด ความคิด การจํา การเรียนรู และการใชภ าษาอกี ดวย36

การพฒั นาตน - พูสมองสวนกลาง (Parietal Lobe) เปนสมองสวนที่ทําหนาที่รับความรูสึกตาง ๆ ท่ัวไปของรางกาย เชน รอน หนาว เจ็บปวด เปนตน หรือเรียกสวนนี้อีกอยางหนึ่งวา เขตรับสัมผัส - พูสมองสวนขาง (Temporal Lobe) เปนสวนที่อยูบริเวณดานขางของสมองตรงขมับ มีหนาท่ีเปนศูนยกลางในการรับรูในดานรส กล่ิน เสียง และความเขาใจดานภาษา หรืออาจเรยี กสวนนี้อีกอยางหน่งึ วา เขตการฟง - พูสมองสวนหลัง (Occipital Lobe) เปนบริเวณที่อยูทายสุดของสมองตรงทายทอย มีหนาที่ควบคุมการรับรูทางสายตาใหเกิดการมองเห็นภาพตาง ๆ ท้ังแนวต้ังและแนวนอน หรืออาจเรยี กบรเิ วณสวนนี้วา เขตการเห็น 2. สมองเล็ก (Cerebellum) เปนสมองสวนที่อยูบริเวณทายทอยใตสมองแทลงมา รูปรางเหมือนใบไมมีลักษณะเปนรอยหยักยนเชนกัน แตนอยกวาสมองแทช้ันนอกเปนสีเทา(Gray Matter) สวนช้ันในเปนสีขาว (White Matter) มีหนาที่สําคัญ คือ ชวยใหอวัยวะตาง ๆ ที่อยูภายใตการควบคุมของสมองสามารถทํางานประสานกันไดเปนจังหวะเดียวกัน เพื่อทํากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เชน การเลนเทนนิสจะตีลูกใหถูกได อวัยวะหลายสวนจะตองทํางานประสานเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน เชน ตา หู แขน ขา มือ ฯลฯ หนาที่อีกประการหนึ่ง คือ ควบคุมการทรงตัวของรางกาย เนื่องจากสมองเล็กเปนตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสที่ใชควบคุมการทรงตัวซ่ึงอยูบริเวณหูช้ันใน ทําใหเกิดความสมดุลในขณะท่ีรางกายกําลังอยูในอิริยาบถตาง ๆ เชน ขณะยืน เดิน หมนุ ตัว กระโดด เปนตน นอกจากนี้ ยังควบคุมการเกร็งตัวของรางกายอกี ดวย 3. ทาลามัส (Thalamus) เปนสวนท่ีอยูตอจากสมองซีรีบรัมลงมาทําหนาที่เปนศนู ยรับกระแสประสาทความรสู ึกท่ีถูกสงมาจากอวยั วะตาง ๆ ของรา งกายเขาสู ไขสันหลังผานกานสมอง (Medulla Oblongata) พอนส และสมองสวนกลาง (Midbrain) ตามลําดับจนถึงทาลามัส จากน้ัน ทาลามัสจะจัดการแยกกระแสประสาทเหลาน้ันเพ่ือเขาสูสมองเขตตาง ๆ อีกทอดหน่งึ และเมอ่ื สมองสงั่ การเชน ใด ทาลามัสจะรับคําสงั่ นนั้ สง เขา สูสมองสวนกลาง พอนส กานสมองและสูไขสันหลัง เพ่ือสงคําสั่งน้ันใหไปมีผลตออวัยวะตาง ๆ ของรางกาย เทากับวาทาลามัสเปนสถานีสุดทายในการจายกระแสประสาทใหกับสมอง และเปนสถานีแรกที่รับคําส่ังจากสมองเพ่ือ 37

การพัฒนาตนจายไปสูอวัยวะตาง ๆ นอกจากนี้ ทาลามัสยังทําหนาท่ีควบคุมอารมณและพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดในขณะทีส่ มองซรี บี รมั ยงั ทํางานไดไมเ ต็มท่อี ีกดว ย 4. ไฮโปทาลามสั (Hypothalamus) อยใู ตทาลามสั ลงมาใกลก ับตอ มไรทอพิทูอิทารี (Pituitary Gland) ไฮโปทาลามัสถือวา เปนสวนประกอบสําคัญ และมีหนาที่สําคัญในการสรางความสมดุลใหกับระบบการทํางานของรางกาย เชน ควบคุมการทํางานของตอมพิทูอิทารีรักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิรางกาย การหายใจ การหลับ การตื่น อัตราการเตนของหัวใจความดันโลหิต ปริมาณน้ําตาลในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลในการทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากน้ี ยังทําหนาท่ีควบคุมแรงขับ (Drive) ตางๆ เชน ความหิวความกระหายความตองการทางเพศ เปนตน ความสําคัญของไฮโปทาลามัสน้ีเองบางครั้งจึงเรียกไดว า ผพู ิทกั ษร างกาย 5. สมองสวนกลาง (Midbrain) เปนสวนที่มีความยาวประมาณ 1 น้ิว ตั้งอยูใตทาลามสั โดยมีเซลลป ระสาทเปนตวั เช่อื มตอ กัน 6. พอนส (Pons) เปนสวนที่อยูถัดลงมาจากสมองสวนกลาง ดานขวาของพอนสจะอยูติดกับสมองเล็ก (Cerebellum) โดยมีใยประสาทเปนตัวเช่ือม จึงทําใหพอนสเปนทางผานของกระแสประสาทที่มาจากสวนลางเขาสูสมอง ซีรีบรัมและสมองเล็ก เพื่อใหเกิดการประสานงานกันระหวางสมองทั้งสองชนิด เชน สามารถเคลื่อนไหวไดพรอมกับการทรงตัวท่ีดี เปนตน 7. กานสมอง (Medulla Oblongata) เปนสวนท่ีอยูตอจากพอนสลงมา และเปนสวนสุดทายของสมอง โดยกานสมองจะทําหนาที่เชื่อมตอระหวางสมองกับไขสันหลัง ภายในกานสมอง ประกอบดวย เสน ประสาทเปน มัด เพือ่ สงกระแสประสาททไ่ี ดรบั จากสมองผานสว นตา งๆ ลงมาตามลาํ ดบั เพอ่ื สง เขา สไู ขสนั หลงั และรบั กระแสประสาทท่ีสงข้นึ มาจากไขสันหลงั สง ตอ ไปสูสวนตาง ๆ ของสมองตามลําดับเชนกัน เทากับวา กานสมองเปนสถานีรับสงกระแสประสาทสุดทายที่เช่ือมตอระหวางสมองกับไขสันหลัง แตเนื่องจากมัดของเสนประสาทท่ีอยูภายในกานสมองนั้นมีลักษณะไขวกันเปนรูปกากบาท จึงทําใหเสนประสาทชุดที่มาจากรางกายซีกขวาจะไปเช่ือมตอกับเสนประสาทที่จะเขาสูสมองซีกซาย และเสนประสาทชุดท่ีมาจากรางกายซีกซายจะไปเชื่อมตอกับเสนประสาทที่จะเขาสูสมองซีกขวา จึงมีผลทําใหสมองซีกขวาควบคุมการทํางานของ 38


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook